วารสารปันสุข ฉบับที่ 14

Page 1

»˜¹ÊØ¢ ẋ§»˜¹ ÊÃä ÊÌҧ à¾×èͪØÁª¹¹‹ÒÍÂÙ‹

ฉบับที่ 14 พฤษภาคม 2556

ปันสุข


www.punsook.org

จัดท�ำโดย

»˜¹ÊØ¢ ẋ§»˜¹ ÊÃä ÊÌҧ à¾×èͪØÁª¹¹‹ÒÍÂÙ‹

ส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน ส�ำนักงงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ปันสุข : เลขที่ 3 รามค�ำแหง 44 ถนนรามค�ำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ 10240 Email : editor@punsook.org โทร : 08 1710 0456

ปันสุข

facebook > ค้นหา


า > ปันสุข

สถานี 3

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น เราอาจไม่ต้องมีอะไรเลย มีคนมานั่งแล้วมาพูดบรรยายให้จตาม จดบ้างไม่จดบ้าง แล้วก็กลับไป เอาไปประยุกต์ใช้บ้าง หรือไม่น�ำพาซึ่งผลลัพธ์ใดๆ เลย แต่ถ้า เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน สิ่งแรกเลย คือเราต้องเตรียมการ รวมถึงบุคลากรที่จะ มาสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนที่มาเรียนรู้ร่วมกัน เริ่มต้นเลยคนที่มานั้น จะต้องรู้ว่าต�ำบลนั้นๆ เป็นอย่างไร ดังนั้นต�ำบลแม่ข่ายจะต้องส่ง ข้อมูลไปให้แก่ผู้ที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก่อนมา ซึ่งทางต�ำบลแม่ข่ายเองก็ต้องเตรียมการ ให้พร้อมเพื่อต้อนรับผู้ที่เข้ามาขอแลกเปลี่ยนความรู้ โดยต�ำบลแม่ข่ายจะใช้พื้นที่จริงเป็นตัวกระตุ้นในการเรียนรู้ร่วมกัน เพราะฉะนั้นสิ่งส�ำคัญคือ แม่ข่ายจะต้องคุยกันให้ชัดเจนก่อนที่เพื่อนจะมา ว่าเรามีหน้าที่สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน เราไม่ได้ จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เฉยๆ เรียนรู้ร่วมกันหมายความว่า เพื่อนเครือข่ายก็ต้องมีการเตรียม การ ชาวบ้านทุกคนคือฟันเฟืองที่ส�ำคัญต่อกระบวนการ ซึ่งพึงอย่าเพิกเฉยต่อพวกเขา เพราะการ ลงนาม MOU มิใช่การกระท�ำที่ส่งผลต่อคนเพียงบางกลุ่ม หากแต่เป็นทุกคนที่อยู่ร่วมกันใน ชุมชน การได้เห็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้มา เยือนคือสิ่งที่ชุมชนแม่ข่ายควรตระหนักรู้ และเห็นเป็นความส�ำคัญต่อกระบวนการสร้างการ เรียนรู้ร่วมกัน ค�ำถามที่ต้องน�ำไปขบคิดคือ จะท�ำอย่างไรให้ผู้มาเยือนรู้สึกอบอุ่น หรือรู้สึกว่าต�ำบลนี้น่าอยู่ กว่า เมื่อเทียบกับต�ำบลที่ตนพักพิง ให้เขาตั้งค�ำถามว่า ท�ำไมที่บา้ นเราไม่มี พราะแรงบันดาลใจ คือสิ่งส�ำคัญ เป็นพลังผลักดันให้เกิดสิ่งดี โดยสิ่งที่แม่ข่ายต้องยึดถือเป็นเป้าหมายอีกอย่างในการดึงชุมชนอื่นเข้ามาเรียนรู้ร่วมกัน คือ การดึงสิ่งใหม่ๆ ออกมาจากกระบวนการ ซึ่งความคิดใหม่คือดอกผลที่การันตีกระบวนการที่ เรียกว่าการเรียนรู้ นอกจากนี้ แม่ข่ายจะต้องรู้ถึงจ�ำนวนแกนน�ำ ตลอดจนทักษะศักยภาพที่มีอยู่ของพวกเขา เพราะเมื่อมีเพื่อนมาเรียนรู้แล้ว4-5 รุ่น ก็จ�ำเป็นต้องมาสรุปกันครั้งหนึ่ง ว่าแกนน�ำคนนั้นๆ มี ความเข้าใจเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ตลอดจนสังเกตการณ์ถึงแรงบันดาลใจในตัวพวกเขา เพราะถ้าไม่ได้สิ่งเหล่านี้มา นั่นบ่งบอกถึงการเป็นแม่ข่ายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ต้องกลับมา ทบทวนตนเองใหม่ และพยายามผลักดันตัวเองขึ้นมา ผ่านการเตีรยมตัวและการท�ำงานที่หนัก ขึ้น เพราะการท�ำหน้าที่เป็นผู้สร้างการเรียนรู้ร่วมกันนั้นต้องมีความพร้อม เพื่อว่าจะผลักดัน ชุมชนที่เป็นลูกข่ายไปด้วยกัน ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3)


สารบัญ

บัญชีครัวเรือน ค�ำตอบของทุกปั ญหา 6

ให้อย่างมีคณ ุ ค่า รับอย่างมีศกั ดิศ์ รี 8

ได้วนั ละบาท ดีกว่าขาดวันละร้อย 10

การแพทย์ผสมผสาน ใช้งานจริง 12

บ้านจลาโก กับสายน�ำ้ แห่งชีวิต 14

ห้องสมุดชุมชน พื้นที่เพื่อการเรียนรู1้ 6

กล้วยเกยกิน๋ อาชีพเสริมเพิ่มรายได้ 18

นักถักทอผืนพรมต�ำบลบ่อแร่ 20

กระเป๋ าสานจากผักตบชวา 22

ดอกไม้จนั ทร์แลกหมากพลู 24


บทบรรณาธิการ วารสารปันสุขฉบับที่ 14 มาพบกับเพื่อนเครือข่ายชุมชนสุขภาวะอีก เช่นเคย เป็นประจ�ำทุกต้นเดือน ซึ่งฉบับนี้มาพบกับทุกคนต้นสัปดาห์ที่ 2 ของเดื อ นมิ ถุ น ายน ซึ่ ง เป็ น เดื อ นส่ ง ท้ า ยครึ่ ง ปี แ รกของปี 2556 พันธกิจอีกมากมายของทีมงานบีบเข้ามารัดตัวเรามากขึ้น หนึ่งในเรื่อง ส�ำคัญที่เราได้รับโจทย์มา คือ การสร้างนักสื่อสารชุมชน ซึ่งทางทีมงาน เตรียมลงพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมขึ้นมาตอบรับแผนดังกล่าว ซึ่งจะขึ้นรูป ก่อร่างในเร็ววัน การพั ฒ นานั ก สื่ อ สารชุ ม ชน เป็ น เสมื อ นการเพิ่ ม แขนขาในการ ท� ำ งาน และเพื่ อ ให้ ชุ ม ชนมี ศั ก ยภาพเพิ่ ม ขึ้ น ท่ า มกลางความ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมที่เรื่องราวของสารในมิติต่างๆ ไม่ ว่าจะเป็น งานเขียน วีดีโอ ภาพและเสียง ที่ล้วนแล้วมีความส�ำคัญทั้ง สิ้น ซึ่งทางทีมเว็บไซต์จะรับผิดชอบเรื่องงานเขียน ตลอดจนภาพนิ่ง โดยจะพัฒนาและฝึกอบรม กระทั่งต่อยอดไปสู่บล็อกปันสุขที่เปิดขึ้น มาก่อนหน้าแล้ว เพื่อที่เพื่อนเครือข่ายจะสามารถแบ่งปันเรื่องราวของ ตัวเอง ตลอดจนแสดงศักยภาพของงานสื่อสารให้เป็นที่ประจักษ์ต่อไป วารสารปันสุขฉบับที่ 14 นี้ ยังมีเรื่องราวต่างๆ อยู่ครบถ้วน เหมือน ดังเช่นที่เคยน�ำเสนอมา อาจต้องขออภัยล่วงหน้า ถ้าจะต้องบอกว่า วารสารปันสุขจะเป็นแบบนี้ไปอีกสักระยะ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง จึงได้แต่ขอให้ผู้อ่านอย่ารีบเบื่อไป ทางทีมงานก�ำลังผลักดันทุกทางที่ เป็นไปได้ เพื่อที่จะพัฒนาวารสารปันสุขให้ดียิ่งขึ้นไปกว่าเดิม

บรรณาธิการ

ปันสุข


การบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม

บัญชีครัวเรือน ค�ำตอบของทุกปัญหา

เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของคนต�ำบลอุทัยเก่า อ�ำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี คือความ พร้อมใจกัน ด้วยสามารถมารวมตัวกันได้ง่าย ยามที่มีการประชุมหรือรวมตัวรวมกลุ่มกัน ไม่ ว่าจะเป็นท้องถิ่นท้องที่ทั้งระดับแกนน�ำอบต. ผู้ใหญ่บ้าน ไปจนถึงแต่ละหมู่บ้าน เรียกง่ายๆ ว่า เด่นที่ความสามัคคี สิ่งที่ท�ำให้ฝ่ายบริหารต�ำบลอุทัยเก่า เข้าถึงสาเหตุและที่มาของปัญหาชุมชนได้อย่าง แท้จริง คือการท�ำบัญชีครัวเรือ น โดยแนวคิดเริ่มแรกก็เพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันของชาว บ้านให้ตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยกระบวนการจัดท�ำ ‘ข้อมูล’ โดยชุมชน ผ่านกระบวนการจัดท�ำ แผนแม่บทชุมชนเมื่อปี 2542 ถือเป็นจุดเริ่มต้นการใช้ข้อมูล พอครบปีก็มีการประมวลผล พบว่าปัญหาหลักคือ ‘ความยากจน’ จากนั้นจึงน�ำมาเป็น ตัวตั้ง เพื่อก�ำหนดทิศทางการพัฒนาชุมชน โดยได้พัฒนาการจัดท�ำข้อมูลบัญชีครัวเรือนตาม แบบฟอร์มของ ธกส. จากนั้นในปี 2550 จึงเริ่มหันมาใช้แบบของส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน



ปันสุข


การวิจัย (สกว.) และด้วยความร่วมใจของชาวอุทัยเก่าท�ำให้ โครงการบัญชีครัวเรือนมีผู้เข้าร่วม และได้ผลครบ 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อมีการเก็บข้อมูลแล้วสะท้อนปัญหาให้ชาวบ้านเห็นก็สามารถ เดินหน้าแก้ปัญหา และพัฒนาสิ่งที่ยังขาดได้ตรงจุดมากขึ้น การท�ำบัญชีครัวเรือน พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การจดบันทึก และท�ำบัญชีรายรับรายจ่ายในแต่ละวันนั่นเอง เพราะของแบบนี้ ต้องจดทุกวัน แล้วจะเห็นชัด จนท�ำให้รู้สึกว่า ลมหายใจเข้าออก ของอุทัยเก่าอยู่ที่บัญชีครัวเรือนนั่นเอง ธีระเดช พงษ์ธนไพบูลย์ หรือถนอม นักพัฒนาชุมชนประจ�ำ ต�ำบล บอกเล่าเรื่องราวการจัดท�ำบัญชีครัวเรือนให้ฟังอย่าง ถี่ถ้วน เพราะรับหน้าที่วิทยากรประจ�ำฐานบัญชีครัวเรือนมาตั้งแต่ แรก เขาเสริมว่า แต่ละวันลืมอะไรก็ไม่ส�ำคัญเท่าลืมท�ำบัญชีครัว เรือน เมื่อทาง อบต. ได้รับข้อมูลบัญชีครัวเรือน และประมวลผล ครบเต็มจ�ำนวนเป็นที่เรียบร้อย ก็จะทราบว่า ปีหนึ่งๆ ชาวบ้าน เสียค่าใช้จ่ายในหมวดการลงทุนและอาชีพเยอะมาก อาทิ ซื้อยา ฉีดเพลี้ยกระโดด ฉีดยาบ่อยๆ ที่นา 1 ไร่ โดยเฉลี่ยต้องเสียค่ายา ฆ่าแมลงศัตรูพืชประมาณ 4,000 บาท เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ก็แน่ใจได้ว่า ชาวบ้านจะสามารถลดหรือ เพิ่มค่าใช้จ่ายที่ตรงไหนได้บ้าง เป็นที่มาของการหันหน้าเข้าหา ธรรมชาติ กลับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ น�้ำหมักสารไล่แมลงชีวภาพก็ สามารถลดค่าใช้จา่ ยชาวบ้านลงจาก 4,000 บาท เหลือประมาณ 1,800-2,000 บาทต่อไร่ การลงทุนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่ ผลผลิตยังได้เท่าเดิม หรือน้อยลงบ้างไม่มากนัก ไม่ได้นับก�ำไร ด้านความปลอดภัยที่เพิ่มเข้ามา ซึ่งจะเห็นว่าคุ้มแสนคุ้ม

ปันสุข


การจัดการสวัสดิการสังคมโดยชุมชน

ให้อย่างมีคุณค่ า รั บอย่างมีศักดิศ์ รี เจ้าหน้าที่คนหนึ่งในที่ท�ำการเทศบาลต�ำบลอุโมงค์ขานเรียก กองทุนออมทรัพย์ของต�ำบลว่า “ออมหมู” สร้างความแปลกใจ เป็นอันมาก กระทั่ง อวรวรรณ ขว้างจิตต์ รองนายกเทศมนตรี ต�ำบลอุโมงค์ ในฐานะเลขานุการกองทุน บอกว่า ทันทีที่เปิดบัญชี ชาวบ้านจะได้รับสมุดคู่ฝากเงินออม พร้อมกับกระปุกออมสิน คนละใบ ที่มาของชื่อกองทุนออมหมู เพราะตอนแรกแจกแต่หมูออมสิน หลังๆ ถึงมีช้างมีสัตว์อื่นเข้ามา ที่มาของกองทุนนี้ต้องย้อนไปในปี 2549 ด้วยกลุ่มผู้น�ำชุมชนเห็นว่า ข้าราชการ พนักงานของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ คนท�ำงานห้างร้าน บริษัทเอกชน ล้วนแล้ว แต่มีสวัสดิการรองรับ ทั้งค่ารักษาพยาบาล หรือเงินช่วยเหลือใน เวลาเจ็บป่วยฉุกเฉิน จึงอยากให้คนในชุมชนมีสวัสดิการ อย่าง น้อยก็พอพึ่งตนเองได้บ้าง และเห็นคุณค่าของตนเองในสังคม จึง 

ปันสุข

ประเมินความเป็นไปได้ของการจัดตั้งกลุ่มเงินออม โดยเริ่มท�ำใน หมู่ 10 ก่อน โดยเชิญผู้ที่ได้รับความนับถือและมีความสามารถใน ชุมชนมาเป็นคณะกรรมการ เสนอแนวคิดข้อเสนอ แนะ จนได้ข้อ สรุปออกมาเป็นการออมในลักษณะการให้สัจจะต่อตนเองต่อ ชุมชนต่อเพื่อนๆ ในสังคม อรวรรณเล่าต่ออีกว่า การออมสัจจะของที่นี่มีเงื่อนไขออมแค่ วั น ละหนึ่ ง บาท โดยมี รู ป แบบคณะกรรมการคั ด เลื อ กจาก ประชาชนในชุมชนจ�ำนวน 9-15 คน แนวทางการจัดสวัสดิการจะ มาจากการน�ำทั้งเงินออมและเงินรายได้ที่มีอยู่มาร่วมกันท�ำเป็น เกณฑ์การช่วยเหลือ แล้วออกเป็นระเบียบปฏิบัติให้เป็นมาตรฐาน เดียวกัน เป็นกติกาส�ำหรับใช้ร่วมกัน ปี 2555 มีจ�ำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 7,162 คน คิด เป็น 56 % ของ จ�ำนวนประชากรทั้งต�ำบล แต่แรกเริ่มมีสมาชิกห้าพันกว่า หลัง


จากกระตุ้นให้ชุมชนร่วมกันคิดกิจกรรมขยายจ�ำนวนสมาชิก ก็ สรุ ป ได้ ว ่ า ให้ ใ ช้ วิ ธี ก ารน� ำ เงิ น ออมมาใช้ เ ป็ น สวั ส ดิ ก ารให้ แ ก่ สมาชิก ไม่ใช่แค่ฝากอย่างเดียว โดยใช้เกณฑ์ครอบคลุมทั้งเกิดแก่ เจ็บตาย “เราน�ำเงินฝากมาเป็นดอกผล ซึ่งก็ก�ำหนดกันว่าจะมีให้ตั้งแต่ เกิด เรียน บวช แต่งงาน แต่งงานนี่เฉพาะครั้งแรกครั้งเดียวนะ แล้วก็เจ็บป่วย ตั้งท้อง เสียชีวิต อย่างเจ็บป่วยนี่เข้าโรงพยาบาล ได้คา่ เดินทางครั้งละร้อยบาท โดยไม่เกิน 12 ครั้งต่อปี ถ้านอนโรง พยาบาลก็ได้คืนละร้อยบาท ไม่เกิน 12 ครั้งต่อปีเหมือนกัน บวช เณรหนึ่งพรรษาขึ้นไปได้สองพันห้า บวชพระหนึ่งพรรษาขึ้นไปได้ สามพันบาท หากไม่ถึงหนึ่งพรรษาจะไม่ได้ เกณฑ์ทหารนี่ก็ได้นะ แต่ต้องสมัครจะได้สามพันบาท ผู้สูงอายุก็ได้กรณีฝากเงินครบ 180 วัน อายุครบ 70 ปี ได้ปีละ 600 บาท แล้วก็ลดหลั่นกันไป

มากน้อยตามกติกา จนฝากครบ 25 ปี อายุ 60 ปี ก็ได้ ปีละ 3600 บาท อย่างนี้เป็นต้น”อรวรรณเล่า วิธีการเก็บเงินจะมีตัวแทนในชุมชนนั้นๆ เป็นอันรู้กันว่าใครท�ำ หน้าที่ พอทุกวันที่ 10 ของเดือนก็จะน�ำเงินฝากพร้อมสมุดมาที่ คนๆ นั้น ตัวแทนรับเงินก็จะน�ำเงินไปฝากบัญชีที่เปิดไว้ส�ำหรับ กองทุนโดยเฉพาะที่ธนาคาร นอกจากนี้ กองทุนนี้ยังได้รับการ สนับสนุนเบื้องต้นจากเทศบาล เป็นเงิน 1 ล้านบาท ที่ผ่านมากองทุนไม่มีปัญหาอะไร ด้วยเป็นกองทุนที่ให้อย่างมี คุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี แต่ละครั้งที่มีการรับเงินสวัสดิการต่างๆ หากเป็นข้าราชการก็จะแต่งชุดข้าราชการเต็มยศ เป็นทหารก็เช่น กัน นักศึกษารับปริญญาแล้วก็แต่งชุดปริญญามารับ ชาวบ้าน ธรรมดาก็ จ ะแต่ ง ชุ ด ที่ เ รี ย บร้ อ ยและดี ที่ สุ ด มารั บ ทุ ก คนภู มิ ใ จ เพราะกองทุนไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของทุกคน

ปันสุข


เกษตรกรรมยั่งยืน

ได้วนั ละบาท ดีกว่าขาดวันละร้อย ผล โอดเปี้ย หรือที่รู้จักกันในนาม ลุงสี หรือ ปราชญ์ชาวบ้าน ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ประจ�ำหมู่ 7 บ้านคลองขุด ต�ำบลวังหลุม อ�ำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร อาศัยอยู่ใต้ความร่มรื่นของแมก ไม้ รอบรั้วอาณาเขต ‘ศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์เศรษฐกิจพอเพียง’ หน้าบ้านมีแคร่ไม้ไว้รับแขก ทั้งเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ “เมื่ อ ก่ อ นท� ำ นาแล้ ว เป็ น หนี้ เ ป็ น สิ น จนได้ ม าดู พ ่ อ หลวงใน โทรทัศน์ ก็เริ่มคิดว่า เราจะท�ำนาให้เป็นหนี้ไปท�ำไม ก็เลยเลิกท�ำ นา กลับมาปลูกผักเลี้ยงกบเลี้ยงปลา แล้วก็มาปลูกไม้ประดับ พอ อยู่ได้ ส่วนใหญ่ปลูกผักกาด ถั่ว มะเขือ แก้วมังกร มะละกอ ปลูก เอาไว้กิน เหลือกินค่อยเอาไปขาย ไม่ใช่จะปลูกส่งเป็นรถอะไร แค่ พอขายได้ไปวันๆ ลุงไม่ท�ำอย่างที่อื่น ที่ขายกันทีละมากๆ ไม่ หมด ก็ขาดทุน ลุงไม่คิดอย่างนั้น พ่อหลวงบอกว่า คนเราถ้ามีความ ต้องการน้อย ก็มีความโลภน้อย คนเราก็อยู่ได้ และอยู่เป็นสุข ลุง ถืออย่างนี้ตลอด” ลุงสีเล่าให้ฟัง

 ปันปัสุนขสุข

ตลาดของลุงผลนั้น ส่วนใหญ่จะขายตามบ้าน เขามาซื้อบ้าง ด้ ว ยเวลามี ง านบวชนาค งานแต่ ง บางที โ รงพยาบาลก็ ม าซื้ อ อบต.ก็ติดประสานงานให้ไปส่ง “บางทีเขามีบูธให้ ไปทีก็ห้าร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ไปวางผัก ขาย แต่ถ้าเราท�ำไม่ทันก็จะไม่เอาของที่อื่นมาลงทุน เอาแต่ของ เรา ลุงคิดว่า ได้วันละบาท ดีกว่าขาดวันละร้อย เราอยู่ได้ เราไม่ ซื้อกิน วันๆ จะกินอะไร ก็กินแต่ผักของเรา นอกจาก ซื้อยา ซื้อ ของใช้เป็นเสื้อผ้า อะไรเราก็ท�ำของเราได้ อยู่กันสองคนตายาย ก็ ท�ำอยู่อย่างนี้แหละ พอได้อยู่ได้กิน” ลุงสีเล่าต่อ ลุงผลว่า การอยู่แบบนี้ ไม่ร�่ำรวย ไม่มีรถ ไม่มีบา้ นใหญ่ๆ ด้วย การแค่อยู่อย่างเป็นสุข คนบ้านใกล้บ้านไกลก็มาดูความเป็นอยู่ที่ นี่ บางครั้งลุงผลก็เป็นคนออกไปสอนให้บา้ นที่สนใจปลูกผัก ปลูก ดอกไม้ ท�ำได้มากน้อยต่างกันไป บ้างไม่ได้เลยก็มี โดยปัจจัยที่ท�ำให้ชาวบ้านบางครัวเรือน ไม่อาจใช้ชีวิตอย่าง


พอเพียงได้ ลุงผลว่า เป็นเพราะมีความขยันไม่ถึง เพราะต้องใช้ ความอดทนประสานกับความขยัน อย่างที่สวนของลุงสีเอง ที่เห็น แมลงไม่ค่อยมาก เพราะได้ท�ำยาสมุนไพรใช้เอง “เหนื่อยก็พักผ่อน เช้าๆ ลุงจะขี่จักรยานคันหนึ่งไปเก็บผัก ขาย ได้วันละ 100-150 บาท แต่ไม่รวยนะ ไม่มีรถเครื่องขี่เหมือนเขา แต่สวนลุงนี่มีทุกอย่าง อย่างละนิดละหน่อย มีบ่อเลี้ยงกบเลี้ยง ปลา ความสุขของลุงอยู่ที่การท�ำ มันอยู่ที่ใจทั้งหมด นี่แค่ 2 ไร่ นะ แต่ลุงก็อยู่ได้ ไม่เหมือนตอนท�ำนาเป็นสิบๆ ไร่ แต่เป็นหนี้เป็นสิน” ลุงสีว่า เห็นอย่างนี้แล้ว รายได้ต่อปีของลุงสี จากการขายผักขาย ดอกไม้ตามงานวัด งานบวชนาค ก็มีถึงร่วม 3 หมื่น แลดูอาจไม่ มากเลยในปีหนึ่ง ซึ่งถ้าเทียบว่า นี่เป็นเงินเพียงเดือนเดียวที่ชาว เมืองหลวงหาได้ แต่มันก็เป็นเงินส�ำหรับชีวิตที่ไม่มีต้นทุน น�้ำไฟ นั้น ลุงสีว่า ใช้ไม่เคยถึงต้องจ่ายหลวง ซึ่งถ้าหากต้องการใช้มาก หน่อย ลุงสีก็มีเครื่องปั่นไฟเล็กๆ กลางสวน ขนาด 2 ไร่ ของแก “ลุงประหยัดตรงอื่น ลงพัดลมบ้าง ทีวีบ้าง บางครั้งมันไม่ จ�ำเป็นต้องใช้ เราลดของเราลง ที่จริงบ้านลุงก็มีทีวี ตู้เย็น แต่ใช้ไม่ เคยถึง 45 หน่วย ลุงไม่เสียค่าไฟมาเป็น ปีๆ” ลุงสีเล่าปิดท้าย

ปันสุข




การดูแลสุขภาพชุมชน

การแพทย์ผสมผสาน ใช้งานจริง ปราศจากอคติ ที่โรงพยาบาลพนมดงรัก เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา แห่งต�ำบลบักได อ�ำเภอ พนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ มีความพิเศษตรงที่ใช้การแพทย์แบบผสมผสาน ทั้งดั้งเดิม และสมัยใหม่เข้าไว้ด้วยกัน น�ำพาให้สงสัยว่า การแพทย์แบบนี้ จะเป็นที่ยอมรับของ ชาว บ้านได้ไหม เมื่อผู้ป่วยเข้ามารับบริการที่โรง พยาบาลของรัฐแห่งนี้ แต่หมออาจ รักษาด้วยต�ำราแผนโบราณ บ้างก็สมัยใหม่ตามแต่กรณีกัน ยิ่งเมื่อดูว่า ที่นี่เป็นโรง พยาบาล มิใช่สถานพยาบาลเล็กๆ

 ปันปัสุนขสุข


น.พ.อภิสรรค์ บุญประดับ – ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลแห่งนี้เป็นแพทย์สมัยใหม่ที่ยอมรับการแพทย์แผน โบราณ จนเกิดการน�ำเข้ามาใช้โรงพยาบาล ที่มีทั้งการฝังเข็ม การบีบนวดประคบด้วยสมุนไพร โดยหลักการ ของนายแพทย์อภิสรรค์นั้น เริ่มต้นมาจากว่า คนที่อยู่แถบชายแดนนั้น มักเข้าถึงเรื่องยายาก บางทีหาล�ำบาก จึงต้องหาทางเลือกตัวอื่น เข้ามาเสริม “แรกๆ ตอนผมเข้ามาเป็น ผอ. ที่นี่ใหม่ๆ ราว ปี 2550 ผมน�ำแนวทางนี้มาใช้ คนเขาก็ไม่ค่อยเข้าใจ หาว่าบ้า บ้าง ไม่เต็มบ้าง ท�ำมาหลายปีกว่าคนจะให้การยอมรับ หลักการท�ำงานของผมเน้นความเรียบง่าย พิสูจน์ความ จริงด้วยการปฏิบัติให้ชาวบ้านเห็นว่า การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีนมีประโยชน์อย่างไร ใช้ได้จริง อย่างไร อธิบายว่า เราไม่ได้ใช้เฉพาะแผนโบราณเท่านั้นแพทย์แผนปัจจุบันเราก็ใช้ด้วย แต่จะพิจารณาว่า ในขั้น ตอนไหนควรใช้กระบวนการใดในการบ�ำบัดผู้ป่วย” นายแพทย์อภิสรรค์เล่า เฉพาะแพทย์แผนโบราณอาจยังไม่ท้าทายเพียงพอ อีกหนึ่งแนวคิดที่หมออภิสรรค์ น�ำมาใช้จัดการดูแล สุขภาพของคนบักได ก็นับว่า น่าทึ่งไม่น้อย กับการใช้จิตบ�ำบัด “ผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า สาเหตุการป่วยของตนเป็นเรื่องเฉพาะทางร่างกาย เวลารักษาก็จะมุ่งไป แต่ตรงนั้นอย่างเดียว แต่กับที่นี่ หมอคิดว่า ไม่ใช่ เพราะเท่าที่เคยเก็บข้อมูลมา พบว่า อาการป่วยทั้งหลายมักมี สาเหตุทางจิตใจร่วมด้วย เช่น ความเครียดจากสภาวะเศรษฐกิจ หนี้สิน ความอบอุ่นในครอบครัว ในกรณีที่เรา เจอคนไข้ที่มีปัญหาอย่างนี้ เราจะน�ำหลักสมาธิ บ�ำบัด หลักสุขภาพยั่งยืนด้วยศีล 5 มาช่วยรักษา เพราะการให้ แต่ยานั้น เพียงแค่การรักษาที่ปลายเหตุไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ ที่สังเกต ตั้งแต่ท�ำมากว่า 5 ปี ผมถือว่า แนวทางนี้ ประสบความส�ำเร็จดีมาก ท�ำให้เราแก้ปัญหาได้ถูกจุด ที่ส�ำคัญคือ ลดปริมาณการใช้ยาได้มากทีเดียว อีกอย่าง การให้ผู้ป่วยรับยาต่อเนื่องนานๆ จะส่งผลให้เกิดการสะสมของสารเคมี ส่งผลต่อการท�ำงานของตับและไตอีก ด้วย” หมออภิสรรค์เล่า ยิ่งในเวลานี้ การท�ำงานในชุมชนก็เน้นไปที่การท�ำงานแบบเชิงรุกมากขึ้น ฝั่งโรงพยาบาลเองมีการออกเยี่ยม บ้าน เน้นกายใจคู่กัน ซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ท�ำงานเป็นสหวิชาชีพส่งเสริมการสร้างเครือข่ายใน การดูแลสุขภาพในชุมชน และส่งเสริมการด�ำเนินชีวิตครอบครัวอบอุ่นด้วย

ปันสุข




จัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

บ้านจลาโก กับสายน�้ำแห่งชีวิต

“เปาะลม” เป็นผู้น�ำแห่งจิตวิญาณ เป็นที่นับถือของคนในพื้นที่ ถ้าใครจะท�ำอะไรในจลาโก ต้องมา ปรึ ก ษาก่ อ น เป็ น ผู ้ อ าวุ โ สในหมู ่ บ ้ า น เป็ น คนที่ เ ห็ น ลุ ่ ม น�้ ำ อยู ่ กั บ ลุ ่ ม น�้ ำ มาตั้ ง แต่ เ ล็ ก ๆ จึ ง เห็ น ความ เปลี่ยนแปลงของลุ่มน�้ำมาตลอด วันนี้ เปาะลม หรือ ยีดิง สาแม แห่งต�ำบลมะนังดาล�ำ อ�ำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เป็นประธานกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน�้ำจลาโก ก่อนนี้ ช่วงน�้ำขึ้นในเวลาเช้าขณะตะวันก�ำลังสาดแสง และช่วงเย็นก่อนตะวันจะลับขอบฟ้า คือเวลาที่ ผู้ชายชาวจลาโกจะออกหาปลา พวกเขามีความช�ำนาญ และทักษะในการหาปลามาแต่ครั้งอดีต เกิดอยู่ กับน�้ำ โตอยู่กับน�้ำ และกินอยู่กับน�้ำ ค�ำนี้ไม่น่าจะเกินเลย แต่แล้วสายน�้ำที่เคยหล่อเลี้ยงชีวิตกับถูกย�่ำยี เปลี่ยนความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์-สัตว์น�้ำเมื่อวันวาน จนเกือบจะเหลือเพียงเรื่องเล่าแห่งความทรงจ�ำ “เมื่อสายน�้ำเปลี่ยนแปลงไป จับปลาได้น้อยลง” เปาะลมบอกเล่าด้วยภาษาถิ่นมลายู โดยมีลูกหลาน ช่วยถ่ายทอดอีกที “ก่อนหน้านี้อยู่กันโดยไม่ได้สนใจกันเท่าไหร่ ต่างคนต่างอยู่ระหว่างคนกับน�้ำ อยากท�ำอะไรก็ท�ำ” บัง มัติ นายกอบต.คนเดิมย้อนความหลังให้ฟัง ชาวบ้านจลาโกมีความสัมพันธ์กับลุ่มน�้ำมานาน เพราะลุ่มน�้ำนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิด ไม่วา่ จะเรื่องสัตว์น�้ำ การ ปลูกแตงกวา แตงโม ก็อาศัยแหล่งน�้ำจลาโกนี้มาช่วย แหล่งน�้ำ

 ปันปันสุสุข ข


ช่วยหล่อเลี้ยงการท�ำมาหากินของคนในบ้านจลาโก ย้อนกลับไปกว่า 5 ปี ปัญหาขยะในลุ่มน�้ำจลาโก การจับปลา ไม่เป็นระบบ มีบุคคลภายนอกท�ำการเบื่อปลา ใช้สารเคมี ช็อต ปลา นายทุนเข้ามาเซาะทราย มีการจับปลาในฤดูวางไข่ การกระ ท�ำเหล่านี้ท�ำให้ลุ่มน�้ำจลาโกเปลี่ยนไปจากเมื่อครั้งอดีต กระทั่ง วันหนึ่งชาวบ้านเริ่มเห็นความส�ำคัญ หาวิธีในการอยู่อย่างสมดุล ท�ำอย่างไรให้น�้ำเป็นสายน�้ำแห่งชีวิต “เราเริ่มตั้งกลุ่มมาตั้งแต่ปี 2550 ก่อนหน้านั้นปลาในลุ่มน�้ำ จลาโกน้ อ ยลงมาก เวลายกยอได้ วั น หนึ่ ง ไม่ ถึ ง ขวดโหล” อะดือแนง ยูโซะ หนึ่งในสมาชิกกลุ่มลูกหลานคนจลาโก ขานรับ จากนั้นมีการวางระเบียบในเรื่องการอยู่กับน�้ำ ทุกคนจึงมานั่ง คุยกันว่าระเบียบของเขาจะมีอะไรบ้าง “เปาะลม” เป็นผู้รวบรวม สมาชิ ก ทั้ ง หมด มี ก ารตั้ ง คณะกรรมการเพื่ อ เข้ า ไปดู แ หล่ ง น�้ ำ นายทุ น จะเข้ า มาต้ อ งผ่ า นคณะกรรมชุ ด นี้ ก ่ อ น ด้ ว ยความ ตระหนักว่าพื้นที่นี้เป็นของชุมชน ชุมชนต้องเป็นผู้จัดการ ชุมชน ต้องเป็นผู้อนุญาตและชุมชนต้องร่วมกันรับผิดชอบ รวมทั้งมีการ อนุรักษ์การจับปลาแบบดั่งเดิมคือ การยกยอ วันนี้ ตลอด 7 กิโลเมตรของสายน�้ำจลาโก ชาวบ้านในบ้าน จลาโกจึงช่วยกันดูแลรับผิดชอบ โดยสายน�้ำนี้ยังไหลผ่านต�ำบล ละหาร ในอ�ำเภอสายบุรี จนไปถึงจังหวัดนราธิวาส ตอนนี้ชาว บ้านใกล้เคียงเริ่มมาเรียนรู้กับชาวบ้านจลาโกแล้ว เพราะเห็น ความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ชาวจลาโกสามารถจับปลาได้ ตลอดปี “ลุ่มน�้ำจลาโกจะมีปลาตะเพียนมาก ตอนนี้ยอยกคนเดียวไม่ ขึ้นแล้ว บางทีครั้งหนึ่งปลาเข้ายอเต็มกระสอบปุ๋ยประมาณ 50 กิโล เห็นน�้ำตื่นขืนแบบนี้ปลาเยอะมาก” อะดือแนง คุยให้ฟัง ส่วนเปาะลม บอกว่าเห็นการเปลี่ยนที่ดีขึ้น สายน�้ำมีความ สะอาดขึ้น จับปลาได้เยอะขึ้น รู้สึกดีใจ และภาคภูมิใจที่มีลูก หลานช่วยกันดูแลต่อ มีคนเห็นความส�ำคัญเพิ่มขึ้น เมื่อปลามีมากขึ้น จึงน�ำไปสู่การต่อยอดการท�ำปลาส้ม เดี๋ยว นี้ปลาส้มมะนังดาล�ำเริ่มเป็นที่รู้จักของคนปัตตานีแล้ว ในอนาคต ชาวจลาโกวางแผนว่าจะมีการสร้างมาตรฐานปลาส้มมะนังดาล�ำ เพื่อไปสู่วิสาหกิจชุมชน “ถ้าถามหาปลาส้มในอ�ำเภอสายบุรี เขาจะมาที่บ้านจลาโก เป็นอันดับแรก ตอนนี้กลายเป็นแหล่งผลิตไปแล้ว” คนจลาโก บอกด้วยความภาคภูมิใจ

กฎและข้อปฏิบัติร่วมของกลุ่มรักษ์ลุ่มน�้ำ 1. ต้องร่วมกันท�ำความสะอาดลุ่มน�้ำจลาโกอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 2. ต้องร่วมกันขุดลอกคลองที่มีจุดตื้นเขินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 3. ต้องร่วมกันสอดส่องดูแลไม่ให้คนนอกพื้นที่มาท�ำการเบื่อปลา ช็อดปลาและจับสัตว์น�้ำตัวเล็กๆ 4. ห้ามจับปลาในฤดูวางไข่ 5. ห้ามจับปลาโดยใช้ยาเบื่อ 6. ห้ามจับปลาโดยใช้ไฟฟ้าช็อด 7. ห้ามทิ้งขยะมูลฝอยลงในแหล่งน�้ำ 8. ห้ามปล่อยน�้ำเสียลงในแหล่งน�้ำ 9. ห้ามปลูกสิ่งก่อสร้างถาวรวัตถุล�้ำลงไปในลุ่มน�้ำ 10. ห้ามจับปลาโดยใช้อวนหรือยอที่มีตาถี่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร 11. ต้องมีการประชุมท�ำความเข้าใจอย่างน้อย 2 เดือนครั้ง 12. ต้องร่วมกับปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด

ปันสุข




การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน

ห้องสมุดชุมชน พื้นที่เพื่อการเรียนรู้ ระบบการศึกษาเพื่อสังคมของต�ำบลโพนทอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ มาจากความต้องการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นใน กลุ่มเด็กและเยาวชน โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างการมีส่วนร่วมไม่ให้พวกเขาใช้เวลาว่างไปใน ทางที่ผิด เมื่อความรู้พื้นฐานเกิดขึ้นแล้ว ต่อไปคือ ต้องให้พวกเขารู้ว่า ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนมีความเป็นเจ้าของชุมชน ไม่ต่างจาก ผู้ใหญ่ หรือคนอื่นๆ จากนั้นจึงค่อยๆ เติมแนวคิดในการช่วยเหลือเกื้อกูลกันเข้าไปให้เขาซึมซับทีละน้อย มีปัญญาดุจดั่งมีอาวุธ เด็กยุคใหม่มีความรู้ที่ถูกยัดเยียดอยู่เต็มสมอง แต่ปัญญาในการประยุกต์ใช้เป็นคนละส่วน ถ้าไม่สนใจที่จะศึกษาหาความรู้ สิ่งที่มีอยู่ก็อาจไม่ต่างจากกล้ามเนื้อที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน อย่างที่เขาบอกว่า เก่งไม่กลัว กลัวขยัน หรือความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ส�ำนวนเก่าๆ เหล่านี้ ยังสามารถน�ำมาใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย

 ปันปัสุนขสุข


ณ หมู่ 4 บ้านหนองหญ้ารังกา ห้องสมุดประชาชนเปิดบริการ ทุกวันอาทิตย์ เพื่อให้นักเรียน หรือผู้ที่สนใจมาศึกษาค้นคว้าหา ข้อมูลให้แก่ตัวเอง โดยมี นุ๊ก – จุฑาทิพย์ สวมชัยภูมิ เป็นผู้ดูแล ส�ำหรับกิจกรรมของห้องสมุดที่นี่ นุ๊กเล่าว่า จะมีโครงการ ‘พี่ สอนน้อง’ หรือจัดสอนหนังสือให้แก่เด็กๆ บ้านหนองหญ้ารังกา และหมู่บ้านใกล้เคียง วิชาที่สอนเป็นคณิตศาสตร์ หรือไม่ก็ภาษา อังกฤษ โดย นุ๊ก ที่ก�ำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นผู้สอน ความหลากหลายของหนังสือที่เรียงรายอยู่บนชั้นทั้งภาษา ไทย และภาษาอังกฤษ แยกเป็นหมวดหมู่น่าอ่าน ไล่มาตั้งแต่ ประวัติศาสตร์ สารคดี เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ ส�ำหรับเด็ก และที่ขาดไม่ได้คือ นิทาน และวรรณกรรม เยาวชน มี ทั้งส่วนที่ได้รับบริจาค และจากงบจัดซื้อของ อบต.โพนทอง เอง นอกจากนี้ นุ๊กบอกอีกว่า กลุ่มเยาวชนของที่นี่ ยังมีส่วนช่วยเพิ่ม จ�ำนวนหนังสือใหม่ให้ห้องสมุดเช่นกัน

“งานลอยกระทงที่ผ่านมาทางกลุ่มเยาวชนก็ได้ช่วยกันท�ำ กระทงขาย และเราก็มอบเงินส่วนหนึ่งให้แก่ห้องสมุด เพื่อไปซื้อ หนังสือใหม่” นุ๊กเล่า นอกจากกิจกรรมพี่สอนน้องแล้ว ที่บริเวณหน้าห้องสมุดยัง เป็นที่ตั้งของ ‘ธนาคารขยะ’ กิจกรรมเพื่อปลูกฝังความรู้ความ เข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการของเหลือใช้ โดยให้เด็กๆ น�ำขยะมาทิ้ง ที่นี่ แต่ต้องท�ำการแยกประเภทให้ถูกเสียก่อนว่า อันไหนเป็นขยะ แห้ง ขยะเปียก กระดาษหรือวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ แล้วจึงน�ำ ไปแลกเปลี่ ย นเป็ น ยอดเงิ น สะสม เมื่ อ ครบรอบปี รายได้ ก็ ถู ก กระจายสู่มือน้องๆ ในชุมชน เมื่อเด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการเรียนรู้ จึ ง เกิ ด แกนน� ำ ธรรมชาติ จ ากเยาวชนคนรุ ่ น ใหม่ ที่ ส ร้ า งสรรค์ กิจกรรมต่างๆ ซึ่งนับเป็นวิธีการสร้างคนรุ่นใหม่ได้อย่างน่าสนใจ

ปันสุข




เศรษฐกิจชุมชน

กล้ วยเกยกิ๋น อาชีพเสริมเพิม่ รายได้

ระบบเศรษฐกิจชุมชนบ้านหนองหล่ม ต�ำบลหนองหล่ม อ�ำเภอดอกค�ำใต้ จังหวัดพะเยา ให้ความส�ำคัญกับ กระบวนการมีส่วนร่วม ในการร่วมคิด ร่วมสร้าง และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีการบริหารจัดการที่มีระบบสร้างความ เข้มแข็งให้กับกลุ่ม และยังสร้างจิตส�ำนึกให้ชุมชนเป็นเจ้าของและด�ำเนินงานโดยกระบวนการชุมชนที่จะต่อยอด กิจกรรมเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเอง และ3ร้างความเชื่อมโยงกับกลุ่มต่างๆ สร้างกระบวนการเรียนรู้วิเคราะห์ ปัญหาสู่แนวทางการแก้ไขแบบพึ่งตนเอง โดยการศึกษา เรียนรู้ แบ่งปันความรู้ต่อบุคคลทั้งภายในและภายนอก กลุ่มกล้วยเกยกิ๋นเริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2547 จากการริเริ่มของ อรวรา เผ่ากันทะ ซึ่งเคยไปดูงาน ของธนาคาร สหกรณ์ ก ารเกษตร สาขาดอกค� ำ ใต้ ที่ ชื่ อ ว่ า โครงการธ.ก.ส.สายสั ม พั น ธ์ จั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก และจั ง หวั ด ก�ำแพงเพชร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแปรรูปผลผลิตในชุมชน เช่นกล้วยหอมทอง กล้วยน�้ำว้า และสมุนไพรที่หาง่ายๆ ในท้องถิ่น ข่า ตะไคร้ พริก จึงท�ำให้เกิดแนวคิดว่า ที่บ้านหนองหล่มก็มีต้นทุนดังกล่าว น่าจะสามารถแปรรูปเพื่อ ให้เกิดรายได้แก่ชุมชนได้ เพราะเข้าใจดีว่า นอกเหนือจากฤดูกาลท�ำไร่ท�ำนาแล้ว จะมีแรงงานบางส่วนที่ไม่มีรายได้ และยังพอมีเวลา ว่างอยู่ ถ้าน�ำเวลาและแรงงานนั้นมาสร้างผลผลิตก็จะเกิดรายได้ขึ้น และหากสามารถใช้ผลผลิตที่มาจากท้องถิ่น



ปันสุข


ก็จะท�ำให้เกิดต้นทุนที่ต�่ำ และจะเป็นการท�ำให้เกิดการหมุนเวียน ของเศรษฐกิจในท้องถิ่น ด้วยความรู้จากการดูงานส่วนหนึ่ง ประกอบกับการลองถูก ลองผิด โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างวิสาหกิจชุมชนในระดับเครือ ข่ าย นางอรวราจึ ง ได้ ชักชวนญาติพี่น้อ งมาช่วยกันท� ำสิ น ค้ า อาหารแปรรูปจากกล้วยขึ้นโดยใช้ชื่อว่า กล้วยเกยกิ๋น “ช่วงแรกๆ ก็ทอดทิ้งไปเยอะ กว่าจะพบวิธีที่ท�ำให้กรอบอร่อย” ผู้เป็นประธานกลุ่มเล่าอย่างข�ำๆ ซึ่งเมื่อผ่านวันนั้นมาแล้วผลผลิต ในนามของกลุ่มกล้วยเกยกิ๋น ก็เป็นที่ยอมรับว่าอร่อยถูกปาก คนในท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ผลผลิตของกล้วยเกยกิ๋น จะเป็นกล้วยฝานบางแล้วทอดให้ กรอบ ซึ่งกล้วยที่น�ำมาใช้ทอดนี้ส่วนหนึ่งมาจากการอุดหนุนชาว บ้านด้วยกัน และบางส่วนก็มาจากการที่ทางกลุ่มได้ปลูกไว้ โดยการท�ำจะน�ำกล้วยดิบมาปอกเปลือกแช่น�้ำไว้ จากนั้นจึง น�ำไปสะเด็ดน�้ำ ก่อนที่จะฝานให้บาง แล้วจึงใช้ เนย น�้ำตาล เกลือ ป่น และน�้ำเปล่ามาผสมกันก่อนที่จะเอากล้วยที่ฝานไว้ไปเคล้าให้

ทั่ว แล้วน�ำไปทอดในน�้ำมันจนกรอบ เมื่อพักไว้จนสะเด็ดน�้ำมัน และเย็นแล้วจึงน�ำมาใส่ถุงเก็บไว้ โดยสินค้าของกลุ่มกล้วยเกยกิ๋น จะมีทั้งแบบที่เป็นกล้วยทอดรสธรรมชาติ และกล้วยทอดรสหวาน การจ�ำหน่ายก็จะเป็นทั้งแบบชั่งกิโลขาย และแบ่งขายเป็นถุง เล็กๆ เพื่อให้สะดวกต่อการซื้อกิน โดยมีรูปเด็กอ้วนเป็นตราสินค้า ในขณะที่ช่วงไหนมีแรงงาน และมีช่องทางการขาย กลุ่มก็จะ แปรรูปน�้ำพริกออกมาจ�ำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิก ช่อง ทางจ�ำหน่ายสินค้าของกลุ่มหลักคือการจ�ำหน่ายในงานออกร้าน ที่ทางจังหวัด และต�ำบลจัดขึ้น หัวใจส�ำคัญของการท�ำงานของกลุ่มกล้วยเกยกิ๋น จะอยู่ที่การ รวมตั ว กั น ใช้ ต ้ น ทุ น ที่ มี ผนวกเข้ า กั บ เรี ย นรู ้ เ พิ่ ม เติ ม อี ก ทั้ ง ประสานกับการท�ำงานของกลุ่มอื่นๆ ด้วยเช่น การให้เด็กจากศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กได้มาเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายต่อไปของกลุ่มคือการที่ จะผลิตและจ�ำหน่ายให้ได้มากขึ้น เพื่อท�ำให้สินค้าได้ขยายต่อไป ในระดับของธุรกิจโอท็อป

ปันสุข

 


ภูมิปัญญาชาวบ้าน

นักถักทอผืนพรมแห่งชุมชนบ่อแร่

วิถีชีวิตของผู้คนในต�ำบลบ่อแร่ อ�ำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร ท�ำนาปลูกข้าว หลังจากหมด หน้าฤดูท�ำนาจึงมีเวลาว่าง บ้างก็ออกไปเป็นแรงงานรับจ้างต่างที่ ต่างถิ่น ทั้งในอ�ำเภอ ต่างอ�ำเภอ หรือต่างจังหวัด บ้างก็เดินทาง เข้าไปท�ำงานในกรุงเทพฯ ส่วนคนที่ไม่ได้ออกไปท�ำงานรับจ้าง ต่างถิ่น จึงพยายามหาอาชีพเสริมตามความสนใจของตน เหมือน กับพี่หนู วรนุช ครุฑพันธ์ และพี่บังอร พุ่มใย สองแม่บ้านผู้เป็นหัว เรี่ยวหัวแรงของกลุ่มทอพรมเช็ดเท้า หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งแห้ว พี่หนูเอ่ยเล่าความเป็นมาของกลุ่มทอพรมเช็ดเท้าให้ฟังว่า “แต่ก่อนเราท�ำนาปีละครั้ง หลังจากหมดหน้านา เราก็มีเวลาว่าง ไม่ มี อ ะไรท� ำ จึ ง อยากหาอาชี พ เสริ ม พอดี เ รามี โ อกาสได้ ไ ปดู งานการทอพรมเช็ดเท้าที่อยู่ในเขตอ�ำเภอหนองขาหย่าง จังหวัด อุทัยธานี กลับมาก็มาเล่าสู่กันฟัง พวกเราก็สนใจกัน พอทางอบ ต.ลงมาประชุมประชาคมในหมู่บ้าน เราก็เสนอไปว่าอยากท�ำ กลุ่มทอพรมเช็ดเท้า”  ปันปัสุนขสุข

กลุ ่ ม ทอพรมเช็ ด เท้ า ถื อ ก� ำ เนิ ด ขึ้ น ในปี 2549 โดยผ่ า น ประชาคมหมู่บ้าน และมีมติเห็นพ้องต้องกันว่าต้องการท�ำอาชีพ เสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวในยามว่าง ประกอบกับการ ทอพรมท�ำได้ง่าย วัตถุดิบหาง่ายและมีราคาไม่แพงนัก ภายหลัง จากประชาคมได้มีมติให้จัดตั้งกลุ่มทอพรมเช็ดเท้าแล้ว จึงได้มี การรวบรวมสมาชิกที่สนใจเข้าร่วมได้จ�ำนวน 22 คน ใช้พื้นที่ ศาลากลางหมู ่ บ ้ า นหมู ่ ที่ 2 เป็ น ที่ ด� ำ เนิ น การของกลุ ่ ม โดยมี องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลบ่ อ แร่ และส� ำ นั ก งานพั ฒ นาสั ง คม หน่วยที่ 9 เข้ามาสนับสนุน “เรารวบรวมสมาชิกได้ทั้งหมด 22 คน ทางนายก อบต. ท่านก็ ให้การสนับสนุน จัดหาคนมาช่วยสอนการทอพรมให้พวกเรา ทั้ง ยังจัดหาวัสดุอุปกรณ์ส�ำหรับการทอพรม มีทั้งกี่ทอ เศษผ้า ด้าย และไม้อัดที่เราเอามาไว้ส�ำหรับสอด พร้อมส�ำหรับลงมือท�ำได้เลย เมื่อวัสดุอุปกรณ์พร้อมสรรพ สมาชิกกลุ่มก็พร้อมที่จะเริ่มต้นทอ พรมผืนแรก แต่พี่หนูบอกว่ามันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น “ตอนเริ่มแรก


ท�ำยากมาก เราต้องร้อยด้ายเข้ากับกี่ทอผ้าเสียก่อน โดยสอดผ่าน ฟืมที่ใช้ในการทอ ตอนแรกก็งงๆ ก็ต้องให้เขามาสอนร้อยด้าย พอ ร้อยด้ายเสร็จก็เริ่มทอพรม เริ่มทอก็ยากอีกเพราะเราท�ำไม่ค่อย เป็น ก็ตอนนั้นยังมือใหม่นี่นะ” พี่หนูเอ่ยเล่าพลางหัวเราะ ประกอบกับที่นี่มีสมาชิกที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งมีพื้นฐานในการทอ เสื่อกกมาก่อน เขาก็มาช่วยสอนให้ เพราะในสมัยก่อนคนใน หมู ่ บ ้า นจะทอเสื่ อ ไว้ ใ ช้ เอง แต่ล ะบ้านต่ างท�ำของใครของมั น เพราะก่อนนั้นต้นกกกับปรือยังพอหาได้ง่ายในหมู่บ้าน แต่เดี๋ยวนี้ กกปรือไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว โดนยาฆ่าหญ้าบ้าง โดนสารเคมีที่ใช้ ในการเกษตรบ้าง พืชพวกนี้เลยตายหมด การทอเสื่อก็พลอยหาย ไปด้วย หลังจากฝึกฝีมือจนช�ำนาญแล้ว พี่หนูบอกว่าความจริงการทอ พรมไม่มีอะไรซับซ้อนมากนัก ความที่ตอนแรกยังใหม่ มือไม้ยังไม่ เข้าที่เข้าทางจึงมองดูว่าเป็นเรื่องยาก ขั้นตอนการทอพรมเริ่มจาก การคัดแยกผ้าที่รับซื้อมาจากพ่อค้าคนกลางที่น�ำผ้ามาขายส่ง ปัจจุบันราคาผ้าเพิ่มขึ้นจากเดิมกิโลกรัมละ 12 บาทเป็น 14 บาท พี่บังอรเล่าว่า ผ้าที่รับซื้อมาจากพ่อค้าคนกลางเป็นเศษผ้า ทั่วไป มีสองชนิดคือ แบบที่เป็นเส้นกลม กับแบบที่เป็นเส้นแบน บางทีก็มีเศษผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ต้องน�ำมาต่อกันให้ได้ความยาว ตามขนาดของผืนพรม ประมาณ 60 เซนติเมตร “ต่อเศษผ้าเราจะต่อด้วยการใช้กรรไกรตัดให้เป็นรูทั้งสองข้าง แล้วเอาผ้าสองเส้นสอดร้อยเข้าด้วยกัน โดยไม่ต้องผูกหรือมัด ข้อดีคือผ้าจะไม่เป็นปม และดูสวยงามขึ้น” พี่บังอรสอนวิธีการต่อ เศษผ้า พร้อมกับสาธิตการต่อผ้าให้ดู ภายหลังจากร้อยด้ายเข้ากี่ทอเรียบร้อย ปรับเส้นด้ายให้ตึง พอดีแล้วล็อคกี่เอาไว้ ระหว่างการทอจะต้องคอยดูด้ายไม่ให้ติด หรือพันกัน เพื่อป้องกันเส้นด้ายขาด ในการทอพรมจะใช้อุปกรณ์ อีกชิ้นหนึ่งคือ ไม้ยาวติดเข็มแหลมตรงปลายไม้(แทนกระสวย) ไว้ ส�ำหรับสอดเข้าไปตามฟืม จากนั้นจึงเริ่มทอผืนพรมด้วยการใส่ผ้า แบบเส้นกลมก่อน 3 เส้น สอดเข้าฟืมทีละเส้น โดยแต่ละครั้งของ การสอดผ้าเข้าฟืม จะต้องพลิกฟืมสลับกันระหว่างการหงายฟืม และคว�่ำฟืม หลังจากสอดเส้นกลมแล้ว ดึงฟืมลงกระทบให้แน่น จากนั้นจึง สอดใส่เส้นแบนเข้าในฟืม โดยการเลือกผ้าสีในการสอดใส่ เพื่อให้ ได้ ผื น พรมที่ อ อกมาเป็ น ลวดลาย สอดผ้ า สามสี่ เ ส้ น แล้ ว ค่ อ ย กระทบฟืมลงมาสักครั้งหนึ่ง เพื่อให้ผืนพรมแน่นและสม�่ำเสมอ จากนั้นจึงทอต่อไปเรื่อยๆ จนได้ขนาดความกว้างของผืนพรมที่ ต้องการ ยาวตามขนาดของไม้วัด หรือประมาณ 40 เซนติเมตร

แล้วจึงสอดเส้นกลมอีก 3 เส้น แล้วใส่แผ่นไม้สอดคั่นเอาไว้ เป็น อันเสร็จพรมหนึ่งผืน และเริ่มทอผืนใหม่ด้วยการสอดเส้นกลมอีก 3 เส้น และจะทอพรมอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนแผ่นไม้ที่มีไว้สอดคั่น หมด พี่บังอรกับพี่หนูช่วยกันจัดเส้นดายให้เรียบร้อย แล้วสาธิตการ ทอพรมให้ เ ราชม เสี ย งกระทบฟื ม เป็ น จั ง หวะหนั ก แน่ น และ สม�่ำเสมอ ด้วยฝีมือของผู้ช�ำนาญ พรมแต่ละผืนจึงถูกถักทอจน เสร็จด้วยเวลาไม่นานนัก “พรมที่เราทอเสร็จ เราจะยกพรมทั้งม้วนเอาไปให้กับสมาชิก กลุ่มผูกที่บา้ น ไปถึงเขาจะตัดด้ายตามไม้ที่เราสอดคั่นเอาไว้ แล้ว ผูกให้แน่น เพื่อไม่ให้พรมหลุดออกจากกัน เราจะจ้างเขาผืนละ 6 สลึง 2 ผืน 3 บาท เสร็จแล้วเราจะมาตัดแต่งริมของพรมอีกครั้ง” พี่หนูเอ่ยยิ้มๆ แอบกระซิบว่า “เป็นเพราะเราไม่มีเวลาท�ำ เวลาทอ ก็อยากทอให้ได้เยอะๆ เลยไม่มีเวลามัดเอง” ครั้นเมื่อทอพรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีพ่อค้าคนกลางซึ่งเป็น คนเดียวกับคนทีน่ ำ� ผ้ามาส่ง มาติดต่อขอรับซือ้ พรมครัง้ ละจ�ำนวน มากๆ ในราคาขายส่งผืนละ 12 บาท พี่หนูเล่าให้ฟังว่า ผ้า 1 กิโลกรัมจะสามารถทอเป็นพรมได้ประมาณ 2 ผืน โดยจะมีการ หักเงินของสมาชิกเป็นค่าผ้ากิโลกรัมละ 1 บาท หรือผืนละ 50 สตางค์เพื่อเก็บเข้ากองทุนของกลุ่ม ส�ำหรับจ่ายค่าน�้ำประปา ค่า ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ที่จ�ำเป็น “พ่ อ ค้ า คนกลางจะเป็ น โทรศั พ ท์ ม าถามว่ า เรามี พ รมไหม เพราะเขาจะรับซื้อครั้งละประมาณ 1,000 ผืน เพื่อเอาไปใช้วาง รองผลไม้ที่ต้องส่งไปต่างประเทศ” พี่หนูอธิบายเพิ่มเติม “ตอน แรกที่มีคนมาสอน เขาสอนท�ำลายสามเหลี่ยม สีเหลี่ยมเล็กๆ แต่ พ่อค้าคนกลางเขาบอกว่าขายไม่ได้ เพราะเขาเอาไปใช้รองผลไม้ แม้เราจะขายปลีกได้บ้าง แต่ก็ไม่เยอะนัก เพราะส่วนใหญ่เราจะ ส่งให้พ่อค้าคนกลางเจ้าเดียว เพียงแต่ช่วงนี้ทางกลุ่มไม่ค่อยมี เวลาว่างกันสักเท่าไหร่ เพราะช่วงนี้ขา้ วได้ราคาดี” “ขายปลีกตอนนี้เราขายผืนละ 20 บาท เพราะผ้าขึ้นราคา มี คนที่รู้จักจะแวะเข้ามาถามซื้อบ้าง แต่ก็ไม่เยอะนัก ซึ่งถ้าเรา สามารถขยายตลาดการค้าปลีกได้ เราก็สามารถพัฒนาลวดลาย ให้สวยงามขึ้นได้” พี่หนูพูดยิ้มๆ แม้ ป ั จ จุ บั น กลุ ่ ม ทอพรมเช็ ด เท้ า จะมี ป ั ญ หาอยู ่ ต รงพ่ อ ค้ า คนกลางที่มีลักษณะผูกขาดเพียงคนเดียว แต่พี่วรนุชและพี่บังอร ก็ยังมีความหวัง ที่จะหาหนทางในการขยายตลาด และพัฒนา ปรับปรุงพรมให้ดีและสวยงามมากขึ้น

ปันสุข




แรงบันดาลใจ

กระเป๋าสานจากผักตบชวา ย้อนกลับไปสัก 20 ปีก่อน อ่อมแก้ว ดลสา หรือ ป้าอ่อม ได้ ริเริ่มก่อตั้งกลุ่มจักสานจากผักตบชวา จากความคิดที่จะให้หมู่ 3 บ้านวังหลุม อ�ำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เป็นหมู่บ้านน�ำร่อง ในการพัฒนาอาชีพ ป้าอ่อม เล่าว่า ทีแรกตั้งกลุ่ม 50 คน แต่ท�ำจริงๆ แค่ 15 คน ด้วยตอนแรก ไม่ได้สนใจมากนัก เพราะเห็นผักตบชวาไร้ค่า เก็บ มาก็ตากไว้ตรง ศูนย์อบต. เมื่อมีวิทยากรมาให้ความรู้ เตรียมเข็ม เตรียมอะไรมาให้ สอนกลุ่มท�ำ ท�ำเป็นกระจาด จากนั้นก็เริ่มท�ำ เป็นกระเป๋า พอดีมีงานออกร้านที่สวนอัมพร ก็มีการรวบรวมไป ประมาณ 50 ใบ เหมือนเปิดตลาด จากนั้นก็มีลูกค้าตามมา แล้ว ก็มีวิทยากรมาสอนเพิ่มเติมทุกปี “ทุกวันนี้แบ่งงานกันท�ำ พวกที่เก็บผักก็ท�ำหน้าที่เก็บผัก พวก ท�ำฟั่นเชือกก็ท�ำฟั่นเชือก มีคนสานคนเย็บ ซึ่งเริ่มท�ำมาได้ 10 ปี แล้ว เมื่อก่อนนี้ท�ำแบบในครัวเรือน ท�ำใบต่อใบ ไม่ได้ท�ำเป็นขั้น ตอนอย่างทุกวันนี้ เพราะการท�ำแบบเมื่อก่อนมันช้า” ป้าอ่อมเล่า ถ้าถามว่า อะไรท�ำให้กระเป๋าจากวังหลุมโดดเด่น ป้าอ่อม ตอบว่า งานของกลุ่มมีความเรียบร้อย ละเอียด ถ้ากระเป๋าใบใด ไม่ได้ขนาด ก็ไม่ส่งให้ลูกค้า ซึ่งป้าอ่อมจะเป็นคนดูเองทั้งหมด 

ปันสุข

ลูกค้าของกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่มาจากกรุงเทพฯ ตรัง พัทยาบ้าง อีสานบ้าง พิษณุโลกก็มี แต่ลูกค้าหลักจริงๆ คือ สวนจตุจักร ประมาณ 5-6 เจ้า สั่งประมาณ 300 ใบ ทางกลุ่มจะบุผ้าด้านใน อย่างเดียว ส่วนลูกค้าจะไปใส่ลายกระเป๋ากันเอง สมาชิกกลุ่มในวันนี้ มีราวร้อยกว่าคน ซึ่งในจ�ำนวนนี้ไม่ได้ สานกระเป๋าอย่างเดียว มีแบ่งหน้าที่ไปเก็บผักตบชวาด้วยราวๆ 20 คน ซึ่งกลุ่มที่เก็บผัก ก็ไม่ได้ขายให้เราอย่างเดียว จะมีการเก็บ ไว้ขายให้กับที่อื่นที่มารับซื้อด้วย กระเป๋าของกลุ่มป้าอ่อมมีอายุใช้งาน 5 ปี ขึ้นไป มีความ เหนียวและทนทานเป็นพิเศษ ชนิดเด็กซนๆ อย่างหลานป้าอ่อม ที่ เป็น ลูกมือกระโดดขึ้นไปทับยังไม่เป็นไร “วิธีเย็บยังใช้มือ เพราะแข็งแรงทนทานกว่าเย็บด้วยจักร ส่วน เนื้อผ้าด้านใน ซื้อจากทางเหนือบ้าง พาหุรัดบ้าง แต่ก็มีบางคนที่ น�ำผ้าของเขามาเอง น�ำไปใส่ยี่ห้อเอง” ป้าอ่อมเล่าต่อ ทุกวันนี้ การท�ำกระเป๋าที่ป้าอ่อมเรียกมันว่า งานเสริมนั้น แต่ กลับเลี้ยงตัวในระดับพออยู่ได้ มิเพียงแต่หัวเรือหลักอย่างป้าอ่อม หลายคนในกลุ ่ ม ยั ง สามารถเลี้ ย งตั ว ด้ ว ยการท� ำ กระเป๋ า เพี ย ง อย่างเดียว โดยไม่พึ่งรายได้หลักจากการท�ำเกษตรเลย


“ก่อนจะรับออเดอร์ ต้องถามเขาก่อนว่า เขาอยากได้เท่าไหร่ เพราะเราไม่ได้ไปกดราคาเขา พอเขาบอกราคามา เราก็เอาไป บอก ลูกค้าต่ออีกที ถ้าลูกค้าว่า แพงไป เราก็กลับมาบอกเขา แล้ว แต่ชาวบ้าน ต่างคนต่างพอใจ ที่นี่จะเป็นศูนย์กลางในการกระ จายสินค้าจากกลุ่มแม่บ้านในหมู่ 3 ซึ่งรับออเดอร์ท�ำ กระเป๋าไป ท�ำที่บ้าน โดยมีการนัดวันส่งทุกวันเสาร์ ไม่ให้เกินบ่ายสอง” ป้า อ่อมขยายความการท�ำงานของกลุ่ม ป้าอ่อม บอกว่า การท�ำงานช่วยให้ไม่เหงา ทุกวันเสาร์ทุกคน จะมารวมกันเต็มหน้าบ้าน เพื่อรอรับการจ่ายเงิน รวมถึงพูดคุย สัพเพเหระ “บางครั้ง เขาก็บอกว่า อย่าเพิ่งเลิกนะ บางคนก็บอกลูกยังไม่ จบ ไม่รู้ลูกจบไปกี่รุ่นแล้ว เพราะบางครั้งเราก็เบื่อ แต่ท�ำไงได้ เรา ท�ำมา 20 กว่าปีแล้ว แต่ตอนนี้ป้าก็เริ่มมองถึงการพักบ้างแล้วละ เริ่มท�ำสวนบ้างแล้ว ปลูกกล้วย ปลูกมะนาว มันง่าย คือมีทุก อย่าง ถ้าเข้าไปในสวน มีพริก มีมะพร้าว แต่ไม่เยอะนะ อย่างละ นิดละหน่อย ตามประสาคนแก่ เช้าๆ ตื่นมาก็เข้าสวน” ป้าอ่อม เล่าความคิดตัวเองให้ฟัง นอกจากนี้ ป้าอ่อมยังบอกอีกว่า ตัวเป็นลูกชาวสวนธรรมดา แต่สามารถเข้ากับคนได้ทุกระดับ ตั้งแต่คุณหญิงยันนายกฯ ส่วน ใหญ่จะมอบค�ำชมให้ปา้ อ่อม เกิดเป็นความภาคภูมิใจในงานที่ตัว ได้ท�ำ กระนั้นใช่ว่า ป้าอ่อมจะไม่เคยได้รับก้อนอิฐ ป้าอ่อมเล่าว่า เคยโดนเขาดูถูก แต่นั่นก็เป็นเพียงอดีต ไม่ส�ำคัญอันใดต่อไปแล้ว แต่วันคืนในการเดินทางเพื่อท�ำให้กระเป๋าสานจากผักตบชวาเป็น ที่รู้จักยังกระจ่างชัด “เมื่อก่อนนี้ไปขายของ ต้องนอนกับดินกับทราย ครั้งหนึ่งเคย ไปขายที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กลางคืนนอนได้ยินเสียงปลวกมากิน กระเป๋าเรากร๊วบๆๆ ตื่นเช้ามา ก้นกระเป๋าเป็นรูโหว่ ขาดทุนเลย” ป้าอ่อมเล่าติดตลก แต่ทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อมีวันคืนที่เคยรุ่งโรจน์ ก็ย่อมมีวันโรยรา “เมื่อก่อนภรรยาผู้ว่าฯ คุณหญิงคุณนายก็มาซื้อกระเป๋าเราไปช่วย ตามงานกาชาด แต่เดี๋ยวนี้พวกคุณนายเขาไม่ค่อยมองแล้ว” ป้า อ่อมว่า กระนั้นป้าอ่อมยังมั่นใจว่า กระเป๋าของกลุ่มจะยังไปได้อีก นาน เพราะที่ตลาดนัดจตุจักร ส่งทีเป็นรถสิบล้อ ต่างชาติเองก็มา ซื้อเยอะ ป้าอ่อมยังเล่ประสบการณ์โดนโกงด้วยว่า ครั้งหนึ่งส่ง ของแล้ว แต่ไม่ได้เงิน มีรถมารับกระเป๋าไป แล้วเงียบหายไป สูญ เงินเป็นแสน แต่ทางป้าอ่อมไม่อยากติดใจเอาความ คิดว่า เขาท�ำ อะไรก็ได้กับเขา เพราะเขาโกงชาวบ้าน ทั้งที่เงินแสน ป้าอ่อมต้อง ไปกู้ ธอส. มาลงทุนด้วย

ปันสุข




วัฒนธรรม

ดอกไม้จันทร์แลกหมากพลู สูข่ องที่ระลึกจาก

ธันวา อิ่มเอี่ยม หรือที่เรียกติดปากว่า ผู้ใหญ่ก๊อย อดีตผู้ใหญ่แห่งบ้านหมู่ 2 เล่าว่า แรกเริ่มเดิมที กลุ่มดอกไม้จันทร์แห่งต�ำบลวังใหม่ อ�ำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ยังไม่ ได้เป็นกลุ่มเป็นก้อน กระทั่งพัฒนากรอ�ำเภอหาคนมาช่วยสอน ซึ่งในตอนแรกมีแต่ผู้สูง อายุ ด้วยเพราะว่า ได้ค่าหมากค่าพลูเล็กๆ น้อย ส่วนลูกหลานออกไปท�ำงานข้างนอกกัน หมด “ในเวลานั้นจ้างร้อยละยี่สิบบาท แต่คนสูงอายุเขาท�ำได้แค่ห้าสิบอัน เขาว่ามันหยิบไม่ ติด เสร็จแล้วก็ต้องมาพันธูปพันเทียนอีก แต่ทุกคนก็มีมานะทุกคนช่วยเราจนได้ก�ำไร”ผู้ ใหญ่ก๊อยเล่า จุดประสงค์ของการก่อตั้งกลุ่มท�ำดอกไม้จันทน์นี้ ก็เพื่อต้องการเห็นผู้สูงอายุในหมู่บา้ น มีรายได้เสริมขึ้นมาจากเบี้ยผู้สูงอายุรายเดือน ซึ่งมักไม่ค่อยพอนัก อีกทั้งผู้สูงอายุส่วน 

ปันสุข


กวังใหม่

ใหญ่ไร้บุตรหลานคอยจุนเจือ จึงเป็นที่มาของการรวมกลุ่มผู้สูงอายุแล้วท�ำการเสนอโครงการผ่านอ�ำเภอนา ยายอามไปยังศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อขอทุนจ�ำนวน 100,000 บาท มาก่อตั้งศูนย์เรียนรู้กลุ่มท�ำดอกไม้ จันทน์ “กว่าจะมาถึงปีนี้ก็นานนะ ตั้งแต่ปี 2550 พอได้ก�ำไรมาเราก็ต่อนู่นต่อนี่ ก่ออิฐอะไรไป ปีที่ผ่านมาก็ท�ำ ห้องน�้ำ เหลือปีนี้แหละว่าจะท�ำตรงนี้ ต่ออีกหน่อยหนึ่ง ไม่งั้นมันก็ไม่ส�ำเร็จ เราอยากเห็นมันส�ำเร็จนะ อยาก เห็นผู้สูงอายุมีรายได้บ้าง ท�ำดอกไม้จันทน์นี่ เราจ้างข้างนอกให้ช่วยท�ำ เพราะคนสูงอายุเขาท�ำไม่ไหว เขา จับกระดาษขึ้นมาไม่ติด เพราะนิ้วแข็งไปหมดแล้ว เราก็จา้ งนะ พอเห็นคนสูงอายุเดินมาจากบ้านพร้อมด้วย ดอกไม้จันทน์นี่ เราก็สงสาร ก็ให้ไปร้อยละห้าสิบ ไม่ได้เหลือเก็บเข้ากองทุนเท่าไหร่หรอก ที่ท�ำก็เพราะอยาก ช่วยเขา” ผู้ใหญ่ก๊อยเล่าต่อ พอเริ่มก่อร่างเป็นกลุ่มก้อนชัดเจนขึ้น จากดอกไม้จันทน์งานศพ กลุ่มของผู้ใหญ่ก๊อยก็ขยับไปสู่ผลิต ภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งการท�ำบายศรี การท�ำพวงหรีด กระทั่งต่อโลงศพ จนมาถึงผลิตภัณฑ์ล่าสุดที่ผู้ ใหญ่ก๊อยภูมิใจน�ำเสนอ คือ ผ้าเช็ดหน้า และซองใส่โทรศัพท์มือถือ โดยฝีมือผู้สูงอายุประจ�ำกลุ่มอีกเช่นกัน ผ้าเช็ดหน้าสีขาวปักด้ายสีบนผืนผ้าแต่ละผืนที่อ่านได้ว่า ‘ไปมาแล้ววังใหม่’ บ้าง ‘วังใหม่น่าอยู่’ ชวนให้ อดยิ้มในใจไม่ได้ ข้อความสั้นๆ สะท้อนความซื่อใสของกลุ่มคนที่อยู่เบื้องหลังผืนผ้าน้อยๆ แต่ละผืนเหล่านี้ รวมถึงซองใส่โทรศัพท์ที่ท�ำจากผ้าลายตาหมากรุก ผ้าลายไทย ที่ล้วนแล้วเต็มไปด้วยความตั้งใจที่จะให้ของ ที่ระลึกชิ้นนี้เป็นตัวแทนจากชาววังใหม่

ปันสุข




หนังสือใหม่ประจ�ำเดือน การจัดการโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง และ นวัตกรรมทางสังคมกับการพัฒนาประเทศ โดย ประเวศ วะสี


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.