ย่ำต๊อกทั่วกรุงเทพฯ (ฉบับปรุงปรุง)

Page 1

ทั่วกรุงเทพฯ ทั่วกรุงเทพฯ

เดินย่ำ� ชมเมืองกรุงเทพฯ ในอดีต ไปกับ น. ณ ปากน้ำ� นำ�พาผู้อ่านชมวัด ชมตึก ชมย่าน ที่นา่ สนใจในสายตาของ ศิลปินแห่งชาติ

น. ณ ปากนํ้า

น. ณ ปากน้ำ�

สั่งซื้อออนไลน์ที่ หมวดประวัติศาสตร์ ราคา ๓๕๙ บาท ISBN 978-616-465-053-4 @sarakadeemag

ฉบับ ปรับปรุงใหม่


ISBN 978-616-465-053-4 หนังสือ ย่ำ�ต๊อกทั่วกรุงเทพฯ (ฉบับปรับปรุงใหม่) ผู้เขียน น. ณ ปากน้ำ� พิมพ์ครั้งที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๕ จำ�นวนพิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม ราคา ๓๕๙ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด บรรณาธิการเล่ม ภาพประกอบ ออกแบบปก/รูปเล่ม คอมพิวเตอร์ ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลต พิมพ์ที่ จัดพิมพ์โดย จัดจำ�หน่าย

อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ น. ณ ปากน้ำ� สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ สำ�นักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ นัทธินี สังข์สุข วัลลภา สะบู่ม่วง ธนา วาสิกศิริ เอ็น. อาร์. ฟิล์ม โทร. ๐ ๒๒๑๕ ๗๕๕๙ โรงพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ โทร. ๐ ๒๔๓๓ ๗๗๐๔ สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน้ำ�) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ น. ณ ปากน้ำ�. ย่ำ�ต๊อกทั่วกรุงเทพฯ. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๕. ๒๐๐ หน้า ๑. กรุงเทพฯ - - ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว. ๒. กรุงเทพฯ - - ประวัติศาสตร์. I. ชื่อเรื่อง. ๙๑๕.๙๓๐๔ ISBN 978-616-465-053-4 สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน้ำ�) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช ผู้อำ�นวยการ สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำ�นวยการฝ่ายศิลป์ จำ�นงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด/ประชาสัมพันธ์ กฤตนัดตา หนูไชยะ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง

2


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์

ในราว พ.ศ. ๒๕๓๑ อาจารย์ประยูร อุลชุ าฎะ หรือ น. ณ ปากน้�ำ ได้ เริม่ เขียนต้นฉบับ “ย่�ำ ต๊อกทัว่ กรุงเทพฯ” ซึง่ เมือ่ ครัง้ ทีส่ �ำ นักพิมพ์เมืองโบราณ จัดพิมพ์ผลงานนี้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔ จำ�ได้ว่าต้นฉบับที่ได้รับมาเป็น ลายมือเขียนของอาจารย์ที่เขียนต่อเนื่องจากต้นจนจบ โดยไม่มีหัวข้อ ไม่มี สารบัญ หากได้อา่ นเนือ้ หาจะเห็นว่าเป็นงานทีอ่ าจารย์เขียนในทำ�นองเล่าเรือ่ ง จากความทรงจำ�ที่มีต่อกรุงเทพฯ ทั้งความทรงจำ�จากการอ่าน จากที่รับฟังมา เกี่ยวกับอดีตของเมืองหลวงแห่งนี้ และจากประสบการณ์ของอาจารย์ที่ ใช้ ชีวิตผูกพันกับกรุงเทพฯ มาตั้งแต่เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่ง เป็นเวลามากกว่า ๗๐ ปีมาแล้ว การเล่าถึงอดีตกรุงเทพฯ อาจารย์ ใช้วิธี การพาเราย่ำ�ต๊อกตามถนน โดยอาจารย์ ได้กำ�หนดเส้นทางคร่าวๆ ทั้งในพื้นที่ กรุงเทพฯ และฝัง่ ธนบุรี ไปเดินดูอาคารเก่าริมถนน ชมวัดเก่าต่างๆ ในแต่ละ พื้นที่ โดยอาจารย์จะให้ความรู้ด้านศิลปะไทย สิ่งไหนมีความพิเศษที่น่าชมอัน เป็นความงามในสายตาของอาจารย์ รวมไปถึงสิ่งที่อาจารย์สนใจ เช่น ดนตรี ผลงานของสถาปนิกคนสำ�คัญของไทย เป็นต้น เสริมด้วยทัศนะของอาจารย์ ต่อบางเรือ่ งบางสิง่ ทีท่ ่านได้พบในขณะนัน้ และเห็นว่าควรปรับปรุงให้เหมาะสม ซึ่งหลายสิ่งหลายเรื่องก็ไม่ปรากฏแล้วในปัจจุบัน ย่�ำ ต๊อกทัว่ กรุงเทพฯ เล่มนีจ้ งึ นับว่าเป็นการบันทึกประวัตศิ าสตร์สงั คม เมืองกรุงเทพฯ ในอีกมุมมอง

3


พ.ศ. ๒๕๖๕ อันเป็นปีท่กี รุงเทพฯ ได้รับการสถาปนาเป็นเมืองหลวง ของประเทศไทยมา ๒๔๐ ปี สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณจึงเห็นควรว่าน่าจะนำ� ย่ำ�ต๊อกทั่วกรุงเทพฯ มาตีพิมพ์อีกครั้ง เพื่อให้นักอ่านรุ่นใหม่ๆ ได้อา่ นหนังสือ เล่มนี้ ในการพิมพ์ครั้งนี้ได้ปรับปรุงใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของภาพ ประกอบที่เน้นการหาภาพจากศูนย์ข้อมูลเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ หรือเดิมคือ ศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณเป็นหลัก เน้นเลือกชุดภาพขาวดำ�ที่บันทึกโดยอาจารย์ และคณะจัดทำ�วารสารเมืองโบราณยุคแรกเริ่มเมื่อประมาณ ๔๐ กว่าปีมาแล้ว เป็นภาพของวัดและสถานที่ต่างๆ จัดเป็นชุดภาพให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่ อาจารย์เขียนถึง เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นสภาพในอดีตที่ ใกล้เคียงกับช่วงเวลาที่ อาจารย์พบเห็นและเขียนผลงานเล่มนี้ ซึ่งหลายแห่งได้รับการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงให้สวยงามในปัจจุบัน แต่หลายแห่งก็สูญหายไปตามกาลเวลาและ พัฒนาการของเมือง หากท่านอ่าน ย่ำ�ต๊อกทั่วกรุงเทพฯ จบแล้วอยากให้ลองตามรอยเส้น ทางการย่ำ�เดินของอาจารย์ประยูร ท่านอาจได้เห็นสิ่งที่อาจารย์เล่าไว้ และอาจ พบมุมมองใหม่ที่มีต่อเมืองหลวงแห่งนี้...เป็นอีกประสบการณ์ชีวิตของท่าน สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

4


ในการเดินย่ำ�ต๊อกทั่วกรุงเทพมหานครนี้ มี สิ่งที่น่าตั้งข้อสังเกตว่าจะเริ่มตรงจุดไหนกันดี ด้วยกรุงเทพฯ นครหลวงของสยามประเทศนัน้ จุดความเจริญได้เปลี่ยนแปลงไปหลายครั้ง หลายคราว...

5


ในปีกอ่ นสงครามโลกครัง้ ที่ ๒ จุดความเจริญในย่านธุรกิจ

น่าจะอยู่แถบถนนเยาวราช มี โรงภาพยนตร์เทียนกัวเทียน โรงภาพยนตร์ เฉลิมบุรี โรงภาพยนตร์โอเดียน และโรงภาพยนตร์เยาวราชอยู่ในถนนสายนั้น ใกล้กบั ถนนเยาวราชคือ ถนนเจริญกรุง ก็มคี วามเจริญควบคูก่ นั ด้วยเป็นถนน ที่ขนานกัน สมัยนั้นหนทางมิได้เป็นทางวันเวย์อย่างสมัยนี้ รถราก็มีไม่มาก รถบนถนนคงมีรถเจ๊กที่ใช้คนลาก มีรถราง รถม้า ที่ลากรถบรรทุก หญ้าของแขกเลี้ยงวัวอันชุมนุมอยู่กันมากแถบคลองเตย รถจักรยานสองล้อมีมาก ... ถนนสุขุมวิทในช่วงก่อนสงครามมหาเอเชียบูรพาเล็กน้อย คงเป็น ถนนเล็กๆ ราดยางมะตอย ถนนแคบ สองข้างทางมีบ้านเรือนของผู้ดีมีเงิน ไปปลูกห่างกันเรียงรายออกไป โรงถ่ายหนังศรีกรุงที่ทันสมัยในยุคนั้นก็อยู่ ในทุ่งนาเหมือนชนบท ย้อนหลังไปก่อนหน้านี้ ๑๐ หรือ ๒๐ ปี (ต้นฉบับเขียนประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๑ - บ.ก.) พอเลยทางรถไฟสายช่องนนทรีออกไปแถวเพลินจิต ก็จะพบทุ่งนาโดยตลอด บางกะปิยังไม่มีบ้านเรือนของผู้ดีมีเงินไปอาศัยอยู่ แต่ความเจริญจะไปอยูแ่ ถบย่านบางรัก ถนนสีลม สีพ่ ระยา แม้กระนัน้ ห่างถนนออกไปคงเป็นเรือกสวนเสียส่วนใหญ่ ทุ่งมหาเมฆ ตรอกจันทน์ คงเหมือนบ้านนอก แวดล้อมไปด้วยสวน และชาวสวน มีบา้ นสมัยใหม่ปลูกอยู่บ้างไม่มากนัก ถนนเจริญกรุงจากบางรักไปไปรษณียก์ ลาง สีพ่ ระยา ไปจนถึงโอเดียน คงมีผู้คนไปชุมนุมกันมาก ตรงสี่พระยามี โรงน้ำ�แข็งนายเลิศ ตรงหน้า ไปรษณีย์กลางมีห้างฝรั่ง ห้างแขกมากมาย เช่นเดียวกับแถบสี่กั๊กพระยาศรี แถบถนนบำ�รุงเมือง ถนนราชดำ�เนิน มีห้างฝรั่งใหญ่ๆ อยู่มาก ยกตัวอย่าง เช่น กรมประชาสัมพันธ์ (เก่า) สมัยก่อนราวรัชกาลที่ ๖ เป็นห้างฝรั่งขาย เครื่องแต่งกายทันสมัย ที่กรมโยธาธิการข้างภูเขาทองเดิมก็เป็นห้างฝรั่ง เป็นที่รู้จักกันในสมัยราชาธิปไตย ต้องการปูพื้นความเจริญของเมืองบางกอกหรือกรุงเทพมหานคร

6


ด้วยการสเกตช์ภาพหยาบๆ ให้ดูเพียงเท่านี้ เพื่อเป็นแผนผังให้เห็นที่มาของ หนหลังพอสมควร

สมั ย หลั ง จาก ญี่ปุ่นแพ้สงครามเพียงเล็กน้อย ผู้คนใน

กรุงเทพฯ มีไม่มาก บ้านเมืองยับเยินด้วยถูกระเบิดจากเครือ่ งบินสัมพันธมิตร ที่ทยอยเข้ามาแบบปูพรม ผู้คนอพยพไปอยู่ต่างจังหวัด ดังนี้ที่สนามหลวง ใจกลางกรุงเทพฯ ในสมัยนั้นคงเปล่าเปลี่ยว มีหญ้าขึ้นกลางสนามสูงท่วมหัว นานๆ ทีจะมีคนเดินมาเที่ยว หมอดูโคนต้นมะขามคงมีบา้ งประปราย ทางทิศใต้ของสนามตรงนั้น มีส้วมสาธารณะรูปร่างเหมือนจานบินอวกาศตั้งอยู่ กระทรวงกลาโหมและหลักเมืองคงเงียบเหงา แพร่งภูธร แพร่งนรา ยังไม่มีร้านขายอาหารไปตั้งอยู่ คงสงบเงียบ ร้านอาหารพวกข้าวต้มกุ๊ยจะไป หาได้แถบบ้านหม้อ ข้างโรงไฟฟ้าวัดเลียบหน้าโรงเรียนเพาะช่าง และปากคลองตลาด ที่ตลาดท่าเตียนผู้คนคงพลุกพล่านด้วยเป็นตลาดท่าเรือเมล์ หลายสายจะขึ้นไปสู่ทิศเหนือ และเป็นตลาดข้ามฟากไปวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ท่าเรือข้ามฟากศิริราชกับท่าพระจันทร์ผู้คนไม่มากเหมือน เดี๋ยวนี้ คงคับคั่งที่ท่าเรือข้างธรรมศาสตร์ ไปสถานีรถไฟสายใต้ ท่ามหาราช ยังไม่เกิด ท่าเรือราชวงศ์กับท่าเรือจากวัดทองธรรมชาติข้ามมาวัดปทุมคงคา และท่าเรือสี่พระยาข้ามไปปากคลองสานคงคึกคักพอสมควร รวมทั้งท่าเรือ ปากคลองตลาดไปท่าวัดกัลยาณมิตรด้วย ถนนหนทางของกรุงเทพฯ ในสมัย พ.ศ. ๒๔๘๙ พอตกกลางคืน ไม่สสู้ ว่างไสวและไม่มผี คู้ น รถราไม่สะดวก พวกหนุม่ ๆ อาจจะเดินได้เต็มถนน สมัยนั้นข้างถนนมีก๊อกประปาสาธารณะติดตั้งอยู่ ใครหิวโซ ไม่มีเงิน จะอาศัยน้�ำ ประปาสาธารณะกินพอยังชีพไปได้ ผิดกับสมัยนีห้ ากินยาก อันทีจ่ ริง ต้นกล้วยที่ข้นึ ข้างรั้วบ้านคนยังคงมีพอจะเอื้อมมือไปปลิดมากินได้ถา้ หน้าหนา สักหน่อย สมัยนั้นกล้วยไม่มีราคาจึงเป็นสำ�นวนเรียกกันว่า “ของกล้วยๆ”

7


อาหารการกินในกรุงเทพฯ รุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ พอหากิน ได้ตามหาบเร่ที่ตั้งประจำ� แถบสนามหลวงด้านทิศใต้มีหนึ่งหาบ สมัยต่อมา มีเพิม่ เป็นสองหาบ ทีอ่ น่ื ๆ ก็พอมีเป็นหย่อมๆ ทีส่ �ำ คัญพอจะมีรา้ นข้าวต้มกุย๊ ซึ่งขายข้าวต้มกินกับกับข้าวราคาไม่แพง คนจนที่มีเงินน้อยก็อาจซื้อกินได้ จนอิ่ม ร้านหาบเร่ขายข้าวแกง ขนมจีนน้ำ�ยา ขายเต้าฮวย ขายสตูลิ้นวัว ขายข้าวผัด ยังพอหาได้ ร้านขายขนมหาบเร่ก็มีแต่นานๆ จึงจะเห็น มิใช่มี ยุ่บยั่บเหมือนสมัยนี้ กรุงเทพฯ เมื่อ ๓๐ กว่าปีมาแล้วยังคงแคบอยู่ เลยบางกระบือ เลย บางโพ เลยอนุสาวรีย์ชัยภูมิขึ้นไปทางเหนือ ไม่มีอะไร มีแต่สวนและท้องนา หลังวัดดอน ยานนาวา วัดสุทธิวราราม ออกไปทางทิศตะวันออกมีแต่เรือกสวน ต่อไปก็เป็นท้องนาเวิ้งว้างไปจนจรดสวนช่องนนทรี ฝั่งธนบุรีไม่ต้องพูดถึง คงคับคั่งอยู่แถววงเวียนเล็กกับวงเวียนใหญ่เท่านั้น จากหลังศิริราชออกไป เป็นเรือกสวนตลอดไปจนสามแยกไฟฉาย ไปจนถึงวัดเพลง วัดไชยทิศ ล้วนเป็นสวนแน่นขนัด เปล่าเปลี่ยวไม่มีผู้คน ถนนสายสำ�คัญต่างๆ ยังไม่มี มีเพียงถนนหลังวัดอรุณฯ ถนนเดียวเท่านั้น นอกนั้นมาตัดทีหลัง

เล่ า ถึ ง กรุ ง เทพฯ เมื่อ ๓๐-๕๐ ปีมาแล้วพอสังเขป

กรุงเทพฯ เริ่มมาเจริญขยายกว้างขวางเมื่อ ๒๐ ปีมานี้เอง โดยขยายจากเดิม ไปอีก ๓-๔ เท่าตัว พูดเช่นนี้ไม่เกินความจริง สมัยเมื่อ ๔๐ ปีมานั้น คลอง แถวถนนเพชรบุรกี บั คลองแสนแสบน้�ำ สะอาด กระโดดเล่นอย่างสบาย เดีย๋ วนี้ คลองสีลม คลองถนนเพชรบุรหี ายไป คลองเล็กคลองน้อยถูกถมเสียหมดแล้ว คลองย่านหน้าวัดหัวลำ�โพงจากคลองเตยมาชนคลองผดุงกรุงเกษมยังกว้างขวาง เรือใหญ่ๆ วิ่งสวนกันได้ คลองเหล่านี้หายไปหมดแล้ว การที่จะเล่าเรื่องที่ย่ำ�ต๊อกกรุงเทพฯ ควรปูพื้นฐานของกรุงเทพฯ เมื่ออดีต ๓๐-๔๐ ปี ให้ทราบเสียก่อน จะได้รู้แหล่งเจริญของกรุงเทพฯ เดิมอยู่ตรงไหน แล้วมาเปลี่ยนไปสู่จุดใดในระยะต่อมา สมัยที่นายบุศย์เขียน นิราศชมตลาดสำ�เพ็ง (เขียนในสมัยรัชกาล

8


ที่ ๖ - บ.ก.) แกเดินจากสำ�เพ็งไปออกสะพานหัน เลาะกำ�แพงเมืองไปจนถึง สะพานถ่าน ตอนนั้นยังมีวังเจ้านายอยู่ ไปไหนต่อไหนก็คงเห็นเลาๆ ว่า แหล่งสนุกคึกคักรุ่นนั้นก็คงอยู่แถวสำ�เพ็ง พาหุรัด และสามยอดที่มีโรงหวย รวมถึงถนนบำ�รุงเมือง นั่นคือกรุงเทพฯ ในยุคนั้น กรุงเทพฯ ในยุค พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็นสมัยสงคราม ญีป่ นุ่ บุกเข้ายึดครอง กรุงเทพฯ ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ในขณะที่ทางสวนลุมพินีกำ�ลัง เตรียมก่อสร้างร้านรวงเพื่อเตรียมงานฉลองรัฐธรรมนูญ ก็บังเอิญญี่ปุ่นขึ้น เสียก่อน ทุกอย่างจึงงดไป ญี่ปุ่นจึงเข้าไปยึดครองอยู่ ในสวนลุมฯ และอยู่ ตามที่ต่างๆ อีกหลายแห่งในกรุงเทพฯ ไม่กี่เดือนต่อมาก็เกิดน้ำ�ท่วมใหญ่ทั่ว กรุงเทพฯ เป็นการท่วมใหญ่เทียบเท่ากับน้ำ�ท่วมปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๖๐ สมัย รัชกาลที่ ๖ บ้านเมืองเกิดทุรยุค ข้าวยากหมากแพง เนื่องจากเป็นสมัยสงคราม ผ้าผ่อนไม่มสี ง่ มาจากต่างประเทศ จึงขาดแคลนไปทุกสิง่ ทุกอย่าง ถึงอย่างนัน้ ค่าของเงินบาทก็ยงั มีอยูห่ ากเทียบกับสมัยนี้ เพราะก๋วยเตีย๋ วสมัย พ.ศ. ๒๔๘๐ ชามละ ๒ หรือ ๓ สตางค์ ตกมา พ.ศ. ๒๔๘๕ ที่เรียกว่าปีน้ำ�ท่วมใหญ่ ก๋วยเตี๋ยวคงขายราคาเพียง ๕ สตางค์เท่านั้น เรียกว่าค่าของเงินไม่ตกเท่าไร สมัยทีก่ �ำ ลังเขียนเรือ่ งนีอ้ ยู่ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ก๋วยเตีย๋ วราคาชามละ ๑๐ บาท เป็นมาตรฐานทั่วไป สมัย พ.ศ. ๒๔๗๕ หรือ ๒๔๘๐ นั้น ข้าราชการเงินเดือนขั้นต่ำ�แค่ ๒๐ บาท สมัย พ.ศ. ๒๔๘๕ ข้าราชการชั้นตรีเงินเดือน ๘๐ บาท เดี๋ยวนี้ อย่าเอาไปเทียบกัน มันแตกต่างราวกับฟ้าและดิน

คนชาวชนบทสมัยก่อนมักจะถือสนามหลวงเป็นหลัก

โดยที่สนามหลวงเป็นสถานที่กว้างขวาง เห็นได้ชัดประการหนึ่ง อีก ประการหนึ่งรถเมล์สายต่างๆ ในสมัยเมื่อ ๒๐ กว่าปีมาแล้ว (นับจากปี ที่เขียนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ - บ.ก.) มักจะผ่านสนามหลวงทั้งสิ้น เมื่อสัญจร ไปไหนมาไหนหากหลงทางก็จะถือโอกาสย้อนกลับมาตั้งหลักที่สนามหลวง

9


เสมอ ประการสำ�คัญที่สุดคือ สนามหลวงอยู่ ใกล้กับวังหลวงคือพระบรม มหาราชวัง จากท่าพระจันทร์ที่อยู่ ใกล้สนามหลวงทางทิศตะวันตกข้ามฟาก ไปโรงพยาบาลศิริราช ไปฝั่งธนบุรี และไปสถานีรถไฟบางกอกน้อย ทาง ทิศใต้สนามหลวงมีวัดพระแก้ว วัดโพธิ์ มีวังสราญรมย์ ถัดไปก็เป็นปากคลองตลาด ทางทิศใต้ค่อนมาทางตะวันออกนิดหน่อยจากวัดโพธิ์ ผ่าน วังสราญรมย์ ตรงไปโรงหนังเฉลิมกรุง จากเฉลิมกรุงเลี้ยวขวาก็ไปพาหุรัดได้ หลังเฉลิมกรุงเดินมุ่งไปตะวันออกจะไปทะลุออกศูนย์ก ารค้าวังบูรพา มี โรงภาพยนตร์ตา่ งๆ ตรงไปก็ไปเยาวราชและสำ�เพ็ง จากหน้าวัดพระแก้ว ข้างกระทรวงกลาโหมตรงทีข่ นาบถนน ข้างขวา เป็นวังสราญรมย์ ตรงไปก็จะเป็นถนนเฟื่องนคร ไปเสาชิงช้า วัดสุทัศนเทพวราราม ตรงไปอีกไปถึงภูเขาทอง วัดสระเกศ จากหน้าศาลหลักเมืองข้างกระทรวงกลาโหมตรงไปแพร่งภูธร แพร่งนรา และไปเสาชิงช้าได้เช่นกัน จากทิศเหนือ ข้างสะพานใหญ่คือสะพานผ่านพิภ พลีลา ขวามือคือ โรงแรมรัตนโกสินทร์ (เดี๋ยวนี้เรียกโรงแรมรอยัลรัตนโกสินทร์) ซ้ายมือเคย เป็นที่ตั้งของกรมประชาสัมพันธ์เก่า (สมัยก่อนเรียกกรมโฆษณาการ) ตรงไป เป็นถนนราชดำ�เนิน จะผ่านอนุสาวรียป์ ระชาธิปไตย ผ่านโรงหนังศาลาเฉลิมไทย ที่เคยบังโลหะปราสาทวัดราชนัดดา ข้ามสะพานผ่านฟ้าลีลาศไปเชิงสะพาน ขวามือเป็นกรมโยธาธิการ ตรงถนนราชดำ�เนินนอกออกไปมีตน้ ไม้สองข้างทาง จะผ่านกระทรวงต่างๆ ซึ่งจะเล่าทีหลัง ทางขวามือผ่านการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย สนามมวยราชดำ�เนิน ส่วนทางซ้ายมือคือโรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้าเก่า เลยไปก็เป็นศาลาสันติธรรมอยู่เชิงสะพานมัฆวาฬรังสรรค์ ข้ามสะพานไปซ้ายมือคือกระทรวงศึกษาธิการ แต่สมัยรัชกาลที่ ๕ คือวังจันทรเกษม ตรงข้ามคือ ร.พัน ๑ ตรงไปอีกคือพระบรมรูปทรงม้า ด้านหลังคือพระที่นั่งอนันตสมาคม ถนนไปสุดตรงนั้น เมื่อเรายืนอยู่หน้าพระที่นั่งแบบตะวันตกอันมีโดมสร้างด้วยหินอ่อน แบบยุโรปนี้ ซ้ายมือจะเป็นสวนอัมพร ขวามือคือสวนสัตว์ดุสิต สถานที่ แห่งเดียวกับที่สมัยก่อนเรียกว่า เขาดินวนา (ปัจจุบันสวนสัตว์ดุสิตได้ย้ายไป

10


ที่คลอง ๖ ปทุมธานีแล้ว - บ.ก. หลังพระที่นั่งอนันตสมาคมเคยเป็นรัฐสภา ก่อนจะถึงพระบรมรูป ทรงม้าจะมีถนนตัด ถนนสายนี้เมื่อเราหันหน้าสู่พระบรมรูปทรงม้า ขวามือ จะตรงไปวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามและตรงไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ส่วนทางแยกซ้ายมือ หัวมุมคือวังปารุสกวัน ตรงไปจะถึงเทเวศร์

ย้อนกลับไปสนามหลวงอีกครัง้ เมือ่ ข้ามสะพานผ่านพิภพลีลา

ด้านซ้ายมือเคยเป็นที่ตั้งกรมประชาสัมพันธ์เก่า ถนนหลังกรมประชาสัมพันธ์ จะตรงไปบางลำ�พู ตรงไปเทเวศร์ ไปหอสมุดแห่งชาติ ไปศรียา่ น และบางกระบือ จากสนามหลวง ถ้าเลาะพระบรมมหาราชวังไปตามถนนหน้าประตู วิเศษไชยศรีถงึ แม่น�ำ้ เจ้าพระยา แยกขวามือตรงหัวมุมคือมหาวิทยาลัยศิลปากร ตรงไปทางด้านขวามือคือวัดมหาธาตุ ซ้ ายมือคือท่ ามหาราช (ลงเรือไป บางกอกน้อย ไปท่ารถไฟสายใต้ ได้) ตรงท่าพระจันทร์สดุ ถนนคือมหาวิทยาลั ยธรรมศาสตร์ กลับไปถนนหน้าพระลาน ตรงมุมพระบรมมหาราชวังด้านตรงข้าม มหาวิทยาลัยศิลปากร มีถนนเลียบแม่น้ำ�เจ้าพระยาตรงไป ผ่านท่าราชวรดิษฐ์ (ข้ามไปกองทัพเรือ) สุดกำ�แพงวัง ขวามือคือท่าเตียน ซ้ายมือคือวัดโพธิ์ หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ตามถนนต่อไปจะผ่านโรงเรียนราชินี ผ่านโรงพักพระราชวัง ข้ามคลองคูเมืองชัน้ ใน (ชาวบ้านเรียกว่า คลองหลอด) ขวามือคือตลาดค้าผักและผลไม้ที่ ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เรียกว่า ปากคลองตลาด ตรงไปผ่านโรงภาพยนตร์เอมไพร์ (ปัจจุบันไม่มีแล้ว - บ.ก.) เลยไปหน่อยขวามือคือสะพานพระพุทธยอดฟ้า ซ้ายมือคือโรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัย ติดกับโรงเรียนสวนกุหลาบทางซ้ายมือคือ วิทยาลัยเพาะช่าง ซึ่ง อยู่ติดกับพาหุรัด หน้าโรงเรียนเพาะช่างคือตลาดพาหุรัด หน้าโรงเรียนสวนกุหลาบคือวัดราชบุรณะ (วัดเลียบ) ที่อยู่ติดกับโรง ไฟฟ้าวัดเลียบ

11


ข้ามสะพานพุทธไป เชิงสะพานขวามือคือวัดประยุรวง-

ศาวาสถึงวงเวียนเล็ก ติดกับวงเวียนเล็กคือวัดพิชัยญาติการาม ตรงข้ามวัด พิชยญาติการามวรวิหาร คือวัดอนงคารามวรวิหาร ถนนผ่ากลางสองวัดนี้จะ ตรงไปปากคลองสาน ส่วนถนนลงจากสะพานพุทธเรียก “ถนนประชาธิปก” เมื่อผ่าน วงเวียนเล็กจะตรงไปสีแ่ ยกบ้านแขก สีแ่ ยกบ้านแขกนีเ้ ลีย้ วขวาจะไปโรงเรียน บ้านสมเด็จ (โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา) ข้ามสะพานเจริญพาสน์ เชิงสะพานขวามือไปวัดหงส์รัตนาราม วัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) ส่วนซ้ายมือเชิงสะพาน มีตรอกข้างตลาดเจริญพาสน์ ไป วัดสังข์กระจายวรวิหาร ไปวัดพลับด้วยมีอยู่หลายทาง จากสะพานตรงต่อไป ผ่านวัดชิโนรสารามวรวิหาร แล้วก็ไปถึงสี่แยกพรานนก สี่แยกนี้เลี้ยวซ้ายไป สามแยกไฟฉาย วัดยางสามแยกไฟฉายที่มีเทพพนมฝรั่งสมัยพระเจ้าหลุยส์ บนหน้าบันก็ตั้งอยู่ตรงนั้น จากสี่แยกพรานนกถ้าเลี้ยวขวาก็ตรงไปศิริราช ย้อนไปสี่แยกบ้านแขก ถนนประชาธิปกตรงไปก็จะเป็นวงเวียนใหญ่ มีอนุสาวรียพ์ ระเจ้าตากสินมหาราชอยูต่ รงกลาง เลีย้ วขวาไปตลาดพลู ตรงไป ก็จะไปพระประแดง ซึ่งจะผ่านโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าก่อน ถ้า เลี้ยวซ้ายวงเวียนใหญ่ก็จะไปปากคลองตลาด เป็นอันจบแผนทีอ่ ย่างหยาบๆ ในการท่องกรุงเทพฯ สำ�หรับเป็นคูม่ อื ใช้ในการย่ำ�ต๊อกกรุงเทพฯ และใช้ในการเดินจริงๆ ไม่ต้องอาศัยพาหนะใดๆ

การย่ำ�ต๊อกกรุงเทพฯ โดยถือจุดเริ่มต้นที่สนามหลวงนี้

จะไปให้ทว่ั ในวันเดียวเห็นจะลำ�บาก นอกจากจะขับรถยนต์ตระเวนในเส้นทาง ที่บอกนี้ แต่ถ้าจะเที่ยวให้สนุก ได้ความรู้ความบันเทิงทางปัญญาก็จะต้อง เดินจริงๆ จะต้องผ่าน ต้องแวะดูตามสถานที่ต่างๆ นานพอสมควร ถ้าท่าน ทำ�ตามตำ�รับตำ�รานีก้ เ็ ห็นจะใช้เวลาหลายวัน และคงจะเทีย่ วจบเจนกรุงเทพฯ ดังปรารถนาเป็นแน่

12


ราเริ่มจุดแรกกันที่สนามหลวง

อันสนามหลวงนี้ แต่เริม่ สร้างกรุงเมือ่ พ.ศ. ๒๓๒๕ มิได้ใหญ่โตกว้างขวางเหมือน ปัจจุบนั คงเป็นสนามแคบๆ มีหลักฐานว่ากำ�แพงวังหน้าคือทีต่ ง้ั มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ปัจจุบันมีกำ�แพงยื่นมาทางทิศตะวันออก ครึ่งสนาม ปัจจุบันเป็น ที่ตั้งปืนใหญ่ด้วยมีป้อมตั้งอยู่ อีกส่วนหนึ่งของสนามหลวงทางทิศตะวันออก ยังคงเป็นอาคารอันรุงรังหลายอย่าง ล่วงมาสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อพระองค์ ได้ เสด็จประพาสอินเดียและได้ทอดพระเนตรเห็นสนามใหญ่มหึมาทีน่ ครกัลกัตตา ใกล้กับวิกตอเรียเมมโมเรียล ทรงจำ�มาจึงขยายสนามเดิมให้ใหญ่โตกว้างขวาง เท่าปัจจุบันนี้ โดยรื้อกำ�แพงวังหน้าทางทิศเหนือออก ขยายสนามออกไปทาง ทิศตะวันออกจึงกว้างขวางดังที่เห็นอยู่น้ี สนามที่กัลกัตตาข้าพเจ้าเคยเห็นมา จะว่าไปนั้นใหญ่กว่าสนามหลวงปัจจุบันหลายเท่า ของเขามีถนนตัดเป็นแฉก มีอนุสาวรียอ์ ยูต่ ามทีต่ า่ งๆ กว้างขวางใหญ่โตมโหฬารยิง่ นัก สนามหลวงของเรา แม้ขยายแล้วก็ยังเทียบเท่าไม่ ได้ สมัยทีเ่ ริม่ สร้างกรุงบางกอก เมือ่ ครัง้ สนามหลวงยังแคบๆ อยู่ในสมัย รัชกาลที่ ๑ เคยใช้เป็นที่เล่นโขนกลางแปลงรบกันระหว่างวังหลวงกับวังหน้า กองทัพฝ่ายพระรามยกออกจากประตูวังหลวงจริงๆ ส่วนกองทัพยักษ์ของ วังหน้าก็ออกจากประตูวังของวังหน้า ซึ่งสมัยนั้นยังอยู่กลางสนามหลวง เป็น เรื่องพิสดารพันลึก ในรั ชกาลหลังๆ ใช้ เ ป็ น ที่ ตั้ ง พระเมรุ มาศเจ้ า นายที่ ส วรรคตและ สิ้นพระชนม์แทบทุกรัชกาล จึงเรียกว่า “ทุ่งพระเมรุ” มาจนบัดนี้ กำ�แพงเมืองบางกอกด้านติดแม่น้ำ�เจ้าพระยาแม้จะมีประตูวังก็เตี้ย เมื่อจะนำ�พระศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นพระสำ�ริดจากวัดมหาธาตุ สุโขทัย ล่องแพ ลงมาเพื่อจะประดิษฐานที่ ใจกลางบางกอก คือ พระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม จึงต้องรื้อกำ�แพงเมืองตรงท่าช้างวังหลวง (สถานที่นำ�ช้างลงไป อาบน้ำ�ในแม่น้ำ�ของวังหลวง) แล้วทำ�ตะเฆ่ชักลากหลวงพ่อโตขึ้นมาบนบก เข้าช่องกำ�แพงที่รื้อ หลวงพ่อโตนี้สูงใหญ่มาก ตะเฆ่ลากมาตามถนนหน้าพระลาน ผ่านวัง (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศิลปากร) จึงเรียก “วังท่าพระ” (วังนีต้ อ่ มาเป็นทีป่ ระทับของกรมหมืน่ เจษฎาบดินทร์ ซึง่ ต่อมาได้ขน้ึ ครองราชย์

13


สนามหลวงแต่เริ่มสร้างกรุง มิ ได้ใหญ่โตกว้างขวางเหมือนปัจจุบัน สมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ขยายสนามหลวงเดิม ให้กว้างขวางเท่าปัจจุบันนี้ ในภาพคือสนามหลวงประมาณ ๔๐ กว่าปีก่อน เมื่อครั้งที่ยังมีตลาดนัดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ก่อนจะย้ายไปที่จตุจักร

14


15


16


วัดพระแก้ว นอกจากประดิษฐาน พระแก้วมรกตคู่บา้ นคู่เมืองของไทย ยังเป็นที่เก็บพระไตรปิฏก ถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนนิยมเวียนเทียน และไปเดินประทักษิณที่พระระเบียง ดูภาพเขียนเรื่องรามเกียรติ์ เวียนขวาไปจนจบเรื่องโดยตลอด

17


เคยอ่านหนังสือเรื่องเก่าๆ ของเหม เวชกร เล่าถึงข้าง

ศาลาเฉลิมกรุงมีโรงกรองน้�ำ บาดาล เรียกว่า “สนามน้�ำ จืดกรุงเทพฯ” สมัยนัน้ ยังแคบอยู่ มีผู้คนมาซื้อน้ำ�หาบไปขายตามย่านต่างๆ ตกเย็นพวกเด็กๆ จะ ไปวิ่งเล่นที่สนามน้ำ�จืดกันเกรียว ตึกแถวเมื่อก่อนนั้นมีฝรั่ง แขก ญี่ปุ่น ชาวปาทาน คนต่างชาติมาตั้งห้างค้าขายกัน เด็กที่วิ่งเล่นจึงมีหลายภาษา เมื่อ ๕๐-๖๐ ปีมาแล้ว กรุงเทพฯ ยังเหมือนต่างจังหวัด ตรงหน้าเฉลิมกรุง ตอนเช้ามีกากตะเกียงแก๊สกองอยู่ข้างถนน ผู้คนก็ ไปมุงดูแล้วก็วิจารณ์ว่า พวกผู้ลากมากดีขับรถยนต์มาจอดตรงนั้น แล้วเทแก๊สตะเกียงไฟประจำ� รถยนต์ เรื่องมันมหัศจรรย์กันถึงปานนั้น เลยเฉลิมกรุงไปยังคลองโอ่งอ่างที่ ไปออกแม่น้ำ�เจ้าพระยาทางวัด บพิตรพิมุข อีกด้านหนึ่งไปออกคลองบางลำ�พู มีกำ�แพงเมืองอยู่ดา้ นในคลอง ไปตลอดแนว ตรงถนนไปถึงสะพานข้ามคลองจะเป็น ประตูสามยอด ตรงนัน้ ว่ากันว่าสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นสมัยที่คึกคักที่สุด ด้วยเป็นที่ตั้งของโรงหวย ผู้คนไปคอยฟังหวยออก สมัยก่อนขุนบาลเขาล่อใจคนโดยมีมหรสพให้ดู ด้วย คนจะได้ ไม่คอยกันเปล่าๆ เมื่อคนมากก็มีร้านค้าหาบมาขายกันคับคั่ง มีแม่ค้าขายอ้อยควั่น คนจีนหาบหมู ไก่ เป็ดสับมาขายกับข้าวนึ่ง เรียกกันว่า “เฉโป” มีอยูห่ ลายเจ้า คนขายก็รอ้ งตะโกนขายออกลัน่ ไปทุกแห่ง หวยออก ใครที่ ไม่ถูกหวยก็ได้ยินเฉโปกลายเป็นเสียโปไป อาหารชนิดนี้จึงเรียกกันว่า “เสียโป” มาจนบัดนี้

กรุงเทพฯ ในสมัย ๔๐-๕๐ ปีมานี้ แม้โรงหนังโรงละครมีนอ้ ย

ไฟฟ้าไม่สว่างไสว แต่เมื่อผ่านไปตามบ้านผู้มีอันจะกินหรือขุนน้ำ�ขุนนาง ก็จะ ได้ยินเสียงวงมโหรีเจื้อยแจ้วตลอดเวลาราวกับเมืองดนตรี ไม่ผิดอะไรกับกรุง ศรีอยุธยาที่พรรณนาไว้ในหนังสือกวีนิพนธ์ กำ�สรวลศรีปราชญ์ เมือ่ ลงสะพานดำ�รงสถิตข้ามคูเมืองและกำ�แพงเมืองออกไปทางขวามือ จะเป็น เวิง้ นครเขษม เป็นทีต่ ง้ั ตลาดปีระกา มีโรงละคร ท่านคงรูจ้ กั ศรีนวล แก้วบัวสาย ทีต่ อ่ มาเล่นละครโทรทัศน์ ในสมัยก่อนเธอแสดงละครเป็นพระเอก

40


(ยุคที่การแสดงยังไม่ ใช้ชายจริงหญิงแท้) แสดงท่าทางองอาจยิ่งกว่าพระเอก ผู้ชายสมัยนี้ที่ออกจะดูเซื่องๆ เกินไป ในเวิ้งนครเขษมสมัยก่อนเรียก “เวิ้งท่านเรือนฤทธิ์” ซึ่งเป็นคน สำ�คัญของตระกูลเทพหัสดิน ณ อยุธยา สมัยก่อนจะหาเพลงคลาสสิก เช่น มาดามบัตเตอร์ฟลาย บรรเลงโดยวงดนตรีโรมออเคสตร้า หรือมหาอุปรากร ลาทอสก้า ก็ต้องไปหาที่นั่น คนเมื่อร่วม ๕๐ ปีมาแล้ว มีนักปีนกระไดฟัง เพลงคลาสสิกไม่กี่คน พอจะจาระไนชื่อให้ฟังได้ หนังสือเก่าก็ต้องไปค้นหาดูที่นั่น เครื่องลายคราม เฟอร์นิเจอร์เก่า ของโบราณ กระทะทองเหลืองทำ�ขนมหวาน เครื่องเหล็ก อะไรต่อมิอะไร มีขายที่เวิ้งทั้งนั้น เวิ้งนครเขษมเป็นแหล่งสารพัดที่ท่านจะสรรหาได้ มี โรงละครอยู่ตรงกลางเวิ้งและอยู่ชั้นบน เปิดเล่นรอบบ่ายกับรอบค่ำ�

ป่วยการกล่าวไป ในสมัยโบร่ำ�โบราณที่ไม่อาจหวนทวน

คืนมาอีก น้ำ�ในคลองโอ่งอ่างยังไม่เป็นน้ำ�ครำ�เหมือนสมัยนี้ เมื่อก่อนเรือแพ ยังแล่นไปมาจนเต็มคลอง จะมีนักร่อนแร่มาทำ�การร่อนกันเต็ม มีเครื่องมือ คือสังกะสีรูปกรวย มีจอบคุ้ยดิน คนสมัยก่อนชอบทำ�ของตกน้ำ� เขาร่อนได้ ทอง ได้แหวน สร้อยคอก็มี รวมทั้งเศษทองจากร้านขายทองด้วย ประดาน้ำ� งมของตามท่าน้ำ� เช่น ท่าช้าง ท่าพระจันทร์ หรือในคลองบางกอกน้อยก็เคย เห็นบ่อย แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว ประดาน้ำ�นั้นเป็นประดาน้ำ�จริงๆ สวมหมวก เหล็กกลมๆ มีกระจกมองใต้น�ำ้ มีสายยาง และบนเรือแจวทีผ่ วิ น้�ำ มีเครือ่ งปัม๊ ออกซิเจนลงไป

จากเวิง้ นครเขษม ข้ามถนนเยาวราชก็จะมีชอ่ งทางเข้าไป

สู่ถนนผ่ากลางสำ�เพ็ง สำ�เพ็งน่าจะเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของกรุงเทพฯ มีมาแต่ สมัยเริ่มกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ตลาดน้อยเรื่อยลงมาวัดปทุมคงคา หลัง โอเดียน ทีเ่ รียกว่า “วัดสำ�เพ็ง” ไปจนท่าน้�ำ ราชวงศ์ เราได้พบคฤหาสน์เก่าแก่

41


อาคารเก่าริมถนน แถวศาลาเฉลิมกรุง

เสาชิงช้า หน้าวัดสุทัศน์ฯ

46


อาคารเก่าริมถนน บริเวณสามยอด

วัดสุทัศนเทพวราราม สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เพื่อให้เป็นศูนย์กลาง ของกรุงเทพฯ

47


สังฆาวาสไม่ไกลจากกุฎขี องเจ้าคุณนรรัตน์ฯ พระเถระผูท้ รงคุณวิเศษ ก้อนหิน ก้อนนี้ปัจจุบันยังอยู่ ใครเอาเหล็กไปแตะจะถูกดูดทันที จัดว่าเป็นแม่เหล็ก จากธรรมชาติที่ตกมาจากฟ้า ส่วนวัดพลับพลาชัยอยู่ไม่ไกลกันนัก สมัยโบราณเรียกว่า “วัดโคก” เป็นที่ประหารชีวิตนักโทษอุกฉกรรจ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ยังมีการประหาร ชีวิตด้วยการตัดคอ ฝรั่งที่เข้ามาในสมัยนั้นได้เขียนหนังสือเล่าไว้ จากวัดเทพศิรนิ ทราวาส ซึง่ มีโรงเรียนสำ�คัญผลิตนักประพันธ์ชน้ั เยีย่ ม ของเมืองไทยหลายท่าน เช่น ศรีบูรพา, อบ ไชยวสุ, นายมาลัย ชูพินิจ, ยาขอบ, หม่ อ มเจ้ า อากาศดำ � เกิ ง และคนใหญ่ ค นโตสมั ย นี้ จำ � นวนมาก สมัยก่อนโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงระดับหนึ่งของกรุงเทพฯ ก็คือโรงเรียน เทพศิรินทร์ โรงเรียนสวนกุหลาบ และโรงเรียนอัสสัมชัญ

ปตัง้ ต้นกันใหม่ทส่ี นามหลวงตรงถนนหน้าพระลาน

มี ม หาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากรตั้ ง อยู่ ห ลั ง กรมศิ ล ปากร ที่ นี่ ผ ลิ ต นักเขียนและกวีที่มีชื่อหลายคน ก็รู้ๆ กันอยู่ ถัดไปเป็นวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ถัดไปเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ สองสถาบันนี้อยู่ในอาณาเขตวังหน้า พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติมที เ่ี ทีย่ วมาก มีสมุดคูม่ อื นำ�ชมพิพธิ ภัณฑ์ ขายอยู่ ใครอยากรูเ้ รือ่ งประวัตศิ าสตร์และศิลปะเก่าแก่ของชาติยอ่ มจำ�เป็นต้อง แวะ และจะต้องใช้เวลาดูนานๆ ถ้าดูจริงๆ แล้วควรจะใช้เวลาสัก ๓-๔ วัน จะอธิบายว่ามีอะไรดีก็ไม่รู้จะพูดอย่างไรถูก ด้วยล้วนเป็นของดีวิเศษทั้งนั้น ถัดจากพิพิธภัณฑ์ ไปทางเหนือคือ โรงละครแห่งชาติ เดิมคือที่ตั้ง ของ “โรงเรียนศิลปศึกษา” มาก่อน ทางด้านติดแม่น้ำ�เป็นที่ตั้งของวิทยาลัย นาฏศิ ล ป์ กั บ อี ก ส่ ว นหนึ่ งเป็ น อาคารของวิ ทยาลั ย นาฏศิ ล ป์ กั บ โบสถ์วั ด พระแก้ววังหน้า ในพระอุโบสถรูปจัตุรมุขแห่งนี้มีภาพเขียนสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งทรงคุณค่าสูง

64


เชิงสะพานพระปิ่น เกล้า ด้ า นตรงข้ามกั บโรงละครแห่ ง ชาติ คือ ที่ตั้งของหอศิลป พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดแสดงงานจิตรกรรมและ ประติมากรรมสมัยใหม่ เป็นศิลปะแบบสากล ซึ่งผู้ที่สนใจทางศิลปะน่าที่ จะแวะเข้าชมด้วยเป็นแหล่งสำ�คัญ เช่นเดียวกับในมหาวิทยาลัยศิลปากร ถนนหน้าพระลาน ตรงหน้าประตูวิเศษไชยศรี ถ้าเข้าประตูกรมศิลปากร ไปทางตึกเล็กซ้ายมือจะเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่เรียกว่า หอศิลป์ พีระศรี เป็นที่แสดงงานจิตรกรรมและประติมากรรมสมัยใหม่ โดยฝีมือจิตรกรและ ประติมากร ด้วยผลงานแบบสากลอันเป็นงานน่าดูน่าชมทั้งสิ้น ถ้าท่านเข้าไปมหาวิทยาลัยศิลปากรด้านประตูใหญ่วังท่าพระ อาคาร ท้องพระโรงใหญ่ตรงกลางคือหอศิลปของมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่นั่นก็มีงาน ศิลปะสมัยใหม่แสดงให้ชมเป็นประจำ�โดยไม่ตอ้ งเสียค่าผ่านประตูแต่ประการใด จากหอศิลปถนนเจ้าฟ้าหน้าโรงละครแห่งชาติ ถ้าท่านเดินไปตามถนน ถึงกรมสรรพากรแล้วเลี้ยวซ้าย จะผ่านวัดสำ�คัญวัดหนึ่งของรัตนโกสินทร์คือ วัดชนะสงคราม (วัดตองปุ) มีลวดลายหน้าบันงดงาม คันทวยจำ�หลัก มีลายกระหนกอันวิจิตรพิสดารเช่นเดียวกับวัดมหาธาตุ ฝีมือช่างวังหน้า สมัยรัชกาลที่ ๑ ถ้าท่านรู้จักสังเกตจะเห็นว่า หน้าบันที่วัดนี้ก็เช่นเดียวกับ หน้าบันที่วังหน้าและโบสถ์กับพระวิหารวัดมหาธาตุ ทำ�แบบพิเศษคือเรียกว่า “นาคสำ�รวย” คือไม่มนี าคสะดุง้ เอาแบบแผนศิลปะสุโขทัยและเชียงใหม่มาใช้ ประสงค์จะให้ลือชื่อว่าช่างวังหน้าสมัยรัชกาลที่ ๑ ก็เป็นเอกไม่ซ้ำ�แบบกับ ช่างวังหลวง และถ้าสังเกตต่อไปจะเห็นว่าใบเสมาของเขาก็ตดิ กับผนังอาคาร ทัง้ วัดตองปุ วัดมหาธาตุ และวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และนีแ่ หละคือผลงาน ของช่างวังหน้า รู้เพียงแค่นี้ก็ดีถมเถมากไปแล้ว จะได้เอาไว้คุยให้คนฟังว่า เราก็รู้ ไม่ ใช่เล่นเหมือนกัน วัดตองปุหรือวัดชนะสงครามเป็นวัดใหญ่ของวังหน้า จึงมีเขตสังฆวาส ใหญ่ โต และยังมีบางส่วนทำ�ด้วยไม้ยังเหลืออยู่ ผู้สนใจทางสถาปัตยกรรม โบราณน่าจะใส่ ใจไปเดินตรวจตราดูเสีย เผลอๆ อีกไม่กี่ปีเขาก็รื้อเปลี่ยนเป็น ตึกเสียหมดก็จะเสียโอกาสไป สมัยนี้อย่าได้เผลอเป็นอันขาด นึกอยากดูอะไร ก็รีบดูเสีย เวลาไม่คอยท่าอะไรทั้งสิ้น (ปัจจุบันอาคารไม้ในเขตสังฆาวาสถูก

65


สมัยใหม่ปนโบราณเรื่องทศชาติชาดก

ที่คลองบางกอกน้อย ถ้าล่องเรือจากท่าพระจันทร์หรือ

ท่ามหาราช จะผ่านอู่เรือพระราชพิธีตรงปากคลองทางขวามือ (ทิศเหนือ) เลยไปอีกเล็กน้อยซ้ายมือเป็นตลาดบ้านบุ ที่นี่เขาตีขันลงหินแบบโบราณ ขัน ชนิดนี้ทำ�เป็นขันใส่บาตรหรือตักน้ำ�รับประทานเย็นชื่นใจดี และมีขันทำ�สำ�เร็จ แล้วขายที่บ้านโรงงานข้างตลาดบ้านบุนั่นเอง ถัดไปเป็นอำ�เภอ เลยไป นิดหน่อยจะเป็นวัดสุวรรณาราม ในสมัยกรุงธนบุรีเรียกว่า “วัดทอง” เคย ใช้เป็นที่ฆ่าเชลยศึกชาวพม่านับจำ�นวนหลายพันที่หลังวัดนี้ ด้วยเหตุที่พวก พม่าไม่ยอมช่วยเรารบกับพวกพม่าเอง จะขังไว้ก็กลัวจะก่อความวุ่นวาย ด้วย ผู้คนไปรบทัพจับศึกกันหมด สมัยรัชกาลที่ ๑ ปฐมวงศ์จักรีได้มาสร้างพระอุโบสถและทั้งบริเวณ วัด ล่วงมาสมัยรัชกาลที่ ๓ จึงได้มกี ารเขียนภาพทศชาติอนั เลือ่ งชือ่ ในสมัยนัน้ อาจารย์ฝีมือเด่นที่รู้จักกันคือ อาจารย์คงแป๊ะ (หลวงเสนีย์บริรักษ์) เขียน เรื่องมโหสถ อาจารย์ทองอยู่ (หลวงวิจิตรเจษฎา) เขียนตอนเนมิกราช งาน จิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณารามนี้ถือว่าเป็นเพชรน้ำ�เอกของจิตรกรรม สมัยรัตนโกสินทร์โดยแท้

ทางฝั่งธนบุรีอีกด้านหนึ่ง ตรงท่าดินแดนมีท่าเรือ

ข้ามฟาก เป็นเรือยนต์ข้ามไปท่าเรือราชวงศ์ ตรงท่าดินแดงมีกงสีเก่าของ ตระกูลหวั่งหลียังปรากฏสมบูรณ์อยู่ (ปัจจุบันคือ ล้ง ๑๙๑๙ - บ.ก.) เป็น กงสีใหญ่แบ่งเป็นหลายช่วงตอน เช่น มีที่อยู่ของบริวาร ส่วนชั้นในเป็นที่อยู่ ของเจ้าของกงสี มีคฤหาสน์ มีศาลเจ้าประจำ�ตระกูลอยูข่ ้างในด้วย ผูส้ นใจ น่าจะไปศึกษาหาความรู้ โดยด่วนก่อนที่เขาจะรื้อทิ้ง ที่ฝั่งธนบุรียังมีอยู่อีก แห่งหนึ่งอยู่ตรงใกล้ท่าเรือข้ามฟากสถานีรถไฟไปปากคลองสานเป็นกงสีใหญ่ นักประวัติศาสตร์น่าหาโอกาสไปชมเสีย อย่าช้าไปจะไม่ ได้การ

112


ท่าเรือข้ามฟากราชวงศ์นั้น เมื่อข้ามไปยังท่าราชวงศ์แล้วเราจะเดิน เลาะฝั่งซ้ายของถนนไปสักครู่ ก่อนจะถึงถนนตัดกลางสำ�เพ็งจะพบทางเข้า คฤหาสน์ของขุนนางจีน เป็นคฤหาสน์ต้นตระกูลโปษยะจินดา สร้างสมัย รัชกาลที่ ๔ ผู้ออกแบบเป็นนายช่างชาวยุโรป ก่อแบบฝรั่งผสมจีน เป็นตึก สองชั้น น่าจะเป็นตึกรุ่นแรกๆ ของกรุงเทพฯ เท่าที่ทราบก่อนสร้างตึกหลังนี้ เจ้าของคฤหาสน์ต้องปลูกอ้อยเป็นไร่ๆ เพื่อจะคั้นน้ำ�อ้อยใส่ตุ่มไว้เอามาหมัก กับปูนขาวเพื่อก่อปูนฉาบตึก เจ้าของคฤหาสน์ท่านเป็นนายช่างถ่ายรูปฝีมือดีในสมัยปลายรัชกาล ที่ ๔ ต่อกับรัชกาลที่ ๕ ส่วนคฤหาสน์ของตระกูลโปษยะจินดาที่ตลาดน้อย ข้าพเจ้าเคยได้เข้าไปชมกับพวกศิลปิน เป็นการก่อสร้างแบบจีน ได้นายช่างจีน โดยส่งมาจากเมืองจีนแท้ๆ เพราะช่างจีนนัน้ เท่าทีท่ ราบเขามีฝมี อื ในการช่างไม้ การปรุงเครือ่ งเรือน อย่างประณีตเป็นพิเศษ ในการสร้างวัดราชโอรสารามทีค่ ลองด่าน บางขุนเทียน นั้น หนังสือพระราชพงศาวดารบันทึกไว้ว่า ต้องมีเรือเอี้ยมจุ้นขนนายช่าง ชาวจีนที่สั่งมาจากเมืองจีนขึ้นเรือแต่เช้า ล่องเข้าไปสร้างวัดราชโอรสาราม ตลอดวันจนใกล้ค่ำ� ได้เวลาอาหารเย็นแล้วจึงขนลงเรือกลับมาส่งที่ราชวงศ์ จะพักอยู่ตรงไหนไม่ทราบได้ ด้วยตรงราชวงศ์ที่ท่าเรือฝั่งพระนครนั้นเคยมี กงสีใหญ่ระดับเดียวกับกงสีของตระกูลหวั่งหลีหลายต่อหลายแห่งด้วยกัน คนจีนหาบของขายตามที่ต่างๆ ก็มาจากระบบกงสี คือพวกที่ ถือแซ่ประจำ�กงสี วันๆ ก็จะจ่ายคนออกไปทำ�งาน บ้างไปเป็นเสมียน บ้าง ไปเป็นกุลี บ้างก็หาบของขาย อยู่กงสีจนใช้ค่าตัวค่าเรือสำ�เภาที่ขนมาจาก เมืองจีนจนหมดแล้วจึงจะเป็นไทแก่ตน ไปตั้งตนที่ไหนก็ได้ มีรูปเขียนบน ผนังโบสถ์ เช่น วัดเสนาสนาราม อยุธยา รูปที่พระที่นั่งทรงผนวช กับรูป เขียนผนังวัดต่างๆ กล่าวถึงคนจีนหาบของไปขาย ส่งเสียงร้องให้คนได้ยิน บ้างก็พายเรือขายของ รูปคนไทยหาบของขายไม่มี คนไทยเพิ่งจะมาขาย ของและหาบของขายตามอย่างคนจีนก็ในสมัยเมื่อหลังจากรัชกาลที่ ๔ มาแล้วทัง้ นัน้ สมัยก่อนนัน้ เมือ่ หาบขายจะส่งเสียงร้องบอกให้คนรู้ คนจีนนัน้ เป็นครูคงนำ�ทางก่อน ต่อมาพี่ไทยตามอย่างก็ร้องขายเป็นทำ�นองเป็นกลอน

113


วัดโมลีโลกยาราม อยู่ไม่ไกลจากป้อมวิชัยประสิทธิ์ มีรูปปูนปั้นทหารฝรั่งเศสอยู่ใต้ถุนตำ�หนักพระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งเดิมเป็นป้อมโบราณ

114


115


วงเวียนใหญ่เมื่อ ๔๐ กว่าปีที่แล้ว

116


พระอุโบสถ วัดกัลยาณมิตร ที่สร้างตามแบบพระราชนิยม ในสมัยรัชกาลที่ ๓

วัดกัลยาณมิตร สร้างในสมัย รัชกาลที่ ๓ มีหลวงพ่อโต หรือซำ�ปอกง พระพุทธรูปใหญ่ ที่คนจีน นับถือกันมาก

117


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรด

สร้างสะพานข้ามคลองเป็นพระราชนิยมในวันเฉลิมพรรษาประจำ�ปี จึงมี สะพานแบบยุโรปสวยงามแบบแปลกๆ ทัว่ ไปทุกหนทุกแห่ง ทีถ่ กู นักปกครอง และมนุษย์ ใจทรามรื้อทิ้งแก้ ไขเป็นแบบใหม่ ไปเสียก็เยอะ ที่เหลือก็ยังมี ให้ เห็นมาก ล้วนทำ�อย่างประณีต ประดับด้วยหินอ่อน มีเหล็กดัด มี โคมไฟ งดงามมาก เช่น สะพานใกล้ตึกนายเลิศ โคมไฟงดงามมาก ฐานเสาเป็น รูปหัวสิงโต และสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถนนราชดำ�เนิน หน้ากรมโยธาธิการ สร้างด้วยหินอ่อนและเหล็กดัด วิจิตรพิสดารเหลือขนาด ปัจจุบันนี้แม้ ใน ยุโรปเองก็หาดูได้ยาก ดังได้กล่าวแล้วว่าแถวสะพานช้างโรงสี แถวถนนราชดำ�เนิน ฝรั่งมา ตัง้ ห้างและอยูก่ นั คับคัง่ คนสมัยนีย้ ากทีจ่ ะเดาได้ถกู ว่าห้างฝรัง่ สมัยรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ ในแหล่งหรูหราของเมืองบางกอกเป็นเช่นไร ก็ ให้ดูจากรูป ห้างฝรั่งแห่งหนึ่งแถบสี่กั๊กพระยาศรี ริมถนนเจริญกรุง สินค้าที่วางขายมีใส่ ตู้กระจก มีแขวนตามผนัง มีพัดลมเพดาน มี โคมไฟฟ้า มีน้ำ�หอม และสิ่ง จำ�เป็นนานาชนิด

ก่อนหน้าสมัยรัชกาลที่ ๔ ขึน้ ไปคนไทยนิยมจีน จะเห็นมาก

สมัยรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ มีการแปลพงศาวดารจีน เช่น สามก๊ก เลียดก๊ก ซ้องกั๋ง เรื่องต่างๆ มากมาย ขุนนางไทยแต่งสำ�เภาไปซื้อขายเมืองจีน การ ค้าขายใหญ่ โตมากถึงขนาดนำ�ตุ๊กตาเคลือบ เช่น รูปเยาวกษัตริย์จีนขนาด มหึมามาเคลือบอย่างประณีต เข้ามาเมืองไทยได้ สมัยรัชกาลที่ ๓ ถึงแก่มี พระราชนิยมสร้างวัดวาอารามเลียนแบบเก๋งจีน มีการสั่งช่างจีนจากเมืองจีน ใส่สำ�เภามาสร้างวัดวาอารามเป็นการใหญ่ ดังรูปหน้าบันวัดเศวตฉัตร เป็น ศิลปะการก่อสร้างแบบจีน ซึ่งปฏิรูปขึ้นในรัชกาลนี้ การสร้างศิลปะและสถาปัตยกรรมพุทธศาสนาเอาอย่างจีนในสมัย รัชกาลที่ ๓ มีสาเหตุอยู่หลายประการ ประการแรก เมืองบางกอกยับเยินจากการที่พม่าข้าศึกกวาดต้อน

150


ผู้คนและช่าง ขนโลหะของมีคา่ ไปเมืองของเขาหมด ตัวช่างแทบไม่มี ในสมัย พระเจ้ากรุงธนบุรีและรัชกาลที่ ๑ สร้างวัดใหม่ ได้ ไม่กี่วัดเพราะขาดตัวช่าง ล่วงมาสมัยรัชกาลที่ ๓ เกิดการนิยมช่างจีน ทั้งมีการค้าขายกับเมือง จีนมาก คนจีนเองก็นิยมอพยพเข้ามาอยู่เมืองไทยมาตั้งนิคม ตั้งกงสี อยู่กัน อย่างมากมาย ช่างก่อสร้าง ช่างเฟอร์นิเจอร์ ช่างไม้ ช่างปูน ได้ ไปช่วยสร้าง วัดต่างๆ กันมาก ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เศรษฐกิจของบ้านเมืองเริ่มฟื้นตัว ด้วยกรมหมื่น เจษฎาบดินทร์ทรงเป็นนักค้าขาย ทรงร่ำ�รวยจนสมเด็จพระราชบิดาตรัสเรียก ว่า เจ้าสัว ทรงปฏิสงั ขรณ์และสร้างวัดจำ�นวนมาก ความต้องการช่างมีจ�ำ นวน มากเหลือเกิน จึงขนช่างจีนเข้ามา สั่งรูปซีเมนต์ศิลาอย่างมหาศาลมาประดับ วัด มาตกแต่งเสนาสนะต่างๆ วัฒนธรรมของจีนได้หลั่งไหลเข้ามาเมืองไทย ในรัชกาลนี้อย่างมากมาย ประกอบทั้งทรงเป็นกษัตริย์ผู้ใฝ่ในการกุศล ชอบ สร้างวัด ถึงแก่พูดกันว่าในรัชกาลนี้ใครสร้างวัดจะถือว่าเป็นคนโปรด เพราะ ว่าเมืองบางกอกผู้คนเริ่มคับคั่ง ขาดวัด จึงต้องสร้างวัดกันอย่างมาก การใช้ ศิลปะจีนมาก่อสร้างทำ�ให้สร้างวัดได้เร็ว คือ ก่อเป็นเสาสี่เหลี่ยม มีพาไลรอบ รับชายคาปีกนก ไม่ต้องใช้คันทวย ด้วยการสลักคันทวยอย่างหนึ่ง หน้าบัน อย่างหนึ่ง ต้องใช้เวลาเป็นแรมปี หากไม่ ใส่หน้าบันจำ�หลักไม้ ไม่ ใส่คันทวย ก็ทุ่นเวลาไปมาก หน้าต่างก็ ใช้ปูนปั้นแทนเอา หน้าบันก็ปั้นปูนแบบศิลปะ ศาลเจ้าจีน เสาสี่เหลี่ยมใหญ่รอบพระอุโบสถยังมีข้อดีคือ ทำ�ให้พระอุโบสถ พระวิหารสร้างได้ใหญ่โตโอ่อ่าเหลือประมาณ อาคารที่สร้างตามคติสถาปัตยกรรม หรือเรียกโก้ๆ ว่า ทำ�ตามเทคโนโลยีแบบจีน สามารถสร้างได้ใหญ่โตมาก เช่น พระวิหารวัดกัลยาณมิตร พระวิหารและพระอุโบสถวัดโพธิ์ พระอุโบสถ วัดสุทัศน์ฯ เป็นงานใหญ่โตยิ่งใหญ่ของกรุงเทพฯ มีสง่าราศียิ่งนัก สมัยรัชกาลที่ ๕ ความคิดความอ่านของผู้คนในบางกอกผันแปรไป กระเดียดจะไปทางฝรั่ง ปลูกบ้านแบบเรือนไทยฝาปะกนก็ถือว่าเร่อร่าล้าสมัย เสียแล้ว ต้องเป็นบ้านแบบเรือนฝากระดาน เข้าไม้มลี น้ิ สนิทแบบเรือนฝาผนัง แบบจีน แต่ที่จริงเราเอาแบบมาจากเรือนมะนิลาบ้านฝรั่ง มีการฉลุไม้เป็น ลวดลายที่หน้าจั่ว ที่ครีบบนหลังคา ที่ครีบชายคาเรียกว่า “หยาดน้ำ�ฝน”

151


ทั่วกรุงเทพฯ ทั่วกรุงเทพฯ

เดินย่ำ� ชมเมืองกรุงเทพฯ ในอดีต ไปกับ น. ณ ปากน้ำ� นำ�พาผู้อ่านชมวัด ชมตึก ชมย่าน ที่นา่ สนใจในสายตาของ ศิลปินแห่งชาติ

น. ณ ปากนํ้า

น. ณ ปากน้ำ�

สั่งซื้อออนไลน์ที่ หมวดประวัติศาสตร์ ราคา ๓๕๙ บาท ISBN 978-616-465-053-4 @sarakadeemag

ฉบับ ปรับปรุงใหม่


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.