เรื่องรัก และ "เรื่องลับ" ของ ชะนี ที่เขาใหญ่

Page 1

ครอบครัวชะนีประกอบด้วยสมาชิกสองถึงหกตัว   แต่ที่พบเห็นส่วนมากจะมีประมาณสี่ตัว ประกอบด้วย  พ่อชะนี แม่ชะนี ลูกวัยเด็กถึงวัยรุ่น และลูกชะนีวัยทารก    ครอบครัวชะนีมักใช้เวลาอยู่ด้วยกันในช่วงเวลาพักผ่อนของวัน    นี่คือภาพของครอบครัว R

บันทึกชีวิต

เรื่อง : ดร. จันทร์เพ็ญ ศรลัมพ์ ภาพ : กุลพัฒน์ ศรลัมพ์

ใน ๑ วัน

ชะนีผ่านการวิวัฒนาการมาทั้งกายวิภาค สรีระ และพฤติกรรม   เพื่อใช้ชีวิตเกือบทั้งชีวิตอยู่แต่บนเรือนยอด มันเคลื่อนที่บนต้นไม้   ทั้งการห้อยโหน (brachiation) การกระโดดระหว่างเรือนยอดไม้ (leaping)   การปีนป่าย (climbing) หรือแม้แต่การเดินสองขาบนกิ่งไม้ (bipedal walking)  ได้อย่างช�ำนาญและรวดเร็ว โดยเฉพาะเวลาที่ต้องป้องกันอาณาเขตของครอบครัว

๔๑ ปีของ งานวิจัย ในเขาใหญ่ 74

สิงหาคม  ๒๕๕๗

สิงหาคม  ๒๕๕๗

75-๗๖


กระโดด เพื่ออยู่รอด

80

สิงหาคม  ๒๕๕๗

ลูกชะนีวัยรุ่นกระโดดข้ามเรือนยอดตามพ่อแม่เพื่อไปหากิน   ด้วยสภาพของเรือนยอดที่สูงต�่ำหรือใกล้ห่าง ต่างกันในธรรมชาติ การกระโดด (leaping) จึงเป็นเทคนิค  ส�ำคัญต่อการด�ำรงชีวิตของชะนี

สิงหาคม  ๒๕๕๗

81


ความจริงเราไม่พบชะนีกระโดดบ่อยนักเมื่อเทียบกับการเคลื่อนที่  แบบอื่น และชะนีที่โตถึงวัยที่พร้อมเท่านั้นจึงจะท�ำได้

ชะนีมักกระโดดที่ต�ำแหน่งเดิมบนเส้นทางเสมอ

แต่หากพื้นที่หากินของมันถูกแบ่งแยกจากการเกิดไม้ล้มหรือถนนตัดผ่าน   ชะนีก็จะถูกกดดันให้ต้องกระโดดมากขึ้น หรือบางครั้งจ�ำเป็นต้องลงมาที่พื้น  ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของมันได้

82

สิงหาคม  ๒๕๕๗

(ขวา)  ลูกชะนีวัยทารกหรือเจ้าบีน ครอบครัว B  หัดเดินสองขา (bipedal walking) บนกิ่งไทร  ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากพ่อแม่ของมัน (ล่างขวา)  ชะนีอาจไม่ได้ใช้เพียงแค่แขนทั้งสองข้าง  แต่ยังใช้ขาทั้งสองในการเคลื่อนที่และการหากินอีกด้วย   บางครั้งเราจะเห็นชะนีใช้แขนโหนกิ่งไม้  และใช้ตีนเกี่ยวกิ่งที่มีลูกผลไม้มาใส่ปากมันด้วย  ในภาพนี้คือ “ป้าแอน” หรือ Andromeda  ครอบครัว A (ล่างซ้าย)  แม่ชะนีพาลูกน้อยกระโดดข้าม  เรือนยอดจากต้นไม้หนึ่งไปสู่อีกต้นเพื่อหากิน  บางต�ำแหน่งอาจมีเรือนยอดที่ห่างกันมาก  แต่ด้วยประสบการณ์และสรีระของชะนีตัวเต็มวัย  ท�ำให้มันกระโดดข้ามผ่านไปได้ทุกครั้ง  หากกระโดดช่วงกว้างและสูงมากเรามักได้ยิน  เสียงลูกชะนีร้องออกมาด้วยความตื่นเต้น

สิงหาคม  ๒๕๕๗

83


ชะนีมือขาวกินผลไม้เป็นอาหารหลัก  โดยกินมากถึงประมาณร้อยละ ๖๕ ของอาหารทั้งหมด  ชะนีจัดเป็นผู้กระจายเมล็ด  ที่มีความส�ำคัญล�ำดับต้น ๆ ของป่าเขตร้อน  หากประเมินเล่น ๆ ว่าถ้าชะนีอึวันละหกครั้ง แต่ละครั้งมีเมล็ด  ประมาณ ๕๐ เมล็ด ชะนีหนึ่งตัวจะช่วยเพาะกล้าไม้ในป่า  ถึงปีละ ๑๐๙,๕๐๐ เมล็ดเลยทีเดียว (บน)  ชะนีแม่ลูกอ่อนก�ำลังเคี้ยวแมลงอย่างตั้งใจ  แมลงถือว่าเป็นอาหารเสริมโปรตีนอย่าง หนึ่งของชะนี  (ซ้าย)   นิทัศน์ ชะนีตัวผู้ครอบครัว N  ก�ำลังอร่อยกับลูกไทรซึ่งจัดเป็นอาหารหลัก ของครอบครัว N ในช่วงเดือนพฤศจิกายน (ขวา) เจ้าชูส์ก�ำลังเบ่งอึก้อนใหญ่ซึ่งมีเมล็ด  ผลไม้หลายชนิดจากที่มันกินเข้าไป    เมล็ดที่ขับถ่ายออกจากล�ำไส้ชะนี จะงอกได้ดีกว่าเมล็ดที่ไม่ผ่านล�ำไส้ชะนี    โดยปรกติชะนีขับถ่ายเฉลี่ยประมาณ  หกครั้งต่อวัน

84

สิงหาคม  ๒๕๕๗

สิงหาคม  ๒๕๕๗

85


ชะนีเล่น

(ซ้าย) เจ้าชูส์ชะนีตัวผู้คอยเอาใจท�ำความสะอาดขน  และจัดเรียงขน (grooming) ให้ “ป้าแอน”  ชะนีตัวเมียที่นอนสบาย ซึ่งจะท�ำให้ขนไม่เกาะเป็นก้อน  และมีสุขภาพดี โดยทั่วไปตัวเมียจะปฏิบัติกับตัวผู้ เช่นเดียวกัน เป็นพฤติกรรมที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ ของคู่ชะนี  แต่ยกเว้นส�ำหรับ “ป้าแอน” ที่ไม่ค่อยชอบ ดูแลขนให้ชูส์เท่าไรนัก  (ล่าง) เวลาพักผ่อน ชะนีพี่น้องหยอกกันด้วยการถีบ งับขา   หรือดึงแขนระหว่างท�ำความสะอาดขนให้กัน

ชะนีใช้เวลาช่วงสาย ๆ และบ่ายส�ำหรับพักผ่อนและมีปฏิสัมพันธ์กัน  ส่วนใหญ่ตัวผู้กับตัวเมียเต็มวัยจะผลัดกันท�ำความสะอาดขน  และจัดเรียงขนให้กัน แต่ลูก ๆ จะใช้เวลาเล่นซนซึ่งเป็นการฝึกทักษะ การใช้ชีวิตบนเรือนยอดที่ส�ำคัญ การเล่นอาจถึงขั้นผาดโผน  หรือเพียงหยอกกันเบา ๆ ระหว่างพี่น้อง 86

สิงหาคม  ๒๕๕๗

สิงหาคม  ๒๕๕๗

87


สีขนไม่ใช่ลักษณะที่ใช้แบ่งแยกเพศในชะนีมือขาว   ตัวผู้หรือตัวเมียก็อาจมีขนสีครีมหรือสีด�ำได้   โดยลักษณะขนสีด�ำเป็นพันธุกรรมที่เด่นกว่าขนสีครีม    ครอบครัวชะนี อาจมีสมาชิกสีด�ำทั้งหมด บางครอบครัวอาจมีสีครีมทั้งหมด   ส่วนครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่สีด�ำกับสีครีม  ก็อาจพบลูกชะนีทั้งสองสี   สิ่งที่ชะนีมือขาวทั้งสองสีมีเหมือนกันคือ  ขนวงรอบใบหน้า หลังมือ และหลังตีน เป็นสีขาว

ครอบครัวชะนีพร้อมสมาชิกใหม่สีด�ำ  อายุไม่ถึง ๓ เดือน ลูกชะนีวัยทารกระยะนี้ มักได้รับการดูแลจากแม่อย่างใกล้ชิด

88

สิงหาคม  ๒๕๕๗

สิงหาคม  ๒๕๕๗

89


ในครอบครัวชะนีมือขาว  แม่จะมีบทบาทหลักในการเลี้ยงดูลูก โดยมีพ่ออยู่ใกล้ชิด

ลูกชะนีวัยทารกจะเกาะอกแม่อยู่ตลอดเวลา

จนกระทั่งอายุได้ ๓-๔ เดือน ลูกชะนีก็จะเริ่มหัดเคลื่อนที่ด้วยตัวเอง  แต่เมื่อต้องย้ายไปยังต้นอื่นแม่ก็จะจับลูกชะนีมาเกาะอกและพาเคลื่อนที่ไปด้วย   ลูกชะนีจะเกาะอกแม่ไปจนกระทั่งอายุ ๒ ปี-๒ ปีครึ่ง

(บน) ลูกชะนีในภาพนี้คือตัวเดียวกับลูกชะนี ในภาพหน้าที่แล้วเมื่อยังอ่อนวัยกว่า  ถึงลูกชะนีวัยทารกจะยังเคลื่อนที่เองไม่ได้ แต่มนั ก็เริม่ แสดงความสนใจสิง่ แวดล้อมรอบ ๆ ตัว  บางครั้งมันจะคอยยื่นมือออกมาเมื่อแม่มันนั่งพัก

90

สิงหาคม  ๒๕๕๗

(ขวา) “ป้าแอน” ก�ำลังผสมพันธุ์กับชูส์ สามีตัวที่ ๔   ซึ่งมีอายุน้อยกว่า  ภาพฉากรักของชะนีมือขาว เกิดขึ้นเมื่อชะนีตัวเมียเต็มวัยแสดงความพร้อม และเคลื่อนไปบนกิ่งที่เหมาะสม โดยตัวเมียจะ  หันก้นให้ตัวผู้เข้าผสมพันธุ์จากด้านหลัง  ซึ่งใช้เพียงระยะเวลาสั้น ๆ  ระหว่างผสมพันธุ์  ชะนีตัวผู้จะเอามือข้างหนึ่งเกาะหลังตัวเมีย  ขณะที่มืออีกข้างเกาะกิ่งไม้ไว้ โดยตัวผู้ส่งเสียง ครางเล็กแหลมออกมาด้วย  เมื่อผสมพันธุ์เสร็จ ตัวผู้มักจะท�ำความสะอาดขนให้ตัวเมีย

สิงหาคม  ๒๕๕๗

91


ในชะนีมงกุฎเราใช้สีขนแบ่งแยกเพศได้ โดยชะนีตัวผู้มีขนสีด�ำ  ส่วนตัวเมียมีขนสีครีมและมีแถบขนสีด�ำที่หน้าอกมาถึงท้อง    ทั้งคู่มีขนที่กระหม่อมสีด�ำ ขนคิ้วเรื่อยไปถึงขนข้างหัวเป็นสีขาว  และขนที่หลังมือและตีนเป็นสีขาว ที่สังเกตได้ง่ายคือขนรอบ อัณฑะเป็นสีขาวเด่นชัด ดังนั้นการแยกชะนีมงกุฎตัวผู้กับชะนี มือขาวตัวผู้สีด�ำจึงไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ดูขนที่ใบหน้า  และลูกอัณฑะ

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นหนึ่งในสามพื้นที่ในโลกเท่านั้น ที่พบการผสมข้ามสายพันธุ์ของชะนีตามธรรมชาติ  โดยพบการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างชะนีมือขาวกับ

ชะนีมงกุฎ

92

สิงหาคม  ๒๕๕๗

สิงหาคม  ๒๕๕๗

93


ภาพ : ทิวา โอ่งอินทร์

บันทึกชีวิต

(บน) ปัจจุบันอาจารย์วรเรณ บรอคเคลแมน (ขวาสุด)  ยังคงเดินป่าและท�ำวิจัยเรื่องชะนีอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับให้ความรู้ นักวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ในภาพอาจารย์ก�ำลัง ให้ค�ำแนะน�ำนักวิจัยจากประเทศอินเดียและผู้เขียน เกี่ยวกับการ ประเมินประชากรชะนีโดยการฟังเสียง ซึ่งนักวิจัยชาวอินเดียน�ำไปใช้ ศึกษาชะนีฮูล็อก (Hoolock hoolock) ในประเทศอินเดีย (ซ้าย) แอนโดรเมดานอนบนต้นนอนปลายกิ่งสูง ก่อนนักวิจัยกลับบ้าน เรายังเห็น “ป้าแอน” แอบมองลงมาที่พวกเรา เหมือนอยากจะบอก ว่า “พรุ่งนี้ก็คงเจอกันอีกสินะ”

ใน ๑ วัน ๔๑ ปีของ งานวิจัย ในเขาใหญ่ 94

สิงหาคม  ๒๕๕๗

เรื่อง : ดร. จันทร์เพ็ญ ศรลัมพ์ * ภาพ : กุลพัฒน์ ศรลัมพ์

* นักวิจัยชะนี  อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรชีววิทยาเชิงอนุรักษ์  มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.