สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ศรีอริยสงฆ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

Page 1

สัมภาษณ ดร. ศราวุฒิ อารีย

๑๒๐.- www.sarakadee.com

ธรรมยาตรา จากแมปงสูเจาพระยา

3160654

สมเด็จพระพุฒาจารย โต พรหมรังสี

ปกพิมพเคลือบนํ้ามันกันนํ้า ไมเคลือบพีวีซี เพื่อลดการใชพลาสติก

มิ ถุ น า ย น ๒ ๕ ๕ ๔

บรรณาธิการ-ผู พิมพ ผู โฆษณา สุวพร ทองธิว บริษัทวิริยะธุรกิจ จํากัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ พิมพ ที่บริษัทโรงพิมพ กรุงเทพ (๑๙๘๔) จํากัด โทร. ๐-๒๖๔๒-๗๒๗๒

แหงกรุงรัตนโกสินทร

ราคา ๑๒๐ บาท

ปที่ ๒๗ ฉบับที่ ๓๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔

๓๑๖

โต พรหมรั ง สี ศรีอริยสงฆ

สมเด็จ พระพุฒาจารย


สมเด็จพระพุฒาจารย์

๕8 นิตยสารสารคดี  ฉบับที่ ๓๑๖  มิถุนายน ๒๕๕๔


(โต พรหมรังสี)

ศรีอริยสงฆ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

จิตรกรรมฝาผนังวัดอินทรวิหาร เล่าประวัติตอนก�าเนิดของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)   ในภาพไม่ปรากฏผู้เป็นบิดา และเรื่องนี้เป็นปริศนามาโดยตลอด   แต่เล่ากันว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของรัชกาลที่ ๑  หรือไม่ก็รัชกาลที่ ๒  ส่วนภาพหน้า ๕๘ เป็นรูปสลักหินอ่อนด้านหลังอุโบสถ  ที่อาศัยแบบมาจากภาพถ่ายในช่วงปัจฉิมวัยของท่าน

วีระศักร จันทร์ส่งแสง : เรื่อง สกล เกษมพันธุ์ : ภาพ


เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้ามาในรั้ววัดสะตือ สิ่งที่เห็น โดดเด่นกว่าอย่างอืน่ คือ พระพุทธไสยาสน์ขนาด มหึมาที่พุ่มโพธิ์ใหญ่บังไม่มิด  และเนื่องจากวัด ตั้ง อยู ่ติด แม่น�้ ำ  ปี ไหนฝนหนั ก น�้ ำ มากก็ ห ลาก นองท่วมวัด  แต่ด้วยขนาดที่ใหญ่โตมากท�ำให้ องค์พระยังคงอยูพ ่ น้ น�้ำ-เหมือนลอยอยูเ่ หนือน�้ำ ส่วนที่จมน�ำ้ ยังปรากฏรอยสึกกร่อนรอการบูรณะ

60 นิตยสารสารคดี  ฉบับที่ ๓๑๖  มิถุนายน ๒๕๕๔


พระนอนวัดสะตือ

(๑๗ เมษายน ๒๕๕๔)

อนุสรณ์สถานที่เกิดของสมเด็จ พระพุฒาจารย์โต ที่ริมน�้าป่าสัก  อ�าเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   ปัจจุบันมีการจัดงานบุญใหญ่ทุกปี ในวันที่ ๑๗ เมษายน ที่ถือกันว่าเป็น  วันคล้ายวันเกิดของท่าน

ฉบับที่ ๓๑๖  มิถุนายน ๒๕๕๔ นิตยสารสารคดี

๖๑


พระบรมธาตุ  นครชุม

เมืองก�าแพงเพชร  (มิถุนายน ๒๕๕๔) ที่ได้รับการบูรณะแล้ว โดยแต่เดิมเป็นเจดีย์ ๓ องค์ และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต อ่านแผ่นศิลาจารึกโบราณ พบว่ามีพระบรมธาตุ และพระพิมพ์บรรจุอยู่

๖๒ นิตยสารสารคดี  ฉบับที่ ๓๑๖  มิถุนายน ๒๕๕๔


หอไตร วัดระฆังฯ

(มิถุนายน ๒๕๕๔)     หลังบรรพชา สามเณรโตมาศึกษาปริยัติธรรมอยู่ที่วัดนี้    โดยก่อนหน้านั้นเจ้าอาวาสมีนิมิตฝันว่า   ช้างเผือกตัวหนึ่งเข้ามากินพระไตรปิฎกในตู้ของท่านจนหมด    ชะรอยว่าจะมีคนน�าเด็กที่เฉลียวฉลาดมีบุญมาฝากตัวเป็นศิษย์  และอีกหลายสิบปีต่อมา เมื่อรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ พระราชทาน สมณศักดิ์เป็นพระธรรมกิติ (โต) ท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๖   ของวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

นอกจากความรู้ในด้านปริยัติธรรมอันเอกอุแล้ว เล่าลือ กันว่าท่านยังเทศน์ด้วยน�้าเสียงที่มีเสน่ห์ ไพเราะ มีจังหวะ จะโคนชวนฟัง เป็นที่จับจิตจับใจคน จนเลื่องลือไปทุก สารทิศ ไม่เฉพาะในหมู่ชาวประชาสามัญ แม้แต่กับพระ ราชามหากษัต ริย ์ ท่ า นก็มี ว ิธี ก ารแสดงธรรมที ่ลึ ก ซึ ้ง แยบยลไม่ผิดแผกกัน ทุ่งเศรษฐี  ที่ตามต�านานว่า มีญาติวงศ์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์โตอาศัยอยู่   และการเดินทางมาเยี่ยมญาติที่เมืองก�าแพงเพชรในช่วงปัจฉิมวัยครั้งนั้น   ก็ถือเป็นการธุดงค์ครั้งสุดท้ายของท่าน

ฉบับที่ ๓๑๖  มิถุนายน ๒๕๕๔ นิตยสารสารคดี

๖๓


จิตรกรรมฝาผนังวัดอินทรวิห าร ที่ เ ชื่ อ กั น ว่ า เป็ น ชีวประวัตขิ องสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่ถูกบันทึกไว้ในรูปของภาพวาด  ได้กลายเป็นภาพ เรื่องราวที่ต่อเนื่องเคลื่อนไหวอย่างมีชีวิตชีวาตั้งแต่ วัยเด็กจนล่วงวัยชรา ด้วยการตีความของคนชัน้ หลัง ที่ถอดรหัสจากจิตรกรรมเหล่านั้น ผนวกเข้ากับพระ ราชประวัติ และพงศาวดารในช่วงรอยต่อสมัยกรุง ธนบุรีกับรัตนโกสินทร์

64 นิตยสารสารคดี  ฉบับที่ ๓๑๖  มิถุนายน ๒๕๕๔


บ่อน�ำ้ มนต์  วัดอินทรวิหาร

(มิถุนายน ๒๕๕๔)

มีหุ่นขี้ผึ้งสมเด็จพระพุฒาจารย์   (โต พรหมรังสี) ในท่านั่งบริกรรม ประดิษฐานอยู่ด้วย อาจให้ความรู้สึกแก่  พุทธบริษัทที่เข้านั่งสมาธิอยู่ภายในนั้น  เหมือนได้นั่งภาวนาอยู่ต่อหน้าท่าน

ฉบับที่ ๓๑๖  มิถุนายน ๒๕๕๔  นิตยสารสารคดี

65


66 นิตยสารสารคดี  ฉบับที่ ๓๑๖  มิถุนายน ๒๕๕๔


วัดหลายแห่งที่มีส่วนเกีย่ วพันกับชีวิตของท่าน มีการผูกเป็นค�าคล้อง ว่าท่าน “นอนอยู่อยุธยา มานัง่ ที่ไชโย โตที่วัดอินทร์ จ�าศีลที่วัดระฆัง” จนในทุกวันนี้ ทุกวัดเหล่านี้ยงั คงมีการจัดงานบุญใหญ่ในวันร�าลึกถึงท่าน เป็นประจ�าทุกปี รูปของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็น รูปเคารพที่มีอยู่ในแทบทุกบ้าน พระสมเด็จฯ เป็นพระเครือ่ งที่มีมูลค่า สูงสุดในวงการยุคปัจจุบัน

<

พระพุทธมหาพิมพ์

พระศรีอริยเมตไตรย

ที่สร้างขึ้นใหม่แทนองค์สมเด็จพระพุฒาจารย์โต  ที่พังทลายลงเมื่อคราวบูรณะวัดไชโย    ถ่ายเมื่อ ๑๗ เมษายนปีนี้ (๒๕๕๔) ซึ่งเป็นวันงานบุญใหญ่  ประจ�าปีของวัด โดยมีพิธีกรรมส�าคัญอยู่ที่  การแห่ผ้าห่มพระ-องค์จ�าลอง ที่ประดิษฐานอยู่ด้านหน้า

วัดอินทรวิหาร (บางขุนพรหม พระนคร)  พระโตองค์สุดท้ายที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต  สร้างได้เพียงครึ่งองค์ ท่านก็ละสังขารในปี ๒๔๑๕   การก่อสร้างด�าเนินต่อมาอีกหลายสิบปีจนแล้วเสร็จในปี ๒๔๗๐   ภาพนี้ถ่ายเมื่อ ๑ มีนาคม ๒๕๕๔  ซึ่งเป็นวันแรกของงานบุญประจ�าปี วัดอินทรวิหารที่จะจัดในช่วงวันที่ ๑-๑๐ มีนาคมของทุกปี

ฉบับที่ ๓๑๖  มิถุนายน ๒๕๕๔ นิตยสารสารคดี

๖7


พระนอน วัดขุนอินทประมูล  อ�าเภอโพธิ์ทอง อ่างทอง   ถ่ายเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔   วันสุดท้ายของงานสัปดาห์ส่งเสริม พระพุทธศาสนาของจังหวัดอ่างทอง  ซึ่งใช้พุทธมณฑลบริเวณวัดขุนอินทประมูล เป็นที่จัดงาน

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ๖8 นิตยสารสารคดี  ฉบับที่ ๓๑๖  มิถุนายน ๒๕๕๔


ในหมู่คนไทยทั่วทุกหัวระแหง ไม่เป็นที่กังขาเลยว่านี่คือยอดอริยสงฆ์ของสยาม  ท่านเกิดในยุคต้น  กรุงรัตนโกสินทร์ มีชีวิตอยู่ในช่วง ๕ รัชกาลแรกแห่งราชวงศ์จักรี เป็นภิกษุผู้เป็นที่เคารพเลื่อมใสของ พุทธบริษัท ตั้งแต่ชั้นชาวบ้านไปจนถึงเจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์ แต่ครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่กระทั่งบัดนี้ วัด หลายแห่งซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกับชีวิตของท่าน มีการผูกเป็นค�าคล้องว่าท่าน “นอนอยู่อยุธยา มานั่งที่ไชโย โตที่วัดอินทร์ จ�าศีลที่วัดระฆัง” จนในทุกวันนี้ ทุกวัดเหล่านี้ยังคงมีการจัดงานบุญใหญ่ในวันร�าลึกถึงท่าน เป็นประจ�าทุกปี รูปของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นรูปเคารพที่มีอยู่ในแทบทุกบ้าน พระ สมเด็จฯ เป็นพระเครื่องที่มีมูลค่าสูงสุดในวงการยุคปัจจุบัน ตามประวัตวิ า่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ถือก�าเนิดอย่างธรรมดาสามัญในครอบครัว ชาวบ้าน ศึกษาเล่าเรียนในหลายส�านักของหลายบูรพาจารย์ ครั้นถือสมณเพศอยู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ก็ ครองตนอย่างสมถะเรียบง่าย ไม่ติดต�าแหน่งลาภยศ ไม่สะสมยึดติดอามิสวัตถุ เทศน์โปรดคนทุกชนชั้น ด้วยอุบายธรรมที่แยบยล ในน�้าเสียงที่มีเสน่ห์ ท่านยินดีรับนิมนต์ไปเทศน์ตามบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านคน ยากจนเข็ญใจ คหบดี เจ้าขุนมูลนาย ราชนิกุล จนถึงในพระบรมมหาราชวัง

กระทั่งถึงกาลละสังขาร การมรณภาพของท่านได้ถูกบันทึกไว้ด้วยค� าว่า  สิ้นชีพิตักษัย เป็นปมปริศนาให้ชนรุ่นหลังรู้โดยนัยว่า ท่านต้องเป็นหน่อเนื้อเชื้อไข  ของกษัตริย์ ?

วีระศักร จันทร์ส่งแสง : เรื่อง สกล เกษมพันธุ์ : ภาพ

(โต พรหมรังสี)

ศรีอริยสงฆ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.