บางปิด

Page 1



บางปิด ความสุขริมทะเล


Healthy Planet สุขคดีท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการเรียนรู้

บางปิด ความสุขริมทะเล

เรื่องและภาพ สิทธา วรรณสวาท ภาพประกอบ สมคิด ระวังพรมราช ปก หนวดเสือ ออกแบบรูปเล่ม ขวัญเรียม จิตอารีย์ พิสูจน์อักษร ทีมงานเสือกระดาษ พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2556 เลข ISBN บรรณาธิการอ�ำนวยการ ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ กองบรรณาธิการ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) องค์การบริหารส่วนต�ำบลบางปิด ผู้จัดการ เนาวรัตน์ ชุมยวง จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย

ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2343 1500 www.thaihealth.or.th และ www.punsook.org


ด�ำเนินการผลิตโดย


ค�ำน�ำ ท่ามกลางกระแสวิกฤติเศรษฐกิจโลกครั้งใหญ่ เป็นประวัติการณ์ในรอบหลายสิบปี ท�ำให้เกิดการตั้ง ค�ำถามว่า วิกฤตินี้จะใหญ่ขึ้นอีกเพียงใด จะยืดเยื้อขนาด ไหน และวิกฤตินี้จะส่งผลกระทบต่อสังคมไทยชุมชน หมู่บ้านไทยมากน้อยเพียงใด ความวิตกดังกล่าวอาจจะ ไม่เกิดขึ้นเลย หากปัจจุบันชุมชนหมู่บ้านไทยไม่ถูกลาก เข้าสู่ระบบการผลิตเพื่อขาย นักวิชาการหลาย ๆ ท่าน ได้วิเคราะห์ถึงระบบ เศรษฐกิจของประเทศไทยว่า ในระบบทุนนิยมยังคง มี อี ก ระบบด� ำ รงอยู ่ ใ นลั ก ษณะคู ่ ข นาน นั่ น คื อ ระบบ เศรษฐกิจชุมชน หรืออาจจะกล่าวเป็นศัพท์สมัยใหม่ ได้ว่า ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ในอดีต ชุมชนหมู่บ้านจะมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย เน้นความพอเพียง มีครอบครัวเป็นหน่วยการผลิต การ ช่ วยเหลื อซึ่ ง กันและกัน มีน�้ ำใจเป็นพื้นฐานของชีวิต มีพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นระบบการจัดการในชุมชน และ ให้ความส�ำคัญแก่บรรพบุรุษ ผู้เฒ่าผู้แก่ ครอบครัว ต่อมาหลังจากรัฐและระบบทุนนิยมได้เข้าไปมี อิทธิพลต่อชุมชน การผลิตเชิงเดีย่ วและลัทธิบริโภคนิยม


ท�ำให้ชาวบ้านมีรายจ่ายทีเ่ ป็นตัวเงินมากขึน้ เพียงเท่านัน้ ยังไม่พอ สิ่งที่ท�ำลายความเข้มแข็งของชุมชนมากที่สุด คือ รัฐและทุนเข้าไปถ่ายโอนทรัพยากรจากระบบชุมชน หมู่บ้าน ยิ่งรัฐและทุนเข้าไปกอบโกยมากเท่าไร ชุมชน หมู ่ บ ้ า นไทยยิ่ ง ประสบความอ่ อ นแอ ค� ำ พู ด ดั ง กล่ า ว ไม่ใช่ค�ำพูดลอย ๆ ที่ไม่มีหลักฐานรองรับ หากแต่เมื่อ กวาดตาไปทั่วแผ่นดินไทยหลังการประกาศแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมมากว่า 40 ปี จะมีสกั กีช่ มุ ชนทีค่ นใน ชุมชนไม่ประสบปัญหาความยากจน ไม่ประสบปัญหา สิ่งแวดล้อม หรือไม่ประสบปัญหาสุขภาพ จากสถานการณ์ดังกล่าว ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ สั ง คมไทยควรกลั บ มาเน้ น การพั ฒ นาที่ ไ ม่ ม องแต่ มิ ติ ประสิทธิภาพ การสร้างมูลค่าและก�ำไร หรือการตลาด ด้านเดียว แต่ควรจะเป็นเพื่อประโยชน์ของชุมชนและ สังคม เราไม่ ค วรลดทอนผู ้ ค นลงไปเป็ น เพี ย งตั ว เลข หากควรเป็นเพื่อส่งเสริมศักยภาพและศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ ค�ำตอบส�ำหรับค�ำถามข้างต้นนี้คงจะต้องช่วยกัน ค้นหา ไม่ว่าจะใช้ระยะเวลานานเท่าไร คณะผู้จัดท�ำ



1 เปิดโลกเรียนรู้กับเด็กเล็ก ชุมชนบางปิด



สิทธา วรรณสวาท

ด้วยระยะทางที่ไม่ห่างจากส�ำนักงาน อบต. บางปิด ผู้ประสานงานพาผมมายังศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนต�ำบลบางปิด ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ วัดบางปิดบนเป็นอันดับแรก ก่อนรถเลี้ยวเข้าไปใน ศูนย์ฯ ผมจินตนาการไปก่อนแล้วว่าจะเห็นเด็กเล็ก วิ่งเล่นพร้อมกับหัวเราะอยู่ในสนาม หรือไม่ก็ก�ำลังท�ำ กิจกรรมกลุ่มกับเพื่อน ๆ อย่างสนุกสนาน แต่ผิดคาดครับ ผมเดินตามคุณนุ้ยผู้ประสาน งานจากส�ำนักงาน อบต. บางปิด แบบเงียบ ๆ ไปตาม ทางเดินคลุมหลังคาสู่อาคารเรียนชั้นเดียว ผมไม่เห็น ไม่ได้ยนิ เสียงเด็กเลย เด็ก ๆ ไม่ได้หายไปไหนหรอกครับ เพราะผมมาถึงในจังหวะที่พวกเขานอนกลางวันกัน พอดี.. คุณเพ็ญใจ วรรณเกตุ คือคุณครูผู้ดูแลเด็กที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งนี้ และเป็นผู้เล่าเรื่องราวความ เป็นมา รวมทั้งแง่มุมที่น่าสนใจเอามาก ๆ เสียจนศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กแห่งอื่นน่าจะได้มีโอกาสมาศึกษาดูงาน

11


12

บางปิด ความสุขริมทะเล

“ก่อนที่จะเริ่มเปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งนี้ ทางส� ำ นั ก งาน อบต. บางปิ ด ได้ ท� ำ การส� ำ รวจว่ า ผู้ปกครองที่มีลูกหลานอายุต�่ำกว่า 4 ปี ซึ่งยังไม่ได้ เข้ า เรี ย นนั้ น ต้ อ งการจะให้ มี ศู น ย์ รั บ เลี้ ย งเด็ ก เล็ ก หรือไม่ ก่อนหน้าทีจ่ ะมีศนู ย์พฒ ั นาเด็กเล็ก ผูป้ กครอง ส่วนใหญ่จะน�ำลูกหลานไปฝากไว้ทโี่ รงเรียนวัดบางปิด บนซึ่งไม่มีบุคลากรเฉพาะส�ำหรับดูแลเด็กเล็ก ทาง ส�ำนักงาน อบต. จึงได้จัดสรรงบประมาณส�ำหรับตั้ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งนี้ขึ้น” ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนต�ำบล บางปิดก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548 โดยเปิดรับสมัครเด็กอายุตั้งแต่ 2 ขวบครึ่ง ถึง 3 ขวบ 11 เดือน และได้เริม่ เปิดท�ำการตามปีการศึกษา จริงเมื่อปี 2549 ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2546 ครูเพ็ญใจเล่าว่า.. “ช่วงเริ่มต้นมีเด็กเล็กประมาณ 30 กว่าคน มี คุณครูผู้ดูแลเด็กเพียงคนเดียว ต่อมาในปี 2550 ได้รับ สมัครครูผดู้ แู ลเพิม่ อีก 1 คน และขยายห้องเรียนเพิม่ ขึน้ เป็น 2 ห้อง เพือ่ รองรับจ�ำนวนเด็กทีเ่ พิม่ ขึน้ เป็น 40 คน “การน�ำบุตรหลานมาเข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ นี่เสียค่าใช้จ่ายเพียงเรื่องเดียว คือ ชุดนักเรียน ส�ำหรับ เรื่องอาหารกลางวันนั้น ทางศูนย์ฯ ได้รับงบประมาณ


สิทธา วรรณสวาท

ซึ่งทางส�ำนักงาน อบต. บางปิดจัดสรรมาให้ ในส่วน ของอุ ป กรณ์สื่อ การศึกษาได้รับ งบประมาณจาก 2 หน่วยงาน คือ ส�ำนักงาน อบต. บางปิด และส�ำนักงาน ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดตราด “นอกจากนี้ก็มีบริษัท ห้างร้าน ประชาชนทั่วไป เข้ามามอบของขวัญหรือเลี้ยงอาหารให้กับเด็ก ๆ ใน โอกาสพิเศษ เช่น วันเด็ก วันปีใหม่ หรือมอบอุปกรณ์ ประกอบการเรียนการสอน เช่น ทีวีหรือสื่อการเรียน การสอนอื่น ๆ

ครูเพ็ญใจ วรรณเกตุ

13


14

บางปิด ความสุขริมทะเล

“ปัญหาเล็ก ๆ ทีอ่ าจจะยังไม่ได้รบั ความสะดวก เท่าที่ควรก็คือเรื่องห้องน�้ำ และบริเวณอื่น เช่น จุดก๊อก น�ำ้ ซึง่ เด็ก ๆ จะมาเข้าแถวแปรงฟัน ล้างหน้า อยากขอ ฝากไปถึงท่านผูใ้ หญ่หรือผูท้ เี่ กีย่ วข้องกับการจัดสรรงบ ประมาณในการพัฒนา รวมถึงนายห้างบริษัทร้านค้า ที่ต้องการสนับสนุนให้งบประมาณก่อสร้างเพิ่มเติม หรือหากจะร่วมมือร่วมใจกันหลาย ๆ ฝ่ายก็จะถือว่า เป็นการช่วยสร้างเสริมสุขอนามัยทีด่ ใี ห้กบั ศูนย์พฒ ั นา เด็กเล็กองค์การบริหารส่วนต�ำบลบางปิด อย่างน้อย เด็ก ๆ เหล่านี้ก็เป็นลูกหลานของท่านที่จะเติบโตไปสู่ อนาคตที่ดีต่อไป”


จุ ด เด่ น คื อ การเรี ย นรู ้ ข องเด็ ก ๆ ที่ นี่ อ าจไม่ เหมือนทีอ่ นื่ ศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก อบต. บางปิดแห่งนีจ้ ะ เน้นการศึกษาจากสถานทีจ่ ริงในท้องถิน่ เพือ่ สอนให้เด็ก เล็ก ๆ ได้เรียนรูว้ า่ ชุมชนของตนมีอะไรบ้าง ปูย่ า่ ตายาย บรรพบุรุษท�ำมาหากินอะไรกันมา ในชุมชนที่พวกเขา อยูม่ แี หล่งท่องเทีย่ ว แหล่งพัฒนาอาชีพ หรือมีศนู ย์การ เรียนรู้อยู่ที่ไหน ภูมิปัญญาของท้องถิ่นมีอะไรบ้าง โครงการนี้ คื อ พาหนู รู ้ จั ก ต� ำ บล ซึ่ ง ได้ รั บ งบ ประมาณสนับสนุนจากส�ำนักงาน อบต. บางปิด ทาง ศูนย์ฯ จะจัดหารถเช่าส�ำหรับพาเด็ก ๆ ทุกคนเยี่ยมชม พื้นที่แหล่งเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยว หรือไปดูกลุ่มงาน อาชีพ ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ กว่าที่เด็ก ๆ จะไปทัศนศึกษาได้ครบทั้ง 8 หมู่บ้าน เป็นการปลูกฝัง


แนวคิ ด ดี ๆ ให้ เ ด็ ก ๆ เกิ ด ความรั ก ความหวงแหน ทรัพยากร บ้านเกิด และรู้สึกอยากจะอนุรักษ์สถานที่ ส�ำคัญ ๆ ในชุมชนของตนต่อไปผ่านการทัศนศึกษา รวมทั้งได้รู้จักอาชีพของบิดามารดา ลุงป้าน้าอา ผู้คน ในท้องถิ่นของตนเอง หนึ่งในนั้นคือการพาเด็ก ๆ ไปศึกษาดูงานของ กลุม่ อนุรกั ษ์ปา่ ชุมชน (ป่าชายเลน) หมูท่ ี่ 6 จุดประสงค์ คือเพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ถึงประโยชน์ของป่าชายเลน ซึ่งเป็นอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์น�้ำ อันมี ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อมนุษย์มากมาย เด็ก ๆ จะได้เรียนรูว้ า่ ประโยชน์ใช้สอยจากป่าชายเลน มีอะไรบ้าง เช่น น�ำไม้มาท�ำเป็นไม้ฟืน หรือเผาเป็น ถ่าน ส่วนต้นไม้ชนิดทีเ่ ป็นไม้เนือ้ แข็งก็สามารถน�ำไปท�ำ เสาเข็ม เป็นไม้ค�้ำยัน หรือน�ำไปประกอบเครื่องมือ ประมงได้


สิทธา วรรณสวาท

ป่าชายเลนยังเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ส�ำคัญ เนือ่ งจากเป็นแหล่งเพาะและขยายพันธุส์ ตั ว์นำ�้ สารพัด ชนิด นั่นคือเป็นที่สำ� หรับวางไข่และฟักตัวอ่อน รวม ทั้งเป็นที่หลบภัยของสัตว์น�้ำน้อยใหญ่ ที่ส�ำคัญป่า ชายเลนยังช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ โดยเป็นเกราะ ก�ำบังช่วยลดความรุนแรงของคลืน่ ลมชายฝัง่ และช่วย ดักตะกอน สิ่งปฏิกูลและสารพิษชนิดต่าง ๆ ไม่ให้ไหล ลงไปสะสมบริเวณชายฝั่งและในทะเล

17


18

บางปิด ความสุขริมทะเล

เที่ยวอ่าวตาลคู่ ไปช่วยหนูเก็บขยะบนชายหาดกัน การพาเด็ก ๆ มาทัศนศึกษาที่นี่ จุดประสงค์คือ ช่วยเปิดมุมมองและปลูกฝังให้เด็กได้เรียนรู้จักแหล่ง ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน สอนให้รู้จัก และเข้าใจความส�ำคัญของการท่องเที่ยวโดยรักษา สิ่ ง แวดล้ อ มไปพร้ อ ม ๆ กั น ด้ ว ยการไม่ ทิ้ ง ขยะบน ชายหาด คุณครูจะพาเด็ก ๆ เดินเที่ยวชายหาด ชม ความงามของธรรมชาติ หาดทราย เกาะแก่ ง และ ท้องทะเล ขณะเดียวกันหนูน้อยเหล่านั้นก็จะช่วยกัน เก็บขยะที่นักท่องเที่ยวทิ้งไว้บน หาดทรายไปด้วย


อ่าวตาลคู่ อ่าวตาลคู่อยู่ในต�ำบลบางปิด ระยะทางห่างจาก อ�ำเภอแหลมงอบประมาณ 12 กิโลเมตร ใช้เส้นทาง หลวงหมายเลข 3156 เลยทางแยกแหลมงอบ-บ้าน แสนตุ้งไปประมาณ 8 กิโลเมตร จะพบทางแยกซ้ายมือ เข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ทางจะลาดลงสิน้ สุดตรงชายหาด พอดี ลักษณะเด่นของอ่าวตาลคู่คือ มีหาดทรายละเอียด ยาวประมาณ 500 เมตร น�ำ้ ทะเลใส สามารถลงเล่นน�ำ้ ได้ และเมื่อมองจากหาดอ่าวตาลคู่ออกไปจะเห็นเกาะ ช้าง สถานที่ตากอากาศยอดนิยมได้อย่างชัดเจน ข้อควรระวัง ช่วงเดือน มิ.ย.-ต.ค. ปกติจะมีคลื่น ลมแรง ควรระมัดระวังในการเล่นน�ำ้ ชือ่ อ่าวตาลคูม่ าจากต้นตาลสูงใหญ่สองต้นทีข่ นึ้ คู่กันอยู่ตรงกึ่งกลางชายหาดพอดิบพอดี ปัจจุบันต้นตาล คู่ที่ว่าถูกน�้ำทะเลกัดเซาะ โค่นไปตั้งแต่ประมาณช่วงปี พ.ศ. 2524 คงเหลือแต่ตอตาลล้มที่ชาวบ้านน�ำผ้าแพร ไปผูกไว้



2

ตลาดนัดบางปิด เปิดขึ้นในใจใครทุกคน



สิทธา วรรณสวาท

แดดบ่ายคล้อยท�ำองศากับมวลอากาศพอให้ เหงื่ อ ซึ ม ๆ ด้ ว ยระยะเดิ น ไม่ กี่ ก ้ า วจากส� ำ นั ก งาน องค์การบริหารส่วนต�ำบลบางปิด หรือที่ชาวบ้านเรียก สั้น ๆ ว่า อบต. บางปิด ผมเดินก้าวยาว ๆ ก็ถึงอาคาร ตลาดนัด เปิด โล่ง ที่ตั้ง อยู่ด ้านข้างส�ำนักงาน อบต. บรรดาแม่ค้าพ่อค้าก�ำลังขนย้ายข้าวของไปวางประจ�ำ ที่อย่างไม่รีบร้อน ต่างทักทายโอภาปราศรัยกันอย่าง เป็นกันเอง เพราะเกือบทัง้ หมดของพ่อค้าแม่คา้ ทีน่ เี่ ป็น คนในพื้นที่ อบต. บางปิดนั่นเอง

23


24

บางปิด ความสุขริมทะเล

คุณจรัญ ทองปาน เล่าว่า กว่าตลาดนัดบางปิด จะเป็นอย่างที่เห็นทุกวันนี้ มาจากการที่คนชุมชน บางปิดหลายครัวเรือนนิยมปลูกผักสวนครัว เลีย้ งปลา ปู กุ้ง เพื่อประกอบอาหารกันอยู่แล้ว เมื่อบ้านใคร ๆ ก็ปลูกผัก ใคร ๆ ก็เลี้ยงปลาเลี้ยงกุ้ง ก็เลยเป็นเหตุ ให้พชื ผักสวนครัว รวมถึงกุง้ ปู ปลา ทีเ่ ลีย้ งไว้ มีปริมาณ มากเกิ น กว่ า จะบริ โ ภคหมดภายในครั วเรื อ น จึ ง มี การหารื อ ร่ ว มประชุ ม ประชาคมหมู ่ บ ้ า น ณ ศาลา อเนกประสงค์ หมู่ที่ 2 บ้านบางปิดล่าง เพื่อหาพื้นที่ สร้างตลาดให้ชาวชุมชนบางปิด อย่างน้อย ๆ ก็เพื่อให้ ชาวบ้านได้นำ� พืชผักสวนครัวทีเ่ หลือกิน รวมทัง้ กุง้ ปลา ปู ที่ มี อ ยู ่ ม ากมาย ออกมาขายให้ แ ก่ ค นในชุ ม ชน เดียวกันซึ่งไม่ได้ปลูกผักหรือเลี้ยงกุ้งปลา ในระยะเริม่ ต้นนัน้ ทางส�ำนักงาน อบต. บางปิด ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนราว 134,000 บาท ส�ำหรับปรับปรุงลานค้าของชุมชนบ้านบางปิดล่าง สร้างเป็นตลาดนัดขึ้น ง า น นี้ คุ ณ จ รั ญ ท อ ง ป า น รั บ ห น ้ า ที่ ประชาสัมพันธ์ บอกกล่าวให้ชาวต�ำบลบางปิดน�ำเอา ผักต่าง ๆ รวมถึงกุ้ง ปู ปลา ที่เลี้ยงเอาไว้ ออกมาวาง จ�ำหน่าย โดยมีข้อตกลงง่าย ๆ ว่า พื้นที่ดังกล่าวจะ


สิทธา วรรณสวาท

จัดสรรให้เฉพาะคนในชุมชนต�ำบลบางปิดก่อน โดยจะ มีการเก็บค่าแผง ค่าวางสินค้า ทุกครั้งที่น�ำสิ่งของมา จ�ำหน่าย ในอัตราครั้งละ 10 บาท ระยะแรกมีพ่อค้า แม่ค้าน�ำสินค้ามาวางขายประมาณ 30 คน ชาวบ้าน เหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากหมู่ที่ 2 บ้านบางปิดล่าง หมู่ที่ 7 บ้านช่องลม และหมู่ที่ 1 บ้านอ่าวตาลคู่ ส�ำหรับเงิน ที่ได้จากการเก็บค่าที่ (แผงละ 10 บาท) นั้น เบื้องต้น น�ำไปใช้จ่ายในส่วนของค่าน�้ำค่าไฟ

25


26

บางปิด ความสุขริมทะเล

ด้วยความทีต่ ำ� บลบางปิดเป็นทีร่ จู้ กั ไม่แต่เฉพาะ คนในชุมชน ชุมชนใกล้เคียงก็รู้จักสัมพันธ์ ไปมาหาสู่ จ�ำนวนคนซื้อและคนขายจึงมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัญหาที่ เกิ ด ตามมาคื อ พื้ น ที่ ซื้ อ ขายคั บ แคบลงไปถนั ด ตา หลังจากเปิดตลาดนัดในเวลาไม่นาน ประกอบกับที่ เดิมเริม่ ทรุดโทรม จึงมีการปรับปรุงกันอีกครัง้ ครัง้ หลัง นี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลผ่านโครงการ อยูด่ มี สี ขุ ตลาดนัดชุมชนแห่งใหม่ถกู สร้างขึน้ บนทีด่ นิ ของส�ำนักงาน อบต. บางปิด หมู่ 2 บ้านบางปิดล่าง นั่นเอง เป็นตลาดที่มีโครงสร้างหลังคาแน่นหนาแข็ง แรง มีลานปูนกว้างขวาง สามารถรองรับพ่อค้าแม่ขาย และผู้มาจับจ่ายซื้อหาได้จำ� นวนมาก หลังจากย้ายมา


สิทธา วรรณสวาท

เปิดกิจการที่ใหม่เป็นการถาวรก็เริ่มมีคนนอกต�ำบล สนใจ ทั้งเข้ามาซื้อและขายมากขึ้นเรื่อย ๆ จนต้องมี การจัดระเบียบกันอีกครั้ง กล่าวคือ จัดโซนพื้นที่ด้าน ในส�ำหรับเป็นพื้นที่ค้าขายแก่คนต�ำบลบางปิด ส่วน พื้นที่รอบ ๆ เปิดไว้รองรับคนนอกต�ำบล คุ ณ จรั ญ เล่ า ว่ า จุ ด ประสงค์ ห ลั ก ของการ ท�ำตลาดนัดขึน้ มาก็เพือ่ สร้างอาชีพเสริมให้แก่ชาวบ้าน สร้ า งรายได้ ใ ห้ กั บ คนในชุ ม ชน ชาวต� ำ บลบางปิ ด ส่วนใหญ่ทำ� สวนยาง กรีดยาง จึงแนะให้มกี ารปลูกผัก เพิ่มเติม เลี้ยงไก่บ้าง เลี้ยงปลาเพิ่ม แล้วน�ำของที่มีมา ขายที่ตลาดนัดชุมชนแห่งนี้ ช่วงแรก ๆ ตลาดนัดบางปิดเปิดขายทุกวัน แต่ พ่อค้าแม่คา้ ส่วนใหญ่แจ้งว่า ไม่มเี วลาดูแลผักสวนครัว หรือต้องเร่งเก็บผักทุกวัน เกรงว่าผักจะไม่มีคุณภาพ จึงต้องปรับวันขายของกันใหม่ เปลี่ยนมาขายวันเว้น วัน ตลาดนัดบางปิดจึงเปิดขายของเฉพาะวันอังคาร วันพฤหัสบดี และวันเสาร์เท่านั้น

27


28

บางปิด ความสุขริมทะเล

เดินตลาดนัดมาหลายแห่ง ยังไม่เคยพบวิธีการ บริหารตลาดนัดที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน แบบนี้มาก่อน คุณจรัญ ทองปาน มีวิธีบริหารจัดการ ที่ดีเยี่ยม สังเกตได้จากแม่ค้าพ่อค้าทุกคนในตลาดท�ำ มาค้าขายด้วยใบหน้ายิ้มแย้มมีความสุข ผู้คนที่มา จับจ่ายซื้อหาข้าวปลาอาหารก็พลอยมีความสุขด้วย รอยยิ้มและความเป็นกันเองจากพ่อค้าแม่ค้า ท�ำให้ อดนึกถึงตลาดนัดคนเมืองแห่งหนึง่ ไม่ได้ เป็นตลาดนัด ใหญ่มากแถบถนนแจ้งวัฒนะ อยากให้ผู้บริหารตลาด นัดแห่งนั้นมีโอกาสมาลองเรียนรู้วิธีบริหารงานตลาด นัดที่มีคุณภาพอย่างที่นี่บ้าง


สิทธา วรรณสวาท

คุ ณ จรั ญ ทองปาน ใช้ ห ลั ก การบริ ห ารแบบ ครอบครัว อาศัยความคุ้นเคยสนิทสนม และการพบ หน้าค่าตากันเป็นประจ�ำ บางคนก็อยู่บ้านใกล้เรือน เคียง จากทีเ่ ป็นคนในท้องถิน่ อยูแ่ ล้ว ได้เห็นความเป็น อยู่เป็นไปในชุมชนจนรู้ว่า บ้านไหนใครมีอะไร ปลูก อะไร เลีย้ งอะไร บ้านใครมีอะไรพอจะน�ำไปขายได้บา้ ง จึงเข้าไปแนะน�ำให้จดั การเก็บผักพืชผลทีม่ อี ยูใ่ นเขตรัว้ บ้านแล้วน�ำมาขายทีต่ ลาดนัด มีตวั อย่างสาวใหญ่ชาว กัมพูชาคนหนึ่ง บ้านที่เธออยู่ปลูกพืชผักสวนครัวไว้ หลากหลายชนิด คุณจรัญก็เข้าไปชักชวนและแนะน�ำ ให้เธอเก็บพืชผักสวนครัวเหล่านั้นมาขาย ปรากฏว่า ขายดิบขายดี เป็นที่ชื่นชอบของคนในชุมชน รวมทั้ง คนเดินทางที่ผ่านมาแวะเดินตลาดนัดบางปิดแห่งนี้ สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะผักของแม่ค้าคนนี้ต้นอวบ สวย และสด นอกจากนี้ ผลพลอยได้ที่ติดตามมาก็คือ เธอยังคอยเป็นล่ามให้เวลามีชาวต่างชาติแวะเวียนมา เที่ยวตลาดอีกด้วย

29


อีกเรื่องหนึ่งที่ตลาดนัดชุมชนทั้งหลายควรจะ ยึดถือน�ำไปใช้ก็คือ เรื่องการค้าขายอย่างยุติธรรมทั้ง ต่อผู้ซื้อและผู้ขาย ผู้ที่มาจับจ่ายซื้อของในตลาดนัด บางปิดแห่งนี้จะไม่ต้องกังวลเลยว่า ของที่ตนซื้อไปนั้น น�้ำหนักจะตรงหรือไม่ตรงตามตาชั่งของแม่ค้า เพราะ ที่ นี่ ถ้ า ลู ก ค้ า สงสั ย สามารถน� ำ ไปตรวจสอบได้ ที่ ‘กิโลกลาง’ ซึ่งตั้งวางไว้ให้ใช้อย่างเสรี ลูกค้าคนใดซื้อ เนื้อหมู 2 กิโล แต่หิ้วแล้วรู้สึกว่าเบาโหวงต่างจากที่ เคยซื้อ หรือรู้สึกไม่คุ้นมือ ก็สามารถน�ำมาลองชั่งเช็ค น�้ำหนักอีกครั้งที่กิโลกลาง ซึ่งเป็นเครื่องชั่งที่ผ่านการ ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการใช้งานมาแล้วจาก ส�ำนักงานการค้าภายใน จังหวัดตราด


สิทธา วรรณสวาท

พ่อค้าแม่คา้ ทีน่ ำ� สินค้ามาวางขายทีน่ ี่ ส่วนใหญ่ เป็นคนทีค่ ณ ุ จรัญคุน้ เคยดีอยูแ่ ล้ว เมือ่ เห็นใครอยูบ่ า้ น ว่าง ๆ คุณจรัญจะเข้าไปแนะน�ำ “หารายได้เสริมไหม” คนเฒ่าคนแก่หลายคนทีแ่ ต่กอ่ นเคยอยูบ่ า้ นว่าง ๆ ต่าง ก็ลุกขึ้นมา เตรียมจัดหาพืชผักเล็ก ๆ น้อย ๆ พริกบ้าง มะนาวบ้าง น�ำมาจัดชุดเป็นเครื่องต้มย�ำหรือเครื่อง แกง ขายในราคาไม่แพง คุณจรัญแอบกระซิบดัง ๆ ว่า “ยายที่นั่งขายพริกอยู่นั่นน่ะ แม่ของก�ำนันหมู่ 2 นะ” หรือ “คุณยายอีกคนเป็นคุณแม่ของสมาชิก อบต. ท่าน หนึ่งนะ” เรียกว่า ใครที่ว่างงาน นั่งอยู่บ้านเฉย ๆ ถ้า คุณจรัญรู้ก็จะเข้าไปแนะน�ำให้หาของมาขาย พร้อม จัดหาพื้นที่จัดวางสินค้าให้เสร็จสรรพ

31


32

บางปิด ความสุขริมทะเล

มาถึงเรื่องอาหารกันบ้าง ‘ไข่’ นั้นเป็นอาหาร หลักที่ต้องมีติดตู้เย็นกันทุกบ้าน ที่นี่มีสองสามีภรรยา หนุ่มสาวคู่หนึ่ง จากเดิมที่เลี้ยงไก่ไม่กี่ตัว แล้วน�ำไข่ที่ แม่ไก่ออกไข่อยู่แล้วทุกวันมาขายที่ตลาดนัดบางปิด ปัจจุบันขยับขยายเปิดโรงเลี้ยงไก่ใหญ่โต รองรับไก่ได้ หลายร้อยตัว เรียกว่าท�ำเป็นอาชีพเพาะเลี้ยงไก่ไข่กัน แบบจริงจังเลยทีเดียว ไข่ไก่เจ้านี้เป็นไข่สด ๆ ที่มาวาง ขายทุกรอบของตลาดนัดไม่ได้ขาด ส่วน ‘ปลา’ เนื้อสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่ขาดไม่ได้นั้น ที่ตลาดนัดบางปิดมีปลาแปลก ๆ ซึ่งคนทั่วไปไม่เคย เห็นมากมาย อย่างเช่น ‘ปลาโรนันจุดขาว’ เป็นปลาที่ หลายคนอาจจะเคยเห็นในสารคดีหรือโดมแก้วเลี้ยง ปลาขนาดใหญ่เท่านัน้ ปลาโรนันนีเ้ ป็นญาติหา่ ง ๆ กับ ปลาฉลามและปลากระเบน หากดู จ ากรู ป โฉม โนมพรรณของมัน เพราะล�ำตัวมีส่วนคล้ายกับปลา ฉลาม ขณะที่ส่วนหัวคล้ายปลากระเบน ว่ากันว่าปลา ชนิดนี้อยู่ในช่วงรอยต่อวิวัฒนาการจากปลาฉลามมา สู่ปลากระเบน ปลาโรนันจุดขาวปัจจุบันหาพบได้ยาก และมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ชาวประมงจะเรียกว่า ‘กระเบนท้องน�้ำ’ คุณป้าคนขายบอกผมว่า “ลอกหนังมันออกแล้วก็กินเหมือนปลาฉลาม เลยคุณ”



34

บางปิด ความสุขริมทะเล

ตลาดชุมชนบางปิด หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า ตลาดนัดบางปิด ยังคงมีชีวิตชีวาเหมือนดั่งเช่นครั้ง เริ่มต้น นับตั้งแต่ขนสินค้าลงมาจัดวางจนกระทั่งเก็บ ของกลับบ้าน ที่นี่รอยยิ้มและความเป็นกันเองไม่เคย จางหาย และเชื่อไหมว่าช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา ในวันจ่าย เงินสะพัดที่ตลาดนัดชุมชนเล็ก ๆ แห่งนี้กว่า สามแสนบาทภายในวันเดียว ! (คุณจรัญเดินถามอย่าง เป็นกันเอง ประมาณการรายได้คร่าว ๆ ของผูค้ า้ ทุกเจ้า รวมกันในวันนั้น)

ข้าวของสินค้าต่าง ๆ ที่น�ำมาวางขายนั้น คุณ จรัญพยายามบริหารพื้นที่และชนิดของสินค้า เน้น คุณภาพและความหลากหลายครบถ้วน ตรงตามความ ต้องการของคนในชุมชน บุคคลภายนอกจะน�ำสินค้า มาเสนอขายได้ตอ้ งผ่านการพิจารณาของคุณจรัญก่อน


สิทธา วรรณสวาท

สรุปง่าย ๆ คือ หากมีพื้นที่พอเหลือให้วางได้ คุณจรัญ ไม่เคยขัดข้อง และยินดีตอ้ นรับคนต่างถิน่ เสมอ โดยไม่ ลื ม ที่ จ ะดู แ ลคนในพื้ น ที่ อ ย่ า งทั่ ว ถึ ง พร้ อ มทั้ ง ให้ ค� ำ แนะน�ำในเรื่องต่าง ๆ เช่น การแปรรูปสินค้าที่ขายไม่ หมดในวันนั้น ตัวอย่าง ปลาสด ขายไม่หมดก็แนะให้ ไปจัดการผ่าท้องควักไส้ หมักเกลือ น�ำไปท�ำเป็นปลา แดดเดียว วางขายต่อได้อีก ไก่สดเป็นตัว ๆ วันนี้ขาย ไม่หมด พรุง่ นีก้ น็ ำ� เนือ้ ไก่ทเี่ หลือจากเมือ่ วานไปท�ำแกง ไก่ แกงเขียวหวาน แล้วน�ำไปขายในวัด หรือขายส่งให้

แม่ค้าข้าวแกงที่ขายอยู่ในตลาดเดียวกัน ผู้รับซื้อก็ได้ ลดต้นทุนการผลิต ไม่ต้องไปหาซื้อวัตถุดิบมาท�ำเอง เปลืองแรง เปลืองแก๊ส ผู้ขายก็ไม่ขาดทุน เพราะไม่ ต้องเก็บสินค้าไว้จนเน่าเสีย ขายไม่ออก แถมคนใน ชุมชนยังได้บริโภคอาหารราคาถูก เพราะเมือ่ ต้นทุนลด แม่ค้าก็ขายถูกตาม

35


36

บางปิด ความสุขริมทะเล

เรือ่ งการบริหารจัดการตลาดนัน้ คุณจรัญอาศัย ความสนิทสนมคุ้นเคยแบบเครือญาติ ดูแลถามไถ่ สารทุกข์สุกดิบ พร้อมให้ค�ำแนะน�ำปรึกษา ใครไม่มี เงินทุนก็ให้หยิบยืมไปท�ำทุนกันก่อน กูย้ มื กันด้วยสัจจะ วาจา ไม่ต้องมีสัญญาผูกมัด ท�ำให้ชาวบ้านไม่ต้อง ไปเสาะหากู้ยืมเงินนอกระบบจนเป็นหนี้สินซ�้ำซาก วนเวียนไม่รจู้ บ จากการวิง่ หาเงินมาจ่ายดอกเบีย้ แพง แสนแพง หากลองถามผู้คนหรือบรรดานักท่องเที่ยวที่ ข้ามไปมายังเกาะช้าง ถึงวันนี้ ไม่มใี ครไม่รจู้ กั ตลาดนัด บางปิดทีเ่ ปิดประจ�ำทุกวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ รับรองได้ว่า มาแล้วได้ความประทับใจ ได้อาหารสด ใหม่ พร้อมรอยยิ้มและความสุขกลับไปแน่นอน


สิทธา วรรณสวาท

ผมจ�ำไม่ได้ว่าใช้เวลาเดินวนเวียนอยู่ในตลาด นัดแห่งนีน้ านแค่ไหน รูแ้ ต่เพียงว่า กลับไปจังหวัดตราด อีกครั้ง ยังไง ๆ ผมต้องไปแวะตลาดนัดบางปิดอีก และ เชื่อว่า ทุกครั้งที่ไปเยือนตลาดนัดแห่งนี้ ผมต้องพบ กับคุณจรัญ ทองปาน แน่นอน

37



3

ท�ำดี มีที่ท�ำกิน



สิทธา วรรณสวาท

หลังจากทักทายแนะน�ำตัวกับพี่ ๆ ในส�ำนักงาน อบต. บางปิด กันพอหอมปากหอมคอ ทริปแรกของ วันแรกที่ผมมาถึง อบต. แห่งนี้ มีสองหนุ่มวัยฉกรรจ์ รออยู่เพื่อน�ำทางผมไปยังกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรทาง ทะเลและชายฝัง่ บ้านปากคลอง หมูท่ ี่ 5 หนึง่ หนุม่ ก�ำย�ำ ผิวเกรียมแดดแบบชาวเลคือ ผู้ใหญ่นาวี ก�ำจัดภัย แกนน�ำกลุม่ อนุรกั ษ์ฯ นีเ่ อง ส่วนอีกหนึง่ เป็นหนุม่ กล้าม (พุง) พองาม ดูแล้วบ่งบอกความเป็นคนมีฐานะ ได้แก่ คุณเทวัญ ลั่นทม (สมาชิกสภา อบต. บางปิด) เพื่อไม่ ให้เป็นการเสียเวลา ไปฟังเรื่องราวของแหล่งเรียนรู้ แห่งนี้เลยดีกว่า ก่อนทีจ่ ะมีกลุม่ อนุรกั ษ์ทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั ่ ง นั้ น ราว ๆ ปี 2546 ได้ เ กิ ด พายุ ดี เ ปรสชั น พัดกระหน�ำ่ จนบ้านเรือนบริเวณชายฝัง่ บ้านปากคลอง หมู ่ ที่ 5 ต� ำบลบางปิ ด พั ง เสี ย หาย คลื่ น ลมที่ โ หม กระหน�ำ่ ท�ำให้ชาวประมงออกทะเลไม่ได้ และยังพลอย ท�ำลายป่าชายเลนย่อยยับ ทางคณะกรรมการหมูบ่ า้ น จึงเห็นสมควรให้จดั ประชุมประชาคมหมูบ่ า้ นเพือ่ เสนอ แนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

41


ผู้ ใหญ่นาวี ก�ำจัดภัย

คณะกรรมการหมู่บ้านได้ลงความเห็นกันว่าจะ ขอความร่วมมือจากทุกคน ให้ชาวบ้านช่วยกันดูแล พื้นที่ท�ำกินของตนเอง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิด ขึน้ อีก และรักษาสภาพแวดล้อมทางทะเลไว้ให้สามารถ ท� ำ มาหากิ น ได้ อ ย่ า งปกติ แ ละทั่ ว ถึ ง มติ ห นึ่ ง จากที่ ประชุมคือ ให้จัดตั้งกลุ่มประมงฯ ขึ้น เริ่มด้วยสมาชิก จ�ำนวน 20 คน (น่าจะเรียกว่า 20 องครักษ์พิทักษ์ ชายฝัง่ ) ปัจจุบนั มีผใู้ หญ่นาวี ก�ำจัดภัย ซึง่ ชาวบ้านเรียก กันติดปากว่า ผู้ใหญ่หอย เป็นผู้น�ำกลุ่ม ร่วมกันหา แนวทางฟืน้ ฟูอนุรกั ษ์ ป้องกัน และคอยช่วยเหลือแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางกลุ่มปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เช่ น การปลู ก ป่ า ชายเลน การเฝ้ า ระวั ง การบุ ก รุ ก


สิทธา วรรณสวาท

ทรัพยากรชายฝั่ง คอยระแวดระวังไม่ให้เรืออวนลาก เรืออวนรุน รุกล�้ำเข้ามาจับสัตว์น�้ำบริเวณชายฝั่ง ตาม ข้อตกลงทีไ่ ด้ทำ� ไว้คอื ห้ามเรือจากน่านน�ำ้ อืน่ รุกล�ำ้ เข้า มาเกินระยะ 3,000 เมตร จากชายฝั่งที่กลุ่มประมงฯ ของผู้ใหญ่นาวีดูแลอยู่ เมื่อคณะเรา 3 คนมาถึงชายหาด ผู้ใหญ่หอยชี้ ให้ดรู อบบริเวณ แล้วเริม่ อธิบายว่า เรือ่ งราวเป็นมาเป็น ไปอย่างไร “พื้นที่ของผมกินบริเวณห่างออกไปจากชายฝั่ง ประมาณ 3,000 เมตร พวกเราจะทิ้งปะการังเทียม และซั้งเพื่อให้สัตว์ทะเลจ�ำพวกกุ้ง ปู ปลา มาอาศัย แถว ๆ นี้ เมื่อก่อนตอนที่ผมยังไม่ได้เป็นผู้ใหญ่บ้าน มันไม่มีอะไรเลยที่จะคอยยึดที่ดินชายฝั่งไว้ได้ พอได้ เป็นผู้ใหญ่บ้านแล้ว ผมก็พาชาวบ้านคนแถวนี้มาช่วย กันปลูกป่า ใช้เวลาปลูกกันมากว่า 3 ปีแล้ว

43


“เหตุที่ต้องมาช่วยกันปลูกป่าเพราะว่า ทุก ๆ ปี น�ำ้ ทะเลจะกัดเซาะชายฝัง่ แถบนี้ ถ้าปล่อยไว้ ไม่มกี าร ดูแลปลูกป่า ทะเลจะซัดเอาพื้นที่ที่เป็นถนนตลอดแนว นี้หายไปทั้งหมดแน่นอน เพราะเวลามีคลื่นแรง ๆ เข้า มาแต่ละครั้ง น�้ำทะเลจะซัดข้ามถนนเลยทีเดียว บาง ส่วนของถนนนี้ที่ปลายหาดด้านโน้นก็กลายเป็นถนน ขาดไปแล้ว เพราะถูกน�้ำทะเลซัดหายไป “ถึงแม้จะมีการทิง้ หินเป็นแนวกัน้ ชายฝัง่ พอช่วย บรรเทาไปได้บ้าง แต่เวลาพายุเข้าแต่ละครั้ง คลื่น ชายฝั่งก็ยังซัดข้ามถนนได้อยู่ มีแนวหินกั้นก็ยังดีกว่า ไม่มอี ะไรขวางน�ำ้ ทะเลเอาไว้เลย พายุคลืน่ เข้ามาแต่ละ


สิทธา วรรณสวาท

ครั้งก็เอาไม่อยู่เหมือนกัน เพราะแถบนี้จะโดนเต็ม ๆ เมื่อก่อนมีป่าโกงกางยื่นไปในทะเล (ผู้ใหญ่หอยชี้เข้า ไปในทะเล) สมัยผมยังเด็กอยู่ มันยื่นออกไปโน่น ไกล ราว ๆ 300 เมตร “ปัญหาคือ หากยังไม่มีหน่วยงานของรัฐให้ ความส�ำคัญช่วยเหลือสร้างแนวกั้นน�้ำทะเลซัดฝั่ง อีก หน่อยทะเลมันจะข้ามถนน แล้วเข้าถึงพื้นที่ที่ชาวบ้าน อาศัยอยู่ แต่ในเบื้องต้น เราก็แก้ไขปัญหาของเรากัน ไปก่อนด้วยการช่วยกันปลูกป่า ชวนกลุ่มวัยรุ่น 20-30 คนมาช่วยกัน ผมก็บอกพวกเขาว่า ถ้าเราไม่ช่วยกัน ปลูก ไม่นานพวกเราก็จะไม่มที อี่ ยู่ ก็มาร่วมด้วยช่วยกัน พอถึงฤดูทะเล คลื่นทะเลก็เข้ามาซัดป่าของเราที่ช่วย กันปลูกหายไป หมดฤดูทะเล เราก็มาช่วยกันปลูกใหม่ ซ�ำ้ อีกครัง้ ก็เป็นอย่างนีม้ าหลายครัง้ แต่กต็ อ้ งท�ำ เพราะ ถ้าไม่ท�ำ ในระยะยาว เราจะไม่มีพื้นที่อยู่กันแน่ ๆ

45


46

บางปิด ความสุขริมทะเล

“ปั ญ หาอี ก เรื่ อ งก็ คื อ จะมี พ วกเรื อ รุ น ใหญ่ เรือลากแขก ล�้ำ เขตน่านน�้ำเข้ามาแย่งท�ำมาหากิน จากพวกชาวบ้านปากคลองที่นี่ ซึ่งกว่า 90% มีอาชีพ ท�ำประมงขนาดเล็กกันหมด และหากินในแนวน่านน�ำ้ จากชายฝั่งออกไปไม่เกิน 3,000 เมตร แต่จะมีเรือที่ว่า นี่แหละครับรุกล�้ำเขตเข้ามาแย่งพื้นที่ท�ำกิน ทุกครั้งที่ เรือพวกนี้รุกล�ำ้ เข้ามา ผมและกลุ่มชาวบ้านก็จะลงเรือ ของเราออกไปขึน้ เรือเขาเพือ่ เจรจาว่า บริเวณทีเ่ รือของ เขาเข้ามาลงอวนอยู่นี้รุกล�้ำเขตพื้นที่ของเราอยู่นะ ก็ ต้องเจรจากันไปตามโอกาสอ�ำนวย” จากการคุยกันในระยะเวลาสั้น ๆ ผู้ใหญ่หอย บอกว่า เดี๋ยวเราเข้าพื้นที่ไปดูความเป็นอยู่ของชาว บ้านแถวนี้กันดีกว่า 5 นาทีต่อมา ผมมายืนอยู่บน สะพานของบ้านปากคลอง บนราวสะพานเป็นที่ตาก ปลาหมึกตัวเล็ก ๆ ผู้ใหญ่เล่าว่า วิถีชาวบ้านแถวนี้ ใคร ขยันท�ำกิน บอกได้คำ� เดียวว่าไม่มอี ดแน่นอน เพราะว่า ออกเรือเมื่อไหร่ อย่างน้อยก็ต้องได้อะไรติดไม้ติดมือ กลับบ้าน อย่างไม่ได้ ๆ เลย ก็ยังมีกับข้าวพอได้กิน แน่นอน


สิทธา วรรณสวาท

ผู้ใหญ่หอยและคุณเทวัญเดินน�ำหน้าลงข้าง สะพานไปก่อน ผมเดินลัดเลาะลงด้านหัวสะพาน แล้ว เดินเลียบทางปูนที่ขนานริมคลองตามไปติด ๆ เราเดิน ผ่ า นบ้ า นของชาวบ้ า นที่ ป ลู ก เรี ย งรายติ ด ๆ กั น ริ ม ล�ำคลอง เห็นว่าเป็นชาวประมง หาปลาจับกุ้ง ชนิดหา เช้ากินสายแบบนี้ก็เถอะ เกือบทุกบ้านมีจานด�ำ (จาน ดาวเทียม) ติดกันหมดนะครับ มองเข้าไปบางบ้าน มีชดุ คาราโอเกะเพียบพร้อม

47


48

บางปิด ความสุขริมทะเล

ผูใ้ หญ่อธิบายว่า เมือ่ ถึงเวลากลับจากทะเล เรือ จะจอดกันเต็มคลองไปหมด เราพากันเดินไปเรื่อย ๆ ระหว่างทางพบชาวประมงคนหนึ่งก�ำลังแกะกุ้งแกะปู ออกจากอวน เสียงผู้ใหญ่ตะโกนสั่ง “เอากุ้งซักโลสอง โลสิ” คุณป้าเจ้าของกุ้งตอบกลับมาว่า “ท�ำไมไม่เหมา


สิทธา วรรณสวาท

หมดไปเลยล่ะ” เป็นครั้งแรกที่ผมเห็นกุ้งทะเล ปูทะเล ที่ยังมีชีวิต ปูตัวหนึ่งใช้ก้ามเล็ก ๆ ไล่งับนิ้วคน คง เพราะไม่อยากโดนจับไปเป็นอาหาร แต่สุดท้ายมันก็ ถูกจับจนได้ ก่อนจะถูกโยนลงไปในถังรวมกับพวกทีใ่ ส่ ลงไปก่อน วิถีชุมชนของคนบ้านปากคลอง ส่วนใหญ่ท�ำ อาชีพประมงชายฝั่งโดยใช้เรือขนาดเล็กของพวกเขา นั่นเอง คนที่นี่ท�ำมาหากินกับทะเลมาแต่อ้อนแต่ออก จนรู้จักพื้นที่น�้ำในทะเล เข้าใจนิสัยของทะเล รู้ว่าช่วง ไหนควรออกทะเล ช่วงไหนน�้ำเสีย (น�้ำเสีย ภาษาชาว ประมงที่นี่คือ น�้ำทะเลนิ่ง) ใน 7 วัน จะมีช่วงน�้ำเสีย 2 วัน ช่วงนั้นจะเป็นช่วงพัก ใครมีอะไรต้องท�ำก็ท�ำกันไป ผมถ่ายรูปปลากระเบนเล็กในตะกร้าแล้วหันไป ถามคุณป้าซึง่ เป็นเจ้าของว่า ปลาอย่างนีเ้ อาไปท�ำอะไร กินได้บ้าง ป้าตอบสั้น ๆ ว่า ‘ทอด’

49


50

บางปิด ความสุขริมทะเล

“ชั้นชอบทอด..ผ่าท้อง หั่นเป็นริ้วแล้วเอาไป ทอด ชัน้ ชอบกินข้าง ๆ มัน คนทีน่ เี่ ค้ากินแต่ของดี ๆ กัน ทั้งนั้นแหละ” ค� ำ ตอบของคุ ณ ป้ า ท� ำ ให้ ผ มอดนึ ก ถึ ง คน ที่อยู่ไกลทะเลไม่ได้ กว่ากุ้งหอยปูปลาจะมาถึงซูเปอร์ -มาร์เกต ผ่านการแช่น�้ำแข็งมาแล้วกี่วัน ผ่านพ่อค้า คนกลางมากี่ทอด กว่าจะมาถึงคนซื้อกินปลายทาง อย่างเราท่าน ตราบใดที่ดวงอาทิตย์ยังขึ้นและลงที่เดิมทุกวัน ทุกคนในชุมชนบ้านปากคลองยังร่วมมือร่วมใจเป็น น�ำ้ หนึง่ ใจเดียว โดยมีผนู้ ำ� ชุมชนคนไฟแรงอย่างผูใ้ หญ่ นาวี ก�ำจัดภัย หรือผูใ้ หญ่หอยของชาวบ้าน เป็นแกนน�ำคนส�ำคัญคอยช่วยคิด ช่วยแก้ปญ ั หา รวมถึงพัฒนา หมู่บ้านแห่งนี้เพื่อให้วิถีการท�ำมาหาเลี้ยงชีพยั่งยืน สมบูรณ์ ส�ำหรับปัญหาต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ นัน้ คนทีน่ ไี่ ม่ได้ รอคอยการแก้ไขจากหน่วยงานของรัฐเพียงอย่างเดียว แต่พวกเขาร่วมมือกันหาแนวทางแก้ไข แกนน�ำท�ำให้ สมาชิกเชื่อมั่นก่อนเป็นอันดับแรกว่า อีกไม่นานเกินรอ ชุมชนของเราจะเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง และพัฒนาทุก ด้านอย่างยั่งยืน




4 เปลี่ยน ‘เลน’ เป็น ‘ป่า’ ที่บ้านหินดาษ



สิทธา วรรณสวาท

บ่ายคล้อยที่บ้านผู้ใหญ่หอย กุ้งและปูสด ๆ ที่ เพิ่งเห็นหลัด ๆ ในท้องเรือบ้านปากคลอง หมู่ 5 โดน หยิบแบบดิ้นกระแด่ว ๆ เดินทางล่วงหน้ามาก่อนที่จะ มาถึงบ้านผู้ใหญ่อย่างไรไม่ทราบได้ กุ้งถูกน�ำลงหม้อ แปลงร่างเปลีย่ นรสกลายเป็นต้มย�ำกุง้ ปูหลายตัวทีว่ งิ่ ไล่หนีบนิว้ นอนแน่นงิ่ มาในจานกลายเป็นปูนงึ่ ล�ำเลียง มาพร้อมกุ้งต้มจานใหญ่พูนจาน ที่ขาดไม่ได้เลยคือ น�้ำจิ้มรสจัด ฝีมือปรุงจากคนใกล้ตัวของผู้ใหญ่หอย

55


56

บางปิด ความสุขริมทะเล

เทวัญ ลั่นทม

คุณเทวัญ ลั่นทม สมาชิกสภา อบต. บางปิด คูแ่ ฝดคนละฝากับผูใ้ หญ่หอยซึง่ นัง่ ร่วมโต๊ะกับผมพยัก หน้าให้สัญญาณพร้อมพูดว่า “ลุยเลยพี่” ผมยิ้มรับค�ำ พร้อมบอกสั้น ๆ ว่า “ขอใช้มือนะครับ” ผู้ใหญ่หอยทรุด ตัวนั่งร่วมโต๊ะในนาทีเดียวกันนั้น อมยิ้มบอก “ตาม สบายเลยพี่ สด ๆ ทั้งนั้น หมดนี่แล้วยังเติมอีกได้นะ ครับ” คงไม่ต้องสาธยายว่า มื้อนั้นผมกินกุ้งกินปูทะเล อร่อยแซบขนาดไหน


สิทธา วรรณสวาท

ระหว่างมื้อกลางวัน คุณเทวัญ ลั่นทม ในฐานะ ผู้รับผิดชอบกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชน (ป่าชายเลน) หมู่ 6 บ้านหินดาษ ไม่ยอมปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเปล่า ประโยชน์ เล่าเรื่องราวนายทุนนอกพื้นที่ที่เข้ามาซื้อ ที่ดินลงทุนท�ำฟาร์มเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำขนาดใหญ่ เป็นผล ให้ประชาชนในหมู่ 6 ได้รบั ความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ไหนจะเรื่องของการประกอบอาชีพหลักของชาวบ้าน นั่นคือ ประมงน�้ำตื้น สาเหตุที่ท�ำให้ชาวบ้านเดือดร้อน นั้นคืออะไรแน่..

57


58

บางปิด ความสุขริมทะเล

ความเดื อ ดร้ อ นของชาวบ้ า นเกิ ด จากกลุ ่ ม นายทุ น ที่ เ ข้ า มาลงทุ น เลี้ ย งกุ ้ ง กุ ล าด� ำ เข้ า ไปบุ ก รุ ก ท�ำลายป่าชายเลนของชุมชนบ้านหินดาษ เท่านั้นไม่ พอ ยังปล่อยน�้ำเสียลงคลอง ท�ำให้แหล่งที่อยู่อาศัย ของสัตว์นำ�้ ของชุมชนพลอยได้รบั ความเสียหายไปด้วย จากเดิมที่สามารถจับสัตว์น�้ำมาบริโภคและขายเพื่อ เลีย้ งชีพ สัตว์ทะเลทีห่ าได้เริม่ มีจำ� นวนลดลง ท้ายทีส่ ดุ ชาวบ้ า นทนความเดื อ ดร้ อ นไม่ ไ หว ผู ้ ใ หญ่ ส มคิ ด เนาวโกมุท จึงได้เรียกประชุมลูกบ้าน รวมตัวกันกดดัน และขับไล่นายทุนทีเ่ ข้ามาท�ำความเดือดร้อนให้ออกไป จากหมู่บ้าน เรื่องนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2544


สิทธา วรรณสวาท

ระยะแรกเมื่อไล่นายทุนออกไปแล้วก็รวบรวม ชาวบ้านมาช่วยกันปลูกป่า ซ่อมแซมพื้นที่ส่วนที่ถูก ท�ำลายเสียหาย เมื่อชาวบ้านเริ่มปลูกป่า ด้วยความ แค้น กลางคืนนายทุนกลุม่ เดิมกลับส่งลิว่ ล้อแอบเข้ามา ถอนต้นไม้ทเี่ พิง่ ลงแรงปลูกกันไป ปัญหาจึงยังแก้ไม่ตก อย่างหมดจด นั่นคือ ชาวบ้านต้องร่วมกันเร่งปลูกป่า ขณะเดียวกันก็ตอ้ งช่วยกันขับไล่ถอนคนบุกรุกออกจาก พื้นที่ ท�ำอย่างนี้กันอยู่หลายปี

59


60

บางปิด ความสุขริมทะเล

ในส่วนของกล้าไม้นนั้ ปีถดั มาหลังจากเกิดเรือ่ ง ผูใ้ หญ่บา้ นได้ขอการสนับสนุนไปยังต�ำบลบ้านน�ำ้ เชีย่ ว เพื่อขอพันธุ์กล้าไม้ชายเลนส�ำหรับน�ำมาปลูกเพิ่ม “ต่ อ มาในปี 2548 มี ก ลุ ่ ม นั ก ศึ ก ษาจาก มหาวิทยาลัยรามค�ำแหงร่วมกับ อบต. บางปิด เข้ามา ปลูกป่าตามโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติวันแม่ 12 สิงหาคม ทางเราได้จัดท�ำป้ายขนาดใหญ่ไปปักไว้ บริเวณทีท่ ำ� การปลูกป่าเพือ่ ต้องการประกาศให้นายทุน รูว้ า่ ป่านีป้ ลูกขึน้ เพือ่ เฉลิมพระเกียรตินะ ท�ำให้นายทุน ขยาด ไม่กล้ากระท�ำการเหิมเกริมเช่นเดิม คือ บุกรุก เข้ามาถอนต้นไม้ที่ชาวบ้านร่วมกันปลูกเอาไว้ แต่ก็ยัง มีอยู่บ้าง “จากเดิ ม ที่ เ ริ่ ม ปลู ก ป่ า เพี ย ง 5 ไร่ ชาวบ้ า น หินดาษและหมู่บ้านใกล้เคียงเข้ามาช่วยกันปลูกเพิ่ม มากขึ้นเรื่อย ๆ จนขยายเป็นวงกว้างออกไปเป็น 15 ไร่ รวมถึงที่ปลูกทดแทนพื้นที่ป่าที่นายทุนบุกรุก ปัจจุบัน นีม้ ปี า่ ชายเลนทีป่ ลูกไว้แล้ว 60 ไร่ และยังมีการปลูกป่า อย่างต่อเนื่องอยู่


สิทธา วรรณสวาท

“ในปี 2551 ได้ ง บประมาณเพิ่ ม เติ ม จาก โครงการอยู่ดีมีสุข ท�ำให้สามารถเพิ่มแหล่งอนุบาล สัตว์น�้ำ แหล่งขยายพันธุ์สัตว์น�้ำ เป็นการสร้างแหล่ง อาหาร ท�ำให้ชาวบ้านท�ำมาหากินได้ตามปกติอีกครั้ง สามารถจับสัตว์น�้ำชายฝั่งส่งขายจุนเจือครอบครัวมา ได้จนถึงปัจจุบัน”

61



5

ปลอดขยะ ปลอดมลภาวะ ชีวีมีสุข



สิทธา วรรณสวาท

ขึ้นต้นว่า ‘ขยะ’ แบบนี้คงไม่ต้องอธิบายขยาย ความ ทุกคนคงเห็นภาพชัดในมโนส�ำนึกตั้งแต่วาบ วินาทีแรกที่เอ่ย... แนวคิดหลักเรือ่ งการจัดการขยะทีต่ ำ� บลบางปิด คลี่คลายขยายความโดยคุณหวังดี คุณโรหิต แกนน�ำ กลุ่มจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม หมู่ที่ 8 บ้านพรงสน คุ ณ หวั ง ดี ซึ่ ง ควบอี ก ต� ำ แหน่ ง หนึ่ ง คื อ ประธานสภา อบต. บางปิด เล่าคร่าว ๆ ว่า เหตุเกิดเพราะคนใน ชุมชนเดือดร้อนจากปัญหาขยะ ซึ่งเวลานั้นยังไม่มี หน่วยงานใดเข้ามาให้ความช่วยเหลือ องค์การบริหาร ส่วนต�ำบลบางปิดจึงเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหา

65


66

บางปิด ความสุขริมทะเล

เบื้ อ งต้ น เริ่ ม จากขยะจ� ำ นวนมากในต� ำ บล บางปิดไม่มีที่ส�ำหรับฝังกลบหรือเผาท�ำลาย อบต. บางปิดเห็นว่าชุมชนต�ำบลบางปิดเป็นสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว และเป็นทางผ่านส�ำหรับนัง่ เรือข้ามไปเกาะช้าง ควรจะ รักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาดเรียบร้อย สวยงาม หลายหน่วยงานได้เข้ามาเสนอสถานที่ทิ้งขยะให้ แต่ เมือ่ พิจารณารายละเอียดแล้ว คนในชุมชนไม่เห็นด้วย เพราะหากยอมสร้างจะต้องรับก�ำจัดขยะของหลาย ต�ำบล ไม่ใช่เฉพาะในชุมชนของตน เกรงว่าจะเป็นการ ทับถมปัญหาเก่าที่ยังไม่ถูกแก้


สิทธา วรรณสวาท

เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะที่เกิด คุณ หวังดี หรืออากู๋ที่ชาวบ้านเรียก จึงคิดริเริ่มที่จะจัดการ ขยะภายในหมู่ 8 บ้านพรงสน เป็นตัวอย่าง ในการคัดแยกขยะแล้วน�ำขยะทีข่ ายได้จำ� หน่าย ออกไปนั้น พบว่า สถานที่คัดแยกต้องอาศัยพื้นที่กว้าง พอสมควร และต้องใช้แรงงานคนหลายคนช่วยกัน คัดแยกขยะ ปัญหาที่เกิดคือ รายจ่ายจากการว่าจ้าง คนงานสูงกว่ารายรับที่ได้จากการขายขยะ ในที่สุดก็ ต้องยกเลิกการว่าจ้างคนคัดแยกขยะ

67


68

บางปิด ความสุขริมทะเล

คุณหวังดี คุณโรหิต มีแนวคิดว่า หากจะริเริม่ ด�ำเนินการโครงการใด ๆ ให้เป็นผลส�ำเร็จจนกระทั่ง ชุมชนอื่นหันมาเดินตามทางที่สร้างไว้ ก่อนอื่นจะต้อง เริม่ จากคนในชุมชนของตนเป็นอันดับแรก จึงเป็นทีม่ า ของหมู่บ้านปลอดขยะ และกลายมาเป็นกลุ่มจัดการ ขยะและสิ่งแวดล้อม หมู่ที่ 8 แต่จะมีรายละเอียด อย่างไรนั้นต้องติดตามดู จากปัญหาและสาเหตุต่าง ๆ เกี่ยวกับขยะ อากู๋เล่าว่า จากทั้งหมด 114 ครัวเรือน ในหมู่ 8 บ้าน พรงสน ได้ริเริ่มโครงการนี้ที่บ้านของตนเป็นแห่งแรก โดยลงมือปฏิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่างก่อน ขั้นแรกคือ คัดแยกขยะในครัวเรือน ต่อมา แยกขยะเปียกและขยะ


สิทธา วรรณสวาท

หวังดี คุณโรหิต

แห้งออกจากกัน จากนัน้ ค่อยแยกอีกว่า ขยะใดเป็นขยะ ที่ขายได้ กระบวนการคัดแยกนี้จะท�ำต่อไปจนกระทั่ง ว่าไม่เหลือขยะทีส่ ามารถน�ำไปท�ำประโยชน์อะไรได้อกี ท�ำให้สดุ ท้ายแล้วเหลือปริมาณขยะจ�ำนวนน้อยมากจน ชาวบ้านสามารถจัดการขยะทีเ่ หลือด้วยตนเอง ไม่ตอ้ ง น�ำมาทิ้งลงถัง ส่วนกระบวนการสุดท้ายส�ำหรับก�ำจัด ขยะที่ไม่สามารถน�ำไปแปรรูป ย่อยสลาย หรือใช้ ประโยชน์อะไรได้อีก คือน�ำไปเผา

69


70

บางปิด ความสุขริมทะเล

“เรามีอุปกรณ์การเผาคือ ถังน�้ำมัน 200 ลิตร น�ำมาดัดแปลงเป็นเตาเผาขยะ มีชนั้ รังผึง้ มีชอ่ งระบาย อากาศ ในการนี้ก็จะให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเผาขยะ กับชาวบ้าน และท�ำให้ดเู ป็นตัวอย่าง รวมทัง้ อธิบายถึง ความจ�ำเป็นว่า ท�ำไมต้องเผาขยะ พร้อมกับบอกวิธี การรั ก ษาถั ง เผาขยะเป็ น ขั้ น เป็ น ตอนจนชาวบ้ า น สามารถเข้าใจได้ครบถ้วน กลับไปท�ำเองได้ที่บ้าน อัน ที่จริง ขั้นตอนต่าง ๆ ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพราะอุปกรณ์ ทั้งหมดได้จัดหาให้ทุกครัวเรือนอยู่แล้ว “อย่างบ่อซีเมนต์ที่มีไว้ส�ำหรับทิ้งขยะเปียก เรา ก็จะแนะน�ำชาวบ้านให้ทิ้งเฉพาะขยะเปียกซึ่งเป็นขยะ ที่สามารถย่อยสลายได้ อย่างพวกขยะจากเศษอาหาร บ้านไหนมีบอ่ เลีย้ งปลาก็นำ� เศษอาหาร (ทีค่ ดั เลือกแล้ว) ไปให้ปลา บ้านไหนเลี้ยงไก่ก็น�ำไปเลี้ยงไก่ต่อได้ แต่ถ้า


สิทธา วรรณสวาท

เหลือก็จ�ำเป็นจะต้องทิ้งในบ่อซีเมนต์ บ้านไหนไม่มีบ่อ เลี้ยงปลา กรงเลี้ยงไก่ เราก็จะมีน�้ำจุลินทรีย์ให้ส�ำหรับ ราดขยะที่เหลือทิ้งในบ่อซีเมนต์ เพื่อช่วยให้ย่อยสลาย ได้ดียิ่งขึ้น” วิธนี ำ� เสนอเรือ่ งการก�ำจัดและคัดแยกขยะเพือ่ ให้ชาวบ้านพรงสนเข้าใจวัตถุประสงค์และเกิดการร่วม ไม้ร่วมมือกันในครั้งนี้นั้น เป็นวิธีที่คล้ายคลึงกับการ ขายตรงสินค้าแบบผ่านสมาชิก เริ่มจากติดต่อคนบ้าน ใกล้เรือนเคียงให้มาดูวิธีก�ำจัดขยะ แล้วอธิบายให้เขา เข้าใจถึงประโยชน์และสิง่ ทีจ่ ะได้รบั เพือ่ ให้นำ� ไปขยาย บอกคนอื่นต่อ ๆ ไป จนกระทั่งสุดท้าย เมื่อมีชาวบ้าน สนใจมากขึ้ น เรื่ อ ย ๆ ก็ เ ชิ ญ ทุ ก คนมาประชุ ม โดย พร้อมเพรียงในคราวเดียว

71


72

บางปิด ความสุขริมทะเล

ส่งผลให้ชาวบ้านหมู่ 8 กลุม่ แรก สมั ค รเป็ น สมาชิ ก เข้ า ร่ ว ม โครงการจ�ำนวนถึง 60 ครัวเรือน มากกว่าครึ่งของประชากรทั้งหมด อุปกรณ์เริม่ ต้นในการก�ำจัดขยะนัน้ ได้ รั บ งบประมาณสนั บ สนุ น จาก โครงการ SML บ้าง จากหน่วยงาน อื่ น ที่ เ กี่ ย วข้ อ งบ้ า ง และจากชาว บ้านเอง โดยเก็บครัวเรือนละ 300 บาท ขณะต้นทุนที่แท้จริง อุปกรณ์ ทัง้ หมดส�ำหรับก�ำจัดขยะนัน้ ต้องใช้ เงินเริ่มต้น 3,000 บาท แต่ชาวบ้าน ออกค่าใช้จ่ายจริงเพียง 300 บาท ซึง่ ถือเป็นเงินไม่มาก ท�ำให้ชาวบ้าน รู ้ สึ ก ไม่ เ ป็ น ภาระ และเกิ ด ความ สนใจที่จะเข้าร่วมมากขึ้น


ในที่ สุ ด โครงการก� ำ จั ด ขยะด้ ว ย ตนเองของบ้านพรงสนก็ประสบผลส�ำเร็จ ก้ า วต่ อ ไปคื อ การประชาสั ม พั น ธ์ ข ยาย โครงการให้ทวั่ ถึงทุกหมูบ่ า้ นในต�ำบลบางปิด เป้าหมายคือ เพื่อท�ำให้บางปิดน่าอยู่ และ ป้องกันปัญหามลพิษจากขยะทีส่ ง่ ผลกระทบ ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป



6

ปิดป่า เขากระทะ



สิทธา วรรณสวาท

มีเรื่องเล่ากันมาว่า สมัยก่อนบางปิดมีการตัด ไม้ ท� ำ ลายป่ า เพื่ อ น� ำ ไม้ ไ ปแปรรู ป เยอะ ก� ำ นั น กมล ธนะประสพ ท่านเห็นความส�ำคัญของป่า อยากให้คน รุน่ หลังรักและรูถ้ งึ คุณค่าของป่าไม้ จึงได้ปลูกฝังคนรุน่ ต่อมาให้ชว่ ยกันรักษา ป้องกันไม่ให้มกี ารตัดไม้ทำ� ลาย ป่าอีก ประกอบกับห้วงเวลานั้นมีพระธุดงค์รูปหนึ่งมา ปักกลด นัง่ วิปสั สนากรรมฐาน ชาวบ้านจึงร่วมกันสร้าง กุฏิและห้องน�้ำขึ้น หลังจากนั้น เมื่อเกิดเป็นส�ำนักสงฆ์ คนในชุมชนจึงเริ่มไปท�ำบุญกันมากขึ้น ไม่ น านก็ มี ก ารปรั บ ปรุ ง ศาลาหลั ง เดิ ม และสร้างศาลาใหม่ขึ้นอีกหลัง รวมทั้งศาลเจ้าพ่อ เขากระทะหลังใหม่ดว้ ย เงินบูรณะปรับปรุงนัน้ บริจาค โดยผู้มีจิตศรัทธา และได้จากการทอดผ้าป่า จากนั้น จึงตั้งกลุ่มอนุรักษ์ฯ ขึ้น เป็นการร่วมมือจัดการป่าไม้ ระหว่างคนในพืน้ ทีก่ บั ส�ำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 9 จ.ชลบุ รี โดยเน้ น การมี ส ่ ว นร่ ว มของชุ ม ชนใน การดูแลรักษาป่าเขากระทะแห่งนี้

77


78

บางปิด ความสุขริมทะเล

การพูดคุยสอบถามเรื่องป่าเขากระทะเริ่มขึ้น แบบสบาย ๆ ริ ม สนามฟุ ต บอลโรงเรี ย นแห่ ง หนึ่ ง ใช่ครับ เราคุยกันที่เต็นท์ผ้าใบริมสนามบอลจริง ๆ เพราะก�ำนันสราวุธ ธนะประสพ ก�ำนันต�ำบลบางปิด ท่ า นมาควบคุ ม ดู แ ลการตี เ ส้ น สนามฟุ ต บอลที่ ว ่ า นี้ ท�ำให้ผมไม่ตอ้ งเหนือ่ ยแฮก เดินขึน้ เขาไป สัมภาษณ์ไป เหมือนเมื่อคราวไปสัมภาษณ์ผู้ใหญ่ธงชัย ยอดนอก ทีศ่ นู ย์อนุรกั ษ์ปา่ เขาน้อย ต.อุดมทรัพย์ จ.นครราชสีมา เรียกว่าคราวนี้นับเป็นบุญที่ได้นั่งสัมภาษณ์เรื่องราว การอนุรักษ์ป่าเขาบนพื้นที่ราบ “ท�ำไมต้องปิดป่าเขากระทะครับ” ผมเริ่มค�ำถามแรก หลังจากที่ก�ำนันสราวุธนั่งพักเหนื่อยจากการ เดินลัดสนามฟุตบอลมาหมาด ๆ “คืออย่างนีค้ รับ…” ก็ เริ่มต้นอธิบายจุดประสงค์ของการก่อตั้งกลุ่มป่าชุมชน (ป่าบก) ป่าเขากระทะ ต�ำบลบางปิด “คือชาวบ้านเขาอยากอนุรักษ์ป่าต้นน�้ำเอาไว้ เมื่อก่อนที่นี่เป็นป่าสัมปทาน แต่พอมาช่วงหลัง ชาว บ้านเริ่มให้ความส�ำคัญมากขึ้น ก็อยากจะให้ป่ามี ความอุดมสมบูรณ์โดยไม่มีใครมาตัดไม้ท�ำลายป่าอีก เพื่อจะได้เป็นป่าชุ่มชื้น สามารถรองรับน�้ำ และเป็น ต้นน�ำ้ ที่สามารถใช้กันได้ทั่วถึง พอเพียง”


สิทธา วรรณสวาท

ป่ า เขากระทะแห่ ง นี้ อ ยู ่ ใ นความดู แ ลของ ส�ำนักงานป่าไม้จังหวัดตราด มีพื้นที่ทั้งหมด 110 ไร่ ไม่มีการปลูกป่าเพิ่มแต่อย่างใด เพราะว่าต้นไม้บนเขา ขึน้ แน่นหนา ส่วนใหญ่เป็นไม้เนือ้ แข็ง มีตน้ ยางอยูบ่ า้ ง นอกนั้นเป็นป่าไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ “เขาลูกนี้จะมีคลองรองรับอยู่ 2 สาย” ก�ำนันสราวุธชีม้ อื “สายด้านนีแ้ บ่งเขตเป็นพืน้ ที่ ระหว่างหมู่ 2 บ้านบางปิดล่าง กับหมู่ 7 บ้านช่องลม ซึง่ ตัง้ อยูด่ า้ นทิศเหนือ และมีคลองด้านนีอ้ กี สายหนึง่ (ชี้ ไปในทิศทางตรงกันข้าม) คลองสายแรกที่ว่าชื่อ คลอง บางปิดล่าง ส่วนอีกคลองคือ คลองหนองเจ๊กเฉี่ยว อยูท่ างด้านทิศใต้ ติดกับหมู่ 6 บ้าน หิ น ดาษ ต� ำ บล คลองใหญ่

ก�ำนันสราวุธ ธนะประสพ

79


80

บางปิด ความสุขริมทะเล

“คลองทัง้ 2 แห่งจะไหลมาบรรจบกันแล้วไหลลง สู่ทะเลทางด้านหมู่ 1 บ้านอ่าวตาลคู่ กับหมู่ 7 บ้าน ช่องลม ระยะทางห่างจากทะเลประมาณ 2 กิโลเศษ คลองทั้ ง 2 แห่ ง นี้ เ ป็ น คลองสายหลั ก ของชาวบ้ า น ส�ำหรับอาศัยใช้น�้ำในการเกษตร” ที่เขากระทะแห่งนี้มีศาลเจ้าพ่อเขากระทะเป็น ที่ยึดเหนี่ยวของคนต�ำบลบางปิด ทุกปีชาวบ้านจะขึ้น มาท�ำบุญร่วมกัน โดยจะเริ่มท�ำตั้งแต่ต้นปีไปเลย ชาว บ้านเรียกท�ำบุญเดือนอ้าย แล้วขยับย้ายไปท�ำบุญตาม จุดต่าง ๆ จนกระทั่งถึงปลายทางที่คลองคู่ไหลลงทะเล


สิทธา วรรณสวาท

ชาวบ้านแถบนี้เชื่อกันว่า พิธีกรรมการท�ำบุญนี้ ช่วยขับไล่สิ่งไม่ดีต่าง ๆ ไหลลงทะเลไป ในแง่หนึ่งเป็น เสมือนกุศโลบายช่วยให้ชุมชนคนบางปิดได้มีกิจกรรม ทางศาสนาร่วมกัน และทุกครั้งที่มีการมาร่วมท�ำบุญ แน่นอนว่า ย่อมจะมาด้วยจิตใจอย่างเดียวกัน คือร่วม แรงกายแรงใจท�ำด้วยศรัทธา ระหว่างนัน้ ก็มกี ารพูดคุย แลกเปลี่ยนข่าวสารสนทนา ถือเป็นการเชื่อมความ สมานสามัคคีในชุมชนได้เป็นอย่างดี

81


82

บางปิด ความสุขริมทะเล

ป่าไม้จังหวัดตราดสนับสนุนให้สมาชิกกลุ่มป่า ชุมชน (ป่าบก) ป่าเขากระทะ ได้ศึกษาดูงานเกี่ยวกับ การอนุรักษ์ การดูแลรักษาป่า ป้องกันป่าไม่ให้ถูก ท�ำลาย ร่วมกับกลุม่ อืน่ ๆ ในต่างต�ำบล ถือเป็นการแลก เปลี่ยนเพิ่มพูนความรู้ และปลูกฝังให้คนในชุมชนรู้สึก หวงแหนป่าต้นน�ำ้ ที่ยังสมบูรณ์ดีอยู่ของตน เป็นการโชคดีทชี่ าวบางปิดมีทรัพยากรป่าอยูใ่ น พืน้ ทีข่ องตน โชคดีชนั้ ที่ 2 คือ คนในชุมชนต่างให้ความ ส�ำคัญ และช่วยกันดูแลรักษาป่าไม้ที่ตนมีอย่างดี




7

3 เวที เวที 3 ประชา



สิทธา วรรณสวาท

ด้วยวิสัยทัศน์ของนายสุชาติ จิตมุ่งมโนธรรม นายกองค์การบริหารส่วนต� ำบลบางปิดคนปัจจุบัน ซึ่งมีแนวคิดว่า หากทุกภาคส่วนทั้งในและนอกพื้นที่ได้ เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดสร้างสรรค์และพัฒนา ท้อง ถิ่นย่อมจะก้าวไกลไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน จึงจัดให้มี เวทีประชุม 3 ประชาขึ้น แต่ก่อนเข้าเรื่องเวที 3 ประชา นั้น เรามาท�ำความเข้าใจค�ำว่า ‘การมีส่วนร่วม’ จาก ท่านนายกฯ กันก่อน “การมีส่วนร่วมหมายถึงการให้ประชาชนเข้า มาร่วมคิดตัดสินใจก่อนทีจ่ ะลงมือด�ำเนินการใด ๆ ตาม นโยบายที่วางไว้ ท�ำไมต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพราะว่าประชาชนคือคนในพืน้ ที่ เป็นเจ้าของพืน้ ที่ การ พัฒนาท้องถิ่น รวมถึงการแก้ปัญหาต่าง ๆ ประชาชน คือผูท้ สี่ มควรจะมีสว่ นร่วมในการก�ำหนดทิศทางของตัว เอง จึงได้มีเวที 3 ประชาขึ้น เริ่มจาก...

87


88

บางปิด ความสุขริมทะเล

1. เวทีประชุมประชาคม

เป็นเวทีระดับหมู่บ้าน ผู้ร่วม ประชุมประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. และชาวบ้านจากทั้ง 8 หมู่บ้าน คนแต่ ล ะหมู ่ บ ้ า นจะทราบข่ า ว ประชาสัมพันธ์ลว่ งหน้าว่า หมูข่ อง ตนนั้ น จะต้ อ งเข้ า ร่ ว มประชุ ม วันไหน เวลาใด


สิทธา วรรณสวาท

2. เวทีประชุมประชาร่วมใจ เป็นการประชุมระหว่าง อบต. กับ หน่วยราชการอื่น หรือหน่วยราชการต่าง อ�ำเภอ 3. เวทีประชุมประชาพิจารณ์ ก�ำหนดขึ้นจากสถานการณ์จริงในช่วง เวลานั้น เช่น เรื่องการหาที่ทิ้งขยะชุมชน หรืออย่างการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอ่าว ตาลคู่ซึ่งเป็นพื้นที่ของเอกชน ก็ได้มีการท�ำ ประชาพิจารณ์ว่า หากจะปรับปรุงให้เป็น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วต้ อ งท� ำ อย่ า งไร ต้ อ ง ปรับปรุงอะไรบ้าง ท�ำแล้วได้อะไร

89


90

บางปิด ความสุขริมทะเล

ตัวอย่างเหตุการณ์จริงทีส่ ามารถอธิบายถึงทีม่ า และวัตถุประสงค์ของเวที 3 ประชาได้ชัดเจนก็คือ เรื่อง การหาที่ทิ้งขยะของ อบต. บางปิด กระบวนการเริ่มขึ้นที่ อบต. ส่งเรื่องลงไปหารือ กับหมู่บ้านที่ถูกเลือกให้เป็นพื้นที่ทิ้งขยะ ต่อมาภายใน หมู่บ้านนั้นก็จะประชุมปรึกษาหารือกันว่า สมควรจะ ให้ ใ ช้ พื้ น ที่ ห รื อ ไม่ จากนั้ น จึ ง ประชุ ม หาข้ อ มู ล กั บ หน่วยงานราชการอื่นต่อไป เช่น หน่วยงานของส�ำนัก ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อหาข้อมูลว่า หากต้องการท�ำที่ทิ้งขยะจะต้องด�ำเนินการอะไรบ้าง มีการควบคุมคุณภาพอย่างไร ท�ำอย่างไรจึงจะไม่ ก่อให้เกิดมลภาวะ จุดนี้ต้องหารือกันให้เรียบร้อยเพื่อ ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ


สิทธา วรรณสวาท

เวที ป ระชุ ม สุ ด ท้ า ยคื อ เวที ป ระชุ ม ประชาพิจารณ์ ทางส�ำนักงาน อบต. จะส่งเรื่องที่ได้หารือกับ หน่วยงานอื่นที่ดูแลและเกี่ยวข้องไปยังหมู่บ้านที่ขอใช้ พื้นที่เป็นที่ทิ้งขยะ เพื่อขอให้พิจารณาอีกครั้งหลังจาก หน่วยงานของรัฐและสิ่งแวดล้อมได้ชี้แจงและอธิบาย ผลต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่ทิ้งขยะแล้ว สุชาติ จิตมุ่งมโนธรรม นายก อบต. บางปิด

91


และเวทีทา้ ยสุดสุดท้าย ทุกเวทีประชุมจะต้องมา ร่วมกันหารือกันเป็นครั้งสุดท้ายที่วัด ท�ำไมต้องไปที่วัด เพราะว่าวัดมีพื้นที่ส�ำหรับรองรับคนได้มากที่สุด ผู้เข้า ร่วมจะมาจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ เสนอไป สุดท้ายคือการลงมติจากที่ประชุมว่า เมื่อทุก คนทุกฝ่ายทราบถึงข้อดีข้อเสียของโครงการนี้แล้ว มีผู้ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไรบ้าง ในส่วนนี้ คุณมลฤดี ศรีคณ ุ ปลัดองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลบางปิด ได้ให้ความเห็นว่า หลังจากที่มีเวที 3 ประชามาแล้ว ก็ได้เห็นแนวคิดของชาวบ้านแต่ละ กลุ่มที่แสดงออกอย่างอิสระ ท�ำให้ได้ทราบว่า ผู้ที่เห็น ด้วยและผู้ที่ไม่เห็นด้วยนั้นคิดต่างกันอย่างไร เวที 3 ประชานี้ไม่ได้ท�ำประชาพิจารณ์เฉพาะเรื่องสถานที่ ส�ำหรับทิง้ ขยะแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีเรือ่ งการพัฒนา อ่าวตาลคู่เพื่อยกระดับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย


เรื่องหลังนั้น ท้ายที่สุดแล้ว การพัฒนาไม่ว่าจะ ผ่านเวทีความคิดและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานใด ก็ ต าม หากพื้ น ที่ ที่ จ ะพั ฒ นาเป็ น ของเอกชนซึ่ ง ไม่ ยินยอมให้ความร่วมมือหรือเปิดรับการพัฒนาเข้าสู่ พื้นที่ของตน ไม่แม้แต่เข้าร่วมประชุมเพื่อฟังแนวคิด หรือยอมรับข้อเสนอแนะใด ๆ การประชุมต่าง ๆ ก็เป็น อันสูญเปล่า และไม่กอ่ ให้เกิดประโยชน์ไม่วา่ จะทางใด ทั้งสิ้น



8

ละครชาตรี..เรื่องนี้ ยังไม่จบ !



สิทธา วรรณสวาท

ขณะทีผ่ มก�ำลังหาทีจ่ อดรถไม่หา่ งจากบ้านของ ‘ครูนกหวีด’ เท่าไหร่นัก เสียงกลองเล็กหรือที่เรียกว่า กลองชาตรี ดังเป็นจังหวะรัวระคนด้วยเสียงโทน และ ฉิ่งคอยให้จังหวะ กรับนั้นขยับพร้อมฉิ่ง พลันที่เปิด ประตูรถออกไป สรรพเสียงที่แว่วยินชัดเจนขึ้นทันที ภาพที่เห็นข้างหน้าคือ การร่ายร�ำละครชาตรี นักแสดง แต่งตัวสวยงามอยู่ในชุดสีเขียวมะนาวกันทุกคน เป็น สีเขียวเดียวกับรถยนต์รนุ่ ใหม่ ช่างเลือกชุดประกอบร�ำ ที่สีสันทันสมัยจริง ๆ เรื่ อ งราวของละครชาตรี ใ นวั น นั้ น เล่ า โดย คุณนกหวีด จิตนาวสาร ...

97


98

บางปิด ความสุขริมทะเล

นานมาแล้ ว ครู เ รณู คื อ ครู ค นแรกที่ เ ริ่ ม สอน ละครชาตรีให้กับชาวบ้านที่สนใจอยากร�ำละครชาตรี เป็น คุณนกหวีด จิตนาวสาร หรือครูนกหวีดในปัจจุบนั จึงเริม่ หัดละครชาตรีตงั้ แต่อายุ 14 และได้รว่ มแสดงกับ ครูเรณูมาตลอดกว่า 30 ปี ต่อมาครูเรณูได้ส่งมอบ ขันครูแก่ครูนกหวีด ทายาทรุ่นที่ 7 เพื่อสืบต่อมรดก ละครชาตรี ไม่นานครูนกหวีดได้ตั้งคณะละครชาตรี ของตนร่วมกับรุ่นน้องที่หัดละครมาด้วยกัน ใช้ชื่อว่า ‘นกน้ อ ย ศิ ษ ย์เรณู’ ต่อ มาเปลี่ยนชื่อ เป็น ‘นกหวีด ศิษย์เรณู’ ส�ำหรับประวัติคร่าว ๆ ของละคร ชาตรีนั้น ครูนกหวีดเล่าสั้น ๆ ว่า ... “ละครชาตรี นี้ มี ม าตั้ ง แต่ สมั ย โบราณแล้ ว มี อ ายุ แ ก่ ก ว่ า ละครอื่ น ๆ อี ก ทางอิ น เดี ย เขา เรียกว่า ยาตรี หรือ ยาตรา ทีแ่ ปล ว่าเดินทางท่องเที่ยวนั่นแหละ ไทยเราจ�ำเอาแบบอย่างมาจาก อินเดีย มีตั้งแต่ตอนต้นสมัย กรุงศรีอยุธยาโน่น สมัยก่อน ละครชาตรี นิ ย มกั น อยู ่ แ ถว ภาคใต้ของไทย


สิทธา วรรณสวาท

“เรื่องที่คนชื่นชอบเห็นจะไม่พ้นเรื่องพระสุธนมโนราห์ ทีนี้คนใต้อาจจะตัดค�ำให้สั้นลง จากที่เรียก ‘โนราห์ชาตรี’ เหลือแค่ ‘ชาตรี’ คงจะกลายมาเรียกกัน ติดปากว่า ‘ละครชาตรี’ มาตัง้ แต่ในครัง้ นัน้ ละครชาตรี มีความละเอียดแตกต่างจากลิเกคือ ผูร้ ำ� จะสวมใส่ชฎา และร้องเล่นตามบทในวรรณคดีโบราณ รวมทั้งมีการ บอกบท ในขณะที่ลิเกจะแต่งบทขึ้นมาใหม่ และไม่มี คนคอยบอกบท”

99


100

บางปิด ความสุขริมทะเล

ครู น กหวีด ได้จัด ตั้ง กลุ่ม ขึ้นมาเพื่อ ฝึกสอน การแสดงละครชาตรี “กลุ่มศิลปะพื้นบ้าน” นี้เปิดรับ ชาวบ้านที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงซึ่งสนใจเข้ามาเรียนรู้ ต่อมาครูนกหวีดได้ปรึกษากับทาง อบต. บางปิด เพื่อ ท�ำเรื่องขออนุมัติงบประมาณจากส�ำนักพัฒนาสังคม และความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ จ.ตราด เมื่ อ ได้ รั บ งบประมาณมาก็น�ำไปจัดซื้ออุปกรณ์ส�ำหรับฝึกสอน ละครชาตรี กลุ่มศิลปะพื้นบ้านมีสมาชิกอยู่ 9 คน ท�ำการ สอนละครชาตรีให้กับผู้ที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือ ชาย วัยรุ่น หรือคนท�ำงาน กระทั่งผู้สูงวัยก็รับสอน ขอ เพียงแต่มใี จรักทีจ่ ะเรียนอย่างจริงจังเท่านัน้ ครูนกหวีด


สิทธา วรรณสวาท

ครูนกหวีด จิตนาวสาร

และทีมงานยินดีทุ่มเทสอนอย่างไม่มีปิดบัง ลูกศิษย์ ลูกหารุ่นแล้วรุ่นเล่าเข้ามาเรียนกับครูนกหวีด บางคน จบการศึกษาไป ย้ายทีเ่ รียนไปอยูจ่ งั หวัดอืน่ บ้างก็หา่ ง หาย ไม่ได้กลับมาแสดงละครชาตรีอีก ต่อมาโรงเรียนบ้านอ่าวตาลคู่ได้เชิญครูนกหวีด ไปเป็ น วิ ท ยากรสอนละครชาตรี ใ ห้ กั บ เด็ ก ๆ เพื่ อ ถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมแก่เยาวชนใน ท้องถิ่น ในส่วนของการสร้างผู้สืบทอดการสอนละคร ชาตรีนั้น ครูนกหวีดเล่าว่า ใช้วิธีรุ่นพี่สอนรุ่นน้อง ถือเป็นการถ่ายทอดความรู้ตามธรรมชาติจากรุ่นสู่รุ่น แม้อาจจะไม่เก่งกาจถึงขั้นแยกไปตั้งคณะละครชาตรี ใหม่ แต่อย่างน้อยก็เป็นการสืบทอดอนุรักษ์ไว้

101


ละครชาตรีคณะครูนกหวีด ปัจจุบนั ยังคงรับงาน แสดงอยู่เสมอ ทีมงานเต็มใจและยินดีพร้อมส�ำหรับ การแสดงละครชาตรี ไม่ว่าจะติดต่อไปร่วมงานใด ที่ไหน ขอเพียงการเดินทางไม่ไกลจนเกินไปนัก 4 รุ่น

ละครชาตรีนกหวีด ศิษย์เรณู มีนกั แสดงทัง้ หมด - รุ่นอายุ 60-70 ปี มีนักแสดงจ�ำนวน 15 คน - รุ่นอายุ 30-50 ปี มีนักแสดงจ�ำนวน 12 คน - รุ่นอายุ 18-30 ปี มีนักแสดงจ�ำนวน 12 คน - รุ่นเล็กอายุ 7-15 ปี มีนักแสดงจ�ำนวน 15 คน

เรื่องที่เล่นประจ�ำ คือ ไกรทอง สังข์ทอง เป็นต้น สนใจติดต่อได้ที่ 087-081-3536




9

รู้จัก ‘บางปิด’ กันก่อนจะปิดเล่ม



สิทธา วรรณสวาท

ก่อนปิดเล่ม เรามาท�ำความรู้จัก ‘บางปิด’ กัน คร่าว ๆ ดีกว่า ผมเองเก็บง�ำความสงสัยไว้ตั้งแต่รู้ว่า จะได้มาทีต่ ำ� บลบางปิดแห่งนี้ เป็นค�ำถามทีต่ ดิ อยูใ่ นหัว พลันที่ได้ยินชื่อ ท�ำไม ‘บางปิด’ ส่วนจังหวัดตราดเองก็ ยังมีคนเข้าใจว่าเป็นจังหวัดหนึ่งของภาคใต้ ไม่ใช่ใคร หรอกครับ ผมนีแ่ หละ ยอมรับอย่างหน้าไม่อายแมวเลย ส ม มุ ติ ว่ า ถ้ านั บ จ ากจุ ด เ ริ่ ม ต ้ น คื อ กรุ ง เทพมหานคร เมื อ งหลวงฟ้ า อมรของไทย ไปจังหวัดตราด แล้วขยับขับอ้อมซ้ายหรือเลี้ยวขวา ต่อมาทีบ่ างปิด ระยะทางรวมทัง้ สิน้ ประมาณ 300 กว่า กิโลเมตรเท่านั้นเอง ใครสะดวก อยากมาเที่ยวจังหวัด ตราด จะด้วยเส้นทางใด เลือกได้ตามใจชอบครับ จะนั่งรถโดยสารประจ�ำทาง หรือจะขับรถส่วนตัวไปก็ แล้วแต่ ใครสตางค์เยอะ เวลาน้อย เบื่อการนั่งรถ นาน ๆ ก็นั่งเครื่องบินมาได้ครับ บางกอกแอร์เวย์เขามี บริการ นัง่ สบาย ๆ จากสนามบินสุวรรณภูมิ บินตรงถึง ตราดได้เลย ใช้เวลาแค่ 1 ชั่วโมงเท่านั้น

107


108

บางปิด ความสุขริมทะเล

เรามาท�ำความรูจ้ กั ต�ำบลบางปิดกันเลยดีกว่า เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ผมก�ำลังจะเฉลยว่า ท�ำไม ต้อง ‘บางปิด’ ผมสอบถามใครหลายคนที่นี่แล้ว ล้วน ตอบเหมือนกัน ๆ ราวกับนัดท่องบทมาว่า... เมื่ อ นานมาแล้ ว (ชาวบ้ า นเล่ า ว่ า ในสมั ย หนึ่ง..) ที่นี่เกิดโรคระบาดร้ายแรงขึ้น ส่งผลให้ผู้คนล้ม ตายกันเป็นจ�ำนวนมาก โรคทีว่ า่ นัน้ เรียกกันว่า ‘โรคห่า’ แต่เรื่องน่าประหลาดใจของผู้คนรอบต�ำบลแห่งนี้คือ โรคห่าจะระบาดเฉพาะพื้นที่บริเวณรอบ ๆ หมู่บ้าน เท่านั้น จึงเรียกบ้านนี้ว่า ‘บ้านบังปิด’ ต่อมาค�ำว่า ‘บัง’ อาจจะสั้นไป เปลี่ยนมาออกเสียงเป็น ‘บาง’ ตั้งแต่เมื่อ ไหร่ ไม่มีผู้เฒ่าผู้แก่คนใดในต�ำบลนี้ตอบได้ จวบจน ปัจจุบนั ชาวบ้านร้านตลาดและใครต่อใครต่างก็รจู้ กั ที่ นี่ในชื่อ ‘บางปิด’ องค์การบริหารส่วนต�ำบลบางปิด หรือ อบต. บางปิดนัน้ ตัง้ อยูบ่ นถนนสายแหลมงอบ-บางกระดาน ทิศเหนือติดกับต�ำบลท่าโสม อ�ำเภอเขาสมิง ทิศใต้ติด กับต�ำบลคลองใหญ่ อ�ำเภอแหลมงอบ ทิศตะวันตก ติดกับทะเลอ่าวไทย ส่วนทิศตะวันออกติดกับต�ำบล คลองใหญ่ อ�ำเภอแหลมงอบ


สิทธา วรรณสวาท

ต�ำบลบางปิดมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 47.95 ตาราง กิโลเมตร หากคิดเป็นไร่คือ 29,940 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าไม้ ประมาณเก้าพันไร่ เป็นพื้นที่เกษตรราว ๆ สองหมื่นไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงลักษณะแบบลูก คลื่นสลับสูงต�่ำ มีเนินเขาตั้งกระจายอยู่ทั่วไป สภาพ ดินเป็นดินร่วนระบายน�้ำได้ดี เหมาะแก่การท�ำเกษตร นอกจากนี้ ต�ำบลบางปิดยังรวมเกาะในเขต ปกครองจ�ำนวน 5 เกาะ ได้แก่ เกาะนก เกาะจิกใน เกาะลิง เกาะมะปริง และเกาะกลาง สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม และมีคลื่นลม แรง ส่งผลท�ำให้เกิดการกัดเซาะของชายฝั่ง

109


ม.5 บ้านปากคลอง 1

5

2-4

6

7-8

ม.6 บ้านหินดาษ อ่าวไทย

ม.4 บ้านบางกระดาน 10 11

ม.8 บ้านพรงสน 9

1 กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ม.3 บ้านบางปิดบน และชายฝั่ง ม.5 2 กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านหินดาษ 12 3 กลุ่มอนุรักษ์ประเพณีท�ำบุญหมู่บ้าน 16-17 13 14 4 กลุ่มฌาปนกิจครัวเรือนร่วมใจท�ำ ม.7 บ้านช่องลม 5 กลุ่มปุ๋ยน�้ำหมักชีวภาพ ม.6 15 22 18 6 กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ 19 28 -26 20 30 7 กลุ่มโรงสีชุมชน 29 27 8 กลุ่มน�้ำดื่มบ้านหินดาษ ม.2 บ้านบางปิดล่าง 9 กลุ่มประปา ม.8 10 หมู่บ้านต้นแบบ ม.1 บ้านอ่าวตาลคู่ ด้านการจัดการขยะ 11 กลุ่มลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อหมู่บ้าน 12 กลุ่ม อสม. ต�ำบลบางปิด


ไปแสนตุ้ง

ตำ�บลท่าโสม อ.เขาสมิง

ไปแหลมงอบ

แหล่งเรียนรู้ตำ� บลบางปิด 13 กลุ่มผู้สูงอายุต�ำบลบางปิด 14 ร่วมคิดร่วมท�ำ : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต�ำบลบางปิด 15 กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ ม.7 16 กลุ่มแม่บ้านสุขาภิบาล ม.7 17 กลุ่มธนาคารหมู่บ้านช่องลม 18 กลุ่มตลาดนัดชุมชน 19 กลุ่มป่าชุมชน (ป่าบก) ป่าเขากระทะ บ้านบางปิด 20 กลุ่มอาสาสมัครต�ำรวจบ้าน 21 กลุ่ม อปพร. 22 ระบบการบริหารจัดการต�ำบล แบบมีส่วนร่วม 23 บริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ต�ำบลบางปิดแบบมีส่วนร่วม 24 สภาเด็กและเยาวชน 25 ศูนย์ปฏิบตั กิ ารพลังแผ่นดินเพือ่ เอาชนะ ยาเสพติด (ศพส.) 26 เครือข่ายป้องกันครอบครัว : ศูนย์พัฒนาครอบครัว 27 เครือข่ายแหลมงอบสร้างสรรค์เพื่อเด็ก ฟันดี (โรงเรียนวัดบางปิดล่าง) 28 กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ม.2 29 กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน ม.1 30 กลุ่มละครชาตรี


112

บางปิด ความสุขริมทะเล

ต�ำบลบางปิดมีประชากรประมาณ 4,486 คน หรื อ ประมาณ 1,531 หลั ง คาเรื อ น แบ่ ง พื้ น ที่ ก าร ปกครองทั้งหมดเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่

v หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวตาลคู่

ผู้นำ� หมู่บ้าน คือ นายสุรพล จิตนาวสาร

v หมู่ที่ 2 บ้านบางปิดล่าง

ผู้น�ำหมู่บ้าน คือ นายสราวุธ ธนะประสพ

v หมู่ที่ 3 บ้านบางปิดบน

ผู้น�ำหมู่บ้าน คือ นายวิโรจน์ มันฑรัตน์

v หมู่ที่ 4 บ้านบางกระดาน

ผู้นำ� หมู่บ้าน คือ นายวัลลภ เหมยากรณ์

v หมู่ที่ 5 บ้านปากคลอง

ผู้นำ� หมู่บ้าน คือ นายนาวี ก�ำจัดภัย

v หมู่ที่ 6 บ้านหินดาษ

ผู้นำ� หมู่บ้าน คือ นายสมคิด เนาวโกมุท

v หมู่ที่ 7 บ้านช่องลม

ผู้นำ� หมู่บ้าน คือ นางวรางคณา จีนาวนิช

v หมู่ที่ 8 บ้านพรงสน

ผู้นำ� หมู่บ้าน คือ นายนคร วัจวาทิน


สิทธา วรรณสวาท

การปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลบางปิดนัน้ ก่อตัง้ ขึน้ เมือ่ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ประชากรของที่นี่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ เจ็ดสิบประกอบอาชีพเกษตรกรท�ำสวนยางพาราและ สวนผลไม้ นอกจากนั้นประกอบอาชีพประมงและ อาชีพอื่น ๆ ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนต�ำบล บางปิดมีสถานที่ส�ำคัญต่าง ๆ ประกอบด้วย แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว 1 แห่ ง โรงเรี ย น 4 แห่ ง ศู น ย์ พั ฒ นาเด็ ก เล็ ก 2 แห่ ง ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู ้ ต าม อัธยาศัย (กศน.) ประจ�ำต�ำบล 1 แห่ง มีวัด 3 วัด กับ อีก 1 ส�ำนักสงฆ์ ใครเจ็บใครได้ป่วย มีโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพต�ำบล 2 แห่ง และต�ำรวจชุมชนอีก 1 แห่ง มีกลุ่มจัดตั้งตามนโยบายของรัฐ 10 กลุ่ม องค์กร ชุมชน 44 กลุ่ม ก� ำ นั น คนแรกที่ ป กครองต� ำ บลบางปิ ด คื อ ขุ น อร่ า ม แสงปทุ ม คนต่ อ มาคื อ ก� ำ นั น กมล ธนะประสพ ว่ากันว่า ท่านเป็นก�ำนันที่มาจากการ เลือกตั้งแบบที่ไม่มีใครเป็นคู่แข่ง เนื่องเพราะเป็นคนดี ลูกบ้านทุกคนรักใคร่นับถือ คนที่ 3 คือ ก�ำนันเหลื่อม กรวยทรัพย์ คนที่ 4 ก�ำนันระย่อม เวชศาสตร์ และ ปัจจุบันคือ ก�ำนันสราวุธ ธนะประสพ

113


เรื่องน่ารู้ จากชุมชนริมฝั่งทะเล


สิทธา วรรณสวาท

ซั้ง ซั้ง หรือ ปะการังเทียม คือภูมิปัญญาของชาว ประมงพืน้ บ้านตัง้ แต่ครัง้ อดีต เป็นการน�ำเศษวัสดุทหี่ า ได้ในพื้นที่มามัดรวมกันแล้วน�ำไปทิ้งจมไว้ในทะเลเพื่อ ให้สัตว์น�้ำขนาดเล็กเข้ามาอยู่อาศัย เพาะพันธุ์ วางไข่ ก่อนที่จะเจริญเติบโตต่อไป นอกจากนี้ ยังเป็นที่ที่ปลา ขนาดใหญ่ว่ายเข้ามาหาอาหาร ท�ำให้นอกจากจะท�ำ หน้าที่เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น�้ำและปลาเล็กปลาน้อย แล้ว ซัง้ ยังเป็นแหล่งตกปลาทะเลด้วย บางชุมชนจึงท�ำ ซั้งเรียงรายไว้ไม่ห่างจากฝั่งนัก ส�ำหรับเป็นจุดตกปลา โดยเฉพาะ แต่ละพื้นที่จะท�ำซั้งจากวัสดุต่าง ๆ และมีรูป แบบแตกต่างกันไปตามภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ บางทีใ่ ช้ทาง มะพร้าว บางที่นำ� ไม้ไผ่มาตัดเป็นท่อน แล้วใช้เถาวัลย์ ผูกติดกับใบหรือทางมะพร้าว หรือใช้ทงั้ เศษอวน เชือก เก่า ไม้ไผ่ และทางมะพร้าว มัดเข้าด้วยกัน แล้วถ่วง ด้วยก้อนหิน หรือผูกติดกับโขดหินใต้นำ�้ ไม่ให้ลอยออก ไปจากจุดที่ต้องการ

115


116

บางปิด ความสุขริมทะเล

ซัง้ หรือปะการังเทียมนีจ้ ะช่วยให้สตั ว์ทะเลมาอยู่ รวมกันเป็นจ�ำนวนมาก เป็นการอ�ำนวยความสะดวกใน การท�ำประมง ที่ผ่านมา ซั้งได้รับการยอมรับจาก ชาว บ้านแถบชายทะเลเป็นอย่างดี เพราะท�ำให้ปริมาณ สัตว์น�้ำเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ชาวบ้านไม่ต้องออกไป ท�ำอาชีพประมงในพื้นที่ไกล ๆ นอกจากนี้ ประโยชน์ ทางอ้อมของซั้งคือ ป้องกันเรือประมงขนาดใหญ่ เช่น เรืออวนลาก เข้ามาท�ำประมงในเขตน่านน�้ำหวงห้าม ของชุมชนด้วย

ภาพจากเว็บไซต์ http://daily.bangkokbiznews.com


สิทธา วรรณสวาท

รู้จัก

ป่าชายเลน

ป่าชายเลนเป็นกลุ่มสังคมพืชซึ่งส่วนใหญ่เป็น ไม้ไม่ผลัดใบ มีลักษณะทางสรีรวิทยาและการปรับตัว ทางโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน พรรณไม้ในป่าชายเลน จะขึ้นอยู่ในแนวเขตที่ผิดแปลกไปจากสังคมพืชป่าบก ทั้งนี้เพราะอิทธิพลจากลักษณะของดิน ความเค็มของ น�้ำทะเลและการขึ้นลงของน�้ำทะเลเป็นส�ำคัญ

แนวเขตที่เด่นชัดของป่าชายเลน ได้แก่

wโกงกาง ทัง้ โกงกางใบเล็กและโกงกางใบใหญ่จะ ขึ้นอยู่หนาแน่นบนพื้นที่ใกล้ฝั่งทะเล

wไม้แสมและประสักจะอยู่ถัดจากแนวเขตของ โกงกาง wไม้ตะบูนจะอยูล่ กึ เข้าไปจากแนวเขตของไม้แสม

และประสักบนพื้นที่ที่มีดินเลน แต่มักจะแข็ง ส่วน บริเวณดินเลนที่ไม่แข็งมากนักและมีน�้ำทะเลท่วมถึง เสมอจะมีไม้โปรง รังกะแท้ และฝาด ขึ้นอยู่อย่างหนา แน่น

117


118

บางปิด ความสุขริมทะเล

wไม้เสม็ดจะขึ้นอยู่แนวเขตสุดท้ายซึ่งเป็นพื้นที่

เลนแข็งที่มีน�้ำทะเลท่วมถึงเป็นครั้งคราวเฉพาะเมื่อ ระดับน�ำ้ ทะเลขึน้ สูงสุดเท่านัน้ แนวเขตนีถ้ อื ว่าเป็นแนว ติดต่อระหว่างป่าชายเลนกับป่าบก

wส�ำหรับพวกปรงจะพบทั่ว ๆ ไปในป่าชายเลน

แต่จะขึ้นอย่างหนาแน่นในพื้นที่ที่ถูกถาง

ความส�ำคัญของป่าชายเลน ป่าชายเลนนับวันจะมีความส�ำคัญมากขึ้นต่อ ชีวติ ประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศทีม่ ที รัพยากร ประเภทนี้ ประเทศไทยใช้ทรัพยากรป่าชายเลนทัง้ ทาง ด้านป่าไม้และประมง โดยเฉพาะเป็นแหล่งขยายพันธุ์ และเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น�้ำ ด้านป่าไม้ ผลิตผลจากป่าชายเลนที่ช่วยเพิ่ม มูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมากคือ การน�ำ ไม้จากป่าชายเลนโดยเฉพาะไม้โกงกางมาท� ำถ่าน นอกจากนี้ยังน�ำไปใช้ท�ำเสาเข็มสร้างบ้าน ปัจจุบันยัง มีอุตสาหกรรมด้านการกลั่นไม้จากป่าชายเลน น�ำมา ผลิตเมทิลแอลกอฮอล์ กรดน�้ำส้ม และน�้ำมันดิบด้วย


สิทธา วรรณสวาท

ส�ำหรับด้านการประมง ป่าชายเลนถือเป็นแหล่ง อาหารทีส่ ำ� คัญต่อสัตว์นำ�้ นานาชนิดไม่วา่ จะเป็นกุง้ หอย ปู และปลา วงจรชีวติ ของสัตว์น�้ำเหล่านีม้ คี วามสัมพันธ์ กับป่าชายเลนอย่างมากทัง้ ในแง่ทอี่ ยูอ่ าศัย แหล่งเพาะ พันธุ์ และการเจริญเติบโต นอกจากนี้ ป่ า ชายเลนยั ง ผลิ ต อาหารแร่ ธ าตุ หลายชนิดจากการร่วงหล่นและสลายตัวของเศษไม้ ใบไม้ ความรูเ้ กีย่ วกับระบบนิเวศป่าชายเลนเป็นเครือ่ ง ชีใ้ ห้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์นำ�้ กับป่าชายเลน นั้นมีมากมาย หากมีการท�ำลายป่าชายเลนลงแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเหล่านี้จะหมดไป และในที่สุด ทรัพยากรสัตว์น�้ำก็จะลดปริมาณลงหรือหมดไปอีกด้วย

119


120

บางปิด ความสุขริมทะเล

การอนุรักษ์ป่าชายเลน

ป่ า ชายเลนเป็ น ทรั พ ยากรส� ำ คั ญ และให้ ประโยชน์ทงั้ ในด้านป่าไม้ ประมง และช่วยรักษาสภาพ แวดล้อม ทว่า สถานการณ์ปัจจุบัน ป่าชายเลนได้ถูก ท�ำลายลงด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ดังนั้นจึง จ� ำ เป็ น จะต้ อ งหาแนวทางในการอนุ รั ก ษ์ แ ละใช้ ประโยชน์ทรัพยากรป่าชายเลนให้ได้ผลเต็มที่ ในขณะ เดียวกันก็ไม่เป็นการท�ำลายระบบนิเวศด้วย หรืออีกนัย หนึ่ ง คื อ การจั ด การทรั พ ยากรป่ า ชายเลนเพื่ อ ให้ สามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน การอนุรักษ์ป่าชายเลน เช่น

1

การรักษาพื้นที่ป่าชายเลนที่มีอยู่ให้คงไว้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร และต้องช่วยกันหลาย ๆ ฝ่าย ล�ำพังกรมป่าไม้เพียงหน่วยงานเดียวย่อมท�ำได้ ยาก การป้องกันอย่างจริงจัง รวมทัง้ การจัดการวางแผน การใช้ทดี่ นิ ชายฝัง่ ทะเลให้เหมาะสม เป็นทางหนึง่ ทีจ่ ะ รักษาพื้นที่ป่าชายเลนไว้ได้ นอกจากนี้ กฎระเบียบ ต่าง ๆ ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรี เกีย่ วกับการใช้พนื้ ที่ ป่าชายเลน ควรจะบังคับใช้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด


สิทธา วรรณสวาท

2 การเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนโดยการปลูกป่า

ปัจจุบันกรมป่าไม้มีนโยบายที่จะขยายและสนับสนุน การปลูกป่าชายเลนเพิม่ ขึน้ ทัง้ ในส่วนของราชการและ เอกชน ตามพื้นที่ว่างเปล่าต่าง ๆ บริเวณชายฝั่งทะเล หรื อ พื้ น ที่ น ากุ ้ ง และนาข้ า วที่ เ ลิ ก ไปแล้ ว ซึ่ ง มี อ ยู ่ มากมาย และมีโอกาสที่จะฟื้นฟูให้เป็นป่าชายเลนขึ้น มาได้ นอกจากนี้ พื้นดินที่งอกตามชายฝั่งทะเลก็เป็น พื้นที่ที่จะสามารถปลูกป่าชายเลนได้เช่นกัน

3

การใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าชายเลนให้ มีประสิทธิภาพมากขึน้ โดยการศึกษาวิจยั เพือ่ หาวิธกี าร และเทคโนโลยีที่เหมาะสมส�ำหรับใช้ประโยชน์ทั้งทาง ด้านป่าไม้ ประมง รวมทัง้ วิธกี ารผสมผสานระหว่างป่า ไม้กบั ประมงให้มากขึน้ ซึง่ หากผูป้ ฏิบตั กิ าร เจ้าหน้าที่ ควบคุม และนักวิชาการ ได้รว่ มมือกันอย่างจริงจังแล้ว เชือ่ ว่าการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าชายเลนจะประสบ ผลส�ำเร็จมากขึ้น โดยได้ผลิตผลสูงและปราศจากการ ท�ำลายระบบนิเวศ

121


122

บางปิด ความสุขริมทะเล

ระบบนิเวศวิทยาของป่าชายเลนนั้นเกี่ยวข้อง กั บ ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งสิ่ ง มี ชี วิ ต กั บ สิ่ ง แวดล้ อ ม พืชพรรณธรรมชาติชนิดต่าง ๆ เมื่อได้รับแสงจากดวง อาทิตย์มาใช้ในการสังเคราะห์แสงก็จะเจริญเติบโต กลายเป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศ มนุษย์สามารถเข้ามา น�ำไปท�ำประโยชน์ ส่วนกิ่งใบที่ร่วงหล่นทับถมในน�้ำ และในดินในทีส่ ดุ ก็จะกลายเป็นแร่ธาตุของพวกจุลชีวนั เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา แพลงก์ตอน ตลอดจนสัตว์ เล็ก ๆ หน้าดินที่เรียกว่า ผู้บริโภคของระบบ จุลชีวัน เหล่านี้จะเจริญเติบโตกลายเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ น�้ำเล็ก ๆ อื่น ๆ แล้วสัตว์เล็ก ๆ เหล่านี้ก็จะเจริญเติบโต เป็นอาหารของกุง้ ปู ปลา ขนาดใหญ่ขนึ้ ตามล�ำดับขัน้ ของห่วงโซ่อาหาร


สิทธา วรรณสวาท

นอกจากนี้ ใบไม้ที่ตกหล่นตามโคนต้นยังอาจ เป็นอาหารโดยตรงของสัตว์น�้ำได้ทั้งหมด นี้คือความ สมบูรณ์ของห่วงโซ่อาหารที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศป่า ชายเลนซึ่งจะมีความสมดุลในตัวเอง แต่หากมีการ เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งก็จะเป็น ผลท�ำให้ระบบความสัมพันธ์นี้ถูกท�ำลายลงจนเป็นผล เสียขึน้ มาได้ เช่น หากพืน้ ทีป่ า่ ชายเลนถูกบุกรุกท�ำลาย จ�ำนวนสัตว์น�้ำก็จะลดลงตามไปด้วย ตลอดจนอาจ ท�ำให้เกิดการเน่าเสียของน�้ำ

123


124

บางปิด ความสุขริมทะเล

ประโยชน์ของป่าชายเลน • เป็นแหล่งพลังงานและอาหาร • เป็นที่อยู่ตามธรรมชาติของพืชและสัตว์บกสัตว์น�้ำ • เป็นเครื่องป้องกันแนวชายฝั่งทะเล • ควบคุมการกัดเซาะพังทลาย • ดูดซับน�้ำเสีย • เป็นแนวก�ำบังกระแสน�้ำเชี่ยวที่ปากแม่น�้ำและพายุหมุน • เป็นแหล่งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์จากไม้ • เป็นแหล่งเชื้อเพลิง • เป็นแหล่งวัสดุก่อสร้าง • เป็นแหล่งวัตถุดิบสิ่งทอและหนังสัตว์ • เป็นแหล่งอาหาร ยา และเครื่องดื่ม


สิทธา วรรณสวาท

• เป็นแหล่งวัตถุดบิ ในอุตสาหกรรมผลิตกรดจากเปลือก ไม้ (tannin) • เป็นแหล่งท�ำเหมืองแร่ดีบุก • เป็นแหล่งน�้ำเย็นในระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าและ โรงงานอุตสาหกรรม • ให้ผลผลิตเกลือ • ให้ผลผลิตมวลชีวภาพ (biomass) แก่แหล่งประมง (ก) แหล่งประมงใกล้ชายฝั่ง (ข) เป็นแหล่งพักอาศัยของลูกปลาและลูกกุ้ง • ให้ผลผลิตมวลชีวภาพส�ำหรับการเลี้ยงหอยแมลงภู่ และปลา

125


เพลงศักยภาพชุมชน ค�ำร้อง-ท�ำนอง เรียบเรียงดนตรี ขับร้องโดย

วสุ ห้าวหาญ ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก ฟางแก้ว พิชญาภา, ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก, สมชาย ตรุพิมาย

หนึง่ สมองสองมือทีม่ ี รวมเป็นหลายความคิดดี ๆ ออกมายืนตรงนี้ ท�ำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน ไม่ ว ่ า จะอยู ่ ที่ ไ หน เราเป็ น คนไทยเปี ่ ย มความ สามารถ เป็นก�ำลังของประเทศชาติ พัฒนาบ้านเมือง ก้าวไกล เป็นคนเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ก็รักเมืองไทย ด้วยกันทั้งนั้น (สร้อย) หากเราร่วมมือร่วมใจ ท�ำสิ่งไหนก็ไม่เกินแรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือ สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เรา แบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ อยู่ชนบทห่างไกล ท�ำนาท�ำไร่พอเพียงเลี้ยงตัว ใช้ชมุ ชนดูแลครอบครัว ใช้ครอบครัวดูแลชุมชน ปูพนื้ ฐาน จากหมู่บ้านต�ำบล สร้างแปลงเมืองไทยให้น่าอยู่ดังฝัน


ชุมชนท้องถิน่ บ้านเราเรียนรูร้ ว่ มกันเพือ่ การพัฒนา ชุมชนท้องถิ่นบ้านเราเรียนรู้ร่วมกันช่วยกันพัฒนา อยู่ตามเมืองใหญ่เมืองหลวง หัวใจทุกดวงซ่อนไฟ มุง่ มัน่ ก้าวออกมาจากรัว้ ทีก่ นั้ จับมือกันท�ำเพือ่ เมืองไทย คนละมือสองมือคือน�้ำใจ โอบกอดชุมชนไว้ด้วยความสุข ยืนนาน หนึ่งสมองสองมือที่มี รวมเป็นหลายความคิดดี ๆ ออกมายืนตรงนี้ ท�ำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน หากเราร่ ว มมื อ ร่ ว มใจ ท� ำ สิ่ ง ไหนก็ ไ ม่ เ กิ น แรง โครงสร้ า งชุ ม ชนแข็ ง แกร่ ง เพราะเราร่ ว มแรงร่ ว มมื อ สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เรา แบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ ด้วย มุ ม มองที่ เ ราแบ่ ง ปั น ใช้ ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ ใ ห้ เ ต็ ม ศักยภาพ



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.