ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม ในเมืองโบราณ สมุทรปราการ อารยะแห่งสยามประเทศ
คํานํา ๕ เมืองโบราณกับผู้สร้าง ๖ ประตูเมือง ๘ พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ๑๐ พระบรมธาตุไชยา ๑๔ ตลาดบก ๑๘ ศาลาการเปรียญ วัดใหญ่สุวรรณาราม ๒๒ หอไตร-หอระฆัง ๒๖ สวนขวา ๒๙ ท้องพระโรงกรุงธนบุรี ๓๒ พระพุทธรูปทวารวดี ๓๖ เรือนทับขวัญ ๓๘ คุ้มขุนแผน ๔๒ อนุสรณ์สถานสงครามยุทธหัตถี ๔๕ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ๔๘ เรือนต้น ๕๒ พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท ๕๖ หอพระแก้ว ๖๒ พระปรางค์ยอดกลีบมะเฟือง ๖๕ มณฑปพระพุทธบาท ๖๘ พระปรางค์สามยอด ๗๒ อนุสรณ์สถานชาวบ้านบางระจัน ๗๖ ประตูวัดโพธิ์ประทับช้าง ๘๐ หมู่บ้านไทยภาคกลาง ๘๒ อาณาจักรสุโขทัย ๘๖ อุทยานเทวโลก ๙๑ ตลาดน้ํา ๙๘ หอคํา ๑๐๒ เจดีย์จามเทวี ๑๐๖ วัดจองคํา ๑๑๐ เจดีย์เจ็ดยอด ๑๑๔ วิหารเชียงของ ๑๑๘ หมู่บ้านไทยภาคเหนือ ๑๒๑ วิหารวัดภูมินทร์ ๑๒๓ เจดีย์ศรีสองรัก ๑๒๕ มณฑปพระพุทธบาทยืน ๑๒๗ ๕๕ สถานที่ของเมืองโบราณในหนังสือเล่มนี้ และไม่ควรพลาดในการเข้าชม
พระธาตุนารายณ์เจงเวง ๑๒๙ พระธาตุพนม ๑๓๑ ปราสาทพระวิหาร ๑๓๔ หอนางอุสา ๑๓๙ ปรางค์ศรีเทพ ๑๔๑ กุฏิวิปัสสนา ๑๔๓ บ้านโซ่ง ๑๔๖ พระธาตุสามหมื่น ๑๕๐ ปราสาทหินพิมาย ๑๕๒ ปราสาทหินพนมรุ้ง ๑๕๖ ป่าเจดีย์ ๑๖๐ ปราสาทหินสด๊อกก๊อกธม ๑๖๒ โรงละคร ๑๖๔ ตึกแดง ๑๖๗ ศาลาทศชาติ ๑๗๐ เขาพระสุเมรุ ๑๗๔ ศาลาฤๅษีดัดตน ๑๗๘ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๑๘๑ ศาลาพระอรหันต์ ๑๘๕ สะพานรุ้ง ๑๘๘ เรือสําเภา ๑๙๐ ต้นไม้ ใบหญ้า และเพื่อนร่วมโลกในเมืองโบราณ ๑๙๔
เรื่องเล่า...เล่าเรื่อง 6เมืองโบราณ เมืองโบราณ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเริ่ม ทํา การก่อสร้างตั้งแต่ปี ๒๕๐๖ ถ้านับจนถึงปัจจุบันนี้ (ปี ๒๕๖๓) ก็จะมีอายุราว ๕๗ ป ถ้าเปรียบเมืองโบราณ เป็นชีวิตของคนคนหนึ่งที่กํา เนิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ อาย ในขณะนี้ของเมืองโบราณก็ก้าวเข้าสู่ช่วงชีวิตวัยกลางคน ที่ผ่านฝน ผ่านร้อน ผ่านหนาวมาหลายช่วงชีวิต แม้จุดกํา เนิดของเมืองโบราณจะเริ่มสร้างเป็น สนามกอล์ฟเล็ก (mini) ที่สามารถตี ไปได้ทั่วประเทศไทย และสิ่งก่อสร้างในยุคแรกๆ จะมีขนาดเล็ก เช่น ตึกแดง พระปรางค์สามยอด ฯลฯ แต่ภายหลังการพัฒนาความคิด ของผู้สร้างได้แปรเปลี่ยนไปเพื่อการสร้างศิลปะสถาปัตยกรรม ของเมืองไทย รักษาสิ่งที่ดีงามในอดีตให้คนรุ่นหลังได้รู้ ได้เห็น ก่อ ให้เกิดความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของ ชาติและช่วยกันสืบสานรักษาสิ่งเหล่านั้นและส่งต่อให้แก่ ชนรุ่นหลัง จากการที่ท่านเจ้าเมืองได้สนใจศึกษา รวบรวม โบราณวัตถุต่างๆ ให้คงอยู่บนผืนแผ่นดินไทย การอ่าน หนังสือมาก จะเห็นได้ว่าในบ้านไผ่ล้อมที่เมืองโบราณของ ท่านนั้น มีตู้หนังสือที่บรรจุอัดแน่นไปด้วยหนังสือจํานวน มาก การเดินทางท่องเที่ยวส ํา รวจทางวัฒนธรรมไปยัง สถานที่ต่างๆ ทั่วเมืองไทย การพบปะแลกเปลี่ยน ถกเถียง เมืองโบราณกับผู้สร้าง ข้อคิดเห็นกับนักวิชาการหลายๆ ท่าน เช่น อาจารย์มานิต วัลลิโภดม อาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ อาจารย์เสนอ นิลเดช และอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ฯลฯ ก ารได้ทํา งา นกับ ศิลปินชั้นครู เช่น อาจารย์สนั่น ศิลากร อาจารย์ไพบูลย์ สุวรรณกูฎ ฯลฯ ทํา ให้สิ่งก่อสร้างในเมืองโบราณนั้นมี ความถูกต้องและงดงามทางด้านศิลปกรรม สถานที่ทํางานของท่านเจ้าเมืองผู้สร้างเมืองโบราณ นั้น ได้ใช้สถานที่หลายแห่งในเมืองโบราณ เช่น ที่ตึกแดง อาคารตําหนักคําหยาด (สมัยที่ยังมีหลังคาสมบูรณ์) บ้านไทย ที่สระบุรีและใต้ถุนศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม ที่วัดใหญ่ฯ แห่งนี้เป็นสถานที่ทํางานของท่านจนวาระสุดท้าย ของชีวิต การก่อสร้างต่างๆ ในเมืองโบราณนั้น เมื่อจะสร้าง อาคารอะไร ท่านก็จะทําการศึกษาพูดคุยกับที่ปรึกษาและ ลูกน้องซึ่งเป็นช่างฝีมือในเมืองโบราณ ก ํา หนดสถานท ตีผัง ตอกเสาเข็ม ฯลฯ จึงอาจกล่าวได้ว่าการก่อสร้าง ในเมืองโบราณนั้นเป็นการก่อสร้างตามแบบกรรมวิธี โบราณ ช่างฝีมือซึ่งได้ร่วมทํา งานกับท่านเจ้าเมือง ช่าง ที่เป็นเสมือนลูกน้องคู่ใจของท่านมีหลายคน เช่น นาย ปรีชา วิบูลย์ศิลป์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนวาดผังอาคาร สิ่งก่อสร้าง นายจรูญ มาถนอม จะเน้นหนักไปในทาง
เรื่องเล่า...เล่าเรื่องเมืองโบราณ 7 วาดและงานปั้น นายพรชัย เหมรัตน์ ทํา งานเกี่ยวกับ งานวาด นายศักดิ์ บุญปั้น ถนัดในงานแกะสลักและ งานวาด และนายประสิทธิ์ บุญจี๊ด (ลุงโก้) ซึ่งมีความ ชํานาญเกี่ยวกับบ้านเรือนไทยและเครื่องเรือนไทย ฯลฯ ส ถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในเมืองโบราณนั้นเป็น สิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นอย่างมีความหมาย มีความถูกต้อง ทางศิลปวัฒนธรรม ไม่ได้สักแต่ว่าสร้างขึ้นมาเพราะ ความชอบส่วนตัว หรือพูดอย่างง่ายๆ ก็คือสร้างขึ้นมา เพื่อความถูกต้อง ไม่ใช่เพื่อความถูกใจ ท่ านใช้ศิลปะ ชั้นครูเป็นต้นแบบและคลี่คลายต่อยอดแตกแขนงออกมา งานของท่านจึงมีความหมาย ความงาม และความลงตัว หลักการทํา งานของท่านนั้น ท่านจะยึดคติ ธรรมเนียมโบราณอย่างเคร่งครัด เช่น อาคารพระที่นั่ง นั้น ทั้งท้องพระโรงพระเจ้ากรุงธนบุรี พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท ท่านจะไม่ สร้างเท่าขนาดจริง แต่จะสร้างย่อส่วนลงเหลือเพียงสาม ในสี่ส่วนเท่านั้นเพราะท่านเป็นเพียงสามัญชน ดั งนั้นจึง จะไม่ทําสิ่งที่ทําเทียมเจ้านาย สํา หรับสถานที่ที่ขอผาติกรรมมานั้น ถ้าผู้คน ในสถานที่นั้นสามารถรักษาอาคารหลังนั้นไว้ได้ ท่านก็จะ ไม่ขอผาติกรรมมา แต่ถ้าชุมชนนั้นไม่สามารถดูแลรักษา อาคารหลังนั้นไว้ได้ ท่านจึงจะขอผาติกรรมอาคารหลัง นั้นมาปลูกสร้างไว้ในเมืองโบราณ นอกจากนี้ท่านเจ้าเมืองยังเป็นคนที่มีศิลปะในการ ใช้คน ท่านสามารถรวบรวมผู้คนที่มีความสามารถทาง ศิลปะให้มาทํา งานร่วมกันได้ ทั้งนี้เพราะเราๆ ท่านๆ ก ทราบกันดีว่าเหล่าศิลปินเป็นพวกที่มีตัวตนสูง คนพวกน แม้จะให้ผลตอบแทนสูง แต่ถ้าใจไม่อยากทําแล้ว เงินทอง ก็ไม่อาจซื้อใจของเขาได้ สําหรับการเป็นเจ้านายของท่าน เจ้าเมืองนั้น ท่านเป็นเจ้านายที่นั่งอยู่ในใจของลูกน้อง แม้ในบางครั้งจะมีการเคืองกันบ้าง มีความเห็นขัดแย้ง กันบ้าง โ กรธกันบ้าง แต่ท้ายที่สุดเพื่อผลสํา เร็จของงาน ก็ไม่ได้โกรธกันจริงจัง ดังนั้นแม้ท่านจะเสียชีวิตไปแล้ว ลูกน้องในเมืองโบราณที่เคยมีโอกาสท ํา งานกับท่านก็ยัง พูดคุยถึงท่านและรําลึกถึงท่านอยู่ ไม่รู้วาย ถ้าไม่มีท่านเจ้าเมืองและนายห้างผู้สร้างเมือง โบราณ เมืองไทยก็คงไม่มีเมืองโบราณ แหล่งท่องเที่ยว ทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นโลกของศิลปกรรมท่ามกลาง ธรรมชาติให้เราได้มาสัมผัสและชื่นชมเมื่อได้มาท่องเที่ยว
เรื่องเล่า...เล่าเรื่อง 8เมืองโบราณ ประตูเมืองประตูที่เปิดสู่โลกแห่งอดีตของสยามประเทศ
เรื่องเล่า...เล่าเรื่องเมืองโบราณ 9 ตามลักษณะการตั้งเมืองหรือชุมชนในสมัยโบราณ เพื่อเป็นการป้องกันข้าศึกศัตรูและความปลอดภัยก็ต้องมี สิ่งกีดขวางทั้งคูนํ้า กําแพง และประตูเมือง การสร้างเมืองโบราณก็เช่นเดียวกัน ด้านหน้าเมือง โบราณมีคูนํ้า เมื่อข้ามสะพานมาแล้วก็เป็นลานหน้าเมือง ก่อนจะถึงกําแพงและประตูเมือง คติการสร้างเมืองโบราณได้ยึดคติโบราณที่ประตู เมืองจะต้องมีเวลาปิด-เปิด จึงมีศาลาในเมืองและศาลา นอกเมือง ให้คนนั่งพักรอเวลาปิด-เปิดประตูเมือง เมืองโบราณได้ก่อสร้างประตูเมืองโดยได้เอาแบบ อย่างซุ้มประตูที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบในเมืองไทย คือ ซุ้ม ประตูที่วัดพระบรมธาตุเชลียง เมืองศรีสัชนาลัย ศิลปกรรม แบบสุโขทัยที่ยังมีเค้าอิทธิพลศิลปะขอมผสมผสานอยู่ด้วย และที่สํา คั ญบนยอดซุ้มประตูมีรูปปั้นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งเชื่อว่าจะทําให้ผู้ที่ลอดซุ้มประตูผ่านเข้ามานั้น ประสบแต่สิ่งที่เป็นสวัสดิมงคลแก่ชีวิต เมื่อผ่านประตูเมืองโบราณเข้ามาแล้ว เราจะได สัมผัสกับเรื่องราวในอดีตที่พร่าเลือน หลายสิ่งหลายอย่าง จะกระจ่างชัดขึ้น บาง เรื่องที่เป็นนามธรรมก็จะปรากฏ ให้เห็นเป็นรูปธรรม ทํา ให้เข้าใจถึงรากเหง้าที่มาที่ไปของ ปัจจุบัน บนแผ่นดินที่เป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเราและ ก็คงจะบรรลุความประสงค์ของผู้สร้างเมืองโบราณที่ว่า “เรื่องของอดีตคนปัจจุบันจำาเป็นจะต้องรู้ หากเรา ไม่รู้จักอดีตก็เหมือนเดินเรือในท้องทะเลโดยปราศจาก เข็มทิศและหางเสือ ผลที่จะเกิดขึ้นกับเรือลำานั้นเป็นที่น่า วิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง” เมื่อเราก้าวผ่านพ้นประตูเมืองโบราณเข้ามาแล้ว เราจะไปเรียนรู้เรื่องราวในอดีตด้วยกัน การเรียนรู้อดีตจะ ทําให้เข้าใจปัจจุบันและก้าวเดินไปในอนาคตได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน ยอดซุ้มประตูวัดพระบรมธาตุเชลียง พระพักตร์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร รูปเคารพตามความเชื่อในพุทธศาสนามหายาน แนวกำาแพงศิลาแลงและซุ้มประตูซุ้มประตูที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในเมืองไทยวัดพระบรมธาตุเชลียง
10 พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช เมืองงามของพระราชาผู้ทรงธรรม เรื่องเล่า...เล่าเรื่อง
เรื่องเล่า...เล่าเรื่องเมืองโบราณ 11 เจดีย์ทรงโอควํ่าหรือระฆังควํ่าแบบลังกา ยอดสูง เสียดฟ้าที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นเจดีย์องค์สําคัญและ เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทางภาคใต้และ ทั่วประเทศ นครศรีธรรมราชเป็นเมืองใหญ่ เคยเป็นที่ตั้งของ อาณาจักรตามพรลิงค์ เมืองพระยามหานคร เมืองสิบสอง นักษัตร และหัวเมืองเอก ดํา รงสถานะเป็นเมืองท่าแห่ง คาบสมุทรทะเลใต้ที่เชื่อมโยงการค้าระหว่างน่านนํ้าตะวัน นครศรีธรรมราชมายังกรุงธนบุรี ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการ สืบสาน คัดลอกพระไตรปิฎกพระธรรมของพระพุทธเจ้า ไว้สืบต่อมา ภายในองค์พระบรมธาตุเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนสําคัญที่เรียกว่า “พระอุรังคธาตุ” (กระดูก ส่วนหน้าอก) ให้พุทธศาสนิกชนเคารพกราบไหว้บูชาเพื่อ รํา ลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คติการบูชาพระบรมธาตุนี้เป็นคตินิยมที่สืบทอดกันมาของพุทธศาสนิกชน สถูปรุวันเวลิ ที่เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา สร้างเป็นเจดีย์ที่ฐานมีช้างยืนล้อมรอบ ศิลปะรุ่นแรกของศรีลังกา ออกและตะวันตก สมัยก่อนเมื่อพ่อค้าหรือสมณทูตที่ เดินทางมาในย่านนี้ จะเดินทางมาขึ้นบกที่นี่ พ ํานักที่เมือง นครฯ แห่งนี้และเผยแผ่ศาสนาเข้าไปยังดินแดนตอนใน ช่วงแรกเป็นความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ ต่อมาจึงเป็น ความเชื่อในทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์ที่ได้หยั่งรากลงอย่างลึกซึ้ง แม้แต่เมือง สุโขทัยก็ได้รับนับถือศาสนาจากพระสงฆ์ที่เดินทางไปจาก นครศรีธรรมราช ดังข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ บันทึก ไว้ว่า “ปู่ครูทุกคนลุกมาแต่เมืองนครศรีธรรมราช” และได ส่งต่อพุทธศาสนานี้ไปยังอาณาจักรล้านนาด้วย เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งหลังในปี ๒๓๑๐ ด้วย ความที่เป็นหัวเมืองใหญ่จึงตั้งตัวเป็นชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช แต่เมื่อพระเจ้าตากปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชได้ก็โปรดให้อัญเชิญพระไตรปิฎกจากเมือง สถูปสาญจี อินเดีย ศิลปะสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ต้นแบบของสถูปเจดีย์ทางพุทธศาสนา
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมืองกรุงของสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ เรื่องเล่า...เล่าเรื่อง
เรื่องเล่า...เล่าเรื่องเมืองโบราณ 49 เมืองโบราณได้เลือกสร้างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ขึ้นเป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพฯ เพื่อสะท้อนภาพความ เป็นเมืองกรุง ศูนย์กลางการเมืองการปกครองของสังคม ไทย เมื่อกรุงเทพฯ ได้รับการสถาปนาเป็นเมืองหลวงแห่ง ใหม่ของสยามในปี ๒๓๒๕ ทางฝั่งตะวันออกของแม่นํ้า เจ้าพระยา เมื่อรัชกาลที่ ๑ ทรงสร้างกรุงเทพฯ นั้น ทรงตั้ง พระราชหฤทัยจะสร้างกรุงเทพฯ ให้มีความสวยสดงดงาม เสมือนเมื่อครั้ง “บ้านเมืองดี” แรกเริ่มนั้นในบริเวณ พระบรมมหาราชวังยังคงมีเพียงหมู่พระมหามณเฑียร วัด พระแก้ว และพระที่นั่งอมรินทราภิเษกซึ่งมีรูปแบบคล้าย พระที่นั่งสรรเพชญปราสาทที่กรุงเก่า แต่ปรากฏว่าพระที่นั่ง อมรินทราภิเษกใช้งานได้เพียง ๓ ปีเท่านั้นก็ถูกอสนีบาต (ฟ้าผ่า) เพลิงไหม้หมดทั้งหลัง พระองค์จึงโปรดให้สร้าง พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทขึ้นในบริเวณซึ่งเคยเป็นที่ตั้ง พระที่นั่งอมรินทราภิเษก โดยพระที่นั่งองค์ใหม่นี้โปรดให้ มีรูปทรงคล้ายกับพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ ในพระบรมมหาราชวังที่อยุธยา คือเป็นพระที่นั่งทรงจัตุรมุข ยอด ปราสาท ครุฑยุดนาค ที่มุมปราสาทเครื่องยอด พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ท่าทีองอาจและสวยงามมาก ภาพวาดเมื่อครั้ง พระที่นั่งอมรินทราภิเษก ถูกอสนีบาต (ฟ้าผ่า) เพลิงไหม้หมดทั้งหลัง รัชกาลที่ ๑ จึงโปรดให้สร้าง พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทขึ้นแทน
มณฑปพระพุทธบาท บุญยาตราของสังคมไทย เรื่องเล่า...เล่าเรื่อง
เรื่องเล่า...เล่าเรื่องเมืองโบราณ 69 อาคารทรงสี่เหลี่ยมสีทอง ยอดสูงเสียดฟ้า สร้างขึ้น ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนย้อนหลังไปหลายร้อยปี นับแต่สมัยครั้งแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม เมืองโบราณสร้างมณฑปพระพุทธบาทขึ้นเนื่องจาก เป็นปูชนียสถานที่สําคัญของแผ่นดิน โดยได้หลักฐานจาก จดหมายเหตุขุนโขลน ปุณโณวาทคาฉันท์ ของพระมหานาค วัดท่าทราย และนิราศพระบาท ของสุนทรภู่ สถานที่จาริกแสวงบุญที่สํา คัญขององค์พระมหา กษัตริย์ตลอดจนไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินของ กรุงศรีอยุธยาจะต้องเสด็จฯ ไปนมัสการรอยพระพุทธบาท และเมื่อเสด็จฯ ไ ปแล้วจะทรงทํา พิธ “รํา พัดช า” เห นือ กระพองช้างถวายเป็นพุทธบูชา พิธีดังกล่าวได้กระท ํา สืบเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์องค์สุดท้ายที่ได้ทรงกระทําพิธีนี้คือรัชกาล ที่ ๕ นั่นเอง ความศรัทธาในพระบาทนั้นอยู่ในจิตใจของพุทธศาสนิกชนทุกคน พระเจ้าทรงธรรมโปรดให้ฝรั่งฮอลันดา ส่องกล้องทํา ถนน พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระโปรดให้เอา กระจกเงาประดับฝาผนัง วังหน้าในรัชกาลที่ ๑ ทรงศรัทธา แบกเครื่องไม้ตัวลํายองจากท่าเรือจนถึงพระบาท และทํา ให้ขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งระดับ “พระยา” สมัยพระเจ้า อยู่หัวบรมโกศยอมเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธเพื่อที่ว่าจะ ได้ตามเสด็จไปนมัสการพระบาท พระพุทธบาทสระบุรี จึงเป็นสิ่งที่ทําให้เราเข้าใจว่า พุทธจักรและอาณาจักรนั้นเป็นสิ่งที่ประสานให้คนรวมกลุ่ม กันได้ การไปนมัสการพระพุทธบาทเป็นความใฝ่ฝันของ ผู้คนทุกรูปทุกนาม การเดินทางไปพระบาทในสมัยก่อนนั้น ใช้เวลาเป็นแรมเดือน ต้องลงเรือ ขึ้นช้าง นั่งเกวียน และ เดินเท้า แต่ทุกคนที่ได้ไปก็สุขใจ ได้เปลี่ยนบรรยากาศ อิ่มบุญ ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตได้ไปไหว้พระบาทและเชื่อกัน สืบมาว่าถ้าได้ไปครบเจ็ดครั้งก็จะไม่ตกนรก เสมือนเป็น รอยพระพุทธบาทศิลา ของขวัญที่ประธานาธิบดีอินเดียมอบให้ เมื่อครั้งมาเยี่ยมชมเมืองโบราณ ภาพขบวนเสด็จฯ และการรำาพัดชา ของรัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้งเสด็จฯภาพวาดในพระที่นั่งทรงผนวชไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ
เรื่องเล่า...เล่าเรื่อง 156เมืองโบราณ ปราสาทหินพนมรุ้ง เทวบรรพตแห่งเทือกเขาพนมรุ้ง
เรื่องเล่า...เล่าเรื่องเมืองโบราณ 157 พนมรุ้งหรือวนมรุ้ง ในภาษาเขมรแปลว่าภูเขาใหญ่ ปราสาทหินแห่งนี้ถูกสร้างขึ้น ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๘
เรื่องเล่า...เล่าเรื่อง 158เมืองโบราณ ปราสาทหินพนมรุ้งแตกต่างจากปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินพิมายเป็นปราสาทหินบนพื้นที่ราบ แต ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานบนภูเขา บนที่สูง ที่เรียก ว่าเป็น “เทวบรรพต” พนมรุ้งหรือวนมรุ้ง ในภาษาเขมรแปลว่าภูเขาใหญ่ ปราสาทหินแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕๑๘ โดยกษัตริย์และพระราชวงศ์ของขอมหลายพระองค์ แต่องค์สํา คัญ คือ นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์ มหิทรปุระ (ต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ผู้สร้าง ปราสาทนครวัด) ทร งสร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรง บําเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง เมืองโบราณสร้างปราสาทหินพนมรุ้งขึ้นเพื่อแสดง ให้เห็นถึงภูมิปัญญาของผู้คนในอดีตที่สามารถสร้างศาสนสถานบนที่สูงที่มีการวางผังที่สัมพันธ์กับภูมิประเทศได้ เป็นอย่างดี ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นปราสาทหินทรายสีชมพู ที่ตั้งอยู่บนภูพนมรุ้งซึ่งเป็นปากปล่องภูเขาไฟที่ดับสนิท ทับหลังชิ้นสำทับหลังรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์าคัญและมีชื่อเสียงของปราสาทหินพนมรุ้ง แล้ว แม้จะเป็นปราสาทหินขนาดเล็ก แต่ลวดลายจ ําหลัก นั้นละเอียดและงดงามมาก ไม่เป็นที่ ๒ รองใคร นับเป็น ปราสาทหินที่มีความงดงามโดดเด่นแห่งหนึ่งของภาคอีสาน ความเชื่อดั้งเดิมของคนท้องถิ่นในอุษาคเนย์นั้น นับถือในเรื่องอํา นาจเหนือธรรมชาติ เพราะธรรมชาตินั้น สามารถดลบันดาลให้เกิดทั้งสิ่งที่ดีงามและเลวร้ายแก่มนุษย์ ได้ มนุษย์จึงต้องมีความเคารพอ่อนน้อมต่อธรรมชาติ ทั้ง ภูเขา ป่าไม้ แม่นํ้า ฯลฯ เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้มีผลเกี่ยว กับการดํารงชีวิตของมนุษย์ นอกจากนี้การสร้างปราสาทหินบนภูเขายังพ้องกับ คติความเชื่อในศาสนาฮินดูที่ถือว่าปราสาทหินเปรียบดัง เทวาลัยของเทพเจ้าบนยอดเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นศูนย์กลาง ของจักรวาล ภาพจําหลักที่หน้าบันและทับหลังของปราสาทหิน พนมรุ้งแสดงให้เห็นว่าสถานที่นี้เป็นเทวสถานของพระศิวะ รวมทั้งมีภาพจําหลักจากมหากาพย์รามายณะและมหาภารตะ อีกด้วย ทับหลังจากปราสาทหินพนมรุ้งที่มีชื่อเสียงโด่งดัง
เรื่องเล่า...เล่าเรื่องเมืองโบราณ 159 ซุ้มประตูเข้าสู่ปราสาทหินพนมรุ้ง ทุกวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๕ แสงอาทิตย์จะสาดส่องทะลุทั้ง ๑๕ ช่องประตู ของปราสาทหิน คือ ทับหลังรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ซึ่งได้เคยถูกลักลอบไป ต่างประเทศ แต่บัดนี้ได้กลับคืนมาติดตั้งอยู่ ณ ปราสาท หินพนมรุ้งแล้ว ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๕ ของทุกปีจะเกิดปรากฏการณ์ที่ผสมผสานกันระหว่างธรรมชาติและเทคโนโลยีทาง สถาปัตยกรรม คือ แสงของพระอาทิตย์จะสาดส่องทะลุ ผ่านช่องประตูทั้ง ๑๕ ช่องของปราสาทหินพนมรุ้ง ซึ่ง สักครั้งหนึ่งในชีวิตเราๆ ท่านๆ น่าจะได้ไปสัมผัสกับความ มหัศจรรย์ดังกล่าว
เรื่องเล่า...เล่าเรื่อง 174เมืองโบราณ เขาพระสุเมรุ พุทธจักรวาลของคนไทย เรื่องเล่า...เล่าเรื่อง
เรื่องเล่า...เล่าเรื่องเมืองโบราณ 175
เรื่องเล่า...เล่าเรื่อง 176เมืองโบราณ ตามความเชื่อของคนไทยที่เรียกว่าพุทธจักรวาลนั้น เชื่อว่าเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลางของโลกและจักรวาล ม ที่มาจาก ไตรภูมิพระร่วง คําสอนทางพุทธศาสนาจากคัมภีร์ ต่างๆ ๓๐ คัมภีร์ ที่พระราชนิพนธ์โดยพญาลิไท กษัตริย์ แห่งกรุงสุโขทัยเมื่อปี ๑๘ ๙๖ หรือบางทีจะเรียกว่า ไต รภูมิโลกสัณฐาน ว่าด้วยลักษณะโลก ไตรภูมิ มาจากคํา ภาษาบาลีว่า “เตภูมิ” แปลว่า ภูมิทั้งสามคือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ที่อยู่อาศัยของ สัตว์ โลกเรียกว่า “ภูมิ” กามภูมิเป็นที่อยู่ของผู้บริโภคกาม มีความอยาก รัก ใคร่ โลภ โกรธ หลง มีทั้งหมด ๑๑ ภูมิ รูปภูมิเป็นที่อยู่ของ ผู้ที่ได้ฌานมี ๑๖ ชั้น และอรูปภูมิที่อยู่ของผู้ที่ได้อรูปฌาน มี ๔ ชั้น ดินแดนภูมิทั้ง ๓๑ ภูมินี้เป็นที่ซึ่งสัตว์โลกจะ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิเหล่านี้จนกว่าจะบรรลุ พระอรหันต์ ตั ดกิเลส ข้า มพ้นห้วงวัฏสงสาร ไม่ต้องมา เวียนว่ายตายเกิดอีก คนไทยเชื่อว่าโลกนั้นแบน มีปลาขนาดใหญ่ที่ชื่อ ว่า “อานนท์” หนุนโลกอยู่ ปลาอานนท์นั้นยาว ๘ ล้านวา เมื่อใดที่ปลาอานนท์พลิกตัว โลกจะเกิดแผ่นดินไหวเมื่อนั้น (ที่โลกเกิดแผ่นดินไหวในช่วงนี้บ่อยมากจะเกี่ยวกับปลา อานนท์หรือเปล่าก็ไม่รู้) และในต ํานานไฟล้างโลก เมื่อคน ทําบาป จิตใจหยาบช้า ไม่รู้จักศีลธรรม ผลของบาปทําให เกิดความแห้งแล้ง ฝนไม่ตก แสงแดดแผดจ้า พระอาทิตย์ จะปรากฏให้เห็นถึงเจ็ดดวง ปลาอานนท์ละลายเป็นนํ้ามัน ติดไฟลุกไหม้ กลายเป็นไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลก ไหม้ทุก อย่างจนมอดไหม้ดับสูญ เมืองโบราณสร้างประติมากรรมและสถาปัตยกรรม เป็นรูปปลาอานนท์หนุนโลกและมีสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อยู่ ด้านบน โดยถอดแบบมาจากภาพวาดเขาพระสุเมรุ ในวัด ใหญ่อินทาราม ชลบุรี ตามความเชื่อในเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง รอบๆ เขา พระสุเมรุมี “มหานทีสีทันดร” แปลว่า “มหาสมุทรใหญ่ ที่มีนํ้าทิพย์ละเอียด” ไม่มีสิ่งใดลอยอยู่ได้ แม้แต่แววหาง นกยูงที่แสนจะเบาบาง เมื่อตกลงไปก็ยังไม่อาจลอยอยู่ ได้ นอกจากนี้ยังมีเขาสัตตบริภัณฑ์ มีป่าหิมพานต์ สระอโนดาต สระอโนดาตมีตานํ้าทั้งสี่ทิศ มีหน้าสิงห์ ช้าง ม้า และวัว ซึ่งเมืองโบราณก็ ได้สร้างไว้อย่างครบถ้วน บนเขาพระสุเมรุเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นต่างๆ ตาม ปัญญาและคุณธรรมของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ สวรรค์ชั้นที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยกันดี คือ สวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นนี้ คือ พระอินทร์ ประทับ ในปราสาทไพชยนต์และมีพระแท่นที่ประทับ คือ พระแท่น บัณฑุกัมพล พระ อินทร์ในทางพระพุทธศาสนาไม่ได้เป็น ตําแหน่งถาวร ถ้าผู้ใดทําความดีก็สามารถไปเสวยสุข บังเกิด เป็นพระอินทร์ได้ แต่การทํา ดีก็ไม่ใช่เป็นสิ่งง่ายๆ ดังที่เขาว่า “ทาง เตียนเวียนลงนรก ทางรกวกขึ้นสวรรค์” แต่ก็ไม่เกิน ความสามารถเพียรพยายามของมนุษย์ ในทางพุทธศาสนา คุณสมบัติสํา คัญของผู้ที่จะได้ไปเกิดเป็นพระอินทร์มีเจ็ด ประการ คือ เลี้ยงดูบิดามารดา เคารพอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ พูดจาอ่อนหวาน ไม่พูดจาส่อเสียด ยินดีในการบริจาคทาน มีวาจาสัตย์ และการอดกลั้นต่อความโกรธ ข้อประพฤติ ปฏิบัติดังกล่าวไม่ใช่ทํา แค่ชั่วครู่ชั่วยาม แต่จะต้องทํา ไป ตลอดชีวิตจึงจะสัมฤทธิผล แท่นบัณฑุกัมพลในปราสาทไพชยนต์ของเมือง โบราณยังเป็นพระแท่นที่ว่างเปล่าเพื่อรอผู้ที่บ ําเพ็ญเพียร สะสมผลบุญเพื่อที่จะได้ไปเกิดเป็นพระอินทร์ อย่างน้อย เขาพระสุเมรุในเมืองโบราณก็คงจะเป็นสิ่งที่คอยกระตุ้น เตือนให้ผู้คนหมั่นทํา ความดีเพื่อที่จะได้ไปบังเกิดเป็น พระอินทร์เสวยสุขอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เรื่องเล่า...เล่าเรื่องเมืองโบราณ 177 จิตรกรรมฝาผนัง รูปปลาอานนท์ วัดใหญ่อินทาราม ชลบุรี ต้นแบบของปลาอานนท์ ในเมืองโบราณ
เรื่องเล่า...เล่าเรื่อง 198เมืองโบราณ สิ่งที่ข้าพเจ้าทำาไปแล้วในวันนี้ มีความสำาคัญมาก เพราะว่าข้าพเจ้าได้สละชีวิตหนึ่งวัน เป็นค่าทดแทนไปแล้ว ผู้สร้างโลกของศิลปกรรมไทย
เรื่องเล่า...เล่าเรื่องเมืองโบราณ 199 ศิลปะไม่มีลัทธิ ศาสนา และกาลเวลา ศิลปะเท่านั้นที่หล่อเลี้ยงจิตใจมนุษย์มาตราบเท่าทุกวันนี้ ในอ้อมกอดของธรรมชาติ
เรื่องเล่า...เล่าเรื่อง 200เมืองโบราณ หนังสือ อารยะแห่งสยามประเทศ ผู้เขียน วิยะดา ทองมิตร วาดภาพ สุทธิชัย ฤทธิ์จตุพรชัย © สงวนลิขสิทธิ์ โดยสํานักพิมพ์เมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จํากัด ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ จํานวนพิมพ์ ๕๐๐ เล่ม ราคา ๗๕๐ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ วิยะดา ทองมิตร. อารยะแห่งสยามประเทศ.--นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๕. ๒๐๐ หน้า. ๑. ไทย--ภูมิศาสตร์เชิงประวัติ. ๒. ไทย--ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว. I. สุทธิชัย ฤทธิ์จตุพรชัย, ผู้วาดภาพประกอบ. II. ชื่อเรื่อง. ๙๑๕.๙๓ ISBN 978-616-465-055-8 คณะผู้จัดทำา บรรณาธิการเล่ม : วิยะดา ทองมิตร ออกแบบปกและรูปเล่ม : นัทธินี สังข์สุข พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์ สํานักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จํากัด) จัดจำาหน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จํากัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน้ํา) ตําบลบางกระสอ อําเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑ แยกสี/เพลต เอ็นอาร์. ฟิล์ม โทรศัพท์ ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทรศัพท์ ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๖-๖ สำ า นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จํา กัด) ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินนํา ) ตํา บลบางกระสอ อํา เภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช ผู้อำานวยการ สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำานวยการฝ่ายศิลป์ จํานงค ศรีนวล ผู้อำานวยการฝ่ายการตลาด/ประชาสัมพันธ์ กฤตนัดตา หนูไชยะ บรรณาธิการสำานักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง
เมืองโบราณ แหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมของเมืองไทยซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ แหล่งรวบรวมอาคารสถาปัตยกรรมไทยท่ามกลางอ้อมกอดของธรรมชาติ พืชพรรณไม้นานาชนิด หนังสือ “อารยะแห่งสยามประเทศ ” เล่มนี้จะทำ าให้ผู้อ่านรู้แนวคิด การทำางานของผู้สร้าง ที่มาที่ไปของสิ่งก่อสร้าง ในเมืองโบราณและสิ่งก่อสร้างต่างๆ เหล่านั้นได้สะท้อนและบอกเล่าเรื่องราวในอดีตของเมืองไทย ทั้งใน ด้านประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนไทย อิฐ หิน ดิน ทราย ที่ก่อเกิดเป็นสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในเมืองโบราณนั้นมีเรื่องเล่ามากมายที่อยากจะ บอกให้ผู้เข้าไปเที่ยวชมได้รับรู้ และเมื่อผู้เข้าไปเที่ยวชมได้เข้าไปเห็น ไปสัมผัสกับสิ่งก่อสร้างต่างๆ ใน เมืองโบราณแล้ว ท่านจะได้รู้ว่าคนไทยนั้นมีรากเหง้า เราไม่ได้เป็นคนไร้ราก และภาคภูมิใจที่ได้เกิดเป็น คนไทยบนผืนแผ่นดินนี้ หมวดศิลปะ ISBN 978-616-465-055-8 ราคา ๗๕๐ บาท