๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

Page 1

๖๐ พรรษา  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาส ฉลองพระชนมายุ ๖๐ พรรษา ๒ เมษายน ๒๕๕๘

นวาระอันเป็นมหามงคลที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ท รงมี พ ระชนมายุ   ๖๐  พรรษา และตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา พระองค์ทรง พระวิ ริ ย อุ ต สาหะบ� ำ เพ็ ญ พระราชกรณี ย กิ จ มากมายใน หลากหลายสาขา ทัง้ สังคมศาสตร์  มนุษยศาสตร์  วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี การสาธารณสุข ธรรมชาติวิทยา สังคมสงเคราะห์  เป็นต้น  พระราชกรณียกิจเกินคณานับนี้ล้วนสะท้อนพระอัจฉริยภาพและความเป็นผู้ ใฝ่ เ รี ย นรู ้ ข องพระองค์    แต่ สิ่ ง ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด คื อ   มี พ ระราชปณิ ธ านใน การพัฒนาสิ่งต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นส�ำคัญ   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็น “เจ้าฟ้า” ผู้เป็นแบบอย่างในหลายด้าน มีพระจริยวัตรอันเรียบง่าย ทรง ใช้ชีวิตเยี่ยงสามัญชน ไม่ถือพระองค์  และทรงเปี่ยมด้วยพระอารมณ์ขัน จนเป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ แ ละเป็ น ที่ เ ทิ ด ทู น รั ก ใคร่ ข องปวงชนชาวไทยและ ประชาชนอีกหลายประเทศ ประมวลพระราชประวั ติ แ ละพระราชกรณี ย กิ จ ส� ำ คั ญ ของ พระองค์ใน ๖ ทศวรรษทีผ่ า่ นมาชุดนี ้ จึงนับได้วา่ เป็นเพียงส่วนเสีย้ วหนึง่ ในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เรื่อง : อภิวันทน์  อดุลยพิเชษฐ์

7272

เมษายน เมษายน  ๒๕๕๘ ๒๕๕๘


เจ้ า ฟ้ า นั ก อั ก ษรศาสตร์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็น ปราชญ์ทางภาษาและวรรณศิลป์  งานพระราชนิพนธ์ตั้งแต่ทรง ศึกษาในระดับประถมฯ แสดงพระปรีชาสามารถในการประพันธ์ ทั้ ง ภาษาไทยและภาษาต่ า งประเทศ   ทรงเชี่ ย วชาญภาษา ต่างประเทศหลายภาษา เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ จีน บาลี สันสกฤต เป็นต้น  พระองค์มีงานพระราชนิพนธ์จ�ำนวนมากทั้ง ภาษาไทยและภาษาต่ า งประเทศในหลายศาสตร์ ส าขา  เช่ น หนังสือชุดเสด็จฯ เยือนต่างประเทศ, งานวรรณกรรมเยาวชน, ต�ำรา อาหาร, งานพระราชนิ พ นธ์ แ ปลนวนิ ย ายและร้ อ ยกรอง, งาน วิชาการทั้งด้านการพัฒนา ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์  เป็นต้น

๒๔๙๘ – ๒๕๐๗

- เสด็จฯ เยือนต่างประเทศครั้งแรก  ในการโดยเสด็จพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  เสด็จฯ เยือนสหรัฐอเมริกา และประเทศในยุโรป ๑๓ ประเทศ

๒๔๙๘ ๒ เมษายน - วันพระราชสมภพ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา  กิติวัฒนาดุลยโสภาคย์

๒๕๐๑ ทรงเข้าศึกษาระดับอนุบาล ที่โรงเรียนจิตรลดา  ขณะที่ทรงพระชนมายุ  ๓ พรรษาเศษ

๒๕๐๓ - ทรงเริ่มหัดอ่านหนังสือ  และโปรดการอ่านหนังสือมาก ตั้งแต่ทรงพระเยาว์จวบจนปัจจุบัน  ทรงสนับสนุนการอ่านของประชาชน  ดังหนึ่งในพระราชกรณียกิจ ที่ทรงประจ�ำทุกปี  คือเสด็จฯ  เปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ  รวมทั้งพระราชทานรางวัลแก่ ผู้ชนะการประกวดหนังสือดีเด่น ประจ�ำปี

๒๕๐๗ พระชนมายุ  ๙ พรรษา  ทรงพระราชนิพนธ์กลอนปีใหม่ ด้วยกาพย์ยานี  ๑๑  แสดงพระอัจฉริยภาพและ ความสนพระทัยในด้านภาษาไทย

...ขอให้ ทุ ก ฝ่ า ยมี ก� ำ ลั ง ใจ ร่ ว มกั น ปลู ก ฝั ง วั ฒ นธรรม ก า ร อ่ า น ที่ ห ยั่ ง ร า ก ลึ ก ใ น สั ง คมไทย  ถ้ า หากสั ง คมไทย ก้ า วไปสู ่ จุ ด สั ง คมแห่ ง การอ่ า น  การใฝ่ หาความรู ้ เ พื่ อ พั ฒ นาตนเองและสั ง คม ประเทศชาติ ก็ จ ะเจริ ญ   พั ฒ นาไปในทาง ที่เหมาะสม...” พระราชด�ำรัส  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี

74

เมษายน  ๒๕๕๘

เมษายน  ๒๕๕๘

75


๒๕๐๘ – ๒๕๑๗

เจ้ า ฟ้ า นั ก ประวั ติ ศ าสตร์ หลังจากที่ทรงส�ำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาสาขาวิชา ประวัติศาสตร์จากคณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระองค์ทรงใช้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ท�ำประโยชน์แก่ประเทศ ตามพระราชปณิธาน ทรงรับราชการเป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์  ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้านานกว่า  ๓๐ ปี ทรงสั่ ง สอนนั ก เรี ย นทั้ ง ในห้ อ งเรี ย น  และเสด็ จ ฯ  พานั ก เรี ย น ทัศนศึกษานอกสถานที่ด้วยพระองค์เอง

- เสด็จฯ ทอดพระเนตร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร ครั้งแรก  โดยมีศาสตราจารย์  หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล  ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี  และอาจารย์จิรา จงกล  ถวายค�ำบรรยาย   พระองค์ทรงตระหนักและเห็น คุณค่าของการมีพิพิธภัณฑ์  เพื่อเป็นแหล่งความรู้ของผู้คน

๒๕๑๐

๒๕๑๑

ทรงเริ่มศึกษาภาษาฝรั่งเศส  นับเป็นภาษาตะวันตกที่ ทรงเชี่ยวชาญ ต่อมาทรง พระราชนิพนธ์ร้อยกรอง ภาษาฝรั่งเศสเรื่อง  Reflexions ความคิดค�ำนึง พิมพ์ครั้งแรก ปี  ๒๕๒๒  และทรงพระราชนิพนธ์แปล งานวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง  Rossogols en Cage  ของ Madeleine Treherne ในชื่อภาษาไทย  ขบวนการนกกางเขน  พิมพ์ครั้งแรก ปี  ๒๕๒๔

- ด้วยทรงสนพระราชหฤทัย ในสัตว์ป่าและธรรมชาติ มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์  เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบ นกนางแอ่นชนิดใหม่ของโลก ในประเทศไทยที่บึงบอระเพ็ด  จังหวัดนครสวรรค์  จึงได้ขอ พระราชทานนามสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดาฯ มาตั้งชื่อนก ชนิดใหม่นี้ว่า “นกเจ้าฟ้าสิรินธร”  (Pseudochelidon sirintarae)

๒๕๑๒ ทรงเริ่มเรียนดนตรีไทย โดยทรงหัดซอด้วง

๒๕๑๕ - ทรงสอบได้ล�ำดับที่  ๑ ในการ สอบข้อสอบของกระทรวงศึกษาธิการ  ด้วยคะแนนรวมร้อยละ ๘๙.๓๐ - ทรงพระราชนิพนธ์ลิลิต  “กษัตริยานุสรณ์” ถวายสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์  ซึ่งสมเด็จ พระนางเจ้าฯ โปรดเกล้าให้ หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ ประพันธ์ท�ำนองประกอบโคลงส่วนหนึ่ง ของพระราชนิพนธ์นี้เป็นเพลง  “ดุจบิดามารดร”

๒๕๑๖ ทรงสอบเข้าศึกษา คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  โดยทรงเลือกสาขาวิชา ประวัติศาสตร์เป็นวิชาเอก  เป็นนิสิตรุ่น อบ. ๔๑  ทรงเป็นเจ้าฟ้าองค์แรกที่ส�ำเร็จ การศึกษาระดับอุดมศึกษา ในประเทศไทย

...ประโยชน์อย่างหนึง่ ของวิชาประวัต-ิ ศาสตร์คือ ช่วยให้ผู้ศึกษาได้รู้จักใช้ ความคิด รู้จักหาเหตุผลจากข้อมูล ต่าง ๆ ที่มีอยู่  เป็นการลับสมอง และ ท�ำให้ได้รับความรู้อันเป็นประโยชน์ ในการด� ำ รงชี วิ ต และปรั บ ตั ว ให้ เ ข้ า กั บ สิ่ ง แวดล้อม ในแง่นี้  ประวัติศาสตร์มิได้ขึ้นอยู่ กับข้อมูลที่รวบรวมไว้เพียงอย่างเดียว แต่ ขึ้นอยู่กับการตีความ  ประเมินคุณค่าของ ข้อมูลในแง่มุมใหม่ ๆ  (ซึ่งเป็นสิ่งที่ท� ำได้อยู่ เสมอ) รวมทัง้ ยังเป็นการคาดคะเนแนวโน้มใน อนาคตด้วย” พระราชนิพนธ์  ในหนังสือ สะพาน : รวมบทความทางประวัติศาสตร์ เล่ม ๒

ที่มา : หนังสือ ๑๐๐ ปี  การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๑๐๐ ปี  นพ.บุญส่ง เลขะกุล  จัดท�ำโดย คณะบุคคลนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล  สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์  วาดโดย นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล

76

เมษายน  ๒๕๕๘

เมษายน  ๒๕๕๘

77


๒๕๑๘ – ๒๕๒๗

- ทรงเริ่มเรียนภาษาจีน  นับเป็นอีกภาษาที่ทรงเชี่ยวชาญ  ทรงมีพระราชนิพนธ์แปลงาน วรรณกรรมและกวีนิพนธ์จีนหลายเล่ม  เช่น ผีเสื้อ (๒๕๓๗),  เมฆเหินน�้ำไหล (๒๕๓๙),  นารีนครา (๒๕๕๖),  รอยยิ้มและน�ำ้ ตาของหัวใจ (๒๕๕๘)  เป็นต้น

- ทรงส�ำเร็จการศึกษาระดับ อุดมศึกษาด้วยคะแนนเฉลี่ย  ๓.๙๘ ได้รบั พระราชทานปริญญา อักษรศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยม อันดับ ๑ และเหรียญทอง รางวัลคะแนนเยี่ยม ตลอดหลักสูตร  จากนั้นทรง สมัครเข้าศึกษาต่อระดับมหา บัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร  และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- ทรงตั้ง “โครงการเกษตรเพื่อ อาหารกลางวัน” แก่นักเรียนในชนบท และโรงเรียนต�ำรวจตระเวนชายแดน  ด้วยทรงเห็นตระหนักถึงปัญหา โภชนาการของเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร

๒๕๑๘

๒๕๒๐

๒๕๒๑

๒๕๒๓

๒ เมษายน - ทรงก่อตั้ง “มูลนิธิสายใจไทย”  โดยทรงด�ำรงต�ำแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิสายใจไทย เพื่อให้ ความช่วยเหลือแก่ทหาร  ต�ำรวจ และอาสาสมัครที่ ทุพพลภาพจากการปฏิบัติ หน้าที่ป้องกันประเทศ

- ทรงเป็นองค์อุปนายิกา ผู้อ�ำนวยการสภากาชาดไทย

ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรม เยาวชน แก้วจอมแก่น  โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า  “แว่นแก้ว”  และทรงพระราช นิพนธ์  แก้วจอมซน ซึ่งเป็น ภาคต่อของ แก้วจอมแก่น  (ปี  ๒๕๒๖)

- ทรงเข้ารับราชการเป็นอาจารย์  สังกัดกองวิชากฎหมาย และสังคมศาสตร์  โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า  ทรงสอนวิชาประวัติศาสตร์

- ๕ ธันวาคม ทรงได้รับการ โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมา คุณากรปิยชาติ  สยามบรมราช กุมารี” นับเป็นครั้งแรกที่มีการ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าขึ้นเป็น “สมเด็จพระ”

มีการขุดค้นพบซากดึกด�ำบรรพ์ ของไดโนเสาร์กินพืชคอยาวที่  อ�ำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น  จากการศึกษาต่อมาพบว่าเป็น ไดโนเสาร์สกุลใหม่และชนิดใหม่ ของโลก  กรมทรัพยากรธรณี ขอพระราชทานพระนามสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี  มาเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ ของไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลก  ว่า ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน  (Phuwiangosaurus sirindhornae)  ซากดึกด�ำบรรพ์ ของสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับการ ตั้งชื่อตามพระนามของพระองค์  คือ ทาร์เซียสิรินธร (Tarsius sirindhornae) ส�ำรวจพบในปี  ๒๕๔๗  ในเหมืองถ่านหินแม่เมาะ  อ�ำเภอแม่เมาะ จัหวัดล�ำปาง

๒๕๒๔

เ จ้ า ฟ้ า นั ก เ ดิ น ท า ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือน  ประเทศต่าง ๆ อยูเ่ สมอ โดยโปรดการชมสถานทีส่ ำ� คัญทางประวัตศิ าสตร์ พิพิธภัณฑ์  และทรงดูงานด้านการเกษตร วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี โรงพยาบาล เป็นต้น  พระจริยวัตรที่เรียบง่าย รอยแย้มสรวล และ ความตัง้ พระทัยในการทรงบันทึกสิง่ ต่าง ๆ ของพระองค์  เป็นภาพงดงาม ที่สร้างความประทับใจให้แก่ประเทศเจ้าภาพ  พระองค์ทรงเป็นดั่งทูต สันถวไมตรีที่เชื่อมสัมพันธ์ไทยกับนานาประเทศ

๒๕๒๕

เสด็จฯ เยือนจีนครั้งแรก  และทรงมีพระราชนิพนธ์  ย�่ำแดนมังกร จนถึงปัจจุบัน พระองค์เสด็จฯ เยือนจีน ๓๖ ครั้ง  ทรงเป็นเจ้าฟ้าที่ชาวจีน นิยมชมชอบ ดังที่ในวันที่  ๘ ธันวาคม ๒๕๕๒ ทรงรับ การทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ทรงรับเป็นแม่งาน “๑๐ มิตรชาวต่างชาติที่ดีที่สุด ในการบูรณปฏิสังขรณ์ ในโลกของคนจีน” ซึ่งชาวจีน วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โหวตผ่านอินเทอร์เน็ต

...ข้าพเจ้าถือว่าการที่ได้ท่องเที่ยว ไปในโลกกว้ า งทั้ ง ในประเทศและ นอกประเทศ  เป็ น การที่ เ ราจะได้ โอกาสศึ ก ษาความเป็ น ไปของ ธรรมชาติและสังคม แม้ว่าชั่วชีวิต ของคนจะน้อยนักเมือ่ เทียบกับชีวติ ของธรรมชาติ  ภูเขา ทะเล และแม่นำ�้   แต่เราอาจ จะใช้เวลาที่มีอยู่ให้คุ้มค่าในการเรียนรู้ชีวิตเพื่อ รับใช้สังคมและประเทศชาติที่เราอาศัยอยู่...”

78

เมษายน  ๒๕๕๘

พระราชนิพนธ์  จากหนังสือ “ย�่ำแดนมังกร”

เมษายน  ๒๕๕๘

79


เจ้าฟ้านักพัฒนาและนักวิจัย

๒๕๒๘ – ๒๕๓๗

ที่มา : หนังสือ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เนื่องในโอกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 5 รอบ  และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก

80

- มีพระราชด�ำริตั้งโรงเรียน ผู้ใหญ่พระต�ำหนักสวนกุหลาบ  (วิทยาลัยในวังหญิง) และ วิทยาลัยในวังชาย (ปี  ๒๕๓๒)  เพื่อสืบทอดงานช่างฝีมือโบราณ  งานช่างสิบหมู ่ และฝึกอาชีพ แก่ประชาชน

ทรงศึกษาภาษาเยอรมัน อย่างจริงจังจนเชี่ยวชาญ   ทรงมีพระราชนิพนธ์แปล นิทานโกหกเยอรมัน  (ปี  ๒๕๕๗) ซึ่งเป็นนิทาน เก่าแก่ของชาวเยอรมัน ที่เล่ากันแพร่หลาย

๒๕๒๘

๒๕๒๙

๒๕๓๐

๒๖ กุมภาพันธ์   คณะรัฐมนตรีมีมติก�ำหนด ให้วันคล้ายวันพระราชสมภพ  ๒ เมษายนของทุกปีเป็น  “วันอนุรักษ์มรดกไทย”  ด้วยความส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงปฏิบัติ เพื่อรักษาและเผยแพร่มรดก วัฒนธรรมไทย

- ทรงรับพระราชทานปริญญาบัตร การศึกษาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ทรงท�ำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อ  “การพัฒนานวัตกรรมเสริมทักษะ การเรียนการสอนภาษาไทย ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย”

เมษายน  ๒๕๕๘

- มหาวิทยาลัยมหิดลตั้ง  “วิทยาลัยราชสุดา”  ตามพระราชด�ำริของพระองค์  เพื่อให้การศึกษาแก่ผู้พิการ และบุคคลทั่วไป  รวมทั้งตั้งมูลนิธิราชสุดา เพื่อสนับสนุนการศึกษา และวิจัยในเรื่องของผู้พิการ

๒๕๓๑ จากการส�ำรวจพบปูน�้ำตก ชนิดใหม่ที่วนอุทยานน�ำ้ ตกหงาว อ�ำเภอเมือง จังหวัดระนอง  เมื่อปี  ๒๕๒๙  หลังจากศึกษาแล้วพบว่า เป็นปูชนิดใหม่ของโลก ที่พบในประเทศไทย   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงขอพระราชทานชื่อ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  มาเป็น ชื่อวิทยาศาสตร์ของปูชนิดนี้  คือ Phricotelphusa sirindhorn   รูจ้ กั ในนาม “ปูเจ้าฟ้า” หรือ “ปูสริ นิ ธร”    นอกจากปูเจ้าฟ้าแล้ว ต่อมา ยังมีสัตว์กลุ่มนี้ที่ได้รับการตั้งชื่อ ตามพระนามอีกคือ “กั้งเจ้าฟ้า”  (Acanthosquilla sirindhorn)  และ “กุ้งเจ้าฟ้า”  (Macrobrachium sirindhorn)

๒๕๓๔

ทรงเห็นความส�ำคัญของการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืช  โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “โครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมา จากพระราชด�ำริ” และในปีต่อมา มีการตั้ง “ธนาคารพืชพรรณ”  เพื่อเก็บรักษาพันธุกรรมพืช ที่เป็นเมล็ดและเนื้อเยื่อ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบสาน  การด�ำเนินงานโครงการพระราชด�ำริต่าง ๆ และโครงการพระราชด�ำริ ส่วนพระองค์  เพื่อส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่  ผู้พิการ ผู้ต้องโทษ เป็นต้น  พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ยั ง รวมถึ ง โครงการพระราชด� ำ ริ ที่ ตั้ ง ขึ้ น เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ ประชาชนใน ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา พม่า  พระองค์ทรงให้ความส�ำคัญต่อ การวิจยั และการศึกษางานในศาสตร์สาขาต่างๆ  ทรงให้ความส�ำคัญต่อ การส่งนักเรียน นักศึกษา ดูงานหรือท�ำวิจัยกับหน่วยงานหรือองค์กร ส�ำคัญในประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยพระองค์ทรงเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ เพือ่ ประโยชน์ในงานพัฒนา เช่น น�ำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้พัฒนาการศึกษาและการฝึกอาชีพของนักเรียน ผู้พิการ เป็นต้น

๒๕๓๕

- ๓๑ สิงหาคม   ทรงรับรางวัลแมกไซไซ ด้านบริการสาธารณะ  ณ กรุงมะนิลา  สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

...คนบางคนนั้ น อาจมี ค วาม สามารถน้ อ ยหรื อ มากไม่ เ ท่ า กัน แต่ว่าส่วนส�ำคัญที่สุด คือ โอกาส เช่น โอกาสในการศึกษา นั้นเป็นเรื่องที่ส�ำคัญที่สุด    ควรจะเปิดโอกาส แต่ว่าความสามารถของคนที่จะรับโอกาสที่เปิด ให้นั้นอาจจะไม่เท่ากัน  แต่โอกาสก็ควรที่จะให้ เท่าเทียมกัน...” พระราชด�ำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เมษายน  ๒๕๕๘

81


๒๕๓๘ – ๒๕๔๗

- ทรงใช้โปรแกรมประดิษฐ์ ตัวอักษร (calligraphy)  ทดลองวาดภาพ “ป่าไผ่”  และภาพ “ต้นไม้” โดยใช้ เทคนิคสกรีนโทน ของคอมพิวเตอร์ สร้างน�้ำหนักความลึกตื้น

เ จ้ า ฟ้ า วิ ศิ ษ ฏ ศิ ล ปิ น

- กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้ง  “กาญจนาภิเษกวิทยาลัย  ช่างทองหลวง” ตามแนว พระราชด�ำริในสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  ที่มีพระราชประสงค์ให้เป็น สถานศึกษาด้านวิชาชีพและ สืบสานงานช่างทองโบราณ

จัดตั้งโครงการเทคโนโลยี สารสนเทศตามพระราชด�ำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  โดยทรงรับ เป็นประธานกรรมการโครงการ   โครงการนี้ใช้เงินจากดอกผล ของเงินต้นที่ได้จากการ ออกสลากการกุศลงวดพิเศษของ ส�ำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล  มาจัดกิจกรรมพัฒนาการศึกษา ให้แก่นักเรียนในชนบท ผู้พิการ  และผู้ต้องโทษ

๒๕๓๘

๒๕๓๙

เสด็จฯ เยือนเซิร์นปี ๒๕๕๒ ที่มา : หนังสือ 60 พรรษา รัตนราชสุดา วิทยาปริทรรศน์  จัดท�ำโดย โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชด�ำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เสด็จฯ เยือนเซิร์น (CERN องค์กรวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาค ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส) ครั้งแรก  และต่อมาครั้งที่  ๒ ในปี  ๒๕๔๖  และครั้งที่  ๓ ในปี  ๒๕๕๒  น�ำมาสู่โครงการความร่วมมือ ด้านการศึกษาและวิจัยระหว่าง นักวิทยาศาสตร์ไทยกับเซิร์น หลายโครงการ

๒๕๔๓

- มีการส�ำรวจพบพันธุ์ไม้เลื้อย ชนิดใหม่ของโลกที่พบเฉพาะ ในประเทศไทย ที่ภูทอกน้อย  จังหวัดหนองคาย ได้รับการ ตั้งชื่อตามพระนามของสมเด็จ พระเทพฯ ว่า “สิรินธรวัลลี”  (Bauhinia sirindhorniae)   ส�ำหรับพันธุ์ไม้เฉพาะถิ่น ที่ตั้งชื่อตามพระนามยังมีอีก หลายชนิด เช่น “จ�ำปีสิรินธร” (Magnolia sirindhorniae  ส�ำรวจพบปี  ๒๕๔๑)  “เอื้องศรีประจิม”  (Sirindhornia mirabilis ส�ำรวจพบปี  ๒๕๔๔)  เป็นต้น

๒๕๔๔ โปรดเกล้าฯ จัดตั้ง “ร้านภูฟ้า”  ในกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชน ในถิ่นทุรกันดาร เพื่อเป็นสถานที่ จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์จากโครงการ ส่งเสริมอาชีพตามพระราชด�ำริฯ

๑๕ กันยายน   คณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ  กระทรวงวัฒนธรรม  เข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลเกล้าฯ  ถวายพระสมัญญานาม  “วิศิษฏศิลปิน”

๒๕๔๕

วิศษิ ฏศิลปิน หมายถึง ผูเ้ ป็นเลิศทางศิลปะ ประเสริฐเลิศกว่าศิลปิน  ทั้งปวง  ความเป็นศิลปินของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เป็นที่ประจักษ์จากความเชี่ยวชาญในศิลปะหลายแขนง ด้านดนตรี   ทรงเชี่ยวชาญการเล่นเครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรี ตะวันตก เช่น ซออู้  ซอด้วง ระนาด จะเข้  ขลุ่ย เปียโน ทรัมเป็ต ทรง ร้องเพลงและพระราชนิพนธ์เพลงด้วย  ด้านจิตรกรรม พระองค์ทรง สร้างผลงานฝีพระหัตถ์หลากหลายประเภท ทัง้ ภาพการ์ตนู  ภาพวาดสีนำ�้ ภาพวาดสีน�้ำมัน ภาพวาดหมึกจีน ภาพวาดด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ ยั ง มี ง านด้ า นประติ ม ากรรม  ภาพถ่ า ยฝี พ ระหั ต ถ์   ศิ ล ปะ แบบปะปิด เป็นต้น  โดยเฉพาะงานฝีพระหัตถ์ภาพการ์ตูนสะท้อน พระอุปนิสัยสนุกสนานและพระอารมณ์ขันของพระองค์

๒๕๔๖

๑๑ กันยายน   ส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ  ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ  ประจ�ำปี  ๒๕๔๕ สาขาสหวิทยาการ

ศิ ล ป์ ทุ ก แขนงถื อ ได้ ว ่ า เป็ น ‘อาหารใจ’  ของชาวโลก มีความส� ำคัญยิ่งยวด  งาน สร้ า งสรรค์ ต ่ า งๆ  หรื อ วั ต ถุ ที่ ใ ช้ ส อยกั น อยู ่ ก็มีพื้นฐานจากสิ่งที่ทำ� ด้วยมือทั้งนั้น...” พระราชนิพนธ์จากบทความ “การฝีมือ ๆ คือพลัง” หนังสือ “๒๕ ปี  จิตรลดา”

ที่มา : หนังสือ พฤกษศิลป์  เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 83 พรรษา 5 ธันวาคม 2553  วาดโดย ธัญลักษณ์  สุนทรมัฎฐ์

82

เมษายน  ๒๕๕๘

เมษายน  ๒๕๕๘

83


๒๕๔๘ – ๒๕๕๘

เ จ้ า ฟ้ า นั ก โ ภ ช น า ก า ร

- ๒๔ มีนาคม   องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ  (ยูเนสโก)  ทูลเกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตร และเอกสารประกาศแต่งตั้ง ให้ทรงด�ำรงต�ำแหน่ง ทูตสันถวไมตรีแห่งยูเนสโก  ด้านการส่งเสริมศักยภาพ ของเด็กชนกลุ่มน้อย ด้วยการศึกษาและอนุรักษ์ มรดกทางวัฒนธรรม  (UNESCO Goodwill  Ambassador for the  Empowerment of Minority  Children and the Preservation of their Intangible  Cultural Heritage)

เสด็จฯ เยี่ยมโรงเรียนกาวิละอนุกูลในโครงการ เทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชด�ำริฯ ที่มา : หนังสือ 60 พรรษา รัตนราชสุดา วิทยาปริทรรศน์ จัดท�ำโดย โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชด�ำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี

๒๕๔๘

๒๕๕๑

๒๕๕๒

๒๕๕๓

- ๑๐ พฤศจิกายน   วันเปิดวิทยาลัยก�ำปงเฌอเตียล  จังหวัดก�ำปงธม ที่สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารีพระราชทาน พระราชทรัพย์ ในการก่อสร้าง  และสมเด็จอัครมหาเสนาบดี  เดโช ฮุนเซน ผู้น�ำคณะรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ถวายที่ดินในการก่อสร้าง   นอกจากนี้ยังพระราชทานทุน การศึกษาแก่นักเรียนของ วิทยาลัยแห่งนี้ให้ศึกษาต่อระดับ อุดมศึกษาในประเทศไทยด้วย

- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  พระราชทาน เนื้อเยื่อ Persian Violet  (Exacam Affine) ให้โครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่อง มาจากพระราชด�ำริ  สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  เพื่อรักษาและขยายพันธุ ์ และได้พระราชทานนามดอกไม้นี้ ว่า “ม่วงเทพรัตน์”

๒ ตุลาคม  สมาพันธ์ โภชนาการนานาชาติ  ทูลเกล้าฯ  ถวายรางวัลพิเศษสมาพันธ์ โภชนาการนานาชาติ  เพื่อเทิด พระเกียรติ  ผลงานดีเด่นในการ ช่วยเหลือและส่งเสริม โภชนาการของผู้ด้อยโอกาส

๒๗ มิถุนายน   มูลนิธิผู้ได้รับรางวัลโนเบล  ณ เมืองลินเดา ทะเลสาบคอนสแตนซ์  (Foundation Lindau Nobelprizewinners Meeting at Lake Constance) ถวายต�ำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภากิตติมศักดิ์  (สภาสูง)  ของมูลนิธิฯ ในพิธีเปิดการประชุม ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ครั้งที่  ๖๐  ณ หอประชุมอินเซลฮัลเล เมืองลินเดา  สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

หากกองทัพต้องเดินด้วยท้อง การพัฒนาประเทศก็ตอ้ งเริม่ จากการ  ที่ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงเห็นความส�ำคัญของโภชนาการกับการพัฒนา มนุษย์  ดังที่ทรงเริ่ม “โครงการอาหารกลางวันผักสวนครัว” ในโรงเรียน ต�ำรวจตระเวนชายแดนสามจังหวัดคือทีร่ าชบุร ี กาญจนบุร ี และประจวบคี รี ขั น ธ์   เมื่ อ ปี   ๒๕๒๓  (โครงการนี้ ต ่ อ มาคื อ   “โครงการเกษตรเพื่ อ อาหารกลางวัน” และพัฒนาเป็น “กองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่น ทุรกันดาร”) นอกจากจะแก้ปญ ั หาการขาดโภชนาการแล้ว ยังเป็นการฝึก ให้นักเรียนรู้จักเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์  ท�ำอาหาร เรียนรู้ธรรมชาติและ พืชพรรณต่างๆ ในท้องถิ่นของตนด้วย  นอกจากนี้พระองค์ยังทรงสน พระทัยในการท�ำอาหารเป็นพิเศษ

๔ ธันวาคม   สภากาชาดออกสติกเกอร์ ไลน์ชุด  “แชทได้บุญ แชร์ได้กุศล” ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้สภากาชาดไทยร่วมกับ บริษัท Line เผยแพร่ภาพวาด ฝีพระหัตถ์  โดยรายได้ทั้งหมด จากการจ�ำหน่ายสติกเกอร์ชุดนี้ สนับสนุนโครงการก่อสร้าง อาคารศูนย์รักษาพยาบาลรวม เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระ พันวัสสาอัยยิกาเจ้า ๑๕๐ ปี  โรงพยาบาลสมเด็จพระบรม ราชเทวี  ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี

๒๕๕๗

๒๕๕๘ ๒ เมษายน   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  มีพระชนมายุ  ๖๐ พรรษา

...ไปเห็นเด็กและเยาวชนหรือแม้ แต่ ค นที่ มี อ ายุ ม ากกว่ า วั ย เรี ย น มีสุขภาพอนามัยไม่ดี  พยายาม คิดว่าจะท�ำอย่างไร...ก็นึกถึงว่า อาหารการกิ น น่ า จะเป็ น เรื่ อ งที่ ส�ำคัญ เพื่อที่จะท�ำให้คนมีอาหารการกินดี  จะ มี เ รี่ ย วแรงในการท� ำ มาหากิ น   ในการศึ ก ษา เล่ า เรี ย น  ทั้ ง เรี่ ย วแรงทางสมอง  เรี่ ย วแรง ทางร่างกาย...” พระราชด�ำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ที่มา : หนังสือ 60 พรรษา รัตนราชสุดา  วิทยาปริทรรศน์  จัดท�ำโดย โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชด�ำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี

84

เมษายน  ๒๕๕๘

http://www.magnoliathailand.com/

เมษายน  ๒๕๕๘

85


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.