หมออนามัย21-1

Page 1

ª ± ª ¸ Â ¢


หากไม่ยืนยัน ปี พ.ศ. เกิด ใครเล่าจะไปเชื่อว่าสุภาพสตรีอดีตหมออนามัยแห่งเมืองแพร่

คนนี้อายุ 60 แล้ว ! รู ป กายอั น แช่ ม ชื่ น ที่ ส ะท้ อ นมาให้ เ ห็ น นั้ น เธอ “เป็ น ...อยู่ . ..คื อ ” เช่ น ไร ติ ด ตามกลเม็ ด

เคล็ดลับได้จาก “สัมภาษณ์พิเศษ” ฉบับนี้... ขันทอง ปิติพุทธิพงศ์ : หัวใจดวงนี้...ไม่มีเกษียณ


ปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิต หมอกับคนไข้เป็นเหมือน “น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่ง ป่ า ” หมอดู แ ลสุ ข ภาพและรั ก ษาคนไข้ ด ้ ว ยคุ ณ ธรรม จริยธรรม และมาตรฐานทางวิชาชีพด้วยหัวใจที่อยาก เห็นเพื่อนมนุษย์มีสุขภาพดี พ้นทุกข์จากความเจ็บป่วย หมอไม่ได้ดูแลรักษาคนไข้เพราะหวังเอาแต่เงิน เงินที่ หมอได้รับนั้น เป็นเพียงค่าตอบแทนที่คนไข้และสังคม มอบให้เพื่อตอบแทนคุณของหมอ ไม่ใช่เงินที่หมอค้า กำไรจากคนไข้ เพราะการดู แ ลรั ก ษาพยาบาล ไม่ ใ ช่ สินค้าหรือบริการทั่วไปที่ควรเอาไปค้ากำไร สำหรับคนไข้ นอกจากมีหน้าที่ดูแลสุขภาพของ ตัวเองแล้ว เมื่อยามป่วยไข้เกินกว่าจะดูแลตัวเองได้ ก็ จำเป็นต้องพึ่งพาหมอ ในฐานะที่หมอเรียนมามากกว่า รู ้ ม ากกว่ า ในเรื ่ อ งการดู แ ลรั ก ษา ทั ้ ง สองฝ่ า ยจึ ง ต้ อ ง อิงอาศัย เกื้อกูลกันและกัน เป็นที่แน่นอนว่า ไม่ว่าหมอจะเก่งสุดเก่งเท่าใด วิทยาการเทคโนโลยีจะก้าวไปไกลเพียงใด หมอก็ไม่มี วันหยุดความตายของคนไข้ได้ เมื่อวันหนึ่งที่คนไข้ถึง วาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติธรรมดา การพยายามฉุดรั้งความตายด้วยเครื่องไม้เครื่องมือและ วิ ท ยาการทางการแพทย์ ไ ว้ ว ่ า จะด้ ว ยเหตุ แ ห่ ง ความ ปรารถนาดี หรือด้วยเหตุอื่นใดก็ตาม ควรคำนึงถึงเจตนา ของเจ้าของชีวิตเป็นหลัก เพราะเขามีสิทธิในชีวิตของ ตัวเอง ทั้งหมอและญาติเป็นเพียงผู้สนองและสนับสนุน สิทธินั้น คนจำนวนมากมีความปรารถนาว่า เมื่อถึงวาระ สุดท้ายของชีวิตแน่นอนแล้ว ก็อยากจะเสียชีวิตอย่างสงบ เป็ น ธรรมชาติ ในท่ า มกลางความรั ก ความอบอุ ่ น ของ ญาติมิตร ซึ่งเรียกว่าขอจากไปอย่างมีคุณค่าศักดิ์ศรีของ ความเป็ น มนุ ษ ย์ ไม่ ใ ช่ ต ้ อ งตายท่ า มกลางเครื ่ อ งไม้ เครื่องมือ สายระโยงระยางในห้องไอซียูที่น่ากลัว แต่หลายคนก็ไม่สามารถหลุดพ้นจากสภาพนี้ไป ได้ เพราะเมื่อเข้าไปอยู่ในระบบสายพานของการดูแลรั ก ษาในโรงพยาบาลที ่ ม ี ว ิ ท ยาการทางการแพทย์ เป็น ตัวนำ และยิ่งเมื่อมีการนำการแพทย์ส่วนหนึ่งไปเป็น บริการเชิงธุรกิจด้วยแล้ว การพยายามรั้งชีวิตคนไข้ที่ถึง วาระสุดท้ายแล้วไว้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นได้เสมอ ๆ

จนบางครั ้ ง ถู ก มองว่ า อาจทำไปด้ ว ยเหตุ ผ ลทางธุ ร กิ จ

หรือไม่ มาตรา 12 ของ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ได้เขียนรับรองสิทธิให้กับทุกคนที่ห่วงใยว่าวันหนึ่ง ในอนาคต เราอาจตกอยู่ในสภาพถูกรั้งการตายอย่าง ทุกข์ทรมาน ญาติพี่น้องอาจต้องสูญเสียทรัพย์สินเกิน จำเป็ น เราก็ ส ามารถเขี ย นหนั ง สื อ แสดงเจตนารมณ์ ปฏิเสธการรักษาที่เป็นไปเพียงแค่ยืดหรือรั้งการตายของ เราออกไป โดยเขียนเป็นหนังสือไว้ล่วงหน้า ให้ญาติใกล้ชิดรับรู้และเก็บรักษาไว้แสดงเมื่อถึงวาระนั้น ที่เราไม่มีสติ ที่จะปฏิเสธได้เองแล้ว ขณะนี ้ ม ี ก ารออกกฎกระทรวงและแนวปฏิ บ ั ต ิ สำหรับ บุค ลากรสาธารณสุ ข เสร็จ เรี ย บร้ อยแล้ว มีผ ล ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เพื่อให้บุคลากรฯ ใช้ สำหรับการดูแลคนไข้ที่เขียนหนังสือแสดงเจตนารมณ์ไว้ และเป็นประโยชน์สำหรับการให้คำปรึกษาแก่คนไข้หรือ ญาติมิตรที่ประสงค์จะเขียนหนังสือแสดงเจตนารมณ์ ดังกล่าวด้วย เพื ่ อ นหมออนามั ย และท่ า นผู ้ อ ่ า นศึ ก ษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.nationalhealth.or.th หรือที่ www.thailivingwill.in.th เพื่อที่เราทุกคนจะได้ดำเนินชีวิต ด้วยความไม่ประมาท เพราะไม่ช้าก็เร็ว เราทุกคนก็ต้อง ผ่านจุดนั้นของชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นคนไข้ก็จะได้ไม่ต้องให้ใครมารั้งการตายของ เรา โดยที่เราก็ไม่มีทางฟื้นกลับคืนมามีชีวิตปกติธรรมดา ได้อีก เราก็ไม่ต้องทุกข์ทรมาน ญาติก็ไม่ต้องทุกข์ และไม่ ต้องเสียเงินทองทั้งของส่วนตัวและของประเทศชาติโดย ไม่จำเป็น เป็นหมอก็จะตัดสินใจดูแลรักษาได้อย่างสะดวกใจ เพราะรู้เจตนาของคนไข้ชัดเจน ไม่ต้องเผลอไปรั้งการตาย จนทำให้คนไข้อยู่ในสภาพที่เรียกว่า “ฟื้นก็ไม่ได้ ตายก็ ไม่เป็น” และจะได้ไม่ถูกครหาด้วยว่า ทำตัวเป็นเทพเจ้า ตัดสินชีวิตผู้อื่น หรือทำไปเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ

amphon@nationalhealth.or.th /กรกฎาคม - สิงหาคม 2554


บทบรรณาธิการ

บัวใหญ่ : ชุมชนจัดการตนเอง ข้อเสนอสำคัญของสมัชชาเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื ่ อ การปฏิ รู ป เมื ่ อ เดื อ นมี น าคม 2554 คื อ “ปฏิ รู ป ประเทศไทย ให้ ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น จั ด การตนเอง” ซึ ่ ง สอดคล้องกับมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3 และมติ สมัชชาปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 1 ที่มีฉันทามติให้ทุกภาคส่วนเร่งรัด “นโยบายสนับสนุนพื้นที่จัดการตนเอง” เพื่อ ให้ชุมชนท้องถิ่นทุกแห่งมีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาใน พื้นที่โดยใช้ทุนที่มีอยู่โดยอาศัยทุนจากภายนอกน้อยที่สุด ความคิดดังกล่าว หากฟังดูแล้วบางคนอาจคิดว่า เป็นไปไม่ได้ แต่ในความเป็นจริงมีชุมชนหลายแห่งกำลัง พัฒนาไปสู่จุดนั้น ซึ่งตัวอย่างหนึ่งในหลาย ๆ กรณีเกิดขึ้นที่ ตำบลบัวใหญ่ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน รูปธรรมหนึ่งที่บัวใหญ่นำมาใช้คือ การจัดให้มี แผนแม่บทชุมชนเพื่อใช้เป็นกรอบการทำงานขององค์กร หน่วยงานและประชาชนในตำบล โดยชาวบ้านที่นั่นเรียก แผนที ่ เ ขาช่ ว ยกั น จั ด ทำขึ ้ น มาว่ า “แผนพั ฒ นาสั ง คม เศรษฐกิ จ ทรั พ ยากรธรรมชาติ สิ่ ง แวดล้ อ มตำบล บัวใหญ่” ฟังดูเข้าท่าทีเดียว ตำบลบัวใหญ่ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวน แห่งชาติ ฉะนั้น ปัญหาหลักของที่นี่คือความไม่มั่นคงใน ที่ดินทำกิน เพราะมีแปลงที่ดินทำกินกว่าหนึ่งในห้าตั้งอยู่ใน เขตป่าสงวนแห่งชาติ อาชีพที่ทำก็เป็นเกษตรเชิงเดี่ยวที่ ปลูกข้าวโพดเป็นหลัก ทำให้ดิน น้ำ ป่า เสื่อมโทรม กระบวนการฟื ้ น ฟู ช ุ ม ชนท้ อ งถิ ่ น ของตำบล บัวใหญ่เริ่มต้นอย่างจริงจัง หลังจากมีการนำระบบข้อมูล สารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS มาใช้จัดทำฐานข้อมูลทาง ด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติ ของตำบล อย่างละเอียด แล้วเชิญชวนผู้นำชุมชนมาร่วมเวทีพูดคุย แลกเปลี่ยนกัน โดยกลไกหลักที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใหญ่คือ สภาองค์กรชุมชนตำบลบัวใหญ่ จนในที่สุดก็ได้แผนแม่บทชุมชนที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ฑิฆัมพร กองสอน ในฐานะประธานสภาองค์กร ชุมชนตำบลบัวใหญ่ เล่าให้ผมฟังว่า... “กว่าจะออกมาเป็นแผนฉบับนี้ ได้เพียรพยายาม มาปีเศษ โดยเริ่มที่การรวมคนที่สนใจแล้วมาสร้างความ

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

เข้าใจจนเกิดทีมทำงาน ช่วยกันวิเคราะห์ทุนในพื้นที่รวมทั้งจุด อ่อนจุดแข็งของตำบล รวมทั้งรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ในทุกมิติ จัดเวทีแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านในทุกหมู่บ้าน แล้วนำปัญหา และความต้องการมายกร่างเป็นแผน แล้วจัดสมัชชาเชิญชวน คนทั ้ ง ภาครั ฐ ภาควิ ช าการ และแกนนำชุ ม ชน มาร่ ว มกั น พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อแผน แล้วจึงประกาศใช้แผน” “โครงสร้างพื้นฐานดี วิถีชีวิตพอเพียง มีเงินออม ใส่ ใ จวั ฒ นธรรมและการศึ ก ษา ร่ ว มสร้ า งสุ ข ภาวะและ

สิง่ แวดล้อม” คือวิสยั ทัศน์ทป่ี รากฏอยูใ่ นแผน มี 6 ยุทธศาสตร์ สำคัญ ได้แก่ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟู วัฒนธรรมประเพณี พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาคน พัฒนาและ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และส่งเสริมการสร้างสุข มีกลไก ขับเคลื่อนแผนคือ บวรส. หรือ บ้าน (ท้องที่ ท้องถิ่น สภาและ ประชาชน) วัด (พระสงฆ์) โรงเรียน (ครู นักเรียน) และหน่วยงานสาธารณสุข (หมอ อสม.) ภายใต้ ย ุ ท ธศาสตร์ แ ต่ ล ะด้ า น จะมี ร ายละเอี ย ด กิจกรรมโครงการรองรับ ซึ่งมีโครงการที่ดำเนินในทุกด้านรวม ทั้งสิ้น 113 โครงการ และได้จำแนกแยกแยะไว้อย่างชัดเจนว่า แต่ละโครงการมีใครบ้างที่รับผิดชอบ และเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ได้จัดให้มีเวที ประกาศใช้แผนอย่างเป็นทางการท่ามกลางสายฝนโปรยปราย ในวั น นั ้ น มี ผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด น่ า นมาเป็ น ประธาน และที ่ สำคัญก็คือ มีผู้คนที่ทำงานในตำบลจากทุกหน่วยทุกภาคมา ร่วมในงานอย่างคับคั่งและรับว่าจะนำแผนนั้นไปปฏิบัติตาม ภารกิจของตน ยังทราบอีกว่ายังมีตำบลอีกอย่างน้อย 152 ตำบล จากทุ ก จั ง หวั ด อาสาลุ ก ขึ ้ น มาดำเนิ น การตามแบบที ่ ช าว บัวใหญ่กำลังดำเนินการอยู่ ใครก็ตามที่ได้มีโอกาสไปร่วมงานดี ๆ อย่างนี้ คงมี ความสุ ข ที ่ ไ ด้ เ ห็ น ปฏิ บ ั ต ิ ก ารภาคประชาชน ซึ ่ ง ลุ ก ขึ ้ น มา ประกาศต่ อ สาธารณะว่ า ชุ ม ชนของพวกเขาเป็ น “ชุ ม ชน

ท้องถิ่นจัดการตนเอง” ซึ่งนี่คือปฏิบัติการจุดเล็ก ๆ ที่จะนำ ไปสู่ “การปฏิรูปประเทศไทย” นั่นเอง กอง บ.ก. วิชาการ


รั ก ป ร ะ ช า ช น - รั ก ห ม อ อ น า มั ย

www.moph.go.th/ops/doctor www.mohanamai.com

ปี ที่ 21 ฉ บั บ ที่ 1 ก ร ก ฎ า ค ม - สิ ง ห า ค ม 2 5 5 4

รายงานพิเศษ

เรื่องจากปก : อดิเรก เร่งมานะวงษ์ : องค์ความรู้จะก้าวไกล...

ถ้าหมออนามัยทำวิจัยเป็น ......................................................4 สัมภาษณ์พิเศษ : ขันทอง ปิติพุทธิพงศ์ : หัวใจดวงนี้... ไม่มีเกษียณ ..............17 รายงานพิเศษ : ผลสุ่มสำรวจ... เบื่อ... เซ็ง วารสาร ! .................................28

33

41

ปกิณกะ

4

คอลัมน์ประจำ คุยกับหมออนามัย : ปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิต .......................1 บทบรรณาธิการ : บัวใหญ่ : ชุมชนจัดการตนเอง ........................................2 สร้างเสริมสุขภาพคนพิการ : ผักและผลไม้ 5 สี กับสุขภาพดีที่ยาวนาน .........33 หลักประกันสุขภาพไทย : 10 สิ่งพึงกระทำใน รพ.สต. ......................................37 ภูมิปัญญาไทย : ไม้หอม ต้นไม้กับวัฒนธรรมไทย (2) ..............................41 ร้อยเรื่อง...เครื่องมือทำงาน : เทคนิคการสัมภาษณ์ ......................................45 กฎหมายสาธารณสุข : ข้าราชการที่ดีต้องมีวินัย ...........................................49 รอยอดีต : ผ่านเบ้าหลอม ................................................................57 บันทึกทันตาภิบาลไทย : วิชาชีพทันตกรรมของทันตาภิบาล .............................61 มองชีวิต : เมื่อผู้หญิงจะเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย ......................63 ข่าวในแวดวงหมออนามัย : ................................................................................82 จากเพื่อนถึงเพื่อน : ต้นไม้แห่งชีวิต : ความคิด... และการเติบโต ................87

หนังสือชวนอ่าน : หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการ สาธารณสุข ................................................................... 55 เรื่องสั้น : หมออนามัย... นอกกะลา ............................................. 68 มุมระบายกับนายเดินเดี่ยว : ............................................................................... 74 สอ. ขายขำ : ...................................................................................... 76 เรื่องเล่าจาก สอ. : จับเข่ากวีจีน เยือนถิ่นชาวจ้วง (7) .............................. 77 มาทายปัญหากันเถอะ : ................................................................................... 81

55


เ รื่ อ ง จ า ก ป ก วิวัฒน์ วนรังสิกุล

อดิเรก เร่งมานะวงษ์ องค์ความรู้จะก้าวไกล... ถ้าหมออนามัยทำวิจัยเป็น

ª’∑’Ë 21 ©∫—∫∑’Ë 1


หากลองสวมแว่นจิตวิเคราะห์ที่ว่าด้วยความต้องการของมนุษย์ ตามแนวคิด “ทฤษฎีความต้องการ (Need Theories)” ของมาสโลว์ (Abrahum Maslow) ที่มอง “ความต้องการของมนุษย์” ว่าเป็นความ ต้องการที่เรียงลำดับจากระดับพื้นฐานที่สุด ไม่ว่าจะเป็น อากาศ อาหาร น้ำ ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ฯลฯ ไปสู่ความต้องการที่ซับซ้อนมากขึ้น อย่าง ต้องการการยอมรับจากสังคม เกียรติยศชื่อเสียง ตลอดจนต้องการที่จะ   เติมเต็มความสมบูรณ์ให้ชีวิตทั้ง การศึกษา หน้าที่การงาน และทรัพย์สินศฤงคาร... มนุษย์ปุถุชนคนปกติโดยทั่วไปก็ล้วนเติบโตพากันมีวิถีชีวิตไปตาม ขั้นและตอนดังว่า ฉะนี้แล้ว จะแปลกอะไรที่หมออนามัยหนุ่มใหญ่วัยต้น 40 คนหนึ่ง ผู้มีองคาพยพแค่ กว้างศอก ยาววา หนาคืบ จะไม่หลุดเข้ามาอยูใ่ น วงโคจรแห่งวัฏฏะของ “ความต้องการ” ที่เขากล้าบอกว่า การได้ก้าวย่างเข้า มาสู่ความเป็น “หมออนามัยนักวิชาการ” ที่มีงานวิจัยน่าจับตา ผ่านเวที นำเสนอผลงานวิชาการจนเลื่องลือกันในแวดวงว่าเป็นนักล่ารางวัลตามเวที ต่าง ๆ อย่างไม่น้อยหน้าใคร นั้น แต่เดิมเขามีหลักหมุดเบื้องต้นตรงที่... ต้องการได้รางวัล อยากขึ้นไปนำเสนอผลงานบนเวที ! ต่างก็ตรง ณ วันนี้ เมื่อวันวัยมาถึงช่วงที่วุฒิภาวะเติบโตขึ้น ความต้องการพื้นฐานในชีวิตระดับต่าง ๆ ได้รับการตอบสนองจนไม่ต่นื เต้น กับชื่อเสียงเกียรติยศอีกต่อไป เขาคนนี้ได้เลือกที่จะนำพาตัวเองไปสู่เส้นทางของ “การให้” พยายามเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้วย งานวิชาการ โดยมุ่งหวังจะให้เหล่าเพื่อนหมออนามัยได้... ทำวิจัยเป็น ! ฤๅหมออนามัยจักเป็น “นักวิชาการ” ได้เพียง... แค่ชื่อ ! เมื่อเจอะเจอคำว่า “นักวิชาการ” ในมิติใดมิติหนึ่งของการรับรู้ ภาพที่ผุดขึ้นมาในห้วงนึกของใคร ๆ ก็คือ บุคคลผู้เจนจัดในศาสตร์ใด ศาสตร์หนึ่งเป็นอย่างสูง บ้างเป็นกูรูที่ล่วงรู้ไปหมดทุกแขนงหรือเชี่ยวชาญ ในการวิเคราะห์วิจารณ์ปัญหาใดปัญหาหนึ่งจนทะลุปรุโปร่ง นั่นไม่นับรวม ถึงความเป็นมนุษย์พันธุ์หนึ่งที่คงกระพันทางการศึกษา พ่วงปริญญาพา ดีกรีติดตัวไม่ต่ำกว่าสองใบ ไหนจะบุคลิกลักษณะที่เคร่งขรึมดูดีมีภูม ิ

อีกเล่า ! ทว่า นั่นอาจเป็นแค่ภาพนิมิตที่ติดอยู่ในใจของคนนอกแวดวง เท่านั้น เพราะแท้จริงแล้ว ในหลายต่อหลายหน่วยงาน นักวิชาการก็คือ

เขาคนนี้ ไ ด้ เ ลื อ กที่ จ ะ นำพาตัวเองไปสู่เส้นทางของ “การให้ ” พ ย า ย า ม เ ชื่ อ ม โ ย ง เครื อ ข่ า ยเพื่ อ พั ฒ นา องค์ ค วามรู้ ด้ ว ยงาน วิ ช าการ โดยมุ่ ง หวั ง จะให้เหล่าเพื่อนหมออนามั ย ได้ . .. ทำวิ จั ย เป็น !

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554


ตำแหน่งที่ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อให้ ทันกับกระแสที่แปรผั น ตรงกับ ทฤษฎีการพัฒนาและการบริหารจัดการองค์กร โดยเฉพาะหน่วยงานราชการที่พากั น ถื อ ว่ า นี่ เ ป็ น ตำแหน่งภาคบังคับมีไว้เพื่อขยาย กรอบและช่วยขยับอัตราเงินเดือน ให้กับบุคลากรในสังกัด ซึ่งถ้าไม่ หน้ามืดตามัวออกมาปกป้องอู่ข้าวอู ่ น ้ ำ ตั ว เอง ยื ด อกยอมรับแบบ นั ก เลงก็ จ ะได้ ข ้ อ มู ล ตามจริ ง ว่ า นักวิชาการส่วนใหญ่นั้น... ทำงาน วิชาการไม่เป็น ! เหตุผลส่วนใหญ่ที่ทำให้ เกิดภาวะ “นักวิชาการแค่เพียง ชื่อ” ขึ้นได้นั้น คงเพราะการเข้าสู่ ตำแหน่งนักวิชาการของบุคลากร   ที่สังกัดหน่วยงานราชการคือการ สอบเพื่อปรับเปลี่ยนตำแหน่ง จาก เดิมเป็นเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ ก็ ส อบชิ ง ตำแหน่ ง แล้ ว ผ่ อ งถ่ า ย เปลยี่ นสายงานไปเป็นนักวิชาการ ! “นักวิชาการสาธารณสุข” เป็นตัวอย่างที่เห็นภาพได้ชัดเจน ที่สุดถึงมรรควิธีที่จะนำไปสู่ความ ก้ า วหน้ า ในหน้ า ที่การงานของ

ª’∑’Ë 21 ©∫—∫∑’Ë 1

บุคลากรสายสุขภาพระดับปฏิบัติ งาน ไต่เพดานความก้าวหน้าได้ก็ ด้วยการสอบปรับเปลี่ยนตำแหน่ง หากลองปรายตามองไปยังนักวิชาการตามหน่ ว ยงานสาธารณสุ ข ระดับปฐมภูมิของน่านฟ้าเมืองไทย โดยเฉพาะสถานีอนามัย ก็จะพบ ว่ า เกื อ บทั้ ง หมดล้ ว นแล้ ว แต่ เ คย เป็ น “เจ้ า พนั ก งานสาธารณสุ ข ชุมชน” มาก่อน งานที่ผ่านมาก็ คุ้นชินกับเรื่องการให้ บริการและ ดู แ ลสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพแก่ ค นใน ชุมชนก็แค่นั้น อะไรคืองานวิชาการ กั น แน่ เขี ย นโครงการเพื ่ อ ของบประมาณ ? ทำแผนผั ง ข้ อ มู ล รายงานสถิติการเจ็บป่วย ? สอน สุขศึกษา ? ฯลฯ นั่นใช่งานวิชาการ แล้วละหรือ ? ถึงแม้ ก.พ. จะได้ กำหนดมาตรฐานโดยแบ่งและแยก บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของ นักวิชาการสาธารณสุขไว้ให้ชัดเจน แล้ ว ก็ ต าม แต่ พ อเจอะเจอกับ ภารกิจหนึ่ง นั่นคือ “ต้องทำวิจัย และผลงานวิชาการ” เพียงแค่นี้ก็ ทำเอาเหล่ า นั ก วิ ช าการหน้ า มื ด ตาลายคล้ายจะเป็นลมแทบจะล้ม-

ตึ ง กั น ระนาว เกิ ด อาการ “กลั บ

ตัวก็ไม่ได้ ให้เดินต่อไปก็ไปไม่

ถึ ง ” อย่ า งถ้ ว นทั่วแทบทุ ก ตั ว คน   ซึ ่ ง หมายรวมถึ ง “อดิ เ รก เร่ ง -

มานะวงษ์” ที่ปัจจุบันกำลังครอง ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ แห่ ง สถานี อ นามั ย โนนเสลา อำเภอภูเขียว จังหวัด ชัยภูมิ คนนี้ด้วย ! “ตัวผมนี่เริ่มทำงานปี 33 เป็นเจ้าพนักงานฯ ก็ทำไป ๆ ตอน นั้นในเรื่องวิชาการมันก็ยังไม่ค่อย จ๋าเท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่งานของ เราเน้นการให้บริการ ส่วนในเรื่อง การประเมินผลการสังเคราะห์การ วิเคราะห์ข้อมูลนั้นยังไม่มีอะไรมาก หรอก ส่วนใหญ่เราก็ทำในลักษณะ ของวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติง่าย ๆ แล้วนำเสนอเป็นกราฟเป็นแผนผัง ไป ถ้าถามถึงจุดเริ่มของผมมันก็ เกิดขึ้นตรงการปรับตำแหน่งครับ คื อ คนส่ ว นใหญ่ น ี ่ จ ะชอบการบี บ

บังคับใช่มั้ยพี่ ผมก็ยังงั้นแหละ พอ มันมีกรอบอัตรากำลังให้เราข้ามไป ดำรงตำแหน่งที่มันก้าวหน้าได้ด้วย วิธกี ารสอบโดยต้องมีวฒ ุ ปิ ริญญาตรี พอสักประมาณปี 34 – 35 ผมก็ไป เรียน มสธ. เพื่อเอาวุฒิปริญญาไว้ รอสอบ ก็เหมือนที่บอกแหละพี่ว่า เราหมายตาตำแหน่ ง นั ก วิ ช าการ

ไว้ ผมว่านะ เจ้าพนักงานฯ แทบ ทุกคนก็คิดแบบนี้ทั้งนั้นแหละเนาะ ตอนนั ้ น ก็ เ ห็ น ประกาศของ ก.พ. มาบ้างว่าคุณสมบัติของนักวิชาการสาธารณสุ ข เป็ น ยั ง ไง แต่ ไ ม่


ค่อยเข้าใจ วิจงวิจัยทำยังไงไม่รู้ หรอก ถ้าใครเรียน มสธ. คงจำได้ ว่าตอนอบรมเข้ม มีหัวข้อหนึ่งว่า ด้วยการวิจัย ใครจะมาอบรมเข้มที่ มสธ. อาจารย์เขาจะบอกว่าให้ทำ โครงการวิจัยมาด้วย 1 เรื่อง ผมก็ ทำเรื่องความรู้การใช้ยงใช้ยา แต่ เราไม่ รู ้ ห รอกนะว่ า มั น ถู ก หรื อ ไม่

ถู ก เพราะเราไม่ ม ี พ ื ้ น ฐานไม่ ม ี ประสบการณ์ อ ะไรมาก่ อ นเลย กระบวนการวิจัยที่อ่านจากตำรา มันก็อ่านเพื่อสอบเท่านั้น มันเข้าใจ ยาก ไม่ เ ห็ น ภาพ ที ่ ผ มทำมั น ก็ คล้ า ยเป็ น สรุ ป โครงการนะพี่ พอ เราย้อนกลับไปดูแล้วมันไม่ใช่งาน วิ ช ากงวิ ช าการอะไรเล้ ย จบมา แบบงง ๆ (หัวเราะชอบใจ) จบมา พอดีมีการเปิดสอบแล้วก็ได้ ปี 37 ได้ ป รั บ ตำแหน่ ง เป็ น นั ก วิ ช าการสาธารณสุข ตอนนั้นผมอยู่ที่สถานีอนามัยกุดจอก อยู่ที่อำเภอภูเขียว นี ่ แ หละ เราก็ ม านั ่ ง ทั บ ตำแหน่ ง

นักวิชาการอยู่นะ แต่ก็ยังทำวิจัย

ไม่ เ ป็ น อยู ่ ด ี งานที ่ ท ำก็ แ บบเดิ ม ให้การดูแลรักษาเหมือนตอนเป็น เจ้าพนักงานฯ ทำรายงานอะไรก็มี แบบฟอร์ ม มาให้ จ ากจั ง หวั ด จาก อำเภอ เขาให้ทำอะไรก็ต้องว่าตาม

นั้น นโยบายก็เอาของเขามา เขาบอก 1 – 2 – 3 – 4 พอเป็นแบบนี้ผมก็ เริ่มมีคำถามกับตัวเองเหมือนกันนะว่างานที่เราทำมันเป็นนักวิชาการตรง ไหน พอดีผมได้มีโอกาสเข้าไปร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานทางวิชาการใน เวทีประกวดผลงานวิชาการสาธารณสุขระดับเขตของเขต 5 ที่มี 4 จังหวัด สมาชิกคือ ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ปีนั้นจังหวัดสุรินทร์เป็น เจ้าภาพ ผมว่าตรงเวทีนั้นแหละน่าจะเป็นตัวจุดประกายในเรื่องการทำงาน ทางด้านวิชาการของผมจริง ๆ ผมไปนั่งฟังก็เห็นพวกน้อง ๆ ที่เขาเป็นเจ้าพนักงานธรรมดาบ้าง มีพี่ที่เขาอยู่จังหวัดบ้าง เขาพากันไปนำเสนอผลงาน แล้วเขาก็ดูดีมากเลยพี่ ตอนนั้นผู้ทำหน้าที่วิพากษ์วิจารณ์ก็คืออาจารย์ที่

มาจากมหิดล คนที่นำเสนอเขาก็ทำเรื่องง่าย ๆ นะ คือเขาเอาข้อมูลทาง ระบาดมานั่งดูแล้ววิเคราะห์ มันก็เป็นข้อมูลเชิงสำรวจนะ แต่เขาเก่งที่ทำ มันเป็นงานวิชาการขึ้นมาได้ พอเราเห็นก็ว่า เอ้อ ! ของมันเจ๋งนะ เราก็ตั้ง ภาพฝันไว้แต่นั้นเลยว่าอยากทำให้ได้อย่างนั้นบ้าง คือมันอาจจะไม่ใช่ ทะเยอทะยานนะ แต่ว่าคล้าย ๆ เป็นความตื่นเต้นท้าทายมากกว่า คือเรา

ก็อยากเดินไปรับรางวัลตรงนั้นบ้าง แล้วตอนนั้นเขามีรางวัลใหญ่เป็นสิ่งล่อ ใจด้วย คนที่ได้รางวัลชนะเลิศจะได้ไปเกาหลีด้วยนะ (หัวเราะเสียงดัง) แต่พี่ ครับ จริง ๆ แล้วของรางวัลที่ได้มามันก็ส่วนหนึ่งแต่ไม่จำเป็นมากนักหรอก ที่มันเป็นแรงบันดาลใจจริง ๆ ก็คืออยากมีส่วนร่วม อยากให้อาจารย์ติงาน ของเราบ้าง คือมันเป็นเกียรติของเรานะพี่ที่ถึงแม้จะโดนวิจารณ์แต่ก็ถือว่า อาจารย์เขาได้หยิบงานของเรามาอ่าน กลับมาผมก็เริ่มตั้งใจว่าจะทำวิจัย แล้วครับ ไว้เตรียมส่งประกวดในเวทีฯ ครั้งต่อไป” หมอหนุ่มมาดนิ่งย้อนเล่าเรื่องจริงที่เป็นเสมือนจุดเริ่มของชีวิต “หมออนามัยนักวิชาการ” ที่นับนิ้วเวลาจากวันนั้นจนถึงวันนี้ได้... 17 ปี แล้ว !

ค้นหาไม่มีหยุด... ย่อมจะผุดบังเกิด

หลังกลับจากสุรินทร์ครานั้น ชายหนุ่มก็พกความ หวังมาเต็มกระเป๋าใจ ขอตั้งหลักใหม่แล้วเดินหน้าทำงานวิจัย พยายามสร้างแบบสัมภาษณ์ไว้ใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บ ข้อมูล ลองเอางานเก่า ๆ ของคนอื่นที่เคยเป็นผลงานวิชาการดีเด่นมาเป็นแนวทาง แต่คงเพราะเป็นลักษณะของการเรียนรู้ แบบครูพักลักจำ ไม่มีผู้ใดคอยชี้แนะที่ชัดเจนและถูกทาง ตลอดจนไม่มีกระบวนการที่ตอบโจทย์ได้จริง ๆ ในที่สุด ปี

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554


2542 หนุ่มแว่นผู้แสนมุ่งมั่นก็พาตัว เองไปฝากฝังเป็นศิษย์ ณ สำนัก มอดิ น แดง เข้ า รับการศึ ก ษาใน ระดับปริ ญ ญาโทที่คณะมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในสาขาสังคมวิ ท ยาการพั ฒ นา โดยหวั ง ใจไว้

ว่าจะนำความรู้ที่ได้ในระดับมหาบัณฑิตมาช่วยเติมเต็มความเป็น   นักวิชาการให้ชัดเจนและเป็น “ตัว จริง” มากขึน้ ! “ช่ ว งเวลาที ่ ผ มไปเรี ย น ผมใช้เวลา 2 ปีกว่า ๆ ที่ผมเรียน เรื่องการวิจัยนี่ ได้เรียนหมดทั้งใน เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งมัน ก็เหมาะสำหรับเราที่ชอบในเรื่อง ของการวิ จ ั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ เพราะ บางสิ ่ ง บางอย่ า งมั น ตอบในเรื ่ อ ง ของตัวเลขไม่ได้ บางครั้งในเรื่อง ชุมชนมันก็มีสิ่งต่าง ๆ ที่จะเก็บเป็น ตัวเลขไม่ได้ จบมาก็พอดีย้ายไปอยู่ สถานี อ นามั ย ภู ด ิ น ซึ ่ ง อยู ่ ใ นเขต ตำบลโนนสะอาดเหมือนที่กุดจอก แหละครับ เราก็เริ่มลงมือทำวิจัย ในพื้นที่เลย วิธีการและชิ้นงานที่ ออกมามันก็มีรูปแบบเหมือนวิทยานิพนธ์เป๊ะ มีสมมติฐานมีขั้นตอน ต่าง ๆ เหมือนหมดเลยนะ ผมทำ เรื่องบัตรทอง ที่สนใจทำเรื่องนี้ก็ เพราะกระแสครั บ ตอนนั ้ น มั น มี เรื ่ อ งบั ต รทองเข้ า มาใหม่ ไ งครั บ ชาวบ้านเขาก็สับสน มีการ refer ข้ามขั้นตอน ผมเลยสนใจอยากทำ เรื่องนี้ เราอยากรู้เรื่องการใช้บริการ ทางการแพทย์ อยากดู ค วามพึ ง

ª’∑’Ë 21 ©∫—∫∑’Ë 1

ตอนนั้ น มั น มี เ รื่ อ ง บัตรทองเข้ามาใหม่ ไงครับ ชาวบ้านเขา ก็ สั บ ส น

มี ก า ร

refer ข้ า มขั้ น ตอน ผมเลยสนใจอยาก ทำเรื่องนี้

พอใจของประชาชนที ่ ม ี ต ่ อ สอ. ด้วยว่าเขารู้สึกกับเรายังไง ตอนนั้น เก็ บ ข้ อ มู ล เชิ ง ปริ ม าณ ผมทำเอง เลย ไม่มีที่ปรึกษา อาศัยความรู้ที่ เรียนมานั่นแหละ หลังทำวิจัยเสร็จ ก็ส่งเข้าประกวด ซึ่งมันก็เป็น step นะ คื อ ต้ อ งเริ ่ ม จากส่ ง ไป สสจ. ก่อน คือจังหวัดนี่ก็จัดทุกปีเหมือน กั น ผมส่ ง ไปก็ ไ ด้ ท ี ่ 3 ก็ ผ ่ า นคั ด เลือกให้เข้าไปร่วมนำเสนอผลงาน บนเวทีวิชาการระดับเขตตอนปี 45 แต่ ไ ประดั บ เขตนี ่ ไ ม่ ไ ด้ ร างวั ล นะ แค่งานของเราได้เผยแพร่ก็ดีใจแล้ว อย่ า งน้ อ ยก็ ไ ด้ ข ึ ้ น เวที สั ่ น มากพี ่ อาจารย์ก็วิพากษ์งานของเรา เราก็

เก็บสิ่งที่อาจารย์วิพากษ์ไว้ อะไรที่ เราปรับแก้ได้เราก็จะทำ ก็ถือเป็น บทเรียนสำหรับเราไปปรับปรุงการ ทำงานในครั้งต่อ ๆ ไปได้” ถึ ง แม้ จ ะพลาดรางวั ล แต่นั่นไม่ใช่เรื่องน่าตระหนกที่ต้อง ยกมาตีอกชกตัว รุ่งปี 2546 อดิเรก ก็ เ ริ ่ ม หาแหล่ ง ทุ น และเสาะแสวง เพื่อคลำทางไปสู่การฟูมฟักทักษะ และหลักการในการทำวิจัยให้ถูกต้องสมบูรณ์อีกครั้ง “คือทาง สวรส. (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุ ข : ผู ้ เ ขี ย น) สาขาภาคอี ส านเขาประกาศให้

ทุน ทำวิจ ัย มาเป็ นหนั งสื อ เวี ยนที ่ จังหวัด ในประกาศนั้นบอกว่าใคร สนใจให้ ส ่ ง โครงร่ า งการวิ จ ั ย ไป ตอนนั ้ น เราเป็ น เด็ ก มากพี ่ ไม่ รู ้

อีโหน่อีเหน่ ผมก็ส่งโครงร่างไปที่ สวรส. อีสาน ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ คณะแพทยศาสตร์ มข. หลังจาก นั้นทาง สวรส. ก็เชิญเราเข้าไปนำเสนอไอเดียในสิ่งที่เราอยากทำ ผม ก็นำเสนอเรื่องจะทำวิจัยเกี่ยวกับ บัตรทองนี่แหละ คือผมอยากต่อ-

ยอดเรื่องบัตรทองหนะ เราเข้าไป นะเป็นเด็กที่ไม่รู้ ไม่รู้อะไรเลย คือ หมายถึงไม่รู้จักใคร ก็ยังนึกขอบพระคุ ณ อาจารย์ อ ยู ่ น ะที ่ เ ลื อ ก

เรา เพราะว่ า ส่ ว นมากจะมี พ วก อาจารย์มหาลัย หรือพวกนักวิชาการที่เป็นพี่ ๆ อย่างพี่จาก สสจ. ขอนแก่น ส่วนจังหวัดชัยภูมินี่ไม่มี ใครไปเลยนอกจากผม ตอนเรานำ-


เสนอโครงร่างก็มีอาจารย์เป็น รศ. เป็น ผศ. ทั้งนั้นที่ไปนั่งฟังของเรา ก็คิดอยู่นะว่าคงไม่ได้แล้วมั้ง ทีนี้ อาจารย์เขาคงเห็นว่าเรามีลูกบ้ามั้ง ที่กล้ามานำเสนอ เลยให้ทุนวิจัย เรามา แต่ก็มีเงื่อนไขว่าเราต้องทำ เป็นทีมซึ่งเป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ แต่ต้นอยู่แล้ว งานชิ้นนี้ก็เลยเป็น งานกลุ่มชิ้นแรก ๆ ของผม ทีมของ ผมเป็นพยาบาลและเจ้าหน้าที่ห้อง บั ต รของโรงพยาบาลภู เ ขี ย ว ซึ ่ ง เป็นกลุ่มที่รู้เรื่องนี้ดี เขาสัมผัสกับ เรื่องนี้อยู่แล้ว มันก็ง่ายในการเก็บ ข้อมูล ทั้งข้อมูลของตัวเลขว่าชาวบ้านเขามาใช้ยังไง ขึ้นทะเบียนยัง ไง หรือไม่ขึ้นยังไง เราได้ทุนมา ตอนนั้นประมาณ 8 หมื่น ซึ่งมันก็ เยอะมากนะสำหรั บ เราที ่ ไ ม่ ม ี ตำแหน่งอะไรแต่อาจารย์ยอมให้ อาจารย์ เ ขาคงคิดกันนะว่าอยาก เอาพวกระดับต่ำ ๆ มาทำงานวิจัย ประมาณนี้ พอได้เงินทุนมาเราก็ ฟอร์ ม ที ม กั น แล้ ว วางแผนเก็ บ ข้ อ มู ล แต่ ค ราวนี ้ เ ราไม่ ไ ด้ ท ำกั น แบบโดดเดี่ยวเพราะเรามีทีมจาก สวรส. มาเป็นพี่เลี้ยง มีอาจารย์ที่ ปรึกษาซึ่งคนทาง สวรส. เชิญมา อาจารย์ที่ปรึกษาก็คืออาจารย์ของ ผมสมัยเรียน ป. โท เลยค่อนข้าง คุ้นเคยกัน อาจารย์เขามาลง field กับเราด้วย ท่านลงมาติดตาม มา ช่วยเรา ไม่ได้มาตรวจสอบแต่มา ช่วยดูช่วยปรับให้มากกว่า ผมว่านี่ คือข้อดีของการทำวิจัยโดยมีแหล่ง ทุนสนับสนุนเนาะ มันทำให้เราได้ ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลย มีการ train

ด้วยนะ เรียนรู้เข้มเลยว่างานวิจัย เชิงคุณภาพจะต้องเก็บข้อมูลยังไง การสัมภาษณ์เชิงลึกจะต้องทำยัง ไง การสนทนากลุ่มต้องทำอย่างไร พอดีงานชิ้นนี้ผมต้องการทำเป็น เชิ ง คุ ณ ภาพด้ ว ยไง เลยได้ ค วาม รู้มากขึ้นจริง ๆ ระบบของการนำ เสนองานก็เป็นขั้นตอน เหมือนกับ เขาต้องการฝึกให้เราเป็นนักวิจัย มืออาชีพยังงั้นเลยพี่ พอครบปีก็ส่ง รายงานการวิจัย เขาก็คัดเลือกส่ง ไปนำเสนอในเวทีใหญ่ของ สวรส. ที่เขาจัดกันที่กรุงเทพฯ นั่นเป็นครั้ง แรกเลยที ่ ผ มได้ ข ึ ้ น เวที ใ หญ่ ๆ ขนาดนั้น ส่วนมากก็ได้ขึ้นแต่เวที จังหวัด พอขึ้นเวทีใหญ่มันก็ตื่น เต้ น แต่ ม ั น ก็ ไ ด้ ป ระสบการณ์ ด ี เนาะพี่เนาะ” ด้ ว ยเหตุ เ พราะความ อาจหาญเมื่อครั้งไปนำเสนอโครงร่างการวิจัยนั่นเอง ทำให้หนุ่มหน้า ใสผู้กัดไม่ยอมปล่อยกับงานวิชาการคนนี ้ ไ ด้ พ บกับขุ ม ทรั พ ย์ ท าง ปั ญ ญาแหล่ ง ใหม่ ได้ เ ข้ า ใจทั้ ง ระเบียบวิ ธ ี ว ิ จ ั ย และขั ้ น ตอนของ การเข้าถึงวิจัยระบบสุขภาพ สิ่งนั้น นั่นเองจึงเป็นต้นทางที่ทำให้เขาได้ มี โ อกาสทำความรู ้ จ ั ก กับรู ป แบบ การวิ จ ั ย แบบใหม่ แ ต่ ไ ม่ ไ กลตั ว อย่าง R2R ที่มีนามเต็มว่า Routine to Research หรือเรียกขานกันแบบ ไทย ๆ เข้าใจตรงกันว่า “วิจัยจาก งานประจำ” ที่อดิเรกได้เกาะเกี่ยว แน่นเหนียวกับการวิจัยลักษณะนี้ มานานกระทั่งคว้ารางวัลระดับชาติ

บนเวทีการประชุ ม แลกเปลี่ ย น   เรี ย นรู ้ “จากงานประจำสู่ ง าน วิจัย” มาครองถึง 2 ปีซ้อน ซึ่งถึง วันนี้คงไม่มีใครในแวดวง R2R ไม่รู้ จักเขา... “อดิเรก เร่งมานะวงษ์” !

วิจัยไม่มีเบื่อ... เมื่อก่อการจากงานประจำ

ส ถ า บั น ว ิ จ ั ย ร ะ บบ สาธารณสุ ข ได้ ช ี ้ แ จงแถลงเจต-   นารมณ์ ข องการสนับสนุ น ให้ บุ ค ลากรผู ้ป ฏิบัติ ง านประจำทาง ด้านสาธารณสุขในหน่วยงานหรือ องค์กรทุกระดับมีการพัฒนางาน ประจำสู่งานวิจัยนั้นว่า ต้องการให้ เกิดการเชื่อมโยงความรู้ เพราะนั่น จะเป็นช่องทางในการสร้างความ เข้ ม แข็ ง ให้ ก ับระบบสุ ข ภาพได้   ในระดับหนึ ่ ง ตั ว เจ้ า หน้ า ที่หรื อ บุคลากรทางสาธารณสุขเองก็จะได้ รับการพัฒนาทักษะทางด้านวิชาการ สามารถยกระดับการบริหาร-

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554


จัดการของหน่วยงานนั้น ๆ ให้มี ประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดระบบ บริ ก ารด้ า นสุ ข ภาพที่ดี แ ละมี คุณภาพแก่ประชาชนตามไปด้วย จุดแข็งของ R2R นั้นคือ ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของ บุ ค ลากร โดยเฉพาะช่ ว ยให้ ค น กลุ่มนี้ได้รู้วิธีการในการสังเคราะห์ ความรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นในงาน ประจำที่ทำอยู ่ นำไปสู ่ ก ารแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดความคิด สร้างสรรค์ใหม่ ๆ ทั้งในกลุ่มและ นอกกลุ่ มที่เกี่ย วข้ อ งได้ ซึ่งเสริม ความเชื ่ อ ที่ว่ า นั ้ น ด้ ว ยการที่ทาง สวรส. ได้เปิดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “R2R ระดับชาติ” มา จนถึงครั้งที่ 4 แล้วในปีนี้ อดิเรก เองซึ ่ ง หายใจเข้ า ออกเป็ น R2R ด้วยเหตุเพราะมีความเชื่อในเรื่อง องค์ ค วามรู ้ ที่ ได้ จ ากการทำวิ จ ั ย จากงานประจำว่ า สามารถช่ ว ย แก้ไขปัญหาได้จริง หนุ่มใหญ่วัย 41 ก็ ค งไม่ พ ลาดที่จะเดิ น ทางไป ร่ ว มแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ ก ับเพื ่ อ น 10

ª’∑’Ë 21 ©∫—∫∑’Ë 1

พ้องน้องพี่ชาว R2R หลังจากกวาดรางวัลดีเด่นมา 2 ปีซ้อนจากเวทีนี้   นั่นคือ รางวัล R2R ดีเด่นระดับการบริการปฐมภูมิประจำปี 2552 เรื่อง แรงงานอ้ อ ยกั บ การดื่ ม สุ ร า กรณี ศึ ก ษาหมู่ บ้ า นแห่ ง หนึ่ ง ในภาค อีสาน และรางวัล R2R ดีเด่นระดับการบริการปฐมภูมิประจำปี 2553 เรื่อง ภาวะสุขภาพและการเข้าถึงระบบสุขภาพของแรงงานข้ามชาติใน ภาคการผลิตเกษตรกรรม กรณีศึกษาตำบลแห่งหนึ่งในภาคอีสาน “R2R นี่ผมว่ามันชัดเลยนะพี่ เพราะว่ามันมาจากการทำงานของ เรา เราก็เห็นมันทุกวันหนะ ก็เหมือนที่ที่ผมทำงาน ทั้งโนนเสลาและตำบล โนนสะอาดที่ผมเคยอยู่ ชาวบ้านส่วนใหญ่เขาเป็นแรงงาน ซึ่งมันก็มีตั้งแต่ แรงงานปลูก แรงงานถางหญ้า แรงงานพ่นสารเคมี แรงงานตัดอ้อยขึ้นอ้อย ซึ่งวิถีชีวิตของเขาจากที่เคยทำนาทำไร่ก็มาเป็นลูกจ้างโรงงานน้ำตาลนั้นมัน ต้องเปลี่ยนมันต้องมีปัญหาแน่ ๆ ผมเลยยังมีคำถามค้าง ๆ ใจอยู่ตลอด ก็ เลยอยากทำวิจัยเรื่องแรงงานอ้อยโดยการวิเคราะห์ตัวละครแต่ละตัว ว่า ใครที่เกี่ยวข้องกับแรงงานอ้อยบ้าง เช่น เถ้าแก่อ้อย ผู้รับเหมา แล้วก็ตัว แรงงานเอง เราจะแยกออกมาเลยว่าแต่ละคนเป็นยังไงบ้าง มีความเสี่ยงยัง ไง เจอะเจอปัญหาสุขภาพอะไรบ้าง เราก็จับชาวบ้านมาคุยกันแล้วสะท้อน ปัญหาให้เขารับรู้ เราก็ถอดบทเรียนเป็นองค์ความรู้ผ่านระเบียบวิธีวิจัย ซึ่ง สามารถนำไปกำหนดเป็นนโยบายหรือทำโครงการในการแก้ไขปัญหาหรือ พัฒนาเรื่องระบบสุขภาวะของแรงงานกลุ่มนี้ได้ เรื่องภาวะสุขภาพและการ เข้าถึงระบบสุขภาพของแรงงานข้ามชาติในภาคการผลิตเกษตรกรรมก็ เหมือน ๆ กัน สิ่งที่ผมคิดจะทำนั้นมันก็เข้าทางของ สวรส. เขาเลย พอผม ขอทุนไปก็ได้รับการอนุมัติ เพราะเขาเห็นว่าเราต้องมีเจตนาที่จะเอาปัญหา ที่เกิดขึ้นเรื่องระบบสุขภาพของคนในพื้นที่มาแก้ไขผ่านวิธีการของการวิจัย อย่างเช่นเรื่องของแรงงานอ้อย ผลการวิจัยของเราพบว่า จะมีคนที่กินเหล้า ทั้งก่อนและหลังทำงาน เราก็เลยมีการจัดอบรมให้เขามีการลด ละ เลิกจน เขาเข้าใจ แล้วเราก็เสนอโครงการไปที่ อบต. โคกสะอาด ซึ่งให้เขามาดูแล ร่วมกันในกลุ่มนี้ด้วย ประมาณนี้ สำหรับการเข้าร่วมเวที R2R แล้วได้รับ รางวัลนั้น ถ้าถามว่าอะไรที่ทำให้มันเข้าตากรรมการแล้วให้รางวัลดีเด่นมา จริง ๆ ผมก็ไม่ทราบชัดนัก แต่คิดว่าน่าจะเป็นการเลือกประเด็นนะ คนอื่น เขาอาจจะตั้งคำถามเก่า ๆ ใช้วิธีเก่า ๆ แต่เราโชว์บริบทชุมชนของเราอย่าง ชัดเจน ซึ่งสามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างมีชีวิตมั้งครับ อีกอย่างเนื้องาน ของเรามันก็แตะ R2R ชัดเจน โดยเฉพาะสิ่งที่เราทำนั้นสามารถตอบโจทย์ ของพื้นที่เราได้ บางครั ้ ง นะพี ่ การแก้ ป ั ญ หามั น ไม่ ใ ช่ ก ารหว่ า นแหทั ้ ง ประเทศ เพราะคนแต่ละพื้นที่มันไม่เหมือนกันเนาะผมว่า”


ผลพวงจากเวทีประชุมซึ่งรวมคนที่มีความเชื่อในเรื่ององค์ความรู้ อันเกิดจากการทำวิจัย ทำให้พวกเขาได้ขับเคลื่อนกันต่อด้วยการถ่างความ เชื่อให้กว้างขึ้น พากันเข้าไป “สุมหัวคั่วความคิด” อยู่ในโลกเสมือนที่ชื่อ GotoKnow ซึ่งนับวันจะมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ กลายเป็นชุมชนที่ “ผลัดกันเล่าจับเข่ากันฟัง” เรื่องราวดี ๆ ของผู้คนที่ขนขุมทรัพย์ทาง ปัญญามาแบ่งปันกัน หมอหนุ่มคนนี้ก็ไม่ยอมพลาด พุ่งตัวกระโจนเข้าไป วาดลวดลายอยู ่ ใ นนั ้ น กับเขาด้ ว ยคนหนึ ่ ง โดยหมู ่ ม วลสมาชิ ก ชาว GotoKnow ต่างรู้จักเขาในนาม... ทิมดาบ !

ดร. กะปุ๋ม ... ที่คนในแวดวง Gotoknow คุ้นเคยกันดี : ภาพจาก http://www.facebook.com/ nipaporn.lakornwong

เพราะชอบจึงเชื่อ... เพราะเชื่อจึงเชื่อม

GotoKnow ย่อมาจาก The Gateway of Thailand ’s Online Knowledge Management เป็นเว็บไซต์ในนาม GotoKnow.org ที่ให้บริการ เพื ่ อ การจั ด การความรู ้ ส ำหรับกลุ ่ ม คนทำงานและชุ ม ชนนั ก ปฏิ บั ติ (community of practice) ของประเทศไทย และต้องการให้เป็นขุมความรู้ เสมือนเป็นพื้นที่ให้เหล่าสมาชิกจากคนในสาขาอาชีพต่าง ๆ มารวมตัวกัน เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ลงในระบบบล็อก (blog) โดยเปิดให้บริการมา   ตั้งแต่ปี 2548 มีสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เป็น แหล่งสนับสนุนงบประมาณสำหรับพัฒนาระบบและบริหารจัดการตั้งแต่ ช่วงเริ่มต้น ส่วนปัจจุบัน ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้รับช่วงมาสนับสนุนต่อเป็นระยะเวลา 3 ปี ถ้ามองในแง่เป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการ “จัดการความรู้” ที่ได้จากการวิจัยจากงานประจำ R2R กับ GotoKnow ถือเป็นพันธมิตรที่ มีความคล้องจองลงตัว เนื่องเพราะเป็นแหล่งที่ผู้คนได้มีโอกาสเผยแพร่   ผลงานของตัวเอง ได้ศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับมวลหมู่สมาชิกกันเป็น ที่ครึกครื้น พากันเชื่อมร้อยระบบคิดที่สร้างสรรค์ด้วยกันจนสามารถร่วม สร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ แบบหลวม ๆ ได้อย่างน่าสนใจ หนุ่ม “ทิมดาบ” ซึ่งได้อาศัยพื้นที่แห่งนี้ในการบอกเล่าเรื่องราวและเปิดประเด็นการสนทนา มาเป็นเวลากว่าขวบปีแล้ว และยังสนุกกับการขับเคลื่อนความคิดผ่าน   เครือข่ายสังคมในโลกไร้สายใบนี้จนถึงปัจจุบัน หนุ่มผิวขาวร่างสูงยาวแจง ถึงที่มาของการก้าวเข้าไปเป็นหนึ่งในสมาชิกของ GotoKnow ไว้ว่า... “GotoKnow นี่มันเชื่อมอยู่กับ R2R นะผมว่า แต่มันไม่ใช่เป็นแบบ ทางการ คือช่วงที่ผมไปรับรางวัลที่เวที R2R ตอนปี 52 แล้วในงานมันก็มี section ต่าง ๆ แยกเป็นห้อง ๆ ผมก็เข้าไปห้องหนึ่ง เป็นห้องที่ ดร. นิภาพร ลครวงศ์ ซึ ่ ง คนเขาจะเรี ย กแกว่ า “ดร. กะปุ๋ ม ” นะพี ่ แกมาพู ด เรื ่ อ ง GotoKnow เออ ! ชอบที่แกพูดที่แกเล่าถึงข้อดีของการเข้าร่วมเป็นชุมชนใน

หายใจเข้า-ออกเป็น Gotoknow... สังเกตจากข้อความบนเสื้อ

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  11


GotoKnow ตัว ดร. กะปุ๋มนี่มีชื่อเสียงมากเลยในแวดวงนี้ ผมก็ได้มี โอกาสทำความรู้จักกับแก มีการ แบ่งปันข้อมูลกัน แกเอาเรื่องราว ของเราไปเล่าใน blog ของแกด้วย ซึ่งผมมองว่ามันเป็นสิ่งที่ดีที่คนเรา ให้การยอมรับและชื่นชมคนอื่น ที่นี่ มันเปิดช่องทางให้เราได้เอาเรื่องราวของเราที่เราคิดที่เราเจอไปแบ่งปันข้อมูลให้คนอื่นได้ด้วย พอกลับ มาผมก็เริ่มลองเขียนเรื่องลง blog ของ GotoKnow บ้าง คือ blog นี่มัน มีหลายหมวด ทั้งเรื่องงาน ทั้งเรื่องเล่ า ทั ่ ว ไป ซึ ่ ง ผมจะมี ห ลาย blog เลยพี่ มี “blog R2R” “blog ความ สุขของหมออนามัย” มี “blog การ ร่ายรำของตัวอักษร” ซึ่ง blog นี้ผม จะชอบเขี ย นเป็ น กลอน มี “blog ของนวั ต กรรม” “blog ของคน ภูเขียวที่อยู่ในใจ” ที่ผมจะเอาเรื่องราวหรื อ แรงบั น ดาลใจที ่ ไ ด้ จ าก ผู้คนมาเขียนมาเผื่อแผ่คนที่เข้ามา อ่าน เขาจะได้แง่คิดและช่วยเป็น แรงบันดาลใจต่อ ๆ กันด้วย ที่ผม เขียนเกือบทุกวันก็จะเป็นเรื่องเล่า ในชีวิตประจำวัน ผมชอบการเขียน ลง blog นะ เพราะมันสามารถเอา รูปภาพมาลงได้ด้วย ผมว่า GotoKnow นี ่ ถ ื อ เป็ น นวั ต กรรมดี ๆ

สิ ่ ง หนึ ่ ง ในชี ว ิ ต ของผมเลยนะ เพราะที่นี่มันสามารถเชื่อมผู้คนให้ รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน การได้ เขียนได้อ่านมันก็ทำให้เราเข้าใจตัวเองเข้าใจชีวิตด้วย และในนั้นมันก็ เป็นศูนย์รวมของความรู้ เพราะเขา มีการจัดเป็นหมวดหมูไ่ ว้ ซึง่ หลาย ๆ 12

ª’∑’Ë 21 ©∫—∫∑’Ë 1

อย่ า งเราสามารถเปิ ด เข้ า ไปดู ไ ด้ ง่าย ๆ ” อย่างไรก็ตาม หมออนามัย หนุ่มในนามจอ “ทิมดาบ” ก็ได้ย้ำ ชั ด ว่ า GotoKnow คื อ แหล่ ง ที่   ให้ ผู ้ ค นได้ เ ข้ า ไปเรี ย นรู ้ เ รื ่ อ งราว   ของกั น และกั น แต่ ถ ้ า มองในแง่ ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมหรือในแง่ สังเคราะห์ออกมาเป็นองค์ความรู้ พื้นที่แห่งนี้ไม่ได้มีรูปแบบอย่างเป็น ทางการหรือเป็นวิชาการขนาดนั้น เพราะวัตถุประสงค์ที่แท้จริงก็เป็น ไปตามสโลแกนที่แปะไว้บนหน้าจอ แรกของ GotoKnow อย่างชัดเจน แล้วว่า เป็นพื้นที่สำหรับ “เรียงร้อยเรื่องราว... บอกเล่า... ผ่าน บันทึก” !

องค์ ค วามรู้ จ ะเติ บ ใหญ่ . .. เพราะใด ๆ ในโลกล้ ว น... เกี่ยวโยง

ตื ่ น เช้ า ...ผมรู ้ ส ึ ก คิ ด ถึ ง เรื ่ อ งราวเก่ า ๆ ที ่ ผ ่ า นมาในชี ว ิ ต

ผม และคนที่อยู่ในห้วงคำนึงของ ดวงใจของผม หนึ ่ ง ในนั ้ น ก็ ค ื อ

“ปู่สอน กล้าศึก”… ผมเขี ย นถึ ง ...ปู ่ ส อน ไว้ 10 บันทึกแล้ว ณ พื้นที่แห่งนี้… ใน ความตั ้ ง ใจของผม ผมต้ อ งการ เขียนบันทึกรวมเล่ม ซึ่งเป็นผลงาน ชิ้นโบว์แดงของผมก็ ว ่ า ได้ อยาก เขียนชีวประวัติของปู่สอนเป็นงาน วิจัยเชิงคุณภาพ ที่แสดงถึงวิถีชีวิต

สุขภาวะของผู้สูงอายุในการดูแล สุ ข ภาพและสิ ่ ง แวดล้ อ ม ตอนนี ้

ผมกำลังปรึกษาผู้รู้ในการจัดการ ข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อให้เขียนเป็นงาน วิจัย ความตั้งใจนี้ ปู่สอนสนับสนุน และให้กำลังใจผมอย่างเต็มกำลัง... ผมเป็น “หมออนามัย” แต่ผมว่าถ้าผมสามารถทำอะไรได้ อีกตามกำลังความสามารถของเรา ก็ ค วรจะทำ ยิ ่ ง สำหรั บ บ้ า นเกิ ด แล้ว ผมควรทำอย่างยิ่ง ถึงได้มีคน แซวผมว่ า เป็ น ประเภท “ทำทุ ก อย่างที่ไม่ใช่หน้าที่ อยู่ทุกทีที่ไม่ใช่ ที่ทำงาน” แต่ผมนับว่าเป็นคำชม นะครับ บทบันทึ ก ข้ า งต้ น คื อ ตัวอย่างเรื่องราวบางส่วนที่ “ทิมดาบ” ได้ บ อกเล่ า ไว้ บ นพื ้ น ที่   blog ของ GotoKnow (http:// www.gotoknow.org/profiles/users/ adirek_reng) เมื ่ อ วั น เสาร์ ที่ 19

ปู่ ส อน กล้ า ศึ ก : ผู้ เ ฒ่ า ที่ ห มออดิ เ รกให้ ค วามศรั ท ธาจนอยาก

ทำ R2R เรื่องชีวิตของท่าน


มี น าคม 2554 ในหั ว เรื ่ อ ง “วั ย วั น ...วั ย เด็ ก ...ปู่ ส อน กล้ า ศึ ก

ผู้ ป ลู ก ต้ น ไม้ ใ นใจคน (ตอนที่ 11)” เหตุที่ยกเรื่องนี้ขึ้นมาเล่าและ ฝั น จะผู ก เรื ่ อ งด้ ว ยกระบวนการ   ทางวิชาการ ก็เพราะชายหนุ่มสนใจวิถีชีวิตของผู้เฒ่าคนหนึ่งที่ชื่อ “สอน กล้าศึก” หรือที่ผู้คนเรียก กันติดปากว่า “ปู่สอน” อดิเรกเล่า เพิ่มเติมว่า ปู่สอน กล้าศึก เป็นผู้อาวุโสที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านหนึ่งใน เขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยโนนเสลา อายุประมาณ 80 ปี หลาย คนมองว่ า ท่ า นเป็ น “ผีบ้ า ปลู ก ต้นไม้” เพราะปลูกต้นไม้ไปเรื่อย ตามแนวถนนตามพื ้ น ที่วั ด ซึ ่ ง หลายคนไม่ เ ข้ า ใจเหตุผลในสิ่ง ที่ ท่ า นทำก็ ต ำหนิ บ ้ า งหาว่ า เสี ย สติ บ้าง แต่ท่านก็ไม่สนใจ ยังคงเลือก ทำในสิ ่ ง ที่ตนเชื ่ อ ว่ า “การปลู ก ต้นไม้คือการปฏิบัติธรรม” โดย ท่านได้ทำตามความเชื่อนี้มากว่า 20 ปีแล้ว ชายผู้ศรัทธาในวิถีปฏิบัติ ของผู้เฒ่าจึงอยากต่อยอดเป็นองค์ความรู้ผ่านระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งเขา มองว่ า นี่ ก ็ ค ื อ การทำ R2R อย่ า ง หนึ่ง เพราะได้วางโครงเอาไว้โดย ตั้งคำถามว่า ผู้สูงอายุคนหนึ่งเขา มีสุขภาวะอย่างไร มีกระบวนคิดที่ เชื่อมโยงต่อจิตสาธารณะอย่างไรที่ ทำให้ ค ลี่ ค ลายจนกลายเป็ น วิ ถ ี ปฏิบัติอย่างในปัจจุบัน หมอหนุ่ม ช่างคิดมองว่า นี่คือสิ่งน่าท้าทาย มากสำหรับการสร้างองค์ความรู้ที่ ว่าด้วยการเชื่อมโยงระบบคิดของ คน ขณะนี้งานชิ้นนี้กำลังอยู่ในขั้น-

ตอนของการทบทวนและปรึ ก ษา อาจารย์ “การที ่ ผู ้ สู ง อายุ ค นหนึ ่ ง ใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย มีคุณค่า ในตัวเอง มีจิตเป็นสาธารณะ ผม ว่าคนแบบนี้น่าสนใจ ผมคิดว่าต่อ ไปโลกของเราน่าจะอยู่ได้ก็เพราะ คนที่มีจิตสาธารณะแบบนี้นะ ผม เชื ่ อ ของผมนะว่ า คนเล็ ก ๆ จะ สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ อย่าง ของปู่นี่เขาสร้างสิ่งที่เมื่อ 20 - 30 ปี ก่อนคนเขาไม่เข้าใจกัน แต่พอเวลา ผ่ า นไปต้ น ไม้ ท ี ่ ปู ่ ป ลู ก มั น ใหญ่ โ ต

ให้ร่มเงากับคนที่สัญจรไปมา บาง ต้นก็เป็นแหล่งอาหารแหล่งสมุนไพรให้กับผู้คนในหมู่บ้านได้เก็บได้ เกี่ยว นี่ก็คือการเปลี่ยนแปลงโลก เล็ก ๆ แล้ว ผมเขียนเรื่องของแกลง blog ก็มีคนเข้ามาอ่านเข้ามาชื่นชม มากมายเลย หลายคนสนับสนุนให้ ผมรวบรวมองค์ความรู้เป็นงานวิจัย เหมือนที่ผมหวังไว้ คือผมนี่มีความ คิดว่าอยากจะรวบรวมเรื่องราวของ คนภูเขียวไว้เป็นองค์ความรู้ ผมกะ จะทำเรื่อง 5 คนต้นแบบในภูเขียว ที่น่าจดจำ นอกจากปู่สอนแล้ว ที่มี อยู ่ ใ นใจก็ คุ ณ โกวิ ท วั ฒ นกุ ล ดาราเจ้ า บทบาทลู ก หลานคน ภู เ ขี ย ว อาจารย์ ด นั ย ไกรศั ก ดิ์ มานะศิลป์ อาจารย์ผู้เป็นที่เคารพ รักของลูกศิษย์ชาวภูเขียว แล้วก็ หลวงปู่สีทัศน์ พระนักพัฒนาและ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนชาว ภูเขียว ส่วนอีกคนนี่ผมกำลังตัดสิน ใจอยู่ว่าจะเอาใครดี และพอผมไป

บุญค้ำ : หนังสือที่เป็นแรงบันดาลใจ

เขี ย นลง blog เกี ่ ย วกั บ เรื ่ อ งนี ้ ก็

จะมีพี่ ๆ ที่อยู่ใน blog บอกว่าน่า สนใจมาก คิดจะลงขันกันทำ ผม กะว่าจะทำเป็นรูปแบบหนังสือเพื่อ เผยแพร่ด้วย เช่น ใครที่เข้ามาเที่ยว หรือมาทำงานที่นี่ อย่างนายอำเภอ ใหม่หรือข้าราชการใหม่ ถ้าได้อ่าน ก็จะเข้าใจ ผมกะจะให้หนังสือเป็น แรงบั น ดาลใจแก่ ผู ้ ค น ประมาณ บุ ญ ค้ ำ ที ่ ห มออำพลเขี ย น ผมว่ า หนังสือเล่มนั้นหนะน่าจะเป็นต้น แบบของหมออนามั ย ในอุ ด มคติ เลยนะ เป็นที่น่าสังเกตว่าตอนนี้ น้อง ๆ จบหมออนามัยกันมาจาก หลายที่ ความเป็นหมออนามัยมัน อาจจะไม่ลึกซึ้งพอ ถ้าน้องได้อ่าน บุญค้ำก็จะได้แรงบันดาลใจ ช่วย ให้ ท ำงานอย่ า งมี ค วามสุ ข และ เข้าใจตัวเองมากกว่าที่เราเห็นกัน ในปัจจุบัน” /กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  13


ดู ๆ แล้ว ผู้ชายคนนี้ไม่เคยจะหยุดฝันเลย ช่างมีมานะและมี ความมุ่งมั่นอย่างน่าเหลือเชื่อ... จริงจริง !

หมออนามัยนักวิชาการ : หากเข้าใจปณิธาน... ก็คงไม่นานเกินรอ

เนื่องเพราะ R2R ได้ทำให้อดิเรกมีโอกาสเจอะเจอกับกัลยาณมิตร ที่เชื่อมร้อยกันอยู่ในโลกเสมือน โดยเกาะเกี่ยวกันจนสนิทชิดเชื้อ ซึ่งนั่นคือ กลุ่มคนที่หนุ่มใหญ่ให้ความสำคัญ แต่กระนั้นเขาก็ไม่เคยทิ้งเพื่อนร่วม อาชีพอย่างกลุ่มหมออนามัยนักวิชาการในพื้นที่ พยายามจะเชื่อมกลุ่มคน เหล่านี้ให้แน่นแฟ้นเข้มแข็ง นั่นเองจึงทำให้ ณ วันนี้ หมออนามัยผู้มี ประสบการณ์ในการทำงานสายสุขภาพมา 21 ปีเต็มจึงต้องบริหารเวลา อย่างหนัก ทั้งให้กับครอบครัว ให้กับงานประจำในสถานีอนามัยที่มีอย่าง ล้นเหลือ รวมถึงต้องให้เวลากับการเป็นที่ปรึกษา เป็นวิทยากรอบรมเรื่อง งานวิจัย เป็นผู้สนับสนุนกลุ่มหมออนามัยใหม่ให้สนใจในเรื่องงานวิชาการ เขาจึงไม่ปฏิเสธหากมีใครมาขอความรู้หรือขอความช่วยเหลือ ด้วยมุ่ง พัฒนาให้เกิด “ชุมชนวิชาการ” ขึ้นมาในกลุ่มหมออนามัย ซึ่งก็มีบ้างบาง ส่วนที่ดูเหมือนไปตามทางที่หวัง อย่างน้อยก็พอจะเป็นน้ำหล่อเย็นให้กับ ชีวิต คุ้มค่าพอกับพลังแรงที่ลงให้... แทบหมดหน้าตัก ! “ผมว่าตอนนี้ ภูเขียวของเรานี่งานวิชาการค่อนข้างเด่นนะ คือ ของรางวัลมันอาจไม่การันตีอะไรได้เยอะ แต่ผมว่ามันมีความตื่นตัวกันมาก เลย เช่น จำนวนของน้องที่ส่งโปสเตอร์ไปร่วมเวทีวิชาการเยอะขึ้นเรื่อย ๆ ที่ ขึ้นเวทีนำเสนอผลงานก็มากแล้วเราก็สามารถได้รางวัลทุกปี ก็เป็นสิ่งที่ไม่

14

ª’∑’Ë 21 ©∫—∫∑’Ë 1

ธรรมดานะผมว่า เป็นความภูมิใจ เล็ก ๆ ของคนที่ปิดทองหลังพระ เพราะงานทุ ก ชิ ้ น ที ่ น ้ อ งเขาได้ รางวัล ผมจะดูตั้งแต่ต้นเรื่องจนถึง ไฟล์ ท ี ่ จ ะนำเสนอ คื อ บางเรื ่ อ งก็ ปรับไฟล์ให้ด้วยและปรับ concept paper ให้ด้วยเลย คือพออายุเพิ่ม มากขึ ้ น ได้ ร างวั ล อะไรมาเยอะ ผมก็ เ ริ ่ ม เปลี ่ ย นมุ ม มองอยากจะ เป็ น ผู ้ ใ ห้ แ ล้ ว หละเนาะ แค่ เ รา เปลี่ยนเป็นผู้ให้เราก็มีความสุขนะ พี่ อย่างน้อยเรามีให้ในเรื่องของ ข้อมูล วิชาการเราก็แปลงให้เป็น ประโยชน์ ก ั บ เรื ่ อ งบริ ก ารทาง สุ ข ภาพแก่ ช าวบ้ า น ต่ อ จากนี ้ ก ็ อยากผลั ก ดั น ให้ ร ุ ่ น น้ อ งเป็ น fa (facilitator หมายถึ ง วิ ท ยากรกระบวนการ/ผู ้ อ ำนวยความ สะดวกในเวทีอบรมเสวนา : ผู ้ เขียน) ของ R2R ต่อ คืออาจารย์กะปุ๋มบอกว่า คุณอดิเรก คุณสามารถ เป็นหนุ่มเชียร์ของ R2R ได้แล้วนะ เราก็เริ่มเชียร์ใน blog เรา สำหรับ ส่ ง ผลงานผมก็ ย ั ง ส่ ง บ้ า งนะพี ่ รางวัลมันก็ดีอย่างหนึ่งว่ามันการันตีเราได้ อีกอย่างรางวัลไม่ใช่เชื้อ โรคที่ไม่น่าอยากได้ (หัวเราะเสียง ดัง) แต่เรื่องรางวัลเป็นเหตุผลรอง ไปแล้ว ผมคิดว่าการที่เราส่งไปมัน ทำให้ เ ราได้ แ ชร์ ข ้ อ มู ล กั บ คนอื ่ น ด้วยไง การได้ร่วมเวทีทำให้เราได้ แนวความคิดในการทำงานใหม่ ๆ อย่างตอนนี้ก็มีเรื่อง KM (Knowledge Management : การจัดการ ความรู้ ; ผู้เขียน) เรื่องแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ตอนนี้ผมเลยต้อง


เป็นวิทยากรสอนเรื่องพวกนี้เพิ่มขึ้น อี ก 2 – 3 เดื อ นครั ้ ง ก็ เ ดิ น สาย

ไปต่ า งจั ง หวั ด ช่ ว ยพี ่ น ้ อ ง อบต. บุรีรัมย์บ้าง สุรินทร์บ้าง ตอนนี้ไป ทั่วแล้วพี่” ดูเหมือนโลกด้านหนึ่งใน บทบาทนักวิชาการของอดิเรกจะ โปร่งโล่ง แต่ขณะเดียวกันก็มีโลก อีกด้านที่คล้ายจะมืดมน เพราะมี   ผู ้ ที่ ได้ ช ื ่ อ ว่ า เป็ น “นั ก วิ ช าการสาธารณสุข” บางคน ไม่ยอมเชื่อ ในสิง่ ที่เขาพร่ำวอนให้เห็นประโยชน์ อันแท้จริงของงานวิจัย ด้วยเหตุนี้ จึงมีไม่น้อยที่ยังคงยึดจริตและคิด ทำ... แบบเดิม ๆ “ผมว่ า งานวิ ช าการใน ระดับสถานีอนามัยนี่ ตอนนี้คนที่ ทำด้วยใจมันค่อนข้างน้อยอยู่นะพี่ ของสาธารณสุขเรายังมีเยอะเลยที่ เอาผลงานวิชาการไปคัดลอกแล้ว เปลี่ยนแค่ปกเพื่อให้ผ่านประเมิน ถ้าทำได้แค่นั้น ความหวังที่จะให้ งานวิ ช าการมาช่ ว ยงานประจำก็ คงจะยาก จริ ง ๆ ผมมองว่างาน วิชาการนั้นน่าจะเป็นการพัฒนาที่ ตั ว เราก่ อ นโดยเฉพาะเรื ่ อ งความ ซื่อสัตย์ งานวิชาการมันก็เหมือน การทบทวนตนเอง มีบททวนใจซึ่ง เป็นขั้นตอนแรก ๆ ที่ทำให้เราได้ ออกไปสื บ ค้ น หรื อ ตั ้ ง คำถามที ่ ด ี ถ้ามีการเก็บข้อมูลเป็นระบบจริง ๆ มี ร ะเบี ย บวิ ธ ี ว ิ จ ั ย ที ่ ถู ก ต้ อ ง เราก็ สามารถนำไปใช้ แ ก้ ไ ขปั ญ หาใน งานประจำได้ แต่ที่ผ่านมาไม่ค่อย

สิ่ ง ที่ ห ม อ อ น า มั ย หนุ่มผู้มีความเชื่อใน เรื่ อ ง “งานวิ ช าการ เ ป ลี่ ย น โ ล ก ไ ด้ ” สะท้อนออกมา น่าจะ ส่ ง ผ ล ก ร ะ ท บ ต่ อ จิตใจมากโขอยู่

มองตรงนั้น ที่ทำวิชาการก็เพราะ ต้ อ งการให้ ผ ่ า นเกณฑ์ ป ระเมิ น ต้องการทำซี 6 ซี 7 เรื่องนี้ผมเจอ มากั บ ตั ว เพราะมี ค นมาจ้ า งผม เยอะ แต่ผมบอกว่า เอ้อ ! ของผม นี ้ ค ื อ ช่ ว ยได้ ค ื อ ช่ ว ย คื อ ช่ ว ยหา ข้อมูลได้ ช่วยดูกรอบ หรือช่วยดู การเขียนได้ แต่ถ้าทำให้เลยนี่ไม่ เอา คือการจ้างนี่ผมว่ามันน่าจะ เป็ น สิ ่ ง ที ่ เ ลวร้ า ยที ่ ส ุ ด ในวิ ช าการ เลยนะ งานวิชาการมันควรจะเป็น เรื่องที่ทำด้วยใจ การเอางานวิจัย ไปให้คนอื่นคัดลอกแล้วเปลี่ยนปก ผมว่ า ไม่ ใ ช่ เ ป็ น การทำบุ ญ แล้ ว เนาะ มั น เป็ น การทำบาปสำหรั บ เขานะ ผมว่ า การทำงานวิ จ ั ย มั น อาจไม่ได้ช่วยเหลือคนเป็นนับร้อย นับแสน แต่อย่างน้อยมันก็ทำให้ คุ ณ มี อ ะไรเพิ ่ ม มากขึ ้ น ในเซลล์ สมองนะ ผมคิ ด ว่ า ศั ก ดิ ์ ศ รี ม ั น มี คุ ณ ค่ า มากกว่ า ที ่ เ ราจะได้ ก าร ยอมรับนับถือจากคนอื่นแต่ทำสิ่งที่ ไม่ถูกต้องหรือผิดจรรยาบรรณ” สิ่งที่หมออนามัยหนุ่มผู้มี ความเชื่อในเรื่อง “งานวิชาการ เปลี่ ย นโลกได้ ” สะท้ อ นออกมา น่ า จะส่ ง ผลกระทบต่ อ จิ ต ใจมาก โขอยู ่ ท ว่ า เขาก็ ย ั ง คงหวั ง เพื ่ อ ยืนยันความเชื่อนั้นต่อไป ด้วยการ ทิ ้ ง ท้ า ยพร้ อ มกับฝากฝั น ไปกับ   หมออนามัยรุ่นใหม่ที่ใฝ่ใจกับเรื่อง งานวิชาการ ขอให้เขาเหล่านั้นมี ปณิธานในการทำงาน มุ่งมั่นหมั่น ประพฤติเพื่อให้วันหนึ่ง คำว่า “นักวิ ช าการสาธารณสุ ข ” ที่บรรดา /กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  15


อดิเรก เร่งมานะวงษ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

หมออนามั ย กำลั ง นั่ ง ครองตำแหน่ ง กั น อยู ่ เ ห็ น ๆ พวกเขาจะได้ เ ป็ น   “ตัวจริง” กับเขา... เสียที ! “อยากฝากน้อง ๆ หมออนามัยว่า เริ่มแรกต้องมีความคิดว่า ความรู้อยู่รอบตัวเราตลอดเวลา ซึ่งพวกเรานี่มีความรู้นะแต่ไม่กล้าคิด และ มักมองว่างานวิจัยเป็นเรื่องที่ยาก เชื่อว่ามันน่าจะเป็นของคนจบ ป. โท

ป. เอก หรืออย่างอื่นที่เขาเก่ง ๆ ทำกันมากกว่า จริง ๆ แล้ว R2R หรืองาน วิจัยอื่น ๆ ความน่าสนใจมันน่าจะอยู่กับพวกเราเอง โดยเฉพาะพวกเรา

หมออนามัยนี่มันมีประเด็นให้เล่นตั้งเยอะ ในแต่ละพื้นที่ก็มีเรื่องราวไม่ เหมื อ นกั น เราคลุ ก คลี ก ั บ ปั ญ หาเราน่ า จะเห็ น ปั ญ หานั ้ น เอง สามารถ

ตั้งคำถามใหม่ ๆ ให้ต่างจากเดิมที่คนอื่นเขาเคยมาตั้งให้ ถ้าเราตั้งปัญหา ใหม่เราน่าจะได้คำตอบใหม่ ซึ่งเหมาะสมกับเรามากกว่า สิ่งสำคัญเลย

คือปรับระบบคิด น้อง ๆ ต้องคิดให้ออกจากกรอบ เราต้องคิดว่าในพื้น

ที่เรา เราต้องเป็นคนที่รู้เรื่องมากที่สุด ถ้าเราไม่กล้าที่จะออกจากเส้นที่ถูก

ขีดไว้ มันจะทำให้เราอยู่แบบเดิม ๆ อยู่แบบหุ่นยนต์ มันต้องกล้าเริ่ม กล้า เปลี่ยน นักวิชาการจากจังหวัดหรืออำเภอไม่มีใครมารู้เท่าเราหรอก ถ้าคิด ได้อย่างนี้เราก็จะมีความมั่นใจมากขึ้น หลังจากนั้นก็จะเริ่มคิดทำโน่นนี่ได้ คือ อยากให้คนที่เป็นนักวิชาการต้องมีใจรักงานวิชาการด้วยนะ ต้องใช้ อิทธิบ าท 4 มี ฉั น ทะ วิ ร ิ ย ะ จิ ต ตะ วิ ม ั ง สา ส่ ว นทั ก ษะหรื อ ความรู ้ ใ น กระบวนการวิจัยนั้น เดี๋ยวนี้มันมีช่องทางให้แสวงหาเยอะแยะ อย่ากลัวไป เลย ขอให้มุ่งมั่นและจริงจังเท่านั้นพอ” เอกสารประกอบการเขียน 1. คุณค่าการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, คอลัมน์ “บทความพิเศษ” (2551). วารสารหมออนามัย. ปีที่ 18 ฉบับที่ 1, กรกฎาคม – สิงหาคม. 2. นวก. สอ. กับบทบาทที่ต้องทบทวน : มุมมองจากหมออนามัย, คอลัมน์ “รายงานพิเศษ” (2544). วารสารหมออนามัย. ปีที่ 11 ฉบับที่ 3, พฤศจิกายน – ธันวาคม. เว็บไซต์ http://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/Need_Theories.htm http://www.gotoknow.org/profiles/users/adirek_reng

16

ª’∑’Ë 21 ©∫—∫∑’Ë 1


สั ม ภ า ษ ณ์ พิ เ ศ ษ วัฒนา วัฒนะ

ขันทอง ปิติพุทธิพงศ์ : หัวใจดวงนี้... ไม่มีเกษียณ

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  17


เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ บุคลากรที่อยู่ใน องค์กรภาครัฐหรือสถานประกอบธุรกรรมของเอกชน โดยส่วนใหญ่เป็นต้องอำลาหน้าที่พร้อมเก็บข้าวเก็บ ของออกจากโต๊ะ ก้าวเข้าสู่โลกของ “คนวัยเกษียณ” ต้องยุติบทบาท “คนทำงาน” ทันที ด้วยวิถีของมาตรฐานการเลี ้ ย งดู บ ุ ค ลากรในหน่ ว ยงานแบบ “จำกั ด เวลา” ... เข็มชีวิตชี้ที่เลข 60 ปุ๊บ... เป็นหยุด ! ส่วนใครจะขอเกษียณอายุก่อนกำหนดก็เต็มใจยินดีในบางเวลา แต่ทว่า บางใครที่ขอต่ออายุงานให้ ถ่างห่างออกไปก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็น ผู้มีอำนาจต้อง พิจารณาอนุมัติให้เป็นราย ๆ ซึ่งก็สงวนตำแหน่งเฉพาะ เอาไว้ให้... นั่นก็มี... แต่ก็น้อย ! ขันทอง ปิติพุทธิพงศ์ หรือที่ชาวบ้านในเขต รับผิดชอบของสถานีอนามัยน้ำเลา รวมถึงชุมชนใกล้ เคี ย งในตำบลร้ อ งเข็ ม อำเภอร้ อ งกวาง จั ง หวั ด แพร่ เรียกกันติดปากว่า “หมอขันทอง” ก็เป็นคนวัย หกสิบคนหนึ่งที่ถึงเวลาต้องออกจากสถานภาพข้าราชการไทย ถึ ง คราวต้ อ งอำลาบทบาทหมออนามั ย ซึ ่ ง ปฏิบัติงานในหน้าที่ของ “นักสร้างเสริมสุขภาพ” ให้กับชุมชนบ้านเกิดมาเกือบ 40 ปี ! ขณะที ่ ห ลายคนเมื ่ อ ชี ว ิ ต เดิ น ทางมาถึ ง วั ย เกษียณ เวลาที่เหลือจากนั้นคือการทิ้งร่างลงนอนทอดหุ ่ ย วางแผนเดิ น ทางท่ อ งเที ่ ย ว เข้ า วั ด ปฏิ บ ั ต ิ ธ รรม หรือเดินสายตัดกรรมทั่วประเทศ ฯลฯ แต่ผู้หญิงที่ชื่อ ขั น ทองคนนี ้ ก ลั บ ไม่ อ ยู ่ เ ฉย ถึ ง แม้ จ ะเกษี ย ณอายุ ราชการมาได้เกือบปีแล้วแต่ก็ยังไม่เคยอยู่ว่าง ด้วยไม่ ยอมหายใจรดโลกทิ้งไปวัน ๆ เพราะช่วงเวลาที่ผ่านมา หลังปลดขั้นปลดตำแหน่งออกจากบ่า เธอก็ยังย้อน กลับไปช่วยงานที่สถานีอนามัยยามขาดแคลนกำลัง หรือมีภารกิจบริการยุ่งเหยิง หากน้อง ๆ ในสถานีอนามัยร้องขอแรงเธอก็ไม่ปฏิเสธ ลุกขึ้นปะแป้งแต่งตัว รีบเดินทางไปให้ในทันใด ไหนจะต้องทำหน้าที่เป็น กรรมการของกองทุนต่าง ๆ ในชุมชนตำบลร้องเข็ม เช่น กองทุนเงินล้าน กองทุนหลักประกันสุขภาพ รวม ถึงเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุของตำบลร้องเข็ม ฯลฯ พ่วงยาวเป็นขบวนอีกด้วย ! 18

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

สิ่งที่เธอทำหลังเกษียณนั้นถือได้ว่าเป็นการ กุศลต้องใช้จิตอาสาล้วน ๆ แต่ถึงแม้จะมีงานโน่นนี่ มากมาย หมอขันทองกลับมีความสุขและยินดีกับการ ทำงานลักษณะนี้ไปเรื่อย ๆ ถ้าเหนื่อยนักก็พักหน่อย สักเดี๋ยวมีแรงเพิ่มก็เริ่มกันต่อ อย่างไรก็ตาม แม้จะมี ภารกิจเพื่อชุมชนเยอะแยะเพียงใด เธอก็ต้องขอมีเวลา สำหรับดูแลสุขภาพทั้งกายและจิตให้กับตัวเอง ไม่ว่า จะเป็นการออกกำลังกายหรือเฮฮาสังสรรค์กับเพื่อนฝูง บ้างเป็นครั้งคราว อาจเป็นเพราะเลือกจะ “เป็น...

อยู่... คือ” เช่นนี้กระมัง ทำให้ครั้งแรกที่ได้เจอะเจอ หากไม่ยืนยันปีเกิด คงไม่มีใครเชื่อว่าหมอขันทองซึ่ง วันนี้ยังคงความแช่มชื่นปราดเปรียว... อายุของเธอจะ คือเลข 60 ! ถึงแม้วัยครบเกณฑ์เกษียณ แต่หากหัวใจไม่ ยอมเกษี ย ณตาม แล้ ว จะให้ ท ำอย่ า งไรกั น “หมอ ขันทอง” ... ขอถาม ?! .......... หมอขันทองเป็นคนตำบลร้องเข็มหรือมาจากที่ อื่นแล้วค่อยมาทำงานที่น ี่ ร้องเข็มนี่เป็นบ้านเกิดเลยค่ะ พ่อแม่เป็นคนที่นี่ ก็เป็นเกษตรกรรมเป็นชาวนานี่แหละ พี่น้องทั้งหมด 6 คน พี่เป็นคนสุดท้อง เป็นราชการคนเดียว นอกนั้นพี่ ๆ เป็นพ่อค้าบ้างเป็นแม่บ้านบ้าง

ทำงานเป็นหมออนามัยที่น้ำเลามานานเท่าไหร่จนเกษียณอายุราชการเมื่อปีที่แล้ว

เริ่มมาทำที่นี่ปี 35 ค่ะ ก็ทำอยู่ 18 ปีพอดี

ก่อนหน้านั้นทำงานที่ไหนมาก่อน

ขอเล่ า ตั ้ ง แต่ เ ริ ่ ม เลยก็ แ ล้ ว กั น ค่ ะ พี ่ จ บจาก โรงเรียนผดุงครรภ์ลำปางรุ่นที่ 29 เริ่มเข้าเรียนปี 2513 เรียนอยู่ปีครึ่ง พอปี 2515 ก็จบ เริ่มต้นชีวิตการทำงาน


ครั้งแรกก็ตำบลไผ่โทนค่ะ ชื่อสถานีอนามัยวังปึ้ง อยู่ที่ นั่นประมาณ 10 ปี คือตั้งแต่ปี 15 จนถึงปี 25 หลังจาก นั้นก็ไปสถานีอนามัยแม่ยางยวงค่ะ เป็นตำบลของ

แม่ยางร้อง หลังจากแม่ยางยวงซึ่งอยู่ระยะสั้น ๆ แค่ปี เดียว ก็ไปอยู่แม่ยางเปี้ยวก่อนจะมาอยู่ที่น้ำเลาจนถึง เกษียณ คือพี่นี่ตั้งแต่เริ่มทำงานจนเกษียณก็อยู่แต่ ภายในเขตอำเภอร้องกวางนี่แหละค่ะ ไม่เคยย้ายไป ไหนไกล

เหตุผลในการย้ายแต่ละครั้งคืออะไร

ถึงแม้วัยครบเกณฑ์เกษียณ แต่หากหัวใจไม่ยอมเกษียณตาม แล้วจะให้ทำ อย่างไร กัน

คือจากวังปึ้งมาแม่ยางยวงนั้น เหตุผลก็คือเรา อยากจะย้ายเข้ามาใกล้ ๆ บ้าน อย่างวังปึ้งนั้นอยู่ห่าง จากร้องเข็มประมาณ 30 กว่าโล เราก็มีปัญหาเรื่อง การเดินทาง ถนนนี่ทุรกันดารมาก ฤดูฝนรถเข้าไม่ได้ ต้องเดิน เดินทีก็เป็นกิโล ตอนนั้นเราก็มีภาระแล้ว มี ลูกแล้วด้วย พอมาอยู่แม่ยางยวงก็โดนบัตรสนเท่ห์ โดนขู่ยิงขู่ฆ่า คือเราไปอยู่ในที่ ๆ ของคนมีอิทธิพลไง คะ บ้านพักเราก็โดนรื้อค้น มันไม่สบายใจก็เลยขอย้าย เจ้านายเห็นใจก็เลยให้ย้ายมาอยู่แม่ยางเปี้ยว อยู่ที่

แม่ยางยวงแค่ 1 ปี แต่ที่นั่นนี่กับชาวบ้านไม่มีปัญหา เลยนะคะ ปัญหามันอยู่ที่ตัวบุคคลมากกว่า อยู่หนึ่งปี นี่ชาวบ้านติด ขนาดเราอยู่แม่ยางเปี้ยวคนไข้ก็ยังตาม มาได้ พวกเขานั่งรถอีแต๋นกันมา พี่อยู่ที่แม่ยางเปี้ยวตั้งแต่ปลายปี 25 มาจนถึง 35 อยู่ที่นั่นประมาณ 9 ปีกว่า ก็ย้ายมาอยู่น้ำเลาจนเกษียณ ที่แม่ยางเปี้ยว อสม. เขาดีมากเลย ช่วยงานเราตลอด ตอนปี 32 พี่ก็ได้เป็น เจ้าหน้าที่ดีเด่นระดับจังหวัด เพราะงานสาธารณสุขมูลฐานได้ผลดีมาก ตัว อสม. เองก็ได้ อสม. ดีเด่น ระดับจังหวัด เลยได้ไปเที่ยวอินเดียด้วยกันตอนปี 32 สำหรับเหตุผลที่ย้ายมาอยู่น้ำเลานั้นก็คือว่า ที่น้ำเลา

นี ่ เ ขากำลั ง จะปรั บ ให้ เ ป็ น สถานี อ นามั ย ขนาดใหญ่ หัวหน้าเขาบอกให้พี่ย้ายมารับตำแหน่งหัวหน้าฯ ที่

น้ำเลา เพราะคิดว่าพี่คงมีคุณสมบัติที่จะดูแลและช่วย พัฒนา สอ. ขนาดใหญ่ได้ ซึ่งพอเราไปอยู่เราก็ได้ไป พัฒนางานที่น้ำเลานั่นเยอะมาก /กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  19


ช่วงก่อนที่หมอขันทองจะไปอยู่ น้ำเลาเป็น อย่ า งไรบ้ า ง ทั้ ง ลั ก ษณะสภาพพื้ น ที่ แ ละก็

ตัวงาน ไม่ดีเลยค่ะ อาคารสำนักงานเป็นไม้ สภาพรกรุงรัง ต้นไม้สักต้นก็ไม่มี แห้งแล้ง รั้วข้างหน้าก็ไม่มี มี ถนนแบบไม่เต็ม พื้นที่เป็นร่อง พี่ก็ไปถมดินไปพัฒนา ขนาดเดือนแรกจะประชุม อสม.ไม่มีเก้าอี้สักตัวเลย เงินบำรุงก็ไม่มาก ที่นั่นมีน้องเจ้าหน้าที่อีกคนเป็น

ผู้หญิง ซึ่งดูเหมือนว่าน้องเขาก็ทำงานอย่างไม่มีความ สุข เพราะขาดแคลนทั้งวัสดุอุปกรณ์ในการทำงานและ ขาดแคลนกำลังใจ

ถ้าให้ลองย้อนกลับไป ตลอดช่วงเวลาเกือบ 20 ปีที่อยู่น้ำเลา เราเห็นอะไรที่มันพัฒนา ชั ด เจนขึ้ น อี ก บ้ า ง นอกเหนื อ จากเรื่ อ งของ ระบบบริการที่เราสามารถเข้าไปปรับปรุงตัว อาคารสถานที่

ที่เปลี่ยนไปคือ อสม. ให้ความร่วมมือดีมาก ซึ่ง จากเดิมก็ไม่ค่อยจะอะไรกันนัก ด้านผู้นำเองก็ให้ความ ร่วมมือ ไม่ว่าเราจะทำอะไรเขาก็ให้ความร่วมมือทั้งหมด ช่วยเป็นแกนนำให้เราได้คุยกับชาวบ้าน ส่วนใหญ่จังหวัดจะเอาโครงการที่ใหญ่ ๆ ไปลงที่น้ำเลานะ คะ เพราะชุมชนของที่นั่นค่อนข้างพร้อม

สิ่งที่เธอทำหลังเกษียณนั้นถือได้ว่าเป็นการกุศล ต้องใช้จิตอาสาล้วน ๆ แต่ถึงแม้จะมีงานโน่นนี่ มากมาย หมอขันทองกลับมีความสุขและยินดี กับการทำงานลักษณะนี้ ไปเรื่อย ๆ ถ้าเหนื่อยนัก ก็พักหน่อย สักเดี๋ยวมีแรงเพิ่ม ก็เริ่มกันต่อ

ไปอยู่กี่ปีถึงได้อาคารใหม่

ประมาณ 5 – 6 ปี ไ ด้ ค ่ ะ อาคารใหม่ ก ็ เ ป็ น ใต้ถุน 2 ชั้น รุ่นหลังคาแดงนั่นแหละ สักประมาณ 3 – 4 ปีก่อนพี่ก็ขอเรี่ยไรชาวบ้านได้เงินมาแสนแปด เรียก อสม. ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชาวบ้าน มาประชุม คือทาง cup ให้งบประมาณมาประมาณ 3 แสน แต่ก็ไม่พอเลย ขอเรี่ยไรเงินจากชาวบ้าน ชาวบ้านเขาศรัทธาก็เลยให้ มา ได้เงินมาก็เอามาทำใต้ถุนสถานีอนามัย ปรับปรุง เพื่อให้ชาวบ้านมาใช้บริการได้สะดวกขึ้น

20

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

เพราะมั่นใจว่าแกนนำต่าง ๆ เข้มแข็ง

ใช่ค่ะ แกนนำเข้มแข็งมาก

และตัวเราเองซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ ก็ได้รับความ เชื่อถือจากชาวบ้านด้วย

ใช่คะ เพราะเราเข้าถึงและเราติดดิน อยู่ร่วม กับชาวบ้านตลอดไงคะ


า ณ สถานีอนามัยน้ำเล

บรรยากาศที่เห็นจนชินต

ตอนอยู่แม่ยางเปี้ยว เราสามารถพัฒนางาน สสม. จนโดดเด่นกระทั่งได้รับรางวัลกันทั้งตัว เจ้าหน้าที่และ อสม. แล้วช่วงที่มาอยู่น้ำเลานี่ มี ง านอะไรที่ โ ดดเด่ น ซึ่ ง เกิ ด จากการพั ฒ นา ของเราบ้าง

ลั ก ษณะพื้ น ที่ แ ละลั ก ษณะทั่ ว ไปทางด้ า น ประชากรของน้ำเลาเป็นอย่างไรบ้าง ก็คล้าย ๆ กับพื้นที่อื่นในร้องกวางแหละค่ะ คือ ชาวบ้านเขาก็ทำงานเกษตรกรรมน้อ ทำนา ปลูกถั่วเหลือง ปลูกข้าวโพด ใบยาสูบ ทำนองนี้ ที่ตำบลร้องเข็มนี่มีทั้งหมด 10 หมู่บ้าน แต่ตำบลนี้มี 2 สถานีอนามัย ของสถานีอนามัยน้ำเลารับผิดชอบทั้งหมด 7 หมู่บ้าน ที่เหลืออีก 3 หมู่เป็นของอีกสถานีอนามัยหนึ่ง ประชากรก็ประมาณ 5 พันกว่าคน 900 กว่าหลังคาเรือน

ตอนมาอยู่น้ำเลาก็ส่งสถานีอนามัยเข้าประกวด ระดับจังหวัดนะ ก็ได้รางวัลทั้งชนะเลิศและรองชนะเลิศ ระดับจังหวัด

แสดงว่ า ผลงานต้ อ งเข้ า ตากรรมการพอ สมควร ถ้ามองถึงลักษณะเด่น ๆ ของงาน จุดเด่นของสถานีอนามัยน้ำเลาคืออะไร นอกเหนือจาก อสม. ค่อนข้างเข้มแข็งอย่างที่หมอ ขันทองบอก

ก็ ค ื อ ในเรื ่ อ งของข้ อ มู ล เลยค่ ะ คื อ ในสถานี อนามัยนะคะ เราจะมี folder ของทุกหลังคาเรือนที่มา รับบริการที่เรา เราจะแบ่งไว้เป็นตู้ ๆ เป็นหมู่ เรียงบ้านเลขที่จากน้อยหามาก ระบบการจัดเก็บต่าง ๆ นั้นเป็น ปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้เลย

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  21


ปั ญ หาอุ ป สรรคในการทำงานมี บ้ า งมั้ ย

เช่น ในเรื่องของระบบบริการ หรือเรื่องของ ชุมชน ปัญหาเรื่องบริการส่วนมากก็เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอนั ่ น แหละ เราจะให้ บ ริ ก ารให้ ด ี ท ุ ก อย่ า งมั น ก็ ค ง ตามใจชาวบ้านไม่ได้ทุกคนน้อ บางคนเขาก็ว่าเราดี บางคนเขาก็ว่าเราบริการไม่ประทับใจ นานาจิตตัง ถ้า เรื่องปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ของน้ำเลา ตอนนี้ก็คือ งาน NCD ทั้งหมด พวกเบาหวาน - ความดันต่าง ๆ ยิ่ง ค้นยิ่งเจอเลยค่ะ งานไข้เลือดออกก็มีบ้างเป็นบางปี สำหรับโรคทั่ว ๆ ไป ส่วนมากก็โรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ นี่แหละ ชาวบ้านเขาไปทำงานน้อ ยาพารากับยาไดโคฟีแนก โอ้ย ! พวกนี้ขายดี ชาวบ้านเขากินเป็นประจำ จากนัน้ โรคกระเพาะก็ตามมา กินยาแก้ปวดเมือ่ ยก็เยอะ

ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้หมดเกลี้ยง ทุกวันศุกร์พี่ จะเอารถยนต์ที่อนามัยซึ่งติดโทรโข่งติดเครื่องเสียง พี่ก็ จะให้คนงานขับแล้วประกาศไปทั่วตามถนน ให้ทำลาย แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เพราะไข้เลือดออกจะระบาด ประชาสัมพันธ์ไปทั่วตำบลเลยหละ ซึ่งก็ได้ผล

ช่วงที่เกษียณอายุราชการเมื่อปีกลาย เจ้าหน้าที่ที่ทำงานในสถานีอนามัยน้ำเลามีทั้งหมดกี่คน

ก่อนเกษียณมี 5 พอพี่เกษียณมา 1 มีน้องย้าย ไปเมื อ งน่ า นอี ก 1 ก็ เ หลื อ 3 ตอนนี ้ ห นั ก มากเลย ทำงานกัน 3 คน หัวหน้าคนใหม่ก็ยังไม่มาเลย ตอนนี้ก็ ให้น้องนักวิชาการฯ รักษาการฯ อยู่ (ข้อมูลขณะวัน สัมภาษณ์ 14 มิ.ย. 54 : ผู้สัมภาษณ์ - เรียบเรียง)

มีความสุขตลอดเวลากับงาน “จิตอาสา”

ตลอดระยะเวลา 30 กว่าปีที่เราทำงานเป็น หมออนามัย สิ่งที่ถือเป็นความภาคภูมิใจของ หมอขันทองคืออะไร ก็คือความร่วมมือของชุมชนนั่นแหละ มันก็เกิด จากเราไปจ้ำจี้จ้ำไชเนาะ อย่างโรคไข้เลือดออกลดลง ได้ก็เพราะเราขอความร่วมมือจาก อสม. มีการประชาสัมพันธ์และร่วมทำงานด้วยกัน ทำกัน 7 วันก็สามารถ 22

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

ขณะนี้พอเกษียณอายุราชการออกมา แต่ดู เหมือนว่าแทนที่เราเกษียณแล้วจะได้พักผ่อน จริง ๆ กลับกลายเป็นว่าต้องไปเป็นกรรมการโน่ น นี่ ทำไมถึ ง ไม่ ยุ ติ ง านอย่ า งจริ ง ๆ

จัง ๆ พอดี พ ี ่ เ ป็ น กรรมการกองทุ น หลั ก ประกั น สุขภาพของเทศบาลร้องเข็มด้วยไงคะ คือเราเป็นอยู่


ก่อนแล้วตั้งแต่ยังไม่เกษียณ เลยเป็นมาแบบต่อเนื่อง ที่ สอ. ก็กลับไปช่วยงานน้อง ๆ สงสารพวกน้องที่อยู่ น้ำเลา เพราะเจ้าหน้าที่จาก 5 มาเหลือ 3 ก็เลยไปช่วย งานคัดกรอง NCD ช่วยเจาะเลือดวัดความดัน เจาะ ปลายนิ้วบ้าง เจาะแขนบ้าง หรือช่วยงานบริการต่าง ๆ ซึ่งตอนนี้งานที่ สอ. ยุ่งกันมาก นี่พรุ่งนี้พี่ก็จะไปช่วย อีกแล้ว พอดีวันพรุ่งนี้น้องคนหนึ่งเขาจะเป็นกรรมการ ประเมินประกวด รพ. สต. ดีเด่น เลยเหลือเจ้าหน้าที่ อยู่ 2 คน อีกคนหนึ่งก็เป็นทันตาภิบาลฉีดยาอะไรไม่ ได้ พอดีมีคลินิก EPI ด้วยไง น้องก็เลยขอร้องให้ไปช่วย จ่ายยาข้างล่าง คือให้ช่วยอะไรพี่ก็ช่วยหมดนะ ไม่ใช่ ว่าอันนี้พี่ทำแต่อันนี้ไม่ทำ เอายาใส่ซอง ติดฉลากยา วัดความดัน จ่ายยา พี่ช่วยได้หมด

ในส่วนของกรรมการกองทุนเงินล้านล่ะ ได้ ข่าวว่าเราก็ร่วมเป็นกรรมการด้วย

กองทุนเงินล้านเป็นของที่นี่นะ เป็นของบ้าน ร้องเข็มบ้านเกิดของพี่เอง หลังจากเกษียณมานี่เขาก็ แต่งตั้งให้พี่ไปเป็นกรรมการ คือพอเราเกษียณมาชาวบ้านก็บอกว่า เอ๊ะ ! หมอเกษียณมาก็อยากให้มาช่วย ทำงานให้กับชุมชน เราเลยรับปากไปเป็นกรรมการกองทุนให้

สมาชิ ก ชมรมผู้ สู ง อายุ นี่ เราเข้ า ไปเป็ น สมาชิกด้วยตัวเองเลย

ใช่ค่ะ สมัครเป็นสมาชิกเลย คืออย่างนี้ ทาง ชมรมนี้โรงพยาบาลร้องกวางเขาเป็นเจ้าภาพ เราเอง เข้ า ไปก็ ม ี บ ทบาทเหมื อ นกั บ เป็ น อาสาสมั ค ร ก็ ไ ป ประชุมชาวบ้าน ประชุมผู้สูงอายุ เวลาเขามีประชุมเรา ก็จะไปช่วยหรืออย่างที่ทางฝ่ายส่งเสริมสุขภาพของ

โรงพยาบาลร้องกวางเขามาออกหน่วยที่ร้องเข็มเดือน ละครั้ง เพื่อติดตามดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ พี่ก็จะเข้า ร่วม ไปช่วยตลอด

กรณีของกองทุนหลักประกันสุขภาพ บทบาท หน้าที่ของหมอขันทองคืออะไร

ก็ประชุมร่วมกับคณะกรรมการพิจารณางบประมาณ ช่วยดูว่างบประมาณจะผ่านรึเปล่า แต่ละ หมู่บ้านเขาก็จะเอาโครงการมาเสนอในที่ประชุม บอก ว่ า จะทำอย่ า งนั ้ น ๆ ถ้ า ส่ ว นไหนที ่ เ ราควรจะเสนอ ข้อคิดก็เสนอให้เขาไป

บทบาทหน้าที่ของกรรมการกองทุนเงินล้านก็ เหมือนกัน

ก็เหมือนกันเลยค่ะ

นอกเหนื อ จากลั ก ษณะของกรรมการโดย ตำแหน่ ง ในกองทุ น ต่ า ง ๆ ตอนนี้ ยั ง มี บ ทบาทอะไรอีกบ้างมั้ยในชุมชน

เวลามีประชุมก็ประชุมร่วมกับชุมชน ร่วมเสนอ ความคิด อีกอย่าง ชาวบ้านที่นี่เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็มา พึ่งเรา เราก็จะประสานหรือติดต่อให้เขาไปอนามัยหรือ ให้ไปโรงพยาบาล ก็ช่วยเขาไป คือถ้าใครอยากให้เรา ช่วยเหลืออะไรก็ให้บอก เรายินดีไปช่วย อย่างตอนนี้ ทางโรงพยาบาลร้องกวางเขาก็ออกเกียรติบัตรให้ด้วย เหตุผลที่เราเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นลักษณะของอาสาสมัคร เราก็บอกน้องที่โรงพยาบาลเขานะว่า ถ้า อสม. ขาดก็บอกได้นะ พี่จะไปเป็น อสม. ให้เอง

พอเกษียณมา เราแบ่งเวลาเรื่องส่วนตัวกับ เรื่องของงานชุมชนในลักษณะจิตอาสานี่ยังไง บ้าง คือจริง ๆ แล้วก็ไม่ถึงกับต้องแบ่งนะคะ เพราะ เราก็ยังพอมีเวลาส่วนตัวบ้าง ถ้าวันไหนไม่มีงานอะไร เราก็อยู่บ้านทั้งวัน ส่วนงานจิตอาสาถ้าเขาอยากให้เรา ไปทำไอ้นั่นไอ้นี่ เราก็ไปได้ ไม่ค่อยปฏิเสธ

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  23


เห็นความมุ่งมั่นชัดเจน มาแต่ครั้งเป็น “นักเรียนผดุงครรภ์”

ช่วงเวลาที่ไม่ได้ทำงานเชิงจิตอาสา ส่วนใหญ่หมอขันทองทำอะไร

ส่วนมากก็จะทำงานบ้านแหละค่ะ ก็มีดูทีวีบ้าง อ่านหนังสือบ้าง เรื่องเที่ยวนี่ ก็ไปบ้างเป็นบางครั้ง ส่วนใหญ่ก็ไปเที่ยว กับ อสม. น้ำเลาที่เราคุ้นเคยกันนั่นแหละ ค่ะ

ที่ ห มอขั น ทองบอกว่ า ตอนนี้ ก็

ยั ง ไปช่ ว ยน้ อ งที่ ส ถานี อ นามั ย อยู่ หมอมีแรงจูงใจอะไร ทำไมเราถึง อยากช่ ว ยอยากทำ ไม่ เ บื่ อ งานที่ เราคลุกคลีกับมันมาเกือบ 40 ปี เลยหรือ ก็ ย ั ง รั ก งานอยู ่ ยังมีใจรักมันอยู่ คือมันก็เครียดแหละนะถ้าดูจากตัวงานที่ ทำ ๆ มา อย่ า งก่ อ นเกษี ย ณปี 53 นี ่ พ ี ่ เวียนหัวตลอด เวียนหัวชนิดลุกไม่ขึ้นเลย น้อ แต่หลังจากเกษียณออกมาก็ไม่เคย เวียนหัวอีกเลย อาจจะเครียดลึก ๆ อยู่

24

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

มีแผนหรือได้กำหนดบ้างมั้ยว่าวันไหนบ้างที่จะต้องไป ช่วยงานที่สถานีอนามัย

ไม่มีหรอกค่ะ เอาตามเวลาสะดวก พี่ก็บอกให้น้องโทรมา

บอกว่างานไหนที่อยากให้ช่วย หรือหากน้องเจ้าหน้าที่ไม่อยู่หรือมี งานหนักก็ให้โทรมาบอก

ไม่ได้เป็นลักษณะของพันธสัญญากันว่าจะต้องเป็นวัน นั้น ๆ

ไม่ได้มีพันธสัญญากันค่ะ

ไม่มีหรอกค่ะ ถึงให้พี่ก็ไม่เอา เพราะพี่ไปอย่างจิตอาสาเลย

ไปช่วยงานน้อง ๆ ที่สถานีอนามัยหนักขนาดนั้น น้อง ๆ เขามีเงินให้เป็นค่าตอบแทนน้ำใจบ้างมั้ย

แล้วตัวชาวบ้านเอง พอหมอเปลี่ยนสถานภาพจากหมอ มาเป็นคนช่วยงานในสถานีอนามัยอย่างนี้ ท่าทีของ พวกเขาเปลี่ยนไปมั้ย ไม่เปลี่ยนเลย เขาดีใจนะ เขาดีใจว่าเรายังไม่ทิ้งเขายังมา เที่ยวมาหาอยู่ เขาก็บอกว่าไม่เห็นหน้าหมอขันทองก็คิดถึง เขายัง เชื่อฝีมือเราอยู่นะว่าเรายังทำได้


มันก็มีประโยชน์กับตัวเราบ้าง เราไม่ต้องเหงา อยู่กับบ้าน คือพอเราอยู่นิ่ง ๆ นี่มันก็เหงาเหมือนกัน นะคะ แต่พอเราได้ไปช่วยสังคมได้พบปะกับคนเยอะ ๆ ก็หายเหงา ได้พูดคุยกัน มันก็ทำให้เรากระชุ่มกระชวย ขึ้นมาได้

สุขภาพของหมอขันทองในช่วงนี้เป็นยังไงบ้าง

ไม่กลัวนะคะ พี่ใช้หลักธรรมะค่ะ คือต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าทุกอย่างมันต้องเปลี่ยนไป เราก็รู้อยู่ว่ามันจะเสื่อมยังไง เราจึงต้องมีการเตรียมตัว เพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ต้องรู้เท่าทันว่าอะไรจะเปลี่ยน

ไปบ้าง ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม เราต้องปลงให้ได้ ค่ะ

ถ้าไม่บอกว่าอายุ 60 แล้ว หมอขันทองยังดู อ่อนวัยมากเลยนะนี ่

เริ่มเตรียมตัวตอนประมาณอายุ 55 เตรียมตัว ไว้เลยว่าเราจะต้องเปลี่ยนไป จะต้องเกษียณ เวลา ออกมาอยู่บ้านเราก็จะต้องทำตัวให้มีประโยชน์ต่อ สังคมบ้าง พี่ตั้งใจไว้อย่างนี้เลย คือเคยมีพี่ ๆ เขาคุย

แทนที่ เ ราจะอยู่ เ ฉย ๆ แต่ ก ลั บ ออกไปตาก แดดตากลม อะไรเป็นตัวที่ทำให้เรารู้สึกว่า อยากอาสาอยากช่วย มันมีประโยชน์กับตัว เราหรือว่าสังคมอย่างไร

ก็ดีค่ะ แต่ก่อนที่พี่บอกว่าเวียนหัว พอออกมาก็ หายปั๊บเลย โรคประจำตัวที่มีบ้างก็ความดันสูงค่ะ แต่ ก็ควบคุมป้องกันอยู่โดยทานยาวันละเม็ด

หลาย ๆ คนอาจจะกลั ว เรื่ อ งของการต้ อ ง เปลี่ยนวัย กลัวสูญเสียความสามารถ และ กลัวความหนุ่มความสาวลดลง หมอขันทอง กลัวบ้างมั้ย

ตัวหมอขันทองเองเริ่มเตรียมตัวรับวัยเกษียณ ตั้งแต่เมื่อไหร่

เหรอคะ ! (หัวเราะเสียงดัง)

หมอมี เ คล็ ด ลั บ ในการครองชี วิ ต ยั ง ไงบ้ า ง จากที่คุยกันมาประมาณไม่ถึงชั่วโมงก็รู้สึกได้ เลยว่าหมอน่าจะเป็นคนที่มีความสุขกับการใช้ ชีวิต ก็ใช้หลักที่เราเรียนมานั่นหละ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารให้ครบหลัก 5 หมู่ มีอาหารเสริมบ้าง และก็ออกกำลังกาย อย่างออกกำลังกายนี่พี่ จะไปออกกำลังกายทุกเช้าที่ fitness ตรงสนามของ หมู่บ้าน ที่นั่นก็มีชาวบ้านมาออกกำลังกายกันเยอะแยะ

ลูกทั้งสาม คือ “กำลังใจ” ที่สำคัญของหมอขันทอง

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  25


ให้ ฟ ั ง ว่ า พอเกษี ย ณปั ๊ บ 1 ตุ ล า ยั ง หลงแต่ ง ตั ว ไป ทำงานอี ก เราเลยต้ อ งเตรี ย มพร้ อ มไว้ ไ งคะ จะได้

ไม่เสียใจไม่น้อยใจว่าอายุเราเปลี่ยนไปบทบาทหน้าที่ เปลี่ยนไป ชุดฟ้านี่เก็บเข้าตู้เลย

รู้สึกใจหายมั้ย พอถึงวันแรกที่เราไม่ได้เป็น หมออนามัยแล้ว

มันก็ใจหายบ้างน้อ เราเคยอยู่มา 39 ปี แต่

ลูก ๆ ก็ให้กำลังใจนะคะ อย่างลูกคนแรกเป็นหมออยู่ โรงพยาบาลแพร่ เขาก็ให้กำลังใจ ลูกชายที่ตอนนี้เป็น พยาบาลอยู่โรงพยาบาลร้องกวางเขาก็กลัวว่าแม่เหงา ก็จะพาไปเที่ยว ลูกคนเล็กที่กำลังเรียนอยู่ก็คอยโทรหา ลูก ๆ ทั้งสามคนเขาให้กำลังใจเราอยู่ค่ะ

ชีวิตหลังเกษียณนับจากนี้ หมอขันทองยังมี ความคาดหวังหรือว่ามีความคิดที่จะทำอะไร อีกบ้างมั้ย

ก็ อ ย่ า งที ่ บ อกแหละค่ ะ ว่ า อยากทำงานแบบ

จิตอาสาไปเรื่อย ๆ ชีวิตนี้จึงไม่หวังอะไรมากค่ะ เอาที่

ใกล้ ๆ อีกหน่อยนี่ก็จะได้เลี้ยงหลาน คนที่เป็นหมอน่ะ ค่ะตอนนี้กำลังท้องใกล้คลอดแล้ว กำลังรอเลี้ยงหลาน

ถ้ า ให้ นิ ย ามความสุ ข ของคนวั ย เกษี ย ณหรื อ หลั ง เกษี ย ณอายุ ร าชการ ในคำนิ ย ามของ หมอขันทองคิดว่าความสุขของคนวัยเกษียณ คืออะไร

ต้องเป็นคนที่มีความสุขทั้งกายทั้งใจ มีความ เข้าใจกับความเปลี่ยนแปลงทั้งเรื่องของร่างกายและ หน้าที่การงาน ต้องทำให้ตัวเองและคนรอบข้างเรามี ความสุข นั่นแหละคือความสุขของคนวัยเกษียณ 26

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

อยากให้ ห มอขั น ทองช่ ว ยฝากกำลั ง ใจหรื อ ฝากแง่คิดให้กับน้อง ๆ รุ่นหลัง ๆ ที่ยังคง ทำงานอยู่ ใ นตอนนี้ ร วมถึ ง คนที่ ก ำลั ง จะถึ ง เวลาเกษียณอายุราชการ

สำหรับน้อง ๆ ก็อยากให้ใช้ความขยันอดทน นั่นแหละค่ะ ทำงานต้องขยันต้องอดทน มีมานะ มัน จะทำให้เราประสบผลสำเร็จได้ อย่าใจร้อนน้อ บาง ครั้งชาวบ้านเวลาเขามาพูดอะไรมันตรงจุดเรา บาง ครั้งโมโหได้ บางครั้งเราก็เหนื่อย ส่วนมากชาวบ้านเขา จะ “หมอไปไหนกันหมด” ทำนองนี้ ที่จริงเราก็นั่ง ทำงานของเราในอนามัยนั่นแหละ เขาจะให้เรามานั่ง รอคนไข้อย่างเดียวบางครั้งมันก็มีอารมณ์บ้าง ต้อง พยายามข่มใจ พูดกับคนไข้ให้มาก ๆ หน่อยเวลาที่เขา มารับบริการแล้วไม่ได้ดั่งใจ บอกเหตุผลว่าเราติดธุระ


อะไรบ้าง เราต้องบอกให้คนไข้เขาทราบ ถ้าเราเฉย ๆ หรือวางท่าวางมาด เขาก็จะไม่เข้าใจเรา นอกจากนี้ก็ ขอให้ใช้ความขยันอดทน ให้รักในอาชีพของเรา ทำ งานทุกอย่างขอให้มีใจรัก เราจะได้ประสบผลสำเร็จ บุญบารมีที่เราทำมาจะตอบสนองเราเองในวันหน้า สำหรับคนที่กำลังจะเกษียณก็ให้เตรียมตัวไว้ เตรียม ตัวเองไว้ด้านจิตใจ ด้านทรัพย์สินก็ต้องเตรียมตัวไว้ เหมือนกัน จะต้องอดออมตั้งแต่ก่อนเกษียณ เวลา เกษียณปั๊บเราจะได้มีเงินเหลือเยอะ สามารถเอาไป เที่ยวหรือทำโน่นทำนี่ได้โดยไม่ต้องเป็นภาระให้กับ

ลูกหลาน

ที่เราไปเป็นกรรมการโน่นนี่นั่น ถ้าครบอายุ ของวาระแล้ว หมอยังคิดจะทำต่อหรือว่าจะ หยุด

ถ้าเขายังไว้วางใจเรา ก็ยังอยากจะช่วยไปเรื่อย ๆ ไม่เบื่อค่ะ งานจิตอาสานี่ชอบ ไม่เหนื่อยไม่เบื่อเลย

คุยกันตั้งแต่ตอนต้นที่หมอบอกว่า ถ้าให้เป็น อสม. ก็จะเป็น อันนี้พูดจริงรึเปล่า

พี่พูดจริงนะ

ไม่รู้สึกว่าเสียศักดิ์ศรีหรือ

ไม่ ๆ ไม่เลยค่ะ ไม่เสียศักดิ์ศรีอะไรเลย เรามา ช่วยได้จริง ๆ แต่น้อง ๆ เขาบอกว่า ไม่ให้เป็นหรอก ใช้ พี่เขาไม่ได้หรอก เกรงใจ (หัวเราะเสียงดัง) ..........

“บันทึกชีวิต... หมออนามัย : 30 เรื่อง 30 เล่า” ที่ ปรากฏอยู่บนพื้นที่ของ “เรื่องจากปก” และ “สัมภาษณ์พิเศษ” เป็นหนึ่งใน “โครงการจัดการความรู้ในการพัฒนา ศักยภาพหมออนามัย เพื่อการทำงานด้วยหัวใจแห่งความ เป็นมนุษย์” โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. บันทึก “ชีวิตหมออนามัย” ที่ดำเนินชีวิตอย่างดีงาม ต่อเนื่องสม่ำเสมอ และเพื่อ ยกย่องเชิดชูเกียรติในการทุ่มเททำงานด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ ให้รับรู้ในสังคมวงกว้าง ยิ่งขึ้น 2. เป็นการจัดระบบความรู้ที่มีอยู่ในตัวหมออนามัย เกิดการเรียนรู้ระหว่างหมออนามัย ด้วยกันเอง โดยมีหมออนามัยที่เป็นแบบอย่าง และเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เกิดจากการทำงาน ตลอดจนความรู้แบบใหม่ ๆ ที่ได้จากการค้นหา 3. เป็นการเสริมความดีงาม เป็นกำลังใจสำหรับหมออนามัยผู้ที่อุทิศชีวิตในการทำงานใน ชนบท ซึ่งมีผลกระทบต่อการสร้างเสริมสุขภาวะของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  27


ร า ย ง า น พิ เ ศ ษ

อินทนิล : สัมภาษณ์/เรียบเรียง

ผลสุ่มสำรวจ... นับแต่วารสารหมออนามัย ฉบับแรกได้ก่อเกิดขึ้นมาตั้งแต่เดือน มิ ถ ุ น ายน 2534 แล้ ว ก้ า วเดิ น มา จนถึง 20 ปีเต็มในฉบับที่แล้ว คือ ฉบับเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2554 ถ้ า เอามากองรวมกั น ก็ ไ ด้ วารสารจำนวนถึง 120 เล่ม ไม่น่า เชื่อว่าวารสารเล่มน้อยนี้แม้จะค่อย ๆ ก้าวไป แต่ก็ก้าวมาได้ไกลขนาดนี้ ที ม งานที ่ ช ่ ว ยกันจัดทำก็ หมุนเวียนเปลี่ยนหน้ากันไปหลาย ต่อหลายรุ่นแล้ว แต่ที่ยังคงเดิมไม่ เปลี่ยนแปลงคือ บ.ก. ทั้ง 2 ท่าน (ทั้ง บ.ก. บริหาร และ บ.ก. วิชาการ) นี่คงเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ วารสารนี้มั่นคงยืนยงในการก้าวมา และก้าวต่อไป การเริ่มต้นทำวารสารนั้น ไม่ยาก แต่การรักษาวารสารนั้น ๆ ให้ ค งอยู ่ ย าวนานที ่ ส ุ ด ได้ น ั ้ น เป็ น เรื ่ อ งยากยิ ่ ง กว่ า ดั ง เช่ น วารสาร จำนวนมากมาย แม้ก่อร่างสร้างตัว ขึ้นมาด้วยความยากลำบาก แต่ก็ อยู่ได้ไม่นาน ก็ต้องยุบสลายหาย หน้ า ไป วารสารบางเล่ ม มี เ งิ น ทุ น แต่ขาดคนทำ วารสารก็จบ ไปต่อ

ไม่ได้ หรือมีทีม มีทุน มีการจัดการ ดี แต่ไม่มีคนอ่านก็ไปไม่รอดอีก 28

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

เบื่อ...เซ็ง วารสาร

เมื่อเดือนพฤษภาคม กอง บ.ก. ได้หารือกันว่า แม้วารสารหมออนามัยเราก้าวมาถึง 20 ปีแล้ว แต่จะทำอย่างไรในการก้าวต่อไปได้อย่าง มั่นคงดีมีคุณภาพ และมีผู้คอยติดตามอ่านและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง จึง ได้สำรวจความคิดเห็นโดยการแนบแบบสอบถามไปกับวารสาร นั่นเป็นวิธี


หนึ่ง และอีกวิธีหนึ่งคือ สุ่มถามหมออนามัยทั่วประเทศ ทางโทรศัพท์ ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว ได้ผลไว และ มั่นใจในคำตอบ ตอนนี้แบบสอบถามกำลังทยอยตอบกลับเข้า มา ผลสรุปคงต้องใช้เวลา แต่วิธีสำรวจโดยการสุ่มโทร ได้ผลมาแล้ว ฉบับนี้จึงขอนำผลการสุ่มสำรวจความคิดเห็น ทางโทรศัพท์มาเล่าสู่กันฟังก่อน 1) ผลสรุปโดยย่อ จากการสุ่มโทรศัพท์สอบถามข้อมูลจากหมออนามัยใน 76 จังหวัด รวม 104 ราย พบว่า มีผู้อ่าน วารสาร 101 ราย ไม่เคยอ่านเลย 3 ราย เหตุผลที่ไม่ เคยอ่าน บอกว่า ไม่เคยได้รับวารสาร 1 ราย (ตำแหน่ง เจ้าพนักงาน ฯ และอีก 2 ราย เป็นพยาบาลจบใหม่) และใน 101 ราย ที่อ่าน ทุกรายบอกว่า วารสารควร ทำต่อไป การอ่านวารสาร ส่วนใหญ่ระบุว่า อ่านทุก ฉบับ 79 ราย แต่มีเพียง 17 ราย ที่อ่านหมดทั้งเล่ม มี 22 ราย ที่อ่านนาน ๆ ครั้ง เฉพาะบางฉบับเท่านั้น และ มี 1 รายบอกว่า...“เบื่อ ๆ เซ็ง ๆ วารสารไม่น่าอ่าน” 2) ตำแหน่งผู้ให้สัมภาษณ์ - พยาบาลวิชาชีพ 35 ราย

- เจ้าพนักงานสาธารณสุข 30 ราย - นักวิชาการสาธารณสุข 23 ราย - ผอ. รพ. สต./หน. สอ. 16 ราย รวม 104 ราย 3) การอ่านวารสารหมออนามัย - อ่านทุกฉบับ แต่ไม่หมดทั้งเล่ม 62 ราย (เลือกอ่านเฉพาะบางเรื่อง) - อ่านนาน ๆ ครั้ง 22 ราย (เฉพาะบางฉบับเท่านั้น) - อ่านทุกฉบับ และอ่านหมด 17 ราย ทั้งเล่ม - ไม่เคยอ่านเลย 3 ราย รวม 104 ราย 4) คอลัมน์/เรื่อง ที่ชอบอ่าน - เรื่องจากปก 35 ราย - เรื่องทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจง 15 ราย - บทความเกี่ยวกับสุขภาพ 5 ราย - กฎหมายสาธารณสุข 5 ราย - ภูมิปัญญาไทย/สมุนไพร 4 ราย - นวัตกรรมใหม่ ๆ 4 ราย - โรค/การใช้ยา 4 ราย - การทำงานต่าง ๆ ของ สอ. 4 ราย /กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  29


- ประสบการณ์ทำงานของเพื่อน 3 ราย หมออนามัย - ความก้าวหน้าของหมออนามัย 3 ราย - ข่าวในแวดวงหมออนามัย 3 ราย - ปัญหาสาธารณสุข 2 ราย - ความก้าวหน้า พ.ร.บ. วิชาชีพ 2 ราย - บทสัมภาษณ์พิเศษ 2 ราย - รอยอดีต (หมออนามัยพ่ายรัก) 1 ราย - เภสัชโภชนา 1 ราย - การดูแลสุขภาพ 1 ราย - นายเดินเดี่ยว 1 ราย - เรื่องเล่าจาก สอ. 1 ราย - เรื่องสั้น 1 ราย - นโยบายการทำงาน 1 ราย - บท บ.ก. 1 ราย - การดูแลผู้สูงอายุ 1 ราย - การวิจัย 1 ราย รวม 101 ราย 5) เรื่องที่อยากให้ลงเพิ่มเติม - นวัตกรรมใหม่ ๆ 7 ราย - IT 5 ราย - สมุนไพร/ผลวิจัยสมุนไพร 4 ราย - ความก้าวหน้า รพ. สต. 3 ราย - บทความเกี่ยวกับสุขภาพ 3 ราย 30

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

- ความก้าวหน้า พ.ร.บ. วิชาชีพ - ถาม - ตอบ ปัญหา - เกม - ผลงานเด่นของ สอ. - โรคต่าง ๆ - การทำงานของ รพ. สต. - วิชาการเกี่ยวกับการรักษาโรค - ดวง - ทำนายโชคชะตาราศี - ลงเบอร์โทรศัพท์หมออนามัยที่ ได้ลงวารสารด้วย - ที่ผ่านมาลงเฉพาะเรื่องที่สำเร็จ อยากให้ลงเรื่องที่ไม่สำเร็จบ้าง - ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ สอ. - ความเดือดร้อนของหมออนามัย - ขวัญกำลังใจหมออนามัย - ให้ลงรูป รพ. สต. เยอะ ๆ - ความชัดเจนบทบาทหน้าที่ ของ รพ. สต. - ขำขัน - ความคิดเห็นของหมออนามัย - เรื่องเกี่ยวกับ อสม. - งบประมาณที่สนับสนุน สอ. - เรื่องเกี่ยวกับหมออนามัย - ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ - กฎระเบียบใหม่ ๆ - งานวิจัยเกี่ยวกับ รพ. สต.

3 ราย 2 ราย 2 ราย 2 ราย 2 ราย 2 ราย 2 ราย 1 ราย 1 ราย 1 ราย 1 ราย 1 ราย 1 ราย 1 ราย 1 ราย 1 ราย 1 ราย 1 ราย 1 ราย 1 ราย 1 ราย 1 ราย 1 ราย


- ประวัติบุคคลสำคัญ 1 ราย - ลงวิถีชีวิตที่ดีของชาวบ้านบ้าง 1 ราย - R2R 1 ราย - วิธีการในการปฏิบัติงาน 1 ราย - ตัวยาใหม่ ๆ 1 ราย - ข่าวสารหมออนามัย 1 ราย รวม 59 ราย - ไม่มีข้อเสนอแนะในเรื่องนี้ 42 ราย 6) ประโยชน์ที่ได้รับจากวารสาร - ได้ความรู้/แนวทางหรือเทคนิค 27 ราย การทำงาน - นำประสบการณ์ที่อ่านมาใช้ได้ 14 ราย - รู้ข้อมูลข่าวสารหมออนามัย 12 ราย - มีกำลังใจในการทำงาน 8 ราย - รู้วิชาการรักษาพยาบาล/ 5 ราย โรคใหม่ ๆ - รู้นวัตกรรมใหม่ ๆ 4 ราย - รู้จุดดีจุดเด่นของ สอ. ต่าง ๆ 3 ราย - ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3 ราย ประสบการณ์ - ได้ข้อมูลที่หลากหลาย 3 ราย - นำตัวอย่างผลงานดี ๆ ไป 3 ราย

นำเสนอกับชาวบ้านได้ - สาระ “เรื่องจากปก” นำมา 2 ราย ประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ - ได้ความรู้ความเข้าใจใน 2 ราย การทำงาน รพ.สต. - ได้รับรู้ข้อมูลหมออนามัยที่ 2 ราย เป็นตัวอย่าง - รู้ความก้าวหน้าของหมออนามัย 2 ราย - ได้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย 2 ราย สาธารณสุข - รู้นโยบายการทำงาน 1 ราย - เบื่อ ๆ เซ็ง ๆ เนื้อหาไม่น่าอ่าน 1 ราย - “ภูมิปัญญาไทย” นำมา 1 ราย ประยุกต์ใช้กับชาวบ้านได้ - รู้ทิศทางการทำงานของ สอ. 1 ราย - เป็นเวทีให้หมออนามัย 1 ราย แสดงความคิดเห็น - ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงได้ 1 ราย - ได้แนวทางการถ่ายโอน สอ. 1 ราย สู่ อบต. - รู้ความก้าวหน้า พ.ร.บ. วิชาชีพ 1 ราย - ช่วยคลายเครียดดี 1 ราย รวม 101 ราย

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  31


7.) ควรทำวารสารต่อไปหรือไม่ - ควรทำต่อ 101 ราย (อีก 3 ราย ไม่เคยอ่านวารสาร) 8.) ข้อเสนอแนะอื่น ๆ - ความชัดเจนบทบาทหน้าที่ของ รพ. สต. - ดีแล้ว ดีกว่าไม่มีให้อ่าน - ข้อมูลเกี่ยวกับโรคตามฤดูกาล/ การรักษา - สมุนไพร - นวัตกรรมใหม่ ๆ - วารสารถึงช้ามาก - น่าจะมีเรื่องที่เร้าใจกว่านี้ - เอาดาราที่ดูแลสุขภาพดี ๆ มาลงบ้าง - ระยะเวลาในการออกวารสาร นานเกินไป - ข้อมูลที่ทันสมัย - บางเรื่องเนื้อหาน้อยเกินไป - ลงเรื่องบันเทิงบ้าง - ลงเรื่องการเมืองบ้าง

32

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

3 ราย 2 ราย 2 ราย 2 ราย 2 ราย 2 ราย 1 ราย 1 ราย 1 ราย 1 ราย 1 ราย 1 ราย 1 ราย

- กฎหมายสาธารณสุข 1 ราย ควรลงให้ต่อเนื่อง - การแพทย์แผนไทย 1 ราย - ให้ผู้ใหญ่ในกระทรวงเขียนลงบ้าง 1 ราย - อัพเดตข้อมูลในเว็บไซต์บ้าง 1 ราย - สิทธิประโยชน์ของหมออนามัย 1 ราย - การทำงานในแต่ละพื้นที่ 1 ราย - อยากให้ทำเป็นรูปโฆษณาแทน 1 ราย ตัวหนังสือ เพื่อให้ชาวบ้านที่ เป็นกะเหรี่ยงเข้าใจได้ - ลงผลงาน สอ. โดยไม่ต้อง 1 ราย ประกวด - การเยี่ยมโยงระหว่าง รพ. กับ 1 ราย รพ. สต. - การใช้ยาต่าง ๆ 1 ราย รวม 30 ราย - ไม่มีข้อเสนอแนะ 71 ราย ทั ้ ง หมดนี ้ เ ป็ น ผลสรุ ป จากการสุ ่ ม โทรศั พ ท์ สัมภาษณ์หมออนามัยเราใน 76 จังหวัด วิธีการคือสุ่ม ชื่ออำเภอ จังหวัดละ 1 อำเภอ แล้วโทรศัพท์ไปขอเบอร์โทรศัพท์สถานีอนามัยในเขตอำเภอนั้นจากสำนักงาน สาธารณสุขอำเภอ จำนวน 2 เบอร์ จะใช้จริง 1 เบอร์ สำรองไว้ 1 เบอร์ เผื่อโทรไปไม่มีคนรับหรือโทรศัพท์ ขัดข้อง สรุปใน 76 จังหวัดนี้ สุ่มโทรจังหวัดละ 1 ราย จำนวน 48 จั ง หวั ด จั ง หวั ด ละ 2 ราย จำนวน 28 จังหวัด รวม 104 ราย ดำเนินการระหว่างวันหยุดยาว 5 วัน คือช่วงวันที่ 13 - 17 พฤษภาคม (วันพืชมงคล วันวิสาขบูชา วันหยุดตามมติ ครม.) ช่วงเวลา 08.00 20.00 น. ทางกอง บ.ก. ขอขอบพระคุณหมออนามัยที่ ให้ข้อมูลทั้งหมดนี้อีกครั้ง แต่ละท่านพอรู้ว่าโทรจาก “วารสารหมออนามัย” ก็ให้ความเป็นมิตร ให้ความ ร่วมมือ ให้ข้อมูลเป็นอย่างดี


สร้างเสริมสุขภาพคนพิการ สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ www.healthyability.com

5

ผั ก และผลไม้ สี กั บ สุ ข ภาพดี ที่ ย าวนาน ปั จ จุ บ ั น เนื ่ อ งจากอิ ท ธิ พ ล ของสังคมเมือง ทำให้อาหารที่เรารับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเป็นไขมัน ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์แปรรูป และมีเส้นใยอาหารต่ำ ซึ่งเป็นหนึ่งใน ปั จ จั ย เสี ่ ย งของการเกิ ด โรคอ้ ว น เบาหวาน ขณะนี้โรคเหล่านี้มีโอกาสเกิดขึ้น ได้มากเมื่อเรามีอายุมากขึ้น และพบบ่อย ทั้งในกลุ่มผู้สูงอายุและคนพิการ เช่น กลุ่ม คนพิการดาวน์ซินโดรม จากการคาดการณ์ จำนวนคนที่จะเป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มมาก ขึ้นเกือบสามเท่าในอีก 15 ปีข้างหน้า1 โรคร้าย ต่าง ๆ ที่อาจตามมาอีก เช่น โรคความดันและ โรคหลอดเลือด และกำลังขยายความรุนแรงขึ้น ทุ ก ขณะ โรคร้ า ยเหล่ า นี ้ ท ี ่ เ กิ ด จากการรั บ ประทานข้างต้น จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงให้กลุ่มคนที่ อยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้รับผลกระทบจาก โรคร้ายได้ในอนาคต นอกจากนั้นแล้ว กลุ่ม ผู้สูงอายุและคนพิการยังได้รับพลังงานและ รับประทานอาหารได้น้อยลง แต่ยังคงต้อง การสารอาหารที่หลากหลายอยู่ ทำให้ยิ่งมี

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  33


โอกาสเสี่ยงต่อการได้รับโรคมากยิ่งขึ้น และ ยังมีโรคต่าง ๆ ที่มากับความชราอีก เช่น โรคความจำเสื ่ อ ม โรคหั ว ใจ โรคกระดู ก และอีกมากมาย ดังนั้น เพื่อเป็นการลดโอกาสเสี่ยง ต่ อ การเกิ ด โรคในช่ ว งปลายของชี ว ิ ต ที ่ สื บ เนื ่ อ งมาจากการรับประทานอาหารที่มี คุณค่าทางอาหารไม่ครบถ้วน เราควรมีการ ปรับเปลี่ยนตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ หนึ่งในหนทาง ดังกล่าว ก็คือการเลือกรับประทานผักและผลไม้ ให้ครบทั้ง 5 สี สีเหลือง & ส้ม ผักและผลไม้สีเหลืองและส้ม จะมีสารอาหารเหล่ า นี ้ ใ นปริ ม าณที ่ สู ง เบต้ า แคโรที น วิ ต ามิ น เอ ซี สารต่ อ ต้ า นอนุ มู ล อิ ส ระช่ ว ยสลาย อนุมูลอิสระที่สะสมอยู่ในร่างกายของเรา ซึ่งอนุมูลอิสระนี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ เกิดโรคเส้นเลือดอุดตัน โรคหัวใจ อาการอักเสบ โรค ข้อเสื่อม โรคภูมิแพ้ และมะเร็ง2 ผักและผลไม้ที่อยู่ในหมวดนี้ เช่น มะนาว (สีเหลือง) แครอต ฟักทอง ข้าวโพด และอื่น ๆ ที่มี สีเหลืองและส้ม สีเขียว ผักและผลไม้สีเขียว จะมีสารอาหารต่อ ไปนี ้ ใ นปริ ม าณที ่ สู ง ได้ แ ก่ โปแตสเซี ย ม ซึ ่ ง ดี สำหรับการทำงานของหัวใจ พฤกษเคมีที่ช่วยให้

34

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1


คุณมีสุขภาพที่แข็งแรงและให้เส้นใยอาหารที่ สูง2 สารประกอบของกรดธรรมชาติที่ช่วยให้ ตับขจัดสารก่อมะเร็ง และช่วยป้องกันมะเร็ง ปากมดลูกด้วย ข้อควรรู้คือ ไม่ควรประกอบ อาหารนานเกินไป เพราะจะทำให้ไม่ได้รับสาร อาหารได้เต็มคุณค่า ผั ก และผลไม้ ท ี ่ อ ยู ่ ใ นหมวดนี ้ อาทิ บร็อคโคลี กะหล่ำ ผักกาด แตงกวา ผักและ ผลไม้อื่น ๆ ที่เป็นสีเขียว สีฟ้า & ม่วง ผั ก และผลไม้ ห มวดนี ้ เ ป็ น กลุ ่ ม ที ่ ถู ก มอง ข้ามมากที่สุด (เนื่องจากหายากในบ้านเราและมี ราคาค่อนข้างสูง) สารอาหารที่ได้จากหมวดนี้มีส่วน ช่วยในการป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยทำให้ระบบขับถ่าย ปัสสาวะทำงานได้ดี และช่วยรักษาการทำงานของ ระบบความจำ2 ผั ก และผลไม้ ใ นหมวดนี ้ เช่ น กะหล่ ำ ม่ ว ง องุ่นม่วง ผักและผลไม้อื่น ๆ ที่มีสีม่วง สีแดง ผักและผลไม้ในหมวดนี้ เช่น องุ่นแดง พริกขี้หนูแดง หอมแดง แอปเปิ้ลแดง แตงโม มะเขือเทศ และอื่น ๆ ที่มีสีแดง จะมีสารอาหารที่ช่วยต่อต้านการ เกิดการอักเสบ และมีส่วนช่วยในการลดโอกาสเสี่ยง ต่อการเป็นโรคหัวใจและมะเร็ง สารอาหารอีกหนึ่งตัว ในหมวดนี้คือ ไลโคพีน (lycopene) ซึ่งมีส่วนช่วยใน การต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งในต่อมลูกหมาก และ

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  35


อาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้อาหารในแถบ ทะเลเมดิ เ ตอเรเนี ย นเป็ น อาหารที ่ ด ี ต ่ อ สุขภาพมาก2 สีขาว เมื ่ อ พู ด ถึ ง ผั ก และผลไม้ ท ี ่ ม ี ส ี ข าว เรามักนึกถึงหัวหอมใหญ่และกระเทียม ซึ่งมี ประโยชน์ ต ่ อ ร่ า งกายมาก ในด้ า นของหอม- หัวใหญ่นั้น จะมีสารอาหารที่เรียกว่า พรีไบโอทิก (prebiotic) ซึ่งเป็นอาหารแต่แบคทีเรีย (prebiotics) และยีสต์ในลำไส้ของเรา นอกจากนั้นแล้ว หัวหอมใหญ่ แ ละกระเที ย มยั ง มี ส ่ ว นช่ ว ยในการลด น้ำตาลในเลือดและต่อต้านการเกิดการอักเสบและ ต่อต้านแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคได้2 ฉบับนี้เราได้ทราบแล้วว่า การรับประทาน อาหารที่ดีมีประโยชน์และมีสารอาหารครบถ้วนต่อ ร่างกาย เช่น การเลือกรับประทานผักและผลไม้ให้ ครบทั้ง 5 สีสัน มีส่วนช่วยทำให้เรามีภูมิต้านทานต่อ โรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน และโรคหัวใจ ครั้งต่อไป เราจะมาเรียนรู้อีกหนึ่งหนทางที่จำเป็นอย่าง ยิ่งในการช่วยให้เรามีสุขภาพสมบูรณ์ดียิ่งขึ้น โปรด ติดตามฉบับหน้า แหล่งข้อมูลอ้างอิง 1. Tucker KL, Buranapin S. Nutrition and aging in developing countries. J Nutr. 2001;131(9):2417S-23S. 2. The Five Colors You Need to Eat Routinely ... and Why. 2011 [cited 2011 June, 27th]; Available from: http://bodyecology.com/articles/five_ colors_eat_routinely.php.

36

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1


ห ลั ก ป ร ะ กั น สุ ข ภ า พ ไ ท ย นพ. วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

นโยบายโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพ (รพ. สต.) ของกระทรวง สาธารณสุข ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 นั้น ถือได้ว่าเป็นมิติใหม่ ของการสร้างภาพลักษณ์ของการยกระดับหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ เพราะด้วยชื่อเดิม ๆ ว่า “สถานีอนามัย” ก็ดี “ศูนย์สุขภาพชุมชน” ก็ดี ที่ ผ่ า นมา ในแง่ ข องการสร้ า งความยอมรั บ และเรี ย กร้ อ งศรั ท ธาจาก ประชาชนนั้น ดูเหมือนจะมีปัญหาอยู่พอสมควร โดยเฉพาะในเขตเมือง และปริมณฑล

สิ่งพึงกระทำใน รพ. สต.

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  37


อย่างไรก็ดี เนื้อหาของการ วางระบบการพัฒนา รพ. สต. โดย ให้น้ำหนักไปที่การปรับปรุงอาคารสถานที่ เปลี่ยนแปลงป้ายชื่อ ซื้อ ครุภัณฑ์ชิ้นใหม่ ๆ ดูเหมือนจะเป็น กลไกที่ยังไม่ถูกอกถูกใจชาวบ้าน เท่าที่ควร รวมทั้งตัวผู้ให้บริการ คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานี อนามัย เพราะยังมีอีกหลายเรื่องที่ มีความจำเป็นต้องมีแผนงาน และ การพัฒนารองรับควบคู่กันไป ข้อ เสนอต่ อ ไปนี ้ เ ป็ น มุ ม มองที ่ อ ยาก

ให้มีการ “คิดนอกกรอบ” ในการ พัฒนา รพ. สต. เพื่อที่จะทำให้ เกิด การยกระดั บ เชิ ง สุ ข ภาพ (breakthrough) อย่ า งแท้ จ ริ ง ไม่ ใ ช่ เ ป็ น เพียงแค่ “เหล้าเก่าในขวดใหม่” ในสายตาของประชาชน

38

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

1. ทุกคนเป็นเจ้าของร่วม กัน ถ้าบริหาร รพ. สต. แบบระบบ ราชการอย่ า งที ่ ผ ่ า น ๆ มา โดย ถื อ ว่ า กระทรวงสาธารณสุ ข เป็ น เจ้ า ของ (แต่ ผู ้ เ ดี ย ว) ต้ อ งรอฟั ง นโยบายจากหน่ ว ยเหนื อ ต้ อ งรอ ประชุมชี้แจงก่อน ต้องทำตัวชี้วัด หลัก ๆ ที่จังหวัดกำหนด (KPI) หรือ ทำงานกันแบบอิงความเคยชิน เดิม ๆ (inside out) ก็ไม่มีวันที่ รพ. สต. จะ เป็นประกายความหวังใหม่ของการ ดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ได้ รพ. สต. ควรมีคณะกรรมการบริหารที่มาจากภาคประชาชน (อสม. ตั ว แทนผู ้ สู ง อายุ ผู ้ พ ิ ก าร เครื อ ข่ า ยภาคประชาชน) ภาคผู ้ ทรงคุณวุฒิ ภาคองค์กรปกครองส่ ว นท้ อ งถิ ่ น และภาคราชการที ่

เกี่ยวข้อง ปัญหาต่าง ๆ ประชาชน ควรมี ส ่ ว นเสนอขึ ้ น มา และได้ ร ั บ การบรรจุเข้าไว้ในแผนของ รพ. สต. 2. ถือว่า “งานพัฒนาคน” ใน รพ.สต. เป็นหัวใจสำคัญ ประดุ จ หอกโมกขศั ก ดิ ์ ใ ช้ ท ะลุ ท ะลวง เกราะปั ญ หาพื ้ น ที ่ หลายสิ บ ปี ท ี ่ ผ่านมา สถานีอนามัยก็ยังมีคนแค่ 3 - 4 คน/แห่ง (ยกเว้นพื้นที่เฉพาะ บางแห่ ง ) ในขณะที ่ ง านในหน้ า ที ่ ความรั บ ผิ ด ชอบมากขึ ้ น อย่ า ง ท่ ว มท้ น เคยมี ก ารศึ ก ษาวิ จ ั ย พบ

ว่า เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยส่วนที่ ทำงาน “เยี่ยมบ้าน & ออกพื้นที่” น้อยลง เพราะต้องใช้เวลากับการ บันทึกข้อมูลและงานเอกสาร ต่าง ๆ ในสำนักงานมากขึ้น


ปัญหาเรื่อง “กำลังคน” ใน สถานี อ นามั ย ที ่ ผ ่ า น ๆ มา คื อ ปริมาณเจ้าหน้าที่ไม่สมดุลกับงาน เจ้าหน้าที่บางรายมีวุฒิการศึกษา ต่ำเกินไป ความยากลำบากในการ ทำงานทำให้ เ จ้ า หน้ า ที ่ ส ่ ว นใหญ่ พยายามขอย้ า ยเข้ า เมื อ ง ระบบ อภิบาลสนับสนุนที่อ่อนแอ รวมทั้ง ความก้ า วหน้ า ในหน้ า ที ่ ก ารงาน ระยะยาว สู ้ ค นที ่ทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลไม่ได้ แต่ปัญหาใหญ่สำคัญที่สุด คือ วิธีคิดเชิงระบบของส่วนกลาง ที่ ทำงานแบบ top down สั่งลงไปที่ พื้นที่โดยตลอด การพัฒนากำลังคนใน รพ. สต. จำเป็นต้องมองทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ นับตั้งแต่ ก. เชิ ง ปริ ม าณ เพิ ่ ม เติ ม

บุคลากรสายงานอื่น ๆ นอกเหนือ

จากพยาบาลและเจ้าหน้าทีส่ าธารณสุ ข เข้ า ไปใน รพ. สต. นั บ ตั ้ ง แต่ แพทย์แผนไทย นักโภชนาการ นัก จิ ต วิ ท ยา นั ก สั ง คมสงเคราะห์ ผู ้ ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง (care given) เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล ไปจนถึงการคัดเลือกเอา อสม. อาสาสมัครอื่น ที่ ทำงานดีมาเป็น ผู้ปฏิบัติงานเสริม ใน รพ. สต. (half - way personnel) ข. เชิงคุณภาพ ส่งเสริมให้ มีการยกระดับเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่เดิม ให้สามารถศึกษาต่อเนื่อง มีการฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับการเพิ่มพูน ทักษะ มีเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ (KM) ตลอดไปจนถึงส่งเสริม ให้เจ้าหน้าที่สามารถทำวิจัยอย่าง ง่าย ๆ จากงานประจำที่ทำอยู่ (R2R) รวมทั้งสร้างขวัญกำลังใจทั้งในเชิง การบริหารจัดการ วิชาการ และค่า ตอบแทนที่ดีพอสมควร

3. บุคลากรใน รพ. สต. ต้ อ งมี ศั ก ยภาพในการทำงาน เป็นทีม ภายในองค์กรเอง และร่วม กับภาคีนอกองค์กร โดยเฉพาะการ ทำงานที่สอดคล้อง กลมกลืน เป็น เนื ้ อ เดี ย วกั บ ที ม ของโรงพยาบาลชุมชน เกิดเป็นลักษณะที่เรียกว่า district health system โรงพยาบาลชุ ม ชนต้ อ งมี บ ทบาทสำคั ญ อย่ า ง มากในการลงไปสนับสนุนเป็น พี่เลี้ยง และอภิบาลการทำงานของ รพ. สต. อย่างดี (โรงพยาบาลชุมชน บางแห่ ง จั ด ให้ ม ี ช ่ อ งทางพิ เ ศษ green channel สำหรับผู้ป่วยที่ถูก ส่งต่อมาจาก รพ. สต.) 4. อย่ า ใช้ สู ต รสำเร็ จ ทำ ทุ ก แห่ ง ให้ เ หมื อ นกั น (ซึ ่ ง เป็ น รู ป แบบเสื ้ อ โหลที ่ ร าชการถนั ด ) ใน กระบวนการพัฒนา ควรแบ่งเกรด รพ. สต. เป็นกลุ่ม ๆ ตามศักยภาพ

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  39


ลักษณะทางภูมิศาสตร์ และปัจจัย ทางสั ง คมที ่ ม ี ผ ลกระทบ (เหมื อ น โรงพยาบาลชุม มี 3 ระดับ ในขณะ นี้) 5. วางระบบการทำงาน ให้ผสมกลมกลืนกับภาคีสุขภาพ อื่น ๆ ที่มีในพื้นที่ อันได้แก่ - กองทุนสุขภาพชุมชน - ตำบลสุขภาวะ - แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง - กิจกรรมด้านสุขภาพของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6. ดู แ ลระบบสุ ข ภาพ ชุ ม ชน 7 ประการ ให้ บั ง เกิ ด (ตามแนวคิ ด นพ. ประเวศ วะสี ) อย่าทำงานโดยยึดถือเป็นนโยบาย และตั ว ชี ้ ว ั ด ของหน่ ว ยเหนื อ ขั บ เคลื่อนอย่างเดียว 7. พัฒนางานและวิธีการ ทำงานแบบ outside in เอาประชาชนเป็ น ที ่ ต ั ้ ง เน้ น ผลลั พ ธ์ เชิ ง ประจั ก ษ์ ท ี ่ ป ระชาชนได้ ร ั บ ผลประโยชน์อย่างชัดเจน ลดขั้นตอน และระเบียบวิธีแบบราชการ เน้น ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้มากขึ้น 8. งานสร้างเสริมสุขภาพ ต้องทำให้โดดเด่น และชัดเจน (ให้ สมกั บ ป้ า ยชื ่ อ โรงพยาบาล) ใช้ มาตรการใหม่ ๆ ในการขับเคลื่อน เรื่องสุขภาพ โดยผ่านสมัชชาชุมชน ประชาคมพื้นที่ การมีส่วนร่วมจาก ทุกภาคส่วน งานเยี่ยมบ้านซึ่งเป็นที่

40

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

ประจักษ์แจ้งว่า ทำได้น้อยลง ต้อง มีการใส่ใจและวางน้ำหนักเรื่องนี้ให้ มากขึ้น 9. ป้ายชือ่ สวย ๆ ไม่สามารถ สร้างศรัทธาและยกระดับความ รู้สึกของชาวบ้าน ได้มากเท่าการ พัฒนาคุณภาพบริการ การเข้าถึง การบริการได้สะดวกขึ้น และการให้ บริการที่ประทับใจ เป็นกันเองประดุจญาติมิตร 10. การสร้ า งนวั ต กรรม ใหม่ๆ ในพื้นที่ โดยเคารพความ หลากหลายว่าเป็นเรื่องที่ดี - รพ. สต. บางแห่งมีการ ให้ บริการแพทย์แผนไทยที่น่าประทับใจ - รพ. สต. บางแห่ ง มี ก าร จัดตั้ง “สุขศาลา” (health post) ขึ้น มาช่วยคัดกรองและดูแลประชาชน เบื้องต้น - รพ. สต. บางแห่งมีบุคลากรสายพั น ธุ ์ ใ หม่ คื อ เป็ น ลู ก จ้ า ง ของเทศบาล หรือ อบต. แต่มาช่วย ปฏิบัติงานบน รพ. สต. - รพ. สต. บางแห่ง มีแพทย์ มาปฏิ บ ั ต ิ ง านในบางช่ ว งเวลา มี ระบบคัดกรองผู้ป่วย เพื่อลดภาระ เวลาการเดิ น ทางและเพิ ่ ม ความ สะดวกของประชาชน ทั ้ ง หมดนี ้ เ ป็ น ข้ อ เสนอที ่ จำเป็ น ต้ อ งมี ก ารเปลี ่ ย น “กระบ ว น ทั ศ น์ ( p a r a d i g m ) ” ข อ ง บุคลากรที่เกี่ยวข้องของ รพ. สต.

ตั้งแต่สาธารณสุขจังหวัด คปสอ. ทีมงานโรงพยาบาลชุมชน และทีมงานภายในของ รพ. สต เอง ทั้งนี้ เพื่อ นำไปสู่การปรับปรุงแผนงาน กลไกและกิจกรรมการทำงานของ รพ.-สต. ให้ ม ี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและ ประสิทธิผลมากขึ้น รพ. สต. จะเป็น “ดาวดวง ใหม่” ที่เปล่งประกาย สร้างศรัทธา ยกระดับความรู้สึกของประชาชน ที่ มีต่อหน่วยบริการปฐมภูมิให้ดีขึ้น สร้างสุขภาพและสุขภาวะให้บังเกิด แก่ประชาชนคนไทย ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในขณะนี้ ให้ พ ั ฒ นาก้ า วหน้ า สถาพรยิ ่ ง ๆ สืบไป

ป้ า ย ชื่ อ ส ว ย ๆ ไ ม่ สามารถสร้างศรัทธา และยกระดั บ ความ รู้ สึ ก ของชาวบ้ า นได้ มากเท่ า การพั ฒ นา คุณภาพบริการ


ภู มิ ปั ญ ญ า ไ ท ย ดร. ปารัณกุล ตั้งสุขฤทัย varrin_p@yahoo.com

ไม้หอม

ต้นไม้กับวัฒนธรรมไทย (2)

ฉบั บ ที่ แ ล้ ว ได้ ก ล่ า วถึ ง เมื อ งไทยยั ง มี ไ ม้ ห อมที่ ใ ช้ ใ นชี วิ ต ประจำวั น หลายชนิด ทั้งที่นำมาปลูกไว้ที่บ้าน ให้กลิ่นหอมหรือนำมาบูชาพระ ใส่แจกัน ฉบับนี้มารู้จักไม้หอม ได้แก่ ชมนาด ดาวเรือง นมแมว นางแย้ม และบุนนาค

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  41


42

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

ดาวเรือง

เป็นไม้เถาเลื้อย เถาแข็งมีจุดกระ ใบใหญ่เป็นมันเรียบ ดอกออกตามกิ่งข้างหรือปลายยอด ช่อหนึ่งมีดอก 10 - 15 ดอก มีกลิ่นหอมเหมือนข้าวสุกใหม่ มักถูกเรียก ตามท้องถิ่นว่า “ดอกข้าวใหม่” ชมนาดมี 2 ชนิด ชมนาด ขนาดเล็กเป็นอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสรรพคุณทางยาโบราณ คล้ายกันแต่ยังขาดข้อมูลวิจัยพื้นฐาน วิธีปลูก ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งหรือปักชำ สรรพคุณตามตำรายาไทย ยาง รักษาแผล ใช้ทำ ยาถ่ายอย่างแรง ทำให้อาเจียน ถ่ายน้ำเหลือง ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา กระตุ้นกล้ามเนื้อลาย เพิ่ม ความดันโลหิต กระตุ้นมดลูก 2. ดาวเรือง เป็นไม้ล้มลุกสูงประมาณ 0.4 - 1 เมตร ลำต้นตรง แข็งแรง ถ้าขยี้ลำต้นและดอกจะมีกลิ่นหอมฉุน ใบเป็น ใบประกอบแบบขนนก ใบมีรอยหยัก ดอกสีเหลืองออก เป็นช่อ มีทั้งสีเหลืองอ่อน เหลืองเข้ม ผลเป็นเส้นตรง เป็น พืชที่ชอบแสงแดด วิธีปลูก ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด สรรพคุ ณ ตามตำรายาไทย ใบ รสเฝื ่ อ น เป็ น ยาเย็น ตำพอกแผลฝีหนอง น้ำคั้นจากใบหยอดแก้ปวดหู ดอก แก้ริดสีดวงทวาร แก้เจ็บตา ขับเสมหะและลม แก้ไอ หวัด ดอกผสมกับอาหารไก่ทำให้ไข่สีแดงเข้ม ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ช่อดอกมีฟลาโวนอยด์ ไกลโคซัยม์ แทกติน 0.1 เปอร์เซ็นต์ และสารเรืองแสง ใบมีแคมเฟอริน เมล็ดมีน้ำมัน ดาวเรืองมักออกดอกในฤดูหนาว

ชมนาด

1. ชมนาด


3. นมแมว

เป็นพืชเถาเลื้อย ถ้าอยู่ในที่โดดเดี่ยวจะเป็นไม้พุ่ม ขนาด ไม่สูงมาก กลีบดอกแข็ง สีเหลืองนวล ดอกเป็นช่อปลายกิ่ง มีดอก ย่ อ ย 2 - 5 ดอก กลี บ ดอกสี เ หลื อ งแกมเขี ย ว ใบเป็ น ใบเดี ่ ย ว ออกเรียงแบบสลับ วิธีปลูก ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งและเพาะเมล็ด สรรพคุณตามตำรายาไทย ราก ฝนทาแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ลั ก ษณะเด่ น พิ เ ศษ ดอกกลิ ่ น หอมมากในเวลาเย็ น และ กลางคืน 4. นางแย้ม เป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อน สูง 1 - 1.5 เมตร ลำต้นตั้งตรง ลำต้นมีขน ปกคลุมเล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยวสลับกันไปตามข้อต้น ตัวใบใหญ่ กว้ า งรู ป ไข่ เ กื อ บเป็ น รู ป หั ว ใจ ขอบใบหยั ก ดอกเป็ น ช่ อ แน่ น ที ่ ปลายกิ่ง ดอกบานไม่พร้อมกัน ดอกบนบานก่อน กลีบดอกขาวอม ชมพู ซ้อนกันแน่นคล้ายดอกมะลิ ผลเนื้ออ่อนมีเปลือกหุ้มแตกเป็น 4 กลีบ วิธีปลูก ปลูกเป็นไม้ประดับในบ้าน ไม่ชอบแดดจัด ขยาย พันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือปักชำกิ่ง สรรพคุณตามตำรายาไทย ใบ รสเฝื่อนตำพอกแผลแก้โรค ผิวหนัง ผื่นคัน ราก รสเฝื่อน แก้ปวดข้อ แก้เหน็บชา แก้โรคริดสีดวงทวาร ขับระดูขาว ขับปัสสาวะขุ่น แก้หลอดลมอักเสบ ต้น ใช้ต้มแก้ปวดเอวและปวดข้อ แก้พิษฝี ขับปัสสาวะ ลั ก ษณะเด่ น พิ เ ศษ ดอกนางแย้ ม มี ก ลิ ่ น หอมแรงและ หอมทนตลอดวัน

นมแมว นางแย้ม

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  43


บุนนาค 44

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

5. บุนนาค

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยวหนาทึบรูปหอก ดอกเป็นดอกเดี่ยว ๆ มีขนาดใหญ่ ผลรูปไข่แข็ง วิธีปลูก ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด สรรพคุณตามตำรายาไทย ดอก รสหอมเย็นขมฝาด ช่วยฝาดสมาน บำรุงธาตุ ขับลม บำรุงหัวใจ แก้กระหายน้ำ บำรุงโลหิต ทำให้ชื่นใจ ผล ช่วยขับเหงื่อ เมล็ด แก้โรคผิวหนัง ใบ ช่วยสมานแผลสด และ เกสร รสหอมเย็นบำรุงครรภ์รักษา ทำให้ชื่นใจ แก้ไข้ แพทย์แผนไทยใช้เข้ายาเกสรทั้ง 5 ฤทธิ์ ท างเภสั ช วิ ท ยา สามารถแก้ ไ ข้ ไ ด้ และเรซิ น ในน้ำมันจากเมล็ดมีพิษต่อหัวใจอย่างอ่อน ประโยชน์อื่นใช้แต่ง กลิ่นสบู่ มักใช้ร่วมกับน้ำมันจันทน์ (sandalwood oil)


ร้ อ ยเรื่ อ ง...เครื่ อ งมื อ ทำงาน กอง บ.ก.

เทคนิคการสัมภาษณ์ 2 เดื อ นที ่ ผ ่ า นมา มี โ อกาสลงใต้ไปจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้ ก ั บ บุ ค ลากรสาธารณสุ ข ที ่ จ ั ง หวั ด กระบี ่ แต่ เ รื ่ อ งที ่ จ ะเล่ า นี ้ ไ ม่ เกี่ยวอะไรกับกระบวนการที่พูดถึง (ยังไงเนี่ย !) คือว่า ในช่วงพัก มีน้อง ผู้หญิงคนหนึ่งเข้ามาปรึกษา บอก ว่ากำลังจะต้องทำหน้าที่ผู้สัมภาษณ์ แต่เธอรู้สึกว่าตัวเองยังใหม่ ยังไม่ มั่นใจกับการทำหน้าที่นี้ จึงอยาก ขอคำแนะนำ ก็ให้คำแนะนำน้องคนนั้น ไป เท่ า ที ่ ส ติ ป ั ญ ญาตั ว เองจะทำ ได้ ชวนให้คิดขึ้นมาว่า “การสัมภาษณ์” ก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่งของ การถอดบทเรียน หรือการดึงเอา ความรู ้ ใ นตั ว ของบุ ค คลผู ้ ม ี ป ระ- สบการณ์ออกมา (tacit knowledge) ถึ ง แม้ จ ะไม่ ไ ด้ ค วามรู ้ เ ชิ ง ลึ ก เท่ า เครื่องมือจัดการความรู้แบบอื่น แต่ ก็เป็นอีกเครื่องมือที่น่าสนใจทีเดียว บางที พ วกเราหมออนามั ย ที ่ ท ำ- งานในพื้นที่อาจต้องรับบท “ผู้สัมภาษณ์” เพื่อถอดเอาขุมพลังความ-

“การสั ม ภาษณ์ ” ก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่งของการถอดบทเรียน หรือ

การดึงเอาความรู้ในตัวของบุคคลผู้มีประสบการณ์ออกมา

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  45


รู ้ ด ี ๆ ที ่ เ ป็ น ภู ม ิ ป ั ญญาของ ปราชญ์ชาวบ้านออกมาก็ได้ อย่างไรก็ตาม การ สัมภาษณ์มีหลายแบบ ในที่ นี ้ จ ะขอรวบรวมเทคนิ ค และ เคล็ดลับบางประการสำหรับ การสัมภาษณ์บุคคลเพื่อถอด ความรู้จากประสบการณ์ ก่ อ นอื ่ น ต้ อ งลอง ตรวจสอบกันหน่อยว่า คุณมี คุ ณ สมบั ต ิ ท ี ่ เ หมาะกั บ การ เป็นนักสัมภาษณ์หรือไม่ คุณสมบัติ 6 ประการของ “นั ก สั ม ภาษณ์ . .. มืออาชีพ” 1. เป็นคนขี้สงสัย เพราะความสงสั ย คื อ ที ่ ม า ของการอยากค้นหาคำตอบ อยากชวนคุยเพื่อจะได้ข้อมูล เชิงลึก แต่ถ้าคุณไม่ชอบพูด กั บ ใคร ไม่ อ ยากรู ้ เ รื ่ อ งของ ใคร ไม่ช่างซักช่างถาม คุณ อาจไม่ เ หมาะกั บ การเป็ น “นักสัมภาษณ์” 2. มี ใ จกล้ า หาญ คื อ กล้ า ที ่ จ ะถาม แต่ ต ้ อ งมี มารยาทและรู้กาลเทศะ หาก เรื่องใดมีความละเอียดอ่อน แต่ เ ป็ น ข้ อ มู ล สำคั ญ ก็ ต ้ อ ง มีเทคนิคในการถาม โดยที่คน ตอบไม่รู้สึกอึดอัด 3. รู้ ส ถานการณ์ และจั ง หวะ คื อ มี ข ้ อ มู ล เกี ่ ย วกั บ ผู ้ ใ ห้ ส ั ม ภาษณ์ พ อ สมควร เช่น เป็นใคร ทำอะไร นิสัยใจคอ บุคลิกเฉพาะ และ 46

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

มีความไวต่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้ให้สัมภาษณ์ รู้กาลเทศะ ว่า ควรเริ่มอย่างไร เมื่อใดควรถามหรือควรหยุด คำถามแบบไหนควรใช้ จังหวะเวลาใดจึงจะได้คำตอบที่ต้องการ 4. มีทักษะการฟัง หมายถึงการฟังอย่างตั้งใจ นอกจากจะ แสดงให้คู่สนทนาเห็นว่าเราใส่ใจในสิ่งที่เขาพูดแล้ว ยังทำให้เราติดตาม เรื่องราวได้อย่างไม่ขาดตอน และยังช่วยให้ตั้งคำถามได้อย่างต่อเนื่อง อีกด้วย จากประสบการณ์การพูดคุยหลายครั้ง ได้ข้อยืนยันว่า การฟังที่ ดีจะช่วยให้บรรยากาศการสนทนาลื่นไหล ได้ข้อมูลที่ลึกสุดใจอย่างคาด ไม่ถึง 5. ตั้งคำถามที่ดี เพราะคำถามที่ดีจะนำมาซึ่งคำตอบที่ดีและ มีประโยชน์ คำถามแต่ละคำถามต้องมีความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน ไม่ กระโดดจากเรื่องนี้ทีไปเรื่องนี้ที ไม่ออกนอกเรื่อง ไม่ล้วงลึกเกินไปจน กลายเป็นการเสียมารยาท 6. มีจรรยาบรรณ ข้อสุดท้ายนี้สำคัญที่สุด เพราะการที่ผู ้

ให้สัมภาษณ์ตอบรับการสัมภาษณ์ของเรา นั่นหมายถึงความไว้วางใจ ดังนั้น ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการพูดคุยนี้จะถูกนำไปเสนอที่ไหน ในแง่ มุมใด นอกจากประโยชน์ของผู้รับสารแล้ว สิ่งสำคัญคือ ผลกระทบที่จะ เกิดขึ้นกับผู้ให้สัมภาษณ์ ขั้นตอนการสัมภาษณ์ 1. การเตรียมตัว (ก่อนสัมภาษณ์) การเลือกคนให้สัมภาษณ์ เป็นสิ่งแรกที่ต้องคิด เพราะถ้า เลือกคนผิด การสัมภาษณ์ก็อาจไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร วิธีการเลือก


มีเกณฑ์ง่าย ๆ คือ 1) เลือกคนที่ใช่ คือ คนที่มีความรู้ ประสบการณ์ความ เชี่ยวชาญ ความสำเร็จในเรื่องหรือประเด็นที่เราต้องการจะถอดความรู้ ออกมาใช้ประโยชน์ 2) เลือกคนที่พร้อม คือ มีความยินดี เต็มใจ สะดวกและมี เวลามากพอกับการสัมภาษณ์ 3) เลือกคนที่ได้รับการยอมรับ คือ เป็นผู้มีความโดดเด่น เป็นที่รู้จัก หรือคนไม่รู้จักนักแต่มีคุณสมบัติบางประการที่น่าสนใจ เช่น คิดบวกหรือมีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องที่จะสัมภาษณ์ มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ ชวนคิดชวนมองไปข้างหน้าได้ดี การติ ด ต่ อ ประสานล่ ว งหน้ า กั บ ผู้ ใ ห้ สั ม ภาษณ์ บอก วัตถุประสงค์ให้ชัด จะสัมภาษณ์ในประเด็นใด ทำไมจึงเลือกเขา ถ้าเป็น เวทีเสวนาต้องบอกด้วยว่ามีวิทยากรร่วมเป็นใคร แต่ละท่านพูดประเด็น ไหน มีเวลาเท่าไร มีสื่อนำเสนอหรือเอกสารแจกหรือไม่ ที่สำคัญคือ

นัดหมายวันเวลาและสถานที่ให้แน่นอน การแต่งกาย เป็นเรื่องสำคัญที่ควรพิถีพิถัน การแต่งกายนี้ ไม่ได้หมายถึงรสนิยม แต่หมายถึงกาลเทศะและความเหมาะสม อย่าลืม หลักการสำคัญที่ว่า first image, first impression ฉะนั้น อย่าดิสเครดิต ตัวเองเสียตั้งแต่แรก (ที่คน) เห็น ข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้สัมภาษณ์/วิทยากร ว่าเป็น ใคร อยู่ที่ไหน ทำอะไร เชี่ยวชาญด้านไหน และวันนี้เราจะสัมภาษณ์เขา ในประเด็นใด นอกจากนี้ คนที่จะทำงานสัมภาษณ์ได้ดี ต้องเป็นคนที่มี “ข้อมูล” สะสมอยู่ในตัวมาก ทำอย่างไรจะเป็นคนมีข้อมูลมาก ก็เช่น

- ติ ด ตามข่ า วผ่ า น ช่องทางไหนก็ได้ ทุกวัน - อ่ า นนิ ต ยสารทั ้ ง หัวเทศหัวไทย อย่างน้อย 5 เล่ม ต่อเดือน - อ่านหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊ก อย่างน้อย 2 เล่มต่อ เดือน - ฟังเพลงใหม่อย่าง น้อย 5 เพลงต่อเดือน - ดู ค อนเสิ ร ์ ต การ แสดง ละคร การละเล่นต่าง ๆ อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง - พู ด คุ ย กั บ เพื ่ อ น กั บ คนรู ้ จ ั ก กั บ คนที ่ น ่ า สนใจ เท่าที่โอกาสจะมี - เข้าร่วมในการเรียนรู้ การเสวนา การอภิปรายหรือ การอบรมระยะสั้น เท่าที่สถานการณ์จะอำนวยเพราะสิ่งเหล่า นี้คือขุมทรัพย์ที่คุณขุดขึ้นมา ใช้ได้ไม่มีวันหมด...เมื่อถึงวัน หนึ่งที่ต้องการใช้ 2. วิธีการตั้งคำถาม (ระหว่างการสัมภาษณ์) การตั้งคำถามถือเป็น หัวใจสำคัญของการสัมภาษณ์ เพราะคำถามจะเป็ น ตั ว บ่ ง ชี ้

ว่าบทสัมภาษณ์จะออกมาดีมี สาระและน่าสนใจเพียงใด การ ตั ้ ง คำถามก็ เ หมื อ นการทำ อาหาร เป็นเทคนิคเฉพาะตัว รสชาติที่ได้ก็ออกมาแตกต่าง ของใครก็ ข องมั น ขึ ้ น อยู ่ ก ั บ วัสดุ เครื่องปรุง ส่วนผสม น้ำ/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  47


หนั ก มื อ และความชำนาญ เคล็ดลับของการตั้งถาม เช่น เตรียมคำถามล่วงหน้า ถือเป็นกฎที่ต้องปฏิบัติ อย่างเคร่งครัด ต้องทำการบ้าน คือการหาข้อมูลทั้งของผู้ให้สั ม ภาษณ์ แ ละประเด็ น ที ่ จ ะ ชวนคุย ข้อมูลต้องอยู่ในสมอง ในใจ ต้องคิดไว้เลยว่าจะเปิด ฉากด้ ว ยคำถามแบบไหนดี จะถามเรื ่ อ งอะไรก่ อ นเรื ่ อ ง อะไรหลัง อะไรไว้ท้ายสุด ถ้า ยังไม่ชำนาญ อาจจะจดประเด็นคำถามเป็นข้อ ๆ กันลืม แล้ ว ก็ จ ำให้ ข ึ ้ น ใจ เป็ น การ เตรียม “คลังคำถาม” ไว้กัน เวลาคุยไปสักพักเกิดอาการ ตันไม่รู้จะถามอะไรต่อดี ช่วย ให้เอาตัวรอดได้ จำไว้เลยว่า “การตั้งคำถามล่วงหน้า...ดี กว่าไปตายเอาดาบหน้า” อี ก ประการคื อ ถ้ า ไม่จำเป็นจริง ๆ อย่าหยิบโพย คำถามขึ้นมาอ่านต่อหน้าผู้ให้ สัมภาษณ์โดยเด็ดขาด เพราะ นอกจากจะเสี ย บรรยากาศ ยังไม่เป็นธรรมชาติอย่างยิ่ง พยายามใช้คำถาม เปิด มากกว่าคำถามปิด (ใช่ หรื อ ไม่ ใ ช่ ) เพราะคำถาม เปิด (กว้าง) นั้นเอื้อให้คนให้ สัมภาษณ์แสดงทัศนคติหรือ ความคิดเห็นได้ดีกว่าคำถาม ใช่ ห รื อ ไม่ และยิ ่ ง คำถามที ่ จำกัดคำตอบมากเท่าไรก็ยิ่ง 48

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

เท่ากับเป็นการตีกรอบให้ตัวเองต้องตั้งคำถามมากขึ้นเรื่อย ๆ เท่านั้น... แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว รู้จักต่อยอดคำถามเพื่อให้ได้รายละเอียด สาระของการสัมภาษณ์จะมีสีสันน่าสนใจเพียงใด อยู่ที่ตรงนี้ คืออยู่ที่การตั้งคำถามต่อ- ยอด ซึ ่ ง จะเกิ ด ขึ ้ น ได้ จ ากการที ่ น ั ก สั ม ภาษณ์ ฟ ั ง คำตอบจากคนให้ สัมภาษณ์อย่างตั้งใจ เพราะคำตอบจะเป็นบ่อเกิดของการต่อยอดคำถาม และเป็นบ่อเกิดของรายละเอียดที่จะทำให้เนื้อหาน่าสนใจ เพราะความ สนุกในการเล่ามาจากการมีปฏิกิริยาโต้ตอบกันระหว่างคนสัมภาษณ์และ คนให้สัมภาษณ์ เคยฟังหรือเคยอ่านการสัมภาษณ์แล้วรู้สึกอยากรู้ต่อ อยากถามต่อ แต่คนสัมภาษณ์ไม่ยักกะถามแทนเราบ้างมั้ย หรือฟังจบ ไม่เห็นจะรู้อะไรเพิ่มจากที่รู้มาก่อนเลย ...แบบนี้ก็ไม่ควรทำ เทคนิคการถามแบบอ้อมๆ (กับคำถามที่ไม่อาจจะถามตรง ๆ) วิธีการนี้เหมาะสำหรับคำถามแบบแทงใจดำ กรณีที่เป็นเรื่อง ข่าวคราวเชิงลบ หรือเรื่องที่คนตอบอาจจะอึดอัดใจเล็กน้อย (ถ้าดูแล้วจะ อึดอัดใจมาก ก็อย่าถามดีกว่า) เช่น คุณรู้สึกอย่างไรที่มีข่าวทำนองว่า องค์กรของคุณชอบเด็ดยอดงานเพื่อน คุณมองเรื่องการตั้งองค์กรอิสระ ขึ้นมามาก ๆ อย่างไร คุณคิดอย่างไรกับข่าวความขัดแย้งในวงการแพทย์ เป็นต้น ฟังมากกว่าพูดและไม่ต้องสรุป หน้าที่ของนักสัมภาษณ์ คือ ถามคำถามเพื่อเปิดโอกาสให้คนให้สัมภาษณ์ตอบคำถามได้มากที่สุด คน อ่านหรือคนฟังต้องการอ่านหรือฟังคนให้สัมภาษณ์พูด ไม่ได้ต้องการฟัง คนสัมภาษณ์แสดงความ (อวด) รู้ เห็นบ่อย ๆ ที่คนสัมภาษณ์พูดมากกว่า หรือแสดงทัศนะลงไปในบทสัมภาษณ์มากกว่าผู้ให้สัมภาษณ์เสียอีก... อย่างนี้ อย่าได้ทำเชียว ! อ้างอิง : หนังสือนักสัมภาษณ์มืออาชีพ. มนทิรา จูฑะพุทธิ, 2547.


กฎหมายสาธารณสุ ข เสมอ กาฬภักดี samertap@hotmail.com กลุ่มเสริมสร้างวินัยและระบบคุณธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ข้ า ราชการที่ ดี ต้ อ งมี วิ นั ย หมออนามั ย ส่ ว นใหญ่ เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ มี บ้างที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว แต่ทุกคน ก็ ต ้ อ งมี ว ิ น ั ย และรั ก ษาวิ น ั ย ให้ ด ี โดยไม่ทำความผิดทางวินัย พระราชบั ญ ญั ต ิ ร ะเบี ย บข้ า ราชการพลเรื อ น พ.ศ. 2551 มาตรา 80 บัญญัติว่า “ข้าราชการพลเรือนสามั ญ ต้ อ งรั ก ษาวิ น ั ย โดยกระทำการหรื อ ไม่ ก ระทำการตามที ่ บัญญัติไว้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ” สำหรับข้อกำหนดของวินัยนั้นได้ กำหนดข้อปฏิบัติให้ต้องกระทำไว้ ในมาตรา 82 จำนวน 11 กรณี และกำหนดเป็นข้อห้ามปฏิบัติไว้ใน มาตรา 83 จำนวน 10 กรณี และ กำหนดเป็ น วิ น ั ย อย่ า งร้ า ยแรง จำนวน 8 กรณี หากทำผิ ด วิ น ั ย อย่ า งไม่ ร ้ า ยแรง มี โ ทษคื อ 1. ภาคทัณฑ์ 2. ตัดเงินเดือนไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน 3. ลดเงินจำนวน 2 เปอร์เซ็นต์ หรือ จำนวน 4 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าทำผิด วินัยอย่างร้ายแรง จะมีโทษปลด

ออกหรื อ ไล่ อ อกจากราชการ ดั ง กรณีตัวอย่างต่อไปนี้

ช้ า อย่ า งนี้ มั น ต้ อ งถี บ

นายม้ า และนางปู เป็ น ข้าราชการของโรงพยาบาลชุมชน ทั้งคู่มาพบนางสาวรอด เจ้าพนักงานการเงิ น และบั ญ ชี และสอบถามเรื ่ อ งการเบิ ก จ่ า ยเงิ น ค่ า ตอบแทนเนื่องจากยังไม่ได้รับเงิน ดังกล่าว นายม้าและนางปูคิดว่า นางสาวรอดกลั่นแกล้งเบิกเงินให้ ตนล่าช้าและประวิงเวลา นางสาว รอดชี้แจงว่าผู้อำนวยการไม่อยู่จึง ไม่มีผู้ลงนามอนุมัติจ่ายเงิน จากนั ้ น ก็ ม ี ก ารโต้ เ ถี ย งต่ อ ว่ า กั น ด้ ว ย

เสี ย งอั น ดั ง นางปู ไ ด้ ช ี ้ ห น้ า ด่ า นางสาวรอดด้ ว ยถ้ อ ยคำหยาบคายทำนองว่าอยู่ที่ไหนก็ไม่มีใคร เอา และข่มขู่ว่าทำงานแบบนี้จะไม่ ตายดี นายม้ าบั น ดาลโทสะและ เดินเข้ามาจะทำร้ายนางสาวรอด โดยการถี บ โต๊ ะ ทำงานหลายครั ้ ง ทำให้สิ่งของบนโต๊ะตกกระจายอยู่ ตามพื้น เพื่อนร่วมงานจึงได้ช่วย กันห้ามปราม จากนั้นจึงแยกย้าย กันไป พฤติกรรมของนายม้าและ นางปูดังกล่าว เป็นการกระทำผิด วินัย ฐานไม่สุภาพเรียบร้อยและไม่ รั ก ษาความสามั ค คี และฐานไม่ รักษาชื่อเสียงของตนและไม่รักษา เกี ย รติ ศ ั ก ดิ ์ ข องตำแหน่ ง หน้ า ที ่

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  49


ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย ตาม มาตรา 82 (7) และ (10) แห่งพระราชบั ญ ญั ต ิ ร ะเบี ย บข้ า ราชการ พลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกับ มาตรา 84 แห่ ง พระราชบั ญ ญั ต ิ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ลงโทษตัดเงินเดือน จำนวน 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 1 เดือน ส า มี เ ก่ า ค ร อ บ ค ร อ ง ป ร ปั ก ษ์

นางนก ตำแหน่งพยาบาลวิ ช าชี พ ถู ก ลงโทษกรณี ม ี ค วาม สั ม พั น ธ์ ก ั บ นายเหลื อ งและตั ้ ง ครรภ์ ท ั ้ ง ที ่ ม ี ส ามี โ ดยชอบด้ ว ย กฎหมายอยู่แล้ว โดยผู้ว่าราชการจั ง หวั ด ได้ ม ี ค ำสั ่ ง ลงโทษตั ด เงิ น เดือนนางนก ฐานไม่รักษาชื่อเสียง

50

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

ของตนและไม่ ร ั ก ษาเกี ย รติ ศ ั ก ดิ ์ ของตำแหน่ ง หน้ า ที ่ ร าชการของ ตนมิให้เสื่อมเสีย ตามมาตรา 82 (10) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 โดย เรื ่ อ งนี ้ ม ี ข ้ อ เท็ จ จริ ง ว่ า นางนก

ได้ จ ดทะเบี ย นกั บ พ.ต.ต. แดง ต่อมาทั้งคู่ภายหลังไม่สามารถอยู่ ร่วมกันอย่างปกติสุขได้เนื่องด้วย ภาระในการปฏิ บ ั ต ิ ง านและการ ขาดความรับผิดชอบต่อครอบครัว ของ พ.ต.ต. แดง นางนกได้ พยายามขอหย่ากับ พ.ต.ต. แดง หลายครั้งและขอให้ช่วยเหลือค่า เลี้ยงดูบุตร แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองแต่ อ ย่ า งใด ระหว่ า งนั ้ น ได้ เกิ ด ชอบพอกั บ นายเหลื อ ง จึ ง ตัดสินใจอยู่กินฉันสามีภรรยา กับ นายเหลืองโดยเปิดเผยโดยที่ ยัง มิ ไ ด้ ม ี ก ารหย่ า ขาดกั บ พ.ต.ต. แดง เนื่องจากไม่สามารถติดต่อ พ.ต.ต. แดง ได้ ต่อมา พ.ต.ต. แดง ได้ร้องเรียนนางนก ว่ากระทำการเสื่อมเสียในทางชู้สาว เรื่อง นี้ อ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสุข ได้ พิจารณาแล้วเห็นว่าพฤติกรรมของ นางนก ที่มีความสัมพันธ์กับนาย เหลืองและตัดสินใจอยู่กินฉันสามี ภรรยาจนตั้งครรภ์ ทั้งที่มีสามีโดย ชอบด้วยกฎหมาย ก็เนื่องมาจาก เหตุที่ นางนก และ พ.ต.ต. แดง ไม่ ส ามารถใช้ ช ี ว ิ ต ร่ ว มกั น อย่ า ง ปกติสุขได้ เมื่อพิจารณาจากสภาพ

ความเป็นจริงแล้ว เห็นว่านางนก มิได้มีเจตนาที่จะกระทำความผิด วินัย และต้องการที่จะดำเนินการ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงยังฟัง ไม่ ไ ด้ ว ่ า การกระทำของนางนก เป็นการกระทำความผิดวินัย จึงมี มติให้ยกโทษให้แก่นางนก หมอประจำบ้ า น

นางสมร ตำแหน่ ง เจ้ า พนั ก งานสาธารณสุ ข อาวุ โ ส ไม่

มาปฏิบัติราชการที่สถานีอนามัย ครั้งแรกรวม 11 วัน และครั้งที่ 2 จำนวน 3 วัน รวมทั้งหมด 14 วัน เนื่องจากต้องไปดูแลการก่อสร้าง บ้านพักส่วนตัว พฤติกรรมของนาง สมรดังกล่าว เป็นการกระทำผิด วินัย ฐานละทิ้งหน้าที่ราชการ ตาม มาตรา 82 (5) แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกับมาตรา 84 แห่ง พระราชบั ญ ญั ต ิ ร ะเบี ย บข้ า ราชการพลเรื อ น พ.ศ. 2551 ลงโทษ ตัดเงินเดือน จำนวน 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 3 เดือน ถ้ า ไม่ ฉ ลองฉั น ไม่ ว่ า

นางสาวเรยา ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ได้มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับนาย นพ ทั ้ ง ที ่ รู ้ ด ี ว ่ า นายนพมี ภ รรยา ตามกฎหมายอยู่แล้ว ต่อมานาย นพและภรรยาได้ ท ะเลาะเบาะ-


แว้ ง กั น ในเรื ่ อ งที ่ น ายนพไปมี นางสาวเรยาเป็ น ภรรยาอี ก คน และได้แยกกันอยู่ ต่อมานางสาว เรยาได้จัดงานฉลองสมรสกับนาย นพ เมื่อภรรยาของนายนพทราบ ข่าวการฉลองการแต่งงานดังกล่าว ก็มีความรู้สึกแค้นใจและเสียหน้า จึงได้มาร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญ- ชาเพื ่ อ เอาผิ ด กั บ นางสาวเรยา พฤติ ก รรมของนางสาวเรยา เป็ น การกระทำผิ ด วิ น ั ย ฐานไม่ รักษาชื่อเสียงของตนและไม่รักษา เกี ย รติ ศ ั ก ดิ ์ ข องตำแหน่ ง หน้ า ที ่ ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย ตาม มาตรา 82 (10) แห่ ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกับมาตรา 84 แห่ ง พระราชบั ญ ญั ต ิ ร ะเบี ย บ ข้ า ราชการพลเรื อ น พ.ศ. 2551

ลงโทษตั ด เงิ น เดื อ น จำนวน 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 2 เดือน ชั่ ว อย่ า งเดี ย วจ้ า

นางสาวน้อย ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน ได้ขอลากิจส่วนตัว จำนวน 3 วั น จากนั ้ น วั น ที ่ 30 กรกฎาคม 2552 ได้เดินทางด้วยเครื่องบินไป ยังประเทศสาธารณรั ฐ ประชาชน จีนและเจ้าหน้าที่ศุลกากรประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ตรวจพบเฮโรอี น น้ ำ หนั ก ประมาณ 1 กิโลกรัม ซุกซ่อนอยู่ในชั้นล่างของ กระเป๋าเดินทางของนางสาวน้อย จึงควบคุมตัวไว้ดำเนินคดี ต่อมา ทางการจี น ตรวจพบว่ า นางสาว น้ อ ยป่ว ยเป็ น วั ณ โรคจึ ง ส่ ง ตั ว นางสาวน้ อ ยมาดำเนิ น คดี ใ น ประเทศไทยโดยมาถึ ง สนามบิ น สุวรรณภูมิเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2552 และถูกดำเนินคดีในความผิด ฐานมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เฮโรอี น ) ไว้ ใ นครอบครองเพื ่ อ จำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และ ถู ก ควบคุ ม ตั ว ไว้ ท ี ่ ท ั ณ ฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพฯ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีคำสั่งลงโทษไล่ นางสาวน้ อ ยออกจากราชการ ฐาน ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราว เดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน โดยไม่ ม ี เ หตุ ผ ลอั น สมควรและมี พฤติ ก ารณ์ จ งใจไม่ ป ฏิ บ ั ต ิ ต าม

ระเบียบของทางราชการ และฐาน ประพฤติ ช ั ่ ว อย่ า งร้ า ยแรง ตาม มาตรา 85 (3) และมาตรา 85 (4) แห่ ง พระราชบั ญ ญั ต ิ ร ะเบี ย บ ข้ า ราชการพลเรื อ น พ.ศ. 2551 อ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสุ ข ได้ พิจารณาแล้วเห็นว่านางสาวน้อย มีความผิดฐานประพฤติชั่วอย่าง ร้ า ยแรงเพี ย งฐานเดี ย ว โดยไม่ ม ี ความผิดฐานละทิ้งหน้าที่ราชการ ติ ด ต่ อ ในคราวเดี ย วกั น เป็ น เวลา เกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผล อั น สมควรฯ เนื ่ อ งจากสาเหตุ ท ี ่ นางสาวน้อยไม่สามารถมาปฏิบัติ หน้ า ที ่ ร าชการได้ น ั ้ น เพราะถู ก จั บ กุ ม และคุ ม ขั ง อยู ่ ท ี ่ ป ระเทศ สาธารณรั ฐ ประชาชนจี น และถู ก คุมขังระหว่างดำเนินคดีอาญาใน ประเทศไทยซึ่งเป็นเวลาต่อเนื่อง กั น กรณี น ี ้ ถ ื อ ว่ า มี เ หตุ ผ ลอั น สมควรที่เป็นเหตุให้นางสาวน้อย ไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ ได้ ไม่ ไ ด้ ใ ช้ ข องหลวง

นายรั ช ตำแหน่ ง เจ้ า พนักงานสาธารณสุขอาวุโส ได้รับ มอบรถยนต์เก่าจำนวน 1 คัน ที่ บริษัทเอกชนได้บริจาคให้กับ รพ.สต. โดยนายรั ช เป็ น ผู ้ ต ิ ด ต่ อ ขอ บริจาคเพื่อใช้ในงานราชการ และ ได้ทำพิธีมอบรถยนต์ในวันเปิดป้าย รพ. สต. และมีหนังสืออุทิศให้กับ

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  51


รพ. สต. จากนั้น นายรัชได้เป็น ผู้ ใช้ แ ละดู แ ลรั ก ษารถยนต์ ค ั น ดั ง กล่าวเพียงคนเดียว โดยใช้ทั้งงาน ราชการและเรื ่ อ งส่ ว นตั ว ในวั น หยุดราชการ นายรัชได้นำรถยนต์ คั น ดั ง กล่ า วไปเก็ บ ไว้ ท ี ่ บ ้ า นพั ก ส่ ว นตั ว โดยการใช้ ร ถยนต์ แ ละ เก็บรักษารถยนต์คันดังกล่าว นาย รัชไม่ได้ขออนุญาตให้ถูกต้องตาม ระเบี ย บสำนั ก นายกรั ฐ มนตรี ว ่ า ด้ ว ยรถราชการ พ.ศ. 2523 และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม และตั้งแต่ได้ รับบริจาครถยนต์มาก็ไม่ได้มีการ เบิกจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงหรือ ค่า ซ่อมแซมจากเงินของทางราชการ แต่ อ ย่ า งใด สำหรั บ ทะเบี ย นรถยนต์นั้นยังมีชื่อบริษัทเอกชนเป็น ผู ้ ถ ื อ กรรมสิ ท ธิ ์ อ ยู ่ โดยยั ง ไม่ ไ ด้ ทำการโอนกรรมสิ ท ธิ ์ ม าเป็ น ของ ทางราชการ ทั้งที่รับมอบรถยนต์ มานานแล้ ว นายรั ช โต้ แ ย้ ง ว่ า รถยนต์คันดังกล่าวยังไม่ใช่ทรัพย์สินของทางราชการเพราะยังไม่ได้ โอนกรรมสิทธ์ทางทะเบียนรถยนต์ ตนจึงไม่มีความผิด ซึ่งเป็นความ เข้ า ใจผิ ด ของนายรั ช เพราะการ มอบหรืออุทิศทรัพย์สินให้ กับทาง ราชการนั ้ น แม้ ย ั ง ไม่ ไ ด้ โ อนทาง ทะเบียน ตามกฎหมายก็ถือว่าเป็น กรรมสิทธิ์ของทางราชการแล้ว ดัง คำพิพากษาฎีกาที่ 4081/2532 ที่ว่า

52

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

“ที่ดินมีโฉนดซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ ได้ทำหนังสือขออุทิศหรือยกให้แก่ ทางราชการเพื่อใช้ก่อสร้างโรงพยาบาลโดยมี ก ารส่ ง มอบการครอบครองและทางราชการได้ ใ ช้ ป ระโยชน์แล้ว ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็น กรรมสิทธิ์ของทางราชการตั้งแต่วัน ทำหนั ง สื อ อุ ท ิ ศ ให้ โ ดยไม่ จ ำเป็ น ต้องจดทะเบียนการให้ต่อพนักงาน เจ้ า หน้ า ที ่ จึ ง มี ผ ลสมบู ร ณ์ ต าม กฎหมายแล้ว” พฤติกรรมของนาย รัชดังกล่าว เป็นความผิดวินัยฐาน ไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไป ตามกฎหมาย กฎระเบียบของทาง ราชการ และมติ ค ณะรั ฐ มนตรี และไม่ ป ฏิ บ ั ต ิ ต ามระเบี ย บและ แบบแผนของทางราชการ ตาม มาตรา 82 (2) แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกับมาตรา 84 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2551 ลงโทษตัดเงิน เดือน จำนวน 5 เปอร์เซ็นต์ เป็น เวลา 1 เดือน

เบื่ อ งานหรื อ ไปมี กิ๊ ก

นายราชัน ตำแหน่งนักวิ ช าการสาธารณสุ ข ชำนาญการ ไม่ได้มาปฏิบัติงานที่ รพ. ส.ต. ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 เป็น เวลา 8 เดือนเศษ และไม่ได้กลับ มาทำงานอี ก เลย นายราชั น แก้ ตั ว ว่ า ตนต้ อ งไปดู แ ลนางสมศรี มารดาของตนที ่ ป ่ ว ยเป็ น โรคลิ ้ น หั ว ใจตี บ มี อ าการหอบ เหนื ่ อ ย นอนราบไม่ ไ ด้ ต้ อ งไปดู แ ลอย่ า ง ใกล้ชิด แต่เมื่อไปสอบปากคำนาง สมศรี ก็ได้ความว่านายราชัน ไป เยี่ยมมารดาบ้างเป็นครั้งคราวไม่ได้ มาบ่อย นายราชันบ่นให้นางแก้ว ภรรยาที่อยู่กินกันมาประมาณ 14 ปี ฟังว่าตนเบื่องานไม่อยากไปทำ งาน ซึ่งนางแก้วก็ทราบดีว่านาย ราชั น ไปติ ด พั น อยู ่ ก ั บ นางสาว พิ ไ ล ซึ ่ ง เคยไปอบรมวิ ช าแพทย์ แผนไทยด้ ว ยกั น นายราชั น เคย บ่นให้เพื่อนร่วมงานฟังว่าตนกำลัง มีปัญหากับ นางสาวพิไล เพราะ นางสาวพิไลจะเลิกคบด้วยเหตุที่


ตนไม่ ส ามารถเลิ ก กั บ นางแก้ ว ภรรยาได้อย่างเด็ดขาด พฤติกรรม ของนายราชันดังกล่าว เป็นการ กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐาน ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราว เดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน โดยไม่ ม ี เ หตุ ผ ลอั น สมควร ตาม มาตรา 85 (3) แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ลงโทษไล่ อ อกจากราชการ (ระหว่างการสืบสวนสอบสวนทาง วิ น ั ย แม้ น ายราชั น จะขาดงาน เกิน 15 วัน ไปแล้ว ก็ยังสามารถ กลับมาทำงานต่อได้อีกตราบที่ยัง ไม่คำสั่งลงโทษทางวินัย ถ้าหาก กลั บ มาทำงานอาจลงโทษปลด ออกหรื อ ไล่ อ อกก็ ไ ด้ แต่ ถ ้ า ไม่ กลับมาทำงานเลยตามมติคณะรัฐมนตรี แ ล้ ว จะต้ อ งลงโทษไล่ อ อก สถานเดียวจะลงโทษปลดออกไม่ ได้ การถูกไล่ออกทำให้ไม่มีสิทธิได้ รับเงินบำเหน็จบำนาญ แต่ถ้าถูก ปลดออกก็มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว เรื่องนี้น่าเสียดายมากเพราะนาย ราชันทำงานมา 20 ปี เงินเดือน 23,000 บาท ถ้ากลับมาทำงานและ ถู ก ปลดออกยั ง มี ส ิ ท ธิ ไ ด้ ร ั บ เงิ น บำเหน็ จ 460,000 บาท ดั ง นั ้ น ข้าราชการที่มีอายุราชการตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปซึ่งมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จบำนาญ ถ้ า ขาดงานเกิ น 15 วั น หากช่ ว ยกั น ตามกลั บ มาทำงาน และต่ อ มาถู ก ลงโทษปลดออก ก็ สามารถนำเงินดังกล่าวไปช่วยล้าง

หนี้เงินกู้สหกรณ์ เพื่อนร่วมงาน ที่ ผู ้ ค ้ ำ ประกั น ให้ จะได้ เ ดื อ ดร้ อ น น้อยลง) โดนลงโทษทุ ก คน

นายสุ ว รรณ ตำแหน่ ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รั บ ผิ ด ชอบงานด้ า นการเงิ น และ บัญชี ของ รพ. สต. ได้เติมจำนวน เงินลงในใบถอนเงินทั้งตัวเลขและ ตัวอักษรโดยเขียนจำนวนเงินเพิ่ม จากที่เขียนไว้เดิมที่เขียนใบถอน เงินสำหรับเป็นค่าตอบแทนต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ จำนวนหลายครั้ง รวม 500,000 บาท และนาย สุวรรณไม่นำเงินค่ารักษาพยาบาล ที่ได้รับจากผู้มารับบริการนำฝาก เข้ า บั ญ ชี ธ นาคาร รวม 100,000 บาท จากนั ้ น ได้ เ บี ย ดบั ง เงิ น ดั ง กล่ า วทั ้ ง หมดรวม 600,000 บาท นำไปใช้ส่วนตัว สำหรับใบถอนเงิน นั้น มีนายณรงค์ร่วมลงนามเบิก ถอนกับ นายสุ ว รรณด้ ว ยทุ ก ครั ้ ง โดยใบถอนเงินมีข้อผิดพลาด คือ มีการเว้นช่องว่างไว้จึงทำให้ นาย สุ ว รรณเขี ย นตั ว เลขและอั ก ษร เพิ่มขึ้นจากเดิมในภายหลังได้ ทั้งนี้ นายณรงค์ไม่ได้ร่วมทุจริตกับนาย สุวรรณแต่อย่างใด ส่วนนายศักดิ์ ซึ่งเป็น ผอ. รพ. สต. ก็ไม่เข้มงวด ตรวจสอบ ควบคุ ม กำกั บ ดู แ ล ตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการ เงินและบัญชีของนายสุวรรณเลย พฤติ ก รรมของนายสุ ว รรณ เป็ น

ความผิ ด วิ น ั ย อย่ า งร้ า ยแรง ฐาน ปฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ ร าชการโดยทุ จ ริ ต ตามมาตรา 85 (1) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ลงโทษไล่ อ อกจาก ราชการ สำหรั บ นายณรงค์ แ ละ นายศักดิ์นั้น มีความผิดวินัย ฐาน ไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไป ตามระเบียบของทางราชการ และ ฐานประมาทเลิ น เล่ อ ในหน้ า ที ่ ราชการ ตามมาตรา 82 (2) และ มาตรา 83 (4) แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกับมาตรา 84 แห่ง พระราชบั ญ ญั ต ิ ร ะเบี ย บข้ า ราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ลงโทษตัด เงินเดือนคนละ 5 เปอร์เซ็นต์ เป็น เวลา 1 เดือน แมวตั ว ผู้

นางสาวมานิดา ตำแหน่ง พยาบาลวิ ช าชี พ ชำนาญการ ได้ คบหากั บ ร.ต.อ. ศรสิ ท ธิ์ ใน ทำนองชู ้ ส าว โดยที ่ ร.ต.อ. ศรสิทธิ์นั้นแต่งงานอยู่กินกับนาง พิมพิลา มา 5 ปี และมีบุตรด้วย กัน 1 คน ต่อมา ร.ต.อ. ศรสิทธิ์ ได้ ย ้ า ยที ่ ท ำงานมาที ่ จ ั ง หวั ด ซึ ่ ง นางสาวมานิดาทำงานอยู่ ร.ต.อ. ศรสิ ท ธิ์ นำผู ้ เ สี ย หายมาตรวจ ชันสูตรที่โรงพยาบาลบ่อย ๆ และ พบกับนางสาวมานิดา จึงได้ รู้จัก ชอบพอกั น ต่ อ มาวั น หนึ ่ ง นาง พิ ม พิ ล าได้ แ อบมาที ่ บ ้ า นพั ก -

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  53


ตำรวจซึ ่ ง สามี ต นพั ก อยู ่ โ ดยมา พร้ อ มกั บ เพื ่ อ นหญิ ง อี ก 2 คน เพราะว่ามีคนโทรศัพท์ไปบอกว่า เห็นนางมานิดามาหาสามีของตน ที่บ้านพัก เมื่อมาถึง นางพิมพิลา ได้เคาะประตูเรียกสามีอยู่นานจึง ได้เปิดประตูออกมาและบอกว่าพึ่ง ออกเวรเหนื่อยมากจึงเผลอหลับไป ขณะนั ้ น ร.ต.อ. ศรสิ ท ธิ์ สวม กางเกงขาสั้นบ๊อกเซอร์ ไม่สวมเสื้อ ใบหน้ า ซี ด เผื อ ดและมี เ หงื ่ อ ออก เต็มใบหน้า เพื่อนของนางพิมพิลา ที่มาด้วยเกิดมีอาการปวดท้องแต่ เมื่อจะเข้าห้องน้ำก็เข้าไม่ได้เพราะ ห้องน้ำใส่กลอนด้านในไว้ ต่อมา นางสาวมานิ ด าก็ อ อกมาจาก ห้องน้ำ จากนั้นสองสามีภรรยาก็ ทะเลาะโต้เถียงกันในเรื่องที่พบเห็น ดังกล่าว นางสาวมานิดาให้การ อ้ า งว่ า ในวั น ดั ง กล่ า วตนมาให้ อาหารแมวของ ร.ต.อ. ศรสิ ท ธิ์ โดยมากับเพื่อนอีก 2 คน แต่เมื่อ มาที ่ บ ้ า นพั ก ตำรวจ กลั บ ไม่ ม ี อาหารแมวจึงให้เพื่อนออกไปซื้อ อาหารแมวมาให้ ตนเลยต้ อ งอยู ่ ตามลำพังกับ ร.ต.อ. ศรสิทธิ ์ พฤติ ก รรมของนางสาว มานิดาดังกล่าว เป็นการกระทำ ผิดวินัย ฐานไม่รักษาชื่อเสียงของ ตนและไม่ ร ั ก ษาเกี ย รติ ศ ั ก ดิ ์ ข อง ตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้ เสื่อมเสีย ตามมาตรา 82 (10) แห่ง พระราชบั ญ ญั ต ิ ร ะเบี ย บข้ า ราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบ

54

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

กับมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ลงโทษลดเงินเดือน จำนวน 2 เปอร์เซ็นต์ ฉี ด ยาแล้ ว คนไข้ ต าย

นายดำและนางแดง จำเลยทั้งสองไม่ใ ช่ แ พทย์ แ ละไม่

ได้ ร ั บ ใบอนุ ญ าตเป็ น ผู ้ ป ระกอบ วิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา ได้ ช่วยกันตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค ให้ แ ก่ น ายบุ ญ ล้ อ ม โดยฉี ด ยา ปฏิ ช ี ว นะกลุ ่ ม เพนิ ซ ิ ล ลิ น เข้ า สู ่ ร่ า งกายของนายบุ ญ ล้ อ ม และ จ่ า ยยาให้ ร ั บ ประทานด้ ว ย หลั ง จากนั ้ น นายบุ ญ ล้ อ มไม่ ม ี แ รง หมดสติ เพื่อนของนายบุญล้อม จึงนำตัวส่งโรงพยาบาล โดยนาย บุ ญ ล้ อ มอยู ่ ใ นสภาพไม่ รู ้ ส ึ ก ตั ว และมี อ าการชั ก เกร็ ง หายใจขั ด แพทย์ ไ ด้ ใ ส่ ท ่ อ ช่ ว ยหายใจและ ฉี ด ยากระตุ ้ น หั ว ใจเข้ า ทางเส้ น เลือด ต่อมานายบุญล้อมได้ถึงแก่ ความตายหลังจากที่ นายดำและ นางแดงฉี ด ยาให้ ป ระมาณ 3 ชั่วโมง สถาบันนิติเวชวิทยาตรวจ พิ สู จ น์ แ ล้ ว พบยาปฏิ ช ี ว นะเพนิ ซิลลินในกล้ามเนื้อและสาเหตุ การ ตาย คือ แพ้ยาเพนิซิลลิน ศาล พิ พากษาว่ า จำเลยทั ้ ง สองกระทำ ผิดตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 มาตรา 4, 26, 43 กั บ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 (ฐานประมาทเป็นเหตุ

ให้ ผู ้ อ ื ่ น ถึ ง แก่ ค วามตาย) ซึ ่ ง เป็ น การกระทำกรรมเดี ย วผิ ด ต่ อ กฎหมายหลายบท จึงให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ซึ ่ ง เป็ น บทหนั ก โดย จำคุ ก จำเลยคนละ 9 ปี ลดโทษให้คนละ หนึ ่ ง ในสาม คงเหลื อ โทษ จำคุ ก คนละ 6 ปี (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2536) อนึ่ง ที่ศาลเห็นว่าจำเลย ประมาทนั ้ น ก็ เ พราะว่ า ตามกฎหมายแล้วจำเลยไม่มีสิทธิทำการผู้ รั ก ษาพยาบาล ดั ง นั ้ น ถ้ า หมอ อนามัยท่านใดเปิดคลินิกส่วนตัว แล้วผู้ป่วยแพ้ยาตาย ก็อาจมีความ ผิดอาญาเหมือนกับคดีตัวอย่างใน คดีนี้ได้ จากกรณี ต ั ว อย่ า งการ กระทำผิดวินัยและคดีตัวอย่าง ดัง กล่าว หากหมออนามัยทุกท่านไม่ รั ก ษาวิ น ั ย โดยทำการฝ่ า ฝื น และ กระทำความผิดแล้วก็จะได้รับโทษ ตามกฎหมาย แต่ถ้าปฏิบัติตนอยู่ ในระเบี ย บวิ น ั ย ของข้ า ราชการ อย่างเคร่งครัด และปฏิบัติถูกต้อง ตามกฎหมายของบ้านเมือง ท่านก็ จะเป็ น ข้ า ราชการที ่ ด ี แ ละไม่ ถู ก ลงโทษทั้งทางวินัยและทางอาญา


ห นั ง สื อ ช ว น อ่ า น

กอก บ.ก. วิชาการ

หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์ จะรับบริการสาธารณสุข

ความตายเป็นธรรมดาของ ทุกชีวิต แต่มีน้อยคนนักที่ยอมรับ อย่างสนิทใจว่าสักวันตนเองจะต้อง ตาย แม้ว่าจะได้ยินหรือรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับความตายของผู้คนวัน ละหลายครั้งทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวิทยุ หรืออาจรูส้ กึ ตืน่ เต้นสนุ ก สนานด้ ว ยซ้ ำ กั บ ความตาย ของตัวละครในภาพยนตร์หรือวิดีโอเกม แต่เวลานึกถึงความตายที่จะ เกิดขึ้นกับตนในวันข้างหน้า หลาย คนกลับรู้สึกประหวั่นพรั่นพรึง ด้วย เหตุนี้จึงไม่อยากนึกถึงหรือพูดถึง โดยพยายามทำตัวให้วุ่นจนลืมตาย หาไม่ ก ็ ใ ช้ ช ี ว ิ ต อย่ า งสนุ ก สนาน ราวกับว่าชาตินี้จะไม่มีวันตาย ขณะ ที่จำนวนไม่น้อยหวัง “ไปตายเอา ดาบหน้ า ” คื อ ผั ด ผ่ อ นไปเรื ่ อ ย ๆ จนกว่าจะแก่หรือป่วยหนัก ถึงค่อย มานึกเรื่องนี้

พุ ท ธศาสนาถื อ ว่ า นี ่ เ ป็ น ความประมาทอย่างสำคัญ ในเมื่อ ความตายเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอย่าง แน่นอน ไม่มีอะไรดีกว่าการเตรียม รับมือกับความตายแต่เนิ่น ๆ ความ ทุกข์นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีอะไรเกิด ขึ้นกับเรา แต่อยู่ที่ว่าเรามีท่าทีหรือ ปฏิกิริยากับสิ่งนั้นอย่างไรต่างหาก ในทำนองเดียวกันความตายจะน่า กลั ว หรื อ ไม่ อ ยู ่ ท ี ่ ใ จเราเป็ น สำคั ญ จะตายอย่างทุกข์ทรมานหรือไม่ หา ได้ขึ้นอยู่กับโรคร้ายไม่ แต่ขึ้นอยู่กับ การวางใจของเราต่างหาก ความตายนั ้ น มิ ใ ช่ ว ิ ก ฤต เสมอไป หากยังเป็นโอกาสสำหรับ การเข้ า ถึ ง สั จ ธรรมของชี ว ิ ต เป็ น โอกาสสำหรับการปลดเปลื้องสิ่งที่ เคยยึดติดอย่างแน่นหนา อีกทั้งเป็น โอกาสสำหรั บ การฟื ้ น ฟู ค วามสั ม -

พันธ์ที่ร้าวฉานให้กลับคืนดี จนเข้า ถึงความสงบในวาระสุดท้าย ประสบการณ์ของผู้คนจำนวนไม่น้อยชี้ ว่า ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ หญิงหรือ ชาย ชาวนาหรือเศรษฐี จบประถม หรื อ อุ ด มศึ ก ษา ล้ ว นสามารถแปรเปลี่ยนความตายจากวิกฤตให้เป็น โอกาสดังกล่าวได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ทุกคนมีศักยภาพที่จะเข้าถึงความ ตายอย่างสงบ แต่จะทำเช่นนั้นได้ ปั จ จั ย สำคั ญ ก็ ค ื อ การฝึ ก ฝนตระเตรียมล่วงหน้ามาก่อน ข้อความข้างบน พระไพศาล วิสาโล เขียนเป็นคำนำไว้ในหนังสือ “เผชิญความตายอย่างสงบ เล่ม 2” เพื ่ อ ใช้ เ ป็ น คู ่ ม ื อ สำหรั บ ผู ้ เ ข้ า อบรมโครงการ “เผชิญความตาย อย่างสงบ” ซึ่งมีบุคลากรทางการ แพทย์ให้ความสนใจอย่างมาก ส่วน/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  55


หนึ่งเกิดจากความใกล้ชิดที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย แต่ ท ี ่ ส ำคั ญ เกิ ด จากความ ต้องการช่วยเหลือผู้ป่วย และมีจิต ที่มากกว่าเพียงทำตามหน้าที่ เป็น จิตอาสาที่ต้องการการเยียวยามาก กว่าเพียงการรักษาทางกาย การสู่ วาระสุดท้ายอย่างสงบ และเหนือ อื ่ น ใด ผู ้ ดู แ ลรวมทั ้ ง บุคลากรทาง การแพทย์ ย ั ง ได้ เ ข้ า ถึ ง ความจริ ง ของชี ว ิ ต มากขึ ้ น ซึ ่ ง เป็ น ผลพลอย ได้อันยิ่งใหญ่ ระยะหลั ง มี ก ารพู ด คุ ย ถึ ง เรื ่ อ งสิ ท ธิ ก ารปฏิ เ สธการรั ก ษาพยาบาลที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการ ตายในวาระสุดท้ายของชีวิต กัน อย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นผลมาจาก การมี มาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ. สุขภาพแห่ ง ชาติ พ.ศ. 2550 ที ่ ม ี ใ จ ความว่า... “บุ ค คลมี ส ิ ท ธิ ท ำหนั ง สื อ แสดงเจตนาไม่ ป ระสงค์ จ ะรั บ บริ การสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อ ยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต ตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการ เจ็บป่วยได้ การดำเนินการตามหนังสือ แสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็น ไปตามหลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธ ี ก ารที ่ กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้าน สาธารณสุ ข ได้ ป ฏิ บ ั ต ิ ต ามเจตนา ของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด และให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง” มาตรา 12 นี้จะมีส่วนช่วย ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่อยู่ในสภาพที่ ไม่รู้สึกตัวแล้ว ได้จากไปอย่างสงบ เพราะในทางปฏิ บ ั ต ิ ผู ้ ป ่ ว ยที ่ ใ กล้ 56

ª’∑’Ë 21 ©∫—∫∑’Ë 1

ตาย ไม่อยู่ในฐานะที่แสดงเจตนา เช่ น นั ้ น ได้ เพราะส่ ว นใหญ่ อ ยู ่ ใ น ภาวะทีไ่ ม่รสู้ กึ ตัว การตัดสินใจเกีย่ วกับการรักษาพยาบาลจึงเป็นเรื่อง ของแพทย์กับญาติ จุดนี้เองก่อให้ เกิดปัญหาอย่างมาก บางครั้งการ ตั ด สิ น ใจที ่ ส วนทางกั บ ความเป็ น จริง ทำให้ความหวังดีเป็นการเพิ่ม ความทุ ก ข์ ท รมานแก่ ผู ้ ป ่ ว ย และ ทำให้ ผู ้ ป ่ ว ยจากไปด้ ว ยความไม่ สงบ ขอยกบทความ “พินัยกรรม เพื่อชีวิต” ของ ศ. นพ. สันต์ หัตถีรั ต น์ จากหนั ง สื อ “ตายอย่ า งมี ศักดิ์ศรี” เผยแพร่ในจดหมายเปิด ผนึกของสำนักงานคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติ (สช.) ฉบั บ ที ่ 2/ 2554 มาประกอบ... “ในขณะที่ การแพทย์แผนปัจจุบันได้ก้าวหน้าไปมาก มากจน สามารถทำให้ผู้ป่วยบางคนที่ตาย แล้ว (หยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น แล้ว) กลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ และ สามารถที่จะเลี้ยงผู้ป่วยให้พะงาบ ๆ ไว้ไม่ให้ตายไปได้ แต่ก็ยังไม่มีความ สามารถพอที่จะรักษาผู้ป่วยที่ตน เลี้ยงให้พะงาบ ๆ ไว้ ให้หายหรือ ฟื ้ น จากโรคกลั บ มามี ช ี ว ิ ต อย่ า งมี ความสุขตามควรแก่อัตภาพได้ แพทย์ บ างคนอาจจะเลี ้ ย ง

ผู้ป่วยให้พะงาบ ๆ ไว้ เพื่อหวังค่า ดูแลรักษา แพทย์ บ างคนอาจจะเลี ้ ย ง

ผู ้ ป ่ ว ยไว้ เพื ่ อ ทดลองรั ก ษาแบบ พิสดาร แพทย์ บ างคนอาจจะเลี ้ ย ง

ผู้ป่วยไว้ เพื่อไม่ให้ตนเสียชื่อ แพทย์ บ างคนอาจจะเลี ้ ย ง

ผู้ป่วยไว้ เพราะแพทย์นั้นไม่อยาก

จะตัดสินใจ หรือไม่กล้าตัดสินใจที่จะ ปล่อยให้ผู้ป่วยจากไปโดยสงบ หรือ อื่น ๆ ผู้ป่วยจึงต้องทนทุกข์ทรมาน จากการดู แ ลรั ก ษาที ่ ค งสภาพ “จะ ตายก็ไม่ตาย จะเป็นก็ไม่เป็น” ไป เรื่อย ๆ ในสภาวการณ์ เ ช่ น นี ้ การมี พิ น ั ย กรรมเพื ่ อ ชี ว ิ ต หรื อ กฎหมาย คุ้มครองสิทธิของผู้ป่วย ก็อาจจะเป็น สิ่งจำเป็นสำหรับป้องกันความทุกข์ทรมานที่ไม่จำเป็นที่ผู้ป่วยไม่ต้องการ แต่ก็ควรที่แพทย์จะต้องพยายามลด ช่ อ งว่ า งระหว่ า งแพทย์ ก ั บ ผู ้ ป ่ ว ยลง ด้วย...” ทางสำนักงานคณะกรรมการ สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ ได้ ท ำหนั ง สื อ ที ่ เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ขึ้นมา 1 ชุด ประกอบด้วย 1) ห นั ง สื อ คู่ มื อ ผู้ ใ ห้ บ ริ ก าร สาธารณสุข กฎหมายและแนวทาง การปฏิ บ ั ต ิ ท ี ่ เ กี ่ ย วข้ อ งกั บ การดู แ ล ผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2) หนังสือ ความต้องการครั้ง สุดท้ายของชีวิต (Living Will) 3) ห นั ง สื อ ก่ อ นวั น ผลั ด ใบ หนั ง สื อ แสดงเจตนาการจากไปใน วาระสุดท้าย ในหนั ง สื อ ทั ้ ง 3 เล่ ม นี ้ จะมี แบบฟอร์ม “หนังสือแสดงเจตนาไม่ ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข” หรือ “หนังสือปฏิเสธการรักษาใน ระยะสุดท้ายของชีวิต” ไว้ด้วย ติ ด ต่ อ ขอรั บ หนั ง สื อ นี ้ ไ ด้ ท ี ่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่ง ชาติ (สช.) โทรศั พ ท์ 0 2832 9100 หรื อ เข้ า ไปที ่ www.nationalhealth. or.th หรือที่ www.thailivingwill.in.th


รอยอดี ต บ.ก. วิชาการ

ผ่านเบ้าหลอม “...ผมจึงใคร่ขอตั้งความหวังต่อท่าน ทั้งหลายที่สำเร็จการศึกษาในวันนี้ ที่ จะได้ร่วมกันออกไปแก้ไขภาพพจน์ทาง ลบ และช่วยกันสร้างภาพพจน์ที่ดีขึ้น มาแทนที่เพื่อเกียรติศักดิ์และศักดิ์ศรี ของพวกเรา...”

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  57


“เป็นไงบ้างวิรัตน์ งานไปถึง ไหนแล้ว” ผู ้ อ ำนวยการวิ ท ยาลั ย การ สาธารณสุข เปิดคำถามเมื่อตอน บุ ก ออกเยี ่ ย มลู ก ศิ ษ ย์ ฝ ึ ก งานถึ ง หมู ่ บ ้ า นที ่ อ ยู ่ ไ กลวิ ท ยาลั ย ฯ กว่ า 300 กิโลเมตร “ออกสำรวจทำแผนที่เสร็จ แล้ ว ครั บ เก็ บ ข้ อ มู ล รายหลั ง คาเรื อ นแล้ ว ตอนนี ้ ก ำลั ง วิ เ คราะห์ ข้อมูลหาปัญหาสาธารณสุขครับ” วิรตั น์ตอบพร้อมกับนำเอกสารต่าง ๆ มาให้ อ าจารย์ ผู ้ น ิ เ ทศตรวจสอบ เพื่อรับคำแนะนำ “มาอยู่นานแค่ไหนแล้ว กินอยู่อย่างไร มีปัญหาอะไรมั้ย” ผู้อำนวยการถามต่อ “มาเดือนกว่าแล้วครับ พัก กับผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่แกใจดี อยู่ สบายครับ สำหรับปัญหาความเป็นอยู่คงไม่มี อาจารย์สอนให้พวกผม ปรับตัวเข้ากับชาวบ้านให้ได้ มีอะไร ผมก็ช่วยเขาเท่าที่จะช่วยได้ครับ แต่ ห่วงเรื่องฝึกงาน” “ทำไมล่ะ” “คือช่วงนี้ชาวบ้านลงนากัน ครั บ แทบไม่ ม ี ค นอยู ่ บ ้ า นเลยใน ตอนกลางวั น เมื ่ อ ผมวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล หาปั ญ หาและวางแผนแก้ ปัญหาเสร็จ คงทำงานยากเพราะ เป็ น ช่ ว งที ่ ช าวบ้ า นไม่ ม ี เ วลา อี ก อย่างหนึ่ง ผมไม่มีอาจารย์ที่ปรึกษา ครูพี่เลี้ยงที่สถานีอนามัยก็ดีอยู่ แต่ พี่เขาไม่ค่อยมีเวลาออกมาสอนน่ะ ครับ” “เรือ่ งการพัฒนางานสาธารณ58

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

สุขเป็นเรือ่ งยาก ต้องค่อย ๆ ทำ ใช้ ความพยายามหลาย ๆ รู ป แบบ อย่ า งเช่ น ชาวบ้ า นไม่ อ ยู ่ บ ้ า น

กลางวั น เราก็ ต ้ อ งออกหาเขา

กลางคืน ส่วนงานกิจกรรมพัฒนาก็ ค่อย ๆ แนะนำ ให้ เ ขาเห็ น ความ สำคัญ ค่อย ๆ ทำค่อย ๆ แก้ มันไม่ ง่ายเหมือนบวกลบเลขหรอก อย่างนี้ แหละเราจะได้ ม ี ป ระสบการณ์ สำหรั บ ติ ด ตั ว ไปใช้ ท ำงานจริ ง ใน อนาคต ส่วนเรื่องครูพี่เลี้ยงก็คงต้อง ใช้วิธีรวบรวมปัญหา แล้วหาเวลา เข้าไปปรึกษาพี่เขาที่สถานีอนามัย เพราะเขามีงานประจำมาก คงออก มาเยี่ยมนิเทศเราได้น้อย เราต้อง เข้าหาเขา ‘ศิษย์ตอ้ งแสวงหาครูนะ’ ” วิรัตน์ดีใจกับการมาเยี่ยม ของอาจารย์และผู้อำนวยการ เคย ได้ยินรุ่นพี่เล่าว่า ตอนออกฝึกงาน ชุ ม ชนในหมู ่ บ ้ า น 6 เดื อ นของปี สุดท้าย บางทีเหมือนถูกปล่อยทิ้ง อาจารย์ออกมานิเทศได้น้อยมาก เพราะวิ ท ยาลั ย มี อ าจารย์ จ ำกั ด การส่ ง ฝึ ก งานต้ อ งส่ ง ไปหลาย ๆ จั ง หวั ด ถ้ า เจอครู พ ี ่ เ ลี ้ ย งซึ ่ ง ก็ ค ื อ หมออนามัยรุ่นพี่ที่ดี ก็สอนแนะนำ และทำตัวอย่างที่ดีให้เห็น ถ้าเจอรุ่น พี่มีปัญหา ก็แทบไม่มีที่พึ่งพิง ทั้ง เรื่องวิชาการและเรื่องอื่น ๆ แต่นี่ โชคดี อ าจารย์ ผู ้ อ ำนวยการออก เยี่ยมถึงที่ แถมยังเอาอาหารแห้งมา ฝากอีกต่างหาก พบผูอ้ ำนวยการ พบอาจารย์ ทำให้ ค ิ ด ถึ ง วิ ท ยาลั ย เกื อ บ 2 ปี แล้ ว ที่ วิ รั ต น์ เ ข้ า มาเป็ น นั ก ศึ ก ษา สาธารณสุข คิดถึงเพื่อนร่วมรุ่น 100

คน คิดถึงหอพักที่อยู่กันอย่างเป็น สุข คิดถึงเวลาวิ่งกระหืดกระหอบไป เข้ า แถวเคารพธงชาติ ต อนเช้ า เนื่องจากน้ำชั้น 3 ไม่ไหล ต้องรอคิว อาบน้ ำ ชั ้ น ล่ า งจนแต่ ง ตั ว ไปเข้ า

แถวเกือบไม่ทัน คิดถึงงานรับน้อง คิดถึงงานกีฬาสี คิดถึงคำสอน ดุวา่ ตักเตือนของอาจารย์ทุก ๆ คน ตอนอยู ่ ป ี 1 เรี ย นวิ ช าการ ด้านการแพทย์ในวิทยาลัยนาน 6 เดือน เรียนหนักเหน็ดเหนื่อยทั้งวัน แต่ตอนเย็นได้เล่นกีฬาบ้างก็คลาย เครียดได้มาก วิชาที่เรียนเป็นเรื่อง เกี่ยวกับการตรวจรักษาโรคทั่วไปที่ หมออนามัยต้องตรวจและรักษาได้ รู้สึกเหนื่อยจนบางทีรับไม่ค่อยไหว ต้องปิดสวิตช์สมองงีบในห้องเรียนก็ เคยบ่อย ๆ “การสอนยั ง เป็ น แบบสอน ยัดเยียดเนือ้ หา สอนความรูเ้ ป็นโรค ๆ ทำให้เข้าใจยาก นำไปใช้ยาก เพราะ เชื่อมโยงกับปัญหาที่เจอในคนไข้ จริ ง ได้ ย าก” วิ รั ต น์ เ คยได้ ย ิ น อาจารย์คุยกันอย่างนี้ แต่ทราบว่า วิ ท ยาลั ย กำลั ง พยายามปรั บ ปรุ ง หลักสูตรให้เรียนแบบใช้ปัญหาเป็น หลัก เพื่อให้ง่ายและสอดคล้องกับ การนำความรู้ไปใช้จริง วิรัตน์คิดว่า ถ้ า ทำได้ อ ย่ า งนั ้ น จริ ง น่ า จะดี ก ว่ า สอนแบบรายโรค เมื่อจบภาคทฤษฎี 6 เดือน แรก ก็ไปฝึกงานรักษาพยาบาลที่ โรงพยาบาลชุ ม ชน ได้ ฝ ึ ก ตรวจ ผูป้ ว่ ย รักษาผูป้ ว่ ย ฝึกทำงานพยาบาล ฝึกทำแผล ฝึกฉีดยา ฝึกให้บริการ ด้านส่งเสริมสุขภาพ ด้านป้องกัน


โรค โดยมีผู้อำนวยการโรงพยาบาล แพทย์ และพี่ ๆ พยาบาลเป็นครู- พี่เลี้ยง ซึ่งช่วงฝึกงานนี้ วิรัตน์รู้สึก ว่าได้ความรู้มาก แต่อาจารย์แพทย์ บอกว่า “พวกคุณอย่าเพิ่งคิดว่าคุณ รู้มากแล้ว คุณเก่งแล้ว คุณเพิ่งมี ความรู ้ เ พี ย งแค่ พ ื ้ น ฐานเท่ า นั ้ น เรื่องการแพทย์นั้นทั้งกว้างและลึก คุณจะต้องศึกษาหาความรู้ตลอด เวลา จะหยุดนิ่งโดยคิดว่าเก่งกล้า ไม่ ไ ด้ แม้ แ ต่ ผ มเรี ย นแพทย์ 6 ปี เป็นแพทย์ฝึกหัดอีก 1 ปี ทำงานมา หลายปี ก็ยังรู้ไม่มาก” วิรัตน์รู้และเข้าใจคำเตือน ของอาจารย์ พอจบการฝึกงานปี 1 กลับ วิทยาลัย เรียนภาคทฤษฎีเกี่ยวกับ การสาธารณสุขการทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพ งานป้องกันโรค งาน สุขาภิบาล งานสาธารณสุขมูลฐาน ซึ ่ ง ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น การทำงานใน ชุมชน และเป็นงานที่ทำยาก เห็น ผลช้า ปีนี้วิทยาลัยเปลี่ยนไปมาก ตั ้ ง แต่ ม ี ผู ้ อ ำนวยการใหม่ ม ารั บ หน้าที่ นักศึกษามีอิสระมากขึ้น มี การจั ด ตั ้ ง สโมสรนักศึกษา มีการ จัดกิจกรรมสร้างความสามัคคี มี กิจกรรมประกวดหอพัก และกำลัง มี ก ิ จ กรรมเพื ่ อ สร้ า งสรรค์ ส ั ง คม ในลั ก ษณะของกิ จ กรรมบำเพ็ ญ ประโยชน์ ซึ่งนับว่าเป็นการเปลี่ยน โฉมหน้าของวิทยาลัยการสาธารณสุข ที่แต่เดิมมีแต่เรียนกับฝึกงานจน

ถ้าบ้านของเรา ถ้าสถานีอนามัย ข อ ง เ ร า ส ก ป ร ก ร ก รุ ง รั ง

ไม่ มี ร ะเบี ย บ ก็ ป่ ว ย ก า ร ที่

จะไปแนะนำชาวบ้ า นพั ฒ นา สุ ข า ภิ บ า ล บ้ า น เ รื อ น

แทบไม่มีเวลารวมหมู่กันทำงานใน ลักษณะหมู่คณะเลย เพือ่ น ๆ ทุกคนรวมทัง้ วิรตั น์ มองเห็นว่าเป็นแนวทางที่ดี อย่าง การประกวดหอพั ก วิ ร ั ต น์ เ คยคิ ด

ในใจมานานแล้วว่า หอพักของนักศึกษาสาธารณสุขมันสกปรกไม่มี ระเบียบเรียบร้อย แล้วเราจะเป็น ตัวอย่างทีด่ ใี นเรือ่ งของความสะอาด และเรื่องสุขาภิบาลให้แก่ประชาชน ได้อย่างไรกัน อาจารย์พเ่ี ลีย้ งท่านหนึง่ บอก ว่า “ถ้าบ้านของเรา ถ้าสถานีอนามัย ของเราสกปรกรกรุงรัง ไม่มรี ะเบียบ ก็ป่วยการที่จะไปแนะนำชาวบ้าน พัฒนาสุขาภิบาลบ้านเรือน”

ก่อนมาฝึกงานชุมชนคราวนี้ หอพั ก และวิ ท ยาลั ย สะอาดตาขึ ้ น มาก ทุ ก คนกระตื อ รื อ ร้ น ช่ ว ยกั น พั ฒ นาหอพั ก และบริ เ วณ ทุ ก คน กำลังสนุกกับบรรยากาศการพัฒนา วิทยาลัย พอมาฝึกงานในหมู่บ้าน ก็ชักคุ้นชินกับชาวบ้านจนเกือบลืม วิทยาลัย แต่พออาจารย์มาเยี่ยมก็ เลยคิดถึงวิทยาลัยขึ้นมาอีกครั้ง วันเวลาผ่านไปเร็วเหลือเกิน เมื่อไม่ถึง 2 ปีก่อน วิรัตน์ยังเป็น นักเรียนมัธยมปีท่ี 6 ของจังหวัดเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง เคยคิดอยากจะเข้ามหาวิ ท ยาลั ย เรี ย นต่ อ ให้ สู ง ๆ แต่ พ ่ อ บอกว่าลองไปสอบเข้าสาธารณสุข ดู ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก หลวง ออกให้เป็นส่วนใหญ่เรียนจบมาก็มี งานทำ และสามารถมาช่วยเหลือ ชาวบ้านนอกได้โดยตรง จบมหาวิทยาลัยตกงานกันก็มาก วิ รั ต น์ ส มั ค รและสอบผ่ า น เข้ า มาเป็ น นั ก ศึ ก ษาเจ้ า พนั ก งาน สาธารณสุขพร้อมกับเพื่อน ๆ ใน จังหวัดอีก 9 คน วันรายงานตัวก่อน เข้ า เรี ย น นายแพทย์ ส าธารณสุ ข จังหวัดกล่าวต้อนรับและให้โอวาท วิรัตน์จดมาติดไว้ที่หัวนอนตอนอยู่ หอพักในวิทยาลัย “...ขอให้ ท ุ ก คนภู ม ิ ใ จใน ความสำเร็ จ ก้ า วแรกของชี ว ิ ต ที ่ สามารถสอบเข้ามาเป็นนักเรียนทุน ด้ ว ยความสามารถและฝี ม ื อ ของ ตนเองโดยแท้ การสอบเข้ามาเป็น นักเรียนทุนของกระทรวงสาธารณสุข มิใช่หมายความแต่เพียงว่าจะ ได้มีโอกาสเรียนฟรี มีอาชีพมั่นคง /กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  59


มีเงินเดือนรออยู่ข้างหน้า และเป็นที่ พึ่งของครอบครัวได้เท่านั้น หากแต่ เป็ น โอกาสของทุ ก คนที ่ จ ะได้ ใ ช้ ความรู้ ความสามารถ สติปัญญา และศั ก ยภาพของตนเองทำประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์และสังคมใน ฐานะชาวสาธารณสุขที่ต้องรับผิดชอบต่อชีวิตและสุขภาพอนามัยของ ประชาชน ซึ่งเป็นหน้าที่อันมีเกียรติ และน่าภาคภูมิใจยิ่งกว่าการมีงาน ทำ และการมีเงินเดือนใช้หลายร้อย หลายพันเท่า...” 2 ปีผ่านไป วิรัตน์ได้เพื่อน ใหม่เป็นร้อย ได้อาจารย์ผู้มีพระคุณ เพิ่มขึ้นหลายสิบท่าน ได้รู้จักพี่ ๆ น้อง ๆ ในวงการเดียวกันเพิ่มมากมายได้รับวิชาความรู้และประสบการณ์ เ บื ้ อ งต้ น พร้ อ มที ่ จ ะออกไป ทำงานรับใช้ชาวชนบทเพื่อทดแทน บุญคุณของแผ่นดิน ทดแทนเงินทุน ของรัฐฯ ที่ทำให้ได้มีโอกาสร่ำเรียน โดยไม่เสียเงิน ทดแทนบุญคุณของ ชาวบ้ า นและผู ้ ป ่ ว ยที ่ ใ ห้ ศ ึ ก ษา ร่ำเรียน ให้ทดลองตรวจ เจาะเลือด ฉีดยาทำแผล ให้ได้เรียนจากชีวิต และเลือดเนื้อของผู้ป่วยเองโดยตรง จนถึงวันนี้ วันที่จบการศึกษา วันที่ รับประกาศนียบัตร ไม่เพียงแต่เฉพาะ วิรัตน์และเพื่อน ๆ ทุกคนเท่านั้นที่ ดีใจ แต่พ่อแม่ญาติพี่น้องของทุก คนก็ดีใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวง สาธารณสุ ข นายชวน หลี ก ภั ย เห็ น ความสำคั ญ ของหมออนามัย ท่านกรุณาให้เกียรติมาเป็นประธาน ในพิ ธ ี ม อบประกาศนี ย บั ต ร ท่ า น 60

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

กล่าวไว้ว่า “...ท่านที่จบการศึกษา ท่าน จะเป็นผู้ที่ประชาชนในชนบทได้พบ และได้ ใ ช้ บ ริ ก ารเป็ น ด่ า นแรก จึ ง เปรียบเสมือนทัพหน้าที่จะต่อสู้กับ ศัตรู คือโรคร้ายต่าง ๆ ท่านถือได้ว่า เป็ น กำลั ง หลั ก ที ่ ส ำคั ญ ที ่ ส ุ ด ใน ระบบบริการสาธารณสุข บทบาท และภารกิจของท่านที่จะต้องรับผิดชอบต่อไปนั้นจะสำเร็จลุล่วงด้วยดี ท่ า นจะต้ อ งอาศั ย ความรู ้ ความ ชำนาญ ที่ได้รับจากวิทยาลัยและ ยังต้องศึกษาฝึกอบรมต่อเนื่อง ที่ สำคัญที่สุด ต้องการเจตคติ ความ คิด และอุดมการณ์ที่ถูกต้อง จึงจะ นำบริการที่ดี เหมาะสม และสอดคล้องกับวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชาว ชนบทได้อย่างแท้จริง จากการที ่ ไ ด้ ม ี โ อกาสออก เยี่ยมเยียน พบปะประชาชนตามที่ ต่าง ๆ พบว่าพวกเราที่ปฏิบัติงาน ในชนบทหลายแห่งปฏิบัติงานได้ดี มีความรับผิดชอบ ขยันขันแข็ง เข้า กั บ ประชาชนได้ ชาวบ้ า นรั ก และ ช่วยกันพัฒนางานได้อย่างดี แต่ก็ ยังมีอีกหลายแห่งที่พวกเราทำงาน ไม่ถึงจุดที่น่าพอใจของประชาชน ยังขาดการพัฒนาที่ดี ขาดการมอง ประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เช่น ไม่ ค่อยตั้งใจทำงาน ไม่ค่อยอยู่ประจำ สถานีอนามัย ไม่ ม าทำงานแต่ ไ ป

ทำธุรกิจส่วนตัวมากกว่า ปล่อยให้ สถานี อ นามั ย ทรุ ด โทรม สกปรก หยูกยาและเครื่องมือต่าง ๆ เสื่อม สภาพ ไม่สามารถใช้งานได้ดี ผมจึง ใคร่ ข อตั ้ ง ความหวั ง ต่ อ ท่ า นทั ้ ง

หลายที่สำเร็จการศึกษาในวันนี้ ที่ จะได้ร่วมกันออกไปแก้ไขภาพพจน์ ทางลบ และช่วยกันสร้างภาพพจน์ ทีด่ ขี น้ึ มาแทนที่ เพือ่ เกียรติศกั ดิแ์ ละ ศักดิ์ศรีของพวกเรา เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยส่วนรวม สมดัง

ที่พระบิดาแห่งการแพทย์ไทยได้ทรง กล่ า วไว้ ว ่ า ขอให้ ถื อ ประโยชน์ ส่วนรวมเป็นกิจที่หนึ่ง ประโยชน์ ส่วนตนเป็นกิจที่สอง ผมขอฝาก ความหวังนี้ไว้กับท่านทั้งหลาย ในขณะเดียวกันผมขอฝาก ท่านผู้ใหญ่ในกระทรวงฯ ผู้บริหาร ระดับจังหวัดและอำเภอ ได้โปรดให้ ความสนใจและเอาใจใส่ ใ นการ ติ ด ตามสนั บ สนุ น การทำงานของ เจ้ า หน้ า ที ่ ส าธารณสุ ข ที ่ อ อกไป ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับประชาชนมาก ที่สุด ให้เขามีกำลังใจที่ดี ได้รับการ สนับสนุนที่ดี จะทำให้เขาสามารถ บริการประชาชนได้ดีตามไปด้วย...” “ เ รื่ อ ง ข อ ง ผู้ ใ ห ญ่ เ ป็ น หน้าที่ของผู้ใหญ่ แต่ในส่วนของ เรา เราจะพยายามทำหน้าที่ของ เราให้ดีที่สุดให้จงได้” วิรัตน์ หมออนามัยใหม่ให้ สัญญากับใจตัวเองตั้งแต่วันนั้น (เคยเผยแพร่ ใ นนิ ต ยสารหมอชาวบ้ า น ฉบับที่ 126 ประจำเดือนตุลาคม 2532)


บั น ทึ ก ทั น ต า ภิ บา ล ไ ท ย สมาคมทันตาภิบาลแห่งประเทศไทย

วิชาชีพทันตกรรมของทันตาภิบาล ภาควิชาทันตาภิบาล วิทยาลั ย การสาธารณสุ ข สิ ร ิ น ธร ได้ เปิดเรียนภาคแรกไปเมื่อต้นเดือน มิถุนายนและเพิ่งรับน้องใหม่กันไป หมาด ๆ พร้อม ๆ กับการส่งรุ่นพี่ ออกฝึกงาน มันช่างเป็นช่วงที่มีความสุขจริงๆ (ดูจากภาพ) ปีนี้เป็นปีแรก ที่รับนักศึกษา 4 ปี หลักสูตรทันตสาธารณสุข และรับเทียบโอนเป็น รุ่นที่ 2 ตามโควตา 50 คน แต่มีผู้มา เรียนเพียง 38 คน ซึ่งน่าเสียดาย มาก ทำให้คนที่อยากเรียนต่อขาด โอกาส ทำให้ผู้ผลิตเข้าใจผิดอันจะ เป็นเหตุให้ยุติโครงการนี้ได้ ประเด็น นี้ อยากขอความร่วมมือมายังน้อง ๆ ทุกคนที่ต้องการเรียนต่อ ต้องเตรียมพร้อม คือคอยติดตามข่าวสารการ ศึ ก ษาและการเตรี ย มลาเรี ย น

ไว้ ล ่ ว งหน้ า หลาย ๆ คนไม่แน่ใจ เพราะกลัวว่ายังเปลี่ยนตำแหน่งไม่ ได้ ในขณะเดี ย วกั น สถาบั น พระบรมราชชนก (สบช.) สำนั ก งาน ปลั ด กระทรวงสาธารณสุ ข และ

สมาคมทันตาภิบาล ก็ได้ร่วมมือกัน

อย่ า งเข้ ม ข้ น ในการขอตำแหน่ ง รองรั บ รวมไปด้ ว ยกั น กั บ ผู ้ ท ี ่ จ บ หลั ก สู ต รสาธารณสุ ข ศาสตร์ จ าก สถาบั น ต่ า ง ๆ และการกำหนด ตำแหน่ ง ระดั บ อาวุ โ สในสายงาน (ซึ่งได้เสนอไปในฉบับที่แล้ว) ทีมงาน ต้องเต็มที่กับเรื่องนี้เพราะไม่อยาก ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ในขณะเดียวกันประธาน คณะกรรมการผลักดันยุทธศาสตร์ สุขภาพช่องปาก ก็ได้เสนอความคิดเห็ น เกี ่ ย วกั บ การประกอบวิ ช าชี พ ทันตกรรมของทันตาภิบาลต่อนายก ทันตแพทยสภา ซึ่งสรุปได้ดังนี้ 1. การประกอบวิ ช าชี พ ทันตกรรมของทันตาภิบาล ต้องอยู่ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบ วิชาชีพทันตกรรม ทั้งนี้เป็นไปตาม ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่า ด้วยบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้อง-

ถิ่นอื่น หรือสภากาชาดไทย มอบหมายให้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ ซึ่ง เป็ น ผู ้ ป ระกอบวิ ช าชี พ ทั น ตกรรม พ.ศ. 2539 ข้อ 5 2. ควรเสนอแนะให้ ผู ้ ม ี อำนาจตามกฎหมายระดับจังหวัด หรืออำเภอ ออกคำสัง่ เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อกำหนดชื่อทันตาภิบาล และทั น ตแพทย์ ใ นพื ้ น ที ่ ให้ เ ป็ น

ผู้ควบคุมการประกอบวิชาชีพทันตกรรมของทันตาภิบาลเป็นรายบุคคล 3. การประกอบวิ ช าชี พ ทันตกรรมของทันตาภิบาลในงาน ทั น ตกรรรมป้ อ งกั น และงานทั น ตกรรมบำบัดฉุกเฉิน ให้ทันตาภิบาล ดำเนินการได้โดยไม่จำเป็นต้องได้ รับคำสั่งด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรจากทันตแพทย์ผู้ควบคุมการ ประกอบวิชาชีพ โดยคณะทำงาน เห็นว่างานทั้งสองประเภทเป็นงาน ที่ไม่ทำให้เกิดอันตราย หรือเป็นงาน /กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  61


ที่จำเป็นต้องทำเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย ตามมนุ ษ ยธรรม ทั ้ ง นี ้ ก ารรั ก ษาใน งานสองประเภทนี ้ ให้ ถ ื อ ว่ า ทั น ตแพทย์ ผู ้ ท ี ่ ไ ด้ ร ั บ มอบหมายจากผู ้ ม ี อำนาจตามกฎหมายทำหน้าที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพทันตกรรมของ ทันตาภิบาลในครั้งนั้น ๆ 4. การประกอบวิชาชีพทันตกรรมของทั น ตาภิ บ าลในงานทั น ตกรรมบำบัดและการรักษาโรคเหงือกอั ก เสบโดยการขู ด หิ น น้ ำ ลาย ให้ ทันตาภิบาลทำการรักษาตามคำสั่ง ของทันตแพทย์ที่สั่งด้วยวาจาหรือเป็น ลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ต้องเป็นคำสั่ง เฉพาะในผู ้ ป ่ ว ยเป็ น รายคน และให้ ถื อ ว่ า ทั น ตแพทย์ ผู ้ ท ี ่ อ อกคำสั ่ ง นั ้ น เป็ น ผู ้ ค วบคุ ม ทั น ตาภิ บ าลในการ รักษานั้นเป็นกรณีไป 5. เพื่อให้เกิดความเป็นไป ได้ในทางปฏิบัติ คณะทำงานเห็นว่า ทั น ตแพทย์ ค วรเป็ น ผู ้ ท ำการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาให้แก่

ผู ้ ป ่ ว ยด้ ว ยตนเองในทุ ก กรณี หาก

เห็นว่าการรักษานั้นอยู่ในขอบข่ายที่ ทันตาภิบาลสามารถให้การรักษาได้ ให้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อ เข้าสู่ระบบการรักษาโดยทันตาภิบาล ต่อไป หากเห็นว่างานนั้นอยู่นอกเหนือ ขอบข่ายที่กฎหมายยินยอมให้ทันตา-

ภิบาลดำเนินการ ทันตแพทย์ผู้ตรวจ ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจำเป็นต้องได้รับ การรักษาโดยทันตแพทย์ 6. ในกรณี ท ี ่ ท ั น ตาภิ บ าล ทำงานในสถานีอนามัยหรือเทศบาล ที่ไม่มีทันตแพทย์ประจำอยู่ ให้ทันตาภิบาลทำงานด้านทันตกรรมป้องกัน และทันตกรรมฉุกเฉินได้ โดยถือว่าอยู่ 62

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

ภายใต้ ค วามควบคุ ม ของทั น ตแพทย์ ต ามที ่ ผู ้ ม ี อ ำนาจตามกฎหมายเป็ น ผู ้ อ อกคำสั ่ ง แต่ ใ นงาน ทันตกรรมบำบัดและการรักษาโรค เหงือกอักเสบโดยการขูดหินน้ำลาย หากไม่ ม ี ท ั น ตแพทย์ เ ป็ น ผู ้ ต รวจ วิ น ิ จ ฉั ย และวางแผนการรั ก ษาให้ ย่อมไม่สามารถทำได้ 7. การให้ ก ารรั ก ษาทาง ทันตกรรมแก่ผู้ป่วยนอกเวลาราชการของทันตาภิบาลให้ใช้หลักเกณฑ์ เดี ย วกั บ การทำงานของทั น ตาภิ บาลในสถานีอนามัย คือให้ทำงาน ทันตกรรมป้องกันและทันตกรรมฉุกเฉินได้ โดยถือว่าอยู่ภายใต้ความ ควบคุ ม ของทั น ตแพทย์ ต ามที ่ ผู ้ ม ี อำนาจตามกฎหมายเป็นผู้ออกคำ สั่ง แต่ในงานประเภทอื่นให้ทำตาม คำสั่งด้วยวาจาหรือคำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรจากทันตแพทย์ 8. ทันตาภิบาลที่ประสงค์ จะทำงานนอกเวลาราชการ ณ สถานพยาบาลอื ่ น ที ่ ไ ม่ ใ ช่ ส ถาน พยาบาลที ่ ต นสั ง กั ด ต้ อ งทำงาน ภายใต้คำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษร จากทั น ตแพทย์ เ ท่ า นั ้ น และต้ อ ง เป็ น การปฏิ บ ั ต ิ ร าชการหรื อ อยู ่ ใ น ระหว่ า งการปฏิ บ ั ต ิ ร าชการตาม หน้าที่ ทั้งนี้เป็นไปตามที่ระเบียบ กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ทั้ ง 8 ข้ อ ที่ เ สนอไม่ ใ ช่ เรื่องใหม่ ทั้งหมดคือเรื่องเก่าที่ยัง ไม่สำเร็จ การประกอบวิชาชีพทันตกรรมของทันตาภิบาลต้องอยู่ภาย ใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ซึ่งถูกกำหนดไว้แล้ว ในระเบียบกระทรวงสาธารณสุขปี

พ.ศ. 2539 ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ ต้ อ งไปปรั บ แก้ ร ะเบี ย บกระทรวง สาธารณสุขปี พ.ศ. 2539 เพราะต้น สังกัดของทันตาภิบาลส่วนใหญ่คือ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข การรับผิดชอบเป็นรายบุคคลนั้น คน ทำงานในพื้นที่รู้ดีว่ามีความเป็นไปได้ หรื อ ไม่ “ไม่ มี ใ ครรั บ ผิ ด ชอบชี วิ ต ใครได้ ห รอกพี่ ” นี ่ ค ื อ คำตอบจาก พื้นที่ที่ได้รับฟังโดยตรง การทำงาน บางครั้งถูกต้องแต่ไม่เหมาะสม บาง ครั้งเหมาะสมแต่ไม่ถูกใจ ต้องคำนึง ถึ ง ความเป็ น จริ ง หรื อ วิ ถ ี ช ี ว ิ ต หรื อ บริ บ ทของพื ้ น ที ่ ด ้ ว ยว่ า อย่ า งไหนดี และมีประโยชน์สูงสุดแก่พื้นที่ที่รับผิดชอบ ถ้ารอคำสั่งคงไม่เป็นความจริง เท่าไหร่นัก และไม่ใช่จริตของคนทำ งานด้านนี้เลย ในทางปฏิบัติจริงยัง ไม่มีตัวอย่างมาให้เห็น เพราะต่างคน ต่ า งก้ ม หน้ า ก้ ม ตาทำงานกั น โดยเฉพาะถ้าเป็นการออกหน่วยเคลื่อนที่ แทบจะไม่มีเวลาเงยหน้ากันเลย น้อง ๆ กำลังจะจบการศึกษา ออกไปปฏิบัติงาน โดยเฉพาะ 50 คน ของโครงการเทียบโอนรุ่นแรกทุกคนมี ประสบการณ์ ท ี ่ ท ่ ว มท้ น จากการทำ งานมานานบวกกับความรู้ที่ได้จาก การศึกษาเทียบโอน รู้ดีว่าเป็นไปได้ แค่ ไ หน ไม่ ม ี ใ ครจะดู แ ลใครกั น ได้ นอกจากการใช้ ก ฎหมาย ข้ อ ตกลง มาเป็นตัวกำกับเท่านั้น นี่คือความ จริงที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด ฤา...สมควรแก่เวลาและ สถานการณ์ที่ทันตาภิบาล จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ในการทำงานแล้วใช่หรือไม่ ช่วยตอบที


ม อ ง ชี วิ ต ภญ. จินดา หวังวรวงศ์ thesamechan@hotmail.com

ผู้ ห ญิ ง

เมื่ อ จะเป็ น นายกรั ฐ มนตรี ข องไทย ตั้งแต่ปิดหีบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งสำคัญ ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 สังคมไทยเกือบทุก ภาคส่วนต่างให้ความสนใจวิพากษ์วิจารณ์ถึงกรณีที่ผู้หญิงจะได้ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย คอลัมน์ “มอง ชีวิต” ขอร่วมสนทนาด้วยในประเด็นนี้ โดยขอให้ผู้อ่านทุกท่านลืม เรื่องความรู้สึกที่มีต่อบุคคลหรือพรรคการเมืองที่เราชอบหรือไม่ ชอบก่อน เพราะเราจะมาคุยกันถึงความเป็นผู้หญิงที่เข้าสู่การ

เป็นผู้บริหารสูงสุดของประเทศเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับประเด็น การเมือง ผู้หญิงที่อยู่ในแวดวงรณรงค์เรื่องสิทธิสตรีหลายท่านออกมา ให้ความเห็นว่า ยังมองไม่ได้ว่า การจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีของ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ครั้งนี้ เป็นชัยชนะของการต่อสู้ของผู้หญิง เพราะคุณยิ่งลักษณ์ไม่มีประวัติการต่อสู้ทางการเมืองมาก่อนเลย ได้มาเพราะเหตุการณ์ต่าง ๆ มันประกอบกันมาแบบลงตัวพอดี

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  63


“นั บ จากนี้ ไ ป สตรี จ ะก้ า วขึ้ น มาเป็ น ผู้ น ำองค์ ก ร ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ ทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐ การปกครอง จะเข้าไปแทนที่ ในพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ถูกยึดครองโดยบุรุษมาตั้งแต่อดีต ด้วยความรู้ความสามารถ ที่สตรีได้พัฒนาตนเอง ขึ้นมา และด้วยจิตใจที่อดทน เข้มแข็ง มีศีลธรรม”

ผู้เขียนมองว่า ไม่ว่าจะได้ มาด้ ว ยองค์ ป ระกอบใดก็ ต าม แต่ ท ี ่ ม องเห็ น อย่ า งชั ด เจนและ น่าตื่นเต้นคือ กระแสสังคมตอบรับ คุ ณ ยิ ่ ง ลั ก ษณ์ ข ึ ้ น สู ่ ก ารเป็ น ผู ้ น ำ อั น ดั บ หนึ ่ ง ของประเทศค่ อ นข้ า ง ดีมาก ดูเหมือนสังคมยินดีต้อนรับ และกำลั ง อยากเห็ น การเปลี ่ ย นแปลง อยากลองให้ ผู ้ ห ญิ ง มา บริหารประเทศบ้าง กระแสเหล่านี้ เป็ น สั ญ ญาณที ่ ด ี ม ากที ่ บ อกว่ า สังคมกำลังมองข้ามความเป็นเพศ ในเรื่องที่เคยกีดกั้นมาก่อน และคิด ว่าในโอกาสข้างหน้า สังคมไทยก็คง ให้ โ อกาสแก่ ผู ้ ท ี ่ เ ป็ น เพศที ่ ส าม เช่นกัน มี ผ ลการวิ จ ั ย ที ่ น ่ า สนใจ จากศู น ย์ ส ำรวจความคิ ด เห็ น ของ ประชาชน “นิ ด้ า โพล” สถาบั น บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ที่ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของ ประชาชน เรื ่ อ ง “บทบาทสตรี ทางการเมือง” ระหว่างวันที่ 7 - 8 มิ ถ ุ น ายน 2554 จากประชาชน

64

ª’∑’Ë 21 ©∫—∫∑’Ë 1

ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวน 1,338 หน่ ว ยตั ว อย่ า ง กระจาย ทุ ก ภาค ทุ ก ระดั บ การศึ ก ษาและ กลุ ่ ม อาชี พ สรุ ป บางประเด็ น ที ่ น่าสนใจได้ดังนี้ - ร้ อ ยละ 75.94 เห็ น ว่ า ผู้หญิงและผู้ชายมีความสามารถใน การทำงานเรื่องการเมืองพอ ๆ กัน - ร้ อ ยละ 33.50 เห็ น ว่ า จุดแข็งของผู้หญิงในฐานะนักการเมือง คือ ความละเอียดรอบคอบ - ร้ อ ยละ 37.97 เห็ น ว่ า จุดอ่อนของผู้หญิงในฐานะนักการเมื อ ง คื อ ขาดอำนาจและพลั ง ไม่เด็ดขาด - ร้ อ ยละ 63.47 เห็ น ว่ า ประเทศไทยมี ค วามพร้ อ มที ่ จ ะมี นายกรัฐมนตรีเป็นผู้หญิง งานวิ จ ั ย ของ “นิ ด้ า โพล” ชิ ้ น นี ้ แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง การยอมรั บ ของสังคมไทยที่พร้อมให้ผู้หญิงเป็น นายกรัฐมนตรี เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ สั ง คมไทยกำลั ง ทำลายกำแพงที ่ กีดกั้นความสามารถของผู้หญิงใน

การขึ้นสู่ผู้บริหารมายาวนาน ผู้เขียนมองว่า สิ่งที่ผู้หญิง ต้ อ งฟั น ฝ่ า อย่ า งเหนื ่ อ ยยากมาก กว่ า ผู ้ ช ายในการเข้ า สู ่ ส นามการเมื อ งหรื อ การเป็ น ผู ้ บ ริ ห าร ไม่ ไ ด้

อยู ่ ท ี ่ ค วามรู ้ ค วามสามารถของผู ้ หญิงเลย แต่อยู่ที่ทัศนคติที่สังคม สร้ า งขึ ้ น และมี ต ่ อ ผู ้ ห ญิ ง มั น ถู ก ยึดถือสะสมมานาน จนเหมือนมัน คือความจริง ตัวอย่างเช่น

1. การบั่ น ทอนกำลั ง ใจของผู้ หญิงด้วยการโจมตีในเรื่องชู้สาว

เมื ่ อ ผู ้ ห ญิ ง ทำงานใกล้ ช ิ ด กับผู้ชาย ก็จะถูกใส่ร้ายป้ายสีว่า เป็ น ชู ้ ห รื อ เป็ น ภรรยาลั บ ในขณะ ที่ผู้ชายสำส่อนทางเพศได้โดยแทบ ไม่ ถู ก ประณาม แถมสั ง คมหลาย ส่ ว นยั ง แอบแฝงการแสดงความ ยกย่องว่า เป็นพฤติกรรมที่ “สมกับ เป็นลูกผู้ชาย”


เป็นเวลาของการให้โอกาสและความเสมอภาค ร่วมก้าว

เดินไปด้วยกัน สนับสนุนให้ทุกคนได้ทำหน้าที่ของตนอย่างเต็ม ที่ ใช้ความแตกต่างให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อการดำรงอยู่ของ ชี วิ ต อยู่ ร่ ว มกั น ด้ ว ยความเป็ น มิ ต ร ให้ เ กี ย รติ ซึ่ ง กั น ไม่ ใ ช้ อำนาจทางกายที่เหนือกว่าข่มเหงผู้อื่น แต่ใช้หลักเหตุผลและ คุณธรรมของสังคมมนุษย์ที่เจริญแล้วในการปฏิสัมพันธ์กัน

2. การถู ก วิ จ ารณ์ ว่ า “จุ ก จิ ก จู้จี้ ขี้บ่น”

ถ้ า มองการวิ จ ารณ์ น ี ้ ด ี ๆ จะพบว่า คนที่วิจารณ์เช่นนี้ เป็นผู้ที่ ไม่ชอบการทำงานที่จริงจัง ไม่ชอบ การทำงานที ่ ล ะเอี ย ดมี ค ุ ณ ภาพ อาจทำงานโดยหวังให้งานเสร็จโดย เร็ ว แต่ ห ั ว หน้ า ที ่ เ ป็ น ผู ้ ห ญิ ง มั ก มี ความละเอี ย ดอ่ อ น พิ ถ ี พ ิ ถ ั น มุ ่ ง คุ ณ ภาพ จึ ง ต้ อ งมี ก ารตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุง และต้องมีการอธิบายเพื่อความเข้าใจมากเป็นพิเศษ เมื่อมองด้วยมุมที่มีอคติ และด้วย ทั ศ นคติ ต ่ อ การทำงานที ่ ไ ม่ ด ี ข อง ตนเองนัก ทำให้ผู้หญิงนักบริหาร ถูกมองว่า “จุกจิก จู้จี้ ขี้บ่น”

3. ถูกโจมตีว่า “อ่อนไหว อ่อนแอ” มากเกินไป

ผู ้ เ ขี ย นมองว่ า “ความ อ่ อ นไหว” มี ป ระโยชน์ ต ่ อ งาน บริหาร จะได้เข้าใจถึงอารมณ์ความ รู ้ ส ึ ก ของเพื ่ อ นร่ ว มงานได้ ด ี และ ด้วยความอ่อนไหวสามารถสร้างสรรค์นโยบายที่เหมาะสมกับสังคม มากกว่าการมีอารมณ์ที่แข็งกร้าว เพราะเข้าใจสังคมได้ง่ายกว่า สำหรั บ “ความอ่ อ นแอ” นั ้ น ผู ้ เ ขี ย นมองว่ า มี ไ ด้ ใ นบุ ค คล ทุกสถานะ ทุกเพศ และทุกวัย จะมี

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  65


มากมีน้อยแล้วแต่การฝึกฝนเรียนรู้ และพั ฒ นาความเข้ ม แข็ ง ขึ ้ น มา และขึ้นกับว่าใครจะยอมรับความ เป็ น จริ ง ถึ ง ความอ่ อ นแอในจิ ต ใจ และแสดงออกหรือปกปิดเท่านั้นเอง เราได้พบผู้หญิงที่เข้มแข็งเด็ดเดี่ยว มากมาย และได้พบผู้ชายที่มีความอ่อนแอมากมายเช่นกัน ผู้ชายมัก ไม่แสดงให้ใคร ๆ เห็นความอ่อนแอ ในใจ และมักปกปิดความอ่อนแอ ด้วยบุคลิกที่แข็งกร้าว ยิ่งแข็งกร้าว มากเท่ า ไหร่ เขาก็ อ่ อ นแอมาก เท่ า นั้ น ประเด็ น ความอ่ อ นแอ เหมื อ นเป็ น ตราบาปที่ สั ง คม ประทับไว้ที่ผู้หญิงมานาน เราถูก ทำให้เชื่อเหมือนเป็นภาพหลอน ที่หลอนเราเหมือนจริงมาก จน เราแยกไม่ออกว่า ความจริงคือ อะไร

ของผู ้ ช ายที ่ ม ั ก เชื ่ อ มั ่ น ในตั ว เอง แบบที่มักจะเกินความจริงเสมอ เธอ เล่าว่า ในสนามสอบทางวิ ช าการ แห่ ง หนึ ่ ง ซึ ่ ง เธอกั บ น้ อ งชายเข้ า สอบด้ ว ยกั น เธอและเพื ่ อ นผู ้ ม ี ประสบการณ์สูงในเรื ่ อ งที ่ จ ะสอบ และเตรียมการสอบมา อย่างดี ก็ยัง มีความกังวลและไม่มั่นใจ ในการ เข้าสอบว่าจะทำได้ดีเพียงไร ส่วน น้ อ งชายของเธอซึ ่ ง ไม่ ม ี ป ระสบการณ์ ใ นเรื ่ อ งนั ้ น เลยและไม่ ไ ด้ เตรียมการในการสอบด้วย กล่าว อย่างมั่นใจว่า เขาต้องสอบได้อย่าง ดีอยู่แล้ว เชอริล แซนเบิร์ก บอกว่า ผู้หญิงควรเลิกประเมินความสามารถ ของตัวเองต่ำเกินไป งานวิจัยหลาย ชิ ้ น ชี ้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า บั ณ ฑิ ต ชายที ่ ไ ป ทำงานหลังจากจบปริญญาตรี ร้อย ละ 57 ต่อรองเงินเดือนตั้งต้นของ 4. การประเมิ น ความสามารถ ตัวเอง ขณะที่มีบัณฑิตหญิงเพียง ตนเองต่ำเกินความจริง ร้อยละ 7 ที่ทำอย่างนั้น ผู้ชายส่วน ใหญ่บอกว่า ความสำเร็จของพวก เชอริล แซนเบิร์ก สุภาพ- เขามาจากตั ว เอง แต่ ผู ้ ห ญิ ง ส่ ว น สตรี ผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ผู ้ ม ี ค วาม ใหญ่ จ ะบอกว่ า ความสำเร็ จ ของ สำคัญมากของ “เฟซบุ๊ก” ได้บรร- พวกเธอมาจากปัจจัยภายนอก เช่น ยายเรื่องการขึ้นสู่ตำแหน่ง ผู้บริหาร มีคนอื่นช่วย โชคดี เป็นต้น แซนด์ของผู้หญิง โดยสรุปว่า เป็นไปด้วย เบิร์ก บอกว่า การเปลี่ยนทัศนคตินี้ ความยากลำบากมากจากทัศนคติ สำคั ญ มาก เพราะไม่ ม ี ท างที ่ ใ คร ของสังคมที่มีต่อผู้หญิง และการที ่ จะได้ ไต่เต้าจนถึงตำแหน่งสูงสุด ผู้หญิงประเมินความสามารถของ ถ้าหากไม่คิดว่าเธอคู่ควรกับความ ตนเองต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับบุคลิก สำเร็จ ก็เช่นเดียวกับกับเรื่องอื่น ๆ

66

ª’∑’Ë 21 ©∫—∫∑’Ë 1

ที่กล่าวมาแล้ว ทัศนคติการประเมิน ตัวเองต่ำเกินไป น่าจะเกิดจากการ ถูกปฏิบัติให้เชื่อมาอย่างยาวนาน ว่า ผู้หญิงไม่ต้องเก่งงานภายนอก บ้าน ให้ผู้ชายเป็นผู้นำเท่านั้น 5. ผู้ ห ญิ ง ถู ก ตั้ ง คำถามมาก มายเมื่อจะขึ้นเป็นผู้บริหารหรือ เมื่อเป็นผู้บริหารแล้ว

ในขณะที่ผู้ชายแทบไม่ถูก สังคมตั้งคำถามเลย ไม่มีการถาม หาจริ ย ธรรม หรื อ ความสามารถ การเป็นผู้บริหาร เราจึงพบผู้บริหาร ที ่ เ ป็ น ผู ้ ช ายที ่ ท ำงานโดยแทบไม่


ต้ อ งบริ ห ารอะไรเลย ใช้ บ ุ ค ลิ ก ที ่ เคร่งขรึมซ่อนเร้นความไม่รู้และไร้ ความสามารถ ปล่อยให้องค์กรเป็น ไปตามครรลองของมั น เอง แถม ทำตัวเองเป็นอุปสรรคขององค์กร ด้ ว ยการใช้ อ ำนาจอย่ า งไม่ ช อบธรรม และการกำหนดนโยบาย ต่ า ง ๆ ด้ ว ยความเห็ น ส่ ว นตั ว ที ่ ขาดหลั ก วิ ช าการและวิ ส ั ย ทั ศ น์ แต่ไม่ถูกตั้งคำถามใด ๆ ได้รับการ ยอมรับโดยดุษณี ในขณะที่ผู้หญิง ถูกตั้งคำถามถึงความสามารถการ บริหารตลอดเวลาและถูกคาดหวัง สูงกว่ามาก เมื่อประมาณสามปีก่อน ผู้เขียนได้เขียนเรื่อง “8 มีนาคม วัน สตรีสากล” ในคอลัมน์ “มองชีวิต” นี้ ผู้เขียนได้เสนอบทวิเคราะห์เรื่อง หนึ่งของต่างประเทศ สรุปความได้ ว่า “นับจากนี้ไป สตรีจะก้าวขึ้นมา เป็นผู้นำองค์กรในทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ ทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐ การปกครอง จะเข้าไปแทนที่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ ถูกยึดครองโดยบุรุษมาตั้งแต่อดีต ด้วยความรู้ความสามารถ ที่สตรีได้ พัฒนาตนเองขึ้นมา และด้วยจิตใจ ที่อดทน เข้มแข็ง มีศีลธรรม” และผู ้ เ ขี ย นได้ เ สนอว่ า “ศั ก ยภาพของสตรี ท ี ่ ไ ด้ ร ั บ การ ส่ ง เสริ ม ให้ แ สดงออกและพั ฒ นา นับว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสังคม โลกมาก บุรุษและสตรีจำเป็นต้อง

พึ่งพาอาศัยกัน รวมพลังเพื่อช่วย กั น นำโลกนี ้ ใ ห้ พ ้ น วิ ก ฤตปั ญ หาที ่ รุมเร้า ณ เวลานี้ หมดเวลาของการ ตั้งคำถามว่า ใครมีอำนาจเหนือใคร ใครมี ค วามสามารถมากกว่ า ใคร แต่เป็นเวลาของการให้โอกาสและ ความเสมอภาค ร่ ว มก้ า วเดิ น ไป ด้วยกัน สนั บสนุ นให้ ทุ ก คนได้ ท ำ หน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ ใช้ความ แตกต่างให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อ การดำรงอยู ่ ข องชี ว ิ ต อยู ่ ร ่ ว มกั น ด้วยความเป็นมิตร ให้เกียรติซึ่งกัน ไม่ ใ ช้ อ ำนาจทางกายที ่ เ หนื อ กว่ า ข่มเหงผู้อื่น แต่ใช้หลักเหตุผลและ คุณธรรมของสังคมมนุษย์ที่เจริญ แล้วในการปฏิสัมพันธ์กัน” ผูเ้ ขียนมองว่า คุณยิง่ ลักษณ์ ชินวัตร เป็นผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่ง ที ่ อ ยู ่ ใ นงานบริ ห ารองค์ ก ร เป็ น ภรรยาและเป็ น คุ ณ แม่ ไม่ ใ ช่ ผู ้ ท ี ่ โดดเด่นในผลงานสาธารณะ และ จากการติดตามเธอจากสื่อในช่วง การหาเสียงเลือกตั้ง ได้มองเห็นว่า เธอช่างมีความเข้มแข็งและอดทน เหลื อ เกิ น ดู เ หมื อ นเธอไม่ เ หนื ่ อ ย เลยในการตะลอนหาเสียงแบบฝ่า เปลวแดดร้อนแรงและสายฝน เธอ ต้องเผชิญกับความกดดันทางการ เมืองทุกรูปแบบ แต่เธอก็ยังสดชื่น ได้ เธอตอบคำถามได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย และดูจริงใจ สมกับที่เคย เป็นผู้บริหารองค์กรขนาดใหญ่มา ก่ อ น เธอมี ค วามอ่ อ นหวานของ

“ศักยภาพของสตรีที่ได้ รับการส่งเสริมให้แสดง ออกและพัฒนา นับว่า เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อ สังคมโลกมาก” ความเป็ น ผู ้ ห ญิ ง เต็ ม ตั ว มี ก ริ ย ามารยาทที่ดี จากคุณสมบัติที่มอง เห็นนี้ ถ้าสังคมให้โอกาสเธอ คิด ว่ า เธอน่ า จะทำหน้ า ที ่ ข องนายกรัฐมนตรีของไทยได้เช่นเดียวกับที่ สังคมมองว่าผู้ชายทำได้ ถ้าคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทำหน้ า ที ่ เ ป็ น นายกรั ฐ มนตรี ส ั ก ระยะหนึ่ง แล้วได้รับการประเมินให้ สอบผ่านในด้านบุคลิกภาพการเป็น ผู ้ น ำ (ซึ ่ ง ต้ อ งประเมิ น ด้ ว ยความ เป็ น กลางในจิ ต ใจ ใช้ ม าตรฐาน เดียวกับที่ประเมินผู้ชาย ไม่ใช่ตั้ง มาตรฐานที่สูงกว่า) สังคมผู้หญิงก็ น่าจะร่วมภาคภูมิใจและเพิ่มความ เชื่อมั่นในตัวเองว่า ผู้หญิงสามารถ ทำงานบริ ห ารได้ อ ย่ า งดี แ น่ น อน โดยไม่ ต ้ อ งเป็ น ผู ้ ห ญิ ง ที ่ ผ ่ า นการ ต่อสู้ในเวทีการเมืองมายาวนานก็ได้ เพราะความเป็ น ผู้ น ำหรื อ นั ก บริหารอยู่ในตัวของผู้หญิงที่รอ ให้ผู้หญิงใช้งานมันนั่นเอง

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  67


เ รื่ อ ง สั้ น นอกชาน ห้วยขาแข้ง

หมออนามัย...นอกกะลา 1. หมออนามัย...ในกะลา ชีวิตหมออนามัยเหมือน “ในกะลาครอบ” เป็นประโยค ที่คนในวิชาชีพชั้นสูงพูดกรอกหูเสมอ ๆ แต่…หมออนามัย ก็คือ ด่านแรกที่ทำงานในชุมชนมาเกือบร้อยปี มิใช่รึ! เมื่อครั้งเก่าก่อน สมัยตอนยังเด็ก ขี้มูกไหลย้อย เกรอะกรัง นุง่ กางเกงผ้าร่มหูรดู ไม่ตอ้ งมีกางเกงในตราแอปเปิ้ลมาแบ่งแยกเขตแดนความรู้สึกของเนื้อหนังมังสาให้ เสียอารมณ์ สายตาก็ได้แต่มองรถเครื่อง FR 60 รุ่น ใหม่ล่าสุดของ “เจ้าเฮง” ลูกเจ๊กตี๋ในตลาด ด้วย ความน้อยเนื้อต่ำใจ “เฮ้อ! ก็เรามันแค่ลูก ‘ลุงทำ’ ขี้เมา ชาวไร่ ชาวนาจน ๆ นี่หว่า...อย่างดีก็แค่หาไม้ไผ่ขนาด เหมาะมือ วิ่งตีวงล้อรถจักรยานเก่า ๆ นั่นแหละ” เป็ น ภาพที ่ บ ั น ทึ ก อยู ่ ใ นหั ว สมองที ่ ย ั ง คุ - กรุ่นอยู่ตลอดเวลา ลูกชาวไร่ชาวนาอย่างเราก็นึก อิจฉาอยู่ตงิด ๆ โทษชะตาฟ้าลิขิต ว่าทำไม โครตเหง้าสักกะหลาดของเรา ถึงได้จน จังวะ แต่...พ่อแม่ชาวไร่ชาวนาจน ๆ ก็สู้ อุ ต ส่ า ห์ อ ดมื ้ อ กิ น มื ้ อ เป็ น หนี ้ ค ่ า ข้ า วสาร ปลากระป๋องปุม้ ปุย้ ร้านเจ๊กตีท๋ กุ ๆ เดือน ปากกัด ตีนถีบมานะส่งลูกชาวนาอย่างเรา จนเป็นข้าราชการ 68

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1


ประเภท “หมออนามัยบ้านนอก” ได้เชิดหน้าชูตา วงศ์ตระกูลครอบครัวชาวไร่ชาวนา ได้แค่นี้ก็ดีถม แล้ว ไม่จำเป็นต้องขวนขวายกระเหี้ยนกระหือรือ ไขว่คว้ายศถาตำแหน่งเขื่องโขอะไรมากมายไป กว่านี้ ใครจะดูแคลนว่าเป็น “หมออนามัยใน กะลาครอบ” ก็ไม่ว่ากัน เพราะความใฝ่ฝันของ ผมสาสมเพียงแค่นี้ .......... “คิดอารายอยู่ล่ะหมอ นั่งใจลอยคิดถึงกิ๊ก หรือสาว ๆ ที่ไหนรึ...เหอะ...เหอะ...เหอะ” เสียงของ “ลุงจวน” สหายรุ่นเก่า สาวก 35 ดีกรีพันธุ์แท้ของผม ดังแทรกเข้ามา ก่อนที่ ความคิดของผมจะพเนจรไปไกล “แหม กรึ่มแต่หัววันเลยนะลุง” ผมแหย่ เล่น ตามประสาคนคุ้นเคย “ไล่หวัดมันสักหน่อย เมื่อสองอาทิตย์ที่ แล้ว ลุงไปคลินิกในเมืองมา เป็นหวัดขี้มูกไหล ตลอด ไม่หายสักที สั่งขี้มูกจนจมูกแดงเป็นตูดลิง แล้ว” เสียงบ่นของลุงจวนทำท่าอุทธรณ์แบบไม่ พึงใจนัก “หมอบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หอบยามา 98 เม็ด กินไปสิบกว่าวัน ไม่มีอะไรดีขึ้นเลย” แก พร่ำบ่น “มันต้องใช้เวลาในการรักษานะลุง” ผม พยายามพูดตามหลักการสมานฉันท์ “เห็นไม่ดีขึ้นลุงก็กลับไปหาหมอใหม่ ให้ ยามาอี ก 4 ถุ ง ลุ ง ก็ เ ลยถามว่ า หมอไม่ ต รวจ ร่างกายผมดูบ้างซักนิดรึ” หมอมันตะคอกใส่ว่า “ลุงเป็นหมอหรือใครเป็นหมอกันแน่!” “แล้วลุงกินยาชุดใหม่ แล้วมันเบามั้ยล่ะ” “เฮ้อ! ลุงเหวี่ยงมันทิ้งลงถังขยะหน้าคลินิก ตั้งแต่วันนั้นแล้ว”

ริมฝีปากของผมไม่ได้ใส่ใจต่อสมองสั่งการเลย ราวกับว่าได้ “ประกาศเอกราชกับสมอง” ไปแล้ว ผมมองเห็นความเปล่าเปลือยของความคิด เมื่อเจอ คำตอบดอกนี้ บางครั้งก็ต้องเข้าใจหมอ เพราะไม่ สามารถหาคำตอบให้ผู้ป่วยได้เหมือนกัน เมื่อสมัยผมจบหมออนามัยมาใหม่ ๆ ผมก็เคย แนะนำให้ใช้หลักการรักษาโรคหวัดเรื้อรัง ที่เคยศึกษา ค้นคว้ามาจากปราชญ์ชาวบ้าน โดยใช้พฤติกรรม ธรรมชาติบำบัด และอาหารเป็นยาแทน “ผมไม่ใช้ยาปฏิชีวนะนะครับ เพราะไม่จำเป็น ให้กินข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้อง ผสมกับงาดำเป็น ประจำ กินผักที่ปลอดสารพิษ และต้องหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ” หลังจากนั้น คนไข้คนนั้นก็ไม่เคยมาหาผมอีก เลย แอบไปรู้ว่าไปซื้อยาที่ร้านขายยาในตลาดแทน ผมรู้สึกผิดหวังลึก ๆ อุดมคติที่ยึดมั่นเริ่มโยกคลอน โอนเอนไปบ้าง สังคมปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่โยนหน้าที่การ รั ก ษาทั ้ ง หมดไว้ ก ั บ ยา โดยไม่ ใ ห้ ค วามสำคั ญ กั บ พฤติกรรมของตนเอง ส่วนใหญ่พวกเราขาดการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง กินแบบตามใจปาก ขาด การออกกำลังกาย จึงมีสารพิษตกค้างในร่างกาย มากมาย การใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อเป็นการสวนทาง กับธรรมชาติอย่างรุนแรง เพราะวิถีธรรมชาติถือหลัก ป้องกันนำการรักษาและธรรมชาติของชีวิต ก็มีวิถีทางเดินของมันเอง องค์ความรู้ภูมิปัญญาของ “หมอชาวบ้าน” ที่ไม่ต้องพึ่งยาแผนปัจจุบันถ้าไม่จำเป็น มีห้างสรรพสินค้าสมุนไพรในป่า ในสวนหลังบ้าน ให้เราจับจ่าย มากมายโดยไม่ต้องเสียเงินเสียทอง ธรรมชาติเป็น ผู ้ ใ ห้ เ ปล่ า และธรรมชาติ ก ็ ไ ม่ เ คยมาเรี ย กร้ อ งค่ า ตอบแทนจากมนุษย์เลย คนไข้มากกว่าครึ่งหายจาก โรคจริง ๆ โดยไม่ต้องกินยาสักเม็ด

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  69


ผมน้ อ มคารวะแง่ ง ามของหมอชาวบ้ า น อย่างจริงใจ เป็น “หมอป่า” ของคนบ้านป่าบ้าน ดง ที่หลายองค์กรวิชาชีพยัดเยียดเขาว่าเป็นพวก “หมอเถื่ อ น” แต่ เ มื ่ อ ใช้ เ วลาพอสมควรในการ ย่อยชีวิต ค้นพบว่า บางแง่งามแห่งความงมงายก็ สามารถเปลี่ยนเป็นความงดงามได้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์ สมั ย ใหม่ มุ ่ ง เน้ น การรั ก ษาเฉพาะส่ ว น เฉพาะ อวั ย วะ เฉพาะโรคทางกาย เป็ น การรั ก ษาแบบ “ดิจิตอล” มือกำเม้าส์ลากไปลากมา ส่วนสายตา จับจ้องอยู่กับโปรแกรมการรักษา HOS_XYZ ในจอ คอมพิวเตอร์อย่างไม่ลดละสายตา ละเลยหลงลืม การรักษาแบบ “แมนนวล” โดยมิเคยละสายตา หรือปล่อยมือมาเพื่อสัมผัสมือสากหนา ผิวหนัง หยาบกร้านหรือแววตาหมองเศร้าของผู้ป่วยเลย หลายครั้ง...ที่หมอไม่ปล่อยโอกาสให้ผู้ป่วย ได้พูด ได้สนทนาซักถาม และรู้สึกรำคาญที่ผู้ป่วย พู ด ออกนอกเรื ่ อ งที ่ ห มอต้ อ งการจะรู ้ เพราะถู ก กดดันจากคนไข้ที่รออยู่ข้างนอกอีกเป็นตับ ทำให้หลายครา หมอเองก็รู้สึกสับสน หลัง จากผลการตรวจด้วยเทคโนโลยีทันสมัยต่าง ๆ ไม่ พบสิ่งผิดปกติ รักษามาแล้วหลายที่หลายแห่งแต่ไม่ หาย และผู้ป่วยคนเดิมก็กลับมารักษาซ้ำแล้วซ้ำเล่า 2. มิตร - สหายเก่า ต่างวัย ผมหวนคำนึงถึงวันเก่าก่อนเมื่อครั้งที่พบกับ ลุงจวน ตอนมาบรรจุทำงานที่นี่ใหม่ ๆ เมื่อเกือบ ยี่สิบปีที่แล้ว ในช่วงที่ยาเสพติดกำลังระบาด “หมอ...หมอมี ห น้ า ที ่ ร ั ก ษาคน ก็ ร ั ก ษาไป อย่ามายุ่งกับอาชีพของผม เราต่างคนต่างหน้าที่ กัน” เสี ย งนายจวน ผู้มีอิทธิพลตามธรรมชาติ สมัยนั้น พูดด้วยน้ำเสียงเรียบเฉย แต่สีหน้าและ แววตาดุดันเอาเรื่อง 70

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

ตอนนั้น มันเหมือนมีแอกอันหนักอึ้งที่วางอยู่ บนบ่า เป็นถ้อยคำที่ทำให้หมออนามัยหนุ่มอย่าง ผม สูญเสียศรัทธาแห่งอุดมการณ์ไปมากโขเหมือน กัน แต่…ชีวิตหมออนามัยบ้านนอก ก็ดำเนินไป ตามครรลองแห่งสภาพชนบทบ้านนอกอย่างเรียบง่าย ผมพยายามปะติดปะต่อเหตุการณ์ ที่ผ่าน มา... “หมอ…หมอครับ !” เสียงนายจวนแผ่วเบา เขาหยุดคิด ครู่หนึ่ง นัยน์ตาหมองเศร้าจ้องมาที่ผม “ผมอยากเลิกขายยาบ้า...ลูกผมมันติดยา” ผมได้ยินคำสารภาพจากนัยน์ตาแดงกร่ำของนาย จวน เหมือนผมได้ยินความเงียบตะคอกใส่ แม้ เป็นคำตอบอันไร้สุ้มเสียงและถ้อยวลีจากผม แต่ก็ หยั่งถึงความหมายของความเงียบนั้น ผมเพียงแค่ พยักหน้าช้า ๆ ปล่อยให้ถ้อยคำเหล่านั้นฝังจมลง ในความเงียบงันในบรรยากาศที่เฝ้ารอให้ฟ้าหลัง ฝนสดใส หลังท้องฟ้ามืดครึ้มมานาน “เจ้าบอย” คือลูกชายวัยสิบสี่ของลุงจวน ติ ด ยาบ้ า งอมแงมซึ ่ ง เป็ น ผลพวงผลกระทบ สื บ เนื่องจากวิกฤตความเจริญโลกทางวัตถุนิยมของ สังคมสังคัง คลั่งบ้า ในช่วงนั้น ชีวิตคนเรา...มันไม่ราบเรียบสวยหรูเหมือน ดั่งละคร “ไม่มีใครรู้ซึ้งถึงความมืดของสีดำ เท่ากับ

คนตาบอดหรอกหมอ ! ไม่โดนกับตัว ก็ไม่มีใครรู้” แกเล่ า ชี ว ิ ต ด้ ว ยน้ ำ เสี ย งและจิ ต ใจละเหี ่ ย

อ่ อ นล้ า เหมื อ นแกพยายามจะบอกว่ า ไม่ ม ี ใ คร อยากจะเป็นคนชั่วคนเลวโดยสันดาน บางครั้ง…คำพูดของคนเลวที่สังคมพิพากษา ไว้ ไม่จำเป็นต้องเลวเสมอไป เป็นการอธิบายชีวิต ด้วยการไม่ต้องมีคำอธิบายใด ๆ


นั่นเป็นความทรงจำที่ตกผลึกอยู่ในสมอง พร้อมจะฟุ้งกระจายอีกครั้ง แล้วบทบาทหน้าที่ของหมออนามัย ก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นทั้งครูและพ่อในค่ายเยาวชนต้นกล้า จิตสังคมบำบัดในชุมชนเกือบหนึ่งปี จนเจ้าบอย เรียกผมว่า “น้าหมอ” จนติดปาก 3. มหา’ลัยชีวิต...กับหมออนามัย...บนกะลา หลังจากลุงจวน ได้เข้ามหาวิทยาลัยชีวิต 8 ปี และจบมาพร้อมกับปริญญาแห่งชีวิต 1 ใบ ใน สาขาวิชาบริหารจัดการยาเสพติด แถมวิชาชีพ อัมพฤกษ์ที่มันติดสอยห้อยตามมาด้วย โดยไม่มี ใครเชื้อเชิญมันมาด้วยเลย แกออกมาใช้ชีวิตอิสระ นอกกรอบในวัย เกื อบ 70 ปี ณ กระท่ อมกั ญ ชา บนที ่ ด ิ น ของแก แต่ เ ดี ๋ ย วนี ้ ใ บโฉนดที ่ ด ิ น เป็ น ชื ่ อ

คนอื่นแล้ว เมื่อครั้งแกเอาไปจำนองเพื่อต่อสู้คดี มันคือรอยแผลเป็นแห่งชีวิตของจอมยุทธไร้รังอย่าง ลุงจวน จากนั้นเป็นต้นมา ลุงจวนก็เป็นสหายต่างวัย ของหมออนามัยหนุ่มอย่างผมตลอดมา ช่ ว งแรก ๆ ที ่ ล ุ ง จวนเป็ น อั ม พฤกษ์ ล ุ ก ขึ ้ น เดินเหินไม่ค่อยสะดวก ผมกับเจ้าบอยก็พยายาม ประคบประหงมฝึกให้แกทำกายภาพบำบัด โดย เก็บกะลามะพร้าวและก้อนหินกลม ๆ มาวางเรียง เป็นคู่ ๆ ที่พื้นบ้าน ระยะทางประมาณ 2 เมตร โดย วาน อสม. ไปตัดลำไม้ไผ่ขนาดเหมาะมือมาตั้งเป็น ราวจับ เพื่อฝึกหัดเดินลานหินลานกะลาทุก ๆ วัน “อึม! ไอ้กะลามะพร้าวนี่มันก็มีประโยชน์ดี เหมื อ นกั น นะหมอ ดี ก ว่ า ไอ้ อ ุ ป กรณ์ ร าคาแพงที ่ โฆษณาในทีวีอีก” ลุงจวนพูดไปเดินย่ำกะลาไป พลาง โดยมีเจ้าบอยคอยประคองผูเ้ ป็นพ่ออยูใ่ กล้ ๆ เรายิ้มให้กัน แม้เป็นรอยยิ้มที่ไร้ความหมาย แต่ผมก็กำซาบถึงความรู้สึกแห่งความอบอุ่น คำพูดของลุงจวน ทำให้ผมวาบในมโนภาพ

นึกถึงโฆษณาในทีวีในปัจจุบัน มีแต่มหันตภัยคลื่น โทรทัศน์ถาโถมออกจากจอโค้งจอแบน โถมซัดเข้า ใส่ ลู ก กะตาและจิ ต สำนึ ก ของลู ก หลานเราอย่ า ง บ้าคลั่ง ไม่ว่าจะเป็นไอ้เหล็กโค้ง ๆ งอ ๆ มาต่อกันไม่ กี่อัน สามารถทำให้คนอ้วนพุงพลุ้ย หล่อล่ำบึ้ก เหมือนคนเหล็ก หรือหุ่นเพรียวบางได้ดั่งใจ ดั่งที่ นายแบบนางแบบโฆษณาสินค้า ทำท่าบิดก้นไปมา แล้วพูดว่า... “โอววว์ มั น วิ เ ศษสำหรั บ ฉั น จริ ง ๆ เลย จอร์จ” “เพียงเครื่องละ 58,000 บาท เท่านั้น แต่ถ้า ท่าน โทรมา …” ไม่ว่ายาขายตรงผีบ้าเทวดา หลอกรักษาได้ ทุกโรค จากทีวีจานดำจานแดง ไม่รู้ว่ากระทรวง “คุ้ ม ครองผู้ ข ายสิ น ค้ า หลอกผู้ บ ริ โ ภค” ไปอยู ่ ไหนหมด อี กอย่า งพวก “นมผงดั ด แปลง” ก็ต ะบี ้ตะบันโฆษณาบอกเล่าถึงความวิเศษวิโสของผงสี ขาว ๆ ที่สกัดมาจากน้ำนมสัตว์ มองข้าม “เต้านม หยุ่น ๆ อันแสนอิ่มอุ่นอย่างนมแม่” ที่อุดมไป ด้ ว ยวิ ต ามิ น แร่ ธ าตุ และภู ม ิ ค ุ ้ ม กั น โรค “สั ง คม บกพร่อง” ไปซะมิดโดยไม่อินังขังขอบ แล้วอย่างนี้ หมออนามัยอย่างเรา จะไปบอก กับชาวบ้านให้เขาเชื่อยังไง? มินา่ ล่ะ ! เด็กสมัยนีท้ โ่ี ตมาจากนมสัตว์ นิสยั /กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  71


ค่อนข้างไปทางสัตว์เข้าทุกวัน เดี๋ยวนี้ เด็กอายุแค่ 12 - 13 ขวบ ตัวเท่ากำปัน้ มีทง้ั ใส่ขาสัน้ กระโปรงสัน้ - จู๋ นั่งซ้อนท้ายรถเครื่องฟีโน่ โซนิค ตะบี้ตะบันนั่ง เบียดเบาะเกาะกันเป็นคู่ ๆ เหลื อ บมองดู ก างเกงเด็ ก ฮิ ป ฮอปหลุ ด ตู ด รองเท้ า ดอกเตอร์ ม าร์ ต ิ น คู ่ ล ะสองพั น แปด หิ ้ ว กระเป๋านักเรียนใบละพันห้า แต่ข้างในไม่มีหนังสือ เรียนสักเล่ม มีแต่โทรศัพท์แบล็คเบอรี่ สาม G ไอดี 4 แอปเปิ้ลโดนหนอนแทะ สนนราคาสองหมื่นสี่ เอาไว้แชต อดนึกถึงกางเกงนักเรียนปะตูดรูปหัวใจที่แม่ คอยปะให้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า กับรองเท้าอีแตะที่หูคีบ ขาดแล้วขาดอีก ต้องใช้เชือกฟางสีแดงมาผูกเป็น หูคีบแทน เดินหิ้วถุงปุ๋ยตราหัววัวคันไถที่แม่เย็บเป็น กระเป๋าหนังสือใส่สมุดสีฟาง “ห้ามขาย” รูปคนติด ยานัง่ กอดเข่า ข้าง ๆ มีคำขวัญว่า “ยาเสพติด เป็น ภัยต่อชีวิต เป็นพิษต่อสังคม” นึกไปก็อดน้อยใจแทนวิญญาณวีรชน ที่ยอม พลีชีพเพื่อปกป้องแผ่นดิน ให้พวกเราได้อยู่เย็น เป็นสุขมาจนถึงทุกวันนี้ ถ้าเป็นไปได้วิญญาณของ นายจั น หนวดเขี้ ย ว คงลุ ก ขึ ้ น มาตบกะโหลก ไอ้ พ วกลู ก หลานจั ญ ไร พวกผู ้ ใ หญ่ เ นรคุ ณ จน หัวคว่ำคะมำขี้เมี่ยงไปแล้ว 4. เล่าเรื่องเหล้า “เลิกงานแล้ว ไม่เปรี้ยวปากบ้างรึหมอ” กลิ่นเหล้าราคาถูก แต่จริงใจ โชยมาเตะจมูก ลุงจวนเริ่มประเด็นหาเรื่องเมาอีกแล้ว “ไม่ ห ละลุ ง วั น นี ้ ม ี ง านเข้ า ” ผมปฏิ เ สธ พร้อมส่งยิ้มแบบเหนื่อยอ่อนทักทาย “จิบแค่เป็นกระสายยาน่า” แกมีเหตุผลมา หักล้างเสมอ “กิ น เหล้ า มาก ระวั ง จะไม่ ไ ด้ เ ห็ น ชายผ้ า เหลืองของเจ้าบอยมันนา” ผมกระเซ้าอีกตามเคย 72

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

“ซำบายมากหมอ ลุงน่ะคอแข็งเป๊ก ถึงลุงจา กินเหล้า แต่ลุงก็ไม่ไปทำความเดือดร้อนให้ใครไม่ ได้ไปเผาบ้านเผาเมือง หรือไปวางระเบิดอนามัย ซะ หน่อย” “โห ! ลุง...แหม จัดหนัก เล่นซะแรงเชียวนะ หุ หุ” ผมหั ว เราะเบา ๆ พู ด ดั ก คอ กลั ว เลยเถิ ด เตลิ ด ไปไหนต่ อ ไหน ส่ ว นมื อ ก็ ร ี บ เก็ บ รวบรวม เอกสารบนโต๊ะให้เรียบร้อย “เย็นนี้ ผมมีงานต้องเข้าไปในหมู่บ้าน ตอน นี้ไข้เลือดออกเริ่มระบาดอีกแล้ว” ผมรีบยิงเหตุผล ก่อนที่จะเสียทีให้กับ “เสือเฒ่า” เหมือนก่อน ๆ โดยสามัญวิถีแล้ว การออกหมู่บ้านไม่ใช่ เป็ น การไปเอาข้ อ มู ล เที ย ม เพื ่ อ สนองนโยบาย “ทำงานแลกเงิน” หรือบางคนเรียกว่า “ใครคีย์ (เมค) ข้อมูลมาก ได้เงินมาก” น่ะ หรือเข้าไปส่งมอบความรู้วิชาการดุ้น ๆ เดิม ๆ ไปยัดเยียดทับถม ประเพณีวิถีชีวิตองค์ความรู้ภูมิปัญญาเดิมที่สั่งสม กันมายาวนานของปราชญ์ชาวบ้าน แต่การออกหมู่บ้าน เป็นการออกไปเรียนรู้ใน ห้องเรียนธรรมชาติ เพื่อเรียนรู้กับคุณครูชาวบ้าน อาจารย์ชาวนา ออกไปล้อมวงนั่งฟังบทบรรยาย จากห้องเรียนชุมชน ในทุ่งนา ป่าเขา ไร่อ้อย ไร่มัน หรือว่าที่ลานกลางบ้าน นับว่าเป็นแหล่งค้นคว้า ปรัชญาของมนุษยศาสตร์ชุมชนที่หลากหลายกว่า ห้องเลกเชอร์ในมหาวิทยาลัยซะอีก บางครั้ง...เราควรฝึกหัดตัวเองให้เป็นสมาชิก ธรรมดา ๆ คนหนึ่งของหมู่บ้านดูบ้าง ลองออกไปกินก๋วยเตี๋ยวร้านป้าสายที่ชายทุ่ง ที่ชาวบ้านชอบไปกิน หรือริอ่านไปกินข้าวเย็น ที่ร้านเหล้ายาดอง มุงแฝกกลางหมู่บ้าน ที่ผู้นำตามธรรมชาติมักไป สมาคมกันที่นั่น หรืออาจไปนั่งล้อมวงจิบเหล้าขาว แกล้ ม มะขามเปี ย กพอเป็ น พิ ธ ี ในงานบวชลู ก


อสม. หรืองานแต่งลูก อบต. บ้าง หรือว่าจะมุ่งไปทางธรรม โดยลองไปทำบุญทำทานกับชาวบ้านที่วัดใกล้ ๆ สถานีอนามัยดูบ้าง พอไม่ให้หลวงตาที่วัดหรือชุมชนหลงลืม ถ้ามีโอกาสเหมาะสม ลองออกไปยกมือไหว้ ป้ามาที่ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันสูง ถือเป็นการ ไปเที่ยวบ้านชาวบ้านไปในตัว ทำให้เราได้ชิมรสชาติของความเป็นคน รู้จัก ประเพณี ความเชื่อ ค่านิยมของชุมชน และรู้จักวิถีชีวิตของคนมากขึ้น ดีกว่าคร่ำเคร่งจ้องแต่หน้าจอคอมเป็นไหน ๆ 5. เสียงเพรียก...ยามคราพราก ชีวิตคนเราเป็นวิถีวังวนเดิม ๆ ใช้ชีวิตไปตาม ลานนาฬิกาที่ไขไว้ เมื่อใดสิ้นแรงลานเข็มนาฬิกาก็ หยุดเดิน ถนนแห่งกาลเวลาย่อมมีที่สิ้นสุด เช่น เดียวกับชีวิตของผู้เฒ่าทระนง ก็ไม่เคยออกนอก กรอบกฎเกณฑ์ เป็ น ไปตามพิ ม พ์ เ ขี ย วชี ว ิ ต หลั ง พระอาทิตย์อัสดง ผมโค้งคำนับ...ครั้งสุดท้ายให้วิญญาณเสรี

ของลุงจวนผู้มีสุราเป็นสหาย ในขณะที่วางดอกไม้จันทน์บนเมรุ เสียงพระสวดชักบังสุกุลรอบแล้วรอบเล่า แล้วทุกอย่างก็ดำเนินไปตามกาลประเพณี สีสุกปลั่งของจีวรใหม่ของเณรลูกชายบอย ช่ า งอร่ า มเรื อ ง ห่ ม คลุ ม กายภายใต้ ด วงตาเศร้ า แม้ว่าชายผ้าเหลืองจะนำพาวิญญาณของพ่อขึ้นสวรรค์วิมานแมนหรือไม่ กับคนขี้เหล้าเมายาอย่าง ลุงจวน แต่…ลูกไม้ต้นกล้า กำลังงอกงามเพื่อชูกิ่ง ก้านใบ สู่ฟ้า เพื่อสู้แดด ลม พายุฝน แห่งการดำรง ชีวิตอยู่ในทะเลสังคมในภายภาคหน้า เงยหน้ า ขึ ้ น มองท้ อ งฟ้ า ลมเบื ้ อ งบนได้ พัดโบกโบยควันสีขาวอมเทา เจือจางสู่บรรยากาศ คืนสู่สามัญธาตุแห่ง ดิน น้ำ ลม ไฟ ณ วันนี้ ผมหยิบหนังสือรำลึกผู้ล่วงลับขึ้นมา เปิดอ่าน มันเป็นบทวรรณกรรมแห่งชีวิต ที่สะท้อน ว่า “ถ้าไม่ตาย...ก็ยังไม่มีผู้ใดสดุดี” และจะให้ดี ควรชื่นชมกันตั้งแต่วันนี้...เดี๋ยวนี้ จะดีกว่ามั้ย

คำสารภาพของอักขรา…

ขอคารวะให้กับดวงวิญญาณของ “ลุงจวน ผู้เฒ่าทระนง” ที่ได้ให้มโนภาพจากนามธรรมของ

ชีวิต ถ่ายทอดมาเป็นรูปธรรมแห่งอักษรศิลป์

ขอบคุณ แง่งามของคมคิด บางคมคิด ใน “สิ่งมีชีวิต…ที่เรียกว่าคน” ของวินทร์ เลียววาริณ

รำลึกถึง “วิถีชุมชน” ของหมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์/หมอครอบครัว ของหมอสายพิณ

หัตถีรัตน์

ขอบคุณหนังสือ “หมออนามัย…อินดี้” หนังสืออิสระทำมือ ที่ใช้จิตใจอิสระในการรังสรรค์

ขอบคุณ “เพื่อนหมู...หอศิลป์บ้านไร่” ผู้ให้ภูมิคุ้มกันแก่สังคม ด้วยวรรคซีนวรรณกรรม

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  73


มุมระบายกับนายเดินเดี่ ยว

74

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1


มุมระบายกับนายเดินเดี่ ยว

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  75


สอ. ขายขำ หมอฮาแตก

ตามสถานการณ์

ระวังตกงาน

ที่สวนสัตว์แห่งหนึ่ง ลิงซึ่งเป็นดาราดังตายลง อย่างกะทันหัน เจ้าหน้าที่จึงรีบว่าจ้างคนมาสวมชุดลิง แล้วให้เข้าไปอยู่ในกรงแทนลิงดารา เพื่อไม่ให้เด็กที่มา เที่ยวต้องผิดหวัง คนสวมชุดลิงกระโดดโลดเต้น ห้อยโหนตามที่ ฝึกมาอย่างเข้มข้น ดูคล้ายลิงตัวจริงมาก จนเด็ก ๆ ไม่ทันสังเกตเห็น เด็ก ๆ ก็ออกเสียงเชียร์ลิงขวัญใจ อย่างสนุกสนาน คนสวมชุดลิงก็เลยสนุกสนานไปด้วย แต่แล้วก็ เกิดพลั้งเผลอคว้าราวห้อยโหนพลาดตกลงไปในกรง เสือที่อยู่ข้าง ๆ ท่ามกลางความตกใจของเด็ก ๆ ที่เฝ้าดู อยู่ พอตกลงไปในกรงเสื อ เสื อ ก็ ก ระโดดเข้ า มา ทำท่าจะงับคนสวมชุดลิงทันที ด้ ว ยความตกใจ คนในชุ ด ลิ ง จึ ง เผลอตะโกน ออกมาเป็นภาษาคนดังลั่น “ช่วยด้วย...ช่วยด้วย...เสือกำลังจะขย้ำผม” เสือได้ยินดังนั้น จึงกระซิบข้างหูด้วยภาษาคน เช่นกันว่า... “มึงอย่าตะโกนเสียงดัง เดี๋ยวเราได้ตกงานทั้งคู่ หรอก” 76

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

“บิลลี่” ดาราดังถูกเป็นทหารเกณฑ์ เข้ารายงานตัวในผลัดหนึ่ง ณ วันเข้ารายงานตัวที่กองร้อย ทั้งจ่าและนายสิบที่กองร้อย มาให้การต้อนรับทหารเกณฑ์หน้าใหม่ อย่างอบอุ่นแบบไม่น่าเชื่อ ครูฝึกพูดกับทหารเกณฑ์ไพเราะมาก แถมช่วย หิ้วกระเป๋าสัมภาระให้ทหารเกณฑ์ทุกคนอย่างกุลีกุจอ คื น นั ้ น ทหารเกณฑ์ ท ุ ก คนเข้ า พั ก ผ่ อ นอย่ า ง อบอุ่นใจ จนถึงตี 4 ครูฝึกมาเป่านกหวีดปลุกทุกคนให้ รีบทำกิจวัตรแล้วไปออกกำลังกาย “ตื่นโว้ย...ตื่นโว้ย ให้เวลา 5 นาที แล้วรีบตื่นไป เข้าแถวหน้ากองร้อย ใครช้าจะถูกทำโทษ” วันนั้นทั้งวัน ทหารเกณฑ์ทุกคนถูกบังคับให้ฝึก อย่างหนัก แทบหมดเรี่ยวหมดแรง ครูฝึกทุกคนดุดันผิด กับเมื่อวันวานราวกับหน้ามือเป็นหลังเท้า ตกค่ำ “บิลลี่” อดถามครูฝึกไม่ได้ “ครูครับ...เมื่อวานพวกครูดีกับพวกผมเหลือเกิน วันนี้ทำไมเปลี่ยนไป” ครูฝึกจึงตอบว่า... “พวกมึงไม่เห็นหรือไง เมื่อวานมีผู้สื่อข่าวเต็ม ไปหมด แต่วันนี้ไม่มี...”


เรื่องเล่าจาก สอ.

สฤษดิ์ ผาอาจ : เครือข่ายปลายปากกา

จับเข่ากวีจีน เยือนถิ่นชาวจ้วง (7) 7. จับเข่าควงแขนกวีจีน กลับจากชายแดนด้านทิศใต้ของจีนแล้วเมื่อฉบับก่อน ฉบับนี้ ผมจะนำท่านผู้อ่านไปเยี่ยมเยือน มหาวิ ท ยาลั ย แห่ ง ชนชาติ ก วางสี และถึงเวลาต้อง “จับเข่ากวีจีน” เสียที ว่ากวีจีนจะ “เข่าด้าน” และ “ไส้แห้ง” เหมือนเหล่า “กวีไทย” ส่วนใหญ่มั้ย (ฮา) และนิยมชมชอบ ดื่มน้ำอมฤตเหมือนกันหรือเปล่า ซึ ่ ง คำถามหลั ง นี ้ เ หล่ า กวี ไ ทยมั ก ถู ก ถามย้ ำ อยู ่ เ สมอเวลามี ช ุ ม นุ ม หรือออกค่ายให้ความรู้กับนักเรียน นักศึกษาหรือคนในอาชีพอืน่ อย่างเช่นที่ มหา สุรารินทร์ และผมเคย ประสบด้ ว ยตนเองเมื ่ อ ครั ้ ง ไปให้ ความรู้ด้านการเขียนให้กับนักเรียน มั ธ ยมในจั ง หวั ด ยะลา ซึ ่ ง เป็ น อี ก หนึ ่ ง กิ จ กรรมในโครงการของ “มูลนิธิสุข - แก้ว แก้วแดง” ของ อดีตท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร “ดร.รุ่ ง แก้ ว แดง” ที่ได้จัดทำขึ้นสำหรับเยาวชน ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ “ทำไมพวกกวี พวกนักเขียน ชอบดื่มเหล้าคะ พี่มหา มีบ้างไหม

ที่ไม่ดื่มเหล้า” น้องนักเรียนสาววัย ใสคนหนึ่งในค่ายเยาวชนนักเขียน น้อยเอ่ยถาม มหา สุรารินทร์ “คำถามแรก เรื่องมันยาว มาก พี่ยังไม่ตอบตอนนี้ แต่คำถาม หลังนี้พี่พอตอบได้อยู่” “ยังไงคะ” “กวี ห รื อ นั ก เขี ย นที ่ ไ ม่ ด ื ่ ม เลยก็ ม ี เ หมื อ นกั น ส่ ว นใหญ่ จ ะ

เป็นรุ่นใหญ่ เช่น ประเสริฐ จันดำ กนกพงศ์ สงสมพันธุ์” มหาตอบ หน้าตาย “ทำไมไม่ดื่มคะ” “พี่เขาดื่มไม่ได้” มหาอมยิ้ม “อ๋อ น้องรู้แล้วล่ะ พี่เขาคง ไม่ชอบหรือไม่ก็มีโรคประจำตัว” “ไม่ใช่หรอกน้อง” ผมแทรก “พี่เขาตายไปนานแล้ว” บอกน้อง เสร็ จ ผมก็ ห ั ว เราะหึ ๆ ส่ ว นสาว วัยใส ว่าที่นักเขียนน้อยได้แต่ทำ หน้าเหรอหรา มหาวิ ท ยาลั ย แห่ ง ชนชาติ กวางสี (Guangxi University for Nationalities) ตั้งอยู่คนละฟากถนน กั บ สถาบั น วั ฒ นธรรมที ่ พ วกเรา พักอยู่ ฉีเล่าซือนำคณะเราเข้าประตู

ทางด้านทิศใต้ ซึ่งเหลียงเล่าซือ

ผู้เป็นภรรยาท่านศาสตราจารย์ฟ่านและเป็นอาจารย์สอนศิลปะใน มหาวิทยาลัยแห่งนี้ยืนรอรับพวก เราอยู่ หลังจากถ่ายรูปหมู่ร่วมกันที่ หน้าประตูมหาวิทยาลัยเรียบร้อย แล้ว เหลียงเล่าซือก็เดินนำพวก เราเข้ามหาวิทยาลัย เข้าไปได้ไม่กี่ก้าวก็พบกับ รูปปั้นของขงจื๊อ มหาปราชญ์แห่ง ชนชาติจีน สี่หนุ่ม มีผม มหา โชคชัย และท่านนายกยุทธ ก็เลยชัก ภาพไว้ เ ป็ น ที ่ ร ะลึ ก หลั ง จากนั ้ น พวกเราก็ ล ั ด เลาะไปตามถนน ลาดยางที่ร่มรื่นด้วยแมกไม้ยืนต้น สองข้ า งทาง นั ก ศึ ก ษาที ่ ย ิ ้ ม แย้ ม ขวั ก ไขว่ ส วนทาง ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ผู ้ ห ญิ ง พวกเขาและเธอแต่ ง ตั ว ตามสบายไร้ เ ครื ่ อ งแบบ มี บ ้ า ง ประปรายทีบ่ างสาวใส่สเกิรต์ เลยเข่า แต่ไม่ถึงกับ “สั้น รัด ตึงเปรี๊ยะ” เหมือนนักศึกษาสาวในเครื่องแบบ ของบางมหาวิทยาลัยไทย ซึง่ เปรีย๊ ะ เสียจนไม่กล้าเฉียดกรายเข้าใกล้ เพราะเกรงจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ นั่นคือ มีโอกาสเป็นไปได้สูง

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  77


ยิ่งที่กระดุมบางเม็ดจะกระเด็นผึง เข้าเบ้าตาในยามที่เธอหายใจเข้า วันนี้มีฝนตกปรอย ๆ สลับ กับพรัง่ พรูเป็นบางครัง้ เหลียงเล่าซือ ต้ อ งนำพวกเราเข้ า ไปหลบใต้ ต ึ ก

เจ็ดชั้นหลังหนึ่ง ซึ่งด้านล่างตึกเป็น ห้ อ งอ่ า นหนั ง สื อ ของนั ก ศึ ก ษาที ่ ทำให้พวกเราอึ้งกันเล็กน้อยเพราะ พึ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรกว่าอย่างนี้ก็มี ด้วย ทางมหาวิทยาลัยได้เรียงราย หนังสือไว้บนโต๊ะละลานตาไปหมด มีตำราเรียนหลากหลายทั้งภาษาจีน ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ผม เห็ น นั ก ศึ ก ษาหญิ ง คนหนึ ่ ง กำลั ง

ก้มหน้าก้มตาอ่านหนังสืออยู่อย่าง ขะมักเขม้นเลยตรงเข้าไปทักทาย เธอสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้ด ี

ทีเดียว เธอชือ่ “เหวินฟง” กำลังเรียน ด้ า นการตลาดชั ้ น ปี ท ี ่ ส าม ตำรา ที่เรียนก็ใช้ภาษาอังกฤษด้วย แต่วัน นี ้ ไ ม่ ม ี เ รี ย นเลยมานั ่ ง ทำการบ้ า น ที ่ อ าจารย์ ม อบหมาย เธอบอกว่ า หนังสือเหล่านี้อ่านที่นี่ได้อย่างเดียว

ห้ามหยิบหรือยืมออกไปไหน ออกจากห้ อ งอ่ า นหนั ง สื อ พวกเราเดินข้ามไปที่ตึกคณะภาษาต่ า งประเทศ โดยตึ ก นี ้ ม ี “ศู น ย์ ข้อมูลภาษาไทยสิรินธร” (Princes Sirindhon Thai Information Center) ตัง้ อยู่ ซึง่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุม ารี ได้ ทรงเสด็จ เยื อ นสองสามครั ้ ง แล้ ว อาจารย์ ผู้ดแู ลเป็นผูห้ ญิงอายุราวสามสิบต้น ๆ เสียดายที่ผมพลาดการจดจำชื่อของ เธอ เธอจบปริญญาโทด้านภาษา ไทยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เธอออกตั ว ว่ า ไม่ ไ ด้ ค ุ ย กั บ คนไทย นานแล้ว ภาษาอาจเพี้ยน ๆ ไปบ้าง แต่พวกเราบอกว่าเธอใช้ภาษาไทย ได้ ช ั ด เจนถู ก ต้ อ งดี แ ล้ ว หลั ง จาก ทักทายกันได้สักครู่เธอก็แนะนำให้ ได้รู้จักกับผู้ช่วยคณบดีคณะภาษา ต่างประเทศทีม่ ารอรับพวกเราอยูด่ ว้ ย ในศู น ย์ ข ้ อ มู ล ฯ เป็ น ห้ อ งสมุดภาษาไทยของเราดี ๆ นี่เอง มี หนังสือไทยมากมายหลายประเภท

ับนักศึกษา อ้ งอ่านหนังสือ” สำหร

“ห

78

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

ทั ้ ง หนั ง สื อ พิ ม พ์ ร ายวั น สยามรั ฐ ไทยรั ฐ เดลิ น ิ ว ส์ นิ ต ยสารรายสัปดาห์เนชั่น มติชน สยามรัฐ รายเดือนก็เช่น ศิลปวัฒนธรรม แม่น้ำโขง รวมเรื่องสั้นของนักเขียนที่มี ชื่อเสียงทั้งรุ่นเก่ารุ่นใหม่ สารคดี โดยเฉพาะอย่ า งยิ ่ ง ที ่ ส มเด็ จ พระเทพฯ ท่านทรงประพันธ์ ผมนับดู แล้วมีถึง 39 เล่ม นอกจากนี้ยังมี นวนิ ย าย นวนิยายจีนกำลังภายใน และบทกวีข องนั ก เขี ย นร่ ว มสมั ย โดยเฉพาะของนั ก เขี ย นที ่ ไ ด้ ร ั บ รางวัลซีไรต์ จะมีครบทุกเล่ม โชคชัย บัณฑิต เดินเตร็ดเตร่ตามตู้หนังสืออยู่ไม่นานก็พบกับ หนั ง สื อ รวมบทกวี ข องตนเองชื ่ อ “บ้านเก่า” ซึ่งเป็นเล่มที่ได้รับรางวัลซีไรต์เมื่อปี พ.ศ. 2544 “หนั ง สื อ ผมครั บ อาจารย์ ” โชคชัยถือหนังสือพร้อมกับหันไป หาอาจารย์สาวผู้ดูแล “เป็นเกียรติอย่างยิ่งเลยค่ะ ที่ได้พบตัวจริงของเจ้าของผลงาน” อาจารย์สาวผู้ดูแลกล่าวอย่างชื่นชม

ในศูนย์ข้อมูลภาษาไทยสิรินธร จะปรากฏพระนา แสดงให้เห็นถึงความสำนึกในพระมหากรุณาธิมาภิไธยของสมเด็จพระเทพฯ คุณที่พระองค์ทรงเป็นองค์ อุปถัมภ์ให้กับศูนย์แห่งนี้


“แมลงปอปี ก บาง เจ้ า กา

กวีจนี เป็นอีกวัน หนึ่งที่น้องลิ ล ลี่ ปีก สวย ช่วยบอกเธอด้วย ว่าคิดถึง ได้ทำหน้าทีอ่ ย่าง จัง” เข้ ม ข้ น โดยฉี - หรื อ ประเภทกลอนเปล่ า เล่าซือได้นำพวก- กลอนเปลือย เช่น เราไปเสวนาแลก- “เช้าแล้วที่รัก ผลักเขาออก เปลี ่ ย นกั บ นั ก - จากอ้อมกอดเถิด หันมาทางนี้สิ อก เขี ย นจี น ที ่ ก รม- อุ่นระรัวยังรอเธออิงแอบ ทิ้งหมอนวัฒนธรรมสัมพันธ์ ข้างเถอะนะ” (ชิมิ ๆ) ที่ตั้งอยู่ใจกลาง บทกวี เ หล่ า นี ้ ส ่ ว นใหญ่ จ ะ ยาย กภาษาไทยกำลังนั่งฟังบรร าเอ ช วิ น ี ษาจ ก ศึ ก นั ๆ ง อ น้ เหมือนหนานหนิง พิมพ์บนการ์ดทีส่ ง่ ให้กนั ยามเทศกาล พิเศษอย่างครื้นเครง โดยบรรยากาศ เฉลิมฉลองต่าง ๆ โดยบรรดานักกวี การพู ด คุ ย ข้ า ม ที่มาร่วมเสวนากับนักเขียนไทยใน ดี ใ จแล้ ว ขอถ่ า ยรู ป ร่ ว มกั น กั บ ภาษา แม้ จ ะทำความเข้ า ใจยาก วันนั้นต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า อยู่บ้าง แต่ก็ได้ทราบถึงบรรยากาศ พวกเขาเขี ย นอย่ า งนั ้ น ไม่ ไ ด้ โดย โชคชัย ออกจากศู น ย์ ข ้ อ มู ล ภาษา การเขียนการอ่านของกันและกันพอ เฉพาะกวี จ ี น ที ่ ช ื ่ อ “เฟยญ่ า ” ที ่ ไทย พวกเราก็เดินขึ้นไปชั้นสามเพื่อ สมควร โดยผู้ที่มีใจรักในบทกวีของ ลงทุนพิมพ์บทกวีเอง แม้จะขาดทุน พบปะกั บ นั ก ศึ กษาวิชาเอกภาษา จีนก็เช่นเดียวกันกับนักเขียนไทยที่ ที่เป็นตัวเงินแต่ก็ได้กำไรความรู้สึก ไทยที่อาจารย์ได้เตรียมไว้ให้พวก ยืนหยัดอยู่ด้วยลำแข้งของตนเอง ยังดีที่ตัวเองเป็นวิศวกรอยู่ด้วย เลย เราได้มาพบปะพูดคุย เพื่อเป็นการ เป็นส่วนใหญ่ การพิมพ์ผลงานบท ไม่ต้องเดือดร้อนเรื่องเงินนัก เสริ ม ทั ก ษะให้ ก ั บ พวกเขาอี ก ทาง กวีที่สะท้อนถึงปัญหาสังคมหนัก ๆ หนึ่ง งานนี้พวกเราต่างแนะนำตัวให้ มักไม่ได้รับความสนใจจากสำนัก กับน้อง ๆ นักศึกษาด้วยตนเอง ไม่ พิ ม พ์ ดั ง นั ้ น นั ก กวี จ ึ ง ต้ อ งดิ ้ น รน ต้องเดือดร้อนถึงน้องลิลลี่ให้ช่วย ขวนขวายหาทุนพิมพ์ แปล นักศึกษาเหล่านี้กำลังเรียนอยู่ เอง ขายเอง และ ชั้นปีที่สาม หลายคนพูดและเขียน บางครัง้ (หลายครัง้ ) ภาษาไทยได้ดี นายกยุทธในฐานะ เลยเจ๊ ง เองเสี ย หัวหน้าคณะได้ขึ้นบรรยายพิเศษให้ เป็นส่วนใหญ่ (ไม่ กับน้อง ๆ นักศึกษาจีนได้รับฟังถึง ฮา) ส่วนงานวรรณวัตถุประสงค์ของคณะนักเขียนจาก กรรมหรือบทกวี ไทย และกล่าวถึงการใช้ภาษาใน ที่ขายดีเป็นเทน้ำ งานวรรณกรรมไทย ซึง่ นายกสมาคม เทท่ากลับปรากฏ นักกลอนได้ปล่อยลูกเล่นลูกฮาให้ เป็นบทกวีประน้ อ งนั ก ศึ ก ษาได้ ห ั ว เราะกั น อย่ า ง เภทอาโนเนะ- นักเขียนจีน - ไทย เสวนาแลกเปลี่ยนภาพรวมวรรณกรรม อีกหนึ่งกิจกรรม สำคัญในการเยือนจีนของคณะนั กเขียนไทยในครั้งนี้ คิกขุ เอาใจวัยสนุกสนาน ในวันที่พวกเราได้พบปะกับ รุน่ ประมาณว่า

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  79


ใบสมัครสมาชิก “วารสารหมออนามัย” ใบสั่งซื้อหนังสือ “บันทึกชีวิตหมออนามัย”

สมัครสมาชิก “วารสารหมออนามัย” ขอสั่งซื้อหนังสือ “บันทึกชีวิตหมออนามัย” สถานที่จัดส่ง................................................................................................................................................................... (นาย/นาง/นางสาว).....................................................................นามสกุล..................................................................... ตำแหน่ง.......................................................................................................................................................................... สถานที่ปฏิบัติงาน.......................................................................................................................................................... ที่อยู่ เลขที่................................................หมู่ที่............................ถนน.......................................................................... ตำบล......................................................อำเภอ...................................................จังหวัด............................................... รหัสไปรษณีย์...............................................โทรศัพท์..............................................โทรสาร.......................................... มือถือ........................................................... 1. ขอสมัครสมาชิกวารสารหมออนามัย ประเภทบุคคล (1 ปี 6 เล่ม 300 บาท) ประเภทหน่วยงาน/องค์กร (1 ปี 6 เล่ม 400 บาท) นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล/วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร (1 ปี 6 เล่ม 250 บาท) (ต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษามาด้วย) ออกใบเสร็จในนาม (บุคคล/หน่วยงาน) .................................................................................................................... สมัครสมาชิก.............ปี เริ่มสมัครตั้งแต่ ฉบับที่............ปีที่............... (ถ้าไม่ระบุจะเริ่มฉบับปัจจุบัน) 2. สั่งซื้อหนังสือ “บันทึกชีวิตหมออนามัย” ลำดับ หนังสือ ราคาปก จำนวน (เล่ม) เป็นเงิน (บาท) 1. บันทึกชีวิตหมออนามัย เล่ม 1 120 2. บันทึกชีวิตหมออนามัย เล่ม 2 120 รวมทั้งสิ้น ออกใบเสร็จในนาม (บุคคล/หน่วยงาน).......................................................................................................................... ชำระค่าสมัครสมาชิกวารสารหมออนามัย/ค่าหนังสือ “บันทึกชีวิตหมออนามัย” เป็นธนาณัติ/ตั๋วแลกเงิน สั่งจ่ายในนาม “โครงการวารสารหมออนามัย” ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข 11004 เช็ค/ดราฟต์ ธนาคารเลขที่............................................................................................................. ส่งไปที ่ สำนักงานโครงการวารสารหมออนามัย สถาบันพระบรมราชชนก อาคาร 4 ชั้น 7 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร. 0 2590 1122, 0 2590 1113 มือถือ 08 1813 5902 (ฝ่ายสมาชิกติดต่อคุณไพจิตร์ เพ็งไพบูลย์)


??

บินหลาขาเดียว

เถอะ ากัน ี่ 1 ญั ห บบั ท ายป 1 ฉ มาท ปที ี่ 2

?

¡“∑“¬ª—≠À“°—π‡∂Õ–

?

เกม “ปริศนาตัวเลข” วิธีเล่น นำตัวเลข ได้แก่ 1, 2, 3, 4, 5, 5, 7, 9, 9 มาเติมลงในช่องวงกลมให้ครบทุกช่อง โดยเมื่อเติม แล้ว ผลรวมของตัวเลขในวงกลมของแต่ละด้านรวมกันได้เท่ากับ 22 เท่ากันทั้ง 3 ด้าน ลองทำดู...ใส่ตัวเลขได้ครบทุกช่องแล้วส่งคำตอบมาที่ กอง บ.ก. ภายในวันที่ 12 กันยายน 2554 (อย่า ลืม! ตัดมุมกระดาษด้านบนแนบมาด้วย และกติกาเหมือนเดิม คือ ห้ามตัดหรือเจาะหน้าวารสารนะครับ)

เฉลยปัญหาปีที่ 20 ฉบับ 6 (พฤษภาคม - มิถุนายน 2554) คำตอบมีหลายคำตอบ แต่ต้องถูกต้องตาม กติกา มีผู้ร่วมสนุกเล่นเกมทั้งหมด 18 คน ตอบผิด 7 คน ตอบถูก 11 คน มีดังนี้

6

7

1

4

7

8

6

3

8

6

4

2

5

4

7

6

1. ด.ญ. สุปรียา กันภัย จ. ศรีสะเกษ 2. คุณสุนิดา เชื้อดวงผูย จ. นครพนม 3. คุณนันทา ชลิศราพงศ์ จ. ราชบุรี 4. คุณสมชาย ชลิศราพงศ์ จ. ราชบุรี 5. คุณกิติมา เนาวบุตร จ. เพชรบุรี 6. คุณสุวรรณา ประดิษฐ์ขวัญ จ. พระนครศรีอยุธยา 7. คุณสุมณฑา วสุนาถ จ. อ่างทอง 8. คุณประไพ แก้วม่วง จ. อ่างทอง 9. คุณอัญชลี สีสุวรรณ์ จ. อ่างทอง 10. คุณรุ่งนภา ฐานะสุวรรณ์ จ. อ่างทอง 11. คุณจิราภรณ์ เดชพรหม จ. นครศรีธรรมราช /กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  81


ข่ า ว ใ น แ ว ด ว ง ห ม อ อ น า มั ย งูเขียวตาทิพย์ rachunr@hotmail.com

สวัสดีครับ พบกันอีกเช่นเคย ฉบับนี้ขึ้นปีที่ 21 แล้วนะครับ ฉบับที่แล้วเป็นฉบับ “ครบรอบ 20 ปี วารสารหมออนามัย” กอง บ.ก. ได้แนบแบบสำรวจความ คิดเห็นไปด้วย เพื่อปรับปรุงวารสารให้ดียิ่งขึ้น ก็ได้รับ ตอบกลับมาจำนวนหนึ่ง และฉบับนี้ได้นำผลการสุ่ม โทรศัพท์สัมภาษณ์หมออนามัยจาก 76 จังหวัด จำนวน 104 คน มาลงให้ทราบกัน (ดูใน “รายงานพิเศษ”) ช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาลเลี้ยงส่งพี่ ๆ ที่เกษียณ รวมถึงพี่ ๆ ที่เข้าโครงการเออรี่รีไทร์ ก็ขอแสดงความ ยินดีกับพี่ ๆ ที่ใกล้พ้นภาระจากหน้าที่การงานแล้ว ข่าว ว่ า ปี ห น้ า โครงการเออรี ่ จ ะไม่ ม ี แ ล้ ว เพราะจากการ ประเมินผลโครงการนี้ พบว่า คนที่อยากให้ออก (คนที่ ไม่ค่อยทำงาน อยู่ไปก็ขวางความเจริญ) ก็ไม่ยอมออก แต่คนทำงานกลับสมัครเข้าโครงการกันอื้อ ! แต่ก็ไม่แน่ “รัฐบาลใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่” อาจมีโครงการต่อ พร้อมข้อเสนอที่ดีกว่าก็ได้ ขอยกบทความ (บางตอน) จากหนังสือพิมพ์ เขี ย นโดย “อนุ ภ พ” ในคอลั ม น์ “เห็ น มาอย่ า งไร เขียนไปอย่างนั้น” เป็นข้อคิดสะกิดใจทั้งคนที่ยังทำ งานอยู่และผู้จะเกษียณอายุราชการ เขาเขียนถึงประโยชน์ของคำว่า “เกษียณ” เอาไว้ดีมาก เห็นควรนำมาบอกต่อ... ประการแรก “เกษียณ” ทำให้เรารู้จักคำว่า “ความสุขที่แท้จริง” โดยเฉพาะคนที่ดำรงตำแหน่ง

สูง ๆ ในแวดวงราชการ เจอะเจอแต่คำว่า “สวมหัวโขน” “สวมหน้ากาก” เข้าใส่กัน หาความจริงใจได้ ยากมาก ประการที่ 2 “เกษียณ” ทำให้เราได้พักผ่อน สมปรารถนา เพราะเหน็ดเหนื่อยมามากแล้ว ถึงเวลา ควรพักผ่อนยาวเสียที ประการที่ 3 “เกษียณ” ทำให้เรามีเวลาเป็น ของตัวเองมากขึ้น อยากจะทำอะไรก็ได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เวลาที่มีให้แก่ครอบครัวซึ่งเคยขาดหายไป จะ ได้เกิดขึ้นเสียที 82

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

ประการที่ 4 “เกษี ย ณ” ทำให้ เ ราค้ น พบ

สัจธรรมของคำว่า “อำนาจ” เสียที “หมดอำนาจ” กับ “มีอำนาจ” ต่างกันลิบลับ และ “กิเลส” กับ “ตัณหา” ทุกสิ่งจะลดน้อยลง จนเหลือแต่คำว่า “ปลง” ประการที่ 5 “เกษียณ” ทำให้เรารู้จักคำว่า “มิตรแท้” กับ “มิตรเทียม” เมื่อไม่มีอำนาจวาสนา แล้ว ใครเล่าจะมาพะเน้าพะนอและออดอ้อนฉอเลาะ ด้วย ประการที่ 6 “เกษียณ” ทำให้เราเดินเข้าหา “ธรรมะ” มากขึ้น และ “ธรรมะ” นี่เอง คือสิ่งที่มี คุณค่าอย่างแท้จริงต่อชีวิต ซึ่งเราห่างเหินมานาน ใน ช่วงที่เราต้องตรากตรำกับการทำงาน โดยเฉพาะคนที่ อยู่ในตำแหน่งสูง ๆ ประการสุดท้าย “เกษียณ” ทำให้เรารู้จัก คำว่า “เลือก” มากยิ่งขึ้น นั่นคือ เลือกออกงาน เลือก คบคน รวมไปถึงเลือกใช้ชีวิต เพราะเรามีปัจจัยในการ ครองชีพจำกัดกว่าเดิม ครับ...น่าจะสะกิดใจสำหรับคนที่ยังไม่เกษียณ และมีอำนาจวาสนามากกว่า โดยเฉพาะข้อ 1 และข้อ 5 ที่พึงระวังให้จงหนัก ! ขอเข้าสู่ข่าวคราวประจำฉบับเลยนะครับ จัดหนัก ! งานประชุมที่แต่ละปีมีคนเข้า ร่วมมากที่สุด กับการประชุมวิชาการชมรมสาธารณสุ ข แห่ ง ประเทศไทย ปี น ี ้ จ ั ด ระหว่ า งวั น ที ่ 13 - 16 กั น ยายน ณ ห้ อ งประชุ ม มหาวิ ท ยาลั ย แม่ ฟ ้ า หลวง

จ. เชียงราย ค่าลงทะเบียน 2,000 บาท ดร. สามัคคี

เดชกล้า ประธานชมรมฯ ทุ่มทุนจัดยิ่งใหญ่กว่าทุกปี มี กิจกรรมหลายหลาก เช่น การนำเสนอผลงานวิชาการ รพ.สต./สสอ. ดีเด่น การชี้แจงนโยบายของผู้บริหาร ระดับกระทรวง การมอบรางวัล รพ.สต./สสอ. ดีเด่น นัก บริหารสาธารณสุขดีเด่น และหมออนามัยดีเด่น ระดับ ประเทศ มอบโล่รางวัลเชิดชูเกียรติข้าราชการที่ปลด เกษียณ นิทรรศการแสดงผลงาน รพ.สต./สสอ. ดีเด่น และภาคีเครือข่ายสุขภาพต่าง ๆ รวมถึงการศึกษาดูงาน


และอย่าลืมแวะไปเยี่ยมเยียน “บู๊ธชมรมฯ” และ “บู๊ธสมาคมหมออนามัย” บ้างนะครับ มีของที่ ระลึกไปจำหน่าย แถมลดราคาเพียบ ! เชิ ญ ร่ ว มงานประชุ ม วิ ช าการกระทรวง สาธารณสุ ข ประจำปี 2554 “เทิ ด พระเกี ย รติ 84 พรรษา สุขภาพดีถ้วนหน้า ด้วยสาธารณสุขไทย” ระหว่างวันที่ 7 - 9 กันยายน ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้ จอมเทียน พัทยา จ. ชลบุรี โดยลงทะเบียนทาง

อินเทอร์เน็ต จำนวน 2,050 บาท ผ่านระบบ Teller Payment รับจำกัดเพียง 4,000 คนเท่านั้น หากมีข้อสงสัย หรือมีปัญหาในการลงทะเบียน กรุณาติดต่อฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักวิชาการสาธารณสุ ข คุ ณ วั ช รี 0 2590 1704 คุ ณ อำไพรั ต น์

0 2590 1708 หรือต้องการส่งผลงานวิชาการ เพื่อ

นำเสนอในงานประชุมวิชาการ ติดต่อ ฝ่ายวิชาการ

0 2590 1718 9 ย้ำกันอีกที ! คณะกรรมการจัดงาน “มหกรรมสุขภาพแห่งชาติ” ปี 2554 แจ้งว่าได้ประชุม เตรียมงานกันแล้วหลายรอบ เพื่อเน้นคุณภาพ ปีนี้

ฟันธงขาดกระจุยไปหลายผืนแล้ว จัดวันที่ 12 - 14 ตุลาคม งานนี้หมออนามัยเราห้ามพลาด พลาดคราวนี้ ก็ต้องรอลุ้นกันอีก 2 ปีเชียวนะ ครั้งก่อนจัดไปเมื่อวันที่ 18 - 20 กุมภาพันธ์ 2552 ครั้งนี้มีบู๊ธโชว์ผลงานดีเด่น มากมายกว่าครั้งก่อนแน่นอน รับรองเดินกัน 3 วัน 3 คืนก็ดูกันไม่หมด เตรียมล็อกวันไว้ได้เลย! ชมรมทันตาภิบาลแห่งประเทศไทย กำหนด ฤกษ์วันจัดงานประชุมวิชาการ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2554 แล้วระหว่างวันที่ 22-24 พฤศจิกายน ณ โรงแรม ปางสวนแก้ว จ. เชียงใหม่ ดูรายละเอียดใน www. tantaa.org พี่น้องชาวทันตาภิบาลทุกคน อย่าพลาด โอกาสนี ้ ไปร่ ว มแสดงพลั ง กั น เยอะ ๆ เหมื อ นปี ท ี ่

ผ่าน ๆ มานะครับ เพราะต้องอาศัยพลังกันอีกมากเพื่อ วิชาชีพของพวกเรา สอบถามรายละเอียดที่คุณรัชนี

ลิ้มสวัสดิ์ (พี่โข่ง) ผู้ประสานงานเครือข่ายทันตาภิบาล 08 6567 1627

ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย เขต 15, 16 จัดประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานนวัตกรรม ด้านสาธารณสุข ครั้งที่ 7 ประจำปี 2554 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏ จ. ลำปาง ระหว่างวันที่ 13 - 15 กรกฎาคม 2554 เขต 15, 16 ประกอบด้วย 8 จังหวัดภาคเหนือ ตอนบน (เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน พะเยา) ปีนี้มีกิจกรรมเยอะกว่าทุกปี เช่น มีการแข่งขันกอล์ฟ ฟุตบอล วอลเลย์บอล นิทรรศการแสดงผลงาน และนำเสนอผลงานวิ ช าการและ นวัตกรรมสาธารณสุข

นพ. ทนงสรรค์ สุธาธรรม รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการ และมอบรางวัลผู้ ได้รับ รางวัลผลงานนวัตกรรมดีเด่น เขต 15, 16 ที่ จ. ลำปาง ผลการประกวดผลงานวิชาการและนวัตกรรม สาธารณสุขดีเด่นใน 5 สาขา มีดังนี้ 1) สาขาการสร้างเสริมสุขภาพ อันดับ 1 นางวารินทร์ เขื่อนแก้ว รพ. สต. ป่าซาง

จ. พะเยา ผลงานเรื่อง “เปิดตำราเรียนรู้

สู่โรงเรียนนวัตกรรมสุขภาพชุมชน” /กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  83


อันดับ 2 นายอดิศักดิ์ อากรสกุล รพ.สต. เหมือง-

หม้อ จ. แพร่ ผลงานเรื่อง “พลังชุมชน

กั บ กระบวนการเรี ย นรู้ ผั ก ปลอดสาร

พิษ” อันดับ 3 นางสมจิตร ศรีรังษ์ รพ.สต. ริม จ. น่าน

ผลงานเรื่อง “ผลการใช้โปรแกรมปรับ-

เปลี่ ย นพฤติ ก รรมสุ ข ภาพลดความ

เสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง และโรค

เบาหวานของกลุ่มเสี่ยง” 2) สาขาการป้องกันโรคและควบคุมโรค อันดับ 1 นายจิรพันธ์ ขัดชา รพ.สต. บ้านปง จ.

แพร่ ผลงานเรื่อง “การพัฒนารูปแบบ

สำรวจลูกน้ำยุงลายโดย อสม. บูรณา-

การกั บ โครงการควบคุ ม โรคไข้ เ ลื อ ด

ออก” อันดับ 2 นายสุรเชษฐ์ ทะนันชัย สสช. บ้านห้วย-

หยวก จ. น่าน ผลงานเรื่อง “การพัฒนา

รูปแบบการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคใน

ชนเผ่ามลาบรี” อันดับ 3 นายอานนท์ โกฏิคำ รพ.สต. บ้านเวียง-

เหนือ จ. แม่ฮ่องสอน ผลงานเรื่อง “สี่มือ

ปราบเพชฌฆาต” 3) สาขาการนวัตกรรมบริการ อันดับ 1 นายสมชาย ปัญญา รพ.สต. ท่าเกวียน

และนางจุ รี ม าศ ไทรงาม รพ. เถิ น จ.

ลำปาง ผลงานเรื ่ อ ง “เพราะเราคู่ กั น

(smoking model และหลอดเป่าปอด

ได้)” อันดับ 2 น.ส.ศิริกมล ไชยช่อฟ้า รพ.สต. บ้านพี้

จ. น่าน ผลงานเรื่อง “การพัฒนาสื่อสุข-

ศึ ก ษาการตรวจคั ด กรองมะเร็ ง ปาก-

มดลูกด้วย ‘หุ่นต้านภัยหญิง’ ” อันดับ 3 นายกำธร กันธะวงศ์ รพ.สต. บ้านผาผ่า

จ. แม่ ฮ ่ อ งสอน ผลงานเรื ่ อ ง “ผ้ า ก๊ อ ซ

มหัศจรรย์” 84

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

4) สาขาเทคโนโลยีสาธารณสุข อันดับ 1 นายเชาวลิต สันวงศ์ตา และคณะ คปสอ.

แม่ พ ริ ก จ. ลำปาง ผลงานเรื ่ อ ง “การ

พัฒนาใช้ภูมิสารสนเทศ (GIS) กับงาน

สาธารณสุข” อันดับ 2 นายรั ฐ ธรรมนู ญ วงศารั ต นศิ ล ป์ รพ.

สต. บ้านโป่ง จ. แพร่ ผลงานเรื่อง “โปร-

แกรมสำหรับ รพ.สต. HOSXP_PCU_

BANPONG” อันดับ 3 นางนฤมล ลำเจริญ รพ.สต. ไชยสถาน

จ. น่าน ผลงานเรื่อง “Bottle Anti Wet” 5) สาขางานวิจัย อันดับ 1 ภญ. ดร. วัชรินทร์ ไชยถา และคณะ

รพ. เชียงแสน จ. เชียงราย ผลงานเรื่อง

“ผลของโครงการใช้ยาปฏิชีวนะอย่าง

สมเหตุผล” อันดับ 2 นายธนเสฏฐ์ สายยาโน และคณะ สสอ.

บ้ า นหลวง จ. น่ า น ผลงานเรื ่ อ ง “การ

พัฒนารูปแบบการประกอบอาหารใน

งานประเพณี อ.บ้านหลวง” อันดับ 3 น.ส. กุลธิดา พิศปิงคำ ทพญ.เย็นจิต-

คุรุภากรณ์ รพ. ห้างฉัตร จ. ลำปาง ผล-

งานเรื่อง “ผลของการใช้ทันตสุขศึกษา

แก่มารดาในระยะตั้งครรภ์ จนถึงคลินิก

เด็กดี ต. เมืองยาว” ขอขอบคุณ คุณวิชิตพงษ์ วงศ์เรือน ผู้ช่วย สาธารณสุ ข อำเภอเสริ ม งาม จ. ลำปาง ที ่ ช ่ ว ยสรุ ป ข้อมูลมาให้เป็นอย่างดี ผ่านไปแล้ว ! มีผู้ร่วมงานร่วม 2,000 คน กับ งานประชุมวิชาการขั้นเทพ “จากงานประจำสู่งาน วิจัย” ครั้งที่ 4 “เชื่อมพลังเครือข่าย ขยายคุณค่า งานประจำ” สำเร็ จ เสร็ จ สิ ้ น ไปเมื ่ อ วั น ที ่ 20 - 22 กรกฎาคม ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี สนใจผลงาน R2R ดีเด่น ดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่ http://r2r.hsri.or.th


รางวัลผลงาน R2R ดีเด่น กลุ่มปฐมภูมิ 1) นางสมศรี ไชยภารมณ์ กลุ่มงานบริการ และติดตามผลในชุมชน ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด จ. แม่ฮ่องสอน ผลงานเรื่อง “เยี่ยมบ้าน เยี่ยมใจ : การ พั ฒ นารู ป แบบการติ ด ตามผู้ ป่ ว ยหลั ง การบำบั ด รักษาของศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดแม่ฮ่องสอน” 2) น.ส.กัลปังหา โชสิวสกุล รพ. หนองม่วง จ. ลพบุรี ผลงานเรื่อง “การมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่ อ การป้ อ งกั น และแก้ ปั ญ หาการตั้ ง ครรภ์ ที่ ไ ม่ พร้อม ต.ชอนสมบูรณ์” 3) นางใบศรี อุทธสิงห์ รพ.สต. หัวทุ่ง จ. อุบลราชธานี ผลงานเรื่อง “ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคเข้มแข็งเครือข่าย รพ.สต. ยางขี้นก” 4) นายเอกรัฐ จันทร์วันเพ็ญ รพ. สิชล จ. นครศรีธรรมราช ผลงานเรื่อง “การพัฒนาเครือข่าย เรียนรู้การพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิเขตภาค ใต้ตอนบน : กรณีศึกษาการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรค เรื้อรังและผู้พิการในชุมชน” 5) นายสมนึ ก หงส์ ยิ้ ม รพ. ทั พ ทั น จ. อุทัยธานี ผลงานเรื่อง “ประชาชนทัพทัน สามารถ จัดการสุขภาพได้ด้วยชุมชนเองจริงหรือ : การวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม” 6) น.ส.อุไรวรรณ ศรีระบุตร รพ.สต. ท่าไห จ. อุบลราชธานี ผลงานเรื่อง “ชุมชนท่าไห ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพจิต” รางวัลผลงาน R2R ดีเด่น กลุ่มทุติยภูม ิ 1) น.ส.พั ช ริ ย า โทนหงษา รพ. เสลภู ม ิ

จ. ร้อยเอ็ด ผลงานเรื่อง “ดูแลรักษาไต ใส่ใจเรื่องยา” 2) นางชมพู นุ ช วงค์ ต าขี่ รพ. ธาตุ พ นม

จ. นครพนม ผลงานเรื่อง “เสื้อสมุนไพร three in one” 3) นางปิ ย พร บุ ณ ยวั ฒ น รพ. ท่ า วั ง ผา

จ. น่าน ผลงานเรื่อง “การส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล” 4) น.ส.วิ จิ ต รา แก้ ว งาม รพ. ธาตุ พ นม

จ. นครพนม ผลงานเรื่อง “condom ติดดาว : การ ทำแผล permanent catheter ด้วย condom”

5) นางนี ล นาถ เจ๊ ะ ยอ รพ. หนองจิ ก

จ. ปัตตานี ผลงานเรื่อง “การใช้ยาตามวิถีชีวิตมุสลิม ในเดือนรอมฎอนของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะ ไตเสื่อม” 6) นางพิมพ์ริสา ตั้งไพบูลย์ รพ. ธาตุพนม จ. นครพนม ผลงานเรื่อง “ผ้าปิดตาสุขสบาย” 7) นางรสสุ ค นธ์ ศรี ใ ส รพ. ควนขนุ น

จ. พัทลุง ผลงานเรื่อง “ที่นอนรังผึ้งป้องกันแผลกด ทับ” 8) น.ส.กั ล ญา สุ ท ธิ ธ รรม รพ. พนมไพร

จ. ร้อยเอ็ด ผลงานเรื่อง “การพัฒนาการดูแลผู้ป่วย เมลิออยโดสิส (Melioidosis) ในหอผู้ป่วยใน” หมออนามัยช่วยได้ ในการช่วยเหลือคน ที่ด้อย (หมด) โอกาส... ฉบับก่อนได้ลงไปครั้งหนึ่ง แล้วว่า...สถาบันแก้วกัลยาสิกขาลัย สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุ ข ได้ เ ชิ ญ คุ ณ ธานิ น ทร์ พั น ธ์ ประภากิจ ผู้ก่อตั้ง “บริษัท ทาสของแผ่นดิน จำกัด” ซึ่งเป็นศูนย์ผ่าตัดต้อกระจก - ต้อเนื้อ ฟรี เป็นคลินิก เวชกรรมเฉพาะทางจั ก ษุ มาบรรยายให้ เ จ้ า หน้ า ที ่ กระทรวงสาธารณสุขฟัง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ขอ นำเรื่องดี ๆ มาบอกต่อ (อีกครั้ง) คิดว่าคงเป็นประโยชน์ สำหรับชาวบ้านที่ขาดโอกาสในการรักษาดวงตาจาก ต้อกระจก - ต้อเนื้อ เพียงพวกเราหมออนามัยช่วย กันสำรวจชาวบ้านในเขตรับผิดชอบที่มีปัญหาดังกล่าว แล้วติดต่อมาที่ศูนย์ฯ นี้ เขาจะพาทีมจักษุแพทย์ออก ไปผ่าตัดให้ฟรี ! โดยตั้งเป้าไว้ 6 แสนราย ตอนนี้ทำได้ 7 หมื่นรายแล้ว คิดว่า ยังมีชาวบ้านที่ขาดโอกาสในการ มองเห็นอีกเยอะมาก เพียงพวกเราช่วยกันค้นหาแล้ว ประสานงานไป ก็ได้กุศลอันยิ่งใหญ่นี้แล้ว ศูนย์นี้ตั้งอยู่ที่ อาคารพระมหากรุณาธิคุณ เลขที่ 98 ซ. สุขุมวิท 24 (เกษม) ถ. สุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กทม. 10110 โทร.0 2261 8213 - 5 หรือเข้าไปดูรายละเอียดในเว็บไซต์ก็ได้ ฉลองครบรอบ 27 ปี ศิษย์เก่า วสส. พิษณุโลก รุ ่ น ที ่ 21 (เฉพาะทุ น พิ ษ ณุ โ ลก 10 คน) ร่ ว ม เสวนาธรรมกั น พร้ อ มหน้ า พร้ อ มตา ณ ศาลากลาง /กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  85


หนองน้ำ อ. บางระกำ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ปีนี้กำหนด ประเด็ น เสวนาว่ า “27 ปี ผ่ า นไป... มี อ ะไรในจิ ต วิ ญ ญาณ” มี คุ ณ สอน ขำปลอด เป็ น องค์ ป าฐก คุ ณ ชาตรี ป้อมเปิ้ล คุณเสน่ห์ มั่นทับ สสจ. พิษณุโลก เป็น ผู้สนับสนุนทุนรายใหญ่ และฝากความคิดถึง ถึงเพื่อน ๆ ร่วมรุ่น 21 วสส.พล. ทุกคนด้วย...ว่างยามใด พวกเราคงได้ กลับมาเยี่ยมวิทยาลัยกันพร้อมหน้าอีกครานะครับ ข่าว (ลับ) สำหรับเพื่อนเครือข่ายปลายปากกา “กระแต สระบุรี” พาทีมไปศึกษาดูงานหมู่บ้าน ตัวอย่างเมืองพิจิตร เขตพื้นที่ของ “เชฐ ชุมพร” ดูทุกซอก ทุกมุมสมไปดูงานจริง ๆ ไม่เหมือนหลายแห่งที่เอาดูงาน บังหน้า กิน - เที่ยว - นับเลข เป็นเรื่องหลัก เนอะ ! “มล บุรีรัมย์” “จิ๋ว ปลาปาก” “ชัย ชาละวัน” สมาชิกรุ่นเก๋า นานมากกว่าจะโคจรมาเจอกันสักที ในการ ประชุมเครือข่ายหมออนามัยเมื่อเดือนที่แล้ว ฝากบอกถึง “แม่หมู ราชบุรี” ว่า กลุ่มสายแข็งยัง “แรง” เหมือนเดิม “แดง ห้วยขาแข้ง” คอนเฟิร์ม !

“นิ่ม สุคิริน” “วันชัย ยะลา” “เสียบ ปัตตานี ” พี ่ น ้ อ งสายใต้ ข องพวกเราเงี ย บหายไป คงรอด ปลอดภัยกันดีนะ สุดท้าย...เพื่อนสมาชิกที่มีโอกาสไปร่วมงาน ประชุมวิชาการชมรมฯ ที่เชียงราย (13 - 16 กันยายน) เจอกันที่ “บู๊ธหมออนามัย” นะครับ งานนี้ “เอก สาละวิ น ” แสดงคอนเสิ ร ์ ต เปิ ด งานด้ ว ยนะ แวะเวี ย นไปให้ กำลังใจกันบ้างเด้อครับ ก่อนจากกันฉบับนี้ ขอนำข้อคิดของท่านธรรมมาจารย์เจิ้งเหยียน แห่งมูลนิธิฉือจี้ มาฝากก่อนจาก... “ทะเลนั้น ยังสามารถถมให้เป็นแผ่นดินได้ แต่ปากเล็ก ๆ ที่อยู่ใต้จมูกนั้น ยากที่จะเติมให้เต็ม...” แล้วพบกันฉบับหน้า ฉบับที่ออกตรงกับเทศกาลน้ำท่วมในทุก ๆ ปี สวัสดีครับ บ๊าย...บาย

“เครือข่ายหมออนามัย” ได้จัดทำผ้าห่มลายทอ “หมออนามัย” เป็นลายในตัว เนื้อผ้า cotton 100 % นุ่ม หนา ใช้ ได้ทุกฤดูกาล ขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 2 เมตร มี ให้เลือก 2 สี (สีชมพู, สีฟ้า) เหมาะสำหรับใช้เป็นของฝากในเทศกาลต่าง ๆ หรือใช้เองก็ดูดี มีคุณค่า

มีสไตล์ รายได้ทั้งหมดเพื่อพัฒนาเครือข่ายหมออนามัย ปกติราคา

900 บาท โปรโมชั่นพิเศษลดเหลือ 550 บาท

(มีจำนวนจำกัด)

ค่าส่งฟรี

วิธีการสั่งซื้อ โอนเงินเข้าบัญชี “กองทุนเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ” เลขที่ 142 - 0 - 09322 - 3 ธ. กรุงไทย สาขากระทรวงสาธารณสุข แฟกซ์ ใบสั่งซื้อและใบโอนเงินมาที่... สำนักงานเครือข่ายหมออนามัย สถาบันพระบรมราชชนก ตึก 4 ชั้น 7 สนง. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทร. 0 2590 1946 แฟกซ์ 0 2590 1947 (ดูตัวอย่างผ้าห่มได้ ใน www.mohanamai.com) 86

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1


จากเพื่ อ นถึ ง เพื่ อ น

ความคิด... และการเติบโต เห็นพ้องต้องกันกับผมมั้ยครับว่า “หนัง” รวมถึง “ละเม็งละคร” ที่พวกเราดู ๆ กันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนั้น เปรียบไปก็ คล้ายอาหาร ต่างกันตรงที่หนัง - ละครเป็น “อาหารสมอง” ที่ต้องใช้ “ใจ” เคี้ยว อาศัย “ความคิด” เป็นน้ำย่อยช่วยบด ช่วยย้ำ บางชิ้นย่อยง่ายก็พุ่งปรู๊ด ขณะที่บางเรื่องต้องอาศัย เวลา บดย้ำอยู่นั่นแล้วกว่าจะส่งผ่านเข้าเยื่อสมองได้ แต่บาง ครั้งก็มีแค่ “กาก” เผลองับเข้าไปเป็นรีบคายทิ้ง ด้วยไม่หมาย ให้ร่างกายดูดซึม ! เดือนเศษ ๆ มานี่ บ้านเรามีหนังลงโรงหลายเรื่อง เชียวครับ ช่วงรอยต่อของโปรแกรมยอดฮิตสะใจคอหนัง “ล้งเล้งโครมคราม” อย่าง Transformer 3 และ Harry Potter (ภาคจบ... เสียที !) มีหนังอยู่เรื่องที่เข้าฉายแบบเงียบ ๆ คือ The Tree of Life ซึ่งเพิ่งได้รับรางวัลปาล์มทองคำจาก เทศกาลหนังเมืองคานส์มาสด ๆ ร้อน ๆ ปีนี้เอง ผมดูแล้วก็ให้ รู้สึกว่าย่อยย้ากยาก แต่สารอาหารนั้นมันชวนให้น่าดูดซึมเข้า สู่เยื่อสมองมั่กมั่ก ! หนังว่าด้วยเรื่องราวของชายวัยกลางคน ๆ หนึ่งที่ชื่อ “แจ็ค” ผู้ชายคนนี้ใช้ชีวิตอย่างเคว้งคว้างว่างเปล่า เฝ้าเวียนเพียรคิดว่าตูเกิดมาทำไม จะมีชีวิตเพื่ออะไร เหตุใดมนุษย์จึง ทุกข์ทรมานกับการจากพราก ทำไมความสุขจึงไม่คงอยู่ตลอด ไป ไฉนกาลเวลาถึงไม่ช่วยให้ความเจ็บปวดจากสิ่งที่ร้อยรั ด ตั ว เขามาแต่ อ ดี ต ทุ เ ลาลงได้ กระทั ่ ง แว่ บ หนึ ่ ง เพี ย งชั ่ ว

วางแก้วกาแฟ เขาก็ย้อนนึกไปถึงเหตุการณ์ในอดีต ปะติด

ปะต่อเรื่องราวจนผุดบังเกิด เจอะเจอหนทางแห่งการปลดบ่วง ทุกข์นั้นในที่สุด ขณะที่คนดูเองก็ได้มีโอกาสเติบโตไปพร้อม ๆ กับตัวละครด้วย ! แจ็คเติบโตในครอบครัวเล็ก ๆ ชาวอเมริกันที่ประกอบ ไปด้วย พ่อ แม่ และลูกชาย 3 คน แม้เด็ก ๆ จะสัมผัสได้ถึง ความเอื้ออาทรของแม่ แต่พวกเขากลับได้รับความรักในอีก รูปแบบหนึ่งจากผู้เป็นพ่อซึ่งยากแท้ที่ลูกวัยไร้เดียงสาจะเข้าใจ เจตนา ด้วยพ่อเป็นคนเข้มงวด เกรี้ยวกราด และกดดัน เพราะ ต้องการให้ทุกสิ่งอย่างสมบูรณ์แบบ ผู้ได้รับผลกระทบนั้น อย่างเต็ม ๆ ก็คือ “แจ็ค” ลูกชายคนโตซึ่งผู้เป็นพ่อคาดหวัง มากที่สุด เมื่อถูกบีบคั้นจนอึดอัดทรมาน “ปมเกลียดพ่อ” จึงเข้ามาผูกมามัดชีวิตเขาในที่สุด ประกอบกับช่วงเวลา ใกล้ ๆ น้องชายคนรองก็ตายจากไป โลกของเด็กชายจึงแทบ ล่มสลาย ก้อนทุกข์เลยตามติดตัวมานับแต่นั้น หนีก็ไม่ได้... ไล่ก็ไม่พ้น ! ดูเหมือนหนังมีความชัดเจนที่จะเล่นกับประเด็นทาง ศาสนา นั่นคือ หากผู้ใดเชื่อและศรัทธาในพระเจ้า ผู้นั้นก็จะ

พบกับทางสว่าง เหมือนกับแจ็คที่ค่อย ๆ ใช้ศรัทธาวิเคราะห์ ปัญหาของตัวเองกระทั่งพบว่าเหตุเพราะเขาถูกหล่อหลอมด้วย การเลี้ยงดูแบบเข้มงวด ต้องเจอะเจอกับประสบการณ์ขื่นขม อันเกิดจากความสูญเสียน้องชาย ชีวิตคล้าย “ต้นไม้ที่มีรากแก้วผุพัง” จึงหล่อเลี้ยงผลใบได้ไม่เต็มที่ ทำให้เติบโตมาแบบ คนที่สับสนในชีวิต ทุกข์ง่าย - สุขยาก สำหรับหลักธรรมของ คริสต์นั้น หากใครมีทุกข์ที่เกิดจากการยึดติดกับปมรากในอดีต ทางออกก็คือ “การให้และเมตตา” ซึ่งแจ็คก็ปลดปลงมันได้ พร้อมจะเติบโตไปกับชีวิตที่เหลืออยู่อย่างมีความสุขอีกครั้ง ! เห็นอย่างนี้แล้ว ก็ให้นึกถึงหลักธรรมทางพุทธที่ว่า ด้วย อริยสัจ 4 เลยนะครับ ถ้าแจ็คเข้าใจความจริง 4 ประการ ทั ้ ง การมี อ ยู่ ข องทุ ก ข์ เหตุ แ ห่ ง ทุ ก ข์ ความดั บ ทุ ก ข์ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ และละวางได้ เขาก็จะทุกข์ไม่

ง่าย - สุขไม่ยากแล้วล่ะเนาะ ว่ามั้ย ? แต่ใครจะเลือกวิธีการ ไหนมาใช้ก็ขึ้นอยู่กับศรัทธาของคน ๆ นั้นแหละครับ ผมเชื่อ อย่างนี้ว่า ไม่ว่าจะศาสนาใด ก็ล้วนช่วยผู้คนให้พ้นทุกข์และ เติบโตทางความคิด... ทั้งนั้น ! หนังเรื่องนี้สนุกตรงที่เปิดช่องทางกว้าง ๆ ให้คนดูได้ คิดร่วมไปกับสิ่งที่เห็นบนจอ สามารถวิเคราะห์โดยสะดวกตาม จริตและประสบการณ์เฉพาะตัว ฉะนั้น เมื่อเห็นอาหารจานนี้ แล้วอย่าเพิ่งร้องอี๋ ถึงจะย่อยยากไปนิด ขมไปหน่อย ก็อยากให้ ลองขบเคี้ยวดู แล้วจะรู้ว่าอาหารที่ผมจัดให้หนัก ๆ จานนี้มี คุณประโยชน์... เต็มเต็ม ! หมอเมฆ : ชายหนุ่ ม ที่ ช่ ว งนี้ อ าหารสมองหมด

คลัง... เลยดูหนังอย่างบ้าคลั่ง ! mohmek@hotmail.com /กรกฎาคม - สิงหาคม 2554  87


คณะที่ปรึกษา

นายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์, ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี, ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ อธิบดีทุกกรม, ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก, ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, ผอก. สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ, นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ทุกจังหวัด, ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ทุกแห่ง, ผู้อำนวยการวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ทุกแห่ง, ผู้อำนวยการกองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน, ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน ทุกแห่ง, สาธารณสุขอำเภอ ทุกแห่ง

บรรณาธิการวิชาการ

นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ

ผู้ช่วยบรรณาธิการวิชาการ นายสุทธิสิทธิ์ ไมตรีจิตร์

บรรณาธิการบริหาร ผู้พิมพ์และผู้ โฆษณา นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ

กองบรรณาธิการบริหาร

นางสาวไพจิตร์ เพ็งไพบูลย์, นางวรรทนี พัดมา

จัดทำโดย

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

ผู้ ให้การสนับสนุน

กระทรวงสาธารณสุข, องค์การอนามัยโลก, สถาบันพระบรมราชชนก, สมาคมหมออนามัย, สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิเครือข่ายหมออนามัย, ชมรมแพทย์ชนบท, ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุน- สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สมาคมทันตาภิบาลแห่งประเทศไทย

กรรมการบริหารโครงการจัดทำวารสารหมออนามัย

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ นายสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ

ประธานกรรมการ กรรมการ ” ” ” กรรมการ/เลขานุการ

กองบรรณาธิการวิชาการ

นางสาวพรรณี ภัทรพงษ์พันธ์, นายเสมอ กาฬภักดี, นายวิวัฒน์ วนรังสิกุล, นายพิเชฐ เชื้อวีระชน,

นางสาวสุนีย์ สุขสว่าง, นายชัยณรงค์ สังข์จ่าง, ดร.ปารัณกุล ตั้งสุขฤทัย, นายธีระพงษ์ ธรรมโชติ,

นางสาวรัชนี ลิ้มสวัสดิ์, นายวิสุทธิ บุญญะโสภิต, ภญ.จินดา หวังวรวงศ์, นายจตุพร วิศิษฎ์โชติอังกรู,

นายเสถียร ปวงสุข, นายณรงค์ พันธ์ศรี, นายจิรัฐฐิติ จิว, นางสุภัสรา พุทธพฤกษ์

วัตถุประสงค์ของวารสารหมออนามัย 1. เป็นแหล่งความรู้ใหม่ ๆ และทบทวนความรู้เดิม ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติสำหรับ “หมออนามัย” 2. เป็นเวทีการแสดงผลงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของ “หมออนามัย” 3. เพื่อสร้างความยอมรับในสังคมและขวัญกำลังใจแก่หมออนามัย 4. เพื่อเป็นสื่อกลางในการส่งข่าวสารระหว่างหมออนามัยด้วยกันเองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วารสาร “หมออนามัย” ดำเนินการโดยมิได้มุ่งหวังผลกำไรทางการค้า มีจุดมุ่งหมายร่วมกันที่จะ ถ่ายทอดความรู้ไปสู่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชนบทให้มากที่สุด บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร “หมออนามัย” ยินดีให้ทุกท่านนำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทาน แต่ไม่ อนุญาตให้นำไปเผยแพร่เกี่ยวกับผลประโยชน์ทางการค้า

สำนักงานวารสารหมออนามัย สถาบันพระบรมราชชนก อาคาร 4 ชั้น 7 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0 2590 1946 โทรสาร 0 2590 1947 ติดต่อฝ่ายสมาชิกได้ที่ คุณไพจิตร์ เพ็งไพบูลย์ โทรศัพท์ 0 2590 1122, 0 2590 1113, มือถือ 08 1813 5902 โทรสาร 0 2591 8513

ออกแบบและบริหารการพิมพ์ โดย

บริษัท สร้างสื่อ จำกัด 17/118 ซอยประดิพัทธ์ 1 ถนนประดิพัทธ์ สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2279 9636, 0 2271 4339 โทรสาร 0 2618 7838




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.