Fight Flood
เรื่อง : วีระศักร จันทร์ส่งแสง ภาพ : ประเวช ตันตราภิรมย์
โดยภาพรวมจากภาพถ่ายทางอากาศผ่านดาวเทียม เราเห็นมวลน�้ำคืบเข้ากลืนผืนดินทั่วทั้ง
ลุ่มเจ้าพระยา และความจริงในภาคพื้นดินก็เป็นเช่นนั้น สายน�้ำหลากแผ่บ่าท่วมจนดูราวกับว่าบ้านเมือง หมู่บ้าน ท้องทุ่ง ทุกหย่อมหญ้าได้ตกอยู่ในกระแสน�้ำทั้งหมดสิ้น แต่ในวงล้อมของมหาอุทกภัยก็มชี มุ ชนทีต่ อ่ สูจ้ นเอาตัวเองรอดอยูเ่ ช่นกัน ทัง้ ทีเ่ ป็นสถานทีไ่ ม่กสี่ บิ ไร่ เป็นชุมชน จนถึงเขตเทศบาลที่กว้างใหญ่หลายต�ำบล ซึ่งสามารถรักษาพื้นที่ไว้ได้เกือบทั้งหมด กลายเป็น บทเรียนแบบอย่างส�ำหรับการต่อสู้ป้องกันตนเองจากอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นในกาลข้างหน้า ตั้งแต่แนวคิด การเตรียมการ วิธีการ เทคนิค อุปกรณ์ ความเสียสละ ความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจของผู้คน ไปจนถึงการ ตรวจตราเฝ้าระวังตลอดช่วงเวลาที่มวลน�้ำยังไม่ลงสู่ระดับที่น่าไว้วางใจ หรือแม้ในชุมชนที่ร่วมกันสู้แล้วยังแพ้พ่ายแก่สายน�้ำ แต่การที่คนในชุมชนรวมกันได้ ก็ย่อมเป็น รากฐานที่เขาจะพึ่งพาตัวเองกันต่อ ไม่ต้องเป็น “ผู้ประสบภัย” ที่จ�ำต้องอพยพและรอรับแต่ความช่วยเหลือ นี้เป็นเรื่องส�ำคัญ เพราะเอาเข้าจริงแล้วในกรณีภัยพิบัติขนาดใหญ่ คงไม่มีศูนย์พักพิงที่กว้างใหญ่และมาก เพียงพอจะรองรับผู้คนได้ทั้งหมด นอกจากในถิ่นฐาน เดิมของเขาเอง และยังมีชมุ ชนทีเ่ ตรียมการตัง้ รับ แต่นำ�้ มาไม่ถงึ ก็ได้น�ำสิ่งที่เตรียมไว้ไปแจกจ่ายช่วยเหลือเพื่อนต่างถิ่น ที่ประสบภัย วิ ก ฤตกลายเป็ น โอกาสให้ เ กิ ด การสานสาย สัมพันธ์ระหว่างชุมชนให้ยิ่งแน่นแฟ้น ฤดูกาลผ่านผัน กระแสน�้ำหลากก็ย่อมผ่านไป มหาอุทกภัยในรอบหลายปีจะกลายเป็นประวัติศาสตร์ หน้าใหม่ และเรื่องราวของชุมชนคนสู้น�้ำจนอุ้มชูชุมชน ของตนเอาไว้ได้ก็เป็นเสี้ยวหนึ่งในนั้น
คน สู้น�้ำ
น�้ำไม่ใช่ศัตรู แต่สู้เพื่ออยู่ร่วม 168 นิตยสารสารคดี ฉบับที่ ๓๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
ฉบับที่ ๓๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๔ นิตยสารสารคดี
169