พุทธศักราช ๒๑๓๖ กัมพูชาเสียกรุงละแวก “เราได้ออกวาจาไว้แล้วว่า ถ้ามีชัยแก่ท่านเราจะท�ำพิธีประถมกรรม เอาโลหิ ต ท่ า นล้ า งบาทาเสี ย ให้ ไ ด้ ... พระโหราธิ บ ดี ชี พ ่ อ พราหมณ์ จัดแจงการนั้นเสร็จ จึงเชิญเสด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นบนเกย เจ้าพนักงานองครักษ์เอาตัวพระยาละแวกเข้าใต้เกย ตัดศีรษะเอาถาด รองโลหิตขึน ้ ไปช�ำระพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห ่ วั พระโหราธิบดีกล็ น ั่ ฆ้องชัย...” พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา (รัชกาลที่ ๔)
เรื่ อ ง : สุ เ จน กรรพฤทธิ์ ภาพ : สุ เ จน กรรพฤทธิ์ สกล เกษมพั น ธุ ์
พลิก ประวตั ศิ าสตร์ นอกตาํ รา ตามหา
68
พฤษภาคม ๒๕๕๖
ภาพจิตรกรรม ผนังที่ ๑๑ ในวิหารวัดสุวรรณดาราราม ใต้ภาพมี ป้ายภาษาไทยและภาษาอังกฤษเขียนว่า “สมเด็จพระนเรศวร เสด็จ ยกกองทัพหลวงไปตีกรุงก�ำพูชาได้เมืองละแวก จับนักพระสัตถา เจ้ากรุงก�ำพูชาได้ ทรงท�ำปฐมกรรมแล้วให้ต้อนครัวเชลยกลับก่อน จึงเสด็จพระราชด�ำเนิรกลับคืนสู่พระนครเมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๖” ภาพนี้ แม้จะวาดในสมัยรัชกาลที่ ๗ แต่ต่อมากลายเป็นภาพจ�ำของคนไทย ยามนึกถึงพระยาละแวก
พฤษภาคม ๒๕๕๖
69
วิหารวัดตรอแฬงแกง อดีต “ศูนย์กลาง” กรุงละแวก พงศาวดารกัมพูชา ระบุว่า วิหารนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานพระอัฏฐารส พระพุทธรูปส�ำคัญซึ่ง ภายหลังถูกท�ำลายในรัชกาลนักพระสัตถา ก่อนเสียกรุงละแวกไม่นานนัก
พุทธศักราช ๒๐๒๙ ก�ำเนิดพญาจันทราชา “พระยาละแวกองค์แรก” ในประวัติศาสตร์ “พญาจันทราชา” เคยเสด็จฯ มาลี้ภัยในราชส�ำนัก กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ก่ อ นกลั บ ไปกอบกู ้ เ มื อ งกลายเป็ น ปฐมกษั ต ริ ย ์ กรุงละแวก ด�ำเนินนโยบายฟื้นฟู “ความรุ่งเรืองสมัยเมืองพระนคร” ในรัชสมัยของพระองค์ ละแวกรุง่ เรืองจนมีคำ� กล่าว “ไม่วา่ ม้าทีม ่ ก ี ำ� ลัง มากเพียงใด ก็ไม่สามารถวิ่งรอบก�ำแพงเมืองละแวกได้”
มงกุฎทองเหลืองจ�ำลองตั้งอยู่บนพานใกล้แท่นบูชาพระอัฏฐารสในวิหาร วัดตรอแฬงแกง คล้ายจะตอกย�้ำความทรงจ�ำว่า ในศตวรรษที่ ๑๗ ที่นี่คือ ราชส�ำนักอันเรืองโรจน์ของกัมพูชา
70
พฤษภาคม ๒๕๕๖
พฤษภาคม ๒๕๕๖
71
พุทธศักราช ๒๐๗๐ ก่อตั้งกรุงละแวก “ท�ำปรางค์มหาปราสาทหลังหนึ่งมี ๕ ยอด เป็นปราสาทส�ำหรับพระมหา กษัตราธิราชบรรทม สร้างพระราชมณเฑียรใหญ่หลังหนึ่ง ส�ำหรับสนมกรม การประจ�ำยาม แล้วท�ำปราสาทหลังหนึ่งมี ๓ ยอด ส�ำหรับพระราชบุตรี... ปราสาทพระราชมณเฑียรใหญ่นอ้ ยล้วนแต่แกะสลักสลัดเสลาลงรักปิดทอง... แล้วพระองค์ให้ขุดสระสรงงดงามในพระนคร”
เอกสารมหาบุรุษเขมร
สภาพ “อดีตกรุงละแวก” ในปี ๒๕๕๕ สิ่งที่เหลือจากอดีตอันเรืองโรจน์คือ วัดตรอแฬงแกง (วัดทางด้านขวา) อดีตศูนย์กลางเมืองและวัดเก่า ๒-๓ แห่ง คูนำ�้ คันดินด้านทิศตะวันตกของตัวเมือง นอกจากนีพ้ นื้ ทีท่ เี่ คยเป็นตัวเมือง ก็มีสภาพเป็นไร่นา ไม่ปรากฏการอนุรักษ์เมืองส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ แห่งนี้แต่อย่างใด
72
พฤษภาคม ๒๕๕๖
พฤษภาคม ๒๕๕๖
73
พุทธศักราช ๒๑๑๓ พระปรมินทราชา (พระยาละแวกองค์ที่ ๒) โจมตีกรุงศรีอยุธยา และหัวเมืองรอบนอก “ศักราช ๙๓๒ มะเมียศก พญาละแวกยกพลมายังพระนครศรีอยุทธยา พญาละแวกยืนช้างต�ำบลสามพิหาร แลได้รบพุง่ กัน และชาวในเมืองพระนคร ยิงปืนออกไป ต้องพญาจามปาธีราชตายกับคอช้าง ครั้งนั้นศึกพญาละแวก เลิกทัพกลับคืนไป”
“ต�ำบลสามพิหาร” ที่พระยาละแวกเคย “ยืนช้าง” ขณะเข้าตีกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันคือที่ตั้งของ “วัดสามวิหาร” ต�ำบลหัวรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิง่ ทีเ่ หลือมาจนถึงยุคปัจจุบนั มีเพียงใบเสมาเก่ารอบโบสถ์ ทุกวันนีแ้ ผ่นพับ ของวัดซึ่งท�ำแจกนักท่องเที่ยวยังคงเล่าเหตุการณ์พระยาละแวกมายืนช้าง ที่นี่เอาไว้อย่างละเอียด
พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์
(ขวาบน) “ศาลเจ้าพ่อใหญ่” ตัง้ อยูร่ มิ ถนนเลียบคันคลองชลประทาน ต�ำบล บางจาน ถือเป็นต้นต�ำนาน “งานกระจาด” ของชาวต�ำบลบางจาน ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการโจมตีเมืองเพชรบุรีของพระยาละแวกใน อดีต (ขวา) ปู่พิมพ์ หรือ บุญหลง ทับสี ชาวต�ำบลบางจานอวด “กระจาด” ประจ�ำบ้านที่สานขึ้นเองส�ำหรับใช้ใน “งานกระจาด” ซึ่งจัดขึ้นใน ปีที่มีเดือน ๘ สองหน
74
พฤษภาคม ๒๕๕๖
พฤษภาคม ๒๕๕๖
75
พุทธศักราช ๒๑๓๖ สมเด็จพระนเรศวรตีกรุงละแวก (แต่ไม่ได้ประหารพระยาละแวก) “...ณ วั น ๖ ฯ๑๐ ๒ ค�่ ำ เวลารุ ่ ง แล้ ว ๓ นาฬิ ก า ๖ บาท เสด็ จ พยุ ห บาตราไปเอาเมื อ งละแวก และ ตั้ ง ทั พ ชั ย ต� ำ บลบางขวด เสด็ จ ไปครั้ ง นั้ น ได้ ตั ว พญาศรีสุพรร ในวัน ๑ฯ๑ ๔ ค�่ำนั้น” พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์
(ภาพบนและภาพซ้าย) “ศาลนักตาปาง” (เนี้ยกตา-เสื้อเมือง) ตั้งอยู่บริเวณที่ น่าจะเป็นอดีตแนวก�ำแพงชั้นในและประตูเมืองเดิมของ กรุงละแวก ทุกวันนี้กลายเป็นสนามวิ่งเล่นของเด็กๆ แถบนั้น (ภาพหน้าขวา) จิ ต รกรรมฝาผนั ง ใน “วิ ห ารพระโค-พระแก้ ว ” เล่ า “ต�ำนานพระโค-พระแก้ว” ซึ่งถูกกษัตริย์สยาม (สมเด็จ- พระนเรศวรฯ) ชิงไป ท�ำให้ความเจริญและสรรพวิทยาการหายไปจากดินแดนกัมพูชา
76
พฤษภาคม ๒๕๕๖
พฤษภาคม ๒๕๕๖
77
พุทธศักราช ๒๑๓๖ นักพระสัตถาเสด็จฯ ลี้ภัย
“เมื่ อ คนเหล่ า นี้ (คนสเปน) อยู ่ ใ นราชอาณาจั ก รกั ม พู ช าที่ เ มื อ งจั ตุ ร มุ ข กั บ พระเจ้ า Langara (ละแวก) กษั ต ริ ย ์ แ ห่ ง กั ม พู ช านั้ น พระเจ้ า แผ่ น ดิ น สยามกรี ฑ าทั พ มาโจมตี พ ระองค์ ด ้ ว ยรี้ พ ลและ (กองทั พ ) ช้ า งมากมาย ยึ ด พระนคร พระราชวัง และพระคลังสมบัติได้ พระเจ้ากัมพูชาจึงเสด็จหนีไปเมือง เหนือจนถึงอาณาจักรลาว...”
78
พฤษภาคม ๒๕๕๖
ทางไปเมืองสตรึงเตรง เมืองที่นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า นักพระสัตถาเสด็จไปประทับระหว่างลี้ภัย
จดหมายเหตุของ ดร. อันโตนิโอ เดอ มอร์ก้า (สเปน)
พฤษภาคม ๒๕๕๖
79
พุทธศักราช ๒๑๖๖ ร่องรอย “พระยาละแวกองค์สุดท้าย” “...ปีฝรั่ง ๑๖๒๓ พระบาทสมเด็จพระไชยเชฏฐาธิ- ราชพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี ทรงสร้างเจดีย์คู่บน พนมราชทรัพย์ พระเจดียด์ า้ นตะวันตกในเขตส�ำโรง ทอง ท�ำบุญบรรจุพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระ มหินทราชาธิราช (พระสัฏฐา)...” ศิลาจารึกพระเจ้าสีสุวัตถิ์ (ศรีสวัสดิ์) ปี ๑๙๑๗/๒๔๖๐
เจดีย์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่วัดเจดีย์ทนฺทึม ทางด้านทิศเหนือของเนินเขาพระราช- ทรัพย์ เมืองอุดงค์มีชัย อดีตเมืองหลวงเก่ายุคหลังกรุงละแวก ได้รับการ บันทึกว่าเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระมหินทราชา (นักพระสัตถาพระยาละแวก) ในสมัยพระเจ้าศรีสวัสดิ์ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕) ด้านข้าง เจดีย์นี้ไม่ไกลนักยังปรากฏเจดีย์บรรจุอัฐิสมเด็จพระศรีสุริโยพรรณด้วย
เย็นวันหนึ่งกลางเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕ เมืองละแวก จังหวัดก�ำพงฉนัง ราชอาณาจักรกัมพูชา อุณหภูมิกว่า ๔๐ องศาเซลเซียสท�ำเอาผมเหงื่อชุ่มขณะที่ตระเวนหาร่องรอย “กรุงละแวก” ประเมินด้วยสายตา พื้นที่อดีต “เมืองหลวงของชาติศัตรู” ในประวัติศาสตร์ไทยขณะนี้ ถูกยึดครอง โดยที่นาและป่าไผ่ซึ่งกระจายตัวเป็นหย่อมๆ สลับกับบ้านเรือนของประชาชน ร่องรอยเก่าแก่ของเมือง คือ วัดเก่า ๖ แห่ง วัตถุโบราณไม่กี่ชิ้น คูน�้ำคันดินด้านทิศตะวันตกและ ทิศเหนือที่ยังเหลือสภาพอยู่ส่วนหนึ่ง กาลเวลาท�ำให้สิ่งที่ผมเห็นต่างสิ้นเชิงกับที่พงศาวดารให้ภาพว่ากรุงละแวกนั้น “ไม่ว่าม้าจะมีก�ำลังมากเพียงใด ก็ไม่สามารถวิ่งรอบก�ำแพงเมืองนี้ได้” เพราะในอดีตเมืองนี้มีก�ำแพงถึง ๕ ชั้น มีป้อมปืนทุกประตู มีป่าไผ่ขึ้นหนาแน่นเป็นปราการธรรมชาติ ล้อมรอบพระนคร และใจกลางเมืองคือหมู่ราชปราสาท ๕ ยอดที่ประดับด้วยทองค�ำอย่างงดงาม ทั้งหมดนี้คืออาณาจักรที่คนไทยคุ้นชื่อและมีภาพจ�ำว่า “กรุงละแวก เมืองศัตรู” แบบเรียนประวัติศาสตร์ ชาตินิยมบอกเราว่าผู้ครองกรุงหรือพระยาละแวกคือกษัตริย์กัมพูชาที่มักโจมตีกรุงศรีอยุธยาแบบ “ฉวยโอกาส” ในช่วงที่กรุงศรีอยุธยาท�ำศึกติดพันอยู่กับกรุงหงสาวดี ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะยกทัพไป “เอาคืน” และเกิดฉากจบที่ติดตรึงความทรงจ�ำคนไทยคือกรุงละแวกแตก สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงท�ำพิธีปฐมกรรม ประหารพระยาละแวกแล้ว “เอาเลือดล้างพระบาท” ที่ผ่านมาภาพลักษณ์ “ไว้ใจไม่ได้” ของกัมพูชาถูกแทนที่ด้วยเรื่องเล่าเหล่านี้ ทั้งยังเป็นที่มาของ ค�ำประณามหยามเหยียดว่า “ลูกหลานพระยาละแวก” “เขมรไว้ใจไม่ได้” หนักยิ่งกว่าคือประณามกัมพูชา ว่าเป็น “สุนัขลอบกัด” ทว่าเมื่อสืบค้นหลักฐานอย่างรอบด้าน ผมกลับพบความจริงอันน่าตะลึง ข้อความจากพงศาวดารอาจเป็นเรื่องแต่ง เรา (คนไทย) ไม่รู้ว่า ก�ำลัง “ชิงชัง” พระยาละแวกองค์ไหน เหตุการณ์จริงเป็นอย่างไร และเรา ควรเอาอดีตมาปนกับปัจจุบันหรือไม่ กลางปี ๒๕๕๕ ผมเดินทางไปตามเมืองประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง กับพระยาละแวกทั้งในไทยและกัมพูชา
พลิก ประวตั ศิ าสตร์ นอกตาํ รา ตามหา
เพื่อค้นหา “พระยาละแวกพระองค์จริง” และ “ความจริง” อีกชุดที่คนไทยไม่คุ้นเคย
เรื่อง : สุเจน กรรพฤทธิ์ ภาพ : สุเจน กรรพฤทธิ์ สกล เกษมพันธุ์ 80
พฤษภาคม ๒๕๕๖
พฤษภาคม ๒๕๕๖
81