มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
เรื่องและภาพ อมรรัตน์ หมุดทอง
Healthy Planet สุขคดีท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการเรียนรู้ มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา เรื่องและภาพ อมรรัตน์ หมุดทอง ออกแบบปก หนวดเสือ ออกแบบรูปเล่ม สีดา บันเทิงศิลป์ ภาพประกอบ สมคิด ระวังพรมราช พิสูจน์อักษร เจริญพร เพิ่มบุญ พิมพ์ครั้งที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 เลข ISBN บรรณาธิการอำนวยการ
ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ กองบรรณาธิการ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2343 1500 www.thaihealth.or.th และ www.punsook.org
ดำเนินการผลิตโดย
papertiger@gmail.com Tel. 0817245332
คำนำ ท่ามกลางกระแสวกิ ฤติเศรษฐกิจโลกครัง้ ใหญ่เป็น ประวัติการณ์ในรอบหลายสิบปี ทำให้เกิดการตั้งคำถาม ว่าวิกฤติน จี้ ะใหญ่ข นึ้ อ กี เพียงใด จะยดื เยือ้ ข นาดไหน และ วิกฤตินี้จะส่งผลกระทบต่อสังคมไทยชุมชนหมู่บ้านไทย มากน้อยเพียงใด ความวิตกดังกล่าวอาจจะไม่เกิดขึ้น เลยหากปัจจุบันชุมชนหมู่บ้านไทยไม่ถูกลากเข้าสู่ระบบ การผลิตเพื่อข าย นักวิชาการหลายๆ ท่าน ได้วิเคราะห์ถึงระบบ เศรษฐกิจข องประเทศไทยวา่ ในระบบทนุ นิยมยงั ค งมอี กี ระบบดำรงอยู่ในลักษณะคู่ขนาน นั่นคือระบบเศรษฐกิจ ชุมชน หรืออาจจะกล่าวเป็นศัพท์สมัยใหม่ได้ว่าระบบ เศรษฐกิจแ บบพอเพียง ในอดีตชุมชนหมู่บ้านจะมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย เน้น ความพอเพียง มีครอบครัวเป็นหน่วยการผลิต การช่วย เหลือซ งึ่ ก นั แ ละกนั มีน ำ้ ใจเป็นพ นื้ ฐ านของชวี ติ มีพ ธิ กี รรม ต่างๆ เป็นร ะบบการจดั การในชมุ ชนและให้ค วามสำคัญ ต่อบ รรพบุรุษ ผู้เฒ่าผู้แก่ ครอบครัว ต่อมาหลังจากรัฐและระบบทุนนิยมได้เข้าไปมี อิทธิพลต่อชุมชน การผลิตเชิงเดี่ยวและลัทธิบริโภคนิยม ทำให้ช าวบา้ นมรี ายจา่ ยทเี่ ป็นต วั เงินม ากขนึ้ เพียงเท่านัน้
ยังไม่พอ สิ่งท ี่ทำลายความเข้มแข็งของชุมชนที่มากที่สุด คือ รัฐและทุนเข้าไปถ่ายโอนทรัพยากรจากระบบชุมชน หมู่บ้าน ยิ่งรัฐและทุนเข้าไปกอบโกยมากเท่าไร ชุมชน หมู่บ้านไทยยิ่งประสบความอ่อนแอ คำพูดดังกล่าวไม่ใช่ คำพูดล อยๆ ทีไ่ม่มหี ลักฐานรองรับ หากแต่เมื่อกวาดตา ไปทั่วแผ่นดินไทยหลังการประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมมากว่า 40 ปี จะมีสักกี่ชุมชนที่คนในชุมชนไม่ ประสบปญ ั หาความยากจน ไม่ป ระสบปญ ั หาสงิ่ แ วดล้อม หรือไม่ป ระสบปัญหาสุขภาพ จากสถานการณ์ดังกล่าว ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ สังคมไทยควรกลับมาเน้นการพัฒนาที่ไม่มองแต่มิติ ประสิทธิภาพ การสร้างมูลค่าและกำไร หรือการตลาด ด้านเดียว แต่ควรจะเป็นเพื่อประโยชน์ของชุมชนและ สังคม เราไม่ควรลดทอนผู้คนลงไปเป็นเพียงตัวเลข หาก ควรเป็นเพื่อส่งเสริมศักยภาพและศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นนี้คงจะต้องช่วยกัน ค้นหา ไม่ว่าจะใช้ระยะเวลานานเท่าไร คณะผู้จัดทำ
10 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
1
จากเมืองหลวงสู่แดนใต้
บันทึก...ต้นทาง “ไม่ก ลัวเหรอ?” “มากคี่ น?” พีน่ อ้ ง ‘มะนงั ด าลำ’ เอ่ยถามหลังจ ากการ ‘สลาม’ หรือทักทายตามประเพณี มุสลิมเมื่อเห็น ผู้หญิงคนเดียวสะพายเป้เดินทางมาสู่ ปัตตานี แผ่นดินที่ได้ชื่อว่าร้อนที่สุดในยามนี้ คำตอบคือ รอยยิ้ม
อมรรัตน์ หมุดทอง
ในฐานะมุสลิมคนหนึ่ง เราถูกสอนว่า ‘ไม่ว ่าเรา จะกลัวตายหรือไม่กลัวตาย เราทุกคนล้วนต้องตาย’ ฉะนั้น ความตายจึงไม่ใช่สิ่งที่ต้องหวาดกลัวไปก่อน ล่วงหน้า วิถีปฏิบัติของมุสลิมทุกคนเมื่อเริ่มต้นการงาน การเดินทาง หรือแม้กระทั่งก ารดำเนินชีวิต เราจะต้อง ‘ตะวกั ก ลั ’ คือก ารมอบหมายตอ่ พ ระผเู้ ป็นเจ้า ดังน นั้ เมือ่ ฉันได้ร บั ม อบหมายให้เดินท างสตู่ ำบลมะนงั ด าลำ อำเภอ สายบุรี จังหวัดป ตั ตานี ในยามทบี่ รรยากาศกำลังถ กู โหม ด้วยเปลวเพลิงจากความขัดแ ย้ง ฉันตอบรับท ันที พี่ น้ อ งค นไ ทยส่ ว นใ หญ่ รั บ รู้ เ รื่ อ งร าวข องส าม จังหวัดภ าคใต้ผ า่ นจอสเี่ หลีย่ มหรือต ามหน้าห นังสือพิมพ์ ตลอดระยะเวลาทผี่ า่ นมาฉันก ไ็ ม่ต า่ งจากบคุ คลเหล่าน นั้ ครั้งนี้มีโอกาสแล้วที่จะได้สัม ผัสด้วยประสบการณ์ตรง ของตัวเอง ยอมรับว่าก่อนการเดินทาง ใจหนึ่งตื่นเต้น เพราะเรื่องราวความรุนแรงถูกเล่าผ่านสื่ออยู่ทุกวี่วัน แต่อีกใจหนึ่งรู้สึกพิศวงกับบรรยากาศที่จะได้พบเจอ ความรสู้ กึ ต อนนนั้ บ อกวา่ ทีน่ อี่ าจรม่ เย็นก ว่าท จี่ นิ ตนาการ อยู่ในเมืองหลวง ต้นเดือนตุลาคม 2555 การเดินทางครั้งแรก ของฉนั สู่มะนังดาลำจึงเริ่มต้นขึ้น....
11
12 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
เรื่องเล่าระหว่างทาง หลังจ ากกดโทรศัพท์ไปทปี่ ลายทาง เสียงปลายสาย จ ากมะนังด าลำถามวา่ “เคยมาสามจงั หวัดภ าคใต้ไหม?” คำตอบคือ “ไม่เคยค่ะ” “ถ้าอย่างนั้นนั่งเครื่องมาลงที่ สนามบินบ้านทอน นราธิวาส แล้วทางน้จี ะไปรับ” ฉัน ตอบตกลง พร้อมกับนัดแนะว่าจะแจ้งวันเดินทางที่ แน่นอนในวันถัดมา หนึ่งช่ัวโมงจากสนามบินดอนเมืองสู่สนามบิน บ้านทอน จังหวัดนราธิวาส เสียงโทรศัพท์ดังขึ้นอีกครั้ง “มาถึงหรือย ัง? รออยู่ด้านหน้าส นามบิน” เสียงนั้นคือ เสียงของ ‘บังมัติ’ มหามัติ มะจะ นายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลมะนงั ด าลำ ‘อัสสาลามูอาลัยกุม’ เป็นค ำทกั ทาย แรกของฉัน ก่อนกระโดดขึ้นรถทจี่ อดเทียบอยู่ด้านหน้า
อมรรัตน์ หมุดทอง
ระยะทาง 28 กิโลเมตร จ ากบา้ นทอนสมู่ ะนงั ด าลำ ถนนหนทางไม่พ ลุกพล่านเหมือนเมืองหลวง บรรยากาศ เงียบสงบแต่ไม่ว งั เวง บางชว่ งรม่ รืน่ ไปดว้ ยตน้ ไม้ส องขา้ ง ทาง ทั้งสวนยางพารา เงาะ ทุเรียน มังคุด มะพร้าว ลองกอง ผสมผสานสลับกับย่านร้านค้าและบ้านเรือน ประชาชน ระหว่างกำลังส ำรวจบรรยากาศใหม่ๆ ตรงหน้า เสียงบังมัตดิ ังขึ้น “เดีย๋ วเราแวะกนิ ข า้ วระหว่างทางกนั ก อ่ น กินอ ะไร ง่ายๆ นะ” ได้เวลาอาหารกลางวันพอดี รถจอดแวะ ร้านอาหารขา้ งทางในอำเภอบาเจาะกอ่ นเข้าส เู่ ขตจงั หวัด ปัตตานี ด่านตรวจแรกห่างไปประมาณ 100 เมตร เตือนให้นึกขึ้นได้ว่า สามจังหวัดภาคใต้ได้ถูกประกาศ เมื่อ พ.ศ. 2550 ว่าเป็น ‘พื้นที่สีแดง’ ขณะผู้คนยังคง
13
14 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
ดำเนินชีวิตตามปกติท่ามกลางบรรยากาศที่ไม่ค่อยปกติ สักเท่าไหร่ ก่อนหน้านี้เกือบ 3 อาทิตย์ อำเภอสายบุรีตก เป็นข่าวที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศต้องตะลึง เมื่อกลุ่ม ก อ่ ค วามไม่ส งบในพนื้ ทีช่ ายแดนใต้ล อบวางระเบิดในยา่ น ตลาดชมุ ชน เขตเทศบาลตำบลตะลบุ นั เหตุการณ์ค ราวนนั้ ทำให้ม ผี เู้ สียช วี ติ 5 คน บ าดเจ็บอ กี ป ระมาณ 50 คน แรง ระเบิดยังทำให้บ้านเรือนประชาชนสองฝั่งถนนเสียหาย โดยเฉพาะอาคารไม้เก่า 2 ชั้นเกิดเพลิงไหม้เหลือเพียง ซากปรักหักพังไว้ดูต่างหน้า บริเวณนี้ห่างจากตำบล มะนังดาลำเพียง 5 กิโลเมตร ช่วงเวลานั้น บังมัติและ เจ้าหน้าที่ อบต. อีกคนหนึ่ง พอยัง สาหะ กำลังไป ละหมาดวนั ศุกร์ที่มัสยิดของชุมชน “วันน นั้ ผ มกบั นายก อบต. กำลังน งั่ ร ถไปละหมาด วันศ กุ ร์ รูส้ กึ ว า่ ท ำไมวนั น เี้ งียบๆ นายกฯ บอกวา่ น่าจ ะมี เหตุการณ์ พอละหมาดเสร็จกลับมามีค นบอกว่า มีการ ระเบิดท ี่ตลาดสายบุรี” พอยันเล่าให้ฉันคนนอกพื้นทีฟ่ ัง “แต่พออาทิตย์ที่สองเฉพาะวันศุกร์จะเงียบหมด เลย ร้านค้าก็ปิด ถนนเงียบ ตลาดสายบุรีเงียบ แต่คน ในชนบทวิถีชีวิตอยู่ปกติ มีการละหมาดตามปกติ พอ เริ่มเข้าอาทิตย์ที่สามก็เริ่มทยอยออกมามากขึ้น ตอนนี้ บรรยากาศใกล้จะปกติแล้ว
อมรรัตน์ หมุดทอง
“มีคนถามผมว่าท ำไมไม่หยุด ผมว่าเราไปทำงาน ถึงเวลาละหมาดเราก็ละหมาด เราจะหยุดทำไม เรา ไม่ได้ไปทำผิด เราไปทำงานตามปกติ อาทิตย์ที่สอง ผมกับนายก อบต. ก็ไปทำงานวันศุกร์ตามปกติ แต่อาจ จะกลับเร็วหน่อย “ผมอยากบอกตรงๆ ว่า ถ้าไม่ได้มาสัมผัสก็ไม่รู้ เราก็อยู่ตามปกติ เหตุการณ์จะเกิดก็เกิด เราดำเนินชีวิต ไปตามปกติ ไม่ต้องตื่นก ลัวเพราะไม่ได้ทำอะไร เราถาม ตัวเองว่าทำถูกหรือเปล่า ถ้าเราทำถูกต ้อง เราจะกลัว อะไร เรานึกถึงพระเจ้า เราอยู่ในตำแหน่งที่มีหน้าที่ดูแล ประชาชน อะไรที่เราทำได้ก็ช่วย เราทำอะไรก็นึกถึง พระองค์” พอยนั บ อกวา่ น คี่ อื บ ทสนทนาทเี่ ขากบั น ายกฯ มหามัติพูดคุยกันตลอดหลังจากที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น
15
16 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
ลุ่มน้ำสายบุรี แม่น้ำมีชีวิต เมื่อรถกลับมาติดเครื่องอีกครั้ง หลังจากวิ่งผ่าน ด่านตรวจไปได้สักพัก บังมัติบอกว่าเราเริ่มเข้าสู่เขต ปัตตานีแล้ว ผ่านอำเภอบาเจาะ อำเภอกะพ้อ เข้าส ู่ อำเภอสายบุรี โดยมีตำบลมะนังดาลำเชื่อมอยู่ระหว่าง กลาง ก่ อ นห น้ า นี้ ฉั น เ คยไ ด้ ยิ น ชื่ อ เ สี ย งข องส ายบุ รี ในฐานะเมืองเก่าเมื่อครั้งอดีต ร่องรอยความเก่าแก่ยัง คงปรากฏให้เห็นผ่าน ‘วังเก่า’ ทีค่ นในพื้นถิ่นเรียกขาน แต่ชื่ออย่างเป็นทางการคือ วังพิพิธภักดี ตั้งอยู่บนถนน ลูกเสือ ตำบลตะลุบัน วังส ีขาวโดดเด่นวันนถี้ ูกปิดตาย ตั้ ง อ ยู่ ไ ม่ ไ กลกั น นั ก คื อ มั ส ยิ ด โ บราณ มั ส ยิ ด แ ห่ ง นี้ สถาปัตยกรรมค่อนข้างแตกต่างจากรูปแบบมัสยิดที่เคย คุ้นตา วันน ี้ยังใช้ในการประกอบศาสนกิจไม่ว ่างเว้น
อมรรัตน์ หมุดทอง
เมืองสายบุรีหรือ ‘เมืองสาย’ คือส่วนหนึ่งของ อาณาจักรลังกาสุกะเมื่อครั้งความเป็น ‘รัฐชาติ’ ยังไม่ เข้ามา มีแม่น้ำสายบุรีเป็นเส้นโลหิตสำคัญ แม้จะเป็น แม่นำ้ ส ายสนั้ ๆ เมือ่ เทียบกบั แ ม่นำ้ ในภาคอืน่ ๆ ของไทย เนือ่ งจากมคี วามยาวเพียง 184 กิโลเมตร หากยอ้ นอดีต จะพบว่าบริเวณปากแม่น้ำในเขตอำเภอสายบุรีคือจุด รับส่งสินค้าทสี่ ำคัญ วันนี้แม่น้ำสายบุรียังคงมีชีวิต หากล่องเรือไปตาม ลำน้ำจะเห็นวิถีชีวิตหาอยู่หากินกับน้ำ ชาวบ้านกำลัง เหวี่ยงแหจับปลา ริมฝั่งลำน้ำมีการเลี้ยงปลา กระชงั เรือป ระมงจอดเทียบทา่ เมือ่ พ กั จ ากการ ออกทะเล ฝูงวัวออกแทะเล็มหญ้าอยู่ริมตลิ่ง
17
18 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
แต่ชว่ งนี้น้ำในแม่น้ำเริ่มขุ่นเพราะเข้าสู่ฤดูมรสุม หากใน ฤดูอ นื่ คนทอ้ งถนิ่ บ อกวา่ ล ำน้ำส ายบุรยี งั ค งใสสะอาดตา หากได้มาเยือนแม่น้ำสายบุรียามตะวันลาลับขอบฟ้า หลังเวลาละหมาด ‘มัฆริบ’ จะเห็นส งิ ห์ต กปลายืนเรียงราย อยู่บนสะพาน เรื่องราวเหล่านี้ฉันเก็บไว้ในลิ้นชักความทรงจำ ดีๆ แทนภาพรางเลือนทเี่ คยได้ยินได้ฟ ัง
อมรรัตน์ หมุดทอง
สู่ปลายทาง...มะนังดาลำ “เราเริ่มเข้าสู่เขตตำบลมะนังดาลำแล้ว” เจ้า ถิ่นแนะนำ ถนนสายเอเชียตัดผ่านมะนังดาลำเชื่อมสู่ ตัวเมืองสายบุรี ทีน่ ถี่ อื ว่าเป็นจ ดุ ศูนย์กลางของสามจงั หวัด ภาคใต้ก ็วา่ ได้ จากบริเวณนอี้ ีกประมาณ 47 กิโลเมตร คืออำเภอเมือง จังหวัดป ัตตานี เส้นทางตรงข้ามอีก 48 กิโลเมตร ม งุ่ ไปอำเภอเมือง จังหวัดน ราธิวาส ส่วนอำเภอ เมือง จังหวัดย ะลา ห่างไปอีก 50 กิโลเมตร บั ง มั ติ บ อกให้ พ อยั น ขั บ ร ถพ าฉั น ไ ปดู บ้ า นพั ก โฮมสเตย์ เก็บของ ดื่มน ้ำดื่มท่าก ่อนแล้วค่อยวางแผน กันว า่ จ ะเริม่ ท ำความรจู้ กั ม ะนงั ด าลำจากจดุ ไหน ก่อนมา
19
20 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
ฉันรู้เพียงว่าตำบลนี้เป็นหนึ่งในเครือข่ายตำบลสุขภาวะ เพียงตำบลเดียวในพื้นที่สามจังหวัดภ าคใต้ ‘กะอ๊ะ’ หรือรอฮีม๊ะ ใจเย็น กับ ‘แบมะ’ วิชาญ ใจเย็น สองสามีภรรยาเจ้าของบ้านพักออกมาต้อนรับ แขกต่างถิ่น นายก อบต. อารมณ์ด พี ูดติดตลกว่า “ที่อื่น เขามี B&B แต่ที่มะนังดาลำเรามี T&M เป็นภาษา มลายู Tidur malam & Makan pagi มีความหมายว่า นอนกลางคืน กินตอนเช้า” อืม...เก๋ไก๋ไม่ซ้ำใคร เมือ่ แ นะนำตวั ทักทายกนั พ อหอมปากหอมคอแล้ว เราเริม่ ว างแผนออนทัวร์มะนังดาลำร่วมกันเพื่อท ำความ รู้จักกับสภาพพื้นที่เป็นการเรียกน้ำย ่อย
อมรรัตน์ หมุดทอง
มะนงั ด าลำ เดิมช าวบา้ นเรียกวา่ บ้าน บือแนดาแล หมายถึงบ้านนาลึก เพราะที่ดินบริเวณน้เี มื่อก่อนเต็มไป ด้วยทุ่งนาปลูกข้าว แต่เมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา การทำนาเริ่มน้อยลง สวนยางพาราเข้ามาแทนที่เพราะ ราคาดีกว่า เดี๋ยวนี้นาข้าวจึงไม่มใีห้เห็นแล้ว ส่วนขอ้ มูลอ ย่างเป็นท างการนนั้ บ อกวา่ มะนงั ด าลำ เดิมเคยอยู่ภายใต้การปกครองของตำบลตะลุบัน ส่วน หนึ่งของอำเภอสายบุรี ก่อนทางการจะยกฐานะให้เป็น ตำบลมะนังดาลำในปัจจุบัน ทั้งต ำบลมีเนื้อที่ประมาณ 22.18 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วย 6 หมูบ่ ้าน 13 ชุมชน จำนวนครัวเรือนประมาณ 1,425 ครัวเรือน ประชากร 7,027 คน ทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม จึง ไม่น า่ แ ปลกใจหากได้ยนิ ช าวบา้ นทนี่ ใี่ ช้ภ าษายาวี (มลายู) พูดคุยกันในชีวิตประจำวนั
21
มะนังดาลำ
แผนที่ฐานเรียนรู้
บ้านลาคอ
โรงเรียนมะฮัดดารุลฮาดิษ
บ้านฮูแตปาเซ
16
บ้านกำปงดาแล
บ้านดูกู บ้านโต๊ะซอเลาะ มัสยิดแซะโม๊ะ
บ้านบาลูกาลูวะ
4 1 บ้านปละโล๊ะ 2 7 องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังดาลำ 15 13 12
บ้านคาวอ
บ้านแซะโม๊ะ
มัสยิดบัลนังยามู
9
17
บ้านกูแบบองอ
บ้านลาลอกูจิง
บ้านแบกอ บ้านสะนงกาเยาะ
บ้านลูโบ๊ะบาคู
มัสยิดบูเก๊ะ
18
22 บ้านกาฮง
8 5
19
บ้านบูเก๊ะ
3
บ้านบาโง
บ้านแมซา
บ้านละอาร์ โรงเรียนบ้านละอาร์
บ้านกายี
บ้านบลูกาลายอ
บ้านโต๊ะซอ
บ้านกาแลคือปู
14
โรงเรียนบ้านป่าม่วง
มัสยิดเปาวห์ บ้านตะบิงลูโบ๊ะ
11
บ้านกูแบบุแม
21
20
บ้านกอแล
6
บ้านจลาโก โรงเรียนบ้านกินนร
7 1 2 3 4 5 6 7
ระบบ ระบบบริหารจัดการตำบล ระบบการศึกษาและเรียนรู้สู่สุขภ าวะองค์รวม ระบบดูแลสุขภาพ ระบบเศรษฐกิจพอเพียงและส่งเสริมสัมมาชีพ ระบบสวัสดิการชุมชน ระบบพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน ระบบการจัดการสิ่งแ วดล้อมและพลังงานทดแทน
22 ฐานเรียนรู้ 1 การบริหารจัดการท้องถิ่น อบต.มะนังดาลำ 2 การจัดการมัสยิดนูรุดิน บ้านปละโล๊ะ 3 สถาบันปอเนาะต้นแบบบ้านบือแนราเมาะ 4 โรงเรียนสอนอ่านอัล-กุรอาน หลักสูตรกีรออาตี 5 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำตำบลมะนังดาลำ 6 กลุ่มสืบสานวัฒนธรรมการละเล่นลิเกฮูลู 7 การบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน (หน่วยกู้ภัย กู้ชีพ) 8 คลินิกรักษ์สุขภาพ 9 การดูแลสุขภาพชุมชนบนวิธีมุสลิม (รพสต.) 10 แซมซู เจะโซะ สูตินรีแพทย์แผนโบราณ 11 กลุ่มสตรีทำงานประดิษฐ์ (ฮิญาบ บุหงาซีริฮ) 12 กลุ่มตัดเย็บเสื้อสตรี 13 กลุ่มผลิตรองเท้า 14 กลุ่มทำขนมพื้นบ้าน 15 กลุ่มผู้เลี้ยงโคขุน 16 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกำปงดาลำสัมพันธ์ 17 กองทุนสวัสดิการชุมชนบ้านกาหงษ์-แบกอ 18 สหกรณ์ร้านค้าบ้านโต๊ะซอ 19 กลุ่มเบอยิวา เยาวชนจิตอาสา 20 การจัดการแหล่งน้ำบ้านจลาโก 21 กลุ่มผลิตแก๊สชีวภาพ 22 กลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ
24 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
2
ร้อยเรียงวิถีชุมชน
7 ระบบแห่งความสุข 22 ฐานแห่งความสามัคคี ป้ายขนาดใหญ่ริมถนนก่อนถึงทางเข้าที่ทำการ อบต. มะนงั ด าลำ ตัวห นังสือข นาดใหญ่โดดเด่นเขียนไว้ว า่ ‘สุข จาก ศรัทธา’ ข้อความนนี้ ำฉันเดินทางมาค้นหาว่า ‘ความสุข’ ของคนบ้านมะนังดาลำเกิดขึ้นได้อ ย่างไร หากจ ะพู ด ถึ ง ความสุ ข หลายค นอ าจพู ด ถึ ง ความสขุ ข องตนได้แ ตกตา่ งหลากหลาย แต่ส ขุ จ ากศรัทธา นั้นคืออะไรเล่า นำมาซึ่งผลสำเร็จอย่างไร เรื่องราวของ พื้นที่เล็กๆ ปลายด้ามขวานที่ถูกเล่าเพียงในนามของ ความรนุ แรงกำลังเปิดให้เห็นพ นื้ ทีค่ วามสขุ ท พี่ วกเขารว่ ม ก่อร่างสร้างขึ้นมา โดยมีผู้บริหารท้องถิ่นช่วยเชื่อมโยง หนุนเสริม อนุรักษ์และสร้างสรรค์ ที่สำคัญคือการนำ
อมรรัตน์ หมุดทอง
25
ศรัทธาต่อหลักอิสลาม ของพี่น้องในท้องถิ่นมา เป็นพลังข ับเคลื่อน ถ้ า จ ะคุ ย เ รื่ อ งนี้ คงต้ อ งเ ริ่ ม ต้ น ที่ บั ง มั ติ นาย ก อบต. อารมณ์ ดี บุคลิกง่ายๆ เป็นกันเอง กับแนวคิดการทำงานที่ ‘บังมัติ’ มหามัติ มะจะ นายก อบต. ผ่านมา “ผมคิดว่าเราจะขับเคลื่อนตำบลของเราไปใน ทิศทางไหน? ผมไม่เอาวธิ เี ก่าๆ อยูแ่ ล้ว เรือ่ งพลังอ ำนาจ ผมไม่ช อบใช้ ผมชอบใช้ก ารแก้ป ญ ั หาดว้ ยการมสี ว่ นรว่ ม ทุกค นสามารถปรึกษาหารือก นั ได้ และผมอาศัยเรือ่ งหลัก ศาสนา หลักป ฏิบตั ขิ องอิสลาม พูดถ งึ เรื่องการละหมาด การถือศีลอ ด การประกอบพิธีฮัจญ์ การจ่ายซากาต “แต่การเป็นมุสลิมที่สมบูรณ์ต้องมีหลายๆ เรื่อง เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ใช่แค่เรื่องนี้เท่านั้น เรื่องของสังคม การศกึ ษา เศรษฐกิจ ประชาธิปไตย มันค รอบคลุมอ ยูใ่ น ศาสนาด้วย เราต้องทำให้เกิดความสมดุลซึ่งกันและกัน “อิสลามไม่ใช่ก ารมองแค่ม ติ เิ ดียว อิสลามกเ็ ปรียบ ได้เหมือนรถยนต์ มันต้องมีล้อ ไฟท้าย ไฟเลี้ยว แต่ ต้องไปดูว่าตัวหลักของรถยนต์คืออะไร คือเครื่องยนต์
26 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
นั่นก็คือเรื่องของ ‘อากีีดะฮ์’ เรื่องของจิตใจ เรื่องของ ‘อีบาดะฮ์’ การปฏิบัติ” เมื่อพูดถึงอากีีดะฮ์และอีบาดะฮ์ ฉันพยายาม ตั้งใจฟังเพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงในการดำเนินชีวิตบน หลักการทั้งสองในฐานะมุสลิมคนหนึ่ง บังมัติอธิบายต่อ “หลักๆ คือการละหมาด คนที่เป็นมุสลิมจะทิ้ง ตรงน้ไี ม่ได้ แต่สิ่งอื่นจะทำให้องค์ประกอบของการเป็น มุสลิมส มบูรณ์มากยงิ่ ขึ้น เราจะต้องเป็นแบบอย่างและ สร้ า งอ งค์ค วามรู้ ใ ห้ กั บ ค นที่ ม าเรี ย นรู้ กั บเราว่ า นี่คื อ อิสลาม นีค่ อื ก ารบริหารของทอ้ งถนิ่ ย คุ ใหม่ เขาตอ้ งมอง แบบนี้บ้าง ผมคิดว่าอ ย่างนนั้ ” จากนั้นจึงนำมาสู่แนวคิดใหม่เรื่องตำบลสุขภาวะ โดยมีการจัดการตนเอง 7 ระบบ ขึ้นมาเพื่อจะบอกว่า
อมรรัตน์ หมุดทอง
ทุกอย่างที่เราทำคืออ ีบาดะฮ์ โดยมีความตั้งใจที่แน่วแน่ ในเรื่องจิตใจคอื อากีีดะฮ์ “ถ้าเราทำเพือ่ ส ร้างภาพโดยจติ ใจเราไม่ได้เชือ่ มโยง กับพระผู้เป็นเจ้า มันก็จะได้สิ่งทเี่ป็นแค่รูปธรรม หลัก เพื่อให้เกิดความสุขของจิตใจ เพือ่ ให้เกิดความสบายใจ ไม่มี มีแต่ความพะว้าพะวังหลายเรื่อง เพราะฉะนั้น จะต้องทำให้เกิดความสมดุลตรงนี้ ทำตรงนี้แล้วเรามี ความสขุ เราทำตรงนเี้ พือ่ ร บั ‘อามานะฮ์’ จากพระผเู้ ป็นเจ้า และการปฏิบตั ขิ องเราต้องทำให้ถ กู ตอ้ งตามหลักศาสนา มันจ ะเกิดค วามสมดุลร ะหว่าง อีบาดะฮ์ก บั อ ากีดี ะฮ์ นีค่ อื อิสลามที่สมบูรณ์แ บบ” ฉันถามต่อว่า เมื่อนำหลักอิสลามมาใช้ทำให้เกิด พลังด ้วยหรือเปล่า? บังม ัติตอบรับ “มันท ำให้เกิดพ ลังแ ละทำให้ห ลายคนมองแล้วร สู้ กึ ว่านี่ใช่นะ หลายสิ่งหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องความ
27
28 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
สะอาด การช่วยเหลือซึ่งกันและกนั มันเป็นอีบาดะฮ์น ะ ผมบอกวา่ วันน กี้ ารทำดมี นั ม ที กุ ม ติ ใิ นสงั คมถา้ เราอยาก ทำ เพียงแต่จิตใจเราพร้อมจะเข้าไปทำหรือเปล่า แต่ถ้า เราเสแสร้ง สิ่งเหล่านี้จะไม่ใช่อีบาดะฮ์ แต่จ ะเป็นเพียง หน้าที่เท่านั้นเอง ไม่ได้มาจากจิตใจ” ฉันยังสงสัยว่าเมื่อได้แ นวคิดแล้ว หลักปฏิบัติเริ่ม เดินต่ออย่างไร บังมัติบอกว่าก็มาดูเรื่องบทบาทหน้าที่ ของทอ้ งถนิ่ ว า่ ท ำอะไรได้บ า้ ง วันน ที้ อ้ งถนิ่ ส ามารถทำได้ หลายอย่างยกเว้นเรือ่ งความมนั่ คง เรือ่ งระหว่างประเทศ เรื่องทางทหารไม่ใช่หน้าที่ของท้องถิ่น “สิ่งที่เราทำคืออีบาดะฮ์นั่นแหละ วันนี้ถึงได้เกิด เรื่องการศึกษา เรือ่ งเยาวชน เรื่องอาชีพ เรื่องสุขภาพ สิง่ แ วดล้อม สังคม เพราะทกุ อ ย่างครอบคลุมว ถิ ชี วี ติ ข อง
อมรรัตน์ หมุดทอง
อิสลามทั้งนั้น ทุนของผมคือมาจากตัวเองก่อนในเรื่อง ว ธิ คี ดิ ข องผนู้ ำ สอง จิตข องผนู้ ำวา่ พ ร้อมมาทำงานแบบน้ี หรือเปล่า และความอดทนกต็ อ้ งมสี งู ก ว่าป กติ มีแ นวรว่ ม มาช่วยกันปรับเปลี่ยนวิธีคิดของชุมชน ผมทำงานสมัย แรก 4 ปี เห็นความเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในเรื่องการ ศึกษา พีน่ อ้ งประชาชนเกิดก ารยอมรับ เขากช็ อบผม มัน ก็ง่ายที่จะให้เขาเชื่อในสิ่งทเี่ราทำ เขาก็มาช่วย ผมถึงใช้ ทฤษฎี ชอบ เชือ่ ช่วย การแก้ป ญ ั หาของชมุ ชนตอ้ งคนใน ชุมชนร่วมกัน ท้องถิ่นเป็นปัจจัยเสริมเรื่องการเติมเต็ม “กลุ่มต ่างๆ ในพื้นที่นั้นมมี าก่อนอยู่แล้ว เพียงแต่ เขายังไม่มีวิธีคิดวิธีการจัดการว่าควรจะจัดการกับกลุ่ม ของเขาได้อย่างไร ไม่ใช่การตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อรองรับ งบประมาณที่มีการจัดสรรจากรัฐบาลอย่างเดียว เรา ต้องหาวิธีการ หาคนที่มีความเข้าใจแล้วขับเคลื่อนไป ตัวเราเองก็ต้องทำงานๆ เพื่อสักวันหนึ่งเขาจะเข้าใจใน แบบเดียวกับเรา เราพยายามทำกนั ตรงนี้” เรื่องแรกที่ อบต. มะนังดาลำ เห็นค วามสำคัญค ือ เรื่องการศึกษา เพราะเชื่อมั่นว่าการสร้างคนต้องสร้าง ด้วยปญ ั ญา พัฒนาคนตอ้ งพฒ ั นาปญ ั ญาเป็นห ลัก ใช้ก าร ศึกษาเข้าม าพฒ ั นาเพือ่ จ ะสามารถขบั เคลือ่ นคนไปสเู่ รือ่ ง สังคมได้ด ว้ ย แต่ต อ้ งให้ส อดคล้องกบั ว ถิ ขี องมสุ ลิมโดยใช้ มัสยิดเป็นตัวกลาง เริ่มจากการเข้าไปจัดระบบโรงเรียน
29
30 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
ตาดีกาในพื้นที่ ดึงผ ู้นำศาสนาในพื้นที่มาเป็นแนวร่วม “ผมเป็นคนที่คิดนอกกรอบ ไม่ได้คิดอยู่ในกรอบ แต่การคิดนอกกรอบของผมต้องไม่ทำลายสิ่งที่อยู่ใน กรอบ ตอนนผี้ มพยายามผลักด นั ว า่ มัสยิดต อ้ งมเี รือ่ งการ บริหารจัดการ เรื่องการศึกษา เด็กกำพร้า ทุกมิติ ไม่ใช่ แค่เรื่องการปฏิบัติศาสนกิจ มัสยิดต้องดูแลคนในชุมชน ทัง้ หมดทกุ ม ติ ิ เป็นศ นู ย์กลางจติ ใจ ศูนย์กลางการพฒ ั นา ต้องเป็นตัวผู้นำ คืออิหม่ามน่นั แหละ ทุกวันนเี้รากำลัง ขับเคลื่อนในเรื่องนี้เพื่อสร้างมัสยิดต้นแบบขึ้นมา ทุก วันศกุ ร์จะมีการประชุมกัน “กรณีเช่น การแก้ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ผม ถามว่าเราจะแก้อย่างไร? ผู้นำศาสนาละทิ้งได้ไหม? คนทไี่ม่เรียนหนังสือ ไม่รู้อัล-กุรอาน ใครจะเป็นคนแก้? คนในตำบลขี้เหล้าเมายา ไม่รเู้รื่องละหมาด ใครจะเป็น คนแก้? ผู้นำต้องเข้ามามีบทบาทตรงนี้ ตอนนี้เรายัง ไม่เห็นผลสำเร็จท ่ชี ัด แต่เรากำลังท ำ” นายก อบต. มหามตั ิ มองเห็นความสำคัญของ 4 เสาหลักท ตี่ อ้ งดงึ เข้าม ามบี ทบาทในพนื้ ทีใ่ ห้ม าก ค อื ผ นู้ ำ ศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำโดยธรรมชาติ ต้อง ประสาน 4 ประสาน ทุกอย่างจึงจ ะขับเคลือ่ นได้ จากบ ทส นทนาทำให้ ฉั น เ ริ่ ม ม องเ ห็ น เ ค้ า ล าง ความสุขของคนที่นี่ และกำลังมองหาต่อไป
อมรรัตน์ หมุดทอง
31
32 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
จาก ‘กีรออาตี’ สู่ ‘ตัรบีย ะห์’ เพื่อล ูกหลาน หลังจากอาบน้ำแต่งตัวสะอาดสะอ้านเรียบร้อย เย็นวันนี้ฉันมีนัดกับเด็กๆ เพื่อไปดูการเรียนการสอน อัล-กุรอานของพวกเขา ประมาณ 5 โมงเย็น กะอ๊ะ พาซ้อนมอเตอร์ไซค์จากบ้านพักมาส่งที่ทำการ อบต. ใกล้ๆ กันคือโรงเรียนตัรบียะห์แห่ง อบต. มะนังดาลำ สถานที่สำหรับก ารเรียนการสอนอัล-กุรอาน ด้านหน้าโรงเรียนกำลังค กึ คักไปดว้ ยเด็กๆ ทงั้ ห ญิง และชายในชุดขาว–ดำ เด็กผ ู้ชายใส่ชุดโต๊ปยาวพร้อมกับ ห มวกสขี าว ส่วนเด็กผ หู้ ญิงในชดุ ย าวพร้อม ‘ฮิญาบ’ หรือ ผ้าคลุมศ ีรษะสีดำ หลายคนกินขนมและอาหารอยู่อย่าง เอร็ดอร่อย เด็กกลุ่มหนึ่งกำลังเล่นเครื่องเล่นบริเวณ สนามหน้าโรงเรียนอย่างสนุกสนาน บางคนเริม่ เตรียมตวั อาบนำ้ ล ะหมาด เตรียมพร้อมสำหรับก ารละหมาดมฆั ริบ อีกไม่กี่นาทีต่อมา ไม่น านนกั เสียง ‘อาซาน’ ดังข นึ้ ทุกค นพร้อมเพรียง บนอาคารเรียน ผูห้ ญิงอ ยูส่ ว่ นหนึง่ ผูช้ ายอยูอ่ กี ส ว่ นหนึง่ จากนั้นพิธีละหมาดจึงเริ่มขึ้น นีค่ อื ก จิ วัตรประจำวนั ข องเด็กๆ ทตี่ อ้ งมาละหมาด ร่วมกัน จากนั้นมีการอ่าน ‘ดุอาร์’ หรือก ารขอพรจาก พระผู้เป็นเจ้า ก่อนจะแยกเป็นกลุ่มๆ ตามชั้นเรียน ข องแต่ละคน สักพ กั เสียงอา่ น อัล-กุรอานก็ด งั ก อ้ งมาจาก ทุกทิศทุกทาง
อมรรัตน์ หมุดทอง
33
34 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
‘บังส มาน’ หรือน ายสมาน สาอะ รองนายก อบต. มะนังดาลำ ซึ่งดูแลเรื่องการศึกษาและสาธารณสุข ถาม ฉันว่าเป็นอย่างไรบ้าง ฉันระลึกถึงวัยเด็ก สมัยเป็น นักเรียน กลับจากโรงเรียนก็มาเรียนอัล-กุรอานต่อที่ มัสยิดในชมุ ชน เพียงแต่ก ารเรียนการสอนไม่ได้เป็นร ะบบ อย่างที่เห็น แต่ก็ไม่น่าแปลกใจที่หลักสูตร ‘กีรออาตี’ สามารถใช้เป็นใบเบิกทางดึงคนในชุมชนมะนังดาลำ หันหน้าเข้าหากันได้ “เหตุผลที่เรานำหลักสูตรนี้มาใช้เนื่องจากเห็น สภาพปญ ั หาการเรียนอลั -กุรอานของลกู ต วั เอง นายก อบต. ก็มีลูก รองนายก อบต. ก็มีลูก ช่วงนั้นหาบุคลากรที่จะ ให้ล กู ไปเรียนคอ่ นขา้ งยากแล้วก ก็ ระจัดกระจาย เราลอง มาศึกษาปัญหาว่า การเรียนแบบเก่ากับก ารนำหลักสูตร กีรออาตมี าใช้เป็นไปได้ไหม?
อมรรัตน์ หมุดทอง
“เริ่มต้นจากสำรวจจำนวนเด็กทั้งหมด เด็กใน ระดับประถมศึกษาประมาณ 1,000 กว่าคนในพื้นที่ ที่เรียนอัล-กุรอานมี 600 คน ทีเ่หลือถามว่าเด็กเรียน ที่ไหน บางส่วนพ่อแม่ส อนเอง จากนั้นเราเริ่มไปศึกษา หลักสูตรกีรออาตีของอาจารย์สุนทร ปิยวสันต์ จาก อำเภอยะหริ่ง เขามีความชำนาญในเรื่องนี้ ให้ช่วยฝึก อบรมบุคลากรให้ เรานำครูสอนอัล-กุรอานที่มีอยู่เดิม 54 คน และผู้สนใจเข้ามารับก ารอบรม” พ.ศ. 2551 หลักสูตรกีรออาตีถูกนำมาใช้ในพื้นที่ มะนงั ด าลำ ปรากฏวา่ ม เี ด็กเข้าม าลงทะเบียนเรียนมากถงึ 525 คน ถือว่าได้ร ับก ารตอบรับจากชุมชน จากเดิมใช้
35
36 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
พื้นที่ของที่ทำการ อบต. เป็นส ถานที่เรียน จนกระทั่งป ีนี้ ขยับขยายมาสู่โรงเรียนตัรบีย ะห์แห่งนี้ ระหว่างนั่งคุยอยู่นั้น เสียงอ่านอัล-กุรอานของ นักเรียนตัวน้อยยังคงดังก ้องกงั วานเป็นระยะๆ ... “เราดำเนินการมา 4 ปีแล้ว มีเสียงตอบรับจาก ชุมชนในบ้านเรา และละแวกใกล้เคียงก็เกิดการยอมรับ หลังจากนั้นหน่วยงานภาครัฐก็เริ่มเปิดใจกว้างขึ้น เขา ได้เห็นภาพว่าท้องถิ่นส ามารถจัดการศึกษาตรงนี้ได้ ซึ่ง บางครัง้ บ างหน่วยงานกม็ องๆ อยู่ แต่เมือ่ เขาเห็นก ารนำ หลักสูตรนมี้ าใช้ส อนอัล-กุรอานให้ก บั ช มุ ชน การมองแบบ เพ่งเล็งจ ากภาครฐั น อ้ ยลง รองผวู้ า่ ฯ ปัตตานีเองเกิดก าร ยอมรับเพราะสามารถทำให้ชุมชนร่มเย็นและอยู่อย่าง สงบ นีค่ ือบทบาทขององค์กรท้องถิ่นที่เราสามารถทำได้ พอเรามตี รงนี้ เราสามารถเชือ่ มโยงไปสเู่ รือ่ ง อืน่ ๆ ได้ห มด เช่น การจัดระบบ ‘ตาดกี า’ ในตำบลให้เป็นมาตรฐาน เดียวกัน” วันนี้ใบเบิกทางดังกล่าวยังนำไปสู่การเปิดค่าย ภาษาภาคฤดูร้อนเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้ว่าโลก ใบนี้มีอีกหลายภาษา อย่างน้อยก็ 5 ภาษาที่เปิดสอน ทุกปีจึงมีเด็กมาเรียนไม่ต่ำกว่า 600–700 คน จน นำมาสู่การเปิดโรงเรียนตัรบียะห์แห่ง อบต.มะนังดาลำ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
อมรรัตน์ หมุดทอง
“ที่เราจัดตรงนี้ได้เพราะเราได้จัดกระบวนการ เรียนการสอนของตาดีกาให้เข้าสู่ระบบ ไม่อย่างนั้น เราจะมีความขัดแย้งกับชุมชน ส่วนการเปิดโรงเรียน เพราะเรามองเห็นหลักสูตรการศึกษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่สอดคล้องกับอ ัตลักษณ์ วิถกี ารดำเนินชีวิตในพื้นที่” หลักสูตรของโรงเรียนตัรบียะห์มีการนำหลักสูตร IBSM หรือ Islamic Base School Management เข้ามาจัดการเรียนการสอน ซึ่งมีแนวคิดว ่า สถานที่ซึ่ง
37
38 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
แหล่งเรียนรู้ และวิถีอิสลามคือเรื่องเดียวกัน ไม่ได้แยก จากกนั โดยบูรณาการอิสลามเข้าไป “เมือ่ เราเข้าใจตรงนี้ ถามวา่ อ สิ ลามแบบเข้มจ ำเป็น ต้องเข้ามาตรงนี้ไหม ไม่จ ำเป็น การสอนให้เข้าไปสู่วิถี ชีวิตไม่ใช่สอนเพียงหลักการ ตรงนี้คือจุดเริ่มต้นที่เรา พยายามให้ชุมชนเข้าใจ เพราะอิสลามบอกว่านอกจาก
อมรรัตน์ หมุดทอง
ที่เราใช้ชีวิตแล้ว เราต้องกระตุ้นตัวเองเป็นการตื่นตัว นีค่ ืออ ิสลาม” ทุกวันนี้ในเขต 3 จังหวัดภาคใต้มีพื้นที่ต่างๆ เข้ามาร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับหลักสูตรกีรออาตีกับ อบต. มะนังดาลำ แล้วหลายพื้นที่ และแน่นอนว่า 7 ระบบ 22 แหล่งเรียนรใู้ นตำบลมะนงั ด าลำกำลังเปิดพ น้ื ทีใ่ ห้ก บั ละแวกใกล้เคียงและคนภายนอกได้เข้ามาทำความรู้จัก และเรียนรู้ร่วมกันมากขึ้นเช่นกัน เสียงอาซานเรียกละหมาดในเวลาค่ำคืนดังขึ้น อีกครั้ง ‘อัลลอฮูอักบัร...อัลลอฮูอักบัร....’
39
42 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
3
บือแนราเมาะห์...เบอยิวา พื้นที่สร้างเยาวชน
ปอเนาะ...สร้างคนดี “นี่คือฐานที่ 23 ของมะนังดาลำ” นายก อบต. ไกด์กิตติมศักดิ์ของเรากล่าวติดตลกระหว่างรถวิ่งผ่าน ฐานทหารซงึ่ เข้าม าตงั้ ในพนื้ ทีไ่ ด้ก ว่าห นึง่ ป ี เรียกเสียงฮา จากสมาชิกร่วมขบวน บริเวณนี้คือบ้านป่าม ่วง หมู่ที่ 4 ที่นี่แบ่งเป็น 2 ชุมชน คือ บ้านป่าม ่วงและบ้าน บือแน– ราเมาะห์ ทีซ่ งึ่ เรามนี ดั ก บั ‘บาบอ’ แห่ง ‘บือแนราเมาะห’์ บ้านเรือนตั้งกระจายอยู่เป็นระยะๆ ไม่ถี่นัก สอง ข้างทางรกครึ้มไปด้วยสวนยาง สวนผลไม้ แทรกตัว อิงแอบพึ่งพาอาศัยกันและกัน ช่วยให้ร่มเงาไปตลอด เส้นทางที่รถวิ่งผ่าน หากใครจินตนาการถึงเรื่องร้ายๆ คงรู้สึกวังเวงในใจ นี่เป็นครั้งแรกเช่นกันที่ฉันมีโอกาส
อมรรัตน์ หมุดทอง
ได้มาเยี่ยมสถาบันปอเนาะ เคยได้ยินได้ฟ ังเรื่องราวของ ปอเนาะมาตงั้ แ ต่เด็กๆ แต่ไม่เคยเลยสกั ค รัง้ ท จ่ี ะได้ส มั ผัส ด้วยตนเอง ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย ภาพจินตนาการต่อคำว่า ‘ปอเนาะ’ จึงเป็นบางส่ิง บางอย่างที่ถูกปิดตาย “วันน ถี้ า้ เขามองสามจงั หวัด เขาจะมองวา่ ป อเนาะ เป็นแหล่งซ่องสุม มันไม่ใช่ ผมอยากจะบอกว่าพื้นที่ ของมะนังด าลำจะต้องไม่ใช่อย่างนั้น ที่นี่เป็นสถานที่ใช้ องค์ความรู้ในการอยู่ร่วมกันบนโลกใบนี้กับพลเมืองของ โลกอย่างสมดุลแ ละอย่างสมบูรณ์แ บบทสี่ ดุ ” บังม ตั กิ ำลัง พูดถ งึ ส ถาบันศ กึ ษาปอเนาะม ะฮัดด ารลุ เราะหม์ ะห์ หรือ อีกชื่อ บือแนราเมาะห์ ขณะรถกำลังวงิ่ ลึกเข้าไปเรื่อยๆ
43
44 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
“ทีน่ สี่ ามารถจะเป็นป อเนาะตน้ แบบให้ก บั ป อเนาะ อื่นๆ ได้ เพราะไม่เชิงอนุรักษ์นิยมมาก คือไม่ได้เรียน จนไม่เปิดสู่สังคมโลก มีเรื่องการเรียนการสอนทั้งเรื่อง ศาสนา การงานอาชีพและเรื่องสังคม นี่คือปอเนาะ สื่อ ต่างๆ เผยแพร่ออกไปว่าปอเนาะคือแหล่งซ่องสุม มัน ไม่ใช่ ที่นี่คือแ หล่งซ่องสุมทางปัญญา ไม่ใช่แหล่งซ่องสุม กองโจร” คำแนะนำตัวเบื้องต้นเชิญชวนให้ฉันอยากสัมผัส อยากทำความรู้จักว่าน้องๆ ในปอเนาะแห่งนี้อยู่กัน อย่างไร ทีส่ ำคัญพวกเขาแสวงหาอะไรในสถานที่แห่งนี้ และที่นี่มอบสิ่งใดกลับคืนสู่หัวใจของเยาวชนคนหนุ่ม เหล่านั้น ไม่กี่นาทีถัดมา รถยนต์ข องเราวิ่งเข้ามาจอดหน้า ‘บาลา’ เยาวชนคนหนุ่มในชุดสีขาวสะอาดตา โพกผ้า ‘ซาราบนั่ ’ รอบศรี ษะ ประคองคมั ภีรอ์ ลั -กุรอานอยใู่ นมอื นี่คือภ าพแรกที่ฉันเห็น “อัสสาลามูอาลัยกุม” ฉันกล่าวทักทายบาบอหรือ โต๊ะค รูอดั สมัน สิเดะ โต๊ะครูรุ่นที่ 4 ของปอเนาะ ก่อน บทสนทนาจะเริม่ ข นึ้ ถ งึ เรือ่ งราวความเป็นม าของสถาบัน ปอเนาะแห่งนี้ ย้อนไปกว่า 70 ปี ที่ดินต รงน้เี กือบ 50 ไร่ มีค น บริจาคให้โต๊ะค รูร นุ่ แ รก จากนนั้ ม กี ารกอ่ ต งั้ ห มูบ่ า้ นเรียก
อมรรัตน์ หมุดทอง
ว่า ‘บือนังเราะห์มะฮ์’ ‘บือนัง’ แปลว่า นา ‘เราะห์มะฮ์’ คือ ประเสริฐ บือนังเราะห์มะฮ์ คือท นี่ าอนั ป ระเสริฐ ต่อม าจงึ เพี้ยนเป็น ‘บือนังราเมาะห์’ ห ลั ง จ า ก เ ยี่ ย ม ช ม บรรยากาศการเรียนได้ส กั พ กั ‘มุ ต อล าอะฮ์ ’ หรื อ ผู้ ช่ ว ย โต๊ะค รู ด๊ะฮ ารี ยูโซ๊ะ เล่า ถึงช วี ติ ในปอเนาะแห่งน ใี้ ห้ฟ งั ว่า ปัจจุบันมีนักเรียนศึกษา โต๊ะค รูอัดสมัน สิเดะ อยู่ 280 คน ทุกคนอาศัย อยู่ในบ้านพักของปอเนาะซึ่งแบ่งเป็นหมู่1–5 มีการ แต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่คอยดูแล สภาพบ้านพัก มีต งั้ แต่ก ระท่อมมงุ จ าก บ้านไม้ห ลังเก่า กับอ กี ห ลายหลัง เพิ่งสร้างขึ้นใหม่ ครูด๊ะฮารีบอกว่าเคยเกิดไฟไหม้จาก กระแสไฟฟ้าลัดวงจรเมื่อไม่นานมานี้เอง ชีวิตความ เป็นอยู่ของน้องๆ ที่นดี่ ูเรียบง่าย บนอาคารเรียนมีแผ่นป้ายขนาดใหญ่ 2 แผ่น แผ่ น ห นึ่ ง คื อ ร ายล ะเอี ย ดห ลั ก สู ต ร ส่ ว นอี ก แ ผ่ น คื อ ตารางเรียนในแต่ละวนั บ่งบ อกระบบการจดั การทชี่ ดั เจน ครูดะ๊ ฮารีเริ่มขยายความสิ่งที่ฉันเห็น
45
46 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
ชีวิตที่นเี่ริม่ ต้นตั้งแต่ตี 4 ผู้มีศรัทธาเข้มแข็งจะลุก ขึ้นมาละหมาด ‘ตะฮัจยุด’ จากนั้นประมาณตี 5 กว่าๆ ได้เวลาละหมาด ‘ซุบฮิ’ หลังจากนั้นจะเริ่มการสอน ต ามตารางสอนประมาณ 7.40 น. จนกระทั่ง 22.00 น. จึงเข้านอน ยกเว้นนักเรียนบางคนที่ต้องไปประกอบ ศาสนกิจให้กบั ชุมชนที่ขอความช่วยเหลือมา นอกจากนี้ ทุกวันหลังจากละหมาดตอนเช้าตรู่และตอนเย็นจะมี การพบปะกนั ร ะหว่างนกั เรียนกบั โต๊ะค รู มีก ารสมั ผัสม อื จูบมือบาบอรวมถึงระหว่างนักเรียนด้วยกันเองเพื่อให้ เกิดความสามัคคี ไม่แตกแยกกัน
อมรรัตน์ หมุดทอง
สักพัก น้องลุกมัล แตงรื่น กับน้องอับดุลเลาะ นิกาเร็ง เข้ามาร่วมวงพดู คุยด้วย ทั้งส องคนกำลังศึกษา อยูใ่ นสถาบันป อเนาะบือแนราเมาะหแ์ ห่งน ี้ ครูดะ๊ ฮ ารจี งึ เชิญชวนให้ฉันพูดคุยกับน้องๆ เองว่า พวกเขาได้ซมึ ซับ สิ่งใดบ้างจากสถาบันแห่งนี้ น้องลุกมัลเล่าว่า ตัวเองมีชีวิตเหมือนเด็กวัยรุ่น หลายคนทตี่ อ้ งเจอปญ ั หาครอบครัว เคยหนีอ อกจากบา้ น แต่ว นั ห นึง่ ค ดิ ได้ว า่ อ ยากทำอะไรให้พ ่อแ ม่ม คี วามสขุ บ ้าง จึงเลือกมาอยูป่ อเนาะ ทั้งทไี่ม่รู้ว่าป อเนาะคืออะไร “40 วันในปอเนาะได้เปลี่ยนแปลงผม กลับไป เจอหน้าแม่ครั้งแรกผมร้องไห้ ความรู้สึกมันเกิดขึ้นมา เอง สังคมในปอเนาะสร้างให้เรามีความรู้สกึ ผูกพัน และ สามารถปฏิบัติกับครอบครัวของเราได้ ที่นี่สอนด้วยใจ
47
48 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
เอาใจมาสอนใจ ผมกลับบ้านวันแรกเจอหน้าแม่จับมือ แม่ แม่ใช้อะไรก็ทำ เพราะระบบการดำเนินชีวติ ที่นี่สอน ให้เรารู้จักบุญคุณ เด็กที่นี่ส่วนมากจะผ่านสิ่งไม่ด ี ความ รุนแรงของสังคม เพราะเป็นวัยรุ่นทั้งนั้น แต่ที่นี่สร้าง ให้เด็กเปลี่ยนแปลงตัวเองไปในทางที่ดขี ึ้น” อับด ลุ เลาะ เพือ่ นทนี่ งั่ อ ยูข่ า้ งๆ เล่าบ า้ งวา่ ต วั เอง ม าจากอำเภอตากใบ จังหวัดน ราธิวาสเรียนทนี่ มี่ า 5 ปี แล้ว “ผมเป็นคนเลือกเอง ปอเนาะท่ีนี่มีระบบจัดการ เรียนการสอนที่ดี มีรุ่นพี่ที่จบไปสามารถไปสอนหนังสือ ในหมู่บ้าน บางคนไปเป็นโต๊ะอิหม่ามได้ อย่างแรกที่ผม ได้จากปอเนาะคือเรื่องมารยาทต่อพ่อแม่ มารยาทต่อ สังคม บาบอจะสอนตรงนมี้ าก จากทเี่ ราเคยเป็นเด็กเกเร ผมจบ ม.6 มา พ่อแ ม่อ ยากให้เรียนปอเนาะจะได้ก ลับไป
อมรรัตน์ หมุดทอง
สอนแม่ได้ แม่บ อกตลอดแต่ผ มไม่ส นใจ แต่ค ดิ ไปคดิ ม า ก็ด เี หมือนกนั เรียน มสธ. ควบคูไ่ ปดว้ ย แต่ม าอยูป่ อเนาะ ได้ 40 วัน ต ดั สินใจอยูต่ อ่ ผมรสู้ กึ ว า่ ต วั เองเปลีย่ น ระลึก ได้ว่าหน้าที่เราต่อพ่อแม่ค ืออะไร ทุกค นอยูท่ ี่นี่จะร้องไห้ เลยเมื่อนึกย้อนไปถึงความผิดที่เรามีต่อพ่อแม่ บาบอ สอนว่าเราทำแบบนี้ผิดน ะ เราทำผิดทุกอย่างเลยกับพ่อ แม่ พี่น้อง สังคม ย่ายาย แต่บ าบอสอนให้เรามีจิตใจที่ อ่อนโยน เดีย๋ วนกี้ ลับบ า้ นไปหอมแก้ม จูบพ อ่ แ ม่ เขารอ้ ง เลย ปกติเราไม่เคยทำ” นอกจากการสอนดา้ นศาสนาอสิ ลามแล้ว สถาบัน ปอเนาะแห่งน ยี้ งั ม กี ารฝกึ ว ชิ าชีพ เช่น ก ารทำโรตี นักเรียน จะทำขายทุกวันศุกร์แล้วนำเงินมาเป็นทุนในกิจกรรม อื่นๆ ต่อไป มีก ารอบรมเรื่องสมุนไพร การเดินสายไฟ การก่อสร้าง บ้านของบาบอ บ้านพักที่สร้างขึ้นใหม่ รวมทงั้ อ าคารทที่ ำการสถาบันป อเนาะ ล้วนเป็นฝ มี อื ก าร ก่อสร้างของเด็กน ักเรียนในปอเนาะแห่งนี้ สถาบันป อเนาะบือแนราเมาะหย์ งั ส อนให้น กั เรียน สานสัมพันธ์กับชุมชน ทั้งการใช้ทักษะอาชีพในการ ช่วยชาวบ้าน นอกเหนือจากความรู้เรื่องศาสนาเพื่อ การประกอบศาสนกิจต่างๆ แล้ว ยังม ีการทำ ‘เมาลิด– สัมพันธ์’ ในแต่ละชุมชนทั้งน อกและในพื้นที่เป็นประจำ ทุกๆ ปี
49
50 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
เสร็จจากการพูดคุยกับผู้ช่วยโต๊ะครูและน้องๆ แล้ว บังมัติพามาคุยต่อที่บ้านของบาบอซึ่งอยู่ถัดจาก ปอเนาะ บนโต๊ะไม้ตัวยาว บาบอเตรียมขนมและน้ำชา รอต้อนรับแขก คราวนี้วงสนทนาใหญ่ขึ้น มีทั้งบาบอ นายก อบต. น้องๆ บัณฑิตอาสาที่มาช่วยงาน อบต. และฉันซึ่งเป็นคนป้อนคำถาม “นี่คือผลสัมฤทธิ์ของปอเนาะ” โต๊ะครูอัดสมัน หรือบาบอเสริมเมื่อฟังฉันเล่าถึงเรื่องทคี่ ุยค ้างไว้ “ปอเนาะเป็นแหล่งที่ช่วยเหลือชุมชนได้ในเรื่อง การประกอบศาสนกิจ เวลาเที่ยงคืนถ้ามคี นต้องการให้ ไปประกอบพิธที างศาสนาก็ไป เพราะไหนๆ เรามีความ ตั้งใจจะช่วยเขาแล้ว ปัญหาหรืออุปสรรคอะไรที่เกิดขึ้น ก็มอบหมายต่อพระผู้เป็นเจ้า” ฉันถามต่อว่า อยากให้สังคมไทยมองปอเนาะ อย่างไร นี่คือค ำตอบ
อมรรัตน์ หมุดทอง
“ปอเนาะเป็นแหล่งสร้างคนให้เป็นคนดี ปอเนาะ จะเน้นเรื่องคุณธรรมจริยธรรม สมัยนี้บาบอสังเกต คนเก่งมเียอะ แต่คนดีมนี ้อย ถ้าเราเน้นเรื่องอากีีดะฮ์ให้ อยู่ในใจเรา กิเลสต่างๆ จะออกไป เราต้องสร้างคนให้ เป็นคนดี ช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือประเทศชาติ นีค่ ือ ความต้องการของบาบอ” การพดู ค ยุ ก ำลังเข้มข น้ แต่แ ล้วเสียงอาซานกด็ งั ข นึ้ เพือ่ เตือนวา่ ขณะนไี้ ด้เวลาละหมาดแล้วแต่ย งั พ อมเี วลา เหลือ บาบอกล่าวอย่างอารมณ์ด ีว่า “นาทีท องกำลังจะ หมดแล้ว” ฉันจ งึ เข้าส คู่ ำถามทอี่ ยากรู้ “ในฐานะปอเนาะ ต้นแบบรวมทั้งได้รางวัลม ากมาย จะดำเนินการอย่างไร ต่อไป” “ในมะนังดาลำมีสถานศึกษาปอเนาะอยู่ทั้งหมด 4 แห่ง แต่หลักการยังไม่เหมือนกนั ทีผ่ ่านมาได้มกี าร รวบรวมประชุมโต๊ะครูเพื่อปรึกษาหารือกันว่า เราจะ ดำเนิ น ต ามห ลั ก อ ากีี ด ะฮ์ ใ ห้ เ หมื อ นกั น เพื่ อ ที่ เ ราจ ะ สามารถแก้ปัญหาทเี่ กิดขึ้นได้ คิดต รงกัน คำพูดตรงกนั การกระทำตรงกัน 3 อย่างนี้ถ้าต รงกันแก้ได้” ก่อนจะหมดชว่ งนาทีท อง บาบอยำ้ ว า่ แ ท้จริงแ ล้ว การประกอบอาชีพการงานโดยยึดหลักศาสนานั่นคือ ศาสนาเหมือนกัน จากนั้นแต่ละคนจึงแ ยกย้ายกันไปทำ พิธีละหมาด
51
52 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
เบอยิวา...จิตอาสาเพื่อบ ้านเรา สองสามวันก่อนอากาศเย็นสบาย แต่ม าวันนี้เริ่ม ร้อนอบอ้าว ท่ามกลางแสงแดดร้อนของวันนั้น คล้ายจะ บ อกวา่ ทีน่ ยี่ งั ม เี รือ่ งร้อนๆ รอการแก้ไข ปัญหายาเสพตดิ ระบาดไปทุกพ้นื ที่ไม่เว้นมะนังดาลำ รัสดี อาแว ปลัด อบต. บอกเล่าเมื่อถูกถามถึงเรื่องราวของเยาวชนใน พื้นที่ “การไม่มีงานทำของเยาวชนที่นี่กลายเป็นส่วน หนึง่ ท มี่ คี วามเสีย่ งตอ่ ก ารชกั นำไปสเู่ รือ่ งยาเสพตดิ เรือ่ ง สถานการณ์ค วามไม่ส งบ แต่ในพนื้ ทีน่ เี้ รือ่ งทสี่ องไม่ค อ่ ย เกิดขึ้นสักเท่าไหร่ ดังน ั้น ถ้าเขามีผู้นำที่นำไปในทางที่ดี มันน่าจะช่วยให้ปัญหาเบาบางลงได้ และนำไปสู่การ พัฒนาทดี่ ีขึ้น” ปลัดร สั ด กี ำลังช วนคยุ เรือ่ งของ ‘กลุม่ เบอยิวา’ นีค่ อื ก้าวแรกในการรวมกลุ่มเยาวชนเพื่อทำประโยชน์ให้กับ ชุมชนและแก้ปัญหาของตัวเอง ฉันอยากรู้ต่อว่ากลุ่ม เบอยิวาเกิดขึ้นได้อย่างไร เรื่องนี้คนที่เล่าได้ดีที่สุดคือ พวกเขานั่นเอง อาราซู สายอ หรือน้องซู คือป ระธานกลุม่ เยาวชน หลังจากออกไปเรียนที่สงขลาพร้อมหาประสบการณ์ ทำงานอยู่ที่นั่นสองสามปีก่อนกลับมาดูแลพ่อแม่ที่บ้าน ช่วงปแี รกเขาเล่าว่าอยู่เฉยๆ ไม่ได้ทำงานจนกระทั่งได้
อมรรัตน์ หมุดทอง
งานช่างไฟฟ้าที่ อบต. ก่อนเป็นหัวขบวนในการรวบรวม เพื่อนๆ ก่อตั้งกลุ่มเบอยิวาด้วยการสนับสนุนของบังมัติ นายก อบต. ขวัญใจเยาวชนคนหนุ่ม “กลับม าทำงานในพนื้ ทีร่ สู้ กึ ส บาย ใกล้บ า้ น ได้ด แู ล คนในครอบครัวด ีกว่าอ ยูท่ ี่ไกลๆ บางทีร ู้สกึ เหงา ถึงแม้ ว่าเราจะสนุก แต่ไม่เหมือนที่บ้านเรา” น้องซูบอกเล่า ความรู้สึกเมื่อกลับมาอยู่บ้านอีกครัง้ ส่วนเพื่อนที่นั่งข้างๆ อภิชัย ดือราแม คนนี้ผ่าน ประสบการณ์ชีวิตด้านมืดมาอย่างโชกโชน วันนี้เขา กลายเป็นรองประธานกลุ่มเบอยิวา และหนึ่งในครูสอน อั ล -กุ ร อานห ลั ก สู ต ร กี ร ออ าตี พู ด เ สี ย งดั ง ฟั ง ชั ด ว่ า “เบอยิวา ตรงตัวเลยครับ จิตอ าสา”
53
54 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
“กลุ่มเยาวชนมีมานานแล้วครับ แต่เว้นวรรคมา สองสามปี ผู้หลักผใู้ หญ่มีความคิดว่าอยากพัฒนาชุมชน เยาวชนที่ว่างงานติดยาให้มีงานทำ เยาวชนที่ไม่ได้ ศึกษาตอ่ ก อ็ ยากให้ห า่ งจากยาเสพตดิ ช่วงนสี้ ถานการณ์ ยาเสพติดมันหนักมากในชุมชน มีเรื่องลักเล็กขโมยน้อย ตามมาด้วย” ซูเริ่มเล่าก่อน อภิ ชั ย เ สริ ม ต่ อ ว่ า “ตอนนี้ เ รามี ส มาชิ ก ก ลุ่ ม ประมาณ 40 คน ตั้งแต่คนหนุ่มจนกระทัง่ น้องๆ ชั้น ประถมศกึ ษา เรากช็ กั ชวนให้เข้าม ารว่ มดว้ ย อาทิตย์ห นึง่ เราจะมีการประชุมกัน 1 ครั้ง ทีม่ ัสยิดบ ้านกาแระ และ เราจะพยายามเป็นต้นแ บบให้ก บั เยาวชนในพนื้ ทีห่ มูอ่ นื่ ๆ ต่อไป” ตอนนี้กลุ่มเบอยิวาแยกเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม เพื่อสร้างอาชีพ กลุ่มทำน้ำยาล้างจาน กลุ่มเพาะเห็ด
อมรรัตน์ หมุดทอง 55 55
กลุม่ เลีย้ งปลาดกุ และกำลังข ยายไปสกู่ ลุม่ ท ำเฟอร์นเิ จอร์ โดยมีวิทยากรในพื้นที่บ้าง นอกพื้นทีบ่ ้าง มาฝึกอบรม นอกจากนี้ น้องๆ ยังบ ำเพ็ญประโยชน์ให้ก ับชุมชนด้วย การช่วยกันถางหญ้าทำความสะอาดสองข้างถนนพร้อม ปลูกต ะไคร้ พัฒนามสั ยิดเดือนละครัง้ เป็นห วั เรีย่ วหวั แรง ช่วยจดั ก จิ กรรมในวนั ส ำคัญท างศาสนา เรียกได้ว า่ ใช้พ ลัง คนหนุ่มให้เกิดประโยชน์ “ในกลุ่มจะมีการเก็บเงินสวัสดิการวันละ 1 บาท ทุกคน ใครไม่สบายนอนโรงพยาบาลจะให้ไปเลยคืนละ 200 บาทไม่เกิน 3 คืน ถ้าเสียช วี ติ ให้ค นละ 2,000 บาท กับสมาชิกในกลุ่ม” ซูเล่าถึงการบริหารจัดการในกลุ่ม เพื่อช ่วยเหลือกัน อภิชัยเสริมต่อว่า พวกเขายังให้ความ สำคัญเรือ่ งการพัฒนาจิตใจด้วย “เราจะมีการจัดอบรมจริยธรรมเดือนละครั้ง มี
56 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
การบรรยายธรรมทมี่ ัสยิด สมาชิกจ ะมาเข้าค ่ายที่มัสยิด เดือนละ 1 วัน ตลอด 24 ชัว่ โมง เพื่อทำการปฏิบัติ ศาสนกิจร่วมกัน” ฉันขอให้อภิชัยช่วยเล่าถึงชีวิตที่ผ่านมาเพื่อหา คำตอบว่า อะไรทำให้เขาเปลี่ยนแปลง “ผมบอกตามตรง ผมเองก็เคยติดยา ช่วงเรียน ม.1–3 เป็นวัยอยากรอู้ ยากลอง มีปัญหาครอบครัวด้วย ไม่ได้อ ยูก่ บั พ อ่ แ ม่ ผมอยูก่ บั ย าย พอถงึ ว นั ร ายอ เพือ่ นๆ ไปสลามกับพ่อแม่ แต่เราไม่รู้จะสลามกับใคร น้อยใจ เป็น 10 ปี ไม่รจู้ ะปรึกษาใคร หลังจ ากนนั้ ค บเพือ่ นกต็ ดิ ย า ต่อมาเริ่มขายเองเลย” แต่แล้วก็มาถึงจุดเปลี่ยนอีกค รั้ง “ยายข อร้ อ งใ ห้ ไ ปเ รี ย นท างศ าสนาที่ ม าเลเซี ย เรียนได้ไม่ถึงปีเลิกทุกอย่างได้หมด ต่อมาย้ายกลับมา อยู่ปอเนาะที่ยะลา 4–5 ปี ตรงนั้นสังคมเพิ่งยอมรับผม สังคมให้โอกาสได้เห็นค วามสามารถของเรา ให้เกียรติเรา เป็นโต๊ะอิหม่าม ทำให้รู้สึกดี ภูมิใจมากในสิ่งที่เราทำ ทุกคนให้โอกาส ผมไปสอนอัล-กุรอานให้เด็กๆ พอ กลับมาอยู่บ้านทมี่ ะนังดาลำ พ่อแม่ก็กลับมาพร้อมหน้า พร้อมตาได้ความสมบูรณ์แ บบ ตอนนเี้ ข้าใจพ่อแม่แล้ว” การยอมรับของสังคมนี่เองที่ทำให้เด็กหนุ่มเกิด พลังสร้างสรรค์ส ิ่งท่ดี ีงาม ความรู้สึกเดียวกันนี้กำลังถ ูก
อมรรัตน์ หมุดทอง
ส่งต่อไปถึงเพื่อนๆ ในกลุ่ม “เราต้องให้โอกาสและเข้าใจความรู้สึกของเขา ให้ผู้ใหญ่เข้าใจความรู้สึกของเขาว่าต้องการอะไร เขามี ปัญหาอะไร เพื่อนๆ ทหี่ ันเหไปสู่ยาเสพติดส่วนมากจะ มีป ญ ั หาครอบครัว พ่อแ ม่ทะเลาะกนั ไม่เข้าใจความรสู้ กึ ลูก เราก็เคยผ่านความรู้สึกแบบนั้นมา” จากใจถึงใจ นีค่ อื ว ธิ กี ารชกั ช วนเพือ่ นๆ เข้าม ารวม กลุ่ม ซูซึ่งนั่งฟังอยู่ข้างๆ บอกว่าต อนนี้มีเพื่อนบางส่วน ยังไม่เข้าม า เขาอยากให้เพือ่ นๆ มาอยูร่ ว่ มกนั มีอ ะไรจะ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นก ัน “เราอยู่หมู่บา้ นเดียวกัน อยากให้มีความสามัคคีกัน เราอยากให้โอกาสทุกคน
57
58 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
ได้เข้ามา หลายคนเข้ามาเขามีความสุข เราก็สบายใจ” วันนี้ เรื่องการพัฒนาจิตใจยังคงดำเนินต่อไป ส่วนเรือ่ งปากทอ้ ง ผลิตผลทไี่ ด้จ ากกลุม่ เช่น เห็ด สมาชิกกลุ่มจะไปส่งตามร้านอาหารในพื้นที่และนำไป ขายที่ตลาด ปลาดุกจะมีคนมารับซื้อถึงที่ รายได้จะมี การแบ่งกันในกลุ่มอาชีพแต่ละกลุ่ม อีกส่วนหนึ่งแบ่งให้ กลุ่มใหญ่เพื่อบริหารจัดการสำหรับสวัสดิการ สองปี ทีผ่ า่ นมาจำนวนสมาชกิ กลมุ่ เบอยิวากำลังเพิม่ ข นึ้ เรือ่ ยๆ จากระยะเริ่มต ้นแค่เพียง 10 คน น่าด ใี จทวี่ นั น กี้ ลุม่ เบอยิวาแห่งบ า้ นกาแระได้ก ลาย เป็นต วั อย่างให้ก บั เพือ่ นๆ ในหมูท่ ี่ 3 ก่อเกิดก ลุม่ ฝ กึ อ าชีพ เยาวชนทำวงกบประตู–หน้าต่างข้ึน แม้จะเพิ่งเริ่มต้น ก้าวแรก แต่ตอนนี้สมาชิกกลุ่มม ี 10 คนแล้ว คุยเสร็จท้องก็เริ่มหวิ ขึ้นมาทันที ว่าแ ต่ว่าห ลังจ าก นีม้ ีนัดที่ไหนต่อ น้องๆ บัณฑิตอ าสาฯ บอกว่าเดี๋ยวเรา ไปต่อที่กลุ่มแ ม่บ ้านกัน ที่นี่รับรองว่าอ ิ่มแน่ ต้องไปต่อแล้ว...โชคดีเบอยิวา สู้...สู้
60 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
4
สัมมาชีพบ นพื้นที่แห่งความรัก
ขนมเชื่อมใจ รถยังไม่ทันจอดสนิท กลิ่นหอมๆ ก็โชยมาปะทะ จมูก ตอนนี้สาวน้อยสาวใหญ่กำลังง่วนอยู่กับเตาขนม ตรงหน้า เสียงน้ำมันเดือดพล่าน สักพักดอกไม้ก็ลอย ขึ้นมา นี่ใช่ไหมที่เขาเรียกขนมดอกจอก เดี๋ยวนี้หากิน ไม่ได้ง่ายๆ แล้วนะแถวกรุงเทพฯ แต่ที่มะนังดาลำยัง อนุรักษ์ไว้ คนที่นี่บอกว่า บ้านไหนมงี านบุญ ขนมดอกจอก นี่แหละที่แขกจะนำไปช่วยงานเจ้าภาพ โดยเฉพาะ วันสุกดิบที่ต้องลงแรงช่วยกันหุงหาอาหาร หยิบขนม ดอกจอกกินแกล้มน้ำชาท่าจะเหมาะ ยิ่งคนเฒ่าคนแก่ นิยมนักแล
อมรรัตน์ หมุดทอง
ก๊ะยาลีนา โมงสะอะ ประธานกลุ่มแม่บ้านกำปง– ด าลำทอดขนมรออยูแ่ ล้ว เสร็จจ ากเก็บภ าพบรรยากาศ ก ห็ ยิบข นมหย่อนเข้าป าก สดใหม่ หวานหอมกรอบอร่อย ครบสูตร “เป็นยังไงบ้างขนมก๊ะ” คำทักทายแรก จากนั้น การเดินทางของขนมดอกจอกก็เริ่มต้นทันที “เมื่อก่อนคนในชุมชนว่างงาน ช่วงเช้าไปกรีดยาง หลังจากนั้นว่าง ก๊ะเองก็เคยทำงานบริษัทอยู่กรุงเทพฯ มาก่อน แต่พ อกลับมาอยู่บ้านหลังจากส่งลูกไปโรงเรียน ก็ว า่ งเหมือนกนั เลยคดิ ก นั ว า่ พ วกเราในหมูบ่ า้ นนา่ จ ะทำ อะไรสักอย่างเพื่อกระตุ้นให้เกิดความต่นื ตัว อย่างน้อย ก็เกิดความสามัคคีและเกิดรายได้ข ึ้นมา
61
62 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
“ช่วงนั้นปลายปี 2552 เริ่มจ ากศูนย์ ใครมีอะไร เอามาใช้ก่อน อุปกรณ์ต่างๆ เอามาจากบา้ น เก็บเงิน คนละ 100 บาท ได้ม า 3,000 บาท เราลงมือท ำขนมกนั เลย ไม่มเี งินส นับสนุนจ ากทไี่ หน บางคนบอกวา่ 3 เดือน เลิก มาถึงวันน้ี 3 ปีแ ล้ว” ก๊ะยาลีนาคุยด้วยความภูมิใจ “แล้วเป็นไงมาไงถึงกลายมาเป็นขนมดอกจอก” คนขี้สงสัยเอ่ยถ าม “ดอกจอกเป็นข นมโบราณทคี่ นแก่ในพนื้ ทีช่ อบกนิ ใช้ได้หลายงาน พอมีงานเลี้ยงงานแต่งงานในหมู่บ้าน ชาวบา้ นจะเอาไปชว่ ยเจ้าภ าพ เขาจะมาสงั่ ต รงนี้ สัง่ เป็น ปี๊บ เป็นธรรมเนียมของพื้นที่นี้ เมื่อก่อนเราใช้กะทิ แต่ห ลังจากนั้นมีการปรับปรุงส ูตรมาใช้นมสดแทน
อมรรัตน์ หมุดทอง
“เคล็ดล บั ข องขนมกลุม่ แ ม่บ า้ นทนี่ คี่ อื จ ะทำอย่างไร ให้ขนมเก็บได้นาน กินอร่อย ดีต ่อสุขภาพ อย่างขนม บางอย่างต้องใช้สี มันมีโทษเราก็ไม่ใช้ ถ้าใส่กะทิก็ไม่ด ี สำหรับคนที่มีโรค เราก็เปลี่ยนมาใช้นมสดแทน เป็นการ พูดคุยปรึกษาหารือภายในกลุ่มและเห็นตรงกัน ไป ปรึกษากับอนามัย พยาบาลในพื้นที่เขาเห็นด้วย ขนม ของที่นจี่ ึงไม่ใช้กะทิ” วันนี้กลุ่มแม่บ้านกำปงดาลำกลายเป็นวิสาหกิจ ชุมชนไปแล้ว หลังจ ากได้ร บั ก ารสนับสนุนจ ากสำนักงาน เกษตรอำเภอและ อบต. มะนังดาลำ ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 โดยจดทะเบียนเป็นกลมุ่ ว สิ าหกิจช มุ ชนแม่บ า้ นเกษตรกร กำปงดาลำสัมพันธ์ ถ้าเห็นยี่ห้อนี้ปะหน้าถ ุงขนมรับรอง ได้ว่ามีที่นที่ ี่เดียว
63
64 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
“ตลาดของเราเริม่ จ ากรา้ นคา้ ในหมูบ่ า้ นจนเดีย๋ วนี้ ขยายถึงจังหวัดนราธิวาสแล้ว รวมถึงร้านค้าในโรง– พยาบาล เพราะเราคำนึงถ งึ เรือ่ งสขุ ภาพเป็นห ลัก น้ำมัน ที่ทอดเราใช้ไม่เกิน 2 ครั้ง หรือบ างครั้งก็ใช้แค่ครั้งเดียว จากนนั้ ขายทำไบโอดีเซล มีตลาดรองรับอ ยู”่ กลุ่มแม่บ้านท่นี ี่จะใช้เวลาอาทิตย์ละ 4 วัน เพื่อ มารวมกันทำขนมหลังจากเสร็จจากกรีดยางประมาณ 10–11 โมงเช้า วันไหนใครมาลงแรงจะมคี า่ แรงให้ว นั ล ะ 100 บาท ส่วนใครมาสายรบั ไปครึ่งวัน นอกจากขนม ดอกจอกแล้ว ยังมีขนมกรอบเค็ม ขนมทองม้วน ซึ่ง ทาง อบต. ได้จ ดั หาวทิ ยากรมาชว่ ยสอน ช่วยชมิ จ นมนั่ ใจ ได้ว่ารสชาติได้มาตรฐานเป็นที่ถูกใจลูกค้า “ขนมเราขายส่งถ งุ ล ะ 10 บาท ขายปลีก 12 บาท มีแม่ค้าคนกลางมารับไปขายที่นราธิวาส ทุกวันนี้ผลิต ไม่ทัน ขนมแต่ละอย่างจะผลิต 200 ถุง ถ้าวันไหนทำ 2 อย่างก็ 400 ถุง ส่วนที่ขายยกปี๊บ ปี๊บละ 150 บาท” ส่วนหนึง่ ข องผลกำไรทไี่ ด้ย งั น ำมาจดั ต งั้ ส วัสดิการ กลุ่ม ใครเดือดร้อนมากู้ยืมได้ ไม่เสียดอกเบี้ย เป็นการ ช ว่ ยเหลอื เพือ่ นๆ ในกลุม่ ได้ด ว้ ย แต่ส งิ่ ท กี่ ะ๊ ย าลนี าภมู ใิ จ ที่สุดคือเกิดค วามสามัคคีขึ้นในหมู่บ้าน “เมื่อก ่อนไม่ได้เป็นแบบนี้ ต่างคนต่างอยู่ กำปง– ดาลำคืออะไรไม่มีใครรู้จักเพราะเราเป็นหมู่บ้านเล็กๆ
อมรรัตน์ หมุดทอง
แต่เดี๋ยวนี้ทุกคนมีความสุขนะ เพราะทุกอย่างมาจาก น้ำแรงของเรา นอกจากทำขนมยังได้คุยปรึกษาหารือ กัน มีปัญหาเรื่องลูกเรื่องครอบครัวก็มาปรึกษาหารือ ปรับทุกข์กันได้ ละหมาดก็ละหมาดที่นี่ มัสยิดก็อยู่ใกล้ แค่นี้” นางสาวสุรย า บากา สมาชิกต งั้ แต่เริม่ แ รกยิม้ ส ดใส ก่อนร่วมวงพูดคุย เธอเป็นสะใภ้ของหมู่บ้านนี้ จาก เมื่อก ่อนไม่รู้จักใคร แต่พ อเข้ากลุ่มเดี๋ยวนรี้ ู้จักกันหมด “เราอายุน ้อยกว่าพี่ๆ เรามีปัญหา ไม่มีประสบ– การณ์ พี่ๆ กจ็ ะสอนเรา ไม่ใช่เฉพาะการทำขนมอย่าง เดี ยว มี ค วามส นิ ท ส นมกั น ม ากขึ้ น ตอนม าใ หม่ ๆ ไม่คุ้นเคย แต่พ อมาทำขนมกับกลุ่มก ็กล้าพ ูดคุย มีค วาม คุ้นเคยมากขึ้น จนถึงวันนี้รู้สึกเหมือนพี่ๆ น้องๆ กัน ได้ช่วยเหลือกัน เข้าใจซึ่งก ันและกนั ” กลับม าทกี่ ะ๊ ย าลนี าซงึ่ ป ดิ ท า้ ยวา่ อ ยากให้ม สี มาชิก เพิ่มมากขึ้น มีความสามัคคีมากขึ้น “ตรงนี้เราหาซื้อ ด้วยเงินไม่ได้ ถ้าเราไม่ได้ทำกลุ่ม เราไม่รู้ว่าเรามีความ รูส้ ึกเหมือนกันหมด” ไม่แตกต่างจากกลุ่มทำขนมพื้นบ้านหมู่ 4 ซึ่งมี ก๊ะนูรียะ อาแด เป็นหัวหน้ากลุ่ม ทั้งสองกลุ่มก่อตั้ง ในเวลาไล่เลี่ย แต่ม ีจุดเด่นที่ไม่ซ้ำก ัน นอกจากทองม้วน ทองพับ กลุ่มนี้เขายังอนุรักษ์การทำขนมพื้นบ้านโบราณ
65
66 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
เรียกวา่ ‘ขนมอาเก๊า ะ’ เกิดม าฉนั เพิง่ เคยได้ยนิ เหมือนกนั ส่วนรสชาติและหน้าตาจะเป็นอย่างไรไม่มีโอกาสได้ชิม เพราะขั้นตอนการทำค่อนข้างยุ่งยาก ก๊ะนูรียะคุยให้ฟัง ส่วนฉนั จินตนาการตาม ขนม อาเก๊า ะทำจากมะพร้าว ใส่ไข่และตอ้ งนำมาเผาอกี ท หี นึง่ จะสงั่ ก นั ในชว่ งทมี่ โี อกาสพเิ ศษๆ เท่านัน้ ทีส่ ำคัญว นั น นั้ ไม่มงาน ี บุญ ขนมทฉี่ ันได้ชิมจึงเป็นทองม้วนทเี่ขาทำกัน อยู่เป็นประจำ กำลังคุยเรื่องขนมอยู่ดีๆ ก๊ะนูรียะกลับ บอกวา่ ก ลุม่ น เี้ กิดจ ากรา้ นขา้ วยำ จะเป็นย งั ไงตอ้ งลองฟงั “ที่นี่มีร้านข้าวยำอยู่ข้างๆ นั่งกินกันไปคุยกันไป ตอนนนั้ ย งั ไม่ได้จ ดั ต งั้ ก ลุม่ แต่ร สู้ กึ เหมือนกนั ว า่ อ ยากชว่ ย
อมรรัตน์ หมุดทอง
พ่อบ า้ นหารายได้เสริม เลยถามคนเฒ่าค นแก่ล ะแวกบา้ น เริ่มจากทองม้วนเป็นอย่างแรก “จากนั้ น มี ก ารแ ชร์ เ งิ น กั น เ พื่ อ ซื้ อ อุ ป กรณ์ กั บ วัตถุดิบ ทำขายใหม่ๆ มีอุปสรรคหลายอย่าง ทั้งร สชาติ ของขนมทไี่ ม่ได้ม าตรฐาน ทัง้ เรือ่ งการตลาด” แต่ก ะ๊ นูร ยี ะ บอกไม่ท้อ “เรื่องรสชาติขนมเราลองปรับลองแก้กันเอง ไป ปรึกษากับนายก อบต. ว่าจ ะทำอย่างไร นายกฯ ช่วยหา วิทยากรมาสอน กว่าจ ะขายได้ใช้เวลาประมาณ 4–5 เดือน เริ่มเข้าที่เข้าทาง” แต่เรื่องการตลาดน่าหนักใจกว่า แต่แล้วทางกลุ่ม จุดประกายความคิดขึ้นมาได้โดยการใช้กลยุทธ์เดียว กับห้างสรรพสินค้าใหญ่ คือให้ชิมก่อน ไม่ซ้อื ไม่ว่ากัน ขนมข องก ลุ่ ม จ ะ ใช้วัตถุดิบภายในหมู่บ้าน ทั้ ง หมด ไม่ ว่ า จ ะเ ป็ น มะพร้ า ว แป้ ง น้ ำ ตาล ซื้ อ จ ากส หกรณ์ ร้ า นค้ า บ้านโต๊ะซ อ ถึงสิ้นปจี ะได้ รับเงินปัน ผล กลุ่มเริ่มมี กำไรหลังจาก 1 ปีผ ่านไป เริ่มมีการจ่ายเงินปันผลให้
67
68 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
กับสมาชิก คนที่มาทำขนมจะมีรายได้วันละ 100 บาท เป็นค่าตอบแทน คนส่งขนม 200 บาท ค่าน้ำมัน ต่างหาก กลุ่มยังส่งเสริมให้เกิดการออม โดยเก็บเงินเข้า กองกลางเดือนละ 30 บาทต่อคน แล้วแต่ว่าใครจะ สมัครใจเข้ากองทุน ถือเป็นเงินออมทรัพย์ภายในกลุ่ม ใครต้องการเงินฉุกเฉินมากู้ได้ ทุกค นจะมสี มุดฝากของ แต่ละคน พอครบปีมีการจัดสรรปันส่วนตามหลักการ ทางศาสนา ถ้ามีงานบุญหรือกิจกรรมในพื้นที่ เงินกองกลาง จะนำมาบรจิ าคในนามของกลุม่ เช่น ส นับสนุนก ารอบรม เด็กๆ ของโรงเรียนตาดกี า นำไปซื้อข้าวสารหรือให้เป็น ของขวัญแ ก่เด็ก และบริจาคเพื่อมัสยิด “มีอุปสรรคอะไรเราคุยกันตลอด ใครมีความคิด อะไรเราคุยกัน ทุกคนมีสิทธิออกความเห็นเพราะเรา เหนือ่ ยเท่าก นั ท กุ ค น ได้ก ไ็ ด้เท่าก นั ท กุ ค น ได้ช ว่ ยแบ่งเบา ภาระค รอบครั ว พร้ อ มกั บ ก ารดู แ ลค รอบครั ว อ ย่ า ง มีความสุข ไม่ต ้องออกไปทำงานข้างนอก และสามารถ ช่วยหมู่บ้านของเราด้วย” ก๊ะบอกว่าภูมิใจท่ีมาถึงวันนี้ ฉันมองเห็นรอยยิ้ม ของแต่ละคนแล้วอ ยากตงั้ ช อื่ ใหม่ให้ว า่ ‘กลุม่ แ ม่บ า้ นขนม อารมณ์ดี’ เพราะทุกคนพูดตรงกันว่า ขนมทองม้วน คนอารมณ์ไม่ดีทำไม่ได้
อมรรัตน์ หมุดทอง
บุหงา–ซีริฮ กับเรื่องหวาน ๆ บ่ายแก่ๆ วันหนึ่ง ฉันมีนัดคุยเรื่องหวานๆ แต่ คนทรี่ อคอยอยูไ่ ม่ใช่ช ายหนุม่ ท ไี่ หน ก๊ะอ าซยี ะ ยูโซะ กับ เพือ่ นๆ ในกลุม่ บ หุ งา–ซีร ฮิ นัง่ ค อยท่าอ ยูแ่ ล้ว เราเจอกนั แล้วเมื่อวันก่อนเลยนัดแนะว่าอยากขอถ่ายรูปขันหมาก สวยๆ หน่อย วันนี้ก๊ะเลยจัดเต็ม เห็นครั้งแรกคิดว่า บ้านนี้กำลังม ีงานแต่งเสียอีก วันน กี้ ะ๊ อ าซยี ะเชิญช วนให้ม าดู ‘ดอกนำ้ ตาล’ แต่ว า่ ถ้าเห็นดอกน้ำตาลแล้วจะได้แต่งงานหรือเปล่า อันนี้ น่าคิด ดอกน้ำตาลที่ว่าเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมเรื่องการ ประดิษฐ์เครื่องขันหมากซึ่งยังคงได้รับการสืบทอดอยู่ใน ตำบลมะนังดาลำ ว่ากันว่าทั้งอำเภอสายบุรีเหลือเพียง
69
70 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
คนเดี ยวแ ล้ ว ที่ ป ระดิ ษ ฐ์ ด อกน้ ำ ตาลไ ด้ ท่ า นผู้ นี้ คื อ ก๊ะแ มะ กูบโู ด น่าเสียดายวนั น นั้ ก ะ๊ ต อ้ งไปเยีย่ มลกู สาวที่ โรงพยาบาล ก๊ะอ าซยี ะในฐานะประธานกลุม่ จึงส าธยาย ให้ฟังแทน คนโบราณเชื่อว่ ารสชาติหวานของน้ ำตาลเป็น ส ริ มิ งคลกบั ช วี ติ ค ู่ การทำดอกนำ้ ตาลมกี ารสบื ทอดอยูใ่ น 3 จังหวัดภาคใต้มากว่า 50 ปีแ ล้ว คนเก่าคนแก่จะทำ เป็นก นั แ ต่ไม่ใช่เสียท กุ ค น ทุกว นั น หี้ ากในพนื้ ทีไ่ หนมงี าน แต่งงานจะต้องใช้ดอกน้ำตาลเพื่อร่วมพิธี รูปแบบของ ดอกน้ำตาลจะทำเป็นรูปด อกไม้สีสดใส อาจจัดต กแต่ง ทำเป็นช นั้ ๆ สูงแ ค่ไหนแล้วแ ต่เจ้าภ าพตอ้ งการ นอกจาก
อมรรัตน์ หมุดทอง
งานแต่ง งานมงคลต่างๆ ก็ไม่พลาด ปัจจุบันก๊ะแมะ จ งึ ก ลายเป็นว ทิ ยากรเพือ่ ส บื ทอดการทำดอกนำ้ ตาลให้แ ก่ ผู้ที่สนใจอยากเรียนรู้ ก๊ะอ าซยี ะบอกวา่ ดอกนำ้ ตาลไม่ใช่ท ำกนั ได้ง า่ ยๆ ต้องอาศัยค วามชำนาญ ส่วนผสมทสี่ ำคัญค อื น้ำตาลทราย แ ดงนวล ถ้าใช้น ำ้ ตาล 1 กิโลฯ กใ็ ส่น ำ้ ป ระมาณ 3 กิโลฯ นำมาเชื่อมและเคี่ยวให้เดือด จะกวนไม่ได้เลย เมื่อ แห้งน้ำห นักเหลือราว 1 กิโลฯ ให้ตั้งไว้ 1 คืน วันรุ่งขึ้น ใส่นำ้ 3 กิโลฯ แล้วเคี่ยวต่อ ใส่สีให้ส วยงาม พอเคี่ยว จนเหนียวดีแล้วก็นำมา ปั้ น เ ป็ น รู ป ด อกไม้ ถ้ า ใครอ ยากล งมื อ ป ฏิ บั ติ ต้ อ งม าที่ ฐ านเ รี ย นรู้ นี้ ไม่ว า่ จ ะมาเดีย่ วหรือก ลุม่ ก๊ะแมะยนิ ดีถ่ายทอดให้ ส่ ว นก ารต กแต่ ง ผ้าขันหมาก กลุ่มนี้เขา มี ผู้ ช ำนาญก ารอ ย่ า ง ก๊ะนูรียะ วาดิง แต่ก๊ะ ออกจะเขินอายเมื่อต้อง สื่อสารภาษาไทยกับแขก ต่างถนิ่ จึงเป็นห น้าทีข่ อง
71
72 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
ประธานกลุ่มต้องอธิบายความแทน “ก่อนการรวมกลุม่ ต า่ งคนตา่ งทำ พอมคี นสงั่ เยอะ ทำไม่ทัน อีกอย่างคนที่มาสั่งก็ไม่สะดวก เดี๋ยวนี้พอ รวมกลุ่มมาที่น่ีที่เดียวเลย อีกอย่างได้ถ่ายทอดให้กับ เด็กรุ่นหลังๆ ด้วย แต่ละคนจะมาเรียนรู้กับก๊ะนูรียะ ใครถนัดลายไหนกท็ ำลายนั้น “ทุกวันนี้มีคนมาสั่งขันหมาก(บุหงาซีริฮ) เยอะ เพราะทีน่ มี่ กี ารแต่งงานกนั ม าก ลูกห ลานเยอะ” ก๊ะอ าซยี ะ เล่ากลั้วเสียงหัวเราะไปด้วย ฉันเลยคิดหนัก ท่าทาง ต้องย้ายถิ่นมาอยู่แถวนี้บ้างแล้ว
อมรรัตน์ หมุดทอง
ตามบัญญัตขิ องศาสนาอิสลาม ผู้ ห ญิ ง มุ ส ลิ ม จ ะต้ อ งส วมเ สื้ อ ผ้ า ที่ มิดชิดและสวมฮิญาบปกคลุมศีรษะ หากไปเยือน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แน่นอนนี่คือภาพคุ้นชิน การปฏิบัติ ตามศาสนบัญญัติกลายมาเป็นส่วน สำคัญที่ก่อเกิดอาชีพและสร้างรายได้ ทางกลุ่มจึงขยายมาทำผ้าคลุมศีรษะ หรือฮิญาบด้วยเมื่อประมาณ 6 ปี ที่แล้ว อาซียะ ยูโซะ “ผ้ า ฮิ ญ าบจ ะมี อ อเ ดอ ร์ ท าง โทรศั พ ท์ เราจ ะท ำส่ ง ต ลาดแ ถว สงขลา เริ่มจากส่งไปให้เครือญาติ “ขายนานๆ ไป คนรู้จักเลยติดต่อมาเรื่อยๆ เรา จะหาแบบใหม่ๆ ให้เขา ส่งตัวอ ย่างเนื้อผ้าไปให้ กลุ่ม มีสมาชิกประมาณ 7–8 คน ตอนนี้มีแฟชั่นใหม่ๆ อย่างที่เห็น ฮิญาบร้อยลูกปัด จะมคี นมานั่งร้อยลูกปัด รายได้ต่อชิ้น 200–300 บาท” เมื่อฉันอยากรู้เรื่องการจัดการบริหารเงินภายใน กลุม่ ก๊ะอ าซยี ะเล่าว า่ ม กี ารเก็บเงินล งหนุ้ จ ากสมาชิกค รึง่ หนึง่ ก๊ะเองออกครึง่ ห นึง่ เช่น ล งทุน 1,000 บาท สมาชิก ออก 500 บาท ก๊ะอ อก 500 บาท เมื่อขายได้และ
73
74 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
หักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว กำไรที่ได้จะหักเข้ากองกลาง เก็บอ อมทรัพย์ไว้ 2% อีก 1% เอาไว้สมทบทุนหากมี ผูเ้ สียช วี ติ ในหมูบ่ า้ น ส่วนแบ่งข องกำไรทเี่ หลือจ งึ เป็นการ แบ่งเท่าๆ กัน ขอขีดเส้นใต้คำนี้แบบเข้มๆ ส่วนหนึ่งของรายได้ คือการแบ่งปันสู่ชุมชน ทุกก ลุ่มทำเหมือนกันห มด นี่คือ สิ่งทฉี่ ันได้เรียนรู้จากมะนังดาลำ ก่อนลาจาก ฉันไม่ลืมหยิบขนมหวานๆ หน้าตา คุ้ น ๆ จะว่ า ถั ง แ ตกก็ ไ ม่ ใ ช่ มั น ค ลั บ ค ล้ า ยค ลั บ ค ลา ก๊ะอาซียะบอกว่าเป็นขนมพื้นบ้านกินกับน้ำชา เพิ่ม ความหวานเสียก ่อนแล้วค่อยเดินทางต่อไป
อมรรัตน์ หมุดทอง
75
78 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
5
เมื่อเราพร้อมจะดูแลกัน
ข้าวยำ ทำเรื่อง (ดี) “ปัญหามาจากข้าวยำ” ได้ยินครั้งแรกฉันถึงกับ ตกใจ คำถามต่อมา “ข้าวยำทำไม เกิดอะไรกัน” ข้าวยำ กับกองทุนมาเกีย่ วกันได้อย่างไร ฟังแล้วยังงงๆ เรากำลังอยู่กันที่ที่ทำการกองทุนสวัสดิการชุมชน บ้านกาหงษ์–แบกอ หมู่ 5 รู้มาว่าทีน่ ี่เคยมีปัญหา แต่ เกือบ 1 ปีที่ผ่านมา ปัญหาของชุมชนเริ่มคลี่คลาย จาก ความคิดเห็นคนละทาง วันนี้กลายเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว แต่ปริศนาข้างต้นยังไม่ค ลี่คลาย... สุรียัน สะมะแอ ประธานกองทุนสวัสดิการชุมชน บ้านกาหงส์–แบกอ รีบเฉลย
อมรรัตน์ หมุดทอง
“เรื่องมันเป็นอย่างนี้ เมื่อก่อนเวลามีคนเสียชีวิต เราเก็บครอบครัวละ 20 บาทเป็นคา่ ข้าวยำเพื่อแจกให้ กับผู้ที่มาทำพิธีให้กับผู้ตาย ทำแบบนี้มา 20 ปีแ ล้ว แต่ ปัญหาทเี่ กิดข นึ้ ค อื เวลาไปเก็บไม่เจอเจ้าของบา้ น สะสมๆ หลายครั้งเข้าเป็นเงินจำนวนมากขึ้น สร้างปัญหาให้กับ คนจน คนที่ด้อยโอกาสในสังคม แม้จำนวนเงินไม่มาก” ฉันเพิ่งมาถึงบางอ้อ เมื่ อ ชุ ม ชนเ ริ่ ม ม อง เห็นปัญหาของตัวเอง การ เรี ย กป ระชุ ม ก รรมการที่ มี อยูเ่ ดิมจ งึ เกิดข นึ้ เรือ่ งทพี่ วก เขาคุยกันคือ จะทำอย่างไร เพื่ อ แ ก้ ปั ญ หาแ ละใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ ต่ อ ค นในชุ ม ชน นั่นคือโจทย์แรก ที่ประชุม เสนอว่ าใ ห้ท ำเป็ นกอ งทุ น นิรอยาลี อันนาบาวี สวัสดิการชุมชน
79
80 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
จากนั้นเริ่มถามความเห็นจากชาวบ้านว่ามีใคร อยากเข้าเป็นสมาชิกกองทุนฯ ไหม หลายคนเห็นด้วย กองทุนฯ นจี้ งึ เกิดข นึ้ ว นั ท ี่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 พร้อม ร่างกฎระเบียบที่ชัดเจนขึ้นมา มีค ่าสมัคร 200 บาทต่อ ครอบครัว เก็บเงินครัวเรือนละ 20 บาทต่อเดือน หาก ครอบครัวไหนมีคนเดียว จ่ายค่าสมัครเพียง 100 บาท จ่ายรายเดือน 10 บาท ถ้ามีผ เู้ สียช วี ติ ก องทุนฯ จะจา่ ย ให้ครอบครัวละ 8,000 บาททนั ที เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ในการประกอบพิธีศพ ผลปรากฏว่ามคี นมาสมัครเกือบ หมดทงั้ ห มูบ่ า้ น ระยะเวลา 10 เดือนทผี่ า่ นมามผี เู้ สียช วี ติ ประมาณ 8 คน กองทุนฯ จ่ายเงินไปแล้วประมาณ 50,000 กว่าบาท มีจ ำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ต้อง รับผดิ ช อบ 1,000 กว่าค นจากสมาชิก 300 ครอบครัว ฉันถามว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ กับการจูนความคิด คนในชุมชนให้เห็นตรงกัน ที่นี่ทำอย่างไร นิรออารี อันนาบาวี เลขากองทุนฯ บ้านแบกอ เข้าม าสมทบอกี ค น ผูช้ ายในชดุ โต๊ปย าวสขี าว สวมหมวก สีดำ สายตามุ่งมั่น เล่าย้อนที่มาเพื่อร่วมแก้ปัญหาที่ ทับซ ้อนมาแต่โบร่ำโบราณ “เราตงั้ ค ำถามวา่ ทำไมเมือ่ ม าถงึ ย คุ ข องเรา เราจะ แก้ไขไม่ได้ เรามที งั้ ค ณะกรรมการหมูบ่ า้ น คณะกรรมการ มัสยิด ผูบ้ ริหารฝา่ ยปกครอง หลายๆ หน่วยงาน เราเห็น
อมรรัตน์ หมุดทอง
ตรงกนั ว า่ อ ยากยกระดับส ร้างสงั คมเราให้น า่ อ ยูม่ ากยงิ่ ข นึ้ หากสงั คมเรามคี วามเข้มแ ข็ง เราคดิ ว า่ ห ลายๆ ปญ ั หาใน สังคมสามารถแก้ได้ นี่คือความเห็นร่วมของ 2 ชุมชน” การร่วมคิดร่วมหารือวันนั้นทำให้เกิดการรวม ความคดิ เป็นห นึง่ เดียว ได้เห็นว า่ ห ลายๆ คนมคี วามรสู้ กึ เหมือนกัน คือไม่ต้องการให้สังคมตกอยู่ภายใต้ปัญหา และอยากให้เกิดก ารพฒ ั นา อยากให้ม คี วามเปลีย่ นแปลง ที่ดีเกิดขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของทาง อบต. เรื่อง ช่วยกันขับเคลื่อนตำบลส่สู ุขภาวะ คณะกรรมการมัสยิด เองก็รู้สึกเช่นนี้ ทุกครั้งที่มีการประชุมจึงมีการพูดคุย เรือ่ งปญ ั หาทเี่ กิดข นึ้ หลายๆ ฝา่ ยให้ข อ้ เสนอใหม่ๆ เมือ่ มีกองทุน ความเปลี่ยนแปลงเกิดข นึ้ ความไม่เสมอภาค หมดไป “เราให้ค วามสำคัญเท่าก นั ท งั้ คนรวย คนจน คนดอ้ ย โอกาส จริงๆ แล้วหลักก ารอสิ ลามตอ้ งให้ค วามชว่ ยเหลือ ซึ่งกันและกันเมื่ออยู่ด้วยกัน แต่เมื่อก่อนเราไม่ได้สร้าง ระบบตรงนี้เพราะศรัทธาอ่อนแอ กองทุนสวัสดิการนี้ เป็นส่วนหนึ่งท ี่ทำให้ชุมชนของเราเข้มแข็งขึ้นม า มีความ รักใคร่ม ากขึ้น “เดี๋ยวนี้บรรยากาศในชุมชนมีความครึกครื้นดี ต่างจากสมัยก อ่ นทมี่ คี วามเงียบเหงา โดยเฉพาะทสี่ สุ าน เวลาที่มีผู้เสียชีวิตมีความร่วมมือเกิดขึ้น ความรักใคร่
81
82 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
สมานฉันท์ม ากขนึ้ และทกุ ค รัง้ ท มี่ กี ารพฒ ั นาชมุ ชนเราจะ เรียกมาง่ายเพราะมีเป้าหมายเดียวกัน มีจดุ ยืนเดียวกัน เพราะทุกคนต้องการที่จะพัฒนา” ทุกว นั น กี้ องทุนส วัสดิการชมุ ชนบา้ นกาหงษ์–แบกอ จะมกี ารประชุมคณะกรรมการทกุ ๆ 3 เดือน เพือ่ พ ดู ค ยุ กันเกี่ยวกับงานที่ทำไปแล้ว ปัญหาขัดสนในการดำเนิน การที่ผ่านมา กรณีสมาชิกที่อยู่ต่างจังหวัดเสียชีวิตจะ แก้ปัญหาอย่างไร หรือคนนอกชุมชนที่ต้องการเข้ามา เป็นสมาชิกจะจัดการอย่างไร จะดำเนินการอย่างไรเมื่อ สมาชิกเพิ่มขึ้น และหาวิธีการขยายกองทุนให้เติบโต อย่างไรเพื่อช ่วยเหลือในด้านอื่นๆ ต่อไป ชัดเจนแล้วว่าหากเรามองเห็นปัญหา หนทาง แก้ไขย่อมตามมา ชาวบ้านบ้านกาหงส์–แบกอ เดินมา ถึงจุดนี้แล้ว
กู้ภัย กูช้ีพ ใจดี “วันนั้นหนึ่งทมุ่ ตรง มีเหตุการณ์ย ิงพ่อค้าลองกอง ทีบ่ า้ นกาแระ ทีต่ งั้ ข องบา้ นนายก อบต. นัน่ แ หละ ตอนนนั้ เพิ่งตั้งก ลุ่มใหม่ๆ เลย มีคนบาดเจ็บ–เสียช ีวิตประมาณ 6 ราย เป็นเหตุการณ์ท ตี่ นื่ เต้นท สี่ ดุ ก ว็ ่าได้ ถือว่าต อ้ นรับ น้องใหม่” มะสุกรี แวกามา หัวหน้าหน่วยกู้ภัยกู้ชีพ
อมรรัตน์ หมุดทอง
หน่วยบริการทางการแพทย์ฉกุ เฉินข องตำบลมะนงั ด าลำ ย้อนความหลังให้ฟังเมื่อฉันอยากรู้ว่าชีวิตอาสาสมัคร แบบนี้มเีรื่องตื่นเต้นบ้างไหม “แล้วรู้สึกอย่างไร กลัวบ้างหรือเปล่า?” ฉันอด ถามต่อไม่ได้ ถึงแม้มะนังดาลำจะไม่ใช่พื้นที่อันตราย ที่หลายคนหวาดกลัว แต่พอขึ้นชื่อว่า 3 จังหวัดแล้ว ความสนใจมักพุ่งไปสู่เรือ่ งการก่อความไม่ส งบเป็นหลัก “เวลาทมี่ เี หตุการณ์ไม่ส งบ เราตอ้ งไปเพราะหน้าที่ ก็ต อ้ งไปดว้ ยใจ ทีผ่ า่ นมาหมู่ 6 จะมเี หตุการณ์บ อ่ ยหน่อย มีการยิงเจ้าหน้าที่ทหารพราน ก็รู้สึกเสียวเหมือนกัน แต่เราก็ต้องรอให้เขาเคลียร์พื้นที่ให้เรียบร้อยก่อนถึงจะ
83
84 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
เข้าไป” ฉันตื่นเต้นตาม “เวลาที่งานหนักๆ บางทีตหี นึ่ง ตีสองเขาเรียกมา มันเป็นหน้าที่ของเรา ต้องไป บางทีมี คนปวดท้องคลอดลูก ดึกย ังไงก็ต้องไปรับ” บังมะสุกรี เล่าไปยมิ้ ไป ฉันยังซักต่อ เมื่อต้องทำงานภายใต้เหตุการณ์ที่ ไม่สงบในพื้นที่ ต้องระวังตัวอย่างไรบ้าง หัวหน้าห น่วย กูภ้ ยั ค นนตี้ อบอย่างคนทไี่ ด้ร บั ก ารฝกึ ฝนมาแล้วว า่ เวลา มีเหตุการณ์ อันดับแรกต้องประสานกับเจ้าหน้าที่ว่า เคลียร์ห รือย งั เพราะตอ้ งคำนึงถ งึ ค วามปลอดภัยข องเรา เป็นอันดับแรก ส่วนมะลีเพ็ง สาและ เพื่อนร่วมทีมท่นี ั่ง อยู่ข้างๆ บอกอย่างห้าวหาญว่า...ไม่กลัว “เวลาที่ต้องไปในพื้นที่อันตรายก็เสี่ยงเหมือนกัน แต่ไม่กลัวเพราะต้องตายกันทุกคน เราไปทำหน้าที่
อมรรัตน์ หมุดทอง
ประชาชนเดือดร้อน เมื่อเราอาสาแล้วเราก็ต้องช่วย แต่ ก่อนหน้านี้เราเคยได้รับการอบรมในการปฏิบัติตัวเมื่อมี เหตุการณ์ไม่ส งบเกิดข นึ้ เช่น ห้ามเข้าร ะยะใกล้ๆ ในรศั มี ที่อันตราย” เขาชูนิ้วโป้งทำท่าให้ดูตามทเี่คยอบรมมา แต่งานหลักๆ ของหน่วยกู้ภัย กู้ชีพ บังมะสุกรี บอกวา่ ไม่ใช่เหตุการณ์ท เี่ กิดจ ากความไม่ส งบหรอก คนไข้ คนปว่ ยในตำบลนแ่ี หละ เพราะบางคนอาการหนักต อ้ งไป โรงพย าบาลด่วน ชาวบ้านเจ็บป่วยฉุกเฉินตอนกลางคืน เจ็บท้องคลอดเราก็พาส่งโรงพยาบาล ในเขตพื้นที่ใกล้ เคียงมี 3 แห่ง โรงพยาบาล อ.สายบุรี อ.ไม้แก่น และ อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี ชาวบ้านบางคนลำบากไม่มีพาหนะ ก็เรียกใช้บริการได้ ทีส่ ำคัญฟรี ต้นสายปลายเหตุเกิดจากนายก อบต. มหามัติ
85
86 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
ขวัญใจประชาชนคนมะนังดาลำนั่นเอง หน่วยบริการ ทางการแพทย์ฉุกเฉินหรือหน่วย EMS จึงเกิดขึ้นมาได้ 2 ปีแล้ว ตั้งแต่ว ันที่ 1 มิ.ย. พ.ศ. 2553 สืบเนื่องจาก นายก อบต. คนนี้มีความคิดว่าจะให้บริการคนในเรื่อง ของสาธารณภัย เรื่องกู้ภัยจากเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ได้อย่างไร จึงเปิดรับอ าสาสมัครภายในชุมชนขึ้น ขณะนี้ มีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 10 คน ประจำอยู่แต่ละชุมชน 6 หมูบ่ า้ น เจอหน้าน ายกมหามัต จิ งึ ช วนคยุ ถ งึ เรือ่ งนี้ เลยได้ รู้ต่ออ ีกว่าสุขภาพทเี่ชื่อมโยงกับวิถีมสุ ลิมนั้นเป็นอย่างไร “เรื่องสุขภาพก็เป็นเรื่องหนึ่งในหลักศาสนา เรา จะดูแลในเรื่องวิถอี ิสลามแบบไหน หลายๆ เรื่องเรายัง ไม่ได้อยู่ในวิถีอสิ ลาม เช่น เรื่องการตรวจภายใน เรา ยังมีหมอที่เป็น ผู้ชาย วิถีตรงนี้เราจะทำอย่างไร ผม พยายามเข้าไปจุดประกายหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในพื้นที่ การตรวจภายในเราตอ้ งอาศัยพ ยาบาลทเี่ ป็นผ หู้ ญิง การ ฉีดยา การให้ยาต้องกล่าว ‘บิสมิลลาฮ์’ นี่คือจุดเริ่มต้น การรักษา การให้บ ริการต้องยิ้มแย้มแจ่มใส นี่คือความ เป็นมุสลิม “เราไปนงั่ อ ธิบายวา่ ยาไม่ได้ท ำให้ค ณ ุ ห ายนะ ขึน้ อ ยู่ กับความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้าด้วย ฉะนั้น การรกั ษา ก็จะได้รักษาทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยไปด้วยกัน
อมรรัตน์ หมุดทอง
แล้วเราก็เชื่อมโยงการดูแลรักษาสุขภาพด้วยการเปิด คลินกิ ร กั ษ์ส ขุ ภาพเพือ่ เข้าม าดแู ลสขุ ภาพของคนในชมุ ชน ในชว่ งเวลาท ี่ รพ.สต. ปิดท ำการ แทนทีเ่ ขาจะไปหาคลินกิ เอกชน เว้นเสียแต่ว่าเกินความสามารถของเราก็จะมี หน่วย EMS ส่งต่อไปที่โรงพยาบาล หน่วย EMS ของ เราได้ร างวัลด เี ด่นอ นั ดับห นึง่ ข องจงั หวัดป ตั ตานี” นายกฯ คุยอย่างภูมิใจ “นอกจากนี้ยังมีการดึงแพทย์แผนโบราณเข้ามา ด้วย การรักษาของมุสลิมมันเป็นกระบวนการเพราะมัน คือส ว่ นหนึง่ ข องการรกั ษา ยากม็ าจากสมุนไพร เพียงแต่ แพทย์แผนปัจจุบันมีการวิจัยใช้เรื่องเคมีเข้ามาอธิบาย หมอสมุนไพรจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของประชาชน” ยิง คำถามเดียว บังมัติตอบเป็นฉากๆ ครบถ้วนกระบวน ความ ไหนๆ ท่านนายกฯ ก็คุยถึงความสามารถของ EMS แล้ว ฉันเลยถามหัวหน้าห น่วยว่ารู้สึกอย่างไรบ้าง “ประชาชนยอมรับในหน่วยกภู้ ยั กูช้ พี ข องเรา เสียง ตอบรับจากประชาชนดี หน่วยเราได้โล่จากศูนย์นเรนทร จากยอดผู้ป่วยที่เราให้บริการมากที่สุด แสดงว่ามีคน ใช้บริการเยอะ” บังมะสุกรียิ้มระรื่นพ ร้อมคุยต ่อว่า ทุก วันนี้เรานำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเดือนหนึ่งประมาณ 15 เคส
87
88 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
รักษ์สุขภาพ คลินิกไม่มวีันปิด (ทำการ) พอดีวันนั้นเป็นวันจันทร์ บ้านกาแระมีตลาดนัด ส่งผลให้คลินิกรักษ์สุขภาพมีคนไข้ทยอยมาใช้บริการ กว่า 30 คน ชั่วเวลาแค่ไม่กี่ชั่วโมง ซูลใบดะห์ เจะเงาะ เจ้าหน้าที่พยาบาลที่รับหน้าที่วันนั้นจึงง่วนอยู่กับการ รักษาผู้ป่วย ฉันจดๆ จ้องๆ อยากคุยด้วย แต่ต ้องรอให้ เธอทำหน้าที่เสียก่อน นอกจากเธอแล้วยังมีเจ้าหน้าที่ ที่ผลัดเปลี่ยนมาเข้าเวรทคี่ ลินิกแห่งนี้อีก 2 ท่าน คือ ต่วนพาตีเมาะ กูย ี่งอ และยูไมด๊ะ มะจะ คนน้นี ามสกุล คุ้นๆ ไม่ใช่ใครที่ไหน ภรรยานายกฯ นั่นเอง ทั้งสามคน ทำงานอยูท่ ี่โรงพยาบาลกะพ้อแ ละเป็นคนในพื้นที่
อมรรัตน์ หมุดทอง
คลินิกรักษ์สุขภาพตั้งอยู่ที่บ้านนายกมหามัติ เพิ่ง ก่อตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เปิดทำการวัน จันทร์–ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 17.00–21.00 น. วันเสาร์เวลา 9.00–15.00 น. ส่วนวนั อ าทิตย์เปิดค รึง่ ว นั คุณพ ยาบาล ใจดีแจกแจงให้ฟ ัง “ในพื้นที่ตำบลมะนังดาลำมี รพ.สต.อยู่ 2 แห่ง แต่ก่อนหน้านี้ รพ.สต. 1 แห่งได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อปี 2548 จึงปิดให้บริการ ย้ายบุคลากรทั้งหมดมาให้บริการที่ รพ.สต.ซึ่งเหลืออยู่ เพียงแห่งเดียว คนทมี่ าใช้บ ริการทนี่ จี่ ะเป็นไข้ห วัดธ รรมดา มีอ าการปวดเมื่อยเพราะทำสวนกันเป็นส่วนใหญ่ มาหา
89
90 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
ย าหรือฉ ดี ยาแทนทีจ่ ะไปตามคลินกิ เอกชน เราเก็บเพียง 9 บาท ช่วยแบ่งเบาภาระเรื่องเงินให้กับชาวบ้านได้” “นายกฯ มองมิติด้านสุขภาพ เป็นการทำงาน ต่อเนื่องจาก รพ.สต. ในพื้นที่ที่เปิดบริการเฉพาะเวลา ราชการ จึงม กี ารบริหารจดั การโดยนำเงินก องทุนส ขุ ภาพ มาดำเนินการตรงนี้” คนรู้ใจนายกมหามัต บิ อก
อมรรัตน์ หมุดทอง
“บริบทคนทนี่ จี่ ะทำสวน ก็จ ะมโี รคปวดเมือ่ ยระบบ กล้ามเนือ้ ถ้าเป็นโรคเรือ้ รังเราจะแนะนำให้เขาไปรกั ษา ที่โรงพยาบาล เพราะต้องมีการดูแลรักษาพิเศษและ ต่ อ เ นื่ อ ง คลิ นิ ก รั ก ษ์ สุ ข ภาพท ำให้ คนที่ อ ยู่ ไ กลจ าก รพ.สต. มาใช้บริการสะดวกขึ้น ยิ่งนานวันคนไข้ยิ่งเพิ่ม มากขึ้น” “เหนื่อยไหม?” ฉันถ าม เธอบอกว่าคนไข้ต ้องมา เป็นอันดับหนึ่ง สามารถทุ่มเทได้เพราะถูกปลูกฝังมา แบบนี้ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกะพ้อเป็นตัวอย่างที่ดี ที่จะนำมาใช้กับชีวติ “คุณห มอเดชาเป็นไทยพทุ ธ เวลามเี หตุการณ์อ ะไร เกิดข นึ้ ท่านไม่เคยคดิ จ ะยา้ ยกลับบ า้ นเลย และยงั ม หี มอ อีกค นทมี่ าจากทอี่ นื่ เป็นแ บบนเี้ หมือนกนั พวกเราซมึ ซับ ตรงนี้เข้ามาสู่ตัวเรา อีกอย่างท้องถิ่นจะให้ความสำคัญ ในเรื่องสุขภาพน้อย เมื่อผู้บริหารท้องถิ่นที่นี่เห็นความ สำคัญตรงนี้ เราก็มีศักยภาพที่จะมาชว่ ย” ยูไมด๊ะบ อก ความรู้สึกน ี้ไม่ต่างจากซูลใบดะห์ “เราทำงานตรงนี้แล้วอย่างน้อยเราได้ช่วยคนใน พืน้ ที่ เขามคี วามคนุ้ เคยกบั เราอยูแ่ ล้ว คลินกิ ร กั ษ์ส ขุ ภาพ จะมีความเชื่อมโยงกับหน่วยกู้ภัยกู้ชีพ หากเกินความ สามารถกจ็ ะเรียกรถ EMS ส่งผ ปู้ ว่ ยไปยงั รพ. ใกล้เคียง”
91
92 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
ใจอยากรักษา…รักษาใจ เมือ่ ถ ามถงึ แ ซมซู เจะโซะ หมอพนื้ บ า้ น เจ้าห น้าที่ พยาบาลทงั้ ส องบอกวา่ เขามีค วามรหู้ ลายอย่างทนี่ า่ ส นใจ จึงกลายเป็นอีกฐานเรียนรู้ด้านสขุ ภาพในตำบล “ส่วนมากจะดูแลในเรื่องของสูตินารี น่าจะเป็น อีกทางเลือกหนึ่งได้เพราะโรคระบบของผู้หญิงจะเป็น กันเยอะ บ้านเราบางคนก็อายในการตรวจรักษา คน แถวนี้เขาไม่กล้าขึ้นขาหยั่ง ชาวบ้านเขาไม่กล้า แพทย์ พื้นบ้านใช้ยาสมุนไพรก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เป็น ที่พึ่งของชุมชนได้”
อมรรัตน์ หมุดทอง
มาถึ ง บ้ า นหมอส มุ น ไพร สิ่ ง ห นึ่ ง ที่ ข าดไ ม่ ไ ด้ คือบรรดาสมุนไพรหลากหลายชนิด เท่าที่หมอแซมซู หยิบม าให้ด นู บั แ ล้วกวา่ 10 ชนิด สมุนไพรเหล่าน ตี้ อ้ งไป เก็บในป่าหรือตามตีนเขา ขึ้นยาก จะมีก็แต่ในป่ารกทึบ เท่านั้น แต่หมอแซมซูได้พยายามนำมาทดลองปลูก ในสวนบ้างแล้วเพื่อเป็นแหล่งเรียนรขู้ องผู้สนใจ ศาลาฝาไม้ไผ่ขัดคือท่ีเก็บสมุนไพรและสถานที่ ให้บริการไปในตัว ใครไปใครมาก็นั่งกันอยูแ่ ถวนี้ หมอ แซมซตู ม้ ย าสมุนไพรยนื่ ให้ผ มู้ าเยือนชมิ พร้อมบอกวา่ ถ า้ ไม่มโี รคอะไร ยานกี้ ไ็ ม่มผี ลเสียก บั ร า่ งกาย ถือว่าเป็นการ ดืม่ เพือ่ ป อ้ งกัน แต่ถ า้ ม โี รคทตี่ รงกบั ส รรพคุณก จ็ ะได้ช ว่ ย
93
94 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
รักษา แต่ดื่มค รั้งเดียวคงช่วยไม่ได้หรอกนะ ต้องใช้เวลา ไม่เหมือนยาแผนใหม่ที่ให้ผลปุบปับฉ ับพลัน ในสมัยท หี่ มอแซมซเู ป็นเด็กม กั ช อบตามตากบั ย าย เข้าป่าไปเก็บสมุนไพร แต่ต อนนนั้ เขาบอกว่าไม่ได้สนใจ หรอก ทว่าความเป็นหมอยาสมุนไพรสืบทอดมาจาก บรรพบุรุษต ั้งแต่รุ่นทวดแล้ว เมื่อตากับยายเริ่มอายุม าก รักษาไม่ไหว เขาจงึ กลายเป็นผู้รักษาแทน “เรื่องความรู้ไม่ได้เรียนหรือสอนกันหรอก แต่ผม เกิดในสมุนไพร เห็นมาแต่เด็ก มันค ล้ายกับพรสวรรค์ เราเห็นอยู่ทุกวัน” หมอแซมซูบอ ก ส่วนฉันก็พยายาม ซักต่อ “แล้วหมอรไู้ด้ยังไง?” “ก็บอกแล้วไงว่าเกิดในสมุนไพร” หมอย้ำ ฉัน เลยตีความว่าคงเป็นลักษณะครูพักลักจ ำ
อมรรัตน์ หมุดทอง
“เมือ่ ก อ่ นผมไม่เคยสนใจหรอก แต่อ ยูๆ ่ ความรสู้ กึ มันเกิดขึ้นมาเอง เริ่มจ ากตากับยายรักษาไม่ไหว เรียก เราไปช่วย จากนั้นเวลาเห็นคนเจ็บอยากให้เขาหาย แต่ เรื่องสมุนไพร เราสามารถบอกได้ว่าสมุนไพรชนิดไหน รักษาโรคไหน มันมีสรรพคุณในการช่วยรักษาอยู่แล้ว สามารถสอนให้กันได้” วิธีการที่ใช้นั้นมีทั้งกดจุด ใช้สมุนไพร หรือแม้ กระทั่งไสยศาสตร์ในบางกรณี ฉันเลยตีความเอาเองอีก ว่า กระบวนการรักษาแบบพนื้ บ้านไม่ใช่เพียงการรักษา
95
96 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
กายแต่จ ะรกั ษาใจควบคูไ่ ปดว้ ย เมือ่ ใจสบายหมดความ กังวล โรคทางกายคงค่อยๆ ทุเลาลงด้วยสรรพคุณของ สมุนไพร ถ้าจะนั่งคุยเรื่องสรรพคุณของสมุนไพรกับ หมอแซมซูคงต้องอยูท่ ี่นี่ต่ออีกสัก 1 เดือน เอาเป็นวา่ โรคที่คนมักจะมาให้ช่วยรักษาส่วนใหญ่เป็นปัญหาของ ผู้หญิง อย่างเช่นโรคเกี่ยวกับมดลูก รังไข่ เต้านม ลำไส้ อักเสบ ปวดขอ้ ไมเกรน หรือก ระทัง่ ค นมลี กู ย ากแต่ไม่ได้ เป็นหมัน รวมถึงการดูแลสุขภาพหลังคลอด
อมรรัตน์ หมุดทอง
“เวลาที่เราตรวจจะไม่ได้ไปสัมผัสร่างกายเขานะ แต่ผมจะใช้ไม้สัม ผัส แตะที่ตัวแทนมือ” หมอแซมซู อธิบายพร้อมกับท ำให้ดูเป็นตัวอย่าง หากมีปัญหาเกี่ยว กับข้อ เส้นเอ็น หมอจะใช้วิธีการกดจุด สู ติ น ารี แ ผนโ บราณ คื อ ชื่ อ ฐ านเ รี ย นรู้ แ ห่ ง นี้ หมอแซมซูเริ่มต ้นรักษาผู้ป่วยตั้งแ ต่พ.ศ. 2544 ถึงว ันนี้ เกือบ 10 ปีแ ล้ว ทว่าค วามเชือ่ ถ อื จ ากคนในทอ้ งถนิ่ ม มี า ตั้งแต่ส มัยต ายาย จนเมื่อ อบต. เล็งเห็นค วามสำคัญของ ภูมิปัญญาดงั้ เดิมนี้ว่าควรได้รับก ารรักษาสืบทอดไว้ “เราช่วยชาวบ้าน เพราะการรักษาเราไม่ได้คิดเงิน เราแค่ช่วยเขา เขาจะให้เอง บางคนไม่มี เราก็ไม่ได้เอา เราเห็นคนมีความเจ็บปวด เราก็ต้องช่วย บอกไม่ถูก เหมือนกัน คนไข้มายังไงเราต้องช่วยเขาก่อน บางที ตี 1 ตี 2 ยังม าปลุกเลย ถ้าค นไข้ห ายเรากส็ บายใจ ดีใจ ภูมิใจที่เรารักษาเขาได้” ตบท้ายวันนั้น หมอแซมซูคุยให้ฟังว่า เคยมี นักศึกษาไทยที่เรียนเภสัชอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นสนใจอยาก เรียนรู้ และนำตัวอย่างสมุนไพรไปทำการวิจัย “แกบอกว่าถ ้าจบจะมาทำวิทยานิพนธ์กับผม”
97
100 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
6
สายน้ำแห่งชีวิต
‘เปาะลง’ คือผ้นู ำแห่งจ ิตวญ ิ ญาณซึ่งเป็นที่นับถือ ของคนในพื้นที่ ใครจะทำอะไรในจลาโกต้องมาปรึกษา ก่อน เขาเป็นผู้อาวุโสในหมู่บ้าน อยูก่ ับลุ่มน้ำมาตั้งแต่ เล็กๆ เห็นความเปลี่ยนแปลงของลมุ่ น้ำมาตลอด ‘ผูเ้ ฒ่าแ ห่งล มุ่ น ำ้ จ ลาโก’ คือฉ ายาทเี่ หมาะสมทสี่ ดุ สำหรับเปาะลง หรือยีด ิง สาแม ประธานกลุ่มอนุรักษ์ ลุ่มน้ำจลาโก ผู้ทำให้ฉันจินตนาการไปถึงผู้เฒ่าเผ่าซู ในหนังค าวบอยทพี่ ดู ถ งึ ดินแ ดนของชาวอเมริกนั พ นื้ เมือง ที่วันนี้เป็นเพียงตำนาน ทว่าที่นี่ ลุ่มน้ำจลาโก ยัง ไม่สายเกินไป
อมรรัตน์ หมุดทอง 101
ช่วงน้ำ ขึ้น ในเวลาเช้า ขณะต ะวั น ก ำลั ง ส าดแ สง และช่วงเย็นก่อนตะวันจะลับ ขอบฟ้า คือเวลาที่ผู้ชายชาว จลาโกออกหาปลา พวกเขา มีทักษะและความชำนาญใน การห าป ลาม าแ ต่ ค รั้ ง อ ดี ต เกิ ด อ ยู่กั บ น้ ำ โตอ ยู่ กั บน้ ำ และกนิ อ ยูก่ บั น ำ้ คำนไี้ ม่น า่ จ ะ เกินเลย แต่แล้วสายน้ำที่เคย หล่ อ เ ลี้ ย งชี วิ ต ก ลั บ ถู ก ย่ ำ ยี เปลี่ ย นค วามอุ ด มส มบู ร ณ์ ของพื ช พั น ธุ์ – สั ต ว์ น้ ำ เ มื่ อ วันว าน จนเกือบจะเหลือเพียง ‘เปาะลง’ ยีด ิง สาแม เรื่องเล่าแห่งความทรงจำ “เมื่อสายน้ำเปลี่ยนแปลงไป จับปลาได้น้อยลง” เปาะลงบอกเล่าด้วยภาษาถิ่นมลายูโดยมีลูกหลานช่วย แปลอีกที “ก่อนหน้าน ี้อยู่กันโดยไม่ได้สนใจกันเท่าไหร่ ต่าง คนต่างอยูร่ ะหว่างคนกับน้ำ อยากทำอะไรก็ทำ” บังมัติ นายก อบต. คนเดิมย้อนความหลังให้ฟัง
102 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
“ชาวบ้านจลาโกมีความสัมพันธ์กับ ลุ่มน ้ำมานาน เพราะลุ่มน้ำนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิด ไม่ว่าจะเรื่องสัตว์น้ำ การปลูกแตงกวา แตงโมก็อาศัยแหล่งน้ำจลาโกนี้มาช่วย แหล่งน้ำช่วยหล่อเลี้ยงการทำมาหากิน ของคนในบ้านจลาโก” ย้อนกลับไปกว่า 5 ปี ลองนกึ ภ าพ ป ญ ั หาขยะในลมุ่ น ำ้ จ ลาโก การจบั ป ลา ไม่เป็นระบบ มีคนภายนอกเข้ามา เบื่ อป ลาด้ ว ยส ารเคมี ห รื อใ ช้ ไ ฟฟ้ า
อมรรัตน์ หมุดทอง 103
ช็อต มีการจับปลาในฤดูวางไข่ นายทุนเข้ามาขุดทราย การกระทำเหล่านี้ทำให้ลุ่มน้ำจลาโกเปลี่ยนไปจากเมื่อ ครั้งอดีต “วันหนึ่งทางกลุ่มเริ่มเห็นความสำคัญ ผมก็เลย บอกว่าเราขาดเขาไม่ได้ เราต้องอยู่อย่างสมดุล จะอยู่ อย่างไรให้น้ำเป็นสายน้ำแห่งชีวิต” นายกฯ มหามัติคือ ผู้ช่วยจุดประกาย “เราเริ่มตั้งกลุ่มมาตงั้ แต่ปี 2550 ก่อนหน้านั้น ปลาในลุ่มน้ำจลาโกน้อยลงมาก เวลายกยอได้วันหนึ่ง ไม่ถึงขวดโหล” อาดือแนง ยูโซะ หนึ่งในสมาชิกกลุ่ม ลูกหลานคนจลาโกขานรับ จากนั้นมีการวางระเบียบในเรื่องการอยู่กับน้ำ ทุกคนจึงมาน่ังคุยกันว่าระเบียบของพวกเขาจะมีอะไร บ้าง เปาะลงเป็น ผู้รวบรวมสมาชิกทั้งหมด มีการตั้ง คณะกรรมการเพือ่ เข้าไปดแู หล่งน ำ้ นายทุนจ ะเข้าม าตอ้ ง ผ่านคณะกรรมการชดุ น กี้ อ่ น ด้วยความตระหนักว า่ พ นื้ ที่ นี้เป็นของชุมชน ชุมชนต้องเป็นผู้จัดการ ชุมชนต้องเป็น ผู้อนุญาต และชุมชนต้องร่วมกันร ับผ ิดชอบ ทั้งยังมีการ อนุรักษ์ก ารจับป ลาแบบดั้งเดิมคือ การยกยอ วันน ตี้ ลอด 7 กิโลเมตรของสายน้ำจ ลาโก ชาวบา้ น ในบ้านจลาโกจึงช่วยกันดูแลรับผิดชอบ สายน้ำนี้ยัง ไหลผ่านตำบลละหารในอำเภอสายบุรีจนไปถึงจังหวัด
104 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
นราธิวาส ตอนนี้ชาวบ้านใกล้เคียงเริ่มมาเรียนรู้กับ ชาวบ้านจลาโกแล้วเพราะเห็นความเปลี่ยนแปลงในทาง ที่ดีขึ้น ชาวจลาโกสามารถจับปลาได้ตลอดปี “ลุ่มน้ำจลาโกจะมีปลาตะเพียนมาก ตอนนี้ยอยก คนเดียวไม่ข นึ้ แ ล้ว บางทีค รัง้ ห นึง่ ป ลาเข้าย อเต็มก ระสอบ ปุ๋ยประมาณ 50 กิโล เห็นน้ำตื้นเขินแบบนี้ปลาเยอะ มาก” อาดือแนงคยุ ให้ฟัง ส่วนเปาะลงบอกว่าเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น สายน้ำสะอาดมากขึ้น จับป ลาได้มากกว่าเดิม รู้สึกด ีใจ และภาคภูมิใจที่มีลูกหลานช่วยกันดูแลต่อ มีคนเห็น ความสำคัญเพิ่มข ึ้น เมื่อป ลามมี ากขึ้น ปลาสดจึงตอ่ ยอดไปสู่ปลาส้ม เดี๋ยวนี้ปลาส้มมะนังดาลำเริ่มเป็นที่รู้จักของคนปัตตานี แล้ว ในอนาคตชาวจลาโกวางแผนว่าจะมีการสร้าง มาตรฐานปลาส้มมะนังดาลำเพื่อยกระดับสู่วิสาหกิจ ชุมชน “ถ้าถามหาปลาส้มในอำเภอสายบุรี เขาจะมาที่ บ้านจลาโกเป็นอันดับแรก ตอนนี้กลายเป็นแหล่งผลิต ไปแล้ว” คนจลาโกบอกด้วยความภาคภูมิใจ
อมรรัตน์ หมุดทอง 105
106 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
อมรรัตน์ หมุดทอง 107
กฎและข้อปฏิบัติร่วมของกลุ่มรักษ์ลุ่มน้ำ 1. ต้องร่วมกันทำความสะอาดลุ่มน ้ำจลาโกอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง 2. ต้องร่วมกันขุดลอกคลองที่มีจุดต นื้ เขินอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง 3. ต้องร่วมกันสอดส่องดแู ลไม่ให้คนนอกพนื้ ที่ มาทำการเบื่อปลา ช็อตปลา และจบั สัตว์น้ำตัวเล็กๆ 4. ห้ามจับปลาในฤดูวางไข่ 5. ห้ามจับปลาโดยใช้ยาเบื่อ 6. ห้ามจับปลาโดยใช้ไฟฟ้าช็อต 7. ห้ามทิ้งขยะมูลฝอยลงในแหล่งน ำ้ 8. ห้ามปล่อยน้ำเสียลงในแหล่งน้ำ 9. ห้ามปลูกสิ่งก่อสร้างถาวรวัตถุล ำ้ ลงไปในลุ่มน้ำ 10. ห้ามจับปลาโดยใช้อวนหรือยอทมี่ ีตาถี่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร 11. ต้องมีการประชุมท ำความเข้าใจอย่างน้อย 2 เดือนครั้ง 12. ต้องร่วมกันปฏิบัตติ ามกฎอย่างเคร่งครัด
108 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
จากกลิ่น...สู่แก๊สชีวภาพ กลับมาที่ฐานเรียนรู้บ้านจลาโก อาดือแนงชวน มาดูอะไรบางอย่าง “มาดูตรงนี้ นี่ไงถังหมักแก๊ส” อาดือแนง ยูโซะ ค นเดิมย งั เป็นผ นู้ ำในการทำแก๊สช วี ภาพ เดีย๋ วนเี้ ขากลาย เป็นหัวหน้ากลุ่มแก๊สชีวภาพแห่งหมู่บ้านจลาโกไปแล้ว จากเศษอาหารเหลือทิ้งส่งกลิ่นเหม็นบูดเป็นที่รังเกียจ ของผู้คนในละแวกใกล้เคียงท่ีอาดือแนงนำไปฝังเป็น ประจำ กลับกลายเป็นที่ต้องการไป “มันเริ่มมาจากผมเสียดายเศษอาหารในโรงเรียน ผมเป็นบุคลากรคนหนึ่งในโรงเรียน มันเหลือทุกวัน ผมเอาไปฝังทุกวัน ใช้เป็นอาหารเป็ดบางส่วน แต่มัน เหลือเยอะก็เลยเอามาลองผดิ ลองถูก ลองหมักจากถัง เล็กๆ ตอนนนั้ ยังไม่รู้วิธกี าร” “แล้วได้ผลไหม?” ฉันถาม คำตอบคือ “ใช้ไม่ได้” ด้วยความเป็นค นชา่ งเรียนรขู้ องอาดอื แ นง นายกฯ มหามัติจึงชวนเขาไปร่วมเรียนรู้ที่ตำบลปริก จังหวัด สงขลา ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น ร่วมขบั เคลือ่ นสตู่ ำบลสขุ ภ าวะพร้อมแกนนำอกี 30 คน ระยะเวลา 4 คืน 5 วัน ได้จ ุดป ระกายความคิดจนนำ มาต่อยอดบวกกับความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ เป็น ผลให้ วันน แี้ ม่บ ้านของเขายิ้มแ ก้มป ริเพราะไม่ต ้องควักเงินจ ่าย
อมรรัตน์ หมุดทอง 109
ค่าแก๊สอีก ถังแก๊สชีวภาพ หน้าตาสดใสที่เห็นอยู่หลัง บ้านเป็นพยานได้ดี “ไปเรียนรู้ท่ปี ริก เขา สอนว่าใช้มูลวัว 25% เศษ อาหาร 25 % ผสมกับน ้ำ เปล่า กลับมาทำก็ได้ผลเลย แต่ ม าดั ด แปลงเ พราะข อง เขาห มั ก จ ากถั ง พ ลาสติ ก ต้นทุนเขาประมาณหมืน่ กว่า บาทต่อครัวเรือน ถ้าหมื่น กว่าบาท ชาวบ้านที่นี่คงทำ อาดือแนง ยูโซะ ไม่ได้ เลยมาใช้ถังซีเมนต์ ลูกละ 150 บาท 2 ลูก 300 บาท รวมค่าแรงแล้ว 500 กว่าบาท ต้นทุน ที่นี่ 3,000 กว่าบ าทต่อครัวเรือน” เขาเล่าไปยิ้มไปด้วย ความภาคภูมิใจ ฉันเกิดอาการอยากรู้ว่าลองทำครั้งเดียวได้ผล มันง่ายอย่างนั้นเลยหรือ เขาสวมวิญญาณวิทยากร อธิบายให้ฟังถึงวิธีการหมัก “ครัง้ แ รกนำสว่ นผสมทงั้ 3 อย่างมาหมักไว้ 20 วัน และเติมเศษอาหารวนั เว้นว นั แต่ต อ้ งทงิ้ ไว้ให้บ ดู ภ ายนอก
110 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
ถังก่อนเติมน้ำ ส่วนมูลวัวที่นี่มีเลี้ยงกันทุกหลังคาเรือน บ้านละ 2–3 ตัว ยิง่ เศษอาหารในกระเพาะววั เวลาเชือด ทำบุญ อันนั้นคือแก๊สช้นั ดี “การหมักแ ต่ละครัง้ ใช้ได้ 3 ปี หลังจ ากนนั้ จ ะถา่ ย ออกแล้วห มักใหม่ มันไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าใช้จริงๆ แทบ ไม่ต้องใช้แก๊สถ ังเลย ใช้แก๊สธรรมชาติ เศษอาหารที่กิน เหลือก็เทเข้าถังไปเลย แต่ต้องปล่อยให้บูดก ่อนจึงจะทำ ปฏิกิริยาเร็ว เพราะแก๊สเราใช้วันต่อวัน “เมื่อก่อนแค่อยากลดเศษอาหาร ไม่ได้คิดว่าจะ พัฒนามาถึงจุดนี้ คิดว่าจะแก้ปัญหาของตัวเอง เดี๋ยวนี้ ใช้แก๊สที่หมักเองทำกับข้าวทุกวัน ไม่ได้ใช้แก๊สซื้อเลย
อมรรัตน์ หมุดทอง 111
แค่มีสำรองเอาไว้ ตอนนี้มีอยู่ 5 ครัวเรือนที่ใช้แก๊ส ชีวภาพจากสมาชิก 20 ครัวเรือน ทีเ่ หลือกำลังรอทำ บ่อแก๊สจากถังซีเมนต์ที่สั่งทำพิเศษให้สูงกว่าป กติ “แก๊สธ รรมชาติเป็นเรือ่ งแปลกของทนี่ ี่ ชาวบา้ นเขา จะมาดู ผมพยายามโฆษณาชกั ชวน อยากเพิม่ ป ระชากร ในหมู่บ้านให้เปลี่ยนมาใช้แก๊สธรรมชาติ” “คุม้ ไหม?” ฉันห นั ไปถามรอซดี ะ แคเมาะ แม่บ า้ น ของอาดอื แ นง เธอบอกวา่ ต อนนใี้ ช้แ ก๊สช วี ภาพทำกบั ข้าว ทัง้ เช้าแ ละเย็น แถมยงั ท ำซาลาเปาไปขายตอนเช้าอ กี ด ว้ ย ส่วนมะลาเซง มือแนง หนึ่งในสมาชิกบอกว่ากำลังรอถัง
112 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
ที่สั่งทำอยู่ เขาว่าค ุ้มค ่าและประหยัดก ว่าแก๊สถังอยู่แล้ว ก่อนจบ–ลาจาก บทส่ังลาคือขนมอร่อยๆ จาก เตาแก๊สชีวภาพ แกมกับการแสดงลิเกฮูลูของบรรดา ศิลปินตัวน้อยแห่งหมู่บ้านจลาโก จากนั้นเสียงกลอง รำมะนาก็ดังขึ้น... เมือ่ ห นั ไปหานายกมหามัต ิ ถามวา่ “นายกฯ อยาก ฝากอะไรไหม?” ข้อความต่อจากนี้ต้องขดี เส้นใต้หนาๆ “ผมคดิ ว า่ การทำงานตรงนเี้ รามาถกู ท างแล้ว เพียง แต่ว่าต้องดึงและทวงความสุขกลับคืนมาสู่พื้นที่ให้ได้ มากที่สุด วันนพี้ ื้นที่ 3 จังหวัดช ายแดนภาคใต้ค่อนข้าง จะมปี ญ ั หาหลายๆ เรือ่ ง มีความไม่เข้าใจหลายๆ เรือ่ ง” และย้ำว่า “นี่เป็นบททดสอบหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า “ถ้าทุกคนพร้อมขยับแล้วเรียกความสุขคืนมาสู่ พืน้ ที่ ต้องอาศัยพ ลังต รงนี้ ผมเข้าใจอย่างนี้ เพราะฉะนัน้ 7 ระบบทเี่ กิดข นึ้ ค อื 7 ระบบแห่งค วามสขุ 22 ฐานแห่ง ความสามัคคี ผมเชื่อว่าพื้นที่ตรงนี้พร้อมที่จะเปิดและ แลกเปลี่ยนกับทุกพื้นที่เข้ามา เรายังไม่มีความสมบูรณ์ แต่เราต้องทำต่อไป” บอกตามตรงว่า เมื่อกลับถึงบ้านที่กรุงเทพฯ ศรั ท ธาที่ เ คยอ่ อ นแอ วั น น้ี ก ลั บม าเ ข้ ม แ ข็ ง กว่ า เ ดิ ม เพราะทมี่ ะนังดาลำมี ‘พลัง’ ตรงนี้
116 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
ภาคผนวก ข้อมูลทั่วไป : ตำบลมะนังดาลำ อำเภอสายบุรี จังหวัด ปัตตานี มีเนื้อที่ประมาณ 22.18 ตาราง กิโลเมตร มีจ ำนวนหมูบ่ า้ นทงั้ หมด 6 หมูบ่ า้ น 13 ชุมชน จำนวนครัวเรือนประมาณ 1,425 ครัวเรือน ประชากร 7,027 คน นับถือ ศาสนาอิสลาม 100 เปอร์เซ็นต์
อมรรัตน์ หมุดทอง 117
สภาพทั่วไปของตำบล : เป็นพื้นที่ทำการเกษตร ส่วนมากจะมีปัญหา ดินถูกชะล้าง อาณาเขตตำบล : ทิศเหนือ ติดก บั ตำบลละหาร, ตำบลตะลบุ นั อำเภอสายบุรี จังหวัดป ัตตานี ทิศใต้ ติดก ับ ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอ บาเจาะ จังหวัดน ราธิวาส ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลละหาร อำเภอ สายบุรี จังหวัดป ัตตานี ทิศตะวันตก ติดก ับ ตำบลกะดนุ ง, ตำบล ตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดป ัตตานี
จำนวนประชากรของตำบล : จำนวนประชากรในเขต อบต. 5,287 คน จำนวนครัวเรือน 1,186 ครัวเรือน ข้อมูลอาชีพของตำบล : อาชีพหลัก ทำนา อาชีพเสริม ทำสวน ทำไร่
118 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
วิถีพี่น้องมะนงั ดาลำ คำเรียกขาน บัง แปลว่า พี่ชาย ก๊ะ แปลว่า พี่สาว เปาะลง หมายถึง ลุง ใช้เรียกพี่ชายคนโตของ ครอบครัว บาบอ กับ โต๊ะครู หมายถึง ครู แต่ บาบอ เรียกเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของสถาบันปอเนาะ โต๊ะอิหม่าม คือ ผู้นำศาสนาอิสลามในแต่ละ ชุมชน
อมรรัตน์ หมุดทอง 119
เครื่องแต่งก าย ชุดโต๊ป หมายถงึ เสือ้ ช ดุ ย าวถงึ ข อ้ เท้าส ำหรับ ผู้ชายและผ้หู ญิงมุสลิม (แต่ที่โรงเรียนตัรบียะห์ เด็กนักเรียนหญิง ไม่ได้ใส่ชุดแ บบนี้) ฮิญาบ คือ ผ า้ ค ลุมศ รี ษะสำหรับผ หู้ ญิงม สุ ลิม ส่วนผู้ชายสวมหมวก ผ้าซ าราบั่น หมายถึง ผ้าโพกศีรษะสำหรับ ผู้ชายมุสลิม เพื่อความสุภาพเรียบร้อย
การศึกษา กีรออาตี คือ ชื่อหลักสูตรการเรียนการสอน อัล-กุรอาน (ชื่อเฉพาะ) ตาดีกา คือ ชื่อโรงเรียนสอนศาสนาระดับ ประถมศึกษา อยูภ่ ายใต้การดูแลของมัสยิด บาลา หมายถึง อาคารเรียน
120 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
ศาสนา การละหมาด คือ การสวดมนต์ อ้อนวอน บูชา หรือร้องทุกข์ต่อพระผเู้ป็นเจ้า ละหมาดภาคบังคับ (ฟัรฎ) ตามหลักปฏิบัติ 5 ครั้งต ่อวัน 1) ย่ำรุ่ง เรียก ละหมาดซุบฮิ เวลา ประมาณ ตี 5 ถึง 6 โมงเช้า 2) บ่าย เรียก ละหมาดซุหฺริ เวลา ประมาณ เที่ยงครึ่ง ถึง บ่ายโมงกว่าๆ 3) เย็น เรียก ละหมาดอัศริ เวลา ประมาณ บ่าย 3 ถึง 5 โมงเย็น 4) พลบค่ำ เรียก ละหมาดมัฆร ิบ เวลา ประมาณ 6 โมงครึ่ง ถึง ทุ่มก ว่าๆ 5) กลางคืน เรียก ล ะหมาดอิซาอ์ คือ เวลาก่อนนอน ประมาณ 2 ทุ่ม เป็นต้นไป
อมรรัตน์ หมุดทอง 121
นอกจากนยี้ งั ม ลี ะหมาดพเิ ศษในเวลา อืน่ ๆ ทีผ่ ศู้ รัทธาสมัครใจปฏิบตั ิ โดยกอ่ น การละหมาด ผู้ละหมาดต้องอาบน้ำ ละหมาด (วุฎูอ์) ได้แก่ การใช้น้ำชำระ มือ ปาก จมูก ใบหน้า แขน ศีรษะ หู และเท้า พร้อมกับขอพร ถ้าไม่มีน้ำ จะชำระดว้ ยผงดิน
122 มะนังดาลำ สุขจากศรัทธา
อาซาน คือ เสียงเรียกสำหรับท ำการละหมาด “อัลลอฮูอัลบัร...” บิสมิลลาฮ์ คือ การกล่าวพระนามของพระเจ้าเมื่อเริ่มต้น ทำกิจกรรมต่างๆ ในการดำเนินชีวิตข องชาวมุสลิม ดุอาร์ คือ การอธิษฐานทูลขอจากพระเจ้า เมาลิดสัมพันธ์ คือ การจัดง านคล้ายวันป ระสูติ เพื่อรำลึกและสรรเสริญศาสดามูฮัมหมัดฯ ใน ศาสนาอิสลาม โดยแต่ละมัสยิดในชุมชนจะเป็น ศูนย์กลาง อามานะฮ์ คือ หลักป ระพฤติป ฏิบตั ติ นตอ่ บ คุ คล องค์กร และสังคมของชาวมุสลิม อากีีดะฮ์ คือ หลักปฏิบัติด้านจิตใจของชาวมุสลิม ความหมายหนึ่งคือ รวมไว้ซึ่งสิ่งที่อัลลอฮฺทรงรักและ พอพระทัย ซึง่ ร วมถงึ ก ารละหมาด การจา่ ยซากาต การ ถือศีลอ ด และการประกอบพิธีฮัจญ์
อมรรัตน์ หมุดทอง 123
อีบาดะฮ์ หมายถึง การปฏิบัติภารกิจตามปกติ ของมนุษย์ให้เป็นที่พอพระทัยของอัลลอฮฺ เช่น การศึกษา การประกอบอาชีพ การสมรส และ การรับใช้สังคม
ซากาต คือ การบริจาคหรือจ่ายซากาตสำหรับ ผูม้ ีสิทธิรับต ามทศี่ าสนากำหนด พิ ธี ฮั จ ญ์ ชาวมุ ส ลิ ม จะเดิ น ท างไ ปร่ ว ม ประกอบพิธีฮัจญ์ที่เมืองเมกกะฮ์ ประเทศ ซาอุ ดี อ าระเบี ย เพื่ อ แ สดงค วามภั ก ดี ต่ อ อั ล ลอฮฺ ผ่ า นก ารอุ ต สาหะพ ยายามด้ า น ร่างกายและทรัพย์สิน การถือศีลอ ดในเดือนรอมฎอน คือ ก ารละเว้น จากการกิน การดื่ม และข้อห ้ามอื่นๆ ในช่วง เวลากลางวันของเดือนรอมฎอน เพื่อบังคับ ฝึกฝนจิตใจตามหลักศาสนา
เพลงศักยภาพชุมชน คำร้อง-ทำนอง วสุ ห้าวหาญ เรียบเรียงดนตรี ศราวุธ ทุ่งข ี้เหล็ก ขับร้องโดย ฟางแก้ว พิชญาภา,
หนึ่งสมองสองมือที่มี รวมเป็นหลายความคิดดีๆ ออกมายืนตรงนี้ ทำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน ไม่ว า่ จ ะอยูท่ ไ่ี หน เราเป็นค นไทยเปีย่ มความสามารถ เป็นกำลังของประเทศชาติ พัฒนาบ้านเมืองก้าวไกล เป็นคนเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ก็รักเมืองไทยด้วยกัน ทัง้ น น้ั (สร้อย) หากเราร่วมมือร่วมใจ ทำสิ่งไหนก็ไม่เกินแรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือ สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมม องที่เรา แบ่งป ัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศ ักยภาพ อยู่ชนบทห่างไกล ทำนาทำไร่ พอเพียงเลี้ยงตัว ใช้ช มุ ชนดแู ลครอบครัว ใช้ค รอบครัวด แู ลชมุ ชน ปูพ นื้ ฐ าน จากหมู่บ้านตำบล สร้างแปลงเมืองไทยให้น่าอยู่ดังฝัน
ชุมชนทอ้ งถนิ่ บ า้ นเรา เรียนรรู้ ว่ มกนั เพือ่ ก ารพฒ ั นา ชุมชนท้องถิ่นบ้านเรา เรียนรู้ร่วมกันช่วยกันพัฒนา อยู่ตามเมืองใหญ่เมืองหลวง หัวใจทุกดวงซ่อนไฟ มุง่ ม นั่ ก้าวออกมาจากรวั้ ท กี่ นั้ จ บั ม อื ก นั ท ำเพือ่ เมืองไทย คนละมือสองมือคือน้ำใจ โอบกอดชุมชนไว้ด้วยความสุข ยืนนาน หนึ่งสมองสองมือที่มี รวมเป็นหลายความคิดดีๆ ออกมายืนตรงนี้ ทำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน หากเราร่วมมือร่วมใจ ทำสิ่งไหนก็ไม่เกินแรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือ สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เรา แบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ ด้วย มุมมองที่เราแบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็ม ศักยภาพ...
เข้าไปฟังและดาวน์โหลดเพลงศักยภาพชุมชนได้ที่ www.punsook.org