วารสารเวียงเจ็ดลิน ปีที่ 5 ฉบับที่ 2

Page 1



คําบอกแจง

สารบัญ เวียงเจ็ดลิน ปที่ ๕ ฉบับที่ ๒ (๒๕๕๘)

เวี ย งเจ็ ด ลิ น เป น วารสารข อ มู ล ทางศิ ลปวั ฒนธรรม ที่ท างศู นย วั ฒนธรรม ศึ ก ษา มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคล คําบอกแจง ๑ ลานนา ไดทําการศึกษา คนควาและเรียบ เรี ย ง เพื่ อ เป น การนํ า ความรู นั้ น ไปสู ผู ที่ สรุปองคความรูประเพณีทานกฐิน สนใจและบุคคลทั่วไปใหไดรับทราบขอมูล มทร.ลานนา ๒ อันเปนประโยชนในการศึกษาและสามารถ นําไปพัฒนาตอยอดได ปุปผาลานนา : เอื้องผึ้ง ๑๑ ในฉบั บ นี้ เป น การนํ า เสนอองค ความรู ที่ ไ ด จ ากการจั ด ทํ า รู ป แบบราชรถ ราชรถบุษบกปราสาทราชมงคลลานนา ๑๔ บุ ษ บ ก ใ น ล า น น า โ ด ย ม ห า วิ ทย า ลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคลล า นนา ออกแบบใน การจั ด สร า ง มี ที่ ม าที่ ไ ปอย า งไร แต ล ะ องคประกอบมีความหมายเชนไร ตลอดถึง ปกหนา – ปกหลัง เรื่องราวอื่นๆ ทางศิลปวัฒนธรรม ติดตามได จิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร อ.เมือง จ.นาน ภายในเลมนี้ ดวยจิตคารวะ ศูนยวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา “เวียงเจ็ดลิน” เจาของ : ศูนยวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา ที่ปรึกษา: ชัยปฐมพร ธนพัฒนปวงวัน, วิภาพรรณ ติปญโญ, คชานนท จินดาแกว

และ

หัวหนาศูนยวัฒนธรรมศึกษา ทุกเขตพื้นที่ บรรณาธิการ: ศักดิ์นรินทร ชาวงิ้ว กองบรรณาธิการ: วันทนา มาลา, อุไรพร ดาวเมฆลับ พิสูจนอกั ษร: วิภาพรรณ ติปญ  โญ ออกแบบจัดทํารูปเลม: ธนพล มูลประการ พิมพที่: แม็กซพรินติ้ง (MaxxPRINTIMG) โทร. ๐๘๙-๖๓๕๖๔๑๓, ๐๕๓-๒๒๑๐๙๗ ๑๔ ถ.ศิริมังคลาจารย ซ.สายน้าํ ผึง้ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม ๕๐๒๐๐ ๑


สรุปองคความรูประเพณีทานกฐิน มทร.ลานนา

*

ถอดองคความรูโดย นางสาววิภาพรรณ ติปญโญ หลังออกพรรษาหนึ่งเดือน คือจะเริ่มตั้งแต ๑ ค่ําเดือนสิบเอ็ด ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ําเดือน สิบสอง ภาคกลาง หรือ แรม ๑ ค่ําเดือนเกี๋ยง ถึง ยี่เปงของทางลานนา กฐิน แปลวา ไมสะดึง ดวยการตัดเย็บผาเปนจีวรนั้นจะตองใชไมสะดึงในการขึงผา ใหตึงเพื่อสะดวกในการตัดเย็บ การที่ไดผาที่ตัดเย็บจากไมสะดึงนี้ ทําใหเรียกวา ผากฐิน โดย ความหมายแลว จะหมายถึง ผาพิเศษที่พระพุทธเจาทรงอนุญาตแกภิกษุในระยะกฐินกาล ความเปนมาของประเพณีทานกฐินนั้น สืบเนื่องมาแตสมัยพุทธกาล สมัยหนึ่งขณะที่ พระพุทธเจาประทับอยูที่เชตวันมหาวิหาร ครั้งนั้นภิกษุชาวเมือง ปาไฐยญะ (ตะวันตกแควน โกศล) ปรารถนาจะเดินทางไปเขาเฝาพระพุทธเจา ครั้นพอถึงชวงเขาพรรษาพอดี เลยจํา พรรษาอยูที่เมืองสาเกตตลอด ๓ เดือน ครั้นพอออกพรรษาก็รีบรุดดั้นดนเดินทางไปยังเชตวัน มหาวิหารดวยความยากลําบาก ครั้งนั้นนางวิสาขาอุบาสิกา ไดเห็นความยากลําบากของภิกษุ สงฆเหลานั้นจึงกราบทูลพุทธานุญาตจากพระสัมมาสัมพุทธเจา ซึ่งพระองคก็ทรงอนุญาตให นางวิสาขา ถวายผากฐินได และอนุญาตใหภิกษุเหลานั้นกรานกฐินได ซึ่งไดอานิสงสสําหรับ พระภิกษุสงฆทางพระวินัย ขอกําหนดเกี่ยวกับกฐิน ๑. จํานวนพระสงฆในวัดที่จะทอดกฐินไดนั้น จะตองมี ตั้งแต ๔ รูป ขึ้นไป ๒. พระสงฆที่จะมีสิทธิ์ไดรับผากฐินนั้นจะตองจําพรรณนาในวันนั้น ครบ ๓ เดือน ๓. การกําหนดเวลา จะตองอยูในชวงหนึ่งเดือนหลังออกพรรณนา ๔. หามพระในวัดไปเที่ยวขอกฐินทั้งโดยตรงและโดยออม ไมวาจะขอทางวาจา หรือหนังสือเพื่อเชิญชวนใหมาทอดกฐินในวัดของตน เปนการผิดพระวินัย ทํา ใหกฐินนั้นเปนโมฆะ กฐินแบงเปน ๒ ประเภท คือ กฐินหลวง คือ กฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวเสด็จไปทอดดวย พระองคเองหรือโปรดเกลาฯ ให 0

*

นักวิชาการศึกษา ชํานาญการพิเศษ ศูนยวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา ๒


พระบรมวงศานุวงศ องคมนตรี ขาราชการ เปนตัวแทนไปทอดยังวัดที่เปนพระอารามหลวง โดยแบงเปนประเภทยอยๆ ได ๓ ประเภท ดังนี้ ๑. กฐินที่กําหนดเปนพระราชพิธี มีการออกหมายกําหนดการเสด็จพระราชดําเนิน ไวอยางเรียบรอย ปจจุบันมีอยู ๑๖ วัด ๒. กฐินตน คือ กฐินที่พระเจาแผนดินเสด็จพระราชดําเนินไปถวายกฐินที่มิใชวัด หลวง และมิไ ดเ สด็ จไปอยา งเปน ทางการหรื อย างพระราชพิธี แตเ ปน การ บําเพ็ญพระราชกุศลสวนพระองค ๓. กฐินพระราชทาน เปนกฐินที่พระเจาแผนดินพระราชทานผาของหลวงแกผู กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพื่อไปถวายยังวัดหลวง

ขบวนอัญเชิญกฐินพระราชทาน

กฐินราษฏร คือ กฐินที่ผูมีจิตศรัทธาผูใดผูหนึ่งประสงคที่จะทอดยังวัดราษฏรวัดใด วัดหนึ่ง หรือกลุมคณะกลุมใดกลุมหนึ่งทอดถวายก็ได หากเปนกลุมคณะอาจจะเรียกวา กฐิน สามัคคีก็ได ๓


กลางพรรษากอนถึงชวงกฐินเจาศรัทธาผูที่ประสงคจะทอดกฐินจะตองไปจองหรือ แสดงความจํานงตอวัดนั้นๆ วาจะทอดกฐินแลวปดประกาศหนังสือไวที่วัดนั้นๆ เมื่อมีการจอง แลววัดหนึ่งๆ จะทอดกฐินไดปละครั้งเทานั้น สวนที่เปนอารามหลวงไมตองจองกฐินเสมือนได จองกฐินไวแลว แตถาเปนวัดราษฏรจะตองจองทุกครั้งไป แมวาเปนพระเจาแผนดินจะเสด็จ ไปวัดราษฏรก็จะตองจองเชนเดียวกัน

ขบวนแหองคกฐิน

เครื่องประกอบพิธีกรรมในการทอดกฐิน ประกอบดวย ๑. ผากฐิน คือ ผาไตร ๑ ชุด ๒. ผาสําหรับคูสวด ๒ ไตร และผาไตรหรือจีวร ที่ถวายพระอันดับทุกรูป ๓. เครื่องบริวารกฐิน ไดแก เครื่องไทยทานถวายพระสงฆ หรือเครื่องใชตางๆ ภายในวัด เปนตน ๔. เงินปจจัย ของเจาภาพและผูมารวมทําบุญถวายวัดและพระสงฆที่มารวมพิธี ๕. เครื่องประกอบการทอดกฐิน ตุงรูปจระเข และตุงรูปตะขาบ ขนาดประมาณ ๑x๕๐ เซนติเมตร ผูกติดคันไมรวก นําหนาขบวนแห


เมื่อมีเครื่องประกอบพิธีครบถวน พอใกลถึงวันงานก็จะเตรียมงานในวันนี้สําหรับ ทางภาคอีสานของไทยนั้น ก็จะมี การแปลงทางกฐิน คือ การตกแตงถนนหนทางที่ขบวนกฐิน จะผาน ทางสวนไหนที่ชํารุดก็จะชวยกันซอมแซมใหขบวนกฐินผานไปดวยความสะดวก ในวัน งานจะมี ก ารแห อ งค กฐิ น ทั้ ง ทางบกและทางน้ํ า ขบวนจะยิ่ ง ใหญห รื อ งดงามที่ ขึ้ น อยู กั บ เจาภาพ หากเปนกฐินพระราชทานก็จะมีพิธียิ่งใหญ ดังเชน กระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือพยุหยาตราสถลมารค เปนตน ยังมีอีกกฐินอีกประเภทหนึ่ง คือ จุลกฐิน ตองใชคนจํานวนมากมีการจัดเตรียมผา ตั้งแตเปนยวงฝาย มีการอีดฝายเอกเมล็ดออก ยิงฝาย ปนฝายเปนเสนใจ ทอออกมาเปนผืน ตัดเย็บยอมใหเสร็จภายในวันเดียวแลวเอาถวายเปนผากฐิน อานิสงสสําหรับผูทอดกฐิน จะไดรับอานิสงสหลายประการ เชน ๑. เชื่อวาไดถวายทานภายในกาลเวลากําหนด ที่เรียกวา กาลทาน การใหทาน ตามกาล หรือตามระยะเวลานั้น ในพุทธสุภาษิตกลาววา ผูใหทานตามกาล ความตองการที่เกิดขึ้นตามกาลของผูนั้นยอมสําเร็จได ๒. เชื่อไดวาสงเคราะหพระสงฆ ผูจําพรรษาใหไดผลัดเปลี่ยนผานุงหมใหม แมนผา กฐินนั้นจะตกแกภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ก็ไดชื่อวาถวายแกพระสงฆสวนรวม ๓. เชื่อวาไดบํารุงพระพุทธศาสนา สงเสริมผูประพฤติดี ปฏิบัติชอบใหเปนหลัก เปนตัวอยางแหงคุณงามความดีของประชาชนสืบไป ๔. จิตใจของผูทอดกฐินทั้ง ๓ กาล คือ กอนทอด กําลังทอด และทอดแลว ที่เสื่อม ใสศรัท ธาและปรารถนาดีนั้น จัดเป นกุศลจิ ต คนที่ มีจิตเป นกุศลย อมไดรั บ ความสุข ความเจริญ ๕. การทอดกฐินทําใหเกิดสามัคคีธรรม คือ การรวมมือกันทําคุณงามความดีจะ เห็นไดวา อานิสงสของการถวายผากฐินนั้น ไดอานิสงสอยางมาก การปรารถนาที่จะทอดกฐินนี้มิ ไดมีเ ฉพาะผูคนเทานั้น แมสั ตวก็ยั งอยากไดบุ ญ ดังเชนมีธงรูปจระเขและตะขาบ ปกไวตามวัดที่ทอดกฐินแลว ดวยมีเรื่องเลาคลายกันวา มีอุบาสกครั้งหนึ่ง แหกฐินไปทางน้ํา ไดมีจระเขตัวหนึ่งอยากไดบุญดวย จึงอุตสาห วายน้ําตามเรือไป แตยังไมถึงวัดไดหมดแรงลงเสียกอน จึงบอกอุบาสกคนนั้นวา ตนเองเหนื่อย จนไปตอไมไหว วานใหอุบาสกคนนั้นเขียนรูปตนที่เปนเพศจระเขนั้นดวย เพื่อเปนสักขีพยาน ๕


วาไดไปรวมในการกุศลดวย ดังนั้น อุบาสกผูนั้นจึงวาดรูปจระเขยกเปนธงในวัดครั้งแรก และ ยัง มี ผู ตี ความอี กประการหนึ่ ง ว า ด ว ยสมัย โบราณ การบอกเวลาหรื อ บอกทิ ศ ทางในการ เดินทางนั้นจะตองใชดวงดาวในการบอกทิศทางและเวลาในเวลากลางคืน โดยดาวจระเขนั้น จะขึ้นตอนใกลสวาง การทอดกฐินแตโบราณนั้นการเดินทางลําบาก ยิ่งบานอยูไกลจะตองออก เดินทางแตยังมืด ทําใหดาวจระเขจึงมีความสําคัญในการทอดกฐินและทําธงจระเขขึ้นในคราว ทอดกฐิน การทอดกฐินจึงอยูในความศรัทธา ความเชื่อ และเกื้อกูลค้ําจุนศาสนาจึงเปนที่นิยม กันกวางขวางในปจจุบัน

แนวทางการปฏิบัติ-ขั้นตอนพิธีการ

พิธีสมโภชกฐินสามัคคี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา วัน ............................ เวลา ๑๙.๐๐ น.

--------------------------------------เวลา กําหนดการ การปฏิบตั ิ ๑๘.๓๐ น. คณะผูบริหาร คณาจารย เจาหนาที่ นักศึกษา - คณาจารย บุคลากร และ พรอมกัน บริเวณพิธี นักศึกษา - ฝายลงทะเบียน และฝาย ตอนรับ - ฝายตอนรับพระสงฆเจริญพระ พุทธมนต ๑๙.๐๐ น. พิธีกรเรียนเชิญประธานในพิธี - จุดธูปเทียน บูชาพระรัตนตรัย - เตรียมเจาหนาที่เชิญเทียนชนวน - ประเคนขันขอศีล ใหแกประธานในพิธี - จุดเทียนพระพุทธมนต (ที่บาตร น้ํามนต) พรอมประเคนใหแกประธานสงฆ มัคทายก - ประธานสงฆใหศลี - กลาวนําไหวพระ บูชาพระรัตนตรัย - พระสงฆรูปที่ ๓ สวดบทชุมนุม - กลาวคําสมาทานเบญจศีล เทวดา ๖


- อาราธนาพระปริตร พระสงฆ จํานวน....................รูป เจริญ พระพุทธมนต มัคทายกกลาวนําถวายเครื่องจตุปจ จัย ไทยทาน

- ผูรวมพิธี ประนมมือ รับฟงการ เจริญพระพุทธมนต - ฝายพิธีการ จัดเตรียมไทยทาน วางไวหนาโตะหมูบูชา และหนา พระสงฆ มัคทายก จํานวน......ชุด พิธีกร เรียนเชิญเจาภาพ จํานวน......... ทาน - พิธีกร อานรายนามเชิญเจาภาพ เขาประเคนเครื่องจตุปจจัยไทยทาน กัณฑพระ - ฝายพิธีการ จัดเตรียมน้ํากรวดให พุทธ พระสงฆ และมัคทายก จํานวน ชุด เจาภาพจํานวน........ชุด - พระสงฆอนุโมทนา - ผูรวมพิธีประนมมือรับพรจาก - มัคทายก (อาจนําทองบทแผเมตตา อิตัง ตา พระสงฆ - ผูบริหารกรวดน้ําอุทิศสวนกุศล นะ กั๋มมังฯฯ) นิมนตประธานสงฆประพรมน้ําพระพุทธมนต - ฝายพิธีการ คอยอุมบาตร แกเจาภาพและผูเ ขารวมพิธี น้ํามนต ติดตามประธานสงฆ -เสร็จพิธ-ี การแสดงและมหรสพสมโภช

การเจริญพุทธมนต สมโภชองคกฐิน


แนวทางการปฏิบัติ - ขั้นตอนพิธีการ

เวลา ๐๘.๓๐น.

๐๙.๐๐น.

พิธีทอดกฐินสามัคคี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา วัน ............................... เวลา ๐๙.๐๐ น. --------------------------------------กําหนดการ การปฏิบตั ิ ขบวนแหกฐินสามัคคี เดินทางมาถึง ................. - ฝายพิธีการจัดเตรียมความ พรอม - ฝายตอนรับ คอยอุปฏ ฐาก พระสงฆ พิธีกร เรียนเชิญประธานในพิธี - เตรียมเจาหนาที่เชิญเทียน - จุดธูปเทียน บูชาพระรัตนตรัย ชนวนใหแก ประธานในพิธี - ประเคนขันขอศีล และประเคนตาลปตร มัคทายก - กลาวนําไหวพระ บูชาพระรัตนตรัย - ประธานสงฆใหศลี - กลาวคําสมาทานเบญจศีล พิธีกร - ฝายพิธีการ จัดเตรียมพาน - เรียนเชิญประธานในพิธี กลาวคําถวายผา กฐิน แวนฟา สําหรับวางผาไตร - ประธานในพิธีประคองผาไตร (ผากฐิน) ยืน เอก ๑ ไตร ไตรรอง ๒ ไตร (รวม ๓ ไตร) หันหนาไปยังพระพุทธรูปประธานในวิหาร กลาว “นะโม ฯ” ๓ จบ - ฝายพิธีการ จัดพิมพคํา - จากนั้นประธานในพิธีประคองผาไตร (ผา กฐิน) กลาวถวายผากฐิน ติดบนผา ยืนหันหนามายังพระสงฆทั้งปวง กลาวคําถวาย ไตรเอก (สําหรับประธาน ผากฐินสามัคคี อาน) - ประธานในพิธี นําผากฐิน วางบนพานแวนฟา ๘


สําหรับไตรเอก (สําหรับพระสงฆผคู รองกฐิน) - ประธานในพิธีกลับมานั่งที่รับรอง จากนัน้ จะเปนชวงพิธีสงฆ (อุปโลกนกฐิน) - พระสงฆทั้งปวง ประกอบพิธีอุปโลกนกฐิน (เพื่อ มอบผากฐินใหแกพระสงฆผูสมควรไดเปนผูครอง ผากฐิน) - พระสงฆเปลงเสียงสาธุการ มีมติมอบผากฐิน ใหแกพระสงฆรูปใดรูปหนึ่ง พิธีกร - เรียนเชิญประธานในพิธี เขาถวายผากฐิน สามัคคีแกพระสงฆผูครองกฐิน พรอมเครื่อง บริวารกฐินทั้งหมด - เรียนเชิญคณะเจาภาพ จํานวน................ทาน เขาประเคนเครื่องจตุปจจัยไทยทาน จํานวน .................ชุด ตามลําดับ

- ในพิธีเงียบสงบ เพื่อฟงการ อุปโลกนกฐิน

- ฝายพิธีการ เตรียมเครื่อง บริวารกฐินทั้งหมดมอบ ใหแกประธานในพิธี เพื่อ ถวายพระสงฆผูครองผากฐิน - ฝายพิธีการ จัดเตรียมไทย จตุปจจัยไทยทาน จํานวน ............ชุด - ฝายพิธีการ จัดเตรียมที่ กรวดน้ําสําหรับเจาภาพ จํานวน..............ชุด พิธีกร - ฝายพิธีการ จัดเตรียมยอด - เรียนเชิญเจาภาพ อานยอดปจจัยการทอดกฐิน จตุปจจัยการทอดกฐิน สามัคคี (หากมี) สามัคคี - พระสงฆทั้งปวงอนุโมทนา - ผูรวมพิธีประนมมือรับพร - มัคทายก (อาจนําทองบทแผเมตตา อิตัง ตานะ จากพระสงฆ กั๋มมังฯฯ - ผูเ จาภาพกรวดน้ํา - เรียนเชิญเจาภาพ เขารับวัตถุมงคลจากประธาน - ฝายพิธีการ จัดเตรียมวัตถุ สงฆ มงคล -เสร็จพิธ-ี ๙


พิธีถวายผากฐิน

พิธีถวายผากฐิน กลาวคําถวายผากฐิน

๑๐


ปุปผาลานนา: บุบฯฯาล้าฯ¢ เอื้องเผิ้ง

เอิฯงเผิฯ

“งาม เลอล้ําเปนที่หนึ่ง กลีบเหลือง ปานน้ําผึ้ง เจาเอยเอื้องผึ้งสาวดอย….” เสียงเพลงอันเปนอมตะของศิลปนผูลวงลับ จรัล มโนเพ็ชร ไดขับขานความงามของ ดอก ‘เอื้องผึ้ง’ ไวอยางงดงาม เฉกเชนความงามของสาวลานนา ที่ออนหวาน และจับใจ และ จะมาคูกับ(หนุม)จันผา อันสงางามที่ “ขึ้นเคียงคูกัน นิรันดรเอย…” หลายคนอาจจะ ประทั บ ใจกั บ เนื้ อ เพลงอั น โศกเศรา รั นทดกั บ หนุ ม จัน ผา และสาวเอื้ อ งผึ้ ง และคิ ด ว า เรื่องราวความเปนมานั้นคงเปน ดังตํานานรักอันโศกเศราและ สวยงามตามที่ เ นื้ อ เพลงว า ที่ ส ว ย ง า ม เ พ ร า ะ ว า ไ ม ไ ด โศกเศร า ด ว ยผิ ด หวั ง ในรั ก เหมื อ นกั บ เรื่ อ งราวของสาว เครื อ ฟ า หรื อ ว า สาวบั ว บาน (ตามที่ เ ล า ลื อ กั น ) หากแต เพราะโศกด ว ยคิ ด จะมอบสิ่ ง สวยงามใหกับนางอันเปนที่รัก แตบุญของทั้งสองไมอยูเคียงคู กั น ในใต ฟ า เมื อ งคน จึ ง กลั บ เพศเป น สิ่ง ที่ สวยงามนั้น แทน อันเปนดอกเอื้องผึ้งและจันผา ตามเท็จจริงแลวนั้น เปนตํานานที่สรางขึ้นใหม เกิดขึ้นเมื่ออายจรัล ไดเขียนและรอง เพลง “เอื้องผึ้ง – จันผา” ครั้งแรกนั่นเอง เปนการเรียงรอยเอาความสวยและออนหวาน ของ ดอกเอื้องผึ้ง ผูกพันเขากับความเขมแข็งทรหดสงางามของจันผา เพียงเทานั้นจริง ๆ ๑๑


ดอกเอื้องเผิ้ง ก็คือ ดอกเอื้องผึ้ง เพราะวาคนลานนาจะออกเสียงสระอึ เปนสระเออ จึ ง ออกเสี ย ง “ผึ้ ง ” ว า “เผิ้ ง ” เอื้ อ งเผิ้ ง นี้ ใช เ รี ย กกล ว ยไม ช นิ ด Dendrobium aggregatum Roxb.และ Dendrobium lindley Steud. เปนกลวยไมสกุลหวาย ที่ตอง อาศัยการยึดเกาะอยูบนตนอื่น ลําตนอวบอวนคลายหวีกลวย สีเขียวสดและใบอวบน้ําสีเขียว สด หนึ่งตนมีหนึ่งใบ ชอดอกสีเหลือพราวหยาดยอยหอยลง กลีบแตละกลีบมีสีเหลือง แลวจะ คอย ๆ เขมขึ้น จนเปนสีเหลืองอมสม และมักจะออกดอกไลเลี่ยกันทั้งกอ จนเปนดอกเอื้อง เผิ้งชอใหญ ที่สงกลิ่นหอมอบอวลคลายกลิ่นหอมของน้ําผึ้งเลยทีเดียว ยิ่งอากาศรอนเทาไร กลิ่นหอมของดอกเอื้องเผิ้งอวลอบ หากกลายเปนแมลงภูเผิ้งได ก็จักบินไปตอมไตชมชื่นไมรู วาย กลีบดอกที่เหลืองบาง เปนชอพุมไสวนั้น ไดถูกจําลองมาเปนเครื่องสักการะ บูชา พระพุทธ หรือใชในงานพิธีกรรมตาง ๆ เชนงานบวชนาค การอบรมสมโภชพระพิมพาสารูป ของพระพุทธเจา ก็จะมีตนเผิ้งเปนเครื่องสักการะ ตนเผิ้ง ทํามาจากขี้เผิ้ง ที่ปนเปนกลีบดอก เอื้องเผิ้ง เขาติดกับกานกิ่ง ออกมาเปนพุม เปนตนเผิ้ง ทั้งสี ทั้งรูป และทั้งกลิ่น ลวนจําลอง ออกมาไดอยางไมมีที่ติ เปนศิลปะที่ถายทอดออกมาจากใจ จากนอมนําศรัทธาตอพระศาสนา ดวยสองมือที่กรําดินและกรานงานในทุงในนา เปนการใช จิตใจและธรรมชาติหลอหลอม รวมกัน เพื่อศรัทธาตอสิ่งที่เคารพบูชา ยามเมื่อลมรอนพัดผานของเดือน ๕ เดือน ๖ เหนือ ปาบางสวนเริ่มทิ้งในหลังจากที่ เปลี่ยนสีมาในยามฤดูหนาว ตนไมบางตนเหลือแตกิ่งกานสาขา ตนไหนที่อยูที่ลุมชุมน้ําก็ยังคง มีใบเขียวเต็มตน ปายามนี้ชวนใหเหงาวิเวกวังเวงยิ่งนัก ลมรอนโชยผาน สีนา้ํ ตาลของตนไม ใบไมที่หลนเกลื่อน ดูทึบทึมแหงผากในหัวใจ ยามใดที่ตาไปสัมผัสตอง ใจไปจับติดทีด่ อกสี เหลืองบาง กลิ่นหอมหวาน ก็เหมือนกับน้ําทิพยที่ชโลมลงบนหัวใจทีแ่ หงผากในยามแลงเชนนี้ ดังในบทชมกลวยไมใน “กาพยเจี้ย จามเทวี – วิรังคะ” ของทานอาจารยไกรศรี นิม มานเหมิ น ทร ว าไว ใ นช ว งที่ ฤ ๅษี ว าสุเ ทพ พาพระนางจามเทวี ขึ้ น มาจากละโว สู เ มื อ ง หริภุญไชย ดังนี้ …เอื้องเผิ้ง เอื้องคํางาม บานติดตาม คูกันไป สาวสาว ลานนาไทย ปกเอื้องไว ที่มวยผม สงกรานต งานสนุก สาดน้ําชุก อภิรมย หนุมใต ทองนิยม มาเฝาชม สาวลานนา เหน็บเอื้อง เผิ้งคําเหลือง ชูบรรเทือง ตระการตา แนงนอย เพาพงา แตงเสื้อผา สดใสสี สลุงเงิน ใบใหญใหญ ตักน้ําใส ใหเต็มปรี่ ดวยพร จิตปรีดี จงสุขมี ตลอดนาน… ๑๒


นอกจากนี้ ชวงที่ดอกเอื้องเผิ้งออกดอกนี้ เปนชวงเดียวกับที่ทางลานนามีงานปอย หลวง หรืองานเฉลิมฉลองศาสนสถานกันหลายแหลงแหงที่ บางครั้งเห็นดอกเอื้องเผิ้งก็เหมือน จะเห็นงานปอยหลวงเมื่อนั้น สาวงามชางฟอนที่ฟอนนําหนาครัวทานของหัววัดตาง ๆ หรือ ชางฟอนที่มาฟอนรับครัวทานนั้น ลวนแลวแตแซมดอกเอื้องเผิ้งไวที่มวยผม ทําใหดูงามซึ้งตรึง ใจทุกครั้งไป แมนวาบางทีมีงานที่ไมใชฤดูที่ดอกเอื้องเผิ้งบาน ก็ยังอุตสาหหาดอกเอื้องเผิ้งที่ เปนดอกประดิษฐมาเสียบแซมมวยผมแทน ไมเพียงแตเอื้องผึ้ง จะเปนสัญลักษณของสาวงามชางฟอนในงานปอยหลวงแลว ยัง เปนสัญลักษณถึงประเพณีฟอนผี (ผีมด ผีเม็ง) ของทางลานนาอีกดวย เพราะดอกเอื้องเผิ้ง จะ บานในยามที่ลงขวงฟอนผี และเปนดอกไมทเี่ หลาผีปูยาจะนิยมนํามาเสียบไวที่ผา โพกศีรษะ บางครั้งเราเห็นผูหญิงทัดเอื้องเผิ้งเดินลองถนนไป นั่นก็อนุมานไดวา ผูหญิงคนนั้นจะไปยังผาม ...ปะรําฟอนผีเปนแมนมั่น (หากวามีการฟอนผีอยูไ มหาง) ดอกเอื้องเผิ้ง งดงาม ออนหวาน เปรียบเหมือนกุลสตรีที่ดีงามพรอม งามทั้งรูปราง หนาตา งามทั้งใจ และขอวัตรปฏิบัติ ใครพบเห็นก็นิยมชมชอบ หรือใครจะคาน?๚๛

๑๓


“ราชรถบุษบกปราสาทราชมงคลลานนา”

*

เรียบเรียงโดย ศักดิ์นรินทร ชาวงิ้ว ราชรถบุษบก ประกอบดวยสองสวนดวยกัน คือ ราชรถ และบุษบก ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานไดใหความหมายของทั้งสองคําไววา ราชรถ หมายถึง “ยานพาหนะ ชนิดลอเลื่อน มีเรือนยอดทรงบุษบก ใชประดิษฐานพระบรมโกศและพระโกศ เชน พระมหา พิชัยราชรถ เวชยันตราชรถ” สวนคําวาบุษบก หมายถึง “เรือนยอดแบบหนึ่งมีขนาดตางๆ กัน เปนอยางเรือนโกง เปนที่ประทับของพระมหากษัตริยในพระราชพิธี หรือประดิษฐานปู ชนียวัตถุ เชนพระพุทธรูปเปนตน” ในลานนา การประดิษฐานพระศพแตเดิมจะใชการลาก “ไมแมนอนเรือ” ไมไดใช ราชรถอยางเจานายในราชวงศจักรี ในลานนาที่เห็นไดชัดเจน จะเปนการพระราชทานเพลิง ศพพระราชชายา เจาดารารัศมี ซึ่งเปนเจานายในราชวงศจักรี ตอมามีการใชราชรถกับงาน พระราชทานเพลิ ง ศพเจ า นายฝ า ยเหนื อ อี ก หลายองค เช น เจ า ราชบุ ต ร (วงษ ต ะวั น ณ เชียงใหม) เปนตน และยึดเปนตนแบบของราชรถที่ใชกับปูชนียวัตถุตอมา โดยมีการเลื่อนไหล ของความหมายไปมากกวาราชรถที่ใชประดิษฐานพระบรมโกศและพระโกศแบบสยาม 0

ภาพที่ ๑ ราชรถนอยอัญเชิญพระโกศของพระราชชายาเจา ดารารัศมี ที่มา: http://www.huglanna.com/index.php?topic=148.0

ภาพที่ ๒ ราชรถอัญ เชิญ โกศของเจ า ราชบุ ตร(วงศ ตะวั น ณ เชียงใหม) เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ที่มา: ภาพลานนาในอดีต. สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม

สวนคําวาราชรถในภาษาไทยนั้นจะมีความหมายที่จําเพาะที่หมายถึงยานพาหนะที่ ใชประดิษฐานพระบรมโกศและพระโกศเทานั้น แตจะมีคําศัพทอีกคําหนึ่งที่มาใชสําหรับ โดยสารหรือประดิษฐานวัตถุตางๆ คือคําวา “ราชยาน” โดยใหความหมายวา “ยานของหลวง ใชโดยสาร หรือเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปที่สําคัญ พระบรมอัฐิ พระบรมราช *

นักวิชาการศึกษา ศูนยวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา ๑๔


สรีรังคาร เปนตัน มีหลายชนิดตางกัน ใชหิ้ว หาม แบก เชนเสลี่ยง คานหาม คันหาม วอ สีวิกา เชนพระราชยานกง พระราชยานถม พระราชยานสามลําคาน” สวนในลานนา ไดใหความหมายของคําวา “ราชรถ” ไววา “พาหนะของพระราชา” (บุปผา คุณยศยิ่ง, ๒๕๔๒: 5689) อันมีความหมายที่กวางกวาของไทยมาก ดวยถือวาเปน “รถ” ประเภทหนึ่ง อันเปนของ “พระราชา” โดยจะใชประดิษฐาน โดยสารเปนแบบราชยาน ก็ได หรือจะใชประดิษฐานปูชนียวัตถุก็ได โดยแรกเริ่มคาดวานาจะมีการพัฒนามาจากเกวียน แลวมีการตกแตงใหดูสวยงามและวิจิตรตามแตฐานะของเจาของ (งานบริการและเผยแพร วิชาการฯ, ๒๕๕๗: ๑๑) ดังการบรรยายเกวียนที่มีการตกแตงของชาวลานนา ในโคลงนิราศ หริภุญชัย (ประเสริฐ ณ นคร. ๒๕๔๗: ๓๔ – ๓๖). ไววา ในบทที่ ๓๔ กลาววา รถทองเทียมแทกเอื้อม อุสุภา มิอาจจักคณนา เนงได หางยูงยื่นวาดา พายเพิก งามเอ กลางชอปกหื้อให กอมเกี้ยวเวฬี รถ/เกวียน ที่เทียมดวยวัวนั้น ไมอาจจักนับจํานวนดูได ตกแตงดวยหางนกยูงที่ยื่น ขึ้นไป ถูกลมพัดลอลม กลางธงปกหางนกยูงใหรัดรอบไมไผ ในบทที่ ๓๕ กลาววา พลิพัทโคลนคูหอย เดงดัง พัดใหมไหมทอทัง แอกออม หงสทองทอดคานคัง กับโทก เทียมเอ เรือนระวังแวดลอม แสวเสนสาณี โคตัวผูที่เทียมเกวียนทั้งคู มีกระดึงผูกที่คอ เชือกแอกผูกคอวัวทําดวยไหม ทูบแกะ เปนรูปหงสทอดอยูบ นแอก เรือนเกวียนมีลูกกรงสลักเปนซี่ๆ ลอมรอบเปนฉากที่ปกดวยไหม บังอยู ในบทที่ ๓๕ ก. กลาววา ชาวเกวียนกวนเครื่องหยอง หลายจะบับ มีทังผะตืนฝาหับ แถบปอง โคลนคานคูป ระดับ หงสรูป งามเอ โทกสงสูงหนาหยอง หอหุมหางยูง ๑๕


ชาวเกวียนสรรหาเครื่องประดับหลายประการ ไมวาจะเปนสวนของประทุนที่ปดได ดานแอกคูนั้นประดับดวยรูปหงส สวนทูบนั้นประดับดวยหางนกยูง ฉะนั้น เกวี ย นหรือ รถที่ เ ดิน ทางระหวา งเมื องเชีย งใหมกั บ ลํา พู นในอดี ตนั้ น ที่ ไ ด กลาวถึงในโคลงนิราศหริภุญชัย มีการตกแตงคานแอกดวยรูปหงส และใชหางนกยูงในการ ประดับตกแตง ทั้งติดธงในตัวรถดวย ในสวนตัวเรือนรถ ก็ประดับดวยผาปกดวยเสนไหม

ภาพที่ ๓ เกวียนที่มีการประดับดวยธง ภาพเขียนลายทองวัดปราสาท จังหวัดเชียงใหม

นอกจากนี้ยังกลาวถึง “รถ” แบบตางๆ ในวรรณกรรมลานนาอีกหลายเรื่อง ในเรื่องสมภมิตชาดก กลาวถึง รถ ที่เรียกวา “ปุสสรถ” อันประดิษฐานไวดวยเครื่อง ราชกกุธภัณฑเพื่อทําการเสี่ยงมาอุปการหาเจาเมืองคนใหม (โครงการปริวรรตวรรณกรรม ลานนาไทย,๒๕๔๑:171) สวนมหาชาติเวสสันดรชาดกลานนา ฉบับกุฎีคํา ในกัณฑมหาราช ไดอธิบายถึง “รถ” คันตางๆ ที่ตกแตงเพื่อออกไปรับพระเวสสันดรที่เขาวงกฎไววา “ถัดนั้นราชรถชัยชุมแตงหาง รถเหลมกวางเทาพิมาน โทกทุมพานเพ็กพาด ขมขาง คาดหวายทรง ดุ มกํ า กงเหล็ กแขบ ตี เ หล็ก แคบไชยชุ ม ถ า ยเพลาดุ ม ไมใ หม เครื่ องรถใส เหลือหลาย หนังสือลายหุมนอก หนังราชสีหพอกอีสาน เหลมปูนปานทิพวาส ตั้งปราสาทโขง ไข กางตุงไชยวะวาด ชอใหญกวาดลงสน เครื่องเศิ้กขนขึ้นใส หนาไมใหมและธนูสิงห ปนพิษ ยิงและสินาด อะม็อกอาจผาลา ชุมดาบขวาชูชัยโชค เครื่องบริโภคสัพพัตถะดูดี รถทังหลายมี มาก ลางเหลมชอนดวยอุสุภราชตัวใหญ ลางเหลมก็มาใสกวางคํา ลางลําก็มาใสแพะผู ลากไป อยูซุยซาย รถทังหลายสัพพเรดควรสังเกตไวใหเปนตรา (พระครูอดุลสีลกิตติ,์ ๒๕๕๗ :310 – 311) ๑๖


ส ว นในเนมิ ร าชชาดก ฉบั บ วั ด บ า นหลุ ก อํ า เภอแม ท ะ จั ง หวั ด ลํ า ปาง (รหั ส ไมโครฟลม ของสํานักสิ่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. ลป060701302) ไดกลาวถึงเวเชยันต ทิพรถ หรือเวไชยันตทิพยรถอันเปนรถของพระอินทรตอนที่พระอินทรใหมาตลีสารถีขับรถ ออกไปรั บ พระเนมิ ร าชที่ เ มื อ งมิ ถิ ล า กล า วว า รถคั น นั้ น มี ค วามสว า งเจิ ด จ า เป น ประกาย ประหนึ่งจันทรมณฑล หรือมีความสวางไสวดุจพระจันทรอีกดวงหนึ่ง

ภาพที่ ๔ พระเนมิราช ประทับบนเวชยันตรถ โดยมีนายมาตลีเปนสารถี ภาพจากจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร

ในปฐมสมโพธิสํานวนลานนา ที่ปริวรรตโดย บําเพ็ญ ระวิน ไดบรรยายถึงรถ ของ เจาชายสิทธัตถะ ตอนที่เสด็จประพาสอุทยาน แลวพบเห็นเทวทูต วารถของเจาชายสิตธัตถะ ทรงนั้นมีสีทองเรื่อ ปูลาดดวยไหมเงินไหมทอง ประดับดวยหนังเสือและราชสีห และอัญมณี ๗ ประการ (บําเพ็ญ ระวิน, 2535: 37)

ภาพที่ ๕ เจาชายสิทธัตถะนั่งรถชมอุทยานพบกับเทวทูตทั้ง ๔ จิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง ที่มา: น. ณ ปากน้ํา. ๒๕๕๔. วัดบวกครกหลวง. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ

๑๗


ซึ่งรถตางๆ เหลานี้ทางลานนามักจะหมายถึงราชรถทั้งสิ้น ในระยะหลังมีการสราง รถที่มีลักษณะคลายราชรถของไทย แตใชป ระดิษฐานสิ่ งศักดิ์สิทธิ์ เชนรถบุษ บกของทาง เทศบาลนครเชียงใหม ที่ใชอัญเชิญพระพุทธรูปสําคัญของเมืองเชียงใหม เชน พระพุทธสิหิงค (พระสิงห) ในงานสงกรานตเมืองเชียงใหม และพระเจาฝนแสนหา ในงานประเพณีเขาอินทขีล ของเมืองเชียงใหม ในบางโอกาสสําคัญก็ใชอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุดวย เชนพระทักขิณ โมฬีธาตุ หรือพระธาตุศรีจอมทอง เขามายังเมืองเชียงใหม ในคราวสมโภชเชียงใหม ๗๐๐ ป ดวย ปจจุบันในเมืองเชียงใหมเองก็มี การสร า งราชรถบุ ษ บก หรื อ รถบุ ษ บก เพื่ อ ใช ใ นพิ ธี ท างศาสนาและพิ ธี สํ า คั ญ อื่นๆ โดยไมไดประดิษฐานพระโกศ หรือ โกศอยางราชสํานักแตอยางใด ที่มีการสรางรถที่เรียกวา “ราช รถบุษบก” อยางยิ่งใหญ คือทางเทศบาล นครเชี ย งราย มีก ารสร า งราชรถบุ ษ บก จํานวน ๙ คัน โดยสะทอนถึงศิลปะของ หั ว เมื อ งต า งๆ ในล า นนาออกมา ซึ่ ง แนวคิดนี้ดวยเหตุวา เมืองเชียงรายเปน เ มื องที่ เ ก า แ ก เ ป น ต น กํ า เ นิ ด ข อ ง อาณาจักรลานนา มีวัฒนธรรมที่งานงาม ภาพที่ ๖ รถบุษบก อัญเชิญพระธาตุศรีจอมทองเขาเมืองเชียงใหม ใน คนเชี ย งรายมี แ นวคิ ด ที่ จ ะอั ญ เชิ ญ คราวฉลองเมืองเชียงใหมครบ ๗๐๐ ป พระพุทธรูปสําคัญคูบานคูเมืองใหเปนที่ ที่มา: พิเชษฐ์ ตันตินามชัย สักการะบูชา จึงนําไปสูการสรางราชรถบุษบก เพื่อเขารวมประเพณีแหพระพุทธรูปแวดเวียง เชียงราย เพื่อใหผูคนเห็นวา เมืองเชียงราย เปนเมืองศิลปนและเปนเมืองวัฒนธรรม (งาน บริการและเผยแพรวิชาการฯ, ๒๕๕๗: ๗ – ๘)

๑๘


ราชรถบุษบก ที่ทางเทศบาลนครเชียงรายไดสรางไว มีหลายรูปแบบที่สะทอนถึง ศิลปะของแตละเมืองในลานนา ดังนี้ (งานบริการและเผยแพรวิชาการฯ, ๒๕๕๗: ๒๐ – ๕๕) ๑. ราชรถศิลปะแพร เปนราชรถบุษบกที่สลาบุญมา บุญประเสริฐ ชางแกะสลักจังหวัดแพรเปน ผูออกแบบ โดยออกแบบจากความอุดมสมบูรณของไมสักของเมืองแพร ให เห็นถึงความงามของเนื้อไมสักทองของเมืองแพรที่สลักลวดลายเปนรูปสัตว ชั้นสูงในคติความเชื่อของชาวลานนาตางๆ เชน พญานาค เหรา หงส และสิงห

ภาพที่ ๗ ราชรถศิลปะแพร ที่มา: ราชรถบุษบก หนึ่งเดียวในลานนา

๒. ราชรถศิลปะเชียงใหม เปนราชรถบุษบกที่ออกแบบโดย อาจารยเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน ไดรับ อิทธิพลมาจากรูปเทวดาปูนปนจากวัดเจ็ดยอดจังหวัดเชียงใหม และมีเสนสาย ที่ออนหวาน ตลอดถึงมีการลงรักปดทองอยางลานนา

ภาพที่ ๘ ราชรถศิลปะเชียงใหม ที่มา: ราชรถบุษบก หนึ่งเดียวในลานนา

๑๙


๓. ราชรถศิลปะเชียงราย เปนราชรถบุษบกที่ออกแบบโดย สลาพรหมา อินยาศรี จังหวัดเชียงราย ไดแรงบันดาลใจมาจากพุทธประวัติตอนเสด็จลงมาจากดาวดึงส เปดโลกทั้ง สามใหถึ งกั น ผสมผสานศิ ลปะจากพมา ไทยใหญ ไทยลื้ อ และไทยขื น ใช เทคนิคการดุนโลหะ โดยใชอะลูมิเนียมเปนวัสดุในการทํา

ภาพที่ ๙ ราชรถศิลปะเชียงราย ที่มา: ราชรถบุษบก หนึ่งเดียวในลานนา

๔. ราชรถศิลปะลําพูน เปนราชรถบุษบกที่ออกแบบโดย สลาโชติวัฒน วรศิลปะสุวรรณ ไดนํา ลักษณะอันโดดเดนของศิลปะในวัดพระธาตุหริภุญชัยเปนตนแบบ ประกอบไป ดวยนาค ๕ ตัวที่มีลักษณะครึ่งนาคครึ่งนก มีความผสมผสานของศิลปะเขมร ผสมอยูตามแบบหริภุญชัย

ภาพที่ ๑๐ ราชรถศิลปะลําพูน ที่มา: ราชรถบุษบก หนึ่งเดียวในลานนา

๒๐


๕. ราชรถศิลปะนาน เปนราชรถบุษบกที่ออกแบบโดย สลาโชติวัฒน วรศิลปะสุวรรณ ไดรับ แรงบัน ดาลใจจากปราสาทในพิ พิธ ภั ณ ฑสถานแหง ชาติ น า น มี การตกแต ง ลวดลายดวยครุฑแบกงาชางดําอันเปนสัญลักษณหนึ่งของเมืองนานมาประดับ รถ มีการประดับดวยการลงรักปดทองแบบลานนา แตมีกลิ่นอายของศิลปะ สุโขทัยผสมตามแบบศิลปะนานที่มีความสัมพันธใกลชิดกับสุโขทัยมาแตเดิม

ภาพที่ ๑๑ ราชรถศิลปะนาน ที่มา: ราชรถบุษบก หนึ่งเดียวในลานนา

๖. ราชรถศิลปะแมฮองสอน เป น ราชรถบุ ษ บกที่ อ อกแบบโดย สล า โชติ วั ฒ น วรศิ ล ปะสุ ว รรณ ได อิทธิพลมาจากศิลปะของชาวไทยใหญที่อยูในจังหวัดแมฮองสอน มีการประดับ ดวยหงสและเสาหงสแบบมอญ การสรางแทนซอนชั้นอันหมายถึงสวรรคชั้น ตางๆ และสัตวที่เกิดจากจินตนาการของชางที่เปนสัตวผสมระหวางนาค ชาง มา กวาง หงส

ภาพที่ ๑๒ ราชรถศิลปะแมฮองสอน ที่มา: ราชรถบุษบก หนึ่งเดียวในลานนา

๒๑


๗. ราชรถศิลปะลําปาง เป น ราชรถบุ ษ บกที่ อ อกแบบโดย สล า โชติ วั ฒ น วรศิ ล ปะสุ ว รรณ นํ า รูปแบบลักษณะประตูโขงของวัดพระธาตุลําปางหลวงมาเปนจุดเดนของรถ พร อ มประดั บ ลวดลายดอกไม ป ระดั บ กระจกสี โดยรวบรวมลวดลายจาก ศิลปวัตถุตางๆ เชนสังเค็ด ธรรมาสน คานหาบ ตูพระไตรปฎกมาตกแตง

ภาพที่ ๑๓ ราชรถศิลปะลําปาง ที่มา: ราชรถบุษบก หนึ่งเดียวในลานนา

๘. ราชรถศิลปะพะเยา เปนราชรถบุษบกที่ออกแบบโดย สลาโชติวัฒน วรศิลปะสุวรรณ โดยนํา ศิลปะสกุลชางพะเยาที่โดดเดนในประติมากรรมหินทราย ประดับตกแตงดวย กระจกสี กระจกจืน ในเรื่องราวที่เกี่ยวของกับพระพุทธศาสนา

ภาพที่ ๑๔ ราชรถศิลปะพะเยา ที่มา: ราชรถบุษบก หนึ่งเดียวในลานนา

๒๒


๙. ราชรถศิลปะเชียงแสน เปนราชรถบุษบกที่อ อกแบบโดย สลาโชติวัฒน วรศิลปะสุว รรณ โดย จําลองแบบมาจากพระธาตุวัดปาสัก เชียงแสน มาเกือบทั้งหมด เนนใหเห็นถึง ลวดลายไมสัก มีการประดับตกแตงดวยกระจกจืนในบางสวน เพื่อไมใหงาน โบราณไมสะทอนแสงมากเกินไป

ภาพที่ ๑๕ ราชรถศิลปะเชียงแสน ที่มา: ราชรถบุษบก หนึ่งเดียวในลานนา

สวนราชรถบุษบก ของทางราชมงคลลานนา ออกแบบโดย ผศ.ลิปกร มาแกว จาก คณะศิลปกรรมและสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา และเขียน แบบโดยสลาโชติวัฒน วรศิลปะสุวรรณ แนวคิดของราชรถบุษบกของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา คือ “ราชรถ บุษบกปราสาทราชมงคลลานนา” ประกอบดวย ๑. ไมมงคลทั้ง ๙ ซึ่งจะทําในสวนของบุษบกปราสาท ๘ เหลี่ยม โดยใชไมมงคล ทั้ ง ๙ นี้ ว างไว ป ระจํ า ทิ ศ ต า งๆของตั ว บุ ษ บก โดยไม แ ต ล ะชนิ ด วางไว ณ ตํ า แ ห น งแ ล ะ มี คว า ม ห ม า ย ดั งนี้ ( ม ห า ห ม อดู ดอทค อม . ๒ ๕ ๕ ๘ : http://www.mahamodo.com/tamnai/tamnai_miscellaneous/tree9_good.aspx ) ไมไผสีสุก อยูทางทิศเหนือ หมายถึ ง มีค วามสุ ขกายสบายใจ ไร ทุก ข โศกโรคภัย ไมพะยูง อยูทางทิศใต หมายถึง การพยุงฐานะใหดีขึ้น ๒๓


ไมสัก อยูทางทิศตะวันออก หมายถึง ความมีศักดิ์ศรี ความมี เกียรติ อํานาจบารมี คนเคารพนับถือและยําเกรง ไมชัยพฤกษ อยูทางทิศตะวันตก หมายถึ ง การมี โ ชคชั ย ชั ย ชนะ ชนะศัตรู ชนะอุปสรรคตางๆ ไมราชพฤกษ อยูทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หมายถึ ง ความเป น ใหญ แ ละมี อํานาจวาสนา ไมทรงบาดาล อยูทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หมายถึ ง ความมั่ น คง หรือทําใหบานมั่นคงแข็งแรง ไมทองหลาง อยูทางทิศตะวันตกเฉียงใต หมายถึ ง การมีท รั พ ย สิ น เงิ น มี เงินทองใชไมขัดสน ไมกันเกรา อยูทางทิศตะวันออกเฉียงใต หมายถึ ง ป อ งกั น ภั ย อั น ตราย ตางๆ หรืออีกชื่อหนึ่งวา ตําเสา ซึ่งอาจหมายถึงทําใหเสาเรือนมั่นคง ไมขนุน อยูตรงกลาง หมายถึง หนุนใหดีขึ้น ร่ํารวยขึ้น ทําอะไรจะมีผูใหการเกื้อหนุน ๒. พระญาลวง ลวงเปนสัตวในนิยายอยางหนึ่ง มีลักษณะทั่วไปเหมือนนาค แนที่ศีรษะมีเขาอยาง กวาง และบริเวณแกม มีเคราหุม (อุดม รุงเรืองศรี, ๒๕๔๒: ๕๘๓๔) บางแหงจะมีขา และมี ปก เพิ่มขึ้นมา ซึ่งนักวิชาการหลายทานกลาววา คําวาลวงนั้น ก็คือมังกร โดยมาจากคําวาเลง หรือหลง ในภาษาจีน ที่แปลวามังกร เปนผูที่ใหน้ําฟาสายฝนความอุดมสมบูรณเชนเดียวกับ พญานาค ความสงางามของลวง เปนที่เลื่องลือ ดวยการเยื้องยาง กรีดกรายของตัว ‘ลวง’ ที่ ทะยานแหวกดั้นเมฆนั้น คงซึ่งความสงางามและสวยงามเปนยิ่งนัก กอปรกับเกิดฟาแลบ แปลบปลาย ยิ่งขับชวยเสริมใหออนไหวสวยงามขึ้นเทานั้น และการนี้ ไดนํามาเปรียบเทียบกับ การเดินเหินของผูหญิงที่สงาและสวยงาม ๓. ปลาอานนท ปลาอานนท เป น หนึ่ ง ในปลาใหญ ๔ ชนิ ด คื อ ปลาอานนท ปลาติ มิ นั น ทะ ปลาอัชโฌโรหะ และปลามหาติมทิ ซึ่งแตละตัวมีลําตัวยาวประมาณ หนึ่งพันโยชน (มาลา คํา จันทร, ๒๕๔๘: ๑๒๒) เปนปลาที่อาศัยอยูในเมืองคน ๔. นทีสีทันดร ๒๔


เปนแมน้ํามหาสมุทรใหญที่ลอมรอบเขาพระสุเมรุและอยูระหวางเขาสัตตปริภัณฑ เอาไว ไมรวมกับโลณสาคร ที่เปนน้ําเค็มอันกั้นระหวางทวีปทั้ง ๔ (มาลา คําจันทร, ๒๕๔๘: ๗๐) นทีสีทันดรนั้นเปนแมน้ําที่มีความใสและละเอียดมาก ไมมีสิ่งใดที่จะลอยเหนือผิวน้ํา ได แมวาปกนกยูงหากหลนตกลงไปก็จะจมลงไปถึงพื้น (มาลา คําจันทร, ๒๕๔๘: ๕๘) ๕. เขาสัตปริภัณฑ เปนกลุมภูเขาที่ลอมรอบเขาพระสุเมรุเปนชั้นๆ จากดานในออกสูดานนอก ดังนี้ ยุคันธร อิสินทร การวิก สุทัสนะ เนมินทร วินันตกะ และอัสกรรณ สวนเขายุคันธรในสุดใกล กับเขาพระสุเมรุนั้นเปนที่อยูแหงทาวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ในธรรมอรุณวดีสูตรกลาวไววา “อันวา เขาใหญทั้งหลาย๗อันนั้น เขา ๑ ชื่อวายุคันธร เขา ๑ ชื่อวาอิสินทร เขา ๑ ชื่อวาการวิก เขา หนึ่งชื่อวาสุทัสนะ เขา ๑ ชื่อวาเนมินทร อัน ๑ ชื่อวาวินันตกะ อัน ๑ ชื่อวาอัสกรรณ เปนเขา ใหญนัก ตั้งอยูแวดรอดทุกเบื้องทุกภายแหงเขาสิเนรุราชนั้น อันวาชั้นฟาจาตุมหาราชิกาเปนที่ อยูแหงทาวจตุโลกบาลทั้ง๔ก็มีเหนือปลายเขายุคันธร เปนที่อยูแหงทาวจตุโลกบาลทั้งหลาย เปนที่เสพอยูแหงเทวดาทั้งหลายแลยักขะกุมภัณฑทั้งหลายนั้นแล” (มาลา คําจันทร, ๒๕๔๘: ๕๗)

ภาพที่ ๑๖ เขาสัตปริภัณฑที่อยูลอมรอบเขาพระสุเมรุ ที่มา: สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับอักษรธรรมลานนาและอักษรขอม

๖. ลอ ๘ ซี่ ๒๕


ลอ ๘ ซี่นั้นหมายถึง มรรค หรือหนทางแหงการดับทุกขทั้ง ๘ ขอ ไดแก ๑. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นที่ถูกตอง หมายถึง ความรู-ปญญา หรือมุมมอง ที่ ถูกตองตรงกับความจริง ตามคําสอนของพระพุทธเจา คือการรูแจงในอริยสัจ 4 ๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ความคิดที่ถูกตอง หมายถึง ความคิดที่ตองละเวนจาก ความพอใจ ความพยาบาทและการเบียดเบียน ๓. สัมมาวาจา คือ เจรจาที่ถูกตอง หมายถึง การพูดที่ตองละเวนจากการพูดเท็จ หยาบคาย สอเสียดและเพอเจอ ๔. สัมมากัมมันตะ คือ การปฏิบัติที่ถูกตอง หมายถึง การกระทําที่ตองละเวนจาก การฆาสัตว ลักทรัพยและประพฤติผิดในกาม ๕. สัมมาอาชีวะ คือ การหาเลี้ยงชีพที่ถูกตอง หมายถึง การทํามาหากินอยาง ซื่อสัตยสุจริต ไมมีการทุจริตและเอาเปรียบผูอื่น ๖. สัมมาวายามะ คือ ความเพียรที่ถูกตอง หมายถึง ความอุตสาหะหรือความ พยายามที่อยูในวิถีทางที่ดีงาม คือการละบาปอกุศลทางใจ และเจริญกุศลให ยิ่งๆขึ้นไป ๗. สัมมาสติ คือ การมีสติที่ถูกตอง หมายถึง การระลึกรูตัวอยูตลอดเวลา โดย กําจัดความฟุงซาน รําคาญ หดหู งวงซึม สงสัย และลังเล คือการพิจารณา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เชนการเจริญอานาปาน สติสมาธิ มีสติรูลมหายใจ ๘. สัมมาสมาธิ คือ การมีสมาธิที่ถูกตอง หมายถึง การฝกกายและอารมณใหสงบ โดยกําจัดความคิด,ความจําและอารมณออกไปชั่วขณะหนึ่ง คือการเจริญฌาน ทั้งสี่ ๗. หมอปูรณฆฏะ หมอปูรณฆฏะ เปนรูปของหมอดอกหรือแจกันดอกไม อันหมายถึงความ เต็ ม อิ่ ม ความอุ ด มสมบู ร ณ มั ก พบเห็ น เป น ลวดลายในการประดั บ ศาสนสถาน หรือศาสนวัตถุ ศิลปวัตถุตางๆ ของทางลานนา เปนลวดลายที่สืบทอดมาจากทาง อินเดียโบราณ ๒๖


๘. บันไดนาค หมายถึงเสนทางเชื่อมระหวางสวรรค อันหมายถึงดาวดึงสบนยอดเขาพระสุเมรุ ลง มาสูทั้ง ๔ ทิศ นั้นคือทวีปทั้ง ๔ โดยผานทางสัตวมงคลที่มีอานุภาพดวยพญานาค ๙. เทวดา ๘ ทิศ ในคติพราหมณ-ฮินดู มีการนับถือเทวดาทั้ง ๘ ทิศ ประกอบไปดวย (เทวดาประจํา ทิศทั้งแปด, ๒๕๕๘ : http://arts-108.blogspot.com/2014/01/blog-post.html ) พระไพศรพณ ประจําทิศเหนือ พระยม ประจําทิศใต พระอินทร ประจําทิศตะวันออก พระวรุณ(พระพิรณ ุ ) ประจําทิศตะวันตก พระอิศาณ ประจําทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พระอัคนี ประจําทิศตะวันออกเฉียงใต พระไนรฤติ(พระนิรฤติ) ประจําทิศตะวันตกเฉียงใต พระพายุ ประจําทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในคติ พุ ทธศาสนามี การผู ก พระอรหัน ต กับ ทิศ ทั้ งแปด ดัง เชน การฝง ลูก นิ มิต ผู ก พัทธสีมา ในทิศทั้งแปดของอุโบสถ โดยพระอรหันตประจําทิศทั้งแปดนี้ปรากฏอยูในบทสวด นมัสการพระอรหันตแปดทิศ ซึ่งพระอรหันตทั้ง แปดทิศดังกลาวนั้นไดแก พระอัญญาโกญฑัญญะ อยูทางทิศบูรพา (ตะวันออก) พระมหากัสสปะ อยูทางทิศอาคเนย (ตะวันออกเฉียงใต) พระสารีบุตร อยูทางทิศทักษิณ (ใต) พระอุบาลี อยูทางทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต) พระอานนท อยูทางทิศปจฉิม (ตะวันตก) พระภควัมปติ อยูทางทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) พระโมคคัลลานะ อยูทางทิศอุดร (เหนือ) พระราหุล อยูทางทิศอิศาณ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ๑๐. บุษบกปราสาท ๔ ทวีป

๒๗


ทวีปทั้ง ๔ ในความชื่อจักรวาลวิทยาทางพุทธศาสนา ไดกลาวถึงทวีปทั้ง ๔ ที่อยูนอกเขาสัตบริภัณฑ อยูรอบเขาพระสุเมรุทั้ง ๔ ทิศ ไดแก ชมพูทวีป กวาง ๑๐,๐๐๐ โยชน เปนทวีปที่มนุษ ยเราอยูทุ กวันนี้ อยู ทางดานทิศใตของเขาพระสุเมรุ ผูคนมีใบหนาเปนรูปไข มีอายุยืนได ๑๐๐ ป ปุพพวิเทหทวีป กวาง ๙,๐๐๐ โยชน สัณฐานเหมือนเดือนเสี้ยวอยูทาง ทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ ผูคนมีใบหนาคลายพระจันทรครึ่งเสี้ยว มีรูปรางสูง ใหญ มีเกณฑอายุ ๒๕๐ ป อุตรกุรุทวีป กวาง ๘,๐๐๐ โยชน อยูทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ เปนทวีปในอุดมคติคนในทวีปมีคุณธรรมสูง ประพฤติสุจริต ผูคนมีผิวขาวงาม ของ ใชลวนเปนของทิพย ไมตองทําไรทํานา มีตนกัลปพฤกษเกิดขึ้นทั่วไป ผูหญิงผิวขาว เนียนนุมนวล ไมมีโรคภัยเบียดเบียน ไมมีความโลภโกรธหลง คนไมจําเปนตองสราง บานเรือนเปนที่อยู อายุยืนไดถึง ๒,๐๐๐ ป ใบหนาดังพระจันทรเต็มดวง อมรโคยานทวีป อยูทางทิศตะวันตกของเขาสิเนโร เมืองมีสัณฐานดั ง เดือนเพ็ญ คนมีใบหนาสี่เหลี่ยม ไมมีบานเรือนแตอยูแบบงาย ๆ ตามพื้นดิน อายุยืน ได ๕๐๐ ป ๑๑. ปราสาทยอด ๕ ชั้น ปราสาทยอดหาชั้น หมายถึง ศีล ๕ ที่พุทธศาสนิกชนยึดถือปฏิบตั ิ ศีล ๕ ขอนั้นบางครั้งในตํานานลานนามักเรียกวา “ประทัด ๕ เสน” ไดแก 1. ปาณาติบาต เวนจากการเบียดเบียนชีวิต 2. อทินนาทาน เวนจากการเอาสิ่งของที่เจาของมิไดให 3. กาเมสุมิจฉาจาร เวนจากการประพฤติไมเหมาะสมทางเพศ 4. มุสาวาท เวนจากการกลาวเท็จ 5. สุราเมรยมัชปมาทัฏฐาน เวนจากการบริโภคสุรายาเมาอันเปนที่ตั้งแหงความ ประมาท

๑๒. ปลียอด ๑๖ ชั้น ๒๘


ทั้ง ๑๖ ชั้นนั้นเปนสื่อที่หมายถึงรูปพรหมทั้ง ๑๖ ชั้น หรือ โสฬสพรหม ประกอบไปดวย 1. พรหมปาริสัชชาภูมิ 2. พรหมปุโรหิตาภูมิ 3. มหาพรหมาภูมิ 4. ปริตตาภาภูมิ 5. อัปปมาณาภาภูมิ 6. อาภัสราภูมิ 7. ปริตตสุภาภูมิ 8. อัปปมาณสุภาภูมิ 9. สุภกิณหาภูมิ 10. เวหัปผลาภูมิ 11. อสัญญีสตั ตาภูมิ 12. อวิหาสุทธาวาสพรหมภูมิ 13. อตัปปาสุทธาวาสพรหมภูมิ 14. สุทัสสาสุทธาวาสพรหมภูมิ 15. สุทัสสีสุทธาวาสพรหมภูมิ 16. อกนิฏฐสุทธาวาสพรหมภูมิ ๑๓. ปลายยอดเปนรูปดอกบัว ดอกบัว เปนดอกไมมงคลที่ทางอินเดียใชบูชาพระเจาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาเนิ่นนาน และเปนดอกไมที่คูกับศาสนามาจวบจนถึงปจจุบัน ดวยดอกบัวเปนดอกไมที่กอกําเนิดจาก โคลนตมแลวโผลพนน้ํารับแสงอาทิตย ซึ่งมีความหมายอันดี ใชบูชาสิ่งที่ควรบูชาตางๆ ในประ ติมานวิทยามักพบการสรางรูปดอกบัวไวกับรูปเคารพตางๆ เปน ปทมบัลลังก หรือบัลลังกที่ เปนรูปดอกบัว ไวรองรับพระพุทธรูป ภาพที่มีพระพุทธเจา หรือเทพเจาในศาสนาฮินดูก็ตาม ในลานนานอกจากจะมีปทมบัลลังกแลวยังมีการสรางโมฬีของพระพุทธรูปแบบดอกบัวตูม ใน พระพุทธรูปแบบพระสิงหอีกดวย

“ราชรถบุษบกปราสาทราชมงคลลานนา” ๒๙


ภาพที่ ๑๗ แบบราง“ราชรถบุษบกปราสาทราชมงคลลานนา”

ภาพที่ ๑๘ แบบ ราชรถบุษบกปราสาทราชมงคลลานนา

๓๐


ภาพที่ ๑๙ – ๒๐ แบบ ๓ มิติ ราชรถบุษบกปราสาทราชมงคลลานนา

๓๑


บรรณานุกรม

โครงการปริวรรตวรรณกรรมลานนาไทย. ๒๕๔๑. การศึกษาเชิงวิเคราะหปญญาสชาดก ฉบับลานนาไทย. เชียงใหม : โครงการปริวรรตวรรณกรรมลานนาไทย ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม งานบริการและเผยแพรวิชาการ ฝายบริการแผยแพรวิชาการ กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลนครเชียงราย. ๒๕๕๗. ราชรถบุษบก หนึ่งเดียวในลานนา. เชียงราย: Big 4 Publishing น. ณ ปากน้ํา. ๒๕๕๔. วัดบวกครกหลวง. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ ประเสริฐ ณ นคร. ๒๕๔๗. โคลงนิราศหริภุญชัย. กรุงเทพฯ : องคการคาของคุรุสภา บุปผา คุณยศยิ่ง. ราชะ. ๒๕๔๒, ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคาร ไทยพาณิชย พระครูอดุลสีลกิตติ์ (ประพัฒน ฐานวุฑฺโฒ). ๒๕๕๗. มหาชาติเวสสันดรชาดกลานนา (ฉบับกุฎีคํา). ลําพูน : ณัฐพลการพิมพ ศิลปากร, กรม. ๒๕๔๗. สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับอักษรธรรมลานนาและอักษรขอม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร

๓๒




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.