เราและนาย เรื ่ อ งเล่ า มี ร อยยิ ้ ม ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุม ชนท้อ งถิ่น
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ
978-616-7374-60-4 บรรณาธิการอำนวยการ
ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ บรรณาธิการ
สันติสุข กาญจนประกร กองบรรณาธิการ
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว อารยา คงแป้น ออกแบบปกและรูปเล่ม
ณขวัญ ศรีอรุโณทัย จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 979/116-120 ชั้น 34 อาคารเอส. เอ็ม. ทาวเวอร์ ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2298 0500 โทรสาร 0 2298 0230 www.thaihealth.or.th และ www.punsook.org พิมพ์ครั้งที่ 1
พฤษภาคม 2555
ดำเนินการผลิตโดย
เปนไท พับลิชชิ่ง Penthai Publishing โทรศัพท์ 0 2736 9918 โทรสาร 0 2736 8891 waymagazine@yahoo.com
คำนิยม
คุณภาพของเด็กและเยาวชนเป็นความรับผิดชอบของคนในสังคมทุกคน ที่ต้องร่วมกันดูแลอย่างต่อเนื่องและเข้มข้น ภายใต้การตระหนักรู้ตาม คำกล่าวทวี่ ่า “เด็กคืออนาคตของชาติ” สภาวการณ์ข องสงั คมไทยแต่เดิมน นั้ ครอบครัวจ ะหล่อห ลอมความคดิ และพฤติกรรมของเด็ก แต่ป ัจจุบันรวมไปถึงอนาคต เทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้เกิดสภาพสังคมเปิด ที่เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ทุกประเภท และหลากหลายช่องทาง ซึ่งมีส่วนหล่อหลอมและกระตุ้น พฤติกรรมของเด็กแ ละเยาวชน กระทัง่ ม อี ทิ ธิพลเหนือค รอบครัว เทคโนโลยี การสื่อสารจึงมผี ลกระทบวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชนอย่างยิ่งยวด
แม้ว่าข้อมูลข่าวสารจะค้นหาได้อย่างกว้างขวาง แต่ระบบการศึกษา ยังคงให้ความสำคัญกับการสอนมากกว่าการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน จึงทำให้เด็กและเยาวชนรู้ไม่เท่าทันข้อมูลข่าวสารจากสังคมเสมือน อะไร คือจริง อะไรคือมายาคติ อะไรคือความรู้ อะไรคือความเห็น อะไรคือ ถูกต้องเหมาะสม ในความเป็นจริง เด็กและเยาวชนแต่ละคนมีทุนและศักยภาพอยู่ ภายในตัว หากเราเอื้ออำนวยให้มีการเรียนรู้ โดยเด็กและเยาวชนเข้ามา มีส่วนร่วมในขบวนการพัฒนาในพื้นที่และในองค์กร จะเป็นการเพิ่มทุน และศักยภาพของพื้นที่และองค์กรอย่างสร้างสรรค์ยิ่ง ทั้งยังเป็นการสร้าง ภูมิคุ้มกัน ทำให้เด็กและเยาวชนมองเห็นและเข้าใจคุณค่าของชุมชน คุณค่า ของตนเอง อันเป็นคุณสมบัติสำคัญของคนรุ่นใหม่ ‘เครือข า่ ยรว่ มสร้างชมุ ชนทอ้ งถนิ่ น า่ อ ยู’่ จากความรว่ มมอื ข ององค์กร ปกครองสว่ นทอ้ งถนิ่ แ ละสำนักงานกองทุนส นับสนุนก ารสร้างเสริมสุขภ าพ (สสส.) ได้เชิญชวนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเครือข่ายได้คัดสรรเด็ก และเยาวชนในพื้นที่มาร่วมออกค่าย ‘รวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น’ ณ ตำบลหนองโรง อ.พนมทวน จ.หวัดกาญจนบุรี ในระหว่างวันที่ 20-25 เมษายน 2555 เพื่อสร้างความผูกพันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ รวมทั้งยังเป็นเงื่อนไขในการแสดงความ รับผิดชอบร่วมกันของเครือข่ายฯ ในการที่จะตอบสนองต่อคำมั่นสัญญาที่ ได้ประกาศร่วมกันเมื่อวันท ี่ 3 มีนาคม 2555 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ทีจ่ ะสนับสนุนให้มี ‘องค์กรเด็ก’ ที่เรียกว่า ‘สภา เด็กและเยาวชนท้องถิ่น’ ค่าย ‘รวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น’ ครั้งนี้ ได้จัดกระบวนการ เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน ภายใต้การสร้างเสริมวินัยในการอยู่ร่วมกัน สร้างเสริมความรับผิดชอบในครอบครัวและชุมชน โดยการกระตุ้นให้เกิด
ความอยากรู้อยากเห็นเชิงเปรียบเทียบระหว่างบ้านเกิดของตนกับที่ตำบล หนองโรง โดยคาดหวังว า่ จ ะเกิดก ารรวมตวั ข องเด็กแ ละเยาวชนในพนื้ ทีแ่ ต่ละ ตำบล จนกระทั่งเกิดก ารพัฒนาเป็น ‘องค์กรเด็ก’ ทีไ่ด้รับการสนับสนุนจาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ภารกิจด้านการพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนยังคงเป็นความ รับผิดชอบร่วมกันของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ที่จะร่วมกัน สร้างรูปธรรมการดำเนินงานเพื่อทำให้เกิด ‘องค์กรเด็ก’ ในทุกพื้นที่ในเขต ความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดค่ายเป็นการจุดประกายให้กับผู้เกี่ยวข้องได้เกิดความสนใจ และคิดคำนึงถ ึงความรับผิดช อบร่วมกันของเครือข่ายฯ การบันทึกเรื่องราว ของค่าย ‘รวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น’ ครั้งนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อกระตุ้น ให้ประกายความคิดได้มีการยกระดับเป็นนโยบายสาธารณะด้านเด็กและ เยาวชน ในแต่ละพื้นที่ทั้งระดับต ำบล ระดับอ ำเภอ และระดับจังหวัด ขอชนื่ ชม ความมมุ านะของเครือข า่ ยรว่ มสร้างชมุ ชนทอ้ งถนิ่ น า่ อ ยู่ ทีไ่ ด้ ร่วมกนั จ ดั ค า่ ย ‘รวมพลังเยาวชน คนชมุ ชนทอ้ งถนิ่ ’ เพือ่ ข บั เคลือ่ น ‘ปฎิญญา ด้านเด็กและเยาวชนอย่างมีพลัง สมพร ใช้บางยาง ประธานกรรมการบริหารแผนคณะที่ 3 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
8
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
เราเคยได้ยินผู้ใหญ่พูดมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วนะว่า ประเทศไทยนี้ดีแสนดี ในน้ำมปี ลา ในนามีข้าว จริงๆ เราก็ค่อนข้างเห็นด้วยนะ จะภาคไหนๆ เหนือ ใต้ ออก ตก เรากม็ ภี เู ขาสวยๆ ป่าไม้อ ดุ มสมบูรณ์ ส้มส กู ลูกไม้แ สนอร่อย กุง้ ห อยปปู ลาเต็มท ะเล แต่อ ย่างวา่ แ หละ โลกเราทกุ วันน เี้ ปลีย่ นแปลงไปเร็วเหลือเกิน คนเกิดเยอะขนึ้ อาหารการกนิ ก ต็ อ้ งจดั สรร ปันส ว่ นกนั ไป คนรวยกไ็ ด้ก นิ ด ี คนจนในบา้ นเรากต็ อ้ ง อดๆ อยากๆ ไหนจะ ที่เรียนหนังสืออ ีกล่ะ ใครโอกาสดกี ว่า ก็ได้เรียนสูงๆ โตไปมีหน้าที่การงาน ดีๆ แถมคุณครูยังบอกด้วยว่า อากาศก็ร้อนขึ้น เพราะฝีมือมนุษย์ทำลาย ทรัพยากรธรรมชาติจ นจะหมด ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เฮ้อออ... แย่จัง แล้วเยาวชนอย่างเราๆ จะชว่ ยผใู้ หญ่แ ก้ป ญ ั หาสงั คมตา่ งๆ ได้อ ย่างไร
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
9
บ้างน้อออออ อ๋อ ใช่แ ล้ว เราได้ยนิ ม าวา่ มีผ ใู้ หญ่ใจดีจ ากสำนักงานกองทุนส นับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ หรือที่เพื่อนๆ คุ้นหูกันในชื่อย่อ สสส. โดยสำนัก สนับสนุนส ขุ ภ าวะชมุ ชน (สำนัก 3) ร่วมกบั เครือข า่ ยรว่ มสร้างชมุ ชนทอ้ งถนิ่ น่าอ ยูท่ งั้ 53 ศูนย์ท วั่ ป ระเทศ ได้จ ดั ค า่ ยสนุกๆ เพือ่ ให้เด็กแ ละเยาวชนอย่าง เราๆ ได้ม ีโอกาสมาร่วมสนุก หาความรู้ หาเพื่อน เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ในวันที่ 20-25 เมษายน 2555 โดยผู้ใหญ่ใจดีบอกว่า อยากให้เราเรียนรู้ในการแก้ปัญหาชีวิต ช่วย พวกเราได้ฝึกอาชีพ แถมยังได้ศึกษาเรื่องประชาธิปไตย เพื่อเป็นพลเมือง ที่ดีของชุมชนต่อไป น่าสนุกใช่ไหม เราจะลองไปเลียบๆ เคียงๆ ร่วมสนุกกับค่าย ‘รวม พลังเยาวชน คนชมุ ชนทอ้ งถนิ่ ’ ทีจ่ ดั ข นึ้ ณ ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี กันดกี ว่า รับรอง ทั้งส นุก ทั้งมัน แถมยังได้ความรู้กลับ ไปพัฒนาบ้านเกิดของเพื่อนๆ กันได้ด้วย คนรุ่นใหม่ ไปกันเลย
10
พาเพื่อนๆ ไปรู้จักต ำบลหนองโรง ตำบลหนองโรง ตั้งอยู่ในเขตการ ปกครองของอำเภอพนมทวน มีจำนวน หมู่บ้านทั้งสิ้น 17 หมู่บ้าน มีพื้นที่ 152 ตารางกโิ ลเมตร มีลกั ษณะภมู ปิ ระเทศเป็น ทีร่ าบและทร่ี าบเชิงเขา สภาพดนิ เป็นดนิ ร ว่ น ปนทราย ชาวบ้านทำนา ทำไร่ และเลี้ยง วัวพันธุ์พื้นเมือง ปัจจุบันมี สุวรรณวิชช์ เปรมปรีดิ์ เป็นนายก อบต. การบริหารงานของ อบต.หนองโรง ถือเป็นการบริหารจัดการด้วยวิธีจิตอาสา รั ก ษาป่ า ชุ ม ชนแ ละสิ่ ง แ วดล้ อ ม นั บว่ า เป็น จุ ด เริ่ ม ต้ นข องก ารร วมตั ว กั น ท ำให้ ป่าชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี เป็น แหล่งศ กึ ษาดงู านของทอ้ งถนิ่ แ ละเครือข า่ ย ป่าช ุมชนทั่วประเทศ
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
11
หัวใจเริ่มเต้น เรียนและเล่นในค่ายเยาวชน วันที่ 2 ในหนองโรง หลังจากเมื่อคืนได้นอนพักที่โฮมสเตย์น่ารักๆ ของคุณล ุงคุณป้าผู้ใจดี พวกเราทั้งหมดมารวมตัวกันอีกทีที่องค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองโรง ถึงแ ดดในจงั หวัดก าญจนบุรรี อ้ นไปหน่อย เล่นเอาเหงือ่ ไหลไคลยอ้ ย แต่ได้เห็นเพือ่ นๆ จากทวั่ ส ารทิศม ากมายในการเข้าค า่ ยครัง้ น ี้ ได้ท ำความรจู้ กั ก นั แ ละกนั หัวใจเลยรสู้ กึ เต้นแ รง อยากรว่ มสนุกไปดว้ ย เรือ่ ง อากาศจึงไม่มปี ัญหาสำหรับวัยรุ่นอ ย่างพวกเราอยูแ่ ล้ว ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่นแบ่งเพื่อนๆ ออกเป็นสีต่างๆ 8 สี เวลาเดินไปไหน จึงได้เห็นผ้าสีสันสดใสทเี่พื่อนๆ ผูกไว้ที่คอ ดูชื่นตา ชื่นใจ คลายความคิดถึงบ้านไปได้เป็นกอง วันแรกที่มาถึง ได้มีการให้พวกเราเสนอชื่อ สมาชิกสภาเด็กและ เยาวชน จากทั้ง 53 เครือข่าย ก่อนแยกย้ายกันไป นั่นแน่ น่าสนใจใช่ไหม อยากรวู้ า่ เสนอไปเพือ่ อ ะไร เดีย๋ วเราจะคอ่ ยๆ เล่าให้ฟ งั น ะ ก่อนอนื่ เพือ่ นๆ รู้ไหม ว่ากิจกรรมหนึ่งที่สนุกมากๆ ในการมาค่ายครั้งนี้ คือการได้เข้าฐ าน เรียนรตู้ า่ งๆ ทัง้ ฐ านในปา่ ในหมูบ่ า้ น หรือในวดั อยากรไู้ หมวา่ มีฐ านเรียนรู้ อะไรบ้าง
12
ฐานเปลไม้ไผ่ ขึ้นชื่อว่าเปลไม่ว่าใครก็ชอบจริง ไหมเ พื่ อ นๆ แล้ ว ยิ่ ง เ ป็ น เ ปลที่ น อน สบายด้วยแล้วคงเป็นสวรรค์ของการ นอนไปเลย เปลไม้ไผ่ เปลขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายเรือ ทีส่ านจากวัสดุ ธรรมชาติท หี่ าได้ต ามทอ้ งถนิ่ เป็ น หั ต ถกรรมที่ ส านด้ ว ย ฝีมอื ของ ลงุ มานัส สุขธี รรม
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
13
“เดิมทีเราไม่ได้ทำเปลแต่ทำเสื่อไม้ รวก แต่มันไม่ค่อยมีคนนิยม เลยลองไป ทำเปลตามที่เคยเห็นพ่อทำ ทำมาเรื่อยๆ ดัดแปลง เสริมแต่ง มาจนถึงทุกวันนี้ เปล ไม้ไผ่อ ยูไ่ ด้อ ย่างนอ้ ย 1 ปี สบายๆ ซึง่ น าน กว่าน นั้ ม นั ก อ็ าจผพุ งั ไปตามธรรมชาติ เด็ก หรือใครที่สนใจจริงๆ จะยึดเป็นอาชีพก็ สามารถเรียนกบั เราได้ เรือ่ งรายได้ถ อื ว่าก พ็ ออยูไ่ ด้ มีบ างคนโทรมาสงั่ ห รือม า สั่งเอง ตกอันหนึ่งก็ 300 บาท หรือขายเป็นคู่ก็ 500 บาท ทำกันอยู่สองคน กับภรรยา สองคนตายาย ทำเองทุกขั้นตอน ตอนนี้ยึดเป็นอาชีพหลักไป แล้ว เพราะไร่นาก็ไม่มี” ลุงม านัสว่า ฟังจ บ เห็นเพื่อนๆ สนใจกันใหญ่ เลย กระเถิบไปถามว่า ชอบตรงไหน
“ฐานการทำเปลจากไม้ไผ่ทำให้ เราไ ด้ ค วามรู้ แ ละยั ง ไ ด้ ท ดลอง สานเปลด้วย ที่สำคัญชอบเพราะ นอนได้ และก็ใหญ่ดีค่ะ เหมาะ กับตวั ไปตอ่ ยอดในหมูบ่ า้ นตวั เอง ค งท ำได้ แ ค่ เป็ น ข องที่ ร ะลึ ก ชิ้นเล็กๆ เพราะต้นไผ่หายาก” อะนา-พิ ม พ์ พ ลอย ภู ม ิ ก รานต์ อายุ 18 ปี ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
14
ฐานข้าวเกรียบสายรุ้ง โอ้โห สีส วยนา่ ก นิ เป็นข า้ วเกรียบทเี่ กิดจ ากการใช้ค วามงาม ของสีธรรมชาติ ผสมกับความอร่อย จนกลายเป็นของฝากระดับ ตำบลที่สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน จากความคิดสร้างสรรค์ที่จับ สายรุ้งมาใส่ข้าวเกรียบจนกลายเป็นข้าวเกรียบสายรุ้งสมุนไพร ของทานเล่นน ่ารักน่าเอ็นดูเชียวเพื่อนๆ
เผือก
ใบเตย
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
ฟักทอง
15
“ฐานนี้ ที่ ช อบคื อ ค วามคิ ด ข อง การนำสีหลายๆ สีมารวมเป็นอัน เดียวกัน คือเอามาทำเป็นข า้ วเกรียบ นั่นเอง ที่สำคัญมันอร่อย และยัง เป็นอาชีพได้อีกด้วย ที่ภูเก็ตก็มีแต่ มันไม่ใช่แบบนี้ ผมคิดว่าเราก็น่าจะ เอาของในทอ้ งถนิ่ เรามาแลกเปลีย่ น ความรู้กับท้องถิ่นนี้ได้”
เดช-วร วิ ท ย์ โกมล อายุ 19 ปี ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
16
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
ฐานตอไม้นกประดิษฐ์ เพื่อนๆ ว่าไหม ใครว่าตอไม้ไร้ค่า ชาวบ้านตำบลหนองโรง ไม่คิดเช่นนั้นนะ เพราะพวกเขาจับตอไม้มาใส่มูลค่า แปร สถานะตอไม้และลูกตาลที่หล่นอยู่เกลื่อน ตำบลให้เป็นทั้งของประดับและของฝากได้ อย่างน่าชื่นชม
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
17
ลูกตาล 1 ลูก ตัดส่วนบนออก
นำดอกไม้หรือเชือก มาประดับตามชอบใจ
ใช้สว่านเจาะรูทั้งสองด้าน
ร้อยเชือกแล้วขมวดปม กลายเป็นกระเป๋าห้อยคอเก๋ๆ
18
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
19
“ฐานนี้ทำให้เราได้ทดลองทำในสิ่งที่เรายังไม่ เคยทำ คือการประดิษฐ์สิ่งของจากลูกตาล เพราะอยู่ที่พัทลุงไม่มีขาย อยากให้มีขายใน ชุมชนของผมบา้ ง ทีค่ า่ ยให้อ ะไรเราหลายอย่าง ทั้งเพื่อนใหม่ วิทยากรใหม่ๆ รวมทั้งครูเสือ ที่มาทำให้พวกเราเข้มแข็ง แต่ต่อไปไม่อยาก ให้มีแล้วเพราะกลัว คือเคยไปค่ายแบบนี้แต่ ไม่มี ตำรวจตระเวนชายแดนมาคมุ นีเ่ ป็นค า่ ย แรกเลย ที่มาก็เต็มใจมานะ”
นี ม -กิ ต ติ ศ ั ก ดิ ์ รั ก เกตุ อายุ 18 ปี ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
20
ครูเสือ คนพันธุ์เสือใจเนื้อ เล่นเอาพวกเรากลัวกันใหญ่เลย แต่ จริงๆ แล้ว ครูเสือ-ประเสริฐ ชมพรมมา ซึง่ เป็นว ทิ ยากรพเิ ศษ มาจากกองกำกับก าร ต ำรวจต ระเวนช ายแดน ที่ 44 ค่ า ย พญาลิไท จังหวัดยะลา “ตัง้ แต่วนั แรกเยาวชนให้ความรว่ มมอื ดีในทุกกิจกรรม น่ารักกันดมี าก ส่วนใหญ่ เด็ ก จ ะไ ม่ ดื้ อ แ ต่ จ ะอ อกไ ปใ นท างก ล้ า แสดงออกมากกว่า ส่วนเรื่องการจัดการ จัดระเบียบแถว ไม่คิดว่าเป็นการโหดกับ เด็กเกินไปเพราะเราแค่สั่งซ้ายหันขวาหัน ง่ายๆ ปกติแล้วจะได้รับเชิญเป็นวิทยากร พิเศษตลอดทั้งปีในพื้นที่ภาคใต้ ผมอยู่ ที่ยะลาสถานการณ์ก็ปกติดี ระเบิด ยิง ทุกวันนี่ถือเป็นปกติ ถ้าเงียบเมื่อไหร่ต้อง ระวังตัวแล้ว ผิดปกติ กลับมาพูดถึงภาพ เยาวชนถือว่าทำได้เยี่ยม ท่ามกลางความ ร้อนแบบนี้”
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
ฐานทองพับ ฐานนี้ วนิดา เข็มทอง รองประมาณกลุ่มทองพับ เล่าให้ฟังว่า แรกเริ่มกลุ่มทดลองทำอย่างอื่นมาก่อน เช่น การเย็บผ้าที่มีสอนเป็น คอร์สเรียน แต่ไม่ได้อะไรเลย “ไม่ได้รับการสานต่อด้วย พอเราเปลี่ยนมาทำดอกไม้ประดิษฐ์ จากดิน ก็ไม่ได้รับความสนใจอีกเพราะเป็นของฝากที่ราคาค่อนข้าง สูง เราจึงมาคิดกันว่าจ ะทำของกิน ก็มาลงตัวท ี่ทองม้วน ครั้งแรกนั้น มีแ ต่ทองม้วนรสตาล เพราะในพื้นที่ของเรามีตาลมาก ต่อมาจึงคิด ทำรสอื่น เช่น ใบมะกรูด กล้วย รสทมี่ ีคนนิยมกันมากจะเป็นรสใบ มะกรูดที่มีความหอม” เพื่อนๆ แต่ละคน ชอบอกชอบใจฐานนี้กันใหญ่ ก็แหม ได้ ชิมของอร่อยๆ นีน่ ะ หลายคนบอกว่า ฐานทองพับจากลูกตาล ทำให้ ได้ค วามรวู้ า่ สิง่ ต า่ งๆ ก็ส ามารถนำไปเป็นข นมได้ แถมทำออกมาแล้ว รสชาติอร่อย และยังเป็นรายได้เสริมของชาวบ้านอีกด้วย
21
22
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
ฐานช่วยต้นไม้ลำเลียงน้ำ
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
“ฐานนี้ คำสั่งแรกทำให้แ ปลกใจว่า วิทยากรให้หาใบไม้มาทำอะไร คือ สุดท้ายให้เอาใบไม้มาตักน้ำในถัง เพื่อนำไปใส่ในขวดที่แขวนอยู่ เหมือนเป็นการชว่ ยตน้ ไม้ลำเลียงนำ้ ทำให้เรารู้ว่าถ้าเราร่วมมือกันทำ สามัคคีกัน และเข้าใจกติกา เราก็จะสามารถชนะได้ พี่ๆ วิทยากรก็น่ารักด้วย มาค่ายก็ มีทั้งสนุก ทั้งลำบาก”
นั บ ดาว-นลิ น ี เนี ย งอาชา อายุ 18 ปี ตำบลหนองแก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
23
24
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
ฐานสายใยรักแห่งป่า เป็นฐานการเรียนรู้ซึ่งกำหนดให้เพื่อนๆ ลอดรวั้ เชือกฟางขา้ มไปอกี ฝ งั่ ให้ได้ ฟังด งู า่ ย แต่ ไม่ใช่เลย เพราะขอ้ ก ำหนดอกี ข อ้ ค อื ทุกค นตอ้ ง ข้ามไปให้หมด แถมวิทยากรยังลองใจโดยการ ให้ลอดข้ามเชือกในระดับสูงๆ ผู้ร่วมกิจกรรม จะแก้ปัญหาอย่างไร
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
25
“เป็นฐานสร้างความสามัคคี ที่ต้อง ร่วมใจให้เพือ่ นๆ ช่วยกนั ข า้ มฝงั่ ให้ได้ โดยการลอดเชือก มาค่ายตอนแรก ก็ไม่อยากเข้าเพราะมันร้อน แต่พอ มี เพื่ อ นๆ มากขึ้ น ก็ ท ำให้ ส นุ ก ขึ้ น ส่วนทไ่ี ด้ม าคา่ ยเพราะทำอยูก่ บั ส ภาเด็ก และเป็นสมาชิก ทู บี นัมเบอร์ วัน ด้วย”
แอม-อภิ ญ ญา วงศ์ ช ารี 17 ปี ตำบลหนองแก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดห นองบัวลำภู
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
26
ฐานเศรษฐกิจพอเพียง
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
“ฐานนี้ ท ำให้ เราไ ด้ เรี ย นรู้ เรื่ อ ง เศรษฐกิจพ อเพียงและใช้ช วี ติ ต ามแนว พระราชดำริ ได้กินผักปลอดสารพิษ ที่ชาวบ้านช่วยกันปลูก และรู้จักการ ใช้งานสิ่งต่างๆ อย่างประหยัด อย่าง การออมส่วนหนึ่งใช้ส่วนหนึ่ง และ การปลูกผักกินเอง มาค่ายสนุกมาก ได้เพื่อนเยอะด้วย”
แนน-ชลฏิ ญ า วายุ ภ าพ อายุ 15 ปี ตำบลโพนทอง จังหวัดช ัยภูมิ
27
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
28
ฐานแคบหมูไร้มัน น้ำลายสอเลย จากแคบหมูธรรมดากลายมาเป็น แคบหมูไร้มัน ด้วยกรรมวิธีการขูดไขมันบนหนังหมู ก่อน นำไปทอด ทำให้อ ยูไ่ ด้น านมากขนึ้ และทานมากๆ ก็ไม่เกิด ไขมันในร่างกายตามแบบแคบหมูทั่วไป แถมยังสะอาด กรอบอร่อย ที่สำคัญราคาพอคุยกันได้
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
29
“ฐานนี้ ท ำให้ เราไ ด้ เรี ย นรู้ ก าร ทำแคบหมูไร้มันที่เป็นแคบหมูที่ สามารถอยู่ได้นาน ได้เรียนรู้วิธี ผลิตท กุ ๆ ขัน้ ต อน แถมสะอาดและ อร่อยด้วย ฐานอื่นๆ ผมก็ชอบนะ อย่างฐานสานเปลไม้ไผ่ ฐานตอไม้ ประดิษฐ์” จั ่ น เจา-วิ ร ิ ย ะ พลอยงาม อายุ 17 ปี ตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
30
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
ฐานขนมตาล น้ำสมุนไพร มะขามจี๊ดจ๊าด
ขนมสเีหลืองฟูฟ่องโรยด้วยมะพร้าวขูดสีขาว ซ่อนกายครึ่ง หนึง่ อ ยูใ่ นถว้ ยตะไลใบนอ้ ย ขนมตาลเป็นข นมทไี่ ม่ว า่ ใครๆ คงเคย ลิม้ ล อง ด้วยความทตี่ ำบลนมี้ ตี าลอยเู่ กลือ่ นกล่น ขนมตาลกม็ ตี อ้ ง เป็นของคู่กัน นอกจากขนมตาล ฐานการเรียนรู้นี้ยังมีน้ำสมุนไพร ให้จิบแก้ฝืดคอ ตบท้ายด้วยมะขามจี๊ดจ ๊าดทเี่ปรี้ยวจับจิต
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
31
แอบคุยกับเพื่อนจากหลายจังหวัด ได้ความว่า ฐานทำขนมตาลให้ ความรู้มาก ได้รู้วิธีทำขนมไทยๆ และน้ำสมุนไพรต่างๆ ว่าทำอย่างไร มี สรรพคุณอ ย่างไร เพื่อพวกเราจะนำไปพัฒนาที่ตำบลของตัวเอง เป็นการ สร้างรายได้และส่งเสริมรายได้ให้ช ุมชน เราเองได้ลองชิมขนมตาล และน้ำ ตะโก น้ำใบเตย รวมถึงมะขามจี๊ดจ๊าด อร่อยเด็ดอย่าบ อกใครเลย
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
32
ฐานนวดแผนโบราณ
ฐานนวดนี้ เท่าที่คุย กับเพือ่ นๆ ส่วนใหญ่ท ตี่ ำบล ตั ว เ องก็ มี นวดแ ผนโ บราณ อยู่ แต่ที่หนองโรงแตกต่าง คือ ที่นี่จะเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ มีการนวดแบบจับเส้น ตรงจุด แก้ ที่ต้นเหตุ ที่เพื่อนๆ ชอบกันมาก คือคุณป ้า วิทยากร สอนการคลายเส้นตัวเองยามเมื่อย ล้าแบบง่ายๆ แถมแกยังกระซิบบอกสาวๆ มาด้วยว่า หากอยากนิ้วสวย อย่าหักนิ้ว กร๊อบแกร๊บนะจ๊ะ เพราะข้อมันจะปูด
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
33
“จริงๆ คิดว่า ต้องไปหาหมอแผนปัจจุบันประกอบด้วยนะ ไม่ใช่ว่ามาหาหมอแผนโบราณอย่างเดียว การอนุรักษ์การ แพทย์แผนไทยมีข้อดีตรงที่เราไม่ต้องไปใช้ยาที่มีผลข้าง เคียงมาก อย่างถ้าเราปวดเมื่อย แทนที่จะไปกินยา ก็ไปหา หมอนวดเพื่อให้จับจุดแทน และต้องร่วมกันอนุรักษ์เพื่อให้ เป็นภูมิปัญญาสืบทอดต่อไป การลงพื้นที่ ปัญหาคือเวลาใน แต่ละฐานมีน้อยเกินไปทำให้ไม่สามารถเรียนรู้อะไรได้มาก นัก ส่วนการชักชวนชาวบ้านให้เข้ามาร่วมนั้น คิดว่าต้องมี เอกสาร ใบรับร องต่างๆ ไปให้ค นที่ชุมชนดู เพื่อใช้ในการ ตัดสินใจว่าจ ะเข้าร่วมหรือไม่ แต่ก็คงต้องใช้เวลา”
แพรว-พั ช ร าภ ร ณ์ คงส ิ ท ธิ ์ อายุ 15 ปี ตำบลพุทธบาท อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์
34
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
ประชาธิปไตยใบเล็ก พักเรือ่ งกจิ กรรมการเรียนรู้ เข้าฐ านกนั ส กั ห น่อย เพราะมอี กี หนึ่งกิจกรรมดีๆ ที่ให้พวกเรา เหล่าเยาวชน ได้เรียนรู้เรื่องระบอบ ประชาธิปไตย อย่างทเี่ กริน่ ไปตอนตน้ ว่าม กี ารให้ เสนอชื่อ สมาชิกสภาเด็กและเยาวชน อยากฟัง แล้วใช่ไหม รายละเอียดเป็นอย่างไร
หน้าที่ของสมาชิกสภาเด็กและเยาวชน 1. พิจารณาพฒ ั นาเครือข า่ ยเด็กแ ละเยาวชนในเครือข า่ ยตำบลสร้างสขุ พร้อมขยายพื้นที่เชื่อมโยงพื้นที่อื่นๆ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ 2. ร่วมกำหนดทิศทางการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสภาเด็กฯ ที่มี แล้วให้มเีป้าหมายการพัฒนาที่สอดคล้องกัน 3. ร่วมกำหนดแบบสร้างความเชื่อมโยงด้านการทำงานกับภาค ราชการ – เอกชนในการหนุนเสริมกิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชน 4. สร้างนวัตกรรมทหี่ นุนเสริมก ารทำงานให้แ ก่ อปท. และภาคราชการ ในการเพิ่มข ีดความสามารถของหน่วยงานต่อการดูแลเด็กและเยาวชน 5. สร้างแนวทางลดปัญหาเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้นกับสังคมภายใต้ แนวทางครอบครัวอบอุ่น
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
ขั้นตอนการรับสมัครพรรคการเมือง 1. ยื่ น ค วามป ระสงค์ ก ารส มั ค รร่ ว ม พรรคการเมืองเป็นฝ่ายบริหารสภาเด็กและ เยาวชน เครือข ่ายตำบลสร้างสุข ในวันที่ 21 เมษายน 2555 เวลา 15.00 – 16.00 น. 2. จำนวนผู้สมัครพรรคการเมืองพรรคละ 8 คน (ต้องไม่เป็นตัวแทนสมาชิกสภาเด็ก และเยาวชน เครือข่ายตำบลสร้างสุข ที่ได้ ประกาศรายชื่อ ณ ชุมชน ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดก าญจนบุรี 3. กำหนดโครงสร้างฝ่ายบริหาร - ประธานฝ่ายบริหาร (นายกเครือ ข่ายเด็กและเยาวชน 1 คน) - รองป ระธานฝ่ า ยบ ริ ห าร (รอง นายกฯ 2 คน) - เลขานุการฝ่ายบริหาร (เลขานุการ 1 คน) - คณะท ำงานฝ่ า ยบ ริ ห าร (คณะ ทำงาน 4 คน) 4. ทุกพรรคการเมืองจะต้องจัดทำนโยบาย และจัดส่งตัวแทนเพื่อหาเสียง รณรงค์เพื่อ การเลือกตั้ง
35
มีสภาเด็กแล้วดีอย่างไร 1. มีก ารส่งเสริมความเข้าใจ ระบอบประชาธิปไตยให้แพร่ หลายในหมู่เยาวชน 2. มีเวทีที่เปิดกว้างสำหรับการ แสดงความเห็นของเยาวชนใน เชิงส ร้างสรรค์ 3. สร้างโอกาสให้กับเยาวชนใน การค้นหาตัวเอง 4. เพื่อเป็นกลุ่มกิจกรรม ที่จะสะท้อนแนวคิดด้าน ประชาธิปไตย โดยเฉพาะใน เรื่องของความเท่าเทียมกันของ สิทธิและเสรีภาพของประชาชน สู่สาธารณชน รวมไปถึงส ภาวะ ทางสังคมโดยทั่วไป 5. เพือ่ เป็นกลมุ่ กจิ กรรมทส่ี ง่ เสริม กิจกรรมและการแสดงออกของ เยาวชนอย่างถกู ตอ้ งและเหมาะสม 6. เพื่อเป็นกลุ่มกิจกรรมที่แลก เปลี่ยนแนวความคิด ความเห็น ตลอดจนสะท้อนมุมมอง ความคิดที่แตกต่างกันเกี่ยวกับ สภาพสังคมในปัจจุบัน
36
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
หลากนโยบายพรรคการเมือง เบอร์ 1 พรรคเ พื ่ อ เ ยาวชนน ั ก พ ั ฒ นา - จัดตั้งกลุ่มเยาวชนป้องกันภัยพิบัติ - ส่งเสริมอาชีพให้เยาวชน - สนับสนุนการจัดการขยะ ดูแลสิ่งแวดล้อม - ส่งเสริมการเรียนรทู้ ักษะชีวิต - เยาวชนต้องมีส่วนร่วมทำแผนพัฒนาตำบล - ส่งเสริมยุวชนเกษตร ทำงานร่วมกับศ ูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เบอร์ 2 พรรค Power of Young - จัดตั้งคลินิกหมอภาษา มีก ารคัดเลือกให้ทุนไปต่างประเทศ - สนับสนุนท ุนการศึกษาให้คนยากจน - ตั้งสโมสรเด็ก จัดก ีฬา - จัดกิจกรรมนันทนาการ ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย - ดูแลสิ่งแ วดล้อม - ต่อต้านภัยย าเสพติด จัดให้มสี ารวัตรเยาวชน ตั้งศูนย์บำบัด เบอร์ 3 พรรคร วมพ ลั ง เ ยาวชน - จัดตั้งให้มีสภาเด็กทุกตำบล - สนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่องในทุกตำบล - ส่งเสริมให้เกิดภาคีเครือข่ายร่วมกับต ำบลอื่นๆ - สร้างลานกิจกรรม 1 ลาน 1 ตำบล - จัดการศึกษานอกระบบให้คนด้อยโอกาส - จัดหลักสูตรการศึกษาท้องถิ่น เรียนรู้กับป ราชญ์ช าวบ้าน - กิจกรรมเยาวชนจิตอ าสา
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
37
เบอร์ 4 พรรคเ ยาวชนค นพ ั น ธุ ์ ใหม่ - มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเยาวชนทุกภาค - ซื่อสัตย์ ตรวจสอบได้ - ทุกกิจกรรมมาจากการวางยุทธศาสตร์อย่างเคร่งครัด - สร้างคนพันธุ์ใหม่เน้นการจัดการ - สร้างสำนึกรักบ้านเกิด เชื่อมต่อวัฒนธรรมทุกภาค
5 ขั้นตอนการเลือกตั้ง 1. ตรวจสอบรายชื่อจากลำดับผ ู้มีสิทธิเลือกตั้งคณะ ผู้บริหารสภาเด็กและเยาวชน 2. ยื่นบ ัตรประจำตัว (ป้ายทหี่ ้อยคอ) แสดงตน 3. ลงลายมือชื่อพร้อมพิมพ์หัวแ ม่มือขวาลงต้นขั้ว พร้อม รับบัตรเลือกตั้งจากเจ้าหน้าที่ 4. เข้าคูหาเพื่อลงคะแนน โดยทำเครื่องหมายกากบาท ตรงช่อง หน้าชื่อผู้สมัคร 5. พับบัตรเลือกตั้งตามเดิมให้เรียบร้อย จากนั้นนำไป หย่อนใส่ห ีบบัตรที่เตรียมไว้
38
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
39
ฐานกลองยาว –รำเหย่ย มาต่อกันที่ฐานน่าตื่นตาตื่นใจ ได้เห็น ลุงๆ ป้าๆ ตีก ลองรอ้ งรำทำเพลง นักร อ้ งเกาหลี มีอ ายทเี ดียว แถมยงั ม เี ยาวชนรนุ่ ใหม่ข องตำบล หนองโรง มาร่วมรำเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมอีก ด้วย เป็นการสร้างความสามัคคีระหว่างรุ่นสู่ รุ่นได้ด ีจริงๆ
“การรำของที่นี่ต่างจากบ้าน อย่างสุพรรณฯจะเป็นการ เต้นกำรำเคียว หลังจากลงแหล่งเรียนรู้แล้วคิดว่า ถ้าจะ นำรูปแบบการจัดการกลุ่มไปปรับใช้ สิ่งแรกที่จะต้องทำ คือ ต้องรวบรวมกลุ่มของเราก่อน แล้วก็ปรึกษากับผู้ใหญ่ ให้เยาวชนหันมาอนุรักษ์การรำในท้องถิ่นของเรา ในเรื่อง การอนุรักษ์ ถ้าได้เป็นนายกอบต. คงหางบประมาณมาทำ โครงการ กิจกรรมตา่ งๆ เรือ่ งทวี่ า่ ก จิ กรรมแบบนมี้ ันด จี ริง มั้ย อยากบอกว่าถ้ามันไม่ดีจริงแล้วรุ่นปู่ รุ่นย่า เราจะเอา มาทำทำไมล่ะคะ อย่างเต้นกำรำเคียว สมัยก่อนจะไม่มีรถ เกี่ยว ชาวนาพอเกี่ยวไปๆ หนื่อย ก็มารำแก้เหนื่อยกัน ถ้า วัฒนธรรมพื้นบ้านหายไป เราก็จะเหมือนไม่มีตัวตน ไม่มี คุณค่าในการดำรงชีวิต”
ตุ ๊ ก ตา-กนกวรรณ คะชาพั น ธุ ์ อายุ 17 ปี ตำบลดอนโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
ฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นกระแสทดี่ ีมากๆ เลยนะ ที่เราหัน มาใส่ใจเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมกันมาก ขึ้น ทั้งผู้ปลูก และผกู้ ิน เกษตรอินทรีย์แบบ ไม่ใช้สารพษิ จึงข ยายตวั ไปทวั่ ท งั้ ป ระเทศ ถ้า มีแบบนี้เยอะๆ รับรอง โลกสวยงามแน่ ที่ ห นองโ รงยั ง ส อนใ ห้ รู้ ว่ า ใ ช้ ห นอน มาย่อยสลายขยะ เอาไปเป็นปุ๋ยได้ เพื่อนๆ แต่ละคน สนใจกันใหญ่เลย
“ที่บ้านหนูเองก็มีการทำเกษตรอินทรีย์อยู่แล้ว ข้างๆ บ้านก็มีฐานเรียนรู้อยู่ด้วย รูปแบบการทำ เกษตรอินทรีย์ของที่นี่กับที่บ้านก็ไม่แตกต่างกัน มากนกั ทีโ่ น่นก ม็ กี ารทำนำ้ ห มักช วี ภาพอะไรแบบนี้ ด้วย ทีต่ า่ งกนั ช ัดๆ คือ ทีบ่ า้ นไม่มกี ารใช้ห นอนอะไร แบบที่นี่ใช้ แต่จะใส่เป็นกากน้ำตาลแทนมากกว่า มาคา่ ยเยาวชนสงิ่ ท ไี่ ด้เรียนรใู้ นฐานเกษตรอนิ ท รีย์ จริงๆ คือ ถ้าต งั้ ใจจริงเราจะสามารถนำไปใช้ได้ แล้ว ก็เห็นผลทันตา” ปิ ๋ ม -กนกพร วิ ช ั ย ดิ ษ ฐ อายุ 17 ปี ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ฐานการจัดการขยะ สาวๆ คงชอบฐานนี้ เพราะมีการนำ ของเหลือใช้ หรือขยะดีๆ นี่เอง มาทำให้ เป็นข องตบแต่งแ สนสวยงาม ทัง้ ย งั ม แี บบทใี่ ช้ ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย
“ที่ เรี ย นรู้ จ ากแหล่ ง เรี ย นรู้ ก็ เป็ น เรื่ อ งก ารอ นุ รั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ การนำวัสดุเหลือใช้มาทำประโยชน์ ใน เรือ่ งการจดั การขยะทเี่ กาะคาเรากม็ ี แต่เป็นเรือ่ งการคดั แ ยก ขยะของเทศบาล ที่หนองโรงเห็นเด่นชัดที่สุด คือการนำเศษ วัสดุเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ดี ยิ่งเรื่องการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ที่นี่ออกแบบได้สวยงามมาก หลังจากที่ได้เรียนรู้ แล้ว คิดว่ากลับไปจะเชิญชวนสภาเด็กและเยาวชนในชุมชน มาประชุมแล้วก็เปิดให้มีการอภิปรายเพื่อนำข้อมูลต่างๆ ไป เสนอให้เด็กแ ละเยาวชนในชมุ ชนรับฟ ัง แล้วก ใ็ ห้ท กุ ค นเสนอ ว่าอยากทำหรือไม่อยากทำอย่างไร” ปาล์ ม -วั ฒ นา ปอนแก้ ว ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
46
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
ฐานการมีภาวะผู้นำ
ลุงทวีป จูมั่น วิทยากรของฐานนี้ บอกว่าว ัตถุประสงค์ หลักคือ อยากให้เรามีแนวคิด มีท างเดินทจี่ ะปฏิบัตติ ัวในสังคม เพื่อให้อยู่ได้ เปรียบเหมือนโรงเรียนชีวิต “เด็กสมัยน เี้กิดมา คล้ายๆ ถูกท อดทิ้ง พ่อแม่จริงๆ ไม่มี โอกาสเลี้ยง อยูก่ ับปู่ย่าตายาย พีป่ ้าน ้าอาบ้าง เพราะอาชีพก าร งาน วิถีชีวิตมันเปลี่ยน ไม่ได้อ ยู่กับท้องไร่ท้องนาอีกแล้ว ไปอยู่ ตามโรงงานกันหมด สุดท้ายก็ทิ้งลูก ด้วยความรัก ความสงสาร ตายายกเ็ ลีย้ งแบบตามใจ เวลาเด็กโตไป ก็ไม่ส ามารถแก้ไขปญ ั หา ชีวิตด้วยตัวเองได้ “เรื่องบทบาทภาวะผู้นำ ลุงมีแนวคิดในเรื่องของความ กตัญญู เรือ่ งศกั ดิศ์ รี เรือ่ งการให้ต อ่ ส งั คม เป็นห ลักเดินในการเอา ไปใช้แ ก้ไขปญ ั หาชวี ติ ต า่ งๆ ส่วนเป้าห มายทจี่ ะให้เยาวชนเติบโต มาเป็นผ นู้ ำชมุ ชน นำความเปลีย่ นแปลงเป็นเป้าห มายรอง เพราะ ถ้าย งั แ ก้ป ญ ั หาของตวั เองไม่ได้ โอกาสทจี่ ะมาแก้ป ญ ั หาสงั คมได้ ก็ลำบาก”
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
47
สมองนอน – พูดจาพร่ำเพรื่อ ไม่เคยทำตามที่พูด
สมองเอี ย ง – คนค้านลูกเดียว ไม่ฟังใคร เหมือนน้ำเต็มแก้ว ประโยชน์ของตัวเองถึงบอกดี
สมองตั ้ ง – เป็นคนคิดแบบ 360 องศา ไม่เห็นแก่ตัว กตัญญู มีศักดิ์ศรี ให้สังคม
48
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
ลุงทวีปอยากให้พวกเรามาสืบทอดสิ่งดีๆ แต่ไม่อ ยากให้มองแค่เรื่อง ของตำแหน่งแห่งที่ ไม่รู้ดีถึงงานที่ทำ ปัจจุบันค นเราคิดถึงแต่ผลประโยชน์ ถ้าเรารู้เนื้อง าน ทั้งภายนอก ภายใน รูเ้รื่องหน้าที่ รูก้ ารคิดเป็น คิดอย่างไร ให้มีชีวิต “โครงการบางอย่าง อบรมแล้วก จ็ บ ไม่มตี อ่ ยอด อย่างงานคา่ ยคราวนี้ ถ้าจบแล้ว จบเลย รับรองไม่ได้ผ ล เราจะทำอย่างไร ถึงมีไม้ 2 ไม้ 3 ต่อ คือท้องถิ่นใครท้องถิ่นมัน ต้องรับช่วงต่อไป เด็กก ลับไป ผู้ใหญ่ควรเปิดลาน ให้เด็กได้ม สี ว่ นทำอะไรสกั อ ย่าง ความหวังค อื ต รงนี้ ต้องตอ่ เนือ่ ง การมภี าวะ ผู้นำ สร้างได้ในเด็กทุกคน มันแยก 2 ส่วน คือผ ู้นำตัวเอง กับผู้นำทางสังคม ผู้นำตัวเองคือแก้ปัญหาให้ตัวเอง ทางสังคม คือการมีจิตอาสาก่อนเป็นราก ตั้งต้น พอตัวเองโดดเด่นเรื่องใด ก็สร้างโอกาสตรงนั้นแก่ตัวเอง เพื่อก ้าวไป สู่ผู้นำทางสังคมที่เป็นแบบอย่าง”
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
“การมี ภ าวะผู้ นำต้ อ งรู้ จั ก อ่ อ นน้ อ มถ่ อ มต น สามารถยกมือไหว้คนอื่นก่อนได้ แบ่งปัน รู้จัก การทำงานเป็นกลุ่ม เข้ากับสังคมได้ ไปไหนก็จะมี แต่ค นรัก ส่วนตวั ก ค็ ดิ ว า่ ต วั เองพอมคี วามเป็นผ นู้ ำ อยู่บ้าง เคยทำหน้าที่สภานักเรียน ชอบทำงาน ด้านนี้อยู่ การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเยาวชน ควร มีวิธีแก้คือ ต้องมองปัญหาให้ชัดเจนก่อน อย่าง ยาเสพติด เราจะมีวิธีแก้อย่างไร ลงชุมชนเลย ไป ดูค รอบครัวเด็ก ว่าม พี ฤติกรรมทำให้เด็กเลียนแบบ ได้ไหม ถ้าพ่อแม่ทำ เด็ก 80 เปอร์เซ็นต์ ทำตาม แน่นอน แสดงวา่ ร ากฐานครอบครัวไม่แ ข็งแ รง พ่อ แม่สอนลูกไม่ได้ เรื่องเพื่อนก็สำคัญ คบเพื่อนดีก็ดี ไป แต่ค บเพื่อนไม่ดี ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไป ในทางไม่ดี เพื่อนเกเรเราก็คบได้ ผมเองก็คบอยู่ หลายคน ดังนั้น ใจของตัวเองสำคัญที่สุด สร้าง รั้วให้ต ัวเอง รู้ว่าส ิ่งไหนดี ไม่ดี การเป็นผู้นำฝึกได้ ผมเชื่ออย่างนั้น ทุกคนมีศักยภาพ จะเป็นผู้นำใน แบบไหนเท่านั้นเอง”
บ๊ อ บบี ้ - พี ร ภาส ใฝ่ จ ิ ต อายุ 18 ปี ตำบลหนองหล่ม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
49
50
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
อยูอ่ ย่างเจ้าบ้านที่โฮมสเตย์ ในงานคา่ ยครัง้ น ี้ บ้านของ ลุงส ว ง ชำนาญกำหนด เปิดบ้านเป็น บ้าน สายใยรัก โฮมสเตย์ ต้อนรับเพื่อนๆ ที่ เป็นมุสลิมด้วยความอบอุ่น “หลังนี้นอนได้ประมาณ 20 คน เพิ่งเปิด เมื่อก่อนเป็นบ้านทคี่ รอบครัว อยู่อาศัย ก็มาต่อเติ่มทำอีกนิดหน่อย เมื่อก่อนผมเป็น ผู้ประสานงานชุมชน กับทาง สสส. อยู่ เข้าใจถึงกระบวนการ เวลาคนมาดงู าน ก็ต อ้ งการทพี่ กั เด็กม า พักโฮมสเตย์ก็ได้มีการแลกเปลี่ยนกัน อย่างงานค่ายคราวนี้ บ้านผมต้อนรับ เด็กท เี่ ป็นม สุ ลิม เรากไ็ ด้ร ขู้ นั้ ต อนตา่ งๆ ในการต้อนรับ ว่ามีอะไรต้องเตรียม ขณะทเี่ ราเอง ก็ได้เล่าเรือ่ งความเป็นอ ยู่ ของเราให้เด็กๆ ฟัง “อย่างบ้านเราขายก๋วยเตี๋ยวหมู ก็ ต้ อ งห ยุ ดข ายก่ อ น อาหารก็ มี ก าร สั่งจากร้านมุสลิมในตัวจังหวัด นอก เหนือจากนั้นจำพวกผลไม้ เครื่องดื่ม เราก็ เ ตรี ย มไ ว้ ใ ห้ โดยปกติ เ ราก็ ท ำ มื้อเช้าให้กิน ข้าวต้ม กาแฟ โอวัลติน ส่วนที่ละหมาด ก็ม ผี ู้เชี่ยวชาญของเขา
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
51
52
ว่าค วรทำตรงสว่ นไหนของบา้ น ไม่รสู้ กึ ว่ายุ่งยาก ดีด้วยซ้ำ ที่เราได้ความรู้ มากขึ้น “การอยู่กับเด็กสนุกดีด้วย ได้มี โอกาสให้ความรเู้ขา จะไปดูงานที่ไหน กันบ้าง เราก็ช่วยเสริมให้ตามที่เรารู้ ดีกว่าไปนอนโรงแรม เพราะมันมีแสงสี ไม่มีคนคุม มานอนอย่างนี้ พ่อแม่ก็ สบายใจได้ว่ามีผู้ใหญ่คอยดูแล ไม่มี อันตราย แต่ก ต็ อ้ งรบั ค วามเป็นอ ยูใ่ ห้ได้ บ้านเขาอยู่อย่างไร หนูก็ต้องอยู่อย่าง นั้น วิธีรับมือวัยรุ่น ก็คือเรื่องยาเสพติด แต่เด็กที่มานี่ ดูดบุหรีย่ ังไม่มใีห้เห็น ยัง มีความเกรงใจเราอยู่ “ปัญหายาเสพติด พูดตรงๆ เรา มีเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ทุกมุมเมือง ถ้า เอาจริง มันก็จบ (หัวเราะ) ในหมู่บ้าน ในชุมชน เราก็รอู้ ยู่แล้ว ว่าใครเป็นใคร พูดในฐานะพ่อแ ม่ สังคมเกษตรสมัยนี้ พ่ อ แ ม่ ไ ม่ ไ ด้ เ อาลู ก ไ ปท ำงานด้ ว ย ไม่เหมือนเมื่อก่อน ไปนาก็เอาลูกไป ทำงานดว้ ย ส่วนมากไปเรียน ก็ไปตดิ ม า จากสังคมที่อื่น เรียนจบได้ด ี ก็โชคดีไป พ่อแม่ก็ต้องคิดทบทวนให้ดี”
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
53
ตัวน้อยนอนโฮมสเตย์ “อยูโ่ ฮมสเตย์ก ส็ นุกด ี อยูก่ นั ห ลาย คน ได้ค ยุ ก บั เจ้าของบา้ นอยู่ ใจดีค รับ มา เข้าค่ายไม่ได้มีใครบังคับมา อยากมาฝึก ตัวเองเรื่องความอดทน ก็ร ้อนนะ ยังไม่ คิดถึงบ า้ นหรอก วันส ดุ ท้ายคอ่ ยคดิ ทีม่ า ก็บางทีสนุก บางครั้งไม่สนุก สนุกที่ครู เสือพูดอะไรขำๆ ดุเป็นบางที ครูเสือ บังคับก็ไม่สนุก ตอนนี้ยังไม่ค่อยคุ้นกับ เพื่อนใหม่เท่าไหร่ คงอีกสักพัก เข้าป่า ชอบหลายฐาน สมุนไพรก็ชอบ มีอ ะไร แปลกๆ ให้ดู ที่บ้านหม้อ เพชรบุรี ก็ม ี สมุนไพร แต่รู้สึกว่าไม่เยอะขนาดที่นี่ ปกติเห็นพ่อแม่ใช้สมุนไพรอยู่แล้ว ใน การทำอาหาร กระเทียม กะเพรา”
แซม-ชนาธิ ป ฉายแสงเดื อ น อายุ 14 ปี ตำบลบ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
54
ฐานสมุนไพร
มะเกลื อ – ถ่ายพยาธิ
ฐานนี้ มี ก ารนำส มุ น ไพร มากมาย มาจัดวางให้เพื่อนๆ ได้ เ รี ย นรู้ ทั้ ง ที่ เ คยเ ห็ น และ ไม่ คุ้ น ต า เช่ น ข่ อ ย เอาไ ว้ แก้ปญ ั หาเรือ่ งฟนั เป็นการสง่ เสริม ให้ค นในตำบลรจู้ กั น ำของจากปา่ มาใช้ประโยชน์ รู้จักคุณสมบัติ ของสมุนไพร
มะแว้ ง เครื อ – แก้ไอ
แคดอกขาว ดอกแดง – แก้ไข้
ชะพลู – แก้เบาหวาน
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
55
กระบื อ เจ็ ด ตั ว – ขับประจำเดือน กระชาย – แก้ท้องร่วง
ขิ ง – แก้อาเจียน กระเจี ๊ ย บแดง – ขับปัสสาวะ
กระวาน – แก้ท้องขึ้น
ขี ้ เ หล็ ก – แก้นอนไม่หลับ
เห็นไหมว่า สมุนไพรไทย มีป ระโยชน์ น่าศ กึ ษาเพิม่ เติมจ ริงๆ เพื่อนๆ กลับไปศึกษาสมุนไพร ในบ้านเกิดตัวเองได้เลยนะ
“ฐานสมุนไพรให้ประโยชน์ เพราะถ้า ทานสมุนไพรบางตัวแล้วจะมีประโยชน์ กับตัวเรา เช่น ฝาง ที่สามารถบำรุงผิว แถมยงั ร กั ษาสวิ ได้อ กี ด ว้ ย ซึง่ ม นั จ ะเป็น ไม้แท่งๆ แล้วเอามาแช่น้ำกิน มันทำให้ เรารวู้ า่ ส งิ่ ท เี่ ป็นส มุนไพร สิง่ ท เี่ กิดในปา่ มันมีประโยชน์มาก”
ก๊ อ ต -เพชรรั ต น์ หมู ่ เก็ ม อายุ 14 ปี ตำบลเขาหัวช้าง จังหวัดพัทลุง
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
58
ฐานเรื่องเล่าจากผู้อาวุโส ฐานสนุกอีกหนึ่งฐาน ที่เราเหล่า เยาวชน ได้ร่วมแชร์ประสบการณ์ด ีๆ จาก ผูส้ งู ว ยั ก ว่า คือ ลุงป ระยงค์ แก้วป ระดิษฐ์ ประธานป่าช ุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี และรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หนองโรง
หลาน : คุณลุงเล่าประวัติของที่นี่ ให้ฟังหน่อย ลุ ง : ได้สิ เมื่อก่อนแถวนี้ไม่ได้ เรียกว่าป่าชุมชน มีต้นรังเยอะมาก ปี 2515-2516 ป่าถ ูกท ำลายมาก เหมือน ทะเลทราย เพราะโรงงานนำ้ ตาล โรงงาน มันสำปะหลังเกิดขึ้นมากมาย เกิดการ ตัดป า่ เพือ่ ป ลูกอ อ้ ย ปลูกม นั ป อ้ นโรงงาน ทีน่ ี่โชคดี มีผู้นำดี กันพื้นที่ไว้ 1,008 ไร่
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
ในปี 2517 ชาวบา้ นยอมรบั จ ริงๆ ในปี 2540 ทีน่ ปี่ ลูกป า่ ไว้ใช้สอย 55 ไร่ เพื่อให้คนในชุมชนใช้ จะทำเล้าเป็ด เล้าไก่ คอกวัว คอกหมู มาขอกับคณะกรรมการ นอกนั้น เราไม่ให้ใช้ ไม้ล ้มตายเรายังไม่ให้ใช้ เพราะฝนตก มันจ ะ มีเห็ดขึ้น ชาวบ้านใช้ประโยชน์ได้ หลาน : ลุงทำงานเหนื่อยไหม ลุ ง : ไม่ห รอก ทำมาทั้งหมด 38 ปีแล้ว ให้พ ูด ในเวลาสั้นๆ คงพูดไม่หมด เราทำป่า ไม่ได้แค่ป่าอ ย่าง เดียว ป่าเป็นซ เู ปอร์ม าร์เก็ต ป่าเป็นส นามเด็กเล่น เดีย๋ วนี้ มีคนมาเรียนรู้ตลอด บอกว่าป่าเป็นห้องเรียนของเขา พวกเราภาคภูมิใจมาก ที่พวกเขาได้เรียนรู้ตรงนี้ไป ดีใจมาก ถ้าไม่มีเด็กเยาวชนมาสืบสาน ป่าหมดไป คงไม่มีทางกลับคืนมาได้ ตอนนี้กรมป่าไม้เพิ่มพื้นที่ป่า ให้เราดูแลอีก 1,474 ไร่ เริ่มแ รกทำ 4 หมู่บ้าน ตอนนี้ เพิ่มเป็น 17 หมู่บ้านแล้ว หลาน : เยาวชนช่วยอย่างไรบ้างลุง ลุ ง : พอเราทำป่า ได้เด็กและเยาวชนมาสืบสาน ต่อ ไม่ได้ม าสบื สานเรือ่ งสงิ่ แ วดล้อมอย่างเดียว เรือ่ งศลิ ป วัฒนธรรมก็ทำด้วย แล้วเราก็จะได้เรียนรู้ ตำบลแห้งแ ล้ง ก็ย ังรักษาของเก่าๆ ไว้ได้ เมื่อปี 2549 เราภูมิใจมากที่ ได้ไปทำขวัญข้าวกับสมเด็จพระราชินีที่อ่างทอง วันแม่ 2553 เราก็เอาการรำเหย่ยข องเราไปแสดงทสี่ วนอัมพร
59
60
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
เต้นกำรำเคียว ไปกัน 4 คืน มีตั้งแต่ 6 ขวบ ยัน 80 เรียกว่าคณะ 1,000 ปี เรามีความสุขม าก ภาคภูมิใจมาก มี วันนี้ได้ เพราะเราขับเคลื่อนเรื่องป่ามา ด้วยกัน ทำให้ผูกพันกัน หลาน : ป่าเป็นห้องเรียนได้ด้วย เหรอคะ ลุ ง : ที่ บ อกป่ า เ ป็ น ห้ อ งเรี ย น เพราะอะไร นักศึกษามหาวิทยาลัยต า่ งๆ มาศึกษากันประจำ ทั่วประเทศไทย มา พักค้าง ต้อนรับมาแล้ว ประมาณ 27 แห่ง นักศึกษาจากจีนก็มาแล้ว 14 คน วันพ่อวันแม่ ก็โทรมาหา บอกคิดถึง เขา ว่าค นไทยใจดี ชืน่ ชมมาก ถ่ายสารคดีไป ฉายทบี่ ้านเขา 2 รายการแล้ว
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
หลาน : ทำงานเหนื่อย ลุงอยากได้รางวัล อะไรไหมคะ ลุ ง : ทำมาไม่เคยคิดว่าต ้องรับร างวัล แต่ ใครไปดทู ศี่ นู ย์เรียนรู้ ชัน้ 3 ชัน้ ไม่พ อวางโล่ร างวัล หน่วยงานต่างๆ เล็งเห็นเอง ส่งเข้าประกวด เป็น ขวัญและกำลังใจให้คณะกรรมการอย่างมาก โล่ จากนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็รับมา แล้ว ตอนนี้รอรางวัลใหญ่สุด คือพระราชทานธง ช้างเผือกจากสมเด็จพระราชินี ตำบลสุขภาวะจะ เกิดได้ ก็เพราะปา่ น แี่ หละ ทำให้เกิดท กุ ส งิ่ ท กุ อ ย่าง ทำให้เรามีวันนี้ แต่คนเดียว ให้เก่งอย่างไร ไม่มี ทางสำเร็จ ถ้าชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือ หลาน : เยาวชนจะช่วยรักษาป่าอ ย่างไร ยิ่ง มีนายทุน มีอำนาจมืด ลุ ง : ต้องใช้เครือข่าย เราเป็นเยาวชน ก็เอา เครือข า่ ยเยาวชนไปผลักด นั ต อ่ ต า้ น อย่างเยาวชน ในกาญจนบุรี เรามี 152 ป่า ก็เอาทงั้ หมดมาตอ่ สู้ กับผมู้ ีอิทธิพล นายทุน ก็สำเร็จ ได้ป่าก ลับคืนมา ประมาณ 3,000 ไร่ ตอนนี้เรามีเครือข่ายป่าก ว่า 8,500 แห่งในประเทศไทย
61
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
62
ฐานเส้นทางการพัฒนา เส้นทางการพัฒนาตำบล แสดงถึง วิวัฒนาการของตำบลในการพัฒนาชุมชน แสดงถึงทุนทางสังคมในการรวมตัวกัน ของที่ ต ำบลห นองโ รง ฟั ง วิ ท ยากรเ ล่ า เอามาฝากเพื่อนๆ คร่าวๆ ดังนี้
2540 – กิจกรรมประเพณีว ัฒนธรรมไทย 2541 – ตั้งธ นาคารหมู่บ้าน 2542 – ทำข้าวเกรียบสายรุ้ง กองทุนมันสำปะหลัง กองทุนข้าวหอมมะลิ 2543 – ได้ร างวัลตำบลเขียวขจีระดับจังหวัด 2545 – เกิดการรวมตัววิสาหกิจช ุมชน 2548 – ปตท. ให้รางวัลล ูกโลกสีเขียว 2549 – กลุ่มสหกรณ์เครดิตยเูนี่ยน 2551 – จัดส วัสดิการในหมู่บ้าน 2552 – ก่อตั้งสภาวัฒนธรรมตำบล
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
63
“ปัญหาในพื้นที่ตำบลตัวเองเป็นเรื่องน้ำ ไม่ค่อย มีน้ำ บางวันน้ำก็ไม่ไหลเลย ไม่มีน้ำใช้ ส่วนเรื่อง เด็กๆ พ่อแม่ก็ไม่พร้อมส่งเล่าเรียน มาบ้าง ไม่มา บ้าง เป็นปัญหากลัวว่าเด็กจะมีปัญหาด้านการ ศึกษา รู้ปัญหาเพราะบ้านเราอยู่ที่นี่ ส่วนเรื่อง เด็ก เพราะนา้ เป็นห วั หน้าศ นู ย์อ ยูท่ ี่ อบต. เคยเป็น อาสาสมัครสอนเด็กๆ ด้วย เราเป็นเยาวชน มันก็ คืออนาคตของเรา ซึ่งในไม่ช้า ปัญหาต่างๆ มันก็ ต้องประสบกับเราจนได้ อย่างปัญหาน้ำ มันเรื่อง ใหญ่ เราก็อยากคุยกับนายกฯ แต่ย ังไม่มีโอกาส ได้เข้าไป การรู้อดีต เป็นสิ่งดี เราจะได้รู้ว่า บ้าน เมืองเราพัฒนาไปถึงไหนแล้ว”
ฝ้ า ย-ฐิ ต ิ ย าก รณ์ นาคพ ั น ธ์ อายุ 17 ปี ตำบลอ่างหิน อำเภอปากท่อ จังหวัดร าชบุรี
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
64
ฐานการทำฝาย แค่มีจอบ มีก ้านตาลสูง 2.50 เมตร ก็ทำฝายได้แล้ว ตี เป็นตาราง ขุดร่อง แล้วตักดิน ใส่ เป็นท างทนี่ ำ้ ไหลผา่ น เอาไว้ กักน้ำ เพื่อชะลอความชุ่มชื้น
เสียงเล็กๆ จากเพื่อนตัวเล็ก “สมัครใจมาเอง ได้แ ลกเปลี่ยน ความรู้กับเพื่อนๆ ยังไม่คิดถึงบ้าน ถือว่าสนุก มาค่ายได้ทำกิจกรรมร่วม กัน แต่ร ้อนไปหน่อย เป็นไปได้ อยาก ให้จ ัดฤดูหนาว แต่ไปภาคเหนือไกลๆ ก็ไม่รู้จะไปได้ไหม ไม่ค่อยได้อ อกจาก บ้านไปไหนไกล ฐานทไี่ ปมา ชอบฐาน ยิ่งสูง ยิ่งสวย ปีนสูงๆ ไม่กลัว เราได้ เห็นวัด ภูเขา ต้นไม้ สวยดีครับ ป่า ตั ้ ว -เขตโสภณ บั ว ประสม ไม้สำคัญนะครับ ต้องช่วยอนุรักษ์ ไม่ ตำบลบ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี อย่างนั้น โลกจะร้อนกว่านี้อีก”
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
65
“เราได้เห็นความสำคัญของฝายว่า ใช้ชะลอ น้ำยามหน้าฝน อย่างที่วิทยากรบอก บ้าน เรา น้ำจากดอยสามารถไหลมาเอ่อ มันอาจ ท่วมพื้นที่เพาะปลูกชาวบ้าน การทำก็ไม่ยาก เพียงแค่ขุดดิน กลับไปทำที่บ้านก็ได้ อย่าง ตำบลของเรากเ็ ป็นห บุ เขา นีเ่ ป็นค รัง้ แ รกทที่ ำ เราเคยเห็นอยู่ที่บ้าน แต่ที่นี่แปลกใช้ดินถม ทีบ่ า้ นใช้ป นู ใช้ห นิ หรือก ระสอบทราย ทีบ่ า้ น ไม่มีปัญหาเรื่องขาดน้ำ อุดมสมบูรณ์ด ี”
ดาว-ดวงดาว เสนเสาร์ อายุ 17 ปี ตำบลริมปิง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
66
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
ฐานยิ่งสูง ยิ่งสวย หวาดเสียวกันเลยทีเดียวฐานนี้ ให้ เพือ่ นๆ ปีนข นึ้ ห อสงู 32 เมตร ความสงู ร ะยะนี้ เป็นร ะยะทขี่ นึ้ ไปแล้ว ทำให้เราหวิวท สี่ ดุ แต่ไม่ ถึงกับเป็นอันตราย ตรงนี้เป็นที่ตรวจดูไฟป่า การตัดไม้ทำลายป่า ขึ้นไปจะเห็นทั่วเลย วิทยากรบอกวา่ เมือ่ ก อ่ นไกลกว่าน ี้ แต่ต อนนี้ ต้นไม้เริ่มสูงท่วมแล้ว ซึ่งที่ยอดเขามองได้ ถนัดที่สุด ทั้งด ้านตะวันตก ตะวันอ อก
67
68
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
“ให้เยาวชนขนึ้ ไปเรียนรวู้ า่ ผ นื ป า่ เราโตขนึ้ แ ค่ไหน ได้ช มธรรมชาติ กลุ่มนี้ก็จัดให้ได้วาดรูป ว่าเห็นอะไรบ้าง อย่างน้อยๆ ก็ได้เห็นต้นไม้ เห็นความสวยงามของป่า” คือเสียงแว่วๆ มา
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
69
รูปไหนสวย ตัดสินกันเองเลยนะ
70
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
พักเหนื่อย หลบแดด นั่งคุย
นอกจากฐานสนุกๆ หลากหลายแล้ว ตอนเย็นทุกวัน ทางค่ายยังได้ จัดให้ม กี ารแข่งขันก ฬี าเพือ่ เชือ่ มความสามัคคีอ กี ด ว้ ย ใช้เวลานี้ หลบแดดนงั่ คุยกับ แจ๊ส-ภัทรพร พูลด้วง อายุ 15 ปี จากตำบลคอรุม อำเภอพชิ ยั จังหวัดอ ตุ รดิตถ์ ดีก ว่า ว่าเธอรสู้ กึ อ ย่างไรกบั การเข้าค า่ ยครัง้ น บี้ า้ ง กระซบิ เบาๆ เธอเป็นห วั หน้าพ รรค Power of Young ด้วยนะ “รู้สึกมีความสุข ได้มาเรียนรู้ในสิ่งที่เราไม่เคยเจอ เจอพๆ ี่ น้องๆ จากตา่ งภาค ต่างจงั ห วัด ได้แ ลกเปลีย่ น
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
71
ประสบการณ์ ได้ออกไปหาความรู้ตามฐาน จังหวัดอุตรดิตถ์ไม่มีชาวบ้านจับกลุ่มเป็น สินค้าแ ม่บ้าน ถึงมี ก็ไม่เหมือนกัน เป็นของ พื้นเมือง เราก็เอาไปปรับใช้ได้ ป้าๆ น้าๆ ที่ นีไ่ม่ห วงความรู้ สามารถเอาไปทำเป็นอ าชีพ ที่บ้านเราก็ได้ “ชอบฐานตอไม้นกประดิษฐ์ เพราะ ชอบงานศิลปะอยู่แล้ว มันได้นำไม้มาแกะ สลักเป็นของประดับ แต่ฐานแต่ละที่มันเร็วไปหน่อย เรียนได้แป๊บเดียว หมดเวลาแล้ว ฐานหนึ่งน่าจะ 1 ชั่วโมง เวลามันต้องเฉลี่ยกันไป จัด ค่ายครั้งต่อไป อยากให้มีเรื่องนันทนาการมากขึ้น ชอบดารานักร้อง ก็เชิญมาบ้าง จะได้ม ีแรงดึงดูด ร่วมค่ายได้หลายวัน มีประกวดขวัญใจค่าย ด้วยก็ดี คือวัยรุ่นมันเบื่อเรื่องอะไรทวี่ ิชาการมากๆ เ ธ อ บ อ ก ว่ า ก า ร ทำความรู้จักเพื่อนๆ ก็ไม่ ยาก “เรามากันน้อย ก็ม า หาเพื่อนที่นี่เอง ต้องลอง เข้าไปคุย ทักทาย เดี๋ยวก็ สนิทกันเอง ไม่มีใครหยิ่ง ตอนนี้ ก็ ท ำกิ จ กรรมร่ ว ม กับเพื่อนต่างจังหวัดทั้งนั้น ภาคใต้เรากร็ ู้จักภูเก็ต” แจ๊สวา่ อยากนำความรู้ ไปพัฒนาตำบลตัวเอง
72
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
“ถ้าเราอยากนำความรไู้ ปสานต่อท ชี่ ุมชนเรา ต้องพยายามเก็บเกี่ยวให้ มากที่สุด เราเป็นตัวแทน ต้องทำให้ด ี เราอาจจำจากที่นี่ไป ไปเปลี่ยนแปลง ให้ดีขึ้น อยากให้ผู้ใหญ่ที่บ้านเราส่งเสริมด้วย เยาวชนที่บ้านมัวแต่ติดเกม อบต. ต้องจัดให้เรามารวมตัว จัดก ิจกรรม พลังของเยาวชนเปลี่ยนแปลง สังคมได้ เพราะเราคือผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เรามีสิทธิในตัวเอง สามารถ เรียกร้องเรื่องต่างๆ ได้ “เอาง่ายๆ ถ้าเป็นในตำบล ก็เรียกร้องกับน ายกองค์การบริหารส่วน ตำบลก็ได้ มีงบประมาณสำหรับเยาวชนอยู่แล้ว อบต. ทุกที่ ต้องให้ความ ร่วมมือกับเยาวชน ไม่ใช่นานๆ ทีก็จัดกีฬาสักครั้ง อย่างนั้น เด็กๆ ก็ไม่ม า จัดงานนันทนาการให้รวมตัวก ัน ถ้าน ายกฯบอกงานเยอะ อย่าย ุ่ง ไม่รู้ว่า เราจะแจ้งหน่วยงานไหนได้ แต่ค ิดว่า เรารวมกลุ่มกันเองก็ได้ ไม่ต้องพึ่ง ถ้า อบต. ไหนไม่เห็นความสำคัญของเรา”
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
73
ถามถึงกลุ่มเยาวชนที่ตำบลคอรุม “กิจกรรมตอนนกี้ ม็ แี ค่แ ข่งก ฬี าเยาวชน ส่วนมากเด็กๆ มักไปเล่นเกม ตามร้านคอมพิวเตอร์ หรือไม่ก็เล่นเกมอยู่ในห้อง ส่วนยาเสพติด ในชุมชน ไม่เยอะ แต่ร วมกันกินเหล้า เด็กแว้น สก๊อย ไม่มนี ะ เพราะในตำบล ถ้าอายุ 18-19 ปี ก็จะไปเรียนที่อื่นกันหมด แต่ถ ้ารุ่นไม่เกิน 15 จะอยูบ่ ้าน ตำบล เราไม่ใหญ่ม าก เล็กๆ ประชากรน้อย กลุ่มเยาวชนจึงไม่ใหญ่มาก “ปกติไม่ขี้อายนะ ไม่นะ มีอายบ้างถ้าคนเยอะๆ ออกไปปราศรัยก็ อาย เขิน พูดไม่ถ กู แต่ถ า้ พ ดู ได้ ก็ต ดิ ลมไปเลย อยากกล้าแ สดงออก ต้องหา กิจกรรมทำ รู้จักนำเสนอเรื่องต่างๆ มันจะเสริมความกล้าเราได้เอง ตอน เข้าไปเรียนในตัวเมือง ไม่รู้จักใคร ตอนนั้นก็อาย ออกไปบอกชื่อหน้าชั้นก็ อาย ไม่กล้าคุยกับใคร แต่พ อเริ่มคุยกับเพื่อนคราวนี้ติดลมเลย”
74
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
แพ้...ชนะ ล้วนเป็นบทเรียนชีวิต
เบอร์ 1
พรรคเพื ่ อ เยาวชนนั ก พั ฒ นา
แล้วในที่สุด พวกเราก็ได้รผู้ ล การเลือกตั้ง หลังไปลงคะแนนให้ พรรคที่เสนอนโยบายโดนๆ หัวใจ เต้นตึกตักเลยทีเดียว พรรคที่ได้รับ คะแนนสูงสุดคือ
เบอร์ 2
พรรค Power of Young
เบอร์ 3
พรรครวมพลั ง เยาวชน
เบอร์ 4
พรรคเยาวชนคนพั น ธุ ์ ใ หม่
บั ต รเสี ย ไม่ ล งคะแนน
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
75
151 คะแนน
41 คะแนน
112 คะแนน
106 คะแนน
76
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
ปรากฏว่า พรรคเพื่อเยาวชนนักพัฒนา มี ปาม-ปริญญา ปลื้มจิตร อายุ 18 ปี จาก ตำบลไผ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดส ุรินทร์ เป็น หัวหน้าพรรคเยาวชนจากจังหวัดสุรินทร์ ได้ คะแนนเสียงสูงสุด เราไปคุยกับเขากันไหม ว่าม ี วิธีคิดเรื่องการบ้านการเมืองอย่างไร
คิดว่าทำไมพรรคถึงไ ด้รับเลือก อาจเป็นเพราะการอภิปราย การนำเสนอผลงาน คงตอ้ งตามความคดิ ที่เพื่อนๆ คาดหวังไว้ จุดเด่นของนโยบายเรา คือการพัฒนาแบบรวมกลุ่ม ปลูกฝังจิตสำนึกในการทำงานร่วมกัน อยู่ร่วมกัน แม้ว่ามาจากต่างถิ่น ก็สามารถร่วมงานกันได้ เห็นว่ามีนโยบายเกี่ยวกับภัยพ ิบัติ เยาวชนอย่างเราช่วยได้เหรอ คงทำอะไรได้ไม่เหมือนผใู้ หญ่ อาจชว่ ยสง่ ข า้ ว ส่งน ำ้ ให้ค ำปลอบโยน คำแนะนำแบบคนรุ่นใหม่ เราห้ามน้ำไม่ให้ท่วมไม่ได้ แต่ก ็อาจจัดทำตัววัด ระดับน ำ้ ให้แ ต่ละชมุ ชน หรือก ารขดุ ล อกคคู ลอง น่าจ ะจดั ก ลุม่ ในแต่ละตำบล ที่เกิดภัยพิบัติ ทำเป็นเยาวชนอาสา ทำเรื่องดีๆ ให้ผ ู้ประสบภัยพิบัติ งบประมาณคงเยอะหน่อย เหมือนผู้ใหญ่ทำแหละ นำจากหน่วยงาน ต่างๆ ไม่ว่าจะองค์การบริหารส่วนตำบล สสส. หรือพ ัฒนาสังคมจังหวัด ผู้ใหญ่จ ะฟังเราไหม คงทำได้บ างสว่ น แต่ผ ใู้ หญ่ก ต็ อ้ งรบั ร รู้ บั ท ราบถงึ ป ญ ั หาของเยาวชนที่ เราเสนอไป ต้องฟงั เพือ่ เราจะรว่ มกนั ส ร้าง ร่วมกนั ท ำหลายๆ อย่าง ผูใ้ หญ่
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
77
ก็ต้องการเด็ก ผูใ้ หญ่ค นไหนไม่ฟ งั เด็ก ผมอยากถามวา่ ท่านไม่เคยมลี กู ห ลานหรือไง ท่านไม่สมัครใจในการมาเป็น ผู้นำเลย ท่านคงคิดได้ว่า เด็กทำแบบนี้ ก็ เพราะต้องการเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า อยากดำเนินรอยตามผู้ใหญ่ จะให้เรา ไปก่อม็อบเหรอ มันก็อาจไม่เหมาะสม คงแจ้งห น่วยงานที่รับเรื่องร้องเรียน ของเราได้ นายคิดว่าป ัญหาใดควรแก้ก่อน เด็กติดเทคโนโลยีมากเกินไป เรื่องการศึกษาก็สำคัญ มีคนเรียนไม่ จบเยอะ เราน่าจะมีการส่งเสริมอาชีพให้ ประเทศของเราจะเข้าส ู่ประชาคม อาเซียนแล้ว เปิดป ระตูส สู่ งั คมใหญ่ ปัญหายาเสพตดิ ก ย็ งิ่ ต อ้ งดแู ลเป็นพ เิ ศษ เราเป็นเยาวชนก็ต้องสนใจภาพใหญ่ด้วย มันอ าจใหญ่เกินไป แต่เราต้องดู ด้วยว่า เราด้อยกว่าค นอื่นๆ ด้านไหน เราใช้ภาษาของเราถูกต้องแค่ไหน หรือเราทำได้แค่เป็นลูกจ้างชาติอ ื่นอย่างเดียว เด็กค นอื่นๆ จะยอมรับเครือข่ายของ สสส. อย่างไร เรามาวันนี้ อย่างน้อยๆ ก็ได้เพื่อนตั้ง 53 เครือข่ายแล้ว ดังนั้น ต้อง ประสานงานต่อยอดออกไป ในทุกพ ื้นที่ก็มีสภาเยาวชนอยู่ เราสามารถช่วย กันพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน การอยู่ร่วมกันในความหลากหลาย ทั้ง เรื่องประเพณีแ ละวัฒนธรรรม รับฟ ังปัญหาทุกๆ ที่ เราเป็นเยาวชนในเครือ สสส. ก็จริง อาจต่างจากเครือข่ายเยาวชน อื่น ที่ก่อตั้งกันเอง แต่ข้อดีของเราก็ค ือมีผู้ใหญ่คอยสนับสนุน ดังนั้น เรามา สามัคคีกัน ทำงานเป็นหมูค่ ณะดีกว่า เห็นก ารประชุมในรัฐสภาของผู้ใหญ่ ไม่เคยปรองดองในทิศทางที่จะช่วยเหลือประเทศ ไม่ว่านายกฯคนไหน ก็ เข้ามาแต่เข้ามาทะเลาะกัน รอเวลาหมดวาระ
78
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
กลุ่มอื่นๆ ทีจ่ ัดกิจกรรมอยู่ ผมว่า เชิญชวนให้เข้าม าร่วมมือกัน ใน ฐานะคนไทยด้วยกัน ทำงานด้วยกัน เป็นเครือข่ายกัน ไม่ม ารวมกับผมก็ได้ แต่สร้างสายสัมพันธ์กันไว้ จะได้มาแจมกันได้ หลังวางนโยบายแล้ว ตรวจสอบอย่างไร ว่าผู้ใหญ่ทำให้จริง เรามี ส.ส. แต่ละจังหวัดค อยจัดก ิจกรรม มีป ระธานในแต่ละภาค มี การจดั ต งั้ ส ภาเด็กแ ละเยาวชนทกุ ต ำบล รัดกุม สนับสนุนให้เกิดก จิ ก รรมการ แก้ไขปัญหาต่างๆ หลักๆ ถ้าป ระชุมรวมทุกจังห วัด น่าจ ะปีหนึ่งสัก 2 ครั้ง นั่นคือหลักๆ หลังจากที่แต่ละแห่งจัดกิจกรรมของตัวเองแล้ว ก็มีเอามา ชี้แจงกัน เราอยู่กันต่างที่ ต่างจังหวัดไม่ทำงานลำบาก ติดต่อกันก็ง่ายแล้ว ใน ยุคน ี้ ส.ส. ในแต่ละจงั หวัด ก็ค อยตดิ ต่อป ระสานกนั โทรคยุ ก นั ยังม เี ครือข า่ ย ตามภาคตัวเอง ขยายงานกันออกไป เพื่อนๆ ให้ความร่วมมือเหมือนพี่ เหมือนน้อง เราต้องไม่เอาตำแหน่งหน้าทีม่ าบีบบังคับใคร ความเสมอภาค สำคัญ จนหรือรวย ไม่มีการศึกษา เราต้องเท่าเทียม การเมืองจริงๆ นายชอบพรรคไหน พรรคที่ทำให้สบายใจ ทำให้ค นไทยมีความสุข พัฒนาประเทศเราได้ อย่าทะเลาะกันให้เยาวชนเห็นเลยครับ มาสนับส นุนสิ่งดีๆ ให้เด็กกันดีกว่า พูดถึงเรื่องเด็กด้อยโอกาสบ้าง ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ถ้านายกรัฐมนตรี ได้ยินเสียงผม ขอให้หันมามองปัญหาสิทธิมนุษยชนในเด็ก เยาวชนกับเรื่องเพศล่ะ ก็มผี ู้ใหญ่บางส่วนทหี่ ่วง แต่บ างส่วนยังไม่ให้ค วามสำคัญ ปัญหาคือ การท้องก่อนวัยอันควร การสื่อสารทไี่ม่ถูกต้อง คือเรื่องอันตราย เซ็กส์ก็มี เมื่อเราพร้อม
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
79
ผมเองอยู่ตัวคนเดียวกับน้อง พ่อแม่ทำงานในกรุงเทพฯ เมื่อก่อน ไม่เคยสนใจปัญหาสังคม ไม่อยากเข้าร่วมกลุ่ม กระจอก แต่พอที่บ้านมีการ ตัง้ ห น่วยงานเด็ก โดยตงั้ ก นั เอง ปรึกษาหารือก บั ท างผใู้ หญ่ เราได้ค ำแนะนำ จนได้เปลี่ยนแปลงชีวิต มาเข้าค่าย ไปทุกแ ห่ง เพื่อสั่งสมประสบการณ์ชีวิต ของตวั เองให้ด ี อยากเป็นค นดี อยากแสดงความเห็นด ๆ ี ต่อป ระเทศ เหมือน พ่อห ลวงทำ ทำโดยไม่อ อกหน้า ทำเพือ่ ป ระเทศไทย ถ้าห ากคนไทย คิดเเบบ พระองค์ท ่าน ประเทศไทยเจริญแน่นอน เราช่วยแก้เรื่องภาคใต้ได้ไหม ก็ต ดิ ตามขา่ วมาโดยตลอด ญาติก อ็ ยูท่ นี่ นั่ เราไม่อ ยากเห็นก ารฆา่ ฟ นั พี่น้องตัวเอง อยากให้เห็นหัวใจของผู้สูญเสีย อยากให้นึกถึงความทุกข์ของ คนส่วนรวม เยาวชนเองจะช่วยเป็นกำลังใจ หรือลงพื้นที่สำรวจความทุกข์ ได้บ้าง ทำอะไรได้ก ็จะทำ ถ้าค นเลือกเรามาแล้ว เป็นเสียงส่วนใหญ่ แต่เสียงส่วนน้อยไม่เอาเรา ล่ะ ยิ่งวัยรุ่นด้วย ผมเองก็อยากเป็นนักการเมืองจริงๆ อยากเป็นนักการเมืองที่มี คุณภาพ รับเสียงส่วนใหญ่ เสียงส่วนน้อยก็เคารพ ทุกคนต้องเข้าใจซึ่งกัน และกัน ฟังความเห็น พูดคุยกับเสียงส่วนน้อย ผมมาทำงานตรงนี้ ก็อยาก ช่วยทุกคน
80
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
คั้นกะทิ ต่อยอดสู่ตำบลบ้านเกิด นี่คือไฮไลท์สำคัญของงานค่ายเลยทีเดียว คือการให้พวกเราเหล่า เยาวชน ได้ระดมความคิด ร่างตัวอย่างงานทเี่ราคิดว ่าได้จากการหาความรู้ ในฐานตา่ งๆ ว่าจ ะเอาไปปรับใช้ก บั บ า้ นเกิดต วั เองอย่างไร โดยแบ่งก นั เสนอ ตามแต่ละภาค น่าส นใจทั้งนั้น
ภาคกลาง น้อยหน่า-พัชราวรรณ คำมาก อายุ 19 ปี ตัวแทนภาคกลางจาก ตำบล หนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดก าญจนบุรี โครงการของเราเป็นโครงการเกี่ยวกับการต่อต้านยาเสพติด การแก้ ปัญหาเด็กติดเกม หรือเด็กเกเร สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ตามฐานแล้วนำไปใช้ ในตวั โครงการคงเป็นการเป็นฐ านภาวะผนู้ ำ เหมือนการฝกึ เด็กท มี่ าเข้าค า่ ยนี้ เพื่อให้มีความเป็นผู้นำต่อ กิจกรรมก็อาจจะชักชวนเด็กที่มีกลุ่มเสี่ยงพวกนี้ มาทำงานร่วมกัน กิจกรรมพวกบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน ส่วนวิธีที่จะไปชักชวนเพื่อนๆ คือ ต้องบอกเพื่อนๆ ก่อนว่าพื้นที่เรา มีอะไรบ้าง จะได้ให้เขาเห็นความสำคัญในตำบลของเรา เหมือนเป็นการ ช่วยกันประชาสัมพันธ์ และเด็กที่จะเข้ามาในกลุ่มต้องมีความเต็มใจไม่ใช่ ถูกบังคับมา เรามีกลุ่มที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2546 ในเชิงของกลุ่มเด็กและ
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
81
เยาวชนป่าชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี เป็นกลุ่มเด็กอนุรักษ์ ซึ่งตอนแรก จะมีแกนนำประมาณ 20 คน หลังจากนั้นก็มีเด็กคนอื่นเข้าม าร่วมด้วยอีก ตอนนี้ก็มีเยาวชนมากพอสมควรแล้ว เป้าห มายของโครงการนคี้ อื จ ะนำเด็กท เี่ กเรหน่อย มาเข้าร ว่ มกจิ กรรม แล้วชี้ให้เห็นว่าทีเ่ด็กเหล่านั้นทำตัวไม่ดีนั้น ไม่ดอี ย่างไร ส่งผ ลเสียอะไรบ้าง แล้วถ้าทำตัวด ีมันจะดียังไง เราต้องชี้แจงให้เขารู้ ให้เขาเข้าใจ ก่อนที่จะมี กลุม่ เด็กแ ละเยาวชนปา่ ช มุ ชนบา้ นหว้ ยสะพานสามคั ค นี นั้ เด็กในชุมชนมีการ แบ่งกลุ่ม แบ่งชนชั้นกัน ไม่ถูกกัน ไม่เคารพกัน แล้วเอาเวลาว่างไปเล่นเกม หรือมั่วสุม แต่พ อมกี ลุม่ น ขี้ นึ้ ม า เด็กส ว่ นใหญ่ในชมุ ชนกจ็ ะมาเข้าร ว่ มกลุม่ เต็มใจ มาบ้าง ตามเพื่อนมาบ้าง พอมาเข้าร่วมกลุ่มกับเราก็ทำให้เขาได้มีกิจกรรม ดีๆ ทำ เช่น เวลามคี นมาศึกษาดูงานทปี่ ่าชุมชน พวกเขาก็ต้องมาเข้าร่วม กิจกรรมดว้ ย ก็เลยเหมือนเอาเวลาทไี่ ปมวั่ สุมก นั ม าทำตรงนแี้ ทน พวกเราก็ จะช่วยกันสอดส่องดูแลด้วยอีกทางหนึ่ง มันก็ทำให้ปัญญาต่าง ๆ ลดลงได้ อย่างมาเข้าร่วมกิจกรรมเรื่องบุหรี่ เรื่องยา ก็จะถูกควบคุมลงไปด้วย ตอนแรก ๆ ทีท่ ำกลุ่มก็ท้อบ้าง แต่พ อมันเข้าท ี่เข้าท างแล้วมันก ็โอเค เรื่องการใช้โครงการเราคิดว่าส ามารถจำทำได้จริงๆ เพราะคนส่วนใหญ่จะ สนใจเรื่องปัญหายาเสพติดเหมือนกัน เราน่าจะร่วมมือกันได้ ส่วนการนำ กิจกรรมในค่ายมาปรับใช้ก็จะปรับไม่มากเพราะเรามีกลุ่มที่ยืนพื้นอยู่แล้ว ถ้าเราต้องการจะปรับค งมีแค่กิจกรรม ให้ม ีความแปลกใหม่ กิจกรรมนี้จะ สำเร็จได้ค งตอ้ งอาศัยค วามรว่ มมอื จ ากหลายๆ ฝ่าย ไม่ว า่ จ ะเป็นต วั ผูน้ ำเอง หรือสมาชิกในกลุ่ม ตอนนี้มันยังเป็นแค่โครงการยังไม่ได้ปฏิบัติจริง มันอาจ จะยังมองไม่เห็นผล แต่คิดว ่ามันจะประสบผลสำเร็จ
82
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
ภาคเหนือ บ๊อบ-พีรภาส ใฝ่จิต อายุ 18 ปี ตัวแทนภาคเหนือจาก ตำบลหนองหล่ม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพ ะเยา ตัวโครงการเราคิดถึงบริบทที่อยู่ในกลุ่มภาคเหนือ ในเครือข่ายของเราก่อน คือเราเห็นว่าป ัญหาของเด็กคือ การขาดจติ อ าสา อย่างเวลามงี านอะไร เด็กเดีย๋ วนจี้ ะถาม ว่าม เี งินไหม ได้เงินไหม มีค า่ เดินท างหรือเปล่า คือค วามมี จิตอ าสามนั ไม่มแี ล้ว พอมโี ครงการคา่ ยนี้ ผมกม็ าเข้าร ว่ มดว้ ยเลย เพือ่ ให้ผ ม นัน้ เปรียบเหมือนกับระฆังทีเ่ ยาวชนทางภาคเหนือเคาะและให้ผมมาส่งเสียง ทางนี้ แถวบา้ นผมในตำบลรอบๆ มีต ำบลผมตำบลเดียวทสี่ ามารถทำงานได้ อย่างเต็มป ระสิทธิภาพ สามารถเคลือ่ นงานได้ต ลอด เพราะมกี ารสนับสนุน จากหน่วยงานตา่ งๆ แต่ท ำไมตำบลทเี่ หลือถ งึ ไม่ได้ร บั ก ารสนับสนุนแ บบนนั้ ส่วนเรื่องการติดต่อก ับกลุ่มอื่นๆ ก็มีนะครับ คือเราจะคุยกันว่า โครงการ ของคุณเป็นยังไงบ้าง เด็กเยาวชนให้ความร่วมมือไหม มันจะมีเครือข่าย ดอนแก้วที่ทำงานร่วมกัน ผมทำงานเกี่ยวกับเด็กอยู่ 2 กลุ่มคือ ในตำบลของตัวเอง และตำบล อื่นซึ่งผมทำหน้าที่ที่ปรึกษา โดยใช้ศิลปะวัฒนธรรมในงานต่างๆ เราก็ต้อง ปลูกจิตส ำนึกว า่ เราไปทำงานเราไม่ต อ้ งได้เงินก ไ็ ด้ การทำงานบางอย่างเงิน ก็ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ ทีม่ าคา่ ยนผี้ มได้ค วามรไู้ ปเยอะมาก และสามารถพดู ได้เต็มป ากเต็มค ำ ว่าน่าเสียดายสำหรับคนที่ไม่ได้มา คือต้องบอกก่อนว่าผมลงฐานไม่ครบ เพราะติดงานต้องประชุมสภาเด็ก แต่ฐานที่คิดว่าได้ประโยชน์คงเป็นฐาน ภาวะผู้นำ เพราะผมก็สอนเรื่องพวกนี้กับสมาชิกก ลุ่มของผมอยู่แล้ว
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
83
ส่วนอปุ สรรคของโครงการคอื ปัจจุบนั เด็กข าดความมจี ติ อ าสา ปัญหา ของเราคือจะทำอย่างไรให้เขามีจิตอาสามากขึ้น เราต้องลงพื้นที่ลงไปใน ชุมชนไปชักชวนตัวต ่อตัวเลย เขาต้องมีสักครั้งท ี่ลองมาทำงานกับเรา กลุ่ม เป้าห มายของผมคอื เด็กท อี่ ยากจะทำจริง ๆ กับเด็กท อี่ ยากจะลองทำดู เรา จะใช้เด็กกลุ่มนี้เป็นตัวอย่างให้เด็กที่ไม่อยากทำหันกลับมาร่วมกิจกรรมกับ เราได้ อย่างการฝกึ อ าชีพให้เด็ก เด็กบ างคนเรียนไม่เก่งแ ต่เราสามารถทำให้ เขามอี าชีพได้ บางคนกไ็ ม่ส นใจ เรากจ็ ะเอาคนทเี่ ขาสนใจมาทำกอ่ น ทีช่ มุ ชน ผมมศี ูนย์เรียนรู้อยู่แล้ว มีป ่าช ุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ผมคิดว่าศูนย์เรียนรู้ที่ บ้านผมกับที่หนองโรงมีอะไรคล้ายๆ กัน คือการอนุรักษ์ธรรมชาติ เราเป็น เยาวชนตัวเล็กเราคงไม่มีอำนาจไปสู้อะไรกับใครได้ ที่เราทำได้คงเป็นการ ปลูกต้นไม้ ส่วนเรื่องใหญ่ๆ ก็ให้ผู้ใหญ่เขาทำซึ่งมันจะดูมีน้ำหนักมากกว่า เรื่องการติดต่อระหว่างกลุ่มต่างๆ ในภาค ต้องยอมรับว่าปัจจุบัน เทคโนโลยีม นั ม ี ทัง้ เฟซบุค๊ ทัง้ โทรศัพท์ เราตดิ ต่อก นั ง า่ ยขนึ้ บางทีม กี จิ กรรม อะไรเราก็ออกหนังสือเชิญชวนไปที่เครือข่ายของเราทุกๆ ที่ พอกลุ่ม อ นื่ ม กี จิ กรรมเขากจ็ ะเชิญเราเหมือนกนั เครือข า่ ยเราคอ่ นขา้ งแน่น ส่วนเรือ่ ง การติดต่อกับกลุ่มอื่น ผมยกตัวอย่างเช่น การทำโครงการเรื่องน้ำ บ้านผม มีต้นน้ำเยอะ เราก็จะมีโครงการอนุรักษ์ต้นน้ำแล้วเชิญกลุ่มอื่นๆ ที่อยู่ใน ละแวกของทางนำ้ ม ารว่ มกจิ กรรมดว้ ยกนั อย่างถา้ น ำ้ เสีย เรากท็ ำอเี อ็มบ อล และเชิญเพือ่ นๆ กลุม่ อ นื่ ม าทำรว่ มกนั เราตอ้ งทำให้เขาเห็นว า่ ขนาดเราเป็น คนต้นน้ำเรายังดูแล แล้วค นปลายน้ำจะไม่ดูแลเลยหรือ การมาคา่ ยครัง้ น สี้ งิ่ ท ไี่ ด้ค อื ป ระสบการณ์ และการเป็นผ นู้ ำ เพราะ อยูท่ บี่ า้ นผมตอ้ งนำนอ้ งๆ เราตอ้ งมที งั้ พ ระเดชและพระคุณในการเป็นผ นู้ ำ ส่วนเพือ่ นทมี่ าคา่ ยกค็ ดิ ว า่ ห ลังจ ากจบคา่ ยเรากย็ งั จ ะตดิ ต่อก นั อ ยู่ เพราะผม ก็ลงสมัครพรรคการเมือง มันท ำให้เรามเีครือข่ายมากขึ้นถึงผมจะไม่ได้เป็น นายกฯ แต่ก็ได้ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ในสภาเด็ก
84
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
ภาคใต้ เฟี ย -รุ่ ง อรุ ณ ปานน พภ า อายุ 17 ปี ตัวแทนภาคใต้จ าก ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา โครงการนี้เป็นโครงการที่พัฒนาเด็ก ให้ เ ป็ น ผู้ น ำ ในค่ า ยเ ราจ ะดึ ง ตั ว แทนจ าก เครือข่ายโดยจะอิงจากค่ายนี้ที่ได้เอาตัวแทน จากแต่ละพื้นที่มา ซึ่งจะใช้รูปแบบนี้กลับไป ทำในภาคใต้ที่จะให้ตัวแทนของเครือข่ายแต่ละพื้นที่ในภาคใต้มาพัฒนา ความเป็น ผู้นำ เพื่อที่เขาจะได้กลับไปเป็น ผู้นำในท้องถิ่นของเขาแล้วก็ จะขยายผลต่อไป โดยจะมีเรื่องเกี่ยวกับการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ แล้ ว ก็ เ รื่ อ งเ กี่ ย วกั บ ย าเ สพติ ด เ ข้ า ม าแ ทรกอ ยู่ ด้ ว ยใ นค่ า ย ส่ ว นเ รื่ อ ง รายละเอียดคดิ วา่ พ อกลบั จากคา่ ยเยาวชนไปกจ็ ะนดั เครือขา่ ยมาประชุมกนั กิจกรรมในค่ายที่เราจะนำมาปรับใช้ในโครงการของเราเท่าที่คิดไว้ ก็จะมีส่วนของกิจกรรมที่สร้างความเป็นผู้นำ คือก่อนที่เราจะเป็นผู้นำเรา จะต้องมีความพร้อมในด้านใดบ้าง ก็ค ือจะมีวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับ การเตรยี มตวั ท จี่ ะเป็นผ นู้ ำ หรือไม่ก จ็ ะเป็นการฝกึ อ าชีพ อย่างในภาคใต้ข อง เรามใี บยางพาราเยอะ เรากจ็ ะฝกึ ให้เด็กท ำพวงกญ ุ แจทที่ ำจากใบยางพารา แห้ง ให้เป็นสัญลักษณ์ของภาคใต้ เวลาที่ใครมาก็สามารถซื้อเป็นของฝาก จากภาคใต้ได้ ก็เป็นการสร้างรายได้ให้แก่เด็กด้วย ในการจูงใจคนให้มาเข้าร่วมกิจกรรมของเรา เราก็จะให้ตัวแทนของ เครือข า่ ยไปหาสมาชกิ ข องแต่ละพนื้ ทีม่ า โดยเราจะให้เขาคดั เลือกคนทมี่ อง แล้วว่าสามารถเป็นผู้นำแต่ยังอ ายอยู่หรือไม่กล้าอยู่มาฝึกอบรม
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
85
ส่วนปญ ั หาทคี่ าดวา่ เกิดข นึ้ อ ย่างแรกนา่ จ ะเป็นเรือ่ งการตดิ ต่อป ระสาน งาน เพราะว่าเครือข่ายแต่ละเครือข่ายมาจากหลายๆ จังหวัด ถึงแม้ว่ามัน จะเป็นภาคใต้ก็จริงแ ต่ว่าแต่ละพื้นที่ก็ไม่ใช่ใกล้ๆ กัน อีกอย่างเราก็เป็นเด็ก ด้วย เวลาตดิ ต่อก นั ก อ็ าจจะลำบากนดิ ห นึง่ การแก้ป ญ ั หาเราจะคดิ ว า่ เราจะ ใช้เฟซบุ๊คในการติดต่อถ ึงกันเพราะว่าจ ะสะดวกหน่อย โครงการพวกนี้ตอนทหี่ นูอยู่ภาคใต้ก ็ทำอยูแ่ ล้ว ที่เข้าม าก็เพราะว่ามี พีๆ ่ ชวนเข้าม าฝกึ อ บรมแบบนี้ จนได้ก ลายเป็นผ นู้ ำขนึ้ โครงการทหี่ นูจ ะเอา ไปทำกอ็ งิ ค วามรจู้ ากทไี่ ด้ในคา่ ยนเี้ ลย ทัง้ ย งั เป็นการสร้างเครือข า่ ยให้ก ระชับ ยิ่งขึ้น คิดดูถ้าไม่มีค่ายนี้ หนูอยู่ภาคใต้นี่แทบจะไม่มโีอกาสได้รู้จักเพื่อนๆ ภาคอื่นเลย แต่พอมีค่ายนี้ก็ทำให้เราไปสนิทกับเพื่อนๆ ต่างพื้นที่ได้ ถ้าไม่มาค่ายนี้เราก็สร้างเครือข่ายได้แต่ก็จะเป็นแค่เครือข่ายเล็ก อย่างหนูมาจากเครือข่ายเด็กและเยาวชนตำบลปริก ที่ผ่านมาเราทำงาน ร่วมกับเครือข่ายเขาหัวช้างแต่ก็ยังไม่สนิทกัน แต่พอมาได้เจอกันที่ค่ายได้ ทำกิจกรรมร่วมกันหลายๆ วันเราก็สนิทกันมากขึ้น ซึ่งต่อไปในการทำงาน เรากจ็ ะประสานงานกนั ม ากขนึ้ มีท มี่ าจากปตั ตานีด ว้ ย ซึง่ ก ท็ ำให้เราได้ร จู้ กั เครือข ่ายอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย อย่างทผี่ า่ นมาทเี่ รามแี ต่เครือข า่ ยเล็กๆ ก็เพราะวา่ ผ ใู้ หญ่เขาไม่มเี วลา ทีจ่ ะมาจดั การเครือข า่ ยของเด็กโดยตรง ซึง่ ต อ้ งขอบคุณง านนดี้ ว้ ยทที่ ำให้เรา รู้จักเพื่อนๆ ไปถึงเชียงใหม่ ถึงอุตรดิตถ์ ส่วนถามว่าโครงการนี้ในระยะยาวจะเป็นอย่างไร ก็อ าจมีปัญหา บ้าง หรือบางครอบครัวเขาก็ไม่สนับสนุนให้ทำกิจกรรม แต่จะให้เรียน อย่างเดียว
86
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
ภาคอีสาน ปาม-ปริญญา ปลื้มจิต อายุ 18 ปี ตัวแทนภาค อีสานจากตำบลไผ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ การที่ เ ราไ ด้ ไ ปเ รี ย นรู้ ใ นวิ ถี ชี วิ ต ห รื อ ว่ า โครงการต่างๆ แต่ละฐาน เราสามารถนำปรับ มาใช้ได้ ตัวอย่างเช่น ฐานภาวะผู้นำ เราก็เอา มาเ ป็ น ข้ อ เ สนอห รื อ เ อาม าพู ด ใ นสิ่ ง ที่ ค วรใ ห้ ความส ำคั ญ ห รื อ ว่ า ต้ อ งเ ริ่ ม ก ารพั ฒ นาผู้ น ำ ความเ ป็ น ผู้ น ำนี้ มั น ไ ม่ ไ ด้ ขึ้ น อ ยู่ กั บ ต ำแหน่ ง หรื อว่ า ห น้ า ที่ ที่ เ รามี ต ำแหน่ ง แ ล้ ว เ ราต้ อ ง เป็น ผู้นำนะ มันขึ้นอยู่กับความสมัครใจของ เราที่ จ ะท ำ ที่ ไ ด้ ไ ปเ รี ย นฐ าน แล้ ว ก็ ไ ด้ ท ำ โครงการ ได้เรียนรู้ว่าในชาวบ้านนี้เรามีดีพอที่จะทำโครงการหรือว่า ยกระดับโครงการนั้นๆ ให้ดีมากกว่านี้ เพื่อที่จะได้เป็นตัวที่จะบ่งชี้ว่าสิ่ง ที่ดีประจำตำบลเราก็มี ทำไมเราจะไม่ยกระดับมันให้มากกว่านี้ เราทำ อันที่มีในชุมชนให้ด ีก่อน ถึงค่อยนำสิ่งใหม่เข้ามาเรื่อยๆ โครงการนี้มแี นวหลักที่จะช่วยหรือว่าสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้ เรียนรู้และเข้าใจว่าปัญหาในแต่ละตำบลไม่เหมือนกัน ตามชนบทหรือว่า สถานที่เจริญแ ล้วมันก็ไม่เหมือนกัน เราก็เลยใช้โครงการนี้เป็นห ัวข้อใหญ่ๆ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นย่อยๆ ว่า พลิกเปลี่ยนชีวิต ความคิด ซึ่งปัญหามันก็จะมี หลายอย่างเรากเ็ ลยจบั ป ระเด็นม ารวมกนั ไม่ว า่ จ ะเป็นป ญ ั หาเรือ่ งยาเสพตดิ ปัญหาเรื่องชู้สาว ปัญหาเรื่องเด็กเรียนไม่จ บตามเกณฑ์ที่นโยบายของรัฐได้ วางไว้ หรือว่าเด็กติดเกมมากเกินไปแล้วเราจะทำอย่างไร เราเลยได้มาตั้ง
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
87
เป็นหัวข้อใหญ่แบบนี้ขึ้นมา สำหรับก จิ กรรมทคี่ ณ ุ ครูเสือน ำมาให้ป ฏิบตั ิ ผมกถ็ อื ว่าเป็นก จิ กรรมที่ ดี เหมือนที่ท่านได้เปิดสื่อวิดที ัศน์ให้เด็กและเยาวชนได้รับรู้ในกิจกรรมดีๆ ต่างๆ ทีแ่ สดงให้เห็นถ งึ ค วามรกั ท แี่ ม่ม ตี อ่ ล กู ห รือว า่ อ ย่างการทเี่ รามคี รบ 32 ประการ เรามีครบในทุกสิ่งทุกอย่างของร่างกายของเรา แต่คนอื่นที่เขาแขน ขาด ขาขาด เขายังทำกิจกรรมดีๆ ได้ แต่ว่าเรามีครบทุกส ิ่งทุกอย่าง ทำไม ถึงทำไม่ได้อย่างนี้ ซึ่งก ็ทำให้เราคิดได้ ส่วนแนวความคิดที่สามารถนำไปใช้เราอาจเริ่มที่ครอบครัวของเรา ก่อน แล้วจ งึ ไปถา่ ยทอดให้ก บั ค นอนื่ ในชมุ ชน เพราะผมคดิ ว า่ ถ า้ เราไปขยาย จุดกว้างๆ ก่อนแล้วค่อยกลับมาจุดเล็กมันจะยาก ในค่ายเรื่องที่คุยกันส่วนใหญ่เราจะคุยกันถึงปัญหาของชุมชนของ แต่ละคนว่าที่บ้านใครมีปัญหาอะไร อย่างไร หรือว่าที่บ้านเขาทำโครงการ อะไร เราจะมาแชร์ มาเปลี่ยนประสบการณ์ว่าโครงการของแต่ละคนเป็น อย่างไร บางครั้งก็เสนอแนะข้อคิดถึงโครงการของเพื่อนๆ ว่าค วรเพิ่มเติม อะไรบ้าง
โอ้โห น่าประทับใจจริงๆ เห็นแ ล้ว เลือดลมร้อน ชักอยากจะกลับไปพัฒนา บ้ า นเกิ ด ตั ว เองแ ล้ ว ล่ ะ ว่ า แ ต่ ค รั้ ง ห น้ า ผู้ใหญ่ใจดีจะจัดงานค่ายที่ไหนกันหนอ อยากรจู้ ัง
เราและนาย เรื่องเล่ามีรอยยิ้ม
88
ภาคผนวก ปฏิญญารวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น ณ วันที่ 25 เมษายน 2555
การจดั ง านรวมพลังเยาวชน คนชมุ ชนทอ้ งถนิ่ โดยเครือข า่ ยรว่ มสร้าง ชุมชนทอ้ งถนิ่ น า่ อ ยู่ ร่วมกบั ส ำนักงานกองทุนส นับสนุนก ารสร้างเสริมสุขภ าพ โดย สำนักส นับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) ร่วมกันแสดงเจตจำนงที่จะ ขับเคลื่อนและรณรงค์ให้เกิดกระบวนการภายในพื้นที่ 54 เครือข่าย ใน 9 ประเด็นนโยบาย มีด ังนี้ 1. จัดให้ม ีกิจกรรมสนับสนุนเครือข่ายเด็กและเยาวชนระดับท ้องถิ่น 1.1 โครงการ ประชุมส ภาเด็กและเยาวชนท้องถิ่นสัญจร 1.2 โครงการ จัดป ระชุมใหญ่เครือข่ายเด็กและเยาวชนเพื่อเผยแพร่ ผลงานประจำปี 2556 1.3 โครงการ พัฒนาศกั ยภาพเครือขา่ ยเด็กและเยาวชนระดับทอ้ งถน่ิ 2. จัดให้มีกิจกรรมด้านพัฒนาทักษะด้านการศึกษาเพิ่มเติมจากการ ศึกษาในระบบ 2.1 โครงการจัดตั้งศ ูนย์พัฒนาทักษะทางการศึกษาระดับท้องถิ่น
ค่ายรวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น
89
3. จัดใ ห้ม สี วัสดิการเพือ่ สทิ ธิประโยชน์ของเด็กและเยาวชนในระดับทอ้ งถน่ ิ 3.1 โครงการจัดตั้ง กองทุนส วัสดิการเด็กและเยาวชนระดับท้องถิ่น 4. จัดใ ห้ม กี จิ กรรมดา้ นกระบวนการจติ อ าสาเพือ่ ด แู ลเด็กแ ละเยาวชน ผู้สูงอายุ ผูด้ ้อยโอกาส 4.1 โครงการ จัดต ั้งเครือข่ายจิตอาสาเด็กและเยาวชนระดับพื้นที่ 5. จัดให้ม กี ิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ 5.1 โครงการ จัดต ั้งเครือข่าย ทูตส ิ่งแวดล้อมประจำท้องถิ่น 6. ให้มีกิจกรรมส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยระดับท้องถิ่นสู่ระดับ ชาติ 6.1 โครงการ รูจ้ กั ท อ้ งถนิ่ รูจ้ กั บ า้ นเรา ซึง่ เป็นการให้ค วามรปู้ ระชาชน เรื่องการปกครองท้องถิ่น การมีส่วนร่วมต่อก ารพัฒนาท้องถิ่น 7. การจัดตั้งเครือข่ายเยาวชนสนับสนุนกิจกรรมด้านเกษตรอินทรีย์ 7.1 โครงการ ชีววิถเีพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 8. จัดใ ห้มีกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและปราชญ์ชาวบ้าน 8.1 โครงการ ภูมิปัญญาศรีชุมชน 9. จัดใ ห้มีกิจกรรมด้านแก้ไขปัญหายาเสพติดแ ละการตั้งครรภ์ 9.1 โครงการ พลิกพื้นที่หลีกหนียาเสพติด ปฏิบตั กิ ารในพนื้ ที ่ 9 ประการทกี่ ล่าวมา เป็นป ฏิบตั กิ ารเชิงย ทุ ธศาสตร์ โดยสมาชิกเครือข่ายเด็กและเยาวชน จะมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนให้เกิด รูปธรรมในทุกชุมชนท้องถิ่น ภายใน 2 ปี นับแต่นี้ไป พร้อมกับจะร่วมกัน จัดการประชุม รวมพลังเยาวชน คนชุมชนท้องถิ่น ร่วมกันปีละ 1 ครั้ง
เก็บตกรอยยิ้มในค่ายเยาวชน