โครงการออกแบบภายในโรงแรมที่สะท้อนศิลปะล้านนาร่วมสมัย
นางสาว อารยา ลิขิตแสนภู
ศิลปนิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบภายใน วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2564
โครงการออกแบบภายในโรงแรมที่สะท้อนศิลปะล้านนาร่วมสมัย
นางสาว อารยา ลิขิตแสนภู
ศิลปนิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบภายใน วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2564
ก
สาขาวิชาออกแบบภายใน วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต อนุมัติให้นับศิลปนิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบภายใน ................…………………………………. คณบดีวิทยาลัยการออกแบบ (รองศาสตราจารย์ พิศประไพ สาระศาลิน) คณะกรรมการศิลปนิพนธ์
................…………………………………. ประธานกรรมการ (อาจารย์ วริศว์ สินสืบผล) ................…………………………………. กรรมการ (อาจารย์ ถวัลย์ วงษ์สวรรค์) ................…………………………………. กรรมการ (อาจารย์ อรรถกฤษณ์ อุทัยกาญจน์) ................…………………………………. กรรมการ (อาจารย์ บัณฑิต เนียมทรัพย์) ................…………………………………. กรรมการ (อาจารย์ เรวัฒน์ ชำนาญ) ................…………………………………. กรรมการ (อาจารย์ ณัฐพงศ์ ศรีปุงวิวัฒน์) ................…………………………………. กรรมการ (อาจารย์ กาลัญญู สิปิยารักษ์) ................…………………………………. กรรมการ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไพลิน โภคทวี)
อาจารย์ที่ปรึกษาศิลปนิพนธ์ ................…………………………………. (อาจารย์ ณัฐพงศ์ ศรีปุงวิวัฒน์)
ข
หัวข้อศิลปนิพนธ์
โครงการออกแบบภายในโรงแรมที่สะท้อนศิลปะล้านนาร่วมสมัย
ชื่อนักศึกษา
นางสาว อารยา ลิขิตแสนภู
สาขาวิชา
ออกแบบภายใน
อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ ณัฐพงศ์ ศรีปุงวิวัฒน์
ปีการศึกษา
2564
บทคัดย่อ
ล้านนาเป็นอาณาจักรในอดีตที่กินพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
ได้แก่
จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน ซึ่งวิถีการ ดำเนินชีวิตของผู้คนที่อยู่อาศัยในพื้นที่แห่งนี้ มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม อาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม และประเพณี ความเชื่อต่างๆ
ทั้งนี้ผู้วิจัยเกิดและเติบโตขึ้นในจังหวัดเชียงราย ได้ซึมซับสิ่งเหล่านี้มาตั้งแต่เด็ก แต่ก็ เป็นแค่การรับรู้แบบผิวเผิน จึงได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง และนำความรู้ที่ได้ มาพัฒนาสู่งานออกแบบภายใน โดยผู้วิจัยได้หยิบยกเอาองค์ประกอบที่น่าสนใจในงาน หัตถกรรมและสถาปัตยกรรมล้านนา มาใช้สร้างความสวยงาม โดดเด่นให้กับเนื้องาน และยังเป็นการเผยแพร่และอนุรักษ์ไว้ซึ่งสิ่งดีงามอีกด้วย
ข
TITLE
THE HOTEL INTERIOR DESIGN PROJECT WHICH INSPIRATION FROM CONTEMPORARY LANNA ART.
NAME
MISS ARAYA LIKHITSAENPHU
DEPARTMENT
INTERIOR DESIGN
ADVISOR
AJARN NUTTAPONG SRIPUNGWIWAT
ACADEMIC YEAR
2564
ABSTRACT
Lanna was a former kingdom that occupied the upper northern region of Thailand, namely Chiang Rai, Chiang Mai, Lamphun, Lampang, Phayao, Phrae, Nan and Mae Hong Son. The way of life of the people in this area is unique and interesting, such as architecture, art, food, clothing, traditions and beliefs.
The researcher was born and raised in Chiang Rai Province. Therefore, I have absorbed these things since childhood, but it's just a superficial perception. So, I have seriously studied about it. And took the information to develop into an interior design project. The researcher took interesting elements in Lanna handicrafts and architecture to create beauty and uniqueness of the project. Furthermore, to disseminate and preserve contemporary Lanna art as well.
ค
กิตติกรรมประกาศ
ศิลปะนิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ด้วยความช่วยเหลือและชี้แนะอย่าง ดียิ่งจากอาจารย์ ณัฐพงศ์ ศรีปุงวิวัฒน์ อาจารย์ที่ปรึกษาศิลปนิพนธ์ ที่คอยแนะนำให้ คำปรึกษาในทุกๆส่วนของการทำโครงการนี้
และคอยให้กำลังใจ รวมถึงคณะกรรม
การศิลปนิพนธ์ทุกท่าน ที่ให้คำแนะนำและข้อคิดเห็นต่างๆในการทำศิลปนิพนธ์ จึงขอ ขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านไว้ ณ ที่นี้
ขอขอบคุณทาง A Hotel Budget ที่เอื้อเฟื้ อแปลนและการเข้าไปเก็บภาพสถาน ที่ เพื่อใช้เป็นสถานที่ตั้งโครงการในการทำศิลปนิพนธ์ในครั้งนี้
สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณบิดา มารดา ครอบครัว ที่สนับสนุนทุนทรัพย์ในการศึกษา รวมถึงเพื่อนๆ พี่น้องทุกคนที่ไม่ได้เอ่ยนาม สนับสนุนและให้กำลังใจจนสำเร็จลุล่วงได้ ด้วยดี ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้
นางสาวอารยา ลิขิตแสนภู
ง
สารบัญ หน้า หน้ากรรมการอนุมัติ
ก
บทคัดย่อ
ข
กิตติกรรมประกาศ
ค
สารบัญ
ง
บทที่ 1
ที่มาของโครงการ
2
วัตถุประสงค์
3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขตการศึกษา ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
4
บทที่ 2 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและรายละเอียดประกอบโครงการ ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรล้านนา
6
อำเภอ เชียงแสน
7
วัดป่าสัก
10
ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงราย
11
งานหัตกรรมล้านนา
12
เครื่องเขิน ตุง
14
โคม
17
ร่มบ่อสร้าง
23
ลวดลายที่พบในงานหัตถกรรมล้านนา
25
สถาปัตยกรรมล้านนา เรือนชนบท
26
เรือนไม้
27
เรือนกาแล
28
ง
สารบัญ หน้า บทที่ 3 ทฤษฎีและแนวทางในการออกแบบ สถานที่ตั้งโครงการ
33
การวิเคราะห์สถานที่ตั้งโครงการ
34
กลุ่มเป้าหมาย
35
แผนผังองค์กรเพื่อวิเคราะห์พื้นที่ใช้สอยของคนในองค์กร
36
กิจกรรมต่างๆ ภายในโครงการ
37
กรณีศึกษา แนวคิดการออกแบบ
38
วัสดุ บทที่ 4 ผลงานการออกแบบ แบบแปลนเดิมของโครงการ
40
การจัดโซนพื้นที่โครงการ
42
ประเภทของห้องพัก
46
แบบแปลนใหม่ของโครงการ
49
การออกแบบภายใน
51
บทที่ 5 บทสรุป
68
บรรณานุกรม
70
ประวัติผู้วิจัย
75
1
บทที่ 1
2
ที่มาของโครงการ
ล้านนาเป็นอาณาจักรที่สถาปนาโดย พญามังรายมหาราช ในปี พ.ศ. ๑๘๓๙ ตั้งอยู่ บริเวณพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
กินพื้นที่ขึ้นไปถึงรัฐฉานประเทศพม่า
ส่วนหนึ่งของยูนนานใต้ประเทศจีน และส่วนหนึ่งของประเทศลาวตอนเหนือ
ปัจจุบันนี้บริเวณที่ในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา ที่ยังหลงเหลืออยู่ใน ประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน และ แม่ฮ่องสอน
ซึ่งวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนที่อยู่อาศัยในพื้นที่นี้ มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่น่า สนใจ ไม่ว่าจะเป็น สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม อาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม และ ประเพณีความเชื่อต่างๆ
ทั้งนี้ผู้ดำเนินโครงการเกิดและเติบโตขึ้นในจังหวัดเชียงราย
ได้ซึมซับศิลปะและวัฒนธรรมล้านนา
จึงต้องการศึกษาแล้วนำข้อมูลมาพัฒนาสู่งาน
ออกแบบภายใน ในรูปแบบการตีความใหม่ เพื่อเป็นการเผยแพร่และอนุรักษ์ไว้ซึ่งสิ่งดี งาม เชียงราย
แม่ฮ่องสอน
พะเยา เชียงใหม่
น่าน ลำปาง
ลำพูน แพร่
บทที่ 1
3
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปกรรมล้านนาและสถาปัตยกรรมล้านนา
แล้วนำข้อมูลที่ได้มา
ปรับปรุงที่พัก(โรงแรม)ให้ดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ได้รับความรู้เกี่ยวกับศิลปกรรมล้านนาและสถาปัตยกรรมล้านนา และได้ช่วยส่งเสริม อุตสาหกรรมท่องเที่ยวท้องถิ่น
ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาประวัติศาสตร์ของอาณาจักรล้านนา ศึกษาประวัติศาสตร์ของที่ตั้งโครงการ (อำเภอ เชียงแสน) ศึกษาสถานที่สำคัญในเขตที่ตั้งโครงการ (อำเภอ เชียงแสน) ศึกษาเกี่ยวกับลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงราย ศึกษางานหัตกรรมล้านนา เครื่องเขิน ตุง โคม ร่มบ่อสร้าง ศึกษาลวดลายที่พบในงานหัตถกรรมล้านนา ศึกษาสถาปัตยกรรมล้านนา เรือนชนบท เรือนไม้ เรือนกาแล
บทที่ 1
4
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
รายละเอียดการทำงาน
เลือกหัวข้อที่สนใจ เลือก อาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความรู้ ความเข้าใจในหัวข้อที่เรา เลือกทำ
ศึกษาข้อมูลที่จะนำมาใช้ใน งานออกแบบ
หาสถานที่ตั้งโครงการ ขอ แปลน และติดต่อขอเข้าไป ถ่ายภาพสถานที่
ทำ programming และวาง แปลนคร่าวๆ
พัฒนาแปลน
ออกแบบภายใน ทำภาพ perspective
พัฒนางานออกแบบภายใน ทำภาพ perspective
นำเสนอผลงาน
ส.ค.
ก.ย.
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
2
บทที่ 2
6
ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรล้านนาโดยสังเขป
ล้านนายุคต้น (พ.ศ.1839-1898) พญามังรายแห่งหิรัญนครเงินยางเชียงลาว ตีรวบเมืองเล็กขยายอำนาจลงมาทางด้าน ใต้ ได้รวบรวมเมืองเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา
ล้านนายุครุ่งเรือง (พ.ศ.1898-2068) สมัยพระเจ้าติโลกราช เป็นยุคทองแห่งล้าน นา อาณาจักรแผ่ขยาย มีการสังคายนาพระ ไตรปิฎกเป็นครั้งที่ 8 ของโลก
ล้านนาภายใต้การปกครองของพม่า (พ.ศ.2068-2101) ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ในพ.ศ. 2101 เมือง เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครองของ กษัตริย์พม่า
ล้านนากับการเป็นส่วนหนึ่งของ อาณาจักรสยาม (พ.ศ. 2317 – 2427)
เชียงราย
แม่ฮ่องสอน
พะเยา เชียงใหม่
น่าน ลำปาง
ลำพูน แพร่
สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เชียงใหม่เป็น เมืองประเทศราช (เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน)
บทที่ 2
7
อำเภอ เชียงแสน
เชียงแสน เคยเป็นศูนย์กลางอาณาจักรล้านนาในยุคแรก ๆ และเป็นเมืองเก่าแก่มาก แห่งหนึ่งในภาคเหนือ เดิมชื่อเวียงหิรัญนครเงินยาง แม้ปัจจุบันยังมีซากกำแพงเมือง โบราณ 2 ชั้น และโบราณสถานหลายแห่ง ปรากฏอยู่ในทั้งในและนอกตัวเมือง ภายใน เขตกำแพงเมืองเก่าประกอบด้วยวัดร้างและโบราณสถานที่สร้างในระหว่างพุทธ ศตวรรษที่ 18-21 สลับกับบ้านเรือนชาวบ้าน
พื้นที่ราบลุ่มเชียงแสนและบริเวณข้างเคียงเคยมีมนุษย์อยู่อาศัยมานานตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์
เมื่อครั้งมนุษย์ยังดำรงชีวิตอยู่ในสังคมล่าสัตว์ต่อเนื่องถึงสังคม
เกษตรกรรมหรือราว 15,000 - 3,000 ปีมาแล้ว
ราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 ผู้คนอยู่อาศัยในพื้นที่นี้เริ่มรวมตัวกันหนาแน่นขึ้น ก่อตั้งขึ้น เป็นชุมชนเมืองบนที่ลาดเนินเขาหรือที่ดอนริมฝั่ งแม่น้ำโขงล่วงมาถึงปลายพุทธ ศตวรรษที่ 17 พญาแสนภูกษัตริย์ ราชวงศ์มังรายทรงสร้างเมืองเชียงแสนขึ้นในบริเวณ ริมฝั่ งแม่น้ำโขงของแคว้นโยนก อันเป็นถิ่นฐานดั้งเดิมแห่งบรรพบุรุษของพระองค์
ในปี พ.ศ.1871 เมืองเชียงแสนในระยะแรกมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรล้าน นากษัตริย์ราชวงค์มังรายหลายพระองค์ อาทิ พญาผายู พญาคำพู และพญากือนา ต่างเสด็จมาครองเมืองเชียงแสนก่อนที่จะเสด็จเสวยราชสมบัติ ณ เมืองเชียงใหม่
หลังจากต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ลงมาจนกระทั่งอาณาจักรล้านนาถูกพม่ายึดครอง ในปี พ.ศ.2101
ฐานะของเมืองเชียงแสนก็ถูกลดเป็นเพียงเมืองสำคัญทางศาสนาและเมือง
บริวารของอาณาจักร เมืองแทนพระราชโอรส
กษัตริย์ล้านนามักจะจัดส่งเชื้อพระวงค์และขุนนางมาปกครอง
บทที่ 2
8
อำเภอ เชียงแสน
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 เมืองเชียงแสนกลายเป็นเมือง สำคัญทางยุทธศาสตร์ที่ควบคุมพื้นที่ทางตอนบนของหัวเมืองฝ่ายเหนือ กษัตริย์พม่าได้ ส่งกำลังเข้ายึดเมืองไว้
ล่วงมาในปี พ.ศ.2347 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงโปรดเกล้า ให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ และพระยา ยมราชยกกองทัพมาขับไล่ชาวพม่าออกจากเมืองเชียงแสนได้สำเร็จ
แล้วต่อมาในปี
พ.ศ.2424 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าอินต๊ะ บุตรเจ้าบุญมา เจ้าผู้ครองนครลำพูน นำราษฎรเมืองลำพูน เชียงใหม่ และ ลำปาง ขึ้นมาตั้งถิ่นฐาน ณ เมืองเชียงแสนและพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราช เดช ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงแสนเมื่อปี พ.ศ.2438
ท้ายที่สุดเมืองเชียงแสนถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอเชียงแสนหลวงในปี พ.ศ.2442 และได้ยก ฐานะเป็นอำเภอเชียงแสน ขึ้นกับจังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2500
บทที่ 2
9
อำเภอ เชียงแสน
ปัจจุบันเมืองเชียงแสนยังคงมีกำแพงคูเมืองล้อมรอบ
ยกเว้นทิศตะวันออกที่ใช้แม้น้ำ
โขงเป็นคูเมืองธรรมชาติ ประตูเมืองแต่ละด้านมีป้อมรูปโค้งครึ่งวงกลม พื้นที่ภายใน เมืองเฉลี่ย 2.26 ตร.กม.
บทที่ 2
10
วัดป่าสัก
วัดป่าสักเป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกนอกกำแพงเมืองเชียงแสน สร้างขึ้นโดย พญาแสนภูและราชบุตร เมื่อประมาณปี พ.ศ.1930 เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุกระดูกตาตุ่มข้างขวา
และเล็บมือข้างซ้ายของพระพุทธเจ้าจากเมืองลังกา
ซึ่งพระพุทธโฆษาจารย์นำมาถวายและโปรดฯ ให้ปลูกต้นสักล้อมรอบวัด จำนวน 300 ต้น จึงได้ชื่อว่าวัดป่าสัก ทรงตั้งให้พุทธโฆษาจารย์เป็นสังฆราช สถิต ณ พระอารามนี้
โดยเจดีย์วัดป่าสักเป็นเจดีย์ทรงปราสาท 5 ยอด ฐานกว้าง 8 เมตร สูง 12.5 เมตร มี การประดับลวดลายปูนปั้ นรอบองค์เจดีย์เป็นลวดลายฝีมือช่างชั้นครู ตามแบบอย่างของศิลปะสกุลช่างเชียงแสน
ประณีตงดงาม
บทที่ 2
ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงราย : เชียงแสนหงส์ดำ
เชียงแสนหงส์ดำ เป็นหนึ่งในลายผ้าเก่าแก่ของอาณาจักรล้านนาที่มีอายุกว่า 180 ปี โดยสำนักงานวัฒธรรม จ.เชียงราย ได้ร่วมกับศิลปิน นักออกแบบ มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงรายได้ทำการศึกษาค้นคว้าลายผ้าทั้งหมด แล้วได้เลือกให้ “ลายเชียงแสน หงส์ดำ” เป็นลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565
11
บทที่ 2
12
งานหัตกรรมล้านนา : เครื่องเขิน
คำว่า “เครื่องเขิน” หมายถึงภาชนะ เครื่องมือ หรือของใช้ ที่ผลิตขึ้นโดยชาวเชียงใหม่ ที่ มีเชื้อสายสืบมาจากชาวไทเขินแต่โบราณ
คำนี้น่าจะบัญญัติขึ้นโดยคนไทยภาคกลาง
หรือข้าราชการจากส่วนกลางที่ขึ้นมาอยู่ในภาคเหนือเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว เพราะ ว่าคำนี้มิได้ปรากฎอยู่ในภาษาพื้นถิ่นของชาวเชียงใหม่
ซึ่งชาวเชียงใหม่แต่เดิมมิได้มี
ศัพท์เรียกที่จำกัดความเฉพาะเช่นนี้มาก่อน ชาวเชียงใหม่เรียกชื่อภาชนะของใช้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานช่างฝีมือประเภทใด หรือเทคนิคการผลิต
ตามลักษณะการใช้งานมากกว่าการระบุถึงวัสดุ
แม้บางครั้งอาจกล่าวถึงบ้างถ้าวัสดุนั้นเป็นของมีค่า
เช่น
ขัน
เงิน(พานทรงสูงตีจากเนื้อเงินบริสุทธ์) หรือ แอ็บหมากคำ (ตลับใส่หมากตกแต่งด้วย โลหะทองคำ)
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าภาชนะของใช้ในอดีตเป็นจำนวนมาก
ผลิตด้วย
เทคนิคและวัสดุพื้นถิ่น ซึ่งถือว่าเป็นของธรรมดาๆ ไม่มีอะไรพิเศษ หรือมีราคาค่างวด มากมาย จึงไม่มีการใช้ศัพท์จำเพาะให้ชัดเจน ที่ใกล้เคียงกับการเป็นศัพท์จำเพาะมาก ที่สุดจะเรียกวลีว่า “คัวฮักคัวหาง” สำหรับสิ่งของที่เรารู้จักในปัจจุบันว่าเป็นเครื่องเขิน
เครื่องเขินในความคิดและความเข้าใจของคนทั่วไปในปัจจุบัน ของตกแต่งบ้าน
คือภาชนะของใช้หรือ
ที่มีโครงภายในเป็นเครื่องจักสานทำจากวัสดุไม้ไผ่หวายหรือไม้จริง
ภายนอกเคลือบทาด้วยยางจากต้นไม้รักที่มีลักษณะเป็นสีดำเพื่อให้เกิดความคงทน
มี
คุณสมบัติที่กันน้ำและความชื้นได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความสวยงามให้แก่ ผิวของภาชนะด้วย ลักษณะที่มันเงาหรือบางทีปรับเป็นพื้นผิวลักษณะต่างๆ ทำให้น่า สนใจ
บทที่ 2
13
งานหัตกรรมล้านนา : เครื่องเขิน
ในอดีต เครื่องเขินที่เป็นของใช้ในครัวเรือนทั่วๆไป นิยมออกแบบให้มีลักษณะแข็งแรง ทนทาน
แต่มีน้ำหนักเบา
ชาวล้านนาแต่เดิมมีที่อยู่อาศัยเป็นเรือนเครื่องผูก
ประกอบและโครงสร้างเป็นไม้ไผ่เสียส่วนใหญ่
มีส่วน
ดังนั้นในวัฒนธรรมการกินอยู่จึงไม่มี
เฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือนที่ใหญ่และหนักเทอะทะ
คุณสมบัติสำคัญของเครื่องเขิน คือ มีน้ำหนักเบา ยืดหยุ่นบิดตัวได้บ้าง ไม่แตกหักเสีย หายอย่างทันทีทันใดเช่นเครื่องปั้ นดินเผา
วัสดุการผลิตเป็นสิ่งที่เสาะหาได้ง่ายโดย
ทั่วไปในท้องถิ่นและเทคนิคประกอบกับการตกแต่งไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป
บทที่ 2
14
งานหัตกรรมล้านนา : ตุง
ตุงล้านนา ซึ่งคำว่า ตุง เป็นภาษาถิ่นประจำภาคเหนือ แปลว่าธงที่ใช้สำหรับแขวนแบบ หนึ่งในศิลปะล้านนา สามารถพบเห็นได้ในภาคเหนือของประเทศไทย โดยคนทางภาค เหนือ จะนำตุงมาใช้เป็นเครื่องประดับ หรือประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทั้งทางศาสนา ประเพณี งานเทศกาล หรืองานเฉลิมฉลองต่างๆ วัตถุที่นำมาทำตุงในล้านนามีหลาก หลายรูปแบบ ลักษณะที่แผ่นวัตถุทำจากผ้า กระดาษ ไม้ โลหะ ทองเหลือง หรือใบลาน โดยนำไม้ส่วนปลายแขวนห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา ตามคติความเชื่อของคนล้านนาเกี่ยว กับตุงที่ทำขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา อวมงคล
ใช้ในงานพิธีทางศาสนา
ทั้งในงานมงคลและ
โดยมีขนาดรูปทรงและรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้าง
ตามความเชื่อ
พิธีกรรม ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น อย่างไรก็ดีคนล้านนามีความเชื่อว่า การถวาย หรือทานตุงนั้นจะได้รับผลบุญและอานิสงค์
เพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขเป็นอย่าง
มาก หรือบางตำรามีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า เมื่อตายไปจะได้ขึ้นสวรรค์หรือเมื่อตก นรกชายตุงจะแกว่งฉุดวิญญาณขึ้นมาจากนรกให้ขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์
ส่วนประเภทของตุงล้านนา มีมากมายหลากหลายประเภทด้วยกัน แต่ที่จะกล่าวถึงใน บทความนี้ จะเป็นตุงล้านนาเป็นที่นิยมในปัจจุบันที่ใช้ประกอบในงานพิธีมงคลเท่านั้น
๑. ตุง ๑๒ ราศี หรือตุง ๑๒ นักษัตร จะใช้ในงานช่วงปีใหม่ หรือที่ชาวล้านนาเรียกว่า ตุงปี๋ ใหม่เมือง ใช้ถวายเป็นพุทธบูชาพร้อมกับเจดีย์ทรายในประเพณีปีใหม่เมือง วัสดุที่ ทำผืนตุงส่วนใหญ่มักจะทำด้วยกระดาษว่าว หรือกระดาษสา มีหลากหลายสีบางคน เลือกสีตามวันเกิด แต่ที่สำคัญจะมีรูป ๑๒ นักษัตร บนผืนตุงทั้งสองด้านเหมือนกันหมด เพื่อสะเดาะเคราะห์ให้เป็นสิริมงคลกับตนเอง
บทที่ 2
15
งานหัตกรรมล้านนา : ตุง
๑. ตุง ๑๒ ราศี หรือตุง ๑๒ นักษัตร จะใช้ในงานช่วงปีใหม่ หรือที่ชาวล้านนาเรียกว่า ตุงปี๋ ใหม่เมือง ใช้ถวายเป็นพุทธบูชาพร้อมกับเจดีย์ทรายในประเพณีปีใหม่เมือง วัสดุที่ ทำผืนตุงส่วนใหญ่มักจะทำด้วยกระดาษว่าว หรือกระดาษสา มีหลากหลายสีบางคน เลือกสีตามวันเกิด แต่ที่สำคัญจะมีรูป ๑๒ นักษัตร บนผืนตุงทั้งสองด้านเหมือนกันหมด เพื่อสะเดาะเคราะห์ให้เป็นสิริมงคลกับตนเอง
๒. ตุงดอกบ้อง หรือตุงไส้หมู ใช้ถวายเป็นพุทธบูชาพร้อมกับเจดีย์ทรายในประเพณีปี ใหม่เมือง เช่นเดียวกับตุง ๑๒ ราศี หรือ ตุง ๑๒ นักษัตร หรือใช้ประดับตกแต่งงานพิธี บุญต่าง ๆ วัสดุที่ทำผืนตุงส่วนใหญ่มักจะทำด้วยกระดาษว่าว หรือกระดาษสา มักทำ เป็นพวงประดิษฐ์รูปร่างคล้ายจอมแหหรือปรางค์ตัดเป็นรูปลวดลายสวยงาม
๓.
ตุงทราย
ใช้ถวายเป็นพุทธบูชาที่ใช้ปักเจดีย์ทรายช่วงในประเพณีปีใหม่เมือง
มี
หลากหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่ทำเป็นรูปเทวดา โดยจุดมุ่งหมายก็เพื่อทำบุญถวายเทพ เทวดาที่รักษาดูแลรักษาตัวเรา และขอขมาสิ่งที่ได้ล่วงเกินในปีที่ผ่านมา และนำไปไป ปักบนเจดีย์ทรายพร้อมกับตุงอื่นๆ เช่น ตุงช่อน้อย ซึ่งเมื่อโดนลมก็จะปลิวไสวสวยงาม อยู่บนเจดีย์ทราย
บทที่ 2
16
งานหัตกรรมล้านนา : ตุง
๔. ตุงช่อน้อย หรือตุงจ้อน้อย ใช้ถวายเป็นพุทธบูชาในงานปอยหลวง งานกฐิน หรือพิธี สืบชะตา วัสดุที่ทำผืนตุงทำด้วยกระดาษสีต่าง ๆ มักเป็นกระดาษสา กระดาษว่าว และ ตัดให้มีลายต่าง ๆ ได้ตามใจ เพื่อเพิ่มความสวยงามของตุง ส่วนมากมีลักษณะเป็นรูป สามเหลี่ยมขนาดเล็ก และนิยมตัดขอบตุงเป็นขั้นบันได เปรียบเสมือนการสั่งสมความดี ไปเรื่อยๆ เพื่อก้าวขึ้นสู่สวรรค์ โดยหากมีขนาดใหญ่หน่อยก็เรียกว่า ตุงช่อจ๊าง หรือตุง จ้อช้าง
๕. ตุงไชย หรือตุงไจย เป็นตุงที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการรบของทหาร ในขณะ ที่ทำการรบชนะข้าศึกก็จะทำการปักตุงเพื่อแสดงว่าได้รับชัยชนะจากข้าศึกทำให้เกิด ขวัญและกำลังใจ ซึ่งก็หมายความว่าธงชัย สำหรับในปัจจุบันไม่ได้ทำการรบกันก็จะ นำมาใช้ประกอบงานพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยทำการปักเรียงรายตามสองข้างทางเข้าสู่วัด
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงานบุญกฐิน หรือหน้าพระประธานในวิหารหรือ
โบสถ์ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระพุทธเจ้า เพื่อให้เจ้าของตุงหรือผู้ร่วมถวายได้หลุดพ้น จากวัฏฏะสงสาร หรือการเวียนว่ายตายเกิด เพื่อเข้าสู่พระนิพพาน วัสดุที่ทำผืนตุงส่วน ใหญ่มักจะทอจากเส้นด้าย
เส้นไหม
ลวดลายที่ใช้จะเป็นลวดลายที่เป็นมงคล
หรือผ้าชนิดต่างๆ
จะมีสีเดียวหรือสลับสีกัน
บทที่ 2
17
งานหัตกรรมล้านนา : โคม
โคม เป็นเครื่องกำบังไฟไม่ให้ดับเพื่อถูกลมพัด ภายในจุดเทียนผางประทีป (ผางประทีป เป็นภาชนะดินเหนียวถ้วยเล็กๆใช้มันสัตว์ ด้วยฟั่ น
เช่นขี้ผึ้งหรือน้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิงมีไส้ทำ
ช่วยให้ไฟติดต่อเนื่องเป็นเวลานาน)
ในอดีตเกิดจาการที่ชาวนาไปทำนาใน
ตอนกลางคืนได้จุดเทียนเพื่อให้แสงสว่างในการทำงาน
บางครั้งลมพัดทำให้เทียนดับ
ชาวนาจึงใช้ตระกร้าที่ใส่ของมาครอบเทียนแล้วนำกระดาษมาหุ้มรอบๆไม่ต้องลำบาก ในการจุดเทียนอีก
ต่อมาชาวบ้านได้ประยุกต์มาใช้ในการประดิษฐ์โคมไฟเพื่อใช้
สำหรับบูชาพระพุทธเจ้าในช่วงประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา
โคมถือว่าเป็นของสูงที่แสดงถึงความสว่างรุ่งโรจน์ตามตำนานในคัมภีร์พระธรรม เทศนา อานิสงค์ผางปะติ้ด(ประทีป) ผู้ใดทำโคมไปบูชาในวันเดือนยี่เป็งตามประเพณี ดั้งเดิมจะได้รับผลบุญต่างๆที่ทำให้ชีวิตร่มเย็นเป็นสุข
การทำโคมไฟ ใช้ไม่ไผ่ปล้องยาวเป็นวัสดุขึ้นโครง และหุ้มด้วยกระดาษสา,กระดาษแก้ว หรือผ้ามีการประดับตกแต่งโคมด้วยการตัดลวดลายต่างๆจากกระดาษ สวยงาม
ประเภทของโคม มี 4 ประเภท 1. โคมถือ หรือ โคมหูกระต่าย 2. โคมลอย 3. โคมแขวน 4. โคมผัด
ตะกั่วอย่าง
บทที่ 2
18
งานหัตกรรมล้านนา : โคม
1.โคมถือ หรือ โคมหูกระต่าย หมายถึง โคมที่มีกำบังทำด้วยกระดาษสี มีลักษณะคล้ายหูกระต่าย โคม ถือ หรือ หู กระต่ายจะใช้ในวันเดือนยี่เป็ง ซึ่งพุทธศาสนิกชน จะถือไปเดือนขบวนแห่งาน ลอย กระทง
ข้างในโคมก็จะจุดเทียนไขไว้
เมื่อเดินขบวนเสร็จแล้วก็จะนำไปปักไว้บริเวร
รอบๆ โบสถ์ วิหาร หรือ สถานที่มีงานพิธีกรรม ถ้าหากใช้ในงานสมโภชก็จะทำขึ้นเพื่อ ความสวยงาม
เป็นรูปกลีบบัวปักไว้ข้างเวที
ประดับประดาให้สวยงามขึ้นแล้วเอาไป
บูชาพระประธานในพระวิหาร โคมถือ หรือ โคม หูกระต่าย มี 2 แบบ คือ 1.1.โคมที่มีกำบังทำด้วยกระดาษ สีลักษณะคล้ายหูกระต่าย จะมีด้ามไม้ใช้ในขบวนแห่ เมื่อเสร็จแล้วจะนำโคมไฟไปประดับไว้รอบๆ โบสถ์ วิหาร 1.2.โคมที่มีลักษณะคล้ายกลีบบัว จะมีด้ามไม้ใช้ถือคล้ายๆเป็นก้านดอกบัว เมื่อแห่เสร็จ แล้วจะนำโคม ไปบูชา พระประธานในวิหาร
บทที่ 2
19
งานหัตกรรมล้านนา : โคม
2.โคมลอย หมายถึง
ชื่อเครื่องตามไฟชนิดหนึ่งที่จุดแล้วปล่อยให้ลอยไปในอากาศรูปร่าง
และ
ขนาดของโคมลอย เป็นรูปถุงวงกลมก้นใหญ่ ปากแคบกว้างราว 75 เซนติเมตร ตัวโคม สูงขนาด 1.15-1.50 เมตร ทำด้วยกระดาษว่าว หุ้มเป็นรูปทรงกลม คล้ายลูกฟุตบอล หรือลูกบอล ขนาดใหญ่ ใช้กระดาษว่าวจำนวนมากต่อๆ กันเป็นจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 50 แผ่นขึ้นไป
โคมลอยที่ปล่อยขึ้นไปนั้น ก็เพื่อจะให้ลอยขึ้นไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์อัน เป็นที่บรรจุ พระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีจอ หรือเพื่อบูชาแก่เจ้าผู้ใช้กำเนิดของ ตนบนสวรรค์ ที่เรียกว่า "พ่อเกิดแม่เกิด" สมัยโบราณเมื่อเกิดสงคราม ก็จะใช้โคมช่วย ในการโจมตีข้าศึกพอดี
กับธูปไหม้ลงมาถึงดิน
ไฟที่อยู่ในหม้อก็จะระเบิดขึ้นมาเผา
กระดาษตัวโคมทำให้เป็นลูกไฟ ตกลงมาเผาผลาญบ้านเรือนข้าศึกได้
โคมลอยนอกจากจะใช้ลอยเพื่อบูชาแล้ว ยังนิยมทำและเล่นกันมากในประเพณีเดือนยี่ เป็ง หรือ วันเดือนเพ็ญ จะปล่อยในเวลากลางวัน เพราะอากาศดี ท้องฟ้าโปร่งสามารถ มองเห็น โคมลอยได้ชัดเจน และถือว่าเป็นการ
สะเดาะห์เคราะห์ด้วย ลักษณะของ
โคมลอยที่จะปล่อยขึ้นไป นั้นมักจะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน แต่มักจะเลียนแบบธรรมชาติ ที่มองเห็น เช่น รูปลูกฟัก ลูกแตง รูปทรงกระบอก ทรงกลม ทรงเหลี่ยม กระติ๊บข้าว รังมด แล้วแต่จะช่วยกันคิด ช่วยกันออกแบบตกแต่ง เพื่อให้เกิดความสวยงาม เมื่อนำ กระดาษสามาปะติดปะต่อกันจนเป็นรูปทรง
ตามความพอใจ
แล้วก็จะใช้ควันไฟรม
เข้าไปในโคมลอยนั้น แล้วก็ปล่อยขึ้นไปบนท้องฟ้า ต่อมาก็เพิ่มวิธีการต่างๆ เข้าไป มากกว่าเดิม เช่น การเพิ่มประทัด หรือ ดอกไม้ไฟ พลุสี ควันสี กระดาษเศษสี กระดาษ เงิน กระดาษทอง ตุ๊กตา ร่ม เครื่องร่อนกระดาษ เครื่องบินกระดาษ เป็นต้น เพื่อให้เกิด ความครึกครื้น ตื่นเต้นยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้วัสดุที่นำมาประกอบเพิ่มเติมตกแต่งนั้นจะต้องเบา และที่สำคัญโคมลอยสามารถยกขึ้นไปได้
บทที่ 2
20
งานหัตกรรมล้านนา : โคม
โคมลอยมีลักษณะการปล่อย เป็น 2 อย่าง คือ
2.1.โคมที่จะใช้ปล่อยตอนกลางวันเรียกว่า "ว่าว" จะใช้การรมควันเข้าไปในตัวโคมลอย หรือว่าว เรื่อยๆ จนพอง ตัวมีความดันสูงขึ้นจนดึงมือแล้ว ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า
2.2.โคมลอยใช้ปล่อยตอนกลางคืน มีกรรมวิธีเช่นเดียวกันกับโคมลอยตอนกลางวัน แต่ แตกต่างกันที่เขาใช้ท่อนไม้ พันด้ายก้อนกลมๆ ชุบด้วยน้ำมันยางหรือน้ำมันขึ้โล้จนชุ่ม แล้วทำที่แขวน ติดกับโคมลอยจะสูงขึ้นเรื่อยๆ และลอยไปตามกระแส ลม จะมีลักษณะ เป็นดวงไฟ คล้ายดาวเคลื่อนคล้อยไปในเวหาอันเวิ้งว้างน่าดูยิ่งนัก แต่โคมลอยที่ปล่อย กลางคืนนี้เป็นอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้อื่นมาก บางครั้งผ้าที่ชุบน้ำมันไม่หมดปรากฎ ว่าถ้าตกลงมาก่อนจะไหม้บ้านเรือน หรือบริเวณที่แห้งจัดเกิดไฟไหม้ ดังนั้นโคมลอย ที่ ใช้ปล่อยกลางคืนจึงขาด ความนิยมไป ในปัจจุบันใช้น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงแทน เมื่อ จะปล่อยโคมไฟก็จะรมควันเข้าไปในโคมก่อนจนโคมดึงตัว
และก่อนจะดึงตัวเพื่อจะ
ลอยขึ้นไป ก็จะจุดไฟที่ท่อนไม้ที่ชุบน้ำมันไว้แล้วให้ไฟติดก่อน โดยท่อนไม้นี้จะผูกติด อยู่ที่ปากโคมไฟแล้วปล่อยขึ้นไปในท้องฟ้า โคมไฟก็จะลอยตัวสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ถูกพัดไป ตามกระแสลม และมีแสงไฟลิบๆสวยงาม
บทที่ 2
21
งานหัตกรรมล้านนา : โคม
ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงจากการใช้ไม้พันผ้าชุบน้ำมันยางเป็นการใช้กระดาษ บางๆ ชุบน้ำมันก๊าดตรงกลางโคมแล้วรมควัน ขนาดของโคม ก็มีขนาดเล็กลง ความ กว้างของปากโคม กับตัวโคมจะมีขนาดเท่าๆกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดไฟ ไหม เพราะเชื้อไฟจะไหม้หมดก่อนที่โคมจะตกลงพื้น คำว่า "โคมลอย" นับเป็นประเพณี นิยมอย่างหนึ่งของชาวล้านนา
ครั้นถึงวันเดือนยี่เป็นทุกวัดวาอารามจะมีการปล่อย
โคมลอยกัน การปล่อย โคมจะนิยมปล่อยเฉพาะในวันยี่เป็งเท่านั้น การปล่อยโคมลอย ก็เป็นประเพณี สอง
เนื่องในพิธีการตั้งธรรมของชาวล้านนามีคติในการปล่อยโคมลอยอยู่
ประการคือ
เพื่อเป็นการบูชา
พระพุทธคุณประการหนึ่ง
และเพื่อเป็นการ
เสี่ยงทายอีกประการหนึ่ง 3.โคมแขวน เป็นโคมบูชาพระมีหลายรูปแบบ รูปทรง เช่น โคม บาตรพระ โคมดาว โคมตะกร้า โคมต้องห้อยพู่ โคม พระอาทิตย์
โคมธรรมจักร ซึ่งหมายถึง "ความแจ้งในธรรม" จะ ใช้ในงานยี่เป็งหรือวันตั้งธรรมมหาชาติเวสสันดร ชาดก ใช้แขวนไว้ในโบสถ์บนศาลา ในวิหาร หรือทำ ค้างไม้ไผ่ทำชักรอกแขวนข้างโบสถ์ วิหารเป็นพุทธ บูชา สวยงาม สว่างไสว หรือใช้ตกแต่ง บ้านเรือน เพื่อบูชาเทพารักษ์
ผู้รักษาหอเรือน
อาคารบ้าน
เรือนก็ได้
โคมแขวน หรือโคมค้าง ได้แก่ โคมที่ใช้แขวนบน หลัก หรือตามขื่อในวิหาร หรือโบสถ์มีรูปร่างต่างๆ แล้วแต่จะทำกันผู้ที่นิยมทำกันมากคือ
พระภิกษุ
สามเณร จะแข่งขันกันว่าใครจะทำสวยกว่า
บทที่ 2
งานหัตกรรมล้านนา : โคม
4.โคมผัด หมายถึง โคมเวียน โคมซึ่งเขียนภาพที่ครอบเมื่อจุไฟแล้วครอบนั้นจะหมุนทำให้เงาของ ภาพสะท้อนบนพื้นผนัง ทำให้บอกเล่าเรื่องราวภาพในตัวโคม
โคมผัด เป็นภาษาพื้นเมืองคำว่า "ผัด" แปลว่า หมุนหรือเวียนไปรอบ ดังนั้นโคมผัดคือ โคมที่มีลักษณะหมุนไป รอบๆ หรือเวียนไปรอบๆ โดยจะตัดกระดาษเป็นรูปคน สัตว์ สิ่งของ หรือรูป 12 ราศี การที่ทำให้โคมหมุนเกิดรูปภาพหรือเงาสะท้อนที่โคมเมื่อจุดไฟ ในโคมก็จะเกิดอากาศร้อนลอยสูงขึ้น อากาศเย็นจะเวียนเข้ามาแทนที่ทำให้เกิดเป็นกระ แสอากาศเบาๆ พัดให้ โคมหมุนไปรอบๆ ทำให้ตัวโคมที่ติดรูปภาพต่างๆ หมุนไปเกิด การสะท้อนของภาพไปตกอยู่ที่ตัวโคม ซึ่งเป็นฉากอยู่ทำให้เกิดความ สวยงาม ดังนั้น โคมผัดจึงเป็นโคมที่ต้องทำด้วยความละเอียด และปราณีตอย่างมาก
โคมผัดเป็นโคมหมุนโดยใช้ความร้อนจากควันเทียน 2 เล่ม ด้วยกัน มี 2 ชั้น ชั้นในจะมี แกนซึ่งฝนจนเป็นลักษณะเข็มตั้งวางไว้ เมื่อจุดเทียนที่มีไส้ข้างในหนาๆ แรงควันจะดัน ฟันที่ทำด้วยใบลาน ข้างบนหมุนตรงแกนให้หมุนไปเหมือนพัดลมแต่ช้าๆ และมีลวดลาย หลากหลายแปะติดกระดาษรอบๆ โคมทรงกระบอกนั้นเวลาหมุนลวดลายจะปรากฎที่ ชั้นนอกคล้ายหนังตะลุง ลวดลายโดยมากจะเป็นรูปสิบสองราศี หรือ สิบสองนักษัตร รูปคนไถนา รูปวัวควาย คนหาบน้ำ หาบฟาง ชนไก่ ชกมวย เป็นที่สนุกสนานของเด็กๆ โคมผัดจะตั้งไว้เป็นที่ไม่เคลื่อนย้ายเป็นโคมที่ทำค่อนข้างยากและกำลังจะสูญหายไปถ้า ไม่ช่วยกันอนุรักษ์ไว
22
บทที่ 2
23
งานหัตกรรมล้านนา : ร่มบ่อสร้าง
ร่มบ่อสร้าง เป็นสินค้าพื้นเมืองของจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นสินค้าที่สร้างชื่อเสียงที่โด่ง ดังอย่างมากให้กับชาวภาคเหนือและชาวอำเภอสันกำแพง โดยร่มบ่อสร้างนั้นมีจุดเริ่ม ต้นมาจากการที่ชาวบ้านในชุมชนบ้านบ่อสร้างนั่งทำร่มกันใต้ถุนบ้าน
และลองวาด
ลวดลายต่าง ๆ ที่สวยงามลงไปบนร่มก่อนจะนำไปตากแดดเรียงรายกันไว้กลางลาน บ้านเพื่อให้สีที่ระบายนั้นแห้ง จนไปสะดุดตานักท่องเที่ยวหลาย ๆ คนที่เดินทางมาท่อง เที่ยว และเริ่มโด่งดังจนกลายมาเป็นร่มบ่อสร้างในปัจจุบัน
ร่มบ่อสร้างนั้น มักจะนิยมการวาดลวดลายเป็นรูปดอกไม้ โดยใช้วัสดุในการผลิต 3 ชนิดด้วยกันคือ ร่มบ่อสร้างที่ทำจากผ้าฝ้าย ร่มบ่อสร้างที่ทำจากกระดาษสา และ ร่ม บ่อสร้างที่ทำจากผ้าแพร ซึ่งร่มแต่ละชนิจะมีขั้นตอนและวิธีการทำเหมือนกันทุกอย่าง เพียงแต่เปลี่ยนวัสดุที่ใช้เพื่อการใช้งานที่แตกต่างกันตามความชอบของแต่ละบุคคล โดยปัจจุบันก็ได้มีการสาธิตวิธีการทำร่มบ่อสร้าง ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่ม จ.เชียงใหม่
โดยสามารถเดินทางไปรับชมได้ที่
บทที่ 2
24
งานหัตกรรมล้านนา : ร่มบ่อสร้าง
สาเหตุที่การทำร่มบ่อสร้างนั้น ใช้ไม้เป็นก้านร่มและไม่มีการเปลี่ยนเป็นโครงเหล็กเช่น เดียวกับร่มสมัยใหม่นั้น เกิดจาก ในครั้งแรกของการผลิตร่มขึ้นที่บ้านบ่อสร้างนั้น เกิด จากการที่มีพระธุดงค์รูปหนึ่งมาปักกลดที่บ้านบ่อสร้าง แต่ได้เกิดลมแรงพัดจนกลดนั้น ปลิวเสียหายใช้การไม่ได้
และได้มีชาวบ้านที่เล่าต่อกันมาว่าชื่อนายเผือกได้ทำการ
ซ่อมกลดให้กับพระธุดงค์องค์นั้นโดยได้ทำการเพิ่มไม้ดามเข้าไปเพื่อให้พระธุดงค์องค์ นั้นสามารถถือได้สะดวกมากกว่า จนกลายเป็นความคิดริเริ่มในการผลิตร่มครั้งแรกใน สมัยนั้น จนกลายมาเป็นสินค้าพื้นเมืองของจังหวัดเชียงใหม่ และชาวบ้านในพื้นที่เองก็ ต้องการรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของร่มบ่อสร้างนี้ไว้จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงวัสดุที่ ใช้ ถึงแม้ว่าการใช้เหล็กทำโครงร่มจะมีความแข็งแรงทนทานมากกว่าก็ตาม แต่ร่มบ่อ สร้างก็ยังคงเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้นักท่องเที่ยวชื่นชอบและสะดุดตาจนกลายเป็น สินค้า OTOP ประจำจังหวัดเชียงใหม่มาจนถึงปัจจุบัน โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ หลายคนที่ตั้งใจเดินทางมาประเทศไทยเพื่อมาดูวิธีการทำร่มบ่อสร้าง
และซื้อสินค้านี้
กลับไปยังประเทศของตนเอง จนทำให้ร่มบ่อสร้างของไทยนั้น เป็นสินค้าที่โด่งดังและ มีชื่อเสียงอย่างมากในหลายประเทศทั่วโลก
บทที่ 2
25
ลวดลายที่พบในงานหัตถกรรมล้านนา
ลวดลายที่พบในงานลายคำ ลวดลายล้านนาที่พบในงานลายคำ ซึ่งงานลายคำมีการสร้างขึ้นหลายเทคนิค ได้แก่ เทคนิคขูดลาย เทคนิคปิดทองลายฉลุ (stencil) และเทคนิคผสมลายขูดและปิดทองลาย ฉลุ
ลวดลายที่พบในงานหัตถกรรม ลวดลายล้านนาที่พบในงานหัตถกรรม
ซึ่งงานหัตกรรมกับวิถีชีวิตของคนล้านนามี
มากมายเกือบจะเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ใช้ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็น
ข้าวของเครื่อง
ใช้ พิธีกรรมต่างๆ ที่เป็นแหล่งกำเนิดของเครื่องประกอบพิธีที่มีเอกลักษณ์แบบอย่าง ล้านนา เน่งน้อย ปัญจพรรค์ และคณะ (2537: 18) กล่าวไว้ว่า ในขณะที่ศิลปกรรม สำคัญเป็นสิ่งที่แสดงถึงความคิด ความเชื่อของผู้คนในอดีต หัตถกรรมก็เป็นสิ่งแสดงถึง ชีวิตประจำวันของผู้คนในท้องถิ่นเป็นอย่างดี
แม้ว่าหัตถกรรมจะเป็นงานฝีมือที่ทำขึ้น
เพื่อใช้ในระยะสั้นๆ ไม่ใช่ถาวรวัตถุ แต่หัตถกรรมล้านนาก็เป็นที่รู้จักและนิยมเก็บสะสม กันในปัจจุบันมากมาย เช่น เครื่องจักสาน เครื่องเงิน เครื่องเขิน ผ้าทอ และอื่นๆ
บทที่ 2
26
เรือนชนบท หรือเรือนไม้บั่ว (เรือนเครื่องผูก)
เป็นเรือนที่สร้างขึ้นด้วยไม้ไผ่ ตัวเรือนขนาดเล็ก มีรูปแบบเป็นเรือนจั่วเดียวยกพื้นสูง เล็กน้อย
ในอดีตเรือนเครื่องผูกเป็นของชาวบ้านทั่วไปที่สร้างขึ้นกันเอง
โดยการตัด
ไม้ไผ่มาประกอบกันขึ้นเป็นโครงสร้างของเรือน แล้วใช้ตอกยึดให้ติดกัน อาจมีการใช้ เสาเรือนด้วยไม้จริงบ้าง แต่โดยรวมแล้วองค์ประกอบของเรือนส่วนใหญ่จะทำมาจาก ไม้ไผ่ เช่น โครงสร้างหลังคา ฝาและพื้นเรือนที่ทำมาจากฟาก เป็นต้น นอกจากนั้น เรือนเครื่องผูกยังเหมาะสำหรับคู่แต่งงานที่กำลังเริ่มสร้างครอบครัวใหม่ มักสร้างเป็น เรือนเครื่องผูกแบบชั่วคราวก่อนที่จะเก็บเงิน ต่อไป
และไม้จริงได้มากพอสำหรับขยายเรือน
บทที่ 2
27
เรือนไม้ หรือเฮือนบะเก่า
รูปแบบของเรือนพัฒนามาจากเรือนพื้นถิ่นที่เป็นเรือนเครื่องผูกแบบเรือนเดี่ยว ลักษณะของเรือนเป็นเรือนจั่วแฝดที่สร้างด้วยไม้เนื้อแข็งทั้งหลัง ตัวเรือนยกพื้นสูง มี บันไดขึ้นทางด้านหน้าและหลังเรือน ส่วนหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินขอ สองจั่วหลัก เชื่อมต่อกันโดยมีฮ่อมลิน (ชานเดิน) ระหว่างเรือนสองหลัง เป็นแนวทางเดินระหว่าง เรือนนอนยาวจากพื้นที่เติ๋นไปยังด้านหลังเรือน เหนือฮ่อมลินเป็นฮางลิน (รางระบาย น้ำฝน) ในจุดเชื่อมต่อระหว่างชายคาสองจั่ว ชายคาด้านหน้ายื่นยาวเหนือกว่าเรือนพื้น ถิ่นโบราณโดยยื่นออกมาคลุมพื้นที่เติ๋น (ชานร่ม) และจาน (ชานแดด) ไว้ทั้งหมด โครงสร้างเป็นระบบเสาและคาน ใช้การประกอบแบบเจาะช่องสอดเข้าเดือย บาก พาด ผนังเรือน ปูพื้นด้วยไม้แป้น (ไม้แผ่น) โดยมีการยกระดับพื้นห้องนอนและเติ๋นมาหนึ่ง ระดับเพื่อแบ่งพื้นที่ใช้สอย ระดับของพื้นอีกด้วย
อีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์ในการนั่งตรงบริเวณจุดต่าง
บทที่ 2
28
เรือนกาแล
เรือนกาแลส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเรือนแฝด ประกอบด้วยเรือนสองหลังมีชายคาชนกัน
หันหน้าเรือนไปทางทิศใต้หรือทิศเหนือ จุดเชื่อมต่อของชายคามีฮางลิน
(ราง
ระบายน้ำฝน) ใต้ฮางลินเป็นฮ่อมลิน คือชานเดินระหว่างเรือนสองหลังซึ่งเชื่อมต่อชาน ด้านหน้าและหลังเรือน เรือนหลังใหญ่มักถูกใช้เป็นเรือนนอน ส่วนเรือนหลังเล็กเป็น เรือนครัว ไม่มีส้วม (ห้องน้ำ) บนเรือน บริเวณพื้นที่เรือนนอกห้องเรียกว่าเติ๋น (ชานใน ร่มยกระดับ) เป็นพื้นที่ทำงานพักผ่อน และเป็นที่นอนของลูกชายเจ้าของเรือนเมื่อเริ่ม โตเป็นหนุ่ม มีผนังเรือนที่เป็นระนาบเดียวกันมาจากห้องนอนมาที่เติ๋น เพื่อสร้างความ เป็นส่วนตัวเมื่อเวลาที่ลูกสาวเจ้าของเรือนนั่งทำงาน เรียกว่าฝาลับนาง เราจะเห็นภาพ ยามค่ำหญิงสาวจะออกมานั่งปั่ นฝ้ายพลางส่งคำคร่าวคำเครือกับหนุ่มผู้มาติดพัน เห็น ภาพครอบครัวนั่งกินข้าวล้อมวงกันครบหน้า เห็นการนั่งสนทนาของเจ้าบ้านกับแขกเห รื่อมีถาดใส่หมาก และมูลี (บุหรี่) ขี้โยมวนโต ช่วยสร้างความเป็นกันเอง และแสดงน้ำใจ อันดีงาม
เมื่อแรกเดินขึ้นเรือนโดยบันไดด้านหน้า
จะพบกับชานบ้านหรือที่คนเมือง
เรียกว่าชานฮ่อม ด้านซ้ายมือมีฮ้านน้ำ (ร้านน้ำ) เป็นชั้นไม้ยกระดับติดกับข้างฝา แยก เป็นสัดส่วนกับชานบ้าน สำหรับตั้งหม้อดินบรรจุน้ำดื่มสำหรับผู้อาศัยและแขกเหรื่อได้ ดื่มกิน ร้านน้ำนี้เจ้าของบ้านบางหลังจะสร้างตั้งไว้ตรงหน้ารั้วบ้านด้วย เพื่อให้เพื่อน บ้านและคนที่ผ่านไปมาได้แวะดื่มน้ำยามกระหายจากการเดินทาง
ใต้หลังคาเรือนกา
แลสูงโล่งเนื่องจากไม่มีเทิง (ฝ้าเพดาน) ทำให้การระบายอากาศร้อนออกไปจากพื้นที่ ใช้งานบนเรือนได้ดี นิยมทำควั่น (โครงสร้างไม้หรือไม้ไผ่สานสำหรับการเก็บของ เช่น น้ำต้น)
ที่ตรงระดับเทิง
ซ่อมแซมหลังคา)
เหนือเสาเรือนมีขัวหย้าน
(ไม้สะพานสำหรับขึ้นไปเหยียบ
เป็นไม้เนื้อแข็งหรือลำไม้ไผ่คู่ประกบเสาดั้งช่วยยึดโครงหลังคาส่วน
หนึ่ง ส่วนใต้หลังคาระหว่างบริเวณเติ๋นและห้องนอนถูกกั้นด้วยแหนบเติ๋น (ผนังจั่วใต้ หลังคา)
ซึ่งเป็นโครงสร้างผืนเดียวกันกับฝาผนังห้องนอนด้านหน้าและประตูเข้านอน
ประตูห้องนอนมีแซ่ว (ดานหรือกลอน) อยู่ด้านในกรอบประตูห้องนอน เหนือกรอบ ประตูมีของตกแต่งและนับเป็นเครื่องรางประจำเรือนเรียกว่า
“หำยนต์”
ประตูบนพื้นด้านล่างมีไม้กั้นให้ก้าวข้ามเรียกว่า ข่มตู๋ (ธรณีประตู)
ส่วนกรอบ
บทที่ 2
29
เรือนกาแล
โครงสร้างพื้นแนวกลางของเรือนเป็นแนวไม้แป้นต้อง
ซึ่งเป็นไม้แผ่นขนาดกว้างพอ
สะดวกเดิน หนาเท่าตงวางพาดบนหัวเสาป๊อก (เสาสั้น เสริมใต้คานบริเวณกลางแนว คานที่รองรับพื้นเรือน) ยาวจากประตูห้องนอนไปถึงเชิงผนังห้องอีกด้าน ทำไว้เพื่อใช้ เดินไม่ให้เกิดเสียงดังรบกวนผู้อื่นเวลานอน การถ่ายน้ำหนักออกจากพื้นเรือน
เพราะโครงสร้างของพื้นส่วนนี้แยกส่วน
ส่วนบันไดทางขึ้นพาดต่อกับชานแดดหน้าเรือน
เรือนกาแลบางหลังมีการสร้างหลังคาคลุมบันไดเพื่อกันแดดฝน
และอาจคลุมถึงฮ้าน
น้ำ ทำให้เรือนหลายหลังมีเสารับโครงสร้างหลังคาขนาบบันได เสาข้างบันไดด้านหน้า สุดเรียกว่าเสาแหล่งหมา ใช้ผูกสุนัขเพื่อเฝ้าเรือน โครงสร้างเรือนกาแลเป็นระบบเสา และคาน สร้างด้วยไม้สัก เสาเรือนถากเป็นทรงกระบอกหรือเป็นแปดเหลี่ยม เรือนหนึ่ง หลังประกอบด้วยหกคู่ไม่รวมเสาป๊อก และมีเสาที่ชานหน้าเรือนอีกอย่างน้อยแปดคู่ไม่ รวมเสาป๊อกเช่นกัน เสารับพื้นจะเจาะช่องใช้แวง (รอด) สอดแล้วพาดตง ก่อนปูพื้นไม้ แผ่นตรงแนวหน้าแหนบ (หน้าจั่ว) ของเรือน ทั้งด้านหน้าและด้านหลังมีเสาดั้งที่สูงขึ้นไป รับแป๋จ๋อง (อกไก่) ส่วนบริเวณหัวเสาที่ไม่มีหน้าแหนบจะมีตั่งโย (จันทัน) ตรงแนวจั่ว เพื่อรับน้ำหนักของกระเบื้องมุงหลังคา ไม้ก้านฝ้า (ไม้ระแนง) ไม้ก๋อน (กลอน) และ คาบ (แปลาน) ที่ถ่ายน้ำหนักตามลำดับมาลงที่หัวเสา ผืนหลังคาเรือนลาดชันประมาณ ๔๕ องศา เพื่อการระบายน้ำฝนที่ดี ชายคาตรงแนวเสามียางค้ำ (ค้ำยัน) เป็นโครงสร้างรับ น้ำหนักจากชายคาลงสู่เสา บริเวณตีนแหนบ (ฐานหน้าจั่ว) มีแง็บ (ชายคาปีกนก) ทั้ง ด้านหน้าเรือนและหลังเรือน ช่วยกันแดดฝนได้มาก ฝาแหนบนิยมประกอบขึ้นด้วยรูป แบบฝาตาฝ้า (การเข้าไม้แบบฝาประกน) ฝาเรือนด้านสกัดมีระนาบตั้งตรง ส่วนฝา เรือนด้านข้างเป็นฝาตาก (ผายออก) เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอย เช่น การทำชั้นวางของ ทำให้ พื้นที่ภายในเรือนโล่ง ช่วยลดขนาดผืนผนังและโครงสร้างผนังช่วยค้ำจุนโครงสร้างชาย หลังคาได้อีกส่วนหนึ่ง ฝาผนังนิยมฝาแป้นหลั่น (การตีไม้แผ่นตามแนวตั้ง) มีระแนงไม้ตี ปิดยาวตลอดแนวต่อระหว่างแผ่นเหมือนเช่นรูปแบบฝาสายบัวของเรือนภาคกลาง
บทที่ 2
30
เรือนกาแล
เอกลักษณ์ของเรือนที่โดดเด่นคือ “กาแล” ตรงส่วนยอดของป้านลมที่ไขว้กันเป็นทรง ตรงหรือโค้งมีการแกะสลักอย่างงดงามเป็นลายเครือเถา
ลายกนกสามตัว
หรือลาย
เมฆไหล สำหรับที่มาของกาแลหรือส่วนป้านลมที่ไขว้กันนี้ ยังค่อนข้างคลุมเครือ บ้างก็ ว่าทำเพื่อกันแร้งกามาจับเกาะหลังคา เพราะถือว่าขึด หรือบ้างว่าพม่าบังคับให้ทำเมื่อ สมัยเป็นเมืองขึ้นเพื่อให้ดูต่างกับเรือนพม่า สันนิษฐานว่า บรรพบุรุษ
อาจารย์ไกรศรี
นิมมานเหมินท์
กาแลน่าจะมาจากประเพณีของคนลัวะที่ฆ่าควาย
ตั้งข้อ
เพื่อบวงสรวง
แล้วนำเขาควายไปประดับยอดหลังคาเป็นการอวดถึงฐานะความร่ำรวย
ที่สุดจึงทำกาแลขึ้นแทนเขาควาย
จากหลักฐานการศึกษารูปแบบบ้านในเอเชียหลายแห่งพบว่า
ลักษณะการประดับจั่ว
บ้านด้วยไม้
เช่น
หรือเขาสัตว์ไขว้กันนี้สามารถพบเห็นได้ทั่วไป
ในเกาะสุมาตรา
สิงคโปร์ ชวา รัฐอัสสัมในอินเดีย และศาลที่สถิตดวงพระวิญญาณของจักรพรรดิใน ญี่ปุ่น
กาแลจึงเป็นวิวัฒนาการของการสร้างเรือนที่มีปั้ นลมไขว้กัน
เพราะสร้างได้
สะดวกทำให้ยึดไม้ได้ แข็งแรง ต่อมาจึงแกะสลักลวดลายให้สวยงาม ดังนั้นรูปแบบของ ป้านลมที่ไขว้กันนี้จึงถือเป็นลักษณะร่วมกันในเรือนของชนชาติต่างๆ มิใช่เป็นของชาติ ใดโดยเฉพาะ ดังที่มักเข้าใจกันว่าเป็นลักษณะของเรือนล้านนาเท่านั้น สิ่งหนึ่งที่ถือเป็น เอกลักษณ์ของกาแลล้านนาก็คือ
ลายสลัก
ซึ่งเรือนอุ๊ยผัดนี้ก็มีกาแลที่สลักลายเป็น
แบบกนกสามตัว ประกอบด้วยโคนช่อกนกมีกาบหุ้มซ้อนกันหลายชั้น คล้ายก้านไม้เถา ตามธรรมชาติ
ตรงส่วนก้านจะสลักเป็นกนกแตกช่อขึ้นไปสลับหัวกันจนถึงยอดกาแล
สร้างลวดลายที่อ่อนช้อยแสดงถึงภูมิปัญญาเชิงช่าง และจิตใจที่อ่อนโยนของผู้อยู่อาศัย อย่างแท้จริง
บทที่ 2
31
เรือนกาแล
กาแล
กระเบื้องดินขอ
ฝาไหล
หำยนต์
ขัวย่าน
3
บทที่ 3
33
สถานที่ตั้งโครงการ
A Hotel Budget 714 ม.2 ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย 57150
EXTERIOR
INTERIOR
บทที่ 3
34
การวิเคราะห์สถานที่ตั้งโครงการ
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
ทางเข้าหลักของโรงแรมอยู่ทางทิศตะวันออก เปิดรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถเปิดรับลมให้ไหลผ่านออกไปทางทิศตะวันตก
ทำให้อากาศถ่ายเท
เข้ากับ
สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19)
มีสวนเล็กๆ อยู่ด้านหลังของ
โรงแรมทางทิศตะวันตก สามารถปลูกต้นไม้สูงเพื่อบังแสงแดดยามเย็นตอนพระอาทิตย์ ใกล้จะตกดิน
บทที่ 3
35
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนนักท่องเที่ยว ปี พ.ศ.2558 - 2562 ปี พ.ศ.2558 นักท่องเที่ยวไทย
3,000,000
นักท่องเที่ยวต่างชาติ
2,201,902 คน 484,132 คน
รวม 2,686,034 คน ปี พ.ศ.2559 นักท่องเที่ยวไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ
2,298,952 คน 483,472 คน
รวม 2,782,424 คน
2,000,000
ปี พ.ศ.2560 นักท่องเที่ยวไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ
2,496,186 คน 512,997 คน
รวม 3,009,183 คน ปี พ.ศ.2561
1,000,000
นักท่องเที่ยวไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ
2,673,521 คน 533,029 คน
รวม 3,206,550 คน ปี พ.ศ.2562 นักท่องเที่ยวไทย 0
2558
2559
นักท่องเที่ยวไทย
2560
2561
นักท่องเที่ยวต่างชาติ
นักท่องเที่ยวไทย 82.8%
2562
นักท่องเที่ยวต่างชาติ
2,690,760 คน 548,250 คน
รวม 3,239,010 คน ที่มา : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
นักท่องเที่ยวต่างชาติ 17.2%
บทที่ 3
36
แผนผังองค์กรเพื่อวิเคราะห์พื้นที่ใช้สอยของคนในองค์กร
เจ้าของโรงแรม
ผู้จัดการ
การบริหารงานส่วนหน้าของโรงแรม
การบริหารงานส่วนหลังของโรงแรม
แผนกต้อนรับ
ผู้รักษาความปลอดภัย
บาริสต้า/ บาร์เทนเดอร์
แม่บ้านทำความสะอาด
พนักงานเสิร์ฟ
คนขับรถ
แผนกงานซักรีด
แผนกครัว
แผนกบัญชี
แผนกการขายและการตลาด
บทที่ 3
37
กิจกรรมต่างๆ ภายในโครงการ
Guest Room
Cafe & Bar
Restaurant
Thai Massage
กรณีศึกษา
50 ถ.ราชดำเนิน ซอย 1 ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 สถาปนิก: องอาจ สาตรพันธุ์ ปี: 2547 "ลักษณะของไซต์งานเหมือนกัน : ตึกปูน ฝ้าไม่สูงมาก"
บทที่ 3
38
แนวคิดการออกแบบและวัสดุที่เลือกใช้ CONCEPT DESIGN ล้านนาประยุกต์ : สีขาว โปร่ง สบาย
MATERIAL : ไม้ ปูนขาว กระเบื้องดินเผา ดินขอ
4
บทที่ 4
40
แบบแปลนเดิมของโครงการ
1st FlOOR EXISTING PLAN
2nd FlOOR EXISTING PLAN
บทที่ 4
41
แบบแปลนเดิมของโครงการ
3rd FlOOR EXISTING PLAN
4th FlOOR EXISTING PLAN
บทที่ 4
42
การจัดโซนพื้นที่โครงการ
1st FlOOR PLAN
RECEPTION AREA
OUTDOOR EATING AREA
STAFF AREA
THAI MASSAGE ROOM
INDOOR EATING AREA
MECHANICAL AND ELECTRICAL ROOM
FIRE ESCAPE
บทที่ 4
43
การจัดโซนพื้นที่โครงการ
2nd FlOOR PLAN
STANDARD ROOM
BALCONY ROOM
FIRE ESCAPE
STAFF ROOM
บทที่ 4
44
การจัดโซนพื้นที่โครงการ
3rd FlOOR PLAN
STANDARD ROOM
BALCONY ROOM
SUITE ROOM
STAFF ROOM
FIRE ESCAPE
บทที่ 4
45
การจัดโซนพื้นที่โครงการ
4th FlOOR PLAN
STANDARD ROOM
BALCONY ROOM
SUITE ROOM
STAFF ROOM
FIRE ESCAPE
บทที่ 4
ประเภทของห้องพัก
STANDARD ROOM Size: 3.80m. x 6.50m. 24.7 sq.m. Number of rooms: 28 rooms Price: 800 - 1,200 baht
46
บทที่ 4
ประเภทของห้องพัก
BALCONY ROOM Size: 5.75m. x 6.50m. 37.375 sq.m. Number of rooms: 17 rooms Price: 1,500 - 1,800 baht
47
บทที่ 4
ประเภทของห้องพัก
SUITE ROOM Size: 7.70m. x 6.50m. 50.05 sq.m. Number of rooms: 5 rooms Price: 2,000 - 2,500 baht
48
บทที่ 4
49
แบบแปลนใหม่ของโครงการ
1st FlOOR PLAN
2nd FlOOR PLAN
บทที่ 4
50
แบบแปลนใหม่ของโครงการ
3rd FlOOR PLAN
4th FlOOR PLAN
บทที่ 4
การออกแบบภายใน
RECEPTION AREA
RECEPTION AREA - ตกแต่งด้วยโคมไฟเครื่องเขิน และลวดลายจากงานหัตถกรรม ล้านนา ปกปิดประตูทางเข้าด้วยไม้ระแนง ฝ้าประดับด้วยไม้ระแนงเพื่อหลอกสายตา ให้ดูสูงโปร่งและยังใช้ซ่อนเครื่องปรับอากาศได้อีกด้วย
51
บทที่ 4
การออกแบบภายใน
RECEPTION AREA
INDOOR EATING AREA
52
บทที่ 4
การออกแบบภายใน
INDOOR EATING AREA
INDOOR EATING AREA - โต๊ะตกแต่งด้วยไม้ฉลุ ลวดลายจากตุง
53
บทที่ 4
การออกแบบภายใน
OUTDOOR EATING AREA
OUTDOOR EATING AREA - เนื่องจากอิฐให้ความรู้สึกถึงสิ่งโบราณสถาน จึงได้เจาะ ช่องเป็นรูปเจดีย์วัดป่าสัก
54
บทที่ 4
การออกแบบภายใน
THAI MASSAGE ROOM
THAI MASSAGE ROOM
55
บทที่ 4
การออกแบบภายใน
THAI MASSAGE ROOM
THAI MASSAGE ROOM - ซ่อนประตูของพนักงานด้วยการทำเป็นชั้นวางของ
56
บทที่ 4
การออกแบบภายใน
STANDARD ROOM
57
บทที่ 4
การออกแบบภายใน
STANDARD ROOM
ตู้ทีวีสามารถเปิด-ปิดได้ ตรงที่นั่งได้เจาะช่องฝาไหลเป็นรูปเจดีย์วัดป่าสัก เพื่อให้สามารถเปิด-ปิด ระบาย อากาศได้ ตรงช่องหน้าต่างข้างบน เป็นไม้ฉลุลายหัตถกรรมล้านนา และเป็นกระจกปิดข้าง นอกเพื่อกันอากาศเข้า-ออก พนักพิงเก้าอี้ฉลุเป็นลวดลายหัตถกรรมล้านนา มือจับ ราวผ้าม่าน ทำมาจากทองเหลืองเพื่อให้สีตัดกับสีไม้ มีการขึงผ้าม่านให้ตึง เพื่อไม่ให้ม่านลงมาบังฝาไหล และดูไม่เทะทะ ในขณะ เดียวกันรอยย่นของผ้าที่เป็นเส้นตรง ก็สามารถช่วยทำให้ห้องดูสูงขึ้น ตรงเพดานได้ตกแต่งด้วยไม้ระแนงเพื่อทำให้ห้องดูสูงขึ้น และซ่อนเครื่องปรับ อากาศ ตกแต่งด้วยโคมไฟเครื่องเขิน หัวเตียงตกแต่งด้วยลายเชียงแสนหงส์ดำ ผ้าคาดเตียงก็ทอเป็นลายเชียงแสนหงส์ดำด้วยเช่นกัน ชายคาตรงระเบียงปูด้วยกระเบื้องดินขอ โต๊ะทำงานอยู่ติดกับหน้าต่าง เพื่อรับแสงธรรมชาติเวลาทำงาน
58
บทที่ 4
การออกแบบภายใน
BALCONY ROOM
59
บทที่ 4
การออกแบบภายใน
BALCONY ROOM
BALCONY ROOM
60
บทที่ 4
การออกแบบภายใน
BALCONY ROOM
BALCONY ROOM
61
บทที่ 4
การออกแบบภายใน
BALCONY ROOM
ตู้ทีวีสามารถเปิด-ปิดได้ ตรงช่องหน้าต่างข้างบน เป็นไม้ฉลุลายหัตถกรรมล้านนา และเป็นกระจกปิดข้างนอกเพื่อกัน อากาศเข้า-ออก พนักพิงเก้าอี้ฉลุเป็นลวดลายหัตถกรรมล้านนา มือจับ ราวผ้าม่าน ทำมาจากทองเหลืองเพื่อให้สีตัดกับสีไม้ มีการขึงผ้าม่านให้ตึง เพื่อไม่ให้ม่านลงมาบังฝาไหล และดูไม่เทะทะ ในขณะเดียวกันรอยย่นของผ้า ที่เป็นเส้นตรง ก็สามารถช่วยทำให้ห้องดูสูงขึ้น ตรงเพดานได้ตกแต่งด้วยไม้ระแนงเพื่อทำให้ห้องดูสูงขึ้น และซ่อนเครื่องปรับอากาศ ตกแต่งด้วยโคมไฟ โคมล้านนา หัวเตียงตกแต่งด้วยลายจากโคมล้านนา ผ้าคาดเตียงทอเป็นลายเชียงแสนหงส์ดำ ชายคาตรงระเบียงปูด้วยกระเบื้องดินขอ โต๊ะทำงานอยู่ติดกับหน้าต่าง เพื่อรับแสงธรรมชาติเวลาทำงาน ชุดที่นั่งปลายเตียง เจตนาทำพนักพิงไม่สูงเพื่อไม่ให้บังเวลานอนอยู่บนเตียง เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ เน้นที่ขาเล็ก สูง(ลิ้นชักเล็กๆเนื่องจากไม่ได้เน้นใช้งานมากเพราะเป็นโรงแรม) ไม่ ตัน เพื่อให้ห้องดูโปร่ง ตรงระเบียงเป็นประตูบานเฟี้ ยม เพื่อให้สามารถเปิดพื้นที่ได้มากที่สุด ให้ความรู้สึกใกล้ชิด ธรรมชาติ ไม่ลดระดับพื้นตรงระเบียงเนื่องจากต้องการให้รู้สึกเป็นพื้นที่เดียวกันกับห้องนอน และมีท่อระบาย น้ำ+ชายคา เพื่อป้องกันฝน ปูพื้นด้วยกระเบื้องดินเผา เพื่อรองรับความชื้นจากน้ำฝนที่อาจจะสาดเข้ามาในห้อง เนื่องจากถ้าใช้ พื้นไม้ พื้นจะบวม
62
บทที่ 4
การออกแบบภายใน
SUITE ROOM
63
บทที่ 4
การออกแบบภายใน
SUITE ROOM
SUITE ROOM
64
บทที่ 4
การออกแบบภายใน
SUITE ROOM
SUITE ROOM
65
บทที่ 4
การออกแบบภายใน
SUITE ROOM
ตรงช่องหน้าต่างข้างบน เป็นไม้ฉลุลายหัตถกรรมล้านนา และเป็นกระจกปิดข้างนอกเพื่อกัน อากาศเข้า-ออก พนักพิงเก้าอี้ฉลุเป็นลวดลายหัตถกรรมล้านนา มือจับ ราวผ้าม่าน ทำมาจากทองเหลืองเพื่อให้สีตัดกับสีไม้ มีการขึงผ้าม่านให้ตึง เพื่อไม่ให้ม่านลงมาบังฝาไหล และดูไม่เทะทะ ในขณะเดียวกันรอยย่นของผ้า ที่เป็นเส้นตรง ก็สามารถช่วยทำให้ห้องดูสูงขึ้น ตรงเพดานได้ตกแต่งด้วยไม้ระแนงเพื่อทำให้ห้องดูสูงขึ้น และซ่อนเครื่องปรับอากาศ ตกแต่งด้วยโคมไฟ ร่มบ่อสร้าง 2 ชั้น หัวเตียงตกแต่งด้วยร่มบ่อสร้าง ซ้อนกันหลายขนาด เพื่อให้เต็มพื้นที่ และซ่อนไฟไว้ข้างใน ชายคาตรงระเบียงปูด้วยกระเบื้องดินขอ เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ เน้นที่ขาเล็ก สูง(ลิ้นชักเล็กๆเนื่องจากไม่ได้เน้นใช้งานมากเพราะเป็นโรงแรม) ไม่ ตัน เพื่อให้ห้องดูโปร่ง ตรงระเบียงเป็นประตูบานเฟี้ ยม เพื่อให้สามารถเปิดพื้นที่ได้มากที่สุด ให้ความรู้สึกใกล้ชิด ธรรมชาติ ไม่ลดระดับพื้นตรงระเบียงเนื่องจากต้องการให้รู้สึกเป็นพื้นที่เดียวกันกับห้องนอน และมีท่อระบาย น้ำ+ชายคา เพื่อป้องกันฝน ปูพื้นด้วยกระเบื้องดินเผาตรงห้องนั่งเล่น เพื่อรองรับความชื้นจากน้ำฝนที่อาจจะสาดเข้ามาในห้อง เนื่องจากถ้าใช้พื้นไม้ พื้นจะบวม ตกแต่งด้วยเครื่องเขิน และรูปภาพล้านนา
66
5
บทที่ 5
68
บทสรุป
โครงการออกแบบภายในโรงแรมที่สะท้อนศิลปะล้านนาร่วมสมัย เป็นการศึกษาข้อมูล เกี่ยวกับศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมล้านนา และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบริเวณที่ตั้งของ โครงการแล้วนำมาพัฒนาสู่งานออกแบบภายใน
โดยทางผู้วิจัยได้หยิบยกเอาองค์
ประกอบที่น่าสนใจในงานหัตถกรรมและสถาปัตยกรรม มาใช้เป็นลูกเล่นที่สร้างความ สวยงาม โดดเด่นให้กับเนื้องาน และในการออกแบบได้มีการแบ่งแยกโซนอย่างชัดเจน ระหว่างผู้เข้ารับบริการและผู้ให้บริการ เพื่อความสะดวกต่อการดำเนินงานต่างๆ
อนึ่งในการทำงานโครงการนี้ยังเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของการออกแบบที่ยังมีข้อผิด พลาดอยู่บ้างเป็นบางจุด ซึ่งยังต้องแก้ไขและพัฒนากันต่อไป
70
บรรณานุกรม
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (ม.ป.ป.). สถิตินักท่องเที่ยว. https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411
เฉลียว ปิยะชน. (2552). เรือนกาแล (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
ชุติมณฑน์ ตั่งธนาพร. (24 มีนาคม 2555). โคมล้านนา (ปริญญานิพนธ์ปริญญา บัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่). สืบค้น จากhttps://issuu.com/asppang/docs/ll-small2/118
ทีมลีฟวิ่งป๊อป. (16 กุมภาพันธ์ 2564). รีวิว “โรงแรมแทมมาริน วิลเลจ เชียงใหม่” สถาน ที่พักผ่อนสบายๆ สไตล์ล้านนา กลางเมืองเชียงใหม่. https://www.livingpop.com/tamarind-village-chiang-mai/
บริษัทพรีเมียร์ แทมมาริน วิลเลจ. (ม.ป.ป.). โรงแรมแทมมาริน วิลเลจ. https://www.tamarindvillage.com/th/about-us.php
บริษัทพรีเมี่ยม เพอร์เฟค จำกัด. (2559). ทำความรู้จักกับ “ร่มบ่อสร้าง” สินค้าพื้นเมือง ของไทย ที่โด่งดังไปไกลถึงต่างประเทศ. https://umbrella-perfect.com/ ทำความรู้จักกับ-ร่มบ่อ/#:~:text=ร่มบ่อสร้าง%20เป็นสินค้า,ลานบ้านเพื่อให้สี
ปริญญา ชาวสมุน. (10 ตุลาคม 2563). 'แทมมาริน วิลเลจ เชียงใหม่' ความผ่อนคลาย สไตล์ล้านนา. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/901888
71
บรรณานุกรม
ผู้จัดการออนไลน์. (4 มิถุนายน 2562). ไปเชียงราย ไหว้ดอยตุง ทำ "ตุงล้านนา" ที่บ้าน ครูจารินทร์. https://mgronline.com/travel/detail/9620000052700
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. (1 กันยายน 2563). เรือนเครื่องผูก. https://artculture.cmu.ac.th/Museum/detail/14/เรือนเครื่องผูก
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. (16 ตุลาคม 2562). เรือนกาแล(อุ๊ยผัด). https://art-culture.cmu.ac.th/Museum/detail/3/เรือนกาแลอุยผัด
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. (16 ตุลาคม 2562). เรือนพื้นถิ่นแม่แตง. https://art-culture.cmu.ac.th/Museum/detail/7/เรือนพื้นถิ่นแม่แตง
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงแสนจังหวัดเชียงราย. (2563). จินตภาพเมืองเชียงแสน. watchiangsan. https://watchiangsan.com/จินตภาพเมืองเชียงแสน/
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงแสนจังหวัดเชียงราย. (2563). วัดป่าสัก. กรมศิลปากร. https://www.finearts.go.th/chiangsaenmuseum/view/21786-วัดป่าสัก
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง. (ม.ป.ป.). ประวัติความเป็นมาของโคม ล้านนา. http://www.ipelp.ac.th/EDU/2014/document/mydoc/16082016_ 082513.pdf
ร้านสล่าไม้เฟอร์นิเจอร์ลำพูน. (ม.ป.ป.). เฟอร์นิเจอร์ไม้สไตล์ล้านนา. http://www.salamai.com/shop/รายการสินค้า-1.html
72
บรรณานุกรม
รุจพร ประชาเดชสุวัฒน์. (2550). โคมล้านนา. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ. http://lib.payap.ac.th/webin/ntic/koom.htm
โรงแรมราชมรรคา เชียงใหม่. (ม.ป.ป.). โรงแรมราชมรรคา. เฟสบุ๊ค. https://www.facebook.com/RachamankhaHotel/?ref=page_internal
วิกิเวนด์. (ม.ป.ป.). อำเภอเชียงแสน. https://www.wikiwand.com/th/อำเภอเชียงแสน
วีลิฟวิ่งโปร. (29 มกราคม 2563). มาตรฐานพื้นที่จอดรถในแต่ละแบบ. https://www.vlivingpro.com/article/detail/292
ศรีชนา เจริญเนตร. (2554). การศึกษาและพัฒนารูปแบบอัตลักษณ์ล้านนาเพื่อใช้ใน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ล้านนา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://fineart.tu.ac.th/mainfile/journal/62554-1/7.pdf
สรัสวดี อ๋องสกุล, และ สุรพล ดาริห์กุล. (ม.ป.ป.). ประวัติศาสตร์ล้านนา การศึกษาเกี่ยว กับวิหารล้านนาและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง. CMU Intellectual Repository. http://cmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/20642/5/ arc30355pp_ch2.pdf
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย. (ม.ป.ป.). วัดป่าสัก. http://www.cots.go.th/travelview/detail.php?id=22
73
บรรณานุกรม
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย. (12 กุมภาพันธ์ 2565). "เชียงแสนลาย หงส์ดำ" ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงราย. เฟสบุ๊ค. https://www.facebook.com/watch/?v=1818362455026671
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร. (22 กุมภาพันธ์ 2565). การเขียนบรรณานุกรมรูป แบบ APA 7th. https://www.nupress.grad.nu.ac.th/การเขียน บรรณานุกรม/#8-เว-บไซต
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (11 มกราคม 2565). เครื่องเขินใน วัฒนธรรมล้านนา. https://art-culture.cmu.ac.th/Lanna/articleDetail/2466
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (4 มิถุนายน 2563). เครื่องเขิน ล้านนา. https://art-culture.cmu.ac.th/Lanna/articleDetail/1740
สำนักหอสมุดกลาง มศว. (2562). การเขียนบรรณานุกรมตามรูปแบบ APA 6th. https://lib.swu.ac.th/images/Documents/Researchsupport/APA6thCitation160820.pdf
สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). เครื่องเขินเชียงใหม่-ลำพูน. ศูนย์สนเทศ ภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. http://lannainfo.library.cmu. ac.th/lannalacquerware/local-identity/chiangmai-lamphun
74
บรรณานุกรม
สุรพล ดาริห์กุล. (2561). ประวัติศาสตร์และศิลปะล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ.
หนังสือพิมพ์แนวหน้า. (6 เมษายน 2565). ลวดลายผ้าเชียงราย-เชียงแสนหงส์ดำ งดงามและสืบทอดมานานกว่า 760 ปี. https://www.naewna.com/ local/646036
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่. (4 สิงหาคม 2564). วัฒนธรรมอันล้ำค่าของ ชาวล้านนาไทย เรื่อง ตุงล้านนา. กรมศิลปากร. https://www.finearts.go.th/ main/view/26813-องค์ความรู้---วัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาวล้านนาไทยเรื่อง-ตุงล้านนา
75
ประวัติผู้วิจัย ชื่อ
นางสาว อารยา ลิขิตแสนภู
วัน เดือน ปี เกิด
29 สิงหาคม 2540
อีเมล
araya.l61@rsu.ac.th
บัญชีเฟสบุ๊ค
Araya Likhitsaenphu
ประวัติการศึกษา
2547
โรงเรียนบ้านห้วยเกี๋ยง จังหวัดเชียงราย
2553
โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จังหวัดเชียงราย
2561
สาขาวิชาออกแบบภายใน วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต