เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน

Page 1

เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 1


เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน กฤตตฤณ, สุทธิโชค จรรยาอังกูร ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data กฤตตฤณ. เรียบง่ายด้วยวิถี มีดท ี ต ี่ ้นทุน.-- กรุงเทพฯ : ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), 2558. 104 หน้า. 1. ชุมชน. I. สุทธิโชค จรรยาอังกูร, ผู้แต่งร่วม. I. ชื่อเรื่อง. 307.72 ISBN 978-616-393-026-2 เลขมาตรฐานสากลประจ�ำหนังสือ 978-616-393-026-2 พิมพ์ครั้งที่ 1     ธันวาคม 2558 บรรณาธิการอ�ำนวยการ     ดวงพร เฮงบุณยพันธ์     พงศักดิ์ แสบงบาล     พรพรรณ แก้วค�ำภา บรรณาธิการ     กฤตพจน พงศ์ถิรประสิทธิ์ กองบรรณาธิการ     ปานแก้ว แสบงบาล     พรทิวา ไวยครุฑธา ช่างภาพ     กฤตพจน พงศ์ถิรประสิทธิ์ ศิลปกรรม     พรทิวา ไวยครุฑธา ออกแบบปก     อรกุล แก้วหิรัญ พิสูจน์อักษร     ปรียนันท์ ตั้งพุทธิพงศ์ ประสานงานการผลิต     ชัชฎาพร ณ บางช้าง จัดพิมพ์โดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (ส�ำนัก 3) อาคารเรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99/8 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-343-1500 www.thaihealth.or.th www.punsook.org, www.facebook.com/punsook ด�ำเนินการผลิตโดย หจก. จู๊ซ อัพ มีเดีย แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น เลขที่ 7 ซอยรามค�ำแหง 44 แยก 2 ถนนรามค�ำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ 10240


ค�ำน�ำ

รศ.ดร.ขนิษฐา นันทบุตร ผู้อ� ำนวยการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ กล่าวเอาไว้ว่า “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้อ งมี ค วามมั่ น ใจว่า ตั ว เองเป็น คนสร้า ง กระบวนการเรียนรู้ได้ โดยไม่จำ� เป็นต้องพึง่ พา ความรู ้จ ากหน่ว ยราชการ หรื อ ความรู ้จ าก องค์กรการศึกษาอื่น ต้องบอกตัวเองว่าเราคือ สถาบั น ที่ ส ร้า งความรู ้ใ ห้กั บ คนอื่ น ได้ ชี้ น� ำ สังคมได้ นี่เป็นเหมือนการปฏิรูปการเรียนรู้ ปฏิรูปให้เห็นโอกาสที่จะท�ำให้ชุมชนท้องถิ่น ไม่ต ้อ งเป็น ผู ้ต ามอี ก ต่อ ไป เป็น การเปลี่ ย น วาทกรรมของการเรียนรู้โดยสิ้นเชิง” สิ่ ง ที่ ร ศ.ดร.ขนิ ษ ฐากล่า วนั้ น เรี ย กให้ กระชับสัน ้ คือการสร้าง สะสม และใช้องค์ความรู้ ภายในพืน ้ ที่ โดยคนในพืน ้ ที่ เพือ ่ สร้างผลกระทบ ที่ดีในหลากหลายมิติภายในชุมชน โดยเฉพาะ ชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็นฐานรากที่ส�ำคัญของการ พัฒนาประเทศ เป็นที่มาให้ส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย ส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (ส�ำนัก 3) ได้ เข้ามาสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั่ ว ประเทศในการส� ำ รวจทุ น และศั ก ยภาพ ถอดบทเรี ย น ตลอดจนสร้า งบุ ค ลากรที่ มี

ความสามารถในการน� ำ ใช้ และถ่า ยทอด องค์ค วามรู ้ที่ ไ ด้รั บ การสั ง เคราะห์ม าแล้ว อย่างดี เพือ ่ กระจายองค์ความรู้เหล่านัน ้ ให้กบ ั เพื่ อ นเครื อ ข่า ยองค์ก รปกครองส่ว นท้อ งถิ่ น ทั่วประเทศต่อไป ทีส ่ ด ุ แล้วเมือ ่ ท้องถิน ่ สร้างองค์ความรู้ของ ตัวเอง และต่อยอดสู่กระบวนการเรียนรู้จน สามารถถ่ายทอดได้ ก็ยิ่งทวีความเข้มแข็งให้ มากขึ้นไป และเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า จะสามารถ สร้างคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีให้เกิดขึ้น ในชุ ม ชนท้อ งถิ่ น ซึ่ ง เวลานี้ ก ระบวนการ ทุกอย่างได้ดำ� เนินมาระยะหนึง่ แล้ว พัฒนาการ ของพื้ น ที่ แ ต่ล ะแห่ง ได้รั บ การยื น ยั น เป็น ที่ ป ระจั ก ษ์ว ่า สามารถสร้า งประโยชน์ใ น หลากหลายมิติให้กับชุมชนท้องถิ่น ต�ำบลเหล่าใหญ่เองเป็นต�ำบลทีม ่ รี ากฐาน วัฒนธรรมเป็นทุน ด้วยเป็นชุมชนภูไทดั้งเดิม จึงท�ำให้เห็นมิตท ิ แี่ ตกต่าง ทว่ามีความน่าสนใจ ใ น ร า ย ล ะ เ อี ย ด ที่ แ ห ่ง นี้ มี ก ้า ว ย ่า ง แ ล ะ พั ฒ นาการ ร้อ ยเรี ย งเป็น เรื่ อ งราวที่ ช วนให้ เข้ามาสัมผัส และต่อจากนี้คือเรื่องราวที่จะ ขยายความของค�ำว่า ‘องค์ความรู้’ ของพื้นที่ แห่งนี้ เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 3


6 | บทน�ำ ‘เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน’ 10 | สัมภาษณ์

12 | พงศักดิ์ แสบงบาล นายกเทศมนตรีตำ� บลเหล่าใหญ่:   ‘พื้นที่เข้มแข็ง ด้วยแรงที่ต้องร่วม‘ 16 | พรพรรณ แก้วค�ำภา ปลัดเทศบาลต�ำบลเหล่าใหญ่:   ‘ดึงทุนสร้างฐาน ปั้นชุมชนจัดการตนเอง’

20 | ชุมชนดี เพราะมีส่วนร่วม

22 | กลุ่มบริหารจัดการน�้ำชุมชน บ้านจอมทอง

26 | สวัสดิการดีๆ ที่เรามีให้แก่กัน 28 30 32 34 36

| | | | |

ฌาปนกิจสงเคราะห์ เพราะเราต้องช่วยกัน กองทุนสัจจะสวัสดิการต�ำบลเหล่าใหญ่ สถาบันการเงินชุมชน ออมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุมชน ร้านค้าชุมชน (ศูนย์สาธิตการตลาด)

38 | เศรษฐกิจชุมชน

40 | กลุ่มเสื้อเย็บมือ หมู่ที่ 1 44 | กลุ่มจักสาน หมู่ที่ 1 46 | กลุ่มหญ้าคา บ้านกุดฝั่งแดง 48 | กลุ่มทอผ้าลายเก็บจก หมู่ 7 52 | กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์บ้านมะนาว 54 | กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ 7 58 | หมูหลุม


60 | สุขภาพดีๆ ที่เราช่วยกันดูแล 62 | ศูนย์รวมน�้ำใจคนเหล่าใหญ่ :     กลุ่มไทยเหล่าใหญ่ ห่วงใยผู้ด้อยโอกาส 64 | ศูนย์รวมน�้ำใจคนเหล่าใหญ่ :     กลุ่มจิตอาสาดูแลสุขภาพ 66 | ศูนย์รวมน�้ำใจคนเหล่าใหญ่ :     กลุ่มเติมรักเติมบุญ 68 | สุขศาลาค�ำกั้ง

70 | การศึกษา ‘วิชาชีวิต’

74 | สหกรณ์ โรงเรียนเหล่าใหญ่ฯ 78 | ศูนย์เด็กเล็กแสงส่องหล้า 9 82 | ศูนย์ ICT โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 35

84 | วัฒนธรรมดี...ชีวิตก็ดีตาม 86 | สภาวัฒนธรรม 88 | วงดนตรีภูไท

90 | พักผ่อนหย่อนกาย 92 | โฮมสเตย์ลุงวิรัตน์ 94 | โฮมสเตย์ครูสุดารัตน์ 95 | โฮมสเตย์ป้าอัมพร

96 | อาหารการกิน 98 | อ่อมหวาย 100 | ป่ามไข่

102 | เที่ยวชมยามเยือน 104 | คลองน�้ำจั้น


บทน�ำ

‘เรี ย บง่ า ยด้ ว ยวิ ถี มีดีที่ต้นทุน’ Introduction

6 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


การเดิ น ทางแต่ล ะครั้ ง มี เ สน่ห ์แ ตกต่า ง กั น ไป ต่อ ให้เ ป็น จุ ด หมายเดี ย วกั น ก็ ต าม เรื่องราวระหว่างทางมีเสน่หเ์ ฉพาะตัว แต่กับ ครานี้ ณ ปลายทางที่เป็นต�ำบลเล็กๆ ชื่อว่า เหล่า ใหญ่ ในอ� ำ เภอกุ ฉิ น ารายณ์ จั ง หวั ด กาฬสินธุ์

เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 7


เราเดิ น ทางจากอ� ำ เภอเมยวดี จั ง หวั ด ร้อยเอ็ด ซึ่งอยู่ห่างออกไปราว 30 กิโลเมตร โดยมี นันทนา อุทรักษ์ หัวหน้าส�ำนักปลัด เทศบาลต�ำบลบุ่งเลิศ อ�ำเภอเมยวดี ขับรถมาส่ง ระหว่างทาง พี่นันทนาเล่าให้ฟังว่า ที่ต�ำบล เหล่าใหญ่เป็นชุมชนภูไทขนานแท้ ซึง่ เป็นกลุ่ม ชาติพน ั ธุ์ใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รอง ลงมาจากกลุ่มไทลาว โดยทีอ ่ ำ� เภอกุฉน ิ ารายณ์ มีชาวภูไทอาศัยหนาแน่นในทุกต�ำบล “แตกต่างจากที่บุ่งเลิศ ที่มีไม่กี่หมู่บ้าน” พี่นันทนาว่า ไม่ถึ ง ชั่ ว โมง เราก็ เ ดิ น ทางมาถึ ง ต� ำ บล เหล่า ใหญ่ รถเที ย บหน้า บ้า นซึ่ ง เป็น ร้า นค้า และปั๊ม น�้ ำ มั น ที่ นั่ น ปานแก้ว แสบงบาล ผู้อ�ำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลต�ำบลเหล่าใหญ่ รอต้อนรับอยู่แล้ว ตอนนั้นพลบค�่ำแล้ว เราเข้าที่พัก ซึ่งเป็น เรื อ นด้า นหลั ง ที่ พี่ ป านแก้ว สร้า งไว้รั บ แขก เป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูง เจ้าบ้านให้เราอยู่ตาม อัธยาศัย

ว่ากันว่า คนภูไทอยู่แบบครอบครัวใหญ่ใน บ้านเดียวกัน แต่ ณ วันนี้เปลี่ยนไปมากแล้ว ด้ว ยสภาพสั ง คมที่ เ ปลี่ ย นไปตามกาลเวลา ลูกหลานขยับขยายมาตัง้ รกรากของตัวเอง แต่ ยั ง อยู ่ใ กล้กั บ บ้า นพ่อ แม่ ด้ว ยพื้ น ฐานของ คนทีน ่ ย ี่ งั บูชาบรรพบุรษ ุ หรือนับถือผี เพราะมี ความเชื่ อ ว่า บรรพบุ รุ ษ ได้สิ ง สถิ ต อยู ่ต าม ป่า เขา ล� ำ เนาไพร ห้ว ยหนอง คลองบึ ง สิ่งเหล่านี้ท�ำให้พวกเขาหวงแหนธรรมชาติ เราสารภาพตามตรงว่า แยกไม่อ อก ระหว่างคนภูไทกับภูลาว เลยได้รับค�ำชี้แนะว่า ให้สังเกตจากเครื่องแต่งกาย เพราะคนภูไทจะ สวมใส่ผ้าทอพื้นเมืองภูไทที่มีเอกลักษณ์ เป็น ผ้าซิน ่ หมีต ่ น ี ต่อย้อมครามเข้ม บ้างเข้มจนเกือบ เป็นสีด�ำ สวมเสื้อแขนกระบอกยาว หรือสั้น ตกแต่งด้วยการเย็บลายพื้นเมืองภูไท ห่มด้วย ผ้าขิดพืน ้ เมือง นิยมสวมสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ที่ท�ำจากโลหะเงิน เกล้าผมเป็นมวยสูงตั้งตรง ใช้ผ้ามนหรือแพรมนท�ำเป็นผ้าสี่เหลี่ยมเล็กๆ ม้วนผูกมวยผม


เ ช ่น นั้ น ค น ภู ไ ท จ ะ มี กี่ ท อ ผ ้า แ ท บ ทุ ก หลั ง คาเรื อ น เพื่ อ ทอผ้า ใส่กั น ในครั ว เรื อ น ขณะที่อาชีพส่วนใหญ่คือการท�ำเกษตรกรรม ปลูกข้าวเป็นหลัก ต่อมายางพาราเริม ่ แพร่หลาย ในพื้นที่ภาคอีสาน ทิวทัศน์ในต�ำบลจึงมีภาพ ของต้นยางเรียงรายให้เห็นเป็นระยะ นอกจากนี้ ยั ง มี อ าชี พ ใหม่อ ย่า งการปลู ก อ้อ ย แต่ก็ ไ ม่ แพร่หลายเหมือนข้าวกับยางพารา เพราะมี ตลาดจ�ำกัด ด้วยโรงงานน�้ำตาลให้โควตากับ ผู้ปลูกอ้อยรายใหญ่เสียมากกว่า โชคดีที่ว่ากาลเวลาผ่านไป แต่วัฒนธรรม เด่นของคนภูไทอย่างผ้าทอนั้น ไม่ได้เก่าตาม ด้ว ยกลายเป็น วั ฒ นธรรมที่ ส ามารถสร้า ง รายได้ให้กบ ั กลุ่มแม่บ้าน โดยผ่านการประยุกต์ ให้เข้ากับยุคสมัย เป็นรายได้ควบคู่ไปกับการ ท�ำเกษตรกรรม เกษตรกรรมของที่ นี่ นั้ น พี่ นั น ทนาว่า ที่ ต� ำ บลเหล่า ใหญ่มี ร ะบบน�้ ำ ดี ก ว่า ที่ บุ ่ง เลิ ศ ด้วยพื้นที่กาฬสินธุ์นั้น สามารถเรียกได้ว่าเป็น อู่ข้าวอู่น�้ำ มีน�้ำครบถ้วนสมบูรณ์ดี บางพื้นที่

ท�ำนาได้ปีละสองครัง้ หากอยู่ในท�ำเลทีเ่ หมาะสม ที่ นี่ จึ ง มี วิ ถี ชี วิ ต ที่ เ รี ย บง่า ย โดยมี ทุ น วัฒนธรรมดั้งเดิมเป็นรากฐานของชีวิต เป็น เรื่องราวที่รอให้เราเข้าไปท�ำความรู้จัก เพียง แค่รอเวลาให้ร่งุ อรุณเวียนมาถึงอีกคราเท่านัน ้ หลังจากอาบน�้ำอาบท่าจนสบายตัวแล้ว พีป ่ านแก้วก็ยกอาหารขึน ้ มาให้ กับข้าวกับปลา นั้นเรียบง่าย มีเสียงหรีดคอยบรรเลง เจ้าบ้าน เชื้อเชิญให้เรารับประทานตามอัธยาศัย หลังมือ ้ อาหารเรานัง่ รับลมตรงชานนัน ้ อยู่ ครู่หนึง่ ทบทวนรายการสิง่ ทีต ่ ้องท�ำในวันรุ่งขึน ้ ก่อนแยกย้ายพักผ่อนตามมุมที่เลือกไว้ ค�่ ำ คื น นั้ น หลั บ สนิ ท ยาวถึ ง เช้า วั น ใหม่ ทีเ่ หล่าใหญ่เริม ่ ขึน ้ แล้ว ส�ำหรับผู้คนทีน ่ ค ี่ งเป็น แค่วน ั ธรรมดา แต่สำ� หรับเรา มันคือวันทีเ่ ราจะ ได้บั น ทึ ก เรื่ อ งราวใหม่ใ นพื้ น ที่ ที่ ไ ม่คุ ้น เคย เหมือนการเข้าโรงเรียนวันแรก มีเพื่อนใหม่ รอเราอยู่ และมีเรื่องราวระหว่างทางใหม่ๆ ให้เก็บสะสมในความทรงจ�ำ


สัมภาษณ์ Interview

เช้าวันแรกที่เหล่าใหญ่ เราเดินทางมาถึงเทศบาล ต�ำบลเหล่าใหญ่ เวลานั้นนายกเทศมนตรีมารออยู่ก่อน แล้ว เขาเป็นคนต�ำบลเหล่าใหญ่โดยก�ำเนิด และใช้ชีวิต อยู่ที่นี่ เป็นการดีเหลือเกินที่จะได้ยินเรื่องราวของชุมชน แห่งนี้ จากคนพืน ้ ถิน ่ ดัง้ เดิม ไม่ช้านาน เราก็ได้แนะน�ำตัว น�้ำเสียงทุ้มลึกของเขาเชื้อชวนให้เรานั่งสนทนา ขณะที่ อี ก หนึ่ ง คนนั้ น เป็น สุ ภ าพสตรี หั ว หน้า ข้าราชการฝ่ายปกครอง หรือปลัดเทศบาลต�ำบลเหล่าใหญ่ ก็มค ี วิ พูดคุยกับเราต่อจากนี้ ผู้นำ� ทางของเราบอกว่า ปลัด เป็นคนเรียบง่าย เป็นคนทีม ่ ม ี ต ิ รจิตมิตรใจดี และเป็นคน พื้นที่ด้วยเช่นกัน ช่วงเวลาสองชั่วโมง การเริ่มต้นที่ต�ำบลเหล่าใหญ่ ของเราเป็นไปอย่างผ่อนคลาย สบายๆ เข้ากับบรรยากาศ ยามเช้าที่นี่

10 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน



12 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


พื้นที่เข้มแข็ง ด้วยแรงที่ต้องร่วม พงศักดิ์ แสบงบาล นายกเทศมนตรีต�ำบลเหล่าใหญ่

ภาพของพื้ น ที่ ต� ำ บลเหล่า ใหญ่ อ� ำ เภอ กุฉน ิ ารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ทเี่ ห็นในความคิด แรกคือความแห้งแล้ง แต่กลับผิดถนัด เพราะ ทีน ่ ี่มด ี ินดี น�้ำดี ท�ำเกษตรกรรมได้อย่างไม่ขาด ตกบกพร่อ ง ยิ่ ง เมื่ อ ได้ม าสั ม ผั ส พื้ น ที่ จ ริ ง ยิ่ ง ชวนให้อ ยากรู ้จั ก อยากค้น หา และคงจะ ไม่มี ใ ครให้ภู มิ ห ลั ง ของที่ นี่ ไ ด้เ ข้ม ข้น ไปกว่า คนในพืน ้ ทีเ่ อง ยิง่ คนคนนี้ ‘พงศักดิ์ แสบงบาล’ เป็นนายกเทศมนตรีต�ำบลเหล่าใหญ่ด้วยแล้ว เทศบาลต� ำ บลเหล่า ใหญ่ไ ด้รั บ การยก ฐานะจากองค์การบริหารส่วนต�ำบลเหล่าใหญ่ เมื่อปี 2552 โดยพงศักดิ์เป็นนายกเทศมนตรี ที่ ม าจากการเลื อ กตั้ ง ล� ำ ดั บ ที่ 1 เข้า ด� ำ รง ต�ำแหน่งได้ราวขวบปีกว่า เขาพูดคุยให้ฟังถึง สภาพพื้นที่โดยทั่วไป ก่อนเข้าสู่กระบวนการ ขับเคลื่อนงานต่างๆ ของต�ำบล “พื้นที่ต�ำบลเหล่าใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มสลับ ดอนขนาด 46,385.75 ไร่ แบ่งการปกครอง ออกเป็น 12 หมู่บ้าน โดย 10 หมู่บ้านเป็น ชาวภูไท ส่วนที่เหลือเป็นไทยอีสาน ซึ่งเพิ่ง อพยพเข้ามาเมื่อ 30-40 ปีก่อน มีประชากร กว่า 1,820 ครัวเรือน หรือราวๆ 7,335 คน” อาชีพหลักของคนที่นี่คือการท�ำนา ปีละ หนึ่งครั้งตามฤดูกาล มีห้วยน�้ำล�ำพะยังเป็นดั่ง เส้นเลือดส�ำคัญทีห ่ ล่อเลีย้ งชาวบ้านทุกครัวเรือน ให้ยงั คงด�ำรงชีวต ิ อยู่ได้ รองลงมาเป็นการปลูก ยางพารา ซึ่ ง มี เ กษตรกรปลู ก อยู ่ป ระมาณ 1,000 ครัวเรือน โดยมากจะท�ำควบคู่ไปกับ

นาข้าว “ชาวบ้านกรีดยางช่วงเช้ามืด คืนเว้นคืน ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงต้นธันวาคม ส่วนฤดู ท�ำนาจะเริม ่ เดือนมิถน ุ ายนเหมือนกัน แต่จะไป เสร็จช่วงปลายๆ กรกฎาคม แล้วรอเก็บเกี่ยว ผลผลิตในช่วงปลายปี” พงศักดิ์เล่า นอกจากนี้ยังมีการปลูกอ้อย ซึ่งมีวงปีใน การปลูกตัง้ แต่พฤศจิกายนถึงพฤศจิกายนอีกปี หนึง่ และใช้เวลาตัดอีกราวๆ 4 เดือน แต่ทำ� ได้ ค่อ นข้า งจ� ำ กั ด เพราะโรงงานผลิ ต น�้ ำ ตาลให้ โควตาผู้ปลูกรายใหญ่ๆ เป็นหลัก รายย่อย ไม่ค่อยได้รบ ั การสนับสนุนเท่าใดนัก จึงไม่นย ิ ม ปลูกกัน ด้วยไม่มีตลาดการันตีผลผลิต ในส่วนของงานพัฒนานั้น พงศักดิ์ยอมรับ ว่า ยังจ�ำเป็นต้องท�ำโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งถนน หนทาง ประปา ไฟฟ้า ควบคู่ไปกับการพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชน ผ่านการสนับสนุน กลุ ่ม องค์ก รภายในชุ ม ชน เช่น กลุ ่ม ทอผ้า กลุ ่ม จั ก สาน กลุ ่ม เลี้ ย งสั ต ว์ กลุ ่ม ปุ ๋ย หมั ก กลุ่มยางพารา ฯลฯ เรือ ่ งสวัสดิการสังคม มีการสร้างหลักประกัน เพือ ่ สร้างความมัน ่ คงแก่คนในชุมชน เช่นทุกวันนี้ มี ส วั ส ดิ ก ารออมวั น ละบาท มี เ ป้า หมายให้ ประชาชนทั้ ง หมดเป็น สมาชิ ก กองทุ น ด้ว ย เป็นการสบทบจากตัวพีน ่ ้องประชาชนส่วนหนึง่ โดยมีรฐั บาลและท้องถิน ่ ช่วยสมทบ สร้างความ รู้สึกเป็นเจ้าของร่วมให้เกิดในจิตใจของทุกคน

เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 13


ขณะที่ ก ารฟื้น ฟู ต ลอดจนการอนุ รั ก ษ์ วัฒนธรรมก็ไม่ยงิ่ หย่อนไปกว่ากัน ทีน ่ โี่ ดดเด่น ในเรื่องอัตลักษณ์ความเป็นภูไท คนพื้นถิ่นมี อุปนิสัยที่ค่อนข้างเอื้อเฟื้อ อ่อนน้อม อยู่แบบ เรียบง่าย พวกเขาเหล่านี้อนุรักษ์ภาษา การ แต่งตัว และวิถีชีวิตที่สะท้อนเด่นชัดที่สุดผ่าน งานหัตถกรรมต่างๆ สุดท้ายคือเรือ ่ งสุขภาพและการศึกษา โดย เทศบาลมีบทบาทในการหนุนเสริมโรงเรียน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลอย่าง เต็มความสามารถ “ศู น ย์พั ฒ นาเด็ ก เล็ ก อยู ่ใ นสั ง กั ด ของ เทศบาล อันนีเ้ ราดูแลโดยตรง เน้นให้ครูผ้ส ู อน ช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่เด็กๆ เพื่อ สร้างความพร้อมเวลาที่ไปเรียนระดับสูงขึ้น” พงศักดิ์เล่า จากการท�ำงานร่วมปีกว่า นายกเทศมนตรี บอกว่ามีหลายเรื่องที่ส�ำเร็จ แต่ก็มีอีกหลาย ส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เพราะต้องยอมรับ ว่าการยกฐานะขึน ้ เป็นเทศบาลนัน ้ มาพร้อมกับ ความคาดหวังของประชาชนที่สูงขึ้น แต่ด้วย ข้อจ�ำกัดทางด้านงบประมาณ ซึ่งมีประมาณ ปีละ 20 กว่าล้านบาท รวมทุกอย่างแล้ว ท�ำให้ การแก้ไขปัญหาติดขัดไปอยู่บ้าง บางคนมองว่า นี่เป็นข้ออ้าง กลายเป็นความเข้าใจแบบนั้นไป แต่ภาพรวมถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ “ผมก็ใช้วธิ พ ี ด ู ทุกเดือนในงานแจกเบีย ้ ของ ผู ้สู ง อายุ คื อ เน้น เรื่ อ งข้อ มู ล ข่า วสารในการ ขับเคลือ ่ นงานเทศบาล เช่นเรือ ่ งทีบ ่ อกว่ายังไม่ ไปถึงไหน อย่างเรือ ่ งแหล่งน�ำ้ ซึง่ เกินศักยภาพ ของเทศบาล ผมก็ ใ ช้วิ ธี เ ชื่ อ มกั บ หน่ว ยงาน 14 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


ข้างนอก เช่น กอ.รมน. กรมทรัพยากรธรณี กรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น ให้เข้ามาช่วย ส่ว นเรื่ อ งถนนหนทางท� ำ เสร็ จ ประมาณครึ่ ง หนึ่ ง โดยตรวจสอบความต้อ งการของ ประชาชน เรียงล�ำดับ 1 2 3 จากนัน ้ ของบจาก หน่วยงานอย่าง กรมทางหลวงชนบท กอ.รมน. เพราะเทศบาลไม่มี เ งิ น งบประมาณที่ มี อ ยู ่ เพียงพอแค่การซ่อมแซมถนนเพื่อการเกษตร เท่านั้น” นายกเทศมนตรีอธิบาย เพราะฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ประชาชน ที่ นี่ ค ่อ นข้า งตื่ น ตั ว สู ง เวลามี ก ารจั ด งาน ประชาคม และระดมความคิ ด เพื่ อ ท� ำ แผน พัฒนาพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่บ้านเหล่าใหญ่ หมู่ 1, 7 และ 8 จะให้ความร่วมมือมากเป็น พิเศษ ทั้งงานประกวดหมู่บ้าน งานอยู่ดีมีสุข งานรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด จนท�ำให้ต�ำบล เหล่าใหญ่เป็นพืน ้ ทีต ่ ้นแบบทีอ ่ ำ� เภอกุฉน ิ ารายณ์ ใช้เป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนงานทุกเรื่อง “เมื่อพื้นที่ยกฐานะขึ้นมา ภาระงานก็เพิ่ม ขึน ้ เยอะ ส่วนกลางถ่ายโอนภารกิจลงมา แต่ไม่ โอนงบ แล้วให้พื้นที่จัดหาภาษีเองเพื่อเลี้ยง ตัวเองได้ แต่ปัญหาคือการเก็บภาษีแต่ละครั้ง ต้องเปิดเวทีประชาคม พี่น้องไม่ยอม คือต้อง ยอมรั บ ว่า บางครั้ ง เขาแยกไม่อ อกระหว่า ง ปัญหากับความต้องการ พอแยกไม่ออกก็จะ เป็นความต้องการอย่างเดียว ซึ่งหลายอย่างก็ เป็นเรื่องฟุ่มเฟือย บวกกับที่ผ่านมามีนโยบาย ประชานิยมเข้ามา ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่ดี แต่ ต้องอยู่ในห้วงเวลาทีเ่ หมาะสมด้วย คืออย่าใช้ ให้ต ่อ เนื่ อ ง ไม่เ ช่น นั้ น พี่ น ้อ งจะเริ่ ม ติ ด และ อ่อนแอลง ทีเ่ หล่าใหญ่เห็นได้ชด ั เพราะเราท�ำ

แผนแม่บทชุมชนมาก่อน เพื่อให้ประชาชนได้ เรียนรู้การแก้ไขปัญหา แต่พอท�ำไประยะหนึ่ง โครงการต่างๆ ก็เข้ามา พี่น้องก็เริ่มไม่อยาก คิดแล้ว เพราะมองว่าเดีย ๋ วรัฐบาลก็มาช่วย ซึง่ ตรงนี้มันสวนทางกับความต้องการให้ยั่งยืน” นายกเทศมนตรีเล่า อีกหนึง่ แนวทางการพัฒนาทีเ่ ป็นรูปธรรม คือ ความร่วมมือกับส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึง่ เข้ามาช่วยจัด องค์ความรู้ทก ี่ ระจัดกระจายในพืน ้ ทีใ่ ห้เป็นรูป เป็น ร่า ง และท� ำ ให้ป ระชาชนได้เ ห็ น ว่า กลุ ่ม ต่างๆ เหล่านีม ้ พ ี ลังในการผลักดันพืน ้ ทีอ ่ ย่างไร โดยที่ผ่านมาทาง สสส. ได้ส่งกลุ่มนักวิชาการ เข้ามาเป็นพี่เลี้ยง และช่วยในการเก็บข้อมูล เพื่อให้ภาพการท�ำงานเหล่านี้เด่นชัดขึ้น และ สามารถเติ บ โตไปในทิ ศ ทางที่ ค วรจะเป็น เพราะแต่ก่อนถึงจะท�ำอะไรไปมากมาย แต่ขาย ของไม่เป็น การต่อยอดก็ไม่เกิดขึ้น สุดท้ายนี้ การพูดคุยล่วงเลยไปถึงความ เข้ม แข็ ง ของคนที่ นี่ ว ่า พึ่ ง ตั ว เองได้เ พี ย งใด นายกฯ ถามกลับมาว่าจะเอาอะไรเป็นตัวชี้วัด หากเป็น ความเป็น อยู ่ห รื อ ความสุ ข ก็ ถื อ ว่า ล้นเปี่ยม เพราะประชาชนมีกินมีใช้ ซื้อของได้ สุ ข สบาย แต่ถ ้า เอาตั ว เงิ น วั ด อาจจะติ ด ลบ เพราะถึ ง รายได้จ ะเยอะแต่เ มื่ อ วิ นั ย การเงิ น ไม่ดี สุดท้ายหักกลบก็เหลือเป็นหนีเ้ กือบทุกคน ซึ่ ง การแก้ไ ข นอกจากพยายามสร้า งความ เข้าใจในชุมชนแล้ว ยังต้องอาศัยศักยภาพและ ผลลัพธ์ของการรวมกลุ่มต่างๆ เพื่อเป็นพลัง ขั บ เคลื่ อ นให้เ กิ ด ความเข้มแข็งทั้งเศรษฐกิ จ สังคม และสุขภาวะในท้องถิ่นต่อไป เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 15


16 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


ดึงทุนสร้างฐาน ปั้นชุมชนจัดการตนเอง พรพรรณ แก้วค�ำภา ปลัดเทศบาลต�ำบลเหล่าใหญ่

กว่า 10 ปีทด ี่ ำ� รงต�ำแหน่งปลัดเทศบาลต�ำบลเหล่าใหญ่ (รวม สมัยเป็นองค์การบริหารส่วนต�ำบล) พรพรรณ แก้วค�ำภา จึงรู้ซึ้ง ถึงปัญหาของพีน ่ ้องประชาชนเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ ในช่วงทีท ่ าง สสส. เข้ามามีบทบาทหนุนเสริมและรวบรวมองค์ความรู้ในพื้นที่ พรพรรณจึ ง เป็น ก� ำ ลั ง ส� ำ คั ญ ในการผลั ก ดั น ให้เ กิ ด การรวมตั ว และเชื่อมความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งการประสานผู้น�ำ ในชุมชนท้องถิ่น หน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ อาทิ โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล “เมื่อก่อนไม่ค่อยได้ไปสัมผัสหรอก เพราะเราท�ำงานอยู่บน ส�ำนักงาน รอให้ประชาชนมาหา แต่พอได้มาท�ำงานกับ สสส. เลยได้ลงพื้นที่ ได้พูดคุยท�ำความเข้าใจ และสนับสนุนด้านการ จัดตั้งและจัดการกลุ่มต่างๆ เราเห็นว่ามันเกิดประโยชน์กับชุมชน ทั้งงานเด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุหรือคนพิการ แม้ตามภารกิจ จะไม่ใช่งานของเรา แต่โดยเนื้องาน มันเป็นงานที่เราท�ำอยู่แล้ว” ปลัดเทศบาลเล่า ทั้งนี้ปลัดฯ ได้ระลึกไปถึงจุดเริ่มต้นระหว่าง 2 หน่วยงาน ในช่วงปี 2553 โดยได้รับค�ำเชื้อเชิญจากองค์การบริหารต�ำบล บักได จังหวัดสุรินทร์ ให้เข้าร่วมเครือข่ายของบักได ห้วงแรกไม่รู้ ว่าภารกิจงานของ สสส. คืออะไร คิดว่ามุง่ เน้นไปที่งานสุขภาพ เท่านั้น เลยส่งผู้อ�ำนวยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเข้าไป พอได้ลงสัมผัส พร้อมกับได้ท�ำบันทึกข้อตกลงร่วมกับบักได ในปี 2554 จึงทราบว่าเรื่องสุขภาวะนั้นไม่จ�ำกัดเพียงแค่เรื่อง สุขภาพ แต่ยังขยายวงกว้างไปสู่มิติอื่นๆ คือเศรษฐกิ จ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ซึ่งล้วนแต่ประกอบกันท�ำให้ประชาชนมี คุณภาพชีวต ิ ทีด ่ ข ี น ึ้ จึงเริม ่ ปรับบทบาท หน้าที่ และดึงพนักงานใน ทุกภาคส่วนของเทศบาลต�ำบลให้เข้ามามีส่วนร่วม ซึง่ ก็ได้รบ ั ความ ร่วมมือบ้าง ไม่ได้รบ ั บ้าง แต่นน ั่ ก็ใช่ประเด็นหลัก เพราะส่วนส�ำคัญ จริงๆ คือการท�ำอย่างไรให้ประชาชนสามารถจัดการตนเองได้ เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 17


โดยที่ เ ทศบาลมี ส ่ว นเพี ย งช่ว ยสนั บ สนุ น ส่งเสริม “ยอมรั บ ว่า ในช่ว งแรกค่อ นข้า งล� ำ บาก เหมือนกัน เพราะถึงจะมีการประสานงานกัน อยู่ แต่ก็เป็นลักษณะผิวเผิน จึงต้องอาศัยภาคี 4 ฝ่ายเข้ามาช่วยกันจับ คือท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงานภาครัฐ ตัวกลุ่มประชาชนเอง ผ่าน กิจกรรมและการด�ำเนินงานต่างๆ เช่น การท�ำ RECAP และ TCNAP หรือการถอดบทเรียน ต�ำบลและการท�ำข้อมูลต�ำบลขึ้น เริ่มมีพื้นที่ ต่างๆ เข้ามาเยี่ยมชมพื้นที่ เข้ามาสัมผัสชีวิต ของคนเหล่า ใหญ่ ท� ำ ให้ช าวบ้า นเกิ ด ความ กระตือรือร้นในการท�ำงานมากขึ้น ตัวอย่างทีเ่ ห็นชัดๆ เลยคือ รูปแบบและวิธี การน�ำเสนอสินค้า ซึง่ แต่ก่อนไม่มรี ป ู แบบหรือ ขั้ น ตอนใดๆ พอถึ ง ช่ว งน� ำ เสนอ ก็ ลื ม สิ่ ง ที่ เตรียมมาจนหมด แต่พอมีการพัฒนา ฝึกจับ ไมโครโฟนบ่อยครั้ง ก็มีความมั่นใจ ทุกวันนี้ การอธิ บ ายต่า งๆ จึ ง ค่อ นข้า งเป็น ระบบ

18 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน

ระเบียบ และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถึงวันนีส ้ งิ่ ทีป ่ ลัดฯ นึกฝันมากทีส ่ ด ุ คือการ ท�ำให้ต�ำบลเหล่าใหญ่มีการพัฒนาอย่างเป็น ระบบ เพราะถ้าจะว่าไปแล้ว ในพื้นที่นี้มีของดี อีกมากทีร่ อการบุกเบิกหรือสร้างจุดเด่นขึน ้ มา ไม่ว ่า จะเป็น ซากปลาโบราณ ซึ่ ง เป็น แหล่ง ท่องเทีย ่ วเชิงอนุรก ั ษ์ หรือแม้แต่สงิ่ ทีเ่ กีย ่ วข้อง วัฒนธรรมประเพณี ไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญา หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก็ตาม ทั้งเสื้อผ้า ลายผ้า การจักสาน และอื่นๆ อีกมาก แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ เลย หากชาวบ้า นไม่มี ค วามเข้ม แข็ ง และ ตระหนั ก ถึ ง คุ ณ ค่า ในภู มิ ป ัญ ญาดั้ ง เดิ ม ของ ตัวเอง ที่สำ� คัญคือการสนับสนุนของภาคส่วน ต่างๆ ตั้งแต่ผู้บริหารลงมาจนกลุ่มเครือข่าย สร้า งความรั บ ผิ ด ชอบของคนท� ำ งานให้ ทั้ ง ตั ว คนตั ว งานมี ค วามน่า เชื่ อ ถื อ มิ เ ช่น นั้ น สิ่ ง ที่ พ ยายามท� ำ มาตลอด อาจจะสู ญ เปล่า ไปเลยก็เป็นได้


เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 19


ชุมชนดี

เพราะมีส่วนร่วม Management

20 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


พื้นที่ต�ำบลเหล่าใหญ่ท�ำเกษตรกรรมกัน เต็มพื้นที่ โชคดีที่ว่าพื้นที่มีน�้ำดี ไม่มีปัญหา เท่าไร แต่กบ ั บางหมู่บ้านซึง่ ตัง้ อยู่บนทีด ่ อนนัน ้ ต ้อ ง ป ร ะ ส บ กั บ ป ัญ ห า ข า ด แ ค ล น น�้ ำ อ ยู ่ เป็นประจ�ำ และจากเวลาที่ผ่านมา ชาวบ้านได้ ร่วมมือกันภายในชุมชน พร้อมด้วยภาคส่วน ต่างๆ เพื่อแก้ปัญหานี้ เกิดเป็นรูปแบบบริหาร จัดการน�้ำที่ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 21


กลุ่มบริหารจัดการน�้ำชุ มชน บ้านจอมทอง

บ้า นจอมทอง หรื อ ชื่ อ เดิ ม บ้า นหั ว ขั ว หมู่ที่ 5 เป็นหมู่บ้านใหม่ ซึ่งตั้งอยู่อีกฟากฝั่ง ของเทศบาลต�ำบลเหล่าใหญ่ เป็นหมู่บ้านที่มี ปัญ หาเรื่ อ งน�้ ำ อยู ่ต ลอด คื อ หากไม่แ ล้ง จน สุดขัว้ ก็ท่วมจนสุดใจ จนชาวบ้านลุกขึน ้ มาต่อสู้ เรียกร้องให้เกิดการเยียวยาปัญหา ตลอดจน เกิ ด ระบบบริ ห ารจั ด การน�้ ำ ในพื้ น ที่ ขึ้ น เพื่ อ ช่วยให้ชาวบ้านสามารถด�ำรงชีวิตต่อไปได้ อัมพร พิลาวรรณ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ย้อนประวัตชิ ม ุ ชนทีน ่ ใี่ ห้ฟังว่า เมือ ่ ราวปี 2507 ชาวร้อยเอ็ดกลุ่มหนึง่ ได้อพยพหนีนำ�้ ท่วมมายัง ต�ำบลเหล่าใหญ่ ด้วยน�้ำใจไมตรีของคนภูไท จึ ง สละพื้ น ที่ หั ว ไร่ป ลายนาส่ว นหนึ่ ง มาให้ ตั้งถิ่นฐาน บางคนก็ขายพื้นที่ให้ในราคาถูก มาภายหลังจึงมีคนจากอ�ำเภอวาปีปทุม จังหวัด มหาสารคาม และจากอ�ำเภอประทาย จังหวัด นครราชสีมาเข้ามาสมทบ และรวมตัวกันสร้าง เป็นหมู่บ้านขึ้นมา ทว่าด้วยสภาพปัญหาพื้นที่ซึ่งเป็นที่ดอน ท�ำให้ไม่สามารถท�ำไร่ หรือท�ำนาได้ดี เพราะ เป็นที่แล้ง ชาวบ้านที่นี่จึงอยู่กันอย่างอัตคัด แต่ด ้ว ยวิ สั ย ทั ศ น์ข องผู ้น� ำ ในเวลานั้ น คื อ 22 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


ทองศรี กุลกั้ง

บุญทัน เดชศิริ ผู้ใหญ่บ้านล�ำดับที่ 2 ได้ไป ศึกษาดูงานทีเ่ พชรบูรณ์บา้ ง ร้อยเอ็ดบ้าง ก็พบ ว่า แต่ล ะแห่ง ใช้เ ครื่ อ งสู บ น�้ ำ จึ ง ท� ำ เรื่ อ งขอ ไปยั ง กรมชลประทาน เพื่ อ สู บ น�้ ำ จากที่ ลุ ่ม ขึ้นมาที่ดอน จนในปี 2529 กรมชลประทาน ก็ให้เครื่องสูบแบบใช้น�้ำมันดีเซล ขนาด 8 นิ้ว มา 1 เครือ ่ ง ในส่วนของน�ำ้ มันให้ไปเติมทีส ่ าขา ของกรมชลประทาน ซึ่ ง อยู ่ใ นตั ว จั ง หวั ด กาฬสินธุ์ โดยใช้เดือนละ 4 ถัง คิดเป็นปริมาณ 800 ลิตร ขณะเดี ย วกั น ทางผู ้ใ หญ่บุ ญ ทั น ได้ร วม กลุ ่ม ชาวบ้า นประมาณ 50-60 ครั ว เรื อ น ให้ช่วยสละที่ดินของตัวเองเล็กน้อย เพื่อขุด คลองดิ น ขนาดกว้า ง 3 เมตร ยาว 1.5 กิโลเมตร และลึกอีก 1.5 เมตร โดยชาวบ้าน ทุกคนที่อยากได้น�้ำต้องช่วยกันขุด ไม่มีค่าจ้าง จึงปรากฏคลองส่งน�้ำสายแรกในพื้นที่ขึ้น หมู่บ้านด�ำเนินการสูบน�ำ้ แบบนีอ ้ ยู่หลายปี แต่ท�ำอย่างไรก็ไม่พอใช้ ในปี 2538 สมัยของ ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 3 ปั่น จ�ำนงพันธุ์ ได้ไปดูงาน ที่อ�ำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ไปเห็น เครื่องสูบน�้ำพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีประสิทธิภาพ

อัมพร พิลาวรรณ์

กว่าเครื่องใช้น�้ำมันมาก ไม่ยุ่งยากเท่าเครื่อง แบบใช้นำ�้ มันด้วย จึงกลับมาปรึกษากับสมาชิก ผู้ใช้น�้ำซึ่งเริ่มขยายตัวเป็น 70 ครัวเรือนว่ามี ความคิดเห็นอย่างไรบ้าง ทีป ่ ระชุมเห็นชอบกับ เครื่องสูบน�้ำแบบใหม่ เลยประสานงานไปทาง กรมชลประทาน และในขณะเดียวกันก็ติดต่อ ไปยังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของกาฬสินธุ์ คือ ชิงชัย มงคลธรรม ซึง่ เวลานัน ้ เป็นรัฐมนตรี ประจ�ำส�ำนักนายกรัฐมนตรีอยู่ เพื่อให้เรื่องนี้ สามารถขับเคลื่อนได้รวดเร็วขึ้น ต่อมากรมชลประทานได้เสนอความคิดว่า ต้องท�ำคลองส่งน�้ำใหม่ด้วย คือท�ำเป็นคลอง ปูนคอนกรีต ขยายความยาวเป็น 2.5 กิโลเมตร ซึง่ ทางผู้ใหญ่บ้านปั่นให้ลก ู หลานทีไ่ ปศึกษาอยู่ ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่น ช่ว ยออกแบบให้ พร้อมกับส่งแบบไปที่กรมชลประทาน โดยตั้ง งบก่อสร้างไว้ที่ 130 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง ราว 1 ปีก็เสร็จ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 4, 5, 6 และ 10 ซึ่งต่อมาได้ขยายความยาวไปเรื่อยๆ จนทุกวันนี้ยาวประมาณ 5 กิโลเมตร โดยมี สถานีสูบน�้ำตั้งอยู่ที่บ้านจอมทองคอยสูบน�้ำ จากล�ำพะยัง เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 23


24 24 || เรี เรียยบง่ บง่าายด้ ยด้ววยวิ ยวิถถี ี มีมีดดีทีที่ตี่ต้น้นทุทุนน


หลังสร้างคลองเสร็จ ทางกรมชลประทาน ก็ คื น สิ ท ธิ์ ก ารบริ ห ารจั ด การให้ช าวบ้า นเป็น ผู ้ดู แ ล มี ก ารตั้ ง ประธาน กรรมการ โดยมี ตัวแทนจากหมู่บ้านต่างๆ รวมอย่างน้อย 5 คน แต่ไม่เกิน 15 คน มีการวางกฎระเบียบ “ค่าสมัครเป็นผู้ใช้น�้ำ 100 บาท รับสิทธิ์ ตลอดชี พ โดยการสู บ น�้ ำ ครั้ ง หนึ่ ง คิ ด ค่า ไฟ ชั่วโมงละ 50 บาท และถ้าใครจะขอใช้น�้ำต้อง มาท�ำเรื่องขอสูบให้เรียบร้อยก่อนว่าใช้เวลา ไหน เพือ ่ จะได้เปิดเครือ ่ งสูบน�ำ้ และกรณีทใี่ คร ฝ่าฝืนแอบลักลอบสูบน�ำ้ ครัง้ แรกจะถูกตักเตือน และต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 250 บาท และ ครั้งที่ 2 กรรมการจะปิดประตูน�้ำจุดนั้น หาก อยากใช้ตอ ้ งมาสมัครใหม่ ซึ่งคณะกรรมการ จะพิจารณาว่าให้หรือไม่” ผู้ใหญ่อัมพรเล่า คลองส่งน�ำ้ มีการติดตัง้ ประตูนำ�้ เอาไว้เป็น ระยะๆ มีประมาณ 50 จุด ส่วนใหญ่จะต่อตรง เข้า กั บ แปลงนาของแต่ล ะคน เปิด น�้ ำ เพี ย ง ไม่ถึงชั่วโมง น�้ำก็ไหลท่วมที่นาทันที ซึ่งท�ำให้ สังเกตได้ว่าใครแอบลักลอบสูบน�ำ้ หรือไม่ และ ในกรณีที่แปลงไหนไม่มีประตูน�้ำตรง ก็ให้ใช้ ประตูร่วมกับแปลงข้างๆ และสมาชิกที่ใช้น�้ำ ในวันนัน ้ ห้ามขุดคันคลองปิดประตูนำ�้ เด็ดขาด โดยวันหนึง่ กรรมการจะเปิดเครือ ่ งสูบน�ำ้ ไม่เกิน 10 ชั่วโมง เพื่อรักษาอายุการใช้งาน ในแต่ละปีจะมีการจัดประชุมใหญ่อย่างน้อย 1 ครัง้ เพือ ่ แจ้งผลการด�ำเนินงาน เช่น เสียค่าไฟ ไปเท่าไร เหลือเงินเข้ากองกลางเท่าไร ซึ่งตาม

ปกติแล้วค่าไฟฟ้าทีส ่ มาชิกสมทบนัน ้ ไม่เพียงพอ ต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมดอยู่แล้ว แต่ด้วยข้อตกลง กับหน่วยงานเจ้าของเดิม กรมชลประทานจึง รับผิดชอบค่าไฟฟ้าบางส่วนให้ ต่อมาได้โอน คลองส่งน�ำ้ ให้เป็นของเทศบาลต�ำบลเหล่าใหญ่ หน้าที่รับผิดชอบดังกล่าว ก็เป็นของเทศบาล แทน ท� ำ ให้ก ลุ ่ม มี เ งิ น เหลื อ พอจะไปซ่อ ม อุปกรณ์บางอย่างที่เสียหายได้ อีกเรื่องที่ส�ำคัญมาก คือวันพัฒนาคลอง สมาชิกทุกคนต้องมาร่วมกันท�ำโดยไม่มค ี ่าแรง ใครไม่มาเสียค่าปรับตามค่าแรงขัน ้ ต�ำ่ ถ้าไม่เสีย ก็ไม่มีสิทธิ์ใช้น้�ำในปีนั้น และในกรณีที่จุดใด จุดหนึ่งของคลองส่งน�้ำเกิดช�ำรุดขึ้น พนักงาน สูบน�้ำซึ่งเป็นพนักงานของเทศบาลจะท�ำการ ปิดคลองไว้ก่อน เพื่อให้ช่วยกันแก้ไข นอกจากคลองสูบน�้ำแล้ว ที่นี่ยังมีการท�ำ ฝายกั้นน�้ำไว้ด้วยในปี 2543 เพราะช่วงฤดู น�้ำหลาก น�้ำจากล�ำพะยังจะท่วมทุ่งนาไปหมด จึงต้องสร้างฝายเพื่อเก็บกักน�้ำทั้งฤดูแล้งและ ฤดูฝน ถือเป็นการบริหารงานน�ำ้ แบบครบวงจร จริงๆ ปัจจุบันนี้ สมาชิกของกลุ่มบริหารจัดการ น�้ำมีอยู่ร่วม 80 ครัวเรือน และมีแนวโน้มที่จะ ขยายตั ว ขึ้ น ตามความยาวของคลองส่ง น�้ ำ โดยคลองช่วงหลังๆ จะเป็นคลองคันดินแล้ว แต่ก็ มี ก ารวางระบบไว้เ หมื อ นกั น จึ ง ท� ำ ให้ การบริหารงานเป็นในบรรทัดฐานเดียวกัน เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 25


สวัสดิการดีๆ ที่เรามีให้แก่กัน Welfare

26 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


จุดเด่นอย่างหนึ่งของสังคมชนบทคือการเป็น สั ง คมแห่ง ความช่ว ยเหลื อ เกื้ อ กู ล กั น ซึ่ ง จาก แกงหนึ่งถ้วย ใบกะเพราหนึ่งต้น ชุมชนได้พัฒนา รู ป แบบของความเกื้ อ กู ล กั น จนกลายเป็น ทุ น ทางสังคมด้านต่างๆ ซึ่งมีรากฐานมาจากความ เอื้ อ เฟื้อ แบ่ง ปัน และที่ ต� ำ บลเหล่า ใหญ่เ องก็ มี ทุนเหล่านี้อยู่มากมายหลายรูปแบบด้วยกัน จากบ้านหนึง่ สู่บ้านหนึง่ ไม่ร้ต ู วั เลยว่า ชาวบ้าน ที่ นี่ ไ ด้คิ ด ค้น ระบบความช่ว ยเหลื อ เกื้ อ กู ล กั น ไว้ มากมายขนาดนี้

เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 27


ฌาปนกิจสงเคราะห์ เพราะเราต้องช่ วยกัน เกิดแก่เจ็บตายถือเป็นธรรมชาติที่มนุษย์ ไม่ส ามารถหลี ก พ้น ได้ แต่ก ารแสดงน�้ ำ ใจ ระหว่า งคนในชุ ม ชนก็ ถื อ เป็น ความดี ง ามที่ พวกเขามอบให้กน ั และกัน โดยเฉพาะช่วงเวลา ที่มีใครจากไปชั่วนิรันดร์ ก็ถือเป็นเรื่องส�ำคัญ ไม่แพ้กัน ดังเช่นคนที่บ้านมะนาว หมู่ที่ 3, 12 และบ้า นเลิ ศ สวรรค์ หมู ่ที่ 11 ที่ มี ก องทุ น ฌาปนกิจสงเคราะห์ของชุมชนตั้งแต่ปี 2532 และยังถือเป็นต้นแบบส�ำคัญให้หมู่บ้านอื่นๆ ได้เดินตามอีกด้วย ชวลิต ไชยจิตร ประธานกลุ่มฌาปนกิจ สงเคราะห์ เล่าให้ฟังว่า แต่เดิมกลุ่มนีอ ้ ยู่ร่วมกับ กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ทอ ี่ ำ� เภอเขาวง จังหวัด กาฬสินธุ์ มาภายหลังกลุ่มทีเ่ ขาวงล่มลง ท�ำให้ คนในหมู่บ้านรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มฌาปนกิ จ ของบ้า นมะนาวขึ้ น เอง โดยในสมั ย นั้ น บ้า น มะนาวยังเป็นหมู่ที่ 3 หมู่บ้านเดียว ก่อนมาถูก แยกออกเป็น 11 และ 12 ในปี 2544 และ 2545 ตามล�ำดับ “ตอนนั้ น มี ข ้อ ตกลงว่า ให้แ ต่ค รั ว เรื อ น จ่ายเงินคราวละ 10 บาท เมื่อมีงานศพครั้ง หนึ่ง” ชวลิตว่า ต่อมาเกิดข้อขัดแย้งกันขึน ้ การเก็บเงิน 10 บาทต่อ ครั ว เรื อ นจะเป็น การเอาเปรี ย บกั น เกิ นไปหรือเปล่า เพราะไม่ว่าครอบครัวเล็ก ครอบครัวใหญ่ก็จ่ายเงินเท่ากัน ที่ประชุมจึงมี มติขึ้นมา และเปลี่ยนวิธีคิดจากการจ่ายเงิน ระบบครัวเรือนเป็นระบบครอบครัวแทน “เช่นครอบครัวหนึ่งมีลูก 2 คน หากลูก 2 คนไม่ได้แต่งงาน ก็จ่ายแค่ 10 บาทต่อครั้ง 28 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


อารีย์ ส�ำโรงแสง

ยังนับเป็นครอบครัวเดียว แต่ถา้ สมมติลูกคน หนึ่ง แต่งงานไป แม้จะอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน ก็ต้องจ่ายเพิ่มอีก 10 บาท เพราะนับเป็นอีก ครอบครัว สรุปคือบ้านนี้ต้องจ่าย 20 บาท” ชวลิตอธิบาย ทว่าหากลูกคนที่ 2 เกิดแต่งงานไปอีกคน จะไม่ถือว่าเป็นการแยกครอบครัว เพราะตาม กฎของหมู่บ้านจะต้องมีลก ู คนใดคนหนึง่ ทีค ่ อย เลีย ้ งพ่อแม่อยู่ ซึง่ โดยมากจะเป็นลูกคนสุดท้อง นี่เป็นหลักคิดค�ำนวณของกลุ่ม ทั้งนี้ปัจจุบัน เพื่อรองรับกับสภาพความ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ กองทุนฌาปนกิจ สงเคราะห์ได้มีมติเก็บเงินเพิ่มเป็น 20 บาท โดยปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 350 ครอบครัว แบ่งเป็นหมู่ที่ 3 จ�ำนวน 92 ครอบครัว หมู่ที่ 11 จ�ำนวน 55 ครอบครัว และหมู่ที่ 12 จ�ำนวน 123 ครอบครัว “เป็นสมาชิกกันทุกครอบครัว” ชวลิตว่า นอกจากกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์แบบ จ่ายศพละ 20 บาทแล้ว ในปี 2550 ทางกลุ่ม เล็งเห็นว่า ปัจจุบันค่าจัดงานศพแพงขึ้น ไหน จะค่าอาหาร ดอกไม้ พวงหรีด ท�ำศพ และอะไร อีกมากมาย เงินราว 7,000 บาทคงไม่เพียงพอ จึ ง ตั้ ง กลุ ่ม ขึ้ น มาอี ก กลุ ่ม มี วิ ธี ก ารท� ำ งาน เหมือนกัน แต่เพิ่มวงเงินเป็น 100 บาท ซึ่ง กลุ ่ม นี้ อ นุ ญ าตให้ช าวบ้า นที่ มี ค วามสนใจ เข้าร่วมได้ ไม่ได้เป็นลักษณะกึ่งบังคับเหมือน สาย 20 บาท

ชวลิต ไชยจิตร

อารี ย ์ ส� ำ โรงแสง ในฐานะเหรั ญ ญิ ก กองทุนฌาปนกิ จสงเคราะห์สาย 100 บาท อธิบายว่า ปัจจุบน ั กลุ่มนีม ้ รี าว 230 ครอบครัว โดยวิธีการเก็บเงินของทั้ง 2 กองทุนฯ นี้จะ แตกต่างกัน หากเป็นกอง 20 บาท จะเก็บช่วง หน้าศพตอนเช้า พอตกบ่ายเริ่มพิธีเผาก็จะน�ำ เงินมามอบให้ครอบครัวของผู้เสียชีวิต แต่ถ้า เป็นกลุ่ม 100 บาทจะใช้วิธีเก็บล่วงหน้า คือ เก็บตัง้ แต่เข้าเป็นสมาชิก คณะกรรมการจะน�ำ เงินไปฝากธนาคาร แล้วถอนเงินออกออกมา มอบเมือ ่ ทราบข่าวการเสียชีวต ิ และจะเก็บเงิน ครั้งใหม่ในวันเผาศพนั้นๆ ทัง้ นีก ้ ารท�ำหน้าทีข่ องกรรมการ โดยเฉพาะ ชุด 100 บาทนี้ ได้มก ี ารจัดสรรส่วนแบ่งค่าแรง ให้ร้อยละ 3 แต่ส่วนมากกรรมการจะไม่รับ หรื อ รั บ ไม่เ ต็ ม บ้า ง เนื่ อ งจากถื อ ว่า เป็น การ ท�ำบุญ และถือเป็นงานเสียสละ นับเป็นกลไก ส� ำ คั ญ ในการช่ว ยเหลื อ เกื้ อ กู ล กั น ระหว่า ง คนในชุมชน ส่วนที่มาของกรรมการทั้ง 2 ชุดนี้ หาก เป็นสาย 20 บาท จะมีทั้งหมด 5 คน ตั้งขึ้น จากผู้ช่วยหมู่บ้านละ 1 คน (จากหมู่ที่ 3, 11, 12) ส่ว นอี ก 2 คนเป็น ตั ว แทนที่ ช าวบ้า น ไว้วางใจเลือกเข้ามา ขณะที่สาย 100 บาท มี 5 คนเหมื อ นกั น แต่ไ ม่ไ ด้มี ร ะบบตั ว แทน หมู่บ้าน เพราะใช้วิธีเลือกจากสมาชิกโดยตรง แทน เพือ ่ ความโปร่งใสในการดูแลผลประโยชน์ ของคนในชุมชน เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 29


กองทุนสัจจะสวัสดิการต�ำบลเหล่าใหญ่

หนึ่ ง ในสวั ส ดิ ก ารที่ ป ระสบความส� ำ เร็ จ ในหลายพื้นที่ ก็คือโครงการสวัสดิการออม วันละบาท ซึง่ มีทม ี่ าแตกต่างกันไป บ้างเกิดขึน ้ เพราะภาครัฐมีนโยบาย บ้างเกิ ดขึ้นมาก่อน ที่ต�ำบลเหล่าใหญ่เองก็ได้รับการกระตุ้นจาก นโยบายรัฐ โดยได้ใช้การต่อยอดขึ้นมาจาก กลุ่มทอผ้าลายเก็บจก หมู่ที่ 7 “เราอยากช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตั้งแต่ เกิ ดจนตาย จึงรวมกลุ่มโดยเอาสมาชิกจาก กลุ่มทอผ้า 41 คน มาจัดตั้งกลุ่ม ไม่ได้รวมหุ้น อะไร แต่เ ราใช้วิ ธี เ ก็ บ เงิ น กั น ทุ ก 6 เดื อ น เดือนละ 30 บาท เก็บแบบนี้ปีละ 2 ครั้ง” ประคอง นนทมาตย์ ประธานกองทุนสัจจะ สวัสดิการ ต�ำบลเหล่าใหญ่ ฉายภาพให้เห็น ส�ำหรับกองทุนนี้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ปัจ จุ บั น มี ส มาชิ ก อยู ่ที่ 1,679 คน จากจ� ำ นวนประชากรทั้ ง ต� ำ บล 7,635 คน และตั้งใจจะขยายสมาชิกให้ครบ จ�ำนวนให้เร็ว โดยกองทุนจะเก็บค่าสมัครคนละ 20 บาท และมีเงินอุดหนุนจากภาครัฐ และ องค์ก รปกครองส่ว นท้อ งถิ่ น ตามนโยบาย 30 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน

สวั ส ดิ ก ารสามขาของรั ฐ บาล โดยเทศบาล ต� ำ บลเหล่า ใหญ่เ คยมอบเงิ น อุ ด หนุ น เป็น จ�ำนวน 250,000 บาท รัฐบาลให้ผ่านสถาบัน พัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) อุดหนุน 3 ครั้งระหว่างปี 2554-2556 รวมเป็นเงิน ประมาณ 1,000,000 บาท รวมกับก�ำไร ส่ว นหนึ่ ง จากการขายผลิ ต ภั ณ ฑ์ข องกลุ ่ม ทอผ้าลายเก็บจก หมู่ที่ 7 ประมาณ 60,000 กว่าบาท โดยในช่วงสิน ้ ปีจะมีการจัดการประชุม สามัญประจ�ำปี เพือ ่ รายงานผลการด�ำเนินงาน ต่างๆ ของกองทุนฯ ปัจ จุ บั น กองทุ น สวั ส ดิ ก ารได้จั ด สิ ท ธิ ประโยชน์ค รอบคลุ ม สวั ส ดิ ก ารเรื่ อ งต่า งๆ 9 ประเด็นด้วยกัน คือ 1. การเกิด จะมีการผูกแขนให้เด็กเกิดใหม่ จ�ำนวน 500 บาท และให้ค่านอนโรงพยาบาล แก่คุณแม่ คืนละ 200 บาท ไม่เกิน 1,000 บาทต่อปี 2. เกษี ย ณอายุ มอบให้แ ก่ค นที่ มี อ ายุ 60 ปีขึ้นไป โดยต้องเป็นสมาชิกครบ 5 ปี มอบให้ 500 บาท


ประคอง นนทมาตย์

3. นอนโรงพยาบาล มีเงินให้วันละ 200 บาท แต่ไม่เกิน 1,000 บาทต่อปี 4. เสียชีวิต ถ้าสมาชิกครบ 6 เดือนได้รับ 1,000 บาท ถ้าครบ 1 ปีจ่ายให้ 1,500 บาท ครบ 2 ปีให้ 2,500 บาท ครบ 3 ปีให้ 3,500 บาท อธิบายง่ายๆ คือบวกเพิ่ม 1,000 บาท เมื่อเป็นสมาชิกครบ 1 ปี จนถึงอายุ 10 ปี จะให้ 10,500 บาท หลังจากนั้นจะให้อัตรานี้ คงที่เสมอ 5. ทุ น การศึ ก ษาบุ ต รสมาชิ ก ถื อ เป็น สวัสดิการใหม่ ให้คนละ 100 บาท ต่อปี 6. ส่ง เสริ ม อาชี พ โดยให้น� ำ เงิ น ของ กองทุ น ไปซื้ อ ฝ้า ยกั บ กลุ ่ม ทอผ้า ลายเก็ บ จก ทอเสร็จก็น�ำผ้าไปขายให้กลุ่มนั้น ส่วนต้นทุน ที่ยืมมาก็ส่งคืนกองทุนฯ 7. ช่ว ยสาธารณประโยชน์ ถื อ เป็น สวัสดิการใหม่อก ี เรือ ่ ง โดยคณะกรรมจะน�ำเงิน ส่วนหนึง่ ไปร่วมท�ำบุญประเพณีต่างๆ ในพืน ้ ที่ 8. สวัสดิการของคณะท�ำงาน เนื่องจาก กองทุนนี้จะมีการเปิดรับสมาชิก และมีคนเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ตลอดเวลา ท�ำให้เงินในบัญชี เกิ ด การเคลื่ อ นไหวอยู ่เ สมอ จึ ง จ� ำ เป็น ต้อ ง

แต่ง ตั้ ง คณะกรรมการแต่ล ะหมู ่บ ้า นขึ้ น ใน ต�ำบลเหล่าใหญ่มาช่วยจัดการในเรื่องพวกนี้ ไม่ว่าจะเป็นคนเก็บเงิน คนท�ำบัญชี คนต้อนรับ รวมแล้วประมาณ 10-12 คน โดยหน้าที่หลัก ของคนกลุ่มนี้คือ ท�ำงานทุกวันเสาร์แรกของ เดือน ซึ่งเป็นวันเปิดท�ำการของกองทุนฯ ส่วน รายได้ก็แล้วแต่ที่กรรมการเห็นสมควร 9. สนั บ สนุ น ผู ้ด ้อ ยโอกาสทางสั ง คม ซึ่งคณะกรรมการจะเป็นผู้พิจารณาว่าควรให้ หรือไม่ อย่างไร อย่างไรก็ตาม แม้กองทุนสัจจะสวัสดิการ ต�ำบลเหล่าใหญ่จะยังไม่เข้มแข็ง และมีสมาชิก ค่อนข้างน้อย แต่ก็ถือเป็นก้าวส�ำคัญของการ พั ฒนาด้านสวั ส ดิ ก ารสังคมในพื้นที่ เพื่อให้ ทุกคนได้รบ ั สิทธิประโยชน์ทเี่ ท่าเทียมกัน แม้จะ มีสถานภาพแตกต่างกันเพียงใดก็ตาม ทีส ่ ำ� คัญ คื อ การที่ ผู ้ค นได้ลุ ก ขึ้ น จั ด การตนเอง มอบ ความช่วยเหลือให้แก่กันและกัน “ยากดีมีจน สวัสดิการชุมชนก็คุ้มครอง โดยยึดหลักที่ว่า ‘ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่าง มีศักดิ์ศรี’ ” ประคองทิ้งท้าย เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 31


สถาบันการเงินชุ มชน

ยุพิน ศรีโต

พรรณี ใจศิริ

ชมภู คชอาจ 32 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน

ถ้าพูดกันตรงไปตรงมา เรื่องเงินนับเป็น ปัจจัยหนึง่ ทีข ่ าดเสียไม่ได้ ด้วยอย่างน้อยมีเงิน ย่อมดีกว่าไม่มี ที่ส�ำคัญ โลกที่เปลี่ยนไปมาก ท�ำให้เงินเป็นปัจจัยทีเ่ กีย ่ วเนือ ่ งกับทุกสิง่ ไม่ว่า จะเรื่องของอาหาร การศึกษา อาชีพ สุขภาพ ฯลฯ ส�ำหรับสถาบันการเงินชุมชน บ้านเหล่าใหญ่ แม้จ ะเติ บ โตขึ้ น มาจากกองทุ น หมู ่บ ้า นของ หมู่ที่ 7 แต่กม ็ รี ะบบบริหารจัดการทีช่ ด ั เจนและ มีประสิทธิภาพ จนสามารถยกระดับขึ้นเป็น สถาบันการเงินที่ชาวบ้านพึ่งพาได้ พรรณี ใจศิริ เหรัญญิกสถาบันการเงิน ชุมชน เล่าย้อนไปไกลถึงปี 2544 ว่า เวลานั้น รัฐบาลด�ำเนินนโยบายกองทุนหมู่บ้าน โดยได้ มอบให้หมู่บ้านละ 1,000,000 บาท ด�ำเนิน การเรื่ อ ยมา จนได้รั บ การประเมิ น คุ ณ ภาพ ระดับ 3A ในปี 2547 ได้รับเงินเพิ่มทุนอีก 300,000 บาท ล่าสุดปี 2555 ได้รับมาอีก 1,000,000 บาท ในช่วงล้านแรก ทางหมู่ที่ 7 นี้พยายาม สร้า งระบบเพื่ อ ให้ง ่า ยต่อ การจั ด การ โดย คณะกรรมการ 14 คนได้กำ� หนดช่วงระยะเวลา การกู้ยม ื ของประชาชนในพืน ้ ทีอ ่ อกเป็น 3 งวด ด้วยกัน คืองวดแรกปล่อยกู้ในเดือนกันยายน 300,000 บาท งวดที่ 2 เดื อ นตุ ล าคม 350,000 บาท และงวดสุ ด ท้า ย เดื อ น


รวีวรรณ ธาตนะ

พฤศจิกายน 350,000 บาท โดยแต่ละคนมี เพดานการกู้ 20,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อ ปี โดยการกู ้แ ต่ล ะครั้ ง ต้อ งยื่ น ค� ำ ร้อ ง ภายใน 3 เดือน คนไหนกู้เดือนไหน ต้องส่งคืน เดื อ นนั้ น จากการวางระบบเช่น นี้ ท� ำ ให้ คณะกรรมการสามารถปิดงบดุลได้ลงตัวทุกปี จนกลายเป็นกองทุนที่เข้มแข็ง พอปี 2553 ส�ำนักงานกองทุนหมู่บ้านและ ชุ ม ชนเมื อ ง ได้แ นะน� ำ ว่า ควรจะมี ก ารตั้ ง สถาบันการเงินชุมชนขึ้นมา เพื่อเป็นรากฐาน และต้น แบบน� ำ ร่อ งของต� ำ บลเหล่า ใหญ่ ชาวบ้านหมู่ที่ 7 จึงท�ำประชาคม เพือ ่ พิจารณา ข้อดีข้อเสีย ในที่สุดชาวบ้านก็ลงมติเห็นด้วย ส� ำ หรั บ โครงสร้า งของสถาบั น การเงิ น ชุมชนนี้ บริหารในรูปแบบสมาชิก โดยสมาชิก ต้องอยู่หมู่ที่ 1, 7 และ 8 เท่านั้น โดยสมาชิก สามารถซื้อหุ้นได้ในราคาหุน ้ ละ 100 บาท ซื้อได้ไม่เกิ น 100 หุ้น ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ 340 คน โดยในขวบปีแรกสามารถสามารถ ระดมทุนได้มากถึง 140,000 บาท โดยบริการมี 2 ประเภทหลักๆ คือการ ออมเงิน แบ่งรูปแบบออกเป็น 2 ประเภท คือ ฝากประจ�ำ เดือนหนึ่งไม่ต�่ำกว่า 100 บาท ให้ ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี และฝากเผื่อเรียก ดอกเบี้ ย ร้อ ยละ 2 สามารถฝากถอนได้ ตลอดเวลา

วราพร จิตจักร์

ส่ว นบริ ก ารอี ก ประเภทคื อ การกู ้เ งิ น สถาบันการเงินมีให้กู้ 3 ประเภท คือปล่อยกู้ ฉุ ก เฉิ น เช่น คนไหนเป็น หนี้ ธ นาคารเพื่ อ การเกษตรและสหกรณ์ พอถึงก�ำหนดช�ำระหนี้ ไปก็ จ ะหาเงิ น ไปคื น เพื่ อ จะได้กู ้ก ้อ นใหม่ไ ด้ สถาบันปล่อยกู้ให้ได้รายละ 20,000 บาท ต่อคน ต้องส่งคืนภายใน 15 วัน คิดดอกเบี้ย ร้อยละ 50 สตางค์ ถ้าส่งช้าเพิ่มเป็นเดือนละ 1 บาท ประเภทที่ 2 คือการกู้ระยะยาว 6 เดือน คนที่กู้ได้ตอ ้ งเป็นสมาชิกไม่ต่�ำกว่า 3 เดือน และมีอายุ 20 ปีขน ึ้ ไป โดยการกู้แต่ละครัง้ ต้อง แสดงวั ต ถุ ป ระสงค์ว ่า กู ไ้ ปเพื่ อ ใช้ป ระโยชน์ อย่างไร ดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาทต่อเดือน และ สุดท้ายเป็นการกู้พเิ ศษ เพือ ่ ซือ ้ รถมอเตอร์ไซค์ เพดานในการกู้อยู่ที่ 40,000 บาท ตัดต้น ตัดดอกทุกเดือน ร้อยละ 1 บาทต่อเดือน ปัจจุบันสถาบันการเงินชุมชน มีสินทรัพย์ หมุนเวียนทั้งสิ้น 6,000,000 บาท สมาชิก 340 คน และในแต่ละปี หลังจากหักดอกเบี้ย เงินฝาก และทุนการศึกษาของสมาชิกที่ก�ำลัง ศึกษาอยู่ คนละ 150 บาทแล้ว จะมีการน�ำมา จัดสรรปันส่วน แบ่งเป็นค่าปันผลหุ้นร้อยละ 50 กรรมการร้อยละ 35 ส�ำรองจ่ายร้อยละ 10 และการประกันความเสี่ยงร้อยละ 5 โดย สถาบันการเงินเปิดท�ำการทุกวันอาทิตย์แรก ของเดือน เดือนละหนึ่งครั้ง เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 33


ออมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุ มชน

อารมณ์ ใจศิริ

เพราะความผิ ด พลาดจากการบริ ห าร การเงินไม่รอบคอบในอดีต ได้กลายมาเป็น บทเรียนสร้างความยั่งยืนของการจัดการใน ปัจจุบันของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านเหล่าใหญ่ ที่วันนี้ได้กลายเป็น ที่พึ่งหลักของประชาชน และยังเป็นเครื่องมือ สร้างวินัยทางเงินให้แก่คนในพื้นที่ อารมณ์ ใจศิริ ประธานกลุ่ม เล่าให้ฟังว่า ในช่วงปี 2542 ชาวบ้านส่วนหนึง่ เคยรวมตัว น�ำเงินมาลงทุนในลักษณะของแชร์ลก ู โซ่ แต่ทำ� ไปได้ไม่นานปรากฏว่าทุนหายก�ำไรหมด ไม่มี เงินส่งคืน ก็เลยต้องเลิกกันไป พอในปี 2548 ประชาชนยังมีปัญหาการเงินเรื่อยมา ทั้งไม่มี เงินเก็บ ไม่มีเงินลงทุน เป็นหนี้นอกระบบ ด้วย ความที่เคยมีบทเรียนมาก่อน จึงอยากลองดู อีกครั้ง “ระบบบริหารเงินต้องมีความชัดเจน มี ระบบหุ้น มีกฎระเบียบ จึงเรียกประชุมชาวบ้าน ประมาณ 50-60 คน แต่ที่เข้าร่วมกับเรามี 38 คน ตัง้ เป็นกลุ่มออมทรัพย์เพือ ่ พัฒนาชุมชน ขึ้นมา” อารมณ์เกริ่น 34 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน

เมื่อพลาดและล้มมาแล้ว การเริ่มใหม่จึง เน้นสร้างความยั่งยืนผ่านการออม โดยมีการ เปิดให้ลงหุ้นกัน หุ้นละ 100 บาท คนหนึ่งต้อง มีอย่างน้อย 10 หุ้น แต่ไม่เกิน 100 หุ้น เพื่อ ให้กลุ่มมีเงินมากพอในการด�ำเนินงาน วีระพงษ์ ศรีเลา เหรัญญิก และ ภาวิณี เนตรคุ ณ ผู ้ช ่ว ยเหรั ญ ญิ ก ช่ว ยกั น เสริ ม ว่า ปัจจุบน ั กลุ่มมีบริการออมทรัพย์แบบไม่มจี ำ� กัด ยอดฝาก โดยแต่ละคนจะมีสมุดคู่ฝากติดตัวไว้ ใครจะฝากจะถอนก็ เ ขี ย นใบค� ำ ร้อ งมาให้ เจอกรรมการที่ไหนส่งให้ได้เลย โดยกลุ่มให้ ดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี ถ้าฝากไม่ถึง 6 เดือน จะไม่คิดดอกให้ แต่ถ้าฝาก 6 เดือนถึง 1 ปีให้ ดอกเบี้ยแค่ครึ่งเดียว ทั้งนี้ทั้งนั้น กลุ่มจะเปิดอย่างเป็นทางการ ในวันอาทิตย์แรกของทุกเดือน ขณะทีก ่ ารซือ ้ หุ้น จะท�ำได้ช่วงเดือนมกราคม แต่ถ้าติดปีใหม่จะ เลื่อนไปเป็นอาทิตย์ที่ 2 ของเดือน ขณะที่การ ปล่อยกู้นั้นท�ำเป็นรายเดือน คนที่กู้ต้องเป็น สมาชิกเท่านั้น


ยอดแก้ว แสงเพ็ชร

วีระพงษ์ ศรีเลา

“ปัจจุบันเรามีสมาชิกอยู่ 176 คน จาก หมู่ที่ 1, 7 และ 8 (บ้านเหล่าใหญ่ทั้ง 3 หมู่) ดอกเบีย ้ ร้อยละ 1 บาท ส�ำหรับการกู้ระยะเวลา 3 เดือนหรือ 6 เดือน ซึ่งส่วนใหญ่เอาไปลงทุน ด้า นเกษตร เช่น ซื้ อ ปุ ๋ย เมล็ ด พั น ธุ ์ แต่ถ ้า เป็นการกู้ฉุกเฉิน เช่น ไปส่งหนี้ธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์ หรือจัดงานศพ งาน แต่งงาน งานบวช คิดดอกเบีย ้ ร้อยละ 1 ก�ำหนด ส่งไม่เกิน 10 วัน ส่งช้าปรับขึ้นเดือนละ 50 สตางค์ แต่ไม่เกิน 5 บาท โดยการกู้แต่ละครั้ง จะมีเพดานไม่เกิน 20,000 บาท และต้องมี สมาชิกค�ำ้ ประกันอย่างน้อย 1 คน” วีระพงษ์ว่า ส่ว นการจั ด สรรแบ่ง ผลประโยชน์กั น นั้ น ยอดแก้ว แสงเพ็ชร ผู้ช่วยเลขานุการ ล�ำดับ ให้ฟังว่า จะเกิดขึ้นหลังจากมีการหักดอกเบี้ย เงินฝากเรียบร้อยแล้ว โดยการปันผลจะแบ่งเป็น ปันให้สมาชิกร้อยละ 45 คณะกรรมการร้อยละ 25 ใช้จ่ายในกองทุน เช่น ค่าอุปกรณ์ สมุดคู่มอ ื การฝาก รวมกับสาธารณประโยชน์ต่างๆ เช่น การให้ทน ุ การศึกษาเด็ก ร้อยละ 10 และสมทบ กองทุนร้อยละ 20 ปัจจุบันมีเงินหมุนเวียนอยู่

ภาวินี เนตรคุณ

ในกองทุนประมาณ 1,000,000 บาท นอกจากนี้ ที่นี่ยังมีระบบเสียงตามสาย คอยประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ที่เกิ ดขึ้น เช่น เวลาเลือกกรรมการประจ�ำกลุ่ม จะใช้ วิ ธี ก ารโหวตทุ ก 2 ปี แต่ว ่า สุ ด ท้า ยมั ก ได้ คนหน้าเดิมกลับเข้ามา เนือ ่ งจากเป็นงานทีไ่ ม่มี ใครอยากท�ำ แม้จะมีการแบ่งสัดส่วนรายได้ให้ ก็ ต าม ปัจ จุ บั น กรรมการมี ทั้ ง หมด 11 คน แบ่งเป็นกรรมการบริหาร 8 คน ทีป ่ รึกษา 2 คน และตรวจสอบบัญชี อีก 1 คน จากการทีด ่ ำ� เนินงานมาต่อเนือ ่ งร่วม 10 ปี อารมณ์ ในฐานะผู้น�ำกลุ่มกล่าวว่า แก้ปัญหา ไปได้มากจริงๆ โดยเฉพาะหนี้นอกระบบนั้น หายไปจากพื้นที่เลย อาจจะมีบ้างก็ต้องกู้ยืม ธนาคาร หรือกองทุนเงินล้าน เพราะหลายคน ใช้เงินตรงนีไ้ ปต่อยอดด้านการเกษตร เลยท�ำให้ ไม่สามารถหลุดพ้นจากวงจรหนี้ไปได้เสียที “อย่างน้อยเงินกู้ตรงนีก ้ เ็ ป็นเงินทีช ่ าวบ้าน ออมเพื่อช่วยกัน ไม่ได้หวังก�ำไร เป็นที่พึ่งพา ให้แก่กันและกันมากกว่า” ประธานสรุป เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 35


ร้านค้าชุ มชน (ศูนย์สาธิตการตลาด) ใครบ้างจะไม่ชอบของถูกของดี ยิง่ ซือ ้ มาก ยิ่งได้คืนมากด้วยแล้ว ยากปฏิเสธไปกันใหญ่ ในพื้นที่บ้านหมู่ที่ 7 มีร้านค้าชุมชนแห่งหนึ่ง ซึ่ ง เป็น ที่ รู ้จั ก กั น ในชื่ อ ศู น ย์ส าธิ ต การตลาด หมู ่ที่ 7 บ้า นศรี ป ทุ ม ซึ่ ง เปิด ด� ำ เนิ น การ มาแล้วกว่า 30 ปี สุวัฒน์ บุญอาษา ก�ำนันต�ำบลเหล่าใหญ่ ในฐานะประธานศู น ย์ส าธิ ต การตลาดแห่ง นี้ เท้าความให้ฟังว่า ชาวบ้านอยากให้มีร้านค้า ในชุมชน ด้วยการคมนาคมในเวลานั้นก็ยังไม่ สะดวก เหล่าผู้นำ� ในยุคนัน ้ อาทิ ไข แสบงบาล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 ไตร แสงเพชร และชาวบ้าน อีก 50 กว่าคน จึงรวมเงินกันได้ราวหมื่นกว่า บาท น�ำไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น สบู่ ยาสีฟัน อาหารแห้ง เครื่องดื่ม ฯลฯ มาขายใน หมู่บ้าน โดยใช้บ้านของผู้ใหญ่บ้านบ้าง ผู้ช่วย บ้าง แกนน�ำส�ำคัญต่างๆ เปิดเป็นร้านค้าชุมชน หมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ จนกระทั่งปี 2527 ทางพัฒนาชุมชนมี งบประมาณก้อนหนึง่ ให้มาท�ำโครงการ ทีป ่ ระชุม จึงตัดสินใจท�ำร้านค้าชุมชน โดยหมู่ที่ 7 ซึ่งมี ทุนเดิมอยู่ได้รับการโหวตให้เป็นพื้นที่น�ำร่อง ทีแ่ รก ประจวบกับอดีตผู้ใหญ่บ้านคนก่อนหน้า เคยซื้ อ ที่ ดิ น ไว้แ ปลงหนึ่ ง และยิ น ยอมให้ใ ช้ ตั้งร้านค้า จึงน�ำงบประมาณมาก่อสร้างเป็น อาคาร พร้อมกับเปิดรับสมาชิก ผ่านการขายหุ้น หุ้นละ 50 บาท ซื้อได้ไม่เกิน 2,000 บาท 36 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


โดยสมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนหมู่ที่ 7 แต่ก็มี หมู ท ่ ี่ 1 ประปราย ร้า นค้า ชุ ม ชนแห่ง นี้ เ ปิด ให้บริการ 24 ชั่วโมง มีคนขายประจ�ำ 1 คน สิ น ค้า ส่ว นใหญ่ที่ รั บ มาขายล้ว นตอบความ ต้องการของประชาชน “ทางร้านจะให้ใบเสร็จกับลูกค้า ให้เป็น หลั ก ฐานยื น ยั น เวลาปัน ผล ที่ ส� ำ คั ญ ร้า นค้า ยังยอมให้สมาชิกซื้อของเงินเชื่อ โดยสามารถ ใช้เ ครดิ ต นี้ จ นถึ ง วั น ประชุ ม ใหญ่ข องร้า น 1 เดือน ถึงค่อยน�ำเงินกลับมาจ่าย” ก�ำนันเล่า ทางร้านค้าชุมชนท�ำการปันผลทุก 6 เดือน คื อ ในเดื อ นมกราคมและเดื อ นกรกฎาคม ก�ำไรสุทธิคด ิ เป็นสัดส่วน โดยคนขายได้ร้อยละ 30 เฉลีย ่ คืนตามหุ้นร้อยละ 25 คณะกรรมการ ได้ร ้อ ยละ 15 เฉลี่ ย คื น ยอดซื้ อ ร้อ ยละ 25 ทุนส�ำรองร้อยละ 5 นอกจากนี้ เ วลาที่ ส มาชิ ก เสี ย ชี วิ ต ทาง ร้านค้าชุมชนจะมีเงินอุดหนุนให้ศพละ 500 บาท รวมทัง้ มีการแจกของสมนาคุณแก่สมาชิก ในทุกปี โดยทุกคนที่มาร่วมจะได้รับของขวัญ แต่จ ะเป็น ชิ้ น เล็ ก ชิ้ น ใหญ่ก็ แ ล้ว แต่ด วง ของแต่ละคน ปัจ จุ บั น ร้า นค้า ชุ ม ชนแห่ง นี้ มี ส มาชิ ก รวมทัง้ สิน ้ 140 หลังคาเรือน ในอนาคตอันใกล้นี้ มีแผนการรองรับไว้ โดยจะขยายพื้นที่ให้มาก ขึ้น เพื่อรองรับสินค้าอื่นๆ เช่น ปุ๋ย และสินค้า ที่จ�ำเป็นในการท�ำเกษตรกรรม

สุวัฒน์ บุญอาษา

สราวุธ หาญกุล เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 37


เศรษฐกิจชุมชน Community’s Economy

38 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


ต�ำบลเหล่าใหญ่เป็นชุมชนชาวภูไท และผ้าทอ พื้ น เมื อ งของคนภู ไ ทก็ เ ป็น สิ น ค้า ที่ ส ร้า งรายได้ ให้กับคนต�ำบลเหล่าใหญ่ได้อย่างเป็นกอบเป็นก�ำ ผสมผสานไปกับอาชีพเกษตรกรรม ที่ผูกยึดกับ ชุมชนมาอย่างยาวนาน และที่โดดเด่นอีกอย่าง ก็เห็นจะเป็นงานด้านจักสาน ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญา ที่วนเวียนอยู่ในชุมชน

เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 39


กลุ่มเสื้อเย็บมือ หมู ่ท่ี 1

40 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


วั ฒ นธรรมที่ เ ด่น ชั ด ที่ สุ ด ของคนภู ไ ทนั้ น สะท้อนผ่านการแต่งกาย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ที่สามารถพบเห็นได้ในชุมชนคนภูไท ที่บ้าน เหล่าใหญ่ หมู่ที่ 1 นัน ้ มีการรวมกลุ่มท�ำเสือ้ เย็บมือ ลายภู ไ ท เป็น อาชี พ ที่ ส ามารถสร้า งรายได้ ให้กั บ กลุ ่ม สตรี และยั ง เป็น การสื บ ทอด วัฒนธรรมอันดีงามให้คงอยู่ และเป็นประจักษ์ แก่สายตาของคนทั่วไป สองหัวเรือใหญ่ของกลุ่ม ใครศรี โสภาคะยัง ประธานกลุ่ม และ เพลินพิศ กุลเสนชัย รอง ประธาน เล่าให้ฟงั ถึงจุดเริ่มต้นของกลุ่มว่า ก่อ ตั้ ง ขึ้ น มาตั้ ง แต่ป ี 2549 เดิ ม เป็น กลุ ่ม เครือข่ายของกลุ่มทอผ้าหมู่ที่ 7 ของยายกอง แสบงบาล ซึ่งได้ริเริ่มด�ำเนินการมาก่อน ความทีอ่ ยู่คนละพืน ้ ที่ การติดต่อประสานงาน ไม่สะดวกเท่าที่ควร เลยมีการแยกตัวออกมา เริ่มแรกมีสมาชิกอยู่ 56 คน แต่ปัจจุบันขยาย เพิม ่ เป็น 133 คนแล้ว โดยมีสมาชิกครอบคลุม หมู่ที่ 1, 7, 8 บ้านเหล่าใหญ่ทงั้ หมด รวมไปถึง หมู่ที่ 2 บ้านดงเหนือ และหมู่ที่ 9 บ้านโนนบุปผา “เราให้ลงหุ้นกันคนละ 50 บาท คนหนึ่ง ถือได้หุ้นเดียว แล้วมีการเก็บเงินออมเดือนละ 10 บาท เพื่ อ เสริ ม สร้า งวิ นั ย การเงิ น ด้ว ย” ใครศรีว่า กลุ ่ม ฯ ได้รั บ การสนั บ สนุ น จากภาครั ฐ เสมอมา อาทิ โครงการอยู ่ดี มี สุ ข ตามแนว

เศรษฐกิจพอเพียง จ�ำนวน 40,000 บาท โดย จ� ำ นวนนี้ 30,000 บาท ถู ก น� ำ ไปซื้ อ ฝ้า ย ซื้อด้ายส�ำหรับทอ และ 10,000 บาทที่เหลือ น�ำมาจ่ายให้แก่สมาชิกกลุ่มเป็นค่าแรง “ปี 2555 เทศบาลต�ำบลเหล่าใหญ่มอบ เงิ น ให้ 35,000 บาท ต่อ เนื่ อ งมาจนถึ ง ปี 2556 จ�ำนวน 50,000 บาท และปี 2557 อีก 35,000 บาท เพราะทางผู้บริหารเล็งเห็น ถึงความเข้มแข็งของกลุ่ม และผลิตงานฝีมือ ที่ เ ป็น หน้า ตาของต� ำ บล โดยกลุ ่ม ได้รั บ การ รั บ รองมาตรฐานอุ ต สาหกรรมสิ่ ง ทอด้ว ย” เพลินพิศเสริม ส� ำ หรั บ วิ ธี ก ารบริ ห ารงานของกลุ ่ม เสื้ อ เย็บมือ หมู่ที่1 นี้ จะมีการแบ่งงานให้สมาชิก 2 ส่วนด้วยกัน คือทอผ้าและเย็บลาย เริ่มจากกลุ่มที่ทอผ้าก่อน โดยปกติจะเป็น ผู้สงู วัยอายุ 60-70 ปี โดยทางกลุ่มจะซือ ้ ฝ้าย มา 137 บาทต่อ มั ด หากสมาชิ ก คนไหน ต้องการน�ำกลับไปทอที่บา้ น ทางกลุ่มก็จะให้ เชื่อผ้าไว้ก่อนในราคา 145 บาท โดยปกติ คนหนึ่งจะรับไป 14-16 มัด พองานเสร็จก็ เอามาส่ง โดยเงิ น ที่ จ ะจ่า ยให้นั้ น จะคิ ด จาก ความยาวของผ้าทีท ่ อออกมา ราคาเมตรละ 81 บาท ส่วนใหญ่คนหนึ่งจะทอได้ 53-56 เมตร จากนัน ้ น�ำไปหักลบกับฝ้ายทีเ่ ชือ ่ ไว้ชว่ งแรก หัก แล้วคนหนึ่งจะได้ประมาณ 2,000 กว่าบาท เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 41


42 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


เพลินพิศ กุลเสนชัย

พอได้ผ ้า ทอทั้ ง หมดออกมา ส่ว นหนึ่ ง ทางกลุ่มจะน�ำไปขายในราคา 90 บาทต่อเมตร แต่กม ็ บ ี างส่วนทีน ่ ำ� ไปตัดเป็นเสือ ้ โดยประธาน จะรับหน้าที่ในการขึ้นรูปเสื้อ ก่อนจะส่งให้คน น�ำไปเย็บลาย ไม่ว่าจะเป็นลายนาค ลายมังกร ช่อผกา สายบัว หรือลายหางนกยูง ซึง่ แต่ละตัว จะเป็นลายใดนั้น ประธานจะเป็นผู้เขียนก�ำกับ เอาไว้ให้ “ส่วนใหญ่จะเป็นสมาชิกที่อายุไม่มากนัก ทีร่ บ ั งานเย็บลายไปท�ำ คนหนึง่ จะได้รบ ั ค่าเย็บ ตัวละ 400 บาท โดยเฉลี่ย 5 วัน จะท�ำได้ 1 ตัว” ใครศรีเล่า เมื่อมีกลุ่ม ก็ต้องมีการจัดสรรรายได้ โดย ปัจจุบันร้อยละ 30 เป็นของประธาน ในฐานะ ที่เป็นคนขึ้นทรงเสื้อ เป็นผู้ตัดเย็บ และเป็น ผู้ขายสินค้า เพราะศูนย์กลางการขายปัจจุบัน อยู่ทบ ี่ ้านของประธาน ส่วนสมาชิกจะได้ปันผล ร้อยละ 10 เฉลี่ยคืนให้คนท�ำงานร้อยละ 25 โดยใครท�ำมากได้มาก ร้อยละ 20 ส�ำหรับ กรรมการ ร้อยละ 5 เป็นเงินส�ำรองจ่าย อีก ร้อยละ 5 เป็นเงินสาธารณประโยชน์ และ ที่เหลืออีกร้อยละ 5 เป็นค่าสวัสดิการต่างๆ

ใครศรี โสภาคะยัง

เช่น ช่ว ยเหลื อ ครอบครั ว สมาชิ ก ผู ้เ สี ย ชี วิ ต รายละ 1,000 บาท โดยมีการปันผลให้ทุก เดือนมีนาคมของทุกปี ส่วนเงินออมที่ออมกันทุกเดือน เดือนละ 10 บาทนั้น ปัจจุบันเก็บเป็นรายปี ปีละ 120 บาท โดยเงินทีไ่ ด้จะถูกน�ำมาปล่อยกู้ให้สมาชิก ที่เดือดร้อนครั้งละ 1,000 บาท คิดดอกเบี้ย 40 บาทต่อการกู้ยม ื หนึง่ ครัง้ และต้องคืนก่อน การปัน ผล เพราะการกู ้ยื ม แต่ล ะครั้ ง จะท� ำ ในช่วงนี้ ส�ำหรับสินค้าของกลุ่มนี้ ถือว่าหลากหลาย มาก ไม่ว่าจะเป็นเสื้อพื้นเมืองภูไท สไบ ผ้าถุง ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้ามัดหมี่ และลายเก็บจก สามารถมาซื้อได้โดยตรงที่กลุ่ม “บางครัง้ อ�ำเภอแจ้งมาให้ไปออกงาน กลุ่ม ก็จะน�ำไปออกร้านให้ รวมไปถึงงานแสดงสินค้า ต่างๆ เพราะปัจจุบน ั ทางกลุ่มได้ใบรับรองให้เป็น สินค้า OTOP ของต�ำบลด้วย” เพลินพิศเล่า ได้ทงั้ เงินทัง้ กล่อง และยังเป็นการสืบทอด ภูมิปัญญาพื้นบ้านไปด้วย นับเป็นการสร้าง ความยั่ ง ยื น ให้กั บ ชุ ม ชนบนแนวทางที่ มั่ น คง จริงๆ เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 43


กลุ่มจักสาน หมู ่ท่ี 1

ตรงลานหน้าบ้านของ ใครศรี โสภาคะยัง ประธานกลุ่มเสื้อเย็บมือ หมู่ที่ 1 เป็นที่รวมตัว ของเหล่าสุภาพบุรษ ุ ตัง้ แต่วย ั กลางคนจนถึงวัย ชรา พวกเขามารวมตัวกันท�ำเครือ ่ งจักสาน ซึง่ เป็น ภู มิ ป ัญ ญาที่ พ วกเขาสื บ ทอดต่อ มาจาก บรรพบุรุษ ถนอม พลข� ำ ในฐานะประธานกลุ ่ม จั ก สาน เล่า ที่ ม าของกลุ ่ม ว่า จริ ง ๆ แล้ว เกิดพร้อมกับกลุ่มเสื้อเย็บมือ คือในปี 2549 โดยใช้สถานที่ตั้งแห่งเดียวกัน ซึ่งเหตุผลที่ท�ำ กลุ่มนี้ มี 2 เรื่องด้วยกัน คือเป็นการส่งเสริม คนชราในพื้นที่ให้มีกิจกรรมยามว่าง หรือมา พู ด คุ ย กั น ส่วนเหตุผ ลหนึ่งคื อ หลายคนท� ำ ผลิตภัณฑ์จักสานอยู่ก่อนแล้ว แต่ขายกันแบบ สะเปะสะปะ คือไม่มีจุดศูนย์กลางในการขาย

44 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน

แถมการตั้งราคาก็เป็นปัญหา เพราะบางคน ตั้ ง แพงเกิ น ไป เพราะฉะนั้ น หากรวมตั ว กั น นอกจากจะเป็นการส่งเสริมอาชีพในพื้นทีแ ่ ล้ว ยังไม่เป็นการเอาเปรียบชุมชนอีกด้วย ส�ำหรับการรวมกลุ่มกันครัง้ นี้ ก็ไม่แตกต่าง กับกลุ่มเสื้อเท่าใดนัก คือสมาชิกทั้ง 24 คน มีการลงหุ้นคนละ 50 บาท เงินจ�ำนวนนี้น�ำไป ลงทุนซื้อไม้ไผ่ ตีนกระติบข้าว จากนั้นก็น�ำมา แบ่ง กั น คนไหนอยากสานเป็น อะไรก็ ท� ำ เพราะฉะนัน ้ ทีน ่ จี่ งึ มีสน ิ ค้าทีห ่ ลากหลาย ตัง้ แต่ กระติบข้าว หวดนึ่งข้าว กระหยัง ข้องส�ำหรับ ใส่ปลา แงบส�ำหรับใส่กบ และสวิง ต่อมาผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ในเวลานั้นคือ เร้ง โสภาคะยัง ได้ทำ� การขอเงินจากโครงการ อยู่ดีมีสุขตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


ฤทธิรงค์ ชอบศิริ

ได้เงินสนับสนุนมา 30,000 บาท โดยน�ำเงิน 20,000 บาท ไปซื้อไม้ไผ่ รวมไปถึงเครื่องรีด จักสานส�ำหรับสมาชิกทุกคน คู่ละ 200 บาท ที่เหลือน�ำมาใช้เป็นเงินหมุนเวียนภายในกลุ่ม ส� ำ หรั บ การตั้ ง ราคา จะมี ร าคากลาง ส�ำหรับสินค้าแต่ละชิ้น เริ่มแรกให้เจ้าของงาน ตั้งราคามาก่อน จากนั้นสมาชิกจะช่วยกันดูว่า ถู ก หรื อ แพงไป แล้ว ก็ ม าก� ำ หนดเป็น ราคา มาตรฐาน หากใครไม่ย อมรั บ ก็ จ ะน� ำ มา วางขายไม่ได้ ซึ่งสินค้าที่ท�ำมา ทางกลุ่มจะ รับซื้อไว้ จากนั้นก็น�ำมาขายในราคาบวกเพิ่ม 10 บาท ซึ่งก�ำไรตรงนี้จะไหลเวียนกลับเข้าสู่ กลุ่มอีกครั้ง ในแต่ละปีจะมีการจัดสรรผลก�ำไรของกลุ่ม

โดยร้อยละ 30 จะแบ่งคืนสมาชิก ใครท�ำมาก ได้คืนมาก ท�ำน้อยได้คืนน้อย ร้อยละ 15 น�ำ เข้ากลุ่ม อีกร้อยละ 15 ปันผลหุ้น ร้อยละ 5 เป็นทุนส�ำรอง อีกร้อยละ 15 เป็นทุนช่วยเหลือ สมาชิกและครอบครัวของสมาชิกที่เสียชีวิต โดยแต่ละคนจะได้เงินช่วยเหลือรายละ 500 บาท และร้อยละ 20 สุดท้ายให้กรรมการและ คนขาย แต่ส่วนใหญ่จะคืนให้ผู้เฒ่าผู้แก่ “เราอยากให้ชม ุ ชนมีรายได้ แล้วก็ต้องการ ให้สื บ สานภู มิ ป ัญ ญาของหมู ่บ ้า น ก็ เ ลยคิ ด ระบบนีข้ น ึ้ มา ให้ลก ู หลานได้ร้จู ก ั การสานไม้ไผ่ ผู ้เ ฒ่า ผู ้แ ก่ก็ เ หงา รวมกลุ ่ม ด้ว ยกั น เลยมี ความคิ ด ว่า ถ้า รวมกั น แล้ว ขาย คงจะสร้า ง รายได้พอสมควร” ประธานกลุ่มย�้ำปณิธาน

เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 45


กลุ่มหญ้าคา บ้านกุดฝั่ งแดง

สม ค�ำศรี

บุญเลี้ยง วิชัยโย

สุภาพ วิชัยโย

เวลาเอ่ยถึงหญ้าคาหลายคนมองว่าเป็นสิง่ ที่ไร้ประโยชน์ เอามาใช้ท�ำอะไรไม่ค่อยได้ แต่ ด้วยภูมป ิ ัญญาทีส ่ งั่ สมมาตัง้ แต่ครัง้ บรรพบุรษ ุ ท�ำให้ชาวบ้านหมู่ที่ 6 บ้านกุดฝั่งแดง น�ำวัสดุ นี้ ม าสร้า งงานที่ มี ป ระโยชน์แ ละก่อ ให้เ กิ ด รายได้กลับมาเลี้ยงครอบครัวด้วย หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ถือว่าเป็นไฮไลท์ของ ที่นี่เลยก็คือ ‘ไพหญ้า’ โดย สม ค�ำศรี ผู้เฒ่า ของหมู ่บ ้า นและประธานกลุ ่ม เล่า ให้ฟ ัง ว่า แต่เดิมยังไม่มก ี ระเบือ ้ ง สังกะสียงั ไม่แพร่หลาย ชาวบ้า นส่ว นใหญ่น� ำ หญ้า คา หญ้า แฝกตั ด ให้ได้ขนาดสัก 70 เซนติเมตร แล้วน�ำมาถัก ร้อ ยเป็น ตั บ ๆ มั ด ให้แ น่น แล้ว น� ำ ไปใช้ มุงหลังคากันแดดกันฝน หรือบางคนก็ใช้สร้าง กระท่อมส�ำหรับสัตว์ หรือเล้าหมู เล้าไก่ และ ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกสารพัด ที่ส�ำคัญไพหญ้านี้เป็นสินค้าที่ไม่มีต้นทุน อะไร อาศัยแค่แรงกายแรงใจ เพราะบางคนไป 46 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


ขอต้น หญ้า มาฟรี ๆ บางที ก็ ไ ปตั ด ตามป่า ตามเขา โดยเฉพาะป่ายูคาลิปตัสยิ่งมีเยอะ ซึ่ง หมู่ที่ 6 มีวัสดุพร้อม และท�ำกันแพร่หลาย ค่อนข้างมาก ทว่าปัญหาคือเมื่อต่างคนต่างท�ำ ต่างคน ต่างขาย ราคาเลยไม่เท่ากัน มีการตัดราคากัน บ้าง เกิดการเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ผู้เฒ่าจึง เกิ ด ความคิ ด ว่า น่า จะรวมกลุ ่ม กั น เพราะ นอกจากจะท�ำให้สินค้ามีบรรทัดฐานเดียวกัน แล้ว ยั ง ตรงกั บ ความต้อ งการของเทศบาล ที่อยากให้เกิดการรวมกลุ่มอาชีพ บุญเลี้ยง วิชัยโย และ สุภาพ วิชัยโย วิทยากรประจ�ำกลุ่มเพิ่มเติมว่า การรวมกลุ่ม ครัง้ นี้ ไม่ได้มก ี ารรวมหุ้นอะไรทัง้ สิน ้ แต่สมาชิก ต้องเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า 20 บาท มี คณะกรรมการบริหาร 7 คน ปัจจุบันมีสมาชิก อยู่ 22 ชีวิต ทั้งหมดอาศัยอยู่หมู่ที่ 6 “เราช่วยขยายความรู้ไปสู่ชุมชน โรงเรียน

บ้า นกุ ด ฝั่ง แดงเชิ ญ ไปสอนก็ ไ ปให้ แล้ว การ รวมกลุ่มยังช่วยก�ำหนดราคาไพหญ้าทีแ่ น่นอน ทุกวันนี้ขายตับละ 25 บาท ผลิตขายเฉพาะ ช่วงฤดูกาลเก็บเกีย ่ วคือ ช่วงเดือนพฤศจิกายน จนถึงพฤษภาคม” บุญเลี้ยงเล่า ส่วนการกระจายสินค้านั้น เป็นลักษณะ ต่างคนต่างท�ำต่างขาย แต่ถ้าร้านใดหมด ก็จะ มี ก ารแนะน� ำ ให้ไ ปซื้ อ บ้า นอื่ น ถื อ เป็น การ กระจายรายได้ให้ทวั่ ถึงทัง้ หมู่บ้าน เพราะเฉลีย ่ คนหนึ่งจะท�ำได้ประมาณ 500-600 ตับ แต่ ถ้าเป็นคนที่ไม่ได้ลงนาอย่างตาสมแล้ว บางปี ท� ำ ได้สู ง ถึ ง 700 ตั บ เลยที เ ดี ย ว โดยอายุ การใช้งานของไพหญ้านี้อยู่ที่ประมาณ 3 ปี แม้จะไม่ทันสมัยเหมือนใครเขา แต่ยาม มองสีหน้าของคนในกลุ่ม ยามที่ก�ำลังง่วนอยู่ กั บ การจั ด เรี ย งต้น หญ้า คาแล้ว ก็ ใ ห้รู ้สึ ก ถึ ง ความสุ ข เล็ ก ๆ ที่ ยิ่ ง ใหญ่เ กิ น กว่า คนทั่ ว ไป จะเข้าใจ เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 47


กลุ่มทอผ้าลายเก็บจก หมู ่ 7 หญิงสูงวัยหลายสิบชีวต ิ นัง่ เย็บลายผ้ากัน อย่างขะมักเขม้น ที่เบื้องหน้ามีเสื้อทอตัวงาม เรียงรายอยู่เต็มไปหมด เมื่อเข้าไปพูดคุยและ สัมผัสใกล้ๆ จึงทราบว่าพวกเธอก�ำลังเย็บชิ้น ลายผ้า เหล่า นี้ เ พื่ อ ไปปะติ ด กั บ เสื้ อ เหล่า นั้ น เป็นเสือ ้ พืน ้ เมืองลายภูไทดัง้ เดิม ของดีของเด่น ประจ�ำต�ำบล เกือบ 30 ปีที่พวกคุณยายมานั่งท�ำเสื้อ เย็บมือแบบนี้ ใครจะเชื่อว่าวันนี้เสื้อเย็บมือ ลายภูไทของคุณยายจะกลายเป็นชื่อเสียงเป็น หน้าเป็นตาของต�ำบล น�ำชื่อเสียงกลับมายัง ต� ำ บลเล็ ก ๆ แห่ง นี้ ไ ม่รู ้สิ้ น ตลอดจนรั ก ษา วัฒนธรรมประเพณีดงั้ เดิมของพวกเขาไว้อย่าง ยั่งยืน กอง แสบงบาล ประธานกลุ ม ่ ทอผ้า ลายเย็บจก เล่าให้ฟังว่า กลุ่มเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2529 ด้ว ยแรงยุ ข องพั ฒ นาชุ ม ชนอ� ำ เภอ ที่อยากจะรวมกลุ่มชาวบ้านเพื่อท�ำกิ จกรรม ซึง่ ตอนนัน ้ พวกเธอมีความคิดทีจ่ ะใช้ภม ู ป ิ ัญญา ด้านการทอผ้าเพือ ่ สร้างรายได้ จึงได้มก ี ารรวม กลุ่มกันขึ้น เริ่ ม แรกมี ส มาชิ ก อยู ่ทั้ ง หมด 49 คน ส่วนใหญ่ทอผ้ากันเป็นทุกคนอยู่แล้ว เพราะ ตามความเชือ ่ ของคนภูไทคือ หากผู้หญิงคนไหน ทอผ้าไม่เป็นจะไม่มีผู้ชายมาขอ ท�ำให้ทุกคน ต้องฝึกการทอผ้าทุกกระบวน ตั้งแต่ปลูกฝ้าย อิ้ ว ฝ้า ย เข็ น ให้เ ป็น เส้น ชุ บ น�้ ำ ข้า ว เอามา ตากแดด เอามากวัก ขดใส่มือ ท�ำให้เป็นเครือ 48 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน

แล้วก็ทอเป็นผืน จนสุดท้ายคือการตัดผ้า เป็น เสื้อภูไทโบราณ เสื้อภูไทประยุกต์ เสื้อเย็บมือ “เริ่ ม ต้น มี ก ารลงหุ ้น หุ ้น ละ 20 บาท คนหนึ่ ง ถื อ ได้ไ ม่เ กิ น 5 หุ ้น ขณะเดี ย วกั น ยั ง ได้รั บ เงิ น สนั บ สนุ น จากภาคส่ว นต่า งๆ ไม่ว ่า จะเป็น อดี ต พระภาวนาพุ ท โธ ให้เ งิ น ช่วยเหลือ 2,000 บาท ซึ่งทางกลุ่มได้น�ำมา รวมกับหุ้นเริม ่ ต้น แล้วน�ำไปซือ ้ ฝ้ายเพือ ่ จัดสรร ในกลุ ่ม ขณะที่ พั ฒ นาชุ ม ชนอ� ำ เภอ โดย ดร.น�ำใจ อุทรักษ์ ได้ช่วยสนับสนุนฝ้ายส�ำหรับ ทอผ้าเช่นกัน แถมยังช่วยหาตลาดให้ อย่างไรก็ดี การลงทุนครัง้ แรกนัน ้ ยังไม่มก ี ารปันผลออกมา ให้สมาชิก เพราะถือว่าเป็นจุดตั้งต้นที่ทุกคน ต้องช่วยเหลือกัน จนกระทั่งต่อมา เมื่อระบบเข้าที่เข้าทาง กลุ่มจึงใช้วิธีรับซื้อคืนจากชาวบ้าน คือเอาไป ทอเท่าไร ก็ส่งคืนมาเท่านั้น โดยมีการบวกลบ ก� ำ ไรไว้ใ นกระบวนการแล้ว เช่น ปัจ จุ บั น ทางกลุ่มน�ำผ้าให้สมาชิกคนละ 10 มัด ต้นทุน 1,500 บาท ชาวบ้า นสามารถถั ก ผ้า ได้ ประมาณ 31 เมตร ชาวบ้านก็น�ำไปขายคืน ให้กลุ่ม เมตรละ 80 บาท เท่ากับชาวบ้านจะ ได้เงินคืนกลับมา 980 บาท ส่วนกลุ่มก็น�ำผ้า ไปขายเมตรละ 90 บาท นอกจากกระบวนการทอแล้ว กลุ่มยังมี การเย็บลาย โดยเฉพาะผ้าลายเก็บจก ซึง่ ขึน ้ ชือ ่ ว่า เป็น ของดี ป ระจ� ำ กาฬสิ น ธุ ์ โดยทุ ก วั น นี้ ทางกลุ่มจะจ้างสมาชิกให้เย็บลายตัวละ 400 บาท ซึง่ โดยปกติแล้วเดือนหนึง่ สมาชิกจะท�ำได้


สิม ยอดยศ

กอง แสบงบาล

ไตร แสงเพชร

ใจ สุขสว่าง

ประคอง นนทมาตย์ เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 49


เฉลีย ่ 3-4 ตัว และในกรณีทส ี่ มาชิกขึน ้ ทรงเสือ ้ ให้พร้อมเย็บลาย จะได้เงิน 520 บาท ส�ำหรับสินค้าทีข่ ายทุกวันนี้ ไตร แสงเพชร และ สิม ยอดยศ สองกรรมการกลุ่มบอกว่า มีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นเสื้อทอแขนสั้น ตัวละ 850 บาท เสื้อทอแขนยาวตัวละ 900 บาท มีสไบ ผ้าขาวม้า หมอน รวมไปถึงลายผ้า เก็บจก โดยสินค้าหลายชิ้นได้รับดาว OTOP ทั้งสไบแพรวา เสื้อเย็บภูไทได้ 4 ดาว ผ้าฝ้าย มัดหมี่ ผ้าห่มสี่ตะกอ และผ้าขาวม้าได้ 3 ดาว สินค้าทั้งหมดขายที่กลุ่ม รวมไปถึงออกงาน OTOP เทศบาลต�ำบล และโรงเรี ย นต่างๆ ยามมีงาน ขณะเดี ย วกั น ทางกลุ ่ม ก็ พ ยายามสร้า ง เครือข่ายพันธมิตรไปในหมู่อื่นๆ เพื่อพัฒนา และสานภูมิปัญญานี้ให้คงอยู่สืบต่อไป ไม่ว่า จะเป็นการจัดอบรมร่วมกับธนาคารออมสินให้ ชาวบ้านทั้ง 12 หมู่บ้าน หมู่ละ 5-6 คน และ 50 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน

ปัจ จุ บั น ก็ มี ห ลายกลุ ่ม ที่ เ ติ บ โตไม่แ พ้ก ลุ ่ม ของยายกอง เช่น กลุ่มทอผ้าในหมู่ที่ 1 ปัจ จุ บั น กลุ ่ม ทอผ้า ลายเก็ บ จก บ้า น เหล่าใหญ่ หมู่ที่ 7 มีสมาชิกอยู่ทงั้ สิน ้ 70 คน มีทุนหมุนเวียนอยู่ประมาณ 80,000 บาท มี ก ารปัน ผลกระจายรายได้เ ป็น ประจ� ำ ทุ ก ปี โดยแบ่งเป็นกรรมการร้อยละ 10 ผู้ขายสินค้า ร้อยละ 25 ปันผลหุ้นร้อยละ 20 เป็นทุนส�ำรอง ร้อยละ 20 เข้ากองทุนสวัสดิการออมวันละบาท ร้อ ยละ 10 เฉลี่ ย คื น ร้อ ยละ 10 และเป็น ค่าสวัสดิการต่างๆ อีกร้อยละ 5 นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารตั้ ง กลุ ่ม ออมทรั พ ย์ เพื่อการผลิต ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2530 โดยสมาชิกกลุ่มทั้งหมดจะต้องฝากเงินเดือน ละ 10 บาทต่อเนื่องกัน 5 ปี พอครบก็จะน�ำ เงินต้นและดอกเบี้ยมาแบ่งสรรปัน จากนั้นก็ เริ่ ม ต้น ออมใหม่ ซึ่ ง แม้จ ะไม่มี ก ารต่อ ยอด เพิม ่ เติม แต่กเ็ ป็นกระบวนการสร้างนิสยั การออม และการใช้เงินอย่างรู้คุณค่าได้เป็นอย่างดี


เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 51


กลุ่มปุ๋ ยอินทรีย์บ้านมะนาว เชื่อเถอะว่า ใครๆ ต่างก็รู้ดีถึงโทษของ ปุ๋ยเคมีว่า ยิ่งใช้เยอะ ผลผลิตที่ออกมาก็จะ ยิง่ แย่ตามไปด้วย แถมถ้ากินผลผลิตทีป ่ นเปื้อน เข้า ไปสะสมมากๆ ก็ ส ่ง ผลเสี ย ต่อ ร่า งกาย คนบ้า นมะนาวกลุ ่ม หนึ่ ง ซึ่ ง รู ้ซ้ึ ง ในเรื่ อ งนี้ หลังจากได้สัมผัสดินแห้งกรังขาดธาตุอาหาร จึ ง เริ่ ม รวมกลุ ่ม เพื่ อ หาผลิ ต ภั ณ ฑ์ท ดแทน สารเคมีโดยมี ส�ำรัส แสบงบาล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงส�ำคัญ “ข้าวทีก ่ น ่ แข็งไม่อร่อยเหมือนวันวาน ิ ก็เริม ด้วย มันถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยน” ส�ำรัสว่า ในช่วงนัน ้ เป็นจังหวะเดียวกับทีม ่ งี บประมาณ โครงการอยู่ดีมีสุขตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เข้ามาพอดี ผู้ใหญ่บ้านเริ่มจัดระดมความคิด พร้อมให้ภาพว่า ทุกวันนี้ดินแย่ลง ข้าวแข็ง ต่างจากเมือ ่ ก่อนลิบลับ ฉะนัน ้ จึงน่าน�ำงบตรงนี้ เข้า มาผลิ ต ปุ ๋ย อิ น ทรี ย ์ชี ว ภาพอั ด เม็ ด ขึ้ น มา เสียงแตกเป็นสองฝ่าย ด้วยส่วนหนึ่งมองว่า เกษตรเคมีนั้นสะดวก ไม่เปลืองเวลา “ที่สุดเมื่อฝ่ายเห็นด้วยเป็นเสียงส่วนใหญ่ หมู่บ้านจึงได้นำ� งบประมาณทัง้ สิน ้ 300,000 บาท ตั้งคณะกรรมการขึ้น 14 คน มีชาวบ้าน รวมกลุ ่ม เริ่ ม ต้น 16 ครั ว เรื อ น ไปอบรมที่ อ�ำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ดูวิธีการท�ำปุ๋ย อย่างละเอียด พอเสร็จกลับมาก็สร้างโรงเรือน ซื้อเครื่องจักร เครื่องบด เครื่องร่อน เครื่อง อัดเม็ด หมดเงินไปราวๆ 250,000 บาท ส่วนทีเ่ หลือก็นำ� ไปใส่ซอ ื้ วัตถุดบ ิ ท�ำปุ๋ย” บัวลา ไชยทอง ประธานกลุ่มเกษตรอินทรีย์เล่า ส่วนวิธก ี ารท�ำปุ๋ยหมักนัน ้ สัมฤทธิ์ เลิศศรี 52 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน

ปราชญ์ชาวบ้าน เล่าให้ฟังว่า ส่วนประกอบ หลักๆ ก็มีขี้เป็ด แกลบด�ำ ฟอสเฟต น�้ำหมัก ร�ำ ปูนขาว และหัวปุ๋ยซึ่งเป็นสารเคมีอีกเพียง เล็ ก น้อ ย น� ำ ทั้ ง หมดใส่ผ สมเข้า ไป บดตี ใ ห้ ละเอียด จากนั้นก็น�ำมาใส่เครื่องร่อน พอได้ เรียบร้อยก็น�ำมาบรรจุใส่ถุงป่านที่เตรียมไว้ ถุงละ 50 กิโลกรัม ราคาขายถุงละ 180 บาท ขายให้เฉพาะคนหมู่ที่ 3, 11 และ 12 มาภายหลังเมื่อกระบวนการต่างๆ ลงตัว คณะกรรมการจ้างคนมาช่วยผลิตเพิ่ม โดยให้ ค่าจ้าง 40 บาทต่อ กระสอบ พร้อมกับตัง้ ราคา ขายเงินสดกระสอบละ 280 บาท และ 290 บาท ส� ำ หรั บ ผู ้ที่ ซื้ อ เป็น เงิ น เซ็ น โดยต้อ ง จ่ายเงินภายใน 3 เดือนก่อนการปันผล ส่วนรอบของการผลิตมีทงั้ หมด 3 รอบ คือ เดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม กล่าว ง่ายๆ คือก่อนเริ่มฤดูกาลเพาะปลูก โดยรอบ หนึ่งใช้เงินลงทุนประมาณ 20,000 บาท ท�ำ 3 รอบ ได้ประมาณรอบละ 100 ถุง ขายให้ บ้านมะนาวเป็นหลัก แต่ถ้าหมู่อื่นอย่างบ้าน เหล่าใหญ่ หรือบ้านค�ำกั้งสนใจก็พร้อมขาย เพราะปุ ๋ย ตั ว นี้ ส ามารถน�ำไปใส่ไ ด้ทั้งนาข้าว สวนยาง ไร่อ้อย ปัจจุบันกลุ่มปุ๋ยนี้มีสมาชิกอยู่ราวๆ 80 ครัวเรือน ทั้งหมดอยู่ในบ้านหมู่ที่ 3, 11 และ 12 มี เ งิ นหมุ นเวี ย นอยู่ร าว 60,000 บาท มีระบบหุ้นส่วนที่ชัดเจน “เรามีการลงหุ้น หุ้นละ 100 บาท คนละ ไม่เกิน 10 หุ้น โดยเงินก�ำไรสุทธิภายหลังจาก หั ก ต้นทุ นทั้ ง หมดแล้ว ร้อยละ 30 แบ่งให้


ส�ำรัส แสบงบาล

บัวลา ไชยทอง

สัมฤทธิ์ เลิศศรี

คณะกรรมการ อีกร้อยละ 30 ปันผลให้สมาชิก ร้อยละ 20 ให้คนผลิตคนขายปุ๋ย ร้อยละ 10 เป็น ค่า ซ่อ มแซมอุ ป กรณ์ และร้อ ยละ 10 สุดท้ายมอบเป็นสาธารณประโยชน์ เช่น ค่า น�้ำมันเครื่องตัดหญ้า ถางป่าปีละ 3-4 ครั้ง ท�ำรั้วหมู่บ้าน หรือให้วัดบ้าง” บัวลาเล่า น อ ก จ า ก โ ค ร ง ก า ร อ ยู ่ดี มี สุ ข ฯ แ ล ้ว เกษตรกรจั ง หวั ด เคยมาตรวจเยี่ ย ม ให้ กากน�้ำตาลมา 3 แกลลอน และสารเร่งซูเปอร์ พด.2 ซึ่ ง เป็น จุ ลิ น ทรี ย ์ใ นการย่อ ยสลาย อิ น ทรี ย วั ต ถุ อี ก 10 ถุ ง ถื อ เป็น การช่ว ยลด ต้นทุนไปได้มากพอสมควร อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่าปุ๋ยอินทรีย์นี้ ยั ง ต้อ งพั ฒ นาขึ้ น เพราะชาวบ้า นหลายคน ยั ง ไม่ย อมใช้ เพราะไม่ส ะดวก เนื่ อ งจาก ไม่ส ามารถน� ำ ไปฉี ด หว่า นได้เ หมื อ นปุ ๋ย เคมี ต้อ งเทลงในพื้ น ที่ แ ต่ล ะจุ ด แต่ก็ ถื อ ว่า เป็น ก้า วย่า งส� ำ คั ญ ส� ำ หรั บ เกษตรกรรมพึ่ ง พิ ง ตนเอง และเป็นแนวทางที่มีความยั่งยืน เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 53


กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง หมู ่ท่ี 7

54 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


ภายในรั้วบ้านของสมาชิกบ้านเหล่าใหญ่ หมู่ที่ 7 ส่วนมากนั้นมีพื้นที่สีเขียว เป็นพืชผัก สวนครัว ที่กลายเป็นความโดดเด่นของบ้าน หมู่ที่ 7 จนใครต่อใครพากันมาขอความรู้ ซึ่ง มีศูนย์กลางอยูท ่ ี่บ้านของ ร�ำเพย ลีลาลาด ประธานกลุ ่ม เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง หมู ่ที่ 7 ที่ ร อคอยถ่า ยทอดแง่มุ ม ที่ น ่า สนใจให้กั บ ใครก็ตามที่ผ่านมาเยี่ยมเยือน เมื่ อ ปี 2551 ร� ำ เพยได้มี โ อกาสเข้า ฝึก อบรมเศรษฐกิจพอเพียงกับ พระมหาสุภาพ พุทธวิรโิ ย แห่งวัดป่านาค�ำ พร้อมกับเครือข่าย ชาวบ้านในต�ำบลเหล่าใหญ่เป็นเวลา 5 วัน 4 คืน ที่แห่งนั้น ได้สอนให้ชาวบ้านเห็นถึงวิธี การปลูกพืช ว่าต้องท�ำอย่างไรถึงจะเหมาะสม

“เริม ่ ต้นให้ปลูกต้นกล้วยเป็นพีเ่ ลีย ้ ง เพราะ กล้วยเป็นพืชอมน�้ำ สามารถให้ผลได้ตลอด ทัง้ ปี โดยแต่ละต้นให้ปลูกห่างกัน 2 เมตร ส่วน ช่องว่างนั้นก็ให้ปลูกผักกาด พริก มะเขือ หรือ ที่ท่านนิยามว่าเป็นพืชปัญญาอ่อน เพราะต้อง ดูแลตลอดทั้งปี” ร�ำเพยว่า เมื่ อ กลั บ มาถึ ง บ้า น ร� ำ เพยก็ เ ริ่ ม งาน ของตนทันที ด้วยการพัฒนาแปลงของตัวเอง จากแต่ก ่อ นที่ ป ลู ก แต่ห ญ้า ส� ำ หรั บ เลี้ ย งวั ว เลีย ้ งควาย ก็หน ั มาขุดหลุมปลูกกล้วย ประมาณ 100 หลุม และในแปลงนี้ ลงพืชหลากหลายอย่าง ทั้งไม้แดง ไม้ยางนา ไม้ประดู่ ไม้ประยูง ไม้สัก ทอง ผักหวาน มะเขือ ข่า ตะไคร้ ซึง่ แม้จะไม่ใช่ สู ต รเดี ย วกั บ พระมหาสุ ภ าพ แต่เ ป็น การ

เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 55


ร�ำเพย ลีลาลาด

56 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน

ประยุกต์ตามประสบการณ์ โดยเชือ ่ ว่าเป็นการ เลียนแบบวิถีธรรมชาติ “ตอนแรกพ่อไม่เห็นด้วย คือเขาเคยอยู่ กรุงเทพฯ เลยมองว่าจะท�ำไปท�ำไม ซือ ้ เอาก็ได้ บางทีวัวมากินต้นกล้วยที่ปลูก แต่เราเห็นว่า นี่เป็นการลดรายจ่าย คือเรากินเองเป็นหลัก ที่เหลือก็แบ่งให้เพื่อนบ้านได้กิน แบ่งขายบ้าง ยิ่ ง พวกพื ช ปัญ ญาอ่อ นอย่า ง พริ ก มะเขื อ ผักกาด ผักหอม มันโตเร็ว เลี้ยงได้ไม่นานก็ กินได้แล้ว” แม่รำ� เพยกล่าวถึงช่วงแรกของการ เริ่มท�ำ ซึ่งเต็มไปด้วยเสียงคัดค้าน แต่ผลผลิต ที่โตวันโตคืนก็พิสูจน์ให้เห็นว่า การตัดสินใจ ในวันนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สูญเปล่า กระทั่งในปี 2552 ทางเทศบาลต�ำบล เหล่าใหญ่มค ี วามคิดอยากให้ชาวบ้านรวมกลุ่ม เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง จึ ง มอบหน้า ที่ ใ ห้ก อง สาธารณสุ ข และสิ่ ง แวดล้อ มมาช่ว ยจั ด การ โดยเริ่มต้นสนับสนุนการท�ำปุ๋ย มีการแจกถัง น�้ำหมัก กากน�้ำตาล ต่อมาส่งเสริมเรื่องการ เลี้ยงหมู โดยแบ่งให้พื้นที่ละ 2 ตัว โดยใน ครั้งนั้นมีสมาชิกรวมกันได้ 75 คน และใน แต่ละพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันนับเป็น 6 พื้นที่ 12 หมู่บ้าน จะมีตัวแทนพื้นที่ละ 2 คน ท�ำหน้าที่ เป็นประธานและรองประธาน คอยประสานกัน ไปมาระหว่างกลุม ่ ขณะเดียวกันทางเทศบาล ก็มีการเชิญวิทยากรเข้ามาอบรม ไม่ว่าจะเป็น


พระอาจารย์สุ ภ าพ และอาจารย์ส มภาร วิเศษศรี จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องท�ำปุ๋ย แต่ละปีจะมีการประชุม 1 ครัง้ เพือ ่ ติดตาม ความคืบหน้าของสมาชิกว่าสร้างผลงานไปถึง ไหนแล้ว รวมไปถึงมีการแนะน�ำตลาดทีส ่ มาชิก ส า ม า ร ถ น� ำ สิ น ค ้า ไ ป ว า ง ข า ย ไ ด ้ เ ช ่น ที่ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช กุฉินารายณ์ จะมีตลาดสุขภาพทุกเช้าวันศุกร์ ใครสนใจก็ไป สมัครได้ โดยทีมไม้เลื้อย ซึ่งเป็นทีมสหวิชาชีพ ที่ นั่ น จะส่ง เจ้า หน้า ที่ เ ข้า มาตรวจสอบความ ปลอดภัยของแปลงผักที่ปลูก ปัจจุบันกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงมีสมาชิก เพิ่มขึ้นเป็น 80 ครัวเรือนแล้ว และมีโครงการ ต่อยอดอีกหลายกิจกรรม เช่น โครงการ 1 ไร่ 1 แสน ของผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งให้ ชาวบ้า นเขี ย นโครงการเสนอว่า จะท� ำ อะไร ในแต่ละแปลง เพือ ่ จะมีรายได้ 100,000 บาท ซึ่งแม้ร�ำเพยจะเสนอโครงการไม่ผ่าน แต่จาก ความพยายามคิด และทดลองท�ำ ก็ทำ� ให้พน ื้ ที่ เกษตรของร�ำเพยมีความหลากหลาย ทั้งที่นา ทั้งสวนยาง สวนผลไม้ บ่อเลี้ยงปลา เล้าหมู เล้าไก่ ที่ส�ำคัญกรมพัฒนาที่ดินยังมีโครงการ จะท�ำศาลาหมอดินในพืน ้ ทีน ่ ด ี้ ้วย เพือ ่ กระจาย ความรู้เรื่องดินออกไปในวงกว้าง เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 57


หมู หลุม

บุญสถิต จิตจักร์ 58 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


นอกจากการท�ำพื้นที่เศรษฐกิ จพอเพียง แล้ว อี ก หนึ่ ง กิ จ กรรมที่ ท างเทศบาลต� ำ บล เหล่า ใหญ่ ได้ต ่อ ยอดจากการอบรมของ พระมหาสุภาพ พุทธวิริโย แห่งวัดป่านาค�ำ คือการเลี้ยงหมูหลุม บุ ญ สถิ ต จิ ต จั ก ร์ ผู ้ใ หญ่บ ้า นหมู ่ที่ 9 บ้านโนนบุปผา เล่าให้ฟังว่า เป้าหมายส�ำคัญ ของการเลี้ ย งหมู ห ลุ ม นี้ คื อ การน� ำ ขี้ ห มู ม า ต่อยอดเป็นปุ๋ยส�ำหรับต้นไม้ทจี่ ะปลูกในแปลง เกษตร อย่างไรก็ตามภายหลังการรวมกลุ่ม เมื่อปี 2552 เป้าหมายของการเลี้ยงหมูก็เริ่ม มี ห ลากหลายมากขึ้ น ไม่ว ่า จะเป็น เพื่ อ การ บริโภคในครัวเรือน การเพาะพันธุ์เพื่อส่งขาย ในช่ว งแรกเทศบาลสนั บ สนุ น หมู พั น ธุ ์ เหมยซานให้ โดยแบ่งกันไปใน 6 พืน ้ ทีจ่ าก 12 หมู่บ้านทัว่ ต�ำบล ซึง่ จะมีตวั แทนพืน ้ ทีล ่ ะ 2 คน ท�ำหน้าที่เป็นประธานและรองประธาน คอย ประสานกันระหว่างกลุ่ม “ แ ต ่ล ะ ก ลุ ม ่ จ ะ ใ ห ้ช า ว บ ้า น ใ น พื้ น ที่ ทีป ่ ระสงค์จะเลีย ้ งหมูลงชือ ่ ใครลงชือ ่ ก่อนก็จะ ได้เลีย ้ งก่อน และต้องจ่ายค่าสมัครสมาชิก 100 บาท โดยผู้เลี้ยงจะได้หมูตัวผู้ และหมูตัวเมีย อย่างละหนึ่งตัว โดยปัจจุบันหมู่ที่ 9 มีสมาชิก อยู่ 7 คน” บุญสถิตเล่า ส� ำ หรั บ วิ ธี ก ารเลี้ ย งส� ำ หรั บ หมู ่ที่ 9 จะ แตกต่างออกไป คือเลี้ยงเฉพาะตัวเมียเท่านั้น ส่วนตัวผู้จะส่งขายเพื่อไปช�ำแหละ เพราะหมู พันธุ์เดียวกัน หากผสมพันธุ์กน ั ลูกทีอ ่ อกมาจะ ไม่มค ี ณ ุ ภาพ โดยวงล้อของการเลีย ้ งนัน ้ ผู้ใหญ่ อธิบายว่า พอหมูอายุได้ 8 เดือน ก็จะไปหา พ่อ พั น ธุ ์ม าทั บ ทั บ ที ห นึ่ ง เสี ย ค่า ใช้จ ่า ยให้

เจ้าของหมูตัวผู้ประมาณ 200 บาท จากนั้น หมูจะอุ้มท้องอยู่ 4 เดือน คลอดออกมาครัง้ ละ 5-6 ตัว หลังจากนัน ้ อีก 4 เดือนต่อมา ก็ให้ทบ ั ใหม่ เป็นแบบนี้เรื่อยๆ ไป ส่วนลูกหมูที่ได้มา จะเลี้ยงอยู่ประมาณ 1-2 เดือน แล้วน�ำไป ส่ง ขาย ส่ง ช� ำ แหละได้ โดยทั้ ง นี้ มี ข ้อ แม้ว ่า ลู ก ในคอกแรกจะแยกลู ก หมู ตั ว ผู ้กั บ ตั ว เมี ย ออกมา 1 คู่เพื่อส่งต่อให้สมาชิกที่รอคิวอยู่ใน ล�ำดับถัดไป ส่วนราคาหมูในปัจจุบันนี้ ผู้ใหญ่บอกว่า แล้วแต่ขนาด แต่โดยมากคนจะนิยมลูกหมูอายุ 2-3 เดือน เพราะเนื้อจะนุ่มกว่า ตัวหนึ่งราคา ประมาณ 500-800 บาท ยิ่งหน้าเทศกาล ราคายิ่งสูง ส่วนหมูแก่ คนไม่นิยมกินเพราะ เนื้อเหนียว ที่ส�ำคัญคือยิ่งเลี้ยงนาน ยิ่งเปลือง ราคาก็ยิ่งตก “ระหว่างที่ลูกหมูก�ำลังเติบโต ผู้เลี้ยงต้อง คอยสั ง เกตหมู แ ต่ล ะตั ว ด้ว ยว่า รู ป ร่า งเป็น อย่างไร เพราะบางตัวอาจจะเหมาะเป็นแม่พน ั ธุ์ โดยมีวิธีการดูคือเป็นลูกหมูตัวใหญ่ ยาวกว่า เพื่อน ทั้งนี้แม่พันธุ์ตัวหนึ่งมีอายุการใช้งาน นาน 6-7 ปีเลยทีเดียว และหากแม่พันธุ์แก่ เกิ น ไป ก็ จ ะท� ำ การส่ง ไปประเมิ น ราคาเพื่ อ ช�ำแหละต่อไป” ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 เล่า สุดท้ายคือ ระบบการจัดการของกลุ่ม ใน กรณีที่ได้หมูครบตามคิวที่ก�ำหนดไว้แล้ว ก็จะ ส่งหมูกลับคืนไปยังเทศบาลต�ำบลเหล่าใหญ่ ซึง่ เทศบาลจะน�ำไปเลีย ้ งหรือจ�ำหน่ายก็แล้วแต่ ความสะดวก แต่หากมีสมาชิกเข้ามาภายหลัง เทศบาลจะรั บ หน้า ที่ จั ด หาพั น ธุ ์ห มู ม าให้ เหมือนเดิม เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 59


สุขภาพดีๆ

ที่เราช่วยกันดูแล Health

60 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


แม้ต� ำ บลเหล่า ใหญ่ห ่า งจากโรงพยาบาล สมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ไม่ไกลนัก แต่การ ดูแลสุขภาพพื้นฐานก็เป็นสิ่งที่ไม่สมควรมองข้าม ซึ่งที่ต�ำบลเหล่าใหญ่เอง มีกระบวนการท�ำงานที่ เน้น จิ ต อาสา ให้ชุ ม ชนเข้า มามี ส ่ว นร่ว มในการ จัดการสุขภาพของตนเอง จากหนึ่งไปสู่ร้อย วันนี้ ทีต ่ ำ� บลเหล่าใหญ่มก ี ารจัดการสุขภาพทีท ่ วั่ ถึง และ ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 61


ศูนย์รวมน�้ำใจคนเหล่าใหญ่ : กลุ่มไทยเหล่าใหญ่ ห่วงใยผู ้ด้อยโอกาส ปัญหาสุขภาพในชุมชนชนบทนัน ้ ล�ำพังเพียง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล (รพ.สต.) คง ไม่อาจดูแลได้ทวั่ ถึง ในขณะทีก ่ ระบวนการของ อสม. ก็ เ ป็น ส่ว นหนึ่ ง ที่ ส ามารถตอบโจทย์ การเป็นหูเป็นตาให้ รพ.สต. อีกทางหนึง่ ต�ำบล เหล่าใหญ่เห็นว่า สิ่งที่มีอยู่อาจไม่พอ คงจะ ดีกว่าถ้ามีกลุ่มองค์กรที่เข้ามาช่วยเหลือดูแล ผู้ป่วย ผู้ด้อยโอกาสเต็มก�ำลัง ต้นสายปลายเหตุนน ั้ คือกลุ่มคนผู้มอ ี าการ ทางจิต ไม่สามารถออกสู่สังคม ต้องถูกล่ามโซ่ อยู ่กั บ บ้า น อี ก ส่ว นหนึ่ ง คื อ เป็น โรคติ ด ต่อ ร้ายแรง และเกิดเป็นความแค้นสังคม อยาก แพร่โรคนี้สู่วงกว้าง อีกกลุ่มคือผู้ป่วยติดเตียง ปานแก้ว แสบงบาล ผู้อ�ำนวยการกอง สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลต�ำบล เหล่าใหญ่ ย้อนความให้ฟังว่า ในปี 2551 มีคนไข้จิตเวชอยู่คนหนึ่งไม่ยอมกินยา จนสามี ทนไม่ได้ หนีไปมีครอบครัวใหม่ หลังจากนั้น อีกไม่นาน ยังกลับมาพาลูกหนีไป เพราะกลัว ว่าแม่จะท�ำอันตราย เหลือเพียงเธอกับพ่อที่ ตาบอดอยู่กัน 2 คน ต่อมาน้องชายเห็นท่า ไม่ดี เลยแยกคุณพ่อออกมาอยู่กับตัวแทน แต่ ทุกวันเธอยังต้องออกจากบ้านไปกินข้าวกับพ่อ ปานแก้วซึง่ สังเกตมาพักใหญ่ พอปี 2552 ปีเดียวกับการยกฐานะเป็นเทศบาลต�ำบล เธอ จึงชี้เป้าให้ ฤทธิรงค์ ซองศิริ นายกเทศมนตรี 62 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน

ในเวลานัน ้ เห็นว่า พืน ้ ทีม ่ ป ี ัญหาแบบนีอ ้ ยู่ และ ที่ ผ ่า นมาเคยมี ก รณี ผู ้ป ่ว ยจิ ต เวชท� ำ ร้า ยคน ในครอบครั ว จนตาย อดี ต นายกฯ จึ ง สั่ ง ให้ ส�ำรวจพื้นที่ว่า มีผู้ป่วยที่ขาดการดูแลต่อเนื่อง มากน้อยแค่ไหน “ความจริงที่พบก็น่าตกใจ มีคนป่วยถูก ล่ามโซ่ คนพิการนอนตลอดจนเป็นแผลกดทับ คนเป็นโรคเอดส์ ผู้ป่วยเรื้อรัง สรุปรวบยอด แล้วได้ประมาณ 150 คน เลยมีการนิยามให้ คนกลุ ่ม นี้ เ ป็น ผู ้ด ้อ ยโอกาสทางสั ง คม แต่ เนื่องจากจ�ำนวนนี้มีเยอะเกินไป จึงตัดคนที่มี ฐานะ และครอบครัวยังคอยดูแลอยู่ หรือผู้ป่วย ที่ไม่มีอาการรุนแรง ได้ยอดเหลือ 127 คน จากนัน ้ ก็ทำ� เรือ ่ งของบประมาณสนับสนุนไปยัง ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ (สสส.) ได้ง บมาทั้ ง สิ้ น 100,000 บาท” ปานแก้วเล่า เพื่ อ ให้ทุ ก คนได้เ ห็ น ภาพที่ ชั ด เจนขึ้ น ปานแก้ว จึ ง เสนอความคิ ด โดยการเชิ ญ คน กลุ่มใหญ่ ทั้งระดับบน ระดับล่างมาร่วมกัน หารื อ ทั้ ง ก� ำ นั น ผู ้ใ หญ่บ ้า น พั ฒ นาชุ ม ชน อ� ำ เภอ โรงพยาบาลส่ง เสริ ม สุ ข ภาพต� ำ บล และทีมงานจากโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช กุฉินารายณ์ ซึ่งมีกลุ่มสหวิชาชีพที่โดดเด่น ซึ่ง รวมพยาบาลวิ ช าชี พ นั ก กายภาพบ� ำ บั ด เภสัชกร ไว้ด้วยกันในนาม ‘ทีมไม้เลื้อย’ ร่วม ลงพื้นที่ส�ำรวจปัญหาที่เกิดขึ้นทุกจุดในต�ำบล


ปานแก้ว แสบงบาล

“เวลาออกเยี่ ย ม เราจะมี อสม. กั บ ผู้ใหญ่บ้านประจ�ำตามหมู่บ้านต่างๆ จากนั้น นายกเทศมนตรี ปลั ด เทศบาล ผอ.กอง สาธารณสุขฯ พัฒนาชุมชน รวมไปถึงทีมไม้เลือ ้ ย ก็ จ ะออกเยี่ย มเพื่อดูว่า ปัญหาคื อ อะไร แล้ว ทางทีมไม้เลือ ่ ยก็จะเป็นผู้ประเมินว่าควรรักษา แบบไหน ต้อ งดู แ ลอย่า งไร จากนั้ น เราก็ ประกาศรับสมัครจิตอาสา จาก อสม. เพื่อท�ำ หน้า ที่ รั ก ษาพยาบาล โดยทางที ม ไม้เ ลื้ อ ย จะเข้ามาเป็นพีเ่ ลีย ้ ง เข้ามาดูสป ั ดาห์ละ 2 ครัง้ คื อ ที่ รพ.สต.เหล่า ใหญ่ทุ ก วั น จั น ทร์ และ รพ.สต.กุ ด ฝั่ง แดงทุ ก วั น ศุ ก ร์” ปานแก้ว ขยายความ ทัง้ นี้ การรักษาจะมีการคอยดูอาการอย่าง

ต่อเนื่อง พร้อมฝึกอบรมสมาชิกในครอบครัว ให้รู ้จั ก วิ ธี ช ่ว ยเหลื อ ผู ้ป ่ว ยไปด้ว ย โดยหาก ผู้ป่วยคนไหนอาการทุเลาและน่าไว้วางใจ ทาง โครงการจะคัดรายชื่อออกไป และใส่ชื่อผู้ป่วย คนใหม่เข้ามาแทน เพราะมีผ้ป ู ่วยหรือคนพิการ เกิ ด ขึ้ น ตลอด เช่น บางคนประสบอุ บั ติ เ หตุ บางครั้งเป็นโรคขึ้นมาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แต่ด ้ว ยข้อ จ� ำ กั ด ตามงบประมาณ ที่ จั ด สรร ส�ำหรับการออกเยี่ยมเพียง 30,000 บาท ท� ำ ให้ต ้อ งมี ก ารหมุ น เวี ย น กระจายโอกาส กันไป แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าทางกลุ่ม ไทเหล่าใหญ่ฯ จะทอดทิ้งไปเลย เพราะยังมี การแวะเวี ย นและตรวจเยี่ ย มกลุ ่ม ผู ้ป ่ว ยเก่า ตลอดเวลา เพี ย งแต่ไ ม่ไ ด้อ ยู ่ใ นงบรายจ่า ย เท่านั้นเอง เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 63


ศูนย์รวมน�้ำใจคนเหล่าใหญ่ : กลุ่มจิตอาสาดูแลสุขภาพ

กลุ ่ม เหล่า ไทใหญ่ ห่ว งใยผู ้ด ้อ ยโอกาส มี ข ้อ จ� ำ กั ด ข อ ง ก ลุ ่ม ที่ เ กื อ บ ทั้ ง ห ม ด เ ป ็น ข้าราชการ จึงไม่สามารถตระเวนดูผู้ป่วยได้ ทุกวัน อดีตนายกเทศมนตรี ฤทธิรงค์ ซองศิริ เลยมี ค วามคิ ด ว่า ควรจั ด ตั้ ง กลุ ่ม อี ก กลุ ่ม ขึ้นมารองรับและท�ำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ และ บุ ค ลากรที่ ดู มี ค วามเหมาะสมมากที่ สุ ด ก็ คื อ อาสาสมัครสาธารณสุข ซึง่ ท�ำงานด้านนีอ ้ ยู่แล้ว พิสมัย กุลเสนชัย ประธานกลุ่มจิตอาสา ดู แ ลสุ ข ภาพ เล่า การท� ำ งานของตั ว เองว่า ก่อนที่จะเริ่มกลุม ่ ทางทีมไม้เลื้อย ซึ่งเป็นทีม สหวิชาชีพจากโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช กุฉินารายณ์ ได้มาฝึกและอบรมอาสาสมัคร ไม่ว ่า จะเป็น เรื่ อ งการออกก� ำ ลั ง กาย ผู ้ป ่ว ย ติดเตียงที่มีแผลกดทับจะท�ำอย่างไร ล้างแผล แบบไหน รวมไปถึงวิธแ ี นะน�ำครอบครัวในการ ดูแลผู้ป่วย เมื่ออบรมเสร็จแล้ว ทาง อสม. จะ ติดตามดูเป็นระยะ ในกรณีที่ผู้ป่วยจ�ำเป็นต้อง ใช้อุปกรณ์เสริม เช่น เครื่องออกก�ำลังกาย ท า ง ก ลุ ่ม จ ะ ติ ด ต ่อ ไ ป ยั ง เ ท ศ บ า ล ต� ำ บ ล

64 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน

เหล่าใหญ่ เพือ ่ ให้ช่วยประสานงานขออุปกรณ์ กับทีมไม้เลื้อยอีกต่อหนึ่ง ทั้งนี้การตรวจเยี่ยมครั้งหนึ่ง อสม.จะไป เป็น คู ่ ชายหนึ่ ง คน หญิ ง คนหนึ่ ง เพื่ อ ให้ สอดคล้องกับสภาพของปัญหา เช่น กลุ่มผู้ป่วย จิตเวช ต้องใช้ อสม.ดูแลตามเพศ และในวันที่ ที ม ไม้เ ลื้ อ ยเข้า มาร่ว มขบวนการออกเยี่ ย ม ตามธรรมเนียมของคนภูไท ทาง อสม. จะเป็น ผู้น�ำทีมเข้าไป เพราะต้องให้เจ้าบ้านเข้าก่อน “การเยี่ยมนี้จะต้องไปเยี่ยมทั้งครอบครัว เพราะเราถือว่าต้องดูแลทั้งครอบครัว ยิ่งถ้า เป็นคนไข้จต ิ เวชด้วยแล้ว โดยจะมีการประเมิน ว่า กลุ่มไหนต้องมาเยี่ยมแค่ไหน อย่างกลุ่ม แผลกดทับต้องมาเยี่ยมทุกวัน ผู้ป่วยจิตเวชที่ อาการไม่นิ่ง ไม่มีคนป้อนยา แบบนี้ก็ต้องมา ทุกวัน ยิ่งถ้าคนไหนที่คลุ้มคลั่งหนัก เราจะพา คุณหมอมาตรวจแล้วสัง่ ยาให้ พูดง่ายๆ คือเรา เอาคนไข้ไปหาหมอไม่ได้ แต่เราเอาหมอมาให้ คนไข้ได้” ปานแก้ว แสบงบาล ผู้อ�ำนวยการ กองสาธารณสุ ข และสิ่ ง แวดล้อ ม เทศบาล ต�ำบลเหล่าใหญ่อธิบาย


พิสมัย กุลเสนชัย

ปัจจุบันกลุ่มมีจิตอาสาในการดูแลผู้ป่วย ทั่วต�ำบลทั้งสิ้น 12 ชีวิต แบ่งเป็น อสม.ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลเหล่าใหญ่ 5 คน ดูแลใน 8 หมู่บ้าน และโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพต�ำบลกุดฝั่งแดง 7 คนดูแลใน 4 หมู่บ้านที่เหลือ การรักษาจะเน้นความต่อเนื่อง และเฝ้าดู อาการเป็นระยะๆ โดยข้อมูลทัง้ หมดนีจ้ ะมีการ รวบรวม ก่อ นส่ง ต่อ ไปยั ง เทศบาลต� ำ บล เหล่า ใหญ่แ ละที ม ไม้เ ลื้ อ ย เพื่ อ เป็น ข้อ มู ล ประเมินสถานการณ์ เช่น หากมีผู้ป่วยบางคน

ที่ อ าการหนั ก จริ ง ๆ แล้ว ต้อ งน� ำ ส่ง ไปยั ง โรงพยาบาล ก็สามารถด�ำเนินการได้รวดเร็ว โดยก่อ นหน้า นี้ มี ก ารส่ง ผู ้ป ่ว ยจิ ต เวชไป รักษาตัวที่โรงพยาบาลจิตเวชที่ขอนแก่นแล้ว 3 คน ทุกคนอาการดีขึ้นตามล�ำดับ “เห็นคนที่ครั้งหนึ่งเคยถูกญาติล่ามโซ่ไว้ วั น นี้ ส ามารถใช้ชี วิ ต ได้ต ามปกติ พู ด คุ ย ได้ ออกสู่สังคมได้บ้าง ก็เป็นความภาคภูมิใจของ เราทีไ่ ด้เข้าไปเป็นส่วนหนึง่ ในเรือ ่ งดีๆ แบบนี”้ พิสมัยทิ้งท้าย

เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 65


ศูนย์รวมน�้ำใจคนเหล่าใหญ่ : กลุ่มเติมรักเติมบุ ญ

การดู แ ลรั ก ษาผู ้ป ่ว ยในพื้ น ที่ ใ ห้ก ลั บ มา มี ชี วิ ต ที่ เ ป็น ปกติ สุ ข ถื อ เป็น สิ่ ง ส� ำ คั ญ แต่จ ะ ท� ำ อย่า งไรให้เ ขามี ที่ ยื น ในสั ง คมได้ส� ำ คั ญ ยิ่งกว่า หลังก่อตั้งกลุ่มไทเหล่าใหญ่ ห่วงใย ผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มจิตอาสาดูแลสุขภาพ แล้ว อดีตนายกเทศมนตรี ฤทธิรงค์ ซองศิริ เลยมีความคิดต่อเนื่องว่า ควรจะมีการสร้าง งานให้ผู้ด้อยโอกาสเหล่านี้บ้าง ในที่ สุ ด ก็ เ กิ ด เป็น การรวมตั ว กั น ของ คนพิการและผู้ป่วยจ�ำนวน 127 คนขึ้น ในชื่อ ‘กลุ ่ม เติ ม รั ก เติ ม บุ ญ ’ โดยใช้สั ญ ลั ก ษณ์ 66 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน

นกพิ ร าบคาบพวงมาลั ย โดยนกพิ ร าบเป็น สัญลักษณ์ของความเป็นอิสระ ส่วนพวงมาลัย เป็นตัวแทนของการท�ำบุญ อภิ ชั ย พลหงส์ ประธานกลุ ่ม เติ ม รั ก เติมบุญ ซึ่งเป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหว เพราะเป็นโรคโปลิโอตัง้ แต่กำ� เนิด เล่าให้ฟังถึง การรวมกลุ ่ม นี้ ว ่า เกิ ด ขึ้ น ในปี 2552 โดย ในครั้งนั้นมีการจัดประชุม ณ เทศบาลต�ำบล เหล่าใหญ่ มีคนเข้าร่วมนับร้อยชีวิต โดยสาระ ส� ำ คั ญ คื อ การฝึก อาชี พ คนพิ ก ารให้ส ามารถ เลี้ยงชีพ หรือท�ำประโยชน์ต่อสังคมได้บ้าง


อภิชัย พลหงส์

“เราเริ่มระดมหุ้นกันในกลุ่ม หุ้นละ 40 บาท บวกกับค่าสมัครอีก 10 บาท เพื่อเป็น ทุ น รอนก้อ นแรกในการตั้ ง กองทุ น จากนั้ น เทศบาลต�ำบลเหล่าใหญ่ช่วยสบทบให้อก ี 3 ปี โดยปี 2552 ให้ 30,000 บาท ปี 2553 ให้ 10,000 บาท และปี 2554 ให้ 10,000 บาท เราเอาเงินทีไ่ ด้มาจัดอบรมอาชีพ เชิญวิทยากร จ า ก โ ร ง พ ย า บ า ล ส ่ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ ต� ำบ ล เหล่าสีแก้ว อ�ำเภอห้วยผึง้ จังหวัดกาฬสินธุ์ มา สอนการท�ำน�ำ้ ยาล้างจาน สบู่เหลว” อภิชย ั เล่า หลายปีผ ่า นมา สิ น ค้า เริ่ ม หลากหลาย มากขึน ้ วันนีม ้ ท ี งั้ เสือ ้ ยืด กระเป๋า ส่วนช่องทาง การกระจายสินค้าก็คือฝากตามร้านค้าต่างๆ ในชุมชน โดยแบ่งค่าจ�ำหน่ายให้ร้อยละ 20 แต่ส ่ว นมากหลายๆ ร้า นจะไม่หั ก เพราะ ถือเป็นการช่วยเหลือกัน ในปีแรกมีคน ื ปันผลให้สมาชิก โดยน�ำก�ำไร มาหารแบ่งในสัดส่วนเท่ากันทุกคน แต่มาระยะ หลัง ไม่มีการปันผลออกมาเป็นตัวเงินสดแล้ว เพราะประธานหันไปใช้วิธีการน�ำเงินรายได้ สมทบเข้าไปในบัญชีกลุ่ม โดยปัจจุบันกองทุน มีเงินหมุนเวียนราวๆ 40,000 บาท นอกจากการสร้า งงานแล้ว การสร้า ง แรงบันดาลใจก็เป็นอีกสิ่งที่ทางกลุ่มให้ความ

ส�ำคัญ เพราะต้องยอมรับว่า ผู้ป่วยบางคน จิ ต ใจห่อ เหี่ ย ว ไม่ย อมรั บ ว่า ตั ว เองป่ว ย โดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเวช ขณะที่คนพิการเองก็ มักไม่ช่วยเหลือตัวเอง ดังนั้นตัวประธาน ซึ่ง เป็น คนพิ ก าร และรองประธานที่ เ ป็น ผู ้ป ่ว ย จิตเวช ซึ่งปัจจุบันไปบวชแล้ว ถือว่ามีบทบาท อย่า งมากในการเป็น ต้น แบบ และท� ำ ให้ การรักษาในพื้นที่ด�ำเนินไปได้ด้วยดี “เราต้องกล้ายอมรับตัวเอง อย่างพี่ที่เป็น รองประธานเขาบอกเลยว่า ผมป่วย แล้วก็ กินยาอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดเขาก็ดีขึ้น ใช้ชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข คนอื่นๆ ที่เป็น เหมื อ นกั น ก็ เ ริ่ ม เห็ น ตั ว อย่า ง แล้ว ท� ำ ตาม” ประธานกล่าว ส�ำหรับแนวทางในอนาคต อภิชัยบอกว่า ยั ง คงต้อ งท� ำ ตั ว ให้เ ป็น แบบอย่า ง และมี โครงการใหม่ที่เริ่มท�ำแล้ว คือการเลี้ยงปลา เลี้ ย งกบ รวมไปถึ ง โครงการเพาะเห็ ด ซึ่ ง ไป เข้า รั บ การอบรมมา และหากส� ำ เร็ จ ก็ จ ะมี ก า ร พั ฒ น า เ ป ็น กิ จ ก ร ร ม ข อ ง ก ลุ ่ม ต ่อ ไ ป ซึ่ ง นั บ เป็น การสร้า งศั ก ดิ์ ศ รี แ ละตั ว ตนของ ผู ้ด อ ้ ยโอกาสให้มี ที่ ยื น ในสั ง คมได้อ ย่า ง ภาคภูมิใจ

เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 67


สุขศาลาค�ำกัง้

บ้านหมู่ที่ 4 และ 10 บ้านค�ำกัง้ ตัง้ อยู่ห่าง จากศูนย์กลางต�ำบลเหล่าใหญ่ ที่นี่อยู่ในเขต ความรั บ ผิ ด ชอบของโรงพยาบาลส่ง เสริ ม สุขภาพต�ำบลบ้านกุดฝั่งแดง แต่ความที่เป็น หมู่บ ้านใหญ่ จึงท�ำให้ที่นี่มีศูนย์บ ริการด้าน สาธารณสุขอยู่ด้วย ภายใต้ชอ ื่ ‘สุขศาลาค�ำกัง้ ’ ซึ่งตั้งอยู่ข้างๆ วัดหอค�ำ ประมวล มุรก ิ า อสม. หมูท ่ ี่ 10 บ้านค�ำกัง้ เล่าให้ฟังว่า ทีน ่ เี่ ป็นศูนย์กลางของอาสาสมัคร สาธารณสุขในหมู่ที่ 4 และ 10 เป็นหน่วย บริ ก ารสาธารณสุ ข มู ล ฐานซึ่ ง มี ช าวบ้า น จ�ำนวนมากแวะเวียนมาหาตลอดทั้งวัน แต่เดิมในปี 2535 ทั้ง 2 หมู่บ้านไม่ได้ รวมตั ว กั น แบบนี้ ท� ำ งานต่า งคนต่า งท� ำ ทว่า ด้ว ยความที่ อสม. ที่ น่ี ไ ม่มี ท่ี ท� ำ งาน ที่เป็นเอกเทศ ต้องอาศัยบ้านผู้ใหญ่บ้านบ้าง บ้านสมาชิกบ้าง ในที่สุดจึงตัดสินใจมารวมตัว กัน โดยสุขาภิบาลมีงบให้หมู่บ้านละ 20,000 บาท รวม 40,000 บาท เพื่อจัดสร้างอาคาร โดยได้รั บ ความอนุ เ คราะห์จ ากเจ้า อาวาส วั ด หอค� ำ ให้พื้ น ที่ มุ ม หนึ่ ง ของวั ด มาก่อ สร้า ง ใช้เวลาสร้างอยู่ 4 ปี แล้วเสร็จในปี 2539 แต่มาเปิดท�ำการจริงในปี 2541 68 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


สมใจ วุฒิสาร

จากนั้นต่อเติมอาคารเรื่อยมา โดยอาศัย เงินบริจาคของภาคประชาชนผ่านการท�ำผ้าป่า สามั ค คี ปัจ จุ บั น สุ ข ศาลาค� ำ กั้ ง มี อ าคารอยู ่ 4 หลัง ใช้เป็นทีอ ่ ยู่ร่วมกันระหว่างสาธารณสุข จั ง หวั ด โรงพยาบาลสมเด็ จ พระยุ พ ราช กุฉินารายณ์ เทศบาลต�ำบลเหล่าใหญ่ และ ประชาชนในพื้นที่ ขณะที่ นาง แสนพวง อสม.หมู่ที่ 10 อีกคน เสริมว่า ทุกวันนี้มี อสม.ประจ�ำการอยู่ 29 คน มี ก ารจั ด เวรการท� ำ งานที่ ชั ด เจน โดยช่ว ง กลางวันจะเป็นเวรของ อสม. ผู้หญิง ครั้งละ 2-3 คน ส่วนผู้ชายจะอยู่เวรกลางคืนผลัดละ 1-2 คน โดยมีกิจกรรมหลักประมาณ 14-15 กิ จ กรรม แต่แ บ่ง ใหญ่ๆ ได้เ ป็น งานปฏิ บั ติ เชิงรุกและรับ “เชิ ง รุ ก ในที่ นี้ ห มายถึ ง การออกเยี่ ย ม ประชาชน ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยติดเตียง ส่วน เชิงรับคือการประจ�ำการอยู่ที่นี่ เพื่อให้บริการ ปฐมพยาบาล ให้ความรู้แก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ และตั้ ง ครรภ์ การตรวจมะเร็ ง เต้า นมด้ว ย ตนเอง รวมไปถึงบริการนวดแผนไทย โดย ที่ นี่ จ ะมี ทั้ ง การอบ ประคบ นวดสมุ น ไพร โดยวันหนึ่งจะมีคนเข้ามาใช้บริการประมาณ

นาง แสนพวง

10-15 คน” นางว่า นอกจากนี้ สุ ข ศาลาค� ำ กั้ ง ยั ง ส่ง เสริ ม ให้ ชุมชนปลูกพืชสมุนไพร เอาผลผลิตมาจ�ำหน่าย และยั ง ท� ำ ลู ก ประคบส่ง ไปที่ โ รงพยาบาล สมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ โดยสิ้นปีจะมี การแบ่งก�ำไรกัน ร้อยละ 80 มอบให้ อสม. ตามระยะเวลาการเข้างาน และอีกร้อยละ 20 เป็นกองกลางส�ำหรับกิจกรรมอย่างอื่น ไม่เ พี ย งเท่า นั้ น ที่ นี่ ยั ง มี ร ะบบเสี ย ง ตามสาย โดยจะมีการเปิดเพลง ด้วยแต่เดิม ที่ สุ ข ศาลาค� ำ กั้ ง มี ช าวบ้า นมารวมตั ว กั น ออกก�ำลังกาย แต่พอถึงหน้านาก็เงียบๆ ไป เพราะคนไม่มีเวลา ภายหลังไม่สานต่อ ก็เลย เงียบหายไป อสม.จึงวางกุศโลบายด้วยการ เปิดเพลงเพือ ่ ชักชวนให้ชาวบ้านออกก�ำลังกาย กันที่บ้าน หรือที่ท้องนา ที่ ส� ำ คั ญ ในช่ว งเช้า เวลา 07.30 09.00 น. ของทุกวันท�ำการ อุดม ยลถวิล ผู ้อ� ำ นวยการโรงพยาบาลส่ง เสริ ม สุ ข ภาพ ต�ำบลกุดฝั่งแดงก็จะมาประจ�ำการเพื่อตรวจ ชาวบ้านด้วย เพราะทีน ่ อ ี่ ยู่ภายใต้การดูแลของ รพ.สต.กุดฝั่งแดง นอกจากนี้ยังมีทีมไม้เลื้อย เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 69


อุดม ยลถวิล

70 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


ซึ่ ง เป็น สหวิ ช าชี พ จากโรงพยาบาลสมเด็ จ พระยุพราชกุฉินารายณ์ และองค์การแพทย์ ไร้พรมแดน ซึ่งท�ำงานด้านโรคเอดส์มาตรวจ ร่างกายและให้ความรู้เป็นประจ�ำทุกเดือนด้วย ก ร ะ นั้ น ผ ล ง า น ที่ ถื อ ว ่า ส ร ้า ง ค ว า ม ภาคภู มิ ใ จให้แ ก่ที ม อสม.ที่ นี่ คื อ การเป็น แกนกลางในการขจัดโรคไข้เลือดออกให้หมด ไปจากพื้นที่ โดยประมวลเล่าว่า ก่อนหน้านี้ บ้านค�ำกัง้ จะมีโรคไข้เลือดออกระบาดทุกปี ซึง่ การแก้ปัญหาคือใช้เครื่องพ่นหมอกควัน และ ทรายอะเบทโรยลงในน�้ำ แต่ก็ไม่สามารถตัด วงจรอุบาทว์นี้ลงได้ สุดท้ายในปี 2546 ทีม อสม.จึงปรึกษากับ ผอ.รพ.สต.กุดฝั่งแดง พร้อม ตั้งกฎชุมชนขึ้นมา 6 ข้อ ประกอบด้วย 1. เจ้าของหลังคาเรือนต้องก�ำจัดลูกน�้ำ ยุงลายด้วยตนเอง 2. เจ้า ของหลั ง คาเรื อ นต้อ งเปลี่ ย นน�้ ำ ทุก 7 วัน 3. เจ้าของหลังคาเรือนต้องอ�ำนวยความ สะดวกให้แก่ อสม. ที่จะมาตรวจทุกวันศุกร์ และคณะผู้ตรวจการ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้น�ำ ชุมชน ประธาน อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข สุ่มตรวจเป็นประจ�ำทุกเดือน 4. ถ้า หลั ง ไหนตรวจพบลู ก น�้ ำ ยุ ง ลาย

ต้องเสียค่าปรับ 20 บาท แต่ถ้าเป็นบ้านของ ผู้น�ำ เช่น ข้าราชการ ผู้ใหญ่บ้าน หรือ อสม. ปรับหนัก 50 บาท 5. ถ้าหลังไหนตรวจพบลูกน�้ำยุงลาย จะมี การประกาศผ่านเสียงตามสาย เพื่อเป็นการ บอกกล่าวประชาชนว่าพื้นที่นี้ยังไม่ปลอดภัย 6. ถ้าเจ้าของหลังคาเรือนใดท�ำปฏิกิริยา ไม่ดี เช่น ส่อเสียด ดูถูกผู้ที่มาตรวจสอบ อสม. มี สิ ท ธิ์ เ ส น อ ชื่ อ เ จ า้ ข อ ง ห ลั ง ค า เ รื อ น ใ ห ้ นายอ�ำเภอรับทราบ หลั ง จากร่า งกฎนี้ แ ล้ว ก็ น� ำ ไปถามใน ที่ประชุมประชาคมว่าเห็นด้วยไหม ปรากฏว่า ทุ ก คนเห็ น ด้ว ยและด� ำ เนิ น การตามอย่า ง เคร่งครัด ปรากฏว่าไข้เลือดออกหยุดระบาด ทันที และเป็นอย่างนี้ต่อเนื่องมาอีก 9 ปี จน ปี 2556 ที่ทีม อสม.อาจจะเผอเรอไปบ้าง ไข้เ ลื อ ดออกจึ ง กลั บ มา ต้อ งกลั บ ไปใช้วิ ธี พ่นหมอกควัน ทรายอะเบท หมดเงินไปเกือบ แสนบาท ทางกลุม ่ จึงท�ำประชาคมกันใหม่ว่า จะน�ำกฎชุมชนนี้มาบังคับใช้จริงจังอีกครั้ง ซึ่ง ประชาชนในพื้ น ที่ ต ่า งยกมื อ สนั บ สนุ น ด้ว ย คะแนนเอกฉันท์ เพื่อท�ำให้บ้านค�ำกั้งกลับมา เป็น หมู ่บ ้า นที่ ป ราศจากโรคไข้เ ลื อ ดออก อีกครั้งหนึ่ง เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 71


การศึกษา ‘วิชาชีวิต’ Education

72 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


การเติบโตนัน ้ มีอะไรมากกว่าแค่การศึกษา หากแต่เ ป็น การทดลอง เรี ย นรู ้ สั่ ง สม ประสบการณ์ ซึง่ เพียงต�ำราอย่างเดียวไม่อาจ ท�ำให้เยาวชนเป็นผูใ้ หญ่ที่มีคุณภาพ จ�ำเป็น ต้อ งมี กิ จ กรรมส่ง เสริ ม ประสบการณ์ค วบคู ่ กั น ไป บ้า งเล่น กี ฬ า บ้า งช่ว ยพ่อ แม่ท� ำ งาน บ้างก็เป็นกิ จกรรมส่งเสริมทักษะในโรงเรียน ทั้ ง หมดทั้ ง มวลผสมผสานกั น อย่า งลงตั ว ถึงจะหล่อหลอมคนคนหนึ่งให้เต็มคนได้ และ ไม่แน่ว่า สิง่ ทีอ ่ ยู่นอกเหนือต�ำราเหล่านี้ อาจจะ เป็นอนาคตของพวกเขาก็เป็นได้ ใครจะรู้

เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 73


สหกรณ์ โรงเรียนเหล่าใหญ่ฯ วิชาความรู้เป็นสิง่ ส�ำคัญ แต่ประสบการณ์ ก็ ส� ำ คั ญ ไม่ยิ่ ง หย่อ นไปกว่า กั น ที่ โ รงเรี ย น เหล่า ใหญ่ว นาสณฑ์ผ ดุ ง เวทย์ มี กิ จ กรรม ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ผ่านระบบการเงิน ทีน ่ ่าสนใจ เพราะทีน ่ ม ี่ ส ี หกรณ์ตงั้ อยู่ถงึ 2 แห่ง แห่งหนึ่งเป็นสหกรณ์ร้านค้า ชื่อ ภูดิน ส่วน อีกแห่งเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ ชื่อ คนภู โดย แต่ละแห่งมีเงินหมุนเวียนในหลักแสนบาท ปานทอง สุไชยชิต ผู้อ�ำนวยการโรงเรียน ย้อนรอยให้ฟังว่า สหกรณ์ร้านค้านั้นเริ่มขึ้น ก่อ น ตั้ ง แต่ป ี 2520 ท� ำ หน้า ที่ เ ป็น ร้า นค้า ส� ำ หรั บ ซื้ อ และขายสิ น ค้า ที่ จ� ำ เป็น ส� ำ หรั บ นักเรียนและครู จนกระทั่งปี 2542 ที่เขาย้าย มาเป็นผู้อ�ำนวยการเลยคิดว่าน่าจะมีการออม เพิ่ ม ขึ้ น มา เพื่ อ ปลู ก ฝัง ให้เ ด็ ก รู ้จั ก ประหยั ด อดออมเงินไว้ส�ำหรับอนาคต สหกรณ์รา้ นค้าเปิดให้ทงั้ เด็กและครูซอ ื้ หุ้น หุ้นละ 10 บาท ไม่เกิน 200 หุ้น ส่วนสหกรณ์ ออมทรัพย์จะใช้วิธีให้เด็กและครูเปิดบัญชีกับ สหกรณ์ สามารถฝากออมได้ไม่จ� ำกั ด โดย ไม่ได้มีการบังคับแต่อย่างใด การบริหารงานของแต่ละสหกรณ์จะมีครู เป็นที่ปรึกษากลุ่มละ 5 คน และมีนักเรียนเป็น กรรมการ โดยสหกรณ์อ อมทรั พ ย์มี 5 คน หมุนเวียนกันท�ำงานคนหนึ่งสัปดาห์ละ 3 วัน ส่วนสหกรณ์ร้านค้ามีนักเรียนเป็นกรรมการ 11 คน เป็นพนักงานขายและตรวจนับสินค้า วันละ 2 คน ส่วนอีกคนเป็นพนักงานลงบัญชี 74 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน

แต่ละสหกรณ์จะเปิดท�ำการเป็นกะ คือ ช่วงเช้า 07.00-08.00 น. และช่วงเที่ยง 11.30-12.30 น. โดยในส่วนของสหกรณ์ ออมทรั พ ย์จ ะมี บ ริ ก ารฝากถอนเป็น หลั ก ฝากขั้นต�่ำ 5 บาท ฝากวันหนึ่งกี่ครั้งก็ได้ โดย ถ้า เป็น เด็ ก เล็ ก บางที ค รู ป ระจ� ำ ชั้ น จะเป็น ผู้รวบรวมเงินแล้วน�ำส่งให้สหกรณ์ออมทรัพย์ โ ด ย เ ด็ ก แ ล ะ ค รู แ ต ่ล ะ ค น จ ะ มี ส มุ ด บั ญ ชี ประจ�ำตัวอยู่ และหากเด็กคนไหนจะถอนเงิน ต้องให้อาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมลงชื่อรับรอง “เราจะถามเหตุ ผ ลเด็ ก ว่า จะถอนเงิ น ไป ท�ำอะไร บางคนก็บอกว่าครูให้ทำ� บุญแห่เทียน เข้า พรรษา ก็ เ ลยถอน วั น นี้ ค รู ใ ห้ซื้ อ สมุ ด แบบฝึกหัด บางคนก็ไปซื้อรองเท้าถุงเท้า คือ ต้องถามเหตุผลว่าสมควรหรือไม่ ถ้าไม่สมควร ก็จะไม่อนุญาตให้ถอน แต่ถ้าสมมติผู้ปกครอง ลงมายื น ยั น ว่า จะถอนด้ว ย แบบนี้ ไ ม่ต ้อ ง ถามเหตุ ผ ล เพราะเราเชื่ อ ใจในผู ้ป กครอง แต่ใ นกรณี ที่ นั ก เรี ย นเรี ย นจบ โรงเรี ย นจะ บั ง คั บ ให้ถ อนหุ ้น และเคลี ย ร์บั ญ ชี ทั้ ง หมด” รัศมี โสภาคะยัง หนึ่งในอาจารย์ที่ปรึกษา สหกรณ์ร้านค้า และเคยเป็นทีป ่ รึกษาออมทรัพย์ มาก่อน อธิบาย ขณะที่ ยุพาพร ซองศิริ อาจารย์ทป ี่ รึกษา สหกรณ์อ อมทรั พ ย์ เล่า ถึ ง การใช้เ งิ น ของ สหกรณ์ออมทรัพย์ ปัจจุบน ั สหกรณ์มส ี น ิ ทรัพย์ หมุนเวียนอยู่ที่ 936,441 บาท โดยในจ�ำนวน นี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามความเหมาะสม


ยุพาพร ซองศิริ

ปานทอง สุไชยชิต

รัศมี โสภาคะยัง

ฉวีวรรณ์ บาลศรี เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 75


76 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


ส่วนหนึ่งคือเงินส�ำรองที่อาจารย์ที่ปรึกษาจะ กันไว้เพื่อบริการผู้ถอน ด้วยบางทีผู้ปกครอง บางคนถอนเงิ น เป็น หมื่ น ซึ่ ง จะมี ก ารคิ ด ดอกเบี้ยให้คนที่ออมประมาณร้อยละ 6 ต่อปี โดยทางโรงเรี ย นใช้โ ปรแกรมของโครงการ ยุวเกษตรกรคิดเป็นจ�ำนวนเงินส�ำเร็จให้เลย อี ก ส ่ว น น� ำ ไ ป ฝ า ก ธ น า ค า ร พ า ณิ ช ย ์เ พื่ อ กินดอกเบี้ย ส่วนสุดท้ายน�ำไปลงทุนต่อ โดยอนุญาตให้ ผู้ปกครองของนักเรียนหรือครูทม ี่ บ ี ญ ั ชีเงินฝาก น�ำไปกู้ลงทุนได้ คิดดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปี เพดานสูงสุดต่อคนอยู่ที่ 40,000 บาท และ ต้องคืนก่อนปิดภาคเรียน เพราะช่วงนั้นจะมี การปันผล “ก�ำไรสุทธิแต่ละปี จะแบ่งเป็นทุนส�ำรอง ร้อ ยละ 40 ทุ น ขยายกิ จ การร้อ ยละ 25 ทุ น การศึ ก ษาสมาชิ ก ร้อ ยละ 10 ค่า บ� ำ รุ ง โรงเรี ย นร้อ ยละ 10 และเป็น ค่า ตอบแทน คณะกรรมการอีกร้อยละ 15” ยุพาพรเล่า ขณะที่สหกรณ์ร้านค้า ฉวีวรรณ์ บาลศรี อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ บอกว่า ปัจจุบัน สหกรณ์นี้มีเงินหมุนเวียนอยู่ที่ 103,250.88 บาท โดยสินค้าในร้านจะเกีย ่ วพันกับการศึกษา และสินค้าที่อยู่ในความต้องการของนักเรียน เ อ ง โ ด ย ใ น ช ่ว ง ป ล า ย ป ีก า ร ศึ ก ษ า จ ะ มี

การจั ด สรรก� ำ ไรสุ ท ธิ ใ ห้ดั ง นี้ คื อ เฉลี่ ย คื น ยอดซื้ อ ร้อ ยละ 40 ปัน ผล ร้อ ยละ 30 ค่าตอบแทนกรรมการ ร้อยละ 15 ทุนส�ำรอง ร้อยละ 8 ทุนขยายกิจการ ร้อยละ 5 และ ค่าบ�ำรุงโรงเรียน ร้อยละ 2 ทั้งนี้สหกรณ์ทั้ง 2 กลุ่ม รัศมีบอกว่าจะมี ระบบการตรวจสอบที่เด่นชัด ตั้งแต่กรรมการ และครูที่ปรึกษาจะมีการสับเปลี่ยนทุกปี แต่ อาจจะมี บ ้า งส� ำ หรั บ บางคนที่ ท� ำ งานดี เ ยี่ ย ม ก็ได้รับโอกาสท�ำต่อ โดยสหกรณ์ร้านค้าจะใช้ เด็ ก ชั้ น ประถมศึ ก ษาปีที่ 5 และ 6 เป็น กรรมการ ส่วนสหกรณ์ออมทรัพย์จะใช้เด็ก ชัน ้ มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ท�ำงาน เพราะเป็นงาน ที่ ล ะ เ อี ย ด ก ว ่า ต ้อ ง ใ ช ้ค น ที่ มี วุ ฒิ ภ า ว ะ พอสมควร “ที่ส�ำคัญในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจะมี การเรียนการสอนเรือ ่ งสหกรณ์ด้วย การท�ำงาน ตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมการหรือผู้ฝาก-ถอน จึงเท่ากับว่าได้เรียนรู้เรือ ่ งการเงินโดยปริยาย” ฉวีวรรณ์ว่า นั บ เ ป ็น ก า ร เ รี ย น รู ้ที่ ดี แ ล ะ รั บ ร อ ง ประสิทธิผลจากการได้ปฏิบัติงานจริง ทั้งยัง ส่งเสริมให้เด็กเข้าถึงการออม อันจะเป็นหัวใจ ส�ำคัญในการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคต เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 77


ศูนย์เด็กเล็กแสงส่องหล้า 9

78 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


ช่ว งเช้า สายเที่ ย งบ่า ย เด็ ก ๆ ร้อ งไห้ กระจองอแง เพราะพ่อแม่ต้องออกไปท�ำงาน นอกบ้าน บางคนถูก ปล่อยทิ้งให้อ ยู่กับ ปู่ย ่า ตายาย ด้วยเหตุนี้ ในปี 2524 ผู้นำ� หมู่บ้าน และชาวบ้านจึงรวบรวมเงินทุน เพื่อตั้งศูนย์ เลี้ยงเด็กขึ้น โดยขอใช้สถานที่ของศูนย์สภา ต�ำบล หน้าวัดหอไตร แต่การตั้งศูนย์นี้ไม่ใช่ เรือ ่ งง่ายอย่างทีค ่ ด ิ ด้วยความไม่พร้อมของตัว สถานที่ บุคลากร ตลอดจนการขาดหน่วยงาน สนับสนุน ท�ำให้ศูนย์นี้ไม่อาจด�ำเนินการได้ กระทั่งปี 2527 ผู้น�ำและชาวบ้านไม่ละ ความพยายาม ได้ทำ� การรือ ้ ฟื้นศูนย์เด็กเล็กขึน ้ มาใหม่ โดยย้ายมาอยู่ที่มุมทางทิศเหนือของ โรงเรี ย นเหล่า ใหญ่ว นาสณฑ์ผ ดุ ง เวทย์แ ทน โดยได้รับงบสนับสนุนจากโครงการสร้างงาน ในชนบท 170,000 บาท ตั้งชื่อว่า “ศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กบ้านเหล่าใหญ่” โดยมีทงั้ กลุ่มผู้ ปกครองและครูอก ี 2 คน เป็นอาสาสมัครคอย ช่ว ยประคั บ ประคองมาตลอดหลายปี ทว่า ด้ว ยความที่งานนี้เป็นจิตอาสา ในที่ สุด ครู ก็ ขอลาออกไป ทางคณะกรรมการศู น ย์ซึ่ ง ประกอบด้วยก�ำนันและผู้ใหญ่บ้าน จึงหาจิต

อาสามาทดแทน จนสุดท้ายได้จต ิ อาสามาร่วม งาน 4 คน ในปี 2535 ยุ พิ น เจริ ญ สุ ข รั ก ษาการหั ว หน้า ศู น ย์ พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนแสงส่องหล้า 9 ซึง่ เป็น 1 ใน 4 จิตอาสาชุดที่ 3 เล่าว่า ตอนนัน ้ ในพืน ้ ที่ ไม่มีศูนย์เด็กเล็กเลย และจ�ำนวนเด็กก็มีเยอะ มาก ราวๆ 70-80 คน ช่วงนัน ้ ครูได้รบ ั ค่าแรง จากเงินบริจาคของผู้ปกครอง จ�ำนวน 700 บาท ส่วนอาหารกลางวันเด็กก็ไม่มีให้บริการ ผู้ปกครองต้องห่อข้าวมาให้เอง กระทั่งช่วงปี 2540 นี้ เ องที่ ศู น ย์เ ด็ ก เล็ ก แห่ง นี้ ไ ด้รั บ การ สนับสนุนค่าตอบแทน ค่าอาหารกลางวัน และ อาหารเสริม (นม) จากกรมพัฒนาชุมชน ท�ำให้ ครูจิตอาสามีรายได้เพิ่มขึ้นและมั่นคงขึ้น “ในช่วงปี 2542 อาคารศูนย์เด็กเล็กเริ่ม ผุพังตามสภาพ หลายคนหวั่นเกรงอันตราย ที่จะเกิดกับลูกหลาน จึงของบสนับสนุนไปยัง องค์การบริหารส่วนต�ำบลเหล่าใหญ่ แต่กไ็ ม่ได้ รับการตอบรับ ครูจงึ ปรึกษากับคณะกรรมการ ศูนย์และผู้น�ำชุมชนว่าจะท�ำอย่างไรดี ในที่สุด ทั่ง กุลเสนชัย ประธานคณะกรรมการศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก และคณะกรรมการศูนย์ ก็ได้ เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 79


ท� ำ โครงการเสนอเพื่อขออนุมั ติ ง บประมาณ ใ น ก า ร ส ร ้า ง อ า ค า ร ศู น ย ์พั ฒ น า เ ด็ ก เ ล็ ก กราบทูลไปยังสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หลังจากราชเลขานุการฯ น�ำความกราบบังคมทูลแล้ว ก็ได้รบ ั อนุมต ั เิ มือ ่ วันที่ 21 กรกฎาคม 2543 ก่อนส่งเรื่องต่อ ไปยังชมรมแสงส่องหล้า ซึง่ ท�ำกิจกรรมในเรือ ่ ง เด็ ก ด้อ ยโอกาสอยู ่ใ ห้ช ่ว ยหาทางสนั บ สนุ น ” ยุพินเล่า ที่สุด คุณหญิงสุภัทรา ตันติพิพัฒน์พงศ์ ป ร ะ ธ า น ช ม ร ม แ ส ง ส ่อ ง ห ล า้ ก็ ใ ห ้ค ว า ม อนุเคราะห์ด้วยการประสานงานและระดมทุน จนได้งบประมาณมา 300,000 บาท และ ส ม เ ด็ จ พ ร ะ เ ท พ รั ต น ร า ช สุ ด า ฯ ก็ ท ร ง พระราชทานนามให้ใ หม่ว ่า “ศู น ย์พั ฒ นา เด็กเล็กก่อนวัยเรียนแสงส่องหล้า 9” แต่ทั้งนี้ ก็ ยั ง ไม่เ พี ย งพอต่อ การสร้า งอาคารให้ค รบ สมบูรณ์ ชาวบ้านหมู่ที่ 1, 7 และ 8 จึงช่วย ระดมทุนอีกแรง ผ่านการท�ำผ้าป่าสามัคคี จน ได้อาคารขนาด 3 ห้อง และช่วยกันพัฒนาขึ้น 80 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน

เรื่อยๆ จนสมบูรณ์พร้อมในปี 2545 การถือก�ำเนิดของศูนย์เด็กเล็กแห่งนี้ได้ จุดประกายให้เกิ ดการพัฒนาศูนย์ต่างๆ อีก หลายแห่ง จนทุ ก วั น นี้ มี ศู น ย์เ ด็ ก เล็ ก อยู ่ใ น ต�ำบลเหล่าใหญ่ถึง 6 แห่งด้วยกัน “ปี 2547 ตามนโยบายของกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิน ่ ศูนย์เราได้รบ ั การถ่ายโอน มาอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การบริหารส่วน ต�ำบลเหล่าใหญ่ ซึ่งทางกรมฯ อุดหนุนงบด้าน อาหารกลางวั น นม สื่ อ การเรี ย นการสอน รวมไปถึงเงินเดือนของครูด้วย ขณะเดียวกัน ทาง อบต.ก็ช่วยซ่อมแซมอาคารที่ผุพังตาม กาลเวลา” ยุพินเล่า ปัจจุบันศูนย์ฯ แห่งนี้มีเด็กอยู่ในการดูแล 51 คน จาก 3 หมู ่บ ้า น แบ่ง เด็ ก ออกเป็น 3 ระดับคือ ปฐมวัย 2 ขวบ เตรียมอนุบาล 1 วัย 3 ขวบ และเตรียมอนุบาล 2 วัย 4 ขวบ โดยวิธก ี ารสอนและการดูแลจะต่างกันไป หาก เป็นปฐมวัย ส่วนมากจะมีปู่ย่าตายายเข้ามา ช่วยดูแลในเบื้องต้น เพราะเด็กยังไม่คุ้นกับครู


ยุพิน เจริญสุข

กิ จ กรรมไม่มี อ ะไรมาก หลั ก ๆ จะให้เ ล่น ของเล่น ส่วนเตรียมอนุบาล 1 เริ่มมีการสอน ขีดเขียน และเตรียมอนุบาล 2 สอนเขียนตาม เส้น สอนการอ่านหนังสือ ก. ข. ค. ขณะเดียวกัน ผู้ปกครองก็ยงั มีส่วนในการ ช่วยเหลือ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะ ด้า นการเงิ น เพื่ อ ปรั บ ปรุ ง ซ่อ มแซมอาคาร มีการชักชวนปราชญ์ชาวบ้านมาอ่านหนังสือ นิ ท านให้เ ด็ ก ฟัง มี ก ารส่ง เสริ ม ให้เ ด็ ก ปลู ก พืชผักสวนครัว ทัง้ บวบ ฟักทอง ต้นกล้วย เพือ ่ ให้เขาช่วยเหลือตัวเอง และล่าสุดทางส�ำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดโครงการธนาคารหนังสือ เพื่อส่งเสริม การอ่าน พร้อมมีการอบรมครูและผู้ปกครอง ว่า จะอ่า นหนั ง สื อ ให้เ ด็ ก ฟัง อย่า งไรถึ ง จะ เหมาะสม ขณะทีค ่ รูเองก็มก ี ารแบ่งงบการเรียน การสอนไปซือ ้ หนังสือบ้าง ผู้ปกครองบริจาคบ้าง คงจะไม่ผิดนักหากบอกว่า ศูนย์เด็กเล็ก แห่งนี้เกิดขึ้นมาจากความร่วมไม้ร่วมมือของ คนในชุมชนอย่างแท้จริง เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 81


ศูนย์ ICT โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 35

เมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว ค�ำว่าอินเทอร์เน็ตเป็น ที่ คุ ้น เคยส� ำ หรั บ คนในเมื อ งใหญ่ แต่ค นใน ชนบทมีน้อยคนนักที่เข้าถึง ครั้นเมื่อมีโอกาส โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 35 (ค�ำกั้ง) จึงไม่รีรอที่ จะน�ำสือ ่ การเรียนรู้ไร้พรมแดนนีเ้ ข้ามาในพืน ้ ที่ ก� ำ จั ด คะโยธา ผู ้อ� ำ นวยการโรงเรี ย น ไทยรัฐวิทยา 35 คนปัจจุบน ั และ รัตนชิต ศรีหลิง่ ครู ช� ำ นาญการพิ เ ศษ เล่า ว่า เมื่ อ ปี 2550 โรงเรี ย นได้รั บ การประเมิ น จากส� ำ นั ก งาน รั บ ร อ ง ม า ต ร ฐ า น แ ล ะ ป ร ะ เ มิ น คุ ณ ภ า พ การศึกษา (องค์การมหาชน) ซึง่ มีข้อเสนอแนะ ว่าควรจะพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น สวั ส ดิ์ กุ ล กั้ ง ผู ้อ� ำ นวยการโรงเรี ย น ในเวลานั้ น ก็ เ ห็ น ดี ด ้ว ย ประจวบกั บ ทาง โรงเรียนไทยรัฐวิทยามีเครือข่ายอยูท ่ วั่ ประเทศ จึงสบโอกาสในการประชุมระดับผู้บริหารของ มูลนิธิโรงเรียนไทยรัฐวิทยาทั้ง 101 โรง จนได้ เสนอความคิดเรื่องศูนย์ไอซีทีในโรงเรียนต่อ วิเชียร โพชนุกูล เลขาธิการมูลนิธิฯ ซึ่งก็มี 82 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน

การประสานต่อ ไปยั ง กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร จนกระทั่ง 3 ปี ถัดมา โรงเรียนก็ได้รับแจ้งจากกระทรวงว่า จะมาติดตั้งศูนย์เรียนรู้ไอซีทีโดยชุมชนให้ ตามเงื่ อ นไขของกระทรวงฯ ระบุ ว ่า ศูนย์นี้ไม่ใช่ของโรงเรียนเท่านั้น แต่เป็นศูนย์ การเรียนรู้ของชุมชน โดยมีการระบุพื้นที่ของ ห้องว่าต้องมีขนาด 6x8 เมตรเป็นอย่างน้อย มีเจ้าหน้าทีค ่ อยดูแลอยู่เสมอ ซึง่ เจ้าหน้าทีก ่ ค ็ อ ื ครูรัตนชิตนั่นเอง “ผมต้องเข้าอบรม 6 วัน เกีย ่ วกับการดูแล เครื่องและการให้บริการ ขณะที่ทางโรงเรียน ตัดสินใจแบ่งครึ่งพื้นที่ห้องสมุดเดิมเพื่อสร้าง เป็นศูนย์ไอซีที จนได้รบ ั การส่งมอบคอมพิวเตอร์ ให้ 15 เครื่ อ ง พร้อมกับ มีก ารจัดอบรมคน ในพื้นที่จ�ำนวน 75 คน โดยเชิญผู้น�ำในชุมชน ทั้ ง ต� ำ บลมาเข้า ร่ว มอบรม ขณะที่ เ ทศบาล ต� ำ บ ล เ ห ล ่า ใ ห ญ ่มี ง บ อุ ด ห นุ น ใ ห ้ศู น ย ์นี้ 10,000 บาท” รัตนชิตเล่า


ก�ำจัด คะโยธา

ปัจจุบัน ศูนย์ไอซีทีนี้ เปิดบริการทุกวัน ห า ก เ ป ็น ค น น อ ก โ ร ง เ รี ย น คิ ด ค ่า บ ริ ก า ร ชั่ ว โมงแรก 8 บาท สองชั่ ว โมง 15 บาท อย่า งไรก็ ดี ต ้อ งยอมรั บ ว่า ในช่ว งแรกยั ง มี ปัญหาขลุกขลักหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น สัญญาณอินเทอร์เน็ตทีย ่ งั ไม่ค่อยดี มาช่วงหลัง ดีขึ้นหน่อยเพราะทีโอทีเข้ามาตั้งเสาให้ ท�ำให้ เด็ ก ได้เ รี ย นรู ้ และฝึก ใช้อิ น เทอร์เ น็ ต อย่า ง สร้างสรรค์ ตั ว อย่างที่เห็นชัด ก็คือโครงการพั ฒนา การอ่านด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ในปี 2554 ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมให้เด็กสร้างงานผ่าน โปรแกรมไมโครซอฟต์พ าวเวอร์พ อยต์ ซึ่ ง โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากส�ำนักงาน ส่ง เสริ ม สั ง คมแห่ง การเรี ย นรู ้แ ละพั ฒ นา คุณภาพเยาวชนในวงเงิน 50,000 บาท มี การพัฒนาต่อเนื่องมาเป็นล�ำดับ จนปี 2556 ครูรต ั นชิตในฐานะผู้แทนก็ได้รบ ั รางวัล OBEC AWARD หรือรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. ชนะเลิศ เหรี ย ญทอง ซึ่ ง มอบรางวั ล ให้แ ก่ผ ลงาน

รัตนชิต ศรีหลิ่ง

หนั ง สื อ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์เ รื่ อ ง ‘กลุ ่ม ประเทศ อาเซียน’ “ตอนนีเ้ ด็กๆ เชีย่ วชาญเรือ ่ งพาวเวอร์พอยต์ มาก เวลาไปร่วมกลุ่มท�ำอี-บุ๊คก็ได้รางวัลกลับมา ตลอด อย่างล่าสุดมีการแข่งขันในกลุ่มโรงเรียน ไทยรัฐวิทยา ก็ได้รางวัลชนะเลิศ เวลาคนมา ดูงาน อย่าง สสส. เด็กก็สามารถสร้างงานให้ดู ได้เ ลย เป็น การดึ ง ความรู ้ม าท� ำ เป็น เรื่ อ ง เป็นราว” ครูรัตนชิตกล่าว ขณะที่ ชุ ม ชนและท้อ งถิ่ น ถึ ง จะไม่ไ ด้ ใช้บ ริ ก ารมากนั ก เมื่ อ เที ย บกั บ นั ก เรี ย น แต่ ที่ผ่านมาทั้งเทศบาลหรือภาคีเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาชีพต่างๆ ทีอ ่ ยากจะน�ำเสนอ ผลงานของตัวเอง ก็ได้เข้ามาใช้ศูนย์แห่งนี้ใน การพิมพ์งาน พิมพ์เอกสารส�ำคัญอย่างต่อเนือ ่ ง อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลัง เมือ ่ อินเทอร์เน็ตเริม ่ เข้าถึงพื้นที่มาก อัตราการมาใช้บริการที่นี่จึง น้อ ยลงไปด้ว ย แต่นั่ น ก็ ไ ม่ส� ำ คั ญ เพราะ กลุ่มเป้าหมายอย่างเด็กในโรงเรียนยังคงได้ เรียนรู้อย่างเต็มที่ เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 83


วัฒนธรรมดี... ชีวิตก็ดีตาม

Culture

ต� ำ บลเหล่า ใหญ่โ ดดเด่น ด้วยวัฒนธรรมภูไท ซึง่ ชาวบ้าน ที่นี่ก็ภูมิใจในความเป็นคนภูไท และพยายามอย่างยิง่ ทีจ่ ะรักษา วัฒนธรรมของตัวเองให้คงอยู่ ไปชั่วลูกชั่วหลาน 84 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 85


สภาวัฒนธรรม ถึงต�ำบลเหล่าใหญ่จะมีความโดดเด่นด้าน วัฒนธรรมภูไทซึง่ สืบสานมานานหลายช่วงอายุ คน แต่ด้วยกระแสโลกาภิวัตน์ที่ไหลบ่าเข้ามา จากภายนอกได้ส ร้า งความสั่ น สะเทื อ นไป พอสมควร ฉะนั้นเมื่อกระทรวงวัฒนธรรมมีแนวทาง ให้จั ด หวั ด ต่า งๆ จั ด ตั้ ง สภาวั ฒ นธรรมขึ้ น ตามพระราชบั ญ ญั ติ วั ฒ นธรรมแห่ง ชาติ พุทธศักราช 2553 และให้ตงั้ ไล่มาจนถึงระดับ อ�ำเภอ และต�ำบลด้วย เทศบาลเหล่าใหญ่จึง ตอบรับแนวคิดทันที โดยสภาวัฒนธรรมได้รับ การอุ ด หนุ น งบประมาณรายปีจ ากองค์ก ร ปกครองส่ว นท้อ งถิ่ น จากงบในส่ว นของ วั ฒ นธรรม การศึ ก ษา และพั ฒ นาคุ ณ ชี วิ ต ไม่เกินร้อยละ 3 ของงบประมาณทั้งหมด “คิดเป็นตัวเงินก็ตกราวแสนกว่าบาทต่อปี” พรพรรณ แก้ว ค� ำ ภา ปลั ด เทศบาลต� ำ บล เหล่าใหญ่ ว่า กระนั้นก่อนหน้าที่มีนโยบายของรัฐบาล เรื่องการจัดตั้งสภาวัฒนธรรม ที่นี่เองก็มีการ 86 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน

สนับสนุนในรูปแบบขององค์กรเช่นกัน แต่ยัง ไม่เด่นชัดเท่า คือมีการเชิญคนในชุมชนเข้ามา มีส่วนร่วม ขอแรงจากชุมชน อย่างกิจกรรมที่ ถื อ เป็น หมุ ด หมายส� ำ คั ญ คื อ กิ จ กรรมลงข่ว ง เข็นฝ้าย ซึ่งมีการใช้พื้นที่ลานโล่งให้คนหนุ่ม คนสาวได้มีโอกาสพบปะเจอะเจอกัน ทั้งนี้เมื่อเกิดสภาวัฒนธรรม บทบาทก็มี ความชัดเจน โดยนอกจากจะส่งเสริมความรู้ ด้า นวั ฒ นธรรมแก่ค นในพื้ น ที่ แ ล้ว เพ็ ญ ศรี นิลสม ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา เทศบาลต�ำบล เหล่าใหญ่ เล่าว่า สภาวัฒนธรรมยังต้องเข้าไป ช่วยจัดงานต่างๆ “โดยเฉพาะในงานบุญ 12 เดือน ไม่ว่าจะ เป็นงานบุญเดือนสี่ หรืองานบุญผะเหวด ซึ่ง เป็นงานบุญทีจ่ ะมีการสวดเทศน์มหาชาติเรือ ่ ง พระเวสสันดรให้จบภายในวันเดียว งานบุญ บั้งไฟ ซึ่งจัดช่วงเดือนหก โดยบางปีเทศบาลก็ เป็นผู้อด ุ หนุนเรือ ่ งงบประมาณ แต่ในปี 2558 นี้ ไ ด้ท� ำ ข้อ ตกลงกั บ อ� ำ เภอกุ ฉิ น ารายณ์” เพ็ญศรีขยายความ


นอกจากนั้นยังมีงานลงข่วงเข็นฝ้าย เข้า พรรษา ออกพรรษา บุ ญ ข้า วจี่ เ ดื อ นสาม บุ ญ คุ ้ม ข้า ว ซึ่ ง เทศบาลเข้า ไปเป็น ส่ว นหนึ่ ง หรือพิธีกวนข้าวทิพย์ ที่พนักงานเทศบาลจะมี การเรี่ ย ไรเงิ น ซื้ อ อุ ป กรณ์ไ ปท� ำ บุ ญ ร่ว มกั น ถือเป็นความร่วมมืออย่างดีระหว่างประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้เป้าหมายของสภาวัฒนธรรม ก็เพื่อ ให้วั ฒ นธรรมยั ง คงได้รั บ การสื บ ทอดอย่า ง ถู ก ต้อ งตามประเพณี เพราะเมื่ อ ก่อ นเวลา ชาวบ้านไปท�ำงานต่างถิน ่ เมือ ่ กลับเข้ามาก็มก ั จะเอาวัฒนธรรมถิ่นอื่น ติดเข้ามาด้วย ท�ำให้ วั ฒ นธรรมดั้ ง เดิ ม เปลี่ ย นรู ป ไป นี่ ยั ง ไม่ร วม ไปถึงวัฒนธรรมจากโลกาภิวัตน์ผ่านสื่อต่างๆ จากการส่งเสริมวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้เทศบาลต�ำบลเหล่าใหญ่ ได้รับรางวัล อปท. ดี เ ด่น ด้า นวั ฒ นธรรมของจั ง หวั ด กาฬสินธุ์ จากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิน ่ ถึง 2 ปีซ้อน คือในปี 2555 และ 2556 ยืนยัน ถึงความส�ำเร็จในการส่งเสริมวัฒนธรรมให้ยัง คงอยู่ในพื้นที่นี้ด้วยความมั่นคง เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 87


วงดนตรีภูไท

88 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


ธาดา ลัทธิ

ชัยวัฒน์ ใจศิริ

ยามเย็นของวันที่เดินทางไปถึงนั้น ทาง เทศบาลได้ดั ด แปลงลานว่า งหลั ง อาคาร เทศบาลให้เ ป็น ลานกิ จ กรรม มี เ วที พ ร้อ ม พระอาทิตย์ยงั ไม่ทน ั ตกดี เยาวชน 6 ชีวต ิ ก�ำลัง บรรเลงเสียงเพลงเร้าให้คนเข้าร่วมงาน คน พื้ น ถิ่ น หลายคนเปลี่ ย นชุ ด ที่ ส วมใส่เ ป็น ชุ ด พื้นเมืองภูไท บรรยากาศโดยรอบสนุกสนาน รออีกไม่นานแขกจากต่างถิ่นที่เดินทางมาร่วม เรี ย นรู พ ้ ื้ น ที่ ต� ำ บลเหล่า ใหญ่ก็ จ ะมาพร้อ ม หน้าที่ลานแห่งนี้ ย้อนกลับไปเมือ ่ เดือนสิงหาคม 2554 เด็ก หนุ่มชัน ้ มัธยมศึกษาตอนปลายนาม อายุวฒ ั น์ คนใจบุญ ลูกหลานภูไทแท้ๆ ซึ่งมีความสนใจ ในเสี ย งดนตรี พื้ น ถิ่ น เป็น ทุ น เดิ ม ได้ชั ก ชวน เพือ ่ นฝูงอีก 3 คน ให้ลองหาประสบการณ์ชวี ต ิ ด้ว ยเห็ น ว่า ในช่ว งนั้ น ที่ ต� ำ บลเหล่า ใหญ่มี วงดนตรีของผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งมักจะแสดงในงาน ประจ�ำปีต่างๆ จึงเข้าไปฝากเนื้อฝากตัวเป็น ลูกศิษย์คณ ุ ตาเหล่านัน ้ ฝึกไปฝึกมาจนช�ำนาญ “คุ ณ ตาให้เ ครื่ อ งดนตรี ทั้ ง กลองพิ ณ กลองโซโล่ พวกเราจึงรวมตัวเป็น ‘วงกลอง ยาว’ ซ้อมกันแถวบ้านหลังเลิกเรียนทุกวัน จน มีคนสนใจเพิ่ม ขอร่วมผสมโรงด้วย สมาชิกจึง งอกเงยขึ้นเป็น 12 คน มาจากทั้งหมู่ที่ 1, 7 และ 8” อายุวัฒน์เล่า เมื่อเป็นที่รู้จักของผู้คนในต�ำบล ประกอบ กั บ วงผู เ้ ฒ่า เริ่ ม โรยราขอวางมื อ พร้อ มยก เครื่องดนตรีให้ลูกหลานหมด บรรดาผู้ที่สนใจ ทัง้ หน่วยงานรัฐ เอกชน หรือประชาชนในพืน ้ ที่ ที่ ต ้อ งการจั ด งานบุ ญ งานบวช งานแต่ง เลยเปลี่ยนมาใช้บริการน้องๆ กลุ่มนี้แทน

อายุวัฒน์ คนใจบุญ

เพลงที่เล่นส่วนใหญ่เป็นเพลงภูไทแท้ๆ ทั้งลายร�ำภูไท ลายเซิ้ง ลายแมลงภู่ตอมดอก โดยงานแรกที่ถือเป็นการประเดิมเปิดตัว เป็น งานบุญประเพณีช่วงปลายปี 2555 ได้ค่าจ้าง มา 2,000 บาท “เวลาไปเล่น ได้เ งิ น มา หั ก ค่า เดิ น ทาง เอาเข้ากองกลางส่วนหนึ่ง ที่เหลือจะแบ่งให้ สมาชิกเท่าๆ กันทุกคน” หัวหน้าวงว่า วงมีงานเข้ามาเรือ ่ ยๆ ทัง้ ในพืน ้ ทีเ่ อง และ นอกพื้นที่ เฉลี่ยเดือนหนึ่ง 7-10 งาน ส�ำหรับ ค่าใช้จ่ายนั้น หากอยู่ในพื้นที่ก็ยังคงราคาเดิม แต่ถ้านอกพื้นที่ก็ต้องบวกค่าน�้ำมันเพิ่มเข้าไป อีกหน่อย เพราะทุกวันนี้วงมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเครื่ อ งดนตรี ที่ ต ้อ งซื้ อ เติ ม ตลอด ไม่ว่าจะเป็นพิณหรือแคน วันนี้วงกลองยาว มีสมาชิกอยู่ที่ 17-18 คน ส่วนใหญ่เรียนอยูร่ ะดับชัน ้ มัธยมศึกษาแล้ว แต่บางส่วนโดยเฉพาะรุ่นบุกเบิกอย่างอายุวฒ ั น์ เพิ่งเรียนจบกัน “ส่วนตัวก็คงจะได้เวลาพักแล้ว เพราะต้อง ไปเรียนต่อระดับปริญญาตรีในเมือง จ�ำเป็น ต้องส่งต่อให้ร่น ุ ถัดไป ก็มี ธาดา ลัทธิ นักเรียน กศน.ต�ำบลเหล่าใหญ่ และ ชัยวัฒน์ ใจศิริ นักเรียน ปวช.ปี 1” อายุวัฒน์เล่าพลางชี้ไปที่ น้องทั้งสองคน เรียกว่าความคิดดี ท�ำดี ทัง้ ยังได้แรงสนับสนุน จากผูใ้ หญ่ใจดีแบบนี้ ก็ยิ่งเป็นการการันตีว่า วงดนตรีของน้องๆ เยาวชนกลุ่มนี้ และดนตรี พืน ้ บ้านของชาวภูไทจะได้รบ ั การสืบทอดต่อไป อีกนานแสนนาน เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 89


พักผ่อน

หย่อนกาย Stay

ช่วงหลังมานี้ ต�ำบลเหล่าใหญ่มผ ี ้ค ู นต่างถิน ่ เดินทางเข้ามาเยี่ยมเยือนเป็นจ�ำนวนมาก ทั้ง คณะศึกษาดูงาน ทั้งคณะที่เข้ามาหาซื้อผ้าทอ พืน ้ เมือง ในต�ำบลเหล่าใหญ่จงึ มีการจัดตัง้ กลุ่ม บ้า นพั ก โฮมสเตย์ขึ้ น เพื่ อ ใช้ร องรั บ แขกที่ เข้า มา และต้อ งการสั ม ผั ส บรรยากาศแบบ คนพื้นถิ่น ลองไปดูว่าลักษณะบ้านเรือนของ คนภูไทเป็นอย่างไร

90 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 91


โฮมสเตย์ลุงวิรัตน์

92 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


บ้านลุงวิรัตน์ แสนพวง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 บ้านเหล่าใหญ่ เป็นบ้านไม้ผสมปูน สร้างตัง้ แต่ ปี 2540 บรรยากาศพื้นบ้านเรียบง่าย เป็น ห้องพัดลม กับอาศัยลมธรรมชาติที่พัดโกรก เข้า มาในยามค�่ ำ คื น โดยห้อ งพั ก ที่ นี่ มี อ ยู ่ 3 ห้อง รับได้ทงั้ สิน ้ 6 ชีวต ิ คิดราคาเป็นกันเอง 300 บาทต่อคืนต่อคน ช่วงเช้าบ้านของลุงวิรต ั น์มอ ี าหารพืน ้ บ้าน บริการ ทั้งลาบไก่ ต้มหน่อไม้ ลาบปลาดุก

ตบท้ายด้วยกาแฟ โอวัลตินพร้อม นอกจากนี้ ยังมีผลไม้ตามฤดูกาล ในส่วนของห้องน�้ำห้องท่าก็เตรียมน�้ำไว้ ใส่ถังให้เต็มตลอดเวลา สามารถตักอาบได้ แบบชุ ่ม ฉ�่ ำ แต่ใ ครไม่ช อบ อี ก ห้อ งมี ฝ ัก บั ว พร้อมเครื่องท�ำน�้ำอุ่น ตอนช่ว งค�่ ำ สามารถมานั่ ง รั บ ลมชมวิ ว ที่ชานหน้าบ้าน หรือใครอยากดูทีวี ลุงวิรัตน์ ติดจานดาวเทียม มีให้ดูเป็นร้อยช่อง เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 93


โฮมสเตย์ครู สุดารัตน์

บ้านพักขนาดย่อม ตัง้ อยู่ทบ ี่ ้านเลขที่ 123 หมู่ที่ 7 เป็นของสุดารัตน์ วรชัย ครูโรงเรียน เหล่าใหญ่วนาสณฑ์ผดุงเวทย์ แรกเริ่ ม เดิ ม ที ค รู สุ ด ารั ต น์บ อกว่า ไม่ไ ด้ อยากเปิด แต่ทางเทศบาลขอร้อง ความที่มี ห้องว่างอยู่หลายห้อง เนือ ่ งจากลูกชายลูกสาว ไปเรี ย นไปท� ำ งานอยู ่ข ้า งนอก จึ ง น่า จะท� ำ โ ฮ ม ส เ ต ย ์ แ ถ ม ที่ บ ้า น ค รู สุ ด า รั ต น ์ยั ง มี อิ น เทอร์เ น็ ต ให้ใ ช้ฟ รี มี ร ้า นของช� ำ เปิด ให้ บริการไปในตัวด้วย ปัจ จุ บั น นี้ ค รู สุ ด ารั ต น์มี ห ้อ งว่า งรั บ รอง 3 ห้อ ง โดยห้อ งใหญ่น อนได้ 8 คน ติ ด เครื่องปรับอากาศอย่างดีรับรองความสบาย ส่วนห้องพัดลมอีก 2 ห้องก็เป็นสัดเป็นส่วน พักได้ห้องละ 2 คน ค่าบริการคิด 300 บาท ต่อคนต่อคืน มีบริการอาหารเช้า อาหารว่าง โดยคุณพ่อบ้านรับหน้าที่เป็นเชฟใหญ่ แถม อาหารก็ ส ดๆ โดยเฉพาะผั ก ที่ เ ก็ บ มาจาก สวนครัวในบ้าน แต่ถ้าใครจะกินอาหารอีสาน ภายในบริเวณบ้าน น้องชายของครูสุดารัตน์ เปิดร้านขายอาหารอีสานอยู่ 94 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


โฮมสเตย์ป้าอัมพร

บ้า นของป้า อั ม พรอยู ่ติ ด กั บ บ้า นของ ลุงวิรัตน์ ซึ่งเปิดให้แขกเข้ามาพักได้ประมาณ 2 ปี อัมพร แสบงบาล เจ้าบ้านเล่าให้ฟังว่า ที่ นี่ ไ ม่มี อ ะไรมาก บรรยากาศสบายๆ เป็น กันเอง เพราะเธออยู่กับสามีและหลานสาวอีก 1 คน จึงรับประกันความเป็นส่วนตัว ตัวบ้านมี 2 ชั้น ปูนครึ่ง ไม้ครึ่ง ห้องนอน อยู ่ข ้า งล่า งทั้ ง 2 ห้อ ง แต่ไ ม่ไ ด้กั้ น ผนั ง ไว้ ห้องหนึ่งนอนได้ 2 คน เป็นห้องพัดลม เช้าๆ ตื่ น ขึ้ น มามี บ ริ ก ารอาหารเช้า ทั้ ง ลาบปลา ลาบไก่ แจ่วบอง กินแกล้มกับผักสดทั้งผักเถิม ผักแพรว หอม ตะไคร้ ข่า ขิง รับรองอร่อยถูกใจ ส่วนห้องน�ำ้ มี 2 ห้อง อยู่ขา้ งล่างหมด เป็น ห้องฝักบัว อาบแล้วไม่ต้องกลัวหนาว เพราะมี เครื่องท�ำน�้ำอุ่นให้เรียบร้อย ส่วนค่าบริการ คิดอัตราเท่ากัน คืนละ 300 บาทต่อคน เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 95


อาหารการกิน The recipe

มาต�ำบลเหล่าใหญ่ทงั้ ที ก็อยากกินอาหาร ของคนพื้นถิ่น ลองดูว่าจะอร่อยล�้ำขนาดไหน ยุพิน ศรีโต น�ำทีมแม่บ้านอย่าง พรรณี ใจศิริ ถนอม พลข�ำ และนิสพร จิตจับ เข้าครัวปรุง อาหาร 2 จานให้ได้ชมและชิมกัน จะเป็นอะไร บ้างนั้น ลองไปดูกัน

96 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 97


อ่อมหวาย

98 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


นับเป็นอาหารจานเด่นของต�ำบลเหล่าใหญ่ โดยใช้หวายอ่อนมาปอกและแช่น�้ำ ก่อนน�ำมา ท�ำแกงโดยใช้น�้ำใบย่านาง ใส่ไก่ ใส่ผัก ปรุงรส ด้วยน�ำ้ ปลาร้า เสร็จสรรพเตรียมนึง่ ข้าวเหนียว ไว้กินพร้อม

ส่วนผสม (ส�ำหรับ 5-6 คน) หวาย ไก่ เห็ดหูหนู ยอดบวบ บวบ ผักสะแงะ อีตู่ น�้ำเปล่า ข้าวเหนียว ตะไคร้ น�้ำปลา เกลือ ปลาร้า พริก น�้ำย่านาง น�้ำใบย่านาง

20 ยอด ½ ตัว 2 ขีด 1 ก�ำมือ 2 ลูก 4 ต้น 10 ยอด 1 ลิตร 1 ก�ำมือ 2 หัว 3 ช้อนโต๊ะ 1 ช้อนชา 3 ช้อนโต๊ะ 20 เม็ด 2 ถ้วยตวง 30 ใบ

วิธีท�ำ 1. ต�ำพริกกับกระเทียมและเกลือให้เข้ากัน เอาตะไคร้มาทุบ 2. ปอกหวายแช่น�้ำ เอาเกลือใส่ เพื่อไม่ให้ แดง ไม่เช่นนั้นหวายจะขม 3. เอาข้าวเหนียวแช่น�้ำให้นิ่ม 4. น�ำใบย่านางแก่มาน�ำต�ำกับข้าวเหนียว ที่ แ ช่ไ ว้ แล้ว เทน�้ ำ ใส่ค ลุ ก เคล้า ให้เ ข้า กั น จากนั้นคั้นให้เหลือแต่น�้ำ ทิ้งกากที่เหลือ 5. หั่ น ไก่ใ ห้เ ป็น ชิ้ น ๆ เอาไปคั่ ว ในหม้อ กับน�้ำเปล่า เมื่อไก่สุกครึ่งหนึ่ง ใส่เครื่องที่ ต�ำไว้ แล้วเคล้าจนไก่สุก 6. เมื่อเนื้อไก่สุกแล้ว ให้ใส่น�้ำลงไป ตั้ง ให้เดือด จากนั้นใส่หวายลง 7. ลองบี บ หวายดู หากนิ่ ม แล้ว ถื อ เป็น อันใช้ได้ เพราะเท่ากับว่ารสเริ่มจืดลงแล้ว จากนั้นถึงใส่เห็ดลงไป 8. เอาน�้ ำ ใบย่า นางกั บ ข้า วเหนี ย วต� ำ (ข้าวเบือ) ที่เตรียมไว้ใส่ลงไป รีบคนให้ เข้ากัน ระวังอย่าให้ข้าวติดหม้อ 9. น� ำ บวบลง รอจนสุ ก จากนั้ น เอา ยอดบวบ สะแงะ อีตู่ ใส่ลงไป 10. ปรุงรสด้วยน�้ำปลา น�้ำปลาร้า ชิมรส เป็นอันเสร็จพิธี เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 99


ป่ ามไข่

100 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


อีกเมนูหนึ่งที่น�ำมาแนะน�ำกันคือ ป่ามไข่ ท�ำกิ นคู่กับอ่อมหวาย ซึ่งสูตรของที่นี่จะเป็น อย่างไร ลองติดตามกันได้เลย

ส่วนผสม (ส�ำหรับ 2 ท่าน) ไข่ไก่ เกลือ ผักอีตู่ น�้ำเปล่า

2 ¼ 10 ½

ฟอง ช้อนชา ใบ ลิตร

วิธีท�ำ 1. ตั้งกระทะให้ร้อน เติมน�้ำเปล่าลงไป

2. น�ำไข่มาตีรวมกันกับผักอีตู่ ใส่เกลือปรุงรส เล็กน้อย ตีไม่ตอ ้ งละเอียดมาก พอให้ไข่แดงแตก 3. เอาใบตอง 2 ใบมาวางให้พอดีกระทะ 4. เทไข่ใส่ใบตอง รอจนกว่าไข่จะสุกประมาณ 20 นาที ถ้าน�ำ้ แห้งก่อนไข่สก ุ ให้เทน�ำ้ ลงไปอีก 1 ถ้วย ข้างใต้ใบตอง 5. พอไข่ด้านหนึ่งสุก ค่อยๆ แคะไข่ออกจาก ใบตอง จากนัน ้ ยกใบตองขึน ้ น�ำใบตองอีกใบ มา รองแทน คว�ำ่ ใบตองทีม ่ ไี ข่ลงบนใบตองใบใหม่ 6. รอสักพัก จากนั้นก็พลิกไข่กลับไปกลับมา เพื่อให้ไข่สุกทั่วทั้งใบ 7. รองจานด้วยใบตอง น�ำไข่วาง พร้อมเสิร์ฟ เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 101


เที่ยวชมยามเยือน Sightseeing

102 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน


เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน | 103


คลองน�้ำจัน้

คลองน�ำ้ จัน ้ เป็นพืน ้ ทีธ่ รรมชาติ ซึง่ นับเป็น แกนกลางในการอนุรักษ์ธรรมชาติของต�ำบล เหล่าใหญ่เลยก็ว่าได้ ปัจจุบันมีฐานะเป็นวนอุทยาน เป็นที่รวม ของต้น ไม้ม ากมาย แถมที่ นี่ ยั ง มี แ หล่ง น�้ ำ ธรรมชาติไหลตลอดทั้งปี โดยน�้ำนี้ออกมาจาก ซอกหิน บรรดาผู้เฒ่าผู้แก่ต่างเชือ ่ ว่าน�ำ้ ทีน ่ เี่ ป็น น�้ำศักดิ์สิทธิ์ กินแล้วจะมีเรี่ยวมีแรง แถมยังมี การขุดบ่อพักในจุดทีน ่ ำ�้ ไหลผ่าน ก่อนทีส ่ ด ุ ท้าย จะไหลลงไปยั ง ล� ำ ห้ว ยยาง เป็น แหล่ง น�้ ำ ที่ ทุกคนสามารถน�ำน�ำ้ มาใช้อป ุ โภค บริโภค และ ใช้ในการเกษตรได้อย่างไม่มีสิ้นสุด จึงไม่ใช่ 104 | เรียบง่ายด้วยวิถี มีดีที่ต้นทุน

เรือ ่ งแปลกเลยทีพ ่ วกเขาจะอัญเชิญพระพุทธรูป ‘พระพุทธรัตนมุนีศรีเทพ’ มาประดิษฐานไว้ เหนือแหล่งน�้ำ เพื่อความเป็นสิริมงคล ที่ส�ำคัญเหนือขึ้นไป ยังมีซากปลาโบราณ ซึ่งพระครูจินดารัตนาภรณ์ (ศักดิ์ดา ธมฺมรโต) เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธบุตร อ�ำเภอเขาวง มีนม ิ ต ิ และน�ำทีมชาวบ้านมาขุดจนพบซากฟอสซิล เหล่านี้เต็มไปหมด ภายหลังกรมทรัพยากรธรณี ไ ด้ม าศึ ก ษาเพิ่ ม เติ ม ก็ พ บว่า ยั ง มี ซ าก อีกมากอยู่ลก ึ ลงไป จึงมีดำ� ริสร้างอาคารครอบ เพื่อท�ำเป็นพิพิธภัณฑ์ต่อไป


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.