โครงการออกแบบภายในพิพิธภัณฑ์ความกลัว COLLEGE OF DESIGN DEPARTMENT OF INTERIOR RANGSIT UNIVERSITY
โครงการศิลปนิพนธ์ วิทยาลัยการออกแบบ สาขาออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยรังสิต
ชื่อโครงการ ประเภทของงานศิลปนิพนธ์ ผู้ดำ�เนินโครงการศิลปนิพนธ์ ที่ปรึกษาโครงการศิลปนิพนธ์
โครงการออกแบบภายในพิพิธภัณฑ์ความกลัว ออกแบบภายใน ( Interior Design ) นางสาว มณีตะวัน แก้วผาบ รหัส 6103158 นักศึกษาชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยการออกแบบ สาขาออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยรังสิต อาจารย์ อรรถกฤษณ์ อุทัยกาญจน์
สาขาวิชาออกแบบภายใน วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต อนุมัติให้นับศิลปนิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบภายใน คณะกรรมการศิลปนิพนธ์
…………………………………. คณบดีวิทยาลัยการออกแบบ (รองศาสตราจารย์ พิศประไพ สาระศาลิน) …………………………………. ประธานกรรมการ (อาจารย์ วริศว์ สินสืบผล) …………………………………. กรรมการ (อาจารย์ถวัลย์ วงษ์สวรรค์) ………………………………… กรรมการ (อาจารย์อรรถกฤษณ์ อุทัยกาญจน์)
………………………………… กรรมการ (อาจารย์ บัณฑิต เนียมทรัพย์) ………………………………… กรรมการ (อาจารย์ เรวัฒน์ ชำ�นาญ)
อาจารย์ที่ปรึกษาศิลปนิพนธ์
………………………………… กรรมการ (อาจารย์ ณัฐพงศ์ ศรีปุงวิวัฒน์) ………………………………… กรรมการ (อาจารย์ กาลัญญู สิปิยารักษ์) ………………………………… กรรมการ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไพลิน โภคทวี) ………………………………………… (อาจารย์อรรถกฤษณ์ อุทัยกาญจน์)
-ก-
หัวข้อศิลปนิพนธ์ ชื่อนักศึกษา สาขาวิชา อาจารย์ที่ปรึกษา ปีการศึกษา
โครงการออกแบบภายในพิพิธภัณฑ์ความกลัว นางสาว มณีตะวัน แก้วผาบ ออกแบบภายใน (Interior Design) อาจารย์ อรรถกฤษณ์ อุทัยกาญจน์ 2565
บทคัดย่อ เมื่อพูดถึงความกลัวสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่จะนึกถึง คือ ความรู้สึกด้านลบ ความไม่สบายใจ ความวิตกกังวล ความ หวาดกลัว นอกจากความกลัวที่เรารู้จักคุ้นเคยแล้วยังมีความกลัวอีกมากมายหลากหลายแบบที่เราไม่รู้จักและคิดไม่ ถึง เพียงเพราะคนส่วนใหญ่นั้นไม่ค่อยกลัวสิ่งนี้ ความกลัว Phobic หรือ Phobia เป็นคำ�มีรากศัพท์มาจากภาษา กรีก ว่า Phobos ชื่อของเทพเจ้าที่สร้างความตื่นตระหนกให้แก่ศัตรู ซึ่งมีความหมายถึง ความกลัว Phobic Disorders หมายถึงโรคที่มีความกลัวหรือความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นเฉพาะ หรือความหมกมุ่นต่อบางสิ่งบางอย่าง ความกลัวหากว่าเกิดขึ้นในระดับที่พอดีและสอดคล้องกับบุคลิกภาพก็สามารถทำ�ให้เกิดความรู้สึกท้าทาย ตื่นเต้นได้ แต่โดยส่วนใหญ่เมื่อบุคคลเกิดความกลัวจะหลีกหนี ปฏิเสธการทำ�กิจกรรมต่างๆ เพราะกลัวการต้องเผชิญกับความ กลัว ซึ่งส่งผลไปถึงปฏิสัมพันธ์ในสังคม เสียโอกาสหลายอย่างในชีวิต ขาดความมั่น ใจในตนเอง หากบุคคลสามารถ ข้ามผ่านความกลัวได้ด้วยตนเองก็ย่อมเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของเขาและสร้างความกล้าในการเผชิญความกลัวอื่น ดังนั้นจึงได้นำ�จุดนี้มาใช้ในการศึกษาและพัฒนาโครงการ โดยใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับความกลัวนำ�มาออกแบบร่วมกับการ ออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่ทำ�ให้เกิดความกลัว ภายในโครงการได้นำ�เสนอผ่านมุมมองของคนที่กลัว เพราะใน ปัจจุบันยังมีการนำ�เสนอความกลัวบางประเภทเป็นเรื่องตลกขบขัน แต่สำ�หรับคนที่กลัวแล้วมันไม่ใช่เรื่องตลกขบขัน ดังนั้นโครงการจึงออกแบบมาเพื่อให้ผู้คนได้เข้ามาเรียนรู้ทั้งความกลัวของตัวเองและความกลัวของผู้อื่น ได้ท้าทาย ความกลัวของตัวเอง กล้าที่จะเผชิญหน้ากับความกลัว หาต้นเหตุของความกลัว เพราะเมื่อเกิดการเรียนรู้ทำ�ความ เข้าใจแล้วความกลัวเหล่านั้นจะค่อยๆบรรเทาลง สร้างความกล้าในการเผชิญหน้ากับความกลัวต่างๆที่จะเกิดขึ้นใน อนาคต
-ข-
กิตติกรรมประกาศ ศิลปนิพนธ์เล่มนี้ได้รับความสนับสนุนและอนุเคราะห์หลายๆด้านจากบุคคลหลายท่าน ทั้งในเรื่องของให้ คำ�แนะนำ� กำ�ลังใจ เสนอแนวคิด ช่วยแก้ไขจุดบกพร่องและการสนับสนุนต่างๆอีกมากมาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำ�ให้ ศิลปนิพนธ์นี้สำ�เร็จลุล่วงไปด้วยดี ขอขอบคุณครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณพ่อ คุณแม่ ผูู้เป็นส่วนประกอบที่สำ�คัญที่เต็มไปด้วยความ อบอุ่น อนุเคราะห์ในด้านต่างๆทั้งกำ�ลังทรัพย์ เวลาและกำ�ลังอย่างล้นเหลือ ขอขอบคุณอาจารย์อรรถกฤษณ์ อุทัยกาญจน์ อาจารย์ที่ปรึกษาที่ให้คำ�แนะนำ�ในด้านการพัฒนางาน ออกแบบต่างๆรวมถึงแนวคิดที่เป็นประโยชน์ในการต่อยอดพัฒนา ช่วยแก้ไขและปรับปรุงและให้คำ�ปรึกษาที่เป็น ประโยชน์อย่างมากต่อศิลปนิพนธ์นี้ ขอขอบคุณเพื่อนๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นูรียา หมานนุ้ย , พจรินทร์ เกษตรภิบาล , ปัณณวิชญ์ เนื้อ ทองและสุพัตรา จินดา สำ�หรับความเป็นเพื่อนที่ดี อยู่ด้วยกันมาตลอด ให้กำ�ลังใจ คอยเตือนและให้ความช่วย เหลือในทุกๆด้าน
มณีตะวัน แก้วผาบ
-ค-
-ค-
สารบัญ หน้า
หน้ากรรมการอนุมัติ บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ สารบัญ บทที่1 บทนำ� 1.1 ที่มาและความสำ�คัญ 1.2 วัตถุประสงค์ 1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.4 ขอบเขตการศึกษา 1.5 ระเบียบวิธีวิจัย
บทที่2 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของโครงการ 2.1 ความกลัว 2.2 ปัจจัยที่ทำ�ให้เกิดความกลัว 2.3 รูปแบบและลักษณะความกลัว 2.4 การปรับสภาวะให้เกิดความกลัว 2.5 แนวคิดและทฤษฎีปัจจัยสภาพแวดล้อมทาง
สถาปัตยกรรมที่มีผลต่อความกลัว บทที่3 ทฤษฎีและแนวคิดในการออกแบบ 3.1 เนื้อหาของหลักการ ทฤษฎี หรือทีมาของแนวคิดในการออกแบบ นําเสนอการวเิคราะห์ ตีความจากแนวคิดไปสู่การออกแบบ บทที่4 ผลการออกแบบ 4.1 กระบวนการในการออกแบบ การวางผังและออกแบบพื้นที่ใช้สอย การออกแบบภายใน การออกแบบภาพลกัษณะองโครงการ บทที่5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ประวัติผู้วิจัย
ก ข ค
1
PROJECT BACKGROUND ความกลัวเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ด้านลบเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนมี หากเกิดขึ้นในระดับที่พอดีและสอดคล้อง กับบุคลิกภาพก็สามารถทำ�ให้บุคคลเกิดความรู้สึกท้าทายหรือตื่นเต้นได้ แต่โดยส่วนใหญ่เมื่อบุคคลเกิดความ กลัวจะหลีกหนี บางครั้งต้องปฏิเสธการทำ�กิจกรรมต่างๆ เพราะกลัวการต้องเผชิญกับความกลัว ซึ่งส่งผล ไปถึงปฏิสัมพันธ์ในสังคม เสียโอกาสหลายอย่างในชีวิต ขาดความมั่นใจในตนเอง ความกลัวเมื่อไม่ได้รับการ แก้ไขหรือทำ�ความเข้าใจ เมื่อถูกกระตุ้นบ่อยๆจะนำ�ไปสู่ความเครียดและนำ�ไปสู่โรคกลัวในที่สุด แต่หากบุคคล สามารถข้ามผ่านความกลัวได้ด้วยตนเองก็ย่อมเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของเขาและสร้างความกล้าในการ เผชิญความกลัวอื่น จึงเป็นที่มาของการศึกษาเรื่องความกลัวมาใช้ในการออกแบบ โดยต้องการใช้คนได้รู้จัก ความกลัวรูปแบบต่างๆทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก เพราะเมื่อเข้าใจความกลัวเหล่านี้แล้วความกลัวก็จะค่อยๆหายไป เอง เป็นจุดเริ่มต้นในการเผชิญหน้ากับความกลัวอื่นๆที่ต้องเจอในอนาคต โดยตัวโครงการจะนำ�เสนอผ่าน มุมมองของคนที่กลัว เพราะในบางครั้งสื่อต่างๆนำ�เสนอความกลัวบางประเภทเป็นเรื่องประหลาด ตลกขบขัน เพียงเพราะคนส่วนใหญไม่กลัวกัน ทั้งที่ความจริงแล้วในทางการแพทย์ความกลัวต่อสิ่งต่างๆของมนุษย์นั้น เป็นเรื่องปกติ
OBJECTIVES. 1.เพื่อสร้างสถานที่ให้คนได้เข้ามาเรียนรู้ความกลัว 2.เพื่อให้คนได้เรียนรู้หลักการทำ�งานของความกลัว 3.สร้างความกล้าในการเผชิญความกลัว เปลี่ยนความกลัวเป็นความเข้าใจ
EXPECTIONS. 1.ออกแบบเพื่อให้พื้นที่เกิดการเรียนรู้มากที่สุด 2.ออกแบบเพื่อให้คนที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ผ่านส่วนต่างๆในโครงการ 3.ออกแบบโดยถ่ายทอดมุมมองของคนที่กลัวเพื่อให้เข้าใจมุมมองของคนที่กลัว
AREA OF STUDIES. 1.ศึกษาองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ทำ�ให้เกิดความกลัว 2.ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการเกิดความกลัว 3.ศึกษาความปลอดภัยในอาคาร 4.ศึกษารูปแบบการออกแบบพิพิธภัณฑ์
2
2
ความกลัว
ความกลัว เป็นอารมณ์ด้านลบที่รุนแรงซึ่งเกิดขึ้นจากการจินตนาการหรืออันตรายที่แท้จริงและก่อให้เกิด ภัยคุกคามต่อชีวิตของแต่ละบุคคล ภายใต้ความกลัวในด้านจิตวิทยานั้นเป็นที่เข้าใจถึงสถานะภายในของ บุคคลซึ่งเกิดจากภัยพิบัติที่ถูกกล่าวหาหรือเกิดขึ้นจริง ความกลัวเกิดจากอะไร? ในเซลล์สมองของเรามีส่วนที่ทำ�ให้เกิดความกลัวจากการส่งผ่านข้อมูลและกระตุ้นให้เรามีปฏิกิริยาตอบ สนอง คอร์เทกซ์รับความรู้สึก (Sensory Cortex) จะแปลข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสทั้งการมองเห็น ได้ยิน รับ กลิ่น การสัมผัส ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ก็จะเก็บข้อมูลพวกนั้นทั้งด้านดีและไม่ดีเป็นความทรงจำ�ระยะยาว ถ้าเราเคยได้รับรู้เหตุการณ์ด้านไม่ดี มันจะกลายมาเป็นความทรงจำ�ที่ฝังในหัวเรา สมองส่วนอะมิกดะลา (Amygdala) ที่จัดเก็บความทรงเกี่ยวกับความกลัวจะเริ่มทำ�งาน เข้ามาตัดสินความเป็นไปได้ว่าจะมีภัย หรือความเสี่ยงอะไรที่จะเกิดขึ้นกับเราเหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับคนอื่นหรือเปล่า เป็นผลให้ไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) เลือกเปิดปุ่ม Activate ปฏิกิริยาตอบสนอง Fight or Flight “จะสู้หรือจะหนี” ทุกคนล้วนมีความกลัวต่อเรื่องต่างๆ อยู่ที่เราจะเปลี่ยนมันให้เป็นพลังยังไง ไม่ว่าจะ Fear of Losing Job, Fear of Making a Career Shift, Fear of Salary Negotiation ความกลัวที่อาจเกิดขึ้นได้เยอะแยะไป หมด แต่ไม่ต้องกังวลว่าเราจะกลัวล่วงหน้าหรือคิดในแง่ร้ายเกินไปหรือเปล่า เพราะความกลัวมันก็มีข้อดี อย่างทำ�ให้เราได้หยุดถอยออกมาเพื่อคิดทบทวนให้ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น ได้เตรียมพร้อมและเฝ้ารับมือ กับข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับงานของเรา
ปัจจัยที่ทำ�ให้เกิดความกลัว การเจอสถานการณ์ที่แปลกใหม่หรือเจอการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
การเจอสถานการณ์ที่น่ากลัว ในอดีตที่ยาก ต่อการลืมเลือน
การเจอสิ่งเร้าที่ไม่มีความชัดเจนที่เกิดจาก การเลียนแบบ
การได้ร้บข้อมูลที่ไม่มีความชัดเจน อย่างเช่น อาชญากรรม ความรุนแรง สงคราม ความ เจ็บปวด อุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ และเรื่อง ลี้ลับ เป็นต้น
เมื่ อ เผชิ ญสถานการณ์ ที่ เป็ น ภั ย คุ กคามจะ เกิ ด การตอบสนองทางอารมณ์ ด้ ว ยการ แสดงความกลัวและความวิตกกังวลออก มา ก่อให้เกิดความเครียดนำ�ไปสู่การเป็นโรค กลัวได้ซึ่งเป็นอันตรายกับตนเองและรักษา ยาก
รูปแบบและลักษณะความกลัว รูปแบบความกลัวที่พบกันโดยทั่ว ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้พยายามแบ่ง ประเภทรูป แบบของความกลัวเพื่อให้เห็นภาพต้นเหตุของความกลัว (Whitehead,T. 1983:76-77; Smith, M. et al.. 2010) ได้แก่ 1.การกลัววัตถุเฉพาะ เช่น กลัวหนู กลัวแมงมุม กลัวงู กลัวสุนัข ฯลฯ 2. การกลัวต่อเหตุการณ์ สามารถแบ่งเป็น การกลัวสภาพแวดล้อมธรรมชาติ เช่น กลัวความสูง กลัวพายุ กลัวน้ำ� กลัวที่มืด ฯลฯ และการกลัวสถานการณ์เฉพาะ เช่น กลัวที่แคบ กลัวการขึ้นเครื่องบิน กลัวการอยู่ในที่ โล่งแจ้ง กลัวการขับรถ กลัวโรงเรียน กลัวสะพาน กลัวอุโมงค์หรือทางใต้ดิน กลัวการ พูดในที่สาธารณะ ฯลฯ 3. การกลัวการเจ็บป่วย เช่น กลัวว่ากำ�ลังจะตาย กลัวความตาย ฯลฯ 4. การกลัวเลือด เข็มฉีดยา การบาดเจ็บ เช่น กลัวการรักษาทางการแพทย์ ฯลฯ
การปรับภาวะให้เกิดความกลัว การปรับภาวะให้เกิดความกลัว (อังกฤษ: fear conditioning) เป็นรูปแบบทางพฤติกรรมที่สิ่งมีชีวิตเรียนรู้เพื่อพยากรณ์ เหตุการณ์ที่ไม่น่าพึงใจ เป็นรูปแบบแห่งการเรียนรู้โดยจับคู่สิ่งแวดล้อมที่ปกติเป็นกลาง ๆ (เช่นสถานที่) หรือตัวกระตุ้นที่ เป็นกลาง ๆ (เช่นเสียง) กับตัวกระตุ้นที่ไม่น่ายินดี (เช่นถูกไฟดูด เสียงดัง หรือกลิ่นเหม็น) ในที่สุด การจับคู่เช่นนั้นเป็นเหตุให้ สิ่งมีชีวิตตอบสนองด้วยความกลัว ต่อตัวกระตุ้นหรือสิ่งแวดล้อมที่ในตอนแรกเป็นกลาง ๆ เพียงลำ�พังโดยปราศจากตัว กระตุ้นที่ไม่น่ายินดี ถ้าใช้ศัพท์ที่เกี่ยวกับการปรับสภาวะแบบคลาสสิก (classical conditioning) ตัวกระตุ้นหรือสิ่งแวดล้อม ที่เป็นกลาง ๆ เรียกว่า สิ่งเร้ามีเงื่อนไข (conditional stimulus) ส่วนตัวกระตุ้นที่ไม่น่ายินดีเรียกว่า สิ่งเร้าไม่มีเงื่อนไข (unconditional stimulus) และความกลัวที่เกิดขึ้นในที่สุดของการปรับสภาวะเรียกว่า การตอบสนองมีเงื่อนไข (conditional response) มีการศึกษาเรื่องการปรับภาวะให้เกิดความกลัวในสัตว์สปีชีส์ต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่หอยทากจนกระทั่งถึง มนุษย์ ในมนุษย์ ความกลัวมีเงื่อนไขวัดได้โดยการรายงานของผู้รับการทดสอบและการตอบสนองทางผิวหนังโดยการนำ� กระแสไฟ (galvanic skin response) ในสัตวอื่น ความกลัวมีเงื่อนไขวัดได้โดยการมีตัวแข็งของสัตว์ (คือช่วงเวลาที่สัตว์ ทำ�การสังเกตการณ์โดยไม่มีการเคลื่อนไหว) หรือโดย fear potentiated startle ซึ่งเป็นการตอบสนองโดยรีเฟล็กซ์ต่อตัว กระตุ้นที่น่ากลัว ความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ และการตอบสนองในกล้ามเนื้อวัดโดย การบันทึกคลื่นไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ (electromyography) ก็สามารถใช้ได้ในการวัดความกลัวมีเงื่อนไข
การปรับภาวะให้เกิดความกลัวเชื่อกันว่า อาศัยเขตในสมองที่เรียกว่า อะมิกดะลา (amygdala) การตัดออกหรือการ ยับยั้งการทำ�งานของอะมิกดะลาสามารถยับยั้งทั้งการเรียนรู้และการแสดงออกของความกลัว การปรับภาวะให้เกิด ความกลัวบางประเภท (แบบ contextual และ trace) ก็อาศัยเขตฮิปโปแคมปัสด้วย ซึ่งเป็นเขตสมองเชื่อกันว่ารับ พลังประสาทนำ�เข้าจากอะมิกดะลาและประสานสัญญาณนั้นกับข้อมูลประสบการณ์ที่เคยมีมาก่อนที่ทำ�ให้ตัวกระตุ้นนั้น มีความหมาย ทฤษฎีที่ใช้อธิบายประสบการณ์ที่ให้เกิดความบาดเจ็บหรือความเครียดทางจิตใจ บอกเป็นนัยว่า ความ หวาดกลัวที่อาศัยอะมิกดะลาจะไม่อาศัยฮิปโปแคมปัสในช่วงเวลาที่กำ�ลังประสบความเครียดอย่างรุนแรง และจะมีการ บันทึกประสบการณ์นั้นไว้ทางกายภาพหรือโดยเป็นภาพ เป็นความรู้สึกที่สามารถจะกลับมาเกิดขึ้นอีกปรากฏเป็นอาการ ต่าง ๆ ทางกายภาพ หรือเป็นภาพย้อนหลัง (flashback) โดยที่ไม่มีความหมายเกี่ยวข้องเหตุการณ์ที่กำ�ลังเกิดใน ปัจจุบัน นักทฤษฎีบางพวกเสนอว่า ความกลัวมีเงื่อนไขเป็นไปร่วมกับเหตุเกิดของโรควิตกกังวลประเภทต่าง ๆ ทั้งโดย กิจและโดยระบบประสาท งานวิจัยเกี่ยวกับการได้มา (acquisition) การทำ�ให้มั่นคง (consolidation) และความสูญไป (extinction) ของความกลัวมีเงื่อนไข อาจจะนำ�ไปสู่การบำ�บัดรักษาทางเวชกรรมหรือทางจิตบำ�บัดใหม่ ๆ เพื่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคดิสโซสิเอทิฟ โรคกลัวประเภทต่าง ๆ และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (post-traumatic stress disorder)
แนวคิดและทฤษฎีปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสถาปัตยกรรมที่มีผลต่อความกลัว คิซุค (Kisuk, 1997) ให้ความหมายว่า หลักการของการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพน้ันประกอบด้วย ประเภทในการใช้งานของพ้ืนที่ และแนวคิดในการออกแบบสภาพแวดล้อม ซ่ึง ประกอบด้วยความสมดุล การเว้นจังหวะพ้ืนท่ีว่าง การให้น้าหนัก ความกลมกลืน สัดส่วน และ ขนาด ซึ่งจะใช้ในการจัดการองค์ประกอบในขั้นตอนของการออกแบบรวมถึงใช้ในการแก้ปัญหาจากการ ออกแบบสภาพแวดล้อมภายในอาคาร โดยตัวแปรมีผลต่อการสร้างการออกแบบสภาพแวดล้อม ภายในประกอบด้วย เส้น รูปทรง น้าหนัก พ้ืนท่ีว่าง สี (Preethi, 2005 & Ambreen, et al., 2012) คุณภาพของสภาพแวดล้อมภายในอาคารมีตัวช้ีวัดจากปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เป็น พ้ืนฐานในการ ออกแบบได้แก่ เสียง อุณหภูมิภายใน คุณภาพของแสงสว่าง ความเหมาะสมในการใช้ งาน ความช้ืน ระดับความเข้มของสี (Kisuk, 1997 & Dana, 2012) ในข้อกาหนดพ้ืนฐานของ สภาพแวดล้อมภายในอาคารเพ่ือให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้อาศัยรวมถึงผู้ใช้งานภายในพ้ืนที่น้ัน ได้ มี การกาหนดตัวแปรที่นาไปสู่การช้ีวัดความปลอดภัยประกอบด้วยผนัง ผังพ้ืน ฝ้าเพดาน ประตู หน้าต่าง ซึ่งเป็นตัวแปรท่ีมีผลกระทบในการ ป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟ และ สารปนเปื้อนใน สภาพแวดล้อมภายในอาคาร (Caren & Denise, 2006) องค์ประกอบท่ีเป็นปัจจัยท่ีส่งผล ต่อการ กาหนดพื้นฐานความปลอดภัยเพ่ือเป็นสวัสดิการผู้ใช้งานมีตัวช้ีวัด ได้แก่ การไหลเวียนภายใน สภาพแวดล้อมภายในอาคาร บันได ทาง เดินหรือทางสัญจรภายในอาคาร ทางลาดรวมถึงเส้นทางใน
การเข้าใช้งานของผู้พิการ ทางออกฉุกเฉิน (Ambreen, et al., 2012 & Dana, 2012) มีการศึกษาถึง ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ที่ส่งผลต่อการทางานและการเรียนการสอน ซึ่งจะวัดจาก ปัจจัยเรื่องของแสงสว่าง เสียง เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ภายในพื้นที่ อุณหภูมิภายในสภาพ แวดล้อม พบว่า ปัจจัยที่มีผลเสียในการทางานได้แก่ ปัจจัยด้านเสียง และ อุณหภูมิภายในสภาพแวดล้อม ซึ่งปัจจัยที่มี ผลต่อการการข้าใช้งาน ภายในอาคารได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ภายในพื้นที่ และ แสงสว่าง การเข้าใช้งานของผู้พิการ ทางออกฉุกเฉิน (Ambreen, et al., 2012 & Dana, 2012) มีการศึกษาถึง ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่ส่งผลต่อการทางานและการเรียนการสอน ซึ่งจะวัดจาก ปัจจัยเรื่องของแสงสว่าง เสียง เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ภายในพื้นที่ อุณหภูมิภายในสภาพแวดล้อม พบว่า ปัจจัยที่มีผลเสียในการทางานได้แก่ ปัจจัยด้านเสียง และ อุณหภูมิภายใน สภาพแวดล้อม ซึ่งปัจจัยที่มี ผลต่อการการข้าใช้งานภายในอาคารได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ภายในพื้นที่ และ แสงสว่าง แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยดังกล่าวนั้นยังไม่มีการศึกษาที่แน่ชัดว่าปัจจัยใดที่ส่งผลต่อความรู้สึก ปลอดภัย ซึ่งนักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้ทาการศึกษา ถึงปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อความรู้สึก ปลอดภัย โดยได้ศึกษาจากสภาพแวดล้อมที่เป็นส่วนภายนอกอาคาร พบว่า ปัจจัยทางสภาพ แวดล้อม ภายนอกอาคาร การวัดความรู้สึกถึงความปลอดภัยของบุคลนั้นมีผลมาจากตัวแปรของสภาพแวดล้อม ทางกายภาพ ซึ่งการรับรู้ถึง ความปลอดภัยนั้นเกิดจากการออกแบบพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เปิด เพื่อให้ ผู้ใช้งานเกิดการรับรู้และสร้างความเข้าใจในการออกแบบรวมถึงการมองเห็นที่ ดี การออกแบบ สภาพแวดล้อมทางกายภาพภายนอกอาคารที่มีส่วนช่วยลดการซ่อนตัวของอาชญากร (Laura, et al., 1993) โดยต้องลดการปิดบังจากสภาพแวดล้อมรอบๆตัวอาคาร เช่น ต้มไม้ พุ่มไม้ หรือสิ่งกีดขวางสายตา ซึ่งปัจจัยของการ สร้างความเข้าใจในการออกแบบนั้นเป็นปัจจัยที่สาคัญตัวหนึ่ง ในการออกแบบเพื่อทาให้พื้นที่นั้นรู้สึกถึงความปลอดภัย (Mary, 2005 & Cassandra, 2010) และใน การรับรู้ถึงพื้นที่หรือสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายนอกอาคารที่ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยนั้น มีความสัมพันธ์กับ พื้นที่ที่มีแสงสว่างที่ไม่เพียงพอ (James, 2010) ผู้ใช้งานเกิดการรับรู้ถึงพื้นที่และ สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยนั้นอาจไม่ได้มีผลมาจากเรื่องของ อาชญากรรมเพียงอย่างเดียว แต่ ผู้ใช้งานอาจรู้สึกถึงเรื่องของแสงสว่างที่มีไม่เพียงพอ หรือ รู้สึกว่าการมองเห็นภายในสภาพแวดล้อม นั้นมี การถูกปิดบังรวมถึงการเกิดมุมอับสายตา สตีเฟรนท์ และคณะ (Stephen, et al., 1991) และ คาสแซนดรา (Cassandra, 2010) กล่าวว่า สภาพ แวดล้อมทางกายภาพภายนอกอาคารที่มีแสงสว่าง ที่ไม่ดีจะส่งผลทาให้เกิดพฤติกรรมของผู้ใช้งานในการหลีกเลี่ยง และ การสัญจรที่มีความลา บาก เพิ่มขึ้น ซึ่งยังพบอีกว่าสภาพแวดล้อมที่มีแสงสว่างที่ไม่ดีจะมีการจาจดและพูดถึงบ่อยจากผู้ที่เคยเข้า มาใช้งานโดยผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นจะ เป็นการสร้างทัศนะคติด้านลบแก่พื้นที่ได้ ซึ่งงานวิจัยของ (Laura, et al., 1995) ที่ศึกษาปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทางกายภายนอกอาคาร พบ ว่า การลดพื้นที่ การเกิดอาชญากรรม และ การสร้างสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารให้เป็นพื้นที่เปิดนั้นไม่ได้มี ความสาคัญเท่ากับปัจจัยด้าน แสงสว่างที่อยู่ในสภาพแวดล้อมภายนอกอาคาร ซึ่งแสงสว่างนั้นจะส่งผล ต่อทัศนะคติด้านบวก โดยเป็นการแสดงให้เห็นถึงการรับรู้ถึงความรู้สึก ปลอดภัยและส่งผลโดยตรงต่อ ความรู้สึกปลอดภัยของผู้ใช้งาน
เจมส์ (James, 2010) พบว่า ในช่วงเวลากลางคืนก่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยน้อยกว่า ช่วงเวลากลางวัน ผลที่เกิดจากแสงสว่างที่ไม่เพียงพอ ทาให้พื้นที่โดยส่วนใหญ่มีความมืดและเกิดเงา จานวนมากที่มาจากโครงสร้างของอาคารและต้นไม้หรือพุ่มไม้โดยรอบบริเวณของพื้นที่ และจาก ปัญหาที่เกิดขึ้น เจมส์ ได้เสนอแนะว่าถ้ามีการเพิ่มจานวนของค่าความสว่างจะช่วยทาให้พื้นที่หรือ บริเวณสถานที่นั้นมีความสว่างที่สูงขึ้นซึ่งจะเป็น ผลดีต่อการใช้สัญจรผ่านของผู้เข้ามาใช้งาน ซึ่งใน การศึกษาวิธีการเก็บข้อมูลในงานวิจัยของ (Mary, 2005; James, 2010 & Cassandra, 2010) เป็น การทาวิจัยเชิงสารวจโดยให้กลุ่มตัวอย่างทาเครื่องหมายวงกลม ลงบนแผนที่ของสถานที่ทาการศึกษา เพื่อให้เลือกว่าพื้นที่ใดที่มีความรู้สึก ว่าไม่ปลอดภัยมากที่สุดและเพราะเหตุใด มีปัจจัยอะไรที่ทาให้ พื้นที่นั้นรู้สึกไม่ปลอดภัยโดยทั้ง 3 งานวิจัยเลือกทาการศึกษานั้นเป็นพื้นที่ภายนอก อาคารภายใน มหาวิทยาลัยเช่นเดียวกัน ซึ่งปัจจัยที่กล่าวมานั้นจะเป็นเพียงการศึกษาแต่ในส่วนของภายนอกอาคาร เท่านั้น โดยมีกลุ่มนักวิจัยที่ทา การศึกษาเพื่อหาถึงปัจจัยทางสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่เกี่ยวข้อง กับความปลอดภัยของผู้ใช้งานภายในอาคาร (Caren & Denise, 2006; Ambreen, et al., 2012 & Dana, 2012) พบว่า ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่ส่งผลต่อความปลอดภัยและสุขภาพ ของผู้ใช้งานมีการ กาหนดตัวแปรที่ใช้ในการชี้วัดดังนี้ เฟอร์นิเจอร์ (ความยืดหยุ่น ลักษณะทาง กายภาพ ความสะดวกสบาย) เสียง (ความเงียบ เสียงรบกวนรอบ ข้าง) อุณหภูมิ (อุณหภูมิภายใน อาคาร ความชื้น ความร้อน การควบคุมของเครื่องปรับอาคาร) แสงสว่าง(แสงสว่างภายในอาคาร การควบคุม แสงสว่าง แสงธรรมชาติ ช่องเปิดของหน้าต่าง) ปัจจัยอื่นๆภายในอาคาร (อุปกรณ์ เครื่องมือ พื้นที่ภายในอาคาร การเป็นพื้นที่เปิด การเป็นพื้นที่ อเนกประสงค์) การเข้าใช้งานภายใน อาคาร (การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการเข้าใช้งาน การสร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่มีส่งผล ต่อ ทัศนะคติที่ดีและรู้สึกเป็นมิตร) ซึ่ง (Caren & Denise, 2006 & Dana, 2012) กาหนดตัวแปรใน การศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ในสภาพแวดล้อมได้แก่ ระบบรักษาความปลอดภัย คุณภาพอากาศภายใน สภาพแวดล้อมของอาคาร งานระบบส่วนต่างๆของอาคาร ได้แก่ ระบบวิศวกรรม ระบบไฟฟ้า ระบบ ประปา ระบบโครงสร้างของอาคาร สามารถในการเข้าถึงพื้นที่อุปสรรค์และข้อจากัดในการออกแบบที่ ส่งผลต่อการใช้งานในพื้นที่
TARGET GROUP
TARG
กลุ่มบุคคลทั่วไป ที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นถึงวัยกลางคน เนื่องจากช่วงวัยมีผลต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ความกลัว ใน เด็ ก ที่ อ ายุ ต่ำ � กว่ า ช่ ว งวั ย ที่ กำ � หนดนั้ น หากไม่ ไ ด้ รั บ การแนะนำ � ที่ เหมาะสมอาจส่งผลให้เกิดความบิดเบี้ยวทางอารมณ์ ในกลุ่มผู้สูง อายุนั้นอาจจะส่งผลในด้านสุขภาพ
PROGRAMMING
PROGRAMMING
3
CONCEPTUAL DESIGN
“ INSECURE ” โครงการนี้ออกแบบโดยใช้แนวคิด ความรู้สึกไม่ปลอดภัย โดยต้องการใช้ผู้เข้าชมเกิดความรู้สึกสับสน ความไม่ชัดเจน ความไม่คุ้นเคย สร้างความรู้สึกด้านลบให้แก่ผู้เข้าชมเผื่อให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสความ รู้สึกเชิงลบ
THEORY
ระดับของความส่องสว่าง ผังพื้น ระดับการมองเห็น โทนสี ระดับความสูงของฝ้าเพดาน จำ�นวนช่องเปิดประตู/หน้าต่าง ลักษณะของบันได จำ�นวนของผู้ใช้งานภายในอาคาร
MOOD AND TONE
B R A N D I N G
S O U V E N I R
4
1st FLOOR
CAFE
CAFE
Achluophobia
Catoptrophobia
Acrophobia
Acrophobia
2nd FLOOR
Zoophobia
Trypophobia
Claustrophobia
Claustrophobia
3rd FLOOR
Thanatophobia
Thanatophobia
ALL
ALL
5
ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ โครงการออกแบบภายในพิพิธภัณฑ์ความกลัว มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับความกลัว ความกลัวที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรม เพื่อนำ�มาใช้ในการออกแบบพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้ผู้คนได้เข้า มาเรียนรู้และศึกษาความกลัวในรูปแบบต่างๆ โดยถ่ายทอดให้เห็นถึงความกลัวในมุมมองของคนที่ กลัวต่อสิ่งเหล่านี้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เข้าใจ ตระหนักถึงปัญหาและความกลัวของตนเองและผู้อื่น ทำ�ความเข้าใจ ตั้งคำ�ถามเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการหาสาเหตุของความและเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้าง ความกล้าในการเผชิญหน้ากับความกลัวต่างๆในอนาคต
ข้อเสนอแนะสำ�หรับโครงการจากคณะกรรมการเป็นในเรื่องของการออกแบบที่ยังสื่อถึงอารมณ์และ ความตระหนักรู้ การเรียนรู้ในความกลัวไม่มากพอ ตัวโครงการยังสื่อถึงอารมณ์ทางลบไม่พอควร พัฒนาให้เข้าถึงง่ายขึ้นและมีการออกแบบที่น่าสนใจมากขึ้น
บรรณานุกรม
ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ส่งผลต่อความรู้สึกปลอดภัย ในการเข้าใช้งานภายในอาคารสถาน ศึกษา(2557). ศาสตรา ศรีวะรมย์. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภายใน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ความกลัว:เร่ืองท่ไีม่น่ากลัว. สุธีรา นิมติ รนิวัฒน์. ศิลปศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 13 โรคกลัว Phobias. วิธัญญา วัณโณ (2551). วารสาร มฉก.วิชาการ 64 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เกษม ตันติผลาชีวะ. (2532) “โรคกลัว” ใกล้หมอ. 13 (9) หน้า 47-48. ชัยพร วิชชาวุธ. (2525) มูลสารจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ้างอิง จาก Hall, C.S. (1951) “The Genetics of Behavior” In Handbook of Experimental Psychology. Stevens, S.S. New York : Wiley. สมภพ เรืองตระกูล . (2545) ตําราจิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งท่ี 7. กรงุ เทพมหานคร : เรือนแก้วการพิมพ์. Barlow, D.H. and Durand, V.M. (2001) Abnormal Psychology : An Integrative Approach. 2nd ed. CA : Wadsworth/Thomson Learning. Bootzin, R.R. and Acocella, J.R. (1988) Abnormal Psychology : Current Perspectives. New York : McGraw-Hill. Carducci, B.J. (1998) The Psychology of Personality. CA : Brooks/Cole. Huffman, K. (2006) Living Psychology. New Jersey : John Wiley & Sons. Pastorino, E. and Doyle-Portillo, S. (2006) What is Psychology?. CA : Wadsworth/ Thomson Learning. Smith, E.E., Bem, D.J. and Nolen-Hoeksema, S. (2001) Fundamentals of Psychology. Fort Worth : Harcourt College Publishers.
ชื่อ - สกุล
นางสาว มณีตะวัน แก้วผาบ
รหัสนักศึกษา
6103158
การศึกษา
นักศึกษาชั้นปีที่4 สาขาออกแบบภายใน วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
ปีการศึกษา
2561 - 2565
การติดต่อ
Maneetawan.k61@rsu.ac.th 092-2609695