ป.พิบูลสงคราม จอมพลตราไก่ เล่าใหม่หลังครึ่งศตวรรษ

Page 1

จอมพล ป. หน้ากระทรวงกลาโหม ขณะออกมาต้อนรับการเดินขบวน เรียกร้องดินแดนคืนของนักศึกษา เมื่อเดือนตุลาคม ๒๔๘๓

72

มิถุนายน  ๒๕๕๗


“มันอาจเป็นทฤษฎี แปลกใหม่ ไม่ซ�้ำแบบใคร แต่คณะเราก็ได้ปฏิวัติ จนเป็นผลส�ำเร็จ”

ป.  พิ บู ล ส ง ค ร า ม “จอมพลตราไก่” เล่าใหม่หลังครึ่งศตวรรษ เรื่อง : สุเจน กรรพฤทธิ์

ภาพถ่ายปัจจุบัน : บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช, ประเวช ตันตราภิรมย์ มิถุนายน  ๒๕๕๗

73


๑๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๐๐ ตึกไทยคู่ฟ้า ท�ำเนียบรัฐบาล ๒๒.๐๐ น. เศษ เสียงโทรศัพท์ดังลั่นขณะที่บุรุษผมสีดอกเลารับสาย “ทหารก�ำลังจะมาล้อมท�ำเนียบครับท่าน” เสียงปลายสายร้อนรน เขาวางสาย รีบลงมาชั้นล่าง ฟอร์ดทันเดอร์เบิร์ดติดเครื่องรออยู่แล้วพร้อมเลขาส่วนตัว นายต�ำรวจติดตาม และ นายทหารอีกคนหนึ่ง  เขาเข้าไปนั่งในที่คนขับ บึ่งรถกลับไปที่บ้าน เก็บสัมภาระ เปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วเปลี่ยนรถเป็นซีตรอง DS19 ที่ลุยทางทุรกันดารได้ดี   หลังจากนั้นแวะซอยชิดลมยืมเงินลูกเขยแล้วมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก รุ่งขึ้น เขาไปถึงชายหาดแห่งหนึ่งของจังหวัดตราด จ้างเรือหาปลาออกทะเลมุ่งหน้าสู่ชายฝั่งกัมพูชา “โดยเรือยนต์ล�ำเล็ก ๆ ล�ำหนึ่งเป็นระยะทาง ๒๐ ไมล์  กว่าจะถึงฝั่งกัมพูชา...ต่อจากชายแดนกัมพูชา ข้าพเจ้าได้ ว่าจ้างเรือยนต์ของชาวประมงเดินทางมายังเกาะเล็ก ๆ เกาะหนึ่งอันติดกันกับเกาะกงของเขมร ณ ที่นั่น ได้รับการต้อนรับ อย่างดีจากเจ้าหน้าที่ของเขมร เจ้าหน้าที่ได้โทรเลขแจ้ง...ไปยังกรุงพนมเปญ...รัฐบาลกัมพูชาก็ได้จัดเรือรบไปรับข้าพเจ้า” ใครจะคาดคิดว่า นี่คือฉากสุดท้ายทางการเมืองของ “จอมพล ป. พิบูลสงคราม” หนึ่งในแกนน� ำคณะราษฎร  “ผู้อภิวัฒน์” เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี  ๒๔๗๕ “นายกรัฐมนตรี” ซึ่งด�ำรงต�ำแหน่งยาวนานถึง ๑๔ ปี  ๑๑ เดือน ๑๘ วัน และเคยรอดจากการลอบสังหารมาครั้งแล้วครั้งเล่า  การตกจากอ�ำนาจของจอมพลครานี้ยังหมายถึง “คณะราษฎร” ตกเวทีการเมืองไทยโดยสมบูรณ์  ประเทศเข้าสู่  ยุคเผด็จการเต็มใบนานนับทศวรรษ  ในที่สุดความทรงจ� ำเรื่องจอมพล ป. ก็  “ขาดวิ่น” คนไทยสมัยหลังจ� ำจอมพลว่า เป็น “เผด็จการ” “นักฉวยโอกาส” ที่ร่วมกับญี่ป่นุ สมัยสงครามโลกแล้วจะเข้ากับสัมพันธมิตรในบั้นปลาย เป็นผู้ที่  “ยุ่มย่าม ชีวิตพลเมือง” บังคับ “เลิกกินหมาก” “เคารพธงชาติ” “ใส่หมวก” “ใส่รองเท้า” จน “หอมภรรยาก่อนออกจากบ้าน” ในวงวิชาการ จอมพล ป. เป็น “ปีศาจ” ขั้วตรงข้ามกับ “ปรีดี พนมยงค์” รัฐบุรุษอาวุโส แกนน� ำคณะราษฎร  สายพลเรือนที่ได้รับการฟื้นฟูเกียรติประวัติในทศวรรษ ๒๕๔๐  หากนับว่าจอมพล ป. ถึงแก่อสัญกรรมที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนมิถุนายน ๒๕๐๗  ขณะนี้  (มิถุนายน ๒๕๕๗)  เวลาผ่ า นมาแล้ ว ครึ่ ง ศตวรรษ  ฝุ่น ควั น ประวั ติ ศ าสตร์ อ าจจางพอที่ เ ราจะกลั บ มาทบทวนชี วิ ต จอมพลซึ่ ง  นักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งอธิบายว่า “ก่อให้เกิดการถกเถียงและโต้แย้ง (controversy) มากที่สุด” อีกครั้ง

ในฐานะ  “มนุ ษ ย์ ที่ มี ชี วิ ต จิ ต ใจ”  ซึ่ ง ครั้ ง หนึ่ ง โลดแล่ น อยู่ บ นเวที ก ารเมื อ งไทย  อย่างมีสีสัน

74

มิถุนายน  ๒๕๕๗


จอมพล ป. ขณะท�ำพิธีเปิดอนุสาวรีย์  ชัยสมรภูมิในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๕ (ภาพ : พิพิธภัณฑ์  อาคาร รร.จปร. ๑๐๐ ปี  โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า  จังหวัดนครนายก)

มิถุนายน  ๒๕๕๗

75


อนุสาวรีย์จอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายในโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี

เด็กสวนทุเรียน วันนี้ถ้าเจ้าของสวนทุเรียนนนทบุรีรุ่นทวดยังมีชีวิต และเรา  พาท่านกลับไป “บ้านเกิด” จอมพล ป. อีกครัง้  คุณทวดคงจ�ำย่าน ปากคลองบางเขนเก่า จังหวัดนนทบุรี  บ้านเกิดของ “จอมพล กระดูกเหล็ก” แทบไม่ได้  ปัจจุบันไม่อาจระบุจุดของ “บ้านเรือนแพ” ที่เด็กชายแปลก ถือก�ำเนิดได้อีกแล้ว เพราะในแม่น�้ำเจ้าพระยาไม่มีแพเหลืออยู่ ปากคลองบางเขนเก่าก็เต็มไปด้วยคนกลุม่ ใหม่ซงึ่ เข้ามาตัง้ ถิน่ ฐาน ในยุคหลัง  ริมตลิ่งตลอดแนวยังกลายเป็นเขื่อนคอนกรีตป้องกัน น�้ำท่วม ร่องรอยเกี่ยวกับบ้านจอมพลซึ่งยังปรากฏในแถบนี้  คือ  “ถนนพิบูลสงคราม” ถนนหลวงหมายเลข ๓๐๖ อันเก่าแก่ของ จังหวัดนนทบุรี  ถนนกว้างหกเลน ยาวกว่า ๓ กิโลเมตรเชื่อมเขต บางซือ่ -เมืองนนทบุร ี และ “โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม” ก็ตงั้ อยูบ่ น หัวโค้งหักศอกของถนนสายนี้ ภายในโรงเรียน ผมพบสวนหย่อมเล็ก  ๆ ริมรั้วด้านติดกับ ถนนเป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์จอมพล ป.  เว็บไซต์ของโรงเรียนบอกว่า อนุสาวรีย์นี้สร้างเมื่อปี  ๒๕๓๒  และวันที่  ๑๔ กรกฎาคมถือเป็น “วันที่ระลึก ฯพณฯ จอมพล ป.” มีพิธีวางพวงมาลา มอบทุนการ

76

มิถุนายน  ๒๕๕๗

ศึกษา (บางปีอาจจัดไม่ตรงวัน) และโรงเรียนยกย่องจอมพลใน ฐานะศิษย์รุ่นแรกและอดีตนายกรัฐมนตรี ใกล้โรงเรียนวัดเขมาฯ คือ “โรงเรียนวัดปากน�ำ้  (พิบลู สงคราม)”  ที่ตั้งอยู่ติด “วัดปากน�้ำ (นนทบุรี)” เมื่อ ๑๑๗ ปีที่แล้ว อดีตสมภารวัดนี้รับอุปการะ “เด็กชาย แปลก” ทารกเพศชายซึ่งเกิดในช่วงใกล้รุ่งวันที่  ๑๔ กรกฎาคม  ๒๔๔๐ จากครอบครัวขีตตะสังคะ บุตรคนที่  ๒ ของนายขีตและ นางส�ำอางค์   ว่ากันว่าเขา “แปลก” ตามชือ่  นางส�ำอางค์กล่าวถึง ลูกคนนี้ว่า “ร้องไห้ไม่หยุดถึง ๓ เดือน” จนต้องน�ำไปให้สมภาร เลี้ยง  หนังสือบางเล่มที่เขียนถึงทารกแปลกยังเอ่ยถึง “ใบหูซึ่ง  ยาวรีนั้นมีระดับต�่ำกว่าดวงตาจนผิดสังเกต”  อย่างไรก็ตามเรื่อง ใบหูไม่ว่าจะเขียนตามธรรมเนียมผู้มีวาสนาหรือไม่  แต่ก็ทำ� ให้เรา อนุมานได้ว่า เด็กชายแปลกมีสุขภาพแข็งแรงดี ต่อมาเขาถูกส่งเข้าเรียนที่วัดเขมาฯ จนถึง ป. ๔ พออายุได้ ๑๒ ปี  บิดาก็ฝากเข้าโรงเรียนนายร้อยทหารบกซึง่ เป็นทีฝ่ กึ ผูบ้ งั คับ บัญชากองทัพพร้อมกับพี่ชาย ช่วงนี้เองมีเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่งนักเรียนนายร้อยแปลกเที่ยว เยาวราชโดยไม่แต่งเครื่องแบบ พบคนจีนขายของก็เข้าไปถาม ราคา ปรากฏว่าคนจีนนั้นเห็นแปลกตัวเล็ก ผิวคล�้ำก็ดูหมิ่น  “(แปลก) ก็โกรธและเกิดความคิดชาตินิยมขึ้นตั้งแต่บัดนั้น”


จ�ำนวนครั้งที่จอมพล ป. ถูกลอบสังหารตลอดชีวิต การเป็นนักการเมือง

นายร้อยปืน ๗ กับ “ยอดรัก” ที่เมืองสองแคว “นักเรียนท�ำการนายร้อยแปลก” ส�ำเร็จการศึกษาเป็นนักเรียน นายร้อยรุ่นที่  ๑๒ พร้อมเพื่อนร่วมรุ่น ๖๐ คนเมื่ออายุ  ๑๘ ปี (๒๔๕๗) ตามระบบราชการ เขาต้องเลือกเหล่าและหน่วยทีจ่ ะไป ประจ�ำ แปลกตัดสินใจเลือก “เหล่าทหารปืนใหญ่” หน่วยประจ�ำ การแรกที่ เ ขี ย นไว้ แ พร่ ห ลายในหนั ง สื อ ชี ว ประวั ติ ข องเขา  คื อ  กรมทหารปืนใหญ่ที่  ๗ แห่งกองทัพน้อยที่  ๒ มณฑลพิษณุโลก  ซึ่งเรียกขานในหมู่ทหารปืนใหญ่ยุคนั้นว่า “ปืน ๗” การไปประจ�ำหน่วยนีเ้ กิดจาก “อุบตั เิ หตุ” ด้วยแปลกกับเพือ่ น ร่วมรุ่นคือ บัตร พึ่งพระคุณ (ภายหลังคือ พลต�ำรวจเอก อดุล  อดุลเดชจรัส) นัดว่าจะเลือกไปอยู่หน่วยเดียวกัน แต่พอเลือกจริง ในปีถัดมา ผู้ที่ได้คะแนนเรียนสูงจะมีสิทธิ์เลือกหน่วยก่อน หน่วย

ในเมืองจึงเป็นที่นิยม  พอแปลกเห็นอย่างนั้นก็ลืมว่าตนเลือก “เหล่าทหารปืนใหญ่” ไว้แล้ว กลับจิ้มเลือกหน่วยทหารราบ คือ กองพันทหารราบที่  ๑ รักษาพระองค์  ก่อนจะได้รับค�ำตอบว่า ไปไม่ได้  ซึ่งเขาก็ยังไม่ละความพยายาม ขอสมัครไปอยู่หน่วย ทหารม้ารักษาพระองค์  (หน่วยรถรบ)  ผูบ้ งั คับบัญชาเจอไม้นกี้ เ็ อ็ดเอาว่า “ตาแปลก ฉันบอกแกต้อง อยู่เหล่าทหารปืนใหญ่  จะไปอยู่เหล่าอื่นไม่ได้  ถ้ายังขืนดื้อฉันจะ ไม่ให้ออกเป็นนายทหาร”  ถึงตอนนี้  อดุลเพื่อนรักเลือกปืน ๓ (ลพบุรี) ไปแล้ว แปลก จึง “ตกลงใจไปอยู่ปืน ๗” ที่นี่เขาพบนางสาวละเอียด พันธุ์กระวี วัย ๑๔ ปี  ก�ำลังเรียนและเป็นครูชว่ ยสอนทีโ่ รงเรียนของมิชชันนารี บุตรีคนโตของนายเจริญและนางแช่ม พันธุ์กระวี  เกิดที่จังหวัด นครปฐม ครอบครัวมีภมู ลิ ำ� เนาอยูพ่ ษิ ณุโลก เคยถูกส่งมาเรียนใน กรุงเทพฯ ระยะหนึ่งที่โรงเรียนสตรีวิทยา ก่อนจะกลับมาเรียนต่อ  ที่พิษณุโลกในโรงเรียนผดุงนารีซึ่งคณะมิชชันนารีอเมริกันตั้งขึ้น เป็นโรงเรียนสตรีแห่งแรกของจังหวัด แปลกรับหน้าที่ฝึกทหารใหม่  ทุกวันเขาจะพาพลทหารฝึกหัด เดินผ่านหน้าโรงเรียน  วิธีจีบของเขาคือฝาก “จดหมายน้อย” ส่ง (ซ้าย) จอมพล ป. และเพื่อนๆ  ขณะเป็นนักเรียนโรงเรียนนายร้อยทหารบก   (ขวา) จอมพล ป. และนางละเอียด พันธุก์ ระวี  กับลูกๆ คือ อนันต์ จีรวัสส์ และประสงค์  ถ่ายก่อนไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส


ข้อความเกีย้ วพาราสีผา่ นลูกศิษย์ไปให้ครูสาว เนือ้ ความขึน้ ต้นว่า  “น้องยอดรัก” มีประโยคอาทิ  “ถ้าควักหัวใจมาได้จะควักให้ด”ู  หรือ ถ้าไม่ได้เห็นหน้าก็  “ขอให้เห็นหลังคาบ้านทุกวัน” เล่นเอาครูสาว  “ตกใจ เหงื่อแตกใจหาย” ตัดสินใจน�ำไปให้บิดาอ่านทุกฉบับและ ไม่ยอมตอบไม่ว่าจะถูกเร่งรัดผ่านคนน�ำสารอย่างไรก็ตาม จนเช้าวันหนึง่ ในฤดูหนาว แปลกใส่เสือ้ คลุมคอสีเหลือง สวม หมวกพันผ้าสีเหลือง กางเสือ้ เดินยิม้ แต้เข้าไปหาครูสาวทีย่ นื อยูก่ บั เพื่อน ท�ำนองว่ากั้นไม่ให้หนีไปไหน ครูสาววิง่ ลอดใต้เสือ้ แล้วชูกำ� ปัน้  ก่อนจะพูดใส่  “เดีย๋ วฉันต่อย หน้าเลย” นายร้อยหนุ่มจึง “อับจนปัญญา ถึงกับต้องรีบเลี่ยงออกจาก ทางเดิน ปล่อยให้นางสาวละเอียดผ่านไป แต่กม็ หี วังเพราะเลยไป แล้วยังหันมายิ้มตอบตามควรแก่กรณี” ๑๔ มกราคม ๒๔๕๙ (นับแบบปัจจุบนั คือปี  ๒๔๖๐) ทัง้ คูก่ ็ เข้าพิธีวิวาห์ เขามาเฉลยภายหลังว่าตอนทีส่ าวขูจ่ ะต่อยนัน้ เองทีเ่ ขาคิดว่า ผู้หญิงคนนี้  “ชะรอยจะเป็นนักรบแท้คนหนึ่งเสียแล้ว”

โรงเรียนทหารปืนใหญ่  เมืองฟองเตนโบล  ประเทศฝรั่งเศส

78

มิถุนายน  ๒๕๕๗

นักเรียนทุน หลังแต่งงาน ๓ เดือน ประจ�ำปืน ๗ ครบ ๒ ปี  ร้อยตรีแปลก ก็ยา้ ยกลับพระนคร เรียนต่อในโรงเรียนเหล่าทหารปืนใหญ่ในกรม ทหารปืนใหญ่ที่  ๑ รักษาพระองค์  (ปืน ๑) เขตบางซื่อ มีก�ำหนด  ๒ ปี  เมือ่ เรียนจบก็ถกู ส่งกลับปืน ๗ ก่อนโดนย้ายกลับพระนครอีก ครั้งเพื่อประจ�ำที่ปืน ๑ และเรียนในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกนี้เอง ร้อยตรีแปลกได้ฉาย  ความโดดเด่นทางการเรียน โดย “คิดต่าง” ทางวิชาการกับหลวง ชาตินักรบเพื่อนร่วมชั้นเสมอ เช่น ในการสอบแก้ปัญหายุทธวิธี  ครั้งหนึ่ง หลวงชาตินักรบตกลงกับเพื่อน ๆ ว่าจะตอบเหมือนกัน โดยชูกำ� ปัน้ เป็นสัญญาณเข้าตี  ลดก�ำปัน้ ลงหมายถึงตัง้ รับ แต่เมือ่ หลวงชาตินักรบและเพื่อน ๆ “เข้าตี” ร้อยตรีแปลกกลับเลือก  “ตั้งรับ” และแก้สถานการณ์ไปตามความเป็นจริง  ผลสอบออกมาว่าพวกเตี๊ยมตกหมด ร้อยตรีแปลกสอบได้


ร้อยตรี แปลก พิบูลสงคราม  ขณะศึกษาวิชาทหารปืนใหญ่

มิถุนายน  ๒๕๕๗

79


และการ “ตัง้ รับ” ก่อนจะ “โต้กลับ” ก็กลายเป็นจุดเด่นของร้อยตรี  แปลกมาตั้งแต่ตอนนั้น ปี  ๒๔๖๗ ร้อยตรีแปลกสอบได้ที่  ๑ และได้ทุนศึกษาต่อที่ ฝรั่งเศส ตอนนั้นเขาอายุ  ๒๐ ปี  มีลูกสามคนและติดยศร้อยโท ก่อนเดินทางต้องปลอบภรรยาที ่ “ร้องไห้เสียหลายวัน” ขณะทีบ่ ดิ า มารดามองว่าการไปเรียนเมืองนอกของลูกถือว่า “โก้” เพราะคน ธรรมดาไม่ได้ไปกัน หลายปีตอ่ มาท่านผูห้ ญิงละเอียดเล่าให้ลกู ฟังว่าร้อยโทแปลก  ไปเมืองนอกโดย “นั่งเรือจ้างจากบางเขนแต่เช้ามืดแล้วไปจับเรือ ทีจ่ ะเดินทางโดยสารต่อไป”  สัมภาระติดตัวมีเพียงกระเป๋าเสือ้ ผ้า  เมื่อเรือโดยสารแวะท่าเรือส�ำคัญทีหนึ่ง ร้อยโทหนุ่มก็ส่งจดหมาย ทีหนึ่ง จดหมายจะถึงบ้านเดือนละครั้งและเธอก็จะมานั่งคอยอยู่ ที่หัวแพ ส่วนข้อความในจดหมายนั้นก็ไม่ต่างจากตอนที่เริ่มจีบกัน “เวลานี้ได้เห็นพระจันทร์ดวงเดียวกับเธอ อยากเห็นเธอก็ได้ เห็นพระจันทร์ดวงเดียวกับเธอ”

นักเรียนฝรั่งเศส ผู้อภิวัฒน์ ๒๔๗๕ ร้อยโทแปลกถึงฝรั่งเศสในเดือนมีนาคม ๒๔๖๗ เรียนภาษา  วิชาค�ำนวณ และวิชาทหารปืนใหญ่ตามล� ำดับ โดยวิชาทหาร  ปืนใหญ่เข้าเรียนที่โรงเรียนประจ� ำเหล่าทหารปืนใหญ่  (Ecole  d’application de l’artillerie - EAA) เมืองฟองเตนโบล (Fontainebleau) ช่วงนี้เองเขาพบกับร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี  และ  ปรีดี  พนมยงค์  นักเรียนไทยในฝรั่งเศสซึ่งก�ำลังคิดเปลี่ยนแปลง  การปกครองสยาม ร้อยโทประยูรเล่าว่าแรงบันดาลใจที่ท�ำให้ร้อยโทแปลกเข้า  ร่วมกลุ่มผู้ก่อการคือ หลังกลับจากเที่ยวเยอรมนีด้วยกัน ทั้งคู่ถูก  ต�ำรวจตรวจคนเข้าเมืองฝรั่งเศสตรวจแล้ว “เหยียดหยาม หาว่า  เป็นประเทศที่อยู่ในเครือการปกครองของฝรั่งเศสในอินโดจีน...” แม้ภายหลังทราบว่าไม่ใช่  เจ้าหน้าที่ก็ยังบอกว่า “(สยาม) เป็น  ‘เมืองเหาเมืองเลน’ จะรู้จักได้อย่างไร ควรจะมาอยู่เป็นเมืองขึ้น ของฝรั่งเศสเสียจะได้รุ่งเรือง”  ท�ำเอาร้อยโทแปลกของขึน้ สวนว่า “สักวันหนึง่  ‘ไอ้หมัดไอ้เหา’ จะกัดให้ประเทศฝรั่งเศสเน่าไปทั้งชาติ”

80

มิถุนายน  ๒๕๕๗

ร้ อ ยโทแปลกวั ย   ๒๙  ปี   เป็ น หนึ่ ง ในแกนน�ำ คณะราษฎร  เจ็ดคนแรก ร่วมกับ ปรีดี  พนมยงค์  ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี  ร้อยตรี  ทัศนัย มิตรภักดี  ตั้ว ลพานุกรม หลวงสิริราชไมตรี  และ  แนบ  พหลโยธิ น     เจ็ ด คนนี้ ป ระชุ ม ปรึ ก ษาหารื อ ที่ ห อพั ก ถนน  Rue du Sommerard กรุงปารีส ในเดือนกุมภาพันธ์  ๒๔๖๙  หลายครั้ ง  ทั้ ง นี้ ห ลั ก การที่ ต กลงกั น คื อ ต้ อ งยึ ด อ� ำ นาจฉั บ พลั น  เปลี่ยนระบอบเป็นประชาธิปไตยและหาแนวร่วมเพิ่ม  ช่วงนั้น  ร้อยโทแปลกได้หนังสือว่าด้วยการปฏิวัติมาเล่มหนึ่ง แต่ไม่ได้น�ำ ติดตัวกลับสยามเมื่อส�ำเร็จการศึกษา “เพราะกลัวมีพิรุธ” ต้นปี  ๒๔๗๐ สยามที่ร้อยโทหนุ่มนักเรียนนอกกลับมาเจอ  มีประชากร ๑๑ ล้านคน รัฐบาลรัชกาลที่  ๗ ก�ำลังเผชิญปัญหา เศรษฐกิจต้องตัดงบประมาณและปลดข้าราชการจ� ำนวนมาก  ซ�้ำความพยายามปฏิรูปการปกครองก็ล้มเหลว  ร้อยโทแปลกก้าวหน้าในชีวติ ราชการอย่างรวดเร็ว เข้าประจ�ำ การกรมยุทธการทหารบก กรมเสนาธิการทหารบก และจเรทหาร บกตามล�ำดับ และสอนวิชาปืนใหญ่ให้นายทหารชั้นสูง ปลายปี ๒๔๗๐ ติดยศร้อยเอก ปีถัดมาได้บรรดาศักดิ์และราชทินนาม  “หลวงพิบลู สงคราม” อีก ๒ ปีตอ่ มา (๒๔๗๓) ก็ตดิ ยศพันตรี  และ นางละเอียดก็ได้มชี อื่ ในทางราชการว่า “นางพิบลู สงคราม” ไปด้วย “หลวงพิบูลสงคราม” มีชื่อเสียงจากการเป็นครูวิชาทหาร  ปืนใหญ่มากความสามารถ เห็นได้จากขณะสอนครั้งหนึ่ง รัชกาล ที ่ ๗ เสด็จพระราชด�ำเนินผ่านสนพระทัยถึงกับเจ้าหน้าทีต่ อ้ งถวาย เก้าอี้ให้ประทับฟังจนจบชั่วโมง หลวงพิบูลฯ ประสบความส�ำเร็จในการชวนนายทหารที่จบ โรงเรียนนายร้อยรุ่นเดียวกัน อาทิ  หลวงอ�ำนวยสงคราม (ถม  เกษะโกมล) หลวงอดุลเดชจรัส (บัตร พึ่งพระคุณ) เข้าร่วม  การ เสี่ยงตายครั้งนี้  เขายังเตรียมแผนเผื่อผิดพลาดเอาไว้ด้วย  ท่าน  ผู ้ ห ญิ ง ละเอี ย ดบั น ทึ ก ว่ า หลวงพิ บู ล ฯ  ให้   “คุ ณ ลมั ย   ภรรยา หลวงอ�ำนวยสงครามมาสอนปักจักรและเย็บจักร” ที่บ้านเช่า ย่านแพร่งสรรพศาสตร์เพื่อเตรียมอาชีพส� ำรอง และยังสังเกต  เห็นเพื่อนบางคนมาเยี่ยมบ่อยจนผิดสังเกต อาทิ  ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี  หลวงอดุลเดชจรัส เป็นต้น  เช้ามืดวันศุกร์ที่  ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ หลวงพิบูลฯ แต่ง เครื่องแบบ ก่อนออกจากบ้านปลอบภรรยาที่เก็บง�ำความสงสัย  มานานและก�ำลังตกใจท่าทางของสามีว่า “พรุ่งนี้เป็นวันที่เขา จะท�ำการเชิญรัฐธรรมนูญมาให้พี่น้องชาวไทย” ก่อนจะไปที่กรม ทหารม้าบางซื่อสมทบกับพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาและ คนอืน่  ๆ  หลังจากนัน้ ก็สงั่ รวมพลเคลือ่ นรถรบไปบนถนนพระราม ๕  เข้าร่วมกับก�ำลังจากกรมทหารปืนใหญ่ที่  ๑ รักษาพระองค์และ ทหารช่าง ก่อนจะไปยังจุดนัดพบที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ย�่ำรุ่งพันเอกพระยาพหลฯ ก็ก้าวมาหน้าแถวทหารประกาศ


พันตรีแปลก (ขวาสุด)  นายปรีดี (คนที่ ๔ จากซ้าย)  ถ่ายรูปร่วมกับแกนน�ำคณะราษฎร ที่ Trocadero ประเทศฝรั่งเศส

เปลีย่ นแปลงการปกครอง จากนัน้ ทหารก็แยกย้ายอารักขาสถานที่ ส�ำคัญและเชิญเจ้านายในรัฐบาลเก่ามาคุมตัวที่พระที่นั่งอนันตสมาคม  หลวงพิบูลฯ ร่วมกับพระประศาสน์พิทยายุทธ และ เรื อ อากาศตรี   หลวงนิ เ ทศกลกิ จ   น� ำ รถเกราะสองคั น ไปที่ วั ง บางขุนพรหม (ธนาคารแห่งประเทศไทยปัจจุบนั ) เชิญจอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้ส�ำเร็จราชการแทนพระองค์รัชกาลที่  ๗ (ซึ่งแปรพระราชฐานอยู่ ที่หัวหิน) โดยไปกับรถเกราะคันที่  ๒ ทีว่ ังบางขุนพรหมขณะนั้นกรมพระนครสวรรค์ฯ อยู่กบั อธิบดี ต�ำรวจและก�ำลังต�ำรวจภูบาล (สันติบาล) และเตรียมป้องกันตัว

เต็มที่   เมื่อหลวงพิบูลฯ ไปถึง ขณะก�ำลังส่วนแรกล้อมวัง เสียง ปืนกลหนักชุดแรก (จากการยิงขู)่  ดังขึน้ แล้ว “รถรบทีห่ ลวงพิบลู ฯ ควบมาเป็ น แนวหนุ น ก็ ป ราดมาถึ ง วั ง และปิ ด ล้ อ มประตู วั ง ไว้  พร้อมที่จะเปิดการยิงช่วยหากมีการต่อสู้ตอบโต้...” ก่อนที่พระ  ประศาสน์ฯ จะเผชิญหน้ากรมพระนครสวรรค์ฯ และเชิญพระองค์ ไปคุมที่พระที่นั่งอนันตสมาคมทั้งชุดนอน  เมื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประสบความส�ำเร็จ เวลา ๐๑.๐๐ น. วันที่  ๒๕ มิถุนายน ๒๔๗๕ หลวงพิบูลฯ ก็กลับบ้าน พอมาถึงก็กอดรัชนิบูล (ลูกคนที่  ๔) ซึ่งยังเป็นทารกแล้วเปรยว่า “พ่อคิดว่าจะไม่ได้กลับมาเห็นหน้าลูกแล้ว” มิถุนายน  ๒๕๕๗

81


“อนุสาวรีย์ปราบกบฏ” หรือ  “อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ”   ซึ่งปัจจุบันถูกท�ำให้ลืมโดยเรียก ว่า “อนุสาวรีย์หลักสี่”

82

มิถุนายน  ๒๕๕๗


จ�ำนวนจังหวัดที่ต้องส่งประชาชน ไปใช้แรงงานในการสร้าง “นครบาลเพชรบูรณ์”  ระหว่างปี ๒๔๗๖-๒๔๘๗

ปราบกบฏบวรเดช หลังวันแห่งความเป็นความตายผ่านไป หลวงพิบูลฯ ได้รับ แต่งตัง้ เป็นสมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎร (ส.ส.) ชัว่ คราว (แบบสรรหา) ควบต�ำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารปืนใหญ่และรัฐมนตรีลอย (เทียบได้กับรัฐมนตรีประจ�ำส�ำนักนายกฯ) ใน “คณะกรรมการ ราษฎร” (คณะรัฐมนตรี) ชุดแรกของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (นายกรัฐมนตรีคนแรก) อย่างไรก็ตามความวุน่ วายทางการเมืองก็เริม่ ขึน้ ในช่วงปลาย ปี  ๒๔๗๕ ต่อต้นปี  ๒๔๗๖ เมื่อเค้าโครงการเศรษฐกิจ “สมุด  ปกเหลือง” ของ ปรีดี  พนมยงค์  ที่พยายามปรับปรุงโครงสร้าง เศรษฐกิจ ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์  คณะรัฐมนตรีแตกเป็น สองฝ่าย เกิดความขัดแย้งในกลุ่ม “สี่ทหารเสือ” แกนน�ำคณะ ราษฎร คือ พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา พันเอก พระยา ทรงสุรเดช พันโท พระประศาสน์ฯ และพันเอก พระยาฤทธิอ์ คั เนย์ ๑ เมษายน ๒๔๗๖ พระยามโนฯ ประกาศพระราชกฤษฎีกา งดใช้ รั ฐ ธรรมนู ญ เกื อ บทั้ ง ฉบั บ   ปิ ด สภา  วั น ต่ อ มาก็ ป ระกาศ  พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์  และกดดันให้นายปรีดีออก นอกประเทศไปอยู่ที่ฝรั่งเศส ขณะนั้นหลวงพิบูลฯ ย้ายครอบครัวมาอยู่บ้านริมคลองที่  กรมทหารปืนใหญ่บางซือ่  มียศพันโท เป็นรัฐมนตรีลอย  ต�ำแหน่ง ทางทหารคือผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกฝ่ายยุทธการ เป็นคณะ ราษฎรคนเดี ย วที่ ยั ง ถื อ ก� ำ ลั ง ทหารอยู่ ใ นมื อ ขณะนั้ น หลั ง จาก  สี่ทหารเสือลาออกจากคณะรัฐมนตรีและกองทัพเนื่องจากวิกฤต ทางการเมือง  เขาซุ่มเงียบ

๑๐

หลังเตรียมการระยะหนึ่ง เช้าวันที่  ๒๐ มิถุนายน ๒๔๗๖  หลวงพิบูลฯ ก็  “ลุกขึ้นจากเตียงนอนตั้งแต่ฟ้ายังไม่สว่างลุกลน  สวมเครื่องแบบทหาร หยิบปืนพกประจ�ำตัวได้ก็ขึ้นรถยนต์อย่าง  รีบร้อน...ไม่ลืมหันหน้ามากล่าวกับนางพิบูลสงครามด้วยเสียง  หนักแน่นแต่สีหน้ายิ้มแย้มว่า ‘ฉันจะต้องไปท�ำงานใหญ่’”  “งานใหญ่” ที่ว่าคือยึดอ� ำนาจพระยามโนฯ และแถลงว่า  “พระยามโนฯ ได้บริหารราชการแผ่นดินไม่ถกู ต้องตามรัฐธรรมนูญ”  ถือเป็นรัฐประหารครัง้ แรกหลังเปลีย่ นแปลงการปกครอง ส่งผลให้ มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรขึ้นอีกครั้งหลังถูกปิดไป ๒ เดือน  ๒๑ วัน เกิด “รัฐบาลคณะราษฎร” มีพันเอกพระยาพหลฯ เป็น นายกฯ และเรียกตัวปรีดีกลับ

พันโท หลวงพิบูลสงคราม  ขณะรับหน้าที่ “ผู้บังคับกองผสม”  ปราบกบฏบวรเดชที่ต้องการ “ล้มระบอบรัฐธรรมนูญ”

มิถุนายน  ๒๕๕๗

83


http://siamsilkroad.weloveshopping.com/store/product/zoom/?product=00024006-3 http://www.siamkasab.com/images/sub_1299049735/P2160938%20r.jpg

http://www.siamkasab.com/images/sub_1299045927/P2160904%20r.jpg

84

มิถุนายน  ๒๕๕๗

เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญซึ่งสร้างขึ้น หลังการปราบกบฏบวรเดชเพื่อมอบ แก่ทหารที่ผ่านศึกครั้งนั้น (บน)   และสิ่งของที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นของที่ระลึก ในช่วงที่จอมพล ป. เรืองอ�ำนาจ (ล่าง)

http://www.siamkasab.com/images/sub_1299045526/2425.jpg


ประเภท “อาชีพสงวน” ตามพระราชกฤษฎีกา ก�ำหนดอาชีพและวิชาชีพไว้ส�ำหรับเฉพาะคนไทย พ.ศ. ๒๔๘๕ ในวั ย  ๓๖ ปี   บทบาททางทหารของหลวงพิ บู ล ฯ  เด่ น ขึ้ น  เรื่อย ๆ ตุลาคมปีเดียวกันเขารับหน้าที่  “ผู้บังคับกองก�ำลังผสม”  รบกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวง กลาโหมที่น�ำ “คณะกู้บ้านกู้เมือง” และทหารภาคอีสานลงมา  ล้อมกรุงเทพฯ ยื่นค�ำขาดให้รัฐบาลลาออก  สนามรบส�ำคัญคือ  ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา สนามบินดอนเมือง และ สถานีรถไฟบางซือ่  ซึง่ เป็น “แนวหน้า” ของฝ่ายกบฏทีจ่ ดั วางก�ำลัง ทหารไว้ตลอดสองข้างทางรถไฟเพื่อรอค�ำตอบจากรัฐบาล  หลวงพิบูลฯ ปราบกบฏด้วยวิชาที่เขาเชี่ยวชาญ ระดมยิง  ปืนใหญ่และปืนต่อสู้อากาศยานใส่ก่อนเคลื่อนกองบัญชาการ  ไปเรื่อย ๆ ตามทางรถไฟ บีบให้พระองค์เจ้าบวรเดชถอยก�ำลังไป จนถึงอ�ำเภอปากช่อง นครราชสีมาและพ่ายแพ้ในที่สุด  จากนั้น เดินทางไปจัดการก�ำลังทหารจากราชบุรีซึ่งก็ยอมแพ้เมื่อทราบว่า แนวรบทางเหนือแตกแล้ว ศึกครัง้ นีห้ ลวงพิบลู ฯ เสียพันโท หลวงอ�ำนวยสงคราม เพือ่ น ร่วมรุ่นนักเรียนนายร้อยทหารบกจากการรบ เหตุ ก ารณ์ นี้ รั บ รู ้ ใ นเวลาต่ อ มาว่ า   “กบฏบวรเดช”  สิ่ ง ที่  หลงเหลือจากการปราบกบฏ คือ “อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” และ “เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ซึ่งจัดท�ำแจกทหารผ่านศึก  เพื่อร�ำลึกถึงการปกป้องมิให้ประเทศถอยหลังกลับสู่ระบอบเก่า   ทุกวันนี้กลายเป็นเหรียญหายากที่กระจายอยู่ในความครอบครอง  ของนักสะสม

“มือปืน” และ “ยาพิษ” หลังปราบกบฏ หลวงพิบลู ฯ ได้รบั ยศเป็นพันเอก ได้ต�ำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรองผู้บัญชาการทหารบก  ในรัฐบาลของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา  ช่วงนี้เขาเผชิญ การลอบสังหารถึงสามครั้ง  ครั้งที่เสี่ยงที่สุดเกิดขึ้นในวันที่  ๒๓ กุมภาพันธ์  ๒๔๗๗ เมื่อ ปฏิบตั หิ น้าทีป่ ระธานปิดงานแข่งขันฟุตบอลของกระทรวงกลาโหม ที่สนามหลวงเสร็จสิ้น หลวงพิบูลฯ กลับมาขึ้นรถยนต์ที่จอดอยู่  ใกล้กระโจมพิธี  พอเข้ารถก็ก้มหยิบกระบี่ส่งให้นายทหารติดตาม ซึ่งยืนอยู่นอกรถ “เสียงปืนปังปังก็ดังระเบิดขึ้น ๒ นัด น.ต. หลวง

๒๗

สุนาวินวิวัฒน์  เหลียวไปเห็นชายคนหนึ่งในระยะใกล้ชิด ก�ำลังถือ ปืนพกจ้องปากกระบอกปืนตรงไปที่ร่างของ พ.อ. หลวงพิบูลฯ  ปากกระบอกปืนยังปรากฏมีควันกรุ่นอยู่...น.ต. หลวงสุนาวินฯ กระโดดปัดมือชายผู้นั้นจนปืนพกตกกระเด็นจากมือ พร้อมกับ กระสุนได้หลุดออกไปจากล�ำกล้องเป็นนัดที่  ๓ ทหารหลายคนตรู กันเข้ารวบตัวชายผู้นั้นไว้ได้  ร.อ. ทวน วิชัยขัทคะ รีบประคอง  ร่างท่านรัฐมนตรีไว้ด้วยความตกใจสุดขีดเมื่อมองเห็นเลือดสีแดง เข้มไหลรินออกจากรูกระสุนปืนตรงต้นคอ ท�ำให้เสื้อสีกากีที่ท่าน สวมเกิดรอยเปื้อนเป็นทางด้วยเลือดที่ยังไหลจากล�ำคอของท่าน โดยไม่หยุด”  นางพิบลู สงครามซึง่ อยูท่ บี่ า้ นบางซือ่ อุม้ พัชรบูล (ลูกคนที ่ ๕) อยู่  พอรับโทรศัพท์แจ้งข่าวก็  “เป็นลมไปชั่วครู่”  แพทย์พบว่าหลวงพิบูลฯ ถูกยิงสองแห่ง แห่งแรกกระสุน  เข้าแก้มซ้ายทะลุออกต้นคอ แห่งที่  ๒ กระสุนเข้าไหล่ขวาทะลุ  ด้านหลัง โชคดีไม่โดนอวัยวะส�ำคัญท�ำให้รอด  อย่างไรก็ตาม  หลวงพิบูลฯ ต้องรักษาตัวอยู่  ๑ เดือน  นายพุ่ม ทับสายทอง  มือปืนถูกจับไปสอบสวนและด�ำเนินคดี ครั้ ง ที่   ๒  เกิ ด ในวั น ที่   ๙  พฤศจิ ก ายน  ๒๔๘๑  (ก่ อ นการ  เลือกตั้งทั่วไป) ที่บ้านบางซื่อ เวลา ๑๙.๐๐ น. ขณะหลวงพิบูลฯ  แต่งตัวจะไปงานเลี้ยงที่กระทรวงกลาโหม นายลี  คนสวน บุก เข้าไปไล่ยิงถึงห้อง แต่นายทหารติดตามขึ้นไปช่วยได้ก่อนจะจับ นายลีส่งต�ำรวจ โดยนายลีเป็นคนสวนที่หลวงพิบูลฯ อุปการะ และไว้เนื้อเชื่อใจมานาน  ครั้งที่  ๓ เกิดในวันที่  ๙ ธันวาคม ๒๔๘๑ (ก่อนการโหวต เลือกนายกรัฐมนตรีในสภาฯ ๙ วัน) ขณะหลวงพิบลู ฯ รับประทาน อาหารทีบ่ า้ น จอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล อดีตผูบ้ ญ ั ชาการ ทหารเรือซึ่งตอนนั้นมียศนาวาโทและอยู่ในวงอาหาร เล่าว่าหลวง พิบูลฯ รู้ตัวก่อนแล้วอุทานว่า “ผมท่าจะกินยาพิษ” และ “เนื้อตัว สั่น หน้าซีด เหงื่อไหลโซม” แล้วทั้งคณะก็ต้องรีบไปโรงพยาบาล ก่อนที่แพทย์จะล้างท้องจนรอดมาได้อย่างหวุดหวิด การลอบสังหารสามครั้ง ท�ำให้ต่อมารัฐบาลคณะราษฎรชุด หลวงพิบูลฯ ตั้ง “ศาลพิเศษ” จับกุมผู้ต้องหา ๕๒ คนด�ำเนินคดี โดยพบว่าท�ำงานกันอย่างเป็นขบวนการ ผล ๑๘ คนถูกตัดสิน ประหารชีวิต มีการถวายฎีกาเพื่อขอลดหย่อนโทษ ทว่ามีเพียง  สามคนเท่านั้นที่ได้รับการลดหย่อน ส่วนอีก ๑๕ คนถูกประหาร เรื่อง “ศาลพิเศษ” นี้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยมองว่าหลวงพิบูลฯ ถือ โอกาสก�ำจัดศัตรูทางการเมืองและจับบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง แต่อีก มุมหนึง่ ก็มผี มู้ องว่าหลวงพิบลู ฯ จ�ำเป็นต้องท�ำเพือ่ ความปลอดภัย มิถุนายน  ๒๕๕๗

85


เสื้อเปื้อนคราบเลือดและมีรอยกระสุน ของ พันเอก หลวงพิบูลสงคราม  ทั้งชั้นในและนอกในวันที่ถูกลอบยิง ที่ท้องสนามหลวง   ปัจจุบันได้รับการเก็บรักษาที่มุม  “จอมพล ป. พิบูลสงคราม”  พิพิธภัณฑ์ อาคาร รร.จปร. ๑๐๐ ปี  โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

86

มิถุนายน  ๒๕๕๗


พันเอก หลวงพิบูลสงคราม  ถ่ายกับคณะแพทย์ที่ท�ำการผ่าตัด รักษาในเหตุการณ์ถูกลอบยิง

ของคณะราษฎรเอง ปัจจุบันเสื้อเปื้อนเลือดมีรอยกระสุนและผ้าที่ใช้ซับเลือดจาก เหตุการณ์ลอบสังหารครั้งแรก เก็บรักษาอยู่ที่  “มุมจอมพล ป.  พิบลู สงคราม” ใน “พิพธิ ภัณฑ์  อาคาร รร.จปร. ๑๐๐ ปี” โรงเรียน นายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก ผลพลอยได้หลังจากเหตุการณ์นั้นคือ ท่านผู้หญิงละเอียด ตัดสินใจท�ำอาหารให้จอมพลแทบทุกมื้อ  เธอเล่าให้ลูกฟังภาย หลังว่า “แม่ซาวข้าวเสียเล็บไม่เคยยาวเลย”

ผู้น�ำยุค “สร้างชาติ”  หลวงพิบูลฯ ขึ้นสู่ต�ำแหน่งสูงสุดทางการเมืองในวันที่  ๑๖ ธันวาคม ๒๔๘๑ ขณะอายุ  ๔๑ ปี ขณะนั้นสถานการณ์รอบประเทศอยู่ในภาวะวิกฤต เค้าลาง สงครามก่อตัวขึ้นในยุโรปจากการคุกคามของเยอรมนี  ในเอเชีย ญี่ปุ่นก�ำลังแผ่แสนยานุภาพโดยยึดอินโดจีนของฝรั่งเศส (ลาว กัมพูชา เวียดนาม) ไว้ได้  งานที่เด่นชัดของหลวงพิบูลฯ ในสภาวะนี้  คือการเปลี่ยน ประเทศสู่  “สมัยใหม่” สร้างชาติบนฐาน “ระบอบประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญ” สร้าง “ส�ำนึกความเป็นไทย” ผ่านสิ่งก่อสร้าง  เชิงสัญลักษณ์  รณรงค์ด้านวัฒนธรรม  ที่ส�ำคัญคือการประกาศ  “รัฐนิยม” ๑๒ ฉบับ ทั้งช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่  ๒ พันเอกหลวงพิบูลฯ ปราศรัยในงานฉลอง “วันชาติ” (๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๓) ว่าไทยเป็นอารยชนแล้ว “การสร้างชาติก็คือ การสร้างตัวของคนทุกคนในบรรดาประชากรของชาติให้ดี  ถ้า  เราทุกคนมีร่างกายแข็งแรง มีวัฒนธรรมดี  มีศีลธรรมงาม และมี

อารยธรรมดี-ดีอย่างไทยซึง่ ไม่มใี ครจะดีกว่าอยูแ่ ล้ว ประกอบอาชีพ ให้รุ่มรวยดังนี้  ชาติไทยก็จะดีตามไปด้วยโดยมิต้องสงสัยเลย...” โดยเน้นให้คนไทยมี  “วัธนธัมดี มีศีลธัมดี มีอนามัยดี มีการแต่งกาย อันเรียบร้อยดี มีที่พักอาศัยดี และมีที่ท�ำมากินดี...” รัฐนิยมเจ็ดฉบับถูกประกาศในปี  ๒๔๘๒ หลวงวิจติ รวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปรีดา) เป็นก�ำลังส�ำคัญในการร่างและท�ำนโยบาย ฉบับที่  ๑ “ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ” และฉบับที่  ๓  ส่งผลให้เกิดค�ำเรียก “คนไทย” ชื่อประเทศเปลี่ยนจาก “สยาม”  เป็น “ไทย” ชือ่ ภาษาอังกฤษเปลีย่ นจาก “Siam” เป็น “Thailand”   รั ฐ นิ ย มฉบั บ ที่   ๔ และ ๖ ให้   “ยื น ตรงเคารพธงชาติ ”  เปลี่ ย น  เนื้อเพลงชาติจาก “ประเทศสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง...” เป็น “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย”  รัฐนิยมฉบับที่  ๘ ซึง่ ออกในปี  ๒๔๘๓ ว่าด้วยเรือ่ งเพลงสรรเสริญพระบารมีซงึ่ ส่งผล ให้เพลงสรรเสริญฯ ถูกย่อและเปลี่ยนค� ำว่า “สยาม” ในเพลง เป็น “ไทย”  เรื่องนี้ยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนชื่อสิ่งของและสถานที่ที่มี ค�ำว่า “สยาม” อาทิ  ธนาคาร “สยามกัมมาจล” เป็นธนาคาร “ไทย พาณิชย์” หรือ “พระสยามเทวาธิราช” เป็น “พระไทยเทวาธิราช” รัฐนิยมฉบับที่  ๑๐ ก�ำหนดให้คนไทยแต่งกายแบบ “ไทย อารยะ” แผ่นโฆษณาวัฒนธรรมไทยแผ่นหนึ่งระบุว่า คนไทย ไม่ควรนุง่ โสร่ง เปลือยกายท่อนบน ใส่หมวกแขก โพกหัว ทูนของ บนศี ร ษะ ผู ้ ช ายควรแต่ ง  “ตามแบบสากล หรื อ สรวมกางเกง ตามแบบไทยขาสั้น สรวมเสื้อกลัดรังดุมเรียบร้อย” ผู้หญิงควร “ไว้ ผ มยาวสรวมเสื้ อ ชั้ น นอกให้ ส อาดเรี ย บร้ อ ยและนุ่ ง ผ้ า สิ้ น (ผ้าถุง) จงทุกคน” และรณรงค์ให้ใส่หมวกชีว้ า่  “มาลาน�ำไทยไปสู่ มหาอ�ำนาจ” มิถุนายน  ๒๕๕๗

87


การประชุมคณะรัฐมนตรี “คณะราษฎร”  ชุด พันเอก หลวงพิบูลสงคราม ในปี ๒๔๘๔   ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ท�ำเนียบสามัคคีชัย   (ท�ำเนียบรัฐบาลปัจจุบนั  เปิดใช้ปลายปี ๒๔๘๔)  หลวงพิบูลสงคราม นายกฯ นั่งอยู่ใกล้หน้าต่าง บานที่ ๓ (จากซ้าย)  หลวงประดิษฐ์มนูธรรม  รมว. คลัง นั่งอยู่ใกล้หน้าต่างบานที่ ๒

88

งาน “วันเด็ก” ที่ท�ำเนียบรัฐบาลสมัยหลวงพิบูลสงคราม

สตรีที่เข้าร่วมการจัดประกวด  แต่งกายแบบสากล  เพื่อแสดงความเป็น “อารยะ”

ถึงขั้นที่ครั้งหนึ่งรัฐบาลส่งเจ้าหน้าที่ไปเฝ้าสมเด็จฯ พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ขอพระราชทานให้พระองค์สวมพระมาลา และ ขอประทานฉายพระรูป จนถูกกริ้วว่า “...ทุกวันนี้  จนจะไม่เป็นตัวของตัวอยู่แล้ว  นี่ยังจะมายุ่งกับ หัวกับหูอีก...ไม่ใส่  อยากจะให้ใส่ก็มาตัดหัวเอาไปตั้งแล้วใส่เอา เองก็แล้วกัน...” การทีร่ ฐั ยุง่ กับหัวหูของผูค้ นยังปรากฏในค�ำสัง่ อืน่  ๆ อีก เรือ่ ง ที่คนจ�ำได้ดีเช่น “ห้ามกินหมาก” ซึ่งรัฐบาลมองว่าเป็น “ประเพณี เสื่อมเกียรติอย่างร้ายแรง” บ้วนน�้ำหมากเลอะเทอะเป็นผู้  “ไม่มี วัฒนธรรม” กระทรวงมหาดไทยจึงห้ามประชาชนทีก่ นิ หมากติดต่อ ราชการและกวดขันเรื่องนี้อย่างเข้มงวด สรศัลย์  แพ่งสภา สถาปนิก-นักเขียนซึ่งผ่านยุคนั้นมาเล่าว่า

“วันดีคืนดีท่านสั่งให้หยุดเคี้ยวหยุดขาย (หมาก) ราวกับปิดสวิตช์ ไฟฟ้าปั๊บเดียวดับมืดทั้งบ้าน คนที่ติดมาก ๆ ยิ่งคนแก่ด้วยแล้ว  นั่งหาวหวอด ๆ จนขากรรไกรค้าง...ทีนี้ซิครับ เหล่าสมุนที่ว่าจะ สอพลอเจ้านาย...แต่ไม่รวู้ า่ ได้รบั มอบอ�ำนาจมาจากไหนสัง่ ตัดโค่น สวนหมากพลูพินาศไป” ยังไม่นับคนยากคนจนที่ต้องหาเสื้อผ้า สากลมาใส่ตามค�ำสั่ง “ท่านผู้น�ำ” ยังมีประกาศให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่  ๑ เมษายนเป็น วันที่  ๑ มกราคม และประกาศอีกหลายฉบับที่เปลี่ยนธรรมเนียม และวัฒนธรรมดัง้ เดิมให้เข้ากับสากล  ช่วงนีร้ ฐั บาลยังโอนกิจการ ค้าชาวต่างประเทศเข้ามาด� ำเนินการเอง อาทิ  โรงงานยาสูบ สัมปทานป่าไม้  เหมืองแร่  และตั้งกิจการค้าของไทย เช่น บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จ�ำกัด

มิถุนายน  ๒๕๕๗

งานเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  ปี ๒๔๘๒


สงครามอินโดจีน  ก่อนสงครามโลกครั้งที่  ๒ จะมาถึงเมืองไทยไม่นาน พันเอก หลวงพิบูลฯ เลื่อนยศเป็นพลตรี  และกลายเป็น “จอมพล” เมื่อ  การเรียกร้องดินแดนอินโดจีนประสบความส�ำเร็จ  กรณี  “สงครามอินโดจีน” ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (เกิดก่อน  “สงครามมหาเอเชียบูรพา” อันเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลก  ครั้งที่  ๒)  เรื่องเล่ากระแสหลักตามที่ทราบกันคือ เกิดจากความ ต้องการ “ปรับปรุงเส้นเขตแดน” ของไทยหลังแพ้ฝรั่งเศสในการ  ชิ ง ดิ น แดนที่ เ ป็ น ประเทศลาวและกั ม พู ช าในสมั ย รั ช กาลที่   ๕  อย่างราบคาบ พลตรี หลวงพิบูลสงคราม   ช่วงที่รัฐบาลไทยยึดนโยบายนี้  สงครามโลก ต้อนรับการเดินขบวนเรียกร้อง  ครั้งที่  ๒ ระเบิดแล้วในยุโรป เยอรมนีชนะฝรั่งเศส ดินแดนคืนจากฝรั่งเศส  ตัง้ แต่  ๒๒ มิถนุ ายน ๒๔๘๓ รัฐบาลไทยท�ำ “สนธิ ของนักศึกษา มธก.  (ล่าง) การตรวจกองทหารและ  สั ญ ญาไม่ รุ ก รานกั น และกั น ”  กั บ มหาอ� ำ นาจ  การรณรงค์การเรียกร้องดินแดน  ตะวันตกหลายประเทศเพือ่ ประกันความเป็นกลาง คืนจากฝรั่งเศสโดยใช้  ประวัติศาสตร์ชาตินิยม ดั ง นั้ น เมื่ อ ฝรั่ ง เศสขอให้ ไ ทยรั บ สั ต ยาบั น พลตรี  หลวงพิบูลฯ จึงเห็นโอกาส ปฏิเสธสัตยาบัน และ                              ขอปรับปรุงเส้นเขตแดน ขอไชยบุรแี ละจ�ำปาศักดิค์ นื  ให้ถอื แม่น�้ำ โขงเป็นเส้นเขตแดน และสุดท้ายหากมีการโอนอธิปไตยในอินโด จีน ขอให้ลาวและกัมพูชาเป็นของไทย ซึง่ รัฐบาลฝรัง่ เศส (ภายใต้ การยึดครองของเยอรมนี) ไม่ยินยอม “สงครามอินโดจีน” จึงเกิดขึน้ ในช่วงปลายปี  ๒๔๘๓  ตลอด เดือนตุลาคมปีนั้น มีการปลุกกระแสเรียกร้องดินแดนคืน  นิสิต มิถุนายน  ๒๕๕๗

89


ปฏิทินชีวิต จอมพล ป. พิบูลสงคราม ๒๔๔๐

๒๔๕๗

ส�ำเร็จการศึกษา จากโรงเรียนนายร้อยทหารบก,  ไปประจ�ำการที่พิษณุโลก

ศึกษาต่อ ที่ประเทศ ฝรั่งเศส

๒๔๗๖

๒๔๗๗

๒๔๘๑

๒๔๘๒

๒๔๙๐

๒๔๙๑

๒๔๙๔

๒๔๙๘

๑๔ กรกฎาคม  เกิดที่ปากคลองบางเขน  จังหวัดนนทบุรี

- ๒๐ มิถุนายน ท�ำรัฐประหาร  - เป็น รมว. กลาโหม รัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา  - ๒๓ กุมภาพันธ์ ถูกลอบยิง และฟื้นฟูรัฐธรรมนูญ

รับเป็นหัวหน้าคณะ รัฐประหาร

เป็นนายกรัฐมนตรี ในสมัยคณะรัฐประหาร

จุ ฬ าฯ  นั ก ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย วิ ช าธรรมศาสตร์ แ ละการเมื อ ง  (มธก.) ออกมาเดินขบวนอย่างคึกคัก  ในที่สุดญี่ปุ่นก็เข้ามาไกล่เกลี่ย เกิด “อนุสัญญากรุงโตเกียว พ.ศ. ๒๔๘๔” ท�ำให้ไทยได้ไชยบุรี  จ�ำปาศักดิ์  เสียมราฐ (เสียมเรียบ) และพระตะบอง  พลตรีหลวงพิบูลฯ มีความชอบ รับพระ  ราชทานยศ “จอมพล” เป็น “จอมพล หลวงพิบูลสงคราม” มีการ สร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิจารึกชื่อทหารผู้เสียชีวิตในสงคราม  อิ น โดจี น  เกิ ด จั ง หวั ด  “พิ บู ล สงคราม” ในดิ น แดนที่ ไ ด้ ม าใหม่  โดยรวมท้ อ งที่ เ มื อ งเสี ย มราฐและอุ ด รมี ชั ย เข้ า ไว้ ด ้ ว ยกั น เพื่ อ  เป็นเกียรติแก่จอมพล  แน่นอน หลักฐานจ�ำนวนมากโดยเฉพาะฝ่าย ปรีด ี พนมยงค์ ที่คัดค้านการท�ำสงคราม มองว่านี่คือการเดินนโยบายผิดพลาด ของจอมพลซึง่ ท�ำให้หลังสงครามโลกครัง้ ที ่ ๒ ไทยต้องคืนดินแดน ไปทั้งหมด แต่หลักฐานฝ่ายจอมพล ป. ก็อ้างว่าสงครามครั้งนี้ นอกจากต้องการกู้เกียรติยศ ยังมีเจตนา “ขยายแนวตั้งรับ” เพื่อ เตรียมรับมือญี่ปุ่นด้วย  ตัวอย่างหลักฐานหนึ่งซึ่งถูกยกขึ้นมา คือ

90

มิถุนายน  ๒๕๕๗

- พฤศจิกายน-ธันวาคม  ถูกลอบยิงและวางยาพิษ - เป็นนายกรัฐมนตรี

ถูกจับเป็นตัวประกัน คราว “กบฏแมนฮัตตัน”

๒๔๖๗

- เปลี่ยนชื่อประเทศ จาก “สยาม” เป็น “ไทย”  - เริ่มนโยบายชาตินิยม

ออกเดินทางรอบโลก   ๑๗ ประเทศ

โทรเลขของจอมพลที่ส่งถึงพันโท ไชย ประทีปเสน ที่เดินทาง  ไปไซ่งอ่ น (โฮจิมนิ ห์ซติ )ี  กับคณะกรรมการเจรจาปรับปรุงเขตแดน กับฝรัง่ เศสในเดือนกันยายน ๒๔๘๔ ระบุวา่  “...ขอแต่เส้นเขตแดน ให้เสร็จไปแล้วกัน ดินแดนที่ได้มาเรามีความมุ่งหมายในการ ป้องกันชาติในภายหน้า ยิ่งกว่าจะได้ดินแดนมา...”  ด้วยการ  ได้ดินแดนเพิ่มส่วนนี้  ท�ำให้ญี่ปุ่นใช้เวลาบุกนานขึ้น “ต้องล�ำบาก ตัง้ แต่สวายดอนแก้ว พระตะบอง...ไกลนครหลวงออกไปหลายสิบ กิโลเมตร”  เรื่องนี้ยังถกเถียงกันถึงปัจจุบัน หลังชนะสงครามอินโดจีน คณะรัฐมนตรีสว่ นหนึง่ ถวายบังคม ลาออกจากบรรดาศักดิ์ตามนโยบายจอมพลที่ต้องการยกเลิก บรรดาศักดิ์ทั้งหมด บ้างเปลี่ยนไปใช้ชื่อเดิม บ้างก็นำ� บรรดาศักดิ์ มาเป็นนามสกุล  โดย “จอมพล หลวงพิบูลสงคราม” เลือกใช้ชื่อ “จอมพล แปลก พิบูลสงคราม” เขียนย่อว่า “จอมพล ป. พิบูลสงคราม”  ตั้งแต่บัดนั้น


๒๔๖๙

๒๔๗๐

๒๔๗๑

๒๔๗๕

เป็นหนึ่งในเจ็ด  แกนน�ำคณะราษฎร

เดินทางกลับสยาม

ได้รับพระราชทาน บรรดาศักดิ์และราชทินนาม เป็น “หลวงพิบูลสงคราม”

๒๔ มิถุนายน  ร่วมอภิวัฒน์ เปลี่ยนแปลง การปกครองสยาม

๒๔๘๓

๒๔๘๔

๒๔๘๗

๒๔๘๘

๒๕๐๐

๒๕๐๒

๒๕๐๓

๒๕๐๗

ท�ำสงครามกับฝรั่งเศส  ผนวกดินแดนบางส่วนจาก  อินโดจีน, ได้รับยศจอมพล

- ๑๖ กันยายน ถูกรัฐประหาร,  ลี้ภัยกัมพูชาก่อนเดินทางไปญี่ปุ่น

๘ ธันวาคม ยอมให้ญี่ปุ่น เดินทัพผ่านประเทศไทย

เดินทางไปสหรัฐอเมริกา

กลับไปอยู่บ้านหลักสี่และ  ท�ำเกษตรที่จังหวัดปทุมธานี

เดินทางไปอุปสมบท ที่อินเดีย

ถูกด�ำเนินคดี ข้อหาอาชญากรสงคราม

ถึงแก่อสัญกรรม  ณ บ้านซะกะมิฮะระ  ใกล้กรุงโตเกียว

เชื่อผู้น�ำชาติพ้นภัย

จอมพล ป. กับท่านผู้หญิงละเอียด และ นิตย์ พิบูลสงคราม บุตรชาย คนสุดท้องในท�ำเนียบสามัคคีชัย

จุดชี้เป็นชี้ตายที่ก�ำหนดบทบาทประเทศไทยในสงครามโลก ครั้งที่  ๒ อยู่ในช่วงรอยต่อคืนวันที่  ๗ ถึงเช้าวันที่  ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ เมื่อญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก ขณะนัน้ จอมพลก�ำลังตรวจราชการทีช่ ายแดนภาคตะวันออก คณะรัฐมนตรีไม่กล้าตัดสินใจตอบทูตญี่ปุ่นที่มายื่นค� ำขาดขอ  เดินทัพผ่าน  ขณะทีเ่ กิดการต่อสูท้ กุ แนวเขตแดนทีญ ่ ปี่ นุ่ บุกเข้ามา การที่จอมพลกลับถึงที่ประชุมคณะรัฐมนตรีช้าเป็นที่มาของ ข้อกังขาว่าจอมพลมี  “ข้อตกลงลับ” กับญี่ปุ่นหรือไม่ ในจดหมายที่ส่งให้หนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ หลังสงครามโลก ครั้งที่  ๒ จอมพลเล่าว่าไปตรวจราชการที่ปราจีนบุรี  ดูแนวตั้งรับ  ทีศ่ รีโสภณ เดินทางไปจังหวัดพระตะบองก่อนกลับมาอรัญประเทศ มิถุนายน  ๒๕๕๗

91


โทรเลขจากเซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์  บอกให้ ไทย “ป้องกันตัวเอง”  โดยอังกฤษจะถือว่าการโจมตีไทย  เท่ากับการ “โจมตีอังกฤษ” (ล่าง) การลงนามร่วมรบกับญี่ปุ่น ในอุโบสถวัดพระแก้ว ๒๕ มกราคม ๒๔๘๕

92

มิถุนายน  ๒๕๕๗

< ในยุคนี้ “ภาพท่านผู้น�ำ” เห็นได้ทุกที่  โดยมีการส่งเสริมให้ประชาชนน�ำไปประดับบ้าน


จ�ำนวนบทความที่จอมพล ป. เขียน  ในนามปากกา “สามัคคีชัย”

ตอนค�่ำและได้โทรเลขด่วน “ผมจึงได้เดินทางกลับกรุงเทพฯ เมื่อ เวลา ๑ นาฬิกาของวันที่  ๘”   พอใกล้รุ่งสางก็พบกับรถของพลอากาศตรี  มุนี  มหาสันทนะ  เวชยันตรังสฤษฏ์  (พระเวชยันตรังสฤษฏ์) ที่คณะรัฐมนตรีส่งมา ตามจอมพลที่สระบุรี  จอมพล ป. ตัดสินใจไม่ขึ้นเครื่องบินกลับ ทันที  และจะ “เข้าไปดูท่วงที  (ในกรุงเทพฯ) ส่วนการรบก็คงให้  รบกันต่อไปตามแผนและตามค�ำสั่ง...”  ตอนเช้าเมื่อถึงวังสวนกุหลาบ (ท�ำเนียบรัฐบาลสมัยนั้น)  จึงเจรจากับทูตญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นเสนอระหว่าง ๑. ให้เดินทัพผ่าน   ๒. ร่วมรบ  ๓. เข้าร่วมสัญญาไตรภาคี   ๔. ไม่รับข้อเสนอ  จอมพลขอว่าต้องประชุมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อตัดสินใจ  ขณะนั้ น สถานการณ์ ตึ ง เครี ย ด  ในห้ อ งนายกรั ฐ มนตรี มี  คนไทยเพียงสองคน คือ จอมพล ป. กับ วณิช ปานะนนท์  ซึ่ง  “เผชิญค�ำขูเ่ ข็ญ...จากฝ่ายญีป่ นุ่ ซึง่ มีทงั้ คณะทูตพลเรือน ทูตทหาร และนายทหารชั้นนายพล นายพัน ถือดาบอยู่เกะกะ นับจ�ำนวน ได้ประมาณตั้ง ๒๐ คน นายวณิช...ได้ขอร้องให้ฝ่ายญี่ปุ่นให้ เกียรติแก่นายกรัฐมนตรีไทยให้ได้ออกจากห้องเพื่อไปหารือคณะ รัฐมนตรีบ้าง พูดกันอยู่นาน ญี่ปุ่นจึงได้ยอม...”  ในที่สุดคณะรัฐมนตรีก็  “ลงมติเป็นเอกฉันท์ไม่รบกับญี่ป่นุ ” ให้เดินทัพผ่านโดยขอให้เคารพอธิปไตยของประเทศไทย สิบโมงเช้า รัฐบาลประกาศให้  “ยุตกิ ารสูร้ บ” วันเดียวกันยังมี ประชุมคณะรัฐมนตรีรอบเย็น ซึง่ จอมพลออกอาการ “ท้อ” ให้เห็น กล่าวกับคณะรัฐมนตรีว่า “ไม่มีอะไรจะพูด...เก่งมาหลายปี  ๓-๔ ปี  วันนี้หมดภูมิ  เราลองพิจารณาดูซิว่าจะมีทางอะไรที่จะเอาตัว รอดได้...”  ที่น่าสังเกตคือจอมพลถามถึงความเป็นไปได้ในการ “อพยพ (รัฐบาล) ไปทางเหนือ”  ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่  ๑๑ ธันวาคม สถานการณ์ แย่ลงอีกเมื่อญี่ปุ่นต้องการให้ร่วมมือมากกว่ายอมให้เดินทัพผ่าน จอมพลกล่าวว่า “ไม่รู้ที่จะแก้อย่างไร...จะเป็นการที่ผมขายชาติ  ทั้งขึ้นทั้งล่อง อ้ายไม่รับเดี๋ยวเขาก็จะปลดอาวุธทหาร เราก็หมด เสียง อ้ายจะสู้หรือ ก็ฉิบหายมาก...ในใจของผมเห็นว่า เมื่อเรา  จะเข้ากับเขาแล้วก็เข้าเสียให้เต็ม ๑๐๐% เขาก็คงเห็นอกเห็นใจ เรา ส่วนการข้างหน้าจะเป็นอย่างไรผมทายไม่ถูก...” ตอนนี้เอง ปรีดี  พนมยงค์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ค้านว่าเมือ่ ตกลงแค่ให้เดินทัพผ่านก็ควรท�ำเท่านัน้  หากร่วมเต็มตัว แล้วกลับล�ำภายหลัง “ถ้าประเด็นอยู่ที่จะกู้เกียรติยศของชาติ  ก็

๘๘

จะเสียเกียรติทั้งขึ้นทั้งล่อง” โดยเสนอว่าให้หาทางให้ญี่ป่นุ ปฏิบัติ ตามสัญญาจะดีกว่า ซึง่ การโต้เถียงครัง้ นีเ้ ป็นรอยร้าวแรกทีเ่ ห็นชัด ระหว่างแกนน�ำฝ่ายบุ๋นและบู๊ของคณะราษฎร ในที่สุดปรีดีถูกปรับออกจากคณะรัฐมนตรีไปรับต�ำแหน่ง  ผูส้ ำ� เร็จราชการแทนพระองค์  ด้วยเหตุวา่  “เป็นทีร่ งั เกียจของญีป่ นุ่ ”  ก่อนที่ไทยจะเซ็นสัญญาร่วมรบกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามกับ สัมพันธมิตรในวันที่  ๒๕ มกราคม ๒๔๘๕  ความจริงเบื้องหลัง ตอนนั้นปรีดี  “คิดต่าง” ก่อตั้งขบวนการ เสรีไทย” (Free Thai Movement) ตั้งแต่วันที่ไทยยอมให้ญี่ปุ่น  เดินทัพผ่าน  ขณะที่จอมพล ป. ด�ำเนินนโยบายอีกแบบ ซึ่งต้อง บันทึกในทีน่ วี้ า่ เป็นการตัดสินใจขณะทีล่ กู สาวคนหนึง่ ของเขาก�ำลัง เรียนต่ออยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส จอมพลบอกประชาชนว่าขอให้  “เชื่อผู้น�ำ” และ “ชาติ  (จะ) พ้นภัย” เพราะ “ญีป่ นุ่ มีเครือ่ งยึดมัน่ อยูค่ อื พระเจ้าแผ่นดินของเขา ของเราไม่มอี ะไรเป็นเครือ่ งยึดแน่นอน...ชาติกย็ งั ไม่มตี วั ตน ศาสนา ก็ไม่ท�ำให้คนเลื่อมใส ถึงยึดมั่น พระมหากษัตริย์ก็ยังเป็นเด็กเห็น แต่รปู  รัฐธรรมนูญก็เป็นสมุดหนังสือ...ผมจึงให้ตามนายรัฐมนตรี”

“ชาตินิยม” และ “เมกะโปรเจกต์” ในไฟสงคราม ระหว่างสงคราม เราเข้าถึงวิธีคิดและวิธีท�ำงานของจอมพล  ได้จากการอ่าน “สมุดสั่งงาน”  ผมพบว่าสมุดสั่งงานทุกเล่มได้รับการเก็บรักษาไว้ในตู้ไม้  ในพิพิธภัณฑ์  อาคาร รร.จปร. ๑๐๐ ปี  โรงเรียนนายร้อยพระ จุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก ทั้งหมดเป็นสมุดปกแข็งสีเขียว บางเล่มก็ถูกห่อด้วยกระดาษสีอื่น ทั้งหมดมี  ๑๒ เล่ม แบ่งเป็น “สมุดสั่งการฝ่ายทหาร” “สมุดสั่งงานฝ่ายพลเรือน” “สมุดสั่งงาน ฝ่ายสภาวัฒนธรรม” และ “สมุดสั่งการเพ็ชร์บูรน์” สมุดเหล่านี้ มิถุนายน  ๒๕๕๗

93


จอมพล ป. ท�ำพิธี วางเสาหลักเมือง “นครบาลเพชรบูรณ์”

94

มิถุนายน  ๒๕๕๗


จอมพล ป. ก�ำลังประดับยศให้แก่นักเรียนนายร้อยหญิงที่ส�ำเร็จการศึกษารุ่นแรก

บันทึกค�ำสัง่ ของจอมพล ป. ตัง้ แต่เดือนพฤศจิกายน ๒๔๘๔ (ก่อน สงครามโลกครั้งที่  ๒ เริ่ม ๑ เดือน) ถึงเดือนสิงหาคม ๒๔๘๗ (ก่อนสงครามโลกครั้งที่  ๒ ยุติ ๑ ปี)  ภารกิจส�ำคัญสี่เรื่องที่ปรากฏคือ สงวนกองทัพไม่ให้ถูกปลด  อาวุธ หาทางทอนก�ำลังญี่ปุ่น สร้างเพชรบูรณ์ให้เป็นเมืองหลวง สร้างพุทธบุรีมณฑล ก�ำหนดเขตหวงห้ามคนต่างชาติ  ตาม “แผน ยุทธการที่  ๗” เมกะโปรเจกต์ส�ำคัญที่สุดคือการสร้าง “นครบาลเพชรบูรณ์” ระหว่างปี  ๒๔๘๖-๒๔๘๗  จอมพล ป. เลือกเพชรบูรณ์เนื่องจากล้อมรอบด้วยทิวเขา  สีด่ า้ น มีเส้นทางสูภ่ าคเหนือ ทีน่ จี่ งึ เป็น “เมืองหลวงเชิงยุทธศาสตร์”  ที่ เ หมาะส� ำ หรั บ ต่ อ ต้ า นญี่ ปุ่น   และตั้ ง   “รองนายกฯ  ประจ� ำ เพชรบู ร ณ์ ”   ดู แ ลภารกิ จ นี้ โ ดยตรง    ค�ำ สั่ ง ส่ ว นมากเน้ น สร้ า ง

สมุดสั่งการเพชรบูรณ์ และลายมือของจอมพล ป.  เกี่ยวกับโครงการย้าย เมืองหลวง

ถนนสายส�ำคัญ อาทิ  “ถนนไชยวิบูรณ์” เชื่อมจังหวัดลพบุรีกับ เพชรบูรณ์  (ปัจจุบันคือบางส่วนของทางหลวงหมายเลข ๒๑)  โดยการเกณฑ์แรงงานจากราษฎรหลายจังหวัด นโยบายนี้ถูกโจมตีอย่างหนักด้วยสมัยนั้นเพชรบูรณ์เป็น เมือง “มหากันดาร” ผู้ถูกเกณฑ์เจ็บป่วยและเสียชีวิตมากเสียจน  มีค�ำกล่าวว่าใครถูกเกณฑ์ให้  “เตรียมหม้อดินไปใส่กระดูก”  อดี ต คนเกณฑ์ ร ายหนึ่ ง เล่ า ว่ า   “ท� ำ ทางแถวล� ำ นารายณ์  มองออกไปทางไหนก็มืดครึ้มไปด้วยป่าดิบ ที่นี่มันดงพญาเย็น... อดอยาก ขนาดรินน�้ำข้าวยังแย่งกันกิน น�้ำก็ต้องพึ่งแควป่าสัก  ต้องเดินจากที่ท�ำงานไปอีกไกล เป็นไข้มาลาเรียกันงอม โอ้โห  ตายต่อหน้าต่อตา เดี๋ยวก็หามเอาไปฝังกันแล้ว”  ตัวจอมพลก็ล�ำบากมิใช่น้อย ครั้งหนึ่งเมื่อทูตญี่ปุ่นขอพบก็ ต้องผัดผ่อนว่า “ขอนัดพบครึ่งทางคือบัวชุม (ต�ำบลบัวชุม อ�ำเภอ ชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี) จะมาเมื่อใดให้แจ้งมาด่วน จะได้บุก โคลนไปพบ” รัชนิบูล ลูกคนที่  ๓ ของจอมพล ป. บันทึกว่าช่วงนี้ถ้าบิดา กลับวังสวนกุหลาบก็ไม่มีเวลาให้  (ขณะนั้นมีลูกห้าคนแล้ว) “ดู  ยุง่ เหลือเกิน...จะได้กอดลูกก็ตอนมาลาท่านไป ร.ร.  สิง่ ทีท่ า่ นชอบ ท�ำก็คอื จับลูกไว้ใต้แขนประมาณอึดใจหนึง่ แล้วก็ปล่อยลูกไป ร.ร.  ได้   ส�ำหรับน้องนิตย์  คนสุดท้อง (คนที่  ๖ เกิดปี  ๒๔๘๔) ท่าน  จะต้องให้ลูบหนวดเคราท่านสักพักหนึ่งด้วย” อย่างไรก็ตามแม้มีเมกะโปรเจกต์เพชรบูรณ์  จอมพลก็ไม่เคย ทิง้ การรณรงค์ทางวัฒนธรรม ยิง่ ช่วงสงครามนัน้ เข้มข้นยิง่ กว่าเดิม เสียอีกโดยมีท่านผู้หญิงละเอียดเป็นก�ำลังส�ำคัญ  มีการตั้ง “สภาวัฒนธรรม” ในปี  ๒๔๘๕ เพื่อท� ำงานด้าน มิถุนายน  ๒๕๕๗

95


ปัจจุบันร่องรอยสิ่งก่อสร้างสมัยจอมพล ป.  ยังมีให้เห็นมากมายในลพบุรี อาทิ  กองบัญชาการเขาน�้ำโจน (ตึกชาโต้)  สถานที่ท�ำงานของจอมพล ป. ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ซึ่งสร้างในปี ๒๔๘๗ ด้วยสถาปัตยกรรม แบบฝรั่งเศส ปัจจุบันอยู่ภายในศูนย์การทหาร ปืนใหญ่ ค่ายพหลโยธิน จังหวัดลพบุรี   หรือโรงพยาบาลอานันทมหิดล ที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบ “คณะราษฎร”

96

มิถุนายน  ๒๕๕๗


จ�ำนวน ส.ส.  ที่ยกมือให้ใช้ชื่อ “ไทย” แทน “สยาม”  ในการเรียกชื่อประเทศ

วัฒนธรรมโดยเฉพาะ ตั้ง “คนะกัมการส่งเสิมวัธนธัมไทย” (เขียน แบบใหม่) ปรับปรุงภาษาไทยขนานใหญ่และสร้างความปวดเศียร เวียนเกล้าให้ผู้ใช้ภาษาในยุคนั้นเป็นอย่างยิ่ง  ตัวอย่างของการ ปรับปรุง คือ ตัดพยัญชนะ ๑๓ ตัว สระ ๕ ตัว  ค�ำควบกล�้ำที่  ไม่ออกเสียง ร ก�ำหนดว่าไม่ตอ้ งเขียนตัว ร  ให้ใช้ไม้มลาย (ไ) แทน  ไม้ม้วน (ใ) เป็นต้น  ท่านผู้หญิงละเอียดยังมีส่วนช่วยรณรงค์เรื่องทางวัฒนธรรม อื่น ๆ อีก อาทิ  แต่งเพลง “ยอดชายใจหาญ” “หญิงไทยใจงาม”  “ดอกไม้ของชาติ” เพือ่ เป็นส่วนหนึง่ ของการปรับปรุง “ร�ำโทน” โดย จอมพลและท่านผู้หญิงเป็นผู้ตั้งชื่อ “ร�ำโทน” ที่ปรับปรุงแล้วว่า  “ร�ำวง” แล้วขอให้กรมศิลปากรคิดท่าร�ำมาตรฐานขึ้นมา เหตุทจี่ อมพลมีนโยบายส่งเสริมบทบาทสตรีเพราะ “หยิงเปน ส่วนหนึ่งของชาติ  ก็ควนจะได้สร้างตนและช่วยชาติด้วยในตัว... ไครจะดูว่าชาตินั้นชาตินี้เจรินเพียงไดไนเมื่อผ่านไปชั่วแล่นแล้วก็ มักจะตัดสินความเจรินของชาตินั้นตามความเจรินของฝ่ายหญิง” ดั ง นั้ น จึ ง ออกค� ำ สั่ ง ให้ ส ามี ย กย่ อ งภรรยาตลอดเวลา  ถ้ า ข้าราชการทะเลาะกับภรรยาถือเป็นการผิดวินัย เป็นต้น

๑๕๒ ปี  ๒๔๘๕ ยังรับ “นักเรียนนายร้อยหญิง” รุ่นแรกมาฝึกเพื่อ ส่งเสริมบทบาทสตรีในการป้องกันประเทศ ซึง่ จีรวัสส์บตุ รีจอมพล ที่เพิ่งกลับจากต่างประเทศก็เป็นนักเรียนนายร้อยหญิงรุ่นแรกนี้ ด้วย  อย่างไรก็ตามเรื่องนักเรียนนายร้อยหญิงนี้ก็ท�ำให้จอมพล โดนชาวบ้านด่าอีก ด้วยบรรดาข้าราชการ “ท�ำเกิน” เกณฑ์บรรดา แม่บ้านทั้งหลายออกมาฝึกซ้ายหันขวาหันกันเป็นที่คึกคัก จน จอมพลต้องออกค�ำสั่งปรามการกระท�ำดังกล่าว ยังมีนโยบายอื่น ๆ อีก อาทิ  ห้าม “ใส่หมวกแขก โพกหัว”  และ “แต่งกายผิดเพศ” ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์  ปลูกผักสวนครัว  ให้กินก๋วยเตี๋ยว กีดกันอิทธิพลชาวจีนจากระบบเศรษฐกิจไทย  ด้วยการส่งเสริมให้คนไทยประกอบการค้า  เรือ่ งทีค่ นจ�ำกันได้มากทีส่ ดุ  คือการเปิดเพลง “สดุด ี ป. พิบลู สงคราม” ก่อนฉายภาพยนตร์  เนื้อร้องมีว่า “ไชโย วีรชนชาติไทย ตลอดสมัย ที่ไทยมี  ประเทศไทย คงชาตรี  ด้วยคนดี  ผยองชัย ท่านผู้น�ำ  พิบูลสงคราม ขอเทิดนาม เกริกไกร ขอด�ำรง คงไทย ตลอดสมั ย   เทิ ด ไทย ชะโย”   โดยโรงหนั ง ประกาศขอให้ ผู ้ ช ม “ลุกขึ้นคารวะท่านผู้น�ำ” เมื่อหนังจบจึงขึ้นพระบรมฉายาลักษณ์

สุภาพสตรีในพระนคร สวมหมวกตามนโยบาย  “มาลาน�ำไทยสู่มหาอ�ำนาจ”

มิถุนายน  ๒๕๕๗

97


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเพลงสรรเสริญพระบารมี สง่า อารัมภีร หนึ่งในคณะนักร้องของกองทัพอากาศที่เห็น ก�ำเนิดเพลง “สดุดี  ป. พิบูลสงคราม” เล่าว่าพระเจนดุริยางค์เป็น ผู้แต่งท�ำนอง ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) เป็นผู้คิด  เนื้อร้อง คณะนักร้องกองทัพอากาศขับร้องแล้วอัดเสียง จากนั้น  ก็น�ำไปเปิดพร้อมกับการขึ้นจอเป็นรูป “ท่านนายกฯ และธงชาติ ไทย” โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่เปิดเพลงและขึ้นรูปท่านผู้น�ำคือ บ้านไร่นาเรา ซึ่งฉายในช่วงต้นปี  ๒๔๘๕  ช่วงนี้จอมพลยังใช้ตรา “ไก่ขาวกางปีก” (เพราะเกิดปีระกา) มีตราส�ำนักนายกรัฐมนตรีลอยอยู่เหนือไก่เป็นสัญลักษณ์  โดยมี สองแบบคือ ตราไก่สีเขียว (สีประจ�ำวันพุธซึ่งเป็นวันเกิด) กับ  ตราไก่บนพื้นสีแดงกับด�ำซึ่งเป็นสีประจ�ำส�ำนักนายกรัฐมนตรี  ท�ำให้ตราไก่กลายเป็นของประดับเวลามีงานเกีย่ วข้องกับท่านผูน้ ำ � และเมือ่ จอมพลไปสร้างสิง่ ก่อสร้างทีไ่ หน ตรานีก้ จ็ ะตามไปปรากฏ อยู่เสมอ ทว่าพอถึงเดือนกรกฎาคม ๒๔๘๖ ท่านผูน้ ำ� ตราไก่กต็ กเก้าอี้ เมื่อ “พระราชก�ำหนดระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบูรน์ พุ ท ธสั ก ราช  ๒๔๘๗”  และ  “พระราชก�ำ หนดจั ด สร้ า งพุ ท ธบุ รี มณฑล พุทธสักราช ๒๔๘๗” เข้าสูส่ ภาแล้วไม่ผา่ นด้วยมติทปี่ ระชุม  ๓๐ ต่อ ๔๘ เสียง  จอมพลลาออก แต่ยังด�ำรงต�ำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพยายามท�ำตามแผนต่อโดยปักหลักอยูท่ ลี่ พบุรแี ละออกค�ำสัง่ ทางทหาร การกระท�ำของจอมพล ป. ท�ำให้เกิดข่าวลือว่าจอมพล  “ตั้งป้อม” จะยกทหารบุกกรุงท� ำรัฐประหารปลดรัฐบาลใหม่ที่  น�ำโดยพันตรี  ควง อภัยวงศ์  อย่างไรก็ตามต่อมาพันตรีควงก็ยุบต�ำแหน่ง “ผู้บัญชาการ ทหารสูงสุด” ตั้งจอมพล ป. เป็น “ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน” ตั้ง พันเอกพระยาพหลฯ ซึง่ ขณะนัน้ ป่วยด้วยโรคหอบหืดเป็น “แม่ทพั ใหญ่” แทน เรื่องจึงสงบลง หลังจากนั้นจอมพล ป. ก็ต้องนั่งดูรัฐบาลใหม่ที่มีเสรีไทย  หนุนหลัง ยกเลิกนโยบายทางวัฒนธรรมทีท่ ำ� มาตลอดช่วงสงคราม คือการปรับปรุงตัวอักษรไทย การบังคับสวมหมวก กลับมาให้ เสรีภาพเรื่องกินหมาก และเปลี่ยนชื่อประเทศเฉพาะในภาษา อังกฤษกลับมาเป็น “SIAM” อีกครั้ง  จุ ด เปลี่ ย นส� ำ คั ญ คื อ การอภั ย โทษนั ก โทษการเมื อ งตั้ ง แต่ เหตุการณ์กบฏบวรเดชเป็นต้นมา ท�ำให้ฝ่ายอนุรักษนิยมซึ่งเป็น ศัตรูคปู่ รับของคณะราษฎรได้รบั การปลดปล่อยกลับสูเ่ วทีการเมือง

98

มิถุนายน  ๒๕๕๗

ทั้งหมด ทุ ก วั น นี้ ผ มพบว่ า หลั ก ฐานการเตรี ย มการสร้ า งนครบาล เพชรบูรณ์ยังปรากฏให้เห็นเด่นชัด คือเสาหลักเมืองนครบาล เพชรบูรณ์บริเวณสีแ่ ยกหล่มเก่าภายในสวนสาธารณะทีท่ างจังหวัด จัดสร้างขึน้ ไว้เพือ่ ร�ำลึกถึงจอมพล ป. ทีม่ สี ว่ นในการพัฒนาจังหวัด ถ�ำ้ ทีจ่ อมพล ป. เคยคิดจะน�ำสมบัตแิ ละวัตถุมคี า่ ของชาติไปเก็บไว้ ยังคงถูกรักษาไว้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ขณะที่ลพบุรีก็ยังเก็บรักษาบ้านพักและสิ่งของเกี่ยวข้องกับ จอมพล ป. ไว้ในศูนย์การทหารปืนใหญ่และเปิดให้นักท่องเที่ยว เข้าชมได้

อาชญากรสงคราม เมือ่ จอมพล ป. ถูกปลดในปี  ๒๔๘๗ และสงครามโลกครัง้ ที ่ ๒  ยุติลงในเดือนสิงหาคม ๒๔๘๘ รัฐบาลเสรีไทยหลังสงครามก็ พยายามแก้สถานะผูแ้ พ้สงครามโดยคืนดินแดนทีไ่ ด้มาและสมัคร เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ  เกิด “รัฐบาลเสรีไทย” ตามมา หลายชุด ชุดส�ำคัญคือรัฐบาลของ ม.ร.ว. เสนีย์  ปราโมช ซึ่งออก  “พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พ.ศ. ๒๔๘๘” ด�ำเนินคดี จอมพล ป. และพวก ตอนนั้นจอมพล ป. ล้างมือในอ่างทองค�ำ ไปเลี้ยงสัตว์  ท�ำ สวนครัว ปลูกไร่สับปะรดอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี   พลตรี  อนันต์ พิ บู ล สงคราม เล่าว่าบิดา “บางครั้งก็กลับมาฟังข่าวการบ้าน การเมื อ งที่   (บ้ า น)  หลั ก สี่   บางวั น ก็ ล งเรื อ แล่ น ไปตามแม่ น�้ ำ ล� ำ คลองในชนบทต่ า งจั ง หวั ด หรื อ ขั บ รถยนต์ ไ ปเยี่ ย มสนทนา กับเพื่อนฝูงที่คุ้นเคย” มาลัย ชูพินิจ ซึ่งไปสัมภาษณ์จอมพลที่บ้านใกล้อนุสาวรีย์ หลักสี่พบว่า “ทั่วทั้งบริเวณบ้านเงียบเหมือนไม่มีคนอยู่นอกจาก ต�ำรวจถือปืนยืนยามอยู่ในช่องกุดข้างประตูคนเดียวเท่านั้น” ต่าง จากก่อนหน้าทีเ่ วลาเข้าพบไม่ผดิ กับ “ขอเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ” เมื่อพบจอมพลก็เห็น “ใบหน้าซึ่งเกร็งและแกร่งขึ้นด้วยการออก ก�ำลังกลางแจ้ง หน้าผากอันแคบคล�้ำด�ำไปด้วยการกร�ำแดด พุง ที่เคยท�ำท่าจะพลุ้ยเพราะความฉุก็ยุบลงไป นัยน์ตาซึ่งแต่ก่อน


จ�ำนวนศักดินาที่ได้รับ พร้อมราชทินนาม “หลวงพิบูลสงคราม” พ.ศ. ๒๔๗๑ เปลี่ยนไปได้ต่าง ๆ นานา...บัดนี้เป็นประกายร่าเริงแจ่มใส” จอมพล ป. เล่าให้มาลัยฟังว่าช่วงนี้ใช้ชีวิตแบบ “ตาสีตาสา” เรียนปลูกผักกาดกับ “เจ๊กเพือ่ นบ้าน” และ “หัดเดินเท้าเปล่า...ให้ เคยอย่างพวกชาวนาเขา” และว่า “เข็ดแล้ว (การเมือง) ถึงจะมี ราชรถมาเกย ก็ไม่ขอรับประทาน” จอมพลถูกน�ำไปขึ้นศาลในวันที่  ๑๖ ตุลาคม ๒๔๘๘ พลตรี  อนั น ต์ เ ล่ า ว่ า ทหารมาที่ บ ้ า นรอจนจอมพลท� ำ ธุ ร ะส่วนตัวเสร็จ จอมพลก็  “สวมเสือ้ กันหนาวสปอร์ทแบบมีซปิ รูด มือหนึง่ ถือหมวก หางนกยูงสีน�้ำตาล อีกมือหนึ่งถือกระป๋องบุหรี่ที่ขาดไม่ได้  เดินลง บันไดและหยุดยืนอย่างสง่าผ่าเผยกลางบันไดเหนือพื้นห้องโถง รับแขกชัน้ ล่าง นายพันโททหารสารวัตรแห่งกองทัพบกก็ได้เดินไป หยุดยืนตรงอยู่เบื้องหน้า แสดงความเคารพและอ่านหมายจับ... ด้วยน�้ำเสียงที่สั่นเครือ แต่ชัดถ้อยชัดค�ำด้วยใบหน้าที่เย็นชา แต่ มีน�้ำตานองเป็นทาง  จอมพล ป. รับการเคารพ และกล่าวอย่าง ปรกตินุ่มนวลว่าจะไปกันหรือยัง...”  ก่อนที่ลูกชายคนที่  ๒ คือประสงค์  จะขับรถส่วนตัวน�ำนาย ทหารและบิดาไปส่งยังที่ท�ำการต�ำรวจสันติบาล ในศาลจอมพล ป. โดนข้อหาหนัก อาทิ  เข้าข้างฝ่ายญี่ปุ่น  เป็นเผด็จการ  ท่านผู้หญิงละเอียดบันทึกว่าช่วงนี้ต้องซื้อบ้าน  ที่ซอยชิดลมซึ่งได้รับอนุเคราะห์ขายในราคาถูกเพื่ออยู่ในเมือง  ท�ำอาหารส่งจอมพลและสู้คดี   สถานะทางการเงินแย่ลงถึงกับ  “ต้องขายของเก่ากิน” และตัดสินใจใช้ทุนทรัพย์ที่เก็บออมไว้จ้าง ทนายต่อสู้คดี  ทัง้ นีพ้ ยานฝ่ายโจทก์ลว้ นเป็นบุคคลในคณะรัฐบาลชุดจอมพล ป. และส่วนหนึ่งเป็นเพื่อนที่ร่วมเปลี่ยนแปลงการปกครองมา  ด้วยกันทั้งสิ้น  ในชั้นศาลจอมพลปฏิเสธข้อกล่าวหาทุกข้อโดยระบุว่าการ  เข้าข้างฝ่ายญีป่ นุ่ ท�ำเพือ่ รักษาบ้านเมือง และชีแ้ จงมาตรการต่อต้าน  ที่มีทั้งด้านการยุทธ์  วัฒนธรรม ฯลฯ ถูกขังอยู่  ๘๘ วัน ศาลก็ตัดสินว่าพระราชบัญญัติอาชญากร  สงครามไม่มผี ลบังคับใช้  เนือ่ งจากขัดมาตรา ๑๔ ของรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง โดยไม่ลงรายละเอียดข้อเท็จ จริงของฝ่ายโจทก์และฝ่ายจ�ำเลยว่าฝ่ายใดมีน�้ำหนักมากกว่ากัน ค�ำถามทีว่ า่  จอมพล ป. เป็น “อาชญากรสงคราม” หรือไม่  จึง ยังไม่มีค�ำตอบ  จอมพล ป. ร�ำพึงถึงสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ว่า “ภายหลังทีท่ ำ� งานมากว่า ๑๐ ปีแล้ว ก็อดนึกขันไม่ได้ว่าไม่มีใครในโลกนี้เลยเขาจะอยู่ใน

๘๐๐

ฐานะทีแ่ ปลกประหลาดอย่างผมทีท่ ำ� ให้คนเกลียดได้  ไม่ใช่แต่เพียง  ทั้งประเทศไทย แต่ทั้งโลก ...เอาละฝรั่งโกรธก็พอเข้าใจ แต่พอ  เข้าเมืองได้แล้ว เจ้าญีป่ นุ่ กลับเกลียดเข้าให้อกี  ต่อมาก็จนี  ลงท้าย ก็พวกไทยเราเอง แม้จนกระทั่งคนที่เคยรักกัน”

ขี่เสือ หลังพบปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้าหลังสงครามและกรณีสวรรคต รัชกาลที ่ ๘ รัฐบาลพลเรือนทีม่ ฝี า่ ยเสรีไทยหนุนหลังก็ตกเป็นฝ่าย ตั้งรับ รัฐบาลพลเรือตรี  ถวัลย์  ธ�ำรงนาวาสวัสดิ์  ถูกรัฐประหารใน วันที ่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ท�ำให้ปรีดตี อ้ งลีภ้ ยั ไปอยูน่ อกประเทศ  รัฐธรรมนูญปี  ๒๔๘๙ ซึง่ เป็นประชาธิปไตยมากทีส่ ดุ ฉบับหนึง่ ถูก ยกเลิก จากนัน้ คณะรัฐประหารก็ตอื๊ จอมพล ป. ซึง่ หนีไปเก็บตัวทีบ่ า้ น เพื่อนย่านบางโพมาเป็นหัวหน้าคณะ  พลตรีอนันต์เล่าว่าเช้าวันที่  ๙ พฤศจิกายน หลังรัฐประหาร แล้ว ๑ วัน  ผู้น�ำคณะรัฐประหารมาหาบิดาด้วยอาการ “หน้าซีด  ปากสั่น มือสั่น หวั่นเกรงว่าจอมพลจะปฏิเสธ...”  จีรวัสส์  พิบลู สงคราม บุตรีจอมพลจ�ำได้วา่ เมือ่ เกิดรัฐประหาร  “คุณพ่อร้องไห้  คุณแม่เขียนบันทึกว่าถามคุณพ่อท�ำไมเธอร้องไห้ คุณพ่อบอก ๒๔๗๕ ฉันหมดแล้ว” (ไทยโพสต์, ๒๘ มิถุนายน  ๒๕๕๒)  แต่เรื่องก็หักมุมเมื่อจอมพล ป. ยอมรับเป็นหัวหน้าคณะและ ถูก “แห่” ไปที่กระทรวงกลาโหมท่ามกลางเสียงยินดีว่า “จอมพล มาแล้ว ๆ” และนีเ่ ป็นครัง้ แรกทีจ่ อมพล ป. ต้องบริหารประเทศกับ กลุ่มคนที่ไม่ใช่คณะราษฎร รัฐบาลพันตรี  ควง อภัยวงศ์  เกิดขึน้ อีกครัง้ โดยมีเงาทะมึน คือ จอมพล ป. และคณะรัฐประหารอยู่ข้างหลัง ก่อนคณะรัฐประหาร จะเขีย่ ทิง้ รัฐบาลนายควงด้วยการ “จี”้  ให้ลาออก แล้วให้จอมพล ป. ขึ้นเป็นนายกฯ อีกครั้ง ซึ่งในระดับโลกนับเป็นผู้น�ำคนแรกที่เข้า ร่วมกับฝ่ายอักษะในช่วงสงครามโลกครั้งที่  ๒ แล้วกลับมาครอง อ�ำนาจได้อีก ทว่าคราวนี้อ�ำนาจของจอมพลไม่มากเท่าเดิม เนื่องจากต้อง มิถุนายน  ๒๕๕๗

99


จอมพล ป. รับมอบอาวุธจาก สหรัฐอเมริกาที่ส่งมาตามข้อตกลง  ร่วมมือทางทหารกับกองทัพไทย (ล่าง) จอมพล ป. เดินทางเยือน  กองถ่ายท�ำภาพยนตร์ของฮอลลีวูด  สหรัฐอเมริกา ระหว่างการเดินทาง เยือน ๑๗ ประเทศรอบโลก

100

มิถุนายน  ๒๕๕๗


การ์ตูนล้อจอมพล ป.  ในหนังสือพิมพ์ สยามรัฐ  สะท้อนการหาทางแก้ปัญหา เศรษฐกิจตกต�ำ่  ซึง่ จอมพล ป.  มีแนวโน้มจะน�ำวิธีการของ ปรีดีกลับมาใช้อีกครั้ง  แต่ก็ติดที่ “ศักดิ์ศรี”

ฝากการคุมก�ำลังทหารไว้กับพลโท ผิน ชุณหะวัณ พันเอก สฤษดิ ์ ธนะรัชต์  และการคุมก�ำลังต�ำรวจกับพันต�ำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ กลายเป็นการคุมเสือสองตัว คือ ผิน-เผ่า ก่อนจะกลายเป็น  สฤษดิ์-เผ่า ในช่วงก่อนปี  ๒๕๐๐ ระหว่างนี้จอมพล ป. ยังพบการต่อต้านครั้งใหญ่  คือ กบฏ เสนาธิการ (๒๔๙๑) กบฏวังหลวง (๒๔๙๒) กบฏแมนฮัตตัน  (๒๔๙๔)  “กบฏวั ง หลวง”  เกิ ด ขึ้ น ในเดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์   ๒๔๙๒  เมื่ อ  ปรี ดี พ ยายามกลั บ มาชิ ง อ� ำ นาจเพื่ อ น� ำ รั ฐ ธรรมนู ญ และระบบ ประชาธิปไตยกลับมาใช้อีก เกิดการสู้รบในกรุงเทพฯ ๓ วัน ก่อน ทีป่ รีดจี ะลีภ้ ยั ออกนอกประเทศ การกบฏครัง้ นีท้ ำ� ให้ความพยายาม ประนีประนอมในทางลับระหว่างคณะราษฎรฝ่ายจอมพล ป.  กับปรีดียุติลงอย่างสิ้นเชิง และมีการกวาดล้างคนของฝ่ายปรีดี  ขนานใหญ่ “กบฏแมนฮัตตัน” ผูก้ อ่ การคือทหารเรือระดับกลางทีไ่ ม่พอใจ บทบาททหารบกและต�ำรวจ จึงจู่โจมจับตัวจอมพล ป. ขณะรับ มอบเรือขุดสันดอน แมนฮัตตัน จากสหรัฐอเมริกาโดยน�ำไปกักไว้ ในเรือรบหลวง ศรีอยุธยา และพยายามยึดอ�ำนาจ  จอมพลถูกจับ อยู่  ๑ วัน ๗ ชั่วโมง รัฐบาลก็ตัดสินใจส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิด เรือรบหลวง ศรีอยุธยา นาทีทเี่ รือโดนทิง้ ระเบิดจอมพล ป. “ได้ยนิ เสียงปืนกลกราดยิง ลงมาถูกเรืออย่างหนัก ไม่ช้าก็มีเสียงระเบิดดังขึ้นระยะใกล้พร้อม กับสะเก็ดชิ้นเล็กชิ้นน้อยกระเด็นกระจัดกระจาย...” จึงสงสัยว่า หน้ามีแผลจึงลุกไปดูกระจกที่ห้องน�ำ้ ข้างเตียง ทันใดนั้น “ระเบิด ลูกหนึ่งได้ทะลุผ่านเพดานห้องตกลงบนเตียงที่นั่งอยู่เมื่ออึดใจ

แล้วทะลุลงไปใต้ท้องเรือโดยไม่ระเบิด” เมื่อเรือจมก็ต้อง “โดดลง แม่น�้ำเจ้าพระยาท่ามกลางเสียงกระสุนปืนจากริมฝั่งพระนครซึ่ง  ดังอยูไ่ ม่ขาดระยะ” ไปขึน้ ฝัง่ ทีพ่ ระราชวังเดิมซึง่ เป็นกองบัญชาการ กองทัพเรือท่ามกลางห่ากระสุน  เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการ  “ล้างบาง” กองทัพเรือให้เป็นกองก�ำลังขนาดเล็กและหมดบทบาท ทางการเมืองนับแต่นั้น   ระยะนีจ้ อมพล ป. ด�ำเนินนโยบายเอียงไปทางสหรัฐฯ ระแวง ภัยคอมมิวนิสต์  ออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระท�ำอันเป็น คอมมิวนิสต์  พ.ศ. ๒๔๙๕ ส่งทหารไปรบในสงครามเกาหลี  ร่วม กับสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรตัง้ องค์การสนธิสญ ั ญาป้องกันเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้  (SEATO) และรับความช่วยเหลือด้านการทหาร  และเศรษฐกิจ จอมพลยังตัง้  “กระทรวงวัฒนธรรม” ขึน้ ในปี  ๒๔๙๕ ส่งเสริม งานด้านสังคมสงเคราะห์ด้วยการออกพระราชบัญญัติประกัน สั ง คม  ตั้ ง คณะสั ง คมสงเคราะห์ ใ นมหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์  ส่งเสริมการศึกษาด้วยการตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ ในเขตภูมิภาค ตั้ง “กระทรวงสหกรณ์” เพื่อส่งเสริมงานสหกรณ์  วางรากฐาน โครงการพั ฒ นาขนาดใหญ่   อาทิ   เขื่ อ นยั น ฮี   (ภู มิ พ ล)  เขื่ อ น เจ้าพระยา และวางระบบชลประทานบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง ตอนล่าง  ปี  ๒๔๙๘ จอมพล ป. ออกเดินทางเยือน ๑๗ ประเทศรอบ โลก อาทิ  ญี่ปุ่น เกาหลีใต้  สหรัฐฯ สเปน ฝรั่งเศส ให้สัมภาษณ์ หนังสือพิมพ์หลายฉบับโดยแสดงท่าทีอยู่กับฝ่ายโลกเสรีอย่าง ชัดเจน  ก่อนจะกลับมาพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างสฤษดิ์ -เผ่าไม่ราบรืน่ มิถุนายน  ๒๕๕๗

101


จอมพล ป. กับท่านผู้หญิงละเอียด  ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ทั้งคู่  โดยจอมพล ป. ลงที่จังหวัดพระนคร  ท่านผู้หญิงละเอียดลงที่จังหวัดนครนายก ผ้าเช็ดหน้า (ล่าง) เป็นของช�ำร่วยที่ใช้  ในการหาเสียงครั้งนั้น

และเริ่มคุมสถานการณ์ไม่อยู่  จึงเริ่ม “ฟื้นฟูประชาธิปไตย” จัด “เพรสคอนเฟอเรนซ์” พบปะสือ่  จัดสถานที ่ “ไฮด์ปาร์ก” อภิปราย ในชุมชนเช่นเดียวกับอังกฤษ อนุญาตให้ตั้งพรรคการเมืองเพื่อ เลือกตัง้ ทัว่ ไปในวันที ่ ๒๖ กุมภาพันธ์  ๒๕๐๐ ซึง่ มีพรรคลงแข่งขัน ถึง ๒๓ พรรค  จอมพล ป. ตั้งพรรคเสรีมนังคศิลาในเดือนกันยายน ๒๔๙๘ มี จ อมพลสฤษดิ์ เ ป็ น รองหั ว หน้ า   และพลต� ำ รวจเอกเผ่ า เป็ น เลขาธิการ เป็นครั้งแรกทีจ่ อมพลลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งทีผ่ ่านมา เป็นผู้แทนด้วยโควตาแต่งตั้งมาตลอด  จอมพลยังนับอายุพรรค ย้อนหลังไปถึงปี  ๒๔๗๕ อ้างความเกี่ยวพันคณะราษฎรก่อนจะ สรุปว่าพรรคเสรีมนังคศิลานั้นมีอายุ  “เก่าแก่กว่า ๒๔ ปีแล้ว”  นอกจากนีย้ งั ลงสมัครในเขตพระนครและส่งท่านผูห้ ญิงละเอียดไป ลงสมัครที่จังหวัดนครนายก ผลการเลือกตั้ง จอมพลและท่านผู้หญิงได้รับเลือก พรรค เสรีมนังคศิลาได้  ๘๖ จาก ๑๖๐ ทีน่ งั่   อย่างไร ก็ ต ามการเลื อ กตั้ ง ครั้ ง นี้ ถู ก ขนานนามว่ า “เลื อ กตั้ ง สกปรก” มี ก ารทุ จ ริ ต กว้ า งขวาง  ซึ่งจะถูกกล่าวขวัญกันต่อมาว่า “พลร่ม” (เวียนเทียนลงคะแนน) และ “ไพ่ไฟ” (ใส่ บัตรลงคะแนนเถื่อนในหีบบัตร)  เรื่ อ งนี้ ท� ำ ให้ เ กิ ด การเดิ น ขบวน ประท้วงของนิสิตนักศึกษาเป็นครั้งแรก เมื่อสถานการณ์บานปลายจอมพลก็ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโดยตั้ง จอมพลสฤษดิ์เป็นผู้ดูแล แต่กลับ กลายเป็นนิสิตนักศึกษาเดินขบวน ไปทีท่ �ำเนียบก่อนทีจ่ อมพลสฤษดิ์ จะแสดงบทบาทเจรจาให้นกั ศึกษา กลับไปด้วยความสงบ  รั ฐ บาลจอมพล  ป. ชุ ด สุ ด ท้ า ยก็ ไ ด้ ตั้ ง ขึ้ น ในเดื อ น มีนาคม ๒๕๐๐

102

มิถุนายน  ๒๕๕๗


เงินเดือนจอมพล ป. (บาท)  ในอัตรา “จอมพล” เมื่อพ้นจาก  ต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี

๘,๓๐๐ จดหมายของ  จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์   ผบ.ทบ. ที่ส่งถึงจอมพล ป.  นายกฯ ก่อนที่จะ ท�ำรัฐประหาร

รัฐประหาร ๒๕๐๐ งานใหญ่ชิ้นสุดท้ายของจอมพล ป. คือโครงการฉลอง ๒๕  พุทธศตวรรษ (๒๕๐๐)  มีการแบ่งงานเป็นสามส่วน ส่วนแรก สร้าง “พุทธมณฑล”  ในพื้นที่  ๒,๐๐๐ ไร่ให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโดยสร้าง พระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่เป็นประธานสถานที่   สอง สร้าง ถนนและสะพานข้ามแม่น�้ำเจ้าพระยาเพิ่ม เช่น สะพานกรุงธน

(ซังฮี้) นนทบุรี  สร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้ชื่อ “พิบูลฯ”  สาม ฉลอง พระนครที่ท้องสนามหลวง  อย่างไรก็ตามโครงการนี้คล้ายโครงการ “พุทธบุรีมณฑล” ที่ สระบุรใี นสมัยสงครามโลกครัง้ ที ่ ๒ ซึง่ ท�ำเพือ่ กีดกันญีป่ นุ่ ไม่ให้ใช้ พื้นที่จังหวัดสระบุรีซึ่งจะขัดขวางแผนยุทธการที่  ๗ โดยเป็นการ  “เอาพระเข้าช่วย”  ในโครงการฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษก็เช่นกัน เป็นการเอา  “พระ” และ “ประชาธิปไตย” เข้าช่วยจอมพลซึ่งขณะนั้นจอมพล สฤษดิ์  ผบ.ทบ. ขัดแย้งกับพลต�ำรวจเอกเผ่ามากขึ้นโดยจอมพล สฤษดิ์ถูกโจมตีเรื่องผลประโยชน์ทางการค้า ขณะที่พลต�ำรวจเอก เผ่าถูกโจมตีเรื่องขนฝิ่น  มิถุนายน  ๒๕๕๗

103


) ่ ู ย อ ง ั  (ที่ย

“ไทย”

มรดก

รัฐนิยมฉบับที่  ๑ ให้เปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” โดยการเขียน “ย” ต่อท้ายค�ำว่า “ไท” เกิดจากการอภิปรายในสภา ผู ้ แทนราษฎรที่มองว่า ไทยมี  “ย” นั้น เปรียบเสมือน “แต้มลิปสติก เขียนคิ้ว” แล้ว

หมุนเวียนมากพอใช้   เงินเก้าแสนบาทนั้นก็จะไหลไปสู่ชาวไร่  ชาวนา ชาวทะเลทั่วกัน ไม่ตกไปอยู่ในมือใครคนหนึ่งคนใดเพียงคนเดียว...” ต้นก�ำเนิดของผัดไทยยังมีหลายข้อสันนิษฐาน แต่ทแี่ พร่หลายทีส่ ดุ คือจากนโยบายการส่งเสริมการกินก๋วยเตี๋ยวของรัฐบาล และนโยบาย ชาตินยิ มของจอมพล ป. ท�ำให้เกิดการดัดแปลงการท�ำก๋วยเตีย๋ วโดยน�ำ เส้นจันท์มาผัด ใส่เต้าหู้  กุ้งแห้ง กระเทียม แล้วตอกไข่  จากนั้นปรุงรส ด้วยมะขามเปียก พริกป่น ถั่วป่น กินกับถั่วงอกที่ส่งเสริมให้ประชาชน ปลูก และไม่ให้ใส่หมูซึ่งถือว่าเป็นสูตรของอาหารจีน

ร�ำวง

โมเดิร์นไนน์ทีวี

ชื่อประเทศ

มาจาก “ร�ำโทน” การละเล่นพื้นเมืองซึ่งใช้เครื่องดนตรีสามชนิด คือ ฉิ่ง กรับ และโทน ตีเป็นจังหวะประกอบการฟ้อนร�ำ กรมศิลปากร น�ำมาปรับปรุงใหม่ในปี  ๒๔๘๗ โดยใส่ท่าร�ำที่ประดิษฐ์ใหม่จากท่าร�ำ นาฏศิลป์พนื้ ฐาน เพิม่ เครือ่ งดนตรีตะวันตก อาทิ  กลอง แทมบูรนิ  แต่ง เพลงประกอบแล้วเรียกว่า “ร�ำวงมาตรฐาน” ได้รบั ความนิยมโดยน�ำไป เต้นตามลีลาที่แต่ละคนถนัด เพลงและท่าร� ำวงใหม่ ๆ จึงเกิดขึ้นมา มากมายโดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่  ๒

สวัสดี

ค�ำทักทายประดิษฐ์ขึ้นโดยพระยาอุปกิตศิลปสาร อาจารย์คณะ อักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะ “ชาติของเราจ�ำเป็นจะ ต้องมีคำ� ปราศรัยกันให้เป็นกิจจะลักษณะ อย่างอารยประเทศทัง้ หลาย” ซึ่งในยุคจอมพล ป. นั้นมักทักทายกันว่า “พิบูลสวัสดี” เพื่อให้เกียรติ แก่  “ท่านผู้น�ำ”

“ช่อง ๙” เดิมคือ “สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง ๔” หรือ “ช่อง ๔ บางขุนพรหม” จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่  ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ โดยจุดเริ่มต้นจากนายสรรพสิริ  วิรยศิริ  ข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ เขียนบทความเรื่อง “วิทยุภาพ” การส่งข้าราชการของกรมฯ ไปดูงาน ที่ สหรัฐอเมริกา ก่อนจอมพล ป. จะสั่งให้กรมประชาสัมพันธ์เสนอ “โครงการจัดตั้งวิทยุภาพ” ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีปี  ๒๔๙๓ และมี มติอนุมัติให้จัดตั้งในปี  ๒๔๙๔ แต่ยุคแรกไม่ประสบความส�ำเร็จมาก นักจนต้องเลิกโครงการ ก่อนจะระดมทุนโดยให้หน่วยงานรัฐหลายแห่ง ถือหุ้นจัดตั้ง “บริษัทไทยโทรทัศน์  จ�ำกัด” ขึ้น ซึ่งเป็นต้นก�ำเนิดของ ช่อง ๙ และโมเดิร์นไนน์ทีวีในภายหลัง

ผัดไทย

จีรวัสส์  พิบูลสงคราม บุตรีจอมพล ป. ยืนยันกับ สารคดี  ว่าบิดา ไม่ใช่ผู้ที่คิดค้นผัดไทยขึ้น เพียงแต่ส่งเสริมให้คนไทยกินก๋วยเตี๋ยวกัน มากขึ้น โดยมีค�ำปราศรัยนายกรัฐมนตรีในปี  ๒๔๘๖ ว่า  “อยากให้พนี่ อ้ งกินก๋วยเตีย๋ วให้ทวั่ กัน เพราะก๋วยเตีย๋ วมีประโยชน์ ต่อร่างกาย มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน พร้อม ท�ำเองได้ในประเทศไทย... หากพีน่ อ้ งชาวไทยกินก๋วยเตีย๋ วคนละหนึง่ ชามทุกวัน วันหนึง่ จะมีคนกิน ก๋วยเตี๋ยวสิบแปดล้านชาม ตกลงวันหนึ่งค่าก๋วยเตี๋ยวของชาติไทยหนึ่ง วันเท่ากับเก้าสิบล้านสตางค์  เท่ากับเก้าแสนบาท เป็นจ�ำนวนเงิน

104

มิถุนายน  ๒๕๕๗

สถาปัตยกรรมคณะราษฎร

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, อนุสาวรีย์พิทักษ์ รัฐธรรมนูญ, อาคารริมถนนราชด�ำเนิน, สะพานเฉลิมวันชาติ, อาคาร และสิ่งก่อสร้างในเมืองลพบุรี  ฯลฯ


จอมพล

อาจารย์ชาตรี  ประกิตนนทการ อาจารย์ประจ�ำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์   มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร อธิ บ ายสิ่ ง ก่ อ สร้ า งระหว่ า งปี ๒๔๗๕-๒๔๙๐  เหล่ า นี้ ว ่ า มี ลั ก ษณะ  “ความเรี ย บเกลี้ ย งขององค์ ประกอบและไร้ซึ่งลวดลายประดับตกแต่งในการออกแบบ สื่อสะท้อน นั ย ของการปฏิ เ สธจารี ต ประเพณี เ ดิ ม   และปฏิ เ สธการแบ่ ง ชนชั้ น ของผู้คนและสถานะทางสังคมที่เคยถูกแสดงผ่านทางองค์ประกอบ ลวดลายประดับประดาต่าง ๆ ที่ซับซ้อนและหรูหราของสถาปัตยกรรม (ฐานานุศักดิ์ในงานสถาปัตยกรรม) ซึ่งเคยมีอิทธิพลสูงยิ่งในสังคม จารีต”

ยืนตรงเคารพธงชาติ

ปรากฏครั้งแรกใน “รัฐนิยมฉบับที่  ๔” เรื่องการเคารพธงชาติ เพลงชาติ  เพลงสรรเสริญพระบารมี  โดยจอมพล ป. มีความเห็นว่า เพลงชาติ  เพลงสรรเสริญพระบารมี  เป็นสิง่ ทีช่ าวไทยควรให้ความเคารพ ดังนัน้ เมือ่ เห็นการชักธงขึน้ และลงหรืออาณัตสิ ญ ั ญาณในการชักธงชาติ ก็ให้ปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบหรือประเพณีนิยม ส่วนค�ำกล่าวว่า “ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของ ความเป็นไทย...” ซึ่งใช้เกริ่นน�ำก่อนบรรเลงเพลงชาตินั้นคิดขึ้นในปี ๒๕๑๙ โดยสุรนิ ทร์  แปลงประสพโชค อดีตข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้การก�ำหนดให้เคารพธงชาติในเวลา ๘ และ ๑๘ นาฬิกาอย่าง ชัดเจนเป็นไปตามระเบียบส�ำนักนายกรัฐมนตรีป ี ๒๕๒๙ ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติและธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร

นางสาวไทย

) ป ไ ย า (ที่ห

(โดยสังเขป)

จัดขึ้นครั้งแรกในวันที่  ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๗ ในชื่อ “นางสาว สยาม” เป็นส่วนหนึ่งของงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญครั้งที่  ๒ ที่จัดขึ้น ในพระราชอุทยานสราญรมย์ซงึ่ ขณะนัน้ เป็นสโมสรคณะราษฎร  มีระยะ เวลาจัดงาน ๕ วันคือ ๘-๑๒ ธันวาคม วันที ่ ๘ คัดเลือกนางสาวธนบุรี วันที่  ๙ คัดเลือกนางสาวพระนคร และ ๑๐-๑๒ เป็นการประกวดนางสาวสยาม โดยแต่งกายชุดไทยห่มสไบเฉียง นุ่งซิ่น ยาวกรอมเท้า  ต่อมาในปี  ๒๔๘๒ จึง เปลีย่ นเป็นชุดเสือ้ กระโปรงผ้าไหมเย็บติด กัน และพัฒนาการแต่งกายหลากหลาย ขึ้นเรื่อย ๆ  “นางสาวสยาม”  ถู ก เปลี่ ย นเป็ น  “นางสาวไทย” ในปี  ๒๔๘๒ หลังจากการ เปลี่ยนชื่อประเทศ และจนถึงปี  ๒๕๕๗ จัดประกวดมาแล้ว ๕๐ ครั้ง โดยมิได้ผูก ติ ด กั บ งานฉลองรั ฐ ธรรมนู ญ ซึ่ ง เลิ ก จั ด ไปแล้ว

วันชาติ-๒๔ มิถุนายน

วันคล้ายวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม ประกาศเป็ น วั น หยุ ด ในวั น ที่   ๒๓-๒๕  มิ ถุ น ายน  ตั้ ง แต่ ปี   ๒๔๘๒ ถู ก จอมพล  สฤษดิ์   ธนะรั ช ต์   ยกเลิ ก ในปี   ๒๕๐๓  โดยใช้ วั น เฉลิ ม พระชนมพรรษา ๕ ธันวาคมเป็นวันชาติแทน และให้  “๒๔ มิถุนายน” เป็น “วันต้นไม้ประจ�ำปีของชาติ” ก่อนที่วันต้นไม้ประจ�ำปีของชาติจะ เป็นวันเดียวกับวันวิสาขบูชา

งานฉลองรัฐธรรมนูญ-๑๐ ธันวาคม

ปรกติจดั งาน ๓ วัน ระหว่าง ๘-๑๐ ธันวาคมของทุกปี  วันแรกเป็น งานพระราชพิธ ี สองวันทีเ่ หลือเป็นงานฉลองและแสดงมหรสพ เคยย้าย สถานที่จัดหลายแห่ง อาทิ  วังสราญรมย์  สนามหลวง ท่าราชวรดิฐ เขาดิน โดยในปี  ๒๔๗๖ มีงานฉลองยาวนานกว่าครึ่งเดือนตั้งแต่  ๒๘ พฤศจิกายน-๑๒ ธันวาคม

ภาษาไทยแบบใหม่

จอมพล ป. ให้เหตุผลว่าญี่ปุ่นยื่นข้อเสนอให้เด็กไทยเรียนภาษา ญี่ปุ่น “จึงหาอุบายเพื่อจะไม่ให้คนไทยต้องเรียนภาษาญี่ป่นุ ” โดย  เปลี่ยนการเขียนหนังสือแบบใหม่  “ตกลงใช้ภาษามคธเป็นภาษาแม่” และใช้เป็นเหตุผลว่าเด็กไทยต้องเรียนการเขียนหนังสือแบบใหม่อยู่จึง ขอเวลาให้คนไทยรู้หนังสืออย่างใหม่ก่อนจึงจะเริ่มต้นให้เด็กไทยเรียน ภาษาญี่ปุ่นได้ โดยตั้ ง   ซึ่งกรรมการชุดนี้ประชุมกันเพียงสองครั้ง วางหลักเกณฑ์  การใช้ภาษาไทยใหม่  อาทิ  ตัดพยัญชนะ ๑๓ ตัว สระ ๕ ตัว  ไม่ใส่  ตัวอักษรควบกล�้ำ เป็นต้น  การใช้ ภ าษาไทยแบบใหม่ นี้ มี อ ายุ ยื น ยาวอยู ่   ๒ ปี เ ศษก่ อ นที่  รัฐบาลพันตรี  ควง อภัยวงศ์  จะประกาศยกเลิก

ไทย”

“คนะกั ม การส่ ง เสิ ม วั ธ นธั ม ภาสา

มิถุนายน  ๒๕๕๗

105


ในช่วงนีจ้ อมพล ป. ตระหนักถึงการกลับมาของกลุม่ อนุรกั ษ-  นิยมและอิทธิพลของสหรัฐฯ ทีม่ มี ากขึน้  จึงตัดสินใจเปิดการติดต่อ กับจีนและติดต่อกับ ปรีดี  พนมยงค์  อย่างลับ ๆ โดยส่ง สังข์  พัธโนทัย ไปแจ้งว่าต้องการรื้อคดีสวรรคตรัชกาลที่  ๘ อีกครั้ง  เนือ่ งจากมีหลักฐานใหม่   ส่วนปรีดที ลี่ ภี้ ยั อยูใ่ นจีนได้เขียนจดหมาย ตอบขอบคุณที่จอมพล ป. “มิได้เปนศัตรูของผมเลย ท่านมีความ ร�ำลึกถึงความหลังอยู่เสมอ และอยากจะเห็นผมกลับประเทศ ทุกเมื่อ” จอมพล ป. ยังกล่าวกับ ปาล พนมยงค์  บุตรปรีดที มี่ าลาบวช ในเดือนมิถุนายน ๒๕๐๐ ฝากข้อความถึงเพื่อนเก่าว่า “บอก  คุณพ่อของหลานด้วยว่า ลุงอยากให้กลับมาช่วยลุงท�ำงานให้ชาติ ลุงคนเดียวสู้...ไม่ไหวแล้ว” ทว่าสถานการณ์สกุ งอมเสียก่อน เมือ่ จอมพลสฤษดิส์ นับสนุน การตั้งพรรคสหภูมิ  ลาออกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมรัฐมนตรีอีกห้าคน พรรคประชาธิปัตย์เปิดอภิปรายไม่ไว้วาง  ใจรัฐบาล ตามมาด้วย ส.ส. แต่งตั้ง ๔๖ คนของพรรคเสรีมนังคศิลาโดยเฉพาะฝ่ายทหารลาออกจากพรรคพร้อมกัน  ข้อความจากจดหมายของจอมพลสฤษดิ์ที่ส่งถึงจอมพล ป. (ที่เขาเพิ่งส่งสุนัขไปให้เป็นของขวัญวันเกิดเมื่อ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๐ เพื่ อ ยื น ยั น ว่ า จะซื่ อ สั ต ย์   “ดุ จ สุ นั ข ตั ว นี้ ” ) ลงวั น ที่   ๒๐ สิงหาคม ๒๕๐๐ ระบุว่าตนยังเคารพและกตัญญูกับจอมพล ป. เสมอ แต่ปัญหาเกิดจากบุคคลในคณะรัฐบาลที่  “ฯพณฯ ท่าน  ไม่สามารถแก้ปัญหาและขจัดบุคคลเหล่านี้ไปได้” ท�ำให้  “ฯพณฯ จมปลักสู่โคลนตมอันสกปรกและเน่าเหม็นลงไปตามล�ำดับ” โดย ตัดสินว่าการแก้ไขสถานการณ์ของจอมพล ป. นั้น “ไม่ตรงกับ  จุดหมายและความประสงค์ของประชาชน” จึงขอลาออกจาก ต�ำแหน่งรัฐมนตรี  ด�ำรงต�ำแหน่ง ผบ.ทบ. ต�ำแหน่งเดียว ทั้งยัง ปฏิญาณว่าจะไม่ขัดขวางการกระท�ำใด ๆ ของรัฐบาล ทว่า ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐ เพียงวันเดียวหลังกลุ่มนักศึกษา และประชาชนส่วนหนึง่ เดินขบวนไปหาจอมพลสฤษดิเ์ พือ่  “ขอร้อง ให้ใช้กำ� ลังบังคับให้จอมพล ป. ลาออกจากต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี”  จอมพลสฤษดิ์ก็เข้าพบจอมพล ป. ยื่นค�ำขาดให้ลาออกและส่ง  พลต�ำรวจเอกเผ่าไปนอกประเทศ  คืนนั้นจอมพลสฤษดิ์ก็ท�ำรัฐประหาร จอมพล ป. ลี้ภัยไป กัมพูชา ท่านผูห้ ญิงละเอียดซึง่ เพิง่ เสร็จการประชุมสหพันธ์สมาคม สหประชาชาติทเี่ มืองเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์  ต้องเดินทางไปฝรัง่ เศส  และบินตรงไปเวียดนามใต้เพื่อสมทบกับสามีที่ก�ำลังลี้ภัย

106

มิถุนายน  ๒๕๕๗

พิบูลซัง ธันวาคม ๒๕๐๐ หลังลีภ้ ยั อยูใ่ นกัมพูชามา ๓ เดือน จอมพล ป. ก็ตัดสินใจเดินทางไปญี่ป่นุ   จีรวัสส์  พิบูลสงคราม บุตรีบันทึกไว้ว่าเหตุที่ไปญี่ปุ่นนั้นเกิด จาก “...ระหว่างที่มีชีวิตว่าง ๆ อยู่ในเขมรเรา (จอมพล ป. และ ท่านผูห้ ญิงละเอียด) ก็หยิบอัลบัม้ ภาพเมืองต่าง ๆ มาดูกนั  ในทีส่ ดุ ก็ตกลงใจว่าญี่ปุ่นเหมาะที่สุดที่จะใช้ชีวิตบั้นปลายมากกว่าที่อื่น” และเมื่อทูตญี่ปุ่นในกัมพูชาตกลงจึงเดินทางทันที จอมพล ป. ถึงญีป่ นุ่ ในวันที ่ ๗ ธันวาคม ๒๕๐๐ ได้รบั ความ เอื้อเฟื้อจากนายวะดะ (K. Wada) ประธานบริษัทมารูเซน ออยส์  จ�ำกัด ให้พักในบ้านย่านชินจุกุกลางโตเกียว  วะดะเล่าเหตุผล ที่เขาช่วยจอมพลในนิตยสาร FACE ของญี่ป่นุ ว่า เพราะเคยเป็น  อาคันตุกะญี่ปุ่น คราวนี้ลี้ภัยมาไม่มีที่พึ่ง “เห็นอกเห็นใจเป็นอัน มากจึงเสนอบ้านพักในโตเกียวหลังหนึ่งให้เป็นที่พ�ำนักของท่าน พร้อมด้วยรถนั่งอีกหนึ่งคันส�ำหรับใช้ประจ�ำ...เป็นธรรมดาที่ต้อง ตอบแทนบุญคุณกับผูม้ พี ระคุณ...ทีจ่ ริงรัฐบาลญีป่ นุ่ ควรช่วยเหลือ แต่เนื่องจากมีปัญหาต่าง ๆ ข้าพเจ้าจึงขอรับท�ำหน้าที่แทน” “พระคุณ” ที่วะดะกล่าวถึงคือการยอมให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่าน ช่วงสงครามโลกครั้งที่  ๒ ท�ำให้ทหารญี่ปุ่นจ�ำนวนมากไม่ต้อง  เสียชีวิต คนญี่ป่นุ จึงรู้จักและเรียกจอมพล ป. ด้วยความนับถือว่า “พิบูลซัง” และ “เด็กชาวญี่ปุ่นในละแวกบ้านพักทราบว่าท่าน จอมพลคือใครต่างก็มาแสดงความคารวะ บ้างก็มาขอลายเซ็น” จอมพล ป. เล่าชีวิตประจ�ำวันช่วงนี้ให้ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์  บางกอกไทม์  (๑๔ มิถนุ ายน ๒๕๐๑) ฟังว่า “ตืน่ นอน ๐๘.๐๐ น.  ดื่มน�้ำส้ม เสร็จแล้วฟังวิทยุ  อ่านหนังสือ เขียนจดหมายถึงบ้าน  ๑๓.๐๐ น. อาหารกลางวัน เสร็จแล้วไปดูภาพยนตร์บ้าง ไปเล่น กอล์ ฟ บ้ า ง    บางคราวเดิ น ทางทั ศ นาจร  พั ก ตามโรงแรมนอก โตเกียว...งานประจ�ำที่แน่ก็คือคิดบัญชีรายจ่ายค่าอาหารประจ�ำ วัน เวลานีเ้ ป็นนักหนังสือพิมพ์กเ็ ขียนมาแก้คำ� ฟ้องบ้าง” และจาก ค�ำบอกเล่าคนรอบข้าง จอมพลยังใช้เวลาท�ำสวนหย่อม เรียน ภาษาญี่ป่นุ บางครั้งก็ขับรถไปเที่ยวตามที่ต่าง ๆ ระหว่างพ�ำนักในญี่ปุ่น จอมพล ป. ไปต่างประเทศสองครั้ง  ครั้งแรกไปรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ในปี  ๒๕๐๒ ท่องเที่ยว


๔๙๑,๗๐๑,๐๘๓

จ�ำนวนเงิน (บาท) ที่ญี่ปุ่นกู้ไทยตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๔๘๔-มิถุนายน ๒๔๘๖

จอมพล ป. ใช้เวลาระหว่าง ลี้ภัยการเมืองในช่วงบั้นปลายชีวิต เดินทางไปเยี่ยมชมที่ต่างๆ อาทิ  หลวงพ่อโตแห่งเมืองคะมะกุระ  และไปอุปสมบทที่อินเดียก่อนจะ กลับมาใช้ชีวิตช่วงบั้นปลาย  ที่ญี่ปุ่นอีกครั้ง

อยูห่ ลายเดือนก่อนกลับญีป่ นุ่  ครัง้ ที ่ ๒ ไปสักการะ สังเวชนียสถานพระพุทธเจ้าและอุปสมบทที่ อินเดียในเดือนสิงหาคม ๒๕๐๓  อย่างไร ก็ตามการบวชครัง้ นีผ้ ดิ จากทีจ่ อมพลคิดว่าจะ แวะหรือกลับไปจ�ำพรรษาทีเ่ มืองไทยแต่กต็ อ้ ง ยกเลิกเมื่อได้ค�ำตอบ “ด้วยน�้ำเสียงนุ่มนวล” จากจอมพลสฤษดิ์ ว่ า ไม่ อ ยากให้ ก ลั บ มา เพราะ “ส�ำหรับท่าน (จอมพล ป.) นั้นไม่มี อะไร แต่ไม่แน่ใจว่าพรรคพวกที่ใกล้ชิดของ ท่าน...จะไม่ถอื โอกาสแห่กนั ไปแบกท่านขึน้ บ่า เข้ามาอีกเหมือนวันรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน... ถ้าท่านเข้ามาผมก็จ�ำเป็นต้องจับ”  ช่ ว งนี้ มี ค� ำ บอกเล่ า จากท่ า นผู ้ ห ญิ ง พู น ศุ ข พนมยงค์  ภรรยานายปรีดี  ว่าจอมพล ป. ส่งโปสต์การ์ดถึงปรีดที ขี่ ณะนัน้ พ�ำนักอยูใ่ นฝรัง่ เศสด้วยข้อความ สั้น ๆ ว่า “Please อโหสิ” หลังลาสิกขากลับญี่ป่นุ  จอมพล ป. จึงซื้อบ้านที่เมือง  ซะกะมิฮะระที่อยู่ห่างโตเกียวออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  ๓๐ กิโลเมตรและใช้ชีวิตอย่างสงบ  อย่างไรก็ตามฐานะ “ผู้ลี้ภัย มิถุนายน  ๒๕๕๗

107


ทางการเมือง” ก็ถูกตอกย�้ำในหลายโอกาส อาทิ  ปี  ๒๕๐๖ เมื่อ บุคคลส�ำคัญจากไทยไปเยือนญี่ปุ่น รัฐบาลญี่ปุ่นก็ขอให้จอมพล ป. เดินทางไป “ตากอากาศ” นอกเมืองเสียโดยจะออกค่าใช้จา่ ยให้ เรื่องนี้จอมพล ป. เขียนจดหมายบอกลูกชายว่า “ไม่มีความเห็น ขัดข้องประการใด เราไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องอะไรก็ควรท�ำตนเป็น พลเมืองดีต่อไป...”  ปี  ๒๕๐๖ สุขภาพจอมพล ป. เริ่มทรุดลงเมื่อต้องตัดถุงน�ำ้ ดี ที่เจอ “หิน stone (นิ่ว) ก้อนขนาดใหญ่เท่าปลายนิ้วก้อย...รวม ๒๐๐ เม็ด” มีแผลผ่าตัดยาวตัง้ แต่หน้าอกจนถึงสะดือ ต้องพักฟืน้ พักใหญ่สุขภาพจึงกลับมาแข็งแรง จนวันที่  ๑๑ มิถุนายน ๒๕๐๗ จีรวัสส์  พิบูลสงคราม บุตรี จอมพล ป. บันทึกว่าบิดา ตื่นนอน ท�ำสวน จัดห้อง เรียนภาษา ญี่ปุ่น ไปซื้อกับข้าว  หลังรับประทานอาหารค�่ำ “ท่านก็ลุกขึ้น ไปข้างบน พร้อมกับบ่นว่าเจ็บที่หน้าอก ซึ่งท่านก็เคยบ่นอยู่แล้ว”  เมือ่ ท่านผูห้ ญิงละเอียดตามไปดูกพ็ บว่าจอมพล ป. ยืนรับประทาน ยาอยู่  ก่อนจะขอตัวลงมาเดินผ่อนคลายในสวนแล้วกลับขึ้นไป ฉายไฟอินฟราเรดตรงหน้าอก  ถึงตอนนีท้ า่ นผูห้ ญิงละเอียดตัดสิน ใจเรียกหมอ  เมื่อหมอมาถึงจึงน�ำตัวส่งโรงพยาบาล ทว่า “หมอ ที่ โ รงพยาบาลก็ ก�ำ ลั ง ติ ด การผ่ า ตั ด อยู ่ ใ นห้ อ งอี ก  และบอกให้ วั ด หัวใจคุณพ่อด้วยคาดิโอแกรมไว้”  ถึงตอนนี้เพื่อนบ้านสองคน มาช่ ว ยพยาบาลจอมพลที่ ถู ก น� ำ มานอนพั ก     “ฉั น รู ้ สึ ก จะเป็ น heart attack (หัวใจวาย)” จอมพล ป. เอ่ยกับท่านผูห้ ญิงละเอียด “ไม่จริง ไม่จริง เธออย่าพูดอย่างนั้น” ท่านผู้หญิงละเอียดซึ่ง ประคองศีรษะจอมพลร้อง “เธอ ความตายคือความสุข” ก่อนจะสิ้นใจอย่างสงบด้วยวัย ๖๗ ปี

108

มิถุนายน  ๒๕๕๗

จอมพล ป. ยังไม่ตาย ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗--หลังวิกฤตการเมืองยืดเยือ้ ยาวนาน กว่า ๖ เดือน พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ก็ประกาศกฎ อัยการศึกทั่วประเทศ  ผมมาเยี่ยม “พระเจดีย์ศรีมหาธาตุ-วัดประชาธิปไตย” (วัด พระศรีมหาธาตุ) กรุงเทพฯ  ด้านในเจดีย์  ช่องเก็บอัฐิบุคคลส�ำคัญของ “คณะราษฎร” เรียงรายบนก�ำแพงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเจดีย์ชั้นนอกที่ครอบเจดีย์ องค์เล็กซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้  ภาพจอมพล ป. ถูกใครสักคนวางไว้ที่ประตูทางเข้าฝั่งทิศ ตะวันออกพร้อมประวัติย่อ กลางก�ำแพงฝั่งนั้น แผ่นหินอ่อนปิดที่ บรรจุอฐั จิ ารึกชือ่  “จอมพล ป. พิบลู สงคราม...ท่านผูห้ ญิงละเอียด  พิบูลสงคราม”   ๑๘.๐๐ น. เพลงชาติดังแว่วมาไกล ๆ “ประเทศไทยรวม  เลือดเนือ้ ชาติเชือ้ ไทย...”  ผูค้ นแต่งกายแบบสากลทีเ่ ดินไปเดินมา ด้านนอกหยุดยืนตรงอัตโนมัติ  ไม่ไกลจากวัดพระศรีมหาธาตุทผี่ มอยู ่ “อนุสาวรียป์ ราบกบฏ/ พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ซึ่งภายหลังถูกเปลี่ยนเป็น “อนุสาวรีย์หลักสี่”  ยังยืนตระหง่าน แม้จะมีการสร้างถนนและทางยกระดับลอดผ่าน จนไม่โดดเด่นเช่นอดีต สิ่งที่จอมพล ป. สร้างยังกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ ใน กรุงเทพฯ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยยังเป็นสถานที่ชุมนุมทางการ  เมืองบ่อยครัง้  อาคารริมถนนราชด�ำเนินยังโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์  อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นพื้นที่ส�ำคัญใจกลางกรุงเทพฯ จังหวัด ลพบุรีได้รับการขนานนามว่าเมืองทหาร  ทุกวันนี้เด็กไทยไม่รู้จัก “หมากพลู” แล้ว แต่ในโรงเรียน  พวกเขายังต้องเรียน “ร�ำวงมาตรฐาน”  คนเพชรบูรณ์ยังจ�ำได้ว่า  ครั้งหนึ่งพวกเขาเกือบเป็นคนเมืองหลวง  ทหารส่วนใหญ่ยังจ� ำ จอมพล ป. ได้ในฐานะผู้น�ำกองทัพที่เข้มแข็ง  ระยะหลังเริ่มมีนักวิชาการกลับมาศึกษาจอมพล ป. อีกครั้ง  ล่าสุดเพลงปลุกใจยุคจอมพล ป. ยังถูกคณะรักษาความสงบแห่ง ชาติ  (คสช.) น�ำมาเปิดในการท�ำรัฐประหารวันที่  ๒๒ พฤษภาคม  ๒๕๕๗


เด็กๆ ให้ความสนใจรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม  ภายในพิพิธภัณฑ์มาดามทุสโซ  ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี ่ กรุงเทพฯ   ปัจจุบันความทรงจ�ำเกี่ยวกับจอมพล ป.  ยังอยู่แต่ส่วนมากจะมีมิติของ “ผู้น�ำที่ เด็ดขาด” เป็นจุดเน้นมากกว่าเรื่องอื่น


อนุสาวรีย์จอมพล ป.  ยืนอยู่หน้าโรง “ภาพยนต์ทหานบก” หันหน้าเข้าวงเวียนสระแก้ว  ใจกลางเมืองลพบุรี  ทั้งนี้ผังเมือง และสิ่งก่อสร้างของเมืองซีกตะวันออก ของทางรถไฟแทบทั้งหมด เป็นมรดกจากยุคจอมพล ป.

ที่ส�ำคัญเรายังเรียกประเทศนี้ว่า “ประเทศไทย” (Thailand) เราจะสรุปงานแห่งชีวิตของจอมพล ป. อย่างไร  บทสรุ ป ที่ ดี ที่ สุ ด อาจเป็ น ข้ อ ความในจดหมายฉบั บ หนึ่ ง ที่ จอมพล ป. เขียนหลังถูกรัฐประหารในปี  ๒๕๐๐ ถึงปรีดีเพื่อนรัก ซึ่งร่วมก่อการ ๒๔๗๕ มาด้วยกันว่า  “ผมไม่เคยร�่ำเรียนมาทางเศรษฐกิจดอก แต่ผมก็มีหลักการ  ที่ได้มาจากการร�่ำเรียนทางวิชาทหาร รักชาติ  รักประชาชนนั้น ประการหนึ่ง ซื่อสัตย์ต่อบ้านเมืองเป็นอีกประการหนึ่ง ผสมกับ ประสบการณ์และเสียงประชาชน คุณสังเกตประชาธิปไตยในช่วง สุดท้ายของผมหรือเปล่า เสรีภาพในการพูด อย่างเช่นที่พวกนัก ไฮด์ปาร์กเขาท�ำกันที่สนามหลวงหรือข้างท�ำเนียบ เคยมีปรากฏ  มาก่อนบ้างไหม...ผมถูกสฤษดิ์เขาท�ำรัฐประหารเพราะเหตุอะไร  ผู้สันทัดกรณีก็ย่อมรู้  “การเมืองมันลึกลับซับซ้อนแค่ไหน การทีค่ ณะราษฎรท�ำการ ปฏิวัติ  น�ำประชาธิปไตยมาสู่ประชาชนนั้น แม้จะเป็นความส�ำเร็จ ก็ตาม แต่เราต้องยอมรับว่าคณะเราส่วนใหญ่ยงั มีฐานะเป็นไก่ออ่ น

110

มิถุนายน  ๒๕๕๗

สอนหัดอยู ่ เราจึงถูกมรสุมซัดเอาถึงขัน้ แพแตก คณะราษฎรจึงถูก แบ่งแยกออกเป็นฝักฝ่าย ผู้ที่พอจะถือได้ว่าเจนจัดหน่อยก็มีท่าน อาจารย์นแี้ หละ เพราะแนวทีท่ า่ นร�ำ่ เรียนศึกษาได้ปลู าดไว้  ผมเอง ก็เรียนมาทางทหาร สมาชิกส่วนอื่นก็มาจากเงื่อนไขทางสังคม  ที่แตกต่างกัน เราร่วมงานกันได้ก็เพราะความรักระหว่างเพื่อนฝูง  โดยแท้   มันอาจเป็นทฤษฎีแปลกใหม่ไม่ซ�้ำแบบใคร แต่คณะเรา ก็ได้ปฏิวัติจนเป็นผลส�ำเร็จ  ผมจะต้องกลับกรุงเทพฯ เร็ว ๆ นี้ แหละ ผมจะไปสานต่อประชาธิปไตย และงานทีท่ �ำค้างอยู ่  ไม่วา่ จะมีอปุ สรรคแค่ไหน ผมจะให้คณ ุ ดูดว้ ยตาว่า ถ้าผมกลับกรุงเทพฯ เขาจะกล้าจับผมไปขังไหม หรือว่าจะตั้งแถวรับยาวเหยียด” จอมพล ป. ผูอ้ ภิวฒ ั น์  ต้นต�ำรับรัฐประหาร ผูพ้ ทิ กั ษ์รฐั ธรรมนูญ  ผู้เผด็จการ ท่านผู้น�ำ นักฉวยโอกาส... ไม่ว่าจะนิยามอย่างไร ใช่หรือไม่ว่า

“จอมพล ป.” ยังอยู่กับคนไทยตลอดมา


สามมุมมองกับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม จีรวัสส์ ปันยารชุน (พิบูลสงคราม) อายุ  ๙๓ ปี - บุตรีคนที่  ๓ ของจอมพล ป.

“ถ้ า ไม่ ร ่ ว มเปลี่ ย นแปลงการปกครอง คุ ณ พ่ อ อาจเป็ น พระยา คุณแม่อาจเป็นคุณหญิง  ท่านโดนยิง วางยาพิษ  ฝ่าย ตรงข้ามมองว่าจอมพล ป. มีก�ำลังต้องก�ำจัด  ดิฉันมองว่าท่าน ตัดสินใจถูกทีย่ อมให้ญปี่ นุ่ เดินทัพผ่านช่วงสงครามโลกครัง้ ที ่ ๒ ทหารญี่ปุ่นที่บุกก�ำลังสดชื่น เชอร์ชิลล์  (นายกฯ อังกฤษ) ส่ง โทรเลขบอกป้องกันตัวเอง แต่ไทยจะเอาอะไรไปสู้   นายทหาร หลายท่านรู้ว่าคุณพ่อท�ำถูกเลยสร้างอนุสาวรีย์ให้  หลายคน แกล้งลืมเรื่องนี้  บอกว่าจอมพล ป. ไม่ดี  ทั้งที่ท่านพาชาติผ่าน วิกฤตมาได้  “ที่ว่าจอมพล ป. เป็นเผด็จการ ต้องอธิบายว่าระหว่าง สงครามต้องเด็ดขาด ไม่งั้นข้าศึกรู้หมด  คุณพ่อไม่สบายญี่ปุ่น ยังทราบ  นโยบายหลายอย่างคือการต่อสู้ทางวัฒนธรรมกับ ญี่ปุ่น สมัยนั้นบอกไม่ได้   ยุคหลังถูกมองเป็นเรื่องตลกขบขัน ตอนนี้ให้ใส่โจงกระเบน กินหมาก ดิฉันก็เชื่อว่าก็ไม่มีใครเอา  ทุกคนใส่กระโปรง ทาลิปสติกกันหมดแล้ว

“หลายคนแกล้งลืมและบอกจอมพล ป. ไม่ดี  ทั้งที่ท่านพาชาติผ่านวิกฤตมาได้”

“พอเกิดรัฐประหาร ๒๔๙๐ คุณพ่อไม่เห็นด้วยและห่วงความปลอดภัยของลูกเลยต้องรับ  ตอนนัน้ มีฝา่ ยต่อต้านรัฐประหาร แต่พอรูว้ า่ คุณพ่อ รับเป็นหัวหน้าก็เลยหยุด  ดิฉันอยากให้มองเรื่องใหญ่ที่ท่านวางไว้มากกว่า พอถึงปี  ๒๕๐๐ เขาก็ใช้จอมพลสฤษดิ์ท�ำลายจอมพล ป. คุณพ่อกับ ท่านปรีดมี ปี ญ ั หาเพราะลูกศิษย์   ช่วงบัน้ ปลายชีวติ ทัง้ คูพ่ ยายามนัดเจอกัน แต่คณ ุ พ่อจากไปเสียก่อน  ดิฉนั เคยไปหาท่านปรีดที ปี่ ารีส พอเจอท่าน เราร้องไห้  ท่านปรีดกี อดเรา เลีย้ งน�้ำชา แล้วเล่าเรือ่ งเก่าให้ฟงั  ดีใจทีค่ นนับถือท่านปรีด ี แม้จะไม่พดู ถึงจอมพล ป. แต่เราไม่เคยเสียใจและภูมใิ จใน ตัวท่าน ดิฉันเป็นลูกจอมพล ป. เดินได้อย่างสง่า   “คุณพ่อเป็นแกนหลักอีกคนหนึง่ ในการอภิวฒ ั น์  ๒๔๗๕ เวลานีค้ นพูดถึงท่านมากขึน้   ทัง้ จอมพล ป. และท่านปรีด ี ท�ำงานไม่คดิ ถึงตัวเอง ถ้า ท่านคิดถึงตัวเองบ้าง ลูก ๆ คงสบายกว่านี้   คนไทยสมัยนี้ลืม ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ แล้ว  สมัยก่อนคนมีความรู้พอใจการอภิวัฒน์  แต่บัดนี้ไม่ใช่ ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก ดิฉันอยากเห็นความเปลี่ยนแปลง แต่คงไม่มีโอกาสเพราะอายุมาก  ชาติอยู่ในมือคนไทยรุ่นหลังแล้ว ดิฉันฝากด้วย”

ศ. (พิเศษ) ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์

“จอมพล ป. มีสถานะที ่ ‘แปลก’ สมชือ่  ‘เป็นประชาธิปไตยก็ไม่ใช่  ‘เป็น เผด็จการก็ไม่เชิง’ หรือ ‘ไม่เป็นประชาธิปไตยก็ไม่ใช่’ และก็  ‘ไม่เป็นเผด็จการ ก็ไม่เชิง’ ขึ้นกับมองจากมุมไหน  มองจากมุมอนุรักษนิยมหรืออ�ำนาจเก่า / บารมีเก่า แบบ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์  และ ม.ร.ว. เสนีย์  ปราโมช ก็จะได้แต่ภาพ เผด็จการ ประเภทบังคับเรื่องไม่ให้กินหมาก ไม่ให้นุ่งโจงกระเบน

“จอมพล ป. มีสถานะที่ ‘แปลก’  สมชื่อคือ ‘เป็นประชาธิปไตยก็ไม่ใช่’‘เป็นเผด็จการก็ไม่เชิง’ ”   111 มิถุนายน ๒๕๕๗


“การตัดสินใจเข้ากับญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่  ๒ เป็นความจ�ำเป็น เป็นทั้งบริบทของยุคสมัย ที่โอนเอียงไปทางญี่ปุ่นเพื่อขจัดอ�ำนาจ  ฝรัง่ เจ้าอาณานิคมในอุษาคเนย์   ทัง้ ซูการ์โน บิดาเอกราชอินโดนีเซีย นายพลอองซาน บิดาเอกราชพม่า ก็เข้ากับญีป่ นุ่  ยกเว้นฝ่ายคอมมิวนิสต์  อย่าง โฮจิมนิ ห์  จีน (คณะชาติ) หรือจีนสิงคโปร์   ปลายสงคราม จอมพล ป. ต้องการ ‘พลิก’ บทบาทแบบอองซานและซูการ์ โน แต่สายไปแล้ว เนือ่ งจาก มีเสรีไทยภายใต้การน�ำของ ฯพณฯ ปรีด ี พนมยงค์  ภายในประเทศ ร่วมกับภายนอกภายใต้การน�ำของเสรีไทย ‘ฝ่ายเจ้า’ ในอังกฤษ กับ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ในสหรัฐฯ “หลังรัฐประหาร ๒๔๙๐ แม้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอกี  แต่อำ� นาจคุมกองทัพก็หลุดไปอยูก่ บั จอมพล ผิน ชุณหะวัณ แม้พยายามรักษา ‘กลิน่ อายคณะราษฎร’ ไว้บ้าง แต่อ�ำนาจก็อยู่กับคณะรัฐประหาร  จอมพล ป. กลายเป็นหัวโขน  เมื่อพยายามเล่นเกมประชาธิปไตย ให้มีเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๐๐ ก็น่าจะหมดน�้ำยาแล้ว การเลือกตั้งจึงกลายเป็น ‘สกปรก’ ที่สุด เปิดโอกาสให้จอมพล สฤษดิ์  ธนะรัชต์  และฝ่ายเจ้ากลับมา “ทัง้  ป. และปรีดมี คี วามสัมพันธ์  ‘ทัง้ รักทัง้ ชัง’ คือร่วมงานกันอย่างดี  ตัง้ แต่  ๒๔๗๕ ถึงสงครามโลกครัง้ ที ่ ๒ มีอดุ มการณ์ประชาธิปไตยร่วมกัน แต่แตกเพราะ ก. สงครามโลกครั้งที่  ๒ และ ข. กรณีสวรรคตรัชกาลที่  ๘  สงครามโลกครั้งที่  ๒ ท�ำให้  ‘เลือกข้าง’ ว่าจะอยู่ฝ่ายอักษะ/ฟาสซิสต์  หรือสัมพันธมิตร/ประชาธิปไตย  จอมพล ป. เลือกฝ่ายอักษะ/ฟาสซิสต์   ท่านปรีดีเลือกสัมพันธมิตร/ประชาธิปไตย  แต่สองผู้น�ำก็ยังไม่หักสะบั้น  แต่กรณีสวรรคตท�ำให้ทงั้ สองแตกกันขาด  จอมพล ป. อาศัย หรือปล่อยให้ฝา่ ยทหารของผินกับฝ่ายเจ้าของกรมขุนชัยนาทฯ และสอง ม.ร.ว. ปราโมช ท�ำลายท่านปรีดี  แล้ว ‘ส้มหล่น’ เป็นนายกฯ อีกระหว่าง ๒๔๙๑-๒๕๐๐  หัวเลี้ยวหัวต่อตรงนี้ที่ทั้งสองแยกทางชัดเจน “ถามว่าสองท่านขัดแย้งกันเป็นความผิดพลาดของคณะราษฎรหรือไม่  ผมไม่อยากโทษคณะราษฎรว่าไม่ทำ� อะไรให้  ‘สุด ๆ’  คิดแบบนีม้ นั ง่าย เผลอ ๆ เป็นการปัดความรับผิดชอบของคนรุ่นเรา ๆ ท่าน ๆ  คล้ายกับ แหม ถ้าท่านท�ำมาดีแล้ว เราก็ไม่ต้องเหนื่อยหรือรับกรรมอยู่อย่างนี้    “การที่สังคมไทยเริ่มให้ความสนใจจอมพล ป. อีกครั้ง เป็นปรากฏการณ์น่าสนใจ เป็นการมองประวัติศาสตร์ที่ลุ่มลึกกว่าเดิม  ไม่มองเผิน ๆ  ว่านัน่ เป็น ‘เผด็จการ’ นีเ่ ป็น ‘ประชาธิปไตย’  ยุคนีเ้ ราต้องการการศึกษาว่าด้วยผูน้ �ำแบบจอมพล ป. ท่านปรีด ี ตลอดจนผูน้ �ำรูปแบบอืน่ ทีก่ ว้างขวาง ลุ่มลึก เป็นสามัญชนที่ออกนอกวงของผู้ดี  เจ้า อ�ำมาตย์ครับ”

พ.อ. ดร. สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ

อาจารย์ประจ�ำกองวิชาประวัติศาสตร์  โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) จังหวัดนครนายก ผู้ท�ำวิจัยเรื่อง ต�ำนานใหม่ของขบวนการเสรีไทย : เรื่องราวการต่อสู้  เพื่อเอกราช สันติภาพ และประชาธิปไตยอย่างแท้จริง “ช่วงสงครามโลก คนมักมองว่าจอมพล ป. ตัดสินใจผิด ผมเคย สัมภาษณ์  ม.ร.ว. เสนีย์  ปราโมช เสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา  ท่านบอก ที่ให้เดินทัพผ่านท�ำถูก เพราะรักษาเมืองและชีวิตคนไทยไว้   เสรีไทย  ในประเทศก็เข้าใจเช่นนี้   แต่ที่พวกเขาต้านจอมพล ป. มาจากปัจจัย ภายใน คือวิธีเผด็จการ การเข้ากับฝ่ายอักษะ  รายงานสถานทูตญี่ปุ่น ในกรุงเทพฯ ที่ส่งกลับโตเกียวซึ่งสหรัฐฯ ดักและแปลออกมาชัดเจนว่า ญี่ปุ่นไม่วางใจจอมพล ป.

“จอมพล ป. เป็นทหารปัญญาชน” “ยุทธศาสตร์จอมพล ป. คือทหารต้องไม่โดนปลดอาวุธ ยืดหยุ่นว่าเอกราชไม่จ�ำเป็นต้องรบอย่างเดียว  ที่โฆษณาก่อนเกิดสงครามให้คนไทย รบ ผมมองว่าเพื่อเบรกให้ญี่ปุ่นคิดและพยายามดึงอังกฤษมาช่วย  ในสถานการณ์นั้น ทุกคนท�ำหน้าที่  ไม่มีฝ่ายไหนคิดว่าจะชนะ  “หลังสงครามโลกครั้งที่  ๒ มีการต่อสู้ของสี่กลุ่ม คือ จอมพล ป. (ทหารบก) ปรีดี  (ทหารเรือ) กลุ่ม ส.ส. อีสาน และกลุ่มนิยมเจ้า มีกลุ่มย่อย จับขั้วแยกขั้วตลอดเวลา  รัฐประหาร ๒๔๙๐ เกิดได้เพราะพรรคประชาธิปัตย์แพ้ตั้งแต่ปี  ๒๔๘๙ พรรคสหชีพก็คล้ายพรรคเพื่อไทย  ฝ่ายนิยมเจ้า ไม่ยอมก็หยิบประเด็นคอร์รัปชัน กรณีสวรรคตมาปลุกพลังอนุรักษนิยมในหมู่ทหาร ประกอบกับพรรคสหชีพตีทหารหนัก อาทิ  มีกองทัพมา ๔๐ ปี  สู้เสรีไทยที่มี  ๒ ปีกู้เอกราชไม่ได้  เป็นต้น  ประเมินผิด จอมพล ป. ก็อายุแค่  ๔๐ ต้น ๆ อยากกลับมาเพื่อบอกว่าไม่เป็นแบบที่เขาต่อว่ากัน   “ทีจ่ อมพล ป. กลับมาได้เพราะบารมีในกลุม่ ทหารด้วย แต่บทบาทยุคนีต้ อ้ งรักษาสมดุลอ�ำนาจ แม้ได้รบั การยอมรับจากจอมพลผินและสฤษดิ์ แต่ต้องไม่ลืมว่าศัตรูหลัก คือกลุ่มนิยมเจ้ายังต้องการโค่นจอมพล ป.  อีกอย่างจอมพล ป. เป็นทหารปัญญาชน เป็นตัวของตัวเอง ต่างจากทหาร  ยุค ๒๔๙๐ ลงมา  คุมท่านไม่ได้  ถึงจุดหนึ่ง สหรัฐฯ ก็มีตัวเลือกดีกว่าในการต้านคอมมิวนิสต์ “ผมเคยส�ำรวจนักเรียนนายร้อยเมื่อปี  ๕๓ ในบรรดานายทหารเก่า ๆ จอมพล ป. จะเป็นที่รู้จักร่วมกับจอมพลสฤษดิ์และจอมพลถนอม ถือว่า เป็นศิษย์เก่าที่ประสบความส�ำเร็จ  ในมุมการเมืองจะไม่ค่อยทราบ นี่คือลักษณะการปลูกฝังของทหาร  ส่วนทหารในกองทัพบกยกย่องเพราะท่าน เป็นหนึ่งในคนที่ท�ำให้กองทัพบกใหญ่มาก  เอางบประมาณมาลง ผู้น�ำพัฒนาองค์กรขนาดนี้จะไม่ให้เขานับถือได้อย่างไร”

112

มิถุนายน  ๒๕๕๗


เอกสารประกอบการเขียน หนังสือ จีรวัสส์  ปันยารชุน, บรรณาธิการ. ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม. พิมพ์ ครั้งที่  ๓. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ด่านสุทธา, ๒๕๔๐. ชาญวิทย์  เกษตรศิริ. ประวัติการเมืองไทย ๒๔๗๕-๒๕๐๐. พิมพ์ครั้งที่  ๔. กรุงเทพฯ : มูลนิธโิ ครงการต�ำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ๒๕๔๙. ชาญวิทย์  เกษตรศิร,ิ  ธ�ำรงศักดิ ์ เพชรเลิศอนันต์  และ วิกลั ย์  พงศ์พนิตานนท์, บรรณาธิการ. จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับการเมืองไทยสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่  ๒. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการต�ำราสังคมศาสตร์ แ ละ มนุษยศาสตร์, ๒๕๔๔. แถมสุข นุม่ นนท์. เมืองไทยสมัยสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง. กรุงเทพฯ : ดวงกมล, ๒๕๒๑.  ธีรศักดิ ์ วาสิกดิลก, บรรณาธิการ. อนุสรณ์ครบรอบ ๑๐๐ ปี  ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๐. กรุงเทพฯ : ศูนย์การทหาร ปืนใหญ่, ๒๕๔๐. นายหนหวย [นามแฝง]. ทหารเรือปฏิวัติ. พิมพ์ครั้งที่  ๓. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๕. ประดาป พิบูลสงคราม, ผู้เรียบเรียง. ดวงพ่อ...ลูกการเมือง ทายาทจอมพล ป. พิบูลสงคราม. ม.ป.ท. (พิมพ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพ พล.ร.ท. ประสงค์  พิบูลสงคราม ๕ กุมภาพันธ์  ๒๕๔๖).  พร้อมศรี  พิบูลสงคราม, หม่อมหลวง และคณะ, ผู้รวบรวม. อนุสรณ์งาน พระราชทานเพลิงศพ พลตรี  อนันต์  พิบลู สงคราม. กรุงเทพฯ : บัวสรวง. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี  อนันต์  พิบูลสงคราม ๔ สิงหาคม ๒๕๓๙). ภัทรวดี  ภูชฎาภิรมย์. วัฒนธรรมบันเทิงในชาติไทย. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๙. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ผู้ประศาสน์การและอธิการบดี  มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์  (พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๕๕๖) : ประวัติชีวิต ความคิด และการ ท�ำงาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๖. มาลัย ชูพินิจ [นายฉันทนา]. บันทึกจอมพล. พิมพ์ครั้งที่  ๓. รวบรวมและ จัดพิมพ์โดย ขนิษฐา ณ บางช้าง. กรุงเทพฯ : กระท่อม ป.ล., ๒๕๔๔. รุ่งมณี  เมฆโสภณ. อ�ำนาจ ๒ ต่อสู้กู้ชาติ  เอกราษฎร์  อธิปไตย. กรุงเทพฯ : บ้านพระอาทิตย์, ๒๕๕๕. ละเอียด พิบูลสงคราม และคณะ, ผู้รวบรวม. อนุสรณ์ในพิธีบรรจุอัฐิ  ฯพณฯ จอมพล ป. พิบลู สงคราม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภกั ดีประดิษฐ (พิมพ์ใน งานพิธีบรรจุอัฐิ  จอมพล ป. พิบูลสงคราม ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๐๗). ศั ก ดิ์   ไทยวั ฒ น์ .   เกล็ ด การเมื อ งบางเรื่ อ งของจอมพล ป. พิ บู ล สงคราม. กรุงเทพฯ : ซี.พี.การพิมพ์, ม.ป.ป. สรศัลย์  แพ่งสภา. สงครามมืด วันญีป่ นุ่ บุกไทย. กรุงเทพฯ : สารคดี, ๒๕๔๓. ________. “หวอ” ชีวิตไทยในไฟสงครามโลกครั้งที่  ๒. กรุงเทพฯ : สารคดี, ๒๕๓๙. สุดารา สุจฉายา, บรรณาธิการ. ลพบุรี. กรุงเทพฯ : สารคดี, ๒๕๔๒. สุธาชัย  ยิ้มประเสริฐ. แผนชิงชาติไทย. พิมพ์ครั้งที่  ๒. กรุงเทพฯ : ๖ ตุลา ร�ำลึก, ๒๕๕๐. องค์การส่งเสริมการสมรสและกรมสาธารนสุข กะซวงสาธารนสุข. คูม่ อื สมรส. พระนคร : บริสัทการพิมพ์ไทย จ�ำกัด, ๒๔๘๗. อนันต์  พิบลู สงคราม [อ. พิบลู สงคราม]. จอมพล ป. พิบลู สงคราม (เล่ม ๑). พิมพ์ครั้งที่  ๒. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค, ๒๕๔๐. ________. จอมพล ป. พิบูลสงคราม (เล่ม ๔). ม.ป.ท,, ม.ป.ป. ________. จอมพล ป. พิบูลสงคราม (เล่ม ๕). ม.ป.ท,, ม.ป.ป.

บทความ ศรัณย์  ทองปาน. “พิบลู สงครามร�ำลึก.” สารคดี. ๙, ๑๐๒ (สิงหาคม ๒๕๓๖) : ๑๕๓-๑๕๖. วิทยานิพนธ์ ถนอมจิต มีชื่น. “จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ (พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๕๐๐).” วิทยานิพนธ์ศลิ ปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ประวัติศาสตร์  คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๑. นันทิรา ข�ำภิบาล. “นโยบายเกีย่ วกับผูห้ ญิงไทยสมัยสร้างชาติของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๗).” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา บั ณ ฑิ ต   สาขาวิ ช าประวั ติ ศ าสตร์   คณะศิ ล ปศาสตร์   มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์, ๒๕๓๐. พรเลิศ พันธุว์ ฒ ั นา. “โครงการย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพฯ ไปเพชรบูรณ์ของ รัฐบาลจอมพล ป. พิบลู สงคราม.” วิทยานิพนธ์อกั ษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิ ช าประวั ติ ศ าสตร์ เ อเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้   บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๑. สุรพันธุ ์ บุณยมานพ. “การสร้างฐานอ�ำนาจทางการเมืองของหลวงพิบลู สงคราม : ศึกษาเฉพาะกรณีการกวาดล้างปรปักษ์ทางการเมืองในปี  พ.ศ. ๒๔๘๑.” วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชาการปกครอง บัณฑิต วิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๑. ขอขอบคุณ คุณจีรวัสส์  ปันยารชุน, คุณศรัณย์  ทองปาน, คุณพิมพ์อร พนมวัน ณ อยุธยา, คุณทองหล่อ อ่อนน้อย พิพธิ ภัณฑ์  อาคาร รร.จปร. ๑๐๐ ปี, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นครนายก, พิพธิ ภัณฑ์มาดามทุสโซ กรุงเทพฯ, ส�ำนักงานส่งเสริมการท่องเทีย่ ว ศูนย์การทหารปืนใหญ่  ค่ายพหลโยธิน จังหวัดลพบุรี ที่มาภาพเก่า ๑. เอกสารประกอบการเขียน ๒. พิพิธภัณฑ์  อาคาร รร.จปร. ๑๐๐ ปี

มิถุนายน  ๒๕๕๗

113


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.