หนองหล่ม

Page 1



หนองหล่ม

¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น ทัทยา อนุสสร


Healthy Planet สุขคดีท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการเรียนรู้

หนองหล่ม กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น เรื่อง ทัทยา อนุสสร

ถ่ายภาพ ทัทยา อนุสสร และขวัญเรียม จิตอารีย์ ปกและภาพประกอบ หนวดเสือ และธรรมรัตน์ โภคัย ออกแบบรูปเล่ม กานต์ ทัศนภักดิ์ พิสูจน์อักษร ทีมงานเสือกระดาษ พิมพ์ครั้งที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 เลข ISBN บรรณาธิการอ�านวยการ ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ กองบรรณาธิการ ส�านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยส�านักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย

ส�านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2343 1500 www.thaihealth.or.th และ www.punsook.org


ด�าเนินการผลิตโดย


ค�ำน�ำ เมื่อ ไม่นานมานี้ เวลาทีเ่ รานึกอยากจะไปเทีย่ วทีไ่ หนสักแห่ง

เรามักจะมีจินตนาการด้านดีเกี่ยวกับสถานที่ที่เราก�าลังจะไป... ทะเลสีฟ้าใส หาดทรายทอดยาวสีขาวจัด ภูเขาครึ้มหมอกโรย เรีย่ ยอดไม้ อาหารท้องถิน่ รสชาติแปลกลิน้ แต่ถกู ปาก ชาวบ้าน จิตใจดีคอนหาบตะกร้า ฉีกยิ้มบริสุทธิ์ต้อนรับนักท่องเที่ยว ฯลฯ เมื่อเร็วๆ นี้ เวลาที่เรานึกอยากจะไปเที่ยวที่ไหนสักแห่ง เรามักพกพาอารมณ์โหยหาอดีต ก่อนลงมือค้นหาข้อมูลพิกดั ต�าบล เป้าหมายทีจ่ ะพาเราพบ ...อาคารบ้านเรือนยุคคุณปูค่ ณุ ย่า ตลาด เก่าแก่ กาแฟโบราณ ของเล่นสังกะสี ขนมกินเล่นหน้าตาเชยๆ แต่อร่อย เพราะปรุงแต่งด้วยรสชาติอดีต ฯลฯ จินตนาการและความคาดหวังท�านองนี้ บางทีก็สมดังใจ แต่หลายครั้งก็คลาดเคลื่อนไปจากภาพที่คิดเอาไว้ คลาดเคลื่อน เพราะข้อเท็จจริงหลายประการเปลี่ยนไป แล้วทุกวันนี้ เรายังมีจินตนาการและอารมณ์ความรู้สึก ชนิดใดอีก เมื่อคิดถึงการท่องเที่ยวศึกษาบ้านเมืองของเราเอง ความจริงมีอยู่ว่า ปัจจุบันนี้ชุมชนทุกต�าบลหย่อมย่านใน ประเทศไทยล้วนก�าลังเปลีย่ นไป และแน่นอนว่าความเปลีย่ นแปลง ที่ว่านี้หาได้มีความหมายเชิงลบ 6


หลายปีทผี่ า่ นมา ผูค้ นในชุมชนระดับต�าบลหลายต่อหลาย แห่งในประเทศของเราได้อาศัยต้นทุนทรัพยากรเดิมเท่าทีช่ มุ ชนมี ผนวกกับออกแรงขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์ชุมชนที่พวก เขาเป็นเจ้าของ ให้เป็นชุมชนทีส่ ามารถผลิตความสุขและคุณภาพ ชีวิตที่ดี ป้อนกลับคืนสู่วิถีชีวิตของสมาชิกในชุมชนด้วยกันเอง คนเล็กคนน้อยเหล่านี้ลงมือท�ามานาน หลายแห่งประสบ ความส�าเร็จในระดับน่าอิจฉา แต่เราจะอิจฉาได้อย่างไร ถ้าไม่ได้ไปสัมผัสจับต้อง และ มองเห็นด้วยตาร้อนๆ ของเราเอง ชุมชนเหล่านีอ้ าจจะไม่มหี าดสีขาวทอดยาว ทะเลไม่ใสจัด แถมยังไม่มตี ลาดโบราณร้อยปี แต่นอกเหนือจากความสุขในวันนี้ แล้ว สิ่งที่พวกเขามีอีกแน่ ๆ คือ ‘อนาคต’ เราอยากออกแบบอนาคตของชุมชนเราให้เป็นไปแบบไหน ลองเดินเข้าไปชมตัวอย่างสาธิตได้จากหนังสือเล่มนี้ คณะผู้จัดท�า

7


8


9


10

หนองหล่ม กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น


กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น

1

ที่หนองหล่ม..

หำก เป้าหมายของการเดินทางของใครสักคนหนึ่ง

อยู่ที่การตามหาแหล่งท่องเที่ยวแปลกตา ไม่ว่าจะเป็น แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติของน�้ าตก ภูเขา หรือ การได้ ตื่ น ตาตื่ น ใจผจญภั ย กั บ สิ่ ง ที่ ม นุ ษ ย์ ส ร้ า งสรรค์ ขึ้น รวมทั้งการเข้าพักในโรงแรมหรู รีสอร์ตเก๋ๆ ละก็ หนองหล่มคงไม่ใช่จุดหมายปลายทางที่น่าสนใจ เพราะ ที่นี่ไม่ได้มีสิ่งเหล่านั้นอยู่เลย ทว่าถ้าใครสักคนคิดว่า อยากมาสั ม ผั ส กั บ ความสุ ข .. อยากเห็ น อยากพบ อยากเรียนรู้ที่จะสร้างความสุขแบบง่ายๆ และยั่งยืน ในทุ ก มิ ติ ข องการมี ชี วิ ต อยู ่ ล ะก็ ..ที่ นี่ ก็ เ ป็ น ที่ ห นึ่ ง ที่ไม่ควรพลาด

กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น ที่หนองหล่ม..

11


ย้อนกลับไปสู่อดีต มีหลักฐานการสืบค้นต�านานบ้านหนองหล่มย้อนหลัง ไปถึง 1,260 ปี กล่าวถึงเมืองภูกามยาวอันมีท้าวพระยา ลิ้ น ก่ า นเป็ น ผู ้ ค รองนครไพร่ฟ ้า ประชาชีอยู่กันมาอย่ างมี ความสุข แต่ต่อมาได้ปรากฏช้างตัวหนึ่งมีขนาดใหญ่มาก กล่าวคือมีความยาวประมาณ 12 ศอก เป็นช้างก�า่ (ด�า) งาเขียว นิ สั ย ดุ ร ้ า ยและมี ก�า ลั ง มหาศาล ช้ า งตั ว นี้ ไ ล่ ท�า ร้ า ยผู ้ ค น จนเสียชีวิต เหยียบย�่าท�าลายบ้านเรือนเสียหาย ผู้คนได้รับ ความเดือดร้อนจึงพากันอพยพไปรวมกันอยูท่ ดี่ อยป่าสักหลวง ที่พ�านักของพระยาลิ้นก่าน (ปัจจุบันคือต�าบลคือเวียง)

12

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น


กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น ที่หนองหล่ม..

13



เมื่อพระยาลิ้นก่านรับรู้ความเดือดร้อนของประชาชน จึงเกณฑ์ผู้คนให้มาช่วยกันขุดคูรอบเวียงเพื่อป้องกันไม่ให้ พญาช้างบุกเข้าไปในหมู่บ้าน ว่ากันว่าด้วยความกลัวช้างก�่า งาเขียว ชาวเมืองจึงเร่งขุดทั้งวันทั้งคืนจนจอบเสียมบั่นนิ้วมือ นิ้วเท้าขาดไปเป็นจ�านวนมาก เมื่อช้างก�่างาเขียวอาละวาด มาถึงบริเวณคูที่ขุดไว้ก็พยายามจะบุกขึ้นไปท�าร้าย แต่ไม่ สามารถข้ามได้ จึงมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกพบเข้ากับ หนองน�้า ช้างก�่าได้ลงไปกินน�้า อาบน�้าที่หนองน�้าแห่งนั้น แต่ไม่สามารถกลับขึ้นมาได้เนื่องจากติดหล่มและเสียชีวิต หนองน�้านั้นจึงได้ชื่อว่า หนองหล่ม

กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น ที่หนองหล่ม..

15


16

หนองหล่ม กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น


กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น ที่หนองหล่ม..

17


แต่หากย้อนหลังไปสีห่ า้ ร้อยปีแล้วกลับเล่าขานเพียงว่า คนละกอน (ล�าปาง) ได้อพยพมาอาศัยเนื่องจากถิ่นที่อยู่เดิม แห้งแล้งขาดแคลนน�า้ พวกเขาเดินทางมาหกวันหกคืน จนมา ถึงบริเวณบ้านปิน บ้านคือเวียง บ้านทุ่งกาไชย บ้านสบจ้อม และบ้านน�้าออกฮู (บ้านหนองหล่มปัจจุบัน) และบางส่วน อพยพมาจากน่าน บ้านหนองหล่มในอดีตสังกัดต�าบลบ้านปิน อ�าเภอ ดอกค� า ใต้ จั ง หวั ด เชี ย งราย จนเมื่ อ วั น ที่ 28 สิ ง หาคม พ.ศ. 2520 อ�าเภอพะเยาได้ยกฐานะเป็นจังหวัดที่ 72 ของ ประเทศไทย ดอกค�าใต้จึงย้ายมาอยู่ใต้การปกครองของ จั ง หวั ด พะเยา กระทั่ ง วั น ที่ 10 มิ ถุ น ายน พ.ศ. 2527 บ้านหนองหล่มได้ถกู ยกฐานะขึน้ เป็นต�าบลเนือ่ งจากประชากร เพิ่มมากขึ้น กลายเป็นต�าบลหนองหล่ม อ�าเภอดอกค�าใต้ จังหวัดพะเยา มาจนถึงทุกวันนี้ ต�าบลหนองหล่มมี 9 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านห้วยฮุง บ้านใหม่เหนือ บ้านใหม่พัฒนา บ้านท่านคร (สันนิษฐานว่า ชือ่ ท่านครนีเ้ พีย้ นมาจากท่าละกอน) บ้านแม่พริก บ้านปางงุน้ บ้านใหม่ไชยมงคล บ้านหนองหล่ม และบ้านร่วมจิต ต�าบลหนองหล่มอยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกของ จังหวัดพะเยาเป็นระยะทางราว 36 กิโลเมตร สามารถเดินทาง ไปเยือนโดยใช้เส้นทางสายดอกค�าใต้ - เชียงม่วน โดยอยู่ ถัดจากอ�าเภอดอกค�าใต้ไป 22 กิโลเมตร พื้นที่ 227.09 ตารางกิโลเมตร (141,933) ของต� าบลหนองหล่มนั้นเป็น 18

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น


เขตป่ า สงวน ภู เ ขาสู ง และพื้ น ที่ ร าบสู ง ราวร้ อ ยละ 70 ทีเ่ หลือเป็นพืน้ ทีร่ าบลุม่ ซึง่ ประชากรส่วนใหญ่ใช้ปลูกบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ท�านา ท�าไร่ ท�าสวนและเลี้ยงสัตว์ ประชากรต�าบลหนองหล่มราวห้าพันคน นอกจาก จะเป็นชาวไทยแล้วยังเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อันประกอบด้วย เมีย่ น เย้า และมูเซอ (ลาหู)่ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกสิกรรม มาแต่เดิม มีทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ นอกจากปลูกข้าวแล้ว ยังมีถวั่ ลิสง ถัว่ เหลือง เมีย่ ง (ใบชา) กระเทียม ข้าวโพด ละหุง่ มี ก ารปล่ อ ยครั่ ง (ในบริ เ วณดงสา) เลี้ ย งวั ว ควาย ไก่ และหมู กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น ที่หนองหล่ม..

19


ม กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น 20 ศาลเจ้หนองหล่ าพ่อค�ำปวน


รู้จักบ้ำนหนองหล่มผ่ำนค�ำขวัญ “ผาช่อตั้งตระหง่าน ต�านานช้างก�่างาเขียว ยึดเหนี่ยวครูบาค�า หนองน�้าคู่บ้าน สืบสานวัฒนธรรม เลิศล�้าเจ้าพ่อค�าปวน” ค�าขวัญบ้านหนองหล่มอธิบายความผูกพันต่อเรือ่ งราว ต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่นี่ได้เป็นอย่างดี ‘ผาช่อ’ เป็นภูเขาหินปูนผสมหินแกรนิต ตั้งอยู่ใน หมู่ 5 บ้านแม่พริก ส่วนต�านานช้างก�่างาเขียวนอกจากบันทึก ตามหลักฐานที่สามารถสืบค้นได้นั้น คนบ้านหนองหล่ม เกือบทุกคนจะเล่าเรื่องนี้คล้ายๆ กันว่า “มีช้า งตัวหนึ่งขนาดใหญ่มาก เป็ น ช้ างก�่ า (ด� า ) งาของมันเป็นสีเขียว โดนยิงก็ไม่ตาย แต่มันหนีมาแล้ว ตกลงไปในหล่ม ไปไหนไม่ได้ แล้วก็ตายตรงหนองน�้าที่เรียก ว่าหนองหล่ม”

กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น ที่หนองหล่ม..

21


22

หนองหล่ม กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น


ขณะที่ครูบาค�า เกจิอาจารย์ซึ่งชาวบ้านให้ความ เคารพศรั ท ธา หรื อ พระครู ญ าณวุ ฒิ คุ ณ หรื อ ครู บ าค� า ไชยวุฒิโฑ นั้นเดิมเป็นครูโรงเรียนบ้านหนองหล่ม ต่อมาได้ บรรพชาและเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีลอ้ มตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2480 มีการ สร้างเหรียญครูบาค�าขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2529 (ก่อน ท่านมรณภาพ 1 ปี) ซึ่งคนในท้องถิ่นต่างเก็บรักษาเหรียญ ครูบาค�าไว้ และเล่าขานกันถึงคุณวิเศษด้านแคล้วคลาด คงกระพัน ส่ ว น ‘หนองน�้ า คู ่ บ ้ า น’ นั้ น ก็ ถื อ เป็ น โชคดี ข อง ชาวหนองหล่มที่มีแหล่งน�้ าธรรมชาติซึ่งมีน�้าซึมออกมาสู่ ผิวดินให้ได้ใช้ตลอดปี บ้านหนองหล่มจึงเป็นพื้นที่ที่ไม่เคย แห้งแล้ง แม้ว่าน�้าที่ผุดออกมาจะมีปริมาณหินปูนค่อนข้าง สูง ไม่เหมาะต่อการบริโภค แต่ส�าหรับการเกษตรและการท�า น�้าประปาแล้ว ที่นี่คือขุมทรัพย์อันอุดมสมบูรณ์

กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น ที่หนองหล่ม..

23



วิถีชีวิตยำมเช้ำ

2

ของกลุ่มผู้สูงอำยุ

ออกก�าลังกายด้วยกันทุกวัน แข็งแรงทั้งกายและใจ

...เมื่อฟ้าเริ่มสาง หญิงชายสูงวัยหลายสิบคนทยอยกัน

มาที่ลานวัดไชยมงคล สีหน้าทุกคนสดชื่นเบิกบานเปี่ยมด้วย รอยยิ้ม พวกเขาส่งเสียงทักทายกันอย่างคุ้นเคยสนิทสนม เพียงไม่นานก็มายืนเรียงแถวกลางลานกว้าง

วิถียำมเช้ำของกลุ่มผู้สูงอำยุ

25




เสียงนกหวีดคือสัญญาณเริ่มต้น ใครคนหนึ่งที่ยืนอยู่ ด้านหน้าเริ่มท�ากายบริหารพร้อมนับ คนอื่นๆ ท�าตามอย่าง พร้อมเพรียง ท่ากายบริหารที่ช่วยให้ได้ขยับข้อ ยืดเส้น และ บริหารกล้ามเนื้อราว 10 ชุด ถูกปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและ ตั้งใจ ก่อนจะพร้อมใจกันหยุดพักไหว้พระสวดมนต์ ท�าสมาธิ จากนัน้ ก็เริม่ ท�าโยคะทีไ่ ด้รบั การประยุกต์ให้งา่ ยและเหมาะสม กับร่างกายของผู้สูงอายุต่อ


สิบกว่านาทีกับการฝึกโยคะ ท�าให้หลายคนมีเหงื่อ แต่ก็ไม่มีใครท�าท่าว่าจะหยุด พอหมดกระบวนท่า พวกเขาก็ เริ่มการบริหารร่างกายด้วยไม้พลองเป็นอันดับถัดไป ไม้ไผ่ ท่อนยาวๆ ถูกดัดแปลงเป็นไม้พลองใช้ร่วมกับท่ากายบริหาร ทัง้ ก้ม ยืดตัว บิดเอวซ้ายขวา โยกตัวไปมาอย่างกระฉับกระเฉง สะท้ อ นให้ เ ห็ น ความสม�่ า เสมอในการออกก� า ลั ง ที่ พ ่ อ อุ ๊ ย แม่อุ๊ยเหล่านี้ท�าร่วมกันมาเป็นเวลากว่าห้าปีแล้ว


หลั ง จบการใช้ ไ ม้ พ ลอง การออกก� า ลั ง ด้ ว ยลี ล า แม่ไม้มวยไทยก็ต่อเนื่องตามมา ทั้งต่อย เตะ ศอก เข่า เป็นชุดๆ กว่าจะจบทุกคนก็เริ่มเหงื่อซึม หลังออกก�าลังจน เหนื่อยพอแรง คุณตาคุณยายทั้งหลายก็พักดื่มนมถั่วเหลือง ซึ่งทางเทศบาลโดยการสนับสนุนจากส�านักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติจัดหามาให้ พ่อบุญเรี่ยม วรรณพัฒน์ ประธานชมรมผู้สูงอายุ ต�าบลหนองหล่ม บอกว่า เฉพาะวันนี้กลุ่มผู้สูงอายุตั้งใจ ออกก�าลังทุกแบบ ขณะทีบ่ างวันอาจเลือกท�าอย่างใดอย่างหนึง่ หรือสองอย่าง ทั้งรอยยิ้มและถ้อยค�าบอกความเมตตาที่มีให้ กับผู้มาเยือน จากการสนทนากับพ่อบุญเรี่ยมและกลุ่มผู้สูงอายุ หลายท่าน ท�าให้ได้รับรู้ว่าชมรมผู้สูงอายุต�าบลหนองหล่ม นี้มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 แล้ว ตั้งแต่ครั้งหนองหล่มยังเป็น หมูบ่ า้ นหมูบ่ า้ นหนึง่ ในต�าบลบ้านปิน ชมรมนีม้ ผี สู้ บื ต่อเรือ่ ยๆ จนมาถึงยุคของพ่อบุญเรี่ยม อดีตผู้อ�านวยการโรงเรียนบ้าน หนองหล่มที่หลังจากเกษียณก็ได้เข้าร่วมออกก�าลังกายกับ ชมรมผูส้ งู อายุ จนได้รบั การเลือกให้เป็นประธานชมรมในทีส่ ดุ ต�าแหน่งประธานชมรมระดับต�าบลนี้ต้องผ่านการเลือกจาก ประธานในระดับหมู่บ้านเสียก่อน

30

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น


วิถียามเช้าของกลุ่มผู้สูงอายุ

31




ฐานข้อมูลของเทศบาลระบุว่า ต�าบลหนองหล่มทั้ง 9 หมู่บ้าน มีผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ทั้งหมด 755 คน เป็นชาย 373 คน เป็นหญิง 382 คน เมื่อเราถามถึงคนที่อายุ มากที่ สุ ด ตั ว แทนกลุ ่ ม ผู ้ สู ง อายุ ท ่ า นหนึ่ ง บอกว่ า อายุ ร้อยกว่าปี กลุ่มที่มาออกก�าลังกายด้วยกันนี้มีผู้ที่อายุ 85 ปี อยูถ่ งึ 3 คน และผูส้ งู อายุทกุ คนในต�าบลถือเป็นสมาชิกชมรม ทั้งสิ้น นอกจากการออกก� า ลั ง กายร่ ว มกั น ที่ ล านวั ด ใน วันจันทร์ - ศุกร์แล้ว ชมรมผู้สูงอายุยังชวนกันปั่นจักรยาน ในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ด้วย การปั่นจักรยานนี้แม้เริ่มต้นที่ หนองหล่ม แต่มาถึงวันนี้กลับมีสมาชิกจากต�าบลอื่นๆ อีก 4 ต�าบลเข้าร่วม ท�าให้มีการปั่นจักรยานในแต่ละสัปดาห์ นับร้อยคัน แม้ ว ่ า การปั ่ น จั ก รยานจะมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ บื้ อ งต้ น เพื่อออกก�าลังก็ตาม แต่เมื่อได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มก็งอกเงย เป็นกิจกรรมดีๆ อื่นๆ ในชุมชน พวกเขาขี่จักรยานออกไป ท�ากิจกรรมต่างๆ ตามวาระ ท�าให้ชาวต�าบลใกล้เคียงสนใจ และขอเข้าร่วม จนกระทัง่ กลายเป็นกลุม่ จักรยานกว่า 400 คัน ในงานกิจกรรมส�าคัญๆ ของจังหวัดในปัจจุบัน

34

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น


การท�างานของชมรมผูส้ งู อายุตา� บลหนองหล่มภายใต้ การบริหารของพ่อบุญเรี่ยมเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2550 นับเป็น ช่วงที่ชมรมมีความคึกคักเข้มแข็ง เกิดกลุ่มและโครงการ ต่ า งๆ ตามมาอี ก มากมาย ในส่ ว นของการท� า งานนั้ น ชมรมผู้สูงอายุฯ จะมีการวางเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน และ ด�าเนินการไปตามแผนงานทีว่ างไว้ในลักษณะของการต่อยอด และบูรณาการ ท�าให้แต่ละโครงการที่เกิดขึ้นชัดเจน มั่นคง และพัฒนาไปอย่างมีเป้าหมาย พ่ อ บุ ญ เรี่ ย มประธานชมรมขยายความให้ ฟ ั ง ว่ า วิธีการท�างานของกลุ่มผู้สูงอายุจะเป็นการท�างานอย่างจริงจัง คล้ายระบบราชการ นั่นคือ มีการประชุม การจดบันทึก การประชุม การออกหนังสืออย่างเป็นระบบระเบียบ อีกทั้ง ยังให้ความส�าคัญกับการคัดเลือกบุคลากรเข้าท�างาน และ เน้นว่า คนทีจ่ ะเข้ามาต้องมีจติ อาสาจริงๆ และต้องท�างานกัน เป็นทีมจึงจะสามารถท�าให้เกิดโครงการดีๆ ขึ้นมากมาย อย่างนี้ ไม่วา่ จะเป็นการออกก�าลังกายร่วมกันเป็นประจ�าทุกเช้า การปั่นจักรยานในวันเสาร์อาทิตย์ โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน โครงการตานต่อ ฯลฯ หนึ่งในนั้นคือการเกิดขึ้นของกลุ่ม ผู้สูงอายุจิตอาสาต�าบลหนองหล่ม ซึ่งกลายมาเป็นแหล่ง เรียนรู้เรื่องระบบจิตอาสาและสวัสดิการสังคม

วิถียำมเช้ำของกลุ่มผู้สูงอำยุ

35


36

หนองหล่ม กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น


ระบบจิตอาสาและสวัสดิการสังคมต�าบลหนองหล่ม นั้นให้ความส�าคัญกับการดูแลสุขภาพชุมชน ด้วยวิถีชีวิตที่ เอื้ออาทรและแบ่งปันซึ่งกันและกัน การท�างานของชมรม จิตอาสาเป็นการท�างานเพือ่ สนองตอบต่อเป้าหมายของชมรม ผู้สูงอายุ นั่นคือการมีสุขภาพที่ดี ด้วยวิธีคิดอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสุขภาพพลานามัย ที่ดี ท�าให้มีการตั้งค�าถามว่า “อะไรคือปัญหาของผู้สูงอายุ บ้าง?” ค�าตอบที่ได้คือ ปัญหาเรื่องความเจ็บป่วย ปัญหา การถูกทอดทิ้ง และปัญหาโรคในช่องปาก เมื่อได้ค�าตอบ เช่นนี้แล้วจึงท�าให้เกิดแนวคิดว่า นอกจากการดูแลตัวเอง ด้วยการออกก�าลังกายแล้ว การช่วยดูแลกันและกันก็เป็นสิ่ง จ�าเป็น เมื่อเป็นเช่นนั้น การออกไปเยี่ยมเพื่อนที่เป็นผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุจึงเกิดตามมา โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน คือโครงการรับอาสาสมัคร ออกไปดูแลผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือซึ่งท�าต่อเนื่องมา 3 ปีแล้ว เริ่มต้นจากการใช้งบประมาณของกองทุนผู้สูงอายุ ในปีแรก แล้วได้รับการสานต่อด้วยงบประมาณของเทศบาล ในนามกองทุนหลักประกันสุขภาพ โครงการนี้กลุ่มจิตอาสาจะท�างานร่วมกับอาสาสมัคร ของโรงพยาบาลต�าบลสุขภาวะ อบรมให้ความรูแ้ ก่อาสาสมัคร เพื่ อ ให้ ส ามารถดู แ ลผู ้ สู ง อายุ ที่ เ จ็ บ ป่ ว ยโดยการให้ ย าใน เบื้องต้น รวมทั้งแนะน�าวิธีท�ากายภาพบ�าบัดแก่ผู้สูงอายุ และผูด้ แู ลซึง่ อาจเป็นลูกหลานหรือสามีภรรยา โดยกลุม่ จะท�า วิถียำมเช้ำของกลุ่มผู้สูงอำยุ

37


38

หนองหล่ม กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น


รายชื่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ไม่สามารถไปไหนมาไหนได้ (ผู ้ ป ่ ว ยติ ด เตี ย ง) จากนั้ น ท� า การออกหน่ ว ยหมุ น เวี ย น เยี่ ย มเยี ย นตามบ้ า นเดื อ นละครั้ ง จนครบทุ ก 9 หมู ่ บ ้ า น เมื่อไปถึง อาสาสมัครจิตอาสาเหล่านี้จะช่วยเช็ดเนื้อเช็ดตัว วัดความดัน ท�าแผล และพูดคุยให้กา� ลังใจผูป้ ว่ ย โดยพวกเขา จะได้รับค่าตอบแทนเพียงเดือนละ 100 บาท โครงการตานต่อ หรือ กิจกรรมจากพระสู่โยม คือ อีกหนึ่งโครงการที่ติดตามมาของกลุ่มจิตอาสาจากแนวคิด ส่งต่อความห่วงใยไปถึงเพื่อนร่วมถิ่นฐานที่ก�าลังเดือดร้อน ผ่านการพูดคุยกับเจ้าอาวาส บอกวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ในการแบ่งปันอาหารและข้าวของเพื่อท�าบุญต่ออีกทอด ก่อนวันพระ กลุม่ จิตอาสาจะประกาศให้ชาวหนองหล่ม รับรู้โดยทั่วกันว่า วันรุ่งขึ้นพวกเขาจะไปรับบิณฑบาตร่วมกับ พระสงฆ์เพื่อขอรับข้าวสารและอาหารแห้ง และส่งต่อไปให้ กับผู้สูงอายุที่ยากไร้ ผู้มีฐานะยากจน หรือผู้ป่วย แต่ละครั้ง ที่ออกไปท�ากิจกรรม พวกเขาได้รับบริจาคข้าวสารกลับมา หลายกระสอบ ท�าให้สามารถแบ่งไปให้กลุ่มผู้พิการและ ผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ ด้วย

วิถียำมเช้ำของกลุ่มผู้สูงอำยุ

39



เมื่อถูกขอให้มองย้อนไปถึงที่มาของความส�าเร็จที่ เกิดขึ้นจากโครงการต่างๆ ทั้งของชมรมผู้สูงอายุและกลุ่ม จิตอาสา พ่อบุญเรี่ยม หัวเรือใหญ่ และทีมงานช่วยกันสรุป ให้เราฟังว่า มาจากการท�างานเป็นทีมที่มีความเข้มแข็งและ เอาจริงเอาจัง แต่ทั้งนี้ก็ด้วยนิสัยพื้นฐานของชาวหนองหล่มที่ มีความอะลุ้มอล่วย ใจดี มีความสามัคคี ไม่มีความขัดแย้ง เป็นที่ตั้ง “ผมไปพูดที่ไหนผมก็จะบอกว่า ถ้าจะให้ดีต้องไปหา ผู้สูงอายุที่เป็นข้าราชการบ�านาญ เพราะจะมีทั้งระบบการ ท�างานและบารมีท�าให้คนมาร่วมมือกันได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การสนั บ สนุ น จากท้ อ งที่ แ ละท้ อ งถิ่ น ก็ เ ป็ น เรื่ อ งส� า คั ญ โดยเฉพาะเทศบาลทีช่ ว่ ยสนับสนุนทุกอย่าง” อ.สุทธิวฒั น์ จ�ารัส ข้าราชการครูเกษียณ เลขานุการชมรมผู้สูงอายุหนองหล่ม ก�าลังที่เข้มแข็งอีกคนช่วยเสริม

วิถียำมเช้ำของกลุ่มผู้สูงอำยุ

41



3

ยำพื้นเมือง สมุนไพรพื้นบ้ำน

กำรไม่ละทิ้งภูมิปัญญำท้องถิ่น

ด้วยแนวคิดที่ว่า ปัจจุบันวิถีชีวิตของคนเราเปลี่ยนไป

ทุกด้าน การทีเ่ ราจะไม่ซวนเซไปกับกระแสความเปลีย่ นแปลง ที่ถาโถมเข้ามานั้นต้องอาศัยรากเหง้าของตนเองเป็นเครื่อง ผูกโยง ดังนั้น การรักษาประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและ จารีตต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความส�าคัญ ภูมิปัญญาของ ชาวหนองหล่มนั้นมาพร้อมกับต้นทุนทางทรัพยากรที่สา� คัญ ไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญาเกี่ยวกับสมุนไพรและยาพื้นบ้าน หรือ ภูมิปัญญาด้านการจักสานก็ตาม จากความเข้มแข็งของชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองหล่ม ต่อยอดจนเกิดกิจกรรมที่น่าสนใจของกลุ่มย่อยต่างๆ อีก มากมาย รวมถึงกลุม่ ยาพืน้ เมือง สมุนไพรพืน้ บ้าน แหล่งเรียนรู้ ส�าคัญอันหนึ่งในระบบวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ยำพื้นเมือง สมุนไพรพื้นบ้ำน กำรไม่ละทิ้งภูมิปัญญำท้องถิ่น

43


นับตั้งแต่ พ.ศ 2533 มาแล้ว ผู้สูงอายุที่มาร่วมกัน ออกก�าลังกายได้พูดคุยกันถึงสมุนไพรพื้นบ้านที่พวกเขา คุ้นเคยว่า ในอดีตคนเจ็บไข้ได้ป่วยน้อยกว่าปัจจุบัน ทั้งยัง สามารถใช้ ส มุ นไพรรัก ษาและดูแ ลบ� า รุงสุขภาพร่ างกาย ให้แข็งแรง จึงเห็นว่าน่าจะตั้งกลุ่มเรียนรู้สืบสานเรื่องนี้กัน อย่างจริงจัง ช่วงแรกกลุ่มยาพื้นบ้านและสมุนไพรใช้พื้นที่เดียวกับ ชมรมผู้สูงอายุในการท�ายาสมุนไพร พวกเขาเริ่มต้นจากการ ต้ ม รางจื ด กิ น เป็ น ยาล้ า งสารพิ ษ ในร่ า งกายภายหลั ง การ ออกก�าลังกาย นอกจากนี้ยังต้มยาบ�ารุง ยาแก้นิ่ว ยาแก้ปวด เข่า และยาชูก�าลัง โดยมีเป้าหมายไว้ใช้ภายในกลุ่ม “สมุนไพรหลายอย่างในหนองหล่มนี่เราไม่ต้องปลูก เลย ขึ้นเองเยอะมาก โดยเฉพาะตรงแหล่งต้นน�้า ตรงนั้นเป็น แหล่งสมุนไพรตามธรรมชาติ” พ่อลบ เผ่ากันทะ ผูร้ บั ต�าแหน่ง ประธานกลุ่มยาพื้นเมืองเล่า “แต่ก็น่าเสียดายที่สมุนไพร หลายอย่างถูกถอนหรือตัดไปจนไม่เหลือพันธุ์เลย แต่เราจะ ปลูกเพิ่ม”

44

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น


ต่ อ มา แนวคิ ด ดั ง กล่ า วถู ก น� า ไปหารื อ กั บ ทาง เทศบาล ซึ่งก็ได้รับการส่งเสริม พ.ศ. 2554 เมื่อกลุ่มมีความ เข้มแข็งมากขึ้นก็เริ่มท�ายาสมุนไพรแบ่งปันกัน และน�ามา เผยแพร่ให้แก่คนในหนองหล่ม โดยอาศัยกิจกรรมส�าคัญ ในชุมชนเป็นช่องทางในการน�าเสนอ เช่น น�าไปจ่ายแจก ในงานฉลองสักการะเจ้าพ่อค�าปวน หรือเมื่อมีงานที่ไหน กลุ่มยาพื้นเมืองสมุนไพรพื้นบ้านก็จะไปตั้งหม้อต้มยาไว้ให้ คนทั่วไปได้ลองดื่ม กระทั่ง พ.ศ. นี้ (2556) เริ่มมีแนวคิดในการท�ายาต้ม ยาดองส�าหรับขาย โดยน�าไปจ�าหน่ายครั้งแรกในงานจังหวัด เคลื่อนที่ พร้อมกันนั้นที่ท�าการของกลุ่มก็มีการขยับขยาย โยกย้ายเพื่อให้เกิดความสะดวกเพิ่มขึ้น ที่ตั้งใหม่นี้สามารถ ใช้พื้นที่รอบๆ ปลูกสมุนไพร ไม่เพียงแต่มีแนวคิดที่จะปลูก สมุนไพรในแหล่งต้นน�้าหรือที่แหล่งเรียนรู้เท่านั้น พวกเขา ยังคิดที่จะส่งเสริมการปลูกสมุนไพรในครัวเรือนด้วย ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะพบว่าที่หน้าบ้านของชาวหนองหล่ม จะมีตะไคร้ กะเพรา ขิง ข่า หรือสมุนไพรอื่น ปลูกไว้เกือบ ทุกหลัง

ยำพื้นเมือง สมุนไพรพื้นบ้ำน กำรไม่ละทิ้งภูมิปัญญำท้องถิ่น

45



เยำวชนแข็งแรง

4

ในศูนย์พัฒนำเด็กเล็กปลอดโรค

ด้วย ฐานคิดที่ว่า เยาวชนคือรากฐานส�าคัญ สังคมจะ

พัฒนาได้ เยาวชนต้องมีความพร้อมทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ดังนั้น การพัฒนาระบบเรียนรู้เพื่อ เด็กและเยาวชนจึงเป็นสิ่งที่ชาวหนองหล่มให้ความส�าคัญ ศู น ย์ พั ฒ นาเด็ ก เล็ ก วั ด ไชยมงคลตั้ ง อยู ่ ใ นบริ เ วณ เดียวกับวัด ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ในรูปศูนย์อบรม เด็กก่อนเกณฑ์วัดไชยมงคล ช่วงที่ผ่านมา แม้ทางศูนย์จะ มีอุปสรรคบ้างทั้งในเรื่องของบุคลากรและสถานที่ แต่ก็ได้ ปรับปรุงแก้ไขจนกระทัง่ เป็นศูนย์ทมี่ คี วามพร้อมด้านบุคลากร สถานที่ และระบบการจัดการเช่นในปัจจุบัน

เยำวชนแข็งแรง ในศูนย์พัฒนำเด็กเล็กปลอดโรค

47


อาคารเรียนชัน้ เดียวสะอาดตาสร้างเมือ่ พ.ศ. 2542 นี้ ได้รบั งบประมาณมาจากกรมศาสนา ผูป้ กครอง และผูใ้ หญ่บา้ น ต่ อ มาได้ รั บ โอนจากกรมศาสนามาอยู ่ ใ นความดู แ ลของ องค์การบริหารส่วนต�าบลหนองหล่มใน พ.ศ. 2550 หลังจาก นั้น ทาง อบต. ก็ได้ด�าเนินการติดมุ้งลวดเพื่อป้องกันเด็ก จากการถูกยุงกัด ส่งเสริมให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งนี้มี ความพร้อมที่จะเป็นศูนย์ปลอดโรคยิ่งขึ้น ปี 2551 ทางศูนย์มีจ�านวนเด็กเพิ่มขึ้น กรมส่งเสริม การปกครองส่วนท้องถิ่นจึงสนับสนุนงบประมาณส�าหรับ สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ แต่เนื่องจากพื้นที่เดิมคับแคบ ไม่สามารถสร้างอาคารตามแบบแปลนได้ จึงได้ย้ายมาสร้าง ในบริเวณโรงเรียนบ้านใหม่ อาคารปูนชั้นเดียวหลังใหม่นี้ใช้ งบประมาณ 2,400,000 บาท ใช้เป็นที่ตั้งของศูนย์พัฒนา เด็กเล็กมาจนถึงปัจจุบัน ภายในกั้นแบ่งห้องมีสัดส่วนชัดเจน ประกอบด้วยห้องเรียน 3 ห้อง ห้องเก็บสือ่ การสอน ห้องพยาบาล ห้องครัว ห้องรับประทานอาหารและห้องน�้า ส�าหรับรองรับ เด็กๆ ทั้ง 52 คน โดยมีจ�านวนชายหญิงเท่าๆ กันคือ 26 คน รวมครูพี่เลี้ยง 4 แม่ครัวอีก 1 คน นางวิไลวรรณ พินจิ ครูพเี่ ลีย้ งซึง่ ท�างานในศูนย์แห่งนี้ มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเล่าว่า แนวทางการท�างานของศูนย์คือให้ ความส�าคัญกับการพัฒนาเด็กในทุกๆ ด้าน โดยการพัฒนา ทางด้านร่างกายจะเน้นการดูแลสุขภาพ ให้เด็กมีพัฒนาการ ในการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ รวมถึงระบบประสาทและตา 48

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น




อย่างเหมาะสม ส่วนด้านจิตใจ มุ่งเน้นให้เด็กมีพัฒนาการ ด้านอารมณ์และความรู้สึกที่เหมาะสมกับวัย ส�าหรับด้าน สั ง คมนั้ น จะส่ ง เสริ ม ให้ เ ด็ ก มี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ กั บ บุ ค คลและ สิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัว ขณะที่ด้านสติปัญญา เด็กจะได้ รับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวในชีวิตประจ�าวันผ่านระบบ ประสาทสัมผัสทั้งห้า นอกจากนี้ยังส่งเสริมเรื่องหลักธรรมและจิตอาสา ด้วยเล็งเห็นความส�าคัญของความเอื้ออาทรในสังคม อีก สิ่งหนึ่งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งนี้ไม่มองข้าม คือ การสร้าง ส�านึกรักบ้านเกิดแก่เด็กๆ เพราะเชื่อว่าความรักในถิ่นฐาน บ้านเกิดจะท�าให้เขาพร้อมจะดูแลบ้านของตนให้เป็นที่ที่ดี มีความน่าอยู่เช่นที่เป็นมา จุดเด่นของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดไชยมงคล คือ การ เป็นศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคที่เน้นเรื่องของความสะอาด และมี การระวังป้องกันโรคระบาดร้ายแรงทีจ่ ะเกิดขึน้ กับเด็ก ทุกเช้า เมือ่ ผูป้ กครองมาส่งเด็กทีศ่ นู ย์ฯ ครูผดู้ แู ลจะตรวจเช็คร่างกาย เด็กๆ ก่อนเข้ามาในศูนย์ฯ การตรวจนี้เป็นการตรวจเบื้องต้น ที่จะดูว่าเด็กตัวร้อน มีไข้ ไอ มีน�้ามูก หรือมีความผิดปกติ ทางร่างกายหรือไม่ รวมทั้งตรวจความสะอาดของเล็บ ผม ซึ่งหากพบความผิดปกติก็จะให้เด็กกลับบ้าน หรือส่งต่อไป โรงพยาบาล เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคแพร่กระจายไป สูเ่ ด็กคนอืน่ ๆ หรือหากมีอาการเพียงเล็กน้อยก็จะให้เด็กได้รบั การดูแลเบื้องต้นในห้องพยาบาลของศูนย์ เยำวชนแข็งแรง ในศูนย์พัฒนำเด็กเล็กปลอดโรค

51




หลังจากเข้าไปในศูนย์แล้ว เด็กทุกคนจะท�าการ ล้างมือตามขั้นตอนที่ถูกต้อง 7 ขั้นตอน ก่อนจะเข้าแถวและ ออกก�าลังกายพร้อมกัน จากนัน้ จึงเริม่ ท�ากิจกรรมเสริมทักษะ ในด้านต่างๆ ตามกิจกรรมการสอนในหน่วยการเรียนซึ่ง จะเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับวันส�าคัญหรือ เรือ่ งราวทีน่ า่ สนใจในช่วงนัน้ ๆ เช่น เดือนตุลาคม เด็กๆ จะได้ เรียนรู้เรื่องของวันปิยมหาราช เป็นต้น เด็กๆ จะได้รบั ประทานของว่างซึง่ ทางศูนย์จะเน้นการ รับประทานผลไม้ โดยพยายามหมุนเวียนเปลี่ยนชนิดไปให้มี ความหลากหลาย เช่น กล้วย มะละกอ แอปเปิล ส้ม เช่นเดียวกับ การจัดอาหารกลางวันทีเ่ น้นในเรือ่ งของความสดใหม่ สะอาด มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน และมีความหลากหลาย ท�าให้เด็กๆ อิม่ อร่อย เจริญอาหาร และปลอดจากโรคท้องร่วง โดยสิ้นเชิง การรักษาความสะอาดเป็นอีกสิง่ ทีท่ างศูนย์เน้น ห้องน�า้ ห้องครัว ที่นอน และบริเวณโดยรอบจะได้รับการดูแลอย่าง ใส่ใจ เพื่อให้เด็กมีความเสี่ยงต่อเชื้อโรคต่างๆ น้อยที่สุด ทางศู น ย์ พ ยายามเชื่ อ มโยงบทเรี ย นให้ เ ข้ า กั บ ธรรมชาติดว้ ยแนวคิดการให้ความรูท้ คี่ รบถ้วนทัง้ เรือ่ งร่างกาย อารมณ์ สติปญั ญาและสิง่ แวดล้อม อาทิ การเรียนรูเ้ รือ่ งสีจาก ธรรมชาติ ครูผู้สอนจะน�าสีฟ้าและม่วงจากดอกอัญชันมาให้ เด็กใช้ระบายสี ใช้สเี ขียวจากใบย่านาง หรือสีเหลืองจากขมิน้ มาให้เด็กได้เล่นได้สัมผัส หรือกลิ้งเป็นลวดลาย 54

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น


เยาวชนแข็งแรง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดโรค

55


56

หนองหล่ม กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น


ส่วนการเชือ่ มโยงความรูก้ บั ท้องถิน่ นัน้ จะเชิญคนเฒ่า คนแก่จากชมรมผูส้ งู อายุตา� บลหนองหล่มมาเล่าเรือ่ งต่างๆ ให้ เด็กฟัง การสอนท�าของเล่นง่ายๆ จากใบตอง หรือการสาน ตะกร้า กระจาด กระด้ง และท�าไม้กวาดก็เป็นกิจกรรมที่เด็ก ชื่นชอบ บางครั้งเด็กๆ ก็จะได้ออกไปเรียนรู้เรื่องสมุนไพรที่ผู้ สูงอายุปลูกไว้ ขณะที่การไปดูกลุ่มกล้วยเกยกิ๋นทอดกล้วยก็ ท�าให้เด็กทัง้ สนุกและรูจ้ กั ของอร่อยทีม่ าจากน�า้ มือคนในชุมชน ส่วนการพัฒนาจิตใจด้วยการให้เด็กได้เข้าวัดในวันส�าคัญทาง ศาสนา ได้ร่วมท�าบุญ นั่งสมาธิ ฟังธรรม ถวายเทียนพรรษา ร่วมกับผู้ใหญ่ ก็ท�าให้เขาค่อยๆ ซาบซึ้งกับสิ่งที่มีความหมาย ต่อชีวิต นอกจากนี้ทางศูนย์ยังตั้งใจปลูกฝังคุณธรรมเรื่อง ความรักสามัคคี รู้จักแบ่งปัน เอื้อเฟื้อ และอยู่ร่วมกันอย่าง กลมเกลียว เพื่อที่พวกเขาจะพร้อมเติบโตเป็นประชากรที่มี คุณภาพในสังคม สิ่งรับประกันคุณภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งนี้มี ทั้งเกียรติคุณและรางวัล ไม่ว่าจะเป็นประกาศเกียรติคุณจาก กรมอนามัยใน พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2544 ได้แก่ ประกาศ เกียรติคุณศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ระดับดีมากจากโรงพยาบาล ดอกค�าใต้ ประกาศนียบัตรหลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนา ศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคจากส�านักงานสาธารณสุขจังหวัด พะเยา รวมทั้งรางวัลชมเชยศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ปลอดโรคจาก ส�านักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา

เยำวชนแข็งแรง ในศูนย์พัฒนำเด็กเล็กปลอดโรค

57



กลุ่มสตรีพิกำร

5

สร้ำงงำน สร้ำงรำยได้ แต่ไม่สร้ำงภำระ

ระบบจิตอำสำ และสวั ส ดิ ก ารสั ง คม

ต� า บลหนองหล่ ม ให้ ค วามส� า คั ญ เรื่ อ งการออมอั น เป็ น ฐานการด�าเนินชีวิตบนความพอเพียง ที่ใต้ถุนบ้านไม้สองชั้น หลั ง หนึ่ ง ในหมู ่ 7 เป็ น แหล่ ง เรี ย นรู ้ ใ นระบบจิ ต อาสา และสวัสดิการสังคมอีกแหล่งหนึ่งของหนองหล่ม นั่นคือ กลุ่มสตรีพิการเย็บปักประดิษฐ์ ที่มีสมจิตร เผ่ากันทะ เป็น ประธานกลุ่ม

กลุ่มสตรีพิกำร สร้ำงงำน สร้ำงรำยได้ แต่ไม่สร้ำงภำระ

59


สมจิตรผู้ก่อตั้งกลุ่มร่วมกับเพื่อนอีก 3 คน ในปี 2537 เล่าว่า พวกเธอคุยกันว่าอยากรวมกลุ่มกันสร้างอาชีพ สร้างรายได้เพื่อที่จะสามารถเลี้ยงดูตนเอง ไม่เป็นภาระ ของใคร จึงไปปรึกษากับนายกองค์การบริหารส่วนต�าบล (ในตอนนั้น) และได้รับค�าแนะน�าว่า การจะตั้งกลุ่มได้นั้น ต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 6 คน เธอจึงไปชักชวนเพือ่ นอีก 3 คน จนกระทั่งตั้งกลุ่มขึ้นมาได้ แนวคิดหลักของกลุ่มสตรีพิการ เย็บปักประดิษฐ์บ้านหนองหล่ม คือ การมาพบ มาช่วยเหลือ และช่วยกันสร้างรายได้แก่ตนเองและสมาชิก 60

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น


ในช่วงแรกกลุ่มสตรีพิการเย็บปักประดิษฐ์ได้รับเงิน สนับสนุนมาจากหน่วยพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ จังหวัดพะเยา (พมจ.) คิดเป็นเงินรายหัว คนละ 3,000 บาท สมจิตรและเพื่อนน�าเงินที่ได้มาลงทุนซื้อวัสดุมาประดิษฐ์ ของขาย ในลักษณะที่ต่างคนต่างเอาไปท�าที่บ้าน พอถึง สิ้นเดือนก็เอาสินค้ามารวมกันแล้วน�าไปขายในงานกาชาด เมื่อได้เงินมาก็แบ่งสรรปันส่วนเท่าๆ กัน แต่พบว่าการแบ่ง แบบนี้ท�าให้คนที่ท�างานรู้สึกไม่ยุติธรรม เพราะคนที่ท�ามาก หรือน้อยได้ผลตอบแทนไม่ต่างกัน กลุ่มสตรีพิกำร สร้ำงงำน สร้ำงรำยได้ แต่ไม่สร้ำงภำระ

61


จวบจนเมือ่ มีโอกาสไปออกร้านในงานโอทอปครัง้ แรก ที่ เ มื อ งทองธานี พวกเธอพบว่ า ของที่ ท� า นั้ น ขายไม่ อ อก แม้จะเกิดความท้อแท้เพราะเงินทุนที่หมดไป แต่สมาชิก กลุม่ สตรีพกิ ารก็ไม่ยอมแพ้ พวกเธอรวมตัวกันของบประมาณ ช่วยเหลือจาก พมจ. อีกครัง้ แต่ครัง้ นีน้ อกจากงบประมาณแล้ว สิ่งที่ได้เพิ่มเติม คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบและลวดลาย ต่างๆ ในการเย็บปัก รวมทัง้ การใช้สแี ละการออกแบบทีว่ ทิ ยากร จาก พมจ. มาช่วยสอน ท�าให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพสินค้า และปรับเปลี่ยนระบบการท�างานในเวลาต่อมา จากที่ต่างคน ต่างท�ากลายมาเป็นการท�างานร่วมกัน ใช้งบประมาณที่ได้ เป็นต้นทุนร่วม และแบ่งปันค่าแรงตามชิ้นงานที่แต่ละคนท�า ส่วนเงินที่เหลือนั้นเก็บไว้เป็นก�าไรภายในกลุ่ม หรือน�าไป ซื้อของที่ต้องลงทุนซื้อ ปีที่ผ่านมาพวกเธอสามารถใช้เงิน ส่วนนี้ซื้อจักรใหม่เพื่อใช้ท�างานเพิ่มถึง 3 ตัว มีการตกลงกัน ว่า ทุก 3 ปี จะเอาก�าไรที่เหลือมาแบ่งกัน โดยให้ทั้งคนที่ ท�างานได้และท�างานไม่ได้ “แรกๆ เขาก็ท�าด้วย แต่ตอนหลังอ่อนแรง สายตา ไม่ดีก็ท�างานไม่ได้” สมจิตรขยายความว่า เหตุใดพวกเธอ จึงเต็มใจแบ่งก�าไรแก่ผู้ที่ไม่ได้ท�างาน

62

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น




นอกจากนี้ยังมีการท�าบัญชีรับจ่ายที่ชัดเจนโปร่งใส ซึ่งทุกคนสามารถเปิดดูได้ตลอดเวลา สมจิตรซึ่งรับหน้าที่ ท�าบัญชีบอกว่า การท�าให้เห็นชัดๆ แบบนี้จะได้ไม่ต้องคอย ตอบค�าถามว่าเงินมาจากที่ไหนไปที่ไหน ส่วนการแบ่งงาน ก็แบ่งตามความสามารถและความถนัดของแต่ละคน รวมถึง ต้องพยายามใช้ต้นทุนที่มีอยู่ในท้องถิ่นด้วย “เมื่อก่อนเราใช้ผ้าบาติก เราขายไม่ได้ เพราะผ้า บาติกเป็นของทางใต้ แต่ตอนหลังเราเปลี่ยนมาใช้ผ้าทอ แล้วก็ปักลายแบบชาวเขา เพราะใครๆ ก็รู้ว่าผ้าฝ้ายทอเป็น ของทางเหนือ แล้วเขาก็รู้ว่าบ้านเรามีชาวเขา” ประธานกลุ่ม อธิบายวิธีคิดที่ท�าให้สินค้าของพวกเธอขายดีขึ้น “แล้วที่ พมจ. มาช่วยเราก็ช่วยได้มาก เขาเอาของ ที่เราท�ามาดู ซึ่งปักเยอะมาก หนึ่งวันเราท�าได้ไม่กี่ชิ้น เฉลี่ย แล้วได้ค่าแรงแค่วันละสิบกว่าบาท เขาก็มาแนะน�าให้ปักลาย แค่พอดีๆ ใช้เวลาต่อชิ้นไม่มาก”

กลุ่มสตรีพิกำร สร้ำงงำน สร้ำงรำยได้ แต่ไม่สร้ำงภำระ

65


จากการปรั บ วิ ธี คิ ด เช่ น นี้ ท� า ให้ เ ดื อ นหนึ่ ง ๆ สตรี เหล่านี้มีรายได้ไม่ต�่ากว่าห้าพันบาทต่อเดือนเลยทีเดียว ด้วยลักษณะงานที่ท�าให้ต้องใกล้ชิดกันท�าให้สมาชิก ตั้งเงื่อนไขในการเข้าร่วมกลุ่มไว้อย่างชัดเจน นั่นคือ พวกเธอ ยินดีรับเฉพาะสมาชิกผู้หญิง ต้องมีความอดทนที่จะท�างาน และไม่สามารถรับผู้พิการทางสมอง เพราะที่ผ่านมาพบว่า เกิดปัญหาในการร่วมงาน “เราเคยรับคนพิการทางสมองเข้ามา แต่เข้ากันไม่ได้ เพราะพวกเขามีอารมณ์รุนแรง” สมจิตรแจง แต่นั่นก็ไม่ได้ หมายความว่าพวกเธอจะกีดกันคนอื่นๆ เพราะที่บ้านหลังนี้ นอกจากจะเป็นที่ตั้งของกลุ่มสตรีพิการแล้ว ยังเป็นที่ตั้งของ ชมรมคนพิการและศูนย์การเรียนรู้คนพิการซึ่งปัจจุบันมี สมาชิกมากถึง 110 คน อีกด้วย “ผู้ชายเขาก็อยากเข้ากลุ่มด้วย เราก็เลยมาเปิดเป็น ชมรมคนพิการ แล้วก็มีกิจกรรมทุกเดือน” กิจกรรมทีจ่ ดั นัน้ จะเป็นกิจกรรมทีเ่ อือ้ ประโยชน์กบั คน พิการโดยตรง เช่น การท�าน�้ายาอเนกประสงค์ส�าหรับซักผ้า เพราะรูว้ า่ ผูด้ แู ลคนพิการจ�าเป็นต้องใช้ หรือการท�าลูกประคบ เพื่อใช้ในการท�ากายภาพบ�าบัด การท�ายาหม่อง น�้ามันไพล เพื่อใช้นวด เป็นต้น

66

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น



ทุกวันนี้ กลุ่มสตรีพิการฯ สามารถผลิตสินค้าได้ หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าใส่โทรศัพท์ กระเป๋าหูรูด กระเป๋าคาดเอว ย่ามการบูร กระเป๋าสตางค์ ซองใส่แว่นตา ย่ามสะพาย ฯลฯ นอกจากจะท�าให้เกิดรายได้สามารถ ช่วยเหลือดูแลตัวเองแล้ว การรวมกลุ่มกันยังท�าให้พวกเขา รู้สึกว่ามีเพื่อน มีสังคม และมีโอกาสได้แสดงออก

68

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น


“เมื่อก่อนเราต่างคนต่างอยู่ ถึงอยู่บ้านใกล้กันแต่ก็ ไม่เคยรู้จักกัน ก็เหงา เครียด ไม่สบาย แต่พอเรามารวมกลุ่ม กันก็มีเพื่อนที่คุยกันเข้าใจ ได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ทั้งด้านการ ท�างานและความคิด” สมจิตรยืนยันข้อดี

กลุ่มสตรีพิกำร สร้ำงงำน สร้ำงรำยได้ แต่ไม่สร้ำงภำระ

69



นอกจากนี้ การรวมเป็นกลุ่มก้อนก็ท�าให้หน่วยงาน หลายๆ หน่วยงานเข้ามาสนับสนุนการท�างานของพวกเธอได้ ง่ายขึ้นด้วย เช่น ส�านักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ จังหวัดพะเยา ที่มอบเงินลงทุนในเบื้องต้น ส�านักงาน ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ ช่วยให้แนวทางในการผลิตสินค้า เทศบาลต�าบลหนองหล่ม ซึ่งสนับสนุนเรื่องจักรเย็บผ้าในช่วงแรก และบริการรถรับส่ง ส�าหรับเดินทางไปจ�าหน่ายสินค้าตามงานต่างๆ การท�างานอย่างมุมานะใส่ใจท�าให้สมจิตร เผ่ากันทะ ได้รับรางวัลคนพิการดีเด่นประจ�าจังหวัดถึง 2 ปีซ้อน และใน ปี นี้ เ ธอยั ง ได้ รั บ รางวั ล ผู ้ อ ยู ่ ใ นภาวะยากล�า บากที่ ท� า คุ ณ ประโยชน์ให้แก่สังคม นอกจากนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ยังมอบโล่รางวัลส�าหรับคนพิการ และองค์กรต้นแบบที่ได้รับบริการจากกองทุนส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตแก่สมจิตร เผ่ากันทะ ในฐานะบุคคล ต้นแบบที่มีความรับผิดชอบในการท�างานร่วมกับผู้อื่นผ่าน งานเย็บปักประดิษฐ์ สามารถแวะชมสินค้าของกลุม่ สตรีพกิ ารได้ทเี่ ว็บไซต์ www.thaitambon.com หรือติดต่อกับสมจิตร เผ่ากันทะ ได้ โดยตรง (โทรศัพท์ 086-1561148 และ 087- 8273264)

กลุ่มสตรีพิกำร สร้ำงงำน สร้ำงรำยได้ แต่ไม่สร้ำงภำระ

71



เกษตรกรเข้มแข็ง

6

รวมกลุ่มลดต้นทุน สร้ำงกำรเรียนรู้ มุ่งสู่วิถีเกษตรอินทรีย์

อำชีพ หลักของชาวหนองหล่มคือท�าการเกษตร

พวกเขาปลูกข้าวและข้าวโพดเป็นหลัก ดังนั้น สุขภาวะ ในระบบกสิกรรมและสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ ปัจจุบันทุกคนตระหนักว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนทวี ความรุนแรงขึน้ สารเคมี ยาฆ่าแมลง สร้างปัญหาต่อแหล่งน�้า และดินซึ่งเป็นต้นทุนส�าคัญ ขณะที่ชาวไร่ชาวนาเองก็ประสบ ปัญหาจากต้นทุนการปลูกที่ต้องพึ่งปุ๋ยและยาฆ่าแมลงซึ่งมี ราคาสูงขึ้น

เกษตรกรเข้มแข็ง รวมกลุ่มลดต้นทุน สร้ำงกำรเรียนรู้ มุ่งสู่วิถีเกษตรอินทรีย์

73


การรวมตัวกันในนาม กลุม่ เกษตรกรท�านาหนองหล่ม คือหนทางหนึ่งซึ่งเป็นทางออกของปัญหาดังกล่าว พวกเขามี วิธีบริหารจัดการที่เข้มแข็ง และช่วยแก้ปัญหาบางประการได้ จนกลายมาเป็นแหล่งเรียนรูด้ า้ นระบบเกษตรและสิง่ แวดล้อม กลุ่มเกษตรกรท�านาหนองหล่มเกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2533 จากฐานคิดทีว่ า่ ถ้าต่างคนต่างอยูต่ า่ งคนต่างท�าก็จะถูก เอารัดเอาเปรียบทั้งจากผู้ค้าวัสดุอุปกรณ์ด้านการเกษตรและ พ่อค้าคนกลางผู้ก�าหนดราคาสินค้า ในขณะที่การรวมกลุ่ม สามารถสร้างการต่อรองได้ ธีรเดช พินิจ ประธานกลุ่มเล่าว่า “เมื่อก่อน เขาบอกราคามาเท่าไหร่ เราก็ต้องซื้อ เท่านั้นเพราะต่างคนต่างซื้อ แต่พอรวมกลุ่มกัน เราสามารถ ต่อรองกับร้านค้าในเมืองได้” 74

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น


กลุ่มเกษตรกรท�านาหนองหล่มก�าหนดให้สมาชิก ถือหุ้นได้ในราคาหุ้นละ 10 บาท โดยคนหนึ่งต้องถือไม่ น้อยกว่า 5 หุ้น อีกทั้งยังมีการให้สมาชิกออมหุ้นปีละ 200 บาท อย่างต่อเนื่อง ท�าให้เกิดเงินทุนราวแปดหมื่นกว่าบาท โดยทุนนี้จะใช้ส�าหรับซื้อเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยและวัสดุอุปกรณ์ ทางการเกษตรทีจ่ า� เป็นในราคาทีต่ อ่ รองแล้วกับผูข้ าย จากนัน้ ก็น�ามาจ�าหน่ายให้แก่สมาชิกในระบบผ่อนส่ง ซึ่งมีราคาต�่า กว่าที่เกษตรกรซื้อจากร้านค้าทั่วไป การท�าเช่นนี้ท�าให้ใน แต่ละปี กลุ่มเกิดผลก�าไรจากการท�าธุรกิจ และผลก�าไรนี้ ก็หมุนกลับมาเป็นเงินปันผลแก่สมาชิกอีกต่อหนึ่ง

เกษตรกรเข้มแข็ง รวมกลุ่มลดต้นทุน สร้ำงกำรเรียนรู้ มุ่งสู่วิถีเกษตรอินทรีย์

75




มาถึงทุกวันนี้ เมื่อการรวมตัวเป็นกลุ่มชัดเจน การ ช่วยเหลือเรื่องต้นทุนเห็นผล แผนงานของกลุ่มก็ขยายต่อ เนื่องไปอีกเพื่อผลดีในระยะยาว นั่นคือการพยายามพัฒนา ผืนดินอันเป็นต้นทุนของการเกษตรให้มีคุณภาพดีขึ้นโดย หันมาส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี ที่แหล่งเรียนรู้ ของกลุ่มเกษตรกรท�านาหนองหล่มจึงเป็นโรงท�าปุ๋ยส�าหรับ ขายให้สมาชิกในราคาถูกด้วย “การพัฒนาดินเราก็ส่งเสริมทั้งการปลูกถั่ว ปอเทือง ท�าปุ๋ยอินทรีย์และน�้าหมักชีวภาพ เพื่อให้สมบูรณ์ครบทั้ง การบ�ารุงดินและให้อาหารพืชทางใบ” ประธานกลุ่มเล่าถึง โครงการที่พวกเขาก�าลังท�าอยู่ในปัจจุบัน การสร้างโรงปุย๋ ครัง้ แรกได้งบกระตุน้ เศรษฐกิจจ�านวน 50,000 บาท จากสหกรณ์จังหวัดพะเยา สถานีพัฒนาที่ดิน จังหวัดพะเยา และเกษตรอ�าเภอให้การสนับสนุนโดยส่ง ตั ว แทนกลุ ่ ม ไปเรี ย นรู ้ ดู ง านจากวิ ท ยาลั ย การเกษตรและ เทคโนโลยีพะเยา หลังจากนั้นตัวแทนได้กลับมาถ่ายทอด ต่อให้กับสมาชิกคนอื่นๆ ในกลุ่ม

78

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น








จากการส่งเสริมของเทศบาลต�าบลหนองหล่ม เบือ้ งต้น การผลิตปุย๋ ยังเป็นไปเพือ่ แจกจ่ายทดลองใช้ ต่อมาเมือ่ สมาชิก เห็นว่าปุย๋ มีคณุ ภาพดีแล้วก็เริม่ จ�าหน่ายในราคาเพียงกิโลกรัม ละ 2 บาท โดยก�าลังการผลิตเพียงพอทีจ่ ะแจกจ่ายแก่สมาชิก จ�านวน 146 คน ใช้ได้อย่างทั่วถึง แต่พวกเขายังมุ่งมั่นพัฒนา ระบบการเกษตรให้มคี วามยัง่ ยืนและส่งเสริมคุณภาพชีวติ ให้ดี ขึ้นไปอีก พวกเขาเริ่มมองหาแนวทางการเพาะปลูกพืชที่ดีต่อ ทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภค นั่นคือการท�าเกษตรอินทรีย์ อาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเปลี่ยน แต่จากการไปดูงาน และการศึกษาของแกนน�าในหลายๆ ที่ พวกเขาตระหนักว่า ศักยภาพของพื้นที่และบุคคลในหนองหล่มไม่ได้ด้อยกว่า เกษตรกรที่อื่น หนองหล่มมีดินที่ดี มีแหล่งน�้า มีคนที่รัก สามัคคี พร้อมจะแบ่งปันความรู้ให้กันและกัน เบื้องต้นนั้น พวกเขาตกลงกันว่าจะเริ่มท�าเกษตรอินทรีย์บางส่วนในกลุ่ม แกนน�าก่อนโดยต่อยอดมาจากการเกษตรแบบผสมผสาน ตามแนวคิด ‘กินทุกอย่างทีป่ ลูก และปลูกทุกอย่างทีก่ นิ ’ และ เชื่อว่าถ้าได้ผลดีก็จะมีการขยายผลต่อไปได้ในอนาคต

เกษตรกรเข้มแข็ง รวมกลุ่มลดต้นทุน สร้ำงกำรเรียนรู้ มุ่งสู่วิถีเกษตรอินทรีย์

85


86

หนองหล่ม กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น


สวนของลุงเสน่ห์ จิตจันทร์ เป็นตัวอย่างของเกษตร แบบผสมผสาน ในพื้นที่ 5 ไร่ มีทั้งมะเขือยาว มะนาว ฝรั่ง มะละกอ ผักกาด ล�าไย ไม้กฤษณา บ่อเลี้ยงปลา ฯลฯ เจ้าของสวนปลูกพืชชนิดต่างๆ โดยพยายามเลือกชนิดที่ ให้ผลผลิตในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ท�าให้ไร่แห่งนี้สามารถ สร้างรายได้แก่เจ้าของตลอดทั้งปี นอกจากการแลกเปลีย่ นเรียนรูก้ นั ในกลุม่ แล้ว กลุม่ เกษตรกรท�านาหนองหล่มยังแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่าย อื่นๆ ด้วย เช่น กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดพะเยา ทั้งในกลุ่ม สหกรณ์จังหวัดพะเยา หรือกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งท�างาน ประสานกั บ ส� า นั ก งานตรวจสอบบั ญ ชี ส หกรณ์ เ รื่ อ งการ ตรวจสอบงบดุล การด�าเนินการอย่างเข้มแข็งจริงจังของกลุม่ เกษตรกร ท�านาหนองหล่มท�าให้เกิดเครือข่ายการพัฒนากลุ่มเกษตรกร ซึ่งพวกเขาเชื่อมั่นว่า ต่อไปในอนาคตเมื่อได้ลงมือท�าอย่าง จริงจังไปสักระยะหนึ่ง พวกเขาจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ อย่างพอเพียง พึ่งพาตนเองได้ ไม่ต้องเสียค่ายาเพื่อรักษา ความเจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีอีก ผู้บริโภคก็จะเกิดความ มั่นใจและปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมของ หนองหล่มให้ดีด้วย

เกษตรกรเข้มแข็ง รวมกลุ่มลดต้นทุน สร้ำงกำรเรียนรู้ มุ่งสู่วิถีเกษตรอินทรีย์

87



7

‘กล้วยเกยกิ๋น’

อำชีพเสริมเพิ่มรำยได้ยำมว่ำง

ชุมชนบ้านหนองหล่ม ระบบเศรษฐกิ จ ให้ความส�าคัญกับกระบวนการการมีส่วนร่วม ทั้งร่วมคิด

ร่วมสร้างและช่วยเหลือเกื้อกูล รวมถึงการบริหารจัดการ อย่างเป็นระบบ ซึ่งสร้างความเข้มแข็งรวมทั้งส�านึกในการ เป็นเจ้าของแก่กลุ่มและชุมชน มีการต่อยอดกิจกรรมเพื่อ สร้างรายได้โดยเชือ่ มโยงกับเครือข่ายอืน่ ตัวอย่างเช่น กิจกรรม ของแม่บ้านกลุ่มนี้

‘กล้วยเกยกิ๋น’ อำชีพเสริมเพิ่มรำยได้ยำมว่ำง

89


กลุ่มกล้วยเกยกิ๋นเริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2547 จากการ ริเริ่มของนางอรวรา เผ่ากันทะ ซึ่งเคยไปดูงานในโครงการ ธ.ก.ส. สายสัมพันธ์ ของธนาคารสหกรณ์การเกษตร สาขา ดอกค� า ใต้ ที่ จั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลกและจั ง หวั ด ก� า แพงเพชร เกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิตในชุมชน เช่น กล้วยหอมทอง กล้วยน�้าว้า และข่า ตะไคร้ พริก สมุนไพรหาง่ายในท้องถิ่น ท�าให้เกิดแนวคิดว่า ที่หนองหล่มก็มีต้นทุนดังกล่าว น่าจะ สามารถแปรรูปเพื่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนได้ เพราะเข้าใจดีว่า นอกเหนือจากฤดูกาลท�าไร่ท�านา แล้ว แรงงานบางส่วนจะไม่มีรายได้ และมีเวลาว่างอยู่ หาก น�าเวลาและแรงงานนัน้ มาสร้างผลผลิตก็จะเกิดรายได้ขนึ้ และ หากสามารถใช้ผลผลิตที่มาจากท้องถิ่น ต้นทุนก็จะต�า่ และ เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในท้องถิ่นไปในตัว ด้วยความรู้จากการดูงานส่วนหนึ่ง ประกอบกับการ ลองถูกลองผิด โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างวิสาหกิจชุมชน ในระดับเครือข่าย นางอรวราจึงได้ชักชวนญาติพี่น้องมา ช่วยกันท�าสินค้าอาหารแปรรูปจากกล้วยขึ้นโดยใช้ชื่อว่า กล้วยเกยกิ๋น “ช่วงแรกๆ ก็ทอดทิ้งไปเยอะ กว่าจะพบวิธีที่ท�าให้ กรอบอร่อย” ผู้เป็นประธานกลุ่มเล่าข�าๆ เมื่อผ่านวันนั้นมาแล้ว ผลผลิตในนามของกลุ่มกล้วยเกยกิ๋นก็เป็นที่ยอมรับว่าอร่อย ถูกปากคนในท้องถิ่นอย่างมาก 90

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น


‘กล้วยเกยกิ๋น’ อาชีพเสริมเพิ่มรายได้ยามว่าง

91


ผลิตภัณฑ์กล้วยเกยกิ๋นคือกล้วยดิบฝานบางแล้ว ทอดให้กรอบ ทางกลุม่ จะอุดหนุนกล้วยจากชาวบ้าน บางส่วน ก็ปลูกเอง วิธีการคือน� ากล้วยดิบมาปอกเปลือกแช่น�้ าไว้ จากนัน้ น�าไปสะเด็ดน�า้ ก่อนจะฝานให้บาง แล้วใช้เนย น�า้ ตาล เกลือป่น น�้าเปล่า มาผสมกันก่อนน�ากล้วยฝานไปเคล้าให้ทั่ว แล้วน�าไปทอดในน�้ามันจนกรอบ เมื่อพักไว้จนสะเด็ดน�้ามัน 92

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น


และเย็นแล้วก็น�ามาใส่ถุงเก็บไว้ สินค้าของกลุ่มกล้วยเกยกิ๋น จะมีทั้งแบบที่เป็นกล้วยทอดรสธรรมชาติและกล้วยทอด รสหวาน กล้วยเกยกิ๋นมีทั้งแบบชั่งกิโลขายและแบ่งขายเป็น ถุงเล็กๆ เพือ่ ความสะดวกของผูบ้ ริโภค โดยมีรปู เด็กอ้วนเป็น ตราสินค้า ช่วงไหนที่มีแรงงานเหลือ และมีช่องทางการขาย ‘กล้วยเกยกิ๋น’ อำชีพเสริมเพิ่มรำยได้ยำมว่ำง

93


94

หนองหล่ม กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น


กลุ่มก็จะแปรรูปน�้าพริกออกจ�าหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้อีกทาง หนึ่ง โดยช่องทางจ�าหน่ายสินค้าหลักคือจ�าหน่ายในงาน ออกร้านที่ทางจังหวัดและต�าบลจัดขึ้น หัวใจส�าคัญของกลุ่มกล้วยเกยกิ๋นอยู่ที่การมารวมตัว กัน ใช้ต้นทุนที่มี ผนวกเข้ากับการเรียนรู้เพิ่มเติม รวมทั้งการ ประสานงานกับกลุ่มอื่นๆ เช่น การให้เด็กจากศูนย์พัฒนา เด็กเล็กได้มาเรียนรู้ เป้าหมายต่อไป ได้แก่ การผลิตและ จ�าหน่ายให้ได้มากขึ้น และมุ่งหวังให้สินค้าได้ขยายต่อไปใน ระดับธุรกิจโอทอป

‘กล้วยเกยกิ๋น’ อำชีพเสริมเพิ่มรำยได้ยำมว่ำง

95



8

เจ็บไข้ไม่ถูกทอดทิ้ง

เพรำะมีระบบสวัสดิกำรชุมชน

กำร ปลูกจิตส�านึกเรื่องการออมอันเป็นรากฐานการ

ด�าเนินชีวิตบนความพอเพียง การดูแลสุขภาพชุมชนด้วย วิถีชีวิตที่เอื้ออาทร ตลอดจนการสร้างความร่วมมือภายใน ต�าบล และบูรณาการการท�างานเพื่อร่วมสร้างสวัสดิการดูแล สุขภาพประชาชนให้เป็น ‘คนดีมสี ขุ ’ คือหัวใจส�าคัญของระบบ สวัสดิการชุมชนต�าบลหนองหล่ม ที่นี่ ระบบสวัสดิการชุมชนเป็นแนวคิดซึ่งต่อยอด มาจากเรื่องธนาคารหมู่บ้าน ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2535 โดยเครือข่ายศูนย์รวมน�้าใจ 4 ต�าบล กล่าวคือ ต�าบลเวียง ต�าบลบ้านปิน ต�าบลหนองหล่ม และต�าบลบ้านถ�้า ต่อมา ชาวบ้านและสมาชิกของธนาคารหมู่บ้านได้เริ่มคิดกันว่า น่าจะหาหนทางสร้างสวัสดิการให้กับสมาชิกอย่างยั่งยืน

เจ็บไข้ไม่ถูกทอดทิ้ง เพรำะมีระบบสวัสดิกำรชุมชน

97


ในช่ ว งแรกได้ มี ก ารน� า เอาดอกเบี้ ย จากธนาคาร หมู่บ้านมาจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก แต่ผลคือสมาชิกได้รับ สวัสดิการไม่ทั่วถึงหรือครอบคลุมพอ คณะกรรมการกองทุน สวัสดิการในขณะนั้นจึงพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา โดยเปิดให้ มีการรับสมัครสมาชิกทุกปี และจัดระบบสวัสดิการดูแล ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิต ผู้ขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชนต�าบลหนองหล่ม ช่วงเริ่มต้น ได้แก่ นายสมิง ธรรมปัญญา ประธานกองทุนฯ และนายส�าราญ จันต๊ะวงศ์ รองประธานกองทุนฯ อาจารย์มกุ ดา อินต๊ะสาร รวมถึงเครือข่ายศูนย์รวมน�้าใจฯ และหน่วยงาน ต่าง ๆ เช่น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นต้น จากนัน้ วันที่ 26 มีนาคม 2551 คณะกรรมการส่งเสริม การจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติกไ็ ด้รบั รอง ‘กองทุนสวัสดิการ ชุมชนต�าบลหนองหล่ม’ เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ ตาม ความในมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัด สวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 มาถึงวันนี้ กองทุนสวัสดิการชุมชนมีสมาชิกจาก ทุกกลุ่ม มีเงินสะสมราวหนึ่งล้านเจ็ดแสนบาท โดยบาง ส่วนมาจากการสมทบทุนของเทศบาลต�าบลหนองหล่มซึ่ง เล็งเห็นความส�าคัญของระบบสวัสดิการ แต่เงินส่วนใหญ่ มาจากสมาชิกซึ่งจะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนฯ ในช่วงเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน ตรงตามเวลาทุกปี 98

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น


การออมนั้นก�าหนดให้สมาชิกส่งเงินเพียงปีละ 200 บาท โดยให้สิทธิเฉพาะผู้ที่มีทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน อยู ่ ใ นต� า บลหนองหล่ ม เท่ า นั้ น เมื่ อ เป็ น สมาชิ ก กองทุ น สวัสดิการแล้วก็จะได้รับผลประโยชน์ครอบคลุมตั้งแต่เกิด จนตาย นั่นคือ เมื่อมีเด็กเกิด กองทุนฯ จะจ่ายค่าท�าขวัญให้ คนละ 500 บาท หากเจ็บป่วยจะมีการจ่ายค่ารักษาพยาบาล คืนละ 100 บาท ส�าหรับผู้ที่เป็นสมาชิกครบ 90 วันขึ้นไป แต่รวมแล้วไม่เกิน 2,000 บาท ขณะที่ถ้าเสียชีวิตก็มีเงิน สงเคราะห์ตามอายุการเป็นสมาชิก ถ้าเป็นสมาชิกครบ 6 เดือน จะได้เงินสงเคราะห์ 3,000 บาท หรือเป็นสมาชิก 1 ปี 2 ปี 3 ปี และ 4 ปี จะได้เงินสงเคราะห์ 5,000, 10,000, 15,000 และ 20,000 บาท ตามล�าดับ “ตอนนี้ส่วนใหญ่เราจ่าย 20,000 บาท เพราะสมาชิก ส่วนใหญ่อายุครบ 4 ปีแล้ว” นายส�าราญ จันต๊ะวงศ์ รองประธานกล่าว คนท�างานในกองทุนสวัสดิการฯ บอกแนวทางจูงใจ ผูท้ ยี่ งั รีรออยูว่ า่ เงินส่วนใหญ่นนั้ พวกเขาจะน�าไปฝากธนาคาร อีกร้อยละ 10 จะน�าไปเข้าหุน้ กับกองทุนหมูบ่ า้ นเพือ่ ปล่อยกูใ้ ห้ กับชาวบ้านอีกทีหนึ่ง ซึ่งจะท�าให้เงินเพิ่มขึ้นมาจากดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 0.5

เจ็บไข้ไม่ถูกทอดทิ้ง เพรำะมีระบบสวัสดิกำรชุมชน

99


100

หนองหล่ม กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น


โครงสร้างการท�างานของกองทุนสวัสดิการชุมชน หนองหล่ม คือ มีนายกเทศมนตรีเป็นประธานกองทุน จากนัน้ ท�าการเลือกกรรมการหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 5 คน ก่อนจะ เลือกกรรมการระดับต�าบลอีกครั้งหนึ่ง จากการท�างานอย่าง เป็นระบบชัดเจน มีการสื่อสารกับชุมชนและสมาชิกอย่าง สม�่าเสมอ ท�าให้กองทุนสวัสดิการชุมชนต�าบลหนองหล่ม ได้รับรางวัลองค์กรต้นแบบที่มีการจัดสวัสดิการชุมชน และ รางวัลองค์กรชุมชนเข้มแข็งด้านการบริหารงานแบบมีสว่ นร่วม แต่รางวัลที่ท�าให้คนท�างานในกองทุนสวัสดิการชุมชนทุกคน ภาคภูมิใจที่สุด คือ การที่ได้เห็นคนแก่และคนเจ็บในบ้าน หนองหล่มได้รับการใส่ใจดูแล “ยายแก้วอายุร้อยกว่าแล้ว แกไม่สบาย ครอบครัว ไม่มีเงิน ลูกชายป่วยเป็นโรคลมชัก ลูกสาวก็ไปรับจ้างที่อื่น ก็ได้เงินจากกองทุนสวัสดิการนี่แหละที่ใช้กินใช้อยู่ระหว่าง ที่ป่วย” นางนฤมล ทะลิ ผู้ช่วยเลขานุการกองทุนสวัสดิการ เล่าพร้อมรอยยิ้ม

เจ็บไข้ไม่ถูกทอดทิ้ง เพรำะมีระบบสวัสดิกำรชุมชน

101



9

เบิกบำนยำมค�่ำ ด้วยร�ำวงย้อนยุค

ทั้งสนุกและแข็งแรง

สำยรุ้ง หลากสีผูกโยงไว้บนเพดานที่ถูกแสงไฟ

ส่อง เสียงเพลงร�าวงดังกังวาน เสียงประกาศเชิญชวนในเวลา เย็นย�่าเป็นสัญญาณให้รู้ว่าเวลาของความสนุกและสุขภาพดี ก�าลังจะเริ่มต้นอีกครั้ง..นี่คืออีกหนึ่งแหล่งเรียนรู้ที่เต็มไปด้วย สีสันและความบันเทิง สองปีก่อน ร้านรับซื้อของเก่าที่ถูกทิ้งร้างถูกดัดแปลง มาเป็นที่ออกก�าลังกายของสมาชิกชมรมออกก�าลังกายเพื่อ สุขภาพเมื่อสองปีก่อน ด้วยความคิดของอุษณีย์ ไชยสกุล ประธานกลุ่ม ด้วยความเป็นครู และชอบโอภาปราศรัย เมื่อ เสร็จจากภารกิจการงาน อุษณีย์จะใช้เวลาไปในการพูดคุย กับคนในหมู่บ้าน ยิ่งพบยิ่งพูดคุยก็ยิ่งท�าให้เห็นว่า ปัญหา เรื่องสุขภาพเป็นปัญหาส�าคัญของคนที่นี่ และเป็นเรื่องที่ไม่ อาจนิ่งเฉยได้ เบิกบำนยำมค�่ำ ด้วยร�ำวงย้อนยุค ทั้งสนุกและแข็งแรง

103


“เจอคนนั้นก็บ่นไม่สบาย เจอคนนี้ก็บ่นไม่สบาย มี เรื่องบ่นอย่างนี้ตลอด เราก็มาคิดว่า ท�าไมนะ” ประธานกลุ่มเล่าภาพที่พบก่อนจะเกิดชมรมออกก� า ลั ง กายเพื่ อ สุ ข ภาพ ยิ่ ง เมื่ อ เธอพบว่ า คลิ นิ ก ความดั น เบาหวานของโรงพยาบาลคับคั่งไปด้วยคนไข้ที่ไปรอรับการ รักษา ด้วยความห่วงใย และรู้ว่านี่ไม่ใช่สถานการณ์ธรรมดา ทีจ่ ะใช้การช่วยเหลือตามก�าลังแบบทีท่ า� เป็นประจ�ากับผูย้ ากไร้ เช่นการซื้อถุงเท้าแจกในช่วงฤดูหนาว อุษณีย์เริ่มมองหา หนทางการแก้ในระยะยาว ค�าตอบมาลงเอยที่ ‘การออก ก�าลังกาย’ เริม่ ต้นจากการชักชวนให้ชาวหนองหล่มมาขีจ่ กั รยาน ร่วมกัน ทุกวันช่วงห้าโมงเย็นเธอจะออกไปขี่จักรยาน และ พูดคุยกับคนในหมู่บ้าน แต่ก็พบว่ามีคนแก่อีกไม่น้อยที่ไม่ พร้อมจะออกก�าลังกายด้วยวิธีนี้ จนกระทั่งมีโอกาสได้ไปเห็น กลุ่มร�าวงย้อนยุคที่ตัวเมืองพะเยา ด้ ว ยนิ สั ย เป็ น คนชอบสนุ ก มี พื้ น ฐานการเต้ น การฟ้อนอยู่เป็นทุน เมื่อได้เห็นกลุ่มร�าวงย้อนยุคพะเยาที่ ร่วมกันออกก�าลังกายด้วยท่าง่ายๆ ก่อนค่อยๆ เพิม่ ความยาก ขึ้นภายใน 15 เพลง เธอจึงลองเข้าร่วม และไม่ลังเลที่จะ น�ากลับมาเริ่มต้นที่หมู่บ้านทันที กลุ่มร�าวงย้อนยุคจึงรวมตัว กันที่โรงเรียนบ้านใหม่เพื่ออาศัยเครื่องเสียงและสถานที่ โดย มีผู้ร่วมกลุ่มครั้งแรก 7 คน บนแนวคิดที่ว่า เราควรป้องกัน โรคไม่ใช่แก้ปัญหาที่ปลายเหตุด้วยการรักษา 104

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น


เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวค่อนข้างไกลไม่สะดวก ส� า หรั บ ผู ้ เ ข้ า ร่ ว มจึ ง เปลี่ ย นมาขอใช้ พื้ น ที่ ข องร้ า นรั บ ซื้ อ ของเก่าในหมู่ 4 จนกระทั่งกลายมาเป็นสถานที่จัดกิจกรรม ร�าวงย้อนยุค และเป็นทีต่ งั้ ของชมรมออกก�าลังกายเพือ่ สุขภาพ จวบจนปัจจุบัน รู ป แบบการร� า วงนั้ น มี ส ่ ว นคล้ า ยคลึ ง กั บ การเต้ น แอโรบิก กล่าวคือ เริม่ ต้นด้วยการขยับร่างกายเบาๆ ไปพร้อมกับ จังหวะเพลง แล้วเพิ่มความซับซ้อนของท่าตามจังหวะดนตรี ที่คึกคักรวดเร็วขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการอันเหมาะสมของ การออกก�าลังกาย จึงท�าให้การออกก�าลังกายประมาณหนึ่ง ชั่วโมงกลายเป็นเรื่องไม่น่าเบื่อ และเป็นที่ชื่นชอบของบรรดา สาวใหญ่สาวน้อยในบ้านหนองหล่มเป็นอย่างยิง่ ระหว่างนัน้ เอง พวกเธอไม่รวู้ า่ ขณะทีร่ า� วงเพลินๆ นัน้ หลายสิง่ หลายอย่างใน ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น “วันหนึ่งมีสมาชิกคนหนึ่งมาบอกดิฉันว่า วันนี้แม่ไป หาหมอ หมอถามว่าแม่อุ๊ยไปเยียะอะหยังมา ความดันของ แม่อุ๊ยดีขึ้น แม่ก็บอกเขาว่าไปร�าวงมา หมอก็บอกว่าดีแล้ว แม่อุ๊ยท�าไปเรื่อยๆ นะ” ประธานกลุ ่ ม เล่ า ผลลั พ ธ์ ต ่ อ สุ ข ภาพที่ เ ห็ น เป็ น รูปธรรม เช่นเดียวกับสมาชิกอีกคนที่ปริมาณไขมันในเลือด ลดลง ไม่เพียงแค่ผลในด้านสุขภาพเท่านั้น ด้านจิตใจก็ดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัดด้วย

เบิกบำนยำมค�่ำ ด้วยร�ำวงย้อนยุค ทั้งสนุกและแข็งแรง

105


106

หนองหล่ม กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น


“มีคนหนึ่ง แกเคยเป็นคนไม่เอาใครเลย ชีวิตนี้ฉัน ไปแต่ไร่ ถึงหน้าหน่อไม้กข็ ายแต่หน่อไม้ ไม่สนใจใคร มาวันนี้ ถ้าวันไหนแกไม่มาเข้ากลุ่มก็จะไม่สนุก แกจะกลายเป็นคนที่ ท�าให้คนอื่นหัวเราะ” ประธานกลุม่ เล่าจนเราเห็นภาพ ผลจากการรวมกลุม่ นี้ ยังต่อยอดไปสู่สังคม “ในหมู่บ้านเรามีหลายคนที่เมื่อก่อนไม่เอาใครเลย ชีวิตนี้ฉันอยู่กับครอบครัว ฉันพอใจแล้ว วัดมีกิจกรรมบริจาค ฉันก็ไม่เกีย่ ว ใครไม่สบายฉันก็ไม่เกีย่ ว แต่พอมีกจิ กรรมนี้ เขา กลายเป็นอีกคน รูจ้ กั การให้ ให้อย่างเต็มใจ มีความสุขด้วยกัน มีคนป่วยไปเยี่ยม ขึ้นบ้านใหม่ไปช่วยกัน บวชลูกบวชหลาน ไปกันหมด เราไปเป็นกลุม่ ” อุษณียเ์ ล่าผลสืบเนือ่ งทีไ่ ม่คาดคิด เมื่อเห็นผลด้านสุขภาพกายใจและสังคมอย่างเป็น รูปธรรมแบบนีแ้ ล้ว สมาชิกชมรมก็เริม่ เน้นท�างานด้านสุขภาพ อย่างเป็นระบบยิ่งขึ้น พวกเขาเริ่มท�าสมุดบันทึกสุขภาพ โดยใช้ขอ้ มูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�าบล บันทึกผล กันทุก 3 เดือน เพื่อให้เห็นพัฒนาการด้านร่างกาย เมือ่ ได้ทา� กิจกรรมร่วมกัน ความรัก ความผูกพัน ความ ห่วงใยในกันและกันก็มมี ากขึน้ ตาม “เขาจะดูแลเพือ่ นของเขา กันเอง ออกก�าลังกายเสร็จใครหายไป เขาก็จะบอกกันว่า ครูคนนั้นคนนี้ไม่สบาย เราก็จะไปเยี่ยมกัน” ความเอื้ออาทร ใส่ใจต่อกันเช่นนี้เองเป็นที่มาของค�าขวัญของกลุ่มที่ว่า ‘ทุกข์ ร่วมทุกข์ สุขร่วมสุข’ เบิกบำนยำมค�่ำ ด้วยร�ำวงย้อนยุค ทั้งสนุกและแข็งแรง

107


108

หนองหล่ม กึ๊ด แป๋ง แบ่งปั๋น


หลังจากร�าวงย้อนยุควันละหนึ่งชั่วโมงมากว่าสองปี พวกเขารู้สึกเข้มแข็งมั่นใจ และพร้อมที่จะท�ากิจกรรมอื่น ต่อเนื่องไปอีก เมื่อมีงานเฉลิมฉลองต่างๆ ในชุมชน ไม่ว่า จัดโดยต�าบล หมู่บ้าน หรือเทศบาล เช่น วันพ่อ วันแม่ งาน แห่เทียนพรรษา เทศกาลงานลอยกระทง ฯลฯ สมาชิกชมรม ออกก�าลังกายเพือ่ สุขภาพก็จะไปเข้าร่วมในนามของกลุม่ และ พยายามสร้างกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะอื่นๆ ต่อไป ในส่วนของการศึกษาดูงานนัน้ ทางกลุม่ ได้ไปดูงานที่ ต�าบลบ้านตุน่ อ�าเภอเมือง จังหวัดพะเยา ซึง่ ได้รบั รางวัลระดับ ประเทศด้านการบริหารจัดการขยะ และโครงการหมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียง โดยการสนับสนุนจากองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด “ก็พาไปดูก่อนเพื่อให้รู้ว่าเขาท�ากันยังไง แต่เราก็ บอกว่า ดูแล้วไม่ต้องตกใจว่าเราจะท�าแบบเขาได้หรือไม่ เรา จะมาคุยกันอีกที เขาก็ตื่นเต้นกันใหญ่ ยายบางคนอายุ 70 ปี แล้วไม่เคยไปไหนเลย ก็ได้ไป ไปเสร็จกลับมา เราไม่รอให้ ข้ามวัน กลับมาถึงเราประชุมกันทันที” ครูผู้น�าเล่าวิธีท�างาน ที่ฉับไวและได้ผล “เราก็ถามเขาว่า ยายไปดูแล้วได้เห็นอะไร อยากท�า อะไร เขาก็บอกว่า ในเรื่องของขยะนี่แหละที่เขาสน” เมื่อมติของกลุ่มเห็นพ้องต้องกันว่าจะมาท�ากิจกรรม ในเรื่องของขยะกัน ก็ตกลงใจใช้เงินกองทุนของกลุ่มท� า ถุงผ้าส�าหรับจ่ายตลาด เบิกบำนยำมค�่ำ ด้วยร�ำวงย้อนยุค ทั้งสนุกและแข็งแรง

109


เงินกองทุนนั้นส่วนหนึ่งมาจากการที่สมาชิกในกลุ่ม ไปแสดงตามที่ต่างๆ แล้วได้สินน�้าใจกลับมา ขณะที่บางส่วน เป็นเงินที่เหลือจากค่าน�้าค่าไฟซึ่งสมาชิกสมทบก่อนร่วมร�าวง ในแต่ละวัน แม้จะเพียงวันละบาทสองบาท แต่ด้วยความ สม�่าเสมอของกิจกรรมและจ�านวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นก็ท�าให้ ได้เงินจ�านวนมากพอส�าหรับท�าถุงผ้าแจกทุกคน “เราก็จะอธิบายกับเขาว่า ทุกวันเวลาไปตลาด แทนที่ เราจะคว้ากุญแจรถกับกระเป๋าสตางค์แล้วไปเลย เราต้องเอา ถุงผ้าไปด้วย เพราะเมื่อเราซื้อของกลับมา ใส่ถุงพลาสติกหิ้ว กลับมา นิว้ มือของเราก็จะไม่ดี เรามาลดความเสีย่ งในการเกิด โรคตรงนั้นได้หรือเปล่า ก็อธิบายว่าบางอย่างก็ไม่ต้องใส่ถุง พลาสติกเลย เช่น ผักกาดนี่ใส่ถุงผ้ามาเลย” ผู้น�ากลุ่มอธิบายโดยเชื่อมโยงกับเรื่องของสุขภาพ ท�าให้สมาชิกยินดีท�าตาม ขณะที่โครงการเรื่องเศรษฐกิจ พอเพียงก็ค่อยๆ ผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมกันต่อไป “เราก็คุยกันว่า หน้าบ้านใครมีที่แค่ไหนท� าแค่นั้น ก็พูดกันว่า เวลาท�าลาบนี่ เราต้องซื้อผักชี ข่า ตะไคร้ และ ยังผักกินกับลาบอีก หมดเงินเท่าไหร่ และปลอดภัยหรือเปล่า เราก็ไม่รู้ แต่ถ้าเราปลูกไว้หน้าบ้าน ผักชี ต้นหอม ข่า ตะไคร้ พริก อะไรทีเ่ ราคิดว่าเราต้องใช้บอ่ ยๆ เราจะประหยัดได้มาก” ด้วยแนวคิดนี้เองท�าให้หน้าบ้านหลายหลังในต�าบล หนองหล่มมีสวนครัวให้เราเห็น

110

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น


เบิกบานยามค�่ำ ด้วยร�ำวงย้อนยุค ทั้งสนุกและแข็งแรง

111


วิธีการท�างานให้ได้ผลของชมรมออกก�าลังกายเพื่อ สุขภาพไม่เพียงใช้การชักชวนให้เข้าร่วมอย่างเต็มใจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการติดตามผล และเสริมแรงให้อยากท� าต่อ เรื่อยไป อาทิ เรื่องถุงผ้า ผู้เป็นประธานจะคอยสังเกตว่า สมาชิกคนไหนถือถุงผ้าไปตลาดเป็นประจ�าบ้าง เมื่อเห็นว่า ใครท�าได้ดีและสม�่าเสมอก็จะมอบรางวัลให้ ส่วนโครงการปลูกผักสวนครัวหน้าบ้านนั้น แม้เพิ่ง เริ่มต้น แต่การเสริมแรงด้วยการใส่ใจไปดูของประธานก็ช่วย กระตุ้นได้ทางหนึ่ง “เขาจะมาตามเราไปดูเหมือนเด็กๆ เลย” ประธานชมรมบอกกลั้วเสียงหัวเราะ ขณะเล่าว่า แม่เฒ่าวันอายุเกินเจ็ดสิบกว่ามาเรียกเธอไปดูสวนครัวฝีมอื ตน ทุกวันนี้ สมาชิกชมรมออกก�าลังกายเพื่อสุขภาพซึ่งมี อยู่ราว 60 คน ได้พบปะกันเป็นประจ�า ใครว่างตอนเย็นก็มา ร่วมกันร�าวง เมือ่ มีกจิ กรรมต้องการผูม้ จี ติ อาสา พวกเขาก็พา กันไปช่วยอย่างไม่เกี่ยงงอน นอกจากนั้นยังเชื่อมโยงกิจกรรม กับกลุ่มอื่นๆ ในลักษณะเครือข่าย เช่น กิจกรรมดูแลผู้ป่วย ติดเตียงของกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ซึ่งแยกย่อยมาจากชมรม ผู้สูงอายุ การเข้าร่วมกิจกรรมของทางเทศบาลอย่างต่อเนื่อง การเชื่อมโยงกับกลุ่มนักดนตรีสะล้อซอซึงผ่านการเล่นดนตรี ให้กับกลุ่มจนท�าให้เกิดความคิดที่จะฟื้นฟูดนตรีพื้นบ้าน ขึน้ มา หรือแม้แต่การจัดงานของกลุม่ เองทีม่ กี ลุม่ อืน่ ๆ มาร่วม โดยไม่จ�าเป็นต้องออกหนังสือเชิญ เครือข่ายความสัมพันธ์ นัน้ เองท�าให้งานทีจ่ ดั เป็นงานใหญ่ มีคนเข้าร่วมหลายร้อยคน 112

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น


“ชาวบ้านของหนองหล่มเป็นคนดีมาก พร้อมจะ พัฒนา จะสังเกตว่า ต�าบลเราเล็กๆ แต่มีอะไรดีมากมาย ทุกคนทุกกลุ่มคิดดีหมด แล้วก็ท�าดี กลุ่มนั้นก็ท�าเรื่องของเขา เราก็ท�าเรื่องของเรา ทุกเรื่องเป็นเรื่องดี แล้วเอามาแบ่งปัน กัน แบ่งให้ชุมชน แบ่งให้กลุ่มนั้นกลุ่มนี้ จนคนต�าบลอื่นเขา มาบอกนะว่า เขาอิจฉาคนหนองหล่ม เพราะคนที่นี่น่ารัก มี จิตอาสา” คนเป็นประธานพูดอย่างมีความสุขก่อนเข้าไปร่วม ร�าวงกับสมาชิกอย่างสนุกสนาน

เบิกบำนยำมค�่ำ ด้วยร�ำวงย้อนยุค ทั้งสนุกและแข็งแรง

113


ทิ้งท้ำย จากต้นทุนทางทรัพยากรและผู้คนชาวหนองหล่มเอง ผนวกกับความตั้งใจสร้างสิ่งดีๆ เพื่อถิ่นฐาน รวมทั้งการมี จิตอาสาในหัวใจ ท�าให้ต�าบลเล็กๆ แห่งนี้มีเสน่ห์ที่สัมผัสได้ เกิดเป็นความรู้สึกซึ่งส่งให้เข้าใจค�าว่า ‘ต�าบลสุขภาวะ’ ได้ ไม่ยากเย็น เริ่มต้นจากสุขภาวะทางกาย โดยการใส่ใจความ สมบูรณ์แข็งแรงทางกาย การรักตัวเอง ดูแลสุขภาพร่างกาย ของตนตามวิถีหรือแนวทางที่สอดคล้องกับธรรมชาติของ ตัวเอง เลือกท�าในสิ่งที่สนุก สุขใจที่จะท�าอย่างต่อเนื่อง ไม่ บีบบังคับฝืนใจ ไม่ต้องควบคุม และไม่เลิกราไปกลางคัน การออกก�าลังกายของชมรมผู้สูงอายุ การดูแลเด็กๆ ให้แข็งแรงปลอดโรค กลุ่มร�าวงย้อนยุค การลดสารเคมีและ ยาฆ่าแมลงในระบบเกษตร การหันมาใช้ยาพืน้ เมือง สมุนไพร พื้นบ้าน ทั้งหมดล้วนเป็นหนทางไปสู่การมีสุขภาวะทางกาย อย่างเป็นรูปธรรมของชาวต�าบลหนองหล่มทั้งสิ้น จากสุขภาวะทางกายจึงส่งผลให้เกิดสุขภาวะทางจิต เกิดความสุข ผ่อนคลาย ไม่เคร่งเครียด กระตือรือร้น ยินดี และพึงพอใจกับการด�าเนินชีวติ ในปกติทกุ วัน ท�าให้เกิดความ 114

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น


เมตตาต่อผู้อื่น ยินดีช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเต็มใจ จึงไม่น่า แปลกใจที่จะเห็นโครงการต่างๆ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ในต�าบลหนองหล่มแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการของกลุ่ม จิตอาสา ชมรมผู้สูงอายุ หรือแม้แต่กลุ่มเกษตรกรท�านา ที่ต่างมีจุดหมายเดียวกัน คือมุ่งสร้างสรรค์เรื่องดีๆ ต่อชีวิต และสังคมให้เพิ่มขึ้นทับทวี ทัง้ สองสิง่ นีเ้ องทีก่ อ่ ให้เกิดสุขภาวะทางสังคม เกิดการ อยูร่ ว่ มกันอย่างอบอุน่ ยินดีทงั้ ในครอบครัว ชุมชน กลุม่ หรือที่ ท�างาน มีความเอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ เป็นห่วงเป็นใย ดูแลกันและกัน ด้วยน�้าจิตน�้าใจโดยไม่ต้องบังคับหรือร้องขอ สะท้อนออกมา ในหลายๆ โครงการ เช่น โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน โครงการ ตานต่อ เมื่อเป็นดังนี้แล้ว การก่อให้เกิดสุขภาวะทางปัญญา หรือจิตวิญญาณก็ไม่ใช่เรื่องไกลเกินจริง เพราะนั่นหมายถึง การลดละความเห็นแก่ตัว การมุ่งเสียสละท� าประโยชน์แก่ ผู้อื่น มีจิตอาสา และกระท�าสิ่งต่างๆ ด้วยความเข้าใจและ สุขใจ อันเป็นสิ่งที่เราได้สัมผัสจากผู้คนในทุกแหล่งเรียนรู้ ที่ต�าบลเล็กๆ แห่งนี้ บทสรุป

115


ต�าบลสุขภาวะนั้นอาจมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ยาก ด้วยสุขภาวะเป็นมากกว่าภาวะเฉพาะตัวของปัจเจกบุคคล หนึ่ง หากแต่คือภาวะของบุคคลภายในสังคมที่เขาอยู่ รวม ไปถึงการสรรค์สร้างโครงสร้างและระบบทางสังคม ภายใต้ วัฒนธรรม ค่านิยม และเป้าหมายชีวติ ของแต่ละบุคคลนัน้ ด้วย สุขภาวะแท้จริงคือปกติสุขของชีวิต ภาพที่ปรากฏ อาจดูปกติธรรมดา ด้วยสภาวะอันสุขกายคลายใจนัน้ เชือ่ มโยง กับวิถีชีวิตประจ�าวัน ไม่ได้แยกขาดออกมา หลายแหล่ง เรียนรู้อาจไม่มีวัตถุพยานให้จับต้อง สิ่งที่มองเห็นอาจเป็น เพียงโรงเรือนธรรมดา บางทีเป็นเพียงลานกว้าง ห้องสีเ่ หลีย่ ม หรือใต้ถนุ บ้านใครคนหนึง่ มองเผินๆ อาจไม่มสี งิ่ พิเศษ แต่เมือ่ ได้รับฟัง ได้สัมผัสสิ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง จะพบความมุ่งมั่น จริงจัง เจตนารมณ์ที่ดีงาม รวมทั้งการพยายามฝ่าฟัน การ เชื่อมโยงผูกพันภายใน และแตกหน่อต่อก้านออกไปภายนอก ตลอดจนความรู ้ สึ ก กระตื อ รื อ ร้ น ที่ จ ะพั ฒ นาให้ ง อกงาม ยิ่งๆ ขึ้นไป

116

หนองหล่ม ¡Öê´ á»‰§ แบ่งปั๋น


การก่อก�าเนิดเรื่องราวดีๆ ที่หนองหล่มไม่ได้มาจาก ความคาดหวัง ไม่มีใครสัง่ การหรือบอกให้พวกเขาท�า แต่เกิด จากความรู้สึกรักในท้องถิ่นที่อยู่อาศัย พวกเขารู้ว่าอะไรคือ ความสุขแบบยั่งยืน อะไรที่จะท�าให้บ้านของตนเป็นที่ที่จะ อยู่ได้อย่างสงบร่มเย็น จึงไม่น่าแปลกใจที่จุดเล็กๆ ในตอน เริ่มแรกของแต่ละเรื่องราว ได้ขยายกิ่งก้าน แตกดอกออกผล เป็นร่มเงาไม้ใหญ่ ไพศาลขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ผู้จุดประกาย เรื่องราวเหล่านี้ขึ้นมาก็ไม่ได้รู้สึกเป็นภาระหรือก�าลังแบกรับ สิง่ ใด การคิด ท�า และแบ่งปันอย่างทีพ่ วกเขาเชือ่ มัน่ ความสุข ความเข้ ม แข็ ง นี้ ย ่ อ มจะเติ บ โตและแผ่ ข ยายต่ อ เนื่ อ งไป โดยไม่มีที่สิ้นสุด บางที นี่ อ าจจะช่ ว ยยื น ยั น ว่ า .. การเติ บ โตจาก ฐานรากโดยท้องถิ่นนั้นเองสามารถสร้างปึกแผ่นมั่นคงแก่ ประเทศชาติ

บทสรุป

117


7 ระบบแห่งความสุข 1. ระบบการบริหารจัดการต�ำบล 2. ระบบจิตอาสาและสวัสดิการสังคม 3. ระบบการเรียนรู้เพื่อเด็กและเยาวชน 4. ระบบการดูแลสุขภาพชุมชน


5. ระบบเศรษฐกิจชุมชน 6. ระบบเกษตรและสิง่ แวดล้อม 7. ระบบวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น


ควำมสุขที่หนองหล่ม ใครที่ได้อยู่ต�าบลหนองหล่มถือว่าเป็นคนโชคดี เพราะที่นี่อุดม สมบูรณ์ มีหนองหล่มที่ใช้ท�าน�้าประปา ต้องถือว่าเป็นต�าบลที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของพะเยา ถ้าอยู่ที่หนองหล่มไม่เกียจคร้าน อยู่ได้สบาย แต่ที่ส�าคัญ ชาวหนองหล่มการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีเยอะ ยังยึดหลักเอื้ออาทรกัน เช่น การเอาแรง การลงแขก ยังมีอยู่ เวลาปลูกบ้านก็ยังมาช่วยกัน

นายส�าราญ จันต๊ะวงศ์ รองนายกเทศมนตรี เทศบาลต�าบลหนองหล่ม


ต�าบลของเราเป็นต�าบลเล็กๆ อยู่กันแบบมีวัฒนธรรมประเพณี ชุมชนก็ไม่ค่อยเดือดร้อนอะไร อาจจะเป๋ไปบ้างเวลาที่มีสิ่งแปลกใหม่เข้ามา แต่เราก็มาชวนกันว่าน่าจะพึ่งตัวเองกันนะ วัฒนธรรมอะไรที่ดีอยู่แล้วก็ควรรักษาไว้ ที่ดีมากๆ ก็เรื่องความดีงามของคน แล้วก็เรื่องสิ่งแวดล้อม เราก็พยายามยึดสองด้านนี้ไว้

ว่าที่ร้อยโท วันชัย ถิ่นจันทร์ ปลัดเทศบาลต�าบลหนองหล่ม


เมื่อก่อนเราต่างคนต่างอยู่ ถึงอยู่บ้านใกล้กัน แต่ก็ไม่เคยรู้จักกัน ก็เหงา เครียด ไม่สบาย แต่พอเรามารวมกลุ่มกันก็มีเพื่อนที่คุยกันเข้าใจ ได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ทั้งด้านการท�างานและความคิด

สมจิตร เผ่ากันทะ ประธานกลุ่มสตรีพิการเย็บปักประดิษฐ์


ชาวบ้านของหนองหล่มเป็นคนดีมาก พร้อมจะพัฒนา จะสังเกตว่า ต�าบลเราเล็กๆ แต่มีอะไรดีมากมาย ทุกคนทุกกลุ่มคิดดีหมด แล้วก็ท�าดี กลุ่มนั้นก็ท�าเรื่องของเขา เราก็ท�าเรื่องของเรา ทุกเรื่องเป็นเรื่องดี แล้วเอามาแบ่งปันกัน แบ่งให้ชุมชน แบ่งให้กลุ่มนั้นกลุ่มนี้ จนคนต�าบลอื่นเขามาบอกนะว่า เขาอิจฉาคนหนองหล่ม เพราะคนที่นี่น่ารัก มีจิตอาสา

อุษณีย์ ไชยสกุล ประธานกลุ่มออกก�าลังกายเพื่อสุขภาพ


แผนที่

26 21

แ ห ล่ ง เ รี ย น รู้

1 เทศบาลต�าบลหนองหล่ม 1. การบริหารจัดการต�าบลหนองหล่มแบบมีส่วนร่วม 3 4 2. ศูนย์ข้อมูลต�าบล (ศูนย์ ICT) 3. การมีส่วนร่วมส่งเสริมสุขภาพต�าบลหนองหล่ม (สปสช.) 4. กลุ่มพลังเด็กและเยาวชนรักษ์หนองหล่ม 5. กลุ่มเกษตรกรท�านาหนองหล่ม 6. กลุ่มสตรีพิการเย็บปักประดิษฐ์ 7. กลุ่มผู้สูงอายุจิตอาสา 8. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดไชยมงคล 9. ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพในสถานศึกษา 10. กลุ่มพลังจิตอาสาพัฒนาหนองหล่ม 11. รพ.สต. หนองหล่ม เพื่อประชาชน 12. กลุ่มสตรีแปรรูป (กล้วยเกยกิ๋น) 13. ชมรมออกก�าลังกายเพื่อสุขภาพต�าบลหนองหล่ม 14. กลุ่ม อสป. ต�าบลหนองหล่ม 15. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเย็บผ้า หมู่ 8 16. สถานปฏิบัติธรรมน�าคนท�าดีหนองหล่ม 17. กลุ่มสายธารน�้าใจ 18. ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาจากไม้ไผ่ 19. ธนาคารหมู่บ้าน หมู่ 7 20. กองทุนสวัสดิการชุมชนต�าบลหนองหล่ม 21. กลุ่มยาพื้นเมือง สมุนไพรพื้นบ้าน 22. กลุ่มดนตรีพื้นเมือง สะล้อ ซอซึง 23. กลุ่มแม่บ้านแปรรูปครีมมะขาม 24. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านใหม่เหนือ 25. ขยะในสถานศึกษา (โรงเรียนบ้านหนองหล่ม) 26. กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพต�าบลหนองหล่ม

บ้ำนหนองหล่ม

2


ทิศเหนือ

5

8 9 ร.ร. บ้านใหม่ รพ. สต. หนองหล่ม 6 7 10 11 วัดไชยมงคล 19 20

24

23

15 12 1413 ไป ต. บ้านปน วัดศรีล้อม 22 25 สวนสาธารณะดงหอ ร.ร. หนองหล่ม 16

17

ถ�้าปางงุ้น

ร.ร. ปางงุ้น 18


เพลงศักยภำพชุมชน ค�าร้อง-ท�านอง วสุ ห้าวหาญ เรียบเรียงดนตรี ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก ขับร้องโดย ฟางแก้ว พิชญาภา, ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก, สมชาย ตรุพิมาย หนึ่งสมองสองมือที่มี รวมเป็นหลายความคิดดีๆ ออกมายืนตรงนี้ ท�าเพื่อเมืองไทยด้วยกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เราเป็นคนไทยเปี่ยมความสามารถ เป็นก�าลังของประเทศชาติ พัฒนาบ้านเมืองก้าวไกล เป็นคนเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ก็รักเมืองไทยด้วยกันทั้งนั้น (สร้อย) หากเราร่วมมือร่วมใจ ท�าสิ่งไหนก็ไม่เกินแรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือสร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เราแบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ อยู่ชนบทห่างไกล ท�านาท�าไร่ พอเพียงเลี้ยงตัว ใช้ชุมชนดูแลครอบครัว ใช้ครอบครัวดูแลชุมชน ปูพื้นฐานจากหมู่บ้านต�าบล สร้างแปลงเมืองไทยให้น่าอยู่ดังฝัน


เข้าไปฟังและดาวน์โหลดเพลงศักยภาพชุมชนได้ที่ www.punsook.org

ชุมชนท้องถิ่นบ้านเรา เรียนรู้ร่วมกันเพื่อการพัฒนา ชุมชนท้องถิ่นบ้านเรา เรียนรู้ร่วมกันช่วยกันพัฒนา อยู่ตามเมืองใหญ่เมืองหลวง หัวใจทุกดวงซ่อนไฟมุ่งมั่น ก้าวออกมาจากรั้วที่กั้น จับมือกันท�าเพื่อเมืองไทย คนละมือสองมือคือน�้าใจ โอบกอดชุมชนไว้ด้วยความสุขยืนนาน หนึ่งสมองสองมือที่มี รวมเป็นหลายความคิดดีๆ ออกมายืนตรงนี้ ท�าเพื่อเมืองไทยด้วยกัน หากเราร่วมมือร่วมใจ ท�าสิ่งไหนก็ไม่เกินแรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือสร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เราแบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ..



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.