แรงจูงใจทางการเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย

Page 1


บทสรุปสำ�หรับผู้บริหาร

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ คือ การศึกษาและทดสอบ ความเป็ น ไปได้ ข องกลไกทางการเงิ น ที่ มี ศั ก ยภาพใน การเพิ่ ม แรงจู ง ใจให้ เ กษตรกรไทยเปลี่ ย นวิ ถี ก ารเกษตร จากเกษตรเคมี ก ระแสหลั ก มาเป็ น เกษตรอิ น ทรี ย์ เพื่ อ บรรเทาอุปสรรคสำ�คัญประการหนึ่งในการส่งเสริมเกษตร อินทรีย์ นั่นคือ การขาดแรงจูงใจทางการเงินของเกษตรกร โดยเฉพาะในช่ ว ง 3-5 ปี แ รกของการเปลี่ ย นผ่ า นไปสู่ เกษตรอิ น ทรี ย์ เ ต็ ม รู ป แบบ ซึ่ ง อุ ป สรรคดั ง กล่ า วมี ส่ ว นส่ ง ผลให้ เ กษตรอิ น ทรี ย์ ใ นไทยเติ บ โตอย่ า งเชื่ อ งช้ า แม้ ว่ า ความต้องการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ในตลาดโลกจะมี แนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง

คณะวิจัย สฤณี อาชวานันทกุล วิฑูรย์ ปัญญากุล สุณีย์ ม่วงเจริญ จินต์ หวังตระกูลดี


ที่มาและความสำ�คัญ ในช่ ว ง 30 ปีที่ผ่านมา “เกษตรอินทรีย์” นับ ว่าเป็นเกษตรทางเลือ กจาก การเกษตรแบบอุตสาหกรรมพืชเชิงเดี่ยว ที่มักโดนโจมตีว่าไม่ยั่งยืน ทั้งต่อ เกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม หัวใจสำ�คัญของเกษตรอินทรีย์ประกอบ ด้วยหลัก 4 ประการคือ สุขภาพ นิเวศ ความเป็นธรรม และการดูแลเอาใจใส่ (Health, Ecology, Fairness, and Care) โดยหลักการแล้ว เกษตรอินทรีย์ จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี ปฏิเสธการใช้สารเคมี และหลีกเลี่ยงการเผา เศษพืช ซึ่งเอื้อต่อการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ส่งผลให้ดินสามารถ ตรึงและกักเก็บคาร์บอนได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นเกษตรอินทรีย์จึงมีส่วนช่วยบรรเทา ภาวะโลกร้อนได้ ผ่านการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยกักเก็บ คาร์บอนในดิน และปรับปรุงนิเวศบริการ แม้เกษตรอินทรีย์จะได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ น โยบายและกฎระเบี ย บต่ า งๆ ของประเทศไทยกลั บ กลายเป็ น อุ ป สรรคมากกว่ า การสนั บ สนุ น หรื อ ส่ ง เสริ ม การทำ � เกษตรอิ น ทรี ย์ ตั ว อย่ า งเช่ น นโยบายประกั น ราคาสิ น ค้ า เกษตรโดยการซื้ อ ในราคาที่ สู ง กว่ า ตลาด ส่ ง ผลให้ เ กษตรกรอิ น ทรี ย์ จำ � นวนมากกลั บ ไปทำ � เกษตร เคมี ในขณะที่ เ กษตรกรเคมี ก็ ไ ม่ มี แ รงจู ง ใจที่ จ ะเปลี่ ย นจากวิ ถี เ กษตร

2

3


เดิมๆ มาสู่วิถีเกษตรอินทรีย์ นอกจากนี้ นโยบายภาครัฐในการสนับสนุน เกษตรอิ น ทรี ย์ ยั ง ขาดความสอดคล้ อ งและความต่ อ เนื่ อ ง แม้ ภ าครั ฐ จะจัดทำ�แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรียแ์ ห่งชาติ พ.ศ. 2551 – 2554 ทว่าเมื่อพิจารณาหลักฐานเชิงประจักษ์แล้ว พบว่าปริมาณการใช้สารเคมี ในประเทศไทยกลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่พื้นที่เกษตรอินทรีย์ในปี พ.ศ. 2555 ก็ลดน้อยลง 6.4% จากปีก่อนหน้า รวมทั้งจำ�นวนและมูลค่าของ ผลผลิตอินทรีย์ก็มีค่าลดลงเช่นกัน โดยรวมแล้ ว ปั จ จุ บั น ประเทศไทยยั ง ไม่ มี ก ลไกทางการเงิ น ที่ จ ะสร้ า ง แรงจูงใจ และสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยเหตุนี้ การศึกษาและสำ�รวจแรงจูงใจทางการเงินที่มีศักยภาพในการสนับสนุน เกษตรอินทรีย์จึงมีความสำ�คัญยิ่ง แรงจูงใจเหล่านี้อาจริเริ่มโดยภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์กรไม่แสวงหากำ�ไร โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยลดต้นทุน ของการเปลี่ยนผ่านจากวิถีเกษตรเคมีมาสู่เกษตรอินทรีย์ รวมถึงช่วยเพิ่ม รายได้จากการจำ�หน่ายผลผลิตอินทรีย์อีกด้วย

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ ได้แก่ 1. เพื่อสำ�รวจแรงจูงใจทางการเงินที่เป็นไปได้ในการสนับสนุนการทำ�เกษตร อินทรีย์ในประเทศไทย 2. เพื่อทดสอบแรงจูงใจทางการเงินดังกล่าวกับชุมชน 2 แห่งในประเทศไทย

สถานการณ์เกษตรอินทรีย์ ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์โลกมีมูลค่าการซื้อขายกว่า 72,000 ล้านดอลลาร์ สหรัฐในปี พ.ศ. 2556 และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะใน ตลาดเอเชียแปซิฟิกที่ประชากรมีรายได้สูงขึ้น และความกังวลด้านสุขภาพที่ เพิ่มมากขึ้น เช่น ประเทศจีน และประเทศอินเดีย โดยประเทศที่มีตลาดสินค้า เกษตรอินทรีย์ขนาดใหญ่ที่สุดสามอันดับแรก ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมนี และฝรั่งเศส ในขณะที่ระดับทวีป ทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือ ครองยอดขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วโลกกว่า 90% (FiBL and IFOAM, 2015) สำ�หรับประเทศไทย การเติบโตของตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยมา จาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมา ให้ความสำ�คัญกับสุขภาพและแหล่งที่มาของอาหารมากขึ้น ทัศนคติที่มอง ว่าเกษตรอินทรีย์คือทางออกของปัญหาราคาพืชตกตํ่าและผลผลิตที่ลดลง

4

5


และความตระหนักที่มากขึ้นต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม จากตัวเลขการส่งออกใน ปี พ.ศ. 2557 พบว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปของไทย อยู่ที่ราว 1,200 ล้านบาท โดยสินค้าส่งออกหลักคือข้าวอินทรีย์ คิดเป็นมูลค่า การส่งออก 552 ล้านบาท (ศูนย์พัฒนาเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช; มูลนิธิสายใยแผ่นดิน, 2558) ในส่วนของพื้นที่เกษตรอินทรีย์ พบว่าพื้นที่เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 3.8% ระหว่างปี พ.ศ. 2541 – 2556 ในปี พ.ศ. 2556 ประเทศไทยมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรอง 213,181 ไร่ ซึ่งคิดเป็น เพียง 0.19% ของพื้นที่เกษตรในประเทศไทย โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี สัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์มากที่สุด (กรีนเนท, 2558) แม้ภาครัฐจะส่งเสริมการทำ�เกษตรอินทรีย์ผ่านแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2551 – 2554 แต่ผลการดำ�เนินงาน กลับยังไม่ปรากฏเป็นรูปธรรมมากนัก เนื่องจากนโยบายส่วนใหญ่ยังขาด ความชัดเจนและความต่อเนื่อง รวมทั้งขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการ ขับเคลื่อนนโยบาย นอกจากนี้ นโยบายของรัฐบางนโยบาย เช่น โครงการ อุ ด หนุ น ราคาสิ น ค้ า เกษตรเคมี โ ดยการซื้ อ ในราคาที่ สู ง กว่ า ตลาด ก็ เ ป็ น อุปสรรคต่อการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาทำ�เกษตรอินทรีย์

อุ ป สรรคในการทำ � เกษตรอิ น ทรี ย์ ใ น ประเทศไทย ปัญหาอุปทานผลผลิตเกษตรอินทรีย์

แม้สินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยจะมีตลาดรองรับ แต่เมื่อพิจารณา ฝั่งอุปทานแล้ว พบว่าผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่ประสบปัญหา ขาดแคลนผลผลิต รวมถึงความหลากหลายของสินค้า ความสมํ่าเสมอและ ความต่อเนื่องในการผลิตสินค้า และคุณภาพของสินค้า (ศูนย์พัฒนาเกษตร อินทรีย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; มูลนิธิสายใยแผ่นดิน, 2558) ทั้ ง นี้ ส่ ว นหนึ่ งเป็นเพราะเกษตรกรและผู้ป ระกอบการยังขาดทรัพ ยากรที่ จำ�เป็น ขาดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาตราสินค้า และสามารถเข้าถึง เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้ในกระบวนการผลิตได้อย่างจำ�กัด อุปสรรคในระยะเปลี่ยนผ่าน (Conversion period)

ในช่ ว งเริ่ ม ต้ น ของการทำ � เกษตรอิ น ทรี ย์ (2 -3 ปี แ รก) เกษตรกรอาจได้ ปริมาณผลผลิตอินทรีย์ต่อพื้นที่ค่อนข้างตํ่า ส่งผลให้เกษตรกรอาจขาดแคลน เงินทุนหมุนเวียนที่จำ�เป็นต่อการทำ�เกษตร การตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์

แม้รัฐบาลไทยจะพัฒนามาตรฐาน “Organic Thailand” แต่มาตรฐาน ดังกล่าวยังไม่ได้การยอมรับจากประเทศผู้นำ�เข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ ทำ�ให้

6

7


เกษตรกรต้องผ่านกระบวนการตรวจรับรองมาตรฐานสากล ซึง่ มักมีคา่ ใช้จา่ ย สูง นอกจากนี้ เกษตรกรมองว่าเงื่อนไขในการขอรับรองนั้นเข้มงวดเกินไป และบางครัง้ ไม่สามารถทำ�ได้ในเชิงปฏิบตั ิ (ADBI, 2006; Bello.W.B, 2008) ต้นทุนการผลิตที่สูง

การทำ�เกษตรอินทรีย์จำ�เป็นต้องอาศัยแรงงานมากกว่าเกษตรเคมี (ADBI, 2006) เนื่องจากเกษตรกรต้องกำ�จัดศัตรูพืชแทนการใช้สารเคมี นอกจากนี้ เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยมักมีขนาดเล็ก และพื้นที่เกษตรมักอยู่อย่าง กระจัดกระจาย ทำ�ให้มีต้นทุนในการเก็บเกี่ยว และขนส่งผลผลิตค่อนข้างสูง นโยบายภาครัฐที่ไม่เอื้ออำ�นวย

ภาครัฐมักมีนโยบายประกันราคาและอุดหนุนราคาสินค้าเกษตร ซึ่งส่งผลให้ ตลาดบิดเบือน และเป็นอุปสรรคต่อการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเปลี่ยน มาทำ�เกษตรอินทรีย์ นอกจากนี้ ภาครั ฐยังขาดการส่งเสริม และพัฒนา องค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ให้แก่เกษตรกรและผู้บริโภคอย่างจริงจัง

8

กลไกทางการเงินเพื่อสนับสนุนเกษตร อินทรีย์ในต่างประเทศ จากการที่กล่าวไปในเบื้องต้น อุปสรรคในการทำ�เกษตรอินทรีย์ที่สำ�คัญ ประการหนึ่งคือ อุปสรรคในระยะเปลี่ยนผ่านที่เกษตรกรอาจได้ปริมาณ ผลผลิตต่าํ รวมถึงไม่สามารถขายผลผลิตในราคาพรีเมียมได้ เนื่องจากยังไม่ ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ทำ�ให้เกษตรกรอาจมีรายได้ไม่เพียงพอ และอาจหวนกลับ ไปสู่วิถีเกษตรเคมีไ ด้ ด้วยเหตุนี้ การสนับ สนุนเกษตร อิ น ทรี ย์ ใ นระยะเปลี่ ย นผ่ า นจึ ง มี ค วามสำ � คั ญ ยิ่ ง โดยจากการทบทวน วรรณกรรม พบว่ามีกลไกทางการเงินเพื่อสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ในต่าง ประเทศหลายกลไกด้วยกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 1. การให้ เ งิ น ช่ ว ยเหลื อ ด้ า นเกษตร-สิ่ ง แวดล้ อ มในยุ โ รป (Agri-Environmental Scheme)

มาตรการให้เงินช่วยเหลือด้านเกษตร-สิ่งแวดล้อม เป็นมาตรการหนึ่งใน นโยบายปฏิ รูป ภาคเกษตรระดับ สหภาพยุโรป (Common Agricultural Policy Reform: CAP Reform) ที่ ไ ด้ ผ นวกความตระหนั ก เรื่ อ งปั ญ หา สิ่ ง แวดล้ อ มเอาไว้ ใ นนโยบายดั ง กล่ า ว มาตรการนี้ จ ะให้ เ งิ น ช่ ว ยเหลื อ แก่ เ กษตรกรที่ ใ ห้ คำ � มั่ น สั ญ ญาโดยสมั ค รใจว่ า จะรั ก ษา และพั ฒ นา สิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่เพาะปลูกของตน หรือเปรียบเสมือนเป็นการจ่าย ค่า “นิเวศบริการ” ให้เกษตรกร โดยสหภาพยุโรปร่วมกับประเทศสมาชิก จะเป็นผู้สนับสนุนเงินช่วยเหลือ มาตรการการให้เงินช่วยเหลือด้านเกษตรสิ่งแวดล้อมนี้สามารถนำ�ไปปรับใช้ในระดับประเทศ ภูมิภาค หรือท้องถิ่นได้

9


เพื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ วิ ถี ก ารเกษตรและสภาพแวดล้ อ มในแต่ ล ะพื้ น ที่ มาตรการให้ เ งิ น ช่ ว ยเหลื อ ด้ า นเกษตร-สิ่ ง แวดล้ อ มที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ เกษตร อินทรีย์ ได้แก่

1. แผนการพัฒนาชนบท ค.ศ. 2007 – 2013 (Rural Development Plan: RDP) RDP 2007-2013 ได้รับการสนับสนุนเงินทุนร่วมระหว่าง กองทุน เกษตรยุโรปเพื่อการพัฒนาชนบท (European Agricultural Fund for Rural Development: EAFRD) และงบประมาณของประเทศสมาชิก โดยมีเป้าประสงค์และมาตรการสนับสนุนดังแสดงในตารางที่ 1

10

ตารางที่ 1 เป้าประสงค์และมาตรการสนับสนุนตาม Rural Development Plan (RDP) 2007-2013

มาตรการ

เป้าประสงค์ 1) พัฒนาความสามารถใน การแข่งขันของภาค การเกษตรและป่าไม้

สนับสนุนการจัดฝึกอบรมและให้ คำ�ปรึกษาด้านการเกษตร เงินทุน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของ กระบวนการผลิตหรือการทำ� การตลาด รวมถึงค่าใช้จ่ายใน การรับรอง และตรวจสอบมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์

2) พัฒนาสิ่งแวดล้อมและพื้นที่ ชนบท

ให้เงินทุนสนับสนุนเกษตรกรอินทรีย์ ในระยะเปลี่ยนผ่าน รวมถึงให้เงิน สนับสนุนแก่เกษตรกรที่สามารถ เลี้ยงสัตว์ได้ตามมาตรฐานที่รัฐ กำ�หนด

3) พัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ ชนบท และส่งเสริมความ หลากหลายของเศรษฐกิจ ชนบท

ให้เงินทุนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมหรือ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ที่ก่อให้เกิดรายได้ แก่คนในท้องถิ่น เช่น การขายสินค้า หัตถกรรม การท่องเที่ยว

11


2. นโยบายเกษตรร่วม เสาหลักที่ 1 (CAP Pillar 1) เป็ น ผลมาจากการปฏิ รู ป นโยบายเกษตรร่ ว มภายใต้ ชื่ อ “CAP Health Check” ในปี ค.ศ. 2008 การปฏิรูปครั้งนี้ให้ความสำ�คัญ กับวิถีการเกษตรที่จะต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ และ การจัดสรรเงินทุนไปสู่ชุมชน เพื่อที่จะสามารถรับมือกับภาวะโลกร้อน และความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้น ประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรป จะได้ รั บ งบประมาณสู ง สุ ด 10% ของงบประมาณประเทศใน การดำ � เนิ น การเพื่ อ ให้ บ รรลุ วั ต ถุ ป ระสงค์ ดั ง กล่ า ว โดยมี ก องทุ น การรับประกันการเกษตรยุโรป (European Agriculture Guarantee Fund: EAGF) เป็นผู้สนับสนุนเงินทุน

3. แผนเกษตรอินทรีย์ระดับประเทศหรือระดับภูมิภาค

แหล่ ง เงิ น ทุ น สำ � หรั บ แผนงานนี้ ม าจากงบประมาณของประเทศ สมาชิกแต่ละประเทศเท่านั้น สหภาพยุโรปไม่ได้ร่วมเป็นผู้สนับสนุน เงินทุน 2. เงิ น สนั บ สนุ น และการรั บ ซื้ อ ล่ ว งหน้ า ในประเทศกำ � ลั ง พัฒนา

สินค้าเกษตรอินทรีย์อาจชำ�ระค่าสินค้าล่วงหน้า เพื่อให้เกษตรกรสามารถ นำ � เงิ น ดั ง กล่ า วไปใช้ เ ป็ น เงิ น ทุ น หมุ น เวี ย นในการทำ � เกษตรอิ น ทรี ย์ ไ ด้ (Santacoloma & Edwardson, 2013) 3. แรงจูงใจทางการเงินเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ภาคเกษตรทั่วโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็น 30 – 35% ของปริมาณ การปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ นกระจกทั้ ง หมด จึ ง อาจกล่ า วได้ ว่ า วิ ถี ก ารเกษตรใน ปั จ จุ บั น (เคมี ) นั้ น ขั ด แย้ ง กั บ ระบบนิ เ วศโดยธรรมชาติ (Tanentzap, Lamb, Walker, & Farmer, 2015) ดั ง นั้ น ภาครั ฐ อาจมี บ ทบาทใน การบรรเทาความขั ด แย้ ง ดั ง กล่ า วได้ โดยการออกนโยบายที่ ส่ ง เสริ ม การเกษตรแบบยั่ ง ยื น ซึ่ ง อาจทำ � ได้ ห ลายแนวทาง เช่ น ออกกฎจำ � กั ด การใช้ยากำ�จัดศัตรูพืช สนับสนุนเงินให้เกษตรกรที่ดำ�เนินตามวิถีการเกษตร แบบยั่ ง ยื น ส่ ง เสริ ม ให้ ชุ ม ชนเกษตรกรและผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ร่ ว มมื อ กั น ลด การสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างตลาดสำ�หรับสินค้าเกษตรที่ ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 4. การชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset)

ประเทศกำ�ลังพัฒนาหลายประเทศ เช่น อินเดีย บราซิล ให้การสนับสนุน เงินทุนแก่เกษตรกรอินทรีย์ เพื่อให้เกษตรกรนำ�ไปพัฒนากระบวนการผลิต และการตลาด การสนับสนุนอาจอยู่ในรูปของเงินให้เปล่า เงินสนับสนุน หรือสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่าจากธนาคารรัฐ นอกจากนี้ ภาคเอกชนที่ต้องการซื้อ

ระบบการชดเชยคาร์ บ อนแบบกำ � หนดเพดานและลดการปล่ อ ย ก๊าซเรือนกระจก หรือที่เรียกว่า “Cap and Reduce” เป็นระบบหนึ่งที่ได้ รั บ ความนิ ย มมากที่สุดในโลก หลังจากที่พิธีส ารเกีย วโตหมดวาระลงใน ปี ค.ศ. 2012 ภายใต้ระบบดังกล่าวที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย องค์กรใน อุ ต สาหกรรมที่ ป ล่ อ ยก๊ า ซเรื อ นกระจกสู ง จะไม่ ส ามารถปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ น กระจกได้ เ กิ น กว่ า ระดั บ ที่ กำ � หนดไว้ (Cap) และมี พั น ธกรณี ใ นการลด

12

13


การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Reduce) ปัจจุบันโครงการชดเชยคาร์บอน อาจแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน การใช้ที่ดินและ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและป่าไม้ ประสิทธิภาพในการใช้ พลังงาน และการกักเก็บมีเทน ทั้งนี้ โครงการชดเชยคาร์บอนจะต้องได้ รับการตรวจสอบข้อเสนอโครงการ (Validation) และทวนสอบการรับรอง ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Verification) จากองค์กรภายนอกที่ได้ขึ้นทะเบียน กับองค์กรผู้มีอำ�นาจในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก จากการศึกษา พบว่าการทำ�เกษตรอินทรีย์ทั่วโลกสามารถกักเก็บคาร์บอน ได้มากถึง 900 - 2,400 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์/ปี หรือโดยเฉลี่ย 200 - 400 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์/เฮกเตอร์/ปี (Lindenlauf, 2009) จึง อาจกล่าวได้ว่าเกษตรอินทรีย์มีส่วนช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนได้ ด้วยเหตุนี้ กลไกทางการเงินเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงสามารถนำ�มาใช้เป็น แรงจูงใจสำ�หรับการทำ�เกษตรอินทรีย์ได้เช่นกัน แม้ ปั จ จุ บั น จะยั ง ไม่ มี ม าตรฐานสากลการรั บ รองการลดคาร์ บ อน ที่ ถู ก ออกแบบมาเพื่อวัดการกักเก็บคาร์บอนในระบบเกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะ อย่างไรก็ดี ระเบียบวิธีบางระเบียบสามารถนำ�มาประยุกต์ใช้ในบริบทของ เกษตรอินทรีย์ได้ เช่น IPCC AFOLU 2006, Chicago Climate Exchange (CCX) และ Voluntary Carbon Standard (VCS)

14

5. ฉลากคาร์บอน (Carbon Footprint Label)

บางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มี การส่งเสริมการติดฉลากคาร์บอนบนสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่วางจำ�หน่าย ในร้านค้าปลีก เพื่อให้ข้อมูลผู้บริโภคว่ากระบวนการผลิตและขนส่งสินค้า นั้นๆ มี “รอยเท้าคาร์บอน” หรือช่วยลดหรือก่อให้เกิดคาร์บอนเท่าไร ปัจจุบัน ภาครั ฐ พยายามที่ จ ะสนั บ สนุ น ให้ ผู้ บ ริ โ ภคเลื อ กซื้ อ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ เ ป็ น มิ ต ร ต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงกระตุ้นผู้ประกอบการให้ผลิตสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้น ดั ง จะเห็ น ได้ จ ากข้ อ มู ล ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มที่ เ ริ่ ม ปรากฏอยู่ บ นฉลากแสดง ประเทศแหล่งกำ�เนิดอาหารมากขึ้น (Country of Origin Labelling: COOL) (Czarnezki, 2011) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมาตรฐานในการวัดรอยเท้า คาร์บอนยังคงหลากหลาย รวมถึงยังไม่มีมาตรการในการดูแล รายงาน และ ทวนสอบปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่น่าเชื่อถือและเป็นสากล นอกจากนี้ ฉลากคาร์บอนอาจเป็นภาระแก่ผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศกำ�ลัง พั ฒ นา เนื่ อ งจากฉลากคาร์ บ อนเปรี ย บเสมื อ นเป็ น การส่ ง เสริ ม ทางอ้ อ ม ให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ เนื่องจากน่าจะมีรอยเท้า คาร์บอนตํ่าที่สุด

15


กลไกทางการเงินเพื่อสนับสนุนเกษตร อินทรีย์ในประเทศไทย จากการทบทวนวรรณกรรมและสำ � รวจสถานการณ์ คณะวิ จั ย พบกลไก ทางการเงินเพื่อสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยดังต่อไปนี้ 1. เงินสนับสนุนจากภาครัฐ

นับตั้งแต่รัฐบาลไทยกำ�หนดนโยบายเกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติใน ปี พ.ศ. 2544 หน่วยงานภาครัฐต่างๆ ก็ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุน ให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีในแปลงเกษตร และดำ�เนินตามแนวทางของ เกษตรอินทรีย์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในระยะแรกพบว่าการสนับสนุนยังไม่ ประสบผลสำ�เร็จเท่าที่ควร เนื่องจากเป็นการรับเอาแนวทางจากต่างประเทศ มาใช้ โ ดยไม่ ไ ด้ ป รั บ ให้ เ ข้ า กั บ บริ บ ทของประเทศไทย (กรี น เนท, 2551) ต่อมาภาครัฐได้จัดทำ�แผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2551 - 2554 ภายใต้แผนปฏิบัติการนี้ ภาครัฐได้จัดสรรงบประมาณ จำ�นวน 4,826.8 ล้านบาท เพื่อการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ใน 4 หัวข้อ ได้แก่ การเสริมสร้างและจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรม การพัฒนาการเกษตร อิ น ทรี ย์ ต ามวิ ถี พื้ น บ้ า น การเสริ ม สร้ า งศั ก ยภาพการเกษตรอิ น ทรี ย์ เ ชิ ง พาณิชย์ และการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้ ในแผนไม่ได้ กล่าวถึงการสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ในระยะเปลี่ยนผ่านโดยเฉพาะ เจาะจงแต่อย่างใด

16

2. การชดเชยคาร์บอนโดยสมัครใจ

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การ มหาชน) หรื อ อบก. ซึ่ ง เป็ น หน่ ว ยงานที่ ค วบคุ ม ดู แ ลและบริ ห ารจั ด การ โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย รวมถึงเป็นหน่วยงาน กลางประสานการดำ�เนินงานตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Designated National Authority for Clean Development Mechanisms: DNACDM) ได้พัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐาน ของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการลดก๊าซ เรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ และสามารถนำ�ปริมาณการลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่าคาร์บอนเครดิต หรือภายใต้ โครงการ T-VER นี้เรียกว่า “TVER” ไปขายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจใน ประเทศได้ ระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้โครงการ T-VER สามารถแบ่ง ออกเป็น 2 สาขาหลัก ได้แก่ 1) สาขาการผลิตและใช้พลังงานอุตสาหกรรม การจั ด การของเสี ย และการขนส่ ง และ 2) สาขาป่ า ไม้ แ ละการเกษตร สำ�หรับเกษตรอินทรีย์นั้นจะเข้าข่ายสาขาป่าไม้และการเกษตร ในระเบียบ วิธี “การใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธีในพื้นที่การเกษตร” และระเบียบวิธี “การกักเก็บ คาร์บอนและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสวนผลไม้” นอกเหนือจาก T-VER แล้ว ในปี พ.ศ. 2553 มูลนิธิสายใยแผ่นดินและ สหกรณ์กรีนเนทได้จัดทำ�การศึกษา และเสนอแนะให้มีการจัดตั้ง “องค์กร ชดเชยคาร์บอน” เพื่อให้บุคคล ภาคเอกชน และองค์กรอื่นๆ ที่ต้องการชดเชย รอยเท้าคาร์บอนสามารถซื้อคาร์บอนเครดิตจากเกษตรอินทรีย์ได้

17


3 . โ ค ร ง ก า ร ส นั บ ส นุ น กิ จ ก ร ร ม ล ด ก๊ า ซ เ รื อ น ก ร ะ จ ก (Low Emission Support Scheme: LESS)

ปัจจุบันองค์กรในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะซื้อคาร์บอนเครดิตเพิ่มขึ้น โดย ถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำ�กิจกรรม “รับผิดชอบต่อสังคม” (Corporate Social Responsibility: CSR) เพื่อประชาสัมพันธ์องค์กรเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้ ในปี พ.ศ. 2558 อบก. จึงได้พัฒนาโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือน กระจก (Low Emission Support Scheme: LESS) เพื่อเชิญชวนให้ทุกภาค ส่วนมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านการทำ�กิจกรรม CSR ภายใต้ LESS องค์กรที่ดำ�เนินกิจกรรม CSR สามารถเสนอโครงการลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ อบก. พิจารณา หาก อบก. ประเมินว่าโครงการ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จริง อบก. ก็จะมอบใบประกาศ เกียรติคุณ (Letter of Recognition: LOR) ให้แก่องค์กร LESS จึงเป็นอีก แนวทางหนึ่งที่สามารถจูงใจให้องค์กรสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ผ่าน การทำ�กิจกรรม CSR เพื่อแลกกับการได้รับประกาศเกียรติคุณ ทั้งนี้ ปริมาณ ก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากโครงการ LESS จะไม่สามารถนำ�ไปซื้อขายได้ 4. สินเชื่อสำ�หรับเกษตรอินทรีย์

ปัจจุบันมีสถาบันการเงิน และองค์กรที่ไม่ใช่สถาบันการเงินในประเทศไทย บางแห่งที่ให้บริการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น:

• ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

เป็นธนาคารเฉพาะกิจเพื่อการเกษตรของรัฐ ที่มุ่งเน้นสนับสนุน สินเชื่อเพื่อการทำ�เกษตร ในปี พ.ศ. 2557 ธ.ก.ส. ได้ออกโครงการ

18

“สินเชื่อเขียว” (Green credit) ซึ่งเป็นสินเชื่อแบบหมุนเวียนรายปี ที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรที่สะอาด ปลอดภัย โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ยกับเกษตรกรหรือบุคคลธรรมดาในอัตรา ดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR = 7%) และนิติบุคคลในอัตรา ดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR = 5%) ทั้งนี้จะลดอัตราดอกเบี้ย ให้ปีละ 1% จากฐานดอกเบี้ยเดิม จนกระทั่งเหลืออัตราดอกเบี้ยปีละ 4% หากผู้กู้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ (เช่น ผ่านการตรวจสอบ การดำ�เนินงาน ได้รับการรับรองมาตรฐาน/เครื่องหมาย/ตรารับรอง เกี่ยวกับอาหารปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์ และสามารถชำ�ระเงิน ต้นและดอกเบี้ยได้ตามกำ�หนด) นอกจากนี้ การขอสินเชื่อจะต้องมี หลักประกัน โดยธนาคารจะให้วงเงินสินเชื่อสูงสุด 100% ของรายได้ ที่คาดว่าจะได้รับจากการขายผลผลิต และให้วงเงินสินเชื่อสำ�หรับ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนอีก 25% แต่วงเงินสินเชื่อทั้งสองรวมกันต้อง ไม่เกิน 100% ของรายได้ที่เกษตรกรคาดว่าจะได้รับ

• ธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน)

ธนาคารชุ ม ชนแห่ ง ธนาคารกรุ ง ไทย จำ �กั ด (มหาชน) (The Community Bank Services of the Krung Thai Bank Public Company Limited: CBS-KTB) ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยของธนาคาร กรุงไทย มีจุดมุ่งหมายในการให้บริการสินเชื่อแก่องค์กรชุมชน และ ให้ความช่วยเหลือในการดำ�เนินกิจการ โดย CBS-KTB จะเสมือน เป็น “ผู้ให้คำ�แนะนำ�” ในการอนุมัติสินเชื่อ กล่าวคือ CBS-KTB จะ แนะนำ�รายละเอียดของสินเชื่อให้แก่ธนาคารกรุงไทยสาขาที่อยู่ใกล้ ผู้ ข อสิ น เชื่ อ มากที่ สุ ด เพื่ อ ให้ ธ นาคารสาขาเป็ น ผู้ พิ จ ารณาอนุ มั ติ ที่ผ่านมา สหกรณ์กรีนเนทร่วมกับกลุ่มเกษตรกรทำ�นาบากเรือ และ เกษตรกรอินทรีย์จำ�นวนหนึ่งเคยขอสินเชื่อจาก CBS-KTB โดยเงื่อนไข เงินกู้มีลักษณะคล้ายเงินกู้เบิกเกินบัญชี (Overdraft) กล่าวคือ จะคิด

19


ดอกเบี้ยเมื่อผู้กู้มีการถอนเงินออกไป และคำ�นวณดอกเบี้ยที่ต้องชำ�ระ ตามยอดสินเชื่อคงเหลือ

• สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.)

เป็นองค์กรมหาชนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และ ให้ความช่วยเหลือแก่องค์กรชุมชนด้านการประกอบอาชีพ การเพิ่ม รายได้ การพัฒนาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน ซึ่งการสนับสนุนเกษตรอินทรีย์และ เกษตรแบบยั่งยืนก็เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำ�คัญของ พอช. โดย พอช. มีสินเชื่อเฉพาะสำ�หรับองค์กรชุมชนเพื่อนำ�ไปดำ�เนินธุรกิจเกี่ยวกับ เกษตรอินทรีย์ สินเชื่อดังกล่าวไม่ต้องมีหลักทรัพย์คํ้าประกัน แต่ต้อง ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการของ พอช. 5. การชำ�ระเงินล่วงหน้าบางส่วน

ที่ผ่านมา สหกรณ์กรีนเนทได้รับซื้อข้าวเปลือกอินทรีย์จากกลุ่มเกษตรกร ทำ�นาบากเรือ จ.ยโสธร โดยระหว่างฤดูกาลเพาะปลูก สหกรณ์จะชำ�ระ ค่าสินค้าล่วงหน้าให้แก่กลุ่มเกษตรกรในอัตราประมาณ 50% ของมูลค่า ข้าวเปลือก เมื่อกลุ่มเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ก็จะส่งมอบข้าวเปลือก ให้แก่สหกรณ์กรีนเนท และได้รับการชำ�ระเงินส่วนที่เหลือ ทั้งนี้ สหกรณ์ไม่คิด ดอกเบี้ ย กั บ กลุ่ มเกษตรกร แต่ ก ลุ่ ม เกษตรกรจะต้ อ งเป็ น ผู้ แ บกรั บ ต้ น ทุ น การจัดเก็บข้าวเปลือกอินทรีย์

20

การสำ � รวจแรงจู ง ใจทางการเงิ น เพื่ อ สนับสนุนเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย จากการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมา คณะวิจัยพบว่าแรงจูงใจทางการเงิน ที่ น่ า สนใจ และมี ศั ก ยภาพในการสนั บ สนุ น การทำ � เกษตรอิ น ทรี ย์ ใ น ประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่านมีทั้งหมด 5 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ 1. โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐาน ของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER)

โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย หรือ T-VER เป็นโครงการที่ อบก. พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุก ภาคส่วนมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ โดยองค์กรสามารถนำ�ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ ที่เรียกว่าคาร์บอน เครดิต หรือ TVER ไปขายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจในประเทศ เกษตรอิ น ทรี ย์ ส ามารถเข้ า ร่ ว ม T-VER ได้ ผ่ า นระเบี ย บวิ ธี 2 วิ ธี ได้ แ ก่ “การใช้ ปุ๋ ย อย่ า งถู ก วิ ธี ใ นพื้ น ที่ ก ารเกษตร” เหมาะกั บ โครงการปลู ก ข้ า ว อินทรีย์และผลผลิตอินทรีย์อื่นๆ อีกระเบียบวิธีหนึ่งคือ “การกักเก็บคาร์บอน และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสวนผลไม้” ซึ่งจะใช้กับโครงการ สวนผลไม้อินทรีย์ ทั้งนี้ คณะวิจัยได้เลือกทดสอบระเบียบวิธี “การใช้ปุ๋ยอย่าง ถูกวิธีในพื้นที่การเกษตร” เนื่องจากกลุ่มเกษตรทั้งสองแห่งที่ทำ�การศึกษา ล้วนปลูกข้าวอินทรีย์

21


2. สินเชื่อเขียวของ ธ.ก.ส.

4. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า

คณะวิจัยได้เลือกโครงการสินเชื่อเขียวของ ธ.ก.ส. มาทดสอบกลไกสินเชื่อ ดอกเบี้ยตํ่ากับกลุ่มเกษตรกร เกษตรกรที่ปลูกผลผลิต “ปลอดภัย” สามารถ ขอสินเชื่อดังกล่าวได้ โดย ธ.ก.ส. คิดดอกเบี้ยกับเกษตรกรรายบุคคลในอัตรา ดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR = 7%) ในขณะที่นิติบุคคลจะคิดอัตรา ดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR = 5%) ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะลดอัตราดอกเบี้ย ให้ปีละ 1% จากฐานดอกเบี้ยเดิม จนกระทั่งเหลืออัตราดอกเบี้ยปีละ 4% หากผู้กู้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำ�หนด โดยธนาคารจะให้วงเงินสินเชื่อ สูงสุด 100% ของรายได้ที่คาดว่าจะได้รับจากการขายผลผลิต และให้วงเงิน สินเชื่อสำ�หรับค่าใช้จ่ายในครัวเรือนอีก 25% แต่วงเงินสินเชื่อทั้งสองรวมกัน ต้องไม่เกิน 100% ของรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ

องค์ ก รหรื อ ภาคธุ ร กิ จ สามารถผลั ก ดั น ให้ เ กษตรกรเปลี่ ย นมาทำ� เกษตร อินทรีย์ได้โดยการทำ�สัญญารับซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์ล่วงหน้า โดยองค์กร จะเจรจาตกลงราคาผลผลิ ต กั บ เกษตรกร และชำ � ระเงิ น ให้ แ ก่ เ กษตรกร อินทรีย์ล่วงหน้า จากนั้นเกษตรกรจะส่งมอบผลผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ใน อนาคต ตามปริมาณ ราคา และระยะเวลาที่กำ�หนด

3. โครงการสนับสนุนกิจ กรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme: LESS)

อบก. พัฒนาโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก หรือ LESS เพื่อ สร้างความตระหนักให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเชิญชวน ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านการทำ�กิจกรรม CSR องค์ ก รที่ ส นั บ สนุ น เกษตรอิ น ทรี ย์ จึ ง สามารถร่ ว มเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ LESS ได้ เนื่องจากเกษตรอินทรีย์มีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยองค์กรสามารถยื่นข้อเสนอโครงการแก่ อบก. จากนั้น อบก. จะพิจารณา ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก หาก อบก. เห็นควรว่าโครงการสามารถลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จริง ก็จะรับรองผลการประเมิน และมอบใบ ประกาศเกียรติคุณให้องค์กร

22

5. เงินให้เปล่า หรือเงินสนับสนุนโดยตรง

กลไกเงินให้เปล่า หรือเงินสนับสนุนโดยตรง จะให้เงินสนับสนุนแก่เกษตรกร ในระยะเปลี่ยนผ่านของการทำ�เกษตรอินทรีย์ จากนั้น เมื่อผ่านพ้นระยะดัง กล่าวก็จะปรับลดจำ�นวนเงินสนับสนุนลง โดยภาครัฐเป็นผู้จ่ายเงินสนับสนุน และกำ�หนดเงื่อนไขของผู้ที่ได้รับเงินสนับสนุน เช่น ต้องได้รับการฝึกอบรม การทำ � เกษตรอิ น ทรี ย์ ต้ อ งผ่ า นกระบวนการตรวจรั บ รองผลผลิ ต เกษตร อินทรีย์ตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ปัจจัยแห่งความสำ�เร็จคือ เงื่อนไขการให้ เงินสนับสนุนจะต้องจูงใจให้เกษตรกรเปลี่ยนมาทำ�เกษตรอินทรีย์ และต้อง ไม่ยากเกินความสามารถของเกษตรกร

23


การทดสอบกลไกทางการเงิน

ให้ข้อมูล

กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ทดสอบกลไกทางการเงินเพื่อสนับสนุน การทำ�เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย สามารถสรุปได้ดังแผนภาพต่อไปนี้

ให้ข้อมูล การสำ�รวจฝั่งอุปสงค์ในเบื้องต้น

ให้ข้อมูล

• เพื่อวัดระดับความสนใจในแรงจูงใจทาง การเงินทัง้ 5 ขององค์กรผูส้ นับสนุนทีเ่ ป็นไปได้ • เพื่อรวบรวมข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ที่เคย หรือกำ�ลังสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ เช่น อบก. ธ.ก.ส. องค์กรไม่แสวงหากำ�ไร และ องค์กรที่ดำ�เนินโครงการ CSR

24

• เพื่อวัดระดับความสนใจในแรงจูงใจทางการเงินทั้ง 5 ของเกษตรอินทรีย์ และเกษตรกรเคมี • เพื่อเก็บข้อมูลวิธีทำ�การเกษตรและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากเกษตรกรอินทรีย์ และเกษตรกรเคมี • จัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับเกษตรกร อินทรีย์จำ�นวน 30 คนในจังหวัดมหาสารคาม • สำ�รวจเกษตรกรเคมีผ่านแบบสอบถามจำ�นวน 50 คนในจังหวัดมหาสารคาม

ก า ร สำ � ร ว จ ฝั่ ง อุ ป ท า น : ก า ร ศึ ก ษ า ภาคสนาม 2

การสำ�รวจฝั่งอุปสงค์ในเบื้องลึก

• เพื่อวัดระดับความมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมใน แรงจูงใจทางการเงินทั้ง 5 ขององค์กร ผู้สนับสนุนที่เป็นไปได้ • เพื่อสำ�รวจความร่วมมือที่เป็นไปได้ระหว่าง ผู้สนับสนุนกับเกษตรกรอินทรีย์

ก า ร สำ � ร ว จ ฝั่ ง อุ ป ท า น : ก า ร ศึ ก ษ า ภาคสนาม 1

ให้ข้อมูล

• เพื่อวัดระดับความสนใจในแรงจูงใจทางการเงินทั้ง 5 ของเกษตรอินทรีย์ และเกษตรกรเคมี • เพื่อเก็บข้อมูลวิธีทำ�การเกษตรและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากเกษตรกรอินทรีย์ และเกษตรกรเคมี • จัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับเกษตรกร อินทรีย์จำ�นวน 10 คน และเกษตรกรเคมีจำ�นวน 20 คนในจังหวัดนครปฐม • สำ�รวจเกษตรกรเคมีผ่านแบบสอบถามจำ�นวน 30 คนในจังหวัดนครปฐม 25


ผลการสำ � รวจองค์ ก รที่ มี แ นวโน้ ม ให้ ก า ร ส นั บ ส นุ น ก ล ไ ก ท า ง ก า ร เ งิ น (ฝั่งอุปสงค์) คณะวิจัยได้สัมภาษณ์องค์กรในประเทศไทยจำ�นวนทั้งสิ้น 13 องค์กร เพื่อ ประเมินระดับความสนใจในการสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ในระยะ เปลี่ยนผ่าน โดยคณะวิจัยเลือกสัมภาษณ์องค์กรที่เข้าข่ายเกณฑ์อย่างใด อย่างหนึ่ง (หรือมากกว่าหนึ่ง) ดังต่อไปนี้ 1. องค์กรกำ�ลังดำ�เนินกิจกรรม CSR ที่สนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ 2. องค์กรมีโครงการให้เงินสนับสนุนหรือสินเชื่อเพื่อการเกษตรอินทรีย์ 3. องค์กรมีระบบการสร้างแรงจูงใจทางการเงินที่สามารถประยุกต์ใช้ใน การสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ 4. วิสัยทัศน์และธุรกิจหลักขององค์กรมีความเกี่ยวข้องกับการเกษตร หรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดยผลการสำ�รวจสามารถสรุปได้ดังตารางที่ 2

26

27


บทสรุปผลสัมภาษณ์

1

กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์

กรมวิชาการเกษตรมีพันธกิจในการสร้าง และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตร กำ�หนดและกำ�กับดูแลมาตรฐานด้าน การเกษตร รวมถึงพัฒนาระบบตรวจรับรอง สินค้าการเกษตร

• ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรให้บริการตรวจรับรอง มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยไม่มี ค่าใช้จ่ายในการดำ�เนินงาน • กรมฯ มีความเห็นว่าในช่วงแรกของการสนับสนุน นั้น การจัดหาตลาดรองรับสินค้าเกษตรอินทรีย์มี ความสำ�คัญมากกว่าการให้เงินทุนสนับสนุน นอกจากนี้ ภาครัฐควรให้เงินทุนสนับสนุนการแปรรูป สินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมถึงควรสนับสนุนการจัดอบรม และมีนโยบายการสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน

2

สำ�นักงานเศรษฐกิจ การเกษตร กระทรวง เกษตรและสหกรณ์

สำ�นักงานเศรษฐกิจการเกษตรมีหน้าที่ พัฒนาการเกษตรของประเทศ ศึกษา วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร เสนอแนะนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงวิจัยและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ การเกษตร

ร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2559 - 2564 กำ�หนดให้มีการเพิ่มพื้นที่การทำ� เกษตรอินทรีย์ปีละ 20% และมีแนวคิดที่จะจัดตั้ง กองทุนเพื่อสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ โดยคาดว่าจะ เป็นกองทุนแบบสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า หรือหากมี การให้เงินสนับสนุนแบบให้เปล่า ก็คาดว่าจะสนับสนุน เฉพาะในส่วนของต้นทุนในการเพาะปลูกเท่านั้น โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

28

29

X

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เงินให้เปล่า/เงินสนับสนุน

เกี่ยวกับองค์กร

LESS

ชื่อองค์กร

สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

ลำ�ดับ

หมายเหตุ: X = สนใจ, P = มีแนวโน้มจะสนใจ

T-VER

ตารางที่ 2 ผลการสำ�รวจองค์กรในประเทศไทยที่มีแนวโน้ม ให้การสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ (ฝั่งอุปสงค์)

P


3

องค์การบริหารจัดการก๊าซ อบก. เป็นผู้พัฒนาโครงการ T-VER และ LESS เพื่อส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) เรือนกระจกในประเทศไทย มีหน้าที่ดูแล และส่งเสริมการพัฒนาโครงการและตลาด ซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจก รวมถึง สนับสนุนการดำ�เนินงานด้านการเปลีย่ นแปลง สภาพภูมิอากาศในประเทศไทย

30

บทสรุปผลสัมภาษณ์

• สาเหตุสำ�คัญที่ทำ�ให้โครงการ T-VER ภาค การเกษตรยังไม่ได้รับความนิยมเป็นเพราะ ไม่เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) ทำ�ให้ราคาซื้อขายคาร์บอนอาจไม่คุ้มค่ากับต้นทุน ในการพัฒนาโครงการ นอกจากนี้ การจัดเก็บข้อมูล ที่จำ�เป็นต่อการคำ�นวณปริมาณคาร์บอนก็ไม่มี ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะข้อมูลการใช้ปุ๋ยเคมีในอดีต • ปัจจุบัน อบก. พยายามออกหนังสือคํ้าประกันให้ แก่โครงการที่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อบก. เพื่อนำ�ไปขึ้น ทะเบียนกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป (UNFCCC) เพื่อที่องค์กรจะสามารถใช้หนังสือคํ้าประกันนี้เป็น หลักประกันในการขอสินเชื่อได้ แต่ปัญหาที่พบคือ ธนาคารส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับคาร์บอน เครดิต

31

X

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เงินให้เปล่า/เงินสนับสนุน

เกี่ยวกับองค์กร

LESS

ชื่อองค์กร

สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

ลำ�ดับ

หมายเหตุ: X = สนใจ, P = มีแนวโน้มจะสนใจ

T-VER

ตารางที่ 2 ผลการสำ�รวจองค์กรในประเทศไทยที่มีแนวโน้ม ให้การสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ (ฝั่งอุปสงค์)


4

สำ�นักงานพัฒนาเศรษฐกิจ สพภ. มีบทบาทสำ�คัญในการสนับสนุน และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก จากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (สพภ.) ความหลากหลายทางชีวภาพ ภูมิปัญญา ท้องถิ่น และธุรกิจชีวภาพ

32

บทสรุปผลสัมภาษณ์

• สพภ. ให้การสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน และเป็น X ผู้ออกตราส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากฐานทรัพยากร ชีวภาพ (BEDO – BIO ECONOMY) ปัจจุบันอยู่ ระหว่างการพัฒนาตรา “BIO CHECK” โดย สพภ. มองว่าตราทั้งสองสามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้กับทุก กลไกทางการเงินทีค่ ณะวิจยั นำ�เสนอ โดยเฉพาะกลไก T-VER และ LESS • สพภ. ทำ�โครงการ “ป่าครอบครัว เพื่อการพึ่งพา ตนเองและความมั่นคงทางชีวภาพและภูมิปัญญา ท้องถิ่น” ภายใต้ LESS ซึ่งปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียน โครงการสาขาป่าไม้กับ อบก. แล้ว ทั้งนี้ สพภ. สนใจ เข้าร่วมโครงการเกษตรอินทรีย์ภายใต้ LESS แต่อยาก ให้มีกรณีศึกษาหรือพื้นที่ต้นแบบก่อน • สพภ. ร่วมกับกรมป่าไม้พฒ ั นาโครงการป่าครอบครัว ที่จังหวัดสมุทรปราการ และจะร่วมกับกรมวิชาการ เกษตรในการพัฒนาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและ เหมาะสม (Good Agriculture Practices: GAP)

33

P

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เงินให้เปล่า/เงินสนับสนุน

เกี่ยวกับองค์กร

LESS

ชื่อองค์กร

สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

ลำ�ดับ

หมายเหตุ: X = สนใจ, P = มีแนวโน้มจะสนใจ

T-VER

ตารางที่ 2 ผลการสำ�รวจองค์กรในประเทศไทยที่มีแนวโน้ม ให้การสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ (ฝั่งอุปสงค์)


5

องค์การอาหารและเกษตร องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ แห่งสหประชาชาติ (FAO) มีบทบาทหลักในการยกระดับโภชนาการ และมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชากร โลก รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาทาง การเกษตรและการพัฒนาชนบท

34

บทสรุปผลสัมภาษณ์

• ปัจจุบันองค์กรฯ ให้ความช่วยเหลือแก่โครงการ X อาหารและการเกษตรในแต่ละประเทศผ่าน “โครงการความร่วมมือทางวิชาการ (The Technical Cooperation Program: TCP)” ตัวอย่างความช่วย เหลือเช่น การอบรมพัฒนาหลักสูตรการทำ�เกษตร อินทรีย์ การส่งเสริมระบบการรับรองแบบมีสว่ นร่วม (Participatory Guarantee Systems: PGS) • สำ�หรับประเทศไทย หากองค์กรฯ มีงบประมาณ TCP เหลือ ก็อาจสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ได้ตามกลไก T-VER, LESS และการให้เงินสนับสนุน • องค์กรฯ เสนอว่าบริษัทที่ทำ�ธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านสะดวกซื้ออาจสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ได้ โดยการรับผลผลิตอินทรีย์มาขาย และลด ค่าธรรมเนียมฝากขายสินค้า

35

X

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เงินให้เปล่า/เงินสนับสนุน

เกี่ยวกับองค์กร

LESS

ชื่อองค์กร

สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

ลำ�ดับ

หมายเหตุ: X = สนใจ, P = มีแนวโน้มจะสนใจ

T-VER

ตารางที่ 2 ผลการสำ�รวจองค์กรในประเทศไทยที่มีแนวโน้ม ให้การสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ (ฝั่งอุปสงค์)

X


6

ธนาคารโลก

ธนาคารโลกเป็นองค์กรการเงินระหว่าง ประเทศที่สนับสนุนการลงทุนเพื่อ การพัฒนาและเพิ่มผลผลิต รวมถึงให้ ความช่วยเหลือด้านเทคนิคที่สำ�คัญแก่ ประเทศกำ�ลังพัฒนา

36

บทสรุปผลสัมภาษณ์

X • ปัจจุบันธนาคารโลกพัฒนาโครงการเตรียม ความพร้อมด้านกลไกตลาด (Partnership for Market Readiness: PMR) เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย โดยทำ�ผ่าน 2 กลไก คือ แผนงานส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการจัดการพลังงาน (Energy Performance Certificate Scheme: EPC) และโครงการเมือง คาร์บอนตํา่ (Low Carbon City Program: LCC) โดยธนาคารโลกมีแนวคิดที่จะรับซื้อ TVER จาก โครงการต่างๆ ตามระเบียบวิธีที่ อบก. กำ�หนด (รวมถึงโครงการภาคการเกษตร) • ธนาคารโลกสนใจทำ� “กองทุนรวมทุนคาร์บอน เครดิต” สำ�หรับบริษัทที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยองค์กรสามารถนำ�ก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ไปซื้อ ขายในตลาดคาร์บอน

37

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เงินให้เปล่า/เงินสนับสนุน

เกี่ยวกับองค์กร

LESS

ชื่อองค์กร

สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

ลำ�ดับ

หมายเหตุ: X = สนใจ, P = มีแนวโน้มจะสนใจ

T-VER

ตารางที่ 2 ผลการสำ�รวจองค์กรในประเทศไทยที่มีแนวโน้ม ให้การสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ (ฝั่งอุปสงค์)


7

ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส)

38

บทสรุปผลสัมภาษณ์

ธ.ก.ส. เป็นธนาคารรัฐวิสาหกิจที่มุ่งเน้นให้ ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร

ธ.ก.ส. มีโครงการสินเชื่อเขียว ซึ่งเป็นสินเชื่อดอกเบี้ย ตํ่าแบบหมุนเวียนรายปีสำ�หรับเกษตรกรที่ผลิตอาหาร ปลอดภัยหรือผลผลิตอินทรีย์ โดยคิดดอกเบี้ยที่อัตรา MRR สำ�หรับเกษตรกรรายบุคคล และ MLR สำ�หรับ นิติบุคคล ธนาคารให้วงเงินสินเชื่อสูงสุด 100% ของ รายได้ที่คาดว่าจะได้รับจากการขายผลผลิต และให้ วงเงินสินเชื่อสำ�หรับค่าใช้จ่ายในครัวเรือนอีก 25% แต่วงเงินสินเชื่อทั้งสองรวมกันต้องไม่เกิน 100% ของ รายได้ที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งนี้ หากเกษตรกรสามารถ ปฏิบัติตามเงื่อนไข ก็จะลดอัตราดอกเบี้ยให้ปีละ 1% จากฐานดอกเบี้ยเดิม จนกระทั่งเหลืออัตราดอกเบี้ย ปีละ 4%

39

X

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เงินให้เปล่า/เงินสนับสนุน

เกี่ยวกับองค์กร

LESS

ชื่อองค์กร

สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

ลำ�ดับ

หมายเหตุ: X = สนใจ, P = มีแนวโน้มจะสนใจ

T-VER

ตารางที่ 2 ผลการสำ�รวจองค์กรในประเทศไทยที่มีแนวโน้ม ให้การสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ (ฝั่งอุปสงค์)


บทสรุปผลสัมภาษณ์

8

ธนาคารออมสิน

ธนาคารออมสินเป็นสถาบันการเงินที่มี สถานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวง การคลัง ปัจจุบันธนาคารมีให้บริการสินเชื่อ แก่ลูกค้ารายย่อย ซึ่งรวมถึงเกษตรกร และ กลุ่มเกษตรกร

• ปัจจุบันธนาคารออมสินยังไม่มีสินเชื่ออัตราดอกเบี้ย ตํ่าเพื่อการเกษตร แต่มีสินเชื่อสำ�หรับองค์กรชุมชน ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ สินเชื่อพัฒนาองค์กรชุมชน อเนกประสงค์ (รายบุคคล) และสินเชื่อพัฒนาชนบท • ธนาคารยินดีที่จะสนับสนุนเกษตรอินทรีย์โดยการให้ บริการสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า ซึ่งอาจทำ�ผ่านสินเชื่อองค์กร ชุมชน หรืออาจร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เช่น สหกรณ์ กรีนเนท

9

บริษัท ปตท. จำ�กัด (มหาชน)

ปตท. เป็นบริษทั พลังงานทีม่ ขี นาดใหญ่ทส่ี ดุ ในประเทศไทย ดำ�เนินธุรกิจปิโตรเลียม และปิโตรเคมีครบวงจร

• ปตท. สนใจที่จะสนับสนุนโครงการเกษตรอินทรีย์ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการผลักดันบริษัทฯ ให้เป็น ผู้นำ�ในการทำ� LESS ร่วมกับเกษตรกรอินทรีย์ภายใต้ โครงการ CSR ของ ปตท. • ปตท. ประสงค์ที่จะทำ�โครงการร่วมกับเกษตรกร อินทรีย์มากกว่าให้เงินสนับสนุนโดยตรง เช่น อาจ กำ�หนดแผนพัฒนาชุมชนเกษตรอินทรีย์ร่วมกัน มีการให้ความรู้แก่เกษตรกร

40

41

X

X

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เงินให้เปล่า/เงินสนับสนุน

เกี่ยวกับองค์กร

LESS

ชื่อองค์กร

สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

ลำ�ดับ

หมายเหตุ: X = สนใจ, P = มีแนวโน้มจะสนใจ

T-VER

ตารางที่ 2 ผลการสำ�รวจองค์กรในประเทศไทยที่มีแนวโน้ม ให้การสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ (ฝั่งอุปสงค์)


บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำ�กัด (มหาชน)

บริษัทฯ ดำ�เนินธุรกิจปิโตรเคมีและ การกลั่นครบวงจร

42

บทสรุปผลสัมภาษณ์

X • บริษัทฯ ซื้อ TVER เป็นประจำ�ทุกปีเพื่อชดเชย ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และขอ การรับรองฉลาก Carbon Neutral ทั้งนี้ บริษัทฯ สนใจ ซื้อคาร์บอนเครดิตจากโครงการภาคการเกษตร หาก โครงการนั้นอยู่ในจังหวัดระยอง และได้ขึ้นทะเบียน กับ อบก. แล้ว • ปัจจุบันบริษัทฯ ทำ�กิจกรรม CSR ที่ลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกอยู่แล้ว โดยมีเป้าหมายลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก 760,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าภายในปี พ.ศ. 2565 • บริษัทฯ สนใจจะทำ�โครงการ LESS ที่สามารถได้ คาร์บอนเครดิตประมาณ 30-50 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ ต่อปี ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นจำ�นวนที่ทางบริษัทฯ ต้อง บรรลุในแต่ละปี

43

X

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เงินให้เปล่า/เงินสนับสนุน

10

เกี่ยวกับองค์กร

LESS

ชื่อองค์กร

สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

ลำ�ดับ

หมายเหตุ: X = สนใจ, P = มีแนวโน้มจะสนใจ

T-VER

ตารางที่ 2 ผลการสำ�รวจองค์กรในประเทศไทยที่มีแนวโน้ม ให้การสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ (ฝั่งอุปสงค์)


11

บริษัทเซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำ�กัด

44

บทสรุปผลสัมภาษณ์

บริษัทฯ ดำ�เนินธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตภายใต้ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน รวมทั้งมีสาขาในพื้นที่ของชุมชน

• บริษัทฯ มีความเห็นว่ากลไกรับซื้อผลผลิตเกษตร ล่วงหน้าเป็นไปได้ยากสำ�หรับประเทศไทย สาเหตุมา จากปัญหาความไม่แน่นอนของปริมาณผลผลิต และ ราคาสินค้าเกษตรที่ผันผวน อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ กำ�ลังพิจารณาการซื้อสินค้าล่วงหน้ากับเกษตรกร อินทรีย์ แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะเป็นรูปแบบใด • บริษัทฯ ดำ�เนินการร่วมกับวิสาหกิจชุมชน และ สหกรณ์ตา่ ง ๆ ในการจัดหาและซือ้ สินค้าเกษตรอินทรีย์ แต่ก็ประสบปัญหาได้สินค้าตํ่ากว่าเป้าหมาย อีกทั้ง เกษตรกรก็มักได้รับเงินช้า เนื่องจากบริษัทฯ มีระยะ เวลาสินเชื่อทางการค้า (Credit term) ที่ค่อนข้างนาน • บริษัทฯ ยินดีซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ในระยะ เปลี่ยนผ่าน (ก่อนได้รับการรับรอง) ในราคาที่สูงกว่า สินค้าเกษตรเคมี แต่จะไม่สูงเท่าสินค้าเกษตรที่ได้ การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และต้องมี การตรวจสอบว่าเกษตรกรได้ปฏิบัติตามหลักการ ของเกษตรอินทรีย์หรือไม่

45

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เงินให้เปล่า/เงินสนับสนุน

เกี่ยวกับองค์กร

LESS

ชื่อองค์กร

สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

ลำ�ดับ

หมายเหตุ: X = สนใจ, P = มีแนวโน้มจะสนใจ

T-VER

ตารางที่ 2 ผลการสำ�รวจองค์กรในประเทศไทยที่มีแนวโน้ม ให้การสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ (ฝั่งอุปสงค์)

P


บทสรุปผลสัมภาษณ์

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เงินให้เปล่า/เงินสนับสนุน

เกี่ยวกับองค์กร

LESS

ชื่อองค์กร

สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

ลำ�ดับ

หมายเหตุ: X = สนใจ, P = มีแนวโน้มจะสนใจ

T-VER

ตารางที่ 2 ผลการสำ�รวจองค์กรในประเทศไทยที่มีแนวโน้ม ให้การสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ (ฝั่งอุปสงค์)

12

บริษัท ที.ซี.ฟาร์มา ซูติคอล อุตสาหกรรม จำ�กัด

บริษัทฯ เป็นหนึ่งในผู้ผลิตและจำ�หน่าย เครื่องดื่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นเจ้าของแบรนด์เครื่องดื่มเกลือแร่และ เสริมพลังงาน “กระทิงแดง”

• บริษทั ฯ สนับสนุนการปลูกข้าวอินทรียใ์ นประเทศไทย P โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์แก่ชุมชน จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อรับซื้อ แปรรูป และจำ�หน่าย ข้าวอินทรีย์ สร้างตลาดข้าวอินทรีย์ รวมถึงสนับสนุน การคัดเลือกพันธุ์ข้าวให้เหมาะกับสภาพท้องถิ่น • บริษัทฯ สั่งซื้อข้าวอินทรีย์ล่วงหน้าจากวิสาหกิจ ชุมชน โดยจะจ่ายชำ�ระเงินเป็นงวดๆ ก่อนมี การส่งมอบข้าวอินทรีย์ • บริษัทฯ สนใจที่จะสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ภายใต้ T-VER และ LESS โดยเฉพาะพื้นที่โดยรอบบริษัทฯ ในจังหวัดปราจีนบุรี เนื่องจากบริษัทกำ�ลังมีแผนที่จะ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

P X

13

บริษัท การบินกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน)

บริษัทฯ ดำ�เนินธุรกิจสายการบินและ สนามบิน และเป็นผู้ดำ�เนินงานสายการบิน บางกอกแอร์เวย์ส

บริษัทสนใจที่จะสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ภายใต้ LESS โดยปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างการหารือกับ อบก. และสนใจจะทำ�กิจกรรม CSR ที่มุ่งลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกในทุกพื้นที่ที่บริษัทฯ มีเครื่องบินลงจอด

X

รวมจำ�นวนองค์กรที่สนใจ/มีแนวโน้มจะสนใจ

6

ที่มา: ผลการสัมภาษณ์องค์กร พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 - เมษายน พ.ศ. 2559 46

47

3

6

2

X

3


ผ ล ก า ร สำ � ร ว จ ค ว า ม ส น ใ จ ข อ ง เกษตรกรอิ น ทรี ย์ และเกษตรกรเคมี (ฝั่งอุปทาน) คณะวิ จั ย ได้ ล งพื้ น ที่ ดำ � เนิ น การวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพในจั ง หวั ด มหาสารคาม และจังหวัดนครปฐม โดยสองพื้นที่ต่างมีทั้งเกษตรกรที่ทำ�นาข้าวอินทรีย์ เกษตรกรที่ ทำ � นาข้ า วเคมี และเกษตรกรที่ ทำ � นาทั้ ง สองชนิ ด ผสมกั น เกษตรกรอินทรีย์ทั้งหมดเพิ่งเริ่มทำ�เกษตรอินทรีย์ได้ไม่เกิน 2 ปี สำ�หรับ การสำ�รวจในขั้นตอนนี้ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

รายได้สุทธิของเกษตรกร

จากการสำ�รวจลักษณะประชากรศาสตร์ พื้นที่เกษตร วิธีการเพาะปลูก และ ประวัติทางการเงินของเกษตรกร คณะวิจัยสามารถคำ�นวณรายได้สุทธิหลัง หักค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของเกษตรกรอินทรีย์ และเกษตรกรเคมีในจังหวัด มหาสารคาม และนครปฐมได้ดังแสดงในตารางที่ 1 จะเห็นได้ว่ารายได้จาก การเกษตร (ทั้งในกรณีเกษตรอินทรีย์และเกษตรเคมี) นั้นไม่เพียงพอต่อ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของเกษตรกร ถ้าหากไม่มีรายได้เสริมนอกเหนือจาก การทำ�นา

1. ศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ พื้นที่เกษตร วิธีการเพาะปลูก และ ประวัติทางการเงินของเกษตรกรอินทรีย์ และเกษตรกรเคมี 2. ศึกษาอุปสรรคที่เกษตรกรอินทรีย์ต้องเผชิญในระยะเปลี่ยนผ่าน 3. ศึกษาว่าเกษตรกรเคมีสนใจที่จะเปลี่ยนมาทำ�เกษตรอินทรีย์หรือไม่ หากสนใจ อะไรเป็ น อุ ป สรรคที่ ทำ � ให้ พ วกเขาไม่ ทำ � เกษตรอิ น ทรี ย์ หากไม่สนใจ สาเหตุเป็นเพราะอะไร 4. ศึกษาปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจขอสินเชื่อของเกษตรกร 5. เรียงระดับความสนใจของเกษตรกรอินทรีย์ และเกษตรกรเคมี ที่มีต่อ แรงจูงใจทางการเงินทั้ง 5 รูปแบบ 6. ศึ ก ษาความกั ง วลของเกษตรกรอิ น ทรี ย์ และเกษตรกรเคมี ที่ มี ต่ อ แรงจูงใจทางการเงินทั้ง 5 รูปแบบ

48

49


ตารางที่ 3 รายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของ เกษตรกรในมหาสารคาม และนครปฐม

รายการ

มหาสารคาม เกษตรกรอินทรีย์

นครปฐม

เกษตรกรเคมี

เกษตรกรอินทรีย์

เกษตรกรเคมี

(1) ขนาดการถือครองพื้นที่การเกษตรโดยเฉลี่ย

11.62

23.75

5.43

18.00

(2) รายได้จากการเกษตร/ไร่

4,336

3,059

4,585

5,409

1

1

2

2

50,384

72,651

49,793

194,724

3,189

2,696

2,551

3,697

(6) ต้นทุนรวมการเกษตร/ปี (1x3x5)

37,056

64,030

27,704

133,092

(7) ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน/ปี

79,200

79,200

79,200

79,200

-65,872

-70,579

-57,111

-17,568

(3) จำ�นวนครั้งในการเพาะปลูก/ปี (4) รายได้รวมจากการเกษตร/ปี (1x2x3) (5) ต้นทุนการเกษตร/ไร่

รายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายในครัวเรือน/ปี (4-6-7)

ที่มา: ผลสำ�รวจจากการลงพื้นที่ มกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2559

50

51


อุปสรรคในการทำ�เกษตรอินทรีย์

จากการสำ�รวจความคิดเห็นของเกษตรกรอินทรีย์ พบว่าอุปสรรคหลักใน การทำ�เกษตรอินทรีย์ได้แก่ 1) ปัญหาภัยแล้ง เพราะเกษตรกรมองว่าเป็น ปัญหาที่ไม่สามารถบริหารจัดการได้ และส่งผลต่อปริมาณผลผลิตรวมถึง คุณภาพของดินโดยตรง 2) ปัญหาวัชพืชขึ้นเยอะจากการงดใช้สารเคมีกำ�จัด วัชพืช และ 3) ปัญหา “ข้าวไม่งาม” หรือผลผลิตไม่สวยเท่าเมื่อเทียบกับตอน ใช้สารเคมี นอกจากนี้ก็มีอุปสรรคอื่นๆ เช่น ความเสี่ยงที่จะได้ผลผลิตตํ่า ครอบครัวและคนในชุมชนไม่สนับสนุน หรือไม่ยอมรับการทำ�เกษตรอินทรีย์ และการต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณสูง เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมี สำ�หรับเกษตรกรเคมีที่สนใจจะเปลี่ยนมาทำ�เกษตรอินทรีย์นั้น พบว่าสาเหตุ หลักเป็นเพราะเกษตรกรเชื่อว่าการทำ�เกษตรอินทรีย์ 1) ส่งผลดีต่อสุขภาพ (ทั้งจากการบริโภคผลผลิตอินทรีย์ และการงดใช้สารเคมีในแปลงเกษตร) 2) ช่วยประหยัดเงินได้จากการปลูกเพื่อบริโภคเอง และ 3) ทำ�ให้ดินอุดม สมบู ร ณ์ ส่ ว นเหตุ ผ ลหลั ก ที่ เ กษตรกรเคมี ไ ม่ ส นใจเปลี่ ย นมาสู่ วิ ถี เ กษตร อินทรีย์นั้น เนื่องจากกังวลว่า 1) จะได้ผลผลิตตํ่าหรือไม่สวย และอาจขายได้ ยาก 2) อายุและสุขภาพไม่เอื้อต่อการทำ�เกษตรอินทรีย์ รวมถึงไม่มีแรงงาน มากพอที่จะกำ�จัดวัชพืชโดยไม่อาศัยสารเคมี และ 3) ไม่เคยชินกับการทำ� เกษตรอินทรีย์ ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจขอสินเชื่อของเกษตรกร

โดยรวมแล้ ว เกษตรกรอิ น ทรี ย์ แ ละเกษตรกรเคมี มี ปั จ จั ย ที่ ใ ช้ ใ นการ ตัดสินใจขอสินเชื่อค่อนข้างคล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ เกษตรกรอินทรีย์มีแนวโน้ม ที่จะหลีกเลี่ยงการขอสินเชื่อมากกว่า และให้ความสำ�คัญกับการประเมิน

52

ความสามารถในการชำ � ระหนี้ สู ง กว่ า โดยปั จ จั ย ที่ ใ ช้ ใ นการตั ด สิ น ใจขอ สินเชื่อของเกษตรกรสามารถสรุปได้ดังตารางที่ 4 ตารางที่ 4 ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจขอสินเชื่อ เปรียบเทียบ ระหว่างเกษตรกรอินทรีย์ กับเกษตรกรเคมี

ระดับความสำ�คัญ (1=สูงสุด) เกษตรกร อินทรีย์

เกษตรกร เคมี

ความยืดหยุ่น (มีระยะเวลาผ่อนผัน)

1

2

อัตราดอกเบี้ย

2

1

เงื่อนไขในการคํ้าประกัน

1

3

ความจำ�เป็นในการใช้เงิน

1

4

ความถี่ในการชำ�ระดอกเบี้ย

2

-

ความเป็นมิตร/ความน่าเชื่อถือขององค์กร ที่ให้สินเชื่อ

3

2

บริการสินเชื่อฉุกเฉิน

3

-

เงื่อนไขและขนาดของยอดผ่อนชำ�ระต่องวด

4

4

ปัจจัย

ความสะดวกในการขอสินเชื่อ

5

ระยะเวลาของสินเชื่อ (ยิ่งนานยิ่งดี)

6

ที่มา: ผลสำ�รวจจากการลงพื้นที่ มกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2559

53


ระดับความสนใจ และความกังวลที่มีต่อกลไกทางการเงิน เพื่อสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์

จากการสนทนากลุ่มร่วมกับเกษตรกรอินทรีย์และเกษตรกรเคมีในจังหวัด มหาสารคามและนครปฐม พบว่ากลไกทางการเงินที่เกษตรกรให้ความสนใจ มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ LESS, T-VER และเงินให้เปล่าหรือเงินสนับสนุน ตามลำ�ดับ เกษตรกรอินทรีย์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่ากลไก LESS และ T-VER เปรียบ เสมือนการได้ “โบนัส” ที่สามารถสร้างรายได้เพิ่มเติมจากการทำ�เกษตร อินทรีย์ตามปกติ โดยเกษตรกรอินทรีย์มีความมั่นใจว่าจะสามารถทำ�ตาม เงื่อนไขของ T-VER ได้ในระยะยาว ในส่วนของ LESS นั้น เกษตรกรเสนอเพิ่มเติมว่านอกเหนือจากการสนับสนุน เงินทุน องค์กรอาจทำ�กิจกรรม CSR ที่สนับสนุนการบริหารจัดการแปลง เกษตร และกระบวนการผลิ ต อย่ า งไรก็ ต าม เกษตรกรบางส่ ว นยั ง มี ความกังวลว่าจะถูกองค์กรเอาเปรียบ และไม่แน่ใจว่าองค์กรจะมีเงื่อนไขใน การให้การสนับสนุนอย่างไร ในส่วนของกลไกการให้เงินสนับสนุน เกษตรกรอินทรีย์มองว่าหากภาครัฐ ต้องการส่งเสริมการทำ�เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยอย่างจริงจังก็ควรจะให้ เงินทุนสนับสนุน โดยสาเหตุหลักที่สนใจกลไกนี้เป็นเพราะเกษตรกรไม่ต้อง เผชิญกับเงื่อนไขเรื่องปริมาณ และคุณภาพของผลผลิต ซึ่งต่างจากกลไก สัญญาซื้อขายล่วงหน้า แม้ว่าเกษตรกรจำ�นวนหนึ่ง (ทั้งอินทรีย์และเคมี) ไม่ มั่นใจว่าจะสามารถทำ�ตามเงื่อนไขการให้เงินสนับสนุนได้หรือไม่ และกังวล

54

ว่าการสนับสนุนอาจขาดความต่อเนื่อง ในทางกลับกัน หากภาครัฐให้เงินให้ เปล่าโดยไม่มีเงื่อนไข ก็อาจส่งผลให้เกษตรกรขาดแรงจูงใจที่จะทำ�เกษตร อินทรีย์ได้ สำ�หรับกลไกสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่านั้น พบว่าได้รับความสนใจมากเป็นอันดับ แรกจากกลุ่มเกษตรกรเคมีที่มีภาระหนี้ค่อนข้างสูง เนื่องจากเกษตรกรมอง ว่ า จะสามารถช่ ว ยบรรเทาภาระหนี้ ไ ด้ ซึ่ ง เกษตรกรอิ น ทรี ย์ ก็ ส นใจกลไก ดังกล่าวด้วยเหตุผลเดียวกัน แต่เกษตรกรอินทรีย์ส่วนหนึ่งไม่ต้องการก่อหนี้ เพิ่ ม เนื่ อ งจากคิ ด ว่ า มี ภ าระหนี้ ม ากพอแล้ ว รวมถึ ง ไม่ มั่ น ใจว่ า สถาบั น การเงินที่ปล่อยสินเชื่อจะดำ�เนินโครงการอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ส่วนกลไก สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในภาพรวมแล้วพบว่าได้รับความสนใจน้อยที่สุด จากกลุ่มเกษตรกร สาเหตุหลักเป็นเพราะเกษตรกรไม่มั่นใจว่าจะสามารถส่ง มอบผลผลิตในปริมาณ และคุณภาพที่ตกลงกันไว้ได้หรือไม่ แม้ว่าจะรู้สึก ยินดีที่ได้รับเงินล่วงหน้าก็ตาม ผลการสำ�รวจระดับความสนใจในแรงจูงใจทางการเงินทั้ง 5 รูปแบบ ทั้ง จากฝั่งอุปสงค์ (องค์กร 13 แห่ง รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน และ องค์กรระหว่างประเทศ) และฝั่งอุปทาน (เกษตรกรอินทรีย์/เคมีในจังหวัด มหาสารคามและนครปฐม) สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 5

55


ตารางที่ 5 ระดับความสนใจในแรงจูงใจทางการเงิน เปรียบเทียบ ระหว่างเกษตรกรอินทรีย์ เกษตรกรเคมี และองค์กร ที่สนใจ

ระดับความสนใจ (1 = มากที่สุด)

นครปฐม เกษตรกรอินทรีย์

มหาสารคาม เกษตรกรเคมี

เกษตรกรอินทรีย์

เกษตรกรเคมี

องค์กรที่สนใจ

1

T-VER

สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

เงินให้เปล่าหรือ เงินสนับสนุน

เงินให้เปล่าหรือ เงินสนับสนุน

T-VER/LESS

2

เงินให้เปล่าหรือ เงินสนับสนุน

LESS

T-VER

T-VER/LESS/ สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

T-VER/LESS

3

สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า

LESS/ สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

T-VER/LESS สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

เงินสนับสนุน/ สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

4

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า

T-VER

LESS/ สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

T-VER/LESS สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

เงินสนับสนุน/ สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า

5

LESS

เงินให้เปล่าหรือ เงินสนับสนุน

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า สัญญาซื้อขายล่วงหน้า สัญญาซื้อขายล่วงหน้า

ที่มา: ผลสำ�รวจจากการลงพื้นที่ มกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2559

56

57


ผลลัพธ์จากแบบจำ�ลองทางการเงิน ในขั้ น ตอนนี้ คณะวิ จั ย ใช้ ข้ อ มู ล ปฐมภู มิ จ ากการสำ � รวจเกษตรกร (ผ่ า น การสนทนากลุ่มร่วม และแบบสอบถาม) และข้อมูลทุติยภูมิจากสหกรณ์ กรีนเนท, อบก. รวมถึงข้อมูลอ้างอิงจากผลงานวิจัยในอดีต เพื่อนำ�มาสร้าง ประวัติทางการเงินของเกษตรกรอินทรีย์และเกษตรกรเคมี จากนั้นคณะวิจัย ได้สร้างแบบจำ�ลองทางการเงินของแรงจูงใจทางการเงินทั้ง 5 รูปแบบ แล้ว จึงประเมินเงื่อนไข หรือจำ�นวนเงินที่ต้องได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมในแต่ละ แรงจูงใจ ที่จะส่งผลให้กระแสเงินสดสุทธิของเกษตรกรมีค่าเป็นบวก และ เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายครัวเรือนของเกษตรกร แบบจำ � ลองทางการเงิ น ที่ ค ณะวิ จั ย สร้ า งขึ้ น สามารถแบ่ ง ได้ เ ป็ น 2 กรณี ได้แก่ กรณีฐาน (Base Case) และกรณีที่ดีท่ีสุด (Best Case) จากการ สำ�รวจฝั่งอุปสงค์ คณะวิจัยพบว่ามีองค์กรที่ยินดีสนับสนุนเงินทุนทั้งในส่วน ของต้นทุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ และค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของเกษตรกร ด้วยเหตุนี้ คณะวิจัยจึงใช้สมมติฐานดังกล่าวในแบบจำ�ลองกรณีที่ดีที่สุด ในขณะที่ ก รณี ฐ านนั้ น เกษตรกรจะได้ รั บ การสนั บ สนุ น เพี ย งในส่ ว นของ ต้นทุนการทำ�เกษตรอินทรีย์เท่านั้น

58

จากการสำ � รวจพบว่ า เกษตรกรอิ น ทรี ย์ แ ละเกษตรกรเคมี ใ นจั ง หวั ด มหาสารคามมีกำ�ไรจากการเกษตรโดยเฉลี่ย 1,147 และ 362 บาท/ไร่ตาม ลำ�ดับ ส่วนเกษตรกรอินทรีย์และเกษตรกรเคมีในจังหวัดนครปฐมมีกำ�ไร โดยเฉลี่ย 2,034 และ 1,712 บาท/ไร่ตามลำ�ดับ ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวยัง ไม่ได้หักค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 6,600 บาท/เดือน/ ครัวเรือน ผลการคำ�นวณดังที่ได้แสดงไว้ในตารางที่ 2 พบว่ารายได้ของ เกษตรกร (ทั้งเกษตรกรอินทรีย์และเกษตรกรเคมี) ในสองพื้นที่ไม่เพียงพอต่อ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ด้วยเหตุนี้ เกษตรกรจึงอาจประสบปัญหาขาดแคลน เงินทุนสำ�หรับการเกษตรในอนาคต คณะวิจัยนำ�ข้อมูลรายได้และต้นทุนการเกษตร รวมถึงค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โดยเฉลี่ยของเกษตรกรมาสร้างแบบจำ�ลองทางการเงินในกรณีฐาน ส่วน แบบจำ�ลองกรณีท่ีดีที่สุดนั้น คณะวิจัยใช้ฟังก์ชั่น “goal seek” ในโปรแกรม MS Excel ประเมินเงื่อนไขของแต่ละแรงจูงใจทางการเงิน ที่จะทำ�ให้กระแส เงินสดสุทธิของเกษตรกรอินทรีย์โดยเฉลี่ยมีค่าเป็นบวกทุกๆ ปี เป็นระยะ เวลา 7 ปี โดยสมมติฐานหลักที่ใช้ในการสร้างแบบจำ�ลองกรณีฐาน และ กรณีที่ดีที่สุดสามารถสรุปได้ดังตารางที่ 6

59


ตารางที่ 6 สมมติฐานหลักที่ใช้ในการสร้างแบบจำ�ลอง ทางการเงิน

หัวข้อ

กรณีฐาน

กรณีที่ดีที่สุด

รายได้ และต้นทุน เกษตรกรมีรายได้และต้นทุนการเกษตรคงที่ตลอด ของเกษตรกร ระยะเวลาตั้ ง แต่ ปี ท่ี 1-7 โดยใช้ ข้ อ มู ล จากการ โดยเฉลี่ย ลงพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม และนครปฐม ราคาคาร์บอน เครดิต T-VER (บาท/ตัน คาร์บอนได ออกไซด์เทียบเท่า) สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า (% LTV – อัตราส่วน สินเชื่อต่อ ต้นทุนการเกษตร)

200

60%

60

มหาสารคาม: 606,450 (ผลจากการ goal seek) นครปฐม: 616,676 (ผลจากการ goal seek) 60%

หัวข้อ

กรณีฐาน

กรณีที่ดีที่สุด

CSR – LESS (บาท)

ได้รับการสนับสนุน ต้นทุนการเกษตร และ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 100% เฉพาะในปีแรก

ได้รับการสนับสนุน ต้นทุนการเกษตร และ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 100% ในปีแรก แล้ว ลดการสนับสนุนลงปี ละ 15% ในระหว่างปี ที่ 2-5 และสนับสนุน 40% ในปีที่ 6-7 (ผล จากการ goal seek)

สัญญาซื้อ ขายล่วงหน้า (% ค่าพรีเมียม)

สูงกว่าราคาข้าว อินทรีย์ในตลาด 20%

สูงกว่าราคาข้าว อินทรีย์ในตลาด 247% (ผลจากการ goal seek)

เงินให้เปล่า หรือ เงินสนับสนุน โดยตรง (บาท)

ได้รับการสนับสนุน ต้นทุนการเกษตร 100% ในปีที่ 1-3

ได้รับการสนับสนุน ต้นทุนการเกษตร และ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 100% ในปีที่ 1-5 (ผล จากการ goal seek)

61


ผลลัพธ์ของแบบจำ�ลอง “กรณีฐาน” ชี้ให้เห็นว่า กระแสเงินสดสุทธิของ ครัวเรือน ทั้งของเกษตรกรอินทรีย์และเกษตรกรเคมี โดยเฉลี่ยแล้วมีค่า ติดลบตลอดระยะเวลา 7 ปีในทุกกลไกการเงิน ยกเว้นกลไก LESS ที่สามารถ ทำ � ให้ ก ระแสเงิ น สดของครั ว เรื อ นมี ค่ า เป็ น บวกได้ ใ นช่ ว งระยะแรก แต่ ท้ายที่สุดแล้วก็จะมีค่าติดลบเช่นเดียวกับกลไกอื่นๆ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

• T-VER: เนื่ อ งจากราคาตลาดของคาร์ บ อนเครดิ ต ปั จ จุ บั น อยู่ ที่

ประมาณ 200 บาท/ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ประกอบกับก๊าซ เรือนกระจกที่สามารถลดลงได้จากการเปลี่ยนมาทำ�เกษตรอินทรีย์ มีปริมาณน้อย ทำ�ให้รายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตค่อนข้างตํ่า และไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายครัวเรือน

• สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า: ในกรณีที่เกษตรกรไม่เคยกู้ยืมเงินมาก่อน การขอสิ น เชื่ อ ดอกเบี้ ย ตํ่ า จะเป็ น การเพิ่ ม ภาระต้ น ทุ น แก่ เกษตรกร เนื่องจากจะต้องมีการจ่ายดอกเบี้ย หรือแม้เกษตรกรจะมีภาระหนี้สิน อยู่แล้ว ต้นทุนดอกเบี้ยที่สามารถประหยัดได้ (สูงสุด 1,112 บาท/ปี) ก็ เ ป็ น จำ � นวนเงิ น เพี ย งเล็ ก น้ อ ยเมื่ อ เที ย บกั บ ค่ า ใช้ จ่ า ยในครั ว เรื อ น (79,200 บาท/ปี)

• LESS: การสนับสนุนทั้งในส่วนของต้นทุนการเกษตรและค่าใช้จ่าย

ในครัวเรือน 100% ในปีแรก ส่งผลให้กระแสเงินสดของครัวเรือน มีค่าเป็นบวกในช่วง 18 เดือนแรก (21 เดือนแรก) ในมหาสารคาม (นครปฐม) แต่หลังจากนั้นกระแสเงินสดจะมีค่าติดลบเช่นเดียวกับ กลไกอื่น

• สัญญาซื้อขายล่วงหน้า: ราคาขายคาร์บอนเครดิตที่สูงกว่าตลาด

เพียง 20% ไม่สามารถสร้างรายได้ได้เพียงพอต่อค่าใช้จา่ ยในครัวเรือน

62

• เงินให้เปล่า หรือเงินสนับสนุนโดยตรง: การสนับสนุนต้นทุน

ทางการเกษตร 100% ไม่เพียงพอที่จะทำ�ให้กระแสเงินสดสุทธิของ เกษตรกรอินทรีย์มีค่าเป็นบวกได้

ในส่วนของ “กรณีท่ีดีที่สุด” คณะวิจัยพยายามค้นหาชุดเงื่อนไขที่จะทำ�ให้ กระแสเงินสดสุทธิของเกษตรกรอินทรีย์ระหว่างปีที่ 1 -7 มีค่าเป็นบวก โดย คณะวิจัยพบว่าเกษตรกรจำ�เป็นต้องได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้นอย่างมากใน แต่ ล ะแรงจู ง ใจทางการเงิ น เมื่ อ เปรี ย บเที ย บกั บ กรณี ฐ าน (ยกเว้ น กลไก สิ น เชื่ อ ดอกเบี้ ย ตํ่ า ที่ ไ ม่ ว่ า อย่ า งไรกระแสเงิ น สดยั ง คงมี ค่ า ติ ด ลบ) รายละเอียดมีดังนี้

• T-VER: หากกำ�หนดให้จำ�นวนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ และปริมาณ

การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีค่าเท่ากับในกรณีฐาน พบว่าราคา ขายคาร์บอนเครดิตต้องมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 606,450 (616,676) บาท/ตั น คาร์ บ อนไดออกไซด์ เ ที ย บเท่ า สำ � หรั บ มหาสารคาม (นครปฐม) จึงจะทำ�ให้กระแสเงินสดสุทธิของเกษตรกรมีค่าเป็นบวก

• LESS: โครงการ CSR จะต้องสนับสนุนทั้งต้นทุนการเกษตรและ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 100% ในปีที่ 1 จากนั้นลดการสนับสนุนลง ปีละ 15% ในช่วงปีที่ 2-5 และคงการสนับสนุนต้นทุนทางการเกษตร และค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่ 40% ในปีที่ 6-7 โดยรวมแล้ว โครงการนี้ จะต้องสนับสนุนเป็นจำ�นวนเงินโดยประมาณ 483,000 (447,090) บาท/ครัวเรือนในมหาสารคาม (นครปฐม)

• สัญญาซื้อขายล่วงหน้า: ผู้ซื้อคาร์บอนเครดิตจะต้องจ่ายในราคาที่ สูงกว่าตลาด 247% จึงจะทำ�ให้กระแสเงินสดสุทธิของเกษตรกรมีค่า เป็นบวก

63


• เงิ น ให้ เ ปล่ า หรื อ เงิ น สนั บ สนุ น โดยตรง: จะต้องสนับสนุนทั้ง

ส่วนของต้นทุนการเกษตร และค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 100% เป็น ระยะเวลา 5 ปี กระแสเงินสดสุทธิของเกษตรกรจึงจะมีค่าเป็นบวก เงินสนับสนุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 500,090 (534,500) บาท/ครัวเรือน ในมหาสารคาม (นครปฐม)

ผลลัพธ์ของแบบจำ�ลองทางการเงินทั้งในกรณีฐาน และกรณีที่ดีท่ีสุด ชี้ให้ เห็นว่า “ขนาดการถือครองพื้นที่การเกษตร” เป็นปัจจัยสำ�คัญที่กำ�หนดว่า เกษตรกรอินทรีย์จะสามารถสร้างกระแสเงินสดสุทธิที่เป็นบวกได้หรือไม่ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเป็นภาระอันหนักหน่วงที่เกษตรกรจะต้อง จ่าย ไม่ว่าจะมีพื้นที่การเกษตรเท่าไรก็ตาม จากการสำ�รวจพบว่า เกษตรกร โดยเฉลี่ ย ถื อ ครองไร่ อิ น ทรี ย์ ข นาดเล็ ก (5 ไร่ ใ นนครปฐม และ 11 ไร่ ใ น มหาสารคาม) หมายความว่าเกษตรกรอินทรีย์จำ�เป็นต้องได้รับการสนับสนุน อีกมากผ่านแรงจูงใจทางการเงินต่างๆ จึงจะสามารถทำ�ให้กระแสเงินสด สุทธิของเกษตรกรมีค่าเป็นบวกได้ หากพิจารณาแบบจำ�ลองในกรณีฐาน พบว่าไม่มีกลไกใดที่สามารถช่วยให้ เกษตรกรมีเงินเพียงพอต่อการใช้จ่ายในครัวเรือนได้ อย่างไรก็ตาม ในแบบ จำ�ลองนี้คณะวิจัยได้ตั้งสมมติฐานบนหลักความระมัดระวัง (conservative assumptions) 2 ประการ ดังนี้ 1. กำ�หนดให้ครัวเรือนเกษตรกรอินทรีย์มีรายได้จากการปลูก และขาย ข้าวอินทรีย์เพียงอย่างเดียว ซึ่งในความเป็นจริงครัวเรือนอาจมีรายได้ เสริมจากการทำ�อาชีพเสริม เงินโอนจากสมาชิกในครอบครัว ฯลฯ 2. กำ�หนดให้รายได้เฉลี่ย และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของครัวเรือนเกษตรกร อินทรีย์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา 7 ปี ซึ่งความจริงแล้ว

64

เกษตรกรมีแนวโน้มที่จะขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้นเมื่อพ้นระยะ เปลี่ยนผ่าน รวมถึงอาจสามารถบริหารจัดการต้นทุนการเกษตรได้ ดีขึ้น (เช่น ในระยะยาวอาจใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้อยลง เนื่องจากสภาพดิน ดีขึ้น)

ข้อเสนอแนะและบทสรุป การปรั บ เปลี่ ย นแนวทางจากการทำ � เกษตรเคมี ม าสู่ เ กษตรอิ น ทรี ย์ ใ น ประเทศไทยยั ง คงเผชิ ญ กั บ ปั ญ หาและอุ ป สรรคนานั ป การ ไม่ ว่ า จะเป็ น ปัญหาด้านการเข้าถึงตลาด การขาดแคลนองค์ความรู้ การรับรองมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ที่มีต้นทุนสูง นโยบายภาครัฐที่ขาดความต่อเนื่อง รวมถึงการ ขาดแคลนเงินทุนสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ในช่วง “ระยะเปลี่ยนผ่าน” ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่เกษตรกรจะได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ งานวิจัยนี้ให้ความสำ�คัญกับปัญหาขาดแคลนเงินทุนสนับสนุนการทำ�เกษตร อิ น ทรี ย์ ใ นช่ ว งระยะเปลี่ ย นผ่ า นเป็ น หลั ก โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ สำ� รวจ รวบรวมข้อมูล และทดสอบแรงจูงใจทางการเงินที่เป็นไปได้ในการสนับสนุน ให้เกษตรกรเปลี่ยนจากวิถีเกษตรเคมีมาสู่วิถีเกษตรอินทรีย์ จากการสำ�รวจความคิดเห็น พบว่าโดยรวมแล้วแรงจูงใจทางการเงินที่ได้รับ ความสนใจมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ LESS, T-VER และเงินให้เปล่าหรือ เงินสนับสนุนโดยตรง เกษตรกรอินทรีย์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า LESS และ T-VER เปรียบเสมือนเป็น “เงินโบนัส” ที่ได้เพิ่มเติมจากการทำ�เกษตรอินทรีย์

65


ตามปกติ และเสนอว่าหากภาครัฐต้องการสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ อย่างจริงจัง ภาครัฐก็ควรเข้ามามีบทบาทหลักในการให้เงินสนับสนุนเพื่อ จูงใจเกษตรกร ในส่วนของกลไกสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า พบว่าได้รับความสนใจมากเป็นอันดับ หนึ่งจากกลุ่มเกษตรกรเคมีที่มีภาระหนี้สินสูง สาเหตุเป็นเพราะเกษตรกรเชื่อ ว่ากลไกดังกล่าวจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์จากแบบ จำ�ลองทางการเงินชี้ให้เห็นว่ากลไกสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่าเป็นเพียงกลไกเดียว ที่ไม่สามารถทำ�ให้กระแสเงินสดสุทธิของเกษตรกรมีค่าเป็นบวก เนื่องจาก ดอกเบี้ยที่สามารถประหยัดได้นั้นไม่มากพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายใน ครัวเรือนได้

1. พื้นที่การเกษตรรวมของโครงการควรมีขนาดใหญ่มากพอ (อย่างตํ่า 1,000 ไร่) เพื่อให้มีปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก พอต่อความต้องการซื้อขององค์กรที่มีเป้าหมายการชดเชยปริมาณ คาร์ บ อน โดยเกษตรกรอาจใช้ วิ ธี ก ารรวมกลุ่ ม กั น ในการดำ � เนิ น โครงการ 2. ปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ T-VER มาจาก 3 ปัจจัย ได้ แ ก่ การลดการใช้ เ ชื้ อ เพลิ ง ฟอสซิ ล การลดการใช้ ปุ๋ ย เคมี และ การกักเก็บคาร์บอนในดิน ดังนั้น พื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่เดิมเคยใช้ปุ๋ย เคมีในปริมาณมาก และมีดินคุณภาพตํ่า จะมีแนวโน้มลดปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้มาก

จากการสร้างแบบจำ�ลองทางการเงินของกลไกทางการเงินทั้ง 5 รูปแบบ สำ � หรั บ กรณี ฐ านนั้ น คณะวิ จั ย พบว่ า ไม่ มี รู ป แบบใดที่ ส ามารถช่ ว ยให้ เกษตรกรมีกระแสเงินสดเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายครัวเรือนในระยะเปลี่ยนผ่าน ได้ ทั้งนี้ คณะวิจัยได้ตั้งสมมติฐานบนหลักความระมัดระวังดังที่ได้กล่าวไป ในเบื้องต้น

3. ปริ ม าณก๊ า ซเรื อ นกระจกที่ ล ดลงจากการทำ � เกษตรอิ น ทรี ย์ จ ะมี แนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อระยะเวลาผ่านไปนานขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงควรมี การศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจวัดปริมาณอินทรียวัตถุในดินใน ระยะยาว เพื่อนำ�ข้อมูลดังกล่าวไปพัฒนาสูตรการคำ�นวณปริมาณ ก๊าซเรือนกระจกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

จากผลการวิจัย คณะวิจัยมีข้อเสนอแนะสำ�หรับการพัฒนาแรงจูงใจทาง การเงิน เพื่อสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย 4 ประการ ดังนี้

4. โดยธรรมชาติแล้ว การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในโครงการ T-VER และ LESS จะเป็นการเจรจาซื้อขายโดยตรงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย (over-the-counter) ด้ ว ยเหตุ นี้ ราคาคาร์ บ อนเครดิ ต ของทั้ ง สอง โครงการจึงอาจมีราคาที่ต่างไปจากคาร์บอนเครดิตในโครงการอื่นๆ เช่น อาจมีราคาสูงถึง 30,000 บาท/ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ดังตัวอย่างโครงการลักษณะคล้ายกันในประเทศญี่ปุ่น) ซึ่งมีค่าสูง กว่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับราคาตลาดที่ใช้ในกรณีฐาน (200 บาท/ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า)

ประการแรก กลไก T-VER และ LESS เปรียบเสมือนเป็นการจ่าย “เงินโบนัส” ให้แก่เกษตรกรอินทรีย์ เพื่อชดเชยให้เกษตรกรที่มีส่วนช่วยสร้างผลกระทบ ในเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยเหตุนี้ ในอนาคตจึงควรมีการศึกษาเกี่ยวกับกลไกทั้งสองในเบื้องลึกต่อไป โครงการ T-VER ที่เหมาะสมควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

66

67


ประการที่สอง แม้ผลการวิจัยนี้จะชี้ให้เห็นว่ายังไม่มีแรงจูงใจทางการเงินใด ที่เป็น “ยาวิเศษ” ที่จะสามารถทำ�ให้เกษตรกรเปลี่ยนมาทำ�เกษตรอินทรีย์ ได้ในทันที อย่างไรก็ตาม แนวทางหนึ่งที่เป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติคือ การรวม แรงจูงใจทางการเงินหลายๆ รูปแบบเข้าด้วยกัน และอาศัยความร่วมมือจาก ผู้มีส่วนได้เสียหลายกลุ่ม เช่น ภาครัฐอาจสนับสนุนเงินทุนสำ�หรับการทำ� เกษตรอิ น ทรี ย์ ใ นระยะแรก จากนั้ น องค์ ก รเอกชนอาจสนั บ สนุ น เงิ น ทุ น เพิ่ ม เติ ม ผ่ า นกลไก LESS หรื อ ทำ � สั ญ ญาซื้ อ ขายล่ ว งหน้ า กั บ เกษตรกร ในขณะเดียวกัน สถาบันการเงินก็อาจให้บริการสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่าควบคู่ ไปด้วย ประการที่ ส าม ภาครั ฐ สามารถมี บ ทบาทสำ � คั ญ ในการสนั บ สนุ น การทำ � เกษตรอินทรีย์ โดยอาจใช้แนวทางเดียวกับต่างประเทศ (สหภาพยุโรป) ที่ เน้นสนับสนุนเกษตรอินทรีย์โดยทั่วไป มากกว่าที่จะเลือกสนับสนุนอย่าง จำ�เพาะเจาะจงเป็นรายโครงการ อีกทั้งควรกำ�หนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข การสนั บ สนุ น ที่ เ ข้ า ใจง่ า ย เช่ น การให้ เ งิ น สนั บ สนุ น ต่ อ พื้ น ที่ ก ารเกษตร อินทรีย์ ที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรเลือกเองได้ว่าจะปลูกพืชชนิดใด โดยอัตรา การสนับสนุนจะขึ้นอยู่กับชนิดพืชที่ปลูก ประการสุดท้าย การเกษตรไม่ว่าจะเป็นเกษตรอินทรีย์หรือเคมีก็ตาม ล้วน ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนนานัปการ ด้วยเหตุนี้ เครื่องมือทางการเงิน อื่นๆ ที่สามารถช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงของเกษตรกร เช่น ประกัน ดั ช นี ส ภาพอากาศ จึ ง มี ส่ ว นสำ �คั ญ ยิ่ ง ในการพั ฒ นาโครงสร้ า งกลไกทาง การเงินให้มีความเหมาะสม และสามารถสนับสนุนการทำ�เกษตรอินทรีย์ใน ประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

68

ดาวน์โหลดรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้จาก

www.salforest.com


เกี่ยวกับผู้จัดทำ�

ป่าสาละเป็นบริษัท “ปลูกธุรกิจที่ยั่งยืน” แห่งแรกในประเทศไทย ก่อตั้งในเดือนกรกฎาคม 2556 เป้าหมายของเราคือจุดประกายและดำ�เนินวาทกรรมสาธารณะเกีย่ วกับธุรกิจทีย่ ง่ั ยืน ผ่านการจัดสัมมนา อบรม ประชุมเชิงปฏิบตั กิ าร ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และออนไลน์ รวมทั้งผลิต งานวิจัยในประเด็นความยั่งยืนในประเทศไทย และส่งเสริมการวัดผลตอบแทนทางสังคม ABOUT US:

Sal Forest is Thailand’s first “sustainable business accelerator.” Founded in July 2013, we aim to jumpstart and sustain a public discourse on sustainable business via events, print and online media, as well as conducting research on important sustainability issues in Thailand and social impact assessment.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท ป่าสาละ จำ�กัด 2 ซอยสุขุมวิท 43 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 โทร 02 258 7383 Sal Forest Co.,Ltd. 2 Soi Sukhumvit 43, Kwaeng Klongton Nua, Khet Wattana, Bangkok 10110 Thailand Email: info@salforest.com www.salforest.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.