กรณีศึกษา ธุรกิจเขียว #3: ชีวาศรม

Page 1

ชีวาศรม กรณีศึกษา นวัตกรรมสีเขียว #3 | Green innovation case study #3

จัดทำ�โดย บริษัท ป่าสาละ จากัด | สิงหาคม 2557


บำ�บัดนํ้าเสีย ทำ�ฟาร์มออร์แกนิค แยกขยะ ตั้งแต่วันแรก บุญชู โรจนเสถียร อดีตนักการเงิน นักการเมืองทีม่ ชี อ่ื เสียงมากทีส่ ดุ คน หนึง่ ของเมืองไทย เป็นผูก้ อ่ ตัง้ “ชีวาศรม” ขึน้ เมือ่ ปี 2538 ด้วยความหลงใหล ในศาสตร์แห่งการชะลอวัย กฤป โรจนเสถียร ลูกชายคนเดียวของเขา ซึ่ง ปัจจุบันดำ�รงตำ�แหน่ง ประธานกรรมการผู้จัดการ และประธานกรรมการ บริหาร บริษัท ชีวาศรม เฮลท์ แอนด์ รีสอร์ต จากัด เคยเล่าว่า บุญชูเริ่มท่อง เทีย่ วสปาและรีสอร์ตสุขภาพในต่างประเทศมา 30 ปี ก่อนทีจ่ ะก่อตัง้ ชีวาศรม ไม่ว่าจะเป็นการไปฉีดรกแกะ หรือที่ทุกวันนี้เรียกว่า สเต็มเซลลล์ ที่โรมาเนีย การไปเข้าคอร์สสุขภาพต่างๆ ที่สวิสเซอร์แลนด์ บัลกาเรีย อังกฤษ

02


เมื่อมั่นใจว่าการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมจะเป็นเทรนด์สำ�คัญของผู้คนใน อนาคต บุญชูจงึ ตัดสินใจทุบ “บ้านอยูส่ บาย” ซึง่ เป็นบ้านพักตากอากาศบน พื้นที่ 7 ไร่ของครอบครัวที่เขาตะเกียบ อำ�เภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพือ่ เปลีย่ นเป็นรีสอร์ตสุขภาพระดับหรู โดยใช้เวลาในการก่อสร้าง 4 ปี ใช้เงิน ลงทุน 26 ล้านดอลลาร์ มีหอ้ งพักสำ�หรับผูม้ าใช้บริการ 57 ห้อง ก่อนจะเปลีย่ น ห้องพักของบุญชูมาเป็นห้องพักหลังที่ 58 หลังจากเขาเสียชีวติ ในปี 2550 แต่ มีหอ้ งทรีตเมนต์ตา่ งๆ ถึง 72 ห้อง นับเป็นรูปแบบของธุรกิจโรงแรมหรือรีสอร์ต ทีไ่ ม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย รวมถึงยังเป็นรีสอร์ตสุขภาพแห่งแรกในเอเชีย ซึ่งให้บริการ 6 ด้าน คือ สปา ฟิตเนส กายภาพบำ�บัด การดูแลสุขภาพแบบ องค์รวม ความงาม(ชะลอวัย) และอาหารสุขภาพ โดยน้อยคนนักที่จะทราบ ว่ารีสอร์ตสุขภาพแห่งนี้จดทะเบียนเป็นโรงพยาบาล “สาเหตุทเ่ี ราจดทะเบียนเป็นโรงพยาบาลเพราะว่าเรือ่ งสุขภาวะ หรือ Wellness เกีย่ วพันกับเรือ่ งทางการแพทย์ ดังนัน ้ อะไรก็ตามทีเ่ ราส่งมอบ ให้กบ ั ลูกค้าจะต้องถูกต้องและไม่เสีย ่ ง แต่โรงพยาบาลสำ�หรับเราคือ โรงพยาบาลทีร่ ก ั ษาโรคเรือ้ รัง อย่างเช่นให้คนมานอนพักฟืน ้ หลัง การผ่าตัดเพือ่ ฟืน ้ ฟูรา่ งกาย โดยเรามีนก ั กายภาพบำ�บัด (Physiotherapist) ดูแล ส่วนทีเ่ ขาเรียกเราว่าสปาก็ชว่ ยไม่ได้ เพราะพอเห็น ว่าเรามีสปา เขาก็เรียกว่าสปา แต่พอเขาเห็นว่าเรามีมากกว่าสปา ก็ เลยเรียกว่า Destination Spa คือพอมาแล้วจบหมดเลย ทัง้ ออกกำ�ลัง กาย สปา อาหาร การบำ�บัดต่างๆ แม้กระทัง่ ศูนย์ความงาม” กฤป

กล่าวถึงหนึ่งในความแตกต่างทางการตลาด หรือ Differentiation ของชีวา ศรมตั้งแต่เริ่มต้น

การมารับบริการทีช่ วี าศรมจึงแตกต่างจากโรงแรม รีสอร์ต สปา หรือโรง พยาบาลทัว่ ไป เพราะทีน่ ไ่ี ม่รบั ลูกค้า walk in แต่ตอ้ งเข้าพักอย่างน้อยทีส่ ดุ 4 วัน 3 คืน และต้องปฏิบตั ติ ามกฏเกณฑ์ตา่ งๆ เช่น ห้ามใช้อปุ กรณ์อเิ ลคโทรนิค อย่างกล้องถ่ายรูป โทรศัพท์มือถือ โน้ตบุ๊ค ในพื้นที่ส่วนกลางทั้งหมด ใช้ได้ เฉพาะในบริเวณห้องพักส่วนตัวเท่านั้น ด้วยเหตุผลเรื่องความเป็นส่วนตัว ของผู้ที่มาใช้บริการ รวมถึงเพื่อการพักผ่อนและฟื้นฟูสุขภาพอย่างแท้จริง หลังการเช็คอินเข้าพัก แขกจะได้พบกับ Health & Wellness Advisor ซึ่งจะ

03


มีการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการเข้าพัก ความคาดหมาย ทางด้านสุขภาพ สิง่ ทีต่ อ้ งการแก้ไข หรือสิง่ ทีก่ งั วลเป็นพิเศษ เพือ่ ผูเ้ ชีย่ วชาญ จะได้น�ำ ข้อมูลเหล่านีไ้ ปวิเคราะห์และให้ค�ำ แนะนำ�เกีย่ วกับทรีตเมนต์ทค่ี วร ทำ� คลาสกิจกรรมต่างๆ ทีค่ วรเข้าร่วม และอาหารทีค่ วรรับประทานในแต่ละ วัน เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าแต่ละคน ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผล ในการบำ�บัดและการฟื้นฟูสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม “โฟกัสของชีวาศรมอยู่ที่ Wellness ตั้งแต่เริ่มต้น คนที่เข้ามาที่นี่มา เพื่อ Wellness อย่างเดียว ไม่ต้องการอย่างอื่น แขกส่วนใหญ่จึงมา ชีวาศรมเป็น Single Destination คือเข้ามารับบริการเสร็จแล้วก็กลับ บ้านเลย ไม่ไปที่อื่นต่อ” กฤปเล่าถึงพฤติกรรมของลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็น

ชาวต่างประเทศระดับไฮเอนด์จากทั่วทุกมุมโลก

ชีวาศรมไม่ได้แตกต่างจากโรงแรมหรือรีสอร์ตอื่นๆ ในเรื่องของการให้ บริการเท่านั้น แต่ยังแตกต่างในเรื่องของการให้ความสำ�คัญกับความยั่งยืน ของสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะนับตั้งแต่เริ่มต้นชีวาศรมบำ�บัดนํ้าเสียทั้งหมด ที่เกิดขึ้นภายในรีสอร์ต และนำ�นํ้าที่ได้รับการบำ�บัดแล้วกลับมาเติมใน ทะเลสาบเพื่อความงามของทัศนียภาพ และนำ�กลับมาใช้ซํ้าอีกครั้ง ตลอด ระยะเวลา 19 ปีที่เปิดดำ�เนินการงานมาชีวาศรมจึงไม่เคยปล่อยนํ้าเสียออก จากรีสอร์ตแม้แต่หยดเดียว ยกเว้นว่าเป็นนํ้าที่ระเหยออกไปจากทะเลสาบ หรือช่วงที่ฝนตกหนัก ซึ่งอาจจะมีนํ้าฝนบางส่วนไหลออกไปนอกรีสอร์ตบ้าง “คุณบุญชูท่านมองการณ์ไกล เพราะสมัยทำ�บ้านอยู่สบาย ท่านก็มี การทำ�สระบำ�บัดนํ้า พอรื้อบ้านอยู่สบายเปลี่ยนมาทำ�ชีวาศรม ท่าน ก็สั่งให้มีการคำ�นวณว่าในรีสอร์ตจะใช้นํ้ากี่คิวบิคเมตรต่อวันต่อเดือน แล้วก็ให้ขุดทะเลสาบขนาดใหญ่ เพื่อเป็นที่รวมของนํ้าที่ใช้ทั้งหมดใน รีสอร์ตและผ่านการบำ�บัดแล้ว เพื่อนำ�นํ้ามาใช้ประโยชน์ต่างๆ อีก ครั้ง นอกเหนือจากเพื่อความสวยงาม” สุรพล รักกุศล ผูอ้ �ำ นวยการฝ่าย

วิศวกรรม พนักงานคนแรกที่ร่วมงานกับชีวาศรมตั้งแต่ช่วงก่อสร้างเมื่อ 20 ปีก่อน เล่าถึงการให้ความสำ�คัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อมของผู้ก่อตั้งนับจาก วันแรก

04


ชีวาศรมได้รวบรวมนํ้าเสียที่เกิดขึ้นในรีสอร์ตทั้งหมด ทั้งในส่วนของสปา ห้องพัก ครัว และส่วนบริการอื่นๆ ไปรวมกันในบ่อบำ�บัดซึ่งอยู่ด้านล่างของ ทีจ่ อดรถ แล้วทำ�การบำ�บัดด้วยจุลนิ ทรียอ์ เี อ็ม โดยในช่วง 5 ปีแรก เมือ่ บำ�บัด นํ้าในขั้นตอนนี้เสร็จก็จะปล่อยนํ้าลงทะเลสาบเลย แต่ปรากฏว่านํ้ายังมี กลิ่นและสีไม่สวย จึงมีการเพิ่มระบบกรองตะกอนด้วยทรายและคาร์บอน เข้าไป เพื่อทำ�ให้นํ้าใสขึ้นและเป็นการดูดกลิ่น แล้วนำ�นํ้ามาผ่านถังเพื่อเก็บ ตะกอนอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจะนำ�นํ้าไปเทสต์ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง และ ค่าออกซิเจน เมื่อพบว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัยจึงค่อยปล่อยนํ้าลงทะเลสาบ “เพราะเราเลี้ยงปลาคาร์ฟในทะเลสาบด้วย ดังนั้นคุณภาพของนํ้าที่ จะปล่อยลงในทะเลสาบจึงต้องเทียบเท่ากับนํ้าประปา นอกจากนี้เรา ยังมีการส่งตัวอย่างนํ้าเข้ามาตรวจสอบในกรุงเทพฯ ทุกเดือนเพื่อ วิเคราะห์คุณภาพ” สุรพลอธิบาย

ปัจจุบนั นา้ํ ทีบ่ �ำ บัดแล้วและถูกส่งออกไปใส่ทะเลสาบจะถูกนำ�ไปใช้ประโยชน์ อีกครัง้ ทัง้ การรดต้นไม้และสนามหญ้า ล้างพืน้ ถนน ล้างศาลา ล้างรถลีมซู นี และหล่อเลีย้ งระบบทำ�ความเย็นของเครือ่ งปรับอากาศภายในอาคาร แต่นน่ั อาจจะยังไม่เพียงพอ เพราะ กฤป ตัง้ ความหวังไว้วา่ ในอนาคตนา้ํ ทีผ่ า่ นการ บำ�บัดแล้วของชีวาศรมน่าจะนำ�กลับมาเป็นนา้ํ ดืม่ ได้ “เพราะตอนนี้มีเทคโนโลยีที่สามารถทำ�ได้แล้ว แต่เรายังไม่ได้ประเมิน ว่าต้องใช้เงินลงทุนอีกเท่าไร แต่มน ่ั ใจว่าในระยะยาวตรงนีจ้ ะช่วยประหยัด ค่าใช้จา่ ยสำ�คัญอีกตัวของเรา” กฤปกล่าวถึงโครงการทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต

ซึ่งอาจจะยิ่งทำ�ให้เทศบาลหัวหินประหลาดใจมากขึ้นว่าทำ�ไมค่านํ้าประปา ของชีวาศรมจึงน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

05


ตารางที่1 : ค่านํ้าที่ชีวาศรมประหยัดได้ในแต่ละปีจากการใช้นํ้า สองครั้ง (ข้อมูลปี 2556)

ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายนํ้าประปา ค่าใช้จ่ายในการบำ�บัดนํ้าที่ใช้แล้ว ค่าใช้จ่ายของนํ้าที่สูญไปขณะบำ�บัด/ และค่านํ้าที่ระเหยไปขณะอยู่ในทะเลสาบ เม็ดเงินที่ประหยัดได้จากการใช้นํ้าสองครั้ง อัตราส่วนของค่าใช้จ่ายนํ้าประปาต่อ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของชีวาศรม

ต่อปี 950,000 บาท (63,328 คิวบิกเมตร) 47,500 บาท 95,000 บาท 807,500 บาท 0.34%

06


นอกจากการบำ�บัดนํ้าเสียทั้งหมดในรีสอร์ตแล้ว บุญชูยังริเริ่มให้มีการทำ� ฟาร์มออร์แกนิคบนพื้นที่ 2 ไร่ในตำ�บลบ่อฝ้าย ด้วยเงินลงทุนในช่วงเริ่มต้น 6.85 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายในการดูแลอีกประมาณปีละ 4 แสนบาท ทัง้ นีเ้ พือ่ นำ�ผลผลิตทีไ่ ด้ไม่วา่ จะเป็นผัก ผลไม้ และดอกไม้ทป่ี ราศจากสารพิษ มาใช้ภายในรีสอร์ต นอกจากนี้ยังได้นำ�ของเสียภายในรีสอร์ตไปใช้เป็นปุ๋ย ในฟาร์มออร์แกนิคด้วย ไม่ว่าจะเป็นเศษผักหรือเปลือกผลไม้จากในครัว ใบไม้และเศษหญ้าจากการตัดแต่งสวนและสนาม รวมไปถึงตะกอนจากการ บำ�บัดนํ้าเสีย จึงช่วยลดขยะที่จะออกสู่ภายนอกรีสอร์ตอีกวิธีหนึ่ง ขณะที่ ชีวาศรมก็ลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารมาบริการแขกได้ถึงปีละกว่า 2 ล้าน บาท (ดังแสดงในตารางที่ 2) ที่สำ�คัญผักและผลไม้จากฟาร์มออร์แกนิค ของชีวาศรมยังเป็นที่ชื่นชอบของแขกเป็นอย่างมาก “ผลไม้ของเราที่ขึ้นชื่อเป็นพิเศษก็คือแคนตาลูป ซึ่งลูกอาจจะไม่ใหญ่ นัก แต่รสชาติหอมหวานมากๆ เพราะเราเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดีมาปลูก พอติดลูกเราก็จะคัดทิ้งให้เหลือลูกที่สมบูรณ์ที่สุดเพียงเถาละลูก เท่านั้น เพื่อให้สารอาหารไปเลี้ยงอย่างเต็มที่ ฉะนั้นถ้าช่วงไหนที่แคน ตาลูปของเราออกไม่ทัน ต้องใช้ของข้างนอกเสริม แขกจะรู้ทันที” สุร

พล ซึ่งเป็นคนถางหญ้าเพื่อทำ�ฟาร์มออร์แกนิคเมื่อ 20 ปีก่อน เล่าถึงผลลัพธ์ ของงานซึ่งอยู่ในความดูแลของเขาอย่างภาคภูมิใจ

07


ปัจจุบันฟาร์มออร์แกนิคของชีวาศรมปลูกผักและผลไม้ทั้งหมด 50 ชนิด ดอกไม้อีก 32 ชนิด และช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับรีสอร์ตดังนี้ ตารางที่ 2: ผลผลิตจากฟาร์มออร์แกนิคเทียบกับผลผลิตจาก ภายนอก (ข้อมูลในปี 2556)

ดอกไม้ ผลไม้ ผัก คิดเป็นค่าใช้จ่าย/ปี จากฟาร์มออร์แกนิคของชีวาศรม 2,661,720 บาท ซื้อจากภายนอก 6,784,292 บาท รวม 9,446,012 บาท

สัดส่วน 28.18% 71.82% 100.00%

ในส่วนของการคัดแยกขยะเพื่อนำ�กลับไปรีไซเคิลนั้น ก็เป็นนโยบายในการ ดูแลสิ่งแวดล้อมที่บุญชูให้ทำ�ตั้งแต่เริ่มเปิดรีสอร์ตเช่นกัน โดยชีวาศรมจะ ทำ�การรวบรวมและคัดแยกขยะแต่ละประเภทไว้รวมกัน แล้วขายต่อให้ กับคนกลางที่นำ�ไปขายให้กับคนที่รีไซเคิลขยะประเภทต่างๆ อีกทอดหนึ่ง ในส่วนนี้จะเป็นขยะประเภทกระดาษ พลาสติก ขวดแก้ว และอลูมิเนียม ซึ่งปัจจุบันชีวาศรมมีรายได้จากการขายขยะเหล่านี้เดือนละ 2,273 บาท สำ�หรับขยะประเภทอาหารที่แขกรับประทานไม่หมดก็จะขายให้กับฟาร์ม เพื่อนำ�ไปเลี้ยงหมู ตารางที่ 3 : ปริมาณขยะชนิดต่างๆ ที่ชีวาศรมจำ�หน่ายให้กับ คนรับซื้อในแต่ละเดือน

ประเภทขยะ แก้ว พลาสติก ขวดแก้ว อลูมิเนียม รวม

นํ้าหนัก / กิโลกรัม / เดือน 434 94.67 195 4 727.67

สัดส่วน 59.64% 13.01% 26.80% 0.55% 100%

08


ชมรมพิทักษ์หัวหิน เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของหัวหิน บุญชู ไม่ได้ใส่ใจเพียงการดูแลสิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่ชีวาศรมเท่านั้น แต่ ยังให้ความสำ�คัญกับความยั่งยืนของหัวหิน ซึ่งเป็นที่ตั้งของรีสอร์ตด้วย โดย เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเห็นว่าหัวหิน ซึ่งเคยเป็นเมืองพักผ่อนริมทะเลเล็กๆ ได้รับ ผลกระทบจากการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยว ทำ�ให้พื้นที่ในการพัฒนาขยาย ออกไปอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้มีปริมาณขยะและมลภาวะต่างๆ เพิ่มขึ้น การจราจรก็ติดขัด ระบบสาธารณูปโภคที่มีอยู่เดิมโดยเฉพาะในส่วนของ นํ้าประปาไม่สามารถรองรับกับการเติบโตได้ทัน บุญชูจึงจัดตั้งชมรมพิทักษ์ หัวหิน หรือ Preserve Hua Hin ขึ้นในปี 2547 เพื่อจัดกิจกรรมที่กระตุ้น ความสนใจและช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงเพิ่มปฏิสัมพันธ์ทาง สังคมกับชุมชน โดยทางานร่วมกับหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนใน ท้องถิ่น ซึ่งต่อมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้รับ ชมรมพิทักษ์หัวหินไว้ในพระราชูปถัมภ์ “สาเหตุที่คุณบุญชูก่อตั้งกลุ่มพิทักษ์หัวหินก็เพื่อคืนกำ�ไรให้สังคม โดยท่านมองว่าเมื่อเข้ามาทำ�ธุรกิจในเมืองนี้ก็ควรจะคืนกลับให้สังคม ด้วย ท่านชอบสิ่งแวดล้อม ต้นไม้ ก็เลยตั้งชมรมพิทักษ์หัวหินขึ้นมา เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งสุดท้ายก็ไปเข้ากับเรื่อง CSR ตั้งแต่ยังไม่มี ใครรู้จักเรื่องนี้” สุรพลเล่าถึงที่มา

ปัจจุบันกลุ่มพิทักษ์หัวหินมีกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เช่น กิจกรรมวิ่ง พิทักษ์หัวหิน ที่จัดอย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 11 และกิจกรรมคอนเสิร์ต พิทักษ์หัวหิน ซึ่งนอกจากจะจัดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนเกิดจิตสำ�นึกในเรื่อง ของสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเพื่อระดมทุนสำ�หรับมาใช้ในการทำ�กิจกรรมด้านสิ่ง แวดล้อมให้กับเทศบาลหัวหินด้วย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการปลูกป่า และ การจัดอบรมยุวทูตพิทักษ์หัวหิน โดยนำ�เด็กนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล เมืองหัวหิน ซึ่งมีอยู่ 7 โรงเรียน หมุนเวียนกันมาเข้าค่ายปีละ 50 คน เพื่อให้ ความรู้และสร้างจิตสำ�นึกในการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในเรื่องต่างๆ ให้กับเด็กๆ ซึ่งจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ต่อไป

09


นางสาวกนกวรรณ ไข่แก้ว ผูอ้ �ำ นวยการโรงเรียนเทศบาลบ้านบ่อฝ้าย (สังฆประชาอุทศิ ) เล่าว่า เมือ่ ปี 2551 เด็กนักเรียนระดับชัน้ ป.4 และ ป.5 ของโรงเรียนจำ�นวน 50 คน ได้รบั โอกาสให้เข้าร่วมกิจกรรมยุวทูตพิทกั ษ์ หัวหิน ซึง่ ชมรมพิทกั ษ์หวั หินของชีวาศรมจัดขึน้ ทีอ่ ทุ ยานสิง่ แวดล้อมนานาชาติ สิรนิ ธร หลังจากกลับมาเด็กๆ ก็ได้น�ำ ความรูใ้ นเรือ่ งการจัดการสิง่ แวดล้อม ที่ได้รับ ทั้งการดูแลนํ้า ป่าชายเลน และขยะ กลับมานำ�เสนอและปฏิบัติที่ โรงเรียน ทำ�ให้โครงการด้านสิ่งแวดล้อมที่ทำ�อยู่ประสบความสำ�เร็จมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการธนาคารขยะในโรงเรียน ซึ่งเริ่มทำ�มาตั้งแต่ปี 2548 “เห็นได้ชัดว่าเด็กๆ ที่กลับมาจะมีภาวะผู้นำ�และมีองค์ความรู้ใหม่มา นำ�เสนอ มาต่อยอด และมีจิตสำ�นึกที่จะทางานให้กับโรงเรียนและ ชุมชน จึงสามารถทางานแบ่งเบาภาระของครูในการทำ�โครงการสิ่ง แวดล้อมต่างๆ ในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างดี” ผอ.กนกวรรณเล่าถึงสิ่ง

ที่เกิดขึ้น

ความรู้จากเด็กนักเรียนที่ไปเป็นยุวทูตพิทักษ์หัวหินได้ถูกส่งต่อให้กับเด็ก รุ่นต่อๆ ไปในโรงเรียน จนปัจจุบันผู้ที่จัดการเรื่องขยะภายในโรงเรียนเป็น เด็กนักเรียนประมาณ 20 คนในระดับชั้น ป.3 - ป.6 ที่ทางานในลักษณะ ของจิตอาสา โดยมีครูทำ�หน้าที่เป็นพี่เลี้ยงอยู่ห่างๆ แต่มีผลงานน่าประทับ ใจ เพราะโครงการธนาคารขยะของโรงเรียนเทศบาลบ้านบ่อฝ้ายชนะเลิศ ทั้งระดับจังหวัด ระดับภาค 3 ปีติดต่อกัน และได้ลำ�ดับที่ 6 ในการแข่งขัน ระดับประเทศ ขณะที่ปี 2556 ที่ผ่านมาได้ลำ�ดับที่ 17 ในการแข่งขัน Zero Waste School ระดับประเทศ ความสำ�เร็จในการจัดการขยะของโรงเรียนเทศบาลบ้านบ่อฝ้าย ทำ�ให้ กฤป ประธานชมรมพิทักษ์หัวหิน ขอเข้ามาดูการจัดการขยะของโรงเรียน และรับซื้อกำ�ไลซึ่งสานจากห่วงพลาสติกของฝาขวดนํ้าดื่มชนิดขวดแก้วใน ราคาอันละ 10 บาท เพื่อนำ�ไปมอบให้กับแขกที่เข้าพักในชีวาศรม และนำ� ไปจำ�หน่ายให้กับแขกที่มองหาของฝากแฮนด์เมดจากวัสดุรีไซเคิลอีกด้วย

010


นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้โรงเรียนเทศบาลบ้านบ่อฝ้ายได้ไปออกบูท เพื่อ เผยแพร่ผลงานการจัดการขยะภายในโรงเรียนในกิจกรรมวิ่งและคอนเสิร์ต ของชมรมพิทักษ์หัวหินซึ่งจัดขึ้นทุกปี นอกจากจัดการขยะแล้ว โรงเรียนก็ยงั มีโครงการเลีย้ งไส้เดือน การทำ�นํา้ หมัก ชีวภาพ สำ�หรับนำ�มาใช้กับแปลงเกษตรอินทรีย์สาธิต ซึ่งทางชีวาศรมได้ส่ง เจ้าหน้าที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษให้กับโรงเรียน “หรือบางทีก็มีเจ้าหน้าที่ของชีวาศรมมาอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้กับกลุ่มแม่บ้านในชุมชน เราก็ส่งครู และเด็กๆ ไปร่วมอบรมด้วย” ผอ.กนกวรรณเล่าถึงความใส่ใจที่ชีวาศรมมี

ต่อชุมชนและโรงเรียน พร้อมกับตั้งความหวังว่า เด็กนักเรียนอีก 50 คนของ โรงเรียน ที่ได้รับโอกาสให้ไปอบรมเป็นยุวทูตพิทักษ์หัวหินกับชมรมพิทักษ์ หัวหินอีกครั้งในช่วงเดือนกันยายน 2557 นี้ จะนำ�องค์ความรู้ใหม่ๆ มาช่วย ให้ดูแลด้านสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนได้ดียิ่งขึ้น

011


ลดใช้พลังงานในการทำ�นํ้าร้อนด้วยแผงโซลาร์ นอกจากจะใช้นํ้าปริมาณมากแล้ว ชีวาศรมยังใช้พลังงานไฟฟ้าและก๊าซ สำ�หรับสิ่งอำ�นวยความสะดวกในปริมาณมากด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ ทำ�นํ้าร้อนเพื่อให้บริการแขกในลักษณะต่างๆ ทั้งในห้องพัก สปา และสระ ว่ายนํ้า ด้วยเหตุนี้ชีวาศรมจึงมองหาพลังงานทางเลือกมาใช้ทดแทนไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม แม้ว่าเมื่อบวกลบคูณหารแล้วต้นทุนของพลังงานทางเลือก ที่นำ�มาใช้จะสูงกว่าการใช้ไฟฟ้าหรือก๊าซหุงต้มก็ตาม แสดงให้เห็นว่าชีวา ศรมให้นํ้าหนักกับเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างมาก “สมัยก่อนเราต้องจ่ายค่าไฟสูง ซึ่งจากการคำ�นวณก็พบว่าเราต้อง ใช้ไฟไปกับการต้มนํ้าเยอะมาก เพราะว่านํ้าที่ใช้ในรีสอร์ตทั้งหมด ต้องมีอุณหภูมิเท่าร่างกายคือ 37 องศาเซลเซียส เพื่อประโยชน์ใน การบำ�บัด โดยสระนํ้าทั้ง 3 แห่งภายในรีสอร์ตจะเป็นจุดที่ใช้ไฟมาก ที่สุด เพราะต้องเปิดฮีทเตอร์เพื่อรักษาอุณหภูมิของนํ้าให้อยู่ในระดับ ที่กำ�หนดไว้ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีการทำ�นํ้าร้อนในส่วน ของห้องซักรีด ห้องพัก ห้องครัว และการทำ�ทรีตเมนต์ในสปาด้วย ซึ่งส่วนนี้ต้องใช้นํ้าร้อนประมาณ 55 องศา” สุรพลเล่าถึงสาเหตุที่นำ�

ไปสู่การใช้พลังงานทางเลือกของชีวาศรม

หลังจากการศึกษาความเป็นไปได้ก็พบว่าน่าจะนำ�เทคโนโลยีการผลิตนํ้า ร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Water Heater) มาใช้ผลิตนํ้าร้อน ภายในรีสอร์ต เนื่องจากประเทศไทย โดยเฉพาะที่หัวหินมีแสงแดดจัดพอที่ จะเดินเครื่องทำ�นํ้าร้อนได้ตลอดปี จำ�นวนวันที่ต้องใช้ไฟฟ้าในการรักษา อุณหภูมิของนํ้าจึงมีไม่มากนัก โครงการผลิตนํ้าร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ของชีวาศรมจึงเริ่มต้นขึ้นในปี 2548 โดยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เป็นเฟสๆ ก่อนที่จะเสร็จสิ้นในปี 2554 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าดีเอ็นเอด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมและการทำ�ธุรกิจอย่าง ยัง่ ยืน ซึง่ บุญชู เริม่ ไว้ได้ถกู ถ่ายทอดมายัง กฤป ทายาทซึง่ เข้ามาดูแลชีวา ศรมต่อในปี 2550 012


โดยปีแรกเป็นการติดตัง้ โซลาร์เซลล์จ�ำ นวน 66 แผง เพือ่ ใช้กบั สระว่ายนํา้ ในร่ม ทั้ง 3 สระ และก๊อกนํ้าทั้งหมด ซึ่งเป็นส่วนที่กินไฟมหาศาล ทำ�ให้ชีวาศรม ลดค่าไฟลงไปได้ถึง 2 แสนบาทต่อปีจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ และจุด ประกายความคิดที่จะนำ�ระบบการผลิตนํ้าร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์มา ใช้ในส่วนอื่นๆ เพิ่มขึ้น ปีถัดมาชีวาศรมจึงติดแผงโซลาร์เซลล์เพิ่มอีก 48 แผง สำ�หรับทำ�นํ้าร้อนใช้ ในห้องซักรีดและห้องครัว เพื่อลดการใช้แก๊ส หลังจากนั้นก็นำ�มาใช้กับห้อง พักแขกและบริเวณสปาที่อยู่ชั้นใต้ติดอีก 24 แผง เฟสต่อไปเป็นการติดแผง โซลาร์เซลล์จำ�นวน 32 แผง เพื่อใช้กับหอพักพนักงาน ซึ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น 2 ตึก และอาคาร 2 ชั้น 1 ตึก รวมถึงเพื่อใช้ภายในฟาร์มออร์แกนิคขนาด 2 ไร่ที่บ่อฝ้าย เฟสสุดท้ายนำ�มาใช้กับบ้านทรงไทยอีก 17 ห้อง ซึ่งอยู่ด้าน ริมทะเลสาบจำ�นวน 18 แผง ทำ�ให้สามารถใช้ระบบการผลิตนํ้าร้อนด้วย พลังงานแสงอาทิตย์ได้ครบทั้งรีสอร์ต

013


ตารางที่ 4. ค่าใช้จ่ายของระบบการผลิตนํ้าร้อนด้วยพลังงาน แสงอาทิตย์ของชีวาศรมและค่าพลังงานที่คาดว่าจะ ประหยัดได้

เม็ดเงินค่าแผงโซลาร์ และการดูแล

เม็ดเงินจากการลดใช้ พลังงาน / ปี

เม็ดเงินจากการลดใช้ พลังงานตลอดอายุ แผงโซลาร์ (20ปี)

11.8 ล้านบาท

354,000 บาท

7.08 ล้านบาท

แทนที่ขวดนํ้าพลาสติกด้วยกระติกนํ้าสแตนเลส ในฐานะที่เป็นรีสอร์ตสุขภาพซึ่งแขกที่มาใช้บริการต้องทำ�กิจกรรมต่างๆ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการทำ�ทรีตเมนต์ การล้างพิษ และการออกกำ�ลัง กาย ชีวาศรมจึงต้องวางนํ้าดื่มบรรจุขวดพลาสติกสำ�หรับให้แขกนำ�ไปดื่ม ตามที่ต่างๆ ทั่วทั้งรีสอร์ตปีละเป็นจำ�นวนมาก ไบรอัน แอนเดอร์สัน ผู้จัดการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเข้ามาร่วมงาน กับชีวาศรมในปี 2550 เล่าว่า ในปีนั้นชีวาศรมซื้อนํ้าดื่มบรรจุขวดพลาสติก ขนาด 500 มิลลิลิตร เพื่อให้บริการแขกเป็นจำ�นวนทั้งสิ้น 130,000 ขวด คิด เป็นมูลค่าประมาณ 650,000 บาท “เรือ่ งเงินไม่ใช่ปญ ั หา แต่เราเป็นห่วงเรือ่ งคาร์บอนฟุตพรินต์ทเ่ี กิดจาก ขวดนํ้าพลาสติกเหล่านี้ ซึ่งเป็นพลาสติก PET ที่มาจากปิโตรเลียม และต้องใช้พลังงานจำ�นวนมากในการผลิตออกมาเป็นขวด แถม ก่อนการบรรจุนํ้ายังต้องมีการล้างขวดด้วยนํ้าเปล่า ไม่รวมขั้นตอน การแพ็คด้วยพลาสติก การขนส่งจากแหล่งผลิตมายังรีสอร์ต และ ไม่ว่าแขกจะดื่มหมดหรือไม่ เมื่อเขาทิ้ง เราก็ต้องเก็บไปขายเป็นขยะ พลาสติก ปี 2550 เราจึงขายขยะพลาสติกได้สูงถึง 15,000 บาท”

014


ด้วยเหตุนี้ ชีวาศรมจึงตัดสินใจเลิกใช้ขวดนํ้าพลาสติกในรีสอร์ตในปี 2551 หลังจากทำ�การติดตั้งเครื่องกรองนํ้าระบบรีเวิร์สออสโมซิส 4 เครื่องตามจุด ต่างๆ ทั่วทั้งรีสอร์ต พร้อมกับมอบกระติกนํ้าสแตนเลสให้เป็นสมบัติส่วนตัว ของแขกทุกคนที่เข้าพัก สำ�หรับนำ�ไปเติมนํ้าตามจุดต่างๆ ตลอดระยะเวลา ที่อยู่ในรีสอร์ต และสามารถนำ�กลับไปใช้ต่อที่บ้านได้ โดยบนกระติกนํ้า สแตนเลสทุกใบจะมีโลโก้ของชีวาศรม พร้อมด้วยข้อความว่า “Thank you for helping to protect our environment” เพื่อตอกยํ้าว่าชีวาศรมดำ� เนินธุรกิจด้วยความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นแม้ว่าจะต้องใช้เงินในการซื้อ กระติกนํ้าสแตนเลสปีละ 1.2 ล้านบาท สูงกว่าค่านํ้าบรรจุขวดพลาสติก แต่ ชีวาศรมก็มองว่าเป็นการลงทุนทางการตลาดที่คุ้มค่าอย่างมาก ส่วนในห้องพักก็เปลี่ยนมาใช้นํ้าดื่มบรรจุขวดแก้ว ซึ่งสามารถนำ�กลับมา ใช้ซํ้าได้ อย่างไรก็ดี ชีวาศรมไม่สามารถเลิกใช้นํ้าดื่มบรรจุขวดพลาสติก ได้ทั้งหมด แต่จะใช้ในกรณีที่จำ�เป็นเท่านั้น เช่น เมื่อแขกต้องออกไปทำ� กิจกรรมข้างนอก หรือใช้ในบางพื้นที่ที่มีกฎข้อบังคับในเรื่องความปลอดภัย ว่าห้ามใช้แก้ว เช่น บริเวณสระว่ายนํ้า ซึ่งแขกมักจะเดินเท้าเปล่า จึงอาจจะ เกิดอันตรายหากเกิดอุบัติเหตุแก้วแตก ปี 2556 นํ้าดื่มบรรจุขวดพลาสติก ขนาด 500 มิลลิลิตรที่ชีวาศรมใช้จึงเหลือเพียง 4,740 ขวดเท่านั้น เมื่อ เทียบกับ 130,000 ขวดในปี 2550

015


ตารางที่ 5 : ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับนํ้าดื่มของชีวาศรม

ค่าใช้จ่ายในการซื้อนํ้าดื่ม ในปี 2550

นํ้าดื่มบรรจุขวดพลาสติก นํ้าดื่มบรรจุแกลลอนพลาสติกขนาด ขนาด 500 มล. 130,920 ขวด 20 ลิตร สำ�หรับแขกและพนักงาน (611,396.40 บาท) 5,582 แกลลอน (74,704 บาท)

ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยน มาใช้กระติกนํ้า สแตนเลสในปี 2551

ค่าติดตั้งเครื่องกรองนํ้า ระบบรีเวิร์สออสโมซิส 4 จุด 213,122.60 บาท

ค่ากระติกนํ้าสแตนเลสติดโลโก้ ชีวาศรม 1.2 ล้านบาท/ปี

ค่าใช้จ่ายในการซื้อนํ้าดื่ม ในปี 2556

นํ้าดื่มบรรจุขวดพลาสติก ขนาด 500 มล. 4,740 ขวด (22,151 บาท)

นํ้าดื่มบรรจุขวดแก้วขนาด 500 มล. 18,768 ขวด (73,086 บาท)

โครงการปรับปรุงอาคารเพื่อการประหยัด พลังงาน ความใส่ใจในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ทำ�ให้ชีวาศรมเริ่มเป็นพันธมิตรกับ โครงการ Clinton Climate Initiative (CCI) ของมูลนิธิคลินตัน ในปี 2555 เพื่อตรวจสอบว่ารีสอร์ตใช้พลังงาน (ไฟฟ้าและแก๊ส) ไปเพื่อการใดบ้าง ซึ่ง พบว่า 60% ใช้ไปกับเครื่องปรับอากาศ (การทำ�ความเย็นภายในอาคาร) 15% ใช้กับเรื่องแสงสว่าง อีก 25% ที่เหลือใช้กับระบบลิฟต์ ปั๊ม เครื่องจักร และเครื่องครัว สาเหตุสำ�คัญที่ทำ�ให้ระบบการปรับอากาศใช้พลังงานเยอะก็เนื่องจากว่า เป็นระบบการปรับอากาศที่ใช้งานมานานเกือบ 20 ปี และเป็นระบบระบาย

016


ความร้อนด้วยอากาศ (air-cooling chiller) จึงต้องใช้เวลานานในวันที่ อากาศร้อนกว่าทีจ่ ะทำ�ให้อากาศภายในอาคารเย็น ด้วยเหตุนท้ี างทีมวิศวกร ทีป่ รึกษาจึงแนะนำ�ให้ชวี าศรมเปลีย่ นระบบเครือ่ งปรับอากาศใหม่ มาเป็น ระบบการระบายความร้อนด้วยนา้ํ (water-cooling chiller) แทน ซึง่ ส่งผล ให้ชวี าศรมใช้พลังงานกับระบบเครือ่ งปรับอากาศลดลงไปถึง 38% นอกจาก นีช้ วี าศรมยังมีการติดตัง้ ระบบกรองนา้ํ เพือ่ บำ�บัดนา้ํ จากห้องซักรีดมาใช้กบั หอหล่อเย็น (cooling tower) ของระบบเครือ่ งปรับอากาศใหม่ดว้ ย จะเห็น ว่าชีวาศรมไม่เคยพลาดโอกาสทีจ่ ะนำ�นา้ํ เสียกลับมาใช้ประโยชน์อกี ครัง้ เลย นอกจากนี้ชีวาศรมยังลดการใช้พลังงานเพื่อแสงสว่างลง ด้วยการเปลี่ยน หลอดไฟทั้งหมดในรีสอร์ตจำ�นวน 2,614 ดวง จากเดิมที่ใช้หลอดฮาโลเจน ขนาด 50 วัตต์ มาเป็นหลอด LED ขนาด 8 วัตต์ ซึง่ ช่วยลดการใช้พลังงานเพือ่ แสงสว่างได้สงู ถึง 84% การซือ้ หลอดไฟ LED ใหม่จงึ คุม้ ทุนภายใน 1 ปีเท่านัน้ “ทั้งสองโครงการนี้เราใช้เงินลงทุนไปประมาณ 16 ล้านบาท และ ทำ�ให้เราลดการใช้ไฟฟ้าลงไปถึง 26.46% โดยในส่วนของระบบปรับ อากาศใหม่จะใช้เวลาในการคืนทุน 5.04 ปี ส่วนหลอดไฟใหม่จะคืน ทุนภายในเวลา 0.94 ปี ซึ่งผมคิดว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มมากๆ เพราะ ว่าค่าไฟมีแต่จะปรับราคาสูงขึ้นตลอดเวลา แต่เราก็จะไม่หยุดแค่นี้ เพราะเรากำ�ลังมองหาพลังงานทางเลือกที่จะมาใช้กับ chiller ของ ระบบปรับอากาศ เหมือนกับที่เราใช้แผงโซลาร์เซลล์ในการทำ�นํ้าร้อน ทั่วทั้งรีสอร์ต ถ้าทำ�ได้เราจะลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิลได้อีก เรากำ�ลังคิดกันอยู่” กฤปมุ่งมั่นที่จะทำ�ธุรกิจอย่างยั่งยืนต่อไป

017


GMP/HACCP เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร นอกจากความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมแล้ว ชีวาศรมยังลงทุนในการทำ� เรื่อง GMP/HACCP ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยในการผลิตอาหาร ระดับโลกด้วย ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของแขกที่มาพักและพนักงาน โดยชีวาศรมได้ทำ�มาตรฐาน GMP/HACCP มา 4-5 ปี แต่ในปีนี้ได้มีการ ปรับปรุงครัวใหม่ทั้งหมด ทั้งพื้นที่เก็บของ พื้นที่ทำ�อาหาร รวมไปถึงพื้นที่ใน การรับของและจัดเก็บวัตถุดิบสำ�หรับปรุงอาหาร เพื่อให้ได้มาตรฐานตรง ตามที่กำ�หนดไว้ 100% เช่น ต้องไม่เก็บถั่วหรืออัลมอนด์ไว้ใกล้กับไก่ ปลา หรือผลไม้ เพราะมีคนจำ�นวนไม่น้อยที่แพ้ถั่ว รวมถึงต้องเก็บอาหารไว้ใน อุณหภูมิที่เหมาะสม ซึ่งทั้งหมดใช้เงินไปประมาณ 7.56 ล้านบาท “นอกจากนี้เราก็เพิ่งทำ� อย.ด้วย เพราะเรามีการผลิตอาหารบาง อย่างเพื่อจำ�หน่ายในบูติกของรีสอร์ต อย่างเช่น แยม ถั่ว นํ้ามัน ก็ เลยขอ อย.เพิ่มในส่วนนี้” สุรพลกล่าว

018


ยังก้าวต่อไปไม่หยุด ชีวาศรมไม่เคยหยุดนิ่งในการมองหาวิธีที่จะช่วยโลกดูแลสิ่งแวดล้อมให้ ยั่งยืน เพราะนอกจากสิ่งที่ได้ทำ�ไปแล้ว ชีวาศรมยังมีโครงการเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืนที่จะทำ�ให้เกิดขึ้นต่อไปในอนาคตอันใกล้ ไม่ว่าจะเป็น โครงการเปลี่ยนไปใช้ซองพลาสติกชีวภาพสำ�หรับบรรจุวิตามินและอาหาร เสริม ซึ่งแขกที่มาใช้บริการจะต้องรับประทานตามความเหมาะสมของ แต่ละคน โดยชีวาศรมจะจัดวิตามินและอาหารเสริมที่ต้องรับประทานใน แต่ละมื้อไว้ในซองพลาสติกที่ปิดผนึก เพื่อความสะอาดและความสะดวก ในการรับประทาน ทั้งในขณะที่อยู่ที่รีสอร์ตและเมื่อเดินทางกลับบ้านไป แล้ว ซึ่งหากเปลี่ยนมาใช้ซองพลาสติกชีวภาพได้ก็จะช่วยลดปริมาณขยะ พลาสติกที่ไม่ย่อยสลายให้กับโลกอีกทางหนึ่ง อีกโครงการที่อยู่ระหว่างการดำ�เนินการก็คือ อาคารสีเขียว มาตรฐาน LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ซึ่งเป็น ระบบการให้คะแนนเพื่อประเมินระดับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการดำ�เนินโครงการ MEPSEC (Mangrove Ecosystem Preservation and Science Education Center) ซึ่งจะเป็นศูนย์ การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และการรักษาระบบนิเวศป่าชายเลน บน พื้นที่ปา่ ชายเลนผืนสุดท้ายของหัวหิน ซึง่ ตัง้ อยูใ่ นวัดเขาไกรลาศ ชุมชนเขา ตะเกียบ ไม่ไกลจากที่ตั้งของชีวาศรมนัก โดยได้รับความร่วมมือจากนัก วิทยาศาสตร์และนักวิชาการของมหาวิทยาลัยศิลปากร คือคณะสัตวแพทย์ ศาสตร์ได้เข้ามาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืช และสัตว์ที่อยู่ในพื้นที่ เพื่อจะได้ดำ�เนินการฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่โครงการ อย่างเหมาะสม ขณะที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ก็จะช่วยออกแบบอาคาร ศูนย์การเรียนรู้และทางเดินศึกษาธรรมชาติให้มีความเหมาะสม และ สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างความยั่งยืน ซึ่ง กฤป ตั้งเป้าหมายว่าเมื่อสร้าง เสร็จและเปิดให้เข้าชมในปี 2558 โครงการนี้จะเป็นโชว์เคสที่แสดงให้เห็น

019


ถึงการให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชีวาศรม โดยจะเป็น พื้นที่ให้เด็กๆ และผู้สนใจทั่วไปได้เข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลและอนุรักษ์ ระบบนิเวศของป่าชายเลน เพื่อสร้างจิตสำ�นึกด้านสิ่งแวดล้อม ขณะที่ชุมชนเขาตะเกียบ ซึ่งได้รับทราบข่าวการทำ�โครงการ MEPSEC ของ ชีวาศรมมาพักใหญ่แล้ว ก็เฝ้ารอให้โครงการนี้สำ�เร็จ เพราะมองว่านอกจาก จะเป็นโครงการที่ช่วยดูแลด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชนแล้ว ยังจะทำ�ให้มีคน รู้จักหมู่บ้านเขาตะเกียบ และมีคนเดินทางมาเที่ยวมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ชาว บ้านมีรายได้จากการให้บริการในด้านต่างๆ “คุณกฤปบอกว่าโครงการนี้จะช่วยบำ�บัดนํ้าเสียด้วย ซึ่งก็น่าจะดี มาก เพราะเป็นเรื่องที่ผมเป็นห่วง เนื่องจากบริเวณนี้มีการปล่อยนํ้า ทิ้งจากครัวเรือนลงสู่ป่าโกงกางโดยตรง ดังนั้นนอกจากจะส่งผลดี กับการท่องเที่ยวในชุมชนแล้ว ก็จะช่วยแก้ปัญหานํ้าเสียจากครัวเรือน ด้วย” พิษณุ กล้าขาย สมาชิกสภาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นประธาน

ชุมชนเขาตะเกียบ 2 สมัยให้ข้อมูล

020


ผลกำ�ไร 4 มิติ เพื่อการเติบโตอย่างสมดุล “ต้องบอกว่าการทำ�ธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้วยการทำ� Sustainability Project ต่างๆ อย่างต่อเนื่องมาตลอดนั้นเป็นเรื่องที่อยู่ใน DNA ของชีวาศรม เราไม่ได้ทำ�เรื่องพวกนี้เป็นโครงการพิเศษ ไม่ใช่เป็น โครงการ CSR อย่างที่องค์กรทั่วๆ ไปทำ� แต่เราทำ�เพราะคำ�นึงถึง เรื่องผลกำ�ไร 4 มิติ หรือ Quadruple Bottom Line เพื่อให้เราเติบโต อย่างมีสมดุล” กฤปสรุปถึงแรงขับเคลื่อนที่ทำ�ให้ชีวาศรม รีสอร์ตสุขภาพ

ซึ่งมีห้องพักเพียง 58 ห้อง และไม่ได้เป็นเชน ทำ�เรื่อง Sustainability Project ด้วยความทุม่ เท โดยมีทมี งาน 3 คนคอยดูแลเรือ่ งเหล่านีโ้ ดยเฉพาะ เป็นวิศวกรเคมี 2 คน และอีกคนเรียนจบปริญญาเอกด้านสิ่งแวดล้อม สาเหตุที่การดูแลสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กรเป็นผลกำ�ไร มิติแรกที่ชีวาศรมให้ความสำ�คัญ ก็เนื่องมาจากความตระหนักว่า รีสอร์ต สุขภาพเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมบริการที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มากมายมหาศาล ผู้ลงทุนจึงควรลดผลกระทบต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด กฤป บอกว่าไม่ได้มีการตั้งงบประมาณไว้แน่นอนว่าจะใช้เงินลงทุนเพื่อทำ�เรื่อง เหล่านี้ปีละเท่าไร ขึ้นอยู่กับทางฝ่ายพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเสนอมา และจุด ตัดสินใจว่าทำ�หรือไม่ทำ�ก็จะอยู่ที่ผลลัพธ์ในการลดใช้ทรัพยากร ไม่ว่าจะ เป็นพลังงานหรือนํ้าของแต่ละโครงการ “แต่ที่แน่ๆ ก็คือ เราตั้งค่าใช้จ่ายในการดูแลเรื่อง Sustainability ของ ห้องพักแต่ละห้องไว้ 2,500 ดอลลาร์ต่อปี ซึ่งเรามีห้องพักอยู่ 58 ห้องก็จะเป็นงบประมาณปีละ 4.6 ล้านบาท อันนี้เป็นการดูแลปกติ อย่างการบำ�บัดนํ้าเสีย การเปลี่ยนจากขวดนํ้าพลาสติกมาใช้กระติก นํ้าสแตนเลส ไม่ได้รวมโพรเจ็คพิเศษอย่างการเปลี่ยนระบบเครื่อง ปรับอากาศ การเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED ทั้งรีสอร์ตอย่างที่ทำ�ไป เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งอันนั้นเราจ่ายไปอีก 16 ล้านบาทต่างหาก”

021


ชีวาศรมได้มีการนำ�เสนอโครงการดูแลสิ่งแวดล้อมต่างๆ ให้แขกที่มาพักได้ รับทราบผ่านทางช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางเว็บไซต์ โบร์ชัวร์ ตัวแทน ในต่างประเทศ รวมถึงให้แขกที่มาใช้บริการได้เป็นส่วนหนึ่งของการดูแล สิ่งแวดล้อมภายในรีสอร์ตด้วย เช่น นโยบายการเปลี่ยนผ้าปูที่นอนในห้อง พัก 3 วัน/ครั้ง โดยให้แขกนำ�ตุ๊กตาช้างมาวางไว้บนเตียง หากไม่ต้องการให้ เปลี่ยนผ้าปูที่นอน ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี รวมถึงกำ�ลังออกแบบมาตรฐานการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมของชีวาศรม เพื่อ แบ่งปันให้กับโรงแรมอื่นๆ ในละแวกหัวหินที่สนใจจะทำ�เรื่องสิ่งแวดล้อม “เรามองว่า Environmental Wellness ต้องคู่กับ Personal Wellness เพราะการใช้ชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีย่อมส่งผลดีกับสุขภาพอย่าง แน่นอน” กฤปตอกยํ้า

ผลกำ�ไรมิติที่สองที่ชีวาศรมให้ความสำ�คัญคือการคืนกลับให้กับสังคมรอบ ข้าง ซึ่งมีส่วนสำ�คัญไม่น้อยที่ทำ�ให้ธุรกิจประสบความสำ�เร็จ แต่อาจจะได้ รับผลกระทบจากการดำ�เนินธุรกิจของบริษัท “เราถือว่าความสำ�เร็จส่วนหนึ่งของชีวาศรมก็มาจากการที่เราตั้งอยู่ ในพื้นที่หัวหิน ซึ่งมีทัศนียภาพงดงาม พนักงานจำ�นวนไม่น้อย น่า จะประมาณ 70% ที่มาให้บริการแขกของเราก็เป็นคนในพื้นที่ เมื่อเขา ทางานได้ดี สร้างชื่อเสียงให้กับรีสอร์ต ทำ�ให้ธุรกิจของเราได้รับผล ตอบแทนที่ดี เราก็ต้องให้คืนกับท้องที่ สำ�หรับผมเหมือนเป็นหนี้ที่ ต้องชดใช้กันเลยทีเดียว”

ด้วยเหตุนี้ชีวาศรมจึงมีการทำ�กิจกรรมกับคนในพื้นที่หัวหินมากมายภายใต้ ชื่อชมรมพิทักษ์หัวหิน ทั้งกิจกรรมวิ่งและคอนเสิร์ตดังที่กล่าวถึงไปแล้ว หรือ การออกไปให้ความรู้กับคนในชุมชนในเรื่องคุณค่าทางอาหาร เรื่องการออก กำ�ลังกาย เรื่องการรักษาสุขภาพอนามัย “นี่ก็กำ�ลังมีการปลูกป่าที่เชิงเขาไกรลาศซึ่งเราเรียกว่าโครงการ MEPSEC อีกแล้ว ตอนแรกอาจจะมีคนสงสัยว่าทำ�ไมเราต้องทำ� แต่

022


ตอนนี้คนเข้าใจแล้วว่าเพราะหัวหินควรมีพื้นที่สีเขียวที่มีระบบนิเวศ สมบูรณ์เป็นของตัวเอง เพื่อให้เด็กๆ หรือคนที่สนใจได้เข้าไปชม ไป ศึกษา ไม่ใช่กลายเป็นโรงแรม ศูนย์การค้าหรือธีมพาร์คไปหมด”

ถ้าถามว่าชีวาศรมได้อะไรขึ้นมาจากการดูแลสิ่งแวดล้อมในรีสอร์ตและการ ทำ�สิ่งต่างๆ ให้กับชุมชน กฤปอธิบายว่า สิ่งที่ได้เรื่องแรกคือชุมชนเข้าใจหรือ ยอมรับว่าชีวาศรมไม่ได้มุ่งหวังแต่การหากำ�ไรหรือผลประโยชน์ แต่มีการ แบ่งปันให้กับชุมชนตลอดเวลา ขณะที่คนที่เป็นลูกค้าหรือคนที่ชีวาศรมมอง ว่าเป็นลูกค้าเป้าหมายก็มองเห็นสิ่งเหล่านี้อยู่ในแบรนด์ชีวาศรม และเป็น องค์ประกอบสำ�คัญที่ทำ�ให้เขากลับมาใช้บริการชีวาศรมซํ้าแล้วซํ้าอีก ทำ�ให้ ปัจจุบันอัตราการกลับมาใช้บริการซํ้า (Repeated Customer) ของชีวาศรม อยู่ที่ 50% ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่สูงมากสำ�หรับธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ต “ถ้าเขาคิดว่าเราไม่สนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมและชุมชน ธุรกิจเราคงจะ ไม่ดีเท่านี้ และความเลื่อมใสในแบรนด์ชีวาศรมก็จะมีไม่มากเท่านี้ ดัง นั้นเรื่อง Sustainability เรื่องชุมชนจึงมีความเกี่ยวพันกันตลอดเวลา กับผลประโยชน์ทางธุรกิจของเรา เพราะถ้าเขาไม่กลับมา เราก็ไม่มี รายได้ ไม่มีรายได้ก็ไม่มีกำ�ไร แล้วถ้าเราไม่ส่งกำ�ไรกลับไปในท้องที่ โอกาสที่เขาจะกลับมาใหม่ก็น้อยลงไป เรามองว่าสิ่งเหล่านี้เดินควบคู่ กันไป เราจึงทำ�ธุรกิจโดยปราศจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้”

แม้ว่าจะวัดออกมาเป็นตัวเลขไม่ได้ว่าการดูแลชุมชนของชีวาศรมทำ�ให้มี คนมาใช้บริการที่ชีวาศรมสูงขนาดไหน แต่การตอบรับจากลูกค้าบางคนก็ ทำ�ให้ชีวาศรมทราบว่าลูกค้าเห็นชอบกับสิ่งที่รีสอร์ตทำ� “ตัวอย่างชัดๆ ก็คือ มีแขกบางคนที่อยากขี่จักรยานเล่น เทรนเนอร์ ก็พาขึ้นไปบนเขาหินเหล็กไฟ แล้วก็เล่าให้ฟังว่า ทุกๆ ปีชีวาศรมจะมา จัดงานวิ่งและคอนเสิร์ตบนนี้ เพื่อหาทุนมาสนับสนุนเรื่องการดูแล สิ่งแวดล้อมของเทศบาล ปรากฏว่าตอนเช็คเอาท์เขาบริจาคเงินให้กับ กิจกรรมเหล่านี้ บางคนบริจาคเป็นแสนบาท โดยเจาะจงเลยว่ามอบ ให้กับกิจกรรมพิทักษ์หัวหินของเรา” กฤปยกตัวอย่าง

023


การส่งมอบที่แตกต่าง ความแตกต่างของชีวาศรม มิติที่สามที่ชีวาศรมให้ความสำ�คัญคือเรื่องการส่งมอบ Personal Wellness ให้กับทั้งพนักงาน ผู้บริหาร นอกเหนือจากลูกค้าที่มาใช้บริการ เพราะ กฤป มองว่าหากพนักงานและผู้บริหารมีสุขภาพไม่ดี ก็จะไม่สามารถทางานและ ให้บริการกับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพได้ ชีวาศรมจึงให้ความสำ�คัญกับ เรื่องสุขภาวะที่ดีของคนในองค์กรด้วย ทั้งในเรื่องของการให้สวัสดิการกับ พนักงานและครอบครัว เช่น การตรวจสุขภาพ การรักษาพยาบาล การให้ ทุนการศึกษากับบุตร รวมไปถึงกิจกรรมสันทนาการ เช่น การแข่งกีฬา งาน ปีใหม่ วันเด็ก หรือให้งบในการไปทำ�กิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ใน ชุมชน เช่น ทาสีให้โรงเรียน ปลูกป่า รวมถึงการสร้าง Career Path หรือเส้น ทางความก้าวหน้าในสายอาชีพให้กับพนักงาน เพื่อรักษาพนักงานให้อยู่กับ บริษัทตลอดไป ซึ่งกฤปบอกว่าปัจจุบัน Employee Retention ของชีวาศรม อาจจะสูงถึง 90% “อย่างตอนมีปาร์ตี้ของพนักงาน ผมต้องแจกเข็มให้กับคนที่ทางาน มาครบ 5 ปี 10 ปี 15 ปี เป็นสิบๆ คนทุกปี ทีเ่ กิน 20 ปี ก็มี คือชีวาศรม เปิดมา 19 ปี แต่คนพวกนี้อยู่มาก่อนที่เราจะเปิดบริการ”

หนึ่งในนั้นคือ สุรพล รักกุศล ผู้อำ�นวยการฝ่ายวิศวกรรม พนักงานคนแรก ของชีวาศรม ซึ่งมาเริ่มงานตั้งแต่ในช่วงกำ�ลังก่อสร้าง พร้อมๆ กับช่างอีก 2 คน คนสวน 1 คน และแม่บ้าน 1 คน “ทุกคนอยู่ที่นี่เหมือนอยู่บ้าน ส่วนใหญ่จึงอยู่กันนานๆ ไล่ออกก็ไม่มี ใครออก อย่างผมจริงๆ ก็ต้องเกษียณไป 3 ปีแล้ว เพราะที่ชีวาศรม เกษียณอายุตอน 55 ปี ผม 58 แล้ว แต่ก็อยู่ที่ดุลพินิจของนายจ้าง หากมองว่าคนไหนยังทางานต่อได้ ก็มักให้ทำ�ต่อ โดยบางคนอาจจะ จ้างต่อแบบรายวัน รายเดือน หรือจ้างแบบพนักงานประจำ� ส่วนผม

024


คุณกฤปบอกว่าเป็นคนของพ่อ เขาไม่ให้ออก ให้อยู่ด้วยกันตลอด ชีวิต” สุรพลเล่าพร้อมเสียงหัวเราะ และบอกว่าไม่ต้องแปลกใจหากได้ยิน

คนภายนอกเรียกเขาว่า สุรพล ชีวาศรม

สำ�หรับการส่งมอบ Personal Wellness ให้กับลูกค้า ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ ทำ�ให้ชีวาศรมได้รับการยอมรับว่าเป็นรีสอร์ตสุขภาพระดับโลก และได้รับ การจัดอันดับว่าเป็นสุดยอด Destination Spa จากหลากหลายองค์กรใน แต่ละปี กฤปอธิบายที่มาของความสำ�เร็จส่วนนี้ว่า เกิดจากองค์ความรู้และ ความชำ�นาญในด้านต่างๆ ซึ่งทำ�ให้ชีวาศรมสามารถส่งมอบ Wellness ให้กับลูกค้าได้ตามที่พวกเขาคาดหมาย ทั้งในส่วนที่เป็นวิชาความรู้และ เทคโนโลยีในการดูแลสุขภาพที่ทันสมัย ซึ่งนำ�มาจากต่างประเทศ และองค์ ความรู้จากภูมิปัญญาตะวันออก “แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่ทำ�ให้ชีวาศรมแตกต่างจากที่อื่นๆ คือการส่งมอบ นั่นคือการส่งมอบที่ทำ�ให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับความใส่ใจ และคนที่ส่ง มอบให้ความสำ�คัญกับสุขภาวะของเขาจริงๆ ไม่ใช่แค่การส่งมอบ แบบมืออาชีพ หรือส่งมอบตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งถ้าเขามีความรู้สึก แบบนั้น ธุรกิจของเราจะไม่มีความแน่นอนเลย แต่ถ้าเขาประทับใจใคร สักคนเป็นพิเศษ ซึ่งอาจจะเป็น Therapist คนที่เสิร์ฟอาหารให้ คน ที่ดูแลเวลาเช็คอินเช็คเอาท์ หรือเทรนเนอร์ สนิทสนมขนาดจำ�ชื่อกัน ได้เลย ตรงนี้ต่างหากที่จะเป็นจุดกระตุ้นว่าระหว่างชีวาศรมกับที่อื่นๆ อีกหลายที่ที่มีบริการไล่เลี่ยกัน เขาจะตัดสินใจไปที่ไหน เพราะความ พึงพอใจส่วนตัวมันมีพลังในตัว ซึ่งที่ชีวาศรมเราส่งมอบสิ่งนี้ให้กับ ลูกค้ามาตลอด”

เพื่อให้เห็นภาพ กฤป ยกตัวอย่างลูกค้าคนหนึ่งซึ่งมาจากตะวันออกกลาง วันที่มาถึงเขามีนํ้าหนัก 130 กิโลกรัม แม้ว่าจะสูงกว่า 185 เซ็นติเมตร รูป ร่างที่ใหญ่โตทำ�ให้เขาเริ่มมีสัญญาณการเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น เบาหวาน เขาเดินทางมาที่ชีวาศรมพร้อมกับเป้าหมายว่า ถ้าลดนํ้าหนักลงได้ 50 กิโลกรัมจะซื้อรถเฟอร์รารี่เป็นของขวัญให้ตัวเอง หลังจากที่ไปมาหลายที่ แล้วไม่สำ�เร็จ ซึ่งสำ�หรับเคสนี้ทีม Wellness ของชีวาศรมต้องเข้ามาช่วยกัน

025


ดูแล เพราะต้องดูทั้งในเรื่องของอาหาร การออกกำ�ลังกาย และการทำ�ทรีต เมนต์ต่างๆ “คนแรกที่ต้องพบกับเขาคือ Health and Wellness Advisor ซึ่ง ต้องนั่งวางแผนร่วมกันว่าต้องทำ�อะไรบ้าง ซึ่งคนนี้เขาต้องมีความ ผูกพันด้วยอยู่แล้ว คนต่อไปก็คือคนที่มาช่วยออกกำ�ลังกาย ซึ่งก็มี พนักงานของเราอยู่คนที่แขกติดใจ ก็มาเป็นเทรนเนอร์ให้เขา จับเขา วิ่งบ้าง อะไรบ้าง ผมจำ�ได้ว่าช่วงแรกเขาวิ่งจากยิมไปที่ฟรอนท์ออฟ ฟิส เป็นระยะทาง 150 เมตร เขาหอบแบบไม่ไหวแล้ว แต่เทรนเนอร์ ของเราก็ทั้งเต้น เล่น กระตุ้นให้เขาวิ่งไปเรื่อยๆ ด้วยความยิ้มแย้ม แจ่มใส คือที่ชีวาศรมเราจะไม่ซีเรียส ไม่ใช่มาแบบเข้าแคมป์ เคี่ยวเข็ญ คือถ้าคุณยังทำ�ไม่ได้ไม่เป็นไร เราทำ�ให้มันเป็นเรื่องสนุก แต่ไม่หยุด”

ผลสุดท้าย ชายผู้นี้พักอยู่ที่ชีวาศรมเป็นเวลา 9 เดือน พร้อมกับนํ้าหนักที่ลด ลงไปได้ 50 กิโลกรัมตามเป้าหมาย และกลับมาที่ชีวาศรมอีกครั้งแล้วครั้ง เล่า แม้ว่าสุดท้ายเขาจะสามารถเปลี่ยนไลฟ์สไตล์จนรักษาสุขภาพที่ดีได้ ด้วยตัวเองแล้วก็ตาม นอกจากความแตกต่างในเรื่องการส่งมอบแล้ว อีกสิ่งที่ชีวาศรมพยายามนำ� เสนอให้กับลูกค้าควบคู่กันไปคือบริการใหม่ๆ ทั้งในแง่ของเทคโนโลยีลํ้ายุค ที่จะช่วยดึงให้ลูกค้าอยากมาลองใช้บริการ รวมถึงการเพิ่มบริการใหม่ๆ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ากลุ่มอื่นๆ มากขึ้น อย่างเช่นการเพิ่มการ บริการเพื่อดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ต้องมีการฟื้นฟูสุขภาพ อันเนื่องมา จากปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น คนที่เคยเป็นเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งได้รับ การรักษาจากแพทย์จนพ้นขีดอันตราย และไม่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของ แพทย์แล้ว แต่ต้องมีการฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้กลับมาใช้ชีวิตแบบปกติได้ รวม ถึงการปรับวิถีชีวิตในเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำ�ลังกาย การ ลดนํ้าหนัก การพักผ่อน เพื่อให้มีสุขภาวะที่ดีต่อไป “ซึ่งในส่วนนี้ต้องดูแลด้วยศาสตร์ด้านกายภาพบำ�บัดมากๆ และอาจ จะต้องมีแพทย์ช่วยเหลือในบางกรณี เผื่อว่าเกิดมีปัญหาอะไรบาง

026


อย่าง อันนี้เป็นการดูแลคนที่มีการเจ็บป่วยแบบกึ่งเฉียบพลัน หรือที่ ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า sub-acute ที่เราขยายออกมา”

อีกจุดที่ชีวาศรมก้าวไปข้างหน้าตลอดเวลาคือเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งเพื่อการ ออกกำ�ลังกาย การดูแลสุขภาพ และการดูแลผิวหนังทั้งเพื่อความงามของ ผิวพรรณ และการลดเซลลูไลท์ ลดนํ้าหนัก ลดไขมัน เพื่อทำ�ให้ฟิตเนสและ นิรันดร์ลดาเมดิสปา ซึ่งเป็นส่วนที่ให้การดูแลผิวพรรณ พร้อมรับมือกับ ความต้องการสารพัดรูปแบบของลูกค้าอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีการปรับในเรื่องรสชาติของอาหารที่ให้บริการกับลูกค้า ภายในรีสอร์ต ให้มีรสชาติใกล้เคียงกับร้านอาหารชั้นเลิศ อย่างร้านอาหาร ที่ได้รับมิชลินสตาร์ เพื่อลบภาพลักษณ์ที่คนมักมองว่าอาหารสปาเน้นแต่ เรื่องคุณค่าโดยไม่สนใจรสชาติให้หมดไป รวมถึงยังมีอาหารหลากหลายให้ ลูกค้าได้เลือกรับประทานได้อย่างเต็มที่ แม้กระทั่งดาร์คช็อคโกแลต หรือชีส แต่แนะนำ�ให้รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงเลือกชีสที่ผลิตใน พื้นที่ประจวบคีรีขันธ์มาให้บริการ เพื่อลดคาร์บอนฟุตพรินต์จากการขนส่ง “ผมเคยพาเชฟของผมไปปรุงอาหารประชันกับเชฟระดับท็อปของ Waterside Inn ซึง่ เป็นร้านอาหารชือ่ ดังในอังกฤษ เพราะ Michel Roux เจ้าของเป็นเชฟระดับมิชลิน 3 ดาวคนเดียวที่อยู่นอกฝรั่งเศส และ สามารถคง 3 ดาวมาได้กว่า 25 ปี โดยให้เชฟของเรากับเชฟของเขา ทำ�อาหารคนละ 3 คอร์ส แล้วทั้งเราและเขาก็เชิญลูกค้าของตัวเองมา ชิมเพือ่ ฟังเสียงตอบรับ ปรากฏว่าลูกค้าของเขาซึง่ ไม่เคยมาชีวาศรม ก็ประหลาดใจว่าอาหารสปาของเรามีรสชาติอร่อยแตกต่างจากอาหาร สปาที่อื่นที่เขาเคยไปใช้บริการ จึงตัดสินใจมาใช้บริการที่รีสอร์ตของ เรา ส่วนลูกค้าของเราก็ประทับใจในรสชาติอาหารของเขา ก็จองที่นั่ง เพื่อกลับไปรับประทานเหมือนกัน เป็นกลยุทธ์ที่ วิน วิน ของทั้งสอง ฝ่าย” กฤปอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อขยายมิติการให้บริการ ซึ่งทำ�ให้ธรุ กิจของ

ชีวาศรมรักษาความเป็นรีสอร์ตสุขภาพระดับโลกได้ตลอดเวลา

027


ทำ�ธุรกิจอย่างยั่งยืนและมีกำ�ไร ผลกำ�ไรมิติที่สี่ก็เป็นเรื่องของ Business Sustainability ซึ่งตัววัดความ ยั่งยืนในเรื่องนี้ที่ดีที่สุดก็คือผลประกอบการที่ดีและมีกำ�ไร ปัจจุบันลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่สุดของชีวาศรมมาจากยุโรป (โดยเฉพาะจาก อังกฤษ เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์) และออสเตรเลีย ตามมาด้วยกลุ่ม ตะวันออกกลาง และเอเชีย ขณะที่ตลาดที่กำ�ลังมาแรงก็คือรัสเซียและ อินเดีย โดยลูกค้าจากต่างประเทศมีสัดส่วนสูงถึงกว่า 90% ขณะที่ลูกค้าคน ไทยก็ค่อยๆ เขยิบจากเดิมที่มีประมาณ 5% เป็นเกือบ 10% สำ�หรับระยะ เวลาที่ลูกค้าส่วนใหญ่เข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ 7 คืน ขณะที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ย ทั้งปีและอัตราการเติบโตของกำ�ไรสุทธิก่อนหักภาษีของชีวาศรมในช่วง 10 ปีหลังอยู่ที่ 70% และ 9.79% ตามลำ�ดับ “ผมว่าการใช้นโยบายด้านความยั่งยืนส่งผลบวกให้กับธุรกิจอย่าง แน่นอน เพียงแต่ว่าเราต้องมองการทำ�ธุรกิจในอีกมิติหนึ่ง คือมอง การเจริญเติบโตทางธุรกิจที่มีความสมดุล หรือการเติบโตทางธุรกิจ ของเราต้องควบคู่ไปกับการมีจิตสำ�นึกการเติบโตทางด้านอื่นด้วย ไม่ใช่แค่เรื่องการเงิน ไม่ใช่มุ่งเน้นว่าต้องมีกำ�ไรเป็นหลักอย่างเดียว ซึ่งของชีวาศรมก็แน่นอนว่าเรามุ่งเน้นว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ต้องมีความพอใจกับการทำ�ธุรกิจของเรา ซึ่งอันนี้เป็นการขับเคลื่อน ทุกอย่างที่เราทำ�มาโดยตลอด”

อย่างไรก็ดี ชีวาศรมก็มีความท้าทายที่ต้องรับมือในการทำ�ธุรกิจ เพราะ ความต้องการของผู้ใช้บริการในธุรกิจ Wellness ไม่มีสิ้นสุด ทำ�ให้ต้องมีการ หาความรูใ้ หม่ๆ ให้กบั บุคลากรอยูต่ ลอดเวลา ประกอบกับการท่องเทีย่ วแบบ Wellness เป็นตลาดทีม่ ขี นาดใหญ่และมีการเติบโตสูงกว่าการท่องเทีย่ ว เชิงการแพทย์ หรือ Medical Tourism โดย Stanford Research Institute เปิดเผยว่า ในปี 2555 มูลค่าของ Wellness Industry ทั่วโลกมีมูลค่ากว่า แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่ Medical Tourism มีมูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์

028


ทำ�ให้คนในอุตสาหกรรม Wellness เป็นที่ต้องการของตลาด “เมื่อมีคนอยากเข้ามาเยอะขึ้น การแข่งขันก็ต้องสูงขึ้นแน่นอน และ ต้องมีการแย่งตัวบุคลากร ซึ่งอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่านายจ้างคนไหน จะสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้มากที่สุด การพัฒนาและ รักษาบุคลากรก็เป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของเรา”

ยังไม่รวมเรื่องท้าทายอีกอย่างที่ชีวาศรมเผชิญมาตลอด นั่นคือการขยาย สาขา ให้มีมากกว่าชีวาศรมหัวหิน ซึ่งชีวาศรมมองทั้งในเรื่องการลงทุน ขยายสาขาเอง และการเข้าไปรับจ้างบริหาร โดยในส่วนของการขยายสาขาเองนั้น บุญชู เคยมีแผนที่จะเปิดชีวาศรม แห่งที่ 2 ที่เขาค้อเมื่อ 13 ปีที่แล้ว โดยมีการลงทุนปลูกต้นไม้ และทำ�บ้าน พักตัวอย่างไว้แล้ว 3 หลัง แต่โครงการถูกชะลอไปหลังจากที่เขาเสียชีวิต และสุดท้ายผู้ถือหุ้นได้มีมติยุติโครงการไว้ก่อน เนื่องจากเห็นว่าอาจจะไม่ คุ้มค่ากับการลงทุน สำ�หรับการขยายกิจการด้วยการเข้าไปรับจ้างบริหารภายใต้แบรนด์ชีวา ศรมนั้น โครงการแรกน่าจะเกิดขึ้นที่ประเทศภูฏานในปี 2560 บนพื้นที่ 62 ไร่ ในจังหวัดภูนากะ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองหลวงประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่งทาง รถยนต์ หรือครึ่งชั่วโมงทางเฮลิคอปเตอร์ โดยในระยะแรกจะมีห้องพัก 25 ห้อง และมีบริการครบทั้ง 6 องค์ประกอบเช่นเดียวกับที่ชีวาศรม หัวหิน คือ สปา ฟิตเนส กายภาพบำ�บัด การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ความงาม (ชะลอวัย) และอาหารสุขภาพ ซึ่งนอกจากภูฏานแล้ว กฤปบอกว่ายังมีอีก 2-3 แห่งที่อยู่ระหว่างการเจรจาให้ชีวาศรมไปบริหาร “แต่ไม่ว่าจะไปที่ไหน ถ้าจะเอายี่ห้อชีวาศรมไปลง เราก็ต้องไปทั้งแพ็ค แบบที่นี่ ทั้งเรื่องการบริการและ Sustainability Policy ซึ่งส่วนมาก เวลาเจรจากับใครพอเจอเรื่อง Sustainability Policy เช่นต้องติดตั้ง แผงโซลาร์เซลล์ ต้องมีการบำ�บัดนํ้าเสียทั้งหมด ซึ่งทำ�ให้ปัจจุบันหาก จะสร้างห้องพักของชีวาศรม 1 ห้องต้องใช้เงินกว่า 1 ล้านดอลลาร์

029


ไม่รวมงบในการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมห้องละ 2,500 ดอลลาร์ต่อปี และ Sustainability Project ที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต พอเจอ เรื่องพวกนี้นักลงทุนก็คิดแล้วคิดอีก เราก็เลยยังไม่ได้ไปไหนสักที แต่ แม้ว่าเรื่องนี้จะเป็นอุปสรรค ผมก็ยังยืนยันที่จะต้องไปแบบนี้ เพราะนี่ คือมาตรฐานของแบรนด์ชีวาศรม” กฤปยืนยัน

เพราะถึงการทำ�ธุรกิจแบบ Sustainability จะทำ�ให้ชีวาศรมกลายโมเดล ธุรกิจที่คนทั่วไปเข้าใจยาก แต่ก็เป็นเกราะป้องกันที่ทำ�ให้คู่แข่งเลียนแบบ ชีวาศรมได้ยากเช่นกัน แต่ก็น่าติดตามว่า ชีวาศรมจะฟันฝ่าความท้าทายเรื่องการขยายสาขาได้ อย่างไร ตัวอย่างรางวัลที่ชีวาศรมได้รับในปี 2014 ปี 2014 รางวัล Outstanding All-Inclusive Resort ผู้มอบ SAVEUR Culinary Travel Awards 2014 ปี 2014 รางวัล Hospitality Excellence Awards ผู้มอบ TripAdvisor Award 2014 ปี 2014 รางวัล Best for Anti Ageing, Best for A Hit of Sunshine,

Best for Holistic Healing ผู้มอบ Condé Nast Traveller (Spa Guide) 2014

030


ปี 2014 รางวัล Top 10 – Makeover Retreat in Asia ผู้มอบ Asia Spa Magazine ปี 2014 รางวัล Top 25 – International Spa in the World ผู้มอบ American Airlines First class in-Flight Magazine ปี 2014 รางวัล Best Overseas Health & Wellness Property

for 7 consecutive years Top 10 Best Overseas Resort ผู้มอบ Luxury Travel Magazine 2014 Gold List

ปี 2014 รางวัล Top 5 – Destination Spa of The Year: Asia & Australasia ผู้มอบ World Class Spa Awards 2014 by Beauty Professional

031


ตัวอย่างอัตราค่าบริการของชีวาศรมในปี 2557

(ราคาต่อคน & หนึ่งห้องพัก 2 คน)

Peak Season

(6 ม.ค. -28 ก.พ. 2557 & 1 พ.ย.-19 ธ.ค. 2557)

Peak Season

High Season

Off-peak Season

พัก 3 คืน/บาท พัก 5 คืน/บาท พัก 7 คืน/บาท พัก 10 คืน/บาท พัก 14 คืน/บาท พัก 21 คืน/บาท พัก 28 คืน/บาท

66,000 110,000 154,000 220,000 308,000 462,000 616,000

154,000 220,000 308,000 462,000 616,000

60,000 100,000 140,000 200,000 280,000 420,000 560,000

48,000 80,000 112,000 160,000 224,000 336,000 448,000

Ocean Room Twin

(20 ธ.ค. 2557 - (1 มี.ค. - 31 พ.ค. 2557 & (1 มิ.ย. - 30 ก.ย. 2557) 5 ม.ค. 2558) 1-31 ต.ค. 2557)

หมายเหตุ : 1. Ocean Room เป็นห้องพักราคาตํ่าสุดของชีวาศรม

2. ราคารวมค่าทรีตเมนต์ คลาสกิจกรรม และอาหารตามที่กำ�หนดไว้ แต่ไม่รวมค่าภาษี มูลค่าเพิ่มและค่าบริการอีก 17.7%

032


ภาคผนวก ก.

ต้นทุนและประโยชน์จากกิจกรรมด้านความยั่งยืนของชีวาศรม

ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของชีวาศรมต่อปี (โดยประมาณ) 1. กิจกรรมความยั่งยืน: การบำ�บัดนํ้าเสียและใช้นํ้าสองครั้ง

ต้นทุนค่านํ้า ปริมาณนํ้าประปาที่ใช้ต่อปี ค่าใช้จ่าย นํ้าประปาต่อคิวบิกเมตร ค่าใช้จ่ายนํ้าประปาต่อปี สัดส่วนของค่านํ้าประปาต่อต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนการบำ�บัดนํ้า ค่าใช้จ่ายในการบำ�บัดนํ้าที่ใช้แล้ว อัตราส่วนของนํ้าที่สูญไปขณะบำ�บัด/และค่านํ้าที่ระเหยไป ขณะอยู่ในทะเลสาบ มูลค่าของนํ้าที่สูญไปขณะบำ�บัด/และค่านํ้าที่ระเหยไป ขณะอยู่ในทะเลสาบ ค่าประปาที่ไม่ต้องเสียจากการใช้นํ้าครั้งที่สอง ค่านํ้าประปาที่ประหยัดได้เมื่อหักต้นทุนของการบำ�บัดนํ้า 2. กิจกรรมความยั่งยืน: ฟาร์มออร์แกนิค

ต้นทุนอาหารทั้งหมด (ปี 2556) สัดส่วนค่าอาหารต่อต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนค่าดอกไม้ ผลไม้ ผักทั้งหมด ต้นทุนค่าดอกไม้ ผลไม้ ผักทั้งหมดที่ซื้อจากภายนอก มูลค่าดอกไม้ ผลไม้ ผักที่มาจากฟาร์มออร์แกนิค

279,388,235.29

บาท

63,328 คิวบิกเมตร บาท 15 บาท 949,920 0.34% 47,500 10%

บาท

94,992

บาท

854,928

บาท

807,428

บาท

17,845,053 6.32% 9,446,012 6,784,292 2,661,720

บาท บาท บาท บาท

033


ต้นทุนการสร้างและดูแลรักษาฟาร์มออร์แกนิค ต้นทุนเริ่มแรกในการสร้าง ต้นทุนในการดูแลรักษาต่อปี ดอกไม้

ต้นทุนค่าดอกไม้ที่ซื้อจากภายนอก มูลค่าดอกไม้ที่มาจากฟาร์มออร์แกนิค ผลไม้

ต้นทุนค่าผลไม้ที่ซื้อจากภายนอก มูลค่าผลไม้ที่มาจากฟาร์มออร์แกนิค ผัก

ต้นทุนค่าผักที่ซื้อจากภายนอก มูลค่าผักที่มาจากฟาร์มออร์แกนิค ค่าผัก ผลไม้และดอกไม้ที่ประหยัดได้ต่อปีเมื่อหักต้นทุน ของการดูแลรักษาฟาร์มออร์แกนิค 3. กิจกรรมความยั่งยืน: การขายขยะรีไซเคิล

สัดส่วนขยะรีไซเคิลที่ขายต่อปี กระดาษ พลาสติก ขวดแก้ว อลูมิเนียม รวม รายได้รวมจากการขายขยะรีไซเคิลต่อปี(โดยประมาณ)

6,850,000 400,000

บาท บาท

1,025,585 1,983,634

บาท บาท

3,359,859 224,295

บาท บาท

2,398,848 453,792

บาท บาท

2,261,720

บาท

นํ้าหนัก 5,208 1,136 2,340 48 8,732.04

กก. กก. กก. กก. กก.

27,276.00

บาท

034


4. กิจกรรมความยั่งยืน: โครงการผลิตนํ้าร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

ต้นทุนค่าแผงโซลาร์และการดูแลรักษา ค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้จากการลดการใช้ก๊าซ LPG ต่อปี ค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้จากการลดการใช้ก๊าซ LPG ตลอดอายุแผงโซลาร์ (20ปี)

11,800,000 354,000 7,080,000

5. กิจกรรมความยั่งยืน: การแทนที่ขวดนํ้าพลาสติกด้วยกระติกนํ้าสแตนเลส

ต้นทุนค่านํ้าดื่มก่อนการแทนที่ในปี 2550 ปริมาณนํ้าดื่มบรรจุขวดพลาสติกขนาด 500 มล. ต้นทุนในการซื้อนํ้าดื่มบรรจุขวดพลาสติกขนาด 500 มล. ต่อขวด ต้นทุนในการซื้อนํ้าดื่มบรรจุขวดพลาสติกขนาด 500 มล.ทั้งหมด ปริมาณนํ้าดื่มบรรจุแกลลอนพลาสติกขนาด 20 ลิตร สำ�หรับแขกและพนักงาน ต้นทุนนํ้าดื่มบรรจุแกลลอนพลาสติกขนาด 20 ลิตร สำ�หรับแขกและพนักงาน ต้นทุนค่านํ้าดื่มทั้งหมดในปี 2550 ต้นทุนการแทนที่ขวดนํ้าพลาสติกด้วยกระติกนํ้าสแตนเลส ค่าติดตั้งเครื่องกรองนํ้าระบบรีเวิร์สออสโมซิส 4 จุด ในปี 2551 ค่ากระติกนํ้าสแตนเลสติดโลโก้ชีวาศรมต่อปี ปริมาณและต้นทุนนํ้าดื่มในปี 2556 ปริมาณนํ้าดื่มบรรจุขวดพลาสติกขนาด 500 มล. ต้นทุนในการซื้อนํ้าดื่มบรรจุขวดพลาสติกขนาด 500 มล.ทั้งหมด ปริมาณนํ้าดื่มบรรจุขวดแก้วขนาด 500 มล. ต้นทุนในการซื้อนํ้าดื่มบรรจุขวดแก้วขนาด 500 มล.

บาท บาท บาท

130,920 4.67 611,396 5,582

ต่อปี ขวด บาท บาท แกลลอน

74,704

บาท

686,100

บาท

213,123 1,200,000

บาท บาท

4,740 22,151 18,768 73,086

ขวด บาท ขวด บาท

035


ปริมาณการใช้ขวดพลาสติกขนาด 500 มล. ที่ประหยัดได้ เทียบ 2550 และ 2556 ต้นทุนต่อปีที่ประหยัดได้จากการเปลี่ยน (ไม่รวมค่านํ้าประปาที่นำ� มากรองและต้นทุนตั้งต้นในการติดตั้งเครื่องกรองนํ้า)

126,180

ขวด

609,137

บาท

6. กิจกรรมความยั่งยืน: โครงการปรับปรุงอาคารเพื่อการประหยัดพลังงาน

สัดส่วนค่าไฟฟ้าต่อต้นทุนทั้งหมด ค่าไฟฟ้าต่อปี (โดยประมาณ)

5.89% 16,455,967

บาท

16,000,000

บาท

3,200,000

บาท

0.97 5.04 26.46%

ปี ปี KWH

ต้นทุนในการปรับปรุงอาคารเพื่อการประหยัดพลังงาน ต้นทุนในการเปลี่ยนหลอดไฟฮาโลเจนเป็นแบบ LED และเปลี่ยนระบบทำ�ความเย็น เงินสนับสนุนจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ระยะเวลาคืนทุนของหลอดไฟ LED ระยะเวลาคืนทุนของระบบทำ�ความเย็น ปริมาณไฟฟ้าที่ประหยัดได้

036


ภาคผนวก ข.

งบการเงิน บริษัท ชีวาศรม อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ รีสอร์ท จากัด รายการ

ปีงบการเงิน 31-ธ.ค.-56

31-ธ.ค.-55

31-ธ.ค.-54

กำ�ไรขาดทุน: รายได้ รายได้จากการขายและบริการ

723,702,036.58

683,434,609.62

597,985,423.16

12,900,271.26

13,071,287.32

12,244,216.13

1,502,141.28

1,309,743.28

922,760.60

อื่นๆ

30,028,687.07

20,984,236.12

16,866,454.84

รวมรายได้

768,133,136.19

718,799,876.34

628,018,854.73

ต้นทุนขายและบริการ

251,224,611.50

242,009,170.15

209,592,239.56

ค่าใช้จ่ายในการขาย

41,265,321.82

41,876,680.38

38,338,981.86

156,275,553.42

131,338,930.76

126,386,838.28

70,955,048.07

68,370,270.81

65,550,945.06

103,913,734.36

-

-

538,767.43

129,565.99

799,529.92

รวมค่าใช้จ่าย

624,173,036.60

483,724,618.09

440,668,534.68

กำ�ไรก่อนต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

143,960,099.59

235,075,258.25

187,350,320.05

-

669,994.00

1,505,932.09

143,960,099.59

234,405,264.25

185,844,387.96

ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

49,525,880.41

53,157,118.39

57,051,175.70

กำ�ไรสุทธิ

94,434,219.18

รายได้ค่าสมาชิก รายได้อื่น กำ�ไรจากอัตราแลกเปลี่ยน

ค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าเสื่อมราคา ค่าใช้จ่ายอื่น - ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ - ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์

ต้นทุนทางการเงิน กำ�ไรก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

181,248,145.86 128,793,212.26

037


รายการ

ปีงบการเงิน 31-ธ.ค.-56

31-ธ.ค.-55

31-ธ.ค.-54

34,234,884.65

33,787,752.64

36,935,676.33

เงินลงทุนชั่วคราว

406,259,300.32

254,187,263.92

170,335,233.89

ลูกหนี้การค้า

40,278,097.22

54,751,075.57

42,435,744.44

3,257,217.14

3,257,217.14

3,247,217.14

17,264,561.48

9,124,777.36

6,260,264.97

9,802,929.01

12,024,502.06

12,837,803.47

เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บุคคลอื่นที่ถึงกำ�หนดชำ�ระ ภายใน 1 ปี

903,746.00

851,242.00

800,336.00

สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น

970,020.09

680,546.20

1,989,860.81

512,970,755.91

368,664,376.89

274,842,137.05

-

-

-

16,152,752.59

-

-

6,446,453.00

7,350,199.00

8,201,441.00

สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

ลูกหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ลูกหนี้อื่น - กิจการอื่น สินค้าคงเหลือ

รวมสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินลงทุนระยะยาวอื่น - เงินฝากประจำ� เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บุคคลอื่น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน - โปรแกรมคอมพิวเตอร์ - สุทธิ

1,380,577,354.86 1,512,879,593.66 1,542,851,534.53 6,169,700.05

8,524,239.20

10,755,115.19

เงินมัดจำ�ค่าซื้อสินทรัพยถาวร

1,574,579.44

1,574,579.44

4,448,932.38

อื่นๆ

1,731,692.35

1,644,129.33

1,146,094.59

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น

รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

1,412,652,532.29 1,531,972,740.63 1,567,403,117.69

รวมสินทรัพย์

1,925,623,288.20 1,900,637,117.52 1,842,245,254.74

038


รายการ

ปีงบการเงิน 31-ธ.ค.-56

31-ธ.ค.-55

31-ธ.ค.-54

เจ้าหนี้การค้า

24,665,005.88

20,401,205.26

22,348,255.01

เจ้าหนี้อื่น

64,402,613.46

41,557,242.14

47,789,500.36

เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำ�หนดชำ�ระภายใน 1 ปี

-

-

12,400,000.00

หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงินที่ถึงกำ�หนดชำ�ระภายใน 1 ปี

-

-

468,493.12

ภาษีเงินได้ค้างจ่าย

22,163,125.57

31,626,408.73

37,433,493.30

หนี้สินหมุนเวียนอื่น

10,261,623.52

18,008,066.53

22,989,875.01

121,492,368.43

111,592,922.66

143,429,616.80

-

-

5,900,000.00

32,415,986.35

30,428,629.93

28,715,249.31

69,430,990.11

70,765,840.80

77,598,810.36

รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน

101,846,976.46

101,194,470.73

112,214,059.67

รวมหนี้สิน

223,339,344.89

212,787,393.39

255,643,676.47

หนี้สินหมุนเวียน

รวมหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาว ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน - สุทธิ หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น ค่าสิทธิสมาชิกรอตัดบัญชี - สุทธิ

ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน หุ้นสำ�มัญ 10,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท

1,000,000,000.00 1,000,000,000.00 1,000,000,000.00

ทุนที่ชำ�ระแล้ว หุ้นสำ�มัญ 10,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท

1,000,000,000.00 1,000,000,000.00 1,000,000,000.00

กำ�ไรสะสม จัดสรรแล้ว-สำ�รองตามกฎหมาย ยังไม่ได้จัดสรร รวมส่วนของบริษัทใหญ่ ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำ�นาจควบคุม

43,900,000.00

34,800,000.00

28,300,000.00

658,383,743.31

653,049,524.13

558,301,378.27

1,702,283,743.31 1,687,849,524.13 1,586,601,378.27 200.00

200.00

200.00

รวมส่วนของผู้ถือหุ้น

1,702,283,943.31 1,687,849,724.13 1,586,601,578.27

รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

1,925,623,288.20 1,900,637,117.52 1,842,245,254.74

039


เกี่ยวกับผู้จัดทำ� บริษัท ป่าสาละ จำ�กัด ป่าสาละเป็นบริษัท “ปลูกธุรกิจที่ยั่งยืน” แห่งแรกในประเทศไทย ก่อตั้งในเดือนกรกฎาคม 2556 เป้า หมายของเราคือจุดประกายและดำ�เนินวาทกรรมสาธารณะเกี่ยวกับธุรกิจที่ยั่งยืน ผ่านการจัดสัมมนา อบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และออนไลน์ รวมทั้งผลิตงานวิจัยในประเด็นความยั่งยืน ในประเทศไทย และส่งเสริมการวัดผลตอบแทนทางสังคม

040


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิ ฟรีดริค เอแบร์ท 1550 อาคารธนภูมิ ชั้น 23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ มักกะสัน ราชเทวี กทม. 10410 โทร 02 652 7178 www.fes-thailand.org บริษัท ป่าสาละ จำ�กัด 2 ซอยสุขุมวิท 43 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 โทร 02 258 7383 www.salforest.com

เอกสารชิ้นนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ Creative Commons แบบAttribution Noncommercial Share Alike (by-nc-sa) โดยผู้สร้างอนุญาตให้ทำ�ซ้ำ� แจกจ่าย แสดง และสร้างงานดัดแปลงจากส่วนใดส่วนหนึ่งของงานนี้ได้โดยเสรี แต่เฉพาะในกรณี ที่ให้เครดิตผู้สร้าง ไม่นำ�ไปใช้ในทางการค้า และเผยแพร่งานดัดแปลงภายใต้ ลิขสิทธิ์เดียวกันนี้เท่านั้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://cc.in.th/ลิขสิทธิ์เดียวกัน นี้เท่านั้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://cc.in.th/ 041


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.