การท่องเที่ยวกับทุนทางสังคม และทุนทางวัฒนธรรม

Page 1

เวทีชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย

การท่ อ งเที ย ่ ว กับทุนทางสังคม

7 ครั้งที่

และทุนทางวัฒนธรรม

14 กุมภาพันธ์ 2555

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน


นับหนึ่ง

กับ ศ.นพ.ประเวศ วะสี

ประธานกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ

เวทีชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองสู่การอภิวัฒน์ประเทศ ไทย เป็นเวทีที่จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถ จัดการตนเองได้มากที่สุดในทุกๆ เรื่อง เพราะเรามีความเชื่อ พื้นฐานว่า ความถูกต้องนั้นต้องก่อตัวมาจากข้างล่าง เหมือน กับชีวิตเรา ซึ่งเป็นระบบที่ซับซ้อนและดีที่สุด มาจากเซลล์ เพียงแค่เซลล์เดียว ถ้าเซลล์นั้นมีความถูกต้องก็จะขยายตัว ขึ้นเป็นระบบร่างกาย อาจจะพูดรุนแรงไปสักหน่อย แต่ความ ถูกต้องไม่สามารถสถาปนาจากข้างบนได้ เพราะข้างบนเป็น เรื่องของอำนาจและมายาคติ ใช้ความรุนแรง มีแต่โมหาคติ (ความลำเอียงเพราะเขลา) เป็นเช่นนีท้ ว่ั โลกไม่เฉพาะแต่เมืองไทย เวทีที่เราจัดขึ้นแต่ละเดือนจะเป็นการนำเอาแง่มุมต่างๆ ในการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น มาทำให้ได้รับรู้เรื่อง ราวเหล่านั้นชัดเจนขึ้น ว่ามีอะไรที่จะต้องขับเคลื่อนต่อ ครั้งนี้ เป็นเรื่องการท่องเที่ยวกับทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรม โดย ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และคณะ ซึ่งทำวิจัยเกี่ยวกับ เรื่องนี้มานาน 20 กว่าปี เรื่องการท่องเที่ยวมีความเกี่ยวข้องกับชุมชนท้องถิ่น เป็นอย่างมาก ถ้าระบบการท่องเที่ยวทั้งหมดช่วยกันทำให้มี ความถูกต้อง จะเป็นเรื่องใหญ่ สำหรับสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ฯลฯ สามารถเชื่อมโยงไปได้หมดทุกเรื่อง วันนี้คงจะได้ทราบว่า การท่องเที่ยวของประเทศไทยมี อะไรที่เป็นจุดอ่อนและจุดแข็ง เรื่องอะไรบ้างที่ยังไม่ลงตัว ปัญหาหนึ่งซึ่งชัดเจนมากคือ รายได้ส่วนใหญ่ยังตกไปไม่ถึง ชุมชนท้องถิ่น คนยากจน คนเล็กคนน้อยในสังคมยังไม่ได้รับ ส่วนแบ่งจากการท่องเที่ยวมากเท่าที่ควร และเราไม่ได้มีการ ทะนุบำรุงแหล่งทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยว เหล่านี้เป็นต้น หลังจากการรับฟังคงจะมีประเด็นปรึกษาหารือว่า มีเรื่องไหน บ้างที่เราจะต้องร่วมกันขับเคลื่อนต่อไป

บทนำเสนอ (1) การท่องเที่ยวไทย จากนโยบายสู่รากหญ้า ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด ผู้อำนวยการสถาบันศึกษานโยบาย สาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ขอเริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า การท่องเที่ยว ไทยมีความเจริญเติบโตอย่างไร และนโยบายการ ท่ อ งเที ่ ย วมี ผ ลกระทบต่ อ ประชาชนคนทั ่ ว ไป อย่างไรบ้าง เมื่อมีนโยบายการท่องเที่ยวเกิดขึ้น คง ไม่ใช่เพียงแค่การทำให้เรามีรายได้ แต่จะต้อง คำนึงถึงการทำให้คนในประเทศมีสุขภาวะที่ดี ถ้า แหล่ ง ท่ อ งเที ่ ย วมี ค วามสะดวก สะอาด และ ปลอดภัย คนที่อยู่ในพื้นที่นั้นก็จะสะดวก สะอาด และปลอดภัยด้วย ดังนั้นการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อ การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เป้าหมายสุดท้ายจึงไม่ได้ เป็นการพัฒนาเพื่อนักท่องเที่ยวอย่างเดียว แต่ เราต้ อ งการพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี ว ิ ต ให้ ก ั บ คนใน

ท้องถิ่น ให้แหล่งท่องเที่ยว เมืองท่องเที่ยวเป็น เมืองสุขภาวะ


แนวโน้มสำคัญด้านการท่องเที่ยวในปี 2553 ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีความก้าวหน้ามากในเรื่องการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ เรามี จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมากเป็นลำดับที่ 16 ของโลก และมีรายได้มากเป็นลำดับที่ 11 ของโลก ซึ่งหมายความ ว่า ลำดับในเรื่องรายได้ที่ได้รับนั้นดีกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามา อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยก็ยังพยายาม เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ตลอดเวลา ทั้งที่ความจริงควรจะพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพมากกว่า ในปี 2553 มีนักท่องเที่ยวมาเยือนประเทศไทย จำนวน 15.94 ล้านคน และปี 2554 กระทรวงการท่อง เที่ยวและกีฬา รายงานว่า มีมากถึง 19 ล้านคน ก้าวกระโดดทีเดียวถึง 4 ล้านคน ทั้งที่เป็นปีซึ่งมีภัยพิบัติน้ำท่วม เกิดขึ้น ด้านรายได้การท่องเที่ยวจากภายนอกประเทศ มีรายได้รวม 5.93 แสนล้านบาท ขณะที่การท่องเที่ยวภายใน ประเทศ มีรายได้รวม 3 แสนกว่าล้าน รวมกันทั้งหมดแล้ว ปี 2553 ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 9 แสนล้านบาท กว่ากึ่งศตวรรษของการท่องเที่ยวไทย เรามีอัตราการเติบโตร้อยละ 12.06 ต่อปี ทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า การเติบโตในอัตราเร่ง (Exponential Growth) กระนั้น การท่องเที่ยวไทยก็มีความไม่เสถียรค่อนข้างมาก เช่น เมื่อ มีวิกฤตเรื่องรายได้เกิดขึ้น การท่องเที่ยวจะสะดุดเป็นระยะ หรือการเกิดโรคซาร์ส (SARS: Severe Acute Respiratory Syndrome) ภัยพิบัติสึนามิ (Tsunami) ซึ่งรัฐบาลไทยต้องพยายามจัดทำนโยบายต่างๆ ออกมา อาทิ Unseen Thailand เพื่อจะกระตุ้นให้ตัวเลขการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น แต่เท่าที่ทำการวิจัยมา สิ่งที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ กลัวมากที่สุดคือ ความไม่สงบทางการเมือง ส่วนปัญหาเรื่องสุขภาพ เป็นเรื่องที่ฟื้นเร็วที่สุด เพราะเรามีการจัดการ เรื่องโรคระบาดที่ดีมาก ทำให้ค่อนข้างได้รับความเชื่อถือ หากคิดจะพึง่ พาการท่องเทีย่ วจากภายนอกประเทศ จำเป็นต้องคำนึงไว้วา่ เสถียรภาพของภาคการท่องเทีย่ ว ไทยที่ต้องพึ่งพิงนักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่ำกว่าภาคเศรษฐกิจอื่นๆ (ยกเว้นช่วงปี 2534-2545) แต่ถ้าเป็นการท่องเที่ยว ชุมชน ซึ่งพึ่งพาการท่องเที่ยวภายในประเทศเป็นหลัก เรื่องเสถียรภาพก็อาจจะไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึง

สักเท่าใดนัก นอกจากเสถียรภาพที่ต่ำกว่าภาคเศรษฐกิจอื่นๆ การท่องเที่ยวไทยยังมีเสถียรภาพน้อยกว่าประเทศที่เป็น แหล่งท่องเทีย่ วทีส่ ำคัญของโลก ยกตัวอย่าง ประเทศสหรัฐอเมริกา สเปน ฝรัง่ เศส เขามีนกั ท่องเทีย่ ว 80 ล้านคนต่อปี ขณะที่เรามีนักท่องเที่ยว 15-19 ล้านคนต่อปี ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น อย่างไรก็ดี การท่องเที่ยวไทยนับว่า มี เสถียรภาพมากกว่าประเทศคู่แข่งในอาเซียน ประเด็นสำคัญที่อยากอธิบายให้ฟังคือ การท่องเที่ยวเป็นฤดูกาล (Season) แหล่งท่องเที่ยวสำคัญอย่าง จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดทั้งปีจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเป็นจำนวนมากในช่วง 5 เดือน (ตุลาคม-กุมภาพันธ์) เรียก ว่า ฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) สิ่งที่มองเห็นแนวโน้มการกระจุกตัวของความเป็นฤดูกาลคือ จังหวัดภูเก็ตและ กรุงเทพฯ จะมีความเป็นฤดูกาลค่อนข้างน้อย ขณะที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีความเป็นฤดูกาลมากที่สุด และ


ตอนนี้ความเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ บางเดือนซึ่งเคยเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) ตอนนี้กลายเป็นช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว (Low Season) ไปแล้ว เพราะปัญหาหมอกควัน ปัญหาหมอกควันเริ่มสร้างผลกระทบต่อการท่องเที่ยว โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ เพราะฉะนั้นถ้าองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต้องการจะพัฒนาการท่องเที่ยว ต้องเข้าใจว่า เรื่องนี้ไม่ใช่รายได้ประจำตลอดทั้งปี เป็น เพียงรายได้ทเ่ี สริมเข้ามาในบางช่วงเท่านัน้ ยกเว้นหมูบ่ า้ นอย่างแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่ อาจจะโชคดีกว่าพืน้ ทีอ่ น่ื ๆ ด้านศักยภาพการแข่งขันของการท่องเที่ยวไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศมาเลเซียและประเทศอื่นๆ ใน ภูมิภาคแล้วถือว่า มีแนวโน้มลดลง แต่คงจะไม่ขอกล่าวถึงเพราะค่อนข้างยาว อยากจะมุ่งเน้นไปที่ประเด็นสำคัญใน เวทีวนั นีค้ อื เรือ่ งจากนโยบายสูร่ ากหญ้า ว่านโยบายการท่องเทีย่ วไทยมีผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง คำถามในการวิจัยนี้มีอะไรบ้าง ดังนี้ 1) การท่องเที่ยวไทยอาศัยอะไรเป็นจุดขาย 2) คนไทยได้อะไร 3) ใคร ได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยว 4) ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างไร และ 5) บทบาทของรัฐ เอกชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน แต่ละฝ่ายควรเป็นอย่างไร ก่อนจะไปถึงตรงนั้นจะต้องอธิบายก่อนว่า สินค้าท่องเที่ยว ประกอบด้วยอะไรบ้าง ได้แก่ สิ่งดึงดูดใจ บริการภาคประชาชน และบริการภาครัฐ สิ่งดึงดูดใจ มีทั้งด้านที่เป็นทุนวัฒนธรรมและทุนสังคม ซึ่งมีความแตกต่างกันคือ ทุนวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ ได้มาเป็นมรดกจากพ่อแม่ปู่ย่าตายาย ขณะที่ทุนสังคมเป็นสิ่งที่ร่วมสร้างกันมา ตัวอย่างของทุนวัฒนธรรม เช่น วัง วัด ความมีอัธยาศัยใจคอที่ดี ส่วนทุนสังคม แสดงให้เห็นผ่านเทศกาล กิจกรรมประเพณีต่างๆ เช่น ประเพณี แห่เทียนพรรษา ต้องมีคนมาเดินแห่ มีการหล่อเทียน ซึ่งคนที่มาร่วมงานนั้นมาโดยไม่ได้คิดถึงเรื่องเงิน เพราะเป็น กิจกรรมตามประเพณีของเขา หรือประเพณีขนทรายเข้าวัด ก็มีชาวบ้านมาออกแรงช่วยกัน แต่เมื่อมีการท่องเที่ยวเข้า มา กลับมีคนบางกลุ่มได้เงิน แต่คนที่ออกแรงกลับไม่ได้ กล่าวอย่างนี้มิได้หมายความว่า คนที่ออกแรงควรจะได้เงิน ทุกคน แต่ทำให้เริ่มมองเห็นความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น สิ่งที่อยากจะชี้ให้เห็นคือ บางครั้งการจัดพิธีการงานประเพณี ต่างๆ เป็นเรื่องของทุนสังคม แต่มีคนหาประโยชน์จากทุนสังคมแล้วกลับไม่คืนกำไรสู่สังคม ขณะเดียวกัน เมื่อทำเรื่องการท่องเที่ยวเราไม่ได้ขายสินค้าที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว แต่ยังขาย บริการภาคประชาชน เช่น ร้านอาหาร ทีพ่ กั และบริการภาครัฐ เช่น การขนส่ง โรงพยาบาล การดูแลน้ำเสีย อากาศเสีย ความสะอาด การเก็บขยะ เพราะไม่มีนักท่องเที่ยวคนไหนอยากไปเที่ยวในสถานที่ซึ่งสกปรก มี อปท.หลายแห่ง มาขอให้ช่วยทำแผนท่องเที่ยว จึงแนะนำว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือ เรื่องขยะ ไม่ใช่ไปพัฒนาแต่แหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น การท่องเที่ยวไทยอาศัยอะไรเป็นจุดขาย ถ้าเป็นคนที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือ ส่วนใหญ่น่าจะบอกว่า วัฒนธรรม แต่ถ้าอาศัยอยู่ทางภาคใต้ คงจะบอกว่าเป็นทะเล ซึ่งจากการที่เราไปทำการสอบถามนักท่องเที่ยวต่างชาติ ว่าเวลามาเมืองไทย ภาพลักษณ์ที่เขามองเห็นหรือคิดถึงคืออะไร พบว่าคำตอบเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อ 5 ปีที่แล้ว เดิมนั้น นักท่องเที่ยวมักจะบอกว่า ชายหาด แต่ปัจจุบันนี้คือ สปากับการนวด ส่วน ชายหาด ผู้คนและธรรมชาติ อื่นๆ เป็นลำดับรองลงมา


ลองถามถึงเหตุผล ทุกคนตอบตรงกันว่า คนไทยน่ารัก ฉะนัน้ อันทีจ่ ริงแล้วสิง่ ทีเ่ ราขายคือ ความเป็นคนไทย เพราะสปากับการนวดที่ประเทศแถบยุโรปเองก็มี แต่เขาบอกว่า เวลาเข้าสปาที่ยุโรปมีแต่คนเอามือสับๆ แล้วทำหน้า บึ้งใส่ ไม่เหมือนคนไทยที่นวดไปคุยไป ทำให้คนต่างประเทศชอบสปาไทยเพราะผู้คนมีอัธยาศัยใจคอที่ดี ที่สำคัญ เวลาเดินทางไปไหน คนไทยก็คอยให้ความร่วมมือช่วยเหลือนักท่องเที่ยวเสมอ แต่ถ้าเมื่อไหร่คนไทยไม่ชอบนักท่องเที่ยว สิ่งเหล่านี้หายไปหมด แล้วทำไมคนไทยจึงเริ่มไม่ชอบการท่อง เที่ยว ก็เมื่อเขารู้สึกว่าการท่องเที่ยวเป็นภาระ เหมือนที่คนจังหวัดเชียงใหม่เริ่มรู้สึกอยู่ตอนนี้ วันเสาร์-อาทิตย์รถติด ไปไหนไม่ได้เพราะนักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะเกินไป เมื่อถามนักท่องเที่ยวว่า พอมาเที่ยวแล้วชอบอะไรในเมืองไทยมากที่สุด คำตอบคือ ผู้คน เป็นอันดับที่ 1 เขาบอกว่า คนไทยเป็นสิ่งที่รู้สึกชื่นชมมากที่สุด ตามมาด้วย อันดับที่ 2 ชายหาด และอันดับที่ 3 สปากับการนวด การท่องเที่ยวไทยจึงอาศัยคนไทยและสมบัติส่วนรวมของชาติ รัฐบาลควรสนใจความเห็นของคนไทย และสนใจนโยบายสาธารณะที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมา การส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย ไม่ว่าจะไปถามนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรียุคสมัยไหน ดู เหมือนจะมีนโยบายอยู่เพียงประการเดียวคือ ทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวให้มากที่สุด ซึ่งความจริงไม่ ควรเป็นเช่นนั้น นโยบายการท่องเที่ยวควรจะต้องดูแลสิ่งแวดล้อมและสิ่งที่เป็นทรัพย์สินมรดกของชาติในเรื่องการ ท่องเที่ยว ต้องดูแลให้คนไทยได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว ถ้าเราส่งเสริมให้คนมาเที่ยวเยอะๆ แล้วคนไทยได้อะไร จากการสอบถามคนไทย 1,000 คน ถึงประโยชน์ ของการท่องเที่ยว ได้รับคำตอบว่า อันดับที่ 1 ได้เผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศ และเวลาตอบ คนตอบมักจะยิ้มด้วย อันดับที่ 2 ภูมิใจในวัฒนธรรม ขณะที่รายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ มาเป็นอันดับที่ 3 ถ้าหากไปถามนักการเมือง จะกลับกัน เพราะรายได้มาเป็นอันดับที่ 1 แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยคิดเรื่องรายได้ ทุกวันนี้ที่เราดูเป็นมิตร (Nice) เพราะเวลาที่ให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยว เราไม่เคยคิดถึงเรื่องเงิน ถ้าช่วยแล้วบอกว่า ขอเงิน 5 บาท รับรองเมื่อ นั้นนักท่องเที่ยวจะหนีหายหมด ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็เริ่มมีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นบ้างแล้ว นอกจากได้รับประโยชน์แล้ว การส่งเสริมการท่องเที่ยวทำให้ประเทศต้องสูญเสียอะไรบ้าง คนส่วนใหญ่ บอกว่า อันดับที่ 1 รายได้ตกอยูใ่ นมือคนรวยมากกว่าคนจน อันดับที่ 2 รายได้กระจุกตัวอยูไ่ ม่กจ่ี งั หวัด และอันดับที่ 3 เงินไม่ถึงมือคนจนอย่างเป็นกอบเป็นกำ ในฐานะที่เป็นนักวิชาการจะเชื่อโพลอย่างเดียวคงไม่ได้ จึงต้องนำข้อมูลไปทดสอบว่า รายได้จากการท่อง เที่ยวไม่กระจายจริงหรือไม่ ผลปรากฏว่า เป็นเช่นนั้นจริง การกระจายรายได้การท่องเที่ยวในประเทศไทย แค่ จังหวัดกรุงเทพฯ เพียงจังหวัดเดียวมีรายได้คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 47.3 (4.275 แสนล้านบาท) ส่วนจังหวัดภูเก็ต คิดเป็นร้อยละ 12 (1.084 แสนล้านบาท) ซึง่ ถือว่าน้อยกว่ากรุงเทพฯ มาก กล่าวโดยสรุปได้วา่ จังหวัดทีม่ รี ายได้สงู สุด ร้อยละ 20 มีสัดส่วนรายได้คิดเป็นร้อยละ 88.62 (8.015 แสนล้านบาท) ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมด โดย


Gini Index 1 ปี 2553 มีตัวเลขสูงถึง 0.72 ถ้าเป็นนักเศรษฐศาสตร์จะทราบว่า การกระจายรายได้มีความเหลื่อมล้ำ มาก เพราะเข้าใกล้ค่าหนึ่งมาก จากการศึกษาโดยใช้แบบจำลองดุลยภาพทางเศรษฐกิจโดยทั่วไป (CGE Model: Computable General Equilibrium Model) ของ ดร.อนันต์ วัฒนกุลจรัส พบว่า ใครได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยว คำตอบคือ รายได้ จากการท่องเที่ยวกระจุกตัวอยู่ในภาคนอกเกษตร และกลุ่มผู้มีรายได้สูง การขยายตัวของการท่องเที่ยวมักมีผล ทำให้การกระจายรายได้เลวลง ถัดมาเราไปศึกษาในหมู่บ้านท่องเที่ยว 8 - 9 แห่ง พบว่า รายจ่ายของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นค่าเดินทาง (ร้อยละ 64 - 88) ซึง่ ถือเป็นเรือ่ งของระบบโลจิสติกส์ (Logistics) โดยตกเป็นรายได้ของหมูบ่ า้ นเพียงร้อยละ 12 - 36 ทำไมการท่องเที่ยวในชุมชนถึงได้มีรายได้ค่อนข้างน้อย ตอบได้ว่าเพราะกิจกรรมเสริมอันเป็นหัวใจ สำคัญในการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนมีไม่มากพอ บางครั้งนักท่องเที่ยวไปนอนแล้วก็ไม่มีอะไรให้ทำ หรือชุมชนไม่มี อะไรให้ขาย จึงไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น อย่างทีร่ กู้ นั ดีวา่ คนไทยเวลาไปเทีย่ ว จะต้องดู กิน และซือ้ ไม่ได้ไปเทีย่ วเพือ่ พักผ่อน อย่างทีห่ มูบ่ า้ นแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่ ทางทีมวิจยั เคยพยายามจะพัฒนาเรือ่ งใบชาให้เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับจำหน่ายแก่นกั ท่องเทีย่ วในโรงแรม ใหญ่ แต่ติดตรงที่เมื่อนำกลับไปบ้านแล้วมีปัญหาเรื่องการขึ้นรา ทำให้เราต้องไปซื้อชาของต่างประเทศหรือโรงงาน ชาวบ้านไม่สามารถผลิตเองได้ การกระจายผลประโยชน์ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอย่างไร เรื่องนี้เป็นข้อมูลซึ่งทำไว้ค่อนข้างนานแล้วที่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยสำรวจในอุตสาหกรรม 14 สาขา พบว่า โรงแรมจ่ายภาษีมากทีส่ ดุ คือ ร้อยละ 10 ของมูลค่าเพิม่ เพราะโรงแรมประเภทนีจ้ ำเป็นจะต้องมีบญ ั ชีชดุ เดียว เมือ่ มีบญ ั ชีอย่างชัดเจน ก็ตอ้ งเสียภาษี ส่วนภัตตาคาร ร้านอาหาร บาร์ มีการจ้างงานมากที่สุด ร้อยละ 48 - 68 ซึ่งยังไม่ได้นับรวมถึงค่าทิป (Tip) โดยเฉพาะสาวเชียร์เบียร์ในบาร์ ต่างๆ ขณะที่สนามกอล์ฟ และสถานประกอบการที่ขายเหล้า-เบียร์จ่ายภาษีน้อยที่สุด เจ้าของทุนได้ส่วนแบ่งมาก ที่สุดจากบริการด้านโลจิสติกส์

1

สัมประสิทธิ์จีนี (Gini coefficient) เป็นวิธีวัดการกระจายของข้อมูลทางสถิติอย่างหนึ่งที่นิยมใช้เป็นตัวบ่งชี้ความเหลื่อมล้ำของการ กระจายรายได้หรือการกระจายความร่ำรวย ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักสถิติชาวอิตาลีชื่อ คอร์ราโด จีนี สัมประสิทธิ์จีนีถูกนิยามให้เป็น อัตราส่วนซึ่งมีค่าระหว่าง 0 และ 1 สัมประสิทธิ์จีนีที่ต่ำจะแสดงถึงความเท่าเทียมกันในการกระจายรายได้ หากค่านี้สูงขึ้นจะบ่งชี้ถึงการ กระจายรายได้ที่เหลื่อมล้ำกันมากขึ้น สัมประสิทธิ์จีนีที่เท่ากับ 0 หมายถึงความเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ (ทุกคนมีรายได้เท่ากัน) และ 1 หมายถึงความเหลื่อมล้ำอย่างสมบูรณ์ (มีคนที่มีรายได้เพียงคนเดียว ส่วนคนที่เหลือไม่มีรายได้เลย) การคำนวณสัมประสิทธิ์จีนีอยู่ บนสมมติฐานว่าไม่มีใครมีรายได้ต่ำกว่าศูนย์ โดยดัชนีจีนี (Gini Index) คือสัมประสิทธิ์จีนีที่แสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ (http:// th.wikipedia.org)


เมื่อสอบถามคนไทยว่า ผลสุทธิจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นบวกหรือเป็นลบ เพราะหากเป็นลบ ใน ทางเศรษฐศาสตร์จะต้องแก้ไข คือต้องดึงกราฟต้นทุนส่วนเพิ่มหรือต้นทุนหน่วยสุดท้าย (MC: Marginal Cost) ลงมา หรือขยายรายได้ส่วนเพิ่ม (MR: Marginal Revenue) ให้สูงขึ้น 2 ปรากฏว่า คำตอบคือ ผลสุทธิเป็นบวก โดย ร้อยละ 39.2 บอกว่า เกิดผลได้มาก ร้อยละ 26.9 บอกว่า เกิดผลได้ปานกลาง และ ร้อยละ 17.7 บอกว่า ไม่มีผลได้ หรือผลเสีย ส่วนคนที่มองว่า ทำให้เกิดผลเสีย เช่น ปัญหาโสเภณี อาชญากรรมข้ามชาติ ยังมีน้อยอยู่ เหล่านี้เป็น

มุมมอง (Perception) ต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทย อุปสรรคสำคัญของการพัฒนาการท่องเที่ยวไทย จากการจัดลำดับพบว่า ลำดับที่ 1 คือ ความไม่สงบ ภายในประเทศ ลำดับที่ 2 คือ ขาดการบูรณาการนโยบายของรัฐ ซึง่ ปัญหาการไม่บรู ณาการนีเ้ ป็นหมดทุกเรือ่ งไม่เฉพาะ น้ำท่วม แต่ยังรวมถึงเรื่องการท่องเที่ยวด้วย ยกตัวอย่าง สถานีรถไฟกับสถานีรถโดยสารของแต่ละจังหวัดมักจะอยู่ กันคนละที่ ไม่เคยเชื่อมต่อกัน การถ่ายโอนยุ่งยากเลยทำให้มีท่ารถ 2 ท่า คือ ท่ารถของ อปท.และท่ารถของกรม การขนส่งทางบกอีกท่าหนึ่ง เพราะไม่มีการบูรณาการ และอุปสรรคสำคัญลำดับที่ 3 คือ การเป็นแหล่งค้ายาเสพติด รัฐควรใช้งบประมาณสนับสนุนด้านใด คนไทยตอบว่า 1) ส่งเสริมให้คนไทยเทีย่ วมากขึน้ 2) ให้ความรูค้ นไทย เกี่ยวกับการท่องเที่ยว 3) พัฒนาสาธารณูปโภค สนับสนุนท้องถิ่น 4) ให้นักเรียนมีส่วนร่วมเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่น 5) ให้นักเรียนทัศนศึกษาในประเทศมากขึ้น และ 6) หาลูกค้าต่างชาติให้มากขึ้น ซึ่งคนไทยมองว่า มีความสำคัญเป็น อันดับสุดท้าย การท่องเที่ยวก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างไร เมื่อกำไรตกอยู่กับคนกลุ่มหนึ่ง แต่สังคมต้องเป็น ฝ่ายแบกรับต้นทุน และเมื่อการท่องเที่ยวทำให้ทรัพยากรท่องเที่ยวที่เป็นของส่วนรวม เช่น ธรรมชาติ ร่อยหรอ เสื่อมโทรมไป ซึ่งส่งผลให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ไม่ยั่งยืน ยกตัวอย่าง การท่องเทีย่ วทีต่ ำบลปลายโพงพาง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า เป็นการท่องเทีย่ ว ที่ทำให้เกิดปัญหา เพราะนักท่องเที่ยวนั่งเรือหางยาวเข้าไปชมหิ่งห้อย แล้วทำให้เกิดเสียงดัง ช่วงหนึ่งชาวบ้านถึงกับ ตัดต้นลำพูทิ้งเพราะเกิดความรำคาญ นี่คือ การท่องเที่ยวเข้าไปรบกวนชาวบ้าน หรือบางพื้นที่ชาวบ้านเคยใช้ ประโยชน์สาธารณะได้ เช่น ลานวัดที่เป็นที่เล่นของเด็กๆ แต่ในที่สุดก็ต้องกลายเป็นที่จอดรถ ลองไปดูวัดที่จังหวัด เชียงใหม่เดี๋ยวนี้กลายเป็นที่จอดรถหมด ไม่มีพื้นที่ส่วนรวมเหลือให้ชาวบ้านได้ใช้อีกต่อไป ทางด้านรายได้จากการจัดเทศกาลต่างๆ มีการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อนานมาแล้ว เรื่องงานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งทุกปีจะมีรถที่ประดับดอกไม้เข้าร่วมงานจำนวน 25 คัน ในจำนวนนี้เป็นของ โรงแรมแค่คันเดียว ที่เหลือเป็นของท้องถิ่น เมื่อถึงเวลาจัดงาน พระทุกวัดในภาคเหนือจะมาร่วมมือกันปักดอกไม้

บนรถให้สวยงาม ฝีมือดีมาก

2

ต้นทุนเพิ่มหรือต้นทุนหน่วยสุดท้าย (MC: Marginal Cost) คือ ต้นทุนรวมที่เพิ่มขึ้นเมื่อผลิตผลผลิตเพิ่มขึ้น 1 หน่วย และรายรับ เพิ่ม (MR: Marginal Revenue) คือ รายรับรวมที่เพิ่มขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในผลผลิต 1 หน่วย (http://th.wikipedia.org)


เรื่องเหล่านี้ถูกนำไปคิดในเชิงเศรษฐศาสตร์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นต้นทุน ผลตอบแทน และคนที่มาเข้าร่วม ถ้าจ้างมาจะต้องใช้เงินเท่าไหร่ รวมทั้งคำนวณด้วยว่า งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเท่าไหร่ สรุปว่า ในการลงทุน 1 บาท โรงแรมได้รับผลตอบแทน 75 บาท ข้อมูลนีค้ งทำให้ทกุ คนเริม่ เห็นว่า เราไปร่วมมือกันทำงาน แต่ผลประโยชน์กลับไปตกอยูก่ บั คนบางกลุม่ ถามว่า คนบางกลุ่มจะคืนผลประโยชน์นี้ให้กับชุมชนหรือไม่ พอดีตอนนั้น มีเพื่อนเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ จึงนำ งานวิจัยชิ้นนี้ไปพูดในที่ประชุมของจังหวัด ปรากฏว่า ทางโรงแรมก็ยังคงจัดดอกไม้มาประดับ 1 คันรถเหมือนเดิม จนถึงทุกวันนี้ สรุปว่า การจัดเทศกาลทำให้รายได้เพิ่มขึ้นจริง แต่ธุรกิจขนาดเล็กได้เป็นส่วนน้อย ประชาชนได้แค่ ร่วมสนุก นอกจากนีเ้ รายังทำการศึกษาเทศกาลกินเจทีจ่ งั หวัดภูเก็ตเปรียบเทียบกับเทศกาลรีกตั ต้า ซึง่ เป็นงานแข่งขัน

เรือยอร์ช ระดับนานาชาติ พบว่า เทศกาลกินเจสร้างรายได้เป็นพันล้านบาท ขณะที่เทศกาลรีกัตต้า ได้รับรายได้เพียง 300 กว่าล้านบาท และยังไม่ตกไปถึงมือของคนเล็กคนน้อย จึงเห็นได้ชัดเจนว่า ธุรกิจขนาดเล็กได้ประโยชน์จาก เทศกาลกินเจมากกว่ารีกัตต้า ฉะนั้นเวลาที่รัฐบาลหรือสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ต้องการจะทำการท่องเที่ยวเชิง คุณภาพ (High Value Tourism) เพราะคิดว่า High Value Tourism เช่น Regatta ดูเหมือนมีมูลค่าสูงก็จริง แต่มูลค่าโดยรวม (Total Value) นั้นต่ำกว่าก็เป็นได้ จึงต้องระวัง อย่าไปคิดว่า ทำอะไรที่ไฮโซเท่านั้นถึงจะทำให้ รวย ความจริงอาจจะไม่เป็นแบบนั้น ต้องทดสอบดูด้วยว่า ใครได้อะไร เท่าไหร่ นี่เป็นประเด็นนโยบายสาธารณะที่ ค่อนข้างสำคัญ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของทีมวิจัย มีดังนี้ 1) ลดความเหลื่อมล้ำจากการท่องเที่ยว โดยรัฐจะต้องกระจายการท่องเที่ยวไปสู่จังหวัดอื่นๆ นอกจาก จังหวัดหลัก การโฆษณาหรือการดูแลเรื่องการท่องเที่ยว ไม่ควรจะกระจุกตัวอยู่ใน 4 จังหวัดใหญ่ (กรุงเทพฯ ภูเก็ต พัทยา เชียงใหม่) อย่างไรก็ดีแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆ ปัจจุบัน มีกำลังรองรับนักท่องเที่ยวค่อนข้างต่ำ อย่าง จังหวัดอุบลราชธานีมีทุ่งดอกหญ้าหน้าหนาว ซึ่งเวลาบานนั้นสวยมาก แต่มีพื้นที่อยู่แค่ 4 ไร่ คนไปเที่ยวเยอะไม่ได้ หรือน้ำตกแสงจันทร์ (น้ำตกลงรู) ซึ่งจะมีแสงส่องลงมาที่โพรง แต่คนยืนดูได้ประมาณ 40 คนก็เต็มแล้ว ฉะนั้นการ ท่องเที่ยวในต่างจังหวัดต้องมีการจัดการ และ อปท.ควรจะเข้ามามีบทบาท หรือต้องสร้างกลุ่ม ให้ชุมชนเข้ามาจัดการ จะทำให้เกิดการกระจายประโยชน์ที่ดีมาก อีกทั้งรัฐบาลควรจะใส่ใจและเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในประเทศและ ‘ทัวร์ประหยัด’ มากขึ้น ถ้าชุมชน มีการท่องเที่ยว ทัวร์ประหยัดเหล่านี้จะไปเที่ยวในชุมชน เพราะทัวร์รวยๆ เขาย่อมไม่ไปอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ ทัวร์ประหยัดก็เริ่มมีการแข่งขันที่สูงขึ้น อย่างเช่น วนัสนันท์ที่เชียงใหม่ คิดราคาคืนหนึ่ง 60 บาท มีพัดลมด้วย หมู่บ้านแม่กำปอง คงลำบากหน่อยถ้าจะไปสู้ แต่เรามีบรรยากาศที่ดี ไม่ต้องติดแอร์ คงพอจะสู้ได้ แต่ถ้าเป็นชุมชน ข้างล่างอาจจะลำบากนิดหนึ่ง เพราะทัวร์ประหยัดเองก็ต้องใช้เงินพอสมควร รัฐบาลไทยที่ผ่านมาไม่ค่อยสนใจทัวร์ ประหยัดเท่าไหร่ ทั้งที่มีส่วนในการสร้างรายได้ และยังเป็นรายได้ที่ตกอยู่กับคนในชุมชน


ที่สำคัญคือ รัฐควรจะให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการวางแผนและได้ผลประโยชน์จากการจัดกิจกรรม ด้านการท่องเที่ยว ตลอดจนการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เพิ่มการดูแลการบำบัดน้ำเสีย ออกกฎเกณฑ์การใช้ หาด เกาะ ฯลฯ ซึ่งตอนนี้ไม่ค่อยมีการดูแล ยกตัวอย่าง เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีโรงแรมมากมาย แต่ไม่มี ระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้การได้ อปท.เองก็ไม่มีฐานในการหารายได้ ซึ่งตามกฎหมายแล้ว ไม่สามารถลงทะเลได้ ท่านมี อำนาจอยู่บนบกเท่านั้น คนจะไปดำน้ำดูปะการัง เก็บเงินไม่ได้ เก็บได้อย่างเดียวคือ ค่าขยะ หรือเกาะพีพี จังหวัด กระบี่ รวมทั้งเกาะต่างๆ ก็มีรายได้น้อย ขณะที่ขยะมีจำนวนเยอะเกินความสามารถในการจัดการ กล่าวได้ว่า ณ ขณะนี้ อปท.ยังไม่มีเครื่องมือทางภาษีหรือค่าธรรมเนียมที่จะมาหารายได้จากทรัพยากรการท่องเที่ยว จึงจำเป็นต้อง มีการนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มาใช้เพื่ออนุรักษ์และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 2) เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ที่ผ่านมา รัฐให้ความสนใจด้านการตลาด และละเลยการบูรณาการ การ จัดการด้านระบบโลจิสติกส์ และความสะอาดขั้นพื้นฐาน จึงควรเพิ่มสมรรถนะในการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การ กำจัดขยะ ความสะอาดในห้องน้ำ ความสะอาดของอาหาร ซึ่งปัจจุบัน ความสะอาดของอาหารเริ่มดีขึ้น แต่ความ สะอาดในห้องน้ำ เรายังต้องอาศัยภาคเอกชนอยู่เยอะมาก ทั้งปั๊มน้ำมันหรือห้างสรรพสินค้า ไม่อย่างนั้นก็ไม่มีห้องน้ำ ให้เข้า อีกประเด็นที่สำคัญคือ ต้องบูรณาการจัดการภาครัฐในด้านการขนส่ง พัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวคาร์บอน (Carbon) ต่ำ ให้มีระบบโลจิสติกส์สาธารณะ ยกตัวอย่าง จังหวัดเชียงใหม่ จนบัดนี้ยังไม่มีระบบขนส่งสาธารณะ เมื่อไม่มี จึงทำให้รถติดวินาศสันตะโรอย่างที่เป็นอยู่ อีกหน่อยเราอาจจะถูกแบน (Ban) ว่าคาร์บอนสูงก็เป็นได้ อปท. จึงควรจะคิดเสียตั้งแต่เดี๋ยวนี้ได้เลยว่า เราต้องพัฒนาท้องถิ่นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ และสุดท้ายต้องมีการดำเนินการตามกฎหมายสาธารณสุข จราจร และป่าไม้อย่างเคร่งครัด 3) เพิ่มศักยภาพให้ อปท.ทางด้านของส่วนกลาง ณ เวลานี้ยังไม่มีการถ่ายโอนอำนาจให้ อปท. อย่างมี ประสิทธิภาพและเป็นไปตามศักยภาพท้องถิ่น ทุกแห่งเท่ากันทั้งหมด ยังไม่มีวิธีว่าจะจัดการอย่างไร อีกทั้งควรจะมี การจัดหางบประมาณและให้อำนาจท้องถิ่นในการจัดหารายได้จากการท่องเที่ยวอย่างเพียงพอ ตลอดจนควรจะมีการ กำกับกติกาในการใช้ทรัพยากรท่องเที่ยว และสร้างกองทุนรักษามรดกชาติในท้องถิ่น ขณะที่ด้าน อปท. ควรจะเพิ่มศักยภาพให้สามารถดูแลทรัพยากรท่องเที่ยว เพิ่มภูมิต้านทานให้ชุมชนและ สังคมในการรองรับการท่องเทีย่ ว และเพิม่ ศักยภาพบุคลากรในการจัดการสิง่ แวดล้อม ส่วนวิธกี ารจะต้องทำอย่างไรนัน้ ผู้ใหญ่บ้านทั้ง 2 ท่านที่จะนำเสนอต่อไปคงเป็นกรณีตัวอย่างที่ดีที่จะมาเล่าให้ฟัง


(2) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ เส้นทางลำน้ำเข็ก จ.พิษณุโลก ดร.รัดเกล้า เปรมประสิทธิ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

10

โครงการวิจยั แผนพัฒนาการท่องเทีย่ วเชิงบูรณาการเส้นทางลำน้ำเข็ก จังหวัดพิษณุโลก ได้รบั ทุนสนับสนุน จากแผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แรกเริ่มเดิมทีนั้น แหล่งท่องเที่ยวเส้นทางลำน้ำเข็กเป็นรอยต่อระหว่างจังหวัดเพชรบูรณ์กับจังหวัด พิษณุโลก หลายท่านคงเคยรู้จักเขาค้อ ระหว่างทางจากเขาค้อล่องลงมาจนถึงตัวเมืองพิษณุโลกมีแหล่งท่องเที่ยวอยู่ ค่อนข้างเยอะ ถือเป็นเส้นทาง (Route) ท่องเที่ยว หากเราจะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสักแห่ง จะมองเพียงแค่หมู่บ้าน หรือตำบลเดียวไม่ได้ เพราะคนทั่วไปเวลาไปเที่ยวมักจะชอบทำกิจกรรมหลากหลายอย่าง เที่ยวตรงนั้น แวะพักตรงนี้ หลายๆ คืน ในมิติของการท่องเที่ยวก็คือ จะทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวใช้เวลาเที่ยวเยอะๆ และใช้เงินเพื่อการท่อง เที่ยวและต้องกระจายรายได้ไปสู่คนท้องถิ่น และไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชน แหล่งท่องเที่ยวเส้นทางลำน้ำเข็ก มีจุดเด่น (Highlight) เป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิง ธรรมชาติ โดยเส้นทางลำน้ำเข็กสามารถเที่ยวได้ทั้งปี ตลอด 3 ฤดูกาล ไม่เหมือนจังหวัดเชียงใหม่ที่จะขายได้เฉพาะ ฤดูหนาว แต่ทน่ี ถ่ี า้ เดินทางมาหน้าหนาวก็ไปเทีย่ วลำน้ำเข็กตอนบน เช่น เขาค้อ ภูทบั เบิก อุทยานแห่งชาติทงุ่ แสลงหลวง พอหน้าฝนก็มาเที่ยวลำน้ำเข็กตอนล่าง อีกทั้งยังมีการผจญภัยด้วยการล่องแก่ง ซึ่งลำน้ำเข็กมีชื่อเสียงติด 1 ใน 5 และยังมีถนนสีเขียวอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทุกพื้นที่คงเป็นเหมือนกัน เมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามาสู่ชุมชนเป็นจำนวนมาก ย่อมทำให้เกิดผล กระทบติดตามมาด้วย โดยเฉพาะปัญหาเรื่องขยะ แต่ชุมชนที่นี่มีความเข้มแข็งและมองเห็นความสำคัญของการ ท่องเที่ยว รู้ว่า ถ้าการท่องเที่ยวอยู่ได้ เขาอยู่ได้ บางคนทำเรื่องการท่องเที่ยวเป็นรายได้หลัก บางคนก็ทำเป็นรายได้ เสริมจากภาคการเกษตร ต่างก็มาร่วมมือช่วยกันเก็บขยะ รวมทั้งช่วยดูแลพื้นที่สาธารณะ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่ มีการล่องแก่งลำน้ำเข็ก ผู้ประกอบการและชุมชนจะช่วยกันทำความสะอาดเส้นลำน้ำ ก่อนจะมีการเปิดให้ล่องแก่ง ถึงอย่างนัน้ ต้องยอมรับว่า ชุมชนทำเพียงฝ่ายเดียว พลังในการแก้ปญ ั หาเชิงพืน้ ทีย่ งั ไม่มากพอ ยังต้องร่วมมือ กับท้องถิ่นด้วย จากปัญหาที่เจอ หากชุมชนเก็บขยะ โดยไม่มีแผนหรือมาตรการรองรับเชิงนโยบาย ก็จะทำให้เกิด ความไม่ยั่งยืน ปัญหาการพัฒนาการท่องเที่ยวเส้นทางลำน้ำเข็ก พบว่า แนวโน้มของนักท่องเที่ยวมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่มีแผนพัฒนาการท่องเที่ยวรองรับให้ทันต่อสถานการณ์ ขณะเดียวกันผู้มีส่วนได้


ส่วนเสียจากการท่องเที่ยวยังไม่มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนการท่องเที่ยวในระดับท้องถิ่น ที่ผ่านมา เป็นแค่เพียงผู้เก็บขยะ ผู้ดูแลพื้นที่ แต่ยังไม่ได้ร่วมคิด ร่วมวางแผนว่า จะทำอย่างไรให้มีรายได้เข้ามาในชุมชน หาก ขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมน้อยที่สุด ทางด้านของ อปท. แม้การทำงานเชิงโครงสร้างพื้นฐานจะทำได้ดี แต่เรื่องของการท่องเที่ยวถือเป็นมิติใหม่ ท้องถิ่นยังไม่ค่อยเข้าใจว่า การท่องเที่ยวไม่สามารถขายแค่จุดใดจุดหนึ่งเพียงจุดเดียวได้ ต้องขายเป็นแพ็คเกจ (Package) นักท่องเที่ยวถึงอยากจะมาเที่ยว รวมทั้งยังไม่มีทักษะในการจัดทำแผนการท่องเที่ยวที่เอื้อต่อการ พัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการท่องเที่ยวโดยชุมชน จากปัญหาที่เกิดขึ้น จึงต้องมาคิดร่วมกันว่า ทำอย่างไรจะแก้ปัญหาให้เกิดการจัดการพื้นที่ร่วมกันของ ชุมชนและท้องถิ่น งานวิจัยที่เราได้ทำการศึกษา พบจุดที่เป็นปัญหาหลายอย่าง เช่น บริเวณน้ำตกแก่งซอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก แม้พื้นที่ดังกล่าวจะมีการกระจายอำนาจมาให้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แต่เมื่อถึงเวลาจริง อบต.กลับไม่สามารถเข้าไปดูแลพื้นที่และจัดการขยะได้ เพราะสัมปทานในบริเวณนั้น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ยังไม่ให้อำนาจ เรียกว่า เป็นความก้ำกึ่งเชิงอำนาจ การทำงานจึงยังมีปัญหาด้านการปฏิบัติ ในเรื่องของ กฎหมายรองรับอยู่ ฉะนั้นการจัดทำแผนท่องเที่ยว ต้องมีการบูรณาการร่วมกัน ระหว่าง อปท. ไม่ว่าจะเป็น อบต.หรือเทศบาล ตลอดทั้งเส้นทาง เพื่อให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวได้ทั้งระบบ การศึกษาครัง้ นี้ เราใช้พน้ื ทีข่ อง อปท.ทัง้ หมด 3 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลตำบลบ้านแยง อบต.แก่งโสภา และ อบต.วังนกแอ่น โดยดูเฉพาะเส้นทางลำน้ำเข็กตอนล่าง กระบวนการจัดทำแผนจะมีนักวิจัยทำหน้าที่เป็น ผู้ประสานงาน และเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ ชุมชน ผู้ประกอบการ และหน่วยงาน ภาครัฐ ว่าเมื่อมีปัญหาแบบนี้เกิดขึ้น จะมีแนวทางหรือมาตรการรองรับปัญหาอย่างไร และสุดท้าย จึงมานั่งคุยกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องกระบวนการผลักดันแผนพัฒนาการท่องเที่ยวไปสู่การปฏิบัติ ผลผลิตที่ได้จากโครงการวิจัย เราได้แผนพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกัน 3 ตำบล และการนำแผนดังกล่าวไป สู่แผนพัฒนาตำบลของแต่ละแห่ง ทางด้านหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดพิษณุโลก ก็ได้มีการนำแผนไปสู่การตั้งงบประมาณโครงการในพื้นที่ เช่น ป้าย การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการ ท่องเที่ยว เมื่อมาทำวิจัยและทำงานร่วมกัน ทำให้เรารับรู้ปัญหาในเชิงปฏิบัติค่อนข้างเยอะ และนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ยกตัวอย่าง ป้ายเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว แม้จะมีงบประมาณจากสำนักงานท่องเที่ยวฯ จังหวัดให้สำหรับทำป้าย แต่ ถึงเวลาก็ใช่ว่าจะนำป้ายไปติดได้ง่ายๆ ต้องดูว่า กฎหมายทางหลวงอนุญาตหรือเปล่า เราจึงต้องเชิญหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องทั้งหมดมานั่งพูดคุยเพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวร่วมกัน ซึ่งขณะนี้ ก็กำลังจะมีการทำถนนเชื่อมรอยต่อ 11


เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) 3 รวมทั้งกฎหมาย ของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีเรื่องของความปลอดภัยที่จะเข้ามารองรับกับการท่องเที่ยว อปท.ก็อยากดูแล แม้กระทั่งกลุ่ม

ผู้ประกอบการที่ให้บริการในเส้นทางลำน้ำเข็กก็ต้องการเข้ามามีส่วนร่วม เหล่านี้เป็นสิ่งที่แผนท่องเที่ยวจะต้องคิดและ ทำร่วมกัน อีกตัวอย่างเป็นจุดล่องแก่งลำน้ำเข็ก พอเราเห็นว่า สิ่งอำนวยความสะดวกไม่เพียงพอสำหรับการท่องเที่ยว จึงมีการเสนอแนะออกมาเป็นแบบคร่าวๆ ประจวบเหมาะกับสำนักงานท่องเทีย่ วฯ จังหวัดมีงบประมาณอยูพ่ อดี จึงได้รับ การพัฒนา และมอบให้หมู่บ้านเป็นผู้ดูแลเก็บผลประโยชน์ ส่วน อปท.เข้ามาเป็นผู้เก็บขยะ ดูแลห้องน้ำ และเริ่มมี ระบบการจัดการโดยชุมชนเข้ามาช่วย สิ่งที่เราทำกันมาในพื้นที่ 3 ตำบล ต้องบอกว่า โครงการในลักษณะของการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก อปท.จะค่อนข้างเก่ง และมีงบประมาณในการดำเนินการ แต่ส่วนไหนที่อยู่นอกเหนือความสามารถของ อปท. สำนักงานท่องเที่ยวฯ จังหวัดซึ่งรับรู้ปัญหาอยู่ เนื่องจากทำแผนมาร่วมกัน ก็จะนำไปผลักดันสู่กระบวนการตั้ง

งบประมาณเพื่อทำโครงการต่อได้ ตอนนี้หลายพื้นที่ก็ได้รับการพัฒนาไปพอสมควร ข้อเสนอแนะต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดการท่องเที่ยวควรต้องมีการวางแผนร่วมกันของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเส้นทางท่องเที่ยว และบูรณาการร่วมกับหน่วยงาน ภายใต้ ‘ความรู้และข้อมูล’ โดย ผู้ที่จะทำหน้าที่รวบรวมความรู้และข้อมูลปัญหา คือ นักวิจัย ซึ่งเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่ทางแผนงานฯ นี้ กำลังพยายามพัฒนานักวิจัยใหม่อยู่ ภายใต้กรอบเรื่องของการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืนโดยชุมชน อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่า ขณะนี้ บทบาทของ อปท.ในเรื่องการท่องเที่ยว ถือเป็นเรื่องใหม่และไม่ใช่เรื่อง ง่าย มีทั้งบทบาทในเรื่องของการตลาด การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยว การให้บริการด้านการท่องเที่ยว หรือแม้ กระทั่งการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยว แสดงดังแผนภาพด้านล่าง บทบาทพวกนี้จำเป็นต้องทำงานร่วมกับ สำนักงานท่องเที่ยวฯ จังหวัด กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ซึ่งปัจจุบัน หลายพื้นที่เริ่มมองเห็นแล้วว่า บ้านตนเองมีดีเรื่องการท่องเที่ยว ต้องได้รับการพัฒนา ตรงนี้จึงเป็นกระบวนการเสริม ความรู้ที่เกิดขึ้น

3

12

สืบเนื่องจากที่ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำ โขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยสนับสนุนให้มีการติดต่อ และการแข่งขันระหว่างกันนั้น รัฐบาลจากประเทศสมาชิก GMS จึงได้กำหนดแนวพื้นที่เศรษฐกิจในลุ่มแม่น้ำโขงจำนวน 9 เส้นทาง หลัก ให้เป็นแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจของอนุภูมิภาค และหนึ่งในเส้นทางที่ขณะนี้กำลังเริ่มปรากฏผลเชิงรูปธรรม ได้แก่ เส้นทาง ระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) หรือเส้นทางหมายเลข 9 (R9) (http:// www.bihap.org)


แผนภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบทบาทในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว และการพัฒนา

หลังจากทำงานวิจัยเสร็จ เมื่อเราเริ่มไปลงพื้นที่อื่นๆ อย่างเทศบาลตำบลปัว จังหวัดน่าน ก็พบว่า เดี๋ยวนี้คน เริ่มมาเที่ยวจังหวัดน่านเยอะมาก และเทศบาลตำบลปัวเป็นเส้นทางผ่าน มีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นจุดขายคือ ดอยภูคา จึงเริ่มมีความกังวลใจว่าจะจัดการอย่างไรดี เพราะรายได้ก็อยากได้ แต่ก็กลัวเกิดผลกระทบ เมื่อเรามีโอกาสได้ลงไป ทำงานในพื้นที่และพูดคุยกัน ก็เล่าว่า เราเคยทำงานในเส้นทางลำน้ำเข็กมา ทางเทศบาลตำบลปัวจึงยินดีร่วมมือกับ เรา โดยมีกองทุนร่วมลงทุน (Matching Fund) เกิดขึ้นระหว่าง นสธ. กับทางเทศบาล จนออกมาเป็นชุดงานวิจัย และตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงระหว่างดำเนินการ การทำงานวิจัยจึงยังมีความสำคัญกับท้องถิ่นที่อยากจะพัฒนาเรื่องการท่องเที่ยวอยู่ และเรื่องราวที่เล่ามา เหล่านี้เป็นกรณีศึกษาตัวอย่างสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวกับบทบาทของ อปท.

13


(3) การจัดการท่องเที่ยวเที่ยวโดยชุมชน หมู่บ้านแม่กำปอง นายพรมมินทร์ พวงมาลา ผู้ ใหญ่บ้านแม่กำปอง ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่

14

วันนี้จะนำเรื่องราวการท่องเที่ยวของหมู่บ้านแม่กำปองมาเล่าให้ฟัง โดยขอเริ่มต้นจากคำขวัญของหมู่บ้านที่ กล่าวไว้ว่า “ธรรมชาติมากล้นผู้คนน้ำใจดี มากมีดอกเอื้องดิน สู่ถิ่นเมี่ยงชาและกาแฟ มียาแท้สมุนไพร ชื่นฉ่ำใจน้ำตกเย็น เห็นวิวทิวเขาสวย ร่มรื่นด้วยสวนสนบนม่อนล้าน” จากคำขวัญข้างต้น คำว่า ‘ดอกเอื้องดิน’ หมายถึง ดอกกล้วยไม้ดิน ‘เมี่ยง’ หมายถึง ใบชาชนิดหนึ่ง และ ‘ม่อนล้าน’ เป็นบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่กับลำปาง ซึ่งเป็นเขตป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ การจัดการท่องเที่ยวของหมู่บ้านแม่กำปองเริ่มขึ้นมาจาก ‘กำกึ๊ด’ หรือ ‘ความคิด’ ถ้าเป็นทางด้านวิชาการก็ จะเรียกว่า ‘วิสัยทัศน์’ ซึ่งกำหนดไว้ดังนี้ “เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานชุมชน เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง สู่การอยู่เย็นเป็นสุข” บ้านแม่กำปอง ตัง้ อยูท่ ต่ี ำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมูบ่ า้ นเก่าแก่มอี ายุกว่า 100 ปี ชาวบ้านส่วนใหญ่อพยพมาจากอำเภอดอยสะเก็ด อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,300 เมตร และอยู่ห่างจากตัว เมืองเชียงใหม่ประมาณ 50 กิโลเมตรเศษ ลักษณะการตั้งบ้านเรือนของบ้านแม่กำปองจะตั้งเรียงรายในหุบเขา และสองฝั่งของลำห้วย สภาพทั่วไปของ ชุมชนรายล้อมไปด้วยภูเขา มีไร่ชา กาแฟ รวมทั้งมีน้ำตกและป่าที่อุดมสมบูรณ์ (ดอยม่อนล้าน) ตลอดจน ทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี ชาวบ้านส่วนใหญ่หรืออาจเรียกว่าเกือบทั้งหมด เป็น

คนพื้นเมืองที่นับถือศาสนาพุทธ บ้านแม่กำปอง เปิดเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2543 โดยการนำทุนทางธรรมชาติ ทุนทาง สังคม ทุนทางวัฒนธรรม มาต่อยอดเพื่อเป็นทุนในการพัฒนาหมู่บ้าน พื้นที่และจำนวนประชากรในการปกครอง ทางด้านทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดลำปาง มีเนื้อที่ไม่กว้าง ใหญ่มาก ประมาณ 4,768 ไร่ มีจำนวนครัวเรือน 134 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 380 คน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบ


อาชีพหลักคือ การเก็บใบเมี่ยง อาชีพรอง ได้แก่ การปลูกกาแฟ และมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวและโฮมสเตย์ (Homestay) ปัจจัยทีช่ มุ ชนใช้เป็นทุนขับเคลือ่ นในการพัฒนาสูก่ ารเป็นชุมชนท่องเทีย่ ว ประกอบด้วย ทุนทางธรรมชาติ ที่ มีความอุดมสมบูรณ์ มีดิน น้ำ ป่า อากาศที่เย็นสบายตลอดทั้งปี นี่ถือเป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยว ทุนทางสังคม มี วิถีชีวิตและประกอบอาชีพแตกต่างจากคนทางพื้นราบ เพราะเป็นคนพื้นเมืองที่อยู่บนภูเขา ทุนทางวัฒนธรรม บ้าน แม่กำปองยังคงรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมอยู่ ผู้คนมีอัธยาศัยใจคอที่ดี มีน้ำใจ มีศิลปะ การแสดงต่างๆ การกินการอยู่ การพูดคุย ล้วนแล้วแต่เป็นภาษาพื้นเมือง บางคนจนถึงตอนนี้ยังพูดภาษากลางไม่ได้ ด้านการบริหารจัดการของหมู่บ้านแม่กำปอง แต่เดิมมุ่งเน้น 3 เรื่องหลักคือ 1) การบริหารจัดการ ทรัพยากร 2) การบริหารจัดการชุมชน 3) การบริหารจัดการรายได้ ซึ่งได้มีการนำมาปรับใช้ในการพัฒนาเป็นหมู่บ้าน ท่องเที่ยวหรือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ต่อมาภายหลังจึงได้เพิ่มเรื่องของ 4) การบริหารจัดการสวัสดิการชุมชน เข้ามาด้วย สำหรับรายละเอียดของการบริหารจัดการ จะขอสรุปสั้นๆ ดังนี้ 1) การบริหารจัดการทรัพยากร บ้านแม่กำปองมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ จึงพยายามสร้างความเข้าใจให้ คนในชุมชนรู้จักรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีกฎเกณฑ์ในการรักษาป่า การทำแนวกันไฟ เพื่อปกป้องทรัพยากร มีคำคล้องจองอยูอ่ นั หนึง่ กล่าวไว้วา่ “เอาน้ำมาเป็นไฟ สมุนไพรมาเป็นยา ดินฟ้าอากาศเป็นแค่วตั ถุดบิ ในการท่องเทีย่ ว” ซึ่ง ‘น้ำมาเป็นไฟ’ ก็คือ เราผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำใช้เอง มาเป็นเวลานาน 20 กว่าปีแล้ว ส่วนเรื่องของ ‘สมุนไพรมา เป็นยา’ ก็คือ มีกลุ่มแปรรูปสมุนไพรโดยใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมนั่นเอง 2) การบริหารจัดการชุมชน เนื่องจากเราเป็นชุมชนมีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ เพียง 134 ครัวเรือน จึงมีการจัด กลุ่ม โดยแบ่งออกเป็น 6 ปาง (ได้แก่ ปางกลาง ปางนอก ปางโตน ปางขอน ปางใน 1 และปางใน 2 - การตั้งชื่อจะ ตั้งตามตำแหน่งของปางที่ตั้งอยู่ เช่น ปางนอกคือส่วนที่อยู่ด้านหน้าสุดของหมู่บ้าน) ชุมชนบางแห่งอาจจะเรียกการ จัดการในลักษณะนีว้ า่ ‘คุม้ ’ แต่ทบ่ี า้ นแม่กำปองเรียกว่า ‘ปาง’ คำว่า ‘ปาง’ นี้ ก็เหมือนกับทีพ่ กั เช่น โรงแรมปางสวนแก้ว คำนีม้ ที ม่ี าจากสมัยก่อน พ่อค้าทีต่ า่ งม้าต่างวัวขนถ่ายสินค้ามา หากหยุดพักตรงไหน ตรงนัน้ เรียกว่า ปาง บ้านแม่กำปอง จึงยังคงใช้คำว่า ปาง เหมือนเดิม ซึ่งแต่ละปางก็จะมีคณะกรรมการบริหารอยู่ เพื่อเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนและ พัฒนา และยังมีการแบ่งแยกย่อยเป็นกลุ่มอาชีพ ใครถนัดงานกลุ่มไหนก็ไปอยู่กลุ่มนั้น ซึ่งมีทั้งกลุ่มแปรรูป ผลิตภัณฑ์ และกลุ่มรายได้ต่างๆ (เช่น กลุ่มเครื่องเรือนไม้ไผ่ กลุ่มตีเหล็ก กลุ่มสมุนไพรพื้นบ้าน กลุ่มนวดแผน โบราณ กลุ่มดนตรีพื้นเมือง กลุ่มฟ้อนรำ กลุ่มมัคคุเทศก์ กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชา กาแฟ มันฝรั่งทอดกรอบ กลุ่ม จักสานหมวก ตะกร้าใส่ไข่) และเนื่องจากบ้านแม่กำปองมีการผลิตไฟฟ้าใช้เอง จึงมีองค์กรหนึ่งที่เป็นหลักของชุมชน คือ สหกรณ์ไฟฟ้าโครงการหลวงแม่กำปอง จำกัด 3) การบริหารจัดการรายได้ การที่บ้านแม่กำปองเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวหรือถึงแม้จะไม่ได้เป็นก็ตามที แต่ หากมีการบริหารจัดการรายได้ไม่ดี ก็สามารถจะทำให้เกิดความแตกแยกหรือสร้างปัญหาความขัดแย้งให้เกิดขึ้นใน ชุมชนได้ ถ้าพูดถึงเฉพาะมิติการท่องเที่ยว เรามีการบริหารจัดการรายได้ในรูปของสหกรณ์ การจัดสรรรายได้ต่างๆ

15


16

จะใช้สหกรณ์เป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งหลังจากพัฒนาเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวมาตั้งแต่ปี 2543 จนมาถึงปีนี้เป็นปีที่ก้าวเข้าสู่ ปีที่ 12 ตลอดเวลาที่ผ่านมาเรายังไม่เคยมีปัญหาเกิดขึ้น สามารถกระจายรายได้ไปสู่สมาชิกได้อย่างทั่วถึง 4) การบริหารจัดการสวัสดิการชุมชน เมื่อมีทุน มีรายได้เพิ่มขึ้นมา จึงมองว่า น่าจะมีการช่วยเหลือพี่น้องใน ชุมชนหลังจากทีเ่ ราร่วมกันพัฒนาหมูบ่ า้ นมาโดยตลอด แต่จะดูแลช่วยเหลือกันในลักษณะอย่างไร ทีส่ ดุ ก็ได้ขอ้ สรุปว่า รายได้ที่มี ส่วนหนึ่งควรนำมาจัดสรรเป็นสวัสดิการให้แก่ชุมชน รายได้ที่เป็นกำไรจากการท่องเที่ยวและโฮมสเตย์ในแต่ละเดือน เรานำมาจัดสรรเพื่อสนับสนุนชุมชนใน 5 เรื่องหลัก ได้แก่ (1) สหกรณ์ไฟฟ้าฯ ของหมู่บ้าน มีการจัดสรรให้ร้อยละ 30 (2) กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน มีการจัดสรร ให้ร้อยละ 20 (3) ฝ่ายบริหารจัดการ ประชาสัมพันธ์ และดูแลเรื่องการตลาด มีการจัดสรรให้ร้อยละ 25 (4) กองทุน สวัสดิการชุมชน มีการจัดสรรให้ร้อยละ 15 และ (5) เป็นค่าตอบแทนให้คณะกรรมการหมู่บ้าน ร้อยละ 10 เฉพาะในส่วนของการจัดตัง้ กองทุนสวัสดิการชุมชนเพือ่ ช่วยเหลือสมาชิก กรณี เกิด ตาย ป่วย และการศึกษา แก่บุตรธิดา มีงบประมาณกองทุน 3.5 แสนบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ กรณีการเกิด เราจะมีการรับขวัญเด็กทีเ่ พิง่ คลอดในฐานะทีเ่ ข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของชุมชน คนละ 1,000 บาท การตาย ถ้าสมาชิกในชุมชนเสียชีวติ จะมีเงินช่วยเหลือในการทำบุญงานศพ ศพละ 1,000 บาท การป่วย หากมีอาการ ป่วยจนกระทั่งต้องนอนโรงพยาบาล จะมีเงินช่วยเหลือให้วันละ 150 บาท แต่กำหนดระยะเวลาอยู่ที่ 10 วัน ส่วน การศึกษา จะมีทนุ การศึกษาสำหรับผูท้ เ่ี รียนจบมัธยมศึกษาปีท่ี 6 และ ปวช. คนละ 1,000 บาท จบ ปวส. 1,500 บาท ปริญญาตรี 2,000 บาท ปริญญาโท 3,000 บาท และปริญญาเอก 5,000 บาท ซึ่งตอนนี้กำลังจะปรับเปลี่ยนในส่วน ของปริญญาเอก โดยตั้งเป้าไว้ 10,000 บาท เพราะเมื่อใดไม่รู้จะมีสักหนึ่งคน สวัสดิการชุมชนเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้คนในชุมชนมีจิตสำนึกเชื่อมโยงไปถึงเรื่องการช่วยกันดูแลรักษา ทรัพยากร เพราะทุนเหล่านีไ้ ด้มาจากการท่องเทีย่ ว การท่องเทีย่ วเกิดจากทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม วิถชี วี ติ ของคนในชุมชน ประเพณีวัฒนธรรม หากสามารถเชื่อมโยงตรงจุดนี้ ก็จะนำไปสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนได้ ผลสำเร็จของชุมชน ประการสำคัญคือ ทำให้สมาชิกในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีงานทำ มีรายได้ มี ทุนเป็นของตนเอง และมีชื่อเสียง วลีที่ว่า มีทุนเป็นของตนเอง หมายถึง ทุนของหมู่บ้าน ที่สามารถกู้ยืมได้ แต่ต้องรวมตัวเป็นกลุ่มอาชีพ เช่น กลุม่ โฮมสเตย์ กำหนดระยะเวลาการใช้เงินคืนภายใน 3 ปี โดยไม่มดี อกเบีย้ แต่ถา้ กูย้ มื เป็นรายบุคคล ดอกเบีย้ ร้อยละ 2 บาทต่อปี ทุนของตนเองนีเ้ ป็นรายได้ทส่ี ะสมมาจากกำไรการท่องเทีย่ ว และได้รบั การสนับสนุนจากหน่วยงาน ภาครัฐ ในส่วนของรางวัลต่างๆ ส่วนเรื่องการมีชื่อเสียง ไม่ใช่ว่าบ้านแม่กำปองอยากดัง แต่ชุมชนที่อยู่ในป่า มักจะโดนดูถูกจากคนพื้นราบ ว่า เป็นคนอยู่ในป่าในเขา ด้อยการศึกษา ไม่มีการพัฒนาตนเอง แต่ ณ วันนีผ้ ู้คนในหมู่บ้านต่างภูมิใจในอัตลักษณ์ ของตน อย่างน้อยก็มีคนรู้จักเรามากขึ้น และสามารถเป็นชุมชนที่พึ่งพาตนเองได้ มีความเข้มแข็ง ผลสำเร็จอีกประการหนึ่งคือ การประกาศเกียรติคุณจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้เป็นชุมชนที่ สามารถพึ่งพาตนเองได้ ได้รับโล่และรางวัลต่างๆ อาทิ โล่รางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม


บรมราชกุมารี ตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจำปี 2553 รางวัลชนะเลิศ ‘หมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็น เป็นสุข’ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ซึ่งตรงกับวิสัยทัศน์ของบ้านแม่กำปอง ที่วางไว้ตั้งแต่เมื่อ 10 กว่าปีก่อน รางวัล ‘Pacific Asia Travel Association (PATA) Gold Awards 2010’ ประเภท สถานที่ท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ส่งไปประกวด ด้านรางวัลส่วนตัว ได้รับเข็มเชิดชูเกียรติ ‘ครูภูมิปัญญาไทย’ ซึ่งเป็นรางวัลที่สำนักงานเลขาธิการสภาการ ศึกษา (สกศ.) มอบให้ ถือเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของชาวบ้าน ไม่ใช่เฉพาะตนเองเท่านั้น เพราะแหล่งท่องเที่ยว ชุมชนบ้านแม่กำปองได้รับการยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสถาบันการ ศึกษาเข้าไปศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง จนมีประกาศเกียรติคุณ รางวัล ‘ศูนย์เรียนรู้ชุมชนดีเด่น’ ระดับจังหวัด และ ประกาศเกียรติคุณ รางวัล ‘ผู้นำอาชีพก้าวหน้าดีเด่น’ ระดับจังหวัด ถือว่าเป็นผลสำเร็จอันหนึ่งที่สำคัญ และล่าสุด ได้รับประกาศเกียรติคุณให้เป็น ‘หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศ’ ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ประจำปี 2554 มีด้วยกันทั้งหมด 3-4 หมู่บ้าน ซึ่งบ้านแม่กำปองเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ได้รับรางวัลนี้ และยังมีรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย สิ่งที่เล่ามาให้ฟังทั้งหมด จะเห็นได้ว่า การจัดการท่องเที่ยวเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนชุมชน ในการ ใช้ทนุ ทางธรรมชาติ ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม เป็นตัวขับเคลือ่ นในการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กบั คนใน ชุมชน ถ้ามีการสร้างความเข้าใจร่วมกัน และทุกหมู่บ้านดำเนินการไปตามกฎกติกา ระเบียบของชุมชนที่ได้วางไว้

17


รายได้จากการท่องเที่ยวและการกระจายรายได้สู่ชุมชน รายได้จากการท่องเที่ยวของบ้านแม่กำปอง ปีที่แล้ว (ปี 2554) 1.9 ล้านบาท ซึ่งจะมีการกระจาย รายได้ในลักษณะของกลุ่มอาชีพต่างๆ คือ กลุ่มโฮมสเตย์จะได้ในส่วนของค่าบริการ นอกจากนี้ก็มีกลุ่ม นวดแผนโบราณ กลุม่ มัคคุเทศก์ซง่ึ เป็นผูน้ ำเทีย่ วในชุมชน กลุม่ แปรรูปผลิตภัณฑ์ชา ซึง่ ตอนนีไ้ ม่เป็นราแล้ว เพราะใช้เครื่องอบฆ่าเชื้อก่อนจะบรรจุขาย และมีผลิตภัณฑ์กาแฟ ซึ่งตอนนี้เริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้น เนื่องจาก พื้นที่แม่กำปองมีความสูงเหมาะสมในการปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิกา (Arabica) คุณภาพที่ได้ถือว่า ถูกใจคอ กาแฟ โดยใช้ตราสินค้า ‘กำปองคอฟฟี่’ แต่เราจะบรรจุถุงฟอยล์ (Foil) และส่งไปตามร้านกาแฟต่างๆ แต่ละร้านจึงนำไปใส่ตราสินค้าของตนเอง ไม่ได้ใช้ตราสินค้าของแม่กำปอง ตอนนี้ที่กรุงเทพฯ เอง ก็มีวาง ขายตามร้านค้าหลายแห่ง การจัดการในรูปแบบของสหกรณ์ก็ถือเป็นการกระจายรายได้อีกทางหนึ่ง ที่จะนำไปสู่สมาชิกได้ ทั่วถึง เพราะทุกหลังคาเรือนเป็นสมาชิกของสหกรณ์ทั้งหมด เนื่องจากมีการใช้ไฟฟ้าร่วมกัน เงินปันผลหรือ ทุนที่ให้กู้ยืม จะบริหารในรูปแบบของสหกรณ์ทั้งหมด และสวัสดิการถือเป็นการคืนกำไร เป็นการสร้าง ภูมิคุ้มกันให้กับคนในชุมชน เพราะสมาชิกทุกคนสามารถมีทุนในการทำประกันให้แก่ตนเองได้ ในอนาคต ถ้ารายได้เพิ่มมากขึ้นกว่านี้ ก็คงจะเพิ่มการช่วยเหลือชาวบ้านให้มากขึ้น

ผลทางด้านสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

18

ปัญหาสังคม เช่น การลักขโมย การพนัน หรือยาเสพติด ทัง้ หมดนีใ้ นหมูบ่ า้ นแม่กำปองไม่มที ง้ั สิน้ เพราะเป็นหมู่บ้านที่อยู่รวมกันเหมือนญาติ การพนันเรียกว่า ไม่มีเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะเป็นข้อตกลง ร่วมกันในชุมชน ยกเว้นประเพณีดั้งเดิมคือ งานศพ ซึ่งมีการพูดคุยกันจึงอนุโลมให้ได้ แต่โดยปรกติ ธรรมดาแล้วห้ามเล่นเด็ดขาด ยาเสพติดก็ไม่มี เพราะเป็นชุมชนที่มีขนาดไม่ใหญ่สักเท่าใด รวมทั้งปัญหา การฆ่าตัวตายก็ไม่มีแม้แต่รายเดียวเช่นกัน ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อปี 2537 - 2538 ก่อนที่จะเข้ามารับตำแหน่งเป็น ผู้ใหญ่บ้าน บ้านแม่กำปองมีวิกฤตเรื่องน้ำ เพราะน้ำที่ใช้ผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอตลอด 24 ชม. สมมติ เปิด เครื่องตอน 6 โมงเย็น พอถึง 8 โมงเช้าก็ดับเอง เพราะน้ำไม่พอ พอมาถึงปี 2539 ได้เข้ามาทำงาน ก็มาคิด ว่า ชาวบ้านยังใช้ไม้ ใช้อะไรเหมือนเดิม ทำไมน้ำถึงแห้ง แต่เมื่อมาดูก็รู้ว่าเป็นเรื่องของไฟป่า ซึ่งเป็น

ตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดความแห้งแล้ง จึงมาทำความเข้าใจกับคนชุมชนว่า เราจะต้องแก้ไขปัญหานี้ โดยการ ทำแนวกันไฟ ตัง้ แต่ปี 2540 จนมาถึงปีนเ้ี ป็นปีท่ี 15 ไม่มไี ฟป่าในพืน้ ทีอ่ กี เลย ขณะเดียวกันป่าก็เพิม่ ขึน้ น้ำเพิม่ ขึน้ ทุกวันนีท้ างหมู่บ้านแม่กำปองผลิตและจ่ายไฟได้ 24 ชม. สามารถเดินเครื่อง 2 เครื่องพร้อมกัน ได้โดยไม่มีปัญหา


เรื่องอากาศ เมื่อไม่มีไฟป่า ปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองก็ไม่มี อีกส่วนหนึ่งคือ เรามีโอกาส ทำวิจัยเรื่องต้นเมี่ยง ซึ่งก่อนหน้านี้ คนเฒ่าคนแก่มักจะบอกว่า ช่วงต้นปี เมี่ยงจะเป็นราดำ จึงมาศึกษาดูว่า ทำไมต้องเป็นราดำตอนต้นปี ตอนกลางปีและปลายปีทำไมถึงไม่เป็น สุดท้ายก็ค้นพบว่า เมี่ยงเป็นราตั้งแต่ ตอนเก็บออกจากต้น สมัยก่อนไม่มีใครมาวิเคราะห์ เมื่อดูจริงๆ จึงรู้ว่าไม่ใช่ราที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แต่คือ ฝุ่นละอองจากการเผาป่าไปติดใบเมี่ยง เมื่อนำไปหมักก็กลายเป็นรา ซึ่งตั้งแต่ทำแนวกันไฟ ไฟไม่ เข้าในพื้นที่ ไม่เคยได้ยินชาวบ้านบอกว่า เมี่ยงเป็นราดำอีกเลย สภาพต้นไม้ในป่าที่บ้านแม่กำปองจึงเพิ่มขึ้นแน่นอน และเรายังทำการอนุรักษ์ อย่างไม้กฤษณา ซึง่ เป็นไม้ทม่ี รี าคาแพง ทีน่ เ่ี ราจะไม่ตดั แต่ชาวบ้านสามารถนำต้นกล้าไปขายได้ ซึง่ ต้นกล้าเหล่านีก้ ส็ ร้างรายได้ เพิ่มให้กับคนในชุมชนอีกทางหนึ่ง

การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม ที่บ้านแม่กำปองจะมีต้นซากุระเมืองไทย (ต้นพญาเสือโคร่ง) ออกดอกสีชมพูบานสะพรัง่ สวยงาม แต่ทางหมูบ่ า้ นไม่ได้จดั งาน เพราะจัดงานที ชาวบ้านก็ เหนื่อยทีหนึ่ง ทางเหนือเรียกว่า น้ำบ่อดูดทราย ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาตลอดทั้งปีน่าจะดีกว่า ความจริงแล้วการท่องเที่ยวในชุมชน ไม่มีช่วงที่เรียกว่า ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) หรือช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว (Low Season) เพราะสามารถสร้างจุดเด่นได้หลายเรื่อง หลายกิจกรรม อย่างการศึกษาดูงาน ก็เป็นเรื่องที่สอดคล้องกับหน่วยงานและสถาบันต่างๆ โดยเฉพาะ อปท. ซึ่งมี งบประมาณในการศึกษาดูงานอยู่ค่อนข้างเยอะ อย่างตอนนี้จังหวัดเชียงใหม่มีการจัดงานพืชสวนโลก ก็มี คนไปเที่ยวงานพืชสวนโลก และมาดูงานที่บ้านแม่กำปองกันเยอะมาก

19


(4) การจัดการป่าชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านถ้ำผึ้ง นายบุญทัน บุญชูดำ ผู้ ใหญ่บ้านถ้ำผึ้ง ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

20

ขอเริ่มต้นด้วยคำขวัญของบ้านถ้ำผึ้ง ที่กล่าวไว้ว่า “ท่องแดนมหัศจรรย์ หลากพรรณพืชสัตว์ ย้อนประวัติสมรภูมิ โอบอุ้มด้วยธรรมชาติและน้ำใจ” เหตุอันใดบ้านถ้ำผึ้งจึงกลายเป็น ‘แดนมหัศจรรย์’ เพราะหมู่บ้านเรามีสิ่งที่เรียกว่า ‘บ่อน้ำดัน-ทรายดูด’ ซึ่งเป็นบ่อน้ำผุดขนาดเล็กที่มีความแปลกตามธรรมชาติ ‘หลากพรรณพืชสัตว์’ ก็คือ บ้านถ้ำผึ้งมีพืช สัตว์ และป่าไม้ อะไรต่างๆ อีกมากมาย ‘ย้อนประวัติสมรภูมิ’ ก็คือ ตั้งแต่ปี 2518-2525 ดินแดนแห่งนี้เป็นดินแดนการต่อสู้ระหว่างชาวบ้านกับ รัฐบาล ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) และสุดท้าย... ‘โอบอุ้มด้วยธรรมชาติและน้ำใจ’ ก็คือ หมู่บ้านแห่งนี้ยังมีความเป็นธรรมชาติ และที่สำคัญ อย่างที่ อ.มิ่งสรรพ์ ได้กล่าวไว้ว่า คนไทยมีน้ำใจมาก โดยเฉพาะคนในหมู่บ้านที่เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว ประวัติความเป็นมาของบ้านถ้ำผึ้ง เป็นชื่อหมู่บ้านซึ่งได้มาจากชื่อของภูเขาลูกหนึ่ง ที่ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน ซึ่ง มีถ้ำและผึ้งอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า ‘บ้านถ้ำผึ้ง’ ประชาชนส่วนใหญ่ของบ้านถ้ำผึ้ง อพยพมาจากต่างถิ่น โดยปี 2508 เริ่มมีหลักฐานว่ามีคนอพยพเข้าไปอยู่ และก่อตัง้ ขึน้ มาเป็นหมูบ่ า้ น โดยการชักชวนลูกหลานมาทำมาหากินและตัง้ ถิน่ ฐาน เพราะพืน้ ทีแ่ ถบนีอ้ ดุ มสมบูรณ์ มีปา่ มีน้ำ และมีอาหาร แต่ปัญหาหนึ่งที่สร้างความยากลำบากตั้งแต่เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านจนทุกวันนี้ คือ เรื่องน้ำสำหรับใช้อุปโภค บริโภคและทำการเกษตร พื้นที่ของบ้านถ้ำผึ้งแม้จะขุดบ่อน้ำตื้น แต่ขุดอย่างไรก็ไม่มีน้ำ ฉะนั้นทางหมู่บ้านจึงต้องใช้ น้ำจากลำธารเป็นหลัก หรือถ้าจะเจาะบ่อบาดาล ต้องเจาะลึกเป็นร้อยเมตรถึงจะมีน้ำผุดขึ้นมา จากชีวิตที่ต้องพึ่งพิงป่า พึ่งพิงน้ำในลำธาร ทำให้คนในบ้านถ้ำผึ้งต้องอาศัยน้ำและป่าเป็นแหล่งพึ่งพิง สำคัญ ทางด้านที่ตั้งของหมู่บ้าน บ้านถ้ำผึ้ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 85 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข


401 ทางไปอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา แยกซ้ายตรงหลักกิโลเมตรที่ 63 ถนนสายปากตรัง-ห้วยหัวแปลง ระยะทาง 10 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศของบ้านถ้ำผึ้ง เป็นหมู่บ้านที่ใหญ่พอสมควร มีเนื้อที่ประมาณ 16 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ สลับภูเขาหินปูน เป็นแหล่งต้นน้ำ มีพื้นที่ป่าร้อยละ 15 ของเนื้อที่หมู่บ้าน ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม มีจำนวนครัวเรือน 493 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 1,293 คน แบ่งเป็น ชาย 647 คน และหญิง 646 คน สภาพทางเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำสวนยางพารา ร้อยละ 65 รองลงมาคือ ปาล์มน้ำมัน กาแฟ และสวนผลไม้ บ้านถ้ำผึ้งก่อนจะมาเป็นดินแดนแห่งแหล่งท่องเที่ยว เราเริ่มต้นด้วยการจัดการป่าชุมชนมาก่อน ตามแผนทีถ่ า่ ยภาพทางอากาศของกรมป่าไม้ บ้านถ้ำผึง้ มีพน้ื ทีค่ งสภาพป่าทัง้ หมด ประมาณ 3,500 ไร่ สภาพป่าส่วนใหญ่ เป็นป่าดิบชื้น ลักษณะเด่นของป่าชุมชนบ้านถ้ำผึ้งคือ รอบๆ ป่า จะมีบ้านของชาวบ้านอาศัยอยู่โดยรอบ บริเวณที่เป็น ป่าชุมชนจะเป็นป่าดั้งเดิม ซึ่งทึบมาก มีสัตว์อยู่อาศัย ทั้งเก้ง หมูป่า ค่าง ชะนี ฯลฯ จุดที่แปลกแตกต่างจากที่เคยไป ศึกษาดูงานป่าชุมชนในหลายพื้นที่ ก็คือ ส่วนมากชาวบ้านที่อื่นมักจะใช้พื้นที่บริเวณภูเขาสูงมาทำป่าชุมชน แต่ของ บ้านถ้ำผึ้งนั้น พื้นที่ป่าชุมชนเป็นที่ราบทั้งหมด ลำดับเหตุการณ์การดำเนินงานด้านป่าชุมชนของบ้านถ้ำผึ้ง แสดงดังตาราง

21


ตาราง การดำเนินงานด้านป่าชุมชนของบ้านถ้ำผึ้ง ปี พ.ศ.

2508

เหตุการณ์

• ราษฎรจากหลายพื้นที่อพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ • ใช้น้ำจากผืนป่าในหมู่บ้าน

สภาพป่า

• อุดมสมบูรณ์เป็นป่าต้นน้ำ • มีน้ำไหลตลอดปีอาหารอุดมสมบูรณ์

2518-2523 • บริษัทที่ได้รับสัมปทานทำไม้เข้าไปตัดไม้ในผืนป่าของ หมู่บ้าน

• ต้นไม้ใหญ่ถูกตัดออก • มีการบุกรุกจับจองพื้นที่

2524

• ชุมชนสามารถรักษาสภาพป่าต้นน้ำไม่ ให้ตัดไม้ขนาดใหญ่ไว้ได้ • ราษฎรกำหนดกฎระเบียบในการรักษา ป่าต้นน้ำ

• ราษฎรประท้วงไม่ให้มีการตัดไม้ใหญ่ออกจากป่าต้นน้ำ เพราะกลัวว่าจะไม่มีน้ำใช้ • บริษัททำไม้หยุดการตัดไม้ในป่าต้นน้ำ

2525-2532 • บริษัททำไม้ได้ทำสัมปทานไม้ในพื้นที่หมู่บ้านอีกครั้งหนึ่ง • ต้นไม้ใหญ่ถูกตัดออก • มีการบุกรุกจับจองพื้นที่ 2532 2533 2541 2543 2544 2550

22

• ปิดสัมปทานป่า

• มีการบุกรุกจับจองพืน้ ทีป่ า่ ถูกทำลายมาก

• กรมชลประทานสร้างฝายน้ำล้นบริเวณป่าต้นน้ำพร้อมวาง • ป่าที่ชุมชนอนุรักษ์ไว้ได้รับการฟื้นฟู ท่อส่งน้ำเข้าหมู่บ้าน ราษฎรมีน้ำใช้สะดวกมากขึ้นทำให้มี และดูแลรักษาไม่ให้มีการบุกรุกทำลาย ราษฎรเห็นความสำคัญของป่าต้นน้ำมากยิ่งขึ้น ป่า • มีการกำหนดพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์เป็น ป่าชุมชนของหมู่บ้าน

• ชุมชนตระหนักและให้ความสำคัญกับป่าต้นน้ำลำธารมาก • พื้นที่ป่าที่เสื่อมโทรมได้รับการดูแลให้ดี ยิ่งขึ้น มีกิจกรรมปลูกป่าเสริมธรรมชาติในพื้นที่ป่าชุมชน ขึ้น • ราษฎรในชุมชนเก็บหาผลผลิตจากป่าชุมชนมาบริโภคและ จำหน่ายได้ • จัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ป่า มีกิจกรรมรณรงค์ให้ราษฎรใน ชุมชนตระหนักถึงประโยชน์ที่ได้รับจากป่าชุมชนมากยิ่ง ขึ้น

• พื้นที่ป่าได้รับการดูแลรักษาและ ป้องกันการบุกรุกทำลายป่า

• จัดตั้งกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

• มีกจิ กรรมท่องเทีย่ วเชิงนิเวศในพืน้ ทีป่ า่

• เข้าร่วมโครงการป่าชุมชนของกรมป่าไม้ คณะกรรมการ ป่าชุมชนกำหนดกติกากฎระเบียบเกี่ยวกับป่าชุมชนและ การวางแผนการบริหารจัดการประสานงานกับหน่วยงาน ต่างๆ และหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อขอรับการสนับสนุนการ ดำเนินงานและสร้างเครือข่าย

• มีการบริหารจัดการป่าที่มีรูปแบบและ แนวทางที่ชัดเจนขึ้น


ระหว่างนั้น ในช่วงปี 2547 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงทราบความเรื่องป่าชุมชนที่ชาวบ้านบ้านถ้ำผึ้งช่วยกันดูแลรักษา พระองค์จึงเสด็จเข้าไปในหมู่บ้านและเรียกให้เข้า เฝ้า เราก็เล่าว่า ชาวบ้านดูแลรักษากันอย่างไร โดยที่ไม่มีงบประมาณสักบาท เพียงแต่อาศัยว่า บ้านถ้ำผึ้งเป็นหมู่บ้าน อาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.) จึงมีเงินกองทุน อพป.อยู่ ประมาณ 80,000 บาท ประกอบกับมีชุดรักษา ความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) เราก็ได้ใช้ชุดเหล่านี้ ช่วยลาดตระเวนดูแลป่าเดือนละ 1-2 ครั้ง รวมทั้งอาศัยชาวบ้าน ที่สร้างบ้านอยู่รอบๆ ป่าคอยเป็นหูเป็นตาถ้ามีใครมาลักลอบตัดไม้ เพราะถ้าป่าเหล่านี้ถูกทำลาย ชุมชนจะเดือดร้อน เรื่องน้ำมาก จึงได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จนทำให้ป่าอยู่มาได้ และมีแนวเขตที่ชัดเจน ส่งผลให้เราได้รับรางวัล ครั้งแรกเมื่อปี 2547 จากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) คือ รางวัลลูกโลกสีเขียว จากนั้นเมื่อข่าวสารถูกแพร่กระจายออกไป ทำให้ผู้คนจำนวนมากเกิดความสนใจว่า บ้านถ้ำผึ้งมีแนวทาง การจัดการป่าชุมชนอย่างไร จึงเริ่มมีคนไปศึกษาดูงานมากขึ้น สุดท้ายก็เกิดเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในรูปแบบ ของการทำโฮมสเตย์ขึ้นมาโดยที่เราไม่รู้ตัว (ทางชุมชนบ้านถ้ำผึ้ง มีการจัดตั้งกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2544 โดยมีกิจกรรมคือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่า) สมมติว่า มีคนมาศึกษาดูงาน ตอนเช้า เขาขอไปเดินดูพื้นที่ป่าชุมชน พอมาถึงตอนเที่ยง บอกว่า ผู้ใหญ่ บ้านผมหิวข้าว จะกินข้าวที่ไหน แถวนี้ไม่มีร้านค้า ก็ต้องไปกินบ้านผู้ใหญ่ พอกินข้าวเสร็จก็กลับออกไป อีก 4 วันก็ มาเดินอีก ดูไปดูมา ถามว่า ผู้ใหญ่แถวนี้มีรีสอร์ทไหม รู้สึกชอบบรรยากาศ อยากนอนที่นี่ แล้วจะให้ไปนอนที่ไหน ไม่มีที่นอน ก็ต้องมานอนบ้านผู้ใหญ่ ทีนี้นิสัยคนใต้เมื่อมีแขกมานอนที่บ้าน เราก็ต้องนอนกับแขกด้วย พอนอนกับ แขกหลายคืน เมียก็บ่น ยางก็ไม่ได้กรีด ทำให้เกิดความคิดขึน้ มาว่าต้องทำอะไรสักอย่าง ประกอบกับมีโอกาสได้รจู้ กั กับคณะอาจารย์ของมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี จึงไปปรึกษา เขาก็บอกให้ผู้ใหญ่รวบรวมชาวบ้านมา แล้วจะเข้าไปแนะนำ เรือ่ งแนวคิดการจัดการท่องเทีย่ วเชิงนิเวศให้ เราก็กลับมารวบรวมชาวบ้านทีท่ ำเรือ่ งการอนุรกั ษ์ปา่ มาด้วยกัน เพือ่ ว่าต่อไป เมื่อคนมาเที่ยวป่าชุมชนเราจะได้มีรายได้ด้วย จากนั้นเมื่อชาวบ้านได้รับการอบรมให้ความรู้ ไปศึกษาดูงาน เรียนรู้ เรื่องการทำโฮมสเตย์แล้ว จึงได้เปิดเป็นหมู่บ้านนำร่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านถ้ำผึ้ง ขึ้น ตอนที่เริ่มเปิดบริการในช่วงแรก เรายังไม่มีสถานที่รับรองนักท่องเที่ยว จึงต้องใช้โรงเรียนเป็นสถานที่ รับรองชัว่ คราวก่อน ต่อมาจึงเปลีย่ นมาใช้ทป่ี ระชุมหมูบ่ า้ น และได้รบั การสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลต้นยวน มาสร้างศูนย์ข้อมูลชุมชนและการท่องเที่ยวบ้านถ้ำผึ้งให้ บ้านถ้ำผึง้ ทำการท่องเทีย่ ว โดยการยืนด้วยขาของชาวบ้านเอง เราใช้วธิ กี ารคล้ายๆ กับพ่อหลวงพรมมินทร์ คือ ระดมหุ้นของชาวบ้าน โดยเขียนระเบียบไว้ว่า ใครอยากทำเรื่องการท่องเที่ยวต้องเข้ามาถือหุ้น อย่างน้อย 100 บาท สูงสุดไม่เกิน 10 หุน้ คือ 1,000 บาท แต่กไ็ ม่มใี ครกล้าลงเงินมากขนาดนัน้ ส่วนใหญ่ลงแค่ 100 บาท เพราะกลัวเงินสูญ เมื่อระดมมาได้ ก็เอาหุ้นหลักมารวมเป็นกองกลาง แล้วจัดตั้งคณะกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านถ้ำผึ้ง จากนั้น ก็ปล่อยเงินให้ชาวบ้านกู้ยืม เพราะตอนแรกที่เริ่มทำบ้านพักโฮมสเตย์ ชาวบ้านไม่ค่อยมีที่นอนหมอนมุ้ง ต้องไปซื้อ แล้วผ่อนส่ง ทำไปได้ประมาณปีกว่า สามารถยืมเงิน อบต.มาได้อีก 50,000 บาท จึงนำมาสมทบให้ชาวบ้านกู้เงินไป สร้างบ้านพักโฮมสเตย์ จากนั้นก็ขยับขยายไปเรื่อยๆ

23


โครงสร้างการบริหารกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านถ้ำผึ้ง มีผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน และมีการแบ่งหน้าที่ให้ แต่ละฝ่ายรับผิดชอบ ประกอบด้วย ฝ่ายบ้านพักโฮมสเตย์ ฝ่ายอาหาร ฝ่ายนำเที่ยว ฝ่ายรถนำเที่ยว และฝ่ายรักษา ความปลอดภัย โดยใช้วิธีบริหารจัดการตัวเองเป็นหลัก มีการขอความช่วยเหลือจากภาครัฐในกรณีที่มีความจำเป็น จริงๆ เท่านั้น เพราะเรามี ชรบ.ทำหน้าที่เป็นฝ่ายรักษาความปลอดภัยอยู่แล้ว นักท่องเที่ยวไปพักโฮมสเตย์ที่จุดไหน ชรบ.เหล่านี้ก็จะขี่รถจักรยานยนต์ตามไปดูแลถึงที่บ้าน ส่วนรถที่ใช้ในการให้บริการก็เป็นของคนในหมู่บ้าน หรือถ้า รถบรรทุกนักท่องเที่ยวเกิดเสียขึ้นมา เจ้าของรถก็จะเป็นคนซ่อมแซมเอง ส่วนกติกาในการจัดการเรื่องรายได้จากการท่องเที่ยว สมมติว่า ราคาค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด 500 บาท เรา จะเก็บจากนักท่องเที่ยว 520 บาท โดย 500 บาทจะกระจายไปให้บ้านพัก แบ่งเป็นค่าอาหารและค่าใช้จ่ายต่างๆ และ จะเหลืออยู่ที่กลุ่มท่องเที่ยว หัวละ 20 บาท และในหัวละ 20 บาทนี้ เราจะนำมารวมกันเมื่อถึงสิ้นปี หลังจากทำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มาสักระยะหนึ่ง เมื่อมีนักท่องเที่ยวเริ่มเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น เราจึงคิดว่า จะต้องขยายพื้นที่ป่าให้เพิ่มมากขึ้น นโยบายของรัฐบาลบอกว่า ต้องปลูกป่า สร้างป่า ซึ่งก็ไม่ได้คัดค้าน แต่จะปลูกที่ไหน เพราะวันนี้พื้นที่ที่รัฐ ออกมาทับซ้อนกับพื้นที่ของชาวบ้านหมดแล้ว ขณะเดียวกันพื้นที่ซึ่งรัฐเข้าไปส่งเสริมว่า ปีหนึ่งๆ ปลูกป่า 30,00040,000 ไร่ ไม่เคยเห็นเลยว่า สุดท้ายป่าที่ปลูกไว้มันจะหลงเหลืออยู่ คนบ้านถ้ำผึ้งจึงเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการใหม่ ให้ปลูกป่าในที่ของเรา เรียกว่า ป่าปลูกชาวบ้าน ไม่ใช่ชาว บ้านปลูกป่า เพราะหมู่บ้านถ้ำผึ้ง มีพื้นที่ 16 ตารางกิโลเมตร แต่วันนี้เหลือเป็นพื้นที่ป่าจริงๆ ไม่เกิน 3,000 กว่าไร่ ถ้าเราขยายพื้นที่เหล่านี้เข้าไปในที่ดินชาวบ้าน ก็จะได้พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นมาอีก 3,000-4,000 ไร่ โดยวิธีการส่งเสริมให้ ชาวบ้านปลูกต้นไม้ในสวนยาง สวนปาล์มน้ำมัน ของตนเอง อย่างพื้นที่ของผู้ใหญ่ ปลูกยางไว้ 10 ไร่ ปลูกต้นไม้ได้ เป็นพันต้น ใส่เข้าไปในแนวแถว ก็ได้ผลดี เช่น ไม้สักหากปลูกไว้ 5 ปี ก็สามารถตัดมาสร้างบ้านได้ การขยายผลก็คือ ให้ป่าเหล่านี้ขยายไปสู่ชาวบ้าน เมื่อขยายไปสู่ชาวบ้านได้สำเร็จ ก็จะเป็นการเพิ่มความรัก ให้คนรูจ้ กั หวงแหน จนนำไปถึงเรือ่ งการดูแลรักษาป่า ซึง่ ช่วงหลังยังได้รบั ความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงไปทำการวิจัยเรื่องป่าชุมชนอีกด้วย จากทีท่ ำเรือ่ งการจัดการป่ามาก่อน พอจัดการป่าเสร็จ ก็ขยายมาเป็นเรือ่ งของการท่องเทีย่ วเชิงนิเวศ จนมาถึงปี 2550 จึงเริ่มมีหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะกรมป่าไม้ ให้ความสนใจ บอกว่า เราทำเรื่องนี้มาเป็น 10 ปีแล้ว ให้นำป่า มาจดทะเบียน ทางกรมจะได้ช่วยส่งเสริมและสนับสนุน บ้านถ้ำผึ้งจึงเข้าร่วมโครงการป่าชุมชนของกรมป่าไม้ และ ได้รับอนุมัติให้จัดทำโครงการ ปีงบประมาณ 2550 มีพื้นที่ป่าที่เข้าร่วมโครงการ 1,600 ไร่ แบ่งออกเป็น 4 แปลง 4 ส่งผลให้การบริหารจัดการป่าของหมู่บ้านมีรูปแบบและแนวทางที่ชัดเจนขึ้น 4

24

ป่าชุมชนบ้านถ้ำผึ้งมีการแบ่งการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ป่าออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ป่าต้นน้ำ ป่าธนาคารอาหารชุมชน และป่าเพื่อการ ใช้สอย สำหรับพื้นที่ส่วนที่ 1 คือป่าต้นน้ำ มีพื้นที่กว่า 311 ไร่ เป็นพื้นที่ราบสลับกับเนินเขา สภาพเป็นป่าดิบชื้น มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ส่วนที่ 2 คือ ป่าธนาคารอาหารชุมชน มีเนื้อที่ 224 ไร่ เดิมเป็นป่าเสื่อมโทรม ชุมชนได้มีการปลูกพืชผัก ไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร ทั้งนี้ยัง


กล่าวได้ว่า บ้านถ้ำผึ้งใช้เรื่องการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการและอนุรักษ์ป่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญของบ้านถ้ำผึ้ง อาทิ ป่าชุมชนบ้านถ้ำผึง้ มีทง้ั ป่าต้นน้ำ ซึง่ เป็นพืน้ ทีป่ า่ เพือ่ การอนุรกั ษ์ มีลำธารทีไ่ หลเชีย่ วมาก ป่าธนาคารอาหารของ ชุมชน จะมีคนกลุ่มต่างๆ เข้าไปศึกษาเรื่องป่าชุมชน อีกทั้งในป่าจะมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ บ่อน้ำดันทรายดูด เหตุผลที่ได้ชื่ออย่างนี้ มาจากปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น ซึ่งจากการวิจัยของกรมทรัพยากรธรณี พบ ว่า บ่อน้ำดัน-ทรายดูด เกิดขึน้ จากรอยเลือ่ นของเปลือกโลก ซึง่ เรียกว่า รอยเลือ่ นคลองมะรุย่ (Klong Marui Fault) 5 ที่จังหวัดพังงา บ่อน้ำดัน-ทรายดูด เป็นบึงน้ำใส มี 2 จุด ซึ่งมีความแตกต่างกัน จุดแรก มีขนาดใหญ่ ความลึกไม่สามารถ วัดได้แน่ชดั ลักษณะจะเป็นทรายดูด หากเอามือกอบทรายขึน้ มาจะมีลกั ษณะเหมือนถูกไฟฟ้าช็อต เมือ่ ปี 2547 ตอนที่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เสด็จพระดำเนินทอดพระเนตร พระองค์รับสั่งว่า ผู้ใหญ่บ้านช่วยลงไปให้ข้าพเจ้าทอด พระเนตรหน่อยสิ ตอนแรกก็กล้าๆ กลัวๆ แต่ผู้ว่าฯ บอกว่า พระองค์รับสั่งแล้วก็ลงไปเถิด จึงต้องลง เมื่อเราลงไป ครั้งแรกจะมีความรู้สึกว่า บึงมีความลึกขนาดเท่าเอว แต่ยืนอยู่สัก 1-2 นาที พอกระดิกตัวนิดเดียวก็จะค่อยจมลงไป เรื่อยๆ เหมือนถูกดูด แต่จากที่เท้าสัมผัสได้ ข้างใต้ลึกสุดนั้นรู้สึกว่าจะมีหินอยู่ อีกจุดในบึงเดียวกัน มีขนาดเล็กกว่า ก้นบึงมีแรงดันจากใต้ดินขึ้นมา ทำให้ทรายใต้น้ำถูกดันขึ้นมาตลอด เวลา หากมีแรงสั่นสะเทือนแรงดันน้ำก็จะยิ่งแรงขึ้น ถ้าลองกระโดดตูมลงไป สัก 1 นาที จะรู้สึกเหมือนข้างล่างมี สปริง ดันให้เราลอยขึ้นมาอยู่เหนือผิวน้ำได้ จากน้ำซึ่งเกิดขึ้นที่บ่อน้ำดัน-ทรายดูด และไหลผ่านหมู่บ้านมาเป็นระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร พอมาถึง จุดหนึ่งก็จะมีภูเขาลูกใหญ่กั้นอยู่ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน บริเวณนี้เป็นจุดชมวิว เรามีการทำบันไดให้เดินขึ้นไป ตอนเช้าจะมีหมอกสวยมาก แตกต่างจากทางภาคเหนือ ซึ่งมีทะเลหมอกเหมือนกัน แต่ของเราพอไปถึงยอดเขาแล้ว เหงื่อจะออกเพราะต้องเดินไต่ภูเขาขึ้นไป ภายในภูเขาจะมีถำ้ ทะลุ มีลำธารไหลอยูข่ า้ งในถ้ำ เรียกว่า ถ้ำน้ำลอด และมีนำ้ ตกธารบางคุยทีเ่ กิดจากป่าต้นน้ำ ที่เราอนุรักษ์ไว้ นอกจากนี้ยังมีถ้ำประวัติศาสตร์สมรภูมิ ซึ่งเมื่อปี 2518-2525 ใช้เป็นพื้นที่หลบซ่อนตัวของพรรค มีการปลูกป่าเสริม และมีการปล่อยให้ป่ามีการฟื้นฟูตัวเองตามธรรมชาติ รวมทั้งมีการปรับปรุงทัศนียภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยว อาทิ บ่อน้ำดัน-ทรายดูด สุดท้าย ส่วนที่ 3 พื้นที่ป่าเพื่อการใช้สอย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ลักษณะเป็นป่าดั้งเดิมที่อยู่กลางหมู่บ้าน มีถนนและ พื้นที่ทำกินของราษฎรคั่นอยู่ตรงกลาง นอกจากเป็นป่าต้นน้ำแล้ว ชุมชนสามารถใช้พื้นที่ป่าบริเวณนี้ได้ตามความจำเป็น แต่ต้องอยู่ภาย ใต้ข้อบังคับของชุมชน เพื่อไม่เป็นการกระทบหรือทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีเนื้อที่รวมประมาณ 1,100 ไร่ (http://www.manager.co.th) 5 กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ทอดตัวผ่านอำเภอบ้านตาขุน, อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอทับปุด, อำเภอเมือง จังหวัดพังงา จากนั้นเลยไปในทะเลอันดามัน ระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กับอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ความยาว 148 กิโลเมตร (http:// th.wikipedia.org)

25


26

คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เมื่อถูกรัฐบาลปราบ กิจกรรมการท่องเทีย่ วเชิงนิเวศของบ้านถ้ำผึง้ นอกจากจะมีสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วธรรมชาติอนั เป็นอัตลักษณ์ของ พื้นที่ และมีการบริการบ้านพักโฮมสเตย์แล้ว ยังมีการส่งเสริมการเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน อย่างวัฒนธรรมประเพณี บางอย่างที่เกือบสูญหายไป เช่น การรำมโนราห์ ซึ่งแทบจะหาดูไม่ได้แล้วในปัจจุบัน แต่เมื่อมีการท่องเที่ยวในชุมชน เกิดขึน้ เราจึงนำเด็กนักเรียนทีอ่ ยูใ่ นโรงเรียนมาฝึกการรำมโนราห์ ให้นกั ท่องเทีย่ วได้รบั ชมความงาม ทำให้เด็กนักเรียนมี รายได้ และเท่ากับว่า เราได้ฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นขึ้นมาให้ผู้คนได้เห็นอีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการทำอาหารพื้นบ้านจากพืชท้องถิ่นซึ่งเกิดจากการอนุรักษ์ป่า เราพยายามส่งเสริม ให้ชาวบ้านไปหาของมาจากในป่า เก็บผักเหลียง ผักกูด มาปรุงเป็นอาหารให้นักท่องเที่ยวได้รับประทาน เพราะวันนี้ กระแสเรื่องสมุนไพร อาหารปลอดสารพิษ กำลังมาแรง โดยวิธีการคือ เราให้นักท่องเที่ยวเดินเข้าป่าไปด้วยกัน ให้ เห็นว่า สิง่ ทีเ่ ราเก็บจากตรงนีแ้ ล้วนำไปแกงให้เขากินนัน้ เป็นของทีป่ ลอดจากสารพิษโดยตรง ซึง่ สิง่ เหล่านีเ้ ราไม่ได้ปลูก แต่ขึ้นมาเองจากในป่า ของป่าเหล่านี้แต่ก่อนชาวบ้านเก็บมากิน แต่เดี๋ยวนี้เก็บมาทำเป็นอาหาร จากที่กำหนึ่งขายได้ 5 บาท แต่เมื่อ นำมาทำเป็นอาหาร ขายได้จานละ 30 บาท เป็นการสร้างจิตสำนึกให้ชาวบ้านคิดว่า นักท่องเที่ยวมาที่บ้านเขา เพราะ เขามีป่า ตอนทำเรื่องอาหารพื้นบ้านใหม่ๆ มีคนโทรมาจากกรุงเทพฯ ว่า อยากจะมากินของป่าที่บ้านถ้ำผึ้ง ช่วย จัดแจงให้ด้วย แต่พอมาถึงเราจัดอาหารป่ามาให้ เขาก็บอกว่า อ้าว ผู้ใหญ่แล้วไหนล่ะของป่า เพราะความตั้งใจของ เขาคือ สัตว์ป่า แต่เราบอกว่า นี่ล่ะอาหารป่า กล้วยป่า คือของป่า จุดนี้ทำให้คนในพื้นที่เห็นร่วมกันว่า สิ่งที่เขาเคย เก็บเคยใช้เล็กๆ น้อยๆ วันหนึ่งเมื่อนำมาแปรเปลี่ยนเป็นอาหาร ทำให้ของเหล่านี้มีมูลค่าเพิ่ม ส่งผลให้เขารู้สึกรัก และหวงแหนป่ามากขึ้น ด้านรายได้ที่ได้รับจากการท่องเที่ยว ทางชุมชนบ้านถ้ำผึ้งจะมีการจัดสรรไว้อย่างเป็นสัดส่วน โดยแบ่งออก เป็น 3 ส่วนหลักคือ ส่วนที่ 1 ร้อยละ 50 ปันผลให้กบั ผูถ้ อื หุน้ ซึง่ เป็นสมาชิกทีท่ ำกิจกรรมมาร่วมกัน ส่วนที่ 2 ร้อยละ 30 เป็นสวัสดิการให้กับหมู่บ้าน และส่วนที่ 3 ร้อยละ 20 เป็นค่าใช้จ่ายภายในกลุ่ม ปัจจุบัน บ้านถ้ำผึ้งสามารถนำรายได้จากการท่องเที่ยวมาบริหารจัดการชุมชนได้มากพอสมควร โดย เฉพาะ ณ วันนี้ เรามีสวัสดิการให้กับคนที่ทำเรื่องป่าชุมชน สมมติว่า มีสมาชิกในกลุ่มเสียชีวิตไป เราก็จะนำเงินไป ช่วยเหลือจัดการศพ ศพละ 10,000 บาท และยังมีกองทุนซึ่งมาจากรางวัลต่างๆ ที่ชุมชนได้รับ นำมารวบรวมเป็น สวัสดิการให้กับคนในชุมชน ผลสำเร็จของชุมชนบ้านถ้ำผึ้ง นอกจากรางวัลลูกโลกสีเขียวของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เมื่อปี 2547 ที่ได้กล่าวไปตอนต้น ในปี 2548 ทางจังหวัดสุราษฎร์ธานียังมอบรางวัลชนะเลิศหมู่บ้านในฝัน ระดับจังหวัดให้

ขณะเดียวกัน เมื่อกรมป่าไม้มองเห็นว่า เราสามารถจัดการป่าได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ปี 2551 ก็มีการประกาศให้ บ้านถ้ำผึ้งเป็นหมู่บ้านป่าชุมชนต้นแบบของภาคใต้ และมาในปี 2553 ก็ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวอีกครั้ง ในประเภท รางวัล ‘สิปปนนท์ เกตุทัต 5 ปีแห่งความยั่งยืน’ รวมทั้งยังได้รับรางวัลด้านป่าชุมชนกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่างๆ ตามมาอีกเป็นจำนวนมาก


เวทีระดมคิด รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง

ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต

มีคำถาม 2 ข้อ คำถามแรกเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ หรือการท่องเที่ยวในชุมชน เวลาเรานึกถึงเรื่องของการท่องเที่ยว คนไทยส่วน ใหญ่มักจะนึกถึงในมุมของคนไปเที่ยว ไปดู ไปสัมผัส ไปรับบริการ ถ้าลึกหน่อยก็คอื ไปเรียนรู้ และอีกกิจกรรม หนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ ไปซื้อของ ส่วนตัวเคยมีโอกาสไปพักฟาร์มสเตย์ (Farmstay) แห่งหนึง่ ทีป่ ระเทศนิวซีแลนด์ ทำให้มแี นวคิด (Concept) เรื่องการท่องเที่ยวแบบใหม่ เราได้เจอฟาร์มสเตย์แห่งนี้ จากการเสิร์ชหาข้อมูล ทางอินเทอร์เน็ต ตอนที่เดินทางกันเข้าไป 10 คน สถาน ที่ตั้งนั้นอยู่ลึกมากกว่าจะเดินทางไปถึง เราก็อยากจะไป เรียนรูว้ า่ เขาเลีย้ งแกะ เลีย้ ววัว อย่างไร เพราะแกะหน้าตา เหมือนกันเปี๊ยบ อย่างที่มีสำนวนกล่าวไว้ว่า เหมือนกัน อย่างกับแกะ แล้วเขารู้ได้อย่างไรว่าแกะตัวไหนเป็นตัว ไหน เมื่ออยู่ไปได้วันสองวัน พอดีมีนัดหมายกับอีกทาง หนึ่ง เขาก็ถามว่า ทำไมรีบกลับ รู้สึกเสียดาย สิ่งที่เขา เสียดายมากๆ ก็คือ การที่มีคนมาท่องเที่ยวจากที่อื่น แต่เขากลับมีเวลาได้เรียนรู้จากเราน้อยเกินไป คำพูดนี้ ทำให้ถึงกับสะดุ้ง ยังจำได้ว่าดีว่า เขาคนนี้ชื่อ แมคโดนัล ถามเขาว่า ทำไมถึงคิดตั้งคำถามแบบนี้ เพราะเป็น คำถามที่ดีมาก เจ้าของฟาร์มสเตย์ตอบว่า รู้อะไรไหม เขาคือชาวไร่ชาวนาทีอ่ ยูห่ า่ งไกล ส่วนพวกท่านคือ พาหะ

ในการนำความรู้ ข้อมูล มาให้แก่เขา ว่าตอนนี้มีอะไร เกิดขึ้นในโลกบ้าง ฟังแล้วรู้สึกขนลุก นี่เขาคิดอะไรมากกว่าเพียงแค่ การหาเงิน หรือได้บริการคนอืน่ ซึง่ ก็เป็นความภาคภูมใิ จ แบบหนึ่ง แต่กลับมองลึกไปถึงขั้นว่า ทำไมเรารีบกลับ เขายังอยากจะรู้เรื่องนั้นเรื่องนี้ต่ออีก ตอนที่คุยกัน เขา ถามถึงเรือ่ งการเมืองของไทย อยากรูว้ า่ คนไทยเป็นอย่างไร อยากรู้วิถีชีวิต พูดคุยกันอย่างสนุกสนาน ตัวอย่างนี้ไม่ได้พบเฉพาะที่ประเทศนิวซีแลนด์ ตอน ไปพักที่ B&B หรือ Bed and Breakfast ประเทศ อังกฤษ ตกเย็นพอกินข้าวเสร็จกลับเข้ามา ก็มีตากับยาย สองคนมาชงชาให้ดื่ม จากนั้นก็รุมถามเรื่องราวต่างๆ มากมาย พูดในทำนองเดียวกันเลยว่า เขาอยู่บ้าน อยู่ป่า อยู่ในที่ห่างไกล เขาเรียนรู้อะไรจากเรา มากกว่าที่เรา เรียนรู้จากเขา เรียนตามตรง ไม่รู้ว่า การท่องเที่ยวของไทยเราได้มี วัตถุประสงค์เกีย่ วกับการเรียนรูห้ รือค่านิยมในลักษณะนี้ มากน้อยแค่ไหน และชาวบ้านได้คิดถึงประเด็นนี้กันบ้าง หรือเปล่า ว่าเราได้ให้บริการ ให้ความรู้กับนักท่องเที่ยว เรื่องป่าชุมชน หรือเรื่องอะไรต่อมิอะไร แต่ได้มีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องราวเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน อีกคำถามหนึ่ง เป็นเรื่องระดับมหภาค ตอนที่นายก รั ฐ มนตรี ข องไทยเดิ น ทางไปที ่ เ มื อ งดาวอส ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ มีคนเกาหลีใต้ซง่ึ เป็นสือ่ มวลชนหรือใครก็ ไม่ทราบ ถามว่า 1 ใน 4 ของนักท่องเที่ยวที่มาประเทศ ไทย มาเที่ยวบริการทางเพศ เป็นเรื่องจริงหรือไม่ และ เราควรจะทำอย่างไร ซึ่งเป็นคำถามที่ดีและอยากรู้ว่า เรื่องนี้มีมูลไหม เพราะ อ.มิ่งสรรพ์ เล่าเมื่อสักครู่ว่า

นักท่องเที่ยวมาเพราะคนไทยบริการเก่ง แต่เวลาเราพูด เรื่องการบริการ มันกว้างมาก ได้รวมถึงเรื่องอะไรบ้าง เพราะเรื่องนี้ก็นับเป็นการบริการอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน

27


นายบุญทัน บุญชูดำ

ผู้ใหญ่บ้านถ้ำผึ้ง ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

การอนุรักษ์ป่าชุมชนของบ้านถ้ำผึ้งเราทำกันแบบ ชาวบ้าน แต่จากที่ได้สัมผัสประสบการณ์มา มีบทเรียน จากนักท่องเที่ยวกลุ่มต่างๆ ในหลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่าง นักท่องเที่ยวจากประเทศญี่ปุ่น เขา สนใจเรื่องการจัดสวัสดิการและการอนุรักษ์ป่าชุมชนมาก จึงเชิญให้ไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น แต่เราตอบกลับไปว่า ชาวบ้านไม่มีเงินไปหรอก จนกระทั่งปีที่แล้ว กรมการ ท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เห็นความ สำคัญ จึงร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ให้งบประมาณเยาวชนของบ้านถ้ำผึ้งไป ดูงานขับเคลื่อนป่าชุมชนที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 20 วัน หรื อ เมื ่ อ ปี ท ี ่ แ ล้ ว ก็ ม ี น ั ก ศึ ก ษาแลกเปลี ่ ย นจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จาก 12 ประเทศ ลงไปศึกษา วิถชี วี ติ ของชาวบ้าน ในจำนวนนัน้ มีนกั ศึกษาจากประเทศ ญีป่ นุ่ 2 คน เก่งมาก ตามไปดูเราทุกขัน้ ตอนอย่างตัง้ อก ตัง้ ใจ ถามทุกอย่าง มาอยู่ 2 คืน 3 วัน วันกลับวันสุดท้าย จึงพูดผ่านล่ามว่า เขารู้สึกสนใจการกรีดยางมาก แต่

คนไทยยังไม่ทันสมัย มีดต้องมานั่งลับ ใช้แรงงานคน เขาเรียนจบกลับไปประเทศของเขาจะไปคิดทำมีดกรีดยาง โดยใช้เครื่องยนต์ ไม่แน่ว่า อีก 2-3 ปีข้างหน้า มีดกรีด ยางจากประเทศญี่ปุ่นอาจจะถูกส่งมาขายที่ประเทศไทย

ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด

ผู้อำนวยการสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

28

หากถามว่ า ชาวบ้ า นได้ ร ั บ ความรู ้ จ ากคนที ่ ม า ท่องเที่ยวไหม คิดว่าได้ และเขาไม่ได้คิดว่า ได้ความรู้ เท่านั้น แต่ยังคิดว่า ได้มาเป็นเพื่อนกัน เป็นเครือข่าย

ของกันและกัน เป็นช่องทางสื่อสารตัวเขาออกไป และ เอาความรู้จากภายนอกเข้ามา เพราะบางทีก็ต้องอาศัย คนภายนอกไปหาเรื่องนั้นเรื่องนี้ที่ชุมชนอยากรู้มาให้ ปัจจุบัน ในต่างประเทศมีสิ่งที่เรียกว่า Volunteer Tourist นักท่องเที่ยวจะมาอยู่กับชาวบ้าน ดึงเอาความรู้ ต่างๆ มาช่วยเหลือ แต่ปัญหาสำคัญคือ ภาษา เพราะ เดี๋ยวนี้นักท่องเที่ยวหลากหลายมาก ไม่ได้ใช้เฉพาะภาษา อังกฤษอย่างเดียว แต่ยังมีภาษาอะไรต่อมิอะไร ยังดีที่ ญี่ปุ่นกับไทยคุยภาษาอังกฤษกันรู้เรื่อง เพราะรู้แค่ครึ่ง เดียวเท่ากัน อย่างไรก็ตาม แนวความคิดของคนต่างชาติ เขา ถือว่า การท่องเที่ยวคือการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ออกไปเรียนรู้ เปิดหูเปิดตา ไม่ใช่ไปเที่ยว ไปกิน และไป พักผ่อน ซึ่งแตกต่างจากคนไทย อยากเสริ ม ว่ า การท่ อ งเที ่ ย วเชิ ง นิ เ วศหรื อ การ

ท่องเที่ยวในชุมชน ตลาดกลุ่มใหญ่ที่สุดในปัจจุบันคือ ชาวบ้าน อย่างเช่น คีรีวงไปดูแม่กำปอง แม่กำปองไปดู คีรีวง ปลายโพงพางไปดูบ้านถ้ำผึ้ง บ้านถ้ำผึ้งไปดูปลาย โพงพาง แต่ในที่สุดเรื่องเหล่านี้จะซาลง เราจึงต้องสร้าง ตลาด ซึ่งตลาดที่จะสร้างได้และสำคัญมากคือ ตลาด การศึกษา เท่าที่เราทำกันอยู่อย่างทุกวันนี้ยังไม่เพียงพอ เวลา นักเรียนลงไปในชุมชนแล้วไม่ใช่ให้ไปดูภมู ปิ ญ ั ญาท้องถิน่ อย่างเดียว แต่จะต้องมีอาจารย์หรือใครสักคนสามารถ อธิบายภูมิปัญญาท้องถิ่นในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ ต้องเอา ความรู้บวกกับภูมิปัญญาของชาวบ้าน เล่าให้นักเรียนฟัง ว่า บ่อน้ำดัน-ทรายดูด เกิดจากอะไร ในเชิงเทอร์โมฟิสิกส์ (Thermal Physics) หรือเชิงธรณีวิทยา หรือการ หมักเมีย่ ง มีกระบวนการทางเคมี (Chemical Process) เป็นอย่างไร หากทำได้เช่นนี้ จึงจะคุ้มค่ากับการนำเข้าไป


เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา และถ้าทำได้สำเร็จเมื่อไหร่ เชื่อมั่นว่า ตลาดการท่องเที่ยวในชุมชนจะไม่มีวันสิ้นสุด เวลานี้แผนงานฯ ของเราก็กำลังพยายามพัฒนาใน เรื่องเหล่านี้ แต่ยังไปไม่ถึงเรื่องการท่องเที่ยว จึงอยาก ฝากไปยังผู้เกี่ยวข้อง ช่วยผลักดันให้การท่องเที่ยวเป็น วิธีการให้การศึกษากับเด็ก ให้เด็กไทยได้ไปลงพื้นที่ จังหวัดอยุธยาทุกคน แล้วเด็กไทยจะรักประเทศไทย โดย ไม่ต้องบอกให้เขายืนตรงเคารพธงชาติ ตอน 8 โมงเช้า แต่ที่ผ่านมาเราไม่เคยใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวใน ลักษณะนี้ ถ้าทำแบบนี้ได้การท่องเที่ยวจะเป็นประโยชน์ กับประเทศมาก สำหรับคำถามเรื่องการมาเที่ยวบริการทางเพศของ นักท่องเที่ยวต่างชาติ ยังไม่เคยทำวิจัยเรื่องนี้ แต่เคย ออกแบบสอบถามนักท่องเที่ยวประมาณ 6,000 คน ให้ เขาลองจัดอันดับ (Rank) บริการทางเพศในประเทศต่างๆ คนที่ตอบข้อนี้น้อยมาก ไม่ค่อยแน่ใจนัก ไม่ถึงร้อยด้วย ซ้ำ เข้าใจว่า คนคงไม่อยากตอบเพราะรู้สึกอาย จึงไม่ใช่ คำถามที่จะไปเที่ยวถามใครก็ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นบริการ พิเศษทีเ่ ขารูก้ นั ถ้าคุยกับตัวแทนนำเทีย่ ว (Tour Agent) ว่ า นั ก ท่ อ งเที ่ ย วมาเชี ย งใหม่ ท ำอะไร เขาจะบอกว่ า

เซ็กส์โฟน (Sex Phone) เยอะมาก แต่ถ้าถามลึกลงไป เขาก็จะรีบปัดว่า อาจารย์เป็นผู้หญิงอย่ารู้เลย จึงจบอยู่ แค่นั้น แต่คิดว่าเรื่องนี้มีอยู่จริง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน อุตสาหกรรมการให้บริการทางเพศของโสเภณีเปลี่ยนไป เยอะ เดี๋ยวนี้มีสตรีต่างชาติเข้ามาให้บริการในไทยเป็น จำนวนมาก เมื่อสมัยเป็นหนุ่มสาว เคยทำวิจัยเรื่องการ ค้าประเวณีในกาด (ตลาด) แต่เดีย๋ วนีค้ นรุน่ (Generation) นั้น หายไปหมด ไม่มีใครทำแบบนั้นอีกแล้ว

นายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์

อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และอดีตผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา

อ.มิ่งสรรพ์ได้ยกประเด็นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวใน ชุมชนว่า มีปญ ั หาการกระจายรายได้ ซึง่ จากตัวอย่างกรณี ศึกษาที่ได้นำเสนอมา คิดว่า การดำเนินการในรูปของ สหกรณ์ เป็นโมเดลทีน่ า่ สนับสนุน น่าเศร้าทีไ่ ม่วา่ รัฐบาล ใดก็ตาม ต่างให้ความสนใจเรื่องสหกรณ์น้อยมาก ไม่ ทราบว่าเพราะอะไร ทั้งที่เรื่องนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อ ประเทศ อย่างเช่น เรื่องการสวมสิทธิ์ข้าว ถ้านำระบบ สหกรณ์ไปใช้จะแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง แต่จะผลักดัน อย่างไร ทั้งที่เป็นสิ่งที่ดี ประเด็นต่อมาคือ ท้องถิ่นได้รับงบประมาณเท่ากัน ทั้งที่มีศักยภาพไม่เท่ากัน โดยปรกติ การจัดสรรเงินจะดู ตามขนาดองค์กรท้องถิ่นและรายได้ แต่มีงบประมาณ ส่วนหนึ่งอยู่ที่กระทรวง ซึ่งเป็นงบหลวง คณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการ คิดว่า ถ้าเกิดเราจะ พัฒนาองค์กรท้องถิ่นให้ทำแผนไปเสนอ ก็จะมีโอกาสได้ รับเงินได้ ซึ่งจะไปสอดคล้องกับประเด็นที่ อ.มิ่งสรรพ์ พูดถึงเรื่องของการมีแผนการท่องเที่ยวมารองรับ นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่เกิดขึ้นกับการท่องเที่ยว เส้นทางลำน้ำเข็ก ซึ่งมีประเด็นปัญหาขัดแย้งระหว่าง อบจ. ซึ่งมีอำนาจในการดูแลน้ำตก ขณะที่ท้องถิ่นดูแล รับผิดชอบเรื่องการท่องเที่ยว ข้อนี้กลับมาสู่เรื่องสำคัญที่ ว่า จะต้องมีการพัฒนาการบริหารจัดการงบประมาณของ องค์กรท้องถิ่น ไม่เฉพาะ อปท. แต่ต้องทำทั้งจังหวัด ถ้า ไม่ทำเช่นนั้นจะไม่มีวันสำเร็จ และเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งต่อการเร่งรัดการกระจายอำนาจ และกระจาย ความรับผิดชอบไปสู่องค์กรท้องถิ่น

29


นายแก้ว สังข์ชู

กรรมการเครือข่ายองค์กรชุมชนเพื่อการปฏิรูป

30

การท่องเที่ยวของประเทศไทยที่ผ่านมาตั้งโจทย์ผิด พอสมควร เพราะการท่องเที่ยวเชิงวิถี เชิงอนุรักษ์ หรือ อะไรก็แล้วแต่ เป็นเชิงธุรกิจ มากกว่าเชิงการเรียนรู้ ส่วนมากเราได้ประโยชน์จากรายได้ แต่เรื่องการเรียนรู้ ถือว่าปิดประตูได้เลย เพราะเราไปตั้งโจทย์ว่าคนมาเที่ยว บ้านเราจะได้มีรายได้ ขายของอย่างเดียว มีการสร้างแรง จูงใจต่างๆ นานา แต่ไม่ได้เอาโจทย์มาวางว่า ต้องเรียนรู้ ร่วมกันระหว่างคนไปเที่ยวกับเจ้าของบ้าน ประเด็นที่ อ.เจิมศักดิ์ ตั้งโจทย์ขึ้นมาจึงเป็นสิ่งที่ดีมาก บางทีหาก เราเรียนรู้ระหว่างวิถีต่อวิถี ให้เข้าใจซึ่งกันและกัน จะนำ ไปสู่การปรับโครงสร้างทางสังคมใหม่ได้ กรณีศึกษาที่นำเสนอมา ล้วนแต่ใช้ธรรมชาติเป็น ตัวนำการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือเชียงใหม่ ส่วนวิถีทางวัฒนธรรมเป็นแค่ตัวเสริม เมื่อเป็นแบบนี้ หากย้อนกลับไปดูก็จะเข้าใจว่า ทำไม นายทุ น ที ่ ม ี อ ำนาจจึ ง ไปรุ ก ที ่ ธ รรมชาติ เ พื ่ อ ขายเอา ผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว ทั้งที่งานวิจัยก็บอกชัดอยู่ แล้วว่า สักวันหนึ่งธรรมชาติจะถูกกลืนหายไป เพราะเรา ไม่เคยจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว เข้ามายิ่งเยอะยิ่งดี จะ ได้มีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งที่บางแห่งจุคนได้แค่ 20-30 คน แต่เราปล่อยให้เกินไป 100 หรือ 2,000 คนก็ได้ เราลืมคิดว่าจะอนุรักษ์ทรัพยากรที่เป็นองค์รวมได้ อย่างไร คำว่า ‘องค์รวม’ หมายความว่า แหล่งท่องเที่ยว ทางภาคเหนือไม่ใช่เป็นของคนภาคเหนือเท่านั้น เพราะ ประเทศนี้เป็นของผมด้วย เราจะทำอย่างไรให้คนไป เที่ยวมีความเป็นเจ้าของร่วมกัน ไม่ใช่โยนขยะเกลื่อน กลาดไปหมด ให้เกิดเป็นโจทย์ร่วมว่า ทุกคนเป็นเจ้าของ

ทั้งเจ้าของในฐานะที่ไปเยือน และเจ้าของในฐานะที่คุณ ดูแลพื้นที่ตรงนั้นอย่างแท้จริง จากที่เคยไปศึกษาดูงานในหลายที่ พบว่า ส่วนใหญ่ การบุกรุกมักจะมาจากคนภายในที่เอาผลประโยชน์จาก ธรรมชาติมาขายเป็นการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นธารน้ำตก สายน้ำ หรือป่า แล้วคนภายในก็ชวนคนภายนอกเข้าไป บุกรุกด้วย วันนี้ถ้าเรากลับหัวกลับหางเสียใหม่ อยากจะเห็น การท่องเที่ยวของประเทศไทยในเชิงวิถีทางวัฒนธรรม เพราะขายได้ยั่งยืนมากกว่า ถ้าเราพัฒนาวิถีทางวัฒนธรรมของเรา มันไม่มีทาง สูญหายหรอก แต่ต้องทำให้จริงจัง ไม่ใช่ทำแค่สักแต่ว่า ได้ทำแล้ว เราจะทำอย่างไรให้วิถีทางวัฒนธรรมไปได้ไกล กว่ า นี ้ อนุ ร ั ก ษ์ ว ิ ถ ี ใ ห้ ลู ก หลานได้ รู ้ จ ั ก และสื บ ทอด เจตนารมณ์ไปถึงอนาคต เพื่อเป็นมรดกให้แก่ลูกหลาน วันนี้สิ่งที่กลัวที่สุดก็คือ วิถีวัฒนธรรมจะเลือนหาย ไปจากสังคมไทยโดยเราไม่รู้ตัว และทำให้โครงสร้างใน สังคมไทยเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคหรือการ จัดการด้านการผลิต นอกจากนี้ท้องถิ่นควรจะต้องมี

งบประมาณก้อนหนึ่งสำหรับการทำงานวิจัย โดยจ้าง นักวิชาการเข้าไปทำการศึกษา เมื่อวิจัยเสร็จแล้ว ท้องถิ่น ไม่ตอ้ งทำเอง เนือ่ งจากเราไม่มคี วามถนัด อาจจะต้องจ้าง บริษัทให้เข้ามาช่วยบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว สุ ด ท้ า ยขอฝากว่ า อยากเห็ น วิ ถ ี ว ั ฒ นธรรมไทย เป็นการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน และสืบทอดเจตนารมณ์ให้ เป็นมรดกสำหรับลูกหลาน อย่าให้หมดไปจากสังคมไทย


ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด

ผู้อำนวยการสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปัจจัยความสำเร็จของทั้งกรณีบ้านแม่กำปองและ บ้านถ้ำผึ้ง ชุมชนต้องเป็นหุ้นส่วน มีความเข้มแข็ง และ เข้าใจร่วมกันว่า ทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นสมบัติส่วนรวม ไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของใคร นี่เป็นเรื่องแรกที่เราต้องทำ ต้ อ งพั ฒ นาตรงจุ ด นี ้ ใ ห้ ไ ด้ ก ่ อ น ถึ ง จะไปทำเรื ่ อ งการ ท่องเที่ยวได้ ไม่อย่างนั้นการท่องเที่ยวจะไม่ยั่งยืน แต่ชุมชนที่อื่นไม่ได้โชคดีอย่างนี้ ยกตัวอย่างบ้าน แม่กำปองของพ่อหลวงพรมมินทร์ เดิมทีมีสหกรณ์ไฟฟ้า มาก่อน ทุกคนในหมู่บ้านเป็นหุ้นส่วนร่วมกัน และใช้ สหกรณ์ไฟฟ้าเป็นตัวรับผลประโยชน์ แต่สำหรับที่อื่นนั้น อาจจะไม่เป็นอย่างนี้ ถ้าต่างคนต่างทำ ความเหลื่อมล้ำ จะเกิดขึ้นทันที ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ วิถวี ฒ ั นธรรมเป็นเรือ่ งสำคัญก็จริง แต่ตลาดท่องเทีย่ ว ของโลก ร้อยละ 60 เป็นเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ อีกร้อยละ 30 เป็นวิถีวัฒนธรรม เวลาคนมาเที่ยว เขาก็ อยากได้อะไรหลายๆ อย่าง อย่างไรก็ตาม เป็นการดีที่ เราจะไม่ลืมวัฒนธรรม กระนัน้ บางทีจะไปกังวลกับเรือ่ งของวัฒนธรรมมาก เกินไปไม่ได้ มีการศึกษาชิ้นหนึ่งของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ท่านพบว่า บางทีวัฒนธรรมก็เปลี่ยนไป เช่น งานแห่บุญ บั้งไฟ แต่ก่อนเป็นคนแก่ถือปลัดขิกเดินในขบวนแห่ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ มีการจุดบั้งไฟให้พญาแถน ปล่อยน้ำลงมา แต่เนื่องจากวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไป เดีย๋ วนีก้ ลายเป็นสาวๆ ซึง่ ทำให้สวยขึน้ และไม่ถอื ปลัดขิก 6

แล้ว แต่ถือป้ายบริษัทที่ให้การสนับสนุนการจัดงานบุญ บั้งไฟแทน ถามว่า วัฒนธรรมเปลี่ยนไปแล้วเลวร้ายไหม ก็ขึ้น อยู่กับมุมมอง ถ้ามองว่า มันสะท้อนความสัมพันธ์ของ อำนาจทางเศรษฐกิจทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปในสังคม ก็เป็นการ เรียนรู้อีกแบบหนึ่ง อาจจะมีความเปลี่ยนแปลง แต่ ความเชื่อก็ยังคงอยู่ ถ้าเราไปกำหนดให้แน่นอนว่าจะต้อง เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เราก็จะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของ สังคม ทั้งที่สังคมมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตลอดเวลาที่ทำงานเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ จังหวัดเชียงใหม่ จะพูดย้ำอยู่เสมอว่า เราไม่จำเป็นต้อง ‘Look ล้านนา’ (มีลักษณะภายนอกเป็นล้านนา) ตลอด เวลา แต่เราต้อง ‘Feel ล้านนา’ คือ ต้องมีความรู้สึก ของความเป็นล้านนา ซึ่งความรู้สึกนี้อาจจะไม่ใช่อะไรที่ คัดลอก (Copy) มาร้อยละร้อย เหมือนเมื่อหลายร้อยปี ก่อน ซึ่งส่วนนั้นเราก็อนุรักษ์ไว้ แต่จะต้องสร้างสรรค์ให้ เกิดความรูส้ กึ ว่า เห็นทีไรแล้วทำให้คดิ ถึงเชียงใหม่ คิดถึง ล้านนา อันนี้เป็นวัฒนธรรมที่จะถ่ายทอดไปสู่ระดับนานา ประเทศและขายได้เงินเยอะด้วย

นายกฤษฎา อุทยานิน

ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง

เรื่องของการวิจัยที่น้าแก้ว สังข์ชู พูดถึงนั้น มีการ ทำกันค่อนข้างเยอะ ใช้เงินไปหลายร้อยล้านบาท ส่วนที่ เคยเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวง การคลังและธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB: Asian Development Bank) 6 เมื่อตอนที่เกิดภัยพิบัติ

ความช่วยเหลือจากภายนอกในรูปของรัฐ และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและหน่วยงานภายนอกไปสู่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจาก คลื่นสึนามิ ที่ปรากฏเด่นชัด ได้แก่ ความพยายามกำหนดกรอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ประสบภัยสึนามิในระดับมหภาค (Macro) โดยหน่วยงานหลักในขณะนั้นคือ ความร่วมมือระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB:

31


สึนามิขึ้น โดยใช้เงินไปร่วม 60 ล้านบาท การวิจัยมี หลายเรื่องเข้ามาเกี่ยวข้อง และส่วนหนึ่งเกี่ยวกับเรื่อง การท่องเที่ยว เมื่อทำเสร็จแล้ว เข้าใจว่าได้ส่งให้กับทาง สภาพัฒน์ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ) ตอนนั้นผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศบอกว่า จังหวัด ภูเก็ตเต็มหมดแล้ว จะต้องมีการสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งใน กระบวนการนั้น มีทั้งส่วนที่เป็นมหภาค (Macro) เช่น ความต้องการจะทำท่าเรือ 20 ท่า ซึง่ ถ้าคิดอย่างเป็นระบบ ก็จะแค่เหลือ 3 ท่า การแบ่งสรรเขตอุตสาหกรรม เขต อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ เขตป่าไม้ และเขตอะไรต่างๆ เมื่อ เขาเข้ามาวาดวิสัยทัศน์ (Vision) ให้เราดู ก็คงเหมือนกับ ที่หลายท่านพูดถึงตัวอย่างในประเทศอังกฤษ ยุโรป หรือ นิวซีแลนด์ ว่าเราฝันอยากจะเห็นแหล่งธรรมชาติเช่นนั้น ใช่หรือไม่ ซึ่งก็ตกผลึกว่า อยากจะเห็นเช่นนั้น เขาจึงไปทำวิจัยในชั้นต้น ว่าสภาพโดยรอบเป็น อย่างไร หายไป 2 อาทิตย์ ก็หน้าเศร้ากลับมาบอกว่า จากภูเก็ตเข้ามาถึงในดินแดนแถบภาคใต้ตอนกลางนั้น ไม่มปี า่ เหลืออยูแ่ ล้ว เหลืออยูน่ ดิ หนึง่ แถวเขือ่ นรัชชประภา (เชีย่ วหลาน) 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เท่านัน้ อันนีค้ อื สภาพ ความเป็นจริงของประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาไม่เฉพาะ ภาคใต้ แต่เป็นทั่วประเทศ

32

ถามว่า การพัฒนาที่ก่อเกิดโดยตัวชุมชนเอง มี ความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน จากสิ่งที่ได้มีการนำ เสนอในวันนี้ เป็นตัวพิสูจน์ว่า ทำได้จริง ผลการวิจัยที่ทำร่วมกับ ADB เราให้เขาทำเป็น ตัวอย่างขึ้นมาดูว่า ถ้าชาวบ้านจะพัฒนาหรือจัดการ ชุมชนด้วยตัวเองจะต้องใช้เงินสักเท่าไหร่ ประมาณการ ตัวเลขออกมาอยู่ที่ 7-8 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในวิสัยที่สามารถ ทำได้ และสิ่งที่ต้องทำก็มีอยู่ไม่กี่เรื่อง ซึ่งการนำเสนอที่ ผ่านมาก็ตอบคำถามได้เกือบครบหมดแล้ว เช่น จะต้อง มีศูนย์ท่องเที่ยว เพื่อที่จะสื่อสารกับนักท่องเที่ยว มีเรื่อง ของภาษา แผนที่ คำแนะนำต่างๆ และเรื่องสาธารณสุข ความสะอาด รวมถึงภูมิปัญญาชุมชน ยกตัวอย่าง การจัดการโดยชุมชน หลายพืน้ ที่ แม้แต่ น้ำที่จะซื้อเข้าไป คนขายจะต้องเอาปากกาเขียนไว้ที่ขวด เมื่อเดินกลับออกมา ให้เอาขวดเปล่ากลับมาคืนด้วย เป็น วิธีการบริหารจัดการให้พื้นที่เกิดความสะอาด หรื อ

วิธีการรักษาพื้นที่อย่างที่อ่าวบ้านท่าเรือ สมัยนั้นสิ่งที่

ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศแนะนำไว้คือ เมื่อมีความ เจริญมากขึ้น เรือยอร์ชต้องเข้ามาแน่ แต่อ่าวไม่ใช่อ่าว สำหรับจอดเรือยอร์ช เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะต้องเตรียม สำหรับอนาคตข้างหน้า เราก็จะต้องไปสร้างท่าเรือให้ห่าง ออกไปหน่อยหนึ่ง ให้เรือพายจอด ซึ่งใช้เงินไม่มาก อ่าว

Asian Development Bank) ที่มีกรอบแผนพัฒนาพื้นที่ประสบภัยครอบคลุมเนื้อหาการพัฒนาและฟื้นฟูที่ประกอบไปด้วย ยุทธศาสตร์การพัฒนา 5 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาการท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม และสิ่งปลูกสร้าง บริการ สาธารณะและการพัฒนาชุมชน อย่างไรก็ตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้เป็นแนวคิดกว้างๆ ที่ครอบคลุมพื้นที่ประสบภัยสึนามิทั้งหมด มิได้ เป็นแผนเฉพาะเจาะจงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง (รายงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาทุนทางสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในชุมชนประสบภัยพิบัติ สึนามิ: กรณีศึกษา ชุมชนในพื้นที่จังหวัดพังงา, 2554) 7 พื้นที่ส่วนใหญ่ของเขื่อนรัชชประภาติดอุทยานแห่งชาติเขาสกเกือบทั้งหมด อุทยานแห่งชาติดังกล่าวถือเป็นผืนป่าดิบชื้นผืนใหญ่ที่สุด และมีความสำคัญของภาคใต้ มีพื้นที่ทั้งสิ้น 2,296,879.5 ไร่ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง อุดมไปด้วยพืชพรรณมากมายหลาย ชนิด ทั้งพืชพรรณที่หายากและพืชเฉพาะถิ่น นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด (http://travel.kapook.com)


แห่งนี้ก็จะไม่มีเรือยอร์ชเข้าไป อันนี้คือวิธีการที่ชุมชน สามารถจะบริหารจัดการได้ อีกเรื่องหนึ่งคือ วิธีการสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น การมี ร้านขายของทีร่ ะลึก ความจริงเป็นของง่ายๆ แต่สว่ นใหญ่ เรามักจะมองข้าม เช่น โปสการ์ดแผ่นละ 20-30 บาท แม่เหล็ก (Magnet) ของจำลองสถานที่ในชุมชน เช่น บ่อน้ำ ภูเขา นักท่องเที่ยวซื้อแน่นอน และสิ่งเหล่านี้ก็ ทำได้ไม่ยาก อยู่ในขีดความสามารถที่ชุมชนทำได้เอง ทางด้านสิ่งที่ภาครัฐจะต้องดำเนินการคือ การจัด ระบบระเบียบสาธารณูปโภค (Public Utilities) และ สาธารณูปการ (Public Facilities) ซึ่งความจริงถ้าเอา จิ๊กซอว์ (Jigsaw) ของแต่ละพื้นที่มาต่อกัน จะพบว่า เรื่องเหล่านี้ไม่ได้ขาด แต่มันมีมากเกิน เรามีถนนเกิน ท่าเรือเกิน แหล่งชุมชนเกิน จนทำให้บางอย่างมีไม่เพียงพอ เช่น พื้นที่อนุรักษ์ป่าไม่เพียงพอ พื้นที่ของการเพาะพันธุ์ สัตว์ไม่เพียงพอ แต่ถา้ มีการจัดระบบระเบียบ พืน้ ทีเ่ หล่านี้ ก็จะมีเพียงพอขึ้นมา ถนนหรือท่าเรือจะน้อยลงกว่าที่เรา คิดกัน แต่จะเหลือสิง่ ทีท่ ำประโยชน์ในภาพรวมมากขึน้ ถ้าเป็นไปได้สิ่งที่เราคุยกันวันนี้น่าจะรวบรวมและส่ง ไปทีส่ ภาพัฒน์ หรือน่าจะจัดเวทีและเชิญเลขาฯ สภาพัฒน์ หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มา นั่งฟัง จะได้มีการขับเคลื่อนงานอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

นายสุเทพ เกื้อสังข์

รักษาการผู้อำนวยการสำนักท่องเที่ยว โดยชุมชน (สทช.) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่ พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (อพท.)

เรือ่ งของการท่องเทีย่ วขึน้ อยูก่ บั การบริหารจัดการ เรา ไม่ได้มองการท่องเที่ยวที่จมปลักอยู่แต่ในมิติเศรษฐกิจ เท่านั้น แต่มองเรื่องมิติของสังคมและคุณภาพชีวิตได้ โดยเฉพาะวิถีทางวัฒนธรรม ให้เกิดกระบวนการแลก

เปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างคนที่เป็นเจ้าของบ้านกับนักท่อง เที่ยวผู้มาเยือน ความจริงแล้ว การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือสำคัญใน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สมัยที่ยังรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวย การการท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ เขต 1 (สงขลา หาดใหญ่ สตูล) เคยทำงานร่วมกับท่านสมพร ใช้บางยาง (อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา) ตอนเดินทาง ไปที่เกาะยอ จังหวัดสงขลา เขาบอกว่า ที่นี่มีการเลี้ยง ปลากะพงในกระชังที่ดีที่สุดในประเทศไทย เพราะเป็น ปลา 3 น้ำคือ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม คุณลุงคนหนึง่ แกเลีย้ งอยู่ เราอยากเรียนรู้ ก็เข้าไปแลกเปลีย่ น แกถามว่า รู้ไหมปลากะพงที่อร่อยที่สุดน้ำหนักประมาณเท่าไหร่ เรา เรียนมาตั้งเยอะไม่รู้เลย แต่ลุงบอกว่า 4-5 ขีดนี่ล่ะหวาน และอร่อยที่สุด ส่วนเราก็พยายามแลกเปลี่ยนโดยบอก เล่าวิถีของคนเมืองว่า ต้องตื่นตั้งแต่ตี 5 มาขับรถ เพื่อ เอาไปจอดเรียงไว้อยู่บนถนน เรื่องราวเหล่านี้ก็สามารถ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ วิธีคิดเดิมนั้น เราใช้เรื่องธรรมชาติและวัฒนธรรม มารับใช้การท่องเทีย่ วมากเกินไป ทำให้เกิดผลทีว่ า่ บางคน บางกลุ่มเข้าไปฉกฉวยเอาธรรมชาติมาเป็นสมบัติส่วนตัว บุกรุกป่า กัน้ หาดส่วนตัว ทางด้านของประเพณีวฒ ั นธรรม ก็เช่นเดียวกัน แทนทีจ่ ะสืบทอดภารกิจหลักของวัฒนธรรม กลับมาทำให้เป็นเรือ่ งของการท่องเทีย่ ว ทำไปทำมา อย่าง ประเพณีการแห่เทียนพรรษา เดี๋ยวนี้ เทียนใหญ่โตจน เอาเข้าวัดไม่ได้ ตอนหลังจึงมีการปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ นำเรื่อง ของการท่องเทีย่ วมารับใช้วฒ ั นธรรม ให้มกี ารแลกเปลีย่ น เรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมเกิดขึ้น ยกตัวอย่าง ขณะที่ยังรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย สำนักงานนครศรีธรรมราช มีการจัดงานมาฆบูชาขึ้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่ง

33


เป็นประเพณีเก่าแก่ 800 กว่าปี สืบเนือ่ งกันมาไม่ขาดสาย สาระสำคัญของมาฆบูชาคืออะไร ประกอบด้วย 3 อย่างคือ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ 8 ประเพณีกวนข้าว มธุปายาส (ยาคู) 9 และโอวาทปาฏิโมกข์ 10 ฉะนั้นเวลาเรา ทำงานด้านการท่องเที่ยว จะต้องมีการบริหารจัดการเรื่อง เหล่านี้ โดยแบ่งเป็น ให้ นพ.บัญชา พงษ์พานิช (กรรมการ และเลขานุการมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ) ซึง่ รูเ้ รือ่ งศาสนาเป็นอย่างดี มาช่วยตระเตรียมเรือ่ ง พิธกี าร ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัย ราชภัฏจังหวัดนครศรีธรรมราช และนายสวัสดิ์ กฤตรัชตนันต์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช (อดีตผูว้ า่ ราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช) รูเ้ รือ่ งประเพณี 8

34

วัฒนธรรม ก็เข้ามาช่วยดูแลในเรื่องนี้ ทางเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช เจ้าของพื้นที่ เป็นรัฐบาลท้องถิ่น ดูแล พื้นที่ มีเงิน ให้เป็นฝ่ายออกงบประมาณ ชมรมรักบ้าน เกิดนครศรีธรรมราช ปราชญ์ชาวบ้าน ก็มาช่วยกันดูว่า ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตาทวด การแห่ผ้าขึ้นธาตุเมืองนครทำ อย่างไร ทุกฝ่ายต่างก็มาช่วยกัน ส่วน ททท. สำนักงานนครศรีธรรมราช มีหน้าทีห่ ลัก อย่างเดียวคือ ไปชวนคนมาร่วมงาน อย่างเช่น คนใน 5 รัฐ ตอนเหนือของมาเลเซีย ซึง่ ประกอบด้วย รัฐเคดาห์ เปรัค เปอร์ลสิ กลันตัน และปีนงั เหล่านีเ้ ป็นคนมาเลเซียแต่พดู ภาษาไทย เขามีความศรัทธาต่อพระธาตุนครศรีธรรมราช เป็นอย่างมาก พาลูกหลานมาร่วมแห่ผา้ ขึน้ ธาตุเป็นประจำ ทุกปี หรือคนญี่ปุ่นก็มาร่วมทำผ้าพระบฎ 11 โดยใช้ผ้า

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การนำผ้าผืนยาวขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ในวันสำคัญทางศาสนา ชาวนครได้ร่วมมือร่วมใจ กันบริจาคเงินตามกำลังศรัทธานำเงินที่ได้ไปซื้อผ้ามาเย็บต่อกันเป็นแถวยาวนับพันหลา แล้วจัดเป็นขบวนแห่ผ้าขึ้นห่มพระบรมธาตุ เจดีย์ ผ้าที่ขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เรียกว่า “ผ้าพระบฎ” (หรือ พระบต) นิยมใช้สีขาว สีเหลือง สีแดง สำหรับผ้าสีขาวนิยมเขียน ภาพเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ เสด็จออกบรรพชา ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็น เอกลักษณ์ประจำเมืองนครศรีธรรมราช แก่นแท้อยู่ที่การบูชาพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด โดยใช้องค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นตัวแทน (http://th.wikipedia.org) 9 ความเชื่อของชาวนครศรีธรรมราชในเรื่องประเพณีกวนข้าวมธุปายาส (ยาคู) เป็นความเชื่อที่สอดคล้องกับพุทธประวัติตอนที่นาง สุชาดาถวายข้าวมธุปายาสก่อนอภิสัมโพธิกาล ดังหลักฐานที่ปรากฏในพุทธประวัติเล่ม 1 ปริมกาล ปุริจเฉทที่ 5 เหตุนี้ชาวพุทธโดย ทั่วไปในเมืองนคร จึงเชื่อกันว่า ข้าวมธุปายาส นี่เองที่ส่งผลให้พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ จึงเห็นข้าวมธุปายาสเป็นของดีวิเศษที่บันดาล ความสำเร็จได้อย่างเอก ด้วยความเชื่อดังกล่าว ประเพณีกวนข้าวมธุปายาส (ยาคู) จึงเป็นประเพณีที่ชาวนครศรีธรรมราชปฏิบัติ สืบทอดกันมาอย่างแน่นแฟ้น แต่มีข้อปลีกย่อยที่แตกต่างกันไปจากเดิมบ้าง กล่าวคือ แต่เดิมนั้นการกวนข้าวมธุปายาสจะกระทำใน เดือนสิบบ้าง เดือนหกบ้าง แต่ปัจจุบันนี้ทำกันในวันขึ้น 13 ค่ำ และ 15 ค่ำ เดือน 3 การกระทำนั้นแต่เดิมใช้ผู้หญิงพราหมณ์และเชื้อ พระวงศ์ผู้หญิงซึ่งเป็นพรหมจารีเป็นผู้กวน แต่ต่อมาได้มีการยึดถือในเรื่องนี้กันนัก ซึ่งในปัจจุบัน ชาวเมืองมักจะหาเครื่องปรุงมาร่วม กันที่วัดแทนที่จะเป็นตามบ้านเรือนของแต่ละคน (http://www.phram.net) 10 โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็น “ปาติโมกข์” ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงตลอดปฐมโพธิกาล คือ

20 พรรษาแรก เฉพาะครั้งแรกในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน 3) หลังจากตรัสรู้แล้ว 9 เดือน เป็นการแสดงปาติโมกข์ที่ประกอบด้วย องค์ 4 เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ซึ่งมีเพียงครั้งเดียวในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งๆ (http://th.wikipedia.org) 11 พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้า เป็นต้น และแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปล ว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่ พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา (http://th.wikipedia.org)


ย้อมสีธรรมชาติจากหมู่บ้านคีรีวง (ตำบลกำโลน อำเภอ ลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช) ซึ่งปรกติจะเขียน ลวดลายต่างๆ ตามวิถขี องชุมชน แต่เมือ่ มาถึงช่วงมาฆบูชา ก็จะเปลี่ยนมาเขียนลายองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ โอวาทปาฏิ โ มกขคาถา ที ่ ข ึ ้ น ต้ น ว่ า ‘สั พ พะปาปั ส สะ อะกะระณัง (การไม่ทำบาปทั้งปวง) กุสะลัสสูปะสัมปะทา (การทำกุศลให้ถึงพร้อม)...’ แต่เขียนเป็นภาษาญี่ปุ่น จึง เป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เขา นับถือศาสนาเหมือนกันกับเรา เพียงแต่เขาก็ยังคงแต่ง ตัวแบบญี่ปุ่น แล้วเอาผ้าพระบฎที่ทำเองมาร่วมแห่กับ ชาวเมืองนครศรีธรรมราช จากตัวอย่างนี้จึงขึ้นอยู่กับว่า เราจะบริหารจัดการ สิ่งที่มีคุณค่าซึ่งเรามีอยู่แล้วอย่างไร ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม มากขึ้น แน่นอนว่า โรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้า คนขับรถ รับจ้าง อาจจะได้เงิน ซึ่งถือเป็นการกระจายรายได้ แต่ถ้า เรามองข้ามไปอีกมิตหิ นึง่ ให้เกิดกระบวนการแลกเปลีย่ น เรียนรู้และความภาคภูมิใจร่วมกัน สิ่งเหล่านี้จะมีมูลค่า กว่าตัวเงินด้วยซ้ำ และสิ่งสำคัญที่สุดคือ ทำให้เกิดความ ยั่งยืน วันนี้ชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศมีต้นทุนในเรื่องเหล่า นี ้ ม ากมาย แต่ จ ะทำอย่ า งไรให้ ม ี ก ารนำมาใช้ บ ริ ห าร จัดการเรื่องการท่องเที่ยว อย่างที่ อ.มิ่งสรรพ์ กล่าวว่า เมื่อก่อนเราอาจจะรวยกันอยู่เฉพาะในเมือง แต่ตอนนี้ กำลังจะมีการต่อท่อจากในเมืองไปสูช่ มุ ชน แต่หมายความ ว่า ชุมชนก็ต้องมีความพร้อม ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมรับผิดชอบในสิ่งที่ เกิดขึ้นร่วมกัน รวมทั้งตระหนักว่า การพัฒนาใดก็ตาม ไม่มีผลสำเร็จทั้งหมด อาจจะมีล้มเหลวอยู่บ้าง แต่ต้อง เอาข้อที่ล้มเหลวนั้นมาเรียนรู้เพื่อพัฒนาต่อ

ปัจจุบัน ในเขตพื้นที่พิเศษของ อพท. เรากำลัง ดำเนินการเรือ่ งเหล่านีอ้ ยู่ โดยมีทา่ น พ.อ.ดร.นาฬิกอติภคั แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่ พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (อพท.) ให้การสนับสนุนและให้ความสำคัญ ผลักดันจน เกิดเป็นสำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน (สทช.) ขึ้นมา

นายศานิต กล้าแท้

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพนทอง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ท้องถิ่นที่มีการจัดการตนเอง ณ วันนี้มีครอบคลุม ทั่วประเทศ โดยเฉพาะท้องถิ่นที่เป็นตำบลสุขภาวะ เขา สามารถที่จะจัดการตนเอง ภายใต้วิถีชุมชนของเขา อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึง่ มองว่าท้องถิน่ ยังต้องมีพเ่ี ลีย้ ง ในเรือ่ งของการท่องเทีย่ ว ยกตัวอย่าง ภาคอีสาน เดีย๋ วนี้ ในหลายท้องถิ่น การไถนาแบบโบราณโดยใช้ควายนั้น เหลือน้อยเต็มที แต่ถ้า สสส.มาเป็นเจ้าภาพ และให้ ททท.เป็นพี่เลี้ยง เชื่อมร้อยกัน ทำแปลงนาสาธิต ให้

นักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นฝรั่ง จีน ญี่ปุ่น หรือไต้หวัน มา ร่วมกันทำนา เก็บเกี่ยวผลผลิต สร้างความผูกพัน ช่วง เวลาระหว่างนั้นก็จัดหลักสูตรการทำอาหารพื้นบ้าน การ ถนอมอาหาร ตามบริบทของแต่ละภูมิภาค เหมือนอย่าง เวลาเราไปประเทศเกาหลีใต้ ก็ตอ้ งไปเรียนทำกิมจิ เป็นต้น ททท.น่าจะไปทำนำร่องกับตำบลสุขภาวะ ซึ่งมีหลาก หลายวัฒนธรรมและองค์ความรู้ เช่น บางทีฝรั่งมาเจอ การทอดไข่แบบเมืองไทย เขาอาจจะรู้สึกสนใจเพราะที่ บ้านเขาไม่ได้ทอดแบบนี้ หรือท้องถิ่นอาจจะมีการออกใบ ประกาศว่า คุณสามารถทำผัดกะเพราไก่ได้ เรื่องราว เหล่านี้ท้องถิ่นพร้อมจะทำ แต่นักวิชาการต้องเข้ามาสอน เทคนิคหรือเพิ่มเติมองค์ความรู้ให้มากขึ้น

35


นางสาวกนกอร บุรพธานินทร์

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มีนโยบายส่งเสริม การท่องเที่ยวลดโลกร้อน ภายใต้แคมเปญ ‘7 Greens Concept 12 ท่องเที่ยวสดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม’ โดยทาง ททท.ร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสถาบันสิ่ง แวดล้อมไทย ซึ่งในปี 2555 มีพื้นที่นำร่อง ได้แก่ จังหวัด น่าน, อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี, อำเภอ เชียงคาน จังหวัดเลย และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮอ่ งสอน เรามีการเข้าไปร่วมประชุมกับพื้นที่ ให้ความรู้ รับ ทราบปัญหาจากการท่องเที่ยว และสิ่งสำคัญที่มุ่งเน้นคือ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้มีการจัดประกวด โรงแรมและชุมชนที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี

36

12

ในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการแปรรูป อาหาร แม้ไม่ใช่ภารกิจของ ททท.โดยตรง แต่เราอาจจะ ประสานกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย หรือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าไป เป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาสินค้าที่ระลึกได้ อย่ า งไรก็ ต าม ททท.เป็ น องค์ ก รที ่ ท ำเรื ่ อ งการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวมานาน จึงรับทราบถึงปัญหาและ ผลกระทบจากการท่ อ งเที ่ ย วเป็ น อย่ า งมาก คิ ด ว่ า นโยบายของท่ า นผู ้ ว ่ า ฯ ที ่ ไ ด้ ด ำเนิ น การ คงจะช่ ว ย ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและขยายผลไป ยังพื้นที่ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

7 Greens Concept ประกอบด้วย 1) Green Heart 2) Green Activity 3) Green Community 4) Green Logistics 5) Green Service 6) Green Attraction และ 7) Green Plus (http://7greens.tourismthailand.org)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.