วารสารปฏิรูป "ปฏิรูประบบประกันสุขภาพ"

Page 1

ปีที่1 ฉบับที่2

2554

พลังขับเคลื่อน เพื่อเปลี่ยนสังคม

กันยายน ตุลาคม

ระบบประกันสุขภาพ

หลายมาตรฐาน

Health care reform

ปฏิรูประบบประกันสุขภาพ


ทุกๆ ปี

ประชากร​โลก​ ​กว่า 100 ล้าน​คน​กำลัง​เข้า​สู่​ภาวะ​ ยากจน​อย่าง​หลีก​เลี่ยง​ไม่​ได้ เนื่องจาก​ ต้องเผชิญ​กับ​โรค​ภัย​ไข้​เจ็บ​มากมาย ​ ซึ่ง​ผล​ที่​ตาม​มา​คือ​ค่า​รักษา​พยาบาล​แพง​ มหาศาล รายงาน​จ าก องค์ ก าร​อ นามั ย ​โ ลก (World Health Organization: WHO) กล่าว​วา่ ​ ทั้ง​สภาพ​เศรษฐกิจ​ถดถอย โรคระบาด รวม​ถึง​ การ​เข้าส​ ส​ู่ งั คม​ผส​ู้ งู อ​ ายุ ทำให้ร​ ะบบ​หลักป​ ระกัน​ สุขภาพ​ของ​หลายๆ ประเทศ​ยิ่ง​ทวี​ความ​สำคัญ​ มาก​ขึ้น ใน​ปี 2005 สมาชิก​ทั้งหมด 192 ประเทศ​ ของ WHO ได้​ลง​สัต​ยา​บรรณ​ร่วม​กัน​ว่า ประชาชน​​ ทุก​คน​ต้อง​สามารถ​เข้า​ถึง​สิทธิ​ใน​การ​รักษา​พยาบาล​ได้ โดย​มี​เป้า​หมาย​สูงสุด​อยู่​ที่​ต้อง​ไม่มี​ใคร​คน​ใด​คน​หนึ่ง​แบก​ รับค​ ่า​ใช้​จ่าย​นี้​ไว้​อีก​ต่อ​ไป WHO ระบุ​ใน​รายงาน​ว่า ปัญหา​สำคัญ​ที่​ทำให้​หลาย​ ประเทศ​ไม่​สามารถ​สร้าง​สวัสดิการ​ด้าน​การ​รักษา​พยาบาล​ ให้​แก่​ประชาชน ได้แก่ ระบบ​การ​ชำระ​เงิน ความ​สามารถ​ ใน​การ​เข้า​ถึง​การ​รักษา​พยาบาล​ที่​ไม่​เท่า​เทียม และ​การ​ใช้​ ทรัพยากร​ด้าน​การ​รักษา​พยาบาล​อย่าง​ไม่มี​ประสิทธิภาพ


ทุก​ประเทศ​​

ต้อง​เร่ง​สร้าง​หลัก​ประกัน​ ด้าน​สุขภาพ​ขึ้น​มา​​

อย่าง​เร่ง​ดว่ น

ดร.มาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการใหญ่ WHO กล่าว ในการประชุมเปิดเผยผลการศึกษา WHO ที่กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี 22 พฤศจิกายน 2010

ที่มา: Agence France-Presse (AFP)


เรื่อง​จาก​ปก

10

รู้เรียน

27

เทศาภิวัฒน์

34

ปฏิรูป​ระบบ​ประกัน​สุขภาพ

โรงเรียนข้าว

รถไฟฟ้า vs. ย่านเก่า

ภายใน 1 ปี ประชากร​โลก​หลาย​ล้าน​คน​ ต้อง​ประสบ​กับ​ภาวะ​ยากจน เพราะ​ต้อง​ แบก​รับ​ภาระ​ค่า​ใช้​จ่าย​ด้าน​สุขภาพ​ราคา​ แพง สำหรับ​ประเทศไทย แม้​ภาระ​จะ​ไม่​ ได้​อยู่​ใน​มือ​ประชาชน​ทั้งหมด แต่​ระบบ​ ประกัน​สุขภาพ​ก็​ยัง​มี​หลาย​มาตรฐาน​ เหลื่อม​ล้ำ​กัน​อยู่ โดย​เฉพาะ ‘ประกัน​ สังคม’ และ ‘ประกัน​สุขภาพ​ถ้วน​หน้า’

ท่ามกลาง​ระบบ​เกษตร​สมัย​ใหม่ ชาวนา​ แห่งอ​ ตุ รดิตถ์ไ​ม่อ​ ยูเ​่ ฉย พวก​เขา​รวม​กลุม่ ​ ผลิต​สาร​ธรรมชาติ​เพื่อ​ใช้​แทน​สาร​เคมี ผลิต​เมล็ด​พันธุ์​ข้าว​ไว้​ใช้​และ​จำหน่าย ผลิต​ปุ๋ย​อินทรีย์​อัด​เม็ด พร้อมๆ ก่อ​เกิด​ เป็น​ศูนย์​เรียน​รู้​เกษตร​ครบ​วงจร​ใน​นาม ‘ศูนย์​เรียน​รู้​โรงเรียน​ข้าว วิสาหกิจ​ชุมชน​ บ้าน​คลอง​กล้วย’

ว่า​กัน​ว่า​เป็น​เสน่ห์​ของ​เมือง​ใหญ่ หาก​ สามารถ​รกั ษา​ยา่ น​เก่าแ​ ก่เ​อา​ไว้ค​ วบคูก​่ บั ​ การ​พัฒนา แต่​กรณี​เยาวราช-ไช​น่า​ทาวน์​ ที่​ใหญ่​ติด​อันดับ​โลก กำลัง​เผชิญ​ความ​ เปลี่ยนแปลง เมื่อ​ใจกลาง​ย่าน​เก่า​กำลัง​ จะ​ถูก​พลิก​โฉมหน้า โดย​เริ่ม​ต้น​จาก​การ​ เข้า​มา​ของ​รถไฟฟ้า​ใต้ดิน

6 วัน-เดือน-ปี 8 นอกหน้าต่าง 10 เรื่องจากปก 14 ชีวิตสมดุล Contents 17 เติมหัวใจใส่เงิน 19 โลกเสมือน 20 Cut it Out (เปลี่ยนเถอะ) 22 สัมภาษณ์: นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี

02

26 Media 28 Justice for All 30 ดินฟ้าป่าน้ำ 32 เทศาภิวัฒน์ 34 ปฏิทิน-ปฏิรูป 36 ขับเคลื่อน 38

รู้เรียน


5

ผม

Editor’s Talk

​เป็น​พนักงาน​ประจำ​บริษัท​เอกชน มี​เงิน​เดือน อยู่​ใน​ระบบ​ แรงงาน และ​เป็น​ผู้​เสีย​ภาษี​เต็ม​รูป​แบบ ขณะ​ทว​ี่ ารสาร ‘ปฏิรปู ’ ฉบับท​ ี่ 2 นีถ​้ งึ ม​ อื ผ​ อ​ู้ า่ น ผม​นา่ จ​ ะ​อยูใ​่ น​สภาพ​ ใช้​ภาษา​เขียน​สื่อสาร​ได้​รู้​เรื่อง​กว่า​ปาก​พูด เชื่อ​แล้ว​ว่า​สังขาร​เป็น​เรื่อง​ไม่​เที่ยง ‘ผ่า​ฟัน​คุด’ เป็น​หนึ่ง​ใน​เรื่อง ‘เจ็บ​ จริง’ ที่​ไม่​สามารถ​หา​ใคร​มา​แสดง​แทน​ได้ ไม่ใช่​ครั้ง​แรก หลาย​ปี​ก่อน คุณ​หมอ​อารมณ์​ดี​ฮัม​เพลง​พลาง​บรรจง​ เอา​คีม​เหล็ก​คีบ​ฟัน​คุด​ซี่​บน​ออก​จาก​ปาก ไม่​ถึง​กับ​ต้อง​ลงมีด​กรีด เสีย​ค่า​ใช้​ จ่าย​ประมาณ 800 บาท รู้​กัน​ดี​ว่า​เมื่อ​ผู้​ถือ​สิทธิ​ประกัน​สังคม​ใช้​บริการ​ทันต​ กรรม ก็​ต้อง​ควัก​กระเป๋า​จ่าย​เอง​ล่วง​หน้า แล้ว​จึง​ค่อย​ นำ​ใบ​เสร็จ​แนบ​เป็น​หลัก​ฐาน​การ​เบิก​ทีหลัง เรื่อง​ของ​เรื่อง ระบบ​ประกัน​สังคม​ใน​ตอน​ นั้น (ตอน​นี้​ก็​ยัง​เป็น​อยู่) รับ​ผิด​ชอบ​สุขภาพ​ ปาก​ของ​ประชาชน​เพียง​ครั้ง​ละ 250 บาท ที่​ สำคัญ 1 ปี เบิก​ได้​แค่ 2 ครั้ง ต่อ​ให้​ใช้​วิธี​แยก​ ใบ​เสร็จ​เป็น 2 ใบ เพื่อ​แยก​เบิก ก็​ยัง​ได้​ยอด​ รวม​เบ็ดเสร็จ 500 บาท...สรุป​ว่า​ส่วน​ต่าง 300 บาท​ต้อง​ตก​เป็น​ภาระ​ของ​ประชาชน ซึ่ง​ ก็​คือ​ผม ทฤษฎี​เก่า​แก่​ว่า​ไว้ ‘ทุก​อย่าง​มี​ราคา​แลก​ เปลี่ยน​เสมอ’ ถูกต​ าม​นั้น เพราะ​ส่วน​ต่าง​ยัง​ไม่​จบ​ที่ 300 บาท หาก​นบั ร​ วม​คา่ ‘โสหุย้ ’ หรือค​ า่ ใ​ช้จ​ า่ ย​ระหว่าง​ การ​ไป​ทำ​เรือ่ ง​เบิกท​ ส​ี่ ำนักงาน​ประกันส​ งั คม ทัง้ ค​ า่ ​ เสีย​เวลา ค่าน้ำ​มัน ค่าที่​จอด​รถ ค่า​เสีย​สุขภาพ​จิต...สุดท้าย​ก็​เริ่ม​รู้สึก​ว่า​เงิน​ เบิก​ประกัน​สังคม 500 บาท​ชัก​จะ​เป็นการ​แลก​เปลี่ยน​ที่​ขาดทุน เกือบ 10 ปี​ก่อน ระบบ​ประกัน​สุขภาพ​ของ​ไทย​เกิด​แรง​กระเพื่อม​ ครั้ง​ใหญ่ เมื่อ​รัฐบาล​สมัย​นั้น​ผุด​โครงการ ‘หลัก​ประกัน​สุขภาพ​ถ้วน​หน้า’ เรียก​ภาษา​ชาว​บ้าน​ว่า บัตร​ทอง หรือ 30 บาท​รักษา​ทุก​โรค จน​ปี 2549 มี​การ ‘อัพเกรด’ ยกเลิก​การ​จ่าย 30 บาท และ​ใน​ปี 2553 ผู้​มี​สิทธิ​เพียง​ แสดง​บัตร​ประชาชน​เท่านั้น ก็​สามารถ​รับ​การ​รักษา​ได้​เลย โดย​รัฐ​เป็น​ฝ่าย​ จัดสรร​เงิน​ภาษี​มา​จ่าย​ให้​โรง​พยาบาล มอง​ใน​ฐานะ​ประชาชน​คน​หนึ่ง ยอมรับ​ว่า​เป็น​รูป​แบบ​ที่​น่า​สนใจ เพราะ​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​ถ้วน​หน้า​ให้​บริการ​ครอบคลุม​กว้าง​กว่า​ประกัน​ สังคม แน่นอน...หา​หมอ​ฟนั ไ​ด้ ไม่ต​ อ้ ง​เบียดเบียน​เงินใ​น​กระเป๋า โดย​เฉพาะ​ ผ่า​ฟัน​คุดท​ ี่​มี​ค่า​ใช้​จ่าย​หลัก​พัน แต่ไ​ม่​ง่าย​เช่น​นั้น การ ‘ย้าย​ค่าย’ จาก​ระบบ​ประกัน​สังคม ไป​ซบ​อก​ หลัก​ประกัน​สุขภาพ​ถ้วน​หน้า กลับ​ทำ​ไม่​ได้

ที่ปรึกษา สปร. ศ.นพ.ประเวศ วะสี​ นพ.วิชัย โชควิวัฒน​ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ​ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ​ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์​ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์​ ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์​ รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์​ นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล​ ดร.วณี ปิ่นประทีป

กองบรรณาธิการ สปร. นางสาวพัชรา อุบลสวัสดิ์​ นางสาวสมพร อิทธิเดชพงศ์​ นางสาวปนัดดา ขาวสะอาด​ นายครรชิต ปิตะกา​ นางสาววิไลวรรณ สิริสุทธิ์​ นางสาวนงลักษณ์ ยอดมงคล​ นางสาววันวิสา แสงทิม​ นางสาวจิตติมา อุ้มอารีย์​ นางสาวรัฐวรรณ เฮงสีหาพันธ์​ นางสาวสุพรรณี สุวรรณศรี

วิธี​การ​เดียว​ที่​จะ​สามารถ​ออก​ไป​จาก​สิทธิ​ประกัน​สังคม​ได้​คือ ต้อง​ ทำตัวใ​ห้เ​ป็นค​ น​วา่ ง​งาน หรือไ​ม่ก​ ต​็ อ้ ง​ผนั ต​ วั ไ​ป​เป็นแ​ รงงาน​นอก​ระบบ​ลกู จ้าง​ ประจำ​เสีย​ก่อน ซึง่ น​ นั่ ม​ ากกว่าก​ าร​เอา​สขุ ภาพ​เข้าแ​ ลก กลับพ​ อกพูนอ​ ตั รา​ความ​เสีย่ ง​ ให้​กับ​ชีวิต​ตัว​เอง​เข้าไป​อีก ไม่ใช่​ผม​คน​เดียว​ที่​ตั้ง​คำถาม​ว่า “ประกัน​สังคม​เป็น​บาป​ติดตัว​หรือ​ เปล่า?” เพราะ​ปญ ั หา​นเ​ี้ ป็นท​ ถ​ี่ ก​เถียง​กนั อ​ ยูน​่ าน​หลาย​ปี นอกจาก​นบ​ี้ รรดา​ผ​ู้ อยู่​ใน​ระบบ​ประกัน​สังคม​ยัง​ตั้ง​คำถาม​ระดับ​คลาส​สิก​ที่​ยัง​ไม่มี​ใคร​ตอบ​ว่า “ทัง้ ท​ เ​ี่ รา-ลูกจ้าง และ​นายจ้าง ต่าง​ตอ้ ง​จา่ ย​เงินส​ มทบ​เป็นร​ าย​เดือน ภาษี​ก็​จ่าย​ครบ แต่​เมื่อ​เทียบ​กับ​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​ที่​เปลี่ยน​ จาก 30 บาท มา​เป็น​ไม่​ต้อง​จ่าย​สัก​บาท​ใน​ปี 2549 ทำไม​ ประกัน​สังคม​ถึง​แพ้​ทุก​กระบวน​ท่า?” ใช่​ว่า​ประเด็น​นี้​จะ​เงียบกริบ​เสียที​เดียว ยัง​มี​ ความ​หวัง​อยู่​ใน​สายลม ตลอด 8-9 เดือน​ที่​ผ่าน​ มา มีก​ าร​ประการ​เพิม่ ส​ ทิ ธิใ​ห้ผ​ ป​ู้ ระกันต​ น​ใน​ระบบ​ ประกัน​สังคม​อยู่​หลาย​ครั้ง โดย​หวัง​จะ​ตาม​หลัก​ ประกัน​สุขภาพ​ถ้วน​หน้า​ให้​ทัน แต่​เอา​เข้า​จริงๆ การ​เพิ่ม​สิทธิ​ที่​ว่า หลาย​ ประเด็น​ยัง​ลูก​ผี​ลูก​คน เมื่อ สปส. (สำนักงาน​ ประกัน​สังคม) ชง​เรื่อง​ออก​มา พอ​ส่ง​มา​ถึง​คณะ​ กรรมการ​การ​แพทย์ รายการ​สิทธิ​ทั้ง​หลาย​ก็​ถูก​ ตัดตอน​จน​แทบ​จะ​กลาย​เป็น​หมัน...ความ​หวัง​กลับ​ คืน​สู่​สายลม​อีก​ครั้ง ไม่ ​ต้ อ ง​ถึ ง ​ร ะดั บ ​นั ก​วิ ช าการ คน​ธ ร​ร ม​ด าๆ หลาย​คน​ก็​สรุป​แทบ​จะ​เป็น​เสียง​เดียวกัน​ว่า เพราะ​ ประเทศไทย​ของ​เรา​ยัง​มี​ระบบ​ประกัน​สุขภาพ​ที่​แยก​กัน​ออก​เป็น 2 ส่วน นั่น​คือ​สาเหตุ​ของ​ปัญหา จริงๆ มัน​ก็​ดู​เป็น​ความ​วุ่นวาย​อย่าง​ปกติ​ของ​บ้าน​เรา เหมือน​รถเมล์​ เอกชน​สารพัดแ​ บบ ตูโ​้ ทรศัพท์ห​ ลาย​แบบ แท็กซีห​่ ลาก​สี หรือไ​ม่ก​ เ​็ ป็นค​ ำถาม​ ที่​ว่า “ทำไม MRT กับ BTS ถึง​ไม่​ใช้​บัตร​โดยสาร​ร่วม​กัน” มอง​ใน​ราย​ละเอียด แม้​ช่อง​ว่าง​ของ​ทั้ง 2 ระบบ​จะ​ห่าง​กัน​เพียง​ใด แต่​ใน​สายตา​ของ​คนใน​สังคม ระบบ​ประกัน​สุขภาพ​เรียก​ได้​ว่า​เป็น​เรื่อง​คอ​ ขาด​บาด​ตาย แต่​กลับ​ยัง​ไม่​เคย​เป็น​ที่​ถก​เถียง​กัน​ใน​วง​กว้าง เรา-ประชาชน​ ก็​ต้อง​ก้ม​หน้า​ยอมรับ​กัน​ไป วารสาร ‘ปฏิรูป’ ฉบับ​ที่ 2 ว่า​ด้วย​เรื่อง​การ​ปฏิรูป​ระบบ​ประกัน​ สุขภาพ เจาะ​ราย​ละเอียด​ความ​แตก​ต่าง​เหลื่อม​ล้ำ​ใน​สิทธิ​ขั้น​พื้น​ฐาน​ที่​ ประชาชน​พงึ ม​ ี แม้เ​งือ่ น​ปม​นเ​ี้ รา​อาจ​ไม่ส​ ามารถ​ลงมือแ​ ก้เ​อง​ได้ แต่ก​ าร​สร้าง​ ความ​เข้าใจ​ก็​เข้า​หลัก ‘รู้​เขา​รู้​เรา’ อย่าง​น้อย ก็​เป็น​ก้าว​แรก​ไป​สู่​การ​แก้ไข​ที่​ ต้น​เหตุ​ของ​ปัญหา​อย่าง​แท้จริง

ดำเนินการผลิต เปนไท พับลิชชิ่ง บรรณาธิการ รุ่งฤทธิ์ เพ็ชรรัตน์ กองบรรณาธิการ อภิรดา มีเดช / วีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์ / ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว ศิลปกรรม​ ณขวัญ ศรีอรุโณทัย / เดือน จงมั่นคง พิสูจน์อักษร​ คีรีบูน วงศ์ชื่น

พิมพ์เผยแพร่ห้ามจำหน่าย


6

วัน-เดือน-ปี

1

Brian Binnie ไบรอัน บินนี หนึง่ ใ​น​ความ​ใฝ่ฝนั ส​ งู สุดข​ อง​มนุษย์ค​ อื ก​ าร​ออก​ไป​ทอ่ ง​อวกาศ ‘ก้าว​เล็กๆ’ ของ นีล อาร์ม​ส​ตรอง บน​พื้น​ผิว​ดวง​จันทร์​ใน​ปี 1969 ยืนยัน​ว่า​ขอบเขต​ของ​ความ​ฝัน​กับ​ความ​จริง​มี​ทาง​บรรจบ​กัน แต่ไ​ม่ว​ า่ จ​ ะ​กค​ี่ รัง้ ต​ อ่ ก​ ค​ี่ รัง้ อากาศยาน​ทพ​ี่ งุ่ ท​ ะยาน​ออก​ไป​นอก​ ชั้น​บรรยากาศ​โลก​ได้​ล้วน​เป็น​ทรัพย์​สมบัติ​ของ​องค์กร​ระดับ​ชาติ​จาก​ เหล่า​ประเทศ​มหาอำนาจ​ทั้ง​นั้น ไบ​รอัน บิน​นี รับ​ใช้​หน่วย​นาวิก​โยธิน​ของ​สหรัฐ​ใน​ฐานะ​นักบิน​ มา 21 ปี​ก่อน​จะ​ผัน​ตัว​มา​เป็น​นักบิน​อวกาศ จน 17 ธันวาคม 2003 ใน​งาน​ฉลอง​ครบ​รอบ 100 ปี​การ​บิน​ครั้ง​แรก​ของ​พี่​น้อง​ตระ​กูล​ไรท์ เขา​ขับ​ยาน​อวกาศ​รูป​ร่าง​ประหลาด​พิชิต​ความเร็ว​เหนือ​เสียง​ได้​ใน​​ วัน​นั้น ที่​ความ​สูง 20 กิโลเมตร สเปซ​ชิป​วัน (SpaceShipOne) เป็น​อากาศยาน​เอกชน​ทรง​ หัว​กระสุน ออกแบบ​โดย​วิศวกร​ชาว​อเมริกัน เบิร์ต รู​แทน ด้วย​การ​ สนับสนุนเ​งินท​ นุ ก​ ว่า 25 ล้าน​เหรียญ​จาก Mojave Aerospace Ventures ของ พอล อัล​เลน อดีต​คู่หู​บิล เกตส์ เจ้า​พ่อ​ไมโครซอฟต์ 4 ตุลาคม 2004 สเปซ​ชิป​วัน​ขึ้น​สู่​ฟ้า​ครั้ง​สุดท้าย​ก่อน​ปลด​ ประจำ​การ เที่ยว​บิน​ที่ 17P ภาย​ใต้​การ​ควบคุม​ของ​บิน​นี​ทะยาน​ออก​จาก​ยาน​แม่ ‘ไวท์​ไนท์’ (White Knight) ขึ้น​ สู่​ระดับ​ความ​สูง 112 กิโลเมตร​จาก​ระดับ​น้ำ​ทะเล ด้วย​ความเร็ว 3.09 มัค รวม​เวลา​ทั้งหมด 23 นาที 56 วินาที และ​พิชิต​การ​แข่งขัน​ชิง​รางวัล ANSARI X PRIZE ซึ่ง​มอบ​ให้​อากาศยาน​เอกชน​ลำ​แรก​ที่​ไต่​ระดับ​ความ​สูง 103 กิโลเมตร​และ​กลับ​มา​อย่าง​ปลอดภัย 2 ครั้ง​ใน 2 สัปดาห์ นอกจาก​จะ​เป็น​อากาศยาน​เอกชน​ลำ​แรก​ที่​บิน​ทะลุ​ชั้น​บรรยากาศ​เป็น​สถิติ บิน​นี​ยัง​ถูก​บันทึก​ไว้​ว่า​เป็น​ พล​เมือง​สก็อต​แลนด์​คน​แรก​ที่​ได้​เดิน​ทางออก​ไป​นอก​โลก​อีก​ด้วย 2

Augusto Pinochet ออกุสโต ปิโนเชต์ การ​ปฏิวตั ร​ิ ฐั ประหาร​เป็นอ​ ปุ สรรค​สำคัญ​ ต่ อ ​ก าร​พัฒนา​ป ระชาธิ ป ไตย นั ก ​เ ผด็ จ การ​ อำนาจ​จึง​เป็น​ตัว​ละคร​ทาง​ประวัติศาสตร์​ท่​ีถูก​ จดจำ​ใน​ดา้ น​ลบ​ตลอด​มา แม้​ใน​โลก​สงั คมนิยม​ เอง​กต็ าม ศักราช​ท่ี​ลัทธิ​คอมมิวนิสต์​เฟื่อง​ฟู ผล​ การ​เลือก​ตง้ั ​ทว่ั ไป​ใน​ปี 1970 ของ​ชลิ ี ส่ง​ผล​ให้​ ซัลว​ าด​อร์ อา​เยน​เด นักอ​ ดุ ม​กา​รมาร์กซ​ สิ ต์จ​ าก​ พรรค​สังคมนิยม​กุม​เสียง​ข้าง​มาก จน​สามารถ​ ก้าว​ขน้ึ ​ส​ตู่ ำแหน่ง​ประธานาธิบดี สวน​ทาง​กบั ​กระแส​นยิ ม​ซา้ ย กลุม่ ​ทหาร​ ก็ข​ ยาย​ฐาน​อำนาจ​เติบโต​เช่นก​ นั พล.อ.ออ​กส​ุ โ​ต ปิโ​น​เชต์ ผูบ​้ ญ ั ชาการ​กองทัพบ​ ก​ได้ท​ ำ​รฐั ประหาร​ ยึด​อำนาจ​ใน​วนั ​ท่ี 11 กันยายน 1973 และ​ใน​วนั ​เดียวกัน​นน้ั ประธานาธิบดี​อา​เยน​เดก็​ถกู ​พบ​เป็น​ศพ​ใน​ทำเนียบ หลัง​จาก​รฐั บาล​ถกู ​โค่น​ดว้ ย​อำนาจ​ทหาร ชาว​ชลิ ​จี ำนวน​มาก​ออก​มา​ชมุ นุม เกิด​เป็น​จลาจล​ครัง้ ​ใหญ่ ตลอด​ ระยะ​เวลา​ทเ​่ี ขา​อยูใ​่ น​ตำ​แหน่ง​ ป​ ระ​ธา​นาธิบ​ ดีร​ ะหว่าง​ปี 1974-1990 มีป​ ระชาชน​ผต​ู้ อ่ ต​ า้ น​กว่า 3,000 คน​เสียช​ วี ติ ​ และ​สญ ู หาย หลาย​หมืน่ ​คน​ถกู ​ทรมาน หลัง​หมด​อำนาจ พล.อ.ปิ​โน​เชต์ หนี​ไป​ตา่ ง​ประเทศ ก่อน​ถกู ​จบั กุม​ท​อ่ี งั กฤษ​ใน​ปี 1998 แต่​เนือ่ งจาก​อาการ​ ป่วย ทำให้​จวบ​จน​วนั ​สดุ ท้าย​ของ​ชวี ติ เขา​ก​ย็ งั ​ไม่​เคย​ได้​รบั ​โทษ​ใน​ขอ้ หา​ละเมิด​สทิ ธิ​มนุษย​ชน​เลย​แม้แต่​ครัง้ ​เดียว หลัง​การ​เสีย​ชวี ติ ​ของ​เขา 10 ธันวาคม 2006 ด้วย​วยั 91 ปี ประชาชน​สว่ น​หนึง่ ​จดั ​งาน​เฉลิม​ฉลอง รัฐบาล​ ชิลี​ก็​ปฏิเสธ​การ​จัด​พิธี​ศพ มี​เพียง​หน่วย​งาน​ใน​สังกัด​กองทัพ​เท่านั้น​ท่​ีได้​รับ​อนุญาต​ให้​ลด​ธง​ครึ่ง​เสา​เพื่อ​เป็นการ​ ไว้อาลัย​แก่​จอม​เผด็จการ​ผ​นู้ ้ี

3

Yoshijiro Umezu โยชิจิโร อุเมซุ

14 สิงหาคม 1945 หลัง​จาก​ระเบิด​ปรมาณู ‘ลิต​เติ​ลบอย’ ที่​ฮิ​โร​ชิ​มา และ ‘แฟต​แมน’ ที่​นา​งา​ซากิ พราก​ชวี ติ ป​ ระชาชน​ญปี่ นุ่ ไ​ป 2 แสน​กว่าค​ น จักรพรรดิ​ ฮิ​โร​ฮิ​โต ได้​ประ​กาศย​ยอม​แพ้ และ​เรียก​ร้อง​ให้​รัฐบาล​ ยอม​จำนน เพื่อ​รักษา​ชาติ​เอา​ไว้ นาย​พล​โย​ชิ​จิ​โร อุ​เมซุ เสนาธิการ​ทหาร ไม่​ ยอมรับ​ความ​พ่าย​แพ้ เขา​เคย​คิด​แม้​กระทั่ง​จะ​ปฏิวัติ​ ยึด​อำนาจ เพื่อ​ให้​กองทัพ​แห่ง​ดิน​แดน​อาทิตย์​อุทัย​ ยืน​หยัด​สู้​ต่อ​ไป จบ​ก าร​ศึ ก ษา​ด้ ว ย​ผ ล​ง าน​อั น ดั บ ​ห นึ่ ง ​จ าก​ วิทยาลัย​การ​ทัพ​บก​แห่ง​จักรวรรดิ​ญี่ปุ่น ก่อน​จะ​ถูก​ส่ง​ ไป​เรียน​ต่อ​ที่​เยอรมนี และ​เดนมาร์ก ระหว่าง​นั้น​อุ​เมซุ​ ได้​รับ​ใช้​ชาติ​เป็น​ครั้ง​แรก​ใน​สงครามโลก​ครั้ง​ที่ 1 กับ​ ตำแหน่ง​ผู้​ช่วยทูต​ฝ่าย​ทหาร​ที่​ส​วิต​เซอร์​แลนด์ หลัง​จาก​ล้ม​เลิก​ความ​ตั้งใจ​ยึด​อำนาจ นาย​พล​ ​อุ ​เมซุ ก็ได้​รับคำ​สั่ง​โดยตรง​จาก​จักรพรรดิ​ให้​เป็น​ ตัวแทน​กองทัพ​ญี่ปุ่น​ลง​นาม​ใน​สัญญา​สงบ​ศึก 2 กันยายน 1945 นาย​พล​อุ​เมซุ เสนาธิการ​ ทหาร ผู้​บัญชาการ​คน​สุดท้าย​ของ​ญี่ปุ่น และ มา​โม​รุ ชิ​เกะ​มิต​สึ รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​การ​ต่าง​ประเทศ ได้​ลง​นาม​ร่วม​กับ​พล​เอก​ดักลาส แม​คอา​เธอ​ร์ บน​เรือ​ ย​ เ​ู อส​เอส มิสซูรี ทีบ​่ ริเวณ​อา่ ว​โตเกียว มีก​ าร​ถา่ ยทอด​สด​​ ไป​ทั่ว​โลก หลั ง ​จ าก​นั้ น นาย​พ ล​อุ ​เ มซุ ถู ก ​ท หาร​ฝ่ า ย​ สัมพันธมิตร​จับกุม​ใน​ข้อหา​อาชญากรสงคราม และ​ ถูก​ตัดสิน​โดย​ศาล​ทหาร​นานาชาติ​ให้​จำ​คุก​ตลอด​ชีวิต​ ใน​ปี 1948


7

4

Francis Drake ฟรานซิส เดรก ศตวรรษ​ที่ 16-18 ยุค​ล่า​อาณานิคม จักรวรรดิ​อังกฤษ​ครอบ​ครอง​ความ​ได้​เปรียบ​ใน​ มหาสมุทร จน​พิชิต​โลก​เกือบ​ทั้ง​ใบ หาก​ย้อน​เวลา​ไป​จะ​พบ​ว่า แสนยานุภาพ​ของกอง​เรือ​อัน​ เกรียง​ไกร​นั้น มี​ที่มา​จาก​โจร​สลัด ฟ​ราน​ซสิ ‘เดอะ ดรากอน’ เด​รก เป็นท​ ร​ี่ จู้ กั ก​ นั ด​ ใ​ี น​นา่ น​นำ้ ค​ า​รเ​ิ บียน เพราะ​เขา​คอื โ​จร​สลัด​ นาม​กระเดื่อง​ผู้​ปล้น​กอง​เรือ​สเปน​เป็น​ว่า​เล่น จน​พระ​เจ้า​ฟิ​ลิ​ป​ที่ 2 แห่ง​สเปน​เคย​ตั้ง​ค่าหัว​ โจร​สลัด​ผู้​นี้​ไว้​สูง​ถึง 4 ล้าน​ปอนด์ กัปต​ ัน​เด​รก​ออก​เดิน​ทาง​สำรวจ​โลก​แข่ง​กับ​คู่​ปรับ​อย่าง​สเปน เมื่อ 13 ธันวาคม 1577 กอง​เรือ​ของ​อังกฤษ 5 ลำ พร้อม​ลูก​เรือ 165 คน นำ​โดย​เรือ​โกล​เดน​ไฮนด์ (Golden Hind) ของ​​ เด​รก​มุ่ง​หน้า​ลง​ใต้​ผ่าน​ช่องแคบ​มา​เจล​ลัน ลัด​เลาะ​ชายฝั่ง​อเมริกาใต้ ออก​สู่​มหาสมุทร​แปซิฟิก กระทั่ง 26 กันยายน 1580 กัป​ตัน​เด​รก สามารถ​นำ​เรือ​โกล​เดน​ไฮนด์ ผ่าน​ฟิลิปปินส์ อ้อม​แห​ลม​กด​ู้ โ​ฮป ทวีปแ​ อฟริกา กลับม​ า​ทอ​ี่ งั กฤษ​ได้ส​ ำเร็จ และ​ถกู บ​ นั ทึกไ​ว้ใ​น​ฐานะ​ชาว​องั กฤษ​​ คน​แรก​ทเ​ี่ ดินท​ าง​รอบ​โลก จาก​นนั้ ส​ ถานะ​ของ​เขา​กเ​็ ปลีย่ น​จาก​โจร​สลัดม​ า​เป็นน​ กั เ​ดินเ​รือผ​ โ​ู้ ด่งด​ งั ​ จน​ปี 1585 ได้​รับ​พระราชทาน​ยศ​ชั้น​อัศวิน​จาก​พระ​ราชินี อ​ลิ​ซา​เบธ​ที่ 1 เป็น เซอร์ ฟ​ราน​ซิส เด​รก อีก 3 ปีถ​ ดั ม​ า เด​รก​ได้เ​ลือ่ น​ขนั้ เ​ป็นร​ อง​ผบ​ู้ ญ ั ชาการ​กองทัพเ​รืออ​ งั กฤษ และ​สามารถ​พชิ ติ ​ กอง​เรือ​ไร้พ​ ่าย-อาร์ม​า​ดา ของ​สเปน ที่​ประกอบ​ด้วย​เรือ 130 ลำ สำเร็จ ใน​สงคราม​ที่​ช่องแคบ​ อังกฤษ 6

Eero Saarinen แอโร ซาริเนน

5

Johann Galle โจฮันน์ กาลเล ความ​เ ชื่ อ ​ที่ ​ว่ า ‘โลก​แ บน’ ถู ก ​พั บ ​เ ก็ บ​ เข้ า ​หี บ ​ป ระวั ติ ศ าสตร์ เมือ่ น​ โ​ิ คลัส​ โค​เปอร์น​ คิ สั ประกาศ​ทฤษฎี​โลก​กลม และ​เป็น​ศูนย์กลาง​ของ​ ระบบ​สรุ ยิ ะ หลังจ​ าก​นนั้ ​ ความ​เ ร้ น ​ลั บ ​เ กี่ ย ว​กั บ​ จักรวาล​ก​เ็ ริม่ ​ถกู ​เปิด​เผย วิ ท ยาการ​ใ น​ยุ ค​ ต่ อ ​ม า​ช่ ว ย​ยื น ยั น ​ว่ า ระบบ​สรุ ยิ ะ​มดี ว​ ง​อาทิตย์​ เป็ น ​ศู น ย์ ก ลาง และ​มี ​ ดาว​เคราะห์​ทั้งหมด 8

ดวง​โคจร​อยู่​รอบๆ เอ​อร์เบีย​ ง เลอ เวอร์ร​ เ​ิ ยร์ นักด​ าราศาสตร์ช​ าว​ฝรัง่ เศส​สำรวจ​วง​โคจร​ ของ​ดาว​ยูเรนัส ดาว​เคราะห์​ที่​ห่าง​จาก​ดวง​อาทิตย์​เป็น​ลำดับ​ที่ 7 แล้ว​พบ​ ว่า ณ ที่​ไกล​ออก​ไป อาจ​มี​ดาว​เคราะห์​อยู่​อีก​ดวง​หนึ่ง 23 กันยายน 1846 โจ​ฮาน กาล​เล นัก​ดาราศาสตร์​แห่ง​หอ​ดู​ดาว​ เบอร์ลิน เยอรมนี ได้​นำ​ผล​การ​คำนวณ​ตำแหน่ง​ของ เลอ เวอร์​ริ​เยร์ มา​ ค้นคว้าต​ อ่ จ​ น​เห็นด​ าว​ดวง​หนึง่ ท​ ต​ี่ ำแหน่งด​ งั ก​ ล่าว นัน่ ค​ อื ด​ าว​เนปจูน ซึง่ ถ​ อื ​ เป็น​ดาว​เคราะห์​ใน​ระบบ​สุริยะ​ที่​อยู่​ห่าง​จาก​ดวง​อาทิตย์​มาก​ที่สุด ปัจจุบัน ชื่อ​ของ​นัก​ดา​รา​ศาต​ร์​ผู้​นี้​ยัง​ปรากฏ​อยู่​ใน​อวกาศ โดย​เป็น​ ชือ่ ข​ อง​วงแหวน​รอบ​ดาว​เนปจูน และ​เป็นช​ อื่ ข​ อง​หลุมบ​ น​ดวงดาว (Impact Crater) 2 แห่ง คือ บน​ดวง​จันทร์ และ​หลุม​รูป​หน้า​ยิ้ม ‘แฮปปี้ เฟซ’ อัน​ โด่ง​ดัง บน​ดาว​อังคาร

หลั ง ​ป ระเทศ​ อเมริกา​ถือ​กำเนิด​ขึ้น​ ใน​ปี 1776 ปี 1804 ‘ลู​อิส แอนด์ คลา​ร์ก’​ เม​ริ​เว​เธอ​ร์ ลู​อิส และ วิ ล ​เ ลี ย ม คลา​ร์ ก ออก​เดิน​ทาง​บุกเบิก​ ​แ ผ่ น ​ดิ น ​อ เ ม ริ ก า​ จาก​ฝั่ ง ​ต ะวั น ​อ อก​​ สู่​ตะวัน​ตก ตาม​คำ​สั่ง​ ของ​ป ระธานาธิ บ ดี ​ ค น ​ที่ 3 โ ธ มั ส เจฟเฟอร์สนั โดย​มจ​ี ดุ ​ เริ่ม​ต้น​ที่​แม่น้ำ​มิสซูรี ป ร ะ ตู ​โ ค้ ง Gateway Arch ซึ่ง​ เป็นอ​ นุสรณ์ใ​น​การ​ประกาศ​ขยาย​อาณาเขต​ประเทศ​ใน​ครัง้ น​ นั้ ถ​ กู อ​ อกแบบ​ โดย​สถาปนิก​อเมริกัน​เชื้อ​สาย​ฟินแลนด์ เอ​โร ซา​ริเนน และ​สร้าง​เสร็จ​เมื่อ 28 ตุลาคม 1965 ซา​ริเนน เป็น​หนึ่ง​ใน​กลุ่ม​สถาปนิก​ผู้​บุกเบิก​แนว​โพสต์​โม​เดิร์น มี​ ผล​งาน​เด่น คืออ​ าคาร​ผโ​ู้ ดยสาร​หลักท​ า่ อ​ า​กา​ศย​ าน​ดลั เลส ใน​วอชิงตัน และ​ อาคาร​ควบคุม​การบิน ที่​อากาศยาน​เจ​เอฟเค ใน​นิวยอร์ก งาน​ออกแบบ​ชิ้น​สำคัญ​ที่​ถูก​ขนาน​นาม​ว่า ‘ประตู​สู่​ตะวัน​ตก’ เป็น​ อนุสาวรีย์​โค้ง​ที่​สูง​ที่สุด​ใน​โลก ตั้ง​อยู่​ใน​เมือง​เซนต์หลุยส์ รัฐ​มิสซูรี บน​ฝั่ง​ ตะวันต​ ก​ของ​แม่นำ้ ม​ สิ ซูรี บริเวณ​สถาน​ทก​ี่ อ่ สร้าง​คอื จ​ ดุ เ​ริม่ ต​ น้ ก​ าร​เดินท​ าง​ ​ของ​ลู​อิส และ​คลา​ร์ก หลัง​จาก​เริ่ม​ต้น​การ​ออกแบบ​เมื่อ​ปี 1947 ประตู​โค้ง​ขนาด​ยักษ์​นี้​ เริ่ม​การ​ก่อสร้าง​ใน​ปี 1963 เมื่อ​เสร็จ​สมบูรณ์​แล้ว​มี​ความ​สูง 192 เมตร กว้าง 192 เมตร และ​ยงั ม​ ร​ี ะบบ​ลฟิ ต์ว​ งิ่ ต​ าม​ราง​โค้งเ​พือ่ ข​ นึ้ ไ​ป​ชม​จดุ ส​ งู สุด​ อีก​ด้วย


8

นอกหน้าต่าง

ICELAND

พลัง​หญิง ใน​รายงาน​การ​ประชุมเ​วิลด์อ​ โ​ี ค​โน​มกิ ท​ ผ​ี่ า่ น​มา เผย​ว่า​ไอซ์​แลนด์​ครอง​อันดับ​หนึ่ง ประเทศ​ที่​ มี​ความ​เท่า​เทียม​ระหว่าง​เพศ ขณะ​ที่​นิตย​สา​ร​ นิ ว ส์ ​วี ค ​ใ ห้ ​ฉ ายา​ว่ า ​เ ป็ น ​ป ระเทศ​ที่ ​ดี ​ที่ สุ ด​ สำหรับ​ผู้​หญิง โดย​สำรวจ​จาก​ข้อมูล​ด้าน​การ​ สาธารณสุข การ​ศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง​ และ​ความ​ยุติธรรม คณะ​รัฐมนตรี​ชุด​ปัจจุบัน​ของ โยฮัน​นา ซิ​กู​ดาร์​ดอท​ทีร์ นายก​รัฐมนตรี​หญิง​ผู้​เปิด​ตัว​ ต่อ​สาธารณชน​ว่า​เป็น​รัก​ร่วม​เพศ มี​สัดส่วน​ ระหว่าง​ชาย​หญิง​ใน​คณะ​รัฐมนตรี อยู่​ที่ 6 ต่อ 4 โดย​หนึ่ง​ใน​นั้น คือ รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​

อุตสาหกรรม พลังงาน และ​การ​ท่อง​เที่ยว​ แค​ทริน จู​เลีย​สดอท​ทรี ์ ซึง่ ​กำลัง​ตง้ั ​ครรภ์​ลกู ​แฝด ขณะ​เดียวกัน สหภาพแรงงาน​พาณิชย์​ และ​สำนักงาน (VR) ให้​ข้อมูล​ว่า ผู้​หญิง​ไอซ์​-​ แลนด์ ยัง​ได้​รับ​ค่า​จ้าง​ต่ำ​กว่า​ผู้ชาย​ใน​ตำแหน่ง​ หน้าที่​เดียวกัน​ร้อย​ละ 10 แต่ละ​ปี หน่วย​ดูแล​ผู้​ถูก​ข่มขืน​ใน​โรง-​ พยาบาล​เรค​ยา​วคิ และ​หน่วย​งาน​ให้ค​ ำ​ปรึกษา​ ผู้​ถูก​ล่วง​ละเมิด​ทาง​เพศ ต้อง​ดูแล​ผู้​หญิง 250 คน​ต่อ​ปี แต่​กรณี​ที่​ไป​ถึง​ศาล​มี​ไม่​ถึง 5 คดี แค​ทริน​เชื่อ​ว่า ความ​เท่า​เทียม​ทาง​เพศ​ คือห​ นึง่ ใ​น​ตวั ช​ ว​ี้ ดั ส​ ำคัญข​ อง​คณ ุ ภาพ​สงั คม​โดย​ รวม แม้​ผู้​หญิง​ไอซ์​แลนด์​จะ​มี​สิทธิ์​มี​เสียง​พอ​ สมควร แต่​บาง​เรื่อง​ยัง​ต้อง​ต่อสู้​กัน​ต่อ​ไป ที่มา: www.guardian.co.uk

USA

เมือง​จักรยาน​ตัว​จริง สถิตข​ิ อง​ผใ​ู้ ช้จ​ กั รยาน​ใน​ชวี ติ ป​ ระจำ​วนั ม​ าก​ทสี่ ดุ ​ ของ​สหรัฐ อยูท​่ เ​ี่ มือง​ มินน​ อ​ิ า​โพ​ลสิ รัฐม​ นิ เน​โซ​ตา โดย​ชาว​เมือง​เลือก​ปนั่ จ​ กั รยาน​ไป​ทำงาน​เข้าใ​กล้ 4 เปอร์เซ็นต์ เพิ่ม​ขึ้น 33 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่​ปี 2007 และ​เพิ่ม​ขึ้น​กว่า 500 เปอร์เซ็นต์ เมื่อ​ เทียบ​กับ​ปี 1980 ชาว​เมือง​หนึง่ ใ​น​สาม​ยงั ค​ ง​ปนั่ จ​ กั รยาน​ใน​ ช่วง​ฤดูห​ นาว แม้แต่ว​ นั ท​ ห​ี่ นาว​เย็นท​ สี่ ดุ คน 1 ใน 5​ ก็​เลือก​ใช้​จักรยาน นอกจาก​นี้ มิน​นิ​อา​โพ​ลิ​ส​ ยัง​มี​ระบบ​แชร์​จักรยาน​ขนาด​ยักษ์​แห่ง​แรก​ใน​ ประเทศ เรียก​ว่า ‘ไนซ์​ไรด์’ (Nice Ride) ซึ่ง​เปิด​ ให้​บริการ​ตั้งแต่​เดือน​มิถุนายน​ปี​ที่​ผ่าน​มา ก่อน​เริม่ โ​ครงการ​มค​ี ำถาม​มากมาย ตัง้ แต่ มัน​จะ​เหมาะ​กับ​เมือง​ที่​คน​มี​จักรยาน​ส่วน​ตัว​อยู่​

SWEDEN

โน​เบล​สู้​มะเร็ง มหา​วิ​ทยา​ลัย​ร็อคกี​เฟล​เลอ​ร์​ใน​นิวยอร์ก ประกาศ​ ว่า ราล์ฟ ส​ไตน์​แมน หนึ่ง​ใน 3 นัก​วิทยาศาสตร์​ เจ้ า ของ​ร างวั ล ​โ น​เ บล​ส าขา​ส รี ร วิ ท ยา​ป ระจำ​ปี 2011 ชาว​แคนาดา วัย 68 ปี เสีย​ชีวิต​จาก​ อาการ​แทรกซ้อน​ของ​มะเร็งต​ บั อ​ อ่ น ก่อน​หน้าก​ าร​ ประกาศ​ผล​รางวัล​เพียง 3 วัน การ​ค้น​พบ​ที่​ทำให้​เขา​ประสบ​ความ​สำเร็จ เกิด​ขึ้น​ตั้งแต่​ปี 1973 ด้วย​การ​พบ​เซลล์​เดน​ดริทิก หรือ​ที-เซลล์ โดย​เซลล์​ชนิด​ใหม่​ตัว​นี้ สามารถ​ พัฒนา​ขดี ค​ วาม​สามารถ​ของ​ระบบ​ภมู คิ มุ้ กันใ​น​การ​ รับมือ​กับ​เชื้อ​โรค นัก​วิทยาศาสตร์​อีก 2 คน​ที่​ได้​รับ​รางวัล​ สาขา​นี้​ร่วม​กัน คือ จูลส์ ฮอฟฟ์​แมน ชาว​ฝรั่งเศส และ​บรูซ บิวท์​เลอ​ร์ ชาว​อเมริกัน โดย​พวก​เขา​ ร่วม​กัน​สนับสนุน​การ​ค้น​พบ​ของ​ส​ไตน์​แมน โดย​

ฮอฟฟ์แ​ มน​นค​์ น้ พ​ บ​การ​พฒ ั นา​ภมู ต​ิ า้ นทาน​เชือ้ โ​รค​​ ของ​แมลง​ผล​ไม้​ใน​ปี 1996 และ​อีก 2 ปี​ต่อ​มา บิวท์​เลอ​ร์​ก็​ทำการ​ทดลอง​ใน​หนู เพื่อ​แสดง​ให้​เห็น​ ว่ า ​ทั้ ง ​แ มลง​แ ละ​สั ต ว์ ​เ ลี้ ย ง​ลู ก ​ด้ ว ย​น ม​ส ามารถ​ พั ฒ นา​ร ะบบ​ภู มิ คุ้ ม กั น ​ต นเอง​เ มื่ อ ​ถู ก ​เ ชื้ อ ​โ รค​​ เล่น​งาน​ซ้ำ​สอง​ได้ การ​ค้น​พบ​ระบบ​ภูมิคุ้มกัน​ที่​เปิด​ทาง​ให้​กับ​ การ​รักษา​และ​ป้องกัน​การ​ติด​เชื้อ​และ​มะเร็ง ช่วย​ ให้ส​ ไ​ตน์แ​ มน​ตอ่ สูก​้ บั ม​ ะเร็งข​ อง​เขา​ทต​ี่ รวจ​พบ​และ​ เริ่ม​รักษา​มา​ตั้งแต่ 4 ปี​ก่อน คณะ​กรรมการ​รางวัล​โน​เบล​แห่ง​สถาบัน​ คา​โร​ลิน​สกา​ระบุ​ว่า ญาติ​ของ​ส​ไตน์​แมน​มี​สิทธิ์​รับ​ รางวัล​แทน​เขา แม้​มี​กฎ​ระบุ​ไม่​ให้​มอบ​รางวัล​แก่​ ผู้​เสีย​ชีวิต​ไป​แล้ว แต่​สามารถ​มอบ​รางวัล​แก่​ผู้รับ​ ที่​เสีย​ชีวิต​ใน​ช่วง​ระหว่าง​วัน​ประกาศ​ผล​ไป​จนถึง​ พิธี​มอบ ที่มา: www.nytimes.com

แล้วห​ รือเ​ปล่า คน​ไม่มป​ี ระสบการณ์ป​ นั่ ม​ า​กอ่ น​ม​ี สิทธิเ​์ จ็บต​ วั ง​ า่ ย​ไหม ฯลฯ แต่เ​มือ่ จ​ กั รยาน​สเ​ี ขียว​ ​สั ญ ลั ก ษณ์ ​ข อง​โ ครงการ​ไ ด้ ​ฤ กษ์ ​อ อก​สู่ ​ถ นน​ ผล​คอื มีจ​ กั รยาน​เพียง​คนั เ​ดียว​ถกู ข​ โมย และ​เกิด​ อุบัติเหตุ​เพียง​หนึ่ง​ครั้ง ต่ำ​กว่า​ที่ทาง​โครงการ​ คาด​การณ์​ไว้​มาก ปี​ที่​แล้ว มี​คน​ยืม​จักรยาน​กว่า 100,000 ครั้ง ขณะ​ที่​ปี​นี้ จักรยาน​ถูก​เพิ่ม​เข้าไป​ใน​ระบบ​ อีก 500 คัน เพิ่ม​จำนวน​สถานี​ให้​เช่า​อีก 51 สถานี ทำให้​ตั้งแต่​เดือน​เมษายน​ถึง​ปลาย​เดือน​ กันยายน​ที่​ผ่าน​มา มี​ผู้​ยืม​จักรยาน​ไป​แล้วก​ว่า 172,000 ครั้ง นายก​เทศมนตรี อาร์.ที. รี​แบค กล่าว​ว่า การ​ปนั่ จ​ กั รยาน​คอื ท​ าง​ทค​ี่ มุ้ ค​ า่ แ​ ละ​เร็วท​ สี่ ดุ ท​ จ​ี่ ะ​ เดินท​ างใน​เมือง ตัวเ​ขา​เอง​กใ​็ ช้จ​ กั รยาน​เวลา​ออก​ ไป​ประชุม​ข้าง​นอก​เสมอ ที่มา: www.alternet.org


9 INDIA

แท็บเล็ต​ถูก​สุด​ใน​โลก

JAPAN

เรือโ​น​อาห์ส​ ่วน​ตัว ป้องกันภ​ ยั จ​ าก​แผ่นด​ นิ ไ​หว สึน​ า​มิ หรือแ​ ม้แต่น​ ำ้ ท​ ว่ ม​ครัง้ ต​ อ่ ไ​ป ด้วย​ เรือ​แคปซูล ‘โน​อาห์’ ผล​งาน​ออกแบบ​โดย​บริษัท​ญี่ปุ่น นิว​คอส​โม​ พาว​เวอร์ ที่​เน้น​การ​พัฒนา​ผลิตภัณฑ์​ป้องกัน​ภัย​พิบัติ​เป็น​หลัก แคปซูลท​ รง​กลม​สเ​ี หลือง​สด​คล้าย​ลกู เ​ทนนิสย​ กั ษ์น​ ผ​ี้ ลิตจ​ าก​ ไฟ​เบอร์​กลาส เส้น​ผ่า​ศูนย์กลาง 4 ฟุต สามารถ​รองรับ​ผู้ใหญ่​ได้ 4 คน ไม่ว​ า่ จ​ ะ​เป็นภ​ ยั ธ​ รรมชาติร​ ปู แ​ บบ​ใด แคปซูลต​ วั น​ จ​ี้ ะ​ชว่ ย​ปอ้ งกัน​ ความ​สญ ู เ​สียไ​ด้ ราคา​ตอ่ ห​ น่วย​อยูท​่ ี่ 3,900 ดอลลาร์ หรือร​ าว​แสน​ กว่า​บาท ขณะ​นี้​มี​ยอด​สั่ง​ซื้อ​เข้า​มา​แล้วก​ว่า 600 ราย ชู​จิ ทา​นา​กะ ประธาน​บริษัท รับรอง​ว่า มิ​นิ​โน​อาห์​ลำ​นี้​ผ่าน​ การ​ทดสอบ​ความ​ทนทาน​หลาก​หลาย​รูป​แบบ มีหน้า​ต่าง​กระจก​ และ​ช่อง​หายใจ​อยู่​ด้าน​บน​สุด ยกเว้น​อยู่​กรณี​เดียว​ที่​แคปซูล​อาจ​ช่วย​ชีวิต​ไว้​ไม่​ได้​คือ​เหตุ​ เพลิงไ​หม้ ขณะ​ทแ​ี่ คปซูลส​ ามารถ​ทน​ความ​รอ้ น​ได้ ไม่ห​ ลอมละลาย แต่​คน​ที่​อยู่​ข้าง​ใน​อาจ​จะ​สุก​ไป​เรียบร้อย​แล้ว

คอมพิวเตอร์​แท็บเล็ต​ถูก​ที่สุด​ใน​โลก หา​ได้​แล้ว​ที่​อินเดีย ด้วย​รูป​แบบ​จอ​ สัมผัสข​ นาด 7 นิว้ รุน่ Aakash ทีแ​่ ปล​วา่ ท​ อ้ งฟ้าใ​น​ภาษา​ไทย ราคา​เครือ่ ง​ ใน​ขณะ​นี้ อยู่​ที่​เครื่อง​ละ 45 ดอลลาร์ หรือ​ประมาณ 1,350 บาท คา​พิล ซิ​บัล รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​พัฒนา​ทรัพยากร​มนุษย์​ เพิง่ เ​ปิดต​ วั แ​ ท็บเล็ต​ นักเ​รียน​รนุ่ น​ อ​ี้ ย่าง​เป็นท​ างการ และ​ประกาศ​วา่ ร​ ฐั บาล​ อินเดีย​มี​แผน​ผลิต​แท็บเล็​ตรุ่​น​นี้​ออก​มา​มากกว่า 100,000 เครื่อง ซึ่ง​ ผู้​สนใจ​ต้อง​ซื้อ​ผ่าน​มหาวิทยาลัย​ที่​ได้​รับ​เลือก​จาก​รัฐบาล​ให้​เป็น​ตัวแทน​ จำหน่าย​เท่านั้น ทาง​ดาตา​วินด์ บริษัท​ผู้​ผลิต​ให้​ข้อมูล​เพิ่ม​เติม​ว่า Aakash ใช้​ระบบ​ ปฏิบตั ก​ิ าร​แอน​ดรอยด์ 2.2 พร้อม​พอร์ทย​ เ​ู อ​สบี 2 พอร์ท และ​หน่วย​ความ​จำ​​ ใน​ตัว​เครื่อง​ที่​เพิ่ม​ได้​ถึง 32 กิกะไบต์ ซึ่ง​นอกจาก​จะ​เข้า​ร่วม​โค​รง​การ​ แท็บเล็​ตนัก​เรียน บริษัท​ยัง​มี​โครงการ​จะ​วาง​จำหน่าย​ใน​ตลาด​ทั่วไป ด้วย​ ชื่อ ‘UBI Slate’ ภายใน​สิ้น​ปี​นี้ ใน​ประเทศ​ที่​แล็ป​ท็​อปรา​คา​เครื่อง​ละ 400-1,000 ดอลลาร์ และ​ ราย​ได้ต​ อ่ เ​ดือน​ของ​ประชากร​ตำ่ ก​ ว่าน​ นั้ ไ​ป​อกี การ​เปิดต​ วั แ​ ท็บเล็ตส​ ำหรับ​ นักเรียน​ครัง้ น​ ี้ จึงถ​ อื เ​ป็นการ​ปฏิวตั ก​ิ าร​เข้าถ​ งึ อ​ นิ เทอร์เน็ตแ​ ละ​เทคโนโลยี​ ของ​เยาวชน​อินเดีย​ครั้ง​สำคัญ ที่มา: http://english.aljazeera.net

ที่มา: www.treehugger.com

WORLD

2017 อวสาน​หนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์​ทั่ว​โลก​กำลัง​จะ​ถูก​แทนที่​ด้วย​สื่อ​ดิจิตัล​ภายใน​ปี 2040​ ฟ​ราน​ซิส เกอร์​รี ผู้​อำนวย​การ​องค์การ​ทรัพย์สิน​ทาง​ปัญญา​โลก หรือ​ ไว​โป (World Intellectual Property Organization: WIPO) เผย​ผล​ การ​ศึกษา​ล่าสุด​ใน​การ​ให้​สัมภาษณ์​กับ​หนังสือ​พิมพ์​ทรีบูนเดอ​เจ​เนฟ (Tribune De Geneve) ของ​ส​วิต​เซอร์​แลนด์ ขณะ​นี้ หนังสือพิมพ์​ที่​เป็นก​ระ​ดาษ​ใน​สหรัฐ​มี​ยอด​จำหน่าย​น้อย​ กว่า​หนังสือพิมพ์​ดิจิตัล ขณะ​ที่​ร้าน​หนังสือ​ทยอย​ปิด​ตัว​ลง​ใน​หลายๆ เมือง ทำให้​เกอร์​รีม​อง​ว่า อวสาน​หนังสือพิมพ์​ใน​สหรัฐ​อาจ​มา​ถึง​เร็ว​ กว่า​นั้น หรือ​ภายใน​ปี 2017 แต่​ปัญหา​สำคัญ​ของ​สื่อ​ดิจิตัล​เวลา​นี้​ อยู่​ที่​การ​จัด​เก็บ​ราย​ได้ ผู้​อำนวย​การ​ไว​โป​ตั้ง​ข้อ​สังเกต​ว่า เมื่อ​มี​การ​เปลี่ยนแปลง ไม่​ว่า​ จะ​เป็นเ​รือ่ ง​ดห​ี รือไ​ม่ ก็ต​ อ้ งเต​รย​ี ม​พร้อม​รบั มือ และ​เพือ่ ใ​ห้ก​ ระบวนการ​ ต่างๆ ดำเนิน​ไป​ได้​อย่าง​ราบ​รื่น การ​คุ้มครอง​ด้าน​ทรัพย์สิน​ทาง​ปัญญา​ และ​กฎหมาย​เรื่อง​ลิขสิทธิ์ จะ​เข้า​มา​มี​บทบาท​สำคัญ​ใน​เรื่อง​นี้​แน่นอน ที่มา: www.afp.com


10

เรื่องจากปก

กองบรรณาธิการ

ข้อมูล: โครงการ​การ​จัด​ทำ​ข้อ​เสนอ​ทาง​เลือก​และ​รูป​แบบ​บริหาร​จัดการ​สวัสดิการ​ด้าน​รักษา​พยาบาล​ของ​ระบบ​ประกัน​สังคม​ใน​อนาคต (สิงหาคม 2554) มูลนิธิ​แพทย์​ชนบท สนับสนุน​โดย​แผน​งาน​พัฒนา​คุณภาพ​ชีวิต​แรงงาน สำนักงาน​กองทุน​สนับสนุน​การ​สร้าง​เสริมสุข​ภาพ (สสส.)

สวัสดิการสารพัดมาตรฐาน... ป ฏิ รู ป ร ะ บ บ ป ร ะ กั น สุ ข ภ า พ

หาก​

เป็น​มนุษย์​ธรรมดา ใคร​ไม่​เคย​เจ็บ​ป่วย...คง​ไม่มี สุขภาพ​มี​ราคา ความ​เจ็บ​ป่วย​เป็น​เรื่อง​ที่​ไม่มี​ใคร​หนี​พ้น แน่นอน​ว่า​ค่า​ใช้​จ่าย​ทาง​ ด้าน​สุขภาพ​และ​การ​รักษา​พยาบาล ย่อม​เป็น​เรื่อง​จำเป็น สมัยห​ นึง่ สภาวะ​เศรษฐกิจค​ อื เ​รือ่ ง​ความ​เป็นค​ วาม​ตาย ลม​หายใจ​ของ​ใคร​หลาย​คน​ ​หยุด​ลง​เพราะ​ขัดสน​เงิน​ใน​กระเป๋า หาก​ความ​เป็น​อมตะ​หา​ซื้อ​ได้ ผู้​มี​อัน​จะ​กิน​คง​เป็นก​ ลุ่ม​เดียว​ที่​มี​ชีวิต​ยืนยาว แต่​เมื่อ​ระบบ​การเมือง​โลก​ปฏิวัติ​ตัว​เอง ความ​สัมพันธ์​ระหว่าง ‘รัฐ-ราษฎร’ ไม่​ได้​ มี​เพียง​ขั้น​ตอน​การ​จ่าย​ส่วย ทำ​นา เป็น​ทหาร เสีย​ภาษี​เท่านั้น ประเทศ​ที่​ได้​ชื่อ​ว่า​พัฒนา​ แล้วเ​กือบ​ทกุ แ​ ห่ง รัฐบาล​จะ​อยูใ​่ น​ฐานะ ‘ผูใ​้ ห้บ​ ริการ’ กับป​ ระชาชน โดย​มร​ี ะบบ​สวัสดิการ เป็น​เครื่อง​มือ​หลัก ซึ่ง​การ​ประกัน​สุขภาพ​ก็​จัด​เป็น​หนึ่ง​ใน​นั้น พูดง​ า่ ยๆ คน​เจ็บ-รัฐจ​ า่ ย ประกันส​ ขุ ภาพ​จงึ เ​ป็นส​ ทิ ธิข​ นั้ พ​ นื้ ฐ​ าน​ทป​ี่ ระชาชน​ภาย​ใต้​ การ​ปกครอง​ของ​รัฐ​พึง​มี...นอกจาก​จาก​สิทธิ 3 วินาที​ใน​คูหา​เลือก​ตั้ง แต่​เรื่อง​นี้​ก็​ไม่​ได้​มคี​ วาม​เท่า​เทียม​กัน​ทั้ง​โลก บาง​ประเทศ​รัฐ​ก็​ไม่​ได้​จ่าย​ให้​ทั้งหมด ต้อง​มี​ระบบ​สมทบ หรือ​ประชาชน​จ่าย​เอง​บาง​ส่วน รวม​ถึง​ความ​ครอบคลุม​ที่​ทั้ง​โลก​ มี​หลาก​หลาย​มาตรฐาน​มาก บาง​แห่ง​ไม่​นับ​การ​ผ่า​ฟัน​คุด ใน​ขณะ​ที่​อีก​แห่ง​มี​แพ็ค​เกจ​ คลอด​ลูก​แถม​พี่​เลี้ยง ย้อน​มอง​มา​ที่​บ้าน​เรา เป็น​เวลา​หลาย​ปี​ที่ ‘ระบบ​ประกัน​สุขภาพ’ ยัง​เป็น​ปัญหา​ คารา​คา​ซงั อ​ ยู่ ด้วย​เหตุผล​สารพัด ทัง้ โ​ครงสร้าง​ทย​ี่ งุ่ ย​ าก รูปแ​ บบ​การ​ประกันก​ ห​็ ลาก​หลาย ไหน​จะ​บัตร​ทอง ไหน​จะ​ประกัน​สังคม​ที่​ต้อง​มี​การ​จ่าย​สมทบ​กัน​เป็น​ราย​เดือน ไหน​จะ​ ปัญหา​เรื่อง​การ​บริการ​ของ​โรง​พยาบาล​รัฐ กับ​เอกชน ที่​ต่าง​กัน​ราว​ฟ้า​กับ​เหว ฯลฯ เพราะ​สภาพ​ความ​เป็น​จริง เมื่อ​คนไข้​ใน​ระบบ​ประกัน​สังคม​ไป​โรง​พยาบาล ก็​มัก​ จะ​ถูก​ปฏิบัติ​ราวกับ​มา ‘ขอ’ รักษา​ฟรี ทั้ง​ที่​จริง​แล้ว การ​รักษา​พยาบาล​มี​ค่า​ใช้​จ่าย​เสมอ ทุก​ระบบ​ต่าง​กัน​ที่​ภาระ​นี้​จะ​ตก​ไป​อยู่​กับ​ใคร​ต่าง​หาก จน​แล้ว​จน​รอด ก็แ​ ลก​ได้​กับ​การ​บริการ​ที่​ใคร​ก็​บอก​ว่า​มี​คุณภาพ​เพียง​ระดับ ‘เกรด บี’ ใน​ขณะ​ทผ​ี่ ม​ู้ อ​ี นั จ​ ะ​กนิ ห​ ลาย​คน​ทน​ไม่ไ​ด้ ก็ย​ อม​ควักก​ ระเป๋าจ​ า่ ย​แพง เผ่นไ​ป​ซอื้ ป​ ระกัน​ ของ​เอกชน​กัน​หมด แท้จริง​ไม่​ได้​เป็น​เรื่อง​ใหม่ เพราะ​ค้น​ความ​เป็น​มา​ดู​แล้ว ก็​นับ​ได้​ว่า​ระบบ​ประกัน​ สุขภาพ​ของ​ไทย​มี​ประวัติ​ยาวนาน​กว่า​ครึ่ง​ศตวรรษ​เลย​ที​เดียว

ปี 2488 เริ่ม​มี​สวัสดิการ​ค่า​รักษา​พยาบาล​

ข้าราชการ และ​ยกเว้น​ค่า​รักษา​พยาบาล​ให้​แก่​ ผู้​มี​ราย​ได้​น้อย​อย่าง​ไม่​เป็น​ทางการ

ปี 2524 กระทรวง​สาธารณสุข​ออก​บัตร​ราย​ได้​น้อย​ ให้​กับ​ครอบครัว​ที่​มี​ราย​ได้​ต่ำ​กว่า​ระดับ​ความ​ยากจน ปี 2526 กระทรวง​สาธารณสุข​ขาย​บัตร​สุขภาพ​ สำหรับ​บุคคล​ทั่วไป ปี 2533 ประกาศ​ใช้ พ.ร.บ.ประกัน​สังคม ที่​ให้​ ลูกจ้าง นายจ้าง และ​รัฐบาล​ร่วม​กัน​จ่าย สำนักงาน​ ประกัน​สังคม เป็น​ผู้​ดูแล ครอบคลุม​สิทธิ​ทั้ง​รักษา​ พยาบาล คลอด​บุตร ทุพพลภาพ เสีย​ชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์​บุตร และ​ว่าง​งาน ภาย​ใต้​การ​กำกับ​ดูแล​ ของ สำนักงาน​ประกัน​สังคม (สปส.) ปี 2545 รัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 51 ประกาศ​ใช้ พ.ร.บ.หลัก​ประกัน​สุขภาพ​แห่ง​ชาติ ครอบคลุม​คน​ไทย​ ทั้ง​ประเทศ หน่วย​งาน​รับ​ผิด​ชอบ​คือ สำนักงาน​ หลัก​ประกัน​สุขภาพ​แห่ง​ชาติ (สปสช.)

ปี 2553 ขยาย​สิทธิ​ขั้น​พื้น​ฐาน​สำหรับ​บุคคล​ที่​ มี​ปัญหา​สถานะ​และ​สิทธิ​ใน​การ​รักษา​พยาบาล


11 ปัญหา​เรื่อง​ความ​หลาก​หลาย​ของ​ระบบ​ประกัน​สุขภาพ “ผม​เสียเ​งินส​ มทบ​เป็นร​ าย​เดือน​นะ​ครับ ทำไม​สทิ ธิข​ อง​ผม​ถงึ ไ​ม่เ​ท่ากับบ​ ตั ร​ ทอง ทั้งๆ ที่​ดู​ตัว​เงิน ผม​จ่าย​มากกว่า​อีก” “หนูใ​ช้บ​ ตั ร​ทอง​คะ่ เชือ่ แ​ ล้วว​ า่ ข​ อง​ฟรีม​ จ​ี ริง แต่ท​ ำไม​คณ ุ ภาพ​บริการ​เหมือน​ พลเมือง​ชั้น 2 ชั้น 3 ล่ะ​คะ แถม​หมอ​พยาบาล​ก็​ชอบ​ทำ​บึ้ง​ตึง​ใส่​หนู​ด้วย” ปัญหา​เล็กๆ เบื้อง​ต้น​จาก​จำนวน​ร้อย​แปด​พัน​ประการ​แว่ว​เรื่อย​มา จน​มา​ ถึง​ปัญหา​ข้อ​ใหญ่ เมื่อ​ผู้​ใช้​สิทธิ​ประกัน​ตน​ตั้ง​คำถาม​ด้วย​เสียง​อัน​ดัง​ว่า “เอ่อ...ดูๆ แล้วม​ แ​ี ต่พ​ วก​ผม​นค​ี่ รับ ทีต​่ อ้ ง​จา่ ย​ราย​เดือน ข้าราชการ​กไ​็ ม่ต​ อ้ ง บัตร​ทอง​กไ​็ ม่ต​ อ้ ง ทำไม​ละ่ ค​ รับ...ทำไม​ผม​ตอ้ ง​จา่ ย ทัง้ ท​ ส​ี่ ทิ ธิใ​น​การ​รกั ษา​นอ้ ย​กว่า​ บัตร​ทอง​อีก ผ่า​ฟัน​คุด​ยัง​ต้อง​จ่าย​เอง​เลย” มี​เพียง​ผู้​ประกัน​ตน​ใน​ระบบ​ประกัน​สังคม 9.44 ล้าน​คน​เท่านั้น ที่​ต้อง​ จ่าย​สมทบ​ใน​การ​รักษา​พยาบาล ขณะ​ที่​คน​อื่นๆ ใน​ประเทศ​อีก​กว่า 55 ล้าน​คน รัฐบาล​เป็นผ​ อ​ู้ อก​คา่ ใ​ช้จ​ า่ ย​ให้ท​ งั้ หมด นอกจาก​ความ​แตก​ตา่ ง​ดา้ น​ความ​ครอบคลุม​ ใน​การ​รกั ษา​ทข​ี่ ม่ ก​ นั ม​ ดิ แ​ ล้ว ก็ย​ งั เ​กิดค​ ำถาม​ถงึ ค​ วาม​ไม่เ​ป็นธ​ รรม​ขนึ้ ม​ า​อกี ว​ า่ ทัง้ ๆ ที่​จ่าย แต่​ทำไม​สิทธิ์​ใน​การ​รักษา และ​การ​ดูแล​ให้​เข้า​ถึง​การ​บริการ​ที่​มี​คุณภาพ​​ ถึง​ได้​มี​จำกัด​จำ​เขี่ย​ยิ่ง​นัก น้อย​กว่า​สิทธิ​ของ​ผู้​กำลัง​รอ​พิสูจน์​สัญชาติ​เสีย​อีก

ระบบ​ห ลั ก ​ป ระกั น​ส ุ ข ภาพ​ข อง​ไ ทย​ใน​ป ี 2553 ระบบ​ประกัน​สังคม

(9.4 ล้าน​คน)

ระบบ​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​ ถ้วน​หน้า หรือ​บัตร​ทอง

(47.7 ล้าน​คน)

ระบบ​สวัสดิการ​รักษา​ พยาบาล​ข้าราชการ​และ​ ครอบครัว

(4.94 ล้าน​คน)

ระบบ​อื่นๆ เช่น บุคคล​ที่​มี​ ปัญหา​สถานะ​และ​สิทธิ ​ รวม​ถึง​ข้าราชการ​การเมือง

(0.68 ล้าน​คน)

“ทำไม​ต้อง​จ่าย?” ต่อ​ข้อ​สงสัย​นี้ ยัง​ไม่มี​คำ​ตอบ​ชัดเจน นอกจาก​ข้อมูล​เชิง​ตัวเลข ภาระ​งบ​ประมาณ​ของ​รัฐบาล ที่​ได้​มา​จาก รายงาน​การ​จัด​ ทำ​ข้อ​เสนอ​ทาง​เลือก​และ​รูป​แบบ​บริหาร​จัดการ​สวัสดิการ​ด้าน​การ​รักษา​พยาบาล​ของ​ระบบ​ประกัน​สังคม​ใน​อนาคต 2554 ว่า ใน​ปี 2553 ภาระ​งบ​ประมาณ​สำหรับ​ค่า​รักษา​พยาบาล​ของ​ระบบ​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​ทั้ง 3 ระบบ​หลัก รัฐบาล​ใช้​เงิน​สำหรับ​ สวัสดิการ​รักษา​พยาบาล​ข้าราชการ​และ​ครอบครัว 62,195 ล้าน​บาท ระบบ​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​ถ้วน​หน้า 120,846 ล้าน​ บาท ขณะ​ที่​ระบบ​ประกัน​สังคม​ใช้​เงิน​เพียง 7,490.62 ล้าน​บาท หรือ 1 ใน 3 ของ​ค่า​ใช้​จ่าย​ทั้งหมด 22,471.68 ล้าน​บาท เท่านั้น ไม่​ว่า​เรา​จะ​ต้อง​จ่าย​เงิน​สมทบ​เข้า​กองทุน​ประกัน​สังคม​เท่า​ไหร่ หา​หมอ​บ่อยๆ หรือ​ไม่​ป่วย​เลย​ทั้ง​ปี ระบบ​ประกัน​สังคม​ ปัจจุบัน จะ​ทำ​หน้าที่ ‘เหมา​จ่าย’ 2,105 บาท เป็น​ราย​หัว​ให้​กับ​โรง​พยาบาล​ที่​อยู่​ใน​ระบบ​ทุก​ปี ใช้​วิชา​คณิตศาสตร์​ง่ายๆ ช่วย​คำนวณ หาก​มี​ผู้​ขอ​ใช้​สิทธิ​โรง​พยาบาล​แห่ง​หนึ่ง​จำนวน 5,000 คน ไม่​ว่า​จะ​มี​คน​มา​ใช้​จริง​ เท่า​ไหร่ โรง​พยาบาล​ก็​จะ​ได้​รับ​เงิน​จาก​สำนักงาน​กองทุน​ประกัน​สังคม​ไป​เต็มๆ 5000 x 2105 = 10,525,000...10 ล้าน​ กว่า​บาท หลาย​ฝา่ ย​ระบุต​ รง​กนั ว​ า่ โ​รง​พยาบาล​เอกชน​หลาย​แห่งเ​ข้าม​ า​รว่ ม​ใน​ระบบ​ประกันส​ งั คม​กเ​็ พราะ​เงินท​ แ​ี่ ทบ​จะ​ได้เ​ปล่าจ​ ำนวน​ มาก​ขนาด​นี้ และ​เมือ่ ถ​ งึ ข​ นั้ ต​ อน​การ​รกั ษา​จริง โรง​พยาบาล​กม​็ กั จ​ ะ​นำ​งบ​ตวั น​ ไ​ี้ ป​รดั เ​ข็มขัด บริหาร​จดั การ​อย่าง​ประหยัด เพราะ​จาก​ การ​ศึกษา​ของ​สำนักงาน​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​แห่ง​ชาติ พบ​ว่า​โรง​พยาบาล​ใช้​งบ​ใน​การ​รักษา​จริง​เพียง​ราย​ละ 700 บาท​เท่านั้น นั่น​ยิ่ง​ทำให้​ข้อ​สงสัย​นี้​ทวี​ความ​หนัก​หน่วง​เข้าไป​อีก “ทำไม​เรา​ต้อง​จ่าย!!!”

ประกัน​สังคม VS บัตร​ทอง อย่าง​ที่​เห็น​กัน​อยู่ ไม่​ต้อง​แบ่ง​แยก​ชนชั้น​กับ​ข้าราชการ​และ​นักการ​เมือง ใน​ระดับ​ ประชาชน​คน​ธรรมดา ซึง่ ม​ ห​ี ลาก​หลาย​ของ​ระบบ ทัง้ ป​ ระกันส​ งั คม​และ​บตั ร​ทอง ความ​ไม่​ เท่า​เทียม​กัน​ย่อม​บังเกิด โรง​พยาบาล​บาง​แห่ง มี​การ ‘แบ่ง​เกรด’ ผู้​ป่วย​ชนิด​ที่​เรียก​ได้​ว่า​ แยก​คนละ​ตกึ คนไข้ธ​ รรมดา​ทย​ี่ นิ ดีจ​ า่ ย​เอง กับพ​ วก​ใช้ส​ ทิ ธิร​ ะบบ​ประกัน ใน​ขณะ​ทห​ี่ ลาย​ แห่งซ​ อย​ย่อย​ไป​กว่า​นั้น จ่าย​เงิน​ตึก​นึง ประกัน​สังคม​อีก​ตึก​หนึ่ง บัตร​ทอง​อีก​ตึกห​นึ่ง ซึ่ง​ แน่นอน​ว่า​คุณภาพ​ใน​การ​รักษา​และ​บริการ​ย่อม​แตก​ต่าง​กัน​ไป​ด้วย สวัสดิการ​สุขภาพ​ของ​ประชาชน​ธรรมดา มอง​ข้าม​ความ​สงสัย​ถึง​เหตุผล​ว่า​ทำไม​ การ​จดั การ​สวัสดิการ​ดา้ น​สขุ ภาพ​ของ​รฐั ถ​ งึ ต​ อ้ ง​มี 2 ระบบ​ไป​กอ่ น ลอง​มา​ดท​ู ร​ี่ าย​ละเอียด​ ความ​แตก​ต่าง​หลักๆ ระหว่าง​ประกัน​สังคม​กับ​บัตร​ทอง ณ วัน​ที่ 1 มกราคม 2554 ว่า​ มี​อะไร​บ้าง


12 1. ขอบเขต​และ​เงื่อนไข​การ​คุ้มครอง ระบบ​หลักป​ ระกันส​ ขุ ภาพ​ถว้ น​หน้า​ นั้น​ไม่​จำเป็น​ต้อง​จ่าย​เบี้ย​ประกัน ได้​รับ​ การ​คุ้มครอง​ทันที​เมื่อ​ลง​ทะเบียน ขณะ​ ที่​ระบบ​ประกัน​สังคม​ต้อง​จ่าย​เงิน​สมทบ​ ​ใ น​ร ะยะ​เ วลา​ที่ ​ก ำหนด กรณี ​เ จ็ บ ​ป่ ว ย​ ต้อง​ส่ง​เงิน​สมทบ​ติดต่อ​กัน​ไม่​น้อย​กว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือน กรณี​คลอด​บุตร​ ต้อง​ส่ง​เงิน​สมทบ​ไม่​น้อย​กว่า 7 เดือน จึง​ จะ​ได้​รับ​การ​คุ้มครอง และ​หาก​ขาด​การ​ จ่าย​เงิน​สมทบ​เกิน 3 เดือน​สิทธิ​นั้น​เป็น​ อัน​สิ้น​สุด ซึ่ง​ต่าง​จาก​ระบบ​หลัก​ประกัน​ สุขภาพ​ถ้วน​หน้าที่​สิทธิ​จะ​สิ้น​สุด​ก็​ต่อ​เมื่อ​ ผู้​มี​สิทธิ​นั้น​ได้​รับ​การ​คุ้มครอง​จาก​สิทธิ​ อื่น​ของ​รัฐ​แล้ว และ​ระบบ​ประกัน​สังคม​ ยัง​เป็น​ระบบ​เดียว​ที่​ผู้​ประกัน​ตน นายจ้าง​ และ​รัฐบาล ร่วม​จ่าย 2. สิทธิป​ ระโยชน์​ทแี่​ตก​ต่าง​กัน สิทธิป​ ระโยชน์ท​ งั้ ส​ อง​ระบบ​มค​ี วาม​ แตก​ต่าง​กัน​ทั้ง​สิ้น 15 สิทธิ​ประโยชน์ โดยที่​ระบบ​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​ถ้วน​หน้า​ ครอบคลุม​มากกว่า 14 รายการ ยกเว้น รากฟั น ​เ ที ย ม ที่ ​ร ะบบ​ป ระกั น ​สั ง คม​มี ​ มากกว่า และ​เพิง่ จ​ ะ​บรรจุใ​น​สทิ ธิป​ ระโยชน์​ เมื่อ วัน​ที่ 1 มกราคม 2554 และ​ยัง​มี​ อุปกรณ์แ​ ละ​อวัยวะ​เทียม​ใน​การ​บำบัดโ​รค​ ที่​แตก​ต่าง​กัน ระบบ​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​ ถ้วน​หน้า​มี 270 รายการ ระบบ​ประกัน​

ตัวอย่างต่างแดน

สังคม มี​เพียง 81 รายการ

1. เพิม่ ส​ ทิ ธิก​ าร​รกั ษา​พยาบาล​โรค​ เรื้อรัง​จาก​เดิม ปี​ละ​ไม่​เกิน 180 วัน เป็น​ 3. สิทธิ​ประโยชน์​ที่​เหมือน​กัน​แต่​บริหาร​ รักษา​ต่อ​เนื่อง​ตาม​ความ​จำเป็น จัดการ​แตก​ต่าง​กัน 2. เพิ่ม​สิทธิ​การ​รักษา​พยาบาล​ใน​ มี ​จ ำนวน 26 รายการ มี 10 กรณีเ​จ็บป​ ว่ ย​ฉกุ เฉินต​ า่ ง​โรง​พยาบาล จาก​ รายการ​ที่​ทั้ง ​ส อง​ร ะบบ​มี ​ร ะบบ​บ ริ ห าร​ เดิม​เบิก​จ่าย​ได้ 2 ครั้ง​ต่อ​ปี เพิ่ม​เป็น​ไม่​ จั ด การ​เ ฉพาะ แต่ ​แ ตก​ต่ า ง​กั น ​ใ น​ร าย-​ จำกัด​จำนวน​ครั้ง ละเอียด และ​ยา​ทม​ี่ ป​ี ญ ั หา​ใน​การ​เข้าถ​ งึ อ​ กี 3. เพิ่ ม ​สิ ท ธิ ​ทั น ต​ก รรม​ส ามารถ​ 15 รายการ ที่​ระบบ​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​ ทำฟัน​ปลอม​ได้​ทั้ง​ปาก ใน​วงเงิน 4,400 ถ้วน​หน้าม​ ก​ี าร​จดั การ​เฉพาะ ขณะ​ทร​ี่ ะบบ​ บาท และ​ผ่าตัด​ฟัน​คุด​ได้ ประกันส​ งั คม​ไม่มี มีเ​พียง​รายการ​เดียว คือ 4. เพิม่ ส​ ทิ ธิก​ าร​เข้าถ​ งึ ย​ า​ตา้ น​ไวรัส​ ผ่าตัด​สมอง ที่​ระบบ​ประกัน​สังคม​มี​การ​ เอดส์ โดย​หาก​ตรวจ ซีด​ โ​ี ฟร์ เกินก​ ว่า 250 จัดการ​เฉพาะ ขณะ​ที่​ระบบ​หลัก​ประกัน​ แต่​ไม่​เกิน 350 ให้​รับ​ยา​ต้าน​ไวรัส​ทันที สุขภาพ​ถ้วน​หน้า​ใช้​วิธี​จ่าย​เงิน​ให้​หน่วย​ 5. ใน​กรณีม​ ก​ี าร​วนิ จิ ฉัยโ​รค​แล้วพ​ บ​ บริการ​ตาม​กลุ่ม​วินิจฉัย​โรค​ร่วม (DRG) ว่า​ต้อง​ใช้​ยา​ราคา​แพง สำนักงาน​ประกัน​ สังคม​จะ​เป็น​ผู้​จ่าย​ค่า​ยา​ให้​ทั้งหมด 6. เพิ่ม​สิทธิ​ให้​กับ​ผู้​ประกัน​ตน​ที่​ ดู​จาก​ความ​แตก​ต่าง​ที่​ว่า​นี้​แล้ว ก็​ ป่วย​เป็น​โรค​ไต​วาย​เรื้อรัง​หลัง​จาก​สมัคร​ สรุป​ได้​ง่ายๆ เลย​ว่า ระบบ​หลัก​ประกัน​ เป็ น ​ผู้ ​ป ระกั น ​ต น​แ ล้ ว ให้ ​มี ​สิ ท ธิ ​ผ่ า ตั ด​ สุขภาพ​ถ้วน​หน้า​มี​สิทธิ​ประโยชน์​ที่​ดี​กว่า เปลี่ยน​ไต​ได้​ทันที พร้อม​ให้​ยาก​ระ​ตุ้น​เม็ด​ ทั้ง​ขอบเขต​และ​เงื่อนไข​การ​คุ้มครอง สิทธิ​ เลือด หาก​ไม่เ​ปลีย่ น​เลือด และ​ขยาย​คา่ ย​ า​ ประโยชน์​ที่มา​กก​ว่า และ​มี​การ​บริหาร​ จาก 750 บาท ต่อ สัปดาห์ เป็น 1,125 จัดการ​เฉพาะ​ให้ผ​ ป​ู้ ว่ ย​ได้เ​ข้าถ​ งึ ก​ าร​บริการ​ บาท​ต่อ​สัปดาห์ ที่​มี​คุณภาพ​ได้​ดี​กว่า 7. การ​ผ่าตัด​เปลี่ยน​ไต จาก​เดิม​ เสียง​คำถาม​ที่​ถูก​ส่ง​ออก​ไป​ยัง​ไม่มี​ เหมา​จ่าย 2.3 แสน​บาท​ต่อ​ครั้ง มา​เป็น​ ใคร​สะท้อน​คำ​ตอบ​กลับม​ า แต่ก​ ไ​็ ม่โ​ชค​รา้ ย​​ แยก​ออก​เป็น 2 กรณี ทั้ง​กรณี​ไม่มี​โรค​ ไป​เสีย​ทั้งหมด เพราะสำนักงาน​ประกัน​ แทรกซ้อน จ่าย​ครั้ง​ละ 1.4 แสน​บาท สั ง คม ได้ ​มี ​ม ติ ​เ พิ่ ม ​สิ ท ธิ ​ใ น​ก าร​รั ก ษา​ และ​กรณี​มี​โรค​แทรกซ้อน จ่าย​ครั้ง​ละ 1.4 พยาบาล​ขึ้น​ใน​ปี 2554 แสน​บาท

ประเทศ​ใด​มี​แรงงาน​ใน​ระบบ​มาก เช่น รู ป ​แ บบ​ข อง​ร ะบบ​ห ลั ก ​ป ระกั น​ ประเทศ​ใน​ยุโรป​ก็​จะ​เลือก​ระบบ​เยอรมัน สุขภาพ​ที่​สำคัญ​มี 2 ระบบ คือ แต่​หาก​ประเทศ​ใด​มี​เกษตรกรรม​และ​การ​ จ้าง​งาน​นอก​ระบบ​มาก ประชาชน​มร​ี าย​ได้​ 1. ระบบ​เยอรมัน (Bismarck's Model) ไม่แ​ น่นอน ก็จ​ ะ​เลือก​ระบบ​องั กฤษ เพราะ​ หรื อ Social Health Insurance ที่ ​ เป็นการ​ใช้​เงิน​จาก​ภาษี ประชาชน​ทุก​คน​ต้อง​ร่วม​จ่าย​เงิน​ประกัน​ สุขภาพ​เพิม่ เ​ติมจ​ าก​ภาษีเ​ป็นร​ ะบบ​ทน​ี่ ยิ ม​ ทาง​เลือก​ประเทศไทย? ใน​ประเทศ​ใน​กลุ่ม OECD ที่​พัฒนา​แล้ว มี ​ข้ อ ​เ สนอ​จ าก​ห ลาย​ฝ่ า ย ให้ ​ ระบบ​นี้​ใช้​ใน​ระบบ​ประกัน​สังคม​ของ​ไทย ประเทศไทย​ใช้ระบบ​เยอรมัน แต่​หาก​ ดู​ความ​เป็น​จริง​แล้ว เรา​จะ​พบ​ข้อ​จำกัด​ 2. ระบบ​อังกฤษ (Beveridge's Model) อย่าง​น้อย 2 ประการ คือ หรือ State-Fund เป็น​ระบบ​ที่​ใช้​ภาษี 1. โครงสร้าง​เศรษฐกิจ​ของ​ไทย ที่​ (Taxation) โดย​ประชาชน​ไม่​ต้อง​จ่าย​ กว่า​ร้อย​ละ 75 เป็น​แรงงาน​นอก​ระบบ​ สมทบ​อีก แต่​ใช้​ภาษี​ที่​รัฐ​เก็บ​ได้​ทั้ง​ทาง​ และ​เกษตรกร ไม่มี​ราย​ได้​แน่นอน ทำให้​ ตรง​และ​ทาง​อ้อม เป็น​ระบบ​ที่​ประเทศ​ ยาก​จะ​จ่าย​เงิน​สมทบ​ทุก​เดือน จึง​มี​เพียง​ ส่วน​ใหญ่​ใช้ (106 จาก 191 ประเทศ ผูป​้ ระกันต​ น​ทม​ี่ ร​ี าย​ได้ป​ ระจำ​สามารถ​จา่ ย​ :WHO 2004) ทัง้ ท​ เ​ี่ ข้าถ​ งึ แ​ ละ​ยงั เ​ข้าไ​ม่ถ​ งึ ​ ได้​เพียง​ร้อย​ละ 15 เท่านั้น หลัก​ประกัน​สุขภาพ​ถ้วน​หน้า (Universal 2. โครงการ​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​ Coverage) ระบบ​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​ ถ้วน​หน้า ถือเ​ป็นการ​ใช้ร​ ะบบ​องั ก​ฤษ​แล้ว​ แห่ง​ชาติ​หรือ​โครงการ 30 บาท​รักษา​​ ตั้งแต่​สมัย​ยัง​เป็น 30 บาท​รักษา​ทุก​โรค ทุก​โรค​ของ​ไทย​ใช้​ระบบ​นี้ โดย​ประชาชน​ไม่​ต้อง​จ่าย​สมทบ ซึ่ง​ข้อ​นี้​ เป็ น ​เ หตุ ผ ล​ส ำคั ญ ​ใ ห้ ​ไ ทย​ต้ อ ง​เ บน​เ ข็ ม​ ข้อพ​ จิ ารณา​ใน​การ​เลือก​รปู แ​ บบ​จะ​ มา​ทางระบบ​อังกฤษมากกว่า พิจารณา​จาก​ความ​พร้อม​ทาง​เศรษฐกิจ

8. ปรับ​เพิ่ม​ค่า​ยา​กด​ภูมิคุ้มกัน​แก่​ ผู้​ป่วย​ไต​วาย​เรื้อรัง โดย​เดือน​ที่ 1-6 หลัง​ ผ่าตัด​ได้ 3 หมื่น​บาท​ต่อ​เดือน เดือน​ที่ 7-12 ได้ 2.5 หมื่น​บาท​ต่อ​เดือน ปี​ที่ 2 ได้ 2 หมื่น​บาท​ต่อ​เดือน ปี​ที่ 3 ได้ 1.5 หมื่น​บาท​ต่อ​เดือน 9. เพิ่ ม ​สิ ท ธิ ​ก าร​รั ก ษา​พ ยาบาล​​ ผู้​ป่วย​โรค​มะเร็ง 7 ชนิด ที่​พบ​ได้​บ่อย​ใน​ คน​ไทย ได้แก่ มะเร็ง​เต้า​นม, มะเร็ง​ปาก​ มดลูก, มะเร็ง​รังไข่, มะเร็ง​โพรง​จมูก, มะเร็ง​ปอด, มะเร็ง​หลอดอาหาร และ มะเร็ง​ลำไส้ใหญ่ โดย​ให้​สถาน​พยาบาล​ ที่​รักษา​ตาม​แนวทาง​ที่​กำหนด​สามารถ​ เบิก​ค่า​ใช้​จ่าย​ตาม​จริง จาก​เดิม​ไม่​เกิน 50,000 บาท​ต่อ​ปี เป็น​ตั้งแต่ 15,000272,100 บาท​ต่อ​ปี แต่ ​ม หา​ก าพย์ ​ป ระกั น ​สุ ข ภาพ​ ประเทศไทย เหมือน​บญ ุ ม​ แ​ี ต่ก​ ำบัง เพราะ​ ใน​ขณะ​นี้​สิทธิ​ประโยชน์​ที่​คณะ​กรรมการ​ ประกัน​สังคม​อนุมัติ​ปรับ​เพิ่ม ได้​มี​การ​ ออก​เป็น ประกาศ​คณะ​กรรมการ​การ​แพทย์ ตาม พ.ร.บ.ประกัน​สังคม ปี 2533 เมื่อ​ วัน​ที่ 20 กรกฎาคม 2554 ให้​สิทธิ​ที่​เพิ่ม​ มี​เพียง​แค่​โรค​มะเร็ง 7 ชนิด​ที่​พบ​บ่อย​ใน​​ คน​ไ ทย​เท่ า นั้ น ส่ ว น​สิ ท ธิ ​ที่ ​เห​ลื อ ​อื่ น ๆ ยัง​ไม่มี​ประ​กาศ​ใดๆ ออก​มา จึง​ยัง​ไม่​ สามารถ​บังคับ​ใช้ได้

ระบบ​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​แห่ง​ชาติ (บัตร​ทอง)

ของ​ฟ รี ​จ ริ ง ​ห รื อ ​เปล่ า ? ‘เฉลีย่ ’ คือน​ ยิ าม​งา่ ยๆ ของ​ระบบ​บตั ร​ทอง ซึง่ เ​ริม่ ม​ า​จาก​การ​ให้ผ​ ม​ู้ ส​ี ทิ ธิ​ แบก​รับ​ค่า​ใช้​จ่าย ก่อน​ที่​รัฐ​จะ​โดด​เข้า​มา​อุ้ม​ภาระ​ไว้​ทั้งหมด​ใน​ภาย​หลัง เพราะ​ระบบ​นี้​ใช้​ภาษี​ของ​ประชาชน​ทุก​คน มอง​ง่ายๆ งบ​ประมาณ​ ทั้งหมด​ใน​การ​รักษา​พยาบาล​ก็​มา​จาก​การ​เฉลี่ย​ราย​ได้​จาก​คน​ทั้ง​ประเทศ คนจน​จ่าย​น้อย คนรวย​จ่าย​มาก ดัง​นั้น​จะ​เห็น​ว่า​ระบบ​นี้​ไม่ใช่​ของ​ฟรี แต่​มา​จาก​ภาษี​ของ​ทุก​คน แม้แต่​ ผู้​ที่​ไม่​ได้​ใช้​ระบบ​นี้​ก็​ยัง​มี​ส่วน​ร่วม เพราะ​เงิน​ภาษี​ทั้ง​ทาง​ตรง​และ​ทาง​อ้อม​ก็​ จะ​ถูก​แบ่ง​มา​สำหรับ​ระบบ​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​แห่ง​ชาติ​อยู่ดี แต่ก​ อ​็ กี น​ นั่ แ​ หละ...เมือ่ ร​ ะบบ​ภาษีข​ อง​ประเทศ​เรา​ยงั ม​ ป​ี ญ ั หา​อยู่ เพราะ​ จาก​ข้อมูล​ของ​สำนักงาน​เศรษฐกิจ​การ​คลัง (สศค.) ใน​ปี 2553 ระบุ​ว่า จำนวน​ผู้​จ่าย​ภาษี​อย่าง​ถูก​ต้อง​ใน​ ระบบ​ของ​ประเทศไทย​มี​เพียง​แค่ 2.3 ล้าน​ คน และ​คนจน​ที่สดุ ​มร​ี าย​ได้ต​ ำ่ ก​ ว่า​คนรวย​ ทีส่ ดุ ถ​ งึ 12.81 เท่า นัน่ ท​ ำให้ค​ ำ​วา่ ‘เฉลีย่ ​ ทุกข์ เฉลี่ย​สุข’ ถูก​พูด​ออก​มา​อย่าง​ไม่​ เต็ม​ปาก ปัญหา​ระบบ​ประกัน​สุขภาพ​จึง​ เป็นเ​รือ่ ง​ทม​ี่ ร​ี าก​เหง้าข​ อง​ปญ ั หา​ใหญ่โ​ต​ ​ระดับ​ชาติ และ​ยุ่ง ​ยาก​พัวพัน​กัน​เป็น​ งู​กิน​หาง​เหมือน​ที่​เห็น


13

หนทางปฏิรูประบบประกันสุขภาพ ใคร​ได้​ประโยชน์?

การ​ค ง​ไ ว้ ​ทั้ ง 2 ระบบ​เ ช่ น ​นี้ ผู้ ​ป ระกั น ​ตน​ก็ ​ไ ม่ ​ไ ด้ ​ ประโยชน์ เพราะ​ยัง​ต้อง​จ่าย​เงิน​อยู่​กลุ่ม​เดียว เงิน​จ่าย​สมทบ​ ทุกเ​ดือน​กไ​็ ม่ไ​ด้ใ​ช้ เพราะ​ไม่ค​ อ่ ย​เจ็บป​ ว่ ย เมือ่ ต​ อ้ งการ​ใช้ต​ อน​ สูงอ​ ายุก​ ถ​็ กู ย​ า้ ย​ไป​อยูร​่ ะบบ​อนื่ คน​สว่ น​ใหญ่ใ​น​ระบบ​บตั ร​ทอง​​ ก็ ​ไ ม่ ​ไ ด้ ​ป ระโยชน์ เพราะ​ไ ม่ มี ​ก ลุ่ ม ​ค น​ที่ ​แ ข็ ง ​แ รง​ม า​เ ฉลี่ ย​ ความ​เสี่ยง​ด้วย ค่า​ใช้​จ่าย​ที่​รัฐ​ต้อง​จ่าย​เฉลี่ย​ต่อ​คน​ก็​สูง​ขึ้น ทาง​เลือก​ของ​โรง​พยาบาล​ก็​จำกัด เพราะ​ไม่มี​โรง​พยาบาล​ ไหน​อยาก​ดูแล​เด็ก หรือ​ผู้​สูง​อายุ​ที่​มี​ค่า​ใช้​จ่าย​สูง ค่า​บริหาร​ จัดการ​รัฐบาล​ก็​ต้อง​จ่าย​ทั้ง​สอง​หน่วย​งาน ขาด​ประสิทธิภาพ​ ทั้ง​ระบบ ไม่​ว่า​เรื่อง​นี้​ประโยชน์​จะ​ตก​อยู่​กับ​ใคร คง​ไม่ใช่​เรา ประชาชน​ส่วน​ใหญ่​แน่ๆ

สรุป​แล้วร​ ูป​แบบ​ใด​ดี​ที่สุด?

ไม่มค​ี ำ​ตอบ​สำเร็จรูปว​ นั น​ ว​ี้ า่ ร​ ะบบ​ใด​หรือร​ ปู แ​ บบ​ใด​จะ​ดท​ี สี่ ดุ ขึน้ อ​ ยูก​่ บั บ​ ริบท​ของ​ สังคม ความ​เข้าใจ​ของ​ผู้คน​การเมือง ซึ่ง​อาจ​จะ​ต้อง​พึ่งพา​ทั้ง 2 ระบบ​ไป​ก่อน ใน​แวดวง​นกั ว​ ชิ าการ​เชือ่ ว​ า่ การ​มร​ี ะบบ​เดียว​แบบ​ภาค​บงั คับจ​ ะ​เป็นการ​เหมาะ​สม​ ที่สุด​ไม่​ว่า​กับ​ชา​ติ​ไหนๆ เพราะ​ใน​หลายๆ ประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ยุโรป ละติน​ อเมริกา ต่าง​ก็​เคย​มี​หลาย​ระบบ แต่​สุดท้าย​ก็​จบ​ที่​รวม​เป็น​หนึ่ง​เดียว เพราะ​สามารถ​รวม​ และ​เฉลีย่ ค​ วาม​เสีย่ ง​ได้ด​ ท​ี สี่ ดุ มีป​ ระสิทธิภาพ​ทสี่ ดุ ทุกค​ น​ได้ร​ บั ก​ าร​ดแู ล​ภาย​ใต้ม​ าตรฐาน​ เดียวกัน ใช้​งบ​บริหาร​จัดการ​เพียง​หน่วย​งาน​เดียว ไม่​ซ้ำ​ซ้อน อีกท​ งั้ ย​ งั ม​ อ​ี ำนาจ​ตอ่ ร​ อง​กบั โ​รง​พยาบาล​ได้ส​ งู โรง​พยาบาล​ทเ​ี่ คย​ดแู ล​ผป​ู้ ระกันต​ น​ ​ที่​แข็ง​แรง​กลุ่ม​เดียว​ก็​ต้อง​เข้า​มา​ดูแล​คน​กลุ่ม​อื่นๆ ด้วย และ​หาก​รวม​ทั้ง 2 ระบบ​ได้​ จริง การ​เฉลี่ย​กลุ่ม​ไม่​ป่วย​คือ​ผู้​ประกัน​ตน​เข้า​กับ​ระบบ​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​ถ้วน​หน้า​นั้น​ ใน​เบื้อง​ต้น​รัฐ​สามารถ​ประหยัด​งบ​ประมาณ​ทันที​กว่า​หมื่น​ล้าน​บาท

ความทุกข์ของผู้ประกันตน โรง​พยาบาล​ไม่​ยอม​ส่ง​ต่อ จน​แพ้​ยา​รุนแรง

อังศ​ น​ า (นาม​สมมุต)ิ อายุ 28 ปี สาว​โรงงาน​ผลิตก​ ล้อง​ถา่ ย​รปู มีอ​ าการ​ ผื่น​คัน​ขึ้น​ทั่ว​ตัว เหมือน​เป็น​ลมพิษ ได้​เข้า​รักษา​ที่​โรง​พยาบาล​ตาม​สิทธิ​ประกัน​ สังคม​ตลอด แต่​ไม่​หาย จน​มี​อาการ​รุนแรง​ขึ้น​เรื่อยๆ กระทั่ง​ตั้ง​ครรภ์ แพทย์​ วินิจฉัย​ว่า​อาจ​เป็น​เพราะ​ครรภ์​เป็น​พิษ เมื่อ​คลอด​แล้ว​จะ​หาย​เอง แพทย์​จึง​ให้​กลุ่ม​ยา​แก้​แพ้ แก้​ผื่น​คัน และ​ยา​กด​ภูมิคุ้มกัน แต่​อาการ​​ ก็​ยัง​หนัก​ขึ้น​เรื่อยๆ หลังค​ลอด​ลูก​อาการ​ก็​ไม่​หาย เธอ​ต้องการ​ไป​รักษา​ที่​ โรง​พยาบาล​อื่น แต่​ทาง​โรง​พยาบาล​ไม่​ยอม​ออก​ใบ​ส่งตัว​ให้ พร้อม​เหตุผล​ว่า​ ยัง​รักษา​ได้ หลังจ​ าก​นนั้ ทีมแ​ พทย์เ​ริม่ พ​ งุ่ เ​ป้าไ​ป​ทโ​ี่ ร​คธา​ลสั ซ​ เ​ี มีย แต่ไ​ม่พ​ บ จึงว​ นิ จิ ฉัย​ ต่อไ​ป​วา่ อาจ​เป็นร​ ม​ู า​ตอยด์ แต่ก​ ต​็ รวจ​ไม่พ​ บ​เช่นก​ นั ระหว่าง​นนั้ ก​ ใ​็ ห้ย​ าก​ลมุ่ เ​ดิม​ ตลอด ใน​ทสี่ ดุ ผ​ ป​ู้ ว่ ย​กเ​็ กิดอ​ าการ​ชอ็ ก ไข้ข​ นึ้ ส​ งู ตัวบ​ วม มีอ​ าการ​ปวด​รนุ แรง แม้​ ฉีดยา​มอร์ฟีน​ก็​ไม่​สามารถ​ระงับ​ปวด​ได้ หลังจ​ าก​รกั ษา​อยูใ​่ น​โรง​พยาบาล​เดิม 3 วัน จน​ญาติท​ น​ไม่ไ​หว โต้เ​ถียง​กบั ​ โรง​พยาบาล​ให้​ส่ง​ต่อ​ไป​รักษา​ที่​โรง​พยาบาล​ศิริราช จน​โรง​พยาบาล​ยอม​ส่ง​ต่อ ใน​สภาพ​ทผ​ี่ ป​ู้ ว่ ย​หมด​สติ ผิวหนังบ​ าง​สว่ น​เน่าเ​ฟะ เธอ​ไป​ถงึ โ​รง​พยาบาล​ ศิริราช นอน​สลบ​ไป 3 วัน​เต็ม แพทย์​วินิจฉัย​ว่า​เป็น​ภาวะ​จาก​การ​ติด​เชื้อ​ ใน​กระแส​เลือด​เนื่องจาก​การ​แพ้​ยา เพราะ​ทาง​โรง​พยาบาล​เดิม​ให้​ยา​กด​ภูมิ​ ต้านทาน​ต่อ​เนื่อง​มา​นาน​เป็น​ปี ซึ่ง​กด​ภูมิ​ไม่​ให้​เป็น​ผื่น​คัน อาการ​แพ้​ยา​ที่​เป็น​ อยู่​นี้ ที่​โรง​พยาบาล​ศิริราช​พบ​เป็น​ครั้ง​แรก แต่​ถือ​เป็น ​ผู้​ป่วย​ราย​ที่ 4 ของ​ ประเทศไทย ซึ่ง​กรณี​แบบ​นี้​จะ​ไม่​เกิด​ถ้า​โรง​พยาบาล​ส่งตัว​ไป​รักษา​ต่อ เพราะ​เกิน​ ศักยภาพ​ของ​โรง​พยาบาล แต่​กรณี​นี้​โรง​พยาบาล​พยายาม​ยื้อ​ไว้ จน​อาการ​ รุนแรง​มาก​ขึ้น​เรื่อยๆ “วัน​นี้​อาการ​ผื่น​คัน​ที่​ทน​มา​ปีก​ว่า​ไม่มี​อีก​แล้ว หาย​สนิท เหลือ​แต่​เพียง​ ปัญหา​ทข​ี่ า​ซงึ่ เ​ป็นผ​ ล​มา​จาก​เซลล์เ​นือ้ ทีต​่ าย​แล้ว ทำให้ผ​ วิ หนังห​ นา​และ​ขา​ผดิ ร​ ปู ​ ไป​จาก​เดิม มี​อาการ​ชา​ที่​ขา ผล​จาก​การ​นอ​นอ​ยู​่โรง​พยาบาล​กว่า 1 เดือน และ​ กลับ​มา​พัก​ฟื้น​ที่​บ้าน 9 เดือน ทำให้​ขาด​เงิน เป็น​หนี้​สิน ท้าย​ที่สุด​สามี​ทิ้ง​ไป โชค​ดี​ที่​โรงงาน​รับ​กลับ​เข้า​ทำงาน แต่​ต้อง​เลี้ยง​ลูก​และ​ผ่อน​หนี้​สิน​ตาม​ลำพัง” ปัจจุบนั อังศ​ น​ า ยังม​ อ​ี าการ​ปว่ ย​ดว้ ย​โรค​ภาวะ​หวั ใจ​ขาด​เลือด ทีแ​ รก เธอ​ ไม่ม​ นั่ ใจ​ทจ​ี่ ะ​รบั ก​ าร​รกั ษา​ทโ​ี่ รง​พยาบาล​เดิม แต่ห​ มอ​แนะนำ​วา่ โ​รค​นต​ี้ อ้ ง​รกั ษา​ ต่อเ​นือ่ ง จึงต​ อ้ ง​กลับไ​ป​ใช้ส​ ทิ ธิป​ ระกันส​ งั คม ซึง่ ต​ อ้ ง​เจอ​กบั ค​ ำ​พดู ป​ ระชด​ประชัน​ จาก​โรง​พยาบาล​ที่​บอก​ว่า ต้อง​เสีย​เงิน​จ่าย​ค่า​รักษา​ขอ​งอังศ​นา​ให้​โรง​พยาบาล​ ศิริราช​ถึง 4 แสน​บาท “หาก​โรง​พยาบาล​สง่ ต​ อ่ ต​ งั้ แต่แ​ รก ชีวติ ก​ ค​็ ง​ไม่เ​ป็นแ​ บบ​นี้ สามีก​ ค​็ ง​ไม่ท​ งิ้ ​ ​เรา​ไป และ​เรา​ก็​คงจะ​มี​ชีวิต​ที่​ดี​กว่า​นี้ เวลา​ส่ง​โรง​พยาบาล​จะ​คิด​แต่​เรื่อง​เงิน​ ไม่​คำนึง​ถึง​ชีวิต​ผู้​ป่วย”

คุ้ม​ตัว ไม่​คุ้ม​ปาก

สุ ร ศั ก ดิ์ (นาม​ส มมุ ติ ) อายุ 51 ปี เข้า​รับ​การ​รักษา​ที่​คลินิก​ทันตแพทย์ ด้วย​โรค​กระดูก​หุ้ม​ฟัน​ซี่​ที่ 36 ละลาย เนื่องจาก​โรค​เหงือก​อักเสบ แพทย์​ให้การ​ รักษา​โดย​ปลูก​กระดูก​ด้วย​วัสดุ​กระดูก​ เทียม​สังเคราะห์ เสีย​ค่า​รักษา​พยาบาล​ เป็นเ​งิน 5,650 บาท เขา​สงสัยว​ า่ ใ​น​ฐานะ​ ทีจ​่ า่ ย​สมทบ​ทกุ เ​ดือน ทำไม​สทิ ธิป​ ระโยชน์​ ทั น ต​ก รรม​จึ ง​มี ​เพี ย ง ถอน​ฟั น อุ ด ​ฟัน​ ขูด​หินปูน ไม่​เกิน 2 ครั้ง​ต่อ​ปี และ​ครั้ง​ละ​​ ไม่ ​เ กิ น 300 บาท​เ ท่ า นั้ น ใน​ข ณะ​ที่ ​ บัตร​ทอง​กลับ​ให้​ความ​ครอบคลุม​ทุก​โรค​ ทันต​กรรม เขา​จึง​ทำ​เรื่อง​ถึง​สำนักงาน​ประกัน​ สังคม​ว่า โรค​ปริ​ทนต์​หรือ​โรค​เหงือก อยู่​ ใน​สิทธิ​ประกัน​สังคม​หรือ​ไม่ ซึ่ง​ได้​รับ​การ​ ยืนยัน​กลับ​มา​ว่า โรค​ดัง​กล่าว​ไม่​อยู่​ใน​ ความ​ครอบคลุม​ตาม​สิทธิ “ตอน​นั้น​จ่าย​เงิน​เอง​รวม​ทั้งหมด​ ประมาณ​กว่า 1 หมื่น​บาท ที่​จริง​การ​เบิก​ ค่าร​ กั ษา​พยาบาล ถ้าถ​ าม​ความ​รสู้ กึ แ​ ล้วก​ ​็ ผิด​หวัง​กับ​ประกัน​สังคม สงสัย​ว่า​แบบ​นี้​ หรือ​ที่​เขา​เรียก​ประกัน​สังคม ผม​ไม่​เห็น​ ว่ า ​จ ะ​เ ป็ น ​ห ลั ก ​ป ระกั น ​สั ง คม​ต รง​ไ หน​ เพราะ​พอ​เจอ​โรค​ที่​ต้อง​มี​ค่า​ใช้​จ่าย​เยอะ​ หน่อย ประกัน​สังคม​ก็​บอก​ไม่​คุ้มครอง​ ผูป​้ ระกันต​ น​ตอ้ ง​จา่ ย​เอง อย่าง​นผ​ี้ ม​จะ​จา่ ย​ สมทบ​ไป​ทำไม ถ้าไ​ม่ใ​ห้ห​ ลักป​ ระกันโ​รค​ท​ี่ จำเป็น​แบบ​นี้ เพราะ​คิด​ว่า การ​รักษา​โรค​ นี้​ควร​ที่​จะ​เบิก​ได้ น่า​จะ​มี​การ​ปรับปรุง​ พั ฒ นา​ร ะบบ​บ้ า ง อย่ า ง​ค น​ที่ ​ใ ช้ ​สิ ท ธิ ​ บัตร​ทอง​ยัง​สามารถ​รักษา​ได้​ฟรี อย่าง​นี้​ ถือว่า​ไม่​เท่า​เทียม​กัน”

เสีย​ชีวิต เพราะ​โรง​พยาบาล​ลด​ต้นทุน

สุ​กานดา (นาม​สมมุติ) อายุ 43 ปี มี​ อาการ​ปวด​ทอ้ ง และ​ไป​พบ​แพทย์ โดย​ไม่ท​ ราบ​วา่ ​ ตนเอง​ตงั้ ค​ รรภ์เ​นือ่ งจาก​ได้ม​ ก​ี าร​ทำหมันห​ ลังจ​ าก​ ที่​คลอด​ลูก​เมื่อ 2 ปี​ก่อน หลัง​จาก​การ​เอกซเรย์ แพทย์ร​ ะบุว​ า่ ก​ อ้ น​เลือด​ทเ​ี่ ห็นใ​น​ฟลิ ม์ เ​ป็นเ​นือ้ ง​ อก จึง​นัด​ทำการ​ผ่าตัด​ใน​วัน​รุ่ง​ขึ้น​โดย​ไม่มี​การ​ตรวจ​ วินิจฉัย​ด้าน​อื่น​อีก โชค​ไม่​ดี เมื่อ​ผ่าตัด​แล้ว​พบ​ว่า​ก้อน​เลือด​ ที่​เห็น​คือ​ตัว​อ่อนข​อง​ทารก​ใน​ครรภ์ ซึ่ง​แพทย์​ได้​ ทำการ​เย็บ​มดลูก​กลับ​เข้าไป​ใหม่ ก่อน​ที่​เธอ​จะ​มี​ อาการ​ตก​เลือด​รุนแรง​ใน​อีก 2 เดือน​ต่อ​มา และ​ เสีย​ชีวิต​ระหว่าง​การ​รักษา​ใน​โรง​พยาบาล​ตาม​ สิทธิ​ประกัน​สังคม​ใน​ที่สุด เหตุการณ์น​ จ​ี้ ะ​ไม่เ​กิดข​ นึ้ หาก​โรง​พยาบาล​ ไม่​พยายาม​ลด​ขั้น​ตอน​ใน​การ​ตรวจ​เพื่อ​ควบคุม​ ต้ น ทุ น ​ก าร​รั ก ษา​ใ ห้ ​เ พี ย ง​พ อ​กั บ ​ง บ​เ หมา​จ่ า ย​​ ราย​หัว​ที่​ได้​รับ ทำให้​ผู้​ประกัน​ตน​เข้า​ไม่​ถึง​การ​ รักษา​ที่​จำเป็น ธีระ​ ช​ ยั (นาม​สมมุต)ิ สามีข​ อง​สก​ุ านดา เล่า​ ความ​ทุกข์​ที่​เกิด​ขึ้น​กับ​ตัว​เขา​และ​ครอบครัว​ว่า “ไม่เ​คย​คดิ ม​ า​กอ่ น​วา่ ช​ วี ติ เ​รา​ตอ้ ง​มา​เจอ​กบั ​ เรื่อง​แบบ​นี้ ก่อน​หน้า​นี้​ผม​มี​ชีวิต​ที่​ดี มี​ภรรยา​ที่​ดี มี​ลูก​ที่​น่า​รัก กำลัง​สร้าง​ครอบครัว แต่​จาก​นี้​ไป​ ชีวิต​ผม​ไม่​เหมือน​เดิม​แล้ว มัน​กะทันหัน​มาก ลูก​ ผม​ต้อง​เสีย​แม่​ตั้งแต่​เขา​ยัง​เล็กๆ ลูก​คน​เล็ก​อายุ​ ได้ 2 ขวบ​เท่านั้น ผม​แบก​รับ​ความ​รู้สึก​แบบ​นี้​ ไม่​ไหว ก่อน​หน้า​น​เ้ี รา​ไม่ม​ปี ญ ั หา​อะไร ภรรยา​ผม​ แค่ป​ วด​ทอ้ ง ทำไม​ไม่ต​ รวจ​ให้ล​ ะเอียด​เพิม่ อ​ กี ส​ กั น​ ดิ ​ ​ว่า​อาจ​มี​ความ​เสี่ยง​เรื่อง​อื่น เหตุการณ์​แบบ​นี้​จะ​ ไม่​เกิด​ขึ้น ผม​รู้สึก​ว่า​ไม่​ยุติธรรม ผม​ต้องการ​ให้​ สังคม​ได้​รู้​ว่า​มัน​มี​เหตุการณ์​แบบ​นี้​อยู่ แต่​ผม​ก็​ เหนือ่ ย ไม่รจ​ู้ ะ​ทำ​อย่างไร​ตอ่ อยาก​เรียก​รอ้ ง​ความ​ เป็น​ธรรม​ให้​กับ​ภรรยา​และ​ลูก​ผม​ที่​เสีย​ชีวิต​ไป​ แต่ผ​ ม​กร​็ ว​ู้ า่ เ​รือ่ ง​อย่าง​นไ​ี้ ม่ง​ า่ ย​เลย โดย​เฉพาะ​การ​ คุย​กับ​แพทย์”


14

ชีวิตสมดุล อภิรดา มีเดช

ความสุ ข ของคน คื อ ผลของงาน

ปฏิเสธ

ไ​ม่​ได้​ว่า​ทุกๆ ธุรกิจ​จะ​ดำเนิน​ไป​ได้​อย่าง​ราบ​รื่น ต้อง​อาศัย​ผล​ ประกอบ​การ​ดี ผล​กำไร​งาม​เป็น​ตัว​กระตุ้น แต่​ธุรกิจ​ที่​ไม่​ได้​ ม​ งุ่ เ​น้นก​ ำไร​เป็นต​ วั ต​ งั้ เอาใจ​ใส่แ​ ละ​ดแู ล ‘คน’ อันเ​ป็นท​ รัพยากร​สำคัญ ใน​ฐานะ​เพือ่ น​รว่ ม​ งาน ย่อม​เป็น​อีก​แรง​ขับ​ให้​กิจ​กา​รนั้นๆ ยืน​หยัด​และ​ก้าว​ต่อ​ไป​ได้​อย่าง​มั่นคง​ไม่​แพ้​กัน นัก​ธุรกิจ​หญิง​ผู้​ให้​กำเนิด​แบรนด์ ‘ภิญญ์’ (PINN) ผลิต​และ​จำหน่าย​สิน​ค้า​ ค​รอ​สติช​ พ​ ร้อม​ปกั และ​งาน​ประดิดประดอย​ตา่ งๆ ใน​นาม บริษทั อาร์ตแ​ อนด์เ​ทคโนโลยี จำกัด พญ.บุษย​า เต​ชะ​เสน กรรมการ​ผู้​จัดการ หนึ่ง​ใน​ทีม​บริหาร​ที่​มี​แนวคิด​สร้าง​ความ​ แข็งแ​ รง​ของ​องค์กร​จาก​ภายใน เพิง่ เ​ป็นต​ วั แทน​บริษทั เ​ข้าร​ บั ร​ างวัลธ​ ร​รมาภิบ​ าล ด้าน​การ​ ปฏิบัติ​ต่อ​พนักงาน​ดี​เด่น​แห่ง​ปี 2554 จาก​สถาบัน​ป๋วย อึ๊ง​ภา​กรณ์ ซึ่ง​ปี​นี้​นับ​เป็น​ปี​ที่ 10 สำหรับ​การ​มอบ​รางวัล​นี้ บริษัท​ทเี่​คย​ได้​รางวัล​ธร​รมาภิ​บาล ส่วน​ใหญ่​เป็น​โรงงาน​ที่​มี​แง่​มุม​ด้าน​การ​ปฏิบัติ​ ต่อพ​ นักงาน​ชดั เจน​เป็นร​ ปู ธ​ รรม​วา่ มีส​ วัสดิการ​ให้พ​ นักงาน​อย่าง​ดี มีห​ อ้ ง​พกั ห้อง​อาหาร ห้อง​สมุด มี​ค่า​ตอบแทน​สูง แต่​สำหรับ​ธุรกิจ​ของ​ภิญญ์ ไม่​ได้​เป็น​เช่น​นั้น เพราะ​ไม่ใช่​ โรงงาน​โดยตรง จึง​ใช้​เกณฑ์​เหล่า​นี้​วัด​ไม่​ได้ 19 ปี​ที่​ภิญญ์​ดำเนิน​ธุรกิจ​มา จาก​บริษัท​เล็กๆ พนักงาน​ไม่​เกิน 30 คน ใน​ช่วง​ เริ่ม​ต้น กลาย​เป็น​บริษัท​ใหญ่ รับ​ผิด​ชอบ​พนักงาน​ทั้งหมด​กว่า 200 ชีวิต​ใน​ปัจจุบัน แต่​ ภิญญ์​ยัง​ให้​ความ​สำคัญ​กับ ‘คนใน’ ไม่​เปลี่ยนแปลง

ทาง​แยก​พลิก​แนวคิด

ตอน​ที่​ก่อ​ตั้ง​บริษัท​นี้​เมื่อ​ปี 2535 บุษย​า​เรียน​จบ​ปริญญา​โท​ แล้ว แต่​ก็​ตัดสิน​ใจ​ทิ้ง​อาชีพ​แพทย์ ลา​ออก​มา​ทำ​ธุรกิจ​โดยที่​ไม่​ได้​มี​ ความ​รู้​หรือ​วางแผน​อะไร เพียง​แต่​เห็น​โอกาส​ว่า ทำ​ซอฟท์แวร์​แกะ​ ลาย​ปัก​ค​รอ​สติ​ช​จาก​รูป​ถ่าย​แล้ว​เป็น​ที่​ต้องการ​ของ​ตลาด พอ​มอง​ เห็น​โอกาส​จะ​ขยับ​ขยาย​เป็น​ธุรกิจ​ได้ เมื่อ​ช่อง​ว่าง​และ​ศักยภาพ​ที่​มี​ ลง​ล็อค​กัน​ได้​พอดี เธอ​จึง​ลงมือ​ทำ “การ​ที่​เรา​ทำงาน คือ​เรา​สนุก​กับ​งาน ราย​ได้​มัน​กลับ​มา​เอง เรา​ไม่​ได้​ทำ​เพราะ​อยาก​จะ​รวย แต่​ทำ​เพราะ​สนุก โอกาส​มี และ​เรา​ มี​ศักยภาพ ซึ่ง​พอ​เรา​ทำ​ก็​สำเร็จ” แนวคิด​ช่วง​แรก มา​จาก ‘ความ​สนุก’ และ ‘ความ​สุข’ ใน​การ​ ทำงาน​ลว้ นๆ แต่เ​มือ่ ธ​ รุ กิจข​ ยาย​ตวั ข​ นึ้ บุษย​าแ​ ละ​เหล่าพ​ นักงาน​เริม่ ​ ปาด​เหงื่อ​กับ​งาน​ที่​เพิ่ม​มาก​ขึ้น​จน​รับมือ​แทบ​ไม่ทัน ต้อง​ถือว่า​ธุรกิจ​ของ​ภิญญ์​เติบโต​อย่าง​รวดเร็ว ใน​ช่วง 10 ปี​ แรก จาก​เริ่ม​ต้น​ตั้ง​สำนักงาน​ขึ้น​ที่​เชียงใหม่ เพียง 3 เดือน​สามารถ​ ขยาย​กจิ การ​ลง​มา​ทก​ี่ รุงเทพฯ จาก​นนั้ ก​ ข​็ ยาย​ออก​ไป​เรือ่ ยๆ เพราะ​ ทำ​สินค้า​ออก​มา​เท่า​ไหร่​ก็​ไม่​พอ​ขาย ช่วง​นั้น​บุษย​า​ลง​ไป​คุม​งาน​ ด้วย​ตัว​เอง​แทบ​ทุก​ขั้น​ตอน พนักงาน​ทุก​คน​แม้​ทำงาน​หนัก แต่​ค่า​ ตอบแทน​ที่​ได้​ก็​สม​น้ำ​สม​เนื้อ คน​ที่​ใช้​ชีวิต​ไป​กับ​การ​ทำงาน​เพียง​อย่าง​เดียว ไม่​เหลือ​เวลา​ ทำ​อย่าง​อื่น​เลย จะ​เรียก​ว่า​ใช้​ชีวิต​ได้​อย่างไร เพราะ​ชีวิต​ไม่​ได้​มี​ไว้​ เพื่อ​ทำงาน​ตลอด​เวลา ทุก​คน​ต่าง​ก็​ต้องการ​มี​เวลา​ให้​ครอบครัว​ มี​เวลา​พัก​ผ่อน เที่ยว​เล่น เวลา​ไร้​สาระ​บ้าง​อะไร​บ้าง... “ตอน​นนั้ ข​ าย​ดม​ี าก เรา​ให้โ​บนัสพ​ นักงาน​ทเ​ี ป็น 10 เดือน แต่​ พนักงาน​บอก​ว่า เขา​ไม่​ไหว มัน​เหนื่อย​เกิน​ไป เขา​เลย​มา​ขอ​ลา​ออก​ ​ทั้ง​บริษัท​เลย” นี่​คือ​ครั้ง​แรก​ที่​บุษย​า​เริ่ม​คิด​ว่า​ต้อง​ปรับปรุง​การ​ ทำงาน​ให้​ทุก​คน​ได้​มี​เวลา​ผ่อน​ลม​หายใจ​บ้าง ปกติ​ที่​นี่​จะ​พา​พนักงาน​ทั้ง​บริษัท​ไป​เที่ยว​ทุก​ปี ตอน​นั้น​ใน​ป​ี 2538 บริษัท​ยัง​มี​พนักงาน​แค่ 20-30 คน บุษย​า​เล่า​ว่า ปี​นั้น​ไป​ เที่ยว​หัวหิน ชะอำ บริษัท​เช่า​รถ​ให้​พนักงาน ส่วน​เธอ​ขับ​รถ​ส่วน​ตัว​ ​ไป​กับ​คุณ​แม่ แล้ว​รถ​เกิด​อุบัติเหตุ คุณ​แม่​ที่​นั่ง​มา​ข้างๆ เสีย​ชีวิต ตอน​แรก ทุกค​ น​ทเ​ี่ ห็นส​ ภาพ​รถ​กค​็ ดิ ว​ า่ เ​ธอ​ตาย​ไป​แล้วเ​ช่นก​ นั เพราะ​รถ​ถูก​ชน​จน​ยุบ​มา​ทับ​ตัว​และ​ขา​บุษย​า​เกือบ​ขาด​ทั้ง 2 ข้าง​ แต่​พอ​มี​คน​สังเกต​ว่า​เธอ​ยัง​หายใจ​อยู่ เลย​เรียก​เจ้า​หน้าที่​มา​ช่วย ใช้​ เวลา​งดั ร​ ถ​อยู่ 2 ชัว่ โมง ใน​ทสี่ ดุ ก​ เ​็ อา​ตวั เ​ธอ​ออก​มา​ได้ จาก​นนั้ ก​ ต​็ อ้ ง​ ใช้​เวลา​พัก​รักษา​ตัว​ที่​โรง​พยาบาล​นาน​กว่า 3 เดือน “ตั้งแต่​นั้น​มา​ก็​เลย​คิด​ได้​ว่า เรา​จะ​ตาย​เมื่อ​ไหร่​ไม่รู้ เพราะ​ ฉะนั้น แต่ละ​นาที​ที่​เรา​อยู่ เรา​ต้องการ​ความ​สุข​สงบ ต้องการ​คน​ รอบ​ตัว​ที่​เขา​มี​ความ​สุข​ไป​ด้วย​กัน​กับ​เรา​มากกว่า”


15 ความ​รัก​องค์กร สร้าง​ได้?

2-3 ปีท​ ผ​ี่ า่ น​มา ตัง้ แ​ ต่ภ​ ญ ิ ญ์เ​ริม่ ป​ รับท​ ศั นคติ ปรับป​ รัชญา​ใน​การ​ดำเนินช​ วี ติ แ​ ละ​การ​ทำงาน จาก​เดิม​ที่​อยู่​กัน​อย่าง​พี่​อย่าง​น้อง​อยู่​แล้ว ความ​ผูกพัน​ก็​ยิ่ง​แน่นแฟ้น​ขึ้น เวลา​ประชุม บุษย​า​จะ​นำ​ประสบการณ์​หรือ​สิ่ง​ที่​เธอ​อ่าน​จาก​หนังสือ​มา​เล่า​ให้​พนักงาน​ ฟัง อย่าง​กรณี​ความ​สำเร็จ​ของ​สตี​ฟ จอบ​ส์ อดีต​ซี​อี​โอ​แอปเปิล ทำให้​พนักงาน​ทุก​คน​ได้​เปิด​ โลก​ทัศน์ ได้​มอง​เห็น​เท่า​ที่​เธอ​มอง​เห็น นอกจาก​นี้ เมื่อ​เห็น​ว่า​แผนก​ไหน​น่า​จะ​ต้องการ​ความ​รู้​ เพิ่ม​เติม ก็​จะ​หา​คอร์ส​ให้​ไป​อบรม​เพิ่ม​เติม แล้ว​เวลา​ประชุม​ก็​เปิด​โอกาส​ให้​นำ​ความ​รู้​ใหม่ๆ มา​ แลก​เปลี่ยน​กับ​คน​อื่น “เขา​จะ​รู้สึก​ว่า​เขา​คือ​ส่วน​หนึ่ง และ​เขา​รัก​เรา แล้ว​เรา​ก็​หวัง​ดี​กับ​เขา​จริงๆ นี่​เป็น​ปรัชญา​ พื้น​ฐาน​ของ​เรา” บุษย​า​กล่าว นอกจาก​ความ​ใกล้​ชิด​ผูกพัน​กัน​แบบ​พี่​น้อง​จะ​เพิ่มพูน​ขึ้น ใน​ฐานะ​เพื่อน​ร่วม​งาน​รุ่น​พี่​ บุษย​า​ก​จ็ ะ​ถอื ​โอกาส​แนะนำ​นอ้ งๆ เรือ่ ง​การ​พฒ ั นา​ตวั ​เอง ซึง่ ​สง่ ​ผล​ด​ตี อ่ ​การ​พฒ ั นา​องค์กร​โดยตรง “เรา​แนะนำ​ให้​เขา​หมั่น​ทบทวน​ใน​ทุกๆ วัน ว่า​วัน​นี้ เขา​ได้​ทำ​สิ่ง​ที่​เขา​คิด​ว่า​มี​คุณค่า คือ​ การ​ทำ​หน้าที่​ให้​ดี​ที่สุด รู้สึก​ว่า​ตัว​เอง​ทำได้​ดี​กว่า​เมื่อ​วาน มี​ความ​รู้​ดี​กว่า​เมื่อ​วาน ทำงาน​ได้​มี​ ประสิทธิภาพ​กว่า​เมื่อ​วาน เทียบ​กับ​ปี​ที่​แล้ว ปี​นี้​ดี​กว่า ตอน​นี้​อยู่​ใน​ขั้น​ที่​ทุก​คน​รู้สึก​ว่า​อยาก​จะ​ พัฒนา​ตัว​เอง อยาก​จะ​ทำ​หน้าที่​ของ​ตัว​เอง​ให้​ดี​ที่สุด” ความ​รัก​และ​ภูมิใจ​ใน​องค์กร เกิด​ขึ้น​ได้​จริง แต่​ต้อง​ก่อ​ร่าง​จาก​ข้าง​ใน​เท่านั้น แม้​จะ​มอง​ ไม่​เห็น แต่​ถ้า​ได้​มี​โอกาส​สัมผัส​จะ​รู้สึก​ได้​ทันที

คนใน​อยาก​อยู่ คนนอก​อยาก​เข้า

ทั้ง​องค์กร มอง​ภาพ​เดียวกัน

หลัง​จาก​ความ​คิด​ใน​การ​ดำเนิน​ชีวิต​และ​การ​ทำงาน​ เปลี่ยน​ไป ประกอบ​กับ​การ​ตัดสิน​ใจ​เข้า​อบรม SME สำหรับ​ ผูบ​้ ริหาร​กบั ธ​ นาคาร​กสิกร​ไทย ทำ​ให้บ​ ษุ ย​าไ​ด้พ​ นื้ ฐ​ าน​เรือ่ ง​การ​ บริหาร​การ​ตลาด ซึ่ง​เธอ​ไม่​เคย​มี​ประสบการณ์​ด้าน​นี้​มา​ก่อน “เมื่อ​ก่อน​ก็​ทำ​ดุ่ยๆ มา แต่​ตอน​นี้​พอ​เรา​มี​ความ​รู้ เรา​ก็​ คิด​ว่า จาก​นี้​ไป ไม่​จำเป็น​ที่​จะ​ต้อง...ตื่น​เช้า​มา​แล้ว​ทำ​งานๆ​ๆ​ แล้ว​ก็​ไม่​จบ แต่​เรา​สามารถ​ขึ้น​มา​มอง​ภาพ​ใหญ่​ได้​ว่า จริงๆ แล้ว ทั้ง​องค์กร แต่ละ​คน​มี​ศักยภาพ​ต่าง​กัน ถ้า​เรา​พัฒนา​เขา และ​ให้​เขา​เห็น​ภาพ​ใหญ่​เหมือน​เรา แต่ละ​คน​เป็น​นิ้ว​แต่ละ​นิ้ว​ ที่​ประกอบ​กัน​เป็น​มือ คือ​ทั้ง​องค์กร “ถ้า​ทุก​คน​มอง​เห็น​เหมือน​กัน และ​เข้าใจ​เหมือน​กัน​ว่า ตอน​นี้​เรา​กำลัง​ก้าว​ไป​อยู่​ตรง​จุด​นี้ เรา​เอง​ก็​จะ​ทำงาน​เหนื่อย​ น้อย​ลง และ​พนักงาน​นา่ จ​ ะ​มค​ี วาม​สขุ ม​ ากกว่า ว่าเ​ขา​เอง​กเ​็ ป็น​ ส่วน​สำคัญ​สำหรับ​บริษัท​จริงๆ” คราว​นี้ ภิญญ์​ได้​ฤกษ์​ปรับ​เปลี่ยน​ครั้ง​ใหญ่ จาก​แต่​ก่อน​ เคย​เรียก​ประชุมเ​ฉพาะ​หวั หน้าฝ​ า่ ย ก็เ​ปลีย่ น​เป็นเ​รียก​พนักงาน​ ทุก​คน​เข้า​มา​คุย​พร้อม​หน้า​พร้อม​ตา​กัน​อย่าง​น้อยๆ เดือน​ละ​ ครั้ง พนักงาน​ใน​บริษัท​ประมาณ 200 คน แบ่ง​เป็น 2 ทีม ได้แก่ ‘ทีม​หน้า​บ้าน’ หรือ​ฝ่าย​ขาย ซึ่ง​จะ​ประจำ​อยู่​ที่​กรุงเทพฯ​ และ​เวลา​ภิญญ์​ไป​ออก​บูธ กับ ‘ทีม​หลัง​บ้าน’ คือ​ทีม​ออกแบบ​ และ​ผลิต ประจำ​การ​อยู่​ที่​สำนักงาน​ใหญ่​เชียงใหม่ “กลับ​มา​ปรับ​ใหม่​หมด​เลย เมื่อ​ก่อน​เรา​จะ​ไม่​เคย​เรียก​ ประชุม​แบบ​ทุก​คน​มา​พร้อม​กัน ตอน​นี้​เรา​เรียก​มา​หมด แล้ว​ก็​ ปู​พื้น​ให้​เขา​รู้​ว่า ธุรกิจ​เรา​ทำ​อะไร เวลา​ประชุม​ที่​เชียงใหม่ จะ​ ฉาย​สไลด์​ให้​ดู​ว่า ตอน​นี้​ทีม​หน้า​บ้าน​กำลัง​ไป​จัด​รายการ​ที่​นี่ มี​ผล​ตอบ​รับ​อย่าง​นั้น​อย่าง​นี้ เลย​ทำให้​พนักงาน​รู้สึก​มาก​ขึ้น​ เรื่อยๆ ว่า​เขา​มี​ส่วน​เป็น​เจ้าของ ที่​เขา​แพ็ค​กัน​มา เอา​ไป​ขาย​ ใน​งาน​นี้​นะ แล้ว​ลูกค้า​ที่​ชอบ​ก็​ฝาก​ชม​มา”

สิน​ค้า​ที่​ภิญญ์​จำหน่าย มี​ทั้ง​แบบ​วัตถุดิบ​หลาก​ หลาย ซึ่ง​สั่ง​จาก​ผู้​ผลิต​ที่​เชื่อ​ถือ​ได้ ผู้​ซื้อ​สามารถ​นำ​ไป​ ประดิษฐ์​ได้​ตาม​ความ​คิด​สร้างสรรค์​ของ​ตัว​เอง และ​ แบบ​กึ่ง​สำเร็จรูป ที่​มี​แบบ​และ​ส่วน​ประกอบ​มา​ให้​ พร้อม​ใน​ชุด ซื้อ​ไป​ทำ​ตาม​แบบ​ได้​ทันที แม้​ภิญญ์​ไม่​ได้​เป็น ​ผู้​ผลิต​ผ้า ผลิต​ไหม​เอง แต่​ จะ​ช่วย​อำนวย​ความ​สะดวก​ให้​กับ​ลูกค้า โดย​มี​ทีม​ ออกแบบ​เฉพาะ ตัด​ผ้า ตัด​ไหม จัด​เป็น​ชุด เพราะ​ ฉะนั้ น การ​ท ำงาน​จ ะ​ไ ม่ ใ ช่ ​รู ป ​แ บบ​โ รงงาน​ชั ด เจน พนักงาน​ก็​ไม่​ได้​พัก​ที่​บริษัท ค่า​ตอบแทน​ของ​ที่​นี่​ก็​อยู่​ ใน​เกณฑ์​มาตรฐาน หรือ​สูง​กว่า​มาตรฐาน​นิด​หน่อย สวัสดิการ​ก็​ไม่​ชัดเจน เพราะ​ไม่ใช่​โรงงาน จาก​การ​ทก​ี่ รรมการ​รางวัลธ​ ร​รมาภิบ​ าล​ได้เ​ข้าไป​ สัมภาษณ์พ​ นักงาน​ทบ​ี่ ริษทั บุษย​าเ​ล่าว​ า่ ก​ รรมการ​รบั ร​ ​ู้ ได้ 100 เปอร์เซ็นต์​เลย​ว่า พนักงาน​ที่​นี่​รัก​องค์กร​และ​ มี​ความ​ภูมิใจ​ใน​องค์กร​มาก “เขา​คดิ ว​ า่ เรา​เป็นอ​ งค์กร​ทม​ี่ ว​ี ฒ ั นธรรม​ทแ​ี่ ปลก พนักงาน​รัก​องค์กร​ด้วย​จิตใจ​ข้าง​ใน” นี่​คง​เป็น​อีก​เหตุผล​ที่​ทำให้​พนักงาน​ส่วน​ใหญ่​ เลือก​ที่​จะ​ร่วม​งา​นกับภิญญ์​เป็น​สิบ​ปี “ที่​นี่ พนักงาน​จะ​อยู่​กัน​มา​ตั้งแต่​แรก อย่าง​คน​ที่​อยู่​กับ​เรา​มา 8-10 ปี​ขึ้น​ไป เขา​จะ​ซึมซับ​ ความ​คิด​และ​มี​จิตใจ​เหมือน​เรา พอ​เขา​มี​ลูก​น้อง เขา​ก็​จะ​ทำ​เหมือน​เรา ฉะนั้น วัฒนธรรม​ตรง​นี้​จะ​ ค่อน​ข้าง​แน่น และ​ไม่​ได้​เป็น​ที่​เรา​คน​เดียว” นอกจาก​บรรยากาศ​อบอุ่น​เป็น​กันเอง​ของ​พนักงาน​ที่​สัมผัส​ได้​ใน​วัน​งาน​เปิด​ตัว​กิจกรรม​ที่​ ศูนย์การค้าอ​ มั ร​ น​ิ ทร์พ​ ลาซ่าแ​ ล้ว รอย​ยมิ้ ม​ ค​ี วาม​สขุ ท​ แ​ี่ ต้มบ​ น​ใบหน้าข​ อ​งบุษย​ า​บอ่ ย​ครัง้ ท​ ส​ี่ นทนา​กนั ​ ​คือ​เครื่อง​ยืนยัน​แนวคิด​ใน​การ​ทำ​ธุรกิจ​ของ​ภิญญ์​ได้​เป็น​อย่าง​ดี “พนักงาน​รสู้ กึ ว​ า่ ท​ ำงาน​กบั บ​ ริษทั น​ ไ​ี้ ม่เ​หมือน​กบั ท​ เ​ี่ ขา​เคย​ทำ​มา​เลย เหมือน​มา​โรงเรียน หรือ​ อยู่​ที่​บ้าน แล้ว​เขา​ก็​รู้สึก​ว่า​ตัว​เอง​มี​ค่า และ​มี​ความ​กระหาย​ที่​จะ​รู้มาก​ขึ้น​ทุกๆ วัน” กิจการ​ที่​ใช้​ความ​สุข​ของ​คน​ทำ​เป็น​ตัว​ตั้ง ได้​ทำงาน​ที่​ตัว​เอง​รัก​และ​มี​ความ​สุข​กับ​มัน และ​ ความ​สัมพันธ์​ภายใน​องค์กร​ที่​ไม่​ต่าง​จาก​คนใน​ครอบครัว น่า​จะ​เป็น​วิถี​ทาง​ที่​บุษย​า​เลือก​แล้ว​ว่า​ อยาก​ทำ​ไป​ตลอด​ชีวิต


16

เติมหัวใจใส่เงิน

กองบรรณาธิการ

ใน

​ระบบ​ธุรกิจ​ปัจจุบัน การ​ก้ม​หน้า​ก้ม​ตา​ทำการ​ค้า​หา​กำไร​ เพียง​อย่าง​เดียว​เหมือน​สมัย​ก่อน​คง​ไม่ใช่​เรื่อง​ง่าย เพราะ​ กระแส​สังคม​เรียก​ร้อง​หา​สำนึก​จาก​องค์กร​ขนาด​ใหญ่​ที่​ควร​จะ​มี​ต่อ​ สาธารณะ​มาก​ขนึ้ เ​รือ่ ยๆ หาก​กจิ การ​ไหน​เมินเ​ฉย ก็ด​ จ​ู ะ​เป็นการ​สร้าง​ ภาพ​ลบ​ให้​องค์กร​โดย​ไม่รู้​ตัว

แต่​ใคร​ว่าการ​ทำ​กิจการ​เพื่อ​สังคม (Social Enterprise: SE) หรือ บรรดา​โครงการ​แสดง​ความ​รับ​ผิด​ชอบ​ ทาง​สังคม​เชิง​บรรษัท (Corporate Social Responsibility: CSR) เป็น​เรื่อง​ของ​เหล่า​บริษัท​ใหญ่​โต​เท่านั้น คน​ ค​ า้ ข​ าย​เล็กๆ ก็ส​ ามารถ​เติมห​ วั ใจ​ลง​ไป​ใน​การ​ทำ​ธรุ กิจไ​ด้​ ​เช่น​กัน กิจการ​ที่​ขับ​เคลื่อน​ด้วย​กลุ่ม​คน​เล็กๆ ไม่มี​ทุน​เป็น​ เงิน​ถุง​เงิน​ถัง​ระดับ​ร้อย​ล้าน เป้า​หมาย​ไม่​ได้​อยู่​ที่​กำไร​ มหาศาล แต่ใ​ช้ค​ วาม​ผกู พันข​ อง​สมาชิกใ​น​ชมุ ชน​เป็นก​ ำลัง​ หลัก นั่น​คือ​นิยาม​ของ ‘วิสาหกิจ​ชุมชน’

ข น ม จี น ข อ ง ชุ ม ช น ขนมขนมจีนเมืองคอน ใน​อุตสาหกรรม​อาหาร​มี​ขา​ใหญ่​ยึด​ครอง​ตลาด​อยู่​ก็​จริง แต่​จะ​แหงน​ชะเง้อ​มอง​ไป​ก็​ดู​ไกล​ตัว หันม​ า​มอง​ทธ​ี่ รุ กิจเ​ล็กๆ ระดับป​ าก​ทอ้ ง ข้าว​ปลา​อาหาร​ใน​จาน​กม​็ ต​ี น้ ทาง​จาก​การ​ผลิตท​ เ​ี่ ป็น​ ระบบ​ธุรกิจ​อยู่​ไม่​น้อย ขนมจีน​ก็​เช่น​กัน ใคร​คน​หนึ่ง​กล่าว​ว่า “การ​บริโภค​ขนมจีน​ราย​วัน​ของ​คนใน​จัง​หวัด​นครฯ​มี​ปริมาณ​ มากกว่า​พี่​น้อง​ชาว​อีสาน​บริโภค​รวม​กัน​ทั้ง​ภาค​เสีย​อีก” ยืนยัน...ใครๆ ใน​เมือง​คอนนครศรีธรรมราช ต่าง​ก็​กิน​ขนมจีน​เป็น​อาหาร​หลัก เรื่อง​จริง​เป็น​ดัง​นั้น และ​ไม่ใช่​แค่​นครฯ​เท่านั้น หาก​ใคร​เคย​ไป​ภาค​ใต้​ก็​จะ​พบ​ว่า​ จั ง ​ห วั ด ​อื่ น ๆ ก็ ​เ หมื อ น​กั น ร้ า น​ข นมจี น ​มี ​ม ากมาย​แ ทบ​ทุ ก ​หั ว ​ถ นน ดั ง ​นั้ น เมื่ อ ​มี ​ อุปทาน​เยอะ อุปสงค์​หรือ​คน​ทำ​ขนมจีน​ขาย​ก็​ต้อง​เพิ่ม​จำนวน​มาก​ตาม​ไป​เป็น​ธรรมดา​ แต่​ขั้น​ตอน​การ​ทำ​เส้น​ขนมจีน​ไม่​ง่ายดาย​เหมือน​หุง​ข้าว ที่​แค่​ซาว ใส่​น้ำ กด​สวิตช์ ก็​ เป็นอ​ นั จ​ บ เพราะ​ลำพังแ​ ค่ก​ าร​เดินท​ าง​ของ​เม็ดข​ า้ ว​กว่าจ​ ะ​ไป​เป็นก​ อ้ น​แป้ง ก็ก​ นิ เ​วลา​ไป​หลาย​ ชั่วโมง​แล้ว วิสาหกิจ​ชุมชน​ต้นแบบ โรง​แป้ง​ขนมจีน ใน​นาม บริษัท เครือ​ข่าย​ผลิตภัณฑ์อ​ าหาร จำกัด ตำบล​กะ​หรอ อำเภอ​นบ​พิ​ตำ จังหวัด​นครศรีธรรมราช จึง​ถูก​ตั้ง​ขึ้น​มา​เพื่อ​ตอบ​สนอง​ ความ​ตอ้ งการ​นี้ จน​เป็นก​ ำลังห​ ลักใ​น​การ​ผลิตแ​ ป้งข​ นมจีนเ​พือ่ เ​ลีย้ ง​คน​นครฯ และ​พน​ี่ อ้ ง​ภาค​ใต้​ ​อีก​หลาย​จังหวัด


โครงสร้าง​องค์​กร​เล็กๆ “บริษัท​นี้​เกิด​จาก​แนวคิด​ของ​แกน​นำ​ชุมชน ผู้นำ​ชุมชน​จาก 3 จังหวัด​ภาค​ใต้ นครฯ สงขลา พัทลุง ประมาณ 10 คน ที่​มี​โอกาส​ไป​อบรม ศึกษา​ดู​งาน​ร่วม​กัน​มา​ ตลอด เลย​เห็นพ​ อ้ ง​กนั ว​ า่ อ​ ยาก​จะ​ทำ​ธรุ กิจท​ ม​ี่ ช​ี าว​บา้ น​เป็นเ​จ้าของ เพือ่ เ​ป็นโ​ครงการ​ ต้นแบบ​วา่ ช​ าว​บา้ น​กท​็ ำ​ธรุ กิจเ​อง​ได้” ประจักษ์ ยกย่อง กรรมการ และ​รอง​กรรมการ​ ผู้​จัดการ ของ​วิสาหกิจ​ชุมชน​ผู้​ผลิต​แป้ง​ขนมจีน​เล่า​ถึงที่​มา​ที่​ไป​ของ​กิจการ ก่อน​ที่​บรรดาก​ลุ่ม​ผู้นำ​ชุมชน​จะ​เริ่ม​จับ​มือ​ทำ​กิจการ​กัน​จริงๆ มี 2 ทางใน​ การ​ทำ​ธรุ กิจใ​ห้เ​ลือก ระหว่าง ระบบ​สหกรณ์ กับ รูปแ​ บบ​บริษทั ซึง่ ท​ า้ ย​ทสี่ ดุ โ​รงงาน​ แ​ ป้งข​ นมจีนก​ เ​็ ริม่ ต​ น้ ใ​น​นาม​บริษทั เพราะ​มข​ี อ้ ดีด​ า้ น​การ​บริหาร​งาน​เป็นอ​ สิ ระ ทำให้​ การ​ทำ​ธุรกิจ​มี​ความ​ท้าทาย​มากกว่า หัวเ​รือใ​หญ่ผ​ ร​ู้ เิ ริม่ ก​ จิ การ​นี้ คือ ประยงค์ รณรงค์ ปราชญ์ช​ าว​บา้ น ผูน้ ำ​ชมุ ชน​ ไม้​เรียง เจ้า​ของ​รางวัล​แม็ก​ไซ​ไซ สาขา​ผู้นำ​ชุมชน​ปี 2004 บริษัท​ทำ​แป้ง​ขนมจีน​แห่ง​นี้ มี​ทุน​จด​ทะเบียน 5 ล้าน​บาท มี​การ​ขาย​หุ้น​ให้​ ชุมชน​ใน​ราคา​หุ้น​ละ 100 บาท จน​ปี 2537 ระดม​หุ้น​ได้ 3.7 ล้าน บวก​กับ​การ​ ขอ​สิน​เชื่อ​จาก​ธนาคาร​มา​อีก 1.5 ล้าน​บาท ทำให้​ปี 2539 บริษัท​ก็​สามารถ​ผลิต​ ​แป้ง​ชุด​แรก​ออก​มา​ได้​สำเร็จ แต่​ยัง​คง​ความ​เป็น​องค์กร​ธุรกิจ​เล็กๆ ไว้​เหมือน​เดิม “ปัจจุบัน​เรา​มี​พนักงาน​ใน​บริษัท​20 กว่า​คน ร้อย​ละ 50 เป็น​ผู้​ถือ​หุ้น​ด้วย” ประจักษ์​ให้​ข้อมูล​ถึง​พนักงาน​ที่​ไม่​ได้​เป็น​แค่​ลูกจ้าง แต่​มี​สถานะ​เป็น​เจ้าของ​ร่วม​ใน​ กิจการ​นี้​ด้วย เมื่อ​เป็น​บริษัท​เล็ก แต่​มี​ราย​ได้​เป็นก​อบ​เป็น​กำ ฐาน​ลูกค้า​หนา​แน่น นายทุน​ ราย​ใหญ่​กว่า​ย่อม​จ้อง​ฮุบ​กิจการ “เคย​มี​บริษัท​เอกชน​จะ​เข้า​มา​ซื้อ​กิจการ แต่​ไม่​ขาย เพราะ​ชุมชน​ถือ​หุ้น​อยู่” จาก​ประโยค​นี้​ของ​ประจักษ์ ยืนยัน​ได้​ว่า​ครั้ง​หนึ่ง​ธุรกิจ​เล็กๆ แต่​มาก​มูลค่า​นี้​เกือบ​ ที่​จะ​ถูก​กลืน​เข้าไป​สู่​ระบบ​ทุน​ที่​มี​ขนาด​ใหญ่​กว่า ตั้งแต่​นั้น​เป็นต้น​มา ชีวิต​พ่อค้า​แม่ค้า​ผู้​ขาย​ขนมจีน​ใน​ภาค​ใต้​ก็​พบ​จุด​เปลี่ยน หลังจ​ าก​มโ​ี รงงาน​ผลิตแ​ ป้งส​ ำเร็จรูปอ​ าสา​มา​เป็นต​ วั ช​ ว่ ย หลาย​คน​บอก​ชอบใจ เพราะ​ ไม่​ต้อง​เสีย​เวลา​เป็น​วันๆ เพื่อ​ทำ​แป้ง​อีก​แล้ว นอกจาก​นี้ เป็น​ที่​รู้​กัน​ว่า​ผู้​ค้า​ขนมจีน​ส่วน​หนึ่ง​ใน​ตัว​เมือง​นครฯ​มัก​ปล่อย​ น​ ำ้ เ​สียล​ ง​ใน​แหล่งน​ ำ้ ส​ าธารณะ ทำให้เ​กิดม​ ลพิษ แต่เ​มือ่ ผ​ ค​ู้ า้ ร​ าย​ยอ่ ย​เลิกท​ ำ​แป้งเ​อง หัน​ไป​ใช้​บริการ​ของ​โรงงาน​ผลิต​แป้ง​ซึ่ง​มี​ระบบ​บำบัด​น้ำ​เสีย​ที่​ได้​มาตรฐาน ปัญหา​นี้​ จึง​ค่อยๆ ลด​น้อย​ลง​เรื่อยๆ

ขั้น​ตอน​การ​ทำ​เส้น​ขนมจีน​เส้น​สด

นำ​ข้าว​ไป​หมัก 1 คืน แล้วน​ ำ​ไป​โม่​บด​และ​ร่อน​ให้เ​ป็น​แป้ง จาก​นั้น​นำ​ไป​ แช่​ไว้​ใน​บ่อ​พัก​อีก 1 คืน โดย​จะ​มี​การ​เติม​เกลือ​ลง​ไป​เพื่อ​กัน​แป้ง​บูด เมื่อ​ได้ที่​ แล้ว ก็​กรอง​เอา​ส่วน​น้ำ​ออก เข้าเ​ครื่อง​อัด​ให้พ​ อ​หมาด ก็​จะ​ได้​เป็น​ก้อน​แป้ง​ พร้อม​บรรจุ​ถุง​จำหน่าย ฟง​ดู​เหมือน​ง่าย แต่​ขั้น​ตอน​ต่างๆ ข้าง​ต้น​นี่​แหละ​ที่​กิน​เวลา​และ​กิน​แรง​ ผ​ ผ​ู้ ลิตม​ าก​ทสี่ ดุ จาก​ทเ​ี่ คย​ตอ้ ง​โม่แ​ ป้ง แช่แ​ ป้งเ​อง เดีย๋ ว​นแ​ี้ ค่ซ​ อื้ แ​ ป้งส​ ำเร็จม​ า เอา​ เข้าเ​ครือ่ ง​บบี เ​ส้น ก็ได้ข​ นมจีนแ​ ป้งสด​สตู ร​คน​ใต้แ​ ท้ๆ อย่าง​รวดเร็วแ​ ละ​งา่ ยดาย​

แรง​บันดาล​ใจ​ไกล​บ้าน ย้อน​สู่​จุด​เริ่ม​ต้น ก่อน​ที่​โรงงาน​ขนมจีน​แห่ง​นครศรีธรรมราช​จะ​ทำการ​โม่​ แป้ง​บีบ​เส้น อาศัย​แรง​บันดาล​ใจ​ที่​ไม่​ได้​อยู่​ใกล้​ตัว แต่​เกิด​จาก​การ​เดิน​ทาง​ไป​ศึกษา​ ดู​โรงงาน​ผลิต​แป้ง​สำหรับ​ทำ​เส้น​ขนมจีน​ใหญ่​ที่สุด​ใน​ประเทศ​ที่​จังหวัด​ศรีสะเกษ หลาย​ต่อ​หลาย​ครั้ง ครัน้ ห​ อบ​หวิ้ เ​อา​ความ​ตงั้ ใจ​มา​ปฏิบตั จ​ิ ริง กลับไ​ม่ต​ ดิ ต​ ลาด หลาย​คน​รสู้ กึ ผ​ ดิ ร​ ส​ ผ​ ดิ ก​ลน่ิ เพราะ​วธิ ก​ี าร​ทำ​แป้งข​ นมจีนข​ อง​ภาค​อสี าน​ใช้ว​ ธิ ก​ี าร​หมัก จึงม​ ก​ี ลิน่ ค​ อ่ น​ขา้ ง​แรง​ หรือจ​ ะ​เป็นส​ ตู ร​ภาค​กลาง​กย​็ งั ใ​ช้ก​ งึ่ แ​ ช่ก​ งึ่ ห​ มัก ต่าง​จาก​เส้นแ​ ป้งข​ าว​บบี ส​ ด​แบบ​ภาค​ใต้​ ซึ่ง​ยัง​มี​ความ​หอม​ของ​เนื้อ​แป้ง​แท้ๆ อยู่ เมื่อ​รสชาติ​แป้ง ​ยัง​ไม่​ถูกปาก​คน​ใต้ ครั้น​จะ​ล้ม​เลิก​ความ​ตั้งใจ​ก็​เหมือน​​ ยอม​แพ้ต​ งั้ แต่ใ​น​มงุ้ นอกจาก​นส​ี้ ตู ร​อาหาร​กไ​็ ม่ใช่อ​ ะไร​ทต​ี่ ายตัว ใน​แต่ละ​พนื้ ทีช​่ มุ ชน​ ก็​ย่อม​มี​รส​มือ​เป็น​เอกลักษณ์​ของ​ใคร​ของ​มัน เมื่อ​จะ​ทำ​ขนมจีน​ให้​คน​ใต้​กิน วิธี​การ​​ ผ่า​ทาง​ตัน​ง่ายๆ ก็​คือ​มอง​หา​สูตร​พื้น​ถิ่น​ใกล้ๆ ซึ่ง​ก็​มี​ความ​แตก​ต่าง​กัน​ไป สูตร​​ ตัว​เมือง​นครฯ​ก็​แบบ​หนึ่ง ปากพนัง​แบบ​หนึ่ง ข้าม​ไป​สุราษฎร์ธานี​ก็​มา​จาก​อีก​ตำรา จน​ใน​ที่สุด​หลัก​จาก​ตระเวน​ศึกษา​สูตร​แป้ง​ขนมจีน​มา​แทบ​จะ​ทั่ว​ทั้ง​ภาค​ใต้ ก็ได้​มา​เป็น​วิธี​แช่​แป้ง​แบบ​ง่ายๆ ที่​ใช้​มา​ถึง​ปัจจุบัน

เพิ่ม​มูลค่า​วัตถุดิบ ขึน้ ช​ อ่ื ว​ า่ ว​ สิ าหกิจช​ มุ ชน​แล้ว นอกจาก​เป็นการ​แบ่งป​ นั ผล​ประโยชน์ใ​ห้แ​ ก่ผ​ ถ​ู้ อื ห​ นุ้ ​ ใน​ชุมชน​แล้ว ตัว​วัตถุดิบ​ตั้ง​ต้น​ก่อน​จะ​นำ​มา​ทำ​เป็น​แป้ง ทาง​บริษัท​ก็​ยัง​เลือก​ใช้​ ข้าวสาร​จาก​เกษตร​พื้น​ถิ่น โดย​รับ​ซื้อ​ข้าวสาร​ต่อ​จาก​โรง​สี และ​กลุ่ม​เกษตรกร​รอบ​ ลุ่ม​น้ำ​ปากพนัง​เป็น​หลัก ทำให้​ข้าว​ที่​เคย​ถูก​รับ​ซื้อ​ใน​ราคา​ถูก​เพิ่ม​มูลค่า​ขึ้น​ไป​อีก ยก​ตัวอย่าง​เช่น ข้าวสาร 100 กิโลกรัม ราคา 700 - 800 บาท สามารถ​ ผลิตแ​ ป้งไ​ด้ 135 กิโลกรัม และ​แป้งจ​ ำนวน​นเ​ี้ มือ่ น​ ำ​ไป​ทำ​เส้นข​ นมจีนจ​ ะ​ได้ป​ ระมาณ 235 กิโลกรัม ถ้าร​ าคา​ขาย​ขนมจีนก​ โิ ลกรัมล​ ะ 10 บาท คิดเ​ป็น 2,350 บาท มูลค่า​ เพิ่ม​จาก​ต้นทุน​เกิน​เท่า​ตัว

ป ​ใจ​สู่​หุ้น​ส่วน จาก​กำไร​ปี​แรก​เพียง 70,000 – 80,000 บาท กว่า​กิจการ​แป้ง​ขนมจีน​จะ​ตั้ง​ตัว​ จน​เกิด​ผลง​อก​เงย​ได้​อย่าง​เต็ม​เม็ด​เต็ม​หน่วย​ก็​ประมาณ​ปี 2540 หลัง​จาก​นั้น​กำไร​ ต่อ​เดือน​ก็​ไม่​เคย​ต่ำ​กว่า​หลัก​ล้าน ไม่​ได้​เข้า​สู่​ตลาดหลักทรัพย์ ไม่มี​ใคร​คอย​ช้อน​ซื้อ​หุ้น แต่​กิจการ​โรงงาน​แป้ง​ ขนมจีน​ก็​มี​ผู้​ร่วม​แบ่ง​ปันผล​ประโยชน์​ใน​ชุมชน​อยู่​ถึง 141 หุ้น เป็น​บุคคล 136 ราย นิติบุคคล 1 ราย และ​สหกรณ์​ออม​ทรัพย์​อีก 4 กลุ่ม โดย​ทุก​คน​เป็น​เจ้าของ​กิจการ​ ร่วม​กัน หลัง​จาก​สรุป​ผล​การ​ดำเนิน​การ​ประจำ​ปี กำไร​ร้อย​ละ 60 ก็​จะ​ถูก​ปัน ผล​ เป็น​ส่วน​แบ่ง​ตาม​จำนวน​หุ้น​ที่​แต่ละ​คน​ถือ​อยู่ ส่วน​หนึ่ง​เก็บ​ไว้​เป็น​เงิน​สำรอง โบนัส​ พนักงาน และ​ยัง​กัน​ไว้​เป็น​งบ​สำหรับ​การ​ขยาย​กิจการ​อีก​ร้อย​ละ 20 ประจักษ์เ​ล่าถ​ งึ ศ​ กั ยภาพ​ของ​โรงงาน​แห่งน​ ว​ี้ า่ มีก​ ำลังก​ าร​ผลิต 300 ถุงต​ อ่ ว​ นั ​ ถุง​ละ 20 กิโลกรัม รวม​แล้ว​เฉลี่ย​ประมาณ​วัน​ละ 6 ตัน ราคา​ขาย​หน้า​โรงงาน​​ ถุง​ละ 290 บาท โดย​แป้ง​เกือบ​ทั้งหมด​จะ​มี​บริการ​ส่ง​ถึงที่ ทั้ง​ใน​ตัว​จัง​หวัด​นครฯ และ​พื้นที่​ใกล้​เคียง​อย่าง​ชุมพร สุราษฎร์ธานี ไป​จนถึง​หาดใหญ่ สงขลา “ยอด​ขาย​ปัจจุบัน เดือน​ละ 5,000 กระสอบ กระสอบ​ละ 20 กิโลกรัม ขาย​ กระสอบ​ละ 290 บาท จาก​เดิม 280 เรา​เพิ่ง​ขึ้น​ราคา​มา​ไม่​ถึง​เดือน”

รู้จัก​ขนมจีน

อาหาร​เส้น​ขาว​ที่​เรา​เรียก​ว่า​ขนมจีน​นั้น เป็น​อาหาร​คาว​แท้ๆ ไม่มี​ความ​ หวาน​สม​ชอื่ ข​ นม ไม่ไ​ด้ม​ ชี​ าติก​ ำเนิดม​ า​จาก​จนี แ​ ผ่นด​ นิ ใ​หญ่ และ​ไม่ใช่อ​ าหาร​ ไทย​แท้ๆ แต่​เป็น​อาหาร​พื้น​ถิ่น​ที่​เกือบ​ทุก​ชนชาติ​ใน​เข​ตอุษาค​เนย์​กิน​กัน​มา​ นานนม สำหรับช​ อื่ ‘ขนม’ นัน้ สันนิษฐาน​กนั ว​ า่ ม​ า​จาก​คำ​เขมร​ทเ​ี่ รียก​อาหาร​ทำ​จาก​ แป้งว​ า่ ขนม หรือ หนม ใน​ภาษา​เขมร หรือร​ าก​ศพั ท์ภ​ าษา​มอญ​เรียก​วา่ คน​อม​ ขนมจีน​ใน​ประเทศไทย​มีหน้า​ตา ขนาด​เส้น กลิ่น และ​รส คล้ายคลึง​กัน​ ​เกือบ​ทั้ง​ประเทศ ต่าง​กัน​เพียง​ชื่อ​เรียก โดย​ชาว​เหนือ​เรียก​ว่า ขนม​เส้น ​ ใน​ขณะ​ทภี่​ าค​อีสาน​เรียก​ตาม​คำ​ลาว​ว่า ข้า​วปุ้​น อีกอ​ ย่าง​หนึง่ ท​ ท​ี่ ำให้ข​ นมจีนใ​น​บริบท​ไทย​มค​ี วาม​แตก​ตา่ ง​กนั ใ​น​แต่ละ​พนื้ ที่ ก็ค​ อื น้ำยา ทีด​่ จ​ู ะ​เป็นเ​อกลักษณ์ใ​น​แต่ละ​ทอ้ ง​ถนิ่ ของ​ใคร​ของ​มนั คน​ภาค​กลาง​ ​จะ​กิน​ขนมจีน​กับ​น้ำยา​ที่​ผสม​กระชาย แกง​กะทิ และ​น้ำ​พริก ภาค​เหนือ​มี​ จุด​เด่น​ที่​ขนมจีน​น้ำ​เงี้ยว​ที่ ​ได้​สี​แดง​มา​จาก​ดอก​งิ้ว คน​อีสาน​กิน​ขนมจีน​ กับ​ปลาร้า ใน​ขณะ​ที่​คน​ใต้​มี​แกง​กะทิ​ใส่​ขมิ้น และ​แกง​ไตปลา​เป็น​พระเอก ​ ร่วม​กับ​ผัก​เครื่อง​เคียง​ถาด​ใหญ่


18

ตอบ​ปญ ั หา​ผลก​ระ​ทบ​จาก​ปญ ั หา​นำ้ ท​ ว่ ม​ ดร.นิติพงษ์ ส่งศรีโรจน์

สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ณรงค์​ชัย เรือง​งาม นัก​ลงทุน​ตลาดหลักทรัพย์

สุร​เดช ศรี​โชติ ผู้​ค้า​ปลีก​ราย​ย่อย

จิ​รา​พร จ้า​ย​จัน​ทึก ลูกจ้าง​ราย​วัน

วิกฤติ​น้ำ​ท่วม​ใหญ่​จะ​ส่ง​ผลก​ระ​ทบ​อย่าง​มี​ นัยส​ ำคัญต​ อ่ ก​ าร​ลงทุนใ​น​ตลาด​หนุ้ ม​ าก​นอ้ ย​ เพียง​ใด และ​อยาก​จะ​ทราบ​ว่า​จะ​เป็น​โอกาส ​ใน​การ​เพิ่ม​การ​ช้อน​ซื้อ​หุ้น หรือ​ว่า​เรา​ควร​ ชะลอ​การ​ลงทุน​ตัว​เพื่อ​ดู​สถานการณ์​ก่อน

ร้าน​ค้าถ​ ูก​น้ำ​ท่วม​มากกว่า 2 เดือน ทำให้​ ประสบ​ปญ ั หา​ทางการ​เงิน เป็นไ​ป​ได้ม​ าก​นอ้ ย​ เพียง​ใด​ที่​ผม​จะ​เจรจา​กับ​ธนาคาร​เพื่อ​ชะลอ​ การ​ใช้​หนี้ และ​ถ้า​ผม​หยุด​การ​ใช้​หนี้​ไป​เลย ​จะ​เกิด​อะไร​ขึ้น​กับ​ชีวิต​ผม​บ้าง

ดร.นิ ​ติ ​พ งษ์ ส่ ง ​ศ รี ​โรจน์ : วิ ก ฤติ ​ น้ำ​ท่วม​ส่ง​ผล​ต่อ​ธุรกิจ​หรือ​อุตสาหกรรม​ ประเภท​ใ ด​บ้ า ง ต้ อ ง​พิ จ ารณา​ก่ อ น​ว่ า​ น้ำ​ท่วม​เกิด​ขึ้น​ที่ไหน และ​ยาวนาน​มาก​ เพียง​ใด จาก​การ​ศึกษา​ของ​ศูนย์​พยากรณ์ ​ เศรษฐกิ จ ​แ ละ​ธุ ร กิ จ มหาวิ ท ยาลั ย​ หอการค้าไทย​ใน​อดีต พบ​วา่ ภาค​เกษตรกรรม​ ทรั พ ย์ สิ น ​ร าชการ ภาค​ก าร​บ ริ ก าร​ การ​ทอ่ ง​เทีย่ ว ทรัพย์สนิ ​เอกชน และ​ภาค​ การ​ผลิตแ​ ละ​อตุ สาหกรรม ได้ร​ บั ผ​ ลก​ระ​ทบ​ ​มาก​ตาม​ลำดับ ดัง​นั้น​หุ้น​กลุ่ม​ดัง​กล่าว​ก็​ จะ​ได้​รับ​ผลก​ระ​ทบ โดย​เฉพาะ​หุ้น​ใน​กลุ่ม​ ภาค​เกษตรกรรม แต่ ​เ มื่ อ ​น้ ำ ​ล ด​แ ล้ ว ธุ ร กิ จ ​ที่ ​จ ะ​มี ​ แนว​โน้ม​ดี​ขึ้น คือ ธุรกิจ​ที่​ต้อง​ซ่อมแซม ปรับปรุง​ทรัพย์สิน​ต่างๆ ที่​ได้​รับ​ความ​ ​เสีย​หาย​จาก​น้ำ​ท่วม อย่างไร​ก็​ตามหาก​ ​น้ำ​ท่วมเกิด​ขึ้น​เพียง​ชั่วคราว​ย่อม​จะ​ไม่มี​ นัย​สำคัญ​ต่อ​ดัชนี​หุ้น เพราะ​จะ​มี​ปัจจัย​ อื่นๆ ที่​สำคัญ​กว่า​มาก

ดร.นิ​ติ​พงษ์ ส่ง​ศรี​โรจน์: หาก​ทาง​ ร้าน​ค้า​มี​การ​ขอ​สิน​เชื่อ​ทาง​ธนาคาร แล้ว​ เกิดป​ ญ ั หา​สภาพ​คล่อง​อนั เ​กิดจ​ าก​นำ้ ท​ ว่ ม ธนาคาร​เอง​น่า​จะ​เข้าใจ​สภาพ​ปัญหา​ที่​ เป็น​อยู่ คงจะ​ต้อง​ลอง​ไป​เจรจา​กับ​ทาง​ ธนาคาร​ใน​เบือ้ ง​ตน้ ก​ อ่ น​เพือ่ ข​ อ​ชะลอ​การ​ ชำระ​หนี้ แต่​ถ้า​ทาง​ร้าน​หยุด​การ​ชำระ​หนี้​ ​ไ ป​เ ลย ไม่ ​น่ า ​จ ะ​ดี เพราะ​ท าง​ร้ า น​จ ะ​ มี ​ป ระวั ติ ​ไ ม่ ​ดี ​แ ละ​จ ะ​มี ​ผ ล​ต่ อ ​ก าร​ข อ​​ สิน​เชื่อ​ใน​อนาคต​ด้วย แม้​จะ​ไป​ขอ​สิน​เชื่อ​ ธนาคาร​อื่ น ​ก็ ต าม​ก็ ​จ ะ​ถู ก ​ต รวจ​ส อบ​ ประวัติ​ได้​หมด

น้ ำ ​ท่ ว ม​โรงงาน​ท ำให้ ​ข าด​ร าย​ได้ ตอน​นี้ ​ หลัง ​วิกฤติ​น้ำ​ท่วม​จะ​ต้อง​มี​การ​ซ่อม​แซม​ ประสบ​ปัญหา​มาก รัฐ​ก็​มี​แต่​นโยบาย​ช่วย​ อาคาร สถาน​ที่ เกือบ​ทั้ง​ประเทศ ถือว่าเ​ป็น​ แต่เ​กษตรกร ลูกจ้าง​ราย​วัน​อย่าง​ดิฉัน​จะ​ทำ​ โอกาส​ใน​การ​ขยาย​กิจการ​หรือไ​ม่ อย่างไร​ดี หรือ​สามารถ​ขอ​ความ​ช่วย​เหลือ​ จาก​หน่วย​งาน​ใด​ได้​บ้าง ดร.นิ​ติ​พงษ์ ส่ง​ศรี​โรจน์: แน่นอน​ ว่ า ​ห ลั ง ​วิ ก ฤติ ​น้ ำ ​ท่ ว ม​จ ะ​ต้ อ ง​มี ​ก าร​ ดร.นิต​ พ​ิ งษ์ ส่งศ​ รีโ​รจน์: กรม​สวัสดิการ​​ ซ​ อ่ ม​แซม​อาคาร สถาน​ที่ เกือบ​ทงั้ ป​ ระเทศ และ​คุ้ ม ครอง​แ รงงาน (กสร.) ได้ ​ท ำ​ ธุรกิจ​รับ​เหมา​ก็​อาจ​จะ​ได้​ประโยชน์​เพียง​ หนั ง สื อ ​เ วี ย น​ไ ป​ยั ง ​ส ถาน​ป ระกอบ​ก าร​ ใน​ระยะ​สั้น เนื่องจาก​ต้อง​คำนึง​ถึง​ภาวะ​ ทุ ก ​แ ห่ ง ขอ​ใ ห้ ​ผ่ อ น​ผั น ​ก ฎ​เ กณฑ์ ​ก าร​ การ​แข่งขัน​ของ​ธุรกิจ​ประเภท​นี้​ใน​พื้นที่​ เข้า​ทำงาน​ต่างๆ เช่น การ​ขาด​งาน ลา​ ด้ ว ย​ห าก​แ ข่ ง ขั น ​กั น ​สู ง ​ผ ล​ป ระโยชน์ ​ มา​สาย เพื่อ​บรรเทา​ความ​เดือด​ร้อน​ให้​ ​ที่​จะ​ได้​รับ​ก็​จะ​ลด​น้อย​ลง​ไป ดัง​นั้น​การ​ กับ​ลูกจ้าง ขยาย​กิจการ​เป็น​เรื่อง​การ​มอง​ระยะ​ยาว​ ขณะ​เดียวกัน​ยัง​ได้​มอบ​หมาย​ให้​ จึงค​ วร​พจ​ิ าณา​ให้ด​ ี การ​ขยาย​กจิ การ​นนั้ จ​ ะ​ แรงงาน​จงั หวัดท​ กุ แ​ ห่ง ตัง้ ศ​ นู ย์ป​ ระสาน​งาน​ กระทำ​ได้​ก็​ต่อ​เมื่อ​ธุรกิจ​ของ​เรา​มี​อุปสงค์​ ​เพื่อ​ช่วย​เหลือ​ผู้​ประสบ​ภัย​น้ำ​ท่วม โดย​ ​ที่​มาก​พอ และ​ธุรกิจ​ขนาด​เดิม​ไม่​สามารถ​ เฉพาะ​กรม​พัฒนา​ฝีมือ​แรงงาน (กพร.) ตอบ​สนอง​ตลาด​ได้ ให้​เตรียม​พร้อม​กำลัง​คน​และ​เครื่อง​มือ​ ใน​การ​ช่วย​ซ่อมแซม ข้าว​ของ​เครื่อง​ใช้ ที่​ ​ได้​รับ​ความ​เสีย​หาย​หลัง​น้ำ​ลด ดัง​นั้น​ ลอง​ไป​ตดิ ต่อท​ แ​ี่ รงงาน​จงั หวัดด​ น​ู ะ​ครับว​ า่ ​ มี ​แ นวทาง​ใ ห้ ​ค วาม​ช่ ว ย​เ หลื อ ​ใ น​เ รื่ อ ง​ ​ดัง​กล่าว​อย่างไร

ดา​วิน ชุณห​สุวรรณ​กุล เกษตรกร​ผู้​เลี้ยง​ปลา

ดร.นิ ​ติ ​พ งษ์ ส่ ง ​ศ รี ​โรจน์ : การ​ท ำ

Contract Farming หรือ การ​ทำ​เกษตร​ แบบ​มพ​ี นั ธะ​สญ ั ญา ได้ถ​ า่ ย​โอน​ความ​เสีย่ ง​ ใน​ชว่ ง​ท​น่ี ำ้ ​หลาก​มา​เรา​เสีย​หาย​มาก ต่างๆ ให้​เกษตรกร และ​เกษตรกร​ก็​ต้อง​ และ​บ ริ ษั ท ​ที่ ​เรา​ล งทุ น ​ร่ ว ม​ก็ ​ไม่ ​เข้ า​ รับ​ภาระ​ที่​ต้อง​ซื้อ​อาหาร เคมีภัณฑ์​ต่างๆ มา​ช่ ว ย​เหลื อ ปล่ อ ย​ให้ ​ต้ อ งรั บ ​ค วาม​ หาก​ผลผลิต​ไม่​ได้​ตาม​ที่​บริษัท​ต้องการ เสี่ ย ง​แ ต่ ​เพี ย ง​ฝ่ า ย​เดี ย ว ​ไม่ ​ท ราบ​ว่ า เกษตรกร​ก็ ​ต้ อ ง​แ บก​รั บ ​ภ าระ​ทั้ ง หมด​ ​รั ฐ ​จ ะ​มี น ​โย​บ าย​ช่ ว ย​เหลื อ ​เกษตรกร​ ยิ่ง​หาก​เกิด​น้ำ​ท่วม​ด้วย​แล้ว แน่นอน​ว่า​ พันธะ​สัญญา​อย่าง​เรา​อย่างไร ผลผลิต​ได้​รับ​ความ​เสีย​หาย​อย่าง​แน่นอน

ว​รพันธ์ ชู​อำนาจ ผู้รับ​เหมา​ก่อสร้าง

ความ​เสี่ยง​ดัง​กล่าว หาก​เกษตรกร​ยัง​คง​ ต้อง​ประกอบ​อาชีพ​แบบ​มี​พันธะ​สัญญา​ เช่น​นี้ การ​ทำ​สัญญา​ควร​จะ​มี​ภาค​รัฐ​มา​ ร่วม​ด้วย อาจ​จะ​จัดการ​ใน​รูป​แบบ​การ​​ ทำ​ประกัน​ภัย​ความ​เสีย​หาย​ที่​เกษตรกร​ และ​บริษัท​เอกชน​ต้อง​รับ​ภาระ​ร่วม​กัน


เรื่องและภาพ: วีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์

เร

า​นั่งค​ ุย​กับ ปรีชา สุขเกษม ...ใน​วัน​ หนึ่ง​ที่​พระอาทิตย์​กำลัง​จะ​ตกดิน ด้าน​ซ้าย​มือ​ของ​เรา​เป็น​เมรุ​เผา​ศพ ส่วน​ ด้าน​ขวา​เป็น​หีบ​ศพ​ลาย​เทพพนม​สาม​ชั้น “ตอน​ผม​มา​ใหม่ๆ ศพ​แม่-ลูกท​ ต​ี่ าย​ ​เ พราะ​ร ะเบิ ด ​ที่ ​แ ฮปปี้ แ ลนด์ . ..ผม​เ ป็ น​ คน​ทำ​นะ” ปรีชา กำลัง​หมาย​ถึง​งาน​แรก​ ​ใน​อาชีพ​สัปเหร่อ​เมื่อ 10 ปี​ที่​แล้ว หลัง​จาก​รดน้ำ​ศพ ปรีชา-สัปเหร่อ​ แห่ง​วัดบึงทองหลาง และ​เพื่อน​อีก 4 คน ช่วย​กัน​แบก​ร่าง​ใน​ห่อ​ผ้า​ขาว​วาง​ลง​ใน​หีบ​ บรรจุ​ศพ ไม่มี​ใคร​นับ​หรอก​ว่า​ร่าง​ที่​นำ​ไป​ วาง​ลง​หบี เ​ป็นร​ า่ ง​ทเ​ี่ ท่าใด​ใน​ชวี ติ ท​ ผ​ี่ า่ น​มา เมื่อ​ความ​ตาย​เกิด​ขึ้น​ทุก​เมื่อ​เชื่อ​วัน และ​ ความ​จริง​หนึ่ง​ใน​สังคม​ก็​คือ ผู้​ทำ​หน้าที่​ เกี่ยว​กับ​พิธี​ศพ​หรือ​สัปเหร่อ​จะ​มี​ตัว​ตน​ ​ก็​ต่อ​เมื่อ​มี​ความ​ตาย​เกิด​ขึ้น ประหนึ่ง ‘ความ​หวัง’ ใน​วัน​ที่ 1 และ 16 ของ​ทุก​เดือน ขั้น​ตอน​ต่างๆ ใน​พิธีการ​ต้อง​ได้​รับ​ การ​จัดการ​จาก​ผู้​มี​ความ​รู้​ความ​ชำนาญ มิ​เช่น​นั้น​เชื่อ​ว่า​จะ​ส่ง​ผล​ร้าย​ต่อ​บุคคล​ใน​ ครอบครัว​ที่​ยัง​มี​ชีวิต​อยู่​และ​ต่อ​วิญญาณ​ ของ​ผู้​ตาย สัปเหร่อ​จึง​มี​ความ​สำคัญ​มาก​ ใน​ประเพณี​ความ​ตาย แม้ว่า​ขั้น​ตอน​และ​ บทบาท​ห น้ า ที่ ​ใ น​ก าร​จั ด การ​พิ ธี ก รรม​ เกี่ยว​กับ​ศพ​จะ​ลด​ลง​ไป​ตาม​สภาพ​สังคม​ ที่ ​เ ปลี่ ย นแปลง แต่ ​สั ง คม​ก็ ​มิ ​อ าจ​ข าด​ สัปเหร่อ ไม่​ว่า​จะ​เข้า​สู่​ยุค​ใด​สมัย​ไหน หลังแ​ บก​หบี ศ​ พ​เข้าไป​เก็บไ​ว้ใ​น​เมรุ รอ​เผา ปรีชา​หัน​มาบ​อก​เรา “วัน​นี้​จะ​เผา​ สอง​ศพ อีก​คน​ตาย​ตอน​เด็ก อีก​คน​ตาย​ ตอน​แก่ มัน​ไม่​แน่นอน​นะ​คน​เรา” ปรี ช า เป็ น ​ค น​โ คราช มา​เ ป็ น​ สัปเหร่อ​ที่​วัดบึงทองหลาง​เมื่อ​ปี 2544 ก่อน​หน้าน​ ม​ี้ ค​ี วาม​ตาย​เกิดข​ นึ้ ต​ รง​ไหน​ของ​ อำเภอ​โนนไทย จังหวัดน​ ครราชสีมา ปรีชา​ ไป​ช่วย​ทุก​งาน “เมื่อ​ก่อน​ผม​อยู่​บ้าน ก็​ช่วย​เขา​มา​ เรื่อย ใคร​ตาย​ก็​ไป​ช่วย วัน​ไหน​ตาย​บ่อยๆ ก็ส​ นุก บาง​ปก​ี ไ​็ ม่มต​ี าย ปีห​ นึง่ ต​ าย 8 ศพ... ล้า​เลย พอ​มี​คน​ตาย ผม​ก็​ไป​จัด​ศาลา​รอ​ แต่ ง ​ผ้ า ​ใ ห้ ​หี บ ​ศ พ เรา​มี ​จิ ต ใจ​แ บบ​ว่ า​ บ้าน​นอ​กน่ะ ใคร​ตาย​ก็​ไป​ช่วย” เขา​เล่า เป็น​หนี้ 70,000 จึง​เข้า​กรุงเทพฯ มา​เ ป็ น ​สั ป เหร่ อ ​ต าม​ค ำ​ช วน​ข อง​พี่ ​เ ขย เครื่องหมาย​คำถาม​ย่อม​เกิด สัปเหร่อ​ สามารถ​สร้าง​เงินไ​ด้ข​ นาด​นนั้ ห​ รือ ไม่ก​ ป​ี่ .ี .. ปรีชา​ชำระ​หนี้​เกือบ​แสน​จน​หมด...สะอาด​ กว่า​ใช้​ทิช​ชู ความ​จริ ง ​แ ล้ ว อาชี พ ​สั ป เหร่ อ ​มี ​

โลกเสมือน

19

หนึ่งมิตรชิดใกล้

ราย​ได้​เป็น​วัน​โดย​ทาง​วัด​เป็น ​ผู้​จ่าย และ​ ตาม​กำลังน​ ำ้ ใจ​ของ​เจ้าภ​ าพ ซึง่ ป​ รีชา​บอก​ ว่า​สัปเหร่อ​ไม่​ควร​เรียก​ร้อง​จาก​เจ้า​ภาพ​ งาน มัน​คือ​การ​แสดง​น้ำใจ​จาก​สัปเหร่อ​ เช่น​กัน “เหมือน​คณ ุ ค​ วาม​ดท​ี เ​ี่ รา​ทำ​ไว้ห​ นุน​ ส่ง​เรา​มา​ที่​นี่ อยู่​ดูแล​ศพ อยู่​ที่​บ้าน​เรา​ก็​ ทำงาน​เพื่อ​ชุมชน​ทุก​อย่าง จน​มา​อยู่​ที่​นี่​ เหมือน​เป็น​กำไร​ชีวิต” “อะไร​คือ​กำไร​ชีวิต” เรา​ถาม “นี่​ไง” ปรีชา​วาด​มือ​ไป​รอบๆ “ก็​ ทุกอ​ ย่าง หมด​หนีห​้ มด​สนิ เ​รียบร้อย ลูกเ​ต้า​ ​ถึง​เรียน​ไม่​สูง​แต่​เขา​ก็​ไม่​เลว แค่​นี้​ก็​ภูมิใจ​ แล้ว ความ​ดี​มัน​ตอบแทน​เรา “คำ​ว่า​ดี​มันดี​หลาย​อย่าง ได้​ทั้ง​บุญ​ ตอน​ผม​มา​ผม​มี​หนี้​เยอะ​นะ ก็​มา​ทำงาน​ จน​ใ ช้ ​ห นี้ ​ห มด ผม​ม า​ผ ม​น อน​ศ าลา​ กิน​ข้าว​วัด เขา​เลี้ยง​อะไร​ก็​กิน​หมด ผม​คน​ บ้าน​นอก เรา​ไม่​ใช้​จ่าย​ฟุ่มเฟือย ขอ​แค่​ ไม่​เจ็บ​ป่วย เพราะ​เรา​ไม่มี​ประกัน​สังคม เรา​เป็น​แค่​ลูกจ้าง เวลา​ป่วย​ทาง​วัด​ช่วย​ เรา​ครึ่ง​หนึ่ง แต่​เรา​ก็​ต้อง​สำรอง​จ่าย​ของ​ เรา​ด้วย” เหมือน​เกษตรกร อาชีพ​สัปเหร่อ​ ไม่มห​ี ลักป​ ระ​กนั ใ​ดๆ ทัง้ ๆ ทีส​่ งั คม​ขาด​คน​

ใน​อาชีพ​ทั้ง​สอง​มิได้ แต่​ปรีชา​บอก​ว่า เขา​รัก​ งาน​ของ​เขา พอๆ กับ​คน​รัก “ถ้า​ให้​เปรียบ​เทียบ​ระหว่าง​เมื่อ​ก่อน​ เวลา​ไป​ช่วย​งาน​เพื่อน​บ้าน​หรือ​คนใน​ตำบล​ เดียวกัน​กับ​ตอน​นี้​ที่​ยึด​เป็น​อาชีพ ความ​ ทุ่มเท​มัน​พอกัน ใจ​มัน​ไป​อยู่​แล้ว ถ้า​เรา​สนุก​ กับง​ าน งาน​อะไร​กเ​็ หมือน​กนั ห​ มด เรา​ทมุ่ เท​ ให้​งาน ได้​มาก​ได้​น้อย งาน​อะไร​ก็​สนุก​หมด “ความ​สนุก​ของ​เรา​คือ​เรา​ทุ่มเท​ให้​ งาน ได้​น้อยได้​มาก​ก็​ทำ​ปกติ ไม่​ต้อง​ห่วง​ว่า​ งาน​นี้​ได้​เท่า​ไหร่ ถ้า​คิด​มา​มัน​เป็น​ทุกข์ แต่​ ราย​ได้​ผม​มัน​ก็​ปาน​กลาง ไม่​มาก​ไม่​น้อย” ปรีชา​บอก “มี ​ค วาม​คิ ด ​จ ะ​เ ปลี่ ย น​อ าชี พ ​ไ ป​ท ำ​ อย่าง​อื่น​ไหม” เรา​ถาม “คน​อื่ น ​เ ขา​ไ ม่ รู้ เขา​ไ ม่ รู้ ​ค วาม​จริ ง​ เขา​ไม่รู้​ว่า​เรา​ได้​อะไร​บ้าง เขา​ไม่มี​โอกาส​ได้​ ทำความ​ดี​แบบ​เรา บุญ​ที่สุด​เลย​นะ​ได้​เป็น... คน​มี​บุญ” ปรีชา​บอก “ปรีชา​ครับ ถาม​ตรงๆ กลัว​ตาย​ไหม” เรา​ถาม “ไม่​กลัว เตรียม​พร้อม​หมด​แล้ว เรา​รู้​ เวลา​ผ ม​ก ล่ า ว​อ าราธนา​แ ละ​น ำ​ส วด​พ ระ​ อภิธรรม​ใน​งาน​ศพ​ทกุ ค​ รัง้ ผม​จะ​กล่าว​กลอน​

สัปเหร่อม​ ืออ​ าชีพ

บท​นี้ ‘ชาย​นารีห​ นีไ​ม่พ​ น้ ซ​ งึ่ ค​ วาม​ตาย รวย​ หรือจ​ น​กต​็ อ้ ง​มว้ ย​กลาย​เป็นผ​ ี มีช​ วี ติ อ​ ยูจ​่ ง​ หมั่น​สร้าง​คุณ​งาม​ความ​ดี ตาย​ไป​แล้ว​จะ​ ได้​มี​ความ​ดี​ติดตัว​ไป ’ “ชี วิ ต ​ผ ม​เ อา​แ ค่ 4 ประโยค​นี้ ​ คน​เรา​ไม่รู้​ว่า​จะ​ตาย​เมื่อ​ไหร่ จะ​อยู่​ถึง​ ชั่วโมง​หน้า เดือน​หน้า ปี​หน้า เรา​ก็​ไม่รู้ แค่​นั้น​เอง ชีวิต​นี้​ผม​ไม่​ได้​ปิดบัง​อะไร​ใคร สมบัติ​ผม​ก็​ให้​เมีย​เก็บ” เขา​บอก ก่อน​จาก​กัน​ใน​เย็น​วัน​นั้น ปรีชา​ บอก​ว่า “พรุง่ น​ เ​้ี ช้า ผม​จะ​มา​เก็บอ​ ฐ​ั ”ิ ปรีชา​ยม้ิ ​ ซึ่ง​เรา​เข้าใจ​ว่า​เขา​กำลัง​ชวน

ผู้​ที่​ทำงาน​เกี่ยว​กับ​พิธีกรรม​งาน​ศพ​ใน​กรุงเทพมหานคร​หรือ​สัปเหร่อ จะ​มี​การ​จัด​ตั้ง​ หน่วย​งาน​เป็น ‘สำนักงาน​ฌาปนสถาน’ ภายใน​วัด​ที่​พวก​เขา​ทำงาน​อยู่ ดังนี้ 01 หัวหน้า​สำนักงาน​ฌาปนสถาน หน้าที่: จัดการ​รับ​ศพ จัด​ค่า​ใช้​จ่าย กำกับ​ดูแล​ความ​เรียบร้อย​ของ​งาน​ศพ 02 เจ้า​หน้าที่​ศาลา หน้าที:่ จัดเ​ตรียม​สถาน​ทท​ี่ ำความ​สะอาด อำนวย​ความ​สะดวก​แก่เ​จ้าภ​ าพ​และ​ผร​ู้ ว่ ม​ พิธี ทำ​หน้าที่​อาราธนา​และ​นำ​สวด​พระ​อภิธรรม 03 สัปเหร่อ หน้าที่: ทำงาน​ร่วม​กับ​เจ้า​หน้าที่​ศาลา แต่​เน้น​จัดการ​ศพ​โดยตรง ตั้งแต่​รับ​ศพ​เข้า​ ศาลา รดน้ำ​ศพ บรรจุ​ศพ​ใน​โลง เผา​ศพ


20

Cut it out (เปลี่ยนเถอะ!)

same same


21

TAX

TAX

but different


22

สัมภาษณ์

อภิรดา มีเดช

คน

ไ​ทย​สว่ น​ใหญ่ม​ กั ร​ ะคาย​หก​ู บั ค​ ำ​วา่ ‘สอง​มาตรฐาน’ แต่​เชื่อ​ไหม​ว่า ระบบ​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​คน​ไทย อย่าง​นอ้ ยๆ ก็ม​ ี 3 มาตรฐาน​เข้าไป​แล้ว ได้แก่ สวัสดิการ​รกั ษา​ พยาบาล​ขา้ ราชการ​และ​ครอบครัว ระบบ​ประกันส​ งั คม ระบบ​ หลักป​ ระกันส​ ขุ ภาพ​ถว้ น​หน้า นอกจาก​นี้ ยังม​ ร​ี ะบบ​อนื่ ๆ เช่น บุคคล​ที่​มี​ปัญหา​สถานะ​และ​สิทธิ ส.ส. ส.ว. ตั้งแต่​ต้น​ปี 2554 เป็นต้น​มา ระบบ​ประกัน​สังคม​กลับ​ มา​เป็น​ประเด็น​ใน​สังคม​อีก​ครั้ง เมื่อ​มี​การ​เผย​แพร่​รายงาน​ วิจัย เรื่อง การ​จัด​ทำ​ข้อ​เสนอ​ทาง​เลือก​และ​รูป​แบบ​บริหาร​ จัดการ​สวัสดิการ​ด้าน​การ​รักษา​พยาบาล​ของ​ระบบ​ประกัน​ สังคม​ใน​อนาคต โดย นพ.พงศธร พอก​เพิ่ม​ดี นัก​วิชาการ​ ด้าน​เศรษฐศาสตร์​สาธารณสุข และ​รอง​สาธารณสุข​จังหวัด​ หนองบัวลำภู เป็น​งาน​วิจัย​ที่​นำ​ข้อมูล​ชั้น​ต้น อาทิ งบ​ประมาณ​ด้าน​ สาธารณสุข​ของ​รัฐบาล ค่า​ใช้​จ่าย​ต่อ​หัว สิทธิ​ประโยชน์​ของ​ ทุก​ระบบ มา​วิเคราะห์​ร่วม​กัน โดย​มุ่ง​เน้น​ไป​ที่​การ​เทียบ​เคียง​ ระหว่าง 2 ระบบ​หลัก คือ ประกัน​สังคม กับ หลัก​ประกัน​ สุขภาพ​ถ้วน​หน้า ทำให้​เกิด​การ​ตั้ง​คำถาม​ต่อ​รัฐบาล​และ​ ผ​ เ​ู้ กีย่ วข้อง​วา่ ถึงเ​วลา​ปฏิรปู ร​ ะบบ​หลักป​ ระกันส​ ขุ ภาพ​คน​ไทย​ ให้​เป็น​มาตรฐาน​เดียวกัน​แล้ว​หรือ​ยัง 9 เดือน​ผ่าน​ไป สถานการณ์​ยัง​ไม่​คืบ เจ้าของ​งาน​วิจัย​ คน​เดิม​กลับ​มา​อีก​ครั้ง พร้อม​ตอบ​คำถาม​ใน​ทุก​ประเด็น ว่า​ ทำไม​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​ของ​คน​ไทย​จึง​ได้​มี​ความ ‘เหลื่อม​ ล้ำ’ กัน​ถึง​ขนาด​นี้

ระบบ​สขุ ภาพ​ มาตรฐาน​เดียว​ทวั่ ไ​ทย

เป็น​ไป​ได้!


23 ทำไม​ประเทศไทย​ต้อง​มี​ระบบ​ประกันส​ ุขภาพ​ หลาย​แบบ ต้อง​อธิบาย​ก่อน​ว่า ประเทศไทย​ มี​ระบบ​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​สำหรับ​การ​ ดูแล​ประชาชน​ไทย​อยู่ 3 ระบบ​ใหญ่ๆ คือ สวัสดิการ​รักษา​พยาบาล​ข้าราชการ​และ​ ครอบครัว ต่อม​ า​ใน​ปี 2533 ก็ม​ ก​ี ฎหมาย​ ประกัน​สังคม​สำหรับ​การ​ดูแล​ลูกจ้าง ซึ่ง​ ตาม​กฎหมาย​กำหนด​ว่า​ผู้​ที่​จะ​ได้​รับ​สิทธิ​ ประกันส​ งั คม ต้อง​เป็นค​ น​ทำงาน แต่ค​ วาม​ พิเศษ​ของ​ระบบ​ประกัน​สังคม​คือ​มี​สิทธิ​ ประโยชน์​เกี่ยว​กับ​ความ​มั่นคง​ของ​ชีวิต​ ที่มา​กก​ว่า​เรื่อง​ของ​สุขภาพ คือ บำนาญ​ ยาม​เกษียณ การ​วา่ ง​งาน เป็นต้น และ​รวม​ เรื่อง​สิทธิ​การ​รักษา​พยาบาล​ไว้​ด้วย ซึ่ง​จาก​ตรง​นี้​จะ​เห็น​ได้​ว่า คน​ไทย​ ที่​เหลือ​และ​ยัง​ไม่​เข้า​สู่​ระบบ​หลัก​ประกัน​ สุข​ภาพ​ใดๆ เลย คือ คน​ไทย​ที่​ทำงาน​ใน​ ภาค​เกษตรกรรม พวก​แรงงาน​นอก​ระบบ​ ทั้ง​หลาย หาบเร่ แผงลอย จึง​กลาย​เป็น​ ที่มา​ของ​นโยบาย 30 บาท​รักษา​ทุก​โรค​ ของ​รฐั บาล​ยคุ ป​ ี 2544 ซึง่ ร​ ะบบ​นร​ี้ จู้ กั ก​ นั ​ ว่า​คือ​บัตร​ทอง จาก​ตรง​นี้​จะ​เห็น​ได้​ว่า พอ​มี​บัตร​ ทอง คน​ไทย​ทุก​คน​มี​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​ ซึ่ง​ก็​เป็น​สิทธิ​ขั้น​พื้น​ฐาน​แล้ว แต่​ก็​ยัง​มี​ ความ​เหลื่อม​ล้ำ คือ ต้อง​ถาม​อีก​ว่า คุณ​ อยู่​ระบบ​ประกัน​สุขภาพ​ไหน ที่​นี้​ปัญหา​ คือ ระหว่าง​บตั ร​ทอง​กบั ป​ ระกันส​ งั คม คน​ ส่วน​ใหญ่​จะ​คิด​ว่า​ประกัน​สังคม​ดี​กว่า​เป็น​ บริการ​ชั้น 2 ส่วน​บัตร​ทอง​เป็น​บริการ​ชั้น 3 และ​แน่นอน​สวัสดิการ​ข้าราชการ​เป็น​ บริการ​ชั้น 1 แต่​พอ​ทำ​ไป​ทำ​มา ผล​จาก​การ​วิจัย​ ชี้​ให้​เห็น​ว่า ที่​สังคม​คิด​แบบ​นั้น​มัน​ไม่​จริง​ ผล​การ​เปรียบ​เทียบ​ปรากฏ​วา่ ส​ ทิ ธิป​ ระโยชน์​ ของ​ประกัน​สังคม​ด้อย​กว่า​บัตร​ทอง สปส. (สำนักงาน​ประกัน​สังคม) พยายาม​ออก​ มา​ปฏิเสธ แต่​การ​ปรับ​เพิ่ม​สิทธิ​ประโยชน์​ ช่วง 8-9 เดือน​ที่​ผ่าน​มา นับ​ตั้งแต่​ผม​​ เปิด​เผย​ผล​การ​วิจัย​เมื่อ​ต้น​ปี มัน​สะท้อน​ ว่า​ประกัน​สังคม​ยอมรับ​ว่า​ด้อย​กว่า แล้ว​ สิทธิ​ประโยชน์​ที่​ปรับปรุง ก็​เป็น​เรื่อง​ที่​ ด้ อ ย​ก ว่ า ​บั ต ร​ท อง​ทั้ ง ​นั้ น ทั้ ง ​เ รื่ อ ง​ก าร​ จัดการ​โรค​ค่า​ใช้​จ่าย​สูง ไต เอดส์ การ​ ​เจ็บ​ป่วย​ฉุกเฉิน ทันต​กรรม เป็นต้น ทั้ง​ที่​บริการ​สุขภาพ​และ​สาธารณสุข​ควร​เป็น​ สวัสดิการ​ขั้น​พื้นฐ​ าน​ของ​ประชาชน​ทุก​คน แต่​ทำไม​สิทธิ​ประโยชน์จ​ ึง​มคี​ วาม​เหลื่อม​ล้ำ​ แตก​ต่าง​กัน​มาก​ขนาด​นั้น ปั ญ หา​ส ำคั ญ ​ข อง​ป ระกั น ​สั ง คม คือ ใน​จำนวน 3 ระบบ​รักษา​พยาบาล​ นั้น ประกัน​สังคม​เป็นก​ลุ่ม​เดียว​ที่​ยัง​ต้อง​ จ่าย​สมทบ​สำหรับส​ ทิ ธิก​ าร​รกั ษา​พยาบาล​ ให้​กับ​ตัว​เอง ขณะ​ที่​กลุ่ม​อื่น​รัฐบาล​จ่าย​ ให้​หมด จึง​เกิด​เป็น​ที่มา​ของ​คำถาม​ว่า ทำไม​ต้ อ ง​จ่ า ย และ​เมื่ อ​จ่ า ย​แล้ว​ยัง​ได้​ ของ​ไม่มี​คุณภาพ ได้​สิทธิ​ประโยชน์​การ​

รั ก ษา​พ ยาบาล​ที่ ​ด้ อ ย​ก ว่ า ​บั ต ร​ท อง​ซึ่ ง​ ไม่​ต้อง​จ่าย ที่​นี้​พอ​เข้า​สู่ ​ค ำถาม​ว่ า ทำไม​ถึ ง​ แตก​ต่ า ง​กั น ถ้ า ​ย้ อ น​ดู ​เ รา​ก็ ​จ ะ​เ ห็ น​ว่ า เพราะ​ป รั ช ญา​ข อง​ป ระกั น ​สั ง คม​แ ละ​​ บัตร​ทอง​ตา่ ง​กนั ประกันส​ งั คม​ทำ​หลาย​เรือ่ ง​ คือเ​ป็นเ​รือ่ ง​ของ​ความ​มนั่ คง​ของ​ชวี ติ และ​ มี​เรื่อง​สุขภาพ​ใน​นั้น​ด้วย แต่​บัตร​ทอง​ทำ​ เรื่อง​เดียว คือ หลัก​ประกัน​สุขภาพ​ของ​ ประชาชน ทีน​่ ป​ี้ ระกันส​ งั คม​เขา​เป็นก​อง​ทนุ ท​ ม​ี่ ​ี เงินส​ มทบ 3 ฝ่าย ลูกจ้าง นายจ้าง รัฐบาล จึง​ต้อง​มี​เงิน​เหลือ​เพื่อ​สิทธิ​ประโยชน์​อื่น​ ด้วย ไม่​สามารถ​ให้​ความ​สำคัญ​กับ​เรื่อง​ ของ​สุขภาพ​ได้​อย่าง​เดียว คือ ปรัชญา​มัน​ สวน​ทาง​กัน ถ้า​จะ​พัฒนา​สิทธิ​ประโยชน์​ สุขภาพ​ให้​มี​คุณภาพ ประกัน​สังคม​จะ​มี​ ความ​เสี่ยง​กับ​เรื่อง​ของ​เงิน​กองทุน​ที่​อาจ​ จะ​ไม่​พอ​จ่าย​ประกัน​ว่าง​งาน ชราภาพ ได้ ด้วย​เหตุ​นี้​จึง​ได้​มี​ข้อ​เสนอ​จาก​ภาค​ ประชาชน​ว่า ยก​เรื่อง​สุขภาพ​ออก​จาก​ ประกัน​สังคม และ​ให้​ประกัน​สังคม​เต็ม​ที่​

สังคม ก็​ไม่​สามารถ​ทำได้ เพราะ​ต้อง​คิด​ เรื่อง​ความ​มั่นคง​ระยะ​ยาว เรา​จึง​เห็น​ว่า​ มติ​ของ​คณะ​กรรมการ​การ​แพทย์ สปส. หลาย​ประการ​ที่​ไม่​ผ่าน​คณะ​กรรมการ​ ประกัน​สังคม เพราะ​เขา​กังวล​เรื่อง​ความ​ มั่นคง​ของกอง​ทุน ขณะ​เดียวกัน​รูป​แบบ​ของ สปส. เป็น​ระบบ​ราชการ การ​บริหาร​จัดการ​ไม่​ คล่อง​ตัว​เหมือน สปสช. ที่​เป็น​องค์กร​ อิ ส ระ และ​ป ระกั น ​สั ง คม​ก็ ​ยั ง ​ข าด​ก าร​ มี​ส่วน​ร่วม​จาก​ผู้​ประกัน​ตน​ด้วย ทำให้​ การ​พัฒนา​สิทธิ​ประโยชน์​ที่​ตรง​กับ​ความ​ ต้องการ​ผู้​ประกัน​ตน​เกิด​ขึ้น​ยาก ต่าง​จาก สปสช. ที่​กรรมการ​มา​จาก​หลาย​ภาค​ส่วน เป็นการ​บังคับ​หรือเ​ปล่า​ว่า​หาก​เป็น​แรงงาน​ ใน​ระบบ​ต้อง​ใช้ป​ ระกัน​สังคม เพราะ​ถ้าห​ าก​ เรา​เห็น​ว่า​ประกัน​สังคม​ด้อย​กว่า สามารถ​ หยุด​การ​จ่าย​สมทบ​แล้ว​มา​ใช้ส​ ิทธิ​บัตร​ทอง​ แทน​ได้​หรือไ​ม่ อย่ า ง​ที่ ​บ อก​ว่ า ​แ ต่ ล ะ​ร ะบบ​ สวั ส ดิ ก าร​รั ก ษา​พ ยาบาล​มี ​ก ฎหมาย​ รองรับ​แตก​ต่าง​กัน เรา​จึง​ไม่​สามารถ​ย้าย​

ประกัน​สังคม​เป็นก​ลุ่ม​เดียว​ที่​ยัง​ ต้อง​จ่าย​สมทบ​สำหรับ​สิทธิ​การ​รักษา​ พยาบาล​ให้​กับ​ตัว​เอง ขณะ​ที่​กลุ่ม​อื่น​ รัฐบาล​จา่ ย​ให้ห​ มด จึงเ​กิดเ​ป็นท​ มี่ า​ของ​ คำถาม​ว่า ทำไม​ต้อง​จ่าย กับ​สวัสดิการ​สังคม​ด้าน​อื่นๆ จะ​ดี​กว่า แนวคิด​ของกอง​ทุน​ที่​สวน​ทาง​กัน ส่ง​ผลอ​ย่าง​ไร​กับ​การ​บริหาร​จัดการ​ ทั้ง​ของ​สำนักงาน​ประกัน​สังคม (สปส.) และ สำนักงาน​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​แห่งช​ าติ (สปสช.) มี​ผลอ​ย่าง​มาก สปสช. ทำ​เรื่อง​ สุขภาพ​เรื่อง​เดียว​มี​บุคลากร​ที่​รับ​ผิด​ชอบ​ ด้าน​นก​ี้ ว่า 700 คน มีแ​ พทย์เ​กือบ 60 คน ทัง้ นีย​้ งั ไ​ม่ร​ วม​ทนั ตแพทย์ เภสัชกร สห​วชิ า​ ชีพ​ อืน่ ๆ อีก ขณะ​ที่ สปส. มีบคุ ลากร​ทด​ี่ แู ล​​ เรื่อง​สุขภาพ 20 กว่า​คน มี​แพทย์​เพียง​​ คน​เดียว ไม่มี​เภสัชกร ไม่มี​ทันตแพทย์​ สห​วิชา​ชี​พอื่นๆ ไม่​ต้อง​พูด​ถึง ที่​สำคัญ​กว่า​นั้น คือ การ​เพิ่ม​สิทธิ​ ประโยชน์​บัตร​ทอง​เป็น​ไป​เพื่อ​คุณภาพ​ และ​การ​เข้า​ถึง​บริการ​ของ​ประชาชน แต่ สปส. ถึงแ​ ม้จ​ ะ​รว​ู้ า่ เ​พิม่ ส​ ทิ ธิป​ ระโยชน์ต​ รง​น​ี้ แล้ว​ผู้​ประกัน​ตน​จะ​ได้​ประโยชน์ แต่​ถ้า​ การ​เพิ่ม​ไป​กระทบ​กับ​เงิน​กองทุน​ประกัน​

สิทธิ์​ได้ ถ้า​คุณ​ทำงาน​ใน​ระบบ คุณ​ก็​ยัง​ ต้อง​ใช้​ประกัน​สังคม จะ​มา​ใช้​สิทธิ​บัตร​ ทอง​ไม่​ได้ กฎหมาย​กำหนด​ไว้ มัน​ถึง​ได้​มี​ ปรากฏการณ์​ที่​คน​เลือก​ที่​จะ​ไม่​ทำงาน​ใน​ ระบบ เพราะ​ไม่​ต้องการ​ใช้​สิทธิ​ประกัน​ สั ง คม เนื่ อ งจาก​ถ้ า ​เ ขา​ไ ป​อ ยู่ ​ใ น​ร ะบบ​ ประกัน​สังคม​เขา​จะ​ไม่​ได้​รับ​สิทธิ​รักษา​ พยาบาล​ที่​เคย​ได้ เคย​มก​ี รณีต​ วั อย่าง ผูป​้ ว่ ย​โรค​ไต​วาย​​ เรื้อรัง​ที่​เปลี่ยน​ไต​ช่วง​ที่​เป็น​นักศึกษา ซึ่ง​ ตอน​นั้น​เขา​ใช้​สิทธิ​บัตร​ทอง แต่​ถ้า​เขา​ ทำงาน​จ ะ​ต้ อ ง​ม า​ใ ช้ ​สิ ท ธิ ​ป ระกั น ​สั ง คม แต่​ประเด็น​สำคัญ​คือ ถ้า​ใช้​สิทธิ​ประกัน​ สังคม​เขา​จะ​ไม่​ได้​รับ​ยา​กด​ภูมิคุ้มกัน ซึ่ง​ มี​ค่า​ใช้​จ่าย​เดือน​ละ​หมื่น​สอง​หมื่น​บาท เพราะ​สิทธิ​ประโยชน์​ประกัน​สังคม​จะ​ไม่​ ให้​สิทธิกับ​ผู้​ป่วย​ไต​วาย​ที่​ป่วย​ก่อน​มา​เป็น​ ผู้​ประกัน​ตน แต่​ถ้า​เป็น​บัตร​ทอง​เขา​ได้​รับ​ ผล​ก็ ​คื อ มี ​ห ลาย​ค น​ที่ ​ต้ อ ง​เลื อ ก​ชี วิ ต ​ที่​ ไม่ ​ไ ด้ ​ท ำงาน​ใ น​ร ะบบ อยู่ ​น อก​ร ะบบ

รับจ้าง เพียง​เพือ่ ไ​ม่ใ​ห้ม​ ส​ี ทิ ธิป​ ระกันส​ งั คม เพราะ​แบก​รับ​ค่า​ยา​เอง​ไม่​ไหว ดังน​ นั้ สิง่ เ​ดียว​ทจ​ี่ ะ​ทำได้ค​ อื ต​ อ้ ง​แก้​ กฎหมาย​เท่านั้น โรง​พยาบาล​ที่​ผู้​ป่วย​ใช้​สิทธิ​ประกัน​สังคม​ก็ได้​ งบ​ประมาณ​ราย​หัว​ไป​ค่อน​ข้าง​มาก แต่​ทำไม​ หลายๆ กรณี โรง​พยาบาล​ดู​ไม่​ค่อย​อยาก​ รักษา​โรค​ที่​มคี​ ่าใ​ช้​จ่าย​แพงๆ เป็ น ​เ พราะ​วิ ธี ​ก าร​จ่ า ย​เ งิ น ​ข อง​ ระบบ​ประกัน​สังคม​ที่​ให้​แก่​โรง​พยาบาล เนื่องจาก​ประกัน​สังคม​จ่าย​เงิน​แบบ​เหมา​ จ่าย​ราย​หัว​ไป​ที่​โรง​พยาบาล คือ เงิน​เข้า​ กระเป๋า​โรง​พยาบาล​ไป​เลย โรง​พยาบาล​ ก็ม​ แ​ี รง​จงู ใจ​ทจ​ี่ ะ​ประหยัด เพือ่ ใ​ห้ต​ วั เ​อง​ได้​ กำไร​สงู สุด ยิง่ ป​ ระหยัดค​ า่ ใ​ช้จ​ า่ ย​เท่าไ​หร่ ก็​ ยิ่ง​กำไร เขา​ก็​เลย​มี​แนว​โน้ม​ที่​จะ​พยายาม​ ประหยัด​อยู่​แล้ว ดัง​นั้น การ​รักษา​โรค​ที่​มี​ ค่า​ใช้​จ่าย​แพงๆ หรือ​หาก​จำเป็น​ต้อง​ส่ง​ ต่อ​ไป​รักษา​ที่​อื่น ซึ่ง​เขา​ต้อง​ไป​ตาม​จ่าย เช่น ต้อง​ส่ง​ไป​โรง​พยาบาล​มหาวิทยาลัย เขา​ก็​จะ​ไม่​พยายาม​ทำ ถ้า​ผู้​ประกัน​ตน​ ทน​ไม่ไ​หว ปีห​ น้าก​ จ​็ ะ​ไป​เลือก​โรง​พยาบาล​ อื่น​แทน ส่วน​วิธี​จ่าย​เงิน​ของ​บัตร​ทอง ใช้​ วิธี​ผสม​ผสาน กรณี​ผู้​ป่วย​ใน สปสช. จะ​ จ่าย​ให้​โรง​พยาบาล​ก็​ต่อ​เมื่อ​โรง​พยาบาล​ รักษา​คนไข้​แล้ว​จึง​จะ​จ่าย ฉะนั้น ก็​จะ​มี​ แรง​จงู ใจ​ให้โ​รง​พยาบาล​ตอ้ ง​แอ​ดมิทค​ นไข้ จึง​จะ​ได้​สตางค์ วิ ธี ​ก าร​จ่ า ย​เ งิ น ก็ ​เ ป็ น ​ส่ ว น​ห นึ่ ง​ ที่ ​ท ำให้ ​คุ ณ ภาพ​ใ น​ก าร​รั ก ษา​พ ยาบาล​​ แตก​ต่าง​กัน นอกจาก​นั้น ใน​กรณี​ยา​ราคา​ แพง ทาง สปสช. ก็​แยก​เป็น ‘กองทุน​ยา’ ออก​มา​ตา่ ง​หาก เพือ่ จ​ า่ ย​ยา​ราคา​แพง​ตรง​ ไป​ทโ​ี่ รง​พยาบาล ก็เ​ป็นร​ ปู แ​ บบ​การ​บริหาร​ จัดการ​ที่​มี​ประสิทธิภาพ แท้จริง​แล้ว​ต้นตอ​ของ​ปัญหา​ทั้งหมด​อยูท่​ ี่​ เรื่อง ‘วิธกี​ าร​จ่าย​เงิน​ให้​โรง​พยาบาล’? วิธี​การ​จ่าย​เงิน​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​ ปัญหา​ที่มา​จาก​กรอบ​แนวคิด​ที่​ขัด​แย้ง​กัน ถ้า​จะ​ดูแล​สุขภาพ​ให้​มี​ประสิทธิภาพ​คุณ​ ต้อง​คิด​เรื่อง​ความ​มั่นคง​ของกอง​ทุน​เป็น​ เรื่อง​รอง ซึ่ง​ก็​ไม่​สามารถ​ทำได้ เพราะ​ ประกัน​สังคม​ใช้​เงิน​จาก​ลูกจ้าง นายจ้าง และ​รัฐ ที่​ต้อง​บริหาร​จัดการ เอา​ไว้​จ่าย​ให้​ ลูกจ้าง​ตอน​เกษียณ ลอง​คดิ ด​ ว​ู า่ ใน​ขณะ​ทส​ี่ ทิ ธิป​ ระโยชน์​ สุขภาพ​ยงั ด​ อ้ ย​กว่า ใน​สภาพ​ที่ สปส. ยังท​ ำ​ เรื่อง​สุขภาพ​ได้​ไม่มี​ประสิทธิภาพ​เท่า​ไหร่ นักว​ ชิ าการ​หลาย​คน​กอ​็ อก​มา​เตือน​วา่ เ​งิน​ กองทุน​ประกัน​สังคม​จะ​หมด ใน​อนาคต​ จะ​มี​เงิน​ไม่​พอ​จ่าย​บำนาญ​ชราภาพ จน​ ต้อง​มข​ี อ้ เ​สนอ​แก้ป​ ญ ั หา ทัง้ ก​ าร​ขยาย​อายุ​ เกษียณ​จาก 60 ปี เป็น 65 ปี หรือ​เพิ่ม​ อัตรา​การ​สมทบ ซึง่ ก​ ระทบ​ถงึ ผ​ ป​ู้ ระกันต​ น​​ ทั้ง​นั้น วิธี​ที่​จัดการ​ได้ คือ นำ​เรื่อง​สุขภาพ​ ออก​จาก​ประกัน​สังคม แต่ สปส. กลับ​


24 ไม่​เคย​คิด​เรื่อง​นี้ แต่ละ​ปี สปส. จ่าย​เงิน​ เรื่อง​สุขภาพ​ปี​ละ 2.2 หมื่น​ล้าน​บาท ถ้า​ ไม่​ต้อง​จ่าย ส่วน​นี้​ให้​รัฐบาล​รับ​ผิด​ชอบ สปส. จะ​เหลือ​เงิน​อีก​มาก และ​ถ้า​เอา​ไป​ เพิ่ม​บำนาญ​ชราภาพ จะ​มี​ประโยชน์​กับ​ ​ผู้​ประกัน​ตน​มากกว่า ภาวะ​ที่​เป็น​อยู่​ทุก​วัน​นี้​คือ จะ​เอา​ หมด​ทุก​อย่าง เลย​ทำได้​ไม่​ดี​สัก​อย่าง มี​ทาง​เป็น​ไป​ได้​ไหม ทีป่​ ระกัน​สังคม​จะ​เป็น​ เรื่อง​ของ​การ​ออม​เพื่อ​วัยช​ รา ส่วน​ถ้าป​ ่วย​ก็​ มี​สวัสดิการ​บัตร​ทอง​รองรับ เป็น​ไป​ได้ ซึ่ง​นั่น​คือ​ทิศทาง​ที่​ควร​ จะ​เป็น​อยู่​แล้ว แต่​ทั้งหมด​ก็​ขึ้น​อยู่​กับ​ฝ่าย​ นโยบาย ฝ่าย​การเมือง และ​ผป​ู้ ระกันต​ น​วา่ ​ ต้องการ​อย่างไร ใน​ฐานะ​นัก​วิชาการ ผม​ ทำ​ข้อมูล​เชิง​วิชาการ​ตาม​บทบาท​หน้าที่​ ของ​เรา ชี้​ให้​เห็น​จุด​อ่อน จุด​แข็ง ส่วน​การ​ ตัดสิน​ใจ​ขึ้น​กับ​ผู้​ประกัน​ตนเอง เหมือน​ที่​บอก​ไป แต่ละ​ปี​ประกัน​ สั ง คม​จ่ า ย​เ งิ น ​เ หมา​จ่ า ย​ร าย​หั ว ​ใ ห้ ​ โรง​พยาบาล​ปี​ละ 2 หมื่น​กว่า​ล้าน​บาท ลอง​คิ ด ​ดู ​ว่ า ​ถ้ า ​ป ล่ อ ย​เ รื่ อ ง​สุ ข ภาพ​ใ ห้ ​ รั ฐ บาล​ดู แ ล มี ​ก ฎหมาย​ห ลั ก ​ป ระกั น​ สุขภาพ​ถว้ น​หน้าใ​ช้ สปส. จะ​ประหยัดเ​งิน​ ได้​มาก​แค่​ไหน อยาก​ทราบ​ว่าผ​ ู้​ประกัน​ตน​มี​สิทธิมี​เสียง​ที่​ จะ​เรียก​ร้อง​ให้​เพิ่มส​ ิทธิ​ประโยชน์ก​ าร​รักษา​ พยาบาล​ตาม​มติ​คณะ​กรรมการ​ประกัน​ สังคม​ดัง​กล่าว​ได้​อย่างไร ตัง้ แต่เ​ริม่ พ​ ดู ถ​ งึ เ​รือ่ ง​สทิ ธิป​ ระโยชน์ ก็​มี​เสียง​เรียก​ร้อง​จาก​หลาย​ส่วน ทั้ง​ทาง​ ด้าน​ผู้​ประกัน​ตนเอง ที่​อยู่​ใน​นาม​ชมรม​ พิทักษ์ส​ ิทธิ​ผู้​ประกัน​ตน เข้าใจ​ว่า​เป็นการ​ เปลี่ยนแปลง​ครั้ง​สำคัญ​ที่สุด​ใน​รอบ 21 ปี ของ​ประกัน​สังคม ที่​มี​การ​ปรับปรุง​ เรื่อง​สิทธิ​ประโยชน์ ซึ่ง​ไม่​เคย​มี​การ​ปรับ​ เปลี่ยน​อย่าง​นี้​มา​ก่อน​เลย นี่​เป็น​ครั้ง​แรก ที่​ป ระกั น​สัง คม​ถู ก​ตั้ง ​คำถาม​เรื่อง​สิทธิ​ ประโยชน์ม​ าก​ขนึ้ และ​เป็นค​ รัง้ แ​ รก​ที่ สปส. ต้อง​ให้​ความ​สำคัญ​กับ​การ​ปรับปรุง​สิทธิ​ ประโยชน์​รักษา​พยาบาล​มาก​ขนาด​นี้ แต่​อย่างไร​ก็ตาม คำถาม​ที่​ว่า เขา​ จะ​ดำเนิน​การ​ให้​มี​ประสิทธิภาพ​มากกว่า​ เดิม​ได้​อย่างไร ใน​เมื่อ​กำลัง​คน​ยัง​เป็น​ อย่าง​นี้ แล้ว​เขา​ยัง​เป็น​ระบบ​ราชการ ก็​ยัง​ เป็น​โจทย์​ที่​ทุก​คน​ต้อง​ติดตาม ถาม​วา่ จ​ ะ​เรียก​รอ้ ง​อะไร​ได้ไ​หม ผม​ ว่า ประกัน​สังคม​เอง​ต้อง​ปรับ​โครงสร้าง​ ใหญ่ ​ทั้ ง หมด ต้ อ ง​ป ฏิ รู ป ​ทั้ ง หมด ต้ อ ง​ เป็น​องค์กร​อิสระ ส่วน​ผู้​ประกัน​ตนเอง เนื่ อ งจาก​ไ ม่ ​ค่ อ ย​ไ ด้ ​ใ ช้ ​บ ริ ก าร​จึ ง ​ท ำให้​ ส่วน​หนึง่ ไ​ม่ส​ นใจ แต่ถ​ า้ ล​ อง​ทบทวน​สกั น​ ดิ ​ จะ​ตระหนักไ​ด้เ​อง​วา่ คุณก​ ำลังถ​ กู เ​อา​เปรียบ​​ อยู่​นะ คุณ​เป็นก​ลุ่ม​เดียว​ที่​ต้อง​จ่าย แถม​ ได้​ของ​ไม่​ดี​อีก หมาย​ถึง​ปรับโ​ครงสร้าง​ภายใน​ทั้งหมด​ของ​ ประกัน​สังคม​เลย​ใช่ไ​หม ใช่...ต้อง​ปรับ​ใหม่​ทั้งหมด ไล่​มา​

ถ้า​คุณ​ทำงาน​ใน​ระบบ คุณ​ก็​ยัง​ต้อง​ใช้​ประกัน​สังคม จะ​มา​ใช้​สิทธิ​บัตร​ทอง​ไม่​ได้ กฎหมาย​กำหนด​ไว้ มัน​ถึง​ได้​มี​ ปรากฏการณ์​ที่​คน​เลือก​ที่​จะ​ไม่​ทำงาน​ใน​ระบบ เพราะ​ไม่​ ต้องการ​ใช้​สิทธิ​ประกัน​สังคม เนื่องจาก​ถ้า​เขา​ไป​อยู่​ใน​ระบบ​ ประกัน​สังคม​เขา​จะ​ไม่​ได้​รับ​สิทธิ​รักษา​พยาบาล​ที่​เคย​ได้ ตั้งแต่​กรอบ​แนวคิด ปรัชญา​ของกอง​ทุน จะ​ทำ​อย่างไร ทำ​ทั้ง 2 อย่าง​ไหว​ไหม ทำได้ห​ รือเ​ปล่า ถ้าไ​ม่ไ​หว...ต้อง​ทำ​อย่างไร จน​มา​ถึง​การ​เป็น​องค์กร​อิสระ ต้อง​เพิ่ม​ กำลั ง ​ค น จาก 20 คน ให้ ​เ ท่ า ๆ กั บ​ ทาง สปสช. อาจ​ต้อง​เพิ่ม​ทั้ง​ปริมาณ​และ​ คุณภาพ จึง​จะ​สามารถ​ทำงาน​ได้​เท่ากับ สปสช. หรือ​ไม่​ก็​ยก​ด้าน​ระบบ​สุขภาพ​ให้ สปสช. บริหาร​จัดการ​แทน ข้อ​เสนอ​ใน​ ส่วน​ของ​ผม​ก็​คือ สปส. ต้อง​ทำตัว​เอง​ให้​ เป็น​องค์กร​อิสระ ต้อง​ปฏิรูป​ตัว​เอง เพื่อ​ ให้การ​บริหาร​งาน​มี​ความ​คล่อง​ตัว สร้าง​ การ​มี​ส่วน​ร่วม​จาก​ทุก​ภาค​ส่วน และ​การ​ ตรวจ​สอบ​ติดตาม​ควบคุม​คุณภาพ สรุป​ว่า แนวทาง​แก้​ปัญหา​เรื่อง​ความ​ไม่​เท่า​ เทียม​กัน​ของ​สิทธิ์ ก็​ต้อง​เป็น​หน้าที่​ของ สปส. หรือ​ไม่​ก็ สปสช. เท่านั้น​หรือเ​ปล่า สปส. และ สปสช. 2 หน่วย​งาน​นี้​ เป็ น ​ห น่ ว ย​ง าน​ร ะดั บ ​ป ฏิ บั ติ ​ง าน ไม่ ใ ช่ ​ ฝ่าย​ที่​ควบคุม​กำกับ​นโยบาย เรื่อง​นี้​ต้อง​ แก้ ​ที่ ​ร ะดั บ ​น โยบาย ต้ อ ง​แ ก้ ​ก ฎหมาย รัฐบาล​ที่​ผ่าน​มา​ไม่​สนใจ​ปัญหา​นี้ ต้อง​รอ​ ดู​ว่า​รัฐบาล​นี้​จะ​ให้​ความ​สำคัญ​กับ​การ​แก้​ ปัญหา​ความ​เหลื่อม​ล้ำ​และ​ไม่​เป็น​ธรรม​นี้​ ได้​หรือ​ไม่ ซึ่ง​การ​จะ​ทำให้​ฝ่าย​การเมือง​ที่​ คุม​นโยบาย​ใส่ใจ​และ​ตระหนัก​ปัญหา​นี้ ก็​ อยู่​ที่​ภาค​ประชาชน​ว่า​จะ​ร่วม​กัน ​ผลัก​ดัน​ ได้​มาก​น้อย​แค่​ไหน ใน​มุม​มอง​ของ​ผู้​ประกัน​ตน ที่​ตั้งค​ ำถาม​ว่า “ทำไม​ต้อง​จ่าย?” อยาก​ทราบ​สถานการณ์​ ว่า​ตอน​นเี้​คลื่อน​ไป​ถึงไ​หน​แล้ว หลังจ​ าก​ทเ​ี่ ปิดเ​ผย​ผล​การ​วจิ ยั ส่วน​ หนึ่ง​สังคม​ตระหนัก​ว่า​มัน​มี​ความ​เหลื่อม​ ล้ำ​และ​ไม่​เป็น​ธรรม​อยู่ ผู้​ประกัน​ตน​ที่​ ประสบ​ความ​ทุกข์​จาก​การ​ใช้​บริการ เขา​ ก็​เริ่ม​ตั้ง​คำถาม​ว่า​ทำไม​ต้อง​จ่าย และ​คิด​ ว่า​มัน​ควร​จะ​เท่า​เทียม​กับ​ระบบ​อื่น แต่​ก็​ มีบ​ าง​สว่ น​ทย​ี่ งั ร​ สู้ กึ พ​ อใจ​กบั ร​ ะบบ​ประกัน​ สังคม​ทเ​ี่ ป็นอ​ ยูใ​่ น​ปจั จุบนั ซึง่ ค​ วาม​คดิ เ​ห็น​ แตก​ต่าง​เป็น​เรื่อง​ธรรมดา​นะ ใน​เรื่อง​นี้​ผู้​ประกัน​ตน​เป็น ​ผู้​มี​ส่วน​ ได้​เสีย​โดยตรง หน้าที่​ของ​ผม​ใน​ฐานะ​​ นัก​วิชาการ​คือ​ทำงาน​วิชาการ ชี้​ให้​เห็น​ว่า​ สิ่ง​ที่​เป็น​อยู่​มัน​เป็น​จุด​อ่อน​อย่างไร และ​ ค​ วร​จะ​พฒ ั นา​ไป​ใน​ทศิ ทาง​ไหน ซึง่ ท​ ผ​่ี า่ น​มา​​


25 ผม​ถอื ว่าป​ ระสบ​ความ​สำเร็จพ​ อ​สมควร ใน​ แง่​ที่​ว่า​สามารถ​ส่ง​ผล​ให้ สปส. ตื่น​ตัว​ที่​จะ​ พัฒนา​สิทธิ​ประโยชน์​ให้​เท่ากับ​บัตร​ทอง คือ 21 ปี​ที่​ผ่าน​มา ก็​มี​ปี​นี้​แหละ​ที่​มี​การ​ ปรับ​ชุด​สิทธิป​ ระโยชน์​มาก​ที่สุด มี​ความ​เป็น​ไป​ได้​ของ​การ​ยุบ​รวม​เหลือร​ ะบบ​ เดียว​หรือไ​ม่ ที่​ผ่าน​มา​มี​ความ​เข้าใจ​ผิด​กับ​เรื่อง​ รวม​กองทุน​นี้​มาก ส่วน​ใหญ่​มัก​จะ​คิด​ว่า​ รวม​ป ระกั น ​สั ง คม​เข้ า ​กั บ ​บั ต ร​ท อง​เพื่ อ​ ต้องการ​เอา​เงิน​ของ​ประกัน​สังคม​ไป​อุ้ม​ บัตร​ทอง ซึ่ง​ไม่มี​ที่ไหน​เขา​ทำ​กัน ทาง​ วิชาการ​เป็น​ไป​ไม่​ได้ เงิน​กองทุน​ประกัน​ สังคม​มา​จาก​การ​สมทบ​ของ​ผู้​ประกัน​ตน ก็​ต้อง​เก็บ​ไว้​ใช้​เรื่อง​ความ​มั่นคง​ของ​ชีวิต แต่ท​ ศิ ทาง​ทป​ี่ ระเทศไทย​ควร​มงุ่ ไ​ป​เหมือน​ ที่​ต่าง​ประเทศ​ทำ​มา​แล้ว คือ​การ​ทำให้​ ระบบ​สุขภาพ​เป็น​มาตรฐาน​เดียว การ​ จัดการ​แบบ​เดียวกัน ‘รวม’ ใน​ทน​ี่ ี้ หมาย​ถงึ ​ การ​รวม​เรื่อง​รักษา​พยาบาล​เท่านั้น เรื่อง​ ชราภาพ ว่าง​งาน กองทุน​ประกัน​สังคม​ ก็​ดูแล​ต่อ​ไป แต่ ​ปั ญ หา​ทุ ก ​วั น ​นี้ ​ม า​จ าก​ร ะบบ​ สุขภาพ​หลาย​มาตรฐาน ซึ่ง​ไม่​เป็น​ธรรม ทำไม​ค น​ไ ทย​ต้ อ ง​ถู ก ​แ บ่ ง ​ว่ า ถ้ า ​เ ป็ น​ ข้าราชการ​รักษา​แบบ​นี้​นะ เป็น​ลูกจ้าง​ รักษา​แบบ​นี้ หรือ​เป็น​ชาวนา​ต้อง​ได้​รับ​ การ​รักษา​แบบ​นี้ การ​รักษา​พยาบาล​ต้อง​ มีม​ าตรฐาน​เดียว เพราะ​เป็นเ​รือ่ ง​ของ​ชวี ติ ทุกป​ ระเทศ​ทด​ี่ ำเนินก​ าร​เรือ่ ง​หลักป​ ระกัน​ สุขภาพ เดิมก​ ม​็ ห​ี ลาย​กองทุนแ​ บบ​บา้ น​เรา แต่​เมื่อ​ปัญหา​มี​มาก​ขึ้น​เรื่อยๆ ก็​เดิน​หน้า​ จน​มี​กองทุน​รักษา​พยาบาล​กองทุน​เดียว ซึ่ง​ทำให้​มี​ประสิทธิภาพ​มาก​ขึ้น มี​อำนาจ​ ต่อ​รอง ไม่​เหลื่อม​ล้ำ มี​ความ​เท่า​เทียม เป็ น ​ธ รรม ซึ่ ง ​จ ะ​ท ำให้ ​มี ​คุ ณ ภาพ การ​ บริหาร​จัดการ​มี​ประสิทธิภาพ ลด​ต้นทุน​ ลง​ได้​มาก คุณ​หมอ​คิด​ว่า​ส่วน​หนึ่ง​มา​จาก​การ​ที่​ ผู้​ประกัน​ตน​ส่วน​ใหญ่ ‘เข้าไ​ม่​ถึง’ ข้อมูล​ หรือเ​ปล่า ประเด็นไ​ม่ไ​ด้อ​ ยูท​่ ก​ี่ าร​เข้าถ​ งึ ข​ อ้ มูล​ ยาก การ​เข้าถ​ งึ ข​ อ้ มูลป​ ระกันส​ งั คม​ยา​กน่ะ​ ใช่ แถม​ยงั เ​ป็นข​ อ้ มูลใ​น​เชิงเ​ทคนิคอ​ กี และ​ ช่อง​ทางการ​ให้​ข้อมูล​ความ​รู้​ของ​ประกัน​ สังคม​ต่อ​ผู้​ประกัน​ตน​ก็​มี​น้อย​มาก ช่อง​ ทาง​รับ​เรื่อง​ร้อง​เรียน​ร้อง​ทุกข์ มี​ปัญหา​ มาก แต่ถ​ งึ แ​ ม้ข​ อ้ มูลก​ าร​บริหาร​จดั การ​ของ​ ประกัน​สังคม​จะ​เป็น​เรื่อง​เทคนิค ที่​อาจ​ ต้อง​อาศัย​ผู้​เชี่ยวชาญ​ใน​ด้าน​นั้น เพราะ​ ใน​แง่​ทฤษฎีแ​ ล้ว สินค้า​สุขภาพ​มี​ลักษณะ​ ที่​ข้อมูล​ไม่​สมมาตร (Asymmetric information) คนไข้​หรือ​ประชาชน​ทั่วไป​ไม่รู้​ เท่าบ​ ุคลากร​ทางการ​แพทย์ แต่​นั่น​ก็​ไม่ใช่​ ประเด็น​ที่​ทำให้​การ​แก้​ไป​ปัญหา​ความ​ เหลื่อม​ล้ำ​ยัง​ไม่​ไป​ถึง​ไหน​เสียที ประเด็น​ของ​ปัญหา​ความ​ไม่​เป็น​ ธรรม​ครั้ง​นี้​จริงๆ คือ เรื่อง​กรอบ​แนวคิด​

ของกอง​ทุน​ประกัน​สังคม​เอง ความ​มั่นคง​ ของกอง​ทุ น กั บ ​ก าร​พั ฒนา​ส วั ส ดิ ก าร​ สุขภาพ​มัน​รวม​อยู่​ด้วย​กัน​ไม่​ได้ นอกจาก​นั้ น ​ก็ ​เ ป็ น ​แ รง​ต้ า น​จ าก​ บาง​ส่ ว น​ที่ ​ไ ม่ ​อ ยาก​จั ด การ​สิ่ ง ​เ หล่ า ​นี้ ​ มัน​มี​แรง​ต้าน​อยู่​แล้ว อาจ​เป็น​เพราะ​เขา​ ยัง​ไม่รู้ หรือ​อาจ​เป็น​เพราะ​​ผล​ประโยชน์​ มัน​เยอะ​ก็ได้ ข้อเ​สนอ​อย่าง​แรก​สำหรับ​ประกัน​สังคม​คือ ออก​นอก​ระบบ​ก่อน​เลย​ใช่​ไหม แต่อ​ อก​นอก​ระบบ​อย่าง​เดียว​ไม่พ​ อ บอร์ดบ​ ริหาร​กต​็ อ้ ง​ปรับด​ ว้ ย จริงๆ ก็ม​ อ​ี กี ​ หลาย​อย่าง ตาม​ที่​เรา​เก็บ​ข้อมูล​มา ซึ่ง​ เรือ่ ง​พวก​นเ​ี้ ป็นค​ วาม​เปลีย่ นแปลง​ทส​ี่ ำคัญ สปส. ก็อ​ าจ​จะ​ไม่ย​ อม​กนั ง​ า่ ยๆ โดย​เฉพาะ​ ถ้า​จะ​ปรับ​จาก​ราชการ​เป็น​องค์กร​อิสระ ปรับโ​ครงสร้าง​สดั ส่วน​ของ​กรรมการ สปส. ใหม่ เรื่อง​พวก​นี้​มี​แรง​ต้าน​อยู่​แล้ว เป็น​ ธรรมชาติ​ของ​การ​เปลี่ยนแปลง แต่​ต้อง​ ถาม​วา่ เป้าห​ มาย​ของ​การ​เปลีย่ นแปลง​คอื ​ อะไร ทำ​เพื่อ​ใคร ใน​ส่วน​ของ​ผู้นำ​แรงงาน​เอง​ก็​ยัง​

หนึ่ง​เดียว คิด​ว่า อำนาจ​การ​ต่อ​รอง​จะ​สูง​ ขึน้ ซึง่ ก​ ต​็ อ้ ง​ยอมรับว​ า่ บัตร​ทอง​มจ​ี ดุ อ​ อ่ น​ เรื่อง​โรง​พยาบาล​เอกชน ซึ่ง​ก็​ต้อง​พัฒนา​ กัน​ต่อ​ไป แต่​ที่​สำคัญ​ต้อง​มอง​เชิง​ระบบ หาก​คิด​แต่​เฉพาะ​หน้า ขอ​ให้​ได้​ประโยชน์​ ทีต​่ นเอง​พอใจ​เฉพาะ​หน้า ก็ไ​ม่มท​ี าง​ไป​ถงึ ​ ไหน โอกาส​แก้ไข​ให้​ดี​ขึ้น​ก็​ไม่มี เหตุ​ใด ประกัน​สังคม​ต้อง​มี​เงื่อนไข​ใน​การ​ คุ้มครอง อาทิ จะ​ได้​รับ​สิทธิ​ประโยชน์ก​ รณี​ เจ็บ​ปว่ ย ต้อง​สมทบ​เงิน​ไม่​นอ้ ย​กว่า 3 เดือน หรือก​ รณี​คลอด​บุตร ส่งเ​งิน​สมทบ​ ไม่​น้อย​กว่า 7 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อน​คลอด แต่ห​ ลัก​ประกัน​สุขภาพ​ถ้วน​หน้า​ คุ้มครอง​ทันที​ที่​ลง​ทะเบียน จริ ง ๆ มั น ​ไ ม่ ​ค วร​มี เพราะ​สิ ท ธิ ​ การ​รักษา​พยาบาล​เป็น​สิทธิ​ขั้น​พื้น​ฐาน​ที่​ คน​ไทย​ทกุ ค​ น​ควร​ได้ร​ บั เงือ่ นไข​เหล่าน​ ถ​ี้ กู ​ กำหนด​มา​ตงั้ แต่ 21 ปีท​ แ​ี่ ล้ว ตัง้ แต่ย​ งั ไ​ม่ม​ี ระบบ​ประกัน​สุขภาพ​ถ้วน​หน้า เข้าใจ​ว่า​ ประกันส​ งั คม​เกรง​วา่ ก​ องทุนจ​ ะ​มเ​ี งินไ​ม่พ​ อ​ เพราะ​มี​คน​ที่​จะ​พยายาม​ขอ​ใช้​สิทธิ์​เยอะ ปัจจุบัน​บริบท​ต่างๆ​เปลี่ยน​ไป​หมด​แล้ว

ปัญหา​ทกุ ว​ นั น​ ม​ี้ า​จาก​ระบบ​สขุ ภาพ​ หลาย​มาตรฐาน ซึ่ง​ไม่​เป็น​ธรรม ทำไม​ คน​ไทย​ต้อง​ถูก​แบ่ง​ว่า ถ้า​เป็น​ข้าราชการ​ รักษา​แบบ​นี้​นะ เป็น​ลูกจ้าง​รักษา​แบบ​นี้ หรือเ​ป็นช​ าวนา​ตอ้ ง​ได้ร​ บั ก​ าร​รกั ษา​แบบ​นี้ การ​รักษา​พยาบาล​ต้อง​มี​มาตรฐาน​เดียว เพราะ​เป็น​เรื่อง​ของ​ชีวิต ยาก​อยู่ เพราะ​อยาก​ใช้โ​รง​พยาบาล​เอกชน เขา​เ ข้ า ใจ​ว่ า พอ​อ ยู่ ​บั ต ร​ท อง​แ ล้ ว ​จ ะ​​ ไม่​ได้​ใช้​โรง​พยาบาล​เอกชน ซึ่ง​มัน​ไม่​เกี่ยว​ ตอน​นี้ สปสช. เขา​มี​โรง​พยาบาล​เอกชน​ อยู่​จำนวน​หนึ่ง แต่​ยัง​น้อย สาเหตุ​ที่​น้อย​ ก็เ​พราะ​โรง​พยาบาล​เอกชน​กเ​็ ลือก​ทจ​ี่ ะ​รบั ​ ผู้​ประกัน​ตน​เป็น​หลัก เพราะ​เป็น​คน​ที่​ไม่​ ป่วย แล้วก​ ไ็ ด้เ​งินเ​หมา​จา่ ย​ราย​หวั ถ้าห​ าก​ เขา​เลือก​ได้ เขา​ก็​อยาก​รับ​ผู้​ประกัน​ตน​​ มากกว่า เพราะ​ได้​เงิน​มากกว่า แต่​เมื่อ​ถึง​ การ​รักษา​ใน​โรค​ที่​ยาก​ขึ้น​เขา​ก็​ต้อง​ส่ง​ต่อ​ ไป​โรง​พยาบาล​รัฐ​อยู่ดี เพราะ​เครื่อง​มือ​ มากกว่า ส่วน​บัตร​ทอง​ต้อง​ดูแล​เด็ก​และ​ คน​แก่ ซึ่ง​เจ็บ​ป่วย​ง่าย​อยู่​แล้ว เพราะ​ ฉะนั้น บัตร​ทอง​โรง​พยาบาล​เอกชน​จะ​​ เข้า​ร่วม​น้อย​กว่า แต่เ​มือ่ ใ​ด​ทเ​ี่ รา​รวม​ระบบ​เข้าม​ า​เป็น​

แต่ สปส. ยัง​เหมือน​เดิม ควร​จะ​คุ้มครอง​ ทันทีท​ เ​ี่ ป็นผ​ ป​ู้ ระกันต​ น เงือ่ นไข​พวก​นค​ี้ วร​ ยกเลิก​ได้​แล้ว ยก​ตั ว อย่ า ง​ก รณี ​ค ลอด​บุ ต ร ไป​ คลอด​ที่ไหน​ก็ได้ จะ​ได้ 13,000 บาท ซึ่ง​ผม​ก็​ตั้ง​คำถาม​ว่า ทำไม​ต้อง​ให้​ ผ​ ป​ู้ ระกันต​ น​จา่ ย 13,000 เพ​ราะ​จริงๆ ถ้า​ คลอด​ปกติ​ไม่​ได้ ต้อง​ผ่า​คลอด 13,000 นี่ ​ก็ ​ไ ม่ ​พ อ มั น ​เ ป็ น ​แ สน​อ ยู่ ​แ ล้ ว ก็ ​ต้ อ ง​ ​ค วั ก ​เ นื้ อ ซึ่ ง ​ก็ ​มี ​ค น​ป ระมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ทีต​่ อ้ ง​ทำ ฉะนัน้ จะ​มผ​ี ป​ู้ ระกัน​ ตน​เป็นห​ มืน่ ๆ คน​ทค​ี่ ลอด​ลกู ท​ ก​ี จ​็ ะ​เจ๊งเ​ลย​ ถ้า​โดน​ซี​ซาร์ (ผ่า​คลอด) เข้าไป สิ่ง​ที่​เรา​เสนอ​ก็​คือ ถ้า​ให้​รัฐบาล​ เป็น ​ผู้​ดูแล เช่น​เดียว​กับ​คน​ไทย​คน​อื่นๆ ค่า​คลอด​คุณ​ก็​ไม่​ต้อง​จ่าย ค่า​ซี​ซาร์ ก็​ไม่​ ต้อง​เสีย แล้ว​คุณ​ก็​เอา​เงิน 13,000 อาจ​

จะ​ไป​จา่ ย​เป็นค​ า่ ห​ อ้ ง​พเิ ศษ หรือจ​ ะ​เก็บไ​ว้​ เลีย้ ง​ลกู ซึง่ ม​ นั ส​ ามารถ​ทำให้ด​ ก​ี ว่าน​ ไ​ี้ ด้ แต่​ ประกันส​ งั คม​เขา​กไ​็ ม่ไ​ด้ค​ ดิ ท​ จ​ี่ ะ​ทำ เพราะ​ ประกัน​สังคม​เอง​ก็​มี​หลัก​คิด​อยู่ คือ​เขา​​ ไม่​ได้​ดู​เรื่อง​สิทธิ​ประโยชน์ หรือ​การ​รักษา​ พยาบาล​เป็น​หลัก เขา​ดู​เรื่อง​กองทุน​เป็น​ สำคัญ ขอ​ให้​กองทุน​นี้​ไม่​เจ๊ง ดัง​นั้น​สิทธิ​ ประโยชน์​ต่างๆ ก็​จะ​เพิ่ม​ได้​ยาก เพราะ​ การ​เพิม่ ส​ ทิ ธิป​ ระโยชน์แ​ ต่ละ​ครัง้ ก็เ​ท่ากับ​ เพิ่ม​เม็ด​เงิน​ที่​ต้อง​เสีย​ด้วย ฉะนั้น วิธี​คิด​แบบ​นี้ มัน​ไม่มี​ทาง​ ทำให้​ดี​ได้​หรอก โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​ค่า​ รักษา​พยาบาล​สูง​ขึ้น​ทุก​วัน มี​เทคโนโลยี​ ใหม่ ๆ เข้ า ​ม า​ทุ ก​วั น คุ ณ ​ไ ม่ มี ​ท าง​เ ลย คุณ​พยายาม​มุ่ง​ว่า​ไม่​ให้​เงิน​คุณ​ออก​ไป คุณ​ก็​จะ​ต้อง​จ่าย​ให้​น้อย​ที่สุด คุณ​ก็​ไม่มี​ ทาง​แข่ง​กับ​บัตร​ทอง​ได้ เพราะ​บัตร​ทอง​ มุ่ง​ไป​ที่​พัฒนา​สิทธิ​รักษา​พยาบาล​ให้​มี​ ประสิทธิภาพ ใน​อนาคต ยัง​ไง​ประกัน​ สังคม​ก็​จะ​ต้อง​ด้อย​กว่า​ไป​เรื่อยๆ แนวทาง​แก้​ปัญหา​ทนี่​ ่า​จะ​ทำได้​เร็ว​ที่สุด​ นอกจาก​ปรับ​เพิ่ม​สิทธิ คือ​อะไร ใน​เรื่อง​สิทธิรักษา​พยาบาล ถ้า​จะ​ แก้​ปัญหา​ที่​ทำได้​เร็ว​ที่สุด​และ​สามารถ​ ทำได้ ​เ ลย คื อ สปส. ต้ อ ง​ป รั บ​วิ ธี ​ก าร​ จัดสรร​เงิน​ราย​หัว​ใหม่ ต้อง​ใช้การ​จ่าย​​ ทั้ง​ก้อน​ให้​โรง​พยาบาล แต่​ต้อง​แยก​เป็น​ งบ​ผป​ู้ ว่ ย​นอก งบ​ผป​ู้ ว่ ย​ใน โรค​คา่ ใ​ช้จ​ า่ ย​สงู ​ ที่​จ่าย​ตาม​กลุ่ม​วินิจฉัย​โรค​ร่วม​หรือ DRG เพื่อ​เพิ่ม​ประสิทธิภาพ​บริการ จูงใจ​ให้​ โรง​พยาบาล​ทำการ​รักษา ปรับ​รูป​แบบ​ การ​จดั การ​เรือ่ ง​การ​สง่ ต​ อ่ ผ​ ป​ู้ ว่ ย​ไป​รกั ษา​ท​ี่ โรง​พยาบาล​ที่​มี​ศักยภาพ​สูง สร้าง​การ​ มี​ส่วน​ร่วม​จาก​ทุก​ภาค​ส่วน สร้าง​ระบบ​​ รั บ ​เ รื่ อ ง​ร าว​ร้ อ ง​ทุ ก ข์ ให้ ​ผู้ ​ป ระกั น ​ต น​​ สา​มา​รถฟีด​แบ็ค​กลับ​มา​ได้ ตรง​นแ​ี้ ก้ป​ ญ ั หา​เฉพาะ​หน้าทีจ​่ ะ​ลด​ ปัญหา​เรื่อง​สิทธิ​ประโยชน์​ด้อย​กว่า​บัตร​ ทอง​ลง​ได้ แต่​ไม่​ได้​แก้​ปัญหา​ความ​ไม่​เป็น​ ธรรม​ทผ​ี่ ป​ู้ ระกันต​ น​เป็นก​ลมุ่ ท​ ย​ี่ งั ต​ อ้ ง​จา่ ย​ สมทบ​สทิ ธิส​ ขุ ภาพ​โดยตรง ขณะ​ทก​ี่ ลุม่ อ​ นื่ ​ เขา​จา่ ย​ทาง​ออ้ ม​ผา่ น​ระบบ​ภาษี และ​ถงึ แ​ ม้​ จะ​ทำได้​อย่าง​ที่​บอก​มา แต่​ประกัน​สังคม​ ก็ย​ งั จ​ ะ​ตอ้ ง​กงั วล​เรือ่ ง​ความ​มนั่ คง​ของกอง​ ทุน​ต่อ​ไป


26

รู้เรียน

เรื่องและภาพ แสงจริง

หนึ่ง:

สะเดา

เกษตรกรรุ่น สอง:

‘พ่อกูดาบหัก’

พ.ศ. นี้​ไม่มี​สงคราม แต่​กู​ยัง​ต้อง​​ ค้ำ​ดาบ​ยัน​ดิน​ใน​นาม​สงคราม​สนาม​ชีวิต ใคร​หลาย​คน​บอก​ว่า สงคราม​เป็น​ เรื่อง​เฉิ่ม​เชย ไม่มี​สงคราม​พม่า-สยาม​​ อีก​แล้ว​ใน พ.ศ. นี้ และ​มัน…ก็​ไม่​น่า​จะ​มี​ ใน พ.ศ. ต่อ​ไป มี​แต่​สงคราม​ชีวิต ลูก​กระสุน​ปืน​ใหญ่​ใน​นาม ‘ราคา​ ผลผลิต​ตกต่ำ’ ทำให้​เกษตรกร​ชาว​ชุมชน​ คอ​รุม​บาด​เจ็บ​ปาง​ตาย เมื่อ​สาร​เคมี​ที่​ใช้​ ใน​ไร่น​ า​มร​ี าคา​แพง และ​พวก​เขา​ยงั จ​ ำเป็น​ ต้อง​ใช้ม​ ัน ไหน​จะ​ปญ ั หา​ขา้ ว​ดดี ข​ า้ ว​เด้งซ​ ำ้ เ​ติม​ ​บาดแผล​เกษตรกร​ชาว​คอ​รุม หาก​เอา​ น้ำตา​ชาวนา​คอ​รุม​มา​รวม​กับ​เกษตรกร​​ ทั่ว​ประเทศไทย​ไป​กัก​เก็บ​ใน​เขื่อน​น้ำตา และ​เมื่อ​ยาม​ฝน​ตกลง​มาส​มท​บรว​มกัน เขื่อน​อาจ​แตก​ได้ ปัญหา​ก็​คือ “ทำ​ตามๆ กัน​มา​ทั้ง​ นั้น” บรรเจิด นาค​ย่าน​ขาว บอก “หว่าน​ปยุ๋ เ​สร็จ…ก็พ​ น่ ย​ า เกษตรกร​ บาง​แห่ง 15 วัน​พ่น​เลย​นะ ทั้งๆ ที่​ไม่ใช่​ หลัก​การ​ที่​ถูก​ต้อง” บรรเจิด​เป็น​เกษตรกร เขา​เรียน​ จบ​จาก​วิทยาลัย​เกษตร​สุโขทัย แล้วไป​ ทำงาน​ใน​ฝ่าย​ส่ง​เสริม​เกษตรกร​ปลูก​อ้อย​ ให้​โรงงาน​น้ำตาล กว่า 10 ปี​จึง​กลับ​ มายัง​ตำบล​คอ​รุม…บ้าน​เกิด เพื่อ​ทำ​นา​ ต่อ​จาก​รุ่น​พ่อ ทำ​นาก​ว่า 50 ไร่ เขา​ใช้​สาร​เคมี​ กำจัด​ศัตรู​พืช จน​คิด​ว่า​ตาย​แน่ “เมื่อ​กลับ​มา​ทำ​นา ก็​เกิด​ความ​คิด​ ว่า​ถ้า​เรา​ทำ​แบบ​นี้​ต่อ​ไป…ตาย​ก่อน​แน่ๆ ถ้า​พ่น​เอง​อะไร​เอง 50 กว่า​ไร่​ก็​ตาย​กัน​ พอดี…พ่น​ไป​เถอะ เดี๋ยว​ก็​ตาย ผม​จึง​คิด​ ว่า​น่า​จะ​หา​อะไร​มา​แทน”

เมื่อ​ต้องการ​ค้นหา บรรเจิด​จงึ ​ตอ้ ง ‘ไป’ มีอ​ บรม​ทไ่ี หน​เขา​ไป​หมด หน่วย​งาน​ไหน​​ ชื่อ​แปลกๆ เขา​ไม่​สน ขอ​แค่​ได้​ฟัง เมื่อ​เห็น​แล้ว​ว่า​เกษตรกร​นิยม​ใช้​ สาร​เคมีใ​น​การ​บำรุงแ​ ละ​กำจัดศ​ ตั รูพ​ ชื เป็น​ สาเหตุ​ทำให้​ต้นทุน​สูง ตาม​มา​ด้วย​ปัญหา​ สุขภาพ บรรเจิดจ​ งึ ร​ วม​กลุม่ ก​ บั เ​พือ่ น​หนุม่ ​ อีก 4 คน เริ่ม​ทำ​สงคราม​เปลี่ยนแปลง​ ความ​เคย​ชิน​เดิมๆ เริ่ม​จาก​การ​ใช้ ‘สาร​ชีว​ภัณฑ์’ แทน ‘สาร​เคมี’ สาร​ชีว​ภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์​สกัด​ จาก​สิ่ง​มี​ชีวิต​ใน​นา​ข้าว เพื่อ​ใช้​ทดแทน​ สาร​เ คมี ​ก ำจั ด ​ศั ต รู ​พื ช ใน​รู ป ​แ บบ​ข อง​ ผลิตภัณฑ์​ชีวภาพ เช่น น้ำ​หมัก​ชีวภาพ​ ต่างๆ เชื้อ​รา​บิว​เวอร์​เรีย ฯลฯ จาก​นั้น​มี​เพื่อน​เพิ่ม​รวม​เป็น 9 คน​ จัด​ต้ัง​กลุ่ม​ข้ึน​ใน​ชุมชน มี​การ​ระดม​ทุน เริ่ม​จาก​สร้าง​โรง​สี​ข้าว​ชุมชน สร้าง​ราย​ได้​ หมุนเวียน​ใน​กลุ่ม จัด​ทำ​ผลิตภัณฑ์​สาร​​ ชีวภ​ ณ ั ฑ์ ม​ า​ใช้แ​ ทน​สาร​เคมี ผลิตเ​มล็ดพ​ นั ธุ​์ ข้าว​ไว้ใ​ช้เ​อง​และ​จำหน่าย ผลิตป​ ยุ๋ อ​ นิ ทรีย​์ อัด​เม็ด พร้อมๆ ก่อ​เกิด​เป็น​ศูนย์​เรียน​รู้​ ​เ กษตร​ที่ ​ค่ อ น​ข้ า ง​ค รบ​ว งจร​ใ น​น าม ศูนย์​เรียน​รู้​โรงเรียน​ข้าว วิสาหกิจ​ชุมชน​​ บ้าน​คลอง​กล้วย

ศู น ย์ ​เ รี ย น​รู้ ​โ รงเรี ย น​ข้ า ว​แ ห่ ง ​นี้ ถ่ายทอด​องค์​ความ​รู้​ดัง​ที่​สมาชิก​ใน​กลุ่ม​ ปฏิบัติ​กัน​มา ซึ่ง​กว่า​จะ​ดึง​เอา​เกษตรกร​ ให้​เข้า​มา​สนใจ​แนวทาง​ใหม่​นี้ ต้อง​ใช้​วิธี​ สาธิต​ให้​ดู มิใช่​ตั้ง​กระดาน​ดำ​แล้ว​บังคับ​ ให้​มา​นั่ง​ฟัง นอกจาก​การ​ใช้สาร​ชีว​ภัณฑ์แล้ว​ สิ่ง​ที่​บรรเจิด​เน้น​ย้ำ​กับ​เกษตรกร​ที่มา​เอา​ องค์​ความ​รู้​จาก​ศูนย์​เรียน​รู้​โรง​เรียน​ข้าวฯ คือ ‘ระบบ​นิเวศ​ใน​นา​ข้าว’ “เรา​จะ​เน้น​ให้​เกษตรกร​แยกแยะ​

พ่อ​กู​ดาบ​หัก ที่​สถานี​ขนส่ง​จังหวัด​อุตรดิตถ์ มี​ รถยนต์​คนั ​หนึง่ ​จอด​สงบ สติ​ก​เกอร์​ประดับ​ กระจก​หลัง ข้อความ​ว่า ‘พ่อ​กู​ดาบ​หัก’ คน​อตุ รดิตถ์น​ บั ถือพ​ ระยา​พชิ ยั ด​ าบ​ หัก เช่น​เดียว​กับ​คนใน​ชุมชน​ตำบล​คอ​รุม​ อำเภอ​พชิ ยั ทีม​่ ค​ี วาม​เคารพ​นบั ถือว​ รี บุรษุ ​ สามัญ​ชน​ท่าน​นี้ รบ​กับ​ข้าศึก​จน​ดาบ​หัก​ท​ี่ วัด​เอกา​ใน​ตำบล​คอ​รุม คนใน​ตำบล​คอ​รุม​นับถือ​พระยา​ พิชยั ด​ าบ​หกั ถ้อยคำ ‘พ่อก​ ด​ู าบ​หกั ’ จึงเ​ป็น​ คำ​ประกาศ​วา่ คน​ทน​่ี น​่ี ยิ ม​ผม​ู้ ห​ี วั ใจ​กล้าห​ าญ​ เสีย​สละ สู้​จน​ดาบ​หัก รถ​ที่​ติด​สติ​ก​เกอร์ ‘พ่อ​กู​ดาบ​หัก’ พา​เรา​เดิน​ทาง​จาก​สถานี​ขนส่ง​จังหวัด​ อุตรดิตถ์​ไป​ยัง​ดิน​แดน​ที่​พระยา​พิชัย​เคย​ ทำ​ดาบ​หัก​ไว้​เมื่อ​นาน​มา​แล้ว

โรงปุย๋

ว่า ใน​นา​มี​ตัวดี​กับ​ตัว​ร้าย​กี่​แบบ ลอง​นับ​ ข้าง​ดู​ว่า​ฝ่าย​ไหน​มี​มากกว่า​กัน ถ้า​ตัว​มี​ ประโยชน์ม​ อ​ี ยูเ​่ ยอะ​มนั ก​ ช​็ ว่ ย​เรา​กดั เ​รา​กนิ ​ พวก​ตัว​ร้าย พวก​นี้​ควบคุม​กันเอง​อยู่​แล้ว​ โดย​สมดุล​ธรรมชาติ” เหมื อ น​ส งคราม​ข อง​ธ รรมชาติ ​ มัน​จัด​ระบบ​ของ​มัน​อยู่​แล้ว ด้ ว ย​ส ำเนี ย ง​เ หน่ อ ​แ ละ​ลี ล า​ก าร​ พูด​แบบ​นักเลง บรรเจิด​ยัง​บอก​ว่า มิ​ต้อง​ ประดิษฐ์​ถ้อยคำ​มา​ใช้​กับ​สิ่ง​ที่​เกษตรกร​ ทำ​ว่า ‘นัก​วิทยาศาสตร์’ เพราะ “มัน​ก็​แค่​ ธรรมชาติ เฝ้า​ดู​ธรรมชาติ​แล้ว​หา​วิธี​ว่า​ วิธี​ไหน​ควร​ใช้​ควร​ทำ ก็​ต้อง​รู้จัก​แยกแยะ​​ นีห​่ ว่า เมือ่ แ​ ยกแยะ​ได้แ​ ล้ว มันก​ แ​็ ล้วแ​ ต่เ​ขา​ละ​ ​ว่า​จะ​ใช้​วิธี​ไหน” เขา​บอก​ว่า​เกษตรกร​ไม่​จำเป็น​ต้อง​ ปลอด​สาร​เคมี 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ใ​ห้ย​ ดึ เ​อา​ “ความ​เ ป็ น ​จริ ง ​เ ป็ น ​ตั ว ​ตั้ ง ถ้ า ​เ กิ ด ​โ รค​ ระบาด จะ​ไม่​ใช้​สาร​เคมี​ยัง​ไง​ไหว​ล่ะ…​ ใช่​มั้ย” แต่ ​ทั้ ง นี้ ​ทั้ ง ​นั้ น บรรเจิ ด ​บ อก​ว่ า เกษตรกร​ต้อง​ตั้ง​ต้น​ที่​ระบบ​นิเวศ​ใน​นา​​ ให้ไ​ด้ รูจ้ กั ส​ ำรวจ​ตรวจ​นบั ถ้าด​ นิ ม​ ค​ี า่ ค​ วาม​

เป็นก​รด​หรือด​ า่ ง ก็ต​ อ้ ง​ทำให้ด​ นิ ม​ ค​ี า่ ค​ วาม​ เป็นกรด​ด่าง​ที่​ตรง​กลาง ด้วย​ปุ๋ย​อินทรีย์​ “ก็​ขี้​วัว​ขี้​ควาย​ดีๆ นี่​แหละ​ท่าน” เสียง​เหน่อ​นั้น​ยัง​เน้น​ย้ำ​ใน​ทำนอง​ ว่า มิใช่​แต่​นักการ​เมือง​หรือ​ปัญญา​ชน​ เท่านั้น​ดอก​ที่​มี ‘อุดมการณ์’ เกษตรกร​ก็​ มี​อุดมการณ์​นะ (โว้ย) “ตอน​ที่​ผม​เรียน​เกษตร เขา​เรียก ‘อุ ด มการณ์ ’ มั น ​ห รู ​น ะ…อุ ด มการณ์ แ ต่ ​ว่ า ​ถ้ า ​เ ร า ​ม า ​เ จ อ ​ใ น ​ชี วิ ต ​จริ ง​​ ก็​เรียก​ว่า​ความ​ตั้งใจ ตั้งใจ​ว่า จะ​ทำ​ยัง​ไง​ ​ให้​ชาวไร่​ชาวนา​ทำ​กิน​แล้ว​มี​ผล​ตอบแทน​ ​สู ง สุ ด ไม่ ​ต้ อ ง​มี ​ก ำไร​สู ง สุ ด เอา​แ ค่ ​ ผล​ตอบแทน​สูงสุด คิด​ไป​คิด​มาก็​ต้อง​ลด​ ต้นทุน” อุตรดิตถ์​เป็น​เมือง​อาภัพ บรรเจิด​ บอก​ว่า ที่​อุตรดิตถ์​ไม่มี​เมล็ด​พันธุ์​ข้าว​ไว้​ ใช้​กันเอง นี่​คือ ‘ความ​ตั้งใจ’ ของ​เขา​ใน พ.ศ. นี้ และ พ.ศ. ต่อ​ไป ปัจจุบัน ศูนย์​เรียน​รู้​โรง​เรียน​ข้าวฯ ผลิต​เมล็ด​พันธุ์​ข้าว​ไว้​ใช้​เอง​และ​จำหน่าย โดย​เ กษตรกร​ใ น​ต ำบล​ค อ​รุ ม ​ที่ ​เ คย​ใ ช้​ สาร​เคมี และ​เคย​เจอ​ปญ ั หา​ขา้ ว​ดดี ข​ า้ ว​เด้ง​


27

สาร​ชีว​ภัณฑ์

สาม:

สมหมาย

นั่น​แหละ - เป็น​ผู้​ผลิต “ปี​ที่​แล้ว​เรา​ทำ​ไป 270 ตัน แต่​ปี​นี้​ เมือ่ แ​ มลง​ระบาด, สม​หมาย​ไป​เรียน​ ​ตั้ง​เป้า​จะ​เก็บ 600-700 ตัน มัน​ทำได้​ ที่​ศูนย์​เรียน​รู้​โรงเรียน​ข้าว วิสาหกิจ​ชุมชน​ แค่​นี้ ถูก​จำกัด​ด้วย​สถาน​ที่ เงิน​ทุน ถ้า​ทำ​ บ้าน​คลอง​กล้วย แต่ก​ ลับบ​ า้ น​มา​ทำ​เกษตร​ แปลง​เมล็ด​พันธุ์ เบื้อง​ต้น​เกษตรกร​ต้อง​ ผสม​ผสาน รู้จัก​สำรวจ​ตรวจ​นับ​และ​แยกแยะ​เป็น ซึ่ง​ ชื่อ​เล่น สม​หมาย เป็น​สิ่ง​ที่​ศูนย์​เรียน​รู้​โรงเรียน​ข้าว​พยายาม​ ชื่อ​จริง เชี่ยวชาญ มา​ให้ จะ​เน้น เห็น​มั้ย…เรื่อง​ง่ายๆ แค่​นี้​มัน​มี​ หลาย​คน​ถาม “ชือ่ จ​ ริงช​ อื่ เ​ล่นข​ อง​พ​ี่ ประโยชน์​เยอะ​แยะ​นี่​หว่า” มัน​ต่าง​กัน​ยัง​ไง” เกษตรกร​เจ้าของ​สำเนียง​นักเลง​ “พ่อ​ตั้ง​ให้​มา​แบบ​นี้ ก็​เรียก​แบบ​ที่​ แบบ​เขา จะ​เกษียณ​อายุ​ตอน​ไหน? พ่อ​ผม​ตั้ง​ให้​นี่​แหละ” สม​หมาย​ตอบ “ยั ง ! ยั ง ​ท ำได้ ​อี ก ​ห ลาย​ปี แต่ ​ก็ ​ เ มื่ อ ​ก่ อ น ​ที่ ดิ น ​ทั้ ง ห ม ด ​ข อ ง​ พยายาม​ปน้ั ร​ นุ่ ใ​หม่ๆ รุน่ ใ​หม่ๆ มันค​ ล่อง​นะ่ ​ ส​ ม​หมาย ปลูกพ​ ริกแ​ ล้วเ​กิดโ​รค เขา​จงึ เ​ปลีย่ น​ ทำ​ปุ บ ​ปั บ ๆ หั ว มั น ​เ ร็ ว ไอ้ ​เ รา​คิ ด ​ไ ด้ ​ก็ ​ มา​ทำ​นา​อย่าง​เดียว เมือ่ ​ประมาณ​ปี 2551 วางแผน​ให้ม​ นั มึงท​ ำ​หน่อย​วะ่ ” เป็นค​ วาม​ ก็​เกิด​แมลง​ระบาด​อีก ข้าศึก​ประชิด​ตัว​ ตั้งใจ​ของ​บรรเจิด รอบ​ทิศ​เมื่อ​ปุ๋ย​ก็​แพง​ยา​ก็​แพง ตอน​นั้น​ มึง​ทำ​หน่อย​ว่ะ สม​หมาย​มืด​เก้า​ด้าน จึง​มุ่ง​หน้า​ไป​ที่ ศูนย์​

ผัก​มัน​จะ​ขม ต้อง​ใช้​น้ำส้ม​ควัน​ไม้​แทน” สม​หมาย​บอก เริม่ ล​ ง​มา​สำรวจ​ตรวจ​นบั ใ​น​นา​ขา้ ว​ ตาม​หลักสูตร​ทไ​ี่ ด้เ​รียน​มา แต่ส​ ม​หมาย​ไป​ ไกล​กว่า​นั้น เขา​สำรวจ​ตรวจ​นับธรรมชาติ​ ของ​ตนเอง​และ​คน​รอบ​ข้าง​ด้วย “ผม​เริ่ม​คิด​ว่าการ​ทำ​ข้าว​มัน​ต้อง​ รอ​ถึง 4 เดือน​กว่า​จะ​มี​ราย​ได้ แต่​ผล​ไม้​ และ​พื ช ​ผั ก ​มั น ​ไ ด้ ​เ รื่ อ ยๆ พอ​พื ช ​ตั ว ​นี้ ​ ออกดอก​ผ ล​ก็ ​เ อา​ไ ป​ข าย​ที่ ​ต ลาด มั น​ จะ​สั บ ​เ ปลี่ ย น​ห มุ น เวี ย น​กั น ​อ อกดอก​​ ออก​ผ ล​เ รื่ อ ยๆ แล้ ว ​แ ม่ ​บ้ า น​ผ ม​ก็ ​ช อบ​ ค้าขาย ก็​เอา​ไป​ขาย​ที่​ตลาด จาก​นั้น​ก็​เลย​ ทำ​เกษตร​ผสม​ผสาน แล้วล​ ด​การ​ปลูกข​ า้ ว​ เ​หลือ 2 ไร่ไ​ว้ก​ นิ เ​อง นอก​นนั้ ผ​ ม​กป​็ ลูกพ​ ชื ​ ผัก​ผล​ไม้​ไว้​ขาย​เป็น​หลัก” บน​ที่ดิน​กว่า 6 ไร่​ของ​สม​หมาย มี​ เรียน​รู้​โรงเรียน​ข้าว วิสาหกิจ​ชุมชน​บ้าน​ นา​ข้าว 2 ไร่ ที่​เหลือ 4 ไร่ ปลูก​ฝรั่ง พริก คลอง​กล้วย-โรงเรียน​ของ​ชาวนา มะนาว มะพร้าว ขนุน มะปราง มะม่วง “ผม​ได้​เรียน​รู้​การ​ใช้​สาร​ชีว​ภัณฑ์​ สะเดา มะละกอ ดอก​แค กะเพรา โหระพา จาก​ที่ ​นั่ น ตอน​นั้ น ​เ ริ่ ม ​ล ง​พื ช ​ผั ก ​ไ ว้ ​ ตะไคร้ น้ อ ยหน่ า ทั บ ทิ ม ทำ​บ่ อ ​ป ลา​ บ้าง​แล้ว ตอน​แรก​ผม​เอา​สาร​สะเดา​น้ำ​ และ​ปลูก​ดอกไม้​ไว้​ไหว้​พระ มา​ฉีด​ผัก ปรากฏ​ว่า​ผัก​รสชาติ​ขม​ไป​หมด เขา​ใ ช้ ​ส าร​ชี ว ​ภั ณ ฑ์ เ ป็ น ​ห ลั ก สาร​สะเดา​น้ำ​เรา​ฉีด​ใส่​ผัก​ไม่​ได้​นะ​ครับ นอกจาก​จำ​เป็น​จริงๆ จึง​จะ​ใช้​สาร​เคมี “ผม​ป ลู ก ​ด ะ​ไ ป​ห มด ผม​ท ำ​ ผสม​ผสาน​แล้ว​จะ​รู้​ได้​ว่า​พืช​ตัว​ไหนไม่​ถูก​ ​กับ​ตัว​ไหน ถ้า​สมมุติ​มัน​ไม่​ถูก​กับ​พืช​ตัว​นี้​ เรา​ก็ ​ล้ ม ​มั น ​แ ล้ ว ​ล อง​ป ลู ก ​อ ย่ า ง​ใ หม่ ​ คือ​เรา​จะ​รู้​ได้​ก็​ต่อ​เมื่อ​เรา​ลอง​ปลูก ถ้า​ มั น ​ต าย​เ รา​ก็ ​จ ะ​รู้ ​ว่ า …อ๋ อ ไอ้ ​ตั ว ​นี้ ​ ​ไ ม่ ​ช อบ​อ ยู่ ​ใ กล้ ​ไ อ้ ​ตั ว ​นี้ แต่ ​ค วาม​จ ริ ง​ ​พืช​ผล​ทุก​อย่าง​อยู่​ร่วม​กัน​ได้ ขนาด​วัชพืช​ มัน​ยัง​อยู่​กับ​เขา​ได้” สม​หมาย​ถาม​กลับ​ว่า “มัน​แปล​ก​ นั ก รึ กะ​อี ​แ ค่ ​ก าร​เ อา​โ หระพา​ไ ป​แ ลก​ พริก”

ฝรั่ง

แปลก​แน่ เมื่อ​หู​ที่​ได้ยิน​มัน​เป็น​หู​ที่​ เดิน​ทาง​มา​จาก​ใน​เมือง “เรื่ อ ง​ว่ า ​แ ลก​แ ล้ ว ​จ ะ​ก ลั ว ​ไ ม่ ​คุ้ ม​ เพราะ​ของ​เรา​ปลูก​ยาก​กว่า…ไม่มี​หรอก​ ครั บ ไม่ ​ไ ด้ ​คิ ด ​ร ะบบ​นั้ น จะ​ป ลู ก ​ย าก​ ปลู ก ​ง่ า ย​ผ ม​ไ ม่ ​ว่ า เรา​ไ ม่ ​เ น้ น ​ที่ ​มู ล ค่ า​ ของ​มั น ความ​เ ป็ น ​เ พื่ อ น​มั น ​ไ ม่ ​เ กี่ ย ว​ กับ​ราคา เรา​เป็น​เพื่อน​กัน​เป็น​ญาติ​กัน​ แบ่ง​กัน​ได้” น้อง​เก็ต-หลาน​สาว​วัย​ประถม​ต้น​ ของ​สม​หมาย​นำ​เอา​ฝรั่ง​มา​ให้ และ​อวด​ มะนาว​ขนาด​ลกู ต​ ะกร้อใ​ห้ช​ ม มะนาว​ของ​ สม​หมาย ‘มัน​ใหญ่​มาก’ ลูกสาว​ผม​ซอย​สนั้ เ​ดินล​ ง​มาบ​รก​ิ าร​ น้ำด​ มื่ ​เท่านัน้ แ​ หละ…สม​หมาย​เปลีย่ น​จาก​ เรือ่ ง​พชื ม​ า​เรือ่ ง​ลกู “มันด​ อื้ จ​ ริงๆ ชอบ​เทีย่ ว​ ออก​ห้ า วๆ เหมื อ น​ผู้ ช าย​ห น่ อ ย​ไ อ้ ​ลู ก​ ​คน​นี้” ใคร​บาง​คน​ทะลึ่ง​ถาม “ระหว่าง​พืช​ ผัก​กับ​ลูก อย่าง​ไหน​เลี้ยง​ยาก​กว่า​กัน” “เลี้ยง​ลูก​ยาก​ที่สุด (หัวเราะ) ตอน​ เล็ก​ก็​ยัง​ดีๆ พอ​โต​หน่อย เรา​บ่น​ก็​หา​ว่า​ เรา​ด่า แต่​พืช​ผัก​ไม่​ดื้อ​เหมือน​คน ถ้า​มัน​ ไม่ด​ อก​ผล​มนั ไ​ม่ต​ ดิ ล​ กู ก​ แ​็ สดง​วา่ ด​ นิ ไ​ม่ด​ ี ก็​ หา​วธิ ท​ี ำให้ด​ นิ ม​ นั ดีเ​สีย หา​ปยุ๋ ม​ า​บำรุงด​ นิ แมลง​ตัว​ไหน​มัน​เป็น​ศัตรู​พืช​แมลง​ตัว​ไหน​ มันเ​ป็นม​ ติ ร​กบั พ​ ชื เรือ่ ง​พวก​นเ​ี้ รา​สามารถ​ รู้​ได้ หา​วิธี​แก้​ได้ แต่​เลี้ยง​ลูก​ยาก​ที่สุด”​ สม​หมาย​ยิ้ม ก่อน​ตะโกน​ไป​ยัง​ลูกสาว “จะ​ไป​ขาย​ฝรั่ง​ที่​ตลาด​กับ​แม่​หรือ​ จะ​อยู่​เลี้ยง​น้อง​เก็ต​ที่​บ้าน” “หนู​จะ​ไป​ตลาด” ลูกสาว​ยืนยัน​ อย่าง​นั้น


28

Media

วิไลวรรณ จงวิไลเกษม

สื่อไทยอยู่ในยุคมืด หรือยุคสว่าง? เกิด

​อ ะไร​ขึ้ น ​กั บ ​สื่ อ ​ไ ทย​ใ น​ยุ ค ​ปั จ จุ บัน ยุค​ที่​สื่อ​ถูก​ตั้ง​คำถาม​มาก​ถึง ‘ความ​เป็นก​ลาง’ ที่มา​พร้อม​กับ​วาท​กรรม ‘สื่อ​แท้ สื่อ​เทียม’ และ​ เคลื่อน​กลาย​เป็น ‘สื่อ​แดง สื่อ​เหลือง’ วัน​นี้​สื่อ​ไทย​กำลัง​จะ​เปลี่ยนแปลง​ไป​ อย่างไร วัน​ที่​เกิด​เหตุการณ์​มากมาย​กับ​คน​ทำ​สื่อ และ​คน​ทำ​สื่อ​เอง​ก็​ต้อง​ตั้ง​คำถาม​ กับ​ตัว​เอง​ว่า​จะ​เดิน​ไป​ทิศทาง​ใด โดย​มี หนังสือพิมพ์​มติ​ชน เป็น​ตัวนำ​ร่อง​กับ​ ปรากฏการณ์​จุด​เปลี่ยน​ครั้ง​นี้ ถ้าก​ าร​ลา​ออก​ของ​เครือม​ ติช​ น​จาก​ภาคีส​ มาชิกส​ ภา​การ​หนังสือพิมพ์แ​ ห่งช​ าติ​ เป็น​จุด​เปลี่ยน​ของ​สื่อ​ไทย ถือว่า​งดงาม แต่​ความ​เป็น​จริง​เป็น​เช่น​ไร มืด​หรือ​สว่าง ไม่​ว่า​อย่างไร ตอน​นี้​มติ​ชน​เป็น​ทั้ง​ผู้ร้าย​และ​พระเอก​ใน​สายตา​คน​ทำ​สื่อ และ​ คน​เฝ้า​มอง​สื่อ​เป็น​ที่​เรียบร้อย มี​คน​บอก​ว่า จุด​เปลี่ยน​สื่อ​ไทย​เริ่ม​ต้น​ตั้งแต่​วัน​ที่ 19 กันยายน 2549 เช่น​ เดียว​กับ​จุด​เปลี่ยน​ของ​สังคม (การเมือง) ไทย​จริง​หรือ?

จาก​เลิก​จ้าง​ประสงค์… ถึง​ลา​ออก​จาก​ภาคีส​ ภา​การ​หนังสือพิมพ์

ใคร​จะ​คิด...แม้แต่​ตัว ประสงค์ เลิศ​รัตน​วิสุทธิ์ หรือ ‘พี่​เก๊’ ของ​น้องๆ นัก​ข่าว ที่​รู้จัก​ กัน​ใน​นาม​สาธารณะ​ว่า ประสงค์ วิสุทธิ์ นัก​ข่าว​เชิง​สืบสวน​มือ​หนึ่ง​ของ​ประเทศไทย​จะ​ถูก​ จ้าง​ออก​โดย​ผบ​ู้ ริหาร(เจ้าของ) มติช​ น เพราะ​ชอื่ ป​ ระสงค์กบั ม​ ติช​ น​ดเ​ู หมือน​จะ​เป็นร​ า่ ง​และ​ เงา​ของ​กัน​และ​กัน เช่น​เดียว​กับ​คน​ทำ​หนังสือพิมพ์​และ​มติ​ชน​เอง​จะ​คิด​ว่า วัน​หนึ่ง​มติ​ชน​ ทีเ​่ ป็นส​ าร​ตงั้ ต​ น้ แ​ ละ​หวั ห​ อก​สำคัญข​ อง​สภา​การ​หนังสือพิมพ์แ​ ห่งช​ าติ ตัง้ แต่ใ​น​อดีตจ​ นถึง 7 กันยายน 2554 ที่​มี​การ​ยื่น​หนังสือ​ลา​ออก​จาก​ภาคี​สมาชิก​สภา​การ​หนังสือพิมพ์​แห่ง​ ชาติ พื้นที่​ที่​ตน​ปลุก​ปั้น​ขึ้น​มา การ​เลิก​จ้าง​ประสงค์​จาก​การ​เป็น​พนักงาน​บริษัท​มติ​ชน ไม่มี​การ​แจ้ง​เหตุผล​ให้​แก่​ สาธารณะ​ทราบ​จาก​ผบ​ู้ ริหาร​มติช​ น นอกจาก​การ​วพิ ากษ์ว​ จิ ารณ์จ​ าก​คน​ทำ​สอื่ ด​ ว้ ย​กนั เอง​ ว่า เหตุ​เกิด​จาก​บทความ ‘คำถาม​ที่ ‘ยิ่ง​ลักษณ์’ ยัง​ไม่ (กล้า?) ตอบ’ ขณะ​ทม​ี่ ติช​ น​ออนไลน์ว​ นั ท​ ี่ 7 กันยายน 2554 พาด​หวั ข​ า่ ว​วา่ ‘เครือม​ ติช​ น ลา​ออก​ จาก​สภา​การ​หนังสือพิมพ์ การเมือง​ภายนอก​แทรกแซง’ พร้อม​ลง​ราย​ละเอียด​ใน​จดหมาย​ ลา​ออก ใจความ​ตอน​หนึ่ง​ว่า “เป็น​ที่​ประจักษ์​ว่า​มี​อิทธิพล​การเมือง​ภายนอก​เข้า​แทรกแซง และ​มี​ภาคี​สมาชิก​ ตก​เป็นเ​หยือ่ ข​ อง​การ​ตอ่ สูท​้ างการ​เมือง​นนั้ คณะ​กรรมการ​สภา​การ​หนังสือพิมพ์แ​ ห่งช​ าติ​ ยัง​มิได้​แสดง​ความ​กระตือรือร้น​จะ​จัดการ​แก้ไข รวม​ไป​ถึง​ดำเนิน​การ​ระงับ​ความ​เสีย​หาย​ ผ​ ไ​ู้ ด้ร​ บั ผ​ ลก​ระ​ทบ ทีเ​่ สือ่ ม​เสียช​ อื่ เ​สียง​เกียรติยศ​ศกั ดิศ์ รีไ​ป​แล้วด​ งั ท​ ค​ี่ วร​ปฏิบตั ิ กลับแ​ สดง​ ท่าที​เหมือน​เอื้อ​ประโยชน์​ต่อ​กลุ่ม​การเมือง​บาง​กลุ่ม” การ​ลา​ออก​ของ​เครือ​มติ​ชน​เหตุ​เกิด​จาก​ผล​สอบ จดหมาย​อิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล) ของ​นักการ​เมือง ระบุ​การ​ให้​เงิน​และ​ผล​ประโยชน์​แก่​ผู้​ประกอบ​วิชาชีพ​สื่อมวลชน​โดย​มี นพ.วิชัย โชค​วิวัฒน ประธาน​คณะ​อนุกรรมการ​เฉพาะ​เรื่อง​ตรวจ​สอบ​ข้อ​เท็จ​จริงฯ เหตุก​ าร​เลิกจ​ า้ ง​ประสงค์ข​ อง​มติช​ น (หาก​เป็นไ​ป​ตาม​ทค​ี่ น​ทำ​สอื่ ว​ พิ ากษ์) และ​เหตุ​ การ​ลา​ออก​จาก​ภาคี​สมาชิก​สภา​การ​หนังสือพิมพ์​แห่ง​ชาติ​สัมพันธ์​กับ ‘การเมือง’ ทัง้ ส​ อง​กรณีด​ เ​ู หมือน​วา่ มติช​ น ตก​เป็น ‘จำเลย’ ของ​สงั คม​คน​เสพ​สอื่ แ​ ละ​คน​ทำ​สอื่ ​ เกิด​คำถาม​พร้อม​เสียง​วิพากษ์​ทั้ง​บวก​และ​ลบ แต่​สำหรับ​ผู้​เขียน​ไม่​ตั้ง​คำถาม​กับ มติ​ชน แต่​ตั้ง​คำถาม​กับ ‘สื่อ​ไทย’ เพราะ​ผู้​เขียน​มอง​ว่า​มติ​ชน​กำลัง​ทำ​หน้าที่​ภาพ​ตัวแทน (Represent) ของ​สื่อ​ไทย​ใน​ยุค​การ​เปลี่ยน​ผ่าน​สังคม (การเมือง) ไทย


29 ยุคม​ ืด VS ยุค​สว่าง

จาก​ปรากฏการณ์​ทเี่​กิด​ขึ้น​กับ​สื่อ​ไทย​นับ​ตั้งแต่​วัน​ที่ 19 กันยายน 2549 จนถึง​ปัจจุบัน เรา​สามารถ​จำกัด​ความ​ไร้​ระเบียบ​ของ​สื่อ​ไทย​ด้วย​คำ​ว่า ‘ยุค​มืด​ สื่อ​ไทย’ ได้​หรือ​ไม่ กับ​รูป​ธรรม​ที่​ปรากฏ​อย่าง​ชัดเจน​กับ​หนังสือพิมพ์​ผู้​จัดการ​ว่า​ ตนเอง​เป็น ‘เหลือง’ พร้อม​กับ​บทบาท​ใหม่​ใน ASTV การ​เกิด​ขึ้น​ของ​วิทยุ​ชุมชน​ อย่าง​รวดเร็ว​พร้อม​กับ​ความ​เข้ม​ข้น​ของ​การเมือง​แบ่ง​สี ล่าสุด​การ​เลิก​จ้าง และ​ ลา​ออก​จาก​ภาคี​สมาชิก​สภา​การ​หนังสือพิมพ์​แห่ง​ชาติ​ของ​หนังสือพิมพ์​มติ​ชน​ ​ที่​ทำให้​ถูก​วิพากษ์​อย่าง​หนัก​หน่วง​ว่า​มติ​ชน​เป็น ‘แดง’ ทำไม​ผู้​จัดการ​ประกาศ​ตนเอง​เป็น ‘เหลือง’ ยัง​ไม่​สร้าง​แรง​สั่น​สะเทือน​ให้​ กับ​สถาบัน​สื่อ ความ​คาด​หวัง​ของ​สังคม​ต่อ​บทบาท​หน้าที่​และ​ความ​รับ​ผิด​ชอบ​ โดย​เฉพาะ ‘ความ​เป็นก​ลาง’ แต่​เมื่อ​มติ​ชน​ประกาศ​ลา​ออก​จาก​ภาคี​สมาชิก​สภา​ การ​หนังสือพิมพ์แ​ ห่งช​ าติก​ ลับส​ ร้าง​ความ​สนั่ ค​ ลอน​ให้ก​ บั ส​ ถาบันส​ อื่ ไม่แ​ ต่เ​ฉพาะ​ หนังสือพิมพ์ม​ ติช​ น​ถกู ค​ าด​หวังว​ า่ เ​ป็นภ​ าพ​ตวั แทน​ของ​มาตรฐาน​ของ​หนังสือพิมพ์​ ไทย​ใน​การนำ​เสนอ​ข่าว​การเมือง เป็นต้น​แบบ​ของ​หนังสือพิมพ์​การเมือง​ไทย​ เป็นห​ นังสือพิมพ์ท​ ถ​ี่ กู น​ ำ​มา​ใช้ป​ ระกอบ​การ​สอน​ของ​วชิ า​ขา่ ว​และ​หนังสือพิมพ์ข​ อง​ ทุก​สถาบัน​การ​ศึกษา​ทาง​ด้าน​นิเทศศาสตร์ แต่​คือ​ความ​ท้าทาย​ที่​ยัง​ไม่​เคย​ปรากฏ​ใน​สื่อ​ไทย ท้าทาย​กับ​กฎ​ข้อ​บังคับ​ คน​ทำ​สื่อท​ ี่​ยึดถือ​มา​นาน สภาวะ​ความ​ไร้​ระเบียบ​ของ​คน​ทำ​สื่อ​วัน​นี้​สะท้อน​ปรากฏการณ์​ความ​ไร้​ ระเบียบ (Disorder) ของ​สังคม​ไทย​วัน​นี้​ได้​หรือ​ไม่ หาก​วิเคราะห์​ตาม​หลัก​ทฤษฎี​ บรรทัดฐาน​ของ​สื่อ​ที่​เชื่อ​ว่า ‘สังคม​แบบ​ไหน สื่อ​ก็​แบบ​นั้น’ เพราะ​แม้แต่​คน​ทำ​สื่อ​ อย่าง​มติ​ชน​ที่​เป็นต้น​แบบ​ของ​สังคม เป็น​ตัว​บ่ม​เพาะ​ความ​คิด​ทาง​สังคม และ​ถือ​ เป็น ‘ผู้​พิทักษ์​ผล​ประโยชน์​ของ​ชาติ’ ยัง​ไร้​ระเบียบ​เช่น​นี้ หรือจ​ ริงแ​ ล้ว ‘ความ​ไร้ร​ ะเบียบ’ คือ สภาวะ​ของ​การ​ปรับ (จัด) กระบวน​ทศั น์​ ของ​คน​ทำ​สื่อ โดย​หนังสือพิมพ์​มติ​ชน​เป็น​หัว​หอก​นำร่อง​ของ​คน​ทำ​หนังสือพิมพ์ ที่​ออก​จาก​จารีต​เดิม​ที่​ปฏิบัติ​กัน​มา แต่​ใช้​การ​ไม่​สมบูรณ์​แล้ว​กับ​บริบท​สังคม​และ​ เทคโนโลยี​การ​สื่อสาร​ที่​เปลี่ยน​ไป การ​ปรับ (จัด) กระบวน​ทศั น์แ​ ละ​ระเบียบ​ใหม่บ​ น​ภาพ​ของ​ความ​ไร้ร​ ะเบียบ คือ​อาการ​ของ​คน​ทำ​สื่อ​ที่กำลัง​อยู่​ใน​สภาวะ​แห่ง​การ​ตื่น​รู้ (The Age of Enlightenment) หรือ​ไม่ อย่าง​ที่ อิม​มานู​เอล คา​นท์ (Immanuel Kant) ว่า​ไว้​ใน An Answer to the Question: What is Enlightenment ว่า ‘การ​หลุด​พ้น​จาก​ความ​ อ่อน​เขลา​ที่​เกิด​ขึ้น​จาก​ตัว​มนุษย์​เอง​นั้น ก็​มี​น้อย​ลง​เรื่อยๆ โดย​มี​สิ่ง​บ่ง​ชี้​ที่​ชัดเจน​ ว่า เส้น​ทาง​ที่​จะ​ไป​นั้น ได้​ถูก​ทำให้​โปร่ง​โล่ง​เพื่อ​ที่​จะ​เดิน​ไป​ได้’ หาก​ประสงค์​ไม่​ถูก​เลิก​จ้าง​จาก​มติ​ชน วัน​นี้​ประสงค์​ยัง​คง​นั่ง​แช่​แข็ง​ความ​ สามารถ​ของตัว​เอง​อยู่​ที่​หลืบ​หนึ่ง​ของ​ตึก​มติ​ชน จด​ๆ จ้อง​ๆ ​รอ​เวลา​ครบ​ชั่วโมง​ ทำงาน​ตอก​บตั ร​กลับบ​ า้ น คง​ไม่ม​ งุ่ ม​ นั่ ท​ ำงาน​แบบ​ลมื เ​วลา​เหมือน​วนั น​ ก​ี้ บั อ​ นาคต​ ใหม่​ของ​เขา​ที่ www.prasong.com วัน​ที่​เขา​ไม่มี​มติ​ชน​เป็น​เงา​ตาม​ตัว​ หาก​ใคร​ เป็น​เพื่อน​กับ​ประสงค์​ทาง Facebook จะ​พบ​อาการ​ตื่น​ตัว​ขยัน​เอา​ข่าว​ของ​เขา​ ขึ้น​ทั้ง​เช้า​และ​ก่อน​นอน การ​ปรับ​กระบวน​ทัศน์​ใหม่​ของ​มติ​ชน​นอกจาก​สร้าง​พื้นที่​ข่าว​แห่ง​ใหม่​ อย่าง www.prasong.com ภาย​ใต้​คำ​จำกัด​ความ​ว่า ‘เล่า​ข่าว​จาก​ประสบการณ์’ ยัง​นำพา​เว็บไซต์​ข่าว​ใหม่​ล่าสุด​ที่​ชื่อ www.thatpublica.com ภาย​ใต้สโลแกน​ว่า ‘กล้าพ​ ดู ค​ วาม​จริง’ โดย​มี บุญล​ าภ ภูส​ วุ รรณ อดีตบ​ รรณาธิการ​บริหาร หนังสือพิมพ์​ ประชาชาติ​ธุรกิจ​ที่​ลา​ออก​จาก​การ​ปรับ​โครงสร้าง​ครั้ง​ใหญ่​ของ​เครือ​มติ​ชน​เมื่อ​ กลาง​ปี​นี้ มา​เป็น​กรรมการ​บริหาร ผล​ประโยชน์​ทั้งหมด​ต่อ​การ​เปลี่ยนแปลง​ล้วน​ตก​อยู่​กับ ‘ผู้​เสพ​สื่อ’ มี​พื้นที่​ สื่อ​ให้​เลือกสรร​มาก​ขึ้น และ​ที่​สำคัญ​ตรง​กับ​ความ​ต้องการ​ที่​เฉพาะ​มาก​ขึ้น เมื่อ​อุดมการณ์​ต่าง​กัน​แล้ว แยก​จาก​กัน​ไป​ตาม​วิถี​ทาง​ของ​ตนเอง มี​แต่​จะ​ นำพา ‘ความ​สว่าง’ มา​สส​ู่ อื่ ไ​ทย ขอ​ขอบคุณผ​ อ​ู้ ยูเ​่ บือ้ ง​หลังก​ าร​เปลีย่ นแปลง​นอ​ี้ ย่าง​ ใจ​จริง ไม่​เช่น​นั้น​คน​ทำ​สื่อ​คง​มัว​แต่​นั่ง​ยึด​ติด​กรอบ ไม่​ไป​ไหน​กัน

กำเนิดสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เมื่อ​วัน​ที่ 1 กรกฎาคม 2540 สมา​พันธ์​นัก​หนังสือพิมพ์​แห่ง​ประเทศไทย​ ได้​ออก​ประกาศ​แต่ง​ตั้ง​กรรมการ​ยก​ร่าง​ธรรมนูญ​สภา​การ​หนังสือพิมพ์​แห่ง​ชาติ​ มีใ​จความ​วา่ ตาม​ทผ​ี่ ป​ู้ ระกอบ​วชิ าชีพห​ นังสือพิมพ์ มีเ​จตนารมณ์ท​ จ​ี่ ะ​จดั ต​ งั้ อ​ งค์กร​ อิสระ​เพือ่ ค​ วบคุมก​ นั เอง​โดย​สมัคร​ใจ เจ้าของ​และ​บรรณาธิการ​ผม​ู้ อ​ี ำนาจ​เต็มข​ อง​ หนังสือพิมพ์​และ​สมา​คมฯ ผู้​ประกอบ​วิชาชีพ​ที่​ชอบ​ด้วย​กฎหมาย​ได้​ให้​ความ​เห็น​ ชอบ​ทจ​ี่ ะ​ลง​นาม​รว่ ม​กนั ใ​น​วนั ท​ ี่ 4 กรกฎาคม 2540 เพือ่ แ​ สดง​ให้เ​ห็นว​ า่ ผ​ ป​ู้ ระกอบ​ วิชาชีพ​ทั้ง​มวล​พร้อม​ที่​จะ​ดำเนิน​การ​ควบคุม​กันเอง เพื่อ​ดำรง​ไว้​ซึ่ง​หลัก​การ​ พ​ น้ื ฐ​ าน​ใน​เรือ่ ง​เสรีภาพ ใน​การ​แสดง​ความ​คดิ เ​ห็น อันเ​ป็นห​ ลักป​ ระกันค​ วาม​รบั ผ​ ดิ ช​ อบ​ ​ใน​การ​เสนอ​ข่าวสาร และ​แสดง​ความ​คิด​เห็น​ของ​ผู้​ประกอบ​วิชาชีพ​นี้ ใน​วัน​ที่ 4 กรกฎาคม 2540 เจ้าของ​กิจการ​หนังสือพิมพ์​และ​บรรณาธิการ​ หนังสือพิมพ์ฉ​ บับภ​ าษา​ไทย อังกฤษ 25 ฉบับ จาก​จำนวน​ทงั้ ส​ นิ้ 32 ฉบับ รวม​ทงั้ ​ ​องค์กร​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​หนังสือพิมพ์ 10 องค์กร ได้​ร่วม​กันลง​นาม​ใน​บันทึก​ เจตนารมณ์​จัด​ตั้ง สภา​การ​หนังสือพิมพ์​แห่ง​ชาติ เพื่อ​เป็น​องค์กร​ควบคุม​กันเอง และ​สง่ เ​สริมเ​สรีภาพ​และ​ความ​รบั ผ​ ดิ ช​ อบ​ยก​ระดับผ​ ป​ู้ ระกอบ​วชิ าชีพห​ นังสือพิมพ์​ และ​กิจการ​หนังสือพิมพ์​ให้​ดี​ยิ่ง​ขึ้น โดย​มี​ตัวแทน​สถาน​ทูต​สหรัฐอเมริกา อินเดีย รัสเซีย และ​สโมสร​ผู้​สื่อ​ข่าว​ต่าง​ประเทศ​ร่วม​เป็น​สักขี​พยาน​ด้วย ต่ อ ​ม า​ใ น​วั น ​ที่ 4 สิ ง หาคม 2540 ที่​สมา​พันธ์​นัก​หนังสือพิมพ์​แห่ง​ ประเทศไทย ศ.นาย​แพทย์​ประเวศ วะ​สี ประธาน​คณะ​กรรมการ​ยก​ร่าง​ธรรมนูญ​ สภา​การ​หนังสือพิมพ์​แห่ง​ชาติ พร้อม​ด้วย​คณะ​กรรมการ​ยก​ร่างฯ แถลง​ผล​สำเร็จ​ การ​ยก​ร่าง​ธรรมนูญ​สภา​การ​หนังสือพิมพ์​แห่ง​ชาติ​ว่า คณะ​กรรมการ​ยก​ร่างฯ ได้​ ดำเนิน​การ​ยก​ร่าง​ธรรมนูญ​สภา​การ​หนังสือพิมพ์​แห่ง​ชาติ​ขึ้น​เป็น​ครั้ง​แรก ตาม​ เจตนารมณ์ข​ อง​ผป​ู้ ระกอบ​วชิ าชีพห​ นังสือพิมพ์ ซึง่ ไ​ด้ล​ ง​นาม​ใน​บนั ทึกร​ ว่ ม​กนั เ​มือ่ ​ วัน​ที่ 4 กรกฎาคม 2540 ณ ศูนย์​ประชุม​แห่ง​ชาติ​สิ​ริกิ​ติ์ ศ.นพ.ประเวศ แถลง​ว่า หลัก​การ​สำคัญ​ของ​สภา​การ​หนังสือพิมพ์​แห่ง​ชาติ​ ตาม​ธรรมนูญ​ดัง​กล่าว เป็น​ไป​เพื่อ​ให้​วงการ​หนังสือพิมพ์​ได้​ควบคุม​ดูแล​กันเอง ขณะ​เดียวกัน​เปิด​โอกาส​ให้​บุคคล​ภายนอก​ได้​เข้า​มา​ร่วม​ใน​คณะ​กรรมการ​สภา​ การ​หนังสือพ​ มิ พ์ฯ ดังก​ ล่าว​ดว้ ย องค์ป​ ระกอบ​ของ​กรรมการ​ประกอบ​ดว้ ย 4 ส่วน คือ เจ้าของ​หรือ​ผู้​บริหาร​หรือ​ผู้​ประกอบ​การ​ซึ่ง​เลือก​กันเอง 5 คน บรรณาธิการ​ หรือ​ตัวแทน​ผู้​มี​อำนาจ​จาก​กอง​บรรณาธิการ​ซึ่ง​เลือก​กันเอง 5 คน ผู้​ปฏิบัติ​งาน​ หนังสือพิมพ์​ซึ่ง​เลือก​โดย​สมา​พันธ์​นัก​หนังสือพิมพ์​แห่ง​ประเทศไทย 4 คน ผู้ทรง​ คุณวุฒใ​ิ น​สาขา​อาชีพต​ า่ งๆ อีก 7 คน ใน​จำนวน​นเ​ี้ ป็นผ​ ทู้ รง​คณ ุ วุฒท​ิ ม​ี่ อ​ี าวุโส​และ​ ประสบ​การ​สูง​ด้าน​หนังสือพิมพ์​ซึ่ง​ไม่​สังกัด​หนังสือพิมพ์​ใด 2 คน อีก​หลัก​การ​หนึ่ง​ที่​สำคัญ​ใน​การ​ควบคุม​กันเอง​ของ​สภา​การ​หนังสือ​พิมพ์ฯ กำหนด​ไว้ใ​น​หมวด​ความ​รบั ผ​ ดิ ช​ อบ​ทาง​จริยธรรม เมือ่ ค​ ณะ​กรรมการ​มค​ี ำ​วนิ จิ ฉัย​ ว่าส​ มาชิกห​ รือผ​ ป​ู้ ระกอบ​วชิ าชีพห​ นังสือพิมพ์ใ​น​สงั กัดส​ มาชิกล​ ะเมิดห​ รือป​ ระพฤติ​ ผิด​จริยธรรม​แห่ง​วิชาชีพ ก็​จะแจ้ง​ให้​หนังสือพิมพ์​ฉบับ​ที่​ถูก​ร้อง​เรียน​ลง​ตี​พิมพ์​ คำ​วินิจฉัย​ดัง​กล่าว​ภายใน 7 วัน และ​อาจ​แจ้ง​ให้​หนังสือพิมพ์​ฉบับ​นั้น​ตี​พิมพ์​ ข้อความ​คำขอ​โทษ​ผเ​ู้ สียห​ าย ส่วน​กรณีม​ ผ​ี ถ​ู้ กู ร​ อ้ ง​วา่ ป​ ระพฤติผ​ ดิ จ​ ริยธรรม​สภา​การ​ หนังสือพ​ มิ พ์ฯ จะแจ้งไ​ป​ยงั ต​ น้ ส​ งั กัดเ​พือ่ ด​ ำเนินก​ าร​ลงโทษ​แล้วแ​ จ้งผ​ ล​ให้ส​ ภา​การ​ หนังสือพ​ มิ พ์ฯ ทราบ​โดย​เร็ว ใน​การ​นส​ี้ ภา​อาจ​เผย​แพร่ค​ ำ​วนิ จิ ฉัยต​ อ่ ส​ าธารณะ​ได้ คณะ​กรรมการ​ยก​ร่าง​ธรรมนูญ​สภา​การ​หนังสือพิมพ์​แห่ง​ชาติ​จะ​ยก​ร่าง​ข้อ​บังคับ​ ต่างๆ เพือ่ ใ​ห้ม​ ก​ี าร​เลือก​กรรมการ​สภา​การ​หนังสือพิมพ์แ​ ห่งช​ าติข​ นึ้ เ​ป็นค​ ณะ​แรก​ ภายใน​ระยะ​เวลา 120 วัน หลังจ​ าก​นนั้ ส​ ภา​การ​หนังสือพ​ มิ พ์ฯ จะ​ดำเนินก​ าร​เพือ่ ​ ให้​มี​การ​ควบคุม​กันเอง​ใน​หมู่​ผู้​ประกอบ​วิชาชีพ​หนังสือพิมพ์​ต่อ​ไป ที่มา: www.presscouncil.or.th


30

Justice for All

ยัง

​คง​เป็น​ปัญหา​ต่อ​เนื่อง และ​มี​ทีท่า​ว่า​มหา​กาพย์​แผน​พัฒนา​เซา​เธิร์น ซี​บอร์ด (Southern Seaboard) ใน​ภาค​ใต้ต​ อน​บน​จะ​คง​ดำเนินเ​รือ่ ง​ราว​ไป​เรือ่ ยๆ อย่าง​ ไม่มี​วัน​จบ​สิ้น และ​ยัง​ปรากฏ​ร่อง​รอย​ความ​ขัด​แย้ง​ไว้​ตาม​รายทาง โรง​ถลุงเ​หล็ก โรง​กำจัดข​ ยะ โรง​ไฟฟ้า โผล่เ​ป็นเ​ส้นร​ า่ ง​รางๆ บน​แผนทีม​่ า​นาน​กว่า 15 ปี พื้นที่​จังหวัด​ประจวบคีรีขันธ์​กลาย​เป็น​สมรภูมิ​ขนาด​ย่อม ระหว่าง​นโยบาย​ของ​รัฐ และ​ประชาชน การ​ชุมนุม​คัดค้าน​โรง​ไฟฟ้า​บ้าน​กรูด-บ่อน​อก​เมื่อ​ปี 2538 ดู​เหมือน​จะ​ เป็นช​ ยั ชนะ​ครัง้ ห​ นึง่ ข​ อง​คน​ธรรมดา แต่ เจริญ วัดอ​ กั ษร แกน​นำ​กลุม่ ต​ อ่ ต​ า้ น​กต​็ อ้ ง​สงั เวย​ ชีวิต​ให้​กับ​กระสุน​ปืน​ใน​ปี 2547 ล่าสุด​คลื่น​ความ​ขัด​แย้ง​ลูก​ใหม่​กำลัง​ซัด​ใส่​ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ​การ​ไฟฟ้า​ฝ่าย​ ผลิตแ​ ห่งป​ ระเทศไทย (กฟผ.) กำลังเ​ตรียม​ลง​เข็มก​ อ่ สร้าง​โรง​ไฟฟ้าถ​ า่ นหินข​ นาด 4,000​ เมกะ​วตั ต์อ​ ย่าง​จริงจัง บน​พนื้ ที่ 4,142 ไร่ ที่ ตำบล​นา​หกู วาง อำเภอ​ทบั สะแก การ​ชมุ นุม​ คัดค้าน​กำลัง​เริ่ม​ต้น​ขึ้น​อีก​ครั้ง ประชามติ (Referendum) ถูก​ยก​ขึ้น​มา​เป็น​เครื่อง​มือ​สำคัญ​ใน​การ​คลี่คลาย​ปม​ ปัญหา​ดัง​กล่าว เพราะ​เป็นการ​ใช้​อำนาจ​ทาง​ตรง​ของ​ประชาชน โดย​เฉพาะ​การ​ดำเนิน​ โครงการ​ที่​อาจ​ก่อ​ให้​เกิด​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​ชุมชน​อย่าง​รุนแรง จะ​ต้อง​จัด​ให้​มี​กระบวนการ​​ รับ​ฟัง​ความ​คิด​เห็น​ของ​ประชาชน​เสีย​ก่อน รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2550 ได้​บรรจุ​เรื่อง​นี้​ ไว้ใ​น​มาตรา 165 ซึง่ น​ บั ว​ า่ เ​ป็นป​ ระชามติท​ ท​ี่ รง​พลัง เพราะ​สามารถ​นำ​เสียง​ของ​ประชาชน​ ไป​บังคับ​ใช้ได้​จริง 2 นักก​ ฎหมาย ชาญ​เชาวน์ ไชยา​นก​ุ จิ และ รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะ​วณิก ร่วม​ให้ค​ ำ​ตอบ​ เกี่ยว​กับ​เรื่อง​เสียง​ของ​ประชามติ​ว่า นี่​คือ​อำนาจ​ที่​อยู่​ใน​มือ​ประชาชน​จริง​หรือ​ไม่

ชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ

รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก

อธิบดีกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม

คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย สาขานิติศาสตร์ ​ มหาวิทยาลัยสยาม

ประชามติ อำนาจในมือประชาชน? 01

ตาม​รัฐธรรมนูญ​มาตรา 165 หมาย​ถึงผ​ ู้​ที่​สามารถ​กำหนดการ​ออก​ เสียง​ประชามติไ​ด้​คอื ร​ ฐั เ​ท่านัน้ ​ใช่​หรือไ​ม่ ชาญ​เชาวน์ : ประชาชน​ผู้ ​มี ​สิ ท ธิ ​

เลือก​ตั้ง​ทุก​คน​มี​สิทธิ​ออก​เสียง​ประชามติ แต่​กิจการ​หรือ​ประเด็น​ใด​จะ​เป็น​เหตุ​ให้​มี​ การ​ออก​เสียง​ประชามติ​นั้น ตาม​มาตรา 165(1) ให้​คณะ​รัฐมนตรี​มี​ดุลพินิจ​ใน​ การ​กำหนด​ให้​มี​การ​ออก​เสียง​ประชามติ​ ได้ ทั้งนี้​นายก​รัฐมนตรี​อาจ​ปรึกษา​กับ​ ประธาน​สภา​ผู้​แทน​ราษฎร​และ​ประธาน​ วุฒิสภา​ก่อน​ก็ได้ อย่ า งไร​ก็ ต าม มาตรา 165(2)​ ยัง​เปิด​ช่อง​ให้​มี​การ​กำหนดการ​ออก​เสียง​ ประชามติ​ใน​กิจการ​หรือ​ประเด็น​ใด​ก็ได้ หรือ​จะ​กำหนด​ให้​บุคคล​หรือ​คณะ​บุคคล​ ใดๆ เป็ น ​ผู้ ​ก ำหนด​ใ ห้ ​มี ​ก าร​อ อก​เ สี ย ง​ ประชามติ​ก็ได้ ทั้งนี้​อาจ​กำหนด​ไว้​เป็น​

เนื้ อ หา​ห รื อ ​เ งื่ อ นไข​ใ น​ก ฎหมาย​แ ต่ ล ะ​ เรื่อง​ว่า เพื่อ​ให้​ประชาชน​มี​ส่วน​ร่วม​ใน​ การ​ตัดสิน​ใจ​ใน​เรื่อง​นั้นๆ จะ​ต้อง​จัด​ให้​มี​ การ​ออก​เสียง​ประชามติ​เสีย​ก่อน รวม​ทั้ง​ กำหนด​ก ระบวนการ​ใ น​ก าร​ก ำหนด​ ประเด็น​ไว้​ด้วย​ก็ได้ นั่น​หมายความ​ว่า​ใน​ ระยะ​ยาว​ควร​มี​การ​ร่าง​กฎหมาย​เกี่ยว​กับ​ เรื่อง​นี้​ขึ้น​มา แล้ว​กำหนด​ไว้​ว่า​รัฐ​จะ​ทำ​ อะไร​ต้อง​ผ่าน​การ​ลง​ประชามติ​ก่อน​ก็ได้ เจษฎ์: ใน​การ​พจิ ารณา​รฐั ธรรมนูญ หรือก​ ฎ​หมาย​ใดๆ นัน้ เรา​ไม่ส​ ามารถ​ทจ​ี่ ะ​ พิจารณา​เป็นส​ ว่ นๆ แยก​จาก​กนั ไ​ด้ ยกเว้น​ แต่ว​ า่ ส​ ว่ น​นนั้ ๆ เป็นส​ ว่ น​ทช​ี่ ดั เจน​ใน​ตวั เ​อง และ​สามารถ​ที่​จะ​พิจารณา​เป็น​เอกเทศ หรือ​พิจารณา​แยก​จาก​ส่วน​อื่นๆ ได้ โดย​ ไม่​เสีย​ความ​หมาย​ที่แท้​จริง ใน​ส่ ว น​ข อง​ม าตรา 165 ของ​ รัฐธรรมนูญ​แห่ง​ราช​อาณาจักร​ไทย พ.ศ. 2550 นั้ น ​จ ะ​ต้ อ ง​พิ จ ารณา​ทั้ ง ​ม าตรา​​

ร่วม​กัน ความ​ว่า “มาตรา 165 ประชาชน​ผู้​มี​สิทธิ​ เลือก​ตั้ง​ย่อม​มี​สิทธิ​ออก​เสียง​ประชามติ การ​จดั ใ​ห้ม​ ก​ี าร​ออก​เสียง​ประชามติ​ ให้​กระทำ​ได้​ใน​เหตุ ดัง​ต่อ​ไป​นี้ (1) ใน​กรณี​ที่​คณะ​รัฐมนตรี​เห็น​ว่า​ กิจการ​ใน​เรื่อง​ใด​อาจ​กระทบ​ถึง​ประโยชน์​ ได้ ​เสี ย ​ข อง​ป ระเทศ​ช าติ ​ห รื อ ​ป ระชาชน นายก​รฐั มนตรีโ​ดย​ความ​เห็นช​ อบ​ของ​คณะ​ รัฐมนตรี​อาจ​ปรึกษา​ประธาน​สภา​ผู้​แทน​ ราษฎร​และ​ประธาน​วุฒิสภา​เพื่อ​ประกาศ​ ใน​ราช​กิจ​จา​นุเบกษา​ให้​มี​การ​ออก​เสียง​ ประชามติ​ได้ (2) ใน​กรณี​ที่​มี​กฎหมาย​บัญญัติ​ให้​ มี​การ​ออก​เสียง​ประชามติ การ​ออก​เสียง​ประชามติ​ตาม (1) หรือ (2) อาจ​จัด​ให้​เป็นการ​ออก​เสียง​เพื่อ​ มีข​ อ้ ย​ ตุ โ​ิ ดย​เสียง​ขา้ ง​มาก​ของ​ผม​ู้ ส​ี ทิ ธิอ​ อก​ เสียง​ประชามติใ​น​ปญ ั หา​ทจ​ี่ ดั ใ​ห้ม​ ก​ี าร​ออก​

เสียง​ประชามติ หรือเ​ป็นการ​ออก​เสียง​เพือ่ ​ ให้​คำ​ปรึกษา​แก่​คณะ​รัฐมนตรี​ก็ได้ เว้น​แต่​ จะ​มี​กฎหมาย​บัญญัติ​ไว้​เป็นการ​เฉพาะ การ​อ อก​เ สี ย ง​ป ระชามติ ​ต้ อ ง​ เป็นการ​ให้​ออก​เสียง​เห็น​ชอบ​หรือ​ไม่​เห็น​ ชอบ​ใ น​กิ จ การ​ต าม​ที่ ​จั ด ​ใ ห้ ​มี ​ก าร​อ อก​ เสี ย ง​ป ระชามติ และ​ก าร​จั ด การ​อ อก​ เสียง​ประชามติ​ใน​เรื่อง​ที่​ขัด​หรือ​แย้ง​ต่อ​ รัฐธรรมนูญ​หรือ​เกี่ยว​กับ​ตัว​บุคคล​หรือ​ คณะ​บุคคล จะ​กระทำ​มิได้ ก่อน​การ​ออก​เสียง​ประชามติ รัฐ​ ต้อง​ดำเนิน​การ​ให้​ข้อมูล​อย่าง​เพียง​พอ และ​ให้​บุคคล​ฝ่าย​ที่​เห็น​ชอบ​และ​ไม่​เห็น​ ชอบ​กบั ก​ จิ การ​นนั้ มีโ​อกาส​แสดง​ความ​คดิ ​ เห็น​ของ​ตน​ได้​อย่าง​เท่า​เทียม​กัน หลัก​เกณฑ์​และ​วิธี​การ​ออก​เสียง​ ประชามติ​ให้​เป็น​ไป​ตามพ​ระ​ราช​บัญญัติ​ ประกอบ​รั ฐ ธรรมนู ญ ​ว่ า ​ด้ ว ย​ก าร​อ อก​ เสียง​ประชามติ ซึ่ง​อย่าง​น้อย​ต้อง​กำหนด​


31 ราย​ล ะเอี ย ด​เ กี่ ยว​กั บ​วิ ธี ​ก าร​อ อก​เ สี ย ง​ ประชามติ ระยะ​เวลา​ใน​การ​ดำเนิน​การ และ​จำนวน​เสียง​ประชามติ เพื่อ​มี​ข้อ​ยุติ” จะ​เ ห็ น ​ไ ด้ ​ว่ า การ​อ อก​เ สี ย ง​ ประชามติน​ นั้ มีไ​ด้ท​ งั้ ใ​น​สว่ น​ของ​อนุมาตรา 1 และ​อนุมาตรา 2 ซึ่ง​หาก​จะ​มอง​คำ​ว่า​ ‘รั ฐ ’ ใน​แ ง่ ​ห มาย​ถึ ง ‘รั ฐ บาล’ คำ​ตอบ​ ต่ อ ​ค ำถาม​ที่ ​มี ​ม า​ข้ า ง​ต้ น ​ก็ ​ต้ อ ง​ต อบ​ว่ า ‘ไม่ใช่’ แต่​หาก​มอง ‘รัฐ’ ใน​แง่​หมาย​ถึง​ ‘รัฐา​ ธิปัตย์’ หรือ​ผู้​ที่​ทำ​หน้าที่​ปกครอง ซึ่ง​ อาจ​จะ​รวม​ถึง​หน่วย​งาน​รัฐ​ต่างๆ ด้วย ก็​น่า​จะ​ต้อง​ตอบ​ว่า ‘ใช่’ มี​แต่​เพียง​รัฐ​ เท่านั้น​ที่​จะ​สามารถ​ดำเนิน​การ​เรื่อง​การ​ ประชามติ​ได้

02

ถ้าก​ าร​ลง​ประชามติน​ ั้น เป็น​ไป​เพื่อ​ ต่อ​ต้าน​คัดค้าน​กิจการ​หรือโ​ครงการ​ ของ​รัฐจ​ ะ​ทำ​อย่างไร ชาญ​เ ชาวน์ : หาก​มี ​ข้ อ มู ล ​เ ชิ ง​

ประจักษ์​พอ​สมควร ประชาชน​อาจ​ร่วม​ กัน ​ผลัก​ดัน​ให้​คณะ​รัฐมนตรี​เห็น​ว่า การ​ ดำเนิน​กิจการ​หรือ​โครงการ​ของ​รัฐ​อาจ​ กระทบ​ถึง​ประโยชน์​ได้​เสีย​ของ​ประเทศ​ หรือ​ประชาชน และ​จัด​ให้​มี​การ​ออก​เสียง​ ประชามติ ทัง้ นีต​้ อ้ ง​มนั่ ใจ​วา่ ก​ ระบวนการ​ออก​ เสียง​ประชามติ​นั้น​มี​ความ​ชัดเจน และ​มี​ ความ​เท่า​เทียม​ใน​การ​ออก​เสียง​เพียง​พอ โดย​มี​ข้อ​สังเกต​ว่า รัฐธรรมนูญ​ให้​คณะ​ รัฐมนตรี​มี​ดุลพินิจ​ที่​จะ​เลือก​ได้​ว่าการ​ ออก​เสียง​ประชามติ​เป็น​ไป​เพื่อ​ให้​มี​ข้อ​ ยุติ​โดย​เสียง​ข้าง​มาก​ใน​ปัญหา​นั้นๆ หรือ​ เป็นการ​ออก​เสียง​เพื่อ​ให้​คำ​ปรึกษา​แก่​ คณะ​รัฐมนตรี​เท่านั้น เจษฎ์: คำถาม​นค​ี้ งจะ​มน​ี ยั ย​ ะ​เพือ่ ท​ ​ี่ จะ​ตงั้ ข​ อ้ ส​ งสัยส​ บื เ​นือ่ งจาก​คำถาม​ใน​ขอ้ ท​ ี่ 1 ซึ่ง​หาก​มี​แต่​เพียง ‘รัฐ’ ไม่​ว่า​จะ​หมาย​ถึง ‘รัฐบาล’ หรือ ‘รัฐ​าธิปัตย์’ ที่​จะ​สามารถ​ ดำเนิน​การ​เรื่อง​การ​ลง​ประชามติ​ได้​แล้ว ประชาชน​จ ะ​ท ำ​อ ย่ า งไร เพราะ​ห าก​ กิจการ​เป็น​กิจการ​ของ​รัฐ หรือ​โครงการ​ เป็น​โครงการ​ของ​รัฐ ‘รัฐ’ นั้น​ก็​คงจะ​ไม่​ ต้องการ​ให้​มี​การ​ลง​ประชามติ​ที่​จะ​ส่ง​ผล​ ให้​เป็นการ​คัดค้าน หรือ​จะ​เป็นการ​ยัง​ผล​ ให้​กิจการ หรือ​โครงการ​ของ​ตน​นั้น​ตก หรือ​เป็น​อัน​สิ้น​ผล​ไป อย่างไร​ก็ตาม​หาก​เรา​มอง​ว่า​สิทธิ​ และ​เสรีภาพ​ทั้ง​หลาย​ของ​ประชาชน​นั้น​ มี​มา​แต่​กำเนิด รัฐธรรมนูญ​เพียง​แต่​มา​ ร​อง​รบั ส​ ทิ ธิแ​ ละ​เสรีภาพ​เหล่าน​ น้ั ใ​ห้ม​ ค​ี วาม​ ​ชัดเจน หลัก​สำคัญ​ประการ​หนึ่ง​ของ​การ​ มี​รัฐธรรมนูญ​ก็​คือ การ​เขียน​เรื่อง​สิทธิ​ และ​เสรีภาพ​ใน​มุม​ของ​การ​ชี้​ให้​ประชาชน​ เห็น​ร่วม​กัน​ว่า​ต้อง​มี​การ​จำกัด​สิทธิ​และ​ เสรีภาพ​ของ​พวก​เรา​ทั้ง​หลาย​เอา​ไว้ เพื่อ​

ให้การ​อยู่​ร่วม​กัน​นั้น​เป็น​ไป​อย่าง​ผาสุก เมื่อ​เป็น​ดัง​ว่า สิทธิ​และ​เสรีภาพ​ใน​ การนำ​เสนอ​เรื่อง​ใดๆ ของ​ประชาชน​ต่อ​ ผูแ​้ ทน​ของ​ตน หรือผ​ ท​ู้ ที่ ำการ​แทน​ตน​ไม่ว​ า่ ​ จะ​เป็น​ฝ่าย​นิติบัญญัติ ฝ่าย​ตุลาการ หรือ​ ฝ่าย​บริหาร โดย​กระทำ​อย่าง​สุภาพ​ชน​ สมควร​กระทำ​กัน ก็​ไม่​น่า​ที่​จะ​เป็น​เรื่อง​ ต้อง​จำกัด​ตัดรอน​สิทธิ​และ​เสรีภาพ​อัน​ใด ดัง​นั้น​อาศัย​หลัก​เช่น​ว่า ประชาชน​ก็​น่า​ จะ​เสนอ​ให้ม​ ก​ี าร​ลง​ประชามติเ​พือ่ ค​ ดั ค้าน​ กิจการ หรือ​โครงการ​ของ​รัฐ​ได้

แทน​ก าร​ชุ ม นุ ม ​ไ ป​เ สี ย ​ห มด​ก็ ​อ าจ​จ ะ​ เป็ น การ​ย าก โดย​เ ฉพาะ​อ ย่ า ง​ยิ่ ง ​ห าก​ การ​ประชามติ​นั้น​ประกอบ​ไป​ด้วย​หลัก​ เกณฑ์​ที่​ยุ่ง​ยาก ซับ​ซ้อน และ​มี​ข้อ​จำกัด​ มากมาย แต่​หาก​เรา​ทำได้ การ​ใช้​ประชา​ พิ จ ารณ์ รวม​ถึ ง ​ป ระชามติ ​ม า​เ ป็ น การ​ ให้​สิทธิ​โดยตรง​แทนที่​การ​ชุมนุม​ได้​ก็​จะ​ เป็นการ​ดี​ต่อ​ประเทศ​ชาติ และ​ประชาชน​ โดย​รวม​เลย​ที​เดียว

เชิง​ลึก​ต่อ​ไป

05

ความ​หมาย​ของ​ประชามติต​ าม​ รัฐธรรมนูญฉ​ บับ พ.ศ. 2550 คือ​ การ​ยึดถือเ​สียง​ข้าง​มาก​ของ​ประชาชน​ เป็น​ที่สุด​จริง​หรือไ​ม่ ซึ่ง​ต่าง​จาก​ ฉบับ​ปี พ.ศ. 2540 ทีใ่​ช้ไ​ป​ใน​เชิง​หารือ

ชาญ​เชาวน์: เห็นด​ ว้ ย​วา่ โ​ดย​หลักก​ าร​ ​ต าม​รั ฐ ธรรมนู ญ ​ฉ บั บ ​นี้ ​มี ​ค วาม​ชั ด เจน​ 04 ยก​ตัวอย่าง​กรณี​โรง​ไฟฟ้า เรา​จะ​ทำ​ ว่า เมื่อ​จัด​ให้​มี​การ​ออก​เสียง​ประชามติ​ ประชามติอ​ ย่างไร ต้อง​ทำ​ทั้ง​ประเทศ​ ใน​ประเด็น​ใด​และ​เป็นการ​จัด​ขึ้น​เพื่อ​หา​ 03 ถ้าป​ ระชามติค​ ือก​ าร​มี​ส่วน​ร่วม​ หรือท​ ำ​เฉพาะ​บริเวณ​ทไี่​ด้​รับผ​ ลก​ระ​ทบ ข้อ​ยุติ​โดย​เสียง​ข้าง​มาก​ของ​ผู้​มี​สิทธิ​ออก​ ทางการ​เมือง​โดยตรง​ของ​ประชาชน เพราะ​ถ้าท​ ำ​ทั้ง​ประเทศ สัดส่วน​ของ​ เสียง​ประชามติ​ใน​ปัญหา​นั้นๆ ก็​สามารถ​ โดย​ใช้​เสียง​ข้าง​มาก​เป็น​ตัวต​ ัดสิน ผู้​มี​ส่วน​ได้​ส่วน​เสีย​อาจ​กลาย​เป็น​ กระทำ​ได้ กรณี​นี้​ต่าง​จาก​การ​ชุมนุม​อย่างไร และ​ เสียง​ส่วน​น้อย แต่ ​ลั ก ษณะ​ข อง​กิ จ การ​ที่ ​มี ​ก าร​ ประชามติจ​ ะ​เป็นการ​ใช้​สิทธิ​โดยตรง​ ออก​เสียง​ประชามติ​โดย​เสียง​ข้าง​มาก​จะ​ ของ​ประชาชน​แทน​การ​ชุมนุม​ได้​หรือไ​ม่ ชาญ​เชาวน์ : กรณี ​โ รง​ไ ฟฟ้ า ​เ ห็ น​ ต้อง​เป็น​ไป​เพื่อ​การ​เห็น​ชอบ​หรือ​ไม่​เห็น​ ว่ า ​เ ป็ น ​ป ระเด็ น ​ซ้ ำ ๆ ที่ ​เ ป็ น ​ป ระโยชน์ ​ ชอบ​เท่านั้น ซึ่ง​หมายความ​ว่าการ​ริเริ่ม​ ชาญ​เชาวน์: เสรีภาพ​ใน​การ​ชุมนุม​ ได้​เสีย​ของ​ประเทศ​เพราะ​เกี่ยว​โยง​ไป​ถึง​ ให้​จัดการ​ออก​เสียง​ประชามติ​จะ​ต้อง​มา​ โดย​สงบ​และ​ปราศจาก​อาวุธ​เป็น​สิทธิ​ขั้น​ เรื่ อ ง​สิ ท ธิ ​ชุ ม ชน การ​ใ ช้ ​ป ระโยชน์ ​จ าก​ จาก​คณะ​รัฐมนตรี​เท่านั้น เว้น​แต่​กรณี​ พื้น​ฐาน​ของ​ความ​เป็น​มนุษย์​ที่​ทุก​คน​พึง​ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่ง​แวดล้อม รวม​ทั้ง​ มี ​ก ฎหมาย​ก ำหนด​ใ ห้ ​ป ระชาชน​มี ​ก าร​ มี การ​ใช้​เสรีภาพ​ใน​การ​ชุมนุม​จึง​เป็นการ​ ความ​หลาก​หลาย​ทาง​ชีวภาพ​อย่าง​สมดุล​ ริเริ่ม​ให้​มี​การ​ออก​เสียง​ประชามติ​ได้​ตาม แสดงออก​ที่​ยืนยัน​เสรีภาพ​ของ​ปัจเจก​ชน​ และ​ยั่งยืน รัฐธรรมนูญม​ าตรา 165(2) ซึง่ เ​ท่าท​ ท​ี่ ราบ​ ตาม​หลักก​ าร​สทิ ธิม​ นุษย​ชน ซึง่ ถ​ อื เ​ป็นเ​สา​ นอกจาก​นี้​รัฐธรรมนูญ​ยัง​เขียน​ไว้​ ขณะ​นี้​ยัง​ไม่มี​กฎหมาย​ใด​เป็น​เช่น​นี้ หลัก​ที่​สำคัญ​ของ​หลัก​การ​ประชาธิปไตย ชัด​ว่าการ​ดำเนิน​โครงการ​ที่​อาจ​ก่อ​ให้​เกิด​ นอกจาก​นั้ น ยั ง ​มี ​เ งื่ อ นไข​ต าม​ แต่ ​ก ระบวนการ​อ อก​เ สี ย ง​ป ระชามติ ​ ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​ชุมชน​อย่าง​รุนแรง​กระทำ​ รัฐธรรมนูญ​ที่​กำหนด​ไว้​ใน​มาตรา 165 เป็นก​ระ​บวน​การ​ประชาธิปไตย​ที่​แสดง​ มิได้ เว้น​แต่​จะ​จัด​ให้​มี​กระบวนการ​รับ​ฟัง​ อีก​ว่า การ​ออก​เสียง​ประชามติ​ใน​เรื่อง​ ถึง​การ​มี​ส่วน​ร่วม​ทางการ​เมือง​โดยตรง​ ความ​คิด​เห็น​ของ​ประชาชน​และ​ผู้​มี​ส่วน​ ที่​ขัด​หรือ​แย้ง​ต่อ​รัฐธรรมนูญ​หรือ​เกี่ยว​ ของ​ป ระชาชน เพื่ อ ​ล ด​ท อน​ค วาม​ไ ม่ ​ ได้​เสีย​ก่อน กับ​ตัว​บุคคล​หรือ​คณะ​บุคคล จะ​กระทำ​ สมบูรณ์​ของ​หลัก​การ​ประชาธิปไตย​แบบ​ ดัง​นั้น นอก​เหนือ​จาก​การ​รับ​ฟัง​ มิได้ ซึ่ง​ตาม​ที่​เข้าใจ​เป็นการ​บัญญัติ​ไว้​ ตัวแทน​และ​เป็นจ​ ดุ เ​น้นก​ าร​มส​ี ว่ น​รว่ ม​ของ​ ความ​คดิ เ​ห็นจ​ าก​ประชาชน​และ​ผม​ู้ ส​ี ว่ น​ได้​ ป้องกัน​การก​ระ​ทำ​ที่​เสมือน​กับ​การนำ​ ประชาชน​ใน​การ​ตดั สินใ​จ​ประเด็นน​ โยบาย​ เสียใ​น​ทอ้ ง​ถนิ่ แ​ ล้ว ควร​จะ​ได้ใ​ห้ม​ ก​ี าร​ออก​ เอา​ผ ล​ก าร​อ อก​เ สี ย ง​ป ระชามติ ​ม า​ สาธารณะ​ที่​สำคัญ เสียง​ประชามติ​เพื่อ​ให้​คำ​ปรึกษา​แก่​คณะ​ เป็นการ​ปรับปรุง​แก้ไข​รัฐธรรมนูญ​โดย​ ทั้ง​สอง​เรื่อง​นี้​เป็น​นัย​สำคัญ​ของ​ รัฐมนตรีใ​น​การ​กำหนด​นโยบาย​สาธารณะ​ มิได้​ผ่าน​กระบวนการ​ปรับปรุง​แก้ไข​ตาม​ หลัก​การ​ประชาธิปไตย​ที่​เสริม​ซึ่ง​กัน​และ​ เพื่ อ ​ก าร​จั ด ​ท ำ​โ ครงการ​โ รง​ไ ฟฟ้ า ​ข อง​ ที่​รัฐธรรมนูญ​กำหนด​ไว้ หรือ​มิ​ฉะนั้น​ก็​จะ​ กัน​และ​ยืนยัน​ความ​มี​อยู่​ของ​กัน​และ​กัน ประเทศ​นี้ ​ใ ห้ ​ชั ด เจน​ก ว่ า ​ที่ ​เ ป็ น ​อ ยู่ ​ใ น​ เป็นการ​นำ​ผล​ประชามติไ​ป​ใช้ก​ บั ก​ รณีน​ อก​ โดย​ไม่​คิด​ว่า​จะ​แทน​กัน​ได้ ปัจจุบนั ทัง้ นีด​้ ว้ ย​เหตุผล​ทว​ี่ า่ เ​พือ่ เ​ป็นการ​ เหนือ​ขอบเขต​หลัก​การ​ของ​เรื่อง​ใดๆ ที่​ เจษฎ์: การ​ประชามติก​ บั ก​ าร​ชมุ นุม​ กระตุ้ น ​ใ ห้ ​เกิ ด ​ค วาม​ต ระหนั ก ​แ ก่ ​สั ง คม​ บัญญัต​ไิ ว้ใ​น​รัฐธรรมนูญ​จน​ถือว่า​เป็นการ​ นั้ น ​มี ​ข้ อ ​แ ตก​ต่ า ง​กั น ​ห ลาย​ข้ อ แต่ ​ห าก​ ไทย รวม​ทั้ง​ให้​เกิด​กระบวนการ​เรียน​รู้​ ใช้ ​ป ระชามติ ​แ บบ​พ ร่ ำ เพรื่ อ​จึ ง ​ก ำหนด​ จะ​ตอบ​แบบ​รวบรัด​ก็​ต้อง​บอก​ว่า การ​ ทาง​สังคม​ใน​การ​ใช้​สิทธิ​ตาม​รัฐธรรมนูญ​ เป็น​เงื่อนไข​ไว้​ให้​มี​การ​แสดง​ประชามติ​ใน​ ประชามติ​นั้น​มี​การ​เคลื่อนไหว​ทาง​ความ​ ใน​การ​ออก​เสียง​ประชามติ ซึ่ง​ถือว่า​เป็น​ กิจการ​ทอ​ี่ ยูภ​่ าย​ใต้บ​ ทบัญญัตร​ิ ฐั ธรรมนูญ​ คิด​เป็น​หลัก โดย​ส่วน​ใหญ่​แล้ว​จะ​ไม่มี​ ประเด็น​ใหม่ แม้​จะ​ได้​เคย​กำหนด​ไว้​ใน​ เท่านั้น การ​เ คลื่ อ นไหว​ท าง​ก ายภาพ​ป ระกอบ​ รัฐธรรมนูญ​หลาย​ฉบับ​มา​แล้ว​ก็ตาม เจษฎ์: ตาม​มาตรา 165 วรรค 3 ด้วย เว้น​เสีย​แต่​เวลา​ที่​จะ​ต้อง​ไป​ออก​ เจ ษ ฎ์ : ห า ก ​พิ จ า ร ณ า ​ต า ม​ ของ​รัฐธรรมนูญ​ฉบับ​ปี พ.ศ. 2550 นั้น เสียง​ประชามติ แต่​การ​ชุมนุม​นั้น​มี​การ​ รั ฐ ธรรมนู ญ และ​ต ามพ​ร ะ​ร าช​บั ญ ญั ติ ​ การ​ประชามติอ​ าจ​จดั ใ​ห้เ​ป็นการ​ออก​เสียง​ เคลื่อนไหว​ทาง​กายภาพ​เป็น​หลัก โดย​ ประกอบ​รฐั ธรรมนูญว​ า่ ด​ ว้ ย​การ​ออก​เสียง​ เพือ่ ใ​ห้ค​ ำ​ปรึกษา​แก่ค​ ณะ​รฐั มนตรีก​ ไ็ ด้ เว้น​ มี ​ก าร​เ คลื่ อ นไหว​ท าง​ส มอง​เ ป็ น ​อ งค์ ​ ประชามติ พ.ศ. 2552 นั่น​คือ มอง​ใน​แง่​ แต่จ​ ะ​มก​ี ฎหมาย​บญ ั ญัตไ​ิ ว้เ​ป็นการ​เฉพาะ ประกอบ มาก​บ้าง น้อย​บ้าง หรือ​ไม่มี​เลย กฎหมาย​เป็น​หลัก ก็​ไม่​ได้​มี​อะไร​จำกัด​ ดัง​นั้น การ​ประชามติ​ตาม​รัฐธรรมนูญ ตาม​แต่ละ​การ​ชุมนุม การ​ทำ​ประชามติ​เฉพาะ​บริเวณ​ที่​ได้​รับ​ พ.ศ. 2550 ก็​สามารถ​เป็น​ไป​ใน​เชิง​หารือ​ หาก​ม อง​ก ลไก​ก าร​เ คลื่ อ นไหว​ ผลก​ระ​ทบ แต่​หาก​พิจารณา​บทบัญญัติ​ ได้​เช่น​กัน ทาง​ความ​คิด​เป็น​หลัก​ใน​การ​ประกอบ​ โดย​รวม​โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​ของ​กฎหมาย​ กิจการ​งาน​ร่วม​กัน​ของ​พวก​เรา​ใน​ชาติ ประชามติ​แล้ว จะ​เห็น​ได้​ว่า​โน้ม​ไป​ใน​ทาง​ ความ​จำเป็น​ใน​การ​ชุมนุม​ก็​คงจะ​ไม่​ต้อง​ ที่​จะ​ต้อง​ประชามติ​กัน​เต็ม​พื้นที่ หรือ​ทำ​ มี ยิ่ง​การ​ชุมนุม​ที่​เป็น​แบบ​อนารยะ​ยิ่ง​ไป​ กัน​ทั้ง​ประเทศ​เลย​ที​เดียว ซึ่ง​หาก​จะ​ให้​ กัน​ใหญ่ แต่​หาก​จะ​ให้​ใช้​การ​ประชามติ​ แตกฉาน​เรื่ อ ง​นี้ ​ค งจะ​ต้ อ ง​ศึ ก ษา​กั น ​ใ น​​


32

ดิน ฟ้า ป่า น้ำ

เดชรัต สุขกำเนิด : tonklagroup@yahoo.com

น้ตัวชีอ้วัดของโรงเรี ยนิดยนขนาดเล็ แต่มก หาศาล: และความฝันของผม ปั

จจุ บั น นี้ ชี วิ ต ของคนทำงานส่ ว นใหญ่ ก ำลั ง ถู ก ร้ อ ยรั ด ด้ ว ยตั ว ชี้ วั ด นานาประการ ชีวติ ของผมก็เช่นกัน มหาวิทยาลัยทีผ่ มทำงานก็ตอ้ งประเมินคุณภาพการศึกษาด้วยตัวชีว้ ดั จำนวนมาก ทำให้บางครั้งผมต้องเป็นฝ่ายใช้ตัวชี้วัดไปประเมินคนอื่นด้วย แต่ในประสบการณ์ของผม คงไม่มีการประเมินครั้งใดมีความสำคัญจนเรียกได้ว่าเป็น​ การชี้เป็นชี้ตายเท่ากับตัวชี้วัดสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กของ โรงเรียนบ้านหนองปักหลัก อีกแล้ว

ตัว​ชวี้​ ัด​ที่​หนอง​ปัก​หลัก

โรงเรียน​บ้าน​หนอง​ปัก​หลัก อำเภอ​เขา​ ฉกรรจ์ จังหวัด​สระแก้ว​เป็น​โรงเรียน​ขนาด​เล็ก ปัจจุบัน​มี​นักเรียน 65 คน ดัง​นั้น จึง​เป็น​หนึ่ง​ใน 7,000 โรงเรียน​ ขนาด​เล็ก​ที่​กำลัง​จะ​ถูก​ยุบ ด้วย​เหตุผล​ว่า มี​ จำนวน​นักเรียน​น้อย​กว่า 100 คน แต่​ไม่ใช่​เรื่อง​ง่าย เมื่อ​ชาว​บ้าน​และ​ครู​ไม่​ อยาก​ให้​ยุบ​โรงเรียน​แห่ง​นี้ เพราะ​หาก​ยุบ​จริง ชาว​บ้าน​จะ​ต้อง​ลำบาก​เดิน​ทาง​ไป​ส่ง​บุตร​หลาน​ ไกล​ขึ้น​กว่า​เดิม 10 กิโลเมตร ฝ่าย​ชาว​บ้าน​และ​ ครู​จึง​พยายาม​ที่​จะ​รักษา​โรงเรียน​บ้าน​หนอง​ปัก​ หลัก​ไว้ใ​ห้​ได้ คุณครู​เล่า​ให้​ผม​ฟัง​ว่า ตัว​ชี้​วัด​ที่​จะ​นำพา​ ให้​โรงเรียน​อยู่​รอด ไม่​ถูก​ยุบ มี​อยู่​เพียง​แค่ 2 ตัว อันดับ​แรก โรงเรียน​จะ​ต้อง​มี​ผล​สัมฤทธิ์​ ทางการ​ศึกษา หรือ​คะแนน​สอบ O-NET สูง​ กว่า​ค่า​เฉลี่ย​ของ​ประเทศ ส่วน​อันดับ​ที่​สอง​คือ โรงเรียน​จะ​ต้อง​อยู่​ได้​โดย​ไม่​ขอรับ​งบ​ลงทุน​เพิ่ม​ เติมจ​ าก​สว่ น​กลาง ซึง่ ก​ ค​็ อื ได้ร​ บั เ​ฉพาะ​เงินเ​ดือน​ ครู และ​ค่า​ใช้​จ่าย​ราย​หัวข​ อง​นักเรียน​เท่านั้น ลำพังต​ วั ช​ ว​ี้ ดั แ​ รก ก็เ​ป็นเ​รือ่ ง​ทา้ ทาย​พอตัว​ อยู่​แล้ว โดย​เฉพาะ​หาก​พิจารณา​ข้อ​เท็จ​จริง​ที่​ว่า นักเรียน​ที่​โรงเรียน​หนอง​ปัก​หลัก​ประมาณ​ครึ่ง​ หนึ่ง​ไม่​ได้​อยู่​กับ​พ่อ​แม่ เนื่องจาก​พวก​เขา​ต้อง​ เดิน​ทาง​ไป​ทำงาน​ต่าง​ถิ่น เด็กๆ จึง​ต้อง​อยู่​กับ​ คน​รุ่น​ปู่ย่า​ตา​ยาย แต่​บรรดา​คุณครู​ก็​ช่วย​กัน​เข็น​ จน​ผล​สมั ฤทธิข​์ อง​โรงเรียน​ผา่ น​คะแนน​เฉลีย่ ข​ อง​ ทั้ง​ประเทศ​มา​ได้ แต่​พอ​มา​ถึง​ตัว​ชี้​วัด​ที่​สอง เมื่อ​โรงเรียน​ ม​ อ​ิ าจ​ขอรับง​ บ​ลงทุนจ​ าก​กระ​ทร​วง​ศกึ ษาฯ ได้ ครู​ ก็ต​ อ้ ง​ขอแรง​จาก​ชาว​บา้ น และ​ขอ​กำลังส​ นับสนุน​ จาก​ภายนอก​แทน เมื่อ​ผม​ก้าว​เข้าไป​ใน​โรงเรียน ผม​จึง​ได้​ เห็น ‘ห้อง​สมุด​โดม​ปัก​หลัก’ ที่​มหาวิทยาลัย​ ธรรมศาสตร์ม​ า​ชว่ ย​ปรับปรุงใ​ห้ เห็นส​ นาม​เด็กเ​ล่น​ เห็นห​ อ้ งน้ำ และ​เห็นร​ ะบบ​ประปา​ทบ​ี่ ริษทั ต​ า่ งๆ

พา​พนักงาน​มา​ลงแรง​คนละ​ไม้​คนละ​มือ​ช่วย​กัน​ ทำ ตาม​แนวคิดจ​ ติ อ​ าสา ส่วน​ทเ​ี่ หลือก​ เ​็ ป็นห​ น้าที​่ ของ​ชุมชน​ที่​จะ​มา​ช่วย​คุณ ครู​ใน​การ​ปรับปรุง​ พื้น​ห้องเรียน และ​สิ่ง​อำนวย​ความ​สะดวก​อื่นๆ​ ตาม​กำลัง​ของ​แต่ละ​คน ภายใน​โรงเรียน​แห่งน​ ี้ จึงเ​ต็มไ​ป​ดว้ ย​แปลง​ ผัก​สวน​ครัว บ่อ​ปลา เล้า​ไก่ คอก​หมู​หลุม และ​ ผล​ไม้​ต้น​น้อย​ใหญ่ ทั้งหมด​นั้น​เพื่อ​เป็น​อาหาร​ กลาง​วัน​ให้​เด็ก​นักเรียน ซึ่ง​หมาย​ถึง​การ​ลด​ค่า​ ใช้​จ่าย​ของ​โรงเรียน​ไป​พร้อมๆ กัน โดย​มี ลุง​บุญ ซึ่ง​เป็น​ทั้ง​ชาว​บ้าน ทั้ง​นักการ​ภารโรง และ​ทั้ง​ครู​ เกษตร เป็น​ผู้​ดูแล สำหรับ​ผม​แล้ว ตัว​ชี้​วัด​ที่​สอง​มัน​ช่าง​เป็น​ ตัว​ชี้​วัด​ที่​บาดใจ และ​ประทับ​ใจ​ผม​เหลือ​เกิน ที่​ว่า​บาดใจ​คือ เรา​จำเป็น​ต้อง​ปล่อย​ให้​ คุณครูผ​ รู้ บั ผ​ ดิ ช​ อบ​การ​ศกึ ษา​ของ​ชาติ (หรืออ​ ย่าง​ น้อย​ของ​ชุมชน) ต้อง​มา​ดิ้นรน​เพื่อ​ความ​อยู่​รอด​ ของ​สถาบันต​ นเอง แน่นอน​วา่ หาก​สถาบันแ​ ห่งน​ ี้ เป็นม​ หาวิทยาลัยช​ อื่ ด​ งั เปิดห​ ลักสูตร​ปริญญา​โท มีค​ า่ เ​ล่าเ​รียน ค่าบ​ ำรุงก​ าร​ศกึ ษา​เป็นห​ ลักแ​ สน​ตอ่ ​ คน มีน​ กั ศึกษา​แห่ม​ าส​มคั ร​ กันค​ บั คัง่ สถาบันแ​ ห่ง​ นั้น​คง​ไม่​ต้อง​ประสบ​ปัญหา​เรื่อง​การ​อยู่​รอด ใน​ความ​เป็นจ​ ริง สถาน​ศกึ ษา​เล็กๆ แห่งน​ ​ี้ ตั้ง​อยู่​ที่​บ้าน​หนอง​ปัก​หลัก ห่าง​จาก​ตัว​อำเภอ​ ประมาณ 20 กิโลเมตร ชาว​บา้ น​ ร​อบๆ โรงเรียน คง​ไม่มี​ใคร​มี​เงิน​เป็น​หลัก​แสน​พร้อม​จะ​เอา​มา​ ลงทุน​เพื่อ​การ​ศึกษา ความ​อยู่​รอด​ของ​โรงเรียน​ แห่ง​นี้​จึง​เป็น​สิ่ง​ที่​ท้าทาย​ยิ่ง​นัก แต่​โรงเรียน​แห่ง​นี้​ก็​อยู่​รอด​มา​ได้ ด้วย​ ความ​ร่วม​มือ ร่วม​แรง และ​ร่วมใจ​ของ​คุณครู​ ชาว​บา้ น และ​ผม​ู้ จ​ี ติ อ​ าสา​ทงั้ ห​ ลาย ความ​ประทับ​ ใจ​ส่วน​หนึ่ง​เกิด​ขึ้น​ก็​เพราะ​ตัว​ชี้​วัด​นี้

อ้อย​อินทรีย์​ใส่​อะไร?

สาเหตุท​ ผ​ี่ ม​ได้ม​ า​เยีย่ ม​โรงเรียน​แห่งน​ เ​ี้ มือ่ ​ วัน​ที่ 11 กรกฎาคม​ที่​ผ่าน​มา ส่วน​หนึ่ง​ก็​ด้วย​ ​ผล​ต่อ​เนื่อง​ของ​ตัว​ชี้​วัด​นี้​เอง เนือ่ งจาก​ความ​อยูร​่ อด​ของ​โรงเรียน​หนอง​


33 ปักห​ ลักก​ บั ค​ วาม​อยูร​่ อด​ของ​ชาว​บา้ น​เริม่ เ​ข้าใ​กล้​ กัน​มาก​ขึ้น ผู้​อำนวย​การ​โรงเรียน​จึง​มี​ความ​คิด​ ว่า โรงเรียน​น่า​จะ​ตอบแทน​ชุมชน​ด้วย​การ​ทำ​ โครงการ​ที่​เป็น​ประโยชน์​ต่อ​ชาว​บ้าน​ผู้​ทำ​อาชีพ​ เกษตรกร​บา้ ง กลุม่ ค​ รูอ​ าจารย์จ​ งึ ร​ ว่ ม​มอื ก​ บั ศ​ นู ย์​ กสิกรรม​ธรรมชาติ จังหวัด​สระแก้ว ใน​การ​ทำ​ แปลง​อ้อย​อินทรีย์​บน​พื้นที่ 6.5 ไร่​ใน​โรงเรียน โดย​ขอ​ให้ผ​ ม​ชว่ ย​เป็นท​ มี ท​ ป​ี่ รึกษา​ใน​การ​ตดิ ตาม​ และ​ประเมิน​ผล​งาน การ​ทำ​แปลง​อ้อย​อินทรีย์​นี้ คุณครู​ตั้งใจ​ จะ​ให้​เป็น​แปลง​สาธิต​สำหรับ​ชาว​บ้าน​ใน​การ​ลด​ ต้นทุน​และ​เพิ่ม​ผลิต​ภาพ​การ​ผลิต โดย​ใช้​กำลัง​ แรงงาน​ของ​ลุง​บุญ ชาว​บ้าน และ​นักเรียน​ชั้น​ ประถม​ปลาย​เป็น​หลัก​ใน​การ​ดำเนิน​การ ตั้งแต่​ การ​ทำ​น้ำ​หมัก​ชีวภาพ การเต​รี​ยม​ดิน การ​วาง​ ระบบ​นำ้ การ​ปลูก การ​หม่ ด​ นิ การ​ทำ​รนุ่ (กำจัด​ วัชพืช) ไป​จนถึงก​ าร​ดแู ล​รกั ษา โดย​มค​ี ณ ุ ครูแ​ ละ​ ลุง​บุญช่วย​จด​บันทึก​ใน​ทุกๆ ขั้น​ตอน ผม​ตื่น​เต้น​พร้อม​กับ​ดีใจ ที่​ได้​เห็น​อ้อย​ อินทรียอ​์ ายุ 4 เดือน (ปลูกเ​มือ่ ต​ น้ เ​ดือน​มนี าคม 2554) งอกงาม​สมบูรณ์​ดี สมบูรณ์​กว่า​แปลง​ อ้อย​เคมี​ของ​ชาว​บ้าน​ตาม​เส้น​ทาง​ที่​ผ่าน​มา คุณครู​เล่า​ให้​ฟัง​ว่า ชาว​บ้า​นร​อบๆ โรงเรียน​ สนใจ​เข้า​มา​ดู​แปลง​กัน​มาก เพราะ​นึก​ไม่​ถึงว่า​ โรงเรียน​ซึ่ง​ไม่มี​ประสบการณ์​ทำ​ไร่​อ้อย​มา​ก่อน จะ​สามารถ​ปลูก​ได้​งาม​เพียง​นี้ คุณฐิตว​ิ ตั น​ ์ ยิบอ​ นิ ธ​ รรม แห่งก​ ลุม่ บ​ ริษทั ​ น้ำตาล​ขอนแก่น ซึ่ง​ร่วม​เดิน​ทาง​มา​ด้วย ชื่ม​ชม​ ว่า​โรงเรียน​ดูแล​อ้อย​ได้​ดี​มาก พร้อม​ทั้ง​ร่วม​แบ่ง​ ปันป​ ระสบการณ์ใ​น​ฐานะ​ทอ​ี่ ยูใ​่ น​วงการ​ออ้ ย​และ​ น้ำตาล​มา​นาน คาด​การณ์​ว่า ผลผลิต​อ้อย​ใน​ แปลง​นน​ี้ า่ จ​ ะ​ได้ไ​ม่ต​ ำ่ ก​ ว่า 15 ตันต​ อ่ ไ​ร่ มากกว่า​ ชาว​บ้าน​ส่วน​ใหญ่​รอบๆ โรงเรียน​ที่​ได้​ผลผลิต​ ประมาณ 8-9 ตัน​ต่อ​ไร่ เช่น​เดียว​กับ คุณสมิทธิ์ เย็น​สบาย แห่ง​ ศูนย์​กสิกรรม​ธรรมชาติ​สระแก้ว ปล่อย​มุข​โดย​ การ​ถาม​ชาว​บ้าน​ผู้​มา​เยี่ยม​ชม ว่าที่​อ้อย​ของ​ โรงเรียน​งอกงาม​ขนาด​นี้ เป็น​เพราะ​ใส่​อะไร? ชาว​บ้าน​ก็​ตอบ​กัน​ใหญ่ ใส่​ปุ๋ย​คอก​บ้าง ใส่​น้ำ​ หมัก​บ้าง ใส่​น้ำ​สม่ำเสมอ​บ้าง ก่อน​ที่​คุณ​สมิทธิ์​ จะ​เฉลย​วา่ เป็นเ​พราะ​โรงเรียน ‘ใส่ใจ’ ก่อน​ทจ​ี่ ะ​ ฟัน​ธง​ว่า หาก​ชาว​บ้าน​อยาก​ให้​อ้อย​งาม​อย่าง​นี้​ ก็​ต้อง​กลับ​ไป​ใส่ใจ​กับ​อ้อย​ของ​ตนเอง ชาว​บ้าน​ ส่วน​ใหญ่​ก็​เห็น​ด้วย

ความ​ฝัน​และ​ความ​ตั้งใจ​ของ​ผม

แม้ว่า​ผม​จะ​ร่วม​ชื่นชม​กับ​อ้อย​ที่​งอกงาม แต่ด​ ว้ ย​ความ​เป็นน​ กั เ​ศรษฐศาสตร์ ใจ​ของ​ผม​จงึ ​ ยัง​หมกมุ่น​อยู่​กับ​ตัว​ชี้​วัด​ที่ 2 อยู่ดี อ้อย​แปลง​นี้​หาก​ได้​ผลผลิต 15 ตัน​ต่อ​ ไร่ ​จริ ง ซึ่ ง ​เมื่ อ ​คิ ด ​จ าก​พื้ น ที่ ​ทั้ ง หมด​น่ า ​จ ะ​ไ ด้ ​ ประมาณ 100 ตัน เมื่อ​ขาย​เข้า​โรงงาน ความ​ เป็น ‘เกษตร​อินทรีย์’ ก็​จะ​ถูก​เท​รวม​กับ​อ้อย​ เคมี ​อื่ น ๆ แล้ ว ​รั บ ​ร าย​ไ ด้ ​ก ลั บ ​ม า​ป ระมาณ 110,000 บาท หัก​ลบ​ต้นทุน​ที่​ลง​ไป​ทั้งหมด โรงเรียน​ก็​น่า​จะ​มี​ผล​ตอบแทน​สุทธิ ประมาณ​ สัก 70,000 บาท ซึ่ง​ไม่​รวม​ค่าแรง​ของ​ครู​ ลุง​บุญ และ​นักเรียน

ผม​ตงั้ ใจ​วา่ ผม​จะ​กลับไ​ป​ทห​ี่ นอง​ปกั ห​ ลัก​ อีก เพื่อ​ช่วย​ติดตาม​ความ​คืบ​หน้า เก็บ​ข้อมูล​ ต้นทุน​และ​ผล​ตอบแทน​ของ​การ​ปลูก​อ้อย​จนถึง​ ขั้น​ตอน​สุดท้าย หาก​โรงเรียน​หนอง​ปัก​หลัก​ทำ​ สำเร็จ​จริง​ดัง​คาด ผม​จะ​ลงมือ​เขียน และ​ลงทุน​ จัด​พิมพ์​เรื่อง​ราว องค์​ความ​รู้ จนถึง​ผลลัพธ์​ ที่​เกิด​ขึ้น ให้​เป็น​เอกสาร​ที่​ใช้​ใน​การ​เผย​แพร่​ รณรงค์​สู่​เกษตรกร​ใน​วง​กว้าง โดย​หวัง​ว่า ความ​ช่วย​เหลือ​อัน​เล็ก​น้อย​ ของ​ผม​นี้ จะ​ชว่ ย​ให้เ​กิดก​ าร​ขยาย​ผล​ใน​การ​ปลูก​ อ้อย​อินทรีย์ ช่วย​ให้​เกษตรกร​ราย​อื่น​มี​ราย​ได้ที่​ เพิ่มพูน​ขึ้น ซึ่ง​ก็​จะ​ทำให้​ผล​ตอบแทน​การ​ลงทุน ‘ทาง​สังคม’ ของ​การ​ปลูก​อ้อย​อินทรีย์​ที่​โรงเรียน​ แห่ง​นี้​ยิ่ง​เพิ่ม​สูง​ขึ้น​ไป​อีก ที่​สำคัญ​คือ ผม​หวัง​ว่า​จะ​ได้​ช่วย​ให้​สังคม​ ไทย​ได้​เข้าใจ​ถึง​คุณค่า​ของ​โรงเรียน​ขนาด​เล็ก ซึ่ง​คง​ไม่มี​วัน​ที่​ได้​ไป​แข่ง​โอลิมปิก​วิชาการ​กับ​ โรงเรียน​ขนาด​ใหญ่​ได้ แต่​โรงเรียน​ขนาด​ใหญ่​ ก็​คง​ไม่มี​แปลง​เกษตร​ไว้​ให้​คน​รอบ​โรงเรียน​ได้​ ชื่นชม​และ​เรียน​รู้ ใน​ส่วน​ของ​อ้อย หาก​เป็น​ไป​ได้ ผม​คิด​ว่า แทนที่​เรา​จะ​ปล่อย​ให้​อ้อย​อินทรีย์​ของ​โรงเรียน​ ต้อง​ถกู เ​ท​รวม​กบั อ​ อ้ ย​เคมีแ​ ละ​กลาย​เป็นน​ ำ้ ตาล​ ทราย​เ ท​ก อง​เ พื่ อ ​ส่ ง ​อ อก เรา​น่ า ​จ ะ​น ำ​อ้ อ ย​ อินทรีย์ มา​ทำ​เป็น​น้ำตาล​ธรรมชาติ อย่าง​น้อย​ ก็​ส่วน​หนึ่ง โดย​ใช้​ภูมิปัญญา​ดั้งเดิม​ของ​คน​ไทย ให้​ออก​มา​เป็น ‘น้ำตาล​งบ​อินทรีย์’ หาก​เป็นไ​ป​ได้ ผม​ฝนั ว​ า่ ใ​ห้ล​ กู สาว​ของ​ผม​ และ​เพื่อนๆ ได้​ใช้​ความ​สามารถ​ที่​เรียน​มา​ช่วย​ กัน​ออกแบบ​แม่​พิมพ์​น้ำตาล​งบ​ให้​เก๋​ไก๋ และ​ พอดีก​ บั ก​ าร​ใช้ใ​น​การ​ชง​กาแฟ แบบ​นำ้ ตาล​กอ้ น​ ทีค​่ ำแสด​รสี อร์ทเ​คย​ทำ รวม​ถงึ ช​ ว่ ย​กนั อ​ อกแบบ​ บรรจุ​ภัณฑ์​เพื่อ​ให้​น้ำตาล​งบ​อินทรีย์​ขาย​ได้ และ​การ​ขาย​ที่​ว่า​ก็​ไม่ใช่​เพื่อ​เงิน​เท่านั้น แต่​จะ​ต้อง​เป็นการ​ขาย​ที่​ให้​ได้ใจ​ทั้งคน​ให้​และ​ คน​รับ หาก​เป็น​ไป​ได้ ผม​ฝัน​ที่​จะ​ชวน​เพื่อนๆ มา​ช่วย​กัน​อุดหนุน​น้ำตาล​งบ​อินทรีย์​ที่​กำลัง​จะ​ ทำ​ขึ้น​นี้ และ​แนะนำ​ผม​ใน​ด้าน​อื่นๆ เพื่อ​ช่วย​ ให้​โรงเรียน​แห่ง​นี้​ผ่าน​ตัว​ชี้​วัด​ที่​สำคัญ​เพียง​สอง​ ตัว​นี้​ให้​ได้ ทั้งหมด​นี้ ก็​เพื่อ​ให้​นักเรียน​ที่​หนอง​ปัก​ หลัก​ได้​มี​โรงเรียน​ที่​พวก​เขา​รัก​ต่อ​ไป หาก​ท่าน​ผู้​อ่าน​ทุก​ท่าน มี​คำ​แนะ​นำ​ใดๆ ที่​ท่าน​คิด​ว่า ผม​น่า​จะ​ได้​ใช้​แรง​กาย แรง​ใจ แรง​ สมอง​ของ​ผม​เพื่อ​ช่วย​สนับสนุน​โรงเรียน​แห่ง​นี้ และ​โรงเรียน​ขนาด​เล็ก​อื่นๆ อีก 7,000 แห่ง​ให้​ อยู่​รอด และ​ไม่ใช่​อยู่​รอด​อย่าง​เดียว แต่​เป็นการ​ อยู่​รอด​อย่าง​ทรง​คุณค่า​ต่อ​ชุมชน และ​ต่อ​สังคม รบกวน​ช่วย​ให้​คำ​แนะนำ​แก่​ผม​ด้วย​นะ​ครับ ผม​ฝั น ​ที่ ​จ ะ​เ ห็ น ​ค วาม​ง ดงาม​เ ล็ ก ๆ​ ย​ งั ค​ ง​อยู่ และ​กระจาย​ไป​ทวั่ ท​ อ้ ง​ทงุ่ เคียง​คแ​ู่ ละ​ม​ี คุณค่า​เช่น​เดียว​กับ​กับ​ความ​งดงาม​เจิด​จ้า​ระดับ​ อินเตอร์ห​ รือร​ ะดับโ​อลิมปิก ทีค​่ นใน​สงั คม​กำลัง​ ไขว่​คว้า​กัน​อยู่ นีค​่ อื ค​ วาม​ฝนั ท​ เ​ี่ ชือ่ ม​ นั่ ใ​น​พลังอ​ นั น​ อ้ ย​นดิ แต่​มหาศาล​ครับ


34

เทศาภิวัฒน์

กองบรรณาธิการ

์ น ว า

ท า ่ น ช

ไ า ่ ผ า้

ฟ ไถ ฟ

ที่​เพิ่ง​มีอายุ​ครบ 150 ปี​ไป​เมื่อ​ต้น​ปี​ที่​ผ่าน​มา กำลัง​จะ​มี​ความ ‘เจริญ’ เข้า​มา​เยือน เจริญกรุง ถนน​ เมื่อ​โครงการ​รถไฟฟ้า​สาย​สีน้ำเงิน ช่วง​หัวลำโพง-บางแค โดย​มี​สถานี​วัด​มังกร​ซึ่ง​กิน​

บริเวณ​ตั้งแต่​ซอย​เจริญกรุง 16 ถึง​แยก​แปลงนาม ไม่​ว่า​จะ​ถาม​ใครๆ ที่​เดิน​ผ่าน​ไป​มา​บริเวณ​นี้ ร้อย​ทั้ง​ร้อย​ ตอบ​ว่า​อยาก​ให้​สร้าง...แต่​เรา​ลอง​ถาม​ผู้​ที่​ถูก​เวนคืน​แล้ว​หรือ​ยัง​ว่า​พวก​เขา​คิด​เห็น​กัน​อย่างไร เหมือน​กับ​ทุกๆ เรื่อง​บน​โลก ไม่มี​อะไร​ได้​มา​ฟรีๆ ได้​อย่าง​ก็​ต้อง​เสีย​อย่าง แต่​ก่อน​จะ​ได้​มา ต้อง​มี​การ​ ชั่ง​ตวง​วัด​เปรียบ​เทียบ​ระหว่าง​ผล​ได้​กับ​ผล​เสีย​อย่าง​รอบคอบ เพื่อ​ให้​รู้​ว่า​สิ่ง​ที่​เสีย​ไป​คุ้ม​ค่า​กับ​สิ่ง​ที่​จะ​ได้​มา​ หรือ​ไม่ ขณะ​นี้​โครงการ​ก่อสร้าง​สถานี​รถไฟฟ้า​ใต้ดิน​วัด​มังกร ยัง​เป็น​ปัญหา​คารา​คา​ซัง ชาว​บ้าน​ผู้​เสีย​ประโยชน์​ เพราะ​พิษ​เวนคืน​ต่าง​พา​กัน​ออก​มา​ส่ง​เสียง​เรียก​ร้อง​อยู่​บ่อย​ครั้ง ใน​ทาง​ตรง​กัน​ข้าม หลาย​ฝ่าย​กลับ​มอง​ว่า ทำไม​คน​พวก​นี้​ไม่​ยอม​เสีย​สละ​เพื่อ​คน​ส่วน​ใหญ่ แต่​ทำไม​ผู้​เสีย​สละ ต้อง​ยอมรับ​ความ​เสีย​หาย​ไว้​แต่​เพียง​ฝ่าย​เดียว​ล่ะ การ​เวนคืน ไม่ใช่ว​ า่ อ​ ยาก​ได้ทต​ี่ รง​ไหน ก็ก​ ำหนด​ขอบเขต​แค่บ​ น​แผ่นก​ ระดาษ แต่ไ​ม่ล​ ง​มา​สมั ผัสพ​ นื้ ทีจ​่ ริง ซึ่ง​ไม่ใช่​มี​แค่ ‘ที่’ แต่​ยัง​มี ‘คน’ ซึ่ง​เป็น​องค์​ประกอบ​ที่​มี​ชีวิต​อยู่​ด้วย นั่น​เป็น​เพียง​สิ่ง​ที่​มอง​เห็น จับ​ต้อง​ได้ ยัง​ไม่​นับ​รวม​เรื่อง​ราว​นามธรรม​ที่​ต้อง​ถูก​ลบ​เลือน​ไป​จาก​หน้า​ ประวัติศาสตร์​เช่น​กัน ความ​เป็นย​ า่ น​เก่าแ​ ก่ ทีต​่ งั้ ร​ กราก​ของ​ชาว​จนี โ​พ้นท​ ะเล​ยคุ แ​ รก มีอ​ าคาร​และ​ตกึ ร​ าม​ซงึ่ เ​ป็นส​ ถาปัตยกรรม​ ใน​สมัย​รัชกาล​ที่ 4-5 กำลัง​จะ​ถูก​ความ​เจริญ​เข้า​ครอบงำ​และ​ดูด​กลืน​ไป​ตลอด​กาล หาก​เป็น​เมือง​ใหม่​ไร้​ราก คง​ไม่มี​ใคร​ยกมือ​คัดค้าน​ไม่​ให้​ทำ แต่​ความ​เปลี่ยนแปลง​ที่​กำลัง​จะ​เกิด​กับ​ เยาวราช​ครั้ง​นี้​ใหญ่ห​ ลวง​นัก เพราะ​นั่น​อาจ​ถือว่า ความ​เป็น ‘เยาวราช’ กำลัง​จะ​หาย​ไป​จาก​เมือง​ไทย

ไม่ฟังเสียงประชาชน

ที่ ดิ น ​ที่ ​ไ ด้ ​รั บ ​ผ ลก​ร ะ​ท บ​ดั ง ​ก ล่ า ว มี​หลาย​เจ้าของ ทั้ง​กระทรวง​มหาดไทย สำนักงาน​ทรัพย์สิน​ส่วน​พระ​มหา​กษัตริย์ มูล​นิธิ​จุมภฎ-พันธุ์​ทิพย์ และ​ที่ดิน​ของ​ เอกชน โดยที่ ​ดิ น ​ใ น​ค รอบ​ค รอง​ข อง​ สำนักงาน​ทรัพย์​สินฯ​ถูก​เวนคืน​มาก​ที่สุด ผู้​เกี่ยวข้อง​ใน​เรื่อง​นี้​มี​ด้วย​กัน 3 ฝ่าย คือ การ​รถไฟฟ้า​ขนส่ง​มวลชน​แห่ง​ ประเทศไทย (รฟม.) เจ้าของ​ที่ และ​ผู้​เช่า แต่​ผู้​ที่​ได้​รับ​ผลก​ระ​ทบ​มาก​ที่สุด​คง​หนี​ ไม่​พ้น ​ผู้​เช่า ซึ่ง​เป็น​พ่อค้า​แม่ค้า​เจ้าของ​ กิจการ​ผม​ู้ ว​ี ถิ ผ​ี กู พันก​ บั พ​ นื้ ที่ หลาย​คน​เกิด​ ที่​นี่​ตั้งแต่​รุ่น​พ่อ​ด้วย​ซ้ำ ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ร้าน​ ขาย​ยา​จีน เครื่อง​ดนตรี​เก่า โคม​กระดาษ​ สำหรับ​งาน​พิธี เครื่อง​แต่งงาน​แบบ​จีน กระดาษ​เงิน​กระดาษ​ทอง ฯลฯ ยุทธ​เดช เวช​พงศา ร้าน​ขาย​ยา เป่ย​ จิน ถงเยิ๋น​ถัง หนึ่ง​ใน​แกน​นำ​ชุมชน​วัด​ มังกร บอก​ว่า โครงการ​นี้ ไม่​เคย​มี​การ​ทำ​ ประชา​พิจารณ์​หรือ​การ​รับ​ฟัง​ความ​เห็น​


35 กับผ​ ู้​มี​ส่วน​ได้​ส่วน​เสีย​โดยตรง “กฎหมาย​สั่ ง ​ใ ห้ ​เ ขา​ท ำ​ป ระชา​ พิจารณ์ เขา​ก็​ทำ แต่​เขา​ไป​ให้​เขต​ทำ แล้ว​ ก็​มี​แต่​เจ้า​หน้าที่​เขต และ​คน​อื่นๆ ซึ่ง​ ไม่ใช่​คนใน​พื้นที่ มี​แต่​ผู้​ที่​มี​ส่วน​ได้ ไม่มี​ ส่วน​เสีย” นอกจาก​นั้น ยุทธ​เดช​เล่า​ว่า​มี​การ​ รับ​ฟัง​ความ​เห็น​ใน​พื้นที่ แต่​ด้วย​การ​ไป​ สอบถาม​ผู้คน​ตาม​ป้าย​รถเมล์ ต่อ​ให้​ถาม​ กี่​คน ร้อย​ทั้ง​ร้อย​ก็​ต้อง​ตอบ​ว่า​ดี “อย่าง​นี้​ก็​ไม่รู้​ว่า​ทำ​ไป​ทำไม ทำไม​ ไม่​ทำ​ที่​เป็น​ความ​จริง ลง​มา​นั่ง​คุย​กัน มา​ จับ​เข่า​คุย​กัน”

เจรจา​ประสา ‘วิน-วิน’

ขณะ​ที่​ชุมชน​วัด​มังกร​เรียก​ร้อง​ให้​มี​ การ​เจรจา​พร้อม​หน้า​กัน​ทั้ง 3 ฝ่าย ตั้งแต่​ ปี 2548 เรื่อง​ก็​เงียบ​หาย จน​พวก​เขา​ ต่าง​เห็น​พ้อง​ว่า​ต้อง​ทำ​อะไร​สัก​อย่าง​เพื่อ​ ทวงถาม​ความ​ยุติธรรม เรียก​ร้อง​สิทธิ​ที่​ ถูก​ละเมิด รวม​ถึง​สิทธิ​ใน​การ​มี​ส่วน​ร่วม​​ ตั ด สิ น ​ใ จ​ข อง​ชุ ม ชน​อั น ​เ นื่ อ ง​ม า​จ าก​ โครงการ​ของ​รัฐ เพราะ หนึ่ง พวก​เขา​ ถือว่า รฟม. ไม่ไ​ด้ท​ ำ​ประชา​พจิ ารณ์ ขัดต​ อ่ ​ รัฐธรรมนูญ มาตรา 66, 67 และ​สอง ตาม​ กฎ​สำนัก​นายก​รัฐมนตรี บอก​ว่า การ​ทำ​ ประชา​พิจารณ์ จะ​ต้อง​มา​ชี้แจง​ให้​ชุมชน​ ทราบ​ภายใน 15 วัน แต่​ชาว​ชุมชน​ยืนยัน​ ว่า​ไม่มี​ใคร​ออก​มา​ทำ​อะไร​ทั้งส​ ิ้น “เรา​ร้อง​เรียน​ศาล​ปกครอง​ว่า เขา​ ทำลาย​ชุมชน เขา​ไม่มี​มาตรการ​เยียวยา เขา​ทำลาย​ชุมชน​ชาว​จีน​โบราณ และ​เขา​ ไม่​ได้​ทำ​ประชา​พิจารณ์ ซึ่ง​เรื่อง​นี้​อยู่​ใน​ ศาล และ​ศาล​ยัง​ไม่​ตัดสิน” สุ​เทพ เจ​ริญ​ ธีร​ะ​สกุล​เดช ตัวแทน​ชุมชน​อีก​ท่าน​จาก​ ร้าน​สิน​ไทย ให้​ข้อมูล เมื่ อ ​ช่ ว ง​เดื อ น​ก รกฎาคม 2553​ ได้​มี​การ​เจรจา​และ​ลง​นาม​ข้อ​ตกลง​หรือ​ เอ็มโ​อ​ยร​ู ว่ ม​กนั เ​พียง 2 ฝ่าย คือ เจ้าของ​ท​ี่ กั บ รฟม. เพราะ​ถื อว่ า ​ผู้ ​เช่ า ​ส่ ว น​ใ หญ่ ​ ไม่มี​อำนาจ​ตัดสิน​ใจ เพราะ​ไม่​ได้​มี​สิทธิ​ ครอบ​ครอง​พื้นที่ ยุทธ​เดช เวช​พงศา

สม​เกียรติ สมบูรณ์​ปัญญา​กุล ร้าน​ ย่ง​ซิ่น​หลี​ยิ่ง​เจริญ ซึ่ง​เป็น​ผู้​เช่า​ใน​ส่วน​ของ​ สำนักงาน​ทรัพย์ส​ นิ ฯ​ให้ข​ อ้ มูลเ​รือ่ ง​สญ ั ญา​ เช่า​ใน​ปัจจุบัน​ว่า “สัญญา​เช่า​หมด​มา​ตั้ง 5 ปี​แล้ว ปกติ​เขา​ต้อง​ต่อ​สัญญา​เช่า​ทุก 3 ปี นี่​หมด​ สัญญา​แล้ว ไม่​ให้​ต่อ​มา​ตั้งแต่​ปี 2549​ แต่​ค่า​เช่า​ยัง​เก็บ​อยู่” ถ้าเ​ป็นเ​ช่นน​ ี้ ต้อง​ถอื ว่าท​ งั้ ส​ อง​ฝา่ ย​ หมด​สญ ั ญา​ตอ่ ก​ นั ไ​ป​แล้ว เจ้าของ​ทม​ี่ ส​ี ทิ ธิ​ จะ​อัญเชิญ​ผู้​เช่า​ออก​ไป​เมื่อ​ไหร่​ก็ได้ โดย​ อ้าง​ว่า ผู้​เช่า​ผิด​สัญญา​เช่า เพราะ​ตาม​ กฎหมาย หาก​มฝ​ี า่ ย​หนึง่ ฝ​ า่ ย​ใด​ผดิ ส​ ญ ั ญา​ เช่า​ก็​ถือว่า​สัญญา​นั้น​เป็น​โมฆะ

ปัญหา​ไม่​ได้​อยูท่​ กี่​ าร​ เวนคืน

น่ า ​ส งสั ย ​ไ ม่ ​น้ อ ย ที่ ​โ ครงการ​ รถไฟฟ้ า ​ใ ต้ ดิ น ​ต้ อ ง​มี ​ก าร​เ วนคื น ​พื้ น ที่ ​ หน้า​ดิน​กว้าง​ขวาง​ขนาด​นี้ สุ​เทพ​ตั้ง​ข้อ​สังเกต​เรื่อง​การ​เวนคืน​ พื้นที่​บน​ดิน ทั้ง​ที่​เป็น​โครงการ​ก่อสร้าง​ รถไฟฟ้าใ​ต้ดนิ หลังจ​ าก​เก็บค​ วาม​สงสัยไ​ป​ ปรึกษา​นัก​วิชาการ​หลาย​ท่าน ได้​ข้อ​สรุป​ ว่าการ​เวนคืน​แถว​นี้​เริ่ม​ส่ง​กลิ่น​แปลกๆ เหตุผล​ที่​รัฐบาล​เลือก​ทำ​รถไฟฟ้า​ บน​ดิน​หรือ​ใต้ดิน​นั้น เขา​แยก​พิจารณา​ อย่ า งไร การ​ตั ด สิ น ​ใ จ​ว่ า ​ต รง​นี้ ​จ ะ​เ ป็ น​ สถานีร​ ถไฟฟ้าใ​ต้ดนิ ควร​จะ​เป็นไ​ป​เพราะ​ ไม่ต​ อ้ งการ​สร้าง​ความ​กระทบ​กระเทือน​แก่​ ชาว​บ้าน จึง​ต้อง​พยายาม​ใช้​พื้นที่​ให้​จำกัด​ ที่สุด​หรอก​หรือ “ผม​ไป​คุย​กับ​นัก​วิชาการ แล้ว​เขา​ ก็​ถาม​ว่า เป็น​รถไฟฟ้า​ใต้ดิน​แต่​ทำไม​ต้อง​ ขุด​อะไร​กัน​เยอะ​แยะ​แบบ​นี้ เวนคืน​อะไร​ เยอะ​แยะ​อย่าง​นี้ เพราะ​อะไร...คน​ที่​อยู่​ มา​จะ​ค่อยๆ ซึมซับ​ไป​เอง​ว่า เพราะ​มัน​มี​ อะไร​กัน​อยู่” ‘อะไร’ ที่​ว่า​นั้น คง​เป็น​เรื่อง​ที่​เรา​ ก็​รู้ๆ กัน​ดี​อยู่​แล้ว​กระมัง เมื่อ​มี​ข่าว​ว่า​ โครงการ​รถไฟฟ้าจ​ ะ​ผดุ ข​ นึ้ ท​ น​ี่ ี่ ความ​เจริญ​ ก็​ไหล่​บ่า​เข้า​มา​แทบ​จะ​ทันที โครงการ​ พัฒนา​พนื้ ทีต​่ ดิ ท​ าง​เข้าอ​ อก​สถานีว​ ดั ม​ งั กร​ ที่​ออก​มา​เมื่อ​ปี 2552 น่า​จะ​ตอบ​คำถาม​ นี้​ได้​ดี​ที่สุด แต่​ลอง​หัน​มา​มอง​ดู​ความ​เป็น​จริง แน่ ใ จ​ห รื อ​ว่ า ​ร ถไฟฟ้ า ​จ ะ​อ ำนวย​ค วาม​ สะดวก​ให้​คน​มา​เยาวราช​ส่วน​ใหญ่​จริงๆ เพราะ​คน​เหล่า​นี้​มี​ทั้ง​มา​หา​ซื้อ​ของ​ไป​ขาย และ​มา​ซื้อ​ของสด​ต่างๆ หลาย​คน​ต้อง​ หอบ​หิ้ว​ข้าว​ของ​พะรุงพะรัง ซึ่ง​อย่าง​ที่​รู้​ กัน​ว่าการ​หอบ​ข้าว​ของ​เกะกะ​เป็น​เรื่อง​​ ไม่​เหมาะ​สำหรับ​รถไฟ​ใต้ดิน หลายๆ คน​ค าด​ก ารณ์ ​กั น ​ว่ า​ นายทุ น ​ก ลุ่ ม ​ใ หญ่ ​ก ำลั ง ​ห อบ​หิ้ ว ​แ หล่ ง​ ธุรกิจ​ทัน​สมัย​เข้า​มา​แทนที่ ตาม​รถไฟฟ้า​ เข้า​มา​ติดๆ เช่น​เดียว​กับ​เวิ้ง​นาคร​เขษม​ กำลัง​เผชิญ​ทาง​ตัน เพราะ​ไม่​ว่า​จะ​รวม​ตัว​

รวม​เงินย​ นื่ ข​ อ​ซอื้ ท​ ม​ี่ าก​แค่ไ​หน​กไ​็ ม่เ​ป็นผ​ ล เมื่อ​ผู้​มี​กรรมสิทธิ์​ใน​ที่ดิน​อยาก​ขาย​ให้​กับ​ กลุ่ม​ทุน​มากกว่า แล้วย​ า่ น​เก่าข​ อง​มหานคร​กรุงเทพฯ ก็​จะ​เปลี่ยน​โฉมหน้า​ไป​ตลอด​กาล

ขอ​คืน​พื้นที่

ปี 2554 เป็ น ​ปี ​ที่ ​ผู้ ​เ ช่ า ​อ าคาร​ และ​พื้นที่​ใน​เขต​กรุงเทพฯ​อาจ​ต้อง​พึ่งพา​​ ยา​นอน​หลับ เพราะ​กงั วล​วา่ เจ้าของ​ทอ​ี่ าจ​ จะ​ปฏิบัติ​การ ‘ขอ​คืน’ พื้นที่​เมื่อ​ไหร่​ก็ได้ ที่ดิน​แป​ลง​ใหญ่ๆ กลาง​เมือง ไม่​ ว่า​จะ​เป็น​แหล่ง​ชุมชน​ที่​มี​ราก​เหง้า​เก่า​แก่​ แค่​ไหน​ก็​เริ่ม​อยู่​ยาก​ขึ้น​ไป​ทุกที ตัวอย่าง​ แรก​มใ​ี ห้เ​ห็นแ​ ล้วท​ เ​ี่ วิง้ น​ าคร​เขษม แม้ผ​ เ​ู้ ช่า​ จะ​รวม​ตัว​กัน​อย่างไร​ก็​ดู​จะ​ไม่​สามารถ​ ต้ า นทาน​พ ลั ง ​น ายทุ น ​กั บ ​เ จ้ า ของ​พื้ น ที่ ​ ที่​ไล่​ตาม​การ​พัฒนา​ของ​เมือง​หลวง​ที่​แทบ​ จะ​เรียก​ว่า ‘ไร้​ผังเมือง​โดย​สิ้น​เชิง’ ได้​เลย ชาว​ชุมชน​หลาย​คน​ให้​ความ​เห็น​ ตรง​กั น​ว่ า หาก​รั ฐ ​มี ​ม าตรการ​เยี ยวยา​ และ​ดูแล จัดหา​ที่​ทำ​กิน​ใหม่​ให้​เหมาะ​สม ชดเชย​ผู้​เสีย​ประโยชน์​อย่าง​สม​น้ำ​สม​เนื้อ รับรอง​ว่า ปัญหา​เหล่า​นี้​คง​ไม่​หมักหมม​ และ​ลาก​ยาว​มา​จนถึง​วัน​นี้ ต้นตอ​สำคัญ​ของ​ปัญหา​นี้ ยุทธ​เดช​​ เชื่อ​ว่า​มา​จาก​กฎหมาย​เวนคืน​ไม่​เข้า​ยุค​ เข้าส​ มัย พอ​มก​ี ฎหมาย​ตวั น​ ี้ ก็เ​หมือน​เพิม่ ​ อำนาจ​ให้​กับ​ผู้​ที่​อยาก​ทำ​โครงการ เขา​ เปรียบ​เทียบ​ให้ฟ​ งั ว​ า่ ร​ ะหว่าง​ใช้อ​ ำนาจ​กบั ​ ใช้ส​ มอง ใช้อ​ ำนาจ​งา่ ย​กว่า ไม่มก​ี าร​รบั ฟ​ งั ​ ความ​เห็นป​ ระชาชน​ผม​ู้ ส​ี ว่ น​ได้เ​สียบ​ ริเวณ​ นั้น​อย่าง​จริงจัง

“ชาว​บ้าน​ที่​นี่ ไม่​ได้​ต้องการ​อะไร​ นอกจาก​ที่​ทำ​กิน” ห้าง​ร้าน​แถว​นี้​ต่าง​ยึด​อาชีพ​ค้าขาย​ เป็น​หลัก ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ร้าน​ขาย​ยา​จีน​ของ​ ยุทธ​เดช หรือ​ร้าน​สิน​ไทย ร้าน​ศรี​สมบูรณ์​ ขาย​เครื่อง​แต่งงาน พิธี​ของ​คน​จีน ห้าง​ ตัง​อา ขาย​โคม​กระดาษ​จีน​ใช้​ใน​พิธี​มงคล​ และ​อวมงคล นอกจาก​นนั้ ยังม​ ร​ี า้ น​เครือ่ ง​ ดนตรีจ​ นี ร้าน​ขาย​เครือ่ ง​ลาย​คราม ตุก๊ ตา-​ จีน อยูใ​่ น​แถบ​นท​ี้ งั้ ส​ นิ้ ใน​ไช​นา่ ท​ าวน์เ​มือง​ ไทย ใครๆ ก็​รู้​ว่า​ชีวิต​พวก​เขา​ผูกพัน​กับ​ พื้นที่​นี้​จน​แทบ​เป็น​เนื้อ​เดียวกัน “ทุก​คน​บอก​ว่า​ถ้า​ต้อง​ย้าย​ไป​ก็​คง​ เลิก​กิจการ ก็​เป็น​ปัญหา​ตรง​นี้ ที่​การ​จะ​ สร้าง​สิ่ง​หนึ่ง กลับ​ต้อง​ไป​ทำลาย​อีก​สิ่ง​ หนึ่ง “ถ้ า ​จ ะ​ป ฏิ รู ป ​เ รื่ อ ง​นี้ ต้ อ ง​ก ำจั ด​ กฎหมาย​เวนคืน​ที่​ใช้​อำนาจ​เป็น​ใหญ่​นั้น​ เสี ย ปรั บ ​ใ ห้ ​เ ป็ น ​ก ฎหมาย​เ วนคื น ​ที่ ​ใ ช้ ​ ธรรม​เป็น​ใหญ่ หา​ทางออก​แบบ​กฎหมาย​ เวนคืนท​ ไ​ี่ ม่ท​ ำให้ผ​ ถ​ู้ กู เ​วนคืนเ​ป็นค​ น​ทส​ี่ ญ ู ​ เสียอ​ ย่าง​เดียว และ​ควร​เยียวยา​ตาม​ความ​ ต้องการ​ของ​แต่ละ​คน​ดว้ ย เพราะ​แต่ละ​คน​ ​มี​ความ​ต้องการ​ไม่​เหมือน​กัน” ยุทธ​เดช​ ทิ้ง​ท้าย หาก​โครงการ​สถานีว​ ดั ม​ งั กร​ได้ฤ​ กษ์​ ก่อสร้าง​เมื่อ​ใด อาจ​เป็น​สัญญาณ​ว่า มนต์​ ขลัง​ของ​เยาวราช-ไช​น่า​ทาวน์​ใหญ่​ที่สุด​ ใน​โลก กำลัง​เริ่ม​ต้น​นับ​ถอย​หลัง​แล้ว

ลำดับ​เหตุการณ์ ปี 2548 มี​ใบปลิว​เชิญ​ให้​ชาว​บ้าน​ชุมชน​วัด​มังกร​ที่​ได้​รับ​ผลก​ระ​ทบ​เข้า​ร่วม​ ฟัง​ข้อมูล​ที่​บริษัท​ที่​ปรึกษา​ของ รฟม. ชาว​บ้าน​ตัดสิน​ใจ​ยื่น​เรื่อง​ฟ้อง รฟม. ต่อ​ ศาล​ปกครอง ปี 2549 ใน​ส่วน​อาคาร​พาณิชย์​ที่​ไม่ใช่​ของ​เอกชน ผู้​เช่า​ไม่​ได้​รับ​การ​ต่อ​ สัญญา​จาก​เจ้าของ​ที่ ทั้ง​ที่​ปกติ​ต้อง​มี​การ​ต่อ​สัญญา​ทุก 3 ปี แต่​ค่า​เช่า​ยัง​คง​ ชำระ​ตาม​ปกติ ปี 2552 เดือน​เมษายน มีผ​ งั แ​ ม่บท​และ​แบบ​สถาปัตยกรรม​ขนั้ ต​ น้ ‘โครงการ​ พัฒนาทีด่ นิ ส​ ำนักงาน​ทรัพย์สนิ ส​ ว่ น​พระ​มหา​กษัตริยแ​์ ละ​มลู น​ ธิ จ​ิ มุ ภฎ-พันธุท​์ พิ ย์ บริเวณ​ไช​น่า​ทาวน์’ เป็น​อาคาร​สูง 19 ชั้น เนื้อที่​รวม 10 ไร่ บริเวณ​จุด​เชื่อม​ต่อ​ ของ​สถานี​รถไฟฟ้า​วัด​มังกร​กม​ลา​วาส โดย Dymaxion Studio Co., Ltd. ปี 2553 สำนักงาน​ทรัพย์สนิ ส​ ว่ น​พระ​มหา​กษัตริย์ มูลน​ ธิ จ​ิ มุ ภฎ-พันธุท​์ พ ิ ย์ และ​รฟม. ร่วม​ลง​นาม​บนั ทึกข​ อ้ ต​ กลง​การ​ใช้ท​ ดี่ นิ เ​พือ่ ก​ อ่ สร้าง​สถานีร​ ถไฟฟ้าว​ ดั ​ มังกร​กม​ลา​วาส โครงการ​รถไฟฟ้า​สาย​สีน้ำเงิน ช่วง​หัวลำโพง-บางแค (อุโมงค์​ ใต้ดิน) ปี 2554 พระ​ราช​กฤษฎีกา​กำหนด​เขต​ที่ดิน​ใน​ที่​ที่​จะ​เวนคืน ใน​ท้อง​ที่​ เขต​ปทุมวัน เขต​บางรัก เขต​ป้อมปราบศัตรูพ่าย เขต​สัมพันธวงศ์ เขต​พระนคร เขต​ธนบุรี เขต​บางกอกใหญ่ เขต​ภาษีเจริญ เขต​จอมทอง และ​เขต​บางแค กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554 มี​ผล​บังคับ​ใช้​ตั้งแต่ 7 กรกฎาคม ล่าสุด เมื่อ​ ปลาย​เดือน​กนั ยายน​ทผ​ี่ า่ น​มา รฟม. เริม่ ส​ ง่ เ​จ้าห​ น้าทีเ​่ ข้าส​ ำรวจ​อาคาร​และ​พนื้ ที​่ ใน​เขต​เวนคืน


36

ปฏิทิน-ปฏิรูป

01

รวมพลังสตรีไทย ต่อต้านคอรัปชั่น คณะ​กรรมการ​สมัชชา​ปฏิรูป สำนักงาน​ปฏิรูป (สปร.) คณะ​กรรมการ​นัก​ธุรกิจ​สตรี หอการค้าไทย ร่วม​กบั 7 องค์กร​สตรีท​ ำ​ดเ​ี พือ่ แ​ ม่ สมาคม​สหพันธ์ส​ ตรี​ เพื่อ​สตรี สมาคม​แม่​ดี​เด่น​แห่ง​ชาติ​กรุงเทพมหานคร สหพั น ธ์ ​ส มาคม​ส ตรี ​สั ม พั น ธ์ ​ส หพั น ธ์ ​ส มาคม​ส ตรี ​ นัก​ธุรกิจ​และ​วิชาชีพ​แห่ง​ประเทศไทย สหพันธ์​สตรี​ ฮ​ า​กกา​แห่งป​ ระเทศไทย สหพันธ์ส​ มาคม​สตรีอ​ าสา​สมัคร​​ รักษา​ดิน​แดน​แห่ง​ประเทศไทย มูลนิธิ​เกียรติ​ร่วมมิตร​ เพือ่ ก​ าร​ศกึ ษา จัดง​ าน​เสวนา​วชิ าการ​ใน​หวั ข้อ ‘รวม​พลัง​ สตรี​ไทย ต่อ​ต้าน​คอรัปชั่น’ เมื่อ​วัน​ที่ 22 กรกฎาคม 2554 เวลา 13.00 – 15.00 น. ณ ห้อง​แซฟไฟร์ 6​ อิม​แพ็ค​คอน​เวน​ชั่น​เซ็นเตอร์​เมืองทอง​ธานี จังหวัด​ นนทบุรี โดย​มีผู้​ร่วม​เสวนา​ได้แก่ คุณ​ยุวดี นิ่ม​สมบุญ ประธาน​คณะ​กรรมาธิการ​พฒ ั นา​สงั คม​และ​กจิ การ​เด็ก เยาวชน สตรี ผูส​้ งู อ​ ายุ คน​พกิ าร​และ​ผด​ู้ อ้ ย​โอกาส สมาชิก​ วุฒสิ ภา, คุณจ​ นั ทร์ส​ ดุ า รกั ษ์พ​ ลเมือง รอง​ปลัดก​ ระทรวง​ วัฒนธรรม, คุณ​กอ​บกาญ​จน์ สุริย​สัตย์ วัฒน​ว​รา​งกูร​ รอง​ประธาน คกก.นัก​ธุรกิจ​สตรี หอการค้าไทย​และ​​ คุณม​ าลีร​ ตั น์ ปลืม้ จ​ ติ ร​ชม รอง​ประธาน​บริหาร​สมาคม​ แม่ด​ เ​ี ด่นแ​ ห่งช​ าติ กรุงเทพมหานคร ดำเนินร​ ายการ​โดย​ คุณ​กนก รัตน​์วงศ์​กุล คุ ณ ​ศิ ริ ​น า ปว​โ รฬา​ร วิ ​ท ยา ประธาน​ค ณะ​ กรรมการ​นัก​ธุรกิจ​สตรี หอการค้าไทย กล่าว​ว่าการ​ ประกาศ​เจตนารมณ์ ใน​ฐานะ​สตรี​ไทย​ที่​มี​ฐานะ​เป็น​ ผู้​เสริม​บทบาท​ใน​ครอบครัว​ฐานะ​แม่ ใน​ฐานะ​ภรรยา ใน​ฐานะ​ลูกสาว หาก​สตรี​ไทย​รวม​พลัง​กัน​จะ​ทำให้​ภัย​ ทุจริต​และ​คอรัปชั่น​สลาย​ไป​จาก​ประเทศไทย พวก​เรา​ จะ​รวม​พลัง​กัน​สร้าง​ชาติ​ไทย​ให้​โปร่งใส สร้าง​คน​ไทย​ ให้​ซื่อตรง คุณ​มาลี​รัตน์ ปลื้ม​จิตร​ชม รอง​ประธาน​บริหาร​ สมาคม​แม่ด​ เ​ี ด่นแ​ ห่งช​ าติ กรุงเทพมหานคร กล่าว​วา่ การ​ ต้าน​คอรัปชั่น​จะ​ต้อง​เริ่ม​จาก​ตัว​เรา​เอง​ก่อน ซึ่ง​อาจ​นำ​ หลัก​ธรรมะ​หรือ​ความ​พอ​เพียง​มา​เตือน​สติ​ใน​การ​ดำรง​ ชีวิต​เพราะ​บาง​คน​ตัดสิน​ใจ​ไม่​ได้​ระหว่าง​สิน​น้ำใจ​กับ​ สินบน โดย​พื้น​ฐาน​คน​ไทย​จะ​มี​สิน​น้ำใจ ให้ๆ ​ไป​จะ​ กลาย​เป็น​สินบน​ได้ คิด​ว่า​แม่​ทุก​คน ภรรยา​ทุก​คน เป็น​ คน​ดี หาก​เรา​เริ่ม​จาก​หน่วย​เล็ก​ใน​สังคม​ของ​ครอบครัว​ ก่อน ก็​จะ​ทำให้​ประเทศ​ชาติ​เจริญ​รุ่ง​เรื่อง​ขึ้น​ได้ คุณ​ยุวดี นิ่ม​สมบุญ ประธาน​คณะ​กรรมาธิการ​

พัฒนา​สังคม​และ​กิจการ​เด็ก เยาวชน สตรี ผู้​สูง​อายุ​ คน​พิ ก าร​แ ละ​ผู้ ​ด้ อ ย​โ อกาส สมาชิ ก ​วุ ฒิ ส ภา​ก ล่ า ว​ ว่า เรื่อง​งบ​ประมาณ​ของ​กระทรวง​พัฒนา​สังคมฯ ใน​ การ​พัฒนา​ผู้​เสีย​เปรียบ​ทาง​สังคม​หรือ​ผู้​ด้อย​โอกาส​​ ทาง​สังคม​มี​น้อย​มาก การ​ที่​สูญ​เสีย​งบ​ประมาณ​ถึง​ สอง​แสน​ล้าน​บาท​ไป​กับ​การ​คอรัปชั่น ทำให้​คุณภาพ​ ชีวิต​ไม่​ได้​รับ​การ​พัฒนา ส่ง​ผล​ให้​ประเทศ​ชาติ​ไม่​เจริญ​ ก้าวหน้า คุณจ​ นั ทร์ส​ ดุ า รักษ์พ​ ลเมือง รอง​ปลัดก​ ระทรวง​ วัฒนธรรม กล่าว​ว่า​ภาค​ราชการ​มี​ส่วน​สำคัญ​ใน​การ​ ดำเนิน​การ​เพื่อ​ให้​การ​คอรัปชั่น​หมด​ไป ระบบ​ราชการ​ ใหม่​แผนการ​ปฏิรูป​ระบบ​ราชการ เน้น​ระบบ​ราชการ​ ที่​สมรรถนะ​สูง​มี​คุณภาพ มี​คุณธรรม มี​ประสิทธิภาพ​ เป็น​ที่​เชื่อ​ถือ​ศรัทธา​ของ​ประชาชน โดย​นโยบาย​เน้น​ หลัก​ธร​รม​าภิ​บาล​ซึ่ง​ก็​สอดคล้อง​กับ​ภาค​ธุรกิจ​ที่​มี​หลัก​ ธร​รม​าภิ​บาล​เข้า​มา​ใช้​ใน​การ​ดำเนิน​งาน​ต่างๆ ซึ่ง​เป็น​ ความ​จำเป็น​เพราะ​ด้วย​ประชากร​ที่​เพิ่ม​ขึ้น​มี​ทั้งคน​ดี​ และ​ไม่​ดี โดย​หลัก​ธร​รมาภิ​บาล​นี้​ทุก​คน​สามารถ​เข้า​ มา​ตรวจ​สอบ​ได้ และ​อยาก​การ​ให้​มี​การ​สร้าง​เครือ​ข่าย​ สื่อมวลชน ถ้า​เรา​มี​สื่อมวลชน​ใน​การ​ช่วย​ตรวจ​สอบ​ เชื่อม​โยง​ข้อมูล​กัน​ใน​การ​ต่อ​ต้าน​คอรัปชั่น คุณ​กอ​บกาญ​จน์ สุริย​สัตย์ วัฒน​ว​รา​งกูร รอง​ ประธาน คกก.นัก​ธุรกิจ​สตรี หอการค้าไทย กล่าว​ว่า​ Model การ​คอรัปชั่​นข​อง​ฮ่องกง​เกิด​ขึ้น โดย​ประชาชน​ ของ​ฮ่ อ งกง​ไ ด้ ​ลุ ก ​ขึ้ น ​ม า​ต่ อ ​ต้ า น​ค อรั ป ชั่ น จึ ง ​เ ป็ น​ จ​ ดุ เ​ริม่ ต​ น้ ข​ อง​คณะ​กรรมการ​อสิ ระ​เพือ่ ก​ าร​ปราบ​ปราม​ การ​คอรัปชัน่ โดย​มอง​วา่ ถ​ า้ เ​รา​มค​ี วาม​กล้าแ​ ละ​ยอม​เจ็บ​ เพื่อ​จะ​สร้าง​อนาคต มี​ชีวิต​ที่​ดี สิ่ง​ที่​สำคัญ​มาก​ที่สุด​คือ​ เรื่อง​ของ​จิตสำนึก​ทำ​อย่างไร​ให้​คน​เกิด​ความ​ตระหนัก สิ่ ง ​ที่ ​ห อการค้ า ​อ ยาก​ฝ าก​ใ น​เ รื่ อ ง​ข อง​ก าร​ต่ อ ​ต้ า น​ ​คอรัปชั่น สิ่ง​แรก​ต้อง​เริ่ม​จาก​ตัว​เรา ผู้นำ​องค์กร คน​ที่​ เป็น​ประชาชน​จะ​เป็น​บทบาท​ของ​แม่ หรือ​ลูก เรา​ทำ​ ก่อน​และ​สดุ ท้าย​จะ​มค​ี น​ทส​ี่ อง​คน​ทส​ี่ าม​ตาม​มา สำคัญ​ ที่สุด​ต้อง​มี​ความ​กล้า ภาย​หลัง​การ​เสวนา​เสร็จ​สิ้น วิทยากร ผู้​ร่วม​ เสวนา​และ​คณะ​กรรมการ​สมัชชา​ปฏิรูป ลง​นาม​และ​ เขียน​เจตนารมณ์​ใน​บอร์ด​ต่อ​ต้าน​คอรัปชั่น โดย​จะ​มี​ การนำ​เรียน​ต่อ​นายก​รัฐมนตรี​หญิง​คน​ใหม่ ถึง​วงการ​ สตรี​ไทย​ได้​ร่วม​พลัง​กัน​ต่อ​ต้าน​คอรัปชั่น​ต่อ​ไป


37

02

สำนักงาน​ปฏิรูป (สปร.) ระดม​ เครือ​ข่าย​เตรียม​จัด​สมัชชา​ปฏิรูป​ ระดับ​จังหวัด เมื่อ​วัน​ที่ 19 สิงหาคม 2554 สำนักงาน​ปฏิรูป (สปร.) ได้​จัด​ประชุม​เตรียม​การ​จัด​ สมัชชา​ปฏิรูป​ระดับ​จังหวัด ณ ห้อง​ประชุม​บอล​รูม 2 ชั้น 4 โรงแรม​ริชมอนด์ จังหวัด​นนทบุรี โดย​เชิญ​แกน​ประสาน​การ​จัด​สมัชชา​ปฏิรูป​ระดับ​จังหวัด​ทั้ง 77 จังหวัด​เข้า​ร่วม ซึ่ง​การ​ปฏิรูป​ ประเทศไทย เป็นเ​รือ่ ง​ใหญ่ข​ อง​สงั คม ทีต​่ อ้ ง​ทำความ​เข้าใจ​ให้เ​ป็นไ​ป​ใน​ทาง​ทส​ี่ อดคล้อง​กนั เพือ่ ​ การ​ขับ​เคลื่อน​และ​ดำเนิน​การ​ที่​เป็น​ธรรมชาติ และ​หลาก​หลาย แต่​ไป​ใน​ทิศทาง​ใหญ่​เดียวกัน จำเป็นต​ อ้ ง​ชวน​คน​ไทย​รว่ ม​กนั ส​ ร้าง​ประเทศไทย หัวใจ​ของ​การ​ปฏิรปู ป​ ระเทศไทย​อยูท​่ ก​ี่ าร​เน้น​ การ​ปฏิรูป​ที่​ฐานราก คือ​การ​ทำให้​ชุมชน​เข้ม​แข็ง เชื่อม​เข้า​กับ​การ​ปฏิรูป​ระบบ​และ​โครงสร้าง​ ต่างๆ ข้าง​บน และ​เชือ่ ม​กบั จ​ ติ สำนึกค​ วาม​เป็นธ​ รรม​ของ​สงั คม​โดย​รวม ยุทธวิธท​ี ส​ี่ ำคัญใ​น​การ​ ปฏิรปู ป​ ระเทศไทย​อกี อ​ ย่าง​หนึง่ ก​ ค​็ อื การ​ขบั เ​คลือ่ น​การ​ปฏิรปู ใ​น​ระดับพ​ นื้ ที่ ด้วย​การ ‘ส่งเ​สริม​ และ​สนับสนุน​ให้​เกิด​การ​รวม​ตัว ร่วม​คิด ร่วม​ทำ ใน​ทุก​เรื่อง ทุก​พื้นที่’ เพื่อ​ให้​เกิด​การ​ปฏิรูป​ ภาค​ปฏิบัติ​ไป​พร้อมๆ กับ​การ​ดำเนิน​การ​ด้าน​อื่นๆ ​คือ การ​สร้าง​เครือ​ข่าย​การ​เรียน​รู้​ร่วม​กัน​ โดย​การ​ปฏิบตั อ​ิ ย่าง​กว้าง​ขวาง​และ​หลาก​หลาย ด้วย​การ​ผนึกก​ ำลังจ​ าก​ทกุ อ​ งค์กร​ภาคีท​ กุ ภ​ าค​ ส่วน​เข้า​มา​ทำงาน​ด้วย​กัน ซึ่ง​จะ​ทำให้​เกิด​การ​สาน​พลัง​นำ​ไป​สู่​ความ​สำเร็จ​ร่วม​กัน ทั้งนี้ เพื่อ​ให้การ​จัด​สมัชชา​ปฏิรูป​ระดับ​ชาติ ครั้ง​ที่ 2 ที่​จะ​มี​ขึ้น​ใน​ระหว่าง​วัน​ที่ 30 มีนาคม - 1 เมษายน พ.ศ. 2554 เป็น​ไป​อย่าง​กว้าง​ขวาง เปิด​ช่อง​ทาง​ให้​ผู้​สนใจ​จาก​ภาค​ส่วน​ ต่างๆ ใน​ทุก​พื้นที่​ของ​ประเทศ มี​ส่วน​ร่วม​ใน​กระบวนการ​ปฏิรูป คณะ​กรรมการ​ดำเนิน​การ​ จัด​สมัชชา​ปฏิรูป (คจสป.) จึง​ได้​กำหนด​ให้​มี​การ​สนับสนุน​การ​จัด​สมัชชา​ปฏิรูป​เฉพาะ​พื้นที่ (ระดับจ​ งั หวัด) ขึน้ เพือ่ ส​ นับสนุนใ​ห้เ​กิด กระบวนการ​พฒ ั นา​นโยบาย​สาธารณะ​เพือ่ ก​ าร​ปฏิรปู ​ ประเทศไทย ที่​เชื่อม​โยง​กับ​สมัชชา​ปฏิรูป​ระดับ​ชาติ และ​ทำให้​สังคม​เกิด​ความ​เคลื่อนไหว​ไป​ พร้อมๆ กัน​อย่าง​กว้าง​ขวาง โดย​ประเด็นท​ นี่​ ำ​เข้าส​ กู่​ าร​พจิ ารณา อาจ​ได้แก่ การนำ​มติส​ มัชชา​ ปฏิรูป​ระดับ​ชาติ​ครั้ง​ที่ 1 (พ.ศ. 2554) ไป​ขับ​เคลื่อน​ใน​พื้นที่​ด้วย​รูป​แบบ​หรือ​วิธี​การ​ต่างๆ​ หรือ​ประเด็น​ที่​เป็น​ระเบียบวาระ​ของ​สมัชชา​ปฏิรูป​ครั้ง​ที่ 2 (พ.ศ. 2554) หรือ​ประเด็น​อื่น​ที่​ อยูใ​่ น​ความ​สนใจ​ของ​พนื้ ทีเ​่ อง โดย​กำหนด​ให้ม​ ก​ี าร​จดั ส​ มัชชา​ปฏิรปู ร​ ะดับจ​ งั หวัดพ​ ร้อม​กนั ท​ วั่ ​ ประเทศ ระหว่าง​เดือน​ตลุ าคม​ถงึ พ​ ฤศจิกายน 2554 และ​อาจ​พจิ ารณา​จดั เ​ป็นป​ ระจำ​ทกุ ป​ ใ​ี น​ ช่วง​เวลา​ที่​เหมาะ​สม​ต่อ​ไป เพื่อ​สร้าง​กระแส​การ​ปฏิรูป​ให้​สังคม​มี​การ​เคลื่อนไหว ร่วม​ผลัก​ดัน​ การ​ขบั เ​คลือ่ น​การ​ปฏิรปู ต​ าม​มติส​ มัชชา​ทผ​ี่ า่ น​มา และ​เตรียม​การ​อย่าง​ดใ​ี น​การ​เข้าร​ ว่ ม​สมัชชา​ ปฏิรูป​ระดับ​ชาติ​ครั้ง​ถัด​ไป สำหรับ​แนวทาง​การ​สนับสนุน สปร. จะ​ให้การ​สนับสนุน​ข้อมูล​และ​ทาง​วิชาการ ได้แก่ ผูเ​้ ชีย่ วชาญ ผูท้ รง​คณ ุ วุฒิ วิทยากร​และ​ทป​ี่ รึกษา และ​การ​สนับสนุนเ​อกสาร​ขอ้ มูลท​ าง​วชิ าการ​ ต่างๆ, สนับสนุนก​ าร​พฒ ั นา​กลไก กระบวนการ​สมัชชา​ปฏิรปู และ​การ​พฒ ั นา​เครือข​ า่ ย​สมัชชา​ ปฏิรปู , สนับสนุนก​ าร​สอื่ สาร​สาธารณะ ได้แก่ การ​สอื่ สาร​ผา่ น​สอื่ ส​ าธารณะ​ตา่ งๆ ทัง้ ส​ อื่ ส​ งิ่ พ​ มิ พ์​ วิทยุ โทรทัศน์ เว็บไซต์ และ​สื่อ​สา​ธารณะ​อื่นๆ ตลอด​จน​สนับสนุน​ทรัพยากร​อื่นๆ ตาม​ความ​จำเป็น​ด้วย...


38

ขับเคลื่อน

สำนักงานปฏิรูป (สปร.)

ด า ข ก ู ผ ร า ก เพื่อลด

ป ู ร ิ ฏ ป ร า ก

ย ท ไ จ ิ ก ฐ ษ ร ในระบบเศ

1. ปัญหา​เชิง​องค์กร

กฎหมาย​การ​แข่งขัน​ ทางการ​ค้าข​ อง​ ประเทศไทย ประเทศไทย​มี​การ​บังคับ​ใช้ พ.ร.บ.การ​ แข่งขัน​ทางการ​ค้า พ.ศ. 2542 มา​แล้ว​เป็น​เวลา​ กว่า 12 ปี แต่​ใน​ความ​เป็น​จริง ยัง​ไม่​เคย​มี​การ​ กล่าว​โทษ หรือด​ ำเนินค​ ดีแ​ ก่ผ​ ป​ู้ ระกอบ​การ​แม้แต่​ ราย​เดียว บาง​ครั้ง แม้​จะ​มี​ความ​ผิด​ชัดเจน แต่​ ตัว​บท​กฎหมาย​เอง​ก็​ยัง​คง​มี​ช่อง​โหว่​อยู่​มากมาย ทำให้​ผู้​บริโภค​ไม่​ได้​รับ​ความ​เป็น​ธรรม ขณะ​ที่​ ผู้ ​ป ระกอบ​ก าร​ด้ ว ย​กั น ​ก็ ​ต้ อ ง​อ ยู่ ​ใ น​ภ าวะ​ถู ก​ เอา​รัด​เอา​เปรียบ ย้อน​มา​ดู​ต้นตอ​ของ​ความ​ล้ม​เหลว​ใน​การ​ บังคับ​ใช้​กฎหมาย ซึ่ง​สามารถ​สรุป​ออก​มา​เป็น 6 สาเหตุ​หลัก คือ

ผู้​ผูกขาด​พลังงาน ประเทศไทย​มี ​ค วาม​ส ามารถ​ใ น​ก าร​ผ ลิ ต ​ก๊ า ซ​ ธรรมชาติ ก๊าซ​ธรรมชาติ​เหลว และ​น้ำมัน​ดิบ​รวม​กัน เฉพาะ​ปี 2551 ปี​เดียว มาก​ถึง 721,500 บาร์เรล​ต่อ​วัน​ หรือ 115 ล้าน​ลิตร​ต่อ​วัน และ​ใน​ปี​นั้น เรา​สามารถ​​ ส่ง​ออก​พลังงาน​ได้​ถึง 3 แสน​ล้าน​บาท ใน​ขณะ​ที่​มูลค่า​ การ​ส่งอ​ อก​ข้าว​อยู่​ที่ 2 แสน​ล้าน​บาท แต่​ทั้ง​ที่​เรา​สามารถ​กลั่น​น้ำมัน​เอง​ได้​ใน​ประเทศ หลาย​คน​สงสัย​ว่า​ทำไม​เรา​ต้อง​ตั้ง​ราคา​น้ำมัน​ใน​ราคา​​ นำ​เข้า​จาก​สิงคโปร์? สมมุตว​ิ า่ ราคา​นำ้ มันส​ ำเร็จรูปท​ ต​ี่ ลาด​สงิ คโปร์อ​ ยูท​่ ี่ 20 บาท และ​คา่ ใ​ช้จ​ า่ ย​ระหว่าง​การนำ​เข้าจ​ าก​สงิ คโปร์อ​ ยูท​่ ี่​ 2 บาท คน​ไทย​ต้อง​จ่าย​ค่าน้ำ​มัน​หน้า​โรง​กลั่น 22 บาท​ ใน​ขณะ​ทค​ี่ น​สงิ คโปร์จ​ ะ​ซอื้ น​ ำ้ มันไ​ด้ใ​น​ราคา 20 บาท ทัง้ ๆ ทีโ​่ รง​กลัน่ อ​ ยูใ​่ น​กรุงเทพฯ ชลบุรี ระยอง พูดง​ า่ ยๆ ก็ค​ อื เงิน​

โครงสร้าง​และ​ท่ีมา​ของ​คณะ​ กรรมการ​การ​แข่งขัน​ทางการ​ค้า มี​ ความ​เสี่ยง​ต่อ​การ​แทรกแซง​ทางการ​ เมือง และ​การ​ถกู ค​ รอบงำ​โดย​กลุม่ ผ​ ล​ ประโยชน์ท​ าง​ธรุ กิจ ทำให้เ​กิดก​ าร​คา้ ท​ ​่ี ไม่​เป็น​ธรรม

2. ปัญหา​การ​ดำเนิน​การ

ความ​ผดิ พ​ ลาด​ใน​เชิงโ​ครงสร้าง​​ ของ​ส ำนั ก งาน​ค ณะ​ก รรมการ​ก าร​ แข่งขัน​ทางการ​ค้า ทำให้​การ​บังคับ​ ใช้​กฎหมาย​ไม่​ได้​รับ​การ​สนับสนุน​ และ​ไม่มี​พัฒนาการ​ใน​การ​บังคับ​ใช้​ กฎหมาย​แต่​อย่าง​ใด นอกจาก​น้ี องค์กร​ดัง​กล่าว​มี​ สถานะ​เป็น​หน่วย​ราชการ ทำให้​ยัง​ ขาดแคลน​ทรัพยากร​บคุ คล​ท​ม่ี ​คี วาม​ร​ู้ ความ​ชำนาญ​ตาม​สาย​งาน นอกจาก​น​้ี งบ​ประมาณ​ก​ย็ งั ​ม​จี ำกัด

3. ปัญหา​ของ​กฎหมาย

ประเทศไทย​มี ​รั ฐ วิ ส าหกิ จ​ จำนวน​หนึ่ง​ท่​ีประกอบ​กิจการ​ใน​เชิง​ พาณิชย์ แข่งขัน​โดยตรง​กบั ​ผ​ปู้ ระกอบ​ การ​ทว่ั ไป และ​รฐั วิสาหกิจ​บาง​แห่ง​ยงั ​

มี​อำนาจ​ผูกขาด​ทาง​กฎหมาย ทำให้​ ค​ แ​ู่ ข่งม​ ส​ี ถานภาพ​เพียง ‘ผูร้ บั ส​ มั ปทาน’​ หรือ ‘ผูร​้ ว่ ม​การ​งาน’ เท่านัน้ มิได้เ​ป็น​ ผู้​ที่​ได้​รับ​อนุญาต​ให้​ประกอบ​กิจการ​ โดยตรง มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การ​แข่งขัน​ ทางการ​ค้า พ.ศ. 2542 กำหนด​ว่า​ กฎหมาย​ไม่​บังคับ​ใช้​กับ​รัฐวิสาหกิจ​ ตาม​ก ฎหมาย​ว่ า ​ด้ ว ย​วิ ธี ​ก าร​ท าง​ งบ​ป ระมาณ ซึ่ ง ​ห มายความ​ว่ า ปัญหา​การ​ผูกขาด​ที่​เกี่ยว​เนื่อง​กับ​ รั ฐ วิ ส าหกิ จ ​จ ะ​ไ ม่ ​ไ ด้ ​รั บ ​ก าร​แ ก้ ไ ข​ เยียวยา​แต่​อย่าง​ใด

4. บท​ลงโทษ​ไม่​เหมาะ​สม

บท​ล งโทษ​ต าม พ.ร.บ.การ​ แข่งขัน​ทางการ​ค้า พ.ศ. 2542 เป็น​ บท​ลงโทษ​ทาง​อาญา โดย​กำหนด​ โทษจำ​คุ ก ​ไ ม่ ​เกิ น 3 ปี หรื อ ​ป รั บ​ ไม่​เกิน 6 ล้าน​บาท หรือ​ทั้ง​จำ​ทั้ง​ ปรับ (มาตรา 51) และ​ใน​กรณี​ที่​ กระทำ​ความ​ผิด​ซ้ำ​ต้อง​ระวาง​โทษ​ เป็น​ทวีคูณ อย่างไร​ก็ตาม กระบวนการ​ เอาผิด​ผู้​ละเมิด​กฎหมาย​การ​แข่งขัน​ ทางการ​คา้ น​ นั้ ใช้เ​วลา​นาน นอกจาก​น​ี้ ยัง​ไม่มี​การ​พิจารณา​โทษ​ตาม​ความ​

ที่​บวก​เพิ่ม​นั้น​ไม่​ต่าง​อะไร​กับ ‘เงิน​กิน​เปล่า’ ของ​โรง​กลั่น​ เนื่องจาก​ไม่​ได้​มี​การนำ​เข้า​น้ำมัน​สำเร็จรูป​มา​จริง ดั ง ​นั้ น โรง​ก ลั่ น ​จึ ง ​อ ยาก​ข าย​น้ ำ มั น ​ใ น​ป ระเทศ​ มากกว่า เพราะ​ขาย​ได้​ลิตร​ละ 22 บาท แต่​ถ้า​ขาย​ให้​ สิงคโปร์ ต้อง​จ่าย​ค่า​ขนส่ง​เอง​อีก 2 บาท ทำให้​ราคา​ เหลือ​แค่ 18 บาท การ​ปิโตรเลียม​แห่ง​ประเทศไทย หรือ ‘บมจ. ปตท.’ เป็น ​ผู้​ประกอบ​การ​ราย​เดียว​ใน​ธุรกิจ​โรง​แยก​ก๊าซ ธุรกิจ​ ก๊าซ​เอ็น​จี​วี และ​ธุรกิจ​ท่อ​ขนส่ง​ก๊าซ​ธรรมชาติ​ใน​อ่าว​ไทย และ​ถึง​แม้ บมจ. ปตท. จะ​ไม่​ได้​เป็น​บริษัท​เดียว​ที่​ผูกขาด​ การก​ลนั่ น​ ำ้ มันใ​น​ประเทศ แต่ใ​น​บรรดา​โรง​กลัน่ ข​ นาด​ใหญ่​ ที่​มี​อยู่ 6 โรง​ทั่ว​ประเทศ​นั้น บมจ. ปตท. ก็​เป็น​ผู้​ถือ​หุ้น​ ราย​ใหญ่​ถึง 5 โรง ซึ่ง​มี​กำลัง​การ​ผลิต​รวม​กัน​มากกว่า 1 ล้าน​บาร์เรล​ตอ่ ว​ นั นอกจาก​ผล​ประโยชน์ท​ ไ​ี่ ด้จ​ าก​การ​ขาย​ น้ำมัน​และ​ก๊าซ​ให้​กับ​ภาค​รัฐ การ​ทำ​ธุรกิจ​แยก​ก๊าซ และ​ ธุรกิจข​ นส่งก​ า๊ ซ​ธรรมชาติแ​ ล้ว บมจ. ปตท. ยังไ​ด้ป​ ระโยชน์​

รุนแรง​ของ​การก​ระ​ทำ​ผิด​อีก​ด้วย

5. ประชาชน

สำนักงาน​คณะ​กรรมการ​การ​ แข่งขัน​ทางการ​ค้า​ของ​ประเทศไทย​ มี​กรอบ​ภารกิจ​ที่​ค่อน​ข้าง​แคบ เมื่อ​ เทียบ​กับ​ใน​ต่าง​ประเทศ เนื่องจาก​ ไม่​ได้​ทำงาน​เกี่ยวข้อง​กับ​ผู้​บริโภค​ โดยตรง เช่น การ​โฆษณา​ทไ​ี่ ม่เ​ป็นจ​ ริง​ การ​กำหนด​โปร​โม​ชั่น​ใน​ลักษณะ​ที่​ เป็นการ​หลอก​ลวง การ​ดูแล​สัญญา​ ที่​ไม่​เป็น​ธรรม ฯลฯ ทีเ​่ ป็นด​ งั นี้ เพราะ​เรือ่ ง​ดงั ก​ ล่าว​ อยู่​ใน​กฎหมาย​ว่า​ด้วย​การ​คุ้มครอง​ ผู้ ​บ ริ โ ภค ด้ ว ย​เ หตุ ผ ล​ดั ง ​ก ล่ า ว​ ผู้​บริโภค​ทั่วไป​จึง​ไม่​ให้​ความ​สำคัญ​ แก่​กฎหมาย​การ​แข่งขัน​ทางการ​ค้า เพราะ​มอง​ว่า​เป็น​กฎ​เกณฑ์​ที่​มุ่ง​ใช้​ เฉพาะ​ปญ ั หา​ขอ้ พ​ พิ าท​ระหว่าง​ธรุ กิจ​ ด้วย​กันเอง​เท่านั้น

6. การ​ขาด​บทบาท​ใน​การ ​สนับสนุนก​ าร​แข่งขัน​ ทางการ​ค้า

กฎหมาย​การ​แข่งขัน​ของ​ไทย​ ไม่​สามารถ​จัดการ​กับ​นโยบาย​ของ​ รัฐ​หรือ​การ​ออก​กฎ​ระเบียบ​ของ​รัฐ​

จาก​ทรัพย์สนิ ท​ ถ​ี่ กู โ​อน​ไป​จาก​ภาค​รฐั เมือ่ ต​ อน​แปรรูปก​ าร​ ปิโตรเลียม​แห่ง​ประเทศไทย​ด้วย นั่น​ก็​คือ กำไร​จาก​ท่อ​ ขนส่ง​ก๊าซ​ธรรมชาติ ซึ่ง​สร้าง​จาก​เงิน​ภาษี​ของ​คน​ไทย​ใน​ ช่วง​ก่อน​การ​แปรรูป​ปี 2544 ประเด็นท​ น​ี่ า่ ส​ นใจ​อกี ป​ ระเด็นห​ นึง่ ค​ อื ยิง่ บมจ.ปตท.​ ได้​กำไร​มาก​เท่า​ไหร่ ข้าราชการ​ที่​เป็น​กรรมการ​ก็​จะ​ได้​ ผล​ประโยชน์​มาก​ขึ้น​เท่านั้น เช่น บริษัท Statoil Hydro ที่​ประเทศ​นอร์เวย์ มี​กำไร​ใน​ปี 2550 จำนวน 2.7 แสน​ ล้าน​บาท ขณะ​ที่ บมจ. ปตท. มี​กำไร 9.8 หมื่น​ล้าน​บาท บริษัท Statoil Hydro จ่าย​เงิน​ให้​แก่​กรรมการ​รวม​ทั้ง​สิ้น​ เพียง 19.5 ล้าน​บาท แต่ บมจ. ปตท. จ่าย​ให้ม​ าก​ถงึ 42.1 ล้าน​บาท กล่าว​คอื บริษทั Statoil Hydro จ่าย​คา่ ต​ อบแทน​ ให้​กรรมการ​เฉลี่ย​ต่อ​คน​ต่อ​ปี เท่ากับ 1.9 ล้าน​บาท​ แต่​กรรมการ​ของ บมจ. ปตท. ได้​สูง​ถึง 2.8 ล้าน​บาท​ ​ต่อ​คน​ต่อ​ปี


39

ที่ ​เ ป็ น ​อุ ป สรรค​ต่ อ ​ก าร​แ ข่ ง ขั น ​ไ ด้ เช่น การ​กำหนด​อัตรา​ภาษี​นำ​เข้า​สูง การ​จำกัด​นัก​ลงทุน​ต่าง​ชาติ​เข้า​มา​ ประกอบ​กิจการ​ใน​ไทย การ​ให้​บัตร​ ส่ ง ​เสริ ม ​ก าร​ล งทุ น ​ที่ ​มี ​เงื่ อ นไข​เอื้ อ​ ให้​นัก​ลงทุน​ต่าง​ชาติ​ราย​ใหญ่​เข้า​มา​ ได้ และ​การ​ดำเนิน​นโยบาย​แปรรูป​ รัฐวิสาหกิจ​ที่​อาจ​เกิด​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​ สังคม​วง​กว้าง คณะ​ก รรมการ​ก าร​แ ข่ ง ขั น​ ทางการ​ค้า​จึง​จำเป็น​ต้อง​ร่วม​มือ​กับ​ ภาค​รัฐ ใน​การ​เสนอ​แนะ​นโยบาย​ที่​ เกี่ยวข้อง​กับ​การ​แข่งขัน​ของ​ประเทศ​ ด้วย โดย​เฉพาะ​นโยบาย​การ​แปรรูป​ รัฐวิสาหกิจ​ที่​ต้อง​ให้​คำ​แนะนำ และ​ ร่วม​ศึกษา​ว่าการ​แปรรูป​รัฐวิสาหกิจ​ ใด​จะ​เป็นการ​ถ่าย​โอน​อำนาจ​การ​ ผูกขาด​จาก​รัฐ​ไป​เป็นการ​ผูกขาด​โดย​ เอกชน ซึง่ จ​ ะ​เกิดผ​ ล​เสียต​ อ่ ป​ ระชาชน เพื่ อ ​ยั บ ยั้ ง ​ก าร​แ ปรรู ป ​ใ น​กิ จ การ​ ​ดัง​กล่าว นอกจาก​นี้ คณะ​ก รรมการ​ ควร​มี​บทบาท​ใน​การ​ให้​คำ​ปรึกษา​ ผู้​ประกอบ​การ​หรือ​คู่​ค้า​ที่​มี​อำนาจ​ ต่ อ ​ร อง​ห รื อ ​ข้ อ มู ล ​น้ อ ย​ก ว่ า เช่ น เกษตรกร​ใ น​ร ะบบ​เ กษตร​พั น ธะ​ สัญญา เป็นต้น

ความ​ท้าทาย​ใน​อนาคต ​ที่​เศรษฐกิจ​ไทย​ต้อง​เผชิญ ใน​อนาคต​อัน​ใกล้ ประเทศไทย​กำลัง​จะ​เผชิญ​กับ​ความ​ ท้าทาย​ใน​การ​แข่งขัน​ทางการ​ค้า​มาก​ขึ้น​กว่า​เดิม จาก​การ​เข้า​ร่วม ประชาคม​เศรษฐกิจ​อาเซียน (ASEAN Economic Community) ใน​ปี 2558 ซึ่ง​จะ​ส่ง​ผล​ให้​ผู้​ประกอบ​การ​จาก​ประเทศ​สมาชิก​ เดิน​ทาง​เข้า​มา​ร่วม​วง​แข่งขัน​ใน​ระบบ​เศรษฐกิจ​ไทย​มาก​ขึ้น จึง​มี​ ความ​จำเป็น​อย่าง​ยิ่ง​ที่​จะ​ต้อง​ปฏิรูป​กรอบ​กฎหมาย​การ​แข่งขัน​ ทางการ​ค้า ให้​ดำเนิน​ไป​อย่าง​มี​ประสิทธิภาพ เป็น​ธรรม และ​ก่อ​ ให้​เกิด​ประ​โย​ชน์​สูง​สุด​แก่​ผู้​บริโภค​ใน​ประเทศ

ทางออก​ ข อง​ ป ญ ั หา 1. แปลง​สภาพ​สำนักงาน​การ​แข่งขัน​ทางการ​ค้า​ให้​เป็น​องค์กร​อิสระ เพื่อ​ให้​ปลอด​จาก​การ​แทรกแซง​ทางการ​เมือง

2. ยกเลิก​ข้อ​ยกเว้น​จาก​การ​บังคับ​ใช้​กฎหมาย​ที่​ให้​แก่​รัฐวิสาหกิจ​ตาม​มาตรา 4 แห่ง ตามพ​ระ​ราช​บัญญัติ​การ​แข่งขัน​ ทางการ​ค้า พ.ศ. 2542 โดย​ให้​คณะ​กรรมการ​จัด​ทำ​หลัก​เกณฑ์​ใน​การ​พิจารณา​พฤติกรรม​ที่​มี​การ​ร้อง​เรียน​ของ​รัฐวิสาหกิจ ว่า​อยู่​ภาย​ใต้​ข้อ​บังคับ​ของ​กฎหมาย​หรือ​ไม่ 3. ปรับปรุง​บท​ลงโทษ​ให้​เน้น​มาตรการ​ทาง​ปกครอง​และ​ทาง​แพ่ง​มากกว่า​การ​ลงโทษ​ทาง​อาญา โดย​คณะ​กรรมการ​ แข่งขันท​ างการ​คา้ จ​ ะ​ตอ้ ง​มหี น้าท​ ก​ี่ ำหนด​บท​ลงโทษ และ​ทำ​หน้าทีส​่ ง่ ฟ​ อ้ ง​คดีค​ วาม​ทาง​อาญา ทัง้ นีก​้ าร​คดิ ค​ า่ เ​สียห​ าย​ทาง​แพ่ง​ ควร​เป็น​จำนวน​เท่ากับ​ความ​เสีย​หาย​ที่​ประเมิน​ได้ 4. ขยาย​กรอบ​ภารกิจข​ อง​คณะ​กรรมการ​แข่งขันท​ างการ​คา้ ให้ม​ อ​ี ำนาจ​หน้าทีใ​่ น​การ​เสนอ​ขอ้ คิดเ​ห็นต​ อ่ ห​ น่วย​งาน​รฐั ​ ต่างๆ ใน​การ​ออก​กฎ ระเบียบ และ​นโยบาย​ของ​ภาค​รัฐ​ที่​จะ​มี​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​การ​แข่งขัน​ใน​ตลาด นอกจาก​นี้​ยัง​ต้อง​มีหน้า​ที่​ ให้​คำ​ปรึกษา ช่วย​เหลือ​ผู้​ประกอบ​การ​หรือ​คู่​ค้า​ที่​มี​อำนาจ​การ​ต่อ​รอง​หรือ​ข้อมูล​น้อย​กว่า เช่น เกษตรกร​ใน​ระบบ​เกษตร​ พันธะ​สัญญา เป็นต้น

ไข่​ไก่ก​ ็​มี​การ​ผูกขาด ไม่​ว่า​จะ​ยุค​ไหน​สมัย​ไหน​ดัชนี​ชี้​วัด​ค่า​ครอง​ชีพ​ ระดับ​คลาส​สิก​ที่สุด​คง​หนี​ไม่​พ้น ‘ไข่​ไก่’ ทำไม​ราคา​ผลผลิต​ทางการ​เกษตร​ที่​ดู​ไป​ก็​ไม่​ น่า​จะ​มี​ปัจจัย​อะไร​ทำให้​ราคา​ไข่​แกว่ง​ขึ้น​ลง​ได้​มาก​ ขนาด​นี้ สาเหตุก​ เ​็ พราะ​ใน​ตลาด​ไข่เ​อง​กม​็ ก​ี าร​ผกู ขาด​โดย​ กลุ่ม​ทุน​ขนาด​ใหญ่ จุด​เริ่ม​ต้น​ของ​เรื่อง​ดัง​กล่าว​เกิด​ขึ้น​ใน​ปี 2544 เมือ่ ภ​ าวะ​ไข่ไ​ก่ล​ น้ ต​ ลาด​ทำให้ร​ าคา​ตกต่ำ ซึง่ ใ​น​ขณะ​นนั้ ​ มี​ผู้​ร้อง​เรียน​ไป​ยัง​คณะ​กรรมการ​การ​แข่งขัน​ทางการ​ ค้า​ว่า มี​การ​ทุ่ม​ตลาด​ใน​ตลาด​ไข่​ไก่​โดย​ผู้​ประกอบ​การ​ ราย​ใหญ่ กระทัง่ เ​กิดก​ าร​เรียก​รอ้ ง​ให้ร​ ฐั บาล​ดำเนินก​ าร​

แก้ไข​ปัญหา​ดัง​กล่าว เพื่อ​ช่วย​เหลือ​เกษตรกร​ราย​ย่อย จน​นำ​ไป​สู่​การ​เกิด​ระบบ​โควตา​มา​ใช้​จำกัด​ปริมาณ​พ่อ​ แม่​พันธุ์​ไก่​ไข่ เพื่อ​ลด​จำนวน​ไก่​สาว​และ​ปริมาณ​ไข่​ไก่​ ใน​ตลาด ใน​การ​จดั สรร​ดงั ก​ ล่าว ทำให้อ​ ำนาจ​การ​ตอ่ ร​ อง​ ตก​อยู่​ที่​บริษัท​ยักษ์​ใหญ่​ผู้​ครอบ​ครอง​โควตา​เกือบ​ครึ่ง​ ตั้งแต่​ขั้น​ตอน​การ​ผลิต ขณะ​ที่​ผู้​ซื้อ​หรือ​เกษตรกร​ไม่มี​ ทาง​เลือก จึงเ​ป็นท​ มี่ า​ของ ‘การ​ขาย​พว่ ง’ (Tie-in Sales) คือ​การ​ซื้อ​ลูกไก่​พ่วง​อาหาร​สัตว์ แทนที่​เกษตรกร​จะ​มี​ ช่อง​ทางใน​การ​ลด​ต้นทุน​การ​ผลิต​โดย​การ​ผลิต​อาหาร​ สัตว์​ใช้​เอง กลับ​ต้อง​ซื้อ​อาหาร​สัตว์​พ่วง​ไป​ด้วย เพราะ​ หาก​ไม่​ซื้อ​อาหาร​กับ​ทาง​บริษัท​ผู้​ขาย​ลูกไก่​จะ​ทำให้​ บริษัท​นั้น​ไม่​ยอม​ขาย​ลูกไก่​ให้​กับ​เกษตรกร...สุดท้าย​ เกษตรกร​ไม่มี​ทาง​เลือก​ก็​ต้อง​ตก​อยู่​ใน​สภาวะ​จำยอม

ใน​ค วาม​เ ป็ น ​จ ริ ง ทั้ ง ​บ ริ ษั ท ​ยั ก ษ์ ​ใ หญ่ ​แ ละ​ เกษตรกร​ร าย​ย่ อ ย​ก็ ​ล้ ว น​ผ ลิ ต ​ไ ข่ ​ไ ก่ ​เ พื่ อ ​น ำ​ไ ป​ข าย​ ใน​ตลาด​เช่น​เดียวกัน กรณี​นี้​จึง​ถือ​เป็นการ​ทำลาย​ เกษตรกร​ราย​ย่อย​ให้​ตาย​ไป​จาก​อาชีพ​นี้ ปม​ปัญหา​​ ดัง​กล่าว​ทำให้​จำนวน​เกษตรกร​ระหว่าง​ปี 25432547 ลด​ลง​อย่าง​น่า​ใจหาย จาก 7,000 ราย เหลือ​ เพียง 3,000 ราย​เท่านั้น ต่อ​มา​มี​การ​ฟ้อง​ร้อง​ต่อ​ศาล​ปกครอง เรื่อง การ​กำหนด​โควตา​ไม่​ชอบ​ด้วย​ระเบียบ​สำนัก​นายก​ รัฐมนตรี​ว่า​ด้วย​การ​พัฒนา​ไก่​ไข่​และ​ผลิตภัณฑ์ พ.ศ. 2549 และ​จาก​การ​กดดัน​ของ​สังคม​ทำให้​ใน​ที่สุด​ วัน​ที่ 13 กรกฎาคม 2553 คณะ​รัฐมนตรี​ได้​มี​มติ​ ยกเลิก​ระบบ​โควตา​การนำ​เข้า​พ่อ​แม่​พันธุ์​ไก่​ไข่


ระบบประกันสุขภาพ

เ ท่ า เ ที ย ม


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.