รู้ทันซานต้า

Page 1



POP SCIENCE


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์   เท่าทีเ่ ราถามกันในกองบรรณาธิการส�ำนักพิมพ์แซลมอน ไม่พบ ว่าบ้านใครมีปล่องไฟหรือเตาผิง   ก็แหงล่ะ บ้านเกิดเมืองนอนของเราปีนึงจะมีหน้าหนาวสักกี่วัน   เตาผิงจึงเป็นสิ่งผิดที่ผิดทาง เป็นสิ่งแปลกปลอมส�ำหรับประเทศ เมืองร้อนอย่างเรายิ่ง   แต่ทุกคนล้วนรู้จักซานตาคลอส ชายอารีที่อยู่เหนือกาลเวลา ผู้ใช้ เตาผิงเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก เจ้าของต�ำนานแห่งคืนวันคริสต์มาส ที่ว่ากันว่าเด็กคนไหนประสงค์อยากได้อะไร ขอแค่เป็นเด็กดีเถอะ   เช้าของวันที่ยี่สิบห้าธันวาของทุกปีเป็นต้องได้ของขวัญสมใจ ทุกคน   ถึงแม้เราจะไม่เคยได้ของสักชิ้นจากซานตาคลอส (และไม่เคยคิด ว่าจะได้) ไม่รู้ว่าเพราะไม่ได้เสียบการ์ดขอพรไว้ในถุงเท้าที่ห้อยปลาย เตียง ไม่ได้จัดแต่งต้นคริสต์มาสในห้องรับแขก หรือไม่ได้ก่อเตาผิง เอาไว้ต้อนรับ แต่คนครึ่งโลกยังคงท�ำยังงั้น และยังกระท�ำเรื่อยมาอยู่ ทุกปีโดยไม่เว้น   ต้องมีอะไรสักอย่างที่ท�ำให้วัฒนธรรมนี้ยั่งยืนยาวนาน   เราอดคิดไม่ได้ว่า หรือซานต้าจะมีจริง?   ก็อย่างที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนเปรยอยู่หลายครั้งว่า ไม่มีอะไร ที่วิทยาศาสตร์ท�ำไม่ได้   แล้วท�ำไมซานตาคลอสจะต้องอยู่ในข่ายที่ยกเว้น?   เกรกอรี่ โมน หนึ่งในทีมบรรณาธิการนิตยสาร Popular Science


น่าจะคิดแบบเดียวกัน เขาจึงตระเวนหาข้อมูล และหาเหตุผลของความ เป็นไปได้ที่โลกนี้จะมีซานตาคลอสอยู่จริง อ้างอิงด้วยประวัติศาสตร์ หลักวิทยาศาสตร์ วิทยาการ ฟิสิกส์ เคมี และสารพัดวิชาที่จะ คลี่คลายค�ำถามมากมายที่เราเคยมี เช่น กวางเรนเดียร์บินได้หรือ เปล่า ซานต้าจะแจกของขวัญหมดภายในคืนเดียวได้ยังไง ฯลฯ   รวมถึงอีกสารพัดค�ำถามทีน่ า่ จะวนเวียนอยูใ่ นหัวของใครหลายคน มาหลายต่อหลายปี   ในฐานะคนท�ำหนังสือที่พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ต�่ำเตี้ย เราจึง เลือกมองหนังสือเล่มนีใ้ นเชิงวรรณกรรม และพิจารณาในลักษณะงาน สารคดี พบว่าเป็นเรื่องที่สนุกไม่เบา   เกรกอรี่ โมน เขียนหนังสือสนุก ปล่อยมุกไม่ขาด แถมยังร้อยเรียง ข้อมูลได้น่าอ่าน บางบทท�ำให้เราอดใจไม่กินข้าวกลางวัน เพราะ ต้องการเวลาอ่านมันให้จบเสียก่อน   บางตอนถึงขั้นท�ำให้เราอุทานว่า “เฮ้ย จริงเหรอ!?”​   เราจะไม่ชี้น�ำว่า เกรกอรี่ โมน พูดจริงหรือไม่   หลักฐานในหนังสือเล่มนีเ้ ป็นของแท้แน่นอนรึเปล่า แต่กข็ ออนุญาต กระซิบบอกว่า ตอนนี้แค่เราเห็นอะไรขยับเขยื้อนเลื่อนอยู่บนท้องฟ้า ข้อสันนิษฐานมากมายก็ผุดขึ้นมาในห้วงจินตนาการ   ดังนั้น นอกจากจะขอให้ใช้วิจารณญาณในการอ่าน เราแนะน�ำให้ น�ำจินตนาการติดมือไปด้วย เพราะคุณจ�ำเป็นต้องใช้มัน   เอาล่ะ ขอให้คุณสนุกกับซานตาคลอส และเรื่องราวของเขา   โฮ่ โ​ฮ่ โฮ่! ส�ำนักพิมพ์แซลมอน “เพื่อเพิ่มเติมความเข้าใจและอรรถรส หลายทฤษฎีวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะด้านฟิสิกส์ใน หนังสือเล่มนี้มีอยู่ในหนังสือ ‘เครื่องปรุงจักรวาล’ เขียนโดย Mister Tompkin พิมพ์โดย สนพ.แซลมอน รับรองว่าคลุกใส่กันแล้วจะสนุกและอร่อยขึ้น”


ค�ำน�ำผู้เขียน   ความเชือ่ เรือ่ งซานต้าก�ำลังจะจางหายไป แต่กระนัน้ ในบางประเทศ ก็ยังมีเด็กอายุสิบหกบางคนที่กลับมาจากโรงเรียนแล้วโวยวายใส่ ผู้ปกครองว่า “ท�ำไมต้องโกหกผม? ท�ำไมแม่ถงึ บอกผมว่ามีซานต้าอยูบ่ นโลก นี้จริงๆ!?!”   ไม่ควรมีใครโทษวัยรุ่นที่สับสนเหล่านี้ส�ำหรับสิ่งที่พวกเขาเพิ่งจะ ค้นพบหรอกครับ เพราะบางครั้งภารกิจของซานต้าและเรื่องราวอื่นๆ อีกมากที่เกี่ยวข้อง อาจจะดูเว่อร์เกินไปจริงๆ นั่นแหละ ลองคิดดูสิครับ มันจะเป็นไปได้ยังไงที่ซานต้าจะรู้ไปซะหมด ว่าใครท�ำตัวดีหรือดื้อจนน่าตี รู้ได้ยังไงว่าใครอยากได้อะไรเป็นของขวัญวันคริสต์มาส แถมยังรู้อีกว่าใครก�ำลังนอนหลับหรือตื่นอยู่!?!1 เรื่องพวกนี้นอกจากจะฟังดูเหลือเชื่อแล้ว มันยังฟังดูน่ากลัวพิลึกอีก ต่างหาก หรือเรื่องความอายุยืนของซานต้าก็ยังเป็นอีกประเด็นที่น่าสงสัย โดยเฉพาะอย่างยิง่ ถ้าอิงตามต�ำนานทีว่ า่ ซานต้าประทังชีวติ ด้วยนมและ ขนมคุกกี้เท่านั้น ซึ่งโดยปกติแล้ว พฤติกรรมการกินเช่นนี้คงท�ำให้คน ทั่วไปเกิดโรคอ้วนและโรคหัวใจ มีโอกาสสูงที่จะได้ลาโลกไปก่อนวัย อันควร อย่าว่าแต่ต�ำนานอายุหกร้อยปีเลยครับ เขาไม่ควรจะอยู่ถึง อายุหกสิบด้วยซ�้ำ! ไหนยังจะเรื่องการเดินทาง การคมนาคมอีกล่ะครับ พวกขี้สงสัย 1

ส่วนหนึ่งของเพลงประจ�ำเทศกาลคริสต์มาส Santa Claus is coming to town


ไม่เชือ่ ว่าซานต้าจะสามารถบินไปรอบโลกได้ภายในเวลาไม่กชี่ วั่ โมงด้วย เลื่อนหิมะที่มีกวางเรนเดียร์ไม่กี่ตัวลาก เอาแค่พูดถึงกวางที่บินได้ก็ ข�ำจนตกเก้าอี้แล้วล่ะครับ พวกเขาสงสัยนักหนาว่าซานต้าจะหย่อน ตัวลงไปในปล่องไฟแคบๆ ได้ยงั ไง ทัง้ ๆ ทีเ่ อวก็มโหฬารออกขนาดนัน้ แล้วยังต้องปีนลงไปทัง้ ทีม่ กี ระสอบจุของเล่นส�ำหรับเด็กทุกคนบนโลก พาดบ่าอยูด่ ว้ ยเนีย่ นะ? แล้วมันจะเป็นไปได้ยงั ไงทีเ่ ขาจะไม่เคยพลาด เช่น ท�ำเลือ่ นหิมะลืน่ ไถลตกลงมาจากหลังคาเอียงๆ ทีเ่ ต็มไปด้วยหิมะ จนตกใส่รถชาวบ้านทีจ่ อดอยูพ่ งั หรือเดินซุม่ ซ่ามจนท�ำให้สญ ั ญาณกัน ขโมยดังและถูกกล้องจับภาพไว้ได้ มันจะเป็นไปได้ยังไงกัน? พนันได้ เลยว่าคุณต้องไม่เคยเห็นคลิปหลุดซานต้าบนเว็บยูทูบแน่นอน ถึงคนมากมายจะหยิบยกเหตุผลสารพัดเพื่อโต้แย้งว่าซานต้า ไม่มีตัวตนจริง แต่ก็หารู้ไม่ว่าที่พวกเขาคิด มันผิดหมดนั่นแหละ (เอ่อ...ยกเว้นเรื่องกวางเรนเดียร์นะ) พูดง่ายๆ คือพวกเขายังรู้ไม่พอ เหมือนกับเด็กสมัยนี้ที่เลิกเชื่อ เรือ่ งซานต้าอย่างรวดเร็วก็เพราะว่ายังรูไ้ ม่พอ พวกเขายังขาด ‘ความรู้ พื้นฐานเกี่ยวกับจักรวาล’ ซึง่ จ�ำเป็นอย่างยิง่ ต่อการเข้าใจเรือ่ งซานต้า อย่างถ่องแท้ คนที่มีความรู้ด้านฟิสิกส์ ชีววิทยา และวัสดุศาสตร์เป็นอย่างดี จะ เข้าใจว่าสิ่งที่ซานต้าท�ำนั้นล้วนเป็นไปได้ทั้งสิ้น ถูกต้องครับ ซานต้ามีจริง และหนังสือเล่มนี้จะเปิดเผยว่า ซานต้าปฏิบัติภารกิจที่ดูโอเวอร์ เหนือจริง และไม่น่าจะเป็นไปได้นี้ได้อย่างไร บอกใบ้คำ� ตอบง่ายๆ ไว้ตรงนีแ้ ล้วกันนะครับว่ามันคือ ‘เทคโนโลยี’ ยังไงล่ะครับ ซานต้าแท้จริงมีทั้งอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ และช่องทางการขนส่งสุดล�้ำเป็นตัวช่วยนั่นเอง!   เราจะเริ่มตั้งแต่จุดเริ่มต้น ตอนที่เขายังเป็นนักบุญที่ชื่อนิโคลัส (Saint Nicholas) ชีวติ และภารกิจมากมายครัง้ ยังไม่ได้สวมบทบาทเป็น ซานต้า เมื่อเป็นแล้วเขาไปส่งของเล่นตามบ้านทั้งหมดเองรึเปล่า?


ท�ำไมถึงไม่ท�ำเป็นธุรกิจจัดการจ้างคนนอกมาท�ำงานแทนแล้วก็นั่ง กระดิกเท้าเป็นเจ้าของกิจการไปซะเลย? เราจะเจาะลึกลงไปถึงประเด็น ด้านสุขภาพของซานต้า อธิบายว่าเครื่องพิมพ์อวัยวะตามสั่ง หุ่นยนต์ ผ่าตัดอัจฉริยะ และสูตรชะลอความแก่แบบวิธีจ�ำศีลท�ำให้เขาอยู่รอด มาจนทุกวันนี้ได้ยังไงแม้จะกินแต่อาหารขยะตลอดเวลา?   เราจะมองลงไปถึงรายละเอียดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างซานต้า และธุรกิจขนาดยักษ์ สภาพที่แท้จริงของขั้วโลกเหนือ รวมถึงระบบ โคลนนิ่งเอลฟ์อัตโนมัติ และกังหันผลิตไฟฟ้าใต้น�้ำ คุยถึงเซิร์ฟเวอร์ ขนาดยักษ์ที่ซ่อนอยู่ในออฟฟิศของเขา ที่ใครๆ ก็ต่างคิดว่าเขาจะต้อง ครอบครองไว้สกั ตัวอยูแ่ ล้วเมือ่ ดูจากปริมาณข้อมูลทีจ่ ะต้องเก็บในทุกปี ไปดูการท�ำงานของหุน่ ยนต์สอดแนมทีท่ ำ� ให้ซานต้ารูว้ า่ ในช่วงปีทผี่ า่ นมา คุณท�ำตัวดีพอจะได้รับของขวัญรึเปล่า หนังสือเล่มนีจ้ ะอธิบายถึงรายละเอียดวิธกี ารท�ำงานระหว่างเครือ่ ง วาร์ปกับรูหนอน (Wormhole) สิ่งที่ท�ำให้ซานต้าเดินทางรอบโลก ได้อย่างรวดเร็วอย่างที่เราทราบกัน รวมทั้งเหตุผลที่ว่าท�ำไมไม่เคย มีใครเห็นซานต้าตัวเป็นๆ เลยสักครัง้ ไหนยังจะพวกของขวัญเหล่านัน้ อีกล่ะ พวกมันถูกห่ออย่างเรียบร้อยแล้วไปโผล่อยู่ที่ใต้ต้นคริสต์มาส ในบ้านพวกเราได้ยังไง เราจะถกประเด็นด้านจิตวิทยาและสังคมวิทยาของขั้วโลกเหนือ เช่น ความสวยเด้งเช้งกระเด๊ะของคุณนายคลอสเกี่ยวอะไรกับการ ที่ซานต้าไม่ยอมโคลนนิ่งตัวเอง และท�ำไมหุ่นยนต์ถึงไม่ต้องเปลี่ยน ผ้าอ้อม? สงสัยใช่ไหม ถ้าสงสัย คุณจะได้ค�ำตอบทุกอย่างในหนังสือเล่มนี้ แต่ถ้าคุณก�ำลังมองหาสูตรท�ำเอ้กน็อก2 (Eggnog) ของคุณนาย คลอส ขอบอกตรงนี้ว่าคุณคงต้องผิดหวังแล้วล่ะครับ เราคงไม่มีวันได้ รู้หรอกว่าเธอผสมครีม ไข่และบรั่นดีได้เข้ากันขนาดนั้นได้ยังไง เสียใจด้วย! 2

เครื่องดื่มซึ่งประกอบด้วยไข่ไก่ นม หรือครีม น�้ำตาลและสุรา



สารบัญ 01 : จุดเริ่มต้น

1 ท�ำไมซานต้าถึงใช้ FedEx ไม่ได้? // 14 2 ซานต้าหาเครื่องมือสุดแสนวิเศษทั้งหลาย ของเขามาจากไหน? // 17 3 มนุษย์ต่างดาวผู้ชื่นชอบคริสต์มาส // 24 4 จากคนต่อเรือสู่ช่างท�ำของเล่น // 27 5 ท�ำไมซานต้าถึงต้องมีผู้ช่วย? // 31

02 : สุขภาพ

6 เอวที่หดลงของซานต้า // 38 7 ซานต้าอยู่รอดมาได้ยังไง? // 42 8 หุ่นยนต์ผ่าตัดกับชุดเครื่องมือประหลาด // 46 9 ความขัดแย้งทางอมตภาพ // 50 10 ท�ำไมซานต้าถึงจ�ำศีล? // 53

03 : บริษัทซานต้า 11 12 13 14 15

การประชุมเอลวิสประจ�ำปี // 62 นมลบความจ�ำ // 68 ขั้วโลกเหนือก�ำลังละลาย // 74 อยู่อย่างรักษ์ธรรมชาติในกรีนแลนด์ // 78 ท�ำไมพวกเอลฟ์ถึงต้องถูกโคลนนิ่ง // 83


04 : สอดแนม 16 17 18 19

ซานต้ากับตาวิเศษ // 90 เด็กดื้อหรือเด็กดี // 95 การส�ำนึกผิดล่วงหน้า // 98 ท�ำไมซานต้าถึงเลิกใช้ถ่าน // 101

05 : การขนส่ง

20 ปล่องไฟและปล่องรูหนอน // 108 21 วิธีฆ่าซานต้า // 119 22 การเดินทางข้ามเวลาและระบบ ติดตามการส่งของขวัญ // 123 23 ซานต้า (แทบจะ) ไม่เคยนอน // 127 24 กวางเรนเดียร์บินได้จริงรึเปล่า // 131 25 กวางเรนเดียร์และการประชาสัมพันธ์ // 132 26 รูดอล์ฟเปิดเครื่องวาร์ปซิ! // 135

06 : การแฝงตัว

27 ที่รัก! นอกอวกาศมันหนาวนะ // 142 28 มนุษย์ล่องหน // 146 29 ชู่ว! มันแอบฟังเราอยู่ // 150

07 : การส่งของ

30 ซานต้ารู้ได้ยังไงว่าเราอยากได้อะไร? // 156 31 เกิดอะไรขึ้นที่ทังกัสกากันแน่ // 161 32 ของเล่นที่ผลิตตัวเอง // 164 33 ลูกแมวผ่านทางไกล // 169




1

ท�ำไมซานต้าถึงใช้ FedEx ไม่ได้?

การจัดจ้างคนนอก การปลูกต้นไม้ลดคาร์บอน และความยุ่งยากจากการท�ำคริสต์มาสในเชิงธุรกิจ อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ค (Arthur C. Clarke) นักเขียนนิยายไซไฟ เคยกล่าวไว้ว่า ‘เทคโนโลยีที่ล�้ำสมัยก็ไม่ต่างอะไรจากเวทมนตร์’ ค�ำพูดนี้ดูจะเข้ากันมากกับกรณีของซานต้า เพราะผู้คนต่างเหมาเอา เองมานานนมว่า ที่ซานต้าสามารถเดินทางไปรอบโลกเพื่อแจกของขวัญได้นั้นก็เพราะเขาเป็นนักมายากล! แต่ผดิ เพราะแท้จริงแล้ว ทุกความสามารถของซานต้าล้วนอาศัย เทคโนโลยี ซานต้าจ�ำเป็นต้องมีอุปกรณ์ เครื่องมือ และพาหนะ จ�ำนวนมาก เพราะมันคงยากเกินไปส�ำหรับคนคนหนึง่ (หรือต่อให้ลา้ น คนก็ตามที!) ที่จะท�ำภารกิจแบบนี้ให้ลุล่วงไปได้โดยปราศจากตัวช่วย เหล่านี้ นอกจากเหนื่อยแล้วมันยังเปลืองเงินทองมากๆ ด้วย เปลืองแค่ไหน? ไมค์ มอริอาร์ที (Mike Moriarty) มีค�ำตอบ! ไมค์เป็นทีป่ รึกษาของบริษทั เอ.ที.เคียร์นยี ์ คอนซัลแทนต์ เขาและทีม ศึกษาในเรือ่ งทีว่ า่ ซานต้าจะส่งของให้เด็กๆ ทัว่ โลกได้อย่างไรหากไม่ สามารถท�ำให้เวลาช้าลงหรือเหาะข้ามโลกโดยใช้แค่กวางฝูงหนึง่ ได้ แต่สมมติวา่ เขาแค่เป็นคนแก่โคตรรวยทีม่ เี งินล้นฟ้า และไม่ได้มที กั ษะ เหนือมนุษย์ อันดับแรก, พวกเขาคิดว่า ซานต้าคงอาศัยอินเทอร์เน็ตเป็น ช่องทางการสื่อสารและหาข้อมูลเป็นหลัก เพราะถ้าอาศัยระบบ ไปรษณียเ์ พือ่ รวบรวมข้อมูลค�ำอธิษฐานของเด็กๆ หรือปล่อยให้พนักงาน คอลเซ็นเตอร์โทร.ไปถามเด็กทุกคนก็คงชักช้า วุน่ วาย และสิน้ เปลือง


เกินไป มอริอาร์ทีคิดว่าถ้าเด็กๆ เลือกได้ แทนที่จะต้องเมื่อยเขียน จดหมายไปขอของขวัญจากซานต้า พวกเขาคงเลือกที่จะลงทะเบียน เอาของขวัญตามเว็บเฟซบุ๊คมากกว่า ส่ ว นเรื่ อ งของขวั ญ แน่ น อนว่ า ข้อจ�ำกัดของซานต้าก็มีอยู่ ไม่นอ้ ย เขาไม่สามารถให้เฟอรารีคนั งาม หรือตัว๋ เครือ่ งบินริมหน้าต่าง เที่ยวบินไปอวกาศเที่ยวแรกแก่เด็กๆ ได้แน่นอน พ่อแม่ ผู้ปกครองก็ จ�ำเป็นต้องมีสว่ นร่วมในเรือ่ งนีด้ ว้ ย พวกเขาต้องมัน่ ใจว่าหนูนอ้ ยร็อบบี้ ไม่ได้ขอของขวัญเป็นเกมทีแ่ ก่แดดเกินวัย หรืออะไรทีเ่ กินตัว นอกจาก นั้น ผู้ปกครองยังสามารถช่วยซานต้าก�ำหนดได้ว่าเด็กคนไหนควร จะได้หรือไม่ได้ของขวัญโดยประเมินจากพฤติกรรม มอริอาร์ทีคิดว่า ซานต้าก็คงอยากให้เด็กจ�ำนวนหนึ่งหันไปใช้ บริการของขวัญเสมือนจริงบนอินเทอร์เน็ตอยู่ไม่น้อย เช่น การ์ดของขวัญทีส่ ามารถจัดให้ได้ทนั ทีดว้ ยระบบออนไลน์ เพราะถ้าหากท�ำได้ ก็จะ มีของขวัญทีต่ อ้ งส่งน้อยลง แถมยังช่วยประหยัดต้นทุนและยังช่วยลด ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ทีนี้ก็มาถึงพวก ‘เอลฟ์’ ผู้ช่วยต่างเผ่าพันธุ์ของซานต้า การที่จะ ต้องจ่ายค่าจ้างให้พวกเขาตลอดทั้งปีก็คงจะดูไม่ค่อยสมเหตุสมผล ในทางธุรกิจเท่าไหร่ ดังนั้น ซานต้าควรจะจ้างโรงงานอื่นผลิตของ เล่นให้ เพราะจะช่วยให้ประหยัดได้มากเลยทีเดียว แต่การจ้างคนนอกก็ จะน�ำความยุ่งยากอื่นๆ มาให้ระลอกใหญ่เลยทีเดียว ไหนจะต้อง พยายามรักษาชื่อเสียง ไหนจะต้องดูแลเรื่องแบรนด์ ซานต้าต้องท�ำ ทุกวิถที างเพือ่ ให้แน่ใจว่าโรงงานทีเ่ ขาจ้างพวกนีผ้ ลิตของเล่นได้ตาม มาตรฐาน ไม่วา่ จะเรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับสภาพแวดล้อม ค่าจ้างแรงงาน และ คุณภาพสินค้า ถ้าคุณคิดว่าบริษทั แมตเทล3 (Mattel) ดูแย่ลงหลังมีการ ตรวจพบสารตะกั่วในของเล่น ก็ลองนึกดูแล้วกันว่าเหตุการณ์ท�ำนอง เดียวกันจะสร้างความเสียหายให้ซานต้าแค่ไหน ทุกคนบนโลกคงจะ โบกปูนปิดปล่องไฟ แบนไม่ให้ซานต้าเข้าบ้านกันเลยทีเดียว 3

ผู้ผลิตของเล่นชื่อดังรายใหญ่ของอเมริกา ผู้ผลิตตุ๊กตาบาร์บี้และรถเด็กเล่นฮอตวิลล์


โรงงานที่ผลิตของเล่นส่งให้ซานต้ายังจ�ำเป็นที่จะต้องรักษา สิง่ แวดล้อมด้วย! (เมือ่ พิจารณาจากความเสีย่ งทีข่ วั้ โลกเหนือ อันเป็น ชัยภูมขิ องออฟฟิศซานต้าจะเผชิญจากสภาวะโลกร้อน ซึง่ เราจะพูดถึง หัวข้อนีต้ อ่ ไปในบททีส่ บิ สาม) ซานต้าจะต้องบังคับให้ทกุ โรงงานเอาคอ รับประกันว่าจะท�ำทุกสิ่งอย่างอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เท่าที่จะท�ำได้ เช่นใช้วัสดุรีไซเคิลหรือพลังงานทางเลือก แต่อนั ทีจ่ ริง ขัน้ ตอนทีท่ ำ� ลายชัน้ บรรยากาศมากทีส่ ดุ คือกระบวนการคมนาคมต่างหาก การเคลือ่ นย้ายของเล่นจากโรงงานไปตามบ้าน ต่างๆ เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมกว่ามาก มอริอาร์ทีและลูกทีมสรุปได้ว่า ซานต้าต้องพยายามหลีกเลีย่ งการขนส่งทางอากาศให้มากทีส่ ดุ เท่าที่ จะท�ำได้แม้มนั จะเป็นวิธที เี่ ร็วทีส่ ดุ ก็ตาม และเขาควรเริม่ หันมาใช้การ ส่งของทางเรือ รถไฟ หรือรถบรรทุกส่งของแบบดั้งเดิมบ้าง   มอริอาร์ทยี งั แนะน�ำให้ซานต้าปลูกต้นคริสต์มาสไปตลอดแนวป่าใน ประเทศรัสเซียและประเทศแคนาดาเพื่อเป็นการชดเชยให้กับก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ทถี่ กู ปล่อยออกมาตลอดทางระหว่างการขนส่งด้วย วิเคราะห์ดูแล้ว งบประมาณส�ำหรับความพยายามทั้งหมดนี่คง บาน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ถ้ารวมขัน้ ตอนการส่งเข้าไปด้วย เพราะมัน ไม่ใช่แค่การเอาของไปวางไว้หน้าบ้านแล้วจบ แต่ตอ้ งเอาไปวางไว้ถงึ ใต้ต้นคริสต์มาสในบ้านกลางดึก! แค่ จ ะท� ำ ขั้ น ตอนสุดท้ายให้ส�ำเร็จในอเมริก าประเทศเดี ย วนั้ น ต้องใช้พนักงานทีถ่ กู ฝึกมาอย่างดี หรือไม่กอ็ ดีตหน่วย SEALs เป็น ล้านคนเพื่อบุกเข้าไปในบ้านโดยไม่ให้ถูกจับได้ซะก่อน ยากและ เปลืองมาก เพราะภารกิจนี้ต้องใช้เงินถึงราวสามสิบล้านเหรียญสหรัฐ ต่อปีเลยทีเดียว  “ซานต้าฉลาดดีที่เลือกใช้พวกเอลฟ์และกวางเรนเดียร์ เพราะโดย รวมแล้วจะก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า ช่วยโลกแล้วยังช่วยให้ ประหยัดเงินได้มากอีกด้วย” มอริอาร์ทีสรุปยังงี้

16


2

ซานต้าหาเครือ่ งมือสุดแสนวิเศษ ทั้งหลายของเขามาจากไหน? คอสมิกสตริง กาลอวกาศที่บิดเบี้ยว เอกภพหมุน และข้อจ�ำกัดของไทม์แมชชีน

ในหน้าถัดๆ ไป คุณจะได้ยินเรื่องเกี่ยวกับเครื่องมือจุกจิกของ ซานต้ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์เหาะจิ๋ว เทคโนโลยีดาวเทียมชั้น สูง สุดยอดเครื่องดักฟัง และเลื่อนหิมะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องวาร์ป (Warp drive) ที่สามารถบิดงอ ‘กาลอวกาศ’4 (Space-time) จนท�ำให้ ซานต้าและฝูงกวางเรนเดียร์ของเขาเหาะข้ามอวกาศไปได้   แต่ก่อนที่เราจะพูดถึงในประเด็นที่ว่าบรรดาเอลฟ์ผู้ช่วยที่ร่าเริงใช้ เครื่องมือแห่งอนาคตเหล่านี้ส่งของขวัญไปให้เด็กๆ บนโลกภายในไม่ กี่ชั่วโมงได้ยังไง ค�ำถามแรกที่ต้องตอบให้ได้ก่อนก็คือ   ซานต้าเอาของพวกนี้มาจากไหน?   เขาคงไม่ได้ประดิษฐ์ทกุ อย่างขึน้ มาเองแน่ เพราะถ้าท�ำเอง ซานต้าคง ต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ฉลาดสุดๆ แถมต้องเป็นวิศวกรที่หัวดี มากและต้องคิดสมการ E=mc2 ได้กอ่ นไอน์สไตน์5 เป็นสิบๆ ปี ขณะ เดียวกันเขาก็ตอ้ งอัดความรูท้ งั้ ด้านเคมี ฟิสกิ ส์ ชีววิทยา และวิทยาศาสตร์ แขนงอื่นๆ ของศตวรรษหน้าเข้าไปในหัวด้วย เพื่อที่จะได้เข้าใจเรื่อง จักรวาลให้แจ่มแจ้งทัดเทียมกับนักวิทยาศาสตร์ในศตวรรษทีย่ สี่ บิ สาม 4 ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ (Einstein’s General Theory of Relativity) ระบุไว้ว่า อวกาศและเวลาเกี่ยวกันเป็นหนึ่ง แยกออกจากกันไม่ได้ เราเรียกความผูกพันนี้ว่า Space-time ซึ่งแปลเป็นไทยว่า อวกาศ-กาล หรือ กาลอวกาศ 5 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ผู้คิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพ (ค.ศ. 1879-1955)


นี่แค่เริ่มต้นนะครับ นอกจากนี้ซานต้ายังต้องใช้ความรู้ทั้งหมดที่มี พัฒนาตัวอุปกรณ์ขนึ้ มา ซึง่ มันไม่ใช่เรือ่ งง่ายๆ เลย เพราะจักรวาลนีจ้ ะมี สักกีค่ นเชียวทีเ่ ป็นทัง้ นักคิดและนักประดิษฐ์ผชู้ ำ�่ ชองในคนเดียวกัน (นอกจาก โทนี่ สตาร์ค แห่ง Iron Man นั่นแหละ)   ผลงานวิจยั เกีย่ วกับ ‘ควอนตัมของแสง’ (Light quanta) ของไอน์สไตน์ อาจน�ำมาสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในยุคใหม่ แต่ไอน์สไตน์ก็ไม่ได้เป็น คนสร้างเครือ่ งเลเซอร์หรือสแกนเนอร์เอง ยิง่ ส�ำหรับซานต้า การทีจ่ ะ รูแ้ ค่ทฤษฎีรหู นอนหรือ ‘ประตูทางลัดระหว่างจุดสองจุดในจักรวาล’ คงไม่พอแน่ถา้ เขาคิดจะใช้ประโยชน์จากพวกมันในการแว็บจากบ้าน หนึ่งไปอีกบ้านหนึ่งภายในหนึ่งวินาทีได้ และเมื่อสร้างได้ ซานต้าก็ ต้องมาคิดอีกว่า จะดูแลเจ้ารูพวกนี้ยังไง?   เห็นไหม ฟังดูเป็นไปไม่ได้เลยสักนิด   เพราะถ้าซานต้าฉลาดขนาดนัน้ สมมติวา่ เขาเป็นคนคิดทฤษฎีสมั พัทธภาพได้ก่อนไอน์สไตน์ ก็ไม่มีทางหรอกครับที่จะทนเก็บผลงานไว้ เงียบๆ คนเดียวโดยไม่ตีพิมพ์ ถึงซานต้าจะเป็นนักบุญ แต่ไม่มีนักวิทยาศาสตร์ตัวจริงคนไหนที่จะยอมนั่งอมภูมิ ไม่ป่าวประกาศให้ เพื่อนร่วมยุครู้โดยทั่วกันเมื่อตัวเองแก้ปริศนาแห่งจักรวาลได้หรอก   ไอแซก นิวตัน6 เก็บเรื่องแคลคูลัสไว้หลังจากที่เขาตีโจทย์แตก แต่พออีตาก็อตต์ฟรีด์ ไลบ์นิซ7 เริ่มโพนทะนาถึงความส�ำเร็จของเขา ในการพัฒนาคณิตศาสตร์ชั้นสูง นิวตันก็พยายามอย่างหนักเพื่อให้ แน่ใจว่าหนังสือประวัติศาสตร์จะจารึกชื่อเขาในฐานะ ‘ผู้คิดแคลคูลัส’ ไม่ใช่ชื่อเพื่อนรักหักเหลี่ยมชาวเยอรมันของเขา ดังนั้น ถ้าซานต้าเป็น คนคิดค้นสิ่งเหล่านี้จริง วิญญาณนักวิทยาศาสตร์ในตัวของเขาคงต้อง ดันให้ตัวเองแอบตีพิมพ์งานสักชิ้นสองชิ้น อย่างน้อยก็แอบหวังได้รับ การยอมรับจากเพื่อนร่วมวิชาชีพบ้างแหละน่า Isacc Newton นักฟิสกิ ส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ (ค.ศ. 1643-1727) Gottfried Leibniz นักวิทยาศาสตร์ และนักปรัชญาชาวเยอรมัน ผูค้ ดิ ค้นแคลคูลสั ร่วม กับไอแซก นิวตัน (ค.ศ. 1646-1716) 6 7

18


ฉะนัน้ มันก็ชดั เจนอยูแ่ ล้วว่า ‘ใครบางคน’ หรือ ‘บางสิง่ ’ เป็นผูม้ อบ เทคโนโลยีเหล่านี้กับซานต้า   ว่าแต่เป็นใครล่ะครับ?   ‘ผูม้ าเยือนจากโลกอนาคต’ ดูจะมีความเป็นไปได้มากทีส่ ดุ เพราะดู แล้วเทคโนโลยีสดุ ล�ำ้ เหล่านีค้ งไม่ได้ถกู สร้างด้วยฝีมอื เขาเอง หรืออย่าง น้อยมันก็คงไม่ได้ถกู สร้างด้วยคนในยุคของเขาแน่นอน (แต่สงิ่ ประดิษฐ์ เหล่านี้มันก็คงจะต้องถูกสร้างขึ้นสักวันชัวร์อยู่แล้ว) เพราะทีจ่ ริงด้วยองค์ความรูท้ เี่ รามีอยูใ่ นปัจจุบนั เทคโนโลยีเหล่านี้ ก็ดูไม่ไกลเกินจริงสักเท่าไหร่ แค่มันยังไม่ถึงเวลา แต่ยังไงก็ตาม ณ เวลานี้ ซานต้าก็ก�ำลังผลิตและร่อนของเล่นไปทั่วโลกด้วยความเร็ว เกินมนุษย์ และล�้ำหน้ากว่าทุกคนบนโลกไปแล้วเรียบร้อย   ชวนให้คิดว่า อาจจะมีนักประดิษฐ์จากศตวรรษยี่สิบสามสักคนที่ อาศัยอยู่บนโลก หรือไม่ก็ฐานทัพใต้ดินบนดาวอังคาร (เอ่อ...บน สมมติฐานที่ว่าในอนาคตโลกเราพินาศไปแล้วนะครับ) ขณะที่เขาแช่ อยู่ในอ่างอาบน�้ำที่อาจจะเป็นปัสสาวะรีไซเคิลที่ถูกบ�ำบัดแล้ว (เพราะ ภาวะขาดแคลนน�ำ้ ในอนาคต) แต่การนัง่ ในอ่างปัสสาวะตัวเองคงไม่ได้ กวนใจ พวกเขา มากนัก เพราะถึงตอนนั้นมันก็คงเป็นเรื่องปกติและ คงไม่คดิ มากกันแล้ว แต่ชา่ งมันเถอะ ทีผ่ มจะบอกคือ ขณะที่ พวกเขา แช่นำ�้ ก็เกิดไอเดียบรรเจิดถึงขัน้ ต้องอุทานออกมาว่า “ยูเรก้า! คิดออก แล้วโว้ย! ตูเอาเครื่องวาร์ปออกไปให้ซานต้าเล่นดีกว่า!”   เอาล่ะครับ ค�ำถามต่อมาคือ แล้วผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของนักคิด (ที่อาบน�้ำปัสสาวะตัวเอง...) ไปโผล่ที่ขั้วโลกเหนือบนโลกได้ยังไงล่ะ?   เดินทางข้ามเวลามา?   ก็อาจจะใช่ เพราะซานต้าคงไม่อาจข้ามเวลาไปยังโลกอนาคต แน่ๆ เพราะเรารู้ว่าซานต้าไม่ใช่อัจฉริยะด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม หรืออะไรก็ตามที่ผลิตไทม์แมชชีนได้ ถึงแรกเริ่มเดิมทีเขาเคยท�ำงาน เป็นคนต่อเรือ (เดี๋ยวเราจะพูดถึงเรื่องนี้เพิ่มเติมในบทที่สี่) แกอาจจะ ใช้เครื่องไม้เครื่องมือได้ดีพอตัว แต่คงไม่ได้สมองดีขนาดสร้างเครื่อง ย้อนเวลาได้เองแน่ๆ 19


ข้อสันนิษฐานที่ว่ามีคนจากโลกอนาคตเอาเทคโนโลยีเหล่านี้ใส่ถุง และมาส่งให้ซานต้ากับมือจึงเป็นไปได้ที่สุด หมายความว่า พวกเขา ก็ คงต้องย้อนอดีตกลับมา แต่ถา้ จะให้อธิบายว่าท�ำยังไง ก็คงอธิบายยาก อยู่นะครับ เพราะตอนนี้เรายังไม่ได้มี ‘เดอลอรีน’8 (DeLorean) เอา ไว้ทะลุมิติเหมือนอย่างของด๊อก บราวน์9 (Doc Brown) อย่างในหนัง เรื่อง Back to the Future10 ผมยังไม่เห็นใครประดิษฐ์ตู้โทรศัพท์ข้าม เวลาได้สำ� เร็จเหมือนอย่างทีบ่ ลิ เพรสตัน (Bill S. Preston) กับธีโอดอร์ โลแกน11 (Theodore Logan) ทฤษฎีการท�ำไทม์แมชชีนในยุคนี้มีอยู่ แค่ในสมการคณิตศาสตร์ มันเป็นแค่หลักการทีน่ กั ฟิสกิ ส์เอาไว้นงั่ คิด เล่นๆ เพือ่ จะได้เรียนรูเ้ กีย่ วกับพืน้ เพของจักรวาลให้มากขึน้ นักวิทยาศาสตร์เรียนรูเ้ กีย่ วกับโลกของเราและระบบการท�ำงานของโลกมากขึน้ จากความพยายามทีจ่ ะศึกษาว่า ธรรมชาติจะยอมให้เราเดินทางข้าม เวลาหรือไม่ ในวันที่เราศิวิไลซ์พอ   ในปี 1949 นักคิดผู้โด่งดัง คูร์ท เกอเดิล12 ซึ่งเป็นทั้งเพื่อนและผู้ ร่วมงานของไอน์สไตน์ระหว่างเรียนอยู่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เป็นผู้ ตีพิมพ์ผลงานชิ้นแรกๆ เกี่ยวกับการเดินทางข้ามเวลาโดยอ้างถึงหลัก ทางคณิตศาสตร์ในผลงาน เกอเดิลเสนอว่าเอกภพที่ไอน์สไตน์ได้ อธิบายไว้โดยใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพยังรวมสิ่งที่เรียกว่า ‘บ่วงเวลา’13 (Closed timelike curve) หรือบ่วงอวกาศเข้าไปด้วย ไอ้เจ้าบ่วงอวกาศ นี้จะช่วยให้คุณสามารถกระโดดขึ้นยานอวกาศ บินไปสักพักแล้วก็ กลับมา ณ จุดเดิมและในเวลาเดิมที่คุณออกเดินทางไปตอนแรก ชือ่ ยีห่ อ้ รถทีถ่ กู ดัดแปลงให้เป็นไทม์แมชชีน และตัวละครในภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ ชื่อดังในยุค 1980s Back to the Future 11 ตัวละครจาก Bill & Ted’s Excellent Adventure ภาพยนตร์และซีรีส์เกี่ยวกับการ ผจญภัยข้ามเวลา 12 นักตรรกวิทยา นักคณิตศาสตร์ และนักปรัชญาชาวออสเตรีย (ค.ศ. 1906-1978) 13 ทฤษฎีที่แสดงให้เห็นว่าบนกาลอวกาศที่บิดเบี้ยว อาจจะมีเส้นทางบางเส้นที่หากถ้าเรา ออกเดินทางจากจุดเริ่มต้น ณ เวลาหนึ่ง แล้วเดินทางออกไปเรื่อยๆ ตามทางที่ว่านั่น แต่พอผ่านไปได้สักพักเรากลับพบว่าตัวเองกลับมาที่จุดเริ่มต้น ณ เวลาเดิม นักฟิสิกส์ เรียกเส้นทางดังกล่าวว่า ‘บ่วงเวลา’ ซึ่งการที่เราเดินทางกลับมาที่เดิม ณ เวลาเดิมได้ ก็หมายความว่าตลอดเส้นทางที่เราเดินทางมานั้นเป็นการเดินทางกลับไปยังอดีตนั่นเอง 8-10

20


ไม่ได้หมายความว่าคุณจะบินจากลอสแองเจลิสแล้วกลับมาที่เดิม ในเวลาเดิมเป๊ะเท่านั้นนะครับ   แต่คุณจะโผล่มาพร้อมกับตอนที่คุณเพิ่งบินออกไปด้วย!   รับรองว่า รปภ. สนามบินงงตาแตกกันหมดแน่ๆ   นีไ่ ม่ใช่การเดินทางข้ามเวลาแบบทีเ่ รามักเห็นในหนัง แต่มนั ก็นา่ จะ มีประโยชน์อยู่บ้าง เช่น สมมติว่าคุณก�ำลังเดินไปเรียนหรือไปประชุม อย่างสบายใจเฉิบแล้วเพิ่งนึกได้ว่าตัวเองไม่ได้เตรียมตัวอะไรมาเลย แล้วถ้ามีเจ้าบ่วงเวลานี้อยู่ใกล้ๆ คุณก็จะสามารถคว้าหนังสือแล้วออก บินไปตามทางเส้นทางนั้นแล้วก็อ่านหนังสือไประหว่างทาง แล้วคุณก็ จะกลับมาทีเ่ ดิมเวลาเดิมพร้อมกับความรูเ้ ต็มหัว พร้อมทีจ่ ะท�ำให้เพือ่ น ร่วมงานหรืออาจารย์ของคุณแปลกใจไปตามๆ กัน   แต่จุดบอดข้อเดียวของทฤษฎีเกอเดิลก็คือ มันจะใช้ได้จริงก็ต่อ เมื่อจักรวาลทั้งจักรวาลหมุนไปเรื่อยๆ แต่นักดาราศาสตร์ค้นพบว่า จริงๆ แล้วจักรวาลไม่ได้หมุนหรอก แต่มนั ก�ำลังขยายออกต่างหาก!   ดังนัน้ เมือ่ พิจารณาความต้องการของซานต้าแล้ว ไทม์แมชชีนตาม ทฤษฎีของเกอเดิลก็ตกรอบไป   แต่ก็ยังมีอีกวิธีหนึ่งครับ แฟรงค์ เจ. ทิปเลอร์14 (Frank J. Tipler) ได้เสนอว่า ถ้าเรามีวัตถุทรงกระบอกความหนาแน่นสูงและความยาว เป็นอนันต์ที่หมุนเร็วจี๋ เราก็จะสามารถสร้างบ่วงอวกาศอย่างที่ว่าได้ เจ.ริชาร์ด ก็อตต์ (J. Richard Gott) นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่ง มหาวิทยาลัยพรินซ์ตนั ก็ได้อธิบายเกีย่ วกับวิธกี ารสร้างบ่วงอวกาศโดย ใช้ ‘คอสมิกสตริง’ สองเส้น (คอสมิกสตริง (Cosmic string) คือเส้น- ใยบางๆ ความหนาแน่นสูงที่ถือก�ำเนิดมาพร้อมกับจักรวาล)   ในขณะเดียวกัน เอมอส โอริ (Amos Ori) นักฟิสกิ ส์จากเทคเนีย่ น ในอิสราเอล ก็ได้ทำ� การวิจยั ทีด่ จู ะ เป็นไปได้มากกว่า ในทางปฏิบตั ิ การ เดินทางข้ามเวลาแบบอืน่ ๆ จ�ำเป็นต้องใช้อปุ กรณ์หายากอย่างคอสมิก สตริง หลุมด�ำพิเศษ (Special black hole) สสารลบ (Negative matter) 14

นักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน 21


ซึ่งเป็นของที่ไม่ได้หาซื้อกันได้ง่ายๆ ตามมินิมาร์ททั่วไปแน่ๆ โอริบอก ว่าวิธีของเขาไม่ต้องพึ่งพาส่วนประกอบจากนอกโลกพวกนั้นเลย สิ่งที่ ต้องท�ำก็แค่ใช้พลังจากแรงโน้มถ่วงของโลกให้เป็นประโยชน์เท่านั้น   แต่ถึงอย่างนั้น อุปกรณ์ที่โอริต้องการก็ไม่ได้สร้างกันง่ายๆ อยู่ดี เพื่อนจากโลกอนาคตของซานต้าจ�ำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่สามารถ ใช้จัดการแรงดึงดูดได้เหมือนท�ำกับเแสงและสนามแม่เหล็กที่เรา สามารถหักเห โฟกัส และท�ำให้แสงเข้มขึ้นได้ง่ายๆ โดยใช้เครื่องมือ อย่างเลเซอร์ เราจะไม่พดู ถึงเกม Half-Life15 ภาคสองทีม่ ปี นื แรงดึงดูด เอาไว้ให้ดึงสิ่งของไปมาได้ตามใจนะครับ เพราะเรายังไม่ได้ก้าวหน้า ขนาดจะไปเล่นกับแรงที่ท�ำให้แอปเปิ้ลตกใส่หัวของนิวตันได้หรอก (แรงโน้มถ่วงนั้นยากที่จะบังคับมากกว่าแสงอยู่หลายเท่าเลยล่ะ)   จุดเด่นของไทม์แมชชีนของโอริ (ถ้ามองในแง่ความพยายามทีจ่ ะส่ง ของเล่นไฮเทคพวกนัน้ ไปให้ถงึ มือซานต้า) ก็คอื มันสามารถย้อนกลับ ไปในอดีตได้ไกลพอสมควร ซึง่ ไทม์แมชชีนส่วนใหญ่ตามทฤษฎีแล้วจะ ท�ำแบบนี้ไม่ได้ ค�ำเตือนตัวเบ้อเริ่มที่แปะมากับเจ้าเครื่องพวกนี้ก็คือ: ไม่สามารถย้อนเวลากลับไปไกลกว่าตอนทีไ่ ทม์แมชชีนเครือ่ งแรกถูก สร้างขึ้นได้!   การเดินทางข้ามเวลาก็เหมือนกับการนัง่ เครือ่ งบิน คุณจะสร้างแค่ รันเวย์ส�ำหรับขาออกอย่างเดียวไม่ได้ คุณต้องสร้างสนามบินส�ำหรับ ขาเข้าด้วย ที่ส�ำคัญต้องมีจุดหมาย ไม่งั้นก็ได้แค่บินวนไปวนมาสักพัก ก่อนที่จะกลับมาลงจอดที่เดิม   ที่ผมจะบอกก็คือ คงไม่มีคนจากอนาคตมาเยี่ยมเราหรอก จนกว่า ใครสักคนบนโลกปัจจุบนั นีจ้ ะคิดออกว่าจะสร้างไทม์แมชชีนยังไง หรือ จะต้องบิดงอกาลอวกาศมากน้อยแค่ไหนกว่าไอ้เครือ่ งไทม์แมชชีนนีจ่ ะ ใช้ได้ ก็เรายังไม่มีที่ให้ พวกเขา มาลงจอดสักที่นี่ครับ   แต่ไทม์แมชชีนของโอริแสดงให้เห็นว่าเราอาจจะเลีย่ งอุปสรรคข้อนี้ ได้ แต่อาจจะยากสักหน่อย เขากล่าวว่า ถ้าเราสามารถดัดกาลอวกาศ 15

22

เกมยิงปืนในคอมพิวเตอร์


ให้งอมากพอทีจ่ ะสร้างเส้นทางส�ำหรับการเดินทางข้ามเวลาได้ ก็อาจ เป็นไปได้ว่าจักรวาลได้สร้างทางที่ว่าขึ้นเองแล้ว   พูดง่ายๆ ก็คือธรรมชาติได้สร้างทางลงจอดไว้ให้พวกเราสักที่ใน จักรวาลแล้ว ถ้าเป็นเช่นนัน้ จริงการเดินทางย้อนกลับไปสูช่ ว่ งเวลาหรือ สถานที่หนึ่งก็อาจเกิดขึ้นได้ ท�ำให้นักเดินทางจากศตวรรษที่ยี่สิบสาม สามารถกระโดดขึ้นไทม์แมชชีนของพวกเขา บินข้ามช่วงโค้งของกาล อวกาศแล้วมาโผล่ในโลกอดีต   ไอ้ส่วนที่ยากก็คือ พวกเขาจะไม่สามารถควบคุมได้ว่าจะมาโผล่ ทีไ่ หนและเมือ่ ไหร่ แม้หลักการของโอริจะชีว้ า่ การเดินทางย้อนเวลาไป สู่ยุคก่อนการคิดค้นไทม์แมชชีนนั้นเป็นไปได้ แต่มันคงยืดหยุ่นไม่ได้ มากเท่าไรนัก   ดังนั้นความคิดที่ว่าซานต้าอาจมีเพื่อนจากอนาคตอันไกลโพ้นมา เยี่ยมคงต้องถูกพับไป   ด้วยเหตุผลทั้งหมดทั้งปวงที่กล่าวมา เราก็เหลือข้อสรุปที่ดูสมเหตุ สมผลที่สุดเพียงข้อเดียวคือ เทคโนโลยีทั้งหลายของซานต้านั้น   ต้องมาจาก ‘ต่างดาว’ แน่นอน

23



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.