| March-April 2013
1
Read Me 16 Egazine
Content [เด่นในเล่ม]
January-February 2013
P.06
P.10
ผลิตโดย: สำ�นักงานอุทยานการเรียนรู้ สังกัดสำ�นักงานบริหารและพัฒนา องค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เลขที่ 999/9 อาคารสำ�นักงาน เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 17 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์: 02 264 5963-5 โทรสาร: 02 264 5966 ที่ปรึกษา: ดร.ทัศนัย วงศ์พิเศษกุล รองผู้อำ�นวยการสำ�นักงานบริหารและ พัฒนาองค์ความรู้และผู้อำ�นวยการ สำ�นักงานอุทยานการเรียนรู้
P.16
P.22
หัวหน้าฝ่ายกิจกรรม: อัศรินทร์ นนทิหทัย บรรณาธิการบริหาร: วิภว์ บูรพาเดชะ บรรณาธิการ: ปิยภัทร นันทนรเศรษฐ์ กองบรรณาธิการ: อภิลักษณ์ ธัญประทีป/ สุธาสินี เลิศวัชระสารกุล/ จารุวรรณ แซ่ลี/ ปริญญา ก้อนรัมย์/ ฐาปะนีย์ สามัคคี/ สิรวิชญ์ ทิพย์สกุลเจริญ/ ปรางแก้ว ศรีแก้ว/ ยุทธชัย สว่างสมุทรชัย/ อมร จินดาทองดี กราฟิกดีไซน์เนอร์: เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี ช่างภาพ: กัษมา เรืองงาม พิสูจน์อักษร: ปิยภัทร นันทนรเศรษฐ์/ อภิลักษณ์ ธัญประทีป/ ปริญญา ก้อนรัมย์/ สิรวิชญ์ ทิพย์สกุลเจริญ/ ปรางแก้ว ศรีแก้ว
P.26
ประสานงาน: ชญาภา โตสุทธิศักดิ์/ นวพร มาลาศรี/ สิริรัตน์ จันทศรี www.tkpark.or.th www.facebook.com/tkparkclub www.facebook.com/readmeegazine www.twitter.com/tkpark_TH
P.32
3
Editor’s Talk
4-45
เรื่องจากปก: โลกของ ‘นักแปล’
32-33
My Space: มากกว่าการเรียนรู้ภาษา ‘สถาบันวิจัย ภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล’
34-35 What is This:
Font: Midnight Thai / TH Krub /In See Dang
2
36-37
Review
38-39
Outlet: ปล่อยของ ‘ดาวห่าง ดาวหาง’
40 TK Voice: ถ้าสื่อสารกันได้ อยากคุยกับพืชหรือสัตว์ ชนิดนั้นว่าอะไร? 41 | Read Me 17
Activities Calendar: March 2013
Editor’s talk [บท บก.] บอกกันไว้ก่อนเลยว่า Read Me ฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ‘นักแปล’ ...ฟังแล้วรู้สึก น่าสนใจไหมครับ? ผมค่ อ นข้ า งตื่ น เต้ น นะครั บ ตอนที่ น้ อ งๆ คุยกันว่าจะทำ�เรื่องนี้ คือส่วนตัวผมก็สนใจ เรื่ อ งการสื่ อ สารระหว่ า งคนกั บ คนอยู่ แ ล้ ว พอน้องๆ เขาเสนอมาก็เลยพยายามชวนเขา คิดว่าจะมีการแปลในรูปแบบไหนบ้าง ลองคิด กั น ไปมาก็ ไ ด้ ห ลายเรื่ อ ง หลายมุ ม มองดี ผมกั บ น้ อ งๆ สื่ อ สารกั น ว่ า จะไปคุ ย กั บ ใคร ใ น เ รื่ อ ง ไ ห น กั น บ้ า ง เ ท่ า ที่ นึ ก ๆ เ อ า ในจิ น ตนาการของตั ว เองก็ รู้ สึ ก ว่ า น่ า สนุ ก น่าจะได้ประสบการณ์หลากหลายของคนที่ ทำ � ห น้ า ที่ แ ป ล ส า ร ร ะ ห ว่ า ง ค น กั บ ค น ในรูปแบบต่างๆ แต่กค็ งเหมือนกับการสือ่ สารทีเ่ ราพบเห็น ได้ทั่วๆ ไปในชีวิตประจำ�วันล่ะครับ บางทีเรา คุยภาษาเดียวกันก็ยังมีสื่อสารคลาดเคลื่อน กั น ไปบ้ า ง บางครั้ ง เราก็ มี ภ าพบางอย่ า ง ในหัวอยูแ่ ล้ว มีจนิ ตนาการหรือประสบการณ์ บางอย่างที่ส่งผลให้การแปลการสื่อสารนั้น คลาดเคลื่ อ นไปก็ มี ดั ง นั้ น ภาพที่ ผ มคิ ด ไว้ ในหัวอาจจะไม่เหมือนกับสิง่ ทีน่ อ้ งๆ เขาทำ�กัน มาแบบเป๊ะๆ ก็เป็นได้ มองในแง่ ห นึ่ ง ความคลาดเคลื่ อ นก็ คื อ ความผิดพลาด แต่มองอีกมุมก็อาจเป็นสิ่ง ที่ทำ�ให้เราได้เรียนรู้ความเหมือน-ความต่าง ระหว่างกันก็ได้ สรุ ป ว่ า ผมก็ ร ออ่ า น Read Me ฉบั บ ‘นักแปล’ นี้ด้วยความตั้งใจ และก็ตื่นเต้น ที่จะได้รู้ว่าในตอนที่สื่อสารเรื่อง ‘นักแปล’ กับน้องๆ นั้น เรามีอะไรคลาดเคลื่อนกันไป บ้างหรือเปล่า แล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไร คุ ณ ล่ ะ ครั บ ? ลองอ่ า นดู แ ล้ ว ลองถาม ตัวเองดูด้วยก็ได้นะ
ทุกคนคงเคยดูโดราเอมอน และได้เห็นของวิเศษชิ้นหนึ่งที่เรียกว่า ‘วุ้ น แปลภาษา’ ไอ้ เ จ้ า วุ้ น ชิ้ น สี เ ทาๆ ที่ กิ น เข้ า ไปแล้ ว สามารถพู ด คุ ย กับคนต่างชาติ หรือสื่อสารกับพืชและสัตว์ได้อย่างง่ายดาย คุณเคยคิด ไหมว่า หากของวิเศษชนิดนี้มีอยู่จริงในโลก อาชีพ ‘นักแปล’ ทุกแขนง คงตกงานกันหมด เพราะไม่ว่าเราจะพูดอะไรออกไปก็คุยกันรู้เรื่อง ทว่าในชีวิตจริงมันไม่ได้ง่ายดายเหมือนในการ์ตูน ดังนั้นนักแปลจึงมี ความสำ�คัญมากในการติดต่อสือ่ สาร พบปะพูดคุย หรือแม้แต่การแปลสาร จากสื่อต่างๆ ไปเป็นภาษาอื่นๆ ทั่วโลก เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน Read Me ฉบับนีไ้ ด้น�ำ เสนอมุมมองของ ‘นักแปล’ จากหลากหลายแขนง ทั้งนักแปลวรรณกรรม นักแปลข่าว นักแปลการ์ตูน รวมไปถึงล่าม เช่น ล่ามภาษามือ ล่ามกีฬา และแม้แต่วงการทีต่ อ้ งใช้การแปลเป็นตัวขับเคลือ่ น เช่น การทำ�แฟนซับ ว่านอกจากการแปล one, two, three เป็นหนึ่ง สอง สามแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นใดอีกบ้าง ที่จะส่งผลให้การแปลออกมา มีคุณภาพและได้ใจความที่ถูกต้อง โปรดอย่าลังเลที่จะพลิกอ่านหน้าถัดไป เพราะเราได้ทำ �การขัดเกลา เนื้ อ หา โดยการแปลไทยเป็ น ไทยให้ พ วกคุ ณ เป็ น ที่ เ รี ย บร้ อ ยแล้ ว (However, if you’re a foreigner, let’s find a translator to help you enjoy this issue immediately!)
วิภว์ บูรพาเดชะ บรรณาธิการบริหาร
ปิยภัทร นันทนรเศรษฐ์ บรรณาธิการ
| March-April 2013
3
Cover Story [เรื่องจากปก]
4
| Read Me 17
โลกของ ‘นักแปล’ ด้วยสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่อาศัย ทำ�ให้ผู้คนในแต่ละท้องที่มีสังคมที่แตกต่างกันออกไป ใช้วิถีชีวิตและมีขนบธรรมเนียมประเพณี ที่หลากหลาย และใช้ภาษาที่ต่างกัน ดังนั้นหากจะสื่อสารกันได้ก็ต้องทำ�การแปลภาษา ให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ด้วยเหตุนี้ นักแปลจึงเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ในสังคมการแปลนั้น ไม่ใช่สักแต่ว่าแปล เหมือนเปิดพจนานุกรมแล้วตอบ แต่การแปล ที่ดีต้องมีการขัดเกลาภาษา อีกทั้งใช้องค์ความรู้ และข้อมูลด้านสังคมวัฒนธรรมของภาษานั้นๆ เพื่อให้สื่อสารออกไปได้อย่างถูกต้องครบถ้วน และนี่น่าจะเป็นความสนุกอย่างหนึ่งของการแปล ทั้งสนุก ทั้งได้ความรู้ ทั้งได้งาน เรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียว ได้นกหลายตัว แล้วคุณล่ะ อยากสนุกไปกับพวกเขามั้ย?
| March-April 2013
5
6
| Read Me 17
คนล่างจอ สนทนากับนักแปลซับไตเติ้ล เรื่อง: ปริญญา ก้อนรัมย์ ภาพ: กัษมา เรืองงาม
การชมภาพยนตร์สักเรื่องหนึ่งให้ถึงใจนั้น ไม่ใช่แค่ภาพหรือเนื้อเรื่อง ที่จะต้องถูกตาถูกใจเรา ภาษาก็เป็นเงื่อนไขหนึ่ง ที่จะทำ�ให้เลือกดู ภาพยนตร์ตรงหน้าต่อไปหรือเปล่า หากฟังเสียงพูดไม่เข้าใจ ใครเล่า จะดูมันรู้เรื่อง ตัวหนังสือสีขาวล่างจอภาพ จึงเป็นเสมือนสื่อกลาง ในการบอกเล่าความเป็นไปของภาพยนตร์ พาคนดูเดินทางไปกับ ภาพยนตร์จนจบ แต่คุณเคยสงสัยไหมว่าตัวอักษรสีขาวแสนสำ�คัญ เหล่านั้น มาปรากฏอยู่บนหน้าจอภาพยนตร์ได้อย่างไร?
นนี้เราจะพาไปทำ�ความรู้จักกับผู้ชาย คนหนึ่ ง พร้ อ มกั บ อาชี พ ของเขา เห็นชื่อเขาแล้วอย่าสงสัย เขาไม่ใช่ ดาราหนังจากเรื่อง Star War แต่เขาเป็น นักแปลซับไตเติ้ลมืออาชีพ ผู้ที่จะมาบอกเล่า ความเป็นไปของตัวหนังสือล่างจอเหล่านั้น ฟิลม์ เริม่ หมุน ภาพในจอเริม่ ฉาย ไปรูจ้ กั ตัวตน ของเขากันเลยครับ ‘JEDIYUTH’ “ทำ�ไมถึงต้องชือ่ JEDIYUTH ครับ” เราเอ่ย คำ�ถามแรกกับพี่เจได “ตอนนั้นกำ�ลังจะสมัคร Pantip ก็เลย หานามแฝง ซึ่ ง ตั ว เองเป็ น คนชอบดู ห นั ง อยู่แล้ว จึงอยากจะได้ชื่ออะไรที่เกี่ยวกับหนัง พอดี Episode 1 เพิ่งเข้าฉายแล้วชอบ ก็เลย JEDIYUTH แล้วกัน” พี่เจไดเล่าความเป็น มาของชื่อ ก่อนที่จะเริ่มมาทำ�งานแปลซับไตเติ้ลนั้น พี่เจไดเล่าว่าตัวเองเคยทำ�งานอื่นอยู่ครึ่งปี แต่ลาออกเพราะรู้ว่าไม่ใช่ตัวตน “ตอนแรก ที่ทำ�งานเพราะต้องการเงิน ต้องการรายได้
ทีม่ นั่ คง บังเอิญมีรนุ่ พีต่ ดิ ต่อมาว่าจะมีเคเบิล ทีวีเปิด แล้วเขาต้องการคนทำ�ซับไตเติ้ลหนัง ผมก็เลยมาดูแลทำ�ซับไตเต้ิลหนังให้” ช่วงแรกที่ทำ�งานพี่เจไดบอกว่าตัวเองนั้น โชคดี ที่ได้คุณอมรัตน์ มนติวัต มาสอนเซนส์ เรื่องการแปลให้กับเขา ซึ่งตอนแรกพี่เจได เรียนการแปลเพื่อธุรกิจมา ซึ่งมันไม่เหมาะ ในการแปลซับฯ “คุณอมรัตน์เป็นนักแปล ที่ มี ป ระสบการณ์ เขาแปลบทพากย์ ม า ตั้งแต่สมัยช่องสี่บางขุนพรหม อย่างสำ�นวน ‘ให้ตายเถอะโรบิ้น’ นั้นก็มาจากแก” พี่เจไดบอกว่าตอนนั้นก็มีครูฝรั่งมาสอน วิ ธี ก ารทำ � ซั บ ไตเติ้ ล เพราะการทำ � ซั บ ไตเติ้ลไม่ใช่แค่เรื่องการแปลเพียงอย่างเดียว แต่มันต้องทำ�ให้กระชับ พี่เจไดบอกว่าฝรั่ง เขาสอนเรื่องการนับเวลา อย่างซับไตเติ้ล ขึ้นหนึ่งวินาที จะต้องใช้กี่ตัวอักษรดีถึงจะ เหมาะสม เรี ย กว่ า ตอนนั้ น พี่ เ จไดได้ เ รี ย น ทุกขั้นตอนของการทำ�ซับไตเติ้ลเลยทีเดียว ในทรรศนะของพี่เจได อาชีพนักแปลซับฯ | March-April 2013
มี ค วามสำ � คั ญ สำ � หรั บ ภาพยนตร์ ต รงที่ ว่ า “ซับฯ มันช่วยให้คนเข้าใจหนังมากขึน้ ชือ่ ของมัน ก็บอกอยู่แล้วว่าเป็น ‘ซับฯ’ ความหมายของ ซับฯ แสดงว่ามันยังไม่ใช่ไตเติ้ล มันยังเป็น ซับฯ อยู่ หน้าที่หลักๆ ของมันก็คือทำ�ให้คนดู หนังรู้เรื่อง คือเราต้องทำ�ยังไง ให้คนดูหนัง เข้าใจมากที่สุด และเร็วที่สุด เพราะมันมีเรื่อง ของเวลา เราต้องอย่าลืมว่าเวลาเราแปลหนัง เราต้องทำ�ให้เขาได้ดหู นังด้วย ไม่ใช่มานัง่ อ่าน ซับไตเติ้ล” พี่เจไดอธิบายเพิ่มถึงวิธีการทำ�ซับไตเติ้ล ให้เราฟัง “เมื่อก่อนมันจะมีโปรแกรมที่ชื่อ script พอมีไฟล์หนังมา เราก็จะฉายขึ้นบน หน้าจอคอมพิวเตอร์ เสร็จแล้วก็จะมีคนทำ� หน้าที่เบรคซับฯ เบรคคือการทำ�ให้ประโยค นั้นอยู่แค่ไหนถึงแค่ไหน ซึ่งโปรมแกรมมันจะ สอนเรา ตอนหลังนีก้ จ็ ะเปลีย่ นโปรแกรมใหม่ เป็น cavena เป็นโปรแกรมที่ไม่จำ�เป็นให้ คนต้องไปจัดการ เราเพียงแค่พิมพ์ใส่วินโดว์ แบ่งเป็นบรรทัดเคาะเว้นวรรคให้เรียบร้อย 7
มันมีทุกอย่าง ทั้งภาพและเสียง มันสามารถจะดึงเราออกจากโลก ความเป็นจริงไปสู่อีกช่วงเวลาหนึ่ง พิมพ์เสร็จก็เอาไปเข้าโปรแกรม มันก็จะจัด มาให้เลย เสร็จแล้วก็จะมีเจ้าหน้าที่เอาไปจัด ให้เข้ากับเสียงอีกทีเหมือนวิธกี ารทำ�หนังโรง” ก่ อ นจะถึ ง ขั้ น ตอนสุ ด ท้ า ยที่ จ ะส่ ง ออก อากาศนัน้ พีเ่ จไดบอกว่าจะต้องส่งไปให้ Final checker ตรวจทาน เพราะบางทีเวลาตรวจ งานเอง เราก็มักจะเข้าข้างตัวเองว่าถูกเสมอ พี่เจไดเล่าว่าในกระบวนการทำ�ซับฯ เมื่อก่อน มันมีหลายหน้าที่ ทั้งคนทำ�หน้าที่เบรคซับฯ คนทำ�หน้าที่แปล คนทำ�หน้าที่คิว คนซ้อน คำ�บรรยาย แต่เดี๋ยวนี้มันย่นเหลือกระบวน การน้อยลง เราถามเขาว่ า อาชี พ ทำ � ซั บ ฯ อย่ า งเขา เรียกว่าพนักงานบริษัทหรือเปล่า “เราเรียก ว่าเป็นฟรีแลนซ์ประจำ� (หัวเราะ) คือจ่าย เงินให้เป็นฟรีแลนซ์ โดยตัดเงินเป็นชิ้นๆ ไป ไม่มีสวัสดิการ เราก็ต้องขยันเพื่อจะอยู่รอด เพราะเงินค่าเรื่องก็ไม่ได้ขึ้นกันง่ายๆ” ตามที่ พี่ เ จไดเล่ า บริ ษั ท หนั ง เขาจะกำ � หนดเรต ค่ า เรื่ อ งเอาไว้ หนั ง เรื่ อ งหนึ่ ง ชั่ ว โมงครึ่ ง ถ้าเป็นเคเบิลก็จะตกอยู่สองพันบาทต่อชิ้น ดีวีดีก็จะแพงกว่าประมาณสามพันถึงสี่พัน บาท ส่วนหนังโรงก็จะอยูท่ หี่ า้ พันถึงหนึง่ หมืน่ หรือสองหมื่นแล้วแต่ชิ้น การแปลซับไตเติ้ลกับการแปลบทพากย์ ไม่ได้ทำ�งานร่วมกัน บทพากย์จะมีการแปล แยกไปต่างหาก ซึ่งเมื่อไปอยู่ในภาพยนตร์ ก็ ไ ม่ ไ ด้ ถู ก ใช้ ร่ ว มกั น “พี่ เ คยแปลบทพากย์ แล้วโดนนักพากย์ด่า (หัวเราะ) เพราะพอเรา แปลเสร็จแล้วมันเข้าปากไม่ได้ บางที่ใช้คำ� กระชับไป การใส่บทพากย์มันต้องใส่มากกว่า ซับฯ มันต้องทำ�ให้เขาพากย์ได้ ให้มันเข้าปาก ซึ่งมันลำ�บากเรา ส่วนวิธีการใช้คำ�อะไรต่างๆ
มันจะต่างกัน หรือสำ�นวนอะไรบางอย่างที่ใช้ ในซับฯ ได้ ก็อาจจะใช้ในบทพากย์ไม่ได้” เราอยากรู้ว่าพวกเขาแปลซับฯ มาจาก ทีไ่ หน “ส่วนมากมีสคริปท์ภาษาอังกฤษมาให้ บางทีกเ็ ป็นไฟล์ สมัยก่อนนีใ่ ห้กระดาษเป็นปึง๊ มานั่งเปิด (หัวเราะ) เดี๋ยวนี้พอหนังเสร็จเขา จะมี บ ริ ษั ท ทำ � ซั บ ไตเติ้ ล เขาจะทำ � สคริ ป เป็นไฟล์ เบรคซับฯ ใส่เวลามาให้เลย แต่บางที ถ้าไม่มีซับฯ เขาก็จะส่ง Screenplay มาให้ ซึง่ ลำ�บากเรามากเพราะมันมักไม่ตรงกับหนัง บางทีฉากก็สลับกัน คำ�พูดก็เปลีย่ นไม่ตรงกัน ก็ต้องใช้ความสามารถส่วนตัว” ใครๆ ก็คิดว่าอาชีพนักแปลฯ อย่างพวก เขาน่าอิจฉาเพราะน่าจะเป็นคนแรกๆ ที่ได้ดู ภาพยนตร์ก่อน ซึ่งจากประสบการณ์พี่เจได บอกว่า มีตั้งแต่แปลก่อนแล้วค่อยไปดูหนัง หรือดูหนังไปแปลไป หรือแม้แต่ไม่ได้ดูหนัง เลยก็ มี ซึ่ ง ก็ แ ล้ ว แต่ วั ต ถุ ดิ บ ที่ บ ริ ษั ท หนั ง จะหาให้ ไ ด้ “หนั ง ที่ ใ ห้ ดู ก็ มี ห ลายแบบ อย่ า งบางเรื่ อ งเป็ น หนั ง ลิ ข สิ ท ธิ์ ใ หญ่ ๆ เค้าจะให้เราดูแค่ครึ่งจอ หรือเศษหนึ่งส่วนสี่ ของจอ ที่เหลือก็เป็นจอดำ� บางทีก็มีแบบทำ� หน้าจอดำ�ทั้งหมด แล้วขึ้นจอเป็นชื่อของเรา หรือบริษัทหนัง เพราะเวลาหลุดไปจะได้รู้ว่า หลุ ด จากใคร ซึ่ ง มั น เป็ น เรื่ อ งของลิ ข สิ ท ธิ์ เรื่องของความลับทุกๆ อย่าง” ซึ่งการได้เห็นภาพก่อนที่จะแปล พี่เจได บอกว่ า ก็ เ ป็ น สิ่ ง สำ � คั ญ “ถ้ า มี ห นั ง มาด้ ว ย มั น ก็ ดี เพราะเราจะดู อ ารมณ์ ไ ด้ ชั ด กว่ า อย่างสมมติคำ�ว่า Hold on มันสามารถแปล ได้หลายความหมาย แปลว่านั่งรถดีๆ ก็ได้ แปลว่าจับแน่นๆ ก็ได้ ถ้าเราไม่รู้มาก่อนเลย ว่าตรงนั้นมันทำ�อะไรอยู่ เราก็ไม่รู้ว่าควรจะ
8
| Read Me 17
ใช้ คำ � ว่ า อะไร เพราะฉะนั้ น การได้ เ ห็ น ภาพ มั น สำ � คั ญ เมื่ อ ก่ อ นตอนยั ง ไม่ ไ ด้ ทำ � งาน เราก็ จ ะตลกคนทำ � ซั บ ฯ ว่ า ทำ � ไมคำ � ง่ า ยๆ ก็ แ ป ล ผิ ด พ อ ไ ด้ ทำ � เ อ ง ถึ ง เ ข้ า ใ จ ว่ า มั น เป็ น เพราะแบบนี้ เ อง บางคนเขาไม่ มี โอกาสได้ดูหนัง ทีนี้เราก็จะไม่ด่าเขาแล้ว” เรื่องระยะเวลาในการทำ�งานนั้น พี่เจได บอกว่าส่วนใหญ่เขาจะกำ�หนดให้มา ถ้าสองวัน ก็ต้องทำ�ให้เสร็จสองวัน สามวันเราก็ต้อง สามวัน ส่วนเรือ่ งไหนทีม่ เี วลาพีเ่ จไดก็บอกว่า ดีหน่อย แต่ถา้ เรือ่ งไหนไม่มี พีเ่ จไดบอกก็ตอ้ ง อดตาหลับขับตานอนทำ� “แต่โดยปกติถา้ แปล อย่างสบายๆ ก็สี่วันต่อหนังชั่วโมงครึ่ง บางที่ ก็สองวันถ้าหนังบู๊ๆ ไม่พูดอะไร” ก า ร จ ะ แ ป ล ห นั ง เ รื่ อ ง ห นึ่ ง ใ ห้ ดี นั้ น เราก็จำ�เป็นต้องรู้ข้อมูลของหนัง สำ�หรับพี่ เจไดการหาข้ อ มู ล ก็ แ ล้ ว แต่ ล ะเรื่ อ งไป “ถ้าเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป ตัวละครไม่ได้มี อาชีพอะไรพิเศษ ก็ไม่ต้องหาข้อมูลอะไรมาก แต่ถา้ หนังเฉพาะทาง เราก็ตอ้ งค้นคว้าข้อมูล อย่างตอนแปล Star Trek เนี่ย ก็ต้องกลับ ไปดูซีรีย์เก่าว่าเขาใช้คำ�ยังไง หรือไปปรึกษา นักดาราศาสตร์ ทหารเรือ นักวิทยาศาสตร์ ไปขอความรู้ข้อมูล หรือไปดูวิธีการใช้คำ�พูด ของเขา” ความแตกต่ า งของวั ฒ นธรรมก็ เ ป็ น อุปสรรคในการแปล สำ�หรับมุมมองพีเ่ จไดนัน้ “ในความรูส้ กึ ไม่คอ่ ยชอบให้แปลเป็นไทยมาก เกิ น ไป พี่ เ คยแปลนั ก แสดงสั ก คนนึ ง ใ น ร า ย ก า ร ท อ ล์ ค โ ช ว์ เ ป็ น คุ ณ วิ ท วั ส ในความรูส้ กึ ครัง้ แรกเราอยากให้คนอ่านเข้าใจ แต่ Final checker บอกว่ามันไม่ได้ มันตลก คืออย่างแรกเราต้องไม่ดถู กู คนอ่าน เราอย่าไป
นึกถึงคนอ่านมากเกินไปนัก เพราะก็จะมีคนอืน่ อีกทีเ่ ขารูแ้ ละเข้าใจ หนังบางเรือ่ งก็ตอ้ งอาศัย ความรู้ของคนดู เราไม่จำ�เป็นต้องคิดเพื่อ หรือให้ความรูเ้ ขาขนาดนัน้ แต่บางอย่างทีม่ า ปรับเปลี่ยนเป็นไทยได้เราก็ทำ � แต่อันไหน ไม่เข้าเราก็ไม่เอา” การเลือกใช้ภาษาในการแปลพีเ่ จไดบอกว่า ตัวละครจะกำ�หนดว่าเราควรจะใช้ภาษายังไง “ถ้าตัวละครกวนโอ๊ย เราก็ต้องใช้ภาษากวน โอ๊ยเหมือนตัวละคร ถ้าตัวละครเหี้ยมเกรียม ก็ ต้ อ งใช้ ภ าษาให้ ดุ ดั น เหี้ ย มเกรี ย ม ซึ่ ง พี่ ชอบภาษาที่ ไ ม่ เ กิ น หนั ง ใช้ ภ าษาที่ เ ป็ น ไป กับตัวละคร ไม่พยายามใช้ภาษาของตัวเอง ซึง่ ในฐานะนักแปลเราไม่ควรมีส�ำ นวนส่วนตัว หรือภาษาส่วนตัว คือควรจะให้เป็นไปตาม ภาษาของตั ว ละคร ถ้ า ตั ว ละครเป็ น ทหาร เราก็พยายามใช้ภาษาทหาร ไม่ใช้ค�ำ พูดแบบที่ เราพู ด กั น ” พี่ เ จไดบอกอี ก ว่ า การได้ อ่ า น หนั ง สื อ มั น จะช่ ว ยเพิ่ ม คลั ง ศั พ ท์ ใ ห้ เ รา เราต้องอ่านทุกอย่าง จะได้รู้ว่าตัวละครต่างๆ พู ด ยั ง ไง คนเป็ น นั ก แปลต้ อ งอ่ า นเยอะๆ นี่คือสิ่งสำ�คัญ การจัดเรตของกองเซ็นเซอร์เอง พี่เจได
บอกว่าก็มีผลต่อการเลือกใช้คำ�เหมือนกัน ซึ่งก่อนที่จะแปลก็ต้องคิดอยู่ประมาณหนึ่ง ถ้ารูว้ า่ หนังเรือ่ งนีม้ นั แรงก็จะพอเดาได้วา่ จะมี อิสระแค่ไหนในการใช้คำ� ซึ่งสำ�หรับพี่เจได ภาษาทีห่ ยาบคายนัน้ “มันไม่ได้มเี กณฑ์ตดั สิน ต้องอยู่ที่บริบทของหนัง อย่างประโยคที่ใช้ แล้ ว ทำ � ให้ คำ � นั้ น สำ � คั ญ ขึ้ น มา เราก็ ใ ช้ แต่ บ างคำ � ที่ ดู แ ล้ ว มั น แรงไป เราก็ จ ะทอน ลงมา” พี่ เ จไดบอกว่ า การใช้ ภ าษามั น ขึ้ น อยู่ กั บ กาลเทศะ อย่างบางคำ�มันก็ไม่ได้วิบัติขึ้นมา แต่มันเติบโตของมันเอง เพราะภาษาเป็นสิ่ง มี ชี วิ ต “ในความรู้ สึ ก ของเราภาษาวิ บั ติ คื อ พวกคำ � ที่ ส ะกดผิ ด หรื อ การใช้ คำ � ผิ ด มากกว่า ถ้าใช้กับซับฯ เราก็ต้องดู ถ้าตรงนั้น มันใช้ได้กใ็ ช้ได้ ถ้าตรงนัน้ มันใช้ไม่ได้ ก็ไม่ตอ้ งใช้ เราอย่าไปแปลเกินภาษา” เราถามพีเ่ จไดว่าอะไรเป็นสิง่ ทีน่ กั แปลซับฯ ควรจะมี “ความยื ด หยุ่ น และคลั ง ศั พ ท์ เราต้องยืดหยุ่นเพราะเราไม่รู้ว่างานที่เข้ามา จะเป็ น ลั ก ษณะไหน ทั้ ง เรื่ อ งของเวลา การส่งงาน ภาษาเราก็ต้องยืดหยุ่น ไม่ยึดติด กั บ อ ะ ไ ร ไ ป แ ค่ อ ย่ า ง ห นึ่ ง อี ก อ ย่ า ง | March-April 2013
ความแข็ ง แรงของร่ า งกายเองก็ เ ป็ น สิ่ ง ที่ จำ�เป็น เพราะเราไม่รู้ว่างานที่ได้ จะทำ�ให้เรา ต้ อ งอดหลั บ อดนอนแค่ ไ หน และงานนี้ เป็นงานที่ตายไม่ได้ คือต้องทำ� เพราะมันส่ง กระทบต่อคนข้างหลังอีกเยอะแยะ” สำ � หรั บ นั ก แปลซั บ ไตเติ้ ล อย่ า งเขา ภาพยนตร์มันพิเศษตรงที่ “มันมีทุกอย่าง ทั้ ง ภาพและเสี ย ง มั น สามารถจะดึ ง เรา ออกจากโลกความเป็นจริงไปสู่อีกช่วงเวลา หนึ่ ง จำ � ได้ ว่ า ชาลี แชปปลิ น เคยพู ด ไว้ ว่ า เวลาเราซื้อตั๋วเข้าไปในโรงหนัง มันเหมือน พาเราสู่อีกโลกหนึ่ง ที่ให้เราหลบหนีจากโลก แห่ ง ความเป็ น จริ ง ไปสู่ โ ลกอี ก โลกหนึ่ ง สองสามชั่วโมง” คำ � ถามสุ ด ท้ า ยก่ อ นที่ จ บบทสนทนา เราถามเขาว่าถ้าไม่มี Star War เจไดยุทธจะ ชื่ อ อะไร เขาตอบว่ า “ตอนนั้ น มี ห นั ง เข้ า อยู่สองเรื่อง คือ Star War กับ The Matrix ซึ่ ง ถ้ า ไม่ มี ส ตาร์ ว อร์ ค งจะชื่ อ Neoyuth เป็นชื่อที่เท่ห์เกินตัวมากเลย” (หัวเราะ) ฟิ ล์ ม หมดลง ภาพบนหน้ า จอดั บ ไป เรื่ อ งราวของคนล่ า งจออย่ า งเขาก็ จ บลง ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามชม 9
10
| Read Me 17
ล่ามภาษามือ นักแปลในโลกไร้เสียง เรื่อง: ยุทธชัย สว่างสมุทรชัย ภาพ: กัษมา เรืองงาม
เย็นยํ่าในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เสียงนักเรียนและผู้คนเริ่มจอแจอีกครั้ง เนื่องจากเป็นเวลาเลิกเรียนของนักศึกษาและเป็นเวลาเลิกงาน ของเจ้าหน้าที่ภายในมหาวิทยาลัย เสียงอึกทึกครึกโครมเหล่านั้น ช่างแตกต่างกับผู้ที่เรากำ�ลังจะสนทนา เนื่องจากอาชีพที่เขาทำ�นั้น ปราศจากเสียง อาวุธที่เขาใช้มิใช่ปากหรือการสนทนา แต่อยู่ที่มือ และท่วงท่าต่างๆ ที่แปลให้กับผู้บกพร่องทางการได้ยินได้รับรู้ และเข้าใจในสารที่ส่งออกมา นี่เองคืองานของ ‘ล่ามภาษามือ’
| March-April 2013
11
ายศักดา โกมลสิงห์ ล่ามภาษามือ ภายใต้สังกัดภาควิชาหูหนวกศึกษา วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล เขาเป็ น คนปกติ ที่ ไ ด้ ศึ ก ษาเรื่ อ งภาษามื อ และทำ � งานล่ า มภาษามื อ มาเป็ น เวลาถึ ง 8 ปีแล้ว สิ่งที่เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเป็น ล่ามภาษามือตลอด 8 ปีของเขาคือ “ทุกคน ไม่ว่าประกอบอาชีพอะไร ก็ได้เรียนรู้ในสิ่ง ที่ ตั ว เองทำ � อยู่ ทุ ก ๆ วั น แต่ สำ � หรั บ ตั ว เอง ด้วยความที่ทำ�งานด้านการศึกษา โดยแปล เสียงจากครูในห้องเรียนให้คนหูหนวกรับรู้ ก็ได้รู้ว่า คนหูหนวกเขาไม่ได้ปิดตัวเอง ถึงแม้ เขาจะมีโลกส่วนตัว แต่เขาก็พยายามที่จะอยู่ ร่วมกับคนปกติให้ได้ ซึง่ ถ้าเรามานึกว่าเราเป็น คนพิการเอง ก็คงจะมีความลำ�บากอยูไ่ ม่นอ้ ย ที่จะต้องทำ�ตัวให้เหมือนกับคนอื่น แล้วคน หูหนวกเขาเป็นเหมือนคนกลุ่มน้อยที่จำ�เป็น ต้องใช้ชีวิตอยู่กับคนกลุ่มใหญ่ ฉะนั้นเขาต้อง ผลั ก ดั น ตั ว เองให้ อ ยู่ ร่ ว มกั บ สั ง คมให้ ไ ด้ และเพี ย รพยายามที่ จ ะแก้ ไ ขปั ญ หาต่ า งๆ ในการสื่อสารด้วยตัวของเขาเอง ทำ�ให้เรา ต้องกลับมาย้อนดูตัวเองว่า เราเป็นคนปกติ มีร่างกายครบ 32 ประการ ทำ�ไมเราต้อง ยอมแพ้หรือว่าท้อแท้ด้วย อุปสรรคมีกันได้ ทุกคน เราก็ตอ้ งพยายามทีจ่ ะฝ่าฟันอุปสรรค นั้นไปให้ได้” สี ห น้ า ที่ มุ่ ง มั่ น ทำ � ให้ เ ราถามเขาต่ อ ไป อีกว่า กว่าจะแปลภาษามือออกมาได้ต้องใช้ องค์ประกอบอะไรบ้าง ศักดาเอ่ยออกมาถึง 5 องค์ประกอบใหญ่ๆ “การแปลภาษามือมี อยู่ 5 องค์ประกอบ ซึง่ เป็นทฤษฎีทใี่ ช้ส�ำ หรับ แปลภาษามือโดยเฉพาะ เริ่มจากหนึ่ง-รูป แบบของมือ, สอง-การพลิกหงายฝ่ามือ, สาม-ตำ�แหน่งการวางมือ, สี่-ทิศทางการ เ ค ลื่ อ น ไ ห ว ข อ ง มื อ แ ล ะ ห้ า - สี ห น้ า และการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งสำ�คัญมาก เพราะการเคลื่ อ นไหวเปลี่ ย น คำ � ก็ เ ปลี่ ย น หรือสีหน้าเปลี่ยน อารมณ์ของผู้พูดก็เปลี่ยน ตามไปด้วย รวมไปถึงเรื่องของการแต่งกาย อย่ า งผมจะต้ อ งใส่ เ สื้ อ ไม่ มี ล ายแบบนี้ อยู่ ต ลอด เวลาแปลก็ ต้ อ งถอดนาฬิ ก า แหวน และเครื่ อ งประดั บ ออกทั้ ง หมด เพราะคนหูหนวกเขาต้องดูเราแปลตั้งแต่เช้า 12
| Read Me 17
เราต้อง เรียนภาษา และ วัฒนธรรม ควบคู่กันไป ถึงจะได้ภาษา ที่แท้จริง ของเขา ออกมา
ถึงเย็น เขาอาจจะรำ�คาญตาได้ ดังนัน้ เราต้อง ทำ�ให้เขาดูสบายตามากที่สุด” อั น ที่ จ ริ ง นอกจากการเรี ย นรู้ เ รื่ อ งของ ภาษามื อ แล้ ว ศั ก ดายั ง บอกกั บ เราอี ก ว่ า สิ่งหนึ่งที่ต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันกับภาษา ก็ คื อ วั ฒ นธรรมของคนหู ห นวก “จริ ง ๆ ทุกภาษาไม่วา่ จะเป็นภาษามือหรือภาษาอะไร ก็แล้วแต่ ควรจะเรียนควบคู่ไปกับวัฒนธรรม ด้วย อย่างกลุม่ คนหูหนวก ถึงแม้วา่ เขาจะเป็น คนหูหนวกไทยก็จริง แต่เขาก็จะมีวฒ ั นธรรม ปลีกย่อยในกลุ่มของเขาอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ซึ่ ง อาจจะมี ค วามคล้ า ยหรื อ เหมื อ นกั บ คน ทั่วๆ ไปก็ได้ อย่างเช่น วัฒนธรรมของการ เรี ย กกั น เราก็ จ ะเอ่ ย ชื่ อ ของกั น และกั น ออกมา แต่อย่างเวลาคนหูหนวกเขาจะเรียก ชื่อเรา เขาก็จะไม่เรียกชื่อเราเพราะเขาออก เสียงไม่ได้ เขาก็จะมีวฒ ั นธรรมของการตัง้ ชือ่ เป็นภาษามือ โดยตั้งชื่อจากลักษณะเด่นบน ใบหน้าเรา เป็นต้น เพราะฉะนั้นเราต้องเรียน ภาษาและวัฒนธรรมควบคู่กันไป ถึงจะได้ ภาษาที่แท้จริงของเขาออกมา” ทุกอาชีพย่อมมีปัญหาและอุปสรรคในสิ่ง ที่ตัวเองทำ�อยู่ ศักดาก็เช่นกัน เมื่อออกไป สู่โลกภายนอก ตัวของเขาเองจะดูกลายเป็น ปัญหาทันที “เมื่อออกไปข้างนอกจะมีคนที่ ไม่รู้จักเราอยู่ และตั้งข้อสงสัยว่าทำ�ไมต้องมี ล่ามด้วย ทำ�ไมต้องมายืนเกะกะ อันนี้ถือเป็น ปั ญ หาหนึ่ ง ที่ ป ระสบมา ซึ่ ง ก่ อ นหน้ า นี้ มีเยอะมาก เพราะว่าเหมือนเราเข้าไปแย่งซีน เขา (ผู้พูด) อย่างเขาพูดก็พูดไป เราก็ทำ�มือ ของเราไป ซึ่งมันมีการเคลื่อนไหว สีหน้า | March-April 2013
และท่าทาง ทำ�ให้คนรู้สึกสนใจล่ามมากกว่า และขโมยซีนของผู้พูดไป ผู้พูดก็จะรู้สึกถึง ความข้ามหน้าข้ามตาที่มากเกินไป แต่ตอนนี้ เรื่องของคนพิการเริ่มได้รับการตอบรับจาก รัฐบาลเป็นอย่างดี คนหันมาใส่ใจในเรื่องคน พิการมากขึ้น ดังนั้นผู้พูดก็จะรู้ว่า นี่คือล่าม ทีค่ อยมาบริการแปลข้อมูลให้กบั คนหูหนวก” แล้วอย่างนี้อะไรคือสิ่งสำ�คัญที่สุดสำ�หรับ การประกอบอาชีพนี้ล่ะ “สิ่งสำ�คัญที่สุดก็คือ การให้เกียรติกับคนหูหนวก เพราะบางคน รู้ สึ ก ว่ า ตั ว เ อ ง ดี ก ว่ า ค น อื่ น ด้ อ ย ก ว่ า อย่าคิดอย่างนั้น เพราะว่าคนทุกคนมีศักดิ์ศรี มี สิ ท ธิ เ ท่ า เที ย มกั น เราควรให้ เ กี ย รติ ซึง่ กันและกัน เราจะไม่คดิ ว่าเขาเป็นคนหูหนวก เขาไม่ได้ยินหรอก เราหรือคนหูดีพูดอะไรกัน ไม่จ�ำ เป็นต้องแปล หรือไม่เห็นถึงความจำ�เป็น ที่ จ ะต้ อ งบอกเขาทุ ก เรื่ อ ง ซึ่ ง จริ ง ๆ แล้ ว เขามีสิทธิ์ที่จะรู้ถึงข้อมูลเหล่านั้น” อยากเป็ น ล่ า มภาษามื อ บ้ า งต้ อ งทำ � อย่างไร หลายคนใคร่อยากรู้ “เริ่มต้นจาก ไม่ ใ ช่ เ ห็ น ว่ า เขาเป็ น ล่ า มแล้ ว อยากเป็ น คุณควรจะเริ่มที่ตัวเองก่อนว่ามีความตั้งใจ ที่ จ ะเป็ น หรื อ เปล่ า ถ้ า ตั ว เองตั้ ง ใจและรั ก ทีจ่ ะทำ�แล้ว มันจะทำ�ให้เรียนรูไ้ ด้งา่ ยกว่าคนที่ ทำ�ตามกระแสนิยม หรือว่าเห็นเขาทำ�แล้วเท่ดี ก็อยากทำ�ตาม ซึ่งเป็นเรื่องไม่แนะนำ�สำ�หรับ คนที่มาประกอบอาชีพนี้” เสียงต่างๆ รอบตัวสงบลง และจากลาด้วย ภาษามือที่คุ้นเคย... การยกมือไหว้ขอบคุณ ของคนทั้งสอง 13
14
| Read Me 17
จักรี บุญญเมธี ล่ามกีฬา ลีลาฟลามิงโก เรื่อง: จารุวรรณ เเซ่ลี
ล่ามเป็นอาชีพที่ดูเท่ห์อย่างบอกไม่ถูก เท่ห์อย่างมีคุณค่า…
วยความหลงใหลในภาษาสเปน เเละการเต้น ‘ฟลามิงโก’ อย่างถอนตัว ไม่ขึ้น ทำ�ให้เขา นายจักรี บุญญเมธี ชายหนุ่มผู้มีนิคเนมสแปนิชเก๋ๆ ว่า Nacho (นาโช่ ) ได้ ร่ ว มงานกั บ ที ม นั ก กี ฬ าชื่ อ ดั ง ในฐานะล่าม เเละในวันนี้เขายินดีที่จะเเชร์ ประสบการณ์เหล่านัน้ สูส่ ายตาชาว Read me
ทำ�งานล่ามมานานเท่าไรเเล้ว? “ตั้ ง เเต่ ต อนเรี ย นปี 2 ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย โดยงานเเรกผมได้เป็นล่ามให้กับนักกีฬาทีม ชาติเปรู ในงาน Volleyball World Grand Prix 2010 เป็นระยะเวลา 4 อาทิตย์ ก็มีความยาก เเล้วก็ประหม่านิดหน่อยด้วยว่าเเบบ เฮ้ย... มันจะเป็นยังไงวะ เนื่องจากเป็นงานเเรกที่ เป็นล่ามภาษาสเปน เเต่สุดท้ายก็ผ่านมาได้ ด้วยดี หน้าที่ของผมในตอนนั้นคือการแปล ระหว่างทีมนักกีฬากับคนท้องถิน่ พาพวกเขา ไปเที่ ย ว ในการเเถลงข่ า วเราก็ ช่ ว ยแปล ให้ผู้สื่อข่าว”
ความยากของงาน ‘ล่าม’ ?
ก็ยังไม่เพอร์เฟคเท่าไรครับ เเต่ว่ามันก็ทำ�ให้ เราได้ประสบการณ์ ทำ�ให้เราได้รับในสิ่งที่ คนอื่นอาจจะไม่ไ ด้เ หมือ นเรา เช่น การได้ ทำ � งานกั บ นั ก กี ฬ า อย่ า งนั ก กี ฬ าฟุ ต ซอล ใครก็อยากจะเข้าใกล้พวกเขา เพราะพวกเขา เป็นนักกีฬาที่มีชื่อเสียง แต่เรากลับมีโอกาส ได้เข้าใกล้และได้ดูเเลพวกเขา ทั้งที่บางครั้ง คนในองค์กรเองยังไม่มีโอกาสที่จะได้เข้าใกล้ นักกีฬาเลย”
“ มั น มี ค ว า ม ย า ก ใ น เ รื่ อ ง ก า ร แ ป ล การสวิตซ์ภาษา ศัพท์เฉพาะทางกีฬา ล่าสุด ผมมีโอกาสได้เป็นล่ามให้กบั ทีมชาติ ปานามา ในการเเข่งขันฟุตซอลชิงเเชมป์โลก FIFA Futsal World Cup 2012 อย่างผมเนี่ย… ตอนเรี ย นที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ผมจะคุ้ น เคย กั บ ส เ ป น ที่ เ ป็ น ลั ก ษ ณ ะ ส เ ป น - ส เ ป น เเต่ปานามาเป็นการพูดสำ�เนียงสเปนที่มา จากลาตินอเมริกา คือเข้าใจกัน เเต่วา่ มันจะมี ลักษณะความต่าง ตรงนีม้ นั ก็จะเป็นความยาก นิยามความเป็น ‘ล่าม’ ? “ผมคิดว่าอาชีพ ‘ล่าม’ เป็นอาชีพที่ดูเท่ ที่เราจะต้องเข้าใจในบริบทว่าเขาต้องการพูด อย่างบอกไม่ถูก เท่แบบมีคุณค่า อย่างผม อะไร ก็ตื่นเต้น ท้าทายดี” เดิ น ๆ แปลอยู่ ก็ มี น้ อ งเดิ น เข้ า มาชมว่ า “พี่เก่งจังเลย พี่พูดภาษาอะไร เพราะจัง” การเป็น ‘ล่าม’ ให้อะไรกับคุณบ้าง? “ให้ ทุ ก อย่ า งเลยครั บ ที่ สำ � คั ญ คื อ ให้ ผมก็ตอบกลับอย่างภาคภูมใิ จว่า “พีพ่ ดู ภาษา ประสบการณ์ คือตั้งเเต่งาน World Grand สเปน” Prix เป็นต้นมา ก็จะมีงานล่ามเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่ ง เราก็ ไ ด้ เ รี ย นรู้ จ ากในงานเเต่ ล ะงาน ที่ เ ราได้ ม า พั ฒ นามาเรื่ อ ยๆ จนตอนนี้ | March-April 2013
15
16
| Read Me 17
สื่อสัมพันธ์ สองวัฒนธรรมยุโรปไทย เรื่อง: สิรวิชญ์ ทิพย์สกุลเจริญ ภาพ: กัษมา เรืองงาม
การสื่อความหมายเพื่อสานสัมพันธ์ของแต่ละประเทศ ถือเป็นเรื่องที่ยากและละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก ยิ่งการบอกต่อจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง ยิ่งต้องทำ�ความเข้าใจ ต่อวัฒนธรรมและโครงสร้างของภาษานั้นๆ โดยเฉพาะการแปลสาร ขององค์กรระหว่างประเทศ ความสำ�คัญไม่ได้อยู่ที่การส่งสาร ให้ถึงผู้รับอย่างครบถ้วน แต่คือการส่งสารที่ผู้รับต้องเข้าใจ ถึงวัฒนธรรมและความหมายที่แท้จริงเพื่อรับมุมมอง และทัศนคติของคนต่างเชื้อชาติ
| March-April 2013
17
วงบ่ายของวันที่แสนยุ่งแต่ภายในตึก ใหญ่รมิ ถนนวิทยุ ทีต่ งั้ ของสำ�นักงาน คณะผู้ แ ทนสหภาพยุ โ รปประจำ � ประเทศไทยกลั บ เงี ย บสงบและดู อ บอุ่ น Read Me ได้รับเกียรติจาก พี่ไก่ หรือคุณ กุลวดี สุมาลย์นพ เจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กร ป ร ะ จำ �สำ � นั ก งานค ณะผู้ แ ทนสห ภาพ ยุ โ รปประจำ � ประเทศไทย ผู้ ที่ ค ร่ำ � หวอด ในแวดวงการแปลมานานถึง 18 ปี มาเล่าถึง ประสบการณ์ ใ นสายงานแปลจนมาถึ ง จุ ด ที่เธอบอกว่าสูงสุดสำ�หรับเธอแล้วในอาชีพ นักแปล พี่ไก่จบจากอักษรศาสตร์จุฬาฯ เอกภาษา อังกฤษ โทภาษาฝรั่งเศสด้วยเกรดในระดับ กลางๆ ด้วยความที่คิดว่าทำ�ไมภาษาของเรา ยังอ่อนหัดแม้แต่ในหมู่เพื่อนด้วยกัน จึงเริ่ม หางานที่ เ กี่ ย วกั บ งานเขี ย นเพื่ อ พั ฒ นา ความสามารถของตัวเอง โดยเริม่ รับงานแปล จากศูนย์แปลที่จุฬามาตั้งแต่ตอนปี 3 ควบคู่ ไปกับการเรียน หลังเรียนจบก็ได้งานเป็น
นักแปลข่าวหุ้นเศรษฐกิจ ทำ�ได้สักพักก็ย้าย ไปทำ � ที ม ข่ า วขายข่ า วให้ กั บ รอยเตอร์ ทำ�ได้ประมาณ 3 ปี ก็ออกมาใช้เวลาอยูก่ บั ลูก และรับงานแปลอิสระไปด้วย ช่ ว งที่ พั ก และเป็ น นั ก แปลอิ ส ระก็ โ ชคดี ได้ รั บ โอกาสให้ แ ปลนิ ต ยสารหั ว นอกจนมี ผู้ใหญ่เห็นแววมอบโอกาสให้งานเป็นผู้ช่วย บรรณาธิการของนิตยสารคอสโมโพลิแทน ก็ได้ทำ�หลายอย่างมากทั้งดูเรื่องของลิขสิทธิ์ ของนิตยสาร จัดอีเวนท์ ติดต่อกับหน่วยงาน ต่างประเทศ จนตั้งครรภ์ลกู คนทีส่ องจึงออก มาจากงานนิตยสารและรับเป็นงานพาร์ทไทม์ ให้กับทราเวล เอเจนซี่ ส่ ว นของการทำ � งานในสำ � นั ก งานคณะ ผู้ แ ทนสหภาพยุ โ รปประจำ � ประเทศไทย ต้ อ งบอกก่ อ นว่ า เริ่ ม จากการทำ � งานกั บ องค์กรระหว่างประเทศ หลังจากคลอดลูก คนที่สองแล้วก็ได้มีโอกาสทำ�งานในองค์กร NGO เป็นโปรเจกต์ช่วยเหลือเด็กที่ทำ�งาน ในโรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในส่วน
18
| Read Me 17
ของงานก็ได้ท�ำ ทุกอย่างเลยทัง้ การเขียน แปล สัมภาษณ์ ลงพื้นที่ ช่วงนั้นเดินทางบ่อยมาก ทำ � งานได้ สั ก พั ก โปรเจกต์ ก็ ถู ก ยุ บ เลยผั น ตัวเองไปเป็น Language Trainer สอนภาษา ให้กบั เด็กแลกเปลีย่ นวัฒนธรรม การปรับตัว ให้อยูก่ บั โฮสแฟมิลี่ ทำ�งานเกีย่ วกับการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ได้ 3 ปี ก็ได้สมัครเข้าไป ในองค์กร Save the Children ช่วงนั้นเกิด เหตุการณ์สึนามิที่ภูเก็ต ก็ได้เข้าไปช่วยตรงนี้ เนื่ อ งจากองค์ ก รใหญ่ แ ละมั่ น คง ก็ ไ ด้ ทำ � ในวงกว้างขึน้ ทำ�เกีย่ วกับสิทธิข์ นั้ พืน้ ฐานของ เด็กสี่อย่าง ทำ�ครอบคลุมทั่วเอเชีย ทำ�งาน เก็บข่าว คือการเรียนอักษรมาก็จะช่วยในการ สร้างความเข้าใจให้เรา ในการเข้าใจพื้นที่ ว่ า เราควรจะปรั บ ตั ว ในพื้ น ที่ นั้ น ๆ ยั ง ไง การจะนำ � เสนอข้ อ มู ล ควรจะทำ � อย่ า งไร คือการแปลก็คือแปลอีกภาษาไปในอีกภาษา เ พื่ อ ใ ห้ ค น ใ น วั ฒ น ธ ร ร ม นั้ น ไ ด้ เ ข้ า ใ จ ก็ เ ริ่ ม ทำ � งาน เป็ น เจ้ า หน้ า ที่ ใ นการสื่ อ สาร ทำ � เกี่ ย วกั บ เก็ บ เรื่ อ งถ่ า ยภาพ ถ่ า ยวิ ดี โ อ
ก็ จ ะ มี ฝึ ก ใ ห้ ทั ก ษ ะ ต่ า ง ๆ ต้ อ ง เ ส ริ ม ในการทำ�งาน นอกจากจะดูแลภัยพิบัติแล้ว ก็ ดู เ กี่ ย วกั บ สิ ท ธิ ข องเด็ ก ในการโดนละเมิ ด เช่นการค้ามนุษย์ การไร้สัญชาติ เด็กที่ติด เชื้อเอดส์ เด็กที่ทุพพลภาพแล้วไม่ได้รับสิทธิ ที่เท่าเทียม จากการทำ�งานที่ Save the Children และด้วยความทีเ่ ราทำ�งานกับสือ่ ต่างประเทศ ตลอด และออฟฟิ ศ ใหญ่ อ ยู่ ใ นเครื อ ของ อั ง กฤษ เลยได้ ไ ปเทรนด์ ที่ อั ง กฤษตลอด และได้สมัครงานมาทำ�ทีส่ �ำ นักงานคณะผูแ้ ทน สหภาพยุโรปประจำ�ประเทศไทย ประเด็นงาน ก็ จ ะไปกว้ า งขึ้ น นอกจากจะทำ � เกี่ ย วกั บ ติ ด ต่ อ กั บ สื่ อ มวลชนแล้ ว หั ว ของงาน ก็ขยายไปในด้านของการเมือง ความสัมพันธ์ ระหว่ า งประเทศ ระหว่ า งไทยกั บ ยุ โ รป เศรษฐกิจ การศึกษา การติดต่อกับสือ่ ก็จะเน้น ไปในระดับของประเทศมากขึ้น โดยออฟฟิศ ทีน่ เี่ ริม่ แรกจะดูแลสีป่ ระเทศ มีลาว เขมร พม่า ในช่วงหลังลาวกับเขมรก็ออกไปดูแลตัวเอง ในปี 2008 พม่ า เกิ ด นากิ ซ ตอนนั้ น ก็ ทำ � Save the Children ด้วย ช่วงนั้นเหมือนกับ เป็ น จุ ด ผกผั น เพราะการทำ � งานของเรา มี ป ระโยชน์ ม าก โดยหลั ง จากเกิ ด เหตุ ด้วยความที่องค์กรของเราเป็นองค์การที่อยู่ ในพม่า พอเกิดเหตุการณ์นากิซ เราก็เลย ทำ�เรื่องได้ทันเวลา โดยการติดต่อเรียกร้อง ให้มกี ารบริจาคให้ทนั เวลา เราก็ท�ำ การติดต่อ ให้ โ ดยใช้ วิ ธี ใ ห้ เ ค้ า พู ด โทรศั พ ท์ แ ล้ ว เราก็ อั ด เ สี ย ง แ ล ะ เ อ า ตั ว อั ด เ สี ย ง ส่ ง ไ ป ใ ห้ นั ก ข่ า วที่ BBC และทาง BBC ก็ ทำ � ข่ า ว เป็ น เว็ บ บล็ อ คทำ � ให้ ไ ด้ รั บ เงิ น บริ จ าค เข้ามามากและช่วยเหลือได้ทัน พอได้ทำ�งาน อย่างนี้เยอะ ต้องทำ�อะไรเร็วๆ พอมาทำ�งาน มี เ ดี ย เลยเป็ น ข้ อ ดี เพราะเราจะรู้ ว่ า สื่อต้องการอะไร ในส่ ว นของงานที่ ค ณะผู้ แ ทนสหภาพ ยุโรปประจำ�ประเทศไทยก็มตี ดิ ต่อสือ่ ให้มกี าร ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสื่อโดยร่วม งานที่ฑูต ไปร่ ว มก็ ต้ อ งไปว่ า ท่ า นให้ สั ม ภาษณ์ ใ คร ทำ � อะไร ทำ � เว็ บ ไซต์ เวลาสื่ อ ติ ด ต่ อ ก็ ต้ อ ง ผ่านเรา ถ้ามีอีเวนท์ก็ต้องติดต่อสื่อขอพื้นที่ ในการลงข่ า ว ทานข้ า วกั บ สื่ อ ให้ ท่ า นทู ต ได้พบกับสื่อ เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติต่อกัน ที่ ดู แ ลหลั ก ๆ ก็ ก ารโต้ ว าที ภ าษาอั ง กฤษ
สิ่งที่ได้จากงานแปล คือ ทำ�ให้เรารู้จักประเด็นต่างๆ ลึกและดี
ของประเทศไทย งานแปลของพี่ เ นี่ ย ก็ จ ะ แปลได้ ทุ ก ด้ า นยกเว้ น กฎหมายและแพทย์ เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาให้ไม่ออกมาเหมือน การแปล จะให้ เ หมื อ นว่ า บทความนั้ น เขี ย นออกมาด้ ว ยภาษาไทยแบบต้ น ฉบั บ และก็ จ ะทำ � แบบนี้ เ หมื อ นกั น ในการแปล เป็นภาษาอังกฤษด้วย อันดับแรกเราต้องรู้ หลั ก ภาษาไทยและรู้ ห ลั ก ภาษาอั ง กฤษ ไม่ ว่ า จะแปลในภาษาไหนก็ ต้ อ งเรี ย บเรี ย ง ให้ ถู ก หลั ก ภาษานั้ น ๆ นอกจากเรื่ อ งของ การถ่ายทอดเนื้อหา การทำ�งานแปลทำ�ให้เรารูจ้ กั ประเด็นต่างๆ ลึกและดี เพราะเวลาเราจะแปลอะไร เราต้อง เข้าใจสิ่งที่เราแปลก่อน นอกจากเข้าใจแล้ว ถ้ า เราสนใจเพิ่ ม เติ ม เราก็ จ ะไปค้ น หา เพื่อเป็นข้อมูล ทำ �ให้เราเข้าใจประเด็นนั้น มากขึ้ น พี่ เ ป็ น คนขี้ เ กี ย จอ่ า นหนั ง สื อ | March-April 2013
ก็จะอ่านน้อย สมาธิสั้น แต่การทำ�งานแปล มันต้องอ่าน เลยเป็นผลดีกับตัวเอง การแปลมั น มี ห ลากหลายอย่ า งมาก มากกว่าตัวหนังสือ ลักษณะความคิดจาก สังคมหนึ่งไปสังคมหนึ่ง การพูด การแปลสด ถ้ า อยากเป็ น นั ก แปล ภาษาที่ ใ ช้ ค วรจะดี ต้องสนใจทั้งความคิด วัฒนธรรมของภาษา ที่เราจะแปล ยิ่งถ้ามีความรู้เฉพาะด้าน เช่น กฎหมาย การเงิ น การแพทย์ วิ ศ วะ คุ ณ สามารถที่ จ ะทำ � งานโดยไม่ ต้ อ งเป็ น พนั ก งานก็ ไ ด้ อาจจะเป็ น นั ก แปลอิ ส ระ อาจจะสนใจภาษาที่องค์กรต่างๆ ใช้ ขอสนับสนุนให้มองอย่างเชิงสร้างสรรค์ ว่ า เราจะมองอาชี พ ของเราอย่ า งไรให้ เ ป็ น ประโยชน์ตอ่ ตัวเอง ให้มคี วามสุขในการทำ�งาน และให้งานของเรามีคุณค่าด้วย 19
20
| Read Me 17
นักแปลการ์ตูนญี่ปุ่น ผู้แปลงร่างภาษา ด้วยจินตนาการ เรื่อง: สุธาสินี เลิศวัชระสารกุล
เมื่อราว 40 กว่าปีก่อน มังงะเล่มแรกได้ถูกซื้อลิขสิทธิ์เข้ามาตีพิมพ์ ในประเทศไทย นับจากนั้นเป็นต้นมา การ์ตูนญี่ปุ่นก็ได้กลายเป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตเด็กไทยหลายคน และยังคงได้รับความนิยม อย่างไม่เสื่อมคลายมาจนถึงทุกวันนี้
วนใหญ่ เ รามั ก อ่ า นการ์ ตู น เพื่ อ ความสนุกสนานเพลิดเพลิน แต่เคยรู้ กันไหมว่า กว่าจะออกมาเป็นการ์ตูน หนึ่งเล่มนั้น นักแปลต้องทำ�อะไรกับต้นฉบับ การ์ตูนของพวกเขาบ้าง? เรามาไขปริศนา เหล่านี้กัน หลังจากรับต้นฉบับการ์ตูนมา นักแปล จะต้องเปิดอ่านเนือ้ หาคร่าวๆ เพือ่ ให้รทู้ ศิ ทาง ของเรือ่ งก่อนลงมือทำ�งาน ซึง่ สิง่ ทีต่ อ้ งแปล นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ด้วยกัน คือ ‘บทพูด บทบรรยาย’ และ ‘อักษรเสียง’ ที่ช่วยบิลด์อารมณ์คนอ่าน จำ�พวก ตูม เฟี้ยว พรึ่บ อ๊ะ ผ่าง คว้าง ฯลฯ หลังจากอ่านคร่าวๆ แล้ว นักแปลก็จะ ลงมื อ เขี ย นเลขหน้ า เลขกำ � กั บ ช่ อ งคำ � พู ด และเลขกำ�กับบทบรรยายต่างๆ ให้ครบถ้วน ซึ่งเนื้อหาส่วนที่มีตัวเลขกำ�กับเหล่านี้ จะถูก นำ�ไปแปลเรียงลำ�ดับตามตัวเลขที่กำ�กับไว้ โดยพิมพ์ใส่ในโปรแกรมจัดการเอกสารทั่วไป ส่วนอักษรเสียงจะเขียนลงไปในต้นฉบับเลย และซามูไรต้องมีดาบคู่กายฉันใด นักแปล ก็ ต้ อ งมี พ จนานุ ก รมคู่ ใ จเช่ น กั น นั ก แปล รุน่ ใหม่ถอื ว่าทำ�งานสะดวกสบายขึน้ เยอะมาก
เพราะนอกจากพจนานุ ก รรมหนั ง สื อ หรื อ ทอล์ ก กิ้ ง ดิ ก ฯ แล้ ว ก็ ยั ง มี พ จนานุ ก รม ออนไลน์ให้เลือกใช้อีกหลายสำ�นัก รวมถึง เสิร์ชเอนจิ้นอย่างเช่น Google และ Yahoo ซึ่งมีเคล็ดลับสำ�หรับค้นหาคือการพิมพ์ศัพท์ ภาษาญี่ปุ่นที่จะแปลพ่วงท้ายด้วย ก็จะช่วย ให้เจอคำ�แปลที่ต้องการได้แม่นยำ�ขึ้น การ์ตนู แต่ละเล่มถึงแม้ตวั อักษรจะไม่เยอะ มาก แต่ เ วลาแปลเข้ า จริ ง ๆ ก็ หื ด ขึ้ น คอ เช่นกัน เพราะต้องคำ�นึงถึงรายละเอียดจุกจิก มากมาย ไม่ว่าจะเป็นระดับภาษา สรรพนาม คำ � ลงท้ า ยชื่ อ หางเสี ย งท้ า ยประโยค และการเลื อ กใช้ สำ � นวนให้ ใ กล้ เ คี ย งกั บ ต้ น ฉบั บ ดั ง นั้ น นอกจากจะถอดความ จากภาษาหนึ่ ง มาเป็ น อี ก ภาษาหนึ่ ง แล้ ว นักแปลยังต้องตีความอารมณ์และบุคลิกของ ตัวละครให้แตกฉานอีกด้วย แค่รู้ภาษาญี่ปุ่น อย่ า งเดี ย วจึ ง อาจไม่ เ พี ย งพอ แต่ นั ก แปล ต้องเป็นคนที่ใช้ภาษาไทยได้ในระดับดีมาก และมีคลังสำ�นวนต่างๆ อยูใ่ นหัวเยอะมากพอ จึงจะสามารถแปลการ์ตนู ได้สนุกถึงใจคนอ่าน โดยทั่วไปราคาค่าจ้างแปลการ์ตูนจะอยู่ที่ 10 - 20 บาทต่อหน้า หรือเฉลีย่ เล่มละประมาณ
ขอบคุณข้อมูลจาก : สุธิดา บุรี, วาสนา ปานนวม และกุลกัลยา ภู่สิงห์
| March-April 2013
2,000 - 3,000 บาท อาจมากน้อยกว่านี้ ขึ้ น อยู่ กั บ ประสบการณ์ แ ละนโยบายของ สำ�นักพิมพ์ บางสำ�นักพิมพ์ก็จะคิดแบบราคา เหมารวมทั้งเล่ม แต่บางสำ�นักพิมพ์ก็มีการ จ่ายเพิ่ม ในกรณีที่บางหน้ามีตัวหนังสือเยอะ หรืออาจนับแยกไม่จ่ายค่าจ้าง สำ�หรับหน้าที่ ไม่มตี วั หนังสือเลย ซึง่ เรทค่าตอบแทนจำ�นวน เท่านี้เป็นเรทที่ใช้กันมาเป็น 10 ปี ไม่มีการ ปรั บ ขึ้ น ตามราคาก๋ ว ยเตี๋ ย วแต่ อ ย่ า งใด และถือว่าได้คอ่ นข้างน้อย เมือ่ เทียบกับอาชีพ ที่ ใ ช้ ทั ก ษะด้ า นภาษาเหมื อ นกั น เช่ น งานสายล่าม หรืองานแปลเอกสารราชการ นักแปลการ์ตนู ส่วนใหญ่จงึ มักเป็นคนทีท่ �ำ ด้ ว ยใจรั ก จริ ง ๆ รู้ สึ ก ดี เ วลาได้ อ่ า นการ์ ตู น ก่อนใคร เวลาได้เห็นผลงานแปลของตัวเอง วางแผง หรื อ บางคนก็ ทำ � เล่ น ๆ แก้ เ ซ็ ง พอให้มีค่าขนมเพิ่ม โดยถือว่าเป็นงานอดิเรก ที่มีค่าตอบแทน หากจะยึดเป็นอาชีพหลัก จริงจังก็คงยาก เพราะนอกจากค่าตอบแทน จะต่ำ�แล้ว บางครั้งงานที่สำ�นักพิมพ์ป้อนให้ ยั ง ทิ้ ง ช่ ว งนาน เนื่ อ งจากต้ อ งรอเจรจา เรื่องลิขสิทธิ์อีกด้วย 21
22
| Read Me 17
ว่าด้วยการแปล ฉบับ ‘แฟนซับ’ เรื่อง: ปิยภัทร นันทนรเศรษฐ์
คงมีหลายครั้งที่เราได้รับทราบข่าวคราวเกี่ยวกับ ซีรีย์เกาหลีเรื่องใหม่ หรืออนิเมชั่นภาคต่อสุดฮิตของญี่ปุ่นแล้ว เกิดความสนใจอยากรับชม แต่ติดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ ที่ยังไม่มีในประเทศไทย ครั้นจะเปิดดูจากยูทูป ก็อาจได้ฟังสำ�เนียงเจ้าของภาษาไปเต็มๆ แต่ไม่เข้าใจว่า เขาพูดอะไรกัน หรือถ้าดีหน่อยก็อาจมีคำ�บรรยายแปลให้ แต่เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งกว่าจะอ่านออกก็เปลี่ยนไปหลายฉากแล้ว หรือบางทีอาจเป็นคำ�บรรยายภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ยิ่งพาลหงุดหงิดเสียเปล่าๆ แล้วอย่างนี้ เราจะไปหาดูแบบที่มีคำ�แปลภาษาไทย ได้จากที่ไหนกันล่ะ?
| March-April 2013
23
วยสาเหตุ นี้ จึ ง ได้ เ กิ ด การรวมตั ว ของกลุ่ ม คนที่ ชื่ น ชอบซี รี ย์ ห รื อ การ์ตนู กอปรกับมีพนื้ ฐานด้านภาษา อยู่พอตัว ทำ�การแปลสื่อบันเทิงเหล่านี้เป็น ภาษาไทย และเผยแพร่ให้เราๆ ได้รับชมกัน อย่างออกรส ซึง่ กลุม่ คนเหล่านีเ้ ป็นทีร่ จู้ กั กัน ในนามของ ‘แฟนซับ’ โดยในฉบั บ นี้ เ รามี โ อกาสได้ พู ด คุ ย กั บ ทีมซับ Popcorn Subbing Squad ผู้แปล และทำ�ซับซีรีย์เกาหลี และทีมงาน FAngeL ผู้ แ ปลและทำ � ซั บ การ์ ตู น อนิ เ มชั่ น ญี่ ปุ่ น โดยสามารถดูออนไลน์จากหน้าเว็บได้ทันที หรื อ จะดาวน์ โ หลดเก็ บ ไว้ ดู ก็ ไ ด้ เ ช่ น กั น ซึ่ ง ทั้ ง สองที ม งานต่ า งมี สิ่ ง ที่ ยึ ด ถื อ ปฏิ บั ติ เหมื อ นๆ กั น คื อ ทำ � แฟนซั บ เพราะใจรั ก และไม่แสวงหาผลกำ�ไร ในส่วนของทีมซับ Popcorn Subbing Squad นี้เกิดจากการรวมกลุ่มของผู้ชื่นชอบ ละครซีรยี เ์ กาหลีเหมือนๆ กัน และเกิดความคิด ที่จะทำ�ซับไว้ดูกันเอง แต่เมื่อทำ�ซับเสร็จแล้ว ก็ ตั ด สิ น ใจแจกจ่ า ยให้ กั บ ชาวเว็ บ บอร์ ด ได้รับชมกันไปด้วยเลย และมีบ้างที่เข้ามา ขอซับ แต่ไปๆ มาๆ ก็เข้ามาช่วยทำ�ซับด้วย ในทีส่ ดุ โดยปัจจุบนั นีแ้ ม้ทมี งานรุน่ แรกๆ จะติด
ภารกิจหลายประการ แต่ก็มีรุ่นน้องเข้ามา รั บ ช่ ว งต่ อ และผลั ด เปลี่ ย นหมุ น เวี ย นกั น เข้ามาช่วยงานจนถึงรุ่นที่ 4 แล้ว สำ � หรั บ การทำ � ซั บ ของที ม Popcorn Subbing Squad นั้ น ประการแรกคื อ การเลือกเรือ่ งที่ ‘สนใจ’ ไม่วา่ จะเพราะเนือ้ เรือ่ ง บทบาทการแสดง หรือเพราะเป็นแฟนคลับ ดารานักร้องมาก่อน เมื่อเลือกเรื่องที่จะแปล ได้แล้วจึงทำ�การโหลด English subtitle จ า ก นั้ น จึ ง นำ � ม า แ ป ล เ ป็ น ภ า ษ า ไ ท ย
24
| Read Me 17
หรื อ บางเรื่ อ งก็ อ าจแปลจากภาษาเกาหลี มาเป็นไทยโดยตรง สำ�หรับละครหนึ่งเรื่อง จะใช้ทีมแปลขั้นต่ำ� 2 คน โดยจะแปลตอนคู่คี่ สลับกันไป ด้วยเหตุนี้จึงอาจเกิดปัญหาด้าน การใช้สรรพนามไม่ตรงกัน จึงต้องมีเว็บบอร์ด เฉพาะทีมงานเพื่อให้พูดคุยและปรึกษากัน ให้คำ�เฉพาะต่างๆ ออกมาตรงกัน ทางทีมงาน Popcorn Subbing Squad ได้อธิบายเพิ่มว่า ซีรีย์เกาหลีหนึ่งตอนมีเวลา ประมาณ 60 นาที มีซบั เฉลีย่ ตอนละประมาณ
800 บรรทั ด มี ป ระโยคบทสนทนาตั้ ง แต่ 450 - 1,800 ประโยค และใช้เวลาแปล 2 - 3 วั น ต่ อ 1 ตอน ขึ้ น อยู่ กั บ ความชำ � นาญ ความละเอียด รวมไปถึงเวลาว่างที่แต่ละคน มีไม่เท่ากัน และนอกเหนือจากฝ่ายแปลแล้ว ยังมีฝ่าย Timing หรือการใส่คำ�พูดให้ตรง กับเวลาที่พูด ฝ่ายอีดิท และฝ่าย Quality Control หรือ QC คอยควบคุมคุณภาพตลอด กระบวนการทั้งหมด และในระหว่างการทำ�ซับนี้ ปัญหาที่ทาง ที ม งานพบคื อ ผู้ ช มบางส่ ว นทวงโดยไม่ ดู สภาพแวดล้อมก่อน เช่น ทวงทัง้ ทีซ่ บั อังกฤษ ยั ง ไม่ อ อก หรื อ เร่ ง ให้ อ อกตอนใหม่ เ ร็ ว ๆ โดยไม่ค�ำ นึงว่าทีมงานจะติดปัญหา หรือมีธรุ ะ เร่งด่วนหรือเปล่า แต่ที่ร้ายแรงกว่านั้นคือ การดาวน์ โ หลดซั บ จากค่ า ยไปค้ า กำ � ไร ซึ่ ง คงไม่ อ าจแก้ ปั ญ หาเหล่ า นี้ ใ ห้ ห มดไป
สามารถเข้าไปรับชมผลงาน ของทั้ง 2 ค่ายได้ที่
โดยง่ า ย ดั ง นั้ น กำ � ลั ง ใจจากคนรอบข้ า ง ความรั ก ความเข้ า ใจ จึ ง เป็ น สิ่ ง ผลั ก ดั น ให้ทีมงานทำ�ซับโดยไม่แสวงผลกำ�ไรต่อไป ทางด้านแฟนซับอนิเมะญีป่ นุ่ FAngeL นัน้ ได้อธิบายถึงกระบวนการทำ�ซับในแบบฉบับ ของ FAngeL โดยเริ่มจากการเลือกการ์ตูน ทีส่ นใจก่อนเป็นอันดับแรก และหาไฟล์อนิเมะ คุณภาพสูงจากเว็บที่อัดมาจากการฉายผ่าน โทรทัศน์ของญี่ปุ่นโดยตรง เมื่อได้เรื่องแล้ว ในส่วนของการแปลนั้นจะอาศัยการฟังเสียง พากย์ และบทสนทนาจากมังงะหรือนิยาย ควบคูก่ นั ไป ซึง่ ทัง้ หมดนีแ้ ปลจากภาษาญีป่ นุ่ โดยตรง ซึ่งในการแปลนั้น ความยากง่าย จะขึ้นอยู่กับเรื่อง และตอน ซึ่งบางเรื่องโดย รวมนั้ น แปลง่ า ย แต่ จ ะมี บ างตอนหรื อ บางภาคที่มีคำ�ศัพท์เฉพาะ เช่นคำ�ศัพท์ทาง ศาสนา การแพทย์ ทฤษฎี และเทคโนโลยี
ต่างๆ ซึ่งเหล่านี้ล้วนต้องศึกษาค้นคว้าข้อมูล เพิ่มเติมระหว่างการแปลทุกครั้ง นอกจากนี้ ในการแปลซับยังต้องเก็บราย ละเอียดปลีกย่อยอืน่ อีกเช่น ตัวอักษรบนป้าย บอกทาง หรือการอธิบายคำ�ศัพท์เฉพาะทาง เพิ่มเติมด้วย จากนั้นจึงตรวจเช็คไวยากรณ์ คำ�ผิด และคำ�ตกหล่น โดยทีมงานได้ทำ�ซับ จากโปรแกรม Aegisub โดยเริ่มจากการ timing หรื อ การจั บ เวลาของประโยคที่ ตัวละครพูด หากอนิเมะเรื่องใดมีซับอังกฤษ ออกมาก่อนแล้ว จะใช้ timing จากซับอังกฤษ ได้เลย แต่อาจต้องปรับช่วงเวลาให้เข้ากับ ภาษาไทยด้วย แต่หากไม่มีของซับอังกฤษ ก็ทำ�เอง ในการทำ�ซับหนึ่งตอนของ FAngeL นั้น จะมีการแปลเพลงเปิด เพลงปิด โดยมีค�ำ ร้อง เป็ น คาราโอเกะให้ ร้ อ งตามไปเพลิ น ๆ นอกจากนีย้ งั มีการพิถพี ถิ นั ในด้านความเนียน ความคมชัดของภาพ รูปแบบการเลื่อนของ ตั ว อั ก ษรโดยใช้ โ ปรแกรม Adobe After Effect ตกแต่งเสริมอีกด้วย ขั้นตอนถัดมาคือการ Encode (การเข้า รหัส) เป็นขัน้ ตอนการฝังซับลงบนไฟล์อนิเมะ (hardsub) โดยโปรแกรม Megui ที่ได้มีการ ตัง้ ค่าต่างๆ เอาไว้แล้ว ฝังซับ เพลง สัญลักษณ์ อื่นๆ ลงในไฟล์อนิเมะต้นฉบับ จากนั้นจึงทำ� เสียงใหม่โดยการเพิม่ ลดเวลา หรือแทรกเสียง อื่ น ๆ ให้ ต รงกั บ ไฟล์ ที่ เ ข้ า รหั ส เมื่ อ เสร็ จ ทุกขั้นตอนเหล่านี้แล้ว จึงทำ�การอัพโหลด ขึ้นเว็บ เป็นอันจบสิ้นกระบวนการ จะเห็นได้ว่าการในการดูซีรีย์ หรือการ์ตูน ความยาวเพี ย งไม่ ถึ ง ชั่ ว โมง แต่ ขั้ น ตอน ก่ อ นหน้ า นั้ น ต้ อ งใช้ ทั้ ง ระยะเวลาและ ความละเอียดรอบคอบ ทีส่ �ำ คัญเหนือสิง่ อืน่ ใด คือแฟนซับไม่ได้ทำ�ขึ้นเพื่อแสวงหาผลกำ�ไร ในบางครั้งหากไม่มีเวลาว่าง จึงอาจทำ�ให้ซับ ตอนใหม่ๆ ออกล่าช้าไปบ้าง ดังนั้น เมื่อเรา รับชมผลงานของพวกเขาแล้ว ก็ควรเข้าใจ และให้ กำ � ลั ง ใจกลุ่ ม แฟนซั บ ได้ ทำ � ในสิ่ ง ที่ พวกเขารักต่อไป
Popcorn Subbing Squad:community.popcornsubbing.com/index.php FAngeL-FS: www.fangel-fs.com | March-April 2013
25
26
| Read Me 17
ร่างทรงวรรณกรรม คนสำ�คัญที่อยู่ในมุม เรื่อง: อภิลักษณ์ ธัญประทีป ภาพ: กัษมา เรืองงาม
หน้าที่สำ�คัญอย่างหนึ่งของร่างทรงก็คือช่วยในการสื่อสาร ระหว่างคนตายไปสู่คนเป็นเพื่อให้คนที่ไม่สามารถสื่อสารกันได้เข้าใจกัน แต่เมื่อเข้าใจกันแล้วร่างทรงก็หมดความสำ�คัญ ก็คงคล้ายๆ นักแปล ที่ทำ�หน้าที่แปลวรรณกรรมของผู้เขียนจากภาษาหนึ่งสู่นักอ่าน อีกภาษาหนึ่ง ทั้งๆ ที่มีความสำ�คัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านักเขียน แต่ก็มีน้อยคนนักที่จะรู้จักหรือให้ความสำ�คัญกับนักแปล... หรือที่เราอาจเรียกได้ว่าผู้เป็นร่างทรงทางวรรณกรรม Read me ฉบับนี้เราได้รับเกียรติจากดอกเตอร์ยรรยง เต็งอำ�นวย อาจารย์ประจำ�ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักแปลนวนิยายแนววิทยาศาสตร์ เจ้าของผลงานแปล ลุยอุตลุตไปกับชุดอวกาศ, จันทราปฏิวัติ, เกมพลิกโลก ฯลฯ ครูเอื้อง –รศ.รพินทร (ณ ถลาง) คงสมบูรณ์ หัวหน้าสาขาวรรณกรรมสำ�หรับเด็ก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ นักแปลวรรณกรรมสำ�หรับเด็ก และวรรณกรรมเยาวชน เจ้าของผลงานแปล วันแสนสุข, มหัศจรรย์ บรรณารักษ์, หนังสือนิทานชุดถ้วยฟู ฯลฯ และพี่นํ้าผึ้ง-เลอลักษณ์ วีรวุฒิไกร นักแปลนวนิยาย และหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น เจ้าของผลงาน ดินเนอร์ลับฉบับเจ้าหญิง, Blue Exocist, รวมพลังอักษะเฮตาเลีย, กลวิธีเป็นผู้กล้าอย่าได้ขำ� ฯลฯ มาเปิดใจถึงอาชีพนักแปล ด้วยมุมมองของสามนักแปล ...สามสไตล์
| March-April 2013
27
คนที่จะเป็นนักแปลได้ต้องมีคุณสมบัติ อย่างไร? อาจารย์ยรรยง: การแปลมั น มี อ ยู่ ส องส่ ว น ส่ ว นหนึ่ ง คื อ ต้ อ งรู้ ภ าษาเริ่ ม ต้ น ก็ คื อ ภาษา อังกฤษและต้องรู้ของเราเองก็คือภาษาที่เรา จะแปล ต้องเป็นคนที่พยายามเดาใจผู้แต่ง ว่ า ผู้ แ ต่ ง ต้ อ งการจะสื่ อ อะไรแล้ ว เราก็ ถ อด ตรงนั้นออกมา แล้วก็ต้องอาศัยลูกอึดเยอะ เหมือนกัน ที่สำ�คัญคือต้องไม่ขี้เกียจ ครูเอื้อง: ที่ เ ห็ น ได้ ชั ด ที่ ค วรจะเป็ น นั ก แปล ที่ ดี ก็ คื อ ต้ อ งมี ค วามรู้ ท างภาษาที่ ดี ม าก ทั้ ง สองภาษาทั้ ง ภาษาต้ น ฉบั บ และภาษา ที่จะแปลแต่ในความเป็นจริงอาจจะหายาก สำ�หรับคนที่เพอร์เฟกต์ขนาดนั้น ประกอบ กับความรูท้ างด้านวัฒนธรรมและสังคมของ เรื่องที่เรากำ�ลังแปลอยู่ก็จะช่วยส่งผลให้งาน แปลมีคณ ุ ภาพแต่ถา้ สมมติวา่ เป็นไปไม่ได้ทจี่ ะ เก่งดีเลิศทัง้ สองภาษา ภาษาทีค่ วรจะเก่งกว่า ควรเป็นภาษาแม่ หลายคนจะเข้าใจผิดคิดว่า ต้องเก่งภาษาต่างประเทศมากกว่าภาษาแม่ จริงๆ ไม่ใช่ การเรียนจบจากต่างประเทศมา หรือว่าอ่านหนังสือภาษาอังกฤษเยอะๆ ไม่ได้ 28
รับประกันว่าคนนัน้ จะเป็นนักแปลทีด่ เี สมอไป เวลาเราอ่ า นต้ น ฉบั บ เราจะเข้ า ใจคนเดี ย ว แต่ความยากของการเป็นนักแปลอยู่ที่เราจะ สรรหาถ้อยคำ�อะไรในภาษาแม่เราถ่ายทอด ความหมายให้ได้ใกล้เคียงกับภาษาต้นฉบับ มากที่สุด แต่ในกระบวนการแปลมันมีการ ตกหล่นอยูแ่ ล้วเพราะมันไม่สามารถทีจ่ ะเทียบ เท่ากันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เพราะฉะนั้นนักแปล จะต้องทำ�ยังไงก็ได้ที่จะให้ตกหล่นน้อยที่สุด เท่าที่จะทำ�ได้ พี่นํ้าผึ้ง: ต้องเป็นคนละเอียด แล้วก็ต้องเป็น คนที่ไม่ทำ�อะไรชุ่ยๆ คือบางทีเราอาจจะแปล ไม่ได้ตามเวลาที่กำ�หนด แต่อย่างน้อยก็ต้อง ไม่แปลแบบขอไปที ส่วนเรื่องภาษาคงไปจัด ลำ�ดับไม่ได้ว่าควรรู้ภาษาไหนดีกว่ากัน เพราะ ภาษาญีป่ นุ่ ถ้าอ่านไม่เข้าใจก็จะไม่รวู้ า่ คนแต่ง ต้องการสื่ออะไร แล้วถ้าภาษาไทยไม่ดีเราก็ ไม่สามารถสื่อให้คนอ่านรับรู้ได้อีกว่าคนแต่ง ต้องการจะบอกอะไร เพราะฉะนัน้ สองอย่างนี้ สำ�คัญเท่ากันมากๆ อีกอย่างก็ต้องเป็นคนที่ ชอบในแนวทางนี้ด้วย เพราะถ้าไม่ใช่คนที่ ชอบอ่านนิยายหรือการ์ตนู ก็คงแปลนิยายกับ การ์ตูนออกมาไม่ได้ | Read Me 17
ทราบมาว่าครูเอื้องเป็นครูสอนวิชาการ แปลด้วยครูคิดว่าวิชาการแปลมีประโยชน์ อย่างไรต่อผู้เรียน? ครูเอื้อง: คือเวลาสอนวิชาการแปลครูจะบอก นิ สิ ต ตั้ ง แต่ เ ริ่ ม เรี ย นชั่ ว โมงแรกเลยว่ า ครู คาดหวัง มันอดไม่ได้ที่จะคาดหวังว่าพอจบ วิ ช านี้ ไ ปครู จ ะสามารถจุ ด ประกายหรื อ ทำ�ให้เด็กๆ มีความรู้สึกว่าอยากเป็นนักแปล ครูคิดว่าคนที่เรียนการแปลมีความสนใจที่จะ เป็ น นั ก แปลอยู่ ใ นระดั บ หนึ่ ง ก็ เ ลยมาลอง เรียนดู ครูก็เลยคาดหวังให้เขาได้จุดประกาย หรื อ ปู พื้ น ฐานไปให้ เ ขาพั ฒ นาตั ว เองเป็ น นักแปลต่อไปในอนาคต แต่สำ�หรับบางคน ที่ อ าจไม่ ถึ ง กั บ อยากเป็ น นั ก แปลครู ก็ ใ ช้ วิชาการแปลเป็นส่วนหนึง่ ของการสอนภาษา เพราะว่ามันเป็นการสอนภาษาแบบสนุกขึ้น เราไม่ต้องมานั่งท่องแกรมม่า สตรัคเจอร์ กริยาสามช่องหรือนัง่ ท่องคำ�ศัพท์ แต่มนั เป็น การเรียนรูภ้ าษาอังกฤษผ่านการอ่านผ่านการ หาคำ�ศัพท์ที่ต้องแปลแล้วเรียบเรียงออกมา เป็นภาษาฉบับแปลแล้วบางทีมนั มีแพทเทิรน์ ของประโยคของคำ�ที่เด็กๆ สามารถนำ�ไปใช้
ได้ในชีวิตจริง วิชาการแปลจึงเป็นเครื่องมือ รูปแบบหนึง่ เพราะฉะนัน้ คุณได้สองอย่าง คือ เรื่องวิทยาศาสตร์ด้วย ได้ปรัชญาของการ ในการสอนภาษาอย่างหนึ่งที่ไม่น่าเบื่อ มีชีวิตด้วย ซึ่งตรงนี้ส่งผลต่อการดำ�เนินชีวิต ของผมพอสมควร ต้นฉบับที่แปลส่งผลอะไรต่อชีวิต หรือแนวคิดของนักแปลบ้าง ต้นฉบับ ครูเอือ้ ง: มันแบ่งเป็นสองอย่าง อย่างแรกเลย ที่ มั น เป็ น ครู ข องนั ก แปลก็ คื อ ว่ า การเลื อ ก จะเป็นครูของนักแปลได้ไหม? อาจารย์ยรรยง: คือพอคุณเข้าไปยังเส้นทาง งานการดิวกับสำ�นักพิมพ์ทำ�ให้เรารู้จักคน ของนิ ย ายวิ ท ยาศาสตร์ วิ ท ยาศาสตร์ เรียนรู้วิธีการทำ�งานของเรากับสำ�นักพิมพ์ จะเป็นตรรกะมีเหตุและผลที่ค่อนข้างชัดเจน กับบก. วิธีการที่เราทำ�งานกับตัวเอง จัดการ ฉะนั้นวิทยาศาสตร์จะมีกรอบที่ไม่เด่นชัดนัก กระบวนการทำ�งานของตัว เองรับผิดชอบ โดยเฉพาะกรอบของสั ง คม กรอบของ ตั ว เอง สิ่ ง ที่ เ ราเรี ย นรู้ จ ากต้ น ฉบั บ คื อ ศีลธรรมจรรยา เช่น เรื่องของ Arthur C. เรื่ อ งของภาษา เราได้ เ รี ย นรู้ ภ าษาใหม่ ๆ Clarke จะเกี่ยวกับพวกกี่หมื่นกี่พันล้านปี ลีลาที่แปลกแตกต่างไปจากงานของคนเดิมๆ ซึ่ ง มนุ ษ ย์ ต ายหมดแล้ ว สภาพแบบนั้ น ที่ เ ราเคยแปล ข้ อ คิ ด ที่ ไ ด้ จ ากเรื่ อ งที่ แ ปล ในด้านหนึ่งสอนเราแบบพระพุทธศาสนาว่า อันนี้คือส่วนแรก ส่วนที่สองคือข้อคิดที่ได้ ไม่มีอะไรจีรัง แต่อีกด้านหนึ่งบ่อนทำ�ลายได้ จากเรือ่ งทีเ่ ราแปลขยายมาจากส่วนแรกเวลา เหมือนว่าสิ่งที่เราเคารพกราบไหว้อยู่ทุกเมื่อ อ่ า นมั น รู้ สึ ก ว่ า ได้ อ ะไรใหม่ ๆ หรื อ สิ่ ง เดิ ม ๆ เชื่อวันเป็นแค่สะเก็ดหนึ่งของประวัติศาสตร์ ที่ เ รารู้ อ ยู่ มั น ได้ รั บ การตอกย้ำ � ว่ า มั น เป็ น คื อ เรากำ � ลั ง พู ด ถึ ง อารยธรรมมนุ ษ ย์ อย่างนี้นะหรืออะไรที่เราเคยรู้มามันอาจจะมี สองพันปีกระจอกมากเมือ่ เทียบกับพันล้านปี การตีความอย่างอื่นก็ได้มันทำ�ให้เรารับรู้ว่า อย่างนี้เป็นต้น ถ้าเราไม่ระวัง ไม่เข้าใจในสาร สิ่งที่เรารับรู้มาอาจจะรู้ผิดก็ได้ สิ่งที่เคยคิด ที่ เ ขาสื่ อ เราก็ อ าจหลุ ด ไปว่ า เรื่ อ งต่ า งๆ มันอาจจะมีมุมมองอย่างอื่น มันได้ประโยชน์ ไม่สำ�คัญเลย แล้วผมจะอยู่ไปทำ�ไมในเมื่อ ตลอดเวลามั น ก็ เ หมื อ นการอ่ า นหนั ง สื อ ชีวติ ผมมันแค่กระผีกหนึง่ ของอารยธรรมของ ยิ่งอ่านมากเราก็ยิ่งรู้มาก เอกภพ สิ่ ง นี้ ก็ จ ะเป็ น สิ่ ง ที่ มี ผ ลต่ อ แนวคิ ด พี่นํ้าผึ้ง: มีหลายเรื่องนะที่แปลแล้วได้เรียนรู้ ของเราได้ แต่มนั ช่วยทำ�ให้เรามีสติคอ่ นข้างดี สิ่งดีๆ เราอ่านแล้วก็เหมือนได้ประสบการณ์ มันจะไม่ท�ำ ให้เราหลงไปกับสิง่ ทัง้ หลายทีเ่ กิด ของตัวละครมาอยู่กับตัวเรา เราจะได้รู้หลาย ขึ้นในสังคม เราอ่านแล้วเราเห็น ก็รู้จักคิดว่า สิ่งหลายอย่าง บางเล่มเป็นนิยายเพื่อความ พวกนั้ น มั น เป็ น ของนอกกาย เป็ น ธรรมะ บันเทิงจริงๆ แต่เขาก็จะเขียนแนวคิดของ แบบหนึ่ง เป็นคติสอนใจเป็นการเรียนรู้อีก ตัวละคร ความรู้สึก การกระทำ�ของตัวละคร
| March-April 2013
เราจะได้รู้ว่าตัวละครที่คิดแบบนี้ต่อไปชีวิต ของเขาจะดำ � เนิ น ไปในรู ป แบบไหนต่ อ ไป เป็ น ตั ว อย่ า งให้ เ ราว่ า ถ้ า เราคิ ด แบบนี้ บ้ า ง เหตุ ก ารณ์ ที่ เ รากำ � ลั ง ประสบอยู่ ก็ อ าจจะ ดำ�เนินไปในทิศทางเดียวกันก็ได้ ทีจ่ ริงก็คดิ ว่า ยังใช้ชวี ติ เหมือนเดิมแหละ แต่กอ็ าจมีบางสิง่ บางอย่างที่เรียนรู้แล้วเปลี่ยนเราไปโดยที่เรา ไม่รู้ตัวก็ได้
อะไรเป็นเกณฑ์ชี้วัดความมีชื่อเสียง ของนักแปล? อาจารย์ยรรยง: พูดยากเหมือนกัน พอเป็น นั ก แ ป ล แ ล้ ว ผ ม ถื อ ว่ า มั น ก็ เ ป็ น อ า ชี พ เพราะฉะนั้นเจตนารมณ์ของนักแปลมันก็คือ ทำ�มาหากิน มันคู่กันอยู่ ถ้าคุณแปลดีเขาก็ จ้ า งคุ ณ ไปทำ � ก็ จ ะเป็ น นั ก แปลมื อ อาชี พ ถ้ า เขาไม่ จ้ า งคุ ณ ต่ อ ไปก็ แ สดงว่ า ฝี มื อ คุ ณ ยังไม่ถึง ทำ�นองนั้น ครูเอื้อง: ชะตากรรมอย่างหนึ่งของนักแปล ก็คือมักจะอยู่ในมุมมืดที่ไม่มีใครเห็นเพราะว่า ถ้ า เรื่ อ งที่ เ ราแปลดั ง ก็ เ ท่ า กั บ ว่ า เรื่ อ งนั้ น นักเขียนเขียนดีก็จะดังที่นักเขียน จะไม่ค่อยมี คนนึกถึงนักแปลเท่าไร แต่วา่ การสะสมผลงาน สัง่ สมประสบการณ์กเ็ ป็นส่วนทีช่ ว่ ยได้ แต่ครู คิดว่านักแปลหลายๆคนก็คงคล้ายๆ กัน คือ ไม่ได้หวังจะดังอะไรแต่หวังว่าเราทำ�หน้าที่ เป็ น ทู ต ทางตั ว หนั ง สื อ ที่ ทำ � ให้ ค นอ่ า นได้ มี โอกาสอ่า นงานดีโ ดยมีเ ราเป็นล่ามเป็น คน แปลให้มากกว่า ตัวชีว้ ดั อย่างหนึง่ ทีช่ วี้ ดั ได้คอื คนอ่านงานของเราแล้วเขามีความสุขเขาอ่าน งานของเราแล้วเขารู้สึกว่าไม่มีกลิ่นนมเนย เขาอ่านงานแล้วรูส้ กึ ว่าเนียน คืองานแปลทีด่ ี จริงๆ ต้องเหมือนกับว่าคนนั้นเป็นคนเขียน เลย คนอ่านอ่านแล้วไม่รสู้ กึ ว่าตะขิดตะขวงใจ ไม่รู้สึกว่ามันมีพรมแดนทางวัฒนธรรมหรือ อะไรก็ตามตรงนี้ก็เป็นเรื่องยาก พี่ นํ้ า ผึ้ ง : เรื่ อ งชื่ อ เสี ย งช่ า งมั น ไปก่ อ น เพราะยังไงนักแปลที่มีชื่อเสียงจริงๆ หาตัว น้อยมากที่คนจะรู้จัก หรืออ่านหนังสือแล้ว พูดว่า “อ๊ะ คนนี้เป็นคนแปลนี่นา ซื้อดีกว่า” ไม่ค่อยมีหรอก แต่ถ้าถามว่าอย่างไรเรียกว่า ได้รับการยอมรับแล้ว คือแค่คนอ่านอ่านแล้ว รู้สึกว่าสนุก ไม่ได้บอกว่าแปลแย่หรืออ่าน ไม่รู้เรื่อง เท่านั้นก็ชื่นใจมากแล้ว รู้สึกเหมือน ได้รับการยอมรับแล้ว 29
หลายคนมองว่าอาชีพนักแปลเป็นอาชีพ หลักไม่ได้? อาจารย์ยรรยง: ผมเชื่อว่าอย่างนั้นเหมือนกัน ประเด็นมันคือว่าตลาดการแปลมันต่ำ�กว่า ตลาดการประพันธ์ เพราะคิดถึงรายได้ที่ได้ ยกเว้นแต่ว่าคุณจะเจอช่องทาง อย่างเดี๋ยวนี้ เขามีแปลวารสารจากต่างประเทศแล้วมาทำ� เป็นฉบับไทย พวกนีง้ านแปลก็จะมาสม่�ำ เสมอ พวกนีเ้ ขาก็จะมีเจ้าประจำ�ของเขาอยู่ โอกาสที่ จะเบียดแทรกเข้าไปก็ต้องใช้เส้นสักนิดหนึ่ง ถ้ า มี ง านสม่ำ � เสมอก็ จ ะได้ เ ป็ น กอบเป็ น กำ � พอสมควร แต่ มั น ก็ เ ป็ น ข้ อ เสี ย ตรงที่ ว่ า นักแปลจริงๆ ต้องมีการศึกษาที่สูง เขาต้องรู้ สองภาษาเป็นอย่างดี ซึ่งการศึกษาที่สูงก็คือ ตำ�แหน่งหน้าที่การงานเขาก็สูงตามไปด้วย ก็จะไม่ค่อยมีเวลามาทำ�เรื่องพวกนี้ ตรงนี้ ก็เป็นปัญหา ครูเอื้อง: เอาเรื่ อ งความรู้ สู ง ก่ อ นไม่ จำ � เป็ น ต้องมีความรู้สูงก็เป็นนักแปลได้แต่ขอให้มี ความรู้ด้านภาษาแล้วมีใจรักที่จะแปลเพราะ การแปลเป็ น ทั ก ษะเหมื อ นกั น ต้ อ งฝึ ก ฝน
ตั ว เองอยู่ เ สมอต้ อ งอ่ า นหนั ง สื อ อยู่ เ สมอ ต้ อ งแปลอยู่ เ สมอ ที นี้ พู ด ถึ ง รายได้ ที่ ไ ม่ สามารถเป็ น งานที่ เ ลี้ ย งชี พ ได้ มั น ก็ ม องได้ หลายแง่ถ้าสำ�หรับตัวครูเองคิดว่างานแปล มั น เป็ น งานที่ ห ล่ อ เลี้ ย งชี วิ ต เป็ น งานที่ หล่ อ เลี้ ย งจิตใจเพราะว่า เป็นงานที่ทำ�ด้ว ย ความสุขเป็นงานที่ทำ�ด้วยความเข้าใจแล้วได้
30
| Read Me 17
เป็นการเปิดโลกทัศน์ของตัวเองเพราะฉะนั้น ถ้าจะเทียบกับเม็ดเงินจำ�นวนเงินทีไ่ ด้มาเพือ่ ที่ จะให้คุ้มกับค่าแปลหรือให้พอกับค่าครองชีพ ถ้าคิดอย่างนี้ไม่เพียงแต่เป็นนักแปลหรอก เป็นอาชีพอืน่ ก็ล�ำ บากเหมือนกันแต่เราก็ตอ้ ง ยอมรั บ ว่ า ในวงการหนั ง สื อ บ้ า นเราคนทำ � หนังสือก็ไม่ได้ร่ำ�รวยเป็นเจ้าของธุรกิจหรือ
ว่าเป็นเจ้าของกิจการอะไรใหญ่โตแต่วา่ ถ้าทำ� อะไรด้ ว ยใจรั ก แล้ ว อย่ า ไปคิ ด เรื่ อ งเงิ น เลย มันเป็นการทำ�ให้ใจเรามีความสุขมากกว่า พี่นํ้าผึ้ง: เขาคิดถูกแล้วล่ะ ทำ�งานแปลอย่าง เดียวมันไม่พอกินจริงๆ คือคนที่มาทำ�งาน แปลส่วนใหญ่จริงๆ เขารักทีจ่ ะทำ�งานแปลเขา ถึงมาแปล โดยที่เขาก็มีงานหลักของเขาอยู่ ส่วนพีเ่ นีย่ เพราะว่ามีเหตุผลหลายๆ อย่างเลย มาทำ�แปลเป็นอาชีพหลัก แต่ก็ไม่ได้ทำ�แปล อย่างเดียว พี่ก็สอนพิเศษภาษาญี่ปุ่นบ้าง รับเป็นล่ามส่วนตัวให้คนญีป่ นุ่ ทีม่ าติดต่องาน ในประเทศไทยบ้าง ก็เรียกว่าแม้จะทำ�งาน แปลมากกว่า แต่งานแปลก็คงเป็นอาชีพหลัก ไม่ได้อยู่ดี แต่ถ้ามีคนไหนที่สามารถทำ�งาน แปลเป็นอาชีพหลักอย่างเดียวได้ก็อยากเจอ มากเลยจะได้ถามว่าเขาทำ�อย่างไรแล้วขอทำ� ตามบ้าง (หัวเราะ)
ผู ก ขาดที่ ว่ า บั ง คั บ ให้ เ ป็ น หนั ง สื อ เรี ย น หรือเป็นหนังสืออย่างทีพ่ มิ พ์มาเท่าไรก็ขายได้ อย่างนีก้ ย็ าก ตลาดมันแคบลง คือจำ�นวนคนที่ อ่านนิยายวิทยาศาสตร์อาจจะไม่ลดลง อาจจะ เพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ� แต่มันเทียบไม่ได้กับตลาด โดยรวม แล้วตลาดเดี๋ยวนี้เป็นตลาดแบบที่ แข่งขันกันสูงมาก เพราะฉะนั้นเขาก็จะไม่ทำ� อะไรที่มันไม่กำ�ไรเยอะๆ ครูเอือ้ ง: ครูคดิ ว่าการแปลจะมีบทบาทสำ�คัญ มากขึ้ น เรื่ อ ยๆ เพราะยิ่ ง เราเปิ ด ประเทศ มากขึ้น เรามีการเจรจาธุรกิจการค้าแล้วมี การแลกเปลี่ยนทางสังคมทางวัฒนธรรม ทางวรรณคดีวรรณกรรมมากมายอีกหน่อย เราก็เปิดอาเซียนแล้วบทบาทของการแปล ก็ จ ะมี ส่ ว นเยอะในการที่ จ ะทำ � ให้ ค นที่ จะต้องมาเกี่ยวข้องกันในประชาคมโลกได้มี ความเข้าใจที่ตรงกัน แล้วอีกอย่างที่ครูชอบ มากก็คือนักแปลได้มีโอกาสในการเผยแพร่ วัฒนธรรมอะไรทีเ่ ราเรียนรูไ้ ด้จากต่างประเทศ มองอนาคตของวงการหนังสือแปล เราอยากให้คนไทยคนอื่นๆ ได้มีโอกาสเรียน ในประเภทของตนเองอย่างไร? อาจารย์ ย รรยง: ถ้ า เ ป็ น ว ง ก า ร นิ ย า ย รู้ สิ่ ง ดี ๆ เหล่ า นั้ น บ้ า งเช่ น วรรณคดี อ มตะ วิทยาศาสตร์นเี่ รือ่ งใหญ่ เพราะมันไปตกกรอบ ของโลกมั น ก็ จ ะได้ รั บ การแปลแล้ ว ทำ � ให้ อยู่ ใ นเรื่ อ งของการค้ า ถ้ า คุ ณ ไม่ มี ร ะบบ คนรู้จักมากขึ้น
| March-April 2013
พี่นํ้าผึ้ง: วงการนักแปลภาษาญี่ปุ่นยังเติบโต ได้อีก เพราะว่านิยายญี่ปุ่นในเมืองไทยยังไม่ เติบโตถึงขีดสุด ที่จริงยังมีหนังสืออีกหลาย เรื่ อ งเลยที่ อ ยากเข้ า ให้ เ ข้ า มาพิ ม พ์ ใ นไทย แต่ มั น ทำ � ไม่ ไ ด้ เ พราะเหตุ ผ ลหลายอย่ า ง คนไม่ซื้อเข้ามาบ้าง บริษัทไม่ซื้อเข้ามาบ้าง หรื อ หนั ง สื อ เล่ ม นั้ น เป็ น ของบริ ษั ท เล็ ก ๆ ที่ เ ขาไม่ ส ามารถติ ด ต่ อ ประสานงานกั บ ต่างประเทศได้มาก และบุคลากรด้านนีย้ งั ขาด อยู่ ม าก เรี ย กได้ ว่ า มี เ ท่ า ไรก็ ไ ม่ พ อ ทุ ก ที่ ต้องการตัวนักแปลภาษาญี่ปุ่น แต่ปัญหา ไม่ใช่จำ�นวน ปัญหาอยู่ที่คนแปลนิยายและ การ์ตูนญี่ปุ่นได้มีน้อย แล้วถ้าเทียบจำ�นวน คนอ่ า นวรรณกรรมภาษาญี่ ปุ่ น เที ย บกั บ ภาษาอื่นมันยังแคบอยู่ แล้วที่จริงจะบอกว่า คนไทยยั ง มี อ คติ กั บ งานแปลภาษาญี่ ปุ่ น อยู่ก็ว่าได้ เพราะส่วนใหญ่อิมเมจของญี่ปุ่น จะเป็นการ์ตูน แล้วในเมืองไทยจะมีภาพพจน์ ว่าการ์ตูนเป็นเรื่องของเด็กไร้สาระ แต่ความ จริงที่ประเทศญี่ปุ่น การ์ตูนของเขา อนิเม ของเขาเป็นสือ่ ทีด่ ไู ด้ทกุ เพศทุกวัย มีการแบ่ง กลุ่มผู้ชมที่ชัดเจนกว่าคนไทย
31
My Space [สาระบันเทิงสถาน] เรื่อง: ยุทธชัย สว่างสมุทรชัย ภาพ: กัษมา เรืองงาม
มากกว่าการเรียนรู้ภาษา ‘สถาบันวิจัยภาษา และวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล’ ระเทศไทยกำ � ลั ง จะเข้ า สู่ ป ระชาคมอาเซี ย นในอี ก ไม่ กี่ ปี ข้ า งหน้ า ซึ่ ง ถื อ เป็ น เรื่ อ งน่ า ยิ น ดี ใ นการขยายวงกว้ า ง ความสัมพันธ์ระดับประเทศ แต่สำ�หรับสถานที่ที่เราจะมา แนะนำ� เขาบอกกับเราเองเลยว่า ‘เขาอาเซียนมาตั้งแต่เกิดแล้ว’ สถาบั น วิ จั ย ภาษาและวั ฒ นธรรมเอเชี ย มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล คือชื่อใหม่ของสถาบันที่เราจะมาแนะนำ�สถานที่กัน แต่ถ้าเป็นชื่อเดิม ของสถาบันทีท่ กุ คนรูจ้ กั กัน นัน่ ก็คอื สถาบันวิจยั ภาษาและวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งการมาแนะนำ�สถานที่ ในครั้งนี้ เราได้รับเกียรติจากอาจารย์วาทิตต์ ดุริยอังกูร นักวิชาการ วัฒนธรรมเป็นผูใ้ ห้ขอ้ มูลสถานที่ และมีประชาสัมพันธ์เป็นผูส้ นับสนุน 32
| Read Me 17
ข้อมูลให้อีกแรง ทางสถาบันบอกกับเราว่า ในตอนแรกทีช่ อื่ สถาบันวิจยั ภาษาและ วัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท เป็นเพราะหน่วยงานนี้เน้นวิจัยในเรื่อง กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทยของเรา แต่เมื่อได้เปลี่ยนชื่อ มาเป็นสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียในปัจจุบัน จึงทำ�ให้ เกิดการขยายขอบเขตการวิจัยและศึกษาภาษารวมถึงวัฒนธรรม ให้กว้างขึ้น โดยไม่ใช่แค่ศึกษาเฉพาะชนกลุ่มน้อยในจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทยเท่านัน้ แต่ได้ขยายไปถึงแถบอาเซียนหรือว่าในเอเชีย ของเราด้วย อาจารย์วาทิตต์เสริมต่ออีกว่า แรกเริม่ เดิมทีคนจะรูจ้ กั กับสถาบันนี้ ในมุมของการวิจัยและศึกษาเรื่องของภาษาเท่านั้น แต่อันที่จริง นอกจากการวิ จั ย ภาษาแล้ ว ที่ นี่ ยั ง ศึ ก ษาและเรี ย นรู้ ไ ปถึ ง เรื่ อ ง ของการเมืองและการปกครองของเขาว่าเป็นอย่างไร ไปดูที่อยู่อาศัย ประเพณี และการละเล่นของเขาว่ามีวิถีชีวิตแบบไหน ศึกษาวัตถุและ เครือ่ งใช้ไม้สอยต่างๆ ของเขาว่าใช้กนั อย่างไร รวมไปถึงอาหารการกิน การแต่งกาย การนับเครือญาติ และความเชื่อต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งการเรียนรู้สังคมและกลุ่มคนต่างๆ เหล่านั้น ไม่ใช่แค่เพียงแค่ การเข้าไปถาม นำ�ข้อมูลออกมา แล้วก็จบ แต่ตอ้ งเข้าไปเรียนรูถ้ งึ วิถชี วี ติ
ของคนเหล่านี้ด้วย ฉะนั้นสถาบันจึงเป็นคำ�ตอบใหญ่ที่จะบอกว่า ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม และภาษาเป็นเรื่องสำ�คัญที่ทำ�ให้ เราเข้าไปสื่อสารกับเขาได้ แถมอาจารย์ยังบอกอีกว่า ภาษาและ วั ฒ นธรรมไม่ ใ ช่ สิ่ ง ที่ แ ยกส่ ว นกั น แต่ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ค วบคู่ แ ละต้ อ งทำ � ความเข้าใจร่วมกัน เห็ น แบบนี้ ก็ อ ดไม่ ไ ด้ ที่ จ ะเข้ า ไปเยี่ ย มชมสถาบั น ให้ เ ห็ น กั บ ตา และพอเข้าไปจริงๆ ก็รสู้ กึ ได้เลยถึงกลิน่ อายของภาษาและวัฒนธรรม เต็มพื้นที่ไปหมด ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรม ที่ เ ป็ น ส่ ว นจั ด แสดงเนื้ อ หางานวิ จั ย โดยได้ แ ปรรู ป ออกมาเป็ น นิทรรศการให้ผคู้ นได้ดมื่ ด่�ำ กับวิถชี วี ติ ของชาติพนั ธุท์ อี่ ยูใ่ นประเทศไทย ตั้งแต่การเดินทางเข้าไปในพื้นที่ว่าไปเก็บข้อมูลอย่างไร ซึ่งอาจารย์ ได้เผยกับเราว่า ที่แสดงนี่เป็นจุดเริ่มต้นของสถาบันนี้เลยก็ว่าได้ รวมไปถึ ง ภายในพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ยั ง มี ศู น ย์ ก ารศึ ก ษาและฟื้ น ฟู ภ าษา และวั ฒ นธรรมในภาวะวิ ก ฤติ ซึ่ ง เป็ น ศู น ย์ ที่ ทำ � ให้ เ ข้ า ใจถึ ง ภาษา ในแต่ละชนกลุ่มน้อยว่าเป็นอย่างไร อีกทั้งควรจะต้องรักษาภาษา ของเขาต่อไปอย่างไร ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจให้ผู้คนได้เข้ามาศึกษา และเยี่ยมชม แต่ต้องขอบอกก่อนว่า ต้องมาในวันพุธเท่านั้น เพราะ พิพิธภัณฑ์จะเปิดทำ�การให้บุคคลภายนอกเข้ามาเยี่ยมชมได้ทั้งวัน พอเดินออกจากพิพิธภัณฑ์ เราก็ได้เห็นห้องสมุดของที่นี่ซึ่งมีอยู่ 2 แห่ ง ด้ ว ยกั น น่ า สนใจตรงที่ ว่ า มี ทั้ ง ห้ อ งสมุ ด ของสถาบั น และสำ � นั ก งานบริ ก ารข้ อ มู ล ภาษาและวั ฒ นธรรมเอเชี ย อาคเนย์ โดยห้องสมุดดังกล่าวจะเป็นที่รวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับภาษารอบ เอเชียอาคเนย์ อีกทั้งหนังสือหายากที่ไม่สามารถหาที่อื่นได้ นำ�มา รวบรวมไว้ทนี่ อี่ กี ด้วย พูดได้ค�ำ เดียวว่า ใครทีช่ อบภาษา มาทีน่ ไี่ ม่ผดิ หวัง แน่นอน เมื่อเราเดินออกมาจากตัวสถาบัน เรายังได้พบกับ เรือนไทย หลังใหญ่ ซึง่ ถือได้วา่ เป็นส่วนหนึง่ ของสถาบันเหมือนกัน โดยสถานทีน่ ี้ เป็นพืน้ ทีใ่ นการแสดงถึงวัฒนธรรมของไทยทีค่ งอนุรกั ษ์แบบแผนเดิม ไว้ได้เป็นอย่างดี และยังใช้เป็นพืน้ ทีท่ างวัฒนธรรมในการแลกเปลีย่ น ความคิดเห็น อีกทั้งเป็นเวทีกลางของชุมชนอีกด้วย ทางสถาบัน บอกกับเราเพิ่มเติมว่า ใครมานั่งสบายๆ ที่นี่ก็ได้ หรือจะมาจัดงาน ทำ�กิจรรมต่างๆ ก็สามารถติดต่อใช้เรือนไทยได้เลย ก่อนจากกันอาจารย์วาทิตต์ยงั ได้กล่าวสรุปถึงทีน่ ไี่ ด้อย่างน่าสนใจ แหล่งเรียนรูน้ มี้ อี งค์ความรูแ้ ละบทบาททางสังคม แต่ถา้ แหล่งเรียนรูน้ ี้ จะต้องบันเทิง ความบันเทิงนั้นจะต้องมาพร้อมกับความรู้ และทำ�ให้ เข้าใจถึงภาวะของความเป็นกลุ่มชนต่างๆ ได้มากขึ้น”
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำ�บลศาลายา อำ�เภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 โทรศัพท์: 0-2800-2308-14 เปิดทำ�การ: ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น. www.facebook.com/rilcamu | March-April 2013
33
What is this?
34
Latte Art Pen
SARA Reading Machine
ความหอมกรุ่ น ปนรสขมของกาแฟ เป็ น สิ่ ง ที่ หลายคนหลงใหล เพื่อรองรับความต้องการของ ผู้คน จึงเกิดกาแฟหลายรสชาติและหลายรูปลักษณ์ ขึ้นมา ‘Latte art’ หรือศิลปะบนถ้วยกาแฟก็เกิดขึ้น ด้วยเหตุผลนี้ หลายคนน่าจะเคยเห็นการตกแต่ง ฟองนมบนกาแฟเป็ น รู ป ต่ า งๆ ซึ่ ง การตกแต่ ง มี ลั ก ษณะด้ ว ยกั น สองแบบคื อ การเทฟองนม ที่เรียกว่า ‘free pouring’ กับอีกแบบที่ใช้การวาด ลวดลายบนฟองนม Etching ซึ่งวิธีการนี้ต้องใช้ ไม้เขียนลาย หรือเรียกว่า ‘Latte art pen’ รูปร่าง ของไม้วาดลวดลายก็อย่างทีเ่ ห็นในรูป คล้ายเข็มเย็บ ผ้าเหมือนกัน
เป็นอุปกรณ์อา่ นหนังสือสำ�หรับผูม้ คี วามบกพร่อง ทางการมองเห็ น โดยเวลาจะใช้ อุ ป กรณ์ ชิ้ น นี้ ก็ เ พี ย งแค่ นำ � เอกสารหรื อ หน้ า หนั ง สื อ ที่ ต้ อ งการ จะอ่าน วางบนเครื่องและกดปุ่มสแกน เจ้าเครื่องนี้ ก็ จ ะบั น ทึ ก ข้ อ ความบนหน้ า กระดาษ และอ่ า น ออกเสี ย งให้ ฟั ง ได้ เจ้ า อุ ป กรณ์ เ ครื่ อ งนี้ ช่ ว ยผู้ มี ความบกพร่องทางการมองเห็น สามารถอ่านหนังสือ ได้เหมือนคนปกติทั่วไป
| Read Me 17
เรื่อง: ปริญญา ก้อนรัมย์
Capo
แป้งตราเต่าเหยียบโลก
เคยไหมเวลากำ�ลังชมศิลปินทีเ่ ราชอบเล่นกีตา้ ร์อยู่ แล้วจูๆ่ เขาก็หยิบอุปกรณ์รปู ร่างแปลกๆ มาหนีบทีค่ อ กีต้าร์ แล้วเขาก็เล่นต่อไป ไม่เฉลยสักคำ�ว่าสิ่งนั้นคือ อะไร ใครที่คงยังสงสัยวันนี้มาทำ�ความรู้จักกับมัน กันครับ Capo (คาโป้) เป็นอุปกรณ์สำ�หรับมือกีต้าร์ ที่ ใ ช้ ใ นการเพิ่ ม ระดั บ เสี ย งของกี ต้ า ร์ ใ ห้ สู ง ขึ้ น มือกีต้าร์จะใช้คาโป้หนีบที่ฟิงเกอร์บอร์ด ซึ่งการขยับ คาโป้ เ ข้ า หาตั ว จะทำ � ให้ เ สี ย งกี ต้ า ร์ ย กระดั บ สู ง ขึ้ น นั้นเอง รูปร่างของคาโป้นั้นจริงๆ ก็ไม่หนีจากที่หนีบ ผ้าสักเท่าไหร่ วันไหนทีห่ นีบผ้าขาด คุณแม่บา้ นก็ลอง หยิบเอาคาโป้มาหนีบดูมั่งละกัน เผื่อจะทำ�ให้ระดับ เสียงของผ้าสูงขึ้น
หนุ่ ม ๆ อย่ า งงว่ า ชื่ อ ที่ พู ด ถึ ง ข้ า งต้ น คื อ อะไร และมีอยูจ่ ริงไหม ไม่เคยได้สมั ผัส เพราะสิง่ นีเ้ ป็นทีร่ จู้ กั อย่างดีในหมู่สาวๆ ด้วยสรรพคุณอย่างดีในการระงับ ‘กลิ่นเต่า’ และไม่ทิ้งคราบเหลืองไว้บนเสื้อ นับเป็น ไอเทมลับที่สาวเจ้าทั้งหลายหยิบขึ้นมาใช้ก่อนออก จากบ้าน ที่หนุ่มๆ ไม่รู้จักก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะชื่อ ของสิ่งนี้มันน่าขันน้อยซะเมื่อไรล่ะ แค่ตอนซื้อสาวๆ ยังต้องกระมิดกระเมี้ยนบอกชื่อกับคนขาย หนุ่มๆ คนไหนไปพบเจอเข้าตอนนั้น ก็อย่าไปมองด้วยสาย ตาแปลกๆ ถือว่าเห็นใจสาวๆ กันหน่อย แต่ถ้าจะให้ดี ไปบอกผู้ผลิตเปลี่ยนชื่อได้ก็ดีนะ
| March-April 2013
35
Review เรื่อง: ปรางแก้ว ศรีแก้ว
ล่ามอาชีพ: บุญชู ตันติรัตนสุนทร สำ�นักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์
The Reader Bernhard Schlink, 1995
ใครเคยอยากมีวุ้นแปลภาษายกมือขึ้น ในชีวิตจริงวุ้นแปลภาษาจากหุ่นยนต์แมว ไร้หไู ม่มจี ริง เราจึงต้องสร้างโปรแกรมของเราเอง ด้วยวุ้นสมอง ผ่านการศึกษาและฝึกฝนอย่าง เอาจริงเอาจัง จนสามารถสือ่ สารได้โดยอัตโนมัติ ลื่นไหลราวกับเป็นเจ้าของภาษาเสียเอง แล้วยังไงต่อ? ‘ล่ า มอาชี พ ’ รวบรวมประสบการณ์ จ าก ผู้ครอบครองวุ้นแปลภาษา ที่ไม่ปล่อยให้ความ สามารถเปลืองเปล่า ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการ เป็นล่ามฝึกหัด ถึงจุดสูงสุดของการเป็นล่าม อาชี พ บั น ทึ ก เรื่ อ งราวจากปากพู ด สู่ ป ากกา ทั้งการเป็นนักแปล การเป็นล่ามไทย-อังกฤษญี่ ปุ่ น รวมถึ ง การเป็ น วิ ท ยากรตลอด 20 ปี ที่ผ่านมา ตอบคำ�ถามพื้นๆ ที่ใครๆ ก็รู้ จนถึง คำ�ถามลึกๆ ที่มีแต่ ‘ผม’ เท่านั้นที่รู้! คนไหน มีความฝันอยากเป็นล่ามอาชีพ หรืออยากลาออก จากงาน แล้วมาเป็นล่ามเล่นๆ ก็ลองอ่านหนังสือ เล่มนี้ดู ว่าแต่ ใครอยากมีวุ้นแปลภาษาบ้างนะ?
The Reader ประพั น ธ์ โ ดย Bernhard Schlink ผู้ พิ พ ากษาและอาจารย์ คณะนิ ติ ศ าสตร์ ช าวเยอรมั น นิ ย ายเรื่ อ งเยี่ ย มตี พิ ม พ์ ค รั้ ง แรกในเยอรมั น ปี 1995 ซึง่ เวลาต่อมา The Reader ถูกนำ�มาสร้างเป็นภาพยนตร์ชอื่ เดียวกัน (Stephen Daldry, 2008) และได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในหลายสาขา The Reader แบ่งออกเป็น 3 ภาค อิงตามช่วงชีวิตของตัวละครหลัก ภาคแรก กล่าวถึงไมเคิล เบิร์ก ในวัยรุ่น ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับฮันนาห์ ชมิทช์ สาวใหญ่ ชนชั้นแรงงานวัย 36 ปี เธอขอให้เขาอ่านหนังสือให้เธอฟัง (โดยเฉพาะวรรณกรรม คลาสสิก) ทุกครั้งที่ทั้งคู่พบกัน หลังจากนั้นหลายเดือนฮันนาห์หายตัวไป และไมเคิล กลายเป็นคนปิดตัวเอง เขาโตขึ้นพร้อมกับเงาหลอกหลอนของความสัมพันธ์ที่น่าอาย ในภาคที่สอง ไมเคิล เบิร์กเป็นเด็กหนุ่ม นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ไฟแรง เขาพบกับ ฮันนาห์ ชมิทช์อีกครั้ง แต่เธอกลายเป็นอาชญากรสงคราม เนื่องจากเคยทำ�งาน เป็นการ์ดของ SS ในช่วงการกวาดล้างชาวยิวครั้งใหญ่ของนาซี ความลับค่อยๆ เปิดเผยออกมาทีละเปราะ ส่งแรงสัน่ สะเทือนมหาศาล ทีท่ �ำ ให้เกิดเรือ่ งราวในภาคทีส่ าม การขมวดปมจบทีจ่ ะทำ�ให้ผอู้ า่ นเกิดอาการแน่นหน้าอก ด้วยความรูส้ กึ แปลกประหลาด ยากจะอธิบาย The Reader กล่าวถึง Holocaust หรือการกวาดล้างชาวยิว และความรู้สึกของ ประชาชนชาวเยอรมัน ที่เป็นทั้งพยานในเหตุการณ์นั้น รวมถึงชนรุ่นหลังที่ตั้งคำ�ถาม กับการกระทำ�ของบรรพบุรุษ ไม่ว่าจะมีส่วนรวมหรือเพิกเฉยก็ทิ้งรอยแผลไว้กับเหยื่อ ของสงครามไม่ผดิ กัน นิยายเรือ่ ง The Reader อ่านและแปลความหมายของเหตุการณ์ ได้อย่างไม่มีที่ติ ผ่านตัวอักษรที่คล้ายเป็นการบันทึกแยบคาย ซึ่งจะทำ�ให้พวกเราไม่ลืม ประวัติศาสตร์ที่ควรจดจำ�
36
| Read Me 17
The Reader กำ�กับ: สตีเฟ่น ดาลดรี้
The Killing Fields กำ�กับ: โรแลนด์ จอฟเฟ
The Reader หรือชือ่ ภาษาไทยว่า ‘อ้อมกอดรักไม่ลมื เลือน’ สร้างจาก นวนิยายชื่อเดียวกัน เป็นภาพยนตร์แนว Romantic-Drama กล่าวถึง เรือ่ งราวความรักของหนุม่ น้อยไมเคิล เบิรก์ ทีต่ กหลุมหลงฮันนาห์ ชมิทช์ สาวชนชัน้ แรงงานทีอ่ ายุมากกว่า 20 ปี (ลืมบอก...ไมเคิลอายุ 15 เท่านัน้ !) ท่ามกลางความอึมครึมในประเทศเยอรมัน ภายหลังการกวาดล้างยิว ครั้งใหญ่ของนาซี ระหว่างความสัมพันธ์ (ที่ไม่มีอนาคต) ของทั้งคู่ ฮันนาห์มีข้อแม้ แปลกประหลาด เธอขอให้เด็กหนุม่ อ่านหนังสือให้เธอฟัง แลกกับการทีเ่ ธอ จะหลับนอนด้วยในแต่ละครั้ง เหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำ�แล้วซ้ำ�เล่า จนกระทั่ง ฮันนาห์หายตัวไปอย่างลึกลับ ไมเคิลจมอยู่กับความเสียใจและกลายเป็น คนปิดตัวเอง แต่ในทีส่ ดุ ฮันนาห์กก็ ลับเข้ามาในชีวติ ของไมเคิล ในฐานะทีเ่ ขา เป็นนักศึกษากฎหมาย และเธอกลายเป็นจำ�เลยสงคราม ระหว่างการ สืบสวนในชั้นศาล ความลับของฮันนาห์ ชมิทช์ - ความลับที่โลกต้องหยุด ฟังกำ�ลังจะเปิดเผย ภาพยนตร์นำ�แสดงโดย Kate Winslet และ Ralph Fiennes การันตี ด้วยรางวัล Academy Awards และ Golden Globe Awards สาขา กำ�กับภาพและนักแสดงหญิงยอดเยี่ยม The Reader มีโทนเรื่องอึดอัด อึมครึมและตั้งคำ�ถามกับผู้ชมอยู่ตลอดเวลา หากคุณเตรียมตัวลุกไปหา The Reader ดูแล้วละก็ ภาพยนตร์เรื่องนี้ให้คุณมากกว่าความสนุก อย่างแน่นอน บางทีคณ ุ อาจตัง้ คำ�ถามกับตัวเองว่า ‘เราแปลค่าศีลธรรมไว้อย่างไร?’
ภาพยนตร์ Drama ที่สร้างจากประสบการณ์จริงของ นักข่าวนิวยอร์กไทมส์ ที่เข้าไปทำ�ข่าวสงครามกลางเมืองของ กัมพูชาในยุคการปกครองเขมรแดง หนึ่งในนั้นคือดิธ ปราน นักข่าวสายเลือดกัมพูชา ซึ่งเป็นล่ามให้กับซิดนีย์ ชานเบิร์ก เพื่อนร่วมอาชีพชาวอเมริกัน ทั้งคู่ต้องการเปิดเผยความจริง เกี่ยวกับเหตุการณ์รุนแรงในกัมพูชา แต่ถูกฝ่ายเขมรแดง จับได้ที่กรุงพนมเปญพร้อมนักข่าวชาวตะวันตกอีก 2 คน ซึ่งในที่สุดปรานก็สามารถเจรจากับหัวหน้าหน่วย และได้รับ การปล่อยตัวในเวลาต่อมา ปรานเตรียมตัวหนีออกจากกัมพูชา แต่ชานเบิรก์ ต้องการทำ�ข่าวจนถึงทีส่ ดุ นัน่ ทำ�ให้ปรานตัดสินใจ อยู่ต่อกับชานเบิร์ก โดยที่เขาไม่มีวันรู้เลยว่า ต่อจากนี้อีก 4 ปี เขาจะต้องติดอยู่ในนรกเขมรแดง The Killing Fields เป็นภาพยนตร์เชิงบันทึกประวัตศิ าสตร์ อีกหนึ่งเรื่อง ที่สามารถเขย่าอารมณ์ของผู้ชมให้จมดิ่งสู่อดีต ที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ผ่านตัวละคร 2 ตัวที่สร้างจากบุคคลจริง จากสายตาของพยานในช่วงเวลาทีเ่ ลวร้ายทีส่ ดุ แม้ภาพยนตร์ จะเก่ามากจนเทคนิคทางการผลิตล้าหลัง แต่มนั ก็ยงั ทำ�หน้าที่ ในการส่งต่อ ‘สารบางอย่าง’ ได้อย่างดีเยี่ยม เราอาจไม่ต้องการล่ามภาษา แต่เราต้องการล่ามในจิตใจ ที่จะทำ�ให้ ‘สันติ’ กลายเป็นคำ�สากล
| March-April 2013
37
Outlet [ปล่อยของ] เรื่อง: ฐาปะนีย์* tkfungi.exteen.com
ดาวห่าง ดาวหาง
38
| Read Me 17
กาลครั้งหนึ่ง… เมื่อครั้งดวงดาวยังคงเป็นดวงดาว ยังคงมีดาวหางดวงหนึ่งโคจรไปๆ มาๆ หากสังเกตให้ดี จะพูดว่าดาวหางดวงนั้นโคจรก็ไม่ถูกนัก เพราะเจ้าดาวหางไม่เคยยึดแรงโน้มถ่วงของดาวดวงใด มากกว่านั้นมิเคยเฉียดใกล้ดาวดวงใดแม้แต่สักดวง ดาวหางจึงไร้หาง ดวงดาวอื่นๆ พากันตลกขบขัน พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อให้เจ้าดาวหางตามลักษณะที่ไม่เคยเข้าใกล้ดาวใดว่า ดาวห่าง ดาวห่างโคจรห่างออกไปจากกลุ่มดวงดาวเรื่อยๆ ห่างออกจากแสงสีเหลืองนวลที่แข่งกันอวดให้ใครๆ ได้เห็น ห่างจากเสียง ปิ๊งๆ วิ๊งๆ วุ่นวาย ห่างจากความห่างเหินที่แสนห่างไกล เจ้าดาวห่างพอใจกับความห่างของตน แต่ในเหตุการณ์ปกติในวินาทีใดวินาทีหนึ่งนั้น หางของเจ้าดาวห่างก็เปล่งแสงสดใส ดาวห่างสงสัย “ไหนล่ะ ฉันไม่ได้เข้าใกล้ดาวดวงใด เหตุใดฉันจึงเปล่งแสง” “...ฉันอยู่ตรงนี้” เสียงเบาๆ เปล่งออกมา ดาวห่างก้มมองลงใกล้ๆ คล้ายจะพบดาวเคราะห์ดวงหนึ่งลอยนิ่งอยู่ไม่ไกล “...เธอเห็นฉันไหม?” ดาวเคราะห์ผู้ด้อยแสงเริ่มสนทนา “คล้ายว่าจะเห็น” ดาวห่างผู้เหินห่างตอบกลับ เขาไม่รู้ว่านั่นเป็นการเริ่มต้นของบทกวี “...เหตุใดจึงคล้ายว่าจะมองเห็น” “ฉันมองไม่เห็นเธอหรอกนะ มีเพียงฉันที่ส่องแสงเท่านั้นที่ทำ�ให้รับรู้ว่าเธออยู่ใกล้ๆ” “...ฉันอยากจะกะพริบเหมือนดวงดาวดวงอื่นใด” “ไหนลองกระพริบดู” ดาวเคราะห์น้อยพยายามจะกะพริบแสง ให้ส่งเสียงปิ๊งๆ เหมือนใครๆ แต่หากทำ�ได้แค่ถอนหายใจ และทำ�ได้เพียงกะพริบตา “...เพียงแค่อยากให้เธอมองเห็นฉันบ้าง” “ไม่เป็นไร” และแล้วบทสนทนาที่คล้ายกับบทกวี ก็จบลงอย่างแผ่วเบา ดาวห่างยังคงเป็นดาวห่าง ดาวเคราะห์ยังคงเป็นดาวเคราะห์ ยังคงเหินห่าง และกระพริบวิบวับไม่ได้ ... ข่าวจากจักรวาลฝั่งซ้ายแว่วมาเบาๆ ว่าเจ้าดาวห่างผู้แสนอิสระเปลี่ยนไปเสียแล้ว วันทั้งวัน คืนทั้งคืน มัวแต่เอาตัวเองเข้าไปใกล้ ทุกดวงดาว ดาวทุกดวงที่กะพริบ ทุกดวงที่เปล่งแสง ดาวห่างเข้าใกล้จนฝุ่นผงสีต่างๆ จากดาวทุกดวงติดตัวมา ดาวห่างผู้กลับมาเป็นดาวหางจึง มีหางสีรุ้งที่เปล่งแสงสวยงามที่สุดบนท้องฟ้า คำ�หัวเราะขบขันล้อเลียนก็กลายเป็นคำ�ชม ทุกดวงดาวต่างอยากให้ดวงหางมาโคจรใกล้ๆ หากแต่ วันหนึ่งในวินาทีที่ตั้งใจ ดาวหางกลับกลายไปเป็นดาวห่างอีกครั้ง แต่การห่างครั้งนี้ห่างเพื่ออะไร ห่างหายจากไปอีกขอบฟ้าพร้อมหางสีรุ้งที่ สวยงามที่สุด ... “...รอสักครู่ ฉันอยู่ตรงนี้” เสียงเบาๆ ที่คุ้นเคยเปล่งออกมาจากที่ที่ไม่คิดว่าจะมีดาวเคราะห์ดวงใด “เกือบชนเธอเข้าให้แล้ว” ในน้ำ�เสียงนั้นปนไปด้วยรอยยิ้ม “...คุณมาจากไหน” ดาวเคราะห์ดวงน้อยถามด้วยน้ำ�เสียงเหมือนเดิมตั้งแต่ครั้งแรก “มาจากทีที่จากมา แต่หากทุกความมืดมิดว่างเปล่านี้คือจักรวาล ฉันไม่เคยจากไปไหนเลย” “...คุณมองเห็นฉันไหม” ดาวเคราะห์น้อยถามอีกครั้ง เจ้าดาวห่างไม่พร่ำ�ตอบ หากแต่เริ่มขยับตัวเข้าไปใกล้ดาวเคราะห์ดวงน้อย หางสีรุ้งสวยสดใสปรากฏขึ้นมาอีกครั้ง สวยงาม อ่อนโยน และอบอุ่น ดาวห่างไม่ถูกเรียกว่าดาวห่างอีกแล้ว เพราะ ณ ตอนนี้ ดาวห่างโคจรไม่ห่างจากดาวเคราะห์ดวงนั้น หากจะพูดให้ชัด ดาวหาง ดาวห่าง ดวงเดียวกันนั้น กลายเป็น ดาวห่วง ที่โคจรรอบๆดาวเคราะห์น้อย เปล่งแสงสว่างสีรุ้งเป็นวงแหวนบางเบา “ฉันมองเห็นเธอแล้ว...” “ฉันก็มองเห็นคุณ...” ... ณ จักรวาลฝั่งตะวันออก มีดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่แสนห่างไกลกลับสว่างสดใสด้วยวงแหวนสีรุ้ง ไม่มีใครรู้จักชื่อ ไม่มีใครรู้ที่มา หากแต่รับรู้ว่า ความเข้ากันที่เหมาะเจาะนั้น ช่างสวยงาม
| March-April 2013
39
TK Voice [เสียงของสมาชิก]
เรื่อง/ภาพ: อมร จินดาทองดี
ถ้าสื่อสารกันได้ อยากคุยกับพืชหรือสัตว์ชนิดนั้นว่าอะไร?
อยากถามนกว่าไปที่ไหนมาบ้าง พบเห็นอะไรมาบ้าง พัชรนัลศณ์ อินทเวียง พนักงานบริษัทเอกชน
อยากถามสุนัขว่า เบื่อมั้ยที่ต้องเฝ้าบ้าน เวลาที่เจ้าของไม่อยู่ กาญจนา ยามปลอด พนักงานธนาคาร
อยากถามแมวว่า ทำ�อย่างไร ให้ตกตึกแล้วไม่ตาย ชยุตม์ ยงชัยชาญ นักเรียน
อยากถามช้างว่า ที่คุยกันด้วยเสียง ความถี่ต่ำ�นี่ คุยได้ไกลเป็นสิบกิโลจริงเหรอ กิตติชัย สิงห์สัมพันธ์ Developer
อยากถามดอกไม้ในแจกันว่า รู้สึกเสียใจมั้ยที่โดนเด็ดมาปักในแจกัน นภัส มีประเสริฐ นักศึกษา
อยากบอกต้นมะนาวที่หนูปลูกว่า ให้ออกลูกไวๆ เด็กหญิงรุ่งรดิศ ดำ�อิน นักเรียน
อยากถามตัวบีเวอร์ว่า คุณมีแรงบันดาลใจ อะไร ในการสร้างระบบนิเวศให้ป่า สนธิชัย จันทิวงศ์ พนักงานบริษัท
อยากถามมันสำ�ปะหลัง ว่าเขาต้องการสิ่งใด ที่เรายังไม่ได้ให้พวกเขาบ้าง เกรียงศักดิ์ ปึงแสงจันทร์ ทำ�ไร่มันสำ�ปะหลัง
อยากถามข้าวว่า เหนื่อยมั้ย สายศริยา ตู้จินดา นักเรียน
40
| Read Me 17
1-3
3
“มอบของขวัญ แบ่งปันความคิด” นิทรรศการต้นฉบับวรรณกรรม สำ�หรับเด็กนิพนธ์ ของ นิสิตสาขาวิชา วรรณกรรมสำ�หรับเด็ก คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
TK Movie: ภาพยนตร์เรื่อง คู่กรรม
11.00-19.00 น.
14.00 น.
9-10
11.00-17.00 น. นิทรรศการ ช้าง ช้าง ช้าง... น้องเคยเห็นช้างหรือเปล่า
10
14-16 16
TK Movie: ภาพยนตร์เรื่อง
อาละวาด “บุก แพร่เชื้อ ป่วนเมือง” ผลงานนิทรรศการศิลปนิพนธ์ จากนักศึกษาวิทยาลัยเพาะช่าง สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล รัตนโกสินทร์
14.00 น. ก้านกล้วย 2
11.00-17.00 น.
13.00 น.
Inspired by idol พบกับ แชมป์ ทีปกร และ ชิงชิง กฤชเทียมเมฆ
16.30-18.00 น.
TK Music Ed. ตอนที่ 3: เอิ้น-พิยะดา กับดนตรีบำ�บัดใจ Music Therapy by Earn Piyada
17 21-24 24 28-31 14.00 น.
TK Movie: ภาพยนตร์เรื่อง จักรยานสีแดง
11.00-17.00 น. “งาน SEE”
SEE…What you SEE โดยนักศึกษาภาควิชาการสื่อสาร การแสดงคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอแบค
14.00 น.
TK Movie: ภาพยนตร์เรื่อง EMIR ภาพยนตร์ เพลงดราม่าจาก ประเทศฟิลิปปินส์
| March-April 2013
11.00-17.00 น.
นิทรรศการเยาวชนต้นกล้า “GREEN Generation พลังสร้างสรรค์เพื่อดิน น้ำ� ป่า”
41
Read Me Egazine www.facebook.com/readmeegazine
เลขที่ 999/9 อาคารสำ�นักงานเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 17
ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 02 264 5963-5 โทรสาร 02 264 5966
42
| Read Me 17