กรณีศึกษา ธุรกิจเขียว #1: แดรี่โฮม

Page 1

แดรี่โฮม กรณีศึกษา นวัตกรรมสีเขียว #1 | Green innovation case study #1

จัดทำ�โดย บริษัท ป่าสาละ จำ�กัด | มิถุนายน 2557


ส่วนการเลีย้ งโคนมอินทรีย์ ต้องมีพน้ื ทีท่ เ่ี หมาะสมกับจำ�นวนโคในฝูง เพราะ การมีแปลงหญ้าให้โคเดินกิน และการผลิตอาหารในฟาร์มให้ได้มากทีส่ ดุ เป็น เรือ่ งจำ�เป็น เพือ่ ความมัน่ ใจว่าโคได้กนิ อาหารอินทรีย์ ผลิตผลทีไ่ ด้อาจลดตํา่ ลงบ้าง แต่ขายได้ราคาดีกว่า บวกกับต้นทุนในการเลีย้ งตํา่ กว่า เกษตรกรจึงมี รายได้สงู ขึน้ โมเดลหลังนี้ได้กลายเป็นความสำ�เร็จของการส่งเสริมให้เกษตรกรเปลี่ยน จากการเลี้ยงโคนมทั่วไปมาเป็นเลี้ยงโคนมอินทรีย์ของผู้ชายชื่อ พฤฒิ เกิด ชูชื่น ซึ่งตัดสินใจฉีกตำ�ราการเลี้ยงโคนมทั่วไปที่เขาได้ศึกษาและใช้ในการ ส่งเสริมให้เกษตรกรทำ�อยู่นานนับสิบปี ระหว่างที่ยังทำ�งานอยู่ที่องค์การส่ง เสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้น เมื่อเขาพบว่า ธุรกิจนมเล็กๆ ที่เขาเริ่มต้นสร้างมาได้ 5 ปีอาจจะต้องเผชิญ กับความยากลำ�บากในการแข่งขันครั้งใหญ่ จากการที่รัฐบาลไทยเปิดเสรี การค้ากับประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ผู้ผลิตนมรายใหญ่ที่มีต้นทุน ในการเลี้ยงโคนมตํ่ากว่าเมืองไทย ด้วยความมัน่ ใจว่า การเปลีย่ นมาทำ�ผลิตภัณฑ์จากนํา้ นมอินทรีย์ นอกจากจะ ส่งผลดีตอ่ ทัง้ โค เกษตรกร ผูบ้ ริโภค สิง่ แวดล้อมแล้ว ยังทำ�ให้ “แดรีโ่ ฮม” ธุรกิจ นมเล็กๆ มีทย่ี นื อยูใ่ นตลาด ท่ามกลางผูเ้ ล่นยักษ์ใหญ่ทง้ั ในและต่างประเทศ

02


รายได้จากการขาย (ล้านบาท) ต้นทุนขายและบริการ (ล้านบาท) ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (ล้านบาท) กำ�ไรก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษี กำ�ไรสุทธิ (ล้านบาท) อัตรากำ�ไรขั้นต้น อัตรากำ�ไรสุทธิ ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ อัตราส่วนหนี้ต่อทุน (เท่า) อัตราการหมุนเวียนของสินค้า (วัน) อัตราการเติบโต รายได้จากการขาย กำ�ไรก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษี กำ�ไรสุทธิ

2554 69.26 50.72 16.50 2.04 1.10

2555 80.07 55.44 22.46 2.18 1.43 26.8% 1.6% 8.4% 2.2%

2.8 2.5

2556 77.65 52.37 23.12 2.16 1.43 30.8% 1.8% 9.9% 2.9%

2.4 5.1 2554-2555 15.6% 6.6% 29.5%

32.6% 1.8% 9.0% 2.8% 2.3 0.6

2555-2556 -3.0% -0.7% 0.2%

03


จุดเริ่มต้นแดรี่โฮมและจุดเปลี่ยน แม้ว่า อ.ส.ค.จะไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2540 แต่กท็ �ำ ให้ พฤฒิ เกิดชูชน่ื ฉุกคิดว่าน่าจะทำ�อะไรขึน้ มารองรับสักอย่าง แน่นอนว่าสิ่งนั้นควรจะเกี่ยวข้องกับโคนม ซึ่งเป็นเรื่องที่เขาเชี่ยวชาญที่สุด เพราะหลังเรียนจบด้านสัตวบาลจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชีวิตของ เขาก็คลุกคลีอยู่กับการส่งเสริมให้คนเลี้ยงโคนมมาตลอด ทั้งการฝึกอบรม การเลี้ยงวัว และการทำ�อาหารวัว พ.ศ.2542 เขาจึงเปิดร้านขายนมเล็กๆ ขึ้นริมถนนมิตรภาพในเขตอำ�เภอมวกเหล็ก โดยคัดสรรนํ้านมปลอดสาร คือ ปลอดจากสารเคมี ยาปฏิชีวนะ และยาฆ่าแมลง จากฟาร์มรุ่นน้องที่รู้จักกัน มาขาย เพื่อให้แตกต่างจากนมเจ้าอื่น เมื่อได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็น อย่างดี มียอดขายเพิ่มขึ้น กิจการนมโฮมเมดของเขาก็พัฒนาไปสู่โรงงาน ผลิตนมขนาดเล็กภายใต้ชื่อแดรี่โฮม เพื่อเติมเต็มความฝันของเขาที่อยาก ทำ�ผลิตภัณฑ์นมของตัวเองดูบ้าง “จนกระทั่งประมาณปี 2546-2547 รัฐบาลไทยได้ประกาศว่าจะทำ� เอฟทีเอ (Free Trade Agreement ข้อตกลงทางการค้าเสรี) กับ ประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ผมมองเห็นอนาคตเลยว่าอาชีพ เกษตรกรโคนมไทยตายสนิทแน่ๆ เพราะ ณ วันนัน ้ ต้นทุนการผลิต นา้ํ นมดิบบ้านเราอยูท ่ ร่ี าคาลิตรละ 8 บาท แต่ออสเตรเลียอยู่ที่ 6 บาท นิวซีแลนด์ถูกลงไปอีกคือ 4.50 บาท ดังนั้นถ้านํ้านมจากสอง ประเทศนี้ทะลักเข้ามาในประเทศไทย คนที่จะไปคนแรกคือเกษตรกร เพราะโอกาสที่เราจะทำ�ให้ต้นทุนของเราเท่ากับบ้านเขาเป็นไม่ได้”

เมื่อสังเกตเห็นความหวั่นไหวของเกษตรกรที่เริ่มรู้สึกไม่มั่นใจกับอนาคต ของตัวเอง และมีไม่น้อยที่ตัดสินใจเลิกอาชีพการเลี้ยงโคนม พฤฒิจึงเริ่ม คิดว่าทำ�อย่างไรเกษตรกรที่เลี้ยงโคนม ซึ่งเป็นต้นทางของผลิตภัณฑ์ที่เขา จำ�หน่ายจึงจะอยู่ได้ หลังจากวิเคราะห์แล้วเขาคิดว่าน่าจะมีสองทาง ทาง แรกคือต้องขายหรือผลิตนํ้านมดิบให้ได้ในราคาที่ตํ่ากว่า แต่วิธีการนี้ดูท่า จะเป็นไปได้ยาก เพราะเกษตรกรของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ทำ�ฟาร์ม

04


ขนาดใหญ่คือมีโคนม 300 ตัวขึ้นไป เนื่องจากแต่ละครอบครัวจะถือครอง ที่ดินขนาดใหญ่ 300-400 เอเคอร์ (ประมาณ 760-1,010 ไร่) จึงมีแปลง หญ้าให้วัวกิน ต้นทุนการเลี้ยงจึงถูกกว่า พฤฒิจึงคิดว่าทางที่สองน่าจะเป็น ทางออกที่เหมาะสม นั่นคือการผลิตนํ้านมดิบให้มีคุณภาพดีกว่า โดยแทนที่ จะผลิตนา้ํ นมดิบทัว่ ๆ ไป ก็เปลีย่ นมาผลิตนา้ํ นมดิบระดับพรีเมียมหรือนํา้ นม ดิบอินทรีย์ ซึ่งในเมืองไทยยังไม่เคยมีใครทำ�มาก่อน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องแข่ง ขันกับนํ้านมดิบทั่วไป ในเวลานั้นแดรี่โฮมมีฟาร์มที่รับซื้อนํ้านมอยู่ 1 แห่ง เมื่อตัดสินใจที่จะเดิน บนเส้นทางใหม่ เกษตรกรทีอ่ ยูใ่ นเครือข่ายจึงเป็นกลุม่ เป้าหมายแรกที่ พฤฒิ เข้าไปทาบทามและชักชวนให้เปลี่ยนวิถีไปสู่การเลี้ยงโคนมอินทรีย์ เพื่อ พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่าแนวความคิดนี้เป็นไปได้ และเป็นทางรอดที่แท้จริง โดยให้เหตุผลในการหว่านล้อมว่าเป็นวิธีการที่จะทำ�ให้ได้นํ้านมที่ปลอดภัย ต่อผู้บริโภค ดีต่อสุขภาพของวัว และสุขภาพของผู้เลี้ยงเอง ส่วนเหตุผลเรื่อง สิ่งแวดล้อมเก็บไว้พูดทีหลังสุด

กำ�เนิดนํ้านมอินทรีย์ นวัตกรรมสีเขียวของแดรี่โฮม แต่ไม่ใช่ว่าคิดแล้วจะทำ�ได้ทันที เพราะอย่างที่บอกว่า ณ วันนั้นการเลี้ยง โคนมอินทรียเ์ ป็นเรือ่ งใหม่ทไ่ี ม่เคยมีใครเคยทำ�มาก่อนในเมืองไทย ใหม่ขนาด ที่กรมปศุสัตว์ก็ยังไม่มีการจัดทำ�มาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ แต่กำ�ลังอยู่ ระหว่างการศึกษา พฤฒิจึงเสนอให้กรมปศุสัตว์ใช้ฟาร์มในเครือข่ายของ แดรี่โฮมเป็นโครงการนำ�ร่องหรือ Pilot Project ในการจัดทำ�มาตรฐาน ปศุสัตว์อินทรีย์ เพื่อเป็นต้นแบบให้เห็นว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ “อยู่ๆ วันหนึ่งคุณพฤฒิก็ถือเอกสารภาษาอังกฤษปึกหนึ่งมาส่ง ให้ แล้วบอกให้ไปศึกษาดู ก่อนที่จะมาบอกทีหลังว่าเขาอยากทำ�นม อินทรีย”์ วนิดา ชำ�นิกล้า ผูจ้ ดั การโรงงาน หรือคุณจูน ซึง่ ร่วมงานกับ แดรีโ่ ฮม

05


ตั้งแต่ปี 2545 เล่าถึงช่วงที่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จะเริ่มต้นขึ้น โดย นอกจากจะต้องอ่านเอกสารภาษาอังกฤษแล้ว เธอยังต้องเข้าไปในฟาร์ม กับรถของบริษัทที่ไปรับซื้อนมตอนเช้าและเย็น เพื่อดูกระบวนการรีดนม การเลี้ยงวัว และทำ�ความคุ้นเคยกับเจ้าของฟาร์ม นอกจากนี้เจ้านายยังให้ ยมาตรฐาน พาชาวต่างชาติเข้าไปตรวจสอบฟาร์มในเครือข่ายด้วยว่าเข้เข้าาข่ข่าายมาตรฐาน การทำ�โคนมอินทรีย์หรือไม่ ทั้งๆ ที่ทราบดีอยู่แล้วว่ายังไม่ผ่าน เพราะมีการ ใช้อาหารข้นเลี้ยงโคในปริมาณมาก โดยไม่ปล่อยให้ออกไปเดินกินหญ้าที่มี ในแปลง แต่เป็นการส่งสัญญาณให้เห็นว่าเขาจะทำ�เรื่องนี้อย่างจริงจัง ในช่วงรอมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ของกรมปศุสัตว์นั้น พฤฒิเดินหน้าการ เปลี่ยนแปลงนํ้านมดิบของแดรี่โฮมไปสู่นํ้านมดิบอินทรีย์ด้วยการนำ�เอากฎ ระเบียบของต่างประเทศมาปรับใช้กับฟาร์มในเครือข่ายของเขา เนื่องจาก ไม่สามารถนำ�มาใช้ได้ทั้งหมด ตัวอย่างมาตรฐานจากต่างประเทศที่ต้องมีการปรับให้เข้ากับบริบทของ เมืองไทยก็คือเรื่องอาหารสัตว์ ซึ่งในต่างประเทศเข้มงวดมากๆ ว่าต้องใช้ อาหารที่มีการรับรองว่าเป็นพืชที่ผลิตด้วยมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐานของยุโรปอาหารที่โคกินต้องผ่านมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ 100% แต่ในเมืองไทยเป็นเรื่องที่ทำ�ได้ยากมาก “เพราะแค่อาหารคนที่จะผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ทั้งหมดยังหายากเลย อย่างเช่นข้าวโพดอินทรีย์ที่ใช้เป็นอาหารคน ยังแทบไม่มีเลยในเวลานั้น แล้วจะไปหาข้าวโพดอินทรีย์ที่เป็นอาหาร สัตว์ ก็ฝันเลยแหละ เพราะฉะนั้นกฎเกณฑ์ตรงนี้เราจึงต้องถอยลง มาถึงจุดหนึ่งที่รับกันได้และมีความเหมาะสม นั่นคือ อย่างน้อยที่สุด 70% ของอาหารที่ให้โคกินต้องเป็นพืชอินทรีย์ ซึ่งถ้าคุณมีหญ้า มัน มัน สำ �ปะหลั สำ�ปะหลั ง ข้งาวโพดที ข้าวโพดที ่ปลูก่ปเอง ลูกเอง มันก็ มัท นำ�ก็ได้ ทำ�แได้ ล้วแ”ล้พฤฒิ ว” พฤฒิ ยกตัยวกตั อย่วาอย่ ง าง

อย่างไรก็ดี อาหารที่ให้โคกินถือเป็นเพียงส่วนเดียวของมาตรฐานการเลี้ยง โคนมอินทรีย์ เพราะจริงๆ แล้วเกษตรกรผู้เลี้ยงต้องปรับเปลี่ยนในทุกๆ

06


ขั้นตอนเลยทีเดียวกว่าฟาร์มของพวกเขาจะได้รับการรับรองว่าเป็นฟาร์ม ปศุสัตว์อินทรีย์ เริ่มจากพื้นที่ในการเลี้ยงโคนม ไม่ว่าจะเป็นแปลงหญ้าที่ให้โคเดินกิน หรือ พื้นที่อื่นๆ ที่ใช้ปลูกพืชเพื่อนำ�มาผลิตเป็นอาหารหยาบและอาหารข้น ต้อง ได้รับการรับรองว่าเป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ โดยต้องสามารถตรวจสอบได้ ว่าไม่ได้ใช้สารเคมีในพื้นที่มาแล้วอย่างน้อย 1 ปี ขณะที่เมล็ดพันธุ์พืชที่ใช้ ก็ต้องไม่คลุกยาเคมี ดังนั้นในส่วนของแปลงหญ้าและพื้นที่ปลูกพืชต่างๆ ที่ เคยใช้สารเคมี เกษตรกรต้องทิ้งพื้นที่ไว้ให้ฝนชะเอาสารเคมีต่างๆ ออกไป เป็นระยะเวลา 1 ปี ส่วนที่อยู่อาศัยของโคนมอินทรีย์ก็ต้องเป็นโรงเรือนที่ กันแดด กันฝน มีแสงสว่างและการระบายอากาศตามธรรมชาติ มีขนาดที่ เหมาะสม เพื่อให้สัตว์อยู่กันอย่างสบาย ไม่หนาแน่น คอกสะอาด มูลโคไม่ หมักหมม นอกจากนี้เกษตรกรต้องมีการปรับเปลี่ยนฝูงโคนมที่เลี้ยงให้มีจำ�นวนพอ เหมาะกับพื้นที่ในการปลูกอาหาร เช่น โค 1 ตัวควรมีแปลงหญ้าที่ให้เดิน กิน 1 ไร่ ไม่รวมพื้นที่สำ�หรับปลูกพืชชนิดอื่นสำ�หรับผลิตเป็นอาหารหยาบ และอาหารข้น เช่น หญ้า ข้าวโพดและมันสำ�ปะหลัง เพื่อให้มีปริมาณเพียง พอตลอดทั้งปี เพราะแนวคิดหลักของปศุสัตว์อินทรีย์คือ เกษตรกรควรผลิต อาหารสัตว์ในฟาร์มให้ได้มากที่สุด เพื่อให้มั่นใจว่าอาหารทุกชนิดมาจาก การเกษตรอินทรีย์ ไม่มีการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง และไม่เป็นผลผลิตจาก การดัดแปลงพันธุกรรม หรือ GMOs “ก่อนหน้านี้ผมเลี้ยงโคอยู่ 110-120 ตัว เพราะไม่ต้องพึ่งอาหาร ในฟาร์มทั้งหมด แต่พอเปลี่ยนมาทำ�โคนมอินทรีย์ตอนประมาณปี 2551 ผมต้องลดขนาดฝูงลงมาเหลือ 60 กว่าตัว โดยปัจจุบันอยู่ที่ 67 ตัว เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ที่ใช้ในการทำ� ฟาร์ม” ศราวุธ ว่องไพกุล เจ้าของฟาร์มไร่ผึ้งฝน บอกเล่าประสบการณ์ใน

ช่วงการปรับเปลี่ยน ก่อนที่ฟาร์มของเขาจะเป็น 1 ใน 3 ฟาร์มเครือข่ายของ แดรี่โฮมที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ว่าเป็นฟาร์มโคนมอินทรีย์ในปี พ.ศ. 2555

07


นอกจากการปรับขนาดของฝูงโคแล้ว เกษตรกรยังจะต้องเปลี่ยนไปเลี้ยงแม่ โคในระบบอินทรีย์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 9 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าโคนมเหล่า นี้ไม่มีสารเคมีตกค้างจากวิธีการเลี้ยงแบบเดิมๆ หรือนำ�เข้าแม่โคมาเลี้ยงใน พื้นที่ก่อนรีดนม 1 ปี ส่วนแหล่งที่มาของสัตว์ใหม่ๆ ที่จะนำ�เข้าฝูง ก็ต้องเกิด ในฟาร์ม หรือมาจากแม่พันธุ์ที่จัดการตามระบบปศุสัตว์อินทรีย์ ขยายพันธุ์ โดยวิธีธรรมชาติ แต่อนุญาตให้ผสมเทียมได้ ด้วยข้อกำ�หนดเหล่านีน้ เ่ี อง เกษตรกรผูเ้ ลีย้ งโคนมจึงต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปีนับจากวันที่เขาตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนมาทำ�โคนมอินทรีย์ เพื่อปรับ เปลี่ยนแปลงหญ้าและคัดฝูงโคให้มีความเหมาะสม ก่อนที่แดรี่โฮมจะเริ่ม รับนํ้านมจากพวกเขาในฐานะที่เป็นนํ้านมดิบอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยน ส่วนระยะเวลาที่ฟาร์มจะได้รับการรับรองตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์นั้น ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละแห่ง ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 2 หน่วยงานที่ให้คำ�รับรอง คือ กรม ปศุสัตว์ และสำ�นักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) “ซึ่งหลังจากที่ผ่านมาตรฐานแล้ว ก็จะมีเจ้าหน้าที่กลับมาตรวจสอบ การทำ�งานของฟาร์มเป็นประจำ� และเข้ามาออดิท (ตรวจสอบ) ทุกๆ ปี ขณะทีแ่ ดรีโ่ ฮมก็จะมีการตรวจสอบคุณภาพนา้ํ นมดิบเป็นประจำ�อยู”่

ศราวุธให้รายละเอียดเพิ่มเติม

นับจากปี 2547 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน แดรี่โฮม มีฟาร์มเครือข่ายรวม 11 แห่ง โดย 3 แห่งได้รับการรับรองมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์แล้ว อีก 7 ฟาร์ม ผ่านระยะเวลาการปรับเปลี่ยนเรียบร้อยและผลิตนํ้านมอินทรีย์แล้ว แต่ยัง ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์เพราะยังมีข้อติดขัดบางอย่าง ส่วนอีก 1 ฟาร์ม เป็นฟาร์มใหม่ที่กำ�ลังอยู่ในระยะการปรับเปลี่ยน “ส่วนที่เหลือทางหน่วยงานที่ให้การรับรองมาตรวจหลายรอบแล้ว แต่ยังมีจุดที่ต้องปรับแก้อยู่ และมีบางคนไม่ยอมทำ�เอกสารเลยว่าเขา ทำ�อะไรอย่างไร คือเขาจำ�ได้หมด แต่คนเข้าไปตรวจไม่รู้จะตรวจอะไร ซึ่งรายนี้ถ้าเขาไม่ทำ�จริงๆ เราอาจจะต้องตัดใจจากเขา เพราะเราไม่ ได้ทำ�เล่นๆ เราทำ�จริงจัง ซึ่งก่อนหน้านี้เราเคยตัดฟาร์มที่มีปัญหา

08


คล้ายคลึงกันนี้ไปแล้วหนึ่งฟาร์ม เพราะเขาไม่มีการจดบันทึกอะไรให้ เราเลย เรารู้ว่าเขาทำ� แต่เราก็ต้องตัดเขาทิ้งไป” วนิดากล่าวถึงสาเหตุ

สำ�คัญที่ทำ�ให้ฟาร์มเครือข่ายของแดรี่โฮมอาจจะต้องหลุดจากวงโคจร

เพราะในมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์มีข้อกำ�หนดหนึ่งที่ระบุว่า ผู้ผลิตต้องมี การจัดการด้านเอกสาร โดยนอกจากฐานข้อมูลของฝูงโคนมแล้วยังต้อง ทำ�แผนการผลิตโคนมอินทรีย์ อันประกอบด้วย แผนผังฟาร์ม แปลงหญ้า หมายเลขแปลงหญ้าที่ชัดเจนและอธิบายวิธีการปฏิบัติ ขั้นตอนการปฏิบัติ ในการเลี้ยงโคนมอินทรีย์ และการรักษาความเป็นอินทรีย์ตลอดการผลิต รวมถึงต้องมีเอกสารเกี่ยวกับปัจจัยการผลิต แหล่งที่มา จำ�นวนที่นำ�เข้า เช่น ใบนำ�ส่ง ใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองความเป็นอินทรีย์ เอกสารการดูแลสุขภาพ สัตว์ รวมไปถึงเอกสารการให้ผลผลิตนํ้านมและการจำ�หน่ายนํ้านมดิบ

นํ้านมน้อย รายได้ลด อุปสรรคขัดขวางนํ้านมอินทรีย์ อุปสรรคสำ�คัญอีกอย่างที่แดรี่โฮมพบในการส่งเสริมฟาร์มโคนมอินทรีย์ก็คือ ความเชื่อของเกษตรกรที่คิดว่าการเลี้ยงโคนมอินทรีย์จะทำ�ให้พวกเขามีราย ได้ลดลง อันเนื่องมาจากนํ้านมที่รีดได้จะลดลงกว่าโคนมที่เลี้ยงแบบทั่วไป เพราะการเปลี่ยนมาเลี้ยงโคนมด้วยหญ้าเป็นอาหารหลัก อาหารข้นเป็น อาหารเสริม จะทำ�ให้โคมีขนาดเล็กลง และให้นํ้านมลดลง เมื่อเทียบกับโคที่ เลี้ยงแบบเดิม ซึ่งกินอาหารข้นเป็นหลัก “คือบางคนจะมองแต่โคที่มีการปรับปรุงสายพันธุ์จนให้นํ้านมได้มาก ถึง 40-50 กก./วัน ซึ่งผมอยากจะถามต่อว่าให้ได้กี่วัน เพราะจาก ประสบการณ์ที่คลุกคลีอยู่กับการเลี้ยงโคนมมาตลอด ผมพบว่าช่วง พีคทีใ่ ห้นมได้ 40 กิโลกรัมอาจจะมีสก ั 10-15 วัน/ปี หลังจากนัน ้ นา้ํ นม ก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้โคที่เลี้ยงด้วยอาหารข้นมากๆ เพื่อให้นํ้านมมากๆ สุขภาพจะไม่ดี รีดนมได้สองอาทิตย์ก็ต้องหยุด

09


รีดไปอาทิตย์นึงเพราะป่วย สรุปแล้วทั้งปีโคที่เลี้ยงแบบต้องการให้ได้ ผลผลิตเยอะๆ อาจจะให้นํ้านมดิบเฉลี่ย 4,000 กิโลกรัม/ตัว/ปี ส่วน โคนมอินทรีย์จะให้ผลผลิต 3,000 กิโลกรัม/ตัว/ปี จะเห็นว่าห่างกัน ไม่มาก” พฤฒิให้ข้อมูล

สอดคล้องกับผลการวิจัยเรื่องการวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนในการเลี้ยง โคนมอินทรีย์กับการเลี้ยงโคนมทั่วไปของนายกษริน ตริณตระกูล ซึ่งทำ�การ ศึกษาในปี พ.ศ. 2554 ที่พบว่า การเลี้ยงโคนมทั่วไปของฟาร์มนายสุภาษิต สูบกำ�ปัง ได้นํ้านมดิบเฉลี่ย 18.87 กิโลกรัม/ตัว/วัน ขณะที่การเลี้ยงโคนม อินทรีย์ของนายศราวุธ ว่องไพกุล แห่งฟาร์มไร่ผึ้งฝน ได้นํ้านมเฉลี่ย 16.67 กิโลกรัม/ตัว/วัน แต่เมื่อคิดออกมาเป็นจำ�นวนเงินจากการขายนํ้านมดิบแล้ว พบว่าราย ได้เฉลี่ยจากการขายนํ้านมดิบของโคนมอินทรีย์ไม่แตกต่างจากโคนม ทั่วไปมากนัก โดยฟาร์มไร่ผึ้งฝนมีรายได้จากการขายนํ้านมดิบอินทรีย์ 3,120,750 บาทในปี พ.ศ. 2554 จากจำ�นวนโครีดนมที่มีอยู่ทั้งหมด 27 ตัว ขณะที่ฟาร์มของนายสุภาษิต สูบกำ�ปัง มีรายได้จากการขายนํ้านมดิบจาก โคซึ่งเลี้ยงแบบทั่วไป 6,314,500 บาท จากจำ�นวนโครีดนมทั้งหมด 53 ตัว ซึ่งหากเทียบกันแบบตัวต่อตัวจะพบว่า รายได้ของการขายนํ้านมดิบอินทรีย์ ของศราวุธจะอยู่ที่ตัวละ 115,583.33 บาท ตํ่ากว่ารายได้จากการขาย นํ้านมดิบทั่วไปของสุภาษิต ซึ่งอยู่ที่ตัวละ 119,141.51 บาท เพียงเล็กน้อย

มาตรการจูงใจ รายจ่ายลด ราคาขายสูง เงินเหลือเพิ่ม อย่างไรก็ดี การเลี้ยงโคนมอินทรีย์ก็มีแรงจูงใจในตัวมันเอง เมื่อรวมกับแรง จูงใจที่แดรี่โฮมให้กับเกษตรกร ฟาร์มโคนมอินทรีย์ในเครือข่ายของแดรี่โฮม จึงมีจำ�นวนเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าจะไม่ใช่อัตราที่พรวดพราด

010


แรงจูงใจสำ�คัญจากแดรี่โฮมคือการรับซื้อนํ้านมดิบอินทรีย์ในราคาที่สูงกว่า ราคานํ้านมดิบทั่วไปของสหกรณ์ต่างๆ กิโลกรัมละ 1 บาท สำ�หรับฟาร์มที่ ผ่านระยะเวลาการปรับเปลี่ยนแล้วแต่ยังไม่ได้รับมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ และจะจ่ายเพิม่ ขึน้ อีกกิโลกรัมละ 2 บาท หากว่าฟาร์มผ่านมาตรฐานปศุสตั ว์ อินทรีย์เรียบร้อยแล้ว ยังไม่รวมราคาบวกๆ ที่เกษตรกรจะได้รับหากนํ้านม จากโคของพวกเขามีคุณภาพดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่บริษัทกำ�หนด เช่น การตรวจสอบการปนเปื้อนเบื้องต้นด้วยวิธีเมทาลีนบลู หากจำ�นวนชั่วโมง ในการเปลี่ยนสีของนํ้านมดิบมากกว่ามาตรฐาน 6 ชั่วโมง แดรี่โฮมจะให้ ราคาเพิ่มขึ้นอีกกิโลกรัมละ 40 สตางค์ ถ้าเปลี่ยนสีตั้งแต่ 5-6 ชั่วโมง จะให้ ราคาเพิ่มขึ้นกิโลกรัมละ 20 สตางค์ หรือหากนํ้านมดิบมีเปอร์เซ็นต์ไขมัน สูงกว่าร้อยละ 4.0 จะให้ราคานํ้านมดิบเพิ่มขึ้นกิโลกรัมละ 40 สตางค์ หาก ปริมาณไขมันเท่ากับร้อยละ 3.7-3.9 ให้ราคานํ้านมดิบเพิ่มขึ้นกิโลกรัมละ 20 สตางค์ เช่นเดียวกับการตรวจปริมาณของแข็งไม่รวมไขมัน (Solids Not Fat) การตรวจหาจำ�นวนโซมาติกเซลล์หรือเซลล์เม็ดเลือดขาวในนํ้านมดิบ การตรวจหาจำ�นวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ซึ่งก็มีอัตราบวกให้หากเป็นไปตาม เงื่อนไขที่บริษัทกำ�หนด ทั้งนี้เพื่อเป็นมาตรการจูงใจให้เกษตรกรผลิตนํ้านม ดิบอินทรีย์ดีๆ มาขายให้บริษัท ตรงกันข้ามหากนํ้านมดิบมีคุณภาพตํ่ากว่า เกณฑ์ที่วางไว้ก็จะมีการลดราคารับซื้อเช่นกัน (ดูรายละเอียดราคาและ เงื่อนไขการรับซื้อนํ้านมดิบในตารางที่ 1)

011


รายการตรวจในนํ้านมดิบ

18 หรือ 20 บาท/กก.*

+40 สต./กก.

+20 สต./กก.

วิธีตรวจเมทาลีนบลู ตรวจหาเปอร์เซ็นต์ไขมัน ตรวจหาปริมาณของแข็งไม่ รวมไขมัน การตรวจหาจำ�นวน โซมาติกเซลล์ ตรวจหาจำ�นวนจุลินทรีย์ ทั้งหมด การตรวจหายาปฏิชีวนะ ตกค้าง การตรวจโดยแอลกอฮอล์ เทสต์ 70%

เปลี่ยน 4-5 ชม. ร้อยละ 3.4-3.6 ร้อยละ 8.01-8.25

มากกว่า 6 ชม สูงกว่าร้อยละ 4.0 มากกว่าร้อยละ 8.5

5-6 ชม. ร้อยละ 3.7-3.9 ร้อยละ 8.26-8.50

200,001400,000 cell/ml 200,001300,000 โคโลนี/1ml ไม่มีการตกค้าง

น้อยกว่า 100,000 cell/ml น้อยกว่า 100,000 โคโลนี/1ml -

100,0001200,000 cell/ml 100,001-200,000 โคโลนี/1ml -

ไม่มีการตกค้าง

-

-

รายการตรวจในนํ้านมดิบ

-20 สต./กก.

-40 สต./กก.

งดรับ/ไม่จ่าย

วิธีตรวจเมทาลีนบลู ตรวจหาเปอร์เซ็นต์ไขมัน ตรวจหาปริมาณของแข็งไม่ รวมไขมัน การตรวจหาจำ�นวน โซมาติกเซลล์ ตรวจหาจำ�นวนจุลินทรีย์ ทั้งหมด การตรวจหายาปฏิชีวนะ ตกค้าง การตรวจโดยแอลกอฮอล์ เทสต์ 70%

3-4 ชม. ร้อยละ 3.1-3.3 ร้อยละ 7.76-8.00

ต่ากว่า 2 ชม. ต่ากว่าร้อยละ 3.0 น้อยกว่าร้อยละ 7.75

-

400,001600,000 cell/ml 300,001-400,000 โคโลนี/1ml -

600,001800,000 cell/ml 400,001-600,000 โคโลนี/1ml -

มากกว่า 800,001 Cell/ml มากกว่า 600,001 โคโลนี/1ml ตกค้างไม่จ่ายเงิน

-

-

ตกค้างไม่จ่ายเงิน

012


ส่วนแรงจูงใจสำ�คัญที่เกษตรกรได้รับจากการเปลี่ยนมาเลี้ยงโคนมอินทรีย์ก็ คือต้นทุนการเลี้ยงที่ตํ่าลง เริ่มจากค่าอาหารที่ตํ่าลง เพราะอาหารหลักของ โคนมอินทรีย์คืออาหารหยาบไม่ตํ่ากว่า 70% ซึ่งก็คือหญ้าในแปลงที่โคไป เดินกินได้เองตามความต้องการ และเมื่อโคได้รับอาหารหยาบเต็มที่แล้ว การกินอาหารข้น ซึ่งวัตถุดิบส่วนหนึ่งเกษตรกรต้องซื้อเข้ามาจากภายนอก โดยเฉพาะถั่วเหลืองอินทรีย์ แร่ธาตุต่างๆ จึงลดลง “ในการเลี้ยงโคนมแบบทั่วไป อ.ส.ค.แนะนำ�ว่าถ้าโคให้นํ้านมดิบวันละ 20 กิโลกรัม เราต้องให้อาหารข้นในสัดส่วน 2:1 ดังนั้นเดิมเราต้อง ให้โคกินอาหารข้นวันละ 10-12 กิโลกรัมต่อวัน แต่ตอนนี้โคของเรา กินหญ้า 80% กินอาหารข้นเพียง 20% หรือไม่เกินวันละ 5 กิโลกรัม ทำ�ให้ต้นทุนในการเลี้ยงที่เคยอยู่ที่ 15 บาทต่อนํ้านมดิบ 1 กิโลกรัม ลดลงมาเหลือ 12-12.50 บาทเท่านัน ้ โดยเราขายนา้ํ นมดิบให้แดรีโ่ ฮม ได้กิโลกรัมละ 20 บาท จากเดิมที่ขายได้ 17 บาท” ศราวุธให้ข้อมูล

นอกจากนีฟ้ าร์มโคนมอินทรียใ์ นเครือข่ายของแดรีโ่ ฮมยังไม่ตอ้ งเสียค่าใช้จา่ ย ในการขนนา้ํ นมไปขาย เพราะบริษทั ไปรับซือ้ นา้ํ นมดิบถึงฟาร์มวันละสองรอบ รวมถึงยังเสียค่าใช้จา่ ยในการดูแลรักษาโคป่วยน้อยมากๆ เพราะการเลีย้ ง ตามธรรมชาติ ทำ�ให้โคไม่เครียด มีสขุ ภาพแข็งแรง เจ็บป่วยน้อย จึงสามารถ รักษาให้หายได้ด้วยสมุนไพรที่มีอยู่ในฟาร์ม “พอเราถอยกลับมาสู่กระบวนการเลี้ยงแบบธรรมชาติ คือให้วัวกิน หญ้ามากๆ โดยไม่เข็นวัวให้ให้ผลผลิตเต็มที่ วัวก็สบาย ผ่อนคลาย ต่างจากการเลี้ยงโดยให้อาหารผสม อาหารข้น อาหารเม็ด เพื่อเร่ง นํ้านมมากๆ วัวจะไม่ค่อยสบาย เพราะกระเพาะจะเป็นกรด ทำ�ให้การ ย่อยไม่ค่อยดี และสุขภาพโดยรวมจะไม่ค่อยแข็งแรง จะเริ่มจากกีบ เท้าอ่อน เนื่องจากพอร่างกายเป็นกรดเยอะๆ ก็จะไปสลายกีบ วัวจึง เดินไม่ค่อยถนัด นอกจากนี้ก็ยังมีปัญหาเรื่องเต้านมอักเสบจากปริ มาณนํ้านมที่มากเกินไป ซึ่งต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา” พฤฒิให้

ข้อมูล

013


จึงไม่น่าแปลกใจที่ในงานวิจัย “การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนในการ เลี้ยงโคนมอินทรีย์กับการเลี้ยงโคนมทั่วไป” ของกษริน ตริณตระกูล ก็ พบว่าโคนมอินทรีย์มีต้นทุนในการเลี้ยงด้านต่างๆ ตํ่ากว่า โดยเฉพาะต้นทุน ด้านอาหารจะอยู่ที่ประมาณ 55% แต่หากรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะอยู่ที่ 79.35% ทำ�ให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงถึง 20.35% ขณะที่การเลี้ยง โคนมแบบทั่วไป ต้นทุนค่าอาหารจะสูงถึง 73% เมื่อรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด จะสูงถึง 94.12% ผลตอบแทนจึงเหลือเพียง 5.88% เท่านั้น (ดูรายละเอียด เพิ่มเติมในตารางที่ 2 และตารางที่ 3) “ผมพบเลยว่าหลังจากเปลี่ยนมาเลี้ยงแบบอินทรีย์ เรามีรายเหลือ มากขึ้น เพราะต้นทุนลดลงเยอะ ดังนั้นแม้ว่าผลผลิตนํ้านมดิบอาจจะ ลดลง แต่เรามีรายรับเพิ่มขึ้น” ศราวุธยืนยัน

014


รายการ

ค่าใช้จ่ายในการ ค่าใช้จ่ายรวม ค่าใช้จ่ายในการ ค่าใช้จ่ายในการ คิดเป็น คิดเป็น เลี้ยงโคนมทั่วไป ในการเลี้ยงโคนม ร้อยละ (ปี) เลี้ยงโคนมอินทรีย์ เลี้ยงโคนมอินทรีย์ (ร้อยละ/ปี) (บาท/เดือน) ทั่วไป (บาท/เดือน) (บาท/เดือน) (บาท/เดือน)

อาหารหยาบ

31,430.83

377,170.00

15.17

35,086.67

421,040.00

7.17

อาหารข้น

79,995.83

959,950.00

38.62

313,688.71

3,764,264.50

64.14

นํ้ามันเชื้อเพลิง

3,000.00

36,000.00

1.45

2,500.00

30,000.00

0.51

แร่ธาตุ

2,281.25

27,375.00

1.10

9,600

115,200.00

1.96

ค่านํ้า-ไฟ

2,000.00

24,000.00

0.97

3,500

42,000.00

0.72

-

-

-

600.00

7,200.00

0.12

5,000.00

60,000.00

2.41

10,000.00

120,000.00

2.04

วัคซีนและยาแผนปัจจุบัน

-

-

-

15,000.00

180,000.00

3.07

ค่าขนส่งนํ้านมดิบ

-

-

-

12,500.00

150,000.00

2.56

ค่าแรงงาน

15,000

180,000

7.24

12,000.00

144,000.00

2.45

ค่าเสื่อมราคาแม่โค

13,500

162,000

6.52

12,619.05

151,428.57

2.58

9,736.01

116,832.14

4.70

19,504.72

234,056.65

3.99

616.67

7,400.00

0.30

1,575.00

18,900.00

0.32

9,862.42

118,349.00

4.76

19,578.42

234,941.00

4.00

สินทรัพย์ถาวร (ดอกเบี้ย 7%) 33,333.33

400,000

16.09

6,333.33

76,000.00

1.29

ค่าเสียโอกาสที่ดินในการให้เช่า 1,250.00

15,000

0.60

-

-

-

133.33

1,600.00

0.06

-

-

-

-

-

-

15,000.00

180,000.00

3.01

207,139.67

2,485,676.14

100.00

489,085.90

5,869,030.72

100.00

สารเคมีล้างถังนม ค่าผสมพันธุ์

ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ ทางการเกษตร ค่าซ่อมแซมสินทรัพย์ การเกษตร ค่าเสียโอกาสใช้เงินทุน ตนเองในส่วนที่ลงทุนใน

ค่าแปลงปลูกพืชสมุนไพร ค่าแรงงานหว่านเมล็ดข้าวโพด ค่าสินเชื่อเงินกู้ รวม

015


รายการ

รายได้ จากการ เลี้ยงโคนม อินทรีย์ (บาท/ปี)

ผลตอบแทน ผลตอบแทน รายได้จาก ต้นทุนในการ ผลตอบแทน ผลตอบแทน ต้นทุน ในการเลี้ยง รายได้จาก รายได้จาก การขายนํา้ นม เลีย้ งโคนม รายได้จาก รายได้จาก ทั่วไป การเลี้ยงโคนม การเลี้ยงโคนม โคนมอินทรีย์ การเลี้ยงโคนม การเลี้ยงโคนม โคนมทั่วไป ทั่วไป อินทรีย์ (บาท/ปี) ทั่วไป อินทรีย์ (บาท/ปี) (บาท/ปี) (บาท/เดือน) (บาท/เดือน) (บาท/ปี) (บาท/ปี)

จำ�นวนเงิน 3,120,750.00 2,485,676.14 635,073.86 (บาท) ร้อยละ

100.00

79.65

20.35

52,922.82 6,314,500.00 5,942,944.75 371,555.25 1.70

100.00

94.12

5.88

30,962.94 0.49

016


ความท้าทายในการทำ�โคนมอินทรีย์ การทำ�โคนมอินทรีย์ไม่ได้ท้าทายเฉพาะเรื่องการเปลี่ยนทัศนคติความเชื่อ ที่ฝังหัวเกษตรกรมาโดยตลอดว่า ถ้าปลูกพืชโดยไม่ใช้ปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลงก็ ไม่มีทางได้ผล และถ้าเลี้ยงโคโดยไม่ให้อาหารข้น อาหารเม็ด ก็ไม่มีทางได้ นํ้านม เพราะฉะนั้นนอกจากการให้ความรู้ เทคนิควิธีการเลี้ยงโคนมอินทรีย์ แล้ว ก็ยังมีบางอย่างที่แดรี่โฮมต้องเข้าไปช่วยจัดการให้กับฟาร์มโคนม อินทรีย์ในเครือข่าย เพื่อให้มีความมั่นใจว่าพวกเขาจะอยู่รอดปลอดภัย พฤฒิ พบว่าความท้าทายอย่างยิ่งสำ�หรับการทำ�โคนมอินทรีย์ก็คือเรื่อง การหาวัตถุดิบอินทรีย์สำ�หรับมาทำ�อาหารข้นให้โคกิน ไม่ว่าจะเป็นมัน สำ�ปะหลัง ข้าวโพด รำ� ถั่วเหลือง ดังนั้นจากช่วงเริ่มต้นที่ทางแดรี่โฮมจะ ปล่อยให้แต่ละฟาร์มหาวัตถุดิบกันเอง ก็ต้องเข้าไปจับลึกขึ้นเพื่อไม่ให้ ความเป็นปศุสัตว์อินทรีย์หมดไปอย่างรวดเร็ว หลังจากพบว่าเกษตรกรหา วัตถุดิบบางอย่าง อาทิ มันสำ�ปะหลังและข้าวโพดอินทรีย์มาให้โคกินไม่ได้ จนออกอาการรวน “เราเลยต้องเชิญเกษตรกรมาประชุมที่บริษัทเพื่อดูว่าใครมีวัตถุดิบ อะไรเหลือ และใครขาดอะไร ซึง่ ก็พบว่าบางรายมีพน ้ื ทีป ่ ลูกมันสำ�ปะหลัง มาก มีเหลือ เราก็ให้เขาปลูกให้คนอื่น ส่วนรายที่มีข้าวโพดมีหญ้า เหลือก็ให้แบ่งให้ฟาร์มข้างๆ แต่ส่วนที่เขาหาไม่ได้จริงๆ เช่น รำ� อินทรีย์ เราก็ต้องหาให้ โดยการประสานกับคนที่ปลูกข้าวอินทรีย์ที่ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเราซื้อข้าวมาใช้ที่ร้านอาหารอยู่แล้ว ดังนั้นตอนไป รับข้าวเราก็รับรำ�มาด้วย หรืออาจจะซื้อจากกลุ่มอื่นซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้ รับการรับรองว่าปลูกข้าวอินทรีย์ แล้วก็เอามาแบ่งกัน นอกจากนี้เรา ยังหาวัตถุดิบบางอย่างที่เขาหาเองไม่ได้มาให้อีก เช่น เราไปเอายีสต์ จากโรงงานเบียร์มาให้ เพราะถือว่าเป็น single cell protein ซึ่งเป็น แร่ธาตุอินทรีย์ที่จำ�เป็นสำ�หรับโค” พฤฒิชี้แจง

017


อีกความท้าทายสำ�คัญก็คือการป้องกันเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งห้ามใช้ เด็ดขาด ยกเว้นว่าโคจะป่วยมากจนไม่สามารถใช้สมุนไพรในการรักษาได้ แล้วจึงอนุญาตให้ใช้ โดยเกษตรกรต้องแจ้งข้อมูลให้แดรี่โฮมทราบ และ ต้องหยุดส่งนํ้านมอีกสองสัปดาห์หลังการใช้ยา รวมถึงต้องผ่านการตรวจว่า ไม่มียาปฏิชีวนะปนอยู่ในนํ้านมแล้วจึงจะส่งนมใหม่ได้อีกครั้ง “เคยมีเคสทีเ่ ราต้องเลิกรับนา้ํ นมจากฟาร์มในเครือข่าย เพราะเรือ่ งการ ใช้ยามาแล้ว ซึ่งเป็นฟาร์มรุ่นแรกๆ เมื่อเกือบ 10 ปีก่อน เนื่องจาก เจ้าของฟาร์มเป็นสัตวแพทย์ เก่งเรื่องยา จึงเชื่อมั่นในยามาก ดังนั้น พออากาศครึ้มๆ เขาก็จะอัดยาให้เลยโดยที่มันยังไม่ป่วย ซึ่งพอเรา ตรวจเจอ เขาก็บอกว่าใช้เพื่อป้องกัน สุดท้ายเราจึงต้องบอกเลิกรับ นํ้านมจากเขา ทั้งๆ ที่เป็นฟาร์มที่เราคาดหวังเยอะ” พฤฒิยกตัวอย่าง

สิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

ส่วนการชักชวนให้เกษตรกรเปลี่ยนมาทำ�ฟาร์มโคนมอินทรีย์ ซึ่งเคยเป็น ความท้าทายสำ�คัญในอดีตนัน้ พฤฒิบอกว่ามีแนวโน้มดีขน้ึ เพราะมีตวั อย่าง ให้เกษตรกรอื่นๆ เห็นแล้วว่าการทำ�ฟาร์มโคนมอินทรีย์เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ และอยู่ได้ ดังนั้นจากเดิมที่บริษัทต้องออกไปหาไปชักชวนเกษตรกร ก็เริ่มมี เกษตรกรติดต่อเข้ามาที่แดรี่โฮมว่าอยากจะเปลี่ยนมาทำ�ฟาร์มโคนมอินทรีย์ โดยเมือ่ ปีทแ่ี ล้วรับเข้ามา 1 ราย ขณะนีก้ �ำ ลังอยูใ่ นระยะเวลาการปรับเปลีย่ น ส่วนปีนี้มีเกษตรกรติดต่อเข้ามาเป็นกลุ่ม (มีเกษตรกรอยู่ 2-3 ราย) ซึ่งอยู่ ระหว่างการตรวจดูความเป็นไปได้ โดยเงื่อนไขสำ�คัญที่ต้องดูอันดับแรกก็ คือ พื้นที่สำ�หรับทำ�แปลงหญ้าและปลูกพืชอินทรีย์อื่นๆ รวมถึงโรงเรือนที่ เหมาะสม “ถ้าเขามีทุ่งหญ้าอยู่แล้วก็จะเปลี่ยนแปลงวิธีการเลี้ยงได้ง่าย และ ถ้าเป็นฟาร์มที่ไม่ติดกับพื้นที่เกษตรอื่นๆ ก็จะง่ายขึ้น เพราะไม่ต้อง สร้างแนวกันชน เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีจากแปลงเกษตรอื่นๆ เข้า มาในพื้นที่ แล้วยิ่งถ้าเจ้าของฟาร์มลงมาทำ�เองก็จะช่วยให้ประสบ ความสำ�เร็จง่ายขึ้น เพราะการทำ�ฟาร์มโคนมอินทรีย์เป็นอาชีพ

018


เกษตรที่เจ้าของต้องดูแลหรือลงมือทำ�เองเยอะ” พฤฒิกล่าวถึงปัจจัยที่

เอื้อต่อการทำ�ฟาร์มโคนมอินทรีย์

ใจกับใจ สายสัมพันธ์ที่ยั่งยืนของนํ้านมอินทรีย์ แม้ว่าจะแดรี่โฮมจะไม่ได้จับฟาร์มโคนมอินทรีย์ในเครือข่ายเซ็นสัญญาว่า ต้องส่งนํ้านมขายให้กับบริษัทเท่านั้น แต่การให้วิชาความรู้ การช่วยเหลือ ต่างๆ เพื่อให้ฟาร์มแต่ละแห่งเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงโคนมทั่วไปมาเป็นโคนม อินทรีย์ได้สำ�เร็จก็กลายเป็นสัญญาใจที่ทั้งสองฝ่ายมีต่อกัน “เคยมีคนพยายามไปเจาะเราที่ฟาร์ม คือไปติดต่อขอซื้อนํ้านมดิบ อินทรีย์กับเกษตรกรในเครือข่ายของเรา โดยให้ราคาสูงกว่าที่เราซื้อ แล้วเจ้าของฟาร์มก็โทรมาบอกเรา ซึ่งจูนก็ถามเขาไปว่า แล้วพี่ว่ายัง ไงล่ะ เขาบอกว่าพี่ให้เขาไปติดต่อทางแดรี่โฮมเอง ถ้าแดรี่โฮมยอมแบ่ง ก็ให้ไปแบ่งจากโรงงาน แต่พี่คงไม่แบ่งที่หน้าฟาร์ม ทั้งๆ ที่จูนไม่เคย บอกเขาเลยว่า พี่ห้ามไปขายนํ้านมดิบให้ใครนะ” วนิดาเล่าเหตุการณ์ที่

เคยเกิดขึ้นกับฟาร์มไร่ผึ้งฝนของศราวุธให้ฟัง

โดยปัจจัยสำ�คัญประการหนึ่งที่ทำ�ให้ฟาร์มในเครือข่ายมีความสัมพันธ์ที่ แน่นแฟ้นกับแดรี่โฮม วนิดาคิดว่าน่าจะมาจากการที่บริษัททำ�ทุกอย่างตาม ที่สัญญาไว้กับเกษตรกร “อย่างเช่นเราบอกว่าถ้าฟาร์มของเขาผ่านการรับรองปศุสต ั ว์อน ิ ทรีย์ เราจะให้ราคานํ้านมของเขาเพิ่มกิโลกรัมละ 2 บาท และรับซื้อนํ้านม ดิบทั้งหมด เมื่อถึงวันที่เขาทำ�ได้ เราต้องให้ราคาตามนั้นและต้องรับ ซื้อทั้งหมด แม้ว่าเราอาจจะยังไม่รู้ว่าจะเอานํ้านมดิบมาทำ�อะไรก็ตาม เพราะอันนั้นไม่ใช่หน้าที่ของเขาแล้ว แต่เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องทำ� ตามสัญญา”

019


ขณะที่ศราวุธให้เหตุผลที่ปฏิเสธคนที่มาติดต่อขอซื้อนํ้านมอินทรีย์จากเขา ที่หน้าฟาร์ม ซึ่งมีไม่น้อยกว่า 3-4 รายว่า เพราะแดรี่โฮมเป็นคนให้ความรู้ ผลักดัน เคี่ยวเข็ญ ช่วยเหลือจนกระทั่งเขาเปลี่ยนมาทำ�ฟาร์มโคนมอินทรีย์ ได้สำ�เร็จ เขาจึงไม่สามารถขายนํ้านมให้กับคนอื่นได้

ใส่ใจความยั่งยืนในชุมชน นอกจากให้ความสำ�คัญด้านความยั่งยืนในกระบวนการผลิตสินค้าแล้ว แดรี่โฮมยังใส่ใจดูแลความยั่งยืนของชุมชนในบริเวณใกล้เคียงกับโรงงาน ด้วย โดยความชอบส่วนตัวของ พฤฒิ ที่มีต่อสายนํ้าได้นำ�แดรี่โฮมเข้าไปมี ส่วนร่วมในกิจกรรมอนุรักษ์ลำ�นํ้ามวกเหล็ก ซึ่งเป็นลำ�นํ้าที่อยู่ใกล้โรงงาน โดยในฐานะที่เป็นกรรมการฝ่ายกิจกรรมและท่องเที่ยว สมาคมท่องเที่ยว สระบุรี พฤฒิได้เป็นหัวเรือใหญ่ในการจัดกิจกรรมโครงการอนุรักษลำ�นํ้า มวกเหล็ก ซึ่งจัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2551 เพื่อรณรงค์ให้เยาวชนและคนใน ชุมชนลดการทิ้งขยะและปล่อยนํ้าเสียลงในลำ�นํ้า รวมถึงได้มีการสร้างฝาย กักเก็บนํ้าขึ้นที่บริเวณต้นลำ�นํ้ามวกเหล็ก บริเวณชายขอบของอุทยานแห่ง ชาติเขาใหญ่ เพื่อแก้ปัญหานํ้าในคลองมวกเหล็กแห้งช่วงฤดูแล้ง โดยปี 2555 ได้สร้างฝายชั่วคราวเสร็จไป 1 แห่ง ปี 2556 ได้ดำ�เนินการก่อสร้าง ฝายถาวรให้สามารถกักเก็บนํ้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของ พืชและสัตว์ นายสุพล เทียมไธสง ผู้อำ�นวยการโรงเรียนมวกเหล็กใน ซึ่งตั้งอยู่ต้นลำ�นํ้า มวกเหล็กกล่าวว่า นอกจากจะทำ�ให้ต้นลำ�นํ้ามวกเหล็กมีนํ้ามากขึ้นในช่วง หน้าแล้งแล้ว โครงการอนุรักษ์ลำ�นํ้ามวกเหล็กยังทำ�ให้เด็กนักเรียนของ โรงเรียนได้เข้าไปมีส่วนในการทำ�กิจกรรมด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่ง ช่วยปลูกจิตสำ�นึกให้กับนักเรียน และทำ�ให้กิจกรรมอนุรักษ์ที่ทำ�ขึ้นภายใน โรงเรียนประสบความสำ�เร็จมากขึ้น ทั้งในเรื่องความสะอาด และการดูแล สิ่งปฏิกูล รวมถึงทำ�ให้เด็กนักเรียนได้ฝึกเรื่องความคิดสร้างสรรค์จาก

020


กิจกรรมทีท่ างสมาคมท่องเทีย่ วฯจัดขึน้ เช่น กิจกรรมการประกวดปัน้ ตัวตะกอง (คล้ายกิ้งก่าแต่ตัวใหญ่กว่ามาก) ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีอยู่ในลำ�นํ้ามวกเหล็ก “นอกจากนี้แดรี่โฮมยังเข้ามาช่วยเรื่องกีฬาชุมชน หรือมามีส่วนร่วม งานในประเพณีสงกรานต์ งานวันเด็ก รวมถึงสนับสนุนอุปกรณ์ กีฬาและอุปกรณ์การเรียนด้วย” ผอ.สุพลกล่าวถึงสิ่งที่ชุมชนและ

โรงเรียนได้รับ

โรงงานสีแดง แต่ข้างในต้องเขียว นอกจากจะเปลีย่ นมาดำ�เนินธุรกิจทีย่ ง่ั ยืน ด้วยการชักชวนแนะนำ�ให้เกษตรกร เปลี่ยนจากการเลี้ยงโคนมทั่วไปมาเลี้ยงโคนมอินทรีย์ ซึ่งช่วยส่งผลกระทบ ต่อสิง่ แวดล้อมลง จากการไม่ใช้สารเคมี ปุย๋ ยาฆ่าแมลงในกระบวนการเลีย้ ง การใช้อาหารในพื้นที่แทนการนำ�เอามาจากข้างนอก ซึ่งลดการใช้พลังงาน ในการขนส่งแล้ว กระบวนการผลิตในโรงงานผลิตภัณฑ์นมของแดรี่โฮมก็ ยังได้รับมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร อาทิ มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต อาหาร มาตรฐาน HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) ซึ่ง เป็นมาตรฐานการผลิตที่มีมาตรการป้องกันอันตรายที่ผู้บริโภคอาจได้รับ จากการบริโภคอาหาร นอกจากนี้ยังให้ความสำ�คัญกับการลดใช้พลังงาน และนํ้าอีกด้วย โดย พฤฒิ ประกาศอย่างหนักแน่นว่า ถึงโรงงานของเขา จะทาสีแดงข้างนอก แต่ข้างในต้องเป็นสีเขียว ซึ่งเป็นที่มาของนวัตกรรมสี เขียวภายในโรงงาน เริ่มจากการไม่ปล่อยนํ้าเสียออกนอกโรงงาน ซึ่งเป็น นโยบายแรกๆ ที่แดรี่โฮมทำ�มาตั้งแต่เริ่มต้น โดยในช่วงแรกแดรี่โฮมใช้วิธี การเติมอากาศลงไปในนํ้าเสียเพื่อบำ�บัดซึ่งมีวันละ 60 ตัน ทำ�ให้ต้องเสียค่า ไฟเดือนละ 3-4 หมื่นบาท แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้วิธีการแยกนํ้าที่ใส่เข้าไป ล้างเครื่องจักรออกมาใส่ถังพิเศษไว้ และนำ�นํ้าเสียส่วนนี้ ซึ่งมีการปนเปื้อน ของตะกอนนมประมาณ 3 ตัน ไปบำ�บัดแบบจุลินทรีย์แลคติค เพื่อทำ�ให้ เกิดการตกตะกอนนม แล้วรวม ไว้ก่อนที่จะดูดออกไปใส่ทุ่งหญ้าภายใน

021


โรงงานเพื่อใช้เป็นปุ๋ย ซึ่งทำ�ให้เสียค่าใช้จ่ายในการบำ�บัดเพียงค่าจุลินทรีย์ ต้นกำ�เนิดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนนํ้าเสียอีก 57 ตัน ซึ่งเป็นนํ้าเปล่าที่ใส่ เข้าไปล้างเครื่องจักรหลังจากการล้างครั้งแรกจะปล่อยลงสระเพื่อใส่อีเอ็ม ลงไป แล้วสามารถนำ�ไปใช้เลี้ยงปลาหรือสูบไปรดต้นไม้ได้เลย เพราะนํ้า ส่วนนี้ไม่ค่อยสกปรก ส่วนใหญ่เป็นนํ้าเปล่าผสมผงซักฟอกเล็กน้อยเท่านั้น “ซึ่งในฤดูแล้งนี่เราสูบจนแห้งหมด นํ้าเสียที่โรงงานไม่พอใช้” พฤฒิ

กล่าวถึงวิธีการบำ�บัดนํ้าเสียของแดรี่โฮม ซึ่งอาจารย์จากมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ เจ้าของความคิดการใช้จุลินทรีย์แลคติดในการบำ�บัดนํ้าเสีย มา วางระบบไว้ให้ โครงการจัดการด้านพลังงาน หรือ TEM : Total Energy Management ซึ่งจัดทำ�ร่วมกับอุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ พลังงานภายในโรงงาน จนกระทั่งเข้าใจจุดรั่วไหล จุดสิ้นเปลืองว่าอยู่ตรง ไหน และทำ�การปิดจุดด้อยต่างๆ ซึ่งจุดรั่วไหลใหญ่ๆ ที่ค้นพบก็คือการเปิด ห้องเย็นซึ่งมีอยู่ 4 ห้องไว้ตลอดเวลา และการรั่วไหลในส่วนที่ใช้พลังงานลม

“แต่ตอนนี้เราจะเปิดห้องเย็นก่อนใช้งานเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้นเพื่อให้ ได้อุณหภูมิที่ต้องการ และปิดเมื่อใช้เสร็จแล้ว รวมถึงอุดรอยรั่วในจุด ที่ใช้พลังงานลม ตรงนี้ทำ�ให้เราประหยัดค่าไฟได้ถึง 20% ทีเดียว”

วนิดาให้ข้อมูล

นอกจากนี้ยังนำ�ไปสู่โครงการต่อเนื่อง นั่นคือ การผลิตนํ้าร้อนด้วยพลังงาน แสงอาทิตย์ หรือ Solar Thermal โดยการติดตั้งหลอดรับพลังงานแสง อาทิตย์บนหลังคาโรงงาน เพื่อนำ�มาใช้ในการผลิตนํ้าร้อนสำ�หรับการผลิต นมพาสเจอร์ไรส์ ซึ่งหากสามารถวางระบบได้เสร็จในปลายปีนี้ พฤฒิบอก ว่าจะช่วยลดค่าไฟฟ้าลงได้เดือนละ 6 หมื่นบาท หรือ 30% จากปัจจุบัน ที่ต้องเสียค่าไฟเดือนละ 2 แสนกว่าบาท โดยระยะคืนทุนในการทำ� Solar Thermal อยู่ที่ 3 ปีครึ่งเท่านั้น

022


“นอกจากนี้เรายังเริ่มทำ�มาตรฐานโรงงานสีเขียวระดับ 5 โดยหาก เราได้ ISO 50001 ซึ่งเป็นมาตรฐานสิ่งแวดล้อมในเดือนสิงหาคม ก็ จะทำ�ให้เราผ่านมาตรฐานโรงงานสีเขียวระดับ 3” พฤฒิกล่าวถึงความ

พยายามที่จะผลักให้แดรี่โฮมเข้าไปสู่มาตรฐานสูงสุดของประเทศให้ได้

บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพ ถือเป็นนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมล่าสุด จาก แดรี่โฮม ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ โดยความพิเศษของบรรจุภัณฑ์ นี้อยู่ที่พลาสติก PLA ที่ทำ�มาจากนํ้าตาล ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ภายใน 6 เดือน ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยเริ่มต้นจะนำ�มาใช้กับผลิตภัณฑ์ โยเกิร์ตแบบถ้วยก่อน

นํ้านมอินทรีย์ ทำ�ให้ แดรี่โฮม มีที่ยืนในตลาด “หลังจากเปลี่ยนมาใช้นํ้านมดิบอินทรีย์เป็นวัตถุดิบ ยอดขายของเรา มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นปีละ 15-20% อย่างต่อเนื่อง เพิ่มขึ้นจาก เดิมทีเ่ ราเติบโตปีละ 5-10%” พฤฒิกล่าวถึงหนึง่ ในผลสำ�เร็จทีเ่ ป็นรูปธรรม

ในการเปลี่ยนมาใช้นํ้านมดิบอินทรีย์เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์นม ของแดรี่โฮม

โดยการเติบโตนี้มีที่มาจากสินค้าเต็มๆ เพราะที่ผ่านมาบริษัทไม่เคยใช้เงิน ในการโฆษณาทางสือ่ ต่างๆ เลย แถมผลิตภัณฑ์ของนมแดรีโ่ ฮมยังมีจดุ อ่อน ในเรื่องของราคาจำ�หน่ายที่สูงกว่านมที่จำ�หน่ายอยู่ในท้องตลาดอย่างน้อย 35-40% ตามราคาค่านา้ํ นมดิบอินทรีย์ ซึง่ แดรีโ่ ฮมจ่ายให้เกษตรกรสูงขึน้ กว่า นํ้านมดิบทั่วไป อย่างเช่น นมพาสเจอไรซ์ขนาด 200 มิลลิลิตร ที่ผู้เล่นราย อื่นๆ จำ�หน่ายในราคาประมาณ 12 บาท แต่ของแดรี่โฮมจำ�หน่ายในราคา 16-17 บาท (ดูรายละเอียดในตารางที่ 4)

023


ตารางที่ 4 เปรียบเทียบราคานมพาสเจอไรซ์ รสจืด ขนาด 200 มล.

ยี่ห้อ ดัชมิลล์ โชคชัย โฟร์โมสต์ เมจิ แดรี่โฮม

ราคา 11.50 11.75 12.00 12.00 16.00

หมายเหตุ: จากการสำ�รวจราคา ณ Gourmet Market ห้างสรรพสินค้า สยามพารากอน วันที่ 20 มิถุนายน 2557 “คู่แข่งของเราก็คือนมยี่ห้อต่างๆ ในท้องตลาดซึ่งมีราคาถูกกว่า และ ก็เป็นรายใหญ่ๆ ทั้งนั้น อย่างนมไทย-เดนมาร์ค เขาผลิตวันละ 300 ตัน โฟร์โมสต์ 500-600 ตัน ดัชมิลล์ 200-300 ตัน เมจิ 300-400 ตัน พวกนี้ยอดขายปีหนึ่งระดับหมื่นล้านบาททั้งนั้น แต่ของเราตอน นี้ผลิตอยู่วันละ 4.5-5 ตัน ดังนั้นถ้าเราไม่ได้ผลิตจากนํ้านมอินทรีย์ ผมเชื่อว่าเราไปไม่รอด เพราะไม่มีความแตกต่าง”

ฉะนั้นนอกจากจะเป็นทางรอดของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมแล้ว นํ้านมอินทรีย์ จึงเป็นทางรอดของแดรี่โฮมเองด้วย เพราะการเป็นผลิตภัณฑ์นมอินทรีย์ไม่ เพียงแต่ทำ�ให้แดรี่โฮมเบียดคู่แข่งเข้าไปนั่งอยู่ในใจลูกค้าได้ แต่ยังทำ�ให้มีที่ วางในชั้นวางของซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ�ต่างๆ ซึ่งมีอยู่จำ�กัด ยากที่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งแทบจะไม่มีงบโฆษณาจะฝ่าด่านเข้าไปได้ เหตุผลสำ�คัญที่ทำ�ให้ผลิตภัณฑ์นมของแดรี่โฮมได้รับยอมรับจากลูกค้าและ เกิดการบอกต่อก็คือรสชาติที่อร่อย โดยในส่วนของนมพาสเจอร์ไรส์จะมี ความเข้มข้นอันเนื่องมาจากปริมาณเนื้อนมหรือธาตุนํ้านมที่มีมากกว่าอัน เนือ่ งมาจากการเลีย้ งโคด้วยหญ้า ซึง่ ผลจากการทำ�วิจยั แดรีโ่ ฮม พบว่านํา้ นม อินทรียข์ องบริษทั มีสดั ส่วนของเนือ้ นมถึง 13% ขณะทีน่ า้ํ นมทัว่ ไปจะมีเนือ้ นม

024


อยู่ 11% หรือแตกต่างกันประมาณ 20% ขณะทีโ่ ยเกิรต์ แบบถ้วยของแดรีโ่ ฮม ก็จะมีเนื้อข้นแบบคัสตาร์ด แตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นในตลาดอย่างสิ้นเชิง “ดังนั้นแม้ว่าลูกค้าบางคนอาจจะไม่สนหรอกว่าเราเป็นนํ้านมอินทรีย์ หรือเปล่า เขากินเพราะว่ามันอร่อย แต่ความอร่อยของเราก็มาจาก ความเป็นนํ้านมอินทรีย์นี่แหละ ซึ่งยากจะเลียนแบบได้” พฤฒิกล่าวถึง

ความโดดเด่นของแดรี่โฮมอันเนื่องมาจากความเป็นนํ้านมอินทรีย์

ไม่เพียงแต่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเท่านั้น เพราะความเป็นผลิตภัณฑ์ นมอินทรีย์ยังเปิดโอกาสให้ แดรี่โฮม ได้ขยายช่องทางการจำ�หน่ายออกไป ไกลกว่าการวางจำ�หน่ายที่ร้านแดรี่โฮม ริมถนนมิตรภาพ และการส่งสินค้า ให้กับลูกค้าสมาชิกตามบ้าน ซึ่งเป็นช่องทางการตลาดของนมแดรี่โฮมใน ยุคเริ่มต้น โดย เลมอนฟาร์ม ร้านจำ�หน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นับเป็นช่องทางแรกที่พาผลิตภัณฑ์ของแดรี่โฮม ออกไปพบกับลูกค้าหน้าใหม่ๆ ซึ่งไม่มีโอกาสแวะเวียนมาที่ร้านหรืออยู่ห่าง ไกลจากโรงงานผลิต การได้เข้าไปวางขายภายในร้านเลมอนฟาร์มกลายเป็นแหล่งอ้างอิงทีด่ ี ทีช่ ว่ ย ผลักดันให้แดรี่โฮมได้เข้าไปวางขายในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ หรือ Modern Trade แห่งอื่นๆ ในเวลาต่อมา โดยร้านค้าเหล่านี้เป็นฝ่ายติดต่อเข้ามาให้ นำ�สินค้าไปวางด้วยเงื่อนไขที่ดี “คือช่วงแรกเราไม่กล้าเอาสินค้าไปเสนอใครหรอก เพราะนมเราไม่มี โฆษณา เอาไปเสนอเขาก็ไม่รู้จักอยู่ดี แต่ที่เราเข้าไปได้เริ่มจากที่เขา รู้จักเราก่อนแล้วติดต่อเข้ามา”

ปัจจุบันโมเดิร์นเทรดที่แดรี่โฮมเข้าไปวางจำ�หน่ายประกอบไปด้วย ท็อป ซุปเปอร์มาร์เก็ต กรูเมต์มาร์เก็ตของกลุม่ เดอะมอลล์ แม็กซ์แวลู วิลล่ามาร์เก็ต ฟูดแลนด์ เทสโก้โลตัส และบิ๊กซี โดยนอกจากจะวางจำ�หน่ายตามสาขาใน กรุงเทพฯ แล้ว ก็ยังมีวางจำ�หน่ายในหัวเมืองท่องเที่ยวใหญ่ๆ ด้วย อย่าง เช่น เชียงใหม่ หัวหิน ภูเก็ต พัทยา ระยอง เกาะสมุย

025


“แต่ก็มีบางแห่งที่ซื้อตรงจากเรา อย่างโรงแรม ซึ่งส่วนใหญ่ที่เข้าไป ได้เพราะเชฟเรียกร้อง คือเขาซือ้ ผลิตภัณฑ์เราจากห้างไปทดสอบจน พอใจแล้ว ก็จะพาฝ่ายจัดซือ้ มาพบเรา ซึง่ ถ้าเชฟไม่เรียกร้องจริงๆ ทางฝ่ายจัดซื้อไม่มีทางซื้อให้ เพราะของเราแพง และเมื่อเชฟย้าย โรงแรม เราก็มักจะได้โรงแรมใหม่ที่เขาย้ายไปอยู่ด้วย” พฤฒิเล่าถึง

ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากความเป็นนมอินทรีย์

ปัจจุบันสัดส่วนช่องทางการจำ�หน่ายระหว่างการขายตรงให้กับลูกค้าใน กรุงเทพฯ (ทั้งลูกค้าตามบ้าน โรงแรม และโรงเรียน) กับการขายเข้าไปใน โมเดิร์นเทรดคิดเป็น 50:50 แต่โมเดิร์นเทรดเริ่มมาแรง เพราะมีสาขาในต่าง จังหวัดด้วย

คุณค่าทางอาหาร เพิ่มโอกาสทางตลาด นอกจากเรือ่ งของรสชาติแล้ว นา้ํ นมอินทรียย์ งั มีจดุ เด่นในเรือ่ งของคุณค่า ทางอาหารทีส่ งู กว่านา้ํ นมทัว่ ๆ ไป ซึง่ พฤฒิบอกว่านีเ่ ป็นอีกจุดขายของนม แดรีโ่ ฮมทีบ่ ริษทั จะต้องพยายามสือ่ สารออกไปสูผ่ บู้ ริโภคให้มากขึน้ โดยที่ ผ่านมาบริษทั ใช้วธิ นี �ำ ข้อมูลจากการศึกษาวิจยั ในเรือ่ งคุณค่าทางอาหารของ นา้ํ นมอินทรียไ์ ปเผยแพร่ผา่ นทางเว็บไซต์และเฟสบุค๊ รวมถึงทำ�เป็นแผ่นพับ สำ�หรับแจกจ่ายให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะลูกค้าที่แวะเข้าไปซื้อสินค้าใน ร้านแดรี่โฮม เนื่องจากยังไม่สามารถให้ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ของสินค้าได้ ทัง้ ๆ ทีม่ งี านวิจยั ทัง้ จากประเทศและทีแ่ ดรีโ่ ฮมทำ�ร่วมกับสำ�นักงานนวัตกรรม แห่งชาติพบว่า นํา้ นมอินทรีย์ หรือการเลีย้ งโคด้วยหญ้าให้คณ ุ ค่าทางอาหาร สูงกว่าการเลี้ยงโคทั่วไปที่เน้นให้อาหารข้น โดยงานวิจัยในต่างประเทศพบว่าคุณค่าทางอาหารสำ�คัญที่นํ้านมอินทรีย์มี สูงกว่านา้ํ นมทัว่ ไปคือ CLA หรือ Conjugated Linoleic Acid และกรดไขมัน โอเมก้า 3 ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย อาทิ งานวิจัยของ Dhiman (1999) ซึ่ง พบว่า ค่า CLA ของนํ้านมโคนมที่เลี้ยงแตกต่างกันคือให้ ข้าวโพด, นํ้ามัน

026


ข้าวโพด, หญ้า/อาหารข้น 1/3, หญ้า/อาหารข้น 2/3, ปล่อยทุ่งหญ้า ค่าของ CLA จะมีความแตกต่างกันคือ 3.0, 8.9 14.3, และ 22.1 มิลลิกรัม/กรัมของ ไขมันตามลำ�ดับ ขณะที่งานวิจัยของ Robinson (2002) ได้เปรียบเทียบการ เลี้ยงโคนมแบบให้อาหารแบบมาตรฐานกับการเลี้ยงโคนมโดยการปล่อย ให้กินหญ้าสดบนทุ่งหญ้าพบว่า นํ้านมจะมีปริมาณ CLA ที่ 5 มิลลิกรัม/ กรัมของไขมัน และ 19.5 มิลลิกรัม/กรัมของไขมันตามลำ�ดับ ส่วนงานวิจัย ของ Robinson (2010) ได้รายงานผลการศึกษาปริมาณโอเมก้า 3 และโอ เมก้า 6 จากการเลี้ยงโคนมบนทุ่งหญ้า โดยพบว่ามีปริมาณ 16.5 และ 16.6 มิลลิกรัม/กรัมไขมันตามลำ�ดับ ส่วนการเลี้ยงบนทุ่งหญ้า 2/3 ของอาหารข้น จะมีปริมาณ 13.6 และ 31.4 มิลลิกรัม/กรัมไขมันตามลำ�ดับ และการเลี้ยง บนทุ่งหญ้า 1/3 ของอาหารข้น มีค่า 8.2 และ 42.7 มิลลิกรัม/กรัมของไขมัน ตามลำ�ดับ ส่วนงานวิจยั เรือ่ ง “การผลิตนมทีม่ ี CLA และ OMEGA3 สูง โดย กระบวนการเลีย้ งโคนมแบบอินทรีย”์ โดย ผศ.ดร.นันทิยา สุวรรณปัญญา ซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินทุนวิจัยจากสำ�นักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมกับ แดรี่โฮมเอง ก็พบว่า โคนมที่เลี้ยงโดยการปล่อยให้แทะเล็มหญ้าในแปลง จะให้ส่วนประกอบนํ้านมสูงสุดในเรื่องของ ไขมัน โปรตีน ธาตุนํ้านม CLA, OMEGA 9 วิตามินเอ วิตามินอี และแคลเซียม ดังข้อมูลในตารางที่ 5

027


หญ้า 15.55 5.07 3.82 3.96 13.56 946.25 3.0 0.09 0.85 11.40 99.5 0.091 1,375.25 699.25

หญ้าและอาหารข้น หญ้าและถั่ว 14.38 4.35 3.23 4.42 12.7 242.3 2.15 0.19 1.56 8.00 62 0.092 1,014.50 720.65

15.00 3.75 3.01 4.19 11.64 344 1.70 0.09 0.87 8.12 39 0.036 1,211.50 793.90

หญ้าและถั่วกับ อาหารข้น 15.11 2.8 2.98 4.67 11.15 1,410 1.10 0.12 1.24 8.36 40 0.088 931.60 677.10

028


“เรากำ�ลังพยายามให้ข้อมูลส่วนนี้เผยแพร่ไปสู่ผู้บริโภคมากขึ้น เพราะนี่ถือว่าเป็นจุดขายสำ�คัญอีกอย่างของผลิตภัณฑ์แดรี่โฮม ซึ่ง ผู้บริโภคยังไม่ค่อยทราบมากนัก” พฤฒิกล่าวถึงโอกาสทางการตลาดที่

จะเกิดขึ้นจากการใช้นํ้านมดิบอินทรีย์ในการผลิตสินค้า โดยวิธีการหนึ่งคือ การเรียกร้องให้สำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุญาตให้ใส่ ข้อมูลเหล่านี้ไว้บนบรรจุภัณฑ์ได้ หลังจากที่ อย.ปฏิเสธงานวิจัยที่แดรี่โฮม เสนอ ด้วยเหตุผลที่ว่า แล็บที่ทำ�วิจัยได้ไม่รับการรับรองจาก อย.

เน้น Product Champion ก้าวต่อไปทางการตลาด ปัจจุบันแดรี่โฮมมีผลิตภัณฑ์ที่จำ�หน่ายในท้องตลาดทั้งสิ้น 39 รายการ (SKU) แบ่งเป็นนมพาสเจอร์ไรซ์ 23 รายการ (11 รสชาติ) โยเกิรต์ แบบถ้วย 12 รายการ และโยเกิร์ตพร้อมดื่ม 4 รายการ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน ตารางที่ 5) อันเป็นผลมาจากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่องปีละ 1-2 รายการ นอกจากนี้แดรี่โฮมยังมีแผนที่จะผลักดันให้ผลิตภัณฑ์บางตัวที่มีนวัตกรรม โดดเด่นไปได้ไกลกว่าที่เป็นอยู่ โดยหนึ่งในผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่ พฤฒิ มองว่ามีความโดดเด่นและยังไม่มีคู่แข่งแม้จะวางตลาดมาตั้งแต่ปี 2553 คือนมก่อนนอน หรือ Bed Time Milk ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยและพัฒนา ร่วมกันระหว่างแดรี่โฮมและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยจุดขายของ นมตัวนี้คือมีระดับเมลาโทนินธรรมชาติสูง จึงช่วยให้นอนหลับสนิท โดย เฉพาะหากดื่มก่อนนอน (ดูรูปร่างหน้าตาของบรรจุภัณฑ์และฉลากได้ใน ภาคผนวก ข.) “ผมมองว่ากลุ่มผู้ป่วย กลุ่มโรงพยาบาลน่าจะเหมาะกับสินค้าตัวนี้ ซึ่งเราคงต้องมาหาวิธีที่จะเข้าไปเจาะตลาดนี้ต่อไป”

029


นอกจาก Bed Time Milk แล้ว ยังมีอีก 4 ผลิตภัณฑ์ของแดรี่โฮมที่มีความ โดดเด่นเพราะแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด นั่นคือ Grass Fed Milk นมบัตเตอร์สก็อต ซึ่งยังไม่เคยมีใครทำ�มาก่อน นมรสกล้วยหอม ที่มีเนื้อกล้วยหอม อินทรีย์เป็นส่วนผสมอยู่ในนํ้านมด้วย และนมรสข้าวโพด ซึ่งมีส่วนผสมของ เนื้อข้าวโพดอินทรีย์ที่บดให้เป็นนํ้า โดยทั้งหมดนี้แดรี่โฮมจัดว่าอยู่ในกลุ่ม สินค้าระดับพรีเมียม จำ�หน่ายในราคา 22 บาท (ขนาด 200 มิลลิลิตร) จึง น่าสนใจว่าแดรี่โฮมจะขยายตลาดของสินค้าเหล่านี้อย่างไร ปัจจุบนั ผลิตภัณฑ์นมทีท่ �ำ ยอดขายให้แดรีโ่ ฮม 5 อันดับแรก เรียงตามลำ�ดับ ดังนี้ Bed Time Milk นมช็อกโกแลต นมรสจืด นมพร่องมันเนย และ Grass Fed Milk, นมบัตเตอร์สก็อต และนมรสกล้วยหอม (สามตัวหลังสุดนีม้ สี ดั ส่วน ใกล้เคียงกัน)

อยากให้มีคู่แข่ง ตลาดจะได้โต ไม่เพียงแต่การแข่งขันกับคูแ่ ข่งในประเทศเท่านัน้ พฤฒิยงั มัน่ ใจว่า ผลิตภัณฑ์ นมอินทรีย์ของแดรี่โฮมจะไม่ได้รับผลกระทบจากการเข้ามาของคู่แข่งจาก ต่างประเทศ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจะมีการเปิดตลาดการค้าเสรี ของชาติในประชาคมอาเซียน (AEC) และอาจจะทำ�ให้นมราคาถูกจากบาง ประเทศเข้ามาจำ�หน่ายในประเทศไทย “อย่าง Vinamilk ซึง่ เป็นบริษท ั นมขนาดใหญ่จากเวียดนาม และทำ�นม ขายในราคาถูกมาก นมยูเอชทีซึ่งบ้านเราขาย 12 บาท เขาขายแค่ 8 บาทเท่านั้น แต่หากเขาเข้ามาถล่มตลาดเมืองไทย เราก็คงไม่กระทบ เพราะคนที่กินนมของเราเขายอมจ่ายในราคาที่ต่างอยู่แล้วเพื่อแลก กับสิ่งที่เขาจะได้รับ” พฤฒิให้เหตุผล

แต่หากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์สามารถส่งผลิตภัณฑ์นมอินทรีย์เข้ามา จำ�หน่ายในเมืองไทยโดยเสียภาษีถูกลงอันเนื่องมาจากข้อตกลงทางการค้า

030


พฤฒิบอกว่าอาจจะมีผลกระทบบ้าง แต่คงไม่มากนัก เพราะว่าผู้ผลิตนํ้านม ดิบอินทรียใ์ นต่างประเทศจะเรียกร้องค่าพรีเมียมสูงกว่าในบ้านเรา นอกจาก นีเ้ ขายังต้องเสียค่าขนส่งสินค้า ดังนัน้ ราคาจำ�หน่ายของเขาน่าจะสูงกว่านม แดรีโ่ ฮมมาก ส่วนคู่แข่งนมอินทรีย์ในประเทศไทย ซึ่งในอนาคตคงจะมี เพราะปัจจุบันผู้ เล่นรายใหญ่อย่างโฟร์โมสต์กำ�ลังพยายามสร้างฟาร์มเครือข่ายที่จะผลิตนํ้า นมดิบอินทรีย์ให้อยู่ แต่พฤฒิบอกว่าเขาไม่ได้มองว่าเป็นคู่แข่ง “จริงๆ ผมอยากให้เกิดเยอะๆ ด้วยซ้ำ� เพราะจะได้มาช่วยกันสร้าง ตลาด เผลอๆ ผมยิ่งโตด้วย เพราะถ้ารายใหญ่เคลื่อนไหวที เขาจะ เคลื่อนไหวแรง ซึ่งจะทำ�ให้ผู้บริโภคหันมาสนใจผลิตภัณฑ์ในตลาดนี้ มากขึ้น ที่สำ�คัญเราคงไม่อยู่เฉยๆ เราแข่งกับตัวเองตลอดเวลา และ มีนมใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ อย่างนมบัตเตอร์สก็อตแท้ๆ ก็ไม่มีใครทำ� นม Bed Time Milk หรือ Grass Fed Milk ก็ไม่มีใครเหมือนเรา ผมจึง ไม่เชื่อว่าใครจะทำ�ให้เราตกกระป๋องง่ายๆ”

รอยเท้าเล็กๆ บทพิสูจน์การเติบโตบนความยั่งยืน หลังจากทำ�อะไรมามากมาย พฤฒิกต็ อ้ งการทราบว่า แดรีโ่ ฮมยืนอยูจ่ ดุ ไหน ในอุตสาหกรรมนมในด้านสิ่งแวดล้อมหรือการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงได้ให้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นองค์กรมหาชน วัดค่าการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนของผลิตภัณฑ์นมทุกตัวที่แดรี่โฮมทำ�ตลาด ซึ่งผลลัพธ์ ที่ออกมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 ก็ทำ�ให้พบว่า รอยเท้าการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกของแดรี่โฮมเล็กกว่าผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมรายอื่น (ดูตารางที่ 6 และ 7) ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า นํ้านมอินทรีย์ นอกจากจะเป็นจุดเด่น ทางการตลาดแล้ว ยังช่วยให้กระบวนการผลิตของแดรี่โฮมลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ซึ่งไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

031


ค่าคาร์บอนฟุตพรินต์ของ ผลิตภัณฑ์ 2.58 กิโลกรัม 455 กรัม 10 กิโลกรัม 2.6 กิโลกรัม 459 กรัม 10.2 กิโลกรัม 2.55 กิโลกรัม 448 กรัม 9.92 กิโลกรัม 2.14 กิโลกรัม 377 กรัม 8.52 กิโลกรัม 2.69 กิโลกรัม 476 กรัม 10.7 กิโลกรัม 2.5 กิโลกรัม 442 กรัม 10.1 กิโลกรัม 446 กรัม 465 กรัม 416 กรัม 468 กรัม 438 กรัม

032


236 กรัม 240 กรัม 225 กรัม 216 กรัม 207 กรัม 209 กรัม 230 กรัม 330 กรัม 227 กรัม 226 กรัม 238 กรัม 311 กรัม 386 กรัม 376 กรัม 386 กรัม 280 กรัม 7

ค่าคาร์บอนฟุตพรินต์ของ ผลิตภัณฑ์ 2.12 กิโลกรัม 4.51 กิโลกรัม 1.98 กิโลกรัม 824 กรัม 533 กรัม 454 กรัม 383 กรัม 369 กรัม 394 กรัม 380 กรัม

033


ฟาร์มโคนมอินทรีย์ทั้งประเทศ เป้าหมายสูงสุด แต่ก่อนอื่นต้องปรับตัว? “ผมพยายามหาคนทำ�งานกับเราให้เยอะขึ้น และก็มองไปถึงกลุ่มอื่น ที่เราจะสามารถช่วยเขาได้ด้วย เช่น กลุ่มไหนที่อยากทำ�นมอินทรีย์แต่ เขาไม่มีความรู้ เราก็อยากเข้าไปช่วย เพื่อให้นมอินทรีย์มีการขยายตัว เพราะเป้าหมายของผมคือเปลี่ยนทั้งประเทศ ซึ่งตอนนี้ผมเปลี่ยนไป ได้ 11 ฟาร์มแล้ว ยังเหลือที่ต้องเปลี่ยนอีก 19,989 ฟาร์ม ผมว่ามัน น่าสนุก” พฤฒิว่าอย่างนั้น

อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะไปถึงเป้าหมายในฝัน พฤฒิมองว่าถึงเวลาแล้วที่บริษัท จะชะลอการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ แล้วหันไปทำ�การตลาด ทั้งในแง่ของการ ประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมการขาย เพื่อให้ผู้บริโภคได้รู้จักผลิตภัณฑ์ ต่างๆ ของแดรี่โฮมมากขึ้น และเร็วขึ้น “เพราะสินค้าใหม่บางตัวของเรากว่าจะเป็นที่รู้จักใช้เวลา 2 ปี” พฤฒิ

กล่าวถึงเหตุผลสำ�คัญที่ต้องปรับเปลี่ยน

เขาสงสัยว่า แดรี่โฮมควรทำ�การตลาดอย่างไร จะใช้จุดแข็งและจุดเด่นของ บริษัทสร้างความได้เปรียบในท้องตลาดได้อย่างไร ในเมื่องบประมาณมี อยู่จำ�กัด รวมถึงสงสัยว่าความเป็นผู้นำ�ตลาด “นํ้านมอินทรีย์” ซึ่งยังเป็น ตลาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดของตลาดนมทั้งหมดในประเทศไทย จะ ช่วยอะไรบริษัทได้บ้าง และการจะเข้าถึงผู้บริโภคให้มากขึ้นนั้นหมายความ ว่าบริษัทควรจะต้องปรับเปลี่ยนอะไรอีกบ้างไหม นับเป็นความท้าทายไม่น้อยสำ�หรับ แดรี่โฮม บริษัทเล็กหัวใจเขียว ที่กำ�ลัง แข่งขันกับยักษ์ใหญ่อย่างเต็มภาคภูมิ

034


ภาคผนวก ก.

งบการเงิน บริษัท แดรี่โฮม จำ�กัด รายการ สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด สินค้าคงเหลือ วัตถุดิบคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินให้กู้ยืมระยะยาว ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น ภาษีเงินได้ค้างจ่าย รวมหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาว รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน รวมหนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน หุ้นสามัญจำ�นวน 8,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1,000 บาท ทุนที่ชำ�ระแล้ว หุ้นสามัญจำ�นวน 8,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1,000 บาท กำ�ไร(ขาดทุน)สะสมยังไม่ได้จัดสรร รวมส่วนของผู้ถือหุ้น รวมหนิ้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

ปีงบการเงิน 31-ธ.ค.-56

31-ธ.ค.-55

31-ธ.ค.-54

2,521,447.36 522,304.00 4,415,460.89 94,859.23 7,554,071.48

2,262,038.09 1,118,495.30 105,100.00 27,319.75 3,512,953.14

638,979.34 114,056.98 129,256.43 13,959.18 896,251.93

8,500,000.00 36,002,441.78 44,502,441.78 52,056,513.26

8,500,000.00 37,973,178.20 46,473,178.20 49,986,131.34

8,500,000.00 40,345,572.50 48,845,572.50 49,741,824.43

7,317,543.75 35,439.00 174,454.18 7,527,436.93

6,652,297.48 37,135.00 199,762.09 6,889,194.57

7,846,827.28 34,334.00 192,496.79 8,073,658.07

28,600,000.00 28,600,000.00 36,127,436.93

28,600,000.00 28,600,000.00 35,489,194.57

28,600,000.00 28,600,000.00 36,673,658.07

8,000,000.00

8,000,000.00

8,000,000.00

8,000,000.00 7,929,076.33 15,929,076.33 52,056,513.26

8,000,000.00 6,496,936.77 14,496,936.77 49,986,131.34

8,000,000.00 5,068,166.36 13,068,166.36 49,741,824.43 035


รายการ กำ�ไรขาดทุน: รายได้ รายได้จากการขายสินค้า รวมรายได้ ค่าใช้จ่าย ต้นทุนขาย (ดูหมายเหตุ 1) ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (ดูหมายเหตุ 2) รวมค่าใช้จ่าย กำ�ไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จา่ ยภาษีเงินได้ ต้นทุนทางการเงิน กำ�ไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ กำ�ไร(ขาดทุน)สุทธิ หมายเหตุ 1: ต้นทุนขาย ประกอบด้วย วัตถุดิบคงเหลือต้นงวด บวก ซื้อวัตถุดิบ ค่าขนส่ง หัก วัตถุดิบปลายงวด วัตถุดิบใช้ไป บวก ค่าแรง เงินสมทบประกันสังคม ค่าภาชนะบรรจุและวัสดุสิ้นเปลือง ค่าวิเคราะห์ตัวอย่าง ค่าสอบเทียบ ค่าเสื่อมราคา - เครื่องจักร ค่าเสื่อมราคา - ยานพาหนะ ค่าเสื่อมราคา - เครื่องมือและอุปกรณ์ รวม ต้นทุนการผลิตสินค้าสำ�เร็จรูป บวก สินค้าสำ�เร็จรูปต้นงวด สินค้าที่มีไว้เพื่อขายทั้งสิ้น หัก สินค้าสำ�เร็จรูปปลายงวด ต้นทุนขาย

ปีงบการเงิน 2556

2555

2554

77,649,386.00 77,649,386.00

80,071,380.25 80,071,380.25

69,259,122.28 69,259,122.28

52,366,094.16 23,122,531.19 75,488,625.35 2,160,760.65 - 370,116.91 1,790,643.74 - 358,504.18 1,432,139.56

55,438,603.29 22,455,903.61 77,894,506.90 2,176,873.35 - 319,712.10 1,857,161.25 - 428,390.84 1,428,770.41

50,720,778.51 16,496,964.97 67,217,743.48 2,041,378.80 - 463,962.56 1,577,416.24 - 473,746.79 1,103,669.45

2556 105,100.00 32,112,738.71 158,801.40 - 4,415,460.89 27,961,179.22 7,254,606.80 256,728.50 13,675,308.68 87,400.00 - 1,671,852.26 51,420.56 811,406.84 23,808,723.64 51,769,902.86 1,118,495.30 52,888,398.16 - 522,304.00 52,366,094.16

2555 129,256.43 31,908,864.48 294,392.70 - 105,100.00 32,227,413.61 6,963,535.60 216,324.50 14,568,086.13 30,000.00 35,000.00 1,560,956.88 51,420.56 790,304.33 24,215,628.00 56,443,041.61 114,056.98 56,557,098.59 - 1,118,495.30 55,438,603.29

2554 46,575.00 29,077,935.67 218,130.96 - 129,256.43 29,213,385.20 4,971,521.10 222,958.40 13,895,476.39 1,475,273.02 117,517.10 813,504.28 21,496,250.29 50,709,635.49 125,200.00 50,834,835.49 - 114,056.98 50,720,778.51

036


หมายเหตุ 2: ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ประกอบด้วย เงินเดือน เงินสมทบประกันสังคม ค่าล่วงเวลา ค่าคอมมิสชั่น ค่ารักษาความปลอดภัย ค่ารับรอง ค่าเครื่องเขียนแบบพิมพ์ ค่าไฟฟ้า น้ำ�ประปา โทรศัพท์ ค่าน้�ำ มันเชือ้ เพลิง ค่าใช้จา่ ยการเดินทาง และค่าใช้จา่ ยยานพาหนะ ค่าบูรณะซ่อมแซม ค่าเช่า ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าเสื่อมราคา ค่าบริการ ค่าฝึกอบรม ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จา่ ยเบ็ดเตล็ด ค่าโฆษณา รวม

2556 3,109,117.20 110,026.50 5,100,033.00 2,583,934.50 147,000.00 103,188.73 232,136.28 3,145,365.43 5,367,612.51 1,239,922.97 276,923.71 398,234.83 899,109.58 381,600.73 28,325.22 23,122,531.19

2555 2,984,372.40 92,710.50 3,064,093.00 4,001,572.36 68,000.00 980,000.00 227,880.36 2,998,573.52 5,098,604.50 1,252,720.42 47,605.98 335,591.38 892,278.67 376,900.52 35,000.00 22,455,903.61

2554 2,130,651.90 95,533.60 3,105,564.11 206,980.00 17,538.36 107,930.85 1,737,345.86 3,645,969.44 3,664,222.68 6,980.00 212,738.11 1,030,508.76 535,001.30 16,496,964.97

037


Financial Highlights รายได้จากการขาย (ล้านบาท) ต้นทุนขายและบริการ (ล้านบาท) ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (ล้านบาท) กำ�ไรก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ กำ�ไรสุทธิ (ล้านบาท) อัตรากำ�ไรขั้นต้น อัตรากำ�ไรสุทธิ ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ อัตราส่วนหนี้ต่อทุน (เท่า) อัตราการหมุนเวียนของสินค้า (วัน) รายได้จากการขาย (ล้านบาท) กำ�ไรก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ กำ�ไรสุทธิ (ล้านบาท)

31-Dec-54 69.26 50.72 16.50 2.04 1.10 26.8% 1.6% 8.4% 2.2% 2.8 2.5

31-Dec-55 80.07 55.44 22.46 2.18 1.43 30.8% 1.8% 9.9% 2.9% 2.4 5.1

2554-2555 15.6% 6.6% 29.5%

2555-2556 -3.0% -0.7% 0.2%

31-Dec-56 77.65 52.37 23.12 2.16 1.43 32.6% 1.8% 9.0% 2.8% 2.3 0.6

038


ภาคผนวก ข.

บรรจุภัณฑ์และฉลากด้านหน้า ด้านขวา และด้านซ้าย นมแดรี่โฮม ยี่ห้อ Bed Time Milk

039


เกี่ยวกับผู้จัดทำ� บริษัท ป่าสาละ จำ�กัด ป่าสาละเป็นบริษัท “ปลูกธุรกิจที่ยั่งยืน” แห่งแรกในประเทศไทย ก่อตั้งในเดือนกรกฎาคม 2556 เป้า หมายของเราคือจุดประกายและดำ�เนินวาทกรรมสาธารณะเกี่ยวกับธุรกิจที่ยั่งยืน ผ่านการจัดสัมมนา อบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และออนไลน์ รวมทั้งผลิตงานวิจัยในประเด็นความยั่งยืน ในประเทศไทย และส่งเสริมการวัดผลตอบแทนทางสังคม

040


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิ ฟรีดริค เอแบร์ท 1550 อาคารธนภูมิ ชั้น 23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ มักกะสัน ราชเทวี กทม. 10410 โทร 02 652 7178 www.fes-thailand.org บริษัท ป่าสาละ จำ�กัด 2 ซอยสุขุมวิท 43 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 โทร 02 258 7383 www.salforest.com

เอกสารชิ้นนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ Creative Commons แบบAttribution Noncommercial Share Alike (by-nc-sa) โดยผู้สร้างอนุญาตให้ทำ�ซ้ำ� แจกจ่าย แสดง และสร้างงานดัดแปลงจากส่วนใดส่วนหนึ่งของงานนี้ได้โดยเสรี แต่เฉพาะในกรณี ที่ให้เครดิตผู้สร้าง ไม่นำ�ไปใช้ในทางการค้า และเผยแพร่งานดัดแปลงภายใต้ ลิขสิทธิ์เดียวกันนี้เท่านั้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://cc.in.th/ลิขสิทธิ์เดียวกัน นี้เท่านั้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://cc.in.th/ 041


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.