วังใหม่

Page 1

ÇѧãËÁ‹

àÃ×èͧ & ÀÒ¾ : ¹Ô¸Ô ¹Ô¸ÔÇÕáØÅ




วังใหม่ เรื่อง​และ​ภาพ โดย นิธิ นิธิ​วีร​กุล


Healthy Planet สุขคดีท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการเรียนรู้ วังใหม่ เรื่องและภาพ นิธิ นิธิวีรกุล ออกแบบปกและรูปเล่ม ณฐพัฒญ์ อาชวรังสรรค์ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ

978- 616 -7374- 78- 9 บรรณาธิการอำนวยการ

ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ กองบรรณาธิการ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย

อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2343 1500 โทรสาร 0 2343 1501 www.thaihealth.or.th และ www.punsook.org พิมพ์ครั้งที่ 1

พฤศจิกายน 2555


ดำเนินการผลิตโดย

เปนไท พับลิชชิ่ง Penthai Publishing โทรศัพท์ 0 2736 9918 โทรสาร 0 2736 8891 waymagazine@yahoo.com


คำนำ

ท่ามกลาง​กระแส​วกิ ฤติเ​ศรษฐกิจโ​ลก​ครัง้ ใ​หญ่เ​ป็นป​ ระวัตกิ ารณ์​ ใน​รอบ​หลาย​สิบ​ปี ทำให้​เกิด​การ​ตั้ง​คำถาม​ว่า​วิกฤติ​นี้​จะ​ใหญ่​ขึ้นอ​ ีก​ เพียง​ใด จะ​ยืดเ​ยื้อ​ขนาด​ไหน และ​วิกฤติ​นี้​จะ​ส่ง​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​สังคม​ ไทย​ชุมชน​หมู่บ้าน​ไทย​มาก​น้อย​เพียง​ใด ความ​วิตก​ดัง​กล่าว​อาจ​จะ​ ไม่​เกิด​ขึ้น​เลย​หาก​ปัจจุบัน​ชุมชน​หมู่บ้าน​ไทย​ไม่​ถูก​ลาก​เข้า​สู่​ระบบ​ การ​ผลิต​เพื่อ​ขาย นัก​วิชา​การ​หลายๆ ท่าน ได้​วิเคราะห์​ถึง​ระบบ​เศรษฐกิจ​ของ​ ประเทศไทย​วา่ ใ​น​ระบบ​ทนุ นิยม​ยงั ค​ ง​มอ​ี กี ร​ ะบบ​ดำรง​อยูใ​่ น​ลกั ษณะ​ คู่​ขนาน นั่น​คือ​ระบบ​เศรษฐกิจ​ชุมชน​หรือ​อาจ​จะ​กล่าว​เป็น​ศัพท์​ สมัยใหม่​ได้​ว่า​ระบบ​เศรษฐกิจ​แบบ​พอ​เพียง ใน​อดีตช​ มุ ชน​หมูบ่ า้ น​จะ​มว​ี ถิ ช​ี วี ติ ท​ เ​ี่ รียบ​งา่ ย​เน้นค​ วาม​พอ​เพียง มี​ครอบครัว​เป็น​หน่วย​การ​ผลิต การ​ช่วย​เหลือ​ซึ่ง​กัน​และ​กัน​มี​น้ำใจ​ เป็นพ​ นื้ ฐ​ าน​ของ​ชวี ติ มีพ​ ธิ กี รรม​ตา่ งๆ เป็นร​ ะบบ​การ​จดั การ​ใน​ชมุ ชน​ และ​ให้​ความ​สำคัญ​ของ​บรรพบุรุษ ผู้​เฒ่าผ​ ู้​แก่ ครอบครัว ต่อม​ า​หลังจ​ าก​รฐั แ​ ละ​ระบบ​ทนุ นิยม​ได้เ​ข้าไป​มอ​ี ทิ ธิพล​ตอ่ ช​ มุ ชน การ​ผลิต​เชิงเดี่ยว​และ​ลัทธิ​บริโภค​นิยม​ทำให้​ชาว​บ้าน​มี​ราย​จ่าย​ที่​ เป็น​ตัว​เงิน​มาก​ขึ้น เพียง​เท่านั้น​ยัง​ไม่​พอ​สิ่ง​ที่​ทำลาย​ความ​เข้ม​แข็ง​ ของ​ชุมชน​ที่​มาก​ที่สุด คือ รัฐ​และ​ทุน​เข้าไป​ถ่าย​โอน​ทรัพยากร​จาก​ ระบบ​ชุมชน​หมู่บ้าน


ยิ่ง​รัฐ​และ​ทุน​เข้าไป​กอบโกย​มาก​เท่าไร ชุมชน​หมู่บ้าน​ไทย​ ยิ่ง​ประสบ​ความ​อ่อนแอ คำ​พูด​ดัง​กล่าว​ไม่ใช่​คำ​พูด​ลอยๆ ที่​ไม่มี​ หลักฐาน​รองรับ หาก​แต่​เมื่อ​กวาดตา​ไป​ทั่ว​แผ่น​ดิน​ไทย หลัง​การ​ ประกาศ​แผน​พัฒนา​เศรษฐกิจ​และ​สังคม​มากว่า 40 ปี จะ​มี​สัก​กี่​ ชุมชน​ทค​ี่ นใน​ชมุ ชน​ไม่ป​ ระสบ​ปญ ั หา​ความ​ยากจน ไม่ป​ ระสบ​ปญ ั หา​ สิ่ง​แวดล้อม หรือไ​ม่​ประสบ​ปัญหา​สุขภาพ จาก​สถานการณ์​ดัง​กล่าว​ถึง​เวลา​แล้ว​หรือ​ยัง​ที่​สังคม​ไทย​ควร​ กลับม​ า​เน้นก​ าร​พฒ ั นา​ทไ​ี่ ม่ม​ อง​แต่ม​ ติ ป​ิ ระสิทธิภาพ การ​สร้าง​มลู ค่า​ และ​กำไร​หรือ​การ​ตลาด​ด้าน​เดียว แต่​ควร​จะ​เป็นเ​พื่อ​ประโยชน์​ของ​ ชุมชน​และ​สังคม เรา​ไม่​ควร​ลด​ทอน​ผู้คน​ลง​ไป​เป็นเ​พียง​ตัวเลข หาก​ควร​เป็น​เพื่อ​ ส่งเ​สริมศ​ กั ยภาพ​และ​ศกั ดิศ์ รีค​ วาม​เป็นม​ นุษย์ คำ​ตอบ​สำหรับค​ ำถาม​ ข้าง​ต้นน​ ี้ คงจะ​ต้อง​ช่วย​กัน​ค้นหา ไม่ว​ ่า​จะ​ใช้​ระยะ​เวลา​นาน​เท่าไร

คณะ​ผู้​จัดท​ ำ


ถึง...เธอ ฉัน​กลับ​มา​ถึง​บ้าน​ได้​สอง​วัน​แล้ว ฉัน​เพิ่งก​ ลับมา​จาก​ จันทบุรี กล่าว​ให้​จำเพาะ​เจาะจง​หน่อย​กต็​ ้องบอกว่าฉ​ ัน​เพิ่ง​ มา​จาก​ตำบล​เล็กๆ ตำบล​หนึ่ง​ใน​อำเภอนายายอาม​ของ​ จังหวัด​จันทบุรี ตำบล​แห่ง​นี้​มี​คำขวัญ​ประจำ​ตำบล​ง่ายๆ สั้นๆ แต่ล​ ึกซึ้ง (อย่าง​น้อย​ก็​ใน​ความ​คิด​ฉัน) ว่า ‘วังใ​หม่... น่า​อยู่’ ใช่​แล้ว​ล่ะ วัง​ใหม่​คือ​ชื่อ​ของ​ตำบล​ที่​ฉัน​เพิ่งเ​ดินทางไป​ และ​กลับ​มา ฉัน​เดินท​ าง​ไป​ที่​นั่น​ด้วย​เหตุผล​ด้าน​การ​งาน เพื่อศึกษา เพื่อเ​รียน​รู้ และ​นำ​เรื่อง​ราว​ที่ ​ได้​พบ​ตลอด​สามวันส​อง​คืน​ ที่​อยูท่​ ี่​นั่นก​ ลับมา​เรียบ​เรียง​เป็น...ฉัน​จะ​กล่าว​กับ​เธอ​ว่า​ ยังไงดี ? เอา​เป็น​ว่า...จาก​บรรทัดน​ ี้ คือ​เรื่อง​ราว​ของ​ตำบล​แห่งนี้ ชุม​ชน​เล็กๆ ที่​ซ่อน​ตัว​ไม่ ​ไกล​จาก​ถนน​สุขุมวิท​เข้าไป โอบขนาน​ด้วย​ปราการ​ขุนเขา​ธรรมชาติ และ​ดกดื่นด​ ้วย​ พืชผล​นานาพรรณ ล้วน​แล้ว​แต่​คือ​ผล​ไม้​ที่​เธอ​ชอบ​ทั้ง​สิ้น แต่​มากกว่าน​ ั้น เรื่อง​ราว​ของ​ตำบล​วัง​ใหม่ คือ​เรื่อง​ราว​ ของ​กลุ่ม​คน​ที่​พยายาม​รวม​ตัว​เพื่อส​ร้าง​บ้าน​และ​ชุมชน​ของ​ พวก​เขา​ให้​เป็น​ชุมชน​ที่​สม​กับ​คำ​ว่า ‘น่าอ​ ยู่’


บางที​นะ เรื่อง​ราว​ของ​พวก​เขา ชาววังใ​หม่ อาจ​ตอบ​ คำถาม​ทคี่​ รั้ง​หนึ่งเ​ธอ​เคย​ถาม​ฉัน​เมื่อน​ าน​มา​แล้ว ยัง​จำ​ได้ ​ไหม คำถาม​นั้น ? “เรา​จะ​มี​ชีวิต​อยูอ่​ ย่าง​พอ​กิน​พอใช้​ท่ามกลาง​กระแส​ สังคม​บริโภค​อันเ​ชี่ยว​กราก​นี้ ​ได้​อย่างไร” มา​เถอะ ตาม​ฉัน​มอง​ย้อน​กลับ​ไป​ระหว่าง​บรรทัด แล้ว​ฉัน​จะ​เล่า​ให้​ฟัง •


01 ท่าใหม่-วัง​ใหม่ ‘อะไร​นะ ?’ ‘วัง​ใหม่​ครับ’ ‘ท่าใหม่เ​ห​รอ’ ‘ไม่ใช่​ครับ วังใ​หม่ อบต.วัง​ใหม่​ ที่​อยูใ่​น​อำเภอ​นา​ยาย​อาม​น่ะ​ครับ’ ‘ไม่รู้​จัก​เลย​ครับ ผม​อยู่​จันท์​มา​ยี่สิบ​ปี​แล้ว​ยัง​ไม่​เคย​ได้ยิน​ชื่อ​ วังใหม่​เลย แน่ใจ​นะ​ไม่ใช่ท​ ่าใหม่’ ‘ไม่ใช่​ครับ’ ‘งั้นก​ ็​ไม่รแู้​ ล้ว​ล่ะ’ ‘แล้วร​ ถ​พี่​ผ่าน​อำเภอ​นา​ยาย​อาม​ไหม?’ ‘ผ่าน​สิ จะ​ขึ้น​ก่อน​ไหม ไป​ถึงโ​น่น​ค่อย​ว่าก​ ัน’ ฉันพ​ ยักห​ น้า จาก​ตรง​นนั้ เ​อง ฉันก​ บั ว​ งั ใ​หม่จ​ งึ ไ​ด้เ​ริม่ ต​ น้ ท​ ำความ​ รู้จัก​กัน ซึ่ง​ก็​เกือบ​ไป​แล้ว​ตาม​บท​สนทนา​ข้าง​ต้น​นั่น​แหละ ใจแป้วเ​ลย​นะ ตอน​ที่​คน​คุม​คิว​รถ​ตทู้​ ี่​บริเวณ​ก่อน​ถึง​ห้าง​เซ็นจูรี่ ไม่​ไกล​จาก​อนุสาวรีย์​ชัยสมรภูมิ​บอก​กับ​ฉัน​ว่า​เขา​ไม่รู้​จัก​วังใหม่ ฉันอด​คิด​ขึ้น​มา​ใน​เสี้ยว​วินาที​นั้น​ไม่​ได้ที​เดียว​เชียว​ว่า​หรือ​ฉัน​จะ​ พลาด​อีกแล้ว ฉัน​ชอบ​พลาด​เรื่อง​ง่ายๆ อย่าง​ที่​คน​ทั่วไป​ปกติ​เขา​ไม่​


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

พลาดกัน เป็น​บ่อย​จน​คู่​ชีวิต​ฉัน​เอือม ฉัน​นึก​กลัว แต่​ไม่ร​ู้เหมือน​กัน​ว่า​อะไร​ดลใจ​บอก​ฉัน​ให้​ควักเงิน​ จ่าย​คน​คมุ ค​ วิ ร​ ถ​ตู้ แล้วก​ า้ ว​ขนึ้ ไ​ป​บน​รถ​ทงั้ ท​ ย​ี่ งั ไ​ม่แ​ น่ใจ​ดว้ ย​ซำ้ ว​ า่ ม​ นั ​ จะ​พา​ฉันไ​ป​ส่ง​ยัง​จุด​หมาย​ปลาย​ทาง​อย่าง​ทฉี่​ ัน​หวัง​หรือ​เปล่า? แต่​บาง​ครั้ง ชีวิต​และ​การ​เดิน​ทาง เหมือน​กัน​อยูห่​ นึ่ง​อย่าง เรา​ ไม่มี​วันรูว้​ ่า​ปลาย​ทาง​จะ​ไป​จบ​ลง​ทใี่​ด หรือ​แม้ต​ ่อ​ให้​รู้ และ​ไป​ถึงแ​ ล้ว ก็ใช่ว่าที่​นั่น​จะ​เป็น​ปลาย​ทาง​สุดท้าย... ด้วย​เวลา​เกือบ​สาม​ชั่วโมง​กับ​ระยะ​ทาง 245 กิโลเมตร​โดย​ ประมาณ รถ​ตู้​ปล่อย​ฉัน​ลง ณ สี่​แยก​หนอง​สี​งา หลังจ​ ากฉัน​แน่ใจ​ แล้ว​ว่า​ตำบล​วัง​ใหม่​นั้น​มี​อยู่​จริง โดย​ตัวแทน​จาก​องค์การ​บริหาร​ ส่วนตำบล​ของ​วังใหม่​ได้​โทร​ถึง​ฉัน​ไม่​นาน​หลัง​จาก​รถ​ตู้​เคลื่อน​ขึ้น​สู่​ ทางด่วน​สาย​บูรพา​วิถี​ว่า หาก​ฉันเ​ข้าเ​ขต​อำเภอ​นา​ยาย​อาม​เมื่อ​ไหร่​ ให้​บอก​คน​ขับ​ว่า​จะ​ลง​ที่​สี่​แยก​หนอง​สี​งา แล้ว​จะ​มี​คน​ออก​ไป​รอ​รับ

11


12

วัง​ใหม่

‘ให้​มอง​หา​รถ​มิต​ซู​บชิ​ ิ ส​ตราด้า​ ​ไว้​นะ​คะ’ น้ำ​เสียง​จริงใจ​ผ่าน​สัญญาณ​ไร้ส​ าย​บอก​ฉัน และ​เมื่อ​ฉัน​ก้าวลง​ จาก​รถ​ตู้ รถ​กระบะ​สญ ั ชาติญ ​ ปี่ นุ่ ค​ นั ห​ นึง่ ก​ จ​็ อด​รอ​ฉนั อ​ ยูแ่ ล้ว กระจก​ ด้าน​ผู้​โดยสาร​ถูก​หมุนล​ ง แล้ว​หญิง​สาว​ผิว​คล้ำ ตาคม​ก็​ส่ง​เสียง​ถาม​ ฉัน​จาก​ใน​รถ หลัง​ทักทาย และ​ถามไถ่ จน​แน่ใจ​ว่า​เรา​ต่าง​ใช่​คน​ที่​รอ ฉัน​ก็​ ก้าว​ขึ้น​ไป​นั่ง​ใน​รถ​กระบะ​ของ โสภาวรรณ ติณชาติ หรือ โสภา นักวิชาการ​ของ​สำนักงาน​กองทุน​สนับสนุน​การ​สร้าง​เสริมสุข​ภาพ หรือ สสส. ประจำ​ตำบล​วัง​ใหม่​ที่​ได้​รับคำ​สั่ง​จาก​ปลัด อบต. ​ให้ค​ อย​ ดูแล​ฉัน​อย่า​ให้​ขาดตก​บกพร่อง​ตลอด​สาม​วัน​สอง​คืน​ที่​ฉัน​มา​อาศัย​ และ​เรียน​รอ​ู้ ยูท​่ นี่ ี่ และ​กค​็ ณ ุ โ​สภา​ตาคม​คน​นน​ี้ เี่ อง​ทท​ี่ ำให้ฉ​ นั ไ​ด้ซ​ งึ้ ถ​ งึ ​ คำ​ว่า ‘คน​จันท์น​ ั้น​จริงใจ และ​ใจดี​ต่อ​ทุก​คน​ที่มา​เยี่ยมเยียน’ เพราะ​เพียง​แรก​รู้จัก วัง​ใหม่​ก็​ต้อนรับ​ฉัน​ด้วย​อาหาร​มื้อ​เที่ยง​ ที่​ประกอบ​ด้วย​ไข่​เจียว ต้มยำ​น้ำ​ใส และ​คั่ว​กลิ้ง ซึ่ง​ทำ​ขึ้น​เอง​โดย​ แม่บ้าน​ประจำ​องค์การ​บริหาร​ส่วน​ตำบล​วัง​ใหม่ “ที่ ​นี่ ​จ ะ​มี ​ก าร​เ ก็ บ ​ค่ า ​กั บ ข้ า ว​ร าย​ล ะ​ส าม​ร้ อ ย​ต่ อ ​เ ดื อ น​เ พื่ อ​ สนับสนุนใ​ห้ท​ ำ​กบั ข้าว​กนิ ก​ นั เอง” ใกล้ร​ งุ่ จิตต​รง ปลัด​อบต.วังใหม่​ บอก​กับ​ฉัน​ด้วย​รอย​ยิ้ม ก่อน​จะ​เชื้อ​เชิญ​ให้​ฉัน​ลอง​ลิ้ม​ชิม​รส​อาหาร​ มื้อแรก​ของ​คน​เมือง​จันท์​ที่​อาจ​ไม่​ได้​แตก​ต่าง​จาก​อาหาร​ทั่วไป​ที่​ หากิน​ได้ต​ าม​ร้าน​อาหาร​ตาม​สั่ง แต่​อย่าง​ที่​เขา​พูด​กัน ของดี​มัก​มา​ทีหลัง ระหว่าง​อาหาร​มื้อแ​ รก​ทวี่​ ังใ​หม่ด​ ำเนินไ​ป ปลัด​อบต.ได้แ​ นะนำ​


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

ให้​ฉันร​ ู้จัก​ตำบล​วัง​ใหม่​คร่าวๆ ว่า แต่​เดิม​นั้น วัง​ใหม่​เป็นส​ ่วนหนึ่ง​ ของ​ตำบล​วัง​โตนด ซึ่ง​มี​พื้นที่​การ​ปกครอง​จำนวน 20 หมู่บ้าน ด้วย​ จำนวน​หมู่บ้าน และ​ขนาด​พื้นที่​อัน​กว้าง​ขวาง​นี้​เอง จึง​เป็นอ​ ุปสรรค​ ต่อ​การ​ดูแล​ของ​เจ้า​หน้าที่ ทำให้ด​ ูแล​ได้​ไม่ท​ ั่ว​ถึง จึงไ​ด้​มี​การ​ขอ​แยก​ หมู่บ้าน​ออก​ไป​จำนวน 10 หมู่บ้าน เมื่อ​วัน​ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2538 แล้ว​ตั้ง​เป็น​ตำบล​ใหม่ ให้​ชื่อ ‘วัง​ใหม่’ ซึ่ง​ที่มา​ที่ไป​ของ​ชื่อ เกิดจาก​คลอง​วงั โ​ตนด​ได้เ​กิดแ​ อ่งน​ ำ้ ข​ นึ้ ม​ า​ใหม่จ​ าก​การ​เปลีย่ น​ทศิ ทาง​ ไหล​ของ​น้ำ ซึ่ง​ชาว​บ้าน​เรียก​แอ่ง​ว่า วัง แอ่ง​ใหม่ จึงก​ ลาย​มา​เป็น ‘วัง​ใหม่’ ใน​ที่สุด องค์การ​บริหาร​ส่วน​ตำบล​วัง​ใหม่ มี​พื้นที่​การ​ปกครอง​ทั้งหมด 65,646 ตาราง​กิโลเมตร มี​จำนวน​ครัว​เรือน 1,982 ครัวเรือน ประชากร​ทั้งหมด 5,436 คน ต่าง​กระจาย​อาศัย​อยูใ่​น​หมู่บ้าน 10

13


14

วัง​ใหม่

หมู่บ้าน ดังนี้ (แผนที่ หน้าถ​ ัด​ไป) 1.หมู่ 1 (บ้าน​หิน​ดาด) 2.หมู่ 2 (บ้าน​วัง​ใหม่) 3.หมู่ 3 (บ้าน​วัง​กระดาน) 4.หมู่ 4 (บ้าน​ดง​ทับ​มอญ) 5.หมู่ 5 (บ้าน​ห้วง​โมกข์) 6.หมู่ 6 (บ้าน​ปาก​ทาง​แทรคเตอร์) 7.หมู่ 7 (บ้าน​คลอง​ลาว) 8.หมู่ 8 (บ้าน​หิน​กอง) 9.หมู่ 9 (บ้าน​ซับย​ ี่​หร่า) 10.หมู่ 10 (บ้าน​แก่ง​น้อย) “แล้ว​แหล่งเ​รียน​รตู้​ ่างๆ ​เกิด​ขึ้นม​ า​จาก​อะไร​ครับ” ฉัน​ถาม​ปลัด​อบต. หลัง​จาก​เธอ​แนะนำ​ฉนั ​ให้​รจู้ กั ​ตำบล​วงั ใหม่​ อย่าง​คร่าวๆ พอ​ให้​เห็น​ภาพ​รวม ใกล้​รุ่ง (ผู้​ซึ่งว​ ัน​ต่อ​มา​ฉัน​ได้​รู้​จาก​ โสภา ว่า​น้อง​นุ่ง​ใน​ อบต. แทบ​ทั้งหมด​สะดวก​เรียก​เธอ​ด้วย​ความ​ รักใคร่​ว่า ‘พี่​ปอ’ ซึ่ง​ย่อ​มา​จาก​ปลัด มากกว่า​ชื่อ​จริง หรือ​กระทั่ง​ ชือ่ เล่นจ​ ริงๆ ของ​แก) อธิบาย​ให้ฉ​ นั ฟ​ งั ว​ า่ แหล่งเ​รียน​รต​ู้ า่ งๆ เกิดจาก​ การ​รวม​กลุม่ ข​ อง​ชาว​บา้ น แต่ละ​หมู่ ไม่ว​ า่ ก​ ลุม่ อ​ นุรกั ษ์ป​ า่ ช​ มุ ชน กลุม่ ​ ทำ​พริก​ไทย กลุ่ม​อาสา​สมัคร​ดูแล​ผู้​สูง​อายุ และ​คน​พิการ รวมถึง​ กลุ่ม​ดอกไม้​จันทน์ ให้บ​ งั เอิญเ​หลือเ​กิน ขณะ​ทเ​ี่ รา​กำลังพ​ ดู ค​ ยุ ก​ นั ถ​ งึ เ​รือ่ ง​กลุม่ ต​ า่ งๆ


อำเภอแกงหางแมว

สัญลักษณ คลอง

สถานีอนามัย วัด โรงเรียน อบต.วังใหม แหลงการเรียนรู บานโฮมเสตย ทางหลวงชนบท ทางหลวงทองถิ่น เขตหมูบาน คลองวังโตนด

วังโตน

เทือกเขาทะลาย

หมู 10 คลอ งวัง โตน ด

กองทุนแมของแผนดิน

หมู 8

กองทุนหมูบาน

อำเภอทาใหม

คลองวังโตนด

เทือกเขาทะลาย

หมู 9

การติดตา, ตอกิ่งพันธุ กลุม อสม.กาวหนา

นวัตกรรมการดูแลสุขภาพชุมชน (รพ.สต.คลองลาว)

ศูนยพัฒนาเด็กเล็กวัดคลองลาว เทือกเขาทะลาย

ปราชญชาวบาน ธนาคารขยะ โรงเรียนบานคลองลาว

ตำบลนายายอาม

หมู 7

คลอ

กลุมเพาะเห็ดนางฟา

งวังโ ตนด

กลุมอนุรักษปาชุมชน หมู 4

เศรษฐกิจพอเพียง กลุมดอกไมจันทน

หมู 1

กลุมทำพริกไทย หมู 6 ถน

นส

ุขุม

ตำบลโตนด

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน กลุมสัจจะสะสมทรัพย วัดหนองสีงา

หมู 5 วิท

กลุมพัฒนาอาชีพ

กลุมเพาะพันธุและเลี้ยงเปด

หมู 2 ถนน

สุขุม

วิท

หมู 3

อาสาสมัครดูแลผูพิการ (อพก.) อาสาสมัครดูแลผูสูงอายุ (อผส.)

รพ.สต.วังใหม กองทุนวันแมสงเสริมสุขภาพตำบล เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนวัดหนองสีงา การบริหารแบบมีสวนรวม แผนแมบทชุมชน/แผนพัฒนาตำบล กองทุน สปสช. กองทุนสวัสดิการชุมชน อาสาสมัครปองกันภัยฝายพลเรือน (สปสร.) ศูนย ICT ชุมชน บานวังกระดาน


16 วัง​ใหม่

อยู่​นั่นเอง โสภา​ซึ่ง​กำลัง​โทรศัพท์​อยู่​ก็ได้​แทรก​ขึ้น​กลาง​บท​สนทนา​ ระหว่าง​ฉนั ก​ บั ป​ ลัด​อบต.วังใ​หม่ ว่า คุณป​ า้ พ ​ฒ ั หรือ นางพนา บุญ​ รักษา ประธาน​กลุ่ม​อาสา​สมัคร​ดูแล​ผู้​สูง​อายุ​ประจำ​ตำบล​วังใหม่​ กำลังจ​ ะ​แวะ​เข้า​มายัง​ที่​ทำ​กา​ร อบ​ต. อยู่​พอดี ก่อน​ทโี่​สภา​จะ​หันม​ า​ ถาม​ฉัน​ว่า “อยาก​เจอ​ไหม ?” ฉัน​พยัก​หน้า ระหว่าง​รอ โสภา​ก็​อธิบาย​ถึงที่​มา​ของ​กลุ่ม​ อาสาสมัคร​ดูแล​ผู้​สูง​อายุ หรือ​ที่​เรียก​ย่อๆ ว่า อผส. เริ่ม​ต้น​จาก​ นโยบาย​ของ​ภาค​รัฐ​โดย​กระทรวง​พัฒนา​สังคม​และ​ความ​มั่นคง​ของ​ มนุษย์ มีน​โย​บาย​ให้​บริการ​ด้าน​สาธารณสุข​แก่​ผสู้​ ูง​อายุอ​ ย่าง​ทั่ว​ถึง ตำบล​วงั ใ​หม่เ​ริม่ ม​ ก​ี าร​สำรวจ​ตงั้ แต่ป​ ี พ.ศ. 2549 พบ​วา่ ใ​น​ตำบล​ทงั้ 10 หมูบ่ า้ น​มผ​ี ส​ู้ งู ​ อายุ​ที่​ขาด​การ​ดูแล​จาก​บุตร​หลาน​จำนวน 738 คน ด้ ว ย​จ ำนวน​ม ากมาย​นี้ ​เ อง อบต.วัง​ใหม่​จึง​ทำการ​ประสาน​ไป​ยัง​โรง​ พยาบาล​สง่ เ​สริมสุขภ​ าพ​ตำบล​วงั ใ​หม่ หรือ รพ.สต.วังใ​หม่ เพือ่ เ​ปิดร​ บั ส​ มัคร​บคุ คล​ทวั่ ไป​ เข้า​รับ​การ​ฝึก​อบรม​เป็น​อาสา​สมัคร​ดูแล​ ผูส้ งู อ​ ายุ โดย​ให้ อผส. 1 คน​ดแู ล​ผส​ู้ งู อ​ ายุ ​ที่​ช่วย​เหลือ​ตัว​เอง​ได้ 15 คน และ​ผู้​ ที่​ช่วย​เหลือ​ตัว​เอง​ไม่​ได้ 5 คน ซึ่ง พนา บุญร​ ักษา ประธาน​กลุ่ม​อาสา​ดูแล​ ผู้สูงอายุต​ ำบล​วัง​ใหม่


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

อผส.แต่ละ​คน​จะ​ได้​รับ​ค่า​ตอบแทน​คนละ 300 บาท​เป็น​ขวัญ​และ​ กำลังใ​จ​ใน​การ​ทำงาน มากกว่าจ​ ะ​เป็นร​ าย​ได้จ​ ริงๆ จังๆ ทัง้ นีเ​้ พราะ​ อาสาสมัคร​ส่วน​ใหญ่​ล้วน​มรี​ าย​ได้​ประจำ​จาก​การ​ทำ​สวน​อยูแ่​ ล้ว ปูพ​ นื้ พ​ อ​ให้เ​ข้าใจ ยังไ​ม่ทนั ท​ อ​ี่ าหาร​กลาง​วนั จ​ ะ​ยอ่ ย​ดี รถ​กระบะ​ คัน​หนึ่ง​ก็​เลี้ยว​เข้า​มา​จอด​ภายใน​ที่​ทำ​กา​ร อบ​ต.วัง​ใหม่ ประตู​ด้าน​ คน​ขับ​เปิด​ให้​หญิง​วัย​กลาง​คน​ก้าว​ลง​มา​จาก​รถ​พร้อม​ด้วย​รอย​ยิ้ม​ที่​ เกลื่อน​อยู่​บน​ใบหน้า “เริม่ จ​ าก​การ​ทเ​ี่ รา​รตู้ วั ว​ า่ แ​ ก่แ​ ล้ว​ น่ะแ​ หละ” ป้าพ​ ฒ ั ต​ อบ เมือ่ ฉ​ นั ​ ถาม​วา่ จ​ ดุ เ​ริม่ ต​ น้ ข​ อง​การ​มา​เป็นอ​ าสา​สมัคร​ของ​แก​มา​จาก​อะไร แล้ว​ จึง​ขยาย​เพิ่ม​เติม​ต่อ​จาก​จุดเ​ริ่ม​ที่​คำนึง​ถึงต​ ัว​เอง​ก่อน​ใน​เบื้อง​ต้น ซึ่ง​ ระยะ​แรก ป้า​พัฒ​ก็​ไม่​ต่าง​จาก​ผู้​สูง​อายุ และ​ชาว​บ้าน​ชาวสวน​ทั่วไป​ ที่​ไม่​ใคร่ส​ นใจ​สุขภาพ​ตัว​เอง​เท่าใด​นัก “จน​เมื่อ​เจ็บ และ​ปวด​ไป​ทั้ง​ตัว​จน​ลุก​ไม่​ไหว​นั่น​แหละ ป้า​จึง​ เริ่ม​ใส่ใจ​ตัวเ​อง” จาก​จุด​เริ่ม​ของ​การ​เอาใจ​ใส่​สุขภาพ​ตัว​เอง​ก่อน​นี่เอง เมื่อ​ป้า​ พัฒ​ทดลอง​ดูแล​ตัว​เอง​ภาย​ใต้ค​ ำ​แนะนำ​ของ​หมอ พยาบาล ประจำ​ รพ.สต.วังใ​หม่ ป้าพ​ ฒ ั ก​ เ​็ ริม่ เ​อ่ยป​ าก​ชกั ชวน​คน​ขา้ ง​บา้ น คนใน​หมูบ่ า้ น และ​ลาม​ไป​จนถึง​คน​ทั้ง​ตำบล​ให้​หัน​มา​ใส่ใจ​ใน​สุขภาพ​ของ​ตัว​เอง​ใน​ ที่สุด โดย​ป้า​พัฒ​เป็น​แกน​นำ​หลัก​ใน​การ​ออกพบปะ​ชาว​บ้าน​สูง​อายุ​ ใน​ตำบล​วัง​ใหม่ สถาน​ที่​พบปะ​ของ​กลุ่ม​อาสา​สมัคร​​เพื่อ​นำ​ข้อมูล​สุขภาพ​ของ​ ชาว​บ้าน​มา​ปรับปรุง​ให้​ทัน​สมัย​ร่วม​กับ​ รพ.สต.วัง​ใหม่ ก็ไม่ใช่​ที่อื่น​

17


18

วัง​ใหม่

ไกล คือต​ ลาด​ประจำ​ชุมชน รวม​ถึงต​ าม​วัด​ต่างๆ ที่​มี​ อยู่​ใน​ตำบล อาทิ วัดส​ นธิ์​ทอง และ​วัด​หนอง​สี​งา โดย​ จะ​ทำ​เช่นน​ เ​ี้ ป็นป​ ระจำ​ทกุ เ​ดือน จาก​นนั้ จึงท​ ำการ​แบ่ง​ กลุม่ 2 กลุม่ คือก​ ลุม่ ส​ แ​ี ดง​เป็นก​ลมุ่ ท​ ช​ี่ ว่ ย​เหลือต​ วั เ​อง​ ไม่​ได้ และ​กลุ่ม​สี​เขียว เป็นก​ลุ่ม​ที่​ช่วย​เหลือ​ตัว​เอง​ได้ สัญลักษณ์​ของ​ทั้ง​สอง​กลุ่ม คือ​การ​ใช้​ผ้า​ผูก​คอ “แรกๆ มัน​ก็​อายน่​ะ คน​แก่ๆ ไม่​ค่อย​มี​ใครทำ แต่​ก็​เพราะ​ไม่มี​ใคร​ทำ​นั้น​แหละ พอ​เรา​ทำ​ไป มัน​ก็​ เริ่มชิน จาก​ที่​แรกๆ พวก​เขา​ไม่​อยาก​มา​ร่วม​กลุ่ม มา​ ทำ​กายภาพบำบัด​อะไร ทีนี้​พอ​เดือน​ไหน​เรา​ไม่​ไป​ก็​ ตั้งตารอ​ละ” “ไม่อ​ าย​กัน​แล้ว” ฉัน​ถาม​ด้วย​รอย​ยิ้ม ป้า​พัฒ​ยิ้มล​ ะไม​ตอบ “ไม่​อาย” “อย่าง​นี้​ป้า​พัฒ​พอ​จะ​พูด​ได้​ไหม​ว่าการ​ที่​ป้า​พัฒ​ ไป​พบ​เจอ​คน​สูงอายุ​ตาม​บ้าน​เป็นการ​ช่วย​เหลือ​ทาง​ จิตใจ​มากกว่า​ทาง​ร่างกาย” ป้า​พัฒ​พยักห​ น้า ตอบ​ฉัน​อย่าง​ถ่อม​ตัว “ได้​นะ ก็​คง​ได้” บท​สนทนา​ก่อน​ลา​จาก​ให้​ป้า​พัฒ​กลับ​ไป​ทำ​หน้าที่​ชาวสวน​ อันเป็น​งาน​หลัก​ที่​เลี้ยง​ชีพ​เช่นเดียว​กับ​ชาว​บ้าน​ใน​ตำบล​วัง​ใหม่​ เกือบ​ทงั้ หมด​จบ​ลง​ทต​ี่ รง​นนั้ ฉันย​ กมือไ​หว้ แล้วม​ อง​แก​ขนึ้ ร​ ถ​กระบะ​


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

คันใหญ่ข​ ับ​ออก​ไป​จาก​ทที่​ ำ​กา​ร อบ​ต.วัง​ใหม่ ไม่รู้​ทำไม นาที​นั้ น ฉั น​คิ ด ถึ ง​ถ้ อ ยคำ​ห นึ่ ง ซึ่ ง​แ ทรก​อ ยู่​ใ น​ เนือ้ หา​ขอ้ มูลท​ วั่ ไป​ของ​ตำบล​วงั ใ​หม่ท​ ฉ​ี่ นั ไ​ด้อ​ า่ น​มาระ​หว่าง​ทาง​จาก​ กรุงเทพฯ มา​ถึง​จันทบุรี ถ้อยคำ​นั้น สั้นๆ ง่ายๆ ได้ใจ​ความ “เรา​ทำ​เพื่อ​เขา” ระหว่าง​ที่​ฉัน​มอง​ด้าน​หลัง​รถ​กระบะ​ป้า​พัฒ​ขับ​จาก​ไป​นั้น​เอง โสภา​ก็​เอ่ย​ถาม​ด้วย​น้ำเ​สียง​ร่าเริง “อยาก​ไป​ดู​เขื่อน​ไหม​พี่” •

19


02 น้ำ ชีวิต และ... สวน​พริกไ​ทย


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

เขื่อน​ที่​โสภา​พา​ฉัน​ไป​ดู​ไม่​ได้​ใหญ่​โต​ กระนั้น​ด้วย​ความ​สูง​กว่า​สิบ​เมตร​จาก​ ระดับ​พื้น​ผิวน้ำ​ขึ้น​มา​ถึง​จุด​ที่​โสภา​และ​ คุณเ​ปิล้ หรืออ​ มั ภาพันธุ์ แสงเดช พา​ ฉัน​มา​ชม นับว่า​เขื่อน​บ้าน​หินดาด​ไม่​ ได้​เป็นเ​พียง​แค่ ‘ฝาย’ อย่าง​ที่​ระบุไว้​ใน​ เอกสาร​ข้อมูล​ของ​ตำบล​วัง​ใหม่​ ฉั น ​ก้ า ว​อ อก​ไ ป​ยื น ​บ น​สั น ​เ ขื่ อ น​ ขนาด​ความ​กว้าง​เพียง​เมตร มี​ราว​กั้น​ สูง​เพียง​เอว แล้ว​มอง​ต่ำ​ลง​ไป​ยัง​มวล​ น้ำ​มหาศาล​ที่​ประตู​ฝาย​ได้​ระบาย​น้ำ​ ออก​จาก​ด้าน​หลัง​เขื่อน​ที่​ส่วน​หนึ่ง​ไหล​ มา​จาก​เทือก​เขา​ทลาย อีกส​ ว่ น​ไหล​หลัง่ ​ ลง​มา​จาก​ฟาก​ฟ้า ฉัน​หัน​ไป​มอง​น้ำ​แน่​นิ่ง​ด้าน​หลัง​ เขื่อน กับน​ ้ำ​ทะลัก​ลู่​ลง​สู่​คลอง​วัง​โตนด​ ด้วย​ความ​รู้สึก​บาง​อย่าง ก่อน​จะ​กด​ ชัตเตอร์เ​ก็บภ​ าพ​มวล​นำ้ ส​ ข​ี นุ่ ค​ ลัก่ ท​ ไ​ี่ หล​ ทะลัก​ลง​สู่​ลำคลอง เดินก​ ลับข​ นึ้ ม​ ายังเ​นินด​ นิ เก็บภ​ าพ​ ใน​มุม​กว้าง​อีก​เล็ก​น้อย ฉัน​ก็​เปรย​ว่า ไม่คิด​ว่า​จันทบุรี​จะ​มี​น้ำ​เยอะ​ขนาด​นี้

21


22

วัง​ใหม่


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

โสภา​บอก​กับ​ฉัน​นี่​ยัง​น้อย หาก​เดือน​ตุลาคม​มา​ถึง น้ำ​จาก​ลำคลอง​ วัง​โตนด​จะ​เอ่อ​ขึ้น​ท่วม​บริเวณ​ที่​เรา​สาม​คน​ยืนอ​ ยูน่​ ี้ รวม​ถึงส​ วน​ของ​ ชาว​บ้าน​ใน​ตำบล​วัง​ใหม่​เกือบ​ทั้งหมด ฉัน​ฟัง​อย่าง​ไม่​อยาก​เชื่อ เพราะ​ด้วย​ตำแหน่ง​ที่​เรา​ยืน​อยู่​นี้​มัน​ ค่อน​ข้าง​สูงม​ าก​อยูแ่​ ล้ว ทว่าน​ ้ำจ​ าก​เขา​ทลาย​ทไี่​หล​บ่าร​ วม​กับน​ ้ำฝ​ น​ ก็​ยัง​ท่วมท้นข​ ึ้น​มายัง​พื้นด​ ิน รวม​ถึงไ​ร่ส​ วน อด​ไม่​ได้ที่​ฉัน​จะ​หวน​คิดถึง​เหตุการณ์​เมื่อ​ปีกลาย เธอ​คง​จำได้ คราว​น้ำ​ท่วม​ใหญ่​ประเทศ​เรา​ตั้งแต่​ภาค​เหนือ​ลง​มา​ถึง​กรุงเทพฯ ครานัน้ แ​ ม่นำ้ ส​ าย​ตา่ งๆ หา​ได้ป​ รานีต​ อ่ ล​ กู ๆ ของ​นาง​ทอี่ าศัยน​ ำ้ ข​ อง​ แม่เ​พือ่ ก​ าร​ยงั ชีพแ​ ต่อ​ ย่าง​ใด กระนัน้ เ​มือ่ ฉ​ นั ถ​ าม​เรือ่ งนีก​้ บั โ​สภา​และ​ เปิ้ล สอง​สาว​ให้​คำ​ตอบ​ด้วย​รอย​ยิ้ม “คน​วงั ใ​หม่เ​จอ​นำ้ ท​ ว่ ม​ทกุ ป​ ี แต่เ​รา​โชค​ดต​ี รง​ทบ​ี่ า้ น​เรา​ระบายน้ำ​ เร็ว ท่วม​อยู่​วันส​ อง​วัน​กล็​ ด​แล้ว” ฉันฟ​ งั โ​สภา​แล้วก​ น​็ กึ ว​ า่ ค​ น​วงั ใ​หม่โ​ชค​ดจ​ี งั เ​ลย แม้จ​ ะ​โดน​นำ้ ท่วม​ ทุก​ปี แต่​แม่น้ำ​ก็​ปรานี เพียง​ท่วม​แค่​วัน​สอง​วัน​ก็​ลด ไม่​เหมือน​ บ้านเช่า​ของ​ฉัน​ตอน​น้ำ​ท่วม เรา​ครอบครัว​ทั้ง​สาม​ชีวิต รวม​อีกห​ นึ่ง​ สุนัข ต้อง​อพยพ​โยก​ย้าย​ไป​อยู่​บน​คอนโดมิเนียม กักตุน​อาหาร​ การกินด​ ้วย​ไม่รู้​ว่า​เมื่อ​ไหร่​มวล​น้ำ​มหาศาล​จะ​ลด​ลง วิถี​ชีวิต​ที่​กลมกลืน​อยู่​กับ​ธรรมชาติ รู้​ฤดูกาล และ​ปรับ​ตัว​เพื่อ​ อยูก่​ ับ​มัน อาจ​เป็น​หนึ่ง​ใน​ความ​โชค​ดี​ของ​ชาววัง​ใหม่ แม้​ยัง​มพี​ ี่​น้อง​ เกษตรกร​บาง​ส่วน​ที่​โชค​ไม่​ดี​เท่า กระนั้น เรา​สามารถ​พูด​ได้​ไหม​ว่า​ ไม่​ได้เ​ป็น​เพราะ​โชค​เพียง​อย่าง​เดียว

23


24

วัง​ใหม่

เป็น​ไป​ได้​ไหม​ที่​หาก​เรา​เคารพ​ธรรมชาติ ไม่​สร้าง​สิ่ง​กีดขวาง​ เส้นทาง​น้ำ น้ำ​ก็​จะ​ปรานี​ต่อ​เรา​เฉก​เช่น​แม่​ที่​กรุณา​ต่อ​บุตร ไม่ใช่​เพราะ​เหตุ​นี้​หรอก​หรือ คน​โบ​ร่ำ​โบราณ​ถึง​อยู่​กับ​น้ำ​ท่วม​ เมื่อ​ฤดู​น้ำ​หลาก​มา​ถึง​ได้​อย่าง​สนุกสนาน กระทั่ง​เกิด​เพลง​ฉ่อย เพลง​ชาว​เรือ​ที่​ชาวนาชาวไร่​ใน​พื้นที่​ภาค​กลาง​ใช้​ขับ​ร้อง​เล่น​กัน​ยาม​ หน้า​น้ำ​มา​ถึง มิใช่​เพราะ​ความ​คิดท​ ี่​ว่า น้ำม​ า​เดี๋ยว​ก็​ลด​หรอก​หรือ เกษตรกร​ ในอดีต​จึง​อยู่​กับ​น้ำ​ได้​อย่าง​เข้าใจ เคารพ มิใช่​เห็น​น้ำ​เป็น​น้อง เป็นศัตรูท​ ี่​ต้อง​กีดขวาง กาง​กั้น กระทั่ง​นำ​ไป​สู่​การ​ขัดแ​ ย้ง​ใน​ที่สุด “ชิม​ลองกอง​ไหม” ง่ายๆ แบบ​นั้น ไม่มี​พิธีรีตอง โสภา​และ​เปิ้ล​ก็​เชิญ​ชวน​ฉัน​เข้า​ สวน​แรก​ของ​ชาววัง​ใหม่

พริกไ​ทย​ของ​เรา​หอม และ​อร่อย จาก​ฝาย​กนั้ น​ ำ้ บ​ า้ น​หนิ ด​ าด โสภา​ทำ​หน้าทีส่​ ารถี ขณะ​ทเ​ี่ ปิล้ ท​ ำ​ หน้าทีค​่ น​นำทาง​ทด​ี่ พ​ี า​มายังส​ วน​เล็กๆ ทีซ​่ อ่ น​ลกึ เ​ข้าไป​จาก​ถนน​สาย​ หลักท​ ต​ี่ ดั ผ​ า่ น​ตำบล​วงั ใ​หม่ เข้าส​ อ​ู่ าณา​บริเวณ​ของ​สวน​พริกไ​ทย ซึง่ ม​ ี พี่​แมว หรือ สมฤทัย สุทโธ​การ เป็น​ทั้งเ​จ้าของ​สวน และ​ประธาน​ กลุ่ม​ทำ​พริก​ไทย หมู่ 5 “จุด​เริ่ม​ทำ​พริก​ไทย​ของ​พี่​ก็​มา​จาก​ใน​ช่วง​ที่​ราคา​พริก​ไทย​ ตกต่ำ เรา​เห็นว​ า่ ข​ อง​เรา​เหลือเ​ยอะ​กเ​็ ลย​รวม​กลุม่ ก​ นั แ​ ปรรูปพ​ ริก​ ไทย​ของ​เรา​ให้​เป็นพ​ ริก​ไทย​แห้ง และ​ก็​พริก​ไทย​ป่น ของ​เรา​มี​ทั้ง​


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

พริกไ​ทยดำ และ​พริกไ​ทยขาว พริกไ​ทย​ขาว​ของ​วงั ใ​หม่ ไม่​ฟอก​สี​นะ” พีแ​่ มว​พดู ด​ ว้ ย​รอย​ยมิ้ ก​ งึ่ ย​ วั่ เย้า หลังโ​สภา​แนะนำ​ ฉันใ​ห้ป​ ระธาน​กลุม่ ท​ ำ​พริกไ​ทย หมู่ 5 รูจ้ กั ขณะ​ทเ​ี่ ปิล้ ​ เดินเ​ข้าไป​ใน​บา้ น​อย่าง​คน​คนุ้ เ​คย​เพือ่ ไ​ป​เล่นก​ บั ห​ ลาน​ สาว​เกิด​ใหม่​ของ​พี่​แมว เสียง​หัว​เราะ​เอิ๊​กอ๊า​กดัง​ ออก​มา​จาก​ส่วน​ใน​ของ​บ้าน​ชั้น​เดียว​ที่​ปลูก​ อยู่​ท่ามกลาง​สวน​พริก​ไทย ฉั น ​ม อง​ไ ป​ร อบ​บ้ า น​ที่ ​ก รุ่ น ​ก ลิ่ น​ พริกไทย มี​ผลิตภัณฑ์​ของ​กลุ่ม​ที่​ผ่านการ​ แปรรูป​แล้ว​ใน​รูป​ของ​พริกไทยป่น​วาง​ สมฤทัย สุทโธ​การ ประธาน​กลุ่ม​ ทำ​พริก​ไทย หมู่ 5

25


26

วัง​ใหม่

อยู่​บน​โต๊ะ​เรียง​ซ้อน​เป็น​ชั้น​รอ​ส่ง​ให้​กับ​บรรดา​ร้าน​อาหาร​ต่างๆ ทั้ง​ ใน​ตัว​ตำบล​วังใหม่ และ​ใน​ตัว​เมือง​จันทบุรี โดย​พี่​แมว​ได้บ​ อก​กับ​ฉัน​ ว่าเ​จ้าแ​ รก​ทย​ี่ ยุ ง​สง่ เ​สริมใ​ห้พ​ แ​ี่ มว​แปรรูปพ​ ริกไ​ทย คือร​ า้ น​ของ​ฝาก​ชอื่ ​ ดัง​แห่งเ​มือง​จันทบุรี หลังเ​จ้าของ​ร้าน​ได้​ชิมพ​ ริก​ไทย​ฝีมือ​พี่​แมว แล้ว​ ติดใจ​ความหอม ความ​เผ็ด​ที่​หาไม่ไ​ด้​จาก​พริก​ไทย​ทอี่​ ื่น “ประกอบ​กับ​ช่วง​นั้น​รัฐบาล​ส่ง​เสริม​ให้​มผี​ ลิตภัณฑ์โอท็อปด้วย พี่​ก็​ไป​ขอ​ขึ้น​ทะเบียน​กับ​อำเภอ​นา​ยาย​อาม แล้ว​ก็​เลย​ได้​มา” โอท็อปที่​พี่​แมว​ได้​มา เป็น​สินค้า​ประเภท​ผู้​ผลิต​ชุมชน​ที่​เป็น​ เจ้าของ​ราย​เดียว ใน​ความ​หมาย​นี้​ก็​คือ​ตัวนาง​สมฤทัย สุทโธ​การ เมือ่ ไ​ด้ต​ ราโอท็อปมา พี่แ​ มว​กไ็ ด้ร​ บั ย​ อด​สงั่ ซ​ อื้ เ​ข้าม​ า​มาก​ขนึ้ จ​ น​ แทบ​ไม่พ​ อ​ขาย การ​รวม​กลุ่มท​ ำ​พริกไ​ทย​หมู่ 5 จึงไ​ด้เ​ริ่มต​ ้น แรกเริ่ม พี่​แมว​ชักชวน​ญาติมิตร​เข้า​มา​ร่วม​ด้วย​ก่อน กระทั่ง​ขยับ​ขยาย​กลุ่ม​ ออก​ไป​ยัง​ชาว​บ้าน​ทำ​สวน​พริก​ไทย​รา​ยอื่นๆ ใน​หมู่ 5 จน​กลาย​ เป็นกลุ่มท​ ี่​ทำ​ราย​ได้แก่ช​ ุมชน​ได้​อย่าง​พอ​สมควร เห็น​ได้​ชัด​จาก​ผลิตภัณฑ์​กลุ่ม​ติด​ตราสิน​ค้า​ทเี่​ตรียม​จัด​ส่ง ซึ่งม​ ี​ จำนวน​ไม่น​ ้อย​เลย​ที​เดียว ฉัน​อด​ถาม​พี่​แมว​ตาม​ประสา​ผู้​ไม่​เคย​ลงแรง​ผลิต​สินค้า​เอง​ ว่ายาก​ไหม​กว่า​จะ​มา​ถึง​วัน​นี้ “ยาก เพราะ​พี่​ต้อง​ทำ​คน​เดียว​หมด” แม้ป​ าก​จะ​บอก​วา่ เ​หนือ่ ย แต่ใ​น​แวว​ตา​ทร​ี่ ะยิบด​ ว้ ย​ความ​สขุ ข​ อง​ คน​ที่​ก้าว​มา​ถึง​จุดค​ ำ​ว่า ‘พอ’ แล้ว ฉัน​เชื่อ​ว่า​แม้เ​หนื่อย​กว่า​นี้ พี่แมว​ ก็​คง​ไม่​ปริปาก


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

“ทุก​วัน​นี้​ก็​ยัง​ทำ​ด้วย​ตัว​เอง​อยู่ แม้​จะ​มี​จ้าง​คน​มา​ช่วย​เก็บ​เม็ด​ พริก​ไทย​บ้าง ส่วน​ใหญ่​ก็​เป็นญ ​ าติๆ กัน​ทั้ง​นั้น” พูด​แล้ว​พี่​แมว​ก็​พา​ฉัน​เข้าชม​สวน​ของ​แก ก่อน​จะ​ส่ง​เสียง​ทัก​ คนงาน​ที่​เป็น​เด็ก​สาว​ใน​หมู่บ้าน​เดียวกัน ซึ่ง​กำลัง​ปีน​บันได​เหล็ก​ แบบ​ตัด​ต่อ​เชื่อม​เอง​ขึ้น​ไป​เก็บ​เม็ด​พริก​ไทย​บน​ยอด​ที่​อยู่​สูง​ขึ้น​ไป​ กว่า​สี่เมตร ฉัน​มอง​ท่าทาง​ที่​คล่องแคล่ว​ของ​เด็ก​สาว​ท่ามกลาง​แดด​ร้อน​ ด้วย​ความ​รู้สึก​ทึ่ง​แกม​ชื่นชม ให้​เป็น​ฉัน​เอง ยัง​ไม่​แน่​ว่า​ปีนป่าย​ ขึ้นไป​จะ​หล่น​ตุบ​ลง​มา​หรือ​ไม่ ไม่​นับ​ว่า​จะ​ทัน​ได้​เก็บ​เม็ด​พริก​ไทย​ หรือเ​ปล่า​ด้วย​ซ้ำ “คน​งาน​ที่มา​ช่วย​พี่​เก็บ​พริก​ไทย​ก็​เป็น​คนใน​หมู่บ้าน​ทั้ง​นั้น ถ้า​ ไม่ใช่​หมู่​ห้า​ก็​มา​จาก​หมูอ่​ ื่น ไม่มี​คนนอก” ฉัน​ถาม​หาเหตุ​ผล​ว่า​ทำไม​พี่​แมว​ถึง​ไม่​จ้าง​คน​งาน​จาก​นอก​ หมู่บ้าน กล่าว​อย่าง​สัตย์​ซื่อ ฉัน​หมาย​ถึง​คน​งาน​จาก​ประเทศ​ เพื่อนบ้าน ซึ่ง​ค่าแรง​ถูก​กว่ามาก​ถึงม​ าก​ที่สุด “นา​ยกฯ นริศอ​ ยาก​สนับสนุน​งาน​ให้​คนใน​วัง​ใหม่​ก่อน” เป็น​คำ​ตอบ​สั้นๆ ที่​อธิบาย​ทุก​อย่าง​ได้​มาก​พอดู พีแ่ มวหมายถึง นริศ กิจอุดม นายก อบต.วังใหม่ ซึง่ อีกน​ นั่ แ​ หละ ฉันอ​ ด​คดิ ถึงส​ งั คม​ใน​ภาพ​รวม​ไม่ไ​ด้ วันก​ อ่ น​ทฉ​ี่ นั ก​ ำลังจ​ ะ​เขียน​ถงึ เ​ธอ ข่าว​จาก​ทวี เ​ี พิง่ ร​ ายงาน​วา่ แ​ รงงาน​จาก​ประเทศ​ลาว​เริม่ เ​ข้าม​ า​ทำงาน​ ดำนา ปลูกข​ ้าว​กัน​แล้ว​ทภี่​ าค​อีสาน เพราะ​คนไทย​ไม่​ยอม​ทำ​นา เป็น​คำ​พูด​ที่​ฟัง​แล้ว​เจ็บ​ปวด​เลย​ที​เดียว เธอ​ว่าไ​หม?

27




30

วัง​ใหม่

แม้ว่า​ฉัน​และ​เธอ เรา​ต่าง​จะ​ไม่ใช่ช​ าวนา​โดย​ กำเนิด แต่เ​รา​กถ็​ ูก​ปลูก​ฝัง​มา​ให้ไ​หว้​ข้าว​หลังจาก​ กิน​เสร็จ​แล้ว เพื่อ​รำลึก​ถึง​คุณ​พระ​แม่​โพสพ เรา​ ถูกป​ ลูกส​ อน​ให้น​ บั ถือช​ าวนา​ทเ​ี่ ป็นก​ ระดูกส​ นั ห​ ลัง​ ของ​ชาติ (ทว่าท​ ุกร​ ัฐบาล​ล้วน​มอง​ข้าม​กระดูกส​ ัน​ หลัง​ที่​สำคัญ​ยิ่ง​นี้​มา​ตลอด) และ​อย่า​ได้​หลงลืม​ พวก​เขา กระนัน้ ปัจจุบนั น​ ี้ เรา-นับฉ​ นั แ​ ละ​เธอ​เข้าไป ด​ ว้ ย-ต่าง​ปฏิเสธ​​ชาวนา ต่าง​หนั ห​ ลังใ​ห้ท​ งั้ พ​ วกเขา และ​อาชีพท​ ยี่​ ัง​พวก​เรา​ให้ม​ ี​ชีวิต มีล​ มหายใจ เรา​ หลงลืม​ไป​ว่า​หาก​มนุษย์​ขาด​ไร้​กระดูก​สันหลัง ก็​มิ​อาจ​ตั้ง​ตรง​ได้ ไม่​ต้อง​พูด​ถึง​ย่าง​ก้าว​แรก​ ด้วย​ซ้ำ “พริก​ไทย​เป็น​ของ​คู่​เมือง​จันท์ ถึง​ขนาด​ เป็น​คำขวัญ​ประจำ​จังหวัด และ​พริก​ไทย​ที่​วัง​ใหม่​นี้​อร่อย​ ที่สุด หอม และ​เผ็ด​ที่สุด” พี่​แมว​ตอบ​เมื่อ​ฉัน​ถาม​ถึง​อนาคต​จาก​นี้​ของ​กลุ่ม​ทำ​พริกไทย ขณะทีฉ​่ นั ม​ อง​เด็กส​ าว​ทก​ี่ ำลังป​ นี ป​ า่ ย​ขนึ้ เ​ก็บเ​ม็ดพ​ ริกไทย​คนนัน้ ฉัน​ รูว​้ า่ พ​ แี่ มว​เข้าใจ​คำถาม แก​จงึ ต​ อบ​ดว้ ย​ถอ้ ยคำ​ทเ​ี่ หมือน​เป็นบ​ ท​ สรุป​ทดี่​ ี​ที่สุดข​ อง​ผลิตภัณฑ์โอท็อป ประจำ​ตำบล​วังใหม่​แห่ง​นี้ “ถ้า​น้อง​ไม่​เชื่อ​ลอง​ชิม​สิ” แล้ว​พี่​แมว​ก็​ยื่นพ​ ริก​ไทย​ที่​ร่อน​แล้ว​ให้ฉ​ ัน​ชิม


เชื่อ​เถอะ แม้​พริกไทย​โดย​ส่วน​มาก​จะ​เผ็ด ไม่​เว้น​กระทั่ง​ พริก​ไทย​สดๆ จาก​มือ​ประธาน​กลุ่ม​ทำ​พริก​ไทย​ประจำ​หมู่ 5 แต่​ บ่าย​วัน​นั้น หลัง​ฉัน​หยอด​พริก​ไทย​เข้า​ปาก​แล้ว​เคี้ย​วก​รุบๆ แล้ว ฉันยืนยันกับเธอได้ว่า ใน​ความ​เผ็ด​กม็​ ี​ความ​หวาน​เช่นเ​ดียวกัน •


32

วัง​ใหม่

03 สืบสาน​พันธุ์ ​ไม้

อนันต์ โพธิ​หัง วิทยากร​ประจำ​ศูนย์เ​รียน​รู้​การ​ติดตา​ต่อ​กิ่ง​พันธุ์​ไม้


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

จาก​หมู่ 5 โสภา​ขบั ร​ ถ​พา​ฉนั ม​ ายังบ​ า้ น​เลข​ที่ 8/4 หมู่ 8 อันเป็นท​ ตี่ งั้ ​ ของ​ศูนย์​เรียน​รู้​การ​ติดตา​ต่อ​กิ่ง​พันธุ์​ไม้ ของ พี่​อนันต์ โพธิหัง และ พี่​ลาวัณย์ โพธิ​หัง สอง​สามี​ภรรยา​ที่​เริ่ม​ต้นจาก​ความรัก​ ความชอบ​ใน​อาชีพท​ สี่​ ืบสาน​มา​จาก​บรรพบุรุษ โดยฝ่าย​คุณอนันต์ม​ ี​ ความ​ชำนาญ​ใน​การ​ตดิ ตา​ตอ่ กิง่ ช​ นิดห​ า​ตวั จ​ บั ย​ าก ขณะ​ทค​ี่ ณ ุ ลาวัณย์ คู่ชีวิต ชำนาญ​การ​ปัก​ต้นกล้า ความ​ที่​ต่าง​มา​จาก​ครอบครัว​เกษตรกร​เช่น​เดียวกัน ทั้ง​สอง​จึง​ ช่วย​กนั พ​ ฒ ั นา​เทคนิคต​ ดิ ตา ต่อก​ งิ่ พ​ นั ธุไ​์ ม้ต​ า่ งๆ กระทัง่ ป​ ี พ.ศ. 2532 พี่​อนันต์จ​ ึงม​ ี​แนวคิด​ที่​จะ​เพาะ​พันธุ์​ไม้​ต่างๆ ไว้จ​ ำหน่าย​ให้แ​ ก่​คนใน​ ชุมชน​เพือ่ ส​ ะดวก​ตอ่ ก​ าร​เดินท​ าง​ซอื้ ข​ าย ท​ งั้ ย​ งั ร​ าคา​ถกู ก​ ว่าน​ อก​พนื้ ที่ “แรกๆ พีก​่ บั พ​ อ​ี่ นันต์เ​ริม่ ต​ น้ ท​ ี่ 5,000 ต้น ก็ต​ ระเวน​ขาย​ไป​เรือ่ ย​ ล่ะค​ ะ่ ตาม​รมิ ถ​ นน​บา้ ง ทีเ​่ ขา​รบั ซ​ อื้ บ​ า้ ง” พีล​่ าวัณย์บ​ อก​ถงึ จ​ ดุ เ​ริม่ ต​ น้ ​ ของ​การ​เพาะ​พันธุ์​กล้า​ไม้​ด้วย​วิธี​ติดตา​ต่อ​กิ่ง มี​ตาย​บ้าง มี​ทดลอง​ ผิดถ​ ูก​บ้าง แต่​พี่​ลาวัณย์บ​ อก​ว่า​เป็นธ​ รรมดา​ของ​การ​ลงทุน ที่​สำคัญ​ มัน​คือ​การ​ได้​เรียน​รู้ โดย​เฉพาะ​ตัว​พี่​อนันต์ ซึ่ง​เรียน​รกู้​ รรมวิธี​ติดตา​ ต่อ​กิ่ง​ด้วย​ตัว​เอง​จาก​ประสบการณ์​กล้า​แล้วก​ล้า​เล่า​ที่​ล้ม​ตาย​ไป

33




36

วัง​ใหม่

ถึง​ปี พ.ศ. 2535 เมื่อ​มี​ความ​ชำนาญ และ​ประสบการณ์​ มากขึ้น ทั้ง​พี่​อนันต์และ​พี่​ลาวัณย์ จึงถ​ าง​ป่า​ต้น​ยาง ซึ่งร​ ทู้​ ั้ง​รวู้​ ่า​เป็น​ ไม้ท​ ใ​ี่ ห้ผ​ ล​ตอบแทน​ทาง​เศรษฐกิจท​ ส​ี่ ำคัญ ท​ งั้ ส​ อง​มอง​การณ์ไ​กล​กว่า​ ผลตอบแทน​ใน​ระยะ​ไม่​กี่​ปี ทีด่ นิ จ​ ำนวน 5 ไร่จ​ งึ ถ​ กู ไ​ถแปร​เป็นส​ วน​สำหรับท​ ดลอง​การ​ตดิ ตา​ พันธุ์​ไม้​สาย​พันธุ์​ต่างๆ แต่​ต้อง​ใช้​เวลา​ถึง 3 ปี กว่าจ​ ะ​เริ่มม​ ี​คน​รู้จัก เริ่ม​มีชื่อ​เสียง จาก​ผล​ของ​ความ​พยายาม​ใน​การ​เพาะ​พันธุ์​ไม้ กระทั่งถ​ ึง​ปี พ.ศ. 2543 พี่​อนันต์​จึง​ค่อย​ขยาย​ฐาน​ตลาด​ไป​ยัง​ ต่าง​จงั หวัด และ​เริม่ ต​ น้ ท​ ำ​กจิ กรรม​ตอ่ ย​อด​ภมู ปิ ญ ั ญา​ทไ​ี่ ด้ร​ บั ม​ าจาก​ คน​รุ่น​พ่อ​รุ่น​แม่ มี​การนำ​ความ​รู้​ไป​ปรับ​ใช้​เพื่อ​การ​เพาะ​ชำ​พันธุ์​ไม้​ ทั้ง​แบบ​ผสม และ​แบบ​ยืนต้น ให้​กับ​ผู้​สนใจ​เข้าม​ า​เรียน​รู้ ทั้งจ​ าก​คน​ ในพื้นที่ และ​นอก​พื้นที่ “ต้อง​รู้จัก​ต้นไม้​แต่ละ​พันธุ์ ดิน​ที่​ใช้​ปลูก น้ำ​ก็​สำคัญ ต้อง​คอย​ เลี้ยง​น้ำ​อยูต่​ ลอด เรา​ชาวสวน​ไม่มนี​ ้ำ​ไม่​ได้เ​ลย” พี่​อนันต์พ​ ูด​ด้วย​สีหน้าจ​ ริงจัง “ที่​นี่​เรา​จะ​เน้น​เรื่อง​การ​ติดตา​ต่อ​กิ่ง​เสีย​เป็น​ส่วน​ใหญ่ เพราะ​ พี่​อนันต์​เขา​ศึกษา​เรื่อง​นี้​ต่อ​มา​จาก​รุ่น​พ่อ​เขา แล้ว​ก็​พัฒนา​มา​เรื่อย​ จน​เก่ง” พี่​ลาวัณย์​เสริม ฉัน​มอง​ต้นไม้​ใน​ดิน​เพาะ​หุ้ม​ด้วย​พลาสติก​ สีดำ​อย่าง​คน​ที่​สนิมเ​กรอะ​กรัง​เรื่อง​เกษตร เลย​ถาม​พี่​ทั้ง​สอง​ว่าการ​ ติดตา​ทำ​อย่างไร “เริ่ม​จาก​ดู​กิ่ง​ที่​จะ​นำ​มา​ติดตา​ว่าอ​ ยู่​ใน​ระยะ​พร้อม​หรือ​ยัง โดย​


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

ดู​จาก​ตรง​ยอด​ตา​ว่า​มัน​นูน​ออก​มา​หรือ​เปล่า ส่วน​ต้นตอ​ก็​ต้อง​ดู​ว่า​ พร้อม​หรือ​ยัง แต่​ที่​ต้อง​ระวัง​มาก​ที่สุด​ก็​คือ​แสงแดด ต้อง​ไม่​ให้​โดน​ แดด​จัด​มาก ไม่​งั้น​ต้น​กล้า​ก็​จะ​ตาย” พีล​่ าวัณย์อ​ ธิบาย​ให้อ​ ารมณ์ไ​ม่ต​ า่ ง​จาก​ครูส​ อน​เด็กน​ กั เรียน ฉัน​ ฟัง​แล้ว​ก็​เงย​หน้าข​ ึ้น​มอง​แผง​หลังคา​ผ้าใบ​ที่​กาง​คลุม​สวน​ทั้งหมด “ก่อน​จะ​มา​จุด​นี้​ก็​ไม่ใช่​ง่าย แต่​ก่อน​ตอน​ที่​พี่​กับ​พี่​นันต์​เริ่ม​ ทำ​แรกๆ เสา​ที่​ใช้​ค้ำ​หลังคา​นี่​ก็​ใช้​ต้น​ไผ่​ ไม่ใช่​เสา​คอนกรีต​แบบ​นี้ ตอนนั้น​ก็​ทำ​กัน​อยู่​สอง​คน ไป​หา​ใบ​กล้วย​มา​คลุม​แทน เพราะ​ยัง​ ไม่มี​เงิน​ลงทุนม​ าก” หาก​นกึ ภ​ าพ​ตาม คง​เหนือ่ ย​นา่ ด​ ก​ู บั ก​ าร​ลงแรง​ทำ​อะไร​แบบนัน้ ​ เพียง​สอง​คน แต่แ​ วว​ตา​และ​รอย​ยมิ้ ท​ ฉ​ี่ าบ​อยูบ​่ น​ใบหน้าข​ อง​พล​ี่ าวัณย์

37


38

วัง​ใหม่

ฉัน​รู้​ว่า​วัน​เวลา​เหล่า​นั้น​เป็น​วัน​คืน​ที่​ทำให้​มอง​ย้อน​กลับ​ไป แล้ว​ บอกกับ​ตัวเ​อง​ได้​ว่า​เรา​ทำได้ และ​ผ่าน​มา​แล้ว ฉัน​มอง​ต้น​กล้า​มากมาย​สุด​ลูก​ลูก​ตา ถาม​พี่​อนันต์​ว่า​กล้า​ไม้​ ส่วน​ใหญ่​ที่​นเี่​ป็นต้นก​ ล้า​ของ​ต้น​อะไร ‘ทุเรียน’ พี่​อนันต์​ให้​คำ​ตอบ ไม่ใช่​แต่​เพียง​เพราะ​ทุเรียน​เป็น​ พืช​ผล​ที่​ขาย​ได้ร​ าคา​ดี​ที่สุด​เท่านั้น พีอ่​ นันต์ย​ ังก​ ล่าว​อีก​ว่าส​ วน​แห่งนี้​ ทำหน้าทีอ​่ นุรกั ษ์ส​ าย​พนั ธุใ​์ ห้ย​ งั ค​ ง​อยู่ คล้าย​เป็นค​ ลังส​ ำรอง​ของ​ราชา​ แห่ง​ผล​ไม้ หลังสวน​ทุเรียน​ส่วน​ใหญ่​ใน​จังหวัด​นนทบุรี​ถูก​น้ำ​ท่วม​ เสียหาย​ไป​เมื่อ​ปีกลาย “คน​นนท์​มา​ซื้อ​ถึงที่​นี่​ก็​มี​มากมาย เรา​ขาย​ที่​ราคา​แพง​สุด​คือ​ หนึ่งร้อย​ยี่สิบ​บาท” ฉัน​ฟัง​แล้ว​ก็​ขมวด​คิ้ว​งุนงง เท่า​ที่​ทราบ​ราคา​ ผลทุเรียน​หมอน​ทอง​ที่​ชาวสวน​นนท์​ขาย​ได้​จน​เป็น​ข่าว​ราคา​แตะ​ เกือบ​หมื่น​บาท​มิใช่​หรือ ? แล้ว 120 บาท​มัน​แพง​ตรง​ไหน? เมือ่ ส​ งสัย ฉันจ​ งึ ถ​ าม พีล​่ าวัณย์ใ​ห้ค​ ำ​ตอบ​วา่ ส​ ำหรับร​ าคา​ขายส่ง​ ต้น​กล้า​แล้ว เขา​ขาย​กัน​อยู่​ที่ 20-40 บาท​ต่อ 1 ต้น ดัง​นั้น ต้น​ละ 120 บาท​จึง​นับ​ว่า​เป็น​ราคา​ทสี่​ ูง​พอ​สมควร “แต่​เขา​ก็​ไป​ปล่อย​ต่อ​ได้​ใน​ราคา​ทสี่​ ูง​กว่า​นั้น” ยิ่ง​ฟัง ฉัน​ก็​ยิ่ง​ฉงน แกม​ฝัน​ลอย​ว่า​ถ้า​ได้​ทุเรียน​ไป​ปลูก​สัก​ต้น​ ก็คง​ดี แต่เ​ธอ​คง​ไม่​ชอบ เพราะ​เธอ​รังเกียจ​กลิ่น​มัน แต่ฉ​ ัน​กลับ​มอง​ ว่า​หอม ยิ่ง​มา​ได้​รู้​ว่า​แค่​ต้น​กล้า​เล็กๆ สูง​พ้น​เอว​มา​เล็ก​น้อย​ขาย​ได้​ ถึง​ต้น​ละ​ร้อย​บาท หาก​เพาะ​พันธุ์​ได้​สัก​สาม​พัน​ต้น ไม่​ต้อง​ถึง​เจ็ด​


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

หมื่นต​ ้น​อย่าง​สวน​พี่​อนันต์ คำ​สบ​ประมาท​ที่​ว่าเ​ป็น​ชาวสวน​นั้น​จน คง​ไม่มี​อีก​ต่อ​ไป “แต่ใ​ช่ว​ า่ ท​ กุ ค​ น​จะ​ทำได้น​ ะ มันข​ นึ้ อ​ ยูก​่ บั ก​ าร​เอาใจ​ใส่ และ​หมัน่ ​ คอย​ดูแล​ด้วย” พี่​ลาวัณย์​เหมือน​จะ​เดา​ความ​คิด​ฉัน​ได้ พูด​ต่อ​ด้วย​ รอย​ยิ้ม ฉัน​เลย​ถาม​ว่าที่​สวน​แห่ง​นี้​เปิด​ให้​คนนอก​เข้า​มา​ศึกษา​เพื่อ​ นำ​กลับ​ไป​เพาะ​พันธุ์​ขาย​ไหม? “แน่นอน เรา​ส่ง​เสริม​ให้​ชาวสวน​ทุก​คน​มา​เรียน​รไู้​ด้ เพราะ​เรา​ เคย​เห็นค​ น​รนุ่ พ​ อ่ ร​ นุ่ แ​ ม่ล​ ำบาก​ยงั ไ​ง เป็นไ​ป​ได้เ​รา​กอ​็ ยาก​ให้ช​ าวสวน​ ทุก​คน​ประสบ​ความ​สำเร็จ” “แล้ว​พี่​ไม่​กลัว​ว่า​จะ​เป็นการ​แย่ง​ตลาด​กัน​หรือ​ครับ?” ฉัน​ถาม​ประสา​คน​เมือง​ที่​คิดถึง​แต่​เรื่อง​มือ​ใคร​ยาว​สาว​ได้​สาว​ เอา ตาม​หลักเ​สรีนิยม เศรษฐกิจเ​สรี การ​ค้า​เสรี อีก​ครั้งท​ ี่​พี่​ทั้งส​ อง​ยิ้ม “ไม่​เลย ยิ่ง​ดี​เสีย​อีก อย่าง​คน​งาน​คน​หนึ่งข​ อง​ที่​นี่ ทำงาน​อยูก่​ ับ​ พีไ​่ ด้ส​ าม​ปี เขา​กอ​็ อก​ไป​เปิดร​ า้ น​ขาย​เอง​รมิ ถ​ นน​สขุ มุ วิท พีไ​่ ม่ห​ วง​วชิ า” ฉัน​ฟัง​แล้ว​ก็​หัน​กลับ​ไป​มอง​ต้น​กล้า​แต่ละ​สาย​พันธุ์ อด​ที่​จะ​ นึกถึงภ​ าพ​ตวั เ​อง​เดินช​ ม​สวน​ดว้ ย​ความ​ชนื่ ใ​จ​เฉก​เช่นท​ พ​ี่ อ​ี่ นันต์ และ​ พี่​ลาวัณย์เ​ป็นไ​ม่​ได้ กระนั้น​กอ็​ ย่าง​ที่​พี่​ทั้ง​สอง​กล่าว มัน​ไม่ใช่​ทุก​คน​ ที่จะ​ประสบ​ความ​สำเร็จ ใน​คำ​พูดน​ ั้น ฉัน​ไม่ค​ ิด​จำเพาะ​แต่​เรื่อง​ทำ​สวน​เท่านั้นห​ รอก เธอ​ว่า​ไหม •

39


40 วัง​ใหม่


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

41


04 อด​เพื่ออ​ อม เพื่อว​ัน​พรุ่งน​ ี้


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

เลีย้ ว​จาก​ศนู ย์ศ​ กึ ษา​การ​ตดิ ตา​ตอ่ ก​ งิ่ ข​ อง​พอ​ี่ นันต์แ​ ละ​พลี่ าวัณย์ เสียง​ ทักทาย​จาก​ชาวสวน​ข้าง​ทาง​ที่​กำลัง​เก็บ​เม็ด​พริกไทย​ก็​ดัง​ขึ้น ก่อน​ โสภา​และ​เปิ้ล​จะ​ชะลอ​จอด​รถ แนะนำ​ให้​ฉัน​ได้​รู้จักกับ​คุณลุงวินัย พูล​ผล ประธาน​กลุ่มก​ องทุน​หมู่บ้าน​หินกอง หมู่ 8 แต่​เดี๋ยว​ก่อน ก่อน​ที่​ลุง​วินัย​จะ​บอก​เล่า​ถึงที่​มา​ที่​ไป​ของ​กลุ่ม ลุงวินัย​ก็​ยื่น​มีด​เล่ม​เล็ก​มา​ให้​ฉัน ยิ้ม​แย้ม​เอ่ย​ชวน​ให้​ฉัน​ชิม​สละ​ ภายใน​สวน​แก “ไม่​ค่อย​หวาน​นะ แต่​ก็​กิน​ได้ เด็ด​เลย” ลุง​วินัย​ว่า ฉัน​จึง​ไม่​ขัด​ศรัทธา ทว่าด​ ้วย​ท่า​ทาง​เก้ๆ กังๆ กระมัง ใน​ท้าย​ ที่สุด ลุง​วินัย​เอง​เป็น​ฝ่าย​เฉือน​ตัด​สละ​พวง​ใหญ่​ส่ง​ให้ฉ​ ัน “เอ้​า ชิม​ดู” ระหว่าง​ทฉ​ี่ นั แ​ กะ​เปลือก​ชมิ ลุงว​ นิ ยั ก​ บ​็ อก​เล่าถ​ งึ จ​ ดุ เ​ริม่ ข​ อง​กลุม่ ​ กองทุน ซึ่งเ​ปิดร​ ับ​สมาชิกค​ รั้งแ​ รก​เมื่อ​วันท​ ี่ 18 สิงหาคม 2544 โดย​ ลง​หุ้น​คนละ 50 บาท และ​ออม​ไม่ต​ ่ำ​กว่า 50 บาท​ใน​แต่ละเดือน เมือ่ ไ​ด้ร​ บั เ​งินจ​ าก​รฐั บาล​จำนวน 1,000,000 บาท จาก​งบ​ประมาณ​ กองทุนห​ มู่บ้าน วันที่15 กันยายน พ.ศ. 2544 จึง​มี​การ​นัด​ประชุม​ ครั้ง​แรก​ของ​สมาชิก​กองทุน​หมู่บ้าน​หิน​กอง หมู่ 8 และ​นับ​จาก​นั้น

43


44

วัง​ใหม่

ความ​ฝัน​ที่​ลุง​วินัย​ต้องการ​เห็น​สมาชิก​ใน​หมู่บ้าน​เป็น​ไท​แก่​ตัว​เอง ไม่​เป็น​หนี้​นอก​ระบบ จึงเ​ริ่ม​ต้น​อย่าง​จริงจัง “เรา​กเ​็ ห็นป​ ญ ั หา​ตงั้ แต่ส​ มัยเ​ป็นผ​ ใ​ู้ หญ่บ​ า้ น​นะ่ น​ ะ” ลุงว​ นิ ยั ก​ ล่าว “ปัญหา​คือ​เมื่อ​ลูก​หลาน​บ้าน​หนึ่ง​เห็น​อีก​บ้าน​มี​รถ​มอเตอร์ไซค์​คัน​ ใหม่ ก็​อยาก​มี​บ้าง พ่อ​แม่​ไม่มเี​งิน​ให้ ก็​ไป​กู้​เขา​มา ที่​วัง​ใหม่​จะ​กู้​กัน​ เยอะ​มาก แต่​เรา​ก็​พยายาม​แก้​นะ พยายาม​เตือน มี​การ​เรียก​ทั้ง​ เจ้าหนีแ​้ ละ​ลกู ห​ นีม​้ า​คยุ ก​ นั กรณีท​ ม​ี่ ก​ี าร​ขม่ ขู่ เรา​กน​็ ำ​เงินจ​ าก​กองทุน​ ไป​ชำระ​ต้นใ​ห้​เขา ให้​ลูก​บ้าน​มา​จ่าย​กับ​กองทุนแ​ ทน” ฉัน​ฟัง แล้วอ​ ด​ถาม​ประสา​คน​เมือง(อีกน​ ั่น​แหละ) ว่าล​ ุง​วินัยท​ ำ​ แบบ​นั้น ชาว​บ้าน​คน​อื่นๆ ทีเ่​ขา​จ่าย​ให้ก​ องทุนเ​หมือน​กัน จะ​ไม่รสู้​ ึก​ ว่า​เงิน​ออม​ของ​เขา​ถูก​นำ​ไป​แก้​ปัญหา​ของ​คน​อื่น​หรือ คำ​ตอบ​จาก​ ลุงวินัย​สะท้อน​คำ​ว่า​ประชาธิปไตย​ได้อ​ ย่าง​น่าส​ นใจ “เรา​กใ​็ ห้ส​ มาชิกท​ กุ ค​ นใน​กองทุนโ​หวต​เสียง ว่าส​ มควร​ชว่ ย​ไหม ถ้า​สมาชิก​ไม่​เห็น​ด้วย เรา​ก็​ไม่​ช่วย เพราะ​เรา​ถือว่า​เงิน​ กองทุน​นี้​เป็น​เงิน​ของ​ทุก​คน แต่​ส่วนใหญ่​ก็​ช่วย​หมด เพราะ​ตา่ ง​กเ​็ ป็นเ​พือ่ น​บา้ น​กนั เป็นค​ น​หมูแ​่ ปด​เหมือนๆ กัน นอกจาก​นี้ เรา​ยัง​มสี​ วัสดิการ​ให้​ค่า​รักษา​พยาบาล​ ครั้ง​ละ 500 บาท และ​หาก​เสียช​ ีวิต​ก็​จะ​ได้​อีก​คนละ 3,000 บาท ยังไ​ม่น​ บั ท​ นุ ก​ าร​ศกึ ษา​ทเ​ี่ รา​เพิง่ จ​ ะ​ให้ไ​ป” วิ นั ย พู ล ​ผ ล ประธาน​ก ลุ่ ม ​กองทุ น ​ห มู่ บ้ า น​ หินกอง หมู่ 8


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

กฎ​และ​เกณฑ์​ของกอง​ทุน​หมู่บ้าน​หินกอง ไม่​ยาก แต่​กไ็​ม่ง่าย ดังนี้ สมาชิก​กองทุน​ต้อง​ถือ​หุ้น​กับ​กองทุน​อย่าง​น้อย​คนละ 1 หุ้น โดย​ลง​หนุ้ ค​ นละ 50 บาท และ​จะ​ตอ้ ง​มก​ี ารนำ​เงินม​ า​ฝาก​เป็นป​ ระจำ​ ทุกๆ วัน​ที่ 10 ของ​เดือน อีก​เดือน​ละ 50 บาท เงิน​ฝาก​นเี้​รียก​ชื่อว่า เงิน​ฝาก​สัจจะ ซึ่ง​หาก​สมาชิก​ราย​ใด​ขาด​ส่ง​เงิน​ฝาก​สัจจะ​ติดต่อ​กัน 3 เดือน คณะ​กรรมการ ซึ่งค​ ัด​เลือก​จาก​สมาชิก 15 คน​มี​สิทธิ์​ให้​ สมาชิกร​ าย​นนั้ ข​ าด​จาก​สมาชิกส​ ภาพ​ของกอง​ทนุ ไ​ด้ท​ นั ที รวม​ถงึ ก​ าร​ ถอน​เงินฝ​ าก​สจั จะ และ​คา่ ห​ นุ้ ซึง่ จ​ ะ​สามารถ​เบิกถ​ อน​ได้ต​ อ่ เ​มือ่ ช​ ำระ​ หนีก้​ องทุน (ใน​กรณี​หยิบ​ยืม) หมด​แล้ว​เท่านั้น ถึง​วันน​ ี้ กองทุนห​ มู่บ้าน หมู่ 8 มีส​ มาชิก​ถือ​หุ้นท​ ั้งหมด 203 คน สมาชิกอ​ อม (เงินฝ​ าก​สจั จะ) 490 คน และ​มส​ี มาชิกก​ ย​ู้ มื เ​งิน 84 คน สมาชิกท​ งั้ หมด​ของกอง​ทนุ ล​ ว้ น​ได้ร​ บั ส​ วัสดิการ​คา่ ร​ กั ษา​พยาบาล สวัสดิการ​ฌาปนกิจ​สงเคราะห์ ทุนก​ าร​ศึกษา ทุนก​ ู้​ยืม​ฉุกเฉิน ยืมไ​ด้​ ไม่เ​กิน 2 เดือน โดย​ไม่ค​ ดิ ด​ อกเบีย้ และ​ยงั ม​ ก​ี าร​ปนั ผล​จาก​กำไร​ทไี่ ด้​ จาก​ให้​กู้​ยืม​แก่​สมาชิก เกิด​เป็น​ระบบ​เงิน​หมุนเวียน​ภายใน​หมู่บ้าน​ กันเอง ทำให้​เงิน​ไม่​รั่ว​ไหล​ออก​ไป​ภายนอก ซึ่ง​ถึงที่​สุด​แล้ว คือ​การ​ไม่​ตก​ไป​อยู่​ใน​วังวน​ของ​หนี้​นอก​ระบบ​ อีก​นั่นเอง เหนื่อย​บ้าง​ไหม? ฉัน​อด​ถาม​ใน​ใจ​ไม่ไ​ด้ หลัง​ฟัง​เรื่อง​ราว​ทั้งหมด มา​จนถึงต​ อน​นี้ ทัง้ เ​รือ่ ง​เล่าจ​ าก​ลงุ ว​ นิ ยั ทัง้ จ​ าก​พอ​ี่ นันต์ พีล​่ าวัณย์ กระทัง่ ก​ อ่ น​หน้านี​้

45


46 วัง​ใหม่

คือ​ป้า​พัฒ จาก​กลุ่ม​อาสา​สมัคร​ดูแล​ผู้​สูง​อายุ ทุก​คน​ต่าง​ทำ ต่าง​คิด​ เพือ่ ค​ นใน​ชมุ ชน​ของ​ตวั เ​อง​ดว้ ย​ความ​หวัง ความ​ฝนั ท​ อ​ี่ ยาก​ให้ท​ กุ ค​ น​ มี​ชีวิต​ทดี่​ ี​ร่วม​กัน มิใช่​เพียง​แค่​ตัวเ​อง​เป็นท​ ตี่​ ั้ง ก่อน​ลา​จาก​ลุง​วินัย​พร้อม​ด้วย​สละ​พวง​เบ้อเริ่ม​สอง​พวง ฉัน​ ก้มมอง​ดแ​ู ผ่นพ​ บั เ​พือ่ ป​ ระชาสัมพันธ์ข​ อง​กลุม่ ก​ องทุนห​ มูบ่ า้ น​หนิ กอง​ ที่​ลุง​วินัย​มอบ​ให้​ฉัน วัตถุประสงค์​ของ​กลุ่ม​ที่​ต้องการ​ให้​สมาชิก​ อดออม รู้จักป​ ระหยัด รักใ​คร่​กลม​เกลียว และ​เห็นอ​ ก​เห็นใจ​ซึ่งก​ ัน​ และ​กัน ไม่ใช่​สิ่ง​ที่​เขียน​ลง​ไป​เพื่อ​ให้​ดู​โก้เก๋ แต่​เป็นการ​คิด​จาก​ฐาน ‘เรา​ทำ​เพื่อ​เขา’ และ​ด้ ว ย​สิ่ ง ​นี้ ​ก ระมั ง กองทุ น ​ห มู่ บ้ า น​หิ น ​กอง หมู่ 8 จึ ง​ ประสบความ​สำเร็จ •



05 เพราะ​มี​ป่า จึง​มี​น้ำ จาก​ถนน​สาย​หลักใ​น​ตำบล​วงั ​ ใหม่​ที่​ตัด​ผ่าน​หมู่บ้าน​ต่างๆ ทั้ง 10 หมู่บ้าน จะ​มอง​เห็น​แนว​เทือกเขา​ ซึ่ง​ทอด​ขนาน​ไป​กับ​ถนน​ตลอด​ทั้ง​เส้น​จน​ไป​จรด​กับ​ถนน​สุขุมวิท​ ปากทาง​เข้า​สู่​ตำบล​วัง​ใหม่ ก่อน​ถึง​แยก​หนองสี​งา ฉัน​ถาม​โสภา​ว่า​เทือก​เขา​ที่​แล​เห็น​อยู่​นใี้​ช่​เขา​ทลาย ตาม​ข้อมูล​ ที่​ฉัน​ได้​อ่าน​มา​จาก​กลุ่ม​อนุรักษ์​ป่า​ชุมชน​ที่​มี​อดีต​ผู้ใหญ่สมคิด ศิลปเวช ​เป็น​แกน​นำ​ใช่​หรือ​เปล่า โสภา​พยัก​หน้า บอก​ฉัน​ว่า​เรา​มี​นัด​กับ​ผู้ใหญ่​ตอน​ห้า​โมง​เย็น​ นี่ก็​ใกล้​แล้ว แต่​ปรากฏ​ว่าพ​ อ​เรา​ไป​ถึง​หน้าบ​ ้าน​ผู้ใหญ่ และ​โสภา​ได้​ โทร​ประสาน​อีก​ที อดีต​ผู้ใหญ่​สมคิด​บอก​โสภา​ผ่าน​โทรศัพท์​ว่า​แก​ กำลังอยูร​่ ะหว่าง​กลับม​ า​บา้ น (ซึง่ โ​สภา​ขยาย​ให้ฉ​ นั เ​ข้าใจ​วา่ ค​ น​วงั ใหม่​ เรียก​ทุก​คน​ที่​เคย​ดำรง​ตำแหน่ง​อย่าง​ผู้ใหญ่​บ้าน กำนัน ไปตลอด แม้จะ​ไม่​ได้​ดำรง​ตำแหน่ง​นั้น​แล้ว หรือ​ขยับ​ขยาย​ไป​สู่​ตำแหน่ง​อื่น​ ก็ตาม เช่น​ผู้ใหญ่​สมคิด หรือ​นายก​องค์การ​บริหาร​ส่วน​ตำบล​อย่าง​ นายกฯ นริศ ซึ่ง​คน​เฒ่า​คน​แก่​ก็​มัก​เรียก​แก​ว่า กำนัน​นริศ ตาม​ ตำแหน่ง​ที่​แก​เคย​เป็น​มา​ก่อน​จะ​ก้าว​ขึ้น​ดำรง​ตำแหน่ง​นา​ยก​ อบต.


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

วังใหม่ด​ ้วย​กัน​ทั้งน​ ั้น) เมื่อ​ผู้ใหญ่​สมคิด ยัง​มา​ไม่​ถึง และ​โปรแกรม​วัน​นี้​ก็​เหลือ​เพียง​ การ​พูด​คุย​กับ​แกน​นำ​กลุ่ม​อนุรักษ์​ป่า​ชุมชน​ เพื่อ​ที่​พรุ่ง​นี้ ฉัน​จะ​ได้​ ขึ้นเขา​ไป​ดู​สภาพ​ภูมิ​นิเวศ​ของ​ป่า​วัง​ใหม่​ที่​ครั้ง​หนึ่ง​เคย​เสื่อมโทรม​ เป็นป​ า่ ห​ วั โ​ล้น โสภา​กเ​็ อ่ยป​ าก​ชวน​ฉนั ไ​ป​ไหว้พ​ ระ​ทว​ี่ ดั ส​ ำคัญว​ ดั ห​ นึง่ ​ ใน​ตำบล​วัง​ใหม่ นอก​เหนือ​จาก​วังห​ นอง​สี​งา “วัด​นี้​เท่​งกับ​โหน่ง​เคย​มา​ทำ​บุญ​บ่อยๆ ด้วย​นะ” โสภา​เล่า​ถึง​ ตลก​ชื่อ​ดัง​คับ​ฟ้า ฉัน​ฟัง​แล้ว​กึ่ง​เชื่อ​กึ่ง​ไม่​เชื่อ เพราะ​วัด​สนธิ์​ทอง​ ที่โสภา​พา​ฉัน​มา​เยี่ยม​ชม​นั้น ดู​ยัง​ไง​ก็​ไม่​น่า​จะ​เป็น​วัด​ที่​ทำให้​ตลก​ ชื่อดัง​คู่นั้นด​ ั้น​ด้น​มา​ถึงไ​ด้​เลย “วัน​สนธิ์​ทอง​โด่ง​ดัง​เพราะ​หลวง​พ่อ​นุ​ชน่ะ เป็น​เกจิอาจารย์​ที่​ อาคม​เก่งก​ ล้าม​ าก” เปิล้ ข​ ยาย​ให้ฟ​ งั เ​มือ่ เ​ห็นส​ หี น้าไ​ม่เ​ชือ่ ข​ อง​ฉนั จาก​

49


50

วัง​ใหม่

นัน้ ท​ งั้ ส​ อง​สาว​กช​็ ว่ ย​กนั เ​ล่าเ​รือ่ ง​ราว​ของ​หลวง​พอ่ น​ ชุ ท​ จะ​ ​​ี่ เป็นต​ ำนาน​ ของ​ชาววัง​ใหม่ ซึ่ง​เป็น​ที่​น่า​เสียดาย​สำหรับ​ฉัน​ที่​เผอิญ​หลวงพ่อ​ ไม่อยู่วัด กระนั้น ฉัน​ก็​มี​โอกาส​ได้​เข้า​ไหว้​พระพุทธ​ชิน​ราช​จำลอง​ ภายใน​โบสถ์ใ​หม่​ที่​กำลัง​ก่อสร้าง​บน​เนินร​ ิม​ถนน​สาย​หลัก ฉัน​กราบ​พระ​ประธาน สบ​พักตร์​อัน​เมตตา​นั้น แล้ว​ก็​คิดถึง​ เรื่อง​ที่​สอง​สาว​เล่า​ให้ฟ​ ัง จริง​เท็จอ​ ย่างไร ไสยศาสตร์ เรื่อง​เร้นล​ ับ​ก็​ ยัง​เป็น​สิ่ง​ที่​พิสูจน์​ไม่​ได้​ใน​ทาง​วิทยาศาสตร์ ประเด็น​สำคัญ​คง​ไม่​ได้​ อยูท่ ว​ี่ า่ อ​ ำนาจ​พทุ ธคุณใ​น​ทาง​แคล้วคลาด​นนั้ ม​ จ​ี ริงห​ รือไ​ม่ แต่ศ​ รัทธา​ ของ​ชาว​บ้าน​ที่​หล่อ​หลอม​เป็น​องค์​พระ เป็น​โบสถ์ กระทั่ง​วัด​ที่​เป็น​ ศูนย์รวม​จิตใจ​เป็นสิ่ง​แท้จริง​มากกว่า​หรือม​ ิใช่ ?

ล้วน​คือ​ศรัทธา ให้ ​บั ง เอิ ญ​อี ก ​เ หมื อ น​กั น แกน​น ำ​ที่ ​มี ​ส่ ว น​ ในการ​ผลัก​ดัน​ให้​เกิด​การ​อนุรักษ์​ป่า​เขา​ทลาย​ ขึ้น​โดย​ร่วม​กับ​ผู้ใหญ่​สมคิด​ก็​คือ​พระ​สงฆ์​เช่น​ กัน นาม​ของ​ท่าน​คือห​ ลวง​พ่อ​ใช่ สุ​ชี​โว หรือ​ พระครู​วิ​สุทธฺ​สังวร “ห้า​โมง​สิบ​แล้ว ไป​กัน​เถอะ” โสภา​ประกาศ​เมื่อ​เห็น​ว่า​ล่วง​เลย​เวลา​นัด​ อดีตผ​ ู้ใหญ่​สมคิด ศิลปเวช แกนนำ​กลุ่ม​อนุรักษ์ป่า​ชุมชน


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

กับ​ผู้ใหญ่​สมคิด​มา​พอ​สมควร ฉัน​หัน​กลับ​ไป​มอง​เทือก​เขา​ทลาย​ ที่​โอบ​วัด​สนธิ์​ทอง​เอา​ไว้ นึก​ภาพ​คืน​วัน​ที่​เขา​แห่ง​นี้​ไร้​ต้นไม้ เหลือ​ เพียง​ภู​เขา​โล้นๆ “เริ่มจ​ าก​หลวง​พ่อ​ใช่​นั่น​แหละ​เป็นค​ น​ชวน บอก​ผู้ใหญ่ ต้อง​ทำ​ อะไร​สกั อ​ ย่าง​แล้วน​ ะ ป่าม​ นั จ​ ะ​ไม่เ​หลือแ​ ล้ว พระ​เดือด​รอ้ น ชาวบ้าน​ ก็เ​ดือด​ร้อน” ผู้ใหญ่​สมคิด​นึก​ย้อน​เรื่อง​ราว​หลัง​คำถาม​จาก​ฉัน​ถึง​จุด​เริ่ม​แรก​ ของ​กลุ่ม​อนุรักษ์​ป่า​ไม้​ชุมชน​ตั้งแต่​ปี พ.ศ. 2527 ซึ่ง​เป็น​ยุค​ที่​กรม​ ป่าไม้​เปิด​ให้​บริษัทค​ ้า​ไม้เ​ข้า​มา​ทำ​สัมปทาน​ป่าเ​ขา​ทลาย “ทีแ​ รก​กไ​็ ม่ส​ นใจ​กนั ห​ รอก จน​เมือ่ เ​ห็นว​ า่ เ​ขา​เริม่ โ​ล้น น้ำท​ เ​ี่ คยมี​ มัน​ไม่มี น้ำ​นี่​สำคัญ​มาก​นะ​ต่อ​การ​ทำ​สวน ไม่มี​น้ำ สวน​นี่​ตาย​เลย พอ​เห็น​อย่าง​นั้น เรา​ก็​เริ่ม​รณรงค์ ทำให้​ชาว​บ้าน​เห็น ก็​มี​ทั้ง​ที่​เห็น​ ด้วย ไม่​เห็น​ด้วย​ประสา​คน แต่​ส่วน​ใหญ่​ที่​เอา​ด้วย​ก็​เพราะ​มัน​เป็น​ ประโยชน์​ต่อ​เขา เรา​ก็​ทำ​เรื่อย​มา จน​ทุก​วัน​นปี้​ ่า​เขา​ทลาย​กก็​ ลับ​มา​ เต็ม​เหมือน​เดิม ไม่โ​ล้น​แล้ว” พู ด ​แ ล้ ว ​ผู้ ใ หญ่ ​ส มคิ ด ​ก็ ​ม อง​ขึ้ น ​ไ ป​ยั ง ​เทื อ ก​เขา​ท ลาย​ที่ ​ท อด​ ตระหง่าน​อยู่​หน้าบ​ ้าน​ผู้ใหญ่ ซึ่ง​ร่ม​ครึ้มด​ ้วย​แมก​ไม้น​ านา​พันธุ์ ผู้ ใ หญ่ ​ส มคิ ด ​ยั ง ​เ ล่ า ​ต่ อ ​กั น ​ส มั ย ​ก่ อ น​โ น้ น ช่ ว ง​ที่ ​ยั ง ​มี ​ก าร​ สัมปทานกัน บน​เขา​ทลาย​​จะ​เห็นเ​ปลว​ไฟ​ลกุ โ​ชน​ขนึ้ ม​ าก​ลาง​ความ​มดื ​ บน​ยอด​เขา​สม่ำเสมอ ไฟ​จาก​ธรรมชาติบ​ ้าง การ​ละเลย​บ้าง กระทั่ง​ ไฟ​จาก​ความ​ตั้งใจ​เพื่อ​ปล่อย​ให้​ยืนต้นต​ าย “ยุคน​ นั้ ก​ าร​ทำ​ไม้เ​ป็นล​ ำ่ เ​ป็นส​ นั มีร​ ถ​แทรคเตอร์ไ​ถ​ขนึ้ ​

51


52

วัง​ใหม่

ไป ไสไม้​เป็น​ท่อนๆ ลง​มา พอ​ชาว​บ้าน​รกู้​ ็​เกณฑ์ค​ น​ไป​จับ เกิด​เป็น​ ปัญหา​ระหว่าง​ชาว​บ้าน​กับ​บริษัทร​ ับ​สัมปทาน​ป่า” จาก​ปี​ก่อ​ตั้ง พ.ศ. 2527 ลุ​ถึงป​ ี 2532 หลัง​การ​รวม​ตัว​กัน​ของ​ ชาว​บ้าน​ที่​ได้​รับ​ความ​เดือด​ร้อน​จาก​ปัญหา​ป่า​ไม้​ที่​ถูก​เผา​ทำลาย​ไป​ เนื่องจาก​ไฟ​ป่า​บ้าง การ​สัมปทาน​บ้าง สมาชิก​กลุ่ม​อนุรักษ์​ป่า​ไม้​ ชุมชน​เขา​ทลาย​จำนวน 220 คน​กร​็ ว่ ม​กนั ร​ ณรงค์ใ​ห้ช​ าว​บา้ น​ใน​พนื้ ที​่ และ​ชุมชน​ใกล้​เคียง ทั้ง​จาก​ตำบล​วัง​ใหม่ ตำบล​นา​ยาย​อาม และ​ ชาว​บ้าน​จาก​อำเภอ​แก่ง​หาง​แมว หยุด​การ​ทำลาย​ป่า​ไม้​เขา​ทลาย อีก​ทั้ง​ยัง​จัด​เขต​แนวป่า​สงวน​อย่าง​ชัดเจน มี​การ​จัด​ตั้ง​เวร​ยาม​โดย​ อาสาสมัคร​ที่​เป็น ​ผู้ชาย​ทำการ​เดิน​ป่า​เพื่อ​ระ​แวด​ระวัง​ไฟ​ป่า และ​ ผู้ไม่​หวังด​ ี​จาก​นอก​พื้นที่​ที่​จะ​เข้า​มา​ทำลาย​ป่า​เขา​ทลาย รวม​ถึงก​ าร​ ปลูกป​ ่า​ทดแทน​เพิ่ม​ขึ้น​กว่า 140 ไร่


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

ล่วง​ถึง​ปี พ.ศ. 2553 สมาชิก​กลุ่ม​อนุ​รักษ์ฯ ร่วม​กัน​ก่อสร้าง​ ฝายชะลอ​นำ้ บ​ น​เทือก​เขา​ทลาย​รวม​แล้วท​ งั้ หมด 17 แห่งต​ ลอด​ลำน้ำ เพือ่ ใ​ห้ช​ าว​บา้ น​ใน​หมู่ 8 และ​หมู่ 9 มีน​ ำ้ ใ​ช้อ​ ย่าง​พอ​เพียง​ไม่ขาดแคลน และ​ยัง​ให้​ป่าช​ ุ่ม​ชื่น​อยู่​คู่​ตำบล​วังใ​หม่​ต่อ​ไป ใน​บรรยากาศ​ที่​แสง​เย็น​วัน​แรก​ใน​ตำบล​วัง​ใหม่​เริ่ม​โรย​ตัว​ ลงมา​ช้าๆ ฉัน​ถาม​ผู้ใหญ่​สมคิด​ว่า​สิ่ง​ที่​กลุ่ม​อนุรักษ์​ทำ​ไว้​จะ​ช่วย​ให้​ ป่าวังใหม่ย​ งั ค​ ง​มอ​ี ยูต​่ อ่ ไ​ป​หรือไ​ม่ ผูใ้ หญ่เ​ชือ่ ไ​หม​วา่ ห​ มด​รนุ่ ผ​ ใู้ หญ่แล้ว คน​รุ่นต​ ่อ​ไป​จะ​ยัง​คง​อนุรักษ์​ป่าอ​ ยู่ ? เป็น​คำถาม​ที่​ผู้ใหญ่​สมคิด​ตอบ​โดย​ไม่​หยุด​คิด​สัก​นิด​ว่า “แน่นอน เพราะ​เรา​วาง​ทกุ อ​ ย่าง​ไว้แ​ ล้ว เรา​ปลูกฝ​ งั ค​ น​รนุ่ ใ​หม่​ ให้​ อนุรกั ษ์ป​ า่ ” จาก​นนั้ ผ​ ใู้ หญ่ห​ วั เ​ราะ​เบาๆ “ตราบ​ทย​ี่ งั ม​ ว​ี งั ใ​หม่ก​ ต​็ อ้ ง​ม​ี ป่า​เขา​ทลาย​ต่อ​ไป” •

53


06 ‘สวน’ ของ​ลุง​ภมร​ กับบ้านเศรษฐกิจพอ​เพียง แวะ​คุย​กับ​นายกฯ ก่อน มี​เวลา​ก่อน​เข้า​ที่พัก โสภา​ถาม​ฉัน​ว่า​นา​ยก อบต.วัง​ใหม่ ซึ่ง​ ตั้งแต่​มา​ถึง​ยัง​ไม่มี​โอกาส​ได้​คุย​เลย เพิ่ง​กลับ​มา​จาก​ประชุม​งาน​ที่​ อำเภอ​นา​ยาย​อาม​พอดี และ​ถาม​ว่า​ฉัน​ต้องการ​จะ​แวะ​คุย​อะไร​สัก​ เล็กน​ ้อย​ไหม ตาม​คิวแ​ ล้ว ฉัน​มี​คิว​นัด​คุยก​ ับ​นายก​องค์การ​บริหาร​ส่วน​ตำบล​ วัง​ใหม่ว​ ัน​พรุ่ง​นี้ แต่​เนื่องจาก​วัน​พรุ่ง​นี้ นา​ยกฯติด​งาน​ด่วน จึง​เลื่อน​ มา​คุย​วัน​นี้ ฉันเ​ริม่ ต​ น้ ถ​ าม​ถงึ ท​ ม​ี่ า​ทไ​ี่ ป​ของ​นายก​องค์การ​บริหาร​สว่ น​ตำบล​ ที่​ชื่อ นริศ กิจ​อุดม “จริงๆ ผม​เกิด​ตำบล​สนามไชย พอ​เกิด​ได้​ขวบ พ่อ​ก็​พาย้าย​มา​ อยู่​ตำบล​กระ​แจะ อยู่​กระ​แจะ​จนถึง ป.6 แล้วไป​ต่อ ป.7 ​ในเมือง แล้วก็​ย้าย​ไป​เรียน​รามฯ จาก​นั้น​ย้าย​มา​อยู่​วัง​โตนด เรียน​รามฯได้​


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

สองปี พ่อผ​ ม​กข​็ า​ขาด​จาก​การ​ทำ​เหมือง​พลอย ก็ก​ ลับม​ า​รบั ก​ จิ การ​พอ่ ทำ​อยู่​จนถึง​อายุ​ประมาณ 29-30 วิ่ง​ไป​วิ่ง​มาระ​หว่าง​วังโตนด​กับ​ บ่อไร่ จังหวัด​ตราด ซึ่ง​เป็น​สถาน​ที่​ทำ​พลอย พ่อ​ผม​ก็​อยาก​ให้​ลง​ การเมือง ช่วง​แรก​กเ็​ป็นส​ มาชิก​สภา​ผู้ทรง​คุณวุฒิ เป็น​ได้​อยูป่​ ี​สอง​ปี ชาว​บ้าน​ใน​วัง​โตนด​ก็​ชวน​ให้​ผม​มา​เป็น ​ผู้ใหญ่​บ้าน เพราะ​คน​เดิม​ ไม่ชอบ​อยู่​ใน​พื้นที่ ผม​ก็​ลงสมัคร แล้ว​ก็​ชนะ​เขา เป็น​ผู้ใหญ่บ้าน​ได้​ ห้า​ปี ช่วง​นั้น​ตำบล​วัง​โตนด​ก็​ขอ​แยกออกตัว​ออก​มา​ตั้ง​ตำบล​ใหม่ เนื่องจาก​หมู่บ้าน​ยี่สิบ​หมู่บ้าน​มันใหญ่ มัน​กว้าง ก็​เลย​ขอ​แยก​ตัว​ ออกมา แบ่ง​คนละ​สิบ​หมู่ วังโตนด​สิบ​หมู่ วัง​ใหม่​สิบ​หมู่ เหตุ​ที่​ชื่อ​ วังใหม่น​ ี่ เพราะ​หนึง่ มา​จาก​วงั โ​ตนด สอง ใหม่ มา​จาก​อำเภอ​ทา่ ใหม่ เพราะ​เรา​แยก​ตัวม​ า​นี่ เรา​จะ​ไป​อยู่​อำเภอ​นา​ยาย​อาม และ​นัย​ยะ​อีก​ อย่าง​หนึง่ ก​ ค​็ อื วังทีแ​่ ยกมา​ใหม่จ​ าก​วงั โ​ตนด แต่อ​ ำเภอ​เขา​กท​็ ว้ ง​มาว่า​ การ​ตั้ง​ชื่อ​ตำบล​นี่​ต้อง​มี​ที่มา​ที่​ไป​ที่​ยึด​โยง​กับ​พื้นที่ ว่า​มัน​เป็น​อะไร ทีนี้​ตำบล​เรา​ไม่มี​คำ​ว่า​วัง​ใหม่​ใช้​เรียก​ชื่อ​อะไร​เลย พอดี​ตอน​นั้น​เกิด​ วัง​น้ำ​ขึ้น​มา​ใหม่​ที่​หมู่​สอง เรา​ก็​เลย​เอา​มา​ใช้ ก็​กลาย​เป็น​วัง​ใหม่” นา​ยกฯนริศบ​ อก​เล่าท​ งั้ ป​ ระวัตสิ​ ว่ น​ตวั แ​ ละ​ประวัติต​ ำบล​ให้​ ฉันร​ บั ร​ ท​ู้ มี่ า​ทไ​ี่ ป​ของ​วงั ใ​หม่ท​ ไ​ี่ ม่ใช่ท​ า่ ใหม่ แม้จ​ ะ​มค​ี วาม​ เกี่ยว​พัน มี​ความ​ยึด​โยง​ทมี่​ ี​นัยย​ ะ​กระ​หวัด​ถึง​บ้าง แต่​วัง​ใหม่ก​ ็​ไม่ใช่​ท่าใหม่อ​ ยู่ดี ความ​ที่​คลุกคลี​กับ​ชาว​บ้าน รู้จัก​แทบ​ทุก​คน​ ตั้งแต่​รุ่น​เฒ่า​รุ่นแก่ ตั้งแต่​สมัย​เป็น ​ผู้ใหญ่​บ้าน​ วังโตนด ก่อน​แยก​ตัว​มา​เป็นต​ ำบล​วัง​ใหม่ ตั้งแต่​

55


56

วัง​ใหม่

เลื่อน​จาก​ผู้ใหญ่​มา​เป็น​กำนัน กระทั่ง​มา​เป็น​นา​ยก​ อบต.ในที่สุด นา​ยกฯ นริศ​บอก​กับ​ฉัน​ว่า​แก​ไม่​เคย​ถือตัว​ว่า​เป็น​เจ้า​นาย แม้จะ​มี​ บ้าง​เรื่อง​ช่อง​ว่าง​ระหว่าง​แก​กับ​ชาว​บ้าน เนื่อง​ด้วย​ภาระ​ใน​ฐานะ​ นายกอบต. กิน​เวลา​จน​แทบ​ไม่​ได้​ลง​ไป​คลุกคลี​กับ​ชาวบ้าน​เหมือน​ สมัยก​ ำนัน กระนัน้ แก​กใ​็ ห้เ​บอร์โ​ทรศัพท์ม​ อื ถ​ อื ก​ บั ช​ าว​บา้ น​สามารถ​ โทร​ถึง​แก​ได้ต​ ลอด มีป​ ัญหา​อะไร หาก​ปลีก​เวลา​ไปได้ นายกฯ นริศ​ ไม่​เคย​เกี่ยง​งอน “เรา​ถือว่า​ตัว​เอง​เป็น​ลูกจ้าง​เขา เขา​เสีย​ภาษี​จ้าง​เรา​มา​ทำงาน​ ให้​เขา ก็​ต้อง​ทำให้ด​ ี​ที่สุด แก้​ปัญหา​ให้เ​ขา” อ่าน​แล้ว อด​คดิ ไ​ม่ไ​ด้ใ​ช่ไ​หม​วา่ ท​ กุ ส​ งั คม​แต่ละ​สงั คม ไม่ว​ า่ ร​ ะดับ​ ย่อย​เพียง​ไร ผู้นำ​เป็นอ​ ย่างไร ผู้​ตาม​ล้วน​เป็น​เช่น​นั้น อาจ​ไม่ใช่ท​ ุก​คน แต่ส​ ่วน​ใหญ่ แล้วป​ ญ ั หา​ใด​บา้ ง​ทน​ี่ า​ยกฯ นริศพ​ ยายาม​แก้แ​ ล้ว แต่ย​ งั แ​ ก้ไ​ม่ไ​ด้ ฉัน​อด​ทจี่​ ะ​ถาม​ไม่​ได้​เช่น​กัน คำ​ตอบ​จาก​นา​ยก อบต.วัง​ใหม่ มีดังนี้ “ปั ญ หา​ห ลั ก ๆ ก็ ​คื อ ​ก าร​ท ำ​ม า​ห า​กิ น วิ ถี ​ข อง​ ชาวเกษตรกร​เรา​นี่ มัน​มี​ปัญหา​ทุก​ปี ปัญหา​หนึ่ง​ก็คือ​ ราคา​พื ช ​ผ ล อี ก ​ปั ญ หา​ก็ ​คื อ ​ก าร​ล อก​เ ลี ย น​แ บบ พูดง่ายๆ ก็​คือ​การ​ไม่รจู้​ ักพ​ อ​เพียง ซึ่ง​ตรง​นี้​ มัน​แก้​ยาก แก้น​ ิสัย​คน​นี่​แก้ย​ าก​ที่สุด”

มอง​อนาคต​วัง​ใหม่​ยัง​ไง? นา​ยกฯ นริศ​วาด​หวัง​ถึง​วัน​ที่​ฉัน​เชื่อ​


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

เหมือน​ที่​เธอ และ​คงจะ​ใคร​อีก​หลาย​คน​เชื่อ​เช่น​กัน ว่า​วัง​ใหม่​ใน​ อนาคต​จะ​เป็นว​ งั ใ​หม่ท​ ช​ี่ าว​บา้ น​ทกุ ค​ น​ไม่มป​ี ญ ั หา​เรือ่ ง​ปาก​ทอ้ ง ไม่ม​ี ปัญหา​เรื่อง​ราคา​พืช​ผล​ให้​ต้อง​ออก​มา​ประท้วง​ปิด​ถนน เนื่องจาก​ ราคา​ผลผลิต​ตกต่ำ​อีก ไม่​นับ​ปัญหา​เรื่อง​หนี้​นอก​ระบบ ซึ่ง​ทั้งหมด​ ทั้ง​มวล นา​ยกฯ นริศเ​ชื่อ​ว่า​ทำได้ “เรา​พยายาม​อยู่ แม้​จะ​เป็น​เรื่อง​ยาก แต่​เรา​ก็​ต้อง​แก้ไข” คง​เพราะ​ถือตัวว​ ่า​ไม่ใช่น​ าย และ​เป็น​ลูกจ้าง คำ​พูด​นั้น​จึง​หนัก​แน่น และ​แม้​ฉัน ซึ่ง​ไม่ใช่​คน​วัง​ใหม่ ไม่​ได้​ เป็นทั้งเ​กษตรกร และ​ไม่​ได้​เป็นท​ ั้ง​ลูก​หนี้​นอก​ระบบ​ที่ไหน แต่ฉ​ ัน​ก็​ เชื่อ​เช่น​กัน​ว่า​ปัญหา​ทั้ง​สอง​ที่​นา​ยกฯ ปรารถนา​แก้ไข (และ​อาจ​เป็น​ ปัญหา​เดียวกันก​ บั พ​ วก​เรา​ทกุ ค​ น) เริม่ ต​ น้ ง​ า่ ยๆ จาก​การ​สะกดคำว่า ‘พอ’ ให้​เป็น

คืน​นี้​ฉัน​จะ​นอน​ใน​ความ​มืด ค่ำคืน​เข้าปก​คลุม​ตำบล​วัง​ใหม่​จน​มืด​มิด​แทบ​มอง​สิ่ง​ใด​ไม่​เห็น หาก​ไม่มี​แสง​ไฟ​จาก​ด้าน​หน้า​รถ​กระบะส​ตราด้​าข​ อง​โสภา​แล้ว ฉัน​ก็​ มอง​ไม่​เห็นเ​ลย​ว่า​ส่วน​ใด​คือ​ท้อง​ถนน ส่วน​ใด​คือ​เรือก​สวน​ไร่น​ าของ​ ชาว​บ้าน “มา​เสียด​ ึกเ​ชียว เลย​อด​กิน​ข้าว​เย็น” คำ​แรก​ที่​ลุงภ​ มร สุ​เนตร​โต อดีต​ผู้​อำนวย​การ​โรงเรียน​เอ่ย​ทัก​ ฉัน​ทันทีท​ ี่​ลง​จาก​รถ​กระบะ​ของ​โสภา​และ​เปิ้ล สอง​สาว​ทักทาย​อดีต​ ข้าราชการ​เกษียณ​อย่าง​คน​คุ้น​เคย ก่อน​จะ​ฝากฝัง​ฉัน​ไว้​กับ​ลุงภมร

57


58

วัง​ใหม่

แล้ว​ลากลับ​ไป​โดย​ไม่​ลืม​นัดแนะ​ว่า​พรุ่ง​นี้​เช้า​จะ​มา​รับ​ฉัน​ไป​ขึ้น​เขา​ ทลาย​เพื่อ​ศึกษา​สภาพ​นิเวศ​ของ​ป่า​ที่​ครั้ง​หนึ่ง​เคย​เสื่อมโทรม​ของ​ ตำบล​วังใ​หม่ “เอา​กระเป๋า​ไป​เก็บ​ก่อน​ไหม พัก​ผ่อน​ก่อน แล้ว​พรุ่ง​นี้​ค่อย​คุย​ กัน” ลุงภ​ มร​เชื้อ​เชิญ​ฉัน​ไป​ยัง​กระท่อม​หลัง​น้อย​ที่​ตั้ง​อยูใ่​น​อาณาเขต​ บ้าน​ชั้น​เดียว​ของ​แก​ที่​เปิด​เป็น​ศูนย์​เรียน​รู้​เศรษฐกิจ​พอ​เพียง​ประจำ​ บ้าน​หมู่ 2 ฉัน​เดินต​ าม​ไป​ยัง​กระ​ท่อม​เล็กๆ ทีต่​ กแต่งอ​ ย่าง​สวยงาม น่ารัก บน​ชาน​ระเบียง​ที่​นอกจาก​จะ​มี​แคร่​ไม้ไผ่​วาง​ไว้​แล้ว ยัง​มี​เจ้า​ถิ่น​ ประจำ​บา้ น​นอน​หมอบ​อยูด​่ ว้ ย​อกี ต​ วั ห​ นึง่ ลุงภ​ มร​สง่ เ​สียง​ไล่เ​จ้าส​ น​ุ ขั ​ พันธุ์​อัลเซ​เชี่ยน​ตัว​ใหญ่​ที่นอน​หมอบ​อย่าง​ไม่​สนใจ มัน​ลุก​ขึ้น​อย่าง​ เกียจคร้าน​ลง​จาก​ชาน​ไป แต่ไ​ม่ว​ าย​หนั ม​ า​มอง​คอ้ น​ฉนั ร​ าวกับร​ ว​ู้ า่ ฉ​ นั ​ นั่นแ​ หละ​เป็นต้นเ​หตุ​ให้ม​ ัน​ถูก​ขับ​ไล่​จาก​ที่นอน​แสน​สบาย


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

“นอน​ให้​สบาย​นะ” ลุง​ภมร​เปิด​ประตู​ให้​ฉัน​ก้าว​เข้า​สู่​ห้อง​พัก​ขนาด​เล็ก ความ​รู้สึก​ แวบ​แรก​ที่​คิดข​ ึ้น​มา​ก็​คือ นี่​ไม่ใช่โ​ฮม​สเตย์อ​ ย่าง​ทวี่​ าด​หวัง แม้​จะ​ตั้ง​ อยูใ่​น​อาณาเขต​รอบ​รั้ว​บ้าน​ก็ตาม​ที ฉันว​ าง​กระเป๋าล​ ง​กบั พ​ นื้ ไม่ล​ มื ก​ ล่าว​ขอบคุณล​ งุ ภ​ มร​ทผ​ี่ ละ​จาก​ ไป​โดยทีเ​่ รา​ยงั ไ​ม่ทนั ไ​ด้พ​ ดู ค​ ยุ อ​ ะไร​กนั ม​ าก ค่ำคืนก​ าง​แขน​ตอ้ นรับฉ​ นั ​ ด้วย​แสง​ของ​หริ่ง​หรีด​เรไร แม้​ติดใจ​เล็ก​น้อย​ที่​ไม่​ได้​พัก​ใน​บ้าน​ร่วม​ ชายคา​กับเ​จ้าของ​บ้าน​ให้​สม​กับ​ที่​เป็นโ​ฮม​สเตย์​จริงๆ ทว่า...เธอ​รู้​ไหม นั่น​ไม่ใช่​ครั้งแ​ รก​ทฉี่​ ัน​คิด​ผิด

ชา​ร้อน​และ​เรื่อง​ราว​ของ​หลาน​ย่า เช้า​ปลุก​ฉัน​ด้วย​เสียง​นก​กระจิบ​ร้อง​เบาๆ ฉัน ​ผุด​ลุก​ขึ้น​เมื่อ​

59


60

วัง​ใหม่

หวน​ระลึกไ​ด้ว​ ่าเ​มื่อค​ ืนก​ ่อน​ผล็อย​หลับไ​ป ตั้งใจ​ว่าเช้าน​ จี้​ ะ​ตื่นข​ ึ้นมา​ เก็บภาพ​ยาม​เช้า​ใน​บรรยากาศ​โฮม​สเตย์​บ้าน​ลุง​ภมร​เสีย​หน่อย เนื่องจาก​เมื่อ​วาน​กว่าจะ​มา​ถึง​ก็​ค่ำ​มืด​แล้ว ออก​จาก​กระท่อม​หลังน​ อ้ ย บรรยากาศ​โดย​รอบ​เย็นช​ นื้ ลุงภมร​ กำลัง​รดน้ำ​ต้น​กล้า​ยาง​ที่​วาง​เรียง​อยู่​ด้าน​หน้า​กระท่อม​ฉัน​อยู่​พอดี แก​ยิ้มเ​อ่ย​ทัก “ตื่น​แล้ว​รึ” เรา​ทักทาย​กัน​ตาม​ประสา​ก่อน​ฉัน​บอก​แก​ว่า​ขอตัว​ไป​เก็บ​รูป​ โดย​รอบ​ของ​โฮม​สเตย์ก​ ่อน แก​เชิญ​ฉัน​ตาม​สบาย แต่​ไม่ล​ ืม​สำทับ​ว่า​ 8 โมง​ให้​มา​กิน​ข้าว น​ าน​มาก​แล้วท​ ไ​ี่ ม่มผ​ี ใู้ หญ่ค​ อย​บอก​ฉนั ใ​ห้ก​ นิ ข​ า้ ว​เวลา​ไหน ทำให้​ รู้​สึก​แปลกๆ


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

คล้ายๆ อบอุ่น คล้ายๆ แบบ​นั้น เก็บร​ ปู ย​ าม​เช้าร​ อบๆ บ้าน​ลงุ ภ​ มร​เสร็จ ฉันก​ เ​็ ดินเ​รือ่ ย​มายังส​ ว่ น​ ต้อนรับ​ของ​ศูนย์​เรียน​รู้​เศรษฐกิจ​พอ​เพียง ทั้ง​ที่​ยัง​ไม่​อาบ​น้ำ (อึ๋ย!) มุมหนังสือ และ​ชั้น​กาแฟ​วาง​ไว้​เคียง​ชั้น​สมุนไพร และ​ความ​รู้​ต่างๆ ทีส่​ ่วน​ใหญ่​นำ​มา​จาก​ภายใน​สวน​ของ​ลุง​ภมร​เอง บรรยากาศ​โดย​รอบ​สงบ ฉัน​เห็น​เงา​เคลื่อนไหว​อยู่​ด้าน​หลัง​ ตัวบ้าน เดา​ว่า​น่า​จะ​เป็นป​ ้า​ฐิตพ ิ​ ร สุ​เนตร​โต คูช่​ ีวิต​ของ​ ลุง​ภมร​ที่​กำลัง​ตระ​เตรียม​อาหาร​เช้า​ให้เ​รา ระหว่าง​นั้น​ลุง​ภมร​ก็​เดิน​กลับ​มา​จาก​สวน​อีก​ฝั่ง​ ของ​ตัว​บ้าน​ในสภาพ​เหงื่อ​โทรม​ ยิ้มยังไม่​หาย​จาก​ ใบหน้า “กินช​ า​ด้วย​กัน​สิ”

61


62

วัง​ใหม่

ฉันพ​ ยักห​ น้า ลุงภ​ มร​บอก​ฉนั โ​ดย​ไม่ต​ อ้ ง​รอ​ให้ถ​ าม​วา่ เ​ช้าๆ ต้อง​ ออก​กำลัง​กาย​ให้​เหงื่อ​มัน​ออก ไม่​งั้น​ข้อ​เข่า​มัน​เสื่อม ฉัน​วาง​กล้อง แล้ว​บท​สนทนา​ถึง​ชีวิต​ของ​ลุง​ภมร ผู้​เริ่ม​ฉาก​ชีวิต​ใน​ฐานะ​ชาวสวน​ อดีตผ​ ู้​อำนวย​การ​โรงเรียน​มา​เนิ่นน​ าน​กว่า​สี่​สิบ​ปี​ก็​เริ่มข​ ึ้น “อาชีพ​หลักล​ ุง​คือส​ อน​หนังสือ งาน​สวน​เป็นง​ าน​อดิเรก” ลุง​ภมร​เปิด​ปาก​เล่า​เรื่อง​ราว​ที่​เริ่ม​ต้น​จาก​มรดก​ที่ดิน​ย่า​ฟัก สุเนตร​โต ซึง่ ไ​ด้ส​ ง่ ม​ อบ​มรดก​ทดี่ นิ จ​ ำนวน 11 ไร่ ให้ก​ บั ล​ งุ ภ​ มร​ตงั้ แต่​ ปี พ.ศ. 2532 โดย​เริ่ม​แรก​ลงุ ​ภมร​ทำ​สวน​ตาม​อย่าง​เพื่อนบ้าน​ทวั่ ไป โดย​หวังว​ า่ ง​ าน​สวน​ทท​ี่ ำ​เป็นง​ าน​อดิเรก​จะ​มา​สง่ เ​สริมร​ าย​ได้ห​ ลักจ​ าก​ อาชีพใ​น​ฐานะ​ครู​คน​หนึ่ง ทว่า​ไม่ไ​ด้​เป็นอ​ ย่าง​ทหี่​ วัง “เมื่อ​ก่อน​ที​เดียว​ที่​ทำ​สวน​น่ะ เน้น​ปลูก​เงาะ ทุเรียน มังคุด อย่างเดียว หวังว​ า่ จ​ ะ​มร​ี าย​ได้เ​พิม่ เ​ติมจ​ าก​ทม​ี่ เ​ี งินเ​ดือน​อยูแ​่ ล้ว แต่พ​ อ​ ทำ​ไป​ทำ​มา เงิน​เดือน​ก็​หมด​ไป​กับ​พวก​นหี้​ มด​เลย เพราะ​ต้อง​ลงทุน


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

ต้อง​พัฒนา​อะไร​อยู่​เรื่อย จาก​เดิม​ที่​ต้อง​รดน้ำ​ทุก​อาทิตย์ หรือ​สาม​ วัน​ครั้ง ใช้​ระบบ​ลาก​สาย(ยาง) เรา​ก็​มา​คิด​ว่า​จะ​ต้อง​ลาก​สาย​นี่​ไม่​ ไหว ไม่ทนั ก็ต​ อ้ ง​มา​จดั การ​ระบบ​นำ้ หัวน้ำเ​ห​วย​ี่ ง​สปริงเ​คิลท​ งั้ ส​ วน... ก็ต​ อ้ ง​ลงทุนอ​ กี พอ​ทำ​ไป​พกั ห​ นึง่ ก็ม​ า​เจอ​ภาวะ​เรือ่ ง​โรค แมลง เรือ่ ง​ ตลาด เรื่อง​ภัย​แล้งอ​ ะไร​ต่อ​อะไร ทำให้​เรา​ล้มลุก​คลุก​คลาน​กับ​การ​ ทำ​สวน ชื่อม​ ันก​ บ็​ อก​อยูแ่​ ล้วว​ ่า ‘สวน’ มันไ​ม่ช​ น​กันซ​ ะ​ที มันก​ ส็​ วน​ไป​ สวน​มา​อยูอ​่ ย่าง​นี้ สวน​กบั ร​ าคา​อกี แ​ ล้ว มันส​ วน​กนั ท​ กุ ป​ เ​ี ลย​นะ จาก​ นั้น มัน​ก็​ทำให้​ลุง​ได้​คิด​ว่าการ​ที่​เรา​ไป​ทำ​สวน​แบบ​เชิงเดี่ยว​มี​ราย​ได้​ เป็น​หมื่น เป็นแ​ สน ก็​เปลี่ยน​ความ​คิด​ใหม่ เอา​แค่​มี​กิน​ใน​ครอบครัว​ ก่อน แจก​เพื่อน แจก​ญาติ​พี่​น้อง แจก​คน​ที่มา​เยี่ยม​มา​เยือน เอ๊ะ มัน​ ก็เ​บา​ขนึ้ สบาย​ขนึ้ ขณะ​เดียวกันล​ งุ ก​ เ​็ ริม่ ท​ ำ​สวน​แบบ​ผสม​ผสาน เริม่ ​ ปลูกไ​ม้ท​ กุ อ​ ย่าง ไม้ท​ ใ​ี่ ช้ก​ อ่ สร้าง ไม้ท​ เ​ี่ ป็นพ​ ชื เ​ศรษฐกิจ เช่นย​ าง อะไร​

63


64

วัง​ใหม่

พวกนี้​ก็​ปลูกล​ ง​ไป​ใน​สวน​ให้​หมด” อาจ​พูด​ได้​ว่า​เพราะ​ความ​ที่​เริ่ม​ต้น​จาก​งาน​อดิเรก​ก่อน เพราะ​ ความ​ที่​ล้มลุก​คลุก​คลาน และ​การ​ที่​ราคา​พืช​ผล​ทางการ​เกษตร​ สวนทาง​กับ​การ​ทำ​สวน​เพื่อ​มุ่ง​เน้น​แต่​การ​ค้า​อย่าง​เดียว​ทำให้​ลุง​ ภมร​ได้​ค้น​พบ​ว่าการ​ทำ​สวน​ที่แท้​จริง​อย่าง​ที่​คน​รุ่น​พ่อ​รุ่น​แม่​ได้​ทำ​ นั้นเ​ป็นอ​ ย่างไร แม้เ​มือ่ ป​ ระสบ​ความ​สำเร็จก​ บั ส​ วน​ตวั เ​อง ลุงภ​ มร​กไ​็ ม่ไ​ด้ห​ ยุดอ​ ยู​่ แค่​นั้น ใน​ราว​ปี พ.ศ. 2551 ด้วย​สภาพ​พื้นที่​รกร้าง​ของ​บ้าน​หมู่ 2 เนือ่ งจาก​ชาว​บา้ น​ทงิ้ น​ า​ตวั เ​อง​ไป​ซอื้ ข​ า้ ว​ถงุ เ​สียเ​ป็นส​ ว่ น​มาก ลุงภ​ มร​ จึงเ​ริม่ ช​ กั ชวน​ให้ห​ นั ก​ ลับม​ า​ปลูกข​ า้ ว​กนิ เ​อง โดย​เริม่ แ​ รก​ใช้ช​ อื่ ว​ า่ ก​ ลุม่ ​ ทำ​นา​ข้าว มี​สมาชิก​ราว 20 คน แรก​ก่อ​ตั้ง จุดป​ ระสงค์​เป็น​ไป​เพื่อ​การ​ปลูก​ข้าว​กิน​เอง​มากกว่า


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

กระทั่ง​เมื่อ​ผลผลิต​มาก​ขึ้น สมาชิก​ใน​กลุ่ม​ทั้งหมด​จึง​มี​มติ​ให้​จัดหา​ สถาน​ที่​เก็บ​ผลผลิต ซึ่ง​ก็​คือ​ยุ้ง​ข้าว และ​เมื่อ​มี​ยุ้ง​ข้าว​สำหรับ​เก็บ​ ผลผลิตม​ าก​ขึ้น​นั่นเอง ทาง​กลุ่ม​จึง​มี​มติ​ร่วม​กัน​อีก​ครั้ง​ให้เ​ปลี่ยน​ชื่อ​ จาก​กลุ่ม​ทำ​นา​ข้าว​มา​เป็นก​ลุ่มธนาคาร​ข้าว ใน​ปี พ.ศ. 2552 นอกจาก​ธนาคาร​ข้าว​แล้ว ลุง​ภมร​ยัง​ชักชวน​ให้​ชาว​บ้าน​หมู่ 2 ขุดส​ ระ​เพือ่ ส​ ำรอง​นำ้ ไ​ว้ใ​ช้ต​ าม​หลักเ​ศรษฐกิจพ​ อ​เพียง รวม​ถงึ ใ​ช้เ​ป็น​ สถาน​ที่​อนุรักษ์​พันธุ์​ปลา​ใน​ท้อง​ถิ่น จำนวน​พวก​ปลา​ดุก​อุย​ท้อง​นา ปลา​ช่อน ปลา​หมอ ฯลฯ “ลุง​เคย​ขึ้น​ไป​เยี่ยม​โรงเรียน​เก่า (โรงเรียน​แก่ง​หาง​แมว) ได้เ​ห็น​ ศิษย์​เป็น​นา​ยก​ อบต. เป็น​ประธาน​สภา เป็น​รอง​ผู้ใหญ่​บ้าน เป็น​ ประธาน​กองทุน​เงิน​ล้าน​หมู่บ้าน ลุง​ไป​นี่​ลุ​งก็​ต้อง​ไหว้​ศิษย์​แล้ว แต่​ เขา​กเ็​ชิญ​ให้​เรา​นั่ง​หัว​โต๊ะ ก็​ไม่มี​อะไร​หรอก เขา​กเ็​ชิญ​เรา​ไป​กินเหล้า​ นั่นแหละ เพราะ​พวก​นี้​โตๆ กัน​หมด​แล้ว​ใช่​ไหม แต่​พอ​ลุง​เห็น​ แบบนัน้ ลุงก็พ​ ดู น​ ะ ว่าถ​ า้ ค​ รูร​ ว​ู้ า่ จ​ ะ​เชิญค​ รูม​ า​กนิ เ​หล้าอ​ ะไร​แบบ​นี้ ครู​ ไม่มา​หรอก เพราะ​กิน​เหล้าก​ ิน​ที่ไหน​ก็ได้ แต่​ทคี่​ รู​มา​เพราะ​อยากจะ​ เห็ น ​ต้ น ​ก ล้ า ​ที่ ​ค รู ​ป ลู ก ​ม า​สี่ ​สิ บ ​ปี ​มั น ​ใ ห้ ​ค วามสุ ข ให้ความ​ร่มเย็น​แก่​สังคม​อย่างไร​บ้าง” ฟัง​แล้ว ฉัน​ได้​แต่​คิด​ว่า การ​เป็น​ ชาวสวน​นั้ น ​ย าก​ก็ ​จริ ง แต่ ​ก าร​เ ป็ น​ ชาวสวน แล้ว​ยัง​เป็น​ครู ทั้ง​แก่​ตัวเอง และ​บุคคล​อื่นด้วย​นั้น ยาก​ยิ่งก​ ว่า เพราะ​มนั ห​ มาย​ถงึ ป​ ระสบการณ์ท​ ​ี่

65


66

วัง​ใหม่

คน​คน​นั้น​สั่งสม​มา​ทั้ง​ชีวิต คือ​วิธี​ใน​การ​ที่​เขา​มอง​โลก มอง​ตัวเ​อง และ​สังคม แน่นอน​ว่า​ไม่ใช่​เกษตรกร​ทุก​คน​ที่​ค้น​พบ แต่​ เคล็ดลับท​ วี่​ ่า​นี้ บรรพบุรุษข​ อง​ชาวนาชาวสวน​ได้​เขียน​ ตำรา​ทงิ้ ไ​ว้เ​ป็นม​ รดก​บน​ผนื แ​ ผ่นด​ นิ ไ​ว้ห​ มด​แล้ว ทุกอ​ ย่าง​เริม่ ต​ น้ จ​ าก​ แค่​เปลี่ยน​ความ​คิด จาก​พืช​เชิงเดี่ยว​มา​เป็นพ​ ืช​แบบ​ผสม​ผสาน จาก​ความ​มั่งมี​ใคร่ร​ วย ก็​เปลี่ยน​มา​เป็นพ​ อ​เพียง พอ​อยู่ เมื่อ​รู้จักพ​ อ ใช่​หรือไ​ม่ จึง​รู้จัก​มั่งมี ลุง​ภมร​ได้​ตอบ​คำถาม​ใน​ใจ​ฉัน​แล้ว​ด้วย​สวน​ของ​แก​ที่​คง​ไม่​ต้อง​ สวน​ทาง​กับ​สภาพ​ภายนอก​อีก​ต่อ​ไป “เอ้​า มา​กิน​ข้าว​ได้แ​ ล้ว​จ้า” ป้าฐ​ ติ พ​ิ ร​รอ้ ง​บอก​มา​จาก​ดา้ น​หลัง ลุงภ​ มร​หนั ไ​ป​มอง​คช​ู่ วี ติ แล้ว​ หัน​มา​ยิ้มใ​ห้ฉ​ ัน “ไป กินข​ ้าว” ฉันล​ กุ ต​ าม​แก​ไป​ยงั ส​ ว่ น​ครัวด​ า้ น​หลัง ข้าว​สวย​รอ้ นๆ ผสม​ดอก​ อัญชันส​ ี​อม​ม่วง​สวย​น่า​กิน​เชิญ​ชวน​ฉัน​อยู่​บน​โต๊ะ​อาหาร พร้อม​ด้วย​ ผัก​สารพัด และ​ไข่เ​จียว​จาน​โต “เอาเลย กินเ​ลย กับข้าว​แบบ​ชาว​ชนบท กิน​ได้​นะ” ฉัน​ยิ้ม อยาก​บอก​ลุง​เหลือ​เกิน​ว่า​สำหรับ​ชาว​เมือง​เช่น​ฉัน​ที่​ บางครั้งก​ ิน​แต่​อาหาร​จาน​ด่วน กิน​แต่​บะหมีก่​ ึ่ง​สำเร็จรูป อาหาร​บน​ โต๊ะ​ฝีมือ​คชู่​ ีวิต​ลุง​ภมร​เช้า​วัน​ทสี่​ อง​ใน​วัง​ใหม่ข​ อง​ฉัน ใกล้เ​คียง​ที​เดียว​กับ​อาหาร​เลิศ​หรู​ที่สุดท​ ี่​ฉัน​เคย​กิน


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

ไม่​สิ มันดี​กว่า​ด้วย​ซ้ำ เพราะ​มัน​เต็ม​ไป​ด้วย​บท​สนทนา เต็ม​ ไป​ด้วย​น้ำใจ​ไมตรี​ที่​ลุง​ภมร​และ​ป้า​ฐิติ​พร​มี​ให้ นาที​ที่​ฉัน​ตัก​ข้าวสวย​ กรุ่น​กลิ่น​ดอก​อัญชัน​เข้า​ปาก ฉัน​นึกถึง​ความ​คิด​เมื่อ​ค่ำคืน​ก่อน​ หลับตา​ลง​นอน ความ​คิด​ที่​ว่า​โฮม​สเตย์​ลุง​ภมร​ไม่​ใกล้​เคียง​โฮม​สเตย์​อย่าง​ที่​ ฉัน​วาด​หวังว​ ่า​จะ​ได้​อยู่​ร่วม​ชายคา​เจ้าของ​เรือน แต่​ทั้งหมด​นั้น​มัน​ ถูก​ทดแทน​ด้วย​อาหาร​เลิศรส ข้าว​ร้อนๆ สี​สวย และ​ รอย​ยิ้ม​ของ​เจ้าของ​เรือน​อย่าง​ลุง​ภมร และ​ ป้าฐิติ​พร •

67



นิธิ นิธิ​วีร​กุล

เสร็จ​จาก​อาหาร​เช้า ฉัน​ขอตัว​ เจ้าบ​ า้ น​ทงั้ ส​ อง​กลับไ​ป​อาบน้ำ​ ให้​สดชื่น เพื่อ ​เตรียม​ตัว​รอ​ เวลา​ให้​เจ้า​หน้าที่​จา​ก อบ​ต. เดิ น​ท าง​ม า​รั บ ตาม​ที่ ​โ สภา​ ได้​บอก​ฉัน​เมื่อ​ค่ำคืน​ก่อน​จาก​ ว่า​เช้า​วัน​นี้ จะ​มี​น้อง​นุ่ง​จา​ก อบ​ต. วังใหม่​มา​รับ​ฉัน​ขึ้น​เขา​ทลาย​แทน​เธอ​ที่​ติด​ สะสาง​งาน ฉัน​ไม่​ขัด แต่​ระหว่าง​ที่​นั่ง​รอ ลุง​ภมร​ซึ่ง​ คง​เห็น​ว่า​ถ้า​ฉัน​จะ​นั่งเฉยๆ คง​ไม่​ต่าง​จาก​การ​ หายใจ​ทิ้ง​เปล่าๆ จึง​ชวน​ฉัน​ให้​ออก​ไป​ดู​แปลง​ สาธิต​ที่​แก​ตั้ง​ชื่อ​ให้​ว่า ‘สวน​สองไร่ สอง​ล้าน’ ซึ่ง​แก​ทำ​ร่วม​กับ​ลุ​งอิ๋ง เพื่อน​บ้าน​จาก​หมู่ 2 และ​เป็น​หนึ่ง​ใน​สมาชิก​กลุ่ม​เศรษฐกิจ​พอ​เพียง​ ทีบ่​ ้าน​แก​เหมือน​กัน “ความ​ตั้งใจ​แต่​แรก​คือ​ให้​เป็น​แปลง​สาธิต​ เพื่อ​การเกษตร ให้​คน​ที่​เขา​ดู​งาน​มา​ศึกษา​ได้​ เห็น​ว่า​เรา​ทดลอง​ทำ​แล้ว และ​ทำได้​จริง” ลุงภ​ มร​บอก​ถงึ ค​ วาม​ตงั้ ใจ​ทแ​ี่ ก​กบั ล​ ง​ุ อิง๋ ท​ ำ​ ร่วม​กนั ต​ อ่ แ​ ปลง​สาธิตผ​ สม​ผสาน​พชื ผ​ ล​ทางการ​ เกษตร ทั้ง​กล้วย แตง กล้า​ยาง พริก ฯลฯ

07 สอง​ล้าน สอง​ไร่

ลุงอิ๋ง

69



นิธิ นิธิ​วีร​กุล

“เครือ​หนึ่ง​ขาย​ได้​สอง​ร้อย​กว่า​บาท หนึ่ง​เครือ​มี​ประมาณ​เจ็ด​ ถึง​แปด​หวี เฉพาะ​กล้วย​นี้​ลุง​ขาย​ได้​เกือบๆ แสน​บาท​เมื่อ​ปที​ ี่​แล้ว” ลุง​ อิง๋ เ​ล่าใ​ห้ฟ​ งั แล้วย​ งั เ​สริมด​ ว้ ย​ขอ้ มูลท​ ท​ี่ ำให้ต​ าโต​วา่ น​อก​จาก​ กล้วย​จะ​ให้​ผลอ​อก​ดอก​เป็น​เงิน​แล้ว ผล​แตง​เอย ต้น​กล้า​ยาง​เอย รวม​ถึง​ต้น​ยาง​ที่​กำลัง​เติบโต​รอ​วัน​กรีด​เพื่อ​แปรรูป​เป็น​ยางพารา​เอย ก็ล้วน​รอ​วัน​เก็บ​เกี่ยว​เป็นเ​งินร​ วมๆ แล้ว​อีก​หลาย​แสน​บาท แน่นอน มอง​ใน​ฐาน​เม็ดเ​งิน เพียง​เท่าน​ ี้​ก็​ทำให้ช​ าว​เมือง​อย่าง​ ฉัน​อิจฉา​ได้​แล้ว ทว่าล​ ึก​ลง​ไป​กว่า​นั้น มัน​คือ​ดอก​ผล​จาก​พื้นที่​เพียง​

71


72

วัง​ใหม่

สอง​ไร่ ขณะ​ที่​ข่าว​คราว​จาก​ภาค​เกษตร​ที่​เรา-หมาย​ถึง​ฉัน​และ​เธอต่าง​รบั ร​ ว​ู้ า่ โ​ดย​ตลอด ยังม​ เ​ี กษตรกร​อกี ม​ าก​ทเ​ี่ ป็นห​ นีส​้ นิ ม​ ากมาย​ทงั้ ​ มี​ที่​ไร่​ที่​นา​มากกว่าส​ อง​ไร่ด​ ้วย​ซ้ำ “แล้วต​ กลง​มันไ​ด้​สอง​ล้าน​จริง​ไหม​ครับ” ฉัน​ถาม​ลุ​งอิ๋ง ก่อน​จะ​ เดิน​ไป​ขึ้น​รถ​จี๊​ป​สมัย​สงครามโลก​ที่​ลุง​ภมร​ติด​เครื่อง​รอ​พร้อม​ด้วย​ เจ้าเฉิน หมา​ไทย​สี​น้ำตาล​ที่​ชอบ​กระโดด​ขึ้น​ไป​ชู​คอ​บน​รถ​เจ้า​นาย​ ราวกับ​มัน​คือ​เจ้า​นาย​เสีย​เอง ลุ​งอิ๋ง​หัวเราะ​ก่อน​จะ​ตอบ​ฉัน “โอ๊ย มัน​ไม่​ถึง​หรอก​สอง​ล้าน” ฉันห​ วั เราะ​ตาม ยกมือไ​หว้ข​ อบคุณแ​ ก​ใน​ความ​รเ​ู้ ล็กๆ แต่เ​ปีย่ ม​ ความ​หมาย​ถึงค​ ำ​ว่า ‘พอ​เพียง’ บน​เนื้อที่​แปลง​สาธิต​เพียง​สอง​ไร่

[แทรก] เรื่อง​ราว​ของ​เฉิน ผม​ชอื่ เ​ฉิน​ ครับ​ เป็นห​ มา​ไทย​พนั ธุท​์ าง​ลกู ผสม ดูไ​ด้จ​ าก​หน้า ผม​ จำ​วนั เ​ดือน​ปเ​ี กิดไ​ม่ไ​ด้ จำ​พอ่ แ​ ม่ต​ วั เ​อง​กไ​็ ม่ไ​ด้ จำ​ได้แ​ ต่ว​ า่ ร​ าวๆ สอง​ เดือน​กอ่ น ผม​โซเซ​พลัดห​ ลง​มายังบ​ า้ น​ของ​พอ่ ภ​ มร ซึง่ แ​ ก​กม​็ ห​ี มา​อยู​่ แล้ว​อีก​สาม​ตัว แต่ละ​ตัวล​ ้วน​พี่​เบิ้มก​ ว่า​ผม​ทั้งน​ ั้น กระนั้น พ่อภ​ มร​ก็​ ไม่​อิดออด​ทจี่​ ะ​รับเ​ลี้ยง​ผม​ไว้ จะ​ให้อ​ ิดออด​ได้​อย่างไร​ล่ะ​ครับ ผม​เล่นท​ ซู่ เ​ี้ ข้าท​ ำนอง​ดา้ น​ได้อ​ าย​อด​นนั่ แ​ หละ​ครับ วันน​ พ​ี้ อ่ ภ​ มร​ ไล่ วันพ​ รุ่งน​ ผี้​ ม​ก็​มา​นอน​หมอบ​ใกล้ๆ สวน​ยาง​บ้าน​แก​ใหม่ บ่อย​เข้า แก​ก็​ใจอ่อน ทุก​วัน​นผี้​ ม​เลย​กลาย​เป็นเ​จ้า​เฉิ​นข​อง​พ่อ​ภมร แก​ตั้ง​ชื่อ​


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

ให้​ผม เพราะ​ผม​พลัด​หลง​มา และ​คง​บวก​กับ​ที่​แก​ชอบ​อี​ตา​ดารา​ นักแสดง​ชาว​ฮ่องกง​ที่​ชื่อ เฉิน​หลง ด้วย​กระมัง ผม​ชอบ​โดด​ขึ้น​รถ​จี๊​ป​พ่อ​ภมร​ครับ มัน​สนุก​ดี ขึ้น​ไป​อยู่​กระบะ​ ท้าย มอง​ลง​มายัง​เจ้า​หมา​ขี้​อิจฉา​ทั้ง​หลาย​แหล่​ที่​ได้​แต่​วิ่ง​เห่า​ตาม อิอิ ชะเง้อ​มอง​จน​คอ​เคล็ด พวก​แก​ก็​ไม่มวี​ ัน​ได้​ขึ้นห​ รอก รถ​จี๊​ป​คัน​นี้ ผม​จอง​ครับ แต่​ก็​มี​บ้าง​เป็น​บาง​วัน​ที่​พ่อ​ภมร​จะ​อนุญาต​ให้​แขก​ของ​ แก​ขึ้น​มา​นั่ง อย่าง​วัน​นี้ แขก​ของ​พ่อ​แก​เป็นน​ ัก​เขียน​มา​จาก​นนทบุรี ก็​ไม่​ค่อย​ทำ​อะไร​หรอก​ครับ มา​แล้ว​ก็​อัด​เทป ถ่าย​รูป เห็น​ว่า​จะ​เอา​ เรื่อง​ของ​พ่อ​ภมร กับ​ชุมชน​ใน​วัง​ใหม่​นี้​ไป​เขียน เห็น​ชอบ​มา​คุย​กับ​ ผม​เหมือน​กัน แต่ผ​ ม​ไม่ค​ ุยห​รอก คนนอก ผม​ไม่ว​ างใจ เดี๋ยว​นี้​แก๊ง​

73


74

วัง​ใหม่

ค้าหมา​มัน​เยอะ ใคร​จะ​รู้​นิ “เฉิน จะ​ลง​มา​มั้ย” อ๊ะ พ่อ​ภมร​เรียก​แล้ว ไป​ก่อน​ล่ะ​นะ​ครับ

น้ำส้มค​ วัน​ไม้ ข้อมูล​จาก​วิกิ​พี​เดีย​ระบุ​ว่า​น้ำส้ม​ควัน​ไม้ หรือ​ใน​ภาษา​อังกฤษ Wood Vinegar นั้น​เป็นข​ องเหลว​ใส สี​น้ำตาล มี​กลิ่นค​ วัน​ไฟ ซึ่ง​ เกิด​จาก​การ​เผา​ไม้​ให้​กลาย​เป็น​ถ่าน​ใน​สภาวะ​ที่​มี​ออกซิเจน​จำกัด โดย​มี​อุณหภูมิ​ใน​เตา​ระหว่าง 300-400 องศา​เซลเซียส อุณหภูมิ​


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

ปาก​ปล่อง​ระหว่าง 80-150 องศา​เซลเซียส ซึ่งน​ ้ำส้ม​ควัน​ไม้จ​ ะ​เกิด​ ขึน้ ห​ ลังส​ ารประกอบ​ตา่ งๆ ใน​เนือ้ ไ​ม้ไ​ด้ส​ ลาย​กลาย​เป็นส​ ารประกอบ​ อินทรีย์ กลั่นต​ ัวอ​ อก​มา​เป็นข​ องเหลว เมื่อ​ได้ข​ องเหลว​มา​แล้ว ก็​จะ​ นำ​ไป​เก็บ​ไว้​ใน​ที่​ร่ม​ประมาณ 3 เดือน​เพื่อ​ให้​สารประกอบ​เกิด​การ​ ตก​ตะกอน กระทั่งม​ า​เป็นน​ ้ำส้ม​ควัน​ไม้​ใน​ที่สุด แล้ว​มี​ประโยชน์​อัน​ใด ? พ้น​จาก​ข้อมูล​ใน​โลก​ไซเบอร์​แล้ว ลุ​งอิ๋ง พา​ฉัน​ไป​ดู​เตา​เผา​ไม้​ จาก​ต้นเ​งาะ​ทแี่​ ก​โค่น​ลง​จาก​ใน​สวน​ของ​แก ต้น​เงาะ​หลาย​ต้น ซึ่ง​ไม่​ ให้​ผล​อีก​แล้ว รวม​ถึง​ต้น​มังคุด​ถูก​โค่น​เพื่อ​นำ​ไม้​มา​เผา​ให้​กลาย​เป็น​

75


76

วัง​ใหม่

ถ่าน และ​น้ำส้ม​ควันไ​ม้ เตา​ของ​ลง​ุ อิง๋ ส​ ร้าง​ขนึ้ ป​ ระ​สา​บา้ นๆ ด้วย​การ​ใช้ท​ อ่ พ​ ว​ี ซ​ี ต​ี อ่ เ​ข้าไป​ ใน​เตา​ที่​แก​​ก่อ​ขึ้น​เอง​จาก​ดิน​รอบ​สระ​น้ำ​ที่​แก​ขุด​ไว้​เพื่อ​เลี้ยงปลา​ สายพันธุพ์​ ื้น​ถิ่น เฉก​เช่น​บ้าน​ลุง​ภมร “ก็​เอา​ไป​รด​ต้นไม้ รด​สวน​ป้องกัน​แมลง เรา​ชาว​บ้าน​ก็​ใช้​วิธี​ บ้านๆ แหละ อะไร​ที่​ทำ​เอง​ได้​ก็​ทำ” แม้​ข้อมูล​บน​โลก​ไซเบอร์​จะ​บอก​ประโยชน์​มากมาย​ของ​น้ำส้ม​ ควัน​ไม้ ชนิดเ​จียระไน​ออก​มา​แล้ว​มมี​ ากกว่า​ที่​ลุ​งอิ๋​งบ​อก​ฉัน​แน่นอน


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

แต่​สิ่ง​สำคัญ​จริงๆ ประ​โย​ชน์​จริงๆ ของ​ น้ำส้ม​ควัน​ไม้ ไม่​ได้​อยู่​ที่​มันส​ ามารถ​ใช้​แทน​ สาร​เคมี​ใน​การ​ปราบ​ศัตรู​พืช ตั้งแต่​พวก​มด แมลง ตะขาบ จน​กระทั่ง​รักษา​โรค​รา และ​ โรค​เน่าไ​ด้​หรอก ความ​ภูมิใจ​ต่าง​หาก คือ​ประโยชน์​ที่แท้​ จริง​ของ​น้ำส้ม​ควัน​ไม้ คือ​การ​ที่​ชาว​บ้าน​ อย่าง​ลุ​งอิ๋ง อย่าง​ลุง​ภมร ได้​ประดิษฐ์​คิด​

77


78

วัง​ใหม่

ขึ้น​จาก​การ​ต่อย​อด​องค์​ความ​รู้​ที่​ได้​รับ​มา​ประยุกต์​ใช้​ใน​พื้น​ถิ่น​ของ​ ตน ด้วย​มือ​ของ​ตน สุข​ใด​เล่า​จะ​ดี​เยี่ยม​ไป​กว่า​การ​ได้ล​ งแรง​ทำ​อะไร​เอง แล้ว​พบ​ว่า​ มัน​ประสบ​ความ​สำเร็จ •



08 ป่า​หินก​ อง

‘‘

จาก​ป่า​เขา​ลำเนา​ไพร​นั่นเอง ที่เขา​ ได้มา​ซึ่ง​เปลือก​ไม้ รากไม้ และ​ เครื่องเทศ​ซึ่ง​ช่วย​บำรุง​หล่อเลี้ยง​มนุษย์ บรรพ​ชน​ของ​เรา​ล้วน​เป็น​ชาวดอย - จาก Walking ของ​เฮ​นรี เดวิด ธอ​โร - พจนา จันทร​สันติ แปล -

ลุง​ภมร​ขับ​รถ​จี๊​ป​พา​ฉัน​มา​ส่ง​ยังท​ ี่​ทำ​กา​ร อบ​ต.วัง​ใหม่ หลัง​โทรศัพท์​ คุย​กับ​โสภา​แล้ว​บอก​กับ​ทาง​นั้น​ว่า​จะ​เป็น​คน​พา​ฉัน​ไป​ส่ง​เอง ฉัน​ กล่าว​ขอบคุณ​ลุง​ภมร​และ​เจ้า​เฉิน​จอม​ซ่า หัน​มา​ทักทาย​สวัสดี​กับ​ โสภา และ​สอง​หนุ่ม​ที่​จะ​ทำ​หน้าที่​เป็นไ​กด์​พา​ฉัน​ขึ้นเ​ขา​วัน​นี้ “นี่​พี่​หนู กับ​พี่​นนท์​ค่ะ วัน​นี้​พี่​ทั้ง​สอง​จะ​เป็น​คน​พา​พี่​ขึ้น​ไป​ดู​ เขา​ทลาย” “สวัสดี​ครับ” ทัง้ ​สอง​ยกมือ​ไหว้​ฉนั คน​ชอื่ ​หนู​รปู ​รา่ ง​ผอม​สงู คน​


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

81

ชื่อ​นนท์​รูปร​ ่าง​สันทัด ทั้ง​สอง​ยิ้ม​ละไม​อยู่​บน​ใบหน้า​เห​มือ​นๆ กัน เห​มือ​นๆ กับ​ชาววัง​ใหม่​แทบ​ทุก​คน​ที่​ฉัน​ได้​พบ​ตลอด​หนึ่ง​วัน​ ที่​ผ่าน​มา โสภา​ผละ​กลับเ​ข้าท​ ท​ี่ ำ​กา​ร อบ​ต. ไป ขณะ​ทน​ี่ นท์แ​ ละ​หนูก​ ข​็ นึ้ ร​ ถ​ กระบะ​สต​ ราด้า​ ค​ นั เ​ดิม ฉันก​ า้ ว​ขนึ้ ต​ าม ไม่น​ าน​นกั ทัง้ ส​ อง​กพ​็ า​ฉนั ไ​ต่​ ขึ้น​เนิน​มา​จอด​ยัง​ศาลา​รกร้าง​ทเี่​จ้าของ​เดิม​สร้าง​ไว้​ตีน​เขา “เดี๋ยว​รอ​ให้​พี่​อีก​สาม​คน​มา​ก่อน​นะ​ครับ” หนูบ​ อก​กับ​ฉัน ระหว่าง​รอ ฉัน​ก็​หยิบ​กล้อง​ออก​มา​เก็บ​ภาพ​บึง​ขนาด​ใหญ่ ซึ่ง​ ที่​จริง​คือ​ฝาย​กัก​เก็บ​น้ำ​ที่​ชาว​บ้าน​หมู่ 8 รวม​ถึง​อาสา​สมัคร​ร่วม​กัน​ สร้าง​ไว้เ​พื่อ​กัก​เก็บ​น้ำ​ไว้​ใช้ จาก​บึง​ใหญ่ ฉัน​เดิน​ไต่​ลง​ไป​เก็บ​ภาพ​น้ำตก​ขนาด​ย่อม มี​ กระสอบ​ทราย​วาง​ขวาง​ทาง​น้ำ บางกระสอบ​เปื่อย​ยุ่ย สันนิษฐานว่า​ คง​เกิด​จาก​กระแส​น้ำ​ที่​ไหล​พัด เสียง​ของ​ป่า​ดัง​ก้อง​ราย​รอบ​ตัว ขณะ​ที่​ฉัน​หวน​คิดถึง​ข้อ​เขียน​

(หนู)

(นนท์)



นิธิ นิธิ​วีร​กุล

ของเฮนรี เดวิด ธอโร นักเ​ขียน​และ​นกั ว​ ทิ ยาศาสตร์ช​ าว​แมส​ซา​ชเ​ู ซตส์ ซึ่ง​สร้าง​ผล​งาน​เขียน​ที่​ชื่อ Walden หนังสือ​ว่า​ด้วย​การ​ใช้​ชีวิต​อย่าง​ เรียบ​ง่าย​กับธ​ รรมชาติ กลับ​ไป​หา​ราก​เหง้า​และ​ตัวต​ น​ของ​ความ​เป็น​ มนุษย์ ณ ริม​สระ​น้ำช​ ื่อ วอล​เดน ทว่า​ข้อ​เขียน​ที่​ของ​เดวิด ธอ​โร​ ที่​ฉัน​นึก กลับ​ไม่ใช่​หนังสือ​ชื่อ​ ดัง​เล่ม​นั้นห​ รอก​นะ แต่​เป็นเ​รื่อง Walking หนังสือ​ทวี่​ ่าด​ ้วย​การ​เดิน​ นำไป​สู่​สัจธรรมได้อ​ ย่างไร​บ้าง ฉันห​ วน​คดิ ถึง ขณะ​ยนื น​ งิ่ ฟ​ งั ส​ รรพ​เสียง​ปา่ ร​ อบ​กาย ระหว่าง​นนั้ เสียง​ของ​รถ​เครือ่ ง​คนั ห​ นึง่ ก​ ด​็ งั แ​ ทรก​ขนึ้ ม​ า แล้วพ​ ลพรรค​สมาชิกก​ ลุม่ ​ อนุรักษ์ป​ ่า​ไม้​ชุมชน บ้าน​หมู่ 8 อีก​สาม​คน​ก็​มา​กัน​ครบ พี่​ตี๋ ลุง​ติ่ง และ​ลุง​เปี๊ยก เป็น​อาสา​สมัคร​ป้องกัน​ป่า​เขา​ทลาย​ เช่น​เดียว​กับ​หนู และ​นนท์ ทั้ง​สาม​ล้วน​เป็นร​ ุ่น​ใหญ่ เกิด​และ​เติบโต​ ทันย​ คุ ก​ าร​ตอ่ สูก​้ บั น​ ายทุนบ​ ริษทั ค​ า้ ไ​ม้ส​ มัยเ​ดียว​กบั ท​ ห​ี่ ลวง​พอ่ ใ​ช่แ​ ละ​ ผู้ใหญ่​สมคิด​เคย​ร่วม​ต่อสู้​ด้วย​กัน​มา ความ​คิดถึงข​ ้อ​เขียน​ของ​เดวิด ธอ​โร ชะงัก​ค้าง​ไว้ ขณะ​ที่​นนท์​ และ​หนู​แนะนำ​ให้​ฉัน​รู้จัก​กับ​สมาชิก​กลุ่ม​อนุรักษ์​รุ่น​แรกๆ ทั้ง​สาม แต่​แล้ว​ความ​คิดถึง​ข้อ​เขียน​ของ​ธอ​โร​ก็​หวน​กลับ​มา​อีก​ครั้ง เมื่อ​ พวกเรา​ทงั้ ห​ ก​เริม่ เ​ดินข​ นึ้ ส​ ป​ู่ า่ เ​ขา​ทลาย หรือท​ ช​ี่ าว​บา้ น​แถว​นเ​ี้ รียกกัน​ มา​นาน​เนิ่น​แล้วว​ ่า ‘ป่า​หินก​ อง’ ระหว่าง​ทาง ขณะ​ทฉี่​ ัน​เก็บ​ภาพ​ภายใน​ป่า​ไว้​ให้ม​ าก​ที่สุด คณะ​ กลุม่ อ​ นุรกั ษ์ก​ จ​็ ะ​หยุดพ​ ดู ค​ ยุ ก​ นั เ​ป็นร​ ะยะ ตัง้ ข​ อ้ ส​ งั เกต​ตาม​กงิ่ ไ​ม้ท​ ห​ี่ กั ​ คา​กิ่ง​ลง​มา​วา่ ​อาจ​เป็น​ฝมี ือ​คนนอก​เข้า​มา เพราะ​วนั ก​ ่อน​พวก​เขา​ยงั ​

83


84

วัง​ใหม่

ไม่​เห็น ขณะ​ที่ทาง​ซ้าย​มือ​ของ​พวก​เรา​เป็นท​ าง​น้ำ​เล็กๆ ที่​ชาว​บ้าน​ เรียก​กัน​ว่า ‘โกรก​น้ำ’ อัน​เป็นภ​ าษา​ถิ่นข​ อง​คน​ที่​นี่ ป่า​ใน​เทือก​เขา​ทลาย​รก​ครึ้ม​ไป​ด้วย​แมก​ไม้​ที่​ฉัน​ไม่รู้​จัก​ประสา​ คน​เมือง​ที่​เพียง​แค่​หญ้า​ก็​ยัง​คิด​ถอน​ทิ้ง ฉัน​สูด​หายใจ​ลึก​เอา​อากาศ​ บริสุทธิ์​ที่​ไม่​ค่อย​มี​โอกาส​ได้​หายใจ​เข้า​ปอด​นัก และ​แปลก​ดี ทั้ง​ที่​ ก่อน​หน้าน​ ี้ ฉันม​ กั เ​หนือ่ ย​กบั ก​ าร​ขนึ้ เ​ขา​เตีย้ ๆ ประสา​คน​นำ้ ห​ นักเกินอย่าง​ที่​เธอ​มัก​ว่า และ​เรียก​ฉัน​เสมอ​ว่า อ้วน-แต่​ทว่า ขึ้น​เขา​ทลาย​ วันนี้ ฉัน​ไม่รู้​สึกเ​หนื่อย​เลย แม้​ใน​ป่า​จะ​ไร้​ลม​พัด เว้น​แต่​สูง​พ้น​ศีรษะ​เรา​ขึ้น​ไป​ยอด​กิ่ง​ไม้​ ยังไหว​ลเ​ู่ อน​ตาม​ลม​ชอ่ งเขา กระนัน้ ป่าก​ ใ​็ ห้ค​ วาม​รสู้ กึ เ​ย็นส​ ดชืน่ ฉัน​ เก็บ​รูป​เพลิน​จน​ลืม​สมาชิก​กลุ่ม​อนุรักษ์​ไป​ชั่ว​ขณะ เงย​หน้า​ขึ้น​อีก​ที หลัง​ของ​พวก​เขา​ก็​ห่าง​ออก​ไป​ไกล​แล้ว


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

ช่าง​เดิน​เร็ว​กัน​จริง ฉันไ​ด้แ​ ต่ค​ ดิ ใ​น​ใจ ขณะ​ทร​ี่ บี ส​ บื เ​ท้าก​ า้ ว​ตาม ถ้อย​ความ​ของ​เดวิด ธอ​โร​กลับ​มา​ใน​ห้วง​ความ​คิด​อีก​ครั้ง “จาก​ป่า​เขา​ลำเนา​ไพร​นั่นเอง ที่​เขา​ได้​มา​ซึ่ง​เปลือก​ไม้ ราก​ไม้ และ​เครื่อง​เทศ​ซึ่ง​ช่วย​บำรุง​หล่อ​เลี้ยง​มนุษย์ บรรพ​ชน​ของ​เรา​ล้วน​ เป็น​ชาว​ดอย” นั่น​สินะ ฉันร​ ำ​พึง​เบาๆ กับต​ ัว​เอง หลัง​รำลึก​ย้อน​เรื่อง​ราว​ตาม​ ที่​ผู้ใหญ่​สมคิด​เล่า​ให้​ฟัง เพราะ​ป่า​ให้​ชีวิต​นั่นเอง เรา​ถึง​ไม่อาจ​ขาด​ ป่าไ​ด้ ทั้ง​ทปี่​ ่า​ไม่มเี​รา ป่าก​ ็​อยู่​ได้ และ​อาจ​อยู่​ได้​ดยี​ ิ่ง​กว่า เมื่อไม่มี​

85



นิธิ นิธิ​วีร​กุล

พวกเรา​คอย​ตดั ไ​ม้ คอย​ทำลาย​สภาพ​ภมู น​ิ เิ วศ​ของ​ปา่ ใ​ห้ส​ ญ ู สิน้ ล​ งไป​ ทีละ​น้อย ที​ละ​น้อย เพียง​เพราะ​เรา​หลงลืม​ว่าแ​ ม้แต่​ราก​ไม้ก​ ็​ให้​คุณ​แก่​ชีวิต มากกว่า​นั้น เพราะ​ว่า​เรา​หลงลืม​ไป​ว่า​บรรพ​ชน​ของ​เรา​ล้วน​ เป็น​ชาว​ดอย

ล้วน​มา​จาก​ป่า​แทบ​ทั้งส​ิ้น เดิน​กำลัง​เหนื่อย​ดี​ที​เดียว เมื่อ​ฉัน​ไล่​ตาม​กลุ่ม​อนุรักษ์​ป่า​ไม้​ ชุมชน​มา​ทันย​ ัง​หลัง​เขา และ ณ จุดน​ ี้​เองทีม่​ อง​เห็น​กอง​หินส​ อง​กอง​ สูงเ​กือบ​สอง​เมตร​วาง​เคียง​ศาล​ไหว้ผ​ เ​ี จ้าพ​ อ่ เ​ขา​หนิ ก​ อง ชาว​คณะ​เรา​ ทั้ง​หก​จึง​เลือก​ขอน​ไม้​ที่​ล้ม​ลง แล้ว​นั่ง​ลง​สนทนา

87


88

วัง​ใหม่

ศรัทธา​รักษา​ป่า ขณะ​ที่​ฉัน​มอง​ลุง​เปี๊ยก​ย่อก​ าย​ลง​คุกเข่า หลัง​จุดธ​ ูป​ทเี่​ตรียม​มา​ เพื่อ​ไหว้​เคารพ​เจ้า​พ่อ​เขา​หิน​กอง ฉัน​ก็​นึกถึง​ศรัทธา​ที่​ชาววัง​ใหม่​มี​ ให้​พระ​สงฆ์​สำคัญ​สอง​รูป คือ​หลวง​พ่อ​นุช และ​หลวง​พ่อใ​ช่ รูป​แรก​ คือ​พระ​ที่​ให้​พุทธคุณ​ทาง​จิตใจ เป็น​ที่​พึ่ง​ทาง​โลก ยาม​ที่​ชาววังใหม่​ รู้สึก​ไร้​ทางออก ขณะ​ที่​รูป​หลัง​คือ​พระ​นัก​อนุรักษ์ คือ​พระ​สงฆ์​ผู้​ สร้าง​พุทธคุณ​ให้​แก่​ป่า ยัง​ประโยชน์​ให้​แก่​โลก และ​ชาววัง​ใหม่​ใน​ บริบท​ที่​แตก​ต่าง​กัน ทว่า​ทั้ง​สอง​รูป​ต่าง​เป็น​พระ​เหมือน​กัน ต่าง​เป็น​ตัวแทน​ของ​ ศรัทธา​ความ​เชื่อ​เหมือน​กัน และ​ต่าง​ก็​เป็น​ชาววัง​ใหม่​เช่น​เดียวกัน “​เรื่อง​เจ้า​พ่อ​​บางที​มัน​ก็​เป็น​กุศโลบาย แต่​ไม่ใช่​ว่า​ไม่มี​จริง​ หรอกนะ ท่าน​ศกั ดิส์ ทิ ธิจ​์ ริง” ลุงเ​ปีย๊ ก​เล่าเ​มือ่ เ​รา​นงั่ ล​ ง “สมัยก่อนโน้น เคย​มเ​ี สือด​ ว้ ย​นะ เสือส​ มิง ตัวใ​หญ่เ​ลย รุน่ พ​ อ่ ร​ นุ่ แ​ ม่ล​ งุ น​ ย​ี่ งั ท​ นั ไ​ด้เ​ห็น ค่ำๆ คืนๆ จะ​มา​แล้ว จะ​ได้ยนิ เ​ลย เดินป​ ว้ นเปีย้ น​บน​หลังคา​สงั กะสี แต่​ท่าน​มา​ดี มาปก​ป้อง​คุ้มครอง เคย​มี​พวก​พราน​เข้า​มา​จะ​ยิง​เสือ แต่ก็​ยิง​ไม่​โดน เขา​ว่า​เป็น​เสือ​ของ​เจ้า​พ่อ แต่​พวก​พราน​ถ้าใ​คร​เผลอ​ ลง​คลาน​กนิ น​ ำ้ น​ โ​ี่ ดน​ยงิ ต​ าย​เลย​นะ คนอืน่ จ​ ะ​มองเห็นเ​ป็นส​ ตั ว์ ฉะนัน้ ​ เข้า​ป่า​นี่​ห้าม​ก้ม​ลง​ไป​กิน​น้ำ แต่​ต้อง​ใช้​มือ​วัก​น้ำ​กิน​เอา หรือไ​ม่​ก็​หา​ กระ​บอก​ไม้ไผ่ม​ าร​อง” “เจ้า​พ่อ​นี่ คือ​เจ้า​พ่อ​หิน​กอง​หรือค​ รับ” ฉัน​ถาม​พลาง​มอง​ไป​ยัง​ศาล​ที่​ตั้ง​อยู่​ระหว่าง​หิน​สอง​กอง ซึ่ง​


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

พูน​สูง​จาก​หิน​ก้อน​เล็กๆ จาก​น้ำมือ​ชาว​บ้าน​นำ​ขึ้น​มา​วาง​ที​ละ​ก้อน​ สอง​ก้อน “ใช่” ลุง​เปี๊ยก​ตอบ แล้ว​เล่า​ต่อว่า​แรก​เริ่ม​นั้น ไม่มี​ใคร​รู้​ว่า​บน​ เขา​นี้​มี​หิน​กอง​เล็กๆ มา​วาง​ไว้​ได้​อย่างไร “มันไ​ม่​ได้​สูง​อย่าง​ที่​เห็น​นี้​ หรอก” ลุงว​ า่ กระนัน้ เมือ่ ฉ​ นั ถ​ าม​วา่ ค​ น​เฒ่าค​ น​แก่ท​ จ​ี่ ดจำ​ได้ว​ า่ ม​ ห​ี นิ ​ กอง​ตั้งแต่เ​มื่อ​ไหร่​นั้น​มี​ไหม? ลุงเ​ปีย๊ ก​กส​็ า่ ย​หน้า บอก​ไม่มใ​ี คร​จำ​ได้ เนือ่ งจาก​คน​รนุ่ พ​ อ่ ร​ นุ่ แม่​ แกเกิด​มา​ก็​เห็น​แล้ว “ก็​คิด​ดู​มัน​ผ่าน​มา​กี่​ปี​แล้ว​ล่ะตั้งแต่​ลุง​ยัง​เด็กๆ สอง​พัน​ห้า​ร้อย​ โน่น ชาว​บ้าน​เขา​ขึ้น​มา​กห็​ ยิบ​หิน​ขึ้นม​ า​ด้วย มา​วาง​ไว้” ฉัน​ถาม​ต่อ​ถึง​ศาล​เจ้า​พ่อ​หิน​กอง ลุง​เปี๊ยก​ก็​ให้​คำ​ตอบ​ว่า​เป็น​ ผลงาน​ร่วม​แรง​ร่วมใจ​ของ​ชาว​บ้าน​อีก​เช่น​กัน เมฆ​ครึ้ม​ลอย​มาปก​คลุม​สันเขา​อยู่​ครู่​หนึ่ง ให้​บท​สนทนา​เงียบ​ ลงไป เพื่อ​ให้​พวก​เรา​ได้​ฟัง​เสียง​ป่า และ​ให้​ฉัน​ได้​จินตนาการ​ถึง​ วันเวลา​เก่า​ก่อน​โน้น​บน​เทือก​เขา​แห่ง​นี้​ที่​ยัง​เต็ม​ไป​ด้วย​สิงสาราสัตว์

89


90

วัง​ใหม่

ยัง​เต็มไ​ป​ด้วย​เรื่อง​เล่า​กึ่ง​ตำนาน​อัน​น่า​สนุก เมื่อ​ฉัน​ถาม​ต่อว่าต​ ั้งแต่​เมื่อ​ไหร่ท​ ี่​ป่า​เขา​ทลาย หรือ​เขา​หิน​กอง​ เริ่ม​ถูก​ทำลาย ทั้ง​ลุง​เปี๊ยก​และ​ลุง​ติ่ง ให้ค​ ำ​ตอบ​เหมือน​กัน คือ​ราวๆ ปี พ.ศ. 2527 “ตอน​นั้น​พวก​ป่า​ไม้​มัน​เข้า​มา เอา​รถ​แทรคเตอร์​ขึ้น​มา ก็​ไถ​ ต้นไม้​ดะ​เลย​นะ จาก​ตรง​ที่​เรา​ขึ้น​มา​นี่​ล่ะ ตัด​เสร็จ​ก็​เอา​แทรคเตอร์​ ดันล​ ง​ไป​เลย” ลุง​ติ่ง​พูด​พลาง​ทอด​สายตา​ไป​ไกล​ยัง​ทิว​ทัศน์​ลิบๆ ของ​ตัว​ อำเภอ​แก่ง​หาง​แมว​ต่ำ​ลง​ไป​เบื้อง​ล่าง ฉัน​ฟัง​แล้ว​ก็ได้​แต่​สงสัย​ว่า​ ไฉน​เจ้าพ่อ เจ้า​ป่า เจ้า​เขา​ถึง​ไม่​ปก​ปัก​รักษา​ป่า​เลย ไฉน​พอ​เกิด​ เรื่อง​เช่นน​ ี้ อำนาจ​ศักดิ์สิทธิ์​ทั้งห​ ลาย​กลับ​ไม่ส​ ำแดง​เดช​ใดๆ จน​ป่า​ แทบ​สิ้น​แล้วน​ ั่น​แหละ ฉัน​ได้​แต่​เก็บงำ​คำถาม​นั้นไ​ว้​ใน​ใจ ไม่ก​ ล้า​ถาม​ลุง​ทั้งส​ อง​ตาม​ที่​


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

คิด แต่​ขณะ​ทฟี่​ ัง​เรื่อง​ราว​แต่ห​ น​หลัง​ของ​ชีวิต​ชาววัง​ใหม่ หมู่ 8 ก่อน​ การ​เข้าม​ า​ของ​รถ​แทรคเตอร์ ซึง่ ก​ ลาย​มา​เป็นช​ อื่ ห​ มูบ่ า้ น​เพราะ​ความ​ ทีส​่ มัยโ​น้น รถ​แทรคเตอร์ถ​ กู น​ ำ​มา​ใช้เ​พือ่ ก​ าร​ตดั ไ​ม้ก​ นั เ​ยอะ​มาก ฉัน​ ก็​อด​คิด​ไม่​ได้​ว่า​บางที​อาจ​ไม่ใช่​เพราะ​อำนาจ​ศักดิ์สิทธิ์​นั้น​เสื่อม​ลง​ หรอก แต่เ​ป็น​เพราะ​ศรัทธา​ต่าง​หาก เพราะ​ศรัทธา​ที่​คน​เรา​มี​ให้​ต่อ​ป่า ต่อ​บรรพ​ชน​ของ​เรา​ต่าง​หาก​ ที่​สูญ​สลาย​ไป ยัง​ดี​ที่​อย่าง​น้อย​ป่า​ยัง​ส่ง​คน​อย่าง​หลวง​พ่อ​ใช่ คน​อย่าง​ผู้ใหญ่​ สมคิด และ​แกน​นำ​คน​อื่นๆ รวม​ถึง​ลุง​ติ่ง ลุง​เปี๊ยก​ให้ล​ ุก​ขึ้นเ​ป็น​คน​ แรกๆ ใน​การ​เริ่ม​อนุรักษ์​ป่า​หิน​กอง จุด​ประกาย​ความ​คิด​ชาว​บ้าน​ วังใหม่ใ​ห้​เห็น​ถึง​ความ​สำคัญ​ของ​ป่าไ​ม้​ทใี่​ห้​น้ำ น้ำท​ ี่​ให้ช​ ีวิต​แก่​พืช​ผล​ ใน​สวน​ของ​ชาววัง​ใหม่​ทุก​คน พืช​ผล​ที่​คืน​กลับ​มา​เป็น​เงิน​ทอง และ​ เป็น​ลม​หายใจ​ให้บ​ ้าน​วัง​ใหม่​ยัง​ดำรง​อยูต่​ ่อ​ไป •

91


09 กลุ่ม​ดอกไม้จ​ันทน์

“กว่า​จะ​มา​ถึง​ปี​นี้ ก็​นานนะ ตั้งแต่​ปี 50 พอได้​กำไร​มา​เรา​ ก็ ​ต่ อ นู่ น ​ต่ อ ​นี่ ก่ อ อิ ฐ ​อ ะไร​ ไป ปีที่​ผ่าน​มา​ก็​ทำ​ห้องน้ำ เหลือ​ปีนี้แหละ ว่าจะ​ทำ​ ตรงนี้​ต่อ​อีก​หน่อย​หนึ่ง ไม่งั้น​มัน​ก็​ไม่​สำเร็จ เรา​ อยากเห็นม​ นั ส​ ำเร็จน​ ะ อยาก​เห็นผ​ ส​ู้ งู อ​ ายุม​ รี าย​ ได้​บ้าง ทำ​ดอกไม้​จันทน์นี่ เรา​จ้าง​ข้าง​นอก​ให้​ ช่วย​ทำ เพราะ​คน​สูงอายุ​เขา​ทำ​ไม่ไหว เขา​จับ​ กระดาษ​ขึ้น​มา​ไม่ติด เพราะ​นิ้วแข็ง​ไป​หมด​แล้ว เรา​กจ​็ า้ ง​นะ พอ​เห็นค​ น​สงู อ​ ายุเ​ดินมา​จาก​บา้ น​ พร้อม​ดว้ ย​ดอกไม้จนั ทน์นี่ เรา​กส​็ งสาร ก็ใ​ห้ไ​ป​ ร้อยละ​ห้าส​ ิบ ไม่​ได้​เหลือ​เก็บ​เข้า​กองทุน​เท่า​ ไหร่ห​ รอก ที่​ทำ​ก็​เพราะ​อยาก​ช่วย​เขา” “ตอน​แรก​เรา​ก็​ไม่​เป็น​

( อดีตผู้ใหญ่บ้าน ธันวา อิ่มเอี่ยม )


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

หรอก กระทั่งพ​ ัฒนากร​อำเภอ​หา​คน​มา​ช่วย​สอน เรา​ก็​หัด​ทำ ตอน​ แรก​มี​แต่​ผู้​สูง​อายุ​ทั้ง​นั้น​เลย เพราะว่า​เขาจะ​ได้​ค่า​หมาก​ค่า​พลู​น่ะ ลูก​หลาน​เขา​ก็​ไป​ทำงาน​ข้าง​นอก​กันหมด ตอน​แรก เรา​จ้าง​ร้อย​ละ​ ยี่สิบ​บาท แต่​คน​สูง​อายุ​เขา​ก็​ทำได้​แค่​ห้าสิบอัน​เอง เขา​ว่า​มัน​หยิบ​ ไม่​ติด เสร็จแ​ ล้ว​ก็​ต้อง​มา​พันธ​ ูป​พันเทียนอีก แต่​ทุก​คน​ก็​มี​มานะ ทุก​ คน​ช่วย​เรา​จน​ได้ก​ ำไร” ถ้อยคำ​ของ​อดีตผ​ ใู้ หญ่แ​ ห่งบ​ า้ น​หมู่ 2 นางสาว​ธนั วา อิม่ เ​อีย่ ม หรือท​ ี่​เรียก​ติดปาก​อีก​เช่นเ​คย​ว่า ผูใ้​ หญ่​ก๊อ​ย บอก​เล่าถ​ ึงจ​ ุด​เริ่ม​ต้น​ ของ​การ​ก่อ​ตั้ง​กลุ่มท​ ำ​ดอกไม้​จันทน์ท​ ี่​ย้อน​กลับ​ไป​เมื่อ 5 ปี​ก่อน จาก​ความ​ตงั้ ใจ​ทต​ี่ อ้ งการ​เห็นผ​ ส​ู้ งู อ​ ายุใ​น​หมูบ่ า้ น​มร​ี าย​ได้เ​สริม​ ขึน้ ม​ า​จาก​เบีย้ ผ​ ส​ู้ งู อ​ ายุร​ าย​เดือน ซึง่ ม​ กั ไ​ม่ค​ อ่ ย​พอ​นกั อีกท​ งั้ ผ​ ส​ู้ งู อ​ ายุ​ ส่วน​ใหญ่ไ​ร้บ​ ตุ ร​หลาน​คอย​จนุ เจือ ผูใ​้ หญ่ก​ อ๊ ย​ จ​ งึ ไ​ด้ร​ วม​กลุม่ ผ​ ส​ู้ งู อ​ ายุ แล้ว​ทำการ​เสนอ​โครงการ​ผ่าน​อำเภอ​นา​ยาย​อาม​ไป​ยัง​ศูนย์​พัฒนา​ ฝีมอื แ​ รงงาน​เพือ่ ข​ อ​ทนุ จ​ ำนวน 100,000 บาท​มา​กอ่ ต​ งั้ ศ​ นู ย์​ เรียนรู้​กลุ่ม​ทำ​ดอกไม้​จันทน์

จาก​ดอกไม้​งาน​ศพ สู่​ของ​ที่​ระลึก​จาก​วัง​ ใหม่ พอ​เริ่ม​ก่อ​ร่าง​เป็นก​ลุ่ม​ก้อน​ชัดเจน​ขึ้น จาก​ ดอกไม้​จันทน์​งาน​ศพ กลุ่ม​ของ​ผู้ใหญ่​ก๊อ​ยก็​ขยับ​ ไป​สผ​ู่ ลิตภ​ ณ ั ฑ์อ​ นื่ ๆ ทีเ่​กีย่ วข้อง ทัง้ ก​ าร​ทำ​บายศรี การ​ทำ​พวงหรีด กระทั่ง​ต่อ​โลง​ศพ จน​มา​ถึง​

93


94

วัง​ใหม่


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

ผลิตภัณฑ์​ล่าสุด​ที่​ผู้ใหญ่​ภูมิใจ​นำ​เสนอ ผ้าเช็ดหน้า และ​ซอง​ใส่​โทรศัพท์​มือ​ถือ โดย​ฝีมือ​ผู้​สูง​อายุ​ ประจำ​กลุ่ม​อีก​เช่น​กัน ฉันม​ อง​ดผ​ู า้ เช็ดหน้าส​ ข​ี าว ปักด​ า้ ย​สบ​ี น​ผนื ผ​ า้ แ​ ต่ละ​ผนื ท​ อ​ี่ า่ น​ได้​ ว่า ‘ไป​มา​แล้ว วังใ​หม่’ บ้าง ‘วัง​ใหม่ น่าอ​ ยู่’ บ้าง อด​ยิ้ม​ใน​ใจ​ไม่ไ​ด้ ข้อค​ วาม​สนั้ ๆ สะท้อน​ความ​ซอื่ ใ​ส​ของ​กลุม่ ค​ น​ทอ​ี่ ยูเ​่ บือ้ ง​หลังผ​ นื ​ ผ้าน​ อ้ ยๆ แต่ละ​ผนื เ​หล่าน​ ี้ รวม​ถงึ ซ​ อง​ใส่โ​ทรศัพท์ท​ ท​ี่ ำ​จาก​ผา้ ลาย​ตา​ หมาก​รุก ผ้าลาย​ไทย ฉันห​ ยิบ​ผล​งาน​ที่​ผู้​ใหญ่​ก๊อ​ย​ภูมิใจ​นำ​เสนอ​ขึ้น​

95


96

วัง​ใหม่

มา​พินิจ​ดู แล้ว​ต้อง​ยอมรับ​ว่า​งาน​ของ​เขา​ดี​จริง ไม่ใช่​ด้วย​ผ้า หรือ​ลวดลาย แต่​เป็น​ความ​ ตั้งใจ​ที่​จะ​ให้​ของ​ที่​ระลึก​ชิ้น​นี้​เป็น​ตัวแทน​ จาก​ชาววังใ​หม่ โดย​เฉพาะ​กลุม่ ท​ ำ​ดอกไม้จนั ทน์ หมู่ 2 •



10 ทุน​หมู่บ้าน ทุนอนาคต

เริ่ม​จาก​นา​ยกฯนริศ ต้องการ​เห็นช​ าว​บ้าน​ใน​ตำบล​มเี​งิน​ออม​ทเี่​พิ่ม​ มาก​ขึ้น​จาก​เดิม​ที่​แต่ละ​หมู่บ้าน​มี​กองทุน​ของ​ตัว​เอง​อยู่แล้ว ไม่​นับ​ กองทุนย​ อ่ ย​แยก​อนื่ ๆ รวม​แล้ว 13 กองทุน ทว่าจ​ ำนวน​เงินท​ ส​ี่ มาชิก​ ได้ร​ บั จ​ าก​แต่ละ​กองทุนก​ ไ​็ ม่ไ​ด้ม​ าก​พอ​ใน​ยาม​ทพ​ี่ วก​เขา​จำต้อง​ใช้จา่ ย อาทิ​ค่า​รักษา​พยาบาล​กรณี​เจ็บป่วย หรือ​เสีย​ชีวิต กองทุนส​ วัสดิการ​ชมุ ชน​ตำบล​วงั ใ​หม่จ​ งึ ก​ อ่ ร​ า่ ง​ขนึ้ โดย​มค​ี รูแก็ต หรือ นาง​สาว​บุศย์สรี ปาน​ขาว ​เป็น​แกนนำ​กลุ่ม ดำเนินงาน​ คอย​ให้ ​คำ​ปรึกษา​ต่างๆ ใน​ฐ านะ​ที่​เคย​ด ำรง​ต ำแหน่ ง ​อ าจารย์ ​ ในมหาวิทยาลัย “เริ่ม​จาก​เรา​ไป​เดิน​บอก​กับ​ชาว​บ้าน เดินบอก​ทุก​บ้าน จนถ้า​ ปากฉีกไ​ด้ มันค​ ง​ฉกี ไ​ปถึงร​ หู แ​ู ล้ว เขา​กเ​็ ลย​เกรงใจ​ครูม​ าก​เลยยอมฝาก​ ก็ได้ คนละ​สามสิบบ​ าท วันท​ ี่​เปิดบ​ ัญชี มี​เงิน​ทั้งหมด 2,700 บาท ทุก​วัน​นี้​เรา​มี​เงิน​ทุนท​ ั้งหมด​กว่า​สิบ​สี่​ล้าน​บาท” กองทุนฯ มีส​ วัสดิการ​จา่ ย​คา่ ห​ อ้ ง​พกั ใ​น​โรง​พยาบาล​ยาม​เจ็บป่วย​


นิธิ นิธิ​วีร​กุล

99

บุ​ศรีย​ ์ ปาน​ขาว กรรมการ​กองทุน​สวัสดิการ​ ชุมชน​ตำบล​วัง​ใหม่

ครั้ง​ละ 500 บาท มี​เงิน ‘ขวัญ​ถุง​ลูก​รัก’ ให้กับท​ ารก​เกิด​ใหม่​คนละ 500 ไม่เกิน 2 คน​ต่อ 1 ครอบครัว สมาชิก​สถาบัน​สามารถ​กู้​ เป็นเงิน เป็นปุ๋ย หรือ​เครื่องมือ​ทางการ​เกษตร​ได้​แทน รวม​ถึง​การ​ใช้​ ตั๋วแ​ ลกเงิน​เป็น​ทาง​เลือก​ใน​การ​ผ่อน​ชำระ​หนีแ้​ ก่​สมาชิก ถาม​ว่ายาก​ไหม​กว่า​จะ​มา​ถึง​วันน​ ี้ ครู​แก็ต​ยิ้ม (เป็นร​ อยยิ้มแ​ บบ​ ที่​ฉัน​ชัก​สงสัย​แล้ว​ว่า​ชาววัง​ใหม่​จะ​มี​บ้าง​ไหม​ที่​ท้อ) บอก​ฉันว่า​เรา​ ต้อง​พูดต​ ้อง​คุย​กับ​ชาว​บ้าน​ให้​เขา​เข้าใจ แรกๆ ที่​ชาว​บ้าน​ส่วนใหญ่​ ไม่ยินยอม​มา​ออม​เงิน​กับ​กอง​ทุนฯ ก็​เพราะ​ต่าง​ก็​คิด​ว่า​ตัวเอง​มี​ รายจ่าย​ทั้ง​นั้น มาตรการ​ของ​อดีต​อาจารย์​มหาวิทยาลัย​ที่​ชาวบ้าน​


100 วัง​ใหม่

ถนัด​ปาก​เรียก ‘ครู​แก็ต’ จึง​ใช้​วิธี​เรียก​ทุก​ครัว​เรือน​ใน​วัน​ประชุม​ มา​แจกแจง​ถึง​รายรับ​ราย​จ่าย​ให้​ฟัง แล้ว​ถาม​ด้วย​เหตุผล​ว่า​แต่ละ​ รายจ่าย​นั้น​ตัด​ได้​ไหม โดย​อิง​จาก​ความ​จำเป็น​ใน​การ​ดำรง​ชีวิต​ เป็นหลัก เมื่อ​ตัดไ​ด้ เงิน​ส่วน​นั้น​ก็​นำ​มา​เป็นเ​งิน​ออม ถาม​ต่อว่า​ปัญหา​ที่​พบ​เจอ​ตลอดการ​บริหาร​กองทุน​มา​นี้​คือ​ เรื่องใด​บ้าง ครู​แก็ต​ให้​คำ​ตอบ​ยาว​เหยียด​ที่​อาจ​ไล่​เรียง​สรุป​ออก​มา​ เป็น​คำ​สั้นๆ ได้ว​ ่า “พอ​ไม่​เป็น” “อย่าง​บ้าน​ตรง​ข้าม​ครู​เนี่ย เขา​ก็​ปิด​บ้าน​หนี​ไป​แล้ว เพราะ​เป็น​ หนี้​นอก​ระบบ เรา​กเ็​คย​เรียก​เขา​มา​คุยน​ ะ เคย​ช่วย​จ่าย​หนี้​ให้เ​ขา แต่​ แล้วเ​ขา​กก​็ ลับม​ า​เป็นเ​หมือน​เดิม คือไ​ม่พ​ อ ใช้เ​ท่าไ​หร่ก​ ไ​็ ม่พ​ อ ทาง​แก้​


นิธิ นิธิ​วีร​กุล 101

ที่​ครูพ​ ยายาม​รณรงค์ก​ ็​คือ​การ​ทำ​บัญชี​รายรับ-ราย​จ่าย” ฉัน​ถาม​ว่า​มัน​จะ​แก้​ยัง​ไง ใน​เมื่อ​การ​ทำ​บัญชี​รายรับ-ราย​จ่าย​ก็​ เป็น​แต่​เพียง​บัญชี หลัก​คิด​ของ​ครู​แก็ตก​ลับ​ไม่ไ​ด้​อยู่​ตรง​นั้น “ข้อดีข​ อง​การ​ทำ​บญ ั ชีก​ ค​็ อื ส​ มาชิกใ​น​ครอบครัวไ​ด้ค​ ยุ ก​ นั พ่อแ​ ม่​ ได้ค​ ยุ ก​ บั ล​ กู ลูกไ​ด้ร​ ว​ู้ า่ พ​ อ่ แ​ ม่ม​ เ​ี งินเ​ท่าไ​หร่ เด็กก​ จ​็ ะ​ได้ร​ ว​ู้ า่ ต​ วั เ​อง​ควร​ ใช้​เงิน​ยัง​ไง ของ​ที่​ไม่​จำเป็น บาง​ครั้ง​เอา​ออก​ได้ ถ้า​เรา​ทำ​ตรง​นี้​ได้ เราจะ​เปลี่ยน​ฐาน​ความ​คิด​เขา​ได้ แล้ว​เขา​ก็​จะ​มี​ภูมิคุ้มกัน” การ​คยุ ก​ นั เ​ป็นส​ งิ่ ท​ ค​ี่ รูแ​ ก็ตพ​ ยายาม​มา​ตลอด​ตงั้ แต่เ​ริม่ ร​ บั ไ​ม้จ​ าก​ นา​ยกฯ นริศ ใน​การ​ก่อ​ตั้ง​กองทุน​สวัสดิการชุมชน ตั้งแต่​วันที่​พยายาม​พูด​จน​ปาก​เกือบ​ฉีก​ถึง​รู​หู​เพื่อ​ให้​ชาวบ้าน​ เข้าใจ​ว่า​เหตุ​ใด เขา​ถึ ง​ต้ อ ง​ย อม​เสี ย​เงิ น​ม า​ฝ าก​เข้ า​กั บ ​กองทุ น​ สวัสดิการ​อีก ใน​เมื่อ​แต่ละ​คน​ต่าง​มี​บัญชี​ใน​กองทุน​หมู่บ้าน​ของ​ ตัวเอง​อยู่​แล้ว ไม่น​ บั ก​ าร​เป็นท​ ป​ี่ รึกษา คอย​แก้ไข​ปญ ั หา​ของ​สมาชิกท​ แ​ี่ วะเวียน​ มา​ขอ​คำ​ปรึกษา​เรื่อง​การ​จัดการ​เงิน​ทองใน​ครอบครัว การ​กู้​เงิน​ จาก​แหล่ง​ทุน​นอก​ระบบ ซึ่ง​แหล่ง​ทุน​เหล่า​นี้​ก็​พยายาม​เจาะ​เข้า​มา​ ใน​ชุมชน “พวก​นเ​ี้ ยอะ​มาก เห็นป​ า้ ย​ให้ก​ ต​ู้ าม​ทอ้ ง​ถนน​ไหม ? เต็มไปหมด” ฉั น ​เ ห็ น แต่ ​ไ ม่ ใ ช่ ​แ ค่ ​วั ง ​ใ หม่ ​เ ท่ า นั้ น ​ห รอก ทั่ ว ​ทุ ก ​ที่ ​แ หละ โดยเฉพาะ​ใน​จิตใจ​เรา ฟั ง ​ค รู ​แ ก็ ต แล้ ว ​ฉั น ​ก็ ​ห วน​คิ ด ถึ ง ​ปั ญ หา​ห นึ่ ง ​ใ น​ส อง​อ ย่ า ง​ที่ ​ นายกฯนริศ​พยายาม​แก้ไข แต่​ยัง​แก้​ไม่​สำเร็จ เพราะ​นิสัย​คน​นั้น​


102 วัง​ใหม่

แก้ยาก​ที่สุด กรณีของ​ครู​แก็ตก็​เช่น​เดียวกัน บาง​ครั้งค​ น​เรา​นกี่​ ็​แปลก ฉัน​คิด ทั้ง​ที่ทาง​นั้น​มี​แล้ว คน​นำ​เขา​ ทำทาง​ไว้​ให้​ดีแล้ว ก็​ยัง​อยาก​ไป​ทาง​อื่น บาง​คน​หวน​กลับ​ทาง​เก่า ทั้ง​ที่​รู้​ว่า​ทาง​เก่า​นั้น​พา​ให้​หลง​มัวเมา​ไป​เพียง​ไร หรือ​เพราะ​เรา​ไม่รู้? “การ​จะ​พึ่ง​ตัว​เอง​ได้ เรา​ต้อง​รกู้​ ่อน​ว่าเ​รา​เป็น​ยังไ​ง” ครู​แก็ตทิ้งท​ ้าย​ไว้​ใน​ใจ​ฉัน กระนั้น ฉัน​เห็นอ​ ีก​อย่าง อาจ​ไม่ใช่​ ว่า​เรา​ไม่รู้ แต่เ​พราะ​เรา​ไม่​อาจ​ควบคุม​ได้​มากกว่า ความ​ไม่รู้​จักพ​ อดี เพื่อ​พอ​เพียง •



11 ลุงภ​ มร

ภมร สุเนตรโต

ค่ำคืน​สุดท้าย​ใน​วัง​ใหม่​เคลื่อน​ลง​มา​คลี่​คลุม​เหมือน​ ย่ำ​เย็น​ที่​ผ่าน​มา หลัง​ผละ​จาก​บ้าน​ครู​แก็ต โสภา​ก็​พา​ฉัน​ กลับ​มา​ส่ง​ยัง​บ้าน​ลุง​ภมร ซึ่ง​นั่ง​จิบ​น้ำ​ชา​รอ​อยู่​แล้ว​ด้วย​ยิ้ม​เย็น​ตาม​ ประสา เจ้า​เฉิน​หมอบ​อยู่​ไม่​ไกล ลุง​ภมร​ถาม​ฉัน​ว่า​หิว​ไหม รอ​ได้​หรือ​เปล่า ป้า​กำลัง​เตรียม​ กับข้าวอยู่ ฉัน​ยิ้ม​ตอบ​ว่า​ยัง​ไม่​หิว แม้​ท้อง​จะ​ร้อง​เบาๆ ก็ตาม ลุงภ​ มร​ผาย​มอื เ​ชิญฉ​ นั ใ​ห้น​ งั่ ล​ ง​ใน​ศาลา​ไม้ท​ แ​ี่ ก​ตอ่ ข​ นึ้ เ​อง​จาก​ ไม้​ต้น​ทุเรียน​ที่​ตาย​ไป​ใน​สวน​ของ​แก ซึ่ง​ลุงภมร​ไม่​ปล่อย​ให้​เปล่า​ ประโยชน์ ฉัน​เรียน​รู้​จาก​สิ่ง​ต่างๆ ภายใน​โฮม​สเตย์​ของ​ลุง​ภมร​


นิธิ นิธิ​วีร​กุล 105

ว่า​ข้าว​ของ​ทุก​สิ่ง​มี​คุณ​ประโยชน์​ของ​มัน​เอง แม้​ใน​ยาม​ที่​ประโยชน์​ ของ​มัน​อาจ​ไม่​ตอบ​สนอง​ความ​ต้องการ​ได้​แล้ว กับ​บาง​คน​อาจ​ไม่​ คิด​เช่น​นั้น ภายใน​เนื้อที่​ไร่+บ้าน+ใจ โฮม​สเตย์​จาก​สิ่ง​เหล่า​นี้ สำคัญ​ที่สุด​ คือ​สายตา​ใน​การ​มอง น้ำ​ชา​ริน​ผ่าน​ลง​แก้ว ลุง​ภมร​และ​ฉัน​นั่ง​เงียบ​ใน​สรรพ​เสียง​ของ​ หัวค่ำ แมลง​กลาง​คนื ส​ ง่ เ​สียง​รอ้ ง​เพ​ลง​เบาๆ ราว​มป​ิ รารถนา​รบกวน เสียง​เดียว​ทไ​ี่ ด้ยนิ นอกจาก​ประดิษฐกรรม​จาก​ธรรมชาติแ​ ล้ว คือเ​สียง​ ตะหลิวก​ ระทบ​กระทะ​จาก​ใน​ครัวโ​ดย​ฝมี อื ข​ อง​ปา้ ฐ​ ติ พ​ิ ร คูช​่ วี ติ ล​ งุ ภ​ มร​ ที่​อยู่​กิน​ด้วย​กันม​ ากว่า​สี่​สิบ​ปี ไม่รู้​อะไร​ดลใจ ฉัน​นึก​อยาก​รู้​เรื่อง​ราว​ความ​รัก​ของ​คน​รุ่น​ ก่อนกำเนิดโ​ทรศัพท์​มือ​ถือ ก่อน Facebook และ​โปรแกรม​คุยแ​ ชท​ ที่​เรียก​ว่า Line “ลุง​กับ​ป้าม​ า​รัก​กัน​ได้​ยังไ​ง​ครับ”

รัก-ปะ-ชุน “เขา​เป็นช​ า่ ง​เย็บผ​ า้ รถ​เครือ่ ง​ลม้ ม​ งั่ เสือ้ ข​ าด กางเกงขาด ทีหลังม​ ันไ​ม่ค​ ่อย​ขาด ก็เ​อา​มีดก​ รีดใ​ห้ม​ ันข​ าด เขียน​จดหมาย​ ใส่ ​ก ระเป๋ า ​ส่ ง ​ใ ห้ ​แ ก​ไ ป สมั ย ​โ น้ น ​ป้ า ​แ ก​ไ ม่ ​ช อบ​ลุ ง หรอก เกลียดมาก แก​เกลียด​คน​ดำๆ” แม้​จะ​พูด​เช่น​นั้น แต่​อดีต​ช่าง​เย็บ​ผ้า​สาว​สวย​เมื่อ​สมัย​ กว่า​สี่​สิบ​ปี​ก่อน​โน้น​ก็​ตอบ​รับ​รัก​คน​ดำ​ที่​ใจ​ไม่​ดำ​อย่าง​ครู​


106 วัง​ใหม่

จนๆ ใน​ที่สุด ลุง​ภมร​ถือ​คติ ‘ตื๊อเ​ท่านั้น​ทคี่​ รอง​โลก’ แม้​จะ​รวู้​ ่า​สาว​เจ้าไ​ม่​ชอบ​ คน​ดำ ถึง​ขั้น​รังเกียจ​ด้วย​ซ้ำ แต่​ลุง​ภมร​ก็​ไม่ล​ ะ​พยายาม ด้วย​เชื่อ​ว่า​ ตน​นั้น​ดี​พอ สี่​สิบ​ปี​ใน​ชีวิต​คู่ กับ​ทายาท​อีก​สาม​คน คือ​พยาน​แห่ง​รัก​ ที่​อาจ​ทำให้​คน​รุ่น​หนุ่ม​สาว​ใน​ปัจจุบัน​หวน​คิด​ขึ้น​มา​ก็ได้​ว่า​บาง​ครั้ง สิง่ สำคัญไ​ม่ไ​ด้อ​ ยูท​่ เ​ี่ ริม่ ต​ น้ ร​ กั อ​ ย่างไร แต่ป​ ระ​คบั ป​ ระคอง​รกั ใ​ห้ด​ ำเนิน​ ไป​จน​สุดเ​ส้น​ทาง​รัก​ต่าง​หาก

สำคัญ​มากกว่า “ลุง​เคย​เป็น ​ผอ.โรงเรียน​มา เคย​เป็น​ผู้​บริหาร ชินแ​ ต่​สั่ง​เขา แต่​ ใน​บ้าน​นี่ ลุงต​ ้อง​ปรึกษา​เขา​นะ ต้อง​ให้​เขา​เป็น​ใหญ่ คุยก​ ัน​ก่อน” ฉัน​มอง​ผ่าน​แสง​นีออน​ไป​ยัง​ช่อง​หน้าต่าง​ห้อง​ครัว เงา​คู่​ชีวิต​ ลุงภมร​ทาบ​อยู่​เคียง​คู่​ใน​ฐานะ​หลัง​บ้าน​มา​ตลอด​สสี่​ ิบ​ปี และ​ฉัน​เชื่อ​ ว่า​คง​แนบ​แน่น​ประดุจเ​งา​ร่าง​เดียวกัน​กับ​ลุง​ภมร​ไป​จน​สิ้นลม

นก​ไม่มขี​น คน​ไม่มี​เพื่อน ย่อม​ขึ้น​สูง​ไม่ ​ได้ “นก​ไม่มี​ขน​มัน​จะ​บิน​ได้ไ​หม ก็​เหมือน​กับ​คน ไม่มเี​พื่อน มัน​จะ​ ดี​ได้​ไหม มี​เพื่อน​ไป​ถึง​ไหน​ก็​ไม่​อับจน” เริม่ ช​ วี ติ ก​ าร​ศกึ ษา​ดว้ ย​การ​เดินต​ ดั ท​ งุ่ น​ า​จาก​บา้ น​หมู่ 2 ไป​ยงั ว​ ดั ​ หนอง​สี​งา​หมู่ 3 ตัด​ทุ่ง​ไป​ร่วม​สิบ​กิโลเมตร ชีวิต​ลุง​ภมร​ผูกพัน​กับ​คำ​ ว่า ‘เพื่อน’ ใน​วิถขี​ อง​คน​ชนบท ตาม​หลัก​ลูก​ผู้ชาย​สมัย​เก่าท​ ี่​ถือ​คติ รุ่น​พี่ รุ่นน​ ้อง และ​เพื่อน


นิธิ นิธิ​วีร​กุล 107

จาก​โรงเรียน​ประถม​สู่​โรงเรียน​กิน​นอน​ใน​สมัย​มัธยม ความ​ ผูกพัน​ระหว่าง​น้ำ​มิตรวิถี​ลูก​ทุ่ง​ชนบท​ยิ่ง​เคี่ยว​กรำ​ซึมซับ​ลง​ไป​ด้วย​ การ​หล่อห​ ลอม​จาก​รุ่นพ​ ี่ ฉั น ​ฟั ง ​ด้ ว ย​ค วาม​รู้ สึ ก ​ไ ม่ ​ต่ า ง​จ าก​วิ ถี ​ท หาร​ห าญ​ที่ ​เ คย​ผ่ า น​ เข้าทำนอง ‘ไม่​ฆ่า​น้อง ไม่​ฟ้อง​นาย ไม่ข​ าย​เพื่อน’ “มั น ​ไ ม่ ใ ช่ ​อุ ด มการณ์ แต่ ​เ ป็ น​วิ สั ย ​ที่ ​เ รา​ซึ ม ซั บ เรา​ไ ม่ ​เ คย​ เอาเปรียบ​ใคร เพื่อน​คน​ไหน​ที่​ยัง​ต่ำ​เรา​ก็​ดึง​ขึ้นม​ า ถ้า​เพื่อน​คน​ไหน​ จะ​กา้ ว​ขนึ้ ไ​ป เรา​กบ​็ อก​วธิ ก​ี า้ ว ไม่ใ​ห้เ​หยียบ​หวั ก​ นั แต่ก​ ม​็ บ​ี าง​คน เรา​ ก็​ตัดเ​พื่อน​ไป ชีวิต​ใคร​ชีวิต​มัน” “มี​เยอะ​ไหม​ครับ” “มันก​ ็​มี แม้​พวก​เรา​จะ​มา​จาก​เบ้าเ​ดียวกัน แต่​มัน​ก็​มี​บ้าง​ที่​แตก​ ออก​ไป เมื่อแ​ กะ​พิมพ์​ออก​มา ต่าง​คน​ต่าง​เดิน คน​เรา​ไม่​เหมือน​กัน” ไม่รู้​เธอ​คิด​เหมือน​ฉัน​ไหม?

เรือจ​้าง วาง​พาย ใน​ฐานะ​ครูป​ ่า​ทเี่​ริ่ม​ต้น​เพียง​คน​เดียว เป็น​ทั้งภ​ ารโรง ครู​ผสู้​ อน และ​ครูใ​หญ่เ​มือ่ ก​ ว่าส​ ส​ี่ บิ ป​ ก​ี อ่ น ลุงภ​ มร​สงั่ ส​ อน​ลกู ศ​ ษิ ย์ม​ า​นบั ไ​ม่ถ​ ว้ น ลูกศ​ ษิ ย์ไ​ม่น​ อ้ ย​ได้ด​ บิ ไ​ด้ด​ เ​ี ติบโต​ใน​อาชีพก​ าร​งาน จน​เป็นใ​หญ่เ​ป็นโ​ต​ ทั้ง​ใน​แวดวง​ธุรกิจเ​อกชน และ​แวดวง​ข้าราชการ สี่​สิบ​กว่า​ปี​ก่อน​ใน​ยุค​สมัย​ที่​การ​เดิน​ทาง​ยัง​ไม่​สะดวก​สบาย​ เหมือน​ทุก​วันน​ ี้ อาศัย​รถ​เครื่อง​เก่าๆ ขี่​ลัด​เลาะ​ขึ้นเ​ขา​ใน​อำเภอ​แก่ง​ หาง​แมว​เพื่อ​ไป​สอน​เด็กๆ ใน​หมู่บ้าน​ที่​ตั้ง​อยู่​กลาง​ป่า​เพียง​ลำพัง


108 วัง​ใหม่

ลุงภมร​ยอมรับก​ ับฉ​ ัน​ว่า​มี​บาง​ครั้ง​นึก​ท้อ จน​อยาก​ลา​ออก ถึงขนาด​เขียน​จดหมาย​ส่ง​ถึงผ​ ู้​บังคับ​บัญชา และ​ถูก​เรียก​ตัว​ไป​ สอบถาม แต่​แล้ว​เหตุใ​ด​ลุง​จึงเ​ปลี่ยน​ใจ? “หัวหน้า​ลุง​ถาม​กลับ​มา​ว่าที่​โรงเรียน​นั้น​มี​ชาว​บ้าน​อยู่​ใน​พื้นที่​ ไหม ? ลุงก​ ต​็ อบ​วา่ ม​ ี แต่แล้ ​​​ วเ​ขา​อยูไ​่ ด้ไ​หม ? ลุงก​ บ​็ อก​วา่ ไ​ด้ นัน่ แ​ หละ ลุง​ก็​เลย​ได้​คิดว​ ่า​เออ​ว่ะ คน​อื่นๆ เขา​อยูม่​ า​ก่อน​เรา​เขา​ยังอ​ ยู่​ได้​เลย ลูกเล็ก​เด็ก​แดง​มัน​ก็​อยู่​กัน​ได้ แล้ว​เรา​เป็น​ผู้ชาย เป็น​คน​หนุ่ม​แท้ๆ ทำไม​อยูไ​่ ม่ไ​ด้ มันก​ ฮ​็ ดึ ก็อ​ ดทน​อยูเ​่ รือ่ ย​มา​จน​สส​ี่ บิ ป​ ผ​ี า่ น​ไป​นแ​ี่ หละ” กำแพง​ฝา​ผนังบ​ ้าน​ลุง​ภมร​ด้าน​ทตี่​ ิด​กับ​ห้อง​ครัว​พอ​ดิบ​พอดี มี​ แผ่นโ​ฟม​ตดั เ​ป็นต​ วั อ​ กั ษร​ขนาด​ใหญ่อ​ า่ น​ได้ว​ า่ ‘เรือจ​ า้ ง วาง​พาย’ ฉัน​ ถาม​ลุง​ว่า​ลุง​เป็น​คน​ทำ​หรือ? ลุง​ภมร​หัวเราะ​บอก​ไม่ใช่ เป็น​เพื่อน เป็น​รุ่น​น้อง​ที่​ทำให้​ใน​วัน​ เกษียณ​จาก​ตำแหน่งผ​ ู้​อำนวย​การ​โรงเรียน


นิธิ นิธิ​วีร​กุล 109

“ตอน​นั้ น ​ก็ ​พ า​กั น ​ม า​เ ลี้ ย ง​ส่ ง ​ที่ ​บ้ า น​นี้ ​แ หละ มา​กั น ​เ กื อ บ​ สองร้อยคน พวก​นั้น​ก็​ทำ​ป้าย​นี้​มา​ให้” ฉัน​ถาม​ถึงค​ วาม​หมาย “ก็เ​หมือน​คน​พาย​เรือน​ นั่ แ​ หละ เรา​มหี น้าท​ ร​ี่ บั ส​ ง่ พ​ า​เขา​ไป​ยงั ฝัง่ หน้าที่​ของ​ลุง​ก็​คือ​คน​พาย​เรือ พาย​ส่ง​นักเรียน​แต่ละ​คน​ไป​ส่ง​ยัง​ฝั่ง​ ของ​พวก​เขา พอ​เกษียณ​ถึง​ได้​วาง​พาย​ลง” ถึง​เวลา​นี้ วัน​ที่​วาง​พาย วัน​ที่​สี่​สิบ​ปี​ผ่าน ความ​เป็นค​ รู​ได้ห​ มด​ ลง​ไป​จาก​ใจ​ไหม ? ลุงภ​ มร​จิบ​ชา แล้ว​ทอด​สายตา​ไป​ใน​ความ​มืด​ยังล​ าน​กว้าง และ​ ถัดจ​ าก​นั้นค​ ือ​สวน​ยาง ก่อน​จะ​ตอบ “การ​ทำ​อาชีพ​ครู มัน​เหมือน​กับ​การ​ ปลูก​ต้นไม้​นะ มัน​ต้อง​ใช้​เวลา​กว่า​สี่​สิบ​ ปี​นี่​แหละ​ถึง​ได้​เห็น ​ผล​ของ​การ​ปลูก มัน​ งอกงาม พอได้​เห็น​ลูก​ศิษย์​ประสบ​ความ​ สำเร็จ มันก​ ็​ภูมิใจ แม้​จะ​ใช้​เวลา​นาน​จน​ ลูกศิษย์​หลาย​คน​พลัดพราก​จาก​กัน​ไป แต่เ​รา​ก็ได้​เห็น” ลุง​ภมร​หัน​มา​ยิ้ม​ให้​ฉัน ฉัน​ว่า​ฉัน​ได้​ คำ​ตอบ​แล้ว

สมบัติ​ของ​พ่อ ขณะ​ที่​เวลา​ล่วง​เลย เสียง​ตะหลิว​


110 วัง​ใหม่

กระทบ​กระทะ​ยัง​ดัง​เคล้งๆ ใน​ความ​สงัด​ยาม​ค่ำ ลุง​ภมร​ผ่าน​เรื่อง​ เล่าท​ ั้ง​ชีวิตรัก มิตร​สหาย ความ​เป็นค​ รู มา​จนถึงบ​ ทบาท​ของ​ความ​ เป็น​พ่อ​ทฉี่​ ัน​อด​ถาม​ไม่​ได้​ว่า​คิดถึงไ​หม ลูกๆ ทั้ง​สาม​ที่​ออก​จาก​บ้าน และ​อ้อมอก​พ่อ​แม่​ไป​สชู่​ ีวิต​ใน​เมือง ตาม​วิถี​ของ​คน​รุ่น​ใหม่​ที่​เลือก​เดิน​คนละ​เส้น​ทาง​กับ​คน​รุ่นเ​ก่า “มัน​กม็​ ี​นะ มี​เหงา​บ้าง แต่​ลุง​ก็​ทำ​โน่นท​ ำ​นี่ ทำ​สวน​มัน​มี​อะไร​ ให้​ทำ​เยอะ เดี๋ยว​ก็​ตัดห​ ญ้า เดี๋ยว​ก็​ออก​ไป​เก็บ​ผล ก็​เคย​บอก​เขา​ว่า​ จะ​รับได้ห​ รือ​ไม่​ได้​ก็​แล้วแ​ ต่​นะ แต่​สมบัติ​ชิ้นแ​ รก​และ​ชิ้นส​ ุดท้าย​ที่​จะ​ มอบ​ให้ค​ อื ก​ าร​ศกึ ษา บ้าน ทีด่ นิ อืน่ ๆ ไม่มใี​ห้ แต่ไ​ม่ใช่ไ​ม่ค​ ดิ จ​ ะ​ให้นะ แต่ม​ นั ย​ งั ไ​ม่ถ​ งึ เ​วลา ยังไ​ม่ถ​ งึ เ​วลา​สมควร ให้ไ​ป​สช​ู้ วี ติ ต​ าม​ทต​ี่ วั เ​อง​คดิ ​ และ​มค​ี วาม​ชอบ ไป​ไขว่ค​ ว้าห​ า​เอา ถ้าม​ นั ไ​ม่ไ​หว ก็ก​ ลับม​ า เพราะ​ลกู ​ ไม่ใช่​ภรรยา หย่าข​ าด​ได้เ​สีย​เมื่อ​ไหร่” คำ​พูด​ประโยค​สุดท้าย ลุง​ภมร​พูด​แล้ว​ก็​หัวเราะ และ​แล้วเ​สียง​ ตะโกน​ก็​ดังล​ ั่น​มา​จาก​ครัว “กับข้าว​เสร็จ​แล้ว” วาง​ถ้วย​ชา ด้วย​ยิ้ม​กริ่ม ลุง​ภมร​พยัก​หน้าบ​ อก​กับ​ฉัน “ไป​กิน​ข้าว​เย็น​กัน” •


นิธิ นิธิ​วีร​กุล 111


12 ลา​แล้ว วัง​ใหม่ ​ไม่ ใช่ท​ ่าใหม่


นิธิ นิธิ​วีร​กุล 113

เช้า​วัน​สุดท้าย​ต้อนรับ​ด้วย​เมฆ​ครึ้ม​ที่​เตรียม​ตั้ง​เค้า​ว่า​อีก​ไม่​ช้า หยาดฝน​คง​พรม​ลง​มา ฉัน​ลา​จาก​ลุง​ภมร และ​ป้า​ฐิติพร เมื่อ​โสภา​ ขับ​รถ​มา​รับใ​น​จังหวะ​ที่​สาย​ฝน​เริ่มพ​ ร่าง​พรม​ลง​มา​พอดี เจ้า​เฉิ​นก​ระ​ดิก​หา​งดิ๊กๆ มา​ออเซาะ​อย่าง​ประจบ ฉัน​ยิ้ม​ลูบ​ หัวมัน ปกติ​แล้ว ยาม​ไป​ที่ไหน หมา​บ้าน​นั้น​มัก​ไม่​ค่อย​ชอบ​ฉัน อาจ​ เพราะ​ตวั ฉ​ นั ม​ ก​ี ลิน่ จ​ าก​หมา​ทเ​ี่ รา​เลีย้ ง​ไว้ก​ ระมัง แต่เ​จ้าเ​ฉิน และ​หมา​ ตัวอ​ ื่นๆ อีก​สาม​ตัวใ​น​บ้าน​ลุง​ภมร​ไม่​เป็นอ​ ย่าง​นั้น พวก​มัน​ต้อนรับ​ ฉัน ราวกับ​มัน​รับร​ ู้​ว่าฉ​ ัน​คือ​แขก​ของ​เจ้าของ​บ้าน อด​ที่​จะ​คิด​ขึ้น​มา​ใน​วินาที​นั้น​ไม่​ได้​ว่า​ตำบล​วัง​ใหม่ ไม่​แต่​เพียง​ คน​เท่านั้น​ที่​ให้การ​ต้อนรับ​อย่าง​ดี​เยี่ยม ทั้ง​การ​เดิน​ทาง ทั้ง​อาหาร​ การ​กิน ทั้งท​ ี่​หลับท​ ี่นอน จน​ฉัน​นึก​สบาย และ​เผลอ​ลืม​ไป​ว่า​ตัวเ​อง​ มา​ทำ​อะไร​กัน​แน่ ตลอด​สาม​วัน​สอง​คืน​ที่​ฉัน​ได้​เรียน​รู้​จาก​คน​ที่​นี่ ฉัน​ได้​พบ​ว่า​ ในวิถี​อัน​เรียบ​ง่าย ยัง​ซุกซ่อน​ความ​ซับ​ซ้อน​ใน​ชีวิต​แต่ละ​คน​ลง​ไป​ ตามแต่​สภาวะ​แวดล้อม วัง​ใหม่​สม​กับ​คำ​ว่า ‘น่า​อยู่’ ตาม​คำขวัญ​ ที่​องค์การ​บริหาร​ส่วน​ตำบล​โดย​นา​ยกฯ นริศ​ตั้งใจ​ให้​เป็น​คำขวัญ​ ประจำ​ตำบล ไม่ใช่​เพราะ​สภาพ​แวดล้อม​ที่​โอบ​ล้อม​ด้วย​เขา​ทลาย ดกดื่น​ด้วย​ผล​ไม้ร​ ส​อร่อย หาก​เป็นด​ ้วย​รอย​ยิ้ม​แต้ม​ใบหน้า น้ำ​จิต​น้ำใจ​ตาม​ที่​โสภา​ให้​คำ​จำกัด​ความ​ฉัน​ว่า​คน​วัง​ใหม่ หาก​ ไม่​ต้อนรับแ​ ขก​ให้ด​ ี​ที่สุด ถือ​เป็นการ​ผิด​มารยาท ‘น่า​อยู่’ ใน​ความ​หมาย​ของ​คน​ที่​นี่ ที่​วัง​ใหม่ ไม่ใช่​ท่าใหม่ จึง​ เกิด​จาก​ความ​เอื้อ​อาทร​ต่อ​กัน เกิด​จาก​ความ​ที่​ทุก​คน​คิดถึง​คนอื่น


114 วัง​ใหม่

คิด ‘ทำ​เพื่อเ​ขา’ ไม่ใช่ ‘เพื่อเ​รา’ แน่นอน​ใน​ภาพ​ทชี่​ าววังใ​หม่ว​ าดหวัง​ ถึง​อนาคต มัน​ย่อม​มี​อุปสรรค ย่อม​มี​ริ้ว​รอย​ของ​ความ​ผิด​พลาด เพราะ​คน​นนั้ ไ​ม่ใช่เ​ครือ่ งจักร แม้จ​ ะ​มา​จาก​เบ้าห​ ลอม​เดียวกัน ก็อาจ​ แตกบิ่นห​ ัก​ลง​ได้ สิง่ ส​ ำคัญจ​ งึ ไ​ม่ใช่ก​ าร​พยายาม​ปกปิดร​ วิ้ ร​ อย ด้วย​การ​สร้าง​ภาพ แต่​เป็นการ​แก้ไข​ดั่ง​ที่​ชาววัง​ใหม่​ทุกๆ คน​พยายาม​ทำ ตั้งแต่​ระดับ​ นายกอบต. ประธาน​กลุ่ม​กองทุน​ต่างๆ ปราชญ์​ชาว​บ้าน รวม​ถึง​ ชาวบ้าน​ทุก​คน​ทคี่​ ิดถึงผ​ ู้คน​บ้าน​เรา​ก่อน​คน​บ้าน​อื่น ฉันก​ ล่าว​ลา​เจ้าของ​บา้ น​ทอ​ี่ บอุน่ ใจดี เจ้าของ​บา้ น​โฮม​สเตย์ท​ ไ​ี่ ม่​ เพียง​ให้การ​ต้อนรับป​ ระดุจ​ญาติมิตร​สหาย ทั้งใ​ห้ค​ วาม​รู้ ข้อคิด​จาก​ ประสบการณ์ช​ ีวิต​ที่​สั่งสม​มา​ทั้ง​ใน​ฐานะ ‘ครู’ ‘พ่อ’ และ ‘ชาวสวน’ ฉัน​กล่าว​ลา​จาก​วัง​ใหม่​ใน​บรรยากาศ​สาย​ฝน​ชุ่ม​ฉ่ำ ฉ่ำ​เหมือน​ ฝน​ใน​ใจ​ฉัน​ที่​ราด​ลง​ด้วย​ไมตรี​จาก​ผู้คน​ที่​นี่ ที่...วังใ​หม่ •


นิธิ นิธิ​วีร​กุล 115


116 วัง​ใหม่


นิธิ นิธิ​วีร​กุล 117

ภาพ​เล่า​เรื่อง วัด​สนธิท์​ อง

ไม่มี​หลัก​ฐาน​แน่ชัด​ว่า​สร้าง​ขึ้น​เมื่อ​ใด แต่​มา​โด่ง​ดัง หลัง​จาก​ หลวง​พ่อ​นุช​เข้า​มา​เป็น​เจ้าอ​ าวาส เป็น​ทพี่​ ึ่ง​ทาง​ใจ​ให้ก​ ับ​ชาว​บ้าน​ใน​ ตำบล​วัง​ใหม่ โดย​เฉพาะ​เรื่อง​เครื่องราง​ของ​ขลัง

วัด​หนอง​สี​งา ย้าย​มา​จาก​วัด​เก่า​ด้าน​หลัง​ศาลา​ประจำ​หมู่บ้าน หมู่ 3 มี​ สัญลักษณ์ป​ ระจำ​วดั ท​ โ​ี่ ดด​เด่น คือง​ าช้าง​สงู ใ​หญ่ส​ ง​ี่ า ซึง่ ส​ ร้าง​ขนึ้ แ​ ทน​ ตำนาน​ความ​เชื่อ​แต่​เดิม​ทเี่​ล่า​กัน​ใน​หมู่​ชาว​บ้าน​ว่าส​ มัย​ก่อน​นั้น เคย​ มี​นาย​พราน​ไล่ล​ ่า​ช้าง​สอง​ตัว​มา​ล้ม​ลง​กลาง​ทุ่ง เมื่อช​ ้าง​ตาย​ไป ดิน​ก็​ กลบ​ฝงั ซ​ าก​ชา้ ง​ทงั้ ส​ อง​ตวั จน​เวลา​ผา่ น​ไป ชาว​บา้ น​อพยพ​ยา้ ย​เข้าม​ า​ อยู่ ทำการ​ขดุ ด​ นิ เ​พือ่ ท​ ำ​นา​กพ​็ บ​งา​สง​ี่ า​พงุ่ แ​ ทง​ขนึ้ ม​ า จึงต​ งั้ ช​ อื่ ห​ มูบ่ า้ น​ ว่า​หนอง​สี่​งา ต่อม​ า​เรียก​เพี้ยน​มา​เป็น หนอง​สี​งา

โบสถ์ ​ไม้​เก่าว​ัดหนอง​สี​งา โบสถ์ไ​ม้เ​ก่าแ​ สดง​รอ่ ง​รอย​หลักฐ​ าน​ความ​เก่าแ​ ก่ข​ อง​พนื้ ทีต​่ ำบล​ วัง​ใหม่ เดิม​เคย​เป็น​ที่​ตั้ง​ของวัด​หนอง​สี​งา ต่อ​มา​ประสบปัญหา​ น้ำท่วม​จาก​คลอง​วัง​โตนด ซึ่ง​อยู่​ไม่​ไกล​จาก​วัด ชาว​บ้าน​และ​ พระสงฆ์จ​ งึ ร​ ว่ ม​กนั ข​ ดุ ล​ กู น​ มิ ติ เ​พือ่ ท​ ำการ​ยา้ ย​โบสถ์เ​ดิมไ​ป​สร้าง​ใหม่​ ในพื้นทีด่​ อน​กว่า​เดิม ปัจจุบันล​ ูก​นิมิตเ​ดิม​ของ​โบสถ์ย​ ัง​อยูใ่​น​ศาลา​ที่​ วัดหนองสีง​ า​ปัจจุบัน


ภาค​ผนวก ข้อมูล​พื้นฐ​ าน ตำบล​วัง​ใหม่


นิธิ นิธิ​วีร​กุล 119

ประวัติ​ความ​เป็น​มา เดิม​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ใน 20 หมู่บ้าน ใน​พื้นที่​ปกครอง​ของ​ตำบล​ วังโตนด แต่​ด้วย​สภาพ​พื้นที่​ที่​กว้าง​ขวาง ยาก​แก่​การ​ดูแล​ทั่ว​ถึง ชาวบ้าน 10 หมู่บ้าน จึง​รวม​ตัว​กัน​ขอ​แยก​มา​ตั้ง​ตำบล​ขึ้น​ใหม่ เมื่อ​ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2538 โดย​ใช้​ชื่อ​ตำบล​ว่า ตำบล​วัง​ใหม่ ซึ่ง​ มี​ที่มา​จาก​วัง​น้ำ​บ้าน​หมู่ 2 ใน​ลำคลอง​วัง​โตนด​ที่​ไหล​พาด​ผ่าน ซึ่ง​ เกิด​ขึ้น​มา​ใหม่ จึง​ได้​ชื่อ ‘วัง​ใหม่’ มี​ความ​หมาย​ว่า​วัง​น้ำ​ที่​เกิด​ขึ้น​ ใหม่​นั่นเอง ประวัติศาสตร์​ชาววัง​ใหม่ เท่า​ที่​สืบค้น​ได้ ย้อน​กลับ​ไป​ไกล​ถึง​ สมัย​สงครามโลก​ครั้ง​ที่ 2 แต่​อาจ​มีผู้คน​อาศัย​อยู่​มา​นาน​กว่า​นั้น จาก​ตำนาน​เรื่อง​เล่า​ของ​ชาว​บ้าน​ถึง​เรื่อง​ราว​การ​เท​ครัว​ชนชาวลาว​ เข้าม​ า​ใน​พนื้ ทีต​่ ำบล​วงั ใ​หม่ ซึง่ ม​ ช​ี น​ชาว​มอญ​อาศัย ต่อมา​ทงั้ ช​ าวลาว​ และ​ชาว​มอญ​เกิด​ปัญหา​แย่ง​ชิง​พื้นที่​กัน เกิด​การ​รบ​พุ่ง กลาย​เป็น​ ตำนาน​เล่าข​ าน​ทย​ี่ งั ห​ ลง​เหลือห​ ลักฐ​ าน​เรือ่ ง​เล่าอ​ ยูใ​่ น​ชอื่ ห​ มูบ่ า้ น​สอง​ หมู่บ้าน​ใน​พื้นที่​ตำบล​วัง​ใหม่ คือ​หมู่บ้าน​ดง​ทับ​มอญ และ​หมู่บ้าน​ คลอง​ลาว


120 วัง​ใหม่

องค์การ​บริหาร​ส่วน​ตำบล​วัง​ใหม่ มี​พื้นที่​การ​ปกครอง​ทั้งหมด 65.646 ตาราง​กิโลเมตร มี​หมู่บ้าน​จำนวน 10 หมู่บ้าน ครัว​เรือน 1,982 ครัวเ​รือน ประชากร​ทั้งหมด 5,436 คน ประกอบ​อาชีพ​ชาวสวน​เป็น​ส่วน​ใหญ่ ส่วน​มาก​ปลูก​ต้น​ยาง​ เนื่องจาก​ให้​ผล​ตอบแทน​ทาง​เศรษฐกิจส​ ูง

ที่มา​ที่ ​ไป​ของ​ชื่อ​หมู่บ้าน​ต่างๆ ใน​ตำบล​วัง​ใหม่ หมูท​่ ี่ 1 (บ้าน​หนิ ด​ าด) เดิมค​ อื หมู่ 5 ตำบล​วงั โ​ตนด เหตุท​ เ​ี่ รียก​ บ้าน​หนิ ด​ าด เพราะ​ใน​แม่นำ้ ว​ งั โ​ตนด​ทไ​ี่ หล​ผา่ น​หมูบ่ า้ น พอ​นำ้ ลด​ใน​ ช่วง​ฤดูแ​ ล้ง จะ​มี​หิน​ดาด​โผล่​ขึ้น​มา​ให้เ​ห็นจ​ ำนวน​มาก จึงเรียก​พื้นที่​ แถบ​นี้​ว่า​บ้าน​หิน​ดาด หมูท่​ ี่ 2 (บ้าน​วัง​ใหม่) เดิม​คือ หมู่ 5 ตำบล​วัง​โตนด ต่อ​มา​ได้​ แยก​หมู่บ้านเป็นหมูท่​ ี่ 18 ตำบล​วัง​โตนด ที่มา​ของ​ชื่อ​วัง​ใหม่ และ​ กลาย​เป็นช​ อื่ ต​ ำบล​​จาก​การ​ทค​ี่ ลอง​วงั โ​ต​นด​ได้เ​กิดแ​ อ่งน​ ำ้ ท​ ข​ี่ นึ้ ม​ าใหม่ เนือ่ งจาก​ทศิ ทาง​การ​ไหล​ของ​นำ้ ไ​ด้เ​ปลีย่ น​ไป​จน​ทำให้เ​กิดแ​ อ่งน​ ำ้ ขึน้ ซึ่ง​แอ่ง​น้ำ ภาษา​ชาว​บ้าน​จะ​เรียก​ว่า ‘วัง’ จึง​กลาย​เป็น​ที่มา​ของ​ชื่อ​ หมู่บ้าน​ใน​ที่สุด หมู่​ที่ 3 (บ้าน​วัง​กระดาน) เดิม​คือ หมู่ 10 ตำบล​วัง​โตนด ต่อ​มา​ได้​แยก​เป็น​หมู่ 17 แต่​เดิม​หมู่บ้าน​หมู่​ที่ 3 ไม่​ได้​เรียก​บ้าน​ วังกระดาน แต่ ​เรียก​บ้าน​ห นอง​สี่ ​ง า ซึ่ ง ​มี​ที่ ม า​จ าก​เรื่ อ ง​เล่ า ​ว่ า สมัยก่อน​มน​ี ายพราน​คน​หนึง่ ไ​ด้ต​ ดิ ตาม​ไล่ล​ า่ ช​ า้ ง​ปา่ ส​ อง​ตวั ม​ า​ลม้ ลง​


นิธิ นิธิ​วีร​กุล 121

ที่​กลาง​ทุ่ง​ของ​หมู่บ้าน เมื่อ​ร่าง​ของ​ช้าง​เน่า​เปื่อย จึง​เหลือ​ทิ้ง​ไว้​แต่​ งา​สี่งา​ปัก​อยู่​บน​พื้น ชาว​บ้าน​จึง​เรียก​หมู่บ้าน​นี้​ว่า ‘บ้าน​หนอง​สี่​งา’ ต่อมา​ได้เ​พี้ยน​เป็น ‘หนอง​สี​งา’ จน​กระทั่ง​บ้าน​หนอง​สี​งา​ได้แ​ ยก​ตัว​ ออก​มา​เป็นส​ ว่ น​หนึง่ ข​ อง​ตำบล​วงั ใ​หม่ จึงต​ งั้ ช​ อื่ ต​ าม​ลำคลอง​สายหนึง่ ​ ทีต่​ ัดผ่าน​หมู่บ้าน หมู่ 3 ชื่อ ‘คลอง​วังก​ ระดาน’ บ้าน​หนอง​สงี​ า​จึง​ มาเป็น​บ้าน​วัง​กระดาน หมู่​ที่ 4 (บ้าน​ดง​ทับ​มอญ) เดิม​คือ หมู่ 8 ตำบล​วัง​โตนด เหตุทเี่​รียก​ดง​ทับ​มอญ เนื่องจาก​สมัย​ก่อน มี​ชาว​มอญ​อพยพ​มา​ตั้ง​ บ้านเรือน​อยู่ ไม่​นาน​ต่อ​มา​ก็​มี​ชาว​ลาว​อพยพ​มา​ที่​คลองใหญ่ ซึ่ง​ มี​สภาพ​พื้น​ดิน​อุดม​สมบูรณ์​มากกว่า ชาว​มอญ​ต้องการ​ได้​พื้นที่​ ดังกล่าว จึง​ยก​พลพรรค​มา​รบ​พุ่งก​ ัน​ด้วย​ธนู แต่​คน​มอญ​พ่าย​แพ้​จึง​ ย้าย​กลับพ​ นื้ ทีเ​่ ดิม เรียก​ขาน​ตอ่ ม​ า​วา่ ‘บ้าน​ดง​ทบั ม​ อญ’ อันม​ ท​ี มี่ า​จาก​ การ​สู้​รบ​ที่​จบ​ลง​ด้วย​ความ​พ่าย​แพ้​ของ​ชาว​มอญ​นั่นเอง หมูท​่ ี่ 5 (บ้าน​หว้ ง​โมกข์) เดิมค​ อื หมู่ 14 ตำบล​วงั โ​ตนด ตัง้ ตาม​ ชือ่ ต​ น้ โ​มกข์ ทีข​่ นึ้ ร​ มิ ค​ ลอง​สาย​หนึง่ ซึง่ ไ​หล​ผา่ น​หมูบ่ า้ น​มา​ตงั้ แต่ส​ มัย​ ที่​ยัง​เป็น​ป่า​รกชัฏ หมูท​่ ี่ 6 (บ้าน​ปาก​ทาง​แทรคเตอร์) เดิมค​ อื หมู่ 8 บ้าน​ดง​ทบั ม​ อญ ตำบล​วงั โ​ตนด เมือ่ แ​ ยก​ตวั ม​ า​เป็นส​ ว่ น​หนึง่ ข​ อง​ตำบล​วงั ใ​หม่ ชาว​บา้ น​ จึง​เอา​ชื่อ​มา​จาก​การ​ที่​สมัย​เมื่อ​สามสิบ​กว่า​ปี​ก่อน ช่วง​ทยี่​ ัง​มี​การ​ทำ​ สัมปทาน​ป่า​ไม้​อยู่​นั้น พื้นที่​โดย​รอบ​บริเวณ​บ้าน​หมู่ 6 เคย​เป็น​ลาน​ สำหรับ​จอด​พัก​ของ​รถ​แทรคเตอร์​ที่​นายทุน​ว่า​จ้าง​ขึ้น​มา​ลาก​ซุง ใช้​ เป็น​ทั้ง​ที่​ซ่อม​รถ​แทรคเตอร์ และ​ขน​แยก​ไม้​ซุง ชาว​บ้าน​จึง​ลง​มติ​ให้​


122 วัง​ใหม่

เรียก​ชื่อ ‘ปาก​ทาง​แทรคเตอร์’ นับ​จาก​นั้น หมู่​ที่ 7 (บ้าน​คลอง​ลาว) เดิม​คือ หมู่ 11 ตำบล​วัง​โตนด สืบต่อ​จาก​เรื่อง​เล่า​การ​สู้​รบ​ระหว่าง​ชาว​มอญ​และ​ชาว​ลาว ภายหลัง​ ชาวมอญ​พ่าย​แพ้​กลับ​ไป ชาว​ลาว​จึง​นำ​ธง​ผืน​หนึ่ง​มา​ปัก​ไว้​เป็น​ สัญลักษณ์​แห่ง​ชัยชนะ​ที่​ริม​คลองใหญ่​อัน​อุดม​สมบูรณ์ เดิม​เรียก​ คลอง​ชายธง​ก่อนจะ​เป็นค​ ลอง​ลาว​ใน​ที่สุด หมูท่​ ี่ 8 (บ้าน​หิน​กอง) เดิม​คือ หมู่ 11 ตำบล​วัง​โตนด เหตุ​ ที่​เรียก​บ้าน​หิน​กอง เนื่องจาก​ชาว​บ้าน​ได้​ขึ้น​เขา​ไป​เก็บ​หา​ของ​ป่า แล้ว​ได้​พบ​ว่า​บน​ช่องเขา​ที่​ตัด​ผ่าน​ไป​ยัง​เทือก​เขา​ใน​พื้นที่​หมู่ 5 นั้น​ มี​หิน​จำนวน​หนึ่ง​กอง​อยู่ ถึง​ช่วง​เทศกาล​ตรุษ​จีน จะ​มี​สัตว์​ต่างๆ หมุนเวียน​มา​ทำความ​เคารพ​หิน​กอง​นี้​เป็น​ประจำ​ทุก​ปี ชาว​บ้าน​จึง​ จัด​ตั้ง​ศาล​ขึ้น ตั้ง​ชื่อ ‘ศาล​เจ้า​พ่อ​หิน​กอง’ และ​นำ​ชื่อ​หิน​กอง​มา​ตั้ง​ เป็น​ชื่อ​หมู่บ้าน จนถึงป​ ัจจุบัน หมูท่​ ี่ 9 (บ้าน​ซับ​ยี่หร่า) เดิม​คือ หมู่ 13 ตำบล​วัง​โตนด เหตุ​ที่​ เรียก​วา่ ‘บ้าน​ซบั ย​ หี่ ร่า’ เพราะ​บริเวณ​หมู่ 9 เป็นท​ ต​ี่ ำ่ มีน​ ำ้ ซับต​ ลอดปี อีก​ทั้ง​ใน​บริเวณ ยัง​มี​ต้น​ยี่หร่า​ขึ้น​เป็น​จำนวน​มาก ชาว​บ้าน​จึง​นำ​ เรื่องราว​ทั้ง​สอง​มา​ตั้ง​ชื่อ​หมู่บ้าน ให้ช​ ื่อ​ว่า ‘บ้าน​ซับ​ยี่หร่า’ หมู่​ที่ 10 (บ้าน​แก่ง​น้อย) เดิม​คือ หมู่ 13 ตำบล​วังโ​ตนด เหตุ​ ที่​เรียก​ว่า ‘บ้าน​แก่ง​น้อย’ เพราะ​ลำคลอง​วังโ​ตนด​ที่​ไหล​ผ่าน​บริเวณ​ กลาง​หมูบ่ า้ น เคย​มห​ี นิ ก​ อ้ น​ขนาด​ใหญ่ก​ อ้ น​หนึง่ ต่อม​ า​ถกู น​ ำ้ ก​ ดั เซาะ​ เป็น​เกาะ​แก่ง​ขึ้น ชาว​บ้าน​จึง​เรียก​ว่า ‘แก่ง​น้อย’ เมื่อ​มี​การ​ตั้ง​ชื่อ​ หมู่บ้าน​จึง​เรียก​ว่า ‘บ้าน​แก่ง​น้อย’ จนถึงป​ ัจจุบัน


นิธิ นิธิ​วีร​กุล 123

ชาว​ชอง และ​ความ​เกี่ยวข้อง​กับว​ัง​ใหม่ จันทบุรเ​ี ป็นเ​มือง​เก่าแ​ ก่ม​ ห​ี ลักฐ​ าน​ทาง​ประวัตศิ าสตร์ไ​ม่ตำ่ กว่า 1,000 ปี สร้าง​ขึ้น​โดย​ชนชาติ ชอง บาง​ตำนาน​ว่า​สร้าง​ขึ้น​โดย​ ชนชาติขอม มีชื่อ​ใน​ศิลา​จารึก​ใน​ฐานะ​หัว​เมือง​ฝั่ง​ตะวัน​ออก​ว่า ‘ควนครา​บุรี’ แต่​ชาว​พื้นเ​มือง​เรียก ‘เมือง​กา​ไว’ ข้อมูล​จาก​สถาบันวิจัย​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​เพื่อ​พัฒนา​ชนบท มหาวิทยาลัย​มหิดล ระบุ​ว่า ชาว​ชอง เป็นก​ลุ่ม​คน​พูด​ภาษา​มอญเขมร ซึง่ ถ​ อื เ​ป็นก​ลมุ่ ช​ น​พนื้ เ​มือง​ดงั้ เดิมใ​น​พนื้ ท​ อ​ี่ ษุ า​คเ​นย์ และ​ไม่เคย​ อพยพ​โยก​ย้าย​ไป​ไหน คน​ไทย​ที่​สืบ​เชื้อ​สาย​ชาว​ชอง​ใน​ปัจจุบัน​มี​จำนวน 6,00010,000 คน แต่​ที่​พูด​ภาษา​ชอง​ได้​จริงๆ นั้น​มี​เพียง 500 คน​ เท่านั้น ไม่​นับ​ที่​กระจัดกระจาย​ตาม​พื้นที่​ต่างๆ นับ​จาก​เหนือ อีสาน และ​ตราด​แล้ว ใน​พนื้ ทีจ่​ งั หวัดจ​ นั ทบุรี มีค​ น​ชอง​อาศัยอ​ ยูต​่ าม​ปา่ เ​ขา​ ใน​เขต​ตำบล​ตะเคียน​ทอง คลอง​พลู และ​คชิ​ ฌกูฏ เท่านั้น แล้ว​คน​ชอง​กับ​วัง​ใหม่​เกี่ยวข้อง​กัน​อย่างไร? ตาม​การ​อนุมาน​ของ​นัก​ภาษาศาสตร์ ภาษา​ชอง คือ​กลุ่ม​ ภาษา​ใน​ตระ​กู​ลออ​ส​โตร​เอเชีย​ติก สาขา​มอญ-เขมร ใกล้​เคียง​กับ​ ภาษา​สมราย ใช้​พูด​กัน​ใน​จังหวัดร​ ะยอง จันทบุรี และ​ตราด มีผ​ ู้​พูด​ ทั้งหมด 5,500 คน ใน​กัมพูชา 5,000 คน ใน​ไทย 500 คน คือ​ ใน​ตราด และ​จันทบุรี


124 วัง​ใหม่

เป็น​ไป​ได้​หรือ​ไม่​ที่​บ้าน​ดง​ทับ​มอญ​ใน​ตำบล​วัง​ใหม่ รวมถึง​ เรื่ อ ง​เ ล่ า ​ต ำนาน​ต่ า งๆ ใน​ท้ อ ง​ถิ่ น ​ผู ก ​โ ยง​อ ยู่ ​กั บ ​ช น​ช าว​ช อง​ที่ ​ กระจัดกระจาย​จาก​เขา​สู่​พื้นที่​ราบ แล้วก​ ลืน​กลาย​กับ​คน​พื้น​ราบ​จน​ ไม่ห​ ลง​เหลือภ​ าษา​ดงั้ เดิม เพราะ​แม้ก​ ระทัง่ ใ​น​กลุม่ ช​ น​ชาว​ชอง​ทย​ี่ งั พ​ ดู ​ ภาษา​ชอง​อยู่ ใน​กิ่ง​อำเภอ​คิ​ชฌกูฏ​นั้น ก็​มี​จำนวน​น้อย​ยิ่ง​กว่าน้อย จนคน​เฒ่า​คน​แก่​กังวล​ว่า​ภาษา​ชอง​จะ​สาบสูญไ​ป ทว่า​การ​สันนิษฐาน​ยัง​คง​เป็น​เพียง​การ​สันนิษฐาน หาก​การ​ สืบค้น​ข้อมูล กระทั่ง​หลัก​ฐาน​ทาง​โบราณคดี นำ​ไป​สู่​การ​ยืนยัน​ เรื่องเล่า​ใน​ตำนาน​ของ​พื้นที่​ตำบล​วัง​ใหม่ คง​เป็นการ​ดี​ที่​บาง​ส่วน​ เสี้ยว​ของ​ตำนาน​มา​จาก​บาง​เสี้ยว​ส่วน​ของ​ความ​จริง

การ​เดินท​ าง​มา​วัง​ใหม่ รถ​โดยสาร จาก​กรุงเทพฯ ขึ้น​รถ​ตู้​กรุงเทพฯ-จันทบุรี ได้ที่​บริเวณ​ก่อน​ถึง​ ห้าง​สรรพ​สินค้า​เซ็น​จู​รี่ อนุสาวรีย์​ชัยสมรภูมิ รถ​ออก​ทุกๆ ชั่วโมง​ ค่าโดยสาร​คนละ 200 บาท เมื่อ​ซื้อ​ตั๋ว ให้​บอก​คน​ขับ​รถ​ตู้​ว่า​ลง​แยก​หนอง​สี​งา อำเภอ​ นายายอาม เมือ่ ล​ ง​รถ​แล้ว เดินย​ อ้ น​กลับม​ า​ราว​รอ้ ย​เมตร​จะ​พบ​ปา้ ย​ ทาง​เข้า อบต.วังใ​หม่ ควร​โทร​ติดต่อ อบต. ก่อน​มา​ถึง เพื่อท​ า​ง อบต. วังใหม่​จะ​ได้จ​ ัดเ​จ้า​หน้าทีอ่​ อก​ไป​รอ​รับ


นิธิ นิธิ​วีร​กุล 125

รถยนต์​ส่วน​บุคคล จับ​เส้น​สาย​สุขุมวิท มุ่ง​สู่​จังหวัด​จันทบุรี เมื่อ​เข้า​สู่​อำเภอ​ นายายอาม ให้​สังเกต​ป้าย​บอก​ทาง​เข้า อบต.วัง​ใหม่ ก่อน​ถึง​แยก​ หนอง​สี​งา ขับ​เข้าไป​ประมาณ 500 เมตร​ก็​จะ​ถึงที่​ทำการ อบต. วัง​ใหม่

เบอร์โ​ทรศัพท์ต​ ิดต่อ องค์การ​บริหาร​ส่วน​ตำบล​วัง​ใหม่ 039-491-634

*หมายเหตุ หาก​ต้องการ​ท่อง​เที่ยว​เชิง​เกษตร ควร​เดิน​ทาง​มา​ใน​ช่วง​เก็บเกี่ยว​ผล​ไม้​ ช่วงเดือน​พฤษภาคม-มิถุนายน หาก​ต้องการ​มา​ชม​พิธี​สัก​กา​ระ​ศาล​เจ้า​พ่อ​ หินกอง ให้มา​ใน​ช่วง​เทศกาล​ตรุษ​จีน


เพลง​ศักยภาพ​ชุมชน คำร้อง-ทำนอง เรียบ​เรียง​ดนตรี ขับ​ร้อง​โดย

วสุ ห้าวหาญ ศราวุช ทุ่ง​ขเี้​หล็ก ฟาง​แก้ว พิชญา​ภา, ศราวุธ ทุ่ง​ขี้​เหล็ก, สมชาย ตรุ​พิมาย

หนึ่ง​สมอง​สอง​มือท​ ี่​มี รวม​เป็น​หลาย​ความ​คิด​ดีๆ ออก​มา​ ยืน​ตรง​นี้ ทำ​เพื่อ​เมือง​ไทย​ด้วย​กัน ไม่​วา่ ​จะ​อยู​ท่ ไ่ี หน เรา​เป็น​คน​ไทย​เปีย่ ม​ความ​สามารถ เป็น​ กำลังข​ อง​ประเทศ​ชาติ พัฒนา​บ้าน​เมือง​ก้าว​ไกล เป็น​คน​เหนือ อีสาน กลาง​ใต้ ก็​รกั ​เมือง​ไทย​ดว้ ยกันท​ ง้ั ​นน้ั (สร้อย) หาก​เรา​ร่วม​มือ​ร่วมใจ ทำ​สิ่ง​ไหน​ก็​ไม่​เกิน​แรง โครงสร้าง​ชมุ ชน​แข็งแกร่ง เพราะ​เรา​รว่ ม​แรง​รว่ ม​มอื ส​ ร้างสรรค์ จัดการ​ทรัพยากร​ช่วย​กัน ด้วย​มุม​มอง​ที่​เรา​แบ่ง​ปัน ใช้​ความ​ คิด​สร้างสรรค์​ให้​เต็ม​ศักยภาพ อยู่​ชนบท​ห่าง​ไกล ทำ​นา​ทำ​ไร่ พอ​เพียง​เลี้ยง​ตัว ใช้ชุมชน​ ดูแล​ครอบครัว ใช้​ครอบครัว​ดูแล​ชุมชน ปูพื้นฐาน​จาก​หมู่บ้าน​ ตำบล สร้าง​แปลง​เมือง​ไทย​ให้น​ ่า​อยู่​ดัง​ฝัน


เข้าไปฟังและดาวน์โหลดเพลงศักยภาพชุมชนได้ที่ www.punsook.org

ชุมชน​ทอ้ ง​ถนิ่ บ​ า้ น​เรา เรียน​รร​ู้ ว่ ม​กนั เ​พือ่ ก​ าร​พฒ ั นา ชุมชน​ ท้อง​ถิ่น​บ้าน​เรา เรียน​รู้​ร่วม​กันช​ ่วย​กันพ​ ัฒนา อยู่​ตาม​เมือง​ใหญ่​เมือง​หลวง หัวใจ​ทุก​ดวง​ซ่อน​ไฟ​มุ่ง​มั่น ก้าว​ออก​มา​จาก​รั้ว​ที่​กั้น​จับ​มือ​กัน​ทำ​เพื่อ​เมือง​ไทย คนละ​มือ​ สอง​มือ​คือ​น้ำใจ โอบ​กอด​ชุมชน​ไว้​ด้วย​ความ​สุข​ยืนนาน หนึ่ง​สมอง​สอง​มือ​ทมี่​ ี รวม​เป็น​หลาย​ความ​คิดด​ ีๆ ออก​มา​ ยืน​ตรง​นี้ ทำ​เพื่อเ​มือง​ไทย​ด้วย​กัน หาก​เรา​ร่วม​มือ​ร่วมใจ ทำ​สิ่ง​ไหน​ก็​ไม่​เกิน​แรง โครงสร้าง​ ชุมชน​แข็งแกร่ง เพราะ​เรา​ร่วม​แรง​ร่วม​มือ​สร้างสรรค์ จัดการ​ ทรัพยากร​ช่วย​กัน ด้วย​มุม​มอง​ที่​เรา​แบ่ง​ปัน ใช้​ความ​คิด​ สร้างสรรค์ใ​ห้เ​ต็มศ​ กั ยภาพ ด้วย​มมุ ม​ อง​ทเ​ี่ รา​แบ่งป​ นั ใช้ค​ วาม​ คิด​สร้างสรรค์​ให้​เต็ม​ศักยภาพ...



หลังการประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมากวา 40 ป จะมีสักกี่ชุมชนที่คนในชุมชนไมประสบปญหาความยากจน ไมประสบปญหาสิ่งแวดลอม หรือไมประสบปญหาสุขภาพ จากสถานการณดังกลาวถึงเวลาแลวหรือยังที่สังคมไทยควร กลับมาเนนการพัฒนาที่ไมมองแตมิติประสิทธิภาพ การสราง มูลคาและกำไรหรือการตลาดดานเดียว แตควรจะเปนเพื่อ ประโยชนของชุมชนและสังคม เราไมควรลดทอนผูคนลงไปเปนเพียงตัวเลข หากควรเปนเพื่อ สงเสริมศักยภาพและศักดิ์ศรีความเปนมนุษย คำตอบสำหรับ คำถามขางตนนี้ คงจะตองชวยกันคนหา ไมวาจะใชระยะเวลานาน เทาไร


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.