หนองไฮ

Page 1



หนองไฮ แดนกะเดา


Healthy Planet สุขคดีท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการเรียนรู้

หนองไฮ แดนกะเดา

เรื่ อง สุดไผท เมืองไทย ภาพถ่ าย วิสาข์ เนตรภักดี ภาพประกอบ สมคิด ระวังพรมราช ปก หนวดเสือ ออกแบบรู ปเล่ ม ศาสตรา บุญวิจิตร พิสูจน์ อักษร ทีมงานเสือกระดาษ พิมพ์ ครั ง้ ที่ 1 พฤษภาคม 2556 เลข ISBN บรรณาธิการอ�ำนวยการ ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ กองบรรณาธิการ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองไฮ ผู้จดั การ เนาวรัตน์ ชุมยวง จัดพิมพ์ และเผยแพร่ โดย

ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2343 1500 www.thaihealth.or.th และ www.punsook.org


ด�ำเนินการผลิตโดย


ค�ำน�ำ เมื่อไม่นานมานี้ เวลาที่เรานึกอยากจะไปเที่ยว ที่ ไ หนสั ก แห่ ง เรามั ก จะมี จิ น ตนาการด้ า นดี เ กี่ ย วกั บ สถานที่ที่เราก�ำลังจะไป...ทะเลสีฟ้าใส หาดทรายทอด ยาวสีขาวจัด ภูเขาครึม้ หมอกโรยเรีย่ ยอดไม้ อาหารท้อง ถิน่ รสชาติแปลกลิน้ แต่ถกู ปาก ชาวบ้านจิตใจดีคอนหาบ ตะกร้า ฉีกยิ้มบริสุทธิ์ต้อนรับนักท่องเที่ยว ฯลฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้ เวลาที่เรานึกอยากจะไปเที่ยวที่ไหน สักแห่ง เรามักพกพาอารมณ์โหยหาอดีต ก่อนลงมือ ค้นหาข้อมูลพิกดั ต�ำบลเป้าหมายทีจ่ ะพาเราพบ ...อาคาร บ้านเรือนยุคคุณปู่คุณย่า ตลาดเก่าแก่ กาแฟโบราณ ของเล่นสังกะสี ขนมกินเล่นหน้าตาเชย ๆ แต่อร่อย เพราะปรุงแต่งด้วยรสชาติอดีต ฯลฯ จินตนาการและความคาดหวังท�ำนองนี้ บางทีก็ สมดังใจ แต่หลายครั้งก็คลาดเคลื่อนไปจากภาพที่คิด เอาไว้ คลาดเคลื่อนเพราะข้อเท็จจริงหลายประการ เปลี่ยนไป แล้วทุกวันนี้ เรายังมีจินตนาการและอารมณ์ ความรู้สึกชนิดใดอีก เมื่อคิดถึงการท่องเที่ยวศึกษา บ้านเมืองของเราเอง


ความจริงมีอยูว่ า่ ปัจจุบนั นีช้ มุ ชนทุกต�ำบลหย่อม ย่านในประเทศไทยล้วนก�ำลังเปลี่ยนไป และแน่นอนว่า ความเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้หาได้มีความหมายเชิงลบ หลายปี ที่ ผ ่ า นมา ผู ้ ค นในชุ ม ชนระดั บ ต� ำ บล หลายต่อหลายแห่งในประเทศของเราได้อาศัยต้นทุน ทรัพยากรเดิมเท่าที่ชุมชนมี ผนวกกับออกแรงขับเคลื่อน เปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์ชุมชนที่พวกเขาเป็นเจ้าของ ให้เป็นชุมชนที่สามารถผลิตความสุขและคุณภาพชีวิต ทีด่ ี ป้อนกลับคืนสูว่ ถิ ชี วี ติ ของสมาชิกในชุมชนด้วยกันเอง คนเล็กคนน้อยเหล่านีล้ งมือท�ำมานาน หลายแห่ง ประสบความส�ำเร็จในระดับน่าอิจฉา แต่เราจะอิจฉาได้อย่างไร ถ้าไม่ได้ไปสัมผัสจับ ต้อง และมองเห็นด้วยตาร้อน ๆ ของเราเอง ชุมชนเหล่านีอ้ าจจะไม่มหี าดสีขาวทอดยาว ทะเล ไม่ใสจัด แถมยังไม่มีตลาดโบราณร้อยปี แต่นอกเหนือ จากความสุขในวันนี้แล้ว สิ่งที่พวกเขามีอีกแน่ ๆ คือ ‘อนาคต’ เราอยากออกแบบอนาคตของชุมชนเราให้เป็นไป แบบไหน ลองเดินเข้าไปชมตัวอย่างสาธิตได้จากหนังสือ เล่มนี้ คณะผู้จัดท�ำ


1. กว่าจะถึงหนองไฮ

สารภาพตามตรงว่ า ผมเลื อ กลงพื้ น ที่ ต� ำ บล หนองไฮ อ�ำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เพราะ ชือ่ ทีท่ งั้ เรียบง่าย กระชับ สะดุดหู และเป็นตัวของตัวเอง ตั้งแต่แรกฟัง


สุดไผท เมืองไทย

แรกทีเดียวผมตั้งใจเดินทางแบบ ‘ไปครัว’ หรือ การหาที่ท�ำกินใหม่เลียนแบบบรรพบุรุษของคนถิ่นนี้ ซึง่ เป็นชาวลาวหนีภยั สงครามจากการแย่งชิง อ�ำนาจในอาณาจักรลาวลงใต้มาปักหลักที่ เมืองจ�ำปาศักดิ์ ทว่าสงครามก็ยังไม่สงบดี ผูค้ นส่วนหนึง่ จึงข้ามล�ำน�ำ้ โขง เลาะล�ำน�ำ้ มูล เพื่อเสาะหาบ้านใหม่ หนึ่งในนั้นเป็นชาว พื้นเมืองที่เรียกตัวเองว่า ‘กูย’ หรือ ‘กวย’ บ้าง เพีย้ นเสียงเป็น ‘ส่วย’ อพยพมาสร้างบ้านแปง เมืองในแถบนี้ ผมเพิ่งเสร็จงานที่จังหวัดหนองคาย ใจอยากเดินทางเลาะริมโขงลงทางจังหวัด นครพนมตามเส้นทางของชาวลาว ซึ่งครั้ง กระโน้นได้แวะบูรณปฏิสงั ขรณ์พระธาตุพนม ก่อนจะวกเข้าอุบลราชธานีและศรีสะเกษสู่ ปลายทางที่ต�ำบลหนองไฮ แต่หากท�ำเช่นนั้น จริง ๆ ตามสันดานชอบแวะข้างทางของผม เห็ น ที ค งไม่ ทั น นั ด หมายกั บ หนุ ่ ม หล่ อ ผู้ประสานงานของหมู่บ้านเป็นแน่ และอีก ภารกิจส�ำคัญคือ ช่างภาพสาวสวยชาวกรุงของเราจะ เดินทางจากกรุงเทพฯ มาเจอกันที่โคราช หลังจากนั้น การเดินทางสู่ต�ำบลหนองไฮจริง ๆ จึงเริ่มขึ้น

9


เรากับจี๊ปเก่า ๆ ควบปุเลง ๆ ออกจากโคราช ทางถนนเส้ น เก่า มุ่ง หน้าสู่อีส านใต้ด ้วยทางหลวง หมายเลข 206 ผ่ า นอ� ำ เภอจั ก ราช ห้ ว ยแถลง ล� ำ ปลายมาศ ผ่ า นจั ง หวั ด บุ รี รั ม ย์ เข้ า ทางหลวง หมายเลข 226 ทะลุเมืองสุรินทร์ ผ่านอ�ำเภอศีขรภูมิ ส�ำโรงทาบ ห้วยทับทัน สองข้างทางสลับไปด้วยทุ่งนา สีนำ�้ ตาลแห่งปลายมกราคม ทิง้ ซังข้าวและรอยเผาไหม้ ไว้ให้เห็น ดงไร่อ้อยสีเขียวสด หมู่ไม้ผลัดใบเปลี่ยนสี ทั้งส้ม น�ำ้ ตาลและเหลือง ท้องฟ้ามีเมฆครึ้มเพราะฝน หลงฤดูเพิง่ สาดซัดลงมา เมือ่ เปิดกระจกหน้าต่างลง ลม เย็นหอบเอาความสดของอากาศเข้ามาปะทะใบหน้า จนรู้สึกหนาว ในที่สุดเราก็มาถึงอ�ำเภออุทุมพรพิสัยใน ยามเย็นย�่ำ เลี้ยวซ้ายที่แยกอุทุมพรพิสัย ขับรถเข้าไป สักพัก เห็นป้ายข้างทางเขียนว่า ‘หนองไฮ 5 กม.’


คุ ณ มานพ ผาเงิ น ผู ้ ป ระสานงานต� ำ บล หนองไฮซึ่ ง ควบต� ำ แหน่ ง ผู ้ จั ด การโครงการต� ำ บล สุขภาวะ โทรฯ บอกเส้นทางเราเป็นระยะ คุณมานพ บอกว่าจะพาเข้าที่พักก่อน ตอนเช้าค่อยเข้า อบต.


12

หนองไฮ แดนกะเดา

ถนนเส้นเล็ก ๆ ลัดเลาะไปกลางทุ่งนา ซ้ายก็นา ขวาก็นา อาชีพหลักของคนที่นี่คือท�ำนา ในนามีไม้ จ�ำพวกต้นสะแบงนา ต้นบก ที่มากเป็นพิเศษคือ ต้น สะเดา ก�ำลังอวดทรวดทรงบิดเบี้ยวคดงอ เปลือกแข็ง กร้าน ส่อแสดงความทรหดอดทน แทรกแซมทุ่งนา สี น�้ ำ ตาล อาบแสงสี เ หลื อ งยามเย็ น อย่ า งสั น โดษ ส�ำหรับชาวเมืองหรือคนกรุง ภาพกระท่อมกลางทุ่งนา และลอมฟางอาจเห็นแล้วฝันเคลิ้มกับความงดงามที่ ปรากฏตรงหน้า แต่ใครจะรู้ เบื้องหลังภาพชนบทเหล่า นั้นอาจไม่ได้โรแมนติกอย่างที่คนกรุงคิด เราขับรถตามคุณมานพไปช้า ๆ ชมภาพสองข้าง ทางอย่างตื่นตา บ้านเรือนชาวบ้านวางเรียงตัวอย่าง เป็นระเบียบเรียบร้อย ถนนสะอาดสะอ้าน ต้นไม้ดกตา กลุ่มวัยรุ่นสี่ห้าคนหันมองมา แม่ใหญ่และเด็ก ๆ ส่ง รอยยิ้มทักทายอาคันตุกะแปลกหน้าอย่างเปิดเผย


สุดไผท เมืองไทย

13

เราเข้าบ้านพักทีบ่ า้ นดอกไม้ดนิ ไทยของแม่แต้ว สะใภ้หนองไฮที่ขอ ปักหลักอยู่ที่นี่ถาวร เจ้าบ้านทักทาย อย่างเป็นกันเอง “กินข้าวก่อนลูก มา เหนื่อย ๆ” แม่แต้วว่า และอย่างไม่ได้ คาดคิดมาก่อน อาหารแซบอีหลีมื้อ แลงนี้มีสิ่งส�ำคัญที่เราจะสืบเสาะตาม รอยต่อไป เมนูนั้นคือ สะเดาลวกกับ น�้ำพริก เส้นเลือดฝอยส�ำคัญของที่นี้


14

หนองไฮ แดนกะเดา

เสียงไก่ขันตั้งแต่ดึก อากาศหนาวแทรกผ่าน เข้ามาพอให้หม่ ผ้าสองผืนอุน่ สบาย ราว ๆ ตีหา้ เสียงไร้ สายและตามสายของชุมชนก็ดงั ขึน้ ต้อนรับอรุณรุง่ ด้วย ธรรมะและข่ า วสารทั น ที นี่ ค งเป็ น ผลงานของพระ อาจารย์ นักพัฒนาจากวัดบ้านหนองไฮ พระครู วาปีธรรมาภิรัต หรือพระอาจารย์มฤคินทร์ ธมฺมรโต เจ้าอาวาสวัด บ้านหนองไฮผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลัก ในการก่อตั้งสถานีวิทยุชุมชน คลื่น FM 97.90 ซึ่งวัน นี้เรามีนัดหมายพูดคุยกับท่าน

หนองไฮในอรุ ณ


สุดไผท เมืองไทย

“เป็นไง หลับสบายดีมั้ย” แม่แต้ว หรือแม่ มณีวรรณ สุริยุทธ ประธานกลุ่มบ้านดอกไม้ประดิษฐ์ ดินไทย เจ้าของโฮมสเตย์ผู้เอื้อเฟื้อที่หลับที่นอนและ อาหารแสนอร่อย ทักทาย เรานั่งจิบกาแฟยามเช้าบน ชานระเบียง ถามไถ่อะไรต่อมิอะไรไปเรื่อยเปื่อย แดด เช้าค่อย ๆ ฉาบแสงเรื่อเรืองไปทั่วบริเวณ เมื่อเห็นควัน ไฟรุ่ย ๆ ลอยตัวพวยพุ่งอยู่หลังบ้าน ผมและช่างภาพ จึงรี่เข้าไปหาทันที ถึงแม้ไฟฟ้าจะเข้าถึงหลังคาเรือนทุกหลังแล้ว แต่ชาวบ้านทีน่ ยี่ งั นิยมเผาถ่านใช้ โดยน�ำเศษไม้จากนา บ้าง จากสวนบ้าง มาเผาในเตาดินที่ก่อเอง

15


16

หนองไฮ แดนกะเดา

“จูดไว้สองมื้อ แล้วปิด เตาอบอีกมื้อ” คนเผาว่าอย่าง นั้น จูดแปลว่า จุด มื้อแปลว่า วัน จุดไฟไว้สองวันจึงปิดเตา ด้วยดินโคลนให้มันระอุอีกวันก็ เป็นอันใช้ได้ หลังจากตระเวน รอบหมู่บ้านแล้ว เราจึงพบว่า เตาเผาถ่านชนิดนีม้ อี ยูท่ วั่ ไปในต�ำบล เมือ่ ก่อนอาจมีการ ตัดไม้ป่ามาท�ำฟืน แต่เดี๋ยวนี้มีการตั้งกลุ่มอนุรักษ์ป่า ชาวบ้านต่างร่วมมือกัน ไม้ทนี่ ำ� มาเผาถ่านจึงเป็นเศษไม้ หรือไม้เหลือใช้เท่านั้น 7 โมงเช้ า พี่ แ หลม หรื อ พี่ อุ ท รณ์ เบ้ า หล่ อ ประธานสภา อบต. หนองไฮ ชายผิวเข้มพูดจาเสียงดัง ฟังชัดและมีรอยยิม้ หวานจ๋อยท�ำหน้าทีเ่ ป็นมัคคุเทศก์ น�ำ เราเก็บภาพรอบ ๆ หนองไฮในอรุณ และเล่าเรื่องราวพื้น ฐานของที่นี่ให้ฟังเรียกน�้ำย่อย เดิ มที หมู่บ ้านในต�ำบลหนองไฮอยู่ใ นเขตการ ปกครองของต�ำบลส�ำโรง อ�ำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัด ศรีสะเกษ ต�ำบลส�ำโรงเป็นต�ำบลที่มีพื้นที่มาก เขตการ เขตการปกครองกว้าง การติดต่อสือ่ สารระหว่างหมูบ่ า้ น ยากล�ำบาก ทั้งไกลและกันดาร กระทรวงมหาดไทยจึงมี


ค�ำสัง่ ให้แยกหมูบ่ า้ นออกไป 10 หมูต่ ามค�ำร้องขอออก จากเขตปกครองต�ำบลส�ำโรง และตั้งต�ำบลใหม่ในชื่อ หนองไฮ ปัจจุบันมีหมู่บ้านเพิ่มขึ้นอีก 2 หมู่บ้าน รวม ทั้งสิ้น 12 หมู่บ้าน สัญลักษณ์ของต�ำบลหนองไฮคือ ต้นไฮ ซึ่งเป็น ไม้ยืนต้นตระกูลเดียวกับต้นโพธิ์ แต่ใบเล็กกว่า พ่อสาร อิ ท ธิ ป ั ญ ญา รองนายก อบต. และประธานสภา วัฒนธรรมต�ำบลหนองไฮ วัย 68 เล่าเพิ่มเติมว่า คน อีสานเรียกต้นโพธิ์ต้นไทรรวมกันว่า ‘โพธิ์ไทร’ และค�ำ ว่าไทรนั้น คนอีสานใต้มักออกเสียงว่า ‘ไฮ’ สั้น กระชับ ไม่ลากยาว “ไฮ บ่แม่น ฮาย” บางครั้งก็เรียกต้นไทรที่มี รากห้อยรุงรังว่า ‘ไฮย้อย’


18

หนองไฮ แดนกะเดา


สุดไผท เมืองไทย

พ่ อสาร อิทธิปัญญา

ประธานสภาวัฒนธรรม ต. หนองไฮ

พ่ อ สารเล่ า ว่ า ต้ น ไฮในเขตต� ำ บลนี้ มี ส าม ลักษณะ แบบแรกต้นโพธิ์ แบบที่สองเรียกโพธิ์ไทร แต่ ใบแหลม ยาว หนาและใหญ่กว่าใบโพธิ์ ลูกโตกว่าแบบ แรก สุดท้ายคือไฮใบเล็ก ต้นไฮชนิดนีเ้ องทีช่ อบขึน้ ตาม ที่ลุ่มชุ่มชื้น โดยเฉพาะบริเวณหนองน�ำ้ หนองน�้ำที่นี่จึง ถูกเรียกว่า ‘หนองไฮ’ เพราะอุดมด้วยต้นไฮ เมื่อหนอง น�้ำตามธรรมชาติเดิมตื้นเขินคับแคบลง มีการขุดลอก ขยายหนองน�้ำเพื่อกักน�้ำไว้ใช้ยามแล้ง ต้นไฮจึงถูกตัด โค่นออกไปเรื่อย ๆ ปัจจุบันเหลืออยู่ไม่มากนัก มีต้น เดี ย วโดดเด่ น อยู ่ บ ริ เ วณสนามหน้ า ที่ ท� ำ การ อบต. หนองไฮ และกระจายอยูต่ ามหัวไร่ปลายนา โดยเฉพาะ บริเวณดอนปู่ตา มีต้นไฮสองชนิดล้อมต้นตะเคียน ขนาดใหญ่

19


20

หนองไฮ แดนกะเดา

คนโบราณให้ข้อสังเกตว่า สิ่งใดสัตว์กินได้ สิ่ง นั้นคนย่อมกินได้ ลูกไฮก็เช่นกัน นอกจากเป็นแหล่ง อาหารธรรมชาติของนกและหนูแล้ว ลูกไฮมีสรรพคุณ เป็นยาแก้ทอ้ งอืด ขับลม ส่วนใบ คนเฒ่าคนแก่มกั ใช้ใบ อ่อนมาห่อเมี่ยงกิน พี่นายกฯ ประกาศิต คนพื้นถิ่น หนองไฮแท้ ๆ เล่ า ถึ ง ชีวิตวัยเด็กว่า แต่ก่อน ชาวบ้านจะท�ำเมี่ยงด้วย การต�ำตะไคร้ ใส่พริก ใส่ ปลาร้า แล้วห่อด้วยใบไฮ อ่ อ น เป็ น ของกิ น เล่ น ง่าย ๆ ทีห่ าได้ไม่งา่ ยแล้ว ปัจจุบันนี้ชาวบ้านนิยม กิ น เมี่ ย งกั บ ใบกระถิ น

นายกฯ ประกาศิต สุพรหมธีรกูร


สุดไผท เมืองไทย

หรือกล้วยดิบแทน ต�ำบลหนองไฮมีเนื้อที่ทั้งหมด 23.20 ตาราง กิโลเมตร หรือ 14,506 ไร่ จ�ำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 5,018 คน ชาย 2,511 คน หญิง 2,507 คน มีกลุ่ม ชาติพนั ธุเ์ พียงสองกลุม่ คือ ลาวและส่วย หรือทีพ่ วกเขา เรียกตัวเองว่า ‘ชาวกวย’ นั่นเอง ภู มิ ป ระเทศทั่ ว ไปของหนองไฮเป็ น ที่ ร าบ เส้นเลือดหลักที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนที่นี่คือ การท�ำนา สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย แม้จะมีแหล่งน�้ำ แต่ ยามแล้งก็แห้งแล้งมาก พีน่ ายกฯ ประกาศิต ร�ำลึกอดีต หนองไฮเมือ่ 30-40 ปีกอ่ นให้ฟงั ว่า “สิง่ ทีต่ ดิ อยูใ่ นความ ทรงจ�ำของผมคือ ความจน แห้งแล้ง ต้นไม้น้อยมาก น้ อ ยชนิ ด ที่ ว ่ า ผู ก ควายไว้ ไ กล 4 กิ โ ล ก็ ม องเห็ น ” พี่นายกฯ เล่ากลั้วหัวเราะ นี่ อ าจจะเป็ น แรงจู ง ใจอั น ส� ำ คั ญ ยิ่ ง ยวดที่ พี่ น ายกฯ ประกาศิ ต ต้ อ งการเปลี่ ย นแปลงพั ฒ นา บ้านเกิดให้ทุกคน (เน้นย�้ำค�ำว่า ‘ทุกคน’) มีชีวิตความ เป็นอยู่ดีขึ้น การมีสุขภาวะที่ดีของชาวต�ำบลหนองไฮ นัน้ ไม่ใช่เรือ่ งง่าย เพราะต้องพัฒนาทุกด้านไปพร้อมกัน กระนั้ น ก็ ไ ม่ ใ ช่ เ รื่ อ งยากเย็ น เกิ น สติ ป ั ญ ญาความ สามารถของมนุษย์และความร่วมมือร่วมใจของทุกคน

21


แหล่งเรียนรู้ต�ำบลหนองไฮ 1. การบริหารจัดการแบบประชาสังคมาธิปไตย อบต. หนองไฮ 2. โรงเรี ยนพลังชีวติ อบต. หนองไฮ 3. ศูนย์ ปฏิบตั ธิ รรมวัดบ้ านหนองไฮ 4. โรงเรี ยนสัมมาชีพ รร. บ้ านก่ อ 5. หนังสือพิมพ์ ชุมชน อบต. หนองไฮ 6. ศูนย์ กระจายข่ าวระบบไร้ สาย อบต. หนองไฮ 7. สถานีวทิ ยุชุมชน (FM 97.90) วัดบ้ านหนองไฮ 8. กลุ่มอนุรักษ์ พลังงาน ม. 5 9. กลุ่มอนุรักษ์ ป่าชุมชนโนนต๊ ะ 10. กองทุนสวัสดิการชุมชนต�ำบลหนองไฮ อบต. หนองไฮ 11. กลุ่มออมทรั พย์ เพื่อการผลิตบ้ านโนนเค็ง ม. 6 12. ธนาคารข้ าว บ้ านโนนเค็ง ม. 6 13. กลุ่มวิสาหกิจบ้ านดิน บ้ านหนองดีปลี ม. 2 ม.1 บ้ านหนองไฮ 14. ศูนย์ เรี ยนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงบ้ านหนองเตา ม. 5 15. ศูนย์ ผลิตข้ าวอินทรี ย์ครบวงจร ม. 5 16 16. กลุ่มจักสานบ้ านหนองหว้ า ม. 8 ม.8 บ้ านหว้ า 17. ครอบครั วพอเพียง ม. 12 19 22 18. กลุ่มร้ านค้ าชุมชนบ้ านโนนเค็ง ม. 6

ม.3 บ้ านนาโนน

23

ม.12 บ้ า

ม.11 บ้ านโนนเย็น 8

ม.6 บ้ านโนนเค็ง 11

12

18

ม.5 บ้ านหนองเตา 14

15

21

ม.4 บ้ า


นองไฮ

นาโนน

19. กลุ่มดอกไม้ ประดิษฐ์ และของ ที่ระลึก (ดอกไม้ ดนิ ไทย) บ้ านนาโนน ม. 3 20. ศูนย์ สาธิตการตลาดและจ�ำหน่ าย ผลิตผลต�ำบลสุขภาวะ ม. 2 21. กลุ่มอนุรักษ์ ศลิ ปะพืน้ บ้ าน (แสนสุขส�ำราญกลองยาว) ม. 5 22. ศูนย์ ดนตรี ไทย รร. บ้ านนาโนน 23. งานบุญประเพณีปลอดเหล้ า ม. 11 24. อปพร. 24 ชั่วโมง และหน่ วยกู้ชีพ หนองไฮ อบต. หนองไฮ

ม.10 บ้ านโคก

7

1 9

ม.7 บ้ านหนองหว้ า

3

4

10 27

24 28

5

25

6

ม.9 บ้ านก่ อ 2

26

ม.12 บ้ านหนองแก้ ว 17

ม.2 บ้ านหนองดีปลี ม.4 บ้ านยางแรด

13

20

25. หมอชาวบ้ าน ม. 1 26. กองทุนหลักประกันฯ ม. 11 27. คลินิกแพทย์ แผนไทย รพ. สต. หนองไฮ 28. บ้ านสมุนไพร บ้ านหมอยา ม.1


2. เส้นเลือดฝอยนาม ‘กะเดา’


สุดไผท เมืองไทย

ระหว่างที่พี่แหลม ประธานสภา อบต. เจ้าของ ยิม้ หวานจ๋อย ขับรถพาเราชมและเก็บภาพรอบ ๆ ต�ำบล นั่นเอง เราสะดุดพบสิ่งส�ำคัญที่ไม่เคยทราบมาก่อน ภาพชาวบ้านก�ำลังเก็บสะเดากลางนามีให้เห็นดาษดืน่ จนท�ำให้ตอ้ งถามพีแ่ หลมชัด ๆ ว่า “สะเดาทีน่ เี่ ยอะมาก เลยเหรอครับพี่” ค�ำตอบของพี่แหลมย้อนกลับมาจน หงายหลัง “โอ้โฮ ไม่ทราบเหรอครับ สะเดาที่กินกันที่ กรุงเทพฯ มาจากที่นี่ทั้งนั้นละครับ” พี่แหลมตอบเสียง ดังฟังชัด ยิงฟันขาวยิม้ กว้าง “สะเดาทีม่ ชี อื่ เสียงทีส่ ดุ มา จากอุทุมพรพิสัยครับ ที่หนองไฮบ้านเรานี่ก็ติดอันดับ ต้น ๆ เลยล่ะ” พี่แหลมเล่าไปยิ้มไป เปิดความรู้ใหม่ให้ ผมจนต้องอ้าปากหวอ “อ้าว! ผมไม่เห็นเจอในรายงาน ข้อมูลพืน้ ฐานต�ำบลเลยพี”่ ผมลิงโลดใจอย่างออกนอก หน้า เจอของดีเข้าให้แล้ว อาการชอบเถลไถลข้างทาง เข้าสิงทันที “ยังไงพี่ อยากฟัง ๆ” พีแ่ หลมหยุดรถให้เรา เก็บภาพต้นสะเดากลางทุง่ นาและการเก็บสะเดาอย่าง จุใจ “คืออย่างนี้ครับ...” พี่แหลมเริ่ม

25


26

หนองไฮ แดนกะเดา

คนอายุ 40-50 ปี เกิดมาก็เห็นสะเดาหรือที่ ชาวบ้านเรียก ‘กะเดา’ แล้ว จะเรียก ‘หนองไฮ แดน กะเดา’ ก็ยังได้ พี่แหลมบอกว่า บางต้นน่าจะอายุมาก ถึง 70-80 ปี ในฤดูหนาวสะเดาจะผลิดอกออกมาไม่ ขาดสายให้ชาวบ้านเก็บกิน เก็บขาย หลังจากทีเ่ ราตาม เก็บข้อมูลครบทัง้ ต�ำบลแล้วจึงทราบแจ่มชัดว่า ไม่มคี น หนองไฮคนไหนไม่เคยเก็บกะเดาขาย ทัง้ เด็ก ๆ คนหนุม่ คนสาว คนแก่คนเฒ่า ไม่ว่าด�ำรงสถานะอาชีพอะไร จะเป็นผูใ้ หญ่บา้ นหรือเป็นอาจารย์ ล้วนมีประสบการณ์ เก็บกะเดาขายทั้งสิ้น แต่เดิมการออกหายอดสะเดา เพื่อขาย นอกจากเก็บในพื้นที่ต�ำบลหนองไฮแล้ว ยัง

พี่แหลม อุทรณ์ เบ้ าหล่ อ ประธานสภา อบต. หนองไฮ


เดินทางออกตระเวนไปตามหาถึงต�ำบลอื่นหรืออ�ำเภอ อื่นด้วย เป็นระบบเศรษฐกิจรองจากการท�ำนา และ สามารถสร้างรายได้ให้ชาวบ้านในระดับต้น ๆ เลย ทีเดียว หากเส้นเลือดหลักของชาวหนองไฮที่หล่อเลี้ยง ชีวติ ให้ดำ� รงอยูไ่ ด้คอื การท�ำนาแล้ว เส้นเลือดฝอยย่อย ยิบที่ช่วยเสริมรายได้ให้ชาวหนองไฮหลังหน้านาย่อม หนีไม่พ้น ‘กะเดา’ นี่เอง แต่เดิมสะเดาเหล่านี้ขึ้นเองตามธรรมชาติ มี อยู ่ ส องสายพั น ธุ ์ คื อ รสชาติ ข มกั บ พั น ธุ ์ ที่ ร สไม่ ข ม สรรพคุณทางยาของต้นสะเดานั้นคณานับ เริ่มตั้งแต่ รากใช้ขับเสมหะ เปลือกน�ำมาต้มกินแก้ไข้และแก้ ท้องร่วง ก้านใบส่วนที่ขมจัดมีฤทธิ์แก้ไข้ แก้ร้อนใน


28

หนองไฮ แดนกะเดา

ดับกระหาย ใบน�ำมาต�ำพอกแก้โรคผิวหนังบางชนิด แถมยังน�ำไปท�ำยาก�ำจัดศัตรูพืชแบบธรรมชาติได้อีก ด้วย ยิ่งไม่ต้องพูดถึงความอร่อยเมื่อน�ำยอดอ่อนมา ลวกกินเป็นอาหาร และยังมีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งตัวฉกาจ อี ก ต่ า งหาก ประโยชน์ ส ารพั ด ด้ า นจริ ง ๆ สะเดา ธรรมชาตินี้ไม่ต้องการการดูแลรักษา ไม่ต้องรดน�้ำใส่ ปุ๋ย เรียกได้ว่า ไร้ต้นทุนแม้แต่บาทเดียว เป็นขุมทรัพย์ จากผืนดินโดยแท้จริง เมื่อ 5-6 ปีก่อน อบต. หนองไฮ เล็งเห็นความ ส�ำคัญของพืชเศรษฐกิจต้นทุนต�่ำชนิดนี้ จึงส่งเสริมให้ ปลูก ทั้งตามคูคลองและไร่นา ปัจจุบันต้นสะเดาอยู่ ในนาของใครกลายเป็นสิ่งหวงแหน สร้างรายได้ให้ไม่ น้อยในแต่ละปี สะเดาจะแตกยอดให้เก็บขายมากทีส่ ดุ ในช่วงหน้าหนาว ยิ่งเก็บก็ยิ่งแตก เริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม และหมดลงในช่วง เดือนกุมภาพันธ์


ราคารับซื้อยอดสะเดาขึ้นลงตามสภาวะตลาด และระยะทางเข้ามารับซื้อ ปกติช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงธันวาคม ราคารับซื้อถึงบ้านอยู่ที่ก�ำละ 6-7 บาท หากขนไปขายที่ตลาดอุทุมพรพิสัยเองก็อาจได้ราคา 8-9 บาท โดยเฉลีย่ ในหนึง่ ก�ำมียอดสะเดาอยูป่ ระมาณ 8-10 ยอด โดยมากชาวบ้านนิยมขายกับรถที่มารับซื้อ เพราะไม่ต้องจ่ายค่าน�้ำมันขนเข้าตลาด และเพราะมี ปริมาณยอดสะเดาไม่มากพอ พ่อค้าคนกลางที่เข้ามา รับซื้อตามหมู่บ้านอาจได้ก�ำไรประมาณก�ำละ 2 บาท หลังจากนัน้ ก็ใส่กระสอบลงไปขายทีต่ ลาดรับซือ้ สะเดา



สุดไผท เมืองไทย

เราตามเส้นทางยอดสะเดาไปถึงตลาดรับซือ้ ใน เมืองอุทมุ พรพิสยั เมือ่ เย็นมากแล้ว รถขนสะเดาสามคัน สุดท้ายก�ำลังเทยอดสะเดาจากกระสอบลงบนลาน ซีเมนต์กว้างเพื่อตรวจคุณภาพ ขนาด และประเมิน ราคา ณ จุดนี้ ผู้รับซื้อจะตีราคาแล้วบรรจุลงเข่ง ห่อ คลุมปากเข่งด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ เตรียมส่งต่อไป ยังตลาดขายส่งขนาดใหญ่สามจุดหลัก ๆ ทันที ได้แก่ ตลาดไท รังสิต นครปฐม และคลองเตย ก่อนล�ำเลียง ขายต่อ ส่งเป็นทอด ๆ ไปทั่วประเทศ

31


3. ประชาสังคมาธิปไตย


สุดไผท เมืองไทย

ขึ้นชื่อว่าการเมือง หลายคนฟังแล้วอยากเบือน หน้าหนี ทัง้ เบื่อหน่ายและอาจถึงขัน้ ตัง้ แง่รังเกียจ บ้าง ก็ว่า ใครแหย่ขาเข้าสู่การเมืองแล้วรับรองได้ว่าต้อง เปรอะเปื้อนกลับมาไม่มากก็น้อย พฤติกรรมคนส่วน ใหญ่ จึ ง เกี่ ย วข้ อ งกั บ การเมื อ งแค่ 2 นาที อย่ า งที่ นักวิชาการบอก คือ เข้าคูหา กากบาท หลังจากนัน้ ออก มายืนมองห่าง ๆ แล้วตั้งหน้าตั้งตาคอยด่าอย่างเดียว การเมืองระดับชาติเป็นเช่นไร การเมืองท้องถิ่นก็มัก จ�ำลองแบบมาเช่นนั้น ทั้งที่จริง ๆ แล้ว การเมืองทุก ระดับเป็นเรื่องของคนทุกคน เพราะการเมืองคือหัวใจ ของการจัดสรรปันส่วนทรัพยากรและผลประโยชน์ให้ กั บ คนในสั ง คมอย่ า งเป็ น ธรรมที่ สุ ด เท่ า ที่ จ ะท� ำได้ การเมืองจึงหมายถึงการบริหารจัดการทรัพยากรที่ ชาญฉลาด และเป็นฐานรากในการขับเคลื่อนสังคมไป ข้างหน้าอย่างมั่นคงด้วย

33


34

หนองไฮ แดนกะเดา

การเมืองแบบมีส่วนร่วมอย่างที่พูดกันดูเป็น ค�ำพูดสวยหรู แต่จบั ต้องได้ยาก “มันท�ำได้จริงหรือ” คุณ ผู้อ่านอาจตั้งค�ำถามแบบนั้น ผมเองก็สงสัยว่าท�ำได้ จริงหรือ โดยเฉพาะที่ต�ำบลหนองไฮซึ่งประกาศตัวว่า การบริ ห ารจั ด การของที่ นี่ ไ ม่ ไ ด้ มี ส ่ ว นร่ ว มธรรมดา เท่านั้น แต่เป็นการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมแบบ เข้มข้นที่เรียกว่า การบริหารงานแบบ ‘ประชาสังคมาธิปไตย’ (ประชา+สังคม+อธิปไตย)


สุดไผท เมืองไทย

นั่นคือ การผสมผสานระหว่างประชาธิปไตย ทางตรงและระบบตัวแทน จากนี้ไป ประชาธิปไตยใน ต�ำบลหนองไฮไม่ใช่ประชาธิปไตย 2 นาทีอีกแล้ว เมื่อ เลือกตั้งเสร็จ แทนที่จะเฝ้าดูอยู่ห่าง ๆ แล้วคอยจับผิด ต่อไปนี้ ชาวบ้านและชุมชนจะเข้ามาขับเคลือ่ นงานด้วย กัน ผ่านกระบวนการและบรรยากาศที่เอื้อให้ชาวบ้าน องค์กร ชุมชน เรียนรู้และปกครองตนเองได้ มีส�ำนึก รับผิดชอบ รู้สึกเป็นเจ้าของร่วมตัดสินใจและร่วมท�ำ เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น มีความรัก มีน�้ำใจ เอื้อเฟื้อ กัน ท้องถิ่นกับชุมชนต้องเป็นเนื้อเดียวกัน มีหัวใจเป็น ชาวบ้ า น เรี ย กว่ า มี ค วามเป็ น ‘พลเมื อ ง’ สร้ า ง ประชาธิปไตยจากฐานราก มุง่ สูต่ ำ� บลน่าอยู่ ต�ำบลแห่ง การเรียนรู้ และตอบสนองวิสัยทัศน์ ที่ว่า “สังคมแห่ง การเรียนรู้ ผู้คนสุขภาพดี มีสัมมาชีพมั่นคง ด�ำรง คุณธรรม”

35


ฟังแบบนี้อาจเห็นเป็นแค่นามธรรม จับต้องได้ ยาก ต้องลงลึกถึงรายละเอียดในการด�ำเนินการ “ทีจ่ ริงการมีสว่ นร่วม แค่เข้ามาปรึกษาหารือกัน ก็ถือว่ามีส่วนร่วมแล้วนะ แต่เราไม่พอแค่นั้น ผมอยาก ให้ทุกคนมาท�ำงานร่วมกันด้วย บรรยากาศการมีส่วน ร่วมอันดับแรกคือ การสื่อสารการเรียนรู้ นี่คือสิ่งที่ ส�ำคัญที่สุด ให้ชาวบ้านได้รับรู้ทุกเรื่อง ท�ำให้ชาวบ้าน รู้ว่า วันนี้ อาทิตย์นี้ หรือเดือนนี้มีอะไรเคลื่อนไหว เรา ก�ำลังมีโครงการอะไร บอกหมด” นายกฯ เล่า


อันดับต่อมาที่เป็นรูปธรรมชัดเจนคือ อบต. จะ สร้างการประชุมบ่อยมาก และก�ำหนดให้มีประชุม ประจ�ำเดือนพร้อมกันทุกภาคส่วน ทั้งแกนน�ำชุมชน ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โรงเรียน อนามัย อย่างน้อยที่สุด เดือนละหนึ่งครั้ง เพื่อแจ้งว่า อีกเดือนสองเดือนเราจะ ท�ำอะไรกันบ้าง มีโครงการอะไร “เช่น โครงการเกษตรอินทรีย์ เราจะท�ำอะไรบ้าง มีงบประมาณเท่านี้นะ สมมุติมีเงินสองแสนบาท ใคร จะรับส่วนไหนไปท�ำบ้าง ท�ำอย่างไร ก็พดู คุยปรึกษากัน โดย อบต. เป็นแม่งานให้” พี่นายกฯ อธิบาย


38

หนองไฮ แดนกะเดา

“อบต. เป็นผูค้ ดิ เค้าโครงการท�ำงานขึน้ เพือ่ เสนอ ที่ประชุม แล้วให้ที่ประชุมแตกรายละเอียด ดึงทุกภาค ส่วนมาท�ำงานร่วมกัน แบ่งงานกันท�ำ โรงเรียนท�ำอันนี้ อนามัยดูเรื่องนี้ หมู่นี้รับผิดชอบเรื่องนั้นนะ หมู่นี้รับผิด ชอบอันนี้ตามความถนัด แล้วแจกงบประมาณให้ไป ท�ำ” โดยเฉพาะสิ่ ง ที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด คื อ ‘แผนพั ฒ นา ชุมชน’ การเสนอแผนพัฒนาจะต้องผ่านการประชุม หลายระดับมาก นัน่ คือ ก่อนจะเสนอแผนพัฒนาชุมชน ขั้นแรก อบต. จะลงไปพูดคุยกับชาวบ้านโดยตรงเพื่อ รับฟังปัญหาและความต้องการ อบต. จะปรับตัวเข้าหา โดยให้ชาวบ้านเป็นตัวตั้ง เช่น ถ้านัดประชุมกลางวัน ชาวบ้านไม่ว่างก็เปลี่ยนเป็นประชุมตอนเย็นหรือกลาง คืน วันธรรมดาไม่ว่าง อยากประชุมเสาร์อาทิตย์ก็นัด มา หลังจากรับฟังปัญหาความต้องการแล้วจะเปิดเวที แลกเปลีย่ นความเห็นระดับต�ำบลว่าเป็นไปได้มากน้อย แค่ไหน เป็นการทบทวนพร้อมกันอีกครั้ง เรียงล�ำดับ ความส�ำคัญก่อนหลัง เราก็จะได้แผนพัฒนา เพือ่ เสนอ สภา อบต. อนุมัติและประกาศใช้ต่อไป “ยกตัวอย่างเช่น ชาวบ้านต้องการไฟฟ้าไปไร่ นาเพื่อท�ำการเกษตรก็จะพูดคุยกันว่า การท�ำโครงการ นีต้ อ้ งใช้เงิน 4-5 แสนบาท มีความเป็นไปได้จริงแค่ไหน


สุดไผท เมืองไทย

กับงบประมาณที่มีอยู่ จ�ำนวนคนที่ได้ประโยชน์จาก โครงการนี้กี่คน ให้รวมกลุ่มกันมาว่ามีคนท�ำแน่นอนกี่ คน ใครบ้าง แต่เงินมีเท่านี้นะ ท�ำได้ไหม ถ้าท�ำแล้วคุ้ม ค่าได้ประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ อบต.ก็บรรจุแผน” พี่ นายกฯ แจกแจงตัวอย่างให้ฟัง หลังจากได้แผนพัฒนาขั้นต้นแล้ว อบต. จะน�ำ เข้าที่ประชุมระดับต�ำบลเพื่อทบทวนร่วมกัน ควรท�ำ อะไรก่อนหลัง เรียงตามล�ำดับความส�ำคัญของปัญหา เสร็จจากนี้จึงกลายเป็น ‘แผนพัฒนาต�ำบล’ ที่ผ่านการ แลกเปลี่ยนความเห็นแล้วจากทุกภาคส่วน แล้วจึงมาถึงขั้นตอนส�ำคัญที่คนทั้งหลายตั้งแง่ จับผิดการบริหารจัดการของฝ่ายบริหาร ขั้นตอนที่ว่า คือ การท�ำข้อบัญญัติงบประมาณ พูดง่าย ๆ คือ จะใช้ เงินเท่าไหร่อย่างไรนั่นเอง เพื่อเน้นย�้ำการเมืองแบบมี ส่วนร่วม อบต. หนองไฮ จะน�ำเรือ่ งนีเ้ ข้าทีป่ ระชุมต�ำบล อีกครั้งให้ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภา อบต. และ ตัวแทนชุมชน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอีกรอบ การ ก�ำหนดงบประมาณการใช้เงินจึงโปร่งใส ตรวจสอบได้ เพราะทุกภาคส่วนร่วมกันร่างข้อบัญญัติงบประมาณ ด้วยมือของตน เมือ่ น�ำร่างทีไ่ ด้เข้าสูส่ ภา อบต. ก็จะไม่มี การถกเถียงอะไรอีก เพราะได้อภิปรายกันมาแล้วแต่ตน้ บรรยากาศเชือดเฉือนในสภาจึงหมดไป การเมืองใน ต�ำบลหนองไฮจึงไม่ใช่แดนสนธยามืด ๆ มัว ๆ คลุมเครือ

39


40

หนองไฮ แดนกะเดา

แบบที่เรารู้จัก แต่เป็นการเมืองกลางแดดที่โปร่งใส ชัดแจ้ง ท้าทายการตรวจสอบจากทุกสายตา เมื่อทุกคนมีส่วนร่วมมาตั้งแต่ต้น สามารถออก ความเห็น ร่วมท�ำงานพร้อมไปกับฝ่ายบริหาร ชาวบ้าน จึงรู้สึกว่า อบต. เป็นของพวกเขา ทุกคนเป็นเจ้าของ ส�ำนึกพลเมืองจึงชัดเจนขึ้น เกิดความภาคภูมิใจ รัก ใคร่ ห วงแหนถิ่ น ก� ำ เนิ ด และพร้ อ มจะขั บ เคลื่ อ น ประโยชน์ สุ ข ส่ ว นรวมไปด้ ว ยกั น ฝ่ า ยบริ ห ารเองก็ สบายใจ ไม่อดึ อัดกดดัน เพราะแผนงานทุกอย่างสุจริต โปร่งใส บรรยากาศการท�ำงานลดความตึงเครียด ขั ด แย้ ง เมื่ อ หั น หน้ า เข้ า หากั น สุ ข ภาพจิ ต ก็ ดี ขึ้ น คุณภาพสังคมก็แจ่มใสขึ้นเป็นเงาตามตัว “เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจนมา 2-3 ปี แล้ว คนต�ำบลหนองไฮเหมือนถูกปลดปล่อย มีอสิ รภาพ เปิดสมอง ไม่ถูกครอบง�ำจากการเมืองภายนอกหรือ ภายใน ชาวบ้านเป็นเจ้าของชุมชนอย่างแท้จริง ท�ำให้ ต�ำบลมีชื่อเสียงดีขึ้น ชาวบ้านก็ภูมิใจ มีแรงใจท�ำงาน เพื่อบ้านเกิดของเขาเอง” พี่นายกฯ ทิ้งท้ายด้วยรอยยิ้ม ‘ประชาสังคมาธิปไตย’ จึงเป็นจุดเริ่มต้นส�ำคัญ ที่ท�ำให้ชุมชนต�ำบลหนองไฮร่วมแรงร่วมใจรวมตัวกัน ได้ และเป็นก�ำลังส�ำคัญขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนไป สูบ่ ริบทอืน่ ๆ เหมือนการทิง้ ตัวลงเป็นทอด ๆ ของโดมิโน


สุดไผท เมืองไทย

41


4. สื่อสารกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น


สุดไผท เมืองไทย

ฟังคล้าย ๆ โฆษณาของค่ายโทรศัพท์มือถือ แต่นี่คือหัวใจของการบริหารจัดการของที่นี่ เราไปดู ‘การสื่อสารระบบไร้สาย’ ของที่นี่ดีกว่าว่า เขาท�ำงาน อย่างไรจึงกลายเป็นเครื่องมือส�ำคัญในการมีส่วนร่วม ของชาวบ้านและการท�ำงานแบบโปร่งใสตรวจสอบได้ ของ อบต. หนองไฮ เราเดินข้ามมาอีกห้องหนึ่งซึ่งอยู่ในที่ท�ำการ อบต. นั่นเอง เป็นห้องจัดรายการระบบเสียงไร้สายที่ เราได้ยินผ่านล�ำโพงหมู่บ้านตั้งแต่เช้าตรู่ ที่นี่เราพบ หนุ่มใหญ่วัยท�ำงานท่านหนึ่ง พี่วรวีร์ สุปัตติ รองนายก อบต. คนที่หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดูแลระบบการ สื่อสารของชุมชนทั้งหมด

43


“ผมท�ำวิทยุกระแสหลักมาก่อน หลังจากนั้นมา ท�ำวิทยุชมุ ชน ก่อนมาช่วยงานท่านนายกฯ” พีว่ รวีรเ์ ริม่ เล่าที่มาที่ไป จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ด้านงานระบบสื่อและการจัดรายการวิทยุท�ำให้พี่วรวีร์ ลงมาลุยงานด้านสื่อสารของหนองไฮ ทั้งหนังสือพิมพ์ ชุมชน วิทยุชุมชน และการสื่อสารระบบไร้สายอันเป็น เครื่องมือส�ำคัญที่สุด

พี่วรวีร์ สุปัตติ รองนายก อบต. หนองไฮ

ระบบเสียงไร้สาย4.JPG


สุดไผท เมืองไทย

หลักการง่าย ๆ คือ อบต. หนองไฮ ต้องการ บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยให้ความส�ำคัญกับ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ซึ่งแสดงให้เห็นความ โปร่งใสของการท�ำงาน และอยากให้ชาวบ้านเข้าใจ นโยบายแบบเดียวกันทั้งต�ำบล ไม่ว่าใครก็สามารถ รับรู้ความเคลื่อนไหวและปฏิบัติการต่าง ๆ ภายใน อบต. รับรูข้ า่ วสาร และรับทราบการประชุมทีเ่ กิดขึน้ ใน ท้องถิ่นและในต�ำบล เช่น การประชุมสภา อบต. หน องไฮ จึงเป็นทีม่ าของการจัดตัง้ ศูนย์กระจายข่าว อบต. ผ่ า นระบบไร้ ส าย โดยมี ส ถานที่ อ อกอากาศอยู ่ ที่ ส� ำ นั ก งาน อบต. แล้ ว กระจายถ่ า ยทอดเสี ย งให้ ครอบคลุมพื้นที่ 12 หมู่บ้าน

45


46

หนองไฮ แดนกะเดา

ไม่น่าเชื่อว่า ห้องส่งสัญญาณเสียงไร้สายมีแค่ โต๊ะหนึง่ ตัว เก้าอีน้ งั่ จัดรายการสองตัว ไมค์แบบตัง้ โต๊ะ คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องกับอุปกรณ์อีกเล็กน้อยเท่านั้น สัญญาณจากทีน่ จี่ ะส่งไปยังกล่องรับสัญญาณซึง่ ติดตัง้ ล�ำโพงไว้ตามเสาไฟฟ้า มีครบทุกหมูบ่ า้ น ได้ยนิ ทุกครัว เรือน


สุดไผท เมืองไทย

“ในคอมพิวเตอร์มันมีช่องสัญญาณให้เลือกได้ ถ้าสมมุติอยากสื่อสารกับหมู่ 2 ก็เลือกเฉพาะกล่องรับ สัญญาณหมู่ 2 หมู่อื่นจะได้ไม่หนวกหู” พี่วรวีร์อธิบาย “ถ้ามีงานส�ำคัญ เช่น มีประชุม มีแขกมาดูงาน มีงาน วันเด็ก หรืองานวัฒนธรรมอะไรก็ตาม เราถ่ายทอดให้ ชาวบ้านฟังทั้งหมด” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถ่ายทอด สดการประชุมสภา อบต. “ใครจะอภิปรายลงทะเลก็ ต้องระวังหน่อย” พี่วรวีร์เล่าพลางหัวเราะอารมณ์ดี การติ ด ตั้ ง ระบบเสี ย งไร้ ส ายครั้ ง แรกใช้ ง บ ประมาณค่อนข้างสูงทีเดียว แต่ผลทีไ่ ด้รบั คือการสือ่ สาร การบริหารงานอย่างโปร่งใส เพราะถ่ายทอดแม้กระทัง่ การประชุมสภาต�ำบล ถือเป็นความจริงใจของผูบ้ ริหาร ที่ไม่ต้องการปิดบังซ่อนเร้นอะไรทั้งสิ้น ทั้งยังเป็นการ เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้รู้ว่า ตัวแทนของเขาท�ำงาน อย่างไรด้วย นับเป็นเรื่องคุ้มค่ามากส�ำหรับการลงทุน “ตอนประชุมนี่ การถ่ายทอดใช้เวลานานก็ลด เสียงลงมาหน่อย ชาวบ้านจะได้ไม่รำ� คาญ” พี่วรวีร์ว่า

47


48

หนองไฮ แดนกะเดา

อบต. หนองไฮ เริ่มติดตั้งระบบสื่อสารนี้เมื่อปี 2549 หลั ง จากประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ ง าน หาข้ อ บกพร่องต่าง ๆ แล้วก็ได้แก้ไขปรับปรุงอยู่เสมอในปี 2551 โดยขอความร่วมมือจากสถานีวทิ ยุกระจายเสียง แห่งประเทศไทย จังหวัดศรีสะเกษ เพือ่ ขอรับสัญญาณ การออกอากาศข่าวแดนล�ำดวนในช่วงเช้าของทุก ๆ วัน ท� ำ ให้ ช าวหนองไฮได้ รั บ รู ้ ข ่ า วสารจากสถานี วิ ท ยุ กระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดศรีสะเกษ เกี่ยว กับข่าวประจ�ำวันและข่าวในจังหวัดศรีสะเกษ “บางทีเราก็ประกาศข่าวด่วนเหตุรา้ ย เช่น ควาย หาย รถหาย ก็ใช้ระบบเสียงไร้สายประกาศแล้ววาง ก�ำลังได้ทันที” พี่วรวีร์เล่าสบาย ๆ “บางทีกป็ ระชาสัมพันธ์กจิ กรรมของชุมชน การ ประกอบอาชีพ หรือเผยแพร่จ�ำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ ชุมชน” ที่ส�ำคัญ พี่นายกฯ ประกาศิตจะมาพูดคุยกับ ชาวบ้านทุก 8 โมงเช้าเป็นปกติ เพือ่ บอกว่า วันนีม้ อี ะไร เกิดขึน้ บ้างในชุมชนเรา รวมทัง้ ข่าวสารสาระอืน่ ๆ ด้วย “ที่สองท่านมาเนี่ย ชาวบ้านก็รู้แล้ว” พี่นายกฯ ประกาศิตบอกเรา มินา่ ล่ะครับ เราเดินเข้าไปหาใคร เขา ก็ยิ้มแย้มต้อนรับอย่างอบอุ่นทั้งที่ยังไม่ทันได้บอกเลย ว่ามาท�ำอะไร แหม! การสื่อสารไร้สายแบบนี้ทันท่วงที ดีจริง



5. ท�ำไมต้อง ‘หนังสือพิมพ์’


นอกจากการสื่อสารด้วยระบบเสียงไร้สายแล้ว อบต. หนองไฮ ยังเปิดช่องทางการสื่อสารกับชาวบ้าน อีกช่องทางหนึง่ ซึง่ ถือเป็นการสือ่ สารกับสังคมภายนอก ชุมชนด้วย เพราะท�ำแล้วส่งไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทัง้ เหนือ และใต้ เพื่อโฆษณาชุมชนและผลิตภัณฑ์ของชุมชน “แต่ก่อนจะต้องท�ำวารสารปลายปี มันเป็นข้อ บัญญัติว่าต้องท�ำ เพื่อสรุปงานทั้งปีว่าท�ำอะไรมาบ้าง แต่ ท� ำ แบบนั้ น แล้ ว ไม่ ไ ด้ ป ระโยชน์ อ ะไร รวบรวม กิจกรรมที่ท�ำมาทั้งปี สรุปงาน ประชาสัมพันธ์แล้วก็ พิมพ์ มันเสียค่าใช้จา่ ยไปเปล่า ๆ ถ้าท�ำเป็นหนังสือพิมพ์ เสี ย ค่ า ใช้ จ ่ า ยเท่ า กั น แต่ ไ ด้ ส าระกว่ า ” พี่ น ายกฯ ประกาศิตเล่าที่มาจริง ๆ ของหนังสือพิมพ์ชุมชน ‘คน หนองไฮ’ “งานทีเ่ ราท�ำจะได้ถกู จัดเป็นระบบ มีรอ่ งรอย มี บทเรียนให้เรียนรู้ด้วย และได้พัฒนาตัวเองด้วย”


52

หนองไฮ แดนกะเดา

หนังสือพิมพ์ชุมชนจึงถือก�ำเนิดขึ้นจากความ ต้องการรวมข่าวจากชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อ สื่อสารกับชาวบ้าน อบต. หนองไฮ จึงก�ำหนดเป็น นโยบายการท�ำวารสารต�ำบลขึน้ เพือ่ เสนอข้อมูลให้รอบ ด้าน โดยที่เริ่มแรกได้รับการสนับสนุนจากองค์กร เช่น อนามัย โรงเรียน วัด เริ่มต้นด้วยการอบรมหลักสูตร เขียนข่าวและบทความเพื่อให้ความรู้และฝึกฝนทักษะ กั บ ที ม งานซึ่ ง มี ใ จรั ก แต่ ยั ง เป็ น มื อ สมั ค รเล่ น หนั ง สื อ พิ มพ์ ชุ ม ชนต�ำ บลหนองไฮที่มีชื่อ หัวว่า ‘คน หนองไฮ’ จึงคลอดออกมาได้ในที่สุด และท�ำมาอย่าง ต่อเนื่อง ถามว่า แล้วใครที่ไหนหรือคือทีมท�ำงาน? “ก็คนในชุมชนเรานีล่ ะ่ แถว ๆ นีท้ งั้ นัน้ ” พีน่ ายกฯ ประกาศิตตอบ มีแกนน�ำคอยรวบรวมข่าว ออกแบบ หนั ง สื อ พิ ม พ์ บรรณาธิ ก ารและบริ ห ารจั ด การ มี อาสาสมัครในชุมชนท�ำหน้าที่หาข่าว เขียนข่าว และ ดู แ ลที่ อ ่ า นหนั ง สื อ พิ ม พ์ ใ นหมู ่ บ ้ า น มี ห น่ ว ยงานทั้ ง ภายใน และภายนอกชุมชนช่วยเรื่องงบประมาณ บุคลากร การจัดการ รูปภาพและแหล่งข่าว มีอาคาร ศูนย์หนังสือพิมพ์ตำ� บลเป็นทีท่ ำ� การผลิต และกระจาย หนั ง สื อ พิ ม พ์ ต ามสถานที่ อ ่ า นซึ่ ง มี อ ยู ่ ทั่ ว ถึ ง ทุ ก 12 หมู่บ้าน


“แรก ๆ ทีท่ ำ� บางคนเขาก็สงสัย มันท�ำอะไรกัน” พีน่ ายกฯ เล่าอย่างออกรส “บางคนอ่านเพือ่ จับผิดด้วย ซ�ำ้ ” แต่เมือ่ อ่านไปดูไป ชาวบ้านก็เริม่ เข้าใจ ทัง้ ได้ความ รู้และเกิดการมีส่วนร่วมขึ้นในชุมชน แถมยังปลูกฝัง ค่ า นิ ย มรั ก การอ่ า นให้ ช าวบ้ า นด้ ว ย อ่ า นถึ ง ตรงนี้ หลายคนอาจจะสงสั ย ว่ า หนั ง สื อ พิ ม พ์ ที่ นี่ เ ป็ น หนังสือพิมพ์รายวันหรือรายเดือน “พยายามให้ออกทุกเดือน แต่บางทีก็ 3 เดือน ตามปกติคือสองเดือนครั้งครับ”


6. โรงเรียนพลังชีวิต


สุดไผท เมืองไทย

เรายังคงวนเวียนอยู่ในที่ท�ำการ อบต. หนองไฮ ตลอดช่วงเช้า เหตุเพราะแหล่งเรียนรู้อันเป็นหัวใจ ส�ำคัญในการขับเคลือ่ นชุมชนหนองไฮเริม่ ต้นทีน่ นี่ นั่ เอง เท่าที่ผมประมวลดู พบสิ่งส�ำคัญ 3 ประการที่ท�ำงาน แบบแยกกันไม่ออก เป็นสามประสานที่ช่วยขับเคลื่อน เปลี่ยนแปลงชุมชนหนองไฮให้แข็งแกร่งและน่าอยู่ไป พร้อม ๆ กัน อย่างแรกคือ การบริหารจัดการแบบมีสว่ น ร่วมเข้มข้น ซึ่งมีหัวใจของการสื่อสารแบบนาทีต่อนาที เป็นหัวหอกที่สอง และก� ำลังหลักประการที่สามซึ่ง ส�ำคัญสุด ๆ เช่นกัน คือ การพัฒนาองค์ความรู้

55


56

หนองไฮ แดนกะเดา

“ชื่อโรงเรียนพลังชีวิตมาเรียกทีหลัง” พี่นายกฯ ประกาศิ ต พู ด อย่ า งเปิ ด เผย “แต่ ก ่ อ นหน้ า นั้ น มั น มี กระบวนการเรียนรู้มาพักนึงแล้ว” จากแนวคิดที่ว่า การพึ่งพาการศึกษาในระบบ อาจแก้ปัญหาไม่ได้ทั้งหมด คนสามารถเรียนได้ก็จริง ส�ำเร็จการศึกษาได้ก็ใช่ แต่ส�ำนึกความเป็นพลเมืองมี น้อย ทาง อบต. หนองไฮ อยากสร้างกระบวนการเรียน รู้ที่สามารถเป็นแรงบันดาลใจได้จริง แก้ปัญหาได้จริง และอยากให้คนมีความรับผิดชอบต่อผู้อื่น มีส�ำนึก ต่อส่วนรวม จึงเกิด ‘โรงเรียนพลังชีวิต’ ขึ้น โดยมีหลัก การคือ ใครอยากรูอ้ ะไรต้องได้รู้ ผ่านกระบวนการเรียน รู้แบบ “เรียนจากชีวิตจริง เรียนเพื่อเอาไปใช้งานได้ จริ ง ๆ ไม่ ไ ด้ เ รี ย นเพื่ อ วุ ฒิ บั ต รหรื อ ปริ ญ ญาบั ต ร” พี่นายกฯ กล่าวน�้ำเสียงหนักแน่น โรงเรียนพลังชีวิตจึง ไม่มีอาคารสถานที่ เพราะโรงเรียนมีอยู่ทุกที่ “ครูก็มีอยู่ทุกที่ ไม่จ�ำกัดคน ไม่จ�ำกัดเวลา ขึ้น กับสถานการณ์” พี่นายกฯ ว่า “ถ้าโรงเรียนตามปกติมี เรื่องอะไรที่ขาดไป โรงเรียนพลังชีวิตจะไปเติมตรงนั้น” จะว่าไปแล้ว แรกทีเดียวโรงเรียนพลังชีวติ เกิดขึน้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คน ในปี 2551 มีการจัดตั้ง หลักสูตรต้นกล้าอาชีพ จัดตั้งศูนย์มหาวิทยาลัยชีวิต เน้นกระบวนการเรียนรู้จากชีวิตจริงอันเป็นต้นธารของ


สุดไผท เมืองไทย

โรงเรียนพลังชีวิต ปีถัดมาเปิดรับสมัครผู้สนใจเรียนรู้ เรื่องอาชีพเสริม เช่น การท�ำสบู่ น�้ำยาล้างจาน อิฐดิน ประสาน หมวกจากต้นกก ท�ำให้อาสาสมัครที่เข้าร่วม การเรียนรู้ครั้งนั้นได้รับประโยชน์ และเพิ่มช่องทางใน การประกอบสัมมาชีพ

57


เมือ่ ชาวบ้านในต�ำบลเริม่ สนใจกลุม่ อาชีพต่าง ๆ มากขึน้ จึงมีการเพิม่ หัวข้อเรียนรู้ เช่น การผลิตดอกไม้ จันทน์ การท�ำปุ๋ยพืชสด การท�ำบรรจุภัณฑ์ข้าวกล้อง 3 สี เพื่อจ�ำหน่าย เมื่อผู้เรียนมีมากเข้าก็มีการสร้าง หลักสูตรแกนกลางขึน้ โดยยึดหลักสูตรท้องถิน่ เป็นหลัก แล้วเชิญผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ มาให้ความรู้แก่ ผู้สนใจในเรื่องนั้น ๆ ย่างเข้าปี 2553 กิจกรรมการเรียนรู้เข้มข้นขึ้น ตามล� ำ ดั บ ปี 2554 พี่ น ายกฯ ประกาศิ ต จึ ง ใช้ ชื่ อ ‘โรงเรียนพลังชีวิต’ บรรจุไว้ในแผนพัฒนาต�ำบลอย่าง เป็นทางการ เมือ่ มีงบประมาณสนับสนุนการจัดการเรียนการ สอนในแผนพัฒนาต�ำบล การด�ำเนินงานก็เร่งรุดเดิน หน้าเต็มก�ำลัง ระบบการเรียนรู้ของโรงเรียนพลังชีวิต ครอบคลุมทุกเนือ้ หาทีช่ าวบ้านต้องการ เช่น การบริหาร


สุดไผท เมืองไทย

จัดการ การเมือง การปกครอง การพัฒนาบุคลิกภาพ การพัฒนาอาชีพ ศิลปวัฒนธรรม เมล็ดพันธ์แห่งความ รู้จึงผลิดอกออกผลเป็นกลุ่มอาชีพมากมาย เช่น กลุ่ม ผลิตดินเกษตร กลุม่ จักสานหมวกจากต้นกก บ้านหนอง หว้า หมู่ 8 กลุ่มผลิตน�้ำหมักผลไม้และสมุนไพร บ้าน หนองไฮ หมู่ 1 กลุ่มผลิตข้าวกล้องตรา อบต.หนองไฮ กลุ่มผลิตแจ่วบองส�ำเร็จรูป บ้านโนนเค็ง หมู่ 6 กลุ่ม วิสาหกิจบ้านดิน เป็นต้น และอย่างทีพ่ นี่ ายกฯ บอกไว้วา่ โรงเรียนมีอยูท่ กุ ที่ นอกจากจะรวมตัวแลกเปลีย่ นเรียนรูก้ นั ในชุมชนแล้ว หากองค์ความรู้นั้น ๆ ไม่พอ ก็เชิญผู้รู้จากข้างนอกเข้า มาถ่ า ยทอด และหากชุม ชนอื่น ๆ มีแหล่งเรียนรู้ที่ ชาวบ้านต้องการ ไม่วา่ กลุม่ อาชีพอะไร พวกเขาก็พร้อม จะเดินทางไปแลกเปลี่ยนนอกชุมชน แต่การไปแลก เปลี่ ย นเรี ย นรู ้ น อกชุ ม ชนผ่ า นโรงเรี ย นพลั ง ชี วิ ต นั้ น ไม่เหมือนการไปศึกษาดูงานซึง่ จัดกันทุกปีแบบแต่กอ่ น

59


60

หนองไฮ แดนกะเดา

“เมื่อก่อนเวลามีโครงการศึกษาดูงานก็จะเฮโล กันไปเรื่อยเปื่อย ไปเที่ยวทะเลบ้าง ไปถึงเชียงใหม่ก็ยัง มี แต่กลับมาก็ไม่ได้ท�ำอะไร เสียเงินก็เสีย เหนื่อยเปล่า กลับมาไม่ได้อะไรเลย” พี่นายกฯ เล่าไปหัวเราะไป เมื่อ นึกถึงอดีตในช่วงสองปีแรกที่เพิ่งเข้ารับต�ำแหน่ง “คราวนี้เอาใหม่ ไม่เอาแล้วแบบเดิม คราวนี้ถ้า เรามีปญ ั หาค่อยไปศึกษาดูงาน” ผูท้ จี่ ะไปต้องเป็นกลุม่ คนที่รวมตัวกันเป็นคณะเล็ก ๆ 9-10 คน และต้องการ แก้ไขปัญหาด้านอาชีพของตัวเองจริง ๆ ทุกวันนี้ อบต. หนองไฮ ไม่มกี ารน�ำงบประมาณไปเทีย่ วแบบเหมาทัวร์ อีกแล้ว แต่ทุ่มเทไปที่การเรียนรู้เพื่อสร้างอาชีพแทน ดอกผลจากการเรียนรู้ก่อให้เกิดอาชีพเสริมที่ หลากหลาย สมาชิกในชุมชนมีรายได้หมุนเวียนเพิม่ ขึน้ อย่างเห็นได้ชัด ชาวบ้านเกิดความมั่นคงในชีวิต รอย ยิ้มจึงค่อย ๆ คลี่ขยายออกไปเรื่อย ๆ เมื่อตนเองมีกินก็ คิดถึงส่วนรวม มีอะไรก็ช่วยเหลือกัน กลายเป็นสังคม เกื้อกูล น่าอยู่ขึ้นตามล�ำดับ ‘โรงเรียนพลังชีวิต’ แตกดอกออกผลไปไกลกว่า เรื่องอาชีพ ถึงขั้นสรรหาครูผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษา กฎหมาย คณิตศาสตร์ และดนตรี มาสร้างกระบวนการ การเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนขีดความสามารถของประชาชน ออกไปอย่างไร้ขดี จ�ำกัด ทีส่ ำ� คัญ นักเรียนไม่จำ� กัดอายุ


สุดไผท เมืองไทย

สมาชิกมีตงั้ แต่เด็กน้อยไปจนถึงคนเฒ่าคนแก่ บางครัง้ ครูกม็ าเรียนพร้อมกันกับนักเรียน เป็นการสร้างมิตใิ หม่ ของการเรียนรู้ เรียนจากประสบการณ์จริง รู้จริงและ น�ำมาใช้ในชีวติ ได้จริง เรียนแล้วมีพลังในการขับเคลือ่ น พัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นได้จริง สมกับชื่อที่ตั้งไว้ ‘โรงเรียน พลังชีวิต’ หนึ่งในหัวหอกหลักในการน�ำสุขภาวะมาสู่ ต�ำบลหนองไฮแห่งนี้

61


7. ขวัญเอ๋ยขวัญมา


สุดไผท เมืองไทย

การศึ ก สงครามระหว่ า งอาณาจั ก รโบราณ ถิ่นอุษาคเนย์นั้น หลังจากเสร็จศึก ฝ่ายชนะมักจะเผา เวียงวังวัดวา และพรากสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิป์ ระจ�ำเมืองไปจาก ผูแ้ พ้ พระพุทธรูปองค์สำ� คัญ ๆ ทีเ่ ราเคยได้ยนิ ชือ่ จึงถูก เปลี่ยนที่ย้ายถิ่นอยู่เสมอ เพราะวัดหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถือ เป็น ‘ขวัญ’ ของเมือง หากชุมชนใดไร้สิ่งยึดเหนี่ยวทาง จิ ต ใจแล้ว การกอบกู้ก� ำลัง ใจย่อ มยากล�ำบาก คน โบราณเรียกกรณีแบบนีว้ า่ ‘เสียขวัญ’ กว่าจะฟืน้ ฟูกำ� ลัง ใจ เรียกขวัญประชาชนกลับคืนมาได้ ต้องใช้เวลานาน โดยเฉพาะวัดซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของทุกคน หากมี สภาพร้างไร้ก็ไม่ต่างจากร่างกายที่ขาดหัวใจ

63


64

หนองไฮ แดนกะเดา

ระหว่างปี 2544 ถึง 2546 วัดบ้านหนองไฮเป็น วั ด ที่ ไ ม่ มี พ ระสงฆ์ จ� ำ วั ด เสมื อ นหมู ่ บ ้ า นไร้ ข วั ญ ประชาชนเสื่อมศรัทธา ด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง ท�ำให้ไม่มพี ระรูปไหนสามารถกอบกูศ้ รัทธากลับคืนมา ได้ จนกระทัง่ สมาชิกชุมชนผูศ้ รัทธาในพระพุทธศาสนา เดิ น ทางไปนิ ม นต์ พ ระภิ ก ษุ จ ากวั ด อั ม พวั น จั ง หวั ด สิงห์บุรี คือ พระมฤคินทร์ ธมฺมรโต และพระสงฆ์อีก จ�ำนวนหนึ่ง มาจ�ำวัด หลังจากนั้น ปฏิบัติการ ‘เรียก ขวัญ’ ของศิษย์หลวงพ่อจรัญแห่งวัดอัมพวันอันโด่งดัง ก็เริ่มขึ้น

พระครู วาปี ธรรมาภิรัต เจ้ าอาวาสวัดบ้ านหนองไฮ


สุดไผท เมืองไทย

“ตอนที่พระอาจารย์มาถึงที่นี่ครั้งแรก มีคณะ ชาวบ้านมาต้อนรับเต็มไปหมดเลยนะ แต่เห็นวัดแล้ว ตกใจมาก เสื่อมโทรมมาก ไม่มีใครเข้าวัดมาเป็นสิบปี แล้ว น�ำ้ ประปาก็ไม่มี ขวดเหล้านีเ่ ต็มไปหมด ปลาในวัด ยังถูกจับกินหมดเลยโยม คือเหมือนต้องมาสร้างวัด ใหม่ ห มดเลย” พระอาจารย์ ม ฤคิ น ทร์ ห รื อ พระครู วาปีธรรมาภิรัตเริ่มเล่า “หลักการของพระอาจารย์คือ เราเองต้องรัก ศาสนาก่อน มีศรัทธาก่อน เชือ่ ในพุทธานุภาพว่ามีจริง เชื่อว่าบุญมีจริง บาปมีจริง กฎแห่งกรรมมีจริง เราถึง จะท�ำหน้าทีไ่ ด้ และต้องรูก้ อ่ นว่าเรามาทีน่ เี่ พือ่ ท�ำอะไร” หลังจากตัดสินใจอยู่บุกเบิกงานพระศาสนาที่ หนองไฮ พระหนุ่มนักพัฒนาท่านนี้เริ่มต้นด้วยการท�ำ ข้อตกลงกับชาวบ้านก่อนเป็นอันดับแรก

65


66

หนองไฮ แดนกะเดา

“ถ้าอยากให้อาตมาอยู่ที่นี่ต้องมีกติกานะ หนึ่ง พระในวัดนี้จะไม่สูบบุหรี่ ตั้งกฎเลย ชาวบ้านรับได้มั้ย ชาวบ้านต้องช่วยนะ อาศัยเจ้าอาวาสรูปเดียวไม่ได้ สู้ไม่ไหวหรอก สอง ต้องไม่มีมหรสพภายในวัด รับได้ มั้ย สาม ต้องไม่มีคนเมามากินเหล้าในวัด รับได้มั้ย เพราะเราต้ อ งการสร้ า งคน ต้ อ งสร้ า งแบบนี้ ก ่ อ น สี่ ต้องการเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม ห้า กิจนิมนต์ส่วนตัว ยังไม่รบั เพราะเราไม่รวู้ ฒ ั นธรรมประเพณีเค้า” พระครู วาปีธรรมาภิรัตซึ่งพื้นเพเป็นคนจังหวัดนครสวรรค์ให้ ข้อมูลอย่างออกรส


สุดไผท เมืองไทย

ในที่สุด ชาวบ้านต�ำบลหนองไฮก็ยอมรับข้อ ตกลงของพระอาจารย์ งานสร้างวัด สร้างขวัญ สร้างคน จึงค่อย ๆ รุดหน้า ที่น่าสนใจคือ พระอาจารย์เลือก ปฏิบัติการกับเด็กและเยาวชนก่อน พยายามชักจูงเข้า วัดด้วยการเป็นผู้ให้ก่อนคือ หาของมาแจก ชวนเด็ก ๆ มาท�ำวัตรสวดมนต์ ท�ำความสะอาดวัด เก็บขยะ เก็บ ขวดเหล้า ท�ำความสะอาดห้องน�้ำ พอเด็กเริ่มชวนกัน เข้าวัดมาก ๆ เข้า พระอาจารย์ก็เริ่มสอนธรรมะด้วย การใช้สอื่ สมัยใหม่ ชาวบ้านก็เริม่ สนใจ บอกกันปากต่อ ปาก บางคนเป็นโรครักษาไม่หาย มาปฏิบัติธรรมเดิน จงกรมมาก ๆ แล้วหาย ชาวบ้านก็บอกต่อกันไป วัดจึง เริ่มคึกคักขึ้นอีกครั้ง

67


หลังจากญาติโยมเข้าวัดแล้วก็ถงึ เวลาสร้างวัตถุ พระอาจารย์ต้องการสถานที่ที่สร้างอย่างประหยัด สะอาด และใช้งานได้จริง ปี พ.ศ. 2546 ศูนย์ปฏิบัติ ธรรมแห่งนี้จึงเกิดขึ้น เริ่มจากการสร้างอาคารชั่วคราว ที่เรียกว่า ‘ศาลาเรือนแก้ว’ มุงหญ้าคา เสาเป็นไม้ ยูคาลิปตัส พื้นเทปูนธรรมดา ตั้งอยู่ฝั่งสระน�้ำประจ�ำ วัด จุคนได้ประมาณ 300 คน พระอาจารย์เล่าให้ฟังว่า ศาลาเรือนแก้วหลังนี้ ใช้งานคุม้ ค่ามาก ฝึกอบรมเยาวชนและผูค้ นนานถึง 4-5 ปี ด้วยความที่ท่านช�ำนาญด้านการใช้สื่อสมัยใหม่ การอบรมธรรมะจึงน่าสนใจ ทันยุคเข้าสมัย ท�ำให้ได้รบั


สุดไผท เมืองไทย

ความร่วมมือจากโรงเรียนในต�ำบล ส่งนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เข้าอบรมปีละ 1-3 ครั้ง ต่อมาปี พ.ศ. 2548 ศูนย์อบรมปฏิบัติ ธรรมแห่งนี้ได้มีผู้เห็นความส�ำคัญ ร่วมลงทุน ตั้ ง สถานี วิ ท ยุ ชุ ม ชนให้ เ พื่ อ กระจายข่ า ว กิจกรรมการอบรม ข่าวสารบ้านเมือง รวมทั้ง เผยแผ่ธรรมะอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดก็ได้รับ การยอมรับจากสังคมทั่วไป ทาง อบต. เอง ก็ได้เข้ามาดูแลสนับสนุนศูนย์อบรมคุณธรรม จริยธรรมวัดบ้านหนองไฮแห่งนี้ให้ก้าวหน้า เป็นล�ำดับอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันอาคารฝึก อบรมได้พัฒนาเป็นอาคารถาวรแล้ว วัดบ้านหนองไฮอันเคยรกร้างจึงเปลี่ยนเป็น แหล่งเรียนรู้เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้กับคนใน ต�ำบล โดยเฉพาะเด็ก ๆ เยาวชนทีเ่ ป็นอนาคตของสังคม ถือเป็นแหล่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้รู้จักผิดชอบ ชั่วดี ก่อให้เกิดเป็นชุมชนแห่งความสุข มีธรรมะเป็นที่ ยึดเหนี่ยวจิตใจ เมื่อวัดฟื้นคืน ‘ขวัญ’ ที่เคยสูญเสียไป นานจึงกลับมาแข็งแกร่ง สร้างภูมิชีวิต เสริมก�ำลังใจ ให้กับคนหนองไฮจนถึงปัจจุบัน

69


8. งานบุญปลอดเหล้า


สุดไผท เมืองไทย

เมื่อขวัญชุมชนหรือวัดเข้มแข็ง การบริหาร จั ด การแบบมี ส ่ ว นร่ ว มเข้ ม ข้ น เดิ น เครื่ อ งท� ำ งาน ชาวบ้านพัฒนาองค์ความรูจ้ ากโรงเรียนพลังชีวติ มี อาชี พ เสริ ม มั่ น คงขึ้ น ความพยายามที่ จ ะเพิ่ ม คุณภาพชีวิตส่วนอื่น ๆ ก็เดินหน้าตามมา ความ ตั้ ง ใจของชุ ม ชนที่ อ ยากลดปั ญ หาสั ง คมทั้ ง เรื่ อ ง สุขภาพและการประหยัดอดออมแปรเป็นนโยบาย เกิดเป็น ‘สัญญาประชาคม’ ของชุมชนหนองไฮใน การท�ำให้งานบุญประเพณีตา่ ง ๆ เป็นงานบุญปลอด เหล้า ปลอดการพนัน สัญญาประชาคมนี้เกิดขึ้น เมื่อปี 2551 พ่อสาร อิทธิปัญญา รองนายก อบต. และ ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลหนองไฮ วัย 68 ผู้ เปี่ยมอารมณ์ขัน เล่าเรื่องนี้ให้เราฟังอย่างเห็นภาพ “กรณีของผมนี่ชัดเจนที่สุดคือ แม่ยายของ ผมเสียชีวิตก่อนท�ำสัญญาประชาคม ‘งานบุญงด เหล้า’ ไม่เท่าไหร่ หลังจากนั้น ยายผมจริง ๆ ก็เสีย ชีวิตหลังจากเพิ่งท�ำสัญญาประชาคมเสร็จ ผลออก มาต่างกันมาก” พ่อสารอธิบาย “มาคิดว่าท�ำยังไงดี เพื่อน ๆ ผมคอทองแดงทั้งนั้น” พ่อสารขึ้นเสียงสูง อารมณ์ดี

71


72

หนองไฮ แดนกะเดา

ในงานบุญประกอบพิธีศพของยาย หลังการ รณรงค์ เ รื่ อ งงานบุ ญ งดเหล้ า พ่ อ สารจึ ง บอกกล่ า ว ล่วงหน้าแก่ญาติมิตรในบัตรเชิญว่า งานนี้เป็นงานศพ งดเหล้า เท่านั้นละครับ ผลตอบรับจากเพื่อนฝูงซุ้มหมู่ ก็เริ่มเอ็ดอึง “เป็นไปได้ไง งานนี้บ่มีเหล้า บ่แม่นแล้ว” เนือ่ งจากตนเองเป็นประธาน สภาวัฒนธรรมด้วย พ่อสาร จึงขึ้นป้ายยันต์กันภัยติดไว้ หน้าบ้านว่า ‘ประธานสภา วัฒนธรรมสนับสนุนงานบุญ งดเหล้า’ เนือ่ งจากเป็นงานบุญ งานแรกหลังท�ำสัญญาประชาคม กว่าจะตกลงท�ำความ เข้าใจกันได้กับแขกเหรื่อก็เล่นเอาเหนื่อย เพราะทราบ กันดีว่าเหล้านั้นเป็นเครื่องขันเกลียวความสัมพันธ์ของ ผูค้ นมาเนิน่ นาน จู่ ๆ จะมางดก็กระไรอยู่ พ่อสารขอร้อง กับญาติมิตรว่า ไม่ได้จะบังคับใคร ใครใคร่ดื่มดื่ม แต่ ของดเว้นในงานบุญจะได้ไหม ถึงแม้แสนยากเย็น แต่ สุดท้ายก็จบลงอย่างราบรื่น


สุดไผท เมืองไทย

พ่อสารเล่าว่า เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายงานแรกที่ ยังไม่ได้งดเหล้ากับงานหลังซึ่งงดเหล้าแล้ว พบว่า สามารถประหยัดได้เป็นหลักหมื่นเลยทีเดียว พี่ สุ ร ศั ก ดิ์ ศรชั ย นั ก วิ ช าการศึ ก ษาและ เลขานุการสภาวัฒนธรรมต�ำบลหนองไฮ เล่าเสริมว่า จากงานวิจัยพบว่า การดื่มเหล้าเป็นกิจวัตรคือสาเหตุ ส�ำคัญของปัญหาครอบครัวและความยากจน จึงมี ความพยายามที่จะขับเคลื่อนงานบุญปลอดเหล้าขึ้น หลังจากท�ำสัญญาประชาคมแล้ว คณะท�ำงานได้เริ่ม รณรงค์โดยใช้การสื่อสารหลายทางที่มีอยู่ มีการท�ำ ป้ายรณรงค์การงดเหล้า โดยเน้นไปทีป่ ระเด็นส�ำคัญคือ เรื่องเศรษฐกิจ

สุรศักดิ์ ศรชัย

เลขานุการสภาวัฒนธรรมต�ำบลหนองไฮ

73


74

หนองไฮ แดนกะเดา

“เราจะขึน้ ป้ายรณรงค์เป็นรูปรองเท้านักเรียนกับ เหล้า 2 เป๊ก หรือรูปปลาทู 1 เข่ง กับเหล้า 2 เป๊ก ให้ชาว บ้านเขาเปรียบเทียบเลยว่า ถ้าเก็บเงินซื้อเหล้าเอาไว้ สามารถซือ้ รองเท้านักเรียนให้ลกู ได้นะ หรือถ้างดเหล้า 2 เป๊กนี้ เอาเงินไปซื้อปลาทูกินได้เข่งหนึ่งนะ” พี่ สุรศักดิ์อธิบาย


สุดไผท เมืองไทย

75

ผลปรากฏว่า ได้รับการตอบรับดีขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ ทาง อบต. ได้ท�ำสถิติการใช้เงินส�ำหรับ งานบุญหรืองานศพปลอดเหล้าให้ชาวบ้านดู พบว่า สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ “งานบุญงานนึง เช่น งานศพ ถ้างานนั้นไม่มี เหล้าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 25,000 – 30,000 บาท” ข้อมูลเหล่านีจ้ ดั ท�ำเป็นสถิตติ วั เลขทีเ่ ข้าใจง่าย และขึ้นแผ่นป้ายเพื่อสื่อสารรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ภายในปีสองปีก็เริ่มเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ทุกวัน นี้ ชาวต�ำบลหนองไฮสามารถพูดได้เต็มปากเต็มค�ำ ว่า งานบุญทุกประเภท ทั้งงานบวช งานบ�ำเพ็ญกุศล ศพ งานบุญอัฏฐะ1 ปลอดเหล้าแล้วร้อยเปอร์เซ็นต์ นับเป็นความพยายามที่น่าชื่นชมยิ่ง

1 บุญอัฏฐะ หรือ บุญกฐิน คือ หนึ่งในบุญประเพณี 12 เดือน ของกลุ่มชาติพันธ์ุไทลาว ซึ่งชาวอีสานยึดถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน บุญอัฎฐะท�ำในเดือน 12 เริ่มตั้งแต่ วันแรม 1 ค�่ำ ได้แก่ การถวายเครื่องอัฐบริขารทั้ง 8 แก่พระภิกษุสงฆ์ รวมถึงการท�ำ บังสุกุล ทานข้าวของเครื่องใช้ให้แก่ญาติที่ล่วงลับ


9. หมอชาวบ้าน


ไหน ๆ ก็พูดเรื่องสุขภาพแล้ว เรามาพบกลุ่ม คนท�ำงานอีกกลุม่ ทีอ่ าสาดูแลเรือ่ งสุขภาพของชาวบ้าน กันดีกว่า เป็น ‘หมอชาวบ้าน’ ตัวจริงเสียงจริงเสียด้วย เพราะทุกคนเป็นชาวบ้าน แม้แต่ละคนจะสวมหมวก หลายใบ ท�ำงานหลายหน้าที่ แต่การอาสาเข้ามาเป็น หมอชาวบ้านเป็นเรื่องที่ทุกคนเต็มใจและภาคภูมิใจ พี่มานะ นาโนน ประธานกลุ่มหมอชาวบ้าน ต�ำบลหนองไฮเล่าให้เราฟังว่า หลายคนเป็น อสม.มา ก่อน อบต.หนองไฮได้ท�ำโครงการหมอชาวบ้าน โรง พยาบาล 800 เตียง เพือ่ ผลิตผูม้ จี ติ อาสาช่วยเหลือดูแล และส่งเสริมสุขภาพชนิดเข้มข้น โดยได้รบั การสนับสนุน จาก ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มีผสู้ มัครเข้าอบรมครัง้ แรก 80 คน มีการคัดเลือกให้ทำ� หน้าที่ชุดแรก 18 คน


78

หนองไฮ แดนกะเดา

กลุ่มผู้ป่วยที่หมอชาวบ้าน ดูแลมี 4 กลุม่ คือ ผูส้ งู อายุ ผูพ้ กิ าร ผูป้ ว่ ยเรือ้ รัง และกลุม่ ผูป้ ว่ ยจิตเวช หลังจากผู้ป่วยมาลงทะเบียนแล้ว ทางคณะจะคัดเลือกผู้ป่วยที่ไม่มี ผู้ดูแล ต้องการความช่วยเหลือ มานะ นาโนน จริง ๆ โดยทีมหมอชาวบ้านจะมี อาสาสมัครกระจายตัวในทุกหมู่บ้าน ทุกสัปดาห์หมอ ชาวบ้านเหล่านีจ้ ะออกไปดูแลผูป้ ว่ ยในหมูบ่ า้ นของตน แต่จะรวมตัวกันออกเยี่ยมเป็นคณะใหญ่เดือนละครั้ง เพื่อติดตามผลงาน


สุดไผท เมืองไทย

กรชนก สีหะนาม

วราภรณ์ เทียรคา

คุณกรชนก สีหะนาม และคุณวราภรณ์ เทียรคา อีกสองท่านในคณะอาสาสมัครหมอชาวบ้าน ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ส่วนใหญ่ผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ ป่วยเรื้อรัง และป่วยติดเตียง เช่น เป็นอัมพาต “เราจะไปดูแ ลเรื่อ งการป้อ งกันแผลกดทับ แนะน�ำการปฏิบตั ติ วั และให้กำ� ลังใจเขา” การเยีย่ มเป็น คณะเดือนละครั้งนั้นเพื่อเป็นการยืนยันกับผู้ป่วยว่า หมอชาวบ้านไม่ทอดทิ้งเขา “มีอยู่รายหนึ่ง ไม่มีญาติดูแล น�้ำก็ไม่มีอาบ พวกเราก็ไปอาบน�้ำให้ ไปท�ำความสะอาดบ้าน ซักผ้า ล้างถ้วยล้างชามให้เลยละ” การรวมตัวกันออกเยี่ยม แบบนี้ท�ำให้ผู้ป่วยรู้สึกอบอุ่นใจ มีก�ำลังใจดีขึ้น “คนป่วยไม่ได้เป็นผู้รับอย่างเดียว เวลาเราไป แนะน�ำว่า ยายใช้ยาอันนี้นะ คนเฒ่าคนแก่ก็อาจบอก

79


80

หนองไฮ แดนกะเดา

ภูมิปัญญาให้เราด้วย เช่น แต่ก่อนยายใช้สมุนไพร ตัวนั้นนะ ตัวนี้นะ ก็เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กัน” พี่มานะเล่าด้วยรอยยิ้ม ที่น่าทึ่งมากคือ หมอชาวบ้านมีการผลิตยา สมุ น ไพรพื้ น บ้ า น เช่ น ยาดมไม้ ห อม พิ ม เสนน�้ ำ ลูกประคบ น�้ำมันไพล ชาสมุนไพร เพื่อน�ำมาใช้กับผู้ ป่วยและออกจ�ำหน่ายด้วย “ทาง อบต. ได้ใช้งบประมาณของโรงเรียนพลัง ชีวิตจ้างผู้เชี่ยวชาญเรื่องการผลิตยาสมุนไพรมาสอน และพวกเราก็ท�ำกันเอง ผลิตจ�ำหน่ายเพื่อน�ำมาเป็น ต้นทุนผลิตต่อ ไม่เน้นท�ำก�ำไร ตัวยาบางตัวเราสามารถ หาได้ในหมู่บ้าน เช่น ว่าน ไพล รางจืด เสลดพังพอน บางตัวไม่มกี ซ็ อื้ จากข้างนอก” โดยหลังจากผลิตแล้วมี การเชิ ญ ผู ้ เ ชี่ ย วชาญมาตรวจคุ ณ ภาพว่ า ถู ก ต้ อ ง ปลอดภัยไหม ก่อนออกจ�ำหน่าย ระหว่างจิบชารางจืดผสมมะตูมร้อน ๆ ช่วย ล้างพิษนัน้ ผมสงสัยว่า พวกพี่ ๆ เขาได้อะไรกลับคืนมา บ้างจากการมีจติ อาสา ท�ำงานแบบไม่หวังผลตอบแทน ของกลุ่มอาสาสมัครหมอชาวบ้าน “เวลาไปดูแลคนเฒ่าคนแก่ ท่านให้พรเราก็ ชืน่ ใจ สุขใจ อยากให้บา้ นเราเป็นสังคมเอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ น่าอยู่ ไม่ใช่ว่าทุกอย่างต้องแลกด้วยเงิน อยากให้


แนวคิดนี้ส่งต่อไปถึงเยาวชนในหมู่บ้านด้วย เมื่อดูแล เอื้ออาทรกัน สังคมเราก็ดีขึ้น” พี่มานะทิ้งท้าย ปัจจุบนั นี้ หมอชาวบ้านมีการท�ำงานอย่างเป็น ระบบ วางแผนการปฏิบตั งิ าน และการติดตามประเมิน ผลด�ำเนินงาน โดยมีกลุม่ องค์กรทัง้ ในและนอกพืน้ ทีใ่ ห้ ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เช่น อบต. โรงพยาบาล สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย จ�ำนวนผู้มี จิตอาสาเพิ่มขึ้นตามล�ำดับ ปัจจุบันอาสาสมัครหมอ ชาวบ้านทั้ง 12 หมู่บ้านเพิ่มจ�ำนวนเป็นยี่สิบกว่าท่าน แล้ว เป็นเรื่องที่น่าชื่นใจจริง ๆ


10. คลินิกแพทย์แผนไทย


เริ่มเมื่อยหรือยังครับ คุณมานพ ผาเงิน หนุ่ม หล่อประจ�ำต�ำบลก�ำลังจะพาเราไปเยี่ยมคลินิกแพทย์ แผนไทยที่สถานีอนามัยต�ำบลหนองไฮ ที่นั่นมีบริการ นวดแผนไทยด้วย ทั้งนวดผ่อนคลายและนวดรักษา ทั้งยังรวบรวมภูมิปัญญารักษาโรคด้วยสมุนไพรมาไว้ ที่นี่ เพื่อดูแลสุขภาพพื้นฐานให้ชาวบ้านในต�ำบลไม่ ต้ อ งพึ่ ง พายาแผนปั จ จุ บั น มากนั ก ผ่ า นการดู แ ล สนับสนุนของ อบต. หนองไฮ นั่นเอง คุณส�ำเนียง จันทาน และคุณอัจฉราพร บัวพันธ์ ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย เล่าให้เราฟังว่า แรกเริม่ ได้สง่ เจ้าหน้าทีไ่ ปฝึกอบรมการนวดแผน ไทยที่อ�ำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษก่อน จากนั้น กลับมาฝึกงานและท�ำ ‘เคส’ (case) เพื่อฝึกทักษะและ ประเมินผลงานทีโ่ รงพยาบาลอุทมุ พรพิสยั มากกว่าหนึง่ เดือน ก่อนมาประจ�ำที่คลินิกแพทย์แผนไทยแห่งนี้


84

หนองไฮ แดนกะเดา

พีส่ ำ� เนียงบอกว่า ปกติที่ คลินิกนวดแผนไทยมีผู้ป่วยมา ใช้บริการนวดรักษาเฉลี่ย 4-5 คนต่อวัน ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วย ประเภทเรื้อรัง ทั้งโรคเบาหวาน และโรคความดัน ส�ำเนียง จันทาน “เราจะมีนัดส�ำหรับผู้ป่วย เรื้อรังทุกวันอังคารที่สองของเดือน คนไข้จะมารับยา พยาบาลจะคัดกรองคนไข้อีกรอบเพื่อส่งขึ้นมานวด หรือถ้าผูป้ ว่ ยมาคลินกิ ไม่ได้ เราจะนัดวันออกไปนวดให้ ที่บ้าน”


สุดไผท เมืองไทย

อีกกรณีที่คลินิกแพทย์แผนไทยบริการให้ผู้ป่วย คือ นวดประคบหม้อเกลือส�ำหรับ หญิงหลังคลอด โดยทางคลินิกจะ ส่งเจ้าหน้าที่ไปท�ำให้ถึงบ้าน การออกไปนวดรั ก ษาชาว บ้านในหมู่บ้านท�ำให้ได้แลกเปลี่ยน ภูมิปัญญากับชาวบ้านด้วยเช่นกัน จนเกิ ด นวั ต กรรมของหนองไฮขึ้ น อัจฉราพร บัวพันธ์ นั่นคือ ‘เครื่องนวดด้วยตัวเอง’ “เราไปเจอชาวบ้านเขาท�ำใช้เองในหมูบ่ า้ น ทาง อนามัยจึงขอน�ำมาพัฒนาปรับปรุง ประดิษฐ์เป็นเครือ่ ง นวดต้นแบบขึน้ ส�ำหรับให้ผปู้ ว่ ยนวดตัวเองเวลาทีร่ อคิว รักษานาน”

85


86

หนองไฮ แดนกะเดา

อีกหนึ่งประดิษฐกรรมที่คลินิกแพทย์แผนไทย น�ำมาอวดคือ ‘เครื่องนวดเท้าลูกหมากแข็ง’ ประยุกต์ จากการได้ไปเห็นเครื่องนวดเท้าจากกะลามะพร้าว ทางทีมงานจึงมาคิดว่า บ้านหนองไฮมีหมากแห้งเป็น จ�ำนวนมาก ลักษณะกลมมนและแข็งแรง จึงน�ำมา ทดลองท� ำ ใช้ ส� ำ หรั บ ผู ้ ป ่ ว ยเบาหวานเรื้ อ รั ง ซึ่ ง มั ก มี อาการชาตามมือและเท้า ผลปรากฏว่าได้ผลดี ทาง โรงพยาบาลจึง ให้ผู้ป่วยหรือ ญาติน� ำไปผลิตใช้เ อง ที่บ้าน “มีบางคนมาเห็นหมากใส่กระบะอยู่ คิดว่าเอา ไว้กิน หยิบขึ้นมาเคี้ยวเฉยเลย” มีเสียงแซวมาจาก สมาชิกอีกคน “เอาไว้เหยียบ บ่แม่นไว้กิน” หลังจาก เฉลยก็เรียกเสียงหัวเราะได้เฮใหญ่ ปัจจุบันคนต�ำบลหนองไฮจึงมีทางเลือกในการ ดูแลสุขภาพที่หลากหลายขึ้น โดยอาศัยภูมิปัญญา ดัง้ เดิมทีม่ ใี ห้เกิดประโยชน์สงู สุด พึง่ พายาแผนปัจจุบนั น้อยลง พึ่งพาตัวเองมากขึ้น


สุดไผท เมืองไทย

87


88

หนองไฮ แดนกะเดา

ข้าวคือเส้นเลือดใหญ่หล่อเลีย้ งคนหนองไฮ แต่ ก่อนชาวนาเคารพข้าว ผู้เฒ่าผู้แก่สอนกันมาจากรุ่นสู่ รุ่น หลังจากเกี่ยวข้าวแล้วจะต้องเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง จนถึงวัน 13 ค�ำ่ เดือน 3 ท�ำพิธบี ชู าแม่โพสพด้วยดอกไม้ ธูปเทียน ขนม ผลไม้ก่อน จึงจะสามารถน�ำข้าวมาสี บริ โ ภคได้ เราอาจมองว่ า นี่ เ ป็ น กุ ศ โลบายของคน โบราณ อยากให้ลูกหลานรู้จักเก็บออมข้าวเปลือกไว้ ให้พอมีพอกิน ปัจจุบันแม้ประเพณีบูชาข้าวยังคงอยู่ แต่ ส ภาพความเป็ น อยู ่ ข องชาวบ้ า นเปลี่ ย นไปมาก อุบายแยบยลก็อาจช่วยอะไรไม่ได้ ปัญหาความแห้งแล้ง ความอดอยากของชาว บ้านทีน่ เี่ กิดขึน้ เสมอ โดยเฉพาะหมูบ่ า้ นโนนเค็ง หลาย ครอบครัวไม่มขี า้ วกิน ต้องเดินทางไปกูเ้ งินซือ้ ข้าวหรือ ยืมข้าวจากหมู่บ้านอื่นมาบริโภคทุกปี ปี 2545 จึงเกิด การรวมกลุม่ กันโดยแกนน�ำชาวบ้าน และท�ำประชาคม เพื่อเสาะหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว พี่แหลม อุทรณ์ เบ้าหล่อ มัคคุเทศก์ที่นำ� เราชม หมู่บ้านตั้งแต่เช้า ซึ่งอีกต�ำแหน่งหนึ่งคือรองประธาน กลุม่ ธนาคารข้าว ได้เล่าให้เราฟังว่า “เรามาระดมความ คิดกันว่าจะช่วยเหลือครอบครัวเหล่านี้อย่างไร มีผู้ เข้าร่วมประชุมร้อยกว่าคน มติของที่ประชุมบอกว่า ให้เราก่อตั้งกองทุนข้าวเปลือกกันขึ้นมา หรือธนาคาร ข้าวนี่ละ”


สุดไผท เมืองไทย

11. ธนาคารเส้นเลือดหลัก

ที่ ป รึ ก ษาได้ แ ก่ ผู ้ สู ง อายุ ที่ ทุ ก คนเคารพ มี พ่อประเสริฐ แก้วจันทร์ นายบุญเลิศ อิทธิปัญญา นายสมพงษ์ ผามณี นายเล้ง ยานิวงษ์ และตัวพีแ่ หลม เองเป็นตัวตั้งตัวตีด�ำเนินการกองทุนขึ้น ถึงแม้เสียง ส่วนใหญ่จะสนับสนุน แต่ในระยะแรกชาวบ้านไม่กล้า ลงทุนด้วย เพราะส่วนหนึ่งไม่เข้าใจว่ากองทุนนี้จะเกิด ขึ้นได้จริงหรือไม่ ช่วงแรกจึงมีสมาชิกเพียง 40 คน ร่วม หุน้ ด้วยข้าวเปลือกคนละ 100 กิโลกรัม จากนัน้ จึงระดม ทุนเพือ่ สร้างยุง้ ฉาง หรือทีช่ าวบ้านเรียก ‘สาง’ หรือ ‘เล้า’ ส�ำหรับเก็บข้าวเปลือก

89


“ได้เงินทุนมา 16,800 กว่าบาท มาซื้อสังกะสี ซื้อเสา ใครมีไม้ในนาก็มาบริจาคกันคนละต้นสองต้น มาสร้างฉาง” หลังจากรวบรวมข้าวได้ทงั้ หมด 4,000 กิโลกรัม ก็เริ่มปล่อยให้สมาชิกกู้ข้าวเปลือก โดยก�ำหนดอัตรา ดอกเบี้ยคือ กู้ยืม 100 ปี๊บ ต้องคืน 130 ปี๊บ “พอดีตอนปี 2545 ฝนไม่ดี ข้าวทีไ่ ด้น�้ำหนักไม่ดี ด้วย เป็นข้าวเบา คือปริมาณได้ แต่นำ�้ หนักไม่ถึง เราก็ มาประชุมกันอีก มีปญ ั หาอะไรเราเอาเข้าทีป่ ระชุมหมด ที่ประชุมจึงเปลี่ยนจากระบบปี๊บเป็นกิโลกรัมแทน” พี่แหลมเล่า เพียงสองปี จ�ำนวนข้าวเปลือกในยุ้งฉางเพิ่ม เป็น 10 ตัน ชาวบ้านเริ่มเห็นว่า การด�ำเนินงานของ คณะกรรมการมีความเป็นธรรม ปี 2549 ข้าวเปลือกก็ เพิ่ ม จ� ำ นวนขึ้ น อี ก จนต้ อ งขยายยุ ้ ง ฉางอี ก หนึ่ ง หลั ง ปัจจุบันนี้มีข้าวเปลือกอยู่ 25 ตัน 800 กว่ากิโลกรัม


สุดไผท เมืองไทย

คนทีเ่ คยยืมข้าวกินก็หมดไป และยังมีพนั ธุข์ า้ วเพียงพอ ในการท�ำนาแต่ละปีด้วย “ทางธนาคารข้ า วเปลื อ กจะมี ก ารปั น ผลให้ สมาชิกทุกปีคนละ 60 กิโลกรัม ส่วนทุนคนละ 100 กิโลกรัม ตั้งแต่แรก เราคืนให้สมาชิกหมดแล้ว” พีแ่ หลมยิม้ กว้างอย่างภาคภูมใิ จ แม้แต่คนทีเ่ คย ต่อต้านก็กลับมายืมข้าวเปลือกจากกองทุนแล้ว เพราะ เกิดความเข้าใจ ทางคณะกรรมการได้เปิดกว้างให้ ชาวบ้ า นกู ้ ยื ม ข้ า วโดยไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งเป็ น สมาชิ ก กิจกรรมธนาคารข้าวจึงส่งผลไปถึงหมู่บ้านอื่น ต�ำบล อืน่ เข้ามากูย้ มื ข้าวทีห่ นองไฮ นับเป็นความส�ำเร็จทีเ่ กิด จากความร่วมใจกันคิด ร่วมมือกันท�ำ ทั้งยังส่งผลให้ สมาชิกในชุมชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้นถ้วนหน้า

91


12. ‘ไทยกวยไทย’


อย่าเพิ่งงงนะครับว่า ‘ไทยกวยไทย’ แปลว่าอะไร ก�ำลังจะเฉลย ณ บัดนี้ เนือ่ งจาก สมาชิ ก กลุ ่ ม อาชี พ จั ก สานส่ ว นใหญ่ มี บรรพบุรุษสืบเชื้อสายจากชาวส่วย หรือกูย พวกเขาเรียกตัวเองว่า ‘กวย’ กลุ่มจักสานจึง ตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ของพวกเขาว่า ‘ไทยกวย ไทย’ อาชีพจักสาน สืบสานภูมปิ ญ ั ญาดัง้ เดิม นี้ สร้างรายได้แก่สมาชิกอย่างสม�ำ่ เสมอ และ เป็นกลุ่มที่มีเงินไหลเวียนมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง ของต�ำบลหนองไฮ พี่เลี่ยม ประถมบุตร ประธานกลุ่ม จักสาน เล่าให้เราฟังว่า เดิมทีงานจักสานเป็น ความรู้ดั้งเดิมของชาวบ้านอยู่แล้ว แต่มีขีด จ�ำกัดคือ อาจผลิตได้แค่ของใช้ไม่กี่อย่าง ส� ำ หรั บ ไว้ ใ ช้ เ องเท่ า นั้ น หลั ง จากตั้ ง กลุ ่ ม อาชีพเสริมนี้ขึ้นโดยเริ่มต้นจากเงินกองทุน SML ของหมู่บ้านจ�ำนวน 10,000 บาท ผ่าน การช่วยเหลือของ อบต. หนองไฮ ส่งคณะไป ดูงานที่จังหวัดสกลนคร น�ำมาประยุกต์กับ ความรู้เดิมและวัสดุที่มีในท้องถิ่น จึงพัฒนา เป็นผลิตภัณฑ์จักสานออกจ�ำหน่ายในราคา ที่ถูกกว่าท้องตลาด


ผลิตภัณฑ์จักสานที่มีตอน นี้คือ หมวก ตะกร้า กระติบข้าว กระพ้อม และสุ่มไก่ ใช้วัสดุใน ท้ อ งถิ่ น คื อ ไม้ ไ ผ่ ต้ น กก และ เตยหนาม เป็นหลัก ตอนทีเ่ ราไปถึง แม่ ๆ กลุม่ จั ก สานก� ำ ลั ง สานหมวกจาก เลี่ยม ประถมบุตร เตยหนามและต้ น กกกั น อย่ า ง ประธานกลุ่มจักสาน ขมีขมัน วิธีเตรียมเตยหนาม เริ่ม จากตัดใบ เอามาลิดหนามออก แล้วสอยให้เป็นเส้นเล็ก ๆ กว้างราว 0.5 เซนติเมตร จากนั้นน�ำไปตากให้แห้ง ส่วนใหญ่ใช้ลานบ้านบ้าง พื้นถนนบ้าง เพียง 3-4 วันก็ ใช้ได้ แล้วน�ำมาพักไว้โดยเหน็บกับขื่อหลังคา ก่อนเอา มาสานจะต้องน�ำมาแช่นำ�้ ในกะละมังอีกครัง้ เพือ่ ให้เส้น เตยนิ่ม และถ้าอยากย้อมสีก็จะใช้เส้นเตยจากขั้นตอน นี้ไปแช่ในน�้ำใส่สีย้อมที่ต้มจนเดือด แช่เส้นเตยหรือกก ราว 15 นาที น�ำขึน้ มาล้างน�ำ้ เย็น จากนัน้ น�ำไปตากแห้ง อีกรอบก็น�ำมาสานได้


สุดไผท เมืองไทย

“โครงสร้ า งจะขึ้ น แบบเหมื อ นกั น แต่ ร าย ละเอียดลวดลายก็แล้วแต่จินตนาการของแต่ละคน ปล่อยอิสระ” พี่เลี่ยมเล่าไปยิ้มไปอย่างอารมณ์ดี ส่วนวิธีการด�ำเนินงานของกลุ่มคือ ใครว่าง จากนา ว่างจากเก็บสะเดา ก็มาท�ำงาน ไม่บังคับ โดย กลุ่มจะเป็นผู้รับซื้อผลิตภัณฑ์ไว้ทั้งหมด หมายถึงว่า ใครสานหมวกได้หนึง่ ใบก็รบั ซือ้ ไว้ทนั ที สมาชิกกลุม่ ไม่ ต้องรอเงินจากการขาย จึงมีก�ำลังใจสร้างสรรค์ผลงาน

95


96

หนองไฮ แดนกะเดา

หากทางต� ำ บลไปออกร้ า นที่ ไ หนก็ จ ะน� ำ สิ น ค้ า ไป จ�ำหน่ายด้วย “บางครั้งไปถึงขอนแก่น อุดรธานี หรือ เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ก็ไป” พี่เลี่ยมว่า บางคราวก็ ขายให้กับคนภายนอกที่เข้ามาสั่งซื้อ ก�ำไรนั้นน�ำกลับ มาจัดซือ้ จัดหาวัสดุอปุ กรณ์ และซือ้ งานจากสมาชิกใน กลุม่ เก็บไว้ตอ่ ไป เมือ่ มีรายได้หมุนเวียน สมาชิกทุกคน ที่ตอนนี้มีอยู่ราว 10 กว่าคน ก็มีก�ำลังใจ สามารถ ท�ำงานต่อไปได้เรื่อย ๆ “กลุ่มของเราท�ำงานด้วยความเพลิดเพลิน หยอกล้อกันไป ท�ำงานกันไป กินเล่นกันไป ตอนเที่ยง ก็ ท� ำ กั บ ข้ า วกิ น กั น ในกลุ ่ ม สนุ ก สนานของเราไป ไม่เครียด” พี่เลี่ยม ประธานกลุ่มจักสาน ทิ้งท้ายด้วย รอยยิ้ม



13. วิสาหกิจบ้านดิน


สุดไผท เมืองไทย

พี่นายกฯ ประกาศิตเชิญเรามากิน มื้อกลางวันที่บ้าน มีส้มต�ำมะละกอสด จากต้น แจ่วรสเด็ด ผักสดหลากชนิดจาก หลั ง บ้ า น ปลาทอดจากบ่ อ ที่ เ ลี้ ย งแบบ ธรรมชาติ ข้าวก็ปลูกที่นี่ แม้แต่ไข่เจียวก็ มาจากไข่ไก่ทชี่ าวบ้านเลีย้ งเอง อาหารมือ้ นี้ จึ ง แซบอี ห ลี อี ห ลอกะด้ อ กะเดี้ ย หลาย (ส�ำนวนอีสาน แปลว่าอร่อยเหาะ) ไม่ ไ ด้ จั่ ว หั ว เรื่ อ งผิ ด หรอกครั บ เพราะที่บ้านพี่นายกฯ นี่เองเป็นที่ตั้งกลุ่ม วิสาหกิจบ้านดินที่เราก�ำลังจะพาไปเยี่ยม ชม ส่วนบ้านตัวอย่างก็บ้านพี่นายกฯ นี่ แหละ ในฐานะผู้ริเริ่ม สร้างให้ดู อยู่ให้ เห็น จะเป็นไรไป กลุม่ วิสาหกิจบ้านดินเริม่ ก่อตัง้ เมือ่ ปี 2553 หลังจากไปดูงานจากท้องถิ่นอื่น แล้ว ทาง อบต. อยากให้ประชาชนมีรายได้ เสริมอีกทาง จึงจัดตัง้ กลุม่ วิสาหกิจบ้านดิน ขึ้ น แรกเริ่ ม มี ส มาชิ ก ประมาณ 20 คน มีการระดมหุน้ หุน้ ละ 100 บาท แต่ไม่เกิน 50 หุ้นต่อคน ต่อมามีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 73 คน จ�ำนวน 4,000 หุ้น รวมเป็นเงิน

99


100

หนองไฮ แดนกะเดา

ทั้ ง สิ้ น 400,000 บาท ทางกลุ ่ ม ได้ มี ก ารพั ฒ นา ศักยภาพโดยเข้าอบรมเรือ่ งการผลิต การน�ำอิฐประสาน ไปใช้ และได้รับสนับสนุนเครื่องอัดอิฐบล็อกด้วยมือ รวมทั้ ง อุ ป กรณ์ ก ารผลิ ต อื่ น ๆ จากสถาบั น วิ จั ย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ทัง้ นีส้ ำ� นักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรูแ้ ละพัฒนา คุ ณ ภาพเยาวชน (สสค.) ยั ง ได้ ใ ห้ ค วามรู ้ ด ้ า นการ ก่อสร้างบ้านด้วยอิฐดินประสานด้วย คุ ณ พั ช ราพร นาโนน สมาชิ ก กลุ ่ ม วิ ส าหกิ จ บ้านดิน เล่าให้ฟังว่า วัตถุดิบที่ใช้ต้องเป็นดินที่ไม่มี กรวด ไม่เป็นดินเหนียว ทางกลุ่มใช้ดินในพื้นที่ซึ่งมีอยู่

พัชราพร นาโนน

เครื่ องอัดดินไฮโดรลิก


สุดไผท เมืองไทย

ทุกแห่งและดินสีแดงจาก อ. บึงบูรพ์ จ. ศรีสะเกษ และ อ. รัตนบุรี จ. สุรินทร์ “ดินของหนองไฮเองผลิตแล้ว มันจะได้สีขาว เทา-เหลือง แข็งแรงทนทานเท่ากัน แต่ที่นิยม ณ ขณะ นี้เป็นสีแดง” เรามาดูกรรมวิธีการผลิตดีกว่าครับ เริ่มจากน�ำ ดินลูกรังแห้งมาเข้าเครื่องบดร่อน ดินจะเปลี่ยนสภาพ เป็นผงละเอียด จากนั้นน�ำไปร่อนอีกครั้งเพื่อไม่ให้มี เศษไม้หลงเหลือ ทั้งร่อนด้วยเครื่อง และบางครั้งก็ร่อน ด้วยมือเพราะได้ปริมาณมากกว่า ส่วนทรายทีน่ ำ� มาใช้ ก็ต้องร่อนเช่นกัน “จากนั้ น เอามาเข้ า เครื่ อ งผสมในอั ต ราส่ ว น 6:1:1 คือ ดิน 6 ส่วน ปูน 1 ส่วน ทราย 1 ส่วน” หลังจาก ผสมได้ที่แล้วก็ใส่น�้ำอีกหนึ่งส่วน ผสมให้เข้ากันดีแล้ว น�ำไปเข้าเครื่องอัดไฮโดรลิกเพื่อขึ้นดินเป็นก้อน เครื่อง อัดทีท่ างกลุม่ ใช้สามารถอัดได้ครัง้ ละสองก้อน สามารถ อัดลายได้โดยเปลี่ยนบล็อกด้านในเครื่อง ตอนนี้ทาง กลุ่มยังมีแค่สองลาย คือ ลายช้างและลายดอกไม้

101


102

หนองไฮ แดนกะเดา

อิฐที่ได้มีขนาดยาว 25 ซม. กว้าง 12.5 ซม. หนา 10 ซม. เมื่ออัดเสร็จแล้วจะรองด้วยแผ่นวัสดุแห้ง ที่เรียกว่า ‘พาเลต’ ทุกก้อน เพื่อไม่ให้อิฐติดกัน แล้วน�ำ ไปผึง่ ในทีม่ ลี มผ่านหนึง่ คืน จึงขนย้ายไปบ่มตัวในทีแ่ ดด ร�ำไรอีก 7-15 วัน ระหว่างที่บ่มอิฐต้องรดน�้ำวันละครั้ง ทุกเช้าเพื่อให้เนื้อดินแกร่ง ครบก�ำหนดก็เตรียมออก จ� ำ หน่ า ย โดยทางกลุ ่ ม ตั้ ง ราคาขายที่ ห น้ า โรงงาน ก้อนละ 8 บาท “ลู ก ค้ า ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น คนในชุ ม ชนหรื อ ต่ า ง อ� ำ เภอก็ มี มั น ยั ง เป็ น เรื่ อ งใหม่ ส� ำ หรั บ แถวนี้ อ ยู ่ คุณสมบัติที่ดีของอิฐประสานคือ แข็งแรงและท�ำให้ บ้านเย็น ลดค่าก่อสร้างจากปกติได้ถงึ 20-30 เปอร์เซ็นต์ เรามีทีมช่างที่ช�ำนาญอยู่ 5 กลุ่ม” พี่พัชราพรบอก


กลุ่มวิสาหกิจบ้านดินค่อย ๆ เติบโตอย่างช้า ๆ ไม่ เร่งรีบ แต่สามารถตอบสนองจุดประสงค์เริ่มแรกของกลุ่ม ได้เป็นอย่างดี นั่นคือ เป็นแหล่งเรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจ ในการรวมกลุ่มในรูปแบบวิสาหกิจ ชาวบ้านและสมาชิก กลุ่มมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้น อีกทั้งได้พัฒนาทักษะความรู้ ความสามารถ คุณภาพชีวิตก็ดีขึ้นตามล�ำดับ


14. บ้านดอกไม้ประดิษฐ์ดินไทย


เดีย๋ วจะหาว่าใกล้เกลือกินด่าง เรา กินนอนอยู่บ้านของแม่แต้ว มณีวรรณ สุรยิ ทุ ธ ประธานกลุม่ บ้านดอกไม้ประดิษฐ์ จากดินไทย แต่มัวเตร็ดเตร่ไปรอบต�ำบล โดยไม่ได้สัมภาษณ์แม่แต้วเพราะคิดว่า อยู ่ ใ กล้ ได้ โ อกาสเหมาะจึ ง พู ด คุ ย กั บ แม่แต้วอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเสียที หากเข้ามาที่บ้านหลังนี้ คุณผู้ อ่านจะพบกับสวนไม้ดอกไม้ประดับด้าน หน้ า และเมื่ อ ก้ า วเข้ า ในบ้ า นจะเห็ น ดอกไม้ประดิษฐ์นานาพันธุท์ ถี่ า้ ไม่บอกว่า เป็นดอกไม้ประดิษฐ์ก็แยกไม่ออกว่าต้น ไหนของจริง ต้นไหนประดิษฐ์ขึ้น “มี ทั้ ง แวนด้ า ฟาแลน ช้ า งกระ หวาย คัทลียา ลีลาวดี ชวนชม บัว และ ที่ขายดีมากคือต้นกล้วย” แม่แต้วบอก


106

หนองไฮ แดนกะเดา

เริม่ ต้นจริง ๆ จากทีเ่ ข้ารับการฝึกอบรมโครงการ ต้นกล้าอาชีพในหลักสูตรงานศิลปะประดิษฐ์ จากศูนย์ พั ฒ นาฝี มื อ แรงงานจั ง หวั ด ศรี ส ะเกษ หลั ง จากนั้ น แม่แต้วได้ค้นคว้าศึกษาด้วยตัวเอง จนกระทั่ง อบต. สนับสนุนเงินทุนตั้งกลุ่มขึ้นเพื่อฝึกอบรมให้แก่ผู้สนใจ เต็มรูปแบบ

มณีวรรณ สุริยุทธ ประธานกลุ่มบ้ านดอกไม้ ประดิษฐ์ ดนิ ไทย

ดอกไม้ประดิษฐ์เหล่านีท้ ำ� จากดินไทย ลักษณะ คล้ายดินญี่ปุ่น แต่หยาบกว่า มีส่วนประกอบของแป้ง ข้าวโพด วาสลีน กาวลาเท็กซ์ น�ำมากวนเข้าด้วยกัน ปัจจุบันทางกลุ่มยังไม่สามารถผลิตได้เอง “ลองท�ำดู แล้ว แต่ไม่เหมือน” แม่แต้วว่า จึงต้องสั่งซื้อจากตลาด


สุดไผท เมืองไทย

นัดจตุจักร ส่วนอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ล้วนแล้วแต่สำ� คัญ ทั้งสิ้น เช่น ดัมเบล ใช้คลึงกลีบดอกให้โค้ง เหล็กคลึง ใช้คลึงให้กลีบพลิ้ว กรรไกรจิ๋ว ใช้ตกแต่งกลีบ ลวดทุก ขนาดตั้งแต่เบอร์ 18-28 และที่ขาดไม่ได้คือ บล็อก แม่พิมพ์กลีบดอกชนิดต่าง ๆ ที่ท�ำด้วยเรซิน

107


108

หนองไฮ แดนกะเดา

“แรก ๆ ท�ำแล้วให้เขาเป็นของฝากนะ ยังไม่ได้ ขาย เป็นช่วงพัฒนาฝีมือด้วย ประชาสัมพันธ์ด้วย” หลังจากมีผู้ชื่นชอบมากเข้าก็เริ่มท�ำขาย ทั้งงานใน ต�ำบล ร้านค้าชุมชน ช่วงวันแม่ก็ท�ำดอกมะลิ งาน เกษียณอายุก็จะมีคนมาสั่งท�ำ ตอนนี้ทางกลุ่มมีสมาชิกประมาณ 10 คน อายุ มากที่ สุ ด คื อ 63 ปี อายุ น ้ อ ยที่ สุ ด คื อ น้ อ งกี้ ด.ญ. สุภาดา กิจเพียร เรียนอยู่ชั้น ป.4 เป็นเด็กที่ชอบมา ป้วนเปี้ยนที่นี่และมีฝีมือในการท�ำดอกไม้ “ดิน 1 ก้อน ราคา 60 บาท เมื่อท�ำเป็นดอกไม้ ประดิษฐ์แล้วสามารถขายได้ 200-300 บาท ทางกลุ่ม หักเฉพาะค่าดินเท่านัน้ ทีเ่ หลือเป็นรายได้ของสมาชิก” แม่แต้วเล่าพลางระบายยิ้ม


บ้านดอกไม้ประดิษฐ์ของแม่แต้วที่เริ่มต้นจาก ความชอบส่วนตัวจึงกลายเป็นแหล่งศึกษาแลกเปลีย่ น เรียนรู้เพื่อลดรายจ่ายสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนที่ ว่างงานได้มีอาชีพ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ที่สำ� คัญ การท�ำดอกไม้นั้นต้องใช้สมาธิ “จากแต่กอ่ นเป็นคนขีห้ งุดหงิด ตอนนีก้ ลายเป็น คนใจเย็น” แม่แต้วทิง้ ท้ายกับเรา นีอ่ าจนับเป็นอานิสงส์ หนึ่งของการท�ำงานศิลปะก็ว่าได้


15. สนธยากาลที่แสนสุขส�ำราญกลองยาว


สุดไผท เมืองไทย

เรามาถึงบ้านแสนสุขส�ำราญกลอง ยาวเมื่อเย็นย�่ำ พ่อใหญ่แสน จันทะเสน วัย 88 นั่งยิ้มกริ่มรอเราอยู่ใต้ถุนเรือน พ่อเฒ่า ผู้นี้เองเป็นผู้ใ ห้ก� ำเนิด คณะกลองยาวชื่อ ไพเราะ ‘แสนสุขส�ำราญ’ การเกิดขึ้นของ กลองยาวคณะนี้เรียบง่ายเหมือนวิถีชีวิต ชาวหนองไฮ พ่อใหญ่แสนเล่าว่า ไม่เคย ร�ำ่ เรียนวิชาท�ำกลองมาจากไหน อีกทัง้ ตัวเอง ก็เล่นดนตรีไม่เป็น ทักษะและความคิดเกิด จากการสังเกตจดจ�ำล้วน ๆ โดยอยากใช้ เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และสนับสนุนให้ ลูกหลานมีรายได้เสริมจากการท�ำนา จึงลอง ท�ำกลองยาวขึน้ จากอุปกรณ์พนื้ ฐาน คือ มีด และสิ่ว

111


112

หนองไฮ แดนกะเดา

“เฮ็ดกลางปี 2538” พ่อใหญ่เริ่มเล่า ท�ำกลอง ย า ว อ อ ก ม า แ ล ้ ว ก็ ใ ห ้ ลู ก หลานหั ด เล่ น หั ด ตี ปี 2539 จึ ง ก่ อ ตั้ ง เป็ น คณะ กลองยาวขึ้ น รั บ แสดง พ่ อใหญ่ แสน จันทะเสน ตัง้ แต่งานบวช งานแต่งงาน บุญบั้งไฟ งานบุญอัฏฐะ จนคณะกลองยาวแสนสุข ส�ำราญพัฒนาฝีมือขึ้นตามล�ำดับ ปีแรกมีสมาชิกกลุ่มเพียง 18 คน รับจ้างแสดง ตามงานต่าง ๆ ในราคา 1,500-2,000 บาทต่อครั้ง มีการรับงานประมาณ 20-30 ครั้งต่อปี แต่ปัจจุบัน กลายเป็นคณะกลองยาวที่โด่งดัง ได้รับความสนใจ จากประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมากทั้งในระดับต�ำบล อ�ำเภอ จังหวัดและต่างจังหวัด ท�ำให้มีปฏิทินรับงาน แสดงร่ายยาวเป็นหางว่าวถึง 80-100 ครั้งในหนึ่งปี ต่อมาจ�ำนวนสมาชิกเพิ่มเป็น 25 คน ได้รับค่าจ้าง 6,000-8,000 บาทต่อครั้ง ค่าตอบแทนของนักดนตรี แบ่งเป็น ตีกลองยาว 150-200 บาท/ครั้ง/คน นักดนตรี เบส พิณ ออร์แกน ค่าตอบแทน 300-500 บาท/ครัง้ /คน สามารถสร้างรายได้เสริมให้ลูกหลานได้ส�ำเร็จตาม


สุดไผท เมืองไทย

เจตนาเดิมของผู้ก่อตั้ง เนื่ อ งจากมี ค วามสามารถเชิ ง ช่ า งและเป็ น ผู้มีศิลปะในหัวใจ พ่อใหญ่แสนได้ประดิษฐ์พญานาค แกะสลักจากโฟมส�ำหรับใช้ประดับประดาในงานบุญ บั้งไฟ โดยได้ค่าเช่าพญานาค 1,500 บาทต่อครั้ง แถม ยังประดิษฐ์ว่าวแม่ลูกตัวใหญ่ที่วางพิงอยู่ตามฝาเรือน ขายเป็นรายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ ในวัยชราอีกด้วย พ่ อ ใหญ่ แ สนเปิ ด เผยภู มิ ป ั ญ ญาดั้ ง เดิ ม ของ คนอีสานว่า ในยุคโบราณ คนแถบนี้ไม่ได้เล่นว่าวเพื่อ ความบันเทิงเท่านั้น แต่ใช้ว่าวพยากรณ์ลมฟ้าอากาศ ด้วย ลมพัดไปทางไหน ฝนจะดีหรือไม่ ท�ำนายได้จาก การเล่นว่าวนีเ่ อง ผมฟังแล้วให้รสู้ กึ ชืน่ ชมกับภูมปิ ญ ั ญา ดั้งเดิมของคนแถบนี้ ทั้งการไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค รวม ถึงการใช้พรสวรรค์และความสามารถอย่างเต็มที่ของ พ่อเฒ่า แม้จะย่างเข้าวัยสนธยาของชีวิตก็ไม่เคยหยุด คิดหยุดสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ชีวิตของพ่อเฒ่าแสนนับเป็น ความภูมิใจของคนหนองไฮ และเป็นแบบอย่างให้คน รุ่นหลังได้เรียนรู้ต่อไป

113


16. ศูนย์ดนตรีไทยโรงเรียนบ้านนาโนน


ว่ากันว่า สิ่งที่หล่อหลอมคนได้ดีที่สุดคือ กีฬา ดนตรี และศิลปะ เช้าวันรุ่งขึ้น เรามุ่งหน้าไปที่โรงเรียน บ้านนาโนน เด็ก ๆ ส่วนหนึ่งก�ำลังยืนเข้าแถวหน้า เสาธง เราเห็นอนาคตของหนองไฮตัวน้อย ๆ ก�ำลัง สนุกสนานที่สนามเด็กเล่น สักพักก็ได้ยินเสียงดนตรี ไทยแว่ วมา จึง เดินตามเสียงขึ้นไปบนชั้นสองของ อาคารเรียน ภาพที่เห็นเรียกรอยยิ้มได้ทันที เด็ก ๆ ตัว น้อยสมาชิกวงดนตรีไทยวัยประถมก�ำลังบรรเลงเพลง ‘ลาวด�ำเนินทรายสองชั้น’ อย่างตั้งใจ


116

หนองไฮ แดนกะเดา

หลังจากเพลงจบลง ผมได้พดู คุยกับน้องแพรว นักเรียนชัน้ ป.6 มือระนาดทุม้ น้องโบ ป.5 เล่นฆ้องวง และน้องเก่ง ป.6 มือระนาดเอกที่เก่งสมชื่อ เด็ก ๆ พูด เป็นเสียงเดียวกันว่า ที่มาสมัครเล่นดนตรีไทยเพราะ สนุก เวลาออกไปแสดงงานข้างนอกก็ได้ไปเที่ยวเปิดหู เปิดตาด้วย ปกติพวกเขาซ้อมกันอาทิตย์ละสองครั้ง คือ ทุกวันจันทร์และวันพุธหลังเลิกเรียน หากอาจารย์ ไม่วา่ งจะมีพมี่ ธั ยมคอยดูแล ตอนนีว้ งวัยประถมฝึกฝน มาได้ 3 ปี แ ล้ ว สามารถเล่ น เพลงได้ 3 เพลง คื อ ลาวด�ำเนินทราย แขกสาหร่าย และโหมโรงครอบ จักรวาล ไล่ตามรุ่นพี่มาติด ๆ

น้ องแพรว ด.ญ.พรทิพย์ เทียมทอง มือระนาดทุ้ม

น้ องโบ ด.ญ. ปิ ยาภรณ์ จันทร์ เทศ ชัน้ ป.5 มือฆ้ องวง

น้ องเก่ ง ด.ช.ทวีเกียรติ แก้ วจันทร์ มือระนาดเอก


สุดไผท เมืองไทย

วันนี้ พี่ ๆ วงปี่พาทย์ ไม้แข็งระดับมัธยมและอาจารย์ ผู ้ ดู แ ลไปเข้ า ค่ า ยวิ ช าการที่ จังหวัดร้อยเอ็ด เราจึงไม่ได้พบ กับสมาชิกศูนย์ดนตรีไทยที่เพิ่ง ได้ รั บ รางวั ล ชนะเลิ ศ ส่ ว น ภูมภิ าคจากการประกวดทักษะ วิชาการของ สพฐ. และได้เป็น ผอ.สมัย โนนสูง ตัวแทนระดับภาคไปแข่งขันที่ กรุงเทพฯ ผู้อ�ำนวยการ สมัย โนนสูง ชายผู้มีแววตามุ่ง มั่นเปี่ยมเมตตา ผอ.โรงเรียนบ้านนาโนน ผู้ทุ่มเทปลุก ปัน้ เด็ก ๆ เหล่านีเ้ ปิดเผยให้เราฟังอย่างละเอียดถึงเรือ่ ง ราวที่มาที่ไปของศูนย์ดนตรีไทยแห่งนี้ “ที่งานศพ ผมนั่งคุยกันกับท่านนายกฯ ที่วัด ท่านว่า แต่ก่อนงานศพบ้านเราจะมีเสียงดนตรีไทยนะ ถ้าบ้านเราฟื้นฟูขึ้นได้น่าจะดี” ฟังแล้วท่าน ผอ. สมัย รู้สึกเฉย ๆ เพราะคิดใน ใจว่ายังไงก็ท�ำไม่ได้ หลังจากนั้น ผู้น�ำชุมชนจากบ้าน หนองเตา มีนายทวีคูณ แก้วจันทร์ และพ่อใหญ่แสน จันทะเสน เสนอตัวมาซ่อมเครื่องดนตรีเก่า ๆ ที่มีใน โรงเรียน จ�ำพวกซอกับกลองต่าง ๆ ผอ. จึงตระหนักว่า ทางชุมชนอยากให้โรงเรียนฟืน้ ฟูดนตรีไทยขึน้ มาจริง ๆ

117


แต่ยังมองไม่เห็นทาง เพราะโรงเรียนไม่มีครูผู้สอนใน สาระวิชาศิลปะเลย ท่ า นจึ ง เลื อ กทางที่ ง ่ า ยที่ สุ ด ก่ อ นคื อ สอน นาฏศิลป์ โดยน�ำเด็กนักเรียนชั้น ม.1 ขึ้นรถส่วนตัว ตระเวนหาครูผู้สอน ไปอยู่สามสี่แห่ง แต่ก็ไม่มีใครรับ ในทีส่ ดุ ทางโรงเรียนสตรีสริ เิ กศ เมืองศรีสะเกษ รับสอน ให้ หลังจากนั้นจึงพาเด็ก ๆ ไปร�ำแสดงตามงานต่าง ๆ ในชุมชน แต่แสดงได้แค่สามสี่งานเท่านั้นก็เกิดปัญหา “หนึ่ง ค่าแต่งตัว แต่งหน้า ราคาแพงมาก อีกอย่างคือ จ�ำนวนเด็กผู้หญิงไม่พอ เอาเด็กผู้ชายมาแต่งตัวเป็น หญิง ผู้ปกครองเขาไม่พอใจ” ในที่สุด โครงการก็ต้อง ล้มเลิกไป


คราวนี้ ผอ. คิ ด ว่ า คงต้ อ งท� ำ วงดนตรี ไ ทย จริง ๆ แต่จะไปหาครูทไี่ หน ไม่มใี ครมีความรูเ้ รือ่ งดนตรี ไทยเลย พอดีมีโรงเรียนสอนดนตรีไทยในจังหวัด แต่ รับสอนเดี่ยว ไม่ได้รับสอนวง “ผมขอร้องท่านว่า ผมมี เงินเท่านี้ 30,000 บาท ท่านสอนได้เท่าไหร่เอาเท่านัน้ ” ผอ. สมัย เล่าว่า เริ่มต้นโครงการนี้จากเงินส่วน ตัวของตน เพราะอยากทดลองดูก่อน ไม่กล้าไปของบ ประมาณจากที่ไหน อาหารมื้อกลางวันส�ำหรับเด็ก ๆ นัน้ ก็ได้แม่บา้ นของท่านท�ำแล้วห่อให้เด็ก ๆ ไปกิน จาก นักเรียนชั้น ม.1 ทั้งหมด 23 คน ผอ. พาไปเรียนทุกคน แต่เรียนได้แค่สองสามสัปดาห์ เด็กจ�ำนวนหนึง่ เริม่ ไม่สู้


120

หนองไฮ แดนกะเดา

ค่อย ๆ ลดจ�ำนวนลงไปจนเหลือแค่ 8-9 คน “ผมเองถ้า ว่างก็ไปนัง่ เรียนพร้อมเด็ก ๆ ก็เริม่ เข้าใจบ้าง” จนกระทัง่ นายกฯ ประกาศิตทราบเรือ่ งเข้า ท่านว่า “ตัง้ ศูนย์ดนตรี ไทยดีไหม” นัน่ จึงเป็นจุดเริม่ ต้นของมหากาพย์แห่งท้องทุง่ ‘ศูนย์ดนตรีไทยโรงเรียนบ้านนาโนน’ ทีห่ กล้มหกลุกมา เนิ่นนาน ทาง อบต. สนับสนุนงบประมาณซื้อเครื่อง ดนตรีไทยให้กับโรงเรียน จากที่เล่นได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ชาวบ้านในชุมชนก็ยังเชิญไปเล่นตามงานศพ โดยใส่ ซองอุ ด หนุ น ตั้ ง แต่ ห ลั ก พั น จนถึ ง หลั ก หมื่ น เพื่ อ ให้ วงดนตรีไทยของต�ำบลสืบสานกิจกรรมต่อไปได้ จาก การประเมินสอบถามผู้ปกครอง ต่างให้เสียงสนับสนุน ว่าเป็นโครงการที่ดี อยากให้โรงเรียนด�ำเนินการต่อไป กระนัน้ ก็ตาม เงินทุนส่วนตัวของท่าน ผอ. เริม่ ร่อยหรอลงทุกที เพราะการซ้อม การจ้างครูมาสอน หรือ ค่าอาหารกลางวันเด็ก ล้วนแล้วแต่มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ผอ. สมัย เริ่มถอดใจ การซ้อมในวันเสาร์อาทิตย์จึง ชะลอตัวลง “สองปีมานี้เริ่มมีร้านเกมเปิดในหมู่บ้าน วัน หยุดเด็กไม่ได้เรียนดนตรีก็เข้าร้านเกม” ผอ.สมัย ทอด เสียงและสายตาไกลออกไปจากโคนต้นไม้ที่เรานั่งคุย กัน “ก็เลยคิดง่าย ๆ ว่า เอาละ อย่างน้อยเราเอาเด็กมา


สุดไผท เมืองไทย

เรี ย น เด็ ก ก็ ไ ม่ ต ้ อ งเข้ า ร้ า นเกม อย่ า งน้ อ ยก็ มี ข ้ า ว กลางวันกิน” ผู้อุปถัมภ์หลักอย่างเป็นทางการจึงฮึดสู้ ลุย งานต่อมาเรือ่ ย ๆ จนกระทัง่ อานิสงส์แห่งความตัง้ ใจเริม่ ส่องแสงแห่งความหวัง ทางโรงเรียนลองส่งวงดนตรีไทย ระดับมัธยมเข้าแข่งขันทางวิชาการในกลุ่มสาระศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ของ สพฐ. ที่จังหวัดอุบลราชธานี ผลปรากฏว่ า สามารถผ่ า นระดั บ กลุ ่ ม ไปถึ ง ระดั บ ภูมิภาคได้ “ขึ้นแข่งระดับภาค เล่นล่ม แต่ก็ได้เห็นว่าเขา แข่งกันยังไง เป็นประสบการณ์ ถือว่าเรามาถูกทาง แล้ว” ผอ. หัวเราะเบา ๆ ในล�ำคอ จากนั้ น งบประมาณสนั บ สนุ น จาก อบต. หน่วยงานต่าง ๆ และจาก ชุมชนก็เริ่มมีมาเพิ่มขึ้น มี การจ้างครูผเู้ ชีย่ วชาญมาสอนทักษะความรูใ้ ห้นกั เรียน เต็มรูปแบบมากขึ้น การเรียนการซ้อมเข้มข้นขึ้นตาม ล�ำดับ จนกระทั่งเมื่อปีที่แล้ว วงดนตรีไทยระดับมัธยม ของโรงเรียนบ้านนาโนนคว้ารางวัลชนะเลิศของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เหรียญทองอีก 9 รายการ และ ได้เป็นตัวแทนภาคอีสานเข้าแข่งขันในระดับประเทศ

121


122

หนองไฮ แดนกะเดา

“ไม่มีใครเคยเห็นเมืองทองธานี ทั้งเด็กทั้งผม เป็นครั้งแรกในชีวิต” ผอ.สมัย เผยรอยยิ้มแห่งความ ภาคภู มิ ใ จ “เห็ น โรงเรี ย นที่ ม าแข่ ง ก็ ต กใจนะ เป็ น โรงเรียนชั้นยอดของประเทศทั้งนั้น ระนาดของเราตัว แพงที่ สุ ด ราคาหมื่นห้า แต่ข องสายน�้ำ ผึ้ง เขาตัว ละ ล้านกว่า” ผอ. หัวเราะเบา ๆ ในล�ำคอ “คือแค่พาเด็กเรา ไปดูเขาเล่นก็คุ้มค่าแล้ว” จากทีเ่ คยล้มลุกคลุกคลาน หวังแค่ให้เด็ก ๆ มี อาหารมื้อกลางวันกิน ไม่ต้องเข้าร้านเกม จากความ ร่วมมือร่วมใจของทุกส่วนในชุมชน ปัจจุบันวงดนตรี ไทยโรงเรียนบ้านนาโนนกลายเป็นความภูมิใจของคน ทัง้ ต�ำบล มีงานแสดงทัง้ ในระดับหมูบ่ า้ น ต�ำบล อ�ำเภอ และจั ง หวั ด อานิ ส งส์ นี้ แ ผ่ ข ยายไปถึ ง เรื่ อ งโอกาส ทางการศึกษาของเหล่านักดนตรีตัวน้อย สถาบันการ ศึกษาต่าง ๆ ยื่นข้อเสนอรับนักเรียนเหล่านี้เข้าศึกษา ต่อทันทีเมื่อเรียนจบ พร้อมรับประกันมีงานท�ำให้ด้วย


สุดไผท เมืองไทย

ความงดงามนี้ก�ำลังแตกดอกออกผล ศูนย์ ดนตรีไทยโรงเรียนบ้านนาโนนก�ำลังเป็นแหล่งเรียนรู้ ส�ำคัญของเหล่าเยาวชนคนหนองไฮ จากความตั้งใจ จริงของผู้อ�ำนวยการ คณะครูและเด็ก ๆ รวมถึงการ สนับสนุนของทุกภาคส่วนในชุมชน ศูนย์ดนตรีไทย โรงเรียนบ้านนาโนนจึงเปรียบดังแสงแห่งความหวัง เป็นอนาคตอันสดใส เป็นวันพรุ่งนี้ของต�ำบลหนองไฮ อย่างแท้จริง

123



พรุ่งนี้ของหนองไฮ วันเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว ในทีส่ ดุ เราก็ตอ้ ง กล่าวค�ำอ�ำลากับคนหนองไฮ การพัฒนาไปสู่ต�ำบล น่าอยูข่ องชุมชนแห่งนีห้ ยัง่ รากลงแล้ว เหมือนต้นกล้าที่ ฝากดินเรียบร้อย รอแค่วนั แผ่ขยายราก แตกก้าน กิง่ ใบ เติบใหญ่เป็นต้นไม้ทแี่ ข็งแรงทนทาน แผ่รม่ เงาเหนือผืน ดินแล้ง ยังประโยชน์ให้กับคนรุ่นต่อไป ตัวตนของคนหนองไฮก�ำลังแจ่มชัดขึ้นเรื่อย ๆ ชุมชนรุดหน้าไปด้วยความร่วมมือร่วมใจกันของทุกฝ่าย ไม่มใี ครยอมเสียเวลานัง่ คร�ำ่ ครวญถึงปัญหาสังคมหรือ นโยบายของรัฐ โดยไม่ยอมคิดลงมือท�ำสิ่งต่าง ๆ ให้ดี ขึ้นด้วยตัวเอง ต�ำบลหนองไฮเป็นเรือ่ งราวของต�ำบลเล็ก ๆ คน เล็ก ๆ ทีล่ งมือท�ำแล้ว การเปลีย่ นแปลงสังคม ชีวติ ความ เป็นอยูใ่ ห้ดขี นึ้ มักเริม่ ต้นจากความเชือ่ เล็ก ๆ นี้ และจะ ยิง่ ใหญ่เสมอเมือ่ ลงมือท�ำ ไม่มใี ครรูเ้ รือ่ งราวของวันพรุง่ แต่หากวันนี้เราได้ลงมือท�ำแล้วอย่างเต็มที่ เชื่อว่า พรุ่งนี้ย่อมมีความหวังเสมอ...


126

หนองไฮ แดนกะเดา

เพลงศักยภาพชุมชน ค�ำร้อง-ท�ำนอง เรียบเรียงดนตรี ขับร้องโดย

วสุ ห้าวหาญ ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก ฟางแก้ว พิชญาภา, ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก, สมชาย ตรุพิมาย

หนึง่ สมองสองมือทีม่ ี รวมเป็นหลายความคิดดี ๆ ออกมายืนตรงนี้ ท�ำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน ไม่ ว ่ า จะอยู ่ ที่ ไ หน เราเป็ น คนไทยเปี ่ ย มความ สามารถ เป็นก�ำลังของประเทศชาติ พัฒนาบ้านเมือง ก้าวไกล เป็นคนเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ก็รักเมืองไทย ด้วยกันทั้งนั้น (สร้ อย) หากเราร่วมมือร่วมใจ ท�ำสิ่งไหนก็ไม่เกินแรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือ สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เรา แบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ อยู่ชนบทห่างไกล ท�ำนาท�ำไร่พอเพียงเลี้ยงตัว ใช้ชมุ ชนดูแลครอบครัว ใช้ครอบครัวดูแลชุมชน ปูพนื้ ฐาน จากหมู่บ้านต�ำบล สร้างแปลงเมืองไทยให้น่าอยู่ดังฝัน


สุดไผท เมืองไทย

ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น บ้ า นเรา เรี ย นรู ้ ร ่ ว มกั น เพื่ อ การ พัฒนา ชุมชนท้องถิ่นบ้านเรา เรียนรู้ร่วมกันช่วยกัน พัฒนา อยูต่ ามเมืองใหญ่เมืองหลวง หัวใจทุกดวงซ่อนไฟ มุง่ มัน่ ก้าวออกมาจากรัว้ ทีก่ นั้ จับมือกันท�ำเพือ่ เมืองไทย คนละมือสองมือคือน�ำ้ ใจ โอบกอดชุมชนไว้ดว้ ยความสุข ยืนนาน หนึง่ สมองสองมือทีม่ ี รวมเป็นหลายความคิดดี ๆ ออกมายืนตรงนี้ ท�ำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน หากเราร่ ว มมื อ ร่ ว มใจ ท� ำ สิ่ ง ไหนก็ ไ ม่ เ กิ น แรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือ สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เรา แบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ ด้วย มุ ม มองที่ เ ราแบ่ ง ปั น ใช้ ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ ใ ห้ เ ต็ ม ศักยภาพ

127



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.