นี่เป็นการเขียนค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ที่เกร็งที่สุด เหตุผลมีอยู่สองข้อใหญ่ เพราะหนึ่ง - ถึงแม้ในส่วนค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ซึ่งต้องมีเนื้อหาที่ ปลุกเร้าให้ผู้อ่านสนใจเนื้อหาหลักของหนังสือทั้งเล่ม แต่เราเขียนลบ-เขียน-ลบ เพราะไม่รู้จะเขียนค�ำน�ำอย่างไรให้น่าสนใจมากกว่า บทความทั้ง 30 เรื่องในเล่ม เพราะสอง - ทุกตอนในเล่ม เขียนโดยคุณโตมร ศุขปรีชา บรรณาธิการอ�ำนวยการนิตยสาร GM นักคิด นักเขียน และ คอลัมนิสต์ที่เราไม่ต้องบรรยายสรรพคุณใดๆ เพิ่มเติม เพราะเขา คร�่ำหวอดอยู่ในวงการเขียน-สิ่งพิมพ์มานานจนใช้เวลาเป็นเครื่อง รับประกันคุณภาพและฝีไม้ลายมือได้ บทความทั้ง 30 เรื่องที่ถูกบรรจุไว้ในเล่มนี้ เดิมทีมันมีต้นธาร ของมันคือคอลัมน์ของคุณโตมร ในนิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ โดยใช้ชื่อคอลัมน์เดียวกับหนังสือเล่มนี้ ‘เธอ เขา เรา ผม’ ทีม แซลมอนติดตามอ่านงานคอลัมน์นี้มาพักใหญ่ จนเริ่มติดอกติดใจ กระทั่งอดใจไม่ไหว ต่อสายโทรศัพท์หาเขาแล้วขอน�ำมารวมเล่ม
เธอ เขา เรา ผม เป็นบทความวิพากษ์สังคมผ่านมุมมอง ของคุณโตมร เนื้อหานั้นเข้มข้น หนักแน่น ทั้งเรื่องการเมือง สิ่งแวดล้อม กระทั่งเรื่องชีวิตคนในสังคม ที่ผ่านการเปรียบเปรย วิเคราะห์อย่างคมกริบ ตรงจุด แม้จะต่างประเด็น ต่างวาระกัน แต่ทกุ เรือ่ ง ไม่วา่ เล็กหรือใหญ่ มันก็สะท้อนให้เห็นภาพของสังคมไทยได้ชัดและถนัดตามากขึ้น คล้ายคนเปลีย่ นแว่นตาใหม่ ช่วงแรกอาจเวียนหัว คลืน่ เหียนชวน อาเจียน อยากจะถอดเดี๋ยวนั้นเพราะรับไม่ได้กับภาพอันบิดเบี้ยว แต่พอสายตาเริม่ ปรับตัวให้เข้ากับแว่นได้ เราก็เห็นอะไรชัดขึน้ ภาพที่คุณเคยมาก่อนหน้า สิ่งที่คุณเข้าใจมาก่อนนั้น ก็อาจจะ ท�ำให้คุณเข้าใจมันเสียใหม่ก็เป็นได้ หากได้อ่าน เธอ เขา เรา ผม จนจบ ขออภัย เราไม่รู้จะเขียนอะไรให้น่าสนใจไปกว่านี้อีกแล้ว ไม่อยากจะกล่าวอะไรไปมากกว่านี้ เอาเป็นว่าเราขอเชื้อเชิญ ให้คุณลองอ่าน เผื่อจะได้เข้าใจความรู้สึกของเรา แต่ นั่ น ไม่ ส� ำ คั ญ เท่ า คุ ณ อาจจะได้ เ ข้ า ใจความรู ้ สึ ก ของ ‘เธอ เขา เรา ผม’
ส�ำนักพิมพ์แซลมอน
คนเรามักเห็นตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาลอยู่เสมอ นักเขียนที่แสดงความคิดเห็นต่อปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคม อย่างที่ฝรั่งเรียกว่า Social Commentator นั้น ยิ่งเห็นตัวเองเป็น ศูนย์กลาง และสัญลักษณ์หนึ่งของการเป็นศูนย์กลางในที่นี้ ก็คือ การที่บทความทั้งหลายจะเต็มไปด้วยสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง อัน ได้แก่ ฉัน ผม ข้าพเจ้า ฯลฯ ‘ผม’ ในที่นี้-ก็เป็นเช่นนั้น ไม่เคยมีใครถาม และผมก็ไม่เคยอธิบายมาก่อน ว่าเพราะ เหตุใด ชื่อคอลัมน์ในนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ที่ผมเขียนถึงมีชื่อ ว่า เธอ*เขา*เรา*ผม แน่นอน เราอยู่ในโลกที่แต่ละคนมีร่างกายเป็นตัวเป็นตน แต่เมือ่ ร่างกายทีเ่ ป็นตัวเป็นตนเกิดหล่อหลอมรวมประสบการณ์ ทัศนคติ เจตคติ อคติ มายาคติ และคติอะไรอื่นๆ อีกหลายอย่าง เข้าด้วยกันแล้ว การ ‘เป็นตัวเป็นตน’ ก็จะกลายเป็น ‘ตัวตน’ ขึ้น มา และเราก็มักพก ‘ตัวตน’ ที่เต็มไปด้วยคติต่างๆ เหล่านี้เข้าไป ประกวดประขันกับคนอืน่ บางครัง้ ก็ผสมกลมกลืนเห็นพ้องรวมตัว เป็นกลุม่ ก้อนเดียวกัน แต่บางครัง้ ก็ใช้ตวั ตนเพือ่ ควบคุมกันและกัน หรือทิม่ แทงกันและกัน ซึง่ มีทงั้ ทีต่ งั้ ใจ ไม่ตงั้ ใจ และบางกรณีกไ็ ม่รตู้ วั ทุกคนในโลกนี้จึงเป็น ‘ผม’ ของตัวเอง ขณะที่คนอื่นๆ เป็น ‘เธอ’ หรือ ‘เขา’ และ ‘ผม’ หรือสรรพนามบุรุษที่หนึ่งอื่นๆ (ที่ อาจเป็นสตรีก็ได้!) ย่อมเป็นบุคคลที่ส�ำคัญที่สุดในโลกผู้มาเป็น ล�ำดับแรกเสมอ แต่กระนั้น ในภาวะที่เราเป็น ‘ผม’ ส�ำหรับตัวเอง เราย่อมเป็น ‘เขา’ หรือ ‘เธอ’ ส�ำหรับคนอื่นอยู่เสมอด้วยเช่นกัน และมีวิธีเดียว เท่านั้นที่จะท�ำให้ ผม เธอ และเขา กลายมาเป็น ‘เรา’ ได้ นั่นคือ การท�ำความเข้าใจใน ‘ตัวตน’ (ที่พกพาคติต่างๆ ติดตัวมา) ของ
คนอื่นอย่างถ่องแท้ โดยค�ำว่า ‘เรา’ ไม่จ�ำเป็นต้องเป็นน�้ำเนื้อหนึ่ง เดียวหรือคิดเหมือนกันไปหมดในทุกเรื่อง การท�ำความเข้าใจคนอื่นนั้นท�ำได้หลายรูปแบบ ทั้งในระดับ ปัจเจก ผ่านกลุม่ สังคม ประวัตศิ าสตร์ หรือโครงสร้างใหญ่ของสังคม และความเข้าใจนีก้ ส็ ามารถถ่ายโอนกันไปมาเหมือนฟิสกิ ส์ทเี่ ราไม่ สามารถใช้ความเข้าใจในระดับเดียวไปอธิบายทุกปรากฏการณ์ที่ เล็กใหญ่แตกต่างกันอย่างมากได้ และหลายครั้ง ความเข้าใจเหล่า นั้นก็ย้อนแย้งซึ่งกันและกันด้วย ยิง่ เราพยายามท�ำความเข้าใจกับความซับซ้อนเหล่านีม้ ากเท่าไหร่ ในที่สุดเราก็จะเห็นว่าโลกที่มี ‘ผม’ เป็นศูนย์กลางจักรวาล นั้น เป็นโลกที่ถูกฉาบย้อมด้วยคติและอคติของเรามากมาย และ เมื่อเราพยายามรื้อถอนคติและอคติเหล่านั้น ที่สุดแล้วตัว ‘ผม’ ก็ จะค่อยๆ เลื่อนจากล�ำดับแรกในฐานะศูนย์กลางจักรวาล กลายไป เป็นล�ำดับสุดท้าย โดยให้ความส�ำคัญกับเธอ เขา หรือเรา มากกว่า ต้องสารภาพเอาไว้ตรงนี้ว่าในฐานะนักเขียนบทความผู้เห็น ตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาลนั้น ผมยังไม่สามารถเปลี่ยนล�ำดับ ความส�ำคัญของตัวตนให้เป็น เธอ*เขา*เรา*ผม ได้หรอกนะครับ แต่การตั้งชื่อคอลัมน์ที่กลายมาเป็นชื่อหนังสือเล่มนี้นั้น ก็เพื่อ จะใช้เตือนตัวเองทุกครั้งที่เห็น-ว่าความคิดเห็นต่างๆ ที่ระดมใส่ลง ไปในบทความต่างๆ เหล่านัน้ โดยเนือ้ แท้กค็ อื ความคิดเห็นของ ‘ตัว ตน’ ที่พกพาคติและอคติต่างๆ มาเต็มกระเป๋าอยู่นั่นเอง เพราะฉะนัน้ เมือ่ อ่านบทความในหนังสือเล่มนี้ ผมจึงไม่อยาก ให้คุณเชื่อหรือชอบในทันที แต่ได้โปรดใช้คติและอคติของ ‘ผม’ หรือ ‘ฉัน’ ในฐานะผู้อ่าน เพื่อน�ำมาปะทะสังสรรค์กับคติและอคติ ของ ‘ผม’ ซึ่งเป็นผู้เขียน บางทีการชนกันก็อาจก่อให้เกิดแสงสว่างขึ้นได้บ้าง โตมร ศุขปรีชา
10
กิ้งกือกับแมงป่อง
ภาพประหลาดใจในเช้าวันนั้น เป็นภาพของกิ้งกือกับแมงป่อง กิง้ กือตัวใหญ่ ล�ำตัวของมันเป็นปล้องๆ มีสเี หลืองอ่อนเป็นริว้ ๆ ตัดกับสีด�ำขลับเป็นมันวับ แลดูสะอาดเอี่ยมอยู่ในสายฝนยามเช้า มันซุกตัวอยูใ่ นโพรงใต้ดนิ ขนาดเล็ก ท่าทางมีความสุข คล้ายจับจอง รูเรี้ยวเล็กๆ นั้นเป็นบ้านอันแสนอบอุ่น มันขดตัวขุดดิน มันจะกินดินเข้าไปบ้างไหม? ผมบอกไม่ได้ จึงชะโงกหน้าลงไปดูใกล้ๆ เพื่อมองให้ชัดว่ามัน ก�ำลังท�ำอะไรอยู่ เมื่อหน้ายื่นเข้าไปใกล้โพรงดินเล็กๆ นั้น ผมต้องผงะ! แมงป่องสีดำ� เมีย่ มขนาดปานกลางไม่เล็กไม่ใหญ่ตวั หนึง่ แอบอิง อยู่กับซอกมุมหนึ่งของโพรงนั้น มันแลดูไม่สะอาดเท่าไหร่ เศษดิน เศษโคลนเปื้อนตัว ร่างกายของมันจึงไม่เป็นสีด�ำสนิทเหมือนที่เรา มักเห็นตามหนังสารคดี
11
สมัยเด็กๆ ผมเคยโดนแมงป่องต่อยในตอนใกล้รุ่ง เปล่า-ผมไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวอะไรกับมัน ไม่ได้เอาไม้แหย่หรือ ยั่วเย้าอะไรมัน ผมเพียงแต่นอนฝันอยู่ในเสียงของสายฝนต้นฤดู เหมือนในตอนนี้ แต่แล้วจู่ๆ มือของผมก็สะท้านเปรี้ยง พิษหนึบของอะไรบาง อย่างต่อยเข้าที่นิ้วหัวแม่โป้งข้างขวา ทั้งสะดุ้งโหยง ทั้งปวดแสบ ทัง้ รูส้ กึ เหมือนถูกชก ผมสะบัดผ้าห่ม เปิดไฟ และพบว่ามีแมงป่อง ตัวเล็กกระจิ๋วหลิวตัวหนึ่งมานอนร่วมเตียง บางทีมันอาจไต่ขึ้นมาตามเสา หนีน�้ำ และตามหาความอบอุ่น แล้วมันก็หายตัวไป แต่วันนั้นทั้งวัน ผมเป็นไข้จนไม่ต้องไป โรงเรียน แม้นกึ ดีใจอยูบ่ า้ งทีไ่ ม่ตอ้ งไปโรงเรียน แต่มอื นัน้ แสบปวด เผ็ดร้อนและบวมแดงอยูต่ ลอดทั้งวัน โชคดีทผี่ มไม่แพ้พษิ แมงป่อง จึงไม่มีอาการหนักหนาไปกว่านั้น ถึงวันนี้ ในปีทภี่ าคเหนือของไทยไม่มฤี ดูรอ้ น ผมทัง้ ประหลาดใจ ระคนตกใจจนสะดุง้ ผงะ ทีไ่ ด้เห็นแมงป่องอยูใ่ กล้กบั หน้าตัวเองแค่ คืบแค่วา แถมมันยังอยู่ร่วมกับกิ้งกือได้อย่างปกติสุขเสียอีก ผมเดาเอาว่า แมงป่องจะต้องต่อยกิ้งกือ แล้วลากมันไปเป็น อาหารมื้อใดมื้อหนึ่งแน่ๆ ผมจึงตัดสินใจเฝ้าดูมันอยู่เกือบตลอด ทั้งวัน โดยแวะเวียนมาเมียงมองเป็นครั้งคราวไป ด้วยความประหลาดใจของคนเมืองผู้ไม่เคยอยู่กับธรรมชาติ อย่างผม ผมพบว่าเจ้ากิ้งกือตัวนั้นยังคงดิ้นตัวหมุนวนกวาดดิน ย่อยดิน กินดิน และท�ำอะไรต่อมิอะไรกับดิน จนโพรงเล็กนัน้ กว้าง ขึน้ แต่เป็นความกว้างภายในโพรง ปากโพรงนัน้ ไม่ใหญ่ไปกว่าเดิม มากนัก มันท�ำตัวเหมือนเป็นกังหันทีข่ ยับเคลือ่ นช้าๆ หมุนปัน่ โพรง ให้ใหญ่ขึ้น และเมื่อมันกวาดตัวมาตรงบริเวณที่แมงป่องอยู่ เจ้า แมงป่องก็หาได้เดือดเนื้อร้อนใจไม่ มันเพียงแต่ขยับตัวด�ำๆ เปื้อน ขี้โคลนของมันออกไป แล้วปล่อยให้กิ้งกือขุดดินได้ตามสะดวก
12
กิ้งกือกับแมงป่อง
ดินชื้นๆ เพราะหมาดเม็ดฝนนั้นกวาดเก็บไม่ง่ายนัก แต่กิ้งกือ ก็ท�ำงานเก่งกาจ มันย่อยดินให้เป็นขุยเล็กๆ เสียก่อน โดยใช้ตีน นับพันนับหมืน่ ถีบเตะซุยดินจนร่วน แล้วมันก็ใช้กรรมวิธลี กึ ลับบาง อย่างท�ำให้ดินหายไปโพรงจึงใหญ่ขึ้น แมงป่องนัน้ ดูเหมือนจะอยูน่ งิ่ ๆ เว้นเสียแต่เมือ่ กิง้ กือขยับตัวมา โดนมัน มันจึงขยับบ้างเพื่อเว้นที่ว่างไว้ให้กิ้งกือได้ท�ำงาน พวกมันท�ำให้ผมคิดถึงนิทานเก่าแก่ที่ใครๆ ก็คุ้นเคยกันเรื่อง กบกับแมงป่อง เรื่องที่กบพาแมงป่องข้ามแม่น�้ำ โดยให้แมงป่อง สัญญาเสียก่อนว่ามันจะไม่ต่อย เพราะถ้าหากว่ามันต่อยกบเมื่อ ไหร่ ไม่ใช่แค่กบจะตายเท่านั้น ทว่าแมงป่องก็จะจมน�้ำตายไปด้วย แต่เมือ่ ล่องมาถึงกลางกระแสน�ำ้ อันเชีย่ วกราก ในทีส่ ดุ แมงป่อง ก็ต่อยกบ กบมองแมงป่องอย่างไม่เข้าใจ ว่าท�ำไมมันถึงต่อย ทั้งที่ รู้ว่าถ้าต่อย พวกมันก็จะต้องตายด้วยกันทั้งคู่ แมงป่องตอบกบในท�ำนองที่ว่า นี่เป็นธรรมชาติของมันเอง ธรรมชาติของแมงป่องที่จะต้องต่อยสิ่งมีชีวิตอื่น จากนั้นพวกมัน ก็จมน�้ำตาย ผู้คนอธิบายเรื่องราวของกบกับแมงป่องในนิทานเรื่องนี้กัน ไปต่างๆ นานา แต่วิธีอธิบายที่พูดถึงกันมากที่สุดแบบหนึ่งก็คือ แมงป่องนั้นเป็นแมลงเจ้าเล่ห์แสนกล และโดยธรรมชาติของมัน แล้ว มันคือสัตว์ชั่วร้ายที่เลี้ยงไม่เชื่อง ไม่ว่าใครจะท�ำความดีกับ มันมากมายแค่ไหน มันก็ไม่รู้จักส�ำนึกบุญคุณ ถ้าแมงป่องเป็น คน ก็เป็นคนประเภทที่มีความสุขที่ได้ท�ำร้ายคนอื่น ไม่ว่าด้วยทาง ตรงอย่างการเป็นอันธพาล หรือโดยทางอ้อมอย่างการมีใจเจ็บแค้น พยาบาท แล้วค่อยๆ ล้างแค้นราวกับความอาฆาตนัน้ เป็นของหวาน ที่ต้องละเลียดกิน พูดง่ายๆ คนเหล่านี้มีความสุขที่ได้กลายเป็น ‘คนเลว’ นั่นเอง ผมเฝ้ามองแมงป่องในโพรงนั่น และคาดหมายไปตามต้นทุน
13
ประสบการณ์ของตัวเองว่า รอไปเถิด อีกสักนาที อีกสักชั่วโมง หรืออีกสักวัน เจ้าแมงป่องชั่วช้าตัวนั้นจะต้องต่อยกิ้งกือผู้ขุดโพรง ให้มันอยู่เพื่อหนีน�้ำแน่ๆ เหมือนที่มันเคยต่อยผมเมื่อวัยเยาว์ ทั้งที่ เป็นผูใ้ ห้ความอบอุน่ แก่มนั ในวันฝนพร�ำแท้ๆ มันยังท�ำกันได้กระนี้ แต่แมงป่องก็ไม่ได้ท�ำอย่างนั้น มันเพียงแต่ขยับตัวอย่างอ่อนโยนเมือ่ กิง้ กือมาสัมผัสต้องเนือ้ ตัว ของมัน เพื่อหลีกทางให้กิ้งกือได้ท�ำงานของมันต่อไปเรื่อยๆ เมื่อนาที ชั่วโมง และวันเคลื่อนผ่าน เมื่อฝนพร�ำสาย สาด หนัก แสงดาวส่อง กระทั่งถึงรุ่งเช้าอีกวันหนึ่ง แมงป่องก็ยังอยู่ ตรงนั้นกับกิ้งกือ มันไม่ได้อยู่ที่เดิมในโพรง แต่ขยับตัวไปมา ซ้าย ที ขวาที ไม่กินอะไร มันเพียงแต่อยู่นิ่งๆ และไม่ได้ต่อยกิ้งกือ ผม จึงเริ่มตั้งค�ำถามกับตัวเองว่า หรือบางทีอาจเป็นเพราะเราไม่รู้จัก แมงป่องอย่างแท้จริง ความวุ่นวายในโลกมักเกิดขึ้นเพราะเราไม่รู้จักกันโดยถ่องแท้ แต่แล้วเราก็ ‘พิพากษา’ กันและกัน สาด ‘สารแห่งความเกลียด ชัง’ ใส่กัน แต่งตั้งให้ใครสักคน หรือใครสักกลุ่มกลายเป็น ‘ศัตรู’ ของเรา แล้วเราก็บอกกับคนในกลุ่มของเราว่า ให้ร่วมกันเกลียด ชังคนที่เป็นศัตรูของเรา แต่เราไม่เคยใช้เวลาร่วมกับคนที่เรากล่าวหาว่าเขาเป็นศัตรู ของเราเลย เราไม่เคยเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของพวกเขาแม้แต่น้อย แต่เราก็ ‘เกลียดชัง’ กันและกัน แวบแรกที่ผมมองเห็นแมงป่องในโพรงดินนั้น ผมรู้สึกเหมือน ขนคอตัง้ ชัน ขนแขนลุกเกรียว ปวดแสบเผ็ดร้อนสะท้านนิว้ โป้งขึน้ มาใหม่ ผมอยากเอาจอบขุดมันขึน้ เพือ่ บดขยีใ้ ห้มนั ตายตกไปสมกับ ‘ความเลว’ ของมัน เพียงเพราะมันเป็นแมงป่อง เพียงเพราะมันเกิด มามี ‘ธรรมชาติ’ ที่จะต้องต่อย เราจึงต้อง ‘พิพากษา’ ให้มันตาย
14
กิ้งกือกับแมงป่อง
แต่แล้วเมื่อได้นั่งเฝ้ามอง ได้เห็นการอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในมิติที่แตกต่างจาก ‘ต้นทุนการรับรู้’ เดิม ซึ่งมีทั้งประสบการณ์ ตรงจากการถูกแมงป่องต่อย และจากการกล่อมเกลาทางสังคม ผ่านนิทานและเรือ่ งเล่า ผมกลับเกิดความรูส้ กึ แตกต่างจากเดิมขึน้ มา ผมสงสัยว่า, บางแวบของความรูส้ กึ -แมงป่องมีความหวาดกลัว คมจอบและคนที่นั่งมองมันอยู่บ้างไหม และแน่ใจแล้วหรือ, ว่าเราสมควรพิพากษาใครอืน่ ด้วย ‘ธรรมชาติ ดั้งเดิม’ ของเขา แน่ใจแล้วหรือ, ว่าแมงป่องคือสัตว์ที่ ‘หยิง่ ยโส’ และเป็นตัวร้าย เหมือนในนิทานเสมอไป บางที, พวกมันก็เพียงแต่อยากมีชวี ติ อยูเ่ หมือนทีเ่ ราต่างก็อยาก มีชีวิตอยู่ด้วยกันทั้งนั้น ผมไม่รู้หรอกว่า ในอีกหนึ่งนาทีถัดไป ชั่วโมงถัดไป หรือวันถัด ไป แมงป่องตัวนัน้ จะต่อยกิง้ กือ แล้วกัดกินซากศพของมันเพือ่ เป็น อาหารไหม แต่ถึงมันจะท�ำอย่างนั้น นั่นถือเป็นการกระท�ำที่ท�ำให้ มันเป็น ‘ตัวร้าย’ ไปจริงๆ หรือ นิทานเรื่องที่เล่ามา บอกเราว่ามี ‘มนุษย์ที่ชั่ว’ อยู่จริงๆ นั่น ท�ำให้ผมคิดถึงโธมัส ฮ็อปส์ ผู้บอกว่ามนุษย์เกิดมาชั่ว จึงต้องมี การควบคุมผ่านทางการปกครอง ซึ่งในแง่หนึ่งก็คือการควบคุมทางกฎหมาย แต่ถ้ามนุษย์ (บางคน) นั้นชั่วเหมือนแมงป่องจริงๆ เราจะเอา ‘การปกครอง’ แบบไหนไปสวมทับเพื่อ ‘ควบคุมบังคับ’ เขาได้ อย่างสัมบูรณ์และเปลี่ยนแปลงเขาไปได้ตลอดกาลกระนั้นหรือ ในเมื่อการต่อยปล่อยพิษ คือ ‘ธรรมชาติ’ ของแมงป่อง เมื่อมองดูกิ้งกือกับแมงป่องในโพรงนั้น ผมอดสงสัยไม่ได้ ว่า หรือชะรอยพวกมันอาจมีภาวะอยู่ร่วมแบบ Symbiosis อะไร บางอย่างที่ผมไม่รู้ แต่พวกมันรู้ และเมื่อรู้เสียแล้ว พวกมันก็อยู่