วารสารปันสุข ฉบับที่ 12

Page 1

»˜¹ÊØ¢ ẋ§»˜¹ ÊÃä ÊÌҧ à¾×èͪØÁª¹¹‹ÒÍÂÙ‹

ฉบับที่ 12 มีนาคม 2556

ปันสุข


www.punsook.org

จัดท�ำโดย

»˜¹ÊØ¢ ẋ§»˜¹ ÊÃä ÊÌҧ à¾×èͪØÁª¹¹‹ÒÍÂÙ‹

ส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน ส�ำนักงงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ปันสุข : เลขที่ 3 รามค�ำแหง 44 ถนนรามค�ำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ 10240 Email : editor@punsook.org โทร : 08 1710 0456

ปันสุข

facebook > ค้นหา


า > ปันสุข

สถานี 3

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น เราอาจไม่ต้องมีอะไรเลย มีคนมานั่งแล้วมาพูดบรรยายให้จตาม จดบ้างไม่จดบ้าง แล้วก็กลับไป เอาไปประยุกต์ใช้บ้าง หรือไม่น�ำพาซึ่งผลลัพธ์ใดๆ เลย แต่ถ้า เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน สิ่งแรกเลย คือเราต้องเตรียมการ รวมถึงบุคลากรที่จะ มาสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนที่มาเรียนรู้ร่วมกัน เริ่มต้นเลยคนที่มานั้น จะต้องรู้ว่าต�ำบลนั้นๆ เป็นอย่างไร ดังนั้นต�ำบลแม่ข่ายจะต้องส่ง ข้อมูลไปให้แก่ผู้ที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก่อนมา ซึ่งทางต�ำบลแม่ข่ายเองก็ต้องเตรียมการ ให้พร้อมเพื่อต้อนรับผู้ที่เข้ามาขอแลกเปลี่ยนความรู้ โดยต�ำบลแม่ข่ายจะใช้พื้นที่จริงเป็นตัวกระตุ้นในการเรียนรู้ร่วมกัน เพราะฉะนั้นสิ่งส�ำคัญคือ แม่ข่ายจะต้องคุยกันให้ชัดเจนก่อนที่เพื่อนจะมา ว่าเรามีหน้าที่สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน เราไม่ได้ จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เฉยๆ เรียนรู้ร่วมกันหมายความว่า เพื่อนเครือข่ายก็ต้องมีการเตรียม การ ชาวบ้านทุกคนคือฟันเฟืองที่ส�ำคัญต่อกระบวนการ ซึ่งพึงอย่าเพิกเฉยต่อพวกเขา เพราะการ ลงนาม MOU มิใช่การกระท�ำที่ส่งผลต่อคนเพียงบางกลุ่ม หากแต่เป็นทุกคนที่อยู่ร่วมกันใน ชุมชน การได้เห็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้มา เยือนคือสิ่งที่ชุมชนแม่ข่ายควรตระหนักรู้ และเห็นเป็นความส�ำคัญต่อกระบวนการสร้างการ เรียนรู้ร่วมกัน ค�ำถามที่ต้องน�ำไปขบคิดคือ จะท�ำอย่างไรให้ผู้มาเยือนรู้สึกอบอุ่น หรือรู้สึกว่าต�ำบลนี้น่าอยู่ กว่า เมื่อเทียบกับต�ำบลที่ตนพักพิง ให้เขาตั้งค�ำถามว่า ท�ำไมที่บา้ นเราไม่มี พราะแรงบันดาลใจ คือสิ่งส�ำคัญ เป็นพลังผลักดันให้เกิดสิ่งดี โดยสิ่งที่แม่ข่ายต้องยึดถือเป็นเป้าหมายอีกอย่างในการดึงชุมชนอื่นเข้ามาเรียนรู้ร่วมกัน คือ การดึงสิ่งใหม่ๆ ออกมาจากกระบวนการ ซึ่งความคิดใหม่คือดอกผลที่การันตีกระบวนการที่ เรียกว่าการเรียนรู้ นอกจากนี้ แม่ข่ายจะต้องรู้ถึงจ�ำนวนแกนน�ำ ตลอดจนทักษะศักยภาพที่มีอยู่ของพวกเขา เพราะเมื่อมีเพื่อนมาเรียนรู้แล้ว4-5 รุ่น ก็จ�ำเป็นต้องมาสรุปกันครั้งหนึ่ง ว่าแกนน�ำคนนั้นๆ มี ความเข้าใจเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ตลอดจนสังเกตการณ์ถึงแรงบันดาลใจในตัวพวกเขา เพราะถ้าไม่ได้สิ่งเหล่านี้มา นั่นบ่งบอกถึงการเป็นแม่ข่ายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ต้องกลับมา ทบทวนตนเองใหม่ และพยายามผลักดันตัวเองขึ้นมา ผ่านการเตีรยมตัวและการท�ำงานที่หนัก ขึ้น เพราะการท�ำหน้าที่เป็นผู้สร้างการเรียนรู้ร่วมกันนั้นต้องมีความพร้อม เพื่อว่าจะผลักดัน ชุมชนที่เป็นลูกข่ายไปด้วยกัน ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3)


สารบัญ

“ควนรู” ต้นแบบ “การเมืองสมานฉันท์” 6

กูเ้ พื่อปลดหนี้ มีอยูท่ ี่บา้ นซ่อง 8

ฟ้าใหม่ ในวันที่ไร้สารพิษ 10

ระบบสุขภาพชุมชน เพื่อคนบ้านหม้อ 12

เพราะมีป่า จึงมีนำ�้ ให้ชวี ิตได้สืบต่อ 14

‘กีรออาตี’ ในรัว้ ‘ตัรบียะห์’ เพื่อลูกหลาน16

ความรูท้ ี่ไม่ใช่แค่จินตนาการ 18

ขนมดอกจอก เส้นทางของความสามัคคี 20

22

ผ้าไหมพื้นบ้าน 24


บทบรรณาธิการ เล่มนี้อออกมาในช่วงเดือนสงกรานต์พอดิบพอดี ทั้งยังเป็นวาระ ครบ 12 เล่มของวารสารปันสุข ก็ขอใช้โอกาสนี้ สวัสดีปีใหม่แก่ผู้อ่าน ทุกท่าน คิดหวังสิ่งใด ขอให้ส�ำเร็จดังใจหวังทุกประการด้วย เข้าสู่เดือนนี้ อากาศย่อมต้องร้อนเป็นเรื่องธรรมดา ร้อนต่อเนื่องมา จากเดือนมีนาคม แต่เหนืออื่นใด คงต้องยอมรับว่า การเมืองไทยอาจ จะร้อนยิ่งกว่า ซ�้ำยังพาให้คนไทยร้อนรุ่มไปเป็นกลุ่มๆ จากหลายๆ ประเด็นการตอบโต้ และยังรวมถึงสถานการณ์ภาคใต้ที่ยังไม่มีวี่แวว การคลี่คลาย ก็ได้แต่หวังว่า เริ่มปีใหม่ไทย อะไรๆ จะเข้าที่เข้าทาง ดูดี มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ในฉบับเดือนนี้ ก็ยังมีเรื่องราวต่างๆ อยู่ครบถ้วน เหมือนดังเช่นที่ เคยน�ำเสนอมา อาจต้องขออภัยล่วงหน้า ถ้าจะต้องบอกว่า วารสารปัน สุขจะเป็นแบบนี้ไปอีกสักระยะ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง จึงได้แต่ ขอให้ผู้อ่านอย่ารีบเบื่อไป ทางทีมงานก�ำลังผลักดันทุกทางที่เป็นไปได้ เพื่อที่จะพัฒนาวารสารปันสุขให้ดียิ่งขึ้นไปกว่าเดิม แม้จะไม่รู้วา่ ผลตอบรับจะเป็นเช่นไร แต่ขณะนี้ทางทีมงานได้พัฒนา บล็อกให้กับชาวชุมชนเครือข่ายสุขภาวะได้ใช้ เพื่อเป็นเวทีหนึ่งในการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งคงพร้อมเปิดให้บริการหลังสงกรานต์นี้ โดยทาง ทีมงานพยายามท�ำทุกอย่างให้ง่ายที่สุด เพื่อจะไม่เป็นปัญหาต่อผู้ใช้

บรรณาธิการ

ปันสุข


การบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม

“ควนรู” ต้นแบบ “การเมืองสมานฉันท์” ค�ำว่าการเมือง ปฏิเสธได้ยากที่จะไม่ให้เกิดความรุนแรงและการแตกร้าวในสังคมขึ้น จากคนที่เข้าใจ รักใคร่กันดี พอมีอ�ำนาจเข้ามาสิงสู่ก็พลันเปลี่ยนจากเพื่อนรักกลายเป็นศัตรูได้ไม่ยาก หลายคนตอนไม่มี ต�ำแหน่งนั้นดีแสนดี พอทันทีได้รับต�ำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์ขึ้นมากลับกลายจากหน้ามือเป็นหลังมือ ไป… ความรุนแรงของการเมืองได้ขยายวงกว้างออกไปสร้างความแตกร้าวไม่เว้นแม้ในชุมชนอย่าง ควนรู ก็ เป็นอีกหนึ่งต�ำบลที่แต่ก่อนเคยเป็นเพียงต�ำบลเล็กๆ อยู่ในอ�ำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นชุมชนมีการ ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ดังที่บอกเล่าของ ลั่น แก้วรัตน์ และ ชิต ปานแก้ว ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในต�ำบลแต่ ดั้งเดิม เล่าว่า “ชาวควนรูอยู่กันอย่างมีความสุข มีอะไรก็ช่วยเหลือกันและกัน มีอะไรก็จะแบ่งปันกัน สร้างบ้านปลูกเรือนช่วยกัน ทุกคนมีความสุขตามวิถีชีวิตแบบชุมชน” พอมีเวลาว่างหลังจากท�ำนาหรือกรีดยางเสร็จ ก็จะเข้าวัดท�ำบุญตามประเพณี พระ ครู ก�ำนัน และ ผู้ใหญ่บ้านก็เป็นที่เคารพของคนในชุมชน และมีการปลูกฝังวัฒนธรรมผู้น้อยเคารพผู้ใหญ่ ด้านการเมือง



ปันสุข


มีการดูแลกัน โดยผู้น�ำธรรมชาติ คนเฒ่าคนแก่ หมอพื้นบ้าน การ เลือกผู้น�ำก็เป็นแบบง่ายๆ โดยเปิดเผย คือใช้การยกมือ ส่วนมาก เป็นบุคคลที่ชาวบ้านยอมรับ เมื่อกระแสสังคมทุนนิยมที่เข้ามาพร้อมกับวัฒนธรรมบริโภค ใน ปี 2517-2543 ท�ำให้วิถีชีวิตคนควนรูเปลี่ยนไป ความเอื้อ อาทร ความรัก ความสามัคคี การรวมตัวกัน การช่วยเหลือกัน การไปวัดฟังเทศน์ฟังธรรมน้อยลง แม้กระทั่งการเลือกตั้งผู้น�ำ ซึ่งท�ำให้เกิดความแตกแยกในหมู่ คณะ ญาติพี่น้อง บางรายโกรธกัน ไม่มองหน้ากัน เพราะต้องการ ชัยชนะ แพ้ไม่ได้ ดังที่ ลั่น แก้วรัตน์ กล่าวว่า “พูดถึงการเมืองแล้ว เบื่อ ไม่ต้องการเห็นภาพการเมืองเป็นแบบนี้” เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ธีรวิชญ์ จันทกูล ที่เล่าว่า ตอนนั้นผู้สมัคร ที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โกรธมาก ถึงขั้นบอกจะไม่เผาผีกันเลย เพราะคิดว่าเป็นพี่น้องกันแต่ไม่ช่วยกันเลือก ไม่ว่าการเลือกตั้ง

ระดับไหน ทั้งผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. ก็มีการแย่งชิง หาเสียง เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ ท�ำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่าง รุนแรง แบ่งพรรค แบ่งพวก ไปถึงในครัวเรือน สร้างความแตกแยก ที่ร้าวลึก ดังนั้น การเปิดพื้นที่ทางความคิด เปิดโอกาสให้คนควนรูมา นั่งพูดคุย ปรึกษาหารือกันเพื่อประโยชน์สุขของคนควนรู บนฐาน ความคิดการท�ำงานแบบเดิน 3 ขา ประกอบด้วย ท้องที่ (ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน),ท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนต�ำบล ) และองค์กร ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน ที่มีทั้งครู พระสงฆ์ ผู้น�ำชุมชน กลุ่มต่างๆ หรือชาวบ้านที่มีจิตส�ำนึกรักถิ่นฐานบ้านเกิด เยาวชน สตรี ข้าราชการ ร่วมกันเปิดโอกาสให้ทุกคนทุกหน่วยงานที่สนใจ เข้ า ร่ ว ม แลกเปลี่ ย นความคิ ด เห็ น จึ ง เป็ น ที่ ม าของการเมื อ ง สมานฉันท์ การเมืองปรองดองของชุมชน จากวงพูดคุยของผู้น�ำตามธรรมชาติ และระดับชุมชน มีการ ยกระดับมาเป็นเวทีระดับต�ำบล จนกระบวนการดังกล่าวกลาย เป็นการคัดกรองผู้น�ำที่พร้อมท�ำงานร่วมกับชุมชนในเวลาต่อมา ดังองค์ประกอบของผู้น�ำที่ว่า ต้องมีความพร้อม มีความตั้งใจ มี ความเสี ย สละ มี ก ารท� ำ งานร่ ว มกั บ ชุ ม ชน รั ก ษาประเพณี วัฒนธรรม กล้าคิด กล้าพูด กล้าท�ำในเรื่องที่ถูกต้อง มีวิสัยทัศน์ หากคนไหนลงสมัครต้องมีคุณสมบัติตามที่ได้กล่าวนี้ หากยังไม่มี ความพร้อมก็ต้องรอไปก่อน เพื่อเปิดโอกาสให้คนที่พร้อมได้เข้า มาท�ำงาน จนกลายเป็นวัฒนธรรมการเมืองที่เข้าใจกันทั้งต�ำบล ความแตกแยกและรอยร้าวต่างๆ จึงถูกประสานเข้าด้วยความ เข้าใจกัน ไม่โกรธกัน จากวันนั้น จนถึงวันนี้บทเรียนของคนควนรู กลายเป็นความรู้ ให้พี่น้องผู้สนใจได้เข้ามาศึกษาอย่างไม่ขาดสาย ถือเป็นแหล่ง รวมเรื่ อ งราวการสร้ า งสุ ข ภาวะของชุ ม ชนควนรู โดยส� ำ นั ก สนับสนุนสุขภาวะชุมชน ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ และเป็น 23 เกลอที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับต�ำบล ต่างๆ อีกด้วย แม้ว่าการเมืองสมานฉันท์จะเกิดแล้วที่ควนรู แต่คนควนรูก็ยัง ไม่สามารถมีสุขได้อย่างแท้จริง ตราบใดที่เพื่อนเกลอ และคนใน ประเทศยังไม่มีความสุขร่วมกัน หากเพราะทุกคนยืนอยู่บนผืน แผ่นดิน และสังคมเดียวกัน

ปันสุข


การจัดการสวัสดิการสังคมโดยชุมชน

กู้เพือ่ ปลดหนี้ มีอยู่ทบี่ า้ นซ่ อง สหกรณ์ออมทรัพย์ของชาวบ้านซ่องสวยที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ไม่มีพื้นหินอ่อน ไม่มีเสาโรมัน หรือประตูอัลลอยด์ มีเพียงท้องนา เสียงนกนานาพันธุ์เป็นประชาสัมพันธ์ให้ มหันศักดิ์ ศรีสมบัติ ชายกลางคน ผิวกร้านแดด ซึ่งเป็นหัวแรง หลักเล่าให้ฟังว่า แรกเริ่มพวกเขารวมกลุ่มกันท�ำกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิตในปี 2528 เนื่องจากมีการประกวดหมู่บ้าน ถ้าไม่ท�ำ จะไม่เข้าเกณฑ์ประกวด มีการบริหารโดยรับเงินฝากจากสมาชิก อย่างเดียว ถึงปีมีปันผลให้สมาชิก “เงินมันก็ไม่โตสักที ต่อมาปี 2541 เศรษฐกิจไม่ดี ดอกเบี้ย ธนาคารไม่ดี ปันผลให้สมาชิกไม่คุ้มค่า สมาชิกก็ถอนปิดบัญชีจน เหลือแค่ 50 คน เหลือพวกคณะกรรมการทั้งนั้น ปี 2543 ผมไป เจอผู้จัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเพื่อนครูของฉะเชิงเทรา ซึ่งเคย เป็นครูสอนผมอยู่ เขารู้ว่า เรามีกลุ่ม เลยชักชวนให้เข้าไปเป็นกลุ่ม สมทบกับเขา เพราะลักษณะมันคล้ายกัน แต่การให้สวัสดิการ กลุ่มเครดิตดีกว่า การบริหารจัดการคล่องตัวกว่า เรามานั่งคุยกับ 

ปันสุข

สมาชิก ถ้าเราไปอยู่กับเครดิตยูเนี่ยนมันดีกว่า มีการ คุ้มครองหนี้ คุ้มครองหุ้น คุ้มครองเมื่อเราเสียชีวิต หนี้ก็ไม่ต้องใช้ ได้อีกเท่าตัว จากหุ้นเราจึงเปลี่ยนจากกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิต มาเป็น กลุ่มเครดิตยูเนี่ยน ก็ประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกเก่าๆ กลับมาช่วย กัน ดูว่าพร้อมหรือยัง เมื่อพร้อมแล้วจึงตั้งเป็นกลุ่มสมทบของ ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทยจ�ำกัด เมื่อป 2546 สมาชิกเริ่มเข้ามาเรื่อยๆ จนเดี๋ยวนี้มี 700 คน” มหันศักดิ์เล่า พอมีการฝากเงินจากสมาชิก ก็ปล่อยเงินดังกล่าวให้กู้ แล้วคิด ดอกเบี้ยเพื่อความงอกเงย สมาชิกก็ได้เงินไปลงทุนปลูกบ้าน ดูแล เรื่องหนี้นอกระบบ เอาไปปลดหนี้ ทางกลุ่มยังมีจัดสวัสดิการ เมื่อ เสียชีวิตให้ 2,000 บาท ถ้า 7 ปี ขึ้นไปให้ 5,000 บาท แต่งงาน ให้ 1,000 บาท บวชให้ 1,000 บาท เกิดให้ 1,000 บาท เรียกว่า เป็น ขวัญเป็นก�ำลังใจให้กันและกัน เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2555จึงมา จัดตั้งเป็นสหกรณ์ เมื่อเป็นแล้วความเชื่อถือ ความเข้มแข็งจะมาก ขึ้น สหกรณ์จังหวัดเองก็จะมาช่วยดูแลเรื่องการเงินการบัญชีให้


เกิดความโปร่งใสเป็นธรรม ถามถึงกฎเกณฑ์การตั้งเป็นสหกรณ์ มหันศักดิ์ อธิบายว่า จัด ตั้งต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 100 คน ซึ่งทางบ้านซ่องจัดไป 143 คน ครั้นพอเป็นนิติบุคคลแล้ว สมาชิกจะเกิดความรู้สึกมั่นคงกว่า “สมาชิกใหม่ต้องเข้าอบรม 1 วัน เพื่อให้รู้แนวทางปฏิบัติ หุ้น เราตั้งไว้หุ้นละ 10 บาท 1 คน ต้องไม่ต�่ำกว่า 10 หุ้น ถ้ามากหุ้น การคุ้มครองมันก็เยอะขึ้น อายุแรกเกิดถึง 55 ปี คุ้มครอง 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเงินฝากมีฝากพิเศษกับฝากสามัญ ฝากสามัญ เบิกถอนได้ตามปกติเหมือนธนาคาร เงินปันผลร้อยละ 4 ฝาก พิเศษ เราก�ำหนดไว้ว่า ต้องฝาก 10,000 บาท และต้องครบ 1 ปี ถึงจะถอนได้ ให้เงินปันผลร้อยละ 5 ส่วนหุ้นร้อยละ 6 เงินกู้เก็บ ร้อยละ 12 แต่ถ้าส่งดีไม่บิดพลิ้ว ไม่ผิดเวลา ถึงสิ้นปีมีเฉลี่ยคืน ดอกเบี้ยให้ร้อยละ 6” มหันศักดิ์เล่า ส่วนหลักการกู้ ต้องเข้าเป็นสมาชิกผ่าน 6 เดือนไปแล้ว จึงกู้ ได้ 2 เท่าของทุนเงินหุ้น พอ 1 ปี 3 เท่า พอ 5 ปี ได้ 5 เท่า 6 ปี กู้

ได้ 6 เท่า แต่ไม่เกิน 150,000 บาท ใช้คนค�้ำประกัน 2 คน เป็น สมาชิกด้วยกัน ถ้ากู้ 5 แสน 6 แสน ก็ต้องใช้หลักทรัพย์ เรียกว่า กู้ พิเศษ ได้แก่ บ้าน ที่ดิน โดยตอนนี้ กลุ่มไถ่ถอนหนี้นอกระบบให้ สมาชิกไปเยอะ บ้านที่จะโดนยึด ก็ได้กลุ่มช่วยเอาไว้ “ถ้ากู้แล้วไม่มีเงินใช้คืน คนค�้ำก็ต้องรับผิดชอบ แต่ตอนนี้ยัง ไม่ปรากฏว่า คนค�้ำรับผิดชอบไม่ได้ ส่วนใหญ่แล้ว มีกรณีผิดเวลา บ้าง การกู้ท�ำให้เกิดหนี้ก็จริง แต่ถา้ กู้ไปแล้ว ท�ำประโยชน์ เงินมัน ก็หมุนกลับมา เราเน้นว่า เงินมันเหมือนมีชีวิต ถ้าใช้ไม่ถูก มันก็ไม่ อยู่กับเรา” มหันศักดิ์อธิบาย กรณีไม่ใช้คืน ยังไม่มี มีอยู่รายเดียว เป็นเงินไม่มาก 5,000 บาท ซึ่งคนค�้ำรับผิดชอบใช้แทน สิ้นปีเราก็ซื้อของขวัญไปให้คน ค�้ำเป็นก�ำลังใจให้ ส�ำหรับสมาชิกที่รับผิดชอบดี เมื่อที่ประชุม ใหญ่สหกรณ์เห็น ก็รู้สึกว่า เราท�ำให้สมาชิกมีความอยู่ดีกินดี มีสุข ปากต่อปาก ก็มีสมัครเข้ามาใหม่เรื่อยๆ โดยสมาชิกเงินกู้เป็นอันรู้กันว่า ทุกวันเสาร์แรกของเดือน ทุก คนต้องมาส่งพร้อมกัน ถ้าไม่มา ผิด 1 เดือน ตัด 50 บาท ภายใน เดือนไม่เป็นไร เรามีกรรมการติดตาม คอยตรวจสอบด้วยว่า กู้ไป ท�ำอย่างที่บอกไว้จริงไหม ถ้าไม่ท�ำ คราวหลังก็พิจารณายากขึ้น ผู ้ ที่ ม ากู ้ ก็ ห ลายอาชี พ ไม่ ใ ช่ แ ค่ เ กษตรกร แต่ ห ลั ก ๆ คื อ การเกษตร ตอนนี้ทางกลุ่มวางโครงการท�ำส�ำนักงานไว้ด้วย “ที่ดินที่บอกว่าซื้อไว้ท�ำส�ำนักงานจะมีการจัดสรรให้สมาชิก ซึ่งไม่มีที่อยู่ให้ล็อคละ 50 ตารางวา เพื่อให้คนมีรายได้น้อยปลูก บ้าน เงินทั้งหมดก็ของกลุ่ม ส่วนที่เหลือกู้ชุมนุมใหญ่มา ที่ปลดหนี้ นอกระบบให้เขา บางทีก็ต้องท�ำแบบนี้ ร้อยละ 5 เราก็มาปล่อย ร้อยละ 12 ใช้ส่วนต่างเอา ตอนนี้ปลดไป 30 คน แล้ว คนที่เป็น หนี้ธนาคารบางที ก็ถอนมาเป็นหนี้เราแทน เพราะมีประกันความ เสี่ยงให้ ถ้าเสียชีวิตลูกหลานก็ไม่ต้องใช้ต่อ มีโฉนดมีอะไรมาค�้ำไว้ เราก็คืนแบบสามัญ ไม่มีโฉนดก็ตัดไปเลย ทางชุมนุมใช้แทน” มหันศักดิ์เล่า ส่วนเรื่องการบริหารกรรมการ นับเป็นเรื่องส�ำคัญ เจ้าหน้าที่ เป็นปัจจัย ซึ่งก็คือเรื่องของการทุจริต เป็นทุกกิจการ ไม่ว่า ห้าง ร้านอะไร ถ้าคิดไม่ดี มันก็ล้มหมด เป็นญาติเป็นพี่น้องมา กู้ต้อง ได้ก่อน ไม่ใช่ต้องพิจารณาอย่างเป็นธรรม ดูพฤติกรรมคน มี ประธาน มีคณะกรรมการ เลขามานั่งพิจารณากันให้ครบ มากู้นี่ ท�ำมาหากินไหม ส่วนใหญ่ได้ทั้งนั้น มันไม่เหมือนธนาคารทั่วไป นี่ คือการกลั่นกรองของเรา ว่ากู้ไปแล้วจะใช้คืนเราได้ มันยากที่จะ ล่ม เพราะมีการตรวจสอบ ช่วยกันดูแล

ปันสุข


เกษตรกรรมยั่งยืน

ฟ้ าใหม่ ในวันที่ไร้สารพิษ

หากย้อนเวลาไปเมื่อ 40 ปีที่แล้ว คงเป็นเรื่องตลก หากมีใคร คิดตั้งกลุ่มผักปลอดสารพิษขึ้น และคงตลกยิ่งขึ้นไปอีกหากมีใคร สักคนเอามุ้งไปกางให้ผัก เพราะคนเมื่อก่อนใช้ปุ๋ยคอก ยาฆ่า หญ้าฆ่าแมลงไม่มีใครรู้จัก ความรู้เรื่องการเลือกซื้อ หรือการล้าง สารพิษออกจากผักไม่มีความจ�ำเป็น คนปลูกผักจะไม่แยกแปลง ผักที่ปลูกไว้กินเองกับผักที่ปลูกขายเหมือนในสมัยนี้ แต่ที่บ้านฟ้า ใหม่ ต�ำบลผาสิงห์ อ�ำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน แปลงผักของ ชาวสวนผักที่นี่ยังเหมือนเมื่อ 40 ปีที่แล้ว “ถ้าลูกร้องไห้งอแง ขู่ไปว่าถ้าร้องไห้อีกจะแกงผักกาดให้กินนะ เท่านั้นแหละเงียบเลย” พ่อสวัสดิ์ สมศักดิ์ หรือพ่ออุ้ยหวัด เล่าถึง อาชีพชาวสวนผักที่ท�ำมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ด้วยมุขตลกขบขันที่ใช้ เย้ากันเล่น มองลอดรั้วหลังบ้านเห็นแปลงผักยาวสุดขอบรั้ว บางแปลงผลิ  ปันปัสุนขสุข

ใบสีเขียวให้เห็น พ่ออุ้ยหวัดบอกว่าลูกๆ ที่กลัวแกงผักกาด แต่ละ คนร�่ำเรียนจนจบได้งานได้การท�ำก็เพราะผักพวกนี้ทั้งนั้น ชาว บ้านฟ้าใหม่และบ้านสวนหอมส่วนใหญ่มีอาชีพปลูกผักขาย เดิม เป็นหมู่บ้านสวนหอมด้วยกันทั้งหมด เพิ่งมาแยกเป็นบ้านฟ้าใหม่ หมู่ 9 ในปี 2547 วิถีชีวิตของคนทั้งสองหมู่บา้ นจึงไม่ตา่ งกัน “น่าจะสักประมาณปี 20 – 21 ตอนนั้นไฟฟ้ายังไม่เข้า ตอน เย็นเสียงเครื่องสูบน�้ำที่ใช้น�้ำมันจะดังกระหึ่มไปทั้งหมู่บา้ น ยังกับ ฮอลิปคอปเตอร์ลงทั้งฝูง ฝุ่นละอองยาฆ่าแมลงที่แต่ละบ้านพ่น แปลงผักจะปลิวคลุ้งไปทั่ว เหม็นจนมึนหัว ตอนเย็นไม่ค่อยมี ใครจะอยากเข้ามาบ้านนี้หรอก” พ่ออุ้ยหวัดเล่า เมื่อใช้ยาฆ่าแมลงมาก แมลงศัตรูพืชก็ยิ่งดื้อยา ชาวสวนต้อง เพิ่มยาให้หนักขึ้น พิษร้ายแรงขึ้น ดินเสื่อมคุณภาพตามไปด้วย และไม่ใช่แค่ดินที่เสื่อม สุขภาพร่างกายผู้ปลูกและชาวบ้านใน


หมู่บ้านล้วนแต่มีสารพิษสะสม ในช่วงปี 2539 สาธารณสุข จังหวัดได้เข้ามาตรวจวัดสารเคมีในร่างกาย พบว่าสวนใหญ่มี สารพิษตกค้างในร่างกายเกินกว่ามาตรฐานก�ำหนด ชาวบ้านเริ่ม ตระหนั ก ถึ ง พิ ษ ภั ย จากสารเคมี ที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ตนเองและคนใน หมู่บ้าน ทั้งยังส่งต่อไปถึงผู้บริโภคอีกไม่น้อย จึงรวมกลุ่มกัน ทดลองปลูกผักปลอดสารพิษตามโครงการของกระทรวงเกษตร “เมื่ อ ก่ อ นตี ส าม ตี สี่ ข นผั ก ออกบ้ า นไปละ แม่ ค ้ า เวี ย งสา แม่จริม เมืองสวด มาขนกันไป เหลืออยู่นิดหน่อยไม่ทันเช้าก็หมด เดี๋ยวนี้ไม่ต้องไปกาดเช้า คนซื้อเขาจะมารับถึงบ้าน” พ่ออุ้ยหวัด เล่า แต่หากสภาพทางภูมิศาสตร์ของหมู่บ้านไม่มีสิ่งใดบ่งบอกเลย ว่า หมู่บ้านนี้ปลูกผัก เพราะหลังคาชนกันไปหมด บางบ้านเป็น หอพัก บ้านเช่า ชายทุ่งบ้านสวนหอมมีทั้งผับและร้านเหล้าเรียง

รายไปตลอดแนว จะเป็นแบบบ้านนอกก็ไม่ใช่ในเมืองก็ไม่เชิง พ่ออุ้ยหวัดเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้านว่า เมื่อก่อน บ้านกว้าง แต่ละบ้านตั้งอยู่ห่างกัน 20 ปีมานี้หลังคาบ้านชนกัน หมด คนปลูกผักก็ลดจ�ำนวนลง บ้างเกษียรตัวเองตามอายุ เดิมมี กันอยู่ 15 หลัง ตอนนี้เหลืออยู่ 10 หลัง มีกองทุนของกลุ่ม ท�ำปุ๋ย ท�ำน�้ำยาฆ่าแมลงก็มาท�ำร่วมกันที่นี่ พ่ออุ้ยหวัดชี้ถังน�้ำหมักที่ท�ำกันเมื่อหลายเดือนก่อนให้ดู ในปี 2542 ทางกลุ ่ ม ได้ ไ ปเรี ย นรู ้ ก ารปลู ก ผั ก กางมุ ้ ง ที่ อ� ำ เภอแม่ ริ ม จ.เชียงใหม่ จากการสนับสนุนของกรมวิชาการเกษตร จากนั้นจึง ทดลองปลูกผักกางมุ้ง ติดไฟล่อแมลง เข้าร่วมโครงการอยู่ดีมี สุข(ร่วมกับบ้านสวนหอม) หลังจากแยกเป็นหมู่บ้านฟ้าใหม่ หมู่ 9 ทางกลุ่มได้เข้าร่วมโครงหารกองทุนSML ในปี 2551 ได้รับงบ ประมาณ 40,000 บาท มาท�ำน�้ำหมักชีวภาพ น�้ำยาฆ่าแมลง และปุ๋ยหมัก แบ่งปันกันในกลุ่ม มีเกษตรต�ำบลผาสิงห์คอยให้ค�ำ แนะน�ำ “ตอนเป็นบ้านสวนหอมก็ลองท�ำยาฆ่าแมลงกัน ใช้กระเทียม พริก เหล้าขาว ใบสะเดา ใบข่า หญ้าสาบเสือ และหญ้าหนอน ตาย เป็นครั้งแรกที่ใช้ กลัวหนอนแมลงไม่ตาย เคยใช้แต่ยาฆ่า แมลงที่เป็นสารเคมี ยังไม่แน่ใจว่าจะได้ผล พ่นไปเยอะมาก ตาย ไปหมดเลยทั้งหนอน แมลง ผัก” พ่ออุ้ยหวัดเล่ากลั้วเสียงหัวเราะ ยังมีอีกหนึ่งประสบการณ์ที่กลุ่มเกษตรปลอดสารบ้านฟ้าใหม่ – บ้านสวนหอมจ�ำได้ดีคือ ข่าวลือที่ว่า คนที่นี่ดูดส้วมมาพ่นผัก เพราะผั ก ที่ ป ลู ก ทั้ ง ต้ น ใหญ่ ใบกว้ า ง ก้ า นอวบ ต้ อ งใช้ ปุ ๋ ย ที่ คุณภาพสุดยอดเท่านั้น ทางกลุ่มจึงแถลงแจ้งข่าวไปว่า ที่ผักงาม ขนาดนี้ เพราะน�้ำหมักหอยเชอรี่ ไม่ใช่ของดีจากส้วม “เกษตรจังหวัดส่งเครื่องโม่มาให้ หอยเชอรี่มีเยอะช่วยกันเก็บ ช่วยกันขนใส่รถ ทั้งโม่ ทั้งหมักต้องช่วยกันท�ำหลายคน ครบ ก�ำหนดก็แจกจ่ายให้สมาชิกเอาไปรดผัก จนเป็นเหตุให้มีข่าวลือนี่ แหละ” พ่ออุ้ยหวัดเล่าพร้อมรอยยิ้ม ที่กลุ่มผักปลอดสารพิษ บ้านฟ้าใหม่ หมู่ที่ 3 พ่ออุ้ยหวัดบอก ว่ากลุ่มฯอยากทดลองท�ำเกษตรปลอดสารครบวงจร ที่นี่เลยมีทั้ง สวนผัก โรงเลี้ยงไก่ และโรงเพาะเห็ด หลายคนก�ำลังผสมขี้เลื่อย ท�ำก้อนเชื้อเห็ดกันอยู่พอดี สืบถามจนได้ความว่า เห็ดที่ท�ำกันอยู่ นี้ ก็ไปฝึกวิชามาจากบ้านพี่สุชาติ เป็นการถ่ายทอดความรู้ที่เห็น ผลทันตา ไม่ต้องใช้เวลาจิตนาการอย่างที่พี่เขาว่าจริงๆ

ปันสุข




การดูแลสุขภาพชุมชน

ระบบสุขภาพชุมชน เพือ่ คนบ้านหม้อ ในเขตต�ำบลบ้านหม้อ อ�ำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี มีโรงพยาบาล 2 แห่ง เอกชนกับรัฐอย่างละ 1 แห่ง ต่อเมื่อข้ามไปยังอ�ำเภอเมือง สถานพยาบาลมีให้เลือกหลายระดับหลายราคา แต่หนึ่งในแผน ระบบจัดการสุขภาวะชุมชนโดยชุมชน ของต�ำบลบ้านหม้อมี ‘ระบบสุขภาพชุมชน’ รวมอยู่ด้วย โดยมี แนวคิดการเชื่อมโยงการบูรณาการจัดหาบริการสุขภาพแบบมีส่วนร่วม โดยสถานีอนามัย และอบต. บ้านหม้อ ร่วมกันปรับภารกิจถ่ายโอนสถานีอนามัย การจัดหาบริการสุขภาพแก่ประชาชนในต�ำบล ให้ เข้าถึงบริการ ด้วยกองทุนฯ ของต�ำบล และการหนุนเสริมของอสม. ในการหาการบูรณาการของงาน

 ปันปัสุนขสุข


ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ไปยังประชาชนกลุ่มต่างๆ ในต�ำบล นายกฯ หมี หรือนายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ นายกองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลบ้านหม้อ กล่าวว่า “โจทย์ใหญ่ของเรา คือคนคิดว่า อนามัยหรือจะสู้ โรงพยาบาลเอกชนได้ เราจึงคิดว่า งานอะไรที่ โรงพยาบาลแข็งแรงอยู่แล้ว เราจะไม่ท�ำ แต่จะเลือกท�ำในสิ่งที่ เป็นช่องว่างของชุมชน” ช่องว่างของนายกฯ หมี คือ โปรแกรมตรวจสุขภาพ โดยตั้งแต่ ปี 2542 อบต.บ้านหม้อ จัดโครงการตรวจสุขภาพชุมชน เลือก 3 โรคพื้ น ฐานที่ ช าวบ้ า นอยากรู ้ และควรรู ้ เช่ น ตรวจหาค่ า คอเรสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และเบาหวาน มอบหมายให้สถานี อนามัย ด�ำเนินการสนับสนุนงบประมาณ โดย อบต. “เราเชื่อว่า ทุกคนไม่สามารถเข้าสู่ระบบบริการของรัฐได้ทั่วถึง อย่างบัตรทองก็ไม่มีบริการตรวจหามะเร็ง ที่ผู้หญิงเป็นกันเยอะๆ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม หรือมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย กับการตรวจค่าการท�ำงานของตับ ที่ต้องตรวจ เพราะคน เมืองกิน ไม่เลือก” นายกฯ หมีเล่า

จากเดิม คนเดินเข้าสถานีอนามัยไม่ถึง 50 คนต่อเดือน แต่ หลังมีบริการตรวจสุขภาพ ปัจจุบัน เดือนๆ หนึ่งมีคนรักสุขภาพ และผู้ป่วยมาใช้บริการสถานีอนามัยไม่ต�่ำกว่า 1,000 คน ใน อนาคตนายกฯ หมี ก็เตรียมเพิ่มโปรแกรมตรวจอีก 6 โรคเรื้อรัง อาทิหลอดเลือด เบาหวาน ความดัน ฯลฯ ทั้งนี้ จะเห็นว่า บริการตรวจสุขภาพของ อบต.บ้านหม้อ ไม่ใช่ แค่รอให้คนเดินเข้ามา แต่ยังรุกไปถึงหน้าบ้าน คล้ายๆ โครงการ 1 เย็น 1 ซอย ด้วย โดยทุกๆ 1-2 เดือนแรกของปี จะมีทีมแพทย์ออก หน่วยตรวจร่างกาย ทุกเสาร์-อาทิตย์ “ตามหัวไร่ปลายนา เราไปหมด เพราะคนที่อยู่กับบ้าน ไม่ได้ ท�ำงานอะไร หรือเป็นเกษตรกร นอกจากบัตรทองแล้ว จะไม่มี สิทธิการรักษาอะไรเลย เราก็ไปตรวจให้ แล้วก็ชักชวนให้เขามา ตรวจต่อเนื่องที่สถานีอนามัย” นายกฯ หมีสรุป นี่คือช่องว่างทางสุขภาพที่กลายมาเป็นอีกหนึ่งภารกิจเด่น ของอบต.บ้านหม้อ

ปันสุข




จัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

เพราะมีป่า จึงมีน�้ำ ให้ชีวิตได้สืบต่อ จากถนนสายหลักในต�ำบลวังใหม่ อ�ำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ที่ตัดผ่านหมู่บ้านต่างๆ ทั้ง 10 หมู่บ้าน จะมองเห็นแนว เทือกเขาทลายซึ่งทอดขนานไปกับถนนตลอดทั้งเส้น จนไปจรดกับถนนสุขุมวิท ปาก ทางเข้าสู่ต�ำบลวังใหม่ก่อน ถึงแยกหนองสีงา ปัจจุบัน อดีตผู้ใหญ่สมคิด ศิลปเวช เป็นแกนน�ำกลุ่มอนุรักษ์ปา่ ชุมชนเขาทลาย ที่มองเห็นเขียวขจีแบบนั้น ใครจะเชื่อว่าครั้งหนึ่งโล้นเลี่ยนไม่งดงาม โดยอดีตผู้ใหญ่สมคิดเล่าให้ฟังว่า แกนน�ำส�ำคัญที่มีส่วนในการผลักดันให้เกิดการอนุรักษ์ป่าเขาทลายขึ้น ก็คือ หลวงพ่อใช่ สุชีโวหรือพระครูวิสุทธฺสังวร “เริ่มจากหลวงพ่อใช่นั่นแหละ เป็นคนชวนบอกผู้ใหญ่ต้องท�ำอะไรสักอย่างแล้วนะ ป่ามันจะไม่เหลือแล้ว พระเดือดร้อน ชาวบ้านก็เดือดร้อน” อดีตผู้ใหญ่สมคิดเล่า จุดเริ่มแรกของกลุ่มอนุรักษ์ป่าไม้ชุมชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ซึ่งเป็นยุคที่กรมป่าไม้เปิดให้บริษัทค้าไม้เข้า มาท�ำสัมปทานป่าเขาทลาย “ทีแรกก็ไม่สนใจกันหรอก จนเมื่อเห็นว่า เขาเริ่มโล้นน�้ำที่เคยมี มันไม่มีน�้ำ นี่ส�ำคัญมากนะ ต่อการท�ำสวน ไม่มีน�้ำ สวนนี่ตายเลย พอเห็นอย่างนั้นเราก็เริ่มรณรงค์ ท�ำให้ชาวบ้านเห็นก็มี ทั้งที่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ตาม

 ปันปันสุสุข ข


ประสาคน แต่ส่วนใหญ่ที่เอาด้วย ก็เพราะมันเป็นประโยชน์ต่อ เขา เราก็ท�ำเรื่อยมาจนทุกวันนี้ ป่าเขาทลายก็กลับมาเต็มเหมือน เดิมไม่โล้นแล้ว” อดีตผู้ใหญ่สมคิดเล่า ผู้ใหญ่สมคิดเล่าต่อว่า สมัยก่อน ช่วงที่ยังมีการให้สัมปทาน กัน จะเห็นเปลวไฟลุกโชนบนเขาทลายขึ้นมากลางความมืดบน ยอดเขาสม�่ำเสมอไฟจากธรรมชาติบ้าง การละเลยบ้าง “ยุคนั้นการท�ำไม้เป็นล�่ำเป็นสันมีรถแทรคเตอร์ไถขึ้นไป ไสไม้ เป็นท่อนๆ ลงมา พอชาวบ้านรู้ก็เกณฑ์คนไป จับเกิดเป็นปัญหา ระหว่างชาวบ้านกับบริษัทรับสัมปทานป่า” จากปีก่อตั้ง พ.ศ. 2527 ลุถึงปี 2532 หลังการรวมตัวกันของ ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาป่าไม้ ที่ถูกเผาท�ำลาย ไปเนื่องจากไฟป่าบ้างการสัมปทานบ้าง สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ป่า ไม้ ชุมชนเขาทลายจ�ำนวน 220 คน ก็ร่วมกันรณรงค์ให้ชาวบ้าน

ในพื้ น ที่ และชุ ม ชนใกล้ เ คี ย งทั้ ง จากต� ำ บลวั ง ใหม่ ต� ำ บล นายายอาม และชาวบ้ า นจากอ� ำ เภอแก่ ง หางแมวหยุ ด การ ท�ำลายป่าไม้เขาทลาย อีกทั้งยังจัดเขตแนวป่าสงวนอย่างชัดเจน มีการจัดตั้งเวรยาม โดยอาสาสมัครที่เป็นผู้ชายท�ำการเดินป่า เพื่อระแวดระวังไฟป่า และผู้ไม่หวังดีจากนอกพื้นที่ที่จะเข้ามา ท�ำลายป่าเขาทลายรวมถึงการปลูกป่าทดแทนเพิ่มขึ้นกว่า 140 ไร่ ล่วงถึงปี พ.ศ. 2553 สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ฯ ร่วมกันก่อสร้าง ฝายชะลอน�้ำ บนเทือกเขาทลายรวมแล้ว ทั้งหมด 17 แห่ง ตลอด ล�ำน�้ำ เพื่อให้ชาวบ้านในหมู่ 8 และหมู่ 9 มีน�้ำใช้อย่างพอเพียงไม่ ขาดแคลน และยังให้ปา่ ชุ่มชื่นอยู่คู่ต�ำบลวังใหม่ต่อไป อดีตผู้ใหญ่สมคิดเชื่อว่า แม้เมื่อหมดคนรุ่นเขาไปแล้ว ป่า ชุมชนเขาทลายจะยังคงอยู่ เพราะมีการปลูกฝังคนรุ่นใหม่ให้ อนุรักษ์ ป่า ซึ่งความมั่นใจนี้ สะท้อนออกมาผ่านประโยคปิดท้าย ที่ว่า “ตราบที่ยังมีวังใหม่ก็ต้องมีปา่ เขาทลายต่อไป”

ปันสุข




การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน

‘กีรออาตี’ ในรัว้ ‘ตัรบียะห์’ เพื่อลูกหลาน โรงเรี ย นตั ร บี ย ะห์ แห่ ง ต� ำ บลมะนั ง ดาล� ำ อ� ำ เภอสายบุ รี จังหวัดปัตตานี คือสถานที่ส�ำหรับการเรียนการสอนอัลกุรอ่าน เด็กๆ ทั้งหญิงและชายในชุดขาว-ด�ำ เด็กผู้ชายใส่ชุดโต๊บยาว พร้อมกับหมวกสีขาว ส่วนเด็กผู้หญิงในชุดยาวพร้อมฮิญาบหรือ ผ้าคลุมศรีษะสีด�ำ เด็กหลายคนเริ่มเตรียมตัวอาบน�้ำละหมาดเพื่อเตรียมพร้อม ส� ำ หรั บ การละหมาดมั ก ริ บ อี ก ไม่ กี่ น าที ต ่ อ มา และไม่ น านนั ก เสียง“อาซาน” (เสียงเรียกละหมาด) ดังขึ้น ทุกคนพร้อมเพรียงบน อาคารเรียน ผู้หญิงอยู่ส่วนหนึ่ง ผู้ชายอยู่อีกส่วนหนึ่ง จากนั้นพิธี ละหมาดจึงเริ่มขึ้น นี่คือกิจวัตรประจ�ำวันของเด็กๆที่ต้องมาละหมาดร่วมกัน จาก นั้นจะมีการอ่าน “ดุอา” หรือการขอพรจากพระผู้เป็นเจ้า ก่อนจะ แยกเป็ น กลุ ่ ม ๆ ตามชั้ น เรี ย นของแต่ ล ะคน สั ก พั ก เสี ย งอ่ า น อัลกุรอ่านก็ดังก้องมาจากทุกทิศทุกทาง  ปันปัสุนขสุข

นายสมานสาอะ รองนายกอบต.มะนังดาล�ำ หรือ “บังสมาน” ซึ่ ง ดู แ ลเรื่ อ งการศึ ก ษาและสาธารณสุ ข เล่ า ว่ า เหตุ ผ ลที่ น� ำ หลักสูตร “กีรออาตี” มาใช้ เนื่องจากเห็นสภาพปัญหาการเรียน อัลกุรอ่านของลูกตัวเอง ซึ่งนายกอบต.ก็มีลูก รองนายกอบต.ก็มี ลูก ช่วงนั้นหาบุคลากรในการที่จะให้ลูกไปเรียนค่อนข้างยาก และ กระจัดกระจาย จึงลองมาศึกษาปัญหาว่าการเรียนแบบเก่า กับ การน�ำหลักสูตรกีรออาตีมาใช้เป็นไปได้ใหม โดยเริ่มจากส�ำรวจจ�ำนวนเด็กทั้งหมด เด็กในระดับประถม ศึกษาประมาณ 1,000 กว่าคนในพื้นที่ เด็กที่เรียนอัลกุรอ่านมี 600 คน ที่เหลือถามว่าเด็กเรียนที่ไหน บางส่วนพ่อแม่สอนเอง จากนั้ น เริ่ ม ไปศึ ก ษาหลั ก สู ต รกี ร ออาตี ข องอาจารย์ สุ น ทร ปิ ย วสันต์ จากอ�ำเภอยะหริ่ง เขามีความช�ำนาญในเรื่องนี้ให้ช่วยฝึก อบรมบุคคลากรให้ เราน�ำครูสอนอัลกุรอ่านที่มีอยู่เดิม 54 คนและ ผู้สนใจเข้ามารับการอบรม


ปี 2551 หลักสูตรกีรออาตีได้ถูกน�ำมาใช้ในพื้นที่มะนังดาล�ำ ปรากฏว่ามีเด็กเข้ามาลงทะเบียนเรียนเป็นจ�ำนวนมากประมาณ 500 คน ถือว่าได้รับการตอบรับจากชุมชนส่งลูกหลานเข้ามา จากเดิมใช้ศูนย์ของที่ท�ำการอบต.เป็นสถานที่เรียน จนกระทั่งปีนี้ ขยับขยายมาสู่โรงเรียนตัรบียะห์แห่งนี้ “ช่วง 3 ปีแรกเราเจอกับสภาพปัญหาการเรียนการสอน แต่ เมื่อสกว.เข้ามาช่วยเรื่องการวิจัยการเรียนการสอน เราเริ่มมอง เห็นความยั่งยืน มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ครูผู้สอน เข้าใจบทบาทของตัวเอง มีการน�ำเทคนิคการสอนรูปแบบใหม่ๆ เข้ามาใช้” รองนายกอบต.เล่า หลักสูตรกีรออาตีที่ว่ามีทั้งหมด 5 เล่ม ใช้ระยะเวลา 1 ปี แต่ละเล่มจะมีการสอบถึงจะต่อเล่มถัดไปได้ หลังจากจบทั้ง 5 เล่มแล้วจึงจะเริ่มเรียนอัลกุรอ่าน โดยแยกเป็น 3 ระดับแต่ละ ระดับต้องผ่านกระบวนการสอบจึงต่อในระดับถัดไปได้ ใน 1 วัน

ต่ออาทิตย์จะมีการสอนความหมายของอัลกุรอ่านด้วย ส่วนวิธีการเรียนจะแบ่งเด็กเป็นกลุ่มนั่งล้อมวงให้ชิดกันเพื่อ สัมผัสถึงความอบอุ่น ครูผู้สอนจะน�ำเทคนิคต่างๆมาใช้ขึ้นอยู่กับ สถานการณ์ เวลาหนึ่ ง ชั่ ว โมงกว่ า ๆครู จ ะสอดแทรกเรื่ อ ง คุณธรรม-จริยธรรมในวิถีอิสลามให้กับเด็กไปด้วย ส่วนเด็กที่เก่ง แล้วจะช่วยสอนรุ่นน้องต่อไป “เราด�ำเนินการมา 4 ปีแล้วมีเสียงตอบรับจากชุมชนในบ้าน เรา และละแวกใกล้เคียงก็เกิดการยอมรับ หลังจากนั้นหน่วยงาน ภาครัฐก็เริ่มเปิดใจกว้างขึ้น เขาได้เห็นภาพว่าท้องถิ่นสามารถ จัดการศึกษาตรงนี้ได้ ซึ่งบางครั้งบางหน่วยงานก็มองๆอยู่ แต่เมื่อ เขาเห็นการน�ำหลักสูตรนี้มาใช้สอนอัลกุรอ่านให้กับชุมชน การ มองแบบเพ็งเล็งจากภาครัฐน้อยลง รองผู้ว่าฯปัตตานีเองเกิดการ ยอมรับเพราะสามารถท�ำให้ชุมชนร่มเย็นและอยู่อย่างสงบ นี่คือ บทบาทขององค์กรท้องถิ่นที่เราสามารถท�ำได้ พอเรามีตรงนี้ เรา สามารถเชื่อมโยงไปสู่เรื่องอื่นๆได้หมด เช่น การจัดระบบตาดีกา ในต�ำบลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน” รองนายกอบต.เล่า วันนี้ ใบเบิกทางเรื่องการศึกษาในมะนังดาล�ำ ยังน�ำไปสู่การ เปิดค่ายภาษาภาคฤดูร้อน เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้ว่าโลกใบนี้ มีอีกหลายภาษาอย่างน้อยคือ 5 ภาษาที่เปิดสอน ทุกปีจึงมีเด็ก มาเรี ยนไม่ ต�่ำ กว่า 600-700 คน จนน� ำ มาสู ่ การเปิ ดโรงเรียน ประถมศึกษา ตัรบียะห์ แห่งอบต.มะนังดา ในปีการศึกษาที่ผ่าน มา “ที่เราจัดตรงนี้ได้ เพราะเราได้จัดกระบวนการเรียนการสอน ของตาดีกาให้เข้าสู่ระบบ ไม่อย่างนั้นเราจะมีความขัดแย้งกับ ชุมชน ส่วนการเปิดโรงเรียนเพราะเรามองเห็นหลักสูตรการศึกษา ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ วิถีการด�ำเนินชีวิต ในพื้นที่” รองนายกอบต.เล่า หลักสูตรของโรงเรียนตัรบิยะห์มีการน�ำหลักสูตร IBSM หรือ Islamic Base School Management เข้ามาจัดการเรียนการ สอน โดยมีแนวคิดว่า สถานที่ซึ่งแหล่งเรียนรู้และวิธีอิสลามคือ เรื่องเดียวกันไม่ได้แยกจากกัน ด้วยการบูรณาการอิสลามเข้าไป “เมื่อเราเข้าใจตรงนี้ ถามว่าอิสลามแบบเข้มจ�ำเป็นต้องเข้ามา ตรงนี้ใหม ไม่จ�ำเป็น การสอนให้เข้าไปสู่วิถีชีวิต ไม่ใช่สอนเพียง หลักการ ตรงนี้คือจุดเริ่มต้นที่เราพยายามให้ชุมชนเข้าใจ เพราะ อิสลามบอกว่า นอกจากที่เราใช้ชีวิตแล้ว เราต้องกระตุ้นตัวเอง เป็นการตื่นตัว นี่คืออิสลาม” รองนายกอบต.สรุป

ปันสุข




เศรษฐกิจชุมชน

เมือ่ ดอกเห็ดบาน ความรู้ทไี่ ม่ใช่แค่ จินตนาการ “ถ้าอีกสองสามวันฝนจะตก จะรู้เลยทันที ดูได้จากเห็ดที่แข่ง กันแทงดอกออกมาให้เห็นเยอะกว่าปกติ เป็นอย่างนี้ทุกครั้งไม่ เคยพลาด” สุชาติ จิตต์บรรจง หรือ พี่ชาติ เจ้าของบ้าน และ ประธานแหล่งเรียนรู้เรื่องการเพาะเห็ด ต�ำบลผาสิงห์ อ�ำเภอเมือง น่าน จังหวัดน่าน บอกเล่าถึง การพยากรณ์อากาศรูปแบบใหม่ให้ ฟัง บ่งชี้ถึงประสบการณ์การเพาะเห็ดของพี่ชาติได้เป็นอย่างดี บนก้อนเชื้อเห็ดที่ตั้งอยู่ เห็ดนางฟ้าภูฏานดอกเล็กดอกใหญ่ ก�ำลังแข่งกันบาน เห็ดก้านอวบ ดอกเห็ดเท่ากับหัวแม่มือก�ำลัง โผล่พ้นปากถุงเพาะเชื้อ พาจินตนาการไปถึงรสชาติที่หวาน รส สัมผัสกรอบนุ่มเวลาเคี้ยว หยิบขึ้นมาดูใกล้ๆ เห็นได้ชัดว่ามีขี้ เลื่อยอัดแน่นและเส้นใยที่ดูเหมือนเชื้อราแผ่ขยายอยู่ข้างใน พี่ชาติบอกว่าจะท�ำเห็ดออรินจิ เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า เห็ดโคน น้อย หรือเห็ดย่างอื่นก็ได้ทั้งนั้น พี่ชาติหยิบเห็ดนางฟ้าภูฏานดอก หนึ่งขึ้นมา ฉีกให้ดูส่วนที่จะเอาไปเพาะเป็นเชื้อเห็ด มันอยู่ตรง กลางดอก แกดึงเนื้อเห็ดชิ้นเล็กๆ ให้ดู ทั้งยังส�ำทับว่า ท�ำได้ไม่ ยาก ใครที่มาหัดเรียนหัดท�ำที่นี่ ท�ำได้หมด สามารถน�ำความรู้ไป ท�ำก้อนเชื้อเห็ด ท�ำโรงเพาะเห็ดเก็บเห็ดขายได้ “ผมจะแนะน�ำผู้ที่เข้ามาเรียนรู้ให้เข้าใจได้ง่ายๆ ไม่ต้องเสีย เวลาลองผิดลองถูกเอง สูตรขี้เลื่อยแบบไหนให้ดอกเยอะ ดอกโต ใช้ได้นาน อันไหนข้ามขั้นตอนได้ หรือมีวิธีการที่ดีกว่าผมก็จะ  แนะน� ปันำสุมัขนจะท�ำให้เริ่มต้นได้เร็วขึ้น” พี่ชาติเล่า

ย้อนไปเมื่อ 15 ปีที่แล้ว หรือราวปี 2540 ความสนใจในการ เลี้ยงนกกระทา พาพี่ชาติเดินทางไปดูการเลี้ยงนกกระทาที่อ�ำเภอ วิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง แต่บังเอิญไปเห็นคนแก่สองสาม คน ก�ำลังอัดก้อนเชื้อเห็ดด้วยการใช้มือและค้อนไม้ “ขนาดคนแก่ยังท�ำได้” เป็นความคิดที่ท�ำให้สุชาติสนในการ ท�ำเห็ดขึ้นมา การถ่ายทอดความรู้จากผู้ผลิตเห็ดแบบครบวงจร เกิดขึ้นในเวลาสองชั่วโมง สุชาติพยายามท�ำความเข้าใจก้อนเชื้อ เห็ดและกระบวนการผลิตเห็ดให้ได้มากที่สุด เริ่มต้นจากการหมัก ขี้เลื่อยกับยูเรีย หมั่นกลับขี้เลื่อยไปมาอยู่ทุกวัน เพราะที่น่านไม่มี ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ต้องสั่งจากระยองหรือ นครศรีธรรมราช ซึ่งค่า ขนส่งค่อนข้างสูง ด้วยทุนที่มีอยู่อย่างจ�ำกัด ท�ำให้เขาต้องพลิก แพลงวิธีการต่างๆ จากการทดลองด้วยตนเอง กระนั้น งานนี้ก็ดูจะเกินก�ำลังของคนเพียงคนเดียว สุชาติจึง ยอมตัดใจจ้างแรงงานมาช่วยอีกสามคน ค่าจ้างแรงงานในยุคนั้น อยู่ที่วันละ 80 บาทต่อคน ต้องอัดก้อนเชื้อเห็ดได้คนละ 20 ก้อน ต่อวัน นึ่งก้อนเชื้อด้วยถังสองร้อยลิตร 10 ถัง โรงเพาะเห็ดโรงแรก บรรจุก้อนเชื้อได้ถึงหนึ่งหมื่นกว่าถุง ด้วยความต้องการโรงเพาะที่ บรรจุก้อนเชื้อได้มาก ท�ำให้สุชาติมองข้ามปัญหาเรื่องก้อนเชื้อที่ ต้องเปลี่ยนพร้อมกันทั้งหมด การแยกเป็นโรงเล็ก โรงละ 3,000 ถุงเป็นสิ่งที่เขาได้เรียนรู้และแก้ไขในเวลาต่อมา เช่นเดียวกันสิ่งที่


คิดว่าดี อาจไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสม เมื่อเห็ดนางรมที่เขาเพาะดอกใหญ่เท่าจาน เนื่องจากกากถั่ว เหลืองทีผ่ สมลงไป ท�ำให้คนซือ้ คิดว่าเป็นเห็ดแก่ ด้วยไม่คนุ้ เคยกับเห็ดดอกใหญ่ขนาดนี้ สุชาติ พยายามปรับปรุงก้อนเชื้อจนได้เห็ดที่ผู้บริโภคต้องการ ทุกอย่างก�ำลังไปได้ดี จนมาถึงหน้าร้อน ช่วงเวลาที่เห็ดออกดอกน้อยที่สุด แต่แล้วก้อนเห็ด ทั้ง 30,000 ก้อนต้องกลายเป็นเพียงก้อนขี้เลื่อยยุ่ยเละในมือของเขา มีความผิดพลาดบาง อย่างเกิดขึ้น เป็นอีกครั้งที่สุชาติได้เรียนรู้ถึงการถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกน้อง ถ้าลูกน้องรู้ว่า ไม่ควรให้น�้ำเขาปากถุง เขาคงไม่ต้องทิ้งก้อนเชื้อเห็ดทั้ง 30,000 ก้อน เงินทุนที่จ�ำกัดกับโรงเพาะเห็ดที่ว่างเปล่า ท�ำให้สุชาติคิดลดต้นทุนด้วยการจ้างช่างท�ำ เครื่องอัดก้อนเห็ดที่เสียงดังกึกก้องอย่างกับรถไฟ เพราะยังไม่รู้ว่าต้องใช้ลูกปืน ส่วนเตานึ่ง ประยุกต์มาจากแท็งค์เก็บน�้ำสี่เหลี่ยม นึ่งก้อนเชื้อเห็ดได้ครั้งละ 700 ถุง แต่เขายังเหนื่อยกับ การขนฟืนและเฝ้าดูความร้อนของเตานึ่งให้สม�่ำเสมอ วันหนึ่งสุชาติขับมอเตอร์ไซค์ออกจาก น่านตั้งแต่ 8 โมงเช้า กลับมาจากอ�ำเภอลอง จ.แพร่ ถึงบ้าน 3 ทุ่ม ครั้งนี้เขาได้แบบเตาน�้ำมัน ขี้โล้ หรือน�้ำมันเตา ไฟแรงกว่า ไม่ต้องเสียเวลาคุมฟืนอีกต่อไป โรงเพาะเห็ดของสุชาติลงตัว มากขึ้น เขาเริ่มขายอุปกรณ์ในการท�ำเห็ดทั้งกระบวนการ ด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการ สร้างเตา แต่คนซื้อมีน้อย เงินและแรงที่ลงไปสูญเปล่า จนสุชาติตัดสินใจเด็ดขาดว่าจะเลิกท�ำ เห็ด สุชาติพาครอบครัวเดินทางเข้ากรุงเทพ พื้นเพเดิมของเขาในปี 2546 แต่ที่กรุงเทพฯนี่เองที่ พาเขากลับมาหาการท�ำเห็ดที่คุ้นเคยอีกครั้ง ด้วยการเป็นวิทยากรสอนท�ำเห็ดฟางและเห็ดโ คนน้อยให้กับผู้ที่สนใจในวันเสาร์อาทิตย์ การศึกษาหาข้อมูลเพิ่มจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ท�ำให้ ความรู้เรื่องการท�ำเห็ดของสุชาติยิ่งเพิ่มพูน กระทั่งเขาจึงตัดสินใจกลับมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้งที่ น่าน การลงขันร่วมกันของผู้สนใจในหมู่บ้านสวนหอม เงินทุน 2,000 บาท สร้างโรงเพาะเห็ด ขนาด 3,000 ก้อนขึ้นมา สุชาติรับหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้กับเพื่อนสมาชิก จนถึงกลุ่มชาว บ้านและหน่วยงานที่สนใจ ทั้งในอ�ำเภอเมืองและอ�ำเภอรอบนอก “ตอนนี้กลุ่มเริ่มขยาย สมาชิกที่ท�ำเป็นแล้ว ต่างแยกย้ายออกไปท�ำเอง ผมขายอุปกรณ์ใน การท�ำเห็ดให้กับผู้สนใจด้วย สรุปแล้วเรารู้จักคนท�ำเห็ดแทบทั้งหมดในจังหวัดน่าน มีอะไรก็ ปรึกษาบอกเล่าให้กันฟัง ช่วยแนะน�ำตลาด หรือใครท�ำก้อนเชื้อส่งขายไม่ทันก็ให้กลุ่มอื่นช่วย” สุชาติเล่า จากชายที่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับการเพาะเห็ด มาเป็นแหล่งความรู้เคลื่อนที่ สอนได้ในที่ ต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่ในคุก พี่สุชาติเล่าถึงนักเรียนจากเรือนจ�ำที่เคยเวียนกันมาเรียนการเพาะ เห็ดที่นี่ตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 10 โมง เดี๋ยวนี้หลายคนออกมาเพาะเห็ดขาย ท�ำก้อนเชื้อเห็ดขาย เป็นอาชีพที่มาพร้อมกับอิสรภาพ หลายคนยังโทรศัพท์ติดต่อกันจนถึงทุกวันนี้ “ถ้าอยากได้เงินก้อนก็ท�ำก้อนเชื้อเห็ดขาย 1 ก้อนราคา 7 บาท วันหนึ่งท�ำ 300 ก้อน ครึ่ง หนึ่งเป็นก�ำไรอีกครึ่งหนึ่งเป็นทุน ถ้าอยากได้เงินทุกวันก็เก็บเห็ดขาย กิโลฯละ 60 บาท ไป ตลาดแป๊บเดียวก็หมดแล้ว” พี่ชาติเล่า นอกจากคนไกลตัว คนใกล้ตัวอย่างผู้สูงอายุและเด็กเยาวชนในชุมชนที่ว่างงานและสนใจ ใฝ่รู้ ที่นี่จะรับมาเป็นฝ่ายผลิตก้อนเชื้อเห็ด เป็นรายได้ที่เกื้อหนุนกันไป ซึ่งเห็ดได้จากฝีมือของ คนในชุมชน ส่วนหนึ่งจะถูกส่งไปยังโรงเรียนในอ�ำเภอบ่อเกลือและอ�ำเภอเฉลิมพระเกียรติ ชายแดนติดประเทศลาว ในโครงการอาหารกลางวัน ซึ่งเป็นโครงการพระราชด�ำริ ก้อนเชื้อ เห็ดทุกก้อนจะให้เห็ดนานถึง 6 เดือน ก่อนจะมีก้อนเชื้อเห็ดชุดใหม่ส่งขึ้นไปอีก  ปันสุข 


ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ขนมดอกจอก เส้นทางของความสามัคคี ขนมดอกจอก เป็ นขนมพื้นถิ่นที่ต�ำบลมะนังดาล�ำ อ� ำเภอ สายบุรี จังหวัดปัตตานี ยังให้การอนุรักษ์ไว้ โดยคนที่นี่มักจะน�ำ ขนมดอกจอกนี้ ไ ปช่ ว ยในงานบุ ญ โดยเฉพาะวั น สุ ก ดิ บ ที่ ต ้ อ ง ลงแรงช่วยกันหุงหาอาหาร ก๊ะยาลีนา โมงสะอะ ประธานกลุ่มแม่บ้านก�ำปงดาล�ำ เล่าว่า เมื่อก่อนคนในชุมชนว่างงาน ช่วงเช้าไปกรีดยาง หลังจากนั้นว่าง โดยตัวก๊ะยาลีนาเองก็เคยท�ำงานบริษัทในกรุงเทพฯ มาก่อน แต่ พอกลับมาอยู่บ้าน หลังจากส่งลูกไปโรงเรียนก็ว่าง เลยคิดกันว่า ในหมู่บ้านน่าจะท�ำอะไรสักอย่างเพื่อกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัว อย่างน้อยก็เกิดความสามัคคี และเกิดรายได้ขึ้นมา ช่วงนั้นปลายปี 2552 เริ่มต้นจากศูนย์ ใครมีอะไรเอามาใช้ ก่อน อุปกรณ์ต่างๆ เอามาจากบ้าน เก็บเงินคนละ 100 บาทได้มา 3,000 บาท แล้วจึงเริ่มท�ำขนมกัน ไม่มีเงินสนับสนุนจากที่ไหน  ปันปัสุนขสุข

บางคนบอกว่า 3 เดือนเลิก มาถึงวันนี้ 3 ปีแล้ว โดยขนมดอกจอกเป็ นขนมโบราณที่ คนแก่ ใ นพื้ นที่ ชอบกิน ใช้ได้หลายงาน พอมีงานเลี้ยง งานแต่งงานในหมู่บ้าน ชาวบ้าน จะเอาไปช่วยเจ้าภาพ เขาจะมาสั่งที่นี่ โดยสั่งเป็นปีบจนเป็น ธรรมเนียมของพื้นที่นี้ เมื่อก่อนกลุ่มมีการใช้กะทิ แต่เดี๋ยวนี้มีการ ปรับปรุงสูตรมาใช้นมสดแทน “เคล็ดลับของขนมกลุ่มแม่บ้านที่นี่คือ จะท�ำอย่างไรให้ขนม เก็บได้นาน กินอร่อย ดีต่อสุขภาพ อย่างขนมบางอย่างต้องใช้สี มั น มี โ ทษเราก็ ไ ม่ ใ ช้ ถ้ า ใส่ ก ะทิ ก็ ไ ม่ ดี ส� ำ หรั บ คนที่ มี โ รค เราก็ เปลี่ยนมาใช้นมสดแทน เป็นการพูดคุยปรึกษาหารือภายในกลุ่ม และเห็นตรงกัน ไปปรึกษากับอนามัย พยาบาลในพื้นที่เขาเห็น ด้ ว ย ขนมของที่ นี่ จึ ง ไม่ ใ ช้ ก ะทิ ” ก๊ ะ ยาลี น า อธิ บ ายเพิ่ ม เติ ม วันนี้ กลุ่มแม่บ้านก�ำปงดาล�ำกลายเป็นวิสาหกิจชุมชนไปแล้ว


หลั ง จากได้ รั บ การสนั บ สนุ น จากส� ำ นั ก งานเกษตรอ� ำ เภอ และ อบต.มะนั ง ดาล� ำ ตั้ ง แต่ เ มื่ อ ปี 2553 จึ ง มี ก ารจดทะเบี ย นเป็ น กลุ ่ ม วิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรก�ำปงดาล�ำสัมพันธ์ ถ้าเห็น“ยี่ห้อ”นี้ปะ หน้าถุงขนมรับรองได้วา่ มีที่นี่ทีเดียว “ตลาดของเราเริ่มจากร้านค้าในหมู่บ้าน จนเดี๋ยวนี้ขยายถึงจังหวัด นราธิวาสแล้ว รวมถึงร้านค้าในโรงพยาบาล เพราะเราค�ำนึงถึงเรื่อง สุขภาพเป็นหลัก น�้ำมันที่ทอดเราใช้ไม่เกิน 2 ครั้งหรือบางครั้งก็ใช้แค่ครั้ง เดียว จากนั้นขายท�ำไบโอดีเซลมีตลาดรองรับอยู่” ก๊ะยาลีนาเล่า กลุ่มแม่บ้านที่นี่จะใช้เวลาอาทิตย์ละ 4 วันเพื่อมารวมกันท�ำขนมหลัง จากเสร็จจากกรีดยาง ประมาณ 10-11 โมง วันไหนใครมาลงแรงจะมี ค่าแรงให้วันละ 100 บาท ส่วนใครมาสายรับไปครึ่งวัน นอกจากขนม ดอกจอกแล้ว ยังมีขนมกรอบเค็ม ขนมทองม้วน ซึ่งทางอบต.ได้จัดหา วิทยากรมาช่วยสอนช่วยชิมจนมั่นใจได้ว่ารสชาติได้มาตรฐานเป็นที่ถูกใจ ลูกค้า ขนมดอกจอกของที่นี่ขายส่งถุงละ 10 บาท ขายปลีก 12 บาท มีแม่ค้า คนกลางมารับไปขายที่นราธิวาส ทุกวันนี้ผลิตไม่ทัน ขนมแต่ละอย่างจะ ผลิต 200 ถุง ถ้าวันไหนท�ำ 2 อย่างก็ 400 ถุง ส่วนที่ขายยกปี๊บๆละ 150 บาท ส่วนหนึ่งของผลก�ำไรที่ได้ ยังน�ำมาจัดตั้งสวัสดิการกลุ่มใครเดือดร้อน มากู้ยืมได้ไม่เสียดอกเบี้ย เป็นการช่วยเหลือเพื่อนๆในกลุ่มได้ด้วย แต่สิ่งที่ ก๊ะยาลีนาภูมิใจที่สุดคือความสามัคคีที่เกิดขึ้นในหมู่บา้ น “เมื่อก่อนไม่ได้เป็นแบบนี้ ต่างคนต่างอยู่ ก�ำปงดาล�ำคืออะไรไม่มีใคร รู้จักเพราะเราเป็นหมู่บ้านเล็กๆ แต่เดี๋ยวนี้ทุกคนมีความสุขนะ เพราะทุก อย่างมากจากน�้ำแรงของเรา นอกจากท�ำขนมยังได้คุยปรึกษาหารือกัน มี ปัญหาเรื่อลูก เรื่องครอบครัวก็มาปรึกษาหารือ ปรับทุกข์กันได้ ละหมาดก็ ละหมาดที่นี่ มัสยิดก็อยู่ใกล้แค่นี้ หลายครั้ง สมาชิกก็น�ำหม้อหุงข้าวมาหุง ข้าวกินกันที่กลุ่ม” ก๊ะยาลีนาเสริม นส.สุรยา บากา สมาชิกตั้งแต่เริ่มแรก เป็นนสะใภ้ของหมู่บา้ นนี้ จาก เมื่อก่อนไม่รู้จักใครแต่พอเข้ากลุ่มเดี๋ยวนี้รู้จักกันหมด “เราอายุน้อยกว่าพี่ๆ เรามีปัญหาอะไรที่ยังไม่มีประสบการณ์ พี่ๆก็จะ สอนเรา ไม่ใช่เฉพาะการท�ำขนมอย่างเดียว มีความสนิทสนมกันมากขึ้น ตอนมาใหม่ๆไม่คุ้นเคย แต่พอมาท�ำขนมกับกลุ่ม ก็กล้าพูดคุย มีความคุ้น เคยมากขึ้น จนถึงวันนี้ รู้สึกเหมือนพี่ๆน้องๆกัน ได้ช่วยเหลือกัน เข้าใจซึ่ง กันและกัน” สุรยา บอกว่าตอนนี้กลุ่มเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองไปแล้ว ขณะที่ก๊ะยาลีนา ปิดท้ายว่าอยากให้มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น มีความ สามัคคีมากขึ้น ตรงนี้เราหาซื้อด้วยเงินไม่ได้ ถ้าเราไม่ได้ท�ำกลุ่มเราไม่รู้ว่า เรามีความรู้สึกเหมือนกันหมด

ปันสุข




แรงบันดาลใจ

เจียรนัยพลอย เจียรนัยชีวิต ชี วิ ต ผู ้ ค นชาวต� ำ บลบ้ า นต๋ อ ม อ� ำ เภอเมื อ ง จั ง หวั ด พะเยา ผูกพันกับวิถีเกษตรกรรมและประมงน�้ำจืดแต่ไรมา แม้ช่วงเวลา ร่วม 30 ปีที่ผ่านมากระแสการพัฒนาประเทศเคลื่อนผ่านพัดพา ท�ำให้สังคมชนที่นี่ เปลี่ยนฉากปรับตัวจากชนบทกลายเป็นสังคม กึ่งเมืองกึ่งชนบท แต่ก็เป็นบางส่วนเท่านั้น เพราะการเป็นชุมชน ริมกว๊านพะเยานี้เอง ที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน เชื่อมโยงวิถีเก่ากับใหม่ เข้ากันอย่างลงตัว คนที่นี่อยู่ได้ด้วยการหากินกับน�้ำกับปลา ปลูกข้าวเลี้ยงชีพ แม้พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่จะปลูกข้าวได้เพียงปีละครั้ง กระนั้น ขาข้างหนึ่งของชุมชนกลับยังยืนพยุงอยู่ได้ด้วยอาชีพอุตสาหกรรม ในครัวเรือนที่เวียนหน้าเข้ามาโอบอุ้มรองรับอยู่ตลอด ท�ำให้วิถี ชีวิตชุมชนยังคงอยู่ ครอบครัวยังอยู่พร้อมหน้า ไม่ต้องดิ้นรนย้าย ถิ่นฐานไปท�ำงานที่อื่นไกล ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมครัวเรือน เหล่านั้นก็หนุนเสริมความกินดีอยู่ดีมีรายได้ให้ชุมชนเติบโตขึ้นมา 

ปันสุข

ด้วย อาจเป็นความโชคดี ด้วยครั้งหนึ่ง คนกลุ่มแรกออกจากชุมชน ไปท�ำงานกรุงเทพราว 30 กว่าปีที่ผ่านมา สั่งสมประสบการณ์ไม่กี่ ปี แล้วพาตัวเองกลับบ้านพร้อมกับฝีมือเชิงช่างในการเจียรนัย พลอย ตั้งตนเป็นเถ้าแก่ผู้รับเหมา มาสอนพี่น้องเพื่อนฝูงให้ชาว บ้านธรรมดากลายเป็นช่างเจียรนัยพลอยกันทั่วย่านต�ำบล ป้าย “หมู่บ้านเจียรนัยพลอย” ซึ่งได้รับมอบจากโครงการ อุตสาหกรรมพัฒนาชนบท ท�ำจากแผ่นโลหะอย่างดีมีมาตรฐาน ถูกติดตั้งบนเสาอลูมิเนียมประดับหัวลูกติ่งดูเท่ไม่หยอก แต่กลับ เก่าเขลอะเลอะเลือนแทบไม่นา่ สนใจและอ่านยาก ติดตั้งอยู่หน้า บ้านไม้สองชั้นของเครือวัลย์ ข่ายสุวรรณ บอกเล่าประวัติศาสตร์ ชุมชนในช่วงเวลาร่วม 30 ปีที่ผา่ นมาเป็นอย่างดี ชั้นล่างของบ้านไม้หลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ๆเคยบรรจุโต๊ะจักรเจียร พลอยกว่ายี่สิบตัว สถานที่ท�ำงานของช่างฝีมือชาวบ้านในละแวก


บ้านใกล้เรือนเคียง ซึ่งรับงานเจียรนัยพลอยจากพี่เครือวัลย์ ผู้เป็น ทั้งเจ้าของบ้านและนายจ้างเหมา “พี่ออกบ้านไปท�ำงานเป็นลูกจ้างเจียรนัยพลอยที่กรุงเทพมา ก่อนหลายปี ช่วงนั้นมีคนออกจากหมู่บ้านไปเยอะเหมือนกันนะ แต่พอมีวิชาติดตัวก็มีลู่ทาง หลายคนก็กลับบ้าน อยากให้ญาติพี่ น้องคนบ้านเดียวกันมีการมีงานท�ำ เลยมาตั้งโรงงานเล็กๆอยู่ที่ บ้าน พูดถึงแล้วก็นึกถึงสมัยก่อน ตอนนั้นต�ำบลบ้านต๋อมนี่ท�ำ พลอยกันครึกครื้นมาก คนมาท�ำกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ตื่นเช้ามา กินข้าวเสร็จก็มาท�ำงานกัน ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องออกงานท�ำข้าง นอกบ้าน หลังจากหน้านาก็มีงานท�ำ” พี่เครือวัลย์ย้อนความหลัง ให้ ฉั น ฟั ง ขณะที่ ส าธิ ต การเจี ย รหิ น สี ห ม่ น ให้ มี เ หลี่ ย มเงาขั บ ประกายงาม รอยเท้าบอกเล่าทางเดินได้ดีฉันใด การมาเยือนที่นี่ก็ท�ำให้รับ รู้อีกอย่างหนึ่งว่า รอยถลอกช�้ำบนหัวเข่าก็บอกเล่าวิถีชีวิตคนบ้าน

ต๋อมได้ดีฉันนั้น เมื่อพี่ใบตอง บุณยานุช เก่งการ นักพัฒนาชุมชน ของเทศบาลต�ำบลบ้านต๋อม พูดสับทับว่า “สมัยเป็นสาวๆพวกเราจะถูกหนุ่มๆแซวกันว่า สาวบ้านต๋อม หัวเข่าจะไม่สวย ถ้าสาวคนไหนหัวเข่าเป็นรอยนะ จะรู้เลยว่าเป็น ช่ า งเจี ย รพลอย เพราะเผลอใจลอยเอาหั ว เข่ า ไปชนสายพาน เครื่องเจียรนัย” ก่อนจะเล่าต่อ “พี่เองก็เป็นหนึ่งในคนท�ำพลอยมาก่อน พอจบ ป.6 ก็ท�ำงาน เลย ตอนนั้นคิดว่า อยากท�ำงาน อยากได้เงินเหมือนคนอื่นเขา เขาท�ำพลอยกันทั้งหมู่บา้ นได้เงินเยอะ เราก็อยากท�ำบ้าง โห ตอน นั้นท�ำกันเป็นล�่ำเป็นสรรค์ แต่ละบ้านพ่อแม่ลูกท�ำช่วยกัน เก็บ ตังค์ซื้อที่ดินสร้างบ้านกันได้เลยนะ อย่างบ้านพี่เองก็สร้างได้จาก อาชีพเจียรนัยพลอย พอมีเงินมาบ้าง พี่เองก็ค่อยเรียนหนังสือไป ด้วย เจียรนัยพลอยไปด้วย จนมีทุกวันนี้ ย้อนนึกไปพี่ก็ขอบคุณ อาชีพเจียรพลอยนี่แหล่ะ เพราะเราเองก็มาจากตรงนั้น” นับเวลากว่า 10 ที่อาชีพนี้หล่อเลี้ยงคนบ้านต๋อม จนกระทั่ง ชะตาของประเทศถึงวาระวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 กระทบถึง อาชีพเกี่ยวกับเครื่องประดับตกแต่งเช่น อัญมณี พลอย อย่างไม่ ต้องสงสัย เพราะถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยอันดับต้นๆ งานเจียรนัย พลอยจึงมีอันซบเซาลง ชาวบ้านค่อยประคับประครองปรับตัว เปลีย่ นรูป เนือ่ งจากไม่นานต่อจากนัน้ ราชการก็เข้ามาโอบอุม้ สร้าง รู ป แบบให้ เ ป็ น กลุ ่ ม วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชน จนพั ฒ นาเป็ น รู ป แบบ โอท็อปในเวลาต่อมา ก่อนจะซบเซาลงอีกครั้ง ด้วยรูปแบบดัง กล่าว ผู้ว่าจ้างเดิมกลายเป็นหัวหน้ากลุ่ม ชาวบ้านยังเป็นเพียงผู้ ผลิต ครั้นต้องไปออกงานโอท็อปที่ไกลๆ ชาวบ้านก็ไม่ไปด้วยกับ หัวหน้ากลุ่ม ท�ำให้กลุ่มอืดช้าเดินไปข้างหน้าก็ติดข้างหลัง โชคดี ที่ ช ่ ว งเวลานั้ น รั ฐ เข้ า มาส่ ง เสริ ม ท้ อ งถิ่ น ให้ เ กิ ด อาชี พ ต่างๆในชุมน มีงานวิสาหกิจชุมชนอื่นๆเกิดขึ้น ชุมชนจึงยังคงเข้ม แข็งอยู่ได้ ทุกวันนี้ สิ่งที่หลงเหลือใช่เพียงแค่ป้ายเขลอะ โรงงานหมอง แต่ยังคงมีช่างฝีมือเจียรนัยพลอยหลายคนที่เป็นทรัพยากรอันมี คุณค่าที่ทาง ศูนย์อัญมณี จังหวัดพะเยา เชิญให้เป็นครูสอนนัก เจียรพลอยรุ่นต่อไปของจังหวัด ในบางครั้งนั้นทางศูนย์ก็ให้คนมา เรียนถึงในหมู่บ้าน อีกทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนซึ่งคุณครูพา เด็กๆมาศึกษาอาชีพ ที่ส�ำคัญยังมีหลายคนไม่ละทิ้งอาชีพนี้ แม้ รอยแผลเป็นบนหัวเข่าของคนทั่วย่านต�ำบลจะค่อยๆเลือนหาย แต่ยังคงเป็นรอยจ�ำว่าชีวิตชาวบ้านอย่างพวกเขาค่อยๆถูกขัด เจียรนัยมาให้มีต้นทุนทางสังคมและเป็นประกายวับวาวก่อนจะ เป็นทุกวันนี้ได้อย่างไร

ปันสุข




วัฒนธรรม

ผ้าไหมพื้นบ้าน ภูมิปัญญาที่ฟ้ ื นคืนขึ้นมาใหม่

ต�ำบลตะเข็บชายแดนอย่าง บักได นั้นผ่านอะไรมามาก อยู่ทา่ มกลางเรื่องราวความขัด แย้ง กระนั้นผู้คนที่นี่กลับหาจุดสมดุล สร้างชีวิตตัวให้มีความสุข อย่างกลุ่มที่ได้มีโอกาสมา เยี่ยมเยือนในวันนี้ ก็สามารถสะท้อนภาพดังกล่าวได้อย่างชัดเจน อนงค์ โฉลกดี เป็นประธานกลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านหนองแวง เล่าให้ฟังว่า เดิมทีชาว บ้านที่นี่ก็เหมือนที่อื่น ทอผ้าใช้กันเองใน ครัวเรือน ตลอดจนงานประเพณีส�ำคัญ เช่น งาน แต่งงาน ที่ตามวัฒนธรรมของคนสุรินทร์ จะให้ผ้าไหมเป็นของรับไหว้คู่บ่าวสาว แต่ต่อ มาระยะหลังๆ พอเริ่มมีผ้าทอจากโรงงานเข้ามาตีตลาด จะว่าด้วยราคาที่ถูกกว่า หรือไม่ สิ้นเปลืองเวลาก็ตามที ผู้คนเริ่มไม่ทอผ้าใช้เองอีก



ปันสุข


มิใช่เพียงภูมิปัญญาการทอผ้าที่เริ่มเสื่อมหายไป อนงค์ ยังบอกอีกด้วยว่า วัฒนธรรมในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมก็เริ่มจางหายลงไปด้วย มาตรว่าองค์ความรู้ เรื่องเกี่ยวกับกระบวนการทอผ้าใช้เองของคนในชุมชนหายไปจนเกือบจะหมด “ประมาณปี 2542 ที่หมู่บ้านเรามีการรวมกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นมา ชุมชนเองก็มี การตื่ น ตั ว ในการพั ฒ นางาน เพื่ อ ให้ ก ่ อ เกิ ด รายได้ เ พิ่ ม และเป็ น การอนุ รั ก ษ์ วัฒนธรรม พวกเราที่เป็นผู้หญิงจึงคิดว่า การทอผ้าขายน่าจะเหมาะกับพวกเรามาก ที่สุด เพราะว่า เมื่อก่อนเราก็เคยทอใช้เองกันอยู่แล้ว” อนงค์เล่า หากเรื่องราวต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ อย่างที่คิด พอตัดสิน ใจว่า จะตั้งกลุ่มทอ ผ้าไหมขึ้นมา กลับพบว่าที่หมู่บ้านเกือบจะไม่มีใครมีความรู้ด้านการทอผ้าพื้นเมือง ใช้เองอีกแล้ว คิดแล้วก็อายภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ที่ไม่มีใครคิดจะอนุรักษ์ เป็น ความจริงที่เจ็บปวด ที่คนยุคสมัยใหม่ละทิ้งภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ซึ่งอย่าว่า แต่ละทิ้งภูมิปัญญาดั้งเดิมเลย ขนาดดูถูกภูมิปัญญาของ บรรพบุรุษก็มีให้เห็น ทั่วไป “เราท�ำเรื่องไปที่พัฒนาชุมชนจังหวัดว่า อยากตั้งกลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน แต่เราไม่มี ความรู้เรื่องการทอผ้าเลย คนแก่ๆ ที่เหลืออยู่ในชุมชนก็แก่มาก ไม่มีเรี่ยวแรงมา สอน พัฒนาชุมชนจึงมีโครงการส่งตัวแทนไปฝึกอบรมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และทอผ้าไหมแบบครบวงจรที่นิคมสร้างตนเองปราสาท พอกลับมาเราก็เรียนรู้ มา พั ฒ นารู ป แบบ พอปี 2551 เราโชคดี ที่ ห น่ ว ยพั ฒ นาการเคลื่ อ นที่ 55 เข้ า มา สนับสนุนงบประมาณ เพื่อซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทอผ้าไหม ท�ำให้สมาชิกมีฝีมือที่ พัฒนาขึ้นมาก ผลิตภัณฑ์ผา้ ไหมที่ได้มีคุณภาพดี และมีความงดงามถูกใจคนที่เข้า มาดูงาน” อนงค์เล่า กระนั้นก็มีปัญหาที่ต้องตามแก้กัน โดย ณ ตอนนี้ มีให้ตามแก้กันสองเรื่อง เรื่อง แรก คือผลิตไม่ทันขาย เรื่องที่สอง ต้องไปซื้อวัตถุดิบจากนอกชุมชน ซึ่งก็พยายาม หาทางออกอยู่ ด้วยการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้มากที่สุด แต่ท�ำอย่างไรมันก็ไม่ทัน ใช้เราเลยต้องไปน�ำเส้นไหมจากที่อื่นมาใช้ ซึ่งมันท�ำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้น “เรื่องที่ผลิตไม่ทันนั้น บางครั้งเราก็จนปัญญาจริงๆ เพราะอาชีพหลักของเรา คือ เกษตรกรรม ตรงนี้เป็นอาชีพเสริมซะมากกว่า เรื่องที่จะให้มาทุ่มเททางนี้อย่าง เดียวคงท�ำไม่ได้ บางครั้งก็เลยเสียชื่อ เวลาที่เราส่งของไม่ทัน” อนงค์พูดถึงปัญหา จุดเด่นของผ้าไหมที่นี่ คือการใช้เส้นไหมธรรมชาติ ไม่มีเส้นไหมสังเคราะห์ปน แม้แต่น้อย โดยราคาจะอยู่ที่ผืนละ 800-900 บาท ซึ่งบางคนก็ว่าแพง แต่พอซื้อไป ใช้ ติดใจกันทุกคน ท�ำให้กลุ่มเชื่อว่า เดินมาถูกทางแล้ว ว่าหนทางนี้จะสร้างความ ยั่งยืนให้ ดีกว่าไปลดต้นทุนแล้วคุณภาพเสียไป

ปันสุข




ขอแสดงความยินดีความนวนิยาย ‘น�้ำห่มดิน‘ ที่ได้รับราววัลชมเชย ประเภทนวนิยาย จาก ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.