REFORM พลังขับเคลื่อน เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม
ปที่ 2 ฉบับที่ 3 กุมภาพันธ 2555
เรื่องจากปก
วาดความคิด
สะกิดปม
มหาอุทกภัย ป 2554
แกปญหาน้ำระดับชาติ เปนเรื่องของทุกคน
มันตอง “เฉลี่ยทุกข เฉลี่ยสุข”ทั้งระบบ
2
สารบัญ ที่ปรึกษา ศ.นพ.ประเวศ วะสี นพ.วิชัย โชควิวัฒน นพ.อำ�พล จินดาวัฒนะ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ทพ.กฤษฎา เรืองอารีรัชต์ รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ดร.วณี ปิ่นประทีป นางกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร กองบรรณาธิการ นางสาวพัชรา อุบลสวัสดิ์ ดร.สุรศักดิ์ บุญเทียน นางสาวสมพร อิทธิเดชพงศ์ นางสาวปนัดดา ขาวสะอาด นายครรชิต ปิตะกา นางสาวนาตยา แท่นนิล นางสาววิไลวรรณ สิริสุทธิ์ นางสาวนงลักษณ์ ยอดมงคล นางสาววันวิสา แสงทิม นางสาวจิตติมา อุ้มอารีย์ นางสาวรัฐวรรณ เฮงสีหาพันธ์ นางสาวสุพรรณี สุวรรณศรี นางสาววิมล อังสุนันทวิวัฒน์ ออกแบบปกและจัดวาง วันทนีย์ มณีแดง aeyfreelance@gmail.com พิมพ์ที่ หจก. วนิดาการพิมพ์ โทร. 08-1783-8569 ภาพประกอบ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และมูลนิธิ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
3
แวดวงปฏิรูป : ข่าวกิจกรรม
4-13 14
เรื่องจากปก : มหาอุทกภัย ปี 2554
วาดความคิด : นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมี
15
สะกิดปม : ดร.ณรงค์ เพชรประเสริฐ
สาส์น สปร. การปฏิรูปประเทศไทย เพื่อสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ� เป็นเรื่องที่ยาก ไม่มีใครทำ�ได้ นอกจากประชาชนเจ้าของประเทศเป็นผู้ปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหนๆ ก็ทำ�ไม่ได้ “ปฏิรปู ” แปลว่า กลับรูปใหม่ เดิมรูปของประเทศไทย ไปเน้นทีย่ อด แต่พระเจดียต์ อ้ งสร้างจาก ฐาน ฐานของประเทศคือชุมชนท้องถิ่น ถ้าแข็งแรงประเทศจะมั่นคง ข้างบนคืออำ�นาจ มีมายาคติ มีความฉ้อฉล ยิ่งทำ�ยิ่งรุนแรง ข้างล่างคือความจริงของชีวิตและการอยู่ร่วมกัน ดังนั้นความถูกต้อง ต้องถักทอมาจากข้างล่าง การปฏิรูปจึงต้องมาจากความเข้มแข็งของชุมชน แต่คิดไปจากข้างบนมันยาก คิดไม่ออก มัน ตีกันตาย แต่ข้างล่างเป็นความสมานฉันท์ ของดีๆ ต้องก่อตัวขึ้นมาเอง อย่าไปรอให้ใครแต่งตั้งจะ มีปัญหาทันที ผูน้ �ำ ตามธรรมชาติทมี่ อี ยูใ่ นชุมชนมากมาย จะเป็นคนทีม่ คี ณ ุ สมบัตสิ งู มาก เมือ่ รวมตัวกันเป็น สภาสำ�รวจและทำ�แผนชุมชน เสนอต่อสภาชุมชนหรือสภาประชาชนคือคนทัง้ หมูบ่ า้ น เป็นประชาธิปไตย ทางตรง คนมีส่วนร่วมโดยตรงทุกหมู่บ้าน จะทำ�ให้ฐานแข็งแรงสามารถแก้ปัญหาทุกอย่างได้ เพราะฉะนั้นการปฏิรูปประเทศ คือการที่ชุมชนจัดการตัวเอง ท้องถิ่นจัดการตัวเอง จังหวัด จัดการตัวเอง การจัดการเป็น “อิทธิปัญญา” แปลว่าปัญญาที่ทำ�ให้เกิดความสำ�เร็จ เพราะฉะนั้นไป ไกลกว่าความรุนแรงใดๆ ทั้งสิ้น มันเป็นกระบวนการทางสังคม เป็นกระบวนการทางปัญญา และ เป็นสันติวิธีด้วย เรามีกระบวนการสมัชชาปฏิรปู เป็นเครือ่ งมือเปิดพืน้ ที่ ทุกคนเข้ามามีสว่ นร่วมได้หมด เป็นการ เปิดพื้นที่ทางสังคม เปิดพื้นที่ทางปัญญาทั้งประเทศ...แล้วจะไม่สำ�เร็จก็มันรู้ไป ศ.นพ.ประเวศ วะสี ประธานกรรมการสมัชชาปฏิรูป
3
แวดวง ปฏิรูป
152 องค์กรเสนอปฎิรูป คุณภาพชีวิต-การศึกษา
ในงานสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ปี 55 นางกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร รองผู้อำ�นวยการสำ�นักงานปฏิรูป (สปร.) กล่าวในงานแถลงข่าว งานสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ 2 “เพิ่มพลังพลเมือง สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ�” ที่โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ว่า คณะกรรมการดำ�เนินการจัดสมัชชาปฏิรูป (คจสป.) ได้ กำ�หนดจัดสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ 2 ปี 2555 ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม – 1 เมษายน ณ ศูนย์ นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยมีหัวข้อหลัก คือ “เพิ่มพลังพลเมือง สร้างความเป็น ธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ�” ส่งเสริมทุกภาคส่วนในสังคม ได้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็น ระบบและสมานฉันท์ เป็นเวทีดำ�เนินการให้ได้มาซึ่งข้อมูล ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของสาธารณชน และเครือข่ายสมัชชาปฏิรูประดับพื้นที่และเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการปฏิรูป นำ�ไปสู่การมีข้อเสนอ เชิงนโยบายสำ�หรับการปฏิรูปประเทศไทย และสร้างเครือข่ายสมัชชาปฏิรูปประเทศไทย “หลังจากทีไ่ ด้มติจากสมัชชาปฏิรปู ในครัง้ นี้ คณะกรรมการสมัชชาปฏิรปู จะพิจารณานำ�เสนอ หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำ�มติไปขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิบัติ และการสื่อสารสู่สังคม
เริ่มแล้ว ปฏิรูปอำ�นาจเจริญ
ด้วยพลังภาคพลเมือง
อย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ กระตุน้ ให้เกิดการขับเคลือ่ นสังคม ในประเด็นปฏิรปู ในกลุม่ อืน่ ๆ ต่อไป และรวบรวม ผลการขับเคลือ่ นการดำ�เนินงานตามมติน�ำ เสนอต่อ สมัชชาปฏิรูปปีต่อไป รวมทั้งเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่ม เครือข่ายสมัชชาปฏิรูปที่มีการนำ�มติสมัชชาปฏิรูป ไปขับเคลื่อนในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ได้นำ�ผลการ ดำ�เนินงานมาร่วมนำ�เสนอในรูปแบบของการสร้าง แรงบันดาลใจ เพื่อขยายผลให้เกิดแรงกระเพื่อม ทางสังคมในขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทย มุ่งสู่ เป้า หมายการสร้ า งความเป็ น ธรรมและลดความ เหลื่อมล้ำ�ในสังคมต่อไป” นางกรรณิการ์ กล่าว
เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2555 ที่ศาลากลางจังหวัดอำ�นาจเจริญ สำ�นักงานปฏิรูป ร่วมกับ สำ�นักงานพัฒนาการเมือง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ตัวแทนเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชน จังหวัดอำ�นาจเจริญ จัดงานปฏิรปู อำ�นาจเจริญด้วยพลังภาคพลเมืองว่าด้วยธรรมนูญประชาชน “คนอำ�นาจเจริญ” สูค่ วามอยูเ่ ย็นเป็นสุข คลืน่ มวลชนคนอำ�นาจเจริญนับหมืน่ คนเข้าร่วมแสดง พลังการใช้ธรรมนูญฉบับแรก ธรรมนูญประชาชนคนอำ�นาจเจริญฉบับนี้ มีขอ้ ตกลงทีน่ า่ สนใจคือ การจัดให้มกี ารประชุม ใหญ่สามัญประจำ�ปีของสภาประชาชนทุกระดับ เพือ่ เป็นเวทีทบทวนแผนงาน ตรวจสอบการนำ� แผนไปปฏิบัติ และนำ�ข้อเสนอของชุมชนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นับเป็นธรรมนูญประชาชน ระดับจังหวัดฉบับแรกของประเทศไทย
เผย 6 วาระ สมัชชาปฏิรูปครั้งที่ 2
สาธารณะเพือ่ กำ�หนดเป็นร่างระเบียบวาระสมัชชาปฏิรปู ระดับ ชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2555 จำ�นวน 6 ระเบียบวาระ ดังนี้
นางวณี ปิ่ น ประที ป รองผู้ อำ � นวยการ สำ�นักงานปฏิรูป เปิดเผยในงานแถลงข่าวเมื่อ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 55 ณ โรงแรมสยามซิตี้ ว่า คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) กำ�หนดจัด ประชุมสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ 2 ระหว่าง วันที่ 30 มี.ค. ถึง 1 เม.ย. 2555 ณ ศูนย์การแสดง นิทรรศการไบเทค กรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด “เพิ่มพลังพลเมือง สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ�” โดยในปีนี้คณะกรรมการดำ�เนินการจัดสมัชชาปฏิรูป (คจสป.) ภายใต้คณะกรรมการสมัชชาปฏิรปู (คสป.) ดำ�เนินการพิจารณาข้อเสนอประเด็นนโยบาย
การปฏิรปู ระบบแรงงานและสวัสดิการ : การเพิม่ อำ�นาจต่อรอง ของแรงงาน การปรับโครงสร้างค่าจ้าง การเพิ่มผลิตภาพ และการคุ้มครองแรงงาน การปฏิรูประบบเกษตรกรรม : เพื่อความเป็นธรรมและความ มั่นคงทางอาหาร การปฏิรปู โครงสร้างอำ�นาจ : สูก่ ารปรับดุลอำ�นาจทีเ่ หมาะสม ระหว่างรัฐบาลกับชุมชนท้องถิ่น การปฏิรูประบบการเมือง : พัฒนาความเข้มแข็งของพลเมือง เพื่อปฏิรูปประเทศไทย การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดิน : การบริหาร จัดการที่ดิน การปฏิรปู การศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพือ่ สร้างคุณภาพ และลดความเหลื่อมล้ำ�ในสังคม
แรงงาน เกษตร โครงสร้างอำ�นาจ ที่ดิน การเมือง การศึกษา
4
เรื่อง จากปก
มหาอุทกภัย ปี 2554 เรียบเรียงโดย โยทะกา ภาพจาก หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
5
อีกเหตุการณ์ที่ต้องบันทึกลงในประวัติศาสตร์ ชาติไทย ซึ่งคนไทยทั้งประเทศได้เผชิญวิกฤติ ร่วมกันหลังจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ ระอุต่อเนื่องมาหลายปี นั่นคือ ...“มหาอุทกภัย ปี 2554”... บทเรียนครั้งสำ�คัญนี้ สอนอะไรมากมายให้คนไทยได้เข้าใจลึกซึ้ง ถึง “สภาพแผ่นดินแม่” ทีท่ �ำ มาหากินอยูท่ กุ เมือ่ เชือ่ วัน ทัง้ ยังสร้างความ ตระหนักถึงวิถีสมัยใหม่ที่ขัดแย้งกับธรรมชาติอันยิ่งใหญ่อันเป็นแม่บท ของทุกสรรพสิง่ ซ�ำ้ ทับด้วยการบริหารจัดการน้�ำ ทีไ่ ม่เหมาะสมของภาครัฐ นำ�มาซึง่ ปัญหาซ้อนปัญหาอีกมากมาย จนต้องหาหนทางช่วยเหลือกันเอง ของภาคประชาชนยามวิกฤติมาเยือนถึงเรือนชาน ที่สำ�คัญสถานการณ์บ่งชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของสื่อทุกแขนง ที่นำ�พา สังคมไปสู่ทางออกได้โดยศักยภาพของทุกภาคส่วน ด้วยการนำ�เสนอข้อมูล อย่างละเอียดรอบด้านทันการณ์ และอีกมากมายทีก่ ลายเป็นความทรงจำ�อัน มีค่ารอเวลาถอดบทเรียน แล้วร่างเป็นหลักสูตรให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้กัน ต่อไป กรกฎาคมปี 2554 ข่าวพายุหมุนนกเตนกำ�ลังจะตะกายขึ้นฝั่งทางตอน เหนือของเวียดนาม ส่งผลให้ฝนตกหนักทางภาคเหนือและภาคตะวันออก เฉียงเหนือของประเทศไทย หลายคนเชื่อว่าคงเหมือนลมมรสุมทั่วไป ฝนตกมาก น้ำ�ระบายไม่ทัน น้ำ�ก็ท่วมเป็นเรื่องปกติ แล้วไหลลงทะเลไปเอง แต่นานวันเข้า สิ่งที่คิดไว้ ผิดหมด เพราะตั้งแต่สัปดาห์แรกที่เข้าก็มีคนเสียชีวิตไปสิบราย ณ ตรงนั้นมันคือจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ที่สร้างรอยหวาดผวาน้ำ� ให้ทุกคนมาถึงทุกวันนี้
6
ปรากฏการณ์นี้มีราษฎรได้รับผลกระทบ มากกว่า 12.8 ล้านคน ธันวาคมที่ผ่านมา ธนาคารโลกได้ประเมินความเสียหาย 1.44 ล้านล้านบาท เป็นภัยพิบัติที่สร้างความ เสียหายมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก ห้วงเวลาที่ต้องจดจำ� น้�ำ ท่วมครัง้ นีเ้ ป็นอุทกภัยซึง่ เกิดผลกระทบต่อบริเวณลุม่ แม่น�้ำ เจ้าพระยาและลุ่มน้ำ�โขง เริ่มตั้งแต่ปลายกรกฎาคมจนถึงธันวาคม ซึ่งนับว่าเป็นอุทกภัยที่ร้ายแรงมากครั้งหนึ่งของประเทศ ด้วยปรากฏการณ์ลานีญาในไทย ปี 2554 ก่อพายุถึง 5 ลูก ได้แก่ ไหหม่า นกเตน ไห่ถาง เนสาด และนาลแก มีปริมาณฝนเฉลีย่ 1,856 มิลลิเมตร สูงสุดในรอบ 23 ปี จากฝนที่ตกผิดปกติตั้งแต่ปี 2539 จึงพอจะสรุปได้วา่ ปรากฏการณ์ลานีญาในมหาสมุทรแปซิฟกิ ส่งผลต่อไทยอย่างมีนัยสำ�คัญ ด้วยปริมาณน้ำ�ฝนที่มากจากทางเหนือของประเทศ ทำ�ให้น้ำ� ในเขือ่ นภูมพิ ลเพิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็วมาตัง้ แต่พฤษภาคม การทีม่ พี ายุ ติดต่อกันถึง 5 ลูก จึงทำ�ให้น้ำ�ในเขื่อนมากเกิน 100% ของความจุ และจำ�เป็นต้องปล่อยจำ�นวนน้�ำ มหาศาลลงสูพ่ น้ื ทีต่ อนล่าง จนกลาย เป็นอุทกภัยครั้งร้ายแรง ปรากฏการณ์นี้มีราษฎรได้รับผลกระทบมากกว่า 12.8 ล้าน คน ธันวาคมที่ผ่านมาธนาคารโลกได้ประเมินความเสียหาย 1.44 ล้านล้านบาท เป็นภัยพิบตั ทิ สี่ ร้างความเสียหายมากทีส่ ดุ เป็นอันดับ สองของโลก เกิดความเสียหายต่อพื้นดินกว่า 150 ล้านไร่ ซึ่งเป็นทั้งพื้นที่ เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมใน 63 จังหวัด 641 อำ�เภอ ตั้งแต่ จังหวัดเชียงใหม่ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก กำ�แพงเพชร ไปจนถึง พิจติ ร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สุ พ รรณบุ รี ปทุ ม ธานี นครนายก นนทบุ รี พ ระนครศรี อ ยุ ธ ยา นครปฐม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ ปราจีนบุรีจนถึง กรุงเทพมหานคร แถมยังหันหัวไปภาคอีสาน ตั้งแต่ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ นครราชสีมา และทีร่ าบลุม่ แม่น�้ำ โขงอีกด้วย เรือ่ งน้�ำ ท่วมจึงกลายเป็นหัวข้อทีท่ กุ คนต้องพูดกันในช่วงนั้น แบบหยิบมาคุยกันเล่นๆ ขำ�ๆ แก้เครียด ปริมาณฝนในภาคเหนือของประเทศ มากกว่าค่าเฉลี่ย 344% ซึ่งผิดปกติมาก โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำ�ฝน 242.8 มิลลิมเตร มากกว่าปกติ 25.2 มิลลิเมตร หากย้อนไปถึงช่วงต้นปีมา เขื่อนสะสมน้ำ� 245.9 มิลลิมเตร มากกว่าค่าปกติถึง 186 %
หลักฐานชี้ชัดว่าต้นฤดูฝน เขื่อนกักเก็บน้ำ�ไว้มาก ปริมาณฝน ปี 2554 แสดงได้โดยดูปริมาณน้�ำ ทีก่ กั เก็บในเขือ่ นภูมพิ ล มีมากกว่า 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เก็บไว้ในเวลา 3 เดือน จนเขือ่ นเต็มความจุ 100% มวลน้�ำ มากมายถึงขนาดนี้ การปกป้องกรุงเทพฯ ให้พน้ วิกฤติ จึงเป็นไปได้ยาก
บทบาทของรัฐบาลชุด “นารีขี่ม้าขาว” เมือ่ เกิดภัยพิบตั คิ รัง้ ใด รัฐบาลในฐานะฝ่ายบริหารก็ตอ้ งดูแล และกำ�หนดทิศทาง และยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน ที่ต้องเข้ามารับผิดชอบ ได้แก่ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน และกรมการปกครอง (สำ�นักงานเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน) 20 สิงหาคม 2554 น.ส.ยิง่ ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็น ประธานการประชุมแก้ปัญหาน้ำ�ท่วมที่กระทรวงมหาดไทย มีการ ถ่ายทอดผ่านวิดีโอทางไกล (video-conference) ไปยังผู้ว่าราชการ จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามการทำ�งานของศูนย์ อำ�นวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และ ดินโคลนถล่ม และหาแนวทางและช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย การประชุมในวันนัน้ นายกฯ หญิงระบุ “อยากเห็นการทำ�งาน แบบบูรณาการ” ได้ตั้งวอร์รูมเพื่อการตัดสินใจรวดเร็ว มีศูนย์กลาง ช่วยเหลือแบบ One stop service ส่งตรงมาที่ศูนย์บัญชาการเดียว
7
โดยมีเจ้าภาพดูแลทีช่ ดั เจน โดยสัง่ ให้กรมชลประทาน สำ�รวจหาพืน้ ที่ รองรับปริมาณน้ำ�ที่จะเข้ามาใหม่ แม้จะดูเหมือนมีเจ้าภาพแก้ปัญหาน้ำ�ท่วมแล้วก็ตาม ในเวลา ต่อมากลับโกลาหลยิ่งกว่า เมื่อรัฐบาลภายใต้การนำ�ของนายกฯ หญิงคนแรกของไทย ได้มคี �ำ สัง่ เปิดประตูระบายน้�ำ เขือ่ นภูมพิ ลแบบ ไม่มีแผนรองรับ ส่งผลให้บ้านเรือนและประชาชนได้รับความเดือด ร้อนตลอดลุ่มน้ำ�จนถึงทางออกทะเล ในช่วงเดียวกันนั้นเอง นายกรัฐมนตรี เดินทางไปตรวจเยี่ยม สถานการณ์น้ำ�ท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในภาคเหนือ และภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ โดยแวะพั ก เปลี่ ย นเครื่ อ งบิ น ที่ พิษณุโลก ซึ่งนายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้สรุป สถานการณ์ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุกทกภัย และเสนอ แนวทางบริหารจัดการน้ำ� “ระบบทางด่วนน้ำ�” (warter way) ซึ่ง ตรงใจนายกรัฐมนตรี มันนำ�มาซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำ�ท่วมเชิงบูรณาการ “บางระกำ�โมเดล” คือ เมื่อเกิดปัญหา จังหวัดและหน่วยงานต้อง ลงพื้นที่เข้าบรรเทาความเดือดร้อนอย่างรวดเร็ว และลดความรู้สึก ผูป้ ระสบภัยว่าไม่ได้รบั การเหลียวแล โดยใช้หลัก “2P2R” คือทำ�งาน ไปด้วยกันอย่างมีพลังและเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ
2P2R
P-Preparation การเตรียมการรับมือ จังหวัดจะจัดทำ�คลังข้อมูล ด้านพื้นที่ แบ่งเป็นพื้นที่วิกฤต พื้นที่เสี่ยง พื้นที่เฝ้าระวัง รวมถึง ข้อมูลพื้นฐานต่างๆ เพื่อวางแผนให้ชัดเจนเป็นระบบ R-Response การช่วยเหลือเบื้องต้น จังหวัดจะมอบหมายให้ อำ�เภอเป็นแม่งานระดมสรรพกำ�ลังเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย อย่างรวดเร็ว ถูกจุดในเบื้องต้น เน้นปัจจัย 4 เพื่อบรรเทาความ เดือดร้อน R-Recovery การฟื้ น ฟู เ ยี ย วยา จั ง หวั ด จะมอบหมายให้ สำ�นักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก เป็น หน่วยงานเจ้าภาพดูแลการฟื้นฟูเยียวยาภายหลังน้ำ�ลด P-Prevention การแก้ไขระยะยาว จังหวัดได้มอบหมายให้ โครงการชลประทานพิษณุโลกเป็นหน่วยงานหลัก ที่วางแผน จัดหางบประมาณแก้ไขปัญหาระยะยาว
บางระกำ�โมเดล ถือเป็นงานชิน้ แรกของรัฐบาล ทีน่ �ำ มาใช้แก้ไข ปัญหาน้ำ�ท่วม โดยกำ�หนดพืน้ ที่ตน้ แบบในการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ หากทว่า 2P2R ที่ดูสวยหรู กลับไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นแม้แต่ น้อย เพราะนอกจากทางภาคเหนือได้รับผลกระทบแล้ว ยังมีอีก หลายจังหวัดเกิดปัญหาเหมือนๆ กัน
8
กลไกการจัดการน้ำ� ของรัฐบาล
สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นการรับมือกับ ปัญหา นอกจากข้อเท็จจริงแล้ว คือ ประสิทธิภาพการบริหารงานของ รัฐบาล และกลไกที่ประชาชนเข้าร่วม จัดการได้อย่างแท้จริง หลังประกาศพื้นที่ต้นแบบและตั้งศูนย์ปฏิบัติการแล้ว มีข่าว การประชุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับคำ�ว่า “วอร์รูม” และ รถติดจานดาวเทียมจอดอยู่ 2 คัน หน้าทีว่ า่ การอำ�เภอ มีการตัง้ คณะ ทำ�งานระดับอำ�เภอ โดยใช้ “เซ็นเตอร์สั่งการ” ซึ่งน่าจะกระจาย อำ�นาจสู่ท้องถิ่น และให้องค์กรชุมชนมีส่วนร่วม ผลปรากฏว่า เมื่อสื่อมวลชนลงไปพบชาวบ้านในพื้นที่ ได้พบ ว่าสถานการณ์น�้ำ ท่วมทีบ่ างระกำ�ไม่คลีค่ ลาย การให้ความช่วยเหลือ จากรัฐยังล่าช้า และมีการหักหัวคิวเงินช่วยเหลือชาวบ้านทีเ่ ดือดร้อน กรณีดังกล่าว สื่อมวลชนหลายสำ�นักรายงานว่า สำ�นักงาน ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เปิดเผยว่า มี ชาวบ้าน อ.บางระกำ� ส่งข้อมูลทุจริตการหักหัวคิวเงินชดเชยน้�ำ ท่วม ครอบครัวละ 5,000 บาท มาให้พิจารณาดำ�เนินการเจ้าหน้าที่ของ รัฐที่ประพฤติมิชอบ ซึ่งมีลักษณะเดียวกับที่ลพบุรี สำ � นั ก งานพั ฒ นาเทคโนโลยี อ วกาศและภู มิ ส ารสนเทศ (องค์การมหาชน) ได้เริม่ นำ�เทคโนโลยีภาพจากดาวเทียมมารายงาน การติดตามสภาพน้ำ�ท่วม ช่วงกันยายนเป็นครั้งแรกในเรื่องการ จัดการภัยพิบัติ เมือ่ สถานการณ์น�้ำ ท่วมไม่สามารถควบคุมได้ รัฐบาลได้ตงั้ ศูนย์ ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ที่สนามบินดอนเมือง
กยน. (เป็นที่ปรึกษา)
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ • การเตือนภัย 20 ขั้นตอน • 5 มาตรการเตือนภัยในช่วง การระบายน้ำ�
ซึ่งการจัดการสับสนวุ่ยวาย และให้ความช่วยเหลือไม่ทั่วถึง ทั้งยังมี ความขัดแย้งภายในจนเป็นข่าวฉาวแทบทุกวัน และกลายเป็นทีก่ งั ขา เรื่องความโปร่งใสการดำ�เนินงาน แม้สถานการณ์เลวร้าย แต่ก็สร้างสามัคคีในหมูผ่ ู้ประสบภัยได้ โดยสื่อมวลชนหลายแขนงและหน่วยงานจากภาคเอกชน หรือผู้ไม่ ได้มีหน้าที่โดยตรง เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาสาสมัครเครือ ข่ายดุสิต อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย, ไทยไฟลท์ ฟลัด, Siam Flood, น้�ำ ขึน้ ให้รบี บอก, ThaiFlood, เพือ่ นข้างถนน, SOS ANIMALS Thailand, ThaiPBS, ทีวีช่อง 3, วิทยุครอบครัวข่าว ส.ทร.FM106, Youth for Flood Thailand (YFFT) หลายเครือข่ายใช้สื่อสารกันด้วย โลกออนไลน์อย่างได้ผล และการเปิดศูนย์พกั พิงหลายพืน้ ทีไ่ ด้วดั และ โรงเรียนเป็นศูนย์จดั การ สะท้อนชุมชนสามารถบริหารจัดการภัยพิบตั ิ ได้ระดับหนึ่ง 4 ตุลาคม 2554 สถานการณ์ดูจะเลวร้ายและลุกลามมากขึ้น เมือ่ ศูนย์สนับสนุนการอำ�นวยการและการบริหารสถานการณ์ อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) เปิดเผยว่า ยังคงมีสถานการณ์ อุทกภัยใน 25 จังหวัด รวม 179 อำ�เภอ 1,240 ตำ�บล 10,703 หมูบ่ า้ น ราษฎรเดือดร้อน 746,999 ครัวเรือน 2,420,868 คน และมีผู้เสีย ชีวิตแล้ว 212 ราย สูญหาย 2 ราย พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะ
9
กนอช. (นายกฯ เป็นปธ.)
• กำ�หนดนโยบาย จัดทำ�แผนปฏิบัติการ • กำ�หนดนโยบายการบริหารจัดการน้ำ� • เสนอแนะการปฏิบัติราชการ และบริหาร งปม. เงินกู้
กบอ.
• จัดทำ�แผน,, กำ�หนดวิธีการของหน่วยงานรัฐ • อนุมัติแผนงาน, สั่งการให้หน่วยงานรัฐปฏิบัติ
สบอช.
สนับสนุน กนอช., กบอ.
หน่วยงานของรัฐ
จัดทำ�แผน ปฏิบัติหน้าที่และดำ�เนินการ ตามที่ กนอช. หรือ กบอ. กำ�หนด
ศูนย์ข้อมูลการจัดการน้ำ�แห่งชาติ • Command Center, CCTV • เชื่อมข้อมูลของทุกหน่วยงาน • คลังข้อมูลน้ำ� ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม • ระบบเปิดปิดประตูน้ำ�อัตโนมัติระยะไกล • หน่วยบัญชาการเคลื่อนที่
ระบบศูนย์เตือนภัย
• เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน • ระบบแจ้งเตือนภัยผ่าน Smart phone, Call Center, GIS Early Warning System, Website, TV
เสียหาย 7,528,805 ไร่ พื้นที่เพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ� บ่อปลา 107,732บ่อ สัตว์ได้รับผลกระทบ 8,511,689ตัว น้ำ�ท่วมเส้นทางไม่สามารถสัญจรผ่านได้ รวม 123 สาย แยกเป็นทางหลวง 37 สาย ใน 10 จังหวัด ทางหลวงชนบท 86 สายใน 18 จังหวัด นายกรัฐมนตรี จึงได้ประกาศนโยบายเชิงปฏิบัติการแก้ปัญหาอุทกภัย โดยให้ภาค ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง เน้น 9 มาตรการ เห็นผลทันที วิกฤติภยั พิบตั คิ รัง้ นี้ แสดงถึงศักยภาพการจัดการโดยภาครัฐเพียงลำ�พัง ไม่ใช่คำ�ตอบที่ จะ “เอาอยู”่ ทำ�ได้แค่การรับมือเฉพาะหน้าแบบ “ใครว่าอะไรดี ก็เอาตามนัน้ ” ไม่มกี ารประเมิน ผลได้ผลเสียอย่างรอบด้าน ด้วยข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถือได้อย่างทันการณ์ มันนำ�มาซึง่ ความโกลาหลมามากมาย หน่วยงานรัฐก็ยงั ขัดแย้งกันเอง เห็นชัดจากกรณี กรุงเทพมหานครและรัฐบาลกลาง และหน่วยงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่ภาคเอกชนและ การร่วมมือเฉพาะกิจทีร่ กุ ขึน้ มาจับมือเพือ่ ความอยูร่ อด กลับมีบทบาทโดดเด่นแซงหน้าศูนย์ฯ ของรัฐ เมือ่ น้�ำ หลากไปถึงทีใ่ ด ก็จะทะเลาะกันรุนแรงทุกแห่ง พอน้�ำ เข้าท่วมเต็มพืน้ ทีป่ ระชาชน กลับต้องหนีตายอย่างไร้ทิศทางไร้แผนรองรับ เพียงขอให้รอดชีวิตไปได้ก่อน พร้อมกับทิ้ง ทรัพย์สนิ จมน้�ำ อย่างเตรียมการไม่ทนั เกิดภาวะขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค และมีการโก่ง ราคาแบบไม่มีเพดาน เป็นการแย่งกันกินแย่งกันใช้ ราวกับอยู่ในภาวะไร้รัฐก็ไม่ปาน ดังนั้น สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นการรับมือกับปัญหา นอกจากข้อเท็จจริงแล้ว คือ ประสิทธิภาพการบริหารงานของรัฐบาล และกลไกที่ประชาชนเข้าร่วมจัดการได้อย่างแท้จริง
10
าน 1.3 แสนล้ บาท ความเสียหายจากน้ำ�ท่วม ครั้งนี้ที่ส่งผลต่ออุปสงค์ การเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ
8.41 ล้านไร่ พื้นที่เพาะปลูกข้าว เสียหายมากเป็น ประวัติการณ์
2,000 แห่ง จำ�นวนสถานศึกษา ทั่วประเทศที่ถูกน้ำ�ท่วม
ร้อยละ 3.9 การขาดแคลนสินค้า จำ�เป็นหลายรายการ ทำ�ให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น
ภาพรวมความเสียหาย หลัง “น้ำ�ท่วม” ข้อมูลจากสำ�นักวิชาการ สำ�นักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า ความเสียหายจาก น้ำ�ท่วมครั้งนี้ ส่งผลต่ออุปสงค์การเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ เชื่อมโยงไปถึงอุปสงค์ โดยคาดว่าจะทำ�ให้เกิดความเสียหาย 1.3 แสนล้านบาทส่งผลให้เศรษฐกิจในปี 2554 หดตัว ร้อยละ -1.81 เหลือขยายตัวเพียงร้อยละ 2.71 นอกจากนั้นการขาดแคลนสินค้าจำ�เป็นหลาย รายการ ทำ�ให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 3.9
ภาคเกษตร ประเทศไทยมีสัดส่วนการค้าข้าวในระดับโลกประมาณ 30% และ ธัญพืชหลัก 25% กระทรวงเกษตรฯ ประเมินความเสียหายต่อพื้นที่ เกษตร โดยเฉพาะข้าว เสียหายมากเป็นประวัติการณ์ถึง 8.41 ล้านไร่ ซึ่งน่าจะส่งผลให้ผลผลิตข้าวเสียหายไม่ต่ำ�กว่า 3 ล้านตัน หรือกว่า 10% ของผลผลิตข้าวทั้งปี (ไม่รวมความเสียหายต่อสต็อกข้าวเปลือก ที่อยู่ในโกดัง/ยุ้งฉาง) ส่วนภาคเกษตรอื่นๆ ที่ได้รับความเสียหายมี อ้อยโรงงาน ผัก ผลไม้ ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ปลาน้�ำ จืด ไก่ และหมู เป็นต้น
ผลผลิตข้าวเสียหายไม่ต่ำ�กว่า 3 ล้านตัน หรือกว่า 10% ของผลผลิตข้าวทั้งปี
11
ภาคอุตสาหกรรม โรงงานจมน้�ำ ขาดวัตถุดบิ และชิน้ ส่วนในการผลิต (Supply chain disruption) อุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยี กระทบหนักสุด โดยเฉพาะในเขต นิคมอุตสาหกรรม จ.พระนครศรีอยุธยา เครื่องจักร/โรงงานเสียหาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติ และเป็นกิจการในส่วนสนับสนุน อุตสาหกรรม (Supply Chain) เนือ่ งจากไทยเป็นฐานการผลิตชิน้ ส่วน อิเล็กทรอนิกส์ที่สำ�คัญของโลก โดยเฉพาะ Hard disk drive ซึ่ง ส่งออกอันดับ 2 ของโลก มีส่วนแบ่งตลาดเกือบ 20% อุตสาหกรรมยานยนต์ เกิดภาวะขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต (Supply-chain disruption) ทั้งที่ก่อนหน้านี้ผู้ผลิตรถยนต์ประสบ ปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนนานกว่า 3 เดือน จากเหตุแผ่นดินไหวใน ญี่ปุ่น และเพิ่งกลับมาเดินเครื่องได้ในไตรมาสที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ขาดแคลนวัตถุดิบและราคาพุ่งสูง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตภาคเกษตรที่สำ�คัญ ของไทย และกำ�หนดให้เป็นฐานอุตสาหกรรมผลิตอาหาร Ready to Cook / Ready to Eat ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค กระทบต่อเนือ่ ง ถึงอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร/อาหาร
ภาคการศึกษา สถานศึกษาทัว่ ประเทศถูกน้�ำ ท่วมกว่า 2,000 แห่ง มูลค่าความเสียหายประมาณ 1,400 ล้านบาท จนถึง 19 กันยายน มีโรงเรียน 1,053 แห่ง ถูกบังคับให้ตอ้ งปิดภาค เรียนก่อนกำ�หนด 30 กันยายน สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่ง ชาติเลื่อนสอบแบบทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และ แบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ (PAT) จากเดิมสอบ ตุลาคม เลื่อนไปสอบธันวาคม เพราะนักเรียนในพื้นที่ น้ำ�ท่วมไม่สามารถมาสอบได้ และโรงเรียนสนามสอบ น้ำ�ท่วมกว่า 200 แห่ง
เครื่องจักร/โรงงานเสียหาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็น บริษัทข้ามชาติ และเป็นกิจการในส่วนสนับสนุน อุตสาหกรรม (Supply Chain) เนื่องจากไทย เป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำ�คัญ ของโลก โดยเฉพาะ Hard disk drive ซึ่ง ส่งออกอันดับ 2 ของโลก... หากพิจารณาศักยภาพของไทยในการเป็นฐานการผลิตและ กระจายสิ น ค้ า ที่ สำ � คั ญ ของภู มิ ภ าคอาเซี ย น ประกอบกั บ ความ แข็งแกร่งของหลายอุตสาหกรรมในไทย คาดว่าการฟืน้ ตัวได้ไม่นานนัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่มีคลัสเตอร์การผลิตที่ เข้มแข็ง อีกทั้งฐานผลิตกว่า 80% ของอุตสาหกรรม ตั้งอยู่ที่ระยอง ชลบุรี สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา ที่ไม่ได้รับผลกระทบ ขณะที่อุตสาหกรรมอาหารของไทย มีความได้เปรียบจากการ เป็นแหล่งผลิตเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ และเป็น “ครัวของโลก” จึงคาด ว่าการเร่งพลิกฟื้นได้ภายใต้การดูแลหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง
ภาคบริการและ การท่องเที่ยว น้ำ�ท่วมทำ�ให้เสียหายต่ออาคารโรงแรม ซึ่งส่วนใหญ่ เป็น SMEs ยังส่งผลฉุดรายได้ แต่เป็นระยะสั้นๆ ส่งผลต่อ ตลาดนักท่องเทีย่ วต่างชาติไม่มากนัก เนือ่ งจากจังหวัดท่อง เที่ยวสำ�คัญไม่ท่วม รายได้การท่องเที่ยวภาคกลาง (ไม่รวม กรุงเทพฯ) มีสัดส่วนเพียง 3-4% ของรายได้รวม หากรวมจุดแข็งของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ การเป็นแหล่งท่องเทีย่ วคุม้ ค่าเงิน การบริการทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ และการมีเที่ยวบินตรง (Charter Flight) สู่จังหวัดท่องเที่ยว สำ�คัญ อาทิ เชียงใหม่ ภูเก็ต สมุย จะทำ�ให้ธุรกิจท่องเที่ยว โดยรวมยังโดดเด่นอยู่
12
หลังน้ำ�ลดฝนซา แต่ฟ้าไม่ใส พฤศจิกายน 2554 วุฒิสภาได้ตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญศึกษาปัญหาอุทกภัย 2554 คณะกรรมาธิการ วิสามัญศึกษา ติดตาม ตรวจสอบ การฟื้นฟูวิกฤต อุทกภัย และคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการ ตั้งถิ่นฐานและการผังเมือง ฝ่ายรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการ ฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ขึ้นมาแก้ปัญหา การจัดการน้ำ�ระยะยาว และเสนอยุทธศาสตร์เพื่อการ ฟืน้ ฟูและสร้างอนาคตประเทศ ประกอบด้วย การบริหาร จัดการทรัพยากรน้ำ� การปรับโครงสร้างภาคการผลิต และบริการ การพัฒนาเชิงพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ และการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ด้วยข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) 6 ข้อ ที่จะส่งผลต่อ โครงสร้างระบบการเงิน การคลังและการประกันภัยต่อไป ซึง่ ยังเป็น ทีถ่ กเถียงกันว่ามาตรการดังกล่าวเป็นผลดีตอ่ ส่วนรวมจริง หรือยิง่ สร้าง ความเหลือ่ มล้�ำ ให้เกิดขึน้ กับคนกลุม่ ต่างๆ เพราะประเทศจะต้องก่อ หนี้เงินกู้อีก 3.5 แสนล้านบาท ในเบื้องต้น นอกจากนีย้ งั มีคณะกรรมการซึง่ มีภารกิจใกล้เคียง เพือ่ วางแผน และแก้ปัญหาระยะยาว ได้แก่ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวาง ระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้�ำ (กยน.) คณะกรรมการนโยบาย น้ำ�และอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ� และอุทกภัย (กบอ.) และสำ�นักนโยบายและการบริหารจัดการน้�ำ และ อุทกภัย (สนอช.) ซึง่ กลายเป็นการซ้�ำ ซ้อน ทำ�ให้สบั สนและล่าช้าหรือ เปล่า
สินเชื่อฟื้นฟูเยียวยา วงเงิน 325,000 ล้านบาท
เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ครัวเรือนละ 5,000 บาท ทันที ค่าซ่อมแซมบ้านที่เสียหาย บางส่วน ไม่เกิน 20,000 บาท เสียหายทั้งหลังไม่เกิน 30,000 บาท
ส่วนมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในระยะสั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สินเชื่อฟื้นฟูเยียวยา วงเงิน 325,000 ล้านบาท และ เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ครัวเรือนละ 5,000 บาท ทันที ขณะที่ จะได้ค่าซ่อมแซมบ้านที่เสียหายเพียงบางส่วน ไม่เกิน 20,000 บาท เสียหายทั้งหลังไม่เกิน 30,000 บาท โดยพื้นที่ กทม. 30 เขต จำ�นวน 621,355 ครัวเรือน วงเงิน 3,106,775,000 บาท สำ�หรับภาค อุตสาหกรรมอยู่ในวงเงิน 147 ล้านบาท
ขณะทีภ่ าคประชาชนตืน่ ตัวเรียกร้องให้รฐั กระจายอำ�นาจการ จัดการภัยพิบัติลงมาที่ท้องถิ่น โดยยึดชุมชนเป็นศูนย์กลางการ จัดการแทนรัฐส่วนกลาง เพราะเชื่อว่าจะ “เอาอยู่” และปรับตัวอยู่ ร่วมกับน้ำ�ได้ดีกว่า พร้อมทั้งเสนอเก็บภาษีคนได้ประโยชน์จากภัย พิบัติมาจัดตั้งกองทุน “เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข” ให้กับผู้ประสบภัย และ สร้างระบบป้องกันและเตรียมการรับมือระยะยาว สูก้ บั ภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติซ้ำ�ซากและการจัดผังเมืองของประเทศยังจับ ต้นชนปลายไม่เสร็จ
13
เหตุการณ์น้ำ�ท่วมที่สำ�คัญ ก่อน ปี 2554 พ.ศ.2485
พ.ศ.2526
พ.ศ.2531
น้ำ�ท่วมครั้งสำ�คัญ ที่ทำ�ให้ถนนและบ้านเรือนใน กรุงเทพฯ จมน้ำ� ประชาชนต้องพายเรือบนท้อง ถนน
น้ำ�ท่วมกรุงเทพฯ อย่างหนัก สาเหตุจากมีพายุ พัดผ่านภาคเหนือ-ภาคกลาง ประกอบกับพายุ หลายลูกพัดผ่านกรุงเทพฯ ในช่วงตุลาคมนาน กว่า 4 เดือน จึงเกิดน้ำ�ท่วม ตามมาด้วยปัญหา จราจรที่รถกับเรือใช้เส้นทางเดียวกัน
ภัยพิบัติกะทูน น้ำ�ป่าจากภูเขาเหนือหมู่บ้านได้ ซัดเอาดินโคลน หินและท่อนซุงขนาดใหญ่เข้า ถ ล่ ม บ้ า น เ รื อ น ต . ก ะ ทู น อ . พิ ปู น จ.นครศรีธรรมราช จนราพณาสูร หมู่บ้านกลาย เป็นทะเลโคลน บ้านเรือนนับพันหลังถูกทับถม อยู่ใต้ท่อนซุงกองมหึมา เสียชีวิตกว่า 700 ชีวิต
พ.ศ.2538
พ.ศ.2543
พ.ศ.2544
พล.ต.จำ � ลอง ศรี เ มื อ ง เป็ น ผู้ ว่ า ราชการ กรุงเทพมหานคร ต้องรับมือกับ “ฝนพันปี” หรือ ภาวะฝนที่กระหน่ำ�ตกลงมาอย่างหนักในปีนั้น ทำ�ให้กรุงเทพฯ น้�ำ ท่วม และน้�ำ เหนือหลากท่วม อยุธยา ปทุมธานี จนทำ�ให้หมู่บ้าน white house ทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ จมน้ำ�นานร่วม 2 เดือน
ช่ ว งวั น ที่ 21-23 พฤศจิ ก ายน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ฝนตกหนัก 3 วัน 3 คืน ทำ�ให้น้ำ�จาก เขตเทือกเขาสันกาลาคีรี บริเวณพรมแดนระหว่าง ไทยกับมาเลเซีย ไหลเข้าท่วมตัวเมืองชั้นใน ซึ่ง เป็ น แอ่ ง กระทะอย่ า งรวดเร็ ว เสี ย หายกว่ า 10,000 ล้านบาท ผูเ้ สียชีวติ ตามประกาศราชการ 35 คน แต่ไม่เป็นทางการ สูงถึง 233 คน ไม่รวม ชาวต่างประเทศ
อ.วั ง ชิ้ น จ.แพร่ น้ำ � ป่ า จากอุ ท ยานแห่ ง ชาติ เวียงโกศัย ท่วมหมู่บ้านหลายตำ�บล มีผู้เสียชีวิต 23 ราย สูญหาย 16 คน บาดเจ็บ 58 คน ถือเป็น เหตุการณ์น�้ำ ท่วมรุนแรงทีส่ ดุ ในรอบ 100 ปี ของ จ.แพร่ บ้านน้ำ�ก้อ จ.เพชรบูรณ์ น้ำ�ป่าไหลซัดดินถล่ม บ้านเรือนเสียหาย มีผู้เสียชีวิต 147 คน
พ.ศ.2547
พ.ศ.2548
แม่ระมาด จ.ตาก ซุง-โคลนถล่มทั้งหมู่บ้าน มีผู้ เสียชีวิต 4 ราย และสูญหายนับ 10 ชาวบ้าน 6,019 คน จาก 2,113 ครอบครัวได้รบั ความเดือด ร้อน
น้ำ�ท่วมภาคใต้ กระทรวงมหาดไทยรายงานสถานการณ์ตั้งแต่ 14-24 ธันวาคม 2548 มีพื้นที่ประสบ ภัยรวม 8 จังหวัด คือ สงขลา นครศรีธรรมราช ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง ตรัง ยะลา และสตูล มี ประชาชนเดือดร้อน 1.6 ล้านคน มีผู้เสียชีวิต 25 ราย มูลค่าความเสียหายประมาณ 600 ล้านบาท สงขลา ระหว่าง 13-20 ธันวาคม 2548 เกิดอุทกภัย 16 อำ�เภอ และเขตรอบนอกตัวเมืองหาดใหญ่ ซึ่งผลไม่รุนแรงเท่าปี 2543 แต่มีผู้ประสบความเดือดร้อนเป็นจำ�นวนมาก เชียงใหม่ น้ำ�ท่วมหนัก ฝนตกหนักในภาคเหนือตอนบน ทำ�ให้หลายจังหวัดถูกน้ำ�ท่วม กระแสน้ำ� เหนือ ทีไ่ หลลงแม่ปงิ ทะลักเข้าท่วมตัวเมืองเชียงใหม่อย่างรวดเร็ว มีระดับสูงเป็นประวัตกิ ารณ์ในรอบ 50 ปี บ้านเรือนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่นบั พันเสียหาย ตลาดวโรรส ตลาดลำ�ไย ตลาดไนท์บาซาร์ น้ำ�สูง 70 ซม. บางแห่งสูงเกือบ 2 เมตร
พ.ศ.2549 อุทกภัยทางภาคเหนือ ทำ�ให้น้ำ�เหนือไหลลงสู่แม่น้ำ�เจ้าพระยา จังหวัดที่ โดนหนัก เช่น พิษณุโลก นครสวรรค์ อ่างทอง แต่กรุงเทพฯ น้�ำ ท่วมเฉพาะ บางส่วนที่ติดกับแม่น้ำ�เจ้าพระยา ซึ่งไม่รุนแรงเท่า พ.ศ.2538 น้�ำ ท่วมและโคลนถล่ม 5 จังหวัด ในภาคเหนือตอนล่าง ฝนตกผิดปกติหลาย วัน ในช่วงปลายพฤษภาคม 2549 ทำ�ให้ดินบนภูเขาไม่อุ้มน้ำ�ฝน น้ำ�ท่วม
และดินถล่มในช่วงกลางคืนของ 22 พฤษภาคม 2549 โดยเฉพาะอุตรดิตถ์ ได้รับผลกระทบมากที่สุด ใน 5 จังหวัดที่ประสบอุทกภัยและโคลนถล่ม ครั้งมีผู้เสียชีวิต 75 คน สูญหาย 116 ราย ขณะที่น่านเกิดวิกฤติน้ำ�ท่วม หนักสุดในรอบ 43 ปี 20 สิงหาคม 2549 น้ำ�ในแม่น้ำ�น่าน อ.ท่าวังผา สูงถึง 9.30 เมตร เลยจุดวิกฤติที่ 7 เมตร
14
วาด ความคิด
แก้ปัญหาน้ำ�ระดับชาติ เป็นเรื่องของทุกคน นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
น้�ำ เป็นทรัพยากรอันมีคา่ และจากปรากฏการณ์การเปลีย่ นแปลง สภาพภูมอิ ากาศ (Climate Change) เป็นผลให้เกิดสภาวะอุทกภัยและ ภัยแล้งอย่างรุนแรง ดังนัน้ จำ�เป็นต้องมีการปฏิรปู ระบบการจัดการน้�ำ ที่คำ�นึงถึงการใช้ประโยชน์ การบำ�รุงรักษา การพัฒนา การป้องกัน การแก้ไขปัญหา และการอนุรักษ์ฟื้นฟู หลังจากวิกฤติอุทกภัย ปี 2554 ทำ�ให้เห็นมุมมองต่อการจัดการ น้ำ�ที่ขาดสมดุล เกิดสภาพ “กลัวน้ำ�” นำ�ไปสู่คำ�ถามใหญ่เชิงโครงสร้าง ว่า ประเทศไทยควรจะมีนโยบาย แนวทาง และกติกาของการจัดการ น้�ำ อย่างไร จึงจะทำ�ให้เกิดประโยชน์สงู สุด เพราะหากไม่มกี ารทำ�กติกา หรือกลไกให้รอบด้านพอ ก็อาจจะเกิดแผนปฏิบตั กิ าร การลงทุน หรือ มาตรการการจัดการต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น ปัญหานีเ้ ชือ่ ว่ารัฐบาลจัดการฝ่ายเดียวไม่ส�ำ เร็จเพราะการจัดการ น้�ำ เป็นงานทีเ่ กินความสามารถของหน่วยงานรัฐจะบริหารจัดการเพียง ลำ�พัง จำ�เป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกหน่วยงาน ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะชุมชนท้องถิน่ ซึง่ เป็นเจ้าของพืน้ ทีท่ ไี่ ด้รบั ผลกระทบโดยตรง ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการทำ�งานของคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ที่ใช้เวทีสมัชชาเป็นเวทีกลางในการระดมความคิดเห็นของทุกฝ่าย
ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคการเมือง นักวิชาการ และเครือข่ายภาค ประชาชน เพื่อหาฉันทามติต่อแนวทางการจัดการน้ำ�ร่วมกัน และ จัดทำ�ข้อเสนอสู่รัฐบาล พร้อมเผยแพร่สู่สังคมโดยรอบ สำ�หรับ ประเด็นเร่งด่วนในเรื่องการจัดการน้ำ�มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเด็น คือ 1. การสร้างกลไกกลาง เพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ 2. การสร้างกลไกระดับพืน้ ที่ เพือ่ เชือ่ มโยงการทำ�งานกับส่วนกลาง 3. การสร้างกลไกข้อมูล ซึ่งไม่เป็นเพียงการส่งข้อมูลให้กับรัฐ เท่านั้น แต่ต้องเผยแพร่ให้ลงไปถึงระดับพื้นที่ด้วย อันที่จริงรัฐบาลมีกลไกกลางด้านการจัดการน้ำ� คือ คณะ กรรมการทรั พ ยากรน้ำ � แห่ ง ชาติ ซึ่ ง ทำ � หน้ า ที่ ใ นการเสนอแนะ นโยบาย และบริหารในภาวะปกติ แต่ไม่ได้เน้นด้านการจัดการ อุทกภัย ซึ่งในเรื่องของการจัดการภัยพิบัตินั้นเป็นหน้าที่ของกรม ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) อย่างไรก็ตามทั้ง 2 หน่วย งานยังขาดการเชือ่ มโยงการทำ�งานร่วมกัน และทีส่ �ำ คัญคือการขาด กลไกกลางในการเชือ่ มโยงกับระดับพืน้ ที่ ซึง่ จากการระดมความคิด เห็นในช่วงที่ผ่านมาทางสมัชชาเห็นว่า น่าจะสนับสนุนให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นและคณะกรรมการลุ่มน้ำ�เข้ามามีส่วนร่วมใน การจัดการลุ่มน้ำ�ขนาดเล็ก สำ�หรับการดำ�เนินงานในระยะต่อไปของสมัชชา นั้น จำ�เป็นต้องทำ�งานเชื่อมโยงกับภาคการเกษตร การ ปฏิรูประบบผังเมือง และรวมไปถึงการสร้างกติกากลาง ที่ทำ�ให้เกิดความเป็นธรรมสำ�หรับกลุ่มคนที่ได้รับผล กระทบจากนโยบายการจัดการน้�ำ เช่น จำ�เป็นต้องมีการ จัดเก็บภาษีบางประเภทสำ�หรับจัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อ ช่วยเหลือประชาชนทีบ่ า้ นและพืน้ ทีท่ �ำ กินต้องกลายเป็น พืน้ ทีร่ บั น้�ำ แทนชุมชนเมือง และนิคมอุตสาหกรรมหรือไม่ อย่างไร
15
สะกิดปม
มันต้อง “เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข” ทั้งระบบ ดร.ณรงค์ เพชรประเสริฐ อาจารย์ประจำ�คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
...เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นมา ใครควรเป็นคนรับผิดชอบ ?
สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็น “ฝีมือของพระเจ้า” นอกเหนือการควบคุม ของมนุษย์ และไม่ต้องมีใครมารับผิดชอบอย่างนั้นหรือ ? ส่วนการ บรรเทาและดูแลความเสียหายใครเป็นคนทำ� ? ...ทำ�กันอย่างไร ? ร่องรอยปี 2554 ชีใ้ ห้เห็นว่าผูบ้ ริหารประเทศไม่สนใจข้อเท็จจริง ทางธรรมชาติและมีความเพิกเฉยประมาท เมือ่ เกิดมหาอุทกภัยแล้ว รัฐไม่ได้บรรเทาความเสียหายให้เหมาะสม เป็นการจัดการอย่างไม่ สมดุล การแก้ปัญหาของรัฐ เป็นการผลักความเสียหายของคนกลุ่ม หนึ่ง ไปให้คนอีกกลุ่ม...หรือเปล่า ? ใครต้องชดเชยให้คนกลุ่มนี้ ? และการประกาศว่า “เอาอยู”่ เป็นการให้สญ ั ญาณผิด ก่อให้เกิดความ เสียหายตามมา มิหนำ�ซ้ำ�กลับประเมินอย่างหยาบและชดเชยแบบ เหมารวม ในทางกฎหมาย แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะทำ�เพื่อคนส่วน ใหญ่และไม่ประมาทก็ตาม หากยังเกิดความเสียหาย ก็ต้องชดใช้ค่า เสียหายสูงสุดเท่าที่รัฐจะทำ�ได้ ดังเช่นกรณีเจ้าของไร่องุ่นที่สิงหบุรี ฟ้องร้องหน่วยงานจัดการน้�ำ ผิดพลาด ศาลเห็นว่าเป็นจริง จึงให้ชดใช้ ราว 2 ล้านบาท รวมดอกเบี้ย โดยหักค่าเสื่อม สำ�หรับอุทกภัยปี 2554 ประเมินความเสียหายทัง้ ประเทศราว 1.2 ล้านล้านบาท สภาทนายความเป็นผู้ดำ�เนินการ มีผู้ฟ้องร้อง ราวกว่า 500 ราย เรียกร้องค่าชดเชยมูลค่าเกือบหมื่นล้านบาท ประการต่อมา จะเอาค่าชดเชยมาจากไหน ก็ต้องกลับไปดู โครงสร้างรายได้รัฐ ปัจจุบันรัฐบาลเสนอมาตรการเงินกู้ 3.5 แสน ล้านบาท ซึ่งไม่เป็นธรรม เพราะเป็นเงินภาษีจากประชาชนทั้งหมด มาจ่ายหนี้ ดังนั้นควรจะเรียกเก็บภาษีที่ไม่กระทบต่อโครงสร้างสังคม นัน่ คือ การเก็บค่าภาคหลวงจากธุรกิจปิโตรเลียมของบรรษัทข้ามชาติ ทีร่ �่ำ รวยระดับโลก และทีผ่ า่ นมาไทยจัดเก็บแค่ 10% ขณะทีม่ าตรฐาน โลกเก็บ 30% หากเก็บเพิ่มรัฐจะได้เงินไม่ต่ำ�กว่า 2 แสนล้านบาท ต่อปี และเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ�ของรายได้
ก้าวต่อไปทางสมาคมต่อต้านโลกร้อนและสภาทนายความ ทั้งสององค์กรเรียกร้องให้เกิดบรรทัดฐานที่เหมาะสมแก่ผู้เสียหาย และควรมีการรวมตัวภาคประชาชนทำ�งานด้านนี้อย่างจริงจังต่อไป การจัดการอุทกภัยปี 2554 เป็นบทเรียนว่า รัฐบาลทำ�แบบ แยกส่วน เกิดความไม่เป็นธรรม เพิ่มความเหลื่อมล้ำ� โดยไม่มีผู้เสีย ผลประโยชน์ร่วมจัดการ การแก้ปัญหาและยกระดับสังคมให้เจริญ ขึ้น ต้องทบทวนทั้งระบบ เน้นจัดการอย่างสมดุลทุกภาคส่วน จึงจะ “เอาอยู่” และ “เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข” อย่างแท้จริง
การแก้ปัญหาของรัฐ เป็นการ ผลักความเสียหายของคนกลุ่มหนึ่ง ไปให้คนอีกกลุ่ม...หรือเปล่า? ใครต้องชดเชยให้คนกลุ่มนี้? และ การประกาศว่า “เอาอยู่” เป็นการ ให้สัญญาณผิด ก่อให้เกิดความ เสียหายตามมา มิหนำ�ซ้ำ�กลับ ประเมินอย่างหยาบและชดเชยแบบ เหมารวม