ปีใหม่สงกรานต์

Page 1



ปีใหม่สงกรานต์ ปีใหมฯ่สํฯกรฯานตฯ่

ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ๑


คำฯบอฯกแจ้งฯ คาบอกแจ้ง ประเพณีปีใหม่สงกรานต์ เป็นประเพณีที่ร่วมกันในภาคพื้นภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศพม่า ลาว ไทย กัมพูช า ตลอดถึง เขตปกครองตนเองสิ บ สองปั น นา เขตปกครองตนเองเต๋อหง (ใต้ค ง) ใน มณฑลยูนนานด้วย อันเป็นการเฉลิมฉลองการเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ในครั้งนี้ นับว่าเป็นการให้ความรู้ด้านประเพณีสงกรานต์ของล้านนา ผ่ านตัว บทความสั้ น ๆ ที่น าเสนอ เพื่อ ให้ ได้ รั บ รู้ถึง ความหมายและจารี ต ปฏิบัติอันดีงามที่สืบทอดต่อกันมา ดังคาโบราณล้านนาที่บอกสืบต่อกันมาว่า “ของบ่ กิ๋ น ฮู้ เน่ า ของบ่ เล่ า ฮู้ ลื ม ” ของที่ไ ม่ กิน เน่ าได้ฉั น ใด สิ่ ง ที่ไ ม่เ ล่ า ออกมา ก็จะลืมได้ฉันนั้น ฉะนั้นจึ งเล่าไว้ก่อนที่จะหายสู ญ และเท่ากับว่า “แป๋งดีไว้หื้อลูก แป๋งถูกไว้หื้อหลาน” สร้างสิ่งดีไว้ให้ลูก สร้างสิ่งถูกต้องไว้ให้ หลานนั่นเอง ด้วยจิตคาระวะ ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา


ปีใหมฯ่สํฯกรฯานตฯ่ ปีใหม่สงกรานต์ เรียบเรียงโดย ศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว

*

สงกรานต์ ห รื อ ทางล้ า นนาเรี ย กว่ า “ปี ใ หม่ เ มื อ ง” และค าว่ า สงกรานต์ ทางเหนื อจะออกเสี ย งว่า “สั ง-ขาน” เพราะมาจากคาว่า สั ง กรานต์ และตัว กร. ทางล้านนาออกเสียงเป็นตัว ข. บางครั้งก็จะเห็นเขียนว่า “สังขานต์” ก็มี สงกรานต์ -สังกรานต์-สังขานต์ แปลว่าก้าวผ่านหรือเคลื่อนเข้าไป นั่นหมายถึงในแต่ละปีจะมีวันสงกรานต์หรื อการก้าวผ่านจากจักรราศีหนึ่ง ไปสู่จักรราศีหนึ่งอยู่ ๑๒ ครั้ง และครั้งที่เคลื่อนจากราศีมีนไปสู่ราศีเมษ ถือ ว่าเป็น “มหาสงกรานต์” เป็นช่วงที่เราเฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนาน นับว่า เป็ น การรั บ เอาวั ฒ นธรรมมาจากทางอิ น เดี ย และมาปรั บ แปรเป็ น ลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น กอปรกับช่วงนั้นเป็นช่วงฤดูร้อนที่ร้อนอบอ้าว จึง มีการลดความร้อนด้วยการสาดน้ากันชุ่มฉ่า จนเป็นลักษณะที่เห็นได้ในช่วง สงกรานต์และเป็นภาพที่คู่กับสงกรานต์แพร่ไปทั่วโลก

*

นักวิชาการศึกษา ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา


'หดนาปี๋ใหม่' หรือรดนาสงกรานต์

สิ่งที่มาประกอบกันในช่วงสงกรานต์คือการเปลี่ยนศักราช ซึ่งศักราช ที่เปลี่ยนนี้คือ จุลศักราช ซึ่งนับปี จุลศักราช ๑ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๒ ในสมัย พระบุพพโสรหัน และใช้สืบมาจนปัจจุบัน จากการคานวณของคัมภีร์สุริย ยาตร ซึ่งใช้เป็นคัมภีร์หลักในการคานวณวันมหาสงกรานต์ และวันเถลิงศก ทั้งในส่วนกลางและล้านนา กิจกรรมที่มีในช่วงสงกรานต์ในล้านนานั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละ วันโดยเรียงไปดังนี้ วันสังกรานต์ล่อง(สังขานต์ล่อง) วันเน่า วันพระญาวัน วัน ปากปี วันปากเดือน วันปากวัน วันปากยาม โดยกิจกรรมหลักๆ จะอยู่ในสี่ วันแรกเท่านั้น ๔


วันสังกรานต์ล่อง หรือวันมหาสงกรานต์ วันนี้โดยความหมายคือ วันที่ยกย้ายเปลี่ยนราศี พระอาทิตย์เริ่มแตะเขตแห่งราศีเมษ ซึ่งลักษณะนี้ ทางล้านนาได้สร้างบุคคลาธิษฐาน จากพระอาทิตย์มาเป็นขุนสังกรานต์ที่มี ลักษณาการ เครื่องประดับ และพาหนะแตกต่างกันไปตามวัน มหาสงกรานต์ จะเป็นวันใดใน ๗ วัน และจะมีคาทานายแปรไปตามลักษณะขุนสังกรานต์ ซึ่งแตกต่างจากทางภาคกลางที่ยึดเอาตาราแบบมอญในเรื่องธรรมบาลกุมาร มาเป็น หลั ก ที่รั บมาจากกลุ่มมอญ-เขมร ด้ว ยกล่ าวถึงเศียรของท้าวกบิล พรหมและธิดานางสงกรานต์ทั้ง ๗ แต่ความเชื่อนี้ไม่มีในล้านนาแต่เดิม เพิ่ง จะมีมาในช่วงที่รับอิทธิพลไทยในภายหลังนี้เอง ขุนสังขานต์ของล้านนานั้น มีลักษณะอาการอย่างไรแล้วแต่ตารา อาจจะมีการคลาดเคลื่อนกันไปบ้าง บางท้องที่ก็ยังมีเรื่องเล่าแตกต่างกันไป อีก เช่น เรื่องปู่สังขารและย่าสังขาร (มักจะเขียนสังขารแบบนี้ ด้วยหมายถึง สังขารที่ล่วงไปในหนึ่งปี) โดยผู้ใหญ่จะหยิบยกเรื่องนี้มาบอกเด็กๆ เป็นกุศ โล บายให้เด็กตื่นแต่เช้าในวันสงกรานต์ โดยบอกว่า ปู่สังขารและย่าสังขารจะ นุ่งผ้าสีแดงเดินล่องไปตามถนน พร้อมทั้งหอบเอาสิ่งต่างๆ ไม่ดีต่างๆ ล่วงไป ด้วย ทาให้มีการกวาดเศษขยะไปกองไว้ตามหน้าบ้าน แล้วตอนเช้าก็ทาการ เก็ บ หรื อ เผา ต่ อ มาเมื่ อ มี ก ารฟื้ น ฟู ใ นเรื่ อ งปฏิ ทิ น ล้ า นนาและประกาศ สงกรานต์ ล้ า นนา ท าให้ เ รื่ อ งราวของขุ น สั ง ขานต์ ก ลั บ รั บ การฟื้ น ฟู แ ละ กล่าวถึงกันอีกครั้ง กอปรกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว ก็ทาให้มีการแห่ขุนสัง ขานต์ร่วมกับการแห่งนางสงกรานต์แบบไทยสยาม


ภาพวาดขุนสังขานต์ประจาปี จ.ศ.๑๓๗๗ ปีดบั เม็ด แต้มโดย ผศ.ลิปิกร มาแก้ว

จากที่ประชุมเกี่ยวกับปักขทืนล้านนาและประกาศสงกรานต์ล้านนา ได้ข้อสรุปมาว่า หากสั งกรานต์ ไ ปวั น อาทิ ต ย์ ขุ น สั งกรานต์นุ่ ง ผ้ าสี แ ดง ประดั บ ด้วยปทมราค มือขวาถือดอกบัว มือซ้ายถือผาลา(โล่) ยืนมาบนหลังม้าขาว ไปสู่ทิศตะวันออก นางเทวดาชื่อธังสี ยืนรับเอาขุนสังกรานต์ ชาวเมืองจะ เดือดร้อน จักมีศึกและนาไม่ได้ผล ๖


หากสังกรานต์ไปวันจันทร์ ขุนสังกรานต์นุ่งผ้าสีขาว ประดับด้วย แก้ววิฑูรย์ มือซ้ายขวาถือดอกบัวขาว นอนตะแคงมาบนหลังช้างเผือก ไปสู่ ทิศตะวันตก นางเทวดาชื่อมโนรา นอนรับเอาขุนสังกรานต์ ท้าวพระญาจะ เดือดร้อน พืชอุดมและจักเกิดอุบาทว์ หากสั ง กรานต์ ไ ปวั น อั ง คาร ขุ น สั ง กรานต์ นุ่ ง ผ้ า สี แ ก้ ว ปพาฬ ประดับด้วยแก้วปพาฬ เนรมิตมีมือ ๔ มือ มือขวาบนถือจักร มือขวาล่างพาด ตัก มือซ้ายบนถือประคา มือซ้ายล่างถือกระออมแก้ว ยืนก้มหน้ามาบนหลัง ราชสี ห์ จากทิ ศอุด รไปสู่ ทิ ศ อี ส าน นางเทวดาชื่อมั ณฑะ มารั บเอาขุ นสั ง กรานต์ ชาวเมืองจะเดือดร้อน หากสั ง กรานต์ ไ ปวั น พุ ธ ขุ น สั ง กรานต์ นุ่ ง ผ้ า สี ด า ประดั บ แก้ ว อินทนิล เนรมิตมีมือ ๔ มือ มือขวาบนถือลูกศร มือขวาล่างถือแพน มือซ้าย บนถือคนโท มือซ้ายล่างถือแพน นั่ งขัดสมาธิมาบนหลังนกยูงดา จากทิศ บูร พาไปสู่ ทิ ศทักษิ ณ นางเทวดาชื่ อสุ ริ น ทะ มารับ เอาขุ นสั งกรานต์ ท้า ว พระญา พราหมณ์ และสัตว์ ๔ เท้าจะเดือดร้อน วัวจะเกิดโรคห่า หากสังกรานต์ไปวันพฤหัสบดี ขุนสังกรานต์นุ่งผ้าสีเหลือง ประดับ ด้วยแก้ววิฑูรย์น้าทอง มือซ้ายถือประคา มือขวาพาดตัก ยืนมาบนหลังม้า เหลือง ไปสู่ทิศเหนือ นางเทวดาชื่อกัญญา คุกเข่ารับเอาขุนสังกรานต์ ท้าว พระญาจะเดือดร้อน พืชอุดมและจักเกิดอุบาทว์ หากสังกรานต์ ไ ปวัน ศุกร์ ขุน สั งกรานต์นุ่งผ้ าสี ขาว ประดับแก้ว วิฑูรย์ เนรมิตมีมือ ๔ มือ มือขวาบนถือกระจกเงา มือขวาล่างถือประคา มือ ซ้ายบนถือผาลา(หอก) มือซ้ายล่างพาดตัก นั่งยองๆ มาบนหลังควาย จากทิศ อาคเนย์ไปสู่ทิศพายัพ นางเทวดาชื่อลิตา มานั่งรับเอาขุนสังกรานต์ นักบวช และชีพราหมณ์จะเดือดร้อน ข้าวกล้าในนาดี ๗


หากสังกรานต์ไปวันเสาร์ ขุนสังกรานต์นุ่งผ้าสีเขียว ประดับแก้ว มรกต เนรมิตมีมือ ๔ มือ มือขวาบนถือหอ มือขวาล่างถือลูกศร มือซ้ายบน ถือธนู มือซ้ ายล่ า งถือดาบ นอนตะแคงมาบนหลั ง แรด ไปสู่ ทิ ศหรดี นาง เทวดาชื่อยามา ยืนรับเอาขุนสังกรานต์ เสนาอามาตย์จะเดือดร้อน วั น สั ง กรานต์ ล่ อ งนี้ ถื อ ว่ า เป็ น วั น ท าความสะอาดครั้ ง ใหญ่ (Big Cleaning Day) โดยชาวบ้านจะจุดสะโป้กหรือประทัดยักษ์แต่เช้ามืด เพื่อให้ เกิดเสียงดังในลักษณะของการไล่สังขานต์(และสังขาร) โดยเฉพาะเด็กผู้ชาย จะชื่นชอบการจุดสะโป้กเป็นอย่างมาก ตอนกลางวันก็จะทาความสะอาด บ้าน ขนผ้าออกซัก ทาความสะอาดวัดวาอาราม ถนนหนทางตามหมู่บ้าน และที่สาคัญมีการดาหัวหรือชาระตัวเองด้วยน้าขมิ้นส้มป่อย นุ่งผ้า ใหม่ และ ทัดดอกไม้ที่ถือว่าเป็นพระญาดอกอันใหญ่กว่าดอกไม้ทั้งหลาย ตามที่ปรากฏ ในหนั ง สื อ ปี ใ หม่ หรื อ ประกาศสงกรานต์ แ บบล้ า นนาว่ า ไว้ ว่ า “ในวั น สั ง กรานต์ล่องไพนั้น จุ่งหื้อครูบาอาจารย์ เจ้านาย ท้าวพระญา เสนาอามาตย์ ข้าราชการ ไพร่ ราษฎอรทังมวล เอากัน ไพสู่โ ปกขรณี แม่น้า เค้าไม้ จอม ปลวกใหย่ หนทางใฅว่สี่เส้นสุมกัน อว่ายหน้าไพสู่ทิสะหนใต้ อาบองค์สรง เกศเกล้าเกศี ปลีนี้สรีอยู่ที่ดัง หื้อเอาน้​้าอบน้​้าหอมเช็ดที่ดังเสีย กาลกิณีอยู่ที่ ปาก จังไรอยู่ที่บ่า หื้อเอาน้​้าเข้าหมิ้นส้ มป่อยเช็ดฅว่างเสีย กล่าวคาถาว่า “อม สิริมา มหาสิริมา เตช ยสฺส ลาภา อายุ วณฺณา ภวนฺตุ เม” ลอยจังไร เสียในที่ทังหลายฝูงนั้น แล้วมานุ่งทรงเสื้อผ้าผืนใหม่ ทัดดอกเอื้องอันเปนพ ระญาดอก หากจักมีอายุยืนยาวไพชะแล ” (ประกาศสงกรานต์ล้านนา ปี จ. ศ.๑๓๗๗ ฉบับ อ.ยุทธพร นาคสุข)


ส่ ว นเมื อ งเชี ย งใหม่ ในวั น สั ง กรานต์ ล่ อ งนี้ มั ก มี ก ารอั ญ เชิ ญ พระพุทธรูปสาคัญของเมือง โดยเฉพาะพระสิงห์ หรือพระพุทธสิหิงค์ มาขึ้น บุษบกแห่รอบเมือง เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ากัน วันเน่า หรือวันเนา เป็นวันที่เปลี่ยนผ่าน (Transition) ไม่เก่าไม่ใหม่ เป็นช่วงว่าง เป็นเวลาแห่งความไม่แน่นอน ไม่ชัดแจ้ง ทาให้ถือว่าวันนี้เป็นวัน ไม่ควรที่จะทาการมงคล ด้วยชื่อวันว่า เน่า ไม่เป็นมงคล วันนี้จึงเป็นวันที่ เตรียมตัวไปวัด ทั้งทาขนม ขนมที่ทาส่วนใหญ่มักเป็น ‘เข้าหนมจ๊อก’ หรือ ขนมเที ย นของทางภาคกลาง หรื อ เข้ า หนมเหนี ย บ ของทางเมื อ งน่ า น นอกจากนี้ยังมีขนมอื่นๆ เช่น ขนมข้าวต้มมัด ข้าวต้มหัวหงอก ขนมเกลือ ขนมลิ้นหมา เป็นต้น ส่วนอาหารคาว-หวาน โดยเฉพาะ ‘ห่อหนึ้งไก่’ หรือห่อ หมกไก่ และแกงฮังเล เพื่อเตรียมตัวไปถวายพระวันรุ่งขึ้น ตอนเย็นมีการขน ทรายเข้าวัดไปก่อเจดีย์ทราย ที่สาคัญวัน นี้ถือว่าเป็น “กา” หรือวันที่มีข้อ วัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในวาจา นั่นคือไม่ด่า ไม่แช่ง ไม่กล่าวคาอันหยาบ คาย ด้วยเกรงว่าปากจะเน่า การที่วันเน่านี้ห้ามทามงคล ด้วยในอานิสงส์สังขานต์ ฉบับวัดดอน ชัย ต.ปอน อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน กล่าวว่า พระญาสุริยะครองเมืองกลิงคะมีมเหสี สองคน พระองค์ได้เลี้ยงภูติผีปีศาจ ทาให้ ฝนไม่ตกตามฤดูกาล เมื่อตายไป ได้ไปเกิดเป็นเปรตหัวด้วนอยู่นอกเขาจักรวาล ส่วนมเหสีที่มีอยู่สองคนนั้น เมื่อตายไปก็ไปพบซากของเปรตพระญาสุริยะ เมื่อวันมหาสงกรานต์ผ่านไป แล้วหนึ่งวันก็นาเอาน้ามาล้างคราบเน่าคราบหนองของซากเปรตนั้น ทาให้ วันนั้นเป็นวันเน่าและไม่ทางานมงคลใดๆ ส่วนตอนเย็นวันนั้นก็จะมีการขนทรายเข้าวัดพร้อมตกแต่ง เพื่อที่จะ ถวายในวันพระญาวัน การขนทรายเข้าเพื่อก่อเป็นเจดีย์ทราย นอกจากความ ๙


เชื่อในอานิสงส์ที่มีมากแล้ว ยังมีความเชื่ออื่นแฝงอยู่นั่นคือ การเกรงต่อปาป และทรายที่อยู่รอบวิหารนั้นก็เปรียบเสมือนทะเลสีทันดร ที่ล้อมรอบเขาพระ สุเมรุ การเข้าวัดไปแต่ละครั้งชาวบ้านก็จ ะถอดรองเท้าไว้ที่หน้าประตูวัด และเดินท้าวเปล่าเข้าไป และทรายนั้นอาจจะติดเท้าออกมา การที่เอาของวัด ออกไปก็จะเป็นบาปติดตัวแบบที่ตั้งใจก็ดีหรือไม่ตั้งใจก็ ดี ทาให้ชาวล้านนา เกรงกลัว ด้วยอาจจะไปเกิดเป็นเปรต เมื่อปีหนึ่งจึงทาการเอาทรายมาคืน ให้ กับ ข่ว งแก้ว ทั้งสามหรื อลานวัด ในรูป แบบของการก่อเจดีย์ทราย และ ทรายนี้นอกจากจะปูรอบวัด รอบวิหารในตัวแทนของทะเลสีทันดรแล้ว หาก มีมาก็สามารถนามาใช้ประโยชน์อื่นได้อีก กอปรกับลานทรายที่อยู่รายรอบ นั้นช่วยระบายความชื้นได้เป็นอย่างดี ช่วยรักษาเจดีย์หรือองค์พระธาตุไม่ให้ ผุพังด้วยความชื้นได้ นอกจากนี้ยังนิยมที่จะตัดไม้ไผ่มาใช้งาน ด้วยเชื่อว่า ตัดไม้ในวันนี้ มอดและปลวกจะไม่กินไม้

๑๐


ก่อเจดีย์ทราย

๑๑


วันพระญาวัน หรือวันเถลิงศก เป็นวันที่ศักราชเพิ่มขึ้นอีกตัวหนึ่ง เป็นวันปี ใหม่อย่ างสมบูร ณ์ วันนี้ จึงเป็นวันที่ยิ่งใหญ่กว่าวันอื่นใดในรอบปี เป็นวันที่ชาวล้านนาหลายคนรอคอยประกอบพิธีมงคล ด้วยเป็นวันดีที่สุดใน รอบปี ห รื อ เป็ น วั น ที่ ใหญ่ ก ว่า วั น อื่น ใดในปี นั้ น เช่ น งานขึ้ น บ้า นใหม่ เปิ ด ร้านค้าใหม่เป็นต้น วันพระญาวันเป็นวันที่ไปวัดประกอบพิธีทางศาสนา ถวายอาหาร อุทิศไปหาญาติผู้ล่วงลับ ไหว้พระรับศีล ถวายเจดีย์ทรายและตุง ถวายไม้ค้า โพธิ์เพื่อค้าอายุเจ้าตัวและค้าอายุพระพุทธศาสนา ทาบุญเสาใจบ้าน ตอน บ่ายมีการฟังเทศน์อานิสงส์ปีใหม่ สรงน้าพระพุทธรูป และพระสงฆ์ ตลอดถึง ดาหัวหรือขอขมาแก่พระสงฆ์ และผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือ โดยจะเริ่มตั้งแต่ วันพระญาวันนี้ไปเรื่อย ๆ การดาหัวแต่เดิมจะเป็นการสระผมจริงๆ พร้อมนุ่ง ผ้าผืนใหม่ พร้อมรับของบริวารที่ลูกหลานนามาให้พ่อแม่ผู้เฒ่าผู้แก่ แล้วท่าน ก็จ ะให้ พร ต่อมาการดาหั วจึ งเหลื อแต่การประเคนน้าขมิ้นส้มป่อยน้าอบ น้าหอมพร้อมทั้งเครื่องดาหัวให้แก่ผู้ที่เราเคารพแล้วท่านนั้นก็จะจุ่มมืดลงใน ขันน้านั้นและพรมที่ศีรษะท่านพอเป็นพิธีแล้วก็ให้พร ที่สาคัญในวันนี้มักนิยม ที่จะกินลาบกัน เพื่อจะมีลาภ(พ้องเสียงกับคาว่า ลาบ) ตลอดปี

๑๒


ไม้คาโพธิ์ และ สรงนาพระ

๑๓


วันปากปี เป็นวันที่มีพิธีหลายอย่างด้วยกัน นั่นคือ การบูชาข้าวลด เคราะห์ คล้ายกับการส่งเคราะห์เรือน ส่วนการส่งเคราะห์บ้านก็จะนาเครื่อง บูชามารวมกัน ณ จุดใดจุดหนึ่งของหมู่บ้าน สี่แยกกลางหมู่บ้าน หรือบริเวณ เสาใจบ้านก็ได้ ทาพิธีส่งเคราะห์และรวมถึงสืบชะตาหมู่บ้านด้วย นอกนั้นก็ จะเป็ น การด าหั ว ผู้ เ ฒ่ า ผู้ แ ก่ ที่ เ คารพนั บ ถื อ การด าหั ว นี้ จ ะมี ไ ปเรื่ อ ย ๆ แล้วแต่ความสะดวกในการเดินทางไปดาหัวใกล้ไกลมากน้อยแค่ไหน และที่ สาคัญในวันปากปีนั้น นิยมกินแกงขนุน หรือทางเหนื อเรียกหมากหนุน เพื่อ เป็นการอุดหนุนจุนเจือค้าจุนกันไปตลอดปี

ดาหัวผู้เฒ่าผู้แก่

ส่วนวันปากเดือนปากวันปากยาม เรียงถัดกันไปนั้นก็จะเป็นการดา หัวเป็นสาคัญ ที่สาคัญอีกประการหนึ่งในวันสงกรานต์นั้น ก่อนที่จะถึงสงกรานต์ มักจะมีการประกาศสงกรานต์ออกมาก่อนหรือทางล้านนาเรียกว่าหนังสือปี ใหม่ ในนั้นจะบอกว่าวันสังกรานต์ล่องวันไหน วันเน่ากี่วัน วันพระญาวันวัน ๑๔


ไหน และบอกข้อปฏิบัติในการดาหั วตัว เองในวันสังกรานต์ล่อง พร้อมทั้ง บอกไม้ และสั ตว์ ที่เ ป็ น มงคลต่ างๆ ในปี นั้ น รวมถึง คาทานายความอุด ม สมบูรณ์เหตุการณ์บ้านเมืองร่วมด้วย ฉะนั้ นสงกรานต์ หรือปีใหม่เมืองจึง สาคัญกับชาวล้านนาอย่างยิ่ง แม้นว่าลูกหลานชาวล้านนาไปอยู่ที่ไหนก็จะ พยายามกลับบ้านในช่วงนั้นให้ได้

สงกรานต์ ทีถ่ นนท่าแพ พ.ศ. ๒๔๙๗ ภาพจาก ศูนย์สารสนเทศภาคเหนือ สานักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://library.cmu.ac.th/ntic/picturelanna/detail_picturelanna.php?picture_id= 1532

๑๕


ปัจจุบันการลักลั่นในเรื่องของวันประกอบพิธีกรรม ทาให้ผู้คนสับสน และกระทาผิดวันกันมากขึ้น จากความคุ้นเคยกันมาแต่ก่อน จากการคานวณ ตามคั ม ภี ร์ สุ ริ ย ยาสตร์ มั ก พบว่ า ในรอบ ๖๐ ปี วั น มหาสงกรานต์ มั ก จะ เคลื่อนกันไป ๑ วัน ที่ผ่านมานั้น ตอนประกาศวันหยุด สังกรานต์นั้น วันสัง กรานต์ล่อง (วันมหาสงกรานต์) – วันเน่า (วันเนา) – วันพระญาวัน (วันเถลิง ศก) มักตรงกับวันที่ ๑๓ – ๑๔ – ๑๕ เมษายน ทาให้ทางราชการประกาศ วันหยุดราชการเป็นสามวันนี้ และชาวล้านนาก็ปฏิบัติตามศาสนกิจตามวัน ดังกล่าว ซึ่งก็ถูกต้องตามวันที่ประกาศสงกรานต์ แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา วันเริ่มเคลื่อน ทาให้มีการลักลั่นระหว่างวันหยุดราชการที่ยึดตามแบบเดิมอยู่ และเป็ น ที่คุ้น เคยกัน มาเกือบชั่ว คน เมื่อการคานวณวันมหาสงกรานต์ได้ เลื่อนมาอีกวัน เป็นวัน ๑๔ – ๑๕ – ๑๖ เมษายน และจะเคลื่อนต่อไปอีก เรื่อยๆ หากไม่มีการตัดศักราชใหม่ สงกรานต์ก็อาจจะตกอยู่ในช่ว งกลาง พรรษาได้ ทาให้มีปัญหาว่า จากเดิมที่เคยเป็นวันพระญาวัน จึงกลายเป็นวัน เน่า คนที่คุ้นเคยว่าจะต้องทากันในวันนั้นโดยเข้าใจว่าเป็ นวันพระญาวัน รอ คอยที่จะทางานมงคลในวันดีวันนั้น กลับกลายเป็นวันเน่า วันที่ห้ามทางาน มงคลทุกอย่าง ซึ่งก็จะต้องทาความเข้าใจกันต่อไปอีก๚๛

๑๖


หนังสือปีใหม่เมืองล้านนา จุลลสกราช ๑๓๗๗ พุทธศักราช ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ ปลีดับเม็ด (ปีมะแมสัปตศก) หอรคุณวันสังกรานต์ล่อง หอรคุณวันเน่า หอรคุณวันพระญาวัน มาสเกณฑ์ กัมมัชพล ติถี

วันพระญาวัน จ.ศ.๑๓๗๗ ๑๗๐๓๑ อวมาน ๑๘๘ อุจจพล ๒๘ วาร

๕๐๒๙๖๐ ๕๐๒๙๖๑ ๕๐๒๙๖๒ ๐ ๑๓๘๑ ๕

อธิกมาส ปกติวาร ปกติสุรทิน มังคลวุฒิ กาลานุ กาละ สั งกรมสวัสสติ ศิริศุภ มัส ตุ จุลลสกราชได้ ๑๓๗๖ ตั ว มะเมี ย ฉน ากั ม โพชพั สั ย ในคิ ม หั น ตอุ ตุ จิ ต ตมาส กาฬปั ก ษ์ เอกาทสี ภุมมวารไถง ไทภาษาว่าปลีกาบสะง้า เดือน ๗ ลง ๑๑ ฅ่า วันไทกด สัน ติถี ๑๐ ตัว นาทีติถี ๓๓ ตัว พระจันทร์จรณยุตติโยดโสดเสด็จเข้าเทียว เทียมนักขัตรืกษ์ตัวถ้วน ๒๓ ชื่อ ธนิฏฐาคือว่าดาวไซ เทวตาปรากฏในกุมภวาโยรวายสี นาทีรืกษ์ ๒ ตัว เสี้ยงยามตูดช้ายสู่ยามกลองแลง ปลาย ๒ ลูก มหานาที ปลาย ๑๔ พิชชา ปลาย ๕ ปราณ ปลาย ๑๐ อักขระ คือว่าได้ ๑๔ นาฬิกา ๒๔ นาที ๐๐ วินาที พร่าว่าได้วันอังคารที่ ๑๔ เมษายน พระพุทธ สกราช ๒๕๕๘ ๑๗


ยามนั้ น รวิ สั ง กรมะ คื อ พระสุ ริ ย อาทิ ต ย์ ทรงวั ต ถาอาภอรณ์ เครื่ องประดับดั่งแก้วปั พภา สุบ กระโจม ต่างกระจอนหู ประดับด้วยแก้ว ปัพภา เนรมิตตนหื้อมีมือ ๔ เบื้อง มือซ้ายกล้าบนทือหมากนับ มือขวากล้า บนทือจักราวุธ มือซ้ายกล้าลุ่มทือ กระออมแก้ว มือขวากล้าลุ่มพาดตักไว้ ยืน ก้มหน้ าเหนื อหลั งราชสี ห์ ลุ กหนอุตตระ ไปสู่ ห นอีสาน เสด็จย้ายจากมีน ประเทศสูเมษรวายสี ทางโคณวิถีเข้าใกล้เขาพระสุเมรุราช ขณะยามนั้น ยังมีนางเทวดาตนหนึ่ง ชื่อว่า มัณฑะ ถือเอาดอกเอื้อง อันเปนนิมิตนามปลี มาอยู่ถ้าดารับเอาขุนสังกรานต์ไพ ปลีนี้จักแล้ง กรียุคจัก เกิดมีแก่ฅนทังหลาย เข้าเกลือจั กแพงแล เหตุตามคาถาว่า “ภุมฺมภาโน จ สงฺกฺรม องฺกุชฺโฌ ปฏิคโห นคฺครญฺจ อคฺคิทฆ ยุทฺธ เหส นส สย” ดั่งนี้แล ควร สืบชาตาบ้านเมือง ปูชาเคราะห์บ้านเคราะห์เมือง ตามอุปเทศเทิอะ จิ่งพ้น แล ในวันสังกรานต์ล่องไพนั้น จุ่งหื้อครูบาอาจารย์ เจ้านาย ท้าวพระญา เสนาอามาตย์ ข้าราชการ ไพร่ราษฎอรทังมวล เอากันไพสู่โปกขรณี แม่น้า เค้าไม้ จอมปลวกใหย่ หนทางใฅว่สี่เส้นสุมกัน อว่ายหน้าไพสู่ทิสะหนใต้ อาบ องค์ส รงเกศเกล้ าเกศี ปลี นี้ ส รี อยู่ ที่ดัง หื้ อเอาน้าอบน้าหอมเช็ดที่ดังเสี ย กาลกิณีอยู่ที่ปาก จังไรอยู่ที่บ่า หื้อเอาน้าเข้าหมิ้นส้มป่อยเช็ดฅว่างเสีย กล่าว คาถาว่า “อม สิริมา มหาสิริมา เตช ยสฺส ลาภา อายุ วณฺณา ภวนฺตุ เม” ลอยจังไรเสียในที่ทังหลายฝูงนั้น แล้วมานุ่งทรงเสื้อผ้าผืนใหม่ ทัดดอกเอื้อง อันเปนพระญาดอก หากจักมีอายุยืนยาวไพชะแล เดือน ๗ ลง ๑๒ ฅ่า พร่าว่าได้วันพุธที่ ๑๕ เมษายน พระพุ ทธสก ราช ๒๕๕๘ วันไทร้วงเร้า เปนวันปูติ คือ วันเน่า ในวันเน่านั้นบ่ควรกะทามัง คลกัมม์สักอัน อย่าหื้อฅนทังหลายมีใจฃุ่นมัวกวนเกลาด้วยบาป เปนต้นว่า ๑๘


ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร อย่าผิดถ้องร้องเถียงกัน หื้อมี สามัคคฉัน ทาพร้อมเพรีย งกัน ชาระหอเรือนบ้านชอง กวาดซายดายหย้า ข่วงวัดวาอาราม ข่วงไม้สรี เจติยะ พระธาตุ ขนซายใส่วัด จักมีผลานิสงส์ กว้างขวางมากนักชะแล เดือน ๗ ลง ๑๓ ฅ่า เปนวันพระญาวัน พร่าว่าได้วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ เมษายน พระพุทธสกราช ๒๕๕๘ วันไทเต่าเส็ด ติถี ๑๒ ตัว นาทีติถี ๔๖ พระจันท์จรณยุตติโยดโสดเสด็จเข้าเที ยวเทียมนักขัตตรืกษ์ตัวถ้วน ๒๕ ชื่อ ปุพพภัทรบท คือ ดาวหัวเนื้อทราย นัย ๑ ว่าดาวพิดานหลวง เทวตาปรากฏ ในมีนอาโปรวายสี นาทีรืกษ์ ๑๐ ตัว เสี้ยงยามพาดลั่นสู่ยามตูดเดิก็ ปลาย ๓ บาทน้า ปลาย ๘ พิชชา ปลาย ๕ ปราณ ปลาย ๑๐ อักขระ คือว่าได้เวลา ๑๘ นาฬิกา ๒๑ นาที ๓๖ วินาที ยามนั้ นสกราชจิ่งขึ้นแถมตัวนึ่ง จิ่งเปน ๑๓๗๗ ตัว ปลีดับเม็ดแล ปลีนี้ได้เสส ๙ ชื่อ มิตตสิรวัสสะ ปลีนี้วอกรักษาปลี ไก่รักษาเดือน จ่อนแจ้รักษาป่า นาครักษาน้า อวัสสุโรยักขะรักษาอากาศ ปัชชุนนะเทวบุตต์ รักษาแผ่นดิน พราหมณ์เปนใหย่แก่ฅนทังหลาย วอกเปนใหย่แก่สัตต์ ๔ ตีน นกกาลาบเปนใหย่แก่สัตต์ ๒ ตีน ไม้บัวลาเปนใหย่แก่ไม้จิง ไม่ไผ่เปนใหย่แก่ ไม้กลวง หย้าฅาเปนใหย่แก่หย้าทังหลาย ดอกเอื้องเปนพระญาแก่ดอกไม้ โอชารสดินบ่มีหลาย ขวันเข้าอยู่ไม้ซาง หื้อเอาไม้ซางมาแปลงเปนคันเข้าแรก ไม่ไผ่เปนพ ระญาแก่ไม้กลวงไม้ตันทังมวล ผีเสื้ออยู่ไม้มูก ผีเสื้ออยู่ไม้อันใด อย่าได้ฟักฟัน ตัดปล้ายังไม้อันนั้น คันจักกะทามังคลกัมม์เยื่องใด หื้อได้ปูชาผีเสื้ออยู่ไม้นั้น เสียก่อนแล้วกะทา จักสมริทธีชะแล ๑๙


นาคราชขึ้นน้า ๗ ตัว บันดาลหื้อฝนตก ๔๐๐ ห่า ชื่อ ภุมมาธิปติ จัดเปนตางได้ ๔ ตาง แลตางกว้างได้ ๖๐ โยชนะ เลิก็ ๓๐ โยชนะ จักตกใน เขาสัตตปริภัณฑ์ ๑๙๑ ห่า ตกในป่าหิมพานต์ ๑๓๓ ห่า ตกในมนุสสโลก เขตต์เมืองฅน ๗๖ ห่า เทวดาวางเครื่องประดับหนพยัพ คือ ทิสะหนวันตกแจ่งเหนือ ปาป เคราะห์ตกหนอีสาน คือ ทิสะหนวันออกแจ่งเหนือ ปาปลัคนา ตกหนหอรดี คือ ทิสะหนวันตกแจ่งใต้ ในทิสะทัง ๓ นี้ กะทามังคลกัมม์และอาบน้าดาหัว ชาระตนตัว อย่าอว่ายหน้าไพต้อง บ่ดี อตีตวรพุทธสาสนาคลาล่วงแล้วได้ ๒๕๕๗ พระวัสสา ปลาย ๑๑ เดือน ปลาย๑๓ วัน นับแต่วันพระญาวันฅืนหลัง อนาคตวรพุทธสาสนาจักมา พายหน้าบ่หน้อย ยังอยู่ ๒๔๔๒ พระวัสสา ปลาย ๑๗ วัน นับแต่วันปากปลี ไพพายหน้า ตามชินกาลมาลินีสังเกตเหตุเอาบวกสมกันเตม ๕๐๐๐ พระวัส สาบ่เสส เหตุตามฎีกาชินกาลมาลินีมหาพิลางคสัมมิหรสีเจ้า หากวิสัชชนา แปลงสืบๆ มานั้นแล ปริโยสาน สมตฺตา ฯลฯ ดร.ยุ ท ธพร นาคสุ ข สถาบั น วิ จั ย ภาษาและวั ฒ นธรรมเอเชี ย มหาวิทยาลัยมหิดล เปนผู้วิสัชชนาปล่านแปลงแต่งแต้มทานายพยากอรณ์แล

๒๐


ตัวอย่างประกาศสงกรานต์แบบไทยใหญ่ที่พิมพ์กันในรัฐฉาน

๒๑


ตัวอย่างประกาศสงกรานต์แบบไทยขืนที่พิมพ์กันในเมืองเชียงตุง รัฐฉาน

๒๒


ดาห฿วฯ ดาหัว เรียบเรียงโดย ศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว* “ด าหั ว ” โดยรู ป ศั พ ท์ แ ล้ ว แปลว่ า สระผม และอี ก ความหมาย หนึ่ ง คื อ การท าความเคารพและขอ ขมาลาโทษในช่วงวันสงกรานต์ ประเพณีดาหั ว นั้น มีอยู่ส อง ช่วง และสองสถานการณ์ นั่นคือ การด าหั ว ตั ว เอง ในวั น สั ง กรานต์ ( สั ง ขานต์ ) ล่ อ ง คื อ การปั ด เคราะห์ ที่ ติ ด กั บ ตัว ตลอดปี ที่ ผ่ า นมา นั้นให้ตกไปกับปีเก่า หรือให้ตกไปกับสังกรานต์ โดยใช้น้าขมิ้นส้มป่อยดาหัว และเช็ ด ต าแหน่ ง ที่ เ ป็ น จั ญ ไรและกาลกิ ณี และใฃ้ น้ าอบน้ าหอมพรมใน ตาแหน่งศรี ของปีนั้น ๆ ดังประกาศสงกรานต์ปี จุลศักราช ๑๓๗๗ ปีดับเม็ด (ปีมะแม สัปตศก) ว่าไว้ดังนี้ “ในวั น สั ง กรานต์ ล่ อ งไพนั้ น จุ่ ง หื้ อ ครู บ าอาจารย์ เจ้ า นาย ท้ า ว พระญา เสนาอามาตย์ ข้าราชการ ไพร่ราษฎอรทังมวล เอากันไพสู่โปกขรณี *

นักวิชาการศึกษา ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ๒๓


แม่น้า เค้าไม้ จอมปลวกใหย่ หนทางใฅว่สี่เส้นสุมกัน อว่ายหน้าไพสู่ทิสะหน ใต้ อาบองค์สรงเกศเกล้าเกศี ปลีนี้สรีอยู่ที่ดัง หื้อเอาน้​้าอบน้​้าหอมเช็ดที่ดัง เสีย กาลกิณีอยู่ที่ปาก จังไรอยู่ที่บ่า หื้อเอาน้​้าเข้าหมิ้ นส้มป่อยเช็ดฅว่างเสีย กล่าวคาถาว่า “อม สิริมา มหาสิริมา เตช ยสฺส ลาภา อายุ วณฺณา ภวนฺตุ เม” ลอยจังไรเสียในที่ทังหลายฝูงนั้น แล้วมานุ่งทรงเสื้อผ้าผืนใหม่ ทัดดอก เอื้องอันเปนพระญาดอก หากจักมีอายุยืนยาวไพชะแล” การที่จะดาหัว นั้นจะต้องดูทั้งทิศที่จะหันไป ให้ถูกต้อง ดูการสถิต ของศรี กาลกิณี และจัญไร ตลอดถึงการเหน็บดอกไม้ที่เป็นพระญาดอกด้วย ตามประกาศสงกรานต์หรือหนังสือปีใหม่ล้านนา ที่ออกมาในแต่ละปี การดาหัวอีกประการหนึ่งที่เป็น การดาหัวที่แสดงถึงความกตัญญู และขอขมาลาโทษในสิ่งที่ทาผิดพลาดไปในตลอดปีที่ผ่านมา นั่ นคือการดา หัวผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้ที่เคารพ ตังแต่วันพระญาวันเป็นต้นไป ทั้งที่เป็นการดาหัวก็มีหลายระดับ ทั้งในระดับเมือง ระดับหมู่บ้าน ระดับกลุ่มเครือญาติ เป็นต้น หากเป็นระดับกลุ่มคนที่มากด้วยแล้วก็จะมีการ ตกลงกันว่าควรจัดกันในวันใดที่เหมาะสมหรับทุกคน เช่นดาหัวเจ้าเมือง ดา หัวเจ้าอาวาส ดาหัวผู้ใหญ่บ้าน ก็จะเป็นการรวมใจของชาวบ้านพร้อมเพรียง กันจัดขึ้น ส่วนหากเป็นในตระกูลใดตระกูลหนึ่งนั้น ก็จะมีการรวมลูกหลานที่ อยู่ตามที่ต่าง ๆ กลับมาทาพิธีพร้อมกัน โดยเป็นการแสดงถึงความกตัญญู แล้วยังเป็นการรวมญาติ ให้ได้มาพบมาเจอกันอย่างพร้อมเพรียงกันในรอบปี นอกจากนี้ยังเป็นการดาหัวเฉพาะส่วนตัว คือจะเดินทางไปยังผู้ที่ เคารพ เช่น อาจารย์ หมอเมือง(ที่เคยรั กษาให้ ห ายจากโรค) หรือผู้ ที่เคย ช่วยเหลือจุนเจือกันมา ก็จะเดินทางไปตามแต่ความสะดวกของแต่ละบุคคล ๒๔


การดาหัว สิ่งที่จะต้องเตรียมไปคือ ครัวดาหัว ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็น เสื้อผ้า หรือของใช้ไม้สอย หรืออาหารแห้งต่าง ๆ แล้วแต่จะสะดวก ที่ขาด ไม่ได้คือ น้าอบน้าหอมน้าขมิ้นส้มป่อย ที่จะใช้เป็นเครื่องดาหัว หรืออาจจะมี กรวยข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียนเข้าร่วมด้วยก็มี ส่วนพิธีการก็เพียงแต่ให้ลูกหลานทั้งหลายมากันพร้อมหน้าพร้อมตา เรียบร้อย ตัวแทนผู้ที่มาดาหัวกล่าวคาขอขมา จบแล้วก็ประเคนของดาหัว และน้าขมิ้นส้มป่อย แล้วผู้ใหญ่ก็จะเอามือจุ่มน้าส้มป่อยลูบศีรษะ ทาทีท่าว่า ดาหัวหรือสระผมพอเป็นพิธีเท่านั้น จากนั้นก็ให้พร จากนั้นผู้ที่รบพรก็พร้อม ใจกันกล่าวคาว่า “สาธุ” ก็เป็นอันเสร็จพิธี

การดาหัวของชาวล้านนาในสมัยก่อน

๒๕


ตัวอย่างพรปีใหม่ที่ผู้ใหญ่มอบให้กับลูกหลานในงานดาหัว ตัวอย่าง จากหนังสือ “ของดีจากปั๊บสา” ของ ญาณสมฺปนฺโน ว่าไว้ว่า “เอว้ โหตุ สมฺปฏิจฺฉามิ ดีและ อชฺช ในวันนี้ก็หากเป็นวันดี ติถีอัน วิเศษ เหตุว่าระวิสังขานต์ ปีเก่า อติกนฺโต ก็ข้ามล่วงพ้นไปแล้ว ปีใหม่แก้ว พระญาวัน ก็มาจุจอดรอดเถิงเทิงแก่เราชุผู้ชุคน บัดนี้หมายมี ...............(บ่ง ชื่อศรัทธา)..............เป็นเก๊า พร้อมด้วย................................................ ก็บ่ละ เสียยังฮีตเก่าแห่งสัปปุริสสะเจ้าทังหลาย ก็ได้สนงขงขวายตกแต่งพร้อมน้อม น้ามายังธุปะปุปผาลาชาดวงดอก ทังเข้าตอกล้าเทียนน้​้าอบน้​้าหอม ก็เพื่อจัก มาสมมาคารวะ ยังตนตัวแห่งเราว่าสันนี้แท้ ดีหลี บัดนี้ตนตัวแห่งเราก็มีธั มม เมตตา อว่ายหน้าปฏิคหะรับเอาแล้ว หลอนว่าท่านทังหลายได้ปมาทะข้าม กลายที่ต่้าย่้าที่สูงสันใด ได้กระท้าไปด้วยอันบ่รู้ด้วยกาย วาจา ใจมาแต่ก่อน ก็หื้อได้ผ่อนสูญ หาย กลายเปนอโหสิกรรม อย่าได้เปนนิวรณ์ธรรมสามสิ่ง อันเป็นโทษยิ่งแก่น กล้า ได้ห้ามเสียยังหนทางไปสู่ชั้นฟ้าและเนรพาน แก่ท่านทังหลายสังเยื่อง สักประการนั้นจุ่งจักมี ตั้งแต่มุหุตตุกาละ วันนี้ยามนี้ ไปพายหน้าขอหื้อท่าน ทังหลายชุผู้ชุคนอยู่หื้อมีไชย ไปหื้อมีโชคลาภ เคราะห์ร้ายหยาบอย่ามาใกล้ เจ็บป่วยไข้อย่ามาพาน ได้อยู่ส้าราญช้อยโชติ มีเงินค้าล้านโกฏิเตมฉาง บ่รู้ บกบางสักเทื่อ เตมอยู่ชุเมื่อดีหลี ได้อยู่สวัสสดีทีฆาเที่ยงเท้ามีอายุร้อยซาว ขวบเข้าวสา ได้อยู่ค้า ชูวรศาสนาไปใจ้ๆ อย่าได้คลาดได้คลาเที่ยงเท้าดีหลี ตามบาทบาลีว่า อายุ วฑฺฒโก ธนวฑฺฒโก สิริวฑฺฒโก ยสวฑฺฒโก พลวฑฺฒโก สุขว ฑฺฒโก โหตุสพฺพทาฯ ๒๖


ทุกฺขโรคภยา เวรา อเนกา อนฺตรายาปิ ชยสิทฺธิ ธน้ ลาภ้ สิริ อายุ จ วณฺโณ จ สตวสฺสา จ อายุ จ สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ มา เต ภวตฺวนฺตราโย อภิวา ทนสิลิสฺส จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ

โสกา สตฺตุ จุปทฺทวา วินสฺสนฺตุ จ เตชสา โสตฺถิภาคย้ สุข้ พล้ โภค้ วุฑฺฒิ จ ยสวา ชีวสิทฺธี ภวนฺตุ เตฯ สพฺพโรโค วินสฺสตุ สุขี ทีฆายุโก ภว นิจฺจ้ วุฑฺฒาปจายิโน อายุ วณฺโณ สุข้ พล้ฯ”

ในบางท้องถิ่น การดาหัว มักจะมีการควบคู่กับการเรียกขวัญหรือสู่ ขวัญ โดยลูกหลายแต่ละคนจะมารวมตัวกัน รวมเงินและข้าวของเช่นไก่ที่จะ ใช้ในพิธี ช่วยกันตระเตรียมทั้งบายศรี และข้าวของที่ใช้สาหรับการบูชาขวัญ เช่นไก่ต้ม ขนม ข้าว กล้วย เสื้อผ้า ฯลฯ ที่จะจัดเตรียมให้ ครบถ้วน และได้ เชิญหมอขวัญ หรือผู้ทาพิธีเรียกขวัญและผูกข้อมือ จากนั้นลูกหลานก็จะเข้า ไปให้ปู่ย่าตายายหรือบุคคลที่เราเคารพนั้น ผูกข้อมือให้เพื่อเป็นสิริมงคล การดาหัวนั้นถือว่าเป็นประเพณีที่ส่งเสริมความสามัคคีในเครือญาติ และแสดงถึ งความกตัญ ญูรู้ คุณอีกด้ว ย ไม่ว่าจะกระทากันขนาดเล็ กหรื อ ขนาดใหญ่เพียงใด ก็ด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกัน ในช่วงปีใหม่สงกรานต์๚๛

๒๗


สํ฿่้มฯปอฯยฯ ส้มป่อย เรียบเรียงโดย ศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว* ส้ ม ป่ อ ย ในพจนานุ ก รมล้ า นนา – ไทย ฉบั บ แม่ ฟ้ า หลวง ให้ ความหมายไว้ว่า ชื่อพรรณไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Acacia rugata Merr. วงศ์ Leguminocea ใบเป็นฝอยคล้ายชะอมแต่รสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหารได้ ใช้ทา ยาได้ นิยมใช้ฝักแห้งผสมน้าร่วมกับดอกไม้ของหอมอื่น ๆ เป็นเครื่องดาหัว คื อ เป็ น เครื่ อ งแสดงความคารวะผู้ ใ หญ่ หรื อ ผู้ ที่ มี คุ ณ แก่ ต นในเทศกาล สงกรานต์ ส้มป่อย ใช้ได้หลายส่วน ทั้งที่เป็นยา อาหาร และใช้ในพิธีกรรม ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร จะใช้ยอดอ่อนมาแกงใส่เนื้อหมู รสชาติออกมา จะมี ร สเปรี้ ย วอร่ อ ย หรื อ ใช้ ใ บแก่ จ านวนหนึ่ ง มั ด เป็ น ก า มาใส่ แ กงเพื่ อ ต้องการให้มีรสเปรี้ยว หรือใช้แทนมะนาว เช่นแกงบอน แกงปลาเป็นต้น แต่ในความเชื่อในอานุภาพของส้มป่อยนั้น ฝังแน่นและมีมาเนิ่นนาน ใช้ทั้งพิธีทางพุทธและผี คาดว่าส้ มป่ อยใช้ในพิธีศักดิ์สิ ทธิ์มานานในสังคม ก่อนที่ความเชื่อทางพุทธศาสนาเข้ามา เพราะในพิธีเรียกขวัญ พิธีทางผี ก็ มักจะพบส้มป่อยอยู่เสมอๆ เมื่อพุทธศาสนาเข้ามา ก็มีการผนวกอานุภาพ

*

นักวิชาการศึกษา ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

๒๘


ของส้มป่อยเข้าสู่วรรณกรรมทางพุทธศาสนา ทาให้ความเชื่อและศรัทธาต่อ ส้มป่อยมีมากขึ้น วรรณกรรมที่ก ล่ า วถึ ง มีอ ยู่ ส องเรื่ อง คื อ พรหมจัก รชาดก และ ปุณณนาคกุมารชาดก ทั้งสองเรื่องล้วนแต่เป็นชาดกนอกนิบาตทั้งสิ้น ในพรหมจักรชาดก เป็นชาดกที่แปลงมาจากรามยณะของอินเดีย เหตุเกิดในเมืองกาสี หรือเมื องกาสีกรัฏฐ์มหานคร หรือเมืองขีดขินในเรื่อง รามเกียรติ์ พระญาครองเมืองชื่อกาสีกราช มีน้องชื่อท้าวกาวินทะ ชายป่า เมืองนี้มีควายอยู่ฝูงหนึ่ง (ในรามเกียรติ์คือฝูงของ ทรพา) ควายตัวผู้จ่าฝูงอยู่ กับควายตัวเมีย หากตัวใดตั้งท้องและเกิดลูกออกมาเป็นตั วผู้ พ่อควายก็ทา การฆ่าไปเสียทุกตัว มีควายตัวเมียตัวหนึ่งตั้งท้อง จึงปลีกตัวออกจากฝูงมา จนคลอดลูก ลูกควายตัวนั้นเป็นตัวผู้และเติบโตขึ้นจึงคิดจะประลองกาลังกับ พ่อ

ควายทรพา - ทรพี จากจิตรกรรมฝาผนังวัดพระศรีรตั นศาสดาราม

๒๙


เหตุการณ์นั้นในพรหมจักรชาดก บรรยายไว้ว่า “ส่วนอันว่า ควายตัวลูกนั้นก็ร้องด้วยเสียงแห่งมันว่า “กูหากเป็นลูก แห่งมึงแท้แล” ว่าอั้น มันก็บ่ฟัง ก็หลั่งเข้ามาหาหั้นแล ส่วนว่าควายตัวลูกนั้น ก็บ่พ่าย ก็จั้งอยู่ถ้าหั้นแล พ่อควายตัวนั้นก็ร่้าเพิงว่า “ควายเถิกตัวอื่นกูก็บ่หื้อ มีชีวิต กูก็ขวิดก็ทอหื้อตายเสี้ยงแล้ว บัดนี้พ้อยว่ามีมาเล่าฉันนี้ กูก็จักขวิด จักนีดชนหื้อมันตายชะแล” ว่าอั้น มันก็หล่อมาพลันนัก คันว่ามาเถิงแล้ว ก็ รบชนขวิดทอยังควายเถิกตัวลูกนั้น ถิ้มกันไปมาไจ้ๆ ตัวเป็นลูกก็บ่ค้าน ก็ผาย เอี่ยงฤทธีขวิดทอกันมากนักฉันนั้นดั่งอั้น ควายตัวลูกนั้นก็มีก้าลังบ่พอคุง ตัว พ่อเทื่อ เหตุว่าก้าลังยังบ่หมั้นหลาย ก็ถอยเข้าไปสู่คุ่มส้มป่อยต้นนึ่ง อันว่า หมากสั้มป่อยนั้นก็หล่นตกจับหัวควายตัวลูกนั้น ก็ลวดมีกาลังแรงเตื่อมมา ก็ค วบงอมพัด ตัว พ่ อนั้ น ก็ ซ ายซายไปหาหมากขามป้ อมต้ นนึ่ ง ก็ ตกลงมา ถูกต้องก็ซ้าถอยก้าลังสีย ตัวเต็มไปด้วยเลือดทังมวล แรงก็ยอบอ่อนไปหั้นแล ยามนั้นลูกควายตัวนั้นก็ได้เป็นพระยาแก่ควายทังหลาย ยุท่างอยู่ สนุกเหล้นม่วนอยู่ถ้ากับด้วยด้วยควายแม่ทังหลายหั้นแล เหตุ นั้ น คนทั ง หลายก็ สื บ สายเอาคติ อั น นั้ น มา ยามจั ก ไปต่ อ สงครามนั้น ก็สระเนื้อตนดาหัวด้วยน้าส้มป่อยแล้วจิ่งไปแล”

๓๐


ส้มป่อย ดอกสารพี ดอกคาฝอย แห้งสาหรับใช้ดาหัว

ส่ ว นเรื่ องปุ ณณนาคกุ มารนั้ น ได้กล่ าวถึง ส้ มป่อยตอนทาพิธีส ละ สภาวะแห่งนาค กลายเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ ในพิธีนั้นให้ใช้ส้มป่อย ๗ ข้อ ๗ ฝักใส่ลงในขันทองที่พระญานาคตนพ่อให้มา พร้อมกับหาน้า ๗ สาย และ ๗ บ่อ มาใส่ให้เต็มขัน ไปทาพิธีที่ริมฝั่งแม่น้า เสกคาถา ๗ บท ๗ คาบ แล้ว ถอดคราบนาคออก เอาน้ามนต์ส้มป่อยนั้นอาบองค์สรงเกศ แล้วเอาคราบ นาคใส่ขันทองไหลน้าเสีย ก็จะกลายเป็นคนได้ นั่นทาให้เห็นถึงอานุภาพอย่างหนึ่งของส้มป่อย ในพิธีเปลี่ยนผ่าน จากสถานะหนึ่งไปสู่อีกสถานะหนึ่ง หรือจากสภาวะหนึ่งไปสู่อีกสภาวะหนึ่ง จากสิ่งไม่ดีมาเป็นสิ่งดี เป็นต้น ส้มป่ อยใช้ทั้งในทางเพิ่มความศักดิ์สิ ทธิ์ ชาระล้ างสิ่งที่ไม่ดี แก้ไข ความผิด(ปกติ) ตลอดถึงการป้องกันภัยอันตราย ๓๑


ในทางเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ จะใช้ทั้งพุทธและผี ในทางพุทธก็จะมีการ ใช้ในน้าพระพุทธมนต์ ส่วนในพิธีผีก็จะใช้น้าส้มป่อยในการลงทรง เมื่อผีหรือ เจ้าเข้าทรงแล้วก็จะมีการใช้น้าส้มป่อยในการประพรม หรือแม้แต่ในขันเรียก ขวัญด้วย ในทางชาระสิ่งที่ไม่ดี นั้น เมื่อไปในที่ที่ถือว่าไม่เป็นมงคล เช่นป่าช้า ตอนส่งศพไปประกอบพิธีที่ป่าช้าแล้วนั้น เมื่อออกจากป่าช้า ในทางล้านนาก็ จะมีขันหรือถังน้าส้มป่อย วางไว้ปากทางป่าช้าตอนออกมา หรือหน้าบ้านศพ นั้นก็มี เพื่อให้ผู้ที่เข้าไปในป่าช้ามานั้นเอาน้าส้มป่อยลูกหน้าและศีรษะ เพื่อ ชาระภาพหรือสิ่งที่ไม่ดีให้หายออกไป ส่วนการชาระของอื่น ก็มีเช่น การชาระดาบ ของใช้ในพิธีต่างๆ เช่น ดอกไม้ถวายพระหรื อใส่กรวยในขันบู ชาผี ก็จ ะต้องผ่านการชาระด้ว ยน้า ส้ ม ป่ อ ยตลอด รวมถึ งของถวายทานต่า ง ๆ ก่อ นที่จ ะน าถวายก็ จะใช้ น้ า ส้มป่อยพรมเสียก่อนเพื่อได้ชาระมลทินที่ติดมาโดยที่เรารู้หรือไม่รู้ก็ดี ก็จะทา ให้บริสุทธิ์เสียก่อนที่จะทาการถวาย ในทางที่ใช้ชาระความผิดหรือขอขมาต่ อการกระทาที่ผิดข้อกาหนด หรื อ ที่ เ รี ย กว่ า ถื อ ก า หรื อ ยึ ด ถื อ ข้ อ ก าหนดต่ า ง ๆ แล้ ว ไม่ ก ระท าตาม ข้อกาหนดนั้น เช่นบางคนไม่กินของซากหรือของเหลือจากคืนอื่น หรือไม่ไป กินข้าวบ้านงานศพ หรือห้ามลอดบันไดเป็นต้น สาหรับคนที่ยึดถือข้อกาหนด ต่างๆ นั้นหากได้กระทาที่ผิดข้อกาหนดมักจะมีอาการผิดครู เช่น จะวิงเวียน ปวดหัว หรืออาการอื่น ๆ ก็น าน้าส้มป่ อยมาพรมหรือเอามาล้างหน้า ลู บ ศีรษะ ก็จะแก้อาการเหล่านั้นได้ ส่วนการป้องกันภัยในสิ่งที่เป็นภูติผีปีศาจ หรือจากธรรมชาติเช่นลม พายุ ก็จะใช้ส้มป่อยเผาไฟ ถ้าจะให้ดีก็จะต้องใช้ส้มป่อยเจ็ดข้อเจ็ดฝั ก เผา ๓๒


จากกองไฟที่ก่อนอกชายคาเรือนใช้ฟืนเจ็ดดุ้นก็จะดี เป็นการป้องกันภัยสิ่ง ร้ายและสร้างความมั่นใจให้กับคนในครอบครัว ส้มป่อยถือเป็นพืชที่ใช้กันมานาน บางที่ก็มีความเชื่อว่าหากเก็บใน วันเพ็ญเดือนห้าเหนือ(เดือนสามใต้) ก็จะเป็นส้มต้องที่มีประสิทธิภาพดี แต่ที่ สาคัญมักจะมีปลูกไว้ทุกบ้าน นอกจากจะได้ฝักส้มป่อยมาใช้ในพิธีต่างๆ แล้ว ยังสามารถใช้เป็นอาหารได้ ส้มป่อยจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยอย่างแน่นแฟ้นทั้งพุทธและผี ๚๛

๓๓


บรรณานุกรม เกริก อัครชิโนเรศ และคณะ. ๒๕๔๖. โครงการวิจัยการชาระปฏิทิน และหนังสือปีใหม่เมืองล้านนา (ประกาศสงกรานต์) : รายงาน วิจัยเพื่อท้องถิ่น ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สานักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย ความรู้เรื่องปักขทืนล้านนา. ใน พับแผนงานฉบับสานักเรือนเดิม ที่ระลึกเนื่องในงานประเพณีประจาปี สรงน้าพระเสตังคมณีและ พระศิลา วัดเชียงหมั้น (๑ – ๓ เมษายน ๒๕๔๘) และเนื่องในโอกาส ที่ ศ.ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี มีอายุครบรอบห้านักษัตรในปี ๒๕๔๘ ญาณสมฺปนฺโน. ๒๕๓-. ของดีจากปั๊บสา. ลาพูน : ร้านภิญโญ ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว. ๒๕๔๖. ประเพณีสงกรานต์ ความเชื่อดังเดิมและการ เปลี่ยนแปลง. เชียงใหม่:สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาลา คาจันทร์ และคณะ. ๒๕๔๙. สืบสานประเพณีปีใหม่เมือง ฟื้นคุณค่า ความหมายเพื่อลดการดื่มแอลกอฮอล์. กรุงเทพฯ:สานักงาน เครือข่ายองค์กรงดเหล้า สนั่น ธรรมธิ. ๒๕๕๒. ไม้เมืองเหนือ ความเชื่อโบราณ. เชียงใหม่: สุเทพการพิมพ์ ____________. ๒๕๕๓. ปีใหม่ล้านนา. เชียงใหม่:สุเทพการพิมพ์ สิงฆะ วรรณสัย. ๒๕๒๒. ชาดกนอกนิบาตเรื่อง พรหมจักร รามเกียรติ์ ฉบับสานวน-ภาษาลานนาไทย. เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๓๔




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.