นายช่างของแผ่นดิน

Page 1


ประวัตศ ิ าสตร์บอกเล่า วิศวะมหิดล : นายช่างของแผ่นดิน


ประวัติศาสตร์บอกเล่า วิศวะมหิดล : นายช่างของแผ่นดิน พิมพ์ครั้งที่ ๑ จำนวนพิมพ์ ISBN

มิถุนายน ๒๕๕๔ ๒,๐๐๐ เล่ม 978-974-11-1470-2

คณะผู้จัดทำหนังสือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วเรศรา วีระวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะทำงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์อภิญญา บัวสรวง คณะทำงาน อาจารย์พรทิพย์ อุศุภรัตน์ คณะทำงาน อาจารย์วีระพงศ์ มีสถาน คณะทำงาน นายตรีพจน์ เกลียวสัมพันธ์ นายกสมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะทำงาน นางพะเยาว์ สุจริต คณะทำงาน นายสมชาย สุวรรณปรีชา คณะทำงาน นางสาววนิดา ฤทธิ์คำรพ คณะทำงาน จัดพิมพ์โดย สมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๕/๒๕ ถ.พุทธมณฑล สาย ๔ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ๗๓๑๗๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๙-๒๑๓๘, ๐-๒๘๘๙-๓๗๗๐ โทรสาร ๐-๒๔๔๑-๙๗๓๑ หนังสือเล่มนี้ ได้รับงบประมาณการจัดทำ และงบประมาณสนับสนุนการจัดพิมพ์จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ออกแบบและบริหารการพิมพ์โดย บริษัทสร้างสื่อ จำกัด ๑๗/๑๑๘ ซ.ประดิพทั ธ์ ๑ ถ.ประดิพทั ธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๗๑-๔๓๓๙, ๐-๒๒๗๙-๙๖๓๖ โทรสาร ๐-๒๖๑๘-๗๘๓๘

คำนำคณบดี

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามาภิไชย ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ให้เป็นชื่อมหาวิทยาลัย และมีพระบรมราโชวาท แก่ คณะผูบ้ ริหารมหาวิทยาลัยให้พฒ ั นามหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัย

ทีส่ มบูรณ์แบบตามความหมาย เพิม่ เติมขอบเขตของวิชาการให้กว้างขวาง ออกไปจากวิชาแพทยศาสตร์ ดังนั้นคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยจึง ได้ สนองพระราชดำริให้จดั ตัง้ ส่วนงานทีน่ อกเหนือจากด้านการแพทย์เพิม่ เติม จนกระทัง่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ จึงเสนอแนวคิดการจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์

ขึ้นภายในมหาวิทยาลัยมหิดล จนกระทั่งสำเร็จลุล่วงด้วยดี นับจนถึง ปัจจุบันคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็ได้จัดตั้งมาแล้วเป็นเวลากว่า ๒๐ ปี การได้ศึกษาย้อนกลับถึงประวัติการก่อตั้งสร้างคณะฯ จากคำบอกเล่า ของผู้เกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อม นอกจากจะเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง

ทีเ่ ป็นประโยชน์แล้ว ยังเป็นการสร้างความตระหนักให้คนรุน่ หลังให้ทราบ ทีม่ าของคณะฯ อันจะเป็นพืน้ ฐานความจริงทีเ่ ป็นประโยชน์ในการต่อยอด การพัฒนาคณะฯ ต่อไปในอนาคต ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้

ชาว “วิศวะมหิดล” ทุกคนจักมีแรงมุ่งมั่นพัฒนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เป็น “นายช่างของแผ่นดิน” และใช้วิชาชีพเพื่อ ประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติต่อไป

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์) คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์


ประวัติศาสตร์บอกเล่า วิศวะมหิดล : นายช่างของแผ่นดิน พิมพ์ครั้งที่ ๑ จำนวนพิมพ์ ISBN

มิถุนายน ๒๕๕๔ ๒,๐๐๐ เล่ม 978-974-11-1470-2

คณะผู้จัดทำหนังสือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วเรศรา วีระวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะทำงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์อภิญญา บัวสรวง คณะทำงาน อาจารย์พรทิพย์ อุศุภรัตน์ คณะทำงาน อาจารย์วีระพงศ์ มีสถาน คณะทำงาน นายตรีพจน์ เกลียวสัมพันธ์ นายกสมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะทำงาน นางพะเยาว์ สุจริต คณะทำงาน นายสมชาย สุวรรณปรีชา คณะทำงาน นางสาววนิดา ฤทธิ์คำรพ คณะทำงาน จัดพิมพ์โดย สมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๕/๒๕ ถ.พุทธมณฑล สาย ๔ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ๗๓๑๗๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๙-๒๑๓๘, ๐-๒๘๘๙-๓๗๗๐ โทรสาร ๐-๒๔๔๑-๙๗๓๑ หนังสือเล่มนี้ ได้รับงบประมาณการจัดทำ และงบประมาณสนับสนุนการจัดพิมพ์จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ออกแบบและบริหารการพิมพ์โดย บริษัทสร้างสื่อ จำกัด ๑๗/๑๑๘ ซ.ประดิพทั ธ์ ๑ ถ.ประดิพทั ธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๗๑-๔๓๓๙, ๐-๒๒๗๙-๙๖๓๖ โทรสาร ๐-๒๖๑๘-๗๘๓๘

คำนำคณบดี

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามาภิไชย ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ให้เป็นชื่อมหาวิทยาลัย และมีพระบรมราโชวาท แก่ คณะผูบ้ ริหารมหาวิทยาลัยให้พฒ ั นามหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัย

ทีส่ มบูรณ์แบบตามความหมาย เพิม่ เติมขอบเขตของวิชาการให้กว้างขวาง ออกไปจากวิชาแพทยศาสตร์ ดังนั้นคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยจึง ได้ สนองพระราชดำริให้จดั ตัง้ ส่วนงานทีน่ อกเหนือจากด้านการแพทย์เพิม่ เติม จนกระทัง่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ จึงเสนอแนวคิดการจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์

ขึ้นภายในมหาวิทยาลัยมหิดล จนกระทั่งสำเร็จลุล่วงด้วยดี นับจนถึง ปัจจุบันคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็ได้จัดตั้งมาแล้วเป็นเวลากว่า ๒๐ ปี การได้ศึกษาย้อนกลับถึงประวัติการก่อตั้งสร้างคณะฯ จากคำบอกเล่า ของผู้เกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อม นอกจากจะเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง

ทีเ่ ป็นประโยชน์แล้ว ยังเป็นการสร้างความตระหนักให้คนรุน่ หลังให้ทราบ ทีม่ าของคณะฯ อันจะเป็นพืน้ ฐานความจริงทีเ่ ป็นประโยชน์ในการต่อยอด การพัฒนาคณะฯ ต่อไปในอนาคต ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้

ชาว “วิศวะมหิดล” ทุกคนจักมีแรงมุ่งมั่นพัฒนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เป็น “นายช่างของแผ่นดิน” และใช้วิชาชีพเพื่อ ประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติต่อไป

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์) คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์


คำนำนายกสมาคมศิษย์เก่า

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หากจะกล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ คงเป็นเรื่องราวที่นำทุกถ้อยคำที่ มี คุ ณ ค่ า มาร้ อ ยเรี ย ง ทำให้ เ กิ ด คุ ณ ค่ า และความภาคภู มิ ใ จในการเป็ น ส่วนหนึ่งของวิศวะมหิดล ผมเป็นคนหนึ่งที่ได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาต่อใน คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล สถาบั น แห่ ง นี้ มี ป ระวั ติ ความเป็นมาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งไม่สามารถพบได้ตามสถาบันอื่น ความภูมิใจเกิดขึ้นตั้งแต่ย่างเข้าสู่ศาลายา ทำให้ผมได้ประสบการณ์ชีวิต ในหลายๆ ด้าน ที่ไม่สามารถศึกษาได้จากการอ่านจากหนังสือ หรือ ตำราเรียนทั่วไป วิศวะมหิดลได้แอบสอนการรับผิดชอบในชีวิตตัวเอง และสั ง คม ได้ ซึ ม ซั บ การคิ ด การทำอย่ า งมี แ บบแผนเป็ น ระบบ การ ทำงานเป็นหมู่คณะ ปฏิเสธไม่ได้ว่า “วิศวะมหิดล” ได้มอบหลายๆ สิ่ง ให้กับชีวิตผมไม่ว่าจะเป็นทางตรงในส่วนของวิชาการทีม่ ไิ ด้ยงิ่ หย่อนกว่า สถาบันอืน่ หรือจะเป็นทางอ้อมที่ค่อยๆ สอดแทรกให้ผมใช้ชีวิตได้เป็น อย่างดีในสังคมการทำงานและครอบครัว ความภูมิใจนั้นส่งต่อให้กันไม่ได้ แต่สามารถถ่ายทอดออกเป็น

คำพูดเป็นตัวหนังสือได้ ผมหวังว่าน้องๆ ทุกคนจะเริ่มเรียงร้อยความ ภูมิใจนับตั้งแต่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ขอให้ “สนุกกับการใช้ชีวิตอย่าง

มีคุณค่า” และเป็นที่พึ่งของสังคมและประเทศ ในนาม “วิศวะมหิดล” ต่อๆ ไป (นายตรีพจน์ เกลียวสัมพันธ์) นายกสมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สืบสานพระราชปณิธาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยมหิดล


คำนำนายกสมาคมศิษย์เก่า

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หากจะกล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ คงเป็นเรื่องราวที่นำทุกถ้อยคำที่ มี คุ ณ ค่ า มาร้ อ ยเรี ย ง ทำให้ เ กิ ด คุ ณ ค่ า และความภาคภู มิ ใ จในการเป็ น ส่วนหนึ่งของวิศวะมหิดล ผมเป็นคนหนึ่งที่ได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาต่อใน คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล สถาบั น แห่ ง นี้ มี ป ระวั ติ ความเป็นมาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งไม่สามารถพบได้ตามสถาบันอื่น ความภูมิใจเกิดขึ้นตั้งแต่ย่างเข้าสู่ศาลายา ทำให้ผมได้ประสบการณ์ชีวิต ในหลายๆ ด้าน ที่ไม่สามารถศึกษาได้จากการอ่านจากหนังสือ หรือ ตำราเรียนทั่วไป วิศวะมหิดลได้แอบสอนการรับผิดชอบในชีวิตตัวเอง และสั ง คม ได้ ซึ ม ซั บ การคิ ด การทำอย่ า งมี แ บบแผนเป็ น ระบบ การ ทำงานเป็นหมู่คณะ ปฏิเสธไม่ได้ว่า “วิศวะมหิดล” ได้มอบหลายๆ สิ่ง ให้กับชีวิตผมไม่ว่าจะเป็นทางตรงในส่วนของวิชาการทีม่ ไิ ด้ยงิ่ หย่อนกว่า สถาบันอืน่ หรือจะเป็นทางอ้อมที่ค่อยๆ สอดแทรกให้ผมใช้ชีวิตได้เป็น อย่างดีในสังคมการทำงานและครอบครัว ความภูมิใจนั้นส่งต่อให้กันไม่ได้ แต่สามารถถ่ายทอดออกเป็น

คำพูดเป็นตัวหนังสือได้ ผมหวังว่าน้องๆ ทุกคนจะเริ่มเรียงร้อยความ ภูมิใจนับตั้งแต่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ขอให้ “สนุกกับการใช้ชีวิตอย่าง

มีคุณค่า” และเป็นที่พึ่งของสังคมและประเทศ ในนาม “วิศวะมหิดล” ต่อๆ ไป (นายตรีพจน์ เกลียวสัมพันธ์) นายกสมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สืบสานพระราชปณิธาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยมหิดล


นั

บตัง้ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามาภิไธยในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ให้ เ ป็ น ชื่ อ ของมหาวิ ท ยาลั ย จากมหาวิ ท ยาลั ย แพทยศาสตร์ เป็น “มหาวิทยาลัยมหิดล” ตามความในพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัย ว่า โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยทีเ่ ป็นการสมควรปรับปรุงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ให้ เป็นมหาวิทยาลัยทีส่ มบูรณ์ โดยจัดตัง้ เป็นมหาวิทยาลัยขึน้ ใหม่เรียกว่า มหาวิทยาลัยมหิดล มีขอบเขตดำเนินงาน กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๑๒ และมี พระบรมราโชวาทแก่คณะผูบ้ ริหารมหาวิทยาลัย ให้พฒ ั นา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ตามความ หมาย เพิ่มเติมขอบเขตของวิชาการให้กว้างขวางออกจาก ไปจากวิชาแพทยศาสตร์... คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยรับสนองพระราชดำรินั้นจึงได้จัดตั้ง ส่วนงานทีน่ อกเหนือจากด้านการแพทย์ จนกระทัง่ พ.ศ. ๒๕๓๑ ในสมัยที่ ศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ เป็นอธิการบดี จึงมีแนวความคิดจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้น โดยตั้งคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ใน การจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มี ดร.เชาวน์ ณ ศีลวันต์ องคมนตรี กรรมการสภามหาวิ ท ยาลั ย ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ เป็ น ประธาน กรรมการ และมีผทู้ รงคุณวุฒทิ งั้ ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอีกหลาย ท่านเป็นกรรมการ คณะกรรมการดังกล่าวได้จดั ทำรายงานเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย ซึง่ ได้รบั ความเห็นชอบจากทีป่ ระชุม เมือ่ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒


นั

บตัง้ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามาภิไธยในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ให้ เ ป็ น ชื่ อ ของมหาวิ ท ยาลั ย จากมหาวิ ท ยาลั ย แพทยศาสตร์ เป็น “มหาวิทยาลัยมหิดล” ตามความในพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัย ว่า โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยทีเ่ ป็นการสมควรปรับปรุงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ให้ เป็นมหาวิทยาลัยทีส่ มบูรณ์ โดยจัดตัง้ เป็นมหาวิทยาลัยขึน้ ใหม่เรียกว่า มหาวิทยาลัยมหิดล มีขอบเขตดำเนินงาน กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๑๒ และมี พระบรมราโชวาทแก่คณะผูบ้ ริหารมหาวิทยาลัย ให้พฒ ั นา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ตามความ หมาย เพิ่มเติมขอบเขตของวิชาการให้กว้างขวางออกจาก ไปจากวิชาแพทยศาสตร์... คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยรับสนองพระราชดำรินั้นจึงได้จัดตั้ง ส่วนงานทีน่ อกเหนือจากด้านการแพทย์ จนกระทัง่ พ.ศ. ๒๕๓๑ ในสมัยที่ ศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ เป็นอธิการบดี จึงมีแนวความคิดจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้น โดยตั้งคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ใน การจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มี ดร.เชาวน์ ณ ศีลวันต์ องคมนตรี กรรมการสภามหาวิ ท ยาลั ย ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ เป็ น ประธาน กรรมการ และมีผทู้ รงคุณวุฒทิ งั้ ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอีกหลาย ท่านเป็นกรรมการ คณะกรรมการดังกล่าวได้จดั ทำรายงานเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย ซึง่ ได้รบั ความเห็นชอบจากทีป่ ระชุม เมือ่ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒


จึงได้จดั ทำโครงการจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ปีเดียวกัน โดยได้

แต่งตัง้ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน คณบดีคณะสิง่ แวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล ในขณะนั้ น ให้ เ ป็ น ผู้ อ ำนวยการโครงการจั ด ตั้ ง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.ธนากร อ้วนอ่อน และ

ทีมงานได้ดำเนินโครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ จนกระทั่งสำเร็จ ลุลว่ งตามประกาศพระราชกฤษฎีกา จัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ใน พ.ศ. ๒๕๕๔ นี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ดำเนินงานมาเป็น เวลากว่า ๒๐ ปี มีการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งในระดับ ปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ในภาควิชาต่างๆ ดังนี้ คือ ๑. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ๒. ภาควิชาวิศวกรรมเครือ่ งกล ๓. ภาควิชาวิศวกรรมเคมี ๔. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ๕. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ๖. ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ๗. ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ๘. กลุม่ สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ นอกจากงานด้านการเรียนการสอนแล้ว คณะฯ ยังมีผลงานการวิจยั ทีโ่ ดดเด่นในหลายด้าน ซึง่ เป็นการนำพืน้ ฐานวิชาการด้านวิศวกรรมศาสตร์

มาต่อยอดกับความเข้มแข็งทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์สขุ ภาพ การแพทย์ สาธารณสุ ข และสิ่ ง แวดล้ อ ม ของมหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล เช่ น งานวิ จั ย

ทางด้านโลจิสติกส์ในโรงพยาบาลและระบบสาธารณสุข งานวิจัยด้าน เครือ่ งมือแพทย์ อุปกรณ์สำหรับผูพ้ กิ าร ตลอดจนการอนุรกั ษ์พลังงานและ


จึงได้จดั ทำโครงการจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ปีเดียวกัน โดยได้

แต่งตัง้ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน คณบดีคณะสิง่ แวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล ในขณะนั้ น ให้ เ ป็ น ผู้ อ ำนวยการโครงการจั ด ตั้ ง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.ธนากร อ้วนอ่อน และ

ทีมงานได้ดำเนินโครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ จนกระทั่งสำเร็จ ลุลว่ งตามประกาศพระราชกฤษฎีกา จัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ใน พ.ศ. ๒๕๕๔ นี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ดำเนินงานมาเป็น เวลากว่า ๒๐ ปี มีการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งในระดับ ปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ในภาควิชาต่างๆ ดังนี้ คือ ๑. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ๒. ภาควิชาวิศวกรรมเครือ่ งกล ๓. ภาควิชาวิศวกรรมเคมี ๔. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ๕. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ๖. ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ๗. ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ๘. กลุม่ สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ นอกจากงานด้านการเรียนการสอนแล้ว คณะฯ ยังมีผลงานการวิจยั ทีโ่ ดดเด่นในหลายด้าน ซึง่ เป็นการนำพืน้ ฐานวิชาการด้านวิศวกรรมศาสตร์

มาต่อยอดกับความเข้มแข็งทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์สขุ ภาพ การแพทย์ สาธารณสุ ข และสิ่ ง แวดล้ อ ม ของมหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล เช่ น งานวิ จั ย

ทางด้านโลจิสติกส์ในโรงพยาบาลและระบบสาธารณสุข งานวิจัยด้าน เครือ่ งมือแพทย์ อุปกรณ์สำหรับผูพ้ กิ าร ตลอดจนการอนุรกั ษ์พลังงานและ


สิ่งแวดล้อม เป็นต้น นับเป็นพลังอันสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดลที่จะได้ สืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนกสืบไป เมื่ อ วั น ที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ค ลิ นิ ก

นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึง ความคาดหวังต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในฐานะส่วนงานหนึง่ ในมหาวิทยาลัย แห่งนีว้ า่ “วิศวกรรมศาสตร์ เป็นศาสตร์ทมี่ คี วามจำเป็นอย่าง ยิ่งสำหรับมนุษยชาติ การพัฒนามาถึงตรงนี้ ส่วนหนึ่ง หรือเป็นส่วนใหญ่ มาจากวิศวกรรมศาสตร์ เพราะฉะนั้น ผมมีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ของ มหิดลนั้นสามารถนำสิ่งใหม่ๆ และสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้น เพื่อ ประโยชน์ตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยมหิดลว่า ความ สำเร็จที่แท้จริงนั้น อยู่ที่การนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้ เกิ ด ประโยชน์ กั บ มวลมนุ ษ ยชาติ นั้ น คื อ ความหวั ง ของ มหาวิทยาลัยมหิดลต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งผมคิดว่า เป็นความหวังของประเทศนี้ต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ด้วย และผมเชื่ อ ว่ า คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ ข องมหาวิ ท ยาลั ย มหิดล สามารถทำให้สงิ่ เหล่านีไ้ ด้ และได้ดที สี่ ดุ ด้วย”

หากจะได้น้อมนำพระราชประวัติของสมเด็จพระบรมราชชนกและ ผลงานด้านงานช่างของพระองค์ โดยเฉพาะพระราชดำรัสทีว่ า่ “ประเทศ ไทยต้องการคนไทยที่มีความรู้ ความชำนาญในสองวิชาชีพจำนวนมาก คือ วิชาการแพทย์และช่าง เพื่อก่อสร้างเมืองไทยให้เจริญก้าวหน้าให้ ทัดเทียมกับประเทศทีเ่ จริญแล้วเพือ่ ความผาสุกของชนชาวไทย” มาเป็น แนวทางพัฒนาองค์กรของคณะวิศวกรรมศาสตร์แล้ว เชื่อได้ว่าบุคลากร ของคณะฯ ซึง่ มีความรูค้ วามสามารถ มีจติ ใจรักคณะฯ และศิษย์เก่าซึง่ รวม กลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง มีหัวใจพร้อมเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาคณะฯ ตลอด จนศิษย์ปัจจุบันซึ่งมีใจมุ่งมั่นในการเรียน จะมีแรงบันดาลใจมุ่งมั่นพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งนี้ให้ก้าวหน้าไปในทิศทางที่จะสนองตอบต่อ

พระราชปณิ ธ านที่ ว่ า “ความสำเร็ จ ที่ แ ท้ จ ริ ง อยู่ ที่ ก ารนำความรู้ ไ ป ประยุกต์ใช้เพือ่ ประโยชน์สขุ แก่มวลมนุษยชาติ” สืบไป


สิ่งแวดล้อม เป็นต้น นับเป็นพลังอันสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดลที่จะได้ สืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนกสืบไป เมื่ อ วั น ที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ค ลิ นิ ก

นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึง ความคาดหวังต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในฐานะส่วนงานหนึง่ ในมหาวิทยาลัย แห่งนีว้ า่ “วิศวกรรมศาสตร์ เป็นศาสตร์ทมี่ คี วามจำเป็นอย่าง ยิ่งสำหรับมนุษยชาติ การพัฒนามาถึงตรงนี้ ส่วนหนึ่ง หรือเป็นส่วนใหญ่ มาจากวิศวกรรมศาสตร์ เพราะฉะนั้น ผมมีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ของ มหิดลนั้นสามารถนำสิ่งใหม่ๆ และสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้น เพื่อ ประโยชน์ตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยมหิดลว่า ความ สำเร็จที่แท้จริงนั้น อยู่ที่การนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้ เกิ ด ประโยชน์ กั บ มวลมนุ ษ ยชาติ นั้ น คื อ ความหวั ง ของ มหาวิทยาลัยมหิดลต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งผมคิดว่า เป็นความหวังของประเทศนี้ต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ด้วย และผมเชื่ อ ว่ า คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ ข องมหาวิ ท ยาลั ย มหิดล สามารถทำให้สงิ่ เหล่านีไ้ ด้ และได้ดที สี่ ดุ ด้วย”

หากจะได้น้อมนำพระราชประวัติของสมเด็จพระบรมราชชนกและ ผลงานด้านงานช่างของพระองค์ โดยเฉพาะพระราชดำรัสทีว่ า่ “ประเทศ ไทยต้องการคนไทยที่มีความรู้ ความชำนาญในสองวิชาชีพจำนวนมาก คือ วิชาการแพทย์และช่าง เพื่อก่อสร้างเมืองไทยให้เจริญก้าวหน้าให้ ทัดเทียมกับประเทศทีเ่ จริญแล้วเพือ่ ความผาสุกของชนชาวไทย” มาเป็น แนวทางพัฒนาองค์กรของคณะวิศวกรรมศาสตร์แล้ว เชื่อได้ว่าบุคลากร ของคณะฯ ซึง่ มีความรูค้ วามสามารถ มีจติ ใจรักคณะฯ และศิษย์เก่าซึง่ รวม กลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง มีหัวใจพร้อมเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาคณะฯ ตลอด จนศิษย์ปัจจุบันซึ่งมีใจมุ่งมั่นในการเรียน จะมีแรงบันดาลใจมุ่งมั่นพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งนี้ให้ก้าวหน้าไปในทิศทางที่จะสนองตอบต่อ

พระราชปณิ ธ านที่ ว่ า “ความสำเร็ จ ที่ แ ท้ จ ริ ง อยู่ ที่ ก ารนำความรู้ ไ ป ประยุกต์ใช้เพือ่ ประโยชน์สขุ แก่มวลมนุษยชาติ” สืบไป


คำนำผูเ้ รียบเรียง

สารบัญ คำนำคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อบสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้ ไม่จำเพาะแต่คนในคณะวิศวกรรมศาสตร์เท่านัน้ ชาวมหิดลคนอืน่ ๆ ก็มกั จะได้รบั คำถามว่า มหิดลมีวศิ วะ ด้วยหรือ เพราะคนทั่วไปมักฝังใจว่า เมื่อเอ่ยถึง ม.มหิดล ก็มักจะต้อง เป็นหมอ พยาบาล ทันตแพทย์ เท่านั้น ต่อเมื่อได้มาทำความรู้จักกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงต้องคิดกลับมุมจากคำถามว่า “ถ้าไม่มคี ณะวิศวะ อยูใ่ นมหิดลนีส่ ิ ประหลาด” เพราะนานาประเทศทีม่ วี ทิ ยาการก้าวไกล ก็ลว้ น แต่ น ำศาสตร์ ท างวิ ศ วกรรมไปผนวกกั บ ศาสตร์ ส าขาอื่ น โดยเฉพาะ

ทางด้านการแพทย์ อนามัย สิ่งแวดล้อม ดังนั้นการเกิดขึ้นของคณะ วิศวกรรมศาสตร์จงึ มีเหตุสมควรด้วยประการทัง้ ปวง ความเรียงทีก่ ล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้ ประสงค์ทจี่ ะเผยให้เห็นทีม่ า ของการก่อตั้งคณะ ความมานะบากบั่นของผู้คนที่ร่วมกันคิด ร่วมกัน สร้าง การคิดทะลุกรอบด้วยจิตที่เป็นกุศล พร้อมกับการลงมือปฏิบัติ นัน่ เองทีจ่ ะพาสังคมและประเทศชาติให้เจริญรุดหน้าก้าวไกล บทสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เมื่อถ่ายเป็นตัวอักษรแล้วกลาย เป็นเอกสารหลายร้อยหน้า นัน่ หมายถึงว่า เรือ่ งราวทีเ่ กิดขึน้ ณ สถาน ศึกษาแห่งนี้ มีอยูม่ ากมาย การคัดลอกมาถ่ายทอดไว้ในทีน่ ี้ จึงไม่ถงึ หนึง่ ในร้อยของข้อมูลต้นฉบับคำบอกเล่า อย่างไรก็ดี ได้พยายามรักษาบุคลิกของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผ่านมุมมองออกมาเป็นตัวหนังสือ ให้เห็นเป็นธรรมดามากทีส่ ดุ ธรรมดา ตรงที่ว่า วิศวกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล มิใช่คำตอบสุดท้าย ของประเทศนี้ ทีจ่ ะต้องเลิศเลอไปเสียทุกสิง่ แต่เมือ่ เทียบอายุ ๒๐ ขวบปี กับสิ่งที่ได้กระทำมา เชื่อว่าสังคมน่าจะพอใจ ยินดีกับการเกิดขึ้น และมี พัฒนาการมาโดยลำดับ

คำนำนายกสมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สืบสานพระราชปณิธาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยมหิดล คำนำผู้เรียบเรียง ความเป็นมาของโครงการศึกษาค้นคว้าพระราชประวัติ

สมเด็จพระบรมราชชนกกับงานวิศวกรรมศาสตร์และประวัติศาสตร์บอกเล่า วิศวะมหิดล : นายช่างของแผ่นดิน ๑ เหลียวหลัง แลหน้า ๒๐ ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยในพระนาม

ด้วยพระบารมีแห่งพระนามปกเกล้าปกกระหม่อม

ก่อนมีคำ “วิสัยทัศน์”

๑๓

บทบาทของรัฐบาลต่อการเกิดคณะวิศวกรรมศาสตร์ใน ม.มหิดล

๒๑

คณะผู้ก่อการดี

๒๕

แกนนำคนสำคัญ

๒๙

“พี่ช่วยน้อง” ความงามระหว่างคิดการใหญ่

๓๓

สิ่งที่ไม่เห็น ใช่ว่าไม่มี

๓๗

งานมาก่อน ไม่กินเส้นเอาไว้ทีหลัง

๔๑

สามทหารเสือ

๔๕

วิศวกรรมนั้น สำคัญฉะนี้

๔๙

บรรยากาศของมหิดล ณ ศาลายา และคณะวิศวกรรมศาสตร์

๕๗


คำนำผูเ้ รียบเรียง

สารบัญ คำนำคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อบสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้ ไม่จำเพาะแต่คนในคณะวิศวกรรมศาสตร์เท่านัน้ ชาวมหิดลคนอืน่ ๆ ก็มกั จะได้รบั คำถามว่า มหิดลมีวศิ วะ ด้วยหรือ เพราะคนทั่วไปมักฝังใจว่า เมื่อเอ่ยถึง ม.มหิดล ก็มักจะต้อง เป็นหมอ พยาบาล ทันตแพทย์ เท่านั้น ต่อเมื่อได้มาทำความรู้จักกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงต้องคิดกลับมุมจากคำถามว่า “ถ้าไม่มคี ณะวิศวะ อยูใ่ นมหิดลนีส่ ิ ประหลาด” เพราะนานาประเทศทีม่ วี ทิ ยาการก้าวไกล ก็ลว้ น แต่ น ำศาสตร์ ท างวิ ศ วกรรมไปผนวกกั บ ศาสตร์ ส าขาอื่ น โดยเฉพาะ

ทางด้านการแพทย์ อนามัย สิ่งแวดล้อม ดังนั้นการเกิดขึ้นของคณะ วิศวกรรมศาสตร์จงึ มีเหตุสมควรด้วยประการทัง้ ปวง ความเรียงทีก่ ล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้ ประสงค์ทจี่ ะเผยให้เห็นทีม่ า ของการก่อตั้งคณะ ความมานะบากบั่นของผู้คนที่ร่วมกันคิด ร่วมกัน สร้าง การคิดทะลุกรอบด้วยจิตที่เป็นกุศล พร้อมกับการลงมือปฏิบัติ นัน่ เองทีจ่ ะพาสังคมและประเทศชาติให้เจริญรุดหน้าก้าวไกล บทสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เมื่อถ่ายเป็นตัวอักษรแล้วกลาย เป็นเอกสารหลายร้อยหน้า นัน่ หมายถึงว่า เรือ่ งราวทีเ่ กิดขึน้ ณ สถาน ศึกษาแห่งนี้ มีอยูม่ ากมาย การคัดลอกมาถ่ายทอดไว้ในทีน่ ี้ จึงไม่ถงึ หนึง่ ในร้อยของข้อมูลต้นฉบับคำบอกเล่า อย่างไรก็ดี ได้พยายามรักษาบุคลิกของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผ่านมุมมองออกมาเป็นตัวหนังสือ ให้เห็นเป็นธรรมดามากทีส่ ดุ ธรรมดา ตรงที่ว่า วิศวกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล มิใช่คำตอบสุดท้าย ของประเทศนี้ ทีจ่ ะต้องเลิศเลอไปเสียทุกสิง่ แต่เมือ่ เทียบอายุ ๒๐ ขวบปี กับสิ่งที่ได้กระทำมา เชื่อว่าสังคมน่าจะพอใจ ยินดีกับการเกิดขึ้น และมี พัฒนาการมาโดยลำดับ

คำนำนายกสมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สืบสานพระราชปณิธาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยมหิดล คำนำผู้เรียบเรียง ความเป็นมาของโครงการศึกษาค้นคว้าพระราชประวัติ

สมเด็จพระบรมราชชนกกับงานวิศวกรรมศาสตร์และประวัติศาสตร์บอกเล่า วิศวะมหิดล : นายช่างของแผ่นดิน ๑ เหลียวหลัง แลหน้า ๒๐ ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยในพระนาม

ด้วยพระบารมีแห่งพระนามปกเกล้าปกกระหม่อม

ก่อนมีคำ “วิสัยทัศน์”

๑๓

บทบาทของรัฐบาลต่อการเกิดคณะวิศวกรรมศาสตร์ใน ม.มหิดล

๒๑

คณะผู้ก่อการดี

๒๕

แกนนำคนสำคัญ

๒๙

“พี่ช่วยน้อง” ความงามระหว่างคิดการใหญ่

๓๓

สิ่งที่ไม่เห็น ใช่ว่าไม่มี

๓๗

งานมาก่อน ไม่กินเส้นเอาไว้ทีหลัง

๔๑

สามทหารเสือ

๔๕

วิศวกรรมนั้น สำคัญฉะนี้

๔๙

บรรยากาศของมหิดล ณ ศาลายา และคณะวิศวกรรมศาสตร์

๕๗


สารบัญ ความเป็นไปได้ ไม่ใช่ความราบรื่น

๖๑

จะได้ผู้บริหารและอาจารย์จากที่ไหน

๖๙

สอนอะไรในวิศวะฯ มหิดล

๗๗

การลงทุนอันยิ่งใหญ่ คือการใส่ใจบุคลากร

๙๙

ทำงานหามรุ่งหามค่ำ

๑๐๑

กองหนุนที่สำคัญ

๑๐๕

ซื้อใจ แต่ ได้งาน

๑๑๑

เมื่อฟองสบู่แตก

๑๑๓

อาจารย์เก่าเล่าเรื่องศิษย์

๑๑๕

ศิษย์เก่าเล่าความหลัง

๑๒๑

การบริหาร

๑๒๙

เหตุเกิดที่วิศวะ

๑๓๗

ภูมิใจในความเป็นเรา

๑๔๓

ติงด้วยรัก ทักด้วยหวังดี

๑๔๗

ประวัติศาสตร์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์

๑๕๗

ภาคผนวก

๑๖๙

เพลงมาร์ชวิศวะ มหิดล

๑๘๕

ความเป็นมาของโครงการ ศึ ก ษาค้ น คว้ า พระราชประวั ติ ส มเด็ จ พระบรมราชชนกกับงานวิศวกรรมศาสตร์ และประวัตศิ าสตร์บอกเล่า วิศวะมหิดล : นายช่างของแผ่นดิน


สารบัญ ความเป็นไปได้ ไม่ใช่ความราบรื่น

๖๑

จะได้ผู้บริหารและอาจารย์จากที่ไหน

๖๙

สอนอะไรในวิศวะฯ มหิดล

๗๗

การลงทุนอันยิ่งใหญ่ คือการใส่ใจบุคลากร

๙๙

ทำงานหามรุ่งหามค่ำ

๑๐๑

กองหนุนที่สำคัญ

๑๐๕

ซื้อใจ แต่ ได้งาน

๑๑๑

เมื่อฟองสบู่แตก

๑๑๓

อาจารย์เก่าเล่าเรื่องศิษย์

๑๑๕

ศิษย์เก่าเล่าความหลัง

๑๒๑

การบริหาร

๑๒๙

เหตุเกิดที่วิศวะ

๑๓๗

ภูมิใจในความเป็นเรา

๑๔๓

ติงด้วยรัก ทักด้วยหวังดี

๑๔๗

ประวัติศาสตร์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์

๑๕๗

ภาคผนวก

๑๖๙

เพลงมาร์ชวิศวะ มหิดล

๑๘๕

ความเป็นมาของโครงการ ศึ ก ษาค้ น คว้ า พระราชประวั ติ ส มเด็ จ พระบรมราชชนกกับงานวิศวกรรมศาสตร์ และประวัตศิ าสตร์บอกเล่า วิศวะมหิดล : นายช่างของแผ่นดิน


ากปีกอ่ ตัง้ ใน พ.ศ. ๒๕๓๓ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล จนมีอายุกว่า ๒๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๕๔ ท่ามกลางการดำเนินงานที่ ผ่านมาทั้งร้อนและหนาว กระทั่งเป็นที่ยอมรับในความสำเร็จ ด้วยความ ชื่นชมยินดีมากมาย การที่คณะฯ จะก้าวต่อไปอย่างภาคภูมินั้น บุคลากร ของคณะฯ และบรรดาศิษย์เก่าตลอดจนศิษย์ปัจจุบัน น่าจะได้รับรู้ความ เป็ น มาของคณะฯ และที่ ส ำคั ญ อย่ า งยิ่ ง ในฐานะหน่ ว ยงานที่ อ ยู่ ใ น มหาวิทยาลัยมหิดล อันเป็นมหาวิทยาลัยในพระนาม สมควรเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องรับรู้และสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จ พระบรมราชชนก อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของทุกคน ดังนัน้ เมือ่ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ข้าพเจ้า จึงได้ขออนุมัติดำเนินโครงการเพื่อศึกษาพระราชประวัติของสมเด็จพระบรมราชชนกเกี่ยวกับ งานด้ า นวิ ศ วกรรมศาสตร์ และประวัติการ

ก่อตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับ การสนั บ สนุ น ด้ ว ยดี จากท่านคณบดี

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์ ซึง่ ข้าพเจ้าขอขอบคุณเป็นอย่างยิง่ จากการศึ ก ษาเบื้ อ งต้ น ตลอดมาจนถึง พ.ศ. ๒๕๕๒ จึง ได้สรุปการดำเนินโครงการเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการจัดทำ เอกสารสารสนเทศและรวบรวมข้อมูล พร้อมจัดทำต้นฉบับสำหรับการจัดพิมพ์หนังสือ ๒ เรื่อง คือ เรื่องสมเด็จพระบรมราชชนกกับ งานช่าง และประวัติคณะวิศวกรรมศาสตร์ในเชิงประวัติบอกเล่าจากการ สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง ส่วนระยะที่สองเป็นโครงการในอนาคต คือ จัดทำห้องนิทรรศการประวัตคิ ณะวิศวกรรมศาสตร์ ๒

การดำเนินงานในระยะแรกทีส่ ำเร็จลงได้นนั้ ขอขอบคุณคณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล ทีก่ รุณาอนุมตั ใิ ห้นางสาววิกลั ย์ พงศ์พนิตานนท์ และ คณะ ดำเนินการค้นคว้าและเรียบเรียงงานวิจยั เรือ่ ง สมเด็จพระบรมราชชนกกับงานช่าง ซึง่ ความรูค้ วามสามารถ ความเสียสละ ทุม่ เทของทุกท่าน ทำให้ผลงานมีคณ ุ ค่าอย่างยิง่ จนไม่อาจบรรยายเป็นคำขอบคุณใดๆ ได้ ขอขอบคุณสถาบันวิจยั ภาษาและวัฒนธรรมเอเชียทีก่ รุณาสนับสนุน บุคลากรอันเปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถ ความเสียสละ อดทน ทุ่มเท ให้แก่งานประวัตคิ ณะฯ ได้แก่ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์อภิญญา บัวสรวง, อาจารย์ พรทิพย์ อุศภุ รัตน์ และอาจารย์วรี ะพงศ์ มีสถาน โดยเฉพาะ อาจารย์วรี ะพงศ์

มีสถาน ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการถอดเทปและนำข้อความที่ได้ร้อยเรียงเป็น เรือ่ งราว ซึง่ เป็นงานทีย่ ากยิง่ ซึง่ คณะวิศวกรรมศาสตร์จะลืมเสียมิได้ ขอขอบพระคุณผูใ้ ห้สมั ภาษณ์ทกุ ท่านทีก่ รุณาสละเวลาเล่าเรือ่ งราว ต่างๆ อันมีค่า ซึ่งหากนำทุกถ้อยคำมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวคงเกินกำลัง จะทำได้จึงนำเพียงบางช่วงบางตอนมากล่าวไว้ในหนังสือนี้ หากขาดตก บกพร่องอย่างไร ต้องขออภัยไว้ ณ ทีน่ ี้ แต่ขอ้ มูลทัง้ หมดจะถูกเก็บไว้เป็น ข้อมูลของคณะฯ เพือ่ ใช้ประโยชน์ตอ่ ไป ขอขอบคุณคณะทำงานในการเริ่มต้นโครงการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ อันประกอบด้วย คณบดี (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์) รอง คณบดีฝา่ ยทรัพยากรมนุษย์ (ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.จารุพรรณ กุลดิลก) ดร.พรพรรณ ภูมิภู เป็นที่ปรึกษา และคณะทำงาน อันประกอบด้วย

คุณสมชาย สุวรรณปรีชา, คุณฉายา จิตติพันธ์, คุณสุวรรณี วัฒนธรรม ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ร่วมคิดร่วมทำโครงการมาแต่ต้น และสุดท้ายขอขอบคุณ

คุณสุภาวดี คำเกลี้ยง ที่ช่วยจัดพิมพ์ คุณค่าและความดีงามของเอกสารสนเทศทั้งหมดนี้ ขอมอบแด่

ทุกท่านที่ทุ่มเทเสียสละเพื่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ บรรดาศิษย์เก่า ศิษย์ ปัจจุบัน บุคลากรทุกท่านที่จะช่วยสร้างสรรค์จรรโลงวัฒนธรรมองค์กร ของ “วิศวะมหิดล” ให้เจริญรุง่ เรืองต่อไป พะเยาว์ สุจริต ๓


ากปีกอ่ ตัง้ ใน พ.ศ. ๒๕๓๓ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล จนมีอายุกว่า ๒๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๕๔ ท่ามกลางการดำเนินงานที่ ผ่านมาทั้งร้อนและหนาว กระทั่งเป็นที่ยอมรับในความสำเร็จ ด้วยความ ชื่นชมยินดีมากมาย การที่คณะฯ จะก้าวต่อไปอย่างภาคภูมินั้น บุคลากร ของคณะฯ และบรรดาศิษย์เก่าตลอดจนศิษย์ปัจจุบัน น่าจะได้รับรู้ความ เป็ น มาของคณะฯ และที่ ส ำคั ญ อย่ า งยิ่ ง ในฐานะหน่ ว ยงานที่ อ ยู่ ใ น มหาวิทยาลัยมหิดล อันเป็นมหาวิทยาลัยในพระนาม สมควรเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องรับรู้และสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จ พระบรมราชชนก อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของทุกคน ดังนัน้ เมือ่ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ข้าพเจ้า จึงได้ขออนุมัติดำเนินโครงการเพื่อศึกษาพระราชประวัติของสมเด็จพระบรมราชชนกเกี่ยวกับ งานด้ า นวิ ศ วกรรมศาสตร์ และประวัติการ

ก่อตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับ การสนั บ สนุ น ด้ ว ยดี จากท่านคณบดี

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์ ซึง่ ข้าพเจ้าขอขอบคุณเป็นอย่างยิง่ จากการศึ ก ษาเบื้ อ งต้ น ตลอดมาจนถึง พ.ศ. ๒๕๕๒ จึง ได้สรุปการดำเนินโครงการเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการจัดทำ เอกสารสารสนเทศและรวบรวมข้อมูล พร้อมจัดทำต้นฉบับสำหรับการจัดพิมพ์หนังสือ ๒ เรื่อง คือ เรื่องสมเด็จพระบรมราชชนกกับ งานช่าง และประวัติคณะวิศวกรรมศาสตร์ในเชิงประวัติบอกเล่าจากการ สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง ส่วนระยะที่สองเป็นโครงการในอนาคต คือ จัดทำห้องนิทรรศการประวัตคิ ณะวิศวกรรมศาสตร์ ๒

การดำเนินงานในระยะแรกทีส่ ำเร็จลงได้นนั้ ขอขอบคุณคณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล ทีก่ รุณาอนุมตั ใิ ห้นางสาววิกลั ย์ พงศ์พนิตานนท์ และ คณะ ดำเนินการค้นคว้าและเรียบเรียงงานวิจยั เรือ่ ง สมเด็จพระบรมราชชนกกับงานช่าง ซึง่ ความรูค้ วามสามารถ ความเสียสละ ทุม่ เทของทุกท่าน ทำให้ผลงานมีคณ ุ ค่าอย่างยิง่ จนไม่อาจบรรยายเป็นคำขอบคุณใดๆ ได้ ขอขอบคุณสถาบันวิจยั ภาษาและวัฒนธรรมเอเชียทีก่ รุณาสนับสนุน บุคลากรอันเปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถ ความเสียสละ อดทน ทุ่มเท ให้แก่งานประวัตคิ ณะฯ ได้แก่ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์อภิญญา บัวสรวง, อาจารย์ พรทิพย์ อุศภุ รัตน์ และอาจารย์วรี ะพงศ์ มีสถาน โดยเฉพาะ อาจารย์วรี ะพงศ์

มีสถาน ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการถอดเทปและนำข้อความที่ได้ร้อยเรียงเป็น เรือ่ งราว ซึง่ เป็นงานทีย่ ากยิง่ ซึง่ คณะวิศวกรรมศาสตร์จะลืมเสียมิได้ ขอขอบพระคุณผูใ้ ห้สมั ภาษณ์ทกุ ท่านทีก่ รุณาสละเวลาเล่าเรือ่ งราว ต่างๆ อันมีค่า ซึ่งหากนำทุกถ้อยคำมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวคงเกินกำลัง จะทำได้จึงนำเพียงบางช่วงบางตอนมากล่าวไว้ในหนังสือนี้ หากขาดตก บกพร่องอย่างไร ต้องขออภัยไว้ ณ ทีน่ ี้ แต่ขอ้ มูลทัง้ หมดจะถูกเก็บไว้เป็น ข้อมูลของคณะฯ เพือ่ ใช้ประโยชน์ตอ่ ไป ขอขอบคุณคณะทำงานในการเริ่มต้นโครงการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ อันประกอบด้วย คณบดี (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์) รอง คณบดีฝา่ ยทรัพยากรมนุษย์ (ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.จารุพรรณ กุลดิลก) ดร.พรพรรณ ภูมิภู เป็นที่ปรึกษา และคณะทำงาน อันประกอบด้วย

คุณสมชาย สุวรรณปรีชา, คุณฉายา จิตติพันธ์, คุณสุวรรณี วัฒนธรรม ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ร่วมคิดร่วมทำโครงการมาแต่ต้น และสุดท้ายขอขอบคุณ

คุณสุภาวดี คำเกลี้ยง ที่ช่วยจัดพิมพ์ คุณค่าและความดีงามของเอกสารสนเทศทั้งหมดนี้ ขอมอบแด่

ทุกท่านที่ทุ่มเทเสียสละเพื่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ บรรดาศิษย์เก่า ศิษย์ ปัจจุบัน บุคลากรทุกท่านที่จะช่วยสร้างสรรค์จรรโลงวัฒนธรรมองค์กร ของ “วิศวะมหิดล” ให้เจริญรุง่ เรืองต่อไป พะเยาว์ สุจริต ๓


เหลียวหลัง แลหน้า ๒๐ ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ยีส่ บิ ปี “วิศวะมหิดล” กิง่ ก้านใบดอกเด่นดูงดงาม เมือ่ เริม่ ต้นกว่าจะพ้นซึง่ พงหนาม เพือ่ ให้งามดัง่ ใจใฝ่ผดุง ทีผ่ า่ นมาฝ่าฟันกันแต่ตน้ ก้าวต่อมาต้องฟันฝ่าพยายาม หลากหลายคนเต็มใจคอยใส่ปยุ๋ อีกหลายคนช่วยรดน้ำฉ่ำกมล ต้องใส่ยาฆ่าหนอนทีช่ อนไช สร้างคณะให้สวยด้วยมือเรา ต้องร่วมแรงร่วมใจในวันนี ้ ร้อยเรียงใจพร้อมพรักรักเกลียวกลม

เปรียบเหมือนไม้ยนื ต้นพ้นพงหนาม เพราะได้นำ้ ปุย๋ ยา มาบำรุง พยายามชูชอ่ ใบต้นให้สงู ต้องช่วยกันบำรุงให้งอกงาม ต้องอดทนทุม่ เทใจไม่กลัวหนาม ให้เกิดดอกงอกงามในใจคน อาจต้องลุยหนามบ้างเพือ่ หวังผล ฟ้าโปรยฝนลงมาด้วยช่วยแบ่งเบา คอยกัดกินต้นใบให้อบั เฉา เพียรคอยเฝ้าให้เกิดผลชนชืน่ ชม ปัญญามีแก้ไขให้เหมาะสม หากพลาดล้มอย่าท้อก้าวต่อไป พะเยาว์ สุจริต

มหาวิทยาลัยในพระนาม


เหลียวหลัง แลหน้า ๒๐ ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ยีส่ บิ ปี “วิศวะมหิดล” กิง่ ก้านใบดอกเด่นดูงดงาม เมือ่ เริม่ ต้นกว่าจะพ้นซึง่ พงหนาม เพือ่ ให้งามดัง่ ใจใฝ่ผดุง ทีผ่ า่ นมาฝ่าฟันกันแต่ตน้ ก้าวต่อมาต้องฟันฝ่าพยายาม หลากหลายคนเต็มใจคอยใส่ปยุ๋ อีกหลายคนช่วยรดน้ำฉ่ำกมล ต้องใส่ยาฆ่าหนอนทีช่ อนไช สร้างคณะให้สวยด้วยมือเรา ต้องร่วมแรงร่วมใจในวันนี ้ ร้อยเรียงใจพร้อมพรักรักเกลียวกลม

เปรียบเหมือนไม้ยนื ต้นพ้นพงหนาม เพราะได้นำ้ ปุย๋ ยา มาบำรุง พยายามชูชอ่ ใบต้นให้สงู ต้องช่วยกันบำรุงให้งอกงาม ต้องอดทนทุม่ เทใจไม่กลัวหนาม ให้เกิดดอกงอกงามในใจคน อาจต้องลุยหนามบ้างเพือ่ หวังผล ฟ้าโปรยฝนลงมาด้วยช่วยแบ่งเบา คอยกัดกินต้นใบให้อบั เฉา เพียรคอยเฝ้าให้เกิดผลชนชืน่ ชม ปัญญามีแก้ไขให้เหมาะสม หากพลาดล้มอย่าท้อก้าวต่อไป พะเยาว์ สุจริต

มหาวิทยาลัยในพระนาม


ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมือ่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๓๗

ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ได้พระราชทานพระนามใน สมเด็จพระราชบิดา ให้เป็นชื่อของมหาวิทยาลัย จากที่เคยมีนาม เรียกว่า มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เป็น “มหาวิทยาลัยมหิดล” นั้น ความในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล มีใจความสำคัญ ในเบือ้ งต้นว่า “โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ให้เป็น มหาวิทยาลัยทีส่ มบูรณ์ โดยจัดตัง้ เป็นมหาวิทยาลัยขึน้ ใหม่เรียกว่า มหาวิทยาลัยมหิดล มีขอบเขตดำเนินงานกว้างขวางยิง่ ขึน้ จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๑๒ และมีพระบรมราโชวาทแก่คณะผูบ้ ริหารมหาวิทยาลัย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ฉลองพระองค์ครุยวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่คณะฯ ทูลเกล้าถวาย เมือ่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๔

ให้พฒ ั นามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยทีส่ มบูรณ์ตามความหมาย เพิม่ เติมขอบเขตของวิชาการให้กว้างขวางออกไปจากวิชาแพทยศาสตร์...” “มหาวิทยาลัย” หรือในภาษาอังกฤษว่า “university” มีความ หมายแคบแต่อมความกว้าง คือเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ส่วนที่อมความกว้างนั้น หมายถึงมีศาสตร์หลายแขนงที่ประกอบกันจน เป็น มหาวิทยาลัย กล่าวในทางกลับกันก็คือ ไม่ใช่มีเพียงศาสตร์หนึ่ง


ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมือ่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๓๗

ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ได้พระราชทานพระนามใน สมเด็จพระราชบิดา ให้เป็นชื่อของมหาวิทยาลัย จากที่เคยมีนาม เรียกว่า มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เป็น “มหาวิทยาลัยมหิดล” นั้น ความในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล มีใจความสำคัญ ในเบือ้ งต้นว่า “โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ให้เป็น มหาวิทยาลัยทีส่ มบูรณ์ โดยจัดตัง้ เป็นมหาวิทยาลัยขึน้ ใหม่เรียกว่า มหาวิทยาลัยมหิดล มีขอบเขตดำเนินงานกว้างขวางยิง่ ขึน้ จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๑๒ และมีพระบรมราโชวาทแก่คณะผูบ้ ริหารมหาวิทยาลัย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ฉลองพระองค์ครุยวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่คณะฯ ทูลเกล้าถวาย เมือ่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๔

ให้พฒ ั นามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยทีส่ มบูรณ์ตามความหมาย เพิม่ เติมขอบเขตของวิชาการให้กว้างขวางออกไปจากวิชาแพทยศาสตร์...” “มหาวิทยาลัย” หรือในภาษาอังกฤษว่า “university” มีความ หมายแคบแต่อมความกว้าง คือเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ส่วนที่อมความกว้างนั้น หมายถึงมีศาสตร์หลายแขนงที่ประกอบกันจน เป็น มหาวิทยาลัย กล่าวในทางกลับกันก็คือ ไม่ใช่มีเพียงศาสตร์หนึ่ง


สาขาเดียว แล้วจะสถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยได้ จำต้องมีการเปิดสอน วิชาทีห่ ลากหลาย โดยนัยแห่งความหมายนี้ เนื้อความในพระราชบัญญัติฯ ได้ยัง ความปลาบปลืม้ มาสูพ่ สกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะกับ “ชาวมหิดล” ด้วยถือ เป็ น ภาระและหน้ า ที่ ประการหนึ่งที่จะทำให้ “ความเป็นมหาวิทยาลัย” สมบูรณ์รอบด้านมากยิง่ ๆ ขึน้ ไป การเกิดขึ้นของคณะวิศวกรรมศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นองคาพยพหนึ่งที่เสริมสร้างและเติมเต็มให้กับความหมายของ มหาวิทยาลัยดังทีก่ ล่าวนัน้

ด้วยพระบารมีแห่งพระนาม ปกเกล้าปกกระหม่อม


สาขาเดียว แล้วจะสถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยได้ จำต้องมีการเปิดสอน วิชาทีห่ ลากหลาย โดยนัยแห่งความหมายนี้ เนื้อความในพระราชบัญญัติฯ ได้ยัง ความปลาบปลืม้ มาสูพ่ สกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะกับ “ชาวมหิดล” ด้วยถือ เป็ น ภาระและหน้ า ที่ ประการหนึ่งที่จะทำให้ “ความเป็นมหาวิทยาลัย” สมบูรณ์รอบด้านมากยิง่ ๆ ขึน้ ไป การเกิดขึ้นของคณะวิศวกรรมศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นองคาพยพหนึ่งที่เสริมสร้างและเติมเต็มให้กับความหมายของ มหาวิทยาลัยดังทีก่ ล่าวนัน้

ด้วยพระบารมีแห่งพระนาม ปกเกล้าปกกระหม่อม


ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช นอกจากจะได้ พระราชทานนาม “มหิดล” ให้แก่มหาวิทยาลัยแห่งนี้แล้ว พระราชโอรส และพระราชธิ ด าในพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว หรื อ พระราชนั ด ดา (หลาน) ในสมเด็จพระราชบิดา ยังได้ทรงเจริญตามรอยพระบารมี ทรงมี พระกรุ ณ าธิ คุ ณ ต่ อ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ลอยู่ เ นื อ งๆ ดั่ ง เช่ น เมื่ อ ครั้ ง ที่ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล ณ ศาลายา จั ด สร้ า งอาคารอเนกประสงค์ ศาสตราจารย์นายแพทย์พนู พิศ อมาตยกุล ได้เล่าไว้วา่ “ซึง่ ตอนนัน้ นี่ ก็ทา่ นอาจารย์หมอณัฐ (ภมรประวัต)ิ ก็มคี วามเห็น ว่า น่าจะจัดรายการอะไรสักอย่างหนึง่ ให้พร้อมทีส่ มเด็จพระเทพรัตนฯ จะ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารหลังนี้เป็นอาคารหลังแรกที่จะทรง เสด็จมาประทับ ทรงเปิดอาคาร ผมก็เลยได้เสนออาจารย์หมอณัฐไปว่า น่าจะได้มีการประชันปี่พาทย์หน้าพระที่นั่งครั้งใหญ่ขึ้นที่นั่น ผมก็เลยเป็น

๑๐

แม่กองในการจัดการประชันปี่พาทย์ขึ้นที่อาคารที่สร้างขึ้นใหม่ ที่เป็นทั้ง หอกีฬาด้วย เป็นอาคารอเนกประสงค์ด้วย เรื่องเสด็จฯ มาครั้งนั้นก็ได้มี การพระราชทานรางวัลผูช้ นะเลิศ รางวัลประกวดดนตรีฆอ้ งทองคำ แล้วก็ มีการประชันปีพ่ าทย์เต็มกระบวนหน้าพระทีน่ งั่ ระหว่างวงบ้านบางลำพูกบั วงบ้านบางกะปิ คนมาเต็มห้องประชุมในครั้งนั้น เพราะว่ามันไม่ได้มีการ ประชันปีพ่ าทย์กนั มาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี ตัง้ แต่ปี ๗๒ (พ.ศ. ๒๔๗๒) ไม่ เ คยมี ก ารประชั น ปี่ พ าทย์ ม าเลย คนมากั น เต็ ม เลย ตอนประกวดก็ ประสบความสำเร็จ ท่านหมอณัฐก็เลยค่อนข้างจะไว้ใจว่า ถ้าเป็นเรือ่ งเกีย่ ว กับไทยๆ แล้วก็เป็นการกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนฯ เนี่ย ก็ มหาวิทยาลัยมหิดลก็ประสบความสำเร็จ เพราะว่าสมัยนั้นเนี่ย งานอย่าง ประชันปีพ่ าทย์หรืองานดนตรีไทย มหาวิทยาลัยอืน่ ยังไม่ได้ทำ นับเป็นก้าว หนึง่ เป็นจุดเริม่ ต้น”

๑๑


ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช นอกจากจะได้ พระราชทานนาม “มหิดล” ให้แก่มหาวิทยาลัยแห่งนี้แล้ว พระราชโอรส และพระราชธิ ด าในพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว หรื อ พระราชนั ด ดา (หลาน) ในสมเด็จพระราชบิดา ยังได้ทรงเจริญตามรอยพระบารมี ทรงมี พระกรุ ณ าธิ คุ ณ ต่ อ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ลอยู่ เ นื อ งๆ ดั่ ง เช่ น เมื่ อ ครั้ ง ที่ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล ณ ศาลายา จั ด สร้ า งอาคารอเนกประสงค์ ศาสตราจารย์นายแพทย์พนู พิศ อมาตยกุล ได้เล่าไว้วา่ “ซึง่ ตอนนัน้ นี่ ก็ทา่ นอาจารย์หมอณัฐ (ภมรประวัต)ิ ก็มคี วามเห็น ว่า น่าจะจัดรายการอะไรสักอย่างหนึง่ ให้พร้อมทีส่ มเด็จพระเทพรัตนฯ จะ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารหลังนี้เป็นอาคารหลังแรกที่จะทรง เสด็จมาประทับ ทรงเปิดอาคาร ผมก็เลยได้เสนออาจารย์หมอณัฐไปว่า น่าจะได้มีการประชันปี่พาทย์หน้าพระที่นั่งครั้งใหญ่ขึ้นที่นั่น ผมก็เลยเป็น

๑๐

แม่กองในการจัดการประชันปี่พาทย์ขึ้นที่อาคารที่สร้างขึ้นใหม่ ที่เป็นทั้ง หอกีฬาด้วย เป็นอาคารอเนกประสงค์ด้วย เรื่องเสด็จฯ มาครั้งนั้นก็ได้มี การพระราชทานรางวัลผูช้ นะเลิศ รางวัลประกวดดนตรีฆอ้ งทองคำ แล้วก็ มีการประชันปีพ่ าทย์เต็มกระบวนหน้าพระทีน่ งั่ ระหว่างวงบ้านบางลำพูกบั วงบ้านบางกะปิ คนมาเต็มห้องประชุมในครั้งนั้น เพราะว่ามันไม่ได้มีการ ประชันปีพ่ าทย์กนั มาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี ตัง้ แต่ปี ๗๒ (พ.ศ. ๒๔๗๒) ไม่ เ คยมี ก ารประชั น ปี่ พ าทย์ ม าเลย คนมากั น เต็ ม เลย ตอนประกวดก็ ประสบความสำเร็จ ท่านหมอณัฐก็เลยค่อนข้างจะไว้ใจว่า ถ้าเป็นเรือ่ งเกีย่ ว กับไทยๆ แล้วก็เป็นการกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนฯ เนี่ย ก็ มหาวิทยาลัยมหิดลก็ประสบความสำเร็จ เพราะว่าสมัยนั้นเนี่ย งานอย่าง ประชันปีพ่ าทย์หรืองานดนตรีไทย มหาวิทยาลัยอืน่ ยังไม่ได้ทำ นับเป็นก้าว หนึง่ เป็นจุดเริม่ ต้น”

๑๑


“การจะสร้างบ้านสักหนึง่ หลัง เพือ่ เป็นทีพ่ ำนักของ สมาชิกในครอบครัว เบือ้ งลึกของการสร้างนัน้ เกิดมาจากความประสงค์เจ้าของบ้านว่า จะให้มบี า้ นรูปทรงเป็นอย่างไร มีหอ้ งนอน ห้องน้ำ ห้องรับแขก รวมตลอดถึง ห้องครัว ลึกลงไปกว่านัน้ คือ ขัน้ ตอนการสร้าง ซึง่ ช่างผูส้ ร้างต้องเดินท่อน้ำ ฝังหรือซ่อนส่วนประกอบอืน่ ๆ ทีไ่ ม่พงึ อวดให้อยูใ่ นทีล่ บั ตา ดังนัน้ ลูกหลานทีเ่ พิง่ เกิดมาในสภาพของบ้านทีส่ ร้างเสร็จ และตกแต่งแล้ว จึงไม่รถู้ งึ เส้นสายของท่อน้ำหรือสายไฟ รูเ้ พียงว่า เมือ่ กดสวิตช์จะมีไฟ เมือ่ ไขก๊อกจะมีนำ้ เฉกเช่นการสร้างคณะขึน้ ใหม่ในมหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิศวกรรมศาสตร์…” นับถึงวันที่ ๒๙ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ อายุการ ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ครบสองทศวรรษบริบรู ณ์ บริบรู ณ์ไปด้วย พืน้ ที่ อาคาร เครื่องมือ คน เงิน งาน บริการ และชื่อเสียง ส่วนเบื้องลึก

ของการเกิดคณะฯ แห่งนี้นั้น นับวันจะถูกลืมเลือน เข้ากับคำกล่าวที่ว่า “ของกินไม่กินก็เน่า ของเก่าไม่เล่าก็ลืม” และเป็นส่วนผกผันกับอนาคต

ของคณะฯ ทีน่ บั วันจะรุดหน้ารุง่ เรือง

๑๒

ก่อนมีคำ “วิสยั ทัศน์”


“การจะสร้างบ้านสักหนึง่ หลัง เพือ่ เป็นทีพ่ ำนักของ สมาชิกในครอบครัว เบือ้ งลึกของการสร้างนัน้ เกิดมาจากความประสงค์เจ้าของบ้านว่า จะให้มบี า้ นรูปทรงเป็นอย่างไร มีหอ้ งนอน ห้องน้ำ ห้องรับแขก รวมตลอดถึง ห้องครัว ลึกลงไปกว่านัน้ คือ ขัน้ ตอนการสร้าง ซึง่ ช่างผูส้ ร้างต้องเดินท่อน้ำ ฝังหรือซ่อนส่วนประกอบอืน่ ๆ ทีไ่ ม่พงึ อวดให้อยูใ่ นทีล่ บั ตา ดังนัน้ ลูกหลานทีเ่ พิง่ เกิดมาในสภาพของบ้านทีส่ ร้างเสร็จ และตกแต่งแล้ว จึงไม่รถู้ งึ เส้นสายของท่อน้ำหรือสายไฟ รูเ้ พียงว่า เมือ่ กดสวิตช์จะมีไฟ เมือ่ ไขก๊อกจะมีนำ้ เฉกเช่นการสร้างคณะขึน้ ใหม่ในมหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิศวกรรมศาสตร์…” นับถึงวันที่ ๒๙ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ อายุการ ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ครบสองทศวรรษบริบรู ณ์ บริบรู ณ์ไปด้วย พืน้ ที่ อาคาร เครื่องมือ คน เงิน งาน บริการ และชื่อเสียง ส่วนเบื้องลึก

ของการเกิดคณะฯ แห่งนี้นั้น นับวันจะถูกลืมเลือน เข้ากับคำกล่าวที่ว่า “ของกินไม่กินก็เน่า ของเก่าไม่เล่าก็ลืม” และเป็นส่วนผกผันกับอนาคต

ของคณะฯ ทีน่ บั วันจะรุดหน้ารุง่ เรือง

๑๒

ก่อนมีคำ “วิสยั ทัศน์”


าวช่วงปีพทุ ธศักราช ๒๕๓๐ ยังไม่เกิดคำว่า “วิสยั ทัศน์” โดยนำ ความมาแปลงจากภาษาอังกฤษว่า vision จนมีการใช้กันเอิกเกริกดังเช่น ปัจจุบนั และไม่มกี ารเขียนปะหน้าไว้ทอี่ าคารหรือรายงานประจำปี แต่เมือ่ ศึกษาถึงการทำงานของผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลในช่วงนั้น จะพบว่า แม้ไม่มคี ำนีใ้ ช้ แต่การทำงานนัน้ อุดมไปด้วยวิสยั ทัศน์ ทีแ่ ต่กอ่ นใช้ในรูป คำว่า “มองการณ์ไกล” ความเป็นผูม้ องการณ์ไกลของศาสตราจารย์ นพ.ณัฐ ภมรประวัติ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดลติดต่อกันถึง ๓ สมัย

ครบถ้ ว น โดยไม่ ข าดกลางคั น ด้ ว ยเหตุ ข องการบกพร่ อ งทางด้ า นการ บริหาร ซึ่งระยะของการบริหารองค์กรแห่งนี้ เริ่มเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๒๒ จนสิน้ สุดสมัยที่ ๓ คือวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๔ นับระยะเวลาได้ ๑๒ ปีบริบรู ณ์ ผลที่บ่งชี้ถึงการมองการณ์ไกล คือในวาระการบริหาร ได้มีการ สถาปนาหน่วยงานต่างๆ ทั้งเพื่อหนุนเสริมการบริหาร การบริการ และ การจัดตั้งคณะหรือสถาบัน เพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านการเรียนการสอน และการวิจยั เช่น - ๒๕๒๓ จัดตัง้ ศูนย์ศาลายา - ๒๕๒๔ จัดตั้งสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย (เดิมชื่อ สถาบันวิจยั ภาษาและวัฒนธรรมเพือ่ พัฒนาชนบท) - ๒๕๒๔ จัดตัง้ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ - ๒๕๒๔ จัดตัง้ สถาบันวิจยั และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - ๒๕๒๕ จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ (เพื่อรับผิดชอบงานการเรียน การสอน นักศึกษาชัน้ ปีที่ ๑) - ๒๕๒๖ จัดตัง้ คณะสิง่ แวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ - ๒๕๒๖ จัดตัง้ บัณฑิตวิทยาลัย (หน่วยประสานงานสาขาศาลายา) - ๒๕๒๖ จัดตัง้ สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานอาเซียน - ๒๕๒๖ จัดตัง้ สถาบันวิจยั ประชากรและสังคม ๑๔

ศาสตราจารย์ นพ.ดร.ณัฐ ภมรประวัติ อดี ต อธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล ๓ สมัย ซึ่ งเป็นผู้ มองการณ์ไกล

ศาสตราจารย์ นพ.ดร.ณัฐ ภมรประวัติ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน (ชุดขาว) ในวันประกอบพิธี วางศิลาฤกษ์ อาคารคณะวิศวกรรม- ศาสตร์

- ๒๕๓๐ จัดตัง้ สำนักสัตว์ทดลองแห่งชาติ - ๒๕๓๒ จัดตั้งโครงการการศึกษาปริญญาตรีสำหรับนักศึกษา นานาชาติ - ๒๕๓๓ จัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ รายชื่อคณะและสถาบัน หน่วยงานเหล่านี้ หากมองผาดๆ อาจ ไม่รสู้ กึ ว่า ไม่เกีย่ วข้องกับความเป็นมหาวิทยาลัยมหิดล ซึง่ มีความโดดเด่น ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ต่อเมื่อมองย้อนกลับไปจากจุดยืน ณ ปัจจุบันจะพบว่า บรรดาคณะและสถาบันทั้งหลายที่ได้จัดตั้งมาในยุคสมัย ของท่ า นอธิ ก ารบดี ณั ฐ ภมรประวั ติ และยุ ค ของการบริ ห ารงานจาก อธิการบดีทา่ นอืน่ ๆ ตามมา ล้วนเป็นปัจจัยเสริม เพิม่ ค่าความหมายให้กบั คำว่า “มหาวิทยาลัย” ให้พอกพูนสมบูรณ์ยงิ่ ๆ ขึน้ ๑๕


าวช่วงปีพทุ ธศักราช ๒๕๓๐ ยังไม่เกิดคำว่า “วิสยั ทัศน์” โดยนำ ความมาแปลงจากภาษาอังกฤษว่า vision จนมีการใช้กันเอิกเกริกดังเช่น ปัจจุบนั และไม่มกี ารเขียนปะหน้าไว้ทอี่ าคารหรือรายงานประจำปี แต่เมือ่ ศึกษาถึงการทำงานของผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลในช่วงนั้น จะพบว่า แม้ไม่มคี ำนีใ้ ช้ แต่การทำงานนัน้ อุดมไปด้วยวิสยั ทัศน์ ทีแ่ ต่กอ่ นใช้ในรูป คำว่า “มองการณ์ไกล” ความเป็นผูม้ องการณ์ไกลของศาสตราจารย์ นพ.ณัฐ ภมรประวัติ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดลติดต่อกันถึง ๓ สมัย

ครบถ้ ว น โดยไม่ ข าดกลางคั น ด้ ว ยเหตุ ข องการบกพร่ อ งทางด้ า นการ บริหาร ซึ่งระยะของการบริหารองค์กรแห่งนี้ เริ่มเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๒๒ จนสิน้ สุดสมัยที่ ๓ คือวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๔ นับระยะเวลาได้ ๑๒ ปีบริบรู ณ์ ผลที่บ่งชี้ถึงการมองการณ์ไกล คือในวาระการบริหาร ได้มีการ สถาปนาหน่วยงานต่างๆ ทั้งเพื่อหนุนเสริมการบริหาร การบริการ และ การจัดตั้งคณะหรือสถาบัน เพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านการเรียนการสอน และการวิจยั เช่น - ๒๕๒๓ จัดตัง้ ศูนย์ศาลายา - ๒๕๒๔ จัดตั้งสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย (เดิมชื่อ สถาบันวิจยั ภาษาและวัฒนธรรมเพือ่ พัฒนาชนบท) - ๒๕๒๔ จัดตัง้ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ - ๒๕๒๔ จัดตัง้ สถาบันวิจยั และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - ๒๕๒๕ จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ (เพื่อรับผิดชอบงานการเรียน การสอน นักศึกษาชัน้ ปีที่ ๑) - ๒๕๒๖ จัดตัง้ คณะสิง่ แวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ - ๒๕๒๖ จัดตัง้ บัณฑิตวิทยาลัย (หน่วยประสานงานสาขาศาลายา) - ๒๕๒๖ จัดตัง้ สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานอาเซียน - ๒๕๒๖ จัดตัง้ สถาบันวิจยั ประชากรและสังคม ๑๔

ศาสตราจารย์ นพ.ดร.ณัฐ ภมรประวัติ อดี ต อธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล ๓ สมัย ซึ่ งเป็นผู้ มองการณ์ไกล

ศาสตราจารย์ นพ.ดร.ณัฐ ภมรประวัติ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน (ชุดขาว) ในวันประกอบพิธี วางศิลาฤกษ์ อาคารคณะวิศวกรรม- ศาสตร์

- ๒๕๓๐ จัดตัง้ สำนักสัตว์ทดลองแห่งชาติ - ๒๕๓๒ จัดตั้งโครงการการศึกษาปริญญาตรีสำหรับนักศึกษา นานาชาติ - ๒๕๓๓ จัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ รายชื่อคณะและสถาบัน หน่วยงานเหล่านี้ หากมองผาดๆ อาจ ไม่รสู้ กึ ว่า ไม่เกีย่ วข้องกับความเป็นมหาวิทยาลัยมหิดล ซึง่ มีความโดดเด่น ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ต่อเมื่อมองย้อนกลับไปจากจุดยืน ณ ปัจจุบันจะพบว่า บรรดาคณะและสถาบันทั้งหลายที่ได้จัดตั้งมาในยุคสมัย ของท่ า นอธิ ก ารบดี ณั ฐ ภมรประวั ติ และยุ ค ของการบริ ห ารงานจาก อธิการบดีทา่ นอืน่ ๆ ตามมา ล้วนเป็นปัจจัยเสริม เพิม่ ค่าความหมายให้กบั คำว่า “มหาวิทยาลัย” ให้พอกพูนสมบูรณ์ยงิ่ ๆ ขึน้ ๑๕


กล่ า วจำเพาะถึ ง คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ นี้ ก็ เ ป็ น ผลจากการ

มองการณ์ไกลอย่างน่าชื่นชม เป็นการ “มองทะลุกรอบ” ที่คนทั่วไปอาจ คิดว่า เป็นเรื่องแปลกระคนขัน ที่จู่ๆ ก็จะเกิดคณะฯ นี้ขึ้นมา ท่ามกลาง ความเป็นเลิศทางสายวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มหาวิทยาลัยมหิดลทำให้เกิด ภาพพิมพ์ใจในความรูส้ กึ ของคนไทยและชาวต่างชาติเป็นทุนเดิมอยูแ่ ล้ว ในความเป็นจริง การจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มิได้ “จู่ๆ” ก็ เกิดขึ้นอย่างที่อาจมีผู้เข้าใจ ครั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็มักจะมีคำถามลอยติด มากับการสนทนาอยูบ่ อ่ ยครัง้ ว่า “มหิดลมีวศิ วะด้วยเหรอ” หรือบ้างก็มกั จะถามกันว่า “วิศวะอยู่ในมหิดลเหรอ” ซึ่งโดยนัยนี้ เป็นทั้งคำถามและ ความแปลกใจ เพราะเมื่อเข้าไปศึกษาถึงเบื้องลึกของการเกิดขึ้นมาของ คณะฯ นี้ จะพบได้วา่ เกิดขึน้ อย่างตัง้ ใจ และมีเหตุอนั สมควร มิใช่เกิดขึน้ ในเวลาอันรวดเร็วหรือพลัง้ เผลอให้เกิดขึน้ มา เปรียบไปว่า คล้ายกับพ่อแม่ ที่ตั้งใจจะให้ลูกเกิดมาเพื่อสืบสกุล มีการวางแผน มีการเตรียมการ เฝ้า ถนอมฟูมฟัก จัดหาผูเ้ ชีย่ วชาญ ปรึกษาหมอดูแลครรภ์มาเป็นอย่างดี ผูค้ นทีแ่ วดล้อมและอยูใ่ นเหตุการณ์การก่อตัง้ ฯ ต่างกล่าวเป็นเสียง เดียวกันว่า วาบความคิดแรกที่จะเกิดคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้น เกิดจาก ศาสตราจารย์ นพ.ณั ฐ ภมรประวั ติ อาจจะเริ่ ม คิ ด เมื่ อ เข้ า มาบริ ห าร มหาวิทยาลัยสมัยแรกๆ แต่คงทราบถึงความยากในการที่จะจัดตั้ง จึงได้ สัง่ สมบุคลากรเพือ่ เป็น “อิฐก้อนแรก” เพือ่ นำไปเป็นฐานสร้างตึกหลังใหญ่ ดังจะพบว่าได้มีการจัดตั้งคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ซึ่งแม้แต่ ชื่อคณะก็เป็นที่ฮือฮาของยุคสมัยว่า “สิ่งแวดล้อม” สามารถนำมาตั้งเป็น ชือ่ คณะได้ดว้ ยหรือ การสั่งสมบุคลากรในที่นี้ คือการที่จัดตั้งคณะสิ่งแวดล้อมฯ ขึ้น โดยมีคณาจารย์ประจำซึ่งสำเร็จการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์อยู่ จำนวนหนึ่ง มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นาท ตันฑวิรุฬห์ ดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมฯ ต่อมา ดร.นาท ได้เชื้อเชิญและชักชวนทั้งเพื่อน และลูกศิษย์มาร่วมกันทำงานในคณะฯ มากขึน้ ๑๖

ศาสตราจารย์ ดร.นาท ตันฑวิรฬ ุ ห์ อดีตคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ศิษย์คนหนึ่งที่เมื่อกล่าวถึง ดร.นาท นอกจากจะเอ่ยชื่อแล้วมักจะ ตามด้วยคำขยายว่า “อาจารย์ผม” อยูบ่ อ่ ยๆ เป็นความรูส้ กึ ของศิษย์ทมี่ ตี อ่ ครูบาอาจารย์ ต่อมาศิษย์คนดังกล่าว ได้มีส่วนเสริมแรงอย่างแข็งขันใน การก่ อ ตั้ ง คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ ขึ้ น ในมหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล นั่ น คื อ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน ศาสตราจารย์น นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศริ นิ ทร์ ผูท้ ี่ “อาจารย์หมอณัฐ” ได้เชิญมาร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย โดยดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนวิจัยและพัฒนา กล่าวถึงแนวทางการทำงาน ของอาจารย์หมอณัฐว่า “แนวคิดในการก่อตั้งคณะวิศวะฯ ต้องถือว่า อาจารย์ณัฐได้คิด รอบคอบตลอด ก็คือตั้งทีมที่ปรึกษา มาปรึกษาหลายรอบทีเดียว จนใน ทีส่ ดุ ได้มคี ำสัง่ แต่งตัง้ คณะขึน้ มาทำงานจริงๆ” คณะทำงานในที่นี้ คือ “คณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ใน การจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” โดยมี ดร.เชาว์ ณ ศีลวันต์ (ขณะนัน้ ดำรงตำแหน่งองคมนตรี และกรรมการผูท้ รงคุณวุฒิ ของสภามหาวิทยาลัย) มาเป็นประธานคณะกรรมการฯ มี ดร.สิปนนท์ เกตุทัต เป็นรองประธานฯ และมีกรรมการร่วมในคณะ รวมทั้งสิ้น ๑๒ คน รวมความคือมีทั้งที่เป็นนักการศึกษา วิศวกร และผู้เชี่ยวชาญด้าน ต่างๆ มาร่วมกันทำงาน ๑๗


กล่ า วจำเพาะถึ ง คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ นี้ ก็ เ ป็ น ผลจากการ

มองการณ์ไกลอย่างน่าชื่นชม เป็นการ “มองทะลุกรอบ” ที่คนทั่วไปอาจ คิดว่า เป็นเรื่องแปลกระคนขัน ที่จู่ๆ ก็จะเกิดคณะฯ นี้ขึ้นมา ท่ามกลาง ความเป็นเลิศทางสายวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มหาวิทยาลัยมหิดลทำให้เกิด ภาพพิมพ์ใจในความรูส้ กึ ของคนไทยและชาวต่างชาติเป็นทุนเดิมอยูแ่ ล้ว ในความเป็นจริง การจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มิได้ “จู่ๆ” ก็ เกิดขึ้นอย่างที่อาจมีผู้เข้าใจ ครั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็มักจะมีคำถามลอยติด มากับการสนทนาอยูบ่ อ่ ยครัง้ ว่า “มหิดลมีวศิ วะด้วยเหรอ” หรือบ้างก็มกั จะถามกันว่า “วิศวะอยู่ในมหิดลเหรอ” ซึ่งโดยนัยนี้ เป็นทั้งคำถามและ ความแปลกใจ เพราะเมื่อเข้าไปศึกษาถึงเบื้องลึกของการเกิดขึ้นมาของ คณะฯ นี้ จะพบได้วา่ เกิดขึน้ อย่างตัง้ ใจ และมีเหตุอนั สมควร มิใช่เกิดขึน้ ในเวลาอันรวดเร็วหรือพลัง้ เผลอให้เกิดขึน้ มา เปรียบไปว่า คล้ายกับพ่อแม่ ที่ตั้งใจจะให้ลูกเกิดมาเพื่อสืบสกุล มีการวางแผน มีการเตรียมการ เฝ้า ถนอมฟูมฟัก จัดหาผูเ้ ชีย่ วชาญ ปรึกษาหมอดูแลครรภ์มาเป็นอย่างดี ผูค้ นทีแ่ วดล้อมและอยูใ่ นเหตุการณ์การก่อตัง้ ฯ ต่างกล่าวเป็นเสียง เดียวกันว่า วาบความคิดแรกที่จะเกิดคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้น เกิดจาก ศาสตราจารย์ นพ.ณั ฐ ภมรประวั ติ อาจจะเริ่ ม คิ ด เมื่ อ เข้ า มาบริ ห าร มหาวิทยาลัยสมัยแรกๆ แต่คงทราบถึงความยากในการที่จะจัดตั้ง จึงได้ สัง่ สมบุคลากรเพือ่ เป็น “อิฐก้อนแรก” เพือ่ นำไปเป็นฐานสร้างตึกหลังใหญ่ ดังจะพบว่าได้มีการจัดตั้งคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ซึ่งแม้แต่ ชื่อคณะก็เป็นที่ฮือฮาของยุคสมัยว่า “สิ่งแวดล้อม” สามารถนำมาตั้งเป็น ชือ่ คณะได้ดว้ ยหรือ การสั่งสมบุคลากรในที่นี้ คือการที่จัดตั้งคณะสิ่งแวดล้อมฯ ขึ้น โดยมีคณาจารย์ประจำซึ่งสำเร็จการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์อยู่ จำนวนหนึ่ง มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นาท ตันฑวิรุฬห์ ดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมฯ ต่อมา ดร.นาท ได้เชื้อเชิญและชักชวนทั้งเพื่อน และลูกศิษย์มาร่วมกันทำงานในคณะฯ มากขึน้ ๑๖

ศาสตราจารย์ ดร.นาท ตันฑวิรฬ ุ ห์ อดีตคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ศิษย์คนหนึ่งที่เมื่อกล่าวถึง ดร.นาท นอกจากจะเอ่ยชื่อแล้วมักจะ ตามด้วยคำขยายว่า “อาจารย์ผม” อยูบ่ อ่ ยๆ เป็นความรูส้ กึ ของศิษย์ทมี่ ตี อ่ ครูบาอาจารย์ ต่อมาศิษย์คนดังกล่าว ได้มีส่วนเสริมแรงอย่างแข็งขันใน การก่ อ ตั้ ง คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ ขึ้ น ในมหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล นั่ น คื อ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน ศาสตราจารย์น นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศริ นิ ทร์ ผูท้ ี่ “อาจารย์หมอณัฐ” ได้เชิญมาร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย โดยดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนวิจัยและพัฒนา กล่าวถึงแนวทางการทำงาน ของอาจารย์หมอณัฐว่า “แนวคิดในการก่อตั้งคณะวิศวะฯ ต้องถือว่า อาจารย์ณัฐได้คิด รอบคอบตลอด ก็คือตั้งทีมที่ปรึกษา มาปรึกษาหลายรอบทีเดียว จนใน ทีส่ ดุ ได้มคี ำสัง่ แต่งตัง้ คณะขึน้ มาทำงานจริงๆ” คณะทำงานในที่นี้ คือ “คณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ใน การจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” โดยมี ดร.เชาว์ ณ ศีลวันต์ (ขณะนัน้ ดำรงตำแหน่งองคมนตรี และกรรมการผูท้ รงคุณวุฒิ ของสภามหาวิทยาลัย) มาเป็นประธานคณะกรรมการฯ มี ดร.สิปนนท์ เกตุทัต เป็นรองประธานฯ และมีกรรมการร่วมในคณะ รวมทั้งสิ้น ๑๒ คน รวมความคือมีทั้งที่เป็นนักการศึกษา วิศวกร และผู้เชี่ยวชาญด้าน ต่างๆ มาร่วมกันทำงาน ๑๗


ศาสตราจารย์ นพ. ไกรสิทธิ์ ตันติศริ นิ ทร์ อดีต รองอธิการบดีฝา่ ยวางแผนวิจยั และพัฒนา

คุณนภามาศ นวพันธุ์พิพัฒน์ ผู้อำนวยการ กองพัฒนาคุณภาพ ซึ่งเคยเป็นเลขานุการของคณะ กรรมการดังกล่าว ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการศึกษา เรือ่ งนีว้ า่ “การที่ มี ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ เ ข้ า มาช่ ว ยคิ ด เนี่ ย

มันทำให้เปิดโลกของเราให้มีมุมมองอื่นๆ และทำให้ การทีจ่ ะคิดอะไรมันมีความสมบูรณ์” และได้วเิ คราะห์ เชิ ง สั น นิ ษ ฐานในการจั ด ตั้ ง คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยแสดงทัศนะเอาไว้วา่ “เป็นเพราะว่าความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์ ของเรา อาจารย์ณัฐก็คงจะมีแนวคิดว่า เมื่อมีความ เข้ ม แข็ ง อย่ า งหนึ่ ง ทำไมเราไม่ ต่ อ ยอดไปอี ก แล้ ว

จริงๆ แล้ว โดยกระแสของความเข้มแข็งของประเทศ เนี่ย คิดว่าพวกวิศวะเนี่ยก็เป็นเรื่องที่สำคัญเหมือน

๑๘

กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องเป็น basic ใช่ไหมคะ ของการพัฒนา ประเทศไปสู่ ร ะดั บ อุ ต สาหกรรมหรื อ อะไร ซึ่ ง ตอนนั้ น เราก็ จ ะพู ด ถึ ง ว่ า

เราเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่อะไรใช่มยั้ คะ เพราะฉะนัน้ อันเนีย้ ก็คดิ ว่า เป็ น ฐานอั น หนึ่ ง น่ ะ ค่ ะ เพราะว่ า วิ ศ วะเองเนี่ ย ถ้ า จะเกิ ด ได้ ไ ม่ ดี ห รอก

ถ้ า เราไม่ มี วิ ท ยาศาสตร์ ที่ เ ข้ ม แข็ ง แล้ ว เราก็ เ ก่ ง เราเก่ ง มากสำหรั บ

คณะวิทยาศาสตร์ของเราน่ะคะ...” กล่าวโดยรวมถึงเหตุผลที่สมควรเปิดคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็น เหตุผลสำทับกับที่ได้กล่าวมาแต่ต้นคือ เพราะมหิดลมีความเข้มแข็งทาง ด้านวิทยาศาสตร์อยูแ่ ล้ว เพือ่ ให้เกิดการนำมาใช้ในการพัฒนา ยา สารเคมี อุปกรณ์การแพทย์ การสาธารณสุข การรักษา การวิจัย การฟื้นฟูดูแล

สิง่ แวดล้อม ฯลฯ ซึง่ งานด้านนี้ ต้องมีความละเอียดลึกซึง้ เพราะมีความ เกี่ยวเนื่องกับชีวิตมนุษย์ ต้องมีคุณภาพ และใช้ได้ผล ไม่มีความเสี่ยง

ทีจ่ ะเกิดผลเสีย อาจจะมีคำถามง่ายๆ ว่า ทำไมต้องมีคณะกรรมการศึกษาความเป็น ไปได้ คำตอบทีง่ า่ ยพอๆ กันก็คอื เพราะการจัดตัง้ คณะใดคณะหนึง่ ขึน้ มา ในระบบการศึกษานั้น หมายถึงการต้องรับผิดชอบชีวิตทางการศึกษาลูก หลานชาวบ้าน เชื่อมโยงไปสู่การขอตั้งงบประมาณ สถานที่ และความ พร้อมด้านอืน่ ๆ ด้วยเหตุนี้ การมีคณะกรรมการมาศึกษาถึงความเป็นไปได้ จึ ง เป็ น เครื่ อ งมื อ ช่ ว ยในการตั ด สิ น ใจว่ า สมควรจะให้ มี ห รื อ ไม่ มี ค ณะ วิศวกรรมศาสตร์เกิดขึน้ ในมหาวิทยาลัยมหิดล แต่ความยากทัง้ หมด อยูท่ ี่ การลงมือทำ อีกคำถามหนึ่งที่มักจะถามและพูดคุยกันในบรรดาผู้บริหารของ การประชุมคณบดีว่า วิศวกรที่จบจากมหาวิทยาลัยมหิดล จะมีความต่าง จากทีอ่ นื่ อย่างไร ในทีส่ ดุ คำตอบทีไ่ ด้รบั การสนับสนุนค่อนข้างมาก คือ “ควรต้องเน้นทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ คือ biomedical engineering นั่นก็คือ ต้องให้นักศึกษาที่เข้ามาเรียนวิศวะ มีความรู้ทาง ด้าน biology และความรู้ด้านนี้ต้องลึกซึ้งพอสมควร ที่จะเข้ามาสู่ bio ๑๙


ศาสตราจารย์ นพ. ไกรสิทธิ์ ตันติศริ นิ ทร์ อดีต รองอธิการบดีฝา่ ยวางแผนวิจยั และพัฒนา

คุณนภามาศ นวพันธุ์พิพัฒน์ ผู้อำนวยการ กองพัฒนาคุณภาพ ซึ่งเคยเป็นเลขานุการของคณะ กรรมการดังกล่าว ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการศึกษา เรือ่ งนีว้ า่ “การที่ มี ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ เ ข้ า มาช่ ว ยคิ ด เนี่ ย

มันทำให้เปิดโลกของเราให้มีมุมมองอื่นๆ และทำให้ การทีจ่ ะคิดอะไรมันมีความสมบูรณ์” และได้วเิ คราะห์ เชิ ง สั น นิ ษ ฐานในการจั ด ตั้ ง คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยแสดงทัศนะเอาไว้วา่ “เป็นเพราะว่าความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์ ของเรา อาจารย์ณัฐก็คงจะมีแนวคิดว่า เมื่อมีความ เข้ ม แข็ ง อย่ า งหนึ่ ง ทำไมเราไม่ ต่ อ ยอดไปอี ก แล้ ว

จริงๆ แล้ว โดยกระแสของความเข้มแข็งของประเทศ เนี่ย คิดว่าพวกวิศวะเนี่ยก็เป็นเรื่องที่สำคัญเหมือน

๑๘

กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องเป็น basic ใช่ไหมคะ ของการพัฒนา ประเทศไปสู่ ร ะดั บ อุ ต สาหกรรมหรื อ อะไร ซึ่ ง ตอนนั้ น เราก็ จ ะพู ด ถึ ง ว่ า

เราเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่อะไรใช่มยั้ คะ เพราะฉะนัน้ อันเนีย้ ก็คดิ ว่า เป็ น ฐานอั น หนึ่ ง น่ ะ ค่ ะ เพราะว่ า วิ ศ วะเองเนี่ ย ถ้ า จะเกิ ด ได้ ไ ม่ ดี ห รอก

ถ้ า เราไม่ มี วิ ท ยาศาสตร์ ที่ เ ข้ ม แข็ ง แล้ ว เราก็ เ ก่ ง เราเก่ ง มากสำหรั บ

คณะวิทยาศาสตร์ของเราน่ะคะ...” กล่าวโดยรวมถึงเหตุผลที่สมควรเปิดคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็น เหตุผลสำทับกับที่ได้กล่าวมาแต่ต้นคือ เพราะมหิดลมีความเข้มแข็งทาง ด้านวิทยาศาสตร์อยูแ่ ล้ว เพือ่ ให้เกิดการนำมาใช้ในการพัฒนา ยา สารเคมี อุปกรณ์การแพทย์ การสาธารณสุข การรักษา การวิจัย การฟื้นฟูดูแล

สิง่ แวดล้อม ฯลฯ ซึง่ งานด้านนี้ ต้องมีความละเอียดลึกซึง้ เพราะมีความ เกี่ยวเนื่องกับชีวิตมนุษย์ ต้องมีคุณภาพ และใช้ได้ผล ไม่มีความเสี่ยง

ทีจ่ ะเกิดผลเสีย อาจจะมีคำถามง่ายๆ ว่า ทำไมต้องมีคณะกรรมการศึกษาความเป็น ไปได้ คำตอบทีง่ า่ ยพอๆ กันก็คอื เพราะการจัดตัง้ คณะใดคณะหนึง่ ขึน้ มา ในระบบการศึกษานั้น หมายถึงการต้องรับผิดชอบชีวิตทางการศึกษาลูก หลานชาวบ้าน เชื่อมโยงไปสู่การขอตั้งงบประมาณ สถานที่ และความ พร้อมด้านอืน่ ๆ ด้วยเหตุนี้ การมีคณะกรรมการมาศึกษาถึงความเป็นไปได้ จึ ง เป็ น เครื่ อ งมื อ ช่ ว ยในการตั ด สิ น ใจว่ า สมควรจะให้ มี ห รื อ ไม่ มี ค ณะ วิศวกรรมศาสตร์เกิดขึน้ ในมหาวิทยาลัยมหิดล แต่ความยากทัง้ หมด อยูท่ ี่ การลงมือทำ อีกคำถามหนึ่งที่มักจะถามและพูดคุยกันในบรรดาผู้บริหารของ การประชุมคณบดีว่า วิศวกรที่จบจากมหาวิทยาลัยมหิดล จะมีความต่าง จากทีอ่ นื่ อย่างไร ในทีส่ ดุ คำตอบทีไ่ ด้รบั การสนับสนุนค่อนข้างมาก คือ “ควรต้องเน้นทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ คือ biomedical engineering นั่นก็คือ ต้องให้นักศึกษาที่เข้ามาเรียนวิศวะ มีความรู้ทาง ด้าน biology และความรู้ด้านนี้ต้องลึกซึ้งพอสมควร ที่จะเข้ามาสู่ bio ๑๙


engineering” อาจารย์ไกรสิทธิไ์ ด้เล่าเสริมถึงเหตุผลและคำตอบเพือ่ จะให้มี คณะวิศวกรรมศาสตร์ขนึ้ มา ทัง้ หลายทัง้ ปวง เป็นผลจากแนวคิดทางการบริหารของ “อาจารย์ หมอณัฐ” ทีก่ ล่าวกับคนแวดล้อมอยูเ่ สมอว่า “...เราต้องดูจงั หวะและโอกาส คือจังหวะนีเ้ ราคิด แต่บา้ นเมืองเรา ไม่มเี งินเลย หรือถ้าเราต้องการมีคณะวิศวะฯ แล้วประเทศนีต้ อ้ งการ เมือ่ มี ค วามพร้ อ ม มี โ ครงการไป เงิ น ก็ ม า หรื อ ถ้ า สมมุ ติ มี ที ม ทำงานที่

เข้มแข็ง มีการสนับสนุนให้กำลังใจกัน งานก็ออกมาดี…” อาจารย์ไกรสิทธิ์ได้เล่าถึงหลักคิดของอาจารย์หมอณัฐอีกประการ ว่า “…ถ้าเผือ่ ว่างานมันใหญ่มากๆ คิดว่าโอ... ทำไม่ไหว เราต้องคิดว่า หยิบส่วนนึงมาทำเสียก่อน บุกไป บุกไป แล้วขยายขึน้ ขยายขึน้ ...” ถึงจะเป็นงานใหญ่ งานยาก แต่ก็เกิดขึ้นและเป็นไปได้ เพราะ เหตุของการมีวสิ ยั ทัศน์ หรือเป็นผูม้ องการณ์ไกลโดยแท้

๒๐

บทบาทของรัฐบาลต่อการเกิด คณะวิศวกรรมศาสตร์ใน ม.มหิดล


engineering” อาจารย์ไกรสิทธิไ์ ด้เล่าเสริมถึงเหตุผลและคำตอบเพือ่ จะให้มี คณะวิศวกรรมศาสตร์ขนึ้ มา ทัง้ หลายทัง้ ปวง เป็นผลจากแนวคิดทางการบริหารของ “อาจารย์ หมอณัฐ” ทีก่ ล่าวกับคนแวดล้อมอยูเ่ สมอว่า “...เราต้องดูจงั หวะและโอกาส คือจังหวะนีเ้ ราคิด แต่บา้ นเมืองเรา ไม่มเี งินเลย หรือถ้าเราต้องการมีคณะวิศวะฯ แล้วประเทศนีต้ อ้ งการ เมือ่ มี ค วามพร้ อ ม มี โ ครงการไป เงิ น ก็ ม า หรื อ ถ้ า สมมุ ติ มี ที ม ทำงานที่

เข้มแข็ง มีการสนับสนุนให้กำลังใจกัน งานก็ออกมาดี…” อาจารย์ไกรสิทธิ์ได้เล่าถึงหลักคิดของอาจารย์หมอณัฐอีกประการ ว่า “…ถ้าเผือ่ ว่างานมันใหญ่มากๆ คิดว่าโอ... ทำไม่ไหว เราต้องคิดว่า หยิบส่วนนึงมาทำเสียก่อน บุกไป บุกไป แล้วขยายขึน้ ขยายขึน้ ...” ถึงจะเป็นงานใหญ่ งานยาก แต่ก็เกิดขึ้นและเป็นไปได้ เพราะ เหตุของการมีวสิ ยั ทัศน์ หรือเป็นผูม้ องการณ์ไกลโดยแท้

๒๐

บทบาทของรัฐบาลต่อการเกิด คณะวิศวกรรมศาสตร์ใน ม.มหิดล


ภาพการก่อสร้างอาคารคณะฯ

นช่วงปีพุทธศักราช ๒๕๓๑-๒๕๓๓ เป็นสมัยที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีนโยบายเกี่ยวกับประเทศ เพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอินโดจีน คือ สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนาม โดยมีแนวนโยบายเรือ่ งการ “เปลีย่ นสนามรบให้เป็นสนาม การค้า” อีกทัง้ ยังดำเนินการให้มกี ารเจรจาร่วม ๔ ฝ่ายเพือ่ ยุตกิ ารสูร้ บใน กัมพูชา ให้สงครามเบาบางลง รวมถึงรัฐบาลไทยในขณะนั้น เสนอเป็น เป็นตัวกลางการจัดตัง้ รัฐบาลทีม่ สี มเด็จเจ้านโรดมสีหนุเป็นประมุข ผลพวงที่เกิดจากนโยบายดังกล่าว ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวด้าน การค้าและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน กล่าวคือ ราคาที่ดินในประเทศแต่ละท้องที่ถีบตัวสูงขึ้น เกิดการว่าจ้างแรงงานและ การก่อสร้าง จนนำมาสูก่ ารขยายโอกาสการเรียนและรวมถึงการมีมติจาก ๒๒

ภาพการปรับพืน ้ ทีเ่ พือ่ สร้างอาคารคณะฯ

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี อนุมัติให้มีการก่อตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ใน มหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง รวมทัง้ มหาวิทยาลัยมหิดลด้วย หนังสือราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่มที่ ๑๐๗ ตอนที่ ๑๕๘ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ หน้า ๒๕ ว่าด้วยเรือ่ งพระราชกฤษฎีกา จัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ความตอนท้ายระบุเป็น หมายเหตุไว้วา่ “เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ ปรากฏว่าในปัจจุบัน เกิดการขาดแคลนบุคลากรด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี รัฐบาลจึงมีนโยบายทีจ่ ะสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาทัง้ ของรั ฐ และเอกชนที่ มี โ ครงสร้ า งปั จ จั ย พื้ น ฐาน ศั ก ยภาพ ขี ด ความ สามารถ และความพร้อม เปิดสอนสาขาด้านวิศวกรรมศาสตร์ เพือ่ ผลิต ๒๓


ภาพการก่อสร้างอาคารคณะฯ

นช่วงปีพุทธศักราช ๒๕๓๑-๒๕๓๓ เป็นสมัยที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีนโยบายเกี่ยวกับประเทศ เพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอินโดจีน คือ สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนาม โดยมีแนวนโยบายเรือ่ งการ “เปลีย่ นสนามรบให้เป็นสนาม การค้า” อีกทัง้ ยังดำเนินการให้มกี ารเจรจาร่วม ๔ ฝ่ายเพือ่ ยุตกิ ารสูร้ บใน กัมพูชา ให้สงครามเบาบางลง รวมถึงรัฐบาลไทยในขณะนั้น เสนอเป็น เป็นตัวกลางการจัดตัง้ รัฐบาลทีม่ สี มเด็จเจ้านโรดมสีหนุเป็นประมุข ผลพวงที่เกิดจากนโยบายดังกล่าว ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวด้าน การค้าและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน กล่าวคือ ราคาที่ดินในประเทศแต่ละท้องที่ถีบตัวสูงขึ้น เกิดการว่าจ้างแรงงานและ การก่อสร้าง จนนำมาสูก่ ารขยายโอกาสการเรียนและรวมถึงการมีมติจาก ๒๒

ภาพการปรับพืน ้ ทีเ่ พือ่ สร้างอาคารคณะฯ

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี อนุมัติให้มีการก่อตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ใน มหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง รวมทัง้ มหาวิทยาลัยมหิดลด้วย หนังสือราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่มที่ ๑๐๗ ตอนที่ ๑๕๘ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ หน้า ๒๕ ว่าด้วยเรือ่ งพระราชกฤษฎีกา จัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ความตอนท้ายระบุเป็น หมายเหตุไว้วา่ “เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ ปรากฏว่าในปัจจุบัน เกิดการขาดแคลนบุคลากรด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี รัฐบาลจึงมีนโยบายทีจ่ ะสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาทัง้ ของรั ฐ และเอกชนที่ มี โ ครงสร้ า งปั จ จั ย พื้ น ฐาน ศั ก ยภาพ ขี ด ความ สามารถ และความพร้อม เปิดสอนสาขาด้านวิศวกรรมศาสตร์ เพือ่ ผลิต ๒๓


บุคลากรด้านวิศวกรรมศาสตร์ ให้พอเพียงกับความต้องการของตลาด แรงงาน และมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีปัจจัย

พื้ น ฐาน และมี ค วามพร้ อ มที่ จ ะเปิ ด สอนสาขาวิ ช าวิ ศ วกรรมศาสตร์ ไ ด้ สมควรจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ขนึ้ ในมหาวิทยาลัยมหิดล...”

คณะผูก้ อ่ การดี

๒๔


บุคลากรด้านวิศวกรรมศาสตร์ ให้พอเพียงกับความต้องการของตลาด แรงงาน และมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีปัจจัย

พื้ น ฐาน และมี ค วามพร้ อ มที่ จ ะเปิ ด สอนสาขาวิ ช าวิ ศ วกรรมศาสตร์ ไ ด้ สมควรจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ขนึ้ ในมหาวิทยาลัยมหิดล...”

คณะผูก้ อ่ การดี

๒๔


ารเกิดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลนัน้ มิใช่เกิด จากมติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือความคิดของผู้ใดผู้หนึ่งเพียงฝ่าย เดียว แล้วจะผุดขึ้นเป็นตึกตระหง่านอย่างที่เห็นในปัจจุบัน หากยังต้อง อาศัยผูร้ ว่ มคิด กระนัน้ ก็ดี เพียงแต่คดิ อย่างเดียวก็ไม่เป็นผล ยังต้องอาศัย ผู้ร่วมทำ ร่วมดำเนินการอีกหลายอย่างจิปาถะ นอกจากนี้ยังต้องอาศัย “กำลังภายใน” คือความคุ้นเคยและความมีชื่อเสียงของแต่ละท่าน ได้ นำพาให้เกิดการปรึกษาหารือและสร้างให้สิ่งที่ประสงค์ร่วมกันได้เกิดขึ้น อย่างเป็นรูปธรรม เรื่องเล่าต่อไปนี้ ศาสตราจารย์ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล พูดถึง ความเป็นมาที่ “เริม่ ก่อตัวเล็กๆ” ในระดับผูบ้ ริหารว่า “...ท่ า น (หมายถึ ง คุ ณ หมอณั ฐ ภมรประวั ติ - อธิ ก ารบดี มหาวิทยาลัยมหิดลสมัยนั้น) ก็บอกว่า เดี๋ยวจะชวนคุณทวิช กลิ่นประทุม (ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย) มากินข้าว กลางวันทีเ่ รือนไทย (เรือนไทยมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา) แล้วเพือ่ จะให้ มาแล้ ว เรื่ อ งมั น เป็ น ไปด้ ว ยโดยสะดวกเนี่ ย เขาจึ ง ถื อ โอกาสเชิ ญ ท่ า น ประมวล สภาวะสุ ซึ่ ง เป็ น รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงการคลั ง เนี่ ย มา

รับประทานอาหารกลางวันด้วย แล้วก็กระซิบบอกกับผมว่า ‘หมอจัดมโหรี หรือวงปี่พาทย์ไม้นวมเพราะๆ ในระหว่างที่ท่านกินข้าวอยู่ข้างบนด้วยนะ’ ทีนี้สถาบันวิจัยภาษาฯ ของเราตอนนั้นเปิดหลักสูตรปริญญาโททางด้าน ดนตรีแล้วเนี่ย เราก็มีนักศึกษาหลายคนที่เล่นดนตรีได้ และเครื่องดนตรี ของเราก็มีพอสมควร เราก็เอานักศึกษาปริญญาโททั้งหมด มีอาจารย์ บุญช่วย โสวัตร, อาจารย์ปบี๊ คงลายทอง, อาจารย์นฐั พงศ์ โสวัตร ใคร ต่อใครอีกหลายคนในรุ่นนั้น สีเวียง (หนูจ้อย) บ้างอะไรบ้างเนี่ย ขึ้นมา บรรเลงและขับร้องกันที่ใต้ถุนชั้นล่าง ในขณะที่ท่านกินข้าวกลางวันกันอยู่ ข้างบน พอท่านรับประทานอาหารกลางวันเสร็จ ท่านก็ลงมา ท่านก็เดิน เข้ามาทีว่ ง ท่านบอกผมบอกว่า ขอบใจมากเลย ท่านประมวลน่ะ ขอบใจ มากเลยทีไ่ ด้ฟงั เพลงไพเราะน่าฟัง คุณทวิชก็เดินเข้ามาตบหลังผม บอกว่า ๒๖

ศาสตราจารย์ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล ผู้ มี ส่ ว น ด ำ เ นิ น ง า น ก า ร จั ด ตั้ ง คณะวิศวกรรมศาสตร์

เ รื อ น ไ ท ย ม ห า วิ ท ย า ลั ย มหิ ด ล ศาลายา เคยเป็ น สถานที่ “คิดการใหญ่” เพื่อ จัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ๒๗


ารเกิดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลนัน้ มิใช่เกิด จากมติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือความคิดของผู้ใดผู้หนึ่งเพียงฝ่าย เดียว แล้วจะผุดขึ้นเป็นตึกตระหง่านอย่างที่เห็นในปัจจุบัน หากยังต้อง อาศัยผูร้ ว่ มคิด กระนัน้ ก็ดี เพียงแต่คดิ อย่างเดียวก็ไม่เป็นผล ยังต้องอาศัย ผู้ร่วมทำ ร่วมดำเนินการอีกหลายอย่างจิปาถะ นอกจากนี้ยังต้องอาศัย “กำลังภายใน” คือความคุ้นเคยและความมีชื่อเสียงของแต่ละท่าน ได้ นำพาให้เกิดการปรึกษาหารือและสร้างให้สิ่งที่ประสงค์ร่วมกันได้เกิดขึ้น อย่างเป็นรูปธรรม เรื่องเล่าต่อไปนี้ ศาสตราจารย์ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล พูดถึง ความเป็นมาที่ “เริม่ ก่อตัวเล็กๆ” ในระดับผูบ้ ริหารว่า “...ท่ า น (หมายถึ ง คุ ณ หมอณั ฐ ภมรประวั ติ - อธิ ก ารบดี มหาวิทยาลัยมหิดลสมัยนั้น) ก็บอกว่า เดี๋ยวจะชวนคุณทวิช กลิ่นประทุม (ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย) มากินข้าว กลางวันทีเ่ รือนไทย (เรือนไทยมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา) แล้วเพือ่ จะให้ มาแล้ ว เรื่ อ งมั น เป็ น ไปด้ ว ยโดยสะดวกเนี่ ย เขาจึ ง ถื อ โอกาสเชิ ญ ท่ า น ประมวล สภาวะสุ ซึ่ ง เป็ น รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงการคลั ง เนี่ ย มา

รับประทานอาหารกลางวันด้วย แล้วก็กระซิบบอกกับผมว่า ‘หมอจัดมโหรี หรือวงปี่พาทย์ไม้นวมเพราะๆ ในระหว่างที่ท่านกินข้าวอยู่ข้างบนด้วยนะ’ ทีนี้สถาบันวิจัยภาษาฯ ของเราตอนนั้นเปิดหลักสูตรปริญญาโททางด้าน ดนตรีแล้วเนี่ย เราก็มีนักศึกษาหลายคนที่เล่นดนตรีได้ และเครื่องดนตรี ของเราก็มีพอสมควร เราก็เอานักศึกษาปริญญาโททั้งหมด มีอาจารย์ บุญช่วย โสวัตร, อาจารย์ปบี๊ คงลายทอง, อาจารย์นฐั พงศ์ โสวัตร ใคร ต่อใครอีกหลายคนในรุ่นนั้น สีเวียง (หนูจ้อย) บ้างอะไรบ้างเนี่ย ขึ้นมา บรรเลงและขับร้องกันที่ใต้ถุนชั้นล่าง ในขณะที่ท่านกินข้าวกลางวันกันอยู่ ข้างบน พอท่านรับประทานอาหารกลางวันเสร็จ ท่านก็ลงมา ท่านก็เดิน เข้ามาทีว่ ง ท่านบอกผมบอกว่า ขอบใจมากเลย ท่านประมวลน่ะ ขอบใจ มากเลยทีไ่ ด้ฟงั เพลงไพเราะน่าฟัง คุณทวิชก็เดินเข้ามาตบหลังผม บอกว่า ๒๖

ศาสตราจารย์ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล ผู้ มี ส่ ว น ด ำ เ นิ น ง า น ก า ร จั ด ตั้ ง คณะวิศวกรรมศาสตร์

เ รื อ น ไ ท ย ม ห า วิ ท ย า ลั ย มหิ ด ล ศาลายา เคยเป็ น สถานที่ “คิดการใหญ่” เพื่อ จัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ๒๗


‘ไงพี่ชาย’ นั่นเป็นครั้งแรกเลยนะฮะ เพราะว่าผมไม่เคยคิดว่าท่านจะนับ ญาติกบั ผมขนาดนัน้ ... ‘เอ้อ วันนีก้ นิ ข้าวอร่อย กับข้าวก็อร่อย คุยกันได้ผล นะ อาจจะได้คณะวิศวะฯ ขึน้ มาเป็นคณะใหม่อกี คณะหนึง่ ’ คล้ายๆ อย่าง นัน้ นะ อาจจะได้ หลังจากนัน้ เนีย่ ผมก็ไม่ได้พบคุณทวิชอีกเลย แต่ยงั จำไอ้ ความรู้สึกที่ดีในวันนั้นได้ ที่ท่านเดินเข้ามาตบบ่า แล้วท่านก็บอกขอบใจ มากนะพี่ชาย อะไรอย่างนี้นะฮะ แล้วก็พูดถึงวิศวะหน่อยนึง แล้วก็เป็น ความจริงขึ้นมาวันหนึ่งว่า สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติหลักการในการที่จะ เริม่ มีการก่อตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ขนึ้ ” บรรดาชือ่ บุคคลต่างๆ จากคำบอกเล่านี้ จะพบได้วา่ แต่ละคนมี สายงานที่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับความเป็นวิศวะแม้แต่น้อย แต่เพราะมีหลักอยู่ ร่วมกันประการหนึง่ ว่า “จะทำให้วศิ วกรรมศาสตร์เกิดขึน้ ในมหิดล” ผูม้ ี อาชีพคนละสาแหรกต่างก็ได้มาทำกิจกรรม “ร่วมหาบร่วมคอน” ร่วมเป็น ธุระ ทำให้ภารกิจของมหาวิทยาลัยได้รดุ หน้าขึน้ ไปอีกระดับ คณะผู้มีส่วนก่อตั้งวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ใน ยุคต้นๆ จึงเป็นกลุ่มคนที่ดูประหนึ่งไกลห่างจากความเป็นวิศวกรเสีย

ยิ่งนัก เปรียบเหมือนกรวดทรายเม็ดเล็กๆ ซึ่งเมื่อได้ประสมกับปูนและ น้ำในอัตราทีพ่ อเหมาะพอสม และในเวลาอันควร แล้วนำไปขึน้ รูปก่ออิฐ จึงได้แลเห็นเป็นตึกหลังใหญ่สง่างาม

๒๘

แกนนำคนสำคัญ


‘ไงพี่ชาย’ นั่นเป็นครั้งแรกเลยนะฮะ เพราะว่าผมไม่เคยคิดว่าท่านจะนับ ญาติกบั ผมขนาดนัน้ ... ‘เอ้อ วันนีก้ นิ ข้าวอร่อย กับข้าวก็อร่อย คุยกันได้ผล นะ อาจจะได้คณะวิศวะฯ ขึน้ มาเป็นคณะใหม่อกี คณะหนึง่ ’ คล้ายๆ อย่าง นัน้ นะ อาจจะได้ หลังจากนัน้ เนีย่ ผมก็ไม่ได้พบคุณทวิชอีกเลย แต่ยงั จำไอ้ ความรู้สึกที่ดีในวันนั้นได้ ที่ท่านเดินเข้ามาตบบ่า แล้วท่านก็บอกขอบใจ มากนะพี่ชาย อะไรอย่างนี้นะฮะ แล้วก็พูดถึงวิศวะหน่อยนึง แล้วก็เป็น ความจริงขึ้นมาวันหนึ่งว่า สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติหลักการในการที่จะ เริม่ มีการก่อตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ขนึ้ ” บรรดาชือ่ บุคคลต่างๆ จากคำบอกเล่านี้ จะพบได้วา่ แต่ละคนมี สายงานที่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับความเป็นวิศวะแม้แต่น้อย แต่เพราะมีหลักอยู่ ร่วมกันประการหนึง่ ว่า “จะทำให้วศิ วกรรมศาสตร์เกิดขึน้ ในมหิดล” ผูม้ ี อาชีพคนละสาแหรกต่างก็ได้มาทำกิจกรรม “ร่วมหาบร่วมคอน” ร่วมเป็น ธุระ ทำให้ภารกิจของมหาวิทยาลัยได้รดุ หน้าขึน้ ไปอีกระดับ คณะผู้มีส่วนก่อตั้งวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ใน ยุคต้นๆ จึงเป็นกลุ่มคนที่ดูประหนึ่งไกลห่างจากความเป็นวิศวกรเสีย

ยิ่งนัก เปรียบเหมือนกรวดทรายเม็ดเล็กๆ ซึ่งเมื่อได้ประสมกับปูนและ น้ำในอัตราทีพ่ อเหมาะพอสม และในเวลาอันควร แล้วนำไปขึน้ รูปก่ออิฐ จึงได้แลเห็นเป็นตึกหลังใหญ่สง่างาม

๒๘

แกนนำคนสำคัญ


นสังคมวิศวะมหิดล ไม่วา่ จะเป็นอาจารย์และนักศึกษา ตลอดถึง เจ้าหน้าที่ทุกแผนกทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้ที่ได้มาสัมพันธ์กับคณะฯ นี้เมื่อ ประมาณสิ บ ปี เ ศษ เชื่ อ ได้ ว่ า ทุ ก คนจะรู้ จั ก กั บ “อาจารย์ อ้ ว น” หรื อ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน ซึง่ มีบทบาทสำคัญในการจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์

ขึน้ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล หรืออาจจะเรียกว่าแกนนำคนสำคัญก็ไม่ผดิ เวลาสายจวนเทีย่ งของวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๒ อาจารย์ธนากร อ้วนอ่อนในวัยเกือบ ๖๕ ได้สละเวลาตอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับทุกๆ เรื่องใน ความเป็นวิศวะมหิดล เสียงทุ้มๆ ห้าวๆ บอกเรื่องเก่าคราวหลังเมื่อกว่า ยีส่ บิ ปีทแี่ ล้วให้ฟงั “…จบกลับมาก็กลับมาอยู่คณะสิ่งแวดล้อมฯ เหมือนเดิมน่ะครับ อยูค่ ณะสิง่ แวดล้อมฯ ตอนนัน้ เป็นคณะแล้ว เป็นตึกแล้ว มาได้สกั ๒-๓ ปี เอง ก็สญ ู เสียอาจารย์นาท (ดร.นาท ตันฑวิรฬุ ห์) ไปเนาะ ก็เลยจากรอง คณบดี ก็เลยเลือ่ นเป็นคณบดีดว้ ยความจำเป็น (หัวเราะ)...” ท่านพูดถึงตัวเอง อาจารย์ได้สบื ความดำเนินเรือ่ งต่อไปถึงช่วงทีจ่ ะมามีบทบาทก่อตัง้ คณะวิศวะฯ ว่า “…แล้วก็ทำมาอยูจ่ นครบ ๒ สมัย (ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะ สิ่งแวดล้อมฯ อยู่ ๒ สมัย) ก็ในดำริที่คุยกันตั้งนานแล้วกับอาจารย์ณัฐ ภมรประวัติ ว่า ตัวกลุ่มที่เป็นอาจารย์ของเราเนี่ย ถึงแม้ว่าจะอยู่ในคณะ

สิ่งแวดล้อมฯ ก็ได้รวมคนที่จบวิศวะเข้ามาอยู่หลายคนนะครับ ก็มีนับไป

ตัง้ แต่อาจารย์คณิต สงวนตระกูล อาจารย์ไพโรจน์ สุวรรณสุทธิ อาจารย์ พินยั ออรุง่ โรจน์ และอีกหลายๆ คนทีจ่ บวิศวะฯ มาอยูน่ ะครับ...” นอกจากนี้ อาจารย์ธนากรเล่าย้อนกลับไปเมือ่ ราวปี พ.ศ. ๒๕๒๐๒๕๓๐ ทางรัฐบาลมีนโยบายห้ามเปิดคณะวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัย

ซึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ครั้นช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ภาวะ เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น จึงทำให้ความต้องการบัณฑิตหรืออาชีพสาย งานด้านวิศวกรรมศาสตร์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการ “เปิดไฟเขียว” จัดตั้ง คณะวิศวกรรมขึน้ ได้ตามมติคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลในสมัยนัน้

๓๐

“เพราะว่าด้วยมติ ครม. ให้มาตั้งนั่นแหละ และโดยหลักก็คือว่า มันต้องเป็นไปให้ได้ เพราะเราคุยกันมานาน” นี่เป็นคำย้ำถึงความมุ่งมั่น เพือ่ สร้างคณะวิศวกรรมศาสตร์ขนึ้ มา ในแผนงานเดิมทีค่ าดว่าจะเปิดสอน ประกอบด้วย วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมเคมี และวิศวกรรม โยธา นอกจากนี้ ผู้ ก่ อ ตั้ ง ยั ง มี แ ผน จะเปิ ด ภาควิ ช า engineering technology และก็ biomedical engineering เพิม่ เข้ามา คำถามทีว่ า่ วิศวะมหิดล มีอะไรต่างจากวิศวะทีอ่ นื่ บ้าง คำตอบที่ได้คือ วิศวะมหิดล ได้นำเอาศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นจุดแข็ง หรื อ ของคณะ/สถาบั น ที่ มี ค วามรู้ อ ยู่ เ ดิ ม มาผนวกเข้ า กั บ วิ ช าทาง วิศวกรรมศาสตร์ ดังคำตอบสัมภาษณ์วา่ “...ที่เป็นเอกลักษณ์ของวิศวะเนี่ย ก็คือควรจะมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับ ทางการแพทย์ เข้าไปเป็นศาสตร์หนึง่ ของวิศวะ ลักษณะทีว่ า่ ทำไมเราถึง จะบูรณาการเอื้อซึ่งกันและกันได้ เพราะโดย concept ของ biomedical engineering ก็เลยเกิดขึ้นมานะครับ วิศวกรรมชีวการแพทย์ก็เกิดขึ้นมา ทำนองเดียวกัน จากทีอ่ ยูใ่ นสิง่ แวดล้อมก็เชือ่ มโยงกลุม่ วิชา ว่าวิชาซึง่ เกีย่ ว กับเรือ่ งวิศวกรรมศาสตร์ environment engineering เนีย่ ก็ตอ้ งเข้ามา อย่างน้อยก็เป็นวิชาเลือกให้นกั ศึกษาในสาขาต่างๆ เลือกใช้ ก็คอื อย่างวิชา environment pollution control หรืออะไรต่างๆ เหล่านี้นะครับ ก็จะ สร้างเป็นเอกลักษณ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล อย่างน้อยต้องมี ๒ ศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย นอกเหนือจาก basic style ตามปกติ” เมื่อหันกลับทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อกว่า ๒๐ ปีที่แล้ว อาจารย์ ไกรสิทธิ์ได้ออกปากชมอาจารย์ธนากรและผู้ร่วมงานบุกเบิกในยุคแรกๆ ว่า “งานที่หนักที่สุดคือ อาจารย์ธนากรและทีม การสอนปริญญาตรี นั้นหนัก ใช้เวลา ๖-๑๐ ปี งบประมาณช่วงนั้นไม่มีปัญหาที่รุนแรง

๓๑


นสังคมวิศวะมหิดล ไม่วา่ จะเป็นอาจารย์และนักศึกษา ตลอดถึง เจ้าหน้าที่ทุกแผนกทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้ที่ได้มาสัมพันธ์กับคณะฯ นี้เมื่อ ประมาณสิ บ ปี เ ศษ เชื่ อ ได้ ว่ า ทุ ก คนจะรู้ จั ก กั บ “อาจารย์ อ้ ว น” หรื อ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน ซึง่ มีบทบาทสำคัญในการจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์

ขึน้ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล หรืออาจจะเรียกว่าแกนนำคนสำคัญก็ไม่ผดิ เวลาสายจวนเทีย่ งของวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๒ อาจารย์ธนากร อ้วนอ่อนในวัยเกือบ ๖๕ ได้สละเวลาตอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับทุกๆ เรื่องใน ความเป็นวิศวะมหิดล เสียงทุ้มๆ ห้าวๆ บอกเรื่องเก่าคราวหลังเมื่อกว่า ยีส่ บิ ปีทแี่ ล้วให้ฟงั “…จบกลับมาก็กลับมาอยู่คณะสิ่งแวดล้อมฯ เหมือนเดิมน่ะครับ อยูค่ ณะสิง่ แวดล้อมฯ ตอนนัน้ เป็นคณะแล้ว เป็นตึกแล้ว มาได้สกั ๒-๓ ปี เอง ก็สญ ู เสียอาจารย์นาท (ดร.นาท ตันฑวิรฬุ ห์) ไปเนาะ ก็เลยจากรอง คณบดี ก็เลยเลือ่ นเป็นคณบดีดว้ ยความจำเป็น (หัวเราะ)...” ท่านพูดถึงตัวเอง อาจารย์ได้สบื ความดำเนินเรือ่ งต่อไปถึงช่วงทีจ่ ะมามีบทบาทก่อตัง้ คณะวิศวะฯ ว่า “…แล้วก็ทำมาอยูจ่ นครบ ๒ สมัย (ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะ สิ่งแวดล้อมฯ อยู่ ๒ สมัย) ก็ในดำริที่คุยกันตั้งนานแล้วกับอาจารย์ณัฐ ภมรประวัติ ว่า ตัวกลุ่มที่เป็นอาจารย์ของเราเนี่ย ถึงแม้ว่าจะอยู่ในคณะ

สิ่งแวดล้อมฯ ก็ได้รวมคนที่จบวิศวะเข้ามาอยู่หลายคนนะครับ ก็มีนับไป

ตัง้ แต่อาจารย์คณิต สงวนตระกูล อาจารย์ไพโรจน์ สุวรรณสุทธิ อาจารย์ พินยั ออรุง่ โรจน์ และอีกหลายๆ คนทีจ่ บวิศวะฯ มาอยูน่ ะครับ...” นอกจากนี้ อาจารย์ธนากรเล่าย้อนกลับไปเมือ่ ราวปี พ.ศ. ๒๕๒๐๒๕๓๐ ทางรัฐบาลมีนโยบายห้ามเปิดคณะวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัย

ซึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ครั้นช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ภาวะ เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น จึงทำให้ความต้องการบัณฑิตหรืออาชีพสาย งานด้านวิศวกรรมศาสตร์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการ “เปิดไฟเขียว” จัดตั้ง คณะวิศวกรรมขึน้ ได้ตามมติคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลในสมัยนัน้

๓๐

“เพราะว่าด้วยมติ ครม. ให้มาตั้งนั่นแหละ และโดยหลักก็คือว่า มันต้องเป็นไปให้ได้ เพราะเราคุยกันมานาน” นี่เป็นคำย้ำถึงความมุ่งมั่น เพือ่ สร้างคณะวิศวกรรมศาสตร์ขนึ้ มา ในแผนงานเดิมทีค่ าดว่าจะเปิดสอน ประกอบด้วย วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมเคมี และวิศวกรรม โยธา นอกจากนี้ ผู้ ก่ อ ตั้ ง ยั ง มี แ ผน จะเปิ ด ภาควิ ช า engineering technology และก็ biomedical engineering เพิม่ เข้ามา คำถามทีว่ า่ วิศวะมหิดล มีอะไรต่างจากวิศวะทีอ่ นื่ บ้าง คำตอบที่ได้คือ วิศวะมหิดล ได้นำเอาศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นจุดแข็ง หรื อ ของคณะ/สถาบั น ที่ มี ค วามรู้ อ ยู่ เ ดิ ม มาผนวกเข้ า กั บ วิ ช าทาง วิศวกรรมศาสตร์ ดังคำตอบสัมภาษณ์วา่ “...ที่เป็นเอกลักษณ์ของวิศวะเนี่ย ก็คือควรจะมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับ ทางการแพทย์ เข้าไปเป็นศาสตร์หนึง่ ของวิศวะ ลักษณะทีว่ า่ ทำไมเราถึง จะบูรณาการเอื้อซึ่งกันและกันได้ เพราะโดย concept ของ biomedical engineering ก็เลยเกิดขึ้นมานะครับ วิศวกรรมชีวการแพทย์ก็เกิดขึ้นมา ทำนองเดียวกัน จากทีอ่ ยูใ่ นสิง่ แวดล้อมก็เชือ่ มโยงกลุม่ วิชา ว่าวิชาซึง่ เกีย่ ว กับเรือ่ งวิศวกรรมศาสตร์ environment engineering เนีย่ ก็ตอ้ งเข้ามา อย่างน้อยก็เป็นวิชาเลือกให้นกั ศึกษาในสาขาต่างๆ เลือกใช้ ก็คอื อย่างวิชา environment pollution control หรืออะไรต่างๆ เหล่านี้นะครับ ก็จะ สร้างเป็นเอกลักษณ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล อย่างน้อยต้องมี ๒ ศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย นอกเหนือจาก basic style ตามปกติ” เมื่อหันกลับทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อกว่า ๒๐ ปีที่แล้ว อาจารย์ ไกรสิทธิ์ได้ออกปากชมอาจารย์ธนากรและผู้ร่วมงานบุกเบิกในยุคแรกๆ ว่า “งานที่หนักที่สุดคือ อาจารย์ธนากรและทีม การสอนปริญญาตรี นั้นหนัก ใช้เวลา ๖-๑๐ ปี งบประมาณช่วงนั้นไม่มีปัญหาที่รุนแรง

๓๑


ที่ก็มีก่อสร้าง การเรียนการสอนมีการเน้นสอนที่ศาลายา และเน้นที่นี่ เพือ่ ให้ศาลายาเป็นเมืองมหาวิทยาลัย”

“พีช่ ว่ ยน้อง” ความงามระหว่างคิดการใหญ่

๓๒


ที่ก็มีก่อสร้าง การเรียนการสอนมีการเน้นสอนที่ศาลายา และเน้นที่นี่ เพือ่ ให้ศาลายาเป็นเมืองมหาวิทยาลัย”

“พีช่ ว่ ยน้อง” ความงามระหว่างคิดการใหญ่

๓๒


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน อดีตคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

๓๔

รรยากาศอันเป็นพืน้ ฐานของการก่อตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ใน มหาวิทยาลัยมหิดล ปรากฏอยูใ่ นการประชุมคณบดี เพราะทุกๆ วันอังคาร จะมีหัวหน้าส่วนงาน อย่างคณะ/สถาบัน เข้ามาร่วมประชุม คำบอกเล่า ของอาจารย์ธนากรครั้งนั้น ทำให้เห็นน้ำใจของผู้นำองค์กรใน ชายคา มหิดลเดียวกัน ว่า “...สมัยก่อนเนี่ย คณบดีทุกคณะเนี่ย นั่งอยู่ในสภามหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่แล้วก็มีการประชุมคณบดีอยู่ด้วยกัน พอโครงการเข้าเนี่ย ก็จะ เสนอผ่านทีป่ ระชุมคณบดีกอ่ น แล้วก็ไปทีส่ ภามหาวิทยาลัยเพือ่ รับทราบ มี การคุยกันก็คอื ว่า ทุกครัง้ ตอนนัน้ จำนวนคณะน้อยนะ ไม่เยอะเท่านีห้ รอก น้อยมาก มี ๑๒ คณะเอง อยูใ่ นสภามหาวิทยาลัย ก็นงั่ คุยกันแบบทีเ่ รียก ว่า พีช่ ว่ ยน้อง ผมน้องเล็กสุดสมัยก่อน มีคนทำ สมัยก่อนเนีย่ ผมมาแทน อาจารย์นาท สมัยก่อนนี่ โอ... คณบดีมีแต่คณะใหญ่ๆ ทั้งนั้นเลย โตๆ

ผู้อาวุโสทั้งนั้นเลย ผมก็เหมือนน้องเล็กสุด ก็เสนออย่างนี้สิๆ ๆ นะครับ

ทุ ก อย่ า งก็ เ ป็ น กรอบ idea ซึ่ ง ทุ ก คนมี ค วามมุ่ ง หวั ง อะไรให้ เ กิ ด ขึ้ น ใน

มหาวิทยาลัยมหิดลเนี่ย มันควรจะมี image ของมหาวิทยาลัยมหิดล

ติ ด ออกไปด้ ว ย เพราะฉะนั้ น image ของมหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ลคื อ แพทยศาสตร์ medical science related ดังนัน้ ก็ เอ้อดี อย่างนีด้ .ี ..” ด้วยรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยดังที่เป็นมานั้น ไม่ว่าคณะ หรือสถาบันใดจะยุบเลิกหรือเพิม่ ใดสิง่ ใดๆ ทีเ่ ป็นภาระงานบริหาร เช่น จะ สร้างตึก จะมีหลักสูตรใหม่ ฯลฯ จึงเป็นที่รับรู้ในคณะกรรมการขององค์ ประชุมคณบดี ไม่มีใครทราบได้เลยว่า อดีตคณบดีวิศวกรรมศาสตร์คนแรก มี ความสนิทคุ้นเคยกันปานใดกับนายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล แต่จากเรื่อง เล่าต่อไปนี้ คงจะได้ชว่ ยเสริมความหมายของคำว่า “พีช่ ว่ ยน้อง” ในฐานะ ทีว่ ศิ วะเป็นน้องเล็ก และใครๆ ก็ยนื่ มือมาช่วยได้ด ี “...วั น นึ ง กำลั ง นั่ ง ประชุ ม คณบดี ด้ ว ยกั น อยู่ ธนากรเขาก็ นั่ ง อยู ่ ข้างๆ เขาก็บอก เฮ้ย เด็กมันประชุมเชียร์ว่ะ มันจะต้องแข่งขันกีฬากับ ๓๕


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน อดีตคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

๓๔

รรยากาศอันเป็นพืน้ ฐานของการก่อตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ใน มหาวิทยาลัยมหิดล ปรากฏอยูใ่ นการประชุมคณบดี เพราะทุกๆ วันอังคาร จะมีหัวหน้าส่วนงาน อย่างคณะ/สถาบัน เข้ามาร่วมประชุม คำบอกเล่า ของอาจารย์ธนากรครั้งนั้น ทำให้เห็นน้ำใจของผู้นำองค์กรใน ชายคา มหิดลเดียวกัน ว่า “...สมัยก่อนเนี่ย คณบดีทุกคณะเนี่ย นั่งอยู่ในสภามหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่แล้วก็มีการประชุมคณบดีอยู่ด้วยกัน พอโครงการเข้าเนี่ย ก็จะ เสนอผ่านทีป่ ระชุมคณบดีกอ่ น แล้วก็ไปทีส่ ภามหาวิทยาลัยเพือ่ รับทราบ มี การคุยกันก็คอื ว่า ทุกครัง้ ตอนนัน้ จำนวนคณะน้อยนะ ไม่เยอะเท่านีห้ รอก น้อยมาก มี ๑๒ คณะเอง อยูใ่ นสภามหาวิทยาลัย ก็นงั่ คุยกันแบบทีเ่ รียก ว่า พีช่ ว่ ยน้อง ผมน้องเล็กสุดสมัยก่อน มีคนทำ สมัยก่อนเนีย่ ผมมาแทน อาจารย์นาท สมัยก่อนนี่ โอ... คณบดีมีแต่คณะใหญ่ๆ ทั้งนั้นเลย โตๆ

ผู้อาวุโสทั้งนั้นเลย ผมก็เหมือนน้องเล็กสุด ก็เสนออย่างนี้สิๆ ๆ นะครับ

ทุ ก อย่ า งก็ เ ป็ น กรอบ idea ซึ่ ง ทุ ก คนมี ค วามมุ่ ง หวั ง อะไรให้ เ กิ ด ขึ้ น ใน

มหาวิทยาลัยมหิดลเนี่ย มันควรจะมี image ของมหาวิทยาลัยมหิดล

ติ ด ออกไปด้ ว ย เพราะฉะนั้ น image ของมหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ลคื อ แพทยศาสตร์ medical science related ดังนัน้ ก็ เอ้อดี อย่างนีด้ .ี ..” ด้วยรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยดังที่เป็นมานั้น ไม่ว่าคณะ หรือสถาบันใดจะยุบเลิกหรือเพิม่ ใดสิง่ ใดๆ ทีเ่ ป็นภาระงานบริหาร เช่น จะ สร้างตึก จะมีหลักสูตรใหม่ ฯลฯ จึงเป็นที่รับรู้ในคณะกรรมการขององค์ ประชุมคณบดี ไม่มีใครทราบได้เลยว่า อดีตคณบดีวิศวกรรมศาสตร์คนแรก มี ความสนิทคุ้นเคยกันปานใดกับนายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล แต่จากเรื่อง เล่าต่อไปนี้ คงจะได้ชว่ ยเสริมความหมายของคำว่า “พีช่ ว่ ยน้อง” ในฐานะ ทีว่ ศิ วะเป็นน้องเล็ก และใครๆ ก็ยนื่ มือมาช่วยได้ด ี “...วั น นึ ง กำลั ง นั่ ง ประชุ ม คณบดี ด้ ว ยกั น อยู่ ธนากรเขาก็ นั่ ง อยู ่ ข้างๆ เขาก็บอก เฮ้ย เด็กมันประชุมเชียร์ว่ะ มันจะต้องแข่งขันกีฬากับ ๓๕


คณะวิทยาศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมอะไรต่างๆ นานาเนี่ย มันไม่มีเพลง เชียร์ เขียนเพลงเชียร์ให้หน่อยสิ ผมก็เอากระดาษมานั่งร่างเนี่ย ‘วิศวะ มหิดล เราทุกคนเปรมปรีดิ์ นามแห่งพวกเรานี้ ไม่มใี ครเทียมทัน เราเรียน เรารู้ เราจำ เราทำด้วยใจมุง่ มัน่ ...ขวัญของเราคือมหิดล’ คือรวมความแล้ว ก็คอื ชือ่ นัน้ ของเราก็คอื วิศวะของมหิดลนัน่ แหละ ผมก็รอ้ งให้ฟงั ร้องเสร็จ เรียบร้อยก็ไปอัดเทป เอามาส่ง แล้วท่านก็ขอบใจ บอก เป็นเพลงเชียร์ เพลงแรกของคณะวิศวะเลย อะไรอย่างนีเ้ ป็นต้นนะ” หรือใครจะค้านว่า คำบอกเล่าอันกระจุกกระจิก แฝงด้วยชีวิต และลมหายใจของวันเวลาที่ล่วงเลยมาเช่นนี้ ไม่ใช่ความงามระหว่าง

คิดการใหญ่

สิง่ ทีไ่ ม่เห็น ใช่วา่ ไม่ม ี

๓๖


คณะวิทยาศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมอะไรต่างๆ นานาเนี่ย มันไม่มีเพลง เชียร์ เขียนเพลงเชียร์ให้หน่อยสิ ผมก็เอากระดาษมานั่งร่างเนี่ย ‘วิศวะ มหิดล เราทุกคนเปรมปรีดิ์ นามแห่งพวกเรานี้ ไม่มใี ครเทียมทัน เราเรียน เรารู้ เราจำ เราทำด้วยใจมุง่ มัน่ ...ขวัญของเราคือมหิดล’ คือรวมความแล้ว ก็คอื ชือ่ นัน้ ของเราก็คอื วิศวะของมหิดลนัน่ แหละ ผมก็รอ้ งให้ฟงั ร้องเสร็จ เรียบร้อยก็ไปอัดเทป เอามาส่ง แล้วท่านก็ขอบใจ บอก เป็นเพลงเชียร์ เพลงแรกของคณะวิศวะเลย อะไรอย่างนีเ้ ป็นต้นนะ” หรือใครจะค้านว่า คำบอกเล่าอันกระจุกกระจิก แฝงด้วยชีวิต และลมหายใจของวันเวลาที่ล่วงเลยมาเช่นนี้ ไม่ใช่ความงามระหว่าง

คิดการใหญ่

สิง่ ทีไ่ ม่เห็น ใช่วา่ ไม่ม ี

๓๖


รั้นการเตรียมการหลายด้านหลากส่วนดำเนินมาจนถึงที่สุด คณะวิศวกรรมศาสตร์ก็ถือกำเนิดในมหาวิทยาลัยมหิดลอย่างเต็มภาคภูมิ แต่นนั่ ก็เป็นเพียงหลักการ กล่าวโดยง่ายก็คอื ว่า ได้เกิดขึน้ แล้วตามมติคณะ รัฐมนตรี ลำดับต่อมาก็คือ จะต้องทำให้เกิดการปฏิบัติจริงตามมติ ครม. ซึ่งต้องอาศัยกฎระเบียบ และแนวทางต่างๆ ที่สอดรับกันเพื่อนำมาทำให้ เป็นรูปธรรมมากยิง่ ขึน้ จากประสบการณ์ของอาจารย์ธนากรที่มีส่วนร่วมในการก่อตั้ง คณะสิ่งแวดล้อมฯ เล็งเห็นว่า เรื่องของอาคารที่ทำการคณะฯ เป็นสิ่ง จำเป็นอย่างยิ่ง และในเวลาไม่นานนักก็ได้รับอนุมัติงบประมาณมาสร้าง อาคารของคณะฯ

ศาสตราจารย์ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล ขณะตอบสัมภาษณ์

นายแพทย์ ผู้ ซึ่งเล่าเรื่องผีและวิญญาณได้อย่างสนุกและมีเสน่ห์

ชวนฟัง ในประเทศนี้ จะหาใครเกินศาสตราจารย์ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล เป็นไม่ม ี เรื่องที่เล่ามิใช่เพื่อนำพาให้กลัวหรือหลอกหลอน แต่กลับแฝงไว้ ด้วยขนบธรรมเนียมไทย เรื่องความเคารพยำเกรงสิ่งที่ไม่มีตัวตน ความ นอบน้อม และความจงรักภักดีในสถาบันพระมหากษัตริย์ ครัง้ นัน้ อาจารย์ ได้เล่าเรือ่ งทำนองนีแ้ ละเกีย่ วพันกับคณะวิศวกรรมศาสตร์โดยตรงว่า ๓๘

“...ซึ่งเรื่องราวก็มาถึงจุดที่ว่าเกิดคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้น เอาล่ะ นะครั บ นี้ เ รื่ อ งต่ อ ไปก็ คื อ ว่ า ในช่ ว งระยะเวลาที่ ก ำลั ง จะก่ อ ตั้ ง คณะ

วิศวกรรมศาสตร์เนีย่ ก็มกี ารเกลีย่ ทีด่ นิ ทีบ่ ริเวณทีก่ อ่ ตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ แล้วก็ในขณะนัน้ เนีย่ ก็มเี รือ่ งว่ามีโรคใหลตายเกิดขึน้ ในเขตของพืน้ ทีศ่ าลายา ก็ยังหาสาเหตุไม่ได้ว่า มีเรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องกับการใหลตายขึ้นในที่นี่ ใน ขณะเดียวกันก็มคี นพูดกันถึงเรือ่ งปัญหาทีว่ า่ มีจติ วิญญาณประจำอยูใ่ นพืน้ ที่ ศาลายา แล้ ว ก็ ผ มก็ ไ ด้ เ ริ่ ม ต้ น ทำเรื่ อ งนี้ ก็ มี อ าจารย์ ห มอเยาวลั ก ษณ์ ปรปักษ์ขาม มีอาจารย์ปราโมทย์ (ประสาทกุล) มีผอู้ ำนวยการสถาบันวิจยั ประชากรศาสตร์ มีผม (นพ.พูนพิศ อมาตยกุล) และอื่นๆ อีกหลายคน รวมทั้งอาจารย์ธนากร อ้วนอ่อนด้วย ก็มาประชุมกันว่า เรื่องราวเหล่านี้ เป็นยังไง ในทีส่ ดุ ก็บอกว่า ถ้างัน้ เพือ่ ให้เกิดความเป็นสิรมิ งคลแก่สถานที่ เราจึ ง นิ ม นต์ พ ระมาทั้ ง หมด ๙๙ องค์ แล้ ว ก็ ม าสวดชยั น โต แล้ ว ก็

วนสายสิญจน์รอบตึก รอบที่ดินของมหาวิทยาลัย ก็มีคนมาทำพิธีต่างๆ แล้วก็บอกว่า ที่นี่มีเจ้าที่ที่สำคัญคนหนึ่ง คือ เจ้าขุนทุ่ง เพราะฉะนั้นจะ สร้างตึกอะไร จะทำอะไรเนีย่ ให้บอกก่อน ไม่ใช่อยูๆ่ นึกจะสร้างตึกก็ปกั เสา ลงเข็มกันไปเฉยๆ อย่างนั้นน่ะ แล้วไม่มีการประกาศเทวดา ก็ทำให้เจ้าที่ เจ้าทางมีความไม่สะดวกสบายใจด้วยประการทั้งปวง ครั้นพอรู้ข่าวว่า

คณะวิศวกรรมศาสตร์จะลงเสาเข็มเพือ่ จะสร้างอาคาร ก็ปรากฏว่าเขาเริม่ ต้น ลงเสาเข็มก่อน ยังไม่ได้มกี ารบอกเจ้าที่ ก็ตงั้ เครนขึน้ ๒ เครน ขนาดใหญ่

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงประกอบพิธวี างศิลาฤกษ์กลุม ่ อาคารฯ เมือ่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๔ ๓๙


รั้นการเตรียมการหลายด้านหลากส่วนดำเนินมาจนถึงที่สุด คณะวิศวกรรมศาสตร์ก็ถือกำเนิดในมหาวิทยาลัยมหิดลอย่างเต็มภาคภูมิ แต่นนั่ ก็เป็นเพียงหลักการ กล่าวโดยง่ายก็คอื ว่า ได้เกิดขึน้ แล้วตามมติคณะ รัฐมนตรี ลำดับต่อมาก็คือ จะต้องทำให้เกิดการปฏิบัติจริงตามมติ ครม. ซึ่งต้องอาศัยกฎระเบียบ และแนวทางต่างๆ ที่สอดรับกันเพื่อนำมาทำให้ เป็นรูปธรรมมากยิง่ ขึน้ จากประสบการณ์ของอาจารย์ธนากรที่มีส่วนร่วมในการก่อตั้ง คณะสิ่งแวดล้อมฯ เล็งเห็นว่า เรื่องของอาคารที่ทำการคณะฯ เป็นสิ่ง จำเป็นอย่างยิ่ง และในเวลาไม่นานนักก็ได้รับอนุมัติงบประมาณมาสร้าง อาคารของคณะฯ

ศาสตราจารย์ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล ขณะตอบสัมภาษณ์

นายแพทย์ ผู้ ซึ่งเล่าเรื่องผีและวิญญาณได้อย่างสนุกและมีเสน่ห์

ชวนฟัง ในประเทศนี้ จะหาใครเกินศาสตราจารย์ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล เป็นไม่ม ี เรื่องที่เล่ามิใช่เพื่อนำพาให้กลัวหรือหลอกหลอน แต่กลับแฝงไว้ ด้วยขนบธรรมเนียมไทย เรื่องความเคารพยำเกรงสิ่งที่ไม่มีตัวตน ความ นอบน้อม และความจงรักภักดีในสถาบันพระมหากษัตริย์ ครัง้ นัน้ อาจารย์ ได้เล่าเรือ่ งทำนองนีแ้ ละเกีย่ วพันกับคณะวิศวกรรมศาสตร์โดยตรงว่า ๓๘

“...ซึ่งเรื่องราวก็มาถึงจุดที่ว่าเกิดคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้น เอาล่ะ นะครั บ นี้ เ รื่ อ งต่ อ ไปก็ คื อ ว่ า ในช่ ว งระยะเวลาที่ ก ำลั ง จะก่ อ ตั้ ง คณะ

วิศวกรรมศาสตร์เนีย่ ก็มกี ารเกลีย่ ทีด่ นิ ทีบ่ ริเวณทีก่ อ่ ตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ แล้วก็ในขณะนัน้ เนีย่ ก็มเี รือ่ งว่ามีโรคใหลตายเกิดขึน้ ในเขตของพืน้ ทีศ่ าลายา ก็ยังหาสาเหตุไม่ได้ว่า มีเรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องกับการใหลตายขึ้นในที่นี่ ใน ขณะเดียวกันก็มคี นพูดกันถึงเรือ่ งปัญหาทีว่ า่ มีจติ วิญญาณประจำอยูใ่ นพืน้ ที่ ศาลายา แล้ ว ก็ ผ มก็ ไ ด้ เ ริ่ ม ต้ น ทำเรื่ อ งนี้ ก็ มี อ าจารย์ ห มอเยาวลั ก ษณ์ ปรปักษ์ขาม มีอาจารย์ปราโมทย์ (ประสาทกุล) มีผอู้ ำนวยการสถาบันวิจยั ประชากรศาสตร์ มีผม (นพ.พูนพิศ อมาตยกุล) และอื่นๆ อีกหลายคน รวมทั้งอาจารย์ธนากร อ้วนอ่อนด้วย ก็มาประชุมกันว่า เรื่องราวเหล่านี้ เป็นยังไง ในทีส่ ดุ ก็บอกว่า ถ้างัน้ เพือ่ ให้เกิดความเป็นสิรมิ งคลแก่สถานที่ เราจึ ง นิ ม นต์ พ ระมาทั้ ง หมด ๙๙ องค์ แล้ ว ก็ ม าสวดชยั น โต แล้ ว ก็

วนสายสิญจน์รอบตึก รอบที่ดินของมหาวิทยาลัย ก็มีคนมาทำพิธีต่างๆ แล้วก็บอกว่า ที่นี่มีเจ้าที่ที่สำคัญคนหนึ่ง คือ เจ้าขุนทุ่ง เพราะฉะนั้นจะ สร้างตึกอะไร จะทำอะไรเนีย่ ให้บอกก่อน ไม่ใช่อยูๆ่ นึกจะสร้างตึกก็ปกั เสา ลงเข็มกันไปเฉยๆ อย่างนั้นน่ะ แล้วไม่มีการประกาศเทวดา ก็ทำให้เจ้าที่ เจ้าทางมีความไม่สะดวกสบายใจด้วยประการทั้งปวง ครั้นพอรู้ข่าวว่า

คณะวิศวกรรมศาสตร์จะลงเสาเข็มเพือ่ จะสร้างอาคาร ก็ปรากฏว่าเขาเริม่ ต้น ลงเสาเข็มก่อน ยังไม่ได้มกี ารบอกเจ้าที่ ก็ตงั้ เครนขึน้ ๒ เครน ขนาดใหญ่

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงประกอบพิธวี างศิลาฤกษ์กลุม ่ อาคารฯ เมือ่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๔ ๓๙


ฟ้ามันผ่าลงมาในวันฝนตกพรำๆ แทนที่จะลงที่เครนนั่นน่ะ ไม่ลงที่เครน ลงระหว่ า งเครน ๒ ข้ า งซ้ า ยขวา ลงไปโดนคนงานตายคาที่ ๒ คน

คุณธนากรก็มาบอกผม บอก ‘เฮ้ยลืมไปว่ะ ไม่ได้บอกเจ้าที่ เกิดปัญหานีข้ นึ้ มาแล้ ว ’ ถ้ า อย่ า งนั้ น ต้ อ งบอก ในการที่ จ ะวางศิ ล าฤกษ์ กั น อย่ า งเป็ น ทางการ ตอนนั้นสมเด็จพระบรมฯ จะเสด็จฯ มาเนี่ย เพราะฉะนั้นตอน เย็ น เนี่ ย วั น นี้ ก่ อ นจะเสด็ จ พระราชดำเนิ น เมื่ อ ตอนที่ จั ด สถานที่ เ นี่ ย พราหมณ์ก็มาเข้าทำพิธี บอกกล่าวเล่าแจ้ง แล้วผมก็มาแต่เช้า วันที่จะ เสด็จพระราชดำเนิน พราหมณ์ก็เข้ามาพิธี มาทำพิธีตอนเช้ามืดอีกครั้ง หนึง่ ปักราชวัตร ฉัตรธง เครือ่ งสังเวย บัดพลีตา่ งๆ พร้อมเสร็จเรียบร้อย แล้ ว ก็ ป ระกาศเทวดา ซึ่ ง ผมเป็ น คนเขี ย นให้ ว่ า ที่ ต รงนี้ ภายในวั น นี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร จะเสด็จมาแทน พระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ผู้ซึ่งทรงพระราชทานชื่อของ มหาวิทยาลัยแห่งนีว้ า่ มหาวิทยาลัยมหิดล จะมีการสร้างคณะใหม่ขึ้น คือคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็ขอให้พราหมณ์บอกกล่าวเล่าแจ้งกับบรรดา เจ้าที่ และก็ผู้ที่อยู่ในพื้นที่แผ่นดินนี้ให้ช่วยกันอำนวยชัยให้พรกับงานนี้ ให้สำเร็จลุล่วงไปโดยดี อย่าให้มีอุบัทว์อันตรายด้วยประการทั้งปวง แล้วก็ขอให้คณะวิศวะฯ จงอยูย่ นื นาน เช้าวันนั้นก็มีการประกาศเทวดาโดยพราหมณ์ใหญ่ ผมก็ยืนอยู ่ ข้างหน้าตลอดเวลา จนกระทั่งเสร็จพิธีเรียบร้อย เราก็รู้สึกสบายใจ จน กระทัง่ ถึงเวลาใกล้จะเสด็จพระราชดำเนินฝนก็ตกนิดหน่อย แล้วพอถึงเวลา เสด็จฯ จริงๆ ฟ้าก็เปิด ฝนก็หยุด ก็เสด็จพระราชดำเนินมา แล้วก็ทรงวาง ศิ ล าพระฤกษ์ เสร็ จ เรี ย บร้ อ ยอาจารย์ ธ นากร ก็ เ ดิ น เข้ า มาตบหลั ง ผม

แล้วบอก ‘ขอบใจมาก งานวันนี้ใจหายใจคว่ำ ได้มีการประกาศเทวดา ได้ยนิ เป็นครัง้ แรก ก็ทำให้รสู้ กึ ว่าอบอุน่ เป็นอย่างยิง่ ’ อันนีก้ ค็ อื ส่วนทีผ่ มได้ ทำเกีย่ วข้องกับคณะวิศวะนะฮะ...”

๔๐

งานมาก่อน ไม่กน ิ เส้นเอาไว้ทห ี ลัง


ฟ้ามันผ่าลงมาในวันฝนตกพรำๆ แทนที่จะลงที่เครนนั่นน่ะ ไม่ลงที่เครน ลงระหว่ า งเครน ๒ ข้ า งซ้ า ยขวา ลงไปโดนคนงานตายคาที่ ๒ คน

คุณธนากรก็มาบอกผม บอก ‘เฮ้ยลืมไปว่ะ ไม่ได้บอกเจ้าที่ เกิดปัญหานีข้ นึ้ มาแล้ ว ’ ถ้ า อย่ า งนั้ น ต้ อ งบอก ในการที่ จ ะวางศิ ล าฤกษ์ กั น อย่ า งเป็ น ทางการ ตอนนั้นสมเด็จพระบรมฯ จะเสด็จฯ มาเนี่ย เพราะฉะนั้นตอน เย็ น เนี่ ย วั น นี้ ก่ อ นจะเสด็ จ พระราชดำเนิ น เมื่ อ ตอนที่ จั ด สถานที่ เ นี่ ย พราหมณ์ก็มาเข้าทำพิธี บอกกล่าวเล่าแจ้ง แล้วผมก็มาแต่เช้า วันที่จะ เสด็จพระราชดำเนิน พราหมณ์ก็เข้ามาพิธี มาทำพิธีตอนเช้ามืดอีกครั้ง หนึง่ ปักราชวัตร ฉัตรธง เครือ่ งสังเวย บัดพลีตา่ งๆ พร้อมเสร็จเรียบร้อย แล้ ว ก็ ป ระกาศเทวดา ซึ่ ง ผมเป็ น คนเขี ย นให้ ว่ า ที่ ต รงนี้ ภายในวั น นี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร จะเสด็จมาแทน พระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ผู้ซึ่งทรงพระราชทานชื่อของ มหาวิทยาลัยแห่งนีว้ า่ มหาวิทยาลัยมหิดล จะมีการสร้างคณะใหม่ขึ้น คือคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็ขอให้พราหมณ์บอกกล่าวเล่าแจ้งกับบรรดา เจ้าที่ และก็ผู้ที่อยู่ในพื้นที่แผ่นดินนี้ให้ช่วยกันอำนวยชัยให้พรกับงานนี้ ให้สำเร็จลุล่วงไปโดยดี อย่าให้มีอุบัทว์อันตรายด้วยประการทั้งปวง แล้วก็ขอให้คณะวิศวะฯ จงอยูย่ นื นาน เช้าวันนั้นก็มีการประกาศเทวดาโดยพราหมณ์ใหญ่ ผมก็ยืนอยู ่ ข้างหน้าตลอดเวลา จนกระทั่งเสร็จพิธีเรียบร้อย เราก็รู้สึกสบายใจ จน กระทัง่ ถึงเวลาใกล้จะเสด็จพระราชดำเนินฝนก็ตกนิดหน่อย แล้วพอถึงเวลา เสด็จฯ จริงๆ ฟ้าก็เปิด ฝนก็หยุด ก็เสด็จพระราชดำเนินมา แล้วก็ทรงวาง ศิ ล าพระฤกษ์ เสร็ จ เรี ย บร้ อ ยอาจารย์ ธ นากร ก็ เ ดิ น เข้ า มาตบหลั ง ผม

แล้วบอก ‘ขอบใจมาก งานวันนี้ใจหายใจคว่ำ ได้มีการประกาศเทวดา ได้ยนิ เป็นครัง้ แรก ก็ทำให้รสู้ กึ ว่าอบอุน่ เป็นอย่างยิง่ ’ อันนีก้ ค็ อื ส่วนทีผ่ มได้ ทำเกีย่ วข้องกับคณะวิศวะนะฮะ...”

๔๐

งานมาก่อน ไม่กน ิ เส้นเอาไว้ทห ี ลัง


มื่อกล่าวคำว่า “ไม่กินเส้น” ใน พ.ศ.นี้ อาจมีความหมายว่า เกลียดชังกันเข้ากระดูกดำ หรือไม่ก็ต้องมีการกลั่นแกล้งเพราะขุ่นเคืองใจ กัน แต่น่าแปลกที่ว่า แม้เจ้าตัวบอกว่าไม่ค่อยกินเส้น แต่เมื่อมีการชวนให้ เปิดคณะขึน้ มาใหม่ กลับไปตกปากรับคำว่าจะช่วยโดยง่าย “...อาจารย์ณัฐมอบหมายให้อาจารย์ธนากรเนี่ยครับ ก็รู้มือกันอยู่ อาจารย์ณัฐเองท่านก็ตั้งแต่เปิดคณะสิ่งแวดล้อมฯ ดร.นาท ก็ทำเรื่องขอ เปิดเนี่ย ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากอาจารย์หมอณัฐนะครับ ซึง่ ผมก็มองว่า อาจารย์หมอณัฐท่านเป็นคนทีม่ องการณ์ไกลมาก เสร็จแล้ว ท่านก็มามอบหมายอาจารย์ธนากร เพราะว่าเห็นว่าจบมาทางวิศวะฯ ด้วย ก็รมู้ อื กันอยูแ่ ล้ว พอดี ก็อย่างทีเ่ รียนว่า อาจารย์ธนากรเขาก็มาตะล่อมผม (หัวเราะ) ผมก็หลงกลเขาเลย มันมีอยูว่ นั หนึง่ ตอนเย็นๆ ก็เดินคุยกันไป คุยกันมา ทัง้ ๆ ก่อนหน้านัน้ เขาเป็นคณบดี (คณะสิง่ แวดล้อมฯ) ผมเป็น รองฯ ผมลาออกจากรองฯ ไปแล้ว ซึง่ บางครัง้ มันก็มองคล้ายๆ ไม่คอ่ ยจะ กินเส้นกันเท่าไหร่ แต่ว่าก็ไม่ได้ถึงจะขัดแย้งอะไรกันมากมาย แต่ว่าเขาก็ บอก ‘เฮ้ย อาจารย์หมอณัฐว่า ท่านให้กเู ปิดวิศวะว่ะ มึงว่าไง’ ‘อ้าว ผม ช่วยเหลือได้’ (หัวเราะ) หลุดปากง่ายๆ เลย คือมันอยากจะทำอยูแ่ ล้ว ก็ไม่ ได้คดิ ว่าจะได้อะไรจากการทำลักษณะนีน้ ะครับ แม้กระทัง่ ปัจจุบนั พวกเรา เกษียณ เราก็บอกว่าเราสร้างมากับมือจริง แต่คณะนีไ้ ม่ใช่ของเรานะ ไม่ใช่ ว่าเราจะไปคิดเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ มันไม่ใช่ของเราอยูแ่ ล้วนะครับ เพียงแต่ ว่าก็ยังห่วง กังวลอยู่บ้าง อะไรบ้าง ก็แค่นั้น อาจารย์ พวกผม ๓ คน เกษียณมาแล้ว เขาคงกลัวเหงามั้ง เขาก็เชิญมาสอนพิเศษบ้างอะไรบ้าง (หัวเราะ) เชิญมาวิชานึง” เนื้อความข้างต้น อาจารย์อาวุโสที่ชื่อว่า พินัย ออรุ่งโรจน์ เล่า เรือ่ งย้อนไปเมือ่ ๒๐ กว่าปีทลี่ ว่ งเลย นอกจากจะชวนให้ได้รเู้ ห็นเหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของ “คนทำงาน” แล้ว ยังบอกให้รถู้ งึ นิสยั ใจคอ ความรัก ความผูกพัน ความเป็นผูร้ กั งาน และเพือ่ นร่วมงานได้เป็นอย่างดี การเปิดคณะใหม่ขึ้นมา จึงมิใช่แค่การประชุมเพียงครั้งสองครั้ง ๔๒

๔๓


มื่อกล่าวคำว่า “ไม่กินเส้น” ใน พ.ศ.นี้ อาจมีความหมายว่า เกลียดชังกันเข้ากระดูกดำ หรือไม่ก็ต้องมีการกลั่นแกล้งเพราะขุ่นเคืองใจ กัน แต่น่าแปลกที่ว่า แม้เจ้าตัวบอกว่าไม่ค่อยกินเส้น แต่เมื่อมีการชวนให้ เปิดคณะขึน้ มาใหม่ กลับไปตกปากรับคำว่าจะช่วยโดยง่าย “...อาจารย์ณัฐมอบหมายให้อาจารย์ธนากรเนี่ยครับ ก็รู้มือกันอยู่ อาจารย์ณัฐเองท่านก็ตั้งแต่เปิดคณะสิ่งแวดล้อมฯ ดร.นาท ก็ทำเรื่องขอ เปิดเนี่ย ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากอาจารย์หมอณัฐนะครับ ซึง่ ผมก็มองว่า อาจารย์หมอณัฐท่านเป็นคนทีม่ องการณ์ไกลมาก เสร็จแล้ว ท่านก็มามอบหมายอาจารย์ธนากร เพราะว่าเห็นว่าจบมาทางวิศวะฯ ด้วย ก็รมู้ อื กันอยูแ่ ล้ว พอดี ก็อย่างทีเ่ รียนว่า อาจารย์ธนากรเขาก็มาตะล่อมผม (หัวเราะ) ผมก็หลงกลเขาเลย มันมีอยูว่ นั หนึง่ ตอนเย็นๆ ก็เดินคุยกันไป คุยกันมา ทัง้ ๆ ก่อนหน้านัน้ เขาเป็นคณบดี (คณะสิง่ แวดล้อมฯ) ผมเป็น รองฯ ผมลาออกจากรองฯ ไปแล้ว ซึง่ บางครัง้ มันก็มองคล้ายๆ ไม่คอ่ ยจะ กินเส้นกันเท่าไหร่ แต่ว่าก็ไม่ได้ถึงจะขัดแย้งอะไรกันมากมาย แต่ว่าเขาก็ บอก ‘เฮ้ย อาจารย์หมอณัฐว่า ท่านให้กเู ปิดวิศวะว่ะ มึงว่าไง’ ‘อ้าว ผม ช่วยเหลือได้’ (หัวเราะ) หลุดปากง่ายๆ เลย คือมันอยากจะทำอยูแ่ ล้ว ก็ไม่ ได้คดิ ว่าจะได้อะไรจากการทำลักษณะนีน้ ะครับ แม้กระทัง่ ปัจจุบนั พวกเรา เกษียณ เราก็บอกว่าเราสร้างมากับมือจริง แต่คณะนีไ้ ม่ใช่ของเรานะ ไม่ใช่ ว่าเราจะไปคิดเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ มันไม่ใช่ของเราอยูแ่ ล้วนะครับ เพียงแต่ ว่าก็ยังห่วง กังวลอยู่บ้าง อะไรบ้าง ก็แค่นั้น อาจารย์ พวกผม ๓ คน เกษียณมาแล้ว เขาคงกลัวเหงามั้ง เขาก็เชิญมาสอนพิเศษบ้างอะไรบ้าง (หัวเราะ) เชิญมาวิชานึง” เนื้อความข้างต้น อาจารย์อาวุโสที่ชื่อว่า พินัย ออรุ่งโรจน์ เล่า เรือ่ งย้อนไปเมือ่ ๒๐ กว่าปีทลี่ ว่ งเลย นอกจากจะชวนให้ได้รเู้ ห็นเหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของ “คนทำงาน” แล้ว ยังบอกให้รถู้ งึ นิสยั ใจคอ ความรัก ความผูกพัน ความเป็นผูร้ กั งาน และเพือ่ นร่วมงานได้เป็นอย่างดี การเปิดคณะใหม่ขึ้นมา จึงมิใช่แค่การประชุมเพียงครั้งสองครั้ง ๔๒

๔๓


อาจารย์พินัย ออรุ่งโรจน์ อดีตรองคณบดีฝ่ายวิชาการ

หรือการสัง่ การจากเบือ้ งบน ยังต้องอาศัยความรู้ สถานที่ หลักสูตร มา ประกอบกันเพื่อให้เกิดความพร้อม ซึ่งอาจารย์ธนากร เคยเปรยกับคน

ใกล้ชดิ ว่า การตัง้ คณะขึน้ มาสักคณะหนึง่ อาจต้องใช้เงินไม่ตำ่ กว่าพันล้านบาท แต่ ถ้ า เป็ น คณะแพทยศาสตร์ คงต้ อ งใช้ ง บประมาณเบื้ อ งต้ น ไม่ ต่ ำ กว่ า

สามพันล้านบาทกันเลยทีเดียว ความขุ่นเคืองใจกัน อาจเกิดได้ทั้งหน่วยงานเก่า หน่วยงาน ใหม่ ทั้งคนระดับบริหารและคนระดับปฏิบัติการ แต่เหนือสิ่งอื่นใด การรูจ้ กั มองข้ามสิง่ ทีจ่ ะบัน่ ทอนการทำงานเหล่านี้ แล้วเล็งไปทีต่ วั งาน ยึดถืองานเป็นที่หมาย นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นผู้มุ่งมั่นในการทำงาน แล้ว ยังทำให้องค์กรเจริญก้าวไกลอีกด้วย

๔๔

สามทหารเสือ


อาจารย์พินัย ออรุ่งโรจน์ อดีตรองคณบดีฝ่ายวิชาการ

หรือการสัง่ การจากเบือ้ งบน ยังต้องอาศัยความรู้ สถานที่ หลักสูตร มา ประกอบกันเพื่อให้เกิดความพร้อม ซึ่งอาจารย์ธนากร เคยเปรยกับคน

ใกล้ชดิ ว่า การตัง้ คณะขึน้ มาสักคณะหนึง่ อาจต้องใช้เงินไม่ตำ่ กว่าพันล้านบาท แต่ ถ้ า เป็ น คณะแพทยศาสตร์ คงต้ อ งใช้ ง บประมาณเบื้ อ งต้ น ไม่ ต่ ำ กว่ า

สามพันล้านบาทกันเลยทีเดียว ความขุ่นเคืองใจกัน อาจเกิดได้ทั้งหน่วยงานเก่า หน่วยงาน ใหม่ ทั้งคนระดับบริหารและคนระดับปฏิบัติการ แต่เหนือสิ่งอื่นใด การรูจ้ กั มองข้ามสิง่ ทีจ่ ะบัน่ ทอนการทำงานเหล่านี้ แล้วเล็งไปทีต่ วั งาน ยึดถืองานเป็นที่หมาย นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นผู้มุ่งมั่นในการทำงาน แล้ว ยังทำให้องค์กรเจริญก้าวไกลอีกด้วย

๔๔

สามทหารเสือ


ผศ.ดร.ธนากร อ้วนอ่อน

อาจารย์พน ิ ยั ออรุง่ โรจน์

ผศ.คณิต สงวนตระกูล

อันประกอบด้วย อาจารย์ธนากร อ้วนอ่อน อาจารย์คณิต สงวนตระกูล และอาจารย์พนิ ยั ออรุง่ โรจน์ เพราะความที่ต้องทำภาระงานหลายอย่างในช่วงที่จัดตั้งคณะฯ และแม้เมื่อจัดตั้งเป็นคณะฯ แล้ว ก็ยังมีภาระต้องฟันฝ่าอุปสรรคอยู่เสมอ ทัง้ งานสอน งานบริหาร งบประมาณ ครุภณ ั ฑ์ อาคารสถานที่ ตลอดถึง งานบุคคล คำเรียกขานนี้ จึงมิใช่การล้อเลียน หรือพูดเล่นให้เห็นเป็นเรือ่ ง สนุก ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นการตอกย้ำให้ทราบถึงความ “เชือ่ มือ” “เชื่อถือ” และ “เคารพ” ในเวลาเดียวกัน แม้ว่าบรรดาเหล่านักศึกษา จะจรมาร่วมอยู่ในชายคาเพียงไม่กี่ปีแล้วก็จากไป แต่พฤติกรรมของผู้ บริหารที่ได้ร่วมกันทำงานหนักในยุคแรกๆ ยังประทับอยู่ในความทรง จำ ดังปรากฏจากปากศิษย์เก่าหลายคน

พ.ศ. ๒๕๓๓-๓๔ ไม่มกี ารสูร้ บหรือทำสงครามในพืน้ ทีท่ อ้ งทุง่ ศาลายา และในมหาวิทยาลัยมหิดล แต่กระนัน้ ก็ยงั สูอ้ ตุ ส่าห์มี “สามทหาร เสือ” เกิดขึน้ จนได้ การรบทัพจับศึกทั้งในประวัติศาสตร์และภาพยนตร์สงคราม จำ ต้ อ งมี แ ม่ ทั พ เป็ น หั ว หน้ า ใหญ่ และอาจมี ท หารคู่ ใ จของแม่ ทั พ จะเป็ น จำนวนเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ทหารคู่ใจนี้เป็นเหมือนดั่งมือและ ใจของแม่ทพั คิดการใดก็มกั จะสมประสงค์ เพราะมีทหารคูใ่ จช่วยบรรเทา เบาแรง อุปมานี้วนกลับมาที่มหาวิทยาลัยมหิดล หากว่ามีอธิการบดีเป็น แม่ทัพ ประสงค์จะนำพาให้ภารกิจของมหาวิทยาลัยเจริญรุดหน้าไปไกล พร้อมกับเผยแผนงานจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ ครั้งนั้นก็มีผู้สานความ ประสงค์ให้เป็นจริง จนเกิดมีคำเรียกขานจากหมูน่ กั ศึกษายุคแรกๆ เรียกชาย ๓ คน ซึง่ ความจริงแล้วก็คอื อาจารย์ของพวกเขานัน่ เองว่า “สามทหารเสือ”

ปี

๔๖

๔๗


ผศ.ดร.ธนากร อ้วนอ่อน

อาจารย์พน ิ ยั ออรุง่ โรจน์

ผศ.คณิต สงวนตระกูล

อันประกอบด้วย อาจารย์ธนากร อ้วนอ่อน อาจารย์คณิต สงวนตระกูล และอาจารย์พนิ ยั ออรุง่ โรจน์ เพราะความที่ต้องทำภาระงานหลายอย่างในช่วงที่จัดตั้งคณะฯ และแม้เมื่อจัดตั้งเป็นคณะฯ แล้ว ก็ยังมีภาระต้องฟันฝ่าอุปสรรคอยู่เสมอ ทัง้ งานสอน งานบริหาร งบประมาณ ครุภณ ั ฑ์ อาคารสถานที่ ตลอดถึง งานบุคคล คำเรียกขานนี้ จึงมิใช่การล้อเลียน หรือพูดเล่นให้เห็นเป็นเรือ่ ง สนุก ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นการตอกย้ำให้ทราบถึงความ “เชือ่ มือ” “เชื่อถือ” และ “เคารพ” ในเวลาเดียวกัน แม้ว่าบรรดาเหล่านักศึกษา จะจรมาร่วมอยู่ในชายคาเพียงไม่กี่ปีแล้วก็จากไป แต่พฤติกรรมของผู้ บริหารที่ได้ร่วมกันทำงานหนักในยุคแรกๆ ยังประทับอยู่ในความทรง จำ ดังปรากฏจากปากศิษย์เก่าหลายคน

พ.ศ. ๒๕๓๓-๓๔ ไม่มกี ารสูร้ บหรือทำสงครามในพืน้ ทีท่ อ้ งทุง่ ศาลายา และในมหาวิทยาลัยมหิดล แต่กระนัน้ ก็ยงั สูอ้ ตุ ส่าห์มี “สามทหาร เสือ” เกิดขึน้ จนได้ การรบทัพจับศึกทั้งในประวัติศาสตร์และภาพยนตร์สงคราม จำ ต้ อ งมี แ ม่ ทั พ เป็ น หั ว หน้ า ใหญ่ และอาจมี ท หารคู่ ใ จของแม่ ทั พ จะเป็ น จำนวนเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ทหารคู่ใจนี้เป็นเหมือนดั่งมือและ ใจของแม่ทพั คิดการใดก็มกั จะสมประสงค์ เพราะมีทหารคูใ่ จช่วยบรรเทา เบาแรง อุปมานี้วนกลับมาที่มหาวิทยาลัยมหิดล หากว่ามีอธิการบดีเป็น แม่ทัพ ประสงค์จะนำพาให้ภารกิจของมหาวิทยาลัยเจริญรุดหน้าไปไกล พร้อมกับเผยแผนงานจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ ครั้งนั้นก็มีผู้สานความ ประสงค์ให้เป็นจริง จนเกิดมีคำเรียกขานจากหมูน่ กั ศึกษายุคแรกๆ เรียกชาย ๓ คน ซึง่ ความจริงแล้วก็คอื อาจารย์ของพวกเขานัน่ เองว่า “สามทหารเสือ”

ปี

๔๖

๔๗


ครั้ ง นั้ น ก็ มี ผู้ ส านความ ประสงค์ให้เป็นจริง จนเกิด มี ค ำ เ รี ย ก ข า น จ า ก ห มู ่ นั ก ศึ ก ษายุ ค แรกๆ เรี ย ก ชาย ๓ คน ซึ่ ง ความจริ ง แ ล้ ว ก็ คื อ อ า จ า ร ย์ ข อ ง พ ว ก เ ข า นั่ น เ อ ง ว่ า “สามทหารเสือ”

๔๘

วิศวกรรมนัน ้ สำคัญฉะนี ้


ครั้ ง นั้ น ก็ มี ผู้ ส านความ ประสงค์ให้เป็นจริง จนเกิด มี ค ำ เ รี ย ก ข า น จ า ก ห มู ่ นั ก ศึ ก ษายุ ค แรกๆ เรี ย ก ชาย ๓ คน ซึ่ ง ความจริ ง แ ล้ ว ก็ คื อ อ า จ า ร ย์ ข อ ง พ ว ก เ ข า นั่ น เ อ ง ว่ า “สามทหารเสือ”

๔๘

วิศวกรรมนัน ้ สำคัญฉะนี ้


“ป

ระเทศไทยต้องการคนไทยที่มีความรู้ความชำนาญในสอง วิชาชีพจำนวนมาก คือ วิชาแพทย์ และ ช่าง เพื่อก่อสร้างเมืองไทยให้ เจริญก้าวหน้า ให้ทดั เทียมกับประเทศทีเ่ จริญแล้ว และเพือ่ ความผาสุกของ ชนชาวไทย” ความข้างต้นนี้เป็นพระราชดำรัส ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก คำว่า “ช่าง” ในภาษาไทยนัน้ มีความหมายได้กว้างขวาง คือเป็น ผูท้ มี่ คี วามสันทัดจัดเจนในสิง่ ใดสิง่ หนึง่ มากกว่าใครอืน่ เป็นพิเศษ เช่น ช่าง พูด ช่างคิด ช่างทำ ฯลฯ ประการหนึง่ และอีกประการหนึง่ นัน้ มีความ หมายเฉพาะลงไปอีกว่า เป็นผูช้ ำนาญอย่างยิง่ ยวด มีความหมายเช่นเดียว กับคำว่า หมอ ในภาษาไทยโบราณ ดังเหลือค้างอยู่ในคำว่า หมอแคน คือผู้ที่มีความสันทัดจัดเจนในการบรรเลงแคน หมอลำ คือผู้ที่มีความ สันทัดจัดเจนในการขับลำ รวมถึง หมอช้าง หมอขวัญ หมอยา ฯลฯ ก็ เป็นไปในทำนองเดียวกัน ครั้นต่อมา ภาษาไทยภาคกลางมีการกำหนดและแยกแยะความ หมายทีก่ ระจ่างขึน้ คำเรียกหมอยา หรือผูท้ มี่ คี วามรูเ้ รือ่ งยาทีใ่ ช้รกั ษาโรค ได้มกี ารเรียกแต่เพียงสัน้ ๆ ว่า หมอ และมิได้เล็งไปทีค่ วามรูเ้ รือ่ งยาเท่านัน้ แต่หมายถึงความสามารถของผู้นั้นที่รักษาอาการป่วยไข้ได้ (จะรักษาด้วย ยาหรือกรรมวิธอี นื่ ใดก็ตาม ย่อมเข้าข่ายว่าเป็น หมอ) สมัยใหม่เรียกอย่าง เป็นทางการว่า แพทย์ ส่ ว นคำว่ า ช่ า ง หมายถึ ง ผู้ ที่ ส ามารถประดิ ษ ฐ์ คิ ด ทำกลไก

ที่ ซั บ ซ้ อ นเกิ น กว่ า สามั ญ ชนทั่ ว ไปจะทำได้ โ ดยง่ า ย ดั ง จะพบว่ า มี ส ำนั ก

ช่างสิบหมู่ เกิดขึน้ ในสังคมไทย คำเรียกว่า “ช่าง” ยังติดปากชาวไทยเรื่อยมา จนเมื่อวิทยาการ ทางด้านช่างแบบตะวันตกเข้ามามีบทบาทมากขึ้น มีความสลับซับซ้อนยิ่ง กว่าเดิม อีกทัง้ ยังต้องอาศัยความรูท้ างด้านวิทยาศาสตร์เข้ามาเสริม เรียก ว่า engineer จึงได้มีการนิยามคำศัพท์เรียกช่างแผนใหม่นี้ว่า “วิศวกร” ๕๐

โดยอยู่บนฐานความเชื่อถือตามแบบแผนไทยที่ว่า “พระวิศวกรรม” คือ

นายช่างใหญ่ของพระอินทร์ เป็นผูส้ ร้างสิง่ ของเครือ่ งใช้ตา่ งๆ ให้กบั มนุษย์ ศาสตร์ทางด้านวิศวกรรม มีอยู่คู่สังคมมนุษย์ อาจจะเริ่มนับจาก ครั้งที่มนุษย์รู้จักใช้เครื่องทุนแรงง่ายๆ อย่างนำท่อนไม้งัดหินก้อนเขื่อง การสร้างกลไกดักสัตว์ หรือการรู้จักการประดิษฐ์เครื่องมือทุ่นแรงอื่นๆ แทนที่จะใช้กำลังกาย กำลังนิ้วมือโดยลำพัง จนถึงปัจจุบันนี้ ความรู้ทาง ด้านวิศวกรรมศาสตร์ได้พัฒนาไปไกลลิบ แต่ปลายทางของการพัฒนานั้น ก็ยังวนมาสู่การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตให้สะดวกสบายและเจริญรุดหน้า มากยิง่ ขึน้ หากจะชายตาแลสิ่ ง รอบกายของคนเราในสั ง คม ก็ จ ะพบสิ่ ง ประดิษฐ์ที่คิดค้นโดยอิงอาศัยศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมไม่มากก็น้อย เช่น รถยนต์ สะพาน ทางด่วน เครื่องซักผ้า คอมพิวเตอร์ ไฟฟ้า อาคาร เครือ่ งปรับอากาศ ฯลฯ ศาสตร์ทางด้านนีม้ คี วามสำคัญ หรือกล่าวได้วา่ มี “คุณค่า” ในตัว มันเอง ซึง่ คุณค่าของวิศวกรรมศาสตร์ ไม่ใช่สงิ่ ทีก่ ระโตกกระตากให้ได้ยนิ เหมือนไก่ขนั ในทางตรงกันข้าม “คน” ต่างหากทีจ่ ะต้องใช้ใจไปสัมผัสถึง คุณค่าเหล่านี้ ถ้าคนมองไม่เห็นคุณค่าของศาสตร์ที่ดีๆ ก็จะคิด-พูด-ทำ

ในแบบทีอ่ ธิการบดี-ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร กรุณาเล่า

ให้ฟงั ว่า “ท่านผู้แทนบางคนท่านไม่เข้าใจเรื่องพวกนี้หรอก ผมไปดีเฟ็นด์ (defend) งบประมาณเนีย่ เขาบอก ‘ไหน มหิดลวิจยั อะไรดีๆ บ้าง’ ผมก็ บอก ‘โอ้โฮ เยอะเลย ทางด้านแพทย์ ทางด้านอะไร แม้แต่ทางด้านกุ้ง นักวิทยาศาสตร์ทำวิจยั เรือ่ งกุง้ กุลาดำเนีย่ เรือ่ งโรค การทำอะไรเนีย่ ’ ส.ส. ท่านหนึง่ บอก ‘เอ๊ะ มหิดลไปยุง่ อะไรเรือ่ งกุง้ คุณทำงานนอก เหนือหน้าทีค่ ณ ุ น่ะ นีต้ อ้ งให้มหาวิทยาลัยเกษตรเขาทำสิ’ ผมก็เห็นด้วยความ... (หยุดกึกชั่วครู่) แล้วเราก็จะอธิบายให้เขาฟัง ‘เรือ่ งแบบนีน้ ะเป็นเรือ่ งของวิทยาศาสตร์ อันนีเ้ ป็นเรือ่ งของโรคทีส่ ามารถ ๕๑


“ป

ระเทศไทยต้องการคนไทยที่มีความรู้ความชำนาญในสอง วิชาชีพจำนวนมาก คือ วิชาแพทย์ และ ช่าง เพื่อก่อสร้างเมืองไทยให้ เจริญก้าวหน้า ให้ทดั เทียมกับประเทศทีเ่ จริญแล้ว และเพือ่ ความผาสุกของ ชนชาวไทย” ความข้างต้นนี้เป็นพระราชดำรัส ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก คำว่า “ช่าง” ในภาษาไทยนัน้ มีความหมายได้กว้างขวาง คือเป็น ผูท้ มี่ คี วามสันทัดจัดเจนในสิง่ ใดสิง่ หนึง่ มากกว่าใครอืน่ เป็นพิเศษ เช่น ช่าง พูด ช่างคิด ช่างทำ ฯลฯ ประการหนึง่ และอีกประการหนึง่ นัน้ มีความ หมายเฉพาะลงไปอีกว่า เป็นผูช้ ำนาญอย่างยิง่ ยวด มีความหมายเช่นเดียว กับคำว่า หมอ ในภาษาไทยโบราณ ดังเหลือค้างอยู่ในคำว่า หมอแคน คือผู้ที่มีความสันทัดจัดเจนในการบรรเลงแคน หมอลำ คือผู้ที่มีความ สันทัดจัดเจนในการขับลำ รวมถึง หมอช้าง หมอขวัญ หมอยา ฯลฯ ก็ เป็นไปในทำนองเดียวกัน ครั้นต่อมา ภาษาไทยภาคกลางมีการกำหนดและแยกแยะความ หมายทีก่ ระจ่างขึน้ คำเรียกหมอยา หรือผูท้ มี่ คี วามรูเ้ รือ่ งยาทีใ่ ช้รกั ษาโรค ได้มกี ารเรียกแต่เพียงสัน้ ๆ ว่า หมอ และมิได้เล็งไปทีค่ วามรูเ้ รือ่ งยาเท่านัน้ แต่หมายถึงความสามารถของผู้นั้นที่รักษาอาการป่วยไข้ได้ (จะรักษาด้วย ยาหรือกรรมวิธอี นื่ ใดก็ตาม ย่อมเข้าข่ายว่าเป็น หมอ) สมัยใหม่เรียกอย่าง เป็นทางการว่า แพทย์ ส่ ว นคำว่ า ช่ า ง หมายถึ ง ผู้ ที่ ส ามารถประดิ ษ ฐ์ คิ ด ทำกลไก

ที่ ซั บ ซ้ อ นเกิ น กว่ า สามั ญ ชนทั่ ว ไปจะทำได้ โ ดยง่ า ย ดั ง จะพบว่ า มี ส ำนั ก

ช่างสิบหมู่ เกิดขึน้ ในสังคมไทย คำเรียกว่า “ช่าง” ยังติดปากชาวไทยเรื่อยมา จนเมื่อวิทยาการ ทางด้านช่างแบบตะวันตกเข้ามามีบทบาทมากขึ้น มีความสลับซับซ้อนยิ่ง กว่าเดิม อีกทัง้ ยังต้องอาศัยความรูท้ างด้านวิทยาศาสตร์เข้ามาเสริม เรียก ว่า engineer จึงได้มีการนิยามคำศัพท์เรียกช่างแผนใหม่นี้ว่า “วิศวกร” ๕๐

โดยอยู่บนฐานความเชื่อถือตามแบบแผนไทยที่ว่า “พระวิศวกรรม” คือ

นายช่างใหญ่ของพระอินทร์ เป็นผูส้ ร้างสิง่ ของเครือ่ งใช้ตา่ งๆ ให้กบั มนุษย์ ศาสตร์ทางด้านวิศวกรรม มีอยู่คู่สังคมมนุษย์ อาจจะเริ่มนับจาก ครั้งที่มนุษย์รู้จักใช้เครื่องทุนแรงง่ายๆ อย่างนำท่อนไม้งัดหินก้อนเขื่อง การสร้างกลไกดักสัตว์ หรือการรู้จักการประดิษฐ์เครื่องมือทุ่นแรงอื่นๆ แทนที่จะใช้กำลังกาย กำลังนิ้วมือโดยลำพัง จนถึงปัจจุบันนี้ ความรู้ทาง ด้านวิศวกรรมศาสตร์ได้พัฒนาไปไกลลิบ แต่ปลายทางของการพัฒนานั้น ก็ยังวนมาสู่การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตให้สะดวกสบายและเจริญรุดหน้า มากยิง่ ขึน้ หากจะชายตาแลสิ่ ง รอบกายของคนเราในสั ง คม ก็ จ ะพบสิ่ ง ประดิษฐ์ที่คิดค้นโดยอิงอาศัยศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมไม่มากก็น้อย เช่น รถยนต์ สะพาน ทางด่วน เครื่องซักผ้า คอมพิวเตอร์ ไฟฟ้า อาคาร เครือ่ งปรับอากาศ ฯลฯ ศาสตร์ทางด้านนีม้ คี วามสำคัญ หรือกล่าวได้วา่ มี “คุณค่า” ในตัว มันเอง ซึง่ คุณค่าของวิศวกรรมศาสตร์ ไม่ใช่สงิ่ ทีก่ ระโตกกระตากให้ได้ยนิ เหมือนไก่ขนั ในทางตรงกันข้าม “คน” ต่างหากทีจ่ ะต้องใช้ใจไปสัมผัสถึง คุณค่าเหล่านี้ ถ้าคนมองไม่เห็นคุณค่าของศาสตร์ที่ดีๆ ก็จะคิด-พูด-ทำ

ในแบบทีอ่ ธิการบดี-ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร กรุณาเล่า

ให้ฟงั ว่า “ท่านผู้แทนบางคนท่านไม่เข้าใจเรื่องพวกนี้หรอก ผมไปดีเฟ็นด์ (defend) งบประมาณเนีย่ เขาบอก ‘ไหน มหิดลวิจยั อะไรดีๆ บ้าง’ ผมก็ บอก ‘โอ้โฮ เยอะเลย ทางด้านแพทย์ ทางด้านอะไร แม้แต่ทางด้านกุ้ง นักวิทยาศาสตร์ทำวิจยั เรือ่ งกุง้ กุลาดำเนีย่ เรือ่ งโรค การทำอะไรเนีย่ ’ ส.ส. ท่านหนึง่ บอก ‘เอ๊ะ มหิดลไปยุง่ อะไรเรือ่ งกุง้ คุณทำงานนอก เหนือหน้าทีค่ ณ ุ น่ะ นีต้ อ้ งให้มหาวิทยาลัยเกษตรเขาทำสิ’ ผมก็เห็นด้วยความ... (หยุดกึกชั่วครู่) แล้วเราก็จะอธิบายให้เขาฟัง ‘เรือ่ งแบบนีน้ ะเป็นเรือ่ งของวิทยาศาสตร์ อันนีเ้ ป็นเรือ่ งของโรคทีส่ ามารถ ๕๑


ศาสตราจารย์คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

จะติดต่อมาสู่มนุษย์ได้ เรามีความรู้เรื่องมนุษย์เยอะ ทางนี้เราก็มีความรู้ ซึง่ มันไม่ได้ตา่ งกัน เพราะฉะนัน้ เราก็ทำประโยชน์ให้กบั ประเทศได้’ ‘ไม่เกี่ยวล่ะ ยังไงก็ไปยุ่งกับคนอื่นเขาทำไม มิน่าสิมันถึงได้วุ่นวาย ยังงี้’ ” อธิการบดีเลียนคำพูดของท่าน ส.ส.นิรนามได้อย่างเนียนสนิท ก่อนจะทิง้ ท้ายเป็นบทสรุปโยงมาถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์อยูก่ รายๆ ว่า “นี่คือ ถ้าผู้ที่เป็นผู้แทนซึ่งเป็นคนบริหารประเทศ ยังรู้สึกยังงี้เนี่ย ศาสตร์ใหม่ๆ มันจะไม่เกิดเลย ถ้าท่านอยูต่ อนนัน้ วิศวะก็คงไม่เกิด” พอพูดจบความ ก็มเี สียงหัวเราะคิกคักจากคนสัมภาษณ์และช่างภาพ คำบอกเล่าถึงสรรพคุณค่าของวิศวกรรมศาสตร์ จากผู้ที่เป็นทั้ง นายแพทย์และผูบ้ ริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยมหิดล ยังมีตอ่ อีกว่า “ทางการแพทย์ เครื่ อ งมื อ ที่ ต รวจมนุ ษ ย์ เ ดี๋ ย วนี้ น่ ะ MRI เนี่ ย magnetic resonance imaging ใช้แม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นวิชาที่พวกผม เรียนเมือ่ ตอนอยูค่ ณะวิทยาศาสตร์ เรือ่ งของแม่เหล็กไฟฟ้า และวิศวกรรม เนีย่ มีเรือ่ งของ electrical engineering มันเอามาประกอบกัน แล้วทำ คนเดียวไม่ได้ ต้องเอาหมอ เอาอะไรมานัง่ ดูกนั แล้วกลายเป็นเครือ่ งมือที่ มีประโยชน์สูงที่สุดอย่างหนึ่งในโลกขณะนี้ แล้วแพงที่สุดด้วย เชื่อมั้ย ไอ้ เครื่องนี้นะ เดี๋ยวนี้มันสามารถตรวจมะรงมะเร็งได้ในระยะต้น หรืออะไร ก็ตามเนีย่ ได้เห็นภาพทีเ่ มือ่ ก่อนเกิดมาไม่เคยเห็น เนีย่ อาศัยวิศวะกับการ แพทย์ และกับวิทยาศาสตร์มารวมกัน แล้วยุคใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น เรานึกไม่ ออกเลยเนีย่ มันเกิดจากนีท้ งั้ นัน้ ในอนาคต carbon dioxide ทีม่ นั เกิดขึน้ ๕๒

ผศ.ปิยะ รัตนสุวรรณ อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เยอะแยะ จนกระทัง่ เกิด global warming หรือว่า greenhouse effect เนีย่ ถ้าจะใช้ระบบไฟฟ้าใช่มยั้ ทีม่ คี นเค้าบอกผมว่า เอ้อ อีกหน่อยเราจะ สามารถฝังสายไฟฟ้าทีจ่ ะเกิดระบบแม่เหล็กรอบสายไฟทีอ่ ยูใ่ ต้ถนน แล้วรถ ทีว่ งิ่ เนีย่ มันจะมีตวั รับกระแสแม่เหล็กอันนีน้ ะ่ แล้วมันหมุน ทำให้เกิดพลัง ใน battery ซึง่ ไม่ตอ้ งเติมเลย battery วิง่ ผ่านไป ก็เติมได้ตลอดเลย นีอ่ กี หน่อย carbon dioxide มันก็จะลดลง เหลือน้อย ๓๐-๕๐% โลกก็จะ save the world ล่ะ คือช่วยโลกได้ ก็มาจากไหน มาจากวิศวะทัง้ นัน้ น่ะ ถึงบอกว่า วิศวะนีอ้ ยูค่ กู่ บั โลก กับชาติ เอ้าจริงๆ” อธิการบดียำ้ ด้วยความ เชือ่ มัน่ เรื่ อ งเล่ า อี ก บางเรื่ อ ง ก็ เ ป็ น การบ่ ง ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง คุ ณ ค่ า ของงาน วิศวกรรมศาสตร์ อาจารย์ปิยะ รัตนสุวรรณ ได้ยกตัวอย่างถึงเรื่องของ งานโยธาว่า “คือวิศวะนีม้ นั มันปฏิบตั แิ ต่ตอ้ งรูท้ ฤษฎีลกึ ซึง้ คือถ้าเราไม่รทู้ ฤษฎี ผมว่ามันทำอะไรไม่ได้ สมัยก่อนนี่ผมนึกภาพออกนะครับว่า ผมทำงานที่ กระทรวงเกษตรผมเป็นวิศวกร เราดีซงดีไซน์ คือผมทำงานมันดีไซน์ ส่วน มากมันไม่เกีย่ วกับทางทฤษฎี ส่วนมากเป็น คือผมอยูง่ านก่อสร้างมาก่อน คุมงานก่อสร้างนะครับ พอเราคุมงานก่อสร้างสักพักเราก็จะรู้ปัญหาว่า เอ... คนออกแบบไม่ได้เรือ่ งจริงๆ เลย พูดง่ายๆ ว่าผมเคยออกแบบไปคุม งานก่อสร้างถนน จุดตำแหน่งทีค่ วรจะวางท่อ วิศวกรออกแบบเขาไม่ใส่ให้ ไปวางท่อตรงสูงๆ แล้วน้ำมันจะลอดได้ไง ผมก็ต้องทำเรื่องขอเปลี่ยนจุด ๕๓


ศาสตราจารย์คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

จะติดต่อมาสู่มนุษย์ได้ เรามีความรู้เรื่องมนุษย์เยอะ ทางนี้เราก็มีความรู้ ซึง่ มันไม่ได้ตา่ งกัน เพราะฉะนัน้ เราก็ทำประโยชน์ให้กบั ประเทศได้’ ‘ไม่เกี่ยวล่ะ ยังไงก็ไปยุ่งกับคนอื่นเขาทำไม มิน่าสิมันถึงได้วุ่นวาย ยังงี้’ ” อธิการบดีเลียนคำพูดของท่าน ส.ส.นิรนามได้อย่างเนียนสนิท ก่อนจะทิง้ ท้ายเป็นบทสรุปโยงมาถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์อยูก่ รายๆ ว่า “นี่คือ ถ้าผู้ที่เป็นผู้แทนซึ่งเป็นคนบริหารประเทศ ยังรู้สึกยังงี้เนี่ย ศาสตร์ใหม่ๆ มันจะไม่เกิดเลย ถ้าท่านอยูต่ อนนัน้ วิศวะก็คงไม่เกิด” พอพูดจบความ ก็มเี สียงหัวเราะคิกคักจากคนสัมภาษณ์และช่างภาพ คำบอกเล่าถึงสรรพคุณค่าของวิศวกรรมศาสตร์ จากผู้ที่เป็นทั้ง นายแพทย์และผูบ้ ริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยมหิดล ยังมีตอ่ อีกว่า “ทางการแพทย์ เครื่ อ งมื อ ที่ ต รวจมนุ ษ ย์ เ ดี๋ ย วนี้ น่ ะ MRI เนี่ ย magnetic resonance imaging ใช้แม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นวิชาที่พวกผม เรียนเมือ่ ตอนอยูค่ ณะวิทยาศาสตร์ เรือ่ งของแม่เหล็กไฟฟ้า และวิศวกรรม เนีย่ มีเรือ่ งของ electrical engineering มันเอามาประกอบกัน แล้วทำ คนเดียวไม่ได้ ต้องเอาหมอ เอาอะไรมานัง่ ดูกนั แล้วกลายเป็นเครือ่ งมือที่ มีประโยชน์สูงที่สุดอย่างหนึ่งในโลกขณะนี้ แล้วแพงที่สุดด้วย เชื่อมั้ย ไอ้ เครื่องนี้นะ เดี๋ยวนี้มันสามารถตรวจมะรงมะเร็งได้ในระยะต้น หรืออะไร ก็ตามเนีย่ ได้เห็นภาพทีเ่ มือ่ ก่อนเกิดมาไม่เคยเห็น เนีย่ อาศัยวิศวะกับการ แพทย์ และกับวิทยาศาสตร์มารวมกัน แล้วยุคใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น เรานึกไม่ ออกเลยเนีย่ มันเกิดจากนีท้ งั้ นัน้ ในอนาคต carbon dioxide ทีม่ นั เกิดขึน้ ๕๒

ผศ.ปิยะ รัตนสุวรรณ อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เยอะแยะ จนกระทัง่ เกิด global warming หรือว่า greenhouse effect เนีย่ ถ้าจะใช้ระบบไฟฟ้าใช่มยั้ ทีม่ คี นเค้าบอกผมว่า เอ้อ อีกหน่อยเราจะ สามารถฝังสายไฟฟ้าทีจ่ ะเกิดระบบแม่เหล็กรอบสายไฟทีอ่ ยูใ่ ต้ถนน แล้วรถ ทีว่ งิ่ เนีย่ มันจะมีตวั รับกระแสแม่เหล็กอันนีน้ ะ่ แล้วมันหมุน ทำให้เกิดพลัง ใน battery ซึง่ ไม่ตอ้ งเติมเลย battery วิง่ ผ่านไป ก็เติมได้ตลอดเลย นีอ่ กี หน่อย carbon dioxide มันก็จะลดลง เหลือน้อย ๓๐-๕๐% โลกก็จะ save the world ล่ะ คือช่วยโลกได้ ก็มาจากไหน มาจากวิศวะทัง้ นัน้ น่ะ ถึงบอกว่า วิศวะนีอ้ ยูค่ กู่ บั โลก กับชาติ เอ้าจริงๆ” อธิการบดียำ้ ด้วยความ เชือ่ มัน่ เรื่ อ งเล่ า อี ก บางเรื่ อ ง ก็ เ ป็ น การบ่ ง ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง คุ ณ ค่ า ของงาน วิศวกรรมศาสตร์ อาจารย์ปิยะ รัตนสุวรรณ ได้ยกตัวอย่างถึงเรื่องของ งานโยธาว่า “คือวิศวะนีม้ นั มันปฏิบตั แิ ต่ตอ้ งรูท้ ฤษฎีลกึ ซึง้ คือถ้าเราไม่รทู้ ฤษฎี ผมว่ามันทำอะไรไม่ได้ สมัยก่อนนี่ผมนึกภาพออกนะครับว่า ผมทำงานที่ กระทรวงเกษตรผมเป็นวิศวกร เราดีซงดีไซน์ คือผมทำงานมันดีไซน์ ส่วน มากมันไม่เกีย่ วกับทางทฤษฎี ส่วนมากเป็น คือผมอยูง่ านก่อสร้างมาก่อน คุมงานก่อสร้างนะครับ พอเราคุมงานก่อสร้างสักพักเราก็จะรู้ปัญหาว่า เอ... คนออกแบบไม่ได้เรือ่ งจริงๆ เลย พูดง่ายๆ ว่าผมเคยออกแบบไปคุม งานก่อสร้างถนน จุดตำแหน่งทีค่ วรจะวางท่อ วิศวกรออกแบบเขาไม่ใส่ให้ ไปวางท่อตรงสูงๆ แล้วน้ำมันจะลอดได้ไง ผมก็ต้องทำเรื่องขอเปลี่ยนจุด ๕๓


โดยที่ ย้ า ยจุ ด ค่ า ก่ อ สร้ า งค่ า วั ส ดุ ก็ เ ท่ า เดิ ม ครั บ ก็ ท ะเลาะกั บ วิ ศ วกร ออกแบบอยู่พักหนึ่ง ว่าตรงนี้มันไม่ถูกนะครับ จนผู้ใหญ่บอกว่า เออถ้า

ขั้นตอนก่อสร้างต้องเชื่อวิศวกรก่อสร้าง แต่ถ้าขั้นตอนออกแบบต้องเชื่อ วิ ศ วกรออกแบบ พอหลั ง จากนั้ น ผมย้ า ยจากงานก่ อ สร้ า งมาอยู่ ง าน ออกแบบ เราก็ต้องดูว่า เอ เราเคยว่าเขาไว้เยอะ ถ้าแบบเราทำไปแล้ว สร้างไม่ได้ ต้องโดนแน่ๆ เพราะผมเคยเจอนะครับ ใส่เหล็กจนเทคอนกรีต ไม่ลงนะครับ แน่นไปหมดเลย ผมก็เลย เอ มันใส่เหล็กกันยังไง คือจริงๆ แล้วมันก็มเี ทคนิคในการทีจ่ ะต่อเหล็กอะไรอย่างนี้ คือต่อเหล็ก หรือว่าเอา เหล็กมาสักแปดเส้น แล้วเราต่อจุดเดียวกันทั้งแปดเส้น จากแปดเส้นก็ กลายเป็นสิบหกเส้น เพราะฉะนั้นสิบหกเส้นเทคอนกรีตไม่ลงเลยนะครับ เพราะฉะนัน้ ในการก่อสร้าง เราต้องเลือกต่อทีละสีเ่ ส้น ต้องสลับรอยต่อกัน ครับ ถ้าต่อพร้อมกันก็ปัญหาเกิด ไอ้นี่ก็เทคนิคการก่อสร้าง จริงๆ แล้ว เล็กๆ น้อยๆ มันต้องรู้นะครับ เพราะฉะนั้นวิศวกรต้องรู้ทฤษฎีและต้องรู้ ทัง้ วิธปี ฏิบตั ดิ ว้ ย ก็มีคำถามว่า อาจารย์ เวลาเทคอนกรีต คุมงานก่อสร้าง เท คอนกรีตคานนะครับแล้ววันนั้นเย็นพอดี จะหยุดเทคอนกรีต จะหยุดตรง ไหนของคาน จะหยุดตรงกลางคาน หรือตรงริมคาน ผมก็เลยบอกว่า อ้าวตรงไหนมันรับแรงมากล่ะครับ คุณเรียนทฤษฎีมาแล้ว คุณเป็นวิศวกร ต้องรูส้ คิ รับว่าตรงไหนจุดอ่อน ตรงไหนเป็นจุดแข็งนะครับ จะต่อเหล็กตรง กลางคาน หรือจะต่อตรงไหน คุณรูม้ าหมด คุณรูท้ ฤษฎีมาหมดแล้ว แต่ ปฏิบตั คิ ณ ุ ก็ตอ้ งเอาทฤษฎีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ อันนีค้ อื ผมเข้าใจว่าทฤษฎี ก็ต้องแม่น ปฏิบัติก็ต้องแม่น ไม่ใช่คนงานจะต่อตรงไหนก็ได้ เราดูเฉยๆ บอกไม่ถกู เราเป็น engineer เราต้องรูน้ ะครับ ว่าเป็นอย่างไรตรงนีท้ ำไม่ ได้ ตอกเข็มเนี่ย วันนี้เอาปั้นจั่นขึ้นไปตอก ตอกได้ครึ่งต้น หมดเวลาเลิก งาน ตอกพรุง่ นีไ้ ด้ไหม มันต้องตอกให้หมดนะครับ เพราะถ้ามันตอกค้าง เดี๋ยวดินมันก็แน่น พรุ่งนี้ตอกไม่ลงล่ะครับ มีปัญหาแน่ นะครับ ไม่ใช่ว่า คนงานตอกไปพักเทีย่ งก่อนชัว่ โมงแล้วค่อยมาตอกต่อ บอกว่า เฮ่ย... ถ้าไม่ ๕๔

ตอกก็ไม่ตอก ถ้าตอกก็ตอ้ งตอกให้มดิ เลยนะครับ คาไว้ไม่ได้ เพราะฉะนัน้ engineer ต้องเข้าใจพฤติการณ์ของวัสดุเป็นอย่างไร” คำบอกเล่ายาวๆ ซึ่งผู้ที่ไม่อยู่ในสายงานทางวิศวกรรมศาสตร์จะ มองข้ามเลยไป และอาจจะคิดไม่ถงึ หรือไม่เห็นความสำคัญใดๆ จนกว่าจะ เกิดปัญหา เมือ่ นัน้ จึงจะนึกถึงวิศวกร วิ ศ วกรรมศาสตร์ เ องก็ แ ตกแขนงออกไปมากมาย เรี ย กได้ ว่ า ครอบคลุมวิถีชีวิตของคนเราในโลกปัจจุบันอย่างไม่ต้องสงสัย บางแขนง นัน้ เกิดมาก่อน เช่น ทางด้านโยธา เครือ่ งกล เคมี ฯลฯ บางแขนงก็เกิด

ไล่ ห ลั ง มาติ ด ๆ จนปั จ จุ บั น ได้ มี แ ขนงปลี ก ย่ อ ยลงไปอี ก มากมาย เช่ น วิ ศ วกรรมคอมพิ ว เตอร์ วิ ศ วกรรมโลจิ ส ติ ก ส์ วิ ศ วกรรมชี ว การแพทย์ วิศวกรรมเภสัช วิศวกรรมการเงิน และในอนาคตไม่นาน อาจจะมีชื่อที่ แปลกแยกออกไปอีกเมื่อวิศวกรรมศาสตร์ได้ไปผสานกับศาสตร์อื่นๆ เพื่อ นำมาเสริมสร้างและตอบสนองการดำรงชีวติ มนุษย์ให้สะดวกขึน้ จากพระราชดำรัส ทีอ่ ญ ั เชิญมาแต่ยอ่ หน้าต้น “ช่าง” จึงหมายถึง วิศวกร หรือผู้ที่จัดเจนงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อเป็นแรงเสริม ก่อสร้างเมืองไทยให้เจริญก้าวหน้าไม่ยงิ่ หย่อนไปกว่าหมอหรือแพทย์ อีกทัง้ ต้องเสริมแรงให้แข็งขัน เมือ่ นัน้ เมืองไทยจะยิง่ เจริญก้าวไกล วิศวกรรมนัน้ จึงสำคัญฉะนี ้

๕๕


โดยที่ ย้ า ยจุ ด ค่ า ก่ อ สร้ า งค่ า วั ส ดุ ก็ เ ท่ า เดิ ม ครั บ ก็ ท ะเลาะกั บ วิ ศ วกร ออกแบบอยู่พักหนึ่ง ว่าตรงนี้มันไม่ถูกนะครับ จนผู้ใหญ่บอกว่า เออถ้า

ขั้นตอนก่อสร้างต้องเชื่อวิศวกรก่อสร้าง แต่ถ้าขั้นตอนออกแบบต้องเชื่อ วิ ศ วกรออกแบบ พอหลั ง จากนั้ น ผมย้ า ยจากงานก่ อ สร้ า งมาอยู่ ง าน ออกแบบ เราก็ต้องดูว่า เอ เราเคยว่าเขาไว้เยอะ ถ้าแบบเราทำไปแล้ว สร้างไม่ได้ ต้องโดนแน่ๆ เพราะผมเคยเจอนะครับ ใส่เหล็กจนเทคอนกรีต ไม่ลงนะครับ แน่นไปหมดเลย ผมก็เลย เอ มันใส่เหล็กกันยังไง คือจริงๆ แล้วมันก็มเี ทคนิคในการทีจ่ ะต่อเหล็กอะไรอย่างนี้ คือต่อเหล็ก หรือว่าเอา เหล็กมาสักแปดเส้น แล้วเราต่อจุดเดียวกันทั้งแปดเส้น จากแปดเส้นก็ กลายเป็นสิบหกเส้น เพราะฉะนั้นสิบหกเส้นเทคอนกรีตไม่ลงเลยนะครับ เพราะฉะนัน้ ในการก่อสร้าง เราต้องเลือกต่อทีละสีเ่ ส้น ต้องสลับรอยต่อกัน ครับ ถ้าต่อพร้อมกันก็ปัญหาเกิด ไอ้นี่ก็เทคนิคการก่อสร้าง จริงๆ แล้ว เล็กๆ น้อยๆ มันต้องรู้นะครับ เพราะฉะนั้นวิศวกรต้องรู้ทฤษฎีและต้องรู้ ทัง้ วิธปี ฏิบตั ดิ ว้ ย ก็มีคำถามว่า อาจารย์ เวลาเทคอนกรีต คุมงานก่อสร้าง เท คอนกรีตคานนะครับแล้ววันนั้นเย็นพอดี จะหยุดเทคอนกรีต จะหยุดตรง ไหนของคาน จะหยุดตรงกลางคาน หรือตรงริมคาน ผมก็เลยบอกว่า อ้าวตรงไหนมันรับแรงมากล่ะครับ คุณเรียนทฤษฎีมาแล้ว คุณเป็นวิศวกร ต้องรูส้ คิ รับว่าตรงไหนจุดอ่อน ตรงไหนเป็นจุดแข็งนะครับ จะต่อเหล็กตรง กลางคาน หรือจะต่อตรงไหน คุณรูม้ าหมด คุณรูท้ ฤษฎีมาหมดแล้ว แต่ ปฏิบตั คิ ณ ุ ก็ตอ้ งเอาทฤษฎีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ อันนีค้ อื ผมเข้าใจว่าทฤษฎี ก็ต้องแม่น ปฏิบัติก็ต้องแม่น ไม่ใช่คนงานจะต่อตรงไหนก็ได้ เราดูเฉยๆ บอกไม่ถกู เราเป็น engineer เราต้องรูน้ ะครับ ว่าเป็นอย่างไรตรงนีท้ ำไม่ ได้ ตอกเข็มเนี่ย วันนี้เอาปั้นจั่นขึ้นไปตอก ตอกได้ครึ่งต้น หมดเวลาเลิก งาน ตอกพรุง่ นีไ้ ด้ไหม มันต้องตอกให้หมดนะครับ เพราะถ้ามันตอกค้าง เดี๋ยวดินมันก็แน่น พรุ่งนี้ตอกไม่ลงล่ะครับ มีปัญหาแน่ นะครับ ไม่ใช่ว่า คนงานตอกไปพักเทีย่ งก่อนชัว่ โมงแล้วค่อยมาตอกต่อ บอกว่า เฮ่ย... ถ้าไม่ ๕๔

ตอกก็ไม่ตอก ถ้าตอกก็ตอ้ งตอกให้มดิ เลยนะครับ คาไว้ไม่ได้ เพราะฉะนัน้ engineer ต้องเข้าใจพฤติการณ์ของวัสดุเป็นอย่างไร” คำบอกเล่ายาวๆ ซึ่งผู้ที่ไม่อยู่ในสายงานทางวิศวกรรมศาสตร์จะ มองข้ามเลยไป และอาจจะคิดไม่ถงึ หรือไม่เห็นความสำคัญใดๆ จนกว่าจะ เกิดปัญหา เมือ่ นัน้ จึงจะนึกถึงวิศวกร วิ ศ วกรรมศาสตร์ เ องก็ แ ตกแขนงออกไปมากมาย เรี ย กได้ ว่ า ครอบคลุมวิถีชีวิตของคนเราในโลกปัจจุบันอย่างไม่ต้องสงสัย บางแขนง นัน้ เกิดมาก่อน เช่น ทางด้านโยธา เครือ่ งกล เคมี ฯลฯ บางแขนงก็เกิด

ไล่ ห ลั ง มาติ ด ๆ จนปั จ จุ บั น ได้ มี แ ขนงปลี ก ย่ อ ยลงไปอี ก มากมาย เช่ น วิ ศ วกรรมคอมพิ ว เตอร์ วิ ศ วกรรมโลจิ ส ติ ก ส์ วิ ศ วกรรมชี ว การแพทย์ วิศวกรรมเภสัช วิศวกรรมการเงิน และในอนาคตไม่นาน อาจจะมีชื่อที่ แปลกแยกออกไปอีกเมื่อวิศวกรรมศาสตร์ได้ไปผสานกับศาสตร์อื่นๆ เพื่อ นำมาเสริมสร้างและตอบสนองการดำรงชีวติ มนุษย์ให้สะดวกขึน้ จากพระราชดำรัส ทีอ่ ญ ั เชิญมาแต่ยอ่ หน้าต้น “ช่าง” จึงหมายถึง วิศวกร หรือผู้ที่จัดเจนงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อเป็นแรงเสริม ก่อสร้างเมืองไทยให้เจริญก้าวหน้าไม่ยงิ่ หย่อนไปกว่าหมอหรือแพทย์ อีกทัง้ ต้องเสริมแรงให้แข็งขัน เมือ่ นัน้ เมืองไทยจะยิง่ เจริญก้าวไกล วิศวกรรมนัน้ จึงสำคัญฉะนี ้

๕๕


“คือวิศวะนีม ้ น ั มันปฏิบต ั ิ แต่ตอ้ งรูท ้ ฤษฎีลกึ ซึง้ คือถ้าเราไม่รท ู้ ฤษฎี ผมว่ามันทำอะไรไม่ได้”

บรรยากาศของมหิดล ณ ศาลายา และคณะวิศวกรรมศาสตร์

๕๖


“คือวิศวะนีม ้ น ั มันปฏิบต ั ิ แต่ตอ้ งรูท ้ ฤษฎีลกึ ซึง้ คือถ้าเราไม่รท ู้ ฤษฎี ผมว่ามันทำอะไรไม่ได้”

บรรยากาศของมหิดล ณ ศาลายา และคณะวิศวกรรมศาสตร์

๕๖


พ.

ศ. ๒๕๓๓ อันเป็นปีแรกตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ สภาพทาง กายภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล ยังคงมีกลิน่ ไอของท้องทุง่ ศาลายา หาก ยืนบนทีส่ งู แม้เพียงชัน้ สองของตึกศูนย์ศาลายา ก็จะเห็นต้นไม้ใบหญ้าขึน้ ระดะเขียวขจี ห่างจากตึกนีไ้ ปราว ๒๐๐ เมตรทางเบือ้ งตะวันตก จะมีคอก วัว (พ.ศ. ๒๕๕๓ คือที่จอดรถ) มีวัวตัวเป็นๆ ถ่ายมูลได้ เมื่อวันที่ฝนตก กลิน่ มูลวัวจะยิง่ ซ่านกำจายแทรกไปในบรรยากาศในรัศมี ๑๐๐-๒๐๐ เมตร บ่งบอกให้รำลึกรูเ้ สมอว่า ทีน่ ยี่ งั เป็นท้องทุง่ บ้านนาจริงๆ ในอาณาบริเวณมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา มีถนนไม่มาก สายนัก แต่ละเส้นแม้จะปูลาดด้วยยางมะตอย แต่ก็ไม่ได้ห้าม “สัตว์เลื้อย คลานเจ้าของท้องที่” ให้ออกมาเดินเล่นใน ยามทีส่ งัดคนสัญจร และมักจะออกมาคลาน เพ่นพ่านบนท้องถนนด้วยลีลาวางท่า คือทำ อาการเชิดอกเชิดหัว แลบลิ้นสองแฉกออก มาตรวจสอบเพือ่ ไกด์นำทางเสมอ นักศึกษา จากเมืองหลวง ทีม่ าศึกษาและอยูป่ ระจำทีน่ ี่ หลายคนเคยทึกทักว่าเป็น “ลูกจระเข้” ส่วน สัตว์เลื้อยคลานเจ้าของท้องที่ ผู้ ป กครองที่ พ าบุ ต รหลานมามอบตั ว เป็ น

นักศึกษา ก็เผลอคิดหวัน่ ใจไปว่า ลูกของตน จะต้องมาศึกษาท่ามกลางพงไพรกันถึงสีป่ จี นจบเลยหรือนี ่ ณ ที่แห่งนี้ยังเป็นแหล่งดูนกที่เลื่องชื่ออีกแห่งหนึ่งในรัศมีไม่ไกล จากกรุงเทพฯ มี แ หล่ ง ต้ น สะแกป่ า หนาแน่ น ที่ เ กิ ด ตามธรรมชาติ บ ริ เ วณรอบๆ เรือนไทย ช่วงเช้าๆ ในแต่ละวัน จะมีนกเป็ดน้ำมาล่องลอยเล่นน้ำ ดำผุดดำ ว่ายบริเวณสระน้ำในสวนสมุนไพรสิรรี กุ ขชาติ และบริเวณสระน้ำเรือนไทย ก่อนที่จะชวนกันบินไปที่อื่นเมื่อยามสาย ส่วนนกกวักหรือนกไก่นาก็ออก มาเลียบๆ เคียงๆ เดินโหย่งๆ ลัดเลาะหากินตามแนวฝัง่ น้ำ ๕๘

พิธีเจิมป้ายคณะฯ

ถนนพุ ท ธมณฑลสาย ๔ ที่ พ าดผ่ า นเบื้ อ งหน้ า ทางเข้ า เขต มหาวิทยาลัย มีแนวต้นคูนออกดอกเหลืองอร่ามงามสะพรั่งตั้งแต่เดือน มีนาถึงสิน้ เมษา บรรยากาศและเหตุการณ์เหล่านี้ ซุกซ่อนอยู่ในความทรงจำของ เหล่าสมาชิกชาวมหิดล สมกับคำเล่าของบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์

ทีเ่ ล่าฟืน้ ความหลังให้ฟงั ว่า “...ยิง่ ก่อนทีจ่ ะมาอยูต่ กึ นีน้ ะครับ ตรงนีท้ อี่ ยูเ่ นีย่ คือเป็นป่าทัง้ นัน้ เลยนะครับ ป่าแบบหญ้าคาเนี่ยสูง ทั้งหญ้าคา ทั้งกก น่ากลัวมาก งูจะ เยอะ เวลาฝนตกทีนงึ ปลาจะเยอะมาก แล้วก็ผมเป็นคนมาปัก มาปักเขตว่า จะสร้างตึก (ของคณะวิศวกรรมศาสตร์) เอาเชือกฟางเนาะ มาขึง... ตรง ป่าอาจารย์เขาก็ให้ผมเข้าไป เข้าไปตัด แล้วงูเขียวก็ออกมา ก็นา่ กลัวครับ แต่วา่ เวลาทำก็สนุกดีนะ มันก็ไม่เหนือ่ ย เพราะว่ามันมีแต่คนน้อย ทำอะไร มันก็ชว่ ยกันทำ…” “ตอนนั้นถนนก็ยังไม่ค่อยดีใช่ไหมคะ ที่จะไปพุทธมณฑลน่ะ เวลา ออกไปกินข้าวกลางวัน เราก็ปนั่ จักรยานไปพุทธมณฑลกัน คือเหมือนแบบ ทำงานเสร็จ เออ... อยากไปก็ไปกัน ก็ปนั่ จักรยานกัน น็องแน็งๆ รถสิบล้อ ก็เต็มเลย ก็สนุกดีคะ่ ” ๕๙


พ.

ศ. ๒๕๓๓ อันเป็นปีแรกตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ สภาพทาง กายภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล ยังคงมีกลิน่ ไอของท้องทุง่ ศาลายา หาก ยืนบนทีส่ งู แม้เพียงชัน้ สองของตึกศูนย์ศาลายา ก็จะเห็นต้นไม้ใบหญ้าขึน้ ระดะเขียวขจี ห่างจากตึกนีไ้ ปราว ๒๐๐ เมตรทางเบือ้ งตะวันตก จะมีคอก วัว (พ.ศ. ๒๕๕๓ คือที่จอดรถ) มีวัวตัวเป็นๆ ถ่ายมูลได้ เมื่อวันที่ฝนตก กลิน่ มูลวัวจะยิง่ ซ่านกำจายแทรกไปในบรรยากาศในรัศมี ๑๐๐-๒๐๐ เมตร บ่งบอกให้รำลึกรูเ้ สมอว่า ทีน่ ยี่ งั เป็นท้องทุง่ บ้านนาจริงๆ ในอาณาบริเวณมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา มีถนนไม่มาก สายนัก แต่ละเส้นแม้จะปูลาดด้วยยางมะตอย แต่ก็ไม่ได้ห้าม “สัตว์เลื้อย คลานเจ้าของท้องที่” ให้ออกมาเดินเล่นใน ยามทีส่ งัดคนสัญจร และมักจะออกมาคลาน เพ่นพ่านบนท้องถนนด้วยลีลาวางท่า คือทำ อาการเชิดอกเชิดหัว แลบลิ้นสองแฉกออก มาตรวจสอบเพือ่ ไกด์นำทางเสมอ นักศึกษา จากเมืองหลวง ทีม่ าศึกษาและอยูป่ ระจำทีน่ ี่ หลายคนเคยทึกทักว่าเป็น “ลูกจระเข้” ส่วน สัตว์เลื้อยคลานเจ้าของท้องที่ ผู้ ป กครองที่ พ าบุ ต รหลานมามอบตั ว เป็ น

นักศึกษา ก็เผลอคิดหวัน่ ใจไปว่า ลูกของตน จะต้องมาศึกษาท่ามกลางพงไพรกันถึงสีป่ จี นจบเลยหรือนี ่ ณ ที่แห่งนี้ยังเป็นแหล่งดูนกที่เลื่องชื่ออีกแห่งหนึ่งในรัศมีไม่ไกล จากกรุงเทพฯ มี แ หล่ ง ต้ น สะแกป่ า หนาแน่ น ที่ เ กิ ด ตามธรรมชาติ บ ริ เ วณรอบๆ เรือนไทย ช่วงเช้าๆ ในแต่ละวัน จะมีนกเป็ดน้ำมาล่องลอยเล่นน้ำ ดำผุดดำ ว่ายบริเวณสระน้ำในสวนสมุนไพรสิรรี กุ ขชาติ และบริเวณสระน้ำเรือนไทย ก่อนที่จะชวนกันบินไปที่อื่นเมื่อยามสาย ส่วนนกกวักหรือนกไก่นาก็ออก มาเลียบๆ เคียงๆ เดินโหย่งๆ ลัดเลาะหากินตามแนวฝัง่ น้ำ ๕๘

พิธีเจิมป้ายคณะฯ

ถนนพุ ท ธมณฑลสาย ๔ ที่ พ าดผ่ า นเบื้ อ งหน้ า ทางเข้ า เขต มหาวิทยาลัย มีแนวต้นคูนออกดอกเหลืองอร่ามงามสะพรั่งตั้งแต่เดือน มีนาถึงสิน้ เมษา บรรยากาศและเหตุการณ์เหล่านี้ ซุกซ่อนอยู่ในความทรงจำของ เหล่าสมาชิกชาวมหิดล สมกับคำเล่าของบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์

ทีเ่ ล่าฟืน้ ความหลังให้ฟงั ว่า “...ยิง่ ก่อนทีจ่ ะมาอยูต่ กึ นีน้ ะครับ ตรงนีท้ อี่ ยูเ่ นีย่ คือเป็นป่าทัง้ นัน้ เลยนะครับ ป่าแบบหญ้าคาเนี่ยสูง ทั้งหญ้าคา ทั้งกก น่ากลัวมาก งูจะ เยอะ เวลาฝนตกทีนงึ ปลาจะเยอะมาก แล้วก็ผมเป็นคนมาปัก มาปักเขตว่า จะสร้างตึก (ของคณะวิศวกรรมศาสตร์) เอาเชือกฟางเนาะ มาขึง... ตรง ป่าอาจารย์เขาก็ให้ผมเข้าไป เข้าไปตัด แล้วงูเขียวก็ออกมา ก็นา่ กลัวครับ แต่วา่ เวลาทำก็สนุกดีนะ มันก็ไม่เหนือ่ ย เพราะว่ามันมีแต่คนน้อย ทำอะไร มันก็ชว่ ยกันทำ…” “ตอนนั้นถนนก็ยังไม่ค่อยดีใช่ไหมคะ ที่จะไปพุทธมณฑลน่ะ เวลา ออกไปกินข้าวกลางวัน เราก็ปนั่ จักรยานไปพุทธมณฑลกัน คือเหมือนแบบ ทำงานเสร็จ เออ... อยากไปก็ไปกัน ก็ปนั่ จักรยานกัน น็องแน็งๆ รถสิบล้อ ก็เต็มเลย ก็สนุกดีคะ่ ” ๕๙


อาจารย์เดชา วิไลรัตน์ เคยเล่าไว้ถึงเรื่องภาระงานสอนในภาค วิศวกรรมไฟฟ้า แต่มีช่วงหนึ่งได้กล่าววกกลับไปสู่อดีตเมื่อตอนที่ตนเองได้ มาสมัครเป็นอาจารย์ทนี่ วี่ า่ “…ก็นั่งรถเมล์จากบ้านมา แล้วก็เดินมา ยังเป็นต้นก้ามปู ตรงนี้ เป็นทุ่งนา เป็นอะไร ผมก็มามองตรงนี้ ผมว่ามันเปลี่ยนแปลงเยอะมาก ถนนเคยมีสองเลนตรงริมสวน ตอนนีม้ ันเป็น ๘ เลน หรือ ๑๖ เลน ก็ แล้วแต่ ถนน (พุทธมณฑล) สาย ๔ ใหญ่โตมาก นะครับ ตัว campus เองก็มีตึกมากมาย แต่ก่อนเป็นทุ่งอย่างเดียวเลย แล้วตอนนี้ก็มีตึกเต็มไป หมดเลย ตึกแดงนีก่ เ็ พิง่ เกิดทีหลัง อินเตอร์กเ็ พิง่ มีตกึ ใหม่ อะไรยังเงีย้ แต่ ผมเห็นการเปลีย่ นแปลงเยอะ พอเราอยูน่ านๆ เราไม่รไู้ ง พอเจอนักศึกษา เลีย้ งรุน่ เมือ่ ๓๐ มกรานี่ เค้าคงจะมาอีกมัง้ ทีเ่ นีย่ ตัง้ แต่รนุ่ ที่ ๑ จนถึง รุน่ ที่ ๑๘ เนีย่ เด็กบางคนโทรมาหาผม เค้าบอก เออ มันเปลีย่ นไปมาก เลยทีน่ อี่ าจารย์ ผมบอกเอ๊อะ ผมอยูท่ กุ วันไม่เห็นมันมีอะไร (หัวเราะ) เด็ก มันบอก เออ... มันเปลีย่ นเยอะมาก ตามไม่ทนั แล้ว ตึกเยอะจริงๆ ซึง่ เรา track กลับไป เออ... จริงแฮะ แต่กอ่ นมันไม่มอี ะไร ความเจริญตรงนีม้ นั เจริญขึน้ เยอะก็ยอมรับ” หากจะปล่อยให้แต่ละคนเล่าเรือ่ งเก่าๆ เมือ่ ตอนทีเ่ ริม่ มาทำงาน ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เห็นท่าว่าคงจะต้องใช้เวลาหลายวัน ๖๐

ความเป็นไปได้ ไม่ใช่ความราบรืน ่


อาจารย์เดชา วิไลรัตน์ เคยเล่าไว้ถึงเรื่องภาระงานสอนในภาค วิศวกรรมไฟฟ้า แต่มีช่วงหนึ่งได้กล่าววกกลับไปสู่อดีตเมื่อตอนที่ตนเองได้ มาสมัครเป็นอาจารย์ทนี่ วี่ า่ “…ก็นั่งรถเมล์จากบ้านมา แล้วก็เดินมา ยังเป็นต้นก้ามปู ตรงนี้ เป็นทุ่งนา เป็นอะไร ผมก็มามองตรงนี้ ผมว่ามันเปลี่ยนแปลงเยอะมาก ถนนเคยมีสองเลนตรงริมสวน ตอนนีม้ ันเป็น ๘ เลน หรือ ๑๖ เลน ก็ แล้วแต่ ถนน (พุทธมณฑล) สาย ๔ ใหญ่โตมาก นะครับ ตัว campus เองก็มีตึกมากมาย แต่ก่อนเป็นทุ่งอย่างเดียวเลย แล้วตอนนี้ก็มีตึกเต็มไป หมดเลย ตึกแดงนีก่ เ็ พิง่ เกิดทีหลัง อินเตอร์กเ็ พิง่ มีตกึ ใหม่ อะไรยังเงีย้ แต่ ผมเห็นการเปลีย่ นแปลงเยอะ พอเราอยูน่ านๆ เราไม่รไู้ ง พอเจอนักศึกษา เลีย้ งรุน่ เมือ่ ๓๐ มกรานี่ เค้าคงจะมาอีกมัง้ ทีเ่ นีย่ ตัง้ แต่รนุ่ ที่ ๑ จนถึง รุน่ ที่ ๑๘ เนีย่ เด็กบางคนโทรมาหาผม เค้าบอก เออ มันเปลีย่ นไปมาก เลยทีน่ อี่ าจารย์ ผมบอกเอ๊อะ ผมอยูท่ กุ วันไม่เห็นมันมีอะไร (หัวเราะ) เด็ก มันบอก เออ... มันเปลีย่ นเยอะมาก ตามไม่ทนั แล้ว ตึกเยอะจริงๆ ซึง่ เรา track กลับไป เออ... จริงแฮะ แต่กอ่ นมันไม่มอี ะไร ความเจริญตรงนีม้ นั เจริญขึน้ เยอะก็ยอมรับ” หากจะปล่อยให้แต่ละคนเล่าเรือ่ งเก่าๆ เมือ่ ตอนทีเ่ ริม่ มาทำงาน ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เห็นท่าว่าคงจะต้องใช้เวลาหลายวัน ๖๐

ความเป็นไปได้ ไม่ใช่ความราบรืน ่


นที่จริง ก่อนที่จะมีการก่อตั้งเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์อย่าง เต็มตัวนั้น ได้มีคณะกรรมการทำงานเพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ และ ความพร้ อ มในการดำเนิ น งานมาแล้ ว แต่ ก็ เ ป็ น เรื่ อ งธรรมดาของการ ทำงาน ซึ่ ง “ความเป็ น ไปได้ ” กั บ “ความราบรื่ น ” ไม่ ใ ช่ สิ่ ง เดี ย วกั น หมายความว่า ทั้งๆ ที่ศึกษาถึงลู่ทางมาเป็นอย่างดีแล้ว ครั้นพอถึงขั้น ปฏิบัติการยังมีความขลุกขลักนุงนังให้ต้องแก้ปัญหาเป็นเปราะๆ จำต้อง อาศั ย ทั้ ง ฝี มื อ ในการบริ ห าร และการตั ด สิ น ใจอย่ า งรอบด้ า น ความ “ขลุ ก ขลั ก นุ ง นั ง ” ดั ง เช่ น เรื่ อ งของบุ ค ลากร เรื่ อ งหลั ก สู ต ร เรื่ อ ง

งบประมาณ หลายๆ ประการทีอ่ งค์กรการศึกษาจะพึงมีและพึงเป็น หาก ไม่ได้ “ความอึด” และความรักงานของหลายๆ ฝ่ายร่วมกัน ก็อาจจะทำให้ งานทีก่ อ่ รูปมาแล้วนัน้ “พังพาบ” ลงไปได้เช่นกัน ความไม่ ร าบรื่ น หรื อ ความขลุ ก ขลั ก หรื อ จะเรี ย กอี ก อย่ า งว่ า “ความไม่พร้อม” ในหลายๆ ประการระหว่างเปิดดำเนินการเรียนการสอน ยืนยันได้จากคำบอกเล่าของศิษย์เก่า ทีเ่ ล่าไว้เมือ่ ปลายปี ๒๕๕๒ ว่า “เวลาเราเรียน ปีหนึ่งเรียนรวม เราไม่ค่อยจะมีปัญหา เราจะ เข้าไปเรียนรวมกับทางพวกของคณะวิทยาศาสตร์ หรือว่าที่เป็นพื้นฐาน ของหมออะไรทั้งหลายแหล่ อย่างเช่น ฟิสิกส์ เราเข้าไปเรียนรวมกับทาง วิทยาศาสตร์ แล้วก็ปีที่เรียนตัดเกรดกับคณะวิทยาศาสตร์นะครับ แล้วก็ แต่วา่ ถ้าเป็นเรียนของตัวสาขาทีเ่ ป็นของวิศวะฯ เองแล้วเนีย่ ห้องเรียนเรา ก็จะเรียนในตึกสิง่ แวดล้อม แล้วก็ถา้ เป็นปฏิบตั กิ ารทีเ่ กีย่ วกับวิศวกรรมศาสตร์ เอง อย่างเช่น เรียนของวิชา drawing วิชา drawing ปกติแล้วเนีย่ จะต้อง เรียนในห้องแอร์นะครับ แต่รุ่นหนึ่ง ไม่รู้ว่ารุ่นสองเป็นด้วยหรือเปล่านะ ครับ (หันหน้าและชี้นิ้วไปถามรุ่นสอง มีเสียงตอบว่า ‘รุ่นสามด้วย’) อ่า... รุน่ สามด้วย ก็คอื เป็นโรงประลองนะครับ ซึง่ โรงประลองจริงๆ แล้วมันจะ วางพวก จริง ๆ แล้วเป็นพวก manufacturing เป็นส่วนใหญ่ใช่ไหมครับ เป็ น พวกทางด้ า นเครื่ อ งกลึ ง อะไรพวกนี้ ตรงนั้ น อ่ ะ เขาจะกั้ น เอามุ้ ง

อั

ตะแกรงลวด มากัน้ เป็นห้องๆ นะครับ แล้วก็วาง drawing ไว้ให้นะครับ แล้วก็เวลาให้คะแนน drawing เนีย่ ก็ตอ้ งแบบ ความสะอาดอะไรพวกนีใ้ ช่ ไหมครั บ บางคนเนี่ ย เขี ย นๆ ไปนะครั บ เหงื่ อ หยดลงมาตึ๋ ง โอ้ โ ฮ..

(มีเสียงหัวเราะจากผู้ฟัง) เศร้าเลยครับ เนี่ย มันก็คือ ก็ถามตอนนั้นเนี่ย รุ่นที่เผชิญตรงที่ว่าอุปกรณ์การเรียนการสอนไม่พอ ก็คือจะเป็นรุ่นหนึ่ง สอง สาม...” ถ้าหากผลงาน drawing เป็นของเราๆ เหตุการณ์ที่เหงื่อหยดจน ทำให้ผลงานเปรอะเปื้อน ซึ่งเกิดจากอากาศร้อน เนื่องจากห้องเรียนยัง ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ย่อมชักพาให้เกิดความเสียดาย ถ้าเป็นยุคสมัย ปัจจุบนั น่าคิดว่า นักศึกษาผูน้ นั้ จะฟ้องร้องคณะฯ หรือมหาวิทยาลัย โทษฐาน

ที่ไม่มีความพรั่งพร้อมหรือไม่ แต่โดยน้ำเสียงและลีลาการเล่าบอกให้รู้ว่า ในความไม่ราบรืน่ ก็ยงั แฝงเสน่หไ์ ว้ให้จดจำ อาจารย์วเิ ชียร เอือ้ สมสกุล ได้เล่าให้เห็นสภาพการณ์ตอนเมื่อเริ่ม ดำเนินงานในช่วงต้นๆ ว่า “สมัยนัน้ แม้กระทัง่ วิชาทีส่ อนโดยคณะวิทยาศาสตร์ เราก็ตอ้ งไป เรียนถึงในกรุงเทพฯ สมัยนั้นเด็กจะรู้ว่าตกบ่ายต้องไปแล้ว หรือเสียไป เกือบทั้งวันเพื่อที่จะเรียนวิชาของคณะวิทย์เท่านั้นเอง เพราะว่าอาจารย์ ทางนูน้ ท่านไม่สามารถมาสอนทีน่ ไี่ ด้” บางวิชาต้องไปเรียนร่วมกับ คณะที่ เ ขามี ก ารเรี ย นการสอนอยู ่ แล้ว หรือไม่เช่นนั้นก็มีการขอความ อนุเคราะห์ให้คณะที่มีความพร้อมทั้ง อาจารย์และอาคารเรียนได้เปิด class สอนเฉพาะนั ก ศึ ก ษาของวิ ศ วกรรมศาสตร์เลยก็มี โดยเฉพาะการเรียนที่ ต้องอาศัยห้องปฏิบตั กิ าร ผศ.วิเชียร เอือ้ สมสกุล มหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่ อดีตรองคณบดีฝา่ ยวิชาการ

๖๒

๖๓


นที่จริง ก่อนที่จะมีการก่อตั้งเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์อย่าง เต็มตัวนั้น ได้มีคณะกรรมการทำงานเพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ และ ความพร้ อ มในการดำเนิ น งานมาแล้ ว แต่ ก็ เ ป็ น เรื่ อ งธรรมดาของการ ทำงาน ซึ่ ง “ความเป็ น ไปได้ ” กั บ “ความราบรื่ น ” ไม่ ใ ช่ สิ่ ง เดี ย วกั น หมายความว่า ทั้งๆ ที่ศึกษาถึงลู่ทางมาเป็นอย่างดีแล้ว ครั้นพอถึงขั้น ปฏิบัติการยังมีความขลุกขลักนุงนังให้ต้องแก้ปัญหาเป็นเปราะๆ จำต้อง อาศั ย ทั้ ง ฝี มื อ ในการบริ ห าร และการตั ด สิ น ใจอย่ า งรอบด้ า น ความ “ขลุ ก ขลั ก นุ ง นั ง ” ดั ง เช่ น เรื่ อ งของบุ ค ลากร เรื่ อ งหลั ก สู ต ร เรื่ อ ง

งบประมาณ หลายๆ ประการทีอ่ งค์กรการศึกษาจะพึงมีและพึงเป็น หาก ไม่ได้ “ความอึด” และความรักงานของหลายๆ ฝ่ายร่วมกัน ก็อาจจะทำให้ งานทีก่ อ่ รูปมาแล้วนัน้ “พังพาบ” ลงไปได้เช่นกัน ความไม่ ร าบรื่ น หรื อ ความขลุ ก ขลั ก หรื อ จะเรี ย กอี ก อย่ า งว่ า “ความไม่พร้อม” ในหลายๆ ประการระหว่างเปิดดำเนินการเรียนการสอน ยืนยันได้จากคำบอกเล่าของศิษย์เก่า ทีเ่ ล่าไว้เมือ่ ปลายปี ๒๕๕๒ ว่า “เวลาเราเรียน ปีหนึ่งเรียนรวม เราไม่ค่อยจะมีปัญหา เราจะ เข้าไปเรียนรวมกับทางพวกของคณะวิทยาศาสตร์ หรือว่าที่เป็นพื้นฐาน ของหมออะไรทั้งหลายแหล่ อย่างเช่น ฟิสิกส์ เราเข้าไปเรียนรวมกับทาง วิทยาศาสตร์ แล้วก็ปีที่เรียนตัดเกรดกับคณะวิทยาศาสตร์นะครับ แล้วก็ แต่วา่ ถ้าเป็นเรียนของตัวสาขาทีเ่ ป็นของวิศวะฯ เองแล้วเนีย่ ห้องเรียนเรา ก็จะเรียนในตึกสิง่ แวดล้อม แล้วก็ถา้ เป็นปฏิบตั กิ ารทีเ่ กีย่ วกับวิศวกรรมศาสตร์ เอง อย่างเช่น เรียนของวิชา drawing วิชา drawing ปกติแล้วเนีย่ จะต้อง เรียนในห้องแอร์นะครับ แต่รุ่นหนึ่ง ไม่รู้ว่ารุ่นสองเป็นด้วยหรือเปล่านะ ครับ (หันหน้าและชี้นิ้วไปถามรุ่นสอง มีเสียงตอบว่า ‘รุ่นสามด้วย’) อ่า... รุน่ สามด้วย ก็คอื เป็นโรงประลองนะครับ ซึง่ โรงประลองจริงๆ แล้วมันจะ วางพวก จริง ๆ แล้วเป็นพวก manufacturing เป็นส่วนใหญ่ใช่ไหมครับ เป็ น พวกทางด้ า นเครื่ อ งกลึ ง อะไรพวกนี้ ตรงนั้ น อ่ ะ เขาจะกั้ น เอามุ้ ง

อั

ตะแกรงลวด มากัน้ เป็นห้องๆ นะครับ แล้วก็วาง drawing ไว้ให้นะครับ แล้วก็เวลาให้คะแนน drawing เนีย่ ก็ตอ้ งแบบ ความสะอาดอะไรพวกนีใ้ ช่ ไหมครั บ บางคนเนี่ ย เขี ย นๆ ไปนะครั บ เหงื่ อ หยดลงมาตึ๋ ง โอ้ โ ฮ..

(มีเสียงหัวเราะจากผู้ฟัง) เศร้าเลยครับ เนี่ย มันก็คือ ก็ถามตอนนั้นเนี่ย รุ่นที่เผชิญตรงที่ว่าอุปกรณ์การเรียนการสอนไม่พอ ก็คือจะเป็นรุ่นหนึ่ง สอง สาม...” ถ้าหากผลงาน drawing เป็นของเราๆ เหตุการณ์ที่เหงื่อหยดจน ทำให้ผลงานเปรอะเปื้อน ซึ่งเกิดจากอากาศร้อน เนื่องจากห้องเรียนยัง ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ย่อมชักพาให้เกิดความเสียดาย ถ้าเป็นยุคสมัย ปัจจุบนั น่าคิดว่า นักศึกษาผูน้ นั้ จะฟ้องร้องคณะฯ หรือมหาวิทยาลัย โทษฐาน

ที่ไม่มีความพรั่งพร้อมหรือไม่ แต่โดยน้ำเสียงและลีลาการเล่าบอกให้รู้ว่า ในความไม่ราบรืน่ ก็ยงั แฝงเสน่หไ์ ว้ให้จดจำ อาจารย์วเิ ชียร เอือ้ สมสกุล ได้เล่าให้เห็นสภาพการณ์ตอนเมื่อเริ่ม ดำเนินงานในช่วงต้นๆ ว่า “สมัยนัน้ แม้กระทัง่ วิชาทีส่ อนโดยคณะวิทยาศาสตร์ เราก็ตอ้ งไป เรียนถึงในกรุงเทพฯ สมัยนั้นเด็กจะรู้ว่าตกบ่ายต้องไปแล้ว หรือเสียไป เกือบทั้งวันเพื่อที่จะเรียนวิชาของคณะวิทย์เท่านั้นเอง เพราะว่าอาจารย์ ทางนูน้ ท่านไม่สามารถมาสอนทีน่ ไี่ ด้” บางวิชาต้องไปเรียนร่วมกับ คณะที่ เ ขามี ก ารเรี ย นการสอนอยู ่ แล้ว หรือไม่เช่นนั้นก็มีการขอความ อนุเคราะห์ให้คณะที่มีความพร้อมทั้ง อาจารย์และอาคารเรียนได้เปิด class สอนเฉพาะนั ก ศึ ก ษาของวิ ศ วกรรมศาสตร์เลยก็มี โดยเฉพาะการเรียนที่ ต้องอาศัยห้องปฏิบตั กิ าร ผศ.วิเชียร เอือ้ สมสกุล มหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่ อดีตรองคณบดีฝา่ ยวิชาการ

๖๒

๖๓


มีคุณูปการต่อการเกิดขึ้นใหม่ของวิศวะมหิดล ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้ า ฯ พระนครเหนื อ สถาบั น เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า ฯ ลาดกระบัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร โรงเรีย นช่ างฝีมื อทหาร คณะวิทยาศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยมหิดลเองด้วย นอกจากความพร้อมของคณะฯ ที่ยังต้องใช้เวลาในการจัดเตรียม ห้องเรียน อุปกรณ์เครื่องใช้ในการฝึกฝน รวมถึงความต้องการอาจารย์ ประจำมาสอนในแต่ละภาควิชาให้มากกว่าทีเ่ ป็นอยู่ แล้วผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างนีก้ ค็ อื กว่าทีจ่ ะมีสงิ่ เอือ้ อำนวยและอาจารย์อย่างเพียงพอ อาจารย์ ที่ เ ป็ น รุ่ น บุ ก เบิ ก ยั ง มี ห น้ า ที่ อั น หนั ก อี ก อย่ า งหนึ่ ง คื อ การสอน จึ ง ต้ อ ง ตกหนักกับอาจารย์ทอี่ ยูป่ ระจำ ซึง่ อาจารย์กวี ไกรระวี กล่าวว่า “หนักมาก บุกเบิกนีห่ นักมาก เพราะตอนนัน้ อาคารเริม่ มี อาคาร สองหลังนี้ แล้วผมเป็นวิศวกรโยธาคนเดียวด้วย คราวนีด้ ทู กุ เรือ่ งเลย” และเนือ่ งจากหนึง่ ภาควิชา มีอาจารย์สอนอยูค่ นเดียว “สอนด้วย แล้วต้องสอนเยอะด้วย เพราะว่าตอนที่โยธาเปิดปีแรก อาจารย์โยธาคนเดียวคือผม” ข้อจำกัดเรื่องอาจารย์ด้านโยธานี้ เป็นเรื่องเล่ากันปากต่อปากใน หมู่ นั ก ศึ ก ษาว่ า มี อ าจารย์ ส อนอยู่ เ พี ย งคนเดี ย ว ข้ า งฝ่ า ยอาจารย์ ที่

รับผิดชอบวิชาก็รู้ดีว่าเป็นงานที่หนักมาก จึงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วย

วิธกี ารทีอ่ าจารย์กวีเล่าว่า “ตอนเปิดโยธาแรกๆ อาจารย์เก่าที่สอนผมมา หลายคนมาช่วย เกษียณแล้วยอมมาสอน เชิญเขามาสอน มาช่วยครับ” ซึง่ ก็ทำให้นกั ศึกษา ได้รบั ความรูแ้ ละประสบการณ์ทรี่ อบด้านมากยิง่ ขึน้ อาจารย์วเิ ชียร เอือ้ สมสกุล เล่าเสริมให้เห็นถึงบรรยากาศการสอน ในช่วงแรกๆ ว่า “การสอนตอนนั้นก็หนักมากเพราะว่าเรามีอาจารย์น้อยมาก ใน ตอนนั้นเราเกือบจะไม่มีทางเลือกเลย อาจารย์ที่จบมาทางวิศวะสายตรง จะไม่ค่อยมีมาเป็นอาจารย์ สมัยนั้นอาจารย์ขาดแคลนมาก แล้วก็วิศวกร ๖๔

ด้วย จึงเป็นเหตุที่ว่าในยุคนั้นเป็นยุค ที่ มี ค ณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ เ กิ ด ขึ้ น หลายแห่งทีเดียว” และว่า “...อย่ า งอาจารย์ ค นนึ ง ต้ อ ง สอนมากมายหลายวิชาทีเดียว ทั้งๆ ที่บางทีก็ไม่ถนัด แต่ว่าก็เนื่องจากว่า มันขาดแคลน แม้ว่าเราจะแก้ปัญหา ผศ.ดร.กวี ไกรระวี โดยการส่งนักศึกษาไปเรียนที่อื่น คือ อดีตรองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ไปเรียนในคณะวิศวะฯ อื่นที่เขาเปิด มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วบ้าง แต่ก็ยังขาดแคลนอาจารย์ อยูม่ ากทีเดียว” อาจารย์ไพโรจน์ สุวรรณสุทธิ ชี้ให้เห็นว่า ช่วงแรกๆ นั้นลำบาก

กันมาก เนือ่ งจากขาดสถานทีฝ่ กึ งานว่า “...ก็เริ่มต้นมาด้วยกัน แต่ว่า อาจารย์ธนากรเป็นคณบดี ก็รับ หนั ก หน่ อ ย ผมเป็ น แค่ หั ว หน้ า ภาค ก็ ยั ง งานจะน้ อ ยกว่ า เขา แต่ ก็ ยั ง ขลุกขลัก ก็คอื ก็ชว่ ยกันแก้ไขกันไป คือ คือทีม่ นั หนัก ก็คอื ตรงทีว่ า่ ไอ้ วัสดุฝกึ ต่างๆ เนีย่ และก็ชอ้ ปเนีย่ มันไม่มี เพราะฉะนัน้ นักศึกษา จะฝึกจะ อะไรเนีย้ มันก็จะลำบาก” “...ระยะแรกนีค่ อื เราไม่มอี าจารย์อะ่ น่ะ มันก็ขลุกขลัก เราก็ไปเชิญ อาจารย์ จ ากข้ า งนอกมาสอน ใช่ ไ หมฮะ ถ้ า อาจารย์ พิ เ ศษ ส่ ว นใหญ่ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยอื่น หรือว่าในคณะฯ ไม่มี และก็อัตรากำลังเราก็ ไม่มี เราก็เริม่ ต้นที่ ๔ คน แล้วค่อยๆ มีอาจารย์สทุ ธินนั ท์ อาจารย์พวกนี้ ก็ตามเข้ามาทีหลัง ก็อกี สักปีหนึง่ พอเปิดระยะแรก โชคดีทวี่ า่ ปีหนึง่ เนีย่ คณะวิทย์สอน ใช่ไหม ก็ยงั ทุเลาไปได้ เพราะว่าเรือ่ งปีสอง เป็นสาขาวิชา แล้ว ก็เริม่ จากใช้อาจารย์ในภาคในคณะฯ มันยังก็ขลุกขลักตรงทีว่ า่ ก็ตอ้ ง เริ่มไปเชิญอาจารย์จากข้างนอกมาสอนบ้าง อะไรบ้าง อย่าง เอ่อ... วิชา ช่ า งอุ ต สาหการเนี่ ย พื้ น ฐานเราก็ ต้ อ งไปฝึ ก ที่ ช่ า งฝี มื อ ทหาร อยู่ ต รง ๖๕


มีคุณูปการต่อการเกิดขึ้นใหม่ของวิศวะมหิดล ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้ า ฯ พระนครเหนื อ สถาบั น เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า ฯ ลาดกระบัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร โรงเรีย นช่ างฝีมื อทหาร คณะวิทยาศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยมหิดลเองด้วย นอกจากความพร้อมของคณะฯ ที่ยังต้องใช้เวลาในการจัดเตรียม ห้องเรียน อุปกรณ์เครื่องใช้ในการฝึกฝน รวมถึงความต้องการอาจารย์ ประจำมาสอนในแต่ละภาควิชาให้มากกว่าทีเ่ ป็นอยู่ แล้วผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างนีก้ ค็ อื กว่าทีจ่ ะมีสงิ่ เอือ้ อำนวยและอาจารย์อย่างเพียงพอ อาจารย์ ที่ เ ป็ น รุ่ น บุ ก เบิ ก ยั ง มี ห น้ า ที่ อั น หนั ก อี ก อย่ า งหนึ่ ง คื อ การสอน จึ ง ต้ อ ง ตกหนักกับอาจารย์ทอี่ ยูป่ ระจำ ซึง่ อาจารย์กวี ไกรระวี กล่าวว่า “หนักมาก บุกเบิกนีห่ นักมาก เพราะตอนนัน้ อาคารเริม่ มี อาคาร สองหลังนี้ แล้วผมเป็นวิศวกรโยธาคนเดียวด้วย คราวนีด้ ทู กุ เรือ่ งเลย” และเนือ่ งจากหนึง่ ภาควิชา มีอาจารย์สอนอยูค่ นเดียว “สอนด้วย แล้วต้องสอนเยอะด้วย เพราะว่าตอนที่โยธาเปิดปีแรก อาจารย์โยธาคนเดียวคือผม” ข้อจำกัดเรื่องอาจารย์ด้านโยธานี้ เป็นเรื่องเล่ากันปากต่อปากใน หมู่ นั ก ศึ ก ษาว่ า มี อ าจารย์ ส อนอยู่ เ พี ย งคนเดี ย ว ข้ า งฝ่ า ยอาจารย์ ที่

รับผิดชอบวิชาก็รู้ดีว่าเป็นงานที่หนักมาก จึงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วย

วิธกี ารทีอ่ าจารย์กวีเล่าว่า “ตอนเปิดโยธาแรกๆ อาจารย์เก่าที่สอนผมมา หลายคนมาช่วย เกษียณแล้วยอมมาสอน เชิญเขามาสอน มาช่วยครับ” ซึง่ ก็ทำให้นกั ศึกษา ได้รบั ความรูแ้ ละประสบการณ์ทรี่ อบด้านมากยิง่ ขึน้ อาจารย์วเิ ชียร เอือ้ สมสกุล เล่าเสริมให้เห็นถึงบรรยากาศการสอน ในช่วงแรกๆ ว่า “การสอนตอนนั้นก็หนักมากเพราะว่าเรามีอาจารย์น้อยมาก ใน ตอนนั้นเราเกือบจะไม่มีทางเลือกเลย อาจารย์ที่จบมาทางวิศวะสายตรง จะไม่ค่อยมีมาเป็นอาจารย์ สมัยนั้นอาจารย์ขาดแคลนมาก แล้วก็วิศวกร ๖๔

ด้วย จึงเป็นเหตุที่ว่าในยุคนั้นเป็นยุค ที่ มี ค ณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ เ กิ ด ขึ้ น หลายแห่งทีเดียว” และว่า “...อย่ า งอาจารย์ ค นนึ ง ต้ อ ง สอนมากมายหลายวิชาทีเดียว ทั้งๆ ที่บางทีก็ไม่ถนัด แต่ว่าก็เนื่องจากว่า มันขาดแคลน แม้ว่าเราจะแก้ปัญหา ผศ.ดร.กวี ไกรระวี โดยการส่งนักศึกษาไปเรียนที่อื่น คือ อดีตรองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ไปเรียนในคณะวิศวะฯ อื่นที่เขาเปิด มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วบ้าง แต่ก็ยังขาดแคลนอาจารย์ อยูม่ ากทีเดียว” อาจารย์ไพโรจน์ สุวรรณสุทธิ ชี้ให้เห็นว่า ช่วงแรกๆ นั้นลำบาก

กันมาก เนือ่ งจากขาดสถานทีฝ่ กึ งานว่า “...ก็เริ่มต้นมาด้วยกัน แต่ว่า อาจารย์ธนากรเป็นคณบดี ก็รับ หนั ก หน่ อ ย ผมเป็ น แค่ หั ว หน้ า ภาค ก็ ยั ง งานจะน้ อ ยกว่ า เขา แต่ ก็ ยั ง ขลุกขลัก ก็คอื ก็ชว่ ยกันแก้ไขกันไป คือ คือทีม่ นั หนัก ก็คอื ตรงทีว่ า่ ไอ้ วัสดุฝกึ ต่างๆ เนีย่ และก็ชอ้ ปเนีย่ มันไม่มี เพราะฉะนัน้ นักศึกษา จะฝึกจะ อะไรเนีย้ มันก็จะลำบาก” “...ระยะแรกนีค่ อื เราไม่มอี าจารย์อะ่ น่ะ มันก็ขลุกขลัก เราก็ไปเชิญ อาจารย์ จ ากข้ า งนอกมาสอน ใช่ ไ หมฮะ ถ้ า อาจารย์ พิ เ ศษ ส่ ว นใหญ่ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยอื่น หรือว่าในคณะฯ ไม่มี และก็อัตรากำลังเราก็ ไม่มี เราก็เริม่ ต้นที่ ๔ คน แล้วค่อยๆ มีอาจารย์สทุ ธินนั ท์ อาจารย์พวกนี้ ก็ตามเข้ามาทีหลัง ก็อกี สักปีหนึง่ พอเปิดระยะแรก โชคดีทวี่ า่ ปีหนึง่ เนีย่ คณะวิทย์สอน ใช่ไหม ก็ยงั ทุเลาไปได้ เพราะว่าเรือ่ งปีสอง เป็นสาขาวิชา แล้ว ก็เริม่ จากใช้อาจารย์ในภาคในคณะฯ มันยังก็ขลุกขลักตรงทีว่ า่ ก็ตอ้ ง เริ่มไปเชิญอาจารย์จากข้างนอกมาสอนบ้าง อะไรบ้าง อย่าง เอ่อ... วิชา ช่ า งอุ ต สาหการเนี่ ย พื้ น ฐานเราก็ ต้ อ งไปฝึ ก ที่ ช่ า งฝี มื อ ทหาร อยู่ ต รง ๖๕


อาจารย์สุทธินันท์ นันทจิต ผศ.ไพโรจน์ สุวรรณสุทธิ อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ อดีตรองคณบดีฝ่ายกิจการ มหาวิทยาลัยมหิดล นักศึกษา

“...ก็เริ่มต้นมาด้วยกัน แต่ว่า อาจารย์ ธนากรเป็ น คณบดี ก็ รั บ เอ่ อ หนั ก หน่อย ผมเป็นแค่หวั หน้าภาค ก็ยงั เอ่อ งานจะน้อยกว่าเขา แต่กย็ งั ขลุกขลัก ก็ คือ ก็ช่วยกันแก้ไขกันไป คือ คือที่มัน หนั ก ก็ คื อ ตรงที่ ว่ า ไอ้ วั ส ดุ ฝึ ก ต่ า งๆ เนีย่ และก็ชอ้ ปเนีย่ มันไม่มี เพราะฉะนัน ้ นั ก ศึ ก ษาจะฝึ ก จะอะไรเนี้ ย มั น ก็ จ ะ ลำบาก”

บางเขน เราต้องไปอาศัยเขาฝึกตรงนัน้ มันก็สกั ปีนงึ หรือสองปี เพราะว่า ห้องแล็บเราก็ไม่มใี ช่ไหม ทีเ่ ชือ่ มทีอ่ ะไรเราก็ไม่มี เครือ่ งมือเราก็ไม่ม”ี สิ่งที่ใช้ควบคู่ไปกับการสอนนั้นคือตำรา ซึ่งมีทั้งภาษาอังกฤษและ ภาษาไทย แต่สว่ นใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ในช่วงต้นๆ ทีเ่ ปิดสอน ได้อาศัย การใช้ตำราภาษาอังกฤษ โดยอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้เลือกเฟ้นคัดสรรมาให้ นักศึกษา หรือบางครัง้ เป็นการรวบรวมจากแหล่งข้อมูลจากหลายที่ มีเป็น ภาษาไทยอยู่บ้างประปราย และบางภาควิชา อาจารย์จะแปลให้นักศึกษา อยู่บ้าง แต่นักศึกษารุ่นแรกๆ จะได้เรียนตำราภาษาอังกฤษค่อนข้างมาก ทั้งนี้เนื่องจากหลักสูตรกำหนดไว้ให้เรียนภาษาอังกฤษมากกว่าปกติอยู่แล้ว จึงไม่สจู้ ะมีปญ ั หามากนัก ส่วนสำคัญและถือเป็นนโยบายการบริหารการเรียนการสอนอีกอย่าง หนึง่ ก็คอื ต้องการให้มวี ฒ ั นธรรมของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง อีกทัง้ อาจารย์กต็ อ้ งพัฒนาเอกสารการสอนให้กลายเป็นคูม่ อื การเรียนไปในตัวด้วย “...แต่ไม่ใช่วา่ ผมไม่สนับสนุน text ภาษาไทยนะ... ในแง่ของ text ที่แปลเป็นภาษาไทย มันไม่ได้ต่างกันกับตัว text ซึ่ง publish ออกมา ใหม่ๆ เลย บางครั้งล้าหลังกว่าอีก โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีนะครับ เพราะฉะนัน้ ก็เหตุนเี้ อง ก็คดิ ว่าส่วนใหญ่ยงั ยึดอยูก่ บั ตัว text เป็นภาษา อังกฤษ แล้วอยู่ที่ตัวอาจารย์ว่าจะบูรณาการในแง่ของวิชาที่ตัวเองสอน แล้วก็สร้างเอกสารการสอนให้กลายเป็น text ได้อย่างไร อันนี้คือต้องมี ๖๖

research support เท่านัน้ อันนีก้ ม็ องในทางทีด่ เี นาะ คืออาจารย์ไม่วา่ จะ ยังไงเขาก็มีส่วนในการสร้างคณะขึ้นมาทุกคนนะครับ” คณบดีคนแรกฟื้น ความคิดเห็นเกีย่ วกับการใช้ตำรา พร้อมกับการวิเคราะห์ให้ฟงั เป็นเรื่องน่าคิดว่า ความแร้นแค้น ความไม่พร้อม กลับทำให้ หน่วยงานทีเ่ พิง่ ก่อร่างสร้างตัวขึน้ มา มีความรัก ความกลมเกลียวได้อย่าง แน่นแฟ้น อาจารย์วิเชียร เอื้อสมสกุล ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้หลักผู้ใหญ่ของ คณะวิศวกรรมศาสตร์อกี ท่านหนึง่ ได้ถา่ ยทอดบรรยากาศของการทำงาน รวมถึงสัมพันธภาพทีม่ ใี ห้แก่กนั ของคนทำงาน “เมื่อก่อนเราอยู่ร่วมกัน อาจจะเป็นห้องเดียวกันด้วย แล้วก็เรา พบปะกันบ่อย ความเป็นพีน่ อ้ งสมัยนัน้ มีมาก เพราะว่า อย่างใครเดือดร้อน หรือใครต้องการให้ช่วยเหลืออะไร เราจะรู้กันหมด แม้ต่างภาควิชาก็ตาม แต่ปจั จุบนั มันอาจจะเป็นเพราะว่า งานมันมากและก็หลากหลายขึน้ หลาย คนก็เก็บตัวอยู่ในห้องวิชาการ เราก็ไม่มีโอกาสได้มาร่วมพูดคุยกัน เพราะ ฉะนั้นความเป็นปึกแผ่นของสมัยนี้อาจจะสู้สมัยเก่าไม่ได้ เนื่องจากว่าคน มากขึ้นด้วย หลากหลายความคิด สาขาวิชาเปิดมากขึ้น แต่ว่าก็อย่างที่ เรียนให้ทราบว่า ถ้าผู้บริหาร ถ้ามองการณ์ไกลได้ จะต้องรู้แล้วว่าจะทำ อย่างไร แม้วา่ ผลทีเ่ ขาทำวันนีจ้ ะไม่เกิดกับเขาเอง แต่จะไปเกิดกับรุน่ น้องๆ ทีหลัง” โดยภาพรวมๆ ของการทำงาน นอกจากทุ ก คนจะมี ห น้ า ที่ ที่ ห ลาก หลายแล้ ว บางเรื่ อ งยั ง ต้ อ งอาศั ย “น้ำใจ” เพราะถ้าคอยแต่จะคิดว่า ตน เป็ น แต่ เ พี ย งผู้ ส อน ก็ จ ะสอนเพี ย ง

อย่ า งเดี ย ว หรื อ หากคิ ด ว่ า ไม่ ใ ช่ ธุ ร ะ

การ “ทอดธุ ร ะ” หรื อ การ “ดู ด าย”

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวรรณ์ ยศวัฒน ก็จะทำให้องค์กรไม่เติบใหญ่มาได้ถึง อดีตรองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ เพียงนี ้ ๖๗


อาจารย์สุทธินันท์ นันทจิต ผศ.ไพโรจน์ สุวรรณสุทธิ อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ อดีตรองคณบดีฝ่ายกิจการ มหาวิทยาลัยมหิดล นักศึกษา

“...ก็เริ่มต้นมาด้วยกัน แต่ว่า อาจารย์ ธนากรเป็ น คณบดี ก็ รั บ เอ่ อ หนั ก หน่อย ผมเป็นแค่หวั หน้าภาค ก็ยงั เอ่อ งานจะน้อยกว่าเขา แต่กย็ งั ขลุกขลัก ก็ คือ ก็ช่วยกันแก้ไขกันไป คือ คือที่มัน หนั ก ก็ คื อ ตรงที่ ว่ า ไอ้ วั ส ดุ ฝึ ก ต่ า งๆ เนีย่ และก็ชอ้ ปเนีย่ มันไม่มี เพราะฉะนัน ้ นั ก ศึ ก ษาจะฝึ ก จะอะไรเนี้ ย มั น ก็ จ ะ ลำบาก”

บางเขน เราต้องไปอาศัยเขาฝึกตรงนัน้ มันก็สกั ปีนงึ หรือสองปี เพราะว่า ห้องแล็บเราก็ไม่มใี ช่ไหม ทีเ่ ชือ่ มทีอ่ ะไรเราก็ไม่มี เครือ่ งมือเราก็ไม่ม”ี สิ่งที่ใช้ควบคู่ไปกับการสอนนั้นคือตำรา ซึ่งมีทั้งภาษาอังกฤษและ ภาษาไทย แต่สว่ นใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ในช่วงต้นๆ ทีเ่ ปิดสอน ได้อาศัย การใช้ตำราภาษาอังกฤษ โดยอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้เลือกเฟ้นคัดสรรมาให้ นักศึกษา หรือบางครัง้ เป็นการรวบรวมจากแหล่งข้อมูลจากหลายที่ มีเป็น ภาษาไทยอยู่บ้างประปราย และบางภาควิชา อาจารย์จะแปลให้นักศึกษา อยู่บ้าง แต่นักศึกษารุ่นแรกๆ จะได้เรียนตำราภาษาอังกฤษค่อนข้างมาก ทั้งนี้เนื่องจากหลักสูตรกำหนดไว้ให้เรียนภาษาอังกฤษมากกว่าปกติอยู่แล้ว จึงไม่สจู้ ะมีปญ ั หามากนัก ส่วนสำคัญและถือเป็นนโยบายการบริหารการเรียนการสอนอีกอย่าง หนึง่ ก็คอื ต้องการให้มวี ฒ ั นธรรมของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง อีกทัง้ อาจารย์กต็ อ้ งพัฒนาเอกสารการสอนให้กลายเป็นคูม่ อื การเรียนไปในตัวด้วย “...แต่ไม่ใช่วา่ ผมไม่สนับสนุน text ภาษาไทยนะ... ในแง่ของ text ที่แปลเป็นภาษาไทย มันไม่ได้ต่างกันกับตัว text ซึ่ง publish ออกมา ใหม่ๆ เลย บางครั้งล้าหลังกว่าอีก โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีนะครับ เพราะฉะนัน้ ก็เหตุนเี้ อง ก็คดิ ว่าส่วนใหญ่ยงั ยึดอยูก่ บั ตัว text เป็นภาษา อังกฤษ แล้วอยู่ที่ตัวอาจารย์ว่าจะบูรณาการในแง่ของวิชาที่ตัวเองสอน แล้วก็สร้างเอกสารการสอนให้กลายเป็น text ได้อย่างไร อันนี้คือต้องมี ๖๖

research support เท่านัน้ อันนีก้ ม็ องในทางทีด่ เี นาะ คืออาจารย์ไม่วา่ จะ ยังไงเขาก็มีส่วนในการสร้างคณะขึ้นมาทุกคนนะครับ” คณบดีคนแรกฟื้น ความคิดเห็นเกีย่ วกับการใช้ตำรา พร้อมกับการวิเคราะห์ให้ฟงั เป็นเรื่องน่าคิดว่า ความแร้นแค้น ความไม่พร้อม กลับทำให้ หน่วยงานทีเ่ พิง่ ก่อร่างสร้างตัวขึน้ มา มีความรัก ความกลมเกลียวได้อย่าง แน่นแฟ้น อาจารย์วิเชียร เอื้อสมสกุล ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้หลักผู้ใหญ่ของ คณะวิศวกรรมศาสตร์อกี ท่านหนึง่ ได้ถา่ ยทอดบรรยากาศของการทำงาน รวมถึงสัมพันธภาพทีม่ ใี ห้แก่กนั ของคนทำงาน “เมื่อก่อนเราอยู่ร่วมกัน อาจจะเป็นห้องเดียวกันด้วย แล้วก็เรา พบปะกันบ่อย ความเป็นพีน่ อ้ งสมัยนัน้ มีมาก เพราะว่า อย่างใครเดือดร้อน หรือใครต้องการให้ช่วยเหลืออะไร เราจะรู้กันหมด แม้ต่างภาควิชาก็ตาม แต่ปจั จุบนั มันอาจจะเป็นเพราะว่า งานมันมากและก็หลากหลายขึน้ หลาย คนก็เก็บตัวอยู่ในห้องวิชาการ เราก็ไม่มีโอกาสได้มาร่วมพูดคุยกัน เพราะ ฉะนั้นความเป็นปึกแผ่นของสมัยนี้อาจจะสู้สมัยเก่าไม่ได้ เนื่องจากว่าคน มากขึ้นด้วย หลากหลายความคิด สาขาวิชาเปิดมากขึ้น แต่ว่าก็อย่างที่ เรียนให้ทราบว่า ถ้าผู้บริหาร ถ้ามองการณ์ไกลได้ จะต้องรู้แล้วว่าจะทำ อย่างไร แม้วา่ ผลทีเ่ ขาทำวันนีจ้ ะไม่เกิดกับเขาเอง แต่จะไปเกิดกับรุน่ น้องๆ ทีหลัง” โดยภาพรวมๆ ของการทำงาน นอกจากทุ ก คนจะมี ห น้ า ที่ ที่ ห ลาก หลายแล้ ว บางเรื่ อ งยั ง ต้ อ งอาศั ย “น้ำใจ” เพราะถ้าคอยแต่จะคิดว่า ตน เป็ น แต่ เ พี ย งผู้ ส อน ก็ จ ะสอนเพี ย ง

อย่ า งเดี ย ว หรื อ หากคิ ด ว่ า ไม่ ใ ช่ ธุ ร ะ

การ “ทอดธุ ร ะ” หรื อ การ “ดู ด าย”

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวรรณ์ ยศวัฒน ก็จะทำให้องค์กรไม่เติบใหญ่มาได้ถึง อดีตรองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ เพียงนี ้ ๖๗


คำบอกเล่าของ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวรรณ์ ยศวัฒน ซึง่ อาจจะฟัง ดูเหมือนเรือ่ งตลกทีว่ า่ นักเคมีกลัวผี “...แม้กระทั่งนักเคมีก็ต้องมานอนเฝ้าตึก เพราะช่วงแรกๆ เค้ายัง ไม่มียามเป็นรายเดือนอะไรอย่างนี้ เหมือนสมัยนี้นะคะ ก็มีนักเคมีแต่เค้า ออกไปแล้ว คนนั้นเค้ากลัวผีด้วย เค้ามานอนเฝ้าตึกกับพวกคุณแขกอะไร อย่างนี้ กลางคืนเค้าเจอน่ะค่ะ เจอสัมภเวสีอะไรอย่างนี้ เค้าบอกว่า โอ้โฮ... อาจารย์ เขย่าขาผม ผมเค้าตัง้ (หัวเราะ)” จะเป็นด้วยความกลัวหรือขวัญอ่อน หรือจะพบเจอผีจริงหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่สิ่งที่ปรากฏจากเรื่องที่เล่ามานี้ เป็นเรื่องของ น้ำใจ และการมีส่วนร่วมของคนทำงานในยุคบุกเบิก ทุ่มโถมเวลาและ กำลังใจ กำลังกาย ให้กบั องค์กรไว้อย่างน่าชืน่ ชม

จะได้ผบ ู้ ริหารและอาจารย์จากทีไ่ หน

๖๘


คำบอกเล่าของ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวรรณ์ ยศวัฒน ซึง่ อาจจะฟัง ดูเหมือนเรือ่ งตลกทีว่ า่ นักเคมีกลัวผี “...แม้กระทั่งนักเคมีก็ต้องมานอนเฝ้าตึก เพราะช่วงแรกๆ เค้ายัง ไม่มียามเป็นรายเดือนอะไรอย่างนี้ เหมือนสมัยนี้นะคะ ก็มีนักเคมีแต่เค้า ออกไปแล้ว คนนั้นเค้ากลัวผีด้วย เค้ามานอนเฝ้าตึกกับพวกคุณแขกอะไร อย่างนี้ กลางคืนเค้าเจอน่ะค่ะ เจอสัมภเวสีอะไรอย่างนี้ เค้าบอกว่า โอ้โฮ... อาจารย์ เขย่าขาผม ผมเค้าตัง้ (หัวเราะ)” จะเป็นด้วยความกลัวหรือขวัญอ่อน หรือจะพบเจอผีจริงหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่สิ่งที่ปรากฏจากเรื่องที่เล่ามานี้ เป็นเรื่องของ น้ำใจ และการมีส่วนร่วมของคนทำงานในยุคบุกเบิก ทุ่มโถมเวลาและ กำลังใจ กำลังกาย ให้กบั องค์กรไว้อย่างน่าชืน่ ชม

จะได้ผบ ู้ ริหารและอาจารย์จากทีไ่ หน

๖๘


คํ

าถามที่ว่า “จะได้ผู้บริหารและอาจารย์จากที่ไหน” อาจเป็นปม ประเด็นที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลในยุคนั้นคงได้ครุ่นคิดและใคร่ครวญ อยู่พอสมควร เมื่อแรกนั้น คณะทำงานได้คิดกันว่า จะมีการทาบทาม อาจารย์จากมหาวิทยาลัยอื่นที่เปิดสอนสาขาวิศวกรรมศาสตร์อยู่แล้วมา ช่วยดำเนินการสอน รวมถึงอาจมาเป็นผู้บริหารคณะฯ โดยจะมีการโอน ย้ายจากต้นสังกัดเดิม แต่เมือ่ “ถึงบท” จะลงมือกระทำจริง กลับเป็นไปไม่ ได้ในทางปฏิบตั ิ เพราะมีขอ้ ปลีกย่อยนานา เช่น หากจะโอนย้าย จะต้องมี ทีมงานเดิมมาร่วมถึง ๗-๘ คน อีกทั้งมีข้อแม้ว่า มหาวิทยาลัยมหิดลจะ ต้องทำสัญญาเพื่อจัดสร้างห้องปฏิบัติการที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับที่ทำงาน เดิมของคณาจารย์ทจี่ ะย้ายมา ต้องสร้างให้เสร็จในเร็ววัน นอกจากนี้ ยัง ติดขัดเรื่องที่ต้นสังกัดเดิมของคณาจารย์ที่จะมาทำหน้าที่ในมหาวิทยาลัย มหิดลไม่ยินดีที่จะให้โอนย้าย ซึ่งลำพังการเกิดเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ ขึ้นมาได้นี้ ก็นับว่าเป็นการใช้ศักยภาพของบุคลากรหลายฝ่ายที่ต้องร่วม ด้วยช่วยกัน อาจถึงขั้นที่เรียกว่า “หืดขึ้นคอ” กันอยู่แล้ว เมื่อประสบกับ ข้อแม้ดงั กล่าว จึงต้องหาทางออกกันใหม่ ด้วยข้อยุ่งยากซับซ้อนข้างต้น ทางมหาวิทยาลัยจึงแก้ปัญหาด้วย การมองหาบุ ค ลากรของมหาวิ ท ยาลั ย เอง ซึ่ ง เป็ น อาจารย์ ท างด้ า น วิศวกรรมศาสตร์จากส่วนงานต่างๆ เพื่อนำมาเป็นฐานกำลังและร่วมก่อ ร่างสร้างตัว ในชั้นต้นจึงได้ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน มารักษาการคณบดี เหตุผลหลักอีกประการหนึง่ คือ ดร.ธนากรได้เป็นกำลังสำคัญในการก่อตัง้ มาแต่ต้น และเป็นคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มีความ รอบรูท้ างด้านวิศวกรรมศาสตร์ อีกทัง้ มีเครือข่ายผูค้ นสายวิศวกรรม ทีจ่ ะ เชิญชวนมาร่วมกันทำงานได้เพิม่ มากขึน้ เหตุ ก ารณ์ ช่ วงนี้ อาจารย์ธนากรได้เล่าติดตลกแกมมั่นใจไว้ว่า “ตอนเลือกคณบดีก็บอกว่า ถ้าไม่เลือกผม แล้วจะเลือกใคร นะฮะ ผมก็ ต้องลาออก (จากการเป็นคณบดีคณะสิง่ แวดล้อมฯ)” การตัดสินใจของมหาวิทยาลัยครัง้ นัน้ ยังผลให้มบี คุ คลสมัครใจมา ๗๐

ร่วมทำงานในตำแหน่งอาจารย์ยุคแรกๆ อีกหลายท่าน ทั้งที่เป็นอาจารย์ อยู่ เ ดิ ม จากคณะสิ่ ง แวดล้ อ มและทรั พ ยากรศาสตร์ คื อ อาจารย์ พิ นั ย

ออรุ่งโรจน์ อาจารย์คณิต สงวนตระกูล จากมหาวิทยาลัยและหน่วยงาน ราชการอืน่ ทีโ่ อนย้ายเข้ามา เช่น อาจารย์ชยั นนท์ ศรีสภุ นิ านนท์ อาจารย์ วิเชียร เอือ้ สมสกุล เป็นต้น ความหลังทีอ่ าจารย์พนิ ยั และอาจารย์ทา่ นอืน่ ๆ ได้ถา่ ยทอดไว้ มี เนือ้ หาบอกเล่าถึงความยุง่ ยากลำบาก เพราะเหตุวา่ มีอาจารย์ประจำอยูไ่ ม่ มาก แต่ตอ้ งรับภาระงานสอน รวมถึงการบริหารวางแผนเพือ่ ให้มจี ำนวน อาจารย์เพิม่ ขึน้ ว่า “ในส่วนของอาจารย์ เราเริ่มต้นจาก ๔-๕ ท่านนี่ เป็นผู้ทำทุก อย่าง ทีนี้พอเริ่มจะเปิดแล้วเนี่ย เราได้อาจารย์มาจากที่ไหนนะครับ อัน แรกก็คือ เพื่อน จากเพื่อน เพื่อนเราเอง แล้วก็เพื่อนแนะนำมาอีกทีหนึ่ง หรือคนที่เข้ามาติดต่อโดยตรง มาสมัครอย่างนี้ก็มี แล้วก็ในรุ่นแรกๆ นี้ จะไม่อยูร่ อ้ ยเปอร์เซ็นต์ บางคนนีเ่ ข้ามาก็เพือ่ หวังประโยชน์ ทำทีน่ คี่ รึง่ นึง ทำที่อื่นครึ่งนึง อะไรทำนองนี้ เราจับได้ก็เลยต้องขอร้องให้ไป ก็คงไม่ สามารถที่จะให้ทำอย่างนี้ได้ เพราะขณะนี้เรากำลังเพิ่งก่อสร้าง ต้องการ คนที่จะมาช่วยงานเต็มที่ ไม่ใช่มาทำครึ่งๆ แล้วก็ขอทำที่อื่นอีกอย่างเนี้ย ทนไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก็ขอใช้ตำแหน่งของเขาเนี่ยมาหาคนที่พร้อมจะ

เสียสละดีกว่านะครับ เราไม่สามารถที่จะให้เขาได้ ก็มีบางคนเขาออกไป บางคนเข้าใจไม่ตรงกันก็ผดิ ใจกัน ขอลาออกไปก็มใี นระหว่างนัน้ อันนีก้ จ็ ะ เป็นช่วงแรกๆ ทีนตี้ อ่ มาก็คอื เราจะได้ทนุ ซึง่ ทบวงเนีย่ จะให้ทนุ เขาเรียก ว่า ทุนพัฒนาอาจารย์ เพราะฉะนั้นเราก็ทำโครงการขึ้นไป แล้วก็ความ ต้องการอัตราต่างๆ เนีย่ แต่ละปี ในเฟสแรกเนีย่ เอา ๕ ปี เราก็ขอไปทุก ปีๆ เรียนโทถึงเอก แรกๆ เราก็ได้มที นุ อยูใ่ นมือ แต่หาคนสมัครไม่ได้ จน กระทัง่ เด็กเราจบ แล้วก็ชกั ชวนอย่างอาจารย์คณิตว่า เรียนจบก็เอาทุนกันไป บางทีกต็ อ้ งประกาศรับสมัครจากภายนอก ทีม่ คี ณ ุ สมบัตกิ ม็ าสอบ มาอะไรกัน ระหว่างนัน้ ก็มบี างคนทีม่ าช่วยสอนอยู่ ก็ไปเรียนอีกนะครับ เราก็เหลือกัน ๗๑


คํ

าถามที่ว่า “จะได้ผู้บริหารและอาจารย์จากที่ไหน” อาจเป็นปม ประเด็นที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลในยุคนั้นคงได้ครุ่นคิดและใคร่ครวญ อยู่พอสมควร เมื่อแรกนั้น คณะทำงานได้คิดกันว่า จะมีการทาบทาม อาจารย์จากมหาวิทยาลัยอื่นที่เปิดสอนสาขาวิศวกรรมศาสตร์อยู่แล้วมา ช่วยดำเนินการสอน รวมถึงอาจมาเป็นผู้บริหารคณะฯ โดยจะมีการโอน ย้ายจากต้นสังกัดเดิม แต่เมือ่ “ถึงบท” จะลงมือกระทำจริง กลับเป็นไปไม่ ได้ในทางปฏิบตั ิ เพราะมีขอ้ ปลีกย่อยนานา เช่น หากจะโอนย้าย จะต้องมี ทีมงานเดิมมาร่วมถึง ๗-๘ คน อีกทั้งมีข้อแม้ว่า มหาวิทยาลัยมหิดลจะ ต้องทำสัญญาเพื่อจัดสร้างห้องปฏิบัติการที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับที่ทำงาน เดิมของคณาจารย์ทจี่ ะย้ายมา ต้องสร้างให้เสร็จในเร็ววัน นอกจากนี้ ยัง ติดขัดเรื่องที่ต้นสังกัดเดิมของคณาจารย์ที่จะมาทำหน้าที่ในมหาวิทยาลัย มหิดลไม่ยินดีที่จะให้โอนย้าย ซึ่งลำพังการเกิดเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ ขึ้นมาได้นี้ ก็นับว่าเป็นการใช้ศักยภาพของบุคลากรหลายฝ่ายที่ต้องร่วม ด้วยช่วยกัน อาจถึงขั้นที่เรียกว่า “หืดขึ้นคอ” กันอยู่แล้ว เมื่อประสบกับ ข้อแม้ดงั กล่าว จึงต้องหาทางออกกันใหม่ ด้วยข้อยุ่งยากซับซ้อนข้างต้น ทางมหาวิทยาลัยจึงแก้ปัญหาด้วย การมองหาบุ ค ลากรของมหาวิ ท ยาลั ย เอง ซึ่ ง เป็ น อาจารย์ ท างด้ า น วิศวกรรมศาสตร์จากส่วนงานต่างๆ เพื่อนำมาเป็นฐานกำลังและร่วมก่อ ร่างสร้างตัว ในชั้นต้นจึงได้ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน มารักษาการคณบดี เหตุผลหลักอีกประการหนึง่ คือ ดร.ธนากรได้เป็นกำลังสำคัญในการก่อตัง้ มาแต่ต้น และเป็นคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มีความ รอบรูท้ างด้านวิศวกรรมศาสตร์ อีกทัง้ มีเครือข่ายผูค้ นสายวิศวกรรม ทีจ่ ะ เชิญชวนมาร่วมกันทำงานได้เพิม่ มากขึน้ เหตุ ก ารณ์ ช่ วงนี้ อาจารย์ธนากรได้เล่าติดตลกแกมมั่นใจไว้ว่า “ตอนเลือกคณบดีก็บอกว่า ถ้าไม่เลือกผม แล้วจะเลือกใคร นะฮะ ผมก็ ต้องลาออก (จากการเป็นคณบดีคณะสิง่ แวดล้อมฯ)” การตัดสินใจของมหาวิทยาลัยครัง้ นัน้ ยังผลให้มบี คุ คลสมัครใจมา ๗๐

ร่วมทำงานในตำแหน่งอาจารย์ยุคแรกๆ อีกหลายท่าน ทั้งที่เป็นอาจารย์ อยู่ เ ดิ ม จากคณะสิ่ ง แวดล้ อ มและทรั พ ยากรศาสตร์ คื อ อาจารย์ พิ นั ย

ออรุ่งโรจน์ อาจารย์คณิต สงวนตระกูล จากมหาวิทยาลัยและหน่วยงาน ราชการอืน่ ทีโ่ อนย้ายเข้ามา เช่น อาจารย์ชยั นนท์ ศรีสภุ นิ านนท์ อาจารย์ วิเชียร เอือ้ สมสกุล เป็นต้น ความหลังทีอ่ าจารย์พนิ ยั และอาจารย์ทา่ นอืน่ ๆ ได้ถา่ ยทอดไว้ มี เนือ้ หาบอกเล่าถึงความยุง่ ยากลำบาก เพราะเหตุวา่ มีอาจารย์ประจำอยูไ่ ม่ มาก แต่ตอ้ งรับภาระงานสอน รวมถึงการบริหารวางแผนเพือ่ ให้มจี ำนวน อาจารย์เพิม่ ขึน้ ว่า “ในส่วนของอาจารย์ เราเริ่มต้นจาก ๔-๕ ท่านนี่ เป็นผู้ทำทุก อย่าง ทีนี้พอเริ่มจะเปิดแล้วเนี่ย เราได้อาจารย์มาจากที่ไหนนะครับ อัน แรกก็คือ เพื่อน จากเพื่อน เพื่อนเราเอง แล้วก็เพื่อนแนะนำมาอีกทีหนึ่ง หรือคนที่เข้ามาติดต่อโดยตรง มาสมัครอย่างนี้ก็มี แล้วก็ในรุ่นแรกๆ นี้ จะไม่อยูร่ อ้ ยเปอร์เซ็นต์ บางคนนีเ่ ข้ามาก็เพือ่ หวังประโยชน์ ทำทีน่ คี่ รึง่ นึง ทำที่อื่นครึ่งนึง อะไรทำนองนี้ เราจับได้ก็เลยต้องขอร้องให้ไป ก็คงไม่ สามารถที่จะให้ทำอย่างนี้ได้ เพราะขณะนี้เรากำลังเพิ่งก่อสร้าง ต้องการ คนที่จะมาช่วยงานเต็มที่ ไม่ใช่มาทำครึ่งๆ แล้วก็ขอทำที่อื่นอีกอย่างเนี้ย ทนไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก็ขอใช้ตำแหน่งของเขาเนี่ยมาหาคนที่พร้อมจะ

เสียสละดีกว่านะครับ เราไม่สามารถที่จะให้เขาได้ ก็มีบางคนเขาออกไป บางคนเข้าใจไม่ตรงกันก็ผดิ ใจกัน ขอลาออกไปก็มใี นระหว่างนัน้ อันนีก้ จ็ ะ เป็นช่วงแรกๆ ทีนตี้ อ่ มาก็คอื เราจะได้ทนุ ซึง่ ทบวงเนีย่ จะให้ทนุ เขาเรียก ว่า ทุนพัฒนาอาจารย์ เพราะฉะนั้นเราก็ทำโครงการขึ้นไป แล้วก็ความ ต้องการอัตราต่างๆ เนีย่ แต่ละปี ในเฟสแรกเนีย่ เอา ๕ ปี เราก็ขอไปทุก ปีๆ เรียนโทถึงเอก แรกๆ เราก็ได้มที นุ อยูใ่ นมือ แต่หาคนสมัครไม่ได้ จน กระทัง่ เด็กเราจบ แล้วก็ชกั ชวนอย่างอาจารย์คณิตว่า เรียนจบก็เอาทุนกันไป บางทีกต็ อ้ งประกาศรับสมัครจากภายนอก ทีม่ คี ณ ุ สมบัตกิ ม็ าสอบ มาอะไรกัน ระหว่างนัน้ ก็มบี างคนทีม่ าช่วยสอนอยู่ ก็ไปเรียนอีกนะครับ เราก็เหลือกัน ๗๑


ผศ.ดร.ธนากร อ้วนอ่อน (เสื้อขาวผูกไท) ผศ.ไพโรจน์ สุวรรณสุทธิ (นั่งด้านขวา)

อยูไ่ ม่กคี่ น เราก็รบั กันเต็มที่ ทัง้ บริหาร ทัง้ สอน ผมไปโดนบางเทอมเนีย่ ไม่ได้ทานข้าวเลยนะ เช้า-บ่าย เนี่ย มันติดกันเลย ตอนนั้นไปสอนวิชา เขียนแบบ โดยใช้คอมพิวเตอร์เนีย่ มี ๒ ห้อง ห้องแรกจะต้องทำ ทำแล้ว ต้องให้เสร็จ ปรากฏว่ายาวถึงบ่ายโมง แล้วผมคุมอยู่คนเดียว ไม่มีใคร

มาช่วย ช่วงบ่ายนี้มาอีกห้องนึง และไปไหนไม่ได้ต้องสอนต่อ เย็นวันนั้น

นีอ่ ยูเ่ กิน ทรมานจริงๆ” สิง่ ทีเ่ ล่ามาก็นบั ว่าเป็นเรือ่ งของคนไม่พองาน ข้อขลุกขลักนุงนังประการต่อมา คือสำนักงบประมาณมีนโยบาย ให้คณะที่ตั้งขึ้นใหม่ว่า ให้มีอาจารย์พอบริหารจัดการในแต่ละภาควิชาไป ก่อน หรือกล่าวอีกอย่างว่า ยังไม่อยากให้มีอาจารย์ประจำเกิดขึ้นจำนวน มาก เพราะ “เปลืองตังค์” ประการหนึง่ และอีกประการหนึง่ จะเกิดภาวะ “คนเหลืองาน” โดยมีตัวอย่างจากอาจารย์ประจำในมหาวิทยาลัยที่มีการ เปิดมานานปีแล้ว ซึง่ อาจารย์พนิ ยั อุปมาตัวเลขให้เห็นว่า “จำนวนอาจารย์ตอ่ ๑ ภาคของเค้าเนีย่ มากกว่าเราทัง้ คณะ” ๗๒

ซึง่ จากประสบการณ์ของสำนักงบประมาณก็เกิดความอิหลักอิเหลือ่ ไม่ทราบจะให้อาจารย์ซึ่งไปออกันอยู่ในคณะเด่นๆ ของมหาวิทยาลัยดังๆ ไปทางไหน อย่างไร ก็ตอ้ งจ่ายเป็นเงินเดือนอยูร่ ำ่ ไป ด้ ว ยเหตุ นี้ แม้ จ ะเป็ น คณะที่ เ ปิ ด ทำการใหม่ มี ค วามต้ อ งการ บุคลากรสายงานสอนอีกจำนวนมาก สำนักงบประมาณก็ยังไม่อนุญาตให้ ทำได้ คือมีนโยบายให้ชะลออัตราบรรจุไว้กอ่ น แต่กเ็ ปิดช่องทางไว้วา่ ให้ใช้ วิธีเชิญอาจารย์พิเศษมาสอน เพราะสอนเทอมหนึ่งๆ ก็จ่ายเพียงช่วงที่ ปฏิบัติงานสอน เมื่อไม่ต้องมาสอน สำนักงบก็ไม่มีภาระต้องจ่าย ซึ่งต่าง จากตำแหน่งอาจารย์ประจำ ดังนัน้ คณะฯ จึงทำความตกลงกับกระทรวงการคลังว่า “ขอเป็ น ว่ า ถ้ า สอนเนี่ ย ขอเป็ น เหมาเลยนะ สมมุ ติ ว่ า มาจาก เอกชนเนี่ย เป็นวิศวกร วิศวะนะครับ แต่อยู่ภาคเอกชนนะครับ ขอเป็น คอร์สละ ๓๐,๐๐๐ อะไรอย่างเงีย้ พิเศษ ซึง่ กระทรวงการคลังก็อนุมตั ใิ ห้ ไม่รวมค่ารถครับ ก็ช่วยได้จากอาจารย์พิเศษ เพราะถ้ามายืนที่อาจารย์ ประจำ ช่วงแรกตายแน่ๆ” อีกกรณีหนึ่งที่ช่วยบรรเทาปัญหาเรื่องขาดแคลนอาจารย์ได้ คือ เรื่องของ “บารมี” ซึ่งในสังคมไทยมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ผู้ บริหาร นอกจากจะมีความรูท้ างด้านการบริหาร มีอำนาจสัง่ การ อนุมตั ิ ไม่ อ นุ มั ติ แ ล้ ว หากยิ่ ง มี บ ารมี เ สริ ม เข้ า ไว้ ด้ ว ย จะยิ่ ง เติ ม งานที่ ต นเอง

รับผิดชอบมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น คณบดี แ ละที ม งาน คณาจารย์ ใ นยุ ค แรกที่ ท ำงานเข้ า ขากั น ดี ขมีขมัน เพราะอยู่ในภาวะ “สร้างบ้านแปงเมือง” โดยต้องทำภารกิจทั้ง งานสอนและงานบริหาร จึงได้ใช้ “บารมี” ซึง่ เป็นไปได้ทงั้ ในรูปของความ สัมพันธ์สว่ นตัว ความเกรงใจ ความเห็นแก่หน้า ความเคารพยำเกรง ได้ เชิญเพื่อนพ้องที่เป็นวิศวกร ทำธุรกิจในด้านต่างๆ มาช่วยสอนในช่วงปี แรกๆ จำนวนหลายคน “...แม้กระทั่งของศรีไทยเราก็เชิญ แม้กระทั่งเจ้าของกิจการพวก ๗๓


ผศ.ดร.ธนากร อ้วนอ่อน (เสื้อขาวผูกไท) ผศ.ไพโรจน์ สุวรรณสุทธิ (นั่งด้านขวา)

อยูไ่ ม่กคี่ น เราก็รบั กันเต็มที่ ทัง้ บริหาร ทัง้ สอน ผมไปโดนบางเทอมเนีย่ ไม่ได้ทานข้าวเลยนะ เช้า-บ่าย เนี่ย มันติดกันเลย ตอนนั้นไปสอนวิชา เขียนแบบ โดยใช้คอมพิวเตอร์เนีย่ มี ๒ ห้อง ห้องแรกจะต้องทำ ทำแล้ว ต้องให้เสร็จ ปรากฏว่ายาวถึงบ่ายโมง แล้วผมคุมอยู่คนเดียว ไม่มีใคร

มาช่วย ช่วงบ่ายนี้มาอีกห้องนึง และไปไหนไม่ได้ต้องสอนต่อ เย็นวันนั้น

นีอ่ ยูเ่ กิน ทรมานจริงๆ” สิง่ ทีเ่ ล่ามาก็นบั ว่าเป็นเรือ่ งของคนไม่พองาน ข้อขลุกขลักนุงนังประการต่อมา คือสำนักงบประมาณมีนโยบาย ให้คณะที่ตั้งขึ้นใหม่ว่า ให้มีอาจารย์พอบริหารจัดการในแต่ละภาควิชาไป ก่อน หรือกล่าวอีกอย่างว่า ยังไม่อยากให้มีอาจารย์ประจำเกิดขึ้นจำนวน มาก เพราะ “เปลืองตังค์” ประการหนึง่ และอีกประการหนึง่ จะเกิดภาวะ “คนเหลืองาน” โดยมีตัวอย่างจากอาจารย์ประจำในมหาวิทยาลัยที่มีการ เปิดมานานปีแล้ว ซึง่ อาจารย์พนิ ยั อุปมาตัวเลขให้เห็นว่า “จำนวนอาจารย์ตอ่ ๑ ภาคของเค้าเนีย่ มากกว่าเราทัง้ คณะ” ๗๒

ซึง่ จากประสบการณ์ของสำนักงบประมาณก็เกิดความอิหลักอิเหลือ่ ไม่ทราบจะให้อาจารย์ซึ่งไปออกันอยู่ในคณะเด่นๆ ของมหาวิทยาลัยดังๆ ไปทางไหน อย่างไร ก็ตอ้ งจ่ายเป็นเงินเดือนอยูร่ ำ่ ไป ด้ ว ยเหตุ นี้ แม้ จ ะเป็ น คณะที่ เ ปิ ด ทำการใหม่ มี ค วามต้ อ งการ บุคลากรสายงานสอนอีกจำนวนมาก สำนักงบประมาณก็ยังไม่อนุญาตให้ ทำได้ คือมีนโยบายให้ชะลออัตราบรรจุไว้กอ่ น แต่กเ็ ปิดช่องทางไว้วา่ ให้ใช้ วิธีเชิญอาจารย์พิเศษมาสอน เพราะสอนเทอมหนึ่งๆ ก็จ่ายเพียงช่วงที่ ปฏิบัติงานสอน เมื่อไม่ต้องมาสอน สำนักงบก็ไม่มีภาระต้องจ่าย ซึ่งต่าง จากตำแหน่งอาจารย์ประจำ ดังนัน้ คณะฯ จึงทำความตกลงกับกระทรวงการคลังว่า “ขอเป็ น ว่ า ถ้ า สอนเนี่ ย ขอเป็ น เหมาเลยนะ สมมุ ติ ว่ า มาจาก เอกชนเนี่ย เป็นวิศวกร วิศวะนะครับ แต่อยู่ภาคเอกชนนะครับ ขอเป็น คอร์สละ ๓๐,๐๐๐ อะไรอย่างเงีย้ พิเศษ ซึง่ กระทรวงการคลังก็อนุมตั ใิ ห้ ไม่รวมค่ารถครับ ก็ช่วยได้จากอาจารย์พิเศษ เพราะถ้ามายืนที่อาจารย์ ประจำ ช่วงแรกตายแน่ๆ” อีกกรณีหนึ่งที่ช่วยบรรเทาปัญหาเรื่องขาดแคลนอาจารย์ได้ คือ เรื่องของ “บารมี” ซึ่งในสังคมไทยมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ผู้ บริหาร นอกจากจะมีความรูท้ างด้านการบริหาร มีอำนาจสัง่ การ อนุมตั ิ ไม่ อ นุ มั ติ แ ล้ ว หากยิ่ ง มี บ ารมี เ สริ ม เข้ า ไว้ ด้ ว ย จะยิ่ ง เติ ม งานที่ ต นเอง

รับผิดชอบมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น คณบดี แ ละที ม งาน คณาจารย์ ใ นยุ ค แรกที่ ท ำงานเข้ า ขากั น ดี ขมีขมัน เพราะอยู่ในภาวะ “สร้างบ้านแปงเมือง” โดยต้องทำภารกิจทั้ง งานสอนและงานบริหาร จึงได้ใช้ “บารมี” ซึง่ เป็นไปได้ทงั้ ในรูปของความ สัมพันธ์สว่ นตัว ความเกรงใจ ความเห็นแก่หน้า ความเคารพยำเกรง ได้ เชิญเพื่อนพ้องที่เป็นวิศวกร ทำธุรกิจในด้านต่างๆ มาช่วยสอนในช่วงปี แรกๆ จำนวนหลายคน “...แม้กระทั่งของศรีไทยเราก็เชิญ แม้กระทั่งเจ้าของกิจการพวก ๗๓


ออกแบบแม่พิมพ์เนี่ย เราก็เชิญมาสอน เป็นโชคดีเพราะว่า ช่วงนั้นรุ่น แรกๆ นี่ จะได้อาจารย์ดๆี ซึง่ มีประสบการณ์แท้ๆ...” ผลพวงจากแนวคิดเรือ่ ง ‘ชวนเพือ่ นมาทำงานด้วยกัน’ ของคณะผู้ บริหารยุคแรก ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ชยั นนท์ ศรีสภุ นิ านนท์ เล่าไว้วา่ “ผมเข้ามาทีน่ ตี่ งั้ แต่ปี ๓๓ จนเกษียณ ผมเป็นอาจารย์ทบี่ างมด ๔ ปี แล้วผมก็ได้ทุนไปเรียนต่อที่อเมริกา กลับมาก็ทำงานที่บางมดครับ เผอิญตอนนัน้ ไม่ได้กะว่าจะย้ายมาทีน่ หี่ รอก ผมไปประชุมทีธ่ รรมศาสตร์ ก็ ไปเจออาจารย์ตมุ่ (อาจารย์อรพินท์ เอีย่ มศิร)ิ ทีอ่ ยูส่ งิ่ แวดล้อมฯ น่ะ แล้ว ก็ ช วนมาเที่ ย ว ผมก็ ม าเที่ ย ว มาเยี่ ย ม อาจารย์ อ รพิ น ท์ ก็ เ จออาจารย์ พิ นั ย อาจารย์พินัยก็ชวนผมมาให้มาอยู่ที่นี่ ผม ก็ ส องจิ ต สองใจว่ า จะมาอยู่ ดี ห รื อ เปล่ า เพราะที่บางมดตอนนั้น ผมก็งานก็น้อย แต่ผมเป็นคนชอบทำงาน เพื่อนหลายๆ คนก็ บ อกว่ า ก็ ย้ า ยมาสิ จ ะได้ มี ง านสม

อยาก (หัวเราะ) ก็เลยสมอยาก ก็เหนือ่ ย ผศ.ชัยนนท์ ศรีสุภินานนท์ มากๆ เลยนะที่นี่ คือเรื่องจัดซื้อจัดจ้าง อดีตหัวหน้าภาควิชา ครุภัณฑ์ ซื้อยังไม่ครบเลย ต้องทำแผน วิศวกรรมอุตสาหการคนแรก ใหม่ของปีหน้าอีกแล้ว ตั้งเรื่องซื้อใหม่ทุก ปีเลยครับ เป็นอย่างนั้นนะ ทำหน้าที่หลายๆ อย่างเลยนะ ทั้งอาจารย์

ผู้วางแผน พนักงานจัดซื้อจัดจ้าง อะไรอุตลุดหมด สอบราคา ตรวจรับ

ก็เป็นทุกอย่าง...” หลังจากทีต่ งั้ คณะเป็นทีเ่ รียบร้อยแล้ว อาจารย์วเิ ชียร เอือ้ สมสกุล เป็นอีกท่านหนึง่ ทีเ่ ข้ามาเป็นอาจารย์ของคณะฯ แต่เพราะเหตุทวี่ ศิ วะมหิดล ยังเป็นน้องใหม่ในวงการ เมือ่ ใครเอ่ยถึงชือ่ “มหิดล” ก็มกั จะติดความทรง จำว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ผลิต หมอ พยายาล เภสัชกร และงานทางด้าน สาธารณสุขอยูเ่ สมอ ซึง่ อาจารย์วเิ ชียรเล่าถึงคราวแรกทีจ่ ะมาสอนในคณะ ๗๔

วิศวกรรมศาสตร์วา่ “ตอนที่ผมเข้ามาใหม่ๆ โอนมาเป็นอาจารย์ที่นี่ เพื่อนวิศวะรุ่น เดียวกัน เขาถามผมว่า จะไปสอนหมอเหรอ (หัวเราะ) ผมก็บอกว่า จบ วิศวะ ก็ไปสอนวิศวะสิครับ เขาถามว่า มหิดลมีวศิ วะด้วยเหรอ ผมน่ะ มา เป็นอาจารย์จะมาสอนหมอเหรอ แต่หลังๆ คำถามนี่ก็ยังได้ยินอยู่นะครับ มหิดลมีวศิ วะด้วยเหรอ ตอนนีก้ ค็ อ่ ยเบาไปเยอะแล้ว” เรื่องของการเสาะแสวงหาอาจารย์มาสอน มาประจำคณะฯ ต้อง นั บ ว่ า วิ ศ วกรรมศาสตร์ ข องมหิ ด ลมี บ างประเด็ น ที่ “โลดโผน” หรื อ “แหวกแนว” จากระบบที่เคยมีมา อย่างกรณีจะแต่งตั้งอาจารย์แฉล้ม

โพธิ์แดง ขึ้นมาเป็นหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ เพราะเห็นถึง ความสามารถ เห็นน้ำใจทุม่ โถมให้กบั งาน และเห็นความมุง่ มัน่ ทีอ่ าจารย์มี ให้แก่คณะฯ แต่แล้วก็ขัดกับระเบียบราชการ เนื่องจากยังไม่ได้บรรจุเป็น ข้าราชการ เป็นแต่เพียงลูกจ้างชั่วคราวในตำแหน่งอาจารย์ จึงต้องทำ เรื่องไปถึงสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ขออนุมัติบรรจุ แล้วก็

แต่งตัง้ เป็นหัวหน้าภาคฯ ในคราวนัน้ เลย เมือ่ ทำหน้าทีห่ วั หน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ก็ตอ้ งไปอบรม การเป็นผู้บริหาร Mini MPA ส่วนใหญ่ผู้ที่ไปเข้าคอร์สอบรม มักจะเป็น ข้าราชการระดับตั้งแต่ซี ๗ มีตำแหน่งเป็น ผศ.หรือรศ. ขึ้นไป ขณะที่ อาจารย์แฉล้มแห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มี ต ำแหน่ ง งานแค่ ซี ๕ เป็ น อาจารย์ ธรรมดา คนภายนอกองค์กรต่างก็คิดว่า “วิ ศ วะมหิ ด ลเล่ น อะไรกั น อยู่ ” เพราะ พวกเขาไม่รู้ หรอกว่า “เนือ้ ทองแท้” ที่ มีอยู่ในตัวตนของอาจารย์แฉล้มในสมัยที่ วิ ศ วะมหิ ด ลต้ อ งสร้ า งเนื้ อ สร้ า งตั ว นั้ น สำคัญยิง่ กว่าหมายเลขระดับซีทอี่ ยูใ่ นบัตร ข้าราชการเป็นไหนๆ ผศ.แฉล้ม โพธิแ์ ดง อดีตรองคณบดีฝา่ ยกิจการนักศึกษา

๗๕


ออกแบบแม่พิมพ์เนี่ย เราก็เชิญมาสอน เป็นโชคดีเพราะว่า ช่วงนั้นรุ่น แรกๆ นี่ จะได้อาจารย์ดๆี ซึง่ มีประสบการณ์แท้ๆ...” ผลพวงจากแนวคิดเรือ่ ง ‘ชวนเพือ่ นมาทำงานด้วยกัน’ ของคณะผู้ บริหารยุคแรก ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ชยั นนท์ ศรีสภุ นิ านนท์ เล่าไว้วา่ “ผมเข้ามาทีน่ ตี่ งั้ แต่ปี ๓๓ จนเกษียณ ผมเป็นอาจารย์ทบี่ างมด ๔ ปี แล้วผมก็ได้ทุนไปเรียนต่อที่อเมริกา กลับมาก็ทำงานที่บางมดครับ เผอิญตอนนัน้ ไม่ได้กะว่าจะย้ายมาทีน่ หี่ รอก ผมไปประชุมทีธ่ รรมศาสตร์ ก็ ไปเจออาจารย์ตมุ่ (อาจารย์อรพินท์ เอีย่ มศิร)ิ ทีอ่ ยูส่ งิ่ แวดล้อมฯ น่ะ แล้ว ก็ ช วนมาเที่ ย ว ผมก็ ม าเที่ ย ว มาเยี่ ย ม อาจารย์ อ รพิ น ท์ ก็ เ จออาจารย์ พิ นั ย อาจารย์พินัยก็ชวนผมมาให้มาอยู่ที่นี่ ผม ก็ ส องจิ ต สองใจว่ า จะมาอยู่ ดี ห รื อ เปล่ า เพราะที่บางมดตอนนั้น ผมก็งานก็น้อย แต่ผมเป็นคนชอบทำงาน เพื่อนหลายๆ คนก็ บ อกว่ า ก็ ย้ า ยมาสิ จ ะได้ มี ง านสม

อยาก (หัวเราะ) ก็เลยสมอยาก ก็เหนือ่ ย ผศ.ชัยนนท์ ศรีสุภินานนท์ มากๆ เลยนะที่นี่ คือเรื่องจัดซื้อจัดจ้าง อดีตหัวหน้าภาควิชา ครุภัณฑ์ ซื้อยังไม่ครบเลย ต้องทำแผน วิศวกรรมอุตสาหการคนแรก ใหม่ของปีหน้าอีกแล้ว ตั้งเรื่องซื้อใหม่ทุก ปีเลยครับ เป็นอย่างนั้นนะ ทำหน้าที่หลายๆ อย่างเลยนะ ทั้งอาจารย์

ผู้วางแผน พนักงานจัดซื้อจัดจ้าง อะไรอุตลุดหมด สอบราคา ตรวจรับ

ก็เป็นทุกอย่าง...” หลังจากทีต่ งั้ คณะเป็นทีเ่ รียบร้อยแล้ว อาจารย์วเิ ชียร เอือ้ สมสกุล เป็นอีกท่านหนึง่ ทีเ่ ข้ามาเป็นอาจารย์ของคณะฯ แต่เพราะเหตุทวี่ ศิ วะมหิดล ยังเป็นน้องใหม่ในวงการ เมือ่ ใครเอ่ยถึงชือ่ “มหิดล” ก็มกั จะติดความทรง จำว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ผลิต หมอ พยายาล เภสัชกร และงานทางด้าน สาธารณสุขอยูเ่ สมอ ซึง่ อาจารย์วเิ ชียรเล่าถึงคราวแรกทีจ่ ะมาสอนในคณะ ๗๔

วิศวกรรมศาสตร์วา่ “ตอนที่ผมเข้ามาใหม่ๆ โอนมาเป็นอาจารย์ที่นี่ เพื่อนวิศวะรุ่น เดียวกัน เขาถามผมว่า จะไปสอนหมอเหรอ (หัวเราะ) ผมก็บอกว่า จบ วิศวะ ก็ไปสอนวิศวะสิครับ เขาถามว่า มหิดลมีวศิ วะด้วยเหรอ ผมน่ะ มา เป็นอาจารย์จะมาสอนหมอเหรอ แต่หลังๆ คำถามนี่ก็ยังได้ยินอยู่นะครับ มหิดลมีวศิ วะด้วยเหรอ ตอนนีก้ ค็ อ่ ยเบาไปเยอะแล้ว” เรื่องของการเสาะแสวงหาอาจารย์มาสอน มาประจำคณะฯ ต้อง นั บ ว่ า วิ ศ วกรรมศาสตร์ ข องมหิ ด ลมี บ างประเด็ น ที่ “โลดโผน” หรื อ “แหวกแนว” จากระบบที่เคยมีมา อย่างกรณีจะแต่งตั้งอาจารย์แฉล้ม

โพธิ์แดง ขึ้นมาเป็นหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ เพราะเห็นถึง ความสามารถ เห็นน้ำใจทุม่ โถมให้กบั งาน และเห็นความมุง่ มัน่ ทีอ่ าจารย์มี ให้แก่คณะฯ แต่แล้วก็ขัดกับระเบียบราชการ เนื่องจากยังไม่ได้บรรจุเป็น ข้าราชการ เป็นแต่เพียงลูกจ้างชั่วคราวในตำแหน่งอาจารย์ จึงต้องทำ เรื่องไปถึงสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ขออนุมัติบรรจุ แล้วก็

แต่งตัง้ เป็นหัวหน้าภาคฯ ในคราวนัน้ เลย เมือ่ ทำหน้าทีห่ วั หน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ก็ตอ้ งไปอบรม การเป็นผู้บริหาร Mini MPA ส่วนใหญ่ผู้ที่ไปเข้าคอร์สอบรม มักจะเป็น ข้าราชการระดับตั้งแต่ซี ๗ มีตำแหน่งเป็น ผศ.หรือรศ. ขึ้นไป ขณะที่ อาจารย์แฉล้มแห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มี ต ำแหน่ ง งานแค่ ซี ๕ เป็ น อาจารย์ ธรรมดา คนภายนอกองค์กรต่างก็คิดว่า “วิ ศ วะมหิ ด ลเล่ น อะไรกั น อยู่ ” เพราะ พวกเขาไม่รู้ หรอกว่า “เนือ้ ทองแท้” ที่ มีอยู่ในตัวตนของอาจารย์แฉล้มในสมัยที่ วิ ศ วะมหิ ด ลต้ อ งสร้ า งเนื้ อ สร้ า งตั ว นั้ น สำคัญยิง่ กว่าหมายเลขระดับซีทอี่ ยูใ่ นบัตร ข้าราชการเป็นไหนๆ ผศ.แฉล้ม โพธิแ์ ดง อดีตรองคณบดีฝา่ ยกิจการนักศึกษา

๗๕


คณบดี ค นปั จ จุ บั น –ดร.รวิ น ระวิ ว งศ์ ก็ เ ป็ น ผลผลิ ต จากแนว นโยบายการสร้างทรัพยากรบุคคลของคณบดีคนแรก ซึ่งอาจารย์รวินได้ เล่าในมุมประวัตทิ ไี่ ด้มาสัมพันธ์กบั ทีน่ วี่ า่ “ผมเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับทางคณะวิศวะ มหาวิทยาลัยมหิดล

เมื่อสักสิบห้าปีที่แล้วได้นะฮะ เป็นช่วงที่ผมได้รับทุนให้ศึกษาปริญญาเอก ในสาขา engineering management จากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึง่ ตอนนัน้ ทางคณะวิศวะฯ ของมหาวิทยาลัยมหิดล เนี่ยก็ได้ให้ทุนกับนักเรียนไทย

ที่เรียนอยู่ในต่างประเทศอยู่แล้ว ก็ด้วยเหตุที่ว่า จะได้ไม่ต้องมานั่งสอบ ภาษาอังกฤษ ไม่ต้องมานั่งเตรียมความพร้อมอะไรกันอีก ก็คือคนที่เรียน อยู่ที่นั่นแล้ว และก็คิดว่าอยากจะมาเป็นอาจารย์อยากทำวิจัย ทางคณะฯ ก็พจิ ารณาให้ทนุ มาตอนนัน้ นะครับ” การค่อยๆ ทยอยเพิม่ จำนวนขึน้ ของอาจารย์ในคณะฯ มีทงั้ การ ประกาศรับสมัคร มีการชักชวนเพือ่ น รวมถึงการสังเกตหน่วยก้านของ นักศึกษารุน่ แรกๆ ว่าใครจะเอาถ่าน หรือไม่เอาถ่าน หากนักศึกษาคน ใดอยู่ในกลุ่ม “คนเอาถ่าน” คือมีความขยัน ฉลาด และสนใจจะมา ปฏิบัติงานในตำแหน่งอาจารย์ของคณะฯ ก็จะได้รับการทาบทามให้มา เป็นอาจารย์ ซึ่งมีโอกาสได้พัฒนาตนเองไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริ ญ ญาเอกในหลั ก สู ต รวิ ศ วกรรมศาสตร์ สาขาที่ ต นเองสนใจ จนถึงวันนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีทรัพยากรบุคคลในด้านการสอน การวิจยั ไม่เป็นรองใครในระบบการศึกษาของประเทศนี ้

๗๖

สอนอะไรในวิศวะฯ มหิดล


คณบดี ค นปั จ จุ บั น –ดร.รวิ น ระวิ ว งศ์ ก็ เ ป็ น ผลผลิ ต จากแนว นโยบายการสร้างทรัพยากรบุคคลของคณบดีคนแรก ซึ่งอาจารย์รวินได้ เล่าในมุมประวัตทิ ไี่ ด้มาสัมพันธ์กบั ทีน่ วี่ า่ “ผมเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับทางคณะวิศวะ มหาวิทยาลัยมหิดล

เมื่อสักสิบห้าปีที่แล้วได้นะฮะ เป็นช่วงที่ผมได้รับทุนให้ศึกษาปริญญาเอก ในสาขา engineering management จากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึง่ ตอนนัน้ ทางคณะวิศวะฯ ของมหาวิทยาลัยมหิดล เนี่ยก็ได้ให้ทุนกับนักเรียนไทย

ที่เรียนอยู่ในต่างประเทศอยู่แล้ว ก็ด้วยเหตุที่ว่า จะได้ไม่ต้องมานั่งสอบ ภาษาอังกฤษ ไม่ต้องมานั่งเตรียมความพร้อมอะไรกันอีก ก็คือคนที่เรียน อยู่ที่นั่นแล้ว และก็คิดว่าอยากจะมาเป็นอาจารย์อยากทำวิจัย ทางคณะฯ ก็พจิ ารณาให้ทนุ มาตอนนัน้ นะครับ” การค่อยๆ ทยอยเพิม่ จำนวนขึน้ ของอาจารย์ในคณะฯ มีทงั้ การ ประกาศรับสมัคร มีการชักชวนเพือ่ น รวมถึงการสังเกตหน่วยก้านของ นักศึกษารุน่ แรกๆ ว่าใครจะเอาถ่าน หรือไม่เอาถ่าน หากนักศึกษาคน ใดอยู่ในกลุ่ม “คนเอาถ่าน” คือมีความขยัน ฉลาด และสนใจจะมา ปฏิบัติงานในตำแหน่งอาจารย์ของคณะฯ ก็จะได้รับการทาบทามให้มา เป็นอาจารย์ ซึ่งมีโอกาสได้พัฒนาตนเองไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริ ญ ญาเอกในหลั ก สู ต รวิ ศ วกรรมศาสตร์ สาขาที่ ต นเองสนใจ จนถึงวันนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีทรัพยากรบุคคลในด้านการสอน การวิจยั ไม่เป็นรองใครในระบบการศึกษาของประเทศนี ้

๗๖

สอนอะไรในวิศวะฯ มหิดล


มื่อแรกเปิดคณะวิศวกรรมศาสตร์นี้ขึ้นมา ได้มีการวางแผนงาน กันไว้ว่าจะเปิดสาขาวิชาโดยเฉพาะสายงานที่เชื่อมโยงกับทางด้านแพทย์ และวิทยาศาสตร์สขุ ภาพ เนือ่ งจากผลการศึกษาความเป็นไปได้กอ่ นการจัด ตั้ง มีแนวโน้มที่ดีถึงโอกาสที่จะเปิดหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ ว่ามี ความเป็นไปได้สูงมาก เพื่อประกาศความต่างจากวิศวกรรมศาสตร์ที่มีอยู่ ในมหาวิทยาลัยอื่นๆ แต่ก็ยังเปิดไม่ได้ในช่วงต้นๆ ที่ก่อตั้งคณะฯ ทั้งนี้มี เหตุยุ่งเหยิงอยู่หลายสิ่ง คือมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์บาง ประการ ซึง่ อาจารย์ไกรสิทธิ์ ได้เล่าถึงเหตุผลของข้อขัดข้องนีว้ า่ “ช่วงแรกปรึกษากันว่า ควรจะเปิดสาขาอะไร ลึกๆ คิดกันว่าจะ ผลิตบัณฑิตวิศวกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แต่เพราะการจัดตัง้ ใหม่ๆ จะ ต้ อ งให้ ผ่ า นเกณฑ์ ข องสภาวิศวกร ที่จะเป็นผู้อนุมัติให้ประกอบวิชาชีพ

ในที่สุดจึงตั้งภาควิชาพื้นฐาน ๔ ด้านก่อน แต่ก็ไม่ได้ละเลยหรือลืมความ เข้ ม แข็ ง ของมหิ ด ล ที่ มี พื้ น ฐานดี เ ยี่ ย มทางด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์การแพทย์” อีกส่วนหนึ่งนั้นข้อจำกัดที่อาจารย์จะมาสอนทางด้านวิศวกรรม

ชีวการแพทย์ ยังไม่มใี นประเทศไทย “ต้องสร้างคน” ขึน้ มาก่อน ดังนัน้ ในชัน้ แรกทีเ่ ปิดได้จริงๆ จึงมีเพียง ๔ ภาควิชาทีเ่ ป็นสาขา หลักของวิศวกรรมศาสตร์ คือมี วิศวกรรมเครือ่ งกล วิศวกรรมอุตสาหการ วิ ศ วกรรมไฟฟ้ า และวิ ศ วกรรมเคมี รั บ นั ก ศึ ก ษาปี แ รก ภาควิ ช าละ

๒๐ คน รวมทั้ ง หมดเป็ น ๘๐ คน ต่ อ มาไม่ น านจึ ง ได้ เ ปิ ด ภาควิ ช า วิศวกรรมโยธาเพิม่ เติมขึน้ ภายหลัง วิศวกรรมเครือ่ งกล ถึงเก่าแต่กเ็ ก๋าอยูใ่ นที คนภายนอกวงการวิศวกรรมศาสตร์ ค่อนข้างจะคุ้นเคยกับชื่อ วิศวะเครือ่ งกล เป็นลำดับต้นๆ เมือ่ ต้องนึกถึงวิศวกรรมศาสตร์ ทัง้ นีอ้ าจ จะเข้าใจโดยไปผนวกกับคำว่า “เครื่องยนต์กลไก” ซึ่งเป็นของที่เข้ามาใหม่ ในสังคมไทย เป็นศาสตร์ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นในประเทศแถบยุโรปนับ ๗๘

นั ก ศึ ก ษาภาควิ ช าวิ ศ วกรรม เครื่องกลกำลังทดสอบผลงาน ประดิษฐ์คิดค้น

ร้อยปี จนมีผลต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่งผลต่อการผลิตและการใช้ แรงงาน เมื่อจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นที่ใดๆ ในระบบการศึกษา

จึงมักจะมีภาควิชานีต้ ดิ เข้ามาเป็นลำดับต้นๆ อาจารย์วเิ ชียร เอือ้ สมสกุล เล่าบรรยากาศงามๆ เมือ่ ตอนเริม่ ต้น คณะฯ มีอาจารย์เอกชัย ชัยชนะศิริ และอาจารย์ปัญญา อรุณสัจธรรม

ซึง่ เป็นศิษย์เก่าของคณะฯ ทีผ่ นั ตัวมาเป็นอาจารย์ แต่งเติมเสริมต่อให้ฟงั ว่า “...ผมก็มาเป็นหัวหน้าภาควิศวกรรมเครื่องกล ประมาณปลายปี ๒๕๓๔ ถึงต้นปี ๒๕๓๕ แล้วก็ยา้ ยมาทำงานทีอ่ าคารใหม่ ตอนทีย่ า้ ยมานี่ ๗๙


มื่อแรกเปิดคณะวิศวกรรมศาสตร์นี้ขึ้นมา ได้มีการวางแผนงาน กันไว้ว่าจะเปิดสาขาวิชาโดยเฉพาะสายงานที่เชื่อมโยงกับทางด้านแพทย์ และวิทยาศาสตร์สขุ ภาพ เนือ่ งจากผลการศึกษาความเป็นไปได้กอ่ นการจัด ตั้ง มีแนวโน้มที่ดีถึงโอกาสที่จะเปิดหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ ว่ามี ความเป็นไปได้สูงมาก เพื่อประกาศความต่างจากวิศวกรรมศาสตร์ที่มีอยู่ ในมหาวิทยาลัยอื่นๆ แต่ก็ยังเปิดไม่ได้ในช่วงต้นๆ ที่ก่อตั้งคณะฯ ทั้งนี้มี เหตุยุ่งเหยิงอยู่หลายสิ่ง คือมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์บาง ประการ ซึง่ อาจารย์ไกรสิทธิ์ ได้เล่าถึงเหตุผลของข้อขัดข้องนีว้ า่ “ช่วงแรกปรึกษากันว่า ควรจะเปิดสาขาอะไร ลึกๆ คิดกันว่าจะ ผลิตบัณฑิตวิศวกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แต่เพราะการจัดตัง้ ใหม่ๆ จะ ต้ อ งให้ ผ่ า นเกณฑ์ ข องสภาวิศวกร ที่จะเป็นผู้อนุมัติให้ประกอบวิชาชีพ

ในที่สุดจึงตั้งภาควิชาพื้นฐาน ๔ ด้านก่อน แต่ก็ไม่ได้ละเลยหรือลืมความ เข้ ม แข็ ง ของมหิ ด ล ที่ มี พื้ น ฐานดี เ ยี่ ย มทางด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์การแพทย์” อีกส่วนหนึ่งนั้นข้อจำกัดที่อาจารย์จะมาสอนทางด้านวิศวกรรม

ชีวการแพทย์ ยังไม่มใี นประเทศไทย “ต้องสร้างคน” ขึน้ มาก่อน ดังนัน้ ในชัน้ แรกทีเ่ ปิดได้จริงๆ จึงมีเพียง ๔ ภาควิชาทีเ่ ป็นสาขา หลักของวิศวกรรมศาสตร์ คือมี วิศวกรรมเครือ่ งกล วิศวกรรมอุตสาหการ วิ ศ วกรรมไฟฟ้ า และวิ ศ วกรรมเคมี รั บ นั ก ศึ ก ษาปี แ รก ภาควิ ช าละ

๒๐ คน รวมทั้ ง หมดเป็ น ๘๐ คน ต่ อ มาไม่ น านจึ ง ได้ เ ปิ ด ภาควิ ช า วิศวกรรมโยธาเพิม่ เติมขึน้ ภายหลัง วิศวกรรมเครือ่ งกล ถึงเก่าแต่กเ็ ก๋าอยูใ่ นที คนภายนอกวงการวิศวกรรมศาสตร์ ค่อนข้างจะคุ้นเคยกับชื่อ วิศวะเครือ่ งกล เป็นลำดับต้นๆ เมือ่ ต้องนึกถึงวิศวกรรมศาสตร์ ทัง้ นีอ้ าจ จะเข้าใจโดยไปผนวกกับคำว่า “เครื่องยนต์กลไก” ซึ่งเป็นของที่เข้ามาใหม่ ในสังคมไทย เป็นศาสตร์ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นในประเทศแถบยุโรปนับ ๗๘

นั ก ศึ ก ษาภาควิ ช าวิ ศ วกรรม เครื่องกลกำลังทดสอบผลงาน ประดิษฐ์คิดค้น

ร้อยปี จนมีผลต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่งผลต่อการผลิตและการใช้ แรงงาน เมื่อจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นที่ใดๆ ในระบบการศึกษา

จึงมักจะมีภาควิชานีต้ ดิ เข้ามาเป็นลำดับต้นๆ อาจารย์วเิ ชียร เอือ้ สมสกุล เล่าบรรยากาศงามๆ เมือ่ ตอนเริม่ ต้น คณะฯ มีอาจารย์เอกชัย ชัยชนะศิริ และอาจารย์ปัญญา อรุณสัจธรรม

ซึง่ เป็นศิษย์เก่าของคณะฯ ทีผ่ นั ตัวมาเป็นอาจารย์ แต่งเติมเสริมต่อให้ฟงั ว่า “...ผมก็มาเป็นหัวหน้าภาควิศวกรรมเครื่องกล ประมาณปลายปี ๒๕๓๔ ถึงต้นปี ๒๕๓๕ แล้วก็ยา้ ยมาทำงานทีอ่ าคารใหม่ ตอนทีย่ า้ ยมานี่ ๗๙


นักศึกษาบางส่วนในภาควิชาวิศวกรรมเครือ่ งกล

ก็ยังอบอุ่นอยู่ เพราะว่าตอนนั้นห้องต่างๆ ของอาจารย์ยังไม่เรียบร้อย เพราะฉะนั้ น ในแต่ ล ะภาคก็ จ องกั น แต่ ล ะชั้ น แล้ ว ก็ นั่ ง เรากั น ยั ง ไม่ มี อาจารย์แยกเป็นห้องเดีย่ วๆ…” “…คือก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า วิศวะแต่ละสาขามันมีธรรมชาติที่ แตกต่างกัน อาจจะแตกต่างกันมาก วิศวกรรมเครือ่ งกล เป็นสาขาหนึง่ ซึง่ ถือว่าเป็นวิศวกรรมพื้นฐาน ถือว่าเป็นโบราณ มันไม่สมัยใหม่ แล้วก็โดย ธรรมชาติแล้ว มีวิศวกรรมบางสาขา ซึ่งเทคโนโลยีในตัวของมันเองไม่ได้ พัฒนาไปมาก ไม่เหมือนทางด้านคอมพิวเตอร์ ไม่เหมือนทางด้าน ไอที หรือแม้กระทัง่ ไฟฟ้า หรือเคมี เพราะฉะนัน้ เราจะเห็นได้วา่ งานเครือ่ งกลนี่ เป็ น งานที่ จ ำเป็ น ในโรงงานอุ ต สาหกรรมจริ ง แต่ ว่ า ความยั่ ว ยวนใน เทคโนโลยีสมัยใหม่ มันน้อย แต่วา่ มันเป็นความจำเป็นทีว่ า่ ทุกโรงงานต้อง มีเป็นพืน้ ฐาน ไอ้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์กด็ ี หรือพวก finite element วิธีการคำนวณสมัยใหม่ๆ ที่นำมาใช้ โดยใช้คอมพิวเตอร์เข้ามา ประกอบก็เป็นเพียงการต่อยอดหรือนำเพียงวิชาการเครือ่ งกลเดิม มาทำให้ ง่ายต่อความเข้าใจ ทำให้ละเอียดขึน้ ทำให้แน่นอนขึน้ เท่านัน้ เอง แต่ตวั เทคโนโลยีของเครื่องกลเองพัฒนาช้ามาก เพราะฉะนั้นเป็นเหตุหนึ่งที่ว่า วิศวกรรมเครื่องกล หาหัวข้อในการทำวิจัยยาก ยากมาก เมื่อเทียบกับ ๘๐

สาขาอืน่ บางสาขาวิชา ซึง่ ผมก็ได้ขา่ วทางโยธาด้วยเช่นกัน เพราะหาได้ยาก เพราะว่าเป็นวิศวกรรมพืน้ ฐานแล้วก็เป็นอะไรทีเ่ ก่าแก่มาก” ปัจจุบันนี้ วิศวะเครื่องกล ไม่ใช่ภาควิชาต้นๆ ที่นักศึกษาจะเลือก เข้าเรียน กล่าวอีกอย่างก็คือ ในบรรดานักศึกษาที่ประสงค์จะเข้ามาเรียน ศาสตร์ทางวิศวกรรมศาสตร์ คนทีเ่ ลือกเรียนทางเครือ่ งกลนัน้ มีไม่มาก แต่ ก็ยังไม่ไร้คนเรียน เพราะถึงอย่างไรเสีย ความเก๋าของภาควิชานี้ ยังมี ความจำเป็น และเป็นฐานความรูอ้ ย่างสำคัญทีเดียว วิศวกรรมอุตสาหการ การอุตสาหะย่อมได้ผลสำเร็จ วิศวกรรมอุตสาหการ เป็นอีกสาขาวิชาหลักอีกอย่างหนึ่งที่เปิด สอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์เกือบทุกแห่ง รวมทั้งน้องใหม่อย่างวิศวะ มหิดลนีด้ ว้ ย ในช่ ว ง ปี ๒๕๓๐ ประเทศไทยเกิ ด ภาวะ “สมองไหล” คื อ สถานการณ์ที่คนมีความรู้ระดับแนวหน้า ได้หนีออกจากองค์กรของรัฐ หรื อ ออกจากประเทศ ไปทำงานหารายได้ ที่ เ ป็ น กอบเป็ น กำมากกว่ า รัฐบาลก็พยายามสร้างแรงจูงใจให้คนที่มีความรู้กลับเข้ามาทำงาน เช่น การให้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น หรือเพิ่มสวัสดิการบางประการให้ดึงดูดใจ เรียกว่าทำให้ “สมองไหลกลับ” แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่เกิดผลเท่าทีค่ วร เป็นสัจธรรมบางประการว่า หากต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ของคน ต้องเปลี่ยนที่ระบบความคิด จึงจะเกิดผลถาวร ไม่ควรจะต้อง หลอกล่อหรือผลจากการให้ค่าสินจ้างรางวัล เพราะจะได้ผลเพียงชั่วครั้ง ชัว่ คราว เป็นความโชคดีทภี่ าควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ นอกจากผูบ้ ริหาร ยุคแรกจะเอาใจใส่งาน แล้วยังได้ไปสืบเสาะขวนขวายหาคนทีจ่ ริงใจมาร่วม งาน และก็ได้มบี คุ คลทีเ่ คยไปทำงาน สัง่ สมประสบการณ์ตา่ งประเทศแล้ว

กลับเข้ามาทำงานในเมืองไทย โดยมิได้คาดหวังรายได้มากมาย อีกทั้ง สภาวการณ์ช่วงก่อตั้งคณะฯ มหาวิทยาลัยก็ไม่มีงบประมาณที่จะต้องจ้าง อาจารย์ประจำด้วยเงินเดือนระดับพิเศษแต่ประการใด แต่เป็นการกลับมา ๘๑


นักศึกษาบางส่วนในภาควิชาวิศวกรรมเครือ่ งกล

ก็ยังอบอุ่นอยู่ เพราะว่าตอนนั้นห้องต่างๆ ของอาจารย์ยังไม่เรียบร้อย เพราะฉะนั้ น ในแต่ ล ะภาคก็ จ องกั น แต่ ล ะชั้ น แล้ ว ก็ นั่ ง เรากั น ยั ง ไม่ มี อาจารย์แยกเป็นห้องเดีย่ วๆ…” “…คือก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า วิศวะแต่ละสาขามันมีธรรมชาติที่ แตกต่างกัน อาจจะแตกต่างกันมาก วิศวกรรมเครือ่ งกล เป็นสาขาหนึง่ ซึง่ ถือว่าเป็นวิศวกรรมพื้นฐาน ถือว่าเป็นโบราณ มันไม่สมัยใหม่ แล้วก็โดย ธรรมชาติแล้ว มีวิศวกรรมบางสาขา ซึ่งเทคโนโลยีในตัวของมันเองไม่ได้ พัฒนาไปมาก ไม่เหมือนทางด้านคอมพิวเตอร์ ไม่เหมือนทางด้าน ไอที หรือแม้กระทัง่ ไฟฟ้า หรือเคมี เพราะฉะนัน้ เราจะเห็นได้วา่ งานเครือ่ งกลนี่ เป็ น งานที่ จ ำเป็ น ในโรงงานอุ ต สาหกรรมจริ ง แต่ ว่ า ความยั่ ว ยวนใน เทคโนโลยีสมัยใหม่ มันน้อย แต่วา่ มันเป็นความจำเป็นทีว่ า่ ทุกโรงงานต้อง มีเป็นพืน้ ฐาน ไอ้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์กด็ ี หรือพวก finite element วิธีการคำนวณสมัยใหม่ๆ ที่นำมาใช้ โดยใช้คอมพิวเตอร์เข้ามา ประกอบก็เป็นเพียงการต่อยอดหรือนำเพียงวิชาการเครือ่ งกลเดิม มาทำให้ ง่ายต่อความเข้าใจ ทำให้ละเอียดขึน้ ทำให้แน่นอนขึน้ เท่านัน้ เอง แต่ตวั เทคโนโลยีของเครื่องกลเองพัฒนาช้ามาก เพราะฉะนั้นเป็นเหตุหนึ่งที่ว่า วิศวกรรมเครื่องกล หาหัวข้อในการทำวิจัยยาก ยากมาก เมื่อเทียบกับ ๘๐

สาขาอืน่ บางสาขาวิชา ซึง่ ผมก็ได้ขา่ วทางโยธาด้วยเช่นกัน เพราะหาได้ยาก เพราะว่าเป็นวิศวกรรมพืน้ ฐานแล้วก็เป็นอะไรทีเ่ ก่าแก่มาก” ปัจจุบันนี้ วิศวะเครื่องกล ไม่ใช่ภาควิชาต้นๆ ที่นักศึกษาจะเลือก เข้าเรียน กล่าวอีกอย่างก็คือ ในบรรดานักศึกษาที่ประสงค์จะเข้ามาเรียน ศาสตร์ทางวิศวกรรมศาสตร์ คนทีเ่ ลือกเรียนทางเครือ่ งกลนัน้ มีไม่มาก แต่ ก็ยังไม่ไร้คนเรียน เพราะถึงอย่างไรเสีย ความเก๋าของภาควิชานี้ ยังมี ความจำเป็น และเป็นฐานความรูอ้ ย่างสำคัญทีเดียว วิศวกรรมอุตสาหการ การอุตสาหะย่อมได้ผลสำเร็จ วิศวกรรมอุตสาหการ เป็นอีกสาขาวิชาหลักอีกอย่างหนึ่งที่เปิด สอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์เกือบทุกแห่ง รวมทั้งน้องใหม่อย่างวิศวะ มหิดลนีด้ ว้ ย ในช่ ว ง ปี ๒๕๓๐ ประเทศไทยเกิ ด ภาวะ “สมองไหล” คื อ สถานการณ์ที่คนมีความรู้ระดับแนวหน้า ได้หนีออกจากองค์กรของรัฐ หรื อ ออกจากประเทศ ไปทำงานหารายได้ ที่ เ ป็ น กอบเป็ น กำมากกว่ า รัฐบาลก็พยายามสร้างแรงจูงใจให้คนที่มีความรู้กลับเข้ามาทำงาน เช่น การให้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น หรือเพิ่มสวัสดิการบางประการให้ดึงดูดใจ เรียกว่าทำให้ “สมองไหลกลับ” แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่เกิดผลเท่าทีค่ วร เป็นสัจธรรมบางประการว่า หากต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ของคน ต้องเปลี่ยนที่ระบบความคิด จึงจะเกิดผลถาวร ไม่ควรจะต้อง หลอกล่อหรือผลจากการให้ค่าสินจ้างรางวัล เพราะจะได้ผลเพียงชั่วครั้ง ชัว่ คราว เป็นความโชคดีทภี่ าควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ นอกจากผูบ้ ริหาร ยุคแรกจะเอาใจใส่งาน แล้วยังได้ไปสืบเสาะขวนขวายหาคนทีจ่ ริงใจมาร่วม งาน และก็ได้มบี คุ คลทีเ่ คยไปทำงาน สัง่ สมประสบการณ์ตา่ งประเทศแล้ว

กลับเข้ามาทำงานในเมืองไทย โดยมิได้คาดหวังรายได้มากมาย อีกทั้ง สภาวการณ์ช่วงก่อตั้งคณะฯ มหาวิทยาลัยก็ไม่มีงบประมาณที่จะต้องจ้าง อาจารย์ประจำด้วยเงินเดือนระดับพิเศษแต่ประการใด แต่เป็นการกลับมา ๘๑


การสอนนักศึกษา ในห้องปฏิบต ั กิ าร

ด้วยเหตุผลเดียวคือ การเห็นความสำคัญของการศึกษา จำเนียรกาลเนิ่นนานจนจะครบ ๒๐ ปี วิศวกรรมอุตสาหการได้ ก่อให้เกิดผลผลิตทีด่ ๆี แก่สงั คมหลายประการ ซึง่ อาจารย์แฉล้ม โพธิแ์ ดง และอาจารย์กญ ั จน์ คณาธารทิพย์ (หัวหน้าภาควิชาคนปัจจุบนั ) เล่าว่า “...อย่างทุกวันเนีย้ สมัยก่อน สิบปีทแี่ ล้วเราจะนิง่ ในงานวิจยั แต่เรา ยิง่ ใหญ่ในงานบริการวิชาการ แต่หลังจากสิบปีเริม่ มีอาจารย์ทเี่ ป็นลูกหม้อ ของเราไปเรียนกลับมา ก็จะมีผลงานทางวิชาการตามมาด้วยแล้วก็ติด อันดับประเทศด้วย พอเริม่ ปุบ๊ เนีย่ ติดอันดับประเทศเลย…” “...แล้ ว ปั จ จุ บั น สำหรั บ ภาควิ ช าวิ ศ วกรรมอุ ต สาหการเนี่ ย เปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก เรามีโครงการต่างๆ มากมาย ทั้งโครงการ ศูนย์วิจัย เราเป็นศูนย์ประสานงานทุนของ สกว. ทางด้าน logistic manage แล้วก็ supply chain ของประเทศไทย หัวหน้าโครงการ (รอง ศาสตราจารย์ ดร.ดวงพรรณ กริชชาญชัย) เองก็เป็น เรียกว่าอยูใ่ น top five ในวงการ logistic supply chain ไม่วา่ จะเรือ่ งของการทีจ่ ะ funding หาเงินทุนเข้ามา ปัจจุบันผมว่าภาควิชาเรามีศักยภาพในการที่จะขึ้นไปถึง ระดับประเทศแล้ว หลายๆ โครงการทีภ่ าควิชาทำ หรืออาจารย์ในภาควิชา เนีย่ เข้าไปร่วมโครงการมีผลต่อการเปลีย่ นแปลงนโยบายในระดับประเทศ นะครับ ซึง่ ตรงนีเ้ องเนีย่ อ่า... เราก็ไล่ตามเก็บ record เพือ่ ทีจ่ ะ present ให้สงั คมทราบว่าจริงๆ แล้ววิศวกรรมอุตสาหการเนีย่ ทำอะไรได้บา้ ง” ๘๒

“ที่นี่ทำเยอะมากตอนนี้เนี่ย อีกปีสองปี งานที่ทำของวิศวะเนี่ย โอ้โฮ... คุณค่ามหาศาลเลย เพราะตอนนี้เนี้ย สามปีที่ผ่านมาถึงตอนนี้นะ ฮะ งานวิจยั เยอะมาก เพราะบางส่วนอยูร่ ะหว่างจะสำเร็จแล้ว บางส่วนอยู่ ระหว่างการทดลองทดสอบ บางส่วนก็เป็นผลงานสำเร็จรูปออกมาแล้ว คือจะมีผลงานเยอะมากๆ ดังนี้เรียนแล้วว่า ตอนนี้เราสามารถที่จะสง่า ผ่าเผยและไม่เป็นรองใคร…” กว่าจะมีผลงานเป็นที่กล่าวขวัญถึงอย่างที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ คนของภาคฯ ได้ร่วมมือกันทำงาน ด้วยความวิริยะอุตสาหะไม่น้อยกว่า ภาคส่วนใดๆ วิศวกรรมไฟฟ้า หางานง่าย เป็นทีแ่ น่นอนว่า หนึง่ ในสาขาวิชาหลักทีค่ ณะวิศวกรรมศาสตร์ควร มีก็คือภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า นับจากเมื่อแรกดำเนินการจวบถึงปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๓ ถือได้วา่ ได้เกิดการพัฒนาการมาโดยลำดับ อาจารย์วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อาจารย์เดชา วิไลรัตน์ และอาจารย์เซง เลิศมโนรัตน์ ช่วยกันเล่าเรือ่ ง “...ผมว่าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้ามีความเปลีย่ นแปลงไปเยอะ เยอะ มาก แต่ก่อนมีแต่อาจารย์ ป.โท อย่างผมยังเนี้ยฮะ ตอนนี้กลายเป็น ป.เอกกันหมดแล้ว แล้วก็อัตราอาจารย์ก็มีมากถ้านับภาคคอมฯ ด้วย คือ แต่ ก่ อ น คอมฯ กะไฟฟ้ า อยู่ ด้ ว ยกั น ก็ มี จากอาจารย์ พิ เ ศษมากกว่ า อาจารย์ประจำ เดีย๋ วนีเ้ ราแทบไม่จา้ งอาจารย์พเิ ศษแล้ว แล้วก็ การเติบโต ของเราในเชิงอาจารย์ ก็ ผมคิดว่าดีขนึ้ เยอะ งานวิจยั เราก็ออกไปมาก มี ช่วงหลายปีตดิ ต่อกันเลยทีภ่ าควิชาไฟฟ้าทำงานวิจยั โดดเด่นมากกว่าภาคอืน่ เวลาพูดถึงมหิดล publication ของคณะวิศวะ ก็จะเป็นภาควิชาไฟฟ้าเป็น ส่วนใหญ่ คือภาคอื่นก็เข้าใจนะครับตอนนั้นก็คือหนักเหมือนกับภาคเรา แหละ” “...ตอนนี้ยังมีคำยืนยันออกมาเลยว่า ถ้าเด็กมหิดลมาสมัคร เกิน ๓ เอาเลยนะ ยังศรัทธาในของเราเหมือนกัน ถ้าเป็น ๓.๕ นี่ยิ่งชอบ ๘๓


การสอนนักศึกษา ในห้องปฏิบต ั กิ าร

ด้วยเหตุผลเดียวคือ การเห็นความสำคัญของการศึกษา จำเนียรกาลเนิ่นนานจนจะครบ ๒๐ ปี วิศวกรรมอุตสาหการได้ ก่อให้เกิดผลผลิตทีด่ ๆี แก่สงั คมหลายประการ ซึง่ อาจารย์แฉล้ม โพธิแ์ ดง และอาจารย์กญ ั จน์ คณาธารทิพย์ (หัวหน้าภาควิชาคนปัจจุบนั ) เล่าว่า “...อย่างทุกวันเนีย้ สมัยก่อน สิบปีทแี่ ล้วเราจะนิง่ ในงานวิจยั แต่เรา ยิง่ ใหญ่ในงานบริการวิชาการ แต่หลังจากสิบปีเริม่ มีอาจารย์ทเี่ ป็นลูกหม้อ ของเราไปเรียนกลับมา ก็จะมีผลงานทางวิชาการตามมาด้วยแล้วก็ติด อันดับประเทศด้วย พอเริม่ ปุบ๊ เนีย่ ติดอันดับประเทศเลย…” “...แล้ ว ปั จ จุ บั น สำหรั บ ภาควิ ช าวิ ศ วกรรมอุ ต สาหการเนี่ ย เปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก เรามีโครงการต่างๆ มากมาย ทั้งโครงการ ศูนย์วิจัย เราเป็นศูนย์ประสานงานทุนของ สกว. ทางด้าน logistic manage แล้วก็ supply chain ของประเทศไทย หัวหน้าโครงการ (รอง ศาสตราจารย์ ดร.ดวงพรรณ กริชชาญชัย) เองก็เป็น เรียกว่าอยูใ่ น top five ในวงการ logistic supply chain ไม่วา่ จะเรือ่ งของการทีจ่ ะ funding หาเงินทุนเข้ามา ปัจจุบันผมว่าภาควิชาเรามีศักยภาพในการที่จะขึ้นไปถึง ระดับประเทศแล้ว หลายๆ โครงการทีภ่ าควิชาทำ หรืออาจารย์ในภาควิชา เนีย่ เข้าไปร่วมโครงการมีผลต่อการเปลีย่ นแปลงนโยบายในระดับประเทศ นะครับ ซึง่ ตรงนีเ้ องเนีย่ อ่า... เราก็ไล่ตามเก็บ record เพือ่ ทีจ่ ะ present ให้สงั คมทราบว่าจริงๆ แล้ววิศวกรรมอุตสาหการเนีย่ ทำอะไรได้บา้ ง” ๘๒

“ที่นี่ทำเยอะมากตอนนี้เนี่ย อีกปีสองปี งานที่ทำของวิศวะเนี่ย โอ้โฮ... คุณค่ามหาศาลเลย เพราะตอนนี้เนี้ย สามปีที่ผ่านมาถึงตอนนี้นะ ฮะ งานวิจยั เยอะมาก เพราะบางส่วนอยูร่ ะหว่างจะสำเร็จแล้ว บางส่วนอยู่ ระหว่างการทดลองทดสอบ บางส่วนก็เป็นผลงานสำเร็จรูปออกมาแล้ว คือจะมีผลงานเยอะมากๆ ดังนี้เรียนแล้วว่า ตอนนี้เราสามารถที่จะสง่า ผ่าเผยและไม่เป็นรองใคร…” กว่าจะมีผลงานเป็นที่กล่าวขวัญถึงอย่างที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ คนของภาคฯ ได้ร่วมมือกันทำงาน ด้วยความวิริยะอุตสาหะไม่น้อยกว่า ภาคส่วนใดๆ วิศวกรรมไฟฟ้า หางานง่าย เป็นทีแ่ น่นอนว่า หนึง่ ในสาขาวิชาหลักทีค่ ณะวิศวกรรมศาสตร์ควร มีก็คือภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า นับจากเมื่อแรกดำเนินการจวบถึงปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๓ ถือได้วา่ ได้เกิดการพัฒนาการมาโดยลำดับ อาจารย์วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อาจารย์เดชา วิไลรัตน์ และอาจารย์เซง เลิศมโนรัตน์ ช่วยกันเล่าเรือ่ ง “...ผมว่าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้ามีความเปลีย่ นแปลงไปเยอะ เยอะ มาก แต่ก่อนมีแต่อาจารย์ ป.โท อย่างผมยังเนี้ยฮะ ตอนนี้กลายเป็น ป.เอกกันหมดแล้ว แล้วก็อัตราอาจารย์ก็มีมากถ้านับภาคคอมฯ ด้วย คือ แต่ ก่ อ น คอมฯ กะไฟฟ้ า อยู่ ด้ ว ยกั น ก็ มี จากอาจารย์ พิ เ ศษมากกว่ า อาจารย์ประจำ เดีย๋ วนีเ้ ราแทบไม่จา้ งอาจารย์พเิ ศษแล้ว แล้วก็ การเติบโต ของเราในเชิงอาจารย์ ก็ ผมคิดว่าดีขนึ้ เยอะ งานวิจยั เราก็ออกไปมาก มี ช่วงหลายปีตดิ ต่อกันเลยทีภ่ าควิชาไฟฟ้าทำงานวิจยั โดดเด่นมากกว่าภาคอืน่ เวลาพูดถึงมหิดล publication ของคณะวิศวะ ก็จะเป็นภาควิชาไฟฟ้าเป็น ส่วนใหญ่ คือภาคอื่นก็เข้าใจนะครับตอนนั้นก็คือหนักเหมือนกับภาคเรา แหละ” “...ตอนนี้ยังมีคำยืนยันออกมาเลยว่า ถ้าเด็กมหิดลมาสมัคร เกิน ๓ เอาเลยนะ ยังศรัทธาในของเราเหมือนกัน ถ้าเป็น ๓.๕ นี่ยิ่งชอบ ๘๓


เอาเลย เพราะเค้ามองเป็นเกณฑ์ไป คือตลาดแรงงาน คำตอบก็คงทำงาน ได้เยอะ สิงหานีจ้ บไป สมมุตจิ บมีนาปีหน้านี้ สิงหาก็ได้งานหมดแล้วครับ คือสายไฟฟ้ามันหางานง่ายครับ ไฟฟ้าไม่ได้หางานยากมาก เพียงแต่ว่า เด็กมันเลือกมากหน่อย เพราะว่าจะเอาเงินเดือนเท่าไหร่ดี ต่างจังหวัดหรือ กรุงเทพฯ ก็คดิ ว่านะจะโอเคครับ” “...มีงานวิจยั ทางด้าน multimedia ครับ...คือกดปุม่ ปุม่ เดียว นีเ้ รา จะสามารถใช้มอื หรือใช้นวิ้ ทัง้ ๕ นิว้ ทำงานร่วมกับ ปกติแล้วเราจะเป็น จุดเดียวใช่มยั้ จะเอาอะไรก็ใช้เมาส์คลิก แต่ลองคิดดูซวิ า่ ถ้ามันมี multiple มีหลายจุดที่โฟกัส เพราะฉะนั้นเราสามารถจะเล่นลูกเล่นกับมันได้มากขึ้น ในแง่ของการ interface ระหว่างมนุษย์กบั เครือ่ งคอมพิวเตอร์ทจี่ ะสัง่ งาน มันว่า เราต้องการอะไร ปกติตอนนี้เราติดอยู่ที่ว่า ทุกอย่างต้อง one click อยู่ ในจอเดียวเราคุมแค่หนึ่ง... ก็ถามว่า ทำไมต้องหนึ่ง pointer ผมก็ไม่เข้าใจ เราใช้กันมา ตอนนี้เกือบจะ ๓๐ ปีได้แล้วมั้ง ไอ้ one pointer เนีย่ cursor cursor นึกออกมัย้ มันมี one cursor แล้วนีเ่ ป็น multi cursor หมายถึง multiple control... ตอนนีก้ ำลังพัฒนาอยู.่ ..” ชาวมหิดลทีด่ ำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน หรือการทำงานอืน่ ใดอยู่ที่ศาลายา บ่อยครั้งที่จะพบเห็นการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์เข้าสู่ ระบบเครือข่าย การทำวิทยุชมุ ชนของมหาวิทยาลัยมหิดล ทีม่ าหรือแหล่ง กำเนิดของเครื่องมือสื่อสารเหล่านี้ ก็เกิดจากอาจารย์และเจ้าหน้าที่ของ ภาควิศวกรรมไฟฟ้าทัง้ นัน้

การลงนามความร่วมมือระหว่าง True กั บ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล เพื่ อ เปิ ด หลั ก สู ต รทางด้ า นวิ ศ วกรรมไฟฟ้ า หลักสูตรปริญญาโท ๘๔

วิศวกรรมเคมี มีดแี น่นอน วิศวกรรมเคมี ถือเป็นวิชาหลักๆ ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เปิด สอนกันมาแล้วนานปี ในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เมื่อตั้งคณะวิศวะมหิดล ภาควิชานี้ก็ต้องถือว่า จำเป็นต้องมี เพราะเป็นความจำเป็นพื้นฐานที่จะ ต้องผลิตบัณฑิตสายนี้สู่สังคม นอกจากงานการเรียนการสอนที่เริ่มมาตั้ง แต่แรกตัง้ จนในระยะหลังๆ ได้มกี จิ กรรมออกสูช่ มุ ชนมากขึน้ ซึง่ อาจารย์ ในภาคเคมีนำทีมโดยอาจารย์เพ็ญพรรณ ทะสะโส ช่วยกันเล่าให้ฟงั ว่า “...จริงๆ สำหรับโครงการบริการวิชาการที่ภาคก็น่าจะมีหลาย โครงการเหมื อ นกั น ... โครงการบริ ก ารตรวจวั ด และวิ เ คราะห์ คุ ณ ภาพ

สิ่งแวดล้อม ซึ่งเราทำมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ เป็นโครงการที่สังกัดอยู่ที่ศูนย์ ประยุกต์ และภายหลังทีศ่ นู ย์ประยุกต์โอนมาให้คณะฯ ช่วยดำเนินการเอง

ก็ปัจจุบันก็ยังดำเนินการต่อ ก็จะเป็นเรื่องของการช่วยตรวจวัดวิเคราะห์ สำหรับโรงงานทีอ่ าจจะมีปญ ั หาทางด้านน้ำเสีย อากาศเสีย แล้วก็อาจจะมี การให้คำปรึกษาบ้างในบางโอกาส” “...ข้อดีอันหนึ่ง แม้ว่าทุกคน เกือบจะส่วนใหญ่ ๙๐% คือวุฒิ เดียวกัน ก็คอื วิศวกรเคมี แต่ละคนก็จะมีความถนัด มีความหลากหลาย ไปคนละอย่าง ดังนัน้ ในช่วงของงานวิจยั ก็อาจจะมีเรือ่ งของการสกัด เรือ่ ง ของสมุนไพร แล้วก็จะมีอาจารย์ ที่เขาทำทางด้านพลังงานสะอาด ทางด้ า นคลี น เทคโนโลยี มี อาจารย์วนิดา อาจารย์จะทำทาง ด้านคะตะลิสต์ ทางด้านตัวเร่ง ปฏิ กิ ริ ย า อาจารย์ เ ที ย นไชย อาจารย์ ก็ จ ะเชี่ ย วชาญทางด้ า น เซรามิกส์ ทางด้านศิลปะ อาจารย์ ก็จะชอบศิลปะแล้วก็ทำให้ภาคมี ภาควิชาวิศวกรรมเคมี จัดโครงการค่ายเยาวชน Chem E Camp สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยม สี สั น สวยงาม มี ก ารตกแต่ ง มี ปลายสายวิทยาศาสตร์ ๘๕


เอาเลย เพราะเค้ามองเป็นเกณฑ์ไป คือตลาดแรงงาน คำตอบก็คงทำงาน ได้เยอะ สิงหานีจ้ บไป สมมุตจิ บมีนาปีหน้านี้ สิงหาก็ได้งานหมดแล้วครับ คือสายไฟฟ้ามันหางานง่ายครับ ไฟฟ้าไม่ได้หางานยากมาก เพียงแต่ว่า เด็กมันเลือกมากหน่อย เพราะว่าจะเอาเงินเดือนเท่าไหร่ดี ต่างจังหวัดหรือ กรุงเทพฯ ก็คดิ ว่านะจะโอเคครับ” “...มีงานวิจยั ทางด้าน multimedia ครับ...คือกดปุม่ ปุม่ เดียว นีเ้ รา จะสามารถใช้มอื หรือใช้นวิ้ ทัง้ ๕ นิว้ ทำงานร่วมกับ ปกติแล้วเราจะเป็น จุดเดียวใช่มยั้ จะเอาอะไรก็ใช้เมาส์คลิก แต่ลองคิดดูซวิ า่ ถ้ามันมี multiple มีหลายจุดที่โฟกัส เพราะฉะนั้นเราสามารถจะเล่นลูกเล่นกับมันได้มากขึ้น ในแง่ของการ interface ระหว่างมนุษย์กบั เครือ่ งคอมพิวเตอร์ทจี่ ะสัง่ งาน มันว่า เราต้องการอะไร ปกติตอนนี้เราติดอยู่ที่ว่า ทุกอย่างต้อง one click อยู่ ในจอเดียวเราคุมแค่หนึ่ง... ก็ถามว่า ทำไมต้องหนึ่ง pointer ผมก็ไม่เข้าใจ เราใช้กันมา ตอนนี้เกือบจะ ๓๐ ปีได้แล้วมั้ง ไอ้ one pointer เนีย่ cursor cursor นึกออกมัย้ มันมี one cursor แล้วนีเ่ ป็น multi cursor หมายถึง multiple control... ตอนนีก้ ำลังพัฒนาอยู.่ ..” ชาวมหิดลทีด่ ำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน หรือการทำงานอืน่ ใดอยู่ที่ศาลายา บ่อยครั้งที่จะพบเห็นการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์เข้าสู่ ระบบเครือข่าย การทำวิทยุชมุ ชนของมหาวิทยาลัยมหิดล ทีม่ าหรือแหล่ง กำเนิดของเครื่องมือสื่อสารเหล่านี้ ก็เกิดจากอาจารย์และเจ้าหน้าที่ของ ภาควิศวกรรมไฟฟ้าทัง้ นัน้

การลงนามความร่วมมือระหว่าง True กั บ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล เพื่ อ เปิ ด หลั ก สู ต รทางด้ า นวิ ศ วกรรมไฟฟ้ า หลักสูตรปริญญาโท ๘๔

วิศวกรรมเคมี มีดแี น่นอน วิศวกรรมเคมี ถือเป็นวิชาหลักๆ ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เปิด สอนกันมาแล้วนานปี ในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เมื่อตั้งคณะวิศวะมหิดล ภาควิชานี้ก็ต้องถือว่า จำเป็นต้องมี เพราะเป็นความจำเป็นพื้นฐานที่จะ ต้องผลิตบัณฑิตสายนี้สู่สังคม นอกจากงานการเรียนการสอนที่เริ่มมาตั้ง แต่แรกตัง้ จนในระยะหลังๆ ได้มกี จิ กรรมออกสูช่ มุ ชนมากขึน้ ซึง่ อาจารย์ ในภาคเคมีนำทีมโดยอาจารย์เพ็ญพรรณ ทะสะโส ช่วยกันเล่าให้ฟงั ว่า “...จริงๆ สำหรับโครงการบริการวิชาการที่ภาคก็น่าจะมีหลาย โครงการเหมื อ นกั น ... โครงการบริ ก ารตรวจวั ด และวิ เ คราะห์ คุ ณ ภาพ

สิ่งแวดล้อม ซึ่งเราทำมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ เป็นโครงการที่สังกัดอยู่ที่ศูนย์ ประยุกต์ และภายหลังทีศ่ นู ย์ประยุกต์โอนมาให้คณะฯ ช่วยดำเนินการเอง

ก็ปัจจุบันก็ยังดำเนินการต่อ ก็จะเป็นเรื่องของการช่วยตรวจวัดวิเคราะห์ สำหรับโรงงานทีอ่ าจจะมีปญ ั หาทางด้านน้ำเสีย อากาศเสีย แล้วก็อาจจะมี การให้คำปรึกษาบ้างในบางโอกาส” “...ข้อดีอันหนึ่ง แม้ว่าทุกคน เกือบจะส่วนใหญ่ ๙๐% คือวุฒิ เดียวกัน ก็คอื วิศวกรเคมี แต่ละคนก็จะมีความถนัด มีความหลากหลาย ไปคนละอย่าง ดังนัน้ ในช่วงของงานวิจยั ก็อาจจะมีเรือ่ งของการสกัด เรือ่ ง ของสมุนไพร แล้วก็จะมีอาจารย์ ที่เขาทำทางด้านพลังงานสะอาด ทางด้ า นคลี น เทคโนโลยี มี อาจารย์วนิดา อาจารย์จะทำทาง ด้านคะตะลิสต์ ทางด้านตัวเร่ง ปฏิ กิ ริ ย า อาจารย์ เ ที ย นไชย อาจารย์ ก็ จ ะเชี่ ย วชาญทางด้ า น เซรามิกส์ ทางด้านศิลปะ อาจารย์ ก็จะชอบศิลปะแล้วก็ทำให้ภาคมี ภาควิชาวิศวกรรมเคมี จัดโครงการค่ายเยาวชน Chem E Camp สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยม สี สั น สวยงาม มี ก ารตกแต่ ง มี ปลายสายวิทยาศาสตร์ ๘๕


ภาควิชาวิศวกรรมโยธาเป็นเจ้าภาพร่วมในการประชุมวิชาการ วิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ณ โรงแรม เดอะซายน์ พัทยา ระหว่าง วันที่ 18-20 พฤษภาคม 2554

นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ ออกฝึกภาคสนามวิชาสำรวจ ๘๖

บรรยากาศที่สบาย น่าทำงาน เพราะอาจารย์จะเอางานศิลปะมาติดไว้ใน ภาคนีเ่ ยอะมาก นอกจากนีม้ ขี อ้ ดีอกี ตรงทีน่ มี้ อี าจารย์ทที่ ำทางด้านอาหาร ทางด้านไบโอเทคโนโลยี อะไรแบบนี้เยอะ จำนวนอาจารย์ รวมอาจารย์ ต่างประเทศก็ประมาณ ๑๗ ซึง่ ถ้าดูเป็นอัตราส่วนระหว่างอาจารย์ กับนัก ศึกษาก็อยู่ในอัตราที่ดี ที่น่าพอใจ คือไม่มากเกินไป เราก็ยังมีเวลาดูแล

นักศึกษาได้ใกล้ชดิ ” “...ในเรื่องของการบริการชุมชน ก็ได้ทำไปแล้วในเรื่องของการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์คณ ุ ภาพสิง่ แวดล้อม แล้วก็จำทำดัชนี ชีว้ ดั คุณภาพสิง่ แวดล้อม อันนีก้ ค็ อื ได้ทำให้กบั ของ อบต.ในเขตนครปฐม ก็ คือมี อบต. ศาลายา มหาสวัสดิ์ คลองโยง ก็คอื ทำให้กบั อบต. แถวๆ นี้ แล้วก็ในเรื่องของโรงงานอุตสาหกรรมด้วย ก็คือ เชิญมากลุ่มย่อยๆ แล้ว ก็ได้อบรมความรู้ให้ แล้วก็เข้าห้องแล็บปฏิบัติการให้ทำจริงๆ แล้วก็ตรวจ วิเคราะห์ แล้วก็จัดทำรายงานดัชนีชี้วัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม อันนี้ก็จะมี ส่วนทีไ่ ด้ไปในเรือ่ งของการได้ชว่ ยชุมชน...” วิศวกรรมโยธา ท้าพิสจู น์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาของวิศวะมหิดล เปิดตามหลังภาควิชาอืน่ ๆ หลังจากทีค่ ณะฯ ดำเนินงานมาแล้วไม่นานปี เหตุทตี่ อ้ งเปิดล่าช้ากว่าภาค อื่นนั้นก็เนื่องจากบุคลากรและอาจารย์ประจำยังไม่มี ภายหลังเมื่อเริ่มมี อาจารย์ที่จะมาดูแลภาควิชานี้แล้ว จึงได้ดำเนินการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และก็นบั ว่าเป็นภาควิชาทีเ่ ก่าแก่ ของคณะฯ ด้วยเช่นกัน รวบรวมคำกล่าว ของ อาจารย์กวี ไตรระวี และอาจารย์ธชั วีร์ ลีละวัฒน์ รักษาการหัวหน้า ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิง่ แวดล้อมคนปัจจุบนั ได้วา่ “...ในเรือ่ งของปริญญาตรีเราเปิดมานานแล้ว ของปริญญาตรีกค็ อื ว่า เราได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของสภาวิศวกร ก็คอื ว่าในด้านต่างๆ เรามี นอกจากนีส้ งิ่ ทีเ่ ราเสริมมา ก็คอื ว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ปจั จุบนั งานจะมีพวก project งานอะไรต่างๆ จะได้จากงานวิจัยจากภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วย ก็คือนักศึกษาส่วนใหญ่ก็ได้ไปลุยงานตรงนั้นด้วย ก็คือว่าอาจารย์จะ ๘๗


ภาควิชาวิศวกรรมโยธาเป็นเจ้าภาพร่วมในการประชุมวิชาการ วิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ณ โรงแรม เดอะซายน์ พัทยา ระหว่าง วันที่ 18-20 พฤษภาคม 2554

นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ ออกฝึกภาคสนามวิชาสำรวจ ๘๖

บรรยากาศที่สบาย น่าทำงาน เพราะอาจารย์จะเอางานศิลปะมาติดไว้ใน ภาคนีเ่ ยอะมาก นอกจากนีม้ ขี อ้ ดีอกี ตรงทีน่ มี้ อี าจารย์ทที่ ำทางด้านอาหาร ทางด้านไบโอเทคโนโลยี อะไรแบบนี้เยอะ จำนวนอาจารย์ รวมอาจารย์ ต่างประเทศก็ประมาณ ๑๗ ซึง่ ถ้าดูเป็นอัตราส่วนระหว่างอาจารย์ กับนัก ศึกษาก็อยู่ในอัตราที่ดี ที่น่าพอใจ คือไม่มากเกินไป เราก็ยังมีเวลาดูแล

นักศึกษาได้ใกล้ชดิ ” “...ในเรื่องของการบริการชุมชน ก็ได้ทำไปแล้วในเรื่องของการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์คณ ุ ภาพสิง่ แวดล้อม แล้วก็จำทำดัชนี ชีว้ ดั คุณภาพสิง่ แวดล้อม อันนีก้ ค็ อื ได้ทำให้กบั ของ อบต.ในเขตนครปฐม ก็ คือมี อบต. ศาลายา มหาสวัสดิ์ คลองโยง ก็คอื ทำให้กบั อบต. แถวๆ นี้ แล้วก็ในเรื่องของโรงงานอุตสาหกรรมด้วย ก็คือ เชิญมากลุ่มย่อยๆ แล้ว ก็ได้อบรมความรู้ให้ แล้วก็เข้าห้องแล็บปฏิบัติการให้ทำจริงๆ แล้วก็ตรวจ วิเคราะห์ แล้วก็จัดทำรายงานดัชนีชี้วัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม อันนี้ก็จะมี ส่วนทีไ่ ด้ไปในเรือ่ งของการได้ชว่ ยชุมชน...” วิศวกรรมโยธา ท้าพิสจู น์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาของวิศวะมหิดล เปิดตามหลังภาควิชาอืน่ ๆ หลังจากทีค่ ณะฯ ดำเนินงานมาแล้วไม่นานปี เหตุทตี่ อ้ งเปิดล่าช้ากว่าภาค อื่นนั้นก็เนื่องจากบุคลากรและอาจารย์ประจำยังไม่มี ภายหลังเมื่อเริ่มมี อาจารย์ที่จะมาดูแลภาควิชานี้แล้ว จึงได้ดำเนินการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และก็นบั ว่าเป็นภาควิชาทีเ่ ก่าแก่ ของคณะฯ ด้วยเช่นกัน รวบรวมคำกล่าว ของ อาจารย์กวี ไตรระวี และอาจารย์ธชั วีร์ ลีละวัฒน์ รักษาการหัวหน้า ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิง่ แวดล้อมคนปัจจุบนั ได้วา่ “...ในเรือ่ งของปริญญาตรีเราเปิดมานานแล้ว ของปริญญาตรีกค็ อื ว่า เราได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของสภาวิศวกร ก็คอื ว่าในด้านต่างๆ เรามี นอกจากนีส้ งิ่ ทีเ่ ราเสริมมา ก็คอื ว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ปจั จุบนั งานจะมีพวก project งานอะไรต่างๆ จะได้จากงานวิจัยจากภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วย ก็คือนักศึกษาส่วนใหญ่ก็ได้ไปลุยงานตรงนั้นด้วย ก็คือว่าอาจารย์จะ ๘๗


คอยช่วยทั้งทำด้วยก็คือเราไม่ได้ทิ้งเด็กอย่างเดียว ก็คืออาจารย์ส่วนใหญ่ ของเรา จะลงไปทำ project ร่วมกับนักศึกษา ให้นกั ศึกษาเขารูว้ า่ ในการ ทำงานเป็นอย่างไร แล้วก็วธิ กี ารแก้ปญ ั หา แก้ยงั ไง สมมุตติ ดิ ปัญหา ไม่ใช่ ว่าเด็กมานั่งหาทางแก้ปัญหาอย่างเดียว ก็จะมีการ response ต่อไปว่า แนวทางในการแก้ เราต้องแก้อย่างไรบ้าง แล้วก็นอกจากนั้นก็คือว่า เรา จะมีดงู านค่อนข้างจะบ่อย ก็คอื ว่า เราจะพาเด็กไปดู เอ่อ ในของปริญญาตรี นะครับ เราจะพาไปดู ลักษณะตามโครงสร้างต่างๆ ว่าทำยังไง แล้วก็เป็น โครงสร้างอะไรเป็นพิเศษขึน้ มา” ต่ อ มาในภาควิ ศ วกรรมโยธาและสิ่ ง แวดล้ อ มได้ เ ปิ ด การสอน หลักสูตรปริญญาโทที่มีความต่างจากแห่งอื่นๆ กล่าวคือ เป็นปริญญาโท ทางด้านโครงสร้าง หลักสูตรนานาชาติ เน้นทางด้านโครงสร้าง เนือ่ งจาก อาคารในประเทศไทยมีอายุค่อนข้างยาวนาน ขาดการวิเคราะห์ซ่อมแซม และบำรุงโครงสร้าง จึงเห็นว่าเป็นศาสตร์ด้านนี้ยังขาดแคลนอยู่มาก ถ้า ไม่รหู้ ลักการหรือวิธกี ารบำรุงหรือซ่อมแซม ก็จะส่งผลต่อเรือ่ งงบประมาณ บานปลาย อายุและการใช้งานของอาคารก็จะมีปญ ั หาตามมา “...ซึ่งเด็กก็จะได้เรียนรู้ ความคงทนมันเป็นอย่างไร ไปจนถึงวิธี การตรวจสอบวิเคราะห์ต่างๆ ได้ลงไปลุยในงานจริง เพราะว่าในแง่ของ ปริญญาโทเรา ถ้าเป็นของโยธามันจะมีวธิ กี ารตรวจสอบว่าตรวจสอบยังไง อย่างปีทแี่ ล้วนักศึกษาของ ป.โท เราไปทำทีเ่ ป็นเหมือนงานจริงๆ เลย” นอกจากการสอนในเชิงวิชาการแล้ว ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและ สิง่ แวดล้อมยังได้ทำกิจกรรมทีเ่ ป็นประโยชน์อนื่ ๆ อีก ขณะเดียวกัน ผูเ้ รียน ยังได้เรียนรูง้ านภาคสนาม และกลับมาเป็นหัวข้อการวิจยั ได้ดว้ ย เช่น “...ปีที่ผ่านมา ก็มีสองงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง งานหนึ่งก็คือว่า อาจารย์วรรณศิริ ก็ทำเกี่ยวกับเรื่อง earthquake เกี่ยวกับเรื่องแผ่นดิน ไหว ทีนี้เขาจะทำเครื่องมือเป็นตัวเซ็นเซอร์ในการวัด ยกตัวอย่างเช่น เครื่องมือนี้ก็สามารถไปวัดในตัวไซต์งานจริงๆ ได้ เช่นไปวัดตรงสะพาน เขาก็สามารถส่งสัญญาณว่า warning มันอยูต่ รงไหน หรือในแง่ของผมกับ อาจารย์ประวีณ ก็คอื ว่าไปวัดการตรวจสอบตึก อาคารส่วนใหญ่เราก็ไปวัด ๘๘

ของตึ ก ในมหิ ด ลหลายๆ ตึ ก ที่ มี อ ายุ ก ารใช้ ง านนานๆ ตั้ ง แต่ ศิ ริ ร าช

รามา ไปถึงพญาไท ศาลายา เพือ่ ทีจ่ ะดูวา่ โครงสร้างของเขามีปญ ั หาหรือ ยัง คือเด็กได้ทำตรงนี้ด้วย แล้วก็สามารถที่จะเอาตรงนี้ไปเขียน thesis เขียนอะไรต่างๆ ได้ เพราะส่วนใหญ่เด็กทีท่ ำ จะมีทนุ วิจยั กันหมด” วิศวกรรมศาสตร์ มหิดล ได้ “แตกหน่อ” มาจากคณะสิง่ แวดล้อมฯ จึงได้คงหลักการของการสอนทีม่ เี นือ้ หาเกีย่ วกับสิง่ แวดล้อมอยูด่ ว้ ย “...ทางด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม หลั ก สู ต รสิ่ ง แวดล้ อ มก็ เ ป็ น หลั ก สู ต ร นานาชาติเหมือนกันนะครับ ทัง้ สองหลักสูตรก็มนี กั ศึกษาต่างชาติมาเรียน ...นักศึกษาจะได้เรียนรู้งานเหมือนกัน ซึ่งนักศึกษาทั้งหมดก็จะมีทุนวิจัยมา เกีย่ วข้องด้วยทัง้ หมดเหมือนกัน คือทัง้ ปริญญาตรีและปริญญาโทส่วนใหญ่ มันก็จะมีทนุ คือทุนของเราจะมีหลายทาง จากทางรัฐบาลแล้วก็เอกชน มี ค่อนข้างที่จะเยอะเหมือนกัน... นอกจากนั้นก็คือว่า หลักสูตรมันก็มีอย่าง ของสิ่งแวดล้อมนี่ ก็มีลิงค์กับมหาวิทยาลัยเกียวโต ก็มีนักศึกษาส่วนหนึ่ง ไปทำ project ทีน่ นู่ ไปเรียนรูง้ านทีน่ นู่ เสร็จ ก็กลับมา ได้ไปลองทำดูวา่ มันเป็นอย่างไรบ้าง ในส่วนของหลักสูตรโยธา ป.โท ก็คล้ายๆ กัน ก็คอื ว่า มีการลิงค์เหมือนกัน มีนกั ศึกษาคนหนึง่ ได้เป็น full scholarship” การบู ร ณาการก็ ยั ง มี ค วามสำคั ญ เพราะทุ ก ๆ ศาสตร์ ย่ อ ม ต้องการการเกื้อกูลเชื่อมโยงกัน คณาจารย์ของวิศกรรมโยธา มหิดล ได้ เป็นส่วนหนึง่ ในการเชือ่ มโยงกับศาสตร์อนื่ ๆ เหล่านัน้ “...เรามีอาจารย์ของเราไปทำร่วมกับหลักสูตรอื่นด้วยเหมือนกัน แต่เราคงไม่จำกัดว่ามันต้องอยู่ที่ภาคโยธาอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่น มี อาจารย์ท่านหนึ่ง อาจารย์สมชาย ก็คือว่าท่านเก่งทางด้านของจราจร แล้วก็ logistic เพราะฉะนัน้ ก็คอื ว่า project นีจ้ ะไปทำลิงค์กบั หลักสูตร IT ด้วย แล้วก็ทางวิศวะอุตสาหการ ซึง่ ตรงนีก้ ม็ ี project มาค่อนข้างทีจ่ ะ เยอะ” ทางด้านผลผลิตจากหลักสูตรด้านโยธา ถือได้วา่ เป็นทีย่ อมรับของ หน่วยงานผูใ้ ช้บริการ อาจารย์กวีจะเล่าด้วยความภูมใิ จว่า “…เราผลิตลูกศิษย์จบไปหลายรุน่ แล้ว หน่วยงานก็ยอมรับครับ ตัง้ แต่ ๘๙


คอยช่วยทั้งทำด้วยก็คือเราไม่ได้ทิ้งเด็กอย่างเดียว ก็คืออาจารย์ส่วนใหญ่ ของเรา จะลงไปทำ project ร่วมกับนักศึกษา ให้นกั ศึกษาเขารูว้ า่ ในการ ทำงานเป็นอย่างไร แล้วก็วธิ กี ารแก้ปญ ั หา แก้ยงั ไง สมมุตติ ดิ ปัญหา ไม่ใช่ ว่าเด็กมานั่งหาทางแก้ปัญหาอย่างเดียว ก็จะมีการ response ต่อไปว่า แนวทางในการแก้ เราต้องแก้อย่างไรบ้าง แล้วก็นอกจากนั้นก็คือว่า เรา จะมีดงู านค่อนข้างจะบ่อย ก็คอื ว่า เราจะพาเด็กไปดู เอ่อ ในของปริญญาตรี นะครับ เราจะพาไปดู ลักษณะตามโครงสร้างต่างๆ ว่าทำยังไง แล้วก็เป็น โครงสร้างอะไรเป็นพิเศษขึน้ มา” ต่ อ มาในภาควิ ศ วกรรมโยธาและสิ่ ง แวดล้ อ มได้ เ ปิ ด การสอน หลักสูตรปริญญาโทที่มีความต่างจากแห่งอื่นๆ กล่าวคือ เป็นปริญญาโท ทางด้านโครงสร้าง หลักสูตรนานาชาติ เน้นทางด้านโครงสร้าง เนือ่ งจาก อาคารในประเทศไทยมีอายุค่อนข้างยาวนาน ขาดการวิเคราะห์ซ่อมแซม และบำรุงโครงสร้าง จึงเห็นว่าเป็นศาสตร์ด้านนี้ยังขาดแคลนอยู่มาก ถ้า ไม่รหู้ ลักการหรือวิธกี ารบำรุงหรือซ่อมแซม ก็จะส่งผลต่อเรือ่ งงบประมาณ บานปลาย อายุและการใช้งานของอาคารก็จะมีปญ ั หาตามมา “...ซึ่งเด็กก็จะได้เรียนรู้ ความคงทนมันเป็นอย่างไร ไปจนถึงวิธี การตรวจสอบวิเคราะห์ต่างๆ ได้ลงไปลุยในงานจริง เพราะว่าในแง่ของ ปริญญาโทเรา ถ้าเป็นของโยธามันจะมีวธิ กี ารตรวจสอบว่าตรวจสอบยังไง อย่างปีทแี่ ล้วนักศึกษาของ ป.โท เราไปทำทีเ่ ป็นเหมือนงานจริงๆ เลย” นอกจากการสอนในเชิงวิชาการแล้ว ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและ สิง่ แวดล้อมยังได้ทำกิจกรรมทีเ่ ป็นประโยชน์อนื่ ๆ อีก ขณะเดียวกัน ผูเ้ รียน ยังได้เรียนรูง้ านภาคสนาม และกลับมาเป็นหัวข้อการวิจยั ได้ดว้ ย เช่น “...ปีที่ผ่านมา ก็มีสองงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง งานหนึ่งก็คือว่า อาจารย์วรรณศิริ ก็ทำเกี่ยวกับเรื่อง earthquake เกี่ยวกับเรื่องแผ่นดิน ไหว ทีนี้เขาจะทำเครื่องมือเป็นตัวเซ็นเซอร์ในการวัด ยกตัวอย่างเช่น เครื่องมือนี้ก็สามารถไปวัดในตัวไซต์งานจริงๆ ได้ เช่นไปวัดตรงสะพาน เขาก็สามารถส่งสัญญาณว่า warning มันอยูต่ รงไหน หรือในแง่ของผมกับ อาจารย์ประวีณ ก็คอื ว่าไปวัดการตรวจสอบตึก อาคารส่วนใหญ่เราก็ไปวัด ๘๘

ของตึ ก ในมหิ ด ลหลายๆ ตึ ก ที่ มี อ ายุ ก ารใช้ ง านนานๆ ตั้ ง แต่ ศิ ริ ร าช

รามา ไปถึงพญาไท ศาลายา เพือ่ ทีจ่ ะดูวา่ โครงสร้างของเขามีปญ ั หาหรือ ยัง คือเด็กได้ทำตรงนี้ด้วย แล้วก็สามารถที่จะเอาตรงนี้ไปเขียน thesis เขียนอะไรต่างๆ ได้ เพราะส่วนใหญ่เด็กทีท่ ำ จะมีทนุ วิจยั กันหมด” วิศวกรรมศาสตร์ มหิดล ได้ “แตกหน่อ” มาจากคณะสิง่ แวดล้อมฯ จึงได้คงหลักการของการสอนทีม่ เี นือ้ หาเกีย่ วกับสิง่ แวดล้อมอยูด่ ว้ ย “...ทางด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม หลั ก สู ต รสิ่ ง แวดล้ อ มก็ เ ป็ น หลั ก สู ต ร นานาชาติเหมือนกันนะครับ ทัง้ สองหลักสูตรก็มนี กั ศึกษาต่างชาติมาเรียน ...นักศึกษาจะได้เรียนรู้งานเหมือนกัน ซึ่งนักศึกษาทั้งหมดก็จะมีทุนวิจัยมา เกีย่ วข้องด้วยทัง้ หมดเหมือนกัน คือทัง้ ปริญญาตรีและปริญญาโทส่วนใหญ่ มันก็จะมีทนุ คือทุนของเราจะมีหลายทาง จากทางรัฐบาลแล้วก็เอกชน มี ค่อนข้างที่จะเยอะเหมือนกัน... นอกจากนั้นก็คือว่า หลักสูตรมันก็มีอย่าง ของสิ่งแวดล้อมนี่ ก็มีลิงค์กับมหาวิทยาลัยเกียวโต ก็มีนักศึกษาส่วนหนึ่ง ไปทำ project ทีน่ นู่ ไปเรียนรูง้ านทีน่ นู่ เสร็จ ก็กลับมา ได้ไปลองทำดูวา่ มันเป็นอย่างไรบ้าง ในส่วนของหลักสูตรโยธา ป.โท ก็คล้ายๆ กัน ก็คอื ว่า มีการลิงค์เหมือนกัน มีนกั ศึกษาคนหนึง่ ได้เป็น full scholarship” การบู ร ณาการก็ ยั ง มี ค วามสำคั ญ เพราะทุ ก ๆ ศาสตร์ ย่ อ ม ต้องการการเกื้อกูลเชื่อมโยงกัน คณาจารย์ของวิศกรรมโยธา มหิดล ได้ เป็นส่วนหนึง่ ในการเชือ่ มโยงกับศาสตร์อนื่ ๆ เหล่านัน้ “...เรามีอาจารย์ของเราไปทำร่วมกับหลักสูตรอื่นด้วยเหมือนกัน แต่เราคงไม่จำกัดว่ามันต้องอยู่ที่ภาคโยธาอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่น มี อาจารย์ท่านหนึ่ง อาจารย์สมชาย ก็คือว่าท่านเก่งทางด้านของจราจร แล้วก็ logistic เพราะฉะนัน้ ก็คอื ว่า project นีจ้ ะไปทำลิงค์กบั หลักสูตร IT ด้วย แล้วก็ทางวิศวะอุตสาหการ ซึง่ ตรงนีก้ ม็ ี project มาค่อนข้างทีจ่ ะ เยอะ” ทางด้านผลผลิตจากหลักสูตรด้านโยธา ถือได้วา่ เป็นทีย่ อมรับของ หน่วยงานผูใ้ ช้บริการ อาจารย์กวีจะเล่าด้วยความภูมใิ จว่า “…เราผลิตลูกศิษย์จบไปหลายรุน่ แล้ว หน่วยงานก็ยอมรับครับ ตัง้ แต่ ๘๙


ฝึกงาน พวกเขายอมรับหมด เรือ่ งการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี... ทำยังไงให้มันเป็นที่รู้จักในระดับประเทศก่อน ในระดับต่างชาติผมยังไม่ มองถึ ง ผมมี ลู ก ศิ ษ ย์ ที่ จ บระดั บ ปริ ญ ญาโท ปริ ญ ญาเอก ออกมาเป็ น อาจารย์หลายๆ คน เป็นกรรมการบริษทั ก็หลายคน” “ตอนนัน้ นะครับ คือว่าวิศวกรทีจ่ บไปจากคณะฯ โดยเฉพาะวิศวกร โยธา ไม่ใช่เก่งเรื่องทฤษฎีอย่างเดียว จะต้องปฏิบัติได้ด้วย ต้องออกไป ทำงานได้เลย อันนัน้ คือความมุง่ หมาย ก็พยายามพัฒนา” “เพราะออกไปทำงานมันไม่ได้อยูก่ บั เครือ่ งมือ บริษทั ไม่มเี ครือ่ งมือ ขนาดดีๆ อย่างนีห้ รอกครับ ต้องไปทำงานแบบ ต้อง apply ให้เป็น” ตราบใดทีม่ นุษย์ยงั ต้องสร้างอาคาร บ้านเรือน ถนนหนทาง และ สิ่งที่เกี่ยวเนื่อง ศาสตร์ทางด้านโยธายังมีความจำเป็น และต้องมีการ พัฒนาต่อๆ ไปอีกอย่างไม่รสู้ นิ้ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ขาดเธอฉันลำบาก ความรู้ความเข้าใจเรื่องคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในประเทศ ไทยมาเมือ่ กว่า ๓๐ ปีทแี่ ล้ว จนทุกวันนี้ สังคมไทยและสังคมโลก ต่างต้อง พึง่ พาเครือ่ งมือสมองกลทีเ่ รียกกันว่า “คอมพิวเตอร์” อาจเรียกเป็นคำไทย เก่าๆ ได้ว่า “แทรกเป็นยาดำ” เพราะไม่ว่าจะแตะข่ายสายงานใดๆ ล้วน แต่ยดึ โยงมาจากคอมพิวเตอร์ เช่น ตารางสายการบิน การส่งงานออนไลน์ การควบคุมระบบกลไลต่างๆ เป็นต้น ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ต่อปี ๒๕๔๓ ทั้งโลกเกิดความโกลาหลเพราะ เป็นปี ค.ศ. ๑๙๙๙ แล้วจะเปลีย่ นเป็น ๒๐๐๐ หลายฝ่ายเชือ่ และเข้าใจว่า การเปลีย่ นตัวเลขจาก ๑๙๙๙ เป็น ๒๐๐๐ จะทำให้คอมพิวเตอร์ ซึง่ เป็น อุปกรณ์ “โง่แต่ซอื่ ” เกิดความสับสน เพราะมันเป็นเครือ่ งมือ “เถนตรง” แห่งยุค จึงมีการเรียกภาวะโกลาหลนีว้ า่ Y2K ก่อนเกิดเหตุการณ์ Y2K ราว ๒-๓ ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ เปิดหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์แล้ว แต่เอาไป “แหมะไว้” กับภาควิชา ๙๐

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ส่งนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขัน Thailand Design Challenge Contest 2008 ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ

วิศวกรรมไฟฟ้า เพราะเหตุวา่ แก่นความรูท้ างด้านคอมพิวเตอร์กบั ไฟฟ้านัน้ หลายสิง่ เป็นฐานเดียวกันอยู่ การเอาหลักสูตรคอมพิวเตอร์มาฝากไว้ทนี่ จี่ งึ ไม่เป็นเรื่องแปลก และก็อยู่กับภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเรื่อยมา จนภาย หลังได้งบมาดำเนินงานที่เน้นเฉพาะคอมพิวเตอร์ จึงได้แยกอกมาเป็นภาค วิชาอย่างเอกเทศ เรียกด้วยภาษาให้สนุกว่า “ดังแล้วแยกวง” การดังแล้วแยกวงของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ไม่ได้มี ความขุ่นเคืองใจอันใดเหมือนวงดนตรีลูกทุ่ง แต่เพื่อให้การดำเนินงานมี ความเป็นเอกภาพและเด่นชัดมากยิ่งขึ้น มีการปฏิบัติงาน รวมถึงความ

รับผิดชอบขอบเขตงานทีช่ ดั เจน อาจารย์ธนดล ปริตรานันท์ และอาจารย์ พิศษิ ฏ์ โภคารัตน์กลุ เล่าว่า “...เราอยูก่ บั ไฟฟ้านะครับ สาเหตุอนั หนึง่ ทีเ่ ราอยากแยกมาก็เพราะ ว่า ทางด้าน field คอมพิวเตอร์นมี้ นั เริม่ มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึน้ เรื่อยๆ ดังนั้น แม้ว่าห้องปฏิบัติการพื้นฐาน อุปกรณ์พื้นฐานเนี่ย มันจะ คล้ายๆ หรือว่าใช้ร่วมกับไฟฟ้าได้ แต่พอถึงจุดหนึ่งมันก็มีความแตกต่าง ของทางไฟฟ้ากับทางคอมพิวเตอร์นะครับ เราก็เลยแยกออกมา จริงๆ แล้ว ๙๑


ฝึกงาน พวกเขายอมรับหมด เรือ่ งการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี... ทำยังไงให้มันเป็นที่รู้จักในระดับประเทศก่อน ในระดับต่างชาติผมยังไม่ มองถึ ง ผมมี ลู ก ศิ ษ ย์ ที่ จ บระดั บ ปริ ญ ญาโท ปริ ญ ญาเอก ออกมาเป็ น อาจารย์หลายๆ คน เป็นกรรมการบริษทั ก็หลายคน” “ตอนนัน้ นะครับ คือว่าวิศวกรทีจ่ บไปจากคณะฯ โดยเฉพาะวิศวกร โยธา ไม่ใช่เก่งเรื่องทฤษฎีอย่างเดียว จะต้องปฏิบัติได้ด้วย ต้องออกไป ทำงานได้เลย อันนัน้ คือความมุง่ หมาย ก็พยายามพัฒนา” “เพราะออกไปทำงานมันไม่ได้อยูก่ บั เครือ่ งมือ บริษทั ไม่มเี ครือ่ งมือ ขนาดดีๆ อย่างนีห้ รอกครับ ต้องไปทำงานแบบ ต้อง apply ให้เป็น” ตราบใดทีม่ นุษย์ยงั ต้องสร้างอาคาร บ้านเรือน ถนนหนทาง และ สิ่งที่เกี่ยวเนื่อง ศาสตร์ทางด้านโยธายังมีความจำเป็น และต้องมีการ พัฒนาต่อๆ ไปอีกอย่างไม่รสู้ นิ้ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ขาดเธอฉันลำบาก ความรู้ความเข้าใจเรื่องคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในประเทศ ไทยมาเมือ่ กว่า ๓๐ ปีทแี่ ล้ว จนทุกวันนี้ สังคมไทยและสังคมโลก ต่างต้อง พึง่ พาเครือ่ งมือสมองกลทีเ่ รียกกันว่า “คอมพิวเตอร์” อาจเรียกเป็นคำไทย เก่าๆ ได้ว่า “แทรกเป็นยาดำ” เพราะไม่ว่าจะแตะข่ายสายงานใดๆ ล้วน แต่ยดึ โยงมาจากคอมพิวเตอร์ เช่น ตารางสายการบิน การส่งงานออนไลน์ การควบคุมระบบกลไลต่างๆ เป็นต้น ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ต่อปี ๒๕๔๓ ทั้งโลกเกิดความโกลาหลเพราะ เป็นปี ค.ศ. ๑๙๙๙ แล้วจะเปลีย่ นเป็น ๒๐๐๐ หลายฝ่ายเชือ่ และเข้าใจว่า การเปลีย่ นตัวเลขจาก ๑๙๙๙ เป็น ๒๐๐๐ จะทำให้คอมพิวเตอร์ ซึง่ เป็น อุปกรณ์ “โง่แต่ซอื่ ” เกิดความสับสน เพราะมันเป็นเครือ่ งมือ “เถนตรง” แห่งยุค จึงมีการเรียกภาวะโกลาหลนีว้ า่ Y2K ก่อนเกิดเหตุการณ์ Y2K ราว ๒-๓ ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ เปิดหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์แล้ว แต่เอาไป “แหมะไว้” กับภาควิชา ๙๐

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ส่งนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขัน Thailand Design Challenge Contest 2008 ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ

วิศวกรรมไฟฟ้า เพราะเหตุวา่ แก่นความรูท้ างด้านคอมพิวเตอร์กบั ไฟฟ้านัน้ หลายสิง่ เป็นฐานเดียวกันอยู่ การเอาหลักสูตรคอมพิวเตอร์มาฝากไว้ทนี่ จี่ งึ ไม่เป็นเรื่องแปลก และก็อยู่กับภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเรื่อยมา จนภาย หลังได้งบมาดำเนินงานที่เน้นเฉพาะคอมพิวเตอร์ จึงได้แยกอกมาเป็นภาค วิชาอย่างเอกเทศ เรียกด้วยภาษาให้สนุกว่า “ดังแล้วแยกวง” การดังแล้วแยกวงของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ไม่ได้มี ความขุ่นเคืองใจอันใดเหมือนวงดนตรีลูกทุ่ง แต่เพื่อให้การดำเนินงานมี ความเป็นเอกภาพและเด่นชัดมากยิ่งขึ้น มีการปฏิบัติงาน รวมถึงความ

รับผิดชอบขอบเขตงานทีช่ ดั เจน อาจารย์ธนดล ปริตรานันท์ และอาจารย์ พิศษิ ฏ์ โภคารัตน์กลุ เล่าว่า “...เราอยูก่ บั ไฟฟ้านะครับ สาเหตุอนั หนึง่ ทีเ่ ราอยากแยกมาก็เพราะ ว่า ทางด้าน field คอมพิวเตอร์นมี้ นั เริม่ มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึน้ เรื่อยๆ ดังนั้น แม้ว่าห้องปฏิบัติการพื้นฐาน อุปกรณ์พื้นฐานเนี่ย มันจะ คล้ายๆ หรือว่าใช้ร่วมกับไฟฟ้าได้ แต่พอถึงจุดหนึ่งมันก็มีความแตกต่าง ของทางไฟฟ้ากับทางคอมพิวเตอร์นะครับ เราก็เลยแยกออกมา จริงๆ แล้ว ๙๑


คนที่ผลักดันในช่วงนั้นก็จะเป็นทางคณบดีนะครับ อาจารย์ธนากร… แต่ อาจารย์หมดวาระพอดี แล้วอาจารย์ปิยะขึ้นมาเป็นช่วงรอยต่อพอดี ซึ่ง อาจารย์ปยิ ะก็ให้การสนับสนุนครับ... พอมาเป็นปี ๒๕๔๓ เจอปัญหาเรือ่ ง Y2K รัฐบาลก็ให้เงินลงมาก้อนนึง ให้เราแก้ปญ ั หาเรือ่ ง Y2K จริงๆ ภาค คอมฯ ตอนนัน้ เนีย่ เรามีครุภณ ั ฑ์ เรามีเครือ่ งใช้เนีย่ โดยสาเหตุสองอันก็คอื เงินกู้ world bank ตอนปี ๒๕๔๑ วิกฤตต้มยำกุง้ แล้วก็มาได้อกี ก้อนหนึง่ ก็คือตอนที่เป็น Y2K… ดังนั้นคนที่ผลักดันก็จะมีหลายท่านนะฮะ ทั้งทาง ท่านคณบดีธนากร ท่านคณบดีปิยะ รวมถึงอาจารย์พิศิษฏ์เอง ในยุคนั้น เนี่ยก็ไปช่วยอาจารย์ปิยะ อาจารย์พิศิษฏ์ก็มีส่วนในการทำให้ภาคเนี่ยเดิน มาได้ถงึ ทุกวันนี”้ หากจะถามถึ ง “ผลประกอบการ” หรื อ บั ณ ฑิ ต ที่ จ บทางด้ า น คอมพิวเตอร์ มีการได้งานมากน้อยเพียงใด คนในหลักสูตรเผยว่า “...บัณฑิตทีจ่ บออกไปแล้วก็สามารถรองรับความต้องการของตลาด ได้ เราก็คอ่ นข้างดีใจที่ เฉลีย่ แล้วเด็กแต่ละรุน่ ของเราเนีย่ จบแล้ว พูดได้วา่ ถ้าคนที่หางานก็มีงานทำทุกคน แล้วช่วงเศรษฐกิจ ถ้าปีไหนดีหน่อยเนี่ย เด็กเราจะได้งานเกินครึ่ง ทั้งๆ ที่ยังไม่จบการศึกษา เพราะว่าสมัยผมเอง สมัยอาจารย์พศิ ษิ ฏ์เองเนีย่ เราก็บอกว่าเด็ก ปี ๔ เทอม ๒ เนีย่ คุณก็เริม่ ไป ยื่ น ใบสมั ค รได้ แ ล้ ว เพราะว่า field ตรงคอมพิวเตอร์เนี่ยก็ยังมีความ ต้องการในตลาดอีกเยอะ” เมือ่ ดำเนินงานมาแล้วพักใหญ่ๆ ปัจจุบนั นี้ (พ.ศ. ๒๕๕๓) กำลังอยู่ ในวาระที่เตรียมการจะเปิดเป็นหลักสูตรปริญญาโท เพราะอาจารย์ที่ไป เพิม่ พูนคุณวุฒไิ ด้ทยอยกลับมาแล้ว ขณะนีม้ ปี ระจำหลักสูตรอยู่ ๕ คน แต่ มีขอ้ จำกัดของระเบียบคือ ใครอยูใ่ นหลักสูตรใดก็ตอ้ งประจำอยูใ่ นหลักสูตร นั้น ไปประจำในนามหลักสูตรอื่นอีกไม่ได้ เวลานำรายชื่อและตัวเลขของ อาจารย์ประจำไปประกอบการขอเปิดหลักสูตรปริญญาโท จึงกระทำไม่ได้ “...ตอนนีเ้ รากำลังแก้ปญ ั หานัน้ อยู่ แล้วในเชิงเทคนิคบางอย่างเนีย่ เรามีปญ ั หาเนือ่ งจากว่า คนทีม่ คี วามรูท้ างด้านนี้ เป็นคนทีต่ ลาดต้องการ ๙๒

มาก โอกาสทีเ่ ราจะดึงคนจากภาคเอกชนมาเป็นอาจารย์เนีย่ จะค่อนข้างต่ำ แต่ข้อดี ตอนนี้ที่เราโชคดีก็คือ อย่างอาจารย์พิศิษฏ์เอย หรือว่าอาจารย์ หลายท่านที่หมดทุนแล้วเนี่ยยังยอมอยู่กับเรา ไม่ไปภาคอุตสาหกรรม แม้ว่าภาคอุตสาหกรรมจะจ่ายค่าตอบแทนที่ดีกว่านะครับ เพราะฉะนั้นมัน ก็มีปัญหาว่าเรา recruit คนค่อนข้างยากเมื่อเทียบกับทางสาขาอื่นเพราะ ว่า ความต้องการในตลาดเนี่ยมันสูง แต่ว่าตอนนี้เราแพลนกันชัดเจนแล้ว ว่าเรา ปี ๒๕๕๔ เราจะดำเนินการหลักสูตร ป.โท ในสามสาขา ซึ่งเรา มั่นใจว่าเป็นที่ต้องการของตลาด แล้วก็มันยังมีช่องว่างให้เด็กที่จบออกไป เป็นทีต่ อ้ งการสูง” วิศวกรรมชีวการแพทย์ เรือ่ งของแพทย์ผนวกกับวิศวะหลายแขนง ภาควิชาวิศวกรรมการแพทย์ดูเหมือนจะได้รับการกล่าวขวัญถึงใน บรรดาผู้ที่คิดก่อตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นในมหาวิทยาลัยมหิดล แต่จน แล้วจนรอด ก็ไม่อาจจะตัง้ ขึน้ ภาควิชานีข้ นึ้ มาได้โดยง่าย เพราะต้องอาศัย ความพร้อมหลายด้าน โดยเฉพาะด้านอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญจากหลายๆ แขนง ความหมายหมั้นปั้นมือจากทีมงานบริหารหลายชุดที่ผ่านมาก็ยัง คงดำเนินความมุง่ หวังนีเ้ สมอ จนในทีส่ ดุ หลังจากทีด่ ำเนินงานมาแล้วเกือบ ๑๐ ปี คือปี พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงได้เกิดเป็น “วิศวกรรมชีวการแพทย์” แต่ เป็นการเปิดสอนในระดับปริญญาโทก่อน ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดลกับ Imperial College และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี มหานคร ที่สร้างหลักสูตรอันนี้ขึ้นมาในสมัยที่อาจารย์ไพโรจน์เป็นคณบดี จากคำกล่ า วของอาจารย์ ไ พโรจน์ สุ ว รรณสุ ท ธิ อาจารย์ จั ก รกฤษณ์ ศุทธากรณ์ อาจารย์นรเศรษฐ์ ณ สงขลา และอาจารย์ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ เล่าไว้วา่ “...ตัวหลักสูตรปริญญาโทนี้ เริม่ ต้นนีก้ อ็ าจจะเป็นทีเ่ ดียว เป็นแห่ง แรกของประเทศไทยที่ตั้งทางด้านสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ตอนนั้น ๙๓


คนที่ผลักดันในช่วงนั้นก็จะเป็นทางคณบดีนะครับ อาจารย์ธนากร… แต่ อาจารย์หมดวาระพอดี แล้วอาจารย์ปิยะขึ้นมาเป็นช่วงรอยต่อพอดี ซึ่ง อาจารย์ปยิ ะก็ให้การสนับสนุนครับ... พอมาเป็นปี ๒๕๔๓ เจอปัญหาเรือ่ ง Y2K รัฐบาลก็ให้เงินลงมาก้อนนึง ให้เราแก้ปญ ั หาเรือ่ ง Y2K จริงๆ ภาค คอมฯ ตอนนัน้ เนีย่ เรามีครุภณ ั ฑ์ เรามีเครือ่ งใช้เนีย่ โดยสาเหตุสองอันก็คอื เงินกู้ world bank ตอนปี ๒๕๔๑ วิกฤตต้มยำกุง้ แล้วก็มาได้อกี ก้อนหนึง่ ก็คือตอนที่เป็น Y2K… ดังนั้นคนที่ผลักดันก็จะมีหลายท่านนะฮะ ทั้งทาง ท่านคณบดีธนากร ท่านคณบดีปิยะ รวมถึงอาจารย์พิศิษฏ์เอง ในยุคนั้น เนี่ยก็ไปช่วยอาจารย์ปิยะ อาจารย์พิศิษฏ์ก็มีส่วนในการทำให้ภาคเนี่ยเดิน มาได้ถงึ ทุกวันนี”้ หากจะถามถึ ง “ผลประกอบการ” หรื อ บั ณ ฑิ ต ที่ จ บทางด้ า น คอมพิวเตอร์ มีการได้งานมากน้อยเพียงใด คนในหลักสูตรเผยว่า “...บัณฑิตทีจ่ บออกไปแล้วก็สามารถรองรับความต้องการของตลาด ได้ เราก็คอ่ นข้างดีใจที่ เฉลีย่ แล้วเด็กแต่ละรุน่ ของเราเนีย่ จบแล้ว พูดได้วา่ ถ้าคนที่หางานก็มีงานทำทุกคน แล้วช่วงเศรษฐกิจ ถ้าปีไหนดีหน่อยเนี่ย เด็กเราจะได้งานเกินครึ่ง ทั้งๆ ที่ยังไม่จบการศึกษา เพราะว่าสมัยผมเอง สมัยอาจารย์พศิ ษิ ฏ์เองเนีย่ เราก็บอกว่าเด็ก ปี ๔ เทอม ๒ เนีย่ คุณก็เริม่ ไป ยื่ น ใบสมั ค รได้ แ ล้ ว เพราะว่า field ตรงคอมพิวเตอร์เนี่ยก็ยังมีความ ต้องการในตลาดอีกเยอะ” เมือ่ ดำเนินงานมาแล้วพักใหญ่ๆ ปัจจุบนั นี้ (พ.ศ. ๒๕๕๓) กำลังอยู่ ในวาระที่เตรียมการจะเปิดเป็นหลักสูตรปริญญาโท เพราะอาจารย์ที่ไป เพิม่ พูนคุณวุฒไิ ด้ทยอยกลับมาแล้ว ขณะนีม้ ปี ระจำหลักสูตรอยู่ ๕ คน แต่ มีขอ้ จำกัดของระเบียบคือ ใครอยูใ่ นหลักสูตรใดก็ตอ้ งประจำอยูใ่ นหลักสูตร นั้น ไปประจำในนามหลักสูตรอื่นอีกไม่ได้ เวลานำรายชื่อและตัวเลขของ อาจารย์ประจำไปประกอบการขอเปิดหลักสูตรปริญญาโท จึงกระทำไม่ได้ “...ตอนนีเ้ รากำลังแก้ปญ ั หานัน้ อยู่ แล้วในเชิงเทคนิคบางอย่างเนีย่ เรามีปญ ั หาเนือ่ งจากว่า คนทีม่ คี วามรูท้ างด้านนี้ เป็นคนทีต่ ลาดต้องการ ๙๒

มาก โอกาสทีเ่ ราจะดึงคนจากภาคเอกชนมาเป็นอาจารย์เนีย่ จะค่อนข้างต่ำ แต่ข้อดี ตอนนี้ที่เราโชคดีก็คือ อย่างอาจารย์พิศิษฏ์เอย หรือว่าอาจารย์ หลายท่านที่หมดทุนแล้วเนี่ยยังยอมอยู่กับเรา ไม่ไปภาคอุตสาหกรรม แม้ว่าภาคอุตสาหกรรมจะจ่ายค่าตอบแทนที่ดีกว่านะครับ เพราะฉะนั้นมัน ก็มีปัญหาว่าเรา recruit คนค่อนข้างยากเมื่อเทียบกับทางสาขาอื่นเพราะ ว่า ความต้องการในตลาดเนี่ยมันสูง แต่ว่าตอนนี้เราแพลนกันชัดเจนแล้ว ว่าเรา ปี ๒๕๕๔ เราจะดำเนินการหลักสูตร ป.โท ในสามสาขา ซึ่งเรา มั่นใจว่าเป็นที่ต้องการของตลาด แล้วก็มันยังมีช่องว่างให้เด็กที่จบออกไป เป็นทีต่ อ้ งการสูง” วิศวกรรมชีวการแพทย์ เรือ่ งของแพทย์ผนวกกับวิศวะหลายแขนง ภาควิชาวิศวกรรมการแพทย์ดูเหมือนจะได้รับการกล่าวขวัญถึงใน บรรดาผู้ที่คิดก่อตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นในมหาวิทยาลัยมหิดล แต่จน แล้วจนรอด ก็ไม่อาจจะตัง้ ขึน้ ภาควิชานีข้ นึ้ มาได้โดยง่าย เพราะต้องอาศัย ความพร้อมหลายด้าน โดยเฉพาะด้านอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญจากหลายๆ แขนง ความหมายหมั้นปั้นมือจากทีมงานบริหารหลายชุดที่ผ่านมาก็ยัง คงดำเนินความมุง่ หวังนีเ้ สมอ จนในทีส่ ดุ หลังจากทีด่ ำเนินงานมาแล้วเกือบ ๑๐ ปี คือปี พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงได้เกิดเป็น “วิศวกรรมชีวการแพทย์” แต่ เป็นการเปิดสอนในระดับปริญญาโทก่อน ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดลกับ Imperial College และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี มหานคร ที่สร้างหลักสูตรอันนี้ขึ้นมาในสมัยที่อาจารย์ไพโรจน์เป็นคณบดี จากคำกล่ า วของอาจารย์ ไ พโรจน์ สุ ว รรณสุ ท ธิ อาจารย์ จั ก รกฤษณ์ ศุทธากรณ์ อาจารย์นรเศรษฐ์ ณ สงขลา และอาจารย์ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ เล่าไว้วา่ “...ตัวหลักสูตรปริญญาโทนี้ เริม่ ต้นนีก้ อ็ าจจะเป็นทีเ่ ดียว เป็นแห่ง แรกของประเทศไทยที่ตั้งทางด้านสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ตอนนั้น ๙๓


อาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ รับรางวัลผลงานประดิษฐ์ยอดเยี่ยม

ผลงานการวิ จั ย เกี่ ย วกั บ การส่ ง ข้ อ มู ล ผ่ า น สมอง ของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ค ลิ นิ ก น พ . ปิ ย ะ ส ก ล สกลสั ต ยากร อธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย มหิดล และทีมงาน Tridi เข้าเยี่ยมชม Bart Lab ของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

เริม่ ทีป่ ริญญาโทก่อน แต่ชว่ งแรกเนือ่ งจากบุคลากรทีจ่ ะมีความรูท้ างด้านนี้ ของประเทศไทยยังไม่ค่อยมี เพราะฉะนั้นในจุดเริ่มต้นนี้ก็จะเป็น การใช้ staff ของ Imperial มาสอนในจุ ด เริ่ ม ต้ น แล้ ว ก็ ใ นเรื่ อ งของการทำ ๙๔

หลักสูตรนี้ก็เราก็จะประสานก็คือ อยู่ในการประสานงานกับ Imperial College ตลอด แล้วก็มมี หาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครร่วมด้วย เพราะ ฉะนั้นจุดเริ่มต้นมาจากการตั้งหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์นี้ก่อน เป็น ปริญญาโทหลักสูตรนานาชาติ” “...ส่วนหลักสูตรปริญญาตรีนี้มันเพิ่งจะมาในช่วงท้ายๆ ในช่วงปี ๒๕๔๘ เพราะฉะนัน้ การเติบโตเนือ่ งมาจาก เรามีพนื้ ฐานความแข็งแรงมา จากปริญญาโทแล้ว แล้วก็มบี คุ ลากร หมายถึงอาจารย์รนุ่ ใหม่ๆ ทีไ่ ปเรียน ต่อถึงสายนี้มา เพราะฉะนั้นคือเริ่มมีความแข็งแกร่งขึ้นพอสมควร จึงมี การเพิ่ ม หลั ก สู ต รปริ ญ ญาตรี ในช่ ว งแรกอาจารย์ ผู้ ส อนยั ง เป็ น ของ Imperial แล้วก็อาจจะของ Australia เป็นการ import มาหมด” คำตอบจากอาจารย์ในภาควิชาฯ ได้รวบความหมายให้กระชับว่า “คือจริงๆ วิศวกรรมชีวการแพทย์ ถ้าในความหมาย มันคือการใช้ วิศวกรรมศาสตร์ ศาสตร์ทกุ ด้านในวิศวกรรม แต่เพือ่ ประโยชน์หรือว่าการ ประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์เป็นหลัก” การสร้างหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ขึ้นที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็ น หลั ก สู ต รที่ ใ ช้ บุ ค ลากรที่ ม าจากหลายๆ คณะ เพราะเป็ น ศาสตร์ทเี่ กีย่ วข้องกับหลายๆ ทาง อย่าง คณะกายภาพบำบัด เทคนิคการ แพทย์ ศิรริ าช รามาธิบดี ทีร่ ว่ มมือกัน เมือ่ เวลานักศึกษา ทำวิทยานิพนธ์ ก็ได้มอี าจารย์หลายท่านหลายสาขามาช่วยคุมวิทยานิพนธ์ “...เพราะฉะนั้นในเรื่องวิทยานิพนธ์นี้เราจัดการเอง เพราะฉะนั้น ก็ได้อาจารย์จากหลายๆ คณะ มาเป็น Co- มาเป็น major adviser เพราะฉะนั้นก็พูดง่ายๆ ว่าเรารู้จักอาจารย์จากหลายคณะ พอเวลาทำ ปริญญาตรีก็เชิญมาอีก ก็เลยพูดง่ายๆ ว่าเป็นการต่อยอด ซึ่งหลายคณะ เขาก็ยนิ ดี” ข้อขัดข้องบางประการของหลักสูตรนี้คือ วิชาการนั้นรุดหน้าก้าว ไกล แต่ สั ง คมหรื อ การรั บ รู้ เ รื่ อ งของวิ ช าการ โดยเฉพาะในระบบการ บริ ห ารประเทศ ยั ง ต้ อ งเคลื่ อ นตั ว ไปอย่ า งอุ้ ย อ้ า ย ซึ่ ง มี ผ ลต่ อ การเข้ า ๙๕


อาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ รับรางวัลผลงานประดิษฐ์ยอดเยี่ยม

ผลงานการวิ จั ย เกี่ ย วกั บ การส่ ง ข้ อ มู ล ผ่ า น สมอง ของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ค ลิ นิ ก น พ . ปิ ย ะ ส ก ล สกลสั ต ยากร อธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย มหิดล และทีมงาน Tridi เข้าเยี่ยมชม Bart Lab ของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

เริม่ ทีป่ ริญญาโทก่อน แต่ชว่ งแรกเนือ่ งจากบุคลากรทีจ่ ะมีความรูท้ างด้านนี้ ของประเทศไทยยังไม่ค่อยมี เพราะฉะนั้นในจุดเริ่มต้นนี้ก็จะเป็น การใช้ staff ของ Imperial มาสอนในจุ ด เริ่ ม ต้ น แล้ ว ก็ ใ นเรื่ อ งของการทำ ๙๔

หลักสูตรนี้ก็เราก็จะประสานก็คือ อยู่ในการประสานงานกับ Imperial College ตลอด แล้วก็มมี หาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครร่วมด้วย เพราะ ฉะนั้นจุดเริ่มต้นมาจากการตั้งหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์นี้ก่อน เป็น ปริญญาโทหลักสูตรนานาชาติ” “...ส่วนหลักสูตรปริญญาตรีนี้มันเพิ่งจะมาในช่วงท้ายๆ ในช่วงปี ๒๕๔๘ เพราะฉะนัน้ การเติบโตเนือ่ งมาจาก เรามีพนื้ ฐานความแข็งแรงมา จากปริญญาโทแล้ว แล้วก็มบี คุ ลากร หมายถึงอาจารย์รนุ่ ใหม่ๆ ทีไ่ ปเรียน ต่อถึงสายนี้มา เพราะฉะนั้นคือเริ่มมีความแข็งแกร่งขึ้นพอสมควร จึงมี การเพิ่ ม หลั ก สู ต รปริ ญ ญาตรี ในช่ ว งแรกอาจารย์ ผู้ ส อนยั ง เป็ น ของ Imperial แล้วก็อาจจะของ Australia เป็นการ import มาหมด” คำตอบจากอาจารย์ในภาควิชาฯ ได้รวบความหมายให้กระชับว่า “คือจริงๆ วิศวกรรมชีวการแพทย์ ถ้าในความหมาย มันคือการใช้ วิศวกรรมศาสตร์ ศาสตร์ทกุ ด้านในวิศวกรรม แต่เพือ่ ประโยชน์หรือว่าการ ประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์เป็นหลัก” การสร้างหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ขึ้นที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็ น หลั ก สู ต รที่ ใ ช้ บุ ค ลากรที่ ม าจากหลายๆ คณะ เพราะเป็ น ศาสตร์ทเี่ กีย่ วข้องกับหลายๆ ทาง อย่าง คณะกายภาพบำบัด เทคนิคการ แพทย์ ศิรริ าช รามาธิบดี ทีร่ ว่ มมือกัน เมือ่ เวลานักศึกษา ทำวิทยานิพนธ์ ก็ได้มอี าจารย์หลายท่านหลายสาขามาช่วยคุมวิทยานิพนธ์ “...เพราะฉะนั้นในเรื่องวิทยานิพนธ์นี้เราจัดการเอง เพราะฉะนั้น ก็ได้อาจารย์จากหลายๆ คณะ มาเป็น Co- มาเป็น major adviser เพราะฉะนั้นก็พูดง่ายๆ ว่าเรารู้จักอาจารย์จากหลายคณะ พอเวลาทำ ปริญญาตรีก็เชิญมาอีก ก็เลยพูดง่ายๆ ว่าเป็นการต่อยอด ซึ่งหลายคณะ เขาก็ยนิ ดี” ข้อขัดข้องบางประการของหลักสูตรนี้คือ วิชาการนั้นรุดหน้าก้าว ไกล แต่ สั ง คมหรื อ การรั บ รู้ เ รื่ อ งของวิ ช าการ โดยเฉพาะในระบบการ บริ ห ารประเทศ ยั ง ต้ อ งเคลื่ อ นตั ว ไปอย่ า งอุ้ ย อ้ า ย ซึ่ ง มี ผ ลต่ อ การเข้ า ๙๕


ทำงานหรือตำแหน่งงานของคนทีจ่ บวิศวกรรมชีวการแพทย์ กล่าวคือ ใน ช่วงแรกที่มีการประชาสัมพันธ์และรับสมัครนักศึกษาที่สนใจเรียนหลักสูตร นี้ ผู้ที่สนใจเรียนนั้นเข้าใจดีและรู้แน่ว่า ศาสตร์ทางด้านนี้ มีความสำคัญ และจำเป็นในโลกวิทยาการปัจจุบนั แต่ครัน้ เมือ่ มีคำถามว่า “จบแล้วจะไป ทำงานอะไร” “ตำแหน่งอะไร” สังคมกลับไม่มตี ำแหน่งงานทีช่ ดั เจน ต่าง จากแพทย์ พยาบาล ตำรวจ ทหาร หรือหากเป็นงานด้านวิศวะ ก็มี วิศวกรโยธา วิศวกรเครือ่ งกล วิศวกรไฟฟ้า แต่กลับไม่มี “วิศวกรชีวการ แพทย์” ทัง้ ๆ ทีศ่ าสตร์ในลักษณะมีความจำเป็นและสำคัญ จึงทำให้ “ของ สูงค่า แต่ราคาแสนต่ำ” ไปโดยปริยาย ประเด็นนี้ ยังต้องอาศัยการชี้แจง ทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่ เกีย่ วข้องกันอีกพอควร พร้อมกับแสดงผลงานให้ประจักษ์มากยิง่ ขึน้ อาจารย์จกั รกฤษณ์ กล่าวถึงเรือ่ งสาขาวิชานีอ้ กี ว่า “...หลักสูตร bio med อยู่หลักสูตรเดียวในประเทศ คือหลักสูตร ของเรา ที่วิศวกรรมมหิดล ก็คือหลักสูตรปริญญาโท ซึ่งเปิดมาตามที่ผม เช็กประวัติก็น่าจะเป็นที่แรกใน south east asia เริ่มตั้งแต่ปี ๑๙๙๘ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ก่อนสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนามนะครับ ตรงนั้นก็คือตัว หลักสูตรเราเปิดมาจากที่ร่วมมือกับมหานคร (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี มหานคร) และก็ทาง Imperial College เปิดต่อเนือ่ งยาวนานกันมาหลาย ปีอยูแ่ ล้ว” “...ตอนนั้นประเทศนี้ยังไม่เคยได้ยินคำว่า bio engineer กันเลย ผมก็รบั ทุนไปเรียนสาขานี้ เพราะเหตุผลหลักๆ ก็คอื มหาลัยนีเ้ ป็นมหาลัย ด้านการแพทย์ ถ้าเรามาเติมเต็มในส่วนของวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้ มัน จะมาเติมเต็มส่วนทีข่ าดหายไปของมหาวิทยาลัยได้พอดี เลยไปเรียนสาขานี้ กลับมา กลับมาได้สามปี ก็กลับมาพัฒนาด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดย ใช้ความรูท้ างด้านไฟฟ้า เพราะสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ จะเอาความรู้ ของทุกๆ ด้านมารวมกัน เพือ่ มาประยุกต์ทางด้านการแพทย์…” ๙๖

บรรยากาศการเรียนการสอนของสาขาวิชาเทคโนโลยี การจัดการและระบบสารสนเทศ ในคณะวิศวกรรมศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการ จัดการระบบสารสนเทศ ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ นอกจากบรรดาหลักสูตรทีก่ ล่าวมาแล้ว ยังมีอกี หลักสูตรหนึง่ นับ ว่าเป็นกรณีพเิ ศษเนือ่ งจากไม่อยูใ่ นภาควิชาใดๆ คือหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต เปิดสอนในระดับปริญญาโท มีชอื่ สาขาเต็มๆ ว่า “สาขาวิชา เทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ” เรียกโดยทัว่ ไปว่า หลักสูตร IT แต่ แ รกเริ่ ม นั้ น เกิ ด ขึ้ น จากอาจารย์ ใ นบั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย (ผู้ ช่ ว ย ศาสตราจารย์ลนิ ดา วงศานุพทั ธ์) ได้รา่ งเนือ้ หา ประกอบการอบรมให้กบั บุคคลทัว่ ไป ในสมัยทีผ่ คู้ นหนุม่ สาวตืน่ ตัวเรือ่ งคอมพิวเตอร์ ใคร่จะพัฒนา ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ของตัวเอง ปรากฏว่ามีผู้สนใจเข้ารับการอบรม จำนวนมาก แต่เพราะเป็นเรือ่ งการอบรม หลักสูตรดังกล่าวจึงสังกัดอยูใ่ น บัณฑิตวิทยาลัย ครั้นเมื่อจะมีการเรียนการสอนอย่างหลักสูตรในภาควิชา ทั่วไป และประสาทปริญญาบัตรอย่างเป็นทางการ จำเป็นจะต้องมีภาค วิชามากำกับดูแล และมีอาจารย์ประจำหลักสูตรตามระเบียบของทบวง มหาวิทยาลัย จึงต้องโอนย้ายมาสังกัดคณะฯ ในประเด็นนี้ รองศาสตราจารย์ นพ.มันตรี จุลสมัย อดีตคณบดี บัณฑิตวิทยาลัย ได้เล่าถึงช่วงทีจ่ ะมีการโอนย้ายหลักสูตร IT ว่า “…พอดีผมจะเกษียณเดือนเมษา ๓๙ ผมก็บอกธนากร ตอนนั้น ๙๗


ทำงานหรือตำแหน่งงานของคนทีจ่ บวิศวกรรมชีวการแพทย์ กล่าวคือ ใน ช่วงแรกที่มีการประชาสัมพันธ์และรับสมัครนักศึกษาที่สนใจเรียนหลักสูตร นี้ ผู้ที่สนใจเรียนนั้นเข้าใจดีและรู้แน่ว่า ศาสตร์ทางด้านนี้ มีความสำคัญ และจำเป็นในโลกวิทยาการปัจจุบนั แต่ครัน้ เมือ่ มีคำถามว่า “จบแล้วจะไป ทำงานอะไร” “ตำแหน่งอะไร” สังคมกลับไม่มตี ำแหน่งงานทีช่ ดั เจน ต่าง จากแพทย์ พยาบาล ตำรวจ ทหาร หรือหากเป็นงานด้านวิศวะ ก็มี วิศวกรโยธา วิศวกรเครือ่ งกล วิศวกรไฟฟ้า แต่กลับไม่มี “วิศวกรชีวการ แพทย์” ทัง้ ๆ ทีศ่ าสตร์ในลักษณะมีความจำเป็นและสำคัญ จึงทำให้ “ของ สูงค่า แต่ราคาแสนต่ำ” ไปโดยปริยาย ประเด็นนี้ ยังต้องอาศัยการชี้แจง ทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่ เกีย่ วข้องกันอีกพอควร พร้อมกับแสดงผลงานให้ประจักษ์มากยิง่ ขึน้ อาจารย์จกั รกฤษณ์ กล่าวถึงเรือ่ งสาขาวิชานีอ้ กี ว่า “...หลักสูตร bio med อยู่หลักสูตรเดียวในประเทศ คือหลักสูตร ของเรา ที่วิศวกรรมมหิดล ก็คือหลักสูตรปริญญาโท ซึ่งเปิดมาตามที่ผม เช็กประวัติก็น่าจะเป็นที่แรกใน south east asia เริ่มตั้งแต่ปี ๑๙๙๘ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ก่อนสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนามนะครับ ตรงนั้นก็คือตัว หลักสูตรเราเปิดมาจากที่ร่วมมือกับมหานคร (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี มหานคร) และก็ทาง Imperial College เปิดต่อเนือ่ งยาวนานกันมาหลาย ปีอยูแ่ ล้ว” “...ตอนนั้นประเทศนี้ยังไม่เคยได้ยินคำว่า bio engineer กันเลย ผมก็รบั ทุนไปเรียนสาขานี้ เพราะเหตุผลหลักๆ ก็คอื มหาลัยนีเ้ ป็นมหาลัย ด้านการแพทย์ ถ้าเรามาเติมเต็มในส่วนของวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้ มัน จะมาเติมเต็มส่วนทีข่ าดหายไปของมหาวิทยาลัยได้พอดี เลยไปเรียนสาขานี้ กลับมา กลับมาได้สามปี ก็กลับมาพัฒนาด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดย ใช้ความรูท้ างด้านไฟฟ้า เพราะสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ จะเอาความรู้ ของทุกๆ ด้านมารวมกัน เพือ่ มาประยุกต์ทางด้านการแพทย์…” ๙๖

บรรยากาศการเรียนการสอนของสาขาวิชาเทคโนโลยี การจัดการและระบบสารสนเทศ ในคณะวิศวกรรมศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการ จัดการระบบสารสนเทศ ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ นอกจากบรรดาหลักสูตรทีก่ ล่าวมาแล้ว ยังมีอกี หลักสูตรหนึง่ นับ ว่าเป็นกรณีพเิ ศษเนือ่ งจากไม่อยูใ่ นภาควิชาใดๆ คือหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต เปิดสอนในระดับปริญญาโท มีชอื่ สาขาเต็มๆ ว่า “สาขาวิชา เทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ” เรียกโดยทัว่ ไปว่า หลักสูตร IT แต่ แ รกเริ่ ม นั้ น เกิ ด ขึ้ น จากอาจารย์ ใ นบั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย (ผู้ ช่ ว ย ศาสตราจารย์ลนิ ดา วงศานุพทั ธ์) ได้รา่ งเนือ้ หา ประกอบการอบรมให้กบั บุคคลทัว่ ไป ในสมัยทีผ่ คู้ นหนุม่ สาวตืน่ ตัวเรือ่ งคอมพิวเตอร์ ใคร่จะพัฒนา ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ของตัวเอง ปรากฏว่ามีผู้สนใจเข้ารับการอบรม จำนวนมาก แต่เพราะเป็นเรือ่ งการอบรม หลักสูตรดังกล่าวจึงสังกัดอยูใ่ น บัณฑิตวิทยาลัย ครั้นเมื่อจะมีการเรียนการสอนอย่างหลักสูตรในภาควิชา ทั่วไป และประสาทปริญญาบัตรอย่างเป็นทางการ จำเป็นจะต้องมีภาค วิชามากำกับดูแล และมีอาจารย์ประจำหลักสูตรตามระเบียบของทบวง มหาวิทยาลัย จึงต้องโอนย้ายมาสังกัดคณะฯ ในประเด็นนี้ รองศาสตราจารย์ นพ.มันตรี จุลสมัย อดีตคณบดี บัณฑิตวิทยาลัย ได้เล่าถึงช่วงทีจ่ ะมีการโอนย้ายหลักสูตร IT ว่า “…พอดีผมจะเกษียณเดือนเมษา ๓๙ ผมก็บอกธนากร ตอนนั้น ๙๗


วิศวะฯ เสร็จแล้ว ตึกเสร็จแล้ว บอกธนากรให้รับหลักสูตรนี้ไป เพราะว่า ผมดูแล้วว่าถ้าจะให้ห้องสมุดหรือให้วิศวะฯ ดี เพราะว่าบางแห่ง อย่างใน Pittsburgh มันอยู่ในห้องสมุด ไอ้หลักสูตร IT เนี่ย ทีนี้ผมก็ดูว่า เอ... เมืองไทยนีค่ งไม่ใช่ คงต้องเอาวิศวะฯ ก็พอดีธนากรเป็นคนร่างหลักสูตรอยู่ ด้วย ก็สง่ ให้ธนากร ธนากรก็ตอบรับว่า จะรับไป ตอนนัน้ อาจารย์กวีเป็น รองคณบดี ก็มอบหมายให้อาจารย์กวีเป็นผู้ประสานงาน ก็มาขนข้าวขน ของไป และอุปกรณ์ตา่ งๆ ประมาณต้นปี ๓๙ หรือปลายปี ๓๘ เนีย่ ” เมือ่ มาสังกัดอยูใ่ นคณะวิศวะฯ แล้ว ได้เปิดการเรียนการสอน ด้วย การเรียนเชิญอาจารย์ประจำหลักสูตรต่างๆ เข้ามาร่วมสอน แต่ดำเนิน งานโดย “คณะกรรมการบริหารหลักสูตร” ในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้เป็นแบบแผนที่ ชัดเจน โดยยกระดับขึ้นเป็นกลุ่มสาขาวิชา เทคโนโลยีการจัดการระบบ

สารสนเทศ มีผดู้ แู ลรับผิดชอบงานทางด้าน IT ทีแ่ น่ชดั และเป็นอีกหนึง่ สาขาวิชาทีม่ ผี สู้ นใจเรียน ปีแล้วปีเล่าทีว่ ศิ วะมหิดลค่อยๆ เติบโตขึน้ มาท่ามกลางโลกวิทยาการ ทีเ่ ปลีย่ นผันรุดหน้าก้าวไกล จึงเป็นหน้าทีข่ องทัง้ ผูบ้ ริหาร และคณาจารย์ ในหลักสูตร ต่างก็ได้ขวนขวายเปิดหลักสูตรให้ตอบสนองความต้องการ ของสังคม ได้รว่ มกันสร้างสรรค์ขนึ้ มา ทำให้วงการวิชาการงอกเงยไป ในลู่ทางที่พึงประสงค์ บัณฑิตของวิศวะมหิดล จึงจบออกมา สามารถ เข้าร่วมทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กบั บัณฑิตในสถาบันอืน่ ได้อย่างมีศกั ดิศ์ รี และเต็มภาคภูม ิ นอกจากหลักสูตรที่หลายฝ่ายขวนขวายนำมาเปิดการเรียนการ สอน เพื่อให้เยาวชนของชาติได้รับสิ่งดีๆ นำความรู้ไปพัฒนาต่อยอด ขณะเดี ย วกั บ ก็ ยั ง ต้ อ งยึ ด หลั ก ของ “มาตรฐานทางวิ ช าการ” ของ มหาวิทยาลัยให้แน่วแน่ เพราะวิศวะมหิดลไม่ประสงค์ในเรื่องปริมาณ ของบัณฑิต เพราะเหนือกว่านีก้ ค็ อื เรือ่ งของคุณภาพการศึกษา ยังต้อง ใช้เป็นทีย่ ดึ ถืออย่างมัน่ คงอีกด้วย ๙๘

การลงทุนอันยิง่ ใหญ่ คือการใส่ใจบุคลากร


วิศวะฯ เสร็จแล้ว ตึกเสร็จแล้ว บอกธนากรให้รับหลักสูตรนี้ไป เพราะว่า ผมดูแล้วว่าถ้าจะให้ห้องสมุดหรือให้วิศวะฯ ดี เพราะว่าบางแห่ง อย่างใน Pittsburgh มันอยู่ในห้องสมุด ไอ้หลักสูตร IT เนี่ย ทีนี้ผมก็ดูว่า เอ... เมืองไทยนีค่ งไม่ใช่ คงต้องเอาวิศวะฯ ก็พอดีธนากรเป็นคนร่างหลักสูตรอยู่ ด้วย ก็สง่ ให้ธนากร ธนากรก็ตอบรับว่า จะรับไป ตอนนัน้ อาจารย์กวีเป็น รองคณบดี ก็มอบหมายให้อาจารย์กวีเป็นผู้ประสานงาน ก็มาขนข้าวขน ของไป และอุปกรณ์ตา่ งๆ ประมาณต้นปี ๓๙ หรือปลายปี ๓๘ เนีย่ ” เมือ่ มาสังกัดอยูใ่ นคณะวิศวะฯ แล้ว ได้เปิดการเรียนการสอน ด้วย การเรียนเชิญอาจารย์ประจำหลักสูตรต่างๆ เข้ามาร่วมสอน แต่ดำเนิน งานโดย “คณะกรรมการบริหารหลักสูตร” ในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้เป็นแบบแผนที่ ชัดเจน โดยยกระดับขึ้นเป็นกลุ่มสาขาวิชา เทคโนโลยีการจัดการระบบ

สารสนเทศ มีผดู้ แู ลรับผิดชอบงานทางด้าน IT ทีแ่ น่ชดั และเป็นอีกหนึง่ สาขาวิชาทีม่ ผี สู้ นใจเรียน ปีแล้วปีเล่าทีว่ ศิ วะมหิดลค่อยๆ เติบโตขึน้ มาท่ามกลางโลกวิทยาการ ทีเ่ ปลีย่ นผันรุดหน้าก้าวไกล จึงเป็นหน้าทีข่ องทัง้ ผูบ้ ริหาร และคณาจารย์ ในหลักสูตร ต่างก็ได้ขวนขวายเปิดหลักสูตรให้ตอบสนองความต้องการ ของสังคม ได้รว่ มกันสร้างสรรค์ขนึ้ มา ทำให้วงการวิชาการงอกเงยไป ในลู่ทางที่พึงประสงค์ บัณฑิตของวิศวะมหิดล จึงจบออกมา สามารถ เข้าร่วมทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กบั บัณฑิตในสถาบันอืน่ ได้อย่างมีศกั ดิศ์ รี และเต็มภาคภูม ิ นอกจากหลักสูตรที่หลายฝ่ายขวนขวายนำมาเปิดการเรียนการ สอน เพื่อให้เยาวชนของชาติได้รับสิ่งดีๆ นำความรู้ไปพัฒนาต่อยอด ขณะเดี ย วกั บ ก็ ยั ง ต้ อ งยึ ด หลั ก ของ “มาตรฐานทางวิ ช าการ” ของ มหาวิทยาลัยให้แน่วแน่ เพราะวิศวะมหิดลไม่ประสงค์ในเรื่องปริมาณ ของบัณฑิต เพราะเหนือกว่านีก้ ค็ อื เรือ่ งของคุณภาพการศึกษา ยังต้อง ใช้เป็นทีย่ ดึ ถืออย่างมัน่ คงอีกด้วย ๙๘

การลงทุนอันยิง่ ใหญ่ คือการใส่ใจบุคลากร


ลพวงที่ชี้ชัดถึงการบริหารอย่างผู้มองการณ์ไกลซึ่งทำให้วิศวะ มหิดลในปัจจุบันมีขุมกำลังด้านบุคลากรอย่างต่อเนื่องและแน่นหนา ทั้งนี้ ล้วนแต่เกิดจากการวางแผนและการ “วิง่ เต้น” ของผูบ้ ริหาร เพือ่ ให้ได้มา ซึ่งทุนสำหรับนักศึกษาผู้มีหน่วยก้านดี รวมถึงอาจารย์ที่เริ่มมาปฏิบัติงาน ได้ไปพอกพูนความรู้ เพิ่มศักยภาพ ได้ทั้งวุฒิและความรู้ แล้วกลับมาเป็น กำลังสำคัญขององค์กรแห่งนี ้ อาจารย์ธนากรเล่าในช่วงที่บริหารยุคแรกเกี่ยวกับ “การไปควาน หาทุน” เพือ่ มาเป็นปัจจัยให้ลกู ศิษย์และเพือ่ นร่วมงานได้มโี อกาสพัฒนาว่า “…คือจะมีคนเวียนอยู่ไม่เกิน ๓๙ คนหรอก ปกติจะอยู่ประมาณ ๒๑ คน ปี ๓ แล้ว ยังอยู่ ๒๐ คน ก็แก้ปญ ั หาเรือ่ งคนนะครับ ไปได้ พอ ให้มันมี flow ในช่วง ๔ ปี แรกก็เริ่มมีคนกลับมาแล้ว กลับมานี่ก็ได้ โครงการเงินกู้ธนาคารโลกมา ซื้อเครื่องมือเพิ่ม ๑๐๐ กว่าล้าน ได้ทุน training ฝึกอบรม ทุนในการที่จะสร้างอาจารย์ไปเพิ่มพูน คือ ในการ พัฒนาอาจารย์รวมทัง้ หมดอีก ๑๒๓ ทุน รวมกันหมดแล้ว ก็วงิ่ แทบตาย เหมือนกันแหละ ก็ไปขอฝากเขา พยายามแทรกตัว เป็นคนไม่ดไี ปอยูใ่ นรูป ของกรรมการที่มันเกิดขึ้น ก็ไปดันเอา ก็ได้ฝึกอบรมกันถ้วนทั่วทุกตัวคน พร้อมกับเครือ่ งมือทีม่ ี จะได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างก็ไม่ตอ้ งไปพูดถึง พูดถึงแต่ ก็ไปแล้วกันแหละ เพราะฉะนั้นในฐานอาจารย์ระดับล่างก็จะ training ได้ ครบ แล้วก็ปัดเศษอาจารย์ในระดับปริญญาตรี จากวิศวกร จากครูจ้าง ให้เพิ่มวุฒิเป็นปริญญาโทอย่างน้อยขึ้นไป ก็อาศัยฐานตัวนี้ขึ้นไปก็ได้ ได้ ออกมาจนกระทัง่ จำนวนทุน จำนวนคนทีร่ วมแล้ว คือ ๖๓ ทุน บวกคน เก่าอยูด่ ว้ ยเนีย่ คิดว่าเมือ่ ประมาณทีผ่ มไปเป็นคณบดีวศิ วะ วาระ ๒ เนีย่ มันจะมีจำนวนได้ ๖๐-๘๐ Ph.D. …” คำทีอ่ อกตัวว่า “เป็นคนไม่ด”ี ไม่อาจโน้มน้าวให้ผฟู้ งั เชือ่ ตามคำ ได้ เพราะเหตุว่า การไปไขว่คว้าหาทุนมาเพื่อพัฒนาบุคลากรเป็นสิ่งดี อีกทั้งยังชวนให้แลเห็นความวิริยะพากเพียรทุกวิถีทางเพื่อความยั่งยืน และเติบใหญ่ของวิศวะมหิดล และนีจ่ งึ เป็นการลงทุนอันยิง่ ใหญ่โดยแท้ ๑๐๐

ทำงานหามรุง่ หามค่ำ


ลพวงที่ชี้ชัดถึงการบริหารอย่างผู้มองการณ์ไกลซึ่งทำให้วิศวะ มหิดลในปัจจุบันมีขุมกำลังด้านบุคลากรอย่างต่อเนื่องและแน่นหนา ทั้งนี้ ล้วนแต่เกิดจากการวางแผนและการ “วิง่ เต้น” ของผูบ้ ริหาร เพือ่ ให้ได้มา ซึ่งทุนสำหรับนักศึกษาผู้มีหน่วยก้านดี รวมถึงอาจารย์ที่เริ่มมาปฏิบัติงาน ได้ไปพอกพูนความรู้ เพิ่มศักยภาพ ได้ทั้งวุฒิและความรู้ แล้วกลับมาเป็น กำลังสำคัญขององค์กรแห่งนี ้ อาจารย์ธนากรเล่าในช่วงที่บริหารยุคแรกเกี่ยวกับ “การไปควาน หาทุน” เพือ่ มาเป็นปัจจัยให้ลกู ศิษย์และเพือ่ นร่วมงานได้มโี อกาสพัฒนาว่า “…คือจะมีคนเวียนอยู่ไม่เกิน ๓๙ คนหรอก ปกติจะอยู่ประมาณ ๒๑ คน ปี ๓ แล้ว ยังอยู่ ๒๐ คน ก็แก้ปญ ั หาเรือ่ งคนนะครับ ไปได้ พอ ให้มันมี flow ในช่วง ๔ ปี แรกก็เริ่มมีคนกลับมาแล้ว กลับมานี่ก็ได้ โครงการเงินกู้ธนาคารโลกมา ซื้อเครื่องมือเพิ่ม ๑๐๐ กว่าล้าน ได้ทุน training ฝึกอบรม ทุนในการที่จะสร้างอาจารย์ไปเพิ่มพูน คือ ในการ พัฒนาอาจารย์รวมทัง้ หมดอีก ๑๒๓ ทุน รวมกันหมดแล้ว ก็วงิ่ แทบตาย เหมือนกันแหละ ก็ไปขอฝากเขา พยายามแทรกตัว เป็นคนไม่ดไี ปอยูใ่ นรูป ของกรรมการที่มันเกิดขึ้น ก็ไปดันเอา ก็ได้ฝึกอบรมกันถ้วนทั่วทุกตัวคน พร้อมกับเครือ่ งมือทีม่ ี จะได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างก็ไม่ตอ้ งไปพูดถึง พูดถึงแต่ ก็ไปแล้วกันแหละ เพราะฉะนั้นในฐานอาจารย์ระดับล่างก็จะ training ได้ ครบ แล้วก็ปัดเศษอาจารย์ในระดับปริญญาตรี จากวิศวกร จากครูจ้าง ให้เพิ่มวุฒิเป็นปริญญาโทอย่างน้อยขึ้นไป ก็อาศัยฐานตัวนี้ขึ้นไปก็ได้ ได้ ออกมาจนกระทัง่ จำนวนทุน จำนวนคนทีร่ วมแล้ว คือ ๖๓ ทุน บวกคน เก่าอยูด่ ว้ ยเนีย่ คิดว่าเมือ่ ประมาณทีผ่ มไปเป็นคณบดีวศิ วะ วาระ ๒ เนีย่ มันจะมีจำนวนได้ ๖๐-๘๐ Ph.D. …” คำทีอ่ อกตัวว่า “เป็นคนไม่ด”ี ไม่อาจโน้มน้าวให้ผฟู้ งั เชือ่ ตามคำ ได้ เพราะเหตุว่า การไปไขว่คว้าหาทุนมาเพื่อพัฒนาบุคลากรเป็นสิ่งดี อีกทั้งยังชวนให้แลเห็นความวิริยะพากเพียรทุกวิถีทางเพื่อความยั่งยืน และเติบใหญ่ของวิศวะมหิดล และนีจ่ งึ เป็นการลงทุนอันยิง่ ใหญ่โดยแท้ ๑๐๐

ทำงานหามรุง่ หามค่ำ


ผศ.ดร.ธนากร อ้ ว นอ่ อ น กล่ า วถึ ง เรื่ อ งควรรู้ กั บ บุ ค ลากรวิ ศ วะมหิ ด ล บริ เ วณบั น ไดอาคาร อำนวยการ ในบรรยากาศเป็นกันเอง

พื่อให้องค์การที่เพิ่งก่อร่างสร้างตัว ได้เป็นปึกแผ่นและมีความ มั่นคงยั่งยืนนาน เหมือนกับคำประกาศเทวดาเมื่อตอนก่อสร้างอาคาร คำบอกเล่าของอาจารย์ธนากร เล่าย้อนอดีตเกีย่ วกับการทำงานเมือ่ คราว แรกตัง้ คณะฯ ว่า

๑๐๒

“...ลูกคนเล็กเพิ่งเกิดพอดี ไปเห็นหน้ากันจริงๆ ก็เขาอายุ ๔-๕ ขวบ เพราะเช้าผมออกมาเขายังไม่ตนื่ ผมกลับก็ดกึ เขาหลับไปแล้ว นีค่ อื สิง่ ทีท่ กุ คนแหละ รุน่ แรกเนีย่ รู้ ถ้าผมยังอยูค่ ณะฯ ทุกคนก็ไม่ตอ้ งกลับ มันก็ เป็นเรือ่ ง เพราะฉะนัน้ รุน่ แรกทีอ่ ยูเ่ นีย่ แข็งมาก ทำงานอึด นีต่ ายไปแล้ว คน (คุณเฟื่องฟ้า) ก็เป็นเรื่องซึ่งเราก็บอกว่า นี่ก็คือส่วนหนึ่งของ spirit ของมหาวิทยาลัยมหิดลในการที่จะสร้าง หรือเรียกว่า spirit ของวิศวะ เลย...” สอดคล้องกับคำบอกเล่าของอาจารย์และเจ้าหน้าทีค่ นอืน่ ๆ เมือ่ ได้ เล่าถึงวันเก่าคืนก่อน ต่างก็บอกว่าทำงานหนักมาก บางวันมีงานสอนทั้ง เช้าและบ่าย บางคาบทีต่ ดิ พันในตอนเช้า จนต้องเบียดเวลาอาหารกลางวัน หรือเรียกว่าวันนั้นอาจไม่มีเวลากินข้าวมื้อเที่ยงเลย ครั้นเมื่อตกเย็นตอน เลิกงาน ยังต้องมีภาระให้ต้องสะสางอีกมากมาย เรื่องการเตรียมแผน งานการจัดซื้อจัดจ้าง การก่อสร้าง การตั้งงบประมาณ การพิมพ์ฎีกา ฯลฯ ซึง่ ก็ทำให้เกิดการเบียดบังเวลาพักผ่อนหลับนอนของหลายๆ คน คุณพะเยาว์ สุจริต อดีตเลขานุการคณะฯ ซึง่ รูเ้ ห็นการเกิดขึน้ ของ คณะวิศวกรรมศาสตร์นี้มาตลอด ได้ยืนยันปรากฏการณ์ว่า การทำงาน หามรุ่งหามค่ำนี้ และก็มิใช่จะมีเฉพาะผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือผู้บริหารเท่านั้น รังสีของความขมีขมันยังแผ่กำจายไปสู่คนทำงานระดับต่างๆ เพราะเมื่อ หั ว หน้ า ขยั น แล้ ว ลู ก น้ อ งกลั บ ทำตั ว ตรงกั น ข้ า ม ก็ จ ะอยู่ ด้ ว ยกั น ลำบาก พร้อมกับบอกรายชือ่ ของบุคลากรทีเ่ ข้ามาทำงานในยุคแรกๆ ให้ฟงั ว่า “...อย่างกลุม่ คนทีไ่ ม่ใช่อาจารย์ เขาก็มสี ว่ นช่วยกันเป็นอย่างมากที่ ทำให้คณะฯ ของเราก้าวหน้ามาจนทุกวันนี้ เท่าที่จำได้อย่างคุณเอมอร

วงศ์วิบูลย์ จากคณะสิ่งแวดล้อมฯ ช่วยงานวิศวะมาแต่ต้น แต่ไม่ได้ย้าย

มาวิศวะ คนที่ย้ายมาช่วงแรกๆ จะมี คุณจันทนา คุณสมชาย อาจารย์ สิทธิพันธุ์ คุณอินทิรา คุณพินิตยา คุณศันสนีย์ คุณอภิรดี ย้ายมาจาก คณะสาธารณสุข คุณลออ และคุณเขมิกา ย้ายมาจากคณะเวชศาสตร์เขต ร้อน นอกนัน้ รับเข้าใหม่ เช่น คุณประสิทธิศ์ กั ดิ์ คุณเฟือ่ งฟ้า คุณอ้อมเดือน ๑๐๓


ผศ.ดร.ธนากร อ้ ว นอ่ อ น กล่ า วถึ ง เรื่ อ งควรรู้ กั บ บุ ค ลากรวิ ศ วะมหิ ด ล บริ เ วณบั น ไดอาคาร อำนวยการ ในบรรยากาศเป็นกันเอง

พื่อให้องค์การที่เพิ่งก่อร่างสร้างตัว ได้เป็นปึกแผ่นและมีความ มั่นคงยั่งยืนนาน เหมือนกับคำประกาศเทวดาเมื่อตอนก่อสร้างอาคาร คำบอกเล่าของอาจารย์ธนากร เล่าย้อนอดีตเกีย่ วกับการทำงานเมือ่ คราว แรกตัง้ คณะฯ ว่า

๑๐๒

“...ลูกคนเล็กเพิ่งเกิดพอดี ไปเห็นหน้ากันจริงๆ ก็เขาอายุ ๔-๕ ขวบ เพราะเช้าผมออกมาเขายังไม่ตนื่ ผมกลับก็ดกึ เขาหลับไปแล้ว นีค่ อื สิง่ ทีท่ กุ คนแหละ รุน่ แรกเนีย่ รู้ ถ้าผมยังอยูค่ ณะฯ ทุกคนก็ไม่ตอ้ งกลับ มันก็ เป็นเรือ่ ง เพราะฉะนัน้ รุน่ แรกทีอ่ ยูเ่ นีย่ แข็งมาก ทำงานอึด นีต่ ายไปแล้ว คน (คุณเฟื่องฟ้า) ก็เป็นเรื่องซึ่งเราก็บอกว่า นี่ก็คือส่วนหนึ่งของ spirit ของมหาวิทยาลัยมหิดลในการที่จะสร้าง หรือเรียกว่า spirit ของวิศวะ เลย...” สอดคล้องกับคำบอกเล่าของอาจารย์และเจ้าหน้าทีค่ นอืน่ ๆ เมือ่ ได้ เล่าถึงวันเก่าคืนก่อน ต่างก็บอกว่าทำงานหนักมาก บางวันมีงานสอนทั้ง เช้าและบ่าย บางคาบทีต่ ดิ พันในตอนเช้า จนต้องเบียดเวลาอาหารกลางวัน หรือเรียกว่าวันนั้นอาจไม่มีเวลากินข้าวมื้อเที่ยงเลย ครั้นเมื่อตกเย็นตอน เลิกงาน ยังต้องมีภาระให้ต้องสะสางอีกมากมาย เรื่องการเตรียมแผน งานการจัดซื้อจัดจ้าง การก่อสร้าง การตั้งงบประมาณ การพิมพ์ฎีกา ฯลฯ ซึง่ ก็ทำให้เกิดการเบียดบังเวลาพักผ่อนหลับนอนของหลายๆ คน คุณพะเยาว์ สุจริต อดีตเลขานุการคณะฯ ซึง่ รูเ้ ห็นการเกิดขึน้ ของ คณะวิศวกรรมศาสตร์นี้มาตลอด ได้ยืนยันปรากฏการณ์ว่า การทำงาน หามรุ่งหามค่ำนี้ และก็มิใช่จะมีเฉพาะผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือผู้บริหารเท่านั้น รังสีของความขมีขมันยังแผ่กำจายไปสู่คนทำงานระดับต่างๆ เพราะเมื่อ หั ว หน้ า ขยั น แล้ ว ลู ก น้ อ งกลั บ ทำตั ว ตรงกั น ข้ า ม ก็ จ ะอยู่ ด้ ว ยกั น ลำบาก พร้อมกับบอกรายชือ่ ของบุคลากรทีเ่ ข้ามาทำงานในยุคแรกๆ ให้ฟงั ว่า “...อย่างกลุม่ คนทีไ่ ม่ใช่อาจารย์ เขาก็มสี ว่ นช่วยกันเป็นอย่างมากที่ ทำให้คณะฯ ของเราก้าวหน้ามาจนทุกวันนี้ เท่าที่จำได้อย่างคุณเอมอร

วงศ์วิบูลย์ จากคณะสิ่งแวดล้อมฯ ช่วยงานวิศวะมาแต่ต้น แต่ไม่ได้ย้าย

มาวิศวะ คนที่ย้ายมาช่วงแรกๆ จะมี คุณจันทนา คุณสมชาย อาจารย์ สิทธิพันธุ์ คุณอินทิรา คุณพินิตยา คุณศันสนีย์ คุณอภิรดี ย้ายมาจาก คณะสาธารณสุข คุณลออ และคุณเขมิกา ย้ายมาจากคณะเวชศาสตร์เขต ร้อน นอกนัน้ รับเข้าใหม่ เช่น คุณประสิทธิศ์ กั ดิ์ คุณเฟือ่ งฟ้า คุณอ้อมเดือน ๑๐๓


คุ ณ ดวงดาว คุ ณ วรวี ร์ คุ ณ สุ กั ญ ญา แล้ ว ก็ มี นั ก การภารโรง เช่ น

คุณบุญธรรม คุณวรรณา คุณณรงค์ คุณอุบล คนขับรถก็มี คุณสมใจ เป็นต้น” การใช้คำเปรียบว่า ทำงานหามรุ่งหามค่ำจึงไม่เกินเลยไปจาก ความจริงสำหรับชาววิศวะยุคบุกเบิก

กองหนุนทีส่ ำคัญ

๑๐๔


คุ ณ ดวงดาว คุ ณ วรวี ร์ คุ ณ สุ กั ญ ญา แล้ ว ก็ มี นั ก การภารโรง เช่ น

คุณบุญธรรม คุณวรรณา คุณณรงค์ คุณอุบล คนขับรถก็มี คุณสมใจ เป็นต้น” การใช้คำเปรียบว่า ทำงานหามรุ่งหามค่ำจึงไม่เกินเลยไปจาก ความจริงสำหรับชาววิศวะยุคบุกเบิก

กองหนุนทีส่ ำคัญ

๑๐๔


นขบวนกองทัพที่ต้องเดินทางไปกรำศึกข้างหน้านั้น นอกจากมี แม่ทพั นายกองทีจ่ ะต้องชีช้ อ่ งส่องทาง วางแผนกลศึก สัง่ การรุกรบและล่า ถอยแล้ว ส่วนสำคัญทีข่ าดเสียไม่ได้คอื บรรดาทหารพลรบ เช่นเดียวกับ “วิศวะมหิดล” เมือ่ แรกตัง้ นัน้ มิตา่ งอะไรกับการจัด ขบวนทัพ แม้เมื่อมีผู้นำที่จัดการบริหารแล้ว ยังต้องอาศัยกลุ่มคนที่ช่วย หนุนเสริมให้กิจกรรมขององค์กรดำเนินไปด้วยดี กลุ่มบุคคลที่เคยได้รับ การขนานว่า “บุคลากรสาย ค” ในอดีต พวกเขาไม่เคยได้รับการอบรม หลักสูตรรักองค์กร ไม่เคยรูค้ ำขวัญของคณะฯ จะเป็นฉันใด แต่กลับน่าคิด ว่า เหตุใดบุคคลที่เป็นฟันเฟืองเล็กๆ ของจักรกลขนาดเขื่อง กลับมีความ ขมีขมัน หากฟั ง เรื่ อ งเล่ า ที่ บ รรดาบุ ค ลากรสาย ค อั น ประกอบด้ ว ย ประสิทธิศ์ กั ดิ์ อ้อมเดือน อรุณี ละออ ดวงดาว พินติ ยา เขมิกา สุกญ ั ญา และอีกหลายคน ซึง่ เคยมาทำงานทีค่ ณะวิศวกรรมศาสตร์ในช่วงก่อตัง้ ได้ ลำดับให้เห็นถึงบรรยากาศย้อนไปเมือ่ สิบปีปลาย พวกเขาเหล่านีท้ ำงานไม่ ต่างไปจากมดงานดีๆ นีเ่ อง

๑๐๖

๑๐๗


นขบวนกองทัพที่ต้องเดินทางไปกรำศึกข้างหน้านั้น นอกจากมี แม่ทพั นายกองทีจ่ ะต้องชีช้ อ่ งส่องทาง วางแผนกลศึก สัง่ การรุกรบและล่า ถอยแล้ว ส่วนสำคัญทีข่ าดเสียไม่ได้คอื บรรดาทหารพลรบ เช่นเดียวกับ “วิศวะมหิดล” เมือ่ แรกตัง้ นัน้ มิตา่ งอะไรกับการจัด ขบวนทัพ แม้เมื่อมีผู้นำที่จัดการบริหารแล้ว ยังต้องอาศัยกลุ่มคนที่ช่วย หนุนเสริมให้กิจกรรมขององค์กรดำเนินไปด้วยดี กลุ่มบุคคลที่เคยได้รับ การขนานว่า “บุคลากรสาย ค” ในอดีต พวกเขาไม่เคยได้รับการอบรม หลักสูตรรักองค์กร ไม่เคยรูค้ ำขวัญของคณะฯ จะเป็นฉันใด แต่กลับน่าคิด ว่า เหตุใดบุคคลที่เป็นฟันเฟืองเล็กๆ ของจักรกลขนาดเขื่อง กลับมีความ ขมีขมัน หากฟั ง เรื่ อ งเล่ า ที่ บ รรดาบุ ค ลากรสาย ค อั น ประกอบด้ ว ย ประสิทธิศ์ กั ดิ์ อ้อมเดือน อรุณี ละออ ดวงดาว พินติ ยา เขมิกา สุกญ ั ญา และอีกหลายคน ซึง่ เคยมาทำงานทีค่ ณะวิศวกรรมศาสตร์ในช่วงก่อตัง้ ได้ ลำดับให้เห็นถึงบรรยากาศย้อนไปเมือ่ สิบปีปลาย พวกเขาเหล่านีท้ ำงานไม่ ต่างไปจากมดงานดีๆ นีเ่ อง

๑๐๖

๑๐๗


“...จำได้ ค่ ะ (หั ว เราะ) จริ ง ๆ เดิ ม ก่ อ นที่ จ ะมาทำงานที่ เ นี่ ย ค่ ะ ทำงานบริ ษั ท อยู่ บ ริ ษั ท ตอนนั้ น เงิ น เดื อ นเกื อ บหมื่ น น่ ะ ค่ ะ แต่ ว่ า ที่ ม า ทำงานทีว่ ศิ วะเนีย่ รับเงินเดือน ถ้าจำไม่ผดิ เดือนแรกประมาณสามพันห้า ก็คือจริงๆ แล้ว ส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เราเข้ามาในระบบราชการก็เป็น เพราะว่า พ่อเนี่ยอยากให้เรารับราชการมากเลย ตัดสินใจลาออกจากที่ โน่นมาสมัครทำงานทีน่ ี่ ก็เพราะว่าอยากให้พอ่ ภูมใิ จว่ามีลกู เป็นข้าราชการ อะไรแบบนี้น่ะค่ะ พอวันที่ได้บรรจุแล้วเป็นข้าราชการก็โอเค แล้วก็รู้สึกดี กับทีค่ ณะฯ นีม้ าตลอดตัง้ แต่ทำงานเริม่ แรก...” “...อย่างพีแ่ ขกเขาก็มงี าน แล้วก็จะให้พมิ พ์ให้ตลอด อย่างอาจารย์ อ้วน (อาจารย์ธนากร) อาจารย์พนิ ยั อย่างเนีย้ เวลามีงานก็จะแบบเรียก ไปพิมพ์ให้ตอนเย็นๆ เวลาเลิกงาน แล้วตอนนั้นน่ะมันใช้เครื่องพิมพ์ดีด ไฟฟ้าด้วย เวลาทีพ่ มิ พ์ฎกี าเนีย่ มันก็จะมีบา้ ง จะอยูแ่ บบดึกน่ะค่ะ” “...มันก็เป็นความผูกพันทีว่ า่ เราทำงาน ตอนนัน้ ไม่รจู้ กั ค่ะ คำว่า เหนื่อยเป็นยังไงน่ะ รู้แต่ว่าทำงานมันสนุกอ่ะค่ะ อยากทำทุกอย่างเลย แล้วแบบขอให้มพี เี่ ฟือ่ ง พีแ่ ขก อะไรอย่างเนีย้ เราทำกันแบบไม่ได้แบ่งงาน น่ะ...” “ระหว่างทำงานช่วงนั้นก็ทำงานไปเรียนไป เรารู้สึกเหมือนกันว่า เราเอาเปรียบพวกพีเ่ ขาหรือเปล่า อะไรอย่างนี้ แต่จริงๆ ก็คอื ก็ลยุ ด้วยกัน อ่ะนะคะ แล้วก็หนูก็โดดเรียนบ่อยมากอะไรอย่างเนี่ยค่ะ เพราะว่าเราต้อง เอางานให้ไม่เสียด้วย เพราะว่าผู้บริหารเอง ตอนนั้นน่ะอาจารย์อ้วนเขาก็ สนับสนุน แต่อาจารย์ก็บ่นว่า ถ้าเอ็งทำเอ็งต้องทำให้ดีนะทั้งเรียนและ ทำงาน ก็เลยจะทิ้งอะไรไม่ได้เลย ช่วงนั้นเนี่ยถ้าเกิดได้อยู่ดึกนะคะ ต้องขี่ จักรยานกลับหอ ก็จะผ่านตึกคณะวิทย์ หัวตึกจะมีอาจารย์ (หมายเหตุ ที่ เก็บศพสำหรับนักศึกษาแพทย์ใช้ศกึ ษา) จะกลัวมากเลยค่ะ (หัวเราะ) ก็คอื แบบว่า เพราะว่าเราต้องช่วยทำงานกันดึกๆ ดืน่ ๆ” “…แล้วก็ภูมิใจที่ว่าที่นี่แบบเจริญขึ้นอย่างผิดหูผิดตาจากเมื่อก่อน โน้น เป็นถนน ๒ เลน หนูตอ้ งทำงานไปเรียนไปนีร่ ถู้ งึ ความลำบากเลยว่า ๑๐๘

ต้องนัง่ รถ ลุยน้ำท่วมออกไปทางถนนเพชรเกษม จนบัดนีเ้ นีย่ เป็นถนน ๔ เลนหมดเลย มีแม้กระทั่งศาลายาลิงค์ อะไรก็มีอย่างนี้ ก็เลยแบบว่าถ้า สมมุตวิ า่ ใครทีม่ โี อกาสดูเทปนีน้ ะคะ คนทีอ่ ยากมาเรียนเนีย่ มาเรียนได้เลย ไม่กนั ดารอย่างทีค่ ดิ นะค่ะ (หัวเราะ)” “แต่มนั ไม่รจู้ กั คำว่าเหนือ่ ย มันมีแต่คำว่าสนุกไงคะ” “ตอนนัน้ พีแ่ ขกชวนทำอะไร ทุกคนก็อยากทำ ไม่อยากกลับบ้าน” “กินก็กนิ อยูน่ ี่ กินสนุกสนาน บรรยากาศมันก็ดกี ว่า” “เวลาปิดงบฯ เราก็จะอยู่พิมพ์ฎีกากันดึกๆ ดื่นๆ แต่พี่แขกอ่ะ จะ นอนกรนอยู่ เพราะว่าพีแ่ ขกบอกไม่ไหวแล้ว อะไรอย่างนี้ แล้วสมัยนัน้ นะ คะ คือการสัญจรมันก็ไม่คอ่ ยสะดวกใช่ไหมคะ ตรงทีเ่ ราอยูเ่ นีย่ เขาก็เรียก ว่า เหมือนบ้านนอก เวลาทีแ่ บบว่าปิดเทอมเนีย่ แถวหน้ามหาวิทยาลัยจะ ไม่มีของอะไรให้กินเลย ถ้าเมื่อไหร่ที่ปิดเทอม คือที่ที่เราพึ่งได้ที่เดียวคือ ห้างพาต้า เราก็จะต้องออกไปซื้อของมา แล้วก็ตุนไว้ ของที่เราตุนก็คือ พวกมาม่าอะไรอย่างนีค้ ะ่ ก็จะไม่คอ่ ยหาของกินยาก จะแตกต่างจากสมัยนี้ มากเลย” “ตอนมาเห็นศาลายาเงียบมากเลย เราอยู่อนุสาวรีย์เงียบมากเลย หาวิศวะว่าอยู่ที่ไหน เห็นป้ายวิศวะเป็นป้ายเล็กๆ ก็ขึ้นไปสมัครพนักงาน ธุรการ ก็เจอคุณแขก ก็สอบได้เมือ่ ปี ๒๕๓๔ แล้วก็ได้เข้ามา เดินทางจาก ลาดพร้าวมาทำงานที่นี่ วิศวะเริ่มก่อตั้งใหม่ ภาควิชามีอาจารย์อยู่ ๓–๔ ท่านอาจารย์ที่มีอยู่ขณะนั้น มาทำงานทุกวันเลย ด้านการเรียนการสอน ต้องจ้างอาจารย์พิเศษ ไปเรียนที่ช่างฝีมือทหาร มีทหารกำกับดูแล วัสดุ เอาไปฝึกที่นั่นเลย ถ้านับจากอดีตถึงปัจจุบันก็มีมาก เวลาเราติดขัดเรื่อง งบประมาณ พี่ พ ะเยาว์ (คุ ณ พะเยาว์ สุ จ ริ ต อดี ต เลขานุ ก ารคณะ วิศวกรรมศาสตร์) จะเป็นคนตัดสินใจให้ว่าจะทำยังไง คือ มีความรู้สึกว่า สะดวกทุกอย่างมีคำตอบ จากผูใ้ หญ่ทา่ นช่วยให้มวี นั นีไ้ ด้”

๑๐๙


“...จำได้ ค่ ะ (หั ว เราะ) จริ ง ๆ เดิ ม ก่ อ นที่ จ ะมาทำงานที่ เ นี่ ย ค่ ะ ทำงานบริ ษั ท อยู่ บ ริ ษั ท ตอนนั้ น เงิ น เดื อ นเกื อ บหมื่ น น่ ะ ค่ ะ แต่ ว่ า ที่ ม า ทำงานทีว่ ศิ วะเนีย่ รับเงินเดือน ถ้าจำไม่ผดิ เดือนแรกประมาณสามพันห้า ก็คือจริงๆ แล้ว ส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เราเข้ามาในระบบราชการก็เป็น เพราะว่า พ่อเนี่ยอยากให้เรารับราชการมากเลย ตัดสินใจลาออกจากที่ โน่นมาสมัครทำงานทีน่ ี่ ก็เพราะว่าอยากให้พอ่ ภูมใิ จว่ามีลกู เป็นข้าราชการ อะไรแบบนี้น่ะค่ะ พอวันที่ได้บรรจุแล้วเป็นข้าราชการก็โอเค แล้วก็รู้สึกดี กับทีค่ ณะฯ นีม้ าตลอดตัง้ แต่ทำงานเริม่ แรก...” “...อย่างพีแ่ ขกเขาก็มงี าน แล้วก็จะให้พมิ พ์ให้ตลอด อย่างอาจารย์ อ้วน (อาจารย์ธนากร) อาจารย์พนิ ยั อย่างเนีย้ เวลามีงานก็จะแบบเรียก ไปพิมพ์ให้ตอนเย็นๆ เวลาเลิกงาน แล้วตอนนั้นน่ะมันใช้เครื่องพิมพ์ดีด ไฟฟ้าด้วย เวลาทีพ่ มิ พ์ฎกี าเนีย่ มันก็จะมีบา้ ง จะอยูแ่ บบดึกน่ะค่ะ” “...มันก็เป็นความผูกพันทีว่ า่ เราทำงาน ตอนนัน้ ไม่รจู้ กั ค่ะ คำว่า เหนื่อยเป็นยังไงน่ะ รู้แต่ว่าทำงานมันสนุกอ่ะค่ะ อยากทำทุกอย่างเลย แล้วแบบขอให้มพี เี่ ฟือ่ ง พีแ่ ขก อะไรอย่างเนีย้ เราทำกันแบบไม่ได้แบ่งงาน น่ะ...” “ระหว่างทำงานช่วงนั้นก็ทำงานไปเรียนไป เรารู้สึกเหมือนกันว่า เราเอาเปรียบพวกพีเ่ ขาหรือเปล่า อะไรอย่างนี้ แต่จริงๆ ก็คอื ก็ลยุ ด้วยกัน อ่ะนะคะ แล้วก็หนูก็โดดเรียนบ่อยมากอะไรอย่างเนี่ยค่ะ เพราะว่าเราต้อง เอางานให้ไม่เสียด้วย เพราะว่าผู้บริหารเอง ตอนนั้นน่ะอาจารย์อ้วนเขาก็ สนับสนุน แต่อาจารย์ก็บ่นว่า ถ้าเอ็งทำเอ็งต้องทำให้ดีนะทั้งเรียนและ ทำงาน ก็เลยจะทิ้งอะไรไม่ได้เลย ช่วงนั้นเนี่ยถ้าเกิดได้อยู่ดึกนะคะ ต้องขี่ จักรยานกลับหอ ก็จะผ่านตึกคณะวิทย์ หัวตึกจะมีอาจารย์ (หมายเหตุ ที่ เก็บศพสำหรับนักศึกษาแพทย์ใช้ศกึ ษา) จะกลัวมากเลยค่ะ (หัวเราะ) ก็คอื แบบว่า เพราะว่าเราต้องช่วยทำงานกันดึกๆ ดืน่ ๆ” “…แล้วก็ภูมิใจที่ว่าที่นี่แบบเจริญขึ้นอย่างผิดหูผิดตาจากเมื่อก่อน โน้น เป็นถนน ๒ เลน หนูตอ้ งทำงานไปเรียนไปนีร่ ถู้ งึ ความลำบากเลยว่า ๑๐๘

ต้องนัง่ รถ ลุยน้ำท่วมออกไปทางถนนเพชรเกษม จนบัดนีเ้ นีย่ เป็นถนน ๔ เลนหมดเลย มีแม้กระทั่งศาลายาลิงค์ อะไรก็มีอย่างนี้ ก็เลยแบบว่าถ้า สมมุตวิ า่ ใครทีม่ โี อกาสดูเทปนีน้ ะคะ คนทีอ่ ยากมาเรียนเนีย่ มาเรียนได้เลย ไม่กนั ดารอย่างทีค่ ดิ นะค่ะ (หัวเราะ)” “แต่มนั ไม่รจู้ กั คำว่าเหนือ่ ย มันมีแต่คำว่าสนุกไงคะ” “ตอนนัน้ พีแ่ ขกชวนทำอะไร ทุกคนก็อยากทำ ไม่อยากกลับบ้าน” “กินก็กนิ อยูน่ ี่ กินสนุกสนาน บรรยากาศมันก็ดกี ว่า” “เวลาปิดงบฯ เราก็จะอยู่พิมพ์ฎีกากันดึกๆ ดื่นๆ แต่พี่แขกอ่ะ จะ นอนกรนอยู่ เพราะว่าพีแ่ ขกบอกไม่ไหวแล้ว อะไรอย่างนี้ แล้วสมัยนัน้ นะ คะ คือการสัญจรมันก็ไม่คอ่ ยสะดวกใช่ไหมคะ ตรงทีเ่ ราอยูเ่ นีย่ เขาก็เรียก ว่า เหมือนบ้านนอก เวลาทีแ่ บบว่าปิดเทอมเนีย่ แถวหน้ามหาวิทยาลัยจะ ไม่มีของอะไรให้กินเลย ถ้าเมื่อไหร่ที่ปิดเทอม คือที่ที่เราพึ่งได้ที่เดียวคือ ห้างพาต้า เราก็จะต้องออกไปซื้อของมา แล้วก็ตุนไว้ ของที่เราตุนก็คือ พวกมาม่าอะไรอย่างนีค้ ะ่ ก็จะไม่คอ่ ยหาของกินยาก จะแตกต่างจากสมัยนี้ มากเลย” “ตอนมาเห็นศาลายาเงียบมากเลย เราอยู่อนุสาวรีย์เงียบมากเลย หาวิศวะว่าอยู่ที่ไหน เห็นป้ายวิศวะเป็นป้ายเล็กๆ ก็ขึ้นไปสมัครพนักงาน ธุรการ ก็เจอคุณแขก ก็สอบได้เมือ่ ปี ๒๕๓๔ แล้วก็ได้เข้ามา เดินทางจาก ลาดพร้าวมาทำงานที่นี่ วิศวะเริ่มก่อตั้งใหม่ ภาควิชามีอาจารย์อยู่ ๓–๔ ท่านอาจารย์ที่มีอยู่ขณะนั้น มาทำงานทุกวันเลย ด้านการเรียนการสอน ต้องจ้างอาจารย์พิเศษ ไปเรียนที่ช่างฝีมือทหาร มีทหารกำกับดูแล วัสดุ เอาไปฝึกที่นั่นเลย ถ้านับจากอดีตถึงปัจจุบันก็มีมาก เวลาเราติดขัดเรื่อง งบประมาณ พี่ พ ะเยาว์ (คุ ณ พะเยาว์ สุ จ ริ ต อดี ต เลขานุ ก ารคณะ วิศวกรรมศาสตร์) จะเป็นคนตัดสินใจให้ว่าจะทำยังไง คือ มีความรู้สึกว่า สะดวกทุกอย่างมีคำตอบ จากผูใ้ หญ่ทา่ นช่วยให้มวี นั นีไ้ ด้”

๑๐๙


การเชื้อเชิญบุคลากรสายสนับสนุนให้มาเล่าเรื่องเก่าคราวหลัง เมื่อครั้งที่เริ่มมาทำงานที่คณะวิศวะมหิดล จึงเปรียบประหนึ่งเป็นการ ฉุดต่อมความสุขที่ทุกคนมีอยู่อย่างเปี่ยมล้น พร้อมที่จะพรั่งพรูออกให้ กับคนทีส่ นใจใคร่รบู้ รรยากาศเมือ่ วันวาน ทุกคนจึงช่วยกันเล่า ผลัดกัน เสริม โดยไม่มสี คริปต์ ไม่มบี ทไดอะล็อกใดๆ แต่ทกุ คนมีบทของตนเอง คื อ บทบาทในฐานะคนทำงาน และเกี่ ย วพั น จนเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ ประวัตศิ าสตร์คณะวิศวะมหิดลไปแล้ว

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๑๐


การเชื้อเชิญบุคลากรสายสนับสนุนให้มาเล่าเรื่องเก่าคราวหลัง เมื่อครั้งที่เริ่มมาทำงานที่คณะวิศวะมหิดล จึงเปรียบประหนึ่งเป็นการ ฉุดต่อมความสุขที่ทุกคนมีอยู่อย่างเปี่ยมล้น พร้อมที่จะพรั่งพรูออกให้ กับคนทีส่ นใจใคร่รบู้ รรยากาศเมือ่ วันวาน ทุกคนจึงช่วยกันเล่า ผลัดกัน เสริม โดยไม่มสี คริปต์ ไม่มบี ทไดอะล็อกใดๆ แต่ทกุ คนมีบทของตนเอง คื อ บทบาทในฐานะคนทำงาน และเกี่ ย วพั น จนเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ ประวัตศิ าสตร์คณะวิศวะมหิดลไปแล้ว

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๑๐


รรมดาของการซื้อหา หากซื้อรถก็ย่อมได้รถ ซื้อบ้านก็ย่อมได้ บ้าน แต่มกี ารซือ้ อยูอ่ ย่างหนึง่ ทีซ่ อื้ แล้วได้อเนกประการ นัน่ คือการ “ซือ้ ใจ” ส่วนเล็กๆ ทีแ่ ทรกอยูใ่ นกลวิธกี ารบริหารงาน คือความไว้วางใจคน ทำงาน กล่าวอีกอย่างก็คือ การให้เกียรติหรือนอนใจได้ว่า คนทำงานคือ ขุมพลังอันสำคัญของคณะฯ ดังนัน้ การทีผ่ บู้ ริหาร “มอบหมายให้ทำงานด้วย ความไว้วางใจ” จึงต่างจาก “การลงโทษด้วยการให้ทำงาน” โดยสิน้ เชิง ความรูส้ กึ ดังกล่าวนี้ สะท้อนออกจากปากคำของเจ้าหน้าทีใ่ นคณะ วิศวะเองว่า “คือ...อาจารย์เขาไว้ใจพวกเราด้วยมั้งคะ แล้วก็แบบว่า อาจารย์ วางใจให้พวกเราทำงานอะไร พวกเราก็ทำเต็มที่ แล้วอาจารย์เขาก็ดูแล พวกเราดีด้วย เวลาฝนตกน้ำท่วมอะไร อาจารย์พินัยก็ไปส่ง เวลาพี่สาวดุ ว่า ทำไมไม่คอ่ ยกลับบ้านอย่างเนีย้ อาจารย์พนิ ยั ก็เซ็นหนังสือรับรองให้” คนแรกเล่ายังไม่สนิ้ ความ คนทีน่ งั่ อยูข่ า้ งๆ ก็ชว่ ยเล่าเสริมอีกว่า “ใช่ๆๆๆๆ เวลาใคร บางทีแฟนใครไม่เชื่ออย่างเนี้ย ต้องออกเป็น หนังสือรับรองให้วา่ ได้อยูป่ ฏิบตั งิ านตอนเย็นๆ จริง” “พี่สาวเขาก็งงว่าทำไมต้องอยู่ปฏิบัติงานกันดึกๆ ดื่นๆ อย่างเนี่ย แต่พอมาช่วงหลัง เขาก็รู้ เขาเจอเพื่อนอย่างเนี่ย ก็รู้จักเพื่อนในกลุ่มกัน อย่างเนีย่ เขาก็บอกเออเขาเข้าใจแล้วว่า ทำไมถึงติดทีท่ ำงาน คือมันไม่ใช่ งานหนักมันเป็นเรื่องไม่ค่อยสำคัญอย่างนี้ค่ะ แต่เรามีเพื่อนที่แบบช่วยกัน ทำงานอย่างไง เราก็เลยมีความสุข แล้วก็อยูต่ ดิ ทีท่ ำงาน พอตอนจะสมัย สร้างตึกใหม่นะ พีแ่ ขก พวกเราก็ไปลุยกันแบบเกรียม อะไรทุกอย่างเลยอ่ะ คือกลายเป็นเรือ่ งสนุกสนานอย่างนี้ งานหนักก็เหมือนเรือ่ งสนุก” น่าเสียดายนักว่า หลักการบริหารแบบฝรั่งยุคใหม่ ไม่มีหัวข้อ ว่าด้วยการซื้อใจเหมือนการบริหารแบบคนตะวันออก มีแต่ตัวชี้วัดและ ประเมินผล การทำงานจึงเห็นแต่งาน ไม่เห็นคน ๑๑๒

เมือ่ ฟองสบูแ่ ตก


รรมดาของการซื้อหา หากซื้อรถก็ย่อมได้รถ ซื้อบ้านก็ย่อมได้ บ้าน แต่มกี ารซือ้ อยูอ่ ย่างหนึง่ ทีซ่ อื้ แล้วได้อเนกประการ นัน่ คือการ “ซือ้ ใจ” ส่วนเล็กๆ ทีแ่ ทรกอยูใ่ นกลวิธกี ารบริหารงาน คือความไว้วางใจคน ทำงาน กล่าวอีกอย่างก็คือ การให้เกียรติหรือนอนใจได้ว่า คนทำงานคือ ขุมพลังอันสำคัญของคณะฯ ดังนัน้ การทีผ่ บู้ ริหาร “มอบหมายให้ทำงานด้วย ความไว้วางใจ” จึงต่างจาก “การลงโทษด้วยการให้ทำงาน” โดยสิน้ เชิง ความรูส้ กึ ดังกล่าวนี้ สะท้อนออกจากปากคำของเจ้าหน้าทีใ่ นคณะ วิศวะเองว่า “คือ...อาจารย์เขาไว้ใจพวกเราด้วยมั้งคะ แล้วก็แบบว่า อาจารย์ วางใจให้พวกเราทำงานอะไร พวกเราก็ทำเต็มที่ แล้วอาจารย์เขาก็ดูแล พวกเราดีด้วย เวลาฝนตกน้ำท่วมอะไร อาจารย์พินัยก็ไปส่ง เวลาพี่สาวดุ ว่า ทำไมไม่คอ่ ยกลับบ้านอย่างเนีย้ อาจารย์พนิ ยั ก็เซ็นหนังสือรับรองให้” คนแรกเล่ายังไม่สนิ้ ความ คนทีน่ งั่ อยูข่ า้ งๆ ก็ชว่ ยเล่าเสริมอีกว่า “ใช่ๆๆๆๆ เวลาใคร บางทีแฟนใครไม่เชื่ออย่างเนี้ย ต้องออกเป็น หนังสือรับรองให้วา่ ได้อยูป่ ฏิบตั งิ านตอนเย็นๆ จริง” “พี่สาวเขาก็งงว่าทำไมต้องอยู่ปฏิบัติงานกันดึกๆ ดื่นๆ อย่างเนี่ย แต่พอมาช่วงหลัง เขาก็รู้ เขาเจอเพื่อนอย่างเนี่ย ก็รู้จักเพื่อนในกลุ่มกัน อย่างเนีย่ เขาก็บอกเออเขาเข้าใจแล้วว่า ทำไมถึงติดทีท่ ำงาน คือมันไม่ใช่ งานหนักมันเป็นเรื่องไม่ค่อยสำคัญอย่างนี้ค่ะ แต่เรามีเพื่อนที่แบบช่วยกัน ทำงานอย่างไง เราก็เลยมีความสุข แล้วก็อยูต่ ดิ ทีท่ ำงาน พอตอนจะสมัย สร้างตึกใหม่นะ พีแ่ ขก พวกเราก็ไปลุยกันแบบเกรียม อะไรทุกอย่างเลยอ่ะ คือกลายเป็นเรือ่ งสนุกสนานอย่างนี้ งานหนักก็เหมือนเรือ่ งสนุก” น่าเสียดายนักว่า หลักการบริหารแบบฝรั่งยุคใหม่ ไม่มีหัวข้อ ว่าด้วยการซื้อใจเหมือนการบริหารแบบคนตะวันออก มีแต่ตัวชี้วัดและ ประเมินผล การทำงานจึงเห็นแต่งาน ไม่เห็นคน ๑๑๒

เมือ่ ฟองสบูแ่ ตก


นั

กเศรษฐศาสตร์เรียกภาวะที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู แต่ไม่มีแก่นแท้ ของความจริงทางตัวเลข หรือราคาข้าวของเพิ่มสูงกว่าความเป็นจริงว่า “เศรษฐกิจฟองสบู่” เพราะเปรียบไปก็คล้ายฟองสบู่ที่มีแต่ความว่างเปล่า อยูภ่ ายใน เมือ่ คราว “ฟองสบูโ่ ป่งพอง” ได้กอ่ ให้เกิดการจ้างงาน การขยาย การลงทุน ครัน้ ความจริงปรากฏ คือ “ฟองสบูแ่ ตก” ช่วงปี ๒๕๔๐ ได้สง่ ผลกระทบทางสังคมถ้วนหน้า ซึ่งกระทบถึงจำนวนนักศึกษาที่จะสอบเข้า มหาวิทยาลัย และภาวะตกงานของบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดย เฉพาะทางด้านโยธาด้วย ซึง่ อาจารย์ปยิ ะ รัตนสุวรรณ ได้วเิ คราะห์แง่มมุ นี้ ไว้วา่ “...ก็คอื ฟองสบูแ่ ตก วิศวกรโยธาค่อนข้างไม่มงี านทำ หรือในใจผม บอกว่า มีงานทำทุกคนถ้าคุณไม่เลือกงาน คือค่าตอบแทนมันต่ำกว่าสาขา อืน่ นะครับ ไม่ใช่ถงึ กับตกงาน ค่าตอบแทนนะครับต่อรายเดือนทีเ่ ขาจบไป ทำงานต่ำกว่าแต่ไม่ถึงไม่มีงานทำ ผมรับประกันได้เลยว่า ไม่ตกงาน ถ้า คุณไม่เลือกงาน ตอนนั้นปี ๓ นักศึกษาฝึกงานภาคโยธานะครับ ตอนที่ ฟองสบู่ยังไม่แตก บริษัทรับนักศึกษาฝึกงานปี ๓ แล้วให้ค่าตอบแทนราย วันสูงด้วยครับ บางคนเปิดเทอมยังไม่กลับมาเรียนเลยครับ บอกได้เงินดี อาจารย์ผมบอกว่า คุณมีหน้าที่ฝึกงานนะ คุณจบไปได้งานทำชัวร์ คุณ กลับมาเรียนก่อน เปิดเทอม ไปสองสามอาทิตย์ยงั ไม่กลับมาเรียนเลยครับ อยากทำงาน อยากได้เงินเดือนเยอะๆ ไปถึงวันแรกทำงานไม่เท่าไหร่ครับ สามสีว่ นั บริษทั จ่ายล่วงหน้าเลยครับ แต่พอระยะหลัง หลังจากฟองสบูแ่ ตก นี่ เรามีรายชือ่ ถามไปทีบ่ ริษทั ว่ารับนักศึกษาฝึกงานไหม เขาบอก ไม่รบั ไม่รบั ไม่รบั (หัวเราะ) ผมต้องโทรศัพท์ไปบอกบริษทั เลยว่า ขอให้รบั เถอะ ไม่มคี า่ ตอบแทนไม่เป็นไร ให้นกั ศึกษาได้ความรู้ ตอนหลังเขาถึงรับ เพราะ ว่าสาขาอืน่ เขายังมีคา่ ตอบแทนให้ แต่โยธาไม่มคี า่ ตอบแทนให้ ผมบอก ไป เหอะ ไปเอาความรูก้ แ็ ล้วกัน อย่าไปหวังค่าตอบแทนเลย ตอนหลังบริษทั ก็ รับ เข้าใจเราดีขนึ้ ” ๑๑๔


นั

กเศรษฐศาสตร์เรียกภาวะที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู แต่ไม่มีแก่นแท้ ของความจริงทางตัวเลข หรือราคาข้าวของเพิ่มสูงกว่าความเป็นจริงว่า “เศรษฐกิจฟองสบู่” เพราะเปรียบไปก็คล้ายฟองสบู่ที่มีแต่ความว่างเปล่า อยูภ่ ายใน เมือ่ คราว “ฟองสบูโ่ ป่งพอง” ได้กอ่ ให้เกิดการจ้างงาน การขยาย การลงทุน ครัน้ ความจริงปรากฏ คือ “ฟองสบูแ่ ตก” ช่วงปี ๒๕๔๐ ได้สง่ ผลกระทบทางสังคมถ้วนหน้า ซึ่งกระทบถึงจำนวนนักศึกษาที่จะสอบเข้า มหาวิทยาลัย และภาวะตกงานของบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดย เฉพาะทางด้านโยธาด้วย ซึง่ อาจารย์ปยิ ะ รัตนสุวรรณ ได้วเิ คราะห์แง่มมุ นี้ ไว้วา่ “...ก็คอื ฟองสบูแ่ ตก วิศวกรโยธาค่อนข้างไม่มงี านทำ หรือในใจผม บอกว่า มีงานทำทุกคนถ้าคุณไม่เลือกงาน คือค่าตอบแทนมันต่ำกว่าสาขา อืน่ นะครับ ไม่ใช่ถงึ กับตกงาน ค่าตอบแทนนะครับต่อรายเดือนทีเ่ ขาจบไป ทำงานต่ำกว่าแต่ไม่ถึงไม่มีงานทำ ผมรับประกันได้เลยว่า ไม่ตกงาน ถ้า คุณไม่เลือกงาน ตอนนั้นปี ๓ นักศึกษาฝึกงานภาคโยธานะครับ ตอนที่ ฟองสบู่ยังไม่แตก บริษัทรับนักศึกษาฝึกงานปี ๓ แล้วให้ค่าตอบแทนราย วันสูงด้วยครับ บางคนเปิดเทอมยังไม่กลับมาเรียนเลยครับ บอกได้เงินดี อาจารย์ผมบอกว่า คุณมีหน้าที่ฝึกงานนะ คุณจบไปได้งานทำชัวร์ คุณ กลับมาเรียนก่อน เปิดเทอม ไปสองสามอาทิตย์ยงั ไม่กลับมาเรียนเลยครับ อยากทำงาน อยากได้เงินเดือนเยอะๆ ไปถึงวันแรกทำงานไม่เท่าไหร่ครับ สามสีว่ นั บริษทั จ่ายล่วงหน้าเลยครับ แต่พอระยะหลัง หลังจากฟองสบูแ่ ตก นี่ เรามีรายชือ่ ถามไปทีบ่ ริษทั ว่ารับนักศึกษาฝึกงานไหม เขาบอก ไม่รบั ไม่รบั ไม่รบั (หัวเราะ) ผมต้องโทรศัพท์ไปบอกบริษทั เลยว่า ขอให้รบั เถอะ ไม่มคี า่ ตอบแทนไม่เป็นไร ให้นกั ศึกษาได้ความรู้ ตอนหลังเขาถึงรับ เพราะ ว่าสาขาอืน่ เขายังมีคา่ ตอบแทนให้ แต่โยธาไม่มคี า่ ตอบแทนให้ ผมบอก ไป เหอะ ไปเอาความรูก้ แ็ ล้วกัน อย่าไปหวังค่าตอบแทนเลย ตอนหลังบริษทั ก็ รับ เข้าใจเราดีขนึ้ ” ๑๑๔


อาจารย์เซืก่อ้ าใจ เล่าแต่ เรือ่ ได้ งศิงษาน ย์


มื่อถามถึงเหล่าลูกศิษย์ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ อาจารย์ อาวุโสหลายท่านก็ไม่ช้าที่จะทวนความหลังให้ฟัง ภาพเหตุการณ์ ใบหน้า และท่าทางของลูกศิษย์รนุ่ แรกๆ คงพร่างผุดอยูใ่ นความทรงจำ ติดคาค้าง อยู่ที่ว่าจำชื่อไม่ค่อยได้ นอกจากนี้ คำสรรพนามเรียกลูกศิษย์ที่เป็นชาย

ว่า “มัน” หรือ “ไอ้” หากเป็นครูภาษาไทยมาได้ยินเข้า ก็อาจทึกทักว่า บรรดาอาจารย์อาวุโสเหล่านี้พูดไม่เพราะ แต่ใครจะไปหยั่งรู้บ้างล่ะว่า คำ ว่า “มัน” และ “ไอ้” ทีอ่ าจารย์ได้กล่าวถึงลูกศิษย์ในวันนัน้ เจือด้วยความ รักความเอ็นดูอยูใ่ นน้ำคำ “...ก็อาจารย์แอมเนี่ย อาจารย์วเรศรา มีคนที่ดังที่สุดก็คือไอ้คนที่ ได้เงินเดือนมากสุดอุตสาหการ จบ ป.ตรี ออกไปได้มากทีส่ ดุ ในรุน่ รุน่ ๑ นีพ่ อจะมีใครบ้างทีพ่ อรูจ้ กั บ้าง ก็อาจารย์จารุพรรณ เคมี อาจารย์วเรศรา ก็อตุ สาหการ เคมี อาจารย์โส่ย (อาจารย์สวุ มิ ล จงจิตสำราญ) ตอนนัน้ ยัง ไม่ดงั ก็พอใช้ได้นะครับ อยูส่ งิ่ แวดล้อมก็ดดี กีตา้ ร์ ร้องเพลงกับเพือ่ น เขา ก็เรียนจบแล้วเขาก็ไปเรียนต่อไฟฟ้ารุ่นแรกๆ ใคร ตัวโย่งๆ ผู้ชายนั่น (พัฒนาช พัฒนะศรี) ไม่รมู้ นั ชือ่ อะไร คุน้ หน้าเฉยๆ แต่ผมจำชือ่ คนไม่คอ่ ย ได้ ไอ้โป้ง (อาจารย์สมนิดา รัตนาปนะโชติ) นีล่ กู ๒ ใช่ไหม...” นอกจากนี้ ความผูกพันระหว่างศิษย์กับอาจารย์ยังมีอยู่เสมอ แม้ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วก็ตาม ซึ่งอาจารย์หลายท่านยังได้รับข่าวสาร ได้ รับโทรศัพท์จากศิษย์ และมีศิษย์หลายคนยังคงแวะเวียนไปคารวะทักทาย รวมถึ ง โทรศั พ ท์ ถ ามข้ อ คำถามที่ เ กี่ ย วกั บ งานทางวิ ศ วกรรม ตลอดถึ ง คำถามเกีย่ วกับการแต่งตัว “…ผมว่าเรื่องนี้มันจำเป็น บางทีเขาโทรมา อาจารย์ ไปฝึกงาน แล้วจะใส่ชุดอะไร จะแต่งตัวอย่างไร ผมก็ถาม คุณอยู่สนามหรือคุณอยู่ ออฟฟิ ศ ล่ ะ คุ ณ ถามดู เวลาคุณไปรายงานตัว พนักงานอื่นทั่วไปแต่ง

๑๑๖

นักศึกษาฝึกงาน

ตัวอย่างไร คุณต้องแต่งตัวให้เหมือนเขา คุณอยูอ่ อฟฟิศเขาแต่งตัวอย่างไร คุณก็แต่งให้เหมือนเขา คุณอย่าไปแปลกประหลาดเขา คุณอยู่สนามก็ใส่ กางเกงยีนส์ก็ไม่แปลก ใส่เสื้อช้อปก็ได้ แต่ถ้าอยู่ออฟฟิศต้องแต่งตัวให้ เหมือนเขา จริงๆ แล้วเขาไม่รู้อะไรเลย มาถามตลอดนะครับ สัมภาษณ์ อาจารย์ สัมภาษณ์เขาถามอะไร ผมก็บอก คุณไปเว็บไซต์เลย คำถาม top hit ในการสั ม ภาษณ์ เ ขามี ค ำถามอะไร เขาตอบเสร็ จ อยู่ ใ นนั้ น เสร็ จ เรียบร้อย…” อีกเรื่องหนึ่ง คือการสอนเรื่องบุคลิกภาพ เรื่องมารยาท และ ความเหมาะควรในคราวเข้าสังคม ในสาขาทีค่ ณะวิศวะฯ เปิด ไม่มเี นือ้ หา วิชาเหล่านี้ บางครั้ง ความเป็นครูอาจารย์จึงต้องบอกและสอดแทรก ตลอดจนฝึกหรือตั้งเป็นกฎไว้บ้าง อาจารย์ปิยะเล่าถึงแนวทางการฝึก

ลูกศิษย์ทนี่ อกเหนือจากวิชาการทีส่ อนว่า

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๑๗


มื่อถามถึงเหล่าลูกศิษย์ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ อาจารย์ อาวุโสหลายท่านก็ไม่ช้าที่จะทวนความหลังให้ฟัง ภาพเหตุการณ์ ใบหน้า และท่าทางของลูกศิษย์รนุ่ แรกๆ คงพร่างผุดอยูใ่ นความทรงจำ ติดคาค้าง อยู่ที่ว่าจำชื่อไม่ค่อยได้ นอกจากนี้ คำสรรพนามเรียกลูกศิษย์ที่เป็นชาย

ว่า “มัน” หรือ “ไอ้” หากเป็นครูภาษาไทยมาได้ยินเข้า ก็อาจทึกทักว่า บรรดาอาจารย์อาวุโสเหล่านี้พูดไม่เพราะ แต่ใครจะไปหยั่งรู้บ้างล่ะว่า คำ ว่า “มัน” และ “ไอ้” ทีอ่ าจารย์ได้กล่าวถึงลูกศิษย์ในวันนัน้ เจือด้วยความ รักความเอ็นดูอยูใ่ นน้ำคำ “...ก็อาจารย์แอมเนี่ย อาจารย์วเรศรา มีคนที่ดังที่สุดก็คือไอ้คนที่ ได้เงินเดือนมากสุดอุตสาหการ จบ ป.ตรี ออกไปได้มากทีส่ ดุ ในรุน่ รุน่ ๑ นีพ่ อจะมีใครบ้างทีพ่ อรูจ้ กั บ้าง ก็อาจารย์จารุพรรณ เคมี อาจารย์วเรศรา ก็อตุ สาหการ เคมี อาจารย์โส่ย (อาจารย์สวุ มิ ล จงจิตสำราญ) ตอนนัน้ ยัง ไม่ดงั ก็พอใช้ได้นะครับ อยูส่ งิ่ แวดล้อมก็ดดี กีตา้ ร์ ร้องเพลงกับเพือ่ น เขา ก็เรียนจบแล้วเขาก็ไปเรียนต่อไฟฟ้ารุ่นแรกๆ ใคร ตัวโย่งๆ ผู้ชายนั่น (พัฒนาช พัฒนะศรี) ไม่รมู้ นั ชือ่ อะไร คุน้ หน้าเฉยๆ แต่ผมจำชือ่ คนไม่คอ่ ย ได้ ไอ้โป้ง (อาจารย์สมนิดา รัตนาปนะโชติ) นีล่ กู ๒ ใช่ไหม...” นอกจากนี้ ความผูกพันระหว่างศิษย์กับอาจารย์ยังมีอยู่เสมอ แม้ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วก็ตาม ซึ่งอาจารย์หลายท่านยังได้รับข่าวสาร ได้ รับโทรศัพท์จากศิษย์ และมีศิษย์หลายคนยังคงแวะเวียนไปคารวะทักทาย รวมถึ ง โทรศั พ ท์ ถ ามข้ อ คำถามที่ เ กี่ ย วกั บ งานทางวิ ศ วกรรม ตลอดถึ ง คำถามเกีย่ วกับการแต่งตัว “…ผมว่าเรื่องนี้มันจำเป็น บางทีเขาโทรมา อาจารย์ ไปฝึกงาน แล้วจะใส่ชุดอะไร จะแต่งตัวอย่างไร ผมก็ถาม คุณอยู่สนามหรือคุณอยู่ ออฟฟิ ศ ล่ ะ คุ ณ ถามดู เวลาคุณไปรายงานตัว พนักงานอื่นทั่วไปแต่ง

๑๑๖

นักศึกษาฝึกงาน

ตัวอย่างไร คุณต้องแต่งตัวให้เหมือนเขา คุณอยูอ่ อฟฟิศเขาแต่งตัวอย่างไร คุณก็แต่งให้เหมือนเขา คุณอย่าไปแปลกประหลาดเขา คุณอยู่สนามก็ใส่ กางเกงยีนส์ก็ไม่แปลก ใส่เสื้อช้อปก็ได้ แต่ถ้าอยู่ออฟฟิศต้องแต่งตัวให้ เหมือนเขา จริงๆ แล้วเขาไม่รู้อะไรเลย มาถามตลอดนะครับ สัมภาษณ์ อาจารย์ สัมภาษณ์เขาถามอะไร ผมก็บอก คุณไปเว็บไซต์เลย คำถาม top hit ในการสั ม ภาษณ์ เ ขามี ค ำถามอะไร เขาตอบเสร็ จ อยู่ ใ นนั้ น เสร็ จ เรียบร้อย…” อีกเรื่องหนึ่ง คือการสอนเรื่องบุคลิกภาพ เรื่องมารยาท และ ความเหมาะควรในคราวเข้าสังคม ในสาขาทีค่ ณะวิศวะฯ เปิด ไม่มเี นือ้ หา วิชาเหล่านี้ บางครั้ง ความเป็นครูอาจารย์จึงต้องบอกและสอดแทรก ตลอดจนฝึกหรือตั้งเป็นกฎไว้บ้าง อาจารย์ปิยะเล่าถึงแนวทางการฝึก

ลูกศิษย์ทนี่ อกเหนือจากวิชาการทีส่ อนว่า

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๑๗


“ถ้าผมสอน ต้องพัฒนาทุกด้านนะครับ เรือ่ งการวางตัว เรือ่ งการ แต่งกาย เมือ่ วานผมสอบ project นะครับ ผมสอนนะ แต่วา่ อาจารย์ทา่ น อื่นเป็นอย่างไร ผมไม่ทราบ วิชาผมนะครับ ถ้าใส่เสื้อช้อปเข้ามา ใส่ รองเท้าแตะเข้ามา ผมเชิญออกเลยนะครับ เขารู้เลยว่าวันนี้อาจารย์ปิยะ สอนต้องใส่เสือ้ ขาว เมือ่ วานสอบ project ผมให้ผกู ไท ผูกหูกระต่ายด้วย บางคนผูกไทยังไม่รู้ไทอยู่ตรงไหนเลย หาไม่เจอ ไม่เคยผูก ผูกแต่ปีหนึ่ง บอก คุณแต่งตัวให้เรียบร้อยถูกกาลเทศะนิดนึง แล้วบุคลิกคุณก็จะดูดีขึ้น แต่ถ้าคุณจะไปสนามผมไม่ว่าอะไรหรอก บางทีไปดูงานผมต้องกำชับด้วย ว่าใส่เสื้ออะไร ต้องบอกเด็กนะครับ เดี๋ยวแต่งตัวไม่ถูกอีก ไปคนละทิศ คนละทาง ผมก็ เ ลยต้ อ งกำชั บ ก็ ห นั ก ใจ สอนปริ ญ ญาตรี ค่ อ นข้ า งจะ หนักใจนิดนึง” ระยะเวลาที่นักศึกษาส่วนใหญ่ที่อยู่ศึกษาเป็นเวลา ๔ ปี ก็มาก เพียงพอที่จะก่อให้เกิดความผูกพันระหว่างศิษย์กับอาจารย์ ระยะหัวเลี้ยว หัวต่อนี้ เป็นช่วงทีม่ คี วามสำคัญกับชีวติ ของเยาวชนอยูม่ าก เนือ่ งจากบาง คนห่างไกลสายตาพ่อแม่ บางคนก็มั่นใจว่าตนนั้นเป็นผู้ใหญ่เต็มที่ จะคิดพูด-ทำสิง่ ใดๆ ก็ดเู หมือนว่าตนเองจะถูกต้องทัง้ หมด การได้อยูใ่ กล้ชดิ หรือ คุน้ เคยกับครูบาอาจารย์ ก็เป็นโอกาสในการพัฒนาชีวติ ได้เช่นกัน ในสายตาของอาจารย์ปิยะ รัตนสุวรรณ มองว่า ศิษย์ก็ยังเป็น ศิษย์วันยันค่ำ แต่ทั้งนี้มิได้มองว่าพวกเขาโง่หรือสอนไม่จำ แต่เพราะพวก เขายอมตัวเป็นศิษย์ตา่ งหาก ซึง่ คนทีเ่ ป็นครูอาจารย์กย็ อ่ มให้ความเมตตา “คือบางทีนักศึกษาก็ไม่เข้าใจ เราก็พยายามสอนนะครับ จนจบ

ไป อาจารย์ ขอเบอร์โทรศัพท์อาจารย์หน่อยสิ เอาอาจารย์ให้เบอร์ไป อาจารย์มคี อนโดด้วย เอาเบอร์ทบี่ า้ นไปก็แล้วกันนะ มันบอก คอนโดก็ขอ ด้วย มือถือก็ขอด้วย ผมบอกนี่ เอ เราจะคิดถึงอาจารย์มากไปหรือเปล่า (หัวเราะ) เขาบอกไม่ใช่หรอกครับอาจารย์ มีปญ ั หาจะโทรมาถาม อาจารย์ ครับมีปญ ั หาเรือ่ งนี้ อาจารย์มหี นังสือเรือ่ งนีม้ ยั้ แฟกซ์ไปให้หน่อย ไอ้เรา... ๑๑๘

บางทีไม่รู้จะทำไง ลูกศิษย์เราก็ต้องให้ บอกว่าไม่เป็นไรเดี๋ยวอาจารย์ จัดการให้ คุณไม่ตอ้ งห่วง บางทีผมก็ เอ๊ะ ผมก็พดู แหย่ไป บอกว่า ตอนนี้ เป็นศิษย์เป็นอาจารย์ยังคุยกันได้ แต่ต่อไปทำงานแล้วต้องเป็นธุรกิจนะ (หัวเราะ) แต่จริงๆ แล้วเราก็ไม่ได้คดิ อะไรมาก แต่กค็ ดิ ว่าเขาไม่รจู้ ะปรึกษา ใคร ก็ตอ้ งนึกถึงอาจารย์เป็นอันดับแรกล่ะ” “...บางรุน่ ทีผ่ มมีเวลาคลุกคลีกบั เขานะครับ แต่ถา้ บางรุน่ ไม่มเี วลา คลุกคลีเขาก็จะห่างนิดนึง แต่เขาจะมีเบอร์โทรศัพท์ผมตลอดทุกรุน่ นะครับ แม้วา่ บางทีไปดูงานต่างประเทศ ยังซือ้ ของมาฝาก มีเป็นดาราก็มนี ะครับ ไปถ่ายทำต่างประเทศกลับมาจะซือ้ ของมาฝากอาจารย์ ก็ขอบคุณมาก...” อาจารย์ ธ นดล กล่ า วถึ ง ภาระหน้ า ที่ ที่ ต้ อ งดู แ ลนั ก ศึ ก ษาสาขา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เรือ่ งทีต่ อ้ งพัวพันอยูก่ บั เหตุการณ์นนั้ ได้เล่าถึงว่า “ผมมีความรู้สึกว่า อาจารย์ในภาคคอมพิวเตอร์ ค่อนข้างมีความ เป็นกันเองกับนักศึกษานะครับ แล้วในหลายกรณีเนี่ย เราสามารถช่วยให้ นักศึกษาทีเ่ ขามีปญ ั หาในการเรียน วางแผนในการเรียนได้ทนั นะครับ ผม คิดว่าส่วนนีม้ นั เป็นการทำให้ พอเขาจบออกไป เขารูส้ กึ ว่า เขาไม่ได้เรียน โดยตัวของเขาคนเดียว คือเข้ามา จ่ายเงิน ได้เรียน อาจารย์ออกเกรดแล้ว ก็จบกันนะครับ เรามีหลายกรณีเหมือนกัน อย่างเช่น มีคนนึงเนี่ยเขาจบ การศึกษาปีนี้ ถ้าผมจำไม่ผิดเนี่ย อาจารย์ในภาค ตอนนั้นเรายังอยู่กับ ไฟฟ้านะฮะ ก็พดู กันเล่นๆ เลยว่า ไม่มที างรอดนะครับ เพราะเขาเหลือ ๕ ตัว ๔ ใน ๕ ตัวนัน้ เนีย่ เป็น F ไว้ ๓ แล้วเป็นวิชาแบบ ดูชอื่ แล้วไม่มใี คร เชือ่ ว่าเขาจะจบนะครับ เราก็พยายามลงไปช่วย อาจารย์หลายๆ ท่านก็ลง ไปช่วยว่า คุณต้องเรียนอย่างนี้ นัง่ เรียนรูเ้ รือ่ งหรือไม่รเู้ รือ่ งก็ไม่รู้ แต่ตอ้ ง ไปนั่งแถวหน้า อาจารย์ให้ทำอะไรก็ต้องทำ ทำผิดทำถูกก็ต้องทำ แล้วก็ พยายาม ปัจจุบนั นีเ้ ด็กคนนัน้ ก็ยงั กลับมาทีค่ ณะฯ นะครับ แล้วเขาก็ไปจบ โทที่ออสเตรเลียนะครับ ตอนนี้ก็ทำงานอยู่ที่การท่าฯ นะครับ เขาก็มี ความสุขในชีวิต เขาก็ยัง... กลับมาทีไรก็ยังคุยกันถึงเรื่องเก่าๆ ตรงนี้นะ

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๑๙


“ถ้าผมสอน ต้องพัฒนาทุกด้านนะครับ เรือ่ งการวางตัว เรือ่ งการ แต่งกาย เมือ่ วานผมสอบ project นะครับ ผมสอนนะ แต่วา่ อาจารย์ทา่ น อื่นเป็นอย่างไร ผมไม่ทราบ วิชาผมนะครับ ถ้าใส่เสื้อช้อปเข้ามา ใส่ รองเท้าแตะเข้ามา ผมเชิญออกเลยนะครับ เขารู้เลยว่าวันนี้อาจารย์ปิยะ สอนต้องใส่เสือ้ ขาว เมือ่ วานสอบ project ผมให้ผกู ไท ผูกหูกระต่ายด้วย บางคนผูกไทยังไม่รู้ไทอยู่ตรงไหนเลย หาไม่เจอ ไม่เคยผูก ผูกแต่ปีหนึ่ง บอก คุณแต่งตัวให้เรียบร้อยถูกกาลเทศะนิดนึง แล้วบุคลิกคุณก็จะดูดีขึ้น แต่ถ้าคุณจะไปสนามผมไม่ว่าอะไรหรอก บางทีไปดูงานผมต้องกำชับด้วย ว่าใส่เสื้ออะไร ต้องบอกเด็กนะครับ เดี๋ยวแต่งตัวไม่ถูกอีก ไปคนละทิศ คนละทาง ผมก็ เ ลยต้ อ งกำชั บ ก็ ห นั ก ใจ สอนปริ ญ ญาตรี ค่ อ นข้ า งจะ หนักใจนิดนึง” ระยะเวลาที่นักศึกษาส่วนใหญ่ที่อยู่ศึกษาเป็นเวลา ๔ ปี ก็มาก เพียงพอที่จะก่อให้เกิดความผูกพันระหว่างศิษย์กับอาจารย์ ระยะหัวเลี้ยว หัวต่อนี้ เป็นช่วงทีม่ คี วามสำคัญกับชีวติ ของเยาวชนอยูม่ าก เนือ่ งจากบาง คนห่างไกลสายตาพ่อแม่ บางคนก็มั่นใจว่าตนนั้นเป็นผู้ใหญ่เต็มที่ จะคิดพูด-ทำสิง่ ใดๆ ก็ดเู หมือนว่าตนเองจะถูกต้องทัง้ หมด การได้อยูใ่ กล้ชดิ หรือ คุน้ เคยกับครูบาอาจารย์ ก็เป็นโอกาสในการพัฒนาชีวติ ได้เช่นกัน ในสายตาของอาจารย์ปิยะ รัตนสุวรรณ มองว่า ศิษย์ก็ยังเป็น ศิษย์วันยันค่ำ แต่ทั้งนี้มิได้มองว่าพวกเขาโง่หรือสอนไม่จำ แต่เพราะพวก เขายอมตัวเป็นศิษย์ตา่ งหาก ซึง่ คนทีเ่ ป็นครูอาจารย์กย็ อ่ มให้ความเมตตา “คือบางทีนักศึกษาก็ไม่เข้าใจ เราก็พยายามสอนนะครับ จนจบ

ไป อาจารย์ ขอเบอร์โทรศัพท์อาจารย์หน่อยสิ เอาอาจารย์ให้เบอร์ไป อาจารย์มคี อนโดด้วย เอาเบอร์ทบี่ า้ นไปก็แล้วกันนะ มันบอก คอนโดก็ขอ ด้วย มือถือก็ขอด้วย ผมบอกนี่ เอ เราจะคิดถึงอาจารย์มากไปหรือเปล่า (หัวเราะ) เขาบอกไม่ใช่หรอกครับอาจารย์ มีปญ ั หาจะโทรมาถาม อาจารย์ ครับมีปญ ั หาเรือ่ งนี้ อาจารย์มหี นังสือเรือ่ งนีม้ ยั้ แฟกซ์ไปให้หน่อย ไอ้เรา... ๑๑๘

บางทีไม่รู้จะทำไง ลูกศิษย์เราก็ต้องให้ บอกว่าไม่เป็นไรเดี๋ยวอาจารย์ จัดการให้ คุณไม่ตอ้ งห่วง บางทีผมก็ เอ๊ะ ผมก็พดู แหย่ไป บอกว่า ตอนนี้ เป็นศิษย์เป็นอาจารย์ยังคุยกันได้ แต่ต่อไปทำงานแล้วต้องเป็นธุรกิจนะ (หัวเราะ) แต่จริงๆ แล้วเราก็ไม่ได้คดิ อะไรมาก แต่กค็ ดิ ว่าเขาไม่รจู้ ะปรึกษา ใคร ก็ตอ้ งนึกถึงอาจารย์เป็นอันดับแรกล่ะ” “...บางรุน่ ทีผ่ มมีเวลาคลุกคลีกบั เขานะครับ แต่ถา้ บางรุน่ ไม่มเี วลา คลุกคลีเขาก็จะห่างนิดนึง แต่เขาจะมีเบอร์โทรศัพท์ผมตลอดทุกรุน่ นะครับ แม้วา่ บางทีไปดูงานต่างประเทศ ยังซือ้ ของมาฝาก มีเป็นดาราก็มนี ะครับ ไปถ่ายทำต่างประเทศกลับมาจะซือ้ ของมาฝากอาจารย์ ก็ขอบคุณมาก...” อาจารย์ ธ นดล กล่ า วถึ ง ภาระหน้ า ที่ ที่ ต้ อ งดู แ ลนั ก ศึ ก ษาสาขา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เรือ่ งทีต่ อ้ งพัวพันอยูก่ บั เหตุการณ์นนั้ ได้เล่าถึงว่า “ผมมีความรู้สึกว่า อาจารย์ในภาคคอมพิวเตอร์ ค่อนข้างมีความ เป็นกันเองกับนักศึกษานะครับ แล้วในหลายกรณีเนี่ย เราสามารถช่วยให้ นักศึกษาทีเ่ ขามีปญ ั หาในการเรียน วางแผนในการเรียนได้ทนั นะครับ ผม คิดว่าส่วนนีม้ นั เป็นการทำให้ พอเขาจบออกไป เขารูส้ กึ ว่า เขาไม่ได้เรียน โดยตัวของเขาคนเดียว คือเข้ามา จ่ายเงิน ได้เรียน อาจารย์ออกเกรดแล้ว ก็จบกันนะครับ เรามีหลายกรณีเหมือนกัน อย่างเช่น มีคนนึงเนี่ยเขาจบ การศึกษาปีนี้ ถ้าผมจำไม่ผิดเนี่ย อาจารย์ในภาค ตอนนั้นเรายังอยู่กับ ไฟฟ้านะฮะ ก็พดู กันเล่นๆ เลยว่า ไม่มที างรอดนะครับ เพราะเขาเหลือ ๕ ตัว ๔ ใน ๕ ตัวนัน้ เนีย่ เป็น F ไว้ ๓ แล้วเป็นวิชาแบบ ดูชอื่ แล้วไม่มใี คร เชือ่ ว่าเขาจะจบนะครับ เราก็พยายามลงไปช่วย อาจารย์หลายๆ ท่านก็ลง ไปช่วยว่า คุณต้องเรียนอย่างนี้ นัง่ เรียนรูเ้ รือ่ งหรือไม่รเู้ รือ่ งก็ไม่รู้ แต่ตอ้ ง ไปนั่งแถวหน้า อาจารย์ให้ทำอะไรก็ต้องทำ ทำผิดทำถูกก็ต้องทำ แล้วก็ พยายาม ปัจจุบนั นีเ้ ด็กคนนัน้ ก็ยงั กลับมาทีค่ ณะฯ นะครับ แล้วเขาก็ไปจบ โทที่ออสเตรเลียนะครับ ตอนนี้ก็ทำงานอยู่ที่การท่าฯ นะครับ เขาก็มี ความสุขในชีวิต เขาก็ยัง... กลับมาทีไรก็ยังคุยกันถึงเรื่องเก่าๆ ตรงนี้นะ

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๑๙


ครับ ว่าเราได้เข้าไปช่วยเขา แต่กม็ กี รณีอนื่ ๆ อีกเช่นกัน นะครับ เรารูส้ กึ ว่าเราก็ภมู ใิ จ ผูกพันกับนักศึกษาครับ ในสิง่ ที่ผมมอง ผมก็รู้สกึ ว่านี่กเ็ ป็น จุดอันหนึง่ ก็คอื เรา เราดูแลนักศึกษาทีอ่ ยูก่ บั เรา เคยเรียนกับเรา แม้วา่ ไม่ ได้อยูภ่ าคเรา เท่าทีเ่ ราจะทำได้ครับ” ในรอบสิบกว่าปีทแี่ ล้ว มีคำว่า “เด็กซิว่ ” อาจนิยามความหมายดีๆ อย่างเป็นทางการได้วา่ หมายถึง “น. เยาวชนผูม้ ปี ระสบการณ์สอบเข้า มหาวิทยาลัยหลายครั้ง” เพราะการสอบครั้งเดียว ถ้าสอบได้ก็เรียนใน มหาวิทยาลัยนั้นๆ เลย หรือถ้าสอบไม่ผ่านและไม่สอบอีกเลย ก็จะไม่เข้า ข่ายว่าเป็นเด็กซิว่ ประวัตขิ องการเกิดคำนีจ้ ะเป็นมาอย่างไร ยังไม่สามารถวิจยั ถึงต้น คำได้กระจ่างแจ้ง แต่ “เด็กซิว่ ” ก็เคยทำให้อาจารย์พนิ ยั ออรุง่ โรจน์ ปวด หัวได้หลายครัง้ “เด็กรุน่ แรกเป็นเด็กซิว่ มีประสบการณ์มาก มันเรียนมา ๔-๕ แห่ง แล้ว สุดท้ายแล้ว ปรากฏว่ามันจบโทนิดา้ แล้วมาเรียนทีน่ ปี่ จั จุบนั มันมีอยู่ คนหนึ่งกินเหล้าที่หอพัก มันไปแบกตู้คูลเลอร์มาส่งเรา ถ้าเทียบกับเมื่อ ก่อน มันมีเรือ่ งกันน้อยมาก ส่วนใหญ่พวกนีอ้ ยูม่ าหลายทีแ่ ล้ว บางคนกิน เหล้าเตะป้ายทิ้งไว้บ้าง ตอนนั้นผมรับวิชาการ เขาก็ไม่สนใจ เขาโทรมา ถามว่า เด็กมีเรือ่ งกัน ทำอย่างไร วันอังคารผมเรียกเด็กประชุมทัง้ หมดว่า อย่าทำอะไรทีไ่ ปเสือ่ มเสียกับคณะอย่างนีอ้ กี ...” การเปิดประเด็นให้อาจารย์เล่าเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับลูกศิษย์ ของตนทีเ่ คยสอน หรือเคยมีประสบการณ์รบั รูม้ า จะพบว่าแต่ละท่านมี ประเด็นที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสถานภาพและเหตุการณ์ที่ชวน ให้ฝงั ใจนำมาเล่า เล่าไปด้วยความสนุกหรรษา เพราะเรือ่ งทีเ่ ล่านัน้ เกิด ขึน้ มาแล้วหลายปี

๑๒๐

แต่ ได้งาน ศิษย์เก่ซืาอ้ เล่ใจาความหลั ง


ครับ ว่าเราได้เข้าไปช่วยเขา แต่กม็ กี รณีอนื่ ๆ อีกเช่นกัน นะครับ เรารูส้ กึ ว่าเราก็ภมู ใิ จ ผูกพันกับนักศึกษาครับ ในสิง่ ที่ผมมอง ผมก็รู้สกึ ว่านี่กเ็ ป็น จุดอันหนึง่ ก็คอื เรา เราดูแลนักศึกษาทีอ่ ยูก่ บั เรา เคยเรียนกับเรา แม้วา่ ไม่ ได้อยูภ่ าคเรา เท่าทีเ่ ราจะทำได้ครับ” ในรอบสิบกว่าปีทแี่ ล้ว มีคำว่า “เด็กซิว่ ” อาจนิยามความหมายดีๆ อย่างเป็นทางการได้วา่ หมายถึง “น. เยาวชนผูม้ ปี ระสบการณ์สอบเข้า มหาวิทยาลัยหลายครั้ง” เพราะการสอบครั้งเดียว ถ้าสอบได้ก็เรียนใน มหาวิทยาลัยนั้นๆ เลย หรือถ้าสอบไม่ผ่านและไม่สอบอีกเลย ก็จะไม่เข้า ข่ายว่าเป็นเด็กซิว่ ประวัตขิ องการเกิดคำนีจ้ ะเป็นมาอย่างไร ยังไม่สามารถวิจยั ถึงต้น คำได้กระจ่างแจ้ง แต่ “เด็กซิว่ ” ก็เคยทำให้อาจารย์พนิ ยั ออรุง่ โรจน์ ปวด หัวได้หลายครัง้ “เด็กรุน่ แรกเป็นเด็กซิว่ มีประสบการณ์มาก มันเรียนมา ๔-๕ แห่ง แล้ว สุดท้ายแล้ว ปรากฏว่ามันจบโทนิดา้ แล้วมาเรียนทีน่ ปี่ จั จุบนั มันมีอยู่ คนหนึ่งกินเหล้าที่หอพัก มันไปแบกตู้คูลเลอร์มาส่งเรา ถ้าเทียบกับเมื่อ ก่อน มันมีเรือ่ งกันน้อยมาก ส่วนใหญ่พวกนีอ้ ยูม่ าหลายทีแ่ ล้ว บางคนกิน เหล้าเตะป้ายทิ้งไว้บ้าง ตอนนั้นผมรับวิชาการ เขาก็ไม่สนใจ เขาโทรมา ถามว่า เด็กมีเรือ่ งกัน ทำอย่างไร วันอังคารผมเรียกเด็กประชุมทัง้ หมดว่า อย่าทำอะไรทีไ่ ปเสือ่ มเสียกับคณะอย่างนีอ้ กี ...” การเปิดประเด็นให้อาจารย์เล่าเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับลูกศิษย์ ของตนทีเ่ คยสอน หรือเคยมีประสบการณ์รบั รูม้ า จะพบว่าแต่ละท่านมี ประเด็นที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสถานภาพและเหตุการณ์ที่ชวน ให้ฝงั ใจนำมาเล่า เล่าไปด้วยความสนุกหรรษา เพราะเรือ่ งทีเ่ ล่านัน้ เกิด ขึน้ มาแล้วหลายปี

๑๒๐

แต่ ได้งาน ศิษย์เก่ซืาอ้ เล่ใจาความหลั ง


มี

เสียงลือเสียงเล่าอ้างกันว่า กลุม่ ศิษย์เก่าของวิศวะมหิดล มีการ รวมตัวกันเหนียวแน่นดีมากเมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นที่มีอายุการ เป็นหน่วยงานที่ไล่เลี่ยกัน หรือแม้แต่กับหน่วยงานที่ก่อตั้งมานานมากกว่า แล้วก็ตาม การรวมตัวกันนี้ พบเห็นได้จากการที่ยังมีการติดต่อสื่อสาร การจัดงานรวมกลุ่มคืนสู่เหย้า มีการจัดตั้งเป็นสมาคมศิษย์เก่า มีนายก สมาคมเป็นตัวเป็นตน และเมือ่ เร็วๆ นี้ ปีใหม่ ๒๕๕๓ สมาคมศิษย์เก่ายัง ได้ร่วมกันจัดทำปฏิทินของคณะฯ เพื่อผดุงสายใยแห่งความผูกพันในหมู่ เพือ่ นพ้องทีเ่ คยมาร่วมอยูก่ นิ และศึกษาหาความรูใ้ นสถาบันเดียวกัน พวก เขาปวารณาตั ว ว่ า หากมี สิ่ ง หนึ่ ง ประการใดที่ ค ณะฯ อยากจะเรี ย กใช้

ไหว้วาน ทางสมาคมฯ มีความพร้อมที่จะมาร่วมกิจกรรม และพร้อมที่จะ ร่วมกันทำสิง่ ดีๆ กลับคืนให้คณะฯ

ความทราบถึ ง อธิ ก ารบดี (ศาสตราจารย์ ค ลิ นิ ก นพ.ปิ ย ะสกล

สกลสัตยาทร) เมือ่ คราวตอบสัมภาษณ์ในวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๓ ถึงขัน้ กล่าวชมไว้ในการสัมภาษณ์ครัง้ นัน้ ว่า “อืม้ แหม...นีผ่ มชืน่ ชมมาก เพราะว่าต้องสร้างค่านิยมของศิษย์เก่า ให้ดๆี เพราะว่าเมืองไทยกับเมืองนอกจะมีความแตกต่างกัน เมืองไทยเนีย่ ศิษย์เก่ามักจะบอกว่า แล้วคณะจะทำอะไรให้ศิษย์เก่าบ้าง ศิษย์เก่าวิศวะฯ ต้องถามว่า ศิษย์เก่าจะทำอะไรให้คณะได้บา้ ง อืม ดีมากๆ เลย เพราะว่า ถ้า แค่มาให้เห็น กำลังใจให้ช่วย ไม่ต้องบริจาคเงิน เค้าก็ดีใจ เราก็ดีใจ แล้ว ใช่มยั้ อืม ดีนะผมว่า” ส่ ว นหนึ่ ง ที่ เ ป็ น เส้ น โยงใยความสั ม พั น ธ์ ข องศิ ษ ย์ เ ก่ า คื อ การที่ คณะฯ มีศิษย์เก่าหลายคน ได้กลับเข้ามาทำงานในฐานะที่เป็นอาจารย์รุ่น ใหม่ ซึ่งถือเป็นจุดรวมการติดต่อสื่อสารกันเป็นอย่างดี ดังนั้นในช่วงที่ คณะฯ จะมีอายุครบรอบ ๒๐ ปี จึงได้เชิญศิษย์เก่าจำนวนหนึ่ง มาบอก เล่าเรือ่ งราวในมุมของตนเอง ทีม่ ตี อ่ คณะฯ ดังนั้น ตอนบ่ายแก่ๆ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ มีบรรดาเหล่า ศิษย์เก่าที่รับเชิญมา ได้มารวมกันอยู่ในห้องประชุม พลันบรรยากาศใน ห้องก็คล้ายกับมี “นกกระจอกฝูงใหญ่” มารวมกลุ่มกัน หากไม่เกรงว่ามี ไมโครโฟนและกล้องวิดโี อกำลังจับต้องอยู่ เสียงกระหึม่ ของการทักถามพูด คุย หัวเราะ กระเซ้าเย้าแหย่กนั ก็คงจะเอิกเกริกกว่านี ้ คำถามประเดิมสั้นๆ ที่ว่า เหตุจูงใจอันใดที่ทำให้มาเรียนที่วิศวะ มหิดล บ้างก็วา่ เพราะอยากเป็นรุน่ แรก ไม่อยากถูกรับน้อง อยูใ่ กล้บา้ น เดินทางสะดวก ชือ่ เสียงของมหาวิทยาลัย วิศวะมหิดลเป็นของใหม่ เลือก เพราะเพื่อน หรือมีเพื่อนรุ่นพี่มาเรียนอยู่ก่อนแล้ว บ้างก็ด้วยเหตุผลว่า “คุณพ่อขอร้อง” หรือแม้กบั คำตอบว่า “เคยมาเตะบอล (ทีส่ นามฟุตบอล คณะวิศวะฯ) สมัยอยู่ ม.๔” แต่ไม่วา่ จะเป็นเหตุผลใดๆ อย่างน้อยก็ทำให้ ทุกคนกลายเป็น “ศิษย์เก่าวิศวะมหิดล” ไปเรียบร้อยแล้ว หนุม่ ศิษย์เก่าคนหนึง่ เล่าไว้ได้ความประมาณว่า วิศวะมหิดลไม่เคย อยูใ่ นสายตา แต่เมือ่ คืนวันผ่านมากลับอยูใ่ นหัวใจ

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

ศิษย์เก่าทีม ่ าร่วมเล่าความหลัง ๑๒๒

๑๒๓


มี

เสียงลือเสียงเล่าอ้างกันว่า กลุม่ ศิษย์เก่าของวิศวะมหิดล มีการ รวมตัวกันเหนียวแน่นดีมากเมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นที่มีอายุการ เป็นหน่วยงานที่ไล่เลี่ยกัน หรือแม้แต่กับหน่วยงานที่ก่อตั้งมานานมากกว่า แล้วก็ตาม การรวมตัวกันนี้ พบเห็นได้จากการที่ยังมีการติดต่อสื่อสาร การจัดงานรวมกลุ่มคืนสู่เหย้า มีการจัดตั้งเป็นสมาคมศิษย์เก่า มีนายก สมาคมเป็นตัวเป็นตน และเมือ่ เร็วๆ นี้ ปีใหม่ ๒๕๕๓ สมาคมศิษย์เก่ายัง ได้ร่วมกันจัดทำปฏิทินของคณะฯ เพื่อผดุงสายใยแห่งความผูกพันในหมู่ เพือ่ นพ้องทีเ่ คยมาร่วมอยูก่ นิ และศึกษาหาความรูใ้ นสถาบันเดียวกัน พวก เขาปวารณาตั ว ว่ า หากมี สิ่ ง หนึ่ ง ประการใดที่ ค ณะฯ อยากจะเรี ย กใช้

ไหว้วาน ทางสมาคมฯ มีความพร้อมที่จะมาร่วมกิจกรรม และพร้อมที่จะ ร่วมกันทำสิง่ ดีๆ กลับคืนให้คณะฯ

ความทราบถึ ง อธิ ก ารบดี (ศาสตราจารย์ ค ลิ นิ ก นพ.ปิ ย ะสกล

สกลสัตยาทร) เมือ่ คราวตอบสัมภาษณ์ในวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๓ ถึงขัน้ กล่าวชมไว้ในการสัมภาษณ์ครัง้ นัน้ ว่า “อืม้ แหม...นีผ่ มชืน่ ชมมาก เพราะว่าต้องสร้างค่านิยมของศิษย์เก่า ให้ดๆี เพราะว่าเมืองไทยกับเมืองนอกจะมีความแตกต่างกัน เมืองไทยเนีย่ ศิษย์เก่ามักจะบอกว่า แล้วคณะจะทำอะไรให้ศิษย์เก่าบ้าง ศิษย์เก่าวิศวะฯ ต้องถามว่า ศิษย์เก่าจะทำอะไรให้คณะได้บา้ ง อืม ดีมากๆ เลย เพราะว่า ถ้า แค่มาให้เห็น กำลังใจให้ช่วย ไม่ต้องบริจาคเงิน เค้าก็ดีใจ เราก็ดีใจ แล้ว ใช่มยั้ อืม ดีนะผมว่า” ส่ ว นหนึ่ ง ที่ เ ป็ น เส้ น โยงใยความสั ม พั น ธ์ ข องศิ ษ ย์ เ ก่ า คื อ การที่ คณะฯ มีศิษย์เก่าหลายคน ได้กลับเข้ามาทำงานในฐานะที่เป็นอาจารย์รุ่น ใหม่ ซึ่งถือเป็นจุดรวมการติดต่อสื่อสารกันเป็นอย่างดี ดังนั้นในช่วงที่ คณะฯ จะมีอายุครบรอบ ๒๐ ปี จึงได้เชิญศิษย์เก่าจำนวนหนึ่ง มาบอก เล่าเรือ่ งราวในมุมของตนเอง ทีม่ ตี อ่ คณะฯ ดังนั้น ตอนบ่ายแก่ๆ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ มีบรรดาเหล่า ศิษย์เก่าที่รับเชิญมา ได้มารวมกันอยู่ในห้องประชุม พลันบรรยากาศใน ห้องก็คล้ายกับมี “นกกระจอกฝูงใหญ่” มารวมกลุ่มกัน หากไม่เกรงว่ามี ไมโครโฟนและกล้องวิดโี อกำลังจับต้องอยู่ เสียงกระหึม่ ของการทักถามพูด คุย หัวเราะ กระเซ้าเย้าแหย่กนั ก็คงจะเอิกเกริกกว่านี ้ คำถามประเดิมสั้นๆ ที่ว่า เหตุจูงใจอันใดที่ทำให้มาเรียนที่วิศวะ มหิดล บ้างก็วา่ เพราะอยากเป็นรุน่ แรก ไม่อยากถูกรับน้อง อยูใ่ กล้บา้ น เดินทางสะดวก ชือ่ เสียงของมหาวิทยาลัย วิศวะมหิดลเป็นของใหม่ เลือก เพราะเพื่อน หรือมีเพื่อนรุ่นพี่มาเรียนอยู่ก่อนแล้ว บ้างก็ด้วยเหตุผลว่า “คุณพ่อขอร้อง” หรือแม้กบั คำตอบว่า “เคยมาเตะบอล (ทีส่ นามฟุตบอล คณะวิศวะฯ) สมัยอยู่ ม.๔” แต่ไม่วา่ จะเป็นเหตุผลใดๆ อย่างน้อยก็ทำให้ ทุกคนกลายเป็น “ศิษย์เก่าวิศวะมหิดล” ไปเรียบร้อยแล้ว หนุม่ ศิษย์เก่าคนหนึง่ เล่าไว้ได้ความประมาณว่า วิศวะมหิดลไม่เคย อยูใ่ นสายตา แต่เมือ่ คืนวันผ่านมากลับอยูใ่ นหัวใจ

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

ศิษย์เก่าทีม ่ าร่วมเล่าความหลัง ๑๒๒

๑๒๓


“…แต่ว่าตอนแรกไม่รู้จักกับมหิดลมาก่อนเลย คือมหิดล คืออะไร ที่ ไ หนอย่ า งไร เพราะตอนนั้ น อยู่ ที่ ส กลนคร จะรู้ จั ก ขอนแก่ น จุ ฬ าฯ ธรรมศาสตร์ อะไรประมาณนี้ แต่ก็พอติดแล้วเข้ามาอยู่ที่นี้ ก็ทำให้รู้ว่า ของมหิดลก็เป็นสถาบันทีด่ มี ากๆ ทีห่ นึง่ ทีส่ อนอะไร พอออกไปแล้วรูส้ กึ ว่า คือเข้ามาแบบไม่ได้เก่งมากมาย ออกไปแล้ว ทุกคนรูส้ กึ ว่า อูฮ้ ู ท่าทางจะ เก่งนะ อะไรพวกนี้ ก็ดคี รับ รูส้ กึ ดีทชี่ อื่ เสียงมหาวิทยาลัยทำให้ดขี นึ้ ” ข้างฝ่ายอาจารย์หนุ่ม หุ่นบอบบางเล่าถึงความประทับใจที่ได้มา เป็นศิษย์ทนี่ วี่ า่ “...ก็สำหรับการเรียนทีน่ กี่ ร็ สู้ กึ ดีนะครับ ทีน่ เี่ ป็นกันเองมาก แล้วก็ เมือ่ ไปคุยกับเพือ่ นๆ ทีไ่ ปเรียนวิศวะทีอ่ นื่ เนีย่ บรรยากาศไม่เหมือนทีน่ ี่ นะ ครับ ทีน่ มี่ บี รรยากาศทีเ่ ป็นกันเอง แล้วก็ทกุ คนเป็นพีเ่ ป็นน้อง บรรยากาศ เหมือนพีน่ อ้ งเรียนด้วยกัน ก็อยากจะบอกว่า รูส้ กึ ดีใจทีไ่ ด้มาเรียนทีน่ ี่ แล้ว ก็ดใี จด้วยทีไ่ ด้ทำงานทีน่ นี่ ะ่ ครับ” ศิษย์เก่าบางคนพูดเปรียบเทียบความเป็นไปเมื่อสมัยที่ตนเองได้ เป็นรุน่ แรกกับปัจจุบนั นีว้ า่ “กลับมาวันนี้ ที่มาเห็น มันพัฒนาไปกว่าเมื่อ ๑๙ ปีก่อนเยอะ มาก” จริงดังที่พวกเขาวิพากย์ ศิษย์เก่าทุกคนต่างก็มีส่วนช่วยพัฒนา สถาบันการศึกษา หากไร้ซึ่งผู้มาร่วมเรียน ก็จะขาดองค์ประกอบที่สำคัญ ของสถานศึกษาไปอย่างช่วยไม่ได้ มีหลายคนเล่าถึงความแร้นแค้นหรือความไม่พร้อมหลายๆ อย่าง ของคณะฯ แต่ทกุ คนสรุปในมุมเดียวกัน “…คือว่าในรุ่นหนึ่งเนี่ย ก็คือว่าอย่างที่บอกก็คือว่า เราไม่ค่อย พร้อมในทุกๆ เรือ่ งนะคะ ในเรือ่ งอุปกรณ์แล้วก็ในเรือ่ งอาจารย์ แต่วา่ มอง ในอีกด้านหนึง่ ก็คอื ว่า ในความไม่พร้อมเนีย่ มันเลยทำให้บรรยากาศค่อน ข้างสบายนิดนึง เพราะเราเรียนไม่ถูกกดดันมาก แต่ว่าเพื่อนๆ เนี่ย ที่ ๑๒๔

เอ็นทรานซ์กนั มาในตอนปีนนั้ ถึงแม้ตวั ดิฉนั เองเนีย่ จะสอบเทียบมา แต่วา่ มาเจอเพือ่ นๆ ซึง่ เป็นคนเรียนเก่งค่ะ แล้วก็มาเจอคนทีม่ คี วามสามารถ ใน รุน่ แรกนัน่ น่ะ คะแนนเอ็นทรานซ์นเี่ ป็นอันดับสามของประเทศ รองมาจาก จุฬา แล้วก็ลาดกระบัง แล้วก็มหิดลเนี่ยเข้ามาเป็นอันดับสามเลย เพราะ ฉะนั้ น ชื่ อ เสี ย งของมหิ ด ลทำให้ เ อ่ อ ... เรี ย ก ดึ ง ดู ด นั ก เรี ย นที่ เ ก่ ง ๆ มา เพื่อนๆ นี่เรียนเก่งกันมากค่ะ แล้วก็เลยมาคุยกันตลอดนะคะว่า เอ๊ะ เรา จะ... คำถามทีเ่ ราคุยกันประจำก็คอื ว่า จะ entrance ใหม่มยั้ อะไรอย่างนี้ ค่ะ จะเป็น topic ทีค่ ยุ กันมาตลอดปี แต่ปรากฏว่าเมือ่ ตอนเรียนเนีย่ ถูก จับไปเรียนนัง่ L เดียวกับหมอ L นีก่ ค็ อื ห้อง lecture แล้วก็นงั่ กับคณะ วิทยาศาสตร์ พวกเรานีก่ จ็ ะ top L กันน่ะค่ะ วิศวะฯ เนีย่ top L กัน ฉัน top นัน่ แหละ ก็คอื เชือ่ ว่า อาจารย์กจ็ ะพิสจู น์วา่ เราเนีย่ จะไหวมัย้ ไปไหว มัย้ ให้เราพิสจู น์ตวั เอง มันเป็นการท้าทายอ่ะค่ะ ว่าจะอย่างไร พอเรารูส้ กึ เรียนร่วมกับคณะหมอ ก็รสู้ กึ มีกำลังใจ” เพือ่ นทีน่ งั่ ข้างๆ ทนไม่ไหวจึงขอเสริมความเห็นไว้วา่ “เดี๋ยวผมขออนุญาตเสริมจารุพรรณนิดนึงนะครับ ตรงที่บอกว่า เนือ่ งจากว่า ความทีเ่ ราไม่พร้อมทำให้เราเนีย่ แล้วก็บคุ ลากรเราของคณะฯ เนีย่ ไม่เยอะ ทำให้เรามีความสนิทสนมกันเนีย่ ผมอยากจะ confirm ตรง นีน้ ดิ นึง ก็คอื ว่า แม้แต่เจ้าหน้าทีท่ ไี่ ม่ได้เป็นอาจารย์เนีย่ เราก็จะสนิทด้วย อย่างเมื่อกี้ ที่มาปุ๊บเนี่ย ผมเห็นปุ๊บเนี่ย จำได้เลยว่า คนนี้นี่ยังไง ยังไง บ้างนะครับ แม้แต่เจ้าหน้าทีท่ ดี่ แู ลเรือ่ งการศึกษา พีแ่ ขก อะไรอย่างนีน้ ะ ครับ ทางรุ่นหนึ่ง ซึ่งคุยกับแกปุ๊บเนี่ย แกก็บอกว่าจำพวกรุ่นหนึ่งได้หมด รุน่ หนึง่ รุน่ สอง แกจำได้หมด ซึง่ ตรงนีเ้ นีย่ ก็สร้างความอบอุน่ ส่วนหนึง่ ที่ ให้เกิดด้วยนะครับ แม้แต่คนขับรถเองก็ยังสนิทด้วย เพราะว่าเขาเป็นคน ขับรถทีไ่ ปส่งเราไปทีต่ า่ งๆ...” “เพราะด้วยความเชื่อที่ว่าไม่พร้อมเนี่ย อาจารย์ก็เลยระดมทีมกัน มาสอน เราก็จะได้คณ ุ หมอพูนพิศ (ศาสตราจารย์ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล)

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๒๕


“…แต่ว่าตอนแรกไม่รู้จักกับมหิดลมาก่อนเลย คือมหิดล คืออะไร ที่ ไ หนอย่ า งไร เพราะตอนนั้ น อยู่ ที่ ส กลนคร จะรู้ จั ก ขอนแก่ น จุ ฬ าฯ ธรรมศาสตร์ อะไรประมาณนี้ แต่ก็พอติดแล้วเข้ามาอยู่ที่นี้ ก็ทำให้รู้ว่า ของมหิดลก็เป็นสถาบันทีด่ มี ากๆ ทีห่ นึง่ ทีส่ อนอะไร พอออกไปแล้วรูส้ กึ ว่า คือเข้ามาแบบไม่ได้เก่งมากมาย ออกไปแล้ว ทุกคนรูส้ กึ ว่า อูฮ้ ู ท่าทางจะ เก่งนะ อะไรพวกนี้ ก็ดคี รับ รูส้ กึ ดีทชี่ อื่ เสียงมหาวิทยาลัยทำให้ดขี นึ้ ” ข้างฝ่ายอาจารย์หนุ่ม หุ่นบอบบางเล่าถึงความประทับใจที่ได้มา เป็นศิษย์ทนี่ วี่ า่ “...ก็สำหรับการเรียนทีน่ กี่ ร็ สู้ กึ ดีนะครับ ทีน่ เี่ ป็นกันเองมาก แล้วก็ เมือ่ ไปคุยกับเพือ่ นๆ ทีไ่ ปเรียนวิศวะทีอ่ นื่ เนีย่ บรรยากาศไม่เหมือนทีน่ ี่ นะ ครับ ทีน่ มี่ บี รรยากาศทีเ่ ป็นกันเอง แล้วก็ทกุ คนเป็นพีเ่ ป็นน้อง บรรยากาศ เหมือนพีน่ อ้ งเรียนด้วยกัน ก็อยากจะบอกว่า รูส้ กึ ดีใจทีไ่ ด้มาเรียนทีน่ ี่ แล้ว ก็ดใี จด้วยทีไ่ ด้ทำงานทีน่ นี่ ะ่ ครับ” ศิษย์เก่าบางคนพูดเปรียบเทียบความเป็นไปเมื่อสมัยที่ตนเองได้ เป็นรุน่ แรกกับปัจจุบนั นีว้ า่ “กลับมาวันนี้ ที่มาเห็น มันพัฒนาไปกว่าเมื่อ ๑๙ ปีก่อนเยอะ มาก” จริงดังที่พวกเขาวิพากย์ ศิษย์เก่าทุกคนต่างก็มีส่วนช่วยพัฒนา สถาบันการศึกษา หากไร้ซึ่งผู้มาร่วมเรียน ก็จะขาดองค์ประกอบที่สำคัญ ของสถานศึกษาไปอย่างช่วยไม่ได้ มีหลายคนเล่าถึงความแร้นแค้นหรือความไม่พร้อมหลายๆ อย่าง ของคณะฯ แต่ทกุ คนสรุปในมุมเดียวกัน “…คือว่าในรุ่นหนึ่งเนี่ย ก็คือว่าอย่างที่บอกก็คือว่า เราไม่ค่อย พร้อมในทุกๆ เรือ่ งนะคะ ในเรือ่ งอุปกรณ์แล้วก็ในเรือ่ งอาจารย์ แต่วา่ มอง ในอีกด้านหนึง่ ก็คอื ว่า ในความไม่พร้อมเนีย่ มันเลยทำให้บรรยากาศค่อน ข้างสบายนิดนึง เพราะเราเรียนไม่ถูกกดดันมาก แต่ว่าเพื่อนๆ เนี่ย ที่ ๑๒๔

เอ็นทรานซ์กนั มาในตอนปีนนั้ ถึงแม้ตวั ดิฉนั เองเนีย่ จะสอบเทียบมา แต่วา่ มาเจอเพือ่ นๆ ซึง่ เป็นคนเรียนเก่งค่ะ แล้วก็มาเจอคนทีม่ คี วามสามารถ ใน รุน่ แรกนัน่ น่ะ คะแนนเอ็นทรานซ์นเี่ ป็นอันดับสามของประเทศ รองมาจาก จุฬา แล้วก็ลาดกระบัง แล้วก็มหิดลเนี่ยเข้ามาเป็นอันดับสามเลย เพราะ ฉะนั้ น ชื่ อ เสี ย งของมหิ ด ลทำให้ เ อ่ อ ... เรี ย ก ดึ ง ดู ด นั ก เรี ย นที่ เ ก่ ง ๆ มา เพื่อนๆ นี่เรียนเก่งกันมากค่ะ แล้วก็เลยมาคุยกันตลอดนะคะว่า เอ๊ะ เรา จะ... คำถามทีเ่ ราคุยกันประจำก็คอื ว่า จะ entrance ใหม่มยั้ อะไรอย่างนี้ ค่ะ จะเป็น topic ทีค่ ยุ กันมาตลอดปี แต่ปรากฏว่าเมือ่ ตอนเรียนเนีย่ ถูก จับไปเรียนนัง่ L เดียวกับหมอ L นีก่ ค็ อื ห้อง lecture แล้วก็นงั่ กับคณะ วิทยาศาสตร์ พวกเรานีก่ จ็ ะ top L กันน่ะค่ะ วิศวะฯ เนีย่ top L กัน ฉัน top นัน่ แหละ ก็คอื เชือ่ ว่า อาจารย์กจ็ ะพิสจู น์วา่ เราเนีย่ จะไหวมัย้ ไปไหว มัย้ ให้เราพิสจู น์ตวั เอง มันเป็นการท้าทายอ่ะค่ะ ว่าจะอย่างไร พอเรารูส้ กึ เรียนร่วมกับคณะหมอ ก็รสู้ กึ มีกำลังใจ” เพือ่ นทีน่ งั่ ข้างๆ ทนไม่ไหวจึงขอเสริมความเห็นไว้วา่ “เดี๋ยวผมขออนุญาตเสริมจารุพรรณนิดนึงนะครับ ตรงที่บอกว่า เนือ่ งจากว่า ความทีเ่ ราไม่พร้อมทำให้เราเนีย่ แล้วก็บคุ ลากรเราของคณะฯ เนีย่ ไม่เยอะ ทำให้เรามีความสนิทสนมกันเนีย่ ผมอยากจะ confirm ตรง นีน้ ดิ นึง ก็คอื ว่า แม้แต่เจ้าหน้าทีท่ ไี่ ม่ได้เป็นอาจารย์เนีย่ เราก็จะสนิทด้วย อย่างเมื่อกี้ ที่มาปุ๊บเนี่ย ผมเห็นปุ๊บเนี่ย จำได้เลยว่า คนนี้นี่ยังไง ยังไง บ้างนะครับ แม้แต่เจ้าหน้าทีท่ ดี่ แู ลเรือ่ งการศึกษา พีแ่ ขก อะไรอย่างนีน้ ะ ครับ ทางรุ่นหนึ่ง ซึ่งคุยกับแกปุ๊บเนี่ย แกก็บอกว่าจำพวกรุ่นหนึ่งได้หมด รุน่ หนึง่ รุน่ สอง แกจำได้หมด ซึง่ ตรงนีเ้ นีย่ ก็สร้างความอบอุน่ ส่วนหนึง่ ที่ ให้เกิดด้วยนะครับ แม้แต่คนขับรถเองก็ยังสนิทด้วย เพราะว่าเขาเป็นคน ขับรถทีไ่ ปส่งเราไปทีต่ า่ งๆ...” “เพราะด้วยความเชื่อที่ว่าไม่พร้อมเนี่ย อาจารย์ก็เลยระดมทีมกัน มาสอน เราก็จะได้คณ ุ หมอพูนพิศ (ศาสตราจารย์ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล)

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๒๕


คุ ณ นภ พรชำนิ และคุ ณ บู ช า สถาพร ศิ ษ ย์ เ ก่ า ของวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหิ ด ล ในวันทีม ่ าร่วมงาน “พีพ ่ บน้อง”

อะไรอย่างนีค้ ะ่ มาสอนเราด้วยนะคะ ในเรือ่ ง art appreciation ให้เราได้มี ความรักในศิลปะ แล้วก็เรารู้สึกว่า เรามีแบบวัฒนธรรมขึ้นมาทันทีเลย แล้วก็มอี ะไรแปลกๆ อย่างเช่น ให้ไปเรียนกับทหารอย่างนี”้ “...จำได้ว่าต้องไปเรียนแบบหล่อ ไปตำทราย ไปที่บางมดอะน่ะค่ะ ก็สนุก จำได้ว่าตอนเช้าเนี่ยอาจารย์สิทธิ์ (สิทธิพันธ์ ตันฑวิรุฬห์) ก็จะขับ รถตู้พาไปเอง แล้วก็เลี้ยงข้าวมันไก่ ก็เกือบทุกมื้อเลยค่ะ จำได้แม่นเลย อาจารย์จะมีความเป็นอาจารย์สงู มากเลย แล้วก็พาเราไป พาเรากลับนะคะ เพราะฉะนั้นในส่วนนี้ก็ประทับใจนะคะ แล้วก็ในส่วนการเรียนการสอน ก็ อย่างที่บอกก็คือ อาจารย์อาจจะไม่ค่อยเยอะ แต่ว่าทุกท่านจะตั้งใจให้เรา เต็มที่ แล้วด้วยความที่ class มันเล็กไงคะ จำได้ว่า ตอนเราเรียนเราก็ สวยที่สุด มั่นใจค่ะ...” อาจารย์สาว ศิษย์เก่า ยิ้มเก่ง กล่าวคำชมตัวเอง สร้างความหมัน่ ไส้ให้กบั เพือ่ นๆ ได้ทวั่ หน้า ศิษย์เก่าวิศวะมหิดลอีกคนหนึง่ คือ นภ พรชำนิ ทีห่ ลายคนได้เห็น หน้าค่าตาทางสือ่ ต่างๆ วันที่ “พีน่ ภพบน้อง” ในห้องประชุมชัน้ ล่าง พร้อม กับบูชา สถาพร หรือ “พีบ่ ”ู เขาได้เล่าถึงความรูส้ กึ งามๆ ทีไ่ ด้จากสถาบัน แห่งนีว้ า่ “สิ่งที่มหาลัยมหิดล แล้วก็วิศวกรรมศาสตร์มหิดลมอบให้พี่เนี่ย คือการมองทุกๆ อย่าง ที่เป็นรูปธรรมและทำให้เกิดขึ้นได้จริงนะครับ ๑๒๖

วิศวกรต้องทำสิง่ ทีฝ่ นั ให้เกิดขึน้ จริงให้ได้ อันนัน้ น่ะครับคือสิง่ ทีพ่ ไี่ ด้รบั จากอาจารย์อว้ น (ธนากร อ้วนอ่อน) นะครับ ซึง่ เป็นคณบดีคนแรก ของเรา ก็คอื ว่า คุณฝันมาเหอะ เดีย๋ ววิศวะฯ จัดการให้เอง แล้วพี่ ก็ ไ ด้ ร่ ว มงานกั บ นั ก ฝั น อั น ดั บ ๑ ของประเทศไทยคื อ คุ ณ บอย โกสิยพงษ์ ซึง่ พีบ่ อยเนีย่ ฝันไว้เยอะมากนะครับ อย่างโครงการล่าสุด singfortheking.org เนี่ย ถ้าทุกคนเคยไปดูนะ คือร้องเพลงผ่าน

web cam ที่บ้านแล้วก็ถวายพระพรในหลวงครับ ลองไปดูที่บ้าน www.singfortheking.org นะครับ เปิดได้เลย จะมีพบี่ อยกับพีเ่ นีย่ มา พูด ‘ขอเชิญทุกคนมาทำกิจกรรมร่วม...’ พวกนีอ้ ะ่ ครับ เกิดขึน้ มาจาก ความฝั นของใครก็ไ ด้ที่อ ยู่ใ นโลกนี้ วิศ วกรเนี่ย เป็น หน้า ที่ที่ จะต้ อง ทำความฝันเขาให้เป็นจริง” มี ใ ครต่ อ ใครอี ก มากคนที่ พ รั่ ง พรู เ รื่ อ งเก่ า ที่ เ ล่ า ไม่ รู้ จ บสู ่ กั น ฟั ง คำพั ง เพยที่ ว่ า คนแก่ เ ท่ า นั้ น ที่ ช อบพู ด เรื่ อ งเก่ า ๆ แต่ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องประชุมขนาดย่อมวันนั้น ไม่เป็นจริง ดัง่ คำพังเพยว่าไว้เลย

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๒๗


คุ ณ นภ พรชำนิ และคุ ณ บู ช า สถาพร ศิ ษ ย์ เ ก่ า ของวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหิ ด ล ในวันทีม ่ าร่วมงาน “พีพ ่ บน้อง”

อะไรอย่างนีค้ ะ่ มาสอนเราด้วยนะคะ ในเรือ่ ง art appreciation ให้เราได้มี ความรักในศิลปะ แล้วก็เรารู้สึกว่า เรามีแบบวัฒนธรรมขึ้นมาทันทีเลย แล้วก็มอี ะไรแปลกๆ อย่างเช่น ให้ไปเรียนกับทหารอย่างนี”้ “...จำได้ว่าต้องไปเรียนแบบหล่อ ไปตำทราย ไปที่บางมดอะน่ะค่ะ ก็สนุก จำได้ว่าตอนเช้าเนี่ยอาจารย์สิทธิ์ (สิทธิพันธ์ ตันฑวิรุฬห์) ก็จะขับ รถตู้พาไปเอง แล้วก็เลี้ยงข้าวมันไก่ ก็เกือบทุกมื้อเลยค่ะ จำได้แม่นเลย อาจารย์จะมีความเป็นอาจารย์สงู มากเลย แล้วก็พาเราไป พาเรากลับนะคะ เพราะฉะนั้นในส่วนนี้ก็ประทับใจนะคะ แล้วก็ในส่วนการเรียนการสอน ก็ อย่างที่บอกก็คือ อาจารย์อาจจะไม่ค่อยเยอะ แต่ว่าทุกท่านจะตั้งใจให้เรา เต็มที่ แล้วด้วยความที่ class มันเล็กไงคะ จำได้ว่า ตอนเราเรียนเราก็ สวยที่สุด มั่นใจค่ะ...” อาจารย์สาว ศิษย์เก่า ยิ้มเก่ง กล่าวคำชมตัวเอง สร้างความหมัน่ ไส้ให้กบั เพือ่ นๆ ได้ทวั่ หน้า ศิษย์เก่าวิศวะมหิดลอีกคนหนึง่ คือ นภ พรชำนิ ทีห่ ลายคนได้เห็น หน้าค่าตาทางสือ่ ต่างๆ วันที่ “พีน่ ภพบน้อง” ในห้องประชุมชัน้ ล่าง พร้อม กับบูชา สถาพร หรือ “พีบ่ ”ู เขาได้เล่าถึงความรูส้ กึ งามๆ ทีไ่ ด้จากสถาบัน แห่งนีว้ า่ “สิ่งที่มหาลัยมหิดล แล้วก็วิศวกรรมศาสตร์มหิดลมอบให้พี่เนี่ย คือการมองทุกๆ อย่าง ที่เป็นรูปธรรมและทำให้เกิดขึ้นได้จริงนะครับ ๑๒๖

วิศวกรต้องทำสิง่ ทีฝ่ นั ให้เกิดขึน้ จริงให้ได้ อันนัน้ น่ะครับคือสิง่ ทีพ่ ไี่ ด้รบั จากอาจารย์อว้ น (ธนากร อ้วนอ่อน) นะครับ ซึง่ เป็นคณบดีคนแรก ของเรา ก็คอื ว่า คุณฝันมาเหอะ เดีย๋ ววิศวะฯ จัดการให้เอง แล้วพี่ ก็ ไ ด้ ร่ ว มงานกั บ นั ก ฝั น อั น ดั บ ๑ ของประเทศไทยคื อ คุ ณ บอย โกสิยพงษ์ ซึง่ พีบ่ อยเนีย่ ฝันไว้เยอะมากนะครับ อย่างโครงการล่าสุด singfortheking.org เนี่ย ถ้าทุกคนเคยไปดูนะ คือร้องเพลงผ่าน

web cam ที่บ้านแล้วก็ถวายพระพรในหลวงครับ ลองไปดูที่บ้าน www.singfortheking.org นะครับ เปิดได้เลย จะมีพบี่ อยกับพีเ่ นีย่ มา พูด ‘ขอเชิญทุกคนมาทำกิจกรรมร่วม...’ พวกนีอ้ ะ่ ครับ เกิดขึน้ มาจาก ความฝั นของใครก็ไ ด้ที่อ ยู่ใ นโลกนี้ วิศ วกรเนี่ย เป็น หน้า ที่ที่ จะต้ อง ทำความฝันเขาให้เป็นจริง” มี ใ ครต่ อ ใครอี ก มากคนที่ พ รั่ ง พรู เ รื่ อ งเก่ า ที่ เ ล่ า ไม่ รู้ จ บสู ่ กั น ฟั ง คำพั ง เพยที่ ว่ า คนแก่ เ ท่ า นั้ น ที่ ช อบพู ด เรื่ อ งเก่ า ๆ แต่ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องประชุมขนาดย่อมวันนั้น ไม่เป็นจริง ดัง่ คำพังเพยว่าไว้เลย

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๒๗


สิ่งที่มหาลัยมหิดล แล้วก็วิศวกรรมศาสตร์มหิดล มอบให้พเี่ นีย่ คือการมองทุกๆ อย่าง ทีเ่ ป็นรูปธรรม และทำให้เกิดขึ้นได้จริงนะครับ วิศวกรต้องทำสิ่งที่ ฝันให้เกิดขึน ้ จริงให้ได้

ซือ้ ใจ การบริ แต่ ได้งหาน าร

๑๒๘


สิ่งที่มหาลัยมหิดล แล้วก็วิศวกรรมศาสตร์มหิดล มอบให้พเี่ นีย่ คือการมองทุกๆ อย่าง ทีเ่ ป็นรูปธรรม และทำให้เกิดขึ้นได้จริงนะครับ วิศวกรต้องทำสิ่งที่ ฝันให้เกิดขึน ้ จริงให้ได้

ซือ้ ใจ การบริ แต่ ได้งหาน าร

๑๒๘


นปัจจุบันนี้ บรรดาคณะหรือสถาบันที่จัดการเรียนการสอนใน มหาวิทยาลัยมหิดล ถือได้ว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์มีคณาจารย์ที่สำเร็จ การศึกษาระดับ “ด็อกเตอร์” ในสัดส่วนเป็นลำดับต้นๆ ของมหาวิทยาลัย แต่ เ บื้ อ งหลั ง ของการที่ มี อ าจารย์ ที่ ส ำเร็ จ การศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาเอก จำนวนมากนี้ เกิดมาจากแนวทางการบริหาร หรือการวางหมากวางขุน เพื่อนำมาเป็นขุมพลังในอนาคต ซึ่งคิดเตรียมการและปฏิบัติการไว้ตั้งแต่ สมัยทีแ่ รกตัง้ คณะฯ อาจารย์ธนากร อ้วนอ่อน ในฐานะที่เป็นคนก่อตั้ง บุกเบิก และ เป็นคณบดีคนแรก ได้ทวนความหลังให้ฟังถึงเรื่องการขวนขวายหาทุนมา เพือ่ ให้ศษิ ย์และอาจารย์ทสี่ งั กัดคณะฯ นีไ้ ด้ไปศึกษาต่อ โดยการเสนอขอทุน พัฒนาอาจารย์จากทบวงมหาวิทยาลัย หรือแหล่งทุนอืน่ ๆ เท่าทีจ่ ะมี ซึง่ ใน ยุคที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูนั้น คนที่จบวิศวกรรมศาสตร์ไม่สู้จะเลือกมาทำงาน ราชการมากนัก เนือ่ งจากค่าตอบแทนของรัฐกับรายได้จากงานของเอกชน นัน้ ต่างกันลิบลับ ความจริงข้อนีม้ คี ำกล่าวของอาจารย์กวียำ้ ยืนยันว่า “ใช่ ครับ ช่วงนั้นเศรษฐกิจบูมสมัยน้าชาติ เศรษฐกิจบูมวิศวกรก็ออกจาก ราชการไปหมด หาคนไม่ได้” ดังนั้น แนวทางหนึ่งในอันที่จะได้ตัวบุคคลมาทำงานเป็นอาจารย์ คือเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไป ซึ่งโอกาสจะได้ผู้ที่จบปริญญาเอกมาโดยตรง นัน้ ยากมาก จึงมีผจู้ บระดับปริญญาโทหรือแม้บางครัง้ จบเพียงปริญญาตรี ก็รับเข้ามาทำงาน แต่มีข้อแม้ว่า จะต้องไปพอกพูนความรู้และวุฒิการ ศึกษาให้เพิม่ ขึน้ ซึง่ ทุนก็ได้มใี ห้พร้อม อย่างไรก็ดี การจะอนุมตั ใิ ห้ใครไปเรียนต่อก็ตอ้ งตระหนักถึงผูท้ อี่ ยู่ ก่อน กับผู้มาใหม่ กล่าวคือ ให้ผู้ที่อยู่ก่อนได้มีโอกาสไปศึกษาก่อน หลัง จากนั้นจึงค่อยหมุนเวียน ทยอยกันออกไปศึกษาต่อเมื่อผู้มีผู้จบการศึกษา ชุดแรกกลับมาประจำการ ความจริงที่ควรเล่าไว้เป็นหลักฐานคือ ระหว่างที่บรรดาอาจารย์ หลายท่านไปบ่มเพาะความรู้เพิ่มเติม จนถึงขั้นให้ได้มาซึ่ง Ph.D. ก็เกิด ๑๓๐

ภาระงานที่ผกผันกับบุคลากรที่สอน กล่าวคือ เมื่อจำนวนอาจารย์ที่อยู่มี จำนวนน้อย ขณะทีก่ ารสอนจำเป็นต้องดำเนินต่อไป ดังนัน้ ภาระงานสอน จึงตกแก่อาจารย์ที่ยังอยู่ประจำเพิ่มขึ้น สัปดาห์ละหลายสิบชั่วโมง ความ ข้อนี้ทราบกันดีทั้งผู้ที่อยู่และผู้ไป แต่คนข้างนอกรวมแม้นักศึกษาที่เข้ามา ใหม่ๆ อาจไม่เฉลียวใจเลยว่า การจะมีอาจารย์ผู้ที่สำเร็จปริญญาสูงสุดมา สอนอยูใ่ นคณะฯ นี้ เบือ้ งหลังนัน้ ล้วนเป็นความเสียสละและความอดทน ของอาจารย์รนุ่ เพือ่ น รุน่ พี่ รุน่ น้อง และรุน่ ลูกศิษย์ ทีต่ า่ งต้องผลัดเปลีย่ น หมุนเวี ยนไปเสาะแสวงหาความรู้แ ละคุณวุ ฒิก ลับมาเสริม ฐานกำลัง ให้ แข็งแกร่ง ผลพวงอีกประการหนึ่งคือ ในช่วงระยะก่อตั้งที่ต้องส่งอาจารย์ไป ศึกษาต่อ ทำให้อาจารย์ทตี่ อ้ งปฏิบตั งิ านอยู่ มีภาระงานสอนเพิม่ ขึน้ ซึง่ ส่ง ผลให้ในระยะแรกๆ ไม่มผี ลงานวิจยั ในนามของคณะฯ ครัน้ เวลาดำเนินมา ได้สบิ กว่าปี จึงได้เกิดผลงานวิจยั ทีพ่ อกพูนอย่างน่าภาคภูมใิ จ ไม่ เ ฉพาะแต่ จ ำนวนอาจารย์ ที่ มี อ ยู่ จ ำนวนน้ อ ย จำนวนอาคาร ห้องเรียน และห้องปฏิบตั กิ ารก็มอี ยูน่ อ้ ย หรือบางภาควิชาก็เรียกได้วา่ ไม่มี เลย ดังนั้น การบริหารงานคณะฯ ในยุคต้นๆ จึงเป็นเรื่องท้าทายเป็น อย่างมาก อาจารย์วเิ ชียรได้ขยายความให้ทราบอีกว่า

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

“ไม่เฉพาะแต่จำนวนอาจารย์ที่มี อยู่ จ ำนวนน้ อ ย จำนวนอาคาร ห้องเรียน และห้องปฏิบัติการก็มี อยู่น้อย หรือบางภาควิชาก็เรียก ได้ว่าไม่มีเลย ดังนั้น การบริหาร งานคณะฯ ในยุ ค ต้ น ๆ จึ ง เป็ น เรือ่ งท้าทายเป็นอย่างมาก”

๑๓๑


นปัจจุบันนี้ บรรดาคณะหรือสถาบันที่จัดการเรียนการสอนใน มหาวิทยาลัยมหิดล ถือได้ว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์มีคณาจารย์ที่สำเร็จ การศึกษาระดับ “ด็อกเตอร์” ในสัดส่วนเป็นลำดับต้นๆ ของมหาวิทยาลัย แต่ เ บื้ อ งหลั ง ของการที่ มี อ าจารย์ ที่ ส ำเร็ จ การศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาเอก จำนวนมากนี้ เกิดมาจากแนวทางการบริหาร หรือการวางหมากวางขุน เพื่อนำมาเป็นขุมพลังในอนาคต ซึ่งคิดเตรียมการและปฏิบัติการไว้ตั้งแต่ สมัยทีแ่ รกตัง้ คณะฯ อาจารย์ธนากร อ้วนอ่อน ในฐานะที่เป็นคนก่อตั้ง บุกเบิก และ เป็นคณบดีคนแรก ได้ทวนความหลังให้ฟังถึงเรื่องการขวนขวายหาทุนมา เพือ่ ให้ศษิ ย์และอาจารย์ทสี่ งั กัดคณะฯ นีไ้ ด้ไปศึกษาต่อ โดยการเสนอขอทุน พัฒนาอาจารย์จากทบวงมหาวิทยาลัย หรือแหล่งทุนอืน่ ๆ เท่าทีจ่ ะมี ซึง่ ใน ยุคที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูนั้น คนที่จบวิศวกรรมศาสตร์ไม่สู้จะเลือกมาทำงาน ราชการมากนัก เนือ่ งจากค่าตอบแทนของรัฐกับรายได้จากงานของเอกชน นัน้ ต่างกันลิบลับ ความจริงข้อนีม้ คี ำกล่าวของอาจารย์กวียำ้ ยืนยันว่า “ใช่ ครับ ช่วงนั้นเศรษฐกิจบูมสมัยน้าชาติ เศรษฐกิจบูมวิศวกรก็ออกจาก ราชการไปหมด หาคนไม่ได้” ดังนั้น แนวทางหนึ่งในอันที่จะได้ตัวบุคคลมาทำงานเป็นอาจารย์ คือเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไป ซึ่งโอกาสจะได้ผู้ที่จบปริญญาเอกมาโดยตรง นัน้ ยากมาก จึงมีผจู้ บระดับปริญญาโทหรือแม้บางครัง้ จบเพียงปริญญาตรี ก็รับเข้ามาทำงาน แต่มีข้อแม้ว่า จะต้องไปพอกพูนความรู้และวุฒิการ ศึกษาให้เพิม่ ขึน้ ซึง่ ทุนก็ได้มใี ห้พร้อม อย่างไรก็ดี การจะอนุมตั ใิ ห้ใครไปเรียนต่อก็ตอ้ งตระหนักถึงผูท้ อี่ ยู่ ก่อน กับผู้มาใหม่ กล่าวคือ ให้ผู้ที่อยู่ก่อนได้มีโอกาสไปศึกษาก่อน หลัง จากนั้นจึงค่อยหมุนเวียน ทยอยกันออกไปศึกษาต่อเมื่อผู้มีผู้จบการศึกษา ชุดแรกกลับมาประจำการ ความจริงที่ควรเล่าไว้เป็นหลักฐานคือ ระหว่างที่บรรดาอาจารย์ หลายท่านไปบ่มเพาะความรู้เพิ่มเติม จนถึงขั้นให้ได้มาซึ่ง Ph.D. ก็เกิด ๑๓๐

ภาระงานที่ผกผันกับบุคลากรที่สอน กล่าวคือ เมื่อจำนวนอาจารย์ที่อยู่มี จำนวนน้อย ขณะทีก่ ารสอนจำเป็นต้องดำเนินต่อไป ดังนัน้ ภาระงานสอน จึงตกแก่อาจารย์ที่ยังอยู่ประจำเพิ่มขึ้น สัปดาห์ละหลายสิบชั่วโมง ความ ข้อนี้ทราบกันดีทั้งผู้ที่อยู่และผู้ไป แต่คนข้างนอกรวมแม้นักศึกษาที่เข้ามา ใหม่ๆ อาจไม่เฉลียวใจเลยว่า การจะมีอาจารย์ผู้ที่สำเร็จปริญญาสูงสุดมา สอนอยูใ่ นคณะฯ นี้ เบือ้ งหลังนัน้ ล้วนเป็นความเสียสละและความอดทน ของอาจารย์รนุ่ เพือ่ น รุน่ พี่ รุน่ น้อง และรุน่ ลูกศิษย์ ทีต่ า่ งต้องผลัดเปลีย่ น หมุนเวี ยนไปเสาะแสวงหาความรู้แ ละคุณวุ ฒิก ลับมาเสริม ฐานกำลัง ให้ แข็งแกร่ง ผลพวงอีกประการหนึ่งคือ ในช่วงระยะก่อตั้งที่ต้องส่งอาจารย์ไป ศึกษาต่อ ทำให้อาจารย์ทตี่ อ้ งปฏิบตั งิ านอยู่ มีภาระงานสอนเพิม่ ขึน้ ซึง่ ส่ง ผลให้ในระยะแรกๆ ไม่มผี ลงานวิจยั ในนามของคณะฯ ครัน้ เวลาดำเนินมา ได้สบิ กว่าปี จึงได้เกิดผลงานวิจยั ทีพ่ อกพูนอย่างน่าภาคภูมใิ จ ไม่ เ ฉพาะแต่ จ ำนวนอาจารย์ ที่ มี อ ยู่ จ ำนวนน้ อ ย จำนวนอาคาร ห้องเรียน และห้องปฏิบตั กิ ารก็มอี ยูน่ อ้ ย หรือบางภาควิชาก็เรียกได้วา่ ไม่มี เลย ดังนั้น การบริหารงานคณะฯ ในยุคต้นๆ จึงเป็นเรื่องท้าทายเป็น อย่างมาก อาจารย์วเิ ชียรได้ขยายความให้ทราบอีกว่า

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

“ไม่เฉพาะแต่จำนวนอาจารย์ที่มี อยู่ จ ำนวนน้ อ ย จำนวนอาคาร ห้องเรียน และห้องปฏิบัติการก็มี อยู่น้อย หรือบางภาควิชาก็เรียก ได้ว่าไม่มีเลย ดังนั้น การบริหาร งานคณะฯ ในยุ ค ต้ น ๆ จึ ง เป็ น เรือ่ งท้าทายเป็นอย่างมาก”

๑๓๑


“นอกจากอาจารย์นอ้ ย เพราะฉะนัน้ ในตอนเริม่ ก่อตัง้ คณะฯ เราจึง ไม่มีผู้ที่มีความชำนาญทุกสาขาวิชาในภาควิชา เพราะฉะนั้นมันเลยกลาย เป็นว่า คนหนึง่ สองคนหรือสามคนทีเ่ รามีอยู่ จะต้องมีการวางแผนในการ จัดซือ้ อุปกรณ์ในแล็บต่างๆ ซึง่ บางแล็บเราก็ไม่ถนัด แต่วา่ ในสมัยนัน้ เนือ่ ง จากว่างบประมาณมันบังคับว่าเราต้องใช้ให้ทัน เพราะฉะนั้น เราต้อง วางแผนอย่างดีที่สุดคือไปเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยอื่นที่เขาเปิดคณะวิศวะฯ มาแล้ ว บ้ า ง อะไรต่ า งๆ เหล่ า นี้ บ้ า ง การแบ่ ง แล็ บ จำนวนห้ อ งแล็ บ ประเภทของแล็บต่างๆ เหล่านี้ เพราะฉะนั้นในปัจจุบันอาจจะไม่เหมาะสม บางแห่ง เพราะว่าเทคโนโลยี มันก็เปลีย่ นไปอย่างหนึง่ และอีกอย่างหนึง่ สมัยนั้นเป็นการทำงานที่เร่งรีบมาก แข่งกับเวลา เพราะว่างบประมาณที่ ให้มาในแต่ละ่ ปี เราต้องรีบใช้ให้ทนั เพราะฉะนัน้ สิง่ ทีเ่ ราจะพบได้ อาจจะมี บางคนในปัจจุบนั ถาม ว่าทำไมห้องเรียนมันแปลก หรือว่าห้องพักแปลกๆ ห้องเรียนขนาดไม่เท่ากัน บางทีก็หลุบเข้าไปนิดนึง ยื่นออกมาหน่อยนึง สมัยนัน้ ทีจ่ ริงแล้วทางท่านผูอ้ อกแบบหรือว่าทางท่านผูก้ อ่ ตัง้ ก็พยายามทีจ่ ะ ๑๓๒

แก้ไข แต่ว่าเวลามันรวบรัดมาก เพราะฉะนั้นผมยืนยันได้ว่าท่านได้ทำดี ทีส่ ดุ แล้ว ในเรือ่ งตัดสินใจดีทสี่ ดุ แล้ว อาจจะไม่ถกู ใจอาจารย์ในปัจจุบนั ว่า ทำไมบางห้องก็เล็กบางห้องก็ใหญ่ อยู่ในเส้นทางเดียวกันแต่มันขนาดไม่ เท่ากัน” อาจารย์ณัฐวรรณ์ ยศวัฒน กล่าวถึงแนวทางการบริหารของ อาจารย์ยคุ ก่อนๆ ว่า ท่านใช้วธิ วี า่ มีอะไรก็เรียกไปคุยด้วย โดยกล่าวว่า “สมัยอาจารย์อ้วน อาจารย์ไรเนี่ย เขาจะเรียกมาคุย ว่าอยากจะ ทำอะไร หรืออยากจะไปไหน คือเขาจะถามความคิดเห็น” เมื่อย้อนเวลากลับไปมองถึงวิธีบริหารองค์กร อาจารย์วิเชียรมี ความเห็นพ้องกับอาจารย์ณัฐวรรณ์ และมีรายละเอียด รวมทั้งแง่คิด มุม มองมาบอกเล่าเสริมอีกมากมายว่า “ผมชอบผูบ้ ริหารชุดแรกๆ ทีว่ า่ เราทำงานกันเหมือนพีน่ อ้ ง เราก็ อยู่กันเหมือนพี่น้อง แล้วก็ลูกศิษย์ก็เหมือนลูกหลานในลักษณะนี้ ที่นี้ถ้า ท่ า นถามอย่ า งนี้ มั น ก็ จ ะมี อี ก ประเด็ น หนึ่ ง ซึ่ ง ผมก็ ยั ง เป็ น ห่ ว งอยู่ เ ช่ น เดียวกัน ช่วงทีค่ นรุน่ ใหม่กลับมา boom เราถือว่าช่วงนีเ้ ป็นยุคต้นๆ ทีค่ น รุ่นใหม่จะ boom แล้วคนรุ่นเก่าจะค่อยๆ ออกไปหรือถึงเวลาที่จะต้องทิ้ง คณะนี้ ไ ป ช่ ว งที่ ค นรุ่ น ใหม่ ม า boom อั น นี้ ส ำคั ญ มาก แล้ ว ก็ โ ยงถึ ง วัฒนธรรมองค์กรด้วย เพราะว่าเขามีอายุไล่เลี่ยกัน เขามีการศึกษาใกล้ เคียงกัน ความเกรงใจและความเห็นความสำคัญหรือความเคารพในความ สามารถหรือตำแหน่งที่เขารับผิดชอบในตอนนั้นจะน้อย ซึ่งไม่เหมือนกับ การที่มีผู้ใหญ่มาบริหาร อย่างไรเขาเป็นเด็กเขาก็ต้องรับฟัง เพราะฉะนั้น มันจะไปโยงกับดัชนีที่ผมว่าอีก เพราะว่าผู้บริหารขึ้นมาก็จะมุ่งเน้นกับดัชนี ตรงนัน้ เพราะฉะนัน้ จะรีบทำอะไรก็ตามทีจ่ ะทำให้ดชั นีพวกนัน้ ดีขนึ้ แต่เขา ก็จะลืมวัฒนธรรมองค์กร ทุกอย่างทีเ่ ขาทำ มันจะไม่สญ ู เปล่าเลยเพราะว่า มันจะกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรเมือ่ สิง่ นัน้ ถูกกระทำซ้ำ ซ้ำแล้วซ้ำอีก จน กระทัง่ คนใหม่มาเห็น ‘ว่าอ้าวคนนีย้ งั ทำได้แล้วทำไมเขาจะทำไม่ได้’ อย่าง เช่นการมีสว่ นร่วมในกิจกรรม อะไรต่างๆ เหล่านี้ ซึง่ เขาก็จะดูวา่ กิจกรรม

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๓๓


“นอกจากอาจารย์นอ้ ย เพราะฉะนัน้ ในตอนเริม่ ก่อตัง้ คณะฯ เราจึง ไม่มีผู้ที่มีความชำนาญทุกสาขาวิชาในภาควิชา เพราะฉะนั้นมันเลยกลาย เป็นว่า คนหนึง่ สองคนหรือสามคนทีเ่ รามีอยู่ จะต้องมีการวางแผนในการ จัดซือ้ อุปกรณ์ในแล็บต่างๆ ซึง่ บางแล็บเราก็ไม่ถนัด แต่วา่ ในสมัยนัน้ เนือ่ ง จากว่างบประมาณมันบังคับว่าเราต้องใช้ให้ทัน เพราะฉะนั้น เราต้อง วางแผนอย่างดีที่สุดคือไปเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยอื่นที่เขาเปิดคณะวิศวะฯ มาแล้ ว บ้ า ง อะไรต่ า งๆ เหล่ า นี้ บ้ า ง การแบ่ ง แล็ บ จำนวนห้ อ งแล็ บ ประเภทของแล็บต่างๆ เหล่านี้ เพราะฉะนั้นในปัจจุบันอาจจะไม่เหมาะสม บางแห่ง เพราะว่าเทคโนโลยี มันก็เปลีย่ นไปอย่างหนึง่ และอีกอย่างหนึง่ สมัยนั้นเป็นการทำงานที่เร่งรีบมาก แข่งกับเวลา เพราะว่างบประมาณที่ ให้มาในแต่ละ่ ปี เราต้องรีบใช้ให้ทนั เพราะฉะนัน้ สิง่ ทีเ่ ราจะพบได้ อาจจะมี บางคนในปัจจุบนั ถาม ว่าทำไมห้องเรียนมันแปลก หรือว่าห้องพักแปลกๆ ห้องเรียนขนาดไม่เท่ากัน บางทีก็หลุบเข้าไปนิดนึง ยื่นออกมาหน่อยนึง สมัยนัน้ ทีจ่ ริงแล้วทางท่านผูอ้ อกแบบหรือว่าทางท่านผูก้ อ่ ตัง้ ก็พยายามทีจ่ ะ ๑๓๒

แก้ไข แต่ว่าเวลามันรวบรัดมาก เพราะฉะนั้นผมยืนยันได้ว่าท่านได้ทำดี ทีส่ ดุ แล้ว ในเรือ่ งตัดสินใจดีทสี่ ดุ แล้ว อาจจะไม่ถกู ใจอาจารย์ในปัจจุบนั ว่า ทำไมบางห้องก็เล็กบางห้องก็ใหญ่ อยู่ในเส้นทางเดียวกันแต่มันขนาดไม่ เท่ากัน” อาจารย์ณัฐวรรณ์ ยศวัฒน กล่าวถึงแนวทางการบริหารของ อาจารย์ยคุ ก่อนๆ ว่า ท่านใช้วธิ วี า่ มีอะไรก็เรียกไปคุยด้วย โดยกล่าวว่า “สมัยอาจารย์อ้วน อาจารย์ไรเนี่ย เขาจะเรียกมาคุย ว่าอยากจะ ทำอะไร หรืออยากจะไปไหน คือเขาจะถามความคิดเห็น” เมื่อย้อนเวลากลับไปมองถึงวิธีบริหารองค์กร อาจารย์วิเชียรมี ความเห็นพ้องกับอาจารย์ณัฐวรรณ์ และมีรายละเอียด รวมทั้งแง่คิด มุม มองมาบอกเล่าเสริมอีกมากมายว่า “ผมชอบผูบ้ ริหารชุดแรกๆ ทีว่ า่ เราทำงานกันเหมือนพีน่ อ้ ง เราก็ อยู่กันเหมือนพี่น้อง แล้วก็ลูกศิษย์ก็เหมือนลูกหลานในลักษณะนี้ ที่นี้ถ้า ท่ า นถามอย่ า งนี้ มั น ก็ จ ะมี อี ก ประเด็ น หนึ่ ง ซึ่ ง ผมก็ ยั ง เป็ น ห่ ว งอยู่ เ ช่ น เดียวกัน ช่วงทีค่ นรุน่ ใหม่กลับมา boom เราถือว่าช่วงนีเ้ ป็นยุคต้นๆ ทีค่ น รุ่นใหม่จะ boom แล้วคนรุ่นเก่าจะค่อยๆ ออกไปหรือถึงเวลาที่จะต้องทิ้ง คณะนี้ ไ ป ช่ ว งที่ ค นรุ่ น ใหม่ ม า boom อั น นี้ ส ำคั ญ มาก แล้ ว ก็ โ ยงถึ ง วัฒนธรรมองค์กรด้วย เพราะว่าเขามีอายุไล่เลี่ยกัน เขามีการศึกษาใกล้ เคียงกัน ความเกรงใจและความเห็นความสำคัญหรือความเคารพในความ สามารถหรือตำแหน่งที่เขารับผิดชอบในตอนนั้นจะน้อย ซึ่งไม่เหมือนกับ การที่มีผู้ใหญ่มาบริหาร อย่างไรเขาเป็นเด็กเขาก็ต้องรับฟัง เพราะฉะนั้น มันจะไปโยงกับดัชนีที่ผมว่าอีก เพราะว่าผู้บริหารขึ้นมาก็จะมุ่งเน้นกับดัชนี ตรงนัน้ เพราะฉะนัน้ จะรีบทำอะไรก็ตามทีจ่ ะทำให้ดชั นีพวกนัน้ ดีขนึ้ แต่เขา ก็จะลืมวัฒนธรรมองค์กร ทุกอย่างทีเ่ ขาทำ มันจะไม่สญ ู เปล่าเลยเพราะว่า มันจะกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรเมือ่ สิง่ นัน้ ถูกกระทำซ้ำ ซ้ำแล้วซ้ำอีก จน กระทัง่ คนใหม่มาเห็น ‘ว่าอ้าวคนนีย้ งั ทำได้แล้วทำไมเขาจะทำไม่ได้’ อย่าง เช่นการมีสว่ นร่วมในกิจกรรม อะไรต่างๆ เหล่านี้ ซึง่ เขาก็จะดูวา่ กิจกรรม

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๓๓


ไหนมีประโยชน์ตอ่ เขา ทีไ่ ม่มปี ระโยชน์เขาก็ไม่เข้า พอเขาไม่เข้า ต่อมาเขา เป็นผูบ้ ริหาร ถ้าคนอืน่ คิดแบบเขา ก็ไม่เข้าเหมือนกัน แล้วเขาจะบริหารไป ได้อย่างไร เพราะฉะนั้นตรงนี้ต้องระวังผมก็พยายามบอกน้องๆ ที่มา ทำงานรุ่นหลังว่า พยายาม สิ่งที่เราทำไปมันไม่ได้สูญเปล่า แต่เป็นการ สร้างวัฒนธรรมองค์กร ทีม่ องไม่เห็น แต่วา่ มันจะมีผลในอนาคต” ส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นแง่มุมของผู้บริหารที่ห่วงใยและเข้าใจใน ความเป็นนักศึกษาที่เข้ามาใหม่เป็นรุ่นแรก ความใส่ใจเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ถือเป็นเสน่หข์ องการบริหารงาน โดยได้ตระหนักว่า พวกเขาเข้ามายังไม่มี รุน่ พี่ จึงได้ทำกรณีพเิ ศษคือ “ตอนเข้ามา ปี ๑ เข้ามาไม่มรี นุ่ พี่ ไม่รจู้ ะรับน้องกันยังไงวิศวะน่ะ ผมก็ขอคณะสิ่งแวดล้อมอีก ขอนักศึกษาปริญญาโทสิ่งแวดล้อมไปรับน้อง วิศวะหน่อยเถอะ ไปทีเ่ มืองกาญจน์ เขาก็ให้นะ (หัวเราะ) ใจดีนะ ให้หมด ขออะไรก็ให้...” คณบดีคนแรกของวิศวกรรมศาสตร์ เล่าอย่างอารมณ์ด ี อีกส่วนหนึง่ ทีเ่ กีย่ วกับหน่วยงานการศึกษาระดับกอง นอกจากจะมี หัวหน้าซึง่ เรียกว่า คณบดี หรือ ผูอ้ ำนวยการแล้ว ยังมีตำแหน่งงานหนึง่ ที่ มีความจำเป็น เพือ่ รับสนองแนวคิดการบริหารงานให้เกิดการสอดประสาน คอยกำกับดูแลภาพรวมของคณะฯ ให้นโยบายของคณะผูบ้ ริหารสัมฤทธิผล เรียกว่าตำแหน่ง เลขานุการคณะ ซึง่ อาจจะเปรียบไปก็คล้ายแม่บา้ นทีค่ อย ดูแลเก็บกวาดให้บ้านดูสะอาดงามตา แต่ตำแหน่งนี้ โดยภาระหน้าที่เป็น งานกึง่ บริหาร กึง่ ธุรการ เลขานุการวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งโอนย้ายมาจากคณะสิ่งแวดล้อมฯ เรียกกันคุน้ ปากของคนทีน่ วี่ า่ “พีพ่ ะเยาว์” (คุณพะเยาว์ สุจริต) แม้ในวัยที่เลยเกษียณอายุมาหลายปี พี่พะเยาว์ก็ยังเป็น “พี่สาว” รูค้ วามเคลือ่ นไหว และความเป็นมาขององค์กรแห่งนีเ้ ป็นอย่างดี แต่กว่าที่ จะเกิดภาวะนี้ในใจ เจ้าของตำแหน่งเลขานุการคณะเล่าว่าต้อง “เรียนรู้” อย่างหนัก

๑๓๔

“ต้องน้ำตาซึมกันเลย ใหม่ๆ น่ะ” เพราะต้องพบกับสิง่ ใหม่ๆ ทีย่ าก และหนักมากๆ “…และยิ่งมาเจอกับผู้บริหารแบบ โอ้โฮ...ทุ่มเทใจให้งานเต็มร้อย เนีย่ คือ... ไม่ได้ ต้องอยู่ ต้องทำ อะไรประเภทนีน้ ะ่ คือไม่ทอ้ นะ แต่เพียง มีความรูส้ กึ ว่ามัน... มันหนักมาก...” ความรู้ แ ละประสบการณ์ ที่ ไ ด้ จ ากการทำงานในองค์ ก รด้ า น สังคมศาสตร์อย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การเรียนรู้เพิ่มเติมด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเมื่อมาอยู่คณะสิ่งแวดล้อมฯ ตลอดจนการ ศึกษาเพิ่มเติมจากผู้รู้ในขณะทำงาน เช่น คุณสมนึก พิมลเสถียร สำนัก

งบประมาณ อาจารย์จนิ ตนา ชืน่ ศิริ จาก สตง. ตลอดจนผูร้ อู้ กี หลายท่าน สามารถนำมาปรับใช้กบั การตัง้ คณะวิศวะฯ ได้เป็นอย่างดี “...อาจารย์ธนากร อาจารย์คณิต อาจารย์พินัย เนี่ย เค้าทำงาน ทุม่ เทจริงๆ แต่กเ็ ป็นกันเอง ไม่มยี ศอย่างอะไรมาก...” เพราะแนวทางการบริหารที่ผ่านมา เพราะความเสียสละและ ความเกื้อกูลกันมาในอดีต จากทุกๆ ฝ่ายงาน หลายคนต้องกรำงาน หนักเพือ่ รอวันทีเ่ พือ่ นร่วมคณะกลับคืนมาช่วยแบ่งเบาภาระ แม้จวบจน ปั จ จุ บั น นี้ การผลั ด เปลี่ ย นหมุ น เวี ย นกั น ไปเสาะแสวงหาความรู้ ยั ง ดำเนินอยูเ่ หมือนครัง้ อดีต เพือ่ ให้ทนั กับยุคและวิทยาการทีก่ า้ วไกล แต่ ปลายทางของชาววิศวะมหิดลเป็นจุดหมายเดียวกัน คือความก้าวหน้า ของคณะฯ ของมหาวิทยาลัย และประเทศชาติ

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๓๕


ไหนมีประโยชน์ตอ่ เขา ทีไ่ ม่มปี ระโยชน์เขาก็ไม่เข้า พอเขาไม่เข้า ต่อมาเขา เป็นผูบ้ ริหาร ถ้าคนอืน่ คิดแบบเขา ก็ไม่เข้าเหมือนกัน แล้วเขาจะบริหารไป ได้อย่างไร เพราะฉะนั้นตรงนี้ต้องระวังผมก็พยายามบอกน้องๆ ที่มา ทำงานรุ่นหลังว่า พยายาม สิ่งที่เราทำไปมันไม่ได้สูญเปล่า แต่เป็นการ สร้างวัฒนธรรมองค์กร ทีม่ องไม่เห็น แต่วา่ มันจะมีผลในอนาคต” ส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นแง่มุมของผู้บริหารที่ห่วงใยและเข้าใจใน ความเป็นนักศึกษาที่เข้ามาใหม่เป็นรุ่นแรก ความใส่ใจเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ถือเป็นเสน่หข์ องการบริหารงาน โดยได้ตระหนักว่า พวกเขาเข้ามายังไม่มี รุน่ พี่ จึงได้ทำกรณีพเิ ศษคือ “ตอนเข้ามา ปี ๑ เข้ามาไม่มรี นุ่ พี่ ไม่รจู้ ะรับน้องกันยังไงวิศวะน่ะ ผมก็ขอคณะสิ่งแวดล้อมอีก ขอนักศึกษาปริญญาโทสิ่งแวดล้อมไปรับน้อง วิศวะหน่อยเถอะ ไปทีเ่ มืองกาญจน์ เขาก็ให้นะ (หัวเราะ) ใจดีนะ ให้หมด ขออะไรก็ให้...” คณบดีคนแรกของวิศวกรรมศาสตร์ เล่าอย่างอารมณ์ด ี อีกส่วนหนึง่ ทีเ่ กีย่ วกับหน่วยงานการศึกษาระดับกอง นอกจากจะมี หัวหน้าซึง่ เรียกว่า คณบดี หรือ ผูอ้ ำนวยการแล้ว ยังมีตำแหน่งงานหนึง่ ที่ มีความจำเป็น เพือ่ รับสนองแนวคิดการบริหารงานให้เกิดการสอดประสาน คอยกำกับดูแลภาพรวมของคณะฯ ให้นโยบายของคณะผูบ้ ริหารสัมฤทธิผล เรียกว่าตำแหน่ง เลขานุการคณะ ซึง่ อาจจะเปรียบไปก็คล้ายแม่บา้ นทีค่ อย ดูแลเก็บกวาดให้บ้านดูสะอาดงามตา แต่ตำแหน่งนี้ โดยภาระหน้าที่เป็น งานกึง่ บริหาร กึง่ ธุรการ เลขานุการวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งโอนย้ายมาจากคณะสิ่งแวดล้อมฯ เรียกกันคุน้ ปากของคนทีน่ วี่ า่ “พีพ่ ะเยาว์” (คุณพะเยาว์ สุจริต) แม้ในวัยที่เลยเกษียณอายุมาหลายปี พี่พะเยาว์ก็ยังเป็น “พี่สาว” รูค้ วามเคลือ่ นไหว และความเป็นมาขององค์กรแห่งนีเ้ ป็นอย่างดี แต่กว่าที่ จะเกิดภาวะนี้ในใจ เจ้าของตำแหน่งเลขานุการคณะเล่าว่าต้อง “เรียนรู้” อย่างหนัก

๑๓๔

“ต้องน้ำตาซึมกันเลย ใหม่ๆ น่ะ” เพราะต้องพบกับสิง่ ใหม่ๆ ทีย่ าก และหนักมากๆ “…และยิ่งมาเจอกับผู้บริหารแบบ โอ้โฮ...ทุ่มเทใจให้งานเต็มร้อย เนีย่ คือ... ไม่ได้ ต้องอยู่ ต้องทำ อะไรประเภทนีน้ ะ่ คือไม่ทอ้ นะ แต่เพียง มีความรูส้ กึ ว่ามัน... มันหนักมาก...” ความรู้ แ ละประสบการณ์ ที่ ไ ด้ จ ากการทำงานในองค์ ก รด้ า น สังคมศาสตร์อย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การเรียนรู้เพิ่มเติมด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเมื่อมาอยู่คณะสิ่งแวดล้อมฯ ตลอดจนการ ศึกษาเพิ่มเติมจากผู้รู้ในขณะทำงาน เช่น คุณสมนึก พิมลเสถียร สำนัก

งบประมาณ อาจารย์จนิ ตนา ชืน่ ศิริ จาก สตง. ตลอดจนผูร้ อู้ กี หลายท่าน สามารถนำมาปรับใช้กบั การตัง้ คณะวิศวะฯ ได้เป็นอย่างดี “...อาจารย์ธนากร อาจารย์คณิต อาจารย์พินัย เนี่ย เค้าทำงาน ทุม่ เทจริงๆ แต่กเ็ ป็นกันเอง ไม่มยี ศอย่างอะไรมาก...” เพราะแนวทางการบริหารที่ผ่านมา เพราะความเสียสละและ ความเกื้อกูลกันมาในอดีต จากทุกๆ ฝ่ายงาน หลายคนต้องกรำงาน หนักเพือ่ รอวันทีเ่ พือ่ นร่วมคณะกลับคืนมาช่วยแบ่งเบาภาระ แม้จวบจน ปั จ จุ บั น นี้ การผลั ด เปลี่ ย นหมุ น เวี ย นกั น ไปเสาะแสวงหาความรู้ ยั ง ดำเนินอยูเ่ หมือนครัง้ อดีต เพือ่ ให้ทนั กับยุคและวิทยาการทีก่ า้ วไกล แต่ ปลายทางของชาววิศวะมหิดลเป็นจุดหมายเดียวกัน คือความก้าวหน้า ของคณะฯ ของมหาวิทยาลัย และประเทศชาติ

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๓๕


“…และยิง่ มาเจอกับผูบ ้ ริหารแบบ โอ้โฮ...ทุม ่ เทใจให้ งานเต็ ม ร้ อ ยเนี่ ย คื อ... ไม่ ไ ด้ ต้ อ งอยู่ ต้ อ งทำ อะไรประเภทนี้น่ะ คือไม่ท้อนะ แต่เพียงมีความ รูส้ กึ ว่ามัน... มันหนักมาก...”

๑๓๖

ซืเหตุ อ้ ใจ เแต่ กิดทีได้ว่ งศ ิ าน วะ


“…และยิง่ มาเจอกับผูบ ้ ริหารแบบ โอ้โฮ...ทุม ่ เทใจให้ งานเต็ ม ร้ อ ยเนี่ ย คื อ... ไม่ ไ ด้ ต้ อ งอยู่ ต้ อ งทำ อะไรประเภทนี้น่ะ คือไม่ท้อนะ แต่เพียงมีความ รูส้ กึ ว่ามัน... มันหนักมาก...”

๑๓๖

ซืเหตุ อ้ ใจ เแต่ กิดทีได้ว่ งศ ิ าน วะ


มี

เรื่องเล่าของชาววิศวะอยู่มากมายที่แสดงถึงความรู้สึกผูกพัน ความประทับใจ ซึ่งบางครั้งบางเหตุการณ์ ณ เวลาที่เกิดเหตุ ผู้ประสบ อาจจะไม่รสู้ กึ ยินดีมากนัก แต่เมือ่ หวนกลับมารำลึกนึกถึงวันเวลาทีล่ ว่ งเลย ก็อาจทำให้เรื่องที่เคยเกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องน่าขัน หรือเป็นตัวอย่างทำให้

เกิดแง่คิดในการพัฒนา ตลอดถึงการแก้ปมปัญหาบางประการได้ด้วย อาจารย์ณฐั วรรณ์ ยศวัฒน เล่าว่า “...ตอนนั้ นมาสมัครไว้ ๒ ที่ ก็คือ ม.เกษตรกับที่นี่ แต่ว่าที่นี่

ประทับใจมากเพราะว่าเป็นลูกศิษย์อาจารย์พินัย ออรุ่งโรจน์ แล้วก็พอมา สมัครปุบ๊ เนีย่ พอสมัครอาจารย์พนิ ยั ปุบ๊ แล้วก็อาจารย์อว้ น ธนากร เขาก็ เก๋ามากเลย มาถึงก็ทำอะไรว่องไวมากเลยนะ ตอนอยู่ตึกสิ่งแวดล้อม

มาสัมภาษณ์ปุ๊บ นัดสัมภาษณ์อ่ะ วันเดียวปุ๊บ เขาบอกว่าจะมาทำงานได้ เมื่อไหร่ ตกใจ อะไรเร็วขนาดนี้ เขาบอกว่างั้นให้เวลาเดือนหนึ่งก็แล้วกัน ในขณะทีท่ ำงานอยูต่ รงนีป้ บุ๊ ได้ประมาณสักสามหรือสีเ่ ดือนแล้ว ทีเ่ กษตร โทรมาบอกว่า ‘ที่อาจารย์เคยสมัครไว้ เขาตกลงว่ามีตำแหน่งอาจารย์ อาจารย์สนใจมั้ย จะรับมั้ย’ เรา เอ่... เพิ่งจะทำเอง อาจารย์พินัยก็ดี อาจารย์อ้วนเองก็ดี (หัวเราะ) ก็เลยมานั่งคุยกับแฟน เออ อยู่ตรงนี้มันก็ ใหม่ๆ ดี และก็มนั ไม่มรี ะบบ senior เพราะเกษตรเขาตัง้ มานานใช่ไหมค่ะ เราก็เออเรื่อง senior ด้วยและอะไรหลายๆ อย่าง ก็ทำที่นี่ เพราะว่า ประทั บ ใจจริ ง ๆ แล้ ว คื อ ประทั บ ใจผู้ บ ริ ห ารรุ่ น แรก คื อ อาจารย์ พิ นั ย

กับอาจารย์อ้วน คือตกใจมาก พอรับปุ๊บ อ้าวคุณจะมาทำงานได้เมื่อไหร่ พรุ่งนี้เลยก็ได้ สะดุ้งเลยขอเวลาตั้งตัวเดือนหนึ่งก่อนก็แล้วกัน แล้วก็ไปลา ออกจากคุณอา ก็เลยมา และก็พอมารุ่นแรกๆ ก็มีปัญหากับนักศึกษา เพราะว่านักศึกษาส่วนใหญ่จะอยูก่ บั อาจารย์รนุ่ อาวุโสใช่ไหมค่ะ เขารับน้อง สนิทอะไรกันดีมากเลยนะ คือเข้ามาตอนรุน่ ๓๔ แต่วา่ เขาเปิดตอนรุน่ ๓๓ ไงค่ะ เข้ามาตอนปี ๓๔ แล้วก็เด็กเค้าจะสนิทกับอาจารย์รนุ่ อาวุโสมาก ไม่ ค่อยจะกลัวอาจารย์ใหม่ เป็นอาจารย์ผหู้ ญิงด้วย เขาก็เลยลองของไง เข้า เรียนก็สาย late กันเป็นครึ่งชั่วโมง เป็นชั่วโมง เราก็เลยว่าทำไม เด็กก็ ๑๓๘

บอกว่า อาจารย์คนอื่นไม่เห็นว่าเลย ทำไมอาจารย์เรื่องมากจัง ตัดเกรด คนทีเ่ ก่งทีส่ ดุ ใน class เขาได้ C เขาโมโหมาก แต่กอ็ ธิบายให้เขาฟังว่าทีน่ ี่ เป็นอย่างไร และตอนนัน้ ประทับใจก็คอื ตัด F ๔ คน และก็ F ๔ คนเนีย่ คนหนึง่ ไปบวชอยูด่ ว้ ย บวชเป็นเณรหรือบวชพระไม่รู้ (หัวเราะ) บอกว่าผ้า เหลืองร้อน เขาเรียกกันรุน่ ๔ เทวดา แต่กลายเป็นประทับใจนะ แต่เด็กที่ ได้ F ๔ คน เพราะว่าทีน่ ขี่ อ้ ดีอย่าง เด็กทีไ่ ด้ F พอลงใหม่ เขาจะได้เกรด ตัวใหม่ ตัวเก่าก็ไม่เป็นตัวหารไงค่ะ ก็เลยตัดสินใจตัดอันนีเ้ พือ่ ให้เด็กได้รวู้ า่ สิ่งที่เธอทำมันไม่ถูกต้อง คนเราต้องรู้จักเวลา ไม่ใช่ว่าเวลาอาจารย์ใจดี

เธอก็หย่อนยาน หลังจากนั้นก็เปลี่ยนไปเลยพฤติกรรม ก็เลยสนิทกับเด็ก

ไปเลย” ผู้ที่จบมาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดยเฉพาะในระดับที่สูง มี ประสบการณ์มากนั้น เป็นที่ต้องการของตลาด ความโชคดีของวิศวะที่นี่ อีกประการหนึ่งคือ อาจารย์จำนวนมากยังรักที่จะสอนและปฏิบัติงานอยู่ กับมหาวิทยาลัยแห่งนี้ แม้จะหมดสิน้ ภาระการใช้ทนุ ไปแล้วก็ตาม สิง่ นีย้ อ่ ม เป็นเครื่องหมายแห่งคุณงามความดี ถึงจะเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่ความเป็นมนุษย์และความผูกพันในองค์กรมีอยู่ในระดับที่สูงมาก นับว่า เป็นความโชคดีอยูไ่ ม่นอ้ ย อาจารย์ธนัสนี เพียรตระกูล กล่าวถึงทีท่ ำงาน แห่งนีว้ า่ “จริงๆ ทีเ่ ลือกทุนทีน่ ี่ ส่วนหนึง่ ก็คอื มีความผูกพันกับทีน่ ดี่ ว้ ย ช่วง ทีเ่ รียนปริญญาโททีน่ ี่ ก็เห็นบรรยากาศ วิศวะ ทีน่ ี่ ก็ดอู าจารย์กบั ลูกศิษย์ ก็ดูเป็นกันเองดีค่ะ แล้วก็ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยระดับแนวหน้าแห่งหนึ่ง ของประเทศ เพราะฉะนัน้ เป็นสถาบันทีน่ า่ อยูแ่ ห่งหนึง่ เลยทีเดียว” Survey camp ทีค่ ณะวิศวะ มีกจิ กรรมหนึง่ ทีเ่ กิดขึน้ จากแนวคิดทีว่ า่ คนเราเรียน รูว้ ชิ าการนัน้ ก็สว่ นหนึง่ แต่อกี ส่วนหนึง่ ทีม่ คี วามสำคัญอยูไ่ ม่นอ้ ย นัน่ ก็คอื

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๓๙


มี

เรื่องเล่าของชาววิศวะอยู่มากมายที่แสดงถึงความรู้สึกผูกพัน ความประทับใจ ซึ่งบางครั้งบางเหตุการณ์ ณ เวลาที่เกิดเหตุ ผู้ประสบ อาจจะไม่รสู้ กึ ยินดีมากนัก แต่เมือ่ หวนกลับมารำลึกนึกถึงวันเวลาทีล่ ว่ งเลย ก็อาจทำให้เรื่องที่เคยเกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องน่าขัน หรือเป็นตัวอย่างทำให้

เกิดแง่คิดในการพัฒนา ตลอดถึงการแก้ปมปัญหาบางประการได้ด้วย อาจารย์ณฐั วรรณ์ ยศวัฒน เล่าว่า “...ตอนนั้ นมาสมัครไว้ ๒ ที่ ก็คือ ม.เกษตรกับที่นี่ แต่ว่าที่นี่

ประทับใจมากเพราะว่าเป็นลูกศิษย์อาจารย์พินัย ออรุ่งโรจน์ แล้วก็พอมา สมัครปุบ๊ เนีย่ พอสมัครอาจารย์พนิ ยั ปุบ๊ แล้วก็อาจารย์อว้ น ธนากร เขาก็ เก๋ามากเลย มาถึงก็ทำอะไรว่องไวมากเลยนะ ตอนอยู่ตึกสิ่งแวดล้อม

มาสัมภาษณ์ปุ๊บ นัดสัมภาษณ์อ่ะ วันเดียวปุ๊บ เขาบอกว่าจะมาทำงานได้ เมื่อไหร่ ตกใจ อะไรเร็วขนาดนี้ เขาบอกว่างั้นให้เวลาเดือนหนึ่งก็แล้วกัน ในขณะทีท่ ำงานอยูต่ รงนีป้ บุ๊ ได้ประมาณสักสามหรือสีเ่ ดือนแล้ว ทีเ่ กษตร โทรมาบอกว่า ‘ที่อาจารย์เคยสมัครไว้ เขาตกลงว่ามีตำแหน่งอาจารย์ อาจารย์สนใจมั้ย จะรับมั้ย’ เรา เอ่... เพิ่งจะทำเอง อาจารย์พินัยก็ดี อาจารย์อ้วนเองก็ดี (หัวเราะ) ก็เลยมานั่งคุยกับแฟน เออ อยู่ตรงนี้มันก็ ใหม่ๆ ดี และก็มนั ไม่มรี ะบบ senior เพราะเกษตรเขาตัง้ มานานใช่ไหมค่ะ เราก็เออเรื่อง senior ด้วยและอะไรหลายๆ อย่าง ก็ทำที่นี่ เพราะว่า ประทั บ ใจจริ ง ๆ แล้ ว คื อ ประทั บ ใจผู้ บ ริ ห ารรุ่ น แรก คื อ อาจารย์ พิ นั ย

กับอาจารย์อ้วน คือตกใจมาก พอรับปุ๊บ อ้าวคุณจะมาทำงานได้เมื่อไหร่ พรุ่งนี้เลยก็ได้ สะดุ้งเลยขอเวลาตั้งตัวเดือนหนึ่งก่อนก็แล้วกัน แล้วก็ไปลา ออกจากคุณอา ก็เลยมา และก็พอมารุ่นแรกๆ ก็มีปัญหากับนักศึกษา เพราะว่านักศึกษาส่วนใหญ่จะอยูก่ บั อาจารย์รนุ่ อาวุโสใช่ไหมค่ะ เขารับน้อง สนิทอะไรกันดีมากเลยนะ คือเข้ามาตอนรุน่ ๓๔ แต่วา่ เขาเปิดตอนรุน่ ๓๓ ไงค่ะ เข้ามาตอนปี ๓๔ แล้วก็เด็กเค้าจะสนิทกับอาจารย์รนุ่ อาวุโสมาก ไม่ ค่อยจะกลัวอาจารย์ใหม่ เป็นอาจารย์ผหู้ ญิงด้วย เขาก็เลยลองของไง เข้า เรียนก็สาย late กันเป็นครึ่งชั่วโมง เป็นชั่วโมง เราก็เลยว่าทำไม เด็กก็ ๑๓๘

บอกว่า อาจารย์คนอื่นไม่เห็นว่าเลย ทำไมอาจารย์เรื่องมากจัง ตัดเกรด คนทีเ่ ก่งทีส่ ดุ ใน class เขาได้ C เขาโมโหมาก แต่กอ็ ธิบายให้เขาฟังว่าทีน่ ี่ เป็นอย่างไร และตอนนัน้ ประทับใจก็คอื ตัด F ๔ คน และก็ F ๔ คนเนีย่ คนหนึง่ ไปบวชอยูด่ ว้ ย บวชเป็นเณรหรือบวชพระไม่รู้ (หัวเราะ) บอกว่าผ้า เหลืองร้อน เขาเรียกกันรุน่ ๔ เทวดา แต่กลายเป็นประทับใจนะ แต่เด็กที่ ได้ F ๔ คน เพราะว่าทีน่ ขี่ อ้ ดีอย่าง เด็กทีไ่ ด้ F พอลงใหม่ เขาจะได้เกรด ตัวใหม่ ตัวเก่าก็ไม่เป็นตัวหารไงค่ะ ก็เลยตัดสินใจตัดอันนีเ้ พือ่ ให้เด็กได้รวู้ า่ สิ่งที่เธอทำมันไม่ถูกต้อง คนเราต้องรู้จักเวลา ไม่ใช่ว่าเวลาอาจารย์ใจดี

เธอก็หย่อนยาน หลังจากนั้นก็เปลี่ยนไปเลยพฤติกรรม ก็เลยสนิทกับเด็ก

ไปเลย” ผู้ที่จบมาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดยเฉพาะในระดับที่สูง มี ประสบการณ์มากนั้น เป็นที่ต้องการของตลาด ความโชคดีของวิศวะที่นี่ อีกประการหนึ่งคือ อาจารย์จำนวนมากยังรักที่จะสอนและปฏิบัติงานอยู่ กับมหาวิทยาลัยแห่งนี้ แม้จะหมดสิน้ ภาระการใช้ทนุ ไปแล้วก็ตาม สิง่ นีย้ อ่ ม เป็นเครื่องหมายแห่งคุณงามความดี ถึงจะเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่ความเป็นมนุษย์และความผูกพันในองค์กรมีอยู่ในระดับที่สูงมาก นับว่า เป็นความโชคดีอยูไ่ ม่นอ้ ย อาจารย์ธนัสนี เพียรตระกูล กล่าวถึงทีท่ ำงาน แห่งนีว้ า่ “จริงๆ ทีเ่ ลือกทุนทีน่ ี่ ส่วนหนึง่ ก็คอื มีความผูกพันกับทีน่ ดี่ ว้ ย ช่วง ทีเ่ รียนปริญญาโททีน่ ี่ ก็เห็นบรรยากาศ วิศวะ ทีน่ ี่ ก็ดอู าจารย์กบั ลูกศิษย์ ก็ดูเป็นกันเองดีค่ะ แล้วก็ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยระดับแนวหน้าแห่งหนึ่ง ของประเทศ เพราะฉะนัน้ เป็นสถาบันทีน่ า่ อยูแ่ ห่งหนึง่ เลยทีเดียว” Survey camp ทีค่ ณะวิศวะ มีกจิ กรรมหนึง่ ทีเ่ กิดขึน้ จากแนวคิดทีว่ า่ คนเราเรียน รูว้ ชิ าการนัน้ ก็สว่ นหนึง่ แต่อกี ส่วนหนึง่ ทีม่ คี วามสำคัญอยูไ่ ม่นอ้ ย นัน่ ก็คอื

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๓๙


การเรียนรู้สังคม บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์จึงควรเป็นผู้รู้จักสังคมที่ตนเอง สังกัด อย่างน้อยก็รจู้ กั เพือ่ น รูจ้ กั ชือ่ ครอบครัว พ่อแม่ ตลอดจนมุมมอง ความคิดความเห็น และความสามารถของกันและกัน จึงได้เกิดกิจกรรม หรือโครงการ survey camp ขึน้ หลักการของกิจกรรมดังกล่าว คือการได้ไปออกภาคสนาม ร่วม ทุกข์รว่ มสุขด้วยกัน ประมาณ ๑-๒ สัปดาห์ ทัง้ ช่วงทีเ่ ดินทางและระหว่าง อยู่ในพื้นที่ ให้นักศึกษาของคณะฯ ได้มีโอกาสทำงานร่วมกัน นำความรู้ ความสามารถและทั ก ษะพื้ น ฐานของแต่ ล ะคนมาใช้ แ ก้ ปั ญ หา ทำให้

นักศึกษารูจ้ กั กันมากยิง่ ขึน้ “แล้วก็มพี วก field trip พวก survey camp เราก็จะไปจัดทีน่ อก สถานที่ ปีหนึ่งก็ประมาณ ๑๑ วัน ตาม requirement ของเขา เพราะ ฉะนั้นเด็กในแต่ละรุ่นจะมีความสนิทกันค่อนข้างจะดีมาก นอกจากในห้อง เอง ก็คือว่า พอนอกห้อง การได้ไปเรียนรู้งาน การได้ไปเรียนรู้ว่าการ ทำงานร่วม การทำงานเป็นกลุ่ม มันต้องทำไงบ้าง เขาก็สามารถที่จะ พัฒนาศักยภาพตรงนัน้ ได้” วิธีการนี้ของภาควิชาโยธา แต่หลักสูตรอื่นก็สามารถนำไปปรับใช้ ภาควิชาของตนได้ เพื่อนำไปเป็นเครื่องมือหรือวิธีการบริหารการเรียนรู้ เพือ่ ให้นกั ศึกษาของคณะฯ ได้มโี อกาสฝึกฝน และการแบ่งปันประสบการณ์ และเมื่อพวกเขาสำเร็จการศึกษาออกไป เขาจะมีเพื่อน มีเครือข่าย มี สายใยทีผ่ กู พันกันและกัน อาจารย์ปยิ ะ รัตนสุวรรณ เป็นอีกท่านหนึง่ ทีเ่ ห็นความสำคัญของ การมีเครือข่ายของเพื่อน และได้เล่าประสบการณ์ดีๆ สมัยเมื่อครั้งยังเป็น นักศึกษาให้ฟงั ว่า “สมัยก่อนผมเด็กต่างจังหวัดนะครับ ผมอยู่นครศรีธรรมราช ปิด เทอมนะครับ เพื่อนผมอยู่เพชรบุรี อยู่ราชบุรีพวกเนี่ย พอสอบเสร็จกลับ บ้านนะครับ เขารูว้ า่ ผมจะไปขบวนไหนนัง่ รถไฟ ราชบุรี เดีย๋ วข้าวมาแจก เอาข้าวห่อมาให้ เพชรบุรเี อาข้าวห่อมาให้ ผมบอกพอแล้ว กินไม่หมดแล้ว ๑๔๐

“แล้วก็มพ ี วก field trip พวก survey camp เราก็จะไปจัดทีน ่ อก สถานที่ ปีหนึ่งก็ประมาณ ๑๑ วัน ตาม requirement ของเขา เพราะฉะนั้นเด็กในแต่ละรุ่นจะมีความสนิทกันค่อนข้างจะดีมาก นอกจากในห้องเอง ก็คือว่า พอนอกห้อง การได้ไปเรียนรู้งาน การได้ไปเรียนรู้ว่าการทำงานร่วม การทำงานเป็นกลุ่ม มันต้อง ทำไงบ้าง เขาก็สามารถทีจ่ ะพัฒนาศักยภาพตรงนัน ้ ได้” เพราะเขาอยูบ่ า้ น พอเขารูผ้ มไปขบวนไหนนะครับ รถไฟเข้ากีโ่ มงกีย่ ามเขา รู้หมด เขากลับไปบ้านก่อน เขาเอาข้าวห่อมาให้ นั้นคือเพื่อนสมัยที่เรียน วิศวะด้วยกัน เรารู้จักบางทีไปไหนเราก็ไปด้วยกัน ตอนนั้นสนิทกันมาก แต่เด็กรุน่ นีผ้ มไม่แน่ใจ...” นักศึกษารุน่ ใหม่อาจมีความคิดแบบคนสังคมเมืองว่า เรือ่ งส่วนตัว คนอืน่ อย่าไปรูเ้ ขามากนัก เพราะเกรงจะเข้าทำนอง “สอดรูส้ อดเห็น” แต่ ความจริง การสอดรูส้ อดเห็นเรือ่ งราวของคนอืน่ กับการรูจ้ กั เพือ่ นในมุมที่ หลากหลายเป็นคนละเรื่องกัน หากรู้จักกับเพื่อนอย่างดีพอ และขณะ เดียวกัน ตัวนักศึกษาผูน้ นั้ ก็ตอ้ งมีความจริงใจทีจ่ ะเผยตัวเองให้เพือ่ นได้รจู้ กั ซึง่ จะเป็นคุณปู การต่อไปในภายภาคหน้า เพราะเมือ่ เขาสำเร็จการศึกษาไป แล้ว จะได้พงึ่ พาอาศัยกันได้ อี ก เหตุ ก ารณ์ ที่ อ าจารย์ วิ เ ชี ย รได้ เ ล่ า ไว้ เป็ น เรื่ อ งของการตรง

ต่อเวลา “...เคยเล่าให้เด็กฟังว่า อาจารย์ถอื ถุงข้อสอบไปสอบตามเวลา พอ ไปถึงห้องสอบ ไม่มใี ครสักคนหนึง่ อาจารย์กบ็ อก เอ๊ะ อาจารย์มาผิดห้อง หรือเปล่า แต่สมัยอาจารย์นะ หน้าห้องสอบนัง่ รอกันเพียบเลยใช่ไหมครับ สมัยนี้มาสายก็มี นั่งอยู่ข้างล่างไม่ยอมขึ้นไป แล้วถามขอต่อเวลาสอบอีก ผมบอกไม่ มี ท าง คุ ณ มาเรี ย นสาย ยั ง มาสอบสาย อาจารย์ ไ ม่ รู้ จ ะว่ า

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๔๑


การเรียนรู้สังคม บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์จึงควรเป็นผู้รู้จักสังคมที่ตนเอง สังกัด อย่างน้อยก็รจู้ กั เพือ่ น รูจ้ กั ชือ่ ครอบครัว พ่อแม่ ตลอดจนมุมมอง ความคิดความเห็น และความสามารถของกันและกัน จึงได้เกิดกิจกรรม หรือโครงการ survey camp ขึน้ หลักการของกิจกรรมดังกล่าว คือการได้ไปออกภาคสนาม ร่วม ทุกข์รว่ มสุขด้วยกัน ประมาณ ๑-๒ สัปดาห์ ทัง้ ช่วงทีเ่ ดินทางและระหว่าง อยู่ในพื้นที่ ให้นักศึกษาของคณะฯ ได้มีโอกาสทำงานร่วมกัน นำความรู้ ความสามารถและทั ก ษะพื้ น ฐานของแต่ ล ะคนมาใช้ แ ก้ ปั ญ หา ทำให้

นักศึกษารูจ้ กั กันมากยิง่ ขึน้ “แล้วก็มพี วก field trip พวก survey camp เราก็จะไปจัดทีน่ อก สถานที่ ปีหนึ่งก็ประมาณ ๑๑ วัน ตาม requirement ของเขา เพราะ ฉะนั้นเด็กในแต่ละรุ่นจะมีความสนิทกันค่อนข้างจะดีมาก นอกจากในห้อง เอง ก็คือว่า พอนอกห้อง การได้ไปเรียนรู้งาน การได้ไปเรียนรู้ว่าการ ทำงานร่วม การทำงานเป็นกลุ่ม มันต้องทำไงบ้าง เขาก็สามารถที่จะ พัฒนาศักยภาพตรงนัน้ ได้” วิธีการนี้ของภาควิชาโยธา แต่หลักสูตรอื่นก็สามารถนำไปปรับใช้ ภาควิชาของตนได้ เพื่อนำไปเป็นเครื่องมือหรือวิธีการบริหารการเรียนรู้ เพือ่ ให้นกั ศึกษาของคณะฯ ได้มโี อกาสฝึกฝน และการแบ่งปันประสบการณ์ และเมื่อพวกเขาสำเร็จการศึกษาออกไป เขาจะมีเพื่อน มีเครือข่าย มี สายใยทีผ่ กู พันกันและกัน อาจารย์ปยิ ะ รัตนสุวรรณ เป็นอีกท่านหนึง่ ทีเ่ ห็นความสำคัญของ การมีเครือข่ายของเพื่อน และได้เล่าประสบการณ์ดีๆ สมัยเมื่อครั้งยังเป็น นักศึกษาให้ฟงั ว่า “สมัยก่อนผมเด็กต่างจังหวัดนะครับ ผมอยู่นครศรีธรรมราช ปิด เทอมนะครับ เพื่อนผมอยู่เพชรบุรี อยู่ราชบุรีพวกเนี่ย พอสอบเสร็จกลับ บ้านนะครับ เขารูว้ า่ ผมจะไปขบวนไหนนัง่ รถไฟ ราชบุรี เดีย๋ วข้าวมาแจก เอาข้าวห่อมาให้ เพชรบุรเี อาข้าวห่อมาให้ ผมบอกพอแล้ว กินไม่หมดแล้ว ๑๔๐

“แล้วก็มพ ี วก field trip พวก survey camp เราก็จะไปจัดทีน ่ อก สถานที่ ปีหนึ่งก็ประมาณ ๑๑ วัน ตาม requirement ของเขา เพราะฉะนั้นเด็กในแต่ละรุ่นจะมีความสนิทกันค่อนข้างจะดีมาก นอกจากในห้องเอง ก็คือว่า พอนอกห้อง การได้ไปเรียนรู้งาน การได้ไปเรียนรู้ว่าการทำงานร่วม การทำงานเป็นกลุ่ม มันต้อง ทำไงบ้าง เขาก็สามารถทีจ่ ะพัฒนาศักยภาพตรงนัน ้ ได้” เพราะเขาอยูบ่ า้ น พอเขารูผ้ มไปขบวนไหนนะครับ รถไฟเข้ากีโ่ มงกีย่ ามเขา รู้หมด เขากลับไปบ้านก่อน เขาเอาข้าวห่อมาให้ นั้นคือเพื่อนสมัยที่เรียน วิศวะด้วยกัน เรารู้จักบางทีไปไหนเราก็ไปด้วยกัน ตอนนั้นสนิทกันมาก แต่เด็กรุน่ นีผ้ มไม่แน่ใจ...” นักศึกษารุน่ ใหม่อาจมีความคิดแบบคนสังคมเมืองว่า เรือ่ งส่วนตัว คนอืน่ อย่าไปรูเ้ ขามากนัก เพราะเกรงจะเข้าทำนอง “สอดรูส้ อดเห็น” แต่ ความจริง การสอดรูส้ อดเห็นเรือ่ งราวของคนอืน่ กับการรูจ้ กั เพือ่ นในมุมที่ หลากหลายเป็นคนละเรื่องกัน หากรู้จักกับเพื่อนอย่างดีพอ และขณะ เดียวกัน ตัวนักศึกษาผูน้ นั้ ก็ตอ้ งมีความจริงใจทีจ่ ะเผยตัวเองให้เพือ่ นได้รจู้ กั ซึง่ จะเป็นคุณปู การต่อไปในภายภาคหน้า เพราะเมือ่ เขาสำเร็จการศึกษาไป แล้ว จะได้พงึ่ พาอาศัยกันได้ อี ก เหตุ ก ารณ์ ที่ อ าจารย์ วิ เ ชี ย รได้ เ ล่ า ไว้ เป็ น เรื่ อ งของการตรง

ต่อเวลา “...เคยเล่าให้เด็กฟังว่า อาจารย์ถอื ถุงข้อสอบไปสอบตามเวลา พอ ไปถึงห้องสอบ ไม่มใี ครสักคนหนึง่ อาจารย์กบ็ อก เอ๊ะ อาจารย์มาผิดห้อง หรือเปล่า แต่สมัยอาจารย์นะ หน้าห้องสอบนัง่ รอกันเพียบเลยใช่ไหมครับ สมัยนี้มาสายก็มี นั่งอยู่ข้างล่างไม่ยอมขึ้นไป แล้วถามขอต่อเวลาสอบอีก ผมบอกไม่ มี ท าง คุ ณ มาเรี ย นสาย ยั ง มาสอบสาย อาจารย์ ไ ม่ รู้ จ ะว่ า

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๔๑


อย่างไร ผมต้องบอกว่ามาห้องสอบผิดห้อง เพราะไปห้องสอบเปิดแล้วไม่มี นั่งอยู่หน้าห้องสักคน เราก็มองดูข้อสอบกับห้องสอบ เอ้า ก็ห้องนี้แหละ ความรับผิดชอบกับเด็กรุน่ นีก้ จ็ ะน้อยลงนะครับ ซึง่ ต่างไปจากกับเด็กรุน่ เก่า ที่เขาดีกว่าเยอะ พอพูดมากก็บอกว่านั่นสมัยรุ่นอาจารย์ ผมก็บอกว่าไม่ เป็นไร ถ้าคุณคิดว่ารุ่นอาจารย์ดีก็รับไป ถ้าไม่ดีก็ไม่ต้องปฏิบัติก็ได้ คือ บางทีไปเถียงมันมากลำบากใจ เราก็ให้ขอ้ คิดเห็นเท่านัน้ เองนะครับ เรือ่ ง ความรับผิดชอบ เรื่องการตรงต่อเวลา เรื่องการแต่งกายให้เหมาะกับ

กาลเทศะ” ความคิดความเห็นนำพาให้เกิดการปฏิบัติ เช่นเดียวกันกับความ เห็นของอาจาย์วเิ ชียรและอาจารย์บางท่านทีเ่ ห็นว่า การเป็นอาจารย์ มิใช่ เพียงแต่สอนวิชาการเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเรื่องอื่นๆ ที่เอื้ออำนวยให้

นักศึกษาของวิศวกรรมศาสตร์เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพและประสบผลสำเร็จ ในชีวติ การงาน “...ผมมีความคิดแปลกๆ ว่า เราเป็นอาจารย์ เราสอนอย่างเดียวนี่ ไม่ได้แล้ว จริงๆ นี่ กูเป็นอาจารย์นดี่ นี ะ สอนเสร็จแล้วไปไหนก็ได้ เราจะ ทำอะไรก็ได้ แต่มาคิดหลังๆ นี่ เราทำอย่างนัน้ ไม่ได้แน่ คือ อาจารย์ครับ ว่างไหมครับ ผมมีเรือ่ งจะปรึกษา ผมก็ อืม... มีเรือ่ งอะไรจะปรึกษา เราก็ ปรึกษาได้ ปรึกษาได้ทกุ เรือ่ ง แล้วแต่ละเรือ่ งอาจารย์กไ็ ม่ได้บอกใคร เป็น เพือ่ นแล้วมีปญ ั หาก็มาบอกผมละกัน เพือ่ นผมมีปญ ั หาแบบนี้ ผมเตือนแล้ว ไม่ฟงั อาจารย์ชว่ ยจัดการหน่อย” ยั ง มี เ รื่ อ งเกิ ด ขึ้ น ที่ นี่ อี ก มากหลาย สาธยายไม่ รู้ สิ้ น ทั้ ง ประสบการณ์ ข้อคิดเห็น ประเด็นขำ แต่ยงิ่ องค์กรขยายใหญ่ ผูค้ นใน ชายคากลับยิ่งมุ่งทำงานไม่รู้จบ ทั้งๆ ที่ไม่ได้โกรธ ไม่ได้เกลียด แต่ เพราะถื อ เอางานเป็ น สรณะ จนบางครั้ ง มิ ต รภาพระหว่ า งกั น อาจ ถดถอยอย่างไม่มใี ครตัง้ ใจ

๑๔๒

ซือ้ ใจ แต่ ได้นงเรา าน ภูมใิ จในความเป็


การเรียนรู้สังคม บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์จึงควรเป็นผู้รู้จักสังคมที่ตนเอง สังกัด อย่างน้อยก็รจู้ กั เพือ่ น รูจ้ กั ชือ่ ครอบครัว พ่อแม่ ตลอดจนมุมมอง ความคิดความเห็น และความสามารถของกันและกัน จึงได้เกิดกิจกรรม หรือโครงการ survey camp ขึน้ หลักการของกิจกรรมดังกล่าว คือการได้ไปออกภาคสนาม ร่วม ทุกข์รว่ มสุขด้วยกัน ประมาณ ๑-๒ สัปดาห์ ทัง้ ช่วงทีเ่ ดินทางและระหว่าง อยู่ในพื้นที่ ให้นักศึกษาของคณะฯ ได้มีโอกาสทำงานร่วมกัน นำความรู้ ความสามารถและทั ก ษะพื้ น ฐานของแต่ ล ะคนมาใช้ แ ก้ ปั ญ หา ทำให้

นักศึกษารูจ้ กั กันมากยิง่ ขึน้ “แล้วก็มพี วก field trip พวก survey camp เราก็จะไปจัดทีน่ อก สถานที่ ปีหนึ่งก็ประมาณ ๑๑ วัน ตาม requirement ของเขา เพราะ ฉะนั้นเด็กในแต่ละรุ่นจะมีความสนิทกันค่อนข้างจะดีมาก นอกจากในห้อง เอง ก็คือว่า พอนอกห้อง การได้ไปเรียนรู้งาน การได้ไปเรียนรู้ว่าการ ทำงานร่วม การทำงานเป็นกลุ่ม มันต้องทำไงบ้าง เขาก็สามารถที่จะ พัฒนาศักยภาพตรงนัน้ ได้” วิธีการนี้ของภาควิชาโยธา แต่หลักสูตรอื่นก็สามารถนำไปปรับใช้ ภาควิชาของตนได้ เพื่อนำไปเป็นเครื่องมือหรือวิธีการบริหารการเรียนรู้ เพือ่ ให้นกั ศึกษาของคณะฯ ได้มโี อกาสฝึกฝน และการแบ่งปันประสบการณ์ และเมื่อพวกเขาสำเร็จการศึกษาออกไป เขาจะมีเพื่อน มีเครือข่าย มี สายใยทีผ่ กู พันกันและกัน อาจารย์ปยิ ะ รัตนสุวรรณ เป็นอีกท่านหนึง่ ทีเ่ ห็นความสำคัญของ การมีเครือข่ายของเพื่อน และได้เล่าประสบการณ์ดีๆ สมัยเมื่อครั้งยังเป็น นักศึกษาให้ฟงั ว่า “สมัยก่อนผมเด็กต่างจังหวัดนะครับ ผมอยู่นครศรีธรรมราช ปิด เทอมนะครับ เพื่อนผมอยู่เพชรบุรี อยู่ราชบุรีพวกเนี่ย พอสอบเสร็จกลับ บ้านนะครับ เขารูว้ า่ ผมจะไปขบวนไหนนัง่ รถไฟ ราชบุรี เดีย๋ วข้าวมาแจก เอาข้าวห่อมาให้ เพชรบุรเี อาข้าวห่อมาให้ ผมบอกพอแล้ว กินไม่หมดแล้ว ๑๔๐

“แล้วก็มพ ี วก field trip พวก survey camp เราก็จะไปจัดทีน ่ อก สถานที่ ปีหนึ่งก็ประมาณ ๑๑ วัน ตาม requirement ของเขา เพราะฉะนั้นเด็กในแต่ละรุ่นจะมีความสนิทกันค่อนข้างจะดีมาก นอกจากในห้องเอง ก็คือว่า พอนอกห้อง การได้ไปเรียนรู้งาน การได้ไปเรียนรู้ว่าการทำงานร่วม การทำงานเป็นกลุ่ม มันต้อง ทำไงบ้าง เขาก็สามารถทีจ่ ะพัฒนาศักยภาพตรงนัน ้ ได้” เพราะเขาอยูบ่ า้ น พอเขารูผ้ มไปขบวนไหนนะครับ รถไฟเข้ากีโ่ มงกีย่ ามเขา รู้หมด เขากลับไปบ้านก่อน เขาเอาข้าวห่อมาให้ นั้นคือเพื่อนสมัยที่เรียน วิศวะด้วยกัน เรารู้จักบางทีไปไหนเราก็ไปด้วยกัน ตอนนั้นสนิทกันมาก แต่เด็กรุน่ นีผ้ มไม่แน่ใจ...” นักศึกษารุน่ ใหม่อาจมีความคิดแบบคนสังคมเมืองว่า เรือ่ งส่วนตัว คนอืน่ อย่าไปรูเ้ ขามากนัก เพราะเกรงจะเข้าทำนอง “สอดรูส้ อดเห็น” แต่ ความจริง การสอดรูส้ อดเห็นเรือ่ งราวของคนอืน่ กับการรูจ้ กั เพือ่ นในมุมที่ หลากหลายเป็นคนละเรื่องกัน หากรู้จักกับเพื่อนอย่างดีพอ และขณะ เดียวกัน ตัวนักศึกษาผูน้ นั้ ก็ตอ้ งมีความจริงใจทีจ่ ะเผยตัวเองให้เพือ่ นได้รจู้ กั ซึง่ จะเป็นคุณปู การต่อไปในภายภาคหน้า เพราะเมือ่ เขาสำเร็จการศึกษาไป แล้ว จะได้พงึ่ พาอาศัยกันได้ อี ก เหตุ ก ารณ์ ที่ อ าจารย์ วิ เ ชี ย รได้ เ ล่ า ไว้ เป็ น เรื่ อ งของการตรง

ต่อเวลา “...เคยเล่าให้เด็กฟังว่า อาจารย์ถอื ถุงข้อสอบไปสอบตามเวลา พอ ไปถึงห้องสอบ ไม่มใี ครสักคนหนึง่ อาจารย์กบ็ อก เอ๊ะ อาจารย์มาผิดห้อง หรือเปล่า แต่สมัยอาจารย์นะ หน้าห้องสอบนัง่ รอกันเพียบเลยใช่ไหมครับ สมัยนี้มาสายก็มี นั่งอยู่ข้างล่างไม่ยอมขึ้นไป แล้วถามขอต่อเวลาสอบอีก ผมบอกไม่ มี ท าง คุ ณ มาเรี ย นสาย ยั ง มาสอบสาย อาจารย์ ไ ม่ รู้ จ ะว่ า

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๔๑


วามเป็นวิศวะมหิดล มีหลายสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ ไม่ว่าจะเป็น สถาบันทีม่ คี นหนุม่ สาวซึง่ จบ Ph.D. เป็นลำดับต้นๆ ของมหาวิทยาลัย มี อาจารย์และนักวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับชาติ มีผลงานวิจัยที่ได้รับการกล่าว ขวัญถึงทางสือ่ มวลชน มีศษิ ย์เก่าเป็นผูม้ ชี อื่ เสียงอยูห่ ลายคน ฯลฯ แต่จะมี สักวาระไหมในรอบปี ที่ชาววิศวะจะได้มาร่วมกันนั่ง “ลิสต์” หัวข้อความ ภาคภูมใิ จด้วยกัน “นั ก ศึ ก ษาที่ จ บจากวิ ศ วะมหิ ด ลออกไปแล้ ว เมื่ อ เข้ า ไปสู่ ต ลาด แรงงาน ผลสะท้อนกลับเป็นคำตอบที่น่าภาคภูมิใจว่า พวกเขาไม่รู้สึก เหนียมอายที่จะประกาศว่า จบวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมหิดล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องไปเผชิญกับบุคลากรที่จบสาขาเดียวกันจาก มหาวิทยาลัยแห่งอื่น บัณฑิตของจะมีความภูมิใจมาก” คำบอกเล่าของ อาจารย์ทา่ นหนึง่ ทีเ่ พิง่ ผุดความเห็นขึน้ มา อาจารย์วเิ ชียร เอือ้ สมสกุล ก็ภมู ใิ จในความเป็นเราเช่นกัน “ผมภูมิใจมากนะครับ เพราะว่ามีส่วนมาช่วย คือหลายท่านมา ก่อนผมได้วางแนวทางไว้ดี ผมก็เพียงมาช่วยเสริมในส่วนที่ท่านอาจจะ ต้องการให้เราช่วยตรงนั้นตรงนี้ แต่ว่าสุดท้ายแล้ว ปัจจุบันถ้าจะว่าความ ภูมิใจแล้ว นักศึกษาเรา ภาคอื่นก็คงเหมือนกันและของเครื่องกลนี้ใน

รุน่ แรกๆ ตอนนี้ ก็กลับสร้างชือ่ เสียงให้คณะฯ มากทีเดียว” อาจารย์นรเศรษฐ์ ณ สงขลา กล่าวถึงงานวิจยั ทีก่ ำลังดำเนินการอยูว่ า่ “ตอนนีง้ านวิจยั ของผมก็คอื ทำอย่างไรรักษา ส่งยาฆ่า/ต้านมะเร็ง ไปถึงเซลล์มะเร็งในสมองกับตับมากทีส่ ดุ แล้วก็ทภี่ มู ใิ จมากรูส้ กึ ว่าไปคุยกับ หมอที่โรงพยาบาลต่างๆ แล้วเขาให้ความสำคัญสูงมาก แล้วหมอที่อยู่ใน ทีมวิจัยก็ถือว่าเป็นแต่ละท่านก็มีความสามารถสูงแล้วรวมทีมกันได้ก็ถือว่า งานวิจัยก็สำเร็จเกินครึ่งไปแล้ว ยังไม่ต้องเริ่มเลย ในส่วนที่เหลือก็เริ่ม ทำให้เป็นความจริง พอมี teamwork เรียบร้อย ก็การลงมือทำรูส้ กึ ว่าได้ ๑๔๔

รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย แล้วก็ผู้ที่ไปขอความช่วยเหลือเยอะมาก เช่น กระทรวงสาธารณสุข ให้ความร่วมมือเรือ่ งสัตว์ทดลองอะไรต่างๆ” อาจารย์ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ เล่าถึงงานวิจยั ว่า “เคยเห็นสารคดีไหมครับที่เขาใช้คนพิการที่ไม่สามารถ...ที่ไม่มีมือ แต่สามารถสัง่ ให้โทรทัศน์เปิดปิด ใช้พลังงานไฟฟ้าในสมองสัง่ เป็น remote ครับ ก็ของ biomed เราก็ทำ” ความเด่ น ของภาควิ ช าวิ ศ วกรรมเคมี อาจารย์ จ ากภาควิ ช า

วิศวกรรมเคมีตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ทางภาคก็เด่นทางด้านสกัดสมุนไพรครับ (ค่ะ)” เด็กวิศวะมหิดล ลุยงาน “จริงๆ มีเด็กนักศึกษาประมาณรุน่ ๔ ซึง่ ก็เป็นเท่ากับว่าจบมากว่า ๑๐ กว่าปีแล้ว ก็เคยกลับมา ก็นกั ศึกษาก็กลับมาเล่าให้ฟงั ว่า ทีห่ น่วยงาน ที่เขารับนักศึกษาไปก็ยังชมว่าเด็กเรานี่ คือนอกจากมีความรู้แล้ว ก็คือ

สูง้ าน ลุยงาน ไม่ใช่เป็นวิศวกรแบบ มือไม่เปือ้ น ไม่ใช่แบบนัน้ ” อาจารย์ธีรพร รับคำอินทร์ ตอบคำถามที่ว่า เหตุใดจึงเลือกมา ทำงานทีม่ หิดล ทัง้ ๆ ทีก่ อ่ นหน้านีก้ ม็ งี านดีๆ ทำอยูแ่ ล้ว อาจารย์ตอบว่า “ก็จริงๆ แล้วอาจจะว่าชอบสอนมากกว่ามัง้ ค่ะ สอนแล้วก็รสู้ กึ เอ่อ... ชอบบรรยากาศ ก็เลยอยากมาอยู่เต็มตัว เพราะตอนแรกก็มาสอนพิเศษ ก่ อ น พอสอนแล้ ว ก็ เ ลยเริ่ ม รู้ สึ ก สนุ ก ก็ เ ลยคิ ด ว่ า ชอบก็ เ ลยมาสอนที่ นี่ ประจำ” และว่า “…เพราะจริ ง ๆ เราก็ รู้ อ ยู่ แ ล้ ว นะค่ ะ ว่ า ในเรื่ อ งของสาขาทาง วิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์ หรือวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง

กั บ ทางชี ว ภาพนี้ มั น ค่ อ นข้ า งจะมี บ ทบาทสู ง ในขณะนั้ น คราวนี้ ท าง

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๔๕


อย่างไร ผมต้องบอกว่ามาห้องสอบผิดห้อง เพราะไปห้องสอบเปิดแล้วไม่มี นั่งอยู่หน้าห้องสักคน เราก็มองดูข้อสอบกับห้องสอบ เอ้า ก็ห้องนี้แหละ ความรับผิดชอบกับเด็กรุน่ นีก้ จ็ ะน้อยลงนะครับ ซึง่ ต่างไปจากกับเด็กรุน่ เก่า ที่เขาดีกว่าเยอะ พอพูดมากก็บอกว่านั่นสมัยรุ่นอาจารย์ ผมก็บอกว่าไม่ เป็นไร ถ้าคุณคิดว่ารุ่นอาจารย์ดีก็รับไป ถ้าไม่ดีก็ไม่ต้องปฏิบัติก็ได้ คือ บางทีไปเถียงมันมากลำบากใจ เราก็ให้ขอ้ คิดเห็นเท่านัน้ เองนะครับ เรือ่ ง ความรับผิดชอบ เรื่องการตรงต่อเวลา เรื่องการแต่งกายให้เหมาะกับ

กาลเทศะ” ความคิดความเห็นนำพาให้เกิดการปฏิบัติ เช่นเดียวกันกับความ เห็นของอาจาย์วเิ ชียรและอาจารย์บางท่านทีเ่ ห็นว่า การเป็นอาจารย์ มิใช่ เพียงแต่สอนวิชาการเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเรื่องอื่นๆ ที่เอื้ออำนวยให้

นักศึกษาของวิศวกรรมศาสตร์เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพและประสบผลสำเร็จ ในชีวติ การงาน “...ผมมีความคิดแปลกๆ ว่า เราเป็นอาจารย์ เราสอนอย่างเดียวนี่ ไม่ได้แล้ว จริงๆ นี่ กูเป็นอาจารย์นดี่ นี ะ สอนเสร็จแล้วไปไหนก็ได้ เราจะ ทำอะไรก็ได้ แต่มาคิดหลังๆ นี่ เราทำอย่างนัน้ ไม่ได้แน่ คือ อาจารย์ครับ ว่างไหมครับ ผมมีเรือ่ งจะปรึกษา ผมก็ อืม... มีเรือ่ งอะไรจะปรึกษา เราก็ ปรึกษาได้ ปรึกษาได้ทกุ เรือ่ ง แล้วแต่ละเรือ่ งอาจารย์กไ็ ม่ได้บอกใคร เป็น เพือ่ นแล้วมีปญ ั หาก็มาบอกผมละกัน เพือ่ นผมมีปญ ั หาแบบนี้ ผมเตือนแล้ว ไม่ฟงั อาจารย์ชว่ ยจัดการหน่อย” ยั ง มี เ รื่ อ งเกิ ด ขึ้ น ที่ นี่ อี ก มากหลาย สาธยายไม่ รู้ สิ้ น ทั้ ง ประสบการณ์ ข้อคิดเห็น ประเด็นขำ แต่ยงิ่ องค์กรขยายใหญ่ ผูค้ นใน ชายคากลับยิ่งมุ่งทำงานไม่รู้จบ ทั้งๆ ที่ไม่ได้โกรธ ไม่ได้เกลียด แต่ เพราะถื อ เอางานเป็ น สรณะ จนบางครั้ ง มิ ต รภาพระหว่ า งกั น อาจ ถดถอยอย่างไม่มใี ครตัง้ ใจ

๑๔๒

ซือ้ ใจ แต่ ได้นงเรา าน ภูมใิ จในความเป็


มหาวิทยาลัยในเมืองไทยยังไม่มีที่ไหนตั้ง แล้วก็มันเป็นจุดเริ่มต้นเพราะว่า ทางอาจารย์ไพโรจน์ รูส้ กึ จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครใน สมัยนัน้ นะค่ะ ซึง่ เขาร่วมมืออยูก่ บั Imperial College อยูแ่ ล้ว เราก็เลยจับ มือกันแล้วก็ตั้งออกมาเป็น ปริญญาโทสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เริ่ม แรกเลยคือตัง้ หลักสูตรก่อน หลักสูตรปริญญาโท” Hard disk ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหิดล ได้เก็บไฟล์แห่ง ความภาคภูมใิ จไว้หลายสิบ gigabyte ยังรอแต่วนั ทีช่ าววิศวะฯ จะเปิด ขึน้ มาอ่านทบทวนร่วมกันเท่านัน้

ได้งาน ติงด้วยรัซืกอ้ ทัใจกด้แต่วยหวั งดี

๑๔๖


วามเป็นวิศวะมหิดล มีหลายสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ ไม่ว่าจะเป็น สถาบันทีม่ คี นหนุม่ สาวซึง่ จบ Ph.D. เป็นลำดับต้นๆ ของมหาวิทยาลัย มี อาจารย์และนักวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับชาติ มีผลงานวิจัยที่ได้รับการกล่าว ขวัญถึงทางสือ่ มวลชน มีศษิ ย์เก่าเป็นผูม้ ชี อื่ เสียงอยูห่ ลายคน ฯลฯ แต่จะมี สักวาระไหมในรอบปี ที่ชาววิศวะจะได้มาร่วมกันนั่ง “ลิสต์” หัวข้อความ ภาคภูมใิ จด้วยกัน “นั ก ศึ ก ษาที่ จ บจากวิ ศ วะมหิ ด ลออกไปแล้ ว เมื่ อ เข้ า ไปสู่ ต ลาด แรงงาน ผลสะท้อนกลับเป็นคำตอบที่น่าภาคภูมิใจว่า พวกเขาไม่รู้สึก เหนียมอายที่จะประกาศว่า จบวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมหิดล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องไปเผชิญกับบุคลากรที่จบสาขาเดียวกันจาก มหาวิทยาลัยแห่งอื่น บัณฑิตของจะมีความภูมิใจมาก” คำบอกเล่าของ อาจารย์ทา่ นหนึง่ ทีเ่ พิง่ ผุดความเห็นขึน้ มา อาจารย์วเิ ชียร เอือ้ สมสกุล ก็ภมู ใิ จในความเป็นเราเช่นกัน “ผมภูมิใจมากนะครับ เพราะว่ามีส่วนมาช่วย คือหลายท่านมา ก่อนผมได้วางแนวทางไว้ดี ผมก็เพียงมาช่วยเสริมในส่วนที่ท่านอาจจะ ต้องการให้เราช่วยตรงนั้นตรงนี้ แต่ว่าสุดท้ายแล้ว ปัจจุบันถ้าจะว่าความ ภูมิใจแล้ว นักศึกษาเรา ภาคอื่นก็คงเหมือนกันและของเครื่องกลนี้ใน

รุน่ แรกๆ ตอนนี้ ก็กลับสร้างชือ่ เสียงให้คณะฯ มากทีเดียว” อาจารย์นรเศรษฐ์ ณ สงขลา กล่าวถึงงานวิจยั ทีก่ ำลังดำเนินการอยูว่ า่ “ตอนนีง้ านวิจยั ของผมก็คอื ทำอย่างไรรักษา ส่งยาฆ่า/ต้านมะเร็ง ไปถึงเซลล์มะเร็งในสมองกับตับมากทีส่ ดุ แล้วก็ทภี่ มู ใิ จมากรูส้ กึ ว่าไปคุยกับ หมอที่โรงพยาบาลต่างๆ แล้วเขาให้ความสำคัญสูงมาก แล้วหมอที่อยู่ใน ทีมวิจัยก็ถือว่าเป็นแต่ละท่านก็มีความสามารถสูงแล้วรวมทีมกันได้ก็ถือว่า งานวิจัยก็สำเร็จเกินครึ่งไปแล้ว ยังไม่ต้องเริ่มเลย ในส่วนที่เหลือก็เริ่ม ทำให้เป็นความจริง พอมี teamwork เรียบร้อย ก็การลงมือทำรูส้ กึ ว่าได้ ๑๔๔

รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย แล้วก็ผู้ที่ไปขอความช่วยเหลือเยอะมาก เช่น กระทรวงสาธารณสุข ให้ความร่วมมือเรือ่ งสัตว์ทดลองอะไรต่างๆ” อาจารย์ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ เล่าถึงงานวิจยั ว่า “เคยเห็นสารคดีไหมครับที่เขาใช้คนพิการที่ไม่สามารถ...ที่ไม่มีมือ แต่สามารถสัง่ ให้โทรทัศน์เปิดปิด ใช้พลังงานไฟฟ้าในสมองสัง่ เป็น remote ครับ ก็ของ biomed เราก็ทำ” ความเด่ น ของภาควิ ช าวิ ศ วกรรมเคมี อาจารย์ จ ากภาควิ ช า

วิศวกรรมเคมีตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ทางภาคก็เด่นทางด้านสกัดสมุนไพรครับ (ค่ะ)” เด็กวิศวะมหิดล ลุยงาน “จริงๆ มีเด็กนักศึกษาประมาณรุน่ ๔ ซึง่ ก็เป็นเท่ากับว่าจบมากว่า ๑๐ กว่าปีแล้ว ก็เคยกลับมา ก็นกั ศึกษาก็กลับมาเล่าให้ฟงั ว่า ทีห่ น่วยงาน ที่เขารับนักศึกษาไปก็ยังชมว่าเด็กเรานี่ คือนอกจากมีความรู้แล้ว ก็คือ

สูง้ าน ลุยงาน ไม่ใช่เป็นวิศวกรแบบ มือไม่เปือ้ น ไม่ใช่แบบนัน้ ” อาจารย์ธีรพร รับคำอินทร์ ตอบคำถามที่ว่า เหตุใดจึงเลือกมา ทำงานทีม่ หิดล ทัง้ ๆ ทีก่ อ่ นหน้านีก้ ม็ งี านดีๆ ทำอยูแ่ ล้ว อาจารย์ตอบว่า “ก็จริงๆ แล้วอาจจะว่าชอบสอนมากกว่ามัง้ ค่ะ สอนแล้วก็รสู้ กึ เอ่อ... ชอบบรรยากาศ ก็เลยอยากมาอยู่เต็มตัว เพราะตอนแรกก็มาสอนพิเศษ ก่ อ น พอสอนแล้ ว ก็ เ ลยเริ่ ม รู้ สึ ก สนุ ก ก็ เ ลยคิ ด ว่ า ชอบก็ เ ลยมาสอนที่ นี่ ประจำ” และว่า “…เพราะจริ ง ๆ เราก็ รู้ อ ยู่ แ ล้ ว นะค่ ะ ว่ า ในเรื่ อ งของสาขาทาง วิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์ หรือวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง

กั บ ทางชี ว ภาพนี้ มั น ค่ อ นข้ า งจะมี บ ทบาทสู ง ในขณะนั้ น คราวนี้ ท าง

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๔๕


ยั

งมีประเด็นอีกมากมายทีเ่ ป็นความคิดความเห็น ทัง้ จากอาจารย์ อาวุโสซึง่ เกษียณไปแล้ว อาจารย์ปจั จุบนั และบุคลากรสายงานอืน่ ๆ ได้ฝาก แง่คิดมุมมองเอาไว้ ทุกข้อความเห็นนั้นตั้งอยู่บนฐานแห่งความรักความ หวังดีด้วยจริงใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานบริหาร งานบริการวิชาการ งาน วิจยั ตลอดจนงานการเรียนการสอน หากถือเสียว่า คนทีม่ ปี ระสบการณ์ เท่านัน้ ทีจ่ ะกล้าทักท้วง ก็จะตรงกับพระพุทธสุภาษิตทีว่ า่ “การบอกความ บกพร่อง คือการชี้ขุมทรัพย์” นั่นก็หมายความว่า องค์กรแห่งนี้ยังเป็น ทีร่ กั ทีห่ วังดีจากหลายฝ่าย อาจารย์ชัยนนท์ ศรีสุภินานนท์ เล่าถึงความสำคัญของการฝึก ปฏิบตั ใิ นสายงานวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมกับมีขอ้ คิดเห็นฝากไว้ดว้ ยรักว่า

ผศ.ชัยนนท์ ศรีสภ ุ น ิ านนท์ อดีตหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรม อุตสาหการ คนแรก

“...ขณะนีเ้ นีย่ ภาคเรา อาจารย์สว่ นใหญ่เนีย่ ก็ยงั มีความคิดทีม่ นั จะคล้ายๆ กับคนที่ไปเรียนเมืองนอกเขาคิดกัน คือมองในเรื่องของการ ลงมือไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ แต่จริงๆ แล้ว ที่เมืองนอกนะครับ ที่มหาวิทยาลัยดังๆ เนีย่ เขายังเห็นว่าสำคัญๆ มากนะครับ อย่างทีผ่ มจบมาเนีย่ top five เขายังมีชา่ งโรงหล่อทำใหม่อย่างดีเลยนะ ทุกคนต้องผ่านให้เรียน รู้แต่ว่าไม่ใช่ให้เกิดความชำนาญ แต่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ทุกอย่าง เพื่อให้รู้

๑๔๘

ว่าอะไรคืออะไร แต่บา้ นเรานี่ เดีย๋ วนีไ้ ม่เอาเลยครับ นักศึกษาเวลาให้งาน ไปนะครับ อาจารย์ไม่อยูน่ ะครับ ให้ชว่ ยทำหน่อย มาให้เพือ่ นทำให้ครับ ก็ ผมเคยสัมภาษณ์เด็กทีม่ าสมัครงานกับผม ทำงานทีบ่ ริษทั ผมบอก อย่าง นีเ้ คยทำมัย้ อาจารย์ไม่ได้สอนเหรอ อาจารย์สอนครับ แล้วอาจารย์ไม่ได้ ให้ทำเหรอ เขาบอก ให้ครับ แต่ผมไม่ได้ทำ ผมให้เพือ่ นเขาทำให้ ผมก็เลย ถามเขาว่า เฮ้ย นายจ่ายเงินเรียนน่ะนะ เท่ากับเพื่อนเลยนะ นายโง่หรือ ฉลาด เพือ่ นก็จา่ ยเท่ากัน แต่ได้เรียน ๒ เท่า สตางค์ทไี่ ด้จา่ ยไปแล้วนัน้ ไม่ ได้เรียนเลย ไม่รู้นายโง่หรือนายฉลาดไม่รู้นะ จะเป็นอย่างนี้ซะส่วนใหญ่ ฉะนั้น เรื่องนี้ก็จะเป็นปัญหาใหญ่ตรงที่ว่า บ้านเราอาจารย์ใหม่ๆ เนี่ย อาจารย์สมัยใหม่ ก็ไม่ชอบสอนวิชาพวกนี้ แล้วต่อๆ ไปเนี่ย บ้านเราเนี่ย เด็กจะรูอ้ ะไรน้อยลงเยอะเลย พอรูอ้ ะไรน้อยลงเนีย่ พอเข้าไปอยูใ่ นโรงงาน เนี่ย วางแผนจะวางแผนไม่ได้ อันตรายมากๆ เลยครับ ไม่รู้ว่าเครื่องปั๊ม เนีย่ เขาอันตรายแค่ไหน ถ้าลองไปใช้ ไม่ดเู รือ่ งเซฟตีใ้ ห้คนงาน แล้วเกิด นิ้วมันหายไป ๓ นิ้วว่าไง มันจะเป็นปัญหาเหล่านี้ แม้กระทั่งอย่างกรณี ลูกสูบริบบิน้ ได้เป็นหลังเนีย่ เด็กไม่รไู้ ปกด เกิดมาวิง่ ชนนะครับ เป็นไงครับ ที่บางมดรุ่นที่สี่อุตสาหการไส้ทะลักเลยครับ เพราะว่าไม่เข้าใจเรื่องเซฟตี้ หรือแม้กระทั่งมีอยู่ ๔-๕ ปีมาแล้ว ที่โรงงานผม เด็กฝึกงานนะครับจาก กรมอาชี ว ะ มื อ ขวาสี่ นิ้ ว หมดเลยครั บ ช่ า งไฟฟ้ า ไม่ ไ ด้ เ กี่ ย วกั บ เรื่ อ ง เครื่องกลเลย ถ้าไปแหย่เครื่อง มันม้วนเข้าไปสี่นิ้วหมดนะครับ คือพวกนี้ มันมีบอ่ ยมาก ปีทแี่ ล้วก็จบจากเราเนีย่ เคมี เพือ่ จะโชว์รนุ่ น้องมัง้ ไอ้ถงั ใส่ เคมี แล้วมันก็ลงไปในถัง ไม่มีเซฟตี้อะไรเลย สลบในหม้อนั่น แล้วก็เสีย ชีวติ ไป อันนีม้ นั ทำได้ยงั ไง คือมันมี ปีทผี่ า่ นมาก็มเี ด็กเราไปฝึกงาน ก็ไป ใช้เครื่องตัดกระดาษ บางคนชิดโต๊ะตัดกระดาษเนี่ยนะครับ ต้องมีปุ่ม ๒ ข้าง กดพร้อมกันนะครับ มันไม่รจู้ ะทำยังไง ไอ้บริษทั เจ้าของมันถอดออก อันนึง กดอันเดียว นิว้ เด็กเราค้าง อันนีเ้ ซฟตีม้ เี ท่าไหร่กถ็ อดหมด...”

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๔๙


มหาวิทยาลัยในเมืองไทยยังไม่มีที่ไหนตั้ง แล้วก็มันเป็นจุดเริ่มต้นเพราะว่า ทางอาจารย์ไพโรจน์ รูส้ กึ จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครใน สมัยนัน้ นะค่ะ ซึง่ เขาร่วมมืออยูก่ บั Imperial College อยูแ่ ล้ว เราก็เลยจับ มือกันแล้วก็ตั้งออกมาเป็น ปริญญาโทสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เริ่ม แรกเลยคือตัง้ หลักสูตรก่อน หลักสูตรปริญญาโท” Hard disk ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหิดล ได้เก็บไฟล์แห่ง ความภาคภูมใิ จไว้หลายสิบ gigabyte ยังรอแต่วนั ทีช่ าววิศวะฯ จะเปิด ขึน้ มาอ่านทบทวนร่วมกันเท่านัน้

ได้งาน ติงด้วยรัซืกอ้ ทัใจกด้แต่วยหวั งดี

๑๔๖


อาจารย์พิศิษฏ์ โภคารัตน์กุล วิเคราะห์ถึงบุคลิกบางประการของ คนทีเ่ รียนทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะสายวิศวกรรมศาสตร์วา่ “ผมว่าวัฒนธรรมในองค์กรของวิศวะเนี่ย จริงๆ แล้วในวิศวะของ เราเนีย่ ค่อนข้างจะหลากหลายนะฮะ แต่ทนี มี้ นั จะมีเหมือนกันอยูอ่ ย่างหนึง่ คือคนที่เรียนวิทยาศาสตร์ หรือว่าเรียนวิศวะเนี่ย จะเป็นคนลักษณะที่ว่า ค่อนข้างจะใช้ศาสตร์เยอะ ไม่ค่อยมีศิลป์อะนะ ใช้ศาสตร์เยอะ เพราะ ฉะนั้นอาจจะพูดกับชาวบ้านไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ ตรงนี้เป็นคล้ายๆ ว่า อาจจะเป็น basic หรือ เป็นพื้นฐานของคนที่จบวิศวะ หรือ จบวิทยาศาสตร์มา ไม่คอ่ ยมีศลิ ปะ อันนีผ้ มว่าเป็นลักษณะหนึง่ เลยนะฮะ” อาจารย์พินัยกล่าวถึงการระบบการศึกษารูปแบบปัจจุบัน ซึ่งมีผล ต่อแนวทางการเรียนรูข้ องนักศึกษาว่า “มันอาจจะเป็นลักษณะของสังคมการเรียนของเด็กปัจจุบันนะครับ เพราะว่าเคยแต่ choice อย่างเดียว ก ข ค ง choice ทั้งนั้น พอมา เรียนนี่ ต้องทำตัง้ แต่ตน้ จนจบ เพราะว่าเรียนวิศวะ ถ้าไม่ฝกึ ทำมันทำไม่ได้ แต่รนุ่ แรกๆ นีผ่ มเคยทำสถิตนิ ะ ตอนนัน้ ทีท่ บวงเขาจะมีสรุปคะแนนสูงสุด ต่ำสุดอะไรเอาไว้ ผมก็ติดตามดูในแต่ละปีเนี่ย เราอยู่เหนือมหาวิทยาลัย ต่ า งจั ง หวั ด ทุ ก ที่ น ะ คณะของนั ก ศึ ก ษาที่ จ ะเข้ า มา จุ ฬ าฯ เกษตร ลาดกระบัง บางมด เราน่าจะอยู่ในแถวประมาณ ๕-๖ อะไรทำนองนี้ ปัจจุบันก็ดูเหมือนจะเป็นอย่างนี้ มันก็อย่างว่านะ มันอยู่ในกลุ่มได้เปรียบ มหาวิทยาลัยภูธร มหาวิทยาลัยภูธรเนี่ยคนเก่งของท้องถิ่นเขามีเก่งๆ ก็มี นะครับ ก็ยอมรับว่ามีอยู่ ก็มีหลายคนมาเป็นอาจารย์หลังจากจบจาก สงขลานครินทร์ จบจากขอนแก่นก็ม”ี อาจารย์ธีรพร รับคำอินทร์ เล่าไว้แกมวิเคราะห์ถึงภาวะความมุ่ง มัน่ ในการศึกษาของเยาวชนรุน่ ใหม่ ถึงมิใช่ตวั เลขจากผลการวิจยั อย่างเป็น ระบบ แต่กน็ า่ เชือ่ ได้วา่ เหตุการณ์ทรี่ บั รูป้ ระสบมา ชวนให้วเิ คราะห์เช่นนี ้

๑๕๐

ผศ.ดร.ธีรพร รับคำอินทร์ อดีตรองคณบดีฝา่ ยวิชาการ

“…แต่พอรุน่ ใหม่ มันต่างกันโดยสิน้ เชิง ได้ F อย่างมากก็ได้ D, C อะไรอย่างนี้ ไม่มีขึ้นมาเป็น A เลย ไม่เหมือนเมื่อก่อน คือเด็ก ความที่ แบบปั้ น อะไรงี้ มั น ไม่ เ หมื อ นกั น อี ก ส่ ว นที่ ย อมรั บ คื อ ว่ า เนื่ อ งจากว่ า ปัจจุบนั โลกเนีย่ คือคนมันเยอะขึน้ ก็รบั เด็กเยอะขึน้ เมือ่ ก่อน ๑๘ คน รุน่ แรกๆ ๑๘-๒๐ อยูพ่ วกนี้ แต่เดีย๋ วนีเ้ ป็น ๘๐ พอ ๘๐ ปุบ๊ เวลาให้เด็กก็นอ้ ย ลง และก็เด็กรุน่ ใหม่กไ็ ม่คอ่ ยเข้าหาอาจารย์ ไม่เหมือนรุน่ เมือ่ ก่อน รุน่ เมือ่ ก่อนให้การบ้านก็จะขยันขันแข็งทำ มาถาม มาอะไร รุ่นเดี๋ยวนี้ไม่มี ขอ solution รุ่นพี่และรุ่นพี่ก็เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีด้วย คือเตือนแล้วเขาก็ไม่ฟัง คือให้ solution รุน่ น้อง และรุน่ น้องไม่เคยเข้ามาหาอาจารย์เลย ลอกการ บ้านมาส่งกันบ้าง แม้กระทัง่ กราฟ บางทีแบบจุดๆ ตามเลยน่ะ (หัวเราะ)” อาจารย์ ก วี ไกรระวี กล่ า ววิ เ คราะห์ ภ าพรวมของบั ณ ฑิ ต และ บุคลากรสายวิชาการว่า “…ซึ่ ง ตอนนี้ ปั ญ หาของวิ ศ วกร วิ ศ วกรรมศาสตร์ ข องมหิ ด ล

ไม่ใช่เฉพาะโยธา ทั้งหมดผมว่าได้เลยนะครับ เราไม่สามารถผลิตวิศวกร

ไปปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ท างวิ ศ วกรรมได้ แต่ เ รามี ศั ก ยภาพสู ง มากเลย ผลิ ต

วิ ศ วกรรมศาสตรบั ณ ฑิ ต เป็ น นั ก วิ จั ย ทางวิ ศ วกรรมศาสตร์ เพราะว่ า อาจารย์เราไม่เคยทำงานข้างนอกเลย เรียนจบปุบ๊ เราส่งไปเรียนต่อทำทุน ได้ทนุ เรียนต่อ โท-เอก กันทุกคน เพราะฉะนัน้ พวกนีไ้ ม่เคยปฏิบตั ใิ นตลาด

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๕๑


ยั

งมีประเด็นอีกมากมายทีเ่ ป็นความคิดความเห็น ทัง้ จากอาจารย์ อาวุโสซึง่ เกษียณไปแล้ว อาจารย์ปจั จุบนั และบุคลากรสายงานอืน่ ๆ ได้ฝาก แง่คิดมุมมองเอาไว้ ทุกข้อความเห็นนั้นตั้งอยู่บนฐานแห่งความรักความ หวังดีด้วยจริงใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานบริหาร งานบริการวิชาการ งาน วิจยั ตลอดจนงานการเรียนการสอน หากถือเสียว่า คนทีม่ ปี ระสบการณ์ เท่านัน้ ทีจ่ ะกล้าทักท้วง ก็จะตรงกับพระพุทธสุภาษิตทีว่ า่ “การบอกความ บกพร่อง คือการชี้ขุมทรัพย์” นั่นก็หมายความว่า องค์กรแห่งนี้ยังเป็น ทีร่ กั ทีห่ วังดีจากหลายฝ่าย อาจารย์ชัยนนท์ ศรีสุภินานนท์ เล่าถึงความสำคัญของการฝึก ปฏิบตั ใิ นสายงานวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมกับมีขอ้ คิดเห็นฝากไว้ดว้ ยรักว่า

ผศ.ชัยนนท์ ศรีสภ ุ น ิ านนท์ อดีตหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรม อุตสาหการ คนแรก

“...ขณะนีเ้ นีย่ ภาคเรา อาจารย์สว่ นใหญ่เนีย่ ก็ยงั มีความคิดทีม่ นั จะคล้ายๆ กับคนที่ไปเรียนเมืองนอกเขาคิดกัน คือมองในเรื่องของการ ลงมือไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ แต่จริงๆ แล้ว ที่เมืองนอกนะครับ ที่มหาวิทยาลัยดังๆ เนีย่ เขายังเห็นว่าสำคัญๆ มากนะครับ อย่างทีผ่ มจบมาเนีย่ top five เขายังมีชา่ งโรงหล่อทำใหม่อย่างดีเลยนะ ทุกคนต้องผ่านให้เรียน รู้แต่ว่าไม่ใช่ให้เกิดความชำนาญ แต่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ทุกอย่าง เพื่อให้รู้

๑๔๘

ว่าอะไรคืออะไร แต่บา้ นเรานี่ เดีย๋ วนีไ้ ม่เอาเลยครับ นักศึกษาเวลาให้งาน ไปนะครับ อาจารย์ไม่อยูน่ ะครับ ให้ชว่ ยทำหน่อย มาให้เพือ่ นทำให้ครับ ก็ ผมเคยสัมภาษณ์เด็กทีม่ าสมัครงานกับผม ทำงานทีบ่ ริษทั ผมบอก อย่าง นีเ้ คยทำมัย้ อาจารย์ไม่ได้สอนเหรอ อาจารย์สอนครับ แล้วอาจารย์ไม่ได้ ให้ทำเหรอ เขาบอก ให้ครับ แต่ผมไม่ได้ทำ ผมให้เพือ่ นเขาทำให้ ผมก็เลย ถามเขาว่า เฮ้ย นายจ่ายเงินเรียนน่ะนะ เท่ากับเพื่อนเลยนะ นายโง่หรือ ฉลาด เพือ่ นก็จา่ ยเท่ากัน แต่ได้เรียน ๒ เท่า สตางค์ทไี่ ด้จา่ ยไปแล้วนัน้ ไม่ ได้เรียนเลย ไม่รู้นายโง่หรือนายฉลาดไม่รู้นะ จะเป็นอย่างนี้ซะส่วนใหญ่ ฉะนั้น เรื่องนี้ก็จะเป็นปัญหาใหญ่ตรงที่ว่า บ้านเราอาจารย์ใหม่ๆ เนี่ย อาจารย์สมัยใหม่ ก็ไม่ชอบสอนวิชาพวกนี้ แล้วต่อๆ ไปเนี่ย บ้านเราเนี่ย เด็กจะรูอ้ ะไรน้อยลงเยอะเลย พอรูอ้ ะไรน้อยลงเนีย่ พอเข้าไปอยูใ่ นโรงงาน เนี่ย วางแผนจะวางแผนไม่ได้ อันตรายมากๆ เลยครับ ไม่รู้ว่าเครื่องปั๊ม เนีย่ เขาอันตรายแค่ไหน ถ้าลองไปใช้ ไม่ดเู รือ่ งเซฟตีใ้ ห้คนงาน แล้วเกิด นิ้วมันหายไป ๓ นิ้วว่าไง มันจะเป็นปัญหาเหล่านี้ แม้กระทั่งอย่างกรณี ลูกสูบริบบิน้ ได้เป็นหลังเนีย่ เด็กไม่รไู้ ปกด เกิดมาวิง่ ชนนะครับ เป็นไงครับ ที่บางมดรุ่นที่สี่อุตสาหการไส้ทะลักเลยครับ เพราะว่าไม่เข้าใจเรื่องเซฟตี้ หรือแม้กระทั่งมีอยู่ ๔-๕ ปีมาแล้ว ที่โรงงานผม เด็กฝึกงานนะครับจาก กรมอาชี ว ะ มื อ ขวาสี่ นิ้ ว หมดเลยครั บ ช่ า งไฟฟ้ า ไม่ ไ ด้ เ กี่ ย วกั บ เรื่ อ ง เครื่องกลเลย ถ้าไปแหย่เครื่อง มันม้วนเข้าไปสี่นิ้วหมดนะครับ คือพวกนี้ มันมีบอ่ ยมาก ปีทแี่ ล้วก็จบจากเราเนีย่ เคมี เพือ่ จะโชว์รนุ่ น้องมัง้ ไอ้ถงั ใส่ เคมี แล้วมันก็ลงไปในถัง ไม่มีเซฟตี้อะไรเลย สลบในหม้อนั่น แล้วก็เสีย ชีวติ ไป อันนีม้ นั ทำได้ยงั ไง คือมันมี ปีทผี่ า่ นมาก็มเี ด็กเราไปฝึกงาน ก็ไป ใช้เครื่องตัดกระดาษ บางคนชิดโต๊ะตัดกระดาษเนี่ยนะครับ ต้องมีปุ่ม ๒ ข้าง กดพร้อมกันนะครับ มันไม่รจู้ ะทำยังไง ไอ้บริษทั เจ้าของมันถอดออก อันนึง กดอันเดียว นิว้ เด็กเราค้าง อันนีเ้ ซฟตีม้ เี ท่าไหร่กถ็ อดหมด...”

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๔๙


แรงงานจริงๆ ทางด้านวิศวกรรมจริงๆ อันนีก้ ค็ อื ปัญหาของทีน่ ี่ ทีเ่ ห็นได้ ชัดก็คอื ตรงนี”้ และว่า “…เพราะอาจารย์ส่วนใหญ่ ยังไม่เคยทำงานเป็นวิศวกรแท้ๆ จบ ปริ ญ ญาตรี ไ ปเรี ย นโทต่ อ เอกกลั บ มาสอน ก็ เ ป็ น นั ก วิ จั ย ที่ ดี ทุ ก คนครั บ เพราะฉะนั้นเขาก็มีหลักการสอนให้เป็นนักวิจัย เพราะเขาไม่เคยไปทำงาน ข้างนอกเป็นวิศวกรทีแ่ ท้ๆ ครับอันนีล้ ะคือปัญหา” อาจารย์ปิยะ รัตนสุวรรณ กล่าวถึงแนวทางพัฒนาการสอนให้

นักศึกษาเข้าใจเนือ้ หาว่า “...แล้วเราก็พยายามเปลี่ยนการเรียนการสอนใหม่นะครับ คือเรา คล้ายๆ ว่าหมอไม่มสี ทิ ธิเ์ ลือกคนไข้ เราก็ไม่มสี ทิ ธิเ์ ลือกศิษย์ของเราเหมือน กัน เข้ามาอย่างไรเราต้องปรับแผนให้ได้ เพราะเราเคยสอนแบบนี้ สมัย ก่อนเข้ามาใหม่เราขึ้นตารางสอนนะครับ พอหลังๆ ใช้เป็นแผ่นใส ตอนนี้ ผมขึ้นเป็น powerpoint และก็พยายามเอาภาพให้เขาดู ว่าก่อนจะเข้าบท เรียนผมเอาปัญหาขึน้ มาก่อน ว่าเกิดเหตุการณ์อย่างนีค้ ณ ุ จะแก้อย่างไรถ้า คุณเป็นวิศวกรโยธา คือให้เขาเห็นภาพก่อนว่า ไอ้บทนี้จะเกี่ยวกับการแก้ ปัญหาแบบนี้ แบบนี้ แบบนี้ แบบนี้น่ะ คือมีศิษย์บางคนเขาเรียนไปนะ ครับ เขาโทรมาบอกผมอาจารย์ครับ ถามว่ามีอะไร sheet อาจารย์ทสี่ อน ผมนะครับ สมัยเรียนกันอาจารย์อ่านเท่าไหร่ก็ไม่เข้าใจ ตอนนี้ผมกลับไป ทำงานผมอ่านเข้าใจหมดเลย บอกว่า แสดงว่าคุณนึกภาพไม่ออกว่าคุณจบ ไปจะทำอะไร เราก็ต้องให้เด็กเห็นภาพก่อน ภาพมันเป็นอย่างนี้ จะสอน บทนี้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็พยายามปูให้เขาเห็นปัญหาก่อน คือเขาอ่านตอน สอบอ่านสองรอบสามรอบ ไม่เข้าใจจริงๆ แต่พอเขาไปทำงานกลับอ่าน รอบเดียวเขาเข้าใจหมดเลย”

๑๕๒

อาจารย์เซง เลิศมโนรัตน์ กล่าวถึงขนบทีไ่ ม่ดขี องสังคมไทย ก่อน ทีจ่ ะเล่าถึงแนวทางการวิจยั ว่า “คนไทยแปลกอย่างหนึง่ ผมเห็นมาตัง้ แต่เด็กแล้ว อ่านข่าวเจอว่า มหาลัยนี้ทำอันนี้ได้สำเร็จ มหาลัยนั้นทำนี้ได้สำเร็จหนึ่งเครื่อง แล้วก็ หายกันไป เราไม่เคยเห็นใครเอาของพวกนี้มาต่อยอดกันเลย ผมก็เข้าใจ การจะทำของร้อยชิ้นพันชิ้น มันยากกว่าการทำหนึ่งชิ้นอยู่แล้ว เพราะถ้า ทำร้อยชิน้ ไปอาจจะไม่มคี นใช้กไ็ ด้ ทุนทีล่ งไปก็จมอีก ตอนนีผ้ มกำลังอยูใ่ น process ของการพัฒนา ในการทำให้ได้ร้อยชิ้น คืออยู่ในช่วงที่จะทำ อย่างไรให้ได้ออกมาร้อยชิน้ แล้วหน้าตาเหมือนกันหมด ออกแบบวิธเี ทสต์ ขั้นตอนในการเทสต์ว่าทำร้อยชิ้นออกมา ตอนนี้อยู่ในช่วงของ QC อยู่ QC mass produce ก่อนที่จะไปฝัง ผมว่ามันคงไม่ดีถ้าทำมาแค่เครื่อง สองเครื่องแล้วก็ลองฝังเลย มันคงไม่ดี น่าจะมี process ในการพัฒนา หลายๆ ชิน้ ก่อน แล้วก็ QC แล้วก็ฝงั ทีเดียวไปเลย ตอนนีอ้ ยูใ่ นช่วงนีอ้ ยู่ คือผมเห็นมานานแล้ว คนไทยชอบทำอะไรชิ้นเดียว เอาไปโฆษณาแล้วก็ เลิกกันไป เห็นแล้วอาย ผมทำทีละร้อยชิน้ ดีกว่า” การบริหารการเรียนการสอนสำหรับคนรุน่ ใหม่ “สิ่ ง หนึ่ ง ที่ เ ห็ น จากนั ก ศึ ก ษา ก็ คื อ ว่ า นั ก ศึ ก ษารุ่ น ใหม่ นี่ เป็ น

นักศึกษาทีม่ ี creative ดีมาก ก็คอื เหมือนกับ Gen-X ทัว่ ๆ ไป ก็คอื ว่า จะ เป็นลักษณะไม่คอ่ ยทน เราก็ตอ้ งยอมรับความจริงทางด้านนี้ แต่คอื ว่าเรา จะทำไงให้เขามีความอดทนมากขึ้น แล้วก็เป็นลักษณะที่ว่าทำไงเขารัก

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

คนไทยแปลกอย่างหนึ่ง ผมเห็นมาตั้งแต่เด็กแล้ว อ่านข่าวเจอ ว่ า มหาลั ย นี้ ท ำอั น นี้ ไ ด้ ส ำเร็ จ มหาลั ย นั้ น ทำนี้ ไ ด้ ส ำเร็ จ หนึ่ ง เครื่ อ ง แล้ ว ก็ ห ายกั น ไป เราไม่ เ คยเห็ น ใครเอาของพวกนี้ ม า ต่อยอดกันเลย ๑๕๓


อาจารย์พิศิษฏ์ โภคารัตน์กุล วิเคราะห์ถึงบุคลิกบางประการของ คนทีเ่ รียนทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะสายวิศวกรรมศาสตร์วา่ “ผมว่าวัฒนธรรมในองค์กรของวิศวะเนี่ย จริงๆ แล้วในวิศวะของ เราเนีย่ ค่อนข้างจะหลากหลายนะฮะ แต่ทนี มี้ นั จะมีเหมือนกันอยูอ่ ย่างหนึง่ คือคนที่เรียนวิทยาศาสตร์ หรือว่าเรียนวิศวะเนี่ย จะเป็นคนลักษณะที่ว่า ค่อนข้างจะใช้ศาสตร์เยอะ ไม่ค่อยมีศิลป์อะนะ ใช้ศาสตร์เยอะ เพราะ ฉะนั้นอาจจะพูดกับชาวบ้านไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ ตรงนี้เป็นคล้ายๆ ว่า อาจจะเป็น basic หรือ เป็นพื้นฐานของคนที่จบวิศวะ หรือ จบวิทยาศาสตร์มา ไม่คอ่ ยมีศลิ ปะ อันนีผ้ มว่าเป็นลักษณะหนึง่ เลยนะฮะ” อาจารย์พินัยกล่าวถึงการระบบการศึกษารูปแบบปัจจุบัน ซึ่งมีผล ต่อแนวทางการเรียนรูข้ องนักศึกษาว่า “มันอาจจะเป็นลักษณะของสังคมการเรียนของเด็กปัจจุบันนะครับ เพราะว่าเคยแต่ choice อย่างเดียว ก ข ค ง choice ทั้งนั้น พอมา เรียนนี่ ต้องทำตัง้ แต่ตน้ จนจบ เพราะว่าเรียนวิศวะ ถ้าไม่ฝกึ ทำมันทำไม่ได้ แต่รนุ่ แรกๆ นีผ่ มเคยทำสถิตนิ ะ ตอนนัน้ ทีท่ บวงเขาจะมีสรุปคะแนนสูงสุด ต่ำสุดอะไรเอาไว้ ผมก็ติดตามดูในแต่ละปีเนี่ย เราอยู่เหนือมหาวิทยาลัย ต่ า งจั ง หวั ด ทุ ก ที่ น ะ คณะของนั ก ศึ ก ษาที่ จ ะเข้ า มา จุ ฬ าฯ เกษตร ลาดกระบัง บางมด เราน่าจะอยู่ในแถวประมาณ ๕-๖ อะไรทำนองนี้ ปัจจุบันก็ดูเหมือนจะเป็นอย่างนี้ มันก็อย่างว่านะ มันอยู่ในกลุ่มได้เปรียบ มหาวิทยาลัยภูธร มหาวิทยาลัยภูธรเนี่ยคนเก่งของท้องถิ่นเขามีเก่งๆ ก็มี นะครับ ก็ยอมรับว่ามีอยู่ ก็มีหลายคนมาเป็นอาจารย์หลังจากจบจาก สงขลานครินทร์ จบจากขอนแก่นก็ม”ี อาจารย์ธีรพร รับคำอินทร์ เล่าไว้แกมวิเคราะห์ถึงภาวะความมุ่ง มัน่ ในการศึกษาของเยาวชนรุน่ ใหม่ ถึงมิใช่ตวั เลขจากผลการวิจยั อย่างเป็น ระบบ แต่กน็ า่ เชือ่ ได้วา่ เหตุการณ์ทรี่ บั รูป้ ระสบมา ชวนให้วเิ คราะห์เช่นนี ้

๑๕๐

ผศ.ดร.ธีรพร รับคำอินทร์ อดีตรองคณบดีฝา่ ยวิชาการ

“…แต่พอรุน่ ใหม่ มันต่างกันโดยสิน้ เชิง ได้ F อย่างมากก็ได้ D, C อะไรอย่างนี้ ไม่มีขึ้นมาเป็น A เลย ไม่เหมือนเมื่อก่อน คือเด็ก ความที่ แบบปั้ น อะไรงี้ มั น ไม่ เ หมื อ นกั น อี ก ส่ ว นที่ ย อมรั บ คื อ ว่ า เนื่ อ งจากว่ า ปัจจุบนั โลกเนีย่ คือคนมันเยอะขึน้ ก็รบั เด็กเยอะขึน้ เมือ่ ก่อน ๑๘ คน รุน่ แรกๆ ๑๘-๒๐ อยูพ่ วกนี้ แต่เดีย๋ วนีเ้ ป็น ๘๐ พอ ๘๐ ปุบ๊ เวลาให้เด็กก็นอ้ ย ลง และก็เด็กรุน่ ใหม่กไ็ ม่คอ่ ยเข้าหาอาจารย์ ไม่เหมือนรุน่ เมือ่ ก่อน รุน่ เมือ่ ก่อนให้การบ้านก็จะขยันขันแข็งทำ มาถาม มาอะไร รุ่นเดี๋ยวนี้ไม่มี ขอ solution รุ่นพี่และรุ่นพี่ก็เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีด้วย คือเตือนแล้วเขาก็ไม่ฟัง คือให้ solution รุน่ น้อง และรุน่ น้องไม่เคยเข้ามาหาอาจารย์เลย ลอกการ บ้านมาส่งกันบ้าง แม้กระทัง่ กราฟ บางทีแบบจุดๆ ตามเลยน่ะ (หัวเราะ)” อาจารย์ ก วี ไกรระวี กล่ า ววิ เ คราะห์ ภ าพรวมของบั ณ ฑิ ต และ บุคลากรสายวิชาการว่า “…ซึ่ ง ตอนนี้ ปั ญ หาของวิ ศ วกร วิ ศ วกรรมศาสตร์ ข องมหิ ด ล

ไม่ใช่เฉพาะโยธา ทั้งหมดผมว่าได้เลยนะครับ เราไม่สามารถผลิตวิศวกร

ไปปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ท างวิ ศ วกรรมได้ แต่ เ รามี ศั ก ยภาพสู ง มากเลย ผลิ ต

วิ ศ วกรรมศาสตรบั ณ ฑิ ต เป็ น นั ก วิ จั ย ทางวิ ศ วกรรมศาสตร์ เพราะว่ า อาจารย์เราไม่เคยทำงานข้างนอกเลย เรียนจบปุบ๊ เราส่งไปเรียนต่อทำทุน ได้ทนุ เรียนต่อ โท-เอก กันทุกคน เพราะฉะนัน้ พวกนีไ้ ม่เคยปฏิบตั ใิ นตลาด

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๕๑


สถาบัน เพราะอย่างไรก็ตาม alumni เป็นสิ่งสำคัญมากในอนาคต เราก็ ต้องรองรับการเปลีย่ นแปลงทีม่ นั มีโอกาสเกิดขึน้ เราต้องหาทางทีว่ า่ เรา จะทำไงที่จะจูนในแต่ละส่วนให้ตรงกันได้ ในการที่เราทำเนี่ย บางทีการ ป้อนข้อมูลอย่างเดียว อาจไม่เหมาะสมสำหรับรุน่ นี้ เพราะเท่าทีเ่ ห็นบางที เราโยนงาน สิง่ ทีเ่ ราได้มาคุณภาพดีกว่าการทีเ่ ราบังคับว่าเขาต้องทำแบบนี้ เพราะหลายๆ งานที่ลองโยนให้เขาไปเป็นหัวข้อ และให้ไปหามาว่าทำ อย่างไร เขาสามารถทำได้ดกี ว่า แล้วเขาจะรูส้ กึ ว่า เขาภูมใิ จกับงานทีท่ ำได้ ด้วย” ข้อดีของการมีอาจารย์เก่า-อาจารย์ใหม่อยูร่ ว่ มกัน “ในแง่ ข องอาจารย์ ข้ อ ดี ข องเราคื อ เรามี ทั้ ง อาจารย์ เ ก่ า และ อาจารย์ใหม่ เพราะฉะนัน้ ก็คอื ว่า ก็ตอ้ งการให้มกี ารเปลีย่ นแปลงทีเ่ ร็ว แต่ ในขณะเดียวกันอาจารย์เก่าก็มีประสบการณ์เยอะ ท่านก็คอยช่วยในการ back up เรา ว่าสิ่งไหนที่ว่าควร สิ่งไหนที่ไม่ควร เพราะฉะนั้นก็คือว่า การที่เรา balance ระหว่างสองฝั่งได้ มันก็เป็นเรื่องที่ดีเหมือนกัน มัน ไม่ใช่วา่ มันวิง่ ไปทางเดียวแล้วมัน... เพราะเขามีประสบการณ์ เขารูว้ า่ อัน ไหนมันไปได้ อันไหนมัน fail ดังนัน้ ตรงนีเ้ ขาก็สอนเราได้ หรือว่าในด้าน connection ทีเ่ ขาเคยทำไว้ มันก็ชว่ ยเราได้ในการทำงาน”

อาจารย์หมอมันตรี จุลสมัย กล่าวไว้ถึงความเป็นห่วงและความ คาดหวังกับคณะวิศวะฯ ว่า “...ที่ ยั ง เป็ น ห่ ว งก็ คื อ มั น ไม่ มี ห ลั ก มั น ไม่ มี ผู้ อ าวุ โ ส ตอนนี้ มี อาจารย์ธนากรที่ยืนอยู่ เกษียณไปแล้วเนี่ยนะฮะ ยังเป็นที่ปรึกษาอยู่ แต่ ถ้าขาดอาจารย์ธนากรแล้วก็คงลำบากล่ะ เพราะว่าคนอื่นมันเท่าๆ กัน...

มันขาดปูชนียบุคคล... มันก็ไม่มีใครอาวุโสกว่าใครมากนัก ก็คงจะต้องหา ยาอายุวฒ ั นะให้อาจารย์อยูต่ อ่ ไปอีกสัก ๑๐ ปี (หัวเราะ) อย่างน้อย คนทีเ่ กษียณไปแล้ว เราควรจะมีสำนักงานหรือห้อง ให้เขากลับมา สังสรรค์กัน เหมือนกับสมาคมศิษย์เก่า สมาคมผู้อาวุโส อาจารย์เก่า

ก็สมารถที่จะมาห้องนี้ได้ ถ้าวิศวะฯ จะทำสักห้อง ก็กั้นเสีย มีสิ่งอำนวย ความสะดวก ให้อาจารย์เก่าจะได้ไม่ขาดหายไป” ในบทพุ ท ธสุ ภ าษิ ต เมื่ อ แรกที่ ย กมากล่ า วไว้ ว่ า “ผู้ บ อกความ บกพร่อง คือผู้ชี้ขุมทรัพย์” ตอนนี้จึงอยู่ที่ว่า ใครจะมองเห็นขุมทรัพย์ ซึง่ นอกจากต้องเพ่งมองด้วยตาแล้ว ยังต้องอาศัยใจช่วยมองดีดว้ ย

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

รองศาสตราจารย์ นพ.มนตรี จุลสมัย อดี ต คณบดี บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย ผู้ มี ส่ ว นก่ อ ตั้ ง หลั ก สู ต ร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ ระบบสารสนเทศ

๑๕๔

๑๕๕


แรงงานจริงๆ ทางด้านวิศวกรรมจริงๆ อันนีก้ ค็ อื ปัญหาของทีน่ ี่ ทีเ่ ห็นได้ ชัดก็คอื ตรงนี”้ และว่า “…เพราะอาจารย์ส่วนใหญ่ ยังไม่เคยทำงานเป็นวิศวกรแท้ๆ จบ ปริ ญ ญาตรี ไ ปเรี ย นโทต่ อ เอกกลั บ มาสอน ก็ เ ป็ น นั ก วิ จั ย ที่ ดี ทุ ก คนครั บ เพราะฉะนั้นเขาก็มีหลักการสอนให้เป็นนักวิจัย เพราะเขาไม่เคยไปทำงาน ข้างนอกเป็นวิศวกรทีแ่ ท้ๆ ครับอันนีล้ ะคือปัญหา” อาจารย์ปิยะ รัตนสุวรรณ กล่าวถึงแนวทางพัฒนาการสอนให้

นักศึกษาเข้าใจเนือ้ หาว่า “...แล้วเราก็พยายามเปลี่ยนการเรียนการสอนใหม่นะครับ คือเรา คล้ายๆ ว่าหมอไม่มสี ทิ ธิเ์ ลือกคนไข้ เราก็ไม่มสี ทิ ธิเ์ ลือกศิษย์ของเราเหมือน กัน เข้ามาอย่างไรเราต้องปรับแผนให้ได้ เพราะเราเคยสอนแบบนี้ สมัย ก่อนเข้ามาใหม่เราขึ้นตารางสอนนะครับ พอหลังๆ ใช้เป็นแผ่นใส ตอนนี้ ผมขึ้นเป็น powerpoint และก็พยายามเอาภาพให้เขาดู ว่าก่อนจะเข้าบท เรียนผมเอาปัญหาขึน้ มาก่อน ว่าเกิดเหตุการณ์อย่างนีค้ ณ ุ จะแก้อย่างไรถ้า คุณเป็นวิศวกรโยธา คือให้เขาเห็นภาพก่อนว่า ไอ้บทนี้จะเกี่ยวกับการแก้ ปัญหาแบบนี้ แบบนี้ แบบนี้ แบบนี้น่ะ คือมีศิษย์บางคนเขาเรียนไปนะ ครับ เขาโทรมาบอกผมอาจารย์ครับ ถามว่ามีอะไร sheet อาจารย์ทสี่ อน ผมนะครับ สมัยเรียนกันอาจารย์อ่านเท่าไหร่ก็ไม่เข้าใจ ตอนนี้ผมกลับไป ทำงานผมอ่านเข้าใจหมดเลย บอกว่า แสดงว่าคุณนึกภาพไม่ออกว่าคุณจบ ไปจะทำอะไร เราก็ต้องให้เด็กเห็นภาพก่อน ภาพมันเป็นอย่างนี้ จะสอน บทนี้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็พยายามปูให้เขาเห็นปัญหาก่อน คือเขาอ่านตอน สอบอ่านสองรอบสามรอบ ไม่เข้าใจจริงๆ แต่พอเขาไปทำงานกลับอ่าน รอบเดียวเขาเข้าใจหมดเลย”

๑๕๒

อาจารย์เซง เลิศมโนรัตน์ กล่าวถึงขนบทีไ่ ม่ดขี องสังคมไทย ก่อน ทีจ่ ะเล่าถึงแนวทางการวิจยั ว่า “คนไทยแปลกอย่างหนึง่ ผมเห็นมาตัง้ แต่เด็กแล้ว อ่านข่าวเจอว่า มหาลัยนี้ทำอันนี้ได้สำเร็จ มหาลัยนั้นทำนี้ได้สำเร็จหนึ่งเครื่อง แล้วก็ หายกันไป เราไม่เคยเห็นใครเอาของพวกนี้มาต่อยอดกันเลย ผมก็เข้าใจ การจะทำของร้อยชิ้นพันชิ้น มันยากกว่าการทำหนึ่งชิ้นอยู่แล้ว เพราะถ้า ทำร้อยชิน้ ไปอาจจะไม่มคี นใช้กไ็ ด้ ทุนทีล่ งไปก็จมอีก ตอนนีผ้ มกำลังอยูใ่ น process ของการพัฒนา ในการทำให้ได้ร้อยชิ้น คืออยู่ในช่วงที่จะทำ อย่างไรให้ได้ออกมาร้อยชิน้ แล้วหน้าตาเหมือนกันหมด ออกแบบวิธเี ทสต์ ขั้นตอนในการเทสต์ว่าทำร้อยชิ้นออกมา ตอนนี้อยู่ในช่วงของ QC อยู่ QC mass produce ก่อนที่จะไปฝัง ผมว่ามันคงไม่ดีถ้าทำมาแค่เครื่อง สองเครื่องแล้วก็ลองฝังเลย มันคงไม่ดี น่าจะมี process ในการพัฒนา หลายๆ ชิน้ ก่อน แล้วก็ QC แล้วก็ฝงั ทีเดียวไปเลย ตอนนีอ้ ยูใ่ นช่วงนีอ้ ยู่ คือผมเห็นมานานแล้ว คนไทยชอบทำอะไรชิ้นเดียว เอาไปโฆษณาแล้วก็ เลิกกันไป เห็นแล้วอาย ผมทำทีละร้อยชิน้ ดีกว่า” การบริหารการเรียนการสอนสำหรับคนรุน่ ใหม่ “สิ่ ง หนึ่ ง ที่ เ ห็ น จากนั ก ศึ ก ษา ก็ คื อ ว่ า นั ก ศึ ก ษารุ่ น ใหม่ นี่ เป็ น

นักศึกษาทีม่ ี creative ดีมาก ก็คอื เหมือนกับ Gen-X ทัว่ ๆ ไป ก็คอื ว่า จะ เป็นลักษณะไม่คอ่ ยทน เราก็ตอ้ งยอมรับความจริงทางด้านนี้ แต่คอื ว่าเรา จะทำไงให้เขามีความอดทนมากขึ้น แล้วก็เป็นลักษณะที่ว่าทำไงเขารัก

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

คนไทยแปลกอย่างหนึ่ง ผมเห็นมาตั้งแต่เด็กแล้ว อ่านข่าวเจอ ว่ า มหาลั ย นี้ ท ำอั น นี้ ไ ด้ ส ำเร็ จ มหาลั ย นั้ น ทำนี้ ไ ด้ ส ำเร็ จ หนึ่ ง เครื่ อ ง แล้ ว ก็ ห ายกั น ไป เราไม่ เ คยเห็ น ใครเอาของพวกนี้ ม า ต่อยอดกันเลย ๑๕๓


ที่ ยั ง เป็ น ห่ ว งก็ คื อ มั น ไม่ มี ห ลั ก มั น ไม่ มี ผู้ อ าวุ โ ส ตอนนี้ มี อาจารย์ธนากรที่ยืนอยู่ เกษียณไปแล้วเนี่ยนะฮะ ยังเป็นที่ ปรึ ก ษาอยู่ แต่ ถ้ า ขาดอาจารย์ ธ นากรแล้ ว ก็ ค งลำบากล่ ะ เพราะว่าคนอืน ่ มันเท่าๆ กัน...มันขาดปูชนียบุคคล... มันก็ไม่มี ใครอาวุ โ สกว่ า ใครมากนั ก ก็ ค งจะต้ อ งหายาอายุ วั ฒ นะให้ อาจารย์อยูต ่ อ่ ไปอีกสัก ๑๐ ปี

๑๕๖

ประวัตศิ าสตร์ของคณะวิซืศอ้ วกรรมศาสตร์ ใจ แต่ ได้งาน


อกหลืบความฝันเล็กๆ ที่เริ่มจากผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผสาน กับฝีมอื และความมุง่ มัน่ ทำงาน ทัง้ จากคนในมหาวิทยาลัย บุคคล องค์กร และส่วนงานอืน่ ๆ ได้เกือ้ หนุนให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เจริญรุดหน้า กลายเป็นหน่วยงานทีม่ คี นกล่าวถึงในวงสังคมศึกษา ภาระหน้าที่อันใหญ่หลวงของผู้บริหารปัจจุบัน ไม่ด้อยไปกว่าการ สร้างคณะฯ ขึ้นมาในยุคแรกๆ นั่นคือการนำพาให้องค์กรไปยืนในจุดที่

สง่างาม ร้อยหลอมรวมความคิดจิตใจทุกคนในองค์กรทุกภาระหน้าที่การ งาน ไปสูเ่ ป้าหมายพันธกิจทีว่ างเอาไว้

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เล่าแผนงานและการวาดหวังในอนาคตว่า “คือผมมองในตลาดนะครับ วิศวะตอนนี้เนี่ย มันก็จะมีผู้เล่นหลัก รายใหญ่อยูส่ ามสีร่ าย ทีเ่ ราพอทีจ่ ะรูจ้ กั กัน จะเป็นทีร่ จู้ กั ในประเทศนะครับ ทีนกี้ ต็ อ้ งมองว่าคณะวิศวะมหิดลเนีย่ เป็นคณะใหม่ น้องใหม่ยสี่ บิ ปี ไปเทียบ กับทีอ่ นื่ สีส่ บิ ปีบา้ ง ห้าสิบปีบา้ ง หรือบางทีก่ จ็ ะร้อยปีอยูแ่ ล้วเนีย่ ก็อาจจะ ไม่สามารถแข่งขันกับคณะเหล่านัน้ ได้ ผมคิดว่าจุดทีเ่ ราเอามาแข่งขันได้มนั ๑๕๘

ก็คอื ความแตกต่าง คือคณะวิศวะมหิดลเนีย่ มีอะไรทีแ่ ตกต่างกับผูเ้ ล่นทีม่ อี ยู่ แล้วในตลาดบ้าง จุดหนึ่งที่อาจจะเกี่ยวโยงกับทางที่ผู้ก่อตั้ง ทีมที่ก่อตั้ง คณะวิศวะฯ มาก็คือว่า เราคงต้องมองกันว่า เราอาจจะต้องเป็นคณะ วิศวะฯ ที่ มี ค วามห่ ว งใยกั บ สิ่ ง แวดล้ อ มกั บ สุ ข ภาวะ แล้ ว ก็ จั บ เรื่ อ งของ

สิง่ แวดล้อมเรือ่ งสุขภาวะเนีย่ อาจจะมาเป็นประเด็นหลักในการทีจ่ ะพัฒนา บัณฑิตของเรา พัฒนาผลผลิตของเราขึน้ มาให้ได้” ความคาดหวังในฐานะผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานวิศวกรรมศาสตร์ ยังมีเสริมอีกว่า “อีกจุดนึงที่จะต้องมองก็คือ เราต้องมองว่ามันมีจุดแข็งอะไรใน มหาวิทยาลัยมหิดลนี้นะครับ ซึ่งผมคิดว่าถ้าพูดถึงมหาวิทยาลัยมหิดล

ทุกคนก็มองแล้วล่ะจุดแข็งคือด้านวิทยาศาสตร์สขุ ภาพ แล้วจริงๆ แล้ว ใน ความเป็นวิทยาศาสตร์สุขภาพ มันก็ยังต้องแฝงความเป็นวิศวกรรมอยู่ใน นัน้ ได้ ก็อย่างทีส่ งั เกตได้วา่ เราเริม่ มีวศิ วกรรมชีวการแพทย์ขนึ้ เราเริม่ ที่ จะทำงานร่วมกับทางคณะแพทย์ สัตวแพทย์ ทันตแพทย์ สาธารณสุข เภสัช เหล่านี้มากขึ้น แล้วเราก็ยังจะมีกิจกรรมอะไรหลายๆ อย่างใน

โรงพยาบาล ที่งานวิศวกรรมเนี่ย เข้าไปช่วยได้ เช่น เรื่องของการซ่อม บำรุง การอนุรกั ษ์พลังงาน การจัด flow ของการทำงาน รวมไปถึงเรือ่ ง ของ telemedicine ทีค่ ณะวิศวะฯ เนีย่ น่าทีจ่ ะเป็นแกนนำร่วมกับทางทีม แพทย์ในโรงพยาบาลที่สนใจทางด้านไอที โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราได้ cluster หนึง่ ในโครงการมหาวิทยาลัยวิจยั เนีย่ ทางด้าน logistic ของเรา นี่ก็ถือว่าเป็นโครงการที่มีบทบาทอย่างโดดเด่น แล้วก็มีบทบาทอย่างสูงใน การที่จะขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย นะฮะ แล้ว

ผมคิดว่าในปีนี้ ๒๕๕๒-๒๕๕๓ เนี่ย คณะวิศวะฯ ไม่ได้ถูก leftout ใน มหาวิทยาลัยมหิดลอีกแล้ว เพียงแต่เรากำลังมองว่า บทบาทที่เราควรจะ อยู่เนี่ย จะช่วยกันพัฒนามหาวิทยาลัยไปเนี่ย เราจะไปกันได้ด้วยเรี่ยวแรง ระดับไหน ด้วยทิศทางอย่างไร นะครับ ซึ่งตรงนี้ก็ต้องอาศัยพลังสามัคคี

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๕๙


อกหลืบความฝันเล็กๆ ที่เริ่มจากผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผสาน กับฝีมอื และความมุง่ มัน่ ทำงาน ทัง้ จากคนในมหาวิทยาลัย บุคคล องค์กร และส่วนงานอืน่ ๆ ได้เกือ้ หนุนให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เจริญรุดหน้า กลายเป็นหน่วยงานทีม่ คี นกล่าวถึงในวงสังคมศึกษา ภาระหน้าที่อันใหญ่หลวงของผู้บริหารปัจจุบัน ไม่ด้อยไปกว่าการ สร้างคณะฯ ขึ้นมาในยุคแรกๆ นั่นคือการนำพาให้องค์กรไปยืนในจุดที่

สง่างาม ร้อยหลอมรวมความคิดจิตใจทุกคนในองค์กรทุกภาระหน้าที่การ งาน ไปสูเ่ ป้าหมายพันธกิจทีว่ างเอาไว้

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เล่าแผนงานและการวาดหวังในอนาคตว่า “คือผมมองในตลาดนะครับ วิศวะตอนนี้เนี่ย มันก็จะมีผู้เล่นหลัก รายใหญ่อยูส่ ามสีร่ าย ทีเ่ ราพอทีจ่ ะรูจ้ กั กัน จะเป็นทีร่ จู้ กั ในประเทศนะครับ ทีนกี้ ต็ อ้ งมองว่าคณะวิศวะมหิดลเนีย่ เป็นคณะใหม่ น้องใหม่ยสี่ บิ ปี ไปเทียบ กับทีอ่ นื่ สีส่ บิ ปีบา้ ง ห้าสิบปีบา้ ง หรือบางทีก่ จ็ ะร้อยปีอยูแ่ ล้วเนีย่ ก็อาจจะ ไม่สามารถแข่งขันกับคณะเหล่านัน้ ได้ ผมคิดว่าจุดทีเ่ ราเอามาแข่งขันได้มนั ๑๕๘

ก็คอื ความแตกต่าง คือคณะวิศวะมหิดลเนีย่ มีอะไรทีแ่ ตกต่างกับผูเ้ ล่นทีม่ อี ยู่ แล้วในตลาดบ้าง จุดหนึ่งที่อาจจะเกี่ยวโยงกับทางที่ผู้ก่อตั้ง ทีมที่ก่อตั้ง คณะวิศวะฯ มาก็คือว่า เราคงต้องมองกันว่า เราอาจจะต้องเป็นคณะ วิศวะฯ ที่ มี ค วามห่ ว งใยกั บ สิ่ ง แวดล้ อ มกั บ สุ ข ภาวะ แล้ ว ก็ จั บ เรื่ อ งของ

สิง่ แวดล้อมเรือ่ งสุขภาวะเนีย่ อาจจะมาเป็นประเด็นหลักในการทีจ่ ะพัฒนา บัณฑิตของเรา พัฒนาผลผลิตของเราขึน้ มาให้ได้” ความคาดหวังในฐานะผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานวิศวกรรมศาสตร์ ยังมีเสริมอีกว่า “อีกจุดนึงที่จะต้องมองก็คือ เราต้องมองว่ามันมีจุดแข็งอะไรใน มหาวิทยาลัยมหิดลนี้นะครับ ซึ่งผมคิดว่าถ้าพูดถึงมหาวิทยาลัยมหิดล

ทุกคนก็มองแล้วล่ะจุดแข็งคือด้านวิทยาศาสตร์สขุ ภาพ แล้วจริงๆ แล้ว ใน ความเป็นวิทยาศาสตร์สุขภาพ มันก็ยังต้องแฝงความเป็นวิศวกรรมอยู่ใน นัน้ ได้ ก็อย่างทีส่ งั เกตได้วา่ เราเริม่ มีวศิ วกรรมชีวการแพทย์ขนึ้ เราเริม่ ที่ จะทำงานร่วมกับทางคณะแพทย์ สัตวแพทย์ ทันตแพทย์ สาธารณสุข เภสัช เหล่านี้มากขึ้น แล้วเราก็ยังจะมีกิจกรรมอะไรหลายๆ อย่างใน

โรงพยาบาล ที่งานวิศวกรรมเนี่ย เข้าไปช่วยได้ เช่น เรื่องของการซ่อม บำรุง การอนุรกั ษ์พลังงาน การจัด flow ของการทำงาน รวมไปถึงเรือ่ ง ของ telemedicine ทีค่ ณะวิศวะฯ เนีย่ น่าทีจ่ ะเป็นแกนนำร่วมกับทางทีม แพทย์ในโรงพยาบาลที่สนใจทางด้านไอที โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราได้ cluster หนึง่ ในโครงการมหาวิทยาลัยวิจยั เนีย่ ทางด้าน logistic ของเรา นี่ก็ถือว่าเป็นโครงการที่มีบทบาทอย่างโดดเด่น แล้วก็มีบทบาทอย่างสูงใน การที่จะขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย นะฮะ แล้ว

ผมคิดว่าในปีนี้ ๒๕๕๒-๒๕๕๓ เนี่ย คณะวิศวะฯ ไม่ได้ถูก leftout ใน มหาวิทยาลัยมหิดลอีกแล้ว เพียงแต่เรากำลังมองว่า บทบาทที่เราควรจะ อยู่เนี่ย จะช่วยกันพัฒนามหาวิทยาลัยไปเนี่ย เราจะไปกันได้ด้วยเรี่ยวแรง ระดับไหน ด้วยทิศทางอย่างไร นะครับ ซึ่งตรงนี้ก็ต้องอาศัยพลังสามัคคี

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๕๙


กันจากคนภายใน แล้วก็ความรู้ความเข้าใจจากทางผู้บริหารมหาวิทยาลัย ด้วย ตรงนีก้ จ็ ะมีหลายประเด็น แต่วา่ เป็นประเด็นทีท่ า้ ทาย” เมื่อกำหนดความหวังไว้ขนาดนั้นแล้ว มีความเชื่อว่าเป็นไปได้มาก น้อยเพียงใด “...ผมเชือ่ ว่าทำได้ แต่ตอ้ งใช้เวลาสักพักหนึง่ นะครับ ผมตัง้ เป้าไว้ ตอนแถลงนโยบายก็คือว่า ผมอยากเห็นคณะวิศวะมหิดล เป็นหนึ่งในห้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ทดี่ ที สี่ ดุ ของประเทศนี้ ถามว่าทำไมถึงเอาแค่ประเทศ นี้ ไม่ออกไปข้างนอก ก็คือถ้ามองด้วยอายุของเรา คือ ๒๐ ปี การที่จะ เป็นที่รู้จักในวงการวิศวกรรมมันต้องใช้เวลา เราคิดว่าในช่วงนี้ เราควรที่ จะพิสูจน์ตัวเองในระดับประเทศก่อน ทีนี้หลายคนก็อาจจะสงสัยว่า เอ้... หนึ่งในห้าของประเทศนี้มันวัดจากอะไร นะครับ จริงๆ แล้วมันสามารถ

จะวัดได้ด้วยตัวชี้วัดหลายๆ อย่าง popularity ในการเลือกเข้าเรียนของ

นักศึกษาก็ได้ เรื่องเปอร์เซ็นต์การได้งานก็ได้ มูลค่างานวิจัยก็ได้ มูลค่า งานบริการวิชาการก็ได้ การจัด ranking โดยสถาบันจัดอันดับต่างๆ ก็ได้ พวกนี้ก็จะเป็นตัวชี้วัดที่บอกว่า ตกลงว่าเราไปถึงหนึ่งในห้าแล้วหรือเปล่า แต่จริงๆ แล้วลึกๆ เนี่ย ในใจของผม คำว่าหนึ่งในห้าของประเทศ ไม่ได้ หมายความว่าแค่การเอา KPI บางตัวมาจับแล้วก็บอกว่าคุณเป็นหนึง่ ในห้า แล้ว แต่จริงๆ ในการที่จะเป็นหนึ่งในห้าของประเทศนี้ มันจะต้องเป็นใน ระดับที่ว่า เราเดินไปถามใครก็ได้ในประเทศนี้นะ ให้ลิสต์มาเลยว่าคณะ วิศวกรรมศาสตร์ทดี่ ที สี่ ดุ ในประเทศนี้ ๕ แห่งเนีย่ คุณบอกมา แล้วหนึง่ ใน ห้าเนีย่ มันจะต้องมีวศิ วะมหิดลอยูใ่ นนัน้ ด้วย อันนีค้ อื สิง่ ทีเ่ ราคาดหวังลึกๆ อยู่ในนั้น ถามว่าทำได้หรือยังตอนนี้ อาจจะยังไม่ได้ แต่ว่าเป็นไปได้ไหม ผมคิดว่าเป็นไปได้ ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของศิษย์เก่าเรา ของอาจารย์ ของเราที่ทำงานวิจัย เดี๋ยวนี้ผมคิดว่าเราไม่น้อยหน้าใคร และนักศึกษา ปัจจุบัน รวมทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง เด็กที่จะเข้ามาในกระบวนการเรียน การสอนของเราเนีย่ ผมคิดว่า เขารูจ้ กั เรามากขึน้ เขาเห็นผลงานของเรา ๑๖๐

มากขึน้ แล้ววงจรนี้ มันก็จะช่วยกันขับเคลือ่ นให้คณะฯ นีเ้ ป็นหนึง่ ในห้าได้ จริงๆ นะครับ ผมหวังอย่างนัน้ ” จวบ ๒๐ ปี วิศวะมหิดลได้ดำเนินการเรียนการสอน และผลิต วิศวกรในสายงานต่างๆ ตอบสนองความต้องการของสังคมได้มากพอ สมควร ตามพันธกิจและเจตนารมณ์ทมี่ กี ารสถาปนาคณะฯ ขึน้ มา ดังนัน้ ก้าวย่างสู่ทศวรรษที่สามในเวลาอันใกล้นี้ จึงเป็นก้าวย่างด้วยความมั่นใจ พร้อมด้วยแรงพลังจากบุคลากรทุกฝ่ายและสายงาน จากเมื่ อ แรกที่ มั ก จะพบกั บ คำถามซึ่ ง ทำให้ ช าววิ ศ วะมหิ ด ลรู้ สึ ก อึดอัดใจทีว่ า่ “มีวศิ วะอยูใ่ นมหิดลด้วยหรือ” หรือ “ทำไมต้องเปิดวิศวะ ในมหิดล” ปัจจุบนั นี้ ข้อคำถามดังกล่าวได้ซบเซาลงไปมากแล้ว หรืออาจ จะมีอยู่บ้าง “ถ้าผู้ถามเพิ่งลงมาจากหลังเขา” เป็นวาทะคำตอบของ

ศิษย์เก่าคนหนึง่ “หลายๆ คนก็มองว่าเอ้...คณะวิศวะฯ มัน มันมีในมหาวิทยาลัย มหิดลด้วยเหรอ อันนีม้ นั เรือ่ งทีผ่ มคิดว่า คนในคณะฯ ก็คงจะรูส้ กึ ไม่คอ่ ยดี เวลาทีค่ นถามคำถามในลักษณะนี้ คือบางทีอาจจะน้อยใจมากขึน้ ไปอีกก็คอื ว่า คนที่ถามเนี่ยก็คือคนในมหาวิทยาลัยมหิดลเอง ก็ยังถามเลยว่าอ้าวมี คณะวิศวะแล้วเหรอ นะครับ ซึง่ ก็เลยกลายเป็นเรือ่ งที่ เอ๊ะ เราต้องช่วยกัน สร้าง visibility ของคณะวิศวะ นะครับ” สิง่ ทีต่ อ้ งผลักดันให้คณะวิศวะฯ ก้าวต่อไปในอนาคตนอกเหนือจาก การจัดการเรียนการสอนแล้วคณบดีทา่ นปัจจุบนั ยังได้เสริมอีก ๒ เรือ่ งคือ ๑. งานวิจยั ซึง่ มุง่ หวังให้งานวิจยั ของวิศวะฯ มีผลทีเ่ อือ้ ประโยชน์ ต่อสังคมโดยรวม เช่น อาจนำไปสูก่ ารวางแผนหรือนโยบายระดับประเทศ เช่น ด้าน logistic หรือด้าน biomedical ด้านพลังงาน เป็นต้น ซึ่งก็ ยอมรับว่า ความหวังนี้อาจจะไม่สำเร็จสมบูรณ์ในระยะเวลาอันใกล้ แต่ก็ ควรจะเร่งมือทำ สร้างเสริมกระตุ้นให้เกิดการวิจัยไม่จำเพาะแต่อาจารย์

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๖๑


กันจากคนภายใน แล้วก็ความรู้ความเข้าใจจากทางผู้บริหารมหาวิทยาลัย ด้วย ตรงนีก้ จ็ ะมีหลายประเด็น แต่วา่ เป็นประเด็นทีท่ า้ ทาย” เมื่อกำหนดความหวังไว้ขนาดนั้นแล้ว มีความเชื่อว่าเป็นไปได้มาก น้อยเพียงใด “...ผมเชือ่ ว่าทำได้ แต่ตอ้ งใช้เวลาสักพักหนึง่ นะครับ ผมตัง้ เป้าไว้ ตอนแถลงนโยบายก็คือว่า ผมอยากเห็นคณะวิศวะมหิดล เป็นหนึ่งในห้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ทดี่ ที สี่ ดุ ของประเทศนี้ ถามว่าทำไมถึงเอาแค่ประเทศ นี้ ไม่ออกไปข้างนอก ก็คือถ้ามองด้วยอายุของเรา คือ ๒๐ ปี การที่จะ เป็นที่รู้จักในวงการวิศวกรรมมันต้องใช้เวลา เราคิดว่าในช่วงนี้ เราควรที่ จะพิสูจน์ตัวเองในระดับประเทศก่อน ทีนี้หลายคนก็อาจจะสงสัยว่า เอ้... หนึ่งในห้าของประเทศนี้มันวัดจากอะไร นะครับ จริงๆ แล้วมันสามารถ

จะวัดได้ด้วยตัวชี้วัดหลายๆ อย่าง popularity ในการเลือกเข้าเรียนของ

นักศึกษาก็ได้ เรื่องเปอร์เซ็นต์การได้งานก็ได้ มูลค่างานวิจัยก็ได้ มูลค่า งานบริการวิชาการก็ได้ การจัด ranking โดยสถาบันจัดอันดับต่างๆ ก็ได้ พวกนี้ก็จะเป็นตัวชี้วัดที่บอกว่า ตกลงว่าเราไปถึงหนึ่งในห้าแล้วหรือเปล่า แต่จริงๆ แล้วลึกๆ เนี่ย ในใจของผม คำว่าหนึ่งในห้าของประเทศ ไม่ได้ หมายความว่าแค่การเอา KPI บางตัวมาจับแล้วก็บอกว่าคุณเป็นหนึง่ ในห้า แล้ว แต่จริงๆ ในการที่จะเป็นหนึ่งในห้าของประเทศนี้ มันจะต้องเป็นใน ระดับที่ว่า เราเดินไปถามใครก็ได้ในประเทศนี้นะ ให้ลิสต์มาเลยว่าคณะ วิศวกรรมศาสตร์ทดี่ ที สี่ ดุ ในประเทศนี้ ๕ แห่งเนีย่ คุณบอกมา แล้วหนึง่ ใน ห้าเนีย่ มันจะต้องมีวศิ วะมหิดลอยูใ่ นนัน้ ด้วย อันนีค้ อื สิง่ ทีเ่ ราคาดหวังลึกๆ อยู่ในนั้น ถามว่าทำได้หรือยังตอนนี้ อาจจะยังไม่ได้ แต่ว่าเป็นไปได้ไหม ผมคิดว่าเป็นไปได้ ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของศิษย์เก่าเรา ของอาจารย์ ของเราที่ทำงานวิจัย เดี๋ยวนี้ผมคิดว่าเราไม่น้อยหน้าใคร และนักศึกษา ปัจจุบัน รวมทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง เด็กที่จะเข้ามาในกระบวนการเรียน การสอนของเราเนีย่ ผมคิดว่า เขารูจ้ กั เรามากขึน้ เขาเห็นผลงานของเรา ๑๖๐

มากขึน้ แล้ววงจรนี้ มันก็จะช่วยกันขับเคลือ่ นให้คณะฯ นีเ้ ป็นหนึง่ ในห้าได้ จริงๆ นะครับ ผมหวังอย่างนัน้ ” จวบ ๒๐ ปี วิศวะมหิดลได้ดำเนินการเรียนการสอน และผลิต วิศวกรในสายงานต่างๆ ตอบสนองความต้องการของสังคมได้มากพอ สมควร ตามพันธกิจและเจตนารมณ์ทมี่ กี ารสถาปนาคณะฯ ขึน้ มา ดังนัน้ ก้าวย่างสู่ทศวรรษที่สามในเวลาอันใกล้นี้ จึงเป็นก้าวย่างด้วยความมั่นใจ พร้อมด้วยแรงพลังจากบุคลากรทุกฝ่ายและสายงาน จากเมื่ อ แรกที่ มั ก จะพบกั บ คำถามซึ่ ง ทำให้ ช าววิ ศ วะมหิ ด ลรู้ สึ ก อึดอัดใจทีว่ า่ “มีวศิ วะอยูใ่ นมหิดลด้วยหรือ” หรือ “ทำไมต้องเปิดวิศวะ ในมหิดล” ปัจจุบนั นี้ ข้อคำถามดังกล่าวได้ซบเซาลงไปมากแล้ว หรืออาจ จะมีอยู่บ้าง “ถ้าผู้ถามเพิ่งลงมาจากหลังเขา” เป็นวาทะคำตอบของ

ศิษย์เก่าคนหนึง่ “หลายๆ คนก็มองว่าเอ้...คณะวิศวะฯ มัน มันมีในมหาวิทยาลัย มหิดลด้วยเหรอ อันนีม้ นั เรือ่ งทีผ่ มคิดว่า คนในคณะฯ ก็คงจะรูส้ กึ ไม่คอ่ ยดี เวลาทีค่ นถามคำถามในลักษณะนี้ คือบางทีอาจจะน้อยใจมากขึน้ ไปอีกก็คอื ว่า คนที่ถามเนี่ยก็คือคนในมหาวิทยาลัยมหิดลเอง ก็ยังถามเลยว่าอ้าวมี คณะวิศวะแล้วเหรอ นะครับ ซึง่ ก็เลยกลายเป็นเรือ่ งที่ เอ๊ะ เราต้องช่วยกัน สร้าง visibility ของคณะวิศวะ นะครับ” สิง่ ทีต่ อ้ งผลักดันให้คณะวิศวะฯ ก้าวต่อไปในอนาคตนอกเหนือจาก การจัดการเรียนการสอนแล้วคณบดีทา่ นปัจจุบนั ยังได้เสริมอีก ๒ เรือ่ งคือ ๑. งานวิจยั ซึง่ มุง่ หวังให้งานวิจยั ของวิศวะฯ มีผลทีเ่ อือ้ ประโยชน์ ต่อสังคมโดยรวม เช่น อาจนำไปสูก่ ารวางแผนหรือนโยบายระดับประเทศ เช่น ด้าน logistic หรือด้าน biomedical ด้านพลังงาน เป็นต้น ซึ่งก็ ยอมรับว่า ความหวังนี้อาจจะไม่สำเร็จสมบูรณ์ในระยะเวลาอันใกล้ แต่ก็ ควรจะเร่งมือทำ สร้างเสริมกระตุ้นให้เกิดการวิจัยไม่จำเพาะแต่อาจารย์

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๖๑


หรือนักวิจยั ระดับปริญญาโทเท่านัน้ ระดับปริญญาตรีกส็ นับสนุนให้ทำวิจยั ซึง่ มีลทู่ างทีด่ กี ว่า ปัจจุบนั นีม้ นี กั ศึกษาระดับปริญญาตรี รวมถึงเจ้าหน้าที่ สายสนับสนุนสามารถทีจ่ ะทำวิจยั ได้ ๒. งานบริการวิชาการ มุง่ หวังผลักดันให้เกิดงานบริการวิชาการ ทีเ่ ป็นรูปธรรมและสามารถเข้าถึงกลุม่ เป้าหมายได้โดยง่าย เช่น การให้คำ ปรึกษาเกีย่ วกับการสร้างอาคาร การตรวจสอบ การตรวจรับงาน การให้ คำปรึกษา เป็นต้น “แล้วก็ทงั้ วิจยั และบริการวิชาการ สิง่ ทีจ่ ะต้องผลักดันให้มนั เกิดขึน้ ให้ได้กค็ อื นำองค์ความรูจ้ ากการวิจยั หรือว่าการบริการวิชาการกลับมาสอน องค์ความรูเ้ หล่านี้ ควรต้องนำกลับมาสอนกับนักศึกษาให้ได้” อีกประเด็นหนึ่งที่คณบดีเห็นความสำคัญ คือการเตรียมคนให้เพื่อ เป็นผูบ้ ริหาร “สิง่ ทีอ่ ยากจะทำก็คอื เตรียมทุกคนให้เป็นผูบ้ ริหาร ตำแหน่งคณบดี หัวหน้าภาคเนี่ย มันมาแล้วมันก็ไปแต่องค์กรจะต้องอยู่ ยังไงก็ต้องอยู่ องค์กรจะขาดผู้บริหารไม่ได้ การที่จับใครสักคนนึงโยนขึ้นมาเป็นคณบดี เลยเนีย่ ผมคิดว่ามัน... มันไม่เป็นผลดีสำหรับองค์กร” และถ้าถึงวันนัน้ วันทีค่ ณบดีมอี ายุ ๖๐ ปี “ผมมองว่า... ถ้าผมอายุ ๖๐ แล้วผมมองกลับมาตรงนี้อีกครั้งนึง เนีย่ ผมก็อยากจะเห็นคณะวิศวะมหาวิทยาลัยมหิดล มันเป็นหนึง่ ในห้าของ ประเทศได้จริงๆ หนึง่ ในห้านีค่ อื อย่างทีผ่ มบอกก็คอื ว่าเราเดินไปถามใคร ก็ได้ ในประเทศนี้... ผมอยากที่จะเห็นในลักษณะอย่างนั้นจริงๆ ว่า ไม่ จำเป็นที่จะต้องเป็นคนอยู่ในวงวิชาการ ประชาชนทั่วไปนี่แหละก็ต้องตอบ ได้ และการทีเ่ ป็นหนึง่ ในห้าของประเทศ เป็นหนึง่ ในห้าคณะวิศวะในดวงใจ ของคนไทยทัง้ ประเทศเนีย่ มัน... มันเป็นสิง่ ทีผ่ มอยากจะเห็นมากทีส่ ดุ ”

๑๖๒

นอกจากความใฝ่ฝนั ของผูบ้ ริหารแล้ว ยังมีความฝันของคนอืน่ ๆ ที่ อยูใ่ นคณะวิศวกรรมศาสตร์นี้ เช่น “ก็อยากให้ผู้บริหาร จัดสรรพื้นที่ให้นักศึกษาทำกิจกรรมหลังเลิก เรียน เพราะไม่อยากให้นักศึกษาไปอยู่ที่ร้านเกมส์ อยู่ที่คาเฟ่ อยากให้

นักศึกษาได้ใช้เวลาหลังเลิกเรียนมาทำ ทำอะไรก็ได้ที่มันเกิดประโยชน์ อย่างเช่น ส่งอุปกรณ์ไปแข่งขันอะไรก็ได้ ซึง่ อย่างนัน้ มันก็จะมีหอ้ งวิจยั อยูด่ ี ครับผม ดังนั้นอยากให้คณะผู้บริหารจัดพื้นที่ส่วนนี้ให้นักศึกษาได้ทำหลัง เลิกเรียน” “ภาพลักษณ์จริงๆ แล้วคือนะฮะ อย่างที่ตัวเองภูมิใจนะฮะ รุ่น แรกๆ ทีจ่ บไปเนีย่ ปัจจุบนั ภาพลักษณ์ทมี่ องเป็นคนมีความรับผิดชอบ คือ ที่นี่จะเน้น รุ่นอาจารย์จา (ดร.จารุพรรณ) อาจารย์อะไรพวกนี้ที่จบนะ อาจารย์ปอ๋ ม (อาจารย์บวรลักษณ์) เขาจะใจดีมาก จะฝึกความรับผิดชอบ แล้วก็ทำอะไรทำให้สำเร็จ และก็ชว่ ยเหลือสังคม พยายามจะเน้นตัวนี้ คือ ทำอย่างไรให้มีน้ำใจ พยายามหากิจกรรมให้เด็กเขาช่วยเหลือกันเอง ให้ ช่วยเหลือสังคม อย่าเห็นแก่ตวั อย่าทุจริต” “ก็กำลังมองว่า อย่างมหิดล คือข้อดีของมันก็คอื ว่า คณบดีตา่ งๆ พอคุยกันได้ ยังมีความสัมพันธ์ส่วนตัวใกล้ๆ กัน คณะเภสัชก็ยังคุยกันได้ ขอยืมเครือ่ งมือใช้ ถ้าเรามีอาจารย์เพียงพอแล้ว มา link รวมกัน แล้วมา เปิดวิศวะเภสัช คิดว่าในอนาคตน่าจะเป็นไปได้ เพราะว่าหนึ่ง ตอนนี้ทาง ด้านวิศวะเคมี ปิโตรเคมี มันก็เริม่ อยูค่ งทีแ่ ล้ว และก็จำนวนประชากรทีจ่ บ จากจุฬา จากเกษตร บางมด ลาดกระบัง มันก็เยอะแล้ว คือเปลีย่ นไปแล้ว ก็เนื่องจากมูลค่าเพิ่มทางด้านยามันสูงมาก มองแล้วเภสัชมหิดลเราก็เก่ง คือถ้าว่าในอนาคตเราเปิดไปทางสายนี้คิดว่ามันน่าจะรุ่ง แต่ช่วงนี้มันก็ยัง ไม่รงุ่ มันยังไม่มี เมืองไทยยังไม่มี มันเพิง่ จะเริม่ เกิดทีเ่ มืองนอก แต่คดิ ว่า

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๖๓


หรือนักวิจยั ระดับปริญญาโทเท่านัน้ ระดับปริญญาตรีกส็ นับสนุนให้ทำวิจยั ซึง่ มีลทู่ างทีด่ กี ว่า ปัจจุบนั นีม้ นี กั ศึกษาระดับปริญญาตรี รวมถึงเจ้าหน้าที่ สายสนับสนุนสามารถทีจ่ ะทำวิจยั ได้ ๒. งานบริการวิชาการ มุง่ หวังผลักดันให้เกิดงานบริการวิชาการ ทีเ่ ป็นรูปธรรมและสามารถเข้าถึงกลุม่ เป้าหมายได้โดยง่าย เช่น การให้คำ ปรึกษาเกีย่ วกับการสร้างอาคาร การตรวจสอบ การตรวจรับงาน การให้ คำปรึกษา เป็นต้น “แล้วก็ทงั้ วิจยั และบริการวิชาการ สิง่ ทีจ่ ะต้องผลักดันให้มนั เกิดขึน้ ให้ได้กค็ อื นำองค์ความรูจ้ ากการวิจยั หรือว่าการบริการวิชาการกลับมาสอน องค์ความรูเ้ หล่านี้ ควรต้องนำกลับมาสอนกับนักศึกษาให้ได้” อีกประเด็นหนึ่งที่คณบดีเห็นความสำคัญ คือการเตรียมคนให้เพื่อ เป็นผูบ้ ริหาร “สิง่ ทีอ่ ยากจะทำก็คอื เตรียมทุกคนให้เป็นผูบ้ ริหาร ตำแหน่งคณบดี หัวหน้าภาคเนี่ย มันมาแล้วมันก็ไปแต่องค์กรจะต้องอยู่ ยังไงก็ต้องอยู่ องค์กรจะขาดผู้บริหารไม่ได้ การที่จับใครสักคนนึงโยนขึ้นมาเป็นคณบดี เลยเนีย่ ผมคิดว่ามัน... มันไม่เป็นผลดีสำหรับองค์กร” และถ้าถึงวันนัน้ วันทีค่ ณบดีมอี ายุ ๖๐ ปี “ผมมองว่า... ถ้าผมอายุ ๖๐ แล้วผมมองกลับมาตรงนี้อีกครั้งนึง เนีย่ ผมก็อยากจะเห็นคณะวิศวะมหาวิทยาลัยมหิดล มันเป็นหนึง่ ในห้าของ ประเทศได้จริงๆ หนึง่ ในห้านีค่ อื อย่างทีผ่ มบอกก็คอื ว่าเราเดินไปถามใคร ก็ได้ ในประเทศนี้... ผมอยากที่จะเห็นในลักษณะอย่างนั้นจริงๆ ว่า ไม่ จำเป็นที่จะต้องเป็นคนอยู่ในวงวิชาการ ประชาชนทั่วไปนี่แหละก็ต้องตอบ ได้ และการทีเ่ ป็นหนึง่ ในห้าของประเทศ เป็นหนึง่ ในห้าคณะวิศวะในดวงใจ ของคนไทยทัง้ ประเทศเนีย่ มัน... มันเป็นสิง่ ทีผ่ มอยากจะเห็นมากทีส่ ดุ ”

๑๖๒

นอกจากความใฝ่ฝนั ของผูบ้ ริหารแล้ว ยังมีความฝันของคนอืน่ ๆ ที่ อยูใ่ นคณะวิศวกรรมศาสตร์นี้ เช่น “ก็อยากให้ผู้บริหาร จัดสรรพื้นที่ให้นักศึกษาทำกิจกรรมหลังเลิก เรียน เพราะไม่อยากให้นักศึกษาไปอยู่ที่ร้านเกมส์ อยู่ที่คาเฟ่ อยากให้

นักศึกษาได้ใช้เวลาหลังเลิกเรียนมาทำ ทำอะไรก็ได้ที่มันเกิดประโยชน์ อย่างเช่น ส่งอุปกรณ์ไปแข่งขันอะไรก็ได้ ซึง่ อย่างนัน้ มันก็จะมีหอ้ งวิจยั อยูด่ ี ครับผม ดังนั้นอยากให้คณะผู้บริหารจัดพื้นที่ส่วนนี้ให้นักศึกษาได้ทำหลัง เลิกเรียน” “ภาพลักษณ์จริงๆ แล้วคือนะฮะ อย่างที่ตัวเองภูมิใจนะฮะ รุ่น แรกๆ ทีจ่ บไปเนีย่ ปัจจุบนั ภาพลักษณ์ทมี่ องเป็นคนมีความรับผิดชอบ คือ ที่นี่จะเน้น รุ่นอาจารย์จา (ดร.จารุพรรณ) อาจารย์อะไรพวกนี้ที่จบนะ อาจารย์ปอ๋ ม (อาจารย์บวรลักษณ์) เขาจะใจดีมาก จะฝึกความรับผิดชอบ แล้วก็ทำอะไรทำให้สำเร็จ และก็ชว่ ยเหลือสังคม พยายามจะเน้นตัวนี้ คือ ทำอย่างไรให้มีน้ำใจ พยายามหากิจกรรมให้เด็กเขาช่วยเหลือกันเอง ให้ ช่วยเหลือสังคม อย่าเห็นแก่ตวั อย่าทุจริต” “ก็กำลังมองว่า อย่างมหิดล คือข้อดีของมันก็คอื ว่า คณบดีตา่ งๆ พอคุยกันได้ ยังมีความสัมพันธ์ส่วนตัวใกล้ๆ กัน คณะเภสัชก็ยังคุยกันได้ ขอยืมเครือ่ งมือใช้ ถ้าเรามีอาจารย์เพียงพอแล้ว มา link รวมกัน แล้วมา เปิดวิศวะเภสัช คิดว่าในอนาคตน่าจะเป็นไปได้ เพราะว่าหนึ่ง ตอนนี้ทาง ด้านวิศวะเคมี ปิโตรเคมี มันก็เริม่ อยูค่ งทีแ่ ล้ว และก็จำนวนประชากรทีจ่ บ จากจุฬา จากเกษตร บางมด ลาดกระบัง มันก็เยอะแล้ว คือเปลีย่ นไปแล้ว ก็เนื่องจากมูลค่าเพิ่มทางด้านยามันสูงมาก มองแล้วเภสัชมหิดลเราก็เก่ง คือถ้าว่าในอนาคตเราเปิดไปทางสายนี้คิดว่ามันน่าจะรุ่ง แต่ช่วงนี้มันก็ยัง ไม่รงุ่ มันยังไม่มี เมืองไทยยังไม่มี มันเพิง่ จะเริม่ เกิดทีเ่ มืองนอก แต่คดิ ว่า

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๖๓


อีกห้าหรือสิบปีขา้ งหน้าน่าจะเข้ามาแล้ว แบบพวกยาพวกอะไรนี้ เรายังนำ เข้า ตอนนีเ้ ตรียมคน ตอนนีเ้ ราเรียนอยู่ ๔ คน” “แต่ตอนนี้เราไม่ได้อยู่แค่ระดับว่าภาควิชา หรือคณะ หรือว่าเป็น

กลุม่ คนเล็กๆ แต่จริงๆ แล้วเราอยูใ่ นสายทีว่ า่ เรามองระดับโลก เพราะว่า เราทำอะไรขึ้นมาแล้วมันสำเร็จเป็นประโยชน์ วงการแพทย์มีการใช้อย่าง กว้างขวาง แล้วก็มีการเผยแพร่อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นทุกคนตรงนี้มายืนอยู่ ตรงจุดทีม่ โี อกาสทำอะไรทีม่ ี impact ได้ ในระดับชัน้ นำจริงๆ ผมว่าตรงใจ หลายๆ คนที่อาจจะไม่นั่งอยู่ตรงนี้หรืออาจจะเป็นนักเรียนหรือว่าเป็นคน ทีม่ าเกีย่ วข้อง” “…ถ้าในอดีต ผมชอบตรงที่องค์กรมันไม่ใหญ่เกินไปอะครับ ก็คือ นักศึกษาสามารถเข้าหาอาจารย์ได้ตลอดเวลา แล้วก็สามารถพูดคุยแลก เปลีย่ นความเห็นกับอาจารย์ได้ อย่างสมัยผมเรียนอยูก่ ค็ อื ถ้ามีปญ ั หาอะไร ถึงแม้ว่าอาจารย์ท่านนั้นจะไม่ใช้ผู้สอน เราก็สามารถเดินไปนั่งพูดคุยได้ ครับ แต่พอยุคเวลาเปลีย่ นไป องค์กรเราใหญ่ขนึ้ มันก็ทำให้มกี ำแพงบางๆ มากั้นระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ซึ่งผมอยากให้มันกลับไปเป็นตอนนั้น มากกว่า ครับ…” “…โดยปกติในสังคมมหาลัยเนี่ยครับ คือสาขาวิชาไหนที่จะโด่งดัง ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับงานวิจัยครับ ที่ท่านอธิการท่านได้ชี้นำไว้ ว่าต้องเป็น มหาลัยวิจยั ๑ ใน ๑๐๐ คือถ้ามามองในระดับภาควิชา คืออาจารย์เนีย่ ก็ ต้องทำงานวิจัย แล้วก็ต้องส่งเผยแพร่ไปตามวารสารต่างๆ ครับ แล้วทีนี้ สังคมภายนอกเขาจะมองเห็นนะครับ คือผมมองในเรื่องนี้ แล้วก็เรื่อง บริการวิชาการนะครับ ควรประชาสัมพันธ์” “...คืออนาคตข้างหน้ามันเป็นสิง่ ทีว่ า่ มันจะต้องไวขึน้ เพราะฉะนัน้ ข้อมูลในการตัดสินใจ ข้อมูลในการประชาสัมพันธ์ มันต้องดีขึ้น เพราะ ๑๖๔

ฉะนัน้ ก็คอื ว่า เราคงต้องมีการพัฒนาระบบและคงต้องดูกนั ว่า ทำอย่างไร เราถึงจะสร้างตลาดข้างนอกได้บา้ ง ทำอย่างไรทีว่ า่ เราจะดึงศักยภาพของ อาจารย์แต่ละท่านออกมาให้ได้มากกว่านี”้ “...เราจะแข่งเราจะโตได้ alumni มันต้องมาด้วยเหมือนกัน เราจะ วิ่งทางเดียวโดยที่เราไม่ดูแลนักศึกษา มันเป็นไปไม่ได้ นักศึกษานี่เราต้อง สร้ า งให้ รู้ ว่ า รั ก ในความเป็ น มหิ ด ล ก็ คื อ ว่ า ถ้ า มั น ได้ ต ามที่ เ ขาต้ อ งการ ครอง volume ของมหิดลได้ ตรงนีย้ งิ่ ดีใหญ่ อย่างน้อยคือว่าเขารูส้ กึ ว่า เขาภูมิใจในความเป็นมหิดล เขาภูมิใจในความเป็นคณะวิศวะ ออกไป ทำงานที่ไหนเขาไม่น้อยหน้าใคร แล้วเขาสามารถกลับมาได้อย่างเปิดเผย เลยนีค่ อื สิง่ ทีเ่ ราอยากให้เป็น” “ผมอยากให้เรารู้จักกันมากขึ้นในระดับมหาลัยของเราเอง ใน แต่ละคณะ อันนีเ้ ป็นส่วนของงานวิจยั ซึง่ ผมคิดว่าคณะแพทย์เขาก็ยนิ ดีอยู่ แล้ว คณะแพทย์เขาก็จะมี connection กับมหาลัยอืน่ ก็มี แต่เขาก็อยากมา connection กันในมหาลัยเดียวกัน” ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดีได้ฝากข้อคิด เห็นและความคาดหวังไว้กบั คณะวิศวกรรมศาสตร์วา่ “…ก็จะใช้คำว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์เนี่ย เป็นศาสตร์ที่มีความ จำเป็นอย่างยิง่ สำหรับมนุษยชาติ การพัฒนามาถึงตรงนีเ้ นีย่ ส่วนหนึง่ เลย หรือเป็นส่วนใหญ่ด้วย มาจากวิศวกรรมศาสตร์ เพราะฉะนั้นผมมีความ หวังเป็นอย่างยิ่งเลยนะครับว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหิดลนั้นน่ะจะ สามารถนำสิง่ ใหม่ๆ และสิง่ ดีๆ เนีย่ ให้เกิดขึน้ นะครับ เพือ่ ประโยชน์ตาม ปรัชญาของมหาวิทยาลัยมหิดลว่า ความสำเร็จที่แท้จริงนั้น อยู่ที่การนำ เอาความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับมวลมนุษยชาติ นั่นคือ

ความหวังของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ และผมคิดว่า

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๖๕


อีกห้าหรือสิบปีขา้ งหน้าน่าจะเข้ามาแล้ว แบบพวกยาพวกอะไรนี้ เรายังนำ เข้า ตอนนีเ้ ตรียมคน ตอนนีเ้ ราเรียนอยู่ ๔ คน” “แต่ตอนนี้เราไม่ได้อยู่แค่ระดับว่าภาควิชา หรือคณะ หรือว่าเป็น

กลุม่ คนเล็กๆ แต่จริงๆ แล้วเราอยูใ่ นสายทีว่ า่ เรามองระดับโลก เพราะว่า เราทำอะไรขึ้นมาแล้วมันสำเร็จเป็นประโยชน์ วงการแพทย์มีการใช้อย่าง กว้างขวาง แล้วก็มีการเผยแพร่อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นทุกคนตรงนี้มายืนอยู่ ตรงจุดทีม่ โี อกาสทำอะไรทีม่ ี impact ได้ ในระดับชัน้ นำจริงๆ ผมว่าตรงใจ หลายๆ คนที่อาจจะไม่นั่งอยู่ตรงนี้หรืออาจจะเป็นนักเรียนหรือว่าเป็นคน ทีม่ าเกีย่ วข้อง” “…ถ้าในอดีต ผมชอบตรงที่องค์กรมันไม่ใหญ่เกินไปอะครับ ก็คือ นักศึกษาสามารถเข้าหาอาจารย์ได้ตลอดเวลา แล้วก็สามารถพูดคุยแลก เปลีย่ นความเห็นกับอาจารย์ได้ อย่างสมัยผมเรียนอยูก่ ค็ อื ถ้ามีปญ ั หาอะไร ถึงแม้ว่าอาจารย์ท่านนั้นจะไม่ใช้ผู้สอน เราก็สามารถเดินไปนั่งพูดคุยได้ ครับ แต่พอยุคเวลาเปลีย่ นไป องค์กรเราใหญ่ขนึ้ มันก็ทำให้มกี ำแพงบางๆ มากั้นระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ซึ่งผมอยากให้มันกลับไปเป็นตอนนั้น มากกว่า ครับ…” “…โดยปกติในสังคมมหาลัยเนี่ยครับ คือสาขาวิชาไหนที่จะโด่งดัง ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับงานวิจัยครับ ที่ท่านอธิการท่านได้ชี้นำไว้ ว่าต้องเป็น มหาลัยวิจยั ๑ ใน ๑๐๐ คือถ้ามามองในระดับภาควิชา คืออาจารย์เนีย่ ก็ ต้องทำงานวิจัย แล้วก็ต้องส่งเผยแพร่ไปตามวารสารต่างๆ ครับ แล้วทีนี้ สังคมภายนอกเขาจะมองเห็นนะครับ คือผมมองในเรื่องนี้ แล้วก็เรื่อง บริการวิชาการนะครับ ควรประชาสัมพันธ์” “...คืออนาคตข้างหน้ามันเป็นสิง่ ทีว่ า่ มันจะต้องไวขึน้ เพราะฉะนัน้ ข้อมูลในการตัดสินใจ ข้อมูลในการประชาสัมพันธ์ มันต้องดีขึ้น เพราะ ๑๖๔

ฉะนัน้ ก็คอื ว่า เราคงต้องมีการพัฒนาระบบและคงต้องดูกนั ว่า ทำอย่างไร เราถึงจะสร้างตลาดข้างนอกได้บา้ ง ทำอย่างไรทีว่ า่ เราจะดึงศักยภาพของ อาจารย์แต่ละท่านออกมาให้ได้มากกว่านี”้ “...เราจะแข่งเราจะโตได้ alumni มันต้องมาด้วยเหมือนกัน เราจะ วิ่งทางเดียวโดยที่เราไม่ดูแลนักศึกษา มันเป็นไปไม่ได้ นักศึกษานี่เราต้อง สร้ า งให้ รู้ ว่ า รั ก ในความเป็ น มหิ ด ล ก็ คื อ ว่ า ถ้ า มั น ได้ ต ามที่ เ ขาต้ อ งการ ครอง volume ของมหิดลได้ ตรงนีย้ งิ่ ดีใหญ่ อย่างน้อยคือว่าเขารูส้ กึ ว่า เขาภูมิใจในความเป็นมหิดล เขาภูมิใจในความเป็นคณะวิศวะ ออกไป ทำงานที่ไหนเขาไม่น้อยหน้าใคร แล้วเขาสามารถกลับมาได้อย่างเปิดเผย เลยนีค่ อื สิง่ ทีเ่ ราอยากให้เป็น” “ผมอยากให้เรารู้จักกันมากขึ้นในระดับมหาลัยของเราเอง ใน แต่ละคณะ อันนีเ้ ป็นส่วนของงานวิจยั ซึง่ ผมคิดว่าคณะแพทย์เขาก็ยนิ ดีอยู่ แล้ว คณะแพทย์เขาก็จะมี connection กับมหาลัยอืน่ ก็มี แต่เขาก็อยากมา connection กันในมหาลัยเดียวกัน” ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดีได้ฝากข้อคิด เห็นและความคาดหวังไว้กบั คณะวิศวกรรมศาสตร์วา่ “…ก็จะใช้คำว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์เนี่ย เป็นศาสตร์ที่มีความ จำเป็นอย่างยิง่ สำหรับมนุษยชาติ การพัฒนามาถึงตรงนีเ้ นีย่ ส่วนหนึง่ เลย หรือเป็นส่วนใหญ่ด้วย มาจากวิศวกรรมศาสตร์ เพราะฉะนั้นผมมีความ หวังเป็นอย่างยิ่งเลยนะครับว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหิดลนั้นน่ะจะ สามารถนำสิง่ ใหม่ๆ และสิง่ ดีๆ เนีย่ ให้เกิดขึน้ นะครับ เพือ่ ประโยชน์ตาม ปรัชญาของมหาวิทยาลัยมหิดลว่า ความสำเร็จที่แท้จริงนั้น อยู่ที่การนำ เอาความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับมวลมนุษยชาติ นั่นคือ

ความหวังของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ และผมคิดว่า

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๖๕


ความหวังของประเทศนี้ต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ และผมเชื่อว่า คณะ วิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล สามารถทำในสิง่ เหล่านีไ้ ด้ และ ได้ดีที่สุดด้วย นะครับ ส่วนในเรื่องของมหาวิทยาลัยนั้น สนับสนุนเต็มที่ นะครับ” ก็ เ พราะความฝั น หรื อ มิ ใ ช่ ที่ ท ำให้ ม นุ ษ ย์ ตั ว เล็ ก ๆ อยู่ บ นโลกนี้ ทะยานสู่ฟ้าไปเดินเหยาะย่างเหยียบบนพื้นดวงจันทร์ ความฝันจึงมิควร

ล้อเล่น แต่ความฝันนีเ่ อง เป็นเนวิเกเตอร์ชนี้ ำทางไปสูส่ ดุ หมายทีด่ กี ว่าเดิม

๑๖๖

ประวัตศ ิ าสตร์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดำเนินมาแล้วถึง ๒๐ ปี เนือ้ ความ เหตุการณ์ คำบอกเล่า ความรูส้ กึ นึกคิด จินตนาการและความคาดหวังทีผ่ า่ นมา มีอยูใ่ นทุกตัวคน ถึงจะใช้หน้ากระดาษสักหมืน่ แผ่น ก็ไม่อาจจะเรียบเรียงและบันทึกเรือ่ งราวทีเ่ กิดขึน้ ได้ทงั้ หมด การปรากฏข้อคำพูดในเครือ่ งหมายอัญประกาศในหนั งสือได้ เล่มง นีาน ้ ซือ้ ใจ แต่ จึงเป็นเพียงตัวอย่างอันเล็กน้อย เพือ่ สือ่ สารมายังผูอ้ า่ นว่า ณ สถาบันแห่งนี้ มีความรัก มีประวัตศ ิ าสตร์ทที่ กุ คนได้รว่ มกัน สร้างมากับมือ

๑๖๗


ความหวังของประเทศนี้ต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ และผมเชื่อว่า คณะ วิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล สามารถทำในสิง่ เหล่านีไ้ ด้ และ ได้ดีที่สุดด้วย นะครับ ส่วนในเรื่องของมหาวิทยาลัยนั้น สนับสนุนเต็มที่ นะครับ” ก็ เ พราะความฝั น หรื อ มิ ใ ช่ ที่ ท ำให้ ม นุ ษ ย์ ตั ว เล็ ก ๆ อยู่ บ นโลกนี้ ทะยานสู่ฟ้าไปเดินเหยาะย่างเหยียบบนพื้นดวงจันทร์ ความฝันจึงมิควร

ล้อเล่น แต่ความฝันนีเ่ อง เป็นเนวิเกเตอร์ชนี้ ำทางไปสูส่ ดุ หมายทีด่ กี ว่าเดิม

๑๖๖

ประวัตศ ิ าสตร์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดำเนินมาแล้วถึง ๒๐ ปี เนือ้ ความ เหตุการณ์ คำบอกเล่า ความรูส้ กึ นึกคิด จินตนาการและความคาดหวังทีผ่ า่ นมา มีอยูใ่ นทุกตัวคน ถึงจะใช้หน้ากระดาษสักหมืน่ แผ่น ก็ไม่อาจจะเรียบเรียงและบันทึกเรือ่ งราวทีเ่ กิดขึน้ ได้ทงั้ หมด การปรากฏข้อคำพูดในเครือ่ งหมายอัญประกาศในหนั งสือได้ เล่มง นีาน ้ ซือ้ ใจ แต่ จึงเป็นเพียงตัวอย่างอันเล็กน้อย เพือ่ สือ่ สารมายังผูอ้ า่ นว่า ณ สถาบันแห่งนี้ มีความรัก มีประวัตศ ิ าสตร์ทที่ กุ คนได้รว่ มกัน สร้างมากับมือ

๑๖๗


ซือ้ ใจ ภาคผนวก แต่ ได้งาน

๑๖๘

๑๖๘


ซือ้ ใจ ภาคผนวก แต่ ได้งาน

๑๖๘

๑๖๘


๑. ลำดับเหตุการณ์สำคัญในการจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์

๑. ลำดับเหตุการณ์สำคัญของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ๒. รายชือ่ กรรมการในการจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ๓. รายชือ่ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ๔. รายชือ่ รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ๕. รายชือ่ ผูช้ ว่ ยคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ๖. รายชือ่ หัวหน้าภาควิชาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ๗. รายชือ่ เลขานุการคณะวิศวกรรมศาสตร์ ๘. เพลงมาร์ชวิศวะมหิดล

๑๗๐

๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษา ความเป็ น ไปได้ ใ นการจั ด ตั้ ง คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ ทีป่ ระชุมคณะกรรมการดังกล่าวในวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๓๑ จัดทำรายงานความเป็น ไปได้ในการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ เสนอ สภามหาวิทยาลัย เห็นชอบ และปรับเข้าแผน พัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ ๖ ๑๘ มกราคม ๒๕๓๒ สภามหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบให้มหาวิทยาลัย มหิดล ดำเนินการจัดทำรายละเอียดโครงการ จัดตัง้ ฯ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ อธิการบดี (ศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัต)ิ ลงนามในคำสั่ ง จั ด ตั้ ง โครงการจั ด ตั้ ง คณะ วิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล และ

แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการจัด ตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ๑๖ มีนาคม ๒๕๓๒ อธิการบดีลงนามในคำสัง่ แต่งตัง้ คณะกรรมการ จัดทำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ ๔ ตุลาคม ๒๕๓๒ สภามหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบการจัดตั้งคณะ วิศวกรรมศาสตร์ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ คณะกรรมการทบวงมหาวิ ท ยาลั ย มี ม ติ เ ห็ น

ชอบการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ รวมทั้ง หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ๔ สาขาวิชา (วิ ศ วกรรมไฟฟ้ า วิ ศ วกรรมเครื่ อ งกล วิ ศ วกรรมเคมี วิศวกรรมอุตสาหกรรม)

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๗๑


๑. ลำดับเหตุการณ์สำคัญในการจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์

๑. ลำดับเหตุการณ์สำคัญของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ๒. รายชือ่ กรรมการในการจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ๓. รายชือ่ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ๔. รายชือ่ รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ๕. รายชือ่ ผูช้ ว่ ยคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ๖. รายชือ่ หัวหน้าภาควิชาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ๗. รายชือ่ เลขานุการคณะวิศวกรรมศาสตร์ ๘. เพลงมาร์ชวิศวะมหิดล

๑๗๐

๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษา ความเป็ น ไปได้ ใ นการจั ด ตั้ ง คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ ทีป่ ระชุมคณะกรรมการดังกล่าวในวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๓๑ จัดทำรายงานความเป็น ไปได้ในการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ เสนอ สภามหาวิทยาลัย เห็นชอบ และปรับเข้าแผน พัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ ๖ ๑๘ มกราคม ๒๕๓๒ สภามหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบให้มหาวิทยาลัย มหิดล ดำเนินการจัดทำรายละเอียดโครงการ จัดตัง้ ฯ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ อธิการบดี (ศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัต)ิ ลงนามในคำสั่ ง จั ด ตั้ ง โครงการจั ด ตั้ ง คณะ วิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล และ

แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการจัด ตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ๑๖ มีนาคม ๒๕๓๒ อธิการบดีลงนามในคำสัง่ แต่งตัง้ คณะกรรมการ จัดทำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ ๔ ตุลาคม ๒๕๓๒ สภามหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบการจัดตั้งคณะ วิศวกรรมศาสตร์ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ คณะกรรมการทบวงมหาวิ ท ยาลั ย มี ม ติ เ ห็ น

ชอบการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ รวมทั้ง หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ๔ สาขาวิชา (วิ ศ วกรรมไฟฟ้ า วิ ศ วกรรมเครื่ อ งกล วิ ศ วกรรมเคมี วิศวกรรมอุตสาหกรรม)

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๗๑


๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๒

๕ มิถนุ ายน ๒๕๓๓ มิถนุ ายน ๒๕๓๓

๑๘ สิงหาคม ๒๕๓๓

๒๙ สิงหาคม ๒๕๓๓ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๓๓ ๔ ตุลาคม ๒๕๓๓

๑๗๒

ทบวงมหาวิทยาลัย โดยรัฐมนตรีทวิช กลิ่นประทุม อนุมัตกิ ารจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเสนอร่ า งพระราชกฤษฎี ก าจั ด ตั้ ง คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และร่าง พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะและ เข็มวิทยฐานะกับร่างประกาศทบวงเรื่องการ แบ่งส่วนราชการออกเป็นสำนักงานคณบดีและ ๔ ภาควิชา คณะรั ฐ มนตรี มี ม ติ เ ห็ น ชอบการจั ด ตั้ ง คณะ วิศวกรรมศาสตร์และการแบ่งส่วนราชการ คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ เ ปิ ด รั บ นั ก ศึ ก ษารุ่ น

แรก ๔ สาขาวิชา สาขาวิชาละ ๒๐ คน คือ

วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครือ่ งกล วิศวกรรม เคมี วิศวกรรมอุตสาหการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกาจัด ตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชาอักษรย่อในสาขา วิชา ครุยวิทยฐานะและเข็มวิทยฐานะ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และถือเป็นวัน คล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชาฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศทบวงมหาวิ ท ยาลั ย เรื่ อ งการแบ่ ง

ส่ ว นราชการในมหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล ให้ ค ณะ

วิศวกรรมศาสตร์เป็นคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัย มหิ ด ลและแบ่ ง ส่ ว นราชการเป็ น สำนั ก งาน คณบดีและ ๔ ภาควิชา ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทน พระองค์ ท รงประกอบพิ ธี ว างศิ ล าฤกษ์ กลุ่ ม อาคารอำนวยการ อาคารเรียนและปฏิบัติการ รวม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มิถนุ ายน ๒๕๓๖ เปิดรับนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมโยธารุน่ แรก ๔๐ คน พร้ อ มกั บ ขยายรั บ นั ก ศึ ก ษาทั้ ง ๔ สาขา เป็นสาขาละ ๔๐ คน พฤศจิกายน ๒๕๓๖ กลุ่มอาคารอำนวยการ อาคารเรียนและปฏิบัติ การรวม คณะวิศวกรรมศาสตร์ก่อสร้างแล้ว เสร็จมีพนื้ ทีภ่ ายในอาคารรวม ๔๖,๐๐๐ ตาราง เมตร มิถนุ ายน ๒๕๓๗ รับโอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ เปิด รับนักศึกษารุน่ แรก ๔๐ คน ๗ กรกฎาคม ๒๕๓๗ ถวายปริ ญ ญาวิ ศ วกรรมศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต กิตติมศักดิ์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ อาคารเรียนและปฏิบัติการ (อาคาร ๓) ก่อน สร้างแล้วเสร็จมีพื้นที่ภายในอาคารรวม ๒๑,๐๐๐ ตารางเมตร พ.ศ. ๒๕๔๓ จัดตัง้ ศูนย์ขอ้ มูลและวิจยั ทางวิศวกรรมศาสตร์ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๔ ถวายปริ ญ ญาวิ ศ วกรรมศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต กิตติมศักดิ์ แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๗๓


๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๒

๕ มิถนุ ายน ๒๕๓๓ มิถนุ ายน ๒๕๓๓

๑๘ สิงหาคม ๒๕๓๓

๒๙ สิงหาคม ๒๕๓๓ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๓๓ ๔ ตุลาคม ๒๕๓๓

๑๗๒

ทบวงมหาวิทยาลัย โดยรัฐมนตรีทวิช กลิ่นประทุม อนุมัตกิ ารจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเสนอร่ า งพระราชกฤษฎี ก าจั ด ตั้ ง คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และร่าง พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะและ เข็มวิทยฐานะกับร่างประกาศทบวงเรื่องการ แบ่งส่วนราชการออกเป็นสำนักงานคณบดีและ ๔ ภาควิชา คณะรั ฐ มนตรี มี ม ติ เ ห็ น ชอบการจั ด ตั้ ง คณะ วิศวกรรมศาสตร์และการแบ่งส่วนราชการ คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ เ ปิ ด รั บ นั ก ศึ ก ษารุ่ น

แรก ๔ สาขาวิชา สาขาวิชาละ ๒๐ คน คือ

วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครือ่ งกล วิศวกรรม เคมี วิศวกรรมอุตสาหการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกาจัด ตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชาอักษรย่อในสาขา วิชา ครุยวิทยฐานะและเข็มวิทยฐานะ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และถือเป็นวัน คล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชาฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศทบวงมหาวิ ท ยาลั ย เรื่ อ งการแบ่ ง

ส่ ว นราชการในมหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล ให้ ค ณะ

วิศวกรรมศาสตร์เป็นคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัย มหิ ด ลและแบ่ ง ส่ ว นราชการเป็ น สำนั ก งาน คณบดีและ ๔ ภาควิชา ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทน พระองค์ ท รงประกอบพิ ธี ว างศิ ล าฤกษ์ กลุ่ ม อาคารอำนวยการ อาคารเรียนและปฏิบัติการ รวม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มิถนุ ายน ๒๕๓๖ เปิดรับนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมโยธารุน่ แรก ๔๐ คน พร้ อ มกั บ ขยายรั บ นั ก ศึ ก ษาทั้ ง ๔ สาขา เป็นสาขาละ ๔๐ คน พฤศจิกายน ๒๕๓๖ กลุ่มอาคารอำนวยการ อาคารเรียนและปฏิบัติ การรวม คณะวิศวกรรมศาสตร์ก่อสร้างแล้ว เสร็จมีพนื้ ทีภ่ ายในอาคารรวม ๔๖,๐๐๐ ตาราง เมตร มิถนุ ายน ๒๕๓๗ รับโอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ เปิด รับนักศึกษารุน่ แรก ๔๐ คน ๗ กรกฎาคม ๒๕๓๗ ถวายปริ ญ ญาวิ ศ วกรรมศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต กิตติมศักดิ์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ อาคารเรียนและปฏิบัติการ (อาคาร ๓) ก่อน สร้างแล้วเสร็จมีพื้นที่ภายในอาคารรวม ๒๑,๐๐๐ ตารางเมตร พ.ศ. ๒๕๔๓ จัดตัง้ ศูนย์ขอ้ มูลและวิจยั ทางวิศวกรรมศาสตร์ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๔ ถวายปริ ญ ญาวิ ศ วกรรมศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต กิตติมศักดิ์ แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๗๓


๗ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๘ พ.ศ. ๒๕๔๘

จั ด ตั้ ง โครงการจั ด ตั้ ง ภาควิ ช าวิ ศ วกรรม

คอมพิวเตอร์ จัดตั้งโครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมชีวการ แพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล จัดตัง้ สำนักงานศูนย์การจัดการโลจิสติกส์

๒. รายชือ่ กรรมการในการจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์

คำสั่ ง สภามหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล ที่ ๑๓๐/๒๕๓๑ ลงวั น ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ เรือ่ งแต่งตัง้ คณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ใน การจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ นายเชาว์ ณ ศีลวันต์ องคมนตรี กรรมการสภามหาวิทยาลัยผูท้ รงคุณวุฒ ิ เป็นประธานกรรมการ นายสิปปนนท์ เกตุทตั บริษทั ปิโตรเคมีแห่งชาติ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผูท้ รงคุณวุฒ ิ เป็นรองประธานกรรมการ นายณัฐ ภมรประวัต ิ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผูท้ รงคุณวุฒ ิ เป็นกรรมการ นายวทัญญู ณ ถลาง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผูท้ รงคุณวุฒ ิ เป็นกรรมการ นายประดิษฐ์ เจริญไทยทวี อาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล เป็นกรรมการ นายมนตรี ตูจ้ นิ ดา รองอธิการบดีฝา่ ยวิชาการ เป็นกรรมการ ๑๗๔

นายไกรสิทธิ์ ตันติศริ นิ ทร์ รองอธิการบดีฝา่ ยวางแผนและวิจยั เป็นกรรมการ นายสมศักดิ์ ปัญญาแก้ว อาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ (ไฟฟ้า) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นกรรมการ นายบุญวา ธรรมพิทกั ษ์กลุ อาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ (อุตสาหการ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นกรรมการ นายมันตรี จุลสมัย คณบดีบณ ั ฑิตวิทยาลัย เป็นกรรมการ นายไพโรจน์ เปรมปรีด ิ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นกรรมการ นายธนากร อ้วนอ่อน คณบดีคณะสิง่ แวดล้อมและทรัพยากร- ศาสตร์ เป็นกรรมการ นายศุภชัย ตัง้ วงศ์ศานต์ ผูอ้ ำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ เป็นกรรมการ นางนภามาศ นวพันธุพ์ พิ ฒ ั น์ ผูอ้ ำนวยการกองแผนงาน เป็นเลขานุการ คำสั่ง มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ ๒๕๓/๒๕๓๒ ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ เรื่องจัดตั้งโครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล และแต่งตัง้ คณะกรรมการอำนวยการในการจัดตัง้ คณะวิศวกรรม-

ศาสตร์ นายเชาว์ ณ ศีลวันต์ องคมนตรี กรรมการสภามหาวิ ท ยาลั ย

ผูท้ รงคุณวุฒ ิ เป็นทีป่ รึกษา

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๗๕


๗ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๘ พ.ศ. ๒๕๔๘

จั ด ตั้ ง โครงการจั ด ตั้ ง ภาควิ ช าวิ ศ วกรรม

คอมพิวเตอร์ จัดตั้งโครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมชีวการ แพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล จัดตัง้ สำนักงานศูนย์การจัดการโลจิสติกส์

๒. รายชือ่ กรรมการในการจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์

คำสั่ ง สภามหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล ที่ ๑๓๐/๒๕๓๑ ลงวั น ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ เรือ่ งแต่งตัง้ คณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ใน การจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ นายเชาว์ ณ ศีลวันต์ องคมนตรี กรรมการสภามหาวิทยาลัยผูท้ รงคุณวุฒ ิ เป็นประธานกรรมการ นายสิปปนนท์ เกตุทตั บริษทั ปิโตรเคมีแห่งชาติ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผูท้ รงคุณวุฒ ิ เป็นรองประธานกรรมการ นายณัฐ ภมรประวัต ิ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผูท้ รงคุณวุฒ ิ เป็นกรรมการ นายวทัญญู ณ ถลาง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผูท้ รงคุณวุฒ ิ เป็นกรรมการ นายประดิษฐ์ เจริญไทยทวี อาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล เป็นกรรมการ นายมนตรี ตูจ้ นิ ดา รองอธิการบดีฝา่ ยวิชาการ เป็นกรรมการ ๑๗๔

นายไกรสิทธิ์ ตันติศริ นิ ทร์ รองอธิการบดีฝา่ ยวางแผนและวิจยั เป็นกรรมการ นายสมศักดิ์ ปัญญาแก้ว อาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ (ไฟฟ้า) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นกรรมการ นายบุญวา ธรรมพิทกั ษ์กลุ อาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ (อุตสาหการ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นกรรมการ นายมันตรี จุลสมัย คณบดีบณ ั ฑิตวิทยาลัย เป็นกรรมการ นายไพโรจน์ เปรมปรีด ิ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นกรรมการ นายธนากร อ้วนอ่อน คณบดีคณะสิง่ แวดล้อมและทรัพยากร- ศาสตร์ เป็นกรรมการ นายศุภชัย ตัง้ วงศ์ศานต์ ผูอ้ ำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ เป็นกรรมการ นางนภามาศ นวพันธุพ์ พิ ฒ ั น์ ผูอ้ ำนวยการกองแผนงาน เป็นเลขานุการ คำสั่ง มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ ๒๕๓/๒๕๓๒ ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ เรื่องจัดตั้งโครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล และแต่งตัง้ คณะกรรมการอำนวยการในการจัดตัง้ คณะวิศวกรรม-

ศาสตร์ นายเชาว์ ณ ศีลวันต์ องคมนตรี กรรมการสภามหาวิ ท ยาลั ย

ผูท้ รงคุณวุฒ ิ เป็นทีป่ รึกษา

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๗๕


นายสิปปนนท์ เกตุทตั กรรมการสภามหาวิทยาลัยผูท้ รงคุณวุฒ

ิ เป็นทีป่ รึกษา นายวทัญญู ณ ถลาง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผูท้ รงคุณวุฒ

ิ เป็นทีป่ รึกษา อธิการบดี ดร.ณัฐ ภมรประวัต ิ เป็นประธานกรรมการ รองอธิการบดีฝา่ ยวิชาการ ศาสตราจารย์ นพ.มนตรี ตูจ้ นิ ดา เป็นกรรมการ รองอธิการบดีฝา่ ยวางแผนและวิจยั ศาสตราจารย์ นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศริ นิ ทร์ เป็นกรรมการ รองอธิการบดีฝา่ ยบริหาร ศาสตราจารย์ ปราโมทย์ ประสาทกุล เป็นกรรมการ รองอธิการบดีฝา่ ยพืน้ ทีแ่ ละกิจกรรมเฉพาะ ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ พิชติ สกุลพราหมณ์ เป็นกรรมการ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ ศาสตราจารย์ นพ.เทพพนม เมืองแมน เป็นกรรมการ คณบดีคณะสิง่ แวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ อาจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน เป็นกรรมการ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ไพโรจน์ เปรมปรีด ิ์ เป็นกรรมการ

๑๗๖

คณบดีบณ ั ฑิตวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ นพ.มันตรี จุลสมัย เป็นกรรมการ ผูอ้ ำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ตัง้ วงศ์ศานต์ เป็นกรรมการ นายปิยะ เหลีย่ มสมบัต ิ อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ เป็นกรรมการ ผูอ้ ำนวยการกองคลัง นางนันท์ทพิ ย์ วิรโิ ยทัย เป็นกรรมการ ผูอ้ ำนวยการโครงการจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ อาจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน เป็นกรรมการและเลขานุการ คำสั่ง มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ ๔๘๓/๒๕๓๒ ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๒ เรื่องแต่งตั้งที่ปรึกษาในคณะกรรมการอำนวยการโครงการจัด ตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ (เพิม่ เติม) นายอาณัติ อาภาภิรมย์ เป็นทีป่ รึกษา นายปรีดา วิบลู ย์สวัสดิ ์ เป็นทีป่ รึกษา นายจิระศักดิ์ พูนผล เป็นทีป่ รึกษา คำสั่ง มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ ๕๕๐/๒๕๓๒ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๓๒ เรือ่ งแต่งตัง้ คณะกรรมการจัดทำร่างหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ นายมนตรี ตูจ้ นิ ดา เป็นทีป่ รึกษา นายถิระวัตร กุลละวณิชย์ เป็นทีป่ รึกษา นายธนากร อ้วนอ่อน เป็นประธานอนุกรรมการ

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๗๗


นายสิปปนนท์ เกตุทตั กรรมการสภามหาวิทยาลัยผูท้ รงคุณวุฒ

ิ เป็นทีป่ รึกษา นายวทัญญู ณ ถลาง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผูท้ รงคุณวุฒ

ิ เป็นทีป่ รึกษา อธิการบดี ดร.ณัฐ ภมรประวัต ิ เป็นประธานกรรมการ รองอธิการบดีฝา่ ยวิชาการ ศาสตราจารย์ นพ.มนตรี ตูจ้ นิ ดา เป็นกรรมการ รองอธิการบดีฝา่ ยวางแผนและวิจยั ศาสตราจารย์ นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศริ นิ ทร์ เป็นกรรมการ รองอธิการบดีฝา่ ยบริหาร ศาสตราจารย์ ปราโมทย์ ประสาทกุล เป็นกรรมการ รองอธิการบดีฝา่ ยพืน้ ทีแ่ ละกิจกรรมเฉพาะ ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ พิชติ สกุลพราหมณ์ เป็นกรรมการ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ ศาสตราจารย์ นพ.เทพพนม เมืองแมน เป็นกรรมการ คณบดีคณะสิง่ แวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ อาจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน เป็นกรรมการ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ไพโรจน์ เปรมปรีด ิ์ เป็นกรรมการ

๑๗๖

คณบดีบณ ั ฑิตวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ นพ.มันตรี จุลสมัย เป็นกรรมการ ผูอ้ ำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ตัง้ วงศ์ศานต์ เป็นกรรมการ นายปิยะ เหลีย่ มสมบัต ิ อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ เป็นกรรมการ ผูอ้ ำนวยการกองคลัง นางนันท์ทพิ ย์ วิรโิ ยทัย เป็นกรรมการ ผูอ้ ำนวยการโครงการจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ อาจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน เป็นกรรมการและเลขานุการ คำสั่ง มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ ๔๘๓/๒๕๓๒ ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๒ เรื่องแต่งตั้งที่ปรึกษาในคณะกรรมการอำนวยการโครงการจัด ตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ (เพิม่ เติม) นายอาณัติ อาภาภิรมย์ เป็นทีป่ รึกษา นายปรีดา วิบลู ย์สวัสดิ ์ เป็นทีป่ รึกษา นายจิระศักดิ์ พูนผล เป็นทีป่ รึกษา คำสั่ง มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ ๕๕๐/๒๕๓๒ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๓๒ เรือ่ งแต่งตัง้ คณะกรรมการจัดทำร่างหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ นายมนตรี ตูจ้ นิ ดา เป็นทีป่ รึกษา นายถิระวัตร กุลละวณิชย์ เป็นทีป่ รึกษา นายธนากร อ้วนอ่อน เป็นประธานอนุกรรมการ

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๗๗


นายมันตรี จุลสมัย นายศุภชัย ตัง้ วงศ์ศานต์ นายบุญวา ธรรมพิทกั ษ์กลุ นายปิยะ เหลีย่ มสมบัต ิ นายประสิทธิ์ ลีระพันธ์ นางสาวทวีรตั นา ศิวดุล นายสันติ วัฒนายน นางสาวลัดดาวัลย์ ผดุงทรัพย์ นายเกรียงศักดิ์ สยะนานนท์ นายไสวิชญ์ วรวินติ นายไพโรจน์ สุวรรณสุต นายธวิช บูรณธนิต นายนิมติ วิสทุ ธิรงั สีอไุ ร นายพินยั ออรุง่ โรจน์ นายคณิต สงวนตระกูล นางสาวภัทรา ลัดพลี นายชูศกั ดิ์ เวชแพศย์ นายสนิท ไชยวงศ์คต นางสาวศรีประภรณ์ แก้วกมล คุณเอมอร วงศ์วบิ ลู ย์

เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ เป็นอนุกรรมการและผูช้ ว่ ยเลขานุการ

๓. รายชือ่ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์

๖ ก.ย. ๒๕๓๓ – ๒๗ มี.ค. ๒๕๓๔ อาจารย์ธนากร อ้วนอ่อน รักษาการในตำแหน่งคณบดี

๑๗๘

๒๘ มี.ค. ๒๕๓๔ - ๒๗ มี.ค. ๒๕๓๘ อาจารย์ธนากร อ้วนอ่อน คณบดี ๒๘ มี.ค. – ๒๖ ก.ค. ๒๕๓๘ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ เธียรไชย จิตต์แจ้ง รองศาสตราจารย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร รักษาการแทนคณบดี ๒๗ ก.ค. ๒๕๓๘ – ๒๖ ก.ค. ๒๕๔๒ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ไพโรจน์ สุวรรณสุทธิ คณบดี ๒๗ ก.ค. ๒๕๔๒ – ๒๖ ก.ค. ๒๕๔๖ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ธนากร อ้วนอ่อน คณบดี ๒๗ ก.ค. ๒๕๔๖ – ๒๖ ก.ค. ๒๕๕๐ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ปิยะ รัตนสุวรรณ คณบดี ๒๗ ก.ค. ๒๕๕๐ – ปัจจุบนั ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ รวิน ระวิวงศ์ คณบดี

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๔. รายชือ่ รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์

๑. ๒. ๓. ๔. ๕.

อาจารย์พนิ ยั ออรุง่ โรจน์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ คณิต สงวนตระกูล อาจารย์สทุ ธินนั ท์ นันทจิต ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ธีรพร รับคำอินทร์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.กวี ไกรระวี ๑๗๙


นายมันตรี จุลสมัย นายศุภชัย ตัง้ วงศ์ศานต์ นายบุญวา ธรรมพิทกั ษ์กลุ นายปิยะ เหลีย่ มสมบัต ิ นายประสิทธิ์ ลีระพันธ์ นางสาวทวีรตั นา ศิวดุล นายสันติ วัฒนายน นางสาวลัดดาวัลย์ ผดุงทรัพย์ นายเกรียงศักดิ์ สยะนานนท์ นายไสวิชญ์ วรวินติ นายไพโรจน์ สุวรรณสุต นายธวิช บูรณธนิต นายนิมติ วิสทุ ธิรงั สีอไุ ร นายพินยั ออรุง่ โรจน์ นายคณิต สงวนตระกูล นางสาวภัทรา ลัดพลี นายชูศกั ดิ์ เวชแพศย์ นายสนิท ไชยวงศ์คต นางสาวศรีประภรณ์ แก้วกมล คุณเอมอร วงศ์วบิ ลู ย์

เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการ เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ เป็นอนุกรรมการและผูช้ ว่ ยเลขานุการ

๓. รายชือ่ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์

๖ ก.ย. ๒๕๓๓ – ๒๗ มี.ค. ๒๕๓๔ อาจารย์ธนากร อ้วนอ่อน รักษาการในตำแหน่งคณบดี

๑๗๘

๒๘ มี.ค. ๒๕๓๔ - ๒๗ มี.ค. ๒๕๓๘ อาจารย์ธนากร อ้วนอ่อน คณบดี ๒๘ มี.ค. – ๒๖ ก.ค. ๒๕๓๘ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ เธียรไชย จิตต์แจ้ง รองศาสตราจารย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร รักษาการแทนคณบดี ๒๗ ก.ค. ๒๕๓๘ – ๒๖ ก.ค. ๒๕๔๒ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ไพโรจน์ สุวรรณสุทธิ คณบดี ๒๗ ก.ค. ๒๕๔๒ – ๒๖ ก.ค. ๒๕๔๖ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ธนากร อ้วนอ่อน คณบดี ๒๗ ก.ค. ๒๕๔๖ – ๒๖ ก.ค. ๒๕๕๐ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ปิยะ รัตนสุวรรณ คณบดี ๒๗ ก.ค. ๒๕๕๐ – ปัจจุบนั ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ รวิน ระวิวงศ์ คณบดี

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๔. รายชือ่ รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์

๑. ๒. ๓. ๔. ๕.

อาจารย์พนิ ยั ออรุง่ โรจน์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ คณิต สงวนตระกูล อาจารย์สทุ ธินนั ท์ นันทจิต ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ธีรพร รับคำอินทร์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.กวี ไกรระวี ๑๗๙


๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔. ๑๕. ๑๖. ๑๗. ๑๘. ๑๙. ๒๐.

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ปิยะ รัตนสุวรรณ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ วิเชียร เอือ้ สมสกุล ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ แฉล้ม โพธิแ์ ดง ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวรรณ์ ยศวัฒน ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ สมพงษ์ ชืน่ อิม่ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.พิศษิ ฎ์ โภคารัตน์กลุ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.บันลือ เอมะรุจ ิ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ บรรยงวุฒิ จุลละโพธิ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ธนดล ปริตรานันท์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.สรนาถ ไรภู อาจารย์ ดร.ธัชชะ จุลชาต อาจารย์ ดร.สราวุธ เวชกิจ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วเรศรา วีระวัฒน์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.จารุพรรณ กุลดิลก อาจารย์ ดร.นภดล วาณิชวรนันท์

๕. รายชือ่ ผูช้ ว่ ยคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์

๑๘๐

๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙.

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ เพ็ญพรรณ์ ทะสะโส ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วรากร เจริญสุข อาจารย์สทิ ธิพนั ธุ์ ตัณฑวิรฬุ ห์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.จารุพรรณ กุลดิลก ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วรนารถ จงเลิศจรรยา นางจันทนา สุขรินทร์พรหม นางสาวเฟือ่ งฟ้า ไชยศิวามงคล นายประสิทธิศกั ดิ์ พลูหอม นางสมทรง เพชรรุง่

๖. รายชือ่ หัวหน้าภาควิชาคณะวิศวกรรมศาสตร์

ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ๑. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ไพโรจน์ สุวรรณสุทธิ ๒. อาจารย์วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ๓. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ เดชา วิไลรัตน์ (๒ สมัยติดต่อกันและรักษาการอีก ๖ เดือน) ๔. อาจารย์วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ภาควิชาวิศวกรรมเครือ่ งกล ๑. อาจารย์พนั ยศ โต๊ะทอง ๒. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ วิเชียร เอือ้ สมสกุล ๓. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ บรรยงวุฒิ จุลละโพธิ ๔. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ วิเชียร เอือ้ สมสกุล ภาควิชาวิศวกรรมเคมี ๑. อาจารย์นมิ ติ ร วิสทุ ธิรงั ษีอไุ ร ๒. อาจารย์สมชาย เอือ้ พิพฒ ั นกุล ๓. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวรรณ์ ยศวัฒน ๔. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ เพ็ญพรรณ์ ทะสะโส ๕. อาจารย์สวุ มิ ล จงจิตสำราญ ๖. อาจารย์สทุ ธินนั ท์ นันทจิต ๗. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวรรณ์ ยศวัฒน ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ๑. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ชัยนนท์ ศรีสภุ นิ านนท์

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๘๑


๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔. ๑๕. ๑๖. ๑๗. ๑๘. ๑๙. ๒๐.

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ปิยะ รัตนสุวรรณ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ วิเชียร เอือ้ สมสกุล ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ แฉล้ม โพธิแ์ ดง ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวรรณ์ ยศวัฒน ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ สมพงษ์ ชืน่ อิม่ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.พิศษิ ฎ์ โภคารัตน์กลุ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.บันลือ เอมะรุจ ิ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ บรรยงวุฒิ จุลละโพธิ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ธนดล ปริตรานันท์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.สรนาถ ไรภู อาจารย์ ดร.ธัชชะ จุลชาต อาจารย์ ดร.สราวุธ เวชกิจ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วเรศรา วีระวัฒน์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.จารุพรรณ กุลดิลก อาจารย์ ดร.นภดล วาณิชวรนันท์

๕. รายชือ่ ผูช้ ว่ ยคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์

๑๘๐

๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙.

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ เพ็ญพรรณ์ ทะสะโส ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วรากร เจริญสุข อาจารย์สทิ ธิพนั ธุ์ ตัณฑวิรฬุ ห์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.จารุพรรณ กุลดิลก ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วรนารถ จงเลิศจรรยา นางจันทนา สุขรินทร์พรหม นางสาวเฟือ่ งฟ้า ไชยศิวามงคล นายประสิทธิศกั ดิ์ พลูหอม นางสมทรง เพชรรุง่

๖. รายชือ่ หัวหน้าภาควิชาคณะวิศวกรรมศาสตร์

ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ๑. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ไพโรจน์ สุวรรณสุทธิ ๒. อาจารย์วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ๓. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ เดชา วิไลรัตน์ (๒ สมัยติดต่อกันและรักษาการอีก ๖ เดือน) ๔. อาจารย์วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ภาควิชาวิศวกรรมเครือ่ งกล ๑. อาจารย์พนั ยศ โต๊ะทอง ๒. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ วิเชียร เอือ้ สมสกุล ๓. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ บรรยงวุฒิ จุลละโพธิ ๔. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ วิเชียร เอือ้ สมสกุล ภาควิชาวิศวกรรมเคมี ๑. อาจารย์นมิ ติ ร วิสทุ ธิรงั ษีอไุ ร ๒. อาจารย์สมชาย เอือ้ พิพฒ ั นกุล ๓. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวรรณ์ ยศวัฒน ๔. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ เพ็ญพรรณ์ ทะสะโส ๕. อาจารย์สวุ มิ ล จงจิตสำราญ ๖. อาจารย์สทุ ธินนั ท์ นันทจิต ๗. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวรรณ์ ยศวัฒน ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ๑. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ชัยนนท์ ศรีสภุ นิ านนท์

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๘๑


๒. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ แฉล้ม โพธิแ์ ดง ๓. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์ ๔. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ชัยนนท์ ศรีสภุ นิ านนท์ ๕. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ศุภชัย นาทะพันธ์ ๖. อาจารย์กญ ั จน์ คณาธารทิพย์ โครงการจัดตัง้ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ๑. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.กวี ไกรระวี ๒. อาจารย์ครรชิต ลิขติ เดชากุล ๓. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ปิยะ รัตนสุวรรณ ๔. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ พนม ชัยสิทธิ ์ ๕. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ โครงการจัดตัง้ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ๑. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ธนดล ปริตรานันท์ ๒. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ คงฤทธิ์ หันจางสิทธิ ์ ๓. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ทรงพล องค์วฒ ั นกุล ๔. อาจารย์ฆนัท พูลสวัสดิ ์ โครงการจัดตัง้ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ๑. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ธีรพร รับคำอินทร์ ๒. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการ จัดการระบบสารสนเทศ ๑. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน ๒. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ปิยะ รัตนสุวรรณ ๑๘๒

๓. ๔. ๕. ๖.

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวรรณ์ ยศวัฒน ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.จารุพรรณ กุลดิลก อาจารย์ ดร.พรชัย ชันยากร ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์

๗. รายชือ่ เลขานุการคณะวิศวกรรมศาสตร์

๑. ๒. ๓. ๔.

นางพะเยาว์ สุจริต รักษาการในตำแหน่งเลขานุการคณะ นางสาวอินทิรา รัตนพันธุ ์ เลขานุการคณะ นางอภิรดี ชยางกูร รักษาการในตำแหน่งเลขานุการคณะ นางพะเยาว์ สุจริต เลขานุการคณะ

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๘๓


๒. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ แฉล้ม โพธิแ์ ดง ๓. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์ ๔. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ชัยนนท์ ศรีสภุ นิ านนท์ ๕. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ศุภชัย นาทะพันธ์ ๖. อาจารย์กญ ั จน์ คณาธารทิพย์ โครงการจัดตัง้ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ๑. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.กวี ไกรระวี ๒. อาจารย์ครรชิต ลิขติ เดชากุล ๓. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ปิยะ รัตนสุวรรณ ๔. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ พนม ชัยสิทธิ ์ ๕. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ โครงการจัดตัง้ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ๑. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ธนดล ปริตรานันท์ ๒. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ คงฤทธิ์ หันจางสิทธิ ์ ๓. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ทรงพล องค์วฒ ั นกุล ๔. อาจารย์ฆนัท พูลสวัสดิ ์ โครงการจัดตัง้ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ๑. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ธีรพร รับคำอินทร์ ๒. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการ จัดการระบบสารสนเทศ ๑. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน ๒. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ปิยะ รัตนสุวรรณ ๑๘๒

๓. ๔. ๕. ๖.

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวรรณ์ ยศวัฒน ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.จารุพรรณ กุลดิลก อาจารย์ ดร.พรชัย ชันยากร ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์

๗. รายชือ่ เลขานุการคณะวิศวกรรมศาสตร์

๑. ๒. ๓. ๔.

นางพะเยาว์ สุจริต รักษาการในตำแหน่งเลขานุการคณะ นางสาวอินทิรา รัตนพันธุ ์ เลขานุการคณะ นางอภิรดี ชยางกูร รักษาการในตำแหน่งเลขานุการคณะ นางพะเยาว์ สุจริต เลขานุการคณะ

ซือ้ ใจ แต่ ได้งาน

๑๘๓


เพลงมาร์ชวิศวะ มหิดล

ผู้มีความประสงค์จะบริจาคเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดทำหนังสือหรือ กิ จ กรรมของสมาคมศิ ษ ย์ เ ก่ า คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล สามารถบริ จ าคโดยตรงหรื อ โอนเข้ า บั ญ ชี ธ นาคารไทยพาณิ ช ย์ จำกั ด (มหาชน) ชื่อบัญชีกิจกรรมสัมพันธ์วิศวะมหิดล สาขามหาวิทยาลัยมหิดล บัญชีออมทรัพย์เลขที่ ๓๓๓-๒๓๐๕๑๑-๖ โดยสามารถติดต่อขอรับใบเสร็จ หรื อ สอบถามข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม ได้ ที่ ส มาคมศิ ษ ย์ เ ก่ า คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล ๒๕/๒๕ ถนนพุ ท ธมณฑลสาย ๔ ตำบลศาลายา

อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐ โทร ๐-๒๘๘๙-๒๑๓๘ ต่อ ๖๐๓๓ โทรสาร ๐-๒๔๔๑-๙๗๓๑ htttp://www.egmu.net/

วิศวะมหิดล เราทุกคนเปรมปรีด ์ นามแห่งพวกเรานี้ ไม่มใี ครเทียมทัน เราเรียน เรารู้ เราจำ เราทำด้วยใจมุง่ มัน่ เราพร้อมเพรียงกัน ขวัญคือมหิดล รักเรียน รักชือ่ รักกันคือปณิธาน สองมือนีด้ า้ นเพราะทำงานเพืซื อ่ ปวงชน อ้ ใจ แต่ ได้งาน มาจากคณะวิศวะต้องอดทน นามมหิดลเรายอดตลอดกาล

ประพันธ์โดย: ศาสตราจารย์ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล

๑๘๔


เพลงมาร์ชวิศวะ มหิดล

ผู้มีความประสงค์จะบริจาคเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดทำหนังสือหรือ กิ จ กรรมของสมาคมศิ ษ ย์ เ ก่ า คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล สามารถบริ จ าคโดยตรงหรื อ โอนเข้ า บั ญ ชี ธ นาคารไทยพาณิ ช ย์ จำกั ด (มหาชน) ชื่อบัญชีกิจกรรมสัมพันธ์วิศวะมหิดล สาขามหาวิทยาลัยมหิดล บัญชีออมทรัพย์เลขที่ ๓๓๓-๒๓๐๕๑๑-๖ โดยสามารถติดต่อขอรับใบเสร็จ หรื อ สอบถามข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม ได้ ที่ ส มาคมศิ ษ ย์ เ ก่ า คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล ๒๕/๒๕ ถนนพุ ท ธมณฑลสาย ๔ ตำบลศาลายา

อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐ โทร ๐-๒๘๘๙-๒๑๓๘ ต่อ ๖๐๓๓ โทรสาร ๐-๒๔๔๑-๙๗๓๑ htttp://www.egmu.net/

วิศวะมหิดล เราทุกคนเปรมปรีด ์ นามแห่งพวกเรานี้ ไม่มใี ครเทียมทัน เราเรียน เรารู้ เราจำ เราทำด้วยใจมุง่ มัน่ เราพร้อมเพรียงกัน ขวัญคือมหิดล รักเรียน รักชือ่ รักกันคือปณิธาน สองมือนีด้ า้ นเพราะทำงานเพืซื อ่ ปวงชน อ้ ใจ แต่ ได้งาน มาจากคณะวิศวะต้องอดทน นามมหิดลเรายอดตลอดกาล

ประพันธ์โดย: ศาสตราจารย์ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล

๑๘๔


๑๘๖


๑๘๖


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.