Vol.1 No.1 June 2014 ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ประจำ�เดือนมิถุนายน 2557
2 day 1 night trip to
KLONG TA PERM CANAL Leisure cruise in the canal and over nignt in a relaxing home stay near the city
สองวัน คืนเดียว เที่ยวคลองตาเพิ่ม ทอดน่องล่องเรือ พักโฮมสเตย์ บรรยากาศสบายใกล้กรุง
Then you will be surprised!
อบจ.เปิดแคมเปญ ท่องเที่ยวสมุทรปราการ..แล้วคุณจะแปลกใจ!
MON พระประแดง ชนชาติมอญเก่าแก่..แห่งเมืองหน้าด่าน
สมุ ท รปราการ เมืองประวั ติศาสตร์ ธรรมชาติ
SAMUTPRAKAN City of History and Natural
“
..สมุทรปราการเมืองที่มีความสำ�คัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ ยุคขอมโบราณ เสมือนเป็นปราการทางทะเลทีค่ อยปกป้องอธิปไตย ให้แผ่นดินสยาม ขณะเดียวกันก็ท�ำ หน้าทีเ่ ป็นประตูเปิดสูก่ ารค้าขาย กับนานาชาติ มาตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี จึงมีป้อมปราการ โบราณสถาน ขนบธรรมเนี ย มประเพณี ข องหลายเชื้ อ ชาติ ทีย่ งั คงสืบทอดจากรุน่ สูร่ นุ่ มาอย่างเหนียวแน่น “มอญพระประแดง” จึงเป็นหนึง่ ในชนชาติทน่ี า่ ค้นหา เราชาวสมุทรปราการพร้อมอ้าแขน ต้ อ นรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วด้ ว ยความภาคภู มิ ใ จ..มาสมุ ท รปราการ สักครั้ง แล้วคุณจะแปลกใจ.. ..Samut Prakan held historical importance since the ancient Khmer Era. It served as the marine outpost protecting Siamese sovereignty and at the same time as international trading port since Ayutthaya period. Therefore, there are numerous remaining of fortresses, archaeological sites and traditions of multi ethnics firmly passing down from generation to generation. “Mon Phra Pradaeng” is an interesting ethnic that worth studying. We residents of Samut Prakan proudly welcome visitors with open arms visit Samut Prakan once and you will be surprised..
Chief Executive of Samut Prakan Provincial Administrative Organization
“
ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ Chonsawat Asavahame
Editor’s Talk
ด้
วยหลากหลายปัจจัยที่ทำ�ให้วิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบันเต็ม ไปด้วยความเร่งรีบ อาจทำ�ให้ความสุขในการดำ�เนินชีวติ ของคุณ ลดลง บางครั้งการหาวันว่างเพียงหนึ่งวันออกเดินทางท่องเที่ยว ก็นับเป็นตัวเลือกที่ดี ในการผ่อนคลายความเครียดอันเกิดจาก งานที่เราต้องพบเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน คุณเชื่อไหม..ถ้าเราจะบอกว่ามีสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง สามารถตอบโจทย์การเดินทางอันสะดวกสบาย เพียงไม่กอ่ี ดึ ใจจาก กรุงเทพฯ ก็สามารถไปพบเจอกับประสบการณ์การท่องเที่ยว รูปแบบใหม่ๆ ณ เมืองปากน้ำ� สมุทรปราการ ได้ ในพริบตา แม้ ว่า ปั จ จุ บัน ภาพลั ก ษณ์ ข องจั ง หวั ด สมุ ท รปราการที่ค น ทัว่ ไปรูจ้ กั คือเมืองแห่งโรงงาน แต่จะมีสกั กีค่ นทีร่ วู้ า่ เมืองปลายน้�ำ แห่งนีม้ ขี องดีทถ่ี กู ซุกซ่อนไว้มากมาย @SAMUTPRAKAN Travel ฉบับนีจ้ ะพาคุณแหวกม่านหมอกอุตสาหกรรม สูว่ ถิ ชี วี ติ อันเรียบง่าย น่าสัมผัสของชาวมอญปากลัด หรือมอญพระประแดง ชุมชนเล็กๆ ที่มีวิถีชีวิตดำ�รงอยู่ได้อย่างพอเพียงท่ามกลางธรรมชาติ โดย รักษาวัฒนธรรมท้องถิน่ อันเปีย่ มไปด้วยเสน่ห์ได้อย่างครบถ้วนแฝง อยูใ่ นขนบธรรมเนียม วิถีชีวิต ภาษา อาหาร วัฒนธรรม และการ แต่งกาย ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่ถูกหล่อหลอมผ่านกาลเวลาจากรุ่นสู่รุ่น ตกทอดมาหลายชั่วอายุคนนับเป็นสิ่งที่หาดูได้ยากยิ่งในปัจจุบัน เอาล่ะ..ผมว่าเราได้เวลาไปเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ในจังหวัดสมุทรปราการ ที่น้อยคนนักจะเคยไปสัมผัส ตามหา เพื่อนสนิทที่ชื่อว่า “ความสุข” ผ่านหนังสือเล่มเล็กๆ เล่มนี้ ด้วยกันครับ..
คุยกับบรรณาธิการ
T
here are many factors contribute to the present hectic life that could diminish your happiness. Sometimes by making a single day trip is a good choice to alleviate stress and strain from our daily works. Would you believe if we tell you that there is a place with a convenient trip that takes just a short time from Bangkok city center to where we could experience a new form of tourism at Paknam, Samut Prakan. Though today Samut Prakan is known as the city of factories, we wonder how many people will realize that there are many hidden surprises awaiting visitors. This issue of @SAMUTPRAKAN Travel, we will take you through the industrial smog to visit a simple way of life of Mon people in Paklad or Mon Phra Pradaeng, a small community that leads a sufficiency way of life amid the natural setting and preserved charming folk customs and cultures in their daily way of life, language, food and clothing that are very charming. They have been passed down through time from generation to generation. All right, I think it is about time that we visit Samut Prakan in a new dimension of tourism that very few people know about. Here we go finding our close friend “Happiness” through this book together.
ภาพปก : ธิติพัฒน์ ภาคพิเศษ Photograper : Thitipat Parkpises
44 18 สารบัญ
CONTENTS
74 94
118
106 6 8 20 22 24 26
Samut Prakan..you will be Surprised Tourism Campaign by Provincial Administration Organization ส่องแคมเปญท่องเที่ยว อบจ. “สมุทรปราการ..แล้วคุณจะแปลกใจ”
MON People of Ancient Civilization “มอญ” ชนชาติแห่งอารยธรรมโบราณ
Making of Mon Language
เรียงร้อยถ้อยคำ�..ภาษารามัญ
The Colors of Mon Clothing
ตัวตน..คนมอญ สีสันการแต่งกาย
Jia Pherm Mohn Mon Dishes
เจี่ยะเปิ่มโหม่น..อาหารพื้นถิ่นรามัญ
Phra Pradaeng Songkran joyful culture and a Mon identity
สงกรานต์ พระประแดง ชุ่มฉ่ำ�วัฒนธรรม เก่าแก่ สืบสานเอกลักษณ์ ชาวรามัญ
Cr. Photo by : A man of smail
32
Culture of Paklad Mon
สีสันอารยธรรม มอญปากลัด
Mon Folk Museum, Civilization Cache..
เปิดกรุอารยธรรม พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านมอญ..
Mon Community Map Phra Pradaeng, Samut Prakan แผนที่แสดงชุมชนและวัดมอญ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
Home Stay krapohmoo A Natural Setting Resort โฮมสเตย์กระเพาะหมู แหล่งพักผ่อนใกล้ธรรมชาติ
Sri Nakhon Khuen Khan Park and Botanical Garden The Green Oasis..in the heart of Bang Kachao สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ โอเอซิสสีเขียว..ใจกลางบางกะเจ้า
TARA Community Bang Phli Old Market Reflections of lives by Samrong Canal
ชุมชนธารา ตลาดโบราณบางพลี สะท้อนวิถีชีวิตริมคลองสำ�โรง
Good Foods at Sunset on the Horizon ขอบฟ้า..ลาตะวัน ชิมอาหารอร่อย.. สัมผัสสีสัน “ตะวันลับขอบฟ้า”
90
60 nipa palm sprig 68 94 Weaving Invaluable heritage of local craftsmanship wisdom
จักสาน ก้านจาก สืบสานหัตถศิลป์ ทรงค่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น
72 98 2 days 1 night trip to Klong Ta Perm Canal สองวัน คืนเดียว เที่ยวคลองตาเพิ่ม Chinese Architecture 74 106 Splendid อลังการสถาปัตยกรรมจีน Pedicab..Traditional Lifestyle 118 of Phra Pradaeng residents สามล้อถีบ.. 78 วิถีชีวิตดั้งเดิมชาวพระประแดง
84
Years “Leaning Stupa” 122 129 Invaluable Archaeological Site at Wat Sakhla
129 ปี พระปรางค์เอียง โบราณสถานทรงคุณค่าแห่งวัดสาขลา
Sat Cafe’.. 124 Sunจิสับมกาแฟริ มน้ำ�.. ผัสวิถีชีวิตริมคลอง Calendar 90 128 Tourism ปฏิทินท่องเที่ยว told via Lens 130 Story เล่าผ่านเลนส์
124
ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ประจำ�เดือนมิถุนายน 2557
ISSUE 1 คณะผู้จัดทำ� ประธานที่ปรึกษา : นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมุทรปราการ
Editorial Team Advisor : Mr.Chonsawat Asavahame Chief Executive of Samut Prakan Provincial Administrative Organization
คณะที่ปรึกษา : Advisory Group : นายอัครวัฒน์ อัศวเหม Mr.Acaravat Asavahame รองนายก อบจ.สมุทรปราการ Deputy Chief Executive of Samut Prakan PAO นายธนภณ คารมปราชญ์ Mr.Dhanabhon Caromprach รองนายก อบจ.สมุทรปราการ Deputy Chief Executive of Samut Prakan PAO นายปิติชาติ ไตรสุรัตน์ Mr.Pitichat Trisurat รองนายก อบจ.สมุทรปราการ Deputy Chief Executive of Samut Prakan PAO นายสายัณห์ รักษนาเวศ Mr.Sayan Raksanaves ปลัด อบจ.สมุทรปราการ Chief Administrator of Samut Prakan PAO คณะทำ�งาน : Working Group : นายธนวัฒน์ กล่ำ�พรหมราช Mr.Tanawat Klamprommarach รองปลัด อบจ.สมุทรปราการ Deputy Chief Administrator of Samut Prakan PAO นางสุรีวัน สุขพัตร์ Mrs.Sureewan Sugapat เจ้าพนักงานธุรการ 6ว Clerical Officer นางวรรณดี เกตุนคร Mrs.Wandee Ketnakorn เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 5 Administrative Officer Owner : Samut Prakan Provincial Administrative Organization Sutpirom Road, Paknam Subdistrict, Mueang Samut Prakan District, Samut Prakan 10270 โทรศัพท์ : 0-2389-0600 Tel : 0-2389-0600 โทรสาร : 0-2395-4560 Fax : 0-2395-4560
เจ้าของ : องค์การบริหารส่วนจังหวัด สมุทรปราการ ถ.สุทธิภริ มย์ ต.ปากน้�ำ อ.เมืองฯ จ.สมุทรปราการ 10270
พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์สำ�นักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ เลขที่ 314-316 ถ.บำ�รุงเมือง เขตป้อมปราบฯ กทม. 10100
78
June 2014
Print : Printing Office of National Buddhism. 314-316, Bamrung Mueang Road, Pom Prap Sattru Phai District, Bangkok 10100 โทรศัพท์ : 0-2223-3351 Tel : 0-2223-3351 โทรสาร : 0-2621-2910 Fax : 0-2621-2910
6 Activities กิ จ ก ร ร ม อ บ จ .
ส่องแคมเปญท่องเที่ยว อบจ.
“สมุทรปราการ.. แล้วคุณจะแปลกใจ”
เ
มื่อช่วงปีที่ผ่านมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ เดินหน้าโปรโมตการท่องเที่ยวของจังหวัดอย่างยิ่งใหญ่ภายใต้ แคมเปญที่ว่า “สมุทรปราการ..แล้วคุณจะแปลกใจ” โดยจัดทริป นำ�สื่อมวลชนสัญจรทั้งรายการโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ เข้ามา ศึกษาเพื่อเป็นการเปิดม่านแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และ ธรรมชาติ พร้อมเรียนรูว้ ถิ ชี วี ติ ชุมชน เช่น เยีย่ มชมพืน้ ทีก่ ระเพาะหมู ชมโครงการพระราชดำ�ริคลองลัดโพธิ์ ปั่นจักรยานชมทิวทัศน์ที่ สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ สักการะสมเด็จพระศากยมุนศี รีสเุ มธบพิตร ร่วมปิดทองหัวใจพระนอน ทีว่ ดั บางพลีใหญ่กลาง เทีย่ วพระสมุทร เจดีย ์ ป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ วัดขุนสมุทรจีน และบ้านสาขลา เพื่อเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์การท่องเทีย่ ว ของจังหวัด มุง่ รักษาและพัฒนาแหล่งท่องเทีย่ วทางประวัตศิ าสตร์ และธรรมชาติภายใต้แนวคิด “สมุทรปราการ..แล้วคุณจะแปลกใจ” ที่คุณสามารถพบเจอกับประสบการณ์การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ณ เมืองปลายน้ำ� ซึ่งเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวอันน่าสนใจมากมาย จนคุณต้องแปลกใจเมื่อได้พบ
แปลก..ด้านวิถีชีวิต
อย่างที่รู้กันอยู่ว่าปัจจุบันสังคมเมืองมีความเจริญก้าวหน้า ไปมาก โดยเฉพาะสมุทรปราการของเราเป็นเมืองที่มีอุตสาหกรรม มากมาย แต่เมื่อมองลึกลงไปภายใต้สังคมอันศิวิไลซ์ ชาวสมุทรปราการยังคงมีวิถีชีวิตดั้งเดิมเช่นเดียวกับอดีต เช่น ชุมชนที่อาศัย ติดแม่น้ำ�หรือบริเวณอ่าวไทย ยังมีอาชีพนำ�เรือประมงออกหาปลา และอาหารทะเลอยู่ทุกวัน ลึกเข้าไปหน่อยที่ขุนสมุทรจีน ชาวบ้าน ยังจับ “เคย” เพื่อมาทำ�กะปิ ชาวตำ�บลหนองปรือ ยังประกอบ อาชีพปลูกผักกระเฉดหลาย 100 ไร่ ถึงแม้ปริมาณจะน้อยลง แต่วิถีชีวิตของคนสมุทรปราการก็ยังมีหลายสิ่งที่ท่านรู้แล้วจะ แปลกใจอย่างแน่นอน
แปลก..ด้านวัฒนธรรม
สมุทรปราการเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีคนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ เพราะเหตุที่เป็นเมืองหน้าด่านแต่ครั้งอดีต ทำ�ให้วัฒนธรรมหลาย เชือ้ ชาติถกู กาลเวลาหลอมรวมเป็นหนึง่ เดียวอย่างลงตัว โดยเฉพาะ อย่ า งยิ่ ง พระประแดง เมื อ งของคนมอญที่ มี เ อกลั ก ษณ์ ท าง วัฒนธรรมอันโดดเด่น ผสมผสานวัฒนธรรมต่างๆ เข้ากับวิถีชีวิต แบบไทยและวัฒนธรรมของชาวจีนที่อาศัยในจังหวัดสมุทรปราการ ได้อย่างมีเอกลักษณ์นา่ สนใจ
แปลก..ประวัติศาสตร์
ด้วยความที่สมุทรปราการเป็นเมืองเก่าแก่มาแต่ครั้งอดีต ทำ�ให้มีเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์มากมาย ทั้งการสร้างเมืองนคร เขื่อนขันธ์หรือการสร้างป้อมปราการต่างๆ มากมาย เพราะสมัย ก่อนเมืองปากน้ำ�เป็นเมืองหน้าด่าน เมื่อเกิดภัยสงครามจังหวัด สมุทรปราการจะเป็นด่านแรกของการต่อสู้เสมอ หรือแม้กระทั่ง วัดขุนสมุทรจีนทีส่ ามารถขุดพบร่องรอยของถ้วยชาม และเครื่องใช้ ต่างๆ ในสมัยโบราณ แสดงให้เห็นถึงอารยธรรมทางประวัตศิ าสตร์ ทีเ่ ก่าแก่ของเมืองได้เป็นอย่างดี
แปลก..ธรรมชาติ
สมุ ท รปราการยั ง คงมี วิถีชีวิต ดั้ง เดิ ม เรี ย บง่ า ย จึ ง ทำ � ให้ มี พืน้ ทีท่ างธรรมชาติอยูม่ ากมาย เช่นสวนศรีนครเขื่อนขันธ์ เปรียบ เสมือนเป็นปอดของคนกรุงเทพฯ ในบริเวณพระสมุทรเจดีย บ์ ริเวณ คลองต่างๆ จะเห็นได้ว่ามีต้นจากขึ้นอยู่ทั่วไป หรือแม้แต่บริเวณ บางกะเจ้า ชาวบ้านยังปลูกบ้านรายล้อมไปด้วยป่าไม้และพืชสวน นานาชนิด อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดสมุทรปราการ..
มิถุนายน 2557 / June 2014
7
Samut Prakan..
you will be Surprised Tourism Campaign by Provincial Administration Organization
D
uring last year Samut Prakan Provincial Administration Organization had developed tourism promotion campaign “Samut Prakan..you will be surprised” by organizing familiarization trips for media members of both TV programs and printed media. The objective is to introduce historical and cultural tourist attractions including experiencing the people way of life such as visiting the Bang Kachao (The Best Urban Oasis) area, Latpo royal initiated project, cycling in Sri Nakhon Khuean Khan Park, paying homage to ‘Somdej Phra Sakhayamuni Srisumatebopit’ Buddha image, applying gold leaf to the reclining Buddha image at Wat Bang Phli Yai Klang, visiting Phra Samut Chedi, Phra Chulachomklao Fort, Wat Khun Samutchin and Ban Sakhla. “Samut Prakan..you will be surprised” campaign will enhance the image and at the same time promote Samut Prakan Province as a place where visitors will find novel experiences in tourism.
วัดบางพลี ใหญ่กลาง Wat Bang Phli Yai Klang
Way of life Surprise
At present urban society has tremendously been developed particularly Samut Prakan where there are numerous industries. However, when we look deeper under the surface of the modern civilization, residents of Samut Prakan still maintain the traditional way of life the same way that their ancestors lived such as those communities along the Gulf of Thailand where fishermen are still taking their fishing boats out fishing every day. Deep inside at Wat Khun Samutchin, villagers catch Krill (tiny shrimp) for making shrimp paste. Villagers at Nong Prue Sub District, still make their living planting water mimosa. though less in number, you will be surprised by the way of life of Samut Prakan residents.
Cultural Surprise
Since the old days, Samut Prakan has been serving as an outpost of the country, therefore, many people from different ethnics settled down in the area. With the passing time, those different ethnics had perfectly mingled particularly in Phra Pradaeng, city of Mon descendants, where their unique cultural identities blended in perfectly with Thai way of life and Chinese cultures in Samut Prkan.
Historical Surprise
Being an ancient city in the history, Samut Prakan has plenty historical stories be it the founding of Nakhon Khuean Khan town or the construction of many forts as Samut Prakan was an outpost. Whenever the country was at war, Samut Prakan was always the first post of fighting. Even Wat Khun Samutchin, where chinaware and ancient utensils are found, is the good historical evidence of the province.
Natural Surprise
Samut Prakan still maintain simple way of life resulting in having plenty of naturally rich areas such as Sri Nakhon Khuean Khan Park and Botanical Garden which is serving as the lung for Bangkok residents, nipa palm trees are abundant in Phra Samut Chedi and those canal areas, even in Bang Kachao area where villagers plant trees and orchards around their houses which is a particular identity of Samut Prakan.
8 Cover Story ส มุ ท ร ป ร า ก า ร . . แ ล้ ว คุ ณ จ ะ แ ป ล ก ใ จ
“มอญ”
ชนชาติแห่งอารยธรรมโบราณ
ม
อญ เป็นชนชาติเก่าแก่มาแต่ดั้งเดิม ดูได้จากหลักฐานจากศิลาจารึก สมัยทวารวดี กว่า 1,300 ปี ที่จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ของอินเดีย และอักษรมอญ ที่แพร่หลายอยู่ในประเทศไทย อักษรชนิดนี้แพร่หลายไป พร้อมๆ กับศาสนาพุทธ และมีร่องรอยของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ในเวลา ใกล้เคียงกัน นอกจากนีย้ งั พบร่องรอยอารยธรรมโบราณในบริเวณอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในหลายประเทศ แสดงให้เห็นว่าชนชาติมอญ นั้นมีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน อดีตอาณาจักรมอญอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำ�อิรวดี ทางฝั่งตะวันออก (ตอนใต้ของพม่า) เป็นรัฐอิสระ มีศนู ย์กลางความเจริญหลายแห่ง โดยเฉพาะ อาณาจักรหงสาวดี มีความเจริญรุ่งเรือง เพราะความอุดมสมบูรณ์ของ ปากแม่น้ำ� และมีทางออกสู่ทะเลติดต่อค้าขายกับอินเดียและโลกตะวันตก พม่าต้องการย้ายอาณาจักรจึงทำ�การยึดเมืองหงสาวดีจากมอญ กดขีข่ ม่ เหง นับแต่นน้ั มาเมื่อถูกรุกรานอย่างมากชาวมอญต่างอพยพเข้ามาพึง่ พระบรม โพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทยเรื่อยมา จากหลักฐานปรากฏทั้งสิ้น 11 ครั้ง ที่เห็นได้เด่นชัดที่สุดคือสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครัง้ ทรงประกาศอิสรภาพมีชาวมอญอพยพ เข้ามา และทรงตั้งขุนนางมอญขึ้นให้ปกครองกันเองตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อใช้ ในราชการศึก มอญ สมัยนั้นเรียกว่า “มอญเก่า” ในรัชกาลสมเด็จ
พระเจ้ากรุงธนบุรี ได้มีมอญอพยพเข้ามาพึ่งพระบารมีอีกจำ�นวนหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงพระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือน อยู่ที่เมืองนนทบุรี ตั้งแต่ปากเกร็ดถึงปทุมธานี ชาวมอญอพยพเข้ามาเป็นจำ�นวนถึงสี่หมื่นคน ในช่วงรัชกาลที่ 2 และทรงโปรดฯ ให้ตั้งรกรากอยู่เมืองปทุมธานี จนถึง ปากเกร็ด นนทบุรี จนกระทัง่ ได้ทรงสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ขน้ึ จึงทรงโปรดฯ ให้ยา้ ยครอบครัว มอญบางส่วนจากปทุมธานี ที่มีเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง) ต้นสกุลคชเสนี เป็นหัวหน้า ซึ่งรับราชการและทำ�คุณงามความดีตั้งแต่ครั้งอพยพเข้ามา ปกครองเมืองนครเขื่อนขันธ์ หรือจังหวัดสมุทรปราการในปัจจุบันนับแต่ นัน้ มา และมอบทีด่ นิ ทำ�กินในการทำ�อาชีพไร่นาและเกษตรกรรมแก่ชาวมอญ ในพื้นที่ บางพลี บางบ่อ เป็นต้น ปัจจุบันแม้จะไม่มีชุมชนของผู้สืบเชื้อสายมอญภายในกรุงศรีอยุธยา อยู่ ในบริเวณที่กล่าวถึงในประวัติศาสตร์แต่ก็ยังมีชุมชนมอญกระจาย อยู่ บ ริ เ วณริ ม ฝั่ ง แม่ น้ำ � เจ้ า พระยาจากพระนครศรี อ ยุ ธ ยาลงมาจนถึ ง กรุงเทพฯ หลายชุมชนอยู่บริเวณราบลุ่มริมน้ำ�ภาคกลาง และบางส่วนตั้ง ภูมิลำ�เนาอยู่แถบภาคเหนือ ปัจจุบันมีคนไทยเชื้อสายมอญ อาศัยอยู่ถึง 36 จังหวัด ทั่วประเทศ
มิถุนายน 2557 / June 2014
9
MON People of Ancient Civilization M
on was an ancient race as found recorded in the Dvaravadi stone inscriptions in ancient Pallava alphabets of Indian root and Mon alphabets dated over 1,300 years ago available in Thailand. Those alphabets were widely used along with the widespread of Buddhism and also with traces of Brahmin and Hindu of the same period. Moreover, traces of ancient civilizations were found in many Southeast Asian countries which clearly show that ethnic Mon has a very long history. Formerly, Mon realm was on the east of the Irrawaddy River basin (Southern part of Myanmar). It was an independent state with many centers of civilizations particularly Hongsawadi or Bago which was very prosperous with the fertility of Irrawaddy estuary and the marine ports for trading with India and the Westerns. Myanmar would like to relocate its capital. Therefore, Myanmar kings occupied Hongsawaddi by forces and suppressed the Mons since then. Mon ethnic could not withstand Myanmar invasions and ill-treatments, they migrated to seek protection from Thai kings. From historical records, there were altogether 11 Mon migrations to Thailand. The most outstanding was when King Naresuan declared independence, there was a major Mon influx which King Naresuan granted them permission to settle down in various counties and appointed Mon noblemen to rule their own people. Those Mon forces served in defending the country. Mon migrated into Thailand during that time was called “Mon Kao” (old Mon). In the reign of King Taksin, there was another influx of Mon to Thailand which he granted permission to settle down in Nonthaburi, from Pakkred to Pathumthani.
During the reign of King Rama II, there was another migration of 40,000 Mon into Thai which he granted permission to settle down in Pathumthani, Pakkred and Nonthaburi. When King Rama II ordered to erect Nakhon Khuean Khan as a marine outpost, he relocated some of Mon families from Pathumthani to Nakhon Khuean Khan. The relocation was led by Chao Phraya Mahayotha (Jeng), the founder of Gajaseni family who had made virtuous contributions to the country since he migrated to Thailand. King Rama II appointed Chao Phraya Mahayotha and his descendants to govern Nakhon Khuean Khan or presently is Samut Prakan Province. King Rama II also granted them land for cultivation in Bang Phli and Bang Bo. Nowadays, though Mon descendants no longer dwelling in Ayutthaya in the areas mentioned in the history or chronicles, there are Mon communities scattering along the Chao Phraya River from Ayutthaya to Bangkok. Many communities are lying in the central plain and yet there are some settlements in the North as well. At present, Mon descendants live in 36 provinces across the country.
ในรัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่1 ได้มีมอญอพยพครอบครัวเข้ามา แต่ ไม ่ม ี ท ี่ท ำ � กิ น จึ ง ทรงพระราชทานพระบรม ราชานุญาตให้ชาวมอญ เลือกที่ทำ�มาหากินเอง แล้ ว แต่ จ ะพอใจชาวมอญจึ ง ขออยู่ ที่ บ ริ เ วณ ริมสองฝั่งแม่น้ำ�แม่กลอง ตั้งแต่เมืองไทรโยค จนถึงเมืองราชบุรี
In the reign of King Rama I, there was a Mon influx but they did not have land for cultivation and settlement. Therefore, he granted them permission to find their own land for cultivation as they liked. The Mon chose to settle down along the Mae Klong River from Saiyoke to Ratchaburi.
*แหล่งข้อมูลอ้างอิง www.monstudies.com เว็บไซต์เพื่อการศึกษาภูมิปัญญามอญ และสารานุกรมพม่า ฉบับที่ 10,1966
10 Cover Story ส มุ ท ร ป ร า ก า ร . . แ ล้ ว คุ ณ จ ะ แ ป ล ก ใ จ
“มอญปากลัด” ชนชาติเก่าแก่ แห่งเมืองหน้าด่าน
ม
อญปากลัด เอกลักษณ์ทรงคุณค่าคู่ประวัติศาสตร์ เมืองปากน้ำ� นำ�มาซึ่งศิลปวัฒนธรรมอันโดดเด่น เสน่หแ์ ห่งวิถชี วี ติ และสีสนั แห่งขนบธรรมเนียมประเพณี มากมาย สะท้อนถึงชนชาติแห่งอารยธรรมเก่าแก่มา อย่างยาวนาน
ภาพเก่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในสมัยก่อน แสดงถึงเอกลักษณ์การแต่งกายในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี Elderly in the old days in the period costumes
มิถุนายน 2557 / June 2014
11
MonPaklad the old folk of the outpost M
on Paklad is an invaluable identity of Paknam history with remarkable culture, charming way of life and numerous colorful traditions reflecting their ancient civilization.
12 Cover Story ส มุ ท ร ป ร า ก า ร . . แ ล้ ว คุ ณ จ ะ แ ป ล ก ใ จ
หญิ ง สาวชาวมอญต่ า งพร้ อ มใจกั น แต่ ง กายสวยงาม ขณะร่ ว มเดิ น ขบวนในงานประเพณี แ ห่ น ก-แห่ ป ลา Mon girls in beautiful national costumes in the procession to set free birds and fishes.
ชาวมอญร่วมกันปล่อยปลาในงานประเพณีสงกรานต์ Mon girls joining in setting free fishes at Songkran Festival.
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงดำ�ริถึงการสร้างเมืองป้อมปราการที่สร้างค้างมาแต่รัชสมัยสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทีท่ รงตระหนักถึงพิษภัย ทางทะเลโดยเฉพาะชาติตะวันตก ทีม่ อี าวุธยุทโธปกรณ์ทม่ ี แี สนยานุภาพมาก จึงได้สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ขน้ึ และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยา้ ยครอบครัว ชาวมอญ ที่อพยพมาเมื่อครั้งสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ตั้ง ถิ่ น ฐานตั้ ง แต่ เ มื อ งสามโคก ปทุ ม ธานี จนมาถึ ง เมื อ งปากเกร็ ด นนทบุรี ที่มีเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง) ต้นตระกูลคชเสนี เป็นผู้นำ� มาปกครองนครเขื่อนขันธ์นับแต่นั้นมา โดยมีสมิงทอมา ซึ่งเป็นบุตร ของพระยาเจ่งเป็นหัวหน้า หลังจากนั้นได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมือง นครเขื่อนขันธ์ และในปีเดียวกันนี้มีชาวมอญอีกกลุ่มอพยพเข้ามา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดฯ ให้ชาวมอญกลุม่ หนึง่ ไปตั้งหลักแหล่งที่เมืองสามโคก ปทุมธานี เมืองปากเกร็ด นนทบุรี และเมืองนครเขื่อนขันธ์ สมุทรปราการ เช่นกัน การปกครองเมืองนครเขื่อนขันธ์ เริ่มต้นจากสมิงทอมา ได้รับ การแต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เป็น “พระยานครเขื่อนขันธ์ รามัญชาติเสนาบดีศรีสิทธิสงคราม” และโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมืองพร้อมทั้งแต่งตั้งกรมการเมืองทุก ตำ�แหน่ง นับแต่นั้นมาตระกูลคชเสนี จึงได้ปกครองเมืองนครเขื่อนขันธ์ สืบต่อกันมา รวม 9 คน
มิถุนายน 2557 / June 2014
1.พระยานครเขื่ อ นขั น ธ์ ร ามั ญ ชาติ เ สนาบดี ศ รี สิ ท ธิ ส งคราม (ทอมา คชเสนี) พ.ศ.2338-2401 บุตรคนที่ 4 ของเจ้าพระยามหา โยธา (เจ่ง คชเสนี) 2.พระยาดำ�รงราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) พ.ศ.2401-2426 3.พระยามหาโยธา (นกแก้ว คชเสนี) พ.ศ.2426-2430 4.พระยาขยันสงคราม (แป๊ะ คชเสนี) พ.ศ.2430-2440 5.พระยาเกียรติ (ขุนทอง คชเสนี) พ.ศ.2440-2445 6.พระยาดำ�รงค์ราชพลขันธ์ (หยอย คชเสนี) พ.ศ.2445-2450 7.พระยาเทพผลู (ทองคำ� คชเสนี) พ.ศ.2450-2454 8.พระยาพิพิธมนตรี (ปุย คชเสนี) พ.ศ.2454-2457 9.พระยานาคราชกำ�แหงประแดงบุรีนายก (แจ้ง คชเสนี) พ.ศ.2457-2467 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเปลี่ยนชื่อจาก เมืองนครเขื่อนขันธ์ เป็น จังหวัดพระประแดง และให้ พ ระยานาคราชฯ ดำ � รงตำ � แหน่ ง เป็ น ผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด กระทั่งสิ้นชีวิต ซึ่งนับเป็นเจ้าเมืองคนสุดท้ายที่เป็นชาวมอญ จากนั้น จังหวัดพระประแดง ได้เปลี่ยนสถานะลงเป็น อำ�เภอพระประแดงเฉก เช่นปัจจุบัน
King Rama II carried on building a fortress town, Nakhon Khuean Khan which had been suspended in the reign of King Rama I, to protect the country from the threats on the sea front especially from the Western forces armed with powerful weapons. Once the construction of Nakhon Khuean Khan was finished a group of Mon families, migrated into the country since King Taksin dynasty led by Phraya Mahayotha (Jeng), the founder of Gojasene family settling down from Samkoke, Pathumthani to Pakkred Nonthaburi, was relocated to settle in the new town. The group was led by Saming Torma, a son of Phraya Jeng, who was subsequently appointed governor of Nakhon Khuean Khan. In the same year, there was another influx of Mon into the country that King Rama II allowed them to settle down in Samkoke, Pathumthani, Pakkred, Nonthaburi and at Nakhom Khuean Khan as well. King Rama II conferred Saming Torma the title “Phraya Nakhon Khuean Khan Ramachart Senabodi Srisiddhisongkram” as the governor. Since then 9 members of Gojasene family were consecutively appointed as governors. 1. Phraya Nakhon Khuean Khan Ramachart Senabodi Srisiddhisongkram (Torma Gajaseni), the 4th son of Chao Phraya Mahayotha (Jeng Gajaseni), 2338-2401 B.E. (1795-1858 A.D.)
13
คำ�ว่า “ปากลัด” สันนิษฐานมาจากชื่อ คลองลัดโพธิ์ หรือลัด ต้นโพธิ์ ซึ่งใช้เป็นคลองลัดระหว่างแม่น�ำ้ เจ้าพระยาด้านทิศ ตะวันออกกับแม่น�ำ้ เจ้าพระยา ด้านทิศเหนือ (ความตอนหนึง่ ใน พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ของพระยา ดำ�รงราชานุภาพ)
............................................................................................. It is assumed that the word “Paklad” derived from the name of Klong Latpo or Lat Tonpo (Latpo Canal) which was used as the shortcut between the north and east of the Chao Phraya River (an excerpt from Rattanakosin - King Rama II Chronicle by Somdej Krom Phraya Damrong Rachanuparp)
2. Phraya Damrongrachapolkan (Jui Gajaseni), 2401-2426 B.E. (1858-1883 A.D.) 3. Phraya Mahayotha (Nokkaew Gajaseni), 2426-2430 B.E. (1883-1887 A.D.) 4. Phraya Kayansongkram (Pai Gajaseni), 2430-2440 B.E. (1887-1897 A.D.) 5. Phraya kiat (nokkaew Gajaseni) 2440-2445 B.E. (1897-1902 A.D.) 6. Phraya Damrongrachapolkan (Yoi Gajaseni), 2445-2450 B.E. (1902-1907 A.D.) 7. Phraya Thepplu (Thongkam Gajaseni), 2450-2454 B.E. (1907-1911 A.D.) 8. Phraya Pipitmontri (Pui Gajaseni), 2454-2457 B.E. (1911-1914 A.D.) 9. Phraya Nagarachakamhaeng Pradaengburinayok (Jang Gajaseni), 2457-2467 B.E. (1914-1924 A.D.) King Rama VI changed the name of Nakhon Khuean Khan to Phra Pradaeng Province and Phraya Nagarachakamhaeng was the governor until his death. He was the last governor of Mon descendant. Subsequently, status of Phra Pradaeng was changed to be a district as is today.
14 Cover Story ส มุ ท ร ป ร า ก า ร . . แ ล้ ว คุ ณ จ ะ แ ป ล ก ใ จ
ภาพเก่าหญิงชาวมอญพระประแดงที่แสดงถึงเอกลักษณ์การแต่งกายเมื่ออดีต ในงานประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ An old photograph portraying young Mon girls in traditional costumes joining the Swan and Centipede Banner Procession.
เยือนถิ่น..ชาวมอญ
ชาวมอญมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกสร้าง บ้านเรือนในบริเวณที่ราบลุ่ม ใกล้แม่นำ้�ลำ�คลองอย่างที่เคยปฏิบัติ กันมาแต่โบราณ เพราะคนมอญนั้นมีอาชีพทำ�ไร่นาและเกษตรกรรม โดยเอาด้านขื่อลงทางแม่น้ำ� เพื่อจะได้มีลมพัดเข้าบ้านตลอดเวลา คนมอญมี ค ติ ใ นการปลู ก บ้ า นโดยหั น เรื อ นให้ ห้ อ งที่ มี เ สาผี (เสาเอก) ของบ้านอยู่ด้านทิศตะวันออก ให้เป็นจุดแรกที่รับแสงยาม อรุณรุ่ง เงาของคนที่อาศัยอยู่ ในบ้านจะได้ ไม่ทาบทับเข้ากับเสาผี ที่คนมอญเคารพสูงสุดรองจากพระพุทธเจ้า และนั่นก็เป็นห้องนอน ของพ่อแม่อันเป็นประมุขของครอบครัว ที่จะรับแสงตะวันแรกเช้า ก่อนใคร เป็นแดดอ่อนที่มีคุณค่าต่อร่างกาย และมีประโยชน์ช่วย สาดส่องฆ่าเชือ้ โรคภายในห้อง เมื่อลูกหลานต้องการแยกเรือนออกไป ก็จะต้องไม่ปลูกเรือนขวางตะวันให้เงาบ้านลูกทาบทับบ้านพ่อแม่อีก ด้วย หากไม่เช่นนั้นเชื่อกันว่าลูกหลานจะทำ�มาหากินไม่ขึ้น
คนมอญมีคติความเชื่อว่า เมื่อมีคนตายเกิดขึ้นในบ้าน การนำ�ศพ ลงจากบ้านนั้น จะต้องลงทางทิศเหนือ ซึ่งถือว่าเป็นใต้ลมหรือลง ทางทิศตะวันตกได้อีกทิศหนึ่ง เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ชาวมอญจึงต้อง สร้างบ้านเรือนเพื่อให้มีประตูบ้านอยู่ทางทิศเหนือ หรือทิศตะวันตก ไว้บ้านละ 1 ประตูเป็นอย่างน้อยเพื่อที่เวลามีคนตายในบ้าน จะได้ นำ�เอาศพออกทางประตูดังกล่าว โดยคนมอญจะไม่นำ�ศพคนตาย ในบ้าน ออกจากบ้านทางประตูทิศใต้ หรือทิศตะวันออกเป็นอันขาด และไม่นอนเอาศีรษะไปทางทิศนั้น ถือว่าเป็นทิศที่ไม่เป็นมงคล เอกลักษณ์อีกสิ่งหนึ่งที่พบเห็นได้ ในอำ�เภอพระประแดง คือชื่อ หมู่บ้านยังเป็นภาษามอญ (หมู่บ้านมอญเรียกว่า กวาน) หลายหมู่บ้าน เป็นชื่อเดียวกับหมู่บ้านในพม่า ซึ่งถือว่าเป็นเมืองมอญเก่าเมื่อครั้ง อพยพมา โดยจะมีวัดประจำ�ของแต่ละหมู่บ้าน ปัจจุบันมีทั้งหมด 16 หมู่บ้านด้วยกัน
มิถุนายน 2557 / June 2014
Visit..
15
Mon Community
Mon people tend to stay together as a group. Most of them like to build their houses by the river front as their ancestors did since the old days because they were farmers and relied on water resources for their cultivation. In building their houses, they prefer to put the beams toward the waterway for better ventilation from the river. Their house building principle is that the room with the principal column should be on the East in order to be the first place receiving the sunlight in the morning. Thus, the shadows of the inhabitants will not touch the principal column which Mon people highly respect second only to Lord Buddha. That room should be the room for the head of the family who should have privilege to receive the first sunlight of the day which is good for the health and also to get rid of any germs in the room. When the offspring grow up and would like to have the houses of their own, the shadows of their newly built houses should not touch parents’ home too. It is a belief that if so happens, the offspring will not be able to make their living. Mon people hold on to the belief that when there is a deceased in the house, the corpse should be moved out from the house through the North which is considered a downwind direction or via the West. This is the reason why Mon people build their houses with at least one door on the North or on the West for moving the deceased out of the house. They will never move the corpse out from the door on the South or the East. They will not sleep with their heads in that direction which is regarded as inauspicious.
มอญเป็นชนชาติแรกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ ในพม่า เป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนคริสตกาล คาดว่า น่าจะอพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชีย เข้ามาตั้งอาณาจักรของตนทางตอนใต้ บริเวณ ลุ่มแม่น้ำ�สาละวิน และแม่น้ำ�สะโตง บริเวณ นี้ ใ นเอกสารของจี น และอิ น เดี ย เรี ย กว่ า “ดินแดนสุวรรณภูมิ” ................................................................................ Mon was the first ethnic to settle in Myanmar for centuries before Christ. It is assumed that they migrated from Central Asia to settle in the south around the basin of Salween and Sattaung Rivers which the Chinese and Indian Chronicles called “Suvannabhumi”.
หญิงชาวมอญขณะเล่นสะบ้าบ่อน / Mon girls playing Saba พระมหารามัญเจดีย์ วัดทรงธรรม (ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2498) The Great Raman Pagoda, Wat Songdharma (taken in 2498 B.E. /1955 A.D.)
16 Cover Story ส มุ ท ร ป ร า ก า ร . . แ ล้ ว คุ ณ จ ะ แ ป ล ก ใ จ
“กวาน” หมู่บ้านมอญ
Kwan - Mon Village
กวานอะมั่ง แปลว่าบ้านช่างปัน้ (เป็นชาวมอญทีอ่ พยพมา
จากหมูบ่ า้ นเดียวกันกับ บ้านอาม่าน ทีเ่ กาะเกร็ด) ปัจจุบนั เรียกว่า บ้านอะม่าง วัดประจำ�หมู่บ้าน คือ เพี่ยแกร่งเจินย์ (วัดแค)
กวานโรงเกลิง่
ปัจจุบนั เรียกว่าบ้านโรงเรือ วัดประจำ� หมูบ่ า้ นคือ เพีย่ อะมอน (วัดคันลัด)
Kwan Rongkleing at present is called Baan Rong Ruea, community temple is Pia Amon (Wat Kanlad)
กวานตา
ปัจจุบันเรียกว่าบ้านตา ภาษามอญแปลว่า ตาล วัดประจำ�หมู่บ้าน คือ เพี่ยแกร่งเจินย์ (วัดแค) Kwan Ta at present is Baan Ta in Mon language means Palmyra palm, community temple is Pia Krangjern (Wat Kae)
Kwan Amang means Potters’village (the same group as those settled at Baan Amaan in Koh Kred) at present is Baan Amang, community temple is Pia Krangjern (Wat Kae)
กวานตองอุ๊ ปัจจุบันเรียกว่าบ้านตองอุ วัดประจำ�หมู่บ้าน คือ เพี่ยเกริงฮะละ (วัดอาษาสงคราม)
Kwan Tong U presently is Baan Tong Uh, community temple is Pia Grenghala (Wat Asasongkram)
กวานแซ่ห์ ชื่อเมืองมอญในอดีต มีฐานะเป็นเมืองใหญ่ เรียกว่า เมืองแซ่ห์ ปัจจุบนั ทางการพม่าแยกย่อยออกเป็นหมูบ่ า้ นเล็กๆ ชื่อเมืองแซ่หจ์ งึ หายไป เหลือแต่ค�ำ เรียก ของชาวบ้าน ปัจจุบนั ทีพ่ ระประแดงยังคงฐานะเป็นหมูบ่ า้ นเช่นเดิม เรียกว่าบ้านแซ่ห์ วัดประจำ�หมูบ่ า้ น คือ เพีย่ พระครู (วัดทรงธรรมราชวรมหาวิหาร)
Kwan Saeh named after a Mon city in the past, at present Myanmar authority split into small villages so the name is no longer exist in Myanmar. At Phra Pradaeng, it is still a village called Baan Saeh and community temple is Pia Phrakru (Wat Songdharma Rachavora Mahaviharn)
กวานฮะมาง ปัจจุบนั เรียกว่าบ้านทะมัง วัดประจำ�หมูบ่ า้ น
คือ เพีย่ มะมอ (วัดพญาปราบปัจจามิตร)
Kwan Hamang at present is Baan Tamang,
community temple is Pia Mamor (Wat Phyaprabpujjamitr)
กวานดงฮะนอง เจ
ภาษามอญแปลว่า ดวงดาว ปัจจุบัน เรียกว่าบ้านทรงคนอง วัดประจำ�หมู่บ้าน คือ เพี่ยอะมอน (วัดคันลัด)
Kwan Donghanong Jay means ‘star’ in Mon
language. At present is Baan Songkanong, community temple is Pia Amon (Wat Kanlad)
กวานฮะเริ่น
ปัจจุบนั เรียกว่าบ้านฮะเริน่ ภาษามอญแปล ว่า (ฟ้า) คำ�ราม วัดประจำ�หมูบ่ า้ น คือ เพีย่ ฮะเริน่ ย์ (วัดกลาง)
Kwan Harern at present is Baan Harern which
means ‘thunder’ in Mon language, community temple is Pia Harern (Wat Klang)
กวานเดิงฮะโมก
ปัจจุบันเรียกว่าบ้านเดิงฮะโมก วัดประจำ� หมู่บ้าน คือ เพี่ยฮะโหมก (วัดกลางสวน)
Kwan Denghamoke at present is Baan Denghamoke, community temple is Pia Hamoke (Wat Klangsuan)
มิถุนายน 2557 / June 2014
17
กวานเว่ฮะราว ปัจจุบันเรียกว่าบ้านเวฮะราว ภาษามอญ
แปลว่า บ้านทุ่งครู่ (มีต้นครู่ขึ้นมาก) ปัจจุบันเป็นหมู่บ้าน อยู่ในเมืองมะละแหม่ง ส่วนที่พระประแดงยังมีปรากฏชื่อ แม้แต่ป้ายชื่อหมู่บ้านก็ยังเขียนด้วยภาษามอญ วัดประจำ� หมู่บ้าน คือ เพี่ยแกร่งเจินย์ (วัดแค)
Kwan Weaharowd at present is Baan Weaharowd or Baan Toongklue (Klue a kind of plant in English called Indian March Fleabane) because it is in abundant in the village. At present there is a village of the same name in Moulmein in Myanmar. The one in Phra Pradaeng is still exist even the village signage is written in Mon alphabets. Community temple is Pia Kraengjern (Wat Kae)
กวานเกริงกรัง ปัจจุบนั เรียกว่าบ้านโกงกาง ภาษามอญ แปลว่า ต้นโกงกาง วัดประจำ�หมูบ่ า้ น คือ เพีย่ อะม๊อย (วัดจวนดำ�รงราชพลขันธ์) ปัจจุบันไม่มีแล้ว
กวานเต่อ ปัจจุบนั เรียกว่าบ้านเต้อ ภาษามอญแปลว่า บ้านดอน วัดประจำ�หมู่บ้าน คือ เพี่ยโหมกตอน (วัดโมกข์)
Kwan Ter at present is Baan Ter. Community temple is Pia Moketon (Wat Moke)
กวานโต่นเจิน
ปัจจุบันเรียกว่าบ้านฮะโต่นเจิ่นย์ ภาษามอญแปลว่า บ้านสะพานช้าง วัดประจำ�หมู่บ้าน คือ เพี่ยฮะเริ่นย์ (วัดกลาง)
Kwan Donejern at present is Baan Hatonejern means Elephant Bridge Village in Mon language. Community temple is Pia Harern (Wat Klang)
กวานเจิ่งมาย
(กวานเชียงใหม่) ปัจจุบันเรียกว่าบ้านเชียงใหม่ วัดประจำ�หมู่บ้าน คือ เพี่ยฮะเริ่นย์(วัดกลาง) ปัจจุบันชุมชน Kwan Krengkrang at present is Baan Kongkang which ส่วนหนึง่ ยังปรากฏอยู ่ ขณะทีอ่ กี ส่วนหนึง่ ถูกเวนคืนพืน้ ทีเ่ พื่อสร้าง means Mangrove Village in Mon language. Community temple ทางด่วน ส่วนวัดได้ถูกรื้อทิ้งไปนานแล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งถูกผนวกเข้า was Pia Amoy (Wat Juandamrongrachapollakan) which no เป็นส่วนหนึ่งของวัดกลางในปัจจุบัน longer exists.
Kwan Jerngmai at present is Baan Chiangmai, Community
กวานดัง
ปัจจุบันเรียกว่าบ้านดัง ภาษามอญแปลว่า บ้าน (ทำ�) ร่ม (หรือฉัตร) วัดประจำ�หมู่บ้าน คือ เพี่ย แกร่งเจินย์ (วัดแค)
temple was Pia Harern (Wat Klang). Presently, a part of the community does exist while the other have to move out as the authority expropriated the land for expressway construction. The temple was demolished long time ago which a part was added to the present Wat Klang.
Kwan Dang at present is Baan Dang which means Umbrella Making Village in Mon language. Community temple is Pia Kraenghern (Wat Kae)
กวานจั่งบี ปัจจุบันเรียกว่าบ้านจังบี ภาษามอญแปลว่า บ้าน ริมทะเล วัดประจำ�หมู่บ้าน คือ เพี่ยอะม๊อย (วัดจวนดำ�รงราช พลขันธ์) ปัจจุบันไม่มีแล้ว
Kwan Jungbe at present is Baan Jungbe which means Seaside Village in Mon language. Community temple was Pia Amoy (Wat Juandamrongrachapollakan) which no longer exists.
คนมอญตัง้ ถิน่ ฐานทีเ่ มืองพระประแดง หรือ เมืองปากลัด แต่จะต้องห่างเหิน บ้านของตนเองไปทำ�ไร่ ทำ�นา ในอำ�เภอต่างๆ ของสมุทรปราการ ทีไ่ ด้รบั พระราชทานทีท่ �ำ กิน ทำ�ให้สถานทีน่ น้ั เป็นดัง่ บ้านหลังทีส่ องของคนมอญทีต่ อ้ ง อยูด่ แู ลไร่นานานกว่า 9 เดือน พอถึงช่วงเก็บเกีย่ วเสร็จสิน้ ต่างพร้อมใจกัน กลับเมืองพระประแดงเพื่อพักผ่อน ประจวบเหมาะกับเป็นเทศกาลสงกรานต์ พอดี หลังจากนัน้ 3 เดือน ถึงจะแยกย้ายกลับไปทำ�ไร่นากันต่อ Mon people settled in Phra Pradaengaka Paklad but they had to leave their home to do farming in other districts of Samut Prakan where they were granted land for agriculture. They had to look after their farms over 9 months that they took their farms as their second homes. At the end of harvest season, they all returned to Phra Pradaeng for a rest. The timing coincided with the Songkran festival. Three months later, they all returned to their farms again. แหล่งข้อมูลอ้างอิง ศูนย์บูรณาการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ตำ�บลทรงคนอง จังหวัดสมุทรปราการ
18 Cover Story ส มุ ท ร ป ร า ก า ร . . แ ล้ ว คุ ณ จ ะ แ ป ล ก ใ จ
สายสัมพันธ์พี่น้อง
“มอญปากลัด”
ช
นชาติ ม อญที่ ไ ด้ อ พยพจากภั ย สงครามครั้ ง แล้ ว ครั้ ง เล่ า ต่างเข้ามาพึง่ พระบรมโพธิสมภาร และได้รบั พระมหากรุณาธิคณ ุ จากพระมหากษัตริย์ ไทยหลายพระองค์ มอบที่ดินทำ�กิน สร้าง รากฐานไว้หลายแห่ง เช่น จังหวัดกาญจนบุรี อยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ เป็นต้น ก่อนที่ชาวมอญพระประแดง จะได้ไปตั้งถิ่นฐาน ณ เมือง นครเขื่อนขันธ์นั้นแท้จริงแล้ว เมื่อครั้งที่ ได้อพยพเข้ามายัง ประเทศไทยในช่วงแรก ต่างเคยได้รับพระราชทานที่ตั้งบ้านเรือน และที่ทำ�กิน บริเวณ เมืองสามโคก จังหวัดปทุมธานี และเมือง ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มาก่อน เปรียบเสมือนเป็นบ้านพีเ่ มืองน้อง กั น มาแต่ ค รั้ ง อดี ต โดยมี เ จ้ า พระยามหาโยธา (เจ่ ง ) เป็ น หัวหน้าชาวมอญ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย รัชกาลที่ 2 เมื่อทรงได้สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์แล้วเสร็จ ทรงโปรดฯ ย้ายครอบครัวมอญในพวกเจ้าพระยามหาโยธา(เจ่ง) มีจำ�นวนชายฉกรรจ์ประมาณ 300 คน ไปอยู่ดูแลป้อมและเมือง นครเขื่อนขันธ์ ต่อมาทรงโปรดฯ ให้สมิงทอมา บุตรชายพระยาเจ่ง เป็นเจ้าเมืองนครเขื่อนขันธ์ หรือเมืองพระประแดง นับแต่นน้ั มา ในประเทศพม่ า สมั ย พระเจ้ า ปะดุ ง มี ก ารปราบปราม และทารุณชาวมอญอย่างหนัก จึงหนีอพยพเข้ามายังประเทศไทย อี ก ครั้ ง นั บ เป็น การอพยพครั้ง ยิ่ง ใหญ่ที่สุด ในประวั ติ ศ าสตร์ ชนชาติมอญ เป็นจำ�นวนราว 40,000 คน เมื่อเป็นเช่นนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงโปรดฯ พระราชทานทีด่ นิ ทำ�กินให้แก่ชาวมอญทีเ่ มืองปากเกร็ด เมืองสามโคก และนำ�ชาวมอญมายังเมืองพระประแดง นำ�พามาซึ่งเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณีมากมายจวบจน ปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของชาวมอญ ตั้งแต่ครั้งอพยพเข้ามายังประเทศไทยเมื่อครั้งอดีต...
มิถุนายน 2557 / June 2014
19
Brotherly Relations
Mon Paklad F
or centuries, Mon people evaded the wars times after times migrating to Thailand. Thai kings granted them permission to settle down in many provinces such as Kanchanaburi, Ayutthaya, Nonthaburi, Pathumthani, Samut Prakan and in other places. Before Mon in Phra Pradaeng settled down at Nakhon Khuean Khan, they were at Koh Kred in Nonthaburi and Samkoke in Pathumthani which were like sister provinces since in the past. The first migration led by Chao Phraya Mahayotha (Jeng) took place during the reign of King Taksin who granted permission for the Mon people to settle down in Samkoke, Pathumthani. Subsequently, after King Rama II established Nakhon Khuean Khan, 300 strong men of the Mon group under Chao Phraya Mahayotha (Jeng) were moved to look after the forts and Nakhon Khuen Khan. Saming Torma, a son of Chao Phraya Mahayotha, was appointed as ruler or governor of Nakhon Khuen Khan or Phra Pradaeng. In Myammar during the reign of King Bodawpaya, Mon ethnic was severely and brutally suppressed that about 40,000 Mon escaped to Thailand. It was a huge influx that King Rama II graciously granted them land for settlement in Pakkred, Samkoke and relocated some of them to Phra Pradaeng. The Mons brought with them their cultural identities and traditions which are witnessed today. This depicts the close relationship of the Mon ethnic in Thailand since the old days.
20 Mon Language
เ รี ย ง ร้ อ ย ถ้ อ ย คำ � . .
Cr.by Photo by : NABON
เรียงร้อยถ้อยคำ�..
ภาษารามัญ ภ
าษามอญ เป็นภาษาในตระกูลมอญ-เขมร มีความเก่าแก่ประมาณ 3,0004,000 ปี ผู้ ใช้ภาษานี้มีอยู่ประมาณ 5,000,000 คน ภาษามอญจัดอยู่ใน ตระกูลภาษาออสโตรเอเซียติค (Austroasiatic Languages) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ กันอยู่ในแถบอินโดจีนและทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ภาษามอญ จัดอยู่ในประเภทคำ�ติดต่อ อยู่ในกลุ่มภาษาตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภาษาที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ไม่มีการผันคำ�นาม คำ�กริยาตามกฎบังคับ ทางไวยากรณ์ ประโยคประกอบด้วย คำ�ที่ทำ�หน้าที่ประธาน กริยา และกรรม ส่วนขยายอยูห่ ลังคำ�ทีถ่ กู ขยาย เดิมภาษามอญ จัดเป็นภาษาทีม่ หี มวดคำ�พืน้ ฐาน หรือคำ�ศัพท์ร่วมเชื้อสาย (Cognate word) เป็นภาษาที่มีลักษณะ ภาษาคำ�โดด ต่อมาได้รับอิทธิพลของภาษาอื่นๆ ซึ่งมีหมวดคำ� รากศัพท์ ชนิด 2 พยางค์ (Disyllable base) เข้ามาประสม ทำ�ให้คนมอญโบราณ พยายามที่จะสร้างคำ� สองพยางค์ขึ้น โดยการแทรกสระตรงส่วนที่จะกลายเป็นพยางค์หน้าของคำ� สองพยางค์ และเน้นการออกเสียงในพยางค์ที่สอง ไม่เน้นเสียงที่พยางค์หน้า ทำ�ให้เกิดคำ�สองพยางค์ขึ้น
Cr. Photo by : http://www.nakornchum.com
รูปแบบของภาษามอญ Mon Language Scribes
มิถุนายน 2557 / June 2014
21
Cr. Photo by : www.thaiculture.in.th Cr. Photo by : http://www.su.ac.th/nkdvaravati
“จารึกวัดโพธิร์ า้ ง” ค้นพบทีว่ ดั โพธิ์ จังหวัดนครปฐม เป็นการ จารึกบนหินชนวน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 “Ancient Wat Po Rang”, inscribed during the 12th Buddhist Era, was found at Wat Po in Nakhon Pathom.
Cr. Photo by : http://www.bloggang.com
Making of Mon Language
M
on language is identified in the Mon-Khmer family language. It is about 3,000-4,000 years old. At present, there are about 5,000,000 speakers of Mon language which is classified in the Austroasiatic languages family used in Indochina and northeastern India. “Originally Mon language was monosyllabic with mixture of multisyllabic. There are two reasons for multisyllabic inclusion which derived from the influence of languages in the Austronesian as follows: First, there were invasions of Malay ethnic into Mon territory. Lastly, the migration to the South where native people spoke different languages. Originally, Mon language used basic words or cognate words which were monosyllabic. Subsequently, with the influence of Austronesian language which is disyllable base, the ancient Mon people tried to create disyllable words by adding vowels to the first syllable and emphasizing the stressing sound on the second syllable.
คำ�มอญ มีลักษณะเป็นคำ�พยางค์เดียว หรือสองพยางค์ ส่วนคำ� หลายพยางค์ เป็นคำ�ที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาบาลีและสันสกฤต แหมะเหง่อระอาว ..สวัสดีค่ะ มองชิ้ยค้อฮา ..สบายดีไหม อีโม๊ะปอมลอ ..ชื่ออะไร อูชัมเป่ย ..ฉันรักเธอ เจี๊ยะเป้ย ..กินข้าวหรือยัง ตั้งกุน ..ขอบคุณ ตา ต้า ..ลาก่อน อะเป้าคอก ..ฝันดี Mon words are monosyllabic or disyllabic. Those multisyllabic words are influenced by other foreign languages such as Pali and Sanskrit. Mae nger ra aow ..Hello (equivalent to Sawadee in Thai) Mong chi ya kor ha ..How are you doing? E mo pom lor ..What is your name? U chum pei ..I love you Jia pei ..Have you eaten yet? Tan gun ..Thank you Ta taa ..Good bye A poa kok ..Sweet dream
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 ตัวอักษรได้คลี่คลายจากตัว อักษรปัลลวะ (อักษรอินเดีย) มาเป็นตัวอักษรสีเหลี่ยม คือ ตัว อักษรที่เรียกว่า อักษรมอญโบราณและเปลี่ยนแปลงขนาดเล็ก ลงในระยะต่อมา จนกลายเป็นอักษรมอญปัจจุบนั ซึง่ มีลกั ษณะกลม เกิดจากอิทธิพลของการจารหนังสือโดยใช้เหล็กจารลงบนใบลาน Around 16th-17th Buddhist Era, the alphabets were unravelled from Pallava (Indian) alphabets to be square shaped alphabets that is called ancient Mon alphabets. Subsequently, they became smaller in size until being the present round shaped Mon alphabets which are caused by using iron stylus writing on nipa palm leaves. แหล่งข้อมูลอ้างอิง www.monstudies.com เว็บไซต์เพื่อการศึกษาภูมิปัญญามอญ
22 Mon Clothing ตั ว ต น ค น ม อ ญ
ตัวตน..คนมอญ สีสันการแต่งกาย
ก
ารแต่งกายของชาวมอญนับว่ามีเอกลักษณ์อันโดดเด่นไม่แพ้ เรื่องอื่นๆ ด้วยเอกลักษณ์และจุดเด่นแปลกตาเต็มไปด้วยความ สวยงามเมื่อผู้ ใดพบเห็นจะสามารถรับรู้ ได้เลยว่าเป็นการแต่งกาย ของชาวรามัญ แสดงถึงเสน่ห์ของขนบธรรมเนียมประเพณีท่ียัง สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น แม้ปัจจุบันจะพบเห็นไม่มากนักแต่เมื่อถึงช่วง เทศกาลสงกรานต์หรือเทศกาลต่างๆ ชาวรามัญต่างพร้อมใจกัน แต่งกายออกมาร่วมงานกันอย่างคึกคัก และสวยงาม ชายชาวมอญ จะสวมผ้านุ่ง ภาษามอญเรียกว่า “เกลิด” ส่วนผ้าผืนยาวที่นุ่งเวลาออกงานสำ�คัญ เรียกว่า “เกลิดฮะเหลิ่น” แปลว่า ผ้านุ่งยาว (ลอยชาย) ส่วนเสื้อ เป็นเสื้อคอกลมผ่าอก แขน ทรงกระบอก มีกระดุมผ้า หรือเชือกผูกเข้ากัน สมัยก่อนนิยมโพกศีรษะ หญิงชาวมอญ สวม “หนิ่น” คล้ายผ้านุ่งของผู้ชาย แต่ลาย ของผู้หญิงจะละเอียด สวยงามกว่า วิธีการนุ่งต่างกัน สวมเสื้อตัว ในคอกลมแขนกุดตัวสั้นแค่เอว เล็กพอดีตัว สีสันสดใส สวมทับด้วย เสื้อแขนยาวทรงกระบอก เป็นผ้าลูกไม้เนื้อบาง สีอ่อน มองเห็นเสื้อ ตัวใน ถ้ายังสาวอยู่แขนเสื้อจะยาวถึงข้อมือ หากมีครอบครัวแล้ว จะเป็นแขนสามส่วน หญิงมอญนิยมเกล้าผมมวย ค่อนต่ำ�ลงมาทาง ด้านหลัง มีเครื่องประดับ 2 ชิ้น บังคับไม่ให้ผมมวยหลุด คือ โลหะ รูปตัวยูคว่ำ� และ โลหะรูปปีกกา } ตามแนวนอน จากนั้นประดับ ด้วย “ปิ่นปักผม” เพื่อความสวยงาม เป็นอันเสร็จสิ้น U
ชุดแต่งกายผู้หญิงโบราณ
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ทีแ่ สดงถึงเอกลักษณ์ การแต่งกายของชาวมอญ ตั้งแต่เมื่อ ครั้งอดีต ........................................................
Female Costumes in the old days
Mural painting depicting the unique dressing style of Mon women in the old days.
ชุดแต่งกายผู้หญิง
นิยมสวมเสื้อแขนกระบอก (บางคนสวมสามส่วน) นุ่ ง ผ้ า ถุ ง เกล้ า มวยผม คล้ อ งผ้ า สไบ ถ้ า เป็ น งานบุญจะคล้องผ้าทางด้านซ้ายมือ แต่หากไปงาน รื่ น เริ ง ก็ ใ ช้ ค ล้ อ งคอแทน หรื อ พาดลงมาตรงๆ บนไหล่ซ้าย ..............................................................................................
Women Dresses
They wear blouses with long sleeves (some may wear three-fourth long sleeves), sarong, pull up their hair in bun, rectangular shawl which they will wear on the left shoulder for the merit making ceremonies.
มิถุนายน 2557 / June 2014
The Colors of
Mon Clothing M
ชุดแต่งกายผู้ชาย
นิยมสวมเสื้อคอกลมแขนยาวบ้าง สั้นบ้างตามโอกาส นุ่งผ้า ลอยชาย สไบพาดไหล่สองข้างทิ้งชายไปข้างหลังหรือพาดบ่า ด้วยผ้าขาวม้า ถ้าเป็นงานบุญจะพาดด้านซ้ายมือ ................................................................................................
Men Costumes
Wearing long sleeves shirt (some wear three-fourth long sleeves), sarong and a piece of sash over the shoulder which they will wear on the left for the merit making ceremonies.
on has a very unique and beautiful national dressing. Though nowadays it is not in daily life, it still reflects the rich cultural heritage passing down from generation to generation. During Songkran festival or other festivities, Mon ethnic of all ages will put on their best national costumes to join the celebrations. On the lower part male Mon will wear mid calf sarong style which in Mon language called “Klird” and for the long sarong worn on special occasions called “Klird ha lern”. For the shirt, they wear no collar shirt with fabric buttons or fasten strings and long sleeves with no cuffs. In the old days, they also wore turbans. Mon female wear “Hnin”, sarong style similar to male version but the designs are more elaborate and the wearing technique is different. For blouse, they wear inside a bright color body fit blouse with no collar and sleeves and the length is at the waistline with a long sleeves fine lacy blouse in light color on top. Those unmarried girls will wear long sleeves blouse while the married will wear three-fourth length sleeves. Mon women like to wear their hair in a chignon style adorned with two pieces of metal hair ornaments to hold the bun; one is in the upside down U shape and the other is in horizontal bracket shape. They will finish off the hair decoration with hairpin.
สิ่งสำ�คัญของคนมอญรุ่นเก่าๆ ทั้งชายหญิงเมื่อเข้าวัดเข้าวา ต้องมี ผ้าพาดติดไหล่สักผืน ผ้าผืนดังกล่าวสำ�หรับผู้ชายเรียกว่า ผ้าขาวม้า สำ�หรับผู้หญิงก็คือ ผ้าสไบ ถือว่าเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่ จะขาดมิได้ For the old generation an important outfit that could not be left out both male and female must wear over their shoulders, is the shawl for female or the sash for male. It is regarded as a part of the body that could not be left out.
23
24 Mon Cuisine กิ น อ ย่ า ง ม อ ญ
เจี่ยะเปิ่มโหม่น..
อาหารพื้นถิ่นรามัญ
Cr. Photo by : Thai Food Master.com
แกงกระต๊าดใบกระเจี๊ยบแดง หรือแกงส้มมอญ/Kartart Curry
อี
กหนึ่ ง เอกลั ก ษณ์ ข องชนชาติ ค งหนี ไ ม่ พ้ น เรื่ อ งอาหาร ชาวมอญนิยมกินแกงรสเปรี้ยว และจะเน้นการปรุงอาหาร ด้วยผักทั่วไป ที่สามารถปลูกได้บริเวณริมบ้าน ไม่ว่าจะเป็นดอก งิ้ว หน่อกะลา กล้วยดิบ ผักปลัง ต้นกระเจี๊ยบ ต้นมะตาด และ ผักชนิดอื่นๆ เช่น ใบส้มป่อยจะผูกพันกับวิถีชีวิตของคนมอญ ตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะเชื่อว่าเป็นใบไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยใช้ ใบส้มป่อยแช่น�ำ้ เพื่อใช้ประกอบพิธกี รรมต่าง ๆ ไม่วา่ จะเป็นโกนจุก งานบวช แต่งงาน หรือรดน้ำ�ศพ ชาวมอญนิยมใช้ผกั ทีม่ เี มือกลื่นและออกรสเปรีย้ วในการ ทำ�อาหาร เพราะจะทำ�ให้มีระบบขับถ่ายที่ดี วิถีชีวิตของชาว มอญจะเรียบง่าย ซึ่งสะท้อนออกมาทางด้านอาหารที่ทำ�กิน กันอย่างง่ายๆ อาหารพื้นบ้านยอดฮิตเห็นจะเป็น “น้ำ�พริก” ไม่วา่ จะเป็น น้�ำ พริกปลาย่าง น้�ำ พริกลงเรือ น้�ำ พริกกะปิ น้�ำ พริก กุ้งแห้ง จิ้มกับสารพัดผักที่เด็ดได้ตามริมรั้วบ้าน
แกงกระต๊าดใบกระเจีย๊ บแดง หรือแกงส้มมอญ เสน่หน์ นั้ อยู่ที่รสชาติเปรี้ยว เค็ม และหวาน ตามลำ�ดับ โดยน้ำ�พริกแกง นั้ น จะใช้ ทั้ ง พริ ก แห้ ง และพริ ก สด ทำ � ให้ ไ ด้ เ ครื่ อ งแกงที่ มี สีแดงส้มสดและได้กลิ่นเผ็ดหอมของพริกสด นอกจากนี้ยังใช้ เกลือป่น หอมแดง กระชาย และกะปิมอญ มาโขลกเข้าด้วยกัน เพิ่มมันกุ้งและเนื้อกุ้งลงไปด้วยทำ�ให้ ได้น้ำ�แกงที่หวานและ เข้มข้นมากยิ่งขึ้น เมนูเด็ดของมอญพระประแดงคือ “แกงเลียงมันมือเสือ” แกงหม้อนี้เป็นแกงโบราณและจะมีโอกาสรับประทานต้องเข้า ช่วงปลายฝนต้นหนาว คือช่วงเดือนตุลาคมย่างเข้าพฤศจิกายน เท่านั้น เพราะเป็นช่วงที่มันมือเสือกำ�ลังให้ผล แกงโบราณ แบบนี้ค่อนข้างจะหากินได้ยากในยุคปัจจุบัน เพราะมีคนปลูก มันมือเสือกันน้อย ถ้าอยากจะชิมก็คงต้องแวะไปแถวพระประแดง เพราะยังพอจะมีปลูกกันอยู่บ้าง
มิถุนายน 2557 / June 2014
25
Jia Pherm Mohn
Mon Dishes F
ood is another identity of all nationalities. Mon cuisine emphasizes on using local grown vegetables. Normally, every household always grows garden vegetables by the fences be it red silk cotton flowers, cotton tree flowers, Carambola, green banana, Indian spinach and other plants such as soap pod which its leaves have tied in with the Mon way of life from the birth until death as a regarded holy plant. Leaves of soap pod soaked in the water used in many ceremonies be it top knot shaving, ordination, marriage or even funeral. Mon people like to use vegetables with sour taste and slippery texture in their cooking because these vegetables help bowel movements. Mon people live a very simple way of life as witnessed in their daily simple food. “Chili Dip” is inevitable the most popular dip be it chili dip with grilled fish, Namprigrongrua (kind of chili dip with variety of condiments), shrimp paste dip or dried shrimp chili dip. All kinds of dip are taken with garden vegetables grown by the fence. Chultra Curry with rosella leaves or Mon spicy sour soup has palate pleasing sourly, salty and sweet taste. The chilli paste is made from both dried and fresh chillies which make the soup brightly red in colour and with strong chilli fragrance. Additionally, they add salt, shallots, wild ginger and Mon fish paste pounded together with chillies. Fresh prawns and their liver paste are added to the curry paste which makes the soup sweet and thickened. The signature Mon dish is “spicy mixed vegetables soup with lesser yam”. This is an ancient recipe that can be made only during short in late rainy season and the beginning of cool season i.e. during late October to early November because lesser yam will bear fruit during that period only. This menu is hardly found these days as lesser yam are grown less. If you want to try, you might have to visit Phra Pradaeng area where some residents keep growing them.
ดอกงิ้ว
สรรพคุณ ช่วยบำ�รุงระบบไหลเวียนโลหิต บรรเทาอาการ ท้องเดิน ขับปัสสาวะ
Red silk cotton flower
Medical property - good for blood circulation system, help alleviate diarrhea and diuretic.
มันมือเสือ
สรรพคุ ณ ต้ า นไวรั ส ป้ อ งกั น มะเร็ ง มี ป ระโยชน์ ในการเสริ ม สร้ า งระดั บ พลังงาน และช่วยบำ�บัดอาการซึมเศร้า และความเครียด
Lesser yam
Medical property - Has antiviral and anti-cancer properties. It helps generating energy level and also in depression and stress treatment.
ผักปลัง
สรรพคุ ณ ช่ ว ยระบายหล่ อ ลื่ น ลำ � ไส้ ขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน นํ้าคั้นจากใบสดแก้ ผื่นแดง แผลสด ใบแก่ แก้กลากเกลื้อน
Indian spinach
Medical property - helps lubricating intestinal movements, diuretic, relieve aphthous ulcer, juice extracted from fresh leaves is good for relieving rash and wounds while aged leaves are good for eczema and chloasma. คนมอญเป็นคนรักสงบและเคร่งศาสนามาก นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท คน มอญจึงไม่กินสัตว์ ใหญ่เป็นอาหารเพราะกลัวบาป อาหารหลักของคนมอญจะเป็น สัตว์เล็กประเภทปลา กุ้ง ปู หอย รวมทั้งผักริมรั้วที่ปลูกกันแทบทุกครัวเรือนเพื่อ นำ�มาประกอบอาหาร
Mon people are peaceful and devout Buddhists. They follow Theravada Sect of Buddhism. Therefore, they do not eat meat of big animals because they are afraid of committing sin. The staple ingredients in their cooking are small animals such as fishes, prawns, crabs or shell fishes including garden vegetables grown by the fence. Cr. Photo by : http://www.bloggang.com
26 Cultural Trails on the Gulf of Thailand เ ส้ น ส า ย วั ฒ น ธ ร ร ม ป า ก อ่ า ว ไ ท ย
สงกรานต์ พระประแดง
ชุ่มฉ่ำ�วัฒนธรรมเก่าแก่ สืบสานเอกลักษณ์ ชาวรามัญ ใ
กล้ ถึ ง วั น สงกรานต์ ชาวรามั ญ แต่ ล ะครอบครั ว ต่ า งจะ ช่วยกันทำ�ความสะอาดบ้านเรือนของตนก่อนวันสงกรานต์ 2-3 วัน แต่ละบ้านจะช่วยกันกวนขนมกวันฮะกอ หรือ ทีเ่ รียกว่า กาละแม บางบ้านจะทำ�ขนมข้าวเหนียวแดงเพื่อจะได้นำ�ไปทำ�บุญ ในวั น สงกรานต์ แ ละแจกจ่ า ยญาติ มิ ต รสหาย เป็ น การแสดง ไมตรีจิตซึ่งกันและกัน.. การส่งข้าวสงกรานต์ หรือทีเ่ รียกว่า “ข้าวแช่” จะทำ�ได้ 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 13-15 เมษายน บ้านไหนหุงข้าว ก็จะเชิญสาวๆ ใน หมู่บ้านมาช่วยกันประกอบอาหารเพื่อไปทำ�บุญ ในเวลาเช้าตรู่ หญิงสาวที่รับเชิญจะนำ�อาหารและข้าวสงกรานต์น้นั ไปส่งตามวัด ต่างๆ ขากลับจะมีการพรมน้ำ�กันเพื่อความสิริมงคล แต่เป็นการ รดน้ำ�อย่างมีวัฒนธรรมไม่ใช่สาดน้ำ� เมื่อกลับถึงบ้านเจ้าบ้านที่ จัดทำ�ข้าวสงกรานต์ก็จะเลี้ยงดูสาวๆ และญาติมิตรสหายเป็นการ รื่นเริงและไมตรีจิตต่อกัน ตามหมู่บ้านชาวไทยรามัญจะเห็นศาล เพียงตาปลูกเตรียมไว้ เจ้าบ้านจะนำ�อาหารใส่กระทงตั้งไว้บน ศาลพร้อมด้วยข้าวแช่ เป็นการสักการะพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ตลอดจนสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ ง้ั ปวงตามประเพณี
ในวันสุดท้ายของสงกรานต์พระประแดง (ถัดจากวันที่ 13 เมษายน อีกหนึ่งอาทิตย์) ทุกหมู่บ้านจะรวมใจกันจัดขบวนแห่ นางสงกรานต ์ รถบุ ป ผชาติ แ ละขบวนสาวงามไปตามถนน นครเขื่อนขันธ์ ไปจนถึงหมู่บ้านต่างๆ ณ พระอารามหลวงวัด โปรดเกศเชษฐารามเพื่อร่วมกันประกอบพิธีปล่อยนก-ปล่อยปลา ซึ่งถือเป็นการสะเดาะเคราะห์ทำ�ให้อายุยืนยาวเมื่อเสร็จสิ้นพิธี ระหว่างเดินทางกลับบ้านก็จะมีหนุ่มในหมู่บ้านต่างๆ ออกมาเล่น สาดน้�ำ กับสาวๆ ด้วยกิรยิ าท่าทีทส่ี ภุ าพ และพูดคุยกันตามประสา หนุ่ ม -สาว ตลอดทางที่เดินกลับ การประกวดนางสงกรานต์ หนุ่ ม ลอยชาย ถื อ เป็ น อี ก สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มไม่ แ พ้ กั น นอกจากนีภ้ ายในบริเวณชุมชนมอญจะมีการเล่นสะบ้าตามหมูบ่ า้ น เป็นที่สนุกสนานยิ่งนัก ไม่ใช่เป็นการพนันเอาทรัพย์สินแต่เป็น การละเล่ น อย่ า งหนึ่ ง ตามพื้ น เมื อ ง แต่ ล ะคนต่ า งก็ รั ก ษา มารยาทและวัฒนธรรม ในบ่อนจะมีขนม กวันฮะกอ หรือ ขนม กาละแม เตรียมไว้ ให้รับประทานด้วย รวมทั้งมีการร้องเพลง ทะแยมอญกล่อมบ่อน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวไทย เชื้อสายรามัญ Cr. Photo by : http://xn--22c8amcebfk1a1ablffaf5t5ch4sh5g.blogspot.com
มิถุนายน 2557 / June 2014
27
Phra Pradaeng Songkran joyful culture and a Mon identity G
etting closer to Songkran, each Mon household will carry out a big cleaning. Two to three days before Songkgran Day, they will make within their family “Kawanhakoh” or in Thai Kalamae (caramel made from rice flour). Some will make “Kaoneowdaeng” (brown glutinous rice jam) for merit making and for distribution among the clan on Songkran occasion. The making of “Songkran rice” or Kao Chae will take place during 13-15 April. The family making Songkran rice will invite young girls in the village to help preparing for merit making. Early in the morning, the girls will deliver Songkran rice and other foods to temples. On the way back, they will get sprinkle water as a gesture for good luck. Getting back to the house of Songkran rice making family, the girls will be treated with the Songkran rice with friends and families. In every Mon house, a spirit house will be set up where the host will offer foods, including Kao Chae, in banana leaf bowls. This is to pay homage to the Three Gems in Buddhism and other sacred things as well. On the last day of Phra Pradaeng Songkran festival (a week after April 13th), every village will join in arranging ‘Lady Songkran Procession’ in which young Mon girls and men from all villages carrying birds and fishes to set free for merit making at Wat Prodketchettaram, a royal monastery. They believe it would avert the misfortune and extend their lives. After the merit making on their way back home, the young boys and girls will start water sprinkling politely and chatting amicably. In the evening, there will be a popular Lady Songkran and ‘Noom Noi Loy Chai’ (Charming Mon Man) Contest. Another entertainment which is very popular and joyful in every village is “Saba”, a famous Mon native game. It is not a gamble because every player should have a good manner and keep it to the tradition. In the “Saba” ground, Kalamae is available and there is also singing of Mon folksongs. This is a way of life that ethnic Mon observe.
28 Cultural Trails on the Gulf of Thailand เ ส้ น ส า ย วั ฒ น ธ ร ร ม ป า ก อ่ า ว ไ ท ย
ประเพณีสง่ ข้าวสงกรานต์
การส่งข้าวสงกรานต์เป็นประเพณีท่ีคาดว่าได้รับอิทธิพล จากตำ�นานสงกรานต์ เมื่อตอนที่ท่านเศรษฐีนำ�เครื่องสังเวยไป บวงสรวงเทวดาที่ต้นไทรเพื่อขอบุตร ข้าวสงกรานต์น้ันเป็นการ หุงข้าวแล้วแช่ลงในน้ำ�ดอกมะลิบรรจุลงในหม้อดิน ส่วนกับข้าว นัน้ ก็จะเป็นอาหารเค็ม เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม เนือ้ เค็ม ของหวาน ได้แก่ ถัว่ ดำ�ต้มน้�ำ ตาล กล้วยหักมุก แตงโม จัดวางใส่ถาดให้ เท่ากับวัดทีจ่ ะไป สาวๆ ในหมูบ่ า้ นก็จะรับข้าวสงกรานต์ไปส่งตาม วัดต่างๆ ขากลับจะมีหนุม่ ๆ มาคอยดักรดน้�ำ และเกีย้ วพาราสีตาม นิสยั หนุม่ สาวทัว่ ๆ ไป
สรงน้�ำ พระ-รดน้�ำ ขอพร
ในช่วงท้ายของสงกรานต์ชาวมอญในพระประแดง จะมี ประเพณีสรงน้ำ�พระพุทธรูป วัดที่มีพระพุทธรูปมากมายและ สวยงามคือ วัดโปรดเกศเชษฐาราม ในตอนเย็นหนุ่มสาวก็จะ พากันนำ�น้�ำ อบไปสรงน้�ำ พระพุทธรูปรอบวัด เมื่อเสร็จสิน้ จากการ สรงน้�ำ พระพุทธรูปแล้วหนุม่ สาวก็จะพากันนำ�น้�ำ อบไปรดน้�ำ ขอพร ผู้ ใหญ่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เมื่อเสร็จสิ้น ระหว่างเดินทาง กลับบ้านก็จะมีหนุ่มในหมู่บ้านต่างๆ ออกมาเล่นสาดน้ำ�กับสาวๆ ด้วยกิริยาท่าทีท่ีสุภาพตลอดทางที่เดินกลับบ้าน แต่ในปัจจุบัน ประเพณี น้ีค่อ ยๆ หายไปหลัง จากที่พ ระประแดงมีก ารสัญ จร คับคัง่ ไปด้วยรถยนต์
ประเพณีแห่นก-แห่ปลา
เกิดจากความเชื่อของชาวมอญทีว่ า่ การปล่อยนก-ปล่อยปลา เป็นการสะเดาะเคราะห์ ให้แก่ตนเองทำ�ให้มีอายุยืนยาว และ เป็นประเพณีหนึ่งในเทศกาลสงกรานต์ที่จัดพร้อมกับขบวนแห่ นางสงกรานต์ ในวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์พระประแดง ชาวมอญยึดถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเป็นประเพณีแห่นกแห่ ป ลา ในที่ สุ ด เทศบาลเมื อ งพระประแดงพิ จ ารณาเห็ น ว่ า ประเพณีแห่นก-แห่ปลา เป็นประเพณีที่ดีงามสมควรอนุรักษ์ ไว้ จึงได้รับเป็นผู้สืบสานประเพณีน้ ี โดยจัดให้มีขบวนแห่นก-แห่ปลา ในขบวนแห่นางสงกรานต์ทุกปีสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
มิถุนายน 2557 / June 2014
29
Delivery of Songkran Rice Tradition
It is believed that the Songkran rice delivery tradition was influenced by the Songkran fable that there was a millionaire who presented offerings to spirit at a banyan tree to grant him an heir. Songkran rice is cooked rice soaked in earthenware with jasmine scented water and the condiments comprise salty food such as salted egg, salted fished, salted meat, etc. For the dessert, there will be black beans in syrup, banana, watermelon, etc. All offerings will be arranged in trays. The number of trays will be up to how many monasteries they are going to deliver. Young girls in village will pick up those trays and deliver to each temple. On the way back, young men will be waiting to sprinkle water and politely flirting.
Bathing Buddha Images .. Water Blessing
Toward the end of the Mon Songkran festival of the Mons in Phra Pradaeng, there will be Bathing Buddha Images Ceremony at the temple enshrining many exquisite Buddha images-Wat Prodketchettaram. In the evening, young people will visit the temple and perform the bathing ritual with scented water after which they will visit elderly and pour scented water on their hands requesting for blessings. On their way back, young men from other villages will politely sprinkle water on each other. Since Phra Pradaeng is presently congested with cars, this tradition is gradually faded away.
Fishes and Birds Set Free Tradition
It originated from the belief of the Mons that setting fishes and birds free is a means to avert misfortune and it will help extending their lives. It is one of Songkran traditions that will be included in the Lady Songkran Procession held on the last day of Phra Pradaeng Songkran festival. The Phra Pradaeng Municipality sees that this tradition worth preserving. Thus, it is included in the procession every year until nowadays.
Trails on the Gulf of Thailand 30 Cultural เ ส้ น ส า ย วั ฒ น ธ ร ร ม ป า ก อ่ า ว ไ ท ย
ประเพณีแห่นางสงกรานต์
แต่ละหมู่บ้านจะเชิญหญิงสาวเข้าร่วมขบวนแห่ โดยมอบให้ ผู้ท่เี ป็นคนกว้างขวาง รู้จักคนมาก นำ�หมากพลูจีบใส่พานไปเชิญสาว ตามหมู่บ้านต่างๆ แล้วแต่จะกำ�หนดว่าหมู่บ้านใดจะเชิญสาวกี่คนก็ เตรียมหมากพลูไปเท่ากับจำ�นวนสาวที่ต้องการ สาวใดเมื่อได้รับ หมากพลูไปแล้วจะมาร่วมเข้าขบวน เมื่อมาพร้อมกันแล้วผู้ที่มีหน้าที่ คัดเลือกสาวงามก็พจิ ารณาดูวา่ ผู้ ใดสวยทีส่ ดุ ก็ให้เป็นนางสงกรานต์ ในปี นัน้ ภายหลังได้มอบให้ผ้มู ีหน้าที่คัดเลือกได้มองหาสาวที่สวยๆ ไว้แต่ เนิ่นๆ ก่อน เมื่อใกล้วันสงกรานต์จะเชิญหญิงสาวที่หมายตาไว้น้นั ให้ เป็นนางสงกรานต์ ส่วนคนอื่นๆ ก็ให้เป็นนางประจำ�ปีหรือนางฟ้าตาม ลำ�ดับไป ซึ่งวิธีการนี้จะได้สาวงามที่เป็นชาวพระประแดงโดยแท้จริง ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ได้จดั ให้มกี ารประกวดนางสงกรานต์ขน้ึ เป็นครัง้ แรก และได้ท�ำ การประกวดติดต่อกันมาจนกระทัง่ ถึงปัจจุบนั นี้ ต่อมา ในปี พ.ศ. 2541 จึงจัดให้มีการประกวดหนุ่มลอยชายควบคู่กับการ ประกวดนางสงกรานต์นบั แต่นน้ั มา
ประเพณีกวนกาละแม (กวันฮะกอ) ของดีเมืองพระประแดง
เมื่อถึงประเพณีสงกรานต์ ชาวมอญจะทำ�ความสะอาด บ้านเรือนแต่เนิ่นๆ และทำ�ขนมที่เรียกว่า กวันฮะกอ หรือ กาละแม ทำ�จากข้าวเหนียว น้�ำ ตาลมะพร้าว กะทิ กวนให้เข้า กันจนเหนียว คนมอญจะนำ�อาหารไปทำ�บุญทีว่ ดั ตอนเย็นจะพา กันไปรดน้�ำ ขอพรจากผู้ ใหญ่ และผูท้ เ่ี คารพนับถือ บรรดาสาวๆ ตามหมูบ่ า้ นจะนำ�ขนมกาละแมไปฝากญาติ หรือผูท้ เ่ี คารพนับถือ ในต่างตำ�บล ถือว่าเป็นโอกาสได้ไปเยีย่ มเยียนพบปะกัน
มิถุนายน 2557 / June 2014
31
Lady Songkran Procession
Each village will invite young girls to join the procession. The community respected person will carry a betel nut tray, one tray for each girl, to invite girls in each village. The girls once accept the betel nut tray will join the procession. The most beautiful girl will be selected by the judging committee to be Lady Songkran. At present, the selecting process is done in advance, other girls will perform the roles of other fairies in the procession. This selecting process guarantees that all the girls joining the procession are the genuine Phra Pradaeng residents. Subsequently in 2521 B.E. (1978 A.D.), the first Songkran Beauty Queen Contest was introduced and continues until presently. In 2541 B.E. (1998 A.D.), the “Noom Loi Chai” (Charming Man Mon Style) Contest was introduced in parallel with Songkran Beauty Queen Contest.
Kalamae Making (Kawanhakoh)
Another outstanding thing in Phra Pradaeng
When Songkran is arriving, Mon people will make big cleaning of their houses in advance and they also make Kawanhakoh in Mon dialect or Kalamae in Thai. This sweet is made from sticky rice, palm sugar and coconut milk mixed and stirred over heat until sticky. Mon people will bring food offerings to the temples for merit making. In the evening they will visit the elderly to give them scented water and request for their blessings. The girls in the village will take the opportunity to deliver Kalamae to their cousins or respected elderly in other villages as a gesture of respect.
32 Cultural Trails on the Gulf of Thailand เ ส้ น ส า ย วั ฒ น ธ ร ร ม ป า ก อ่ า ว ไ ท ย
แห่หงส์ธงตะขาบ
จิตวิญญาณ - ความผูกพัน ต่อ“พุทธศาสนา”
มิถุนายน 2557 / June 2014
33
ป
ระเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ ถือเป็น ภูมิปัญญาอันเก่าแก่ที่ต้องการ ดำ�รงไว้ซึ่งประเพณีอันดีงาม ความรัก ความสามัคคี และกลวิธีที่ แสดงถึงอัตลักษณ์ สะท้อนวัฒนธรรม ผ่านหงส์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ ชาวรามัญ และปริศนาธรรมที่ซ่อนเร้นไว้ ในธงตะขาบ มีประวัติศาสตร์ เล่าต่อกันมา เมื่อครัง้ พระพุทธเจ้าเดินทางมาถึงภูเขาสุทศั นมรังสิต ได้ทอดพระเนตร เห็นเนินดินกลางทะเลมีหงส์สองผัวเมียเล่นน้ำ�กันอยู่และได้ทำ�นายว่า ในกาลต่อไปพื้นที่แห่งนี้จะกลายเป็นมหานครยิ่งใหญ่มีพระเจ้าแผ่นดิน ปกครองและให้กำ�เนิดศาสนา ซึ่งหลังจากพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพาน 100 ปี เนินดินกลางทะเลนั้นก็ตื้นเขินจนกลายเป็นแผ่นดินอันกว้างใหญ่ ก่อเกิดเป็นเมืองหงสาวดี ชาวมอญจึงให้หงส์เป็นสัญลักษณ์ประจำ�ชาติ นั บ แต่ นั้ น มา หากต้ อ งย้ า ยถิ่ น ฐานไปแห่ ง หนใดก็ จ ะสร้ า งเสาหงส์ ไ ว้ หน้าวัดแห่งนั้น เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นวัดมอญ
ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบเป็ น กุ ศ โลบายที่ แ สดงออกถึ ง ความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตายและความกตัญญูต่อ บรรพบุรุษ โดยมีศาสนาเป็นตัวเชื่อมประสานความเชื่อ The Centipede Banner Procession is a well-thought plan to express the belief on life after death and gratefulness to ancestors via the religious ritual.
Swan and Centipede Banner Procession and Buddhism Relation S ชาวมอญเป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธอย่างเคร่งครัด สิ่งใดที่ กระทำ�เพื่อพุทธศาสนาแล้ว ชาวมอญจะต้อนรับเสมอ ดัง เช่นธงตะขาบที่มีตำ�นานเล่าขานกันมา เมื่อนำ�ขึ้นแขวน บนเสาหงส์จึงถือเป็นการบูชาองค์สัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง Mon people are devout Buddhists. Mons always welcome anything related to the religion. The legend has it that hoisting the centipede banner is a means to pay homage to Lord Buddha.
wan and Centipede Banner Procession is an old wisdom to maintain the virtue of tradition as a focal point of love and cooperation depicting the tribal identity and cultural and social development through swan which is the symbol of Mon or Raman and dharma riddles hidden in the centipede banner. History has it that when Lord Buddha arrived at Sudhasnamarangsit Mountain, he saw a swan couple playing in the water at a tiny islet in the sea. He prophesied that in the future the area would become a great city and the King who ruled the city would adopt Buddhism. A century after Lord Buddha’s nirvana, the islet became a vast piece of land and Hongsawadi (Bago or Pegu) was founded in the area. Since then the Mons have regarded swan as the national symbol. Should they migrate to anywhere, they will put up, as a symbol, a swan pole in front of their community temple.
Trails on the Gulf of Thailand 34 Cultural เ ส้ น ส า ย วั ฒ น ธ ร ร ม ป า ก อ่ า ว ไ ท ย
“ธงตะขาบ” มีความสำ�คัญทางศาสนาที่สำ�คัญยิ่งต่อชาว มอญ ในทางโลก ตะขาบมีลกู มาก และแม่ตะขาบจะมีพษิ ร้าย เพื่อปกป้องลูกไว้ ในอ้อมอกเสมอ กษัตริยห์ ากปกครองได้เหมือน ตะขาบ ประเทศย่อมเจริญรุ่งเรือง ในทางธรรม อวัยวะของ ตะขาบล้ ว นสามารถมองเห็ น เป็ น ปริ ศ นาธรรมได้ ท้ั ง สิ้ น หนวด 2 เส้นคือ สติ สัมปชัญญะ เขีย้ ว 2 เขีย้ ว คือ หิริ โอตัปปะ ตา 2 ข้าง คือบุคคลหายาก 2 ประเภท ได้แก่ บุพการี กตัญญู กตเวที หาง 2 หาง คือ ขันติ โสรัจจะ ลำ�ตัว 22 ปล้อง คือ สติปฏั ฐาน 4 อินทรีย์ 5 สัมมัปปธาน 4 พละ 5 อิทธิบาท 4 ธง ตะขาบจึงเปรียบเสมือนหลักธรรมคำ�สอนของพระพุทธองค์ ทีค่ วร ยึดถือปฏิบตั แิ ละไม่หลงลืมไปตามยุคสมัย ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบในประเทศไทย ถือกำ�เนิดใน
จ.สมุ ท รปราการ โดยชาวพระประแดงจั ด ขึ้ น ในช่ ว งวั น ที่ 13 เมษายน ของทุกปี หรือตรงกับวันสงกรานต์นน่ั เอง ความเป็น มาหรือสาระสำ�คัญก็เพื่อระลึกถึง และเป็นการบูชา รวมถึง การเฉลิมฉลองเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับลงจากสวรรค์ช้นั ดาวดึงส์ เป็นการปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้ ชาวรามัญ ทัง้ 10 หมูบ่ า้ นในพระประแดงจะเวียนกันเป็นประธานในการจัด งานปีละ 1 ครัง้ มีการจัดขบวนรถเทพีหงส์ ขบวนตะขาบ และ ขบวนหนุ่ม สาวที่แ ต่ ง กายด้ ว ยชุ ด รามั ญ ร่ ว มแห่ ไ ปตามถนน นครเขื่อนขันธ์ สร้างสีสันและความครื้นเครงให้ผู้ท่ีมาร่วมงาน ถือเป็นภาพวัฒนธรรมอันสะท้อนความเชื่อทีด่ งี าม และดำ�รงซึง่ ความภาคภูมใิ จในชาติพนั ธุข์ องตนเอง..
มิถุนายน 2557 / June 2014
ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ จะจัดขึ้นในวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี ณ อำ�เภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ............................................................................................................. Swan and Centipede Banner Procession is held on April 13th of every year at Phra Pradaeng District in Samut Prakan Province.
“Centipede Banner” has religious importance to Mons. In real life, centipedes hatch many babies and mother centipedes are poisonous in order to protect her babies. Should the king rule the country like the centipede, the country will be flourishing. Dharma riddles represented in all organs or centipede : 2 antennas represent mindfulness and consciousness; 2 fangs for moral shame and moral fear; 2 eyes for 2 types of rare persons i.e. benefactor and grateful persons; 2 tails for patience and gentleness; 22 sections for the Four Foundations of Mindfulness, The Five Spiritual Faculties, The Four Supreme Efforts, The Five Strengths and The Four Paths of Accomplishment. Thus, the centipede banner represents Lord Buddha’s principle teachings that Buddhists should observe. The Swan and Centipede Banner Procession in
หางธงตะขาบ ในสมัยก่อนหญิงสาวชาวมอญ จะสละเส้ น ผมที่ ต นเองรั ก ษาไว้ ต ลอดทั้ ง ปี คนละไม่มากนัก ตัดเพื่อ ถวายเป็นพุทธบูชา และระลึกถึงคุณงามความดีขององค์พระสัมมา สัมพุทธเจ้า แต่ในปัจจุบันธรรมเนียมนี้ ได้เลือน หายไป จึงต้องนำ�เชือกมาใช้แทน .................................................................................. The old days, each Mon women would donate a small amount of her hair that she kept nourishing for a year as a small offering attached to the tail of the centipede banner. It was considered as a gesture to honor Lord Buddha’s virtues. However, nowadays this tradition has vanished. They use string instead.
Thailand originated in Samut Prakan. Phra Pradaeng residents organize this event every year on the Songkran Day, April 13th, every year to pay homage to Lord Buddha’s doctrine including his descending from the Tavatimsa Heaven. The Mons or Ramans from 10 villages in Phra Pradaeng will take turn to chair the organizing committee. In the procession, there will be a convoy of Swan Beauty Queen, Centipede Banner procession and young people, boys and girls, in Mon costumes will join the procession along the Nakhon Khuen Khan Road. It is a colorful and joyful event reflecting virtuous belief and the pride in their ethnic culture.
35
36 Cultural Trails on the Gulf of Thailand เ ส้ น ส า ย วั ฒ น ธ ร ร ม ป า ก อ่ า ว ไ ท ย
ตัประเพณี กบาตรน้ � ำ ผึ ง ้ ดั้งเดิมชาวรามัญ..สร้างบุญเสริมลาภ
ส
มัยนี้อาจจะนึกไม่ออกว่าน้ำ�ผึ้งนั้นมีประโยชน์ต่อพระสงฆ์ ได้ อย่างไร แต่สมัยโบราณน้ำ�ผึ้งกลับมีคุณประโยชน์นานัปการ เพราะเป็นส่วนผสมที่สำ�คัญของยาต่างๆ หรือไม่น้ำ�ผึ้งก็เป็นยา ด้วยตัวของมันเอง ในสมัยก่อนพระที่ต้องออกไปปฏิบัติธรรมตาม ที่ต่างๆ จำ�เป็นจะต้องนำ�น้ำ�ผึ้งติดตัวไปด้วย เพื่อรักษาเมื่อถึง เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย วันขึ้น 15 ค่ำ� เดือน 10 จะมีประเพณีการตักบาตร น้�ำ ผึง้ สืบทอดกันมาช้านาน เป็นประเพณีหนึง่ ของชาวบ้านทีแ่ สดง ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และที่สำ�คัญคือความศรัทธาใน พระสีวลี การถวายน้�ำ ผึง้ หรือประเพณีตกั บาตรน้�ำ ผึง้ ของชาวมอญ
ก็ เ ป็ น ความเชื่ อ ที่ มี ผ ลพวงมาจากการที่ ช าวมอญนั้ น มี ค วาม เคารพศรัทธาในพระสีวลี การที่ ช าวมอญได้ ถ วายน้ำ � ผึ้ ง แด่ พระภิ ก ษุ สงฆ์ ตามแบบ อย่างทีพ่ ระสีวลีเคยทำ�ในชาติกอ่ นทีจ่ ะเป็นพระอรหันต์ ในปัจฉิมชาติ ทีไ่ ด้เป็นเอตทัคคะทางด้านการมีลาภมากนัน้ ก็เป็นเพราะว่า ชาวมอญ เชื่อว่าการถวายน้�ำ ผึง้ จะเป็นทางทีท่ �ำ ให้ผทู้ ถ่ี วายมีโชคมีลาภเหมือน กับพระสีวลี หากไม่สมหวังในชาติน ้ี ในชาติหน้านัน้ ก็คงจะได้อย่าง แน่นอน ซึง่ ชาวมอญเชื่อกันว่าการถวายน้�ำ ผึง้ ของพระสีวลีในชาติ ก่อนนั้นมีผลทำ�ให้ท่านได้เป็นเอตทัคคะทางด้านการมีลาภ ดังนัน้ หากว่าผู้ ใดอยากจะมีลาภเหมือนกับพระสีวลีกค็ วรจะถวายน้�ำ ผึง้
มิถุนายน 2557 / June 2014
37
น้ำ�ผึ้ง สรรพคุณ รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ บรรเทาอาการท้องเสียรุนแรง รักษาโรคผิวหนัง จากเชื้อรา และเป็นส่วนผสมของยาชนิดต่างๆ ............................................................................... Honey Property - heals bloating, diarrhea, skin fungus, and used as a mixture in many medicinal recipes
Honey Alms Offering
Authentic Raman Tradition for merit and fortune A
t present we may not realize how honey is beneficial to the monks. In the old days, honey was a very useful ingredient as by itself it has healing property and was used as a mixture in many medicinal recipes. Thus, monks wandering to practice and preach dharma usually took with them some honey in case of getting ills. The honey alms offering has long been a tradition held on the full moon date of the 10th month in lunar calendar. It is a tradition that villagers demonstrate their faith in Buddhism particularly their faith in Phra Sivali, a Buddhist patron saint of good fortune, who in his previous life before becoming a saint made honey offerings. The Mons believe that making honey alms offering is a means to have good fortune same as Phra Sivali, if not successful in this life, they will achieve in their next life. Mon descendants believe that by making honey offerings
of Phra Sivali in his life before his last resulted in making him the patron saint of good fortune. Therefore, anybody who is looking for good fortune should make honey alms offerings.
38 Cultural Trails on the Gulf of Thailand เ ส้ น ส า ย วั ฒ น ธ ร ร ม ป า ก อ่ า ว ไ ท ย
มิถุนายน 2557 / June 2014
สะบ้ า บ่ อ น ประเพณีเชื่อมสัมพันธ์ หนุ่ม-สาว ชาวมอญ
อ
ดีตหนุ่มสาวชาวมอญไม่มีโอกาสได้พบปะใกล้ชิดในสถานที่ สาธารณะอย่างเช่นในปัจจุบัน ส่วนใหญ่พบกันได้ โดยการ แนะนำ�จากผู้ ใหญ่ หรือพบกันตามวัดในเทศกาลต่างๆ อย่างเช่น เทศกาลสงกรานต์จะเป็นช่วงที่หนุ่มสาวชาวไทยรามัญต่างออกมา เล่นสะบ้า เพื่อโอกาสที่จะได้ ใกล้ชิดเชื่อมสัมพันธ์ ไมตรีต่อกันทั้ง ชายและหญิง ผ่านการละเล่นสะบ้า หรือที่ชาวไทยรามัญเรียกว่า “ว่อนฮะนิ” เมื่อได้พูดจาตกลงกันเรียบร้อยแล้ว ฝ่ายหญิงซึ่งมีหัวหน้าที่ เรียกว่านายบ่อน (เป็นผู้หญิง) จะเรียกหญิงสาวเข้ามานั่งที่ตาม ลำ�ดับ ฝ่ายหญิงสาวจะเป็นฝ่ายตั้งลูกสะบ้าก่อน หลังจากนั้นหญิง สาวหัวหน้าบ่อนก็จะร้องให้ฝ่ายชายเข้าประจำ�ที่ โดยนั่งคนละฝั่ง กับทางฝ่ายหญิงตรงกันเป็นคู่ๆ เมื่อครบคู่เรียบร้อยแล้วก็เริ่มลงมือ เล่นสะบ้าตามระเบียบกติกา ซึ่งฝ่ายหญิงเป็นผู้วางไว้ โดยฝ่ายชาย จะยิงดีดลูกสะบ้าของฝ่ายหญิงสาวคู่ของตน โดยฝ่ายชายเป็นผู้ขอ ด้วยวาจาที่สุภาพ และต้องนั่งพับเพียบลงในบ่อนในขณะที่ขอด้วย การกล่าววาจาขอมักจะใช้ภาษามอญคือ “อีกุกะหยาดอัดมัว เล่นปลอนระกะหยาด” มีความหมายว่า “พี่สาวจ๋าขอเล่นสักครั้ง เถิดครับ” การขอร้องนี้เป็นวิธีที่จะได้ โอกาสพูดจากับหญิงสาวนานๆ ระหว่างที่เล่นสะบ้าทั้งสองฝ่ายมักระมัดระวังรักษามารยาทไม่พูดจา หรือแสดงกิริยาที่ไม่สมควร เพราะมีสายตาเป็นร้อยๆ คู่เฝ้าจ้องอยู่ โดยเฉพาะผู้เล่นฝ่ายชายมักอยู่ ในสายตาผู้ ใหญ่ เมื่อการละเล่น ดำ�เนินจนเสร็จ หนุ่มผู้เป็นหัวหน้าทีมฝ่ายชายก็จะกล่าวคำ�อำ�ลาฝ่าย หญิงด้วยคำ�พูดว่า “อีกกะหยาดอัวเดิด” หรือ “ปุยเดิดกะเลาะกลา ระกะหยาด” แปลว่า “พี่สาวจ๋าผมขอลาและขออภัยหากมีการล่วง เกินนะขอรับ” วัฒนธรรมการละเล่นสะบ้าในอดีตของชาวมอญจะนิยมเล่นที่ ใต้ถุนบ้าน หญิงสาวจะแต่งกายเรียบร้อยสวยงามอยู่ประจำ�ที่บ่อน ฝ่ายชายเป็นหนุม่ จากหมูบ่ า้ นมอญอื่น จะนุง่ ผ้าลอยชาย โดยมีผู้ ใหญ่ แอบมองอยูท่ บ่ี นบ้านเพื่อโอกาสพิจารณารูปลักษณ์และอุปนิสยั ใจคอ ของหนุ่มที่มาเล่นสะบ้าบ่อน
ปัจจุบันการเล่นสะบ้าบ่อนเป็นการดำ�รงเอกลักษณ์ของ ชาวมอญ และเป็นการแสดงความภูมใิ จในชาติพนั ธุม์ อญ ............................................................................................... At present, the game of Saba is preserved to maintain Mon identity and is a pride of Mon ethnic as well.
ลูกสะบ้าจะกลึงเป็นลูกกลมแบนเรียบ ทำ�ด้วยเขาสัตว์ เช่น เขาวัว เขาควาย หรือ เงิน ทองเหลือง และไม้เนื้อแข็ง
.........................................................................................
Saba chips are made from buffalo or cow horns, silver, brass or hardwoods turned on the lathe until smooth.
39
40 Cultural Trails on the Gulf of Thailand เ ส้ น ส า ย วั ฒ น ธ ร ร ม ป า ก อ่ า ว ไ ท ย
Saba Bonding
Tradition for
Young People
I
n the past, young people did not have the privilege to meet in public such as nowadays. They could meet by introductions of elderly or at the temples during the festivals such as Songkran when young Mons will enjoy the game of “Saba” and have the opportunity to meet each other. The Mons calls this game “wonhani”. After agreeing on the game, the leader of the girl team will call all the girls to their seats. The girl will first put the chip (Look Saba) then the leader will call the boy team to their seats on the opposite side. When paring is done the game will start according to the rules of the game. The boy will pitch the chip of the girl sitting opposite him by requesting politely while sitting on the floor. The traditional verse requesting permission to play in Mon dialect is “E gukayad udmoulen plonrakayad” literally means “Sister, may I start the game”. This is an opportunity to chat with the girl. During the game, both sides must maintain their good behaviors and manners. They should not talk or make any impolite gesture because there are hundreds of onlookers. When the game comes to the end, the leader of the boy team will say farewell “Ek kayad uaderd” or “Puiderd kaloh glarakayad” means “Sister, may I say goodbye and should there be any offences, please forgive us.” In the past, the Mon people organized the Saba game on the open space under the elevated house. The girls would dress up beautifully stationed in the area. The boys coming from other villages would dress in mid-calf sarong style. The elderly will watch the game from the upper level in order to scrutinize the boy’s appearances and behaviors.
มิถุนายน 2557 / June 2014
41
นอกจากนี้ยังมีสะบ้าทอย เป็นกีฬาของหนุ่มชาวมอญ การละเล่ น นี้ นิ ย มเล่ น กั น ในกลุ่ ม ชายฉกรรจ์ ที่ มี พ ละ กำ � ลั ง ร่ า งกายแข็ ง แรง ถื อ เป็ น การออกกำ � ลั ง กาย และพั ก ผ่ อ นหลั ง จากสิ้ น ฤดู ก าลเก็ บ เกี่ ย ว และยั ง เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนมอญในแต่ละหมู่บ้าน อีกด้วย
........................................................................................
Moreover, there is another type of Saba game called Saba Toi which is the game for strong young men. It is a kind of physical exercise and leisure after the harvesting season and also to bond relationships with Mon people from other villages.
Cr. Photo by : http://sudthapoch.imeida.in.th
Trails on the Gulf of Thailand 42 Cultural เ ส้ น ส า ย วั ฒ น ธ ร ร ม ป า ก อ่ า ว ไ ท ย
บวชแบบมอญ เ
มื่ออายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ ผู้ชายทุกคนจะมีประเพณีที่ต้องทำ�คือ การบวช ถือว่าเป็นการอบรมบ่มนิสัยให้ดีมีศีลธรรม และเป็นการ ตอบแทนบุ ญ คุ ณ ของบิ ด ามารดาผู้ ให้ กำ � เนิ ด ดั ง นั้ น การบวชจึ ง ถือว่าเป็นประเพณีที่จำ�เป็นสำ�หรับลูกผู้ชายทุกคน การบวชของชาวมอญพระประแดง มีความคล้ายคลึงกับชาวไทย โดยทั่วไป จะแปลกหรือแตกต่างก็คือ จะต้องแต่งกายที่สวยงาม นุ่งผ้า ยกเหมือนกับลิเก คาดเข็มขัดทองหรือเข็มขัดนาก ใส่สร้อยทอง สร้อยข้อมือ สไบผ้าจีบ แต่งหน้าทัดดอกไม้มีพวงอุบะเล็กๆ แต่ถ้า เป็นชาวมอญแถวปากเกร็ด จะแตกต่างก็ตรงที่จะสวมชฎาเพราะ
เอกลักษณ์การแต่งกาย ของชาวมอญ ในพิธี อุปสมบท Mon style dress up for the ordination.
Cr. Photo by : http://topicstock.pantip.com/camera/topicstock
เอกลักษณ์ดั้งเดิม มอญปากลัด
มิถุนายน 2557 / June 2014
43
Ordination Mon Style Authenthic identity of Paklad Mon I
พิธีขอขมาญาติผู้ ใหญ่ที่เคารพนับถือ ก่อนลาอุปสมบท Request for forgiveness from elderly.
เปรี ย บดั่ ง เทวดา ที่ ทำ � เช่ น นั้ น ก็ เ พื่ อ เป็ น การระลึ ก ถึ ง เมื่ อ ครั้งที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จออกผนวช พระองค์ ทรงสละเครื่องทรงอันประกอบไปด้วย แก้วแหวนเงินทอง ตลอดจน ของมีค่าต่างๆ คืนพระราชวัง ชาวมอญมีความเชื่อว่าเพื่อเป็นการ ย้ำ�เตือน เมื่อได้ออกบวชแล้วจะต้องสละของมีค่าทั้งหมด อันเป็น กิเลสนั่นเอง ในวันสุกดิบ (ก่อนวันบวช) ในช่วงบ่ายนาคจะอาบน้ำ� ทาขมิ้น และแต่งกายสวยงาม ออกไปขอขมาญาติผู้ ใหญ่ ที่เคารพนับถือ หลังจากนัน้ ในตอนเย็นจะกลับมาทีบ่ า้ นเพื่อมาฟังพระเทศน์ธรรมะ สอนนาคก่อนที่จะบวชในวันรุ่งขึ้น เมื่อถึงวันบวชนาคจะแต่งกาย สวยงามเหมือนวันสุกดิบ และแห่ไปรอบตลาดพระประแดงเพื่อ สักการะ ศาลเจ้าพ่อลัดโพธิ์ ศาลหลักเมือง และศาลเจ้าพ่อทีน่ บั ถือ เมื่อเข้าสู่วัดจะแห่เวียนรอบอุโบสถ ครบ 3 รอบ หลังจากนั้นถึง มีการโกนผมนาคและสวมชุดนาคสีขาว พร้อมเข้าโบสถ์เป็นการ เสร็จสิ้นการอุปสมบทแบบมอญ
t has long been the custom since the old days that when a man reaches 20 years old, he should be ordained in order to become a moral person and at the same time to make merit showing gratitude to his parents who gave birth to him. The ordination ceremony is similar to that of the Thais. The difference is in the costumes of the ordination candidate. Mon style, the candidate will wear brocade, gold or alloy of gold, silver and brass belt, bracelets, pleated sash. He will wear cosmetics, a small garland hanging behind his. For Mons in Pakkred or in Ratchaburi, the ordination candidate will also wear pointed headdress. Such an elaborate dressing serves as a reminiscent of Prince Siddhartha when he ran away from the palace in search of the ultimate truth leaving behind his worldly belongings. The Mons believes that valuables are causes of impurities that should be abandoned before entering monkhood. In the afternoon before the ordination day, the ordination candidate will take a bath with turmeric infused water and then dress up beautifully before going out to visit elderly to request their forgiveness for any sins he unintentionally committed. In the evening, he will return home to attend the dharma preaching by the monk before being ordained in the morning. On the ordination day, the candidate will also dress beautifully, same as in the day before, going on procession around Phra Pradaeng central market, paying homage to Lat Pho Shrine, City Pillar Shrine and his other revered shrines. Upon arriving at the temple, the procession will go around the main chapel for 3 rounds after which there will be the head shaving ceremony and the candidate will don white robe ready for the ordination in the main chapel.
การบวชแบบมอญพระประแดงแบบดัง้ เดิม จะต้องมีการแห่นาครอบตลาด โดยการขึ้นแคร่ไม้ หรือขี่บนม้าตามแต่ฐานะ ก็เพราะว่าให้ชาวบ้านได้ เห็นว่าใครบวชและได้ร่วมอนุโมทนาบุญ แต่อีกนัยก็คือ นาคคนไหนไป ติดหนี้สินหรือผิดลูกผิดเมียคนอื่น ก็จะถูกทักท้วงจากชาวบ้านให้ต้อง ใช้หนี้สินหรือบางคนอาจจะไม่ได้บวช ก็เพื่อเป็นการชำ�ระล้างความ บริสุทธิ์ของนาคก่อนที่จะได้ถือครองสมณะเพศในพระพุทธศาสนา ........................................................................................................................
พ่อแม่และญาติผู้ ใหญ่ร่วมกันโกนผมนาค Parents and elder relatives joining in head shaving ceremony.
In traditional ordination of Mon in Phra Pradaeng, the ordination candidate will be carried around the market on wooden palanquin or horseback up to his financial standing. The villagers will be able to recognize the candidate and say amen to his virtuous decision. Another reason is that if the candidate is in debt or has an adultery issue, villagers will protest him to clear his debt first. In some case, he cannot be ordained. It is an implication for the candidate to be thoroughly free from impurities before ordaining as a monk in Buddhism.
Trails on the Gulf of Thailand 44 Cultural เ ส้ น ส า ย วั ฒ น ธ ร ร ม ป า ก อ่ า ว ไ ท ย
ประเพณีค้ำ�ต้นโพธิ์ ป
Cr. Photo by : chm-onep.go.th
Cr. Photo by : library.com.ac.th
ระเพณีการค้ำ�ต้นโพธิ์ ภาษามอญเรียกว่า “ประเว นอย ท๊อค นอมซั่ว” เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและ เกี่ยวเนื่องกับสงกรานต์ เป็นการสะเดาะเคราะห์ตามโหราศาสตร์ มอญ ทำ�นายว่าคนใดที่เกิดในวันที่ 14 เมษายน ของปีนั้น ถือว่า เป็นคนดวงไม่ดี เพราะโบราณถือว่าวันที่ 13 เมษายน เป็นวันสิ้นปี วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา หรือวันเน่า จะปีเก่าก็ ไม่ใช่ ปีใหม่ ก็ ไม่ใช่ ส่วนวันที่ 15 เมษายนถือเป็นวันเถลิงศกใหม่ หรือวันขึ้น ปีใหม่ของชาวมอญ คนที่เกิดในวันที่ 14 เมษายนจะต้องสะเดาะเคราะห์ โดย การนำ�ไม้ที่ตรงและมีง่ามที่ปลายไม้ ลอกเปลือกออกทาขมิ้นให้ เหลืองแล้วนำ�ไปค้ำ�ต้นโพธิ์ เหตุเหมือนกับการค้ำ�จุนพระพุทธ
Cr. Photo by : abird http://www.bloggang.com/
“สะเดาะเคราะห์ เสริมดวง”
ศาสนา เพราะคนมอญถือว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ใต้ตน้ โพธิ์ แต่ ถ้าวัดที่ใกล้บา้ นไม่มตี น้ โพธิใ์ ห้ท�ำ อะไรก็ ได้ทเ่ี ป็นสาธารณกุศล แทน เช่น กวาดวัด สร้างถนน ขุดลอกคลอง ก็จะทำ�ให้หมด เคราะห์และชีวิตยืนยาว ที่สำ�คัญทำ�ให้ทุกคนได้มีโอกาส ซ่อมแซมสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์อีกด้วย ประเพณีนี้ ไม่ใช่เป็นที่นิยมแต่เฉพาะคนมอญเท่านั้น ชาวไทยในหลายๆ จังหวัดก็มีความเชื่อแบบนี้เช่นกันและถือ ปฏิบัติกันมา จะต่างกันที่คนไทยเชื่อว่า เมื่อคนป่วยมีอาการ นอนไม่หลับ ผอมเหลือง ทำ�งานไม่ได้ ปวดหัวตัวร้อนตลอด เวลา จะต้องประกอบพิธคี �ำ้ ต้นโพธิห์ รือต้นไทร โดยใช้ไม้คณ ู ไม้ยอ ยาวประมาณ 1-2 วา เมื่อถึงวันพระ 15 ค่ำ� นำ�ดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู บุหรี่ ข้าวตอก นำ�ผู้ป่วยไปประกอบพิธี นิมนต์เจ้าอาวาส พร้อมพระลูกวัด 4 รูป ร่วมพิธีรับศีล สวดชุมนุมเทวดา ประกาศรุกขเทวดารักษาต้นโพธิ์ ต้นไทร ขอให้อาการป่วย บรรเทาต่ออายุให้ยืนยาว แล้วนำ�ไม้เสานั้นค้ำ�โพธิ์ ค้ำ�ไทร พระสงฆ์สวดอนุโมทนา ผู้ป่วยกรวดน้ำ� หลังจากนั้นเชื่อว่า อาการป่วยจะทุเลาเบาบางและหายเป็นปกติในเร็ววัน
มิถุนายน 2557 / June 2014
45
Supporting Bodhi Tree
To Avert Misfortune and to Enhance Good Luck upporting Bodhi Tree in Mon dialect is “Prawey noi torknomsua” is another tradition relating to Buddhism and Songkran festival. According to Mon astrology, those who were born on April 14 would face bad luck because it has long been believed that April 13 is considered the last day of the year, April 14 is called “Wan Nao” which is not yet New Year as New Year falls on April 15. Thus, April 14 is neither in old year or New Year. Those who were born on April 14 should perform the misfortune averting gesture by carrying a long straight pole with forks at the tip that has been cleansed and bathed with turmeric juice to support Bodhi Tree. The meaning behind is to support the Buddhism because Lord Buddha enlightened under the Bodhi Tree But, if the temples in the community do not have Bodhi Tree, they can do public services instead such as sweeping the temple ground, road or dredging the canals, etc. They believe such an action will avert their misfortunes and extend their lives. Another
benefit is that it is an opportunity to do repair works for the public as well. Thai people in many provinces share the same belief and have long been practicing. The difference is that the Thai people believe that if a patient has insomnia, becoming thin with yellowish skin, cannot work and has fever at all time, he should perform supporting ceremony by using 2-4 meters long stick from golden shower tree or Indian mulberry to support the Bodhi Tree or Banyan Tree. When it is the full moon Buddhist Sabbath, the patient should go to the temple bringing flowers, incenses, candles, betel nuts, cigarettes and popped rice as an offering to tree spirits requesting the abbot and other 4 monks to chant prayers for the tree spirits to ward off illness and extend the patient’s life. Finally, the stick will be propped up against the Bodhi or Banyan Tree. It is believed that the illness will mitigate and the patient could get well quickly.
Cr. Photo by : A man of smail
S
Trails on the Gulf of Thailand 46 Cultural เ ส้ น ส า ย วั ฒ น ธ ร ร ม ป า ก อ่ า ว ไ ท ย
“ประเวนอย เปิง โทก” ถวายสลากภัต ทำ�บุญถวายทาน ประเพณีดีงามชาวรามัญ
ก
ารทำ�บุญถวายสลากภัต เป็นการทำ�บุญสังฆทานอย่างหนึ่ง เป็นการทำ�บุญที่ ไม่ เฉพาะเจาะจงพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เป็นการทำ�บุญช่วงท้ายสงกรานต์ ราวเดือน พฤษภาคม ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูร้อน เป็นฤดูของผลไม้ต่างๆ เช่น มะม่วง ทุเรียน มังคุด เงาะ ขนุน ฯลฯ ทีช่ าวบ้านจะนำ�มาปรุงอาหารถวาย ในสมั ย ก่ อ นชาวมอญมั ก จะนำ � ไปถวายพระตามวั ด ในหมู่ บ้ า น แต่ ใ นปั จ จุ บั น มัคนายก หรือเจ้าหน้าที่วัดจะออกไปถามชาวบ้านว่าผู้ ใดจะร่วมทำ�บุญถวายสลากภัต ก็จะจดชื่อเพื่อที่จะได้นิมนต์พระมารับสังฆทานเท่ากับจำ�นวนผู้เป็นเจ้าภาพ โดยทางวัดจะ ได้เตรียมทีส่ �ำ หรับพระ และมีหมายเลขกำ�กับรูปที่ 1 ไปจนครบตามจำ�นวนเจ้าภาพ แต่ละบ้าน จะพิถีพิถันนำ�ภาชนะที่ดีและสวยงามมาโชว์ ประกอบด้วยสำ�รับกับข้าว สำ�รับของหวาน เครื่องไทยธรรมและจตุปจั จัยเป็นค่าพาหนะ เจ้าหน้าทีว่ ดั จะให้เจ้าภาพจับสลากหมายเลข เมื่อได้หมายเลขใดก็นำ�สำ�รับไปวางให้ตรงหมายเลขนั้น เพื่อป้องกันความสับสน เมื่อ พระสงฆ์ลงสู่ศาลามัคนายกจะเชิญชวนเจ้าภาพกล่าวคำ�บูชาพระรัตนตรัย สมาทานศีล หลังจากนัน้ เจ้าภาพจึงยกสำ�รับอาหารคาว หวาน เครื่องไทยธรรม พร้อมกล่าวคำ�ถวาย สลากภัต เป็นอันเสร็จสิ้นพิธี หลั ง จากพระได้ ฉัน อาหารและลงจากศาลาแล้ ว จะมี พิธีส รงน้ำ� พระ ทางวั ด ได้จัดเตรียมห้องกว้าง-ยาว ประมาณ 3-4 เมตร กั้นเป็นห้องโดยใช้ทางมะพร้าวหรือผ้า มีรางน้�ำ ออกมานอกห้องยาวประมาณ 7-8 เมตร เพื่อให้ชาวบ้านเทน้�ำ ลงในราง ชาวบ้าน ที่ถวายสลากภัต ก็จะลงไปคอยพระสงฆ์เปลี่ยนชุดสรงน้ำ� ทางวัดจะเตรียมโอ่งหรือตุม่ และใส่น�ำ้ แข็งก้อนใหญ่ให้มคี วามเย็น เพราะอากาศร้อน ชาวบ้านผู้ชายช่วยขัดถูสบู่ให้พระ สงฆ์ และหยอกล้อกับพระโดยบอกชาวบ้านด้านนอกว่า “เท เท เทมากหน่อยพระหนุ่ม” หรือไม่หนุม่ ก็จะบอกว่าหนุม่ หรือจะพูดเป็นภาษามอญว่า “โจว โจว โจวแหละ จาดปล่าย” เป็นที่สนุกสนานกันถ้วนหน้า จนหมดทุกรูปเป็นอันเสร็จพิธี
สลากภัต เป็นศัพท์ ในพระวินยั ปิฎก เป็น
ชื่อเรียกวิธีถวายทานแก่พระสงฆ์วิธีหนึ่ง เช่นเดียวกับการถวายสังฆทาน โดยการ จับสลากเพื่อแจกภัตตาหารหรือปัจจัยวัตถุ ที่ได้รบั จากผูศ้ รัทธาถวาย เพื่ออนุเคราะห์ แก่ ผู้ ศ รั ท ธาที่ มี ปั จ จั ย วั ต ถุ จำ � กั ด และไม่ สามารถถวายแก่พระสงฆ์ทั้งหมดได้ ..................................................................... Slakpat is a vocabulary in the Buddhist Book of Discipline defining a means of merit making by ticket drawing to offer foods or other offerings. It was designed for devout Buddhists who do not have enough offerings for all monks.
มิถุนายน 2557 / June 2014
47
S
Paweynoy
Perng Toke
Slakpat (merit making by presenting foods to Buddhist monks on ticket drawing) Mon Classical Tradition
lakpat merit making is a kind of offerings that does not specify to any particular monk. It takes place during the end of Songkran festival around May or the 7th lunar month which is in summer time. It is the season of fruits such as mango, durian, mangosteen, rambutan, jackfruit, etc. In the past, villagers always brought the offerings to the temples in their villages. However, at present lay leader of the temple or staff will visit villagers checking if they are interested in hosting a Slakpat offering. Number of monks invited to the offerings will be the same as the number of interested villagers. Temple staff will arrange the seating for the monks and place the number for each monk to the same number of interested villagers. Each household will bring out their best chinaware for the foods prepared for the Slakpat Offering comprising savories, desserts, daily requisites and money for travelling cost. Each household will have to draw a ticket and offer their Slakpat to the monk sitting at the same number. The lay leader of the temple will invite all attendees to chant a prayer undertaking rule of morality after which the villagers will recite their announcement for the offerings. After the monks finish eating and leave. A bathing ceremony will begin. The temple staff will arrange a 3-4 meters room divided into small rooms by cloths or coconut leaves. A trough about 7-8 meters long will be placed to outside where villagers can pour water into the trough. After changing for bathing robes, monks will come to this room where big water jars filled with water and ice are ready then male villagers will help soaping the monks while chatting amicably. Villagers outside the room will pour water through the trough. Those male villagers inside will tell them to pour more water in Mon language “Jow jow jowlae jaad palai”. After all the monks are bathed, the rite is over.
ชาวมอญกำ�ลังร่วมกันตักน้�ำ ใส่รางเพื่อเป็นการสรงน้�ำ พระภายในวัดมอญ Mon descendants pouring water into the trough for the bathing ceremony in the temple.
48 Cultural Trails on the Gulf of Thailand เ ส้ น ส า ย วั ฒ น ธ ร ร ม ป า ก อ่ า ว ไ ท ย
“ประเว นอย กราดจ่างซัง” สรงน้ำ�เท้าพระ กิจกรรมวันออกพรรษา
เ
ทศกาลออกพรรษาของชาวรามัญอำ�เภอพระประแดง อี ก หนึ่ ง ประเพณีที่จะกระทำ�กันในทุกปี คือ “สรงน้ำ�เท้าพระ” ชาวบ้านจะจัด เตรียมภัตตาหารไปทำ�บุญที่วัด 3 วัน ตั้งแต่วันขึ้น 14-15 ค่ำ� และ แรม 1 ค่ำ� ในตอนเช้าตรู่ของทั้ง 3 วัน เมื่อพระสงฆ์มาพร้อมกันที่ศาลาการเปรียญ เจ้าหน้าที่จะจุดธูป เทียน กล่าวคำ�บูชาพระรัตนตรัย สมาทานศีล หลังจากนั้นชาวบ้านจะ ร่วมกันใส่บาตร อาหารคาวหวาน และถวายภัตตาหาร เมื่อพระสงฆ์ฉัน ภัตตาหารเสร็จ ชาวบ้านจะถวายเครื่องไทยทาน และกรวดน้ำ�รับพร หลังจากนั้นพระสงฆ์จะเตรียมตัวลงสู่อุโบสถ เพื่อปวารณาออกพรรษา ชาวบ้านจะลงจากศาลาไปยังบริเวณหน้าพระอุโบสถนัง่ เป็นสองฝัง่ เว้นทางเดินไว้ตรงกลางสำ�หรับพระสงฆ์ บรรดาอุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลาย ผู้ร่วมทำ�บุญจึงนำ�น้ำ�อบหรือน้ำ�สะอาดรดที่เท้าพระสงฆ์ ใครมีดอกไม้ ธูป เทียน ถวายใส่ ในย่ามพระ เพื่อเป็นการบูชา พระรัตนตรัย สรงน้ำ�เท้าพระเป็นการทำ�บุญตามประเพณีของชาว รามัญพระประแดงที่ยังยึดถือสืบปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน
มิถุนายน 2557 / June 2014
49
“Praweynoy Kradjahngsung” Washing feet of the monks, Buddhist Lent Ending Day Activity
A
t the Buddhist Lent Ending Day Mon Phra Pradaeng have a unique tradition to perform every year. It is the washing of monks’ feet. Villagers will prepare food for offerings to the temple every morning for 3 days, on the 14th & 15th waxing moon dates and the 1st waning moon date of lunar calendar. Once the monks gather in the sermon hall, temple staff will light candles and joss sticks, chant worships for the Triple Gems, undertake to observe the precepts. Then villagers will make food offering to the monks. Once the monks finish eating, villagers will present consumer goods offerings and receive blessings from the monks. After which the monks will get ready for Buddhist Lent Ending Announcement Ritual in the main chapel. Villagers will leave the sermon hall to form two lines in front of the main chapel. The middle path will be left as the walkway for the monks. Villagers will pour scented water or clean water on the monk’s feet. Villagers who bring flowers, incense sticks and candles will put them in the bags of the monks. Washing monk’s feet is a traditional merit making continually observed by Phra Pradaeng Raman descendants until nowadays.
Trails on the Gulf of Thailand 50 Cultural เ ส้ น ส า ย วั ฒ น ธ ร ร ม ป า ก อ่ า ว ไ ท ย
เมรุปราสาท 9 ยอด ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระราชวิสารท (เจริญ ธมมจารีมหาเถระ) อดีตเจ้าอาวาสวัดทรงธรรมวรวิหาร 9 spires crematorium Prasart for the Royal Cremation of Phra Rachavisarth (Charoen Dharmajaree Mahathera) the late abbot of Wat Songdharma Voraviharn
พิธีกรรมงานศพ เอกลักษณ์เฉพาะถิ่นรามัญ พิ
ธีกรรมการทำ�ศพของชาวมอญนัน้ ถือว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น การฌาปนกิจพระสงฆ์ และงานศพของชาวบ้านทั่วไป จะมีขน้ั ตอน และประเพณีการประกอบพิธีท่แี ตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะโลงศพ พระมอญ หรือที่เรียกว่า ปราสาท ที่แสดงถึงยศฐานะของพระสงฆ์รูป นั้นได้เป็นอย่างดี ประเพณีการทำ�ศพพระมอญ ภาษามอญเรียกว่า “ประเว นอย หว่าน เฟะริจา๊ ด” คนมอญถือว่าพระสงฆ์เปรียบเสมือนตัวแทนของพระพุทธเจ้า ในเมื่อพระพุทธเจ้าทรงเป็นลูกกษัตริย์ ดังนั้นลูกพระตถาคตจึงถือเป็น ลูกกษัตริย์ด้วยเช่นกัน ชาวมอญจึงยึดถือปฏิบัติว่าเมื่อพระสงฆ์ถึงแก่ มรณภาพ ภาษามอญเรียกว่า “ริจ๊าดโป” บรรดาเด็กวัดและสามเณร จะตีระฆังใหญ่ช้าๆ ให้เสียงดังกังวาน เพื่อเป็นการแสดงให้ชาวบ้าน ได้รับรู้ว่ามีพระสงฆ์มรณภาพ ชาวบ้านจะรีบไปรวมตัวกันที่วัดช่วยกัน ปัดกวาดกุฏิ เสนาสนะ เพื่อเตรียมจัดสถานที่สำ�หรับจัดพิธรี ดน้�ำ ศพ ของท่านอย่างสมเกียรติ พระอาวุโสจะทำ�การปลงผมให้ทา่ น เสร็จแล้ว ช่วยกันนำ�น้ำ�อุ่นผสมขมิ้นทำ�ความสะอาดสรีระสังขารให้เรียบร้อย จัดเตรียมห่มจีวร พาดสังฆาฏิ ครบชุดแล้วจัดตัง้ ศพรอการสรงน้�ำ ศพ หลังจากเสร็จสิ้นพิธีสวดอภิธรรมศพและทำ�บุญอุทิศส่วนกุศล
ถวายแล้ว จะเก็บศพไว้ที่กุฏิของท่าน เพื่อรอการขอพระราชทานเพลิง ศพหรือทำ�การฌาปนกิจศพ การเผาศพของพระมอญจะมีเอกลักษณ์ อีกสิ่งหนึ่งก็คือ ปราสาท ถ้าพูดง่ายๆ ก็คือโลงศพนั่นเอง แต่ตัว ปราสาทนีจ้ ะมีหลายแบบทัง้ 9 ยอด 5 ยอด 1 ยอด ตามแต่ยศฐานะของ พระสงฆ์รูปนั้นๆ โดยจะเป็นปราสาทรูปทรงสวยงามตั้งตระหง่านรอ การฌาปนกิจอยู่กลางแจ้ง ส่วนทำ�ไมต้องเป็นปราสาทนั่นก็เพราะว่า คนมอญเปรียบพระสงฆ์คอื ตัวแทนของพระพุทธเจ้า ทรงเป็นลูกกษัตริย ์ ความหมายก็คอื เป็นการให้ความเคารพและให้เกียรติอย่างสูงสุดนัน่ เอง การทำ�ศพชาวมอญทัว่ ไป ถ้าบุคคลนัน้ มีอายุมากและเสียชีวติ ทีบ่ า้ น ชาวมอญส่วนใหญ่จะจัดงานศพที่บ้าน ทั้งการรดน้ำ�ศพ ทำ�แคร่ตั้งศพ (โจ่งแหนะ) ประดับประดาอย่างสวยงาม จะสวด 3 วัน 5 วัน 7 วัน ก็ได้ตามแต่ฐานะของแต่ละบ้าน ทีส่ �ำ คัญคนมอญจะไม่น�ำ โลงศพขึน้ บ้าน เวลาจะนำ�ศพไปวัดถึงจะนำ�โลงศพมารอที่บันไดบ้าน และมีลูกหลาน ของผูเ้ สียชีวติ จะเป็นคนนำ�ข้าวของเครื่องใช้ แก้วแหวนเงินทองเดินนำ� หน้าศพต่อจากพระจนถึงวัด บ้านใดมีฐานะหน่อยก็จะทำ�โลงมอญ อย่างสวยงาม แต่มฐี านะน้อยก็ท�ำ ได้อย่างสมเกียรติเหมือนกัน
มิถุนายน 2557 / June 2014
51
มอญร้องไห้
มอญร้องไห้ เป็นประเพณีของชาวรามัญ เป็นการร้องไห้เพื่อแสดงออกถึงความอาลัย รักของผู้ท่ีเสียชีวิต เป็นการร้องคร่ำ�ครวญ สะอึ ก สะอื้น รำ � พึ ง รำ � พั น ถึ ง คุ ณ งามความดี ของผูต้ ายด้วยเสียงทีเ่ ยือกเย็นวังเวง สะกด จิตใจผูม้ าร่วมงาน รูปแบบโลงมอญของชาวบ้านทั่วไป Coffin for lay men
ชาวมอญทัว่ ไปเมื่อเสียชีวติ ทีบ่ า้ นจะประกอบพิธีในบ้าน ของตัวเองโดยมีแคร่ตั้งศพ หรือที่เรียกว่าโจ่งแหนะ ที่ประดับประดาตกแต่งสวยงาม When a Mon dies at home, the funeral rite will take place at home by setting a bed for the deceased called “Jongnaeh’ which will be beautifully decorated
.......................................................................
Weeping Mon is a tradition of Raman people. It is to express the love and sorrow for the loss of the loved one. The weepers may not know the deceased before. They weep and bemoan the virtue of the deceased with serene and forlorn voice. The weepers must be impromptu poets because the lyrics are not fixed and should totally be in Mon language.
Funeral Rites Unique Raman Identity
M
on funeral rites are unique as the rites for monk are different from those of layman be it in procedures, processes and traditional funeral ritual operations particularly the coffin for Mon monk which is called Prasat visibly signifies the title and rank of the deceased monk. The traditional funeral rite of Mon monks in Mon language is “Praweynoy Whan Fehrijaad”. Mon people regard the monks as Lord Buddha’s representatives. Since Lord Buddha was a king’s son, thus, disciples of Lord Buddha are regarded as a king’s sons as well. Mon people have the tradition that once a monk passes away or in Mon language is “rijaadpoh”, a temple boy will chime a big bell slowly for resonant sound to announce the death of a monk. Villagers will rush to the temple, cleaning and preparing the venue for the final bathing rite. A senior monk will shave the head of the deceased monk after which giving him a bath with warm water mixed with turmeric and dress the corpse with full set of monk robes waiting for the official bathing rite. After completing the funeral liturgy and merit making, the corpse will be kept in his old living quarter awaiting the royal cremation or lay cremation. A unique identity of the cremation of
Mon monks is the Prasat or coffin which has diverse designs with 9, 5 or 1 spires according to the rank and title of the deceased monk. This Prasat will stand in the open space. Why it must be a Prasat? The answer is just that Mon people regard monks as Lord Buddha’s representatives and Lord Buddha was a king’s son, hence, monks as disciples are king’s sons too. Prasat means castle in English. It a way to honor and pay respect to the deceased monk. For ordinary people, if an elderly passed away at home, the funeral rites will be performed at their home be it bathing rite, bed for the deceased (Johgnae in Mon language) beautifully decorated. The chanting ceremony will be performed for 3, 5 or 7 days according to their financial status. The important point is that they will not take the coffin into the house. When it is time to move the deceased to the temple, the coffin will be brought to wait outside. The descendants will carry the deceased’s belongings and walking behind the ceremonial monks leading the corpse to the temple. Those who have good financial standing will make spectacular Mon style coffins. However, those less fortunate are also able to make noble funeral too.
52 Cultural Trails on the Gulf of Thailand เ ส้ น ส า ย วั ฒ น ธ ร ร ม ป า ก อ่ า ว ไ ท ย
มอญรำ�
นาฏศิลป์ชั้นสูงของชาวมอญ
ม
อญรำ� นาฏศิลป์ชั้นสูงของชาวมอญ มักแสดงในงานสำ�คัญๆ เช่น ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง รำ�หน้าศพ คนมอญเรียกการแสดงนี้ว่า “ปัว” แปลว่า มหรสพ “ฮะเปิ่น” แปลว่า ตะโพน ซึ่งแปลตรงๆ หมายถึงงานแสดงมหรสพที่อาศัยตะโพนเป็นหลัก ในการแสดงนั้นนัก ดนตรีและผู้รำ�จะต้องเข้าใจกัน โดยผู้รำ�จะต้องทิ้งมือให้ลงกับจังหวะของ ตะโพน ในงานราชพิ ธี สำ � คั ญ งานเฉลิ ม ฉลองของไทยนั บ จากอดี ต จน ปัจจุบันมักให้มีการแสดงมอญรำ�ด้วยทุกครั้ง เพราะถือว่าเป็นการแสดง ชั้นสูง ดังเช่นจารึกที่วัดปรมัยยิกาวาส ที่กล่าวถึงมหรสพในงานฉลอง สำ�คัญของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั โปรดฯ ให้จารึกไว้ ดังนี้ มหรสพ ครบเครื่องฟ้อน ประจำ�งาน โขนหุ่น ละครขาน พาทย์ฆ้อง มอญรำ� ระบำ�การ จำ�อวด เอิกเอย ครึกครื้น กึกปี่ก้อง จวบสิ้นการฉลอง สตรีมอญในอดีตจึงมักขวนขวายหาครูดเี พื่อขอถ่ายทอดวิชามอญรำ� มาไว้ติดตัว เพราะนอกจากการเป็นแม่บ้านแม่เรือน มีวิชาการครัว เย็บ ปักถักร้อยแล้ว การรำ�มอญยังเป็นวิชาหนึ่งซึ่งแสดงออกถึงความเป็น กุลสตรีมอญอย่างแท้จริง ด้วยลีลาอ่อนช้อยแลดูท่ารำ�ที่เรียบง่ายทว่า แฝงไปด้ ว ยความประณี ต ในการยั ก ย้ า ยร่ า ยรำ � เน้ น การใช้ ส ะโพก การพลิกพลิ้วของข้อมือ ทำ�ให้มอญรำ�ยังคงเปี่ยมเสน่ห์ เชิญผู้คนให้ หลงใหลอยู่เสมอ
Mon Rum
Mon Classical Dance M
on Rum is the classical dance of Mon ethnic that will be performed in important events such as welcoming state visitors, dance at the funeral rite, etc. In Mon language it is called “pouhapeun pou” which means entertainment. The word “hapeun” means two-faced drum striked with hands (in Thai called Tapone). Direct translation is the entertainment that uses tapone for the rhythms. In the dancing performance, musicians and dancers must be in harmony as the dancers must dance to the rhythms of tapone. In important royal ceremonies and celebrations in Thailand since the past until today, Mon Rum always is a part of the events because it is regarded as a classical dance. The inscription at Wat Paramaiyikawat which King Rama V ordered to inscribe about the entertainments for an important celebration in Rattanakosin is an evidence of the importance of Mon Rum. In the past, Mon girls sought for experienced teachers to teach them Mon Rum as another thing that virtuous women should know besides being a good housewife, cooking, sewing and embroidery. With elegant movements, simple but delicate dancing steps emphasizing the movements of hips and wrists make Mon Rum charming and fascinating.
มิถุนายน 2557 / June 2014
53
54 Cultural Trails on the Gulf of Thailand เ ส้ น ส า ย วั ฒ น ธ ร ร ม ป า ก อ่ า ว ไ ท ย
เครื่องดนตรีมอญ..อัตลักษณ์วัฒนธรรมชาวรามัญ
เ
มื่อพูดถึงวงดนตรีไทยที่เล่นตามงานมหรสพต่างๆ หลายคนคง สงสัยว่าทำ�ไมเครื่องดนตรีบางชนิดมีคำ�ว่า “มอญ” รวมอยู่ด้วย แท้จริงแล้วเครื่องดนตรีเหล่านัน้ เป็นของชนชาติมอญมาแต่ชา้ นาน ด้วยความที่ชาวมอญและคนไทยอยู่ร่วมกันมาแต่ครั้งอดีต ทำ�ให้ วัฒนธรรมการเล่นดนตรีผสมผสานกันอย่างลงตัว การเล่นดนตรีมอญ นอกจากจะมีชื่อ บทขับร้อง และ
ท่วงทำ�นองอันเป็นเอกลักษณ์แล้ว รูปลักษณ์ของเครื่องดนตรีก็ เป็นเอกลักษณ์หนึ่งซึ่งแสดงตัวตนได้อย่างชัดเจน เอกลักษณ์ดัง กล่าวของเครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้ถูกผนวกเข้ากับเครื่องดนตรีชนิด ต่างๆ ของไทยเช่น ระนาดเอก ระนาดทุม้ และฆ้องวงเล็ก สิง่ เหล่านี้ ได้ ก ลายเป็ น แบบแผนในการผสมวงปี่ พ าทย์ ม อญที่ ป รากฏใน ประเทศไทยที่เห็นในปัจจุบัน
55
Cr. Photo by : http://www.taradplaza.com
มิถุนายน 2557 / June 2014
Cr. Photo by : http://www.oknation.net/blog/pradit
ฆ้องมอญ ทำ�หน้าที่เดินทำ�นองเพลงเช่นเดียวกับฆ้องวงใหญ่ ของไทย ฆ้องมอญมี 2 ขนาดเหมือนกับฆ้องไทย คือฆ้องมอญ ใหญ่ และฆ้องมอญเล็ก
Khong Mon (set of tuned bossed gongs arranged in vertical curved frame) provides melody same as Thai Khong wongyai (lower tone gongs circle). Like Thai classical instruments, Khong Mon has two sizes Khong Mon Yai and Khong Mon Lek.
Mon Musical Instruments
A Cultural Identity
H การเล่นดนตรีมอญ วงปี่พาทย์ Mon musical ensemble
Cr. Photo by : www.ayu-culture.go.th
การเล่นดนตรีมอญ วงปี่พาทย์ Mon musical ensemble
Cr. Photo by : http://tkapp.tkpark.or.th
Cr. Photo by :http://youtu.be/ZHzwm-JEJNo
ave you ever wonder why in Thai classical music played on many occasions there is always a word “Mon” attached to some instruments? The answer is that originally those particular musical instruments were from the Mon culture. Since Mons and Thais have mingled for quite a very long time, the musical culture is therefore perfectly blended together. Mon music though has unique lyrics and tunes, the instruments are also unique. Those Mon unique identities were added to various Thai classical music instruments such as Ranat Ek (higher tone xylophone), Ranat Thum (lower tone xylophone) or Khong wonglek (higher tone gongs circle) which are visibly witnessed in Mon classical ensemble playing in Thailand nowadays.
56 Cultural Trails on the Gulf of Thailand เ ส้ น ส า ย วั ฒ น ธ ร ร ม ป า ก อ่ า ว ไ ท ย
เปิงมางคอก
เปิงมางคอก เป็นเครื่องดนตรีมอญชิ้นหนึ่ง มีลักษณะ เป็นกลองทีข่ นาดแตกต่างกัน 7 ลูกผูกเป็นราวอยูใ่ นชุดเดียวกัน ลูกเปิงมางมี 7 ขนาด ตั้งแต่ใหญ่ไปหาเล็ก ขึงด้วยหนัง 2 หน้า ขึ้นหน้าด้วยหนังเรียดโยงสายเร่งหนังหน้ากลองเป็นแนวยาว ตลอดหุ่นกลอง เวลาบรรเลงต้องติดข้าวสุกบดผสมขี้เถ้าตรง กลางก่อนลูกเปิงมางแต่ละใบจะมีห่วงไว้แขวน คอกเปิงมาง ทำ�เป็นรั้ว 3 ชิ้นติดต่อกัน โดยใช้ตะขอ หรือ สลัก มีตะขอแขวน ลูกเปิง เป็นระยะ รัว้ เป็นรูปโค้งเกือบรอบวงกลม มีทางให้คน เข้าไปบรรเลงตรงกลางคอก จากส่วนประกอบที่มีลูกเปิงมาง 7 ใบ และคอกใส่ลูก เปิงมาง 1 คอก จึงเรียกเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า เปิงมางคอก แต่เดิมเป็นเครื่องดนตรีของชาวมอญ เล่นในวงปี่พาทย์มอญ ภายหลังชาวไทยนิยมนำ�มาบรรเลง โดยมีการรับอิทธิพลนี้มา ตั้งแต่สมัยอยุธยา
Peongmang Khok (Mon drums set in cage-shaped frame)
Cr. Photo by : http://tkapp.tkpark.or.th
Peongmang Khok is a set of 7-double side drums in different sizes tied together and arranged from big to small sizes. Before start playing, the drummer must apply cooked rice mixed with ashes on each drum. Each drum has a ring for hanging to a 3-piece frame which is linked by hooks and hooks on the rim to hang the drums. The frame is almost a circle with an open for drummer to sit in the middle. It is called Peongmang Khok because it has 7 Peongmang drums and the frame. Formerly it was an instrument in the Mon ensemble. Later, Thai classical music brought the instrument in as a part of its ensemble.
by hoto P . r C
th k.or. kpar t . p kap p://t : htt
ปี่มอญ Pi Mon
ปี่มอญ
“ให้เสียงทุ้มนุ่มนวล กังวาน” เป็นปี่สองท่อน รูปร่างลักษณะเหมือนปี่ไฉน แต่ใหญ่และยาวกว่า เลาปี่ทำ�ด้วยไม้หรืองา ลำ�โพงทำ�ด้วยโลหะ เนื่อง จากมีขนาดยาวกว่าปี่ไฉน จึงให้เสียงแตกต่างไป จากปี่ไฉน เข้าใจว่าไทยนำ�ปี่มอญเข้ามาใช้คราว เดียวกับเครื่องดนตรีมอญชิ้นอื่นๆ ใช้บรรเลงใน วงปี่พาทย์มอญ หรือสมัยก่อนเรียกว่า ปี่พาทย์ รามัญ
Pi Mon (Mon Oboe) “It gives smooth bass sound”. It is a two
parts oboe that is similar to the Thai version Pi Chanai but is bigger and longer. The body is made from wood or ivory, the wind part is made from metal. Since it is longer than Thai’s Pi Chanai, the sound produced is different. It is assumed that this instrument came into Thai classical music with the Mon ensemble.
เปิงมางคอก Peongmang Khok
ตะโพนมอญ
“ให้เสียงกระหึ่ม เป็นจังหวะหลักของวง” ตะโพน เป็น เครื่องดนตรีประเภทกลอง ตัวตะโพนเรียกว่า “หุ่น” ทำ�ด้วย ไม้เนื้อแข็ง ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนังสองหน้า ตรง กลางป่องและสอบไปทางหน้าทั้งสอง หน้าหนึ่งใหญ่เรียกว่า “หน้าเทิ่ง” หรือ “หน้าเท่ง” ปกติอยู่ด้านขวามือ อีกหน้าหนึ่ง เล็ก เรียกว่า “หน้ามัด” ใช้สายหนังเรียกว่า “หนังเรียด” โยง เร่งเสียงระหว่างหน้าทั้งสอง ตรงรอบขอบหนังขึ้นหน้าทั้ง สองข้าง ถักด้วยหนังตีเกลียวเป็นเส้นเล็กๆ เรียกว่า “ไส้ละมาน” สำ � หรั บ ใช้ ร้ อ ยหนั ง เรี ย ด โยงไปโดยรอบจนหุ้ ม ไม้ หุ่ น ไว้ หมด ตอนกลางหุ่นใช้หนังเรียดพันโดยรอบเรียกว่า “รัดอก” หัวตะโพนวางนอนอยู่บนเท้าที่ทำ�ด้วยไม้ ใช้ฝ่ามือซ้ายขวา ตีทั้งสองหน้า ตะโพนใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงปี่พาทย์ ทำ�หน้าที่ กำ�กับจังหวะหน้าทับต่างๆ ผู้ที่นับถือพระปรคนธรรพ ว่าเป็นครูใหญ่ทางดนตรี ได้ถือเอาตะโพนเป็นเครื่อง แทนพระปรคนธรรพในพิธีไหว้ครู และถือว่าตะโพนเป็น เครื่องควบคุมจังหวะที่สำ�คัญที่สุด ตะโพนมอญคล้าย ตะโพนไทยแต่ ใ หญ่ ก ว่ า และตรงกลางหุ่ น ป่ อ งน้ อ ยกว่ า มีเสียงดังกังวานลึกกว่าตะโพนไทย
57
Tapone Mon
(2-faced drum played by striking with the hands)
“It gives a reverberating sound and also the main rhythm for the ensemble.” Tapone is a kind of drum made from hard wood dug into hollow shape both ends are covered with cow hide. One end, normally on the right hand side, is bigger than the other called “Na Theng”. The smaller end is called “Na Mud”. There is a leather string linking both ends for sound boosting. Tapone is placed on a low stand and drummer will strike both ends with his hands. Tapone plays the major role in directing the rhythms. For those musicians who revere Phra Porakhondhum, the patriarch of Thai classical music, regard Tapone as the icon for Phra Porakhondhum in the ceremony to pay homage to the patriarch. Tapone is regarded as the most important rhythm directing instrument. Tapone Mon is similar to the Thai version only that it is larger, the middle part is less bulging and the resonance is deeper.
Cr. Photo by : http://tkapp.tkpark.or.th
Cr. Photo by : http://tkapp.tkpark.or.th
มิถุนายน 2557 / June 2014
ตะโพนมอญ Tapone Mon
58 Cultural Trails on the Gulf of Thailand เ ส้ น ส า ย วั ฒ น ธ ร ร ม ป า ก อ่ า ว ไ ท ย
Gong Mon
ฆ้องมอญ
ฆ้องมอญ เป็นฆ้องวงที่ตั้งโค้งขึ้นไปทั้งสองข้าง ไม่วาง ราบไปกับพื้นเหมือนกับฆ้องไทย วงฆ้องส่วนที่โค้งขึ้นไปนั้น แกะสลักเป็นลวดลายปิดทองประดับกระจกอย่างงดงาม ส่วนมากมักแกะเป็นรูปกินนร เรียกกันว่าหน้าพระ ตอน กลางโค้งแกะเป็นกระหนกใบเทศปิดทองประดับกระจกเช่นกัน มีเท้ารองตรงกลางเหมือนกับเท้าของระนาดเอก ฆ้องมอญ หนึ่งวง มีจำ�นวน 15 ลูก สำ�หรับใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ รามัญ หรือปี่พาทย์มอญ วงฆ้องมอญมีการแยกขนาดแบบ ไทย คือมีฆ้องมอญใหญ่ และฆ้องมอญเล็ก ฆ้องมอญ เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของมอญ เรียกว่า เป็นเครื่องดนตรีชิ้นครู เพราะสามารถใช้เทียบเสียงในการ ตั้งเสียงเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ ให้มรี ะดับเดียวกันและกลมกลืน ขณะบรรเลงร่วมกัน แม้ฆ้องจะมีอยู่ในวงดนตรีของ หลายชาติหลายภาษา ทว่ารูปแบบของฆ้องมอญ นั้ น มี เ อกลั ก ษณ์ เ ฉพาะตั ว ที่ โ ดดเด่ น ดั ง จะ เห็นได้ว่าแต่เดิมในการบรรเลงดนตรีปี่พาทย์ มอญนั้นจะตั้งฆ้องเอาไว้หลังสุด เพราะฆ้อง มีความสูงจะได้ ไม่บังเครื่องดนตรีและผู้เล่น คนอื่น แต่ในปัจจุบันกลับเปลี่ยนความนิยม ใหม่ นำ�ฆ้องมาวางข้างหน้ายิ่งมากยิ่งดี เพราะต้องการแสดงให้เห็นความอ่อนช้อย สวยงาม อย่างการแสดงลิเกในปัจจุบันจะ เห็ น ได้ ชั ด ที่ สุ ด มั ก นำ � ฆ้ อ งมอญขึ้ น ไปวาง บรรเลงในชั้นบน เต็มความกว้างของเวที ประดั บ ประดาขนนกยู ง เพิ่ ม ความสวยงาม นับเป็นจุดขายอีกอย่างหนึ่ง
ฆ้องไทย Gong Thai
ฆ้องมอญ Gong Mon
Cr. Photo by : http://tkapp.tkpark.or.th
Cr. Photo by : http://x.thaikids.com
Gong Mon is a set of circular gongs standing vertically unlike Thai version of Gong Wong (circular gongs) that stands on the floor. The curved frame is carved and gilded with gold leaves and color glass. The popular design for carving is the Kinnara figure (a mythical being half-human and half-bird). This part is called “Na Phra” (leading actor’s face). Gong Mon is always placed on a stand like Ranat Ek (higher tone Thai xylophone). A set of Gong Mon has 15 gongs. Gong Mon is classified into 2 categories similar to Thai version i.e. Gong Mon Yai or large set and Gong Mon Lek or small set. Gong Mon is an ancient Mon musical instrument that is regarded as the major instrument in tuning the sound of other instruments in the ensemble to be in harmony with each other. Even though gong has been in the musical ensemble of many nationalities, Gong Mon has an outstanding identity. In the past, because of its height it would be at the back of the band so that it would not obstruct other instruments and musicians. However, at present, in order to show its delicate designs Gong Mon will be placed at the front and the more the better. This trend is visible in Likay (folk theatrical performance) that Gong Mon are decorated with peacock feathers and placed on the upper level of the stage. It is a spectacular scene.
59
Cr. Photo by : http://www.oknation.net/blog/pradit
มิถุนายน 2557 / June 2014
วงปี่พาทย์มอญ
วงปี่พาทย์มอญ เป็นวงดนตรีที่นิยมเล่น ในงานมงคล และ อวมงคลทั่วไปแต่ภายหลังมีการนำ�วงปี่พาทย์มอญไปบรรเลงใน งานพระศพของสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระราชินี ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงดำ�ริว่ามารดา ของพระองค์นั้นเป็นเชื้อสายมอญโดยตรง จึงโปรดฯ ให้นำ�วง ปี่พาทย์มอญมาเล่น ด้วยเหตุนี้เอง ภายหลังจากงานพระศพ ดังกล่าวจึงได้กลายเป็นความเชื่อและยึดถือกันมาโดยตลอดว่า ปี่พาทย์มอญนั้นใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น ชาวมอญ มีชื่อเสียงในเรื่องของวงปี่พาทย์และมอญรำ�อย่างมาก มักจะมี การบรรเลงปี่พาทย์และการแสดงมอญรำ�ควบคู่กันไปทุกครั้ง..
วงปี่พาทย์มอญ แบ่งออกได้เป็น 3 ขนาด วงเครื่องใหญ่
ปี่มอญ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ตะโพนมอญ เปิงมางคอก ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ ฉิ่ง
วงเครื่องคู่
ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ ฉิ่ง
วงเครื่องห้า
ประกอบด้วย ฆ้องวง ระนาดเอก ปี่มอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก ฉิ่ง
Mon Ensemble
Mon Ensemble used to plays in auspicious and inauspicious ceremonies. Since Queen Dhepsirintramas of King Rama IV and mother to King Rama V was a direct Mon descendant, King Rama V ordered to have the Mon Ensemble played in the royal funeral rites of his mother. Later on it has become a tradition that Mon Ensemble will play only at the funeral rites. Mon people are known for Mon Ensemble and Mon Dance which always go together.
Mon Ensemble is classified into 3 groups by the numbers of instruments:
Wong Krueng Yai (big band) Mon Oboe, Khongwongyai, Khongwonglek, Ranat Ek, Ranat thum, metal Ranat Ek, metal Ranat Thum, Tapone Mon, Peongmang Khok, small cymbals, large cymbals, wooden clappers, chings (small cup-shaped cymbals). Wong Krueng Khoo (double set instrument band) Khongwongyai, Khongwonglek, Ranat Ek, Ranat Thum, Mon Oboe, Peongmang Khok, Tapone Mon, large cymbals, small cymbals, wooden clappers and chings. Wong Krueng Ha (5-piece band) Khongwong, Ranat Ek, Mon Oboe, Tapone Mon, Peongmang Khok and chings.
60 Cultural Trails เ ส้ น ส า ย อ า ร ย ธ ร ร ม
สีสันอารยธรรม มอญปากลัด ช
าวมอญได้ชอื่ ว่าเป็นชนชาติทเ่ี คร่งครัดในเรื่องพระพุทธศาสนา มากที่สุดอีกชาติหนึ่ง ดูได้จากเมื่อมีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ที่ไหน หมู่บ้านนั้นจะต้องมีวัดประจำ�หมู่บ้านนั้นๆ เสมอ เพราะ ชาวมอญมักจะประกอบพิธีทางศาสนาเนื่องในวันสำ�คัญอยู่เป็น ประจำ� เช่น วันสงกรานต์ ประเพณีตักบาตรน้ำ�ผึ้ง ประเพณี แห่หงส์ธงตะขาบ เป็นต้น ทุกกิจกรรมและประเพณีล้วนมีเรื่อง ของศาสนาเข้ามาเชื่อมโยง ที่สำ�คัญวัดมอญยังมีเอกลักษณ์ทาง วัฒนธรรมที่โดดเด่น ที่เมื่อพบเห็นจะสามารถรู้ได้ทันทีว่านั่นคือ วัดมอญ คือ เสาหงส์และรูปทรงของเจดีย์
พระมหารามัญเจดีย์ วัดทรงธรรม The Great Raman Pagoda, Wat Songdharma
มิถุนายน 2557 / June 2014
Culture of Paklad Mon
M
on people are known as devout Buddhists. Wherever they settled down, they would build a community monastery where they could perform religious ceremonies on every occasion such as Songkran Day, Honey Alms Offering, Swan and Centipede Banner Procession, etc. Religion always has its place in all Mon traditions and activities. Moreover, Mon temples have unique visible cultural identities i.e. swan pole and the shape of stupa.
61
62 Cultural Trails เ ส้ น ส า ย อ า ร ย ธ ร ร ม
วัดทีส่ �ำ คัญของชาวมอญ
พระประแดง
Important Mon Temples
in Phra Pradaeng
วัดคันลัด ตั้งอยู่เลขที่ 4 บ้านทรงคนอง ตำ�บลทรงคนอง อำ�เภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นวัดราษฎร์ สร้างขึ้น ราว พ.ศ.2349 ต้ น กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ เดิ ม วั ด นี้ เ ป็ น ที่ ฝั ง ศพ ช้างหลวง เรียกว่า “สุสานช้างหลวง” เมื่อชาวรามัญได้อพยพ เข้ า มาในรั ช สมั ย ของพระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาลั ย จึงเลือกวัดคันลัดที่มีอยู่เดิมแล้วเป็นวัดประจำ�หมู่บ้าน และนิมนต์ พระชาวรามัญมาจำ�พรรษา เพื่อที่จะได้บุตรหลานของตนบวช และ ศึกษาธรรมวินัย และนิมนต์เจ้าอาวาสที่มีเชื้อสายรามัญปกครองวัด พระพุทธรูปศักดิส์ ทิ ธิป์ ระจำ�วัดคือ หลวงพ่อหินอ่อน (มัณฑะเลย์) เป็นศิลปะแบบมอญแกะสลักด้วยหินอ่อนสวยงามเดิมอยู่ในตูล้ ายไม้สกั ตั้งอยู่ที่หอสวดมนต์ แต่ภายหลังมีโจรเข้ามาขโมยพระอยู่บ่อยครั้ง จึงต้องยกเก็บไว้ ในกุฏิเจ้าอาวาสเมื่อถึงเทศกาลสำ�คัญจึงจะนำ�มาให้ ประชาชนสักการะบูชา Wat Kanlad nis at No. 4, Ban Songkanong, Songkanong Sub District, Phra Pradaeng District, Samut Prakan. It is a public temple built in early Rattanakosin period around 2349 B.E. (1806 A.D.) In the old days, the area was served as the royal elephant cemetery. When Mon people settled down in the area in the reign of King Rama II, they chose the existing Wat Kanlad as the community monastery and invited Mon abbot and monks to look after the temple, to teach, preach and ordain their sons as well. The sacred Buddha image of this temple is called “Luang Poh Hin On” (marble Buddha image or Luang Poh Mandalay) beautifully carved in Mon style from marble. Formerly the image was placed in a teak cabinet in the chapel but later the image was removed to be locked in the abbot’s quarter because there have been thefts of Buddha images several times. On auspicious occasions, the abbot will bring the image out for Buddhists to pay homage.
หลวงพ่อหินอ่อน (วัดคันลัด)
Luang Poh Hin On (Wat Kanlad)
วั ด โมกข์ ตั้ ง อยู่ เ ลขที่ 1019 ถนนพระยาพายั พ พิ ริ ย ะ
ตำ�บลตลาด อำ�เภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ สันนิษฐานว่า เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เดิมเป็นบ้านของพระยาสมิงสามแหลก ซึ่งเป็นปลัดเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในสมัยนั้น ท่านมีความศรัทธาจึง ยกบ้านและที่ดินทั้งหมดให้เป็นของวัดแห่งนี้เรียกว่า “เภ่โมกตอน” แปลว่า วัดโผล่ขึ้น
Wat Moke situated at No. 1019, Phraya Payabpiriya Road, Phra Pradaeng District, Samut Prakan. It is estimated that the temple was built in the reign of King Rama III. The area was formerly the compound of Phraya Samingsamlaek who was then the governor of Nakhon Khuenkhan. He gave his house and land to build a Mon temple called “Phemokethon” in Mon dialect which means “surfacing temple.”
สุสานช้างหลวง (วัดคันลัด) the royal elephant cemetery (Wat Kanlad)
มิถุนายน 2557 / June 2014
วัดอาษาสงคราม ตั้งอยู่เลขที่ 346/1 บ้านเชียงใหม่ ถนน
ทรงธรรม ตำ�บลตลาด อำ�เภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อชนชาวรามัญที่เข้ามาพ่ึ่ง พระบรมโพธิสมภาร ได้มโี อกาสเข้าร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กบั นักรบไทย โดยมอบให้สมิงกล้ารามัญ เป็นผู้รวบรวมนักรบรามัญขึ้นมากองหนึ่ง เพื่อขึน้ ไปปราบพวกเงีย้ วในครัง้ นัน้ ปรากฏว่าสมิงกล้ารามัญและนักรบ รามัญในครั้งนั้นได้ทำ�การรบกับเงี้ยวจนชนะ เมื่อเสร็จศึกแล้วพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานตำ�แหน่งให้สมิง กล้ารามัญผูน้ ้ใี ห้เป็น “สมิงอาษาสงคราม” สมิงอาษาสงครามพอทำ�ศึก สงครามเสร็จแล้วก็นึกถึงว่าได้ทำ�การฆ่าคนไปเป็นจำ�นวนมากจึงได้ สร้างวัดขึ้นมาเพื่อจะทำ�บุญทำ�กุศลลบล้างบาปที่ตนได้ฆ่าผู้คนไปและ ได้บริจาคทีด่ นิ ทีพ่ ระเจ้าอยูห่ วั ทรงประทานให้เป็นสมบัตขิ องพระศาสนา สร้างวัดขึ้นแล้วได้ตั้งชื่อวัดตามชื่อของตนว่า “วัดอาษาสงคราม” Wat Asasongkram located at No 346/1, Ban Chiang Mai, Songdharma Road, Talad Sub District, Phra Pradaeng District, Samut Prakan. The temple was built during the reign of King Rama II when the migrated Mon joined the Thai army to fight against the Shan rebels. Saming Klaraman was ordered to command Mon soldiers to suppress the rebels. After winning, the king conferred him the title “Saming Asasongkram”. Since he was in awe of sins of killing many lives, in order to alleviate his sins he donated the land granted by the king to build a temple and named the temple after his title as “Wat Asasongkram”
เจดีย์ทรงศิลปะแบบมอญสีขาว ภายในบรรจุเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของสมิงอาษาสงคราม ผู้ก่อสร้างวัดอาสาสงคราม
..................................................................................
Mon style white stupa where insignia and sacred amulets of Saming Asasongkram, the founder of Wat Asasongkgram, are kept.
63
64 Cultural Trails เ ส้ น ส า ย อ า ร ย ธ ร ร ม วัดทรงธรรมวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชัน้ โท รัชกาลที ่ 2
โปรดฯ ให้สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2357-2358 และจึงทรงพระราชทาน นามว่า “วัดทรงธรรมวรวิหาร” เป็นพระราชประสงค์เพื่อให้ชาว รามัญที่อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารได้ ใช้เป็นที่บำ�เพ็ญกุศลทาง ศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวรามัญเหล่านั้นด้วย ซึ่งชาวรามัญ ได้ยกย่องพระองค์ทา่ นว่า ทรงเป็นผูม้ คี ณ ุ ธรรมสูง ซึง่ ทางภาษารามัญ เรียกว่า “เมินโท่” แปลว่า “ผู้ทรงธรรม” มีพระเจดีย์องค์ ใหญ่แบบรามัญ กว้าง 1 วา 2 ศอก สูงถึงยอด 10 วา 3 ศอก เจดียอ์ งค์นม้ี ชี อื่ ว่า “พระมหารามัญเจดีย”์ คาดว่าสร้าง ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และได้นำ�พระพุทธรูปที่เหลือจากการคัดเลือกมาเป็นพระประธานและ พระเครื่อง บรรจุลงในพระมหารามัญเจดีย์
มิถุนายน 2557 / June 2014
Wat Songtharma Voraviharn is a second grade royal temple and is the first Raman temple in Phra Pradaeng. King Rama II ordered to erect during 2357-2358 B.E. (1814-1815 A.D.) as the center for Mon people migrated to Thailand during his reign to have a place for their religious ceremonies. The temple was named “Songdharma Voraviharn” because the Mon people respected King Rama II as a king with high virtue. This temple is called “Merntho” in Mon dialect which means “A man with high virtue”. There is a big Raman style pagoda called “The Great Raman Pagoda.” with 1 wah 2 sok width and the height to the tip is 10 wah 3 sok It is estimated that the pagoda was built in the reign of King Rama IV. A Buddha image was enshrined in the pagoda as well as amulets in commemoration celebration of Buddhism.
65
อานันทเจดีย์ Ananda Pagoda
Cr. Photo by : www.takethaitour.com
Cr. Photo by : tourdulichmyanmar.vn
66 Cultural Trails เ ส้ น ส า ย อ า ร ย ธ ร ร ม เจดีย์ ชเวมอดอ หรือพระธาตุมุเตา Shwemawdaw Pagoda or known to Mutow Pagoda
ต้นแบบ..เจดียม์ อญ เจดีย์มอญมีลักษณะเฉพาะตัว ที่พบเห็นโดยทั่วไปมี อยู่ 3 แบบใหญ่ๆ ซึง่ ได้รบั อิทธิพลมาจากต้นแบบสามเมือง แห่งอาณาจักรใหญ่ของมอญเดิมก่อนการอพยพเข้ามาใน ประเทศไทย เจดีย์ ชเวดากอง ที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า ลักษณะจะเป็นรูปทรงเจดียค์ ล้ายจอมแห มีองค์ระฆังสมส่วน เจดีย์ ชเวมอดอ หรือพระธาตุมเุ ตา ทีเ่ มืองหงสาวดี ประเทศพม่า มีลักษณะองค์ระฆังอวบอ้วนกลม คล้าย ดอกบัวตูม เจดีย์ อานันทเจดีย์ ที่เมืองพุกาม ประเทศพม่า ลักษณะองค์ระฆังเล็กเรียวมีซุ้มสี่ด้าน
เสาหงส์ Swan Pole
เสาหงส์
Swan Pole Another identity of Mon temple. When Mon
people migrated to other places, such as in Thailand, they observe the tradition to build swan pole in order to remind them of their former homeland i.e. Hongsawadi (Pegu).
Cr. Photo by : http://www.abroadtour.com
เอกลักษณ์ทแ่ี สดงถึงความเป็นวัดมอญ เพราะชาวมอญ ในเมืองไทยมีประเพณีทส่ี ร้างขึน้ เพื่อรำ�ลึกถึงบ้านเกิดเมืองนอน แต่ครัง้ บรรพบุรษุ อย่างเมืองหงสาวดี เมื่อต้องจากบ้านทิง้ เมือง ไปอยู่ยังสถานที่ต่างๆ
มิถุนายน 2557 / June 2014
67
Mon Pagoda
The unique Mon pagoda can be identified into 3 styles influenced by the great pagodas in three main cities of the Mon Kingdom before migrating to Thailand. They are: Shwedagon Pagoda in Rangoon, Myanmar - the shape is like a big fishing net with well proportionate body. Shwemawdaw Pagoda or known to Mutow Pagoda in Hongsawadi or Bago(Pegu), Myanmar, the shape is like young lotus with a little protruding body. Ananda Pagoda in Bagan, Myanmar, slender body with an arch on each direction
เจดีย์ชเวดากอง Shwedagon Pagoda
68 Admiring Antiques ย ล ข อ ง เ ก่ า
เปิดกรุอารยธรรม
พิพธิ ภัณฑ์พน้ื บ้านมอญ.. แหล่งเรียนรู้อารยธรรมรามัญ
ศู
นย์บูรณาการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน หรือพิพิธภัณฑ์ พื้ น บ้ า นวั ด คั น ลั ด แหล่ ง เรี ย นรู้ ข นบธร รม เนี ย มประเพณี และศิลปวัฒนธรรม ของชาวไทยเชื้อสายมอญ จัดตั้งขึ้นโดยการ ร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน และร่วมบริจาคเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่น และปลูกฝัง การอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมแก่เยาวชนรุ่นหลัง พิพิธภัณฑ์มีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง สร้างแบบบ้านมอญ ชัน้ ล่างจะเก็บรวบรวมข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรม รวมถึงประเพณีของชาวมอญ ชั้นบนจะเป็นแหล่งเรียนรู้ซึ่ง รวบรวม ถ้วยชาม ข้าวของเครื่องใช้ แบบสาธิตการแต่งกายแบบ ชาวมอญ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวบรวมพระเครื่องทั้งของไทย และมอญ รวมถึงธนบัตรเก่ามากมาย
มิถุนายน 2557 / June 2014
Mon Folk Museum, Civilization Cache .. Learning Center for Raman Civilization
T
69
hailand Integrated Center for Cultural and Community Ties or Wat Kanlad Folk Museum is the learning center about Mon culture and traditions founded by the cooperation of the residents in the community donating apparatus, utensils and costumes for display to educate and instil cultural conservation awareness to younger generations. The museum is a 2-storey wooden house built in Mon style. Exhibitions on the ground floor are collections of information on Mon cultures and traditions. On the upper floor, there are displays of porcelains, daily life utensils, Mon style clothing and also the collection of Thai and Mon amulets and old bank notes.
70 Admiring Antiques ย ล ข อ ง เ ก่ า
คัมภีร์ ใบลาน
เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทสวดมนต์ของพระมอญ โดยสลักด้วยภาษามอญ อายุนับ 100 ปี
Holy Scripture on Fan Palm Leaf The Scripture, collection of prayers for Mon monks inscribed in Mon alphabets, is over 100 years old.
รางจีบผ้าสไบ
ในอดีต ไม่มขี า้ วของเครื่องใช้ทท่ี นั สมัยเหมือนปัจจุบนั ชาวมอญจึงคิดค้นหาวิธีที่จะประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ ใน การจีบสไบขึ้นมา ถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม ที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน
Pleated-Sash Pressing Machine
In the past, there were no modern and convenient appliances like nowadays. Mon people invented a simple apparatus to press sash into pleats. It was a rare folk wisdom that could hardly be found these days.
รูปหงส์คู่แกะสลักด้วยไม้
มีลกั ษณะสวยงาม เพื่อเป็นการระลึกถึงเมื่อครัง้ ทีพ่ ระพุทธเจ้า ทรงทอดพระเนตรเห็นหงส์ 2 ตัวเล่นน้ำ�อยู่บริเวณดินกลาง แม่ น้ำ � จึ ง ทรงทำ � นายว่ า ในอนาคตที่ แ ห่ ง นี้ จ ะกลายเป็ น ดิ น แดนที่ เ ผยแผ่ พ ระพุ ท ธศาสนา ปั จ จุ บั น จึ ง กลายเป็ น เมืองหงสาวดี
Wooden Swan Couple
Beautifully carved. It represents the legend of Lord Buddha seeing a couple of swan playing in the water which he prophesied that in the future would become the land that Buddhism would prosper. Presently, it is Hongsawadi or Pegu.
มิถุนายน 2557 / June 2014
71
เครื่องกรอไหม โบราณ
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำ�หรับปั่นฝ้ายหรือไหมให้แน่น เป็นเกลียว หรือใช้กรอด้ายเข้าหลอด เพราะ สมัยก่อนชาวมอญนิยมตัดเย็บเสื้อผ้าใส่กันเอง โดยเฉพาะหญิงรามัญ
An ancient winder An ancient winder, a tool used in spinning cotton or silk yarns into tight spiral thread or winding the thread into spools. In the old days, Mon, particularly Raman girls made their own clothing.
เครื่องมือเครื่องใช้
หุ่นชาวมอญ
ตูแ้ สดงการแต่งกายของชาวมอญ ที่ ถู ก ต้ อ ง ทั้ ง ชายและหญิ ง รวมทัง้ การแต่งกายของชาวรามัญ ที่จะเข้าพิธีบวชนาค
Mon Mannequins
Proper male and female Mon costumes including the dress for ordination candidate are on display.
คีม กรรไกรชนิดต่างๆ ทีท่ �ำ จากโลหะ เป็นเครื่องมือของ ชาวบ้านมอญทีห่ ลังจากเก็บเกีย่ วพืชผลทางการเกษตร จะนิยมสานตะกร้า เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างในช่วง เก็บเกี่ยว
Apparatus
Various pincers and scissors made from metal were the apparatus that Mon people used in weaving baskets after the harvesting season.
เครื่องทับผ้าม่วงโบราณ
ตู้พระไตรปิฎก
ชายชาวรามั ญ จะนิ ย มใส่ ผ้ า ม่ ว งออกงานตาม เทศกาลต่างๆ เหตุที่ต้องมีอุปกรณ์นี้ก็เป็นเพราะว่า ชาวมอญจะไม่ ใ ช้เ ตารีด รีด ผ้า ซึ่ง จะทำ�ให้ผ้านั้น สีซีดไม่สวยงาม จึงได้คิดค้นอุปกรณ์ทับผ้าขึ้นมา
อายุ 120 ปี ภายในเก็บ รวบรวมพระไตรปิฎกภาษามอญ
An Ancient Silk Sarong Pressing Machine
This one is 120 years old and used in collecting Tripitika in Mon language.
Mon male preferred wearing silk sarong to the feasts. It was necessary to have this machine because the Mons did not iron silk sarong because it would make the colour faded. Thus, the machine was invented.
Tripitika Cabinet
สถานที่ตั้ง : วัดคันลัด เลขที่ 4 บ้านทรงคนอง ตำ�บลทรงคนอง อำ�เภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โทรศัพท์ : 02-816-4195, 087-709-0304 Location : Wat Kanlad, No. 4 Baan Songkanong, Songkanong Subdistrict, Phra Pradaeng District, Samut Prakan Tel : 02-816-4195, 087-709-0304
72 Mon Map แ ผ น ที่
มิถุนายน 2557 / June 2014
Mon Community Map Phra Pradaeng, Samut Prakan ชาวมอญมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกสร้าง บ้านเรือนในบริเวณที่ราบลุ่ม ใกล้แม่น้ำ�ลำ�คลองอย่างที่เคยปฏิบัติ มาแต่โบราณ เพราะคนมอญนั้นมีอาชีพทำ�ไร่นาและเกษตรกรรม
Mon people tend to stay together as a group. Most of them like to build their houses by the river front as their ancestors did since the old days because they were farmers and relied on water resources for their cultivation.
73
74 Living Guide พั ก นี้ . . ที่ ผ่ อ น ค ล า ย
Home Stay
krapohmoo A Natural Setting Resort
มิถุนายน 2557 / June 2014
75
76 Living Guide พั ก นี้ . . ที่ ผ่ อ น ค ล า ย
Home Stay krapohmoo A Natural Setting Resort
โฮมสเตย์กระเพาะหมู
แหล่งพักผ่อนใกล้ธรรมชาติ
บ
างกะเจ้า หรืออีกในนามหนึง่ ว่า กระเพาะหมู เป็นพืน้ ที่ ทีย่ งั คงความอุดมสมบรูณท์ างธรรมชาติจงึ จัดว่าเป็นแหล่ง โอโซนชั้นดี ให้กับคนกรุงเทพฯ ได้สมญานามว่า “โอเอซิส” ของคนกรุงเทพฯ ด้วยเหตุนี้จึงเกิด “โฮมสเตย์” ขนาดย่อม เพื่อรออ้าแขนต้อนรับนักท่องเทีย่ วทีจ่ ะมาเยือน
B
ang Kachao or known as “Krapohmoo” (pig stomach) is naturally fertile. It is regarded as the ozone generating area for Bangkok residents. Therefore, it is named as “Oasis” of Bangkok. Many small size home stays are then open to welcome visitors.
บ้านชายคลองริมน้ำ�
โฮมสเตย์ “บ้านชายคลองริมน้ำ�” ตำ�บลบางกระสอบ เป็นโฮมสเตย์ในบรรยากาศบ้านสวน เจ้าของดัดแปลงพืน้ ทีบ่ างส่วน ของตั ว บ้ า นเป็ น ที่ พั ก ให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วเข้ า มาสั ม ผั ส อากาศ บริสุทธิ์และกิจกรรมต่างๆ เช่น เดินชมสวน พายเรือชมหิ่งห้อย ริมคลองในยามค่ำ�คืน ติดต่อสอบถามรายละเอียด : โทรศัพท์ 087-934-8134
Baan Chai Klong Rim Nam (House by the Canal)
Ban Chai Klong Rim Nam Home Stay in Bang Krasob Sub District is a home stay with garden home atmosphere. The owner modified some quarters of his house for visitors to stay and experience the fresh air and other activities such as visiting the orchards or rowing the boat to watch fire flies in the evening. For more information : Tel : 087-934-8134
มิถุนายน 2557 / June 2014
77
ชุมชนบางน้ำ�ผึ้ง
โฮมสเตย์ “ชุมชนบางน้ำ�ผึ้ง” เกิดจากการรวมตัวของ ชาวบ้านในตำ�บลบางน้ำ�ผึ้ง จึงเปิดโฮมสเตย์ทั้งหมด 7 แห่ง ที่เน้นให้นักท่องเที่ยวซึมซับวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวบ้าน แล้วนำ�ไปปรับใช้ ในชีวิตประจำ�วัน ให้มีความสุขในแบบฉบับ ของตนเอง ถือว่าเป็นเสน่ห์และจุดขายของโฮมสเตย์แห่งนี้ ติดต่อสอบถามรายละเอียด : นางอาภรณ์ พานทอง ประธานกลุ่มโฮมสเตย์บางน้ำ�ผึ้ง โทรศัพท์ : 089-807-2501
บ้านแม่ริมน้ำ�
โฮมสเตย์ “บ้านแม่ริมน้ำ�” เป็นโฮมสเตย์ ในรูปแบบบ้าน ทรงไทยกลิ่ น อายของวั ฒ นธรรมพื้ น บ้ า น กลมกลื น กั บ สภาพ แวดล้ อ มอั น เป็ น ธรรมชาติ เลี ย บริ ม แม่ น้ำ � เจ้ า พระยาฝั่ ง พระประแดงได้อย่างลงตัว เหมาะเป็นสถานที่ควรแก่การพัก ผ่อนหย่อนใจ ติดต่อสอบถามรายละเอียด : โทรศัพท์ : 02-815-1805, 081-781-7807
Baan Mae Rimnam
(Mom’s House by the River)
“Baan Mae Rimnam” is a Thai style house home stay that offers the essence of the native culture perfectly blended with the natural setting by the river on the Phra Pradaeng side. It is suitable for a leisure stay. For information Tel : 02-815-1805, 081-781-7807
Bang Namphueng Community Bang Namphueng Community Home Stay is the result of the cooperation of villagers in Bang Namphueng Sub District opening up 7 home stays emphasizing on villagers’ simple way of life that visitors can adapt in their daily life for their own happiness which is the attraction and selling point of this home stay. For information, contact : Mrs. Aporn Panthong, Chairperson of Bang Namphueng Home Stay Group, Tel : 089-807-2501
78 พิRelaxing ง ห ลั ง . . พั ก ก า ย
สวนศรี น ครเขื่ อ นขั น ธ์ โอเอซิสสีเขียว..ใจกลางบางกะเจ้า บ
างกะเจ้ า ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น พื้ น ที่ เ กษตรกรรมที่ อ ยู่ ท่ า มกลางความเจริ ญ ของเขตเมื อ งซึ่ ง ได้ แ ก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอาณาเขตครอบคลุม พื้นที่ 6 ตำ�บล หรือที่เรียกว่ากระเพาะหมู มีเนื้อที่รวม ทั้งสิ้น 11,819 ไร่ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ�ขนาดใหญ่ที่เกิดจาก การสะสมของดิ น ตะกอนแม่ น้ำ � เป็ น ระบบนิ เ วศที่ มี โครงสร้างของสังคมพืชและสัตว์ที่มีความหลากหลาย ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์
มิถุนายน 2557 / June 2014
79
Sri Nakhon Khuen Khan Park and Botanical Garden The Green Oasis..in the heart of Bang Kachao
M
ost of Bang Kachao is agricultural area amid the modernity of the city life including Bangkok metropolis and its suburbs. Bang Kachao covers the area of 6 Sub Districts with the total area of 11,819 rais (4727.6 acres). The area is a big alluvial wetland which provides unique fertile ecological structure for variety of flora and fauna.
80 Relaxing พิ ง ห ลั ง . . พั ก ก า ย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำ�ริถึงพื้นที่แห่งนี้ว่าเป็นผืนป่า กลางกรุงทีต่ อ้ งอนุรกั ษ์ไว้ ให้เป็นเสมือนปอดของคนกรุงเทพฯ และคนสมุทรปราการ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิต ตลอดจนสภาพจิตใจและสุขภาพที่สมบูรณ์ ท่ามกลางความเจริญเติบโตของเมือง His Majesty the King reralized that this area should serve as the green area of the city center and should be preserved to be the lung for Bangkok and Samut Prakan residents. It would help improve the quality of life including mental and physical fitness among the civilization of the big city.
มิถุนายน 2557 / June 2014
81
สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามหมายถึงสวนสาธารณะที่เป็นศรีแก่นครเขื่อนขันธ์ (ชื่อเดิมของอำ�เภอพระประแดง) มีเนื้อที่กว่า 200 ไร่ เพียงแค่ข้ามแม่น้ำ� เจ้าพระยาจากฝั่งคลองเตยก็จะได้พบกับพื้นที่โอเอซิสที่เป็นแหล่ง ผลิตออกซิเจนและเป็นปอดให้กับชาวกรุงเทพฯ ประกอบด้วยกลุ่ม อาคารใหญ่จำ�นวน 6 อาคาร ที่โอบล้อมด้วยพรรณไม้หลายร้อยชนิด สัมผัสแรกสามารถรับรู้ได้ถึงความเงียบสงบ ร่มเย็น เดินเข้ามาด้านใน จะพบสระน้ำ � จื ด ขนาดใหญ่ พร้ อ มสะพานไม้ ท อดยาวพาดผ่ า น กับศาลาแวะพักริมน้ำ� ให้ทุกคนได้นั่งเล่น พูดคุยเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ไม่ใกล้ไม่ไกลกันมากนักมีจดุ บริการให้อาหารปลาน้อยใหญ่ ปลาต่างแย่งกัน กินขนมปัง สร้างความสุขได้ชว่ั ขณะ แต่ถา้ ใครชอบความท้าทายสามารถ เช่าหรือจะนำ�จักรยานมาปั่นเพราะมีเส้นทางจักรยาน และจุดพักรถ เอาใจนักปั่นทั้งไทยและเทศได้สัมผัสกับอากาศบริสุทธิ์อย่างแท้จริง เพลิ ด เพลิ น กั บ สองข้ า งทางที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยต้ น ไม้ น านาพรรณ นก ผีเสื้อหลากหลายสายพันธุ์และสัตว์นานาชนิด สร้างความสนุก สดชื่น หัวใจอย่างยิ่ง
Sri Nakhon Khuen Khan Park and Botanical Garden. His Majesty the King graciously named this place “Sri Nakhon Khuen Khan Park” which means the public park that adorns the beauty of Nakhon Khuen Khan (the former name of Phra Pradaeng District) covering the area over 200 rais (80 acres). Just across the Chao Phraya River from Klong Toei, visitors will find an oasis generating oxygen serving as the lung for Bangkok residents. The compound comprises of a cluster of six large buildings surrounded by hundreds species of plants. The atmosphere is peaceful. Going deep inside, we found a large fresh water pond with wooden walkway and small pavilions lining the water front where visitors can take a rest and chat happily. Nearby, there is fish feeding spot where fishes rush to take their shares of bread. For those adventurous visitors, they can bring their own bicycles for cycling or can rent one on site. Both Thai and foreign cyclists appreciate the cycling path and the resting area where they can truly enjoy fresh air along the path rich with variety of plants, birds, butterflies and other animals. It is a real happiness and joyful moment.
82 Relaxing พิ ง ห ลั ง . . พั ก ก า ย
หอดูนก สูงกว่า 7 เมตร เป็นอีกหนึง่ สถานทีท่ นี่ กั ดูนกไม่ควรพลาด ตัง้ ตระหง่านอยู่ในสวนลึก ไร้ผู้คนพลุกพล่าน เหมาะแก่การดูนกยิ่งนัก มีนกหลายสายพันธุ์ต่างก็บินสลับไปมา เพื่อหา ต้นไม้พำ�นักอาศัย ทั้งนกสีชมพูสวน นกกินปลี นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ เหยี่ยวนกเขาชิครา นกกินปลีคอสีน้ำ�ตาล นกแขวก นกหัวขวานเขียวป่าไผ่ เป็นต้น สร้างความตื่นเต้นกับนักดู นกยิ่งนัก ประกอบกับเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ร่มรื่นไปด้วยพรรณไม้ทั้งไม้พื้นถิ่นดั้งเดิม ไม้ต่างถิ่นนานาชนิด เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาใช้ประโยชน์ ในสวนได้รับความร่มรื่นจากธรรมชาติ เป็น สวนสาธารณะที่แตกต่างจากสวนสาธารณะทั่วไป คือยังมีความรื่นรมย์และอุดมสมบูรณ์ไปด้วย พรรณไม้นานาพันธุ์ ในลักษณะของสวนที่อยู่ตามชนบท โดยในบางจุดยังดูคล้ายกับป่าตาม ธรรมชาติด้วย ถือได้ว่าเป็นสวนสาธารณะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณไม้ ระบบนิเวศและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่ควรค่าแก่การพักผ่อนหย่อนใจ พร้อมรับบรรยากาศบริสุทธิ์
นกกินปลีคอสีน้ำ�ตาล
Brown-throated Sunbird
Photograph by Natthaphat Chotjuckdikul
มิถุนายน 2557 / June 2014
83
The Bird Watching Tower which is standing tall over 7 meters high deep inside the park is another place that bird watchers should not miss. There are so few people which make it suitable for bird watching. Many species of birds are flying back and forth among the trees be it scarlet-backed flower-pecker, sunbird, greater racket-tailed drongo, Shika, brown-throated sunbird, black-crowned night-heron, laced woodpecker, etc. It is an exciting sight for bird watchers. Since it is a natural study trail covering with native and exotic plants, the park is different from other public parks that it is more pleasant and rich with variety of plants in the style of country garden where some area looks like natural forest as well. It is considered a public park with unique identity. The superabundance of plants, eco-system and also habitat of variety of animals make the place the destination for eco-tourism worth visiting for fresh air. We should preserve it to be the ozone generating area for Bangkok and Samut Prakan residents.
สวนสาธารณะและสวนพฤกษชาติศรีนครเขื่อนขันธ์ ตำ�บลบางกะเจ้า อำ�เภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เปิดบริการทุกวัน : 06.00 - 19.00 น. ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าใช้จา่ ย หมายเหตุ : มีบริการรถจักรยานให้เช่า บริเวณหน้าสวนสาธารณะ ชัว่ โมงละ 30 บาท โทรศัพท์ : 02-461-0972 (ในเวลาราชการ) Nakhon Khuean Khan Park and Botanical Garden Bang Kachao Subdistrict, Phra Pradaeng District, Samut Prakan Open every day : 6.00-19.00 hrs. Admission Fee : Free Note: Bicycles are available for rent at the entrance to the garden, 30 Baht/hour Tel. : 02-461-0972 (during office hours)
84 ทFamiliar Path า ง ที่ คุ้ น เ ค ย
TARA Community
Bang Phli Old Market Reflections of lives by Samrong Canal
มิถุนายน 2557 / June 2014
ชุมชนธารา
ตลาดโบราณบางพลี สะท้อนวิถีชีวิตริมคลองสำ�โรง
85
86 Familiar Path ท า ง ที่ คุ้ น เ ค ย
มิถุนายน 2557 / June 2014
ถึงบางพลีมีเรือนอารามพระ เป็นเลนลุม่ ลึกเหลวเพียงเอวพุง ดูเรือแพแออัดอยู่ยัดเยียด แจวตะกูดเกะกะประกะเชียง
ดูระกะดาษทางไกลไปกลางทุ่ง ต้องลากจูงจ้างควายอยูร่ ายเรียง เข้าเบียดเสียดแทรกกันสนั่นเสียง บ้างทุม่ เถียงโดนดุนกันวุน่ วาย
บางตอนจากนิราศเมืองแกลง สุนทรภู่
ใ
นอดีตกว่า 100 ปี มีเรื่องราวได้รับการเล่าผ่านบทกลอน ซึง่ สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ริมฝัง่ คลองสำ�โรง แม้ความงามจะแปรเปลีย่ นไปตามยุคสมัยและความเจริญของสังคม ยุคใหม่ แต่ยงั คงกลิน่ อายของวิถชี วี ติ ดัง้ เดิมอย่างมิเสื่อมคลาย.. ชุมชนธารา แห่งตลาดโบราณบางพลี เป็น 1 ใน 8 ชุมชนของเทศบาลตำ�บลบางพลี ยัง คงไว้ซง่ึ วิถชี วี ติ ริมคลอง สังเกตได้จากตลาดโบราณบางพลี ซึง่ เป็นตลาดไม้เก่าแก่ สันนิษฐาน ว่าชาวจีนเข้ามาเปิดร้านในตลาดนีร้ าว พ.ศ. 2400 เป็นตลาดโบราณริมคลองสำ�โรงเพียงแห่ง เดียวทีร่ อดพ้นจากไฟไหม้ และยังคงสภาพเดิมเหมือนแรกสร้าง อีกทัง้ ยังเป็นชุมชนใหญ่และมี ความรุง่ เรืองมากในอดีต เพราะเป็นตลาดขนส่งสินค้าและผู้ โดยสาร เนื่องจากการเดินทางใน สมัยก่อนใช้เรือเป็นพาหนะหลัก เพื่อค้าขายแลกเปลีย่ นสินค้า ตลอดแนวสองฝัง่ ทางเดินระยะทางกว่า 500 เมตร ยังคงสภาพและวิถชี วี ติ อย่างเรียบ ง่ายได้อย่างชัดเจน มีสนิ ค้าให้เดินเลือกซือ้ มากมายทัง้ ของกินเล่น ของฝาก และอาหารแบบ บ้านๆ ไม่วา่ จะเป็นก๋วยเตีย๋ ว ข้าวแกงต่างๆ แต่ถา้ ใครชอบอาหารรสชาติจด๊ี จ๊าด ต้องนีเ่ ลยร้าน คุณณัฐ น้�ำ พริกหลากรส น้�ำ พริกปลาสลิด ปลาร้าหลน แซ่บเหลือหลาย ส่วนขนมหวานขึน้ ชื่อ ของที่น่ีมีให้เลือกหลากหลายไม่แพ้กัน อย่างเช่นร้านแม่แฉล้ม กระยาสารท ร้านคุณนิตย์ เมีย่ งคำ� ข้าวเหนียวปิง้ หรือจะเป็นขนมเบือ้ ง และขนมโบราณต่างๆ นอกจากนีย้ งั มีผลไม้และ ปลาสลิด ของดีของจังหวัดให้เลือกซือ้ ขอบอกว่าสินค้ามีคณ ุ ภาพและราคาย่อมเยามาก
S
unthorn Pu, Thailand’s royal court best known poet of the early Rattanakosin era, once wrote in his literary work while on travelling that upon arriving at Bang Phli that the place was hectic with many temples, houses, boats and people. This piece of literary work dated over a century vividly reflects the way of life along the Samrong Canal. Today, though the atmosphere has changed with the time and modernization, the essence of the old way of life still exists. Tara Community at Bang Phli Ancient Market is 1 of 8 municipal districts that still keep the ancient way of life along the canal. Bang Phli Ancient Market consists of wooden shop houses. It is presumed that Chinese merchants opened their business in this area in 2400 B.E. (1857 A.D.). It is the only ancient market on Samrong canal that could escape from fire and still maintains the original condition as built. In the past, it was a large prosperous community because transportation were mostly on water be it for goods or passengers and here was serving as the center for goods and passengers transportation. Along over 500 meters walkway on both banks, the way of life is clearly maintained its simplicity. There are many goods and foods such as noodles, rice with variety of curries. For those who prefer spicy and tasty foods should head for Khun Nat Restaurant by the canal specializing in mouthwatering pastes and dips i.e. shrimp paste with gourami, fermented fishes in coconut milk dip, etc. They are yummy. Famous desserts of this community are diverse such as Krayasart (bar of roasted rice, sesame, peanuts cooked with sugar cane juice until sticky) at Mae Chalaem’s shop; Miangkham (snack made from fresh ginger, red onion, peanut, dried shrimps and roasted shredded coconut meat topped with tasty sticky sauce and wrapped in leaves) at Khun Nit’s shop; roasted sticky rice wrapped in banana leaves; or crispy pancake with variety of fillings and other traditional sweets. Moreover, there are fresh fruits and sundried gouramies for visitors to enjoy shopping. Please be informed that goods and fresh products sold here are of good quality and the prices are reasonable.
87
88 Familiar Path ท า ง ที่ คุ้ น เ ค ย
มิถุนายน 2557 / June 2014
89
เดินมาได้สกั พักก็มาสะดุดตากับของเก่าทีท่ �ำ จากไม้ทส่ี วยงาม หลายรูปแบบ ให้บรรดาขาช็อปทั้งหลายซื้อติดไม้ติดมือกลับไป ประดับประดาบ้านเรือนได้อย่างเพลิดเพลิน นอกจากของกินของใช้ แล้วยังมีรา้ นเสริมสวย ร้านขายเสือ้ ผ้า ร้านขายสัตว์เลีย้ ง ฯลฯ แถม ยังได้อ่มิ ตากับทิวทัศน์คลองสำ�โรงที่มีเรือขายอาหาร ขนม ผลไม้ ตามฤดูกาลของชาวบางพลีทพ่ี ายไปมา และเรือทีช่ าวบ้านใช้สญ ั จร ในชีวติ ประจำ�วัน หลังจากเหน็ดเหนื่อยกับการเดินเทีย่ ว ชิม ชม ช็อป กันไปแล้ว ขากลับอย่าลืมแวะไปกราบนมัสการองค์หลวงพ่อโต ณ วัดบางพลี ใหญ่ใน อันเป็นสถานที่ท่ชี าวชุมชนธาราและชาวบางพลี เคารพ นับถือเพื่อความเป็นสิรมิ งคลก่อนเดินทางกลับบ้าน After strolling for awhile, we were struck with variety of wooden antiques for shoppers to take for chic home decor. Besides consuming products, there are beauty salons, clothing stores, pet shops etc. Moreover, visitors will also enjoy the scenery of floating market selling foods, sweets, seasonal fruits from Bang Phli residents rowing their boats in the Samrong Canal including those commuting boats used in their daily life. After touring, shopping and eating, before heading back home visitors should not forget to stop to pay homage to the big Buddha image at Wat Bang Phli Nai which Tara Community and Bang Phli residents highly respect.
ตลาดโบราณบางพลี ตัง้ อยูบ่ ริเวณริมคลองสำ�โรง หมูท่ ่ี 10 ตำ�บลบางพลีใหญ่ อำ�เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เปิดบริการ : วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา : 08.00-15.00 น. และวันหยุดนักขัตฤกษ์ Location : Bang Phli Old Market Moo 10, Bang Phli Yai Subdistrict, Bang Phli District, Samut Prakan Opening : Saturday - Sunday and Holiday 08.00 - 15.00 hrs.
by the Road side 90 Delicacy แ ว ะ ชิ ม ริ ม ท า ง
Good Foods at Sunset on the Horizon ขอบฟ้ า ..ลาตะวั น ชิมอาหารอร่อย..สัมผัสสีสัน “ตะวันลับขอบฟ้า”
ซ
อยคลองตาก๊ก ริมถนนสุขุมวิท ย่านบางปู ใครจะคิดว่า มี ร้า นอาหารริ ม ปากอ่าว ที่เ ต็ม เปี่ยมไปด้ว ยธรรมชาติ เหมาะแก่การพักผ่อน “ขอบฟ้า ลาตะวัน” ร้านอาหารตามแบบ ฉบับของชุมชนพอเพียง ความสุขที่อยู่ใกล้แค่เอื้อม เดินทางสู่ถนนสุขุมวิท ตรงเข้าไป ต.บางปู อ.เมืองฯ จนพบซอยเทศบาลตำ�บลบางปู 126 (หลักกิโลเมตรที่ 47) ป้ายร้านอาหารชุมชนพอเพียง (ซอยคลองตาก๊ก) ใช้ชื่อร้านว่า ขอบฟ้า ลาตะวัน ร้านอาหารที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มกันของ คนในชุ ม ชน โดยชาวบ้ า นหมู่ 2 ผลั ด เปลี่ ย นหมุ น เวี ย น มาช่วยกันทำ�อาหาร ร้านอาหารปลูกสร้างแบบง่าย ยื่นไปใน
มิถุนายน 2557 / June 2014
ทะเลให้ลูกค้านั่งรับลมแบบ 360 องศา ยังสามารถเดินเล่น สูดบรรยากาศพร้อมเก็บภาพประทับใจบนสะพานที่ทอดยาว ลงสู่ปากอ่าวได้อย่างสบายใจ อาหารขึ้นชื่อของทางร้านจะเป็นเมนูตามฤดูกาล ช่วง พฤษภาคม-พฤศจิกายน จะได้ทานปลาทู เนื้อมันอร่อยมาก ช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม จะได้ทานปลากุเลา นำ�มา ทำ�แดดเดียว ทอดกรอบ และช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน จะเป็นเมนูจะพวกหอยชนิดต่างๆ ทัง้ หอยนางรม หอยแมลงภู่ นอกจากนี้ยังมีแกงส้มไข่ปลาเรียวเซียว พิเศษตรงที่ไม่ใส่ผัก แต่เต็มอิม่ ไปด้วยเนือ้ ปลาและไข่ รสชาติไม่ตอ้ งพูดถึง จัดจ้าน อย่าบอกใคร ยังมีเมนูตม้ ยำ�ปลากระบอก ปูเนือ้ ปูไข่นง่ึ ตัวโต เนือ้ แน่นให้ลม้ิ ลอง ยังไม่หมดเพียงเท่านีย้ งั มีเมนูอกี เพียบ เพราะวัตถุดบิ ที่ได้ลว้ นมาจากอ่าวไทยที่ ชาวบ้านออกเรือหามาแบบสดๆ ส่งตรงถึง ร้านทุกวัน อิม่ หนำ�สำ�ราญแล้วก็อย่าเพิง่ กลับ ใช้เวลาทีก่ ระเพาะกำ�ลังย่อย นัง่ ดูดวง ตะวันทีค่ อ่ ยๆ ลาลับจากขอบฟ้า อันเป็น สั ญ ญาณบ่ ง บอกว่ า วั น นี้ กำ � ลั ง สิ้ น สุ ด ลง ณ ขอบฟ้า..ลาตะวัน สีสนั อันน่าหลงใหลของ ร้านอาหารชุมชนพอเพียงแห่งนี้
91
W
e never realize that in Soi Klongtagok on Sukhumvit Road in Bang Pu, a restaurant by the Gulf of Thailand is nestled in the embrace of the nature. It is suitable for a leisure get away in a sufficiency community. Even by its name “Kobfah Latawan” (Sunset on the Horizon) is alluring enough to food and nature lovers. It is a happiness within reach that we do not have to go a long way to Bangsan. On Sukhumvit Road heading for Bang Pu Sub District in Muang District, motorists will see a sign for sufficiency community restaurant (Soi Klongtagok) by the name “Kobfah Latawan” (Sunset on the Horizon). The restaurant is run by villagers from two sub-districts who take turn to cook. It is a simple building jutting into the sea where customers will enjoy sea breeze by 360 degree and can take a walk and photographs on the long walkway by the sea. The signature dishes of the restaurant depend on the season. During May-November, mackerels are at their best while during January-May there will be crispy fried sun-dried Fourfinger threadfin and during March-June the menu will comprise mostly of shellfishes be it oysters, mussels, etc. Besides, there is giant catfish and its roes in tasty spicy sour soup which is different from elsewhere that they do not put in any vegetable. Moreover, there are yummy mullet tomyam (hot and sour soup), steamed fresh crabs and many more. The ingredients are very fresh because they are delivered direct from the Gulf every day. After enjoying the food, customers will enjoy watching the sunset on the horizon.
สถานที่ตั้ง : ซอยเทศบาลตำ�บลบางปู 126 (คลองตาก๊ก) หลักกิโลเมตรที่ 47 ห่างจากสถานตากอากาศบางปู ประมาณ 8-9 กิโลเมตร เปิดบริการ : 10.00 - 20.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์แรกของเดือน) สำ�รองที่นั่ง : 084-976-6789, 081-753-6711, 081-648-1851 Location : Soi Tesaban Tambon Bang Pu 126 (Klong Takok) Kilometer mark no. 47, approximately 8-9 km. from Bang Pu Resort Opening hours : 10.00-20.00 hrs. (Close on the first Monday of every month) Tel : 084-976-6789, 081-753-6711, 081-648-1851
92 Delicacy by the Road side แ ว ะ ชิ ม ริ ม ท า ง
100 ปี ลิ ม ้ ดำ � รงค์ “ขนมจาก”ตำ�นานขนมไทยชาวปากน้ำ� เ
มื่อพูดถึงขนมจาก ใครหลายๆ คนคงจะคิดไป ว่ามีต้นกำ�เนิดจากจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นแน่.. เพราะหาได้ง่ายมีขายทั่วไป แต่ถ้าจะบอกว่าท่าน คิดผิด หลายคนคงจะมึนงงและชวนสงสัยว่า แท้จริงแล้ว ขนมจากที่เรารับประทานกันอยู่นั้นมี ต้นกำ�เนิดมาจากที่ใดกันแน่ เราจะมาเฉลยว่าจะ มีใครสักกี่คนที่จะรับรู้ว่าแท้จริงแล้วนั้น ขนมจาก มีต้นกำ�เนิดมาจากเมืองปากน้ำ�ของเรานี่เอง
W
hen talking about ‘Kanom Jak’, people tend to think that its origin was in Chachoengsao Province because it is easy to find there. But, if we say that you are wrong, you may be puzzled and wonder where the origin of this delicious ‘Kanom Jak’ is. The answer is in reality ‘Kanom Jak’ has its origin right here in Paknam.
มิถุนายน 2557 / June 2014
ในตำ�นานกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า ปากน้ำ�มีการปิ้งขนมจากกันมาเป็นเวลา ช้านาน คาดว่าเริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 คือขนมจากกล้วย ชาวปากน้ำ�มักจะปิ้ง แจกกันในหมู่เครือญาติ จนกระทั่งมีการเปิดใช้บริการรถไฟสายปากน้ำ�ทำ�ให้ที่นี่ คึกคักและมีผู้คนสัญจรผ่านไปมามากมาย ขนมจากจึงกลายเป็นของฝากที่ทุกคน แวะซื้อกลับไป ทำ�ให้แพร่หลายในต่างถิ่น จนมีผู้คนกล่าวว่า “ใครมาเที่ยวปากน้ำ� แล้วไม่มีขนมจากติดไม้ติดมือกลับไป ถือว่ามาไม่ถึงเมืองปากน้ำ�” ในอดี ต นั้ น ขนมจากได้ รั บ ความนิ ย มอย่ า งมาก ในเมื อ งปากน้ำ � มี ข ายอยู่ หลายเจ้า แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปความนิยมก็ลดลง ทำ�ให้หลายคนจำ�ต้องเลิก กิจการกันไปหมด หลงเหลือแต่เพียงร้านเล็กๆ นามว่า “ลิ้มดำ�รงค์” ที่ยังยืนหยัด ขายขนมจาก เปิดตำ�นานกล่าวขานนับ 100 ปี รุ่นแล้วรุ่นเล่าผ่านไป แต่ก็ยังคง สืบทอดตำ�นานขนมจากมิเคยเสื่อมคลายจวบจนปัจจุบัน หวังแค่ว่าความเป็นต้นกำ�เนิดของขนมประวัติศาสตร์นี้ จะยังมีคนสืบทอด และรักษาให้คงอยู่คู่เมืองปากน้ำ� ไว้เป็นอนุสรณ์เตือนความทรงจำ�ถึงเรื่องราว ทรงคุณค่าแก่คนรุ่นหลัง
93
ขนมจากลิ้มดำ�รงค์ Kanom Jak Lim Damrong
ขนมกล้วยปิ้ง, เผือกปิ้ง Banana and Taro toast
100 years of “Lim Damrong”
Kanom Jak (sweet wrapped in nipa palm leaves)… souvenir from Paknam
Story has it interestingly that the art of toasting ‘Kanom Jak’ had its place in the history of Paknam long time ago probably since the reign of King Rama II. At that time, it was made from banana wrapped in nipa palm leaves that villagers toasted and shared among their families. Once the rail service to Paknam was opened, the area was bustling with passing-by passengers and ‘Kanom Jak’ had become the popular souvenir from Paknam. There used to be a saying that “Any visitor visiting Paknam do not bring ‘Kanom Jak’ back home, he has not yet visited Paknam.” In the past when ‘Kanom Jak’ was very popular, there were numerous vendors in Paknam. When time changed and the popularity decreased, many shops had closed down. Only a small shop named “Lim Damrong” still keeps the legendary tradition of ‘Kanom Jak’ making from generation to generation over 100 years. We only hope that the making of this historical delicacy will be preserved for the younger generations to cherish. ตั้งอยู่ : เลขที่ 87 ถ.ศรีสมุทร (ตรงข้ามตลาดปากน้ำ�) ต.ปากน้ำ� อ.เมืองฯ จ.สมุทรปราการ เปิดบริการ : 6.30-20.00 น. โทรศัพท์ : 02-395-0405, 02-702-6536
Location : 87 Sri Samut Rd. Paknahm Subdistrict, Mueang Samut Prakan District, Samut Paknam Opening hours : 6.30-20.00 hrs. Tel : 02-395-0405, 02-702-6536
94 Visit to Handicrafts Center เ ยื อ น บ้ า น . . ง า น มื อ
จัสืบกสานหัสาน ก้ า นจาก ตถศิลป์ทรงค่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส
มุทรปราการมีต้นจากเป็นจำ�นวนมาก ทำ�ให้มีผู้คนนำ�มา ทำ�ประโยชน์สร้างอาชีพสร้างรายได้ ให้แก่ตนเองและชุมชน ไม่วา่ จะนำ�มาทำ�ยาสูบ มุงหลังคา ห่อขนม และอีกมากมาย เช่น เดียวกับกลุ่มคุ้งจาก จักสาน ต.บางด้วน ที่นำ�ก้านใบจากมา สานและร้อยเรียงผ่านเส้นใยเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ควรค่าแก่ การอนุรักษ์
S
amut Prakan has nipa palm in abundance that her residents make an extra income for their families and the community by turning nipa palm leaves for cigarette rolling, roofing, wrapping desserts and much more. At the nipa palm weaving group in Bang Duan Subdistrict that brings nipa palm sprigs to weave into local handicrafts worth preserving.
มิถุนายน 2557 / June 2014
95
นางสาวบำ�รุง พูลสวัสดิ์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มเล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้น มีญาติที่อาศัยอยู่ด้วยกันชื่อ “ครูแดง” เห็นว่าบริเวณนี้มีก้านจาก ถูกตัดทิ้งจำ�นวนมากเพราะชาวบ้านนำ�ใบจากไปทำ�ประโยชน์อย่างอื่น ด้ ว ยความมี ฝี มื อ ด้ า นการสานตะกร้ า มาก่ อ นจึ ง ลองนำ� มาสานดู ปรากฏว่าสามารถทำ�ได้ดมี คี ณ ุ ภาพเหมือนหวายจึงสานตะกร้าไว้หลาย ลวดลายด้วยกัน ต่อมาตนและเพื่อนบ้านได้ลองนำ�มาแกะลายและ สานตามผิดบ้างถูกบ้างจนรู้วิธี หลังจากนั้นครูแดงได้สอนวิธีการทำ�แก่ ชาวบ้านและได้จัดตั้งกลุ่มคุ้งจากจักสานขึ้นมา “สมัยก่อนบริเวณนี้ก้านจากหาง่ายไม่ต้องซื้อ แต่เมื่อผลิตภัณฑ์ มีชอื่ เสียงและขายดี ก้านจากที่เคยหาเก็บได้ ปัจจุบันไม่มีชาวบ้าน นำ�มาทิ้ง ต้องซื้อจากชาวบ้านในกิโลกรัมละ 5 บาท หนึง่ กิโลกรัม นั้นนำ�มาสานตะกร้าใบใหญ่ได้ 1 ใบ และในระยะเวลาหนึ่งวัน สมาชิกจะสามารถสานได้ประมาณ 2-3 ใบเท่านั้น โดยตะกร้าที่กลุ่ม ผลิตขึ้นจะมีลวดลายให้เลือกมากมาย ส่วนที่ขายดีจะเป็นกระเช้า และชุดสำ�รับขันโตก”
Weaving nipa palm sprig
Invaluable heritage of local craftsmanship wisdom
Miss Bumroong Poolsawasdi, the founder of the weaving group revealed that the idea originated from “Kru (Teacher) Daeng”, a cousin living together, who saw that nipa palm sprigs were discarded in the area in a large number. Since she was an experienced basket weaver, she then tried her hands on weaving nipa palm sprigs. It appeared to do well. She, therefore, weaved baskets in many designs. Miss Bumroong and neighbours tried an error to imitate weaving those designs until they understood the weaving techniques. Later on, “Kru Daeng” taught them how to do it properly. Thus, the weaving group was founded. “In the old days, it was very easy to find nipa palm sprigs. We did not have to buy. Once the products become famous and selling well, villagers no longer discard nipa palm sprigs. Weavers have to buy from villagers at 5 Baht a kilogram which can be woven into one big basket. In a day, weaving members can make only 2-3 baskets only. The best selling products are baskets and ‘Khan Tok’ (northern style food tray with stand) sets.
96 Visit to Handicrafts Center เ ยื อ น บ้ า น . . ง า น มื อ
มิถุนายน 2557 / June 2014
สําหรับวิธีทำ�เริ่มจาก นำ�ก้านจากสดๆ มาเหลาให้เรียบ สิ่งที่สำ�คัญคือก้านจากต้องสด เพราะถ้าก้านจากแห้งจะนำ�มา สานไม่ได้ การสานมีหลายรูปแบบแต่ละรูปทรงจะมีวิธีการขึ้น รูปที่แตกต่างกันออกไป จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความชำ�นาญ ของขั้นตอนนี้ เมื่อสานเสร็จนำ�ไปตากแดดให้แห้ง และนำ�ไป เคลือบด้วยนำ�ยากันมอด แมลงและปลวกให้อยู่คงทนยาวนาน เป็นอันเสร็จสิ้น ปั จ จุ บั น มี เ ด็ ก ๆ เข้ า มาศึ ก ษาเรี ย นรู้ วิ ธี ก ารทำ � มากขึ้ น และถ้าเยาวชนกลุ่มไหนสนใจทางกลุ่มยินดีสอนให้ฟรี เพื่อเป็น การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่คู่บ้านเราต่อไป The weaving procedures start from cutting the leaves from the sprigs and make them smooth. The important point is that the sprigs should be fresh because the dried ones could not be used for weaving. There are many weaving designs and each has its own shape forming method. The weaving could be quick or slow depends on this shape forming stage. Once the weaving is finished, the products will be dried in the sunlight. Subsequently, they will be coated with moth and termite repelling solution for long lasting usage. Voila, it finishes. Nowadays, children are getting more interested in learning the weaving techniques. Should any youth group interested in learning, the group is willing to teach free of charge. It is a mean to preserve the local wisdom. ท่านใดสนใจเข้าไปเลือกซือ้ ได้ท่ี เลขที่ 78 หมู่ 3 ถ.รถราง ต.บางด้วน อ.เมืองฯ จ.สมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ : 087-017-9765
Should you be interested in buying the products, please visit 78 Moo 3, Rodrang Road, Bang Duan Subdistrict, Mueang Samut Prakan District, Samut Prakan 10270 Tel : 087-017-9765
97
98 The Sun On the horizon สุ ด ฟ้ า . . ล่ า ต ะ วั น วัดขุนสมุทราวาส Wat Khun Samut Trawat (Temple in the Sea)
งต คลอ วัดทองรำ�ไพ Wat Tong Rum Pai
erm aP gT lon มิ่ K าเพ
Can al
ท่าเรือคลองตาเพิ่ม
R
Klong Ta Perm Canal Pier
E
พัฑรา โฮมสเตย์ Phattra Homestay
R CHAO PH
A Y A
V I R
สองวัน คืนเดียว เที่ยว
คลองตาเพิ่ม
ทอดน่องล่องเรือ พักโฮมสเตย์ บรรยากาศสบายใกล้กรุง !
ท่
องเที่ยว @SAMUTPRAKAN Travel ฉบับนี้เป็นฉบับ ปฐมฤกษ์ ทีเ่ ราจะพาทุกท่าน หนีความวุน่ วายในเมืองกรุง ทิ้งปัญหาการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ไปสัมผัสบรรยากาศ อันบริสุทธิ์ ณ คลองตาเพิ่ม ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ซึ่งสองข้างทางเต็มไปด้วยต้นจากน้อยใหญ่ และสัตว์นานาชนิด และที่เด็ดกว่านั้นการสัญจรเราจะใช้เรือ เป็นพาหนะคู่ใจในการเดินทาง พร้อมกับพาไปพัก ณ โฮมสเตย์ อันเงียบสงบ ผ่อนคลายชีวา ไม่รอช้าเราไปเริ่มทริปนี้กันเลย
2 days 1 night trip to
Klong Ta Perm Canal Leisure cruise in the canal and over night in a relaxing home stay near the city
T
his is an inaugural issue of @SAMUTPRAKAN Travel. We will take you away from the frenzies of the big city, leaving behind political, economic and social problems to experience the pristine atmosphere at Klong Ta Perm, Laem Fah Pa Subdistrict, Phra Samut Chedi District, Samut Prakan Province. Along the way, there are plenty of nipa palm trees and varied species of animals. And, the most cool thing is that we will travel by boat and bring you to stay overnight at a serene home stay to unwind your life. Don’t wait too long, we start moving now.
มิถุนายน 2557 / June 2014
99
100 The Sun On the horizon สุ ด ฟ้ า . . ล่ า ต ะ วั น Check-in 10.30 a.m.
Check-in 10.30
ถึงบริเวณท่าเรือคลองตาเพิ่ม มีเรือหางยาวจอดเรียงราย คอยให้บริการลูกค้า แต่ต้องขอบอกว่าการสัญจรด้วยเรือนั้น เราจะต้องเหมาเรือ ซึ่งค่าใช้จ่ายอาจจะสูงตามระยะทางที่เรา จะไปเที่ยว ซึ่งถือว่าวันนี้โชคดีที่มีท่านรองฯ ชาลี ทรัพย์ทิพย์ รองนายก อบต.แหลมฟ้าผ่า ขับเรือพาเที่ยวแบบไม่ต้องกลัว หลงทางเพราะท่านเป็นคนพื้นที่อยู่มาตั้งแต่สมัยเด็ก หลังจาก ลงเรือหางยาวแล่นไปได้สักพัก ก็พบกับบรรยากาศอันเงียบสงบ ไม่วุ่นวาย มีชาวบ้านจอดเรือหาปลา เป็นวิถีชีวิตที่หาดูได้ยากใน ปัจจุบัน เมื่อแล่นเรือลึกเข้าไปตามคลองเล็กๆ ก็สัมผัสได้ถึงอากาศ ที่เย็นลง เพราะสองข้างทางเต็มไปด้วยต้นจากที่ปกคลุมแสงแดด ถัดมาอีกนิดเห็นนกกระยาง นกกาน้ำ� และนกเขียวหวาน เกาะ โคนต้นตาลหลายสิบตัว ท่านรองฯ ชาลี เล่าว่าบางวันมีตัวนาก หลายตัวออกมาเล่นน้ำ�กันอย่างสนุกสนาน ทำ�ให้รู้ว่าพื้นที่แห่ง นี้มีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์อย่างแท้จริง
Check-in 10.45 น.
เดินทางเพียง 15 นาที ก็ถงึ พัฑรา โฮมสเตย์ (Phattra Home Stay) หรือโฮมสเตย์ป้าแป้ว สถานที่ที่เราจะได้พักสมอง จากความเหนื่อยล้าในค่ำ�คืนนี้ “สวัสดีครับเดี๋ยวผมจะทำ�ผัดไทย ให้กนิ เทีย่ งนี”้ เสียงทักทายจากเจ้าของบ้าน หลังจากเก็บสัมภาระ เรียบร้อย พบว่าบรรยากาศรอบที่พักนั้นเงียบสงบและอากาศ บริสุทธิ์มีสายลมพัดผ่านตลอดเวลา อาจเป็นเพราะว่าไม่มีมลพิษ ใดๆ เลย นอกจากต้นไม้ และบ่อเลี้ยงหอยแครงและกุ้ง “ทานข้าวเที่ยงเอาแรงก่อนครับแล้วค่อยออกไปเที่ยวกันต่อ” เสียงเจ้าของบ้าน กล่าวอย่างเป็นมิตร เมนูผดั ไทยลักษณะหน้าตา ไม่ต่างจากที่อื่นทั่วไป แต่สัมผัสแรกก็สามารถตอบได้เลยว่า ไม่เหมือนใครแน่นอน ไม่ ใช่รสชาติแต่เป็นกุ้งที่นำ�มาทำ�นั้นสด เหมือนขึ้นมาจากบ่อ ทัง้ เนือ้ แน่นและกรอบ ด้วยความแปลกใจจึงถาม และได้คำ�ตอบว่า กุ้งที่นำ�มาทำ�นั้นก็นำ�มาจากบ่อกุ้งที่เลี้ยงอยู่ ข้ า งหลั ง โฮมสเตย์ นั่ น เอง ส่ ว นอาหารที่ ทำ � เลี้ ย งผู้ ที่ ม าพั ก นั้ น ก็นำ�ขึ้นมาสดๆ จากบ่อหรือซื้อจากเรือประมงที่เขาจับไปขาย นั่นเอง หลังจากเติมพลังเรียบร้อย จึงเริ่มออกเดินทางไปเที่ยว ที่วัดขุนสมุทรจีนกันต่อ
We checked-in at Klong Ta Perm pier where long tail boats are lining up waiting for visitors. We have to warn you that the rule is to charter the boat for your own. The charge varies depending on the distance. Today we were very lucky to have Mr. Charlie Subtip, Deputy Chief of Laem Fah Pa Subdistrict Administrative Organization, steering the boat for us. He is the native of the area. After riding for a short while, we could feel the serenity, no bustling. Villagers moor their boats in the canal for fishing, the bygone way of life that we could hardly find these days. When the boat travelled deep into the canal, we could feel the coolness as both sides are covered with dense and sunlight shading nipa palm trees. Further deep inside, we could see tens of egrets, cormorants and fairy bluebirds resting at the base of palmyra palm trees. Mr. Charlie said that sometimes we could see otters playing happily in the water which makes we realize that the eco-system in this area is quite exuberant.
Check-in 10.45 a.m.
After only 15 minutes boat trip, we arrived at Phattra Home Stay known as ‘Auntie Paew’s Home Stay’ where we will overnight. “Good morning, I will make you ‘Paad Thai’ for lunch”, the host said gaily. After putting away the luggage, we found that the atmosphere surrounding the home stay is quiet and pristine because there is no pollution. Over there we are surrounding by trees, cockle and shrimps nursery ponds. “Fill up your stomach before going on your trip” the friendly host said. ‘Paad Thai’ did not looked different from elsewhere. But for the first mouthful, we could tell the difference. It is not in the taste but in the freshness of shrimps right from the nursery. The shrimps were so fresh and tasty. We found out that shrimps were from the nursery ponds behind the home stay. Other ingredients were from the ponds or from the fishing boats in the vicinity. After filling our stomach, we went on to visit Wat Khun Samut Chin. ปลาตะกรับ
spotted scat fish
มิถุนายน 2557 / June 2014
ศาลเจ้าพ่อหนุ่มน้อยลอยชาย Chao Poh Noom Noi Loi Chai Shrine
Fish nononon
Check-in 13.00 น.
เดินทางออกจากที่พักไม่นานใช้เวลาประมาณ 20 นาที ถึงจุดหมายต่อไป วัดขุนสมุทรจีน มีอุโบสถที่ถูกน้ำ�ท่วมเมื่อ ครั้งมีพายุจากอ่าวไทยและมีประวัติความเป็นมามากมาย เมื่อ ถึงท่าน้ำ�ทางเข้าวัดเราจะพบว่ามีจักรยานไว้ ให้บริการ เพราะ เราต้องปั่นจักรยานประมาณ 2 กิโลเมตรถึงจะเจอตัววัด ก่อน ที่จะเข้าไปที่วัดนั้นเราไปแวะชมวิถีชีวิตของชาวบ้านแถวนั้นกัน ว่าเขาทำ�อะไรกันบ้าง เมื่ อ ถึ ง ชุ ม ชนบ้านขุน สมุทรจีน แล้ว สิ่ง แรกที่เ ราจะต้ อ ง ทำ�เลยก็คือ กราบสักการะศาลพ่อหนุ่มน้อยลอยชาย ที่ชาวบ้าน เคารพนับถือ มีชาวบ้านกระซิบบอกว่าอธิษฐานขอพรได้สมดัง ปรารถนาแน่นอน แต่มขี อ้ แม้วา่ ขอได้เรื่องเดียวเท่านัน้ เดินถัดมา ไม่ กี่ ก้ า ว จะพบพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท้ อ งถิ่ น บ้ า นขุ น สมุ ท รจี น ที่ เ ก็ บ รวบรวมของเก่าโบราณมากมาย ไม่วา่ จะเป็นชาม เครื่องประดับ และของใช้ตา่ งๆ ทีข่ ดุ พบในบริเวณนัน้ สามารถบอกเล่าเรื่องราว ประวัติศาสตร์แห่งบ้านขุนสมุทรจีนได้เป็นอย่างดี เดินลัดเลาะบ่อปลาทีช่ าวบ้านเลีย้ งเป็นอาชีพมีทง้ั หอยแครง และกุง้ เดินเข้าไปในบริเวณบ้านไม้ทเ่ี รียงต่อกันเป็นแถวมองไกลๆ เห็นเป็นอะไรบางอย่างสีออกส้มๆ แดงๆ ตากเรียงราย ขยับเข้าไป ใกล้ถึงได้รู้ว่าเป็น “เคย” ที่ไว้ทำ�กะปินั่นเอง โดยชาวบ้านแถวนี้ นอกจากเลีย้ งกุง้ หอยและปลาแล้ว ยังทำ�กะปิเป็นอาชีพอีกอย่างหนึง่
Check-in 16.00 น.
หลั ง จากแวะบ้ า นขุ น สมุ ท รจี น แล้ ว เราปั่ น จั ก รยาน บนเส้นทางที่เต็มไปด้วยป่าโกงกาง อึดใจเดียวก็เข้าสู่วัดขุน สมุทรจีน ที่เงียบสงบ เต็มไปด้วยมนต์ขลังมากมาย โดยเฉพาะ มีลมพัดผ่านตลอดเวลา เป็นเพราะตัววัดนัน้ ยื่นออกไปยังอ่าวไทย เรียกได้ว่ารับลมทะเลก่อนใคร ยิ่งช่วงเย็นๆ ตอนพระอาทิตย์ ตกดินจะสวยเป็นพิเศษ โดยเฉพาะคันกั้นน้ำ�ที่ทำ�จากเสาไฟ เพื่ อ กั นการกั ด เซาะของน้ำ� จะมีน กนางนวลและนกกระยาง ยืนเกาะบนเสาปูนเรียงรายนับร้อยตัว เป็นเสน่ห์ที่หาดูได้ยาก
101
Check-in 01.00 p.m.
We started our trip which took only 20 minutes to arrive at our next destination, Wat Khun Samut Chin, where the main chapel is always flooded whenever there are storms in the Gulf of Thailand. This temple has a long history. Arriving at the temple’s pier, we found bicycles lining up for visitors as it is another 2 km. of cycling to reach the temple. Before arriving at the temple, we stop on the way to see the villagers’ way of life along the way. Arriving at Khun Samut Chin community, the first thing that we should pay respect to is the village shrine “Chao Poh Noom Noi Loi Chai Shrine” where villagers timidly told us that we could pray and ask for a wish to be granted. The only condition is that we could ask for just one wish only. A few steps beyond is the local Baan Khun Samut Chin community museum where many antiques are kept such as porcelains, ornaments and numerous utensils found in the area which serve as good references of the long history of Ban Khun Samut Chin. We took a path along the ponds where villagers nursing fishes, cockles and shrimps for their living. Walking into a cluster of wooden houses, from a far we could see something in reddish orange color being dried in the sun. When we got closer, we found that it is ‘tiny shrimps’ for making shrimp paste. Apart from nursing fishes, cockles and shrimps, villagers are also making shrimp paste to supplement their income.
Check-in 04.00 p.m.
After visiting Ban Khun Samut Chin, we continued cycling along the path rich with mangrove forest for a short while before arriving at the seclude and charming Wat Khun Samut Chin. Since the temple is jutting into Gulf of Thailand, it has the advantage of receiving the refreshing sea breeze. In the evening at sunset, the view is spectacular especially with hundreds of sea gulls and egrets resting on the breakwater made from concrete light poles. It is a rare charming sight.
102 The Sun On the horizon สุ ด ฟ้ า . . ล่ า ต ะ วั น
มิถุนายน 2557 / June 2014
103
Check-in 18.30 น.
ออกจากวั ด ก็ ลั ด เลาะตามลำ � คลองออกมาสู่ ค ลองตาเพิ่ ม เพื่อกลับเข้าสู่ที่พัก ช่วงเวลาพลบค่ำ�มีเรือประมงจอดรอเพื่อที่จะลง อวนหาปลาตอนน้ำ�ลง ตลอดสองฝั่งลำ�น้ำ� เมื่อจับสัตว์น้ำ�ได้ชาว บ้านก็จะนำ�ไปขายให้กับโป๊ะรับซื้อที่มีอยู่ในคลองตาเพิ่ม หลังจาก นั้นนำ�ไปขายสู่ตลาดและร้านอาหารต่อไป เป็น ภาพที่หาดูได้ยาก ในยุคสมัยนี้
Check-in 19.00 น.
เหน็ดเหนื่อยกับการเดินทางตลอดทั้งวัน ก็ ได้เวลาพักผ่อน อาบน้ำ�ชำ�ระร่างกาย เพื่อเตรียมพร้อมกับการรับประทานอาหาร โดยอาหารในค่ำ�คืนนี้ เรียกได้ว่าถูกอกถูกใจอย่างยิ่ง เพราะมีแต่ อาหารทะเลสดๆ มากมาย ทั้งกุ้ง หอยและปลา รสชาติอร่อยอย่า บอกใคร ในช่วงที่เราไปนั้นเป็นช่วงเดือนธันวาคม อากาศหนาวเย็น กว่าที่คิด มีลมพัดเย็นตลอดทั้งคืน โฮมสเตย์แห่งนี้มีทั้งหมด 3 หลัง รองรับได้ 15 คน ราคาต่อหัวอยู่ที่ 1,000 บาท มีอาหารเลี้ยง ครบทั้ง 3 มื้อ โดยเฉพาะมีห้องดูโทรทัศน์และมีคาราโอเกะไว้คอย บริการกว่า 1,000 เพลง หลังจากหนังท้องตึง หนังตาก็เริ่มจะหย่อน จึงเดินสูดอากาศอีกสักครั้ง พบว่าที่พักแห่งนี้ ให้ความสงบร่มรื่น จนรู้ สึ ก ผ่ อ นคลายจากความเครี ย ดความอ่ อ นล้ า ต่ า งๆ ไปหมด เหลือเพียงแต่ความรู้สึกสบายกายสบายใจกับธรรมชาติอันบริสุทธิ์ อย่างแท้จริง แต่น่าเสียดายที่คืนนี้ ไม่มีหิ่งห้อยออกมาให้เชยชม อย่างเคย
Check-in 06.30 น.
เข้าสู่เช้าวันใหม่ โชคดีท่ีวันนี้มีโอกาสจะได้ล่องเรือไปชมนก บริเวณปากอ่าวไทยตอนพระอาทิตย์ขึ้น ช่วงเช้าจะเห็นได้ว่าผู้คน ต่างใช้เรือเป็นพาหนะหลักในการเดินทาง ยิ่งเข้าใกล้ปากอ่าวมากขึ้น จะพบนกกระยาง นกนางนวล นกกาน้�ำ และนกเหยีย่ ว บินล่องลอย เหินเวหา เป็นจำ�นวนมาก บางตัวบินลอยอยู่ในอากาศเมื่อสบโอกาส จะบินโฉบจิกปลาเล็กที่อยู่เหนือน้ำ�อย่างรวดเร็ว บางตัวเกาะตาม กิ่งไม้เรียงรายสวยงาม นักถ่ายภาพตัวยงคงไม่พลาดบรรยากาศ แบบนี้เป็นแน่
Check-in 06.30 p.m.
We left the temple, cruising along the canal into Klong Ta Perm back to our home stay. At dusk, many fishing boats are awaiting on both banks for the low tide. They will sell their catches at the fishing stakes in Klong Ta Perm who will resell to the market and restaurants. It is another rare sight these days.
Check-in 07.00 p.m.
After the whole day trip, we took a rest and bathing before having a heartily dinner with variety of fresh sea foods be it prawns, shells and fishes. The taste is very delicious. The time of our visit was in December when the weather is cooler than usual. We enjoyed the pleasant cool breeze the whole night. This home stay has 3 buildings which can accommodate 15 persons and the charge is 1,000 Baht a head including 3 meals. For entertainment, there is a common room equipped with television and karaoke with supply of more than 1,000 songs. After dinner, we took a walk to shed the drowsiness. We found that this home stay is serene and shady that makes us feel relaxed from all stress and strains. What we feel is a genuine happiness with the pristine nature. It was unfortunate that night there were no fire flies.
Check-in 06.30 a.m.
The next morning, we were fortunate having the opportunity to do bird watching on the boat trip. Around the Gulf of Thailand at dawn, we found that people are still using boats for commuting. Getting closer to the mouth of the Gulf of Thailand, we found numerous egrets, sea gulls, cormorants and falcons gliding in the air. Some are flying high but when opportunity arises will swoop down to quickly catch small fishes on the surface. Some perch beautifully on the tree trunks. The avid photographers should not miss such an atmosphere.
104 The Sun On the horizon สุ ด ฟ้ า . . ล่ า ต ะ วั น Check-in 09.00 น.
เตรียมตัวเก็บข้าวของกลับสู่ความวุ่นวายในเมืองอีกครั้ง ก่อนกลับรับประทานข้าวต้มปลาเพื่อคลายหนาวอีกมือ้ ต้องบอกว่า เรื่องอาหารของทีน่ เ่ี ป็นอีกสิง่ หนึง่ ทีเ่ ป็นเสน่หจ์ นลืมไม่ลง ระหว่าง ทางแวะตามบ้ า นเพื่ อ ดู ก ารทำ � จากที่ เ ป็ น อาชี พ เสริ ม ของคน ท้องถิ่นแห่งนี้ ระหว่างนัง่ เรือเพื่อทีจ่ ะกลับเข้าฝัง่ ก็อดเสียดายและใจหาย ไม่ได้ที่จะต้องบอกลาบรรยากาศและวิถีชีวิตแบบนี้ ไปและกลับ เข้าสู่ความวุ่นวายในสังคมเมือง คงไม่ได้เห็น ภาพรอยยิ้มของ ชาวบ้านระหว่างนั่งเรือสวนทางกัน คงไม่เห็นภาพการช่วยเหลือ ของชาวบ้านที่ช่วยกันจับปลาในลำ�คลอง คงไม่ได้สูดอากาศ อั น บริ สุ ท ธิ์ อ ย่ า งเต็ ม ปอด คงไม่ มี ส ถานที่ ใ ดเงี ย บสงบและ ผ่อนคลายได้อย่างที่แห่งนี้ เหลือไว้เพียงมิตรภาพและความ ทรงจำ�ครั้งหนึ่งในชีวิตที่มิอาจเลือนหายไป และคงจะต้องหา โอกาสกลับมาสัมผัสบรรยากาศแบบนี้อีกสักครั้ง
check-in 09.00 a.m.
We packed our luggage for the return trip to the bustling city again. Before leaving we enjoyed boiled rice with fresh fish to peter out the coolness. Food is another charming attraction of this home stay that we will never forget. On the way, we stopped to watch the making of nipa palm products which is a supplementary career for the villagers. On the boat trip back to the mainland, we could not resist feeling pity to say good bye to such a lovely atmosphere and return to the chaotic life in the big city. We will not see the smiles on the faces of villagers while passing other boats. We will miss the sight of villagers helping each other fishing in the canal. We will miss the opportunity to inhale lungful of fresh air. There will never be other places that will be as serene and relaxing as here. We will bring back with us the fond memory of a once in the lifetime friendship that will never perish with time. We will find an opportunity to return to enjoy such an atmosphere again.
มิถุนายน 2557 / June 2014
105
พัฑรา โฮมสเตย์ พัฑรา ทรัพย์ทิพย์ (แป้ว) โทรศัพท์ : 089-200-1307 Phattra Home Stay Phattra Subthip (Paew) Tel : 089-200-1307
106 Visit to Ancient Sites of Art เ ยื อ น ส ถ า น . . โ บ ร า ณ ศิ ล ป์
Splendid Chinese
Architecture
Pay Homage to 5 Deities, a couple of the largest stone lions in Thailand, Xian Loh Tai Tian Gong Shrine.
มิถุนายน 2557 / June 2014
อลังการสถาปัตยกรรมจีน สักการะเทพเจ้า 5 พระองค์
107
ยลสิงโตหินคู่ศาลเจ้าพ่อเสียนหลอไต้เทียนกง
108 Visit to Ancient Sites of Art เ ยื อ น ส ถ า น . . โ บ ร า ณ ศิ ล ป์
เทพเจ้า 5 พระองค์ Deities From 5 families
ป
ากน้ำ�เป็นเมืองที่ประกอบไปด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติท่ี อยูร่ ว่ มกันอย่างลงตัว ไทย มอญ และจีน ทีส่ ามารถผสมผสานผ่าน ทางวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และสถานทีท่ ส่ี ามารถบอกเล่าเรื่องราว ของเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมภายใต้เชื้อชาติของตนเองได้เป็นอย่างดี ท่องเทีย่ ว @SAMUTPRAKAN Travel ฉบับนี้ เราจะพาไปยลโฉมความ งดงามของศิลปะแบบจีนและความศักดิ์สิทธิ์ของเหล่าเทพเจ้าปิดท้าย ด้วยการพาไปชมสิงโตหินคูท่ แ่ี ฝงไปด้วยความเชื่อทางคติธรรม ณ ศาล เจ้าพ่อเสียนหลอไต้เทียนกง ขับรถไปตามถนนสุขมุ วิท (สายเก่า) มุง่ หน้าสูต่ �ำ บลบางปูใหม่ ไม่ก่ี อึดใจข้างหน้าจะมาถึงจุดหมายปลายทาง นัน่ ก็คอื “มูลนิธธิ รรมกตัญญู”
หรือทีพ่ น่ี อ้ งชาวจีนเรียกติดปากว่า “ศาลเจ้าเสียนหลอไต้เทียนกง” เป็น ศาลเจ้าทีเ่ ผยแผ่ถา่ ยทอดความเชื่อทางศาสนามาจากศาลหนานคุนเซิน ไต้เทียนกงทีเ่ มืองไทหนาน หรือไถหนาน (Tainan) ประเทศไต้หวัน ซึง่ มีศรัทธาความเชื่อในเรื่องของเทพเจ้าโหงวหวังเอีย้ หรือเทพเจ้าแห่ง 5 ตระกูล โดยได้มผี อู้ ญ ั เชิญเสด็จเข้ามาในประเทศไทยตัง้ แต่ปี 2519 แต่ มีการสร้างศาลเจ้าแห่งนีข้ น้ึ ในภายหลังเมื่อปี 2534 ศาลหนานคุนเซินที่ เมืองไทหนานนั้น ถือกันว่าเป็นศาลที่ประทับของเทพเจ้าโหงวหวังเอี้ย ที่ใหญ่ท่สี ุดและเก่าแก่ท่สี ุดของไต้หวัน ถ้านับตั้งแต่ความเชื่อเกี่ยวกับ เทพเจ้าโหงวหวังเอีย้ ได้เผยแผ่จากจีนแผ่นดินใหญ่เข้าสูไ่ ต้หวันก็ตอ้ งนับ เวลาย้อนกลับไปตัง้ แต่เมื่อ 300 กว่าปีกอ่ น
มิถุนายน 2557 / June 2014
109
สถาปัตยกรรมแบบจีนแท้ๆ หลังคาประดับด้วยสัตว์ มงคลทั้งหงส์และมังกร
Genuine Chinese architecture that the roof is adorned with auspicious animal figurines both swans and dragons
เกร็ดความรู้
แท่นบูชาฟ้าดิน การไหว้ฟ้า หรือเจ้าฟ้า คือการไหว้เทพ สุริยัน (เทพพระอาทิตย์) ซึ่งเป็นผู้ชาย การไหว้ดนิ หรือเจ้าดิน คือการไหว้พระแม่ธรณี ซึง่ เป็นผูห้ ญิง การไหว้ฟ้าดิน นั้น เชื่อว่าผู้ไหว้จะทำ�มาค้าขายดี สุขภาพ แข็งแรง เดินทางปลอดภัย ลาภผลดี ลูกหลานดี การไหว้ต้องหันหน้าไปทิศตะวันออก และให้อยู่กลางแจ้ง เพื่อรับผลพลังจากแสงอาทิตย์
แท่นบูชาฟ้าดิน หรือทีเ่ รียกว่า ทีต่ แ่ี ป่บอ้ Altar to worship Heaven and Earth Gods which is called Ti Di Pae Bo
It is known for a long time that many ethnics have chosen to make Samut Prakan their homes be it the Thai, Mon and Chinese. They live in harmony with each other through the blending of cultures and traditions. Places can well reflect the history. In this issue, @SAMUTPRAKAN Travel will take the readers to admire the beauty of Chinese arts and the sanctity of deities at Xian Loh Tai Tian Gong Shrine. Driving along the old Sukhumvit Road heading for Bang Pu Mai we soon arrive at our destination “Dharma Katanyu Foundation” or the Chinese calls “Xian Loh Tai Tian Gong Shrine”. It was built following the religious belief of Nan Kun Sern Tai Tian Fu Foundation in Tainan, Taiwan. They believe and respect 5 Deities (Wu Wang Ye) or deities from five families that were
Practical Tips Altar to worship Heaven and Earth Gods : Paying homage to the heaven is to pay homage to Sun God which is a male Paying homage to Earth God is to pay homage to Phra Mae Thorani which is a female Paying homage to Heaven and Earth Gods is a belief that worshippers will have prosperous business, will be healthy, fortunate and have good descendants. To pay homage, worshippers should face the East and be in the open space in order to receive the full benefits of the solar power.
brought into Thailand in 2519 B.E. (1976 A.D.) but the shrine was built later in 2534 B.E. (1991 A.D.). Nan Kun Sern Shrine in Tainan is the largest and oldest shrine for the 5 Deities. The belief in the 5 Deities was spread from main land China to Taiwan over 300 years ago.
to Ancient Sites of Art 110 Visit เ ยื อ น ส ถ า น . . โ บ ร า ณ ศิ ล ป์
ในแต่ละปีจะมีผศู้ รัทธาไปกราบไหว้และนักท่องเทีย่ วทีเ่ ดินทาง ไปท่องเทีย่ ว ทีศ่ าลหนานคุนเซิน เมืองไทหนาน ปีละไม่ต�ำ่ กว่า 4 ล้านคน ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ท่วั ทั้งไต้หวันมีสาขาของศาลหนานคุนเซินกระจาย กันอยูท่ ว่ั ไปมากกว่า 7,500 แห่ง ในเมืองไทยเองก็มศี าลเจ้าอีกแห่งหนึง่ คือ ศาลเจ้าไท่หนานไต้เทียนกง อยู่ที่ถนนท่ากลาง ตำ�บลทับเที่ยง อำ�เภอเมืองฯ จังหวัดตรัง เมื่อเดินเข้ามาก็สามารถสัมผัสได้ถงึ สถาปัตยกรรมแบบจีนแท้ๆ โดยรูปแบบของศาลเจ้านัน้ มีตน้ แบบมาจากศาลเจ้าของมูลนิธหิ นาน คุณเซินไต้เทียน ฟู่ ที่ไต้หวัน โดยมีสถาปนิกชาวไต้หวันแท้ๆ มาดูแล ขัน้ ตอนการสร้างอีกด้วย “ศาลเจ้าเสียนหลอไต้เทียนกง” ได้รบั การ ถ่ายทอดความเชื่อทางศาสนามาจากมูลนิธิหนานคุณเซินไต้เทียนฟู่
ซึง่ มีความศรัทธาในเรื่องเทพเจ้าโหงวหวังเอีย้ หรือ เทพเจ้าแห่ง 5 ตระกูล โดยได้มผี อู้ ญ ั เชิญเสด็จเข้ามาในประเทศไทยตัง้ แต่ปี พ.ศ.2519 แต่เพิง่ มาสร้างศาลเจ้าแห่งนีข้ น้ึ ในภายหลังเมื่อปี พ.ศ.2534 สิ่งแรกเมื่อเราไปถึงศาลเจ้าจีนก่อนที่จะเริ่มสักการะเหล่าเทพเจ้า เราควรจะเริม่ จากการกราบไหว้ฟา้ ดิน (ทินกง) ด้านนอกศาลเจ้า เป็น ธรรมเนียมที่ชาวจีนสืบทอดปฏิบัติกันมา ซึ่งมีความเชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และดวงวิญญาณของบรรพบุรษุ จะไปสถิตอยูเ่ บือ้ งบนสรวงสวรรค์ เมื่อ สักการะบูชาแล้วท่านจะดลบัลดาลให้ได้รบั ความร่มเย็นเป็นสุข ระหว่าง กำ�ลังนำ�ธูปมาปักตรงกระถางธูป สายตาก็สะดุดกับสิงโตหินคู่ใหญ่ ตัง้ ตระหง่านอยูบ่ ริเวณหน้าศาลเจ้า สอบถามจากผูด้ แู ลศาลเจ้า จึงได้รู้ ว่าเป็นสิงโตหินแกะสลักที่ใหญ่ทส่ี ดุ ในประเทศไทย
มิถุนายน 2557 / June 2014
Each year, more than 4 million believers and tourists visit Nan Kun Sern Shrine in Tainan. Presently across Taiwan, there are more than 7,500 shrines of 5 Deities. In Thailand, another shrine of 5 Deities is Tainan Tai Tian Gong Shrine at Ta Klang Road, Tambon Tubtiang, Muang Disrict, Trang Province. Entering the compound, we will see genuine Chinese architecture. The style of the shrine follows the original shrine at Nan Kun Sern Tai Tian Fu Foundation in Taiwan and the construction was supervised by Taiwanese architects. “Xian Loh Tai Tian Gong Shrine” inherits the religious belief from Nan Kun Sern Tai Tian Fu Foundation which is faithful to Wu Wang Ye Deities or the gods of 5 families which were brought into Thailand since 2519 B.E. (1976 A.D.). However, the shrine was built later in 2534 B.E. (1991 A.D.)
111
The first thing that we should do upon arriving at the shrine is paying homage to Heaven and Earth (Tian Gong) outside the shrine. It is the tradition observed by Chinese people for generations. It is believed that holy things and the spirits of ancestors have their places in the heaven. Paying homage to them will bring worshippers happiness and good luck. While placing incense sticks in the incense burner, we are struck by the sight of a couple of huge stone lions standing majestically in front of the shrine. By asking the shrine caretaker, we know that this couple of stone lion is the biggest stone lions in Thailand.
112 Visit to Ancient Sites of Art เเ ยืยื ออ นน สส ถถ าา นน .. .. โโ บบ รร าา ณณ ศิศิ ลล ป์ป์
กราบไหว้เทพเจ้า
“อู๋ฟู่เฉียนสุ่ย (โหงวหวังเอี้ย)” เข้ามาถึงด้านในวิหารเทพเจ้า 5 พระองค์ เป็นวิหารหลังใหญ่ ที่อยู่ตรงกลาง ยิ่งตื่นตาตื่นใจกับสถาปัตยกรรมแบบจีนที่งดงาม สีสันสวยงามโดดเด่นด้วยสีแดง-ทอง อย่างบนหลังคาปูกระเบื้อง และประดับประดาด้วยสัตว์มงคลตามความเชื่อของชาวจีน มีทง้ั หงส์ และมังกร และยังมีตัวละครในนิทานพื้นบ้านเก่าแก่ของชาวจีนอีก ด้วย จากนัน้ จึงเริม่ สักการะและขอพรจากเหล่าเทพเจ้า ซึง่ ด้านหน้า เป็นวิหารใหญ่ของศาลเจ้า “เสียนหลอไต้เทียนกง” เป็นที่ประทับ ของเทพเจ้า “อูฟ๋ เู่ ฉียนสุย่ หรือ โหงวหวังเอีย้ ” หมายถึงเทพเจ้า 5 พระองค์ โดยมาจากตระกูลที่แตกต่างกัน แต่มีจิตใจและแนว ความคิดที่คล้ายคลึงกัน นั บ ว่ า เป็ น ยอดขุ น พลที่ มี ค วามโดดเด่ น ทั้ ง ในด้ า นสติ อู๋ฟู่เฉียนสุ่ย หรือ โหงวหวังเอี้ย เทพเจ้า 5 พระองค์ ปัญญา การต่อสู้ คุณธรรม ความ Wu Fu Xian Suai or Wu Wang Ye, the 5 Deities ซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต เป็ น ขุ น นางที่ จงรักภักดีของกษัตริย์จีนเมื่อ เกือบ 1,400 ปีกอ่ น ทีช่ อื่ เสียง ของเทพทั้ง 5 องค์ ได้เลื่องลือ ขึ้น ไปถึง สวรรค์ จนเบื้อ งบน เทพเจ้าฮกลกซิ่ว แต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการ ทำ� Fu Lu Shou หน้ า ที่ ค อยสอดส่ อ งดู แ ลมวล มนุษย์ และมีความเชื่อกันว่า เทพเจ้า 5 พระองค์ Deities From 5 families หากได้ ม าบู ช าโหงวหวั ง เอี้ ย จะช่ ว ยคุ้ ม ครองให้ มี ชี วิ ต ที่ ร่ ม เย็ น ราบรื่น ประสบแต่ความสุข ความสำ�เร็จ ความเจริญรุ่งเรือง สุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัย และหากอธิษฐานสิ่งใดก็จะได้ สมดังปรารถนา นอกจากนี้ด้านล่างยังเป็นที่ประดิษฐานของศาล เจ้าพ่อเสืออีกด้วย เดินออกมาทางด้านขวามือของวิหารใหญ่ จะพบที่ประทับ ของเทพจงเจียงจวิน (เทพเจ้าแห่งขุนพล) ส่วนวิหารทางด้านซ้าย ดวงไฟมัง่ มีเงินทอง มือเป็นวิหารองค์เจ้าพ่อหลักเมือง (เฉินหวงเหย่) และถัดไปเป็น Lamp of Wealth ศาลเจ้าแม่เต้าหรือเจ้าแม่ขุมทรัพย์ ชาวบ้านส่วนใหญ่จะมาขอพร ภายในวิหารทีป่ ระทับของเทพจงเจียงจวิน (เทพเจ้าแห่งขุนพล) ให้ครอบครัวร่ำ�รวย โดยที่วิหารจะมีเต้าไว้ ให้เซ่นไหว้ ภายในเต้า Inside the shrine for Jong Jiang Quin Deity ประกอบไปด้วยของต่างๆ ทีม่ คี วามหมายตามความเชื่อถึง 7 ชนิดคือ (Deity of Warlord) กระจก ไม้บรรทัด กรรไกร ดาบ ตราชั่ง ร่ม และป้ายชื่อ นอกจาก นี้ท่านใดที่เกิดในปีชงก็สามารถแก้ชง โดยการเขียนชื่อลงกระดาษ แล้วนำ�มาบรรจุไว้ ในหีบ แต่ขั้นตอนนี้จะต้องมีการทำ�พิธีกรรม จากเทพเจ้าในการบรรจุเสียก่อน
มีนาคม / March 2013 มิถุน2557 ายน 2557 / June 2014
113 113
Worshipping
Wu Fu Xian Suai (Wu Wang Ye)
The 5 Deities are enshrined in the largest shrine in the middle of the temple. We are awe struck with the magnificent Chinese architecture with prominent red and gold colors. The roof is adorned with auspicious animal figurines like swans, dragons and also characters from old Chinese folk tales. From here, we start paying homage to Deities. The front part of the Xian Loh Tai Tian Gong main shrine is the seats of the 5 Deities from 5 families who shared the same thinking and concept. They were regarded as the leading noblemen who were outstanding in intelligence, fighting, integrity, and honesty. The legend has it that they were highly loyal to Chinese Emperor who ruled China almost 1,400 years ago and their reputations celebrated in the Heaven. Therefore, the Heaven appointed them inspectors to monitor mankind. It is believed that by
worshipping Wu Wang Ye, worshippers will be happy, successful, prosperous and healthy. And if they make a wish for anything, they will be granted as they wish On the right hand side of the main chapel is the seat of Jong Jiang Quin Deity (Deity of Warlord), on the left is the seat of Deity of City Pillar (Zhen Huang Ye) and next is the seat of Goddess of Gourd or Goddess of Treasure which visitors always pray for richness. The shrine provides gourds which contain 7 objects according to the belief i.e. mirror, ruler, scissors, sword, weighting scale, umbrella and name tag for worshipping. Besides, those who are born in the years in conflict with the current year zodiac can write their names and put in the box but this step needed a ritual from the God before putting in the box.
114 Visit to Ancient Sites of Art เ ยื อ น ส ถ า น . . โ บ ร า ณ ศิ ล ป์
วิหารพระโพธิสตั ว์อวโลกิเตศวร
Shrine of Bodhisattava Avalokitesvara
บูชาพระโพธิสัตว์กวนอิม วิหารด้านหลังอยูต่ รงแนวเดียวกันกับวิหารของเทพโหงวหวังเอีย้ เป็นทีต่ ง้ั ของวิหารพระโพธิสตั ว์กวนอิม ซึง่ ขนาบไว้ดว้ ยแท่นบูชาของ เทพหุย่ ท้อผ่อสัก แท่นบูชาของเทพกวนอูและองค์ 18 พระอรหันต์ อยู่ภายในวิหารเดียวกัน ตามตำ�นานเล่าว่า “เจ้าแม่กวนอิมมหา โพธิสตั ว์ (อวโลกิเตศวร) เป็นพระโพธิสตั ว์ผมู้ พี ระเมตตา เพราะ ท่านไม่ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า เหมือนพระโพธิสัตว์องค์อื่นๆ แต่ทรงแบ่งภาคได้หลายภาค เพื่อมาโปรดสรรพสัตว์ท้งั หลายให้ พ้นทุกข์” มีความเชื่อว่าผู้ ใดกราบไหว้บูชาท่านด้วยจิตใจที่แน่วแน่ ศรัทธาจะประสบผลสำ�เร็จอันพึงปรารถนาได้อย่างน่ามหัศจรรย์ และสามารถช่วยปัดเป่าความทุกข์และภยันตรายให้ทา่ นทีเ่ ดือดร้อน โดยตั้งจิตอธิษฐานให้แน่วแน่ก็จะได้ผลสำ�เร็จอันพึงปรารถนาทุก ประการ ด้านขวามือของวิหารพระโพธิสตั ว์กวนอิมจะเป็นวิหารของฮก เต็กเจี่ยสิน หรือแป๊ะกง ด้านซ้ายมือเป็นวิหารเจ้าแม่บังเกิดเกล้า หากคูส่ ามีภรรยาทีย่ งั ไม่มลี กู ก็สามารถมาขอพรให้มบี ตุ รได้ สุดท้าย ตรงมาวิหารหว่านซ่านเหย่ หรือเทพเจ้าแห่งคุณงามความดี ภายใน องราง หรือ ฮู้ วิหารมีศลิ ปวัฒนธรรมของชาวจีนโบราณและงานแกะสลักหินอย่าง เครื่ Chinese amulets วิจติ รงดงาม
ป้ายอธิษฐานจิต Wishing Tags
มิถุนายน 2557 / June 2014
115
บรรยากาศโดยรอบวิหาร Shrine Atmosphere
Worshipping Guan Bodhisattava
Yin
The shrine is directly behind the Wu Wang Ye Shrine sandwiched between the altars of Hui Toh Poh Sak Deity, Guan Yu Deity and the 18 Buddhist Saints in the same shrine. According to the legend, Guan Yin Supreme Bodhisattava (Avalokitesvara) is respected as the Bodhisattava with mercy because she did not want to be Lord Buddha like other Bodhisattavas. She could reincarnate in many forms to save mankind from sufferings. It is believed that those worshippers who faithfully pay homage to Guan Yin will be miraculously successful and their sufferings will be dispelled. On the right hand side of Guan Yin Shrine is Hok Tek Jia Sin or Paeh Gong, on the left is the shrine of Progenitor Goddess. Couples who do not have children yet can pray for off springs. Finally, go straight to the shrine of Wan San Ye or Deity of Goodness. The interior showcases ancient Chinese art and culture and magnificent stone carvings.
เกร็ดความรู้ : อีกอย่างคือการเดินเข้าประตู ผู้มากราบสักการะ ควรจะเดินเข้าวิหารทางด้านขวาและออกทางด้านซ้าย ที่สำ�คัญ อย่าได้เดินเข้าประตูตรงกลางเพราะนั่นเป็นประตูของเทพเจ้า Tip : visitors or worshippers should enter the shrine by the right hand side entrance and use the one on the left hand for exit. Never use the middle door as it is the door of Deity.
116 Visit to Ancient Sites of Art เ ยื อ น ส ถ า น . . โ บ ร า ณ ศิ ล ป์
สิงโตหินแกะสลักใหญ่สุดในไทย สิงโตคู่ต้ังอยู่ด้านหน้า สิงโตคู่น้ีเป็นสิงโตคู่ท่ีใหญ่ท่ีสุดใน ประเทศไทย โดยแกะสลักขึน้ จากหินหยกเขียว นำ�เข้าจากประเทศจีน สิงโตคู่ตามความเชื่อของชาวจีนนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อ ความเป็นสิริมงคล และสำ�หรับสิงโตคู่ท่ศี าลแห่งนี้ได้รับการปลุก เสกคาถาศักดิ์สิทธิ์จากนักพรตในลัทธิเต๋า ที่ถือคติความเชื่อว่า สิงโตคูม่ คี วามศักดิส์ ทิ ธิส์ ามารถกำ�จัดสิง่ ชัว่ ร้าย ภูตผีปศี าจ และ สิง่ อาถรรพ์ทง้ั ปวงได้
The largest stone lions
in Thailand
The couple of stone lions in front of the shrine are the biggest in Thailand carved from green jade imported from China. It is believed that couples of lion statues symbolize prosperity or good luck. This couple of lions are consecrated by Taoist ascetics and it is believed that couples of lions are sacred and could help eliminating evils, ghosts, curses or spells.
เคล็ดลับวิธีกราบไหว้ เริ่ ม ตามลำ � ดั บ ตั้ ง แต่ ไหว้ ฟ้ า ดิ น (ทิ น กง) 1.เทพโหงวหวั ง เอี้ ย (เทพพระเจ้า 5 พระองค์) 2.เทพจงเจียงจวิน (เทพเจ้าแห่งขุนพล) 3.เฉินหวงเหย่ (องค์เจ้าพ่อหลักเมือง) 4.เจ้าแม่เต้า (เจ้าแม่ขมุ ทรัพย์) 5.พระโพธิสัตว์กวนอิม 6.ฮกเต็กเจี่ยสิน (องค์แป๊ะกง) 7.เจ้าแม่ บังเกิดเกล้า และ 8.หว่านซ่านเหย่ (เทพเจ้าแห่งคุณงามความดี)
Worshipping Tips
Worshippers should start worshipping sequence in following order: first, paying homage to Heaven & Earth; then 1. WuWang Ye; (The 5 Deities) 2. Jong Jiang Quin (Warlord Deity); 3. Zhen Huang Ye (City Pillar God); 4. Goddess of Gourd (Goddess of Treasure); 5. Guan Yin Bodhisattava; 6. Hok Tek Jia Sin (Paeh Gong); 7. Progenitor Goddess and 8. Wan San Ye (Deity of Goodness).
มิถุนายน 2557 / June 2014
ศาลเจ้ามูลนิธิธรรมกตัญญู (เสียนหลอไต้เทียนกง)
สถานที่ตั้ง : บนถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ต.บางปูใหม่ อ.เมืองฯ จ.สมุทรปราการ การเดินทาง : ใช้ถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ทางเดียวกันกับที่ ไป เมืองโบราณ (ทางเข้าศาลเจ้าฯ อยู่ห่างจากปากทางเข้าเมืองโบราณ ประมาณ 1 กิโลเมตร) เปิดบริการ : ทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์ : 02-323-3120-5
Dharma Katanyu Foundation (Xian Loh Tai Tian Gong)
117
Location : Old Sukhumvit Road, Bang Pu Mai Subdistrict, Muang Samut Prakan District, Samut Prakarn Travel : Take Old Sukhumvit Road the same direction to the Ancient City (the entrance to the shrine is about 1 km. away from Ancient City) For more information Tel : 02-323-3120-5
118 Stories of Paknam ร้ อ ย เ รื่ อ ง เ มื อ ง ป า ก น้ำ �
สามล้อถีบ..
วิถีชีวิตดั้งเดิมชาวพระประแดง
Pedicab..Traditional Lifestyle of Phra Pradaeng residents
ห
ากย้ อ นอดี ต กลั บ ไปราว 40-50 ปี ก่ อ น ระบบคมนาคมและขนส่ ง ที่ สำ � คั ญ ของไทยคงหนี ไ ม่ พ้ น รถไฟเป็ น แน่ ด้ ว ยความที่ ใ นสมั ย นั้ น ยั ง ไม่ เ จริ ญ ก้ า วหน้ า อย่ า งปั จ จุ บั น ยั ง มี อี ก สิ่ ง หนึ่ ง ที่ สำ � คั ญ ไม่ แ พ้ กั น คื อ “สามล้อถีบ” ทีใ่ ช้เป็นพาหนะหลักในการเดินทางบนถนนนอกจากจักรยาน ถ้าเทียบ คงจะเหมือนรถมอเตอร์ ไซค์ ในปัจจุบัน เมื่อเวลาผ่านไปความสะดวกสบาย และความทันสมัยกลับกลืนวิถชี วี ติ ดัง้ เดิมหายไป จนปัจจุบนั แทบจะหาชมได้ยาก
G
oing back in time about 40-50 years ago, as the country was not yet developed as in the present time the important means of transportation in Thailand was surely the railway. Another equally important means of transportation was “pedicab” or trishaw which was then a major means of travelling apart from bicycle. If we compare to this modern day of daily use vehicle, it was like travelling by motorcycles. Time and modern comfort have devoured the traditional way of life that can hardly be seen these days.
มิถุนายน 2557 / June 2014
119
120 Stories of Paknam ร้ อ ย เ รื่ อ ง เ มื อ ง ป า ก น้ำ � พระประแดง ยัง ดำ � รงเอกลั ก ษณ์ วิ ถี ชี วิ ต วั ฒ นธรรมและประเพณี ไว้ ม ากมายโดยเฉพาะ อ า ชี พ “ ส า ม ล้ อ ถี บ ” เอกลั ก ษณ์ อั น โดดเด่ น จอดเรียงรายทัว่ บริเวณตลาด พระประแดงแต่ กำ � เนิ ด เป็ น เสน่ ห์ วิ ถี ชุ ม ชนที่ ห า ชมได้ยากในปัจจุบัน นายบุญเริ่ม ล้อมทอง นักปั่นรุ่นเก๋า วัย 50 ปี เล่าว่า พื้นเพเป็นคนพระประแดงเรียกได้ว่า เกิดมาก็เห็นสามล้อถีบตั้งแต่เด็กๆ ได้เริ่มอาชีพนี้ตั้งแต่ อายุ 10 ขวบ โดยในสมัยก่อนนัน้ เมืองพระประแดงใช้การ คมนาคมทางจักรยานและสามล้อ โดยเฉพาะผู้คนที่มา จั บ จ่ า ยซื้ อ ของที่ ต ลาด เพราะสามารถขนของได้ เ ยอะ ปัจจุบันสามล้อเหลือไม่ถึง 200 คัน ถือว่าน้อยเต็มที “เพราะในปัจจุบันนั้นระบบการขนส่งมีความเจริญ ก้าวหน้าไปมาก ทั้งความสะดวกสบายและรวดเร็ว ผิด กั บ สามล้ อถี บ ที่ เชื่ องช้ า ไม่ ทั น ใจทำ � ให้ ค วามนิ ยมลดลง” นายบุญเริ่ม กล่าวทิ้งท้าย อนาคตข้างหน้า เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไป สามล้อถีบ ที่ ทุ ก คนคุ้ น ตาตั้ ง แต่ อ ดี ต ถึ ง ปั จ จุ บั น ซึ่ ง เปรี ย บเสมื อ น กระจกบานใหญ่สะท้อนวิถชี วี ติ ดัง้ เดิมของชาวพระประแดง ทีน่ บั วันกลับน้อยลงทุกทีหากวันนีเ้ ราไม่ชว่ ยกันดูแลเก็บรักษา ให้คงอยู่ ในอนาคตคงไม่มีภาพความทรงจำ�เหล่านี้ ไว้ ให้ คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และศึกษารากเหง้าประวัติศาสตร์อีก ต่อไป
มิถุนายน 2557 / June 2014
Phra Pradaeng still maintains the unique way of life, culture and tradition particularly the “pedicab” career, the unique identity of Phra Pradaeng, lining up around Phra Pradaeng central market. It is a rare and charming way of life that could hardly be found these days. Mr. Boonrerm Lomthong, 50 years old pedicab rider, told us that he is a native of Phra Pradaeng who has seen pedicab since he was very young. He started riding trishaw since he was 10 years old. In the old days residents of Phrapradaeng commuted by bicycles and trishaws particularly those who shopped at the market because pedicab or trishaw could carry a lot of loads. At present, there are only around 200 trishaws which is considered very few in service. “At present the transportation system is highly advanced, very convenient and fast, different from the trishaw that is very slow. Thus, the popularity declines.” Mr. Boonrerm said. In the future, the familiar sight of pedicab from the past until the present days could fade away. It is like a big mirror reflecting the traditional Phra Pradaeng way of life. If today we do not preserve this identity, in the future there will not be such a memorable sight for the new generations to study and cherish their historical roots.
รถสามล้ อ ถื อ กำ � เนิ ด ขึ้ น ในประเทศไทย เป็ น ครั้ ง แรกที่จัง หวั ด นครราชสี ม า โดยนำ � รถลากหรื อ รถเจ๊ ก มาดั ด แปลงร่ ว มกั บ จักรยาน ถือว่าเป็นต้นแบบของรถสามล้อที่ใช้ รับ-ส่งผู้ โดยสารจนแพร่หลายในปัจจุบัน
Pedicab was introduced for the first time in Thailand at Nakhon Ratchasima Province by adapting the rickshaw to the bicycle as the prototype for the popular pedicab.
121
122 Stories Told สื บ ม า เ ล่ า
129 ปี
พระปรางค์ เ อี ย ง โบราณสถานทรงคุณค่าแห่งวัดสาขลา วั
ดสาขลา รายล้ อ มด้ ว ยชุ ม ชนอั น เป็ น มรดกทาง วัฒนธรรม มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาแต่ครั้ง สมัยอยุธยาตอนต้น สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2325 สันนิษฐานว่า ชาวบ้านช่วยกันสร้างเมื่อคราวรบชนะ พม่า แต่เดิมหมู่บ้านที่ตั้งวัด เรียกกันว่า “สาวกล้า” ตามวีรกรรมของบรรดาวีรสตรีที่ร่วมกันต่อสู้กับทหาร พม่าอย่างกล้าหาญ ต่อมาคำ�พูดเพี้ยนมาเป็นสาขลา ทำ�ให้นามวัดเปลี่ยนมาเป็น “วัดสาขลา” ตามไปด้วย
W
at Sakhla is surrounded by communities which is a cultural heritage setting. The temple has had a long history since the early period. It was built around 2325 B.E. (1782 A.D.). It is presumed that villagers cooperatively built the temple to mark the victory over the invaders. In the old days, the village where the temple is situated was called “Sao Khla” (literally means “courageous women) following the heroic fight of the female villagers against the invading Burmese. With time passing, the village’s name has worn down to “Sakhla”. Thus, the name of the temple has been changed to “Wat Sakhla” as well.
วัดสาขลา เลขที่ 19 หมู่ 3 ตำ�บลนาเกลือ อำ�เภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โทรศัพท์ : 02-818-4030 Wat Sakhla Location : No.19 Moo 3. Naklua Subdistrict, Phra Samut Chedi District, Samut Prakan Tel : 02-818-4030
มิถุนายน 2557 / June 2014
“พระปรางค์เอียง” เอกลักษณ์อันโดดเด่นแห่งวัดสาขลา มีลักษณะเป็นพระปรางค์เก่าแก่ ตั้งอยู่ริมคลอง มียอดเอนเอียง จากจุดตั้งฉากไปทางทิศตะวันตกประมาณ 15 องศา โดยมีเรื่อง เล่าสืบต่อกันมาว่าในการก่อสร้างพระปรางค์นน้ั ชาวบ้านเกรงกัน ว่ า พระปรางค์ จ ะเอนล้ ม ไปทางทิ ศ ตะวั น ออกแล้ ว จะล้ ม ลงไป ในคลอง จึงวางเสาเข็มทางด้านคลองไว้มาก ด้านในองค์พระปรางค์ มี เ สาเข็ ม น้ อ ย พระปรางค์ จึ ง เอนเอี ย งดั ง ที่ เ ห็ น ในปั จ จุ บั น นี้ สำ�หรับความคงทนแข็งแรงของปูนที่ใช้ก่อสร้างองค์พระปรางค์ ชาวบ้านได้ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการนำ�อ้อยมาตำ� จากนั้น นำ�น้ำ�อ้อยมาผสมเข้ากันกับปูน ดังนั้นองค์ พระปรางค์จึงมี ความคงทนแข็งแรงเป็นพิเศษ สำ�หรับยุคสมัยในการก่อสร้าง องค์พระปรางค์มีการจารึกบนแผ่นศิลาไว้ว่า “ศุภมัสดุ พระพุทธ ศาสนยุกาล เป็นส่วนอดีตกาลสมัยล่วงแล้ว 2427 พรรษา ปัตยุบันกาล มภฏร สังวัจฉระ เฉตถมาศ กาฬปักษ์ จตุตถ ดิ ถี คุ รุ ว าร ปริ เ ฉทการ กำ � หนดเป็ น วั น ฤกษ์ แ รก ลำ � ดั บ อิติพระสถูปนี้ กระทำ�การอยู่ปีหนึ่งกับอีกหกเดือนจึงสำ�เร็จ” และ ได้ ใช้ปูนในการก่อสร้างเป็นจำ�นวนหลายร้อยเกวียน เป็น เวลากว่า 129 ปี ที่โบราณสถานอันทรงคุณค่าแห่งนี้ ยังยืนหยัด คู่ประวัติศาสตร์แห่งวัดสาขลาจวบจนทุกวันนี้... วัดแห่งนี้ยังเป็นที่ประดิษฐาน “องค์หลวงพ่อโต” พระพุทธ รู ป ปางมารวิ ชั ย ศิ ล ปะสมั ย อู่ ท อง ที่ ช าวบ้ า นสาขลาเคารพ ศรัทธา ยึดเหนี่ยวเป็นที่พึ่งทางใจกันมานาน และพิพิธภัณฑ์ พื้นบ้าน เปรียบเสมือนศูนย์รวมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของ หมู่บ้านอีกด้วย ทรงคุ ณ ค่ า ด้ ว ยศิ ล ปะร่ ว มสมั ย ระหว่ า ง ปลายอยุ ธ ยา ผสมผสานสมัยธนบุรี มีลักษณะรูปทรงคล้าย องค์พระปรางค์ วัดอรุณฯ ริมฝั่งแม่น้ำ�เจ้าพระยา เพียงแต่ความสูง ขององค์พระ ปรางค์วัดสาขลา สูงประมาณ 20 เมตร ฐานทั้ง 4 ด้าน มีความ กว้างประมาณ 8 เมตร มีพระกำ�แพงแก้ว ล้อมรอบ มีประตูทาง เข้า 3 ด้าน ด้านที่ 1 ประตูทางเข้าทางทิศตะวันออก ด้านที่ 2 ประตูทางเข้า ทางทิศตะวันตก ด้านที่ 3 ประตูทางเข้า ทางทิศใต้ ซึ่งหันหน้าเข้ากรุงเทพฯ มีองค์พระปรางค์เจดีย์ องค์บริวาร 4 องค์ 4 ทิศล้อมรอบ จะแตกต่างจากวัดอรุณฯ ก็ตรงที่ หน้าประตูทาง เข้า ด้านทิศตะวันออก นอกพระกำ�แพงแก้ว มีองค์พระปรางค์ เจดีย์ องค์บริวาร องค์เล็ก อยู่หน้าประตูอีก 2 องค์
พิพิธภัณฑ์บ้านสาขลา และแหล่งรวบรวมของโบราณเก่าแก่ Baan Sakhla Folk Museum and collection of ancient artifacts
123
129 Years “Leaning Stupa”
Invaluable Archaeological Site
at Wat Sakhla
“Leaning Stupa”, an outstanding landmark of Wat Sakhla, is an ancient stupa located by the canal. The tip is leaning to the west by approximately 15 degree. Story has it that during the construction, villagers were afraid that stupa would lean to the east and possibly fall into the canal. Therefore, villagers laid foundation piles on the canal side more than inside the stupa. Hence, the stupa leans as we see today. Villagers applied native wisdom in mixing the mortar with sugar cane juice which makes the stupa highly durable. For the construction time, there is a stone inscription that reads “It was the time that Buddhism had been flourishing for 2427 years that this stupa was finished. The construction took place for one and a half years to complete.” Tons of mortar was used in building this stupa. It has been over 129 years that this invaluable archaeological site has been standing tall at Wat Sakhla until nowadays. “Luang Poh Toh” is an U-thong art style big Buddha Image in Subduing Mara posture enshrined in the main chapel and is highly revered by the villagers for a long time. The local community museum is nearby serving as the center for history of the village as well. The artistic value of the leaning stupa is the blending of the late Ayuthhaya with the Thonburi period artistic styles. The shape is somewhat similar to that at the Temple of the Dawn on the Chao Phraya River only that the height is different. The one at Wat Sakhla is approximately 20 meters high, each of the 4 bases is about 8 meters wide with low surrounding walls. There are three entrances: the first one is on the east, the second on the west and the third on the south facing Bangkok. There are also 4 smaller stupas on all four sides. What is different from the Temple of the Dawn is that outside the low surrounding wall on the east there are two smaller stupas in front of the entrance.
Out 124 Chill ท่ อ ง เ ที่ ย ว ชิ ม อ า ห า ร อ ร่ อ ย
มิถุนายน 2557 / June 2014
125
Sun Sat Cafe’.. จิบกาแฟริมน้ำ�..สัมผัสวิถีชีวิตริมคลอง
Sipping Coffee by the Canal Experiencing the canal way of life
ห
ลังจากทำ�งานหนักมาตลอดสัปดาห์ ช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ถือว่าเป็นช่วงเวลาสุดพิเศษ ที่ใครหลายๆ คนคงนั่งคิดค้น หาสถานที่สร้างความผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้า ร้านกาแฟ เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่มีบรรยากาศชวนให้หลงใหล โดยเฉพาะร้าน ทีต่ กแต่งสวยงามเน้นธรรมชาติ สร้างความรูส้ กึ สดชื่น มีชวี ติ ชีวา อย่างดีเยี่ยม ................................................................................................................
A
fter working hard the whole week, early Saturday - Sunday is deemed as a special time that many people may ponder finding somewhere they can unwind and relax. Coffee shop is a place that offers such an alluring atmosphere particularly the one with the decor emphasizing on the beauty of nature that is refreshing and lively.
Out 126 Chill ท่ อ ง เ ที่ ย ว ชิ ม อ า ห า ร อ ร่ อ ย
Sun Sat Cafe’ เป็นร้านกาแฟขนาดกลาง ตลบอบอวลด้วย บรรยากาศธรรมชาติ ตัง้ อยูร่ มิ น้�ำ ตรงข้ามตลาดโบราณบางพลีเ รี ย กได้ ว่ า ถ้ า ใครไปเที่ ย วตลาดโบราณแล้ ว ไม่ แ วะเข้ า ไปชิ ม กาแฟที่ ร้ า น Sun Sat Cafe’ ถือว่ามาไม่ถึงเลยก็ว่าได้ เพียงเดินข้ามสะพาน ไม่ กี่ อึ ด ใจก็ จ ะพบกั บ บ้ า นไม้ ริ ม น้ำ � เนรมิ ต เป็ น ร้ า นกาแฟขนาดย่ อ ม ตกแต่งสไตล์คลาสสิคด้วยกรอบไม้รูปภาพ และของใช้แนววินเทจ อย่างลงตัว มีกาแฟให้เลือกมากมาย โดยเฉพาะ “คาปูชโิ น่” สัมผัสถึง รสชาติความเข้มข้นของกาแฟเวียดนาม พร้อมความหวานของฟองนม
ที่ตีจนละเอียดนุ่ม นั่งพักบนเบาะนุ่มๆ มุมเก้าอี้ ไม้ริมน้ำ� สายตา ทอดยาวมองดูวิถีชีวิตริมคลอง กับบรรยากาศที่มีสายลมพาดผ่าน ตลอดเวลา ขับกล่อมด้วยเสียงเพลงแนว blue และ jazz ทุกช่วง ขณะสร้างความรู้สึกเพลิดเพลินใจและผ่อนคลายได้อย่างดีเยี่ยม หรือถ้าใครทีช่ อบของ Handmade ก็มกี ระเป๋าผ้าให้เลือกมากมาย หลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบสั้นและแบบยาว หรือจะเป็นกระเป๋า สะพายก็มี ให้เลือก แต่ถ้าไม่ถูกใจจะทำ�เองก็ ไม่ว่ากัน ทางร้านมีผ้า ให้เลือกตามใจชอบและที่สำ�คัญสอนวิธีทำ�ให้อีกด้วย..
มิถุนายน 2557 / June 2014
Sun Sat Cafe’ is a medium size cafe’ in the natural setting atmosphere. The cafe’ is opposite Bang Phli ancientmarket. There is a saying that any visitors visiting the market missing the coffee at Sun Sat Cafe’, they might have not yet visited to the market. Crossing the bridge just a few steps, we will encounter an old style wooden house by the canal with classical decor of framed photos and vintage utensils. The menu list of coffee is large. The recommended menu is “Cappuccino” served with rich Vietnamese coffee that comes with sweet foamy milk. The atmosphere is relaxing for resting on a couch wooden chair by the canal, watching the way of life by the canal with the soothing light breeze and blue or jazz music as the background.
127
For those who like handmade souvenirs, there are handmade bags in numerous designs be it short or long style. Even shoulder bags are also available. But if nothing is to your like, you want to do it yourself, fabrics are available for you to choose as you like and they are willing to teach you how to make your bags too. ร้าน Sun Sat Cafe’ เลขที่ 18 หมู่ 9 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ โทรศัพท์ : 089-235-5035 เปิดบริการ : วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00 น. – 20.00 น. Sun Sat Cafe’ No : 18 Moo 9, Bang Phli Yai Subdistrict, Bang Phli District, Samut Prakan Tel : 089-235-5035 Opening hours : Saturday-Sunday 11.00-20.00 hrs.
C alendar
128 Tourism Calendar ป ฏิ ทิ น ท่ อ ง เ ที่ ย ว ชมนกนางนวล ณ สถานตากอากาศบางปู
l
ป ฏิ ทิ น ท่ อ ง เ ที่ ย ว
ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เมษายน บริเวณสถานตากอากาศบางปู ต.บางปูใหม่ ตรงข้ามนิคมอุตสาหกรรมบางปู
l
l Watching
Seagulls at Bang Pu Seaside Resort
(during November- April) At Bang Pu Seaside Resort, Bang Pu Mai Subdistrict opposite Bang Pu Industrial Estate
งานแข่งเรือหน้าเมืองพระประแดง
วันที่ 23-25 ตุลาคม 2557 บริเวณแม่น้ำ�เจ้าพระยา หน้าที่ว่าการอำ�เภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ l Phra
Pradaeng Traditional Boat Race
23-25 October 2014 Chao Phraya River in front of the Phra Pradaeng District Office, Samut Prakan l
ประเพณีรับบัว-โยนบัว
ตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ� เดือน 11 (เดือนตุลาคม) บริเวณคลองสำ�โรง ด้านหน้าวัดบางพลี ใหญ่ ใน บริเวณทีว่ า่ การอำ�เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ l Rub
Bua Festival
(Lotus Flowers Throwing-Receiving) the 13th day of the waxing moon, the 11th month of lunar calendar (During the end of the Buddhist Lent) Samrong Canal, in front of Wat Bang Phli Yai Nai and the Bang Phli District Office, Samut Prakan
มิถุนายน 2557 / June 2014
l
129
งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์
ตั้งแต่แรม 5 ค่ำ� เดือน 11 (เดือนพฤศจิกายน)
บริเวณรอบองค์พระสมุทรเจดีย์ อำ�เภอพระสมุทรเจดีย์ และหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ l Phra
Samut Chedi Temple Fair
from the 5th day of the waning moon, the 11th month of lunar calendar (during November) Around Phra Samut Chedi, Phra Samut Chedi District and in front of the Samut Prakan Town Hall
l
งานลอยกระทง
วันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2557 บริเวณเทศบาลเมืองพระประแดง และบริเวณริมเขื่อนหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ l Loy
Kratong Festival
16-17 November 2014 At Phra Pradaeng Municipality and along the embankment in front of the Samut Prakan Town Hall
งานนมัสการหลวงพ่อปาน วัดมงคลโคธาวาส
l
วันขึ้น 8 ค่ำ� เดือน 12 (ช่วงเดือนพฤศจิกายน) บริเวณทีว่ า่ การอำ�เภอบางบ่อ และวัดมงคลโคธาวาส อำ�เภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ l Luang
Poh Pan Worship Festival
Wat Mongkolkodhawas, the 8th day of the waxing moon, the 12th month of lunar calendar (during November) At Bang Bo District Office and Wat Mongkolkodhawas, Bang Bo District, Samut Prakan
130 Story told via Lens เ ล่ า ผ่ า น เ ล น ส์
ชาวสมุทรปราการมีวิถีชีวิตที่อยู่ริมน้ำ�มาหลายชั่วอายุคน พาหนะเดิิ น ทางและอุ ป กรณ์ ยั ง ชี พ ที่ เ ห็ น กั น แทบทุ ก บ้ า นก็ คื อ เรือประมง นับเป็นสิ่งสำ�คัญ หากเรือเสียหรือพังไปคงแย่ อู่ต่อเรือ มีไว้เพื่อแก้ปัญหานั้น สถานที่ๆ ต่ออายุเครื่องมือทำ�มาหากิน แสนสำ�คัญ จึงถูกถ่ายทอดลงบนเฟรม เทคนิค : จัดองค์ประกอบภาพโดยวางเรือที่ซ่อมเสร็จแล้ว เปรียบเทียบกับลำ�ทีย่ งั ไม่ได้ซอ่ ม โดยมีไม้หมอนนำ�สายตาไปยังเรือ 2 ลำ� แล้วเพิ่ม Clarity เพื่อให้ภาพมีน้ำ�หนักขึ้น
ล่ น E R เ ร ัค H
่างภ
ม P าพส R A
ช O มุ ม H O T
P
G
Samut Prakan residents have been living by the river for generations. The vehicle for commuting and subsistence equipment found in almost every household is fishing boat. Should the boat is damaged, they will inevitably have problems. Therefore, docks are set up to solve the problems. Dock, the place to extend the life of subsistence equipment, is portrayed on the frames. Technics : Compose the visual elements by placing the repaired boat comparing with the one not yet repaired by chocks leading the vision to the two boats then increase the clarity to complete the photo with more weighting.
พิเศษสำ�หรับผู้อ่านทุกท่าน!!! ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ เรามีเนื้อที่ให้ท่านได้แบ่งปันและ
ร่วมแชร์ความประทับใจผ่านเลนส์ ด้วยการส่งภาพสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วในจังหวัดสมุทรปราการ ทีท่ า่ นคิดว่าสวยทีส่ ดุ พร้อมระบุชอื่ และบรรยายรายละเอียดของภาพมาพอสังเขป แล้วส่งมาที์่ E-mail : natangbook@yahoo.co.th ภาพจะต้องมีความละเอียดชัดสูง ทางกองบรรณาธิการ @SAMUTPRAKAN Travel จะคัดเลือกภาพที่สวยที่สุด ในแต่ละฉบับเพื่อนำ�มาเผยแพร่และตีพมิ พ์ และสงวนสิทธิโ์ ดย นิตยสาร @SAMUTPRAKAN Travel แต่เพียงผูเ้ ดียว
มิถุนายน 2557 / June 2014
เมื่ อ พระอาทิ ต ย์ จ ะลั บ ขอบฟ้ า หน้ า ที่ ข องวั น สิ้ น สุ ด ลง ทุกชีวติ ต่างก็กลับมารวมกันทีบ่ า้ น เพื่อพักผ่อนก่อนจะเริม่ ต้นสิง่ ต่างๆ ในวันต่อไป เช่นนกกระยางฝูงนี้ มาอาศัยกระต๊อบปลายวังกุ้ง ร่วมกัน ก่อนตะวันจะลาลับขอบฟ้า เทคนิค : ถ่ายภาพย้อนแสง (Silhouette) คือภาพเงา ดำ�นั่นเอง ในกรณีนี้เป็นภาพนกกระยาง ในขณะที่พระอาทิตย์ กำ�ลังจะตก ทำ�ให้มองเห็นวัตถุเป็นสีดำ� เพื่อแสดงอิริยาบถหรือ รูปทรงสิ่งของโดยวัดแสงที่ฉากหลัง เราอาจถ่ายภาพซิลูเอท กั บ ท้ อ งฟ้ า ได้ แ ตกต่ า งออกไป โดยปรั บ ค่ า อุ ณ หภู มิ สี ข องแสง (white balance) นั่นเอง
131
When the sun is about to set, all living creatures are heading home for a rest before taking the chores of the following day. This flock of egrets resting at the hut at the end of shrimp nursery pond before the sun set. Technics : Backlit shot or Silhouette which is the dark shadow photograph. In this case, egrets are before the sunset make them silhouette by metering the background. We can take diverse silhouette photographs with the sky by adjusting the white balance.
Special for all readers who love photographing, we provide space for you the share your impression through lens by submitting your photographs of tourist attractions in Samut Prakan that you think very impressive; give your name and brief detail of the photograph via e-mail : natangbook@yahoo.co.th. The photographs should be high definition. Out editorial team will select the best photograph to portray in each issue for promotion and published and all right reserved by @SAMUTPRAKAN Travel only.
S A M U T P R A K A N
ส มุ ท ร ป ร า ก า ร “สมุทรปราการเป็นเมืองมีเสน่ห์ มีความหลากหลายทาง ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์อันยาวนาน รวมถึงมีธรรมชาติที่สวยงาม ซึ่งล้วนเป็นมรดกอัน มีคุณค่า ผมอยากเชิญชวนให้ทุกคนมาท่องเที่ยวใน จังหวัดสมุทรปราการด้วยกันครับ” “Samut Prakan is a city of charm diverse culture and rich history as well as natural beauty. These are valuable heritage. I would like to invite everyone to come visit in Samut Prakan together”
ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ Chonsawat Asavahame
Chief Executive of Samut Prakan Provincial Administrative Organization
สมุทรปราการ..เมืองประวั ติศาสตร์ - ธรรมชาติ SAMUTPRAKAN..City of History and Natural.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ถ.สุทธิภิรมย์ ต.ปากน้ำ� อ.เมืองฯ จ.สมุทรปราการ โทรศัพท์ : 0-2389-0600 โทรสาร : 0-2395-4560