วารสารปันสุข ฉบับที่ 15

Page 1

»˜¹ÊØ¢ ẋ§»˜¹ ÊÃä ÊÌҧ à¾×èͪØÁª¹¹‹ÒÍÂÙ‹

ฉบับที่ 15 มิถุนายน 2556

ปันสุข


www.punsook.org

จัดท�ำโดย

»˜¹ÊØ¢ ẋ§»˜¹ ÊÃä ÊÌҧ à¾×èͪØÁª¹¹‹ÒÍÂÙ‹

ส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน ส�ำนักงงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ปันสุข : เลขที่ 3 รามค�ำแหง 44 ถนนรามค�ำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ 10240 Email : editor@punsook.org โทร : 08 1710 0456

ปันสุข

facebook > ค้นหา


า > ปันสุข

สถานี 3

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น เราอาจไม่ต้องมีอะไรเลย มีคนมานั่งแล้วมาพูดบรรยายให้จตาม จดบ้างไม่จดบ้าง แล้วก็กลับไป เอาไปประยุกต์ใช้บ้าง หรือไม่น�ำพาซึ่งผลลัพธ์ใดๆ เลย แต่ถ้า เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน สิ่งแรกเลย คือเราต้องเตรียมการ รวมถึงบุคลากรที่จะ มาสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนที่มาเรียนรู้ร่วมกัน เริ่มต้นเลยคนที่มานั้น จะต้องรู้ว่าต�ำบลนั้นๆ เป็นอย่างไร ดังนั้นต�ำบลแม่ข่ายจะต้องส่ง ข้อมูลไปให้แก่ผู้ที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก่อนมา ซึ่งทางต�ำบลแม่ข่ายเองก็ต้องเตรียมการ ให้พร้อมเพื่อต้อนรับผู้ที่เข้ามาขอแลกเปลี่ยนความรู้ โดยต�ำบลแม่ข่ายจะใช้พื้นที่จริงเป็นตัวกระตุ้นในการเรียนรู้ร่วมกัน เพราะฉะนั้นสิ่งส�ำคัญคือ แม่ข่ายจะต้องคุยกันให้ชัดเจนก่อนที่เพื่อนจะมา ว่าเรามีหน้าที่สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน เราไม่ได้ จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เฉยๆ เรียนรู้ร่วมกันหมายความว่า เพื่อนเครือข่ายก็ต้องมีการเตรียม การ ชาวบ้านทุกคนคือฟันเฟืองที่ส�ำคัญต่อกระบวนการ ซึ่งพึงอย่าเพิกเฉยต่อพวกเขา เพราะการ ลงนาม MOU มิใช่การกระท�ำที่ส่งผลต่อคนเพียงบางกลุ่ม หากแต่เป็นทุกคนที่อยู่ร่วมกันใน ชุมชน การได้เห็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้มา เยือนคือสิ่งที่ชุมชนแม่ข่ายควรตระหนักรู้ และเห็นเป็นความส�ำคัญต่อกระบวนการสร้างการ เรียนรู้ร่วมกัน ค�ำถามที่ต้องน�ำไปขบคิดคือ จะท�ำอย่างไรให้ผู้มาเยือนรู้สึกอบอุ่น หรือรู้สึกว่าต�ำบลนี้น่าอยู่ กว่า เมื่อเทียบกับต�ำบลที่ตนพักพิง ให้เขาตั้งค�ำถามว่า ท�ำไมที่บา้ นเราไม่มี พราะแรงบันดาลใจ คือสิ่งส�ำคัญ เป็นพลังผลักดันให้เกิดสิ่งดี โดยสิ่งที่แม่ข่ายต้องยึดถือเป็นเป้าหมายอีกอย่างในการดึงชุมชนอื่นเข้ามาเรียนรู้ร่วมกัน คือ การดึงสิ่งใหม่ๆ ออกมาจากกระบวนการ ซึ่งความคิดใหม่คือดอกผลที่การันตีกระบวนการที่ เรียกว่าการเรียนรู้ นอกจากนี้ แม่ข่ายจะต้องรู้ถึงจ�ำนวนแกนน�ำ ตลอดจนทักษะศักยภาพที่มีอยู่ของพวกเขา เพราะเมื่อมีเพื่อนมาเรียนรู้แล้ว4-5 รุ่น ก็จ�ำเป็นต้องมาสรุปกันครั้งหนึ่ง ว่าแกนน�ำคนนั้นๆ มี ความเข้าใจเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ตลอดจนสังเกตการณ์ถึงแรงบันดาลใจในตัวพวกเขา เพราะถ้าไม่ได้สิ่งเหล่านี้มา นั่นบ่งบอกถึงการเป็นแม่ข่ายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ต้องกลับมา ทบทวนตนเองใหม่ และพยายามผลักดันตัวเองขึ้นมา ผ่านการเตีรยมตัวและการท�ำงานที่หนัก ขึ้น เพราะการท�ำหน้าที่เป็นผู้สร้างการเรียนรู้ร่วมกันนั้นต้องมีความพร้อม เพื่อว่าจะผลักดัน ชุมชนที่เป็นลูกข่ายไปด้วยกัน ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3)


สารบัญ

เข็มทิศแห่งมะนังดาล�ำ 6

ออมทรัพย์ฝากตาย สร้างวินยั การออม 8

จากปุ๋ ยอินทรีย์ สูข่ า้ วอินทรีย์ 10

กายภาพบ�ำบัด จิตอาสาเพื่อผูพ้ ิการ 12

ขยะฐานศูนย์ จัดการตัง้ แต่ตน้ ทาง 14

สภาเด็ก รากฐานการมีสว่ นร่วมที่ไกรนอก 16

จิ้งหรีดแห่งบ้านซับม่วง เม็ดเงินสูโ่ พนทอง 18

ผ้าไหมสายรุง้ ของดีโอท็อปจากอุทยั เก่า 20

งานไม้สรรค์สร้างชีวิต 22

ท่องประวัตศิ าสตร์ชมุ ชนบ่อแร่ 24


บทบรรณาธิการ เข้าสู่ครึ่งทางปีของพุทธศักราช 2556 แล้ว มีอะไรผ่านไป มากมาย เวลาคล้ายจะเดินเร็วกว่ารถเครื่อง และชีวิตก็มีภาระ รับผิดชอบมากมาย จนหลายครั้งเกิดความรู้สึกท้อแท้ เบื่อ หน่าย แต่พอได้พักผ่อน นอนหลับเต็มตื่น ความเหนื่อยล้าก็ดู จะบรรเทาเบาบางลง ก�ำลังกลับฟื้นคืนจนมีแรงท�ำสิ่งอื่นใดที่ เป็นพันธกิจของชีวิตต่อไป เป็นที่แน่นอนแล้วว่า การฝึกอบรมปฏิบัติการเชิงข่าวจะเกิด ขึ้ น ในเดื อ นกรกฎาคม ที่ ต� ำ บลไกรนอก อ� ำ เภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย โดยเป็นการอบรมให้กับเพื่อนเครือข่ายภาค เหนือตอนล่าง แบ่งเป็นแม่ข่าย 11 ต�ำบล ลูกข่าย 15 ต�ำบล จ�ำนวนกว่า 50 ชีวิต ซึ่งในการอบรมครั้งนี้ ทางทีมงานจะใช้ บล็อกปันสุข เป็นช่องทางในการสื่อสารให้ทุกคนได้ติดตาม ส�ำหรับวารสารปันสุข ฉบับนี้เป็นฉบับที่ 15 ประจ�ำเดือน มิถุนายน 2556 ยังมีเรื่องราวต่างๆ อยู่ครบถ้วน เหมือนดังเช่น ที่เคยน�ำเสนอมา ซึ่งในเวลาอีกไม่นานนี้ วารสารปันสุขจะมีการ ปรับโฉมครั้งใหญ่ ทั้งทางด้านเนื้อหา และการน�ำเสนอ ซึ่งทาง ทีมงานก�ำลังรอไฟเขียวให้ด�ำเนินการ ส�ำหรับฉบับนี้ อย่างไรก็ขอให้อ่านด้วยความเพลิดเพลิน และร่วมปันสุขด้วยการแชร์ให้ผู้อื่นได้ทราบกันต่อด้วย

บรรณาธิการ

ปันสุข


การบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม

การปฏิบตั ิ ศรัทธา และการศึกษา เข็มทิศ แห่งมะนังดาล�ำ ป้ายขนาดใหญ่รมิ ถนนก่อนถึงทางเข้าทีท่ ำ� การอบต.มะนังดาล�ำ อ�ำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีตัวหนังสือขนาดใหญ่โดดเด่นที่ เขียนว่า “สุข จาก ศรัทธา” หากจะพูดถึง “ความสุข” หลายคนอาจพูดถึงความสุขของ ตนเองได้แตกต่างหลากหลาย แต่ความสุขที่เกิดจากศรัทธานั้นคือ อะไร น�ำมาสู่ผลส�ำเร็จอย่างไร นี่คือพื้นที่เล็กๆ ปลายด้ามขวานที่ ถูกเล่าแต่ในนามของความรุนแรง แต่เมื่อมองลึกลงไปในราย ละเอียด ที่นี่มีความเข้มแข็งไม่ต่างจากพื้นที่อื่นใดในประเทศนี้ โดยประกอบสร้างขึ้นจากผู้บริหารท้องถิ่นที่ช่วยเชื่อมโยง หนุน เสริม อนุรักษ์และสร้างสรรค์ ที่ส�ำคัญคือการน�ำศรัทธาของพี่น้อง ในท้องถิ่นที่มีต่อหลักการอิสลามมาเป็นพลังขับเคลื่อน และที่สุด นั้นต้องยกให้การมีส่วนร่วมของชาวบ้าน ทั้งหมดประกอบกันขึ้น อย่างสอดคล้องลงตัว นายมหามัติ มะจะ นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลมะนังดาล�ำ อ�ำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เป็นคนมีบุคคลิกง่ายๆและเป็น กันเอง กับแนวคิดการท�ำงานที่ผ่านมา “ผมคิดว่าเราจะขับเคลื่อนต�ำบลของเราไปในทิศทางไหน ผม ไม่เอาวิธีเก่าๆอยู่แล้ว เรื่องพลังอ�ำนาจ ผมไม่ชอบใช้ ผมชอบใช้ การแก้ปัญหาด้วยการมีส่วนร่วม ทุกคนสามารถปรึกษาหารือกัน 

ปันสุข

ได้ และผมอาศัยเรื่องหลักศาสนา หลักปฏิบัติของอิสลาม พูดถึง เรื่องการละหมาด การถือศีลอด การประกอบพิธีฮัจจ์ การจ่ายซา กาต แต่ ก ารเป็ น มุ ส ลิ ม ที่ ส มบู ร ณ์ ต ้ อ งมี ห ลายๆเรื่ อ งเข้ า มา เกี่ ย วข้ อ งไม่ ใ ช่ แ ค่ เ รื่ อ งนี้ เ ท่ า นั้ น เรื่ อ งของสั ง คม การศึ ก ษา เศรษฐกิจ ประชาธิปไตย มันครอบคลุมอยู่ในศาสนาด้วย เราต้อง ท�ำให้เกิดความสมดุลซึ่งกันและกัน อิสลามไม่ใช่การมองแค่มิติ เดียว อิสลามก็เปรียบได้เหมือนรถยนต์ มันต้องมีล้อ ไฟท้าย ไฟ เลี้ยว แต่ต้องไปดูว่าตัวหลักของรถยนต์คืออะไร คือเครื่องยนต์ นั่นก็คือ เรื่องของอากีด๊ะ (เรื่องของจิตใจ) เรื่องของอีบาด๊ะ (การ ปฏิบัติ)” นายกอบต. เล่า แม้ว่า หลักของชีวิตคนมุสลิมคือจิตใจและการปฏิบัติ แต่สิ่ง อื่นจะท�ำให้องค์ประกอบของการเป็นมุสลิมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น คือการสร้างแบบอย่าง และสร้างองค์ความรู้ให้กับคนที่มาเรียนรู้ ว่านี่คือ อิสลาม นี่คือการบริหารของท้องถิ่นยุคใหม่ จากนั้นจึงน�ำ มาสู่แนวคิดใหม่เรื่องต�ำบลสุขภาวะ โดยมีการจัดการตนเอง 7 ระบบขึ้นมา เพื่อจะบอกว่าทุกอย่างที่เราท�ำคือ “อิบาด๊ะ” โดยมี ความตั้งใจที่แน่วแน่ในเรื่องจิตใจคือ “อากีด๊ะ” “ถ้าเราท�ำเพื่อสร้างภาพ โดยจิตใจเราไม่ได้เชื่อมโยงกับพระผู้ เป็นเจ้า มันก็จะได้สิ่งที่เป็นแค่รูปธรรม หลักเพื่อให้เกิดความสุข


ของจิตใจ หลักเพื่อให้เกิดความสบายใจไม่มี มีแต่ความพะว้า พะวงหลายเรื่อง เพราะฉะนั้น จะต้องท�ำให้เกิดความสมดุลตรงนี้ ท�ำตรงนี้แล้วเรามีความสุข เราท�ำตรงนี้เพื่อรับ“อามาน๊ะ” จาก พระผู้เป็นเจ้า และการปฏิบัติของเราต้องท�ำให้ถูกต้องตามหลัก ศาสนา มันจะเกิดความสมดุลระหว่าง “อิบาด๊ะกับอากีด๊ะ” นี่คือ อิสลามที่สมบูรณ์แบบ” นายกอบต. เล่า การน�ำหลักอิสลามมาใช้ ท�ำให้เกิดพลัง และท�ำให้หลายคน มองแล้วรู้สึกว่า ตอบโจทย์ หลายสิ่งหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ความสะอาด การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นั่นคืออิบาด๊ะ “ผมบอกว่าวันนี้การท�ำดีมันมีทุกมิติในสังคมถ้าเราอยากท�ำ เพียงแต่จิตใจเราพร้อมจะเข้าไปท�ำหรือเปล่า แต่ถ้าเราเสแสร้ง สิ่ง เหล่านี้จะไม่ใช่“อิบาด๊ะ” แต่จะเป็นเพียงหน้าที่เท่านั้นเอง ไม่ได้ มาจากจิตใจ” นายกอบต.กล่าวต่อ เมื่อได้แนวคิดแล้ว หลักปฏิบัติก็จะเริ่มเดินต่อด้วยบทบาท หน้าที่ของท้องถิ่น ว่าท�ำอะไรได้บ้าง วันนี้ท้องถิ่นสามารถท�ำได้ หลายอย่าง ยกเว้นเรื่องความมั่นคง เรื่องระหว่างประเทศ เรื่อง ทางทหารไม่ใช่หน้าที่ของท้องถิ่น “สิ่งที่เราท�ำคืออิบาด๊ะนั่นแหละ วันนี้ถึงได้เกิดเรื่องการศึกษา เรื่องเยาวชน เรื่องอาชีพ เรื่องสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สังคม เพราะ

ทุกอย่างครอบคลุมวิถีชีวิตของอิสลามทั้งนั้น ทุนของผมคือมา จากตัวเองก่อน ในเรื่องวิธีคิดของผู้น�ำ สองจิตของผู้น�ำว่าพร้อม มาท�ำงานแบบนี้หรือเปล่า และความอดทนก็ต้องมีสูงกว่าปกติ มี แนวร่วม มาช่วยกันปรับเปลี่ยนวิธีคิดของชุมชน ผมท�ำงานสมัย แรก 4 ปีเห็นความเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในเรื่องการศึกษา พี่ น้องประชาชนเกิดการยอมรับ เขาก็ชอบผม มันก็ง่ายที่จะให้เขา เชื่อในสิ่งที่เราท�ำ เขาก็มาช่วย ผมถึงใช้ทฤษฏี ชอบ เชื่อ ช่วย การแก้ปัญหาของชุมชนต้องคนในชุมชนร่วมกัน ท้องถิ่นเป็น ปัจจัยเสริมเรื่องการเติมเต็ม กลุ่มต่างๆในพื้นที่นั้นมีมาก่อนอยู่ แล้วเพียงแต่เขายังไม่มีวิธีคิด วิธีการจัดการว่าควรจะจัดการกับ กลุ ่ ม ของเขาได้ อ ย่ า งไร ไม่ ใ ช่ ก ารตั้ ง กลุ ่ ม ขึ้ น มาเพื่ อ รองรั บ งบ ประมาณที่มีการจัดสรรจากรัฐบาลอย่างเดียว เราต้องหาวิธีการ หาคนที่มีความเข้าใจแล้วขับเคลื่อนไป ตัวเราเองก็ต้องท�ำงานๆ เพื่อสักวันหนึ่งเขาจะเข้าใจในแบบเดียวกับเรา เราพยายามท�ำกัน ตรงนี้” นายกอบต.เล่า เรื่ อ งแรกที่ อ บต.มะนั ง ดาล� ำ เห็ น ความส� ำ คั ญ คื อ เรื่ อ งการ ศึกษา เพราะเชื่อมั่นว่าการสร้างคนต้องสร้างด้วยปัญญา พัฒนา คนต้องพัฒนาปัญญาเป็นหลัก ใช้การศึกษาเข้ามาพัฒนา เพื่อจะ สามารถขับเคลื่อนคนไปสู่เรื่องสังคมได้ด้วยแต่ต้องให้สอดคล้อง กับวิถีของมุสลิม โดยใช้มัสยิดเป็นตัวกลาง เริ่มจากการเข้าไปจัด ระบบโรงเรียนตาดีกาในพื้นที่ ดึงผู้น�ำศาสนาในพื้นที่มาเป็นแนว ร่วม “ผมเป็นคนที่คิดนอกรอบ ไม่ได้คิดอยู่ในกรอบ แต่การคิดนอก กรอบของผมต้องไม่ท�ำลายสิ่งที่อยู่ในกรอบ ตอนนี้ผมพยายาม ผลักดันว่ามัสยิดต้องมีเรื่องการบริหารจัดการ เรื่องการศึกษา เด็ก ก�ำพร้า ทุกมิติไม่ใช่แค่เรื่องการปฏิบัติศาสนกิจ มัสยิดต้องดูแล คนในชุมชนทั้งหมดทุกมิติ เป็นศูนย์กลางจิตใจ ศูนย์กลางการ พัฒนาต้องเป็นตัวผู้น�ำคืออิหม่ามนั่นแหละ ทุกวันนี้เราก�ำลังขับ เคลื่อนในเรื่องนี้ เพื่อสร้างมัสยิดต้นแบบขึ้นมา ทุกวันศุกร์จะมี การประชุมกัน กรณีเช่นการแก้ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ผมถาม ว่าเราจะแก้อย่างไร? ผู้น�ำศาสนาละทิ้งได้ใหม? คนที่ไม่เรียน หนังสือไม่รู้อัลกรุอา่ นใครจะเป็นคนแก้? คนในต�ำบลขี้เหล้าเมายา ไม่รู้เรื่องละหมาดใครจะเป็นคนแก้? ผู้น�ำต้องเข้ามามีบทบาทตรง นี้ ตอนนี้เรายังไม่เห็นผลส�ำเร็จที่ชัด แต่เราก�ำลังท�ำ” นายกอบต. สรุป ทั้ ง นี้ ด้ ว ยความส� ำ คั ญ ของ 4 เสาหลั ก ที่ ต ้ อ งดึ ง เข้ า มามี บทบาทในพื้นที่ให้มากคือผู้น�ำศาสนา ผู้น�ำท้องถิ่น ผู้น�ำท้องที่ ผู้น�ำโดยธรรมชาติ ต้องมาประสาน 4 ประสาน ทุกอย่างจะขับ เคลื่อนได้ นั่นคือฟันเฟืองที่มะนังดาล�ำใช้ในการขับเคลื่อน

ปันสุข


การจัดการสวัสดิการสังคมโดยชุมชน

ออมทรั พย์ฝากตาย สร้างวินัยการออม

บ้านไผ่หลงราษฎร์เจริญ กลุ่มออมทรัพย์หมู่ที่ 7 ต�ำบลวังน�้ำคู้ อ�ำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีลุงเหลี่ยม บุญแท้ เป็นประธาน กลุ่ม ลุงเหลี่ยมเล่าให้ฟังว่า ปี 2544 มีกองทุนหมู่บ้าน จึงคิดกัน ว่าจะตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นเพื่อเป็นการระดมทุนโดยการออม ช่วย เหลือสมาชิก ใครขัดสนอะไรก็ขอกู้ได้ ลุ ง เหลี่ ย มยั ง ย้ อ นอดี ต ไปก่ อ นหน้ า นั้ น ว่ า การตั้ ง กลุ ่ ม เพื่ อ รวบรวมเงินไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะช่วงตั้งไข่กองทุนชาวบ้านนี้เคย ต้องล้มลุกคลุกคลานจนถึงขั้นสมาชิกขอถอนเงินคืนหมดมาแล้ว หลังจากที่เริ่มตั้งหลักได้ราวปี 2553 กลุ่มออมทรัพย์ก็เริ่มรับสมัคร สมาชิกอีกครั้ง โดยไม่มีการเสียค่าใช้จา่ ยใดๆ ในที่สุดก็ได้คนบ้าน เดียวกันสนใจเข้ามามีส่วนร่วมถึง 59 คน เมื่อได้สมาชิกแล้ว จึงมี การคัดเลือกคณะกรรมการ และจัดสรรแบ่งหน้าที่การงานกันรับ



ปันสุข

ผิดชอบ มีการก�ำหนดวันที่สมาชิกทุกคนต้องรวบรวมเงินเพื่อน�ำ มาฝาก หรือวันเก็บเงินออม คือวันที่ 5 ของทุกเดือน และองค์กร ขนาดเล็กนี้ก็ได้เริ่มต้นด�ำเนินการตามแผนที่ตั้งไว้ คือ เป็นสถาบัน ทางการเงินเพื่อช่วยเหลือพี่น้องในชุมชน “พอถึงวันที่ 5 ของเดือนสิงหาคมปีนั้น เป็นเดือนแรกที่เราเก็บ เงินออม ก็มีสมาชิกมาฝาก คนละ 20 บาทบ้าง 50 บาทบ้าง 100 บาทบ้าง สูงสุด 200 บาท วันนั้นเก็บรวบรวมเงินได้ทั้งหมด 8,690 บาท” ลุงเหลี่ยมเล่า กฎเกณฑ์ ก ารคั ด เลื อ กสมาชิ ก ของกลุ ่ ม ออมทรั พ ย์ ไ ม่ มี ข ้ อ จ�ำกัดอะไรมากมาย ขอแค่อย่าเป็นคนวิกลจริต นอกนั้นรับคนทุก อาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย ด้วยจุดประสงค์ตั้งต้นคือ ต้องการระดมทุน ให้ได้มากที่สุดเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคนในชุมชน ทั้งการกู้เงินเพื่อ


เป็ น ทุ น ท� ำ การเกษตรของสมาชิ ก หรื อ แม้ แ ต่ ใ นกรณี เ จ็ บ ป่ ว ย ฉุกเฉินรีบด่วนอื่นๆ และที่ส�ำคัญเป็นการสนับสนุนลักษณะนิสัย ออมเงินด้วยการฝากประจ�ำ จ�ำนวนเงินฝากขั้นต�่ำคือ 50 บาท และเมื่อออมทรัพย์กับกลุ่ม ครบ 1 ปี จะมีสิทธิ์กู้เงินได้ 2 เท่าของจ�ำนวนเงินที่ฝาก แต่ไม่เกิน 20,000 บาท โดยต้องมีสมาชิกร่วมค�้ำประกัน 2 คน กติกาข้อ ส�ำคัญที่สุดของกลุ่มออมทรัพย์นั้นเข้มงวดไม่ต่างกับการฝาก ประจ�ำกับธนาคาร คือ ไม่ว่าจะมียอดเงินฝากมากแค่ไหนก็ตาม สิ่งที่สมาชิกทุกคนต้องปฏิบัติตาม คือ ‘ห้ามถอน’ โดยมีข้อยกเว้น เดียวคือบัญชีเงินฝากนั้นต้องเป็นการฝากเพื่อเป็นทุนการศึกษา ของบุตรหลาน นอกนั้นหากใครละเมิดขอถอนเงินไปหมดจะถูก ระงับสมาชิก 2 ปีทันที

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากองทุนจะวางบทบาทของเงินไว้เป็นกอง กลาง แต่สิทธิ์ในการใช้เงินก็ยังเป็นของสมาชิก จึงท�ำให้ครั้งหนึ่ง สมาชิกบางคนยอมเสียสิทธิ์ 2 ปี ด้วยการถอนเงินทั้งหมดออกไป ซื้อรถก็มี “ถ้าถอนไปกันหมด กล่มุเราก็จะเล็กลง โตไม่ได้ ไม่มีระเบียบ คือว่าถึงสิ้นปีจะมีการปันผลให้สมาชิก โดยใช้ก�ำไรจากดอกเบี้ยที่ ได้ 10 เปอร์เซ็นต์” ลุงเหลี่ยมว่า ปัจจุบันสมาชิกทั้งหมด 70 คน จะน�ำเงินมาฝากทุกวันที่ 5 ของเดือน ที่ท�ำการกองทุนออมทรัพย์หมู่ 7 บ้านใกล้เรือนเคียงกับ กลุ่มจักสาน ใช้ท�ำธุรกรรมทางการเงินของหมู่บ้านทั้งหมด จะขอ กู้ก็ต้องเดินทางมาพูดคุยบอกกล่าววัตถุประสงค์กัน ที่นี่ไม่ต่าง จากการไปธนาคาร โดยมีคณะกรรมการ 5 คนและประธานเป็นผู้ ด�ำเนินการและอ�ำนวยความสะดวกให้ทั้งหมด “เราไม่อยากให้สมาชิกไปกู้เงินนอกระบบ มันแพงของเรากู้ 20,000 เสียดอกเบี้ยแค่ 1,200 ถ้ากู้นอกระบบเสีย 7,200” ลุง เหลี่ยมใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ถูกกว่าราว 6 เท่า เพื่อดึงดูดให้เงิน ทั้ ง หมดยั ง หมุ น เวี ย นอยู ่ ใ นชุ ม ชน โดยไม่ ต ้ อ งไปเสี ย รู ้ ห รื อ เสี ย ทรัพย์ให้นายทุนเงินกู้นอกระบบที่ไหน แต่ใช่วา่ กู้เงินกองทุนแล้วจะหลบลี้หนีหน้า ‘เบี้ยว’ กันได้ง่ายๆ เพราะกลุ่มออมทรัพย์หมู่ 7 มีกลไกจ�ำเป็นเหมือนแหล่งเงินกู้ทั่วไป คือพี่นกเล็ก บุญเกิด ผู้มีต�ำแหน่ง ‘เร่งรัดหนี้สิน’ ก�ำกับท้ายชื่ออยู่ แต่กระนั้นก็ยังไม่มีเหตุถึงมือพี่นกเล็ก ด้วยความที่เงินทุกบาททุก สตางค์เป็นเงินของพวกเขาเองด้วย จริงอยู่ที่ว่า ความไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ แต่การเกษตร เป็นอาชีพที่ต้องลงทุน ค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ย ยา แม้กระทั่งจ้างคน จ้างรถเกี่ยวข้าว ทั้งหมดยังเป็นภาระรายจ่ายที่ชาวนายังต้องแบก ไว้หลายยุคสมัย ในส่วนของการกู้ยืม ปีนี้สมาชิกของกลุ่มออมทรัพย์ราว 20 คนได้ใช้บริการกองทุนของพวกเขาแทนการกู้ยืมจากแหล่งอื่น โดยมี ร ะยะเวลาในการผ่ อ นช� ำ ระยาวนานถึ ง 3 ปี ซึ่ ง นั บ ว่ า เป็นการบรรเทาทุกข์ด้านการเงินให้พี่น้องร่วมชุมชนได้มากโข และนอกจากจะบ�ำบัดทุกข์แล้ว ลุงเหลี่ยมยังคาดหวังถึงอนาคต ว่า หากมีรายได้มากขึ้น ส่วนหนึ่งของเงินปันผลจะถูกน�ำไปใช้ตั้ง โครงการสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกเป็นเป้าหมายถัดไป “อย่างน้อยๆ ต้องแบ่งออกมาสัก 10 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มโตขึ้น ถ้า มันเกิดประโยชน์ก็อยากท�ำ” ลุงเหลี่ยมสรุป

ปันสุข


เกษตรกรรมยั่งยืน

จากปุ๋ยอินทรีย ์ สูข่ า้ วอินทรีย ์

ปั ญ หาคลาสสิ ก ส� ำ หรั บ เกษตรกรชาวไทย หนี ไ ม่ พ ้ น เรื่ อ ง ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นทุกๆ ปี ค่าปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช ค่าแรง งาน ค่าน�้ำมันเชื้อเพลิงส�ำหรับเครื่องยนต์ ราคาผลผลิตต�่ำ ไหน จะโดนพ่อค้าคนกลางกดราคา เกษตรกรไม่สามารถก�ำหนดราคา เองได้ ตลอดจนบางฤดูกาลผลิตได้ปริมาณจนเกินความต้องการ ของตลาด วิธีคิดในการผลิตของเกษตรกรยังไม่เอื้ออ�ำนวยต่อการ ท� ำ การเกษตร เช่ น การใช้ ปุ ๋ ย หรื อ สารเคมี โดยไม่ ค� ำ นึ ง ถึ ง คุณภาพในการใช้ จนท�ำให้เกษตรกรประสบปัญหาหนี้สิน ซึ่งจะ ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยในแต่ละงวด จนท�ำให้ต้องมีผลผลิตเป็น ปริมาณที่มากพอ เพื่อให้พอกับดอกเบี้ยที่ต้องส่ง องค์การบริหารส่วนต�ำบลหาดสองแคว อ�ำเภอตรอน จังหวัด อุ ต รดิ ต ถ์ มองเห็ น ถึ ง ปั ญ หานี้ และจากการท� ำ MOU กั บ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จึงท�ำการเก็บข้อมูลเพื่อมองให้เห็น

 ปันปัสุนขสุข

ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการใช้กระบวนการการจัดกิจกรรม เป็นการมี ส่วนร่วม จากการเก็บข้อมูล พบปัญหาดินมีความเป็นกรดสูง มีสาร ตกค้างในดินมาก มีการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูข้าว ไม่มีการ จัดการระบบน�้ำ ทั้งที่มีระบบส่งน�้ำด้วยพลังไฟฟ้า เห็นคนอื่นท�ำ อะไรก็ท�ำตาม ทั้งๆ ที่ไม่มีประโยชน์ ราคาค่าเก็บเกี่ยวผลผลิตสูง ขาดแคลนแรงงาน อบต.หาดสองแควได้ท�ำการแต่งตั้งคณะท�ำงานการขับเคลื่อน งานระดับต�ำบล และมีการรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ผู้ที่ เข้าร่วมโครงการในช่วงแรกๆ จะเป็นกลุ่มที่ประสบปัญหากับ ตนเอง เกิดโครงการ ‘ต�ำบลต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง’ ลดต้นทุน การผลิ ต โดยการใช้ ปุ ๋ ย อิ น ทรี ย ์ โครงการ ‘ท� ำ นาไม่ เ ผาฟาง’ โครงการ ‘100 ไร่ 100 ตัน’ และ โครงการ ‘19 บาท ฉลาดกับหอย


เชอรี่’ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการท�ำนาแบบลดต้นทุนการผลิตค่อนข้าง ที่จะต้องใช้แรงงานภาคการเกษตรจ�ำนวนมาก เพื่อลดขั้นตอน และแรงงานในการท�ำนา คณะกรรมการขับเคลื่อน และแกนน�ำ กลุ่มเกษตรกรร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และภาคี ต่างๆ ท�ำการศึกษา และพัฒนา ในการจัดท�ำเทคโนโลยีที่เหมาะ สม ช่วยลดจ�ำนวนแรงงานในการท�ำนาแบบลดต้นทุน จนเกิด เทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่นเครื่องกระจายฟาง เครื่องตัดสับบด สมุนไพร เครื่องผสมสมุนไพร เครื่องคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว เครื่อง ท�ำความสะอาดข้าว เครื่องผสมปุ๋ยอินทรีย์ เครื่องโรยปุ๋ยอินทรีย์ สายพานล�ำเลียงปุ๋ยอินทรีย์ เครื่องสีข้าวโบราณ ในปี 2549 จากผลส�ำเร็จการปฏิบัติการโครงการลดต้นทุน การผลิ ต ที่ เ ห็ น ผล จึ ง ได้ เ กิ ด การประชุ ม ของหมู ่ บ ้ า นระหว่ า ง

เกษตรกร ชาวนา และองค์การบริหารส่วนต�ำบลหาดสองแคว ใน การจัดสร้างโรงปุ๋ยอินทรีย์ในแต่ละหมู่บา้ นจ�ำนวน 11 แห่งเพื่อให้ เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ส�ำหรับใช้ลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตจากเกษตรเคมี เป็นเกษตรอินทรีย์ จนสามารถพัฒนาจุลินทรีย์เป็นของตนเอง ก่อ ให้เกิดจุลินทรีย์ที่มีจากพื้นที่ท้องถิ่นของตนเอง ‘จุลินทรีย์คลอง ตรอน’ ปี 2553 มีการประชุมระหว่างองค์การบริหารส่วนต�ำบลหาด สองแควกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มีการขยายผลการท�ำ นา แบบลดต้นทุนการผลิต สู่การท�ำนาปลูกข้าวอินทรีย์ และเพื่อ ท�ำความเข้าใจในการปลูกข้าวอินทรีย์ปลอดสารพิษไว้รับประทาน และจ�ำหน่าย จึงเกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์ ขึ้ น มี ส มาชิ ก ทั้ ง หมด 26 คน และขอสนั บ สนุ น ทุ น การจั ด ท� ำ โครงการปลู ก ข้ า วอิ น ทรี ย ์ จ ากกระทรวงวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยี สถิ ต ย์ เม่ น แต้ ม เป็ น ผู ้ ขั บ เคลื่ อ นการท� ำ งานร่ ว มกั บ คณะ ท�ำงานโครงการ โดยเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการปลูก ข้าว และชักชวนกลุ่มผู้สนใจ ‘หัวไวใจกล้า’ เข้ามาร่วมโครงการ ปลูกข้าวอินทรีย์ การด�ำเนินงานในระยะแรกของกลุ่มฯ เกิดขึ้น จากการขั บ เคลื่ อ นจากกลุ ่ ม แกนน� ำ อบต. หาดสองแควและ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ประสานความร่วมมือร่วมกัน มี การวางแผนการด� ำ เนิ น งานการจั ด ฝึ ก อบรมให้ กั บ เกษตรกร ประสานหน่วยงานอื่นๆ เข้ามาสนับสนุนโครงการ ภายหลังจาก การท� ำ แปลงสาธิ ต การปลู ก ข้ า วอิ น ทรี ย ์ ป ระสบความส� ำ เร็ จ สามารถลดต้นทุนการผลิตได้จริง ปลอดภัยจากสารเคมี และ ผลผลิตได้ปริมาณเท่ากับการใช้สารเคมี จึงมีการขยายผลสู่กลุ่ม สมาชิก และรับสมัครสมาชิกเพิ่ม ปัจจุบันมีสมาชิก 45 คน จากการที่กลุ่มมีองค์ความรู้ในการปลูกข้าวอินทรีย์ มีปราชญ์ ชาวบ้ า น จึ ง มี ก ารจั ด ท� ำ เป็ น ศู น ย์ เ รี ย นรู ้ ป ระจ� ำ ต� ำ บล ในการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการปลูกข้าวอินทรีย์ และมีผู้มาศึกษาแลก เปลี่ยนเรียนรู้เป็นจ�ำนวนมากทั้งในและนอกต�ำบล ในการด�ำเนินงานของแหล่งเรียนรู้กลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ มีการ สนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ตั้งแต่เริ่มในการจัดกระบวนการ ท�ำงาน การเก็บข้อมูล การท�ำวิจัย การจัดหาตลาด ในการรับซื้อ ผลผลิต การสนับสนุนงบประมาณ และยังช่วยในการส่งเสริมการ สร้างเครือข่ายการปลูกข้าวอินทรีย์ ทั้งในและนอกต�ำบล

ปันสุข




การดูแลสุขภาพชุมชน

กายภาพบ�ำบัด จิตอาสาเพือ่ ผูพ้ กิ าร กลุ่มผู้พิการควรได้รับการปฏิบัติจากสังคมด้วยความเมตตา และเอื้ออาทร ด้วยความเข้าใจเบื้องต้นที่ว่า เมื่อสภาพร่างกายไม่ สมบูรณ์ สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุด คือความช่วยเหลือที่ผู้อื่น หยิบยื่นให้ กระนั้น นั่นกลับไม่ใช่ทั้งหมด เมื่อในความเป็นจริง สิ่ง ที่ พ วกเขาต้ อ งการจากสั ง คมและคนรอบข้ า ง คื อ ความเข้ า ใจ มากกว่าความเห็นใจ เนื่องจากคนพิการส่วนใหญ่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ใน ระดับหนึ่ง สิ่งที่ขาดหายไปเป็นเพียงอวัยวะบางอย่าง หากแต่ ศักยภาพในฐานะมนุษย์คนหนึ่งยังอยู่ครบถ้วน องค์การบริหาร ส่วนต�ำบลโพนทอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เล็งเห็นถึงความ ส�ำคัญในการให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมชุมชนเหล่านี้ กลุ่มจิต อาสาดูแลผู้พิการจึงเกิดขึ้น โดยมีอาสาสมัครที่มีทักษะด้านการ นวด 8 คน แบ่งพื้นที่ในการดูแล 3 หมู่บา้ นต่ออาสาสมัคร 2 คน  ปันปัสุนขสุข

ให้ ค วามสะดวกผู ้ พิ ก ารทั้ ง ในการใช้ ชี วิ ต ปกติ และตอน ท� ำ กิจกรรมร่วมกัน ลุงชมพู ดังชัยภูมิ ผู้ป่วยที่ทางกลุ่มอาสาสมัครฯ ช่วยดูแล บอกเล่าเรื่องการท�ำกายภาพบ�ำบัดว่า อาทิตย์หนึ่งจะร่วมท�ำกาย บริหาร 4 ครั้ง โดยลุงชมพู เล่าว่า ครั้งหนึ่งเคยเกือบเอาตัวไม่รอด เพราะจู่ๆ ก็รู้สึกเหนื่อยขึ้นมากะทันหัน มือไม้อ่อนแรงอย่างที่ไม่ เคยเป็นมาก่อน แล้วเซล้มลงไป เมื่อลูกหลานรีบเข้ามาพยุงให้ลุก ขึ้น จึงสังเกตเห็นว่า ปากของลุงชมพูเบี้ยวผิดรูปไป นั่นคืออาการ เริ่มต้นของอัมพาต เขาว่า อัมพาตไม่ใช่แค่อาการทางกาย โรคขี้น้อยใจเป็นผล พวงที่ตามมาจากเคยไปไหนมาไหนด้วยตัวเอง ก็ไปไม่ได้เหมือน เมื่อก่อน ความรู้สึกที่ผุดขึ้นมาบางครั้ง คือสงสารตัวเอง “ไปหาหมอ หมอบอกว่า เส้นเลือดซีกซ้ายตีบ ท�ำให้เลือดไม่


สามารถไปหล่อเลี้ยงสมองได้ แต่มันแค่ตีบนะ ยังไม่แตก ตอนนั้น คิดว่า ตัวเองคงไม่สามารถกลับมาเป็นเหมือนปกติได้ กินยามา ทุกอย่างสารพัดชนิด ทั้งสมุนไพร ทั้งยาจากทางโรงพยาบาล หมอ ที่ ไ หนว่ า ดี ก็ ไ ปมาหมด นอนอยู ่ บ นเตี ย งมาปี ห นึ่ ง แต่ ก็ ต ้ อ ง พยายามไม่ให้ตัวเองเครียด” ลุงชมพูเล่า ลุงชมพูเป็นหนึ่งในผู้พิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย ไม่ว่าจะกินข้าว อาบน�้ำ เข้าห้องน�้ำ ทุกอย่างต้องมีคนคอยช่วย ทุกการเคลื่อนไหวเต็มไปด้วยอุปสรรค หลังจากความพยายาม และแรงใจหดหาย ลุงชมพูตัดสินใจกลับมารักษาตัวเองที่บ้าน โดยอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้าน หายาสมุนไพรมากิน จนกระทั่ง อบต.โพนทอง ตั้งกลุ่มจิตอาสาขึ้น “วันนั้นที่อ�ำเภอเรียกคนแก่ให้ไปอบรมเพื่อจะหาคนมาดูแล แต่ก็มีคนค้านว่า ลูกก็มีท�ำไมต้องให้คนอื่นมาดูแล แต่ลูกบางคน

ก็ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่จริงไหม” ลุงชมพูวา่ อาสาสมัครที่เข้ามาช่วย นอกจากมีทักษะด้านนวดและท�ำ กายภาพบ�ำบัดให้ผู้พิการโดยตรงแล้ว ยังต้องสื่อสารและให้ค�ำ แนะน�ำกับญาติของผู้เฒ่าผู้แก่เหล่านั้นให้สามารถดูแลพวกเขาได้ อย่างเหมาะสมมากขึ้น หลังจากลุงชมพูได้เป็นหนึ่งใน 57 รายชื่อของผู้พิการที่กลุ่ม จิตอาสาต้องดูแล จึงได้มีโอกาสท�ำกายภาพบ�ำบัด เริ่มจากทีละ เล็กทีละน้อย จนวันนี้สามารถลุกขึ้นขยับแขนขยับขาได้มากขึ้น “บ�ำบัดมาจะ 3 ปีแล้ว ตอนนี้จับราวไม้ เดินได้กินข้าวเองได้” ลุงชมพูกล่าวอย่างภูมิใจ จากอาการป่ ว ยเป็ น อั ม พาตมาตั้ ง แต่ ป ี 2550 เมื่ อ ท� ำ กายภาพบ�ำบัด เข้าสู่ปีที่ 3 ก็เริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ทุกอย่างเกิด ขึ้นได้ ถ้าคิดจะสู้ ไม่มีสิ่งไหนมาขวางกั้นก�ำลังใจได้

ปันสุข




จัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

ขยะฐานศูนย์ จัดการตั้งแต่ต้นท

เศษขยะทั้งแบบ ‘เปียก’ และ ‘แห้ง’ เดินทางออกมาจากบ้านหนึ่งหลัง มาสมทบกับขยะจากบ้านอีก หนึ่งหลัง และอีกหลายๆ หลัง เมื่อขยะเหล่านี้ผ่านการหมักจนได้ที่เป็นที่มาของแมลงวัน เทศบาลต�ำบล ปริกจึงออกแบบการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการจัดการขยะแบบครบวงจร หรือเรียกว่า ‘การจัดการ ขยะฐานศูนย์’ จัดการขยะตั้งแต่ต้นทางกลางทาง และปลายทาง บ้านของ บังหลี-อาหลี หมัดหนิ ที่เป็นร้านอาหารด้วยนั้น แลไม่พบขยะกลาดเกลื่อนตามพื้นเลยสักชิ้น บริเวณข้างบ้านมีกรงที่บังหลีท�ำขึ้นมาเพื่อเก็บขยะประเภทขวดพลาสติกอย่างเป็นสัดส่วน ต้นทางของการก�ำจัดขยะคือการแยกขยะเป็นประเภทๆ ประหนึ่งแยกน�้ำออกจากปลา เมื่อแยกขยะ ออกจากกองก็จะพบขยะอยู่ 3 จ�ำพวก ขยะอินทรีย์ เช่น เศษอาหาร เปลือกผลไม้ เป็นต้น ขยะที่สามารถ รีไซเคิลได้ เช่น ขวดแก้ว พลาสติก กระดาษ เป็นต้น และขยะที่หาประโยชน์ไม่เจอ เช่น ขยะพิษทั้งหลาย

 ปันปันสุสุข ข


ทาง

บ้านบังหลีเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถใน การจั ด การกั บ ขยะอิ น ทรี ย ์ ที่ ต ้ น ทางได้ ด ้ ว ยตนเอง บั ง หลี ข าย อาหาร การเปลี่ยนเศษอาหารในร้าน อย่างใบตอง ไส้ไก่ เหล่านี้ มาเป็นพลังงานทดแทนอย่างก๊าซชีวภาพถือเป็นทั้งการลดต้นทุน ในการประกอบกิจการ และครูผู้ให้ความรู้แก่บังหลีไปในตัวด้วย จากเดิมที่ใช้ก๊าซ 6 ถังต่อเดือน วันนี้บังหลีใช้ก๊าซเพียงถัง เดียว ซึ่งกว่าจะเปลี่ยนทีก็กินเวลา 5-6 เดือน ด้วยเปลี่ยนมาใช้ ก๊าซชีวภาพที่ผลิตเอง และเสริมพลังด้วย ‘เตาซูเปอร์อั้งโล่’ ซึ่งใช้ ถ่านที่เคยเป็นขยะ เช่น กะลา นอกจากนี้บังหลียังน�ำขยะอินทรีย์

มาท�ำน�้ำหมักใช้ราดรดผักที่ปลูกอยู่ในสวนหลังบ้าน ผักที่ได้ก็ ปลอดสารพิษ ขณะที่บ้านของซาการียา หมัดเลียด เกษตรกรที่จัดการขยะ ตั้งแต่ต้นทางในบ้านเช่นกัน เขาผลิตก๊าซชีวภาพไว้ใช้เองเหมือน บังหลี นอกจากนี้เขายังผลิตน�้ำยาอเนกประสงค์จากเศษผลไม้ไว้ ใช้ในครัวเรือน ทั้งล้างจาน ซักผ้า ล้างห้องน�้ำ ซาการียายังเป็นเกษตรกรไม่ง้อปุ๋ย เพราะท�ำปุ๋ยหมักอินทรีย์ เองที่บ้าน ไม่มีค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ยคอยกวนใจ โดยเข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว ที่ไม่ได้เสียเงินค่าก๊าซค่าปุ๋ย และค่าน�้ำยาท�ำความสะอาดครัว เรือนต่างๆ แรกๆ เพื่อนบ้านต่างงุนงงที่ซาการียาน�ำขยะมาแปรรูป เป็นก๊าซเป็นน�้ำยาล้างจาน แต่เมื่อใช้ได้ผล เพื่อนบ้านเริ่มขอตัว เป็นศิษย์ แต่สิ่งที่ท�ำให้ซาการียาภูมิใจในการจัดการขยะที่ต้นทาง คือ รอยเท้าเล็กๆ ของลูกชายวัยอนุบาลที่ยา่ งตามมา “ผลิตภัณฑ์ที่ผมท�ำแล้วก็แจกจ่ายสู่เพื่อนบ้าน เด็กก็เห็นว่าผม ท�ำอะไรมาตลอด เมื่อวันเด็กที่ผ่านมา ลูกไปจับฉลากได้รางวัล เป็นน�้ำยาปรับผ้านุ่มมา 1 แพ็ค ลูกผมเอาคืนให้คุณครู เด็กบอก ว่าที่บา้ นพ่อท�ำแล้ว ที่บ้านมีเยอะแล้ว นี่คือส่วนหนึ่งที่ปลูกฝังไปสู่ ลูก แม้ไม่ได้ตั้งใจก็ตาม แต่เด็กซึมซับสิ่งที่เรามีแล้ว เราไม่ต้องการ แล้ว” ซาการียาบอก ซาการียาพยายามปล่อยสารพิษให้ออกไปนอกบ้านให้น้อย ที่สุด เพราะเชื่อว่า เมื่อเราท�ำสิ่งดี สิ่งที่จะย้อนกลับมาย่อมไม่ใช่ สิ่งเลวร้าย “สิ่ ง ที่ เ ราใช้ ท� ำ ความสะอาดห้ อ งน�้ ำ ห้ อ งส้ ว มมั น ไหลลงสู ่ คู คลอง ณ ปัจจุบัน น�้ำในคลองมันจะดื่มไม่ได้อยู่แล้ว โดยเฉพาะ สัตว์น�้ำที่สะสมสารพิษไว้เยอะ ถ้าเราพยายามใช้อย่างนี้ (น�้ำยา อเนกประสงค์) น�้ำที่ไหลลงไปมันมีสารพิษน้อยหรือแทบไม่มี เมื่อ น�้ำดี ดินก็ต้องดี ต้นไม้ใบหญ้าก็เติบโตได้ดี ท�ำให้ป่าดี สัตว์ป่าก็ รับผลประโยชน์ สุดท้ายเมื่อดินดี น�้ำดี สัตว์ปา่ ดี มนุษย์ก็ได้รับผล ประโยชน์ เมื่อมนุษย์ได้รับผลประโยชน์ มนุษย์ก็มีความสุข ได้รับ สิ่งที่ดีจากธรรมชาติ มนุษย์ก็จะมีความคิดดีๆ เมื่อความคิด ดี สิ่ง ต่างๆ ก็จะดีขึ้นไปด้วย มันวนเวียนเป็นวัฏจักรหัวใจจริงๆ มันก็ ขนาดเท่าก�ำปั้น มันมีหน้าที่ส�ำคัญคือสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงสมอง คนเราถ้าหัวใจไม่ดีอย่างเดียว อย่างอื่นมันก็ไม่ดี วันนี้ถ้าหัวใจไม่ ดี ทุกอย่างก็จบ” ซาการียาสรุป

ปันสุข




การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน

สภาเด็ก รากฐานการมีสว่ นร่วมที่ไกรนอก

พูดถึงความเข้มแข็งของผู้ใหญ่ในต�ำบลไกรนอก อ�ำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ที่หาตัวจับ ยากแล้ว กลุ่มเยาวชนของไกรนอกก็มีการรวมตัวที่เหนียวแน่นไม่แพ้ผู้ใหญ่เลยทีเดียว แม้จะจุด ประกายโดยผู้ใหญ่ แต่เมื่อถึงเวลาด�ำเนินงานจริง เด็กๆ ก็ต้องบริหารจัดการกันเองเป็นหลัก วัตถุประสงค์ของการตั้งสภาเด็กและเยาวชนไกรนอก ก็เพื่อให้เด็กๆ ซึมซับประวัติความเป็นมา เข้าใจรากของต�ำบล วิถีชีวิตและวัฒนธรรมพื้นบ้านต่างๆ จนสามารถเชื่อมโยงและสื่อสารผ่าน กิจกรรมต่างๆ อาทิ ละครทั้งในแบบร่วมสมัยและย้อนยุค รวมถึงการจัดท�ำโครงการผสมผสานและ กิจกรรมยามว่างส�ำหรับเด็กและเยาวชนให้ใช้เวลาว่างอย่างมีสาระและสนุกสนานไปพร้อมๆ กัน หลังจากคัดเลือกประธานสภาเด็กและเยาวชนไกรนอกเสร็จแล้ว สมาชิกสภาฯ ทั้ง 15 คน จะมา ประชุมปรึกษากันว่า ควรจัดกิจกรรมหรือท�ำอะไรให้ชุมชนบ้าง แต่ละคนต้องไปท�ำการบ้านเพื่อ

 ปันปัสุนขสุข


เสนอโครงการและความคิ ด ใหม่ ๆ เพื่ อ หาเสี ย งสนั บ สนุ น จาก สมาชิกสภาให้อนุมัติและด�ำเนินการต่อไป น้องแม็ค-คมทัศน์ พิรณฤทธิ์ อายุ 19 ปี อดีตเหรัญญิกสภา หน้าหวาน ที่แม้จะเข้ามหาวิทยาลัยแล้วที่ราชภัฏพิบูลสงคราม จ.พิษณุโลก แต่ด้วยความผูกพันกับน้องๆ จึงกลับมาช่วยเป็นที่ ปรึ ก ษาให้ กั บ สมาชิ ก สภาฯ หลายต่ อ หลายหน แม็ ค เล่ า ถึ ง โครงการต่างๆ ที่เขาเป็นส่วนหนึ่งในการคิดและสร้างสรรค์ให้เกิด ขึ้นในชุมชนจริงๆ “อย่างโครงการพี่สอนน้อง เราจะเข้าไปหาแต่ละโรงเรียนใน ต�ำบลและจัดกิจกรรมไว้เป็นฐานๆ ที่วัดคุ้งยาง เช่น ท�ำดอกไม้ ประดิษฐ์จากผ้าใยบัว เทียนเจล ท�ำให้เด็กๆ มีกิจกรรมในเวลา ว่าง และได้ฝึกอาชีพไปด้วย เมื่อท�ำเสร็จ เราก็ให้เขาเอาผลงาน

กลับบ้านไปด้วย” แม็คเล่า ช่วงงานเทศกาลอย่างลอยกระทง หรือเทศกาลกินปลา สภา เด็ ก จะเป็ น ตั ว ตั้ ง ตั ว ตี จั ด กิ จ กรรมแสดงละครประวั ติ ศ าสตร์ ประเพณีลอยกระทง รวมทั้งการแสดงพื้นบ้านต่างๆ แม้แต่เวทีคน เก่ง หรือการประกวดร้องเพลงประจ�ำต�ำบลทุกวันศุกร์ ก็สร้าง สีสันและเสียงตอบรับจากเยาวชนที่นี่ได้เป็นอย่างดี แม็คเล่าอย่าง ออกรสว่า การประชันกันของผู้ชนะในรอบลึกๆ สนุกและน่าลุ้น ขนาดไหน ส่วน น้องไอซ์-ภานุพงศ์ ยิ้มณรงค์ อายุ 18 ปี สมาชิกสภาอีก คนที่เพิ่งหมดวาระและต้องส่งต่อกิจกรรมให้กับสมาชิกสภารุ่นต่อ ไป ก็พูดถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เคยมีส่วนร่วมและยังต้องการผลักดัน ให้สภาเด็กสานต่อในอนาคต “ทุกเดือนเราจะมีกิจกรรมถนนสีขาว ให้น้องๆ ไปช่วยเก็บขยะ ท�ำความสะอาดถนน ตั้งแต่หน้า อบต. เข้ามาในเขตชุมชน ส่วน ใหญ่ จ ะนั ด กั น ล่ ว งหน้ า ไม่ เ สาร์ ก็ อ าทิ ต ย์ แล้ ว วั น จริ ง ก็ จ ะมี ประกาศเสียงตามสายให้ทุกคนมาช่วยกัน” ไอซ์เล่า เมื่อถามถึงปัญหา ทั้งคู่ตอบเหมือนกันว่า ช่วงปิดเทอมจะหา คนช่วยค่อนข้างยาก ไม่ค่อยมีคนอยู่บ้าน เวลามีการแสดงก็จะ ซ้อมและแสดงกันตามจ�ำนวนสมาชิกที่อยู่กันเท่านั้น ส่วนปัญหา การสื่อสารกับผู้ปกครองของน้องๆ ก็มีบ้าง ส่วนมากเวลาเข้าร่วม กิจกรรม น้องๆ จ�ำเป็นต้องกลับดึก หรือบางครั้งเวลาเลี้ยงฉลอง หลังแสดงเสร็จ เราก็เลยต้องเข้าไปคุยและแจ้งผู้ปกครองให้ แม้ จะไม่ได้อยู่ในต�ำแหน่งแล้ว แต่แม็คและไอซ์ก็ยังอยากเห็นสภา เด็กและเยาวชนไกรนอกพัฒนายิ่งๆ ขึ้นไป นอกจากกิจกรรมสร้างสรรค์ชุมชนที่จะต่อยอดจากกิจกรรมที่ เคยเริ่มไว้แล้ว เหนืออื่นใดคงเป็นเรื่องของจิตอาสาที่พวกเขา อยากให้สมาชิกสภารุ่นต่อไปให้ความส�ำคัญ “อยากให้ช่วยกันสานต่อโครงการ และคิดโครงการใหม่ๆ เพื่อ พัฒนาชุมชนของเรา อยากให้น้องๆ เข้าใจว่าจิตอาสาจริงๆ คือ การท�ำโดยไม่ต้องหวังผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน เพราะเราจะได้ผล ตอบแทนอย่างอื่นๆ กลับมาอย่างทียบกันไม่ได้” ไอซ์สรุป

ปันสุข




เศรษฐกิจชุมชน

จิ้ งหรีดแห่งบ้านซั บม่วง เม็ดเงินสู่โพน

บ้านซับม่วง หมู่ที่ 8 ต�ำบลโพนทอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ มีระยะทางที่วัดได้จากตัวเมืองราว 18 กิโลเมตร – ไม่ใช่ย่านที่มีตึกรามแสดงความเป็นเมืองอันพลุกพล่านวุ่นวาย ขณะที่คนรุ่นลูกหลานในวัยหนุ่มสาว เริ่มหันหลังให้กับท้องนา เพื่อออกไปท�ำงานในโรงงานใกล้บ้านบ้างไกลบ้านบ้าง ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่เหลือยังยึด อาชีพท�ำนาท�ำไร่ท�ำสวนเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง แต่อย่างที่ว่าไว้ ปัญหาที่เป็นเงาตามตัวเกษตรกรคือหนี้สิน และรายได้ไม่พอต่อการยังชีพ จึงมีคนจ�ำนวนหนึ่ง ในหมู่บ้านจับมือล้อมวงพูดคุยหาแนวทางท�ำมาหากินใหม่ๆ ด้วยจุดประสงค์หารายได้เพิ่มให้ครอบครัว มองไป มองมาก็มาจบที่อาหารโปรตีนประเภทแมลงหน้าตาคุ้นๆ อย่างจิ้งหรีด ที่คนโพนทองนิยมกินกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน “แรกๆ เลยมีคนขายจิ้งหรีดคั่ว เขาบอกว่า เลี้ยงจิ้งหรีดรายได้ดี” ป้าส�ำอาง ใจบุญ กรรมการกลุ่มเลี้ยงจิ้งหรีด เล่าย้อนไปถึงจุดตั้งต้นของกลุ่ม การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง แต่ค�ำว่า ไม่ลองก็ไม่รู้ ยังใช้การได้ดี การเลี้ยงจิ้งหรีดในต�ำบลโพนทองจึงเริ่มต้น ขึ้น ช่วงแรกราวปี 2543 เป็นการกระจายแยกย้ายกันไปเลี้ยง บ้านใครบ้านมัน เรียกว่าใครใคร่เลี้ยงจิ้งหรีด ก็เดิน หน้าเลี้ยงเลย ทุกคนมีสถานะเป็นเจ้าของฟาร์มจิ้งหรีดอย่างเท่าเทียมกัน 

ปันสุข


นทอง

ทว่าผลที่ได้ตอนนั้น ไม่เข้าใกล้ความส�ำเร็จเอาเสียเลย เพราะ แต่ ล ะคนไม่ มี ป ระสบการณ์ ม าก่ อ น อาศั ย เลี้ ย งกั บ วงแหวน คอนกรีต ท�ำให้จิ้งหรีดตายเยอะมาก หลายคนจึงถอดใจกันไป 7 ปีผ่านไป เริ่มมีคนรื้อฟื้นการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดขึ้นมาอีกครั้ง เพราะสมาชิกบางคนได้ไปเห็นโรงเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดในอ�ำเภอใกล้ เคียง จนได้เคล็ดลับการเพาะเลี้ยงด้วยถาดไข่ กลับมาสร้างแรง ฮึดให้คนนิยมจิ้งหรีดกันอีกหน “คนนี้ก็เห็นคนนั้นท�ำได้ คนนั้นก็เห็นคนนี้ท�ำได้” ป้าส�ำอางว่า เมื่อทุกคนต่างท�ำได้ ความมั่นใจจึงเพิ่มมากขึ้น แต่ด้วยหลัก ‘รวมกันเราอยู่’ ฟาร์มจิ้งหรีดที่แยกตัวอย่างเป็นเอกเทศจึงได้รวม ตั ว กั น เป็ น กลุ ่ ม เลี้ ย งจิ้ ง หรี ด แห่ ง บ้ า นซั บ ม่ ว ง จดทะเบี ย นเป็ น วิสาหกิจชุมชนตั้งแต่ปี 2553 ด้วยยอดสมาชิกเริ่มต้น 30 คน

กรรมการอีก 10 คน โรงเลี้ยงจิ้งหรีดเปิดโล่งให้อากาศถ่ายเทสะดวก ที่อยู่ของ จิ้งหรีดเป็นกล่องยาว โครงท�ำด้วยไม้ไผ่ แบ่งเป็นช่องๆ ตามอายุ ของจิ้งหรีด กรุทั้ง 4 ด้านด้วยมุ้งตาข่าย และผืนพลาสติกใส ด้าน บนสุดมีฝาปิดเปิดได้สะดวก “ช่วงนี้คนนิยมกินเยอะ ขนาดจิ้งหรีดที่ว่าโตไวแล้ว ก็ยังไม่ ค่อยทันตลาด ออกมาเท่าไหร่ก็ไม่พอขาย จิ้งหรีดเลี้ยงง่าย ให้ อาหารตอนเช้าเสร็จแล้ว อยากไปไหนก็ไป หรือวันนี้ไปท�ำนามา เหนื่อย ไว้พรุ่งนี้เช้าค่อยไปดูก็ยังได้” ป้าส�ำอางเล่า จิ้งหรีดกินใบผักเป็นอาหาร ไม่ว่าใบแตงกวา ใบแค ใบหม่อน หรือใบฟักทอง ซึ่งเป็นของหาได้ในหมู่บ้านอยู่แล้ว ไม่ต้องเสียเงิน ซื้ อ หามาจากไหน ขั้ น ตอนที่ ว ่ า ง่ า ยแสนง่ า ยนั้ น ใช้ เ วลารวม ทั้งหมดประมาณ 45 วัน ก็ถึงช่วงออกขายได้ ที่นี่มีขายทั้งจิ้งหรีด ตัวเป็นๆ อยู่ที่กิโลกรัมละ 250 บาท ส่วนแบบคั่วส�ำเร็จ ขายที่ขีด ละ 20 บาท จิ้งหรีด 1 บ่อ ได้น�้ำหนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม ตกบ่อละ ประมาณ 750 บาท แต่ละบ้านก็ไม่ได้มีบ่อเดียวเสียด้วย ถือว่า จิ้งหรีดพาเงินเข้าบ้านเดือนละไม่น้อยทีเดียว ปัจจุบันไม่เฉพาะผู้ใหญ่ที่เป็นสมาชิกกลุ่มเท่านั้น เมื่อคนใน ชุมชนเห็นพ้องต้องกันว่า การเลี้ยงจิ้งหรีดมีประโยชน์อย่างไร แนวคิ ด นี้ ยิ่ ง มี ค นสนใจเพิ่ ม มากขึ้ น แม้ แ ต่ ที่ โ รงเรี ย นคุ ณ ครู ก็ สามารถท� ำ ให้ ‘วิ ช าจิ้ ง หรี ด ’ กลายเป็ น หลั ก สู ต รนอกต� ำ ราที่ แนะน�ำให้เด็กนักเรียนท�ำความรู้จัก จากนั้นใครจะต่อยอดอย่างไร ก็ค่อยว่ากัน ต้องนับว่า จิ้งหรีดเป็นแมลงเศรษฐกิจที่นิยมบริโภคกันอย่าง แพร่หลายในภาคอีสาน เพราะรสชาติอร่อย โปรตีนสูง อีกทั้ง คุณค่าทางอาหารไม่แพ้ไข่มดแดง ตลอดเวลาที่อยู่ในโรงเพาะ เลี้ยง จะรู้สึกเหมือนก�ำลังฟังดนตรีจากธรรมชาติ วงจรชีวิตจิ้งหรีด ถ้ ามี เ วลาเฝ้ าดู จิ้ ง หรี ดในบ่ อทุ กวั น จะเห็ น พั ฒ นาการและ ความเปลี่ยนแปลง ถ้าจิ้งหรีดเริ่มกรีดปีก หมายถึงใกล้ถึงช่วงผสม พันธุ์หลังจากนั้น 1-2 วัน ก็วางไข่ 7-10 วัน เป็นตัวอ่อน หลังจาก นั้นอีก 45 วัน ก็โตเต็มวัย อีก 3-4 วัน พ่อแม่จิ้งหรีดรุ่นใหม่ก็จะ ผสมพันธุ์กัน วนเวียนอยู่อย่างนี้ นอกจากจิ้งหรีดมีคา่ ตัวที่สูงปรี๊ดแล้ว มูลหรือขี้ ยังมีคา่ เป็นปุ๋ย ให้ผักได้เป็นอย่างดี ปกติทางกลุ่มขายขี้จิ้งหรีดอยู่ที่กิโลกรัมละ 20 บาท ที่นี่ไม่มีอะไรไร้คา่ ทุกอย่างมีแง่มุมดีๆ ถ้าเรารู้คุณค่าของ สิ่งนั้น

ปันสุข

 


ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ผ้าไหมสายรุ ง้ ของดีโอท็อปจากอุทยั เ เข็มพร บุญศรี ประธานกลุ่มทอผ้าบัวหลวง อยู่ในเสื้อเชิ้ตสีชมพูไล่โทนสวย ที่กลุ่มของเธอทอกันเอง เรียกว่า ลายสายรุ้ง เป็นลวดลายที่ทางกลุ่มคิดค้น และออกแบบกันขึ้นมาเองจนเป็นเอกลักษณ์ มีชื่อเรียก ว่า ‘ผ้าทอไหมสายรุ้ง’ ซึ่งมีเฉพาะที่ต�ำบลอุทัยเก่า อ�ำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี เท่านั้น แต่กว่าจะมีรอยยิ้มจากความส�ำเร็จอย่างวันนี้ได้ เธอยอมรับว่า กลุ่มทอผ้าผ่านการล้มลุกมาหลายหน เริ่มต้นจากความต้องการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีกลุ่มทอผ้าดั้งเดิมของบ้านหนองจิกยาว หมู่ที่ 10 อยู่แล้ว แต่ขาดการด�ำเนินงานที่ต่อเนื่อง รวมถึงสมาชิกยังขาดทักษะ และประสบการณ์การติดต่อ ประสานงานกับลูกค้า และผู้ซื้อปลีกทั่วไป

 ปันปัสุนขสุข


เก่า กลุ่มทอผ้าบัวหลวงเป็นการฟื้นการรวมตัวขึ้นมาอีกครั้งในปี 2542 โดยได้รับการสนับสนุนทั้งจาก อบต. พัฒนาสังคม ธกส. มี สมาชิกช่วงก่อตั้งทั้งสิ้น 30 คน ผ้าทอส่วนใหญ่เป็นไหมประดิษฐ์ แต่ลวดลายจะมีหลากหลาย อาทิ ผ้ามัดหมี่ ต้องช�ำนาญในการ มัดย้อม เรียงจากสีอ่อนไปหาสีเข้มก่อน จากนั้น จึงกรอใส่หลอด ด้าย ก่อนน�ำไปทอให้เกิดลวดลาย กว่าจะได้ผ้าทอแต่ละผืน เข็มพรว่าไม่ง่าย แต่ที่ยากกว่านั้นคือ การยืนระยะของคนทอผ้า ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่คือแม่บ้านที่ใช้ เวลาว่างหลังท�ำเกษตรมาท�ำ

“เราท�ำด้วยใจรัก หลังจากว่างงานก็มาท�ำ แต่คนรุ่นใหม่ๆ เขา ก็ไม่ค่อยพอใจ เพราะค่าแรงได้ไม่เท่าไหร่” เข็มพรว่า ถ้าทอผ้ามัดหมี่ 1 วัน ได้ 1 ผืน แต่ถ้าผ้าสีพื้นวันหนึ่งทอได้ เฉลี่ย 4-5 เมตร ก็มาท�ำทุกวัน มากบ้างน้อยบ้าง เพราะส่วนใหญ่ ก็ท�ำนาด้วย ใครไม่สะดวกก็กลับไปทอที่บา้ นได้ เข็มพรการันตีว่า ผ้ามัดหมี่ของทางกลุ่มไม่ต้องกลัวว่าจะขาย ไม่ ไ ด้ แต่ ผ ้ า ทออื่ น ๆ อาจต้ อ งแปรรู ป ตั ด เย็ บ เป็ น เสื้ อ ผ้ า หรื อ กระเป๋า โดยส่งต่อไปยังกลุ่มเย็บผ้าหมู่ที่ 2 ผลิตภัณฑ์ที่วางขาย ในร้านโอท็อปของอุทัยธานีจะขาดผ้าทอไหมสายรุ้ง และผ้าทอมัด หมี่จากกลุ่มทอผ้าบัวหลวงไม่ได้เลย

ปันสุข




แรงบันดาลใจ

งานไม้สรรค์สร้างชีวิต ยุทธ-สายหยุด ท้วมเขียว เป็นชายกลางคน รูปร่างผอมโปร่ง ใบหน้ า ลู ่ ย าว จมู ก โด่ ง เป็ น สั น เป็ น เจ้ า ของโรงไม้ แ ห่ ง ต� ำ บล ดงมูลเหล็ก อ�ำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ และเรื่องราวการต่อสู้ ที่ชีวิตหนึ่งต้องฝ่าฟัน กว่าจะมีชีวิตอย่างทุกวันนี้ “พื้นเพดั้งเดิมผมเป็นคนอุตรดิตถ์ บ้านอยู่ใกล้ๆ เขื่อนสิริกิติ์ ติดกับเขตเมืองแพร่ สมัยปี 2500 แถวนั้นกันดารมาก ท�ำมาหากิน ก็ล�ำบาก ทั้งๆ ที่เราก็ไม่ได้ขี้เกียจ แต่ท�ำเท่าไหร่ก็ไม่พอกิน ค่าแรง เต็มที่ก็แค่วันละ 3 บาท ตอนนั้นท้อแท้มาก ขนาดเคยเอาเข็มขัด มารัดคอคิดฆ่าตัวตายด้วยซ�้ำ ดีที่ว่ามีเพื่อนมาห้ามไว้แล้วชวน ออกมาหางานหาชีวติ ใหม่ขา้ งนอก ร่อน เร่ไปเรือ่ ย ทีไ่ หนมีงานก็ทำ� ร่อนเร่มาถึงเพชรบูรณ์แบบไม่มีอะไรเลย พอเห็นว่าที่นี่น�้ำท่าอุดม สมบูรณ์ ป่าเขียวขจี ใจตอนนั้นคิดว่า ไม่อดตายแล้ว” สายหยุด เล่า แต่ด้วยความที่ไม่มีญาติไม่มีพี่น้อง หรือกระทั่งคนรู้จัก ทุก อย่างจึงต้องเริ่มจากศูนย์ ท�ำทุกอย่างเป็นลูกจ้างแบบไม่เอาเงิน เพราะอยากมีที่ซุกหัวนอน จนมาเจอคู่ชีวิต จึงชวนกันออกมาท�ำ ไร่นา ท�ำไปเหมือนจะดี แต่ก็ไม่ประสบความส�ำเร็จ ต้องเข้าไป 

ปันสุข

รั บ จ้ า งท� ำ งานก่ อ สร้ า งในกรุ ง เทพฯ พอมี ลู ก จึ ง กลั บ มาอยู ่ เพชรบูรณ์ กลับมาก็ยังต้องดิ้นรนต่อสู้เรื่อยมา กว่าจะมีชีวิตอย่าง วันนี้ คนสู้ชีวิตคนที่เคยคิดฆ่าตัวตายแล้วกลับขึ้นมาสู้ใหม่นั้นน่า ถ่ายทอดให้คนอื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่างยิ่งนัก โดยเมื่อกลับมาจาก กรุงเทพฯ เขาก็ท�ำอาชีพหลายอย่าง ทั้งค้าขาย ทั้งเป็นช่างซ่อม มอเตอร์ไซค์ ทั้งท�ำถ่านอัดแท่ง ท�ำอะไรก็ไม่ดีสักอย่าง ตอนนั้น เกือบจะกลับไปท�ำงานที่กรุงเทพฯ แต่อีกใจก็คิดว่า อยากอยู่ที่นี่ ไม่อยากไปไหนแล้ว ดังนั้นจึงเริ่มเสาะแสวงหาหนทางท�ำมาหากิน อื่นๆ แทนการย้ายถิ่นฐาน “ตอนเผาถ่าน คิดว่าจะรอดแล้ว แต่ท�ำไม่ทันออร์เดอร์ เขาก็ไม่ สั่งอีก นั่งๆ อยู่เห็นลูกชายก�ำลังจะเอาไม้ไปเผาเป็นถ่าน ก็ร้อง ห้าม แล้วคิดว่าเอาไม้ไปเผาขายไม่คุ้มเลย ยิ่งบางทีเห็นเพื่อนบ้าน ขายให้ โ รงงานใช้ เ ผาท� ำ เชื้ อ เพลง ได้ ตั น ละแค่ 300 บาทเอง เสียดายใหญ่ จึงเกิดความคิดอยากเพิ่มมูลค่าของมันดู ตัวเราเอง ก็มีความรู้ด้านงานไม้อยู่ คงไม่ยากเท่า ไหร่” สายหยุดเล่าที่มา ของอาชีพในปัจจุบัน


กระนั้น เรื่องราวไม่ได้ง่ายเหมือนคิด ในตอนแรกที่สายหยุด และสมัครพรรคพวกทั้ง 18 คนเข้าไปหาผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น (2547) เพื่อขอความช่วยเหลือ กลับเจอค�ำปฏิเสธที่ไม่คาดว่าจะ ได้รับ เมื่อจู่ๆ ชาวบ้านที่ไม่มีประสบการณ์ด้านงานไม้มาของบ ประมาณไปตั้งกลุ่มแปรรูปไม้ส่งขาย เป็นใครจะให้ “พอผู้ใหญ่ไม่สนับสนุน เราก็กลับมาท�ำด้วยเงินของเราเอง เรี่ยไรกันคนละ 100 บาท มาลงทุน คิดง่ายๆ ว่าทุนของเราเอง ขายได้ไม่ได้ยังไง มันก็เป็นของเรา ช่วงแรกก็เป็นอย่างที่ผู้ใหญ่ บ้านคาดไว้ ของที่เราท�ำขึ้นมาขายไม่ได้เลย สมาชิกก็มาขอคืน เงินที่ลงทุนไปอีก ตอนนั้นแย่มาก ทุนก็ต้องหาเอง แต่ยังไงก็ไม่ท้อ เพราะเราตั้งใจแล้ว อีกอย่างชีวิตที่ผ่านมาหนักกว่านี้ก็เจอมา แล้ว” สายหยุดว่า สภาพเหมือนหนีเสือปะจระเข้ หากสายหยุดยังเชื่อมั่น คิดว่า ท�ำไป เดี๋ยวก็มีคนมาเห็น ด้วยความคิดที่ว่า ถ้าไม่ส�ำแดงฝีมือก็ ไม่มีคนเห็นไม่มีคนมาจ้าง ต้องท�ำให้คนอื่นเห็นก่อนว่า เรามีฝีมือ จริง เราท�ำได้จริง เขาถึงจะมาจ้างเรา จากที่ท�ำใช้ในบ้าน ท�ำแจก ญาติพี่น้องก็เริ่มมีคนเห็นคุณค่า เข้ามาสั่งให้สายหยุดแปรรูป ผลิตภัณฑ์ตา่ งๆ ให้ จนปี 2549 งานของสายหยุดเริ่มอยู่ได้ มีออเดอร์เข้ามามาก ขึ้น เขาเองก็ต้องพัฒนารูปแบบงานอยู่ตลอดเวลา และเพื่อที่จะ ได้รับการส่งเสริมให้มากขึ้น จึงได้เข้าไปขอขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า โอท็อป ที่ส�ำคัญเขาไม่ได้เอาตัวรอดคนเดียว ด้วยไม่ได้ผูกใจเจ็บ สมาชิกที่ถอนตัวไป ทั้งยังเข้าใจด้วยซ�้ำว่า เหตุการณ์ตอนนั้นมัน บังคับให้ทุกคนท�ำอย่างนั้น ทุกวันนี้กลุ่มหัตถกรรมงานไม้กลาย เป็นแหล่งรายได้เสริมของแรงงานบ้านล�ำป่าสักไปแล้ว “ปี 2550 เราจับกลุ่มขึ้นมาใหม่ แล้วเราก็ไม่เอาเปรียบใคร อย่างเวลามีคนมาสั่งงาน เราก็จะหักเฉพาะค่าวัสดุที่ใช้ เช่น สี กระดาษทราย ส่วนรายได้จะน�ำมาหารด้วยจ�ำนวนสมาชิกที่มา ร่วมท�ำงานชิ้นนั้น ส่วนในบางกรณีที่เขามาท�ำร่วมในระยะยาวไม่ ได้ เราก็จะให้เป็นรายวันไป” สายหยุดเล่าถึงระบบการจัดการ ในปี 2554 เปรียบเสมือนเป็นช่วงแห่งการเก็บเกี่ยวต่อยอด ความส�ำเร็จ ทั้งข้อมูลที่ได้จากอบต. และเรื่องเล่าจากสายหยุด ยอดสั่งซื้อ ยอดการดูงานต่างเข้ามาจนเกือบรับไม่ไหว ทั้งยังส่ง ผลดีให้กลุ่มอื่นๆ ในชุมชนได้รับผลประโยชน์ไปด้วย บางกลุ่มที่ เคยซบเซาก็กลับมาคึกคัก งานนี้เรียกว่า ได้ทั้งเงินทั้งโล่จริงๆ “ถ้าคนไหนคิดฆ่าตัวตายให้มาคุยกับผม ผมเคยคิดฆ่าตัวตาย มาแล้ว การแก้ปัญหามันต้องมองสาเหตุ หาที่มาที่ไป แล้วจึงเอา สาเหตุนั้นมาแก้ ที่ส�ำคัญแรงใจที่จะสู้ส�ำคัญสุด” สายหยุดสรุป

ปันสุข




วัฒนธรรม

ท่องประวัติศาสตร์ชมุ ชนบ่อแร่



ปันสุข

บ่ อ แร่ เ ป็ น ต� ำ บลไม่ ใ หญ่ โ ตมากนั ก มี เ นื้ อ ที่ ป ระมาณ 30 ตารางกิโลเมตรเศษ อยู่ในอ�ำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ดังนั้น จึงใช้เวลาไม่นานนักในเดินทางเที่ยวชมทั่วทั้งหมู่บ้าน เพราะ นอกจากจะมีสถานที่เป็นแหล่งเรียนรู้พื้นบ้านที่ส�ำคัญแล้ว ยังมี สถานที่และวัดวาอารามอีกหลายแห่งที่ควรเข้าไปศึกษาเรียนรู้ ถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา ทั้งยังสามารถชื่นชมพุทธศิลป์ อายุกว่าร้อยปี กราบนมัสการหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ที่กลายเป็นศูนย์ รวมจิตใจของผู้คนชาวต�ำบลบ่อแร่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วัดหนองจิก มุจลินทสราวาส ตามประวัติกล่าวว่า วัดหนองจิกสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี 2432 แต่เดิมอยู่ในเขตมณฑลนครสวรรค์ โดยนายคร้าม นาย พิน คนบ้านหนองจิก และนายแผน คนบ้านลานคา มีความเห็น ว่ า ในละแวกบ้ า นนี้ ไ ม่ มี วั ด ในการปฏิ บั ติ กิ จ ทางศาสนา จึ ง มี ความคิดสร้างวัดขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน โดย ร่วมกันแผ้วถากถางป่ารกชัฏในบริเวณพื้นที่ดอน น�้ำท่วมไม่ถึง โดยขอความร่วมมือชาวบ้านมาช่วยสร้างกุฏิมุงหลังคาด้วยแฝก ฝาไม้ไผ่ขึ้นจ�ำนวน 3 หลัง และได้นิมนต์พระอาจารย์ป้อมมาเป็น ประธานในการก่อสร้าง หลังจากนั้นมีพระเวียนกันมาจ�ำพรรษา อีกหลายรูป จนกระทั้งในปี 2443 จึงได้นิมนต์พระอาจารย์พรหม สร หรือหลวงปู่ยอด มาเป็นพระอธิการองค์แรกของวัดหนองจิก คุณวินัย คงสิทธิ์ ไวยาวัชกรของวัดหนองจิก หรือน้าต๋อยเล่า ให้ฟังว่า “สมัยก่อนที่ดินแถวนี้ไม่มีเจ้าของ เป็นพื้นที่รกร้างว่าง เปล่า จึงได้มีการเอาป้ายมาปักปันเป็นอาณาเขตเพื่อสร้างเป็น วั ด ปั จ จุ บั น มี อ าณาเขตประมาณ 70 ไร่ และมี ที่ น าวั ด อี ก ประมาณ 300-400 ไร่” สมัยที่หลวงปู่ยอดเป็นพระอธิการอยู่ มีพุทธบริษัทมาท�ำบุญ รักษาศีล มีการบวชชีในช่วงฤดูร้อน และมีพระจ�ำพรรษามาก จึง มีความคิดที่จะท�ำนาด้านหลังวัด จากนั้นชาวบ้านมองเห็นความ ส�ำคัญ จึงยกที่นาถวายวัดกันมากมาย มีการทอดกฐินด้วยควาย 1 คู่ เกวียน 1 เล่ม พร้อมข้าวเต็มเกวียน จึงท�ำให้วัดหนองจิกมีที่ นามากที่สุดในอ�ำเภอวัดสิงห์ “ปัจจุบันที่นาวัด เรามีการให้ชาวบ้านในบ้านหนองจิกพลัด เปลี่ยนเวียนกันมาเช่าท�ำนา โดยมีการจับฉลากกันใหม่ทุกๆ 3 ปี เพื่อไม่ให้คนใดคนหนึ่งถือครอบครอง คนที่เคยท�ำไปแล้วสามปีก็ ต้องเว้นวรรคไปสามปี ถึงจะมีสิทธิ์จับฉลากใหม่ได้ เพื่อให้คน ใหม่ได้มีโอกาสได้มาเช่าบ้าง จะได้มีการหมุนเวียนได้ครบกันทุก คน ส่วนการเก็บค่าเช่านา เราจะดูจากจ�ำนวนข้าวในแต่ปีที่ผู้เช่า ท�ำได้ ถ้าผู้เช่าท�ำนาได้ผลผลิตมาก เราก็เก็บมากหน่อย ถ้าได้


น้อย ก็เก็บน้อยตามสัดส่วนกันไป” น้าต๋อยอธิบาย ลุงจ�ำเนียร รุ่งเรือง มรรคทายกวัดหนองจิกเล่าว่า หลวงปู่ยอด เกิดเมื่อปี 2414 เดิมเป็นคนบ้านดงไร วัยเยาว์เป็นเด็กที่มีความ ฉลาดเฉลียว มีความจ�ำเป็นเลิศ ได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับอาจารย์ หลายท่าน รวมถึงหลวงปู่ศุขแห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า จึง ท�ำให้ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรม ทั้งมีความรู้เกี่ยวกับแพทย์แผนโบราณ ท่านเป็นคนมีจิตใจฝักใฝ่ ธรรมมะ เมื่ออายุครบ 22 ปีจึงได้อุปสมบท หลวงปู่ยอดเป็นพระที่ ชาวบ้านหนองจิกให้ความเคารพนับถือและเลื่อมใสศรัทธาเป็น อย่างมาก นอกจากนี้ ปาฏิหาริย์ของหลวงปู่ยอดแล้ว ยังมีเรื่องที่ เล่าลือสืบต่อกันมาว่า ท่านฟังภาษานกได้ มีวาจาพระร่วง หรือ วาจาศักดิ์สิทธิ์ “สมัยก่อนพ่อผมเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิหลวงปู่ยอดเลย พ่อเล่าให้ ฟังว่า สมัยตอนสร้างวัด ต้นไม้ต้นไหนขวาง หลวงปู่ยอดจะเอามือ ไปตบๆ ต้นไม้แล้วพูดว่า ‘ขวางเขาแล้วนะลูก’ 7 วันต้นไม้เหี่ยว ตายเลย” ด้วยวัดคือศูนย์รวมจิตใจ เป็นที่พึ่งพาทางจิตใจของผู้คนใน หมู่บ้าน อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางเพื่อให้คนในหมู่บ้านเข้ามาท�ำ กิจกรรมต่างๆ ทั้งเป็นสถานที่จัดประชุม หรือเป็นสถานที่นัดพบ เมื่อมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาขอความร่วมมือจากชาวบ้าน วัด หนองจิกจึงถูกตั้งเป็น “สถานรวมใจ” ของผู้คนในหมู่บ้านและ ต�ำบล วัดหนองจิกมีศาลาการเปรียญเก่าแก่ ก่อสร้างเสร็จเมื่อ 2500 เป็นศาลาไม้ที่ก่อสร้างในสมัยพระอาจารย์ส�ำเนียง เพื่อใช้เป็นที่ ท�ำบุญ และเป็นโรงเรียนให้ลูกหลานของต�ำบลใช้เป็นที่ศึกษา หาความรู้ โดยใช้เป็นห้องเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 ลักษณะเด่นอยู่ที่เสาของศาลา ซึ่งท�ำจากไม้แต้ มีขนาดความสูง ใหญ่ทั้งต้น สร้างเป็นแบบศาลาเสาสูงทรงโบราณ ปัจจุบันได้มี การบูรณะซ่อมแซมบางส่วนเพื่อให้คงใช้งานได้ดีเหมือนเดิม สิ่ ง ที่ น ่ า สนใจอี ก อย่ า งของวั ด หนองจิ ก คื อ บนหลั ง คาของ อุโบสถมีรูปปั้นครุฑอยู่ด้านบน ซึ่งไม่ปรากฏว่าพบเห็นที่วัดใดมา ก่อน จึงไม่ทราบว่าสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด วัดหนองจิกมีการจัดประเพณีเป็นประจ�ำทุกปี โดยเฉพาะใน ช่วงประเพณีออกพรรษา วัดหนองจิกจัดให้มีประเพณีตักบาตร เทโว และการเทศน์มหาชาติ และในวันขึ้น 13 ค�่ำ เดือนอ้าย จะมี ประเพณีการท�ำบุญให้หลวงปู่ยอด ซึ่งจะจัดพร้อมกับการท�ำบุญ หลวงพ่อสมิง จกฺกวโร ที่เพิ่งมรณภาพลง โดยมีการสวดพุทธมนต์ เย็น และจัดให้มีงานมหรสพในยามค�่ำคืน

ปันสุข




วัดบ่อแร่ธรรมเจริญศรี วัดบ่อแร่ เดิมตั้งอยู่ที่ดอนตะวันออก ต่อมาพระอาจารย์เนียม เจ้าอาวาสวัดสิงห์ ได้ย้ายวัดมาอยู่ที่บ้านบ่อแร่กับบ้านดอนแปรง เมื่อปี 2430 โดยได้นิมนต์พระอาจารย์แป้นซึ่งอยู่วัดพิชัย จังหวัด อุทัยธานี มาเป็นเจ้าอธิการวัด ต่อมาปี 2461 พระปลัดชื่น เจ้า อธิการวัดท่านจั่น พร้อมด้วยหลวงปู่ยอด วัดหนองจิก ได้นิมนต์ ท่านอาจารย์เคลือบ เกษประทุม มาเป็นเจ้าอธิการวัดบ่อแร่ พระครูวิจิตรชัยการ หรือหลวงพ่อเคลือบ โกสลฺโล เกิดเมื่อวัน ที่ 23 ธันวาคม 2432 หลวงพ่อเคลือบมีพื้นเพเดิมเป็นคนไทยเชื้อ สายมอญ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี เป็น บุตรของนายทัพ กับนางคล้าย เกษประทุม อวยพร เกษประทุม ผู้มีศักดิ์เป็นเหลนของหลวงพ่อเคลือบเล่า ให้ฟังว่า หลวงพ่อเคลือบเป็นผู้ที่มีจิตใจฝักใฝ่ในทางพระพุทธ ศาสนามาตั้งแต่เยาว์วัย ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบกันมาว่า สมัยเมื่อท่าน ยังเป็นเด็ก ท่านมักจะมาเลี้ยงควายในป่า ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งวัด ในปั จ จุ บั น เป็ น ประจ� ำ เมื่ อ ปล่ อ ยควายแล้ ว ท่ า นก็ จ ะท� ำ การ ถากถางป่า ซึ่งตอนนั้นยังเป็นป่ารกชัฏ เต็มไปด้วยต้นไม้น้อย ใหญ่เบียดเสียดกันอย่างหนาแน่น มีเพียงกุฏิมุงแฝกรกร้างอยู่ 2-3 หลังเท่านั้น คนแก่ถามท่านว่า “ถางไปท�ำไมล่ะเคลือบ” ท่าน ตอบว่า “โตขึ้นฉันจะสร้างวัดจ้ะ” คนแก่ได้ฟังก็นึกข�ำในใจ เพราะ ไม่มีใครคิดว่า นั่นจะเป็นปณิธานอันแน่วแน่ของเจ้าอาวาสองค์ ส�ำคัญที่น�ำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ชุมชนบ่อแร่ ในช่ ว งเทศกาลวั น ออกพรรษา วั ด บ่ อ แร่ มี ป ระเพณี ก าร ตักบาตรเทโว และการเทศน์มหาชาติ และมีการจัดงานประเพณี ไหว้พระปิดทองหลวงปู่เคลือบ ในระหว่าง 14ข15 ค�่ำ เดือน 3 ของทุกปี สระพระยาพหล สระพระยาพหล หรือบ่อพระยาพหลมีประวัติศาสตร์เล่ากัน มาว่า เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พลเอกพหล พลพยุหะเสนา ได้เดินทางจากกรุงเทพฯ เพื่อมารับตัวนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งเป็น หนึ่งในขบวนการเสรีไทย จะกระโดดร่มลงมาในพื้นที่ของบ้านวัง

น�้ำขาว พลเอกพหลฯ มีนายทหารคนสนิทคนหนึ่ง ชื่อร้อยเอกเจี้ ยม เพ็งดิสถ์ ซึ่งเป็นคนบ่อแร่ จึงได้แวะพักที่บ้านบ่อแร่ 1 คืน จากนั้นจึงได้เดินทางต่อเพื่อไปรับตัวนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ แล้วมา พักที่บ้านบ่อแร่ก่อนเดินทางกลับ ในระหว่างที่พักอยู่ที่บ้านบ่อแร่ พลเอกพหลฯ เห็นว่าบ้านบ่อแร่มีความแห้งแล้งมาก ไม่มีสระน�้ำ จึงได้ขอความร่วมมือกับชาวบ้านทั้งช่วยบริจาคเงินและแรงงาน เพื่อช่วยกันขุดบ่อน�้ำ เพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ในการอุปโภค บริโภค “บ่อพระยาพหลฯ นับแต่อดีตจนปัจจุบัน น�้ำในบ่อไม่เคยแห้ง เลย สมัยก่อนจะมีสะพานเป็นท่าน�้ำ ชาวบ้านจะมาใช้ที่บ่อน�้ำ แห่งนี้ เรียกได้ว่าที่นี่กลายเป็นศูนย์รวมชาวบ้านบ่อแร่เลยก็ว่าได้ เพราะน�้ำไม่เคยแห้ง ชาวบ้านจึงเชื่อกันว่าที่นี่มีตาน�้ำ ซึ่งเป็น ตาน�้ำสายเดียวกับบ่อบาดาลของวัดท่านจั่น เพราะที่นั่นน�้ำก็ไม่ เคยหมดเหมือนกัน” พี่อวยพร เกษประทุม รองนายกองค์การ บริหารส่วนต�ำบลบ่อแร่เอ่ยเล่าความหลัง บ่อหพลฯ มีลักษณะเป็นทรงกลมแบบแอ่งกระทะ มีเส้นผ่า ศูนย์กลางประมาณ 60 เมตร ก้นสระเป็นดินเหนียว โดยมีการ โบกปูนไว้รอบ ปัจจุบันถูกหญ้าขึ้นคลุมจนมองไม่เห็นพื้นปูนเดิม บริเวณรอบๆ บ่อพหลฯ ยังมีการท�ำลานปูนอเนกประสงค์ มีศาลา ร่มเย็น ที่เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านในการบริจาค และสร้างท�ำ เพื่อเป็นประโยชน์ในการประกอบกิจกรรมของชาว บ้าน ตั้งแต่เป็นลานตากข้าว สถานที่พักผ่อนหย่อนใจและออก ก�ำลังกาย และสถานที่จัดงานเลี้ยง เป็นต้น พี่อวยพรบอกว่า นอกจากนี้แล้ว ชาวบ้านหมู่ 1 ยังได้ร่วมกัน ย้ายศาลเจ้าพ่อลมบน อันเป็นศาลเจ้าพ่ออันศักดิ์สิทธิ์ที่คนบ่อแร่ ให้ความเคารพศรัทธา และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของชาว ต�ำบล มาไว้เคียงข้างสระพระยาพหลฯ เพื่อดูแลรักษาไว้ในพื้นที่ ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของต�ำบล ในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ ชาวบ้านในต�ำบลบ่อแร่จะมา ร่วมกันท�ำบุญศาลเจ้าพ่อลมบนกันจนกลายเป็นประเพณี และ ร่วมเล่นน�้ำสงกรานต์กันบริเวณสระพระยาพหลแห่งนี้


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.