Spirit worship on the 9th lunar month

Page 1

1

เดือน ๙ เหนือ เดือนแหงการเลี้ยงผีพลีครู

เรียบเรียงโดย ศักดิ์นรินทร ชาวงิ้ว 1 0

ในชว งเดื อ น ๙ เหนือ หรือ เดือ น ๗ ใตนั้น เป น เดือ นแห งการเลี้ ย งผีพ ลีค รู หรือ การเคารพผู มี พระคุณ นั่นคือการเลี้ยงผี ทั้งผีปูยา ผีครู ที่มีกันทั่วไปในลานนา นับเปนประเพณีการเลี้ยงประจําปที่จะจัด อยางยิ่งใหญในกลุมตระกูลนั้น ๆ หรือสายครูนั้น ๆ จึงขอยกเรื่อง ผีตางๆ ที่ทําการเลี้ยงหรือเคารพบูชากันในเดือน ๙ ดังนี้

ผีปูยา ผี ปู ย า เป น คํ า เรี ย กผี บ รรพบุ รุ ษ ของชาวล า นนา ซึ่ ง เป น ความเชื่ อ ที่ มี ม าก อ นที่ จ ะรั บ เอา พระพุทธศาสนา ผีปูยาเปนผีที่คุมครองดูแลลูกหลานในตระกูลใหอยูรมเย็นเปนสุข ไมมีภัยอันตรายที่จะเขา มากล้ํากราย “ผี” ในกลุมนี้ นอกจากจะเปนผีบรรพบุรุษแลว ยังเปนสิ่งที่จรรโลงความเปนระเบียบเรียบรอย ความประพฤติปฏิบัติของคนในสังคมญาติดวย โดยเฉพาะผูหญิงในตระกูลที่เสี่ยงตอการลวงเกินจากผูชาย หรือที่เรียกกันวา “ผิดผี” หากมีการลวงเกินเพียงจับมือถือแขน หรือแมแตนั่งแผนกระดานแผนเดียวกันก็ ถือเปนความผิดตอผีปูยา ผูชายผูนั้นก็จะตองมาขอขมาแกผีปูยาของฝายหญิง โดยหากยินยอมที่จะอยูกิน กับฝายหญิงก็จะ “ใสผี” เหมือนเชนตอนแตงงานกันโดยทั่วไปก็จะมีการไขวผี ใหผีของสองฝายรับรูและรับ เปนสมาชิกในผีเดียวกันนั่นเอง หากวาไมยนิ ยอมก็จะตอง “เสียผี” ตามแตทางฝายหญิงจะเรียก ฉะนั้นเรื่อง ผีปูยาจึงกลายเปนสิ่งที่ใชควบคุมสังคม โดยเฉพาะทางฝายผูหญิง ที่เปนเจาของทรัพยากรตางๆ ในชุมชน ดั้งเดิม ที่จะตองแตงผูชายเขาบาน ทําใหผูหญิงจึงเปนผูถือผีปูยาสืบตอมา (เมื่อพระพุทธศาสนาเขามา ที่ถือ เปนฝายชายเปนใหญ ทําใหมีการแบงทางดานพุทธศาสนาเปนของฝายชาย และผีปูยาเปนของฝายหญิงไป ในที่สุด) โดยจะสืบทอดผานทางผูหญิง และมักเปนลูกสาวคนโตของตระกูล

1

นักวิชาการศึกษา ศูนยวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา


2

หากใชการที่ลงทรงรางทรง หรือทางลานนาเรียกวา ลงมาขี่ ดวยแลว ก็จะจัดกลุมของผีปูยาอยู สองประเภทใหญๆ คือ แบบที่ไมมีมาขี่ และแบบที่มีมาขี่

๑. แบบที่ไมมีมาขี่ คือมักจะเปนผีปูยาที่อาศัยอยูบนหอ บนหิ้ง หรือในกระชุที่เปนผีปูยา ผูที่ทํา หนาที่สังเวยเรียกวา “ขาวจ้ํา” จะเปนผูทําหนาที่เชิญผีปูยาและทําพิธีทั้งหมด โดยที่การวัดวาผี ปูยามารับของสังเวยก็จะใชวิธีเสี่ยงทายตาง ๆ โดยมากจะใชวิธีวาไมถามผี คือใชไมยาว ๑ วา ของขาวจ้ําพอดี โดยเสี่ยงทายวาถาผีปูยามาหรือรับเอาของ ก็จะเห็นวาไมนั้นยาวเลยวาของ ขาวจ้ําออกมาอยางเห็นไดชัด ๒. แบบที่มีมาขี่ ก็ จะมีมาขี่หรือ รางทรงเปนผูรับเอาปูยาลงมา โดยสามารถพูด คุยกับ บรรดา ลูกหลานได และมาขี่สวนใหญก็จะเปนผูหญิง เมื่อปูยาเขารางก็จะมีอาการเปลี่ยนไป แบบที่มี มาขี่ก็จะแบงยอยออกเปนสองกลุมคือ ผีมด และผีเม็ง โดยผีมด หรือผีที่คอยปกปกษรักษา ของชาวลานนาทั่วไป (มด แปลวารักษา คุมครอง ดูแล) สวนผีเม็ง คือผีปูยาของคนที่สืบเชื้อ สายมาจากชาวเม็ง หรือมอญโบราณที่อยูในลานนา โดยผีปูยาที่มีมาขี่นี้จะมีพิธีกรรมที่ใหญ มี รายละเอียดมากมายและซับซอน โดยจําลองวิถีชีวิตมาไวในพิธีกรรม ผีในแตละตระกูลก็จะมี หลายตน ที่ทําหนาที่ตาง ๆ ในการฟอนผีแตละครั้ง เชน ผีผาขาว จะทําหนาที่โยงผา โยงขัน ผี บาว-ผีสาว ผีสองพี่นอง ผีศึก เปนตน แตเปนแบบแผน หรือที่รูจักกันในนามของการ “ฟอนผี”


3 โอกาสของการเลี้ยงมีหลายโอกาส คือ ๑. ตามครบกําหนดเวลา เชน ทุกปในเดือน ๙ เหนือ หรือทุกๆ ๓ ป เปนตน ๒. เมื่อบนบานสานกลาวเอาไวในบางเรื่อง เมื่อเสร็จเรื่องนั้นจึงตองมีการแกบน ๓. เมื่อคนในครอบครัวเจ็บปวยจากการกระทําของผีอื่น ขอใหผีปูยารักษา หรือ ๔. ทําการขอขมาผีปูยาเนื่องจากการเจ็บปวยจากการที่คนในครอบครัวผิดผี การเลี้ยงผีปูยา เปนการรวมแรงรวมใจ รวมถึงการรวมเงินเพื่อจัดงาน ทั้งเครื่องบูชา หากเปนผีที่ไม มีมาขี่ก็อาจจะงายหนอย แลวแตวาผีจะกินอะไร บางตระกูลก็ใชไก บางตระกูลก็ใชหมู เปนตน แตที่หนัก หนาสาหัสในเรื่องคาใชจายนั้นเห็นจะเปนผีที่มีปะรําการฟอนของบรรดามาขี่ ที่มีเครื่องในพิธีการมากมาย แมกระนั้น ชาวลานนาก็ยังมีความเชื่อและศรัทธาในผีปูยาอยู แตจะมากนอยเพียงใดก็อาจจะแปรเปลี่ยนไป ตามสังคม

ผีครู ผีค รู คือ ครูบ าอาจารยที่ลวงลั บดับ ขันธไ ป เปนรุน ๆ สืบ สายขึ้นไป ที่เ คยประสิท ธิ์ประสาทวิชา ความรูใหในแขนงตาง ๆ โดยคน ๆ หนึ่งอาจมีหลายครู (แตหากมากครูก็จะไมดีตอตัวผูถือ ถาบารมีไมมาก พอก็อาจจะเจ็บปวยหรือวิปลาสได) โดยมีไลเรียงกันขึ้นไปที่จําเพาะเจาะจงในสองรุนสามรุนกอนหนาหรือ แลวแตจะสืบสายครูกันไปถึง นอกนั้นก็กลาวกันโดยรวม โดยมักมีคํา ๆ หนึ่งที่รวบยอดนั่นคือ “ครูเคาครู ปลาย ครูตายครูยัง” ไลเรียงตั้งแตครูคนแรก มาถึงคนลาสุด ตั้งแตครูที่ไดตายไปแลว และครูที่ยังคงมีชีวิต อยู ไมวาจะเปนศาสตรศิลปทางสาขาใด เชน ลายเชิงการตอสู หมอยาเมือง ชางฟอน ชางซอ นักดนตรี ฯลฯ ก็จะมีการบูชาครู ขณะที่เริ่มเรียน ก็จะมีสวยดอกหรือกรวยดอกไมไป “ขึ้นขัน” เสียกอน จึงจะเรียนได นัยวาใหทั้ง ศิษยและครูรับรู และเปรียบเหมือนให “ผีครู” เปนผูกํากับลูกศิษยอีกตอหนึ่ง จนเมื่อเรียนจบครูผูสอน ก็จะ ทําการปลงขันให พรอมทั้งสอนคําฟายครูและเครื่องบูชา เพื่อจะไดทําการบูชาเลี้ยงครูสืบตอไป


4

เครื่องบูชาแตเดิมก็เปนสิ่งที่ลูกศิษยจะนํามามอบใหครูและดูแลครูอยางดี เชนขาวเปลือกขาวสาร หมากเมี่ยงบุหรี่ เงิน(เบี้ย) ผาขาวผาแดง ดอกไม เทียน เปนตน ตอมาเลยจัดเขากันเปนชุดพอใหเห็นเปนพิธี เทานั้น สวนอื่นนั้นก็ขึ้นกับสายครูของใครวาจะมีพิเศษ หรือยนยออะไรบาง เครื่องบูชาหรือที่เรียกวาขันครู ก็จะขึ้นกับครูของตนที่จะบอกมาพรอมกับคาถาและคําบูชา ตอนแบงครูมายึดถือและเลี้ยงบูชาเอง

ผีค รู น อกจากจะเป นครู ข องครู สืบ ๆ ขึ้น ไปที่ส อนสั่งศาสตรศิล ปแลว ยังถือ เปน ผูค วบคุมความ ประพฤติของศิษย เฉกเชนผีปูยาที่คอยควบคุมความประพฤติของลูกหลานในตระกูล การถือครูมักมีขอ หาม หรือขอวัตรปฏิบัติบางประการที่ถือกันเครงครัด ซึ่งเรียกวา “กํา” หากจะยึดถือในเรื่องของการกิน ก็ จะเรียกวา “กํากิน” (/ก๋ํา-กิ๋น/) เชนหามกินอาหารบานศพ เปนตน หากทําผิดขอกําหนดที่ครูไดสั่งไดสอน หรือทําผิดศีลผิดธรรมแลว ก็จะเรียกวา “ผิดครู” ทําใหผูนั้นเจ็บปวย ไมสบายได จึงตองทําการขอขมาและ จัดเครื่องบูชาชุดใหญ ฉะนั้นในเดือน ๙ เหนือ จะมีการจัดงานไหวครู กันทั่วไป นอกจากจะมีลูกศิษยที่มาเรียนดวยแลวก็ จะมาชุมนุม ตระเตรีย มงานดว ยความพรอมเพรีย งกัน จะไดทําการรูจักกัน ไปในตัว ดวยศิษยแตล ะคน อาจจะมาตางวาระเวลากัน เมื่อเรียนตางก็แยกยายกันไปหลายตอหลายรุน เมื่อมาเจอกันอีกครั้ง ก็นับเปน เวลาอันดี ที่ศิษยครูเดียวกันจะไดมาแลกเปลี่ยนประสบการณซึ่งกันและกันได


5

ผีปูยา และ ผีครู นั้น ถือวาเปนสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และเปนผูควบคุมความประพฤติ โดยไม

จําเปนตองสั่งสอนกันอยางในโรงเรียนยุคปจจุบัน และตองเลี้ยงดีพลีถูกจะดลบันดาลใหอยูสุขสวัสดีและ ประสบความสําเร็จ หากใครละเลยนับวาสงผลรายตอลูกหลานหรือศิษยได เชื่อวาผีปูยาและผีครูนั้น สามารถแปรเปลี่ยนกลับกลายเปนอื่นได หากวาลูกหลานและลูกศิษยนั้น ละเลย ไมทําการสักการะ เลี้ยงไมดี พลีไมถูกแลว ก็จะกลายเปน “กละ” ผีกละ (คลายกับผีปอบ) เปนผีรายและเปนที่เกรงกลัวของของชาวลานนาเปนอยางมาก และเปน ภัยตอลูกหลานและลูกศิษยนั้นเอง ฉะนั้นเมื่อครั้งเดือน ๙ มาถึง จึงทําการสักการเลี้ยงพลีกันอยางยิ่งใหญ

ผีเสื้อบาน ผีเจานาย ผีเสื้อบาน คือผีที่คอยปกปกษรักษาหมูบาน ใหคนภายในหมูบาน บางก็มักถือโอกาสนี้เลี้ยงดวย โดยชาวบานทุกคนพรอมใจกันลงขันซื้อเครื่องบูชามาเลี้ยงกัน แลวแตวา ผีเสื้อบานนั้นจะมีมาขี่หรือไม ถา ไมมีก็วาไมหรือเสี่ยงอยางใดอยางหนึ่งเพื่อคําตอบ หากมีมาขี่ก็จะเปนการลงมาขี่หรือลงทรง พรอมกับทํา การฟอนดวย ผีเจานาย คือ วิญญาณของทแกลวทหาร ขุนศึกขุนหาญ ที่ไดลมตายอาจกลายเปนอารักษเฝายัง จุ ด ตางๆ เชนจุ ด ที่ต นเองตกตายไปนั้น ก็ก ลายเปน วิญ ญาณที่ยังคงทําหนาที่เ ดิม ในการปกปก ษรัก ษา ชาวเมือง โดยถือเปนการสั่งสมบุญบารมีใหเสริมเติมขึ้นไปเพื่อใหไดไปอยูในภพภูมิที่สูงขึ้น การชวยเหลือ ชาวบานเชน การรักษาโรค ทํานายทายทัก แกไขสิ่งรายที่เขามาในตน เปนตน


6

เนื่องจากตัวผีเจานายเอง จะทําการนั้นโดยตรงก็ลําบาก กอปรกับไปไหนมาไหนก็ไมสะดวก จึงตอง อาศัย “มาขี่” หรือคนทรง ที่เปรียบเหมือนเปนมาใหบรรดาผีเจานายขี่ไปชวยเหลือผูคน

ในช ว งเดื อ น ๙ นี้ ผูที่ เ ป นม าขี่ ก็ จะทํ าการบวงสรวงและเลี้ย งผี เ จ านาย โดยการเป ด ปะรํ าพิ ธี บวงสรวงและฟอ นบู ชา กั น อยางเอิกเกริก มีก ารเชิญผีเ จานายตนอื่น ๆ มารวมฟอ นในปะรํ าดวยอยาง สนุกสนาน มีเครื่องประโคมแห เชนเครื่องดนตรีพิ้นเมือง บางก็มีผสมผสานดวยเครื่องดนตรีสากล เลน เพลงตั้งแตเพลงพื้นเมืองโบราณไปจนถึงเพลงลูกทุงสมัยปจจุบันก็มี ผีเจานายมักจะแตงกายแผกไปจากผูคนทั่วไป มักสวมเสื้อคอกลมแขนสั้น นุงโสรง มีผาโพกศีรษะ และมีสีสันสดใสฉูดฉาด บางก็หันไปนุงผาแบบผีเม็ง โดยการนุงแบบ “พาดเกิ่งทุมเกิ่ง” คือนุงผาแลวนําชาย ผาที่เหลือมาพาดคอ ตามแบบผีเม็ง และปจจุบันก็พิถีพิถันมากขึ้น เชนเปนผาแพรบาง ผาไหมบาง นํามา อวดกันก็มี ที่กลาวมานั้น ก็จะพบเห็นไดทั่วไปในลานนาในชวงเดือน ๙ เหนือนี้ สวนในจังหวัดเชียงใหม ก็จะมี พิธีที่เปนเฉพาะของเมืองเชียงใหมอีกหลายประเพณี ดังจะกลาวตอไปนี้ ประเพณีเลี้ยงดง (ปูแสะยาแสะ) ปูแสะย าแสะ ถือ เป นผีบ รรพบุ รุ ษ ของชาวลั ว ะ ที่อ าศัย อยูเ ชิง ดอยสุ เ ทพและดอยคํามาแตเ ดิ ม ปรากฏอยูในตํานานเชียงใหมปางเดิม และตํานานพื้นเมืองเชียงใหม วาไวอาจจะมีแตกตางในรายละเอียด เล็กๆ นอยๆ อยูบ าง จะขอเลาโดยยอดังนี้ ครั้งเมื่อพระพุทธเจายังทรงพระชนชีพอยูนั้น ไดเสด็จมายังดอยคํา เมืองเชียงใหม มาพบยังชาวลัวะ บางสวนไดขอบวชเปนพระใหม แตผูคนเบาบาง บางแหงกลายเปนเมืองรางไป จึงสอบถามดูวา ดวยเหตุอัน ใด จึงไดความวาดวยยักษสองตนผัวเมีย คือปูแสะและยาแสะ ไดออกมาจับคนกินเปนอาหารอยูประจํา ผูคนจึงหางหายหนี ทิ้งบานรางเมืองรางไวเปนแหงๆ ไป พระพุทธเจาจึงไปเมตตาโปรดยักขสองผัวเมีย หาม มิใหยักษทั้งสองกินคน แตยักษทั้งสองก็อุทธรณวา ขอเดือนไหนละคน หรือปไหนละคน พระพุทธเจาก็ไม อนุญาติ จึงขอปไหนกินควายหนึ่งตัว เถิดดวยตามวิสัยยักษที่จะตองกินเนื้อดิบเปนปกติ พระพุทธเจาก็ไม


7

กลาวอนุญาตหรือหามแตประการใด ยักษทั้งสองจึงขอกินควายปละตัว และจําปกปกษรักษาชาวเมืองให อยูเย็นเปนสุข และรักษาพระพุทธศาสนาจนตราบ ๕,๐๐๐ พระวัสสา

ฉะนั้นในปหนึ่ง เดือน ๙ เหนือ ออก ๑๔ ค่ํา จึงมีประเพณีการเลี้ยงดง ที่เชิงดอยคํา ต.แมเหียะ อ. หางดง จ.เชียงใหม แตเดิมนั้น จะเลี้ยงปูแสะที่เชิงดอยสุเทพตางดานลางของวัดฝายหิน และเลี้ยงยาแสะที่ เชิงดอยคํา แตเมื่อมหาวิทยาลัยเชียงใหมไดทําการกอสรางในพื้นที่เชิงดอย จึงไดทําการเชิญปูแสะไปอยูที่ ดอยคํา ที่เดียวกันกับยาแสะเสียและเลี้ยงพรอมกันในทีเดียว จึงถือโอกาสทําการเลี้ยงปูแสะยาแสะในฐานะอารักษเมือง และบูชาใหน้ําฟาสายฝนบริบูรณ ดวย ปาแถวนั้นสืบเนื่องไปเปนปาตนน้ํา ทั้งดอยสุเทพ-ปุย ไลมาจนถึงดอยคํา เปนตนน้ําสายสําคัญของเมือง เชียงใหม การเลี้ยงปูแสะยาแสะในปาทั้งสองแหงจึงถือวาเปนการสรางเขตศักดิ์สิทธิ์แหงตนน้ําตนชีวิตไปใน ตัว


8 ปจจุบันการเลี้ยงดง(ปูแสะยาแสะ) นั้นไดกลายเปนการประชาสัมพันธเชิงทองเที่ยว และที่ผานมา รายการโทรทัศนหลายรายการไดนําเสนอเรื่องเลี้ยงดงออกสื่อ ทําใหแตละปจะมีผูคนหลั่งไหลกันมาชมกัน เต็มดงราวกับมีงานมหกรรมใหญๆ สืบชะตาเมืองเชียงใหม การสืบ ชะตา คือ การตออายุใ หยืนยาวสืบไป ใหมีค วามเจริญ กาวหนาเหมือนเดิมหรือรุ ดหนา กวาเดิม การสืบชะตานั้น ทําไดทั้ง คน สัตวมีคุณ ตลอดถึง “เมือง” เชนเมืองเชียงใหมเปนตน เมื่อดวงชะตา คน หรือเมืองนั้นๆ เขาตาจนหรืออาจเรียกวาชะตาขาด ก็จะทําการสืบชะตาครั้งใหญ เมืองเชียงใหม เปนเมืองที่สรางเปนพิเศษหลายๆ ประการเชน สรางตามนิมิตมงคล ๗ ประการ สรางเมืองตามภูมิสัณฐานของเมือง สรางดวยเทคโนโลยีวิธีพิเศษในการสรางแนวสี่เหลี่ยมที่เกือบจะจัตุรัส และที่สําคัญ สรางดวยคติแหงชีวิต นั่งคือเปรียบเหมือนเมืองนั้นมีชีวิต มีองคประกอบเชนเดียวกับคน มีหัว มีสะดือ เปนตน


9

ฉะนั้น เมื่อมีภัยประเหมาะเคราะหราย หรือในรอบหนึ่งป ก็จะมีการจัดทําพิธีสืบชะตาเมืองขึ้นครั้ง หนึ่ง เมืองอื่นๆ อาจจะมีการสืบชะตาประจําป หรือตามโอกาสวาระพิเศษตางๆ แตเมืองเชียงใหม มีเปน ประจําทุกป และตองอยูในชวงหนึ่งเดือนหลังจากออกอินทขีลแลว

โดยจัดมณฑลพิธี ๑๐ จุดดวยกัน ประกอบดวย ๑. บริเวณกลางเวียง อันเปนเกตุเมือง ปจจุบันจัดที่ขวงอนุสาวรียสามกษัตริย ๒. บริเวณประตูชางเผือก อันเปนเดชเมือง ๓. บริเวณแจงศรีภูมิ อันเปน ศรีเมือง ๔. บริเวณประตูเชียงเรือก (เดิม) หรือ ประตูทาแพ (ปจจุบัน) อันเปน มูลเมือง ๕. บริเวณแจงขะท้ํา อันเปน อุตสาหะเมือง ๖. บริเวณ ประตูเชียงใหม อันเปน มนตรีเมือง ๗. บริเวณ ประตูแสนปุง


๙. บริเวณประตูสวนดอก อันเปน บริวารเมือง ๑๐.

10

๘. บริเวณแจงกูเรือง อันเปน กาลกิณีเมือง บริเวณแจงหัวลิน อันเปน อายุเมือง

การแบงเมืองตามระบบทักษานี้ ไดรับการฟนฟูและชัดเจนมากขึ้นหลังจากที่เจากาวิละ ฟนฟูเมือง เชียงใหมในยุคเก็บผักใสซา เก็บขาใสเมือง สวนรายละเอียดเครื่องบูชาตาง ๆ นั้น มีกลาวอยางละเอียดใน หนังสือตํานานเชียงใหมปางเดิม การบูชาชางเผือก ๒ ตัวหัวเวียง และ สิงห ๒ ตัวหัวเวียง ในรายนามของอารักษเชนเมืองเชียงใหม นอกจากบูรพกษัตริย เจาหลวงคําแดง ปูแสะยาแสะ ฯลฯ แลว ยังปรากฏพระญาชางเผือกทั้ง ๒ และพระญาราชสีหทั้ง ๒ หัวเวียงอีกดวย เมื่อมีการทําบุญ หรือ เดือนรอ นตอชาวเมือ ง ก็จะมาทําการบูชา ในแตล ะมีก็จะมีก ารจัด การสัก การะในชว งหลังจากการเขา อินทขีลและทําบุญสืบชะตาเมืองเสร็จสิ้นลงไปแลว ดวยเครื่องสักการะเฉกเดียวกัน คือ “เบี้ยหมื่น, หมากหมื่น, เหลาหมื่น, เงินพัน, คํารอย, ผาขาว ๕ รํา, ผาแดง ๕ รํา, ฉัตรขาว ๑๒ ใบ, ชอขาว ๑๒ ผืน, พัดคาว ๕, อาสนา ๕, เทียนคํา ๑๒ คู, เทียนเงิน ๑๒ คู, เทียนนอย ๑๒ คู, หมากพลู ๑๒ ขด ๑๒ กอม, สวยเขาตอกดอกไม ๑๒ สวย, ขันหมาก ๕ ขัน, พราว ๕ ฅะแนง, กลวย ๕ เครือ, ออย ๕ แบก, หญา ๕ หาบ, น้ําจิง ๕ หาบ, หมอใหม ๕ ลูก, สาดใหม ๕ ผืน, น้ําบวยใหม ๕ บวย, น้ําเขาหมิ้น สมปอย, ลูกสมของหวาน, เขาตมเขาหนมโภชนะรอยเยื่อง” สวนคํากลาวโอกาสบูชานั้น ก็จะกลาวถึงการขอใหทั้งชางเผือกทั้งสอง และราชสิงหทั้งสอง ชวยปก ปกษรัก ษาชาวเมืองทุกคนใหอยูสุขสวัสดี ปลอดจากภัยอันตรายขาศึกทั้งหลายที่จะมาบุกทําลายเมือง เชียงใหมนั่นเอง ชางเผือกสองตัวหัวเวียง แตเดิมเปนอนุสาวรียของขุนพลคูหาญของพระญาแสนเมืองมา คืออาย ออบและอายยี่ระขา ที่พาพระญาแสนเมืองมาหนีมาแตสุโขทัย โดยแตงตั้งใหเปนนายชาง และสรางรูป ชางเผือกอยูสองฟากขางประตูหัวเวียง ทําใหประตูหัวเวียงจึงไดชื่อวาประตูชางเผือกดวยเหตุดังนี้ ตอมาใน สมัยพระเจากาวิละ ก็ไดฟนฟูเวียงเชียงใหมจากที่เปนเมืองรางมาหลายป จึงกอรูปชางเผือกสองตัวไวหัว


เมืองมารเมืองยักษ” ในฐานะอารักษเมืองเชียงใหม ในป พ.ศ.๒๓๔๓

11

เวียง ตัวที่หันหนาไปทางเหนือชื่อวา “ปราบจักรวาฬ” สวนตัวที่หันหนาไปทาทิศตะวันตกชื่อวา “ปราบ

สิงหสองตัวหัวเวียง เปนสิงหทื่สรางขึ้นในสมัยพระเจากาวิละ เชนเดียวกันอารักษชางเผือกสองตัว หัวเวียง สรางสิงหขื้นในฐานะอารักษเมืองดวย ในป พ.ศ. ๒๓๔๔ ใสชื่อวา “มิคคินทสีหราชสีห” เพื่อเปน ไชยมงคลแกชาวเมือง สรางในทิศอันเปนมงคล โดยรอบคุมสิงหแตเดิมเปนขวงกวาง เรียกวา ขวงสิงห ใช เปนสถานที่ประชุมพลกอนออกรบ จะมีพิธีตัดไมขมนามกันยังสถานที่นี้เพื่อเปนขวัญและกําลังใจแกลขุนศึก ทแกลวทหารหาญที่จะออกศึก นอกจากนี้ยังเปนที่คัดเลือกขุนพลของเมืองเชียงใหมอีกดวย ในชวงเดือน ๙ นี้ เปนเดือนแหงการแสดงความเคารพผูมีคุณทั้งหลายทั้งบรรพบุรุษ ครูอาจารย และบรรดาผูคุมครองบานเมืองทั้งหลาย และแสดงถึงความเชื่อดั้งเดิมของชาวลานนาไดเปนอยางดี นั่นคือ การนับถือผี เพื่อความเปนสิริมงคลแกตัวและเปนขวัญกําลังใจในการทํางานและความมั่นใจในความเปนอยู ตลอดถึงผลผลิดจากภาคการเกษตรดวย ทําใหเดือน ๙ นี้จึงขอเรียกวาเปนเดือนแหงการ “เลี้ยงผีพลีครู” ๚๛


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.