ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

Page 1

เรื่อง: แสงจริง สุนทรฉัตร ภาพ: สุภัทร อ่อนราษฎร์


ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน เรื่อง แสงจริง สุนทรฉัตร ภาพ สุภัทร อ่อนราษฎร์ เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ

ISBN: 978-616-329-025-0 บรรณาธิการ อาทิตย์ เคนมี บรรณาธิการศิลปกรรม ณขวัญ ศรีอรุโณทัย ออกแบบปก สุภัทร อ่อนราษฎร์ บรรณาธิการอำ�นวยการ

ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ กองบรรณาธิการ

ทัศนีย์ วีระกันต์ เนาวรัตน์ ชุมยวง


จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย

สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย สำ�นักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำ�นัก 3) แผนงานส่งเสริมการพัฒนาระบบเพื่อสุขภาวะของเกษตรกร และความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม สถานที่ติดต่อ

อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2343 1500 โทรสาร 0 2343 1501 www.thaihealth.or.th และ www.punsook.org พิมพ์ครั้งที่ 1

มกราคม 2557

ดำ�เนินการผลิตโดย

เปนไท พับลิชชิ่ง Pen Thai Publishing โทรศัพท์ 0 2736 9918 โทรสาร 0 2736 8891 waymagazine@yahoo.com waymagazine.org


คำ�นำ�

สังคมไทยคุน้ หูกบั คำ�ว่า ‘เกษตรกรรมยัง่ ยืน’ แน่ๆ เนือ่ งจากตลอดหลายทศวรรษ ทีผ่ า่ นมา เรามักพบคำ�คำ�นีแ้ ทรกอยูใ่ นข่าวสารการเกษตร ข่าวปัญหาสิง่ แวดล้อม ปัญหาวงจรหนีส้ นิ ของเกษตรกร ปัญหาตลาดสินค้าเกษตร ปัญหาราคาผลผลิต ปัญหาสุขภาพเกษตรกรและความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ฯลฯ มีความเหมือนกันประการหนึง่ คือ ในทุกๆ ความดำ�มืดของปัญหาดังกล่าว ล้วนมีคำ�ว่า ‘เกษตรกรรมยั่งยืน’ ปรากฏอยู่ในฐานะแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์


จากนั้นเราก็มักเกิดมโนภาพในอุดมคติ หลับตามองเห็นภาพเกษตรกร ชาวนาชาวไร่ในฐานะปัจเจกบุคคล ลุกขึน้ มาทำ�เกษตรแบบยัง่ ยืนบนทีด่ นิ ทำ�กิน ตัวเอง หาประสบการณ์การลองผิดลองถูกโดยลำ�พัง ท้าทายขนบความเชื่อ การทำ�เกษตรของคนรุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตาทวดที่เสพติดการใช้สารเคมี ในจำ�นวน ปัจเจกบุคคลนัน้ บ้างก็ประสบความสำ�เร็จมีสอื่ มวลชนมารุมล้อม บ้างก็เหนือ่ ยล้า จากการแข็งขืนทวนกระแส กระทั่งพ่ายแพ้ แล้วค่อยๆ เงียบหายไปจากคลื่น ข่าวสาร


คำ�ถามง่ายๆ จึงมีอยู่ว่า ถ้าหากเราเปลี่ยนมุมคิดการทำ�เกษตรยั่งยืน จากการลงมือโดยลำ�พังของปัจเจกบุคคล หันมาใช้เครือข่ายความร่วมมือของ ชุมชนท้องถิ่น ทิศทางการขับเคลื่อนของการทำ�เกษตรยั่งยืนจะไปไกลและ มีอนาคตมากขึ้นหรือไม่ คำ�ถามนีม้ ชี มุ ชนท้องถิน่ หลายแห่งในประเทศไทยได้ลงมือปฏิบตั ิ พิสจู น์ สาธิต ถอดบทเรียน จนกระทัง่ ได้องค์ความรูเ้ ป็นรูปธรรม ชีใ้ ห้เห็น ‘ขาค้�ำ ยัน 4 ข้าง’ ในการทำ�เกษตรยั่งยืนให้ประสบความสำ�เร็จ อันประกอบด้วย ขาข้างที่ 1 พัฒนาระบบคิดและเทคนิคการผลิต เพราะเมือ่ ตัง้ ใจจะบอกลา สารเคมี ความรู้ที่ต้องมีชดเชยคือ ทำ�อย่างไรจึงจะปรับปรุงดินให้มีคุณภาพ รักษาสมดุลในระบบนิเวศ ใช้พืชและแมลงในธรรมชาติควบคุมศัตรูพืช รวมถึง การพัฒนาสายพันธุ์ให้สอดรับกับวิถีการผลิต ขาข้างที่ 2 มองหาตลาดรองรับสินค้า ข้อนี้อาจไม่ใช่ทักษะที่เกษตรกร ส่วนใหญ่ในประเทศเราถนัด แต่สิ่งที่สามารถยืนยันได้จากพฤติกรรมคนใน สังคมก็คือ ทุกคนล้วนมีความห่วงใยสุขภาพตัวเองทั้งสิ้น ตลาดสินค้าเกษตร ปลอดสารพิษมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทำ�อย่างไรจึงจะเพิ่มช่องทางให้ ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้อาจเริ่มต้นจากการพัฒนาศักยภาพ ช่องทางที่มีอยู่เดิม คือ ตลาดนัดชุมชน ตลาดจัดโซน และระบบขายตรง ขาข้างที่ 3 การจัดตั้งกองทุน จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า ชุมชน ท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังใช้ประโยชน์จากปัจจัยข้อนี้น้อยมาก ทั้งที่แต่ละชุมชนล้วน มีกองทุนเดิมอยู่แล้ว อาทิ กองทุนหมู่บ้าน กองทุน SML กลุ่มออมทรัพย์ ซึ่ง หากผู้บริหารท้องถิ่นมีวิสัยทัศน์และมองเห็นความสำ�คัญเรื่องนี้ ก็อาจเพิ่ม เงื่อนไขเข้าไปในแต่ละกองทุน ระบุให้ผู้มาขอกู้เพื่อทำ�เกษตรยั่งยืน มีโอกาสกู้ ได้มากขึ้นกว่ากรณีทั่วไป ขณะเดียวกัน แนวทางการออกแบบกองทุนเฉพาะเพื่อการทำ�เกษตร


ยั่งยืน ก็เป็นการเปิดโอกาสให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น เช่น การเปิด กองทุนพันธุ์ข้าว กองทุนปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น ขาข้างที่ 4 การจัดการแบบมีส่วนร่วม ดึงพลังความร่วมมือโดยอาศัย กลไกภายในท้องถิ่น ทั้งจากหน่วยงานในเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งองค์การบริหารส่วนตำ�บล (อบต.) เทศบาล รวมกระทั่งถึงวัดและโรงเรียน ข้อนีม้ บี ทเรียนจากประสบการณ์ในชุมชนต่างๆ ทัว่ ประเทศ พบว่า หาก เกษตรกรไม่ได้รบั การส่งเสริมสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ เส้นทาง ของการทำ�เกษตรยั่งยืนจะเต็มไปด้วยความยากลำ�บาก ไร้ความมั่นคง แน่นอนว่า ทั้งหมดนี้จะต้องมีจุดเริ่มต้นจากตัวเกษตรกรเป็นเบื้องต้น เกษตรกรที่มีความชัดเจนในแนวทางความคิดว่าต้องการวิถีชีวิตแบบใหม่ ต้องการไปให้พน้ จากวงจรหนีส้ นิ ปัญหาสุขภาพ มองเห็นความสำ�คัญของความ มั่นคงทางอาหาร อันผูกโยงลึกลงไปถึงวิถีชีวิตระดับครัวเรือน เมื่อเกษตรกรเริ่มต้นลุกขึ้นยืนหลังตรง โดยมีองค์กรท้องถิ่นทำ�งาน ประสาน ให้ความสนับสนุนอยูเ่ บือ้ งหลัง เมือ่ นัน้ เส้นทางของการทำ�เกษตรยัง่ ยืน จะเป็นเส้นทางที่มีอนาคต เส้นทางที่มีอนาคตดังกล่าว มิได้หมายความแค่ปรากฏการณ์ระดับ ปัจเจกบุคคล แต่เป็นทิศทางที่มีอนาคตของชุมชนท้องถิ่นรวมอยู่ในนั้นด้วย ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำ�นวยการสำ�นักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำ�นัก 3) สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


บทที่ 1

ต้นทาง เกษตรกรรมยั่งยืนคืออะไร? การผลิตอาหารปลอดภัยจาก สารเคมีทางการเกษตร...นั่นก็ใช่ การทำ�เกษตรเน้นวิธีการ หมุนเวียนทรัพยากรในไร่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่ ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ต่อสุขภาพครอบครัวผู้ผลิตและ ผู้บริโภค...นั่นก็ใช่ ในมิ ติ ข องการตลาด การมี ต ลาดรองรั บ ผลผลิ ต ของ เกษตรกร...นั่นก็ใช่ ราคาผลผลิตที่เป็นธรรมต่อหยาดเหงื่อของ เกษตรกร...นั่นก็ใช่ แต่ไม่ใช่แน่นอนหากเกษตรกรไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน

9

หากเกษตรกรไม่สามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ตัวเอง และครอบครัวได้ เกษตรกรรมยั่งยืนประกอบด้วยองค์ประกอบมากกว่าหนึ่ง ใช่วา่ อยากเป็นเกษตรกรโรแมนติก ถือจอบถือเสียมเดินลงนา เป็น ง่ายเสียที่ไหน มันต้องประกอบไปด้วยความรู้ ประสบการณ์ การ ปรับประยุกต์ และการได้รับการส่งเสริมระดับนโยบาย หากเราแบ่งองค์ประกอบที่ผสานกันจนเป็นสิ่งที่เรียกว่า ระบบเกษตรกรรมยัง่ ยืน ย่อมต้องประกอบด้วยการผลิต การตลาด กองทุน และแผนพัฒนาหรือนโยบายจากท้องถิ่น การพั ฒ นาระบบการผลิ ต และเทคนิ ค การเกษตรเป็ น


10 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

องค์ประกอบสำ�คัญของระบบเกษตรกรรมยัง่ ยืน หากเปรียบเทียบ ว่าระบบเกษตรกรรมยัง่ ยืนคือจุดหมายทีอ่ ยูป่ ลายทางบนถนนเส้น หนึง่ การผลิตและเทคนิคการทำ�เกษตรก็ไม่ตา่ งจากรถยนต์คนั หนึง่ ที่มีเกษตรกรผู้มุ่งไปสู่ปลายทางนั้นเป็นผู้เดินทาง การใช้สารเคมีเป็นเทคนิคหนึ่งในเกษตรกรรม...ซึ่งง่าย แต่ ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนใช้เทคนิคที่ซับซ้อนกว่า แต่หากเพ่งมอง ดูดีๆ มันกลับเป็นเรื่องธรรมชาติซึ่งไม่ยากเกินกว่าเข้าใจ เกษตรกรรมยั่ ง ยื น อาศั ย การเกื้ อ กู ล กั น ในระบบผลิ ต เกษตรกรรมยั่ ง ยื น เป็ น เรื่ อ งของการทำ � เพื่ อ อยู่ ทำ � เพื่ อ กิ น เกษตรกรรมยัง่ ยืนอนุญาตให้เกษตรกรพึง่ พาตัวเองในเรือ่ งอาหาร อนุญาตให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติ ความสมดุลของระบบ นิเวศและความสมบูรณ์ของอาหารต่างเกื้อกูลกัน ที่ปลายทางของเป้าหมายบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่ง ยืน เกษตรกรสามารถพึง่ พาตัวเองได้ พวกเขารูจ้ กั ดินของตัว เมือ่ รูจ้ กั ดิน ก็ย่อมรู้ว่าควรใช้องค์ประกอบแบบไหนในการบำ�รุงดินและพืชผล ของตน จนนำ�ไปสู่การเก็บและคัดเมล็ดพันธุ์ สร้างความมั่นคง ทางอาหารและความมั่งคงในชีวิต เราจะเริ่มต้นกันที่นี่ – ต้นทาง ต้นทางบนถนนชือ่ เกษตรกรรม คือการผลิตและเทคนิคของ เกษตรกร


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 11

-1เริ่มจากดิน เกษตรกรในตำ�บลนาบัว อำ�เภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ต่างดำ�รงวิถีการทำ�เกษตรแบบเก่ามาอย่างยืนยง จึงทำ�ให้พบ ปัญหาคลาสสิกทีอ่ ยูเ่ คียงข้างชาวนาไทยอย่างยัง่ ยืน นัน่ ก็คอื ปัญหา ดินเสื่อมสภาพ สมคิด ฉิมมากรม เกษตรกรหญิงแห่งตำ�บลนาบัว เริม่ สนใจ เรือ่ งดินมาตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2542 เธอเฝ้ามองดูวธิ กี ารทำ�เกษตรแบบเก่า ของคนรุน่ ปูย่ า่ กระทัง่ รุน่ พ่อแม่ ก่อนจะพบว่าทัง้ ชีวติ ทีอ่ ยูก่ บั ไร่นา เธอไม่รู้จักดินที่อยู่ใต้ฝ่าเท้าของตัวเอง ‘ดิน’ คือหัวใจสำ�คัญของเกษตรกรรมแบบยั่งยืน วิถกี ารเกษตรแบบเก่าคืออะไร เกษตรกรหลายแห่งเห็นพ้อง กันว่ามันคือรูปแบบการผลิตทีจ่ มอยูใ่ นปลักตม ปัญหาคลาสสิกของ ชาวนาไม่เคยเปลี่ยนแปลง มันคือความรู้และพฤติกรรมการผลิต ของเกษตรกรรุน่ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 การลงทุนซื้อยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมีอาจรับประกันได้ว่า ผลผลิตในไร่นาจะมากพอจนทำ�ให้มีกำ�ไร แต่ความจริงหลังฤดู เก็บเกีย่ ว เกษตรกรบางคนกลับพบความว่างเปล่าในบัญชีธนาคาร การเผาตอซังเพื่อเตรียมหน้าดินสำ�หรับการปลูกข้าวใน ฤดูกาลหน้าเป็นวิธที งี่ า่ ยและเร็ว แต่เกษตรกรรุน่ ใหม่รวู้ า่ มันจะนำ� ไปสู่การเปลี่ยนแปลงของดิน อนุภาคของดินจะจับตัวกันแน่นและ แข็ง ทำ�ให้รากพืชแคระแกร็น ไม่สมบูรณ์ อ่อนแอ การหาอาหาร


12 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

ลดลง รวมทั้งเชื้อโรคพืชสามารถเข้าทำ�ลายได้ง่าย เนื้อดินสูญเสีย อินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน คาร์บอนและอินทรียวัตถุในดิน เมื่อถูกเผาจะกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูญเสียไปใน บรรยากาศ ส่วนธาตุอาหารจะแปรสภาพให้อยู่ในรูปที่สามารถ สูญเสียไปจากดินได้ง่าย เมื่อดินไม่ดี ทางแก้ของเกษตรกรรมแบบเก่าก็คือใส่ปุ๋ยเคมี ในระดับทีเ่ พิม่ มากขึน้ โดยมีตน้ ทุนการผลิตไต่สงู ขึน้ เป็นเงาตามตัว ...เกือบแตะขอบฟ้า สมคิ ด ฉิ ม มากรม สรุ ป ว่ า ที่ ผ่ า นมาเกษตรกรไทย “ไม่ เคยมีการดูแลเรื่องดิน ดินจึงเสื่อมคุณภาพไปเรื่อยๆ นอกจาก ภาระต้ น ทุ น การผลิ ต ที่ สู ง ขึ้ น แล้ ว การใช้ ส ารเคมี ป ริ ม าณมาก ในการเกษตรยังส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพเกษตรกร รายได้ก็ตกต่ำ� เพราะผลผลิตตกต่�ำ ผลผลิตตกต่�ำ เพราะดินเสือ่ ม ตอนนีเ้ กษตรกร นาบัวเลยหันมาทดลองใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทน แต่เราใช้ปุ๋ยอินทรีย์โดย ไม่รู้เรื่องดินไม่ได้” เธอสารภาพว่ารู้จักดินบนที่ดินของตัวเองเมื่อ 5 ปีที่แล้ว แต่กว่าจะรู้จักดินของตัวเอง ก็หลังจากเริ่มศึกษาความรู้เรื่อง เกษตรกรรมยั่งยืนเมื่อ 16 ปีก่อน เริ่มจากเรียนรู้กับหน่วยงานที่ ให้ความรูเ้ กีย่ วกับเกษตรกรรมยัง่ ยืนอย่างสำ�นักวิจยั และพัฒนาการ เกษตร ศึกษาในเชิงวิชาการเกษตรกับมหาวิทยาลัยทัง้ ในและนอก จังหวัด เดินทางไปในชุมชนอื่นๆ ที่เป็นเครือข่ายตำ�บลสุขภาวะ เพือ่ เรียนรูเ้ ทคนิคการผลิตจากทีอ่ นื่ เธอเดินทางพบปะแลกเปลีย่ น กับปราชญ์เรื่องดินทั้งในและนอกตำ�บล


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 13

สิ่งแรกที่เกษตรกรหญิงคนนี้เริ่มต้นก็คือ “การทำ�ปุ๋ยหมัก ปุย๋ ชีวภาพเพือ่ ลดต้นทุน เราก็คาดหวังว่ามันจะช่วยปรับสภาพดิน โดยทีเ่ ราไม่รเู้ ลยด้วยซ้�ำ ว่าดินของเราเป็นดินแบบไหน รูแ้ ต่วา่ อยาก ปรับดินให้ดีขึ้น ช่วงที่ฉันใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพ ผลผลิตก็ไม่ได้เพิ่ม ขึ้นนะ เพียงแต่ลดต้นทุนการผลิตบางส่วนเท่านั้น” วั น หนึ่ ง เธอได้ พ บกั บ นั ก วิ ช าการจากมหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ นักวิชาการท่านนัน้ ชักชวนเกษตรกรให้ความสำ�คัญ เรือ่ งดิน เพราะ “เกษตรกรจำ�ต้องรูจ้ กั ดินของตัวเองก่อนว่าดินในไร่ ในนาเป็นเนื้อดินแบบไหน ดินทราย ดินร่วน หรือดินเหนียว ถ้า ไม่รู้จักดินเราก็แค่ทำ�ผ่านไปแค่นั้นเอง”


14 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

หลังจากสัม ผัสและปั้นดินของตัวเอง สมคิดพบว่าในห้วง เวลาทั้งชีวิตเธอไม่เคยรู้จักดินเลย “นี่คือจุดเริ่มต้นให้ฉันกลับมา สนใจเรือ่ งดินเป็นเรือ่ งแรกก่อน ถ้ารูจ้ กั ลักษณะและคุณสมบัตขิ อง ชุดดินก็สามารถพัฒนาดินของเราให้เป็นไปตามความต้องการได้ เช่น เราจะปลูกพืชชนิดนี้เราก็ปรับปรุงดินของเราให้เหมาะสมกับ การปลูกพืชชนิดนั้นๆ” ในปี 2551 สมคิดพบว่า ดินของเธอเป็นชุดดินร้อยเอ็ด (Roiet series: Re) เป็นดินร่วนปนทรายสีน้ำ�ตาลเทา เมื่อเกษตรกรรู้ ชุดดินของตัวเองจะทำ�ให้รกู้ ารเทียบสูตรปุย๋ ให้เหมาะสมกับดินของ ตัวเองและพืชที่ต้องการปลูก สมคิดรู้ว่าดินของเธอมีสภาพการ ระบายน้ำ�ที่ไม่ดี การไหลบ่าของน้ำ�บนผิวดินนั้นก็ช้า การซึมผ่าน ได้ของน้ำ�อยู่ในระดับปานกลางถึงช้า และเธอยังรู้ด้วยว่าดินของ เธอต้องการไนโตรเจน เธอเดิ น ทางไปที่ ม หาวิ ท ยาลั ย นเรศวรเพื่ อ ค้ น หาว่ า ไนโตรเจนมาจากไหน? คำ�ตอบลอยบนผิวน้ำ� ‘แหนแดง’ เป็นเฟิร์นน้ำ�ขนาดเล็กลอยบนผิวน้ำ� แหนแดง ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจน โดยที่ในโพรง ใบแหนแดงสามารถดึงเอาไนโตรเจนจากอากาศมาใช้สำ�หรับ การเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ นอกจากนั้นแหนแดงยังทำ�ให้พืช สามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น ลดปริมาณวัชพืชในนาข้าว แหนแดงจะคลุมผิวน้ำ�ป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องลงไปในน้ำ� ทำ�ให้ วัชพืชในน้ำ�เจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 15

หลังทดลองปลูกแหนแดงในแปลงนา สมคิดเก็บตัวอย่าง ดินในแปลงนาไปตรวจวิเคราะห์คุณภาพพบว่าธาตุอาหารในดิน มีไนโตรเจนเพิ่มขึ้น จากเดิมดินมีไนโตรเจนระดับต่ำ�มาก หลัง ปลูกแหนแดงในนาข้าว ดินของเธอมีไนโตรเจนเพิ่มขึ้น แต่ยังเป็น ระดับต่ำ� เพราะ “เราไม่สามารถใช้เวลาเพียงปีเดียว การปรับดิน ต้องใช้เวลานาน” นอกจากสมคิดแล้ว เกษตรกรตำ�บลนาบัวเริ่มทำ�ความรู้จัก กับดินของตัวเองมากขึ้น ในการตรวจวิเคราะห์คุณภาพหาธาตุอาหารในดินจะค้นหาธาตุอาหาร 3 ตัวหลักที่พืชต้องการ คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปรแตสเซียม นอกจากดินบนที่ดิน ของตั ว เอง สมคิ ด ยั ง พบว่ า ดิ น ส่ ว นใหญ่ ใ นชุ ม ชนตำ � บลนาบั ว มีไนโตรเจนต่ำ�มาก หลังจากรูส้ ภาพดิน เกษตรกรในตำ�บลนาบัวจึงเริม่ รวมกลุม่ กัน เกษตรกรที่สนใจเรื่องปุ๋ยจัดตั้งกลุ่มกองทุนผู้ทำ�ปุ๋ยบ้านนาบัว เกษตรกรที่สนใจเรื่องดินจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรมืออาชีพ นอกจากเป็นเกษตรกรปลูกข้าว เป็นชาวสวนปลูกยางพารา ปัจจุบันสมคิดยังเป็น ผู้ใหญ่บ้าน เป็นคณะกรรมการตัวแทนของ หมู่บ้านเข้าไปแก้ไขปัญหาร่วมกับหมู่บ้านอื่นในระดับตำ�บล เป็น ประธานกลุม่ เกษตรกรมืออาชีพ ซึง่ เป็นงานจิตอาสาคอยช่วยเหลือ เรื่ององค์ความรู้เรื่องดินแก่เกษตรกรนาบัวและที่อื่น “เมื่อก่อนหมู่บ้านของฉันเป็นหมู่บ้านที่ล้าหลังมาก ฉันจึง อยากเข้าไปร่วมกับเขา ซึง่ ในตำ�บลจะมีแกนนำ�ทีม่ แี นวคิดทีม่ คี วามคิด เหมือนกันในเรือ่ งพัฒนาตำ�บลตัวเองให้ดขี นึ้ จากทีเ่ คยหากุง้ หอยปู


16 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

ปลาได้ในท้องนามันก็หายไป ผักหญ้าก็สญ ู หายไปหมด เราต้องซือ้ สิ่งเหล่านี้มากิน ทำ�ให้รายจ่ายเพิ่มขึ้น ฉันชอบเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว ได้ศึกษามาบ้างก็อยากจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเขา” ในการตรวจวิ เ คราะห์ คุ ณ ภาพดิ น แก่ เ กษตรกรโดยกลุ่ ม จิตอาสา มีการเชิญเกษตรกรร่วมเรียนรูก้ ารเก็บตัวอย่างดินทีถ่ กู วิธี แม้ไม่อยากให้ใครเรียกว่า ‘หมอดิน’ แต่ปฏิเสธไม่ได้วา่ เธอมีความรู้ และการปฏิบัติไม่ต่างไปจากคำ�เรียกนั้น เธอให้คำ�ปรึกษาเรื่องดิน แก่เกษตรกรคนอื่น ทุกครั้งที่มีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพดิน สมคิดพยายามถ่ายทอดวิธกี ารและความรูใ้ นการตรวจคุณภาพดิน เธอมองว่านี่คือเรื่องพื้นฐานที่เกษตรกรควรทำ�ได้เองทุกคน “ถ้าวันหนึ่งแกนนำ�หลักๆ ไม่อยู่ เขาจะต้องทำ�ของเขาเอง เพราะเราก็ไม่รู้อนาคตของเราเหมือนกันใช่มั้ยค่ะ” เธอบอก “คุณเป็นคนทีค่ อ่ นข้างเตรียมพร้อม...เตรียมตายก่อนตาย?” เราถาม “ก็คงประมาณนัน้ เพราะเราไม่รวู้ า่ ในอนาคตจะเป็นอย่างไร ปัจจุบันนี้เราก็ไปกับรถกับเรือ ไม่ค่อยได้อยู่บ้าน เดินทางกัน บ่อย ถ้าความรู้มากองอยู่ที่เราคนเดียวโดยที่คนอื่นไม่รู้ เขาก็เสีย ประโยชน์ แล้วเขาทำ�อะไรไม่เป็นเลย จะทำ�ยังไงกัน ถ้าวันหนึง่ ไม่มี เรา เขาต้องทำ�ได้ สามารถถ่ายทอดให้คนรุ่นต่อไปได้” “อะไรคือสิ่งที่คุณเรียนรู้จากดิน?” “ดิ น ก็ มี ชี วิ ต เหมื อ นเรา ถ้ า เราใช้ ง านเขามากสุ ข ภาพก็ เสื่อมโทรม เหมือนเราทำ�งานหนักเราก็เหนื่อยเราก็ป่วย วันหนึ่ง เมื่อดินป่วยแล้วเขาไม่สามารถให้ผลผลิตกับเราได้ ไม่ว่าเราจะใส่


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 17

ปุ๋ยอะไรไป เราต้องมาปรับปรุงให้เขาดีขึ้น คำ�ว่าดินดีก็คือ ดินที่ สามารถรับได้ทุกอย่างทำ�ให้พืชเจริญเติบโต”

-2อ่อนเยาว์กว่า ถ้าไม่พึ่งหัววัวคันไถ เกษตรกรในตำ�บลคลองน้ำ�ไหล อำ�เภอคลองลาน จังหวัด กำ�แพงเพชร ปลูกพืช 2 ลักษณะ 1.ข้าว 2.พืชไร่ เช่น อ้อยและ มันสำ�ปะหลัง และเช่นเดียวกับเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศ เกษตรกรแห่งชุมชนตำ�บลคลองน้ำ�ไหลเน้นการทำ�ไร่ทำ�นาด้วย สารเคมี ใช้ทงั้ ปุย๋ เคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า นอกจากความว่างเปล่า ในสมุดบัญชีธนาคาร ยังปรากฏเงาของความตาย การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตพืชผลจึงเป็นเรื่องที่มีเกษตรกร ส่วนหนึ่งเห็นตรงกัน ถ้าไม่เปลี่ยนตอนนี้ แล้วจะเปลี่ยนตอนไหน พล มะโรงมืด เป็นเกษตรกรในตำ�บลคลองน้�ำ ไหล เมือ่ ก่อน เกษตรกรในชุมชนตำ�บลคลองน้�ำ ไหลนิยมใช้สารเคมีเป็นองค์ประกอบ หลักในการทำ�เกษตร เป้าหมายคืออยากได้ผลผลิตมาก “แต่การเปลี่ยนจากการใช้สารเคมีมาเป็นไม่ใช้เลย มันเป็น ไปได้ยาก สิ่งที่พอทำ�ได้คือค่อยปรับค่อยเปลี่ยน เมื่อก่อนคุณเคย ใส่ปุ๋ยไร่ละ 1 กระสอบ เราก็ค่อยๆ ลดลงมาเหลือครึ่งกระสอบ เคยใช้ยาฆ่าแมลง 100 ซีซี ต่อ 1 ไร่ เราก็ค่อยๆ ลดลงมาโดยใช้ สารชีวภัณฑ์ควบคู่ไปด้วย ถ้าเกิดลักษณะที่ว่ามันเอาไม่อยู่จริงๆ


18 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

ผมจึงจะใช้เคมี” พลทำ�การเกษตรในลักษณะเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง การ ลงทุนกับเรือ่ งสารเคมีไม่อาจทำ�ให้เกษตกรส่วนใหญ่พงึ่ พาตัวเองได้ เขาจึงมองว่าการใช้สารเคมีได้กลายเป็นวัฒนธรรมของเกษตรกร ส่วนมากมานานแล้ว หนอนหรือแมลงในนาข้าวของเกษตรกร ประหนึ่งสิวบนใบหน้าวัยรุ่น เจอไม่ได้ - ต้องบีบ “หารู้ไม่ว่าสัตว์หรือแมลงที่เป็นคุณต่อข้าวก็ตายไปด้วย ไม่ ได้ตายเฉพาะพวกทีไ่ ม่เป็นประโยชน์นะ ส่วนทีเ่ ป็นประโยชน์อย่าง แมงมุมก็ตายไปด้วย แมงมุมที่อยู่ในนาข้าว ใยแมงมุมมันจะช่วย ดักแมลง ถ้ามันอยู่ในลักษณะที่ไม่ได้ทำ�อันตรายให้ข้าวทั้งระบบ ก็ไม่ต้องไปทำ�อะไรมันหรอก ก็ให้มันอยู่ไป” พลบอก หากเปรี ย บเที ย บกั น ถึ ง ผลผลิ ต ในแปลงนาของเพื่ อ น เกษตรกรที่ ใ ช้ ส ารเคมี เ ต็ ม รู ป แบบกั บ แปลงนาของเขาที่ ใ ช้ ใ น ปริมาณน้อยโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลัก พลบอกว่าถ้ามองกันลึกๆ แล้ว ผลผลิตของทั้ง 2 ระบบนี้พอๆ กัน “ถามว่าผลผลิตของเพือ่ นทีใ่ ช้เคมีสงู มัย้ …สูงครับสูง แต่เรือ่ ง ความปลอดภัยย่อมน้อยกว่าผม ถ้าเราลดสารเคมีก็ย่อมปลอดภัย กว่า แต่ผลผลิตอาจไม่สงู เท่า แต่ถา้ มองในภาพรวมแล้วสิง่ ทีผ่ มได้ คือเรื่องสุขภาพ สิ่งแวดล้อมก็ดี ถ้าไม่ใช้เคมีในนาข้าวมันก็จะมีกบ มีปลามีเขียดมาอาศัย นีค่ อื อาหารโดยธรรมชาติโดยทีเ่ ราไม่ตอ้ งไป ซื้อไปหา แต่ถ้าคุณใช้เคมีในนาข้าว นาข้าวคุณจะเงียบเหงาไม่มี สัตว์ให้จับให้กินเลย แล้วคุณก็ต้องไปซื้อกิน นั่นหมายความว่าเงิน ทีค่ ณ ุ ได้มาจากการขายพืชผลคุณก็ตอ้ งจ่ายออกไปเยอะเหมือนกัน


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 19

สรุปแล้วคุณจะเหลือเงินน้อยกว่าผม” เขายกตัวอย่าง “ผมกับเพือ่ นทำ�นาเหมือนกัน อายุเท่ากันนะ เพือ่ นผมมันใช้สารเคมีทกุ วัน แต่ผมไม่ได้ใช้ทกุ วันและใช้ในปริมาณ น้อย คือถ้าไม่จ�ำ เป็นจริงๆ ผมไม่ใช้ ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้ใช้เลย นะ แต่ใช้ในลักษณะทีต่ อ้ งจำ�เป็นจริงๆ เปรียบเทียบระหว่างเพือ่ น กับผมใครสุขภาพดีกว่ากัน เพื่อนผมนี่หัวหงอกหมดแล้วนะ อายุ 50 กว่าๆ เท่ากันนี่แหละ คือแก่กว่าเราเยอะ หน้าตาดูแก่กว่าเรา สุขภาพก็ไม่ดี มันเห็นกันชัดๆ เลยนะ”

ปัจจุบัน พลทำ�ไร่ขนาด 5 ไร่ แบ่งไว้ 2 ไร่สำ�หรับบริโภค ในครอบครัว เขาปลูกผักสวนครัวไว้ตามหัวไร่ปลายนา ขุดบ่อปลา เลี้ยงไก่ เป็ด ควบคู่ไปด้วย ทุกอย่างในสวนของพลสามารถกินได้


20 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

ทุกอย่าง ค่าใช้จ่ายค่าอาหารในครอบครัวของเขา “ไม่เกิน 200 บาทต่อเดือนนะ ส่วนมากจะซื้อเนื้อหมู” “ถามว่าผมทำ�นาแค่ 5 ไร่ อยูไ่ ด้ไหม...ผมอยูไ่ ด้ ผมทำ�เกษตร ผสมผสาน ปลูกทุกอย่างทีก่ นิ ได้ อาหารผมไม่ได้ซอื้ อยูแ่ ล้ว เพราะ ในสวนผมกินได้หมด ถามว่ามีความสุขมั้ย...มีความสุขครับ” “คุณมีลูกมั้ย?” “มีลูก 2 คน มีเมีย 1 คน” “อะไรคือสิ่งที่ยากที่สุดในการเป็นพ่อ?” “เราจะเลีย้ งลูกอย่างไรให้เป็นคนดี ตรงนีย้ ากทีส่ ดุ แล้ว ถ้าจะ เลีย้ งลูกให้เป็นคนเลวมันง่ายทีส่ ดุ ก็แค่ท�ำ ตัวเป็นตัวอย่างทีเ่ ลว ถ้า จะเป็นตัวอย่างทีด่ นี มี่ นั …โอ้โห เราต้องเป็นตัวอย่างให้ลกู ก่อน ต้อง ทำ�อย่างไร ปฏิบัติตัวอย่างไรทั้งต่อตัวเอง ต่อครอบครัว ต่อสังคม เราต้องทำ�ให้ลกู ดูกอ่ นว่าทำ�แบบนีม้ นั ดี ลูกจะได้เอาเป็นแบบอย่าง ได้ นี่คือสิ่งที่ยากนะ”

-3นักโยนข้าว เกษตรกรจำ�นวนหนึง่ แห่งตำ�บลคลองน้�ำ ไหลเปลีย่ นเทคนิค การผลิตเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ณัฐนนท์ จักกะโทก เป็นหนึ่งใน เกษตรกรเหล่านัน้ เขาปลูกข้าว 10 ไร่ เป็นเกษตรกรคนหนึง่ ทีเ่ คย ใช้สารเคมีอย่างเข้มข้นเพือ่ เพิม่ ผลผลิต แต่ดว้ ยความทีร่ า่ งกายแพ้


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 21

สารเคมี เขาจึงค่อยๆ ลดการใช้สารเคมีลง “เทคนิคคือจะฉีดไม่ให้ข้าวมันงามเกินไป เพราะพวกแมลง จะเยอะ ผมจะไม่ใช้เคมีมาก แต่เมือ่ ก่อนใช้สารเคมีในการปลูกข้าว อย่างเข้มข้น แต่ตอนนี้เปลี่ยนวิธีการโดยปรับลดสารเคมีและเริ่ม ปรับปรุงดินควบคู่กับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์” ณัฐนนท์ลองผิดลองถูกในการใช้สารชีวภัณฑ์ จนมาเจอสิง่ ทีใ่ ช่ และเหมาะสมสำ�หรับดินในนาของตัวเอง เขาทำ�น้ำ�หมักชีวภาพ จากรกหมู ซึ่งต้องเล่าเท้าความไปในอดีตเล็กน้อยว่า ก่อนหน้านี้ สัก 4-5 ปี ณัฐนนท์ไม่ได้เลี้ยงหมู แต่ฝ่ายผู้บริหารชุมชนตำ�บล คลองน้ำ�ไหลส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพโดยการทำ�บ่อหมักก๊าซ ในครัวเรือน ด้วยความที่อยากผลิตก๊าซชีวภาพไว้ใช้ในครัวเรือน แทนก๊าซแอลพีจี เขาจึงเข้าโครงการเลี้ยงหมูกับทางชุมชน “ผมอยากได้บ่อหมักก๊าซ จะได้ไม่ต้องซื้อก๊าซแอลพีจี ผมก็


22 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

เลยหันมาเลีย้ งหมู ตอนแรกก็เลีย้ ง 5 ตัว ก็ได้ก�ำ ไรแค่ 5,000 บาท เพราะไปซื้อลูกหมูเขามาตัวละ 1,200 บาท ขยายขึ้นมาเป็น 20 กว่าตัว ทุกวันนี้ไม่ได้ซื้อก๊าซใช้ แล้วยังได้ปุ๋ยจากบ่อหมักก๊าซอีก” กลับกลายเป็นว่าการเลี้ยงหมูของณัฐนนท์ช่วยลดต้นทุน ในการซื้อสารเคมีทางการเกษตรมาใช้ เขานำ�รกหมูมาหมักกับ กากน้ำ�ตาล หัวเชื้อจุลินทรีย์ หมักทิ้งไว้ 1 เดือน ก่อนที่จะนำ� น้ำ�หมักอัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ� 20 ลิตร ฉีดพ่นนาข้าว นอกจากนี้ ในกระบวนการทำ�ก๊าซชีวภาพ บ่อความดันของเสียจะแยกเป็น สองส่วน ส่วนแรกเป็นของเหลว สามารถนำ�ไปใช้ในการเกษตร ส่วนที่สองเป็นกาก ก็จะตากเพื่อทำ�เป็นปุ๋ยหมักต่อไป ซึ่งสูตรของ ณัฐนนท์ใช้ปุ๋ยหมัก 9 ส่วนกับปุ๋ยสูตรอีก 1 ส่วนผสมกัน “เมือ่ ก่อนนาผมไม่มตี ะไคร่น�้ำ จับผิวดิน ไม่มเี ลยนะ ทุกวันนี้ พอลดเคมีแล้วใช้ปยุ๋ ชีวภาพ ตะไคร่น้ำ�มาจับผิวดิน แล้วเมือ่ ก่อนดิน มันแข็งกระด้างไปหมดเลย ตอนนี้ผลผลิตของผมถือว่าอยู่ตัว แต่ ต้องอย่าลืมว่ามันใช้เวลานานมากนะครับ เพราะกว่าที่ดินเราจะ กลับมามีชีวิตมันใช้เวลานาน” ในที่ดิน 10 ไร่ ณัฐนนท์ปลูกข้าวไว้กินเอง 3 ไร่ อีก 7 ไร่ ไว้ส�ำ หรับขาย เขายังปลูกพืชผักทุกชนิดทีก่ นิ ได้ เลีย้ งปลา เลีย้ งหมู ก๊าซชีวภาพ และเรียนรู้สิ่งใหม่เสมอ – นาโยน ‘นาโยน’ คือ การปลูกข้าวแบบโยนกล้า เป็นการทำ�นาแบบใหม่ ที่เป็นการผสมผสานกันระหว่างนาดำ�กับนาหว่านน้ำ�ตม เป็นวิธี การโยนตุม้ ต้นกล้าทีเ่ พาะไว้ลงในแปลง วิธนี สี้ ามารถนำ�มาใช้แทน การถอนกล้าปักดำ�ด้วยแรงงานคนและการปักดำ�ด้วยเครื่อง ซึ่ง


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 23

ให้ผลผลิตไม่ต่างจากการปักดำ�ด้วยเครื่อง ด้วยคน หรือการหว่าน น้ำ�ตม ที่สำ�คัญคือสามารถควบคุมวัชพืชโดยเฉพาะข้าววัชพืชได้ “คนที่ทำ�นาโยนในคลองน้ำ�ไหลเพิ่งเริ่มกัน แต่คนที่ทำ�มา ก่อนเขาก็ทำ�ได้ดี ผมก็เลยเอาอย่างเขา มันง่ายกว่ากัน คน 8 คน ใช้เวลา 10 นาที โยนได้ 2 งาน มันไวกว่า แต่ถ้าเปรียบกับนาดำ� คน 8 คน 2 งานใช้เวลา 6 วัน” ข้อเสียของนาโยนมีไหม? สำ�หรับณัฐนนท์มองว่า ไม่ว่าจะ ทำ�การเกษตรด้วยวิธีไหน ต้องกลับไปที่เรื่องดินเป็นลำ�ดับแรก “ข้อเสียของนาโยน ถ้าเป็นดินแข็งจะโยนไม่ลง อย่างอืน่ ไม่มี ปัญหา ยิ่งเราทำ�ดินนิ่มเท่าไร มันจะปักดี ผมใช้ปุ๋ยคอกรองพื้นดิน ก่อน พอปัน่ ดินเสร็จทิง้ ไว้กอ่ นแล้วเอาปุย๋ คอกไปโรย โรยแล้วก็ปนั่ ดินอีกรอบเพื่อทำ�ให้ดินนิ่ม ดินจะฟู เราก็โยน ตุ้มต้นข้าวจะดิ่งลง ปักดินเหมือนลูกขนไก่ในสนามแบดมินตัน” “คุณวางแผนอนาคตไว้อย่างไร?” “ตอนนีผ้ มเริม่ คัดเมล็ดพันธุ์ ผมจะเกีย่ วทีละรวง อย่างข้าวกล้อง ไรซ์เบอรี่ ผมก็คัดพันธุ์เก็บไว้ ตอนนี้ผมพอใจกับสิ่งที่ผมทำ�ใน ระดับหนึ่ง ผมชอบเรื่องพลังงาน ผมเลี้ยงหมูเพื่อทำ�บ่อหมักก๊าซ ชีวภาพแล้วมันก็ไปเกือ้ หนุนเรือ่ งเกษตรกรรม มันคือเรือ่ งเดียวกัน เลยครับ”


24 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

-4ชื่อลดเคมี นามสกุลเพิ่มสมบัติ เกษตรกรจำ�นวนหนึ่งในตำ�บลคลองน้ำ�ไหลปลูกพืชอย่าง มันสำ�ปะหลังและเลี้ยงหมู ประพนธ์ เพิ่มสมบัติ ก็เป็นหนึ่งในนั้น เขาปลูกมันสำ�ปะหลังเป็นหลัก เลี้ยงหมูกว่า 70 ตัว ทำ�บ่อหมัก ก๊าซชีวภาพ ปลูกพืชสวนครัวหลายชนิด ปัญหาของคนเลีย้ งหมูคอื อะไร? ถ้าถามประพนธ์เขาจะบอก ว่า ปัญหาก็คอื คนเลีย้ งหมูไม่เหม็นกลิน่ ขีห้ มู เพราะ “เราเป็นคนเลีย้ ง เราทนกลิ่ น ได้ แต่ ค นที่ อ ยู่ ข้ า งเคี ย งทนไม่ ไ ด้ กลิ่ น ขี้ ห มู ส ร้ า ง ความเดือดร้อนให้ชุมชนมากนะ”


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 25

ในตอนนั้น ผู้บริหารชุมชนตำ�บลคลองน้ำ�ไหลส่งเสริมให้ เกษตรกรทำ � บ่ อ หมั ก ก๊ า ซชี ว ภาพ ขนาดเกษตรกรชื่ อ ณั ฐ นนท์ ไม่อยากเลี้ยงหมูยังยอมเลี้ยงหมูเพื่อแลกกับการได้ใช้ก๊าซชีวภาพ ในครัวเรือน ประพนธ์ที่มีหมูในคอกกว่า 70 ตัวจะปล่อยผ่านไป ได้อย่างไร “ผมใช้กา๊ ซชีวภาพของตัวเองมา 3 ปีเศษๆ ลดค่าก๊าซหุงต้ม 100 เปอร์เซ็นต์ หรือลดได้ประมาณ 250 บาทต่อเดือน ก็ลอง คำ�นวณดูสิ 3 ปีเศษๆ เป็นเงินเท่าไร” เช่ น เดี ย วกั บ ณั ฐ นนท์ นอกจากได้ ก๊ า ซชี ว ภาพไว้ ใ ช้ ใ น ครัวเรือนแล้ว มูลสัตว์ที่ถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายจนทำ�ให้เกิดก๊าซก็ จะถูกดันออกมาพร้อมน้�ำ ประพนธ์ออกแบบก่อสร้างบ่อหมักก๊าซ ให้มีลักษณะแยกระหว่างกากของขี้หมูกับน้ำ�ที่ผ่านการบำ�บัด “กากก็เอามาตากทำ�ปุ๋ยหมัก น้ำ�หมักก็มีที่เก็บแยกต่างหาก เตรียมไว้ใช้กับการปลูกมันสำ�ปะหลัง” สำ�หรับการเตรียมดินเพื่อปลูกมันสำ�ปะหลัง ประพนธ์ใช้ ขี้หมูมาคลุมหน้าดินก่อนไถคราด น้ำ�ที่ผ่านการบำ�บัดจากบ่อก๊าซ เขาใช้แทนสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช และยังทำ�ฮอร์โมนรกหมู แทนการใช้ยาชุบรากและยากันปลวก เขานำ�ท่อนมันสำ�ปะหลังมา แช่น้ำ�หมักรกหมู 20 นาที เมื่อนำ�ท่อนมันไปปลูก รากจะสมบูรณ์ แล้วหัวก็จะเกิดเยอะตามไปด้วย เพราะรากเป็นหัวใจสำ�คัญของ การกำ�เนิด “จริงอย่างยิง่ ครับ เรือ่ งพลังงาน ปศุสตั ว์ และการเกษตรมัน แยกกันไม่ออก มันเป็นเรือ่ งเดียวกัน เราอาจเสียเวลาในการฉีดพ่น


26 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

เพราะน้ำ�หมักพวกนี้ต้องขยันฉีด แต่ทำ�ให้เราลดค่าใช้จ่าย ดินมี สภาพดีขึ้นเยอะ จากเดิมที่ดินผมไม่เคยมีไส้เดือน วันนี้มีไส้เดือน ในดินแล้ว ไส้เดือนจะช่วยผลิตฮอร์โมนให้ดินด้วย” ประพนธ์มีแนวคิดการทำ�เกษตรเหมือนกับพล มะโรงมืด และณัฐนนท์ จักกะโทก พวกเขาล้วนเป็นคนคลองน้ำ�ไหล เป็น เกษตรกรที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มเกษตรยั่งยืนตำ�บลคลองน้ำ�ไหล “เรามารวมกลุ่มกันเพื่อขับเคลื่อนเรื่องเกษตรยั่งยืน เพื่อ เอาแนวคิดแบบนี้ขยายไปให้ผู้คนทั่วชุมชนในการทำ�เกษตร เราจะ ไม่ท�ำ เกษตรเชิงเดีย่ ว เพราะเวลามันล้มมันล้มเลย เกษตรผสมผสาน จะช่วยเราเมือ่ ของอย่างหนึง่ ราคาตก เราก็มอี ย่างอืน่ อยู่ เราสามารถ ปลูกข้าว อ้อย มันสำ�ปะหลัง ผลไม้ ฉะนั้นเราไม่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำ�ให้ครอบครัวดำ�รงชีพอยู่ได้” ในอนาคตชุมชนคลองน้�ำ ไหลให้ความสนใจในเรือ่ งการปลูก ข้าวเพื่อทำ�เมล็ดพันธุ์ ซึ่งประพนธ์บอกว่าในชุมชนคลองน้ำ�ไหล ใช่วา่ จะไม่มเี กษตรกรทีค่ ดิ อ่านมาในทางนี้ “ดูอย่างณัฐนนท์นน่ั ปะไร ในอนาคตชุ ม ชนของเรากำ � ลั ง จะไปในเรื่ อ งการผลิ ต พั น ธุ์ ข้ า ว ทำ�อย่างไรเราจะสามารถผลิตพันธุ์ข้าวเพื่อวันข้างหน้าเราจะได้ ไม่ต้องไปซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวมาใหม่” “ปีนี้คุณลุงอายุเท่าไร?” “64 ครับ” “เป้าหมายชีวิตของคุณลุงในวัย 30 กับเป้าหมายชีวิตในวัย 64 ต่างกันไหม” “ถ้าถามว่าช่วงอายุ 30 กับปัจจุบนั 64 มันคนละเรือ่ งกันเลย


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 27

เมื่ออายุ 30 ไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้ ไม่ได้คิดว่าวันนี้เรากินอะไรไป มีอะไรเจือปนเข้าไปบ้าง ใช้ชีวิตสนุกสนานไปวันๆ ไม่ได้คิดว่า การทำ�เกษตรซึง่ เป็นชีวติ เป็นอาชีพเรามันมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ทุกวันนี้ผมพยายามทำ�ให้ทุกขั้นตอนของการงานให้เป็นประโยชน์ ที่สุด ทั้งต่อครอบครัวและผู้อื่น”

-5กล้วยไม่ ได้ปอกง่ายทุกลูกไป เกษตรกรบางคนในชุมชนตำ�บลสมอแข จังหวัดพิษณุโลก มีงานอดิเรกคือการปลูกกล้วย พวกเขารวมตัวกันในนามชมรม อนุรักษ์พันธุ์กล้วยบ้านดงประโดก รวมตัวกันทำ�อะไร? คำ�ตอบมีมากกว่า 1 ข้อ ที่แน่ๆ ก็คือ รวมตัวกันนั่งกินกล้วย พูดคุยกันเรื่องกล้วย แลกเปลี่ยนความรู้ เรือ่ งการปลูกกล้วย แนะนำ�และเปิดโลกไปสูก่ ล้วยสายพันธุท์ หี่ ลาก หลาย จนท้ายทีส่ ดุ พวกเขาเพาะพันธุก์ ล้วยพันธุท์ หี่ ายาก และเก็บ เมล็ดพันธุ์ไว้กว่า 184 สายพันธุ์ ไพโรจน์ พวงทอง เป็นนักวิชาการเกษตรประจำ�องค์การ บริหารส่วนตำ�บลสมอแข เรื่องกล้วยๆ ของสมอแขเริ่มมาจาก เกษตรกรคนหนึ่ ง มาปรึ ก ษาไพโรจน์ ถึ ง เรื่ อ งกล้ ว ย แล้ ว เขาก็ ยุยงให้เกษตรกรรายนี้รวมกลุ่มกับคนรักกล้วยตั้งชมรมอนุรักษ์ พันธุ์กล้วยขึ้น


28 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

“เราก็ตกลงกันมาออกแบบแปลง ปลูกแบ่งตามสายพันธุ์ แล้วเราก็เก็บพันธุ์กล้วยที่เขาทิ้ง รวบรวมไว้ พันธุ์ไหนไม่มีเราก็ไป หามาไว้ หาซื้อตามงานเกษตรบ้าง มาปลูกรวมในพื้นที่เดียวกัน” ปัจจุบันกล้วยจำ�นวนกว่า 184 สายพันธุ์ ถูกรวบรวมไว้ใน สวนกล้วยของชมรม กล้วยสายพันธุแ์ ปลก เช่น กล้วยหอมวิลเลียม

เป็นลูกผสมระหว่างกล้วยหอมและกล้วยกล้าย ผลหนึง่ มีความยาว 1 ศอก กล้วยงาช้าง กล้วยนมหมี กล้วยพม่าแหกคุก กล้วยสายพันธุ์ เหล่านีด้ งึ ดูดความสนใจของชาวบ้านในชุมชนและท้องตลาดอย่าง งานสินค้าเกษตรประจำ�จังหวัด


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 29

“รู้จักกล้วยพม่าแหกคุกมั้ยครับ เป็นกล้วยที่คนพม่าสมัย อยุธยากินแล้วสามารถแหกคุกได้ คือกินแล้วมีกำ�ลังมาก ลูกใหญ่ กลิน่ หอม น้�ำ ตาลในกล้วยสูง เมือ่ เทียบกับกล้วยน้�ำ ว้าแล้วมีน�้ำ ตาล สูงกว่า” การปลูกกล้วยเป็นงานอดิเรกที่สามารถสร้างรายได้ให้กับ เกษตรกรกลุม่ นีไ้ ด้ กล้วยบางสายพันธุส์ ามารถขุดหน่อขายได้หน่อ ละ 500-1,000 บาท กล้วยยังเป็นอาหารหลักอันดับ 3 ของโลก “กรณีที่เราเจอกล้วยพันธุ์ดีๆ เรานำ�ไปแปรรูปเป็นอาหาร ผู้ป่วย อย่างอาหารเสริม สำ � หรั บ นั ก เพาะกายก็ แปรรู ป มาจากพื ช ตะกู ล กล้ ว ย พอ เ ร า รู้ ว่ า ก ล้ ว ย มี คุ ณ ส ม บั ติ อ ย่ า ง ไ ร ก็ ไ ป ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร ป ลู ก ก ล้ ว ย พันธุ์นั้น กล้วย ตัวนีม้ คี ณ ุ สมบัติ อย่ า งไรเหมาะ กับการตลาด แบบ ไหนก็ ไ ปส่ ง เสริ ม การปลูก อย่างตำ�บล ของเรามีโรงงานผลิต กล้วยตาก ก็คือกล้วยมะลิอ่อง เราก็คัดสายพันธุ์ดีๆ แล้วนำ�ไป ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก อาชีพรองลงมาก็คือขายพันธุ์ครับ” สำ�หรับผลทางอ้อมของกล้วยน้ำ�ว้าสามารถต้านทานเพลี้ย ได้ เกษตรกรแห่งตำ�บลสมอแขจะนำ�กล้วยที่เหลือไปหมักเป็น น้ำ�หมักใช้ในไร่นา เป็นสารชีวภัณฑ์ทางการเกษตร “ในทางการเกษตรเขามองว่าการจะหาสารชีวภัณฑ์ ต้องดู คุณสมบัติของมัน อย่างโรคตายพราย ใบมันจะค่อยๆ เหลืองและ


30 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

ตายไป จะเป็นอย่างนี้ทุกครั้ง เขาเรียกว่าโรคตายพราย ถ้าเป็นคน จะเรียกตายท้องกลม โรคนีม้ เี ชือ้ ราชนิดหนึง่ ชือ่ Fusarium wilt แต่ เชือ้ ราตัวนีก้ ลับมีสว่ นสนับสนุนคือมันจะไปกัดกินเพลีย้ ได้ เขาก็ท�ำ น้ำ�หมักกล้วยแล้วฉีดป้องกันเพลี้ยในนา เพราะเจ้าเชื้อราตัวนี้เมื่อ ไปอยู่ในนามันไม่มีอาหารกินก็ไปกินเพลี้ยแทน นี่คือผลทางอ้อม” กล้วยในสายตาของไพโรจน์เป็นเรื่องเดียวกับเกษตรกรรม ยั่ ง ยื น เพราะ “มั น คื อ การอนุ รั ก ษ์ ส ายพั น ธุ์ ถ้ า เราศึ ก ษา ประวั ติ ศ าสตร์ ข องกล้ ว ย ในสมั ย มิ ช ชั น นารี เ ข้ า มาสำ � รวจ ประเทศไทย กล้วยทั้งหมดมี 300 กว่าสายพันธุ์ ตอนผมทำ� วิทยานิพนธ์เหลือ 254 สายพันธุ์ ตอนนีเ้ หลือ 180 กว่าสายพันธุ”์ “คุณอยูก่ บั กล้วยมาทัง้ ชีวติ เห็นด้วยหรือไม่กบั คำ�กล่าวทีว่ า่ ‘ง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปาก’?” “ถ้าพูดแบบนี้แสดงว่าเขาเคยกินแค่กล้วยไข่กับกล้วยน้ำ�ว้า จึงบอกว่าง่าย แต่ถ้าได้กินกล้วยกล้ายสิครับ ปอกเปลือกยาก มากครับ สับปะรดยังปอกง่ายกว่า แต่อย่าลืมนะครับว่าในสมัย พุทธกาลมีบันทึกถึงข้าวพันธุ์หนึ่ง หุงได้เม็ดละหม้อ กอละเกวียน แต่ความจริงแล้วมันคือกล้วยกล้ายชนิดหนึง่ ทีเ่ วลาเราจะทานต้อง ทำ�ให้สุก เช่น ต้ม ย่าง กล้วยยังเป็นอาหารสำ�คัญของชาวแอฟริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ไม่สามารถปลูกข้าวได้ ในแอฟริกาจะปลูกกล้วย ได้งา่ ย ซึง่ เขาจะนำ�มาทำ�แป้งกล้วย ทำ�อาหารหลายอย่าง คนแอฟริกนั กินกล้วยแทนข้าวเลยครับ หุงเหมือนข้าวแล้วขูดเนื้อใส่จาน” “คุณหลงใหลอะไรในกล้วย?” “เราทำ�เรือ่ งชมรมอนุรกั ษ์พนั ธุก์ ล้วย เพราะอยากให้เกิดการ


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 31

พึง่ พาตัวเอง ถ้าเกิดกรณีขา้ วมีปญ ั หา อย่างน้อยเรามีทางเลือกกิน กล้วยแทนได้ ทุกวันนี้บ้านเรากินกล้วยตากกล้วยปิ้ง เราไม่ได้กิน กล้วยไทยนะครับ กล้วยมาจากพม่า ลาว เพือ่ มาขายคนไทย คนไทย ไม่สามารถปลูกกล้วยได้เพียงพอ ต้องนำ�เข้า นีค่ อื ความมัน่ คงทาง อาหารเลยนะครับ กล้วยปลูกง่ายครับ ปลูกหัวไร่ปลายนาก็ได้ ฉะนั้นใน 1 งาน เราสามารถเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้มหาศาล”

-6เทคนิคขั้นสูงของเกษตรกรคือความซื่อสัตย์ “เกษตรกรที่ตำ�บลคอรุมกินดีอยู่ดีเลยครับ ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมาที่ชาวนาทำ�ข้าวเมล็ดพันธุ์กัน หลายคนในหมู่บ้านมีเงิน ฝากเป็นล้านเลย” สิริชัย เหรียญทองชัย ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวตำ �บลคอรุม อุตรดิตถ์ มองเห็นว่าศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนี้เป็นกลไกสำ�คัญที่จะนำ� ไปสูว่ ถิ เี กษตรกรรมยัง่ ยืน 1.สินค้ามีคณ ุ ภาพ 2.ราคาของผลผลิตสูง 3.มีตลาดรองรับ 4.เกษตรกรมีอำ�นาจต่อรอง “เรามีกฎเกณฑ์ ใครที่จะเข้ามาทำ�เมล็ดพันธุ์ข้าวกับเราหรือ ศูนย์ข้าวชุมชน ต้องทำ�เกษตรพอเพียง มีปลูกพืชสวนครัวรั้วกินได้ การตัง้ ศูนย์เมล็ดพันธุข์ า้ วเพือ่ ให้ชาวบ้านลดต้นทุนการผลิต ตัง้ แต่ การซือ้ เมล็ดพันธุ์ การใช้สารชีวภัณฑ์แทนสารเคมี เพราะในอนาคต เมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะมีการแข่งขันกับเพื่อนบ้าน


32 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

สูงมาก เพราะต้นทุนของเพื่อนบ้านต่ำ�กว่าเรามาก เขาไม่ค่อยได้ ใช้สารเคมี เพราะไม่มีเงินที่จะซื้อสารเคมี แต่เราเอาเงินไปซื้อสาร เคมี ทำ�ให้ต้นทุนการผลิตสูงมาก “ชาวบ้านหลายคนมุ่งเน้น ผลผลิตต่อไร่สูง แต่ไม่คิดเลยว่า ต้นทุนทีต่ ามมาจะสูงตาม ถ้าไม่มกี ารจำ�นำ�ข้าวหรือประกันราคา... ไปไม่รอด แต่ถ้าเราลดต้นทุนให้ต่ำ� ต้นทุน 3,000-4,000 บาท ต่อไร่ ได้ปริมาณข้าวไม่ถึงตันต่อไร่ อาจจะได้ไร่ละ 700-800 กิโลกรัม แต่กำ�ไรสูง เพราะต้นทุนต่ำ�” ทางเลือกทีป่ ลอดภัยของเกษตรกรคือทำ�ให้ตน้ ทุนต่�ำ ไว้กอ่ น ดัง่ เช่นแนวทางของศูนย์เมล็ดพันธุข์ า้ วตำ�บลคอรุม การรวมกลุม่ กัน ของเกษตรกรคอรุมทำ�ให้มีทางเลือกมากขึ้น นอกจากจัดตั้งกลุ่ม ผลิตสารชีวภัณฑ์ พวกเขายังสร้างโรงสีข้าวชุมชน สร้างรายได้ หมุนเวียนในกลุ่ม จัดตั้งกลุ่ม ผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด บริการรถ ดำ�นาในหมู่บ้านเพื่อแก้ปัญหาวัชพืชพร้อมกับรณรงค์ให้เกษตรกร ดำ�นา และจัดตั้งกลุ่ม ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อแก้ปัญหาข้าวดีด ข้าวเด้ง “ใครที่ทำ�ข้าวได้ 7,000-8,000 บาทแล้วไม่พอใจ อยากได้ มากกว่านัน้ ก็มารวมกลุม่ กับเรา แต่คณ ุ ต้องขยันนะ มาทำ�เมล็ดพันธุ์ กับเรา มารวมกลุ่มเราทำ�ข้าวเมล็ดพันธุ์ สมมุติได้โควตาเอกชน มา 700 ไร่ เราก็กระจายกันไป กลุ่มนี้ทำ�ของเอกชน กลุ่มนี้ทำ� ของซีพี กลุ่มนี้ทำ�ของศูนย์สุโขทัย แล้วแต่ความสมัครใจของเขา เราก็จ่ายงานไป แต่ถ้าคุณทำ�ไม่ผ่านคุณก็โดนตัดโควตานะ คนที่ รับงานจากศูนย์ไปต้องรักษามาตรฐานให้ผ่าน ไม่อย่างนั้นโควตา


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 33

เราลดลงเรื่อยๆ ก็เท่ากับตัดโอกาสคนอื่น ทำ�ให้เกษตรกรมีราย ได้ดีขึ้น” สิริชัยเล่า

นอกจากเกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ขายเองแล้ว พวกเขา ยังผลิตมล็ดพันธุ์ข้าวให้กรมการข้าว ศูนย์ข้าวสุโขทัย ศูนย์ข้าว พิษณุโลก ศูนย์ข้าวแพร่ รวมถึงบริษัทเอกชน 3-4 แห่ง ข้าวพันธุ์ ที่เกษตรคอรุมปลูกเป็นหลักคือ พิษณุโลก 2 กข.41 กข.47 และ


34 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

ข้าวหอมมะลิ 105 “ผมว่าจุดแข็งของกลุ่มคือความซื่อสัตย์ อย่างเอกชนหรือ ศูนย์พันธุ์ข้าวที่อื่นที่เขามาให้เราทำ� เขามองว่าเราสามารถทำ�ให้ เขาได้ เขาไปทำ�ที่อื่นมาหลายที่ซึ่งทำ�ให้เขาไม่ได้ตามเป้าหรือ ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน เขาปล่อยไป 100 เปอร์เซ็นต์ ได้กลับมา 20 เปอร์เซ็นต์เอง แต่มาที่นี่เขาได้ 90 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรที่นี่ มีความซื่อสัตย์”

-7อุทยานผักพื้นบ้าน ที่ตำ�บลบลสมอแข พิษณุโลก มีอุทยานผักพื้นบ้านตั้งอยู่ใน โรงเรียนวัดศรีวนาราม อุทยานผักพื้นบ้าน คือการรวมพืชพันธุ์ผัก โดยเฉพาะผักพื้นบ้านหลายๆ ชนิดปลูกรวมกัน “จะใช้ชอื่ สวนผักก็ได้เนาะ แต่เรียกให้เก๋กเ็ รียกว่าอุทยานผัก พืน้ บ้าน เราทำ�กันในโรงเรียนวัดศรีวนารามครับ ทีท่ �ำ ในนัน้ ก็เพราะ ว่า 1.โรงเรียนมีสถานที่ 2.ตั้งใจให้เป็นตัวอย่างกับเด็ก เพราะผัก พื้นบ้านเด็กไม่รู้จักแล้ว เหตุที่เด็กไม่รู้จัก ไปโทษเขาก็ไม่ได้ เพราะ ผูใ้ หญ่ไม่พาเขาทำ� ไม่มอี ะไรให้เขาเรียนรู้ เขาก็ไม่รู้ มีหลายอย่างที่ เขาเคยกินอยู่แล้ว แต่ไม่รู้ว่าเรียกว่าอะไร” ผักพื้นบ้านภายในอุทยานผักพื้นบ้านมีทั้งไม้ยืนต้น ไม้น้ำ� ไม้เลื้อย ไม้พุ่ม ส่วนใหญ่จะเน้นผักที่ปลูกแล้วกินได้นาน นี่คือการ


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 35

สร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่ชุมชน “เราพยายามจะหลีกเลี่ยงการปลูกผักคะน้าหรือผักตาม ฤดูกาลที่พอเก็บไปหมดแล้ว มันต้องปลูกใหม่ แต่ถ้าผักพวกนี้ ไม่ต้องปลูกใหม่ เช่น ฟักข้าว ถั่วพูล เวลาเราปลูกแล้ว พอมันมีฝัก มีอะไรแล้วมันจะยุบแห้งไป พอถูกฝนได้น้ำ�ใหม่ มันจะแตกขึ้นมา อีก ไม่ต้องไปปลูกใหม่ มันจะแตกใหม่เอง มีดอกมีฝักให้เราได้กิน พืชลักษณะอย่างนี้เราจะแสวงหามาปลูกให้เด็กได้เรียนรู้ ในขณะ เดียวกันก็เป็นตัวอย่างให้ชาวบ้านว่าเรามาปลูกผักแบบนีเ้ ถอะ เรา จะได้ไม่ต้องไปกินสารพิษในผักตามฤดูกาล” ตำ�บลสมอแขเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท มานะมองว่า ในชุมชนทีเ่ ป็นเมืองจะไม่คอ่ ยใส่ใจเรือ่ งการปลูกผักพืน้ บ้านเท่ากับ ชุมชนในส่วนที่เป็นชนบท “วิถีคนเมืองเนาะ ซื้อพริกมา 1 ถุง ใช้สัก 5-6 เม็ด ก็มัดถุง เข้าตูเ้ ย็น แล้วก็ลมื ไว้ ทิง้ ให้เน่าในตูเ้ ย็น แต่ถา้ เราปลูกพริก เวลาจะใช้ ก็เด็ดสัก 3-4 เม็ด มันก็สดด้วย ที่สำ�คัญคือไม่หายใจทิ้ง สามารถ ทำ�งานทำ�ประโยชน์ให้ตัวเองให้ครอบครัว เป็นตัวอย่างให้ลูก ให้เต้าได้เห็นสิ่งเหล่านี้” มานะ ภู่แส เคยรับราชการครู หลังจากลาออกก็ทำ�งาน สาธารณะ เคยเป็นสมาชิก อบต. เคยเป็นประธานสภา อบต. เคย เป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนตำ�บล แต่ขอลาออก สิ่งที่เขารัก คือเรื่องสิ่งแวดล้อม “เมื่ออายุมากแล้ว ผมก็เลยขอลาออก แต่ขอช่วยในสิ่งที่ ตัวเองชอบ ผมชอบทำ�เนาะ ชอบต้นไม้ชอบสิ่งแวดล้อม ก็เลยทำ�


36 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

เรื่องอุทยานผักพืชบ้าน เพราะนี่คือความมั่นคงด้านอาหาร” “ปีนี้คุณลุงอายุเท่าไรครับ?” “71 แล้วครับ มากนะ จวน 72 แล้ว” “ทุกวันนี้ตื่นเช้ามาทำ�อะไรบ้าง “ผมตืน่ ตี 4 กว่าๆ สิง่ ทีท่ �ำ เสมอคือเดินออกกำ�ลัง แต่เดีย๋ วนี้ เปลีย่ นใหม่มารดน้�ำ ต้นไม้ แล้วก็เดินเร็วๆ 1 ชัว่ โมงเหงือ่ ซึมเลยนะ ก็เหมือนผมได้ออกกำ�ลังกายด้วยได้งานด้วย” “อะไรคืออุปสรรคของวัยชรา?” “บางอย่างมันจะมาคิดได้ตอนอายุมากแล้ว ถ้าอยากจะ ลงมือทำ�อะไรสักอย่างมันจะมีค�ำ ถามว่าเราจะทำ�สำ�เร็จมัย้ เช่น ผม ต้องการปลูกต้นยางนา 10,000 ต้นในสมอแข ซึ่งผมไปประเมิน มาแล้วถึงพื้นที่ จำ�นวนต้นไม้ และระยะเวลาที่ต้องปลูกซึ่งต้อง ใช้เวลามากอยู่นะ ผมจะทำ�เสร็จมั้ยนี่ 10,000 ต้น ถ้าผมรู้ตัว ว่าอยากทำ�สิ่งเหล่านี้มาก่อนมันต้องสำ�เร็จแน่ ผมคิดว่าเวลาคือ อุปสรรคของวัยชรา”


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 37


38 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

บทที่ 2

พิท สต็อป จุด ‘พิท สต็อป’ ในการแข่งขันมอเตอร์คาร์ คือจุดที่รถบน สนามแข่งจะมาจอดเพื่อเติมเชื้อเพลิง เปลี่ยนยาง เปลี่ยน คนขับ ซ่อมแซมเครื่องยนต์ ก่อนที่จะกลับไปยังสนามแข่ง อีกครั้ง พิท สต็อป จึงเป็นเหมือนทีมสนับสนุนนักแข่งรถ เป็นลมใต้ปีกของนก องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ จะเป็นจุดพิท สต็อป ของคนใน ชุมชนได้หรือไม่ ไม่สำ�คัญ เพราะนี่คือการเปรียบเปรย หน้าที่หลัก ขององค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น คื อ การทำ � แผนพั ฒ นาเพื่ อ สนับสนุนให้ชีวิตของประชาชนสุขสบาย เข้าเส้นชัยได้ทุกคน ยาง ไม่ระเบิดระหว่างแข่งขัน


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 39

เกษตรกรในชุ ม ชนต่ า งๆ ย่ อ มมี ร สนิ ย มหรื อ เป้ า หมาย สอดคล้องกับวิถใี นระบบเกษตรกรรมยัง่ ยืน เช่นเกษตรกรทีก่ ล่าวถึง ในบททีแ่ ล้ว พวกเขามีองค์ความรูท้ สี่ บื ทอดมาจากคนรุน่ ก่อนและ องค์ความรูท้ เี่ ป็นวิทยาศาสตร์จากหน่วยงานภาครัฐ การได้รบั การ สนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมทำ�ให้ทิศทางของ เกษตรกรเหล่านี้มีความชัดเจนขึ้น หลายพื้ น ที่ ภ ายใต้ ก ารบริ ห ารขององค์ ก รปกครองส่ ว น ท้องถิ่นพยายามสนับสนุน ผลักดันกิจกรรมหรือนโยบายที่เอื้อให้ ประชาชนในพื้นที่สามารถดำ�เนินชีวิตด้วยระบบเกษตรกรรมแบบ ยั่งยืน โดยการให้ความสำ�คัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน เราจะ เห็นได้ว่าเกษตรกรหลายคนเป็น ผู้สะท้อนปัญหา เพราะเขาย่อม รู้จักปัญหาในไร่นาตัวเองดีที่สุด เกษตรกรย่อมมีบทบาทในการจัดทำ�แผนพัฒนาการเกษตร ของตนเอง และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นฐานสำ�คัญ ในการจัดการให้เส้นทางบนนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืนไม่ขรุขระ จนเกินไป ถามว่าอะไรคือเครื่องมือในการสนับสนุนให้เกิดระบบ เกษตรกรรมยั่งยืน การทำ�แผนเพื่อสนับสนุนเกษตรกรรมยั่งยืน... นัน่ ก็ใช่ การจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับความต้องการของ ประชาชนในชุมชน...นัน่ ก็ใช่ การสร้างเงือ่ นไข กฎกติกา หรือข้อตกลง ร่วมกันของคนในชุมชน...นั่นก็ใช่ นั่นคือบทบทหน้าที่ของฝ่ายบริหารชุมชน ในบทนี้เราจะมาดูว่าภายใต้รูปแบบชีวิตและวิถีการผลิต ของเกษตรกร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ใช้เครื่องมือทั้ง 3 ข้อ


40 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

อย่างไร เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางชีวิตของเกษตรกรในชุมชนเหล่า นี้ให้ยั่งยืน


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 41

-1เข้าสู่ฤดูผลัดใบ บริบทของตำ�บลหาดสองแคว อำ�เภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นพื้นที่ทำ�การเกษตรร้อยละ 90 ปัญหาและความต้องการของ เกษตรกรในตำ�บลหาดสองแควก็คือราคาของผลผลิต เปล่า... พวกเขาไม่ได้หวังรวยล้นฟ้าจากการทำ �เกษตร หากแต่ผลผลิต ของพวกเขาก็ควรได้หวนกลับมาเลี้ยงครอบครัวและค่าใช้จ่าย ที่จำ�เป็นสำ�หรับชีวิต “เกษตรกรเจอทางตัน ทางตันในที่นี้คือต้นทุนการผลิตของ เกษตรกรสูงมาก ค่าไถหว่านดำ� ค่าแรงแพงทุกอย่าง เมื่อผลผลิต ออกมาขายได้ราคาต่ำ �อีก ปรากฏว่าหักลบกลบหนี้เกษตรกร ไม่เหลืออะไรเลย นัน่ คือจุดหนึง่ ทีเ่ ราเห็นและเกษตรกรมาเล่าให้ฟงั ” ในฐานะผู้บริหารท้องถิ่น พงษ์เทพ ชัยอ่อน นายกองค์การ บริหารส่วนตำ�บลหาดสองแคว ได้ตั้งโต๊ะเชิญเกษตรกรมาพูดคุย ถึงปัญหา ในวงพูดคุยนัน้ พงษ์เทพให้ความสำ�คัญขององค์ความรูท้ ี่ จะเข้ามาแก้ปัญหา เขาจึงเชิญนักวิชาการเกษตรจากมหาวิทยาลัย ราชภัฏอุตรดิตถ์เข้าร่วมด้วย อบต.หาดสองแคว มองเห็นถึงปัญหานี้ และทำ� MOU กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ทำ�การเก็บข้อมูลเพื่อมองให้เห็น ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ โดยใช้กระบวนการการจัดกิจกรรมแบบมีสว่ นร่วม จากการเก็บข้อมูล พบปัญหาดินมีความเป็นกรดสูง มีสารตกค้าง ในดินมาก และมีการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูข้าว


42 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

อบต.หาดสองแคว ได้ ทำ � การแต่ ง ตั้ ง คณะทำ � งานการ ขับเคลื่อนงานระดับตำ�บล และมีการรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วม โครงการ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการในช่วงแรกๆ จะเป็นกลุ่มที่ประสบ ปัญหากับตนเอง เกิดโครงการ ‘ตำ�บลต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง’ ลดต้นทุนการผลิตโดยการใช้ปยุ๋ อินทรีย์ โครงการ ‘ทำ�นาไม่เผาฟาง’ โครงการ ‘100 ไร่ 100 ตัน’ และโครงการ ‘19 บาท ฉลาดกับ หอยเชอรี่’ “ในฐานะฝ่ายบริหารท้องถิน่ เราได้ให้ความสำ�คัญกับเรือ่ งนี้ อยู่แล้ว เราเริ่มจากเกษตรลดต้นทุน พอมันไปได้ดีผมก็อยากเห็น


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 43

เกษตรอินทรีย์ พี่สถิตย์ เม่นแต้ม เป็นเกษตรกรที่มีคุณภาพ เป็น แกนนำ�ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน ผมก็ขอร้องให้เขาช่วยหน่อยได้มั้ย ผมอยากเห็นเกษตรอินทรีย์” สถิตย์ เม่นแต้ม เป็น ผู้ขับเคลื่อนการทำ�งานร่วมกับคณะ ทำ�งานโครงการ โดยเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการปลูก ข้าว และชักชวนกลุม่ ผูส้ นใจ ‘หัวไวใจกล้า’ เข้ามาร่วมโครงการปลูก ข้าวอินทรีย์ การดำ�เนินงานในระยะแรกของกลุม่ ฯ เกิดขึน้ จากการ ขับเคลื่อนจากกลุ่มแกนนำ� อบต.หาดสองแคว และมหาวิทยาลัย ราชภัฏอุตรดิตถ์ ประสานความร่วมมือร่วมกัน มีการวางแผนการ ดำ�เนินงาน การจัดฝึกอบรมให้กับเกษตรกร ประสานหน่วยงาน อื่นๆ เข้ามาสนับสนุนโครงการ ภายหลังการจาการทำ�แปลง สาธิตการปลูกข้าวอินทรีย์ประสบความสำ�เร็จ สามารถลดต้นทุน การผลิตได้จริง ปลอดภัยจากสารเคมี และได้ผลผลิตปริมาณ เท่ากับการใช้สารเคมี จึงมีการขยายผลสูก่ ลุม่ สมาชิก และรับสมัคร สมาชิกเพิ่ม จากการที่ ก ลุ่ ม มี อ งค์ ค วามรู้ ใ นการปลู ก ข้ า วอิ น ทรี ย์ มี ปราชญ์ชาวบ้าน จึงมีการจัดทำ�เป็นศูนย์เรียนรู้ประจำ�ตำ�บลใน การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการปลูกข้าวอินทรีย์ และมีผู้มาศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นจำ�นวนมาก ทั้งในและนอกตำ�บล ในการดำ�เนินงานของแหล่งเรียนรู้ กลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ ได้ รั บ การสนั บ สนุ น จากหน่ ว ยงานต่ า งๆ เริ่ ม ตั้ ง แต่ ใ นการจั ด กระบวนการทำ�งาน การเก็บข้อมูลการทำ�วิจัย การจัดหาตลาด ในการรับซือ้ ผลผลิต การสนับสนุนงบประมาณ และยังช่วยในการ


44 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ทั้งในและนอกตำ�บล “ผมก็ทำ�ข้าวอินทรีย์ 5 ไร่ แต่ไม่ได้ขาย ผมก็สีแจกชาวบ้าน ในตำ�บลเพือ่ กระตุน้ ให้คนเห็นว่าข้าวอินทรียม์ ปี ระโยชน์ หลังจากที่ ข้าวหมดเขาถามนายกฯจะไปเอาที่ไหน ผมก็บอกว่าผมมีให้กิน แค่นี้ คุณต้องทำ�เอง” ปัจจุบัน อบต.หาดสองแคว ทำ�ข้อลงร่วมกับธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ผลิตข้าวพันธุ์ไรซ์เบอรี่ และปิ่นเกษตร โดย ธกส. เป็นผู้รับซื้อ “ในปีแรก ธกส. รับซื้อเกวียนละ 25,000 บาท ซึ่งทางกลุ่ม เกษตรกรทีร่ วมตัวกันทำ�จะขอหักเงิน 5,000 บาท เอามาไว้กองกลาง ของกลุ่ม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการกลุ่ม ฉะนั้น เกษตรกรจะมีความมั่นใจว่าเรามีกลุ่มที่ชัดเจน มีตลาดที่แน่นอน ในฤดูกาลถัดไปเราจะส่งเสริมข้าวอินทรีย์ปิ่นเกษตร ซึ่งผมมอง ในอนาคตว่านาปีเราทำ�ไรซ์เบอรี่ส่ง ธกส. นาปรังเราทำ�ปิ่นเกษตร มันก็มีตลาด โดย ธกส. จะจัดหาตลาด ผมก็ประชาสัมพันธ์ให้ เกษตรกรทีส่ นใจมาร่วมกับเรา ต่อไป อบต. จะเป็นเพียงผูป้ ระสาน งานและผู้ส่งเสริมในการทำ�ให้เขาเดินเองได้” ใช่ว่าจะมีแต่เกษตรกรกลุ่มนี้เท่านั้น ในชุมชนหาดสองแคว ยังมีเกษตรกรที่ผลิตข้าวจำ�หน่ายเพื่อใช้หนี้ ซึ่งพงษ์เทพบอกว่า ในฐานะผูบ้ ริหาร การจัดทำ�งบประมาณต้องครอบคลุมคนทุกกลุม่ “เกษตรกรที่ทำ�ข้าวเน้นการขายเพื่อยังชีพหรือเพื่อใช้หนี้ ธกส. กลุ่มนี้ผมก็ไม่ทิ้งเขา ผมก็ทำ�ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย ราชภัฏอุตรดิตถ์ ขอใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัย 10 ไร่ เพื่อทำ�


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 45

เมล็ ด พั น ธุ์ ข้ า วพิ ษ ณุ โ ลก 2 เกษตรกรจะได้ รั บ พั น ธุ์ ข้ า วแท้ ที่ ไม่ปลอมปน เราอยากให้เกษตรกรได้รับประโยชน์ตรงนี้ แล้วจะ ขยายผลต่อไปว่าถ้าเกษตรกรมีเมล็ดพันธุห์ ลักแล้วเขาสามารถนำ� เมล็ดพันธุ์ไปทำ�เมล็ดพันธุ์ขยายได้อีก เราทำ�ธนาคารพันธุ์ข้าวให้ ชุมชน นี่คือแนวทางของเราที่จะส่งเสริมในอนาคต และปัจจุบัน ก็ทำ�อยู่” “คุณเป็นนายกฯมากี่ปีแล้ว?” “ผมทำ�งานการเมืองมาตัง้ แต่ปี 2539-2542 ผมเป็นสมาชิก อบต. หลังปี 2543 ถึงปัจจุบนั ก็เป็นฝ่ายบริหารมาตลอด ผมก็เห็น ความเป็นไปของการเกษตรที่หาดสองแควมาโดยตลอด ผมเป็น ลูกชาวนา ผมทำ�นาเอง ทำ�ได้ทุกอย่าง ผมผ่านชีวิตการเป็น เกษตรกร ครอบครัวเราเป็นชาวนา” “วงจรอุบาทว์ทคี่ รอบชีวติ เกษตรกรไทยมาตลอด คุณมองว่า มันจะหายไปจากวงจรชีวิตชาวนาได้อย่างไร?” “ทุกวันนีเ้ กษตรกรทีม่ คี วามเชือ่ เก่าๆ เริม่ หมดไปจากชุมชน ของเรา จะมีเกษตรกรที่มีความคิดใหม่ที่เราคุยกันรู้เรื่อง เราใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นล้วนๆ ในการแก้ปัญหา นี่คือสิ่งที่เราใส่เข้าไป เมื่อคนรุ่นเก่าหมดไป ชาวนารุ่นใหม่จะฉลาดขึ้น ในอนาคตถ้า คนในชุมชนของเราเข้าใจวิธกี ารลดต้นทุน ทำ�เกษตรพึง่ ตนเองแบบ ครบวงจร ต้นทุนเขาก็ต่ำ�ลง เขาจะไม่จน ไม่ต้องเป็นหนี้”


46 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

-2เพียงหวังเล็กๆ, ยืนต้นแล้วไม่ตาย นอกจากทำ � การเกษตรและปศุ สั ต ว์ เกษตรกรที่ ตำ � บล คลองน้�ำ ไหล จังหวัดกำ�แพงเพชร ยังผลิตพลังงานไว้ใช้เองในระดับ เข้มข้นอีกด้วย บริบทด้านพลังงานในตำ�บลคลองน้ำ�ไหลถือว่า เข้มแข็ง ตำ�บลคลองน้�ำ ไหลมีระบบพลังงานทดแทนทัง้ หมด 6 ชนิด คือ เตาแกลบชีวมวล เตาย่างไร้ควัน เตาเศรษฐกิจ เตาซูเปอร์องั้ โล่ เตาถ่าน 200 ลิตร และบ่อหมักแก๊สจากมูลสัตว์ การผลิตพลังงาน ไว้ใช้ในครัวเรือนของคนคลองน้�ำ ไหลยังเอือ้ ต่อการผลิตพืชผลทาง เกษตรกรรมด้วย “เนือ่ งจากพีน่ อ้ งประชาชนหลายกลุม่ หลายหมูบ่ า้ นมีความคิด ว่า ทำ�อย่างไรที่จะใช้วัตถุดิบหรือสิ่งของใกล้ตัวในชุมชนมาทำ�ให้ เกิดประโยชน์ ทุกคนต่างมีแนวคิดลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ แนวคิด ที่จะแก้ปัญหาชุมชนด้วยตนเอง กลิ่นมูลสัตว์ในชุมชนสร้างความ รบกวนมานาน ทำ�อย่างไรจึงนำ�ไปใช้ประโยชน์ ส่วนหนึ่งชาวบ้าน นำ�ไปทำ�ปุ๋ย อีกส่วนนำ�ไปทำ�พลังงานก๊าซชีวภาพ คลองน้ำ�ไหล ให้ความสนใจการทำ�ก๊าซชีวภาพกันมาก เราในฐานะผูบ้ ริหารท้องถิน่ เห็นความสอดคล้องของสองสิ่งนี้ จึงขับเคลื่อนไปด้วยกัน เพราะ การผลิตพลังงานทดแทนช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือนเกษตรกร” ประพจน์ เพียรพิทักษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำ�บล คลองน้�ำ ไหล มองว่าเกษตรกรคลองน้�ำ ไหลต่างดำ�เนินวิถกี ารผลิต ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนกันอยู่แล้ว เกษตรกรรมแบบยั่งยืนคือ


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 47

วิถชี วี ติ คนคลองน้�ำ ไหล เมือ่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ สนับสนุน องค์ ค วามรู้ เ รื่ อ งพลั ง งานทดแทนเพื่ อ ให้ ช าวบ้ า นสามารถลด รายจ่ายในครัวเรือนและพึง่ พาตนเองเรือ่ งพลังงาน ทัง้ ยังสอดคล้อง กับการลดต้นทุนทางการเกษตรด้วย จากการเล็งเห็นจุดแข็งตรงนี้ ผู้บริหารท้องถิ่นจึงพยายาม สนั บ สนุ น รู ป แบบการดำ � เนิ น ชี วิ ต ที่ ส ามารถพึ่ ง พาตั ว เองได้ ให้เกิดการแพร่หลายกระจายไปทั่วชุมชน โดยการให้งบประมาณ สนั บ สนุ น เฟ้ น หาครอบครั ว ตั ว อย่ า งที่ ดำ � เนิ น ชี วิ ต ด้ ว ยวิ ถี เกษตรกรรมยั่งยืนเป็นตัวอย่างสำ�หรับชาวบ้านคนอื่นๆ ในการ ศึกษาเรียนรู้และนำ�มาปรับใช้กับชีวิตของแต่ละคน จึงเกิดเป็น โครงการ ‘1 ไร่ 1 ครอบครัวมีสุข’


48 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

“เมื่อชาวบ้านต่างก็ทำ�กันอยู่แล้ว แต่อาจยังไม่เห็นรูปธรรม ชัด ยังขาดเทคนิคหรือความรู้ อบต.คลองน้�ำ ไหลจึงหนุนเสริมเรือ่ ง ที่เขาทำ�กันอยู่แล้วนี่แหละ เปิดโอกาสให้คนที่สนใจปลูกผักปลอด สารพิษเข้าโครงการ 1 ไร่ 1 ครอบครัวมีสขุ แต่มขี อ้ แม้วา่ ครอบครัว ของคุณต้องมีการจัดการด้านเศรษฐกิจแบบพอเพียง ใช้เทคนิคการ ทำ�เกษตรทฤษฎีใหม่” เงือ่ นไขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ต่อชาวคลองน้�ำ ไหล ก็คือ ครอบครัวไหนมีที่ดินและอยากเนรมิตที่ดินของตัวเองโดย ทำ�เกษตรผสมผสาน จะได้รับทุนสนับสนุนจาก อบต. ในการ จัดหาพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และการดำ�เนินการในไร่ตัวเอง เมื่อสิ้นปี จะมีการตรวจสอบเยี่ยมชมผลลัพธ์ในไร่นาของครอบครัวที่ร่วม โครงการ “ในพื้นที่ 1 ไร่ เราอยากทำ�ให้ชาวบ้านเห็นว่ามันไม่ต้องใช้ เงินอะไรมากมาย บางคนต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาทำ�เกษตร แต่วันนี้ หลายครอบครัวได้ทำ�ให้เห็นว่าในวงเงินเพียง 50,000 บาท ก็ สามารถต่อยอดและสร้างความมั่นคงในชีวิตได้ “ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในการทำ�เกษตรทุกวันนี้ แค่คดิ คุณก็ตดิ หนี้แล้ว ไปกู้ ธกส. กู้นายทุน มันเหมือนจะคิดทำ�ให้รวยเลย แต่ จริงๆ มันไม่ใช่ กระบวนการอย่างนัน้ มันต้องเสียค่าใช้จา่ ยสูง แต่ถา้ คุณทำ�ใน 1 ไร่ รายจ่ายมันไม่มี และเรายังต่อยอดไปถึงการขุดสระ ขนาดเล็ก เรามีนโยบายขุดสระเกือบ 100 ครัวเรือน ขุดสระเลี้ยง ปลา รอบสระก็ปลูกผัก ใครสนใจเข้าโครงการก็มาเป็นเครือข่ายได้” ระบบเกษตรกรรมยั่ ง ยื น ในสายตาของประพจน์ ต้ อ งมี


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 49

องค์ประกอบหลายอย่าง มีการเชื่อมโยงกับมิติอื่นๆ วิถีชีวิตของ เกษตรกรคลองน้ำ�ไหล ทำ�ให้เขามองเห็นความเชื่อมโยงของเรื่อง พลังงาน การเกษตร และปศุสัตว์ การหมุนเวียนใช้ทรัพยากร ใน 3 กิจกรรมนี้ ทำ�ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำ�บลคลองน้�ำ ไหล ผู้นี้เน้นการส่งเสริมกิจกรรมที่มีความยั่งยืนในระยะยาวมากกว่า ความวูบวาบฉาบฉวยของราคาผลผลิตในระบบตลาดกระแสหลัก “คนคลองน้ำ�ไหลทำ�เรื่องเกษตรกรรมยั่งยืนกันอยู่แล้ว เขา ทำ�กันอยู่แล้วครับ สำ�หรับอนาคตของคลองน้ำ�ไหล ผมมองไปถึง เกษตรกรที่ยากจน พวกเขามีที่ทำ�กินไม่มาก เราก็มองว่าในพื้นที่ อันน้อยนิดของพวกเขาสามารถสร้างความยั่งยืนให้ชีวิตพวกเขา ได้ ทำ�อย่างไรให้ที่ดินเพียงแค่นั้นเกิดมูลค่าหรือเกิดประโยชน์มาก ที่สุด ผมเชื่อว่ารูปธรรมที่เกิดจากโครงการ 1 ไร่ 1 ครอบครัวมี สุข สามารถเป็นต้นแบบที่ดีให้กับพี่น้องเกษตรกร ไม่จำ�เป็นต้อง ทำ�ตามครอบครัวต้นแบบที่เขาทำ�กันมาก็ได้ เขาอาจนำ�ไปปรับ ประยุกต์ตามความต้องการของเขา ซึ่งจะนำ�เขาไปสู่เป้าหมาย เดียวกันคือความยั่งยืนของชีวิต”

-3หอมเงินล้าน เกษตรกรทีต่ �ำ บลดงมูลเหล็ก จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ชอื่ ว่าเป็น หมูบ่ า้ น ‘ต้นหอมเงินล้าน’ เพราะดงมูลเหล็กเป็นแหล่งปลูกต้นหอม


50 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

ที่ สำ � คั ญ แห่ ง หนึ่ ง ไฉน ก้ อ นทอง ยอมรั บว่ า ต้ น หอมเป็ น พื ช เศรษฐกิจของเกษตรกรดงมูลเหล็กก็จริง แต่สารเคมียังคงจำ�เป็น ในการผลิต ซึ่งในอนาคตเขาอยากสนับสนุนสร้างแรงจูงใจให้มี สินค้าออร์แกนิกทางการเกษตรจากดงมูลเหล็ก ฐานคิดของนายกองค์การบริหารส่วนตำ�บลดงมูลเหล็กผู้นี้ ตั้งอยู่บนความอยากเห็นสุขภาพที่ดีของประชาชนชาวดงมูลเหล็ก และสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค “ก่อนจะมาถึงเกษตรกรรมยั่งยืน ผมตั้งธงไว้ในการเป็น ผู้บริหารว่า อยากให้พี่น้องอยู่ดีมีสุข ถ้าพูดแบบวิชาการคือ สร้าง สุขภาวะที่ดีต่อคนทั้งตำ�บล แนวคิดที่เราจะทำ�ก็ประกอบด้วย 4 มิ ติ กาย จิ ต สั ง คม และภู มิ ปั ญ ญา มั น ต้ อ ง ไปพร้ อ มๆ กั น ผมจะ มี ก ารประชุ ม บู ร ณาการ ทุกเดือน” นั่ น คื อ ที่ ม า ข อ ง ‘ธรรมนูญสุขภาพ’ ที่เกิด จากความต้ อ งการของ ประชาชน และสอดคล้อง กับแนวคิดของไฉน “ เ ห ตุ ผ ล ใ น ก า ร จั ด ทำ � ธรรมนู ญ ว่ า ด้ ว ย สุขภาพของตำ�บลเรานั้น


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 51

มี ที่ ม าจากปั ญ หาด้ า นสุ ข ภาพโดยรวมของชาวบ้ า นในระดั บ ที่ น่าเป็นห่วง และได้ส่งผลถึงสุขภาวะของชุมชน ตอนนั้นราวปี 2545 ในการประชุมบูรณาการเรามีผลสรุปร่วมกันทัง้ ชุมชนว่า จะ ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของตำ�บลให้ครบทุกมิติ คือ ร่างกาย จิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา “ระหว่ า งนั้ น อบต.เราได้ พั ฒนาหลายๆ ด้ า นเรื่ อ ยมา จนถึงปี 2553 หลังจากที่ได้ลงไปดูงานที่ตำ�บลปากพูน จังหวัด นครศรีธรรมราช พอกลับมาชุมชนก็เกิดแนวคิดที่อยากเริ่มทำ � ธรรมนูญสุขภาพ ควบคู่ไปกับการทำ�ตำ�บลสุขภาวะ จนวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 เราถึงได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพ อย่างเป็นทางการ” หากพูดด้วยสำ�นวนของนักเลงลูกทุ่ง ไฉนมองว่าระบบ การเกษตรยัง่ ยืนนัน้ เกษตรกรส่วนหนึง่ ในดงมูลเหล็กทำ�กันอยูแ่ ล้ว แต่ “เงินเป็นหัวเชื้อที่สำ�คัญ เกษตรกรรมเป็นรากฐานของชีวิต คนดงมูลเหล็กอยู่แล้ว คำ�ถามก็คือทำ�อย่างไรให้ยั่งยืน” เกษตรกรต่างก็รู้ว่าการผลิตในระบบเกษตรกรรมยั่ง ยืน นั้นใช้เวลานาน นานกว่าการหว่านปุ๋ยเคมีพ่นยาฆ่าแมลง นายก องค์การบริหารส่วนตำ�บลดงมูลเหล็กผูน้ จี้ งึ มองว่าองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นต้องสร้างหลักประกันให้เกษตรกรที่ต้องการผลิตใน รูปแบบปลอดสาร โดยการจัดงบประมาณสำ�หรับสร้างหลักประกัน ให้สนิ ค้าปลอดสาร...หากขายไม่ได้ ไฉนบอกว่า อบต. จะเป็นผูร้ บั ซือ้ สินค้าปลอดสารเหล่านัน้ เอง รวมถึงจัดหาตลาดรองรับให้เกษตรกร ปลูกผักปลอดสาร


52 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

“สิง่ หนึง่ ทีเ่ ป็นปัญหาในการเกษตรกรรมยัง่ ยืนคือเวลา มันใช้ เวลานาน การที่เขาใช้สารเคมีมันใช้เวลาเร็ว เมื่อไม่มีใครมั่นใจว่า ผลผลิตจะขายคล่องหรือไม่ เราจึงต้องสร้างหลักประกันให้ ท้องถิน่ ก็ตั้งงบประมาณ เราให้หลักประกันว่าถ้าขายไม่ได้เดี๋ยวท้องถิ่น จะซื้อเอง” นอกจากการให้ ห ลั ก ประกั น แก่ เ กษตรกร สร้ า งกลไก การประกันราคาในพืช ผลบางชนิดที่ปลูกแบบปลอดสาร เช่น หน่อไม้ฝรัง่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ยังเปิดพืน้ ทีท่ างการตลาด ให้เกษตรกรปลอดสารด้วย “เราจัดตั้งเป็นตลาดสีเขียวโดยขอใช้พื้นที่ตลาดชุมชนที่มี อยู่แล้ว จัดเป็นโซนตลาดสีเขียวสำ�หรับผักปลอดสาร ช่วงแรก ชาวบ้านก็ไม่มนั่ ใจ ก็มาขายแค่เจ้าสองเจ้า เราให้หลักประกันว่าถ้า ขายไม่ได้เดีย๋ วท้องถิน่ จะซือ้ เอง แต่ตอนนีเ้ กษตรกรทีป่ ลูกหน่อไม้ฝรัง่ สามารถหาตลาดได้แล้ว มีพ่อค้ามารับไปส่งถึงญี่ปุ่น” อย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้น ตำ�บลดงมูลเหล็กปลูกพืชเศรษฐกิจ อย่างต้นหอม หน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งดำ�เนินการผลิตแบบเน้นการขาย แต่โจทย์ในหัวใจของนายกองค์การบริหารส่วนตำ�บลดงมูลเหล็ก ยังไม่ได้รับการแก้ โจทย์ที่ว่านั้นถูกบัญญัติไว้ในธรรมนูญสุขภาพ สิ่งนั้นคือการปรับวิถีผลิตโดยลดการใช้สารเคมี “พอระบบน้ำ�เริ่มดีขึ้น น้ำ�ไม่ท่วมไม่ขัง เราก็ส่งเสริมพืช หมุนเวียน จนเป็นที่โจษขานว่าเราเป็นตำ�บลหอมเงินล้าน เพราะ เราปลูกต้นหอม จากนัน้ การปลูกพืชก็เริม่ หลากหลายขึน้ ณ เวลานี้ ผักทีเ่ ราปลูกในดงมูลเหล็กนอกจากบริโภคเองแล้วเรายังส่งขาย ผัก


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 53

มันก็หลากหลาย ล้วนแล้วแต่ใช้สารเคมีทั้งนั้นเพื่อให้มีรายได้ ทีนี้ หลังเราทำ�ธรรมนูญตำ�บล เราก็เริ่มเน้นผักปลอดสาร ผักที่กินเอง ในครัวเรือน จากนั้นเราก็ส่งเสริมให้ปลูกผักเศรษฐกิจปลอดสาร ด้วย เช่น หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือ” เป้าหมายของไฉนคือการเปิดพื้นที่ตลาดสีเขียวโดยเฉพาะ พืชเศรษฐกิจสีเขียว เช่น ต้นหอมปลอดสาร หน่อไม้ฝรั่งปลอดสาร “เราอยากจะมุง่ ทีต่ ลาดสีเขียว ถ้าใครปลูกผักปลอดสาร ท้องถิน่ จะประกั น ราคาให้ เรามี ต ลาดให้ แ น่ น อน ราคาท้ อ งตลาด สำ�หรับหน่อไม้ฝรั่งที่ใช้สารเคมีก็ราคาหนึ่ง แต่ถ้าเป็นหน่อไม้ฝรั่ง ปลอดสารเราอัพราคาขึน้ ไปอีกเกือบเท่าตัว คุม้ กับการรอคอย ตอนนี้ ผู้บริโภคสนใจอาหารเพื่อสุขภาพกันมาก” งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำ�บลดงมูลเหล็กหรือ สิ่งที่เรียกว่าหัวเชื้อของไฉนเป็นเครื่องมือสำ�คัญในการขับเคลื่อน วิถีเกษตรกรรมยั่งยืน คำ�ถามที่ตามมาก็คือ ใครสมควรได้รับการ สนับสนุนโดยงบประมาณเหล่านี้ “เรามีเงินทุนหมุนเวียน ซึง่ เป็นเงินทุนหมุนเวียนจากนโยบาย รัฐบาลที่ให้หมู่บ้านละ 100,000 ก็เหมือนกองทุนหมู่บ้าน แต่เขา ไม่ได้ให้กู้ เขาให้กลุ่มคนหรือหมู่บ้านที่อยากทำ�กิน ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มเกษตร กลุ่มอาหาร ทำ�เค้ก ทำ�พาย “เราไม่ได้เอาเงินเป็นตัวตั้ง ถ้าจะมาเอาเงินจากท้องถิ่น ผมมีกฎกติกาง่ายๆ ว่า คุณต้องเริ่มต้นก่อน ตนเป็นที่พึ่งของตน ก่อน ทำ�ให้เห็นความตั้งใจของคุณก่อน ล่าสุดผมเพิ่งอนุมัติเงินไป 60,000 บาทให้กลุม่ เกษตรกรทีอ่ ยากจะทำ�ปุย๋ อัดเม็ด เขาอยากได้


54 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

ชุดตรวจวัดคุณภาพดิน ผมมองว่าพวกเขาต้องการพัฒนาผลผลิต ของเขาแบบยัง่ ยืน นีค่ อื ตัวอย่างทีเ่ ขาดิน้ กันเอง แล้วเราก็สนับสนุน งบประมาณให้ เขารวมกลุ่มกันมา สิ่งหนึ่งที่เราบอกก็คืออย่า ปิดบ้านทำ�คนเดียว แต่คุณต้องแบ่งความรู้ให้คนอื่นด้วย”

-4เกษตรกรรมสั่งสมในสายเลือด ที่ ตำ � บลอุ ทั ย เก่ า จั ง หวั ด อุ ทั ย ธานี เราไม่ ส ามารถแยก เกษตรกรออกจากนายกองค์การบริหารส่วนตำ�บลอุทัยเก่าได้ ธาดา อำ�พิน เป็นทัง้ เกษตรกรและนายกองค์การบริหารส่วนตำ�บล “เริ่มแรก เราต้องทำ�เป็นตัวอย่างให้ชาวบ้านทำ�ตาม คนที่นี่ จะเชือ่ ผูน้ �ำ แทนทีจ่ ะใช้สารไล่แมลง ก็หนั มาดูเรือ่ งพันธุข์ า้ ว ศึกษา พันธุ์ข้าวที่มีภูมิต้านทานเพลี้ยกระโดด ก็หาพันธุ์นั้นมาลง” ในปีทตี่ วั เลขต้นทุนการผลิตของชุมชนตำ�บลอุทยั เก่าสูงเป็น ประวัติการณ์นั้นอยู่ที่ 170 ล้านบาท สิ่งที่ธาดาทำ�ก็คือการนำ� ตัวเลขต้นทุนไปขูเ่ กษตรกร นีค่ อื การรุกในเรือ่ งของต้นทุนการผลิต ขณะเดียวกันก็มีการตรวจสุขภาพของเกษตรกร...อย่างที่คาดเดา ได้ ธาดาพบสารพิษสะสมในเลือดของเกษตรกรในระดับน่าเป็น ห่วง และการจัดทำ�ระบบบัญชีครัวเรือนก็เอื้อประโยชน์ให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นมองเห็นหน้าเห็นหลังของปัญหาเกษตรกร ชาวอุทัยเก่า


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 55

3 สิ่งที่กล่าวมานั้น ธาดานำ�ไปขู่เกษตรกรถึงบ้าน “เราไปพูดปากเปล่าเขาไม่เชือ่ หรอก เขาก็ยงั คงทำ�เหมือนเดิม เราทำ�ข้อมูล บัญชีครัวเรือน นำ�ข้อมูลด้านสุขภาพ ตัวเลขการลงทุน ทีส่ งู จนน่าใจหาย ไปให้เกษตรกรดู จุดมุง่ หมายของเราคือต้องการ ให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต” การส่งเสริมโครงการ ‘1 ไร่ 1 แสน’ มาจากข้อมูลบัญชีครัวเรือน ว่าตำ�บลอุทยั เก่าซือ้ ข้าวปีละ 400,000 บาท ทัง้ ทีม่ เี กษตรกรปลูกข้าว กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ในชุมชน แต่ยังต้องซื้อข้าวกิน “เราเริ่มผลิตพันธุ์ข้าวในตำ�บล ตำ�บลเราชอบกินข้าวพันธุ์ อะไร เราเริม่ จากตรงนี้ เราก็สง่ เสริมปลูกพันธุน์ นั้ โดยไม่ใช้สารเคมี”


56 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

การทำ � งานด้ ว ยนโยบายเชิ ง รุ ก ของธาดา เขามองไปที่ เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจพบสารพิษในร่างกายกว่า 800 ราย โดยใส่งบประมาณเพื่อทำ�โครงการ ‘ตู้เย็นข้างบ้าน’ ‘ตูเ้ ย็นข้างบ้าน’ เป็นกลอุบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ซึ่ ง มี แ นวคิ ด จากข้ อ มู ล ความเจ็ บ ป่ ว ยของเกษตรกรกลุ่ ม เสี่ ย ง 800 ราย และ 14 รายที่เลือดดำ� ธาดาเริ่มบทบาทเชิงรุกไปยัง เกษตรกรกลุ่มนี้ “ผมให้กลุม่ เป้าหมายของผมไปเตรียมทีด่ นิ กว้างสัก 2 เมตร ยาว 3 เมตร ให้เขาขุดหลุมลึก 50 เซนติเมตร และปักหลักไว้ 4 หลัก อบต. ปลูกผักในกระสอบ 20 ชนิด เมื่อผักมันสูงสักคืบหนึ่ง เราก็เอาไปให้ครัวเรือนเป้าหมาย ครัวเรือนละ 20 กระสอบ “เราเคยแจกเมล็ดพันธุ์ แต่ชาวบ้านไม่ได้เอาไปปลูก เอาไป เหน็บหลังคาบ้าน เราก็เลยทำ�เชิงรุก ถ้าเราจะรักษาโรคให้ชาวบ้าน เราต้องรุกถึงบ้าน หลัก 4 หลักทีเ่ ราให้ชาวบ้านปักไว้ เรานำ�ตาข่าย ไปขึงให้ นำ�กระสอบผักไปเรียง ผักจะไต่ขนึ้ ตาข่าย ส่วนในบ่อทีเ่ รา ให้เขาขุดไว้ลกึ 50 เซนติเมตร เราเอาพลาสติกไปปู เอาพันธุป์ ลาดุก ให้ 200 ตัวไปเลี้ยง ให้พวกสารไล่แมลงไป ให้ฮอร์โมนไป เราเริ่ม จากตรงนี้ โดยไปทำ�ให้เขาถึงบ้าน เพื่อให้เขาได้กินผักปลอดภัย นี่ คือตู้เย็นข้างบ้าน ปรากฏว่าผักก็เหลือกิน เขาก็เอาไปขาย ตอนนี้ เขาทำ�กันเองแล้ว” ในปีงบประมาณ 2557 ธาดาเปรยว่าได้ทำ�โครงการ ‘บ้าน รัว้ สวย’ โดยให้บา้ นทีอ่ ยูต่ ดิ ถนนทำ�รัว้ ไว้ องค์การปกครองส่วนท้องถิน่ จะนำ � ผั ก ไปเติ ม รั้ ว บ้ า น ครั ว เรื อ นไหนมี บ่ อ น้ำ � ในบ้ า นองค์ ก ร


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 57

ปกครองส่วนท้องถิน่ จะนำ�กบกระชังไปให้ ครัวเรือนไหนมีแปลงนา ใกล้บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะนำ�กบนำ�ปลาดุกไปให้ “ในการบริหารท้องถิ่นด้านการเกษตร คุณเน้นเรื่องอาหาร เป็นหลัก?” “เราไม่ได้มองเงินเป็นตัวตัง้ การพึง่ พาตัวเองให้มากทีส่ ดุ เป็น เป้าหมายสำ�คัญของชีวติ เราอยูก่ บั ไร่ของเรา ในไร่ของเรามีพชื กินได้ ตามหัวไร่ปลายนา คำ�ว่าเกษตรกรรมยั่งยืนมันครอบคลุมทั้งตัว ผลิตภัณฑ์ มูลค่าเพิ่มของสินค้า ความปลอดภัย เราเริ่มต้นจาก สิง่ แวดล้อมในชุมชน สุดท้ายมันก็ยอ้ นกลับมาส่งผลดีเรือ่ งสุขภาพ ของคน ไม่ว่าจะเป็นคนปลูกหรือคนกินก็ตาม”


58 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

บทที่ 3

กลางทาง ‘หนี้สิน’ เป็นโรคเรื้อรังของเกษตรกรไทย หนี้สินไม่อนุญาต ให้เกษตรกรหลุดพ้นไปจากวงจรเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวและ การใช้สารเคมีทางการเกษตร คำ�ถามก็คือ หากเกษตรกร รายหนึ่งอยากเดินออกมาจากวงจรเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว สู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เขาต้องทำ�อย่างไร คำ�ตอบย่อมมีมากกว่าหนึ่งข้อ และล้วนเป็นคำ�ตอบที่เกิด ขึ้นแล้วในชุมชนหลายแห่งทั่วประเทศ การจะเปลี่ยนแปลงระบบ การผลิตย่อมส่งผลต่อผลิตผลของเกษตรกร เกษตรกรทีเ่ ปลีย่ นมา ผลิตในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนอาจพบเจอปัญหาผลผลิตลดลง ในช่วงเริม่ ต้น ปัญหาความสมบูรณ์ของผลผลิต รวมถึงช่องทางการ


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 59

ตลาดและกลไกราคา การก่อตั้ง ‘กองทุนเพื่อเกษตรกรรมยั่งยืน’ เป็นอีกช่องทาง หนึ่ ง ในการช่ ว ยเหลื อ เกษตรกรที่ กำ � ลั ง อยู่ ใ นก้ า วแรกของการ เปลีย่ นแปลง นอกจากกองทุนเพือ่ เกษตรกรรมยัง่ ยืนจะเป็นแหล่ง ทุนหมุนเวียนสำ�หรับการลงทุนทางการเกษตรแล้ว แนวคิดของ การสร้างกองทุนเพื่อเกษตรกรรมยั่งยืนยังหมายรวมถึงความรู้ ภูมปิ ญ ั ญา ประสบการณ์ ทีไ่ หลเวียนแลกเปลีย่ นกันระหว่างสมาชิก เกษตรกรในกองทุน ชุมชนเกือบทุกชุมชนในประเทศไทยล้วนแต่มีกองทุน แต่ ลักษณะของกองทุนเพือ่ เกษตรกรรมนีเ้ ป็นแนวคิดทีเ่ กิดขึน้ มาเพือ่ ส่งเสริมการทำ�เกษตรกรรมแบบยัง่ ยืน ลักษณะทีเ่ กิดขึน้ ของกองทุน แต่ละแห่งในประเทศไทย แบ่งออกอย่างง่ายๆ 2 แบบ 1.กองทุน เพื่อเกษตรกรรมยั่งยืนโดยเฉพาะ เราจะพบว่ากองทุนปุ๋ยอินทรีย์ กองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่มีอยู่ตามชุมชนต่างๆ จัดอยู่ในลักษณะนี้ 2.กองทุ น อี ก ลั ก ษณะก็ คื อ กองทุ น ที่ เ พิ่ ม เงื่ อ นไขเพื่ อ สนับสนุนระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าทุก หมู่บ้านในประเทศไทยล้วนแต่มีกองทุนในหมู่บ้านในชุมชน เช่น กองทุนเงินล้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนสัจจะวันละ บาท การเพิม่ เงือ่ นไขการกูย้ มื สำ�หรับการผลิตในระบบเกษตรกรรม ยั่งยืนที่ใส่เข้าไปในกองทุนเหล่านี้โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือเครื่องมือที่จะช่วยส่งเสริม กระตุ้นให้เกษตรกรมีแรงจูงใจ และ มีความสะดวกในการก้าวจากเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวสู่เกษตรกรรม ยั่งยืน


60 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

-1ชาวนากลับบ้าน ใช่วา่ จูๆ ่ เกษตรกรแห่งตำ�บลนาบัว จังหวัดพิษณุโลก จะลุกขึน้ มารวมตัวกันเป็น ‘กลุ่มกองทุนผู้ทำ�ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดบ้านนาบัว’ แต่มีรายละเอียดที่ค่อยๆ หลอมรวมให้พวกเขามีความคิดที่จะ เปลี่ยนแปลงชีวิตด้วยการลดใช้สารเคมี ลดต้นทุนการผลิต หาก ถามว่ารายละเอียดทีว่ า่ นัน้ คืออะไร การหายไปของคุณค่าของชีวติ เกษตรกรไทยอาจเป็นคำ�ตอบ สวัสดิ์ ทองปลด เป็นเกษตรกร ชีวิตในวัยหนุ่มของเขามี เรื่องราวเหมือนกับบทชีวิตของคนหนุ่มคนสาวส่วนใหญ่ในชนบท ไทย ภาระหนีส้ นิ จากการเกษตรของครอบครัวผลักให้เข้าไปทำ�งาน ในเมืองใหญ่ ‘บ้างก็ไปได้สวย บ้างก็ไปได้เสีย’ อย่างที่น้าแอ๊ด คา ราบาว เคยร้องไว้ในเพลงมหา’ลัย “ผมรู้สึกว่าช่วงเวลา 6 ปีที่อยู่กรุงเทพฯ ผมไม่มีคุณค่า” สวัสดิ์บอก เขาตัดสินใจกลับมายังหมูบ่ า้ นหลังจากได้เห็นวีแ่ ววและพลัง บางอย่างของชุมชน ในช่วงนัน้ เกษตรกรชุมชนนาบัวบางส่วนกำ�ลัง ยกขาก้าวข้ามจากเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวสู่เกษตรกรรมยั่งยืน ถ้า เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเกษตรกรเป็นขบวนรถไฟ สวัสดิ์ก็ร่วมอยู่ในขบวนรถไฟสายเกษตรกรรมยั่งยืนด้วย “เมื่อกลับบ้านก็เจอปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพง ผมนึกในใจ ‘กูจะอยู่ได้รึ’ เราลงทุนไปมาก เงินที่เก็บมาจากกรุงเทพฯก็ใกล้


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 61

จะหมด บั ง เอิ ญ ผู้ ใ หญ่ บ้ า นก็ รู้ ว่ า เรากลั บ มา แกก็ ม าชวนไป ศึกษาหาความรู้เรื่องการทำ�ปุ๋ยหมัก ผมก็สนใจ แล้วพบว่าน้ำ�ยา อเนกประสงค์ลงทุนไม่กี่บาท แต่มันสามารถลดต้นทุนได้มาก”

สวัสดิเ์ ริม่ ชักชวนเพือ่ นเกษตรกรรวมตัวกันผลิตปุย๋ หมัก เริม่ จาก 10 คน เพราะยังไม่มีใครเห็นประโยชน์จากการผลิตปุ๋ย แต่ “เราก็ทำ�ของเรา ใช้วัตถุดิบในสวน เมื่อทดลองใช้ในไร่นาก็เกิด ผลลัพธ์ทดี่ ี มันดีขนึ้ นีห่ ว่า ลดต้นทุนได้ เมือ่ ปีกอ่ นเราใส่เคมีไป 10 กระสอบ ปีนี้เราใส่ 5 กระสอบ ผลผลิตก็ได้เท่าเดิม แต่ต้นทุนเรา ลดลง ดินเราดีขนึ้ ทีนชี้ าวบ้านก็มาเห็น ผูใ้ หญ่บา้ นก็ถามจะเอามัย้ ก็เลยตั้งกลุ่มใหญ่เลย มาเป็น 90 คนในปัจจุบัน” เริ่มจากสมาชิก 90 คน ซื้อหุ้นของกองทุนกลุ่ม ผู้ทำ�ปุ๋ย อินทรีย์ฯ หุ้นละ 100 บาท การระดมทุนครั้งแรกได้เงิน 9,000


62 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

บาท หลังจากนั้นกลุ่มกองทุน ผู้ทำ�ปุ๋ยอินทรีย์ฯ มีแนวคิดขยาย กองทุนให้เติบโต พวกเขาใช้เงิน 9,000 บาท ซื้อวัตถุดิบต่างๆ มาทำ�ปุ๋ย โดยให้สมาชิกแต่ละคนนำ�ไปใช้ในไร่นา ปัญหาที่พบใน การใช้ปยุ๋ ก็คอื เมือ่ หว่านปุย๋ ลงไร่นาแล้วสายลมยังพัดปุย๋ ย้อนกลับ มาเข้าใบหน้า “ปี 2551 มีงบ SML ลงมาช่วย เราก็เลยมาประชาคม ทำ� โครงการ SML มาต่อยอดกลุม่ ปุย๋ เราซือ้ เครือ่ งอัดเม็ด แต่ทนุ เราก็ หมด ก็เลยเอาคนทีเ่ ป็นสมาชิกเข้าไปทำ�งานในกลุม่ ปุย๋ แต่เราไม่มี เงินจ้าง เราจึงจ่ายปุ๋ยเป็นค่าจ้าง วันละ 20 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันไป” แต่ทำ�อย่างนั้นแล้วใช่ว่ากลุ่มกองทุนจะมีเงินงอกเงย กลุ่ม กองทุนจึงขอร้องแกมบังคับให้สมาชิกปุ๋ยซื้อปุ๋ยคนละ 1 กระสอบ กระสอบละ 300 บาท จากนั้นกลุ่มกองทุนจดทะเบียนเป็น วิสาหกิจชุมชนเพื่อจำ�หน่ายปุ๋ย สร้างรายได้หมุนเวียนภายในกลุ่ม “ตอนนี้กลุ่มปุ๋ยของเราก็เป็นที่รู้จักมากขึ้น คนในตำ�บลและ ใกล้เคียงก็เริม่ ซือ้ ปุย๋ จากเรา เงินกองทุนเราเพิม่ ขึน้ ครัง้ แรกเราเริม่ จาก 9,000 บาท ณ วันนี้กองทุนของเรามี 325,500 บาท ตอนนี้ เราอยูไ่ ด้ พอเรามีเงินในกองทุนมากขึน้ เราก็หนั มาช่วยคนในชุมชน ให้เขาลดการใช้สารเคมีลง แล้วเราก็ตั้งกลุ่มข้าวปลอดสารขึ้นมา” ‘กลุ่มกองทุนผู้ทำ�ปุ๋ยอัดเม็ดบ้านนาบัว’ ไม่มีการให้สมาชิก กู้ยืมเหมือนกองทุนอื่น แต่มีการปัน ผลแก่สมาชิกผู้ถือหุ้นและ ผลกำ�ไรในตอนสิ้นปี “ถามว่าถ้าสมาชิกมีหนีส้ นิ เราช่วยได้กช็ ว่ ยกันไป จ่ายคืนมา


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 63

เท่าเดิมโดยไม่คิดดอกเบี้ย สัจจะก็คือสัจจะ เรามาช่วยกัน แต่ที่ สำ�คัญกว่าเรื่องเงินคือความรู้ นี่คือความรู้ที่จะทำ�ให้เกษตรกรยืน อยู่บนขาของตัวเองได้ กลุ่มกองทุนของเรายังจัดอบรมให้ความรู้ แก่เกษตรกรที่เป็นหนี้ ธกส. เราจะแลกเปลี่ยนความคิดกันเรื่อง การจัดการชีวิต เรื่องเทคนิคการเกษตร ทำ�อย่างไรจึงจะอยู่ได้” กลุ่มกองทุน ผู้ทำ�ปุ๋ยอัดเม็ดบ้านนาบัวยังมีการเชื่อมโยงกับ เกษตรกรกลุม่ ต่างๆ ในชุมชนตำ�บลนาบัว ทัง้ การเป็นตัวอย่างการ เรียนรู้จนก่อให้เกิดกลุ่มอื่นตามมา เช่น กองทุนธนาคารหมู่บ้าน ซึ่งปัจจุบันมีเงินหมุนเวียนว่า 60 ล้านบาท มีการเชื่อมโยงกับกลุ่ม เกษตรกรปลูกสับปะรด ซึง่ เป็นวัตถุดบิ หนึง่ ในการทำ�ปุย๋ หมัก กลุม่ กองทุนจะนำ�ปุย๋ ไปให้เกษตรกรผูป้ ลูกสับปะรด ส่วนเกษตรกรผูป้ ลูก สับปะรดจะให้สับปะรดที่จะทิ้งให้กลุ่มกองทุนนำ�กลับไปทำ�ปุ๋ย “ถ้าถามว่าการเกิดขึน้ ของกลุม่ กองทุนผูท้ ำ�ปุย๋ ฯเปลีย่ นแปลง ชุมชนของเราไหม ผมคิดว่าเปลี่ยนมากเลย เมื่อก่อนถ้าเขาไม่ได้ ใส่ปุ๋ยเคมีถึงขั้นนอนไม่หลับเลยนะครับ แล้วเขาจะไม่เอาเลยนะ ปุย๋ อินทรีย์ เกษตรกรของเราเป็นแบบนัน้ เมือ่ เกิดกลุม่ กองทุนขึน้ มา ก็มีรูปธรรมให้พวกเขาเห็นว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีข้อดีอย่างไร จาก เมื่อก่อนที่เขาใส่ปุ๋ย 100 กว่ากระสอบ เขาลดเหลือ 50 กระสอบ ต้นทุนมันก็ลด “แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนก็คือในหมู่บ้านของผมก็ยังมีคนอยู่เท่านี้ พวกคนหนุ่มคนสาวเข้ากรุงเทพฯหมด เหลือคนวัยกลางคนกับ คนแก่ คนวัยกลางคนรุ่นผมก็มาทำ�เกษตรกรรมยั่งยืนกันเยอะขึ้น เมื่อก่อนผมก็อยู่กรุงเทพฯเหมือนพวกหนุ่มสาวสมัยนี้”


64 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

“คุณใช้ชีวิตที่กรุงเทพฯกี่ปี?” “ผมใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ 6 ปี เป็นแรงงานก่อสร้าง ยามเฝ้า อาคาร แต่ไม่มีอะไรดีขึ้น ผมได้ค่าแรง 300 บาท ใช้จ่ายแต่ละวัน 250 เหลือ 50 บาท 6 ปีในกรุงเทพฯไม่เคยได้อะไรเลย วันหนึ่ง ผมนั่งคุยกับเพื่อนคนบ้านเดียวกัน เขาเพิ่งกลับมาจากเยี่ยมบ้าน เขาเล่าว่าผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านเราเข้มแข็งแล้ว ตอนนี้หมู่บ้านมีการ พัฒนาหลายเรื่อง ผมจึงตัดสินใจไม่อยู่กรุงเทพฯแล้ว เก็บกระเป๋า กลับบ้าน ผมมีที่ดินที่บ้าน ผมจะกลับไปทำ�นา ผมรู้สึกว่าชีวิต มีคณ ุ ค่าขึน้ ผมผลิตปุย๋ ใช้เองจนก่อตัง้ เป็นกองทุนปุย๋ หมัก เราช่วย หมู่บ้านของเรา ช่วยเกษตรกร เพราะเราเป็นเกษตรกรอยู่แล้ว” “กรุงเทพฯขโมยอะไรคุณไปจนถึงขั้นรู้สึกชีวิตไม่มีคุณค่า?” “มันอึดอัด อยากกลับมาทำ�นา ข้าว-เราเคยทำ�กินเอง แล้ว ต้องไปซื้อเขากิน มันอึดอัดมากเลย ภาระหนี้สินทำ�ให้เราต้องเข้า กรุงเทพฯ ก็ทำ�งานใช้หนี้ได้เกือบหมดแล้วล่ะ เราก็อยากจะเป็น ตัวของตัวเอง”

-2สิทธิพิเศษเพื่อชาวนา ทีต่ �ำ บลสมอแข จังหวัดพิษณุโลก เป็นพืน้ ทีก่ งึ่ เมืองกึง่ ชนบท คนหนุม่ สาวทำ�งานรับจ้างในเขตเมือง เกษตรกรทำ�ไร่ท�ำ สวนในเขต ชนบท เมือ่ เดินทางเข้าไปในเขตชนบทของตำ�บลสมอแข ทีห่ มูบ่ า้ น


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 65

หนองตอ มีการรวมกลุม่ ของเกษตรกรเพือ่ หาแนวทางแก้ไขปัญหา หนี้สินนอกระบบที่ไปกู้ยืมมาทำ�นา สมพงษ์ เรืองหน่าย เป็นผู้ใหญ่บ้านหนองตอ เป็นประธาน กลุ่มกองทุนทำ�นาบ้านหนองตอ “ผมเห็นว่าชาวนาบ้านเรามีปัญหากันมากเกี่ยวกับหนี้สิน พวกเขาไปกู้เงินนอกระบบมาลงทุนการเกษตร นอกจากหนี้สิน แล้ว พวกเขายังก่อโรคภัยไข้เจ็บให้ตัวเองโดยไม่รู้ตัว ผมจึงจัดตั้ง กลุ่มกองทุนผู้ทำ�นาบ้านหนองตอ มีกฎกติกาว่ารับสมาชิกเฉพาะ ผู้ทำ�อาชีพเกษตรหรือทำ�นาจริงๆ” เมื่อกลุ่มกองทุน ผู้ทำ�นาบ้านหนองตอเกิดขึ้น มีการระดม เงินทุนจากสมาชิกเพือ่ จัดตัง้ เป็นกองทุนกูย้ มื เงินสำ�หรับหมุนเวียน เพื่อใช้ในการทำ�นา คุณสมบัติของสมาชิกจะต้องเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ ในหมู่ 1 บ้านหนองตอ และประกอบอาชีพทำ�นาและการเกษตร เมื่อยื่นคำ�ขอสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มต่อคณะกรรมการกลุ่ม และผ่านการพิจารณาคุณสมบัตติ ามทีก่ ลุม่ ตัง้ ไว้ สมาชิกต้องชำ�ระ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า รายละ 100 บาท โดยมีกฎระเบียบในการ กู้ยืมไว้อย่างชัดเจน นั่นคือ กู้เพื่อทำ�การเกษตร “ถ้าคุณเป็นเกษตรกรแต่ลูกคุณอยากได้ไอโฟน มาขอกู้เรา ไม่ได้นะครับ ทุกคนที่เข้ามาในกลุ่มต้องผ่านการตรวจสอบ ทุกคน ต้องมีบตั รเกษตรกรทำ�นา เพราะเดีย๋ วนีก้ ารขึน้ ทะเบียนทำ�นาต้อง มีบัตรเกษตรกร ผมก็คัดจากจุดนี้ พอใครมีปัญหาเรื่องพันธุ์ข้าว หรือเรื่องอื่น ทุกคนก็จะมาประชุมเพื่อหารือร่วมกัน” การหมุนเวียนให้สมาชิกเกษตรกรทุกรายได้กยู้ มื เงินเป็นการ


66 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

กระจายโอกาสให้สมาชิกภายในกลุ่ม หากมีเงื่อนไขการกู้ที่อยู่ นอกเหนือวัตถุประสงค์ทางการเกษตรจะไม่ผ่านการอนุมัติจาก คณะกรรมการกองทุ น เพราะเป็ น กองทุ น ที่ ก่ อ ตั้ ง ขึ้ น มาเพื่ อ เกษตรกรโดยเฉพาะ โดยกลุ่มกองทุนคิดดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาท ทุก 3 เดือนจะมีการประชุมย่อย และทุก 6 เดือนมีการ ประชุมใหญ่เพือ่ ปันผลแก่สมาชิก มีการรับฟังปัญหาทางการเกษตร ของเกษตรกรแต่ละคน นำ�ปัญหาขึ้นมาวางบนโต๊ะเพื่อให้เพื่อน เกษตรกรที่อาจมีประสบการณ์ช่วยกันชี้แนะ “ปัญหาเมล็ดพันธุก์ เ็ ป็นอีกปัญหาหนึง่ ของเกษตรกร ถ้าข้าว ไม่ผา่ นเกณฑ์มาตรฐาน ทางรัฐบาลก็ไม่รบั รอง ทางกลุม่ จึงส่งเสริม ให้เกษตรกรปลูกข้าวทีม่ ตี ลาดรองรับ กลุม่ ของเราจะเน้นพันธุข์ า้ ว พิษณุโลก 2 เพราะเราอยูพ่ ษิ ณุโลก เราต้องเน้นพันธุข์ า้ วทีม่ ตี ลาด รองรับ ไม่ใช่อยากปลูกอะไรก็ปลูก จะหาตลาดยาก เกษตรกร ในกลุม่ จึงทำ�นาตามกฎระเบียบ เรามีขอ้ ตกลงร่วมกันเพือ่ ให้สนิ ค้า เรามีตลาด และกองทุนจะได้ไม่ล่ม” ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากเกษตรกรรวมกลุ่มกัน จัดตัง้ กองทุนสำ�หรับการเกษตรในตำ�บลสมอแขคืออะไร นอกจาก การได้เห็นได้รแู้ ละร่วมแก้ปญ ั หาของเพือ่ นเกษตรกรแล้ว อย่างน้อย ที่สุด สมพงษ์บอกว่าเกษตรกรได้รับศักดิ์ศรีคืนมา “อย่างน้อยที่สุด เงินที่สมาชิกกู้ยืมจากกลุ่มของเราไป เขา ไม่ตอ้ งเสียค่าดอกเบีย้ ทีแ่ พงอย่างร้ายกาจ หรือบางคนต้องลำ�บาก ไปติดเงินค่าปุ๋ยค่ายาเขามาก่อน พอผลผลิตออกแล้วค่อยเอาเงิน ไปคืน ซึ่งมันทำ�ให้เกษตรกรไม่มีศักดิ์ศรี เราช่วยเหลือกันน่ะครับ


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 67

บางคนได้รบั ผลกระทบจากน้�ำ ท่วม แล้วยังค้างชำ�ระหนีเ้ ราอยู่ เราก็ ต่อสัญญาให้เขาไปได้ ช่วยกัน แต่สว่ นมากจะไม่เจอหนีค้ า้ งนะครับ” เป้าหมายในอนาคต ผูใ้ หญ่บา้ นหมู่ 1 บ้านหนองตอผูน้ อี้ ยาก ให้สมาชิกของกลุม่ กองทุนผูท้ �ำ นาบ้านหนองตอปลูกข้าวปลอดสาร “เราพยายามจำ�กัดกรอบให้แคบลงคือ เริ่มจากส่งเสริมให้ เกษตรกรปลูกข้าวปลอดสาร เราพยายามปิดกั้นการใช้เคมี ซึ่ง รายละเอียดอาจต้องพูดคุยกันอีกทีว่าอย่างไร เพราะในอนาคต เราอาจผลิตข้าวปลอดสารแพ็คถุงขาย ผมเริม่ ของผมแล้วนะ ต่อไป จะมีการตรวจสอบมาตรฐานของสารพิษในสินค้าเกษตรของเรา ถ้าเราทำ�ปลอดสาร” “ตอนนี้อายุเท่าไร?” “43 ครับ” “เป้าหมายในชีวิตวัย 43 คืออะไร?”


68 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

“ผมเป็นคนโสด ยังไม่มีครอบครัว เป้าหมายผมคือการ พัฒนาหมู่บ้าน พัฒนากลุ่มของผมให้เจริญ อยากให้หมู่บ้านเจริญ ผมรู้สึกว่าหมู่บ้านยังขาดความรู้เรื่องเกษตรกรรม อย่างผมเอง เป็นผู้ใหญ่บ้านด้วยทำ�นาด้วย ทำ�นามา 30 กว่าปี ผมทำ�นาตั้งแต่ อายุ 10 กว่าปี ผมทำ�นามาตลอด ตอนนี้ 100 กว่าไร่ ก็แนะนำ�ให้ พวกเขาทำ�ข้าวปลอดสารหรือทำ�เมล็ดพันธุข์ า้ ว กำ�ลังเชียร์ให้ท�ำ อยู”่ “หลายคนบอกว่าชีวิตโสดเป็นชีวิตที่เหงา เห็นด้วยมั้ย?” “ไม่จริงครับ ถ้าเราอยู่อย่างพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย ผมว่าผม อยู่อย่างเสรี ชีวิตผมอยู่กับการงานเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน ผมสนุกกับ การทำ�นา”

-3เงื่อนไขที่มิอาจปฏิเสธ เป็นทราบกันดีอยูแ่ ล้วว่าทุกหมูบ่ า้ นในประเทศไทยล้วนแต่มี กองทุนในหมู่บ้านในชุมชน เช่น กองทุนเงินล้าน กลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิต กองทุนสัจจะวันละบาท ฯลฯ การสร้างกองทุนขึ้น เพือ่ ส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรทีอ่ ยากเปลีย่ นแปลงระบบการผลิต ไปสู่เกษตรกรรมยั่งยืนมีมากกว่า 1 วิธี กลุ่มกองทุนผู้ทำ�นาบ้าน หนองตอ ก็เป็นวิธหี นึง่ แต่ทตี่ �ำ บลคอรุม จังหวัดพิษณุโลก ใช้อกี วิธี “การทำ � เกษตรกรรมแบบยั่ ง ยื น มั น ต้ อ งอาศั ย เงิ น ทุ น เกษตรกรเขาผ่านการนั่งพูดคุยกันมาก่อนที่จะมาหาผม พวกเขา


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 69

มองว่ากองทุนต่างๆ ทีม่ อี ยูแ่ ล้วในหมูบ่ า้ น ไม่วา่ จะกองทุนเงินแสน กองทุนเงินล้าน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มออมวันละบาท หรือกองทุน เกี่ยวกับกลุ่มต่างๆ ในตำ�บล มันเยอะไปหมด แต่มีลักษณะ กระจัดกระจาย เราก็เลยเอากลุ่มต่างๆ มาพูดคุยกัน มีมติร่วมกัน ว่าให้มเี งือ่ นไขเพิม่ เข้าไปในแต่ละกองทุน เป็นออพชัน่ พิเศษสำ�หรับ เกษตรกร” ผจญ พูลด้วง เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำ�บลคอรุม บอกว่าออพชั่นพิเศษที่ใส่เพิ่มเข้าไปในแต่ละกองทุนของตำ�บล คอรุมก็คอื หากชาวบ้านต้องการกูย้ มื เงินเพือ่ ไปทำ�กิจกรรมเกีย่ วกับ เกษตรกรรมยั่ ง ยื น จะได้ รั บ การพิ จ ารณาเป็ น พิ เ ศษจากคณะ กรรมการกองทุนประหนึ่งลูกค้าชั้นเลิศของธนาคาร “ยกตัวอย่างถ้าสมาชิกที่เป็นเกษตรกรจะกู้เงินในกองทุน ที่เขาเป็นสมาชิกอยู่ ต้องมีเงื่อนไข ข้อแรก ต้องดำ�เนินชีวิตให้ สอดคล้ อ งกั บ ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง คื อ มี ก ารปลู ก พื ช ผั ก ในครั ว เรื อ น ให้ เห็นว่าเขาสามารถ พึ่งพาตัวเองได้ ซึ่ง เขาก็ทำ�กันอยู่แล้ว เป็ น ปกติ น ะครั บ ข้อสอง นอกเหนือ จากเกษตรกรแล้ว หากคุณไม่ได้ปลูก ข้าวทำ�ไร่ คุณเลี้ยง


70 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

สัตว์ คุณก็เข้าเกณฑ์ตามเงือ่ นไขทีเ่ รากำ�หนด หรือทำ�พลังงาน เช่น ผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือน ถ้าคุณจะกู้เงินเพื่อไปส่งเสริม สิ่งที่ทำ�อยู่ก็เข้าเกณฑ์พิจารณา “หากคุ ณ กู้ เ งิ น ไปทำ � อะไรก็ ต ามที่ อ ยู่ ใ นขอบข่ า ยของ เกษตรกรรมยั่งยืน กองทุนก็อนุมัติ ซึ่งคำ�ว่าเกษตรกรรมยั่งยืน มันเชื่อมโยงถึงกันหมด ทั้งเรื่องการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และ พลังงาน” เงือ่ นไขพิเศษทีอ่ งค์การบริหารส่วนท้องถิน่ แห่งตำ�บลคอรุม ใส่เข้าไปในกองทุนแต่ละแห่งในชุมชนนั้นเป็นเหมือนการอัดฉีด ของภาครัฐที่มีต่อเอกชนเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการลงทุนใน ประเทศ แต่ทตี่ �ำ บลคอรุมเงือ่ นไขทีใ่ ส่เพิม่ เข้าไปนีเ้ ป็นการส่งเสริม ให้เกษตรกรดำ�รงชีวิตแบบพึ่งพาตัวเอง “สมมุตวิ า่ กูไ้ ปทำ�เกษตรกรรมพอเพียง วงเงินทีข่ อ 20,000 เราก็จะพิจารณาให้เต็มวงเงินเลย ส่วนอีกคนบอกว่าขอกู้ 20,000 ไปเปิดร้านคาราโอเกะ เราก็จะพิจารณาอนุมัติให้ไม่เต็มวงเงิน ลดหลั่นลงมา” นัยนา ศรีเลิศ นักพัฒนาชุมชนแห่งตำ�บลคอรุม เปรียบเทียบ ให้ ฟั ง ถึ ง การพิ จ ารณาอนุ มั ติ เ งิ น กู้ ใ นส่ ว นของเงื่ อ นไขสำ � หรั บ เกษตรกรของกองทุนเพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ ว่า เงื่อนไขพิเศษนี้ สนับสนุนเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง เมื่อเงื่อนไขและเป้าหมายอยู่ที่ เกษตรกรรมยั่งยืน การตีความความหมายของคำ�ว่า ‘ยั่งยืน’ จึง ต่างออกไปจากการพิจารณาการปล่อยสินเชือ่ ของธนาคารพาณิชย์ ทั่วไป


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 71

“เพราะการกู้เพื่อไปทำ�อย่างอื่น คณะกรรมการอาจจะ พิจารณาว่ามันไม่ยั่งยืน ก็ไม่ปล่อยให้เต็มวงเงิน แต่ถ้าเอาไปทำ� เกษตรแบบพอเพียง เขาจะให้เต็มวงเงินเลย” นัยนาบอก “กระตุน้ ให้เกษตรกรเบนเส้นทางเดินสูว่ ถิ เี กษตรกรรมยัง่ ยืน ให้มากขึ้น” ผจญเสริม นี่คือโมเดลการทำ�กองทุนเพื่อเกษตรกรรมยั่งยืนที่น่าสนใจ ทุกหมู่บ้านทุกชุมชนต่างก็มีศักยภาพในการส่งเสริมสนับสนุน เกษตรกรรมยั่งยืน เพราะพื้นฐานของทุกหมู่บ้านทุกชุมชนล้วน มีกองทุนต่างๆ ทั้งสิ้น เพียงเพิ่มเงื่อนไขที่เกิดจากแนวคิดเข้าไป “ทุกชุมชนเขามีกองทุนอยูแ่ ล้ว เพียงแต่เติมแนวคิดเข้าไปว่า จะมีเงือ่ นไขกำ�หนดหรือไม่ เพือ่ เป็นแรงจูงใจทีจ่ ะผลักดันเกษตรกร ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สำ�หรับตำ�บลคอรุม ผมอยากเบนทิศทาง ผู้คนให้เดินบนถนนสายเกษตรกรรมยั่งยืน” นายกองค์การบริหาร


72 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

ส่วนตำ�บลคอรุมบอก “ถ้าเราจะเคลื่อนเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืน เราก็ควรไปเล่น ในกองทุ น ที่ มี อ ยู่ แ ล้ ว แล้ ว สร้ า งเงื่ อ นไขว่ า เป็ น เงิ น ทุ น เพื่ อ เกษตรกรรมยั่งยืน มันจะเกิดการกระตุ้นให้ผู้คนสามารถทำ�ได้ ง่ายขึ้น ไม่มีทุนก็ไปกู้มาทำ�ได้ ไม่มีดอกเบี้ย” นัยนาบอก ถามว่าเงือ่ นไขพิเศษที่ อบต.คอรุม ใส่เข้าไปในกองทุนต่างๆ พิจารณาเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวหรือไม่? “การกูเ้ พือ่ ทำ�เกษตรกรรมแบบปลอดสารจะถูกพิจารณาเป็น ลำ�ดับต้นๆ ถ้าคุณกู้เงินไปซื้อสารเคมี เราก็อนุมัติ แต่จะพิจารณา เป็นลำ�ดับถัดไป อาจจะต่อท้าย ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการ ในการพิจารณากันเอง แต่เงื่อนไขเราคือ ยกให้เรื่องเกษตรกรรม ยั่งยืนเป็นอันดับ 1 ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือเกษตรกรรม ยั่งยืน กองทุนเขาก็พิจารณาอยู่แล้วเป็นปกติ” “ทำ�ไมการพิจารณาให้เกษตรกรกูเ้ งินไปปลูกพืชผักสวนครัว จึ ง ถู ก มองว่ า น่ า จะมี ศั ก ยภาพในการใช้ ห นี้ ม ากกว่ า คนที่ กู้ ไ ป ทำ�เกษตรกรรมเชิงเดี่ยว?” “การที่เราสร้างเงื่อนไขแบบนี้ และให้ความสำ�คัญในการ พิจารณาปล่อยเงินกู้ คิดว่าเขาน่าจะใช้หนีไ้ ด้แน่นอน เพราะเมือ่ เขา ทำ�เกษตรกรรมยั่งยืน อย่างแรกเลยเขาลดต้นทุนการผลิตไปแล้ว เมื่อลดรายจ่ายเขาย่อมมีรายได้ที่จะส่งคืน” นัยนาบอก สำ�หรับโครงการในอนาคตของ อบต.คอรุม ต่อการปรับปรุง เงือ่ นไขพิเศษเพือ่ เกษตรกรรมยัง่ ยืน อาจมีการคิดอัตราดอกเบีย้ ไม่ เท่ากัน หากกู้ไปทำ�เกษตรกรรมยั่งยืน ดอกเบี้ยอาจต่ำ�กว่าการกู้


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 73

ไปทำ�อย่างอื่น “เฟส 1 เราเริม่ ต้นด้วยเงือ่ นไขทีผ่ กู้ ขู้ อกูเ้ งินไปทำ�เกษตรกรรม ยั่งยืนจะได้รับการพิจารณาเป็นลำ�ดับต้นๆ และเต็มวงเงิน เพื่อ กระตุ้นให้เกิดเกษตรกรรมยั่งยืนในตำ�บล ส่วนเฟส 2 อาจจะลด อัตราดอกเบี้ยเพื่อจูงใจมากขึ้น ณ วันนี้ดอกเบี้ยสำ�หรับคนกู้ไปทำ� เกษตรกรรมยัง่ ยืนกับทำ�อย่างอืน่ ยังเท่ากันอยู่ ซึง่ เราก็เพิง่ ฉุกคิดได้ อาจจะกลับไปคิดกันอีกทีว่าถ้าเราจะปล่อยกู้เรื่องเกษตรพอเพียง เราอาจจะลดอัตราดอกเบี้ยมั้ย เพื่อกระตุ้นให้เกิดเศรษฐกิจพอ เพียงในตำ�บล” นัยนากล่าว


74 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

บทที่ 4

ปลายทาง การตลาดในมุมมองของเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวแตกต่างจาก การตลาดในมุมมองของเกษตรกรรมยั่งยืน ระบบการตลาด ของเกษตรกรรมยั่งยืนคำ�นึงถึงความปลอดภัยต่อทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค ความปลอดภัยของสินค้าทางเกษตรบังคับให้ เกษตรกรต้องใส่ใจทุกขั้นตอนการผลิต การตลาดเป็นสิ่งที่เกษตรกรให้ความสำ�คัญน้อยที่สุด ใน บรรดาชุมชนที่ทำ�เรื่องเกษตรกรรมยั่งยืน มีไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ที่มีการทำ�การตลาด ลักษณะของตลาดในระบบเกษตรกรรมยัง่ ยืนในชุมชนต่างๆ


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 75

จะมี 3 แบบ คือ 1.ตลาดนัดชุมชน 2.ตลาดจัดโซน คือตลาดที่มี การแบ่งโซนให้สินค้าปลอดสาร และ 3.ตลาดแบบขายตรง การตลาดเป็นองค์ประกอบสำ�คัญของเกษตรกรรมยั่งยืน ผูผ้ ลิตมีรายได้เพิม่ ขึน้ จากการลดต้นทุนการผลิตให้นอ้ ยลง แนวโน้ม ของสินค้าปลอดสารก็ทำ�ให้อนาคตของเกษตรกรรมยั่งยืนมีลู่ทาง ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่ปลอดภัย และความปลอดภัยของอาหารก็ จะย้อนกลับมาสู่ผู้ผลิตหรือเกษตรกรนั่นเอง

-1ข้าวเหนียวแม่หล่ายกิโลกรัมละ 17 บาท เกษตรกรที่ตำ�บลแม่หล่าย จังหวัดแพร่ ขายข้าวเหนียว กิโลกรัมละ 17 บาท ผลผลิตโดยเฉลีย่ ของเกษตรกรแม่หล่ายอยูท่ ี่ 1,100 กิโลกรัมต่อไร่ พวกเขามีตลาดรองรับทุกฤดูกาล พูดง่ายๆ เมื่อข้าวออกรวงตลาดก็รอซื้อทันที แต่ก่อนหน้านี้ ปัญหาของเกษตรกรตำ�บลแม่หล่ายคือ ถูก กดราคาและถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าโรงสี ปัญหาหนึง่ ซึง่ สำ�คัญคือ


76 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

เรือ่ งเมล็ดพันธุ์ ถ้าเมล็ดพันธุไ์ ม่ดี ราคาผลผลิตจะเดินสวนทางกับ ความต้องการของเกษตรกร จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้เกษตรกรตำ�บลแม่หล่ายรวมตัวกันเป็น ‘กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว แม่หล่าย’ “ก่อนหน้านี้เกษตรกรของเรารับนโยบายจากบนลงล่าง แต่ แนวคิดของกลุ่มจะมาจากล่างขึ้นบน เราออกไปหาตลาด ออกไป หาผู้รับซื้อ เพราะส่วนหนึ่งพวกเราประสบปัญหาเรื่องเหล่านี้ อยู่แล้ว ต้องแก้ตรงนี้” สุเทพ สุมณฑกุล เป็นทั้งรองนายกองค์การบริหารส่วน ตำ�บลแม่หล่าย เป็นอาสาสมัครพลังงานชุมชน และเป็นเกษตรกร หลังรวมกลุม่ กันแล้วเกษตรกรตำ�บลแม่หล่ายเดินไปหาหน่วยงาน ทีม่ อี งค์ความรูเ้ รือ่ งข้าว กอปรกับจังหวัดแพร่มศี นู ย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ ข้าว ศูนย์วิจัยข้าว และโรงสีชุมชน จึงเป็นโอกาสของเกษตรกร แม่หล่ายในการทำ�ข้อตกลงร่วมกับทั้ง 3 ส่วนนี้ และทำ�ให้พวกเขา มีตลาดรองรับ ถามว่าเกษตรกรแม่หล่ายมีคณ ุ สมบัตอิ ะไร หน่วยงานเหล่านี้ จึงรับซื้อข้าวเหนียวกิโลกรัมละ 17 บาท “เกษตรกรแม่หล่ายทำ�ข้อตกลงกับหน่วยงานเหล่านัน้ โดยมี เงือ่ นไขว่าเกษตรกรแม่หล่ายจะได้ราคาเท่านี้ หากข้าวมีคณ ุ ภาพได้ มาตรฐานตามข้อตกลง นัน่ คือการลดใช้สารเคมี เป็นข้าวทีไ่ ม่มพี นั ธุ์ ปลอมปน ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เกษตรกรแม่หล่ายตกลงกับหน่วยงาน เพื่อประกันคุณภาพของข้าว ขณะเดียวกันชีวิตของพี่น้องในชุมชน แม่หล่ายก็ลดใช้สารเคมีไปด้วย”


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 77

เกษตรกรทีแ่ ม่หล่ายผลิตข้าวเหนียวพันธุ์ กข.14 ข้าวเหนียว พันธุส์ นั ป่าตอง 1 ข้าวเหนียวพันธุแ์ พร่ 72 และข้าวเจ้าพิษณุโลก 2 แต่ปัจจุบัน ผลิตข้าวเหนียวเพียงอย่างเดียว ซึ่งพวกเขาได้รับการ ประกันราคากิโลกรัมละ 17 บาท ขณะที่ราคาข้าวสารเหนียว ในตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละ 9 บาท ใน 1 ไร่ เกษตรกรแม่หล่ายใช้ต้นทุนการผลิต 4,700 บาท แต่ก่อนที่เกษตรกรจะเปลี่ยนวิธีการผลิตแบบลดสารเคมี ผลผลิต ต่อไร่อยู่ที่ 550-650 กิโลรัม เมื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตแบบ ลดสารเคมี ผลผลิตอยูท่ ี่ 1,100 กิโลต่อไร่ อย่างทีบ่ อกไป กิโลกรัม ละ 17 บาท ดังนัน้ เกษตรกร 1 รายจะมีรายได้ตอ่ การปลูกข้าว 1 ครัง้ เป็นเงิน 17,700 บาทต่อปี แต่เกษตรกรแม่หล่ายปลูกข้าว 2 ครั้ง ต่อปี พวกเขาจึงได้ 35,000 บาท เมื่อเกษตรกรในกลุ่มได้รับเงิน แล้ว ทางกลุ่มจะขอหักเงินเข้ากลุ่มหมื่นละ 200 บาท เพื่อเป็น


78 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการกลุ่ม “การขายตรงทำ�ให้เกษตรกรมีรายได้ดี แล้วเงื่อนไขที่เรา ทำ�แบบนี้เพราะต้องการปลูกข้าวปลอดสาร มันก็ท�ำ ให้เกษตรกร มี สุ ข ภาพที่ ดี การรวมกลุ่ ม ยั ง ช่ ว ยในเรื่ อ งของการอยู่ ร่ ว มกั น ช่วยเหลือกัน ตั้งกฎกติกาขึ้นมาแล้วอยู่ร่วมกัน ถามว่าปัญหามีมั้ย มีครับเป็นเรือ่ งปกติ บางคนสวมสิทธิก์ นั เช่น นักวิชาการตรวจข้าว ของ นาย ก. ผ่าน ส่วน นาย ข. ไม่ผ่าน ก็สวมสิทธิ์กัน ซึ่งบางครั้ง มันนำ�ไปสู่ปัญหาข้าวปน ไปตรวจสอบดูแล้วมีเกษตรกรแอบช่วย กันแบบนี้ นี่คือปัญหา ปัญหานี้มันจะทำ�ให้มาตรฐานของกลุ่ม เสียหาย เราจึงเพิ่มกติกาของกลุ่มเพื่อไม่ให้กลุ่มล้ม” การรวมกลุ่ ม กั น ของเกษตรกรแม่ ห ล่ า ยยั ง ช่ ว ยพวกเขา ลดต้นทุนการผลิต สมาชิกเกษตรกรในกลุม่ มีทงั้ หมด 80 คน พืน้ ที่ ของเกษตรกรภายในกลุ่มมีทั้งหมด 510 ไร่ พวกเขาใช้วิธีลงแขก ลงขันกันในการไถนา “ในสมาชิก 80 คน เราจะเรียงคิวกัน เช่น วันนี้จะไถนาของ นาย ก. ถึง นาย ง. เราก็จะไปรวมกันเลย เจ้าของแปลงนาจ่ายแค่ ค่าน้ำ�มัน เราพยายามหาวิธีลดต้นทุนการผลิต หมุนวนจนครบ 510 ไร่ วันหนึ่งไถได้ 60-70 ไร่” “อะไรคือหลักเกณฑ์สำ�คัญของการเป็นสมาชิกกลุ่ม?” “เราขอความซื่อสัตย์ ทำ�ตามเงื่อนไขของกลุ่ม” ปัจจุบัน เกษตรกรใน ‘กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว แม่หล่าย’ พึงพอใจกับราคาของผลผลิตและตลาดที่รองรับ ในอดีตมีบริษัท สินค้าเกษตรยักษ์ใหญ่ในเมืองไทยให้เกษตรกรแม่หลายผลิตข้าวให้


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 79

ในรูปแบบของคอนแทรค ฟาร์มมิง่ (เกษตรพันธสัญญา) แต่พวกเขา ทำ�ได้เพียงปีเดียวก็เลิก “ระบบมันไม่เหมือนกัน ระบบของเขาจะเป็นระบบของเขาเลย ต้องใช้สารเคมี ใช้ปุ๋ยเคมีของเขา พี่น้องเราก็ไม่เอา กลุ่มไม่เอา ทำ� ปีเดียวก็ปฏิเสธเลย เขาไม่เอาทางนี้ แล้วคนในชุมชนทีอ่ ยูน่ อกกลุม่ เขาแอนตีเ้ รือ่ งนีด้ ว้ ย แอนตีก้ ารใช้สารเคมี มันเป็นมาตรการโดยอ้อม ที่เขาไม่เอาปุ๋ยเคมี” “คุณมีที่นากี่ไร่?” “ผมทำ�อยู่ 13 ไร่” “คุณเป็นทัง้ รองนายกฯ เป็นอาสาสมัคร เป็นเกษตรกร เวลา รีแลกซ์คุณทำ�อะไร?” “ผมไม่ค่อยมีเวลารีแลกซ์เลย แต่ก็พยายามจัดหาวันว่าง เช่น วันอาทิตย์เราต้องรีแลกซ์อยูบ่ า้ นสักวัน ส่วนหนึง่ ก็ปลูกพืชผัก เพราะแม่บ้านทำ�อยู่กับแม่ยาย เช้าเย็นช่วยรดน้ำ� นี่คือวิธีรีแลกซ์ ได้ประโยชน์ด้วย”

-2สินค้าขายดีของสมอแขคือผักมีรู เกษตรกรที่สมอแขปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ด้วยเทรนด์ ของอาหารปลอดสาร ด้วยความที่ตำ�บลสมอแขเป็นพื้นที่กึ่งเมือง กึ่งชนบท ผักปลอดสารจึงได้รับความสนใจจากผู้บริโภค ในตำ�บล


80 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

สมอแขมีตลาดนัดชุมชน พื้นที่ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของ ตลาดถูกจัดโซนไว้เป็นตลาดสีเขียว ผักสวนครัวที่ปลูกในรั้วบ้าน ของเกษตรกรสมอแขจะถูกนำ�มาวางขายในตลาดสีเขียวทุกวัน พฤหัสบดี แน่นอนว่าสีสันและหน้าตาของผักสมอแขแตกต่างจาก ผักส่วนใหญ่ในตลาด “ผักของชาวบ้านจะเป็นรูๆ คนที่มาตลาดก็จะรู้ว่านี่คือผัก ปลอดสารของชาวบ้านสมอแข เราทำ�ตลาดจัดโซนมา 2 ปีแล้ว ผูบ้ ริโภคตอบรับดีมาก ถ้าเป็นผักทีช่ าวบ้านนำ�มาวางขายก็จะขายดี ขายหมดก่อนแม่คา้ ทัว่ ไป แต่กอ็ ย่างว่าผักของแม่คา้ จากข้างนอกจะ เยอะมาก แต่ของเราจะนำ�มาขายน้อย หมดทุกเจ้า ชาวบ้านไม่เคย ได้ขนผักกลับบ้านเลย” กันยา วงศ์ทองดี เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วน ตำ�บลสมอแข เป็น ผู้ส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาปลูกผักปลอดสาร เนื่องจากนโยบายจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่ต้องการลด รายจ่ายให้ชาวบ้านและส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดี เริ่มจากดอกแค พริก มะเขือ แจกจ่ายให้ชาวบ้านนำ�ไปปลูกที่บ้าน กอปรกับการ ประชาสัมพันธ์ให้ลดสารพิษสารเคมี ผลิตปุ๋ยหมักน้ำ�หมักชีวภาพ เมื่อชาวบ้านปลูกผักสวนครัวไว้แล้วเหลือจากการบริโภค องค์การ บริหารส่วนตำ�บลสมอแขจึงกันพืน้ ทีใ่ ห้ผกั ปลอดสารในตลาดชุมชน “หน้าทีข่ องฉันก็คอื พยายามมองหาตลาด ทาง อบต. ก็ก�ำ ลัง ทำ�ตลาด เพราะมองว่าเป็นแหล่งที่น่าจะสร้างรายได้ให้ชาวบ้าน อีกอย่างพื้นที่สมอแขของเราอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ด้วย ใกล้สี่แยก อินโดจีน ซึ่งผู้คนผ่านไปมาเยอะ”


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 81

กติกาสำ�หรับชาวบ้านทีอ่ ยากนำ�ผักมาวางขายในตลาดสีเขียว คือ ห้ามชาวบ้านซื้อพืชผักจากพ่อค้ามาขายต่อ เพราะ “เราอยาก เน้นให้ปลูกเอง แล้วเราก็ไม่เก็บค่าที่ด้วย” ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำ�บลสมอแขกำ�ลังก่อสร้าง ตลาดชุมชนแห่งใหม่ โดยจะจัดพื้นที่สำ�หรับพืชผักปลอดสารให้ ชาวบ้านด้วย โดยตลาดแห่งใหม่จะเปิดทำ�การทุกวันอังคาร ส่วน ตลาดเดิมนัน้ เปิดทุกวันพฤหัสบดี ทำ�ให้มพี นื้ ทีส่ �ำ หรับผักปลอดสาร มากขึ้น “ชาวบ้านหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพกันมาก หันมาปลูกพืชผัก กินเอง จะสังเกตได้นะเวลามีตลาดนัด ต้องย้อนกลับไปแรกเริ่ม ตลาดนัดบ้านเราจะเป็นตลาดทีค่ นข้างนอกมาขาย แต่พอตอนหลัง เราจัดโซนตลาดสีเขียวให้ชาวบ้านนำ�พืชผักไปขาย จะสังเกตได้ว่า พืชผักชาวบ้านขายได้หมดทุกเจ้า เพราะผักปลอดสาร ผู้บริโภค


82 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

สมั ย นี้ ห่ ว งใยสุ ข ภาพ เขาเน้ น บริ โ ภคอาหารปลอดสารพิ ษ กั น มากขึ้น” เมื่อถึงวันพฤหัสฯ สมัย แตงโต จะรวบรวมผักปลอดสาร ของชาวบ้านในหมู่บ้านเพื่อไปวางขายที่ตลาดสีเขียว “บ้านฉันปลูกมะเขือ พริก เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา ครบวงจร ถ้าเหลือก็แบ่งเพือ่ นบ้านกิน ผักทีฉ่ นั นำ�ไปขายทีต่ ลาดสีเขียวคือฉัน เป็นตัวแทนในหมูบ่ า้ น ฉันจะบอกชาวบ้านว่าพรุง่ นีจ้ ะไปตลาดนะ ให้เก็บผักไว้ ฉันจะไปเอา” ในอนาคต องค์การบริหารส่วนตำ�บลสมอแขมีโครงการจะ ทำ�บรรจุภัณฑ์สำ�หรับผักปลอดสาร พร้อมตรารับรองมาตรฐาน สินค้า “ฉันไปนั่งขายเองเลย จะเจอกั น ทุ ก วั น พฤหั ส ฯ ฉั น จะขายไส้ อั่ ว ขนมจี บ ซาลาเปา และก็ เ อาผั ก ไป เสริ ม เมื่ อ ก่ อ นจะมี ป้ า ย บอกว่าผักปลอดสารพิษ แต่ เดี๋ ย วนี้ ไ ม่ ต้ อ งติ ด ป้ า ยแล้ ว ชาวบ้านละแวกนั้นเขาเลิก งานแวะเข้ า ตลาดเขาจะรู้ เห็นมะเขือผลงอๆ เขารู้ว่า ไม่ได้ฉีดยา เขาก็ไม่ไปเอา มะเขือลูกสวยๆ นะ อย่าง


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 83

มะเขือแผงที่ติดกับเราสวยนะ แต่เขาไม่เอา เขาเอาปลอดสาร พอ ของเราหมดเขาจึงไปซือ้ ของคนอืน่ ในอนาคตถ้าเราจะทำ�แบบแพ็ค ไปขาย ฉันมองว่ามันจะช่วยการันตีสินค้าได้ ผู้บริโภคจะมั่นใจใน ผักของเรามากขึ้น” “ที่บ้านพี่สมัยอยู่กันกี่คนครับ?” “อยู่กัน 2 คนกับแฟน” “อยู่กันแค่ 2 คนไม่เหงาเหรอ?” “ก็เหงาเป็นบางครั้ง แต่ตอนนี้ไม่เหงาแล้ว มีเหลนแล้ว เมื่อก่อนกลางวันเราจะไม่มีเวลาคุยกันเลย จะลงพื้นที่ตลอด หาประสบการณ์ ถ้ามีกิจกรรมในชุมชนฉันจะตำ�น้ำ�พริกไปขาย ฉันชอบขายของ”

-3แบรนด์อุทัยเก่า สินค้าเกษตรสีเขียวของเกษตรกรที่ตำ�บลอุทัยเก่ามีหลาย อย่าง ข้าว ผัก ปลา หมู ไข่ ไก่ ผลไม้ ขณะนี้ตลาดนัดสีเขียวซึ่งจะ เป็นตลาดปลอดสารของชุมชนตำ�บลอุทัยเก่ากำ�ลังก่อสร้าง และ มีฤกษ์เปิดในช่วงเดือนมกราคม “ในตลาดของเราเราจะแบ่งผู้ขายแบบนี้ ถ้าแผงไหนได้รับ ผ้ากันเปือ้ นและหมวกจากท้องถิน่ แสดงว่าสินค้าเขาผ่านมาตรฐาน ปลอดสาร ถ้าแผงไหนไม่มีแสดงว่ายังไม่ผ่านมาตรฐานปลอดสาร


84 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

เราต้องสร้างมาตรฐานให้คนยอมรับ ตลาดของเราจะใช้ชื่อว่า ตลาดสีเขียว” นอกจากตลาดสีเขียวซึ่งกำ�ลังจะเปิดทำ�การ ธาดา อำ�พิน นายกองค์การบริหารส่วนตำ�บลอุทยั เก่า ยังเชือ่ มโยงสินค้าปลอดสาร ของอุทยั เก่าเข้ากับตลาดระดับอำ�เภอ ระดับจังหวัด จึงทำ�ให้สนิ ค้า สีเขียวของชาวอุทัยเก่ามีพื้นที่มากขึ้น “เราจะจัดแบ่งวันแบบนี้ วันจันทร์เป็นตลาดในตำ�บล วัน อังคารเป็นตลาดอำ�เภอ วันเสาร์เป็นตลาดระดับจังหวัด แล้วเรา ก็หากลุ่มว่าตำ�บลไหนทำ�ตลาดสีเขียวบ้าง เราก็ไปเชื่อมโยงเป็น เครือข่ายกับเขา มันทำ�ให้กลุ่มแม่ค้าสินค้าสีเขียวมีพื้นที่การขาย กว้างขึ้น” ในเมือ่ ตลาดสินค้าปลอดสารของชาวอุทยั เก่าก็มแี ล้ว แล้วใน อนาคตอันใกล้ยงั จะมีตลาดสีเขียวแห่งใหม่เกิดขึน้ อีก แต่ธาดาบอกว่า สิ่งที่จะค้ำ�ประกันความมั่นใจให้ผู้บริโภคก็คือต้นทาง - การผลิต “การเปิ ดตั ว ของอุ ทั ย เก่ า เพื่ อ ให้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ข องเราเป็ น ที่ ยอมรับ เราก็เชิญผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำ�เภอ ผูอ้ �ำ นวยการโรงพยาบาล ผูอ้ �ำ นวยการโรงเรียน ซึง่ หน่วยงานเหล่านี้ จะใช้ผลิตภัณฑ์ของเราในโรงครัวของเขา เราก็เปิดให้เขาดูการผลิต ของเราเลยว่าเราเลี้ยงไก่อย่างไร ไก่อินทรีย์ เป็ดอินทรีย์ เลี้ยงปลา ปลอดสารพิษ ปลูกผักอย่างไร” การจูงมือผูบ้ ริโภคมาดูกระบวนการผลิตเป็นการสร้างความ มัน่ ใจในสินค้าได้อย่างดี นีค่ อื ระบบตลาดแบบขายตรง ซึง่ ทีอ่ ทุ ยั เก่า มี ทั้ ง ตลาดนั ด สี เ ขี ย ว ตลาดจั ด โซน และตลาดแบบขายตรง


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 85

ถ้ า ย้ อ นกลั บ ไปหลายปี ก่ อ นหน้ า ภารกิ จ ของนายกองค์ ก าร บริหารส่วนตำ�บลอุทัยเก่าผู้นี้คือการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตของ เกษตรกรในตำ�บล “การเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตมันต้องค่อยๆ เปลี่ยน พอ ไม่ใช้เคมีดินมันก็ดีขึ้น ผมส่งเสริมให้เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย เลี้ยงหมู หลุม เพื่อเอามูลของมันมาทำ�ปุ๋ย ดินก็เริ่มกลับมาดี ถ้าเราเผาซัง ฉีดยาฆ่าหญ้ามันก็เหมือนไปฆ่าดินให้ตาย พอดินตายโยนอะไรไป หว่านอะไรไป มันก็ไม่งอก เพราะมันไม่มีจุลินทรีย์แล้ว”


86 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

จากการส่งเสริมของท้องถิ่น เช่น โครงการตู้เย็นข้างบ้าน ที่ ส่งเสริมให้เกษตรกรที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเนื่องจากใช้สารเคมีทางการ เกษตรมายาวนานหันมาปลูกพืชผักปลอดสาร เลี้ยงสัตว์โดยเน้น ให้ผกั ผลไม้ จนสินค้าส่วนหนึง่ นำ�ไปขายให้คนภายนอกชุมชน และ ตลาดสีเขียวที่จะมีผลผลิตทางการเกษตรทุกชนิด และปลอดสาร “ส่วนตลาดสีเขียวน่าจะเปิดปีใหม่ เป็นตลาดทั่วไป มีหมู หลุม ไข่ไก่ ผลไม้ คือทุกอย่างปลอดสาร อย่างการเลี้ยงไก่ผมได้ แนวคิดจากจังหวัดสุรินทร์ ไก่อินทรีย์ ผมก็เลยมาส่งเสริม การ เลี้ยงไก่ไข่เราต้องมีพื้นที่ให้เขาเดิน อย่าไปขัง ขังแล้วเครียด แล้ว อาหารเราต้องให้กนิ ข้าวกล้อง ช่วง 2-3 เดือนแรกให้กนิ อาหารเลีย้ ง นัน่ แหละ แต่พอใกล้จะไข่เราต้องเลิกอาหารเลีย้ ง ให้มนั กินข้าวกล้อง กินสมุนไพรอย่างฟ้าทะลายโจร ต้นกล้วย แต่ต้องมีพื้นที่กว้าง ให้มันเดิน หมูก็เหมือนกัน เราไม่ให้กินอาหารเม็ด ให้กินข้าวบด ข้าวบด 1 กิโลกรัม น้ำ�หมักปลา 2 ขีด ต่อตัวต่อมื้อ หมูไม่มีสาร เร่งเนื้อแดง เราให้กินข้าวบดให้กินผัก “เกษตรกรต้องทำ�อย่างนี้ ไม่เช่นนัน้ ไม่ได้เข้าโครงการของเรา ตลาดเรามีให้แล้ว แต่คณ ุ ต้องทำ�ตามเงือ่ นไขของเรา เรากำ�ลังสร้าง มาตรฐานให้แบรนด์ของอุทัยเก่า”


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 87

-4อนิรุตธ์ ฟาร์ม ด้วยวัย 30 ปี อนิรุตธ์ สุขพุทธ ปลูกหน่อไม้ฝรั่งออร์แกนิก ปลูกต้นหอมออร์แกนิก ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ ผักปลอดสาร สินค้า ทัง้ หมดของเขาปลอดสารและมีตลาดรองรับ โดยขายตรงให้บริษทั ตัวแทนจำ�หน่าย ส่งต่างประเทศ “จุดเริม่ ต้นของการทำ�เกษตรไม่วา่ คุณจะปลูกอะไรก็แล้วแต่ สิ่งสำ�คัญคือตลาด ถ้าอย่างนั้นเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นเกษตรกรรม ยั่งยืน เพราะถ้าเราปลูกดี ปลูกงาม แต่ไม่มีที่ขาย มันก็ไปไม่ได้ ฉะนั้นผมจึงคิดเรื่องการตลาดก่อน” บนที่ดินกว่า 30 ไร่ ภายใต้ชื่อ ‘อนิรุตธ์ ฟาร์ม’ เขามีวิธีคิด เบื้องหลังพืชแต่ละชนิด ดังนี้ 1.หน่อไม้ฝรั่ง “ผมเริ่มจากศึกษาดูงานว่าเขาปลูกแบบไหน เขาส่งบริษัท ไหนกันบ้าง เราก็ไปศึกษาดู กลับมาวางแผนการทำ�งาน พอปลูก จริง คุณภาพสินค้าเราทำ�ได้ บริษัทก็เป็นตัวเลือกของเรา เราไม่ได้ เป็นตัวเลือกของบริษัทนะ ฉะนั้นเราจะเลือกขายให้บริษัทนี้หรือ ไม่ขายก็ได้ ขึ้นอยู่ที่ความพอใจของเรา เพราะเราทำ�สินค้าที่มี คุณภาพ เรามีการันตีคุณภาพสินค้าเราคือ GAP (Good Agricultural Practice: ใบรับรองการทำ�การเกษตรที่เหมาะสม โดยกรม วิชาการเกษตร) ที่กระทรวงเกษตรฯ เขารับรองให้ เราก็เลือกที่จะ ขายให้คนที่ให้ราคาเป็นที่พอใจสำ�หรับเรา”


88 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

2.ข้าว “ก่อนจะปลูกเราต้องศึกษาก่อนว่าเราจะปลูกสายพันธุ์ไหน เราต้องดู เวลาเราตื่นเช้ากินข้าวต้องดูว่า ข้าวที่กินมันเป็นคุณหรือ โทษต่อร่างกาย ข้าวทีเ่ รากินไปทุกวันนีเ้ รากินแค่อมิ่ แต่คณ ุ ค่าทางยา มันไม่ได้ ผมศึกษาข้าวไรซ์เบอรี่ ปรากฏว่ามีข้อมูลทางวิชาการ


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 89

สนับสนุนเกีย่ วกับโภชนบำ�บัดหรือคุณค่าของข้าวอยูห่ ลายตัว ก็เลย หันมาปลูกข้าวสายพันธุ์นี้ แต่ปัญหาคือจะขายที่ไหนล่ะ “เบื้องต้น ผมปลูกไว้กินในครอบครัวก่อน ให้ญาติพี่น้องมี ข้าวสายพันธุด์ ๆ ี ไว้กนิ กัน เพือ่ จะได้สขุ ภาพดี ถ้าเหลือเราค่อยขาย ให้แหล่งที่เราเอาพันธุ์มาก็คือคุณพ่อของผมที่สิงห์บุรี ซึ่งเขาจะนำ� ไปแปรรูป เช่น สีเป็นข้าวกล้อง ข้าวขาว น้ำ�มันรำ�ข้าว หมี่โคราช ก็หลากหลายแล้วแต่เขาจะแปรรูป เราเป็นผู้ผลิตแล้วส่งไป” 3.ผัก “เราต้องหาตลาด ทีนี้เราเลือกปลูกผักอินทรีย์ คำ�ถามเดิม คือปลูกแล้วขายที่ไหน ซึ่งการปลูกผักอินทรีย์ต้นทุนมันสูงนะ ถ้า ใครปลูกจริงจะรู้ว่าสารชีวภัณฑ์บางตัวราคาสูง ปฏิเสธไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นถ้าจะปลูกผักอินทรีย์จริงๆ เราต้องหาตลาดรองรับ ไว้ก่อนเลย “สมมุติเราไปดูว่าในพื้นที่เราในจังหวัดเรามีใครที่ทำ�ฟาร์ม แล้วได้มาตรฐาน ได้ Organic Thailand ซึ่งถ้าเราเพิ่งปลูกเราจะ ไม่ได้มาตรฐานตัวนี้หรอกเราต้องอาศัยเขาก่อน เพราะเขาทำ�มา ก่อนเราอย่างน้อยเป็น 10 ปี ฟาร์มเหล่านี้จะได้รับเอกสารจาก ราชการหรือ Organic Thailand เราอาศัยเขาโดยฝากผักของเราไป ขายกับเขา แล้วทำ�ไมเขาจึงยอมรับผักเรา คุณจะรับผักของคนอื่น มาซึ่งไม่ใช่ลูกหลานมาขายร่วมกับคุณ คุณกล้ามั้ย เราก็เลยได้ พิสจู น์ตวั เองว่าผักทีเ่ ราปลูกผ่านมาตรฐานของฟาร์มเขา ผักของเรา ขายร่วมกับผักที่ผ่านมาตรฐานได้ มันก็ทำ�ให้เรารู้สึกประสบความ สำ�เร็จในอาชีพเกษตรแล้ว คือฝันนะว่าปลูกผัก ถ้าใครปลูกผัก


90 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 91

ส่งออกได้มันเป็นความภูมิใจ” ปัจจุบัน ผลผลิตในอนิรุตธ์ ฟาร์ม มีตลาดรองรับทุกชนิด สินค้าบางชนิดถูกส่งไปจำ�หน่ายต่างประเทศ อนิรุตธ์เริ่มทำ�การเกษตรแบบเต็มตัวเมื่อเกือบ 2 ปีแล้ว เขาเป็นคนตำ�บลดงมูลเหล็ก จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่ “ก่อนหน้านี้ ผมทำ�งานเป็น ผู้จัดการบริษัทเอกชนเกี่ยวกับไฟแนนช์ ผมเรียน ด้านภาษา มนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ งานแรกที่ทำ�หลัง เรียนจบคือเป็นเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมเทคนิครถดำ�นาคูโบต้า 2 ปี เก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่เราไปส่งเสริมเทคนิคการทำ�นา รวมถึง เรียนรู้จากปราญช์หลายๆ ท่านที่พบเจอด้วย ในขณะนั้นที่บ้าน ผมก็ทำ�เกษตรอยู่แล้ว ที่บ้านทำ�ต้นหอมแบบใช้สารเคมี แต่ก็ลด การใช้สารเคมีลงเรื่อยๆ” “ตอนที่คุณกลับมาทำ�เกษตร แล้วผลิตด้วยระบบอินทรีย์ ที่ บ้านคุณเห็นด้วยหรือคัดค้าน?” “ตอนผมจะทำ�อินทรีย์ ในครอบครัวก็แค่เป็นห่วงว่ามันจะดี หรือเปล่า แต่คนทัง้ หมูบ่ า้ นบอกว่าผมบ้า สังคมไทยเรารูอ้ ยูแ่ ล้วล่ะ แรงต้านมันเยอะ มีเราคนเดียวที่เดินสวนกับคนหมู่มาก แต่เรารู้ อยู่แล้วล่ะว่าข้างหน้ามันคือเหว ต่อให้เราประกาศอย่างไรก็ไม่มี ใครเชื่อจนกว่าเขาจะเจอกับตัวเอง เรารู้ว่าถ้าเดินไปคนเดียวมัน เหงานะ มันเจ็บนะ แต่สกั วันหนึง่ ถ้าเขาเจอเหว ถ้าไม่กระโดดลงไป เขาต้องหันกลับมาตามเรา” “อะไรทีท่ �ำ ให้คณ ุ อยากกลับมาทำ�เกษตรกรรม ซึง่ ในตอนนัน้ คุณอายุเพียง 28”


92 ชื่อยืนยง นามสกุลยั่งยืน

“ผมมองว่าความยั่งยืนมันน้อยถ้าเราทำ�งานบริษัทต่อไป ความมั่นคงในโรงงานอุตสาหกรรมมันไม่ได้แล้ว วันที่เราแก่ตัวไป เรือ่ ยๆ วันนัน้ เมือ่ เรากลับบ้านเราจะกลับมามือเปล่าทันที เรีย่ วแรง ทำ�เกษตรไม่มีแล้ว เราจึงหันมาทำ�ตอนหนุ่ม ถ้าเราพลาดหรือล้ม เรายังมีโอกาสฟืน้ ตัวทำ�ได้ใหม่ เพราะเรายังมีแรงอยู่ ผมอยากผลิต สินค้าดีๆ ให้คนทั่วโลกได้กิน นี่คือแรงบันดาลใจแรก อีกสิ่งคือผม อยากเปลี่ยนแปลงบางอย่าง” “อะไรคือสิ่งที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลง?” “ทุกวันนีห้ ลายๆ คน หลายๆ บ้าน แม้แต่บา้ นผมเองยังไม่ได้ โฉนดกลับมานะ ยังตากห้องแอร์อยู่ ก็คือโฉนดยังอยู่ในห้องแอร์ อยากเอากลับมาบ้านให้มนั อุน่ ใจ คือทำ�วิธไี หนล่ะทีจ่ ะทำ�ให้ทกุ คน สามารถนำ�โฉนดกลับมาบ้านได้ ในเมื่อพ่อแม่ก็ดิ้นมาสุดชีวิตแล้ว แล้วลูกก็ยังเดินเข้าโรงงานก็ปรากฏว่าไม่ได้ช่วยอะไรทางบ้านให้ ดีขึ้นเลย แล้วโฉนดมันก็หลุดลอย ที่ดินก็ไม่ใช่ของเรา ผมอยาก กลับมาพลิกฟื้น มาสร้างตำ�นาน ว่าอย่างน้อยเราก็สามารถที่จะ ทำ�ได้หรืออย่างน้อยเราก็ได้ทำ�ดีที่สุดแล้ว ถ้าเกิดเราทำ�ได้มันก็ เป็นเรื่องน่ายินดี” “ตำ�นานที่คุณกำ�ลังสร้างจะมีเรื่องราวแบบไหน?” “ภาพเดิมๆ ของเกษตรกรคือทำ�แล้วจน ทำ�แล้วเจ๊ง นั่นก็ใช่ เพราะยังใช้ชดุ ความรูเ้ ดิมๆ ทำ�ไมเกษตรกรญีป่ นุ่ เขาเป็นดอกเตอร์ เขาดูเท่ ดูยิ่งใหญ่ ดูมีเกียรติในสังคม เกษตรกรสามารถกำ�หนด ราคาได้ อำ�นาจต่อรองของเกษตรกรต่างประเทศชัดเจนมาก แต่ ของไทยปลูกไปแล้วก็ยังไม่รู้จะขายให้ใคร


เรื่องเล่าของผู้คนบนถนนชื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 93

“ถ้าเรายังทำ�แบบเดิมอยูผ่ ลลัพธ์มนั ก็เป็นแบบเดิม เราทำ�นา มาไม่รู้กี่ร้อยปี แต่ชาวนาไม่เคยร่ำ�รวย ก็ยังใช้ความรู้แบบเดิมๆ จริงหรือไม่ว่าข้าวทุกสายพันธุ์เป็นข้าวไม่ไวแสง ถ้าจริงเหตุไฉน จึงหว่านข้าวกันไร่ละหลายๆ ถัง ข้าว 1 กอของชาวนาต้องแตก กอให้เยอะที่สุด ออกรวงให้เยอะที่สุด นั่นคือกำ�ไร ไม่ใช่การใส่ปุ๋ย เข้าไปเพื่อให้มันออกรวง ปัญหาเพลี้ยโรคมันมาจากความเชื่อที่ ส่งเสริมกัน ผิดๆ หรือเปล่า เราต้องมาย้อนมองดูตรงนี้ เราควร ตัง้ คำ�ถามกับสิง่ ทีท่ �ำ ๆ กันมา เหตุไฉนทำ�แล้วเจ๊งๆ ก็ยงั ทำ�แบบเดิม ล่ะ ทำ�ไมไม่ลองเปลี่ยนวิธีใหม่” “อะไรคือเคล็ดลับทีพ่ อจะเปิดเผยได้บา้ งเกีย่ วกับการทำ�การ ตลาด?” “การติดต่อบริษัทไม่ใช่เรื่องยาก ความตั้งใจเป็นเรื่องสำ�คัญ โดยมีคุณภาพสินค้าเป็นตัววัด เริ่มแรกก็ยังไม่มีใครเชื่อเรา 100 เปอร์เซ็นต์นะ กว่าเขาจะยอมรับผักของเราให้ร่วมไปกับเขาก็ใช้ เวลานานพอสมควร สิ่งสำ�คัญคืออย่าโกหกตัวเอง เราต้องซื่อสัตย์ ต่อตัวเอง นี่สำ�คัญเลยถ้าจะให้คนอื่นยอมรับ”





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.