エ ッ ! ジ ャ パ ン
Exclusive Scoop on Japanese
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ ส�ำนักพิมพ์แซลมอนมีนิสัยขี้อิจฉา เวลาเดินร้านหนังสือแล้ว เห็นหนังสือที่เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นก็มักรู้สึกริษยา เพราะอยาก จะมีหนังสือที่ว่าด้วยดินแดนซากุระมหานิยมไว้ในสังกัดกับเขาบ้าง ขณะเดียวกัน เราก็เป็นพวกขีเ้ บือ่ เพราะถ้าจะมีหนังสือเกีย่ วกับ ต่างประเทศทั้งที แล้วจะเป็นแค่ไกด์บุ๊กหรือหนังสือน�ำเที่ยวก็คง น่าเบื่อไปหน่อย แถมในร้านหนังสือเองก็มีหนังสือน�ำเที่ยวญี่ปุ่น เยอะแยะแทบล้นแผง เราจึงยังไม่มีหนังสือที่เกี่ยวข้องกับประเทศ ญี่ปุ่นกับเขาเสียที จนกระทั่งวันหนึ่ง เรานัดคุยกับ ณัฐพงศ์ ไชยวานิชย์ผล ธุระ ครั้งนัน้ คือการว่าจ้างแปลหนังสือภาษาญีป่ นุ่ เล่มหนึง่ ณัฐพงศ์เป็น นักแปล เขาแปลการ์ตูนมาหลายเล่มให้หลายค่าย คุยไปคุยมาก็ พบว่าเขาไม่ใช่แค่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาเท่านั้น แต่ยังมีความรู้ มากมายเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น เพราะเคยไปอยู่ที่นั่นมาในฐานะ นักศึกษามหาวิทยาลัย ต่อมายังมีชวี ติ ครอบครัว และประกอบอาชีพ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศนี้นอกเหนือจากงานแปลอีกด้วย ในวันนั้น เราถามเขาว่านักแปลอย่างเขาสนใจจะเขียนหนังสือ บ้างรึเปล่า เพราะคิดว่าคนที่ดูมีประสบการณ์อย่างเขาน่าจะมีอะไร มาเขียนให้คนอ่านได้ประเทืองปัญญาและอารมณ์อยูบ่ า้ ง เขานิง่ หาย ไปหลายวัน และเริ่มเปรยกับเราว่า อยากเขียนหนังสือเกี่ยวกับ ‘ชาวญี่ปุ่น’ และปีถัดมา มันก็กลายเป็นหนังสือเล่มนี้ (มันออกเป็นเล่มเร็วกว่างานแปลที่เรานัดเขาคุยเสียอีก!)
ประเทศญีป่ นุ่ มีความน่าสนใจหลากหลายอย่างทีเ่ ราทราบ ไม่ใช่ แค่สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วทีเ่ ราฝันว่าสักวันจะทุบกระปุกไปเยีย่ ม, มังงะที่ อ่านตั้งแต่เด็ก, รถยนต์ยี่ห้อที่เห็นตั้งแต่ยังเล็ก ฯลฯ ถ้าบรรยากาศของสังคม ประวัตศิ าสตร์การเมือง การบ้าน และ สารพัดการทีถ่ มทับกันมานานเป็นเหตุผลทีห่ ล่อหลอมให้ประชาชน ในประเทศหนึ่งเกิดเอกลักษณ์ ในประเทศที่มีประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรมที่น่าสนใจหลายหลากอย่างญี่ปุ่น ประชาชนที่เกิดขึ้นมา คงน่าสนใจไม่น้อย แถมยังเป็นกลุ่มคนที่คอยขับเคลื่อนประเทศ ญีป่ นุ่ จนกลายเป็นหนึง่ ในดินแดนทีท่ นั สมัยทีส่ ดุ มีนวัตกรรมล�ำ้ ยุค เป็นแนวหน้า และยังมีวัฒนธรรมป๊อปปูล่าร์เป็นอันดับต้นๆ ของ โลกได้ มันก็ยิ่งน่าสนใจ! แต่ว่าในหนังสือของณัฐพงศ์ยังละเอียดอ่อนกว่านั้น เขาไม่ได้ รวบรวมเอาเฉพาะกลุม่ คนทีเ่ ป็นนักพัฒนา นักคิด หรือผูท้ สี่ ร้างสรรค์ ความแปลกใหม่ให้ญปี่ นุ่ เท่านัน้ แต่นำ� เสนอถึงคนเดินถนนทีส่ ามารถ เห็นได้ทวั่ ไป เป็นกลุม่ คนปกติทมี่ เี อกลักษณ์แตกต่าง มีบทบาทหน้าที่ ที่ไม่เหมือนกัน และทุกคนอาศัยรวมกันอยู่ในประเทศที่ชื่อว่าญี่ปุ่น ระหว่างจัดการต้นฉบับหนังสือเล่มนี้ เราพบว่าในทุกๆ ที่ ไม่ใช่ แค่สงิ่ แวดล้อมหรอกทีเ่ ป็นธรรมชาติทนี่ า่ ไปสัมผัส แต่ธรรมชาติของ ผูค้ นก็เป็นเรือ่ งทีน่ า่ สนใจไม่นอ้ ย เป็นสิง่ ทีเ่ ราอาจร้อง เอ๊ะ! อ๊ะ! ได้ ไม่แพ้กันถ้าพบเจอ และสุดท้าย อาจพูดได้วา่ หนังสือเล่มนีเ้ ป็นหนังสือเชิงท่องเทีย่ ว ญี่ปุ่นอีกเล่ม แต่เราก็เต็มใจนะ
สำ�นักพิมพ์แซลมอน
คำ�นิยม
ผมเรียกคุณณัฐพงศ์ว่า “เซนเซ” ซึ่งหลายคนคงทราบว่า คือ ‘อาจารย์’ ในภาษาญีป่ นุ่ ทีผ่ มเรียกณัฐเซนเซว่าณัฐเซนเซ ก็เพราะณัฐเซนเซเคยเป็นอาจารย์ผมจริง แม้จะเป็นเพียงช่วง สั้นๆ ที่ผมริอ่านกลับไป ‘พยายาม’ เรียนภาษาญี่ปุ่นอีกครั้ง หลังจากที่สมองส่วนซูชิของผมขึ้นสนิมมานาน นอกจากณัฐเซนเซ ยังมีเซนเซท่านอื่นๆ ที่เคยสอน ภาษาญีป่ นุ่ ผมมาแล้วมากมาย ในบรรดาอาจารย์ผนู้ า่ สงสาร เหล่านั้น ไม่เคยมีใครสอนผมได้ส�ำเร็จ (นี่เป็นวิธีพูดแบบ เข้าข้างตัวเองอย่างเนียนๆ ว่าเป็นความบกพร่องของอาจารย์ ไม่ใช่ของผม) ณัฐเซนเซก็เป็นหนึ่งในอาจารย์ผู้ล้มเหลวเช่น กัน ทันทีที่ผมพ้นจากวิชาของณัฐเซนเซ สมองส่วนซูชิของ ผมก็กลับคืนสู่ความดิบดังเดิม (นีเ่ ป็นปมด้อยของคนทีช่ นื่ ชอบวัฒนธรรมญีป่ นุ่ เดินทาง ไปญีป่ นุ่ ค่อนข้างบ่อย และมีงานให้ตอ้ งท�ำกับคนญีป่ นุ่ อยูเ่ สมอ ผมบอกเพือ่ นญีป่ นุ่ ซ�ำ้ แล้วซ�ำ้ เล่า (เมือ่ วานยังบอกคนหนึง่ ไป หยกๆ ไม่ได้โม้) มาเป็นเวลานับสิบปี ว่าผมจะตั้งใจเรียน ภาษาญี่ปุ่นอย่างเอาจริงเอาจัง และวันหนึ่งจะต้องพูดคุยกับ พวกเขาเป็นภาษาญี่ปุ่นให้จงได้-รอไปเถอะครับ ไอ้มดแดง!)
สิ่งที่ท�ำให้ณัฐเซนเซแตกต่างจากเซนเซท่านอื่น คือหลัง จากที่ล้มเหลวกับการสอนผม ณัฐเซนเซยังคงปรากฏตัวให้ ผมพบปะพูดคุยในฐานะ ‘นักอ่าน’ ตัวยง ยิ่งไปกว่านั้น ผม ต้องประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อได้ทราบว่าณัฐเซนเซเก็บ สะสมหนังสือของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ ฉบับเก่าๆ ไว้เกือบครบ ทุกปก เรียกได้อย่างเต็มปากว่าณัฐเซนเซเป็นอาจารย์สอน ภาษาญี่ปุ่นคนเดียวที่ผมยังคบหาอยู่ห่างๆ ด้วยสายใยแห่ง วรรณกรรมไทยและความสัมพันธ์แบบทฤษฎีหกช่วงคน จึงเป็นเรือ่ งน่ายินดีทมี่ แี มวมองตาใสไปชักชวนณัฐเซนเซ มาเขียนหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น ที่ว่าน่ายินดีคือน่ายินดีส�ำหรับผม เพราะผมอยากอ่านงาน เขียน อยากรับเกร็ดความรูเ้ กีย่ วกับญีป่ นุ่ จากณัฐเซนเซ ด้วย เชือ่ มัน่ ว่าประสบการณ์และความใส่ใจต้องส่งให้ณฐั เซนเซได้ สัง่ สมเรือ่ งเกีย่ วกับญีป่ นุ่ ไว้เป็นคลังขนาดใหญ่กว่าของผมแน่ และเท่าที่ได้อ่านแบบชิมค�ำเล็กๆ ก่อนคนอื่น ก็พบว่าเป็น หนังสือทีอ่ ดั แน่นราวข้าวสุกญีป่ นุ่ เหนียวไปด้วยรายละเอียด ทีค่ นไทย (หรือกระทั่งคนญีป่ นุ่ เอง) ไม่เข้าใจหรือไม่เคยรูม้ า ก่อนเกีย่ วกับเกาะเล็กๆ ในทวีปเอเชียที่ ‘พัฒนาแล้ว’ เกาะนัน้ หากถามว่าเป็นเรือ่ งน่ายินดีสำ� หรับท่านผูอ้ า่ นด้วยหรือไม่ ผมกล้ายืดอกตอบเป็นภาษาญีป่ นุ่ ตามทีณ ่ ฐั เซนเซสอนผมว่า “ไฮ่!” เพราะผมพูดได้อย่างมั่นใจเท่านี้จริงๆ
ด้วยมิตรภาพจากศิษย์ไม่เอาถ่าน ปราบดา หยุ่น กันยายน 2555
คำ�นำ�ผู้เขียน ตอนแรกที่ถูก บ.ก.หนุ่มอย่างแบงค์ถามว่า “สนใจจะเขียน หนังสือเรือ่ งญีป่ นุ่ มัย้ ” หลังจากทีแ่ ปลหนังสือญีป่ นุ่ ให้กบั ส�ำนักพิมพ์ แซลมอนไปเล่มนึง ผมก็นงั่ คิดเป็นวันๆ ว่าจะเขียนเรือ่ งอะไร เพราะ ประเทศญีป่ นุ่ นีถ่ า้ เปรียบกับสาวก็คงถูกแทะโลมด้วยสายตาจนแทบ ไม่เหลืออะไรแล้ว ประเทศไทยมีหนังสือเกี่ยวกับญี่ปุ่นเยอะมาก น�ำเที่ยวกันไม่รู้ กี่เล่ม จะให้เขียนแนวน�ำเที่ยวก็คงชนกับชาวบ้าน ยกเว้นแต่จะ น�ำเที่ยวโซนโทไค ตอนกลางของญี่ปุ่นที่ผมอาศัยอยู่ที่นั่นช่วงเรียน ปริญญาโทแต่ก็ยังไม่น่ าสนใจพอ จะเขียนสารคดีแบบไปเที่ยว สามสีท่ แี่ ล้วเอามาเขียนแบบเท่ๆ คมๆ ก็คงท�ำล�ำบาก เพราะยังไม่มี ใครรูจ้ กั เท่าไร จึงมานัง่ กลัน่ กรองสมองตัวเองว่าจะเขียนเรือ่ งไหนได้ และอะไรที่ยังไม่มีคนเขียนมาก่อน พอมานึกอีกที ตั้งแต่ข้องแวะกับญี่ปุ่นและภาษาญี่ปุ่นมาตลอด ตั้งแต่ติด F วิชาภาษาญี่ปุ่นตอนเรียนมหาวิทยาลัยปีแรก ตามด้วย การไปเทีย่ วญีป่ นุ่ ด้วยตัวเองเป็นเวลาเกือบสิบวัน แล้วติดใจ เลยไป เรียนต่อทีญ ่ ปี่ นุ่ โดยเริม่ จากการเรียนภาษาญีป่ นุ่ ที่ Nagoya Gakuin University ปีครึ่ง แล้วต่อปริญญาโทที่ Nagoya University of Foreign Studies จนกลับมาท�ำงานกับคนญี่ปุ่นที่เมืองไทยตลอด หลายปีที่ผ่านมา ก็ได้เจอกับคนญี่ปุ่นหลายประเภท แต่ละกลุ่มก็ มีคาแรคเตอร์ที่น่าสน เลยคิดว่าอยากจะเอามาเขียนเจาะๆ ลงไป ให้คนได้รู้จักคนญี่ปุ่นและแนวคิดของพวกเขามากยิ่งขึ้น พอได้คอนเซปต์กม็ านัง่ คิดอีกทีวา่ จะเขียนถึงพวกไหนบ้าง ไล่นนู่ ไล่นี่ไปสารพัด ปรับไปปรับมา ดูว่าอันไหนพอจะเขียนได้บ้าง คิดๆ ไปแล้วก็มีหลายกลุ่มเหมือนกัน แม้จะดูเหมือนเป็น stereotype
ไปบ้าง แต่ก็แหม ใครมันจะสามารถแยกละเอียดระดับปัจเจกได้ ล่ะครับ เราก็ต้องเขียนแบบ stereotype ให้เข้าใจได้ง่ายๆ ก่อน ทีเ่ อามาเขียนนี่ ส่วนใหญ่กเ็ ป็นพวกทีเ่ ด่นๆ และเห็นได้ในสังคม ญี่ปุ่นนะครับ ซึ่งก็สนุกตรงที่คนญี่ปุ่นนี่เป็นชนชาติที่ชอบการรวม กลุม่ เสียจริง เวลาสัมผัสคนญีป่ นุ่ แล้วผมมักจะรูส้ กึ ว่า พวกเขาต้อง เป็นส่วนหนึ่งของ ‘กลุ่ม’ อะไรสักอย่าง เพื่อความสบายใจว่าตัวเอง ได้เป็นส่วนหนึง่ ของสิง่ ทีใ่ หญ่กว่าตัวเอง บางทีกใ็ ช้ชวี ติ มาเรือ่ ยๆ เป็น สิบปี พอมีกระแสว่าปัจจุบันมีชาว...ที่มีพฤติกรรมแบบ... หลายคน ก็พร้อมจะเกิดอุปาทานว่า “โอ้ว นี่มันเรานี่หว่า งั้นต่อไปเราเป็น พวกนี้แล้วกันนะ” อย่างเช่น ‘กลุ่มอะราโฟร์’ ซึ่งมากจากค�ำว่า Around Forty ที่หมายถึงสาวใหญ่วัย 40 นั่นเอง ค�ำนี้ดังมาจาก ละครทีวี แล้วจู่ๆ หญิงวัย 40 ก็เรียกตัวเองว่า ‘อะราโฟร์’ ทันที หรือไม่ก็ ‘กลุ่มชายกินพืช’ (อ่านรายละเอียดในเล่มได้จ้า) ที่เมื่อ กลายเป็นค�ำนิยมปุบ๊ มีการส�ำรวจประชากรทัว่ ไปของญีป่ นุ่ ปรากฏ ว่าเกินกว่าครึง่ คิดว่าตัวเองเป็น ‘ชายกินพืช’ อ้าว แล้วทีโ่ ตๆ มาสิบๆ ปีนี่ ไม่เคยรู้ตัวเลยว่าเป็นอะไรเหรอ มาคิดอีกทีก็เพลินดีนะครับ เมือ่ จัดกลุม่ เสร็จก็เขียนโดยรีดประสบการณ์สว่ นตัว และข้อมูล ทีส่ ะสมมาตลอดจากการทีไ่ ด้รจู้ กั กับคนนูน้ คนนี้ ก็รสู้ กึ ว่า เออ เรานี่ ก็เจอคนมาหลายประเภทเหมือนกันแฮะ กระทัง่ ยากูซา่ ก็ยงั ได้โอกาส เจอตัวจริงๆ และได้สนทนาด้วยเลย หนังสือเล่มนี้เลยกลายเป็น เหมือนบันทึกของประสบการณ์ของตัวเอง ถ้าใครซื้อมาลองอ่านดู แล้ว คิดว่าได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อย ผมเองก็คงจะดีใจมากที่ได้ ท�ำประโยชน์ให้กับคุณครับ เอาล่ะ พร้อมจะไปพบกับชาวญี่ปุ่นหลากแนวรึยังครับ
ณัฐพงศ์ ไชยวานิชย์ผล
สารบัญ
12 โอตาคุ 26 รูยิ้ล่งึกกว่รูา้จใครริง ซาลารี่มัง ซามูไรในชุดสูท 42 ซาลารี่มัง 52 ถอดเกราะซามูไร สาว OL แนวหลัง 62 ผู้ปิดทองหลังพระ แยงกี้ 74 เด็กแว้นฉบับญี่ปุ่น แกล สาวเปรี้ยวที่ 88 ไม่เคยหยุดสนุก 102 เคีมาดืยะบะโจ ่มกันหน่อยมั้ยคะ
ยากูซ่า ขาใหญ่ครองเมือง
ดาวตลก เบื้องหลังของ ความฮา
กลุ่มพฤติกรรม แปลกๆ
กลุ่มสูงวัย
ไกจิน คนนอก ในสังคมญี่ปุ่น
เกี่ยวกับผู้เขียน
114 126 140 โฮมเลส ผู้เร่ร่อนในเมืองใหญ่ 152 โอบะซัง ีวิตที่แกร่ง 170 สิที่ง่สมีุดชในเกาะญี ่ปุ่น 182 กลุ่มสืบสาน 198 วัฒนธรรม 214 232 กลุ‘อาคิ่มสับงะ’คม 244 โฮสต์ ชายในชุดสูท แห่งรัตติกาล
ยากูซ่า ขาใหญ่ครองเมือง
เมื่อตอนที่ทางแผนกสอนภาษาญี่ปุ่นของ มหาวิทยาลัยทีญ ่ ปี่ นุ่ ตอบรับผมเข้าเรียนเมือ่ ปี 2002 ผมเคยถูกถามว่า “ไม่กลัวถูกยากูซา่ ยิง ตายเหรอ” ได้แต่คดิ ว่า อืม...ถ้าได้เจอยากูซา่ ที่ เท่แบบ โฮโจ อากิระ ในการ์ตนู เรือ่ ง Sanctuary ที่เคยติดงอมแงมสมัยมัธยม สงสัยจะดีใจ มากกว่ากลัวแหงม แต่เอาเข้าจริง นักเรียนไทย ใสซือ่ น่ารัก เรียบร้อยอย่างผม (ถุย) คงไม่คอ่ ยมี โอกาสได้เจอยากูซ่าหรอกครับ ถ้าไม่ไปแอบ เกรียนตามสถานที่เที่ยวกลางคืน ยากูซา่ เป็นเรือ่ งหนึง่ ของประเทศญีป่ นุ่ ทีผ่ ม ค่อนข้างจะหลงใหล สมัยเรียนเคยถึงขั้นท�ำ รายงานเรื่อง ‘ประวัติศาสตร์ยากูซ่า’ คงเป็น
1 4
เพราะรู ป แบบการใช้ ชี วิ ต ของพวกเขา และภาพลั ก ษณ์ บางส่วนทีถ่ กู แสดงออกมา (ย�ำ้ ว่า ‘บางส่วน’) เป็นนักเลงคุณธรรม ท�ำให้รู้สึกว่าพวกเขาเป็นบุคคลที่น่าสนใจ ใฝ่ฝันว่า อยากจะนัง่ คุยด้วยนานๆ แต่ถงึ จะโด่งดังและเป็นทีร่ จู้ กั ยากูซา่ ก็ไม่ได้พบเจอกันได้งา่ ยๆ หรอกนะครับ แม้เราจะเห็นจากในการ์ตูนหรือภาพยนตร์มาบ้าง แต่ ยากูซา่ ก็ไม่ใช่ของใหม่ในสังคมญีป่ นุ่ ซึง่ ถ้าย้อนอดีตไปแล้วจะ เข้าใจว่าชือ่ ‘ยากูซา่ ’ (ヤクザ) มีมาตัง้ แต่ยคุ ทีบ่ า้ นเมืองญีป่ นุ่ เข้าสู่ยุค ‘สมัยใหม่’ หรือยุคเอโดะ (ตั้งแต่ปี 1603-1868) ซึง่ เป็นยุคสมัยทีส่ งั คมเริม่ สงบสุข ผูค้ นไม่ตอ้ งกลัวการรบรา ฆ่าฟันและไม่ต้องกลัวถูกเกณฑ์ไปร่วมรบ เหมือนอย่างที่ เกิดในยุคไฟสงครามหรือยุคเซ็งโกคุ ที่แผ่นดินถูกแบ่งแยก เป็นแว่นแคว้นแล้วรบกันเพื่อครอบครองพื้นที่ พอสังคมสงบ ผู้คนไม่ได้ใช้เวลาในแต่ละวันไปกับการ ไล่ฆา่ กัน พวกเขาก็เริม่ ท�ำธุรกิจ และธุรกิจผิดกฎหมายก็ตาม มาเหมือนเป็นเงา เช่น ค้าขายของทีข่ โมยมา, ท�ำธุรกิจการพนัน หรือเรียกเก็บค่าคุม้ ครองเวลาคนมาออกร้านตามงานวัดงาน เทศกาล โดยบอกคนขายว่าถ้าไม่อยากให้มีคนมาก่อกวนก็ ต้องจ่ายค่าคุม้ ครอง ถ้าไม่จา่ ยเดีย๋ วไม่มคี นไล่ไอ้พวกมาถล่ม แผงให้นะ (ก็พวกแกเองไม่ใช่เหรอ!) และนีจ่ งึ เป็นจุดเริม่ ต้น ของเหล่ายากูซ่าในสังคมญี่ปุ่น ทีม่ าของชือ่ ยากูซา่ มาจากการพนันครับ ในการเล่นพนันที่ เรียกว่า ‘โออิโจคาบุ’ ซึง่ เป็นเกมไพ่ทนี่ บั แต้มไพ่สามใบรวมกัน โดยหากรวมแต้มได้ 10 หรือ 20 จะเป็นไพ่เสีย เพราะว่า แต้มเป็น 0 ตามเลขตัวท้าย ซึง่ หนึง่ ในคอมบิเนชัน่ ไพ่สามใบ
1 5
ที่แต้มรวมได้ 20 ก็คือ 8-9-3 หรืออ่านเป็นภาษาญี่ปุ่นได้ว่า ยา-คุ-ซะ (ญีป่ นุ่ มีการอ่านตัวเลขพลิกแพลงได้ ดังนัน้ สามารถ แทนค�ำบางค�ำด้วยตัวเลขได้) ดังนั้น 8-9-3 หรือ ‘ยากูซ่า’ จึงถือเป็น ‘ไพ่ที่ไม่มีค่า’ และกลายเป็นค�ำเรียกบรรดาคนที่ ใช้งานไม่ได้ ไม่มีประโยชน์ ไม่มีค่าต่อสังคมไปโดยปริยาย ท�ำให้พวกชายหนุม่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับธุรกิจผิดกฎหมาย เป็นเศษ เดนส่วนเกินของสังคมเหล่านี้ถูกเรียกว่า ‘ยากูซ่า’ ไปด้วย แม้ยากูซ่าจะท�ำธุรกิจผิดกฎหมาย แต่แปลกที่พวกเขา ไม่ใช่สมาคมลับเหมือนพวกมาเฟียในอิตาลี สังคมรับทราบ การมีตัวตนของยากูซ่า แถมรัฐบาลเอโดะก็ยอมรับพวกเขา และอนุญาตให้พกพามีดขนาดเล็กได้อกี ด้วย! เพราะพวกเขา เป็นกลุ่มอ�ำนาจที่รวมตัวกันได้หนาแน่น และรัฐบาลเองก็ ต้องการกลุม่ อ�ำนาจเช่นนีไ้ ว้ถว่ งดุลกับตัวเอง เหล่ายากูซา่ เลย ถูกปล่อยไว้ให้เป็นตัวถ่วงอ�ำนาจครับ และในบางทีพวกเขา ก็ช่วยดูแลความสงบของบ้านเมือง จึงท�ำให้พวกเขาสามารถ อยู่ในสังคมญี่ปุ่นมาได้ตลอดจนถึงทุกวันนี้ นอกจากค�ำว่ายากูซา่ แล้ว ยังมีคำ� เรียกอืน่ ส�ำหรับพวกเขา อีกคือ ‘โกะคุโด’ (極道) ดูจากตัวสะกดญีป่ นุ่ แบบคันจิของค�ำนี้ นี่เท่เอาเรื่องครับ เพราะมันแปลตรงตัวได้ว่า ‘วิถีที่สุดโต่ง’ ซึ่งแต่เดิมเป็นค�ำทางพุทธศาสนา หมายถึง ‘ผู้ที่เคร่งครัดใน หลักค�ำสอนพุทธศาสนา’ แต่กลายมาเป็นค�ำเรียกยากูซ่าได้ เพราะอีกค�ำหนึ่งที่พวกเขาเรียกตัวเองก็คือ ‘นิงเคียวดันไต’ (任侠団体) หรือ ‘กลุม่ บุคคลผูท้ รงคุณธรรมทีค่ อยช่วยเหลือ ผู้อ่อนแอ’ ตามภาพลักษณ์ที่พวกเขามองตัวเองว่า อ่อนโยน ต่อผูอ้ อ่ นแอ และแข็งกร้าวใส่ผแู้ ข็งแกร่ง หรือพูดง่ายๆ ก็คอื
1 6
‘นักเลงคุณธรรม’ นัน่ ล่ะครับ แต่ถงึ จะมองตัวเองซะหล่อแบบนี้ เวลาทีส่ อื่ มวลชนเรียกพวกเขาเวลาออกข่าวกลับเป็น ‘โบเรียะ ขุดันไต’ (暴力団体) หรือ ‘กลุ่มผู้ใช้ความรุนแรง’ ซึ่งสื่อจะ พยายามไม่ใช้ค�ำว่ายากูซ่า ผมก็ไม่รู้แน่ชัดถึงสาเหตุเหมือน กันว่าเพราะอะไร แต่อาจจะมองว่าเป็นค�ำที่ก่อปัญหาเลย เลี่ยงมาใช้ค�ำนี้แทน (เรียกยากูซ่าโดยตรงอาจโดนหาเรื่อง ได้นะครับ) แล้วยากูซ่าจริงๆ เป็นยังไง? ส่วนใหญ่เวลาพูดถึงยากูซ่า หลายคนจะคุ ้ น กั บ ภาพลั ก ษณ์ ที่ ไ ด้ เ ห็ น ตามภาพยนตร์ ซึง่ แบบแรกคือ ชายญีป่ นุ่ ใส่เสือ้ ฮาวายสีแปร๋น ดัดผมหยิกสัน้ ติดหัว ใส่แว่นตาด�ำ เดินกร่างไปมาตามถนน ชนไหล่หา เรือ่ งคน หรือถ้าจะให้สมบูรณ์แบบก็ตอ้ งมีแผลเป็นทีห่ น้าด้วย! จะพบคาแรคเตอร์ลกั ษณะนีไ้ ด้ในหนังหรือการ์ตนู ตลก กลาย เป็นสเตอริโอไทป์ของยากูซ่าไปแล้ว แต่ที่จริงพวกที่ มา สไตล์นมี้ กั จะเป็นพวก ‘จิมปิระ’ (チンピラ) คือนักเลงปลาย แถวที่อยากเป็นยากูซ่า แต่ยังไม่ได้เข้าสังกัดแล้วไปกร่างหา เรื่ อ งชาวบ้ า น และส่ ว นใหญ่ เ ป็ น การหาเรื่ อ งไถเงิ น เด็ ก มากกว่า ซึง่ แตกต่างกับยากูซา่ ตัวจริงทีม่ กั ไม่ยงุ่ กับสามัญชน คนเดินถนนถ้าไม่จ�ำเป็น ยากูซา่ ตัวจริง ‘มีคลาส’ กว่าจิมปิระหลายขุมครับ ส่วนใหญ่ แต่งตัวใส่สูทกันเป็นมาตรฐาน ซึ่งก็ไม่ใช่สูทแบบมนุษย์ เงินเดือน บางทีเป็นสูทผ้ามันเป็นเลื่อม หรือไม่ก็สีขาวมีเส้น สีด�ำแซม เรียกได้ว่าโดดเด่นเป็นสง่ากว่าชาวบ้านชาวช่อง ทรงผมอาจตัดสัน้ (ทรงดัดหยิกเริม่ เชยไปตัง้ แต่เข้ายุค 00s) สวมใส่แว่นด�ำ และชอบเครื่องประดับทอง ทั้งสร้อยทอง
1 7
ทั้งแหวน บลิงๆ แว็บๆ (ที่คนญี่ปุ่นทั่วไปไม่ค่อยใส่หรอก ครับ) แต่ที่ส�ำคัญที่สุดแบบขาดไม่ได้ก็คือ ‘เข็มกลัด’ ที่ เป็นตราประจ�ำแก๊ง เพราะเป็นจุดสังเกตที่จะบอกสังกัดว่า อยู่แก๊งไหน ซึ่งโดยมากจะเป็นเข็มส�ำหรับกลัดติดที่ปกสูท และนี่เป็นของส�ำคัญที่ต้องรักษายิ่งชีพเลยนะครับ เพราะถ้า หายไปก็จะโดนลงโทษ โทษฐานรักษาของส�ำคัญของแก๊งไม่ได้ ส่วนยานพาหนะตามมาตรฐานของยากูซ่า ก็ต้องรถคันโต อย่างโตโยต้าคราวน์ หรือถ้าเป็นรถอเมริกันแบบคลาสสิก คันใหญ่ๆ อย่างคาดิลแลคหรือลินคอล์นได้ก็ยิ่งดี อีกสิง่ ทีข่ าดไม่ได้สำ� หรับชาวยากูซา่ คือ ‘รอยสัก’ ซึง่ สักกัน อย่างไม่ยั้ง สักกันเป็นทรงเหมือนเสื้อคลุมที่คลุมตัวไว้เลย ซึ่งการสักตัวนี้ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งการตัดขาดจากสังคม คนปกติ และมุ่งสู่วิถีของยากูซ่าอย่างไม่มีทางถอยกลับ (เพราะคนญี่ปุ่นเขาแอนตี้คนมีรอยสักครับ แล้วพอยากูซ่า สักกันเยอะ การสักก็เลยถูกโยงกลับมาให้เกีย่ วกับยากูซา่ อีก วนกันเป็นลูป แอนตี้กันทั้งรอยสัก คนที่สัก และยากูซ่า) ส่วนใหญ่ลายทีน่ ยิ มสักก็มลี ายปลาคาร์ป มังกร นกกระเรียน เจ้าแม่กวนอิม หรือไม่ก็วีรบุรุษของญี่ปุ่น ปัจจุบันนี้เรื่องการสักในญี่ปุ่นก็ยังถูกโยงให้ไปเกี่ยวกับ ยากูซ่าอยู่ คนญี่ปุ่นก็ยังคงมีทัศนคติที่ไม่ดีกับการสักต่อไป ถึงขนาดมีการห้ามคนที่มีรอยสักเข้าใช้บริการอาบน�้ำแร่ ออนเซ็นหรือสระว่ายน�ำ้ แม้จะเป็นรอยสักแฟชัน่ ก็หา้ มล่าสุด นักการเมืองญี่ปุ่นมาแรงจากโอซาก้า Hashimoto Toru ก็ได้ออกเงือ่ นไขห้ามคนทีม่ รี อยสักทุกชนิดท�ำงานในหน่วยงาน ราชการโดยเด็ดขาด ท�ำให้สุดท้ายก็กลายเป็นปัญหาเรื่อง
1 8
สิทธิส่วนบุคคลเพิ่มไปอีกอย่าง อีกค�ำถามยอดฮิตคือ “ยากูซ่ามีนิ้วรึเปล่า!” เพราะเห็น ในหนังในละครเล่าว่า พีแ่ กตัดนิว้ ก้อยกันง่ายเหลือเกิน ตอบว่า บางคนทีไ่ ม่มมี นั ก็มอี ยูบ่ า้ ง แต่ยากูซา่ เขาไม่ได้ตดั นิว้ กันเล่น เป็นแฟชั่นนะ ยากูซ่าส่วนใหญ่มีนิ้วครบดี ส่วนคนที่ต้องตัด เป็นเพราะว่าเคยท�ำเรื่องผิดพลาด เลยขอชดใช้ความผิด ของตัวเองด้วยการตัดนิ้วเป็นการขอขมาแก๊งของตัวเองครับ เป็นการตัดนิ้วก้อยข้อสุดท้ายออกด้วยมีดสั้น และห่อใส่ผ้า ยื่นให้หัวหน้าของตัวเอง เรียกว่า ‘พิธีกรรมโอยะบุง’ ดังนั้น ยากูซ่าที่ไม่มีข้อนิ้วก้อย ก็คือคนที่เคยท�ำงานพลาดหรือ ท�ำผิดกฎของแก๊ง ส่วนที่ต้องเลือกตัดนิ้วก้อย ก็เพราะเป็น สัญลักษณ์ของการที่ต้องพึ่งพาแก๊งมากขึ้น เนื่องจากแต่เดิม ในการสู้กันของยากูซ่า จะใช้อาวุธหลักเป็นมีดสั้นเหน็บเอว คนที่ตัดนิ้วก้อยออกไปจะไม่สามารถจับมีดได้สะดวกและ มั่นคงเหมือนเดิม ท�ำให้ต้องพึ่งพาแก๊งมากขึ้นในการใช้ชีวิต และเพื่อความปลอดภัยของตัวเองครับ ทุกวันนี้ ยากูซา่ ยังคงอยูใ่ นสังคมญีป่ นุ่ อย่างมัน่ คง หากิน กับธุรกิจผิดกฎหมายเหมือนเดิม แต่พวกเขาก็พัฒนาตัวเอง ไปตามยุคสมัย การหากินกับธุรกิจผิดกฎหมายอย่างเดียว ไม่ใช่เรื่องง่ายแล้ว การจะคุมธุรกิจสีเทาอย่างการพนันผิด กฎหมาย เช่น ปาจิงโกะ หรือการค้ายา และการค้าทางเพศ มีความเสีย่ งทีเ่ พิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ แก๊งยากูซา่ ก็ตอ้ งปรับตัวเข้ากับ สังคมด้วยการประกอบธุรกิจที่ถูกกฎหมายด้วย พวกเขาจึง ตั้งบริษัทสร้างสารพัดกิจการของตัวเอง ที่นิยมก็คือบริษัท รับเหมาก่อสร้าง เพราะเป็นงานทีใ่ ช้แรงงานลูกน้องในแก๊งได้
1 9
เป็นอย่างดี กิจการอีกอย่างหนึ่งก็คือ ธุรกิจเงินกู้ ซึ่งไม่ใช่กู้ เถื่อนนะครับ กู้กันแบบถูกกฎหมายนี่แหละ ธุรกิจเงินกูใ้ นญีป่ นุ่ รุง่ เรืองมาก มีบริษทั หลากหลายรอให้ เราไปเป็นลูกหนีอ้ ยู่ ตอนให้กเู้ ขาก็ดใู จดีละ่ ครับ แต่ตอนจ่าย ไม่ทนั ก็เป็นหน้าทีข่ องเหล่ายากูซา่ และลูกกะจ๊อกอย่างจิมปิระ ทีจ่ ะไปทวงหนีถ้ งึ หน้าบ้าน ถ้าไม่จา่ ยหรือพยายามหนี นักทวงหนี้ ก็จะไปราวีถึงที่ท�ำงาน ตะโกนอยู่หน้าตึก เอาให้อายคน รอบข้างจนท�ำงานไม่ได้ไปเลย ซึ่งธุรกิจเงินกู้นี้กลายมาเป็น ธุรกิจที่ท�ำเงินชั้นดี แถมยังถูกกฎหมายของชาวยากูซ่า อีกแนวทางการหารายได้ของยากูซา่ คือการเรียก ‘ค่าคุม้ ครอง’ ด้วยการเข้าไปถือหุน้ ในบริษทั ต่างๆ ในจ�ำนวนทีพ่ อจะ ท�ำให้มีอ�ำนาจในการร่วมเข้าฟังการรายงานผลประกอบ การประจ�ำปีได้ ซึ่งพวกเขาก็จะใช้โอกาสนั้นเข้าไปป่วนการ รายงาน ข่มขู่ โหวกเหวกโวยวาย ไม่ยอมให้ท�ำการปิดงบได้ (หุน้ ทีถ่ อื ไม่ได้เยอะครับ แต่จะเรียกค่าข่มขูแ่ พง) ซึง่ ถ้าบริษทั ต้องการให้ผ่านไปได้ด้วยดีก็ต้องจ่ายเงินให้พวกเขาสงบลง ดังนัน้ เอาเข้าจริง ยากูซา่ ระดับสูงก็จะไม่ได้มภี าพเหมือนกับ นักเลงปลายแถวตีหัวหมาด่าแม่เจ็กอย่างพวกจิมปิระที่ผม เล่ามาก่อนหน้านี้นะครับ แต่จะเหมือนนักธุรกิจมากกว่า บางคนเราดูไม่ออกเลยว่าเป็นยากูซา่ ยกเว้นแต่จะสังเกตดีๆ ตรงเข็มกลัดนั่นล่ะครับ ที่เห็นกร่างๆ ส่วนใหญ่ก็คือพวกที่ อยู่ชั้นล่างๆ เท่านั้น แต่ถึงจะหันมาท�ำธุรกิจถูกกฎหมาย ยากูซ่าก็ยังคงเป็น ชนชั้นที่ถูกสังคมรังเกียจและหวาดกลัวอยู่ดี เพราะสิ่งที่ แปดเปื้อนไปแล้วจะล้างให้มันสะอาดเท่าไรก็ไม่มีทางขาว
2 0
ได้เหมือนเดิม ดังนั้นคนญี่ปุ่นทั่วไปก็จะพยายามเลี่ยงไม่ไป ยุ่งเกี่ยวกับยากูซ่า แม้พวกเขาจะอยู่ทั่วทุกที่ มีอ�ำนาจแพร่ อิทธิพลควบคุมอยู่ในทุกวงการตั้งแต่ธุรกิจการเมือง ไป จนกระทั่งธุรกิจบันเทิง และถึงทุกคนจะรู้ว่ามียากูซ่าอยู่ใน สังคมญี่ปุ่น แต่ทุกคนก็พยายามเลี่ยงที่จะพูดถึง หรือแกล้ง ลืมๆ ไปซะ ส่วนใครถ้าเกิดมีอันต้องไปข้องเกี่ยวหรือมีเอี่ยว เกี่ยวพันกับยากูซ่า ก็เตรียมตัวหลุดจากวงการที่ตัวเองใช้ ชีวิตอยู่ได้เลย ตัวอย่างที่ชัดเจนมากคือ Shimada Shinsuke พิธีกรตลกชื่อดังของญี่ปุ่น เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลมากใน วงการบันเทิง แต่ก็ต้องออกจากวงการทันทีเมื่อมีนักข่าว พบว่าเขามีความสัมพันธ์กับแก๊งยากูซ่าที่เพื่อนสมัยเด็กของ เขาเป็นสมาชิกอยู่ จัดได้ว่าสังคมลงโทษได้โหดไม่เบาเลย ในปัจจุบนั ถ้าพูดถึงแก๊งยากูซา่ ใหญ่ๆ ในญีป่ นุ่ ก็ตอ้ งแก๊ง ยามากุจกิ มุ ิ (‘กุม’ิ แปลว่า ‘กลุม่ ’) ทีเ่ ป็นแก๊งใหญ่ทสี่ ดุ จากทาง ฝัง่ คันไซ ตามมาด้วย สุมโิ ยชิไค และ อินากาว่าไค จากโตเกียว ซึ่งต่างก็แบ่งพื้นที่และคอยแย่งอิทธิพลกันเสมอ นอกจากนี้ แก๊งย่อยๆ ตามท้องถิ่นต่างๆ ก็ยังมีอีก ผมเคยไปค้างคืนตอนท�ำธุระที่เมืองเมืองนึงครับ (ไม่ขอ เอ่ยชือ่ แล้วกัน บอกแค่วา่ ห่างจากโตเกียวมาไม่มาก) พอตก กลางคืน ต�ำรวจต้องเดินสายตรวจตรากันทัง้ คืน จนถามคนใน พื้นที่ถึงรู้เรื่องว่าแก๊งยากูซ่าก�ำลังทะเลาะกัน เพราะหัวหน้า สาขาของแก๊งหนึ่งไปสวามิภักดิ์กับอีกแก๊ง (ถือว่าทรยศ) ท�ำให้พร้อมจะรบกันได้ตลอด (ยากูซา่ นีเ่ ขาไม่ยดึ เรือ่ งหัวหน้า นะครับ หากขาดคนเก่าไป คนใหม่ทมี่ รี ะดับความเก๋ารองลงมา ก็สามารถเสียบแทนได้เลย) เล่นเอาต�ำรวจเกร็งกันหมด
2 1
โดยเฉพาะคนต่างชาติแปลกหน้าก็จะถูกเพ่งเล็ง เพราะต�ำรวจ ก็ระแวงว่าคนต่างชาติพวกนี้อาจถูกใช้เป็นหน่วยรบรับจ้าง ท�ำหน้าที่เก็บฝ่ายตรงข้ามให้แก๊งยากูซ่า แต่ส�ำหรับพวกมา รับจ้างเอง ถ้าท�ำงานส�ำเร็จแล้วหนีตำ� รวจได้กไ็ ด้เงินไป แต่ถ้า พลาดก็ อ าจโดนยากู ซ ่ า ปิ ด ปากป้ องกั น การสื บ สาวมาถึ ง แก๊งได้ หนุ่มไทยอย่างผมก็เลยต้องเจียมเนื้อเจียมตัวอยู่ใน โรงแรมอย่างสงบเสงี่ยม แต่บางครั้ง ยากูซ่าก็มีอีกโฉมหน้าที่เราคาดไม่ถึง เช่น ตอนที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ที่เขตโทโฮคุ เมือ่ เดือนมีนาคม 2011 มีผปู้ ระสบภัยมากมาย เหล่าบรรดา แก๊งยากูซ่า โดยเฉพาะแก๊งสุมิโยชิไค ก็ได้ออกมาช่วย บรรเทาทุกข์ให้กบั ผูป้ ระสบภัยด้วยการขนอาหาร น�ำ้ ดืม่ และ เครื่องกันหนาว มาแจกจ่าย พวกเขากลายเป็นฮีโร่ แม้จะ ไม่ได้เป็นข่าวในสื่อกระแสหลักมากนัก เพราะการเขียน ยกย่องยากูซา่ ก็เป็นเรือ่ งต้องห้ามในสังคมญีป่ นุ่ อยูด่ ี (ถ้าเป็น เรื่องสมมติอย่างนิยาย จะเขียนอะไรก็ได้ แต่เรื่องจริงอย่าง ข่าวนี่ไม่ได้ครับ) แต่พวกเขาช่วยเหลือคนได้มากมาย เป็น ไปตามอุ ด มคติ ข องยากู ซ ่ า ที่ พ วกเขายึ ด มั่ น ในอดี ต ว่ า จะ ปกป้องผูอ้ อ่ นแอ และนีย่ งั สะท้อนไปถึงการปกป้องพวกพ้อง และท้องถิ่นของตนเอง (ในที่นี้คือคนชาติเดียวกัน) แต่มี หลายคนที่มองว่าการออกมาของพวกเขาเป็นการพยายาม สร้างภาพให้สังคมเชื่อเท่านั้น ซึ่งภาพลักษณ์นักเลงใจบุญ ที่ว่าก็เป็นภาพลักษณ์สุดฮิตในการท�ำภาพยนตร์ยากูซ่า ของประเทศญี่ปุ่นเขาครับ ก็ในเมื่อยากูซ่าคือองค์กรท้ายๆ ที่ยังคงรักษาค่านิยมแบบอนุรักษนิยมของญี่ปุ่นอย่างสุดขั้ว
2 2
ไว้อยู่ รวมไปถึงมีความเป็นชาตินิยมสูงด้วย พวกเขาจึงมัก จะถูกสื่อออกมาอย่างโรแมนติกในเรื่องแต่งเสมอ (ส่วนของ จริงเป็นไงก็ค่อยว่ากัน) ย้อนกลับมาที่ภาพลักษณ์ของพวกเขาในสายตาชาวโลก ยากูซา่ เริม่ เป็นทีร่ จู้ กั นอกญีป่ นุ่ พร้อมๆ กับยุคเศรษฐกิจญีป่ นุ่ เบ่งบาน ชาวตะวันตกมองมายังประเทศญีป่ นุ่ พอเจอยากูซา่ ที่มีภาพลักษณ์แปลกแยกและมีวิถีชีวิตที่น่าสนใจ ก็ท�ำให้ พวกเขาเริ่มถูกพูดถึงและมีชื่อเสียงไม่แพ้มาเฟียอิตาลี (ที่ โด่งดังจากภาพยนตร์ The Godfather) จนถูกหยิบไปใช้ในสือ่ บันเทิงอย่างสนุกมือ ตัวอย่างทีช่ ดั เจนคือภาพยนตร์ฮอลลีวดู เรือ่ ง Rising Sun และ Showdown in the Little Tokyo จาก ยุค 90s ที่มียากูซ่าเป็นตัวร้ายในเรื่อง ซึ่งยากูซ่าจากทั้งสอง เรือ่ งก็เต็มไปด้วยภาพสเตอริโอไทป์อย่างรอยสัก, ตัดนิว้ , มีเมีย ใส่ชุดกิโมโน, คว้านท้อง รวมไปถึงฉาก ‘ซูชิบนเนื้อนาง’ อัน โด่งดัง (เด็กมัธยมต้นอย่างผมอ้าปากค้างอยากกินซูชิคา โรงหนังครับ แต่ทกุ วันนีก้ ย็ งั ไม่ได้กนิ ซะที!) แต่สำ� หรับวัยรุน่ สมัยนี้ อาจจะรู้จักจากเกมดังอย่างซีรีส์ Yakuza (ที่มีให้เล่น ตัง้ แต่เครือ่ ง PlayStation 2 ถึงเครือ่ ง PlayStation 3) รวมไป ถึงการ์ตูนเรื่องต่างๆ นานาที่มียากูซ่าเป็นตัวเอก ผมเคยเจอยากูซา่ อยูห่ ลายครัง้ เช่น ตอนไปนัง่ ในร้านกาแฟ ในย่านอันตรายหน่อยอย่างตอนเหนือของย่านอิเคะบุคุโระ เจอโต๊ะข้างๆ เป็นยากูซา่ ปลายแถว (คือกร่างเหมือนกัน แต่ดดู ี มีคลาสกว่าจิมปิระอยู่หน่อย) ก�ำลังนั่งอบรมเด็ก ม.ปลายที่ อยากเข้าแก๊ง ใกล้ซะจนผมได้ยนิ หมดว่าคุยอะไรกัน แต่เท่าที่ ฟังคร่าวๆ คือไอ้เด็กคนนั้นไปเกรียนอ้างชื่อพี่ยากูซ่าเอาไป
2 3
ต่อยตีกบั คนอืน่ ซึง่ มันท�ำให้แก๊งเสือ่ มเสียชือ่ เสียง ไอ้เด็กนัน่ ก็ได้แต่ ครับ ครับ นัง่ หงอเป็นลูกเจีย๊ บป่วย ส่วนพีย่ ากูซา่ ก็ตบ เกรียนยาวๆ ครับ ส่วนผมเอง แม้จะหูผึ่ง แต่ประสาทรับรส ก็ไม่รู้รสกาแฟแล้วล่ะ แต่ที่ใกล้ชิดสุดๆ ต้องตอนผมไปเที่ยวญี่ปุ่นครั้งแรกเมื่อ ปีใหม่ปี 2002 ทริปนั้นได้พักที่บ้านเพื่อนชาวญี่ปุ่นย่าน ชานเมืองนาโกย่า ด้วยความที่ผมมาจากประเทศเมืองร้อน ก็เลยอยากเห็นหิมะมาก และตอนนัน้ หิมะตกทีเ่ มืองนาโกย่า หนักสุดในรอบหลายสิบปี (ประมาณว่าดูไปให้พอใจเลยมึง) หิมะหนาฟุตกว่า ด้วยความอยากสัมผัสหิมะจัด จึงพากัน ออกไปเล่นหิมะกับเพื่อน โดยใส่แค่กางเกงขาสั้นตัวเดียว จะได้สัมผัสแบบเต็มๆ (เป็นคนเจออากาศหนาวแล้วต้อง แก้ผ้าครับ ไม่รู้ท�ำไม ฮา) พอเล่นไปสักหน่อย คนข้างบ้าน เพือ่ นตะโกนออกมาว่า “ไอ้พวกเด็กบ้า” เป็นภาษาญีป่ นุ่ ผมก็ ตอบไปด้วยภาษาญี่ปุ่นกากๆ เท่าที่จ�ำได้ตอนนั้นว่า “ไม่บ้า มาจากไทย เห็นหิมะครั้งแรก” เท่านั้นล่ะครับ เจ้าของเสียง วิ่งลงมาจากบ้าน มาคุยด้วยใหญ่เลย เพื่อนผมก็รู้จักแกด้วย แกชื่อ N (นามสมมติ) เปิดสแนคบาร์อยู่แถวนั้น แกพูด ภาษาอังกฤษกระท่อนกระแท่นถามว่า เป็นคนไทยเหรอ แก เคยไปท�ำงานทีส่ งิ คโปร์ รูจ้ กั คนไทยเยอะ พอถามว่างานอะไร แกบอก “คอนสตรัคชัน่ ยูโน้ว? ไอแอม ยากูซา่ เจแปนีสมาเฟีย ยูโน้ว?” พอได้ฟงั ก็ตกใจหน่อย เพราะรูว้ า่ ยากูซา่ ก็ทำ� ธุรกิจ ก่อสร้าง เราก็หัวเราะเบาๆ กึ่งเชื่อกึ่งไม่เชื่อ แต่พอแกโชว์ นิ้วก้อยที่แหว่งหายไปทั้งสองข้างเท่านั้นแหละ ซาโตริ บรรลุ นิพพานกันทัง้ คูเ่ ลย แกบอกต่ออีกว่า มีรอยสักทีห่ ลังด้วยนะ
2 4
เราก็หน้าด้านขอดู แกบอกไม่ได้ อันนี้โชว์ไม่ได้ เรื่องใหญ่ แต่ไม่ได้บอกว่าใหญ่เพราะอะไร อาจเป็นเพราะว่ามันเป็น สัญลักษณ์ของคนนอกสังคมเลยไม่อยากโชว์ไปเรื่อยครับ (แต่ดันโชว์ว่านิ้วหายเนี่ยนะ) แล้วก็ชวนคุยเรื่องนู้นเรื่องนี้ พอกลับเข้าบ้านเพื่อนผมก็บอกว่าไม่รู้มาก่อนว่าเพื่อนบ้าน คนนี้เป็นยากูซ่า วันต่อมาพอแกเห็นผมกลับมากับเพื่อน แกก็เข้ามาคุยอีก ชวนคุยยาวเลย ฟังไม่คอ่ ยรูเ้ รือ่ งหรอกครับ ผมก็ได้แค่ ไฮ่ ไฮ่ ไปอย่างเดียว สุดท้าย แกฝากกระดาษโน้ต ลายคิตตี้ เขียนชื่อแกพร้อมเบอร์โทร.เอาไว้ให้ผม ลงท้ายว่า ‘Call Me, OK?’ คือประมาณว่า มีอะไรให้โทร.หาแกได้เลย ซึ่งผมจะไปมีอะไรได้วะ เที่ยวญี่ปุ่นแค่สิบวันถึงกับจะต้อง โทร.เรียกให้ยากูซ่ามาช่วยเลยเรอะ! แต่ทุกวันนี้ กระดาษ โน้ตนั่นกับรูปที่ผมถ่ายกับแกก็ยังอยู่ดีนะครับ คิดว่าเผื่อสักวันอาจจะจ�ำเป็นต้องใช้!
2 5
แหล่งที่สามารถพบยากูซ่าได้: ย่านอโคจรในยามวิกาล เช่น คาบุกิโจ ในชินจูกุ หรือทางเหนือของสถานีอิเคะบุคุโระ
เกี่ยวกับผู้เขียน
• ณัฐพงศ์ ไชยวานิชย์ผล • เกิดที่จังหวัดขอนแก่น ปีเดียวกับที่อัลบั้ม Off The Wall ของ Michael Jackson วางขาย • เป็นหัวหน้าห้อง ม.6/1 โรงเรียนสาธิตมอดินแดง • จบปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ม.ขอนแก่น • แต่คะแนนวิชาโทวรรณคดีตะวันตกดีกว่าวิชาเมเจอร์ • หนีไปเรียนภาษาญี่ปุ่นที่ญี่ปุ่น เพราะชอบญี่ปุ่น แล้วเคย แบกเป้ไปเที่ยวด้วยตัวเองมาแล้วก่อนหน้านั้น • เพลิน-เลยต่อปริญญาโทอีกสองปีที่ Nagoya University of Foreign Studies รวมเป็นเวลาสามปีครึ่ง • กลับมาอยู่ไทย ทำ�งานกับคนญี่ปุ่นมาจนถึงทุกวันนี้ • เกรียนอยู่ที่ทวิตเตอร์แอคเคาท์ @Nut_Kun • ชอบฟังเพลง อ่านหนังสือ มังงะ เสพข้อมูลสารพัด ว่างๆ ก็ไปปั่นจักรยาน • รัก (สาว) ญี่ปุ่น
ขอบคุณ
ครอบครัวที่ปล่อยให้ท�ำอะไรตามใจชอบเสมอมา โดย เฉพาะพี่เมย์ที่รับงานหนักแทนน้องเสมอ / ริกะ ที่คอยอยู่ เคียงข้างมาตลอด / เพือ่ นๆ ทัง้ สมัยมัธยม ทัง้ สมัยมหา’ลัยที่ ยอมทนคบมาถึงทุกวันนี้ / แบงค์ ที่ให้โอกาสเขียนหนังสือ / ทีมงานแซลมอนทุกคนที่ช่วยในการจัดท�ำ / น้องวิศัลย์ศยา ลอยไสว ทีช่ ว่ ยเขียนภาพประกอบ / ขอบคุณทุกคนทีผ่ า่ นเข้ามา ในชีวิตกับประสบการณ์ที่ได้รับ / สุดท้าย ขอไว้อาลัยให้กับ คุณแม่ที่จากไประหว่างการจัดท�ำหนังสือเล่มนี้
เกี่ยวกับผู้วาดภาพประกอบ • วิศัลย์ศยา ลอยไสว (ลิงหกกะล้ม) • เกิด 7 กุมภาพันธ์ ปี 2538 • เป็นคนอำ�เภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยกำ�เนิด • แต่ย้ายมาเรียนต่อชั้นมัธยมปลายที่กรุงเทพฯ • เรียนสายศิลป์-ญี่ปุ่น แต่ตกวิชาภาษาญี่ปุ่น • เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทขี้เซาสูงและขี้อู้พอสมควร • ชอบวาดรูป ร้องเพลง และนอนยาวๆ เป็นงานอดิเรก • ขอบคุณพี่แบงค์และพี่นัทสำ�หรับโอกาสในการทำ�ภาพ ประกอบหนังสือเล่มแรกในชีวิต :-> ติดตามผลงานได้ที่: facebook.com/linghokkalom ทักทาย พูดคุย ติดตามชีวิตขี้บ่นได้ที่: twitter.com/linghokkalom
บรรณานุกรรม ใครยังอ่านไม่จใุ จ อยากรูจ้ กั พวกเขาให้มากขึน้ ไป ‘เอ๊ะ!’ กับ ข้อมูลชาวปลาดิบในเล่มเพิ่มเติมได้ที่ salmonbooks.net จ้า