นามานุกรมเครื่องจักสาน

Page 1


2

นามานุกรม  เครื่องจักสาน

ISBN หนังสือ ผู้เขียน พิมพ์ครั้งที่ ๑ จ�ำนวนพิมพ์ ราคา

978-974-7385-45-8 นามานุกรมเครื่องจักสาน ศาสตราจารย์ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ๓,๐๐๐ เล่ม ๓๘๐ บาท

© สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด บรรณาธิการเล่ม ภาพ ออกแบบปก/รูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลท พิมพ์ที่

อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ศาสตราจารย์ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ชาญศักดิ์ สุขประชา ธนา วาสิกศิริ เอ็นอาร์ฟิล์ม  โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๖๙๙-๑๖๐๐-๖

บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ)  โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓

จัดจ�ำหน่าย

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. นามานุกรมเครือ่ งจักสาน.--กรุงเทพ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๓. ๓๖๘ หน้า.  ๑. เครื่องจักสาน--ท�ำเนียบนาม. I. ชื่อเรื่อง. ๗๔๖.๔๑๒๐๒๕ ISBN 978-974-7385-45-8

ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด)  ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้าน พานถม เขตพระนคร กรุ ง เทพฯ ๑๐๒๐๐  โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อั ต โนมั ติ )   โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓  ทีป่ รึกษา ศรีศกั ร วัลลิโภดม  ธิดา สาระยา  เสนอ นิลเดช  พิชยั  วาศนาส่ง สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์  ผู้อ�ำนวยการ สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์ จ�ำนงค์ ศรีนวล  ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ ปฏิมา หนูไชยะ  บรรณาธิการ ส�ำนักพิมพ์ อภิวันทน์  อดุลยพิเชฏฐ์  ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง

0-25.indd 2

8/2/2010 16:31


วิบูลย์ ลี้สุวรรณ

3

สารบัญ ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์  จากผู้เขียน  บทน�ำ  อักษร ก  อักษร ข  อักษร ค  อักษร ง  อักษร จ  อักษร ฉ  อักษร ช  อักษร ซ  อักษร ฌ  อักษร ฐ  อักษร ด  อักษร ต  อักษร ถ  อักษร ท  อักษร ธ  อักษร น  อักษร บ  อักษร ป  อักษร ผ  อักษร ฝ  อักษร พ  อักษร ฟ  อักษร ภ  อักษร ม  อักษร ย  อักษร ร  อักษร ล  อักษร ว  อักษร ส  อักษร ห  อักษร อ  อักษร ฮ  บรรณานุกรม

0-25.indd 3

๔ ๕ ๖ ๒๖ ๑๑๔ ๑๓๖ ๑๕๙ ๑๖๕ ๑๗๔ ๑๗๖ ๑๘๙ ๒๐๗ ๒๐๙ ๒๑๐ ๒๑๒ ๒๔๒ ๒๔๔ ๒๔๖ ๒๔๗ ๒๕๑ ๒๕๙ ๒๗๑ ๒๗๕ ๒๗๙ ๒๘๓ ๒๘๔ ๒๘๕ ๒๘๘ ๒๙๐ ๒๙๔ ๓๑๒ ๓๑๔ ๓๓๘ ๓๕๗ ๓๖๖ ๓๖๗

8/2/2010 16:31


6

นามานุกรม  เครื่องจักสาน

บทน�ำ งานศิลปหัตถกรรมฝีมือคนไทยมีมากมายหลายประเภท เครื่องจักสานเป็นศิลปหัตถกรรมประเภทหนึ่งที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน เพราะชาวบ้าน สามารถท�ำได้เอง โดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ทั่วไป เช่น ไม้ไผ่ หวาย ใบลาน กระจูด มาแปรรูปแล้วสานเป็นภาชนะเครื่องใช้ เช่น ตะกร้า กระจาด กระบุง ตะแกรง กระชอน  สิ่งเหล่านี้มีรูปแบบและวิธีการแตกต่างกันไปตามสภาพการใช้สอย สิ่งส�ำคัญที่ควรค่าแก่การศึกษาคือ ภูมิปัญญาที่มองไม่เห็นหรือมรดกวัฒนธรรม ที่ จั บ ต้ อ งไม่ ไ ด้ (Intangible Cultural Heritage) ซึ่ ง แฝงไว้ ด ้ ว ยภู มิ ป ั ญ ญา ที่แยบยลตั้งแต่การสร้างรูปทรง ลวดลาย และการเลือกสรรวัตถุดิบ  นอกจากนี้ เครื่องจักสานยังเป็นวัตถุวัฒนธรรมที่บ่งบอกวิถีชีวิต ชาติพันธุ์ของผู้ผลิต ผู้ใช้ ได้เป็นอย่างดี เครือ่ งจักสาน เป็นค�ำทีบ่ ง่ บอกกลวิธกี ารท�ำอยู่ในตัวคือ  หมายถึงภาชนะ เครือ่ งใช้ทที่ ำ� ขึน้ ด้วยวิธ ี จัก และสาน จึงเรียกรวมกันว่า จักสาน ภาชนะเครือ่ งใช้ ที่ท�ำด้วยวิธีดังกล่าวเรียก เครื่องจักสาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ อธิบายค�ำว่า เครื่อง  จักสาน และกลวิธีต่าง ๆ ว่า  “เครื่องจักสาน เครื่องใช้ที่ท�ำด้วยไม้ไผ่หรือหวาย” “จัก ก. เอาคมมีดผ่าไม้ไผ่หรือหวายให้แตกจากกันเป็นเส้นบาง ๆ” “จักตอก ก. เอามีดคม ๆ ผ่าไม้ไผ่ให้เป็นเส้นบาง ๆ ส�ำหรับผูกมัดหรือ  สานสิ่งต่าง ๆ” “สาน ก. อาการที่ใช้เส้นตอกท�ำด้วยไม้ไผ่ หวาย กก ใบลาน เป็นต้น  ขัดกันให้เป็นผืน เช่น เสื่อ หรือท�ำขึ้นเป็นวัตถุมีรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น กระบุง กระจาด” กลวิธีการท�ำเครื่องจักสานดังกล่าวเป็นกลวิธีพื้นฐาน ยังมีกลวิธีอื่น ๆ ประกอบอีก เช่น การถัก ผูก รัด มัด ร้อย โดยใช้วัตถุดิบแปรรูปเป็นเส้น เช่น ตอก หวาย เถาวัลย์ สอดขัด มัด ถัก ให้เครื่องจักสานคงทน คงรูปอยู่ได้ตาม ต้องการและมีความสวยงาม

ก�ำเนิดและวิวัฒนาการ

มนุษย์คิดท�ำเครื่องจักสานมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน เพราะเครือ่ งจักสานท�ำด้วยอินทรียวัตถุจงึ ย่อยสลายไปตามกาลเวลา  การสานยุค แรกอาจท�ำง่าย ๆ โดยใช้กิ่งไม้ เถาวัลย์ มาสานขัดกันเป็นรั้ว  น�ำใบไม้มาสานให้ เป็นผืนส�ำหรับบังแดดกันฝน  ก่อนทีจ่ ะสานเป็นภาชนะทีม่ รี ปู ทรงตามการใช้สอย หลักฐานเครือ่ งจักสานเก่าแก่ทสี่ ดุ  ท�ำขึน้ ในสมัยก่อนประวัตศิ าสตร์เมือ่ หลายพันปี มาแล้ว ดังได้พบร่องรอยของเครื่องจักสานบนภาชนะดินเผาในแหล่งโบราณคดี

0-25.indd 6

8/2/2010 16:31


วิบูลย์ ลี้สุวรรณ

7

สมัยก่อนประวัติศาสตร์บ้านเชียง อ�ำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นภาชนะ เล็ก ๆ ปากกลม ก้นสี่เหลี่ยม (ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร)  อีกใบหนึ่งเป็นภาชนะดินเผาทรงกระบอกเล็ก ๆ พบที่แหล่งโบราณคดีในจังหวัดลพบุรี (ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี)  ภาชนะดินเผาสมัยก่อน ประวัตศิ าสตร์ดงั กล่าว มีรอยสานบนผิวด้านนอก แสดงว่าการท�ำภาชนะดินเผานัน้ ใช้ดนิ เหนียวยาไล้ลงไปในแม่แบบ (pressing in to mould) คือภาชนะจักสาน เมือ่ ดินแข็งและแห้งแล้วจึงน�ำไปเผา ไฟจะไหม้ภาชนะจักสานที่เป็นแม่แบบเหลือแต่ ดินเผาที่มีรูปร่างเช่นเดียวกับแม่แบบและปรากฏรอยสานบนผิวภาชนะดินเผา

ภาชนะดินเผาก่อนประวัติศาสตร์บ้านเชียง อ�ำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

ภาชนะดินเผาดังกล่าวเป็นหลักฐานส�ำคัญที่อาจสันนิษฐานได้ว่า มนุษย์  สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยรู้จักท�ำเครื่องจักสานก่อนการท�ำเครื่องปั้น  ดินเผา และการท�ำภาชนะดินเผายุคแรก อาจท�ำโดยการใช้ดินเหนียวยาไล้ลงใน แม่แบบก่อนการท�ำภาชนะดินเผาด้วยการใช้หนิ ดุรองภายในแล้วใช้ไม้แบน ๆ ตีให้ ได้รูปทรงตามต้องการ แม่แบบที่น�ำมาท�ำเครื่องปั้นดินเผายุคแรกอาจใช้เปลือก ผลไม้ เช่น เปลือกน�้ำเต้าหรือเปลือกผลไม้เปลือกแข็งชนิดอื่น แต่การท�ำภาชนะ ดินเผาวิธีนี้จะได้ภาชนะที่มีรูปทรงจ�ำกัดตามเปลือกผลไม้ที่น�ำมาเป็นแม่แบบ เท่านัน้   การใช้ภาชนะจักสานเป็นแม่แบบช่วยให้ได้ภาชนะดินเผาทีม่ รี ปู ร่างหลาก หลายมากขึน้   นอกจากนีร้ อ่ งรอยของเครือ่ งจักสานทีป่ รากฏบนผิวภาชนะดินเผา ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่ามนุษย์กอ่ นประวัตศิ าสตร์ในประเทศไทยท�ำภาชนะจักสาน โดยใช้ไม้ไผ่หรือหวายมา “จัก” เป็นเส้นให้มขี นาดเหมาะกับการสาน ซึง่ เป็นกลวิธี ทีพ่ ฒ ั นาจากการใช้เถาวัลย์หรือหวายสาน  ลายทีป่ รากฏเป็นการสานทึบด้วยตอก ปื้นในแนวทแยงซึ่งเป็นลายพื้นฐานของการสานลายหนึ่ง

0-25.indd 7

8/2/2010 16:31


26

นามานุกรม  เครื่องจักสาน

กก

ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งขึ้นในที่มีน�้ำแฉะ  ล�ำต้นกลมสูง  มีหลายชนิด เช่น กกนา กกรังนก กกสามเหลี่ยม  กกใช้สานสาด หรือทอเสื่อ (ดู เสื่อ)

กงครอบน�้ำตาล

เครื่องสานไม้ไผ่ส�ำหรับครอบกระทะเคี่ยวน�้ำตาลโตนดหรือน�้ำตาลมะพร้าว เพื่อป้องกันฟองน�้ำตาลล้นออกนอกกระทะ กงครอบน�้ำตาลสานด้วยลายขัด เป็นรูปทรงกระบอก  สูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร  เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕๐ เซนติเมตร  ปากเข้าขอบด้วยไม้ไผ่  กงครอบน�้ำตาลมีใช้ในบริเวณ จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดราชบุร ี และจังหวัดเพชรบุรี

กงครอบน�้ำตาล อ�ำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม (ภาพ พ.ศ. ๒๕๔๐)

ก้นเข่ง

ลายขัดหรือลายสองที่สานเป็นส่วนก้นเข่งก่อนที่จะงอขึ้นเป็นตัวเข่ง  ขนาด ของตอกและช่องว่างระหว่างลายขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบของเข่ง

ก้นหอย

ลายที่สานเวียนจากจุดศูนย์กลางกระจายออกโดยรอบ  มักสานเป็นส่วนก้น ภาชนะหรือฝาภาชนะจักสาน เช่น เข่ง กระทอ

กบาล๑

ภาชนะท�ำด้วยกาบกล้วยหรือสานด้วยตอกเป็นรูปกระบะ ใช้ใส่กระทงเครื่อง เซ่นผีและตุ๊กตาดินเหนียวหรือตุ๊กตาเสียกบาล เพื่อน�ำไปวางทิ้งไว้ที่ทางสาม แพร่งหรือปล่อยลอยน�้ำไปเพื่อสะเดาะเคราะห์

26-113 �.indd 26

8/2/2010 16:32


วิบูลย์ ลี้สุวรรณ

กบาล๒

ภาชนะสานด้วยตอก  ลักษณะคล้ายจาน  ปากกลม  ก้นสอบ  สานทึบทัง้ ใบ ปากเข้าขอบด้วยไม้ไผ่ ผูกด้วยหวาย  เส้นผ่าศูนย์กลางปากประมาณ ๒๖ เซนติเมตร สูง ๗ เซนติเมตร  โบราณใช้ใส่ขา้ วต่างจานหรือชาม

27

กบาล ชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า ดอยแม่สลอง อ�ำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เส้นผ่าศูนย์กลางปาก ๒๖.๕ เซนติเมตร สูง ๗ เซนติเมตร (ภาพ พ.ศ. ๒๕๔๘)

กรง

ทีส่ ำ� หรับขังสัตว์ เช่น นก ไก่ มักท�ำเป็นซี ่ ๆ ประกอบกันเป็นกล่องสี่เหลี่ยม

กรงนก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาพ พ.ศ. ๒๕๓๑)

26-113 �.indd 27

8/2/2010 16:32


136

นามานุกรม  เครื่องจักสาน

ครกข้าวโพด

ครกยี

ครุ

เครื่องมือส�ำหรับต�ำข้าวโพดเช่นเดียวกับครก  ท�ำด้วยล�ำไม้ไผ่ประมาณสาม ปล้อง  เกรียกเป็นซี ่ๆ เหลือข้อปล้องสุดท้ายไว้  ถ่างซี่ไม้ไผ่ให้กางออก คล้าย ฝาชีหงาย ใช้ตอกผิวขนาดใหญ่สานเวียนให้ได้รปู  แล้วหงายให้ปลายล�ำไม้ไผ่ ตั้งขึ้นที่เหลือฝังดิน  ครกชนิดนี้ใช้ต�ำข้าวโพดแป้งหรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ เมล็ดหลุดจากฝัก เมื่อใช้เสร็จมักทิ้งไว้ในไร่ (ถิ่น-ใต้)  เครื่องสีข้าวเปลือกให้เป็นข้าวกล้อง (ดู เครื่องสีข้าว)

ภาชนะส�ำหรับตักน�้ำ  สานด้วยไม้ไผ่  ยาด้วยชัน  รูปร่างเป็นทรงกระบอก หรือมะนาวตัด  ปากคุ้มเข้าก้นสอบ  มีหูส�ำหรับหิ้ว หาบ หรือผูกเชือกสาว ขึน้ จากบ่อน�ำ  ้ ก้นครุอาจท�ำเป็นฐานกากบาทด้วยไม้จริงเพือ่ ให้ครุตงั้ ได้มนั่ คง  “ครุ เปนชือ่ เครือ่ งตักน�ำ้  สานด้วยไม้ยาชัน คล้าย ๆ ถัง” (อักขราภิธานศรับท์, ๒๔๑๖ : ๑๐๗)

ครุตักน�ำ้ ภาคกลาง สานด้วยตอกยาชัน ปากกว้างxยาว ประมาณ ๑๒x๒๗ เซนติเมตร  สูงประมาณ ๒๕ เซนติเมตร (ภาพ พ.ศ. ๒๔๓๔)

114-206 �-� new.indd 136

8/2/2010 16:33


วิบูลย์ ลี้สุวรรณ

ครุเป็นภาชนะส�ำหรับตักน�้ำจากบ่อน�้ำเช่นเดียวกับ โคล่ หมาจาก หมาหลาวโอน ของภาคใต้  คุใช้ตักน�้ำหรือหาบน�้ำไปใส่หม้อน�้ำหรือรดผัก ภาคเหนือและภาคอีสานท้องถิ่นเรียก คุ หรือ น�ำ้ คุ

ครุบ

(ถิ่น-เหนือ)  เครื่องมือดักสัตว์เล็ก เช่น นก ไก่  สานด้วยตอกเป็นตาโปร่ง คล้ายฝาชีสามเหลี่ยม ขนาดประมาณด้านละ ๔๐ เซนติเมตร  ฐานใช้ไม้ไผ่ เข้าขอบให้แข็งแรง ดักในที่โล่ง หาไม้ง่ามตอกตรึงสองมุม ใช้เชือกเล็ก ๆ ผูกโยงยอดครุบ แล้วดึงให้ปากครุบเผยอขึ้นพอให้สัตว์เข้าได้ ปลายเชือก เกี่ยวกับปิ่นที่ขัดไว้กับส่วนใดส่วนหนึ่งของครุ หาก้อนหินผูกถ่วงปากครุ  ใช้ ข้าวโพด ถั่ว โปรยล่อไว้กับพื้นตรงกลางครุ เมื่อสัตว์เข้าไปกินแล้วสะดุดปิ่น หลุด ครุบจะครอบสัตว์ ไว้

คล้า

พรรณไม้ล้มลุกชนิดหนึ่งขึ้นชายน�้ำและในพรุ ล�ำต้นสูงประมาณ ๑-๒ เมตร ใบคล้ายข่า ผิวคล้ายหวาย  ชาวบ้านในภาคใต้มกั น�ำผิวมาใช้เป็นตอกส�ำหรับ ผูกมัด เย็บตับจาก สานเป็นเสื่อหรือสาด หรือสานเป็นภาชนะ  ภาคอีสาน ใช้สานเป็นกระสอบข้าว

คลุ้ม

พรรณไม้ลม้ ลุกชนิดหนึง่ สูงประมาณ ๑-๒ เมตร ล�ำต้นสีเขียวเข้มแตกแขนง ตอนปลาย ผิวแข็ง  ชาวบ้านในภาคใต้มักน�ำมาท�ำเครื่องจักสานเช่นเดียว กับไม้ไผ่ คล้า และหวาย  ชาวสวนต�ำบลท่าดี ต�ำบลก�ำโลน อ�ำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช  น�ำมาสานโตระส�ำหรับใส่หมากพลู

ควั่น

(ถิ่น-เหนือ)  เพดานห้องส�ำหรับเก็บสิ่งของ  ท�ำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก สานขัดกัน เป็นตาห่าง ๆ เป็นผืนใหญ่ ๆ วางบนคร่าวไม้จริงเหนือขือ่   ควัน่ กินเนือ้ ทีเ่ พียง ครึ่งเดียวของห้อง มักท�ำเหนือห้องโถงหรือเติ้น

ควมสุม

(ถิ่น-ใต้)  ส่วนหัวของสุ่มปลา ถักด้วยหวายเพื่อยึดให้หัวสุ่มกับซี่สุ่มเข้าด้วย กัน

114-206 �-� new.indd 137

137

8/2/2010 16:33


176

นามานุกรม  เครื่องจักสาน

ชงโลง

เครือ่ งวิดน�ำ้ โดยการโพงน�ำ้ จากทีห่ นึง่ ไปอีกทีห่ นึง่   สานด้วยไม้ไผ่หรือท�ำด้วย ไม้จริง  ทั้งสองชนิดมีรูปร่างคล้ายช้อน  หากเป็นชงโลงไม้ไผ่มักสานทึบ แล้วยาด้วยชันหรือทาน�ำ้ มันยางเพื่อไม่ให้นำ�้ รั่ว  แต่ถ้าเป็นชงโลงไม้ทำ� จาก เนื้ออ่อนแกะสลักให้มีรูปร่างคล้ายช้อนเช่นเดียวกัน  ชงโลงมีด้ามไม้ไผ่ ผูกติดอยู่กลางปากชงโลง  ด้ามชงโลงมีทั้งยาวและสั้น หากเป็นด้ามสั้นจะ ใช้วิดน�้ำโดยใช้มือข้างหนึ่งจับที่ปลายด้ามชงโลงค่อนไปข้างหน้า มืออีกข้าง หนึง่ จับด้ามโพงทีย่ นื่ พ้นออกไปจากตัวชงโลงเล็กน้อย แล้ววิดน�ำ้ โดยการแกว่ง ชงโลงจ้วงตักน�้ำแล้วสาดไปข้างหน้า  การวิดน�้ำลักษณะนี้ต้องใช้แรงมาก เพื่อโพงหรือสาดน�้ำจากแหล่งน�้ำไปยังร่องสวนหรือไร่นาที่ต้องการ  ชงโลง วิดน�้ำออกไปได้ไม่ไกล จึงเหมาะส�ำหรับวิดน�้ำออกจากแหล่งน�้ำเล็ก ๆ  ส่วน โพงชนิดด้ามยาว มีด้ามท�ำด้วยไม้ไผ่ยื่นออกไปจากตัวชงโลงประมาณ ๑๕๐

ชงโลงบริเวณภาคกลาง (ภาพ พ.ศ. ๒๕๔๖)

114-206 �-� new.indd 176

8/2/2010 16:33


วิบูลย์ ลี้สุวรรณ

177

เซนติเมตร เพือ่ ใช้เป็นทีจ่ บั   ชงโลงด้ามยาวใช้รดน�ำ้ ผักผลไม้โดยการโพงน�ำ้ จากร่องสวนขึ้นมารดผักหรือไม้ผลที่อยู่บนร่องสวนหรือใช้โพงน�ำ้ ออกจากที่ หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น โพงน�้ำเข้านาหรือโพงน�ำ้ ออกจากนาที่มีระดับพื้นที่ ใกล้เคียงกันหรืออาจมีเพียงคันนากัน้ อยูเ่ ท่านัน้   การวิดน�ำ้ ต้องใช้ลำ� ไม้ไผ่สาม อันปักลงดินทแยงกันสามจุด ภาคอีสานเรียก โชงโลง (คล้ายขากล้องถ่ายรูป tripod) แล้วรวบปลายมัดเข้าด้วยกัน  ใช้เชือกแขวนชงโลงให้ห้อยลงมาพอ โพงน�ำ้ สาดไปข้างหน้าได้สะดวก  การปักสามขาอาจปักคร่อมระหว่างแหล่งน�้ำ กับพื้นที่ซึ่งต้องการจะวิดน�ำ้ เข้า  อาจคร่อมระหว่างคันนาหรือคร่อมระหว่าง แหล่งน�ำ้ กับร่องสวน  การวิดน�ำ้ โดยใช้ชงโลงนีม้ กั วิดน�ำ้ จากทีห่ นึง่ ไปอีกทีห่ นึง่ ซึ่งมีระดับสูงกว่า เพื่อให้น�้ำไหลไปยังที่ซึ่งมีระดับต�่ำกว่า หรือวิดน�้ำข้ามจาก ทีห่ นึง่ ไปยังอีกทีห่ นึง่ ทีม่ รี ะดับใกล้เคียงกันก็ได้  ชงโลงใช้วดิ น�ำ้ ทีม่ ปี ริมาณน�ำ้ ไม่มากนัก หากมีน�้ำมากเกินก�ำลังคนมักใช้ระหัดวิดน�้ำแทน “ชงโลง, เปนชื่อของส�ำหรับวิดน�้ำท้องนา, ท�ำด้วยไม้, รูปคล้ายกับฅอ  เรือหมูตัดออกเปนสองท่อนนั้น.” (อักขราภิธานศรับท์, ๒๔๑๖ : ๑๗๕.) ชงโลง บางท้องถิ่นเรียก โชงโลง โพง หรือ คันโพง  ภาคอีสานเรียก กระโช้  ภาคเหนือเรียก ขะโจ๊  ภาคใต้เรียก โพง

ชฎา

เครื่องสวมหัวคล้ายมงกุฎ  สานด้วยใบตาลหรือเย็บด้วยใบลานหรือใบตาล ตกแต่งระบายสีให้สวยงาม  เด็กใช้สวมหัวเล่น

ชนาง๑

เครื่องดักปลา  สานด้วยตอกไม้ไผ่เป็นลายขัดเป็นแผงสี่เหลี่ยม  แล้วพับ มุมสองมุมของด้านยาวเข้าหากัน ท�ำให้มีรูปร่างคล้ายบุ้งกี๋  ชนางประเภทนี้

ชะนาง บ้านดงขวาง ต�ำบลดงขวาง อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครพนม (ภาพ พ.ศ. ๒๕๒๓)

114-206 �-� new.indd 177

8/2/2010 16:33


288

นามานุกรม  เครื่องจักสาน

ยก

กลวิธีการสานที่ยกเส้นตอกขึ้นเพื่อสอดตอกอีกเส้นหนึ่งเข้าไปขัด แล้ว กด หรือ ข่ม อีกเส้นหนึ่งลง ท�ำให้ตอกขัดกัน สานเป็นสิ่งต่าง ๆ ได้ตามต้องการ  ยก และ ข่ม เป็นการสานพืน้ ฐานทีเ่ รียกลายขัด  ต่อมาจึงพัฒนาไปสูก่ ารสาน  ลายต่าง ๆ เช่น ลายสอง ลายสาม ลายเฉลว

ยองข้าว

(ถิ่น-เหนือ)  ภาชนะส�ำหรับเก็บเมล็ดข้าวเปลือก  สานด้วยตอกเป็นทรง  กระบอก  ใช้ตอกผิวไม้ซางหรือไม้บง กว้างประมาณ ๓ เซนติเมตร  เอาตอก  ซังเป็นตอกยืนปักลงกับพืน้ ดินให้เป็นวงกลมตามขนาดทีต่ อ้ งการ แล้วใช้ตอก  ผิวสานจากก้นขึน้ มาจนถึงปาก เสร็จแล้วยกไปวางในต�ำแหน่งทีต่ อ้ งการ เช่น  บนหลองข้าว (ยุ้งข้าว) หรือใต้ถุนเรือน  น�ำขี้ตอกหรือฟางท�ำเป็นเสวียนขด  ปิดรอบก้น  น�ำขีว้ วั หรือขีค้ วายมาผสมกับดินทาให้ทวั่ ทัง้ ด้านนอกและด้านใน  เพือ่ ป้องกันไม่ให้เมล็ดข้าวเปลือกไหลออกตามช่องระหว่างเส้นตอก  อาจใช้  ตะแกรงหรือซังข้าวปิดปากแล้วยาด้วยขีว้ วั เพือ่ ป้องกันแมลง นก หนูกนิ ข้าว  ยองข้าวใช้เก็บเมล็ดข้าวที่มีปริมาณไม่มากนัก

ยอดสาด

(ถิ่น-ใต้)  เสื่อที่สานด้วยใบล�ำเจียกหรือปะหนันผืนบนสุดในจ�ำนวน ๑๒-๓๐  ผืน ทีเ่ จ้าบ่าวและเจ้าสาวช่วยกันสานส�ำหรับวางซ้อนกันเพือ่ ใช้ในพิธแี ต่งงาน  สาดผืนบนสุดจะตกแต่งให้สวยงามเป็นพิเศษ โดยติดกระจกสีและปักดิน้ ทอง  ที่มุมทั้งสี่ ขลิบขอบด้วยผ้าสี  ยอดสาดหรือสาดยอดใช้วางทับสาดที่สาน  ทั้งหมดคล้ายผ้าปูที่นอน  จ�ำนวนสาดขึ้นอยู่กับฐานะของบ่าวสาว

ย่างไก่

(ถิน่ -เหนือ)  เครือ่ งจับไก่บา้ น  สานด้วยตอกตาห่าง ๆ รูปร่างคล้ายจัน่  ด้าน

ย่างไก่หรือยางไก่ บริเวณอ�ำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา (ภาพ พ.ศ. ๒๕๓๐)

279-337 �-�.indd 288

8/2/2010 16:36


วิบูลย์ ลี้สุวรรณ

289

หน้าเข้าขอบ ที่ปิดสานทึบขนาดพอดีกับปากและมีเชือกส�ำหรับดึงให้ปิด  เมือ่ ไก่เข้าไปแล้ว  ย่างไก่ใช้เมือ่ ต้องการจับไก่เวลากลางวันแทนทีจ่ ะจับกลาง  คืน  การดักไก่ต้องใช้ข้าวเปลือกล่อให้ไก่เข้าไป

ย่านลิเพา

เฟินชนิดหนึ่ง (Lygodium flexuosum ในวงศ์ Schizaceae)  ล�ำต้นเป็นเถา  ใบเล็กยาว ริมใบหยัก ๆ  ขึน้ ในทีล่ มุ่ ดินปนทราย อากาศชืน้   ในประเทศไทย  มีมากในภาคใต้ ชาวบ้านเรียก ลิเพา  อาจมาจากภาษามลายูว่า ลิบู  ชาว  พื้นเมืองนราธิวาสเรียก ลิบู  บางถิ่นเรียก บองหยอง ย่านบองหยอง หญ้า ยายเภา ผิวย่านลิเพาน�ำมาจักเป็นเส้นใช้ท�ำเครื่องจักสานได้หลายชนิด เช่น  กล่อง กระเป๋าถือ ถาด เชี่ยนหมาก

เชี่ยนหมากย่านลิเพา จังหวัดนครศรีธรรมราช (ภาพ พ.ศ. ๒๕๓๒)

แยง

ใยแมลงมุม

279-337 �-�.indd 289

(ถิ่น-เหนือ)  เครื่องดักกบ  สานด้วยตอก  รูปร่างกลมรี  ด้านหัวเป็นทาง  เข้าคล้ายงาไซ  ด้านท้ายเป็นช่องเอากบออกมัดด้วยตอก  การดักกบด้วย  แยงต้องใช้หลาย ๆ อันดักไว้ตามแหล่งน�้ำ ในนาข้าว โดยใช้เหยื่อล่อ  กบ  จะถอยหลังเข้าไปกินเหยื่อแล้วออกไม่ได้

(ดู ลายใยแมลงมุม)

8/2/2010 16:36


294

นามานุกรม  เครื่องจักสาน

ลอบ

เครือ่ งดักปลาหรือกุง้   ท�ำด้วยไม้ไผ่เกรียกเป็นซีก่ ลม ๆ  กรองด้วยหวายตาม  โครง อาจเป็นทรงกระบอกหรือรูปร่างอื่น ๆ  ใช้ดักปลาหรือกุ้งที่ว่ายทวนน�้ำ “ลอบดักปลา, คือเครื่องส�ำหรับดักปลา, เขาท�ำด้วยซี่ไม้ไผ่ มีงาแซง ปลาออกไปไม่ได้นั้น.” (อักขราภิธานศรับท์, ๒๔๑๖ : ๖๔๙)

ลอบหรือไซดักกุ้ง บริเวณจังหวัดปัตตานี  เส้นผ่าศูนย์กลางปาก ๑๔ เซนติเมตร ยาว ๕๗ เซนติเมตร (สะสม พ.ศ. ๒๕๓๒)

ลอบตั้ง

(ถิ่น-อีสาน)  เครื่องดักปลาขนาดใหญ่  ใช้ไม้ไผ่เป็นโครง ถักด้วยหวายเป็น  ทรงกระบอกในแนวตั้ง  เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๗๐ เซนติเมตร สูง  ประมาณ ๒๕๐ เซนติเมตร  มีงาตลอดความสูง  มีล�ำไม้ไผ่เป็นขาสี่ขา  ส�ำหรับตั้งไม่ ให้ลอยหรือเคลื่อนที่ไปตามน�้ำ  การดักต้องหันงานตามทาง  น�้ำไหล เมื่อปลาว่ายทวนน�ำ้ ขึ้นมาจะเข้าไปติดลอบ  ลอบตัง้ ใช้ดกั ปลาหมู ปลารากกล้วยในแม่นำ�้ อูน แม่นำ�้ สงคราม จังหวัด  ล นครพนม

279-337 �-�.indd 294

8/2/2010 16:36


วิบูลย์ ลี้สุวรรณ

ลอบนอน

295

เครื่องจักสานส�ำหรับดักปลา  สานด้วยไม้ไผ่เหลาเป็นซี่เล็ก ๆ ถักติดกับ  โครงเป็นรูปทรงกระบอก  ปากมีงาสองชัน้ เป็นทางให้ปลาเข้า  ก้นมีทปี่ ดิ เปิด  การดั ก ลอบต้ อ งเอาลอบจมลงในน�้ ำ ให้ ป ากลอบชนกั บ เฝื อ กที่ เ จาะเป็ น  ช่องไว้ให้ปลาที่ว่ายทวนน�้ำเลาะผิวดินเข้าไปในลอบ  รูปทรงของลอบและ  ความถี่ห่างของซี่ลอบจะต่างกันไปตามประเภทของปลาที่ต้องการดัก

ลอบนอนบริเวณภาคกลาง  ปากกว้างประมาณ ๓๐ เซนติเมตร  ยาวประมาณ ๑๑๐ เซนติเมตร (ภาพ พ.ศ. ๒๕๒๓)

ลอบยืน  ลอบชนิดหนึ่ง  ท�ำด้วยไม้ไผ่เหลาเป็นซี่ ๆ  ถักติดกับโครงไม้ไผ่

ลอบยืนบริเวณลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยา สูงประมาณ ๑๗๐ เซนติเมตร (ภาพ พ.ศ. ๒๕๒๓)

279-337 �-�.indd 295

8/2/2010 16:36


338

นามานุกรม  เครื่องจักสาน

หกเหลี่ยมทึบ

หกเหลี่ยมแปลง

หญ้ายายเภา

หญุด

(ถิ่น-ใต้)  อีจู้นั่งได้  สานด้วยไม้ไผ่เป็นตาโปร่ง ๆ  รูปร่างสี่เหลี่ยมสูง มุม  มน  มีงาด้านข้าง  ใช้ดักปลาตามแหล่งน�ำ้

หนง๑

(ถิ่น-ใต้)  โครงไม้ที่ขดเป็นวงกลม  ใช้เป็นโครงเครื่องจักสาน เช่น โครงสุ่ม  ไซ

หนง๒

(ถิ่น-ใต้ ดู สุ่มหนง)

หมวก

เครื่องสวมศีรษะเพื่อกันแดดกันฝน  ท�ำด้วยวัสดุหลายชนิดและรูปร่างต่าง ๆ  กัน

(ดู ลายหกเหลี่ยมทึบ) (ดู ลายหกเหลี่ยมแปลง) (ดู ย่านลิเพา)

หมวกกุยโล้ย  (ดู กุยโล้ย) หมวกงอบ  (ดู งอบ)

338-368 �-�.indd 338

8/2/2010 16:38


วิบูลย์ ลี้สุวรรณ

หมวกกระจูด

339

(ถิ่น-ใต้)  เครื่องสวมศีรษะ สานด้วยต้นกระจูด รูปร่างคล้ายหมวกปีกกว้าง  ทั่วไป ตรงกลางนูนส�ำหรับสวมศีรษะ ขอบปีกพับเข้าแล้วเย็บด้วยด้าย

หมวกกระจูด เส้นผ่าศูนย์กลางปีก ๓๔ เซนติเมตร สูง ๒๓ เซนติเมตร (ภาพ พ.ศ. ๒๕๕๒)

หมวกชาวเขา

เครื่องสวมศีรษะป้องกันแดด กันฝน  สานด้วยตอกไม้ไผ่มีรูปร่างต่าง ๆ กัน  เช่น สานปีกกว้างคล้ายงอบ ตรงกลางสานนูนกลม รี หรือรูปกรวยตัด  ด้าน  ในไม่มีรังใช้สวมกับศีรษะโดยตรง  หมวกสานของชาวเขามีรูปร่างต่าง ๆ กัน  หมวกสานชาวเขาบางทีเรียก กุบ

หมวกสานชาวเขา  เส้นผ่าศูนย์กลางปากด้านรีประมาณ ๓๕ เซนติเมตร (ภาพ พ.ศ. ๒๕๒๓)

338-368 �-�.indd 339

8/2/2010 16:38


340

นามานุกรม  เครื่องจักสาน

หมวกตอกไป่

(ถิ่น-เหนือ)  หมวกส�ำหรับสวมไปท�ำไร่ท�ำนา  เป็นหมวกปีกกว้าง  สาน  ด้วยตอกไม้เฮี้ยเส้นบาง ๆ จ�ำนวนเจ็ดเส้น ถักเป็นเปียให้เป็นเส้นยาว ใช้  จักรเย็บติดกันเป็นรูปหมวก เริ่มจากตรงกลางแล้วแผ่ออกโดยรอบ ใช้ไม้  แม่แบบช่วยให้ได้รูปทรง รูปกรวยตัดแล้วแผ่ออกเป็นปีกซึ่งกว้างประมาณ  ๔๐-๔๕ เซนติเมตร  ขอบปีกกุ้นด้วยผ้าหรือพลาสติก  หมวกตอกไป่ บางถิ่นเรียก กุบตอกไป่

หมวกใบกะพ้อ

เครือ่ งสวมศีรษะ  ท�ำด้วยใบกะพ้อ  ใช้ใบกะพ้อเรียงเป็นรูปคล้ายฝาชี มีไม้ไผ่  เป็นโครง โดยใช้ด้านโคนใบเป็นด้านบน แล้วคลี่ใบแผ่ออกเป็นปีกหมวก ใช้  ตอกเย็บใบกะพ้อให้แนบกับโครง  หมวกใบกะพ้อท�ำอย่างง่าย ๆ เพื่อใช้งาน  ชั่วคราว

หมวกส�ำหรับสวมศีรษะกันแดดกันฝน เย็บด้วยใบจากเป็นรูปร่างต่าง ๆ เช่น  รูปร่างคล้ายหมวกกะโล่ และรูปร่างคล้ายกระทะคว�ำ่  ไม่มีปีก  หมวกใบจาก  ท�ำกันมากบริเวณอ�ำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด

หมวกใบจาก

หมวกใบจากบริเวณอ�ำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด (ภาพ พ.ศ. ๒๕๔๘)

หมวกใบตาล

338-368 �-�.indd 340

หมวกส�ำหรับสวมศีรษะ  รูปร่างคล้ายหมวกกะโล่ แต่ท�ำด้วยไม้ไผ่สาน  ลายตาชะลอมเป็นโครง กรุด้วยใบลานและเย็บติดกับโครง  มีขอบปีกและ  กระหม่อม  หมวกใบลานที่นิยมท�ำกันมี ๒ ชนิดคือ ชนิดปีกหน้าและหลัง  เท่ากัน และชนิดปีกหลังยาวกว่าด้านหน้า  หมวกชนิดนี้เคยเป็นที่นิยมของ  คนถีบสามล้อ จึงมักเรียก หมวกสามล้อ

8/2/2010 16:38


วิบูลย์ ลี้สุวรรณ

341

หมวกปอแก้ว

(ถิน่ -ใต้)  หมวกพืน้ บ้านต�ำบลพุมเรียง อ�ำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ท�ำ  ด้วยปอแก้ว เป็นหมวกทรงสูง  ตกแต่งขอบด้วยผ้าสี สลับลายรอบขอบหมวก

หมวกพุมเรียง

(ถิ่น-ใต้)  หมวกส�ำหรับสวมศีรษะกันแดดกันฝน  สานด้วยใบลาน ใบตาล  โดยน�ำมาสานเป็นเส้นแล้วเย็บเป็นหมวกปีกกว้าง

หมวกรานี

(ถิน่ -ใต้)  หมวกส�ำหรับสตรี บ้านพุมเรียง อ�ำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ท�ำด้วยปอแก้ว  เป็นหมวกทรงสูง  หน้าหมวกประดับด้วยดอกไม้

หมวกหกเหลี่ยม

(ถิ่น-ใต้)  เครื่องสวมศีรษะป้องกันแดดกันฝน  สานด้วยใบล�ำเจียก  รูปร่าง  คล้ายหมวกกุยโล้ย แต่ปกี เป็นหกเหลีย่ ม  ด้านในยึดด้วยหวายทีข่ ดเป็นวงและ  มีรงั ส�ำหรับสวมศีรษะ  หมวกชนิดนีน้ ยิ มใช้ในหมูช่ าวนา ชาวประมง และชาว  เหมืองในบริเวณอ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

(ถิน่ -ใต้)  หมวกส�ำหรับสวมศีรษะ  สานด้วยโครงไม้ไผ่ กรุดว้ ยหญ้าคา  ส่วน  ที่ครอบศีรษะใช้กาบหมากโค้งเป็นวงกลม เย็บติดกับโครง

หมวกหญ้าคา

หมวกไห่หน�่ำโล้ย

(ดู ไห่หน�่ำโล้ย)

หมวง

(ถิ่น-อีสาน ดู ข้อง)

หมอนสาน

เครื่องหนุนศีรษะชนิดหนึ่ง  ใช้หวายที่จักเป็นเส้นเล็ก รูปทรงกระบอกแบน ๆ  ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑๐ เซนติเมตร  สานด้วยลาย  โปร่งขนาดเล็ก  หัวท้ายสานทึบ  ใช้เป็นหมอนหนุนนอนเล่นชั่วคราว

หมอนสาน  ยาว ๓๒ เซนติเมตร กว้าง ๒๐ เซนติเมตร สูง ๙ เซนติเมตร (สะสม พ.ศ. ๒๕๕๐)

338-368 �-�.indd 341

8/2/2010 16:38



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.