พิพิธภัณฑ์เสียง

Page 1



NOVEL




คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์

ไม่รวู้ า่ หมดสิทธิท์ จี่ ะพูดว่าเราไม่ถนัดงานแนว ‘เรือ่ งแต่ง’ รึยงั เพราะถ้าลองไล่อ่านหนังสือแนวเรื่องแต่ง (Fiction) หลายๆ เล่มของส�ำนักพิมพ์แซลมอน เราพูดซ�้ำๆ ย�้ำๆ ว่าเราไม่ถนัดใน การท�ำหนังสือแนวนี้เอาเสียเลย ต่างจากหลายส�ำนักพิมพ์ที่มี แนวคิดทางวรรณกรรมทีเ่ ข้มข้น มีประสบการณ์การอ่านนวนิยาย หลายหลากจากทัว่ ทุกมุมโลก อ่านงานทีล่ กึ ล�ำ้ ด�ำดิง่ ทีต่ อ้ งอาศัย เวลาท�ำความเข้าใจพอสมควร อีกทั้งมีประสบการณ์ในการ เลือกเฟ้นนักเขียนไทยอย่างโชกโชน ซึ่งเราไม่ถนัดเลย ในหนังสือหมวดนี้ เรายังคงแนวคิดเดิมเอาไว้ คือหากพบว่า เล่มไหนสนุกจนหยุดอ่านไม่ลง หรือเมือ่ อ่านจบแล้วเราอยากรีบ โทร.ไปหาเพือ่ นให้ออกมารับเอาไปอ่านเสียเดีย๋ วนัน้ นัน่ แหละ คือ หนังสือที่เราอยากจัดพิมพ์ให้ผู้อ่านของเราได้อ่าน ตั้งแต่รวมเรื่องสั้น ฮาวายประเทศ จิรัฏฐ์ ประเสิรฐทรัพย์ กับส�ำนักพิมพ์แซลมอนก็ไม่ใช่คนห่างไกลกัน ทุกทีที่เจอกันใน โซเชียลเน็ตเวิร์กเราทักทายกันอย่างคุ้นเคย หัวข้อที่หยิบยกมา คุยกันก็ไม่พ้นเรื่องผลงานใหม่ของเขา เพราะหลังจาก ฮาวายฯ พิมพ์ออกไปเราก็เห็นแค่เรือ่ งสัน้ เล็กๆ น้อยๆ ทีเ่ ขาแจมกับคนอืน่ เขาบอกว่าเขาก�ำลังเขียนนิยาย “เขียนเสร็จเมือ่ ไร ผมจะตรง มาที่แซลมอน” เขาว่าอย่างนั้น สองสามเดือนผ่านไป เขาก็มาจริงๆ อีเมลต้นฉบับ พิพธิ ภัณฑ์ เสียง ก็เดินทางมานอนอยู่ในกล่องอินบ็อกซ์ของเรา และแทบไม่ ต ้ อ งบอกสาเหตุ ว่ า ท� ำ ไมเราตั ด สิ น ใจพิ ม พ์ นวนิยายเล่มแรกของเขา ไม่ใช่แค่เพราะเราสนิทสนมกันแน่นอน


จิรัฏฐ์อายุยี่สิบเจ็ด เรากับเขาอยู่ในวัยเดียวกัน เช่นเดียวกับ นวนิยายของเขา ทีเ่ ต็มไปด้วยกลิน่ อายของคนวัยนี้ วัยทีส่ มาธิสนั้ หมกมุน่ อยูก่ บั เรือ่ งราวแค่นวิ้ นับ ทว่าอยูก่ บั อะไรได้ไม่นาน เต็มไป ด้วยความไม่เข้าใจ ล้นไปด้วยความสับสน วุน่ วายอยูก่ บั จินตนาการ คิดว่าตัวเองรูแ้ จ้ง เข้าใจว่าตัวเองปราดเปรือ่ ง และคิดว่าความรัก เป็นโลกของคนเพียงสองคน ขณะเดียวกับที่คิดว่าความรักเป็น เรื่องของโลกทั้งใบ เราต่างพยายามท�ำความเข้าใจกับมัน ทั้งที่ รู้ว่าไม่มีวัน เรือ่ งส�ำนวนส�ำเนียงการเขียน จิรฏั ฐ์ไม่แพ้ใครในรุน่ ถึงเขาจะ พูดเรื่องยากๆ อยู่บ้าง แต่ก็ไม่ลึกลับจนน่าหมั่นไส้ว่าจะซ่อนเร้น อะไรนักหนา (เราเป็นพวกหมั่นไส้คนง่าย) แต่เขาก็ไม่กลัวที่จะ ใช้คำ� โตอยูใ่ นบางวรรค ซ่อนนัยอย่างตรงไปตรงมาในบางบรรทัด ตั้งแต่ ฮาวายประเทศ จนกระทั่ง พิพิธภัณฑ์เสียง เล่มนี้ เนื่องจากเราเล่าอะไรไม่ได้มากนักเพราะอาจจะผิดมารยาท ต่อผูอ้ า่ น และป่วยการทีจ่ ะเล่าเพราะในอีกไม่กหี่ น้าก็จะเข้าสูช่ ว่ ง ที่จิรัฏฐ์เริ่มเปล่งเสียงในแบบของเขาผ่านตัวอักษรนับหมื่นนี้ จึง ขอเกริน่ เพียงเล็กน้อยว่า อย่าเพิง่ ด่วนสรุปอย่างงุนงงกับนวนิยาย รักสมาธิสั้นของจิรัฏฐ์เรื่องนี้ การเล่าเรื่องกระโดดอาจเรียกร้อง ทักษะในการอ่านและฟังของผู้อ่านอยู่บ้าง เนื้อหาบางตอนอาจ สะกิดใจและจิม้ ถูกต่อมศีลธรรม กระนัน้ ก็อย่าได้รำ� คาญ ทางทีด่ ี ลองปล่อยตัวปล่อยใจไปกับเนื้อเรื่อง ในพิพิธภัณฑ์เสียงแห่งนี้ คุณอาจจะได้ยินเสียงบางชนิดที่ไม่เคยได้ฟังจากที่ไหน อย่างที่บอก ที่เราเอานวนิยายเล่มนี้มาให้ผู้อ่านที่รักได้อ่าน ไม่ใช่แค่เพราะเราสนิทสนมกันแน่นอน สำ�นักพิมพ์แซลมอน







ผมนึกไปถึงผู้คนรอบข้างมากมายที่ต่างมีเรื่องราวในใจ แต่ไม่ยอมพูดมันออกมา นั่นแหละมันท�ำให้ผมพบว่า ความเงียบ บางครั้งช่างน่าร�ำคาญ




1 เสียงคลายตัวของข้อกระดูกดังชัดกลางห้องพักขนาดห้าคูณ ห้าตารางเมตร เสียงนัน้ ดังตามกันมาอยูส่ ามครัง้ ห่างกันไม่นาน นาที จากคอ ข้อศอก และนิ้วมือเพื่อนร่วมห้องของผม จากนั้น ทุกอย่างก็กลับเข้าสูค่ วามวังเวงของเสียงจิง้ หรีด และเสียงสายลม พัดกิ่งไม้ปลิวไหวผ่านล�ำโพงของจอโทรทัศน์ขนาดยี่สิบเอ็ดนิ้ว เสียงแสดงออกตามภาพที่ฉาย ป่าเขตร้อนรกครึ้มยามกลางคืน เม็ดสีในจอแก้วแช่ภาพอยู่เช่นนั้น ไม่รวู้ า่ เวลาผ่านไปนานเท่าไรทีห่ ขู องผมจับเสียงหาวหวอดจาก ปากตัวเองได้ นาฬิกาบนข้อมือบอกเวลาสิบเจ็ดนาฬิกา เมือ่ คืน นอนสีท่ มุ่ ครึง่ และตืน่ แปดโมงเช้า การอ้าปากหาวยามบ่ายเป็นสิง่ ที่ไม่สมเหตุสมผลยิ่ง สาเหตุประการเดียวคือความนิ่งเงียบของ ภาพยนตร์ตรงหน้า ผมชอบงานศิลปะ แต่บางครัง้ หากอะไรๆ ดูนงิ่ และน้อยเกินไป สิ่งนั้นก็น่าหน่าย “เมื่อไหร่มันจะซั่มกันวะ” เพื่อนร่วมห้องเอ่ยปาก ควักบุหรี่ จุดสูบ “ฮือ” ผมหันหน้ามองเพื่อน “อ้าว มึงไม่รู้อะไร หนังอาร์ตหลายๆ เรื่องแม่งก็เป็นแบบนี้ ทิ้งนิ่งให้มันดูเท่ไปสักพัก พอคนดูใกล้จะหลับเดี๋ยวก็ตัดฉากมี คนมาซัดกันให้ดูเฉย” เขาสูดก้นบุหรี่สุดปอด มองกลับมาที่ผม “มึงไม่เข้าใจศิลปะ” ผมยิ้มให้ข้อสังเกตของมัน เราก�ำลังดูครึง่ หลังของหนังเรือ่ งสัตว์ประหลาด ของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล รูมเมตของผมยืมดีวดี ขี องเพือ่ นทีเ่ รียนสาขา ภาพยนตร์มาอีกที ตอนนั้นผมเรียนมหาวิทยาลัยปีสาม และ บ่ายนั้นผมดูมันไม่จบ 16


หลายปีผา่ นไป ภาพจ�ำของหนังเรือ่ งนัน้ คือความละเมียดละไม ของความรักของสองหนุม่ ต่างจังหวัดคูน่ นั้ โดยเฉพาะฉากทีต่ วั เอก จับมือคู่รักหนุ่มของเขาไปดมหลังจากที่เขาเพิ่งปัสสาวะเสร็จ นอกนัน้ คือเพลงประกอบภาพยนตร์ และความเงียบ ความเงียบ และความเงียบ นอกจอโทรทัศน์ ผมจ�ำคราบน�้ำลายที่ติดอยู่บนหมอนของ เพื่อนผม ตราตรึง 2 เรือ่ งรัก น้อยนิด มหาศาล ของเป็นเอก รัตนเรือง เป็นอีกเรือ่ งที่ ท�ำให้ผมหลับ แม้จะเป็นความช้าทีแ่ ชเชือนและเงียบงันทีโ่ รแมนติก แต่กไ็ ม่ยาวไปกว่าสมาธิของผม ผมฟุบหลับในโรงภาพยนตร์เมือ่ เรือ่ งเดินได้ถงึ ช่วงกลางค่อนท้าย อย่างไรก็ดี หลับไปไม่นาน ผม ตื่นขึ้นมาปลายเรื่อง ดูมันจนจบ หลังจากนั้นผมเฝ้ารอให้ดีวีดี ออกมา ซื้อเก็บ และเปิดดูย้อนหลังฉากที่พลาดไป เฉกเช่นหนัง ของอภิชาติพงษ์และหนังเรื่องอื่นๆ ในแนวทางใกล้กัน บ่อยครั้ง ผมหลับ บ้างก็รู้สึกร�ำคาญ แม้สมาธิจะสั้นแต่ผมกลับรื่นรมย์ไป กับมันด้วยวิธีดังกล่าวอยู่ไม่น้อย ในทางเดียวกัน ผมก็ดนั ชอบเผลอหลับในหนังทีไ่ ม่ควรจะหลับ อย่างหนังเสียงดังอึกทึกครึกโครมอย่าง 2012 หรือหนังรถ ซิ่ ง กั บ ดารากล้ า มเป็ น มั ด เสี ย งดั ง โหวกเหวกอย่ า งหนั ง ชุ ด The Fast and the Furious หนังเรือ่ งอืน่ ๆ ของสปีลเบิรก์ , ไมเคิล เบย์ ฯลฯ เหล่านีเ้ ป็นหนังทีส่ นุก ให้คนดูเก้าในสิบต้องบอกว่าช่างเร้า อะดรีนาลินอะไรเช่นนี้ แต่ผมกลับหลับ ผมเป็นหนึ่งในสิบที่ไม่ ตืน่ เต้นไปกับมันเท่าไร อาจเป็นเพราะฮอร์โมนความแมนน้อยกว่า 17


ชาวบ้าน หรือไม่จริงๆ ผมก็เฉือ่ ยชาเกินไปกับการรับชมภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นแนวอะไรก็เป็นได้ แต่ผมก็ยงั คงไปดู แม้จะตืน่ บ้างหลับบ้าง ถ้าชอบก็แค่ซอื้ ดีวดี ี เอามาดูใหม่อีกรอบ ใครจะว่าอะไร นั่นเป็นเรื่องของผม หลายปีหลังจากเรียนจบมหาวิทยาลัย คืนวันปีใหม่ของปีหนึง่ ผมดูหนังของเปโดร อัลโมโดวาร์1 อยูใ่ นห้องพักของคอนโดมิเนียม ที่กรุงเทพมหานคร ผมจ�ำชื่อเรื่องไม่ได้ จ�ำได้แต่พระเอกเป็น นักเขียนบทภาพยนตร์ตาบอดและเปเนโลเป ครูซ เป็นนางเอก ผม นัง่ ดูกบั คนรัก หนังสนุกแต่สดุ ท้ายผมก็หลับ นัน่ เป็นช่วงท้ายเรือ่ ง ตืน่ มาอีกครัง้ เป็นตอนเช้า หน้าจอโทรทัศน์ขนึ้ สีฟา้ แสดงโลโก้ของ เครื่องเล่นดีวีดี ผมไม่พบเธอ ตามหาอยู่หลายวันและหลายๆ ที่ แต่ก็ไม่เจอ ภาพยนตร์เรื่องนั้นเป็นเรื่องสุดท้ายที่ผมได้ดูพร้อมกับเธอ

3

ผมพบว่าสาเหตุที่ผมหลับระหว่างดูหนัง ไม่ใช่เพราะพล็อต เรือ่ ง หรือภาพเคลือ่ นไหวทีไ่ ม่ชวนให้เคลือ่ นไหวตาม หลายเรือ่ ง มากทีเดียวทีถ่ า่ ยภาพสวย ตัวละคร และการด�ำเนินเรือ่ งก็ชวนดู แต่สดุ ท้ายผมก็หลับ สมมติฐานส่วนตัว ผมว่ามันมาจากเสียง หูผม ประหลาด ผมเคยทดลองสวมเครือ่ งอุดหูระหว่างดูหนังต่างชนิด กันสามเรือ่ ง ทัง้ หนังแอ็กชัน่ หนังดรามา และหนังตลกเงียบภาพ 1 Pedro Almodóvar (1949-ปัจจุบัน) เป็นผู้ก�ำกับภาพยนตร์ชาวสเปน อัลโมโดวาร์มักให้ผู้หญิง สู้ชีวิตเป็นตัวด�ำเนินเรื่องในภาพยนตร์ของเขา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานดรามา นอกจากนี้เรื่องราวของ คนข้ามเพศก็เป็นสิ่งที่ผู้ก�ำกับคนนี้ให้ความสนใจ ภาพยนตร์เรื่องเด่นของเขา ได้แก่ All About My Mother, Bad Education, Talk to Her และ The Skin I Live In

18


ขาวด�ำจากยุคห้าศูนย์ (เรือ่ งนีผ้ มไม่ตอ้ งอุดหู) ผมตืน่ ตัง้ แต่ตน้ จน จบ ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ด้วยความที่ไม่เห็นว่าเป็นโรคภัย ผมจึงไม่ได้ใส่ใจ อย่างไรก็ตาม หลังจากนัน้ ผมก็ยงั คงดูหนังทุกเรือ่ งโดยไม่อดุ หู หลับบ้าง ตืน่ บ้าง สลับกันไป บางเรือ่ งผมก็ตนื่ ดูมนั ทัง้ เรือ่ ง และ แน่นอนบางเรือ่ งผมหลับตัง้ แต่เพลงอินโทรยังไม่จบ แต่นนั่ ไม่ใช่ ปัญหา การหลับระหว่างดูหนังเป็นเรือ่ งเล็ก แต่การดูหนังพร้อม กับคนรักและหลับกลางเรื่อง เพื่อตื่นขึ้นมาพบว่าเธอสาบสูญไป ไม่กลับมาเลย หาใช่เรื่องสามัญ และนั่นอาจเป็นสาเหตุว่าท�ำไม ผมถึงจ�ำชือ่ หนังของอัลโมโดวาร์ทดี่ กู บั เธอคืนนัน้ ไม่ได้ และพบว่า เสียงของกรุงเทพมหานครในวันนัน้ ทัง้ วันหลังจากหาเธอไม่พบ... ช่างน่าร�ำคาญสิ้นดี 4 จักรวาลไม่มีปาก หากแต่ไม่เคยเงียบ หลายพันล้านปี โลกซึ่งไร้สัตว์สี่ขา พื้นดินไม่มีกล่องเสียง ท้องฟ้าไม่มีภาษา แบคทีเรียคือบรรพบุรุษที่ไม่เคยสื่อสาร ล่องลอยในอากาศ เริงระบำ�บนพื้นสมุทร กระจัดกระจาย ไร้จุดหมาย เกิดและกลาย ไร้ต้นสายปลายเหตุ มีเพียงแบคทีเรีย เริงระบำ�สุขสำ�ราญ เหตุการณ์เกิดขึ้นและดับไป เช่นความธรรมดา แก่นโลกบิดขี้เกียจ ใต้พื้นผิวลึกลงราวไร้รังเรือน 19


ลาวาระอุ ถดถีบปีนป่าย พวยพุ่งสู่ชั้นบรรยากาศ ออกซิเจนสันดาป ฟ้าคำ�รามกราด ฉีกกระชากราวโลกจะลาร้าง ใต้มหาสมุทรลึกสะเทือนเคลื่อน หนุนคลื่นทะเลสูง ทะเลลาวา ทะเลสมุทร สมสู่เมามันพัลวัน แบคทีเรียกระทบกระทั่งมวลอากาศบ้าคลั่ง ลอยคว้างไร้ขอบบริเวณ เนิ่นนานกว่าขี้เถ้าจะเลือนหาย ทะเลกลับสู่พรมแดน แผ่นดินแยกร่าง กระจัดกระจาย ขีดแบ่งด้วยมวลสมุทร พวกมันยังอยู่ แบคทีเรียหน้าด้าน ทนทาน ไร้ความรู้สึก แผ่นดินยังไม่ให้กระดูกสันหลังใคร จักรวาลหากไม่เคยเงียบ สุ้มเสียงกังวานเช่นที่เป็นมา บนท้องฟ้าสู่พื้นปฐพี แบคทีเรียไม่เคยสัมผัส พวกมันไม่เคยเข้าใจ พวกมันนั้นไซร้ ไร้ซึ่งรูหู 5 ควรจะเริ่มที่ห้องเรียนหรือร้านกาแฟ ผมชั่งใจ สาระที่แท้คือ หลังจากเผลอหลับไปในตอนกลางวัน ผมตืน่ ขึน้ มาและมีความคิด จะท�ำ ‘พิพิธภัณฑ์เสียง’ ส่งอาจารย์เท่านั้น เอาเป็นว่าผมจะเริ่มเล่าจากร้านกาแฟ ก่อนจะเขียนถึง ห้องเรียนดีกว่า 20


เรื่องเป็นเช่นนี้ วันนัน้ เป็นบ่ายวันอาทิตย์ หลังจากจบคาบเรียน เพือ่ นผมคนหนึง่ ใช้นามว่าเอ็มซี ทีจีเอ็น... ฟังไม่ผิดหรอก เขาให้เพื่อนรวมชั้นเรียกเขาว่าเอ็มซี ทีจีเอ็น เอ็มซี เป็นค�ำย่อตามสไตล์แร็ปเปอร์ผิวหมึกว่า ไมโครโฟน คอนโทรลเลอร์ (Microphone Controller) ส่วนทีจเี อ็น เป็นชือ่ ค�ำ ภาษาอังกฤษที่หมอนี่เอามาผสมผสานกันจนผมก็จ�ำไม่ได้ แล้ว สื่อสารออกไปว่าเป็นความหมายที่แปลว่า ‘นักสรรพศาสตร์’...

“งงล่ะซิ” เขามักจะบอกเช่นนี้กับทุกคน หลังจากผ่านการทักทายกัน ในครั้งแรกที่เจอ ครับ ผมก็งง เขาเป็นชายร่างใหญ่ ผิวขาว ไว้หนวดเคราครึ้มเข้ม ตัดผม สั้นเกรียน จมูกเป็นสันโด่ง แววตาแข็งกร้าว น�้ำเสียงหนักแน่น ทุกครั้งที่เจอ ผมพบว่าเขาจะใส่ชุดสีด�ำล้วน รองเท้าหนังสีด�ำ 21


มีที่ไม่ใช่ด�ำก็เห็นจะเป็นโซ่คล้องกุญแจที่แขวนมากับหูกางเกง พลังงานของเอ็มซี ทีจีเอ็นดูเหมือนจะถอดร่างมาจากมือสังหาร ชาวรัสเซียมากกว่าจะเป็นนักศึกษาปริญญาโท ทีจเี อ็น (ผมขอเรียกเขาสัน้ ๆ อย่างนี)้ ท�ำงานให้กบั ส�ำนักงาน ราชการแห่งหนึง่ เขาอายุมากกว่าผมสองปี ก่อนหน้านัน้ เขาท�ำเพลง เพลงในแนวโพรเกรสซีฟเมทัล ดนตรีซ้อนชั้น นักร้องส�ำรอก โหวกเหวก แสดงความอัดอัน้ ตันใจบีบคัน้ จากเรือ่ งรักและปัญหา สังคม บลา บลา บลา ทีจเี อ็นบอกว่าถ้าคุณไม่ใช่คนทีม่ สี นุ ทรียะ ระดับสุดยอดจริงๆ ให้ตายพวกคุณก็เข้าไม่ถึงเพลงของเขา ผม เคยฟังเพลงของเขา ผมอยากบอกว่าเขากล่าวเกินจริงไปหลายขุม ก็นะ, ในหลายๆ เพลง ผมเข้าไม่ถงึ ผมก็เป็นคนหนึง่ ทีไ่ ม่ได้มสี นุ ทรียะ ระดับสุดยอดระดับกลุม่ เป้าหมายของเขา แต่ผมกลับรืน่ รมย์ไป ในความกราดเกรี้ยว การร้องไม่เป็นภาษา และความเปราะบาง ข้างใน มันเป็นอัลบั้มที่ใช้ได้เลยล่ะ ส่วนความเป็น ‘นักสรรพศาสตร์’ อย่างที่ทีจีเอ็นกล่าวไว้ ถ้าอธิบายอย่างรวบรัดคือความเป็นนักจับฉ่ายวิทยาทางศิลปวัฒนธรรมน่าจะชัดเจนกว่า เขาบอกกับผมผ่านหนังสือทีแ่ ถมมา กับแผ่นซีดีผลงานของเขาว่าเป็นนักร้อง นักแต่งเพลง นักเขียน (ความเรียงที่เขาเขียนในหนังสือเล่มนั้นใช้ได้เลย) นักบริหาร (เขาเคยเป็นซีอีโอบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง) นักพูด ฯลฯ ทั้งหมด ทัง้ มวล เขาให้คำ� จ�ำกัดความตัวเองว่า ‘นักสรรพศาสตร์’ นอกเหนือ จากนัน้ แล้ว เขายังมีสมญานามทีต่ งั้ ไว้อยูใ่ นหนังสือเล่มดังกล่าวว่า ‘โคตรกบฏคีตา’ คุณอาจจะคิดว่าเขาค่อนข้างเพีย้ น ก็ไม่ผดิ หรอก แรกๆ ผมก็คิดอย่างนั้น จริงๆ แล้วเขาไม่ถึงขนาดนั้นหรอก แค่เยอะอยู่ในที ทีจีเอ็นสั่งสตรอเบอร์รี่ปั่นกับคัพเค้ก ผมสั่งคาปูชิโน่ร้อน เราสองคนนั่งอยู่ในร้านกาแฟเปิดใหม่ที่ให้อารมณ์เชิญชวนให้ ลูกค้าหยิบกล้องมาถ่ายรูปเล่นมากกว่าการนั่งดื่มกาแฟหรือ 22


อ่านหนังสือเงียบๆ เป็นความผิดพลาดของเขาทีเ่ ลือกมานัง่ ร้านนี้ แต่ไม่เป็นไร บางมุมก็ยงั พอมีพนื้ ทีส่ งบพอให้เราได้นงั่ หารือกันได้ “อันนีเ้ ป็นโปรเจกต์ลบั สุดยอดเลยนะ อยากให้ตงั้ ใจฟัง” ทีจเี อ็น เริ่มต้น พลางใช้หลอดคนน�้ำสตรอเบอร์รี่ให้น�้ำแข็งละเอียดชุ่ม น�้ำหวาน เขากางกระดาษออกมา ข้างในเป็นตัวหนังสือสีน�้ำเงินจาก ปากกาลูกลื่น เขียนเรียงลงมาเป็นตับ บรรทัดต่อบรรทัด มีเส้น โยงใยดูงวยงง “ผมมีโปรเจกต์ศลิ ปะระดับสุดยอด ทีท่ มุ่ เททัง้ ชีวติ เพือ่ ให้มนั เกิดขึ้นมา ผมว่ามันจะเป็นงานชิ้นสุดท้ายของตัวเองก่อนตาย” ใช่...โดยปกติเขาจะพูดจริงจังและดูอลังการเช่นนีเ้ สมอ นีเ่ ป็น อีกสิ่งที่ผมควรต้องบอกก่อน หญิ ง สาวผมสี น�้ ำ ตาลในชุ ด นั ก ศึ ก ษาเอาหน้ า ไปแนบกั บ ดอกทานตะวันหน้าร้านกาแฟ เธอท�ำปากเม้ม ยืน่ มือขวาไปสุดแขน กดโทรศัพท์ถ่ายรูปใบหน้าตัวเองกับดอกไม้ “ผมรอฟัง” ผมกล่าว “ก่อนที่จะเล่า คุณต้องสัญญาก่อนว่าห้ามบอกใคร” เขา คาดคั้น ผมรูส้ กึ อึดอัดเล็กน้อยกับการใช้สรรพนามของทีจเี อ็น จริงๆ แล้ว ผมว่าเขาก็คงอยากสนทนาด้วยสรรพนาม ‘กู-มึง’ แต่ความ ที่เรายังไม่ได้สนิทกันมากนัก และความที่ผมวางตัวเรียบเฉย ไม่ได้เล่นหัวกับใครเท่าไหร่ ทีจเี อ็นจึงสงวนค�ำ กึง่ กันเอง กึง่ สุภาพ แม้ผมก็อยากให้เขาพูด ‘กู-มึง’ กับผมเหมือนกัน เพราะรู้สึกว่า คงจะสือ่ สารกันสะดวกปากขึน้ แต่มอี ะไรหลายๆ อย่างทีผ่ มต้อง รักษาพื้นที่กับชายผู้นี้ มิติด้านลึกของเขาดูน่ากลัวกว่าหน้าตา ภายนอกนัก เวลาผ่านไปสามชั่วโมง ทีจีเอ็นจบโปรเจกต์ทางศิลปะและ ดนตรี มหากาพย์ซบั ซ้อนยาวยืด เบ็ดเสร็จ ผมดืม่ กาแฟสองถ้วย และชามะนาวร้อนอีกหนึ่ง มีคนมาถ่ายรูปกับดอกทานตะวัน 23


หน้าร้านต่อจากนักศึกษาสาวผมสีนำ�้ ตาลคนนัน้ อีกสองคน ด้วย จรรยาบรรณ ผมสัญญากับเขาไว้แต่แรกว่าจะไม่แพร่งพรายกับ ใครเรื่องรายละเอียด ผมยืนยันเช่นนั้น “คุณคิดว่าไง” ทีจีเอ็นถาม “ดีทีเดียว ถ้าคุณจะท�ำมันออกมาจริงๆ” เขาท�ำหน้าคล้ายอยากฟังความเห็นของผมมากกว่านั้น “อืม...ถ้าเป็นผม มันอาจต้องมีการปรับรายละเอียดในหลายๆ งานหน่อย แต่นั่นเป็นรสนิยมส่วนตัว เราสองไม่เหมือนกัน ผมบอกไปบางทีคุณอาจไม่ชอบ” ผมกล่าว เขาพยักหน้า “ขอเวลาหนึ่งคืน ขอเอาแผนของคุณกลับไปอ่านที่บ้านก่อน พรุ่งนี้คงได้อะไรมากกว่านี้” “ยินดี” ผมพยักหน้าบ้าง “มีอย่างอื่นอีกมั้ย” ทีจีเอ็นถามต่อ “ไม่นะ ถ้านอกเรื่อง ผมจะบอกว่าผมค่อนข้างดีใจ” ผมพูด ในสิ่งที่คิด “ดีใจ?” “สักเจ็ดแปดปีก่อน เพื่อนผมคนหนึ่งสมัยเรียนปริญญาตรี ถักผมเดรดล็อค เจาะลิ้น เจาะจมูก สักตั้งแต่ต้นแขนยันข้อมือ แต่งตัวแบบนักดนตรีวงนูเมทัลจากอเมริกา นัดผมไปดืม่ เบียร์แต่ หัววัน คุยได้สักพัก ดันถามผมถึงเรื่องอนาคต...อาชีพการงาน ความฝันอะไรท�ำนองนั้น สักพักดึงโบรชัวร์ออกมาจากกระเป๋า ชวนผมขายแอมเวย์ซะงั้น” “แอมเวย์” “ใช่ ร่วมธุรกิจ ขายตรง ประชุมสมาชิก เพชรยอดมงกุฎ อะไรท�ำนองนัน้ ใครจะไปคิดได้ สไตล์หมอนัน่ ออกจะไม่แคร์สอื่ ขนาดนั้น” “บัดซบ! คุณคิดว่าผมจะเป็นอย่างนั้นเหรอ” ทีจีเอ็นสบถ 24


ผมไม่ได้ยินค�ำว่า ‘บัดซบ!’ จากปากใครมานานแล้ว “เปล่าหรอก ผมคิดเล่นๆ คุณท�ำให้ผมนึกย้อนไปถึงเพื่อน คนนั้น แต่สาบานได้ ผมไม่คิดว่าคุณจะขายแอมเวย์หรอกนะ” เขาท�ำหน้าเคร่งขรึม ก่อนเอ่ย “อย่าประเมินผมต�่ำ...ที่จริงแล้วผมขายเอมสตาร์” ผมโพล่งหัวร่อ ขยับระยะห่างของเราเข้ามาอีกนิด ทีจีเอ็นหัวเราะตามในล�ำคอ 6

โอเค จากร้านกาแฟ ถึงคราวผมจะเล่าถึงเรือ่ งในห้องเรียนได้ เสียที ผมก�ำลังเรียนปริญญาโท สาขาวิชาที่ว่าด้วยการจัดการ ศิลปะและวัฒนธรรมในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ผม เรียนมาได้สองเทอมแล้ว ก่อนหน้านี้ผมเรียนจบมหาวิทยาลัย ต่างจังหวัดอีกแห่ง และย้ายตามงานเข้ามาใช้ชวี ติ อยูใ่ นกรุงเทพมหานคร คอนโดมิเนียมในซอยลึก นัง่ รถมอเตอร์ไซค์รบั จ้าง เบียดเสียด มนุษย์เงินเดือนขึน้ รถไฟฟ้าไปท�ำงานสัปดาห์ละห้าวัน ชีวติ ชินชา มลภาวะ ตารางเวลาเที่ยงตรงจนอึดอัด จราจรชวนเซ็ง เพื่อน ร่วมงานชวนหน่าย เจ้านายน่าร�ำคาญ ฯลฯ กรุงเทพฯ ของผม น่าอยู่ด้วยคนรัก เธออยู่ด้วยกันกับผมตั้งแต่เรียนปี 1 ที่มหาวิทยาลัย กระทั่ง เรียนจบท�ำงาน ย้ายเข้ามาเมืองหลวงด้วยกัน เรือ่ ยมาจนกระทัง่ วันหนึง่ เธอหายตัวไป ผมเศร้าอยูห่ ลายเดือน กรุงเทพฯ ในแง่จริง ประจักษ์แก่สายตา เมืองแห่งนีแ้ สนหนวกหูเหลือทน สุดท้ายผม ตัดสินใจยืน่ ใบลาออก เก็บข้าวของย้ายมาเช่าบ้านอยูต่ า่ งจังหวัด 25


อยู่ว่างไม่นาน ผมได้งานประจ�ำ ท�ำอยู่ไม่กี่เดือนก็พบว่างาน ที่ท�ำไม่คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป ผมจึงลาออก รับงานอิสระและ เรียนปริญญาโท ไม่มีเหตุผลว่าท�ำไมผมจึงเรียนปริญญาโทในสาขาที่พอบอก ใคร ใครเขาก็สงสัยว่าเรียนไปท�ำไมแล้วจะไปประกอบอาชีพอะไร มันเป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่ต้องการค�ำอธิบายค่อนข้างมาก...แต่ ก็อย่างว่า ผมแค่อยากเรียนก็เท่านั้น ยังจ�ำได้เลยว่าตอนสอบ สัมภาษณ์เข้ามาผมโกหกอาจารย์ไปว่าผมอยากสร้างอะไรใหม่ๆ ให้กบั แวดวงศิลปวัฒนธรรมในบ้านเรา...มันเป็นค�ำตอบส�ำเร็จรูป ก็เหมือนคุณไปสัมภาษณ์งานสักที่ อะไรล่ะ, ความท้าทายใหม่ๆ การได้ร่วมงานกับบริษัทในฝัน การช่วยกันจรรโลงสังคม ฯลฯ ค�ำตอบปั้นแต่งมากมาย สุดท้ายเราต่างรู้ว่าที่จริงมีค�ำตอบเดียว คือเงินเดือน แต่สอบสัมภาษณ์เข้าเรียนมหาวิทยาลัยจุดหมาย ต่างออกไป ผมแค่อยากหาอะไรท�ำทีไ่ ม่ใช่การท�ำงานเท่านัน้ ลึกๆ เหตุผลคืออะไร ผมนั่งคิดและพบค�ำตอบว่าผมเพียงชอบศิลปะ ก็เท่านั้น กลับมาทีห่ อ้ งเรียน ภาคการศึกษาที่ 1 ชัน้ ปีที่ 2 ผมลงทะเบียน เรียนวิชาการจัดการพิพิธภัณฑ์...ตอนอยู่กับคนรักเก่า เธอเป็น คนชอบเดินพิพิธภัณฑ์ ไม่ว่าจะเดินทางไปไหน จังหวัดหรือ ประเทศใด พิพธิ ภัณฑ์คอื ทีแ่ รกทีเ่ ธอท�ำเครือ่ งหมายไว้บนแผนที่ ผมเดินตามเธอตลอด ก็เหมือนนิสัยการชอบดูหนังและอ่าน หนังสือที่ผมไม่เคยมีมาแต่ต้น ผมได้มาจากเธอ การลงเรียน พิพิธภัณฑ์ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะในหน่วยกิตนั้น แม้มีวิชา ให้เลือกเรียนตั้งสามวิชา ผมกลับไม่ลังเลจะเลือกเรียนวิชานี้ ผมเข้าเรียนบ้างไม่เข้าบ้าง แล้วแต่โอกาส ความสัมพันธ์กับ เพือ่ นร่วมชัน้ เป็นไปด้วยดี ไม่มปี ญ ั หากับใคร คุยกับทุกคนในห้อง ด้วยสนิทใจ อาจเพราะเป็นคนกลางๆ ไม่ศลิ ปินจัด ไม่หน่อมแน้ม ทุกคนญาติดกี บั ผม รวมทัง้ เอ็มซี ทีจเี อ็น ชายหนุม่ ลักษณะเฉพาะ ใช่, ถ้าเทียบกับทุกคนในห้อง ทีจเี อ็นมีความเฉพาะตัวสูงจนน่ากลัว 26


ผมยกตัวอย่างใครดีละ่ ...เฉลิมชัย โฆษิตพิพฒ ั น์ ใช่เลย ศิลปินคนนี้ ชิน้ งานฟูฟ่ า่ พูดจาโผงผาง บางครัง้ ยกยอศิลปะไกลโพ้นเกินจริงไป หลายหมืน่ ปีแสง ต่างกันแค่บคุ ลิก ทีจเี อ็นสุขมุ ดุดนั กว่าเฉียดใกล้ ถวัลย์ ดัชนี รังสีอำ� มหิตล้อมหน้าล้อมหลัง แต่อย่าให้ทจี เี อ็นได้พดู ...ไม่รวู้ า่ ตัง้ ใจหรือไม่ ทัง้ หมดทัง้ มวล ผมรูส้ กึ ว่าเขาได้แรงบันดาลใจ มาจากศิลปินสองท่านนี้สูงทีเดียว เป็นเรื่องน่าแปลก มีเพื่อนร่วมชั้นน่าสนใจมากมาย ทีจีเอ็น พึงใจจะคุยกับผม เรื่องโปรเจกต์ของเขาก็เช่นกัน อย่างที่บอก ผมนั่งฟังเขาเล่าเรื่องโครงการศิลปะส่วนตัวอยู่ถึงสามชั่วโมงใน ร้านกาแฟ และเขาก�ำชับไม่ให้บอกใคร ซึ่งจนทุกวันนี้ถ้าเขาไม่ เปิดเผยกับใครก่อน ผมก็ยังไม่ได้บอกใคร สองสัปดาห์หลังจากร้านกาแฟ อาจารย์สงั่ งานไฟนอลโปรเจกต์ เป็นการท�ำพิพธิ ภัณฑ์จำ� ลองขึน้ มาสักแห่ง แบ่งห้ากลุม่ จากยีส่ บิ ห้า คนในห้อง ได้กลุม่ ละห้า ทีจเี อ็นตัง้ กลุม่ ขึน้ มาเอง ชวนผมเข้าไปอยู่ ผมรู้ลึกๆ ว่างานชิ้นนี้ต้องมีส่วนผสมกับงานส่วนตัวที่ทีจีเอ็นมา เล่าให้ผมฟังไม่มากก็น้อย เป็นดังว่า หลังจากหมดชั่วโมงนั้น ทีจีเอ็นเล่าว่าจะท�ำพิพิธภัณฑ์ศิลปะและดนตรีแห่งจิตวิญญาณ ของเขาส่งอาจารย์ นั่นเป็นสิ่งที่เขาเล่าให้ผมฟังที่ร้านกาแฟวันนั้น

27


บทกล่าวตาม

‘เราได้ยินเสียงก่อนเราจะเกิด เพียงสี่เดือนครึ่งหลังการ ปฏิสนธิ จากจุดนัน้ เราค่อยๆ เติบโตขึน้ พร้อมกับการอาบไล้ดว้ ย เสียงต่างๆ เสียงร้องเพลงของแม่ เสียงกระเพือ่ มไหวของลมหายใจ (...) เพียงครึง่ หลังของระยะครรภ์สเี่ ดือนครึง่ เสียงได้เข้าปกครอง เรา เหมือนดังราชินีผู้โดดเดี่ยวผู้ปกครองการรับรู้’ บทน�ำจากหนังสือ Audio-Vision ของ Michel Chion โดย Walter Murch การสื่อสารด้วยเสียง คือการสื่อสารชนิดแรกที่มนุษย์เรียนรู้ หากมนุษย์สามารถบันทึกเสียงได้เป็นครั้งแรกก็เมื่อช่วงกลาง ของศตวรรษที่ 19 โดยก่อนหน้านั้น เสียงเป็นส่วนหนึ่งของ ปรากฏการณ์ เป็นคลื่นพลังงานที่เกิดขึ้นแล้วผ่านเลยไป ที่อาจ ท�ำได้อย่างมากก็เพียงสะท้อนกลับ หรือก้องดังอยูใ่ นความทรงจ�ำ ของเรา ความพยายามจะบันทึกเสียงพูดด้วยอักษรในยุคเริ่มต้น อารยธรรม การประดิษฐ์โน้ตเพลงเมื่อราวศตวรรษที่ 11 จึงเป็น เพียงการผลิตซ�้ำที่ยังคงไม่แน่นอนและขึ้นอยู่กับหูของผู้บันทึก เรือ่ ยมา (โดยต้องหมายเหตุไว้ดว้ ยว่า เสียงแรกๆ ทีม่ นุษย์ตอ้ งการ จะบันทึกไม่ใช่เสียงของมนุษย์ด้วยกันเอง หากแต่เป็นเสียงจาก สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรืออ�ำนาจเหนือธรรมชาติที่สื่อสารกับมนุษย์)


จนล่วงเข้าสูป่ ลายศตวรรษที่ 19 วิทยาการทีก่ า้ วหน้าได้ท�ำให้ การผลิตซ�ำ้ เสียงกลายเป็นอุตสาหกรรม เสียงกลายเป็นหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ เช่นเดียวกับการจารึกด้วยถ้อยค�ำ ภาพถ่าย หรือภาพยนตร์ที่เริ่มมีเสียงพูดครั้งแรกเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 คงไม่เกินเลยไปนัก หากจะกล่าวว่า เราส่วนใหญ่ที่มีชีวิต อยู่ในเวลานี้เกิดมาพร้อมกับความสามารถในการผลิตซ�้ำและ อุตสาหกรรมเสียง (บวกเครือ่ งขยายเสียง-กระจายเสียง) บางคนที่ อายุยนื ยาว อาจเคยอยูใ่ นยุคของกระบอกเสียง-จานเสียง บางคน เติบโตมาพร้อมกับเทปคาสเซ็ท บางคนไม่เคยเห็นสิ่งที่กล่าวมา และรูจ้ กั ก็เพียงแผ่นดิสก์ หรือเครือ่ งเล่นไอพอด การฟังในศตวรรษ ของเราจึงหมายถึงการฟังผ่านสื่อกลางต่างๆ เหล่านี้ ส่งผลให้นับจากศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา เสียงไม่ได้เป็น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วผ่านเลยไป ทว่าเป็นสิ่งที่ถูกบันทึก และถูกน�ำมาเล่นซ�้ำ ท�ำส�ำเนา และแจกจ�ำหน่ายได้ หรือเพียง ชัว่ เวลาไม่กที่ ศวรรษให้หลังอุปกรณ์บนั ทึกเสียงแพร่หลายออกไป มันก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ กล่าวกันว่า โซนี วอล์กแมน บรรพบุรษุ ของไอพอดเปลีย่ นพฤติกรรมการฟัง เพลงในพืน้ ทีส่ าธารณะให้กลายเป็นพืน้ ทีส่ ว่ นตัว (ภายในรูหแู ละ การรับรูส้ ว่ นบุคคล) นักสังคมวิทยา หรือนักประวัตศิ าสตร์สงั คม อธิบายว่า มันเป็นอุปกรณ์ทสี่ ร้างความเป็นปัจเจก ความเป็นอัตบุคคล ทีไ่ ม่สามารถแบ่งแยกได้ คล้ายคลึงกับหนังสือในศตวรรษที่ 15-16 รวมถึง ‘ความกลัว’ ทีจ่ ะถูกดักฟังและบันทึกเสียงของนักการเมือง -บุคคลส�ำคัญทีพ่ บเห็นได้กว้างขวางหลังกรณีออื้ ฉาววอเตอร์เกท ในทศวรรษที่ 70


หากคงมีเสียงบางชนิดทีใ่ นเวลานีเ้ ราคงยังไม่สามารถบันทึก หรือน�ำออกมาเผยแพร่ได้ นัน่ คือบรรดาเสียงทีก่ อ้ งดังในความคิด เสียงในใจทีไ่ ม่ถกู พูด ไม่ถกู แสดงออก เสียงเล่าในวรรณกรรม หรือ เสียงในสภาวะหลอนประสาททีท่ ำ� ได้อย่างมากก็เพียงท�ำเลียนแบบ หรือขจัดออกไปเท่านั้น แน่นอนว่า นวนิยายเรือ่ ง พิพธิ ภัณฑ์เสียง ทีท่ กุ ท่านก�ำลังจะ อ่าน หรือได้อา่ นไปแล้วนัน้ คือผลงานทีเ่ กิดขึน้ ในยุคทีเ่ ครือ่ งบันทึก เสียงแพร่หลายกระจายตัวทั่วทุกสังคม เราสามารถดักจับเสียง ต่างๆ ได้ไม่ยากเย็น อุปกรณ์บนั ทึกเสียงนับล้านชิน้ ถูกผนวกรวม เข้ากับโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต ตุ๊กตา ดาวเทียม หรือ เครือ่ งมืออีกนานับชนิด มันเป็นยุคสมัยทีก่ ารผลิตซ�ำ้ เสียงกลาย เป็นเรื่องง่ายดาย และขณะเดียวกันก็อาจเรียกได้ว่าเป็นโลกที่ ‘การมองเห็น’ เป็น ‘ผู้ปกครองผัสสะ’ ทั้งปวง แม้กระนั้นนวนิยายเล่มนี้ก็ยังน�ำเสนอด้านที่ลึกลับ หรือเป็น ปริศนาของ ‘เสียง’ ทีด่ ำ� รงอยูแ่ ละยังคงส่งอิทธิพลต่อชีวติ ในโลก สมัยใหม่ โลกทีเ่ ราอาจได้ยนิ แต่ไม่ได้ฟงั เสียง หรือโลกทีฟ่ งั แต่ ไม่ได้ยิน ก็สุดแท้ พิพธิ ภัณฑ์เสียง เป็นนวนิยายทีผ่ เู้ ขียนเล่าว่า ได้แรงบันดาลใจ บางอย่างมาจากเรือ่ งสัน้ พิพธิ ภัณฑ์แสง อันเป็นเรือ่ งราวของชาย คนหนึ่งที่เดินเข้าไปในพิพิธภัณฑ์แปลกๆ ซึ่งพยายามรวบรวม เรือ่ งราวเกีย่ วกับ ‘แสง’ เอาไว้ เส้นทางคดเคีย้ วสลับซับซ้อนภายใน น�ำพาชายคนดังกล่าวไปค้นพบความจริงว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ แท้จริงเป็นเสมือนหนังสือเล่มใหญ่ที่ท�ำการรวบรวมและบันทึก ประสบการณ์แสงในห้วงเวลาต่างๆ ของผู้สร้างพิพิธภัณฑ์ที่เป็น ไปได้ว่าเขาก�ำลังจะตาบอด หรือสูญเสียการมองเห็นไป


หากอ่านถึงตรงนีก้ จ็ ะเห็นได้ชดั ว่า พิพธิ ภัณฑ์เสียง นัน้ สามารถ คงอยูแ่ ละเป็นอิสระจากอิทธิพลทัง้ ปวงจากเรือ่ งสัน้ พิพธิ ภัณฑ์แสง ทัง้ ในแง่อารมณ์และอรรถรสทีร่ มุ่ รวยมีสสี นั กว่า แม้นกระนัน้ ตัวผม ในฐานะผูเ้ ขียนบทกล่าวตาม และเจ้าของเรือ่ งสัน้ พิพธิ ภัณฑ์แสง ก็เห็นว่า จ�ำเป็นต้องจะกล่าวถึงนวนิยายสัน้ อีกเรือ่ งหนึง่ ทีถ่ อื ได้วา่ เป็นบรรพบุรุษของ พิพิธภัณฑ์แสง และ พิพิธภัณฑ์เสียง นั่นก็ คือ ผลงานของนักเขียนชาวอาร์เจนไตน์ Adolfo Bioy Casares ทีม่ ชี อื่ ว่า The Invention of Morel ก่อนจะเชือ่ มโยงให้เห็นความ สัมพันธ์บางอย่างและปิดบทกล่าวตามอย่างที่ตั้งใจไว้ The Invention of Morel เล่าถึงการหลบหนีของตัวเอก นิรนามไปยังเกาะกลางทะเลแห่งหนึง่ ด้วยความรูส้ กึ ว่า โลกทีเ่ ขา เคยอยูเ่ ต็มไปด้วยภยันอันตราย และเกาะทีว่ า่ นีน้ า่ จะเป็นสถาน พักพิงให้แก่เขาได้ แม้จะได้รับค�ำบอกเตือนจากพ่อค้ากะลาสี เรื่องโรคประหลาดที่ระบาดในหมู่เกาะแห่งนั้น เรื่องราวทั้งหมดเริ่มขึ้นหลังจากตัวเอกอาศัยอยู่บนเกาะ แห่งนั้นได้สักระยะเวลาหนึ่ง เขาตัดสินใจว่าจะเขียนบันทึก ประสบการณ์และความรู้สึกขณะติดอยู่บนเกาะนั้น ที่แปลก ประหลาดและพิสดารเกินกว่าเกาะร้างในนวนิยายทั่วไป เพราะ บนเกาะนั้นมีสิ่งปลูกสร้างอาคารที่ถูกเรียกว่า ‘พิพิธภัณฑ์’ และ วันดีคืนดีก็จะมีอาคันตุกะแปลกหน้ามาอาศัยพักพิงอยู่ที่นั่น ตัวเอกหลงรักหญิงสาวนางหนึง่ ในนัน้ ก่อนจะค้นพบว่า ผูม้ าพักที่ วนเวียนประกอบกิจกรรมซ�ำ้ เดิม บทเพลงเก่าคร่าจากเครือ่ งเล่น แผ่นเสียงที่บรรเลงครั้งแล้วครั้งเล่า หรือชีวิตของผู้คนทั้งหลาย เป็นเพียง ‘ภาพเงา’ ที่ถูกบันทึกเอาไว้ ซึ่งจะถูกฉายทาบทับลง ไปบนสิง่ ปลูกสร้างบนโลกความจริง เมือ่ เครือ่ งจักรทีท่ ำ� งานด้วย ระบบน�้ำขึ้นน�้ำลงเดินเครื่อง


‘ภาพเงา’ เหล่านั้นคือ ‘พิพิธภัณฑ์เสียงและแสง’ ที่ถูก ประดิษฐ์ขึ้นด้วยจุดมุ่งหมายว่า ผู้ที่เคยด�ำรงอยู่จะคงอยู่ต่อไป แม้ร่างกายจะเสื่อมสลายไปจากโลกนี้ไปแล้ว แน่นอนว่า The Invention of Morel เป็นนวนิยายสืบสวน สอบสวนกึง่ ไซไฟโดยรูปแบบ หากแต่แก่นแท้ของมันคือ ‘นวนิยาย รัก’ การค้ น พบความเป็ น จริ ง ในตอนท้ า ยของตั ว เอกนิ ร นาม เปลีย่ นเรือ่ งราวการผจญภัยทัง้ หมดของเขาให้เป็นโศกนาฏกรรม เมื่อเขาตระหนักได้ว่า ตัวเองก�ำลังป่วยด้วยโรคระบาดพิสดาร และจะต้องตายจากไปในไม่ช้า เพียงแต่เขา หรือเงาของเขาจะ ไม่ถกู บันทึก หรือบรรจุอยูใ่ นพิพธิ ภัณฑ์รว่ มกับภาพเงาของหญิง ที่เขาหลงรัก ความเกีย่ วเนือ่ งเชือ่ มโยงทีเ่ กิดขึน้ ระหว่าง The Invention of Morel กับ พิพธิ ภัณฑ์เสียง หรือ พิพธิ ภัณฑ์แสง นัน้ ก็คอื ความ ปรารถนาจะคงอยูต่ อ่ ไปของมนุษย์ แม้ชวี ติ บนโลกจะแตกดับไป แล้ว ซึง่ แน่นอนว่า ด้วยเทคโนโลยี ด้วยเจตจ�ำนงแห่งวิทยาศาสตร์ และความก้าวหน้า ใครหลายคนคงสามารถคงอยู่ต่อไปได้ใน สภาพที่ดู ‘มีชีวิต’ ยิ่งกว่าจินตนาการอันลึกล�้ำของ Casares ได้ ไม่ยาก หากแต่สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อเท็จจริง หรือเป็นสัจธรรมก็คือ เมื่อเปรียบเทียบการเกิดขึ้นของโลกกับการคงอยู่ของจักรวาลที่ เนิ่นนานเป็นนิรันดร์ เราก็จะพบว่า ที่แท้แล้ว มันเป็นห้วงเวลา แสนสัน้ หรือเป็นปรากฏการณ์ชวั่ วูบเหมือนแสงวาบของดาวตก แล้วหากเปรียบเหตุการณ์ดงั กล่าวกับปรากฏการณ์ทเี่ ราเรียกว่า ‘มนุษย์’ ล่ะ ชั่วขณะนั้นจะหดสั้นลงยิ่งกว่าเพียงใด แล้วการคง อยู่เรื่อยไปของมนุษย์ล่ะจะยาวนานไปได้สักเท่าไรกัน นี่เป็นเรื่องที่ผมและทุกท่านต้องเอาไปคิด กิตติพล สรัคคานนท์



เกี่ยวกับผูเ้ ขียน จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์ • เกิดวันที่ 1 กันยายน 2528 เป็นคนนครสวรรค์ ที่ย้ายมาใช้ชีวิตอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ • เป็นเจ้าของรวมเรื่องสั้น ฮาวายประเทศ และ การเมือง เรื่องเซอร์เรียล • นอกจากเปโดร อัลโมโดวาร์แล้ว ยังชอบ ภาพยนตร์หลายเรื่องของสแตนลีย์ คูบริค / เดวิด โครเนน เบิร์ก / อีธาน และ โจเอล โคเอน • ฟังเพลงร็อคเป็นปกติวิสัย • ปัจจุบนั เรียนปริญญาโท การจัดการศิลปะและ วัฒนธรรม ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ผู้เขียนขอบคุณ กิตติพล สรัคคานนท์ ธนพนธ์ เอื้อตระกูล (เอ็มซี ทีจีเอ็น) ชวณัฐ สุวรรณ ภู่มณี ศิริพรไพบูลย์ นฤพนธ์ สุดสวาท และเพลโต (2005-2008)



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.