ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย

Page 1

ประวัติศาสตร์ ศิลปะ ในประเทศไทย ศาสตราจารย์  ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
๑๙ก่อนพุทธศตวรรษที่ตารางพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ศิลปะ ก่อนประวัติศาสตร์ก่อนสมัยทวารวดีสมัยทวารวดีศิลปะภาคใต้และศรีวิชัยช่วงเวลา ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๖ พุทธศตวรรษที่ ๖-๘ พุทธศตวรรษที่ ๙-๑๑ พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ พุทธศตวรรษที่ ๑๔ พุทธศตวรรษที่ ๑๕ พุทธศตวรรษที่ ๑๖ พุทธศตวรรษที่ ๑๗ พุทธศตวรรษที่ ๑๘ พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)(สภาพปัจจุบันได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕เจดีย์ทรงปราสาทยอด อิทธิพลศิลปะชวาภาคกลาง พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เทวรูปพระนารายณ์ สวมหมวกทรงกระบอก พบที่เขาศรีวิชัยอำาเภอพุนพินจังหวัดสุราษฎร์ธานีทรงภูษาโธตียาว คาดกฏิสูตร อิทธิพลศิลปะอินเดียภาคใต้ แสดงให้เห็นถึงการเข้ามาของศาสนาฮินดูในระยะแรกศิลปะในภาคใต้ พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓
ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๘ศิลปะเขมรในประเทศไทย สมัยบายน และนางปรัชญาปารมิตาที่พระอุระและพระนาภีและปรากฏพระพุทธเจ้าทั่วทั้งพระวรกายส่วนบน ปางสมาธิที่มวยผม มีพระธยานิพุทธอมิตาภะ พระโพธิสัตว์แปดกร พบที่ปราสาทเมืองสิงห์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี จังหวัดกาญจนบุรี
ISBN 978-616-465-054-1 หนังสือ ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ผู้เขียน ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ จ�ำนวนพิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม รำคำ ๑,๒๙๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�านักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ากัด บรรณำธิกำรเล่ม อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ภำพประกอบ ศาสตราจารย์ ดร ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ออกแบบปก/รูปเล่ม ณิลณา หุตะเศรณี ควบคุมกำรผลิต ธนา วาสิกศิริ แยกสี/เพลท เอ็น. อาร์. ฟิล์ม โทร. ๐ ๒๒๑๕ ๗๕๕๙ จัดพิมพ์โดย ส�านักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ากัด) พิมพ์ที่ บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์ จ�ากัด โทร. ๐ ๒๗๒๐ ๕๐๑๔ จัดจ�ำหน่ำย บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ากัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน�้า) ต�าบลบางกระสอ อ�าเภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑ ข้อมูลทำงบรรณำนุกรมของหอสมุดแห่งชำติ ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย. --นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๕. ๘๖๔ หน้า. ๑. ประวัติศาสตร์ในศิลปกรรม. I. ชื่อเรื่อง. ๗๐๙.๕๙๓ ISBN 978-616-465-054-1 ส�ำนักพิมพ์เมืองโบรำณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ากัด) ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน�้า) ต�าบลบางกระสอ อ�าเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑ ที่ปรึกษำ ศรีศักร วัลลิโภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช ผู้อ�ำนวยกำร สุวพร ทองธิว ผู้จัดกำรทั่วไป/ผู้อ�ำนวยกำรฝำยศิลป์ จ�านงค์ ศรีนวล ผู้จัดกำรฝำยกำรตลำด/โฆษณำ กฤตนัดตา หนูไชยะ บรรณำธิกำรส�ำนักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ที่ปรึกษำกฎหมำย สมพจน์ เจียมพานทอง
จำกส�ำนักพิมพ์ หนังสือ ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย เล ่มนี้ กล ่าวได้ ว่าเป็นผลงานที่แสดงถึงความเป็นอาจารย์และนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะไทยของ ศา สตราจารย์ ดร . ศัก ดิ์ชัย สา ยสิงห์ เพ ราะนี่ คืองานที่กลั่นกรองจากประสบการณ์ตลอดชีวิตการท� า งา นด้านนี้ของ อาจารย์ศักดิ์ชัย ผู้ที่ติดตามงานเขียนของอาจารย์จะรู้ถึงสไตล์การเขียน ของอาจารย์ที่มุ่งอธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจที่มาและพัฒนาการของศิลปะไทย ในแต่ละสมัย ชี้ให้เห็นจุดเด่นของรูปแบบงานที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของ ศิลปะในสมัยนั้น ๆ อ าจารย์ศักดิ์ชัยเขียนหนังสือเล่มด้วยความตั้งใจให้ผู้อ่านเห็น ถึงคุณค่าของโบราณวัตถุและโบราณสถานที่มีมากกว่าความเก่าแก่ หรือความสวยงาม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็น “หลักฐานทางประวัติศาสตร์” ที่ส�าคัญประเภทหนึ่ง ดังที่อาจารย์เขียนไว้ว่า “ประการส�าคัญของการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะคือ การใช้หลักฐานทางศิลปกรรมเพื่อบอกความเป็นมาของคน  ซึ่งก็คือ ความเป็นมาทางด้านประวัติศาสตร์  ทั้งนี้ศิลปะในประเทศไทยมีการ แบ่งยุคสมัยตามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ เพราะมีระบบแนวความคิด ที่สอดคล้องกับหลักฐานทางศิลปกรรมที่พบในประเทศไทยตามล� า ดับ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ และเป็นแนวทางสามารถท� าความเข้าใจได้ มีความเป็นไปได้ และสามารถอธิบายได้...” ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย จึงเป็นหนังสือที่ให้ความรู้ เรื่องศิลปะไทยที่สมบูรณ์ที่สุดเล่มหนึ่ง ด้วยเนื้อหาศิลปะไทย ๑๒ สมัย ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้ส นใจ ศิลปะไทยควรมีหนังสือเล่มนี้ไว้เป็นคู่มือในการเรียนรู้ค้นคว้าเรื่องราวของ ศิลปะในประเทศไทย ส�านักพิมพ์เมืองโบราณ กันยายน ๒๕๖๕
ค�ำน�ำผู้เขียน ประวัติศาสตร์ศิลปะ คือ วิช าที่ศึกษาความเป็นมาทางประวัติ ศาสตร์จากงานศิลปะที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น โดยการวิเคราะห์รูปแบบ ตรวจสอบเรื่องอายุสมัย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสันนิษฐานเรื่องความเป็นมา ของคนในยุคต่าง ๆ ทั้ง เรื่องของความเจริญรุ่งเรือง คว ามเสื่อม คว าม เชื่อทางศาสนา กา รติดต่อสัมพันธ์กับดินแดนอื่น นับ เป็นส่วนหนึ่งของ ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ในส่วนที่ไม่มีลายลักษณ์อักษรบันทึกไว้ การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทยเริ่มต้นอย่างช้า ที่สุดตั้งแต่ราวรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่ อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงผนวช ทรงธุดงค์ไปยัง สถานที่ต่าง ๆ เช่น เมืองสุโขทัย เมืองนครปฐม และเริ่มมีข้อสันนิษฐาน ต่าง ๆ จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ทรงค้นพบ เช่น ข้อสันนิษฐานเรื่อง พระปฐมเจดีย์ เป ็นต้น จน กระทั่งมาถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเริ่มมีการศึกษาและเริ่มมีต� า รา ด้านนี้เกิดขึ้น โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่ อครั้งที่ทรงด� า รง พระ
อิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช พร ะองค์ได้เสด็จเมืองโบราณ สุโขทัยและเมืองบริวาร มีการตรวจสอบหลักฐานทางโบราณคดีและงาน ศิลปกรรม พร ้อมข้อสันนิษฐานต่าง ๆ แล ะทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ เรื่อง เที่ ยวเมืองพระร่วง นับเป็น ต� า รา เล่มแรกของการศึกษาทางด้าน โบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย หลั งจากนั้นจึงมี ต� า รา การศึกษาตามมา ที่ส� า คัญ มาก คือ ต� า นา นพระพุทธเจดีย์สยาม ของสมเด็จฯ กร มพระยาด� า รง ราชานุภาพ ที่ท รงก� า หน ดยุคสมัยทาง ประวัติศาสตร์จากหลักฐานทางศิลปะ นับ เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษา ในเวลาต่อมา โดยศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ผู้ทรงวาง รากฐาน วิช าประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศเทศไทย แล ะทรงนิพนธ์ หนังสือเรื่อง ศิลปะในประเทศไทย อันเป็นต้นแบบของการศึกษาค้นคว้า ที่ใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทยในปัจจุบันมี ความแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ทั้ง แนวทางการศึกษา ปร ะเด็นข้อถกเถียง ทางวิชาการอยู่บ้าง ซึ่งก็เป็นเรื่องปรกติของการศึกษาทางด้านนี้ เพราะ เป็นเรื่องของข้อสันนิษฐานจากหลักฐานทางศิลปกรรม ส่ว นหนึ่งย่อม มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ขึ้น อยู่กับใครจะมีเหตุผลมากกว่ากัน ซึ่ง ถือเป็นความก้าวหน้าอย่างหนึ่งของการศึกษา เช่น การแบ่งกระแสของ การศึกษาว่าเป็นกระแสหลัก ที่ศึ กษาตามแบบแผน ตา มยุคสมัยทาง ประวัติศาสตร์ตามแนวทางของสมเด็จฯ กร มพระยาด� า รง ราชานุภาพ และศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล หรือกระแสรอง ที่มีการ แบ่งยุคสมัยแตกต่างออกไป เช่น แบ่งตามช่วงระยะเวลา แบ่งตามลัทธิ ความเชื่อทางศาสนา เป็นต้น อย่างไรก็ตามส� าหรับในหนังสือเล่มนี้ยัง ขอยืนยันการศึกษาตามกระแสหลัก คือ กา รแบ่งยุคสมัยตามหลักฐาน ทางโบราณคดีและศิลปะ ด้วยให้ความส�าคัญกับวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ที่ว่า หลักฐานทางศิลปกรรม คือส่วนหนึ่งที่บ่งบอกความเป็นมาของคน ตามนิยามที่กล่าวถึงข้างต้น หนังสือเล่มนี้มีที่มาจากเมื่อครั้งที่ผู้เขียนได้เริ่มเรียนวิชาศิลปะ ในประเทศไทย กับศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ท�าให้ชอบ และประทับใจในวิชานี้มาก จึง เลือกมาศึกษาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ
ผู้เขียนนับว่าเป็นผู้ที่โชคดีมากผู้หนึ่งที่ได้ทันเรียนกับ บูร พาจารย์ผู้ เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทยหลายท่าน ที่ส�าคัญ ที่ คือ ศา สตราจารย์ หม ่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศ กุล ศา สตราจารย์ฌอง บวสเซอลิเยร์ ศาสตราจารย์มาดแลนด์ จีโต อาจารย์คงเดช ประพัฒน์ทอง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม และท่านอื่น ๆ ที่มิได้ เอยนามมา ณ ที่นี้ รวมทั้งลูกศิษย์ที่ได้มีการค้นคว้าและมีความก้าวหน้า ทางวิชาการ ผู้เ ขียนจึงได้รับการสั่งสม คว ามรู้ คว ามคิด แล ะแนวทาง การศึกษาไว้อย่างมาก จึงเป็นที่มาของการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และเรียบ เรียงต�าราขึ้นบางยุคสมัย เช่น ศิลปะทวารวดี สุโขทัย ล้านนา เป็นต้น ในส่วนของหนังสือเล่มนี้มาจากการที่ต้องรับผิดชอบสอนใน รายวิชา ปร ะวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ที่ส าขาครุศิลป์ คณ ะ ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเห็นว่านิสิตที่นี่ไม่ได้เรียนวิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะเหมือนที่คณะโบราณคดี จึงได้มีการรวบรวมข้อมูล และเรียบเรียงขึ้นเป็นเอกสารค� า สอ นเพื่อให้เหมาะสมกับนิสิต ต่อ มาได้น� า มา ใช้กับการอบรมบุคคลภายนอกที่มีความสนใจทางด้าน ประวัติศาสตร์ศิลปะ ก็เห็นว่าได้รับความสนใจและคนภายนอกทั่ว ๆ ไป รับรู้ได้ ไม่ใช่เป็นต�าราเฉพาะนักศึกษาใช้ ด้วยเหตุนี้จึงคิดว่าควรจะน� า อ อกพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือต�า รา ส� า หรั บนิสิต นัก ศึกษา แล ะบุคคล ทั่วไปอ่านได้ ดังที่กล่าวว่าในหนังสือเล่มนี้มีการจัดแบ่งยุคสมัยตามกระแส หลัก คือ กา รแบ่งยุคสมัยตามล� า ดับ ทางประวัติศาสตร์ แล ะมีหนังสือ คู่มือหลักที่ใช้เป็นแนวทาง คือ ศิลปะในประเทศไทย ของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล และ ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย ฉบับย่อ การ เริ่มต้นและการสืบเนื่องงานช่างในศาสนา ของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สัน ติ เล็ กสุขุม โด ยได้มีการเพิ่มเติมยุคสมัยที่ขาดหายไปหรือที่ไม่ ชัดเจน เช ่น ใน ส่วนที่เป็นศิลปะในภาคใต้ ศิล ปะสมัยลพบุรี กับ ศิลปะ เขมรในประเทศไทย ศิลปะล้านช้างและก่อนล้านช้าง รวมทั้งจะให้ความ ส�าคัญกับความเป็นมาของแต่ละยุคสมัยเพิ่มเติม การจัดกลุ่มหมวดหมู่ ของรูปแบบศิลปกรรม พร ้อมตัวอย่างที่มากขึ้น เพื่ อให้เนื้อหามีความ สมบูรณ์สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น
หนังสือเล่มนี้จึงถือเป็นต�าราที่ได้ประมวลความรอบรู้ของผู้เขียน ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบูรพาจารย์ ประกอบกับการค้นคว้าเพิ่มเติม ของผู้เขียน และข้อมูลใหม่ ๆ ที่มีการค้นพบในระยะหลัง จึงท�าให้มีเนื้อหา สาระที่ครอบคลุม เห มาะอย่างยิ่งส� า หรั บการใช้เป็นพื้นฐานการศึกษา ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ทั้งด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ศาสนา ด้านการท่องเที่ยว และการจัดการทางวัฒนธรรม รวมทั้งบุคคล ทั่วไปที่สนใจก็สามารถอ่านได้ ศักดิ์ชัย สายสิงห์  ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ค�ำขอบคุณ ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลงานครั้งนี้ ที่ให้เกิดความสมบูรณ์ทั้งเนื้อหา สาระและภาพประกอบ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม ครูผู้ถ่ายทอดวิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะแก่ผู้เขียน และเอื้อเฟื้อภาพลายเส้นและภาพสันนิษฐาน ขอขอบคุณผู้ที่เอื้อเฟื้อภาพประกอบ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง อาจารย์ ดร. กวิฎ ตั้งจรัสวงศ์ คุณปพนพัชร์ สุขเจริญศิริชัย พิพิ ธภัณฑสถานแห่งชาติ พร ะนคร พิพิ ธภัณฑสถาน แห่งชาติ เจ้าสามพระยา และท่านอื่น ๆ ที่มิได้เอ่ยนามมา ณ ที่นี้ รองศาสตราจารย์ ดร. มลฤดี สายสิงห์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ ช่วยตรวจสอบภาษา ขอขอบคุณ คุณอภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ บรรณาธิการเล่ม และ ส�านักพิมพ์เมืองโบราณ ที่ได้จัดพิมพ์หนังสือในครั้งนี้ เนื่องในวาระครบ ๖๐ ปีของผู้เขียน ศักดิ์ชัย สายสิงห์  ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕
ค�ำอุทิศ ขออุทิศแด่ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล “ผู้วางรากฐานวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย” เนื่องในวาระ ครบ ๑๐๐ ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล พ.ศ. ๒๕๖๖
ค�าน�าส�านักพิมพ์ ๓๕ ค�าน�าผู้เขียน ๓๖ เกริ่นน�ำ ๔๗ บทที่ ๑ ศิลปกรรมในดินแดนไทยยุคก่อนประวัติศำสตร์ ๗๑ (ก่อนพุทธศตวรรษที่และเมื่อแรกรับวัฒนธรรมทำงศำสนำ๖ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๑) ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย (ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๖) ๗๑ สังคม วัฒนธรรม และพัฒนาการของชุมชนจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ๗๕ สู่ยุคต้นประวัติศาสตร์ หลักฐานทางศิลปกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการรับอารยธรรมจากภายนอก ๗๘ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๖-๙ ศิลปกรรมยุคแรกเริ่มเมื่อรับวัฒนธรรมทางศาสนาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๑ ๘๔ รูปเคารพเนื่องในพุทธศาสนาแบบเถรวาท ๘๖ รูปเคารพเนื่องในศาสนาพราหมณ์ ๙๒ พระพุทธรูปรุ่นแรกที่สร้างขึ้นในดินแดนไทยกับหลักฐานการรับวัฒนธรรมพุทธศาสนา ๙๕ ราวพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๑ การรับวัฒนธรรมตัวอักษรกับการเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง ๑๐๐ ตามหลักการทางประวัติศาสตร์ บทที่ ๒ ศิลปะทวำรวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) ๑๐๔ กล่าวน�า : วัฒนธรรมทวารวดี ๑๐๔ วัฒนธรรมทวารวดีในยุคแรกเริ่ม ๑๐๕ เมืองโบราณสมัยทวารวดี ๑๑๑ ศาสนาและความเชื่อสมัยทวารวดี ๑๑๒ ศิลปะทวารวดี ๑๑๖ งานสถาปัตยกรรม ๑๑๙ สำรบัญ
งานประติมากรรม ๑๒๔ สมัยทวารวดีตอนต้น (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓) ๑๒๔ สมัยทวารวดีตอนกลาง : สมัยทวารวดีอย่างแท้จริง ๑๒๖ (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕) สมัยทวารวดีตอนปลาย : อิทธิพลศิลปะเขมรและสกุลช่างท้องถิ่น ๑๔๐ (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖) ประติมากรรมเนื่องในศาสนาพุทธมหายาน ๑๔๒ ประติมากรรมเนื่องในศาสนาพราหมณ์ ๑๔๖ ประติมากรรมเล่าเรื่องในศิลปะทวารวดี ๑๕๒ ธรรมจักรกับกวางหมอบ ๑๖๔ ประติมากรรมเล่าเรื่องชาดกพบที่ฐานเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม ๑๖๙ พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ ศิลปะแบบทวารวดีในท้องถิ่นอีสาน (พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖) ๑๗๙ วัฒนธรรมสีมาในภาคอีสาน ๑๘๑ บทสรุปศิลปะสมัยทวารวดี ๑๘๕ บทที่ ๓ ศิลปะในภำคใต้และศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๙) ๑๙๒ กล่าวน�า ๑๙๒ อิทธิพลศิลปะอินเดีย (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓) ๑๙๖ อิทธิพลศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖) ๒๐๗ ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕) ๒๑๐ ศิลปะภาคใต้ สกุลช่างไชยา (พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙) ๒๒๙ งานสถาปัตยกรรมภาคใต้ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ๒๔๑ บทที่ ๔ ศิลปะเขมรในประเทศไทย (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘) ๒๔๖ กล่าวน�า : การก�าหนดชื่อเรียกศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย ๒๔๖ วัฒนธรรมเขมรในดินแดนไทย ๒๔๙ (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘) การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ศิลปะ ๒๕๑ ศิลปะในพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ (สมัยก่อนเมืองพระนคร) ๒๕๓ ศิลปะในพุทธศตวรรษที่ ๑๕ (สมัยพระโค บาแค็ง เกาะแกร์ และแปรรูป) ๒๖๓ ศิลปะในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ (สมัยบาปวน) ๒๖๘ ศิลปะในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ (สมัยนครวัด) ๒๗๗ ศิลปะในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (สมัยบายน) ๒๙๓ เครื่องถ้วยเขมร ๓๐๘ บทที่ ๕ ศิลปะสมัยลพบุรี ๓๑๓ (กลำงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ถึงปลำยพุทธศตวรรษที่ ๑๙) กล่าวน�า ๓๑๓ งานสถาปัตยกรรม ๓๑๖ งานประติมากรรม (พระพุทธรูป) ๓๒๘
บทที่ ๖ ศิลปะสมัยหริภุญชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘) ๓๔๘ กล่าวน�า : ความเป็นมาของอาณาจักรหริภุญชัย ๓๔๘ งานสถาปัตยกรรม ๓๕๔ งานประติมากรรม ๓๖๒ พระพิมพ์ดินเผา ๓๗๓ ภาชนะดินเผา ๓๗๖ สรุป ๓๗๗ บทที่ ๗ ศิลปะก่อนสมัยล้ำนช้ำง ๓๘๑ (ระหว่ำงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๙) ศิลปกรรมในภาคอีสานเหนือของประเทศไทย (พุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๗) ๓๘๔ ศิลปะในวัฒนธรรมเขมร พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ ๓๘๖ สมัยหัวเลี้ยวหัวต่อหรือสมัยหลังบายน ๓๙๐ (กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙) บทที่ ๘ ศิลปะสมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐) ๔๐๖ กล่าวน�า ๔๐๖ ประวัติศาสตร์สุโขทัยจากหลักฐานทางโบราณคดีและงานศิลปกรรม ๔๐๖ ความเป็นมาของดินแดนก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย ๔๐๘ ประวัติศาสตร์สุโขทัยโดยสังเขป ๔๑๑ ประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยสุโขทัย ๔๑๔ งานสถาปัตยกรรม ๔๑๔ ศิลปะสุโขทัยระยะแรก แหล่งบันดาลใจจากวัฒนธรรมเขมร พุกาม ลังกา ๔๑๔ และหริภุญชัย (ต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙) สมัยรุ่งเรืองของสุโขทัย ๔๑๘ (ระหว่างกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐) สมัยสุโขทัยตอนปลาย (ระหว่างกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐) ๔๔๖ งานประติมากรรมสมัยสุโขทัย ๔๕๒ พระพุทธรูป ๔๕๒ หมวดที่ ๑ พระพุทธรูประยะแรกของสุโขทัย ๔๕๓ (ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙) หมวดที่ ๒ พระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรในศิลปะสุโขทัย ๔๕๔ (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐) หมวดที่ ๓ หมวดใหญ่ (สกุลช่างสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย) ๔๕๘ (กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐) หมวดที่ ๔ หมวดก�าแพงเพชร (สกุลช่างก�าแพงเพชร) ๔๖๗ (ต้นถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐) หมวดที่ ๕ หมวดพระพุทธชินราช (สกุลช่างพิษณุโลก) ๔๗๐ (ต้นถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐) หมวดที่ ๖ หมวดเมืองน่าน (สกุลช่างน่าน) ๔๗๔ (กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐)
งานประติมากรรมปูนปั้น ๔๗๘ เทวรูปสมัยสุโขทัย ๔๘๓ งานประติมากรรมปูนปั้นประดับฐานเจดีย์ ๔๘๕ งานจิตรกรรม ๔๘๙ ภาพจารบนแผ่นหิน วัดศรีชุม ๔๙๐ เครื่องถ้วยสุโขทัย ๔๙๒ บทที่ ๙ ศิลปะสมัยล้ำนนำ (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๓) ๔๙๙ ความเป็นมาของล้านนา ๔๙๙ ประวัติศาสตร์ศิลปะ ๕๐๒ ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธรูปเชียงแสนและศิลปะล้านนา ๕๐๒ งานสถาปัตยกรรม ๕๐๓ ระยะแรก : การสืบทอดงานศิลปะหริภุญชัยและแรงบันดาลใจจากศิลปะพุกาม ๕๐๓ (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙) ระยะที่ ๒ : การสืบทอดงานศิลปะในระยะแรกและแรงบันดาลใจ ๕๑๐ จากศิลปะพุกามและศิลปะสุโขทัย (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐) ระยะที่ ๓ : ยุคทองของล้านนา : ความหลากหลายทางด้านรูปแบบ ๕๑๕ ของสถาปัตยกรรม (ระหว่างต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑) ระยะที่ ๔ : ศิลปะล้านนาระยะหลังตั้งแต่สมัยพระเมืองเกษเกล้า ๕๓๑ ถึงล้านนาตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า (พ.ศ. ๒๐๖๗-๒๑๐๑ และตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๐๑ ลงมา) งานประติมากรรม ๕๓๕ พระพุทธรูปล้านนาระยะแรก : อิทธิพลศิลปะปาละ พุกาม ๕๓๖ และการสืบทอดศิลปะหริภุญชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๙) พระพุทธรูปล้านนาระยะที่ ๒ ยุคของการรับอิทธิพลศาสนาลังกาวงศ์จากสุโขทัย ๕๓๘ (ต้นถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐) พระพุทธรูปในยุคทองของล้านนา : ความหลากหลายทางด้านรูปแบบ ๕๔๕ ของพระพุทธรูปล้านนา (ต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑) พระพุทธรูประยะที่ ๔ : ยุคเสื่อมของล้านนา ตั้งแต่สมัยพระเมืองเกษเกล้า ๕๕๗ ถึงล้านนาตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๓) งานปูนปั้น ๕๕๙ ลายเครือล้านนา ๕๕๙ เทวาดาปูนปั้น ๕๖๐ เครื่องถ้วยล้านนา ๕๖๒ งานจิตรกรรม ๕๖๘
บทที่ ๑๐ ศิลปะสมัยอยุธยำ ๕๘๔ (ปลำยพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔) กล่าวน�า ๕๘๔ งานสถาปัตยกรรม ๕๘๖ สมัยอยุธยาตอนต้น (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑) ๕๘๖ สมัยอยุธยาตอนกลาง (ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒) ๖๑๔ สมัยอยุธยาตอนปลาย (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓) ๖๒๕ อาคารหลังคาคลุม (อุโบสถ วิหาร) ๖๓๔ งานประติมากรรม ๖๓๘ สมัยอยุธยาตอนต้น (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑) ๖๓๘ สมัยอยุธยาตอนกลาง ๖๕๐ สมัยอยุธยาตอนปลาย (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔) ๖๕๘ งานประติมากรรมปูนปั้น ๖๖๒ งานประติมากรรมปูนปั้นสมัยอยุธยาตอนต้น ๖๖๒ งานประติมากรรมปูนปั้นสมัยอยุธยาตอนกลาง ๖๖๔ งานประติมากรรมปูนปั้นสมัยอยุธยาตอนปลาย ๖๖๕ งานจิตรกรรม ๖๖๖ งานจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ๖๖๖ งานจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ๖๖๗ งานประณีตศิลปกรรม ๖๗๔ เครื่องทอง ๖๗๔ เครื่องไม้ ๖๗๖ งานประณีตศิลป์อื่น ๆ ๖๗๗ เครื่องถ้วย ๖๘๐ บทที่ ๑๑ ศิลปะล้ำนช้ำงในประเทศไทย (พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๔) ๖๘๕ กล่าวน�า ๖๘๕ ศิลปะล้านช้าง (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๔) ๖๘๖ ระยะที่ ๑ อิทธิพลศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๒๐) ๖๘๘ ระยะที่ ๒ อิทธิพลศิลปะล้านนา (พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒) ๖๙๐ ระยะที่ ๓ ศิลปะล้านช้างอย่างแท้จริง ๖๙๒ (ระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๔) งานสถาปัตยกรรม ๖๙๓ งานประติมากรรม (พระพุทธรูป) ๗๐๓ พระพุทธรูปล้านช้างช่วงต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ๗๐๓ (สมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช) พระพุทธรูปในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ : ๗๐๗ ช่วงรัชกาลพระยาสุริยวงศาธรรมิกราช (พ.ศ. ๒๑๘๑-๒๒๓๘) จนถึงก่อนที่ลาวมาขึ้นกับไทย (พ.ศ. ๒๓๒๕) พระพุทธรูปส�าคัญที่พบในภาคอีสานของไทย ๗๑๑ พระพุทธรูปที่อัญเชิญมาประดิษฐานในกรุงเทพฯ ๗๑๕
พระพุทธรูปที่มีรูปแบบล้านช้างในระยะหลัง ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ๗๑๗ (ส่วนที่พบในประเทศไทย) บทที่ ๑๒ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ ๒๔-ปัจจุบัน) ๗๒๓ กล่าวน�า ๗๒๓ งานสถาปัตยกรรม ๗๒๕ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ ๑-รัชกาลที่ ๓ ๗๒๕ สมัยรัชกาลที่ ๔ ๗๔๔ สมัยรัชกาลที่ ๕ ๗๕๒ อาคารหลังคาคลุม ๗๕๔ สมัยรัชกาลที่ ๑-รัชกาลที่ ๓ ๗๕๔ สมัยรัชกาลที่ ๔ ๗๖๘ สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงปัจจุบัน ๗๗๓ งานประติมากรรม ๗๗๘ พระพุทธรูปในสมัยรัชกาลที่ ๑ ๗๗๘ พระพุทธรูปในสมัยรัชกาลที่ ๒ ๗๘๓ พระพุทธรูปในสมัยรัชกาลที่ ๓ ๗๘๘ พระพุทธรูปในสมัยรัชกาลที่ ๔ ๗๙๔ พระพุทธรูปในสมัยรัชกาลที่ ๕ ๗๙๖ พระพุทธรูปในสมัยรัชกาลที่ ๖ ถึงปัจจุบัน ๘๐๑ งานจิตรกรรม ๘๐๓ จิตรกรรมแบบไทยประเพณีหรือประเพณีนิยม ๘๐๓ งานจิตรกรรมฝาผนังที่ปรับเปลี่ยนในสมัยรัชกาลที่ ๓ ๘๐๘ งานจิตรกรรมฝาผนังในสมัยรัชกาลที่ ๔-รัชกาลที่ ๕ ๘๐๙ บรรณำนุกรม ๘๑๗ ภำคผนวก ๑ ตำรำงเจดีย์สมัยต่ำง ๆ ๘๒๙ ภำคผนวก ๒ ตำรำงประติมำกรรมสมัยต่ำง ๆ ๘๔๖
๔๗ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ศิลปะในประเทศไทยควำมเป็นมำของกำรศึกษำประวัติศำสตร์ งานค้นคว้าทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีในประเทศไทย เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัช กาลที่ ๓ โด ยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน ขณะทรงผนวช ได เสด็จจาริกธุดงค์ไปยังสถานที่ส�าคัญทางประวัติศาสตร์ ใน พ.ศ. ๒๓๗๔ เสด็จไปนมัสการพระธมเจดีย์ (พ ระปฐม) เมื องนครปฐม แล ะทรงมีข้อ สันนิษฐานว่าน่าจะมีการประดิษฐานมหาธาตุไว้ภายใน ๑ และทรงมีพระ ราชวินิจฉัยว่าเป็นสถูปที่มีขนาดใหญ่และเก่ากว่าสถูปองค์อื่น ๆ ในสยาม โดยทรงวิเคราะห์จากฝีมือท�าอิฐและการก่อเป็นของเก่า เหมือนแต่แรกตั้ง พุทธศาสนาในลังกาทวีป พระปฐมเจดีย์นี้เป็นของที่สร้างขึ้นก่อนเจดีย์ทั้ง ปวง จึงถวายพระนามว่า “พระปฐมเจดีย์” ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จขึ้น เกริ่นน�ำ
70 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย (พระนคร : คุรุสภา, ๒๕0๕), หน้า ๑0๘. ๔๔ยอร์ช เซเดส์, โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานส�าหรับพระนคร, หน้า ๓๕. ๔๕หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะในประเทศไทย, หน้า ๒๒. ๔๖สันติ เล็กสุขุม, ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับย่อ), หน้า ๑๒๓. ๔7สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ด� ารงราชานุภาพ,  ต�านานพระพุทธเจดีย์ , หน้า  ๒๑๑. อ้างจาก  ศิลปสมัยอู่ทอง  : มานิต วัลลิโภดม, ศิลปสมัยอยุธยา : ตรี อมาตยกุล,  ศิลปสมัยรัตนโกสินทร์ : เอลิซาเบธ ไลออนส์, (พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๕๑ 0), หน้า ๑. ๔๘ยอร์ช เซเดส์, โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานส�าหรับพระนคร, หน้า ๓๙. ๔๙ประยูร อุลุชาฎะ,  เที่ยวเมืองศิลปะอู่ทอง , (กรุงเทพฯ : เกษมบรรณกิจ, ๒๕๑๖), ค� าน�า หน้า ก. ๕0พิริยะ ไกรฤกษ์,  แห่งชาติ สาขาส่วนภูมิภาคข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแบบศิลปในประเทศไทย คัดเลือกจากพิพิธภัณฑสถาน  , หน้า ๑๕-๑๖. ๕๑หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะในประเทศไทย, หน้า ๓0.
71 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ (ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๖)ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย  ดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันพบหลักฐานว่ามีมนุษย์อยู่  อ าศัยมาแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคเริ่มต้นคงเริ่มมาตั้งแต่  ราว  1  ล ้านปีมาแล้ว โดยได้ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีในยุคก่อน  ประวัติศาสตร์เป็นจ�า นว นมากในประเทศไทย  แต่เดิมได้มีการแบ่งยุค  สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตามการศึกษาของยุโรปและอเมริกัน ได้แก่ สมัย  หินเก่า สมัยหินกลาง สมัยหินใหม่ และสมัยโลหะ กา รศึกษาในปัจจุบันได้แบ่งเป็น “สังคม” เนื่องจากความเป็น  อยู่ของคนในแถบเอเชียแตกต่างจากยุโรปและแอฟริกา  การใช้ระบบเดิม  ไม่สามารถเทียบกันได้ในเรื่องของระยะเวลา  ในปัจจุบันจึงนิยมแบ่งตาม  สภาพสังคมและวัฒนธรรมเป็นหลัก โดยแบ่งเป็นสังคมล่าสัตว์และสังคม  เกษตรกรรม ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๑)(ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๖ วัฒนธรรมทางศาสนาก่อนประวัติศาสตร์และเมื่อแรกรับศิลปกรรมในดินแดนไทยยุคบทที่ ๑
72 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว)(สมัยหินเก่าถึงสมัยหินกลาง ประมาณ ๑ ล้าน-สังคมล่าสัตว์  ได้แก่ยุคที่มนุษย์มีสภาพเป็นสังคมเร่ร่อน ไม่อยู่อาศัยเป็นหลัก  แหล่ง  ตั้งแต่สมัยหินเก่ามาจนถึงสมัยหินกลาง ล่าสัตว์ใหญ่เป็นอาหาร  ใช้เครื่องมือหินกะเทาะขนาดใหญ่เป็นอาวุธ เช่น ขวานหินกะเทาะหน้า  เดียวจ� า พว กเครื่องมือสับตัด จนมาถึงมีการกะเทาะทั้งสองหน้า  (รูปที่ ๑)   พบแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ตามภูเขาในเขตจังหวัด  กาญจนบุรี เช่นที่บ้านเก่า อ�า เภ อไทรโยค และพบเป็นจ�า นว นมากตาม  ภูเขาทางภาคเหนือเกือบทุกจังหวัด เช่น แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่  ล�าปาง น่าน เป็นต้น  หลักฐานทางโบราณคดีที่ส�าคัญคือ เครื่องมือหิน  ขวานหินกะเทาะหน้าเดียวประเภทเครื่องมือสับตัด ทา(ตั้งแต่สมัยหินใหม่ถึงสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อสังคมเกษตรกรรม  งประวัติศาสตร์ ราว ๔,๐๐๐-๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว) วัฒนธรรมสมัยหินใหม่คือการใช้ขวานหินขัด เครื่องมือมีขนาด  เล็กลง  มนุษย์อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์  อยู่เป็นชุมชน และเริ่มพัฒนาการเป็นชุมชนขนาดใหญ่  ต่อมาจึงพัฒนา  เข้าสู่ยุคโลหะ วัฒนธรรมสมัยส�าริด และเหล็ก มีการผลิตอาวุธ เครื่องมือ  เครื่องใช้และเครื่องประดับ การค้นพบโลหะนับเป็นจุดเริ่มต้นของการค้า  และแลกเปลี่ยนทางไกล 1  จนกลายเป็นกลุ่มชนที่พัฒนาเข้าสู่สังคมใน  ระดับเมืองในที่สุด รูปที่ ๑  เครื่องมือหินกะเทาะพบบริเวณภาคเหนือ  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
73 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ แหล่งก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ เช่น  ในภาคกลางได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า บ้านดอนตาเพชร (จังหวัด  กาญจนบุรี)  (รูปที่ ๒ ก)  บ้านหนองราชวัตร (จังหวัดสุพรรณบุรี) บ้าน  โคกเจริญ บ้านท่าแค โนนป่าหวาย บ้านโป่งมะนาว (จังหวัดลพบุรี) บ้าน  โคกพนมดี (จังหวัดชลบุรี)  ในภาคอีสาน เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง  (จังหวัดอุดรธานี) (รูปที่ ๒ ข) บ้านธารปราสาท (จังหวัดนครราชสีมา)  เป็นต้น หลักฐานทางโบราณคดีที่ส�าคัญ คือ  บรรจุสิ่งของเครื่องใช้เป็นเครื่องอุทิศให้กับผู้ตายพิธีกรรมการฝังศพที่มีการ    สันนิษฐานว่าเป็นข้าว  ของเครื่องใช้ของผู้ตาย เป็นของมีค่าที่ได้มาจากภายนอก และสิ่งที่สร้าง  ขึ้นเพื่อพิธีกรรมความเชื่อหรือวัตถุอุทิศโดยเฉพาะ เช่น เครื่องประดับที่  เป็นหินสีต่าง ๆ (เช่น ก�าไล ลูกปัด เป็นต้น)  ภาชนะดินเผามีทั้งรูปทรง  ต่าง ๆ เช่น ตุ๊กตารูปสัตว์ และมีการตกแต่งลวดลายพิเศษ เช่น ลายขูด  ขีดเป็นลายเรขาคณิต ลายเขียนสี เป็นต้น  ดังตัวอย่างพบที่บ้านเชียง  บ้านท่าแคโดยมีข้อสังเกตว่าสิ่งของเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อพิธีกรรมการฝังศพ2 หลักฐานทางศิลปกรรมประเภทหนึ่งในยุคก่อนประวัติศาสตร์  คื อ ภาพเขียนสีตามเพิงผาและผนังถ�้ า  ถื อเป็นงานศิลปะของมนุษย์ที่  สร้างสรรค์ขึ้นที่อาจเนื่องด้วยพิธีกรรมความเชื่อ เช่น พิธีกรรมการเฉลิม  ฉลอง การบวงสรวง หรือเพื่อพิธีกรรมการล่าสัตว์ ซึ่งพบหลักฐานที่  เหลืออยู่เกือบทุกภูมิภาคของประเทศ  ในภาคใต้เช่นที่ถ�้าศิลป์ (จังหวัด  ยะลา) ถ�้ า ผีหั วโต (จังหวัดกระบี่)  ภาคกลาง เช่น ถ�้า ตา ด้วง (จังหวัด  กาญจนบุรี) ภูปลาร้า (จังหวัดอุทัยธานี) ภาคเหนือเช่นที่ค่ายประตูผา  (จังหวัดล�าปาง)  ส่วนภูมิภาคที่เหลือหลักฐานค่อนข้างมากคือภาคตะวัน  รูปที่ ๒  หม้อสามขา พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า  จ. กาญจนบุรี (รูป ก)  ภาชนะเขียนสีวัฒนธรรมบ้านเชียง (รูป ข)  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร รูป ก รูป ข
104 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย กล่าวน�า : วัฒนธรรมทวารวดี ความเป็นมาของอารยธรรมที่เกิดขึ้นในดินแดนไทยปรากฏหลัก ฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีก าร ค้นพบหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการติดต่อกับสังคมโลกภายนอก มี ก ารติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่เกิดกับกลุ่มชนในภูมิภาคนี้ ด้ว ย เหตุที่ดินแดนนี้ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าระหว่างจีนกับอินเดีย 1 ซึ่ง สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาแล้วอย่างน้อยตั้งแต่สมัยโลหะตอนปลาย ตรงกับ สมัยราชวงศ์โมริยะ-ศุงคะของอินเดีย (พุ ทธศตวรรษที่ ๓- ๕) อัน เป็น ช่วงที่อินเดียเริ่มมีการค้ากับประเทศทางตะวันตก (ก รีก-โรมันและ เปอร์เซีย) และโลกตะวันออกในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การติดต่อค้าขายกับโลกภายนอกท� า ให ้ภูมิภาคนี้มีการรับ วัฒนธรรมอินเดียที่เผยแพร่เข้ามา แล ะน่าจะมีพ่อค้าชาวอินเดียเข้ามา ตั้งถิ่นฐานในเวลาต่อมา ๒ ท� า ให้ศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้ามาในดินแดน แ ถบนี้ สิ่ง ส� า คัญ คือ คว ามเชื่อทางศาสนาท� า ให ้สังคม วัฒ นธรรม (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖)ศิลปะทวารวดี บทที่ ๒
10๕ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ประเพณี และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของคนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เริ่มเปลี่ยนไปเช่น การเปลี่ยนพิธีกรรมการฝังศพมาเป็นการเผาศพแทน อันสะท้อนให้เห็นว่าคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาและศาสนา พราหมณ์ได้เริ่มเป็นที่ยอมรับของคนพื้นเมืองในดินแดนไทย อาจกล่าว ได้ว่ามีมาแล้วตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๙-10 เป็นต้นมา การรับวัฒนธรรมทางศาสนาปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนในราว พุทธศตวรรษที่ ๙-11 โดยได้พบรูปเคารพในศิลปะอินเดียมาปรากฏใน ดินแดนไทย ทั้ง ในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ส่ว นใหญ่พบทาง ภาคตะวันตกและภาคใต้ รูปเคารพเหล่านี้น่าจะน�าเข้ามาโดยพ่อค้าหรือ นักบวชชาวอินเดียเพื่อการเคารพบูชา หรือเพื่อการเผยแผ่ศาสนา หลัก ฐานเนื่องในพุทธศาสนาที่ส� า คัญ คือ กา รพบพระพุทธรูปศิลปะอินเดีย ในศิลปะอมราวดี (ตั วอย่างพระพุทธรูปปางทรงแสดงธรรม รูป ที่ 1 1 ใ นบทที่ 1 ) ศิล ปะคุปตะ (ตั วอย่างพระพุทธรูปปางประทานพร รูป ที่ 1๒ ในบทที่ 1) และหลังคุปตะ เป็นต้น ต่อมามีการค้นพบหลักฐานว่าชาวพื้นเมืองได้เริ่มสร้างรูปเคารพ และศาสนสถานขึ้นในดินแดนแถบนี้ เท่ากับมีการประดิษฐานศาสนาขึ้น แล้วในภูมิภาคนี้ อย่างช้าสุดในราวพุทธศตวรรษที่ ๙-11 และเป็นจุดเริ่ม ต้นของชุมชนที่มีพัฒนาการเข้าสูงชุมชนเมืองและเข้าสู่วัฒนธรรมทวารวดี นับตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 1๒ เป็นต้นมา วัฒนธรรมทวารวดีในยุคแรกเริ่ม หลักฐานข้างต้นแสดงให้เห็นว่าชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัย อยู่ในบริเวณลุ่มแม่น�้าในภาคกลางของประเทศไทย ได้รับวัฒนธรรมทาง ศาสนา ทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ส�าหรับในภาคกลางส่วน ใหญ่พบหลักฐานพุทธศาสนาเป็นหลัก และเริ่มมีการสร้างประติมากรรม และสถาปัตยกรรมเนื่องในพุทธศาสนาขึ้นตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๙-11 เป็นต้นมา นอกจากนี้หลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ในประเทศใกล้เคียง ยัง แสดงให้เห็นว่าบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งเผยแผ่อารยธรรมแห่งหนึ่งของอินเดีย โด ยจะเห็นได้จากใน
106 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 1 1 1 ๒ กลุ ่มชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่างได้รับอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียในด้านศาสนา ศิล ปวัฒนธรรม ศาสตร์ต่าง ๆ รว มทั้งภาษาศาสตร์และอักษรศาสตร์ด้วย ๓ ซึ่งภาษา และอักษรนี้เองเป็นหลักฐานยืนยันถึงการเข้าสู่ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ของกลุ่มชนในดินแดนนี้ จุดเริ่มต้นของเอกสารโบราณในกลุ่มประเทศ ซึ่งตั้งหลักแหล่งอยู่ตลอดบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สา มารถ กล่าวได้ว่าไม่เก่าเกินไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 1 1 เห็ นได้จากการพบ หลักฐานโดยเฉพาะศิลาจารึก เช ่น จา รึกวัดมเหยงค์ จัง หวัดนครศรีธรรมราช จารึกเขารัง จังหวัดปราจีนบุรี จารึกศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ จารึกปากแม่น�้ามูล จังหวัดอุบลราชธานี จารึกกไดอัง ประเทศกัมพูชา จารึกต่าง ๆ ขอ งพระเจ้าปูรณวรมันแห่งประเทศอินโดนีเซีย จา รึก ของพระเจ้ามหานาวิกพุทธคุปตะแห่งประเทศมาเลเซีย จา รึกปยูแห่ง ประเทศพม่าจารึกฐานสถูปศิลา ประเทศบรูไน เป็นต้น ลักษณะของรูปอักษรในศิลาจารึกต่าง ๆ ข้างต้นเหมือนรูปอักษร ที่ใช้ในสมัยพระเจ้าศิวะสกันทวรมัน กษัตริย์ราชวงศ์ปัลลวะ อินเดียตอน ใต้ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 11 ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า กลุ่มจารึกรุ่น แรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้รูปอักษรปัลลวะทั้งสิ้น รูปอักษรปัลลวะ จึงเริ่มต้นเข้ามามีบทบาทอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 11 1๒ เป็นต้นมา4 จารึกเหล่านี้เป็นเครื่องบ่งบอกถึงการเข้าสู่ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของดินแดนประเทศไทยในปัจจุบัน หา กเทียบเคียงกับรูปแบบ ศิลปะที่พบในประเทศไทย ช่วงระยะเวลานับแต่พุทธศตวรรษที่ 1๒ นับ เป็นยุคเริ่มต้นของ ศิลปะทวารวดี๕ ส่วนชื่อ “ทวารวดี” ปร ากฏในเหรียญเงินมีจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ข้อความว่า“ศรีทวารวตีศวรปุณยะ” เป็นหลักฐานส�าคัญ ที่ท�าให้นักวิชาการทั้งหลายเชื่อว่าอาณาจักรชื่อ “ทวารวดี” มีอยู่จริง โดยอยู่ บริเวณภาคกลางของประเทศไทย และคงเป็นเมืองหรือเป็นรัฐที่มีกษัตริย์ ป กครอง มีเ มืองบริวารหรือเมืองที่มีวิวัฒนาการร่วมกันอยู่หลายเมือง สันนิษฐานจากการค้นพบเหรียญเงินแบบเดียวกันแพร่กระจายตามเมือง โบราณในสมัยทวารวดี เช่น นครปฐม อู่ทอง บ้านคูเมืองที่อ�าเภออินทร์บุรี
107 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ จังหวัดสิงห์บุรี เมืองคูบัว จัง หวัดราชบุรี (รู ปที่ ๑๙) เมื องดงคอนที่ อ�าเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เมืองคอกช้างดินที่อ� าเภออู่ทอง จังหวัด สุพรรณบุรี 6 เป็นต้น ศาสตราจารย์ยอร์ช เซ เดส์ ผู้อ ่านและตีความ เป็นคนแรก ให ้ความหมายว่า “บุ ญกุศลของพระราชาแห่งทวารวดี” 7 หรือ “พระเจ้าทวารวดีผู้มีบุญอันประเสริฐ” ๘ ต่อมาได้รับการตีความใหม่ว่า “ศรีทวารวตีศวรปุณยะ” แปลว่า “การบุญของพระเจ้าศรีทวารวดี” ก�าหนดอายุจากรูปแบบอักษรที่เป็น อักษรปัลลวะ อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 1๒๙ จารึกอีกชิ้นหนึ่งบนแผ่นทองแดง พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (รูปที่ ๒๐) จารึกด้วยอักษรหลังปัลลวะ ภาษาสันสกฤต อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 1๓-14 ที่กล่าวถึงพระนามของพระมหา กษัตริย์คือพระเจ้าศรีหรรษาวรมัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ที่ครองอยู่ที่ เมืองอู่ทอง จึงนับเป็นหลักฐานส�าคัญที่แสดงให้เห็นว่าบริเวณเมืองอู่ทอง อาจจะเคยเป็นอาณาจักรฟูนันมาก่อนจนถึงสมัยทวารวดี แล ะเคยเป็น ศูนย์กลางของอาณาจักรที่มีกษัตริย์ปกครองอยู่มาก่อน10 นอกจากนี้ยังมีจารึกที่แสดงให้เห็นว่าสมัยทวารวดีมีการปกครอง โดยระบบกษัตริย์ เช ่น จา รึกบนฐานธรรมจักรพบที่ทุ่งขวาง อ� า เภ อ ก�าแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีข้อความ “พระธรรมจักรของพระมเหสิ เจ้า...” พระมเหสิเจ้าน่าจะหมายถึงพระมเหสีของพระมหากษัตริย์ที่เป็น ผู้โปรดให้สร้างขึ้น11 และอีกชิ้นหนึ่งเป็นจารึกที่ฐานพระพุทธรูปหินทราย รูปที่ ๑๙ เหรียญเงิน มีจารึก “ศรีทวารวตี ศวรปุณยะ” พบที่เมืองคูบัว จ. ราชบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี
192 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย กล่าวน�า ในการศึกษาเกี่ยวกับศิลปะศรีวิชัยที่ผ่านมาส่วนใหญ่มักกล่าวถึง เฉพาะศิลปะเนื่องในพุทธศาสนามหายานเป็นหลักและมีขอบเขตเฉพาะ ในภาคใต้ โดยแยกเทวรูปรุ่นเก่าซึ่งเป็นรูปเคารพเนื่องในศาสนาพราหมณ์ ไว้อีกกลุ่มหนึ่ง อย่างไรก็ตามการศึกษาศิลปะในภาคใต้ได้พบหลักฐาน ที่มีความซับซ้อนอยู่มาก เนื่องจากภาคใต้เป็นแผ่นดินเปิดที่มีการติดต่อ กับโลกภายนอกทางทะเล จึงสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนกับกลุ่มชนจาก ภายนอกและมีการรับวัฒนธรรมก่อนภูมิภาคอื่น ตา มเส้นทางการ เดินเรือในสมัยโบราณพบว่ามีหลายพื้นที่เป็นจุดพักของนักเดินเรือ โดยได้พบหลักฐานทางโบราณคดีตามที่พักเหล่านี้ เช ่น ตะ กั่วป่าและ ตะกั่วทุ่งในจังหวัดพังงา เก าะภูเก็ต ไช ยา จัง หวัดสุราษฎร์ธานี เมื อง นครศรีธรรมราช เป ็นต้น ด้ว ยเหตุนี้จึงพบหลักฐานทางศิลปกรรม ที่มีความหลากหลายทั้งต่างยุคสมัยและต่างศาสนา จากหลักฐานทาง โบราณคดีแสดงให้เห็นถึงการรับอารยธรรมทางศาสนาตั้งแต่ยุคแรก (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๙)ศิลปะในภาคใต้และศรีวิชัยบทที่ ๓
193 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ เริ่มที่มีการน�ารูปเคารพที่เก่าสุดในประเทศไทยเข้ามา เช่น พระพุทธรูป สมัยอมราวดีหรืออนุราธปุระพบที่สุไหงโกลก (พุ ทธศตวรรษที่ 9 1 ๐) พระนารายณ์สี่กรพบที่ไชยา (พุ ทธศตวรรษที่ 9 1 ๐) ที่ถื อเป็นรูป เคารพในศาสนาฮินดูที่มีอายุเก่าสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น การศึกษาศิลปะภาคใต้จึงมีข้อจ� า กัด โด ยเฉพาะการก� า หน ด เรียกศิลปะศรีวิชัยที่เป็นพุทธศาสนามหายาน กลุ่มหนึ่งรับมาจากอินเดีย โดยตรง และอีกกลุ่มหนึ่งมีความสัมพันธ์กับศิลปะชวาภาคกลาง นอก จากนี้ศิลปกรรมส่วนหนึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สัมพันธ์กับศิลปะทวารวดีใน ภาคกลางของประเทศไทย วัฒนธรรมเขมร รวมทั้งมีลักษณะที่เป็นแบบ ท้องถิ่นด้วย จึง อาจมีการจัดกลุ่มศิลปะใหม่โดยเรียกว่าเป็น “ศิ ลปะใน ภาคใต้” แทนค�าว่า “ศิลปะศรีวิชัย” อาจก�าหนดเรียกเป็น ศิลปะในภาค  ใต้และศรีวิชัย ซึ่งครอบคลุมระยะเวลาช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 19 ในการศึกษาทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะของศิลปะ ภาคใต้ ได ้ก� า หน ดภาพรวมและก� า หน ดชื่อเรียกว่า “ศิ ลปะศรีวิชัย” โดยศาสตราจารย์ยอร์ช เซ เดส์ (G eorge C d s) เป็นผู้บัญญัติชื่อ “ศรีวิชัย” เมื่อ พ.ศ. 2๔๖1 จากการอ่านศิลาจารึกหลักที่ 23 มีศักราช ตรงกับ พ. ศ. 1 31 ๘ ใน จารึกระบุชื่อ “พ ระเจ้ากรุงศรีวิชัย” 1 แต่ ศิ ลาจารึกนี้ไม่ทราบที่มาว่ามาจากวัดเสมาเมือง อ� า เภ อเมือง จัง หวัด นครศรีธรรมราช หรื อวัดหัวเวียง (วั ดเวียง) อ� า เภ อไชยา จัง หวัด สุราษฎร์ธานี อีก ทั้งมีบันทึกของพระภิกษุอี้จิง (I -tsing) ที่ก ล่าวถึง อาณาจักรในบริเวณภาคใต้ของไทยนามว่า “ ซิลิ โฟชิ ” (S hih-Li-FoShih) แปลความหมายได้ว่า “ศรีวิชัย”2 ศิลปะศรีวิชัยเกิดจากการน�าชื่อของอาณาจักรหนึ่งมาใช้ โดยใน จดหมายเหตุจีนกล่าวถึงชื่อของศรีวิชัยที่ได้ส่งราชทูตขึ้นไปยังเมืองจีน ว่า เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่บริเวณเกาะสุมาตราเกาะชวาและแหลมมลายู ตั้งแต่ พ.ศ. 12๐๐ ถึง พ.ศ. 1๗๐๐3 แต่ในการใช้ชื่อนี้ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้ให้ข้อเสนอว่า ค�าว่าศรีวิชัยเป็นเพียงการก�าหนดชื่อสมัย ทางประวัติศาสตร์เท่านั้น ไม่ได้หมายถึงรูปแบบงานศิลปกรรม๔ อย่างไร ก็ดีชื่อนี้ถูกใช้ในหมู่นักวิชาการเรื่อยมาจนกระทั่งศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้เติมค�าเพื่อตีความใหม่โดยใช้ชื่อว่า “ศิลปะศรีวิชัย”
19๔ ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ซึ่งท่านจะใช้เรียกงานศิลปกรรมที่เกิดขึ้นทางภาคใต้ของประเทศไทย ในช่วงเวลาดังกล่าว ๕ เป็นการใช้ตามข้อเสนอของศาสตราจารย์ยอร์ช เ ซเดส์ อัน หมายถึงอาณาจักรและงานศิลปะและใช้กันสืบมา อย ่างไร ก็ตามรองศาสตราจารย์ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ ได้เคยก�าหนดเรียกศิลปะ ในภาคใต้เป็น “ศิลปะทักษิณ” ดังในหนังสือเรื่อง ศิลปทักษิณก่อนพุทธ ศตวรรษที่ ๑๙ (จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2๕23)๖ โดยมี หลักในการก�าหนดยุคสมัยตามอิทธิพลทางศิลปะที่มีบทบาทต่อดินแดน ในภาคใต้ แบ่งออกเป็น สมัยอิทธิพลอินเดีย รา วกลางพุทธศตวรรษที่ ๘ ถึง ราวกลาง พุทธศตวรรษที่ 1๐ สมัยอิทธิพลมอญและอาณาจักรทักษิณ ราวกลางพุทธศตวรรษ ที่ 1๐ ถึงราวกลางพุทธศตวรรษที่ 13 ส มัยอิทธิพลอินเดียและชวา รา วกลางพุทธศตวรรษที่ 1 3 ถึง ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 1๖ สมัยอิทธิพลเขมร รา วกลางพุทธศตวรรษที่ 1 ๖ ถึง ราวกลาง พุทธศตวรรษที่ 19 จ ากแนวทางดังกล่าวถือเป็นการก� า หน ดยุคสมัยของศิลปะใน ภาคใต้ได้ครอบคลุมมากกว่าการก� าหนดเป็น “ศิลปะศรีวิชัย” ส่วนราย ละเอียดปลีกย่อยเรื่องการก�าหนดชื่อเรียกเป็นศิลปะมอญหรืออาณาจักร ทักษิณ หรือมีการแบ่งกลุ่มย่อย ๆ เป็นศิลปะแบบไชยารุ่นที่ 1-๔ ซึ่งอาจ ยังไม่ชัดเจนมากนักในเรื่องอาณาจักรและสกุลช่างที่จะใช้ค� าว่า “ไชยา” ไปก�าหนดทั้งหมด จึงน่าจะใช้เพียงอิทธิพลทางศิลปะเป็นตัวก� าหนดน่า จะเพียงพอในส่วนที่สามารถแยกเป็นยุคสมัยได้ ได ้แก่ ศิล ปะศรีวิชัย ซึ่งตรงกับอิทธิพลอินเดียและชวา หรือสกุลช่างไชยาอาจใช้ได้ในส่วนที่มี พัฒนาการจนเกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของตัวเอง และพบมากที่เมืองไชยา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 1๘-19 เป็นต้น เหตุผลเพิ่มเติมคือ กา รใช้ชื่อ “ศิ ลปะศรีวิชัย” ใน ภาพรวม จึงควรจะต้องพิจารณาใหม่ ด้ว ยเหตุเพราะการผูกติดกับพุทธศาสนา มหายานที่มีความสัมพันธ์กับศิลปะชวาภาคกลาง สัม พันธ์กับหลักฐาน จารึกพระเจ้ากรุงศรีวิชัย ดัง นั้นขอบเขตของศิลปะสมัยศรีวิชัยจึงน่า
19๕ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ จะมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 1๔-1๕ แต่หลักฐานทางศิลปกรรม ที่พบในภาคใต้มีหลายยุคและหลายศาสนา มีทั้ งช่วงเวลาที่มีการรับมา จากอินเดียโดยตรง มีรู ปเคารพในพุทธศาสนาทั้งเถรวาทและมหายาน และในศาสนาพราหมณ์ (ราวพุทธศตวรรษที่ 12 13) ศิลปกรรมส่วน หนึ่งเป็นพระพุทธรูปมีความสัมพันธ์กับศิลปะทวารวดีในภาคกลางของ ประเทศไทย (พุ ทธศตวรรษที่ 1 3 1 ๖) ต่อ มามีอิทธิพลศิลปะเขมร (พุทธศตวรรษที่ 1๘) รวมทั้งในระยะหลังมีการพัฒนาจนเป็นลักษณะที่ เป็นแบบท้องถิ่นอาจก� า หน ดเรียกเป็น “ส กุลช่างไชยา” (พุ ทธศตวรรษ ที่ 1๘-19) ดังนั้นศิลปกรรมในภาคใต้ควรมีการแบ่งตามหลักฐานที่พบ ผู้ เ ขียนมีความเห็นว่าควรใช้ ศิล ปะในภาคใต้และศิลปะศรีวิชัย ใน ภาพ รวมทั้งหมด คือระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 19 และควรจะแยกส่วน ที่เป็น “ศิลปะศรีวิชัย” อันเป็นอิทธิพลศิลปะที่แทรกเข้ามาในภาคใต้ช่วง ศาสนาพุทธฝ่ายมหายานเจริญรุ่งเรือง พร ้อมกับการพบหลักฐานจารึก เรื่องพระเจ้ากรุงศรีวิชัยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 1๔-1๕ ดังนั้นการศึกษา หลักฐานทางศิลปกรรมในภาคใต้จึงอาจก�าหนดภาพรวมดังนี้ ศิลปะในภาคใต้และศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๙) - อิทธิพลศิลปะอินเดีย (พุทธแบบเถรวาท มหายาน และศาสนา พราหมณ์) (พุทธศตวรรษที่ 12 13) อิทธิพลศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 13 1๖) ศิลปะศรีวิชัย อิทธิพลศิลปะอินเดีย ปาละ และชวาภาคกลาง (พุทธศตวรรษที่ 1๔-1๕) - ศิลปะภาคใต้ สกุลช่างไชยา (พุทธศตวรรษที่ 1๖-19) หลังจากนี้จะเข้าสู่ศิลปะในพุทธศตวรรษที่ 2๐ เป็นต้นมา อัน เป็นศิลปะสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์
246 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย กล่าวน�า : การก�าหนดชื่อเรียกศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย ในการศึกษาศิลปะในประเทศไทยส่วนที่เป็นวัฒนธรรมเขมรนั้น ยังมีปัญหาทั้งเรื่องของการก� า หน ดชื่อเรียกศิลปะและการก� า หน ดช่วง ระยะเวลา ที่มีการใช้หลายชื่อ เช่น “ศิลปะสมัยลพบุรี” “ศิลปะลพบุรี” “ศิลปะขอมในประเทศไทย” เป ็นต้น ส่ว นการก� า หน ดระยะเวลามี 2 ค วามเห็น คือ ระ หว่างพุทธศตวรรษที่ ๑ 6 -๑ ๘ (โ ดยก� า หน ดขอบเขต เฉพาะที่พบในภาคกลางของประเทศไทย) และพุทธศตวรรษที่ ๑2-๑๘ (โดยรวมศิลปะเขมรที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย) ชื่อเรียก “ส มัยลพบุรี” มีก ารใช้ในครั้งแรกในพระราชนิพนธ์ เรื่อง ต�ำนำนพระพุทธเจดีย์สย ำม ของสมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ พิม พ์ครั้งแรกเมื่อ พ. ศ. 2 46 ๙ พร ะองค์ทรงก� า หน ดเรียกชื่อ ศิลปะว่า “ส มัยลพบุรี” ปร ะมาณ พ. ศ. ๑ 6 ๐๐ ๑ โดยทรงใช้หลักฐาน ศิลปกรรมเขมรพบที่เมืองลพบุรีเป็นหลักในการก�าหนด ทรงเชื่อว่าเป็น (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘)ศิลปะเขมรในประเทศไทย บทที่ ๔
247 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ อิทธิพลทางการเมืองของเขมรที่มาปกครองถึงภาคกลาง ภา คเหนือที่ สุโขทัย ภาคตะวันตกที่เพชรบุรี และทรงกล่าวถึงกลุ่มงานประติมากรรม ที่พบว่าส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนามหายาน2 ศิลปะ “สมัยลพบุรี” จึง เป็นที่รู้จักและใช้สืบเนื่องมา โด ย เฉพาะที่ใช้เป็นต� า รา เรียนทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ คือ ศิล ปะใน ประเทศไทย๓ ของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล พิมพ์ครั้ง แรกเมื่อ พ.ศ. 2๕๐6 ทรงก�าหนดว่าเป็นศิลปะที่พบในท้องที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ลักษณะทาง ศิลปกรรมมีความละม้ายกับศิลปกรรมเขมรในประเทศกัมพูชา เห ตุที่ เรียกว่าเป็น “ศิลปะลพบุรี” เพราะเชื่อว่าเมืองละโว้หรือลพบุรีเป็นเมือง ส�าคัญในระยะเวลานั้น คือระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑6-๑๘ 4 และพระ นิพนธ์ที่ส�าคัญอีกเรื่องหนึ่งของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ได้แก่ ศิลปะสมัยลพบุรี พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2๕๑6 ใช้ในความหมายว่า เป็นโบราณวัตถุสถานเขมรที่ค้นพบในประเทศไทย รวมถึงโบราณวัตถุที่ ท�าขึ้นในประเทศไทย แต่ท�าเลียนแบบศิลปะเขมรในประเทศกัมพูชา ทรง ก� า หน ดว่าส่วนใหญ่จะมีอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑ 6 ลง มาจนถึง พุทธศตวรรษที่ 2๐๕ ในระยะต่อมาแนวความคิดเรื่องชื่อ “ศิ ลปะลพบุรี” เริ่ มมีการ เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะตามความเห็นของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ที่มีการปรับเปลี่ยนอายุของ “ศิลปะลพบุรี” จากเดิมที่ เริ่มต้นที่พุทธศตวรรษที่ ๑6 มาเป็นการเริ่มต้นที่เก่าไปถึงพุทธศตวรรษ ที่ ๑2 จนท� าให้เกิดความสับสนว่าช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑2-๑ 6 ที่เมือง ลพบุรีจัดเป็นวัฒนธรรมทวารวดีอยู่ จึง ไม่ควรน� า มา ใช้ ได ้มีผู้เสนอ ว่าควรจะใช้เป็น “ศิ ลปะเขมร” หรื อ “ศิ ลปะเขมรท้องถิ่น” แท น แต ศาสตราจารย์ หม ่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศ กุล ทร งไม่เห็นด้วยเพราะพบว่า ศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทยมีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างไปจาก ศิลปะเขมรในประเทศกัมพูชา ส่วนค�าว่า “ท้องถิ่น” ก็มีความหมายว่า สู้เมืองหลวงไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่บางครั้งศิลปะเขมรในประเทศไทยมีความงาม มากกว่าศิลปะเขมรในประเทศกัมพูชาในสมัยเดียวกัน ดังนั้นจึงทรงเห็น ว่าถ้าไม่ใช้ค�าว่า “ศิลปะลพบุรี” น่าจะใช้ค�าว่า “ศิลปะเขมร (หรือขอม)
24๘ ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ในประเทศไทย” มากกว่า รวมทั้งยอมรับว่ามีความผิดแผกกับ “ศิลปะ ขอม (หรือเขมร) ในประเทศกัมพูชา”6 ด้วยเหตุนี้ในการศึกษาศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทยในระยะ หลังจึงเปลี่ยนมาเรียกว่า “ศิลปะเขมรหรือขอมในประเทศไทย” และใช้ ข้อความในวงเล็บว่า (ศิ ลปะลพบุรี) ตา มความเห็นของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศ กุล เช ่นหนังสือเรื่อง ปร ะวัติศ ำ สต ร์ศิลปะ ไทย (ฉบับย่อ) ก ำ รเ ริ่มต้นและก ำ รสื บเนื่องง ำ นช ำ งใ นศ ำ สน ำ ขอ ง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร . สัน ติ เล็ กสุขุม ใช ้ค� า ว่า “ศิ ลปะขอมใน ประเทศไทยหรือศิลปะลพบุรี”7 เป็นต้น ผู ้เขียนมีความเห็นเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนมาเรียกว่า “ศิ ลปะ เขมรในประเทศไทย” แต ่ยังไม่เห็นด้วยที่มีค� า ว่า “ห รือศิลปะลพบุรี” ด้วยเหตุผล ประการแรก เรื่ องขอบเขตของระยะเวลาที่พบวัฒนธรรม เขมรเก่าไปถึงพุทธศตวรรษที่ ๑2 ถ้าก�าหนดว่า “ศิลปะลพบุรี” ในความ หมายเดิมเพียงพุทธศตวรรษที่ ๑ 6 จะ ไม่ครอบคลุม ประการที่ ๒ ใน ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑2-๑6 ที่เมืองลพบุรีมีหลักฐานเกี่ยวกับวัฒนธรรม ทวารวดี ยังมีส่วนที่เป็นวัฒนธรรมเขมรอยู่น้อยมาก จึงท�าให้เกิดความ เข้าใจไม่ตรงกันได้ ปร ะการที่ ๓ เรื่ องพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ถ้า ใช้ค� า ว่า “ศิลปะลพบุรี” ในฐานะที่ลพบุรีเป็นศูนย์กลางของเขมรช่วงเวลาหนึ่ง (เฉพาะทางภาคกลางช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑ 6 -๑ ๘) แต ่ด้วยเหตุที่หลัก ฐานทางศิลปกรรมที่เป็นศิลปะเขมรส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสานโดยเฉพาะ อีสานใต้ แล ะมีอายุเก่าไปถึงพุทธศตวรรษที่ ๑ 2 พบ มากระหว่างพุทธ ศตวรรษที่ ๑ 6 -๑ ๘ โด ยพบมากกว่าแถบภาคกลางโดยเฉพาะที่เมือง ลพบุรี ดัง นั้นการก� า หน ดเรียกศิลปะลพบุรีกับศิลปะเขมรที่พบในภาค อีสานจึงไม่ครอบคลุมพื้นที่ทางวัฒนธรรมอย่างยิ่ง ในที่นี้ผู้เขียนมีข้อเสนอให้มีการก�าหนดโดยแยกศิลปะนี้เป็น 2 สมัยคือ “ศิลปะเขมรในประเทศไทย” และ “ศิลปะสมัยลพบุรี” และขอ ก�าหนดค�าว่า “เขมร” แทนค�าว่า “ขอม” โดยค�าว่า “เขมร” เป็นค�าเรียก ชาวเขมรอันเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป ส่วนค�าว่า “ขอม” เป็นค�าเฉพาะ ที่ชาวไทยเรียกชาวเขมร กล ่าวคือ ชื่อ “ศิ ลปะเขมรในประเทศไทย”  ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑ 2 ถึง กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อยู ่ในช่วง
24๙ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ วัฒนธรรมเขมรและสมัยที่อาณาจักรกัมพูชามีบทบาท อาจจะทั้งทางการ เมืองและศิลปกรรมในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑ 2 ลง มาถึงกลางพุทธ ศตวรรษที่ ๑๘ คือในสมัยบายนของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่เมื่อหมด อ�านาจทางการเมืองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แล้วอ�านาจทางการเมือง และอิทธิพลทางศิลปะของเขมรได้ลดน้อยลง ส่วน “ศิลปะสมัยลพบุรี” ระหว่างกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ถึง ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เกิดขึ้นในระยะเวลาที่อาณาจักรกัมพูชาโบราณ ได้ล่มสลายลงในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ผู้ค นในแถบนี้น่าจะมี การสถาปนาอาณาจักรขึ้นใหม่ในภาคกลางของประเทศไทยที่เมืองลพบุรี ในช่วงหลังสมัยบายนและก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี อย่างน้อยเป็นเวลากว่า ๑๐ ๐ ปี ปร ะกอบกับการค้นพบหลักฐานทาง ศิลปกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะที่เกิดขึ้นใหม่ โด ยมีพัฒนาการทางด้านรูป แบบต่างไปจากศิลปะเขมร เช่น เจดีย์ทรงปรางค์ พระพุทธรูป ๘ รวมทั้ง พบหลักฐานว่าเมืองละโว้เคยส่งทูตไปยังเมืองจีนระหว่าง พ.ศ. ๑๘๓2 ๑๘ 42 ๙ แสดงให้เห็นถึงสถานภาพของความเป็นรัฐอิสระด้วย ด้ว ย เหตุนี้จึงขอเสนอให้มีการเรียกชื่อศิลปะในช่วงนี้ใหม่ เป ็น “ ศิล ปะสมัย  ลพบุรี” และก�าหนดระยะเวลาอยู่ในช่วงระหว่างการสิ้นสุดอ�านาจทางการ เมืองของเขมรและก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี (ระหว่าง กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙) (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘)วัฒนธรรมเขมรในดินแดนไทย  จากหลักฐานทางศิลปกรรมพบว่ามีวัฒนธรรมเขมรในดินแดน ไทยตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑2 เป็นต้นมา ซึ่งร่วมสมัยกับวัฒนธรรม ทวารวดี ทั้ง หลักฐานที่เป็นงานสถาปัตยกรรมและงานประติมากรรม ศิลปะเขมรในประเทศไทยส่วนใหญ่พบในภาคอีสานใต้ และแพร่กระจาย ไปยังภาคอีสานตอนเหนือและในภาคกลาง จา กลักษณะของงาน ศิลปกรรมส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับศาสนาฮินดูเป็นหลัก ที่รองลงมาคือรูป เคารพในศาสนาพุทธมหายาน และได้พบหลักฐานงานศิลปกรรมตั้งแต่ รุ่นเก่าสุดในศิลปะเขมร ตั้ง แต่สมัยก่อนเมืองพระนคร ได ้แก่ ปร าสาท
312 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ๔๖หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะสมัยลพบุรี, หน้า ๔3 ๔๗เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๗. ๔๘หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะสมัยลพบุรี, หน้า 1๔ . ๔๙ สันติ เล็กสุขุม,“ก่อนที่จะปรากฏในศิลปะไทยและก่อนที่จะหายไปในที่สุด : ฐานบัว  ลูกฟัก,” ใน รวมบทความ มุมมอง แนวความคิดและความหมาย : งานช่างไทยสมัยโบราณ,  (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2๕๔๘), หน้า 1๘๐-1๙1. ๕๐หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะสมัยลพบุรี, หน้า 2๗. ๕1สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะสุโขทัย, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2๕๔๙), หน้า ๔1. ๕2หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะสมัยลพบุรี, หน้า ๙๐. ๕3สุพจน์ พรมมาโนชและสิริกุล พิชัยชุมพล, เซรามิคซ์ในประเทศไทย ชุด ๔ : เตาบ้านกรวด  บุรีรัมย์, (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2๕32), หน้า ๙๐. ๕๔ณัฏฐภัทร จันทวิช, เครื่องถ้วยจีนที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย, (กรุงเทพฯ :  กรมศิลปากร, 2๕3๗), หน้า 2๖-2๗.
313 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ กล่าวน�า ดังได้กล่าวไว้ในบทที่แล้วถึงเรื่องการก�า หน ดชื่อเรียก “ศิลปะ  สมัยลพบุรี” และ “ศิลปะเขมรในประเทศไทย” ในที่นี้จึงขอแบ่งเป็น  คนละสมัย กล่าวโดยสรุปคือ ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรแยก “ศิลปะ  เขมรในประเทศไทย” และ “ศิลปะสมัยลพบุรี” ออกจากกัน เพราะมี  ความแตกต่างกันเรื่องขอบเขตทางวัฒนธรรม ลักษณะทางศิลปกรรม  และระยะเวลา  ศิลปะในวัฒนธรรมเขมรควรเรียกว่า “ศิลปะเขมรใน  ประเทศไทย” ด้วยเหตุผล คือ ขอบเขตของระยะเวลาที่พบวัฒนธรรม  เขมรเก่าไปถึงพุทธศตวรรษที่ 1๒  ในขณะที่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 1๒-  1๖ ที่เมืองลพบุรี มีหลักฐานเกี่ยวกับวัฒนธรรมทวารวดี ยังมีส่วนที่เป็น  วัฒนธรรมเขมรอยู่น้อยมาก  ที่ส� า คัญ คือ  หลักฐานทางศิลปกรรมที่  เป็นศิลปะเขมรส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสานโดยเฉพาะอีสานใต้ และมีอายุ  เก่าไปถึงพุทธศตวรรษที่ 1 ๒  พบมากระหว่างพุทธศตวรรษที่ 1 ๖- 1 ๘  ม ากกว่าแถบภาคกลางโดยเฉพาะที่เมืองลพบุรี  ดังนั้นการจะก�า หน ด  ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙)(กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ศิลปะสมัยลพบุรี บทที่ ๕
314 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย เรียกศิลปะลพบุรีกับศิลปะเขมรที่พบในภาคอีสานจึงไม่ครอบคลุมพื้นที่  ทางวัฒนธรรม1 วัฒนธรรมเขมรมีบทบาทในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 1๒ ลงมาถึง  กลางพุทธศตวรรษที่ 1๘ โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ในช่วง  ต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 1๘ แต่เมื่ออ�านาจทางการเมืองของพระเจ้า  ชัยวรมันที่ ๗ สิ้นสุดลงแล้ววัฒนธรรมเขมรก็ค่อย ๆ เสื่อมลงตามไปด้วย  โดยเฉพาะในภาคกลางของประเทศไทยที่เมืองลพบุรีในช่วงหลังสมัย  บายนและก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เป็นเวลาราว 1๐๐  ปี  พบหลักฐานทางศิลปกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะที่เกิดขึ้นอย่างใหม่ที่อยู่  บนพื้นฐานของวัฒนธรรมเขมร อาทิ การสร้างเจดีย์ทรงปรางค์ที่ได้รับ  อิทธิพลมาจากปราสาทเขมร ดังตัวอย่าง พระปรางค์ประธาน ปรางค์  หมายเลข 1๖ ค. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี  หรือกลุ่มพระพุทธรูป  ที่มีพัฒนาการต่างไปจากพระพุทธรูปเขมรแล้ว  นอกจากนี้ยังพบเอกสาร  ทางประวัติศาสตร์ระบุว่าเมืองละโว้เคยส่งทูตไปยังเมืองจีนระหว่าง  พ.ศ.  1 ๘ 3 ๒- 1 ๘ 4 ๒ ๒   แสดงให้เห็นถึงสถานภาพของความเป็นรัฐ  อิสระอย่างชัดเจน ด้วยเหตุนี้จึงขอเสนอให้มีการเรียกชื่อศิลปะใน  ช่วงนี้ใหม่เป็น  ศิลปะสมัยลพบุรี  และก� า หน ดระยะเวลาอยู่ระหว่าง  กลางพุทธศตวรรษที่  1 ๘  ถึงปลายพุทธศตวรรษที่  1 ๙  ในช่วงระหว่าง  การสิ้นสุดอ� า นา จทางการเมืองของเขมรและก่อนการสถาปนากรุงศรี-  อยุธยาเป็นราชธานี3 จากหลักฐานทางศิลปกรรมและเอกสารทางประวัติศาสตร์ รวม  ทั้งข้อสันนิษฐานของนักวิชาการต่าง  ๆ เกี่ยวกับศิลปกรรมที่เมืองลพบุรี  ซึ่ งอยู่ในช่วงหลังการสิ้นสุดอ� า นา จทางการเมืองของเขมร (กลางพุทธ  ศตวรรษที่ 1๘) จนมาถึงการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี (พ.ศ.  1๘๙3) ระยะเวลากว่า 1๐๐ ปี  เมืองลพบุรีน่าจะมีฐานะเป็นศูนย์กลาง  ทางการเมืองและมีงานศิลปกรรมที่ส�าคัญ หรืออาจอยู่ในฐานะเมืองหลวง  ของอาณาจักรลวะปุระ ดังปรากฏหลักฐานเอกสารจีนที่กล่าวถึงการส่ง  ราชทูตจากกรุงละโว้ไปยังเมืองจีน อันแสดงให้เห็นถึงสถานะทางการ  เมืองที่ปกครองด้วยระบบกษัตริย์ และอาจมีความส� า คัญ ระดับรัฐหรือ  อาณาจักรหนึ่งด้วย
315 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ หลักฐานความสืบเนื่องทางศิลปกรรมเมืองลพบุรีที่ไปปรากฏใน  ส มัยอยุธยาตอนต้นในกลุ่มวัดที่มีขนาดใหญ่และเป็นวัดส� า คัญ ใจกลาง  เมือง คือความนิยมสร้างเจดีย์ทรงปรางค์เป็นประธานของวัด  และมี  ระบบของแผนผังที่สืบทอดไปจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี  รวม  ทั้งรูปแบบพระพุทธรูปและงานปูนปั้นล้วนสืบทอดไปจากศิลปกรรม  ลพบุรีทั้งสิ้น  จึงสอดคล้องกับข้อสันนิษฐานที่ว่าเมืองลพบุรีน่าจะเป็น  ศูนย์กลางที่ส� า คัญ ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา และอาจสันนิษฐาน  ได้ว่าผู้น�ากลุ่มคนที่มีบทบาทในการก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา คือพระเจ้าอู่ทอง  อาจจะมีเชื้อสายหรืออพยพมาจากเมืองลพบุรี มากกว่าจะมาจากเมือง สุพรรณบุรี4 จากหลักฐานข้างต้นจึงมีเหตุผลค่อนข้างชัดเจนให้เชื่อว่า  อ าณาจักรละโว้หรือเมืองลพบุรี มีบทบาทส� า คัญ ต่อการสร้างงาน  ศิลปกรรมในช่วงเวลาดังกล่าว โดยอาจจะก�าหนดเรียกศิลปะในช่วงเวลา  นี้เป็น “ศิลปะสมัยลพบุรี” ได้ ทั้งนี้อาจมีข้อสังเกตเพิ่มเติมส�าหรับกลุ่ม  พระพุทธรูปและลักษณะงานศิลปกรรมที่มีลักษณะบางอย่างใกล้เคียง  กันอย่างมากกับที่พบที่เมืองลพบุรี  โดยเฉพาะพระพุทธรูปที่เรียกว่า  แบบอู่ทองรุ่นที่  1  ก ลุ่มที่พบที่เมืองสรรคบุรี ควรจะเรียกว่าเป็นศิลปะ  ใด เพราะหากเรียกว่า “ศิลปะลพบุรี” อาจจะต้องพิจารณาเรื่องอ�านาจ  ทางการเมืองว่าเมืองสรรคบุรีเป็นเมืองของอาณาจักรลพบุรีด้วยหรือ  ไม่ จึงมีข้อเสนอว่าอาจใช้ค�ากลาง ๆ ว่าเป็น “ศิลปะที่พบในภาคกลาง”  ระหว่างกลางพุทธศตวรรษที่ 1 ๘  ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 1 ๙  ได้หรือ  ไม่  แต่ตามความเห็นของผู้เขียนเชื่อว่าจัดเป็นศิลปะสมัยลพบุรีได้ เพราะ  ที่เมืองสรรคบุรีพบน้อยมากและมีรูปแบบเดียวกับที่พบที่เมืองลพบุรี ทั้ง  พระพุทธรูปนาคปรก หินทราย และพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ 1  ซึ่ ง  น่าจะเป็นเรื่องของการรับอิทธิพลทางศิลปะมากกว่า
348 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ความเป็นมาของอาณาจักรหริภุญชัยกล่าวน�า :  อาณาจักรหริภุญชัยเป็นชื่ออาณาจักรโบราณตั้งอยู่ในภาคเหนือ ตอนบน ใน ราวพุทธศตวรรษที่ ๑ 3 -๑ 8 มีศู นย์กลางอยู่ที่เมืองล� า พูน ค� า ว่า “ห ริภุญชัย” เป ็นชื่อที่ปรากฏในจารึกในสมัยหริภุญชัย๑ และชื่อ อาณาจักรนี้ยังมีปรากฏในจารึกและเอกสารในสมัยล้านนาอีกด้วยเช่นกัน ๒ อาณาจักรหริภุญชัยปรากฏในต� านาน ที่กล่าวถึงชาวหริภุญชัย ร่วมกันสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นในราว พ.ศ. ๑๒๐4 โดยมีผู้น�าคนส�าคัญ คือฤๅษีวาสุเทพ เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้วไม่มีเจ้าผู้ปกครอง ชาวเมืองจึง พร้อมใจกันไปขอ “เ จ้า” (เ ชื้อพระวงศ์) จา กพระเจ้ากรุงละโว้ ซึ่ง เป็น อาณาจักรที่รุ่งเรืองอยู่ในขณะนั้น แต่พระเจ้ากรุงละโว้ไม่มีพระราชโอรส มีแต่พระราชธิดาคือพระนางจามเทวี จึงได้ส่งพระนางจามเทวีพร้อมทั้ง บริวารขึ้นมาปกครองอาณาจักรหริภุญชัย พร้อมกันนี้ได้น�าพระสงฆ์และ พระไตรปิฎกขึ้นมาด้วย3 (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘)ศิลปะสมัยหริภุญชัย บทที่ ๖
349 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ พระนางจามเทวีจึงถือเป็นบุคคลส�า คัญ ในประวัติศาสตร์ของ อาณาจักรหริภุญชัย เป ็นผู้ปกครองเมืองพระองค์แรก แล ะเป็นผู้ที่น� า ศาสนาและวัฒนธรรมขึ้นมาสู่ดินแดนภาคเหนือ สัมพันธ์กับหลักฐานทาง ด้านโบราณคดีและงานศิลปกรรมที่พบในสมัยหริภุญชัย เพราะได้พบว่า งานศิลปกรรมในรุ่นแรก ๆ มีความสัมพันธ์กับศิลปะทวารวดีในภาคกลาง ของประเทศไทย ที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑3-๑๖ ด้วย เหตุนี้การสร้างต�านานที่เชื่อมโยงกับเมืองละโว้ดังกล่าวจึงมีความเป็นไป ได้ในเรื่องของการรับวัฒนธรรมทางศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนาจาก อาณาจักรทวารวดี เพ ราะในต�า นา นระบุไว้ว่ามีการน�า มห าเถรและพระ ไตรปิฎกขึ้นมาด้วย หลักฐานที่ได้จากการขุดค้นทางด้านโบราณคดีที่เมืองล� า พูน หลายครั้ง ทั้งโดยกรมศิลปากร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และโดยความร่วมมือโครงการโบราณคดีไทย-ฝรั่งเศส ผล การขุดค้น ทั้งหมดสอดคล้องกัน กล่าวโดยสรุปคือ บริเวณเมืองล�าพูนมีหลักฐาน การอยู่อาศัยของคนมาแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ใน สมัยโลหะ ตอนปลาย โดยเฉพาะแหล่งโบราณคดีที่ส�าคัญมากที่สุด คือ บ้านวังไฮ  เพราะเป็นแหล่งชุมชนที่มีการอยู่อาศัยของมนุษย์มาแล้วตั้งแต่ยุคก่อน ประวัติต่อเนื่องมาจนถึงสมัยหริภุญชัย โดยพบว่าในชั้นวัฒนธรรมแรกเริ่ม พบโครงกระดูกมนุษย์ที่มีเครื่องมือเครื่องใช้ในวัฒนธรรมส�าริดและเครื่อง ประดับฝังร่วมกัน (รูปที่ ๑๗๖)  จากพิธีกรรมการฝังศพนี้แสดงให้เห็น ว่ายังเป็นวัฒนธรรมความเป็นอยู่แบบดั้งเดิมในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่มีการรับวัฒนธรรมทางศาสนา แต่จากเครื่องประดับที่เป็นก�าไล แก้วและพวกลูกปัดที่ท� าจากหินคาร์เนเลียน (carnelian) (รูปที่ ๑๗๗)  ซึ่งเป็นของที่น� า มา จากภายนอก ไม ่ใช่วัสดุในท้องถิ่น แส ดงให้เห็นว่ามี การติดต่อกับสังคมภายนอกแล้ว และในแหล่งโบราณคดีเดียวกันนี้ใน ชั้นวัฒนธรรมที่สูงขึ้นกลับไม่พบพิธีกรรมการฝังศพ จึงสันนิษฐานได้ว่า มีการรับวัฒนธรรมทางศาสนา (พุ ทธศาสนา) ที่มี การเผาศพแล้ว แล ะ ได้พบภาชนะดินเผาที่ใช้ในสมัยหริภุญชัยแล้ว4 ตัวอย่างแหล่งโบราณคดีที่ส� า คัญ อีกแหล่งหนึ่ง คือ แห ล่ง  โบราณคดีกลางเมืองล� า พูน พบ ว่าชั้นดินยุกแรกสุดเป็นชั้นวัฒนธรรม
35๐ ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย รูปที่ ๑๗๖ ก�าไลส�าริด ยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบที่บ้านวังไฮ อ. เมือง จ. ล�าพูน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย รูปที่ ๑๗๗ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบที่บ้านวังไฮ อ. เมือง จ. ล�าพูน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย
35๑ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ยุคแรกเริ่มทางประวัติศาสตร์ในสมัยทวารวดี โดยได้พบภาชนะดินเผา และประติมากรรมขนาดเล็ก เช่น ตุ๊กตาดินเผาขนาดเล็กคล้ายกับตุ๊กตา รูปคนจูงลิง 5 นอกจากนี้ยังมีแหล่งโบราณคดีแหล่งอื่น ๆ ที่พบชิ้นส่วน ของกวางหมอบ ๖ ซึ่งกวางหมอบถือเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่ส�าคัญ เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่ประดับคู่กับธรรมจักร เป ็นรูปแบบที่นิยมอย่าง แพร่หลายในวัฒนธรรมทวารวดี จนอาจกล่าวได้ว่าพบธรรมจักรกับกวาง หมอบที่ใด แส ดงว่าวัฒนธรรมทวารวดีแพร่หลายไปถึงที่นั่น แส ดงให้ เห็นว่ามีการรับวัฒนธรรมทางศาสนาจากทวารวดีในภาคกลางของ ประเทศไทย สอ ดคล้องกับต� า นา นที่กล่าวถึงพระนางจามเทวีจากกรุง ละโว้มาปกครองหริภุญชัยในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑3 น อกจากหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการค้นพบใหม่ ยัง แสดง ให้เห็นถึงเส้นทางการขึ้นมาของวัฒนธรรมทวารวดีจากภาคกลางของ ประเทศไทยไปยังอาณาจักรหริภุญชัยชัดเจนขึ้น โด ยได้พบหลัก ฐานการแพร่กระจายต่อจากแม่น�้ า เจ้าพระยาขึ้นมาตามล� า น�้ า ปิงที่เมือง ไตรตรึงส์ จัง หวัดก� า แพ งเพชร ซึ่ง ได้มีการค้นพบหลักฐานที่เป็นงาน ศิลปกรรมร่วมสมัยกับทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทย แห ล่ง โบราณคดีที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เช ลียง แล ะวัดชมชื่น เมื องศรีสัชนาลัย จัง หวัดสุโขทัย ได ้พบหลักฐานงานศิลปกรรมและฐานเจดีย์ ที่อยู่ในสมัยทวารวดีด้วย เช ่น ภา ชนะดินเผา รว มทั้งได้พบแหล่ง โบราณคดีแหล่งใหม่ซึ่งได้พบเหรียญเงินศรีวัตสะและรูปพระอาทิตย์ ลูกปัด ภา ชนะดินเผา แล ะตราประทับหรือรูปสัตว์ ตา มล� า แม ่น�้ า ปิง ในเขตบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งจัดอยู่ในวัฒนธรรมทวารวดี การค้นพบดังกล่าวตามล�า แม ่น�้า ยม และแม่น�้า ปิง แส ดงให้เห็นเส้นทาง การขึ้นมาของวัฒนธรรมทวารวดีสู่หริภุญชัยได้ดีที่สุด
382 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย (รูปที่ ๑๙๔)   ที่บริเวณเดียวกันนี้ได้พบหลักฐานส� า คัญ คือ ศิลาจารึก ภาษามอญโบราณ ๑ หลัก  จากหลักฐานดังกล่าว โดยเฉพาะรูปแบบ พระพุทธรูป มีลักษณะที่จัดได้ว่าร่วมสมัยกับศิลปะทวารวดีในภาคกลาง หรือภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย จึงก�า หน ดอายุว่าร่วมสมัยกับ ศิลปะทวารวดีที่พบในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. ๑2๐๐-๑๔๐๐๑  และ ศาสตราจารย์มาดแลน จีโต (Madeleine Giteau) ผู้ศึกษาศิลปะลาวใน ครั้งแรก ๆ ได้จัดเป็นพระพุทธรูปแบบทวารวดี และก�าหนดอายุราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑3 หรืออย่างช้าสุดราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔2  ทั้งนี้ยังไม่มีการ ศึกษาว่าได้พบเมืองโบราณที่ร่วมสมัยกับทวารวดีหรือไม่ ในดินแดนลาวทางตอนใต้บริเวณเขตแคว้นจ� าปาสักในช่วงก่อน พุทธศตวรรษที่ ๑๙ พบว่ามีหลักฐานที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมเขมรในสมัย ก่อนเมืองพระนคร ตัวอย่างการพบพระพุทธรูปที่มีรูปแบบศิลปกรรมร่วม สมัยกับศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยทวารวดี เช่น พระ รูปที่ ๑๙๔ พระพุทธรูปยืน พิพิธภัณฑ์หอพระแก้ว  นครเวียงจันทน์ สปป. ลาว  (ที่มา : อาจารย์ ดร. กวิฎ ตั้งจรัสวงศ์)
383 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ เศียรพระพุทธรูป จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ปราสาทวัดพู จ� านวนหลายชิ้น (รูปที่ ๑๙๕) ก�าหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑2-๑3 นอกจากนี้ ยังได้พบส่วนเศียรหลายเศียรที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์หอพระแก้ว นคร เวียงจันทน์ และรอบระเบียงคด วัดธาตุหลวง นครเวียงจันทน์  มีรูปแบบ เหมือนกับวัฒนธรรมทวารวดีในภาคอีสานเหนือ เช่น กลุ่มพระพุทธรูป หินทรายพบที่เมืองสกลนคร (รูปที่ ๑๙๖) การที่พบงานศิลปกรรมทางศาสนาที่เก่าสุดได้แก่ พระพุทธรูปที่ มีอายุร่วมสมัยกับศิลปะทวารวดีและเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร  แสดง ให้เห็นว่ามีศาสนาพุทธเข้าสู่ดินแดนลาวแล้วตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑ 3  ซึ่ งสัมพันธ์กับศิลปะทวารวดีที่พบอยู่ในภาคอีสานตอนบนของ ประเทศไทย  ศิลปกรรมในกลุ่มนี้เป็นวัฒนธรรมที่สลักจากหินทรายและ ท� า สืบ เนื่องมาจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑ 8  เ พราะได้พบในระยะ หลังที่มีความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบกับศิลปะเขมรในสมัยนครวัดและ สมัยบายน จนมาถึงสมัยหลังบายนเข้ามาปะปน อันจัดเป็นช่วงหัวเลี้ยว หัวต่อทางวัฒนธรรม  ก่อนที่จะเริ่มต้นยุคของอาณาจักรล้านช้างที่ได้รับ อิทธิพลศาสนาพุทธเถรวาทจากแหล่งใหม่คือ อาณาจักรสุโขทัย  การ สร้างพระพุทธรูปจึงเป็นการเริ่มต้นของการใช้วัสดุส� า ริด ตั้งแต่ราวพุทธ ศตวรรษที่ 2๐  เป็นต้นมา รูปที่ ๑๙๕ พระเศียรพระพุทธรูป  พิพิธภัณฑ์ปราสาทวัดพู  แขวงจ�าปาสัก สปป. ลาว
38๔ ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย (พุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๗)ศิลปกรรมในภาคอีสานเหนือของประเทศไทย  งานศิลปกรรมที่พบในเขตอีสานเหนือในช่วงก่อนพุทธศตวรรษ ที่  ๑๙ ได้แก่ ศิลปะทวารวดีแบบอีสานเหนือของประเทศไทย ในราว พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕  หลักฐานส� า คัญ พบคือ พระพุทธรูป  (รูปที่  ๑๙๖) และสีมาที่มักมีประติมากรรมพระพุทธรูป รูปบุคคล รูปเล่าเรื่อง เป็นพุทธประวัติ ชาดก และสถูปรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นลักษณะ เฉพาะของศิลปะทวารวดีที่พบในภาคอีสาน โดยเฉพาะอีสานตอนบน ที่ มีรูปแบบเฉพาะที่เรียกว่า “ทวารวดีท้องถิ่นอีสาน”  และกลุ่มหนึ่งได้รับ อิทธิพลศิลปะแบบเกาะแกร์ของเขมร  บริเวณที่พบมากได้แก่ เขตจังหวัด ชัยภูมิ หนองคาย อุดรธานี นครพนม กาฬสินธุ์ ยโสธร เป็นต้น  ได้มี การศึกษาเรื่องราว รูปแบบศิลปกรรม รวมทั้งวิเคราะห์รูปแบบอักษรที่มัก มีการจารึกด้วยอักษรหลังปัลลวะเป็นส่วนใหญ่ เป็นภาษาบาลีและภาษา มอญ ก�าหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ เป็นหลัก วัฒ นธรรมสีมาและพระพุทธรูปลักษณะเดียวกันนี้ได้พบใน ดินแดนลาวด้วยเช่นกัน และได้พบหลักฐานเป็นจ�า นว นมาก ส่วนหนึ่ง รูปที่ ๑๙๖ พระพุทธรูปปางสมาธิ  วัดมหาพรหมโพธิราช จ. สกลนคร  (ที่มา : รองศาสตราจารย์ ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง)
38๕ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ จัดแสดงและเก็บรักษาไว้ที่รอบระเบียงคด วัดธาตุหลวง เมืองหลวงพระบางและที่พิพิธภัณฑ์หอพระแก้ว นครเวียงจันทน์ ลักษณะของพระพุทธ รูปที่มีความใกล้เคียงกับกลุ่มที่อยู่ในเขตอีสานตอนบน เช่น การประทับ นั่งขัดสมาธิอย่างหลวม ๆ  และการแสดงวิตรรกมุทราโดยวางพระหัตถ์ ไว้ที่พระเพลา เช่น กลุ่มพระพุทธรูปบนใบสีมาที่ระเบียงคด วัดพระธาตุ หลวง นครเวียงจันทน์  (รูปที่ ๑๙๗)  เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิอย่าง หลวม ๆ และแสดงวิตรรกมุทราที่พระเพลาแบบที่พบในภาคอีสาน เช่น พระพุทธรูปที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ จังหวัด นครราชสีมา (รูปที่ ๑๙๘) แสดงให้เห็นถึงความใกล้เคียงกับวัฒนธรรม ทวารวดีในภาคอีสานมากที่สุด รูปที่ ๑๙๗ ใบสีมาสลักรูปพระพุทธรูปปางสมาธิ  วัดพระธาตุหลวง นครเวียงจันทน์  สปป. ลาว รูปที่ ๑๙๘ พระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะทวารวดี  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์  จ. นครราชสีมา
406 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย และงานศิลปกรรมประวัติศาสตร์สุโขทัยจากหลักฐานทางโบราณคดีกล่าวน�า ความเป็นมาของอาณาจักรสุโขทัยหรือประวัติศาสตร์สุโขทัย ยังไม่ชัดเจนนัก ด้วยเหตุที่มีหลักฐานลายลักษณ์อักษรเหลืออยู่น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นศิลาจารึก ซึ่งเกือบทั้งหมดมักจะกล่าวถึงการสร้างถาวรวัตถุ ในพระพุทธศาสนาเพื่ออุทิศผลบุญกุศลให้กับญาติและผู้สร้าง อันเป็นการ สั่งสมบุญบารมี รว มทั้งเพื่อการสืบทอดพระศาสนา มีศิ ลาจารึกบาง หลักเท่านั้นที่กล่าวถึงความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ แต่ไม่ได้กล่าวถึง โดยตรง ยังต้องอาศัยการตีความทางประวัติศาสตร์อีกระดับหนึ่ง เช่น ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามค�าแหง หรือศิลาจารึกหลักที่ ๒ ของ พระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี เป็นต้น และการตีความจากจารึกส่วน มากมักจะมีความโน้มเอียงเข้าข้างแนวคิดของผู้ตีความ ด้วยเหตุนี้จึงยัง เป็นปัญหาความขัดแย้งทางวิชาการอยู่ (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐)ศิลปะสมัยสุโขทัยบทที่ ๘
407 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ดังนั้นการศึกษาความเป็นมาของสุโขทัยจึงจ� า เป ็นต้องอาศัย การวิเคราะห์ตีความจากหลักฐานทางศิลปกรรมและหลักฐานทางโบราณ คดีร่วมกับเอกสารด้านจารึก ที่จ ะช่วยท� า ให ้ภาพของประวัติศาสตร์ สุโขทัยชัดเจนขึ้น ตั้งแต่การเริ่มต้น ยุครุ่งเรือง และการเสื่อมสลาย โดย เฉพาะการใช้หลักฐานจากเครื่องถ้วยที่พบในหลุมขุดค้นจ�า นว นเกือบ ๘ 0 หลุ ม ที่แ สดงให้เห็นถึงล� า ดับ การอยู่อาศัยของคนในสมัยสุโขทัย อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัยช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และยุค ที่พบหลักฐานการอยู่อาศัยที่หนาแน่นน่าจะเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วง พุทธศตวรรษที่ ๑๙ -๒ 0 ซึ่ง สอดคล้องกับหลักฐานทางด้านศิลปกรรม ที่พบบนพื้นดิน แล ะหลักฐานศิลาจารึกส่วนหนึ่งที่กล่าวถึงการสร้างวัด และความรุ่งเรืองทางศาสนาระบุศักราชว่าอยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน จนถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ ซึ่งพบว่าชั้นดินที่ถูกทิ้งร้างและไม่พบ งานศิลปกรรมสมัยหลังจากพุทธศตวรรษที่ ๒๒ แสดงให้เห็นว่าสุโขทัย น่าจะถูกทิ้งร้างหรือไม่ใช่เมืองส�าคัญอีกต่อไปแล้ว๑ รูปที่ ๒๑๖ วัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย
40๘ ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย สุโขทัยความเป็นมาของดินแดนก่อนการสถาปนาอาณาจักรยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากหลักฐานการขุดค้นและการส�ารวจทางโบราณคดีพบว่า ใน ดินแดนอันเป็นที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัยมีคนอยู่อาศัยมาแล้วตั้งแต่ยุค ก่อนประวัติศาสตร์ โด ยเฉพาะในยุคโลหะตอนปลาย เช ่น ที่ห ลุมขุด ค้นวัดชมชื่น เมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ได้พบโครงกระดูกมนุษย์ เป็นจ� า นว นมากพร้อมเครื่องมือเครื่องใช้ในพิธีกรรมส� า หรั บผู้ตาย ๒ เป็นต้น (รูปที่ ๒๑๗) รูปที่ ๒๑๗ โครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หลุมขุดค้นวัดชมชื่น เมืองศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย (ที่มา : อาจารย์ ดร. กวิฎ ตั้งจรัสวงศ์)
40๙ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕)สมัยอารยธรรมทวารวดี  ผลจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง ๓ หลุมขุดค้นวัดชมชื่น แล ะแหล่งโบราณคดีบ้านวังหาด อ� า เภ อ บ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย4 ปรากฏหลักฐานของวัฒนธรรมทวารวดี อยู่บ้าง ส่วนใหญ่เป็นเศษภาชนะดินเผา มีหลักฐานส�าคัญ คือ ที่หลุม ขุดค้นวัดชมชื่นพบซากเจดีย์ก่อด้วยอิฐขนาดเล็กในชั้นดินถัดขึ้นมาจาก ชั้นวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์และก่อนชั้นวัฒนธรรมเขมร โด ยพบ ร่วมกับภาชนะดินเผาที่สันนิษฐานว่าเป็นชั้นวัฒนธรรมทวารวดี ส่ว นที่ แหล่งโบราณคดีบ้านด่านลานหอยพบหลักฐานจ�าพวกเหรียญเงินที่มีรูป พระอาทิตย์ แบ บเดียวกับที่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีในภาค กลางของประเทศไทย แล ะหลักฐานทั่วไป ได ้แก่ พร ะพุทธรูปหินทราย สมัยทวารวดี เช ่นองค์หนึ่งพบที่วัดสะพานหิน  ( รูปที่ ๒๑๘) อีก องค์ หนึ่งจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พร ะนคร รว มทั้งได้พบพระ พุทธรูปประทับเหนือพนัสบดีในดินแดนสุโขทัยด้วย รูปที่ ๒๑๘ พระพุทธรูปสมัยทวารวดี พบที่วัดสะพานหิน เมืองเก่าสุโขทัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามค�าแหง
498 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ๒๓๐. 84กรมศิลปากร, พระราชพงศาวดารเหนือ, หน้า ๑4-๑๕. 8๕สมเด็จฯ กรมพระยาด� ารงราชานุภาพ,  ต�านานพระพุทธรูปส� าคัญ, (กรุงเทพฯ : มติชน,  ๒๕48), หน้า 9๗. 8๖Pisit Charoenwongsa et M.C. Subhadradis Diskul,  Archaeologia Mundi :Tha lande,  p. 190. 8๗สุรศักดิ์  ศรีส�าอาง, เมืองน่าน : ศิลปะโบราณคดี ประวัติศาสตร์และศิลปะ, (กรุงเทพฯ :  กรมศิลปากร, ๒๕๓๐), หน้า ๗๕. 88เทิม มีเต็ม, “ภาค ๓ จารึกภาษาโบราณ,” ใน เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์และ ศิลปะ, หน้า ๒49-๒๕๕. 89 สุรศักดิ์  ศรีส� า อาง, “ศิลปะเมืองน่าน,” ใน เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์และ ศิลปะ, หน้า ๗๕. 9๐พิเศษ เจียจันทร์พงษ์, “พระสี่อิริยาบถ,” ใน หาพระหาเจ้า, (กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕4๕),  หน้า ๑๐๐-๑๐4. 9๑หม่อมราชวงศ์สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, “กลุ่มพระพุทธรูปสี่อิริยาบถในศิลปะสุโขทัย : ความ  หมายทางพุทธศาสนาบางประการ,” ใน  เมืองโบราณ , ปีที่ ๑๓ ฉบับที่ ๓, (กรกฎาคม-  กันยายน ๒๕๓๐), หน้า ๖๐-๗๐. 9๒ศักดิ์ชัย สายสิงห์,  ศิลปะสุโขทัย บทวิเคราะห์หลักฐานโบราณคดี ศิลปกรรมและจารึก ,  หน้า ๖9. 9๓สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะสุโขทัย, หน้า ๖9-๗๑. 94เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕4-๕๕. 9๕หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล, เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย, (กรุงเทพฯ : สภาวิจัยแห่งชาติ  มูลนิธิเอเชีย, ๒๕๐9), หน้า ๓๗ 9๖สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะสุโขทัย, หน้า 8๒. 9๗กรมศิลปากร, “ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาเขมร พุทธศักราช ๑ 9๐4,” ใน จารึกสมัย สุโขทัย, หน้า ๒๓๒, ๒4๕. 98สันติ เล็กสุขุม, รายงานผลวิจัยเรื่องวัตถุปูนปั้นขุดค้นได้จากวัดพระพายหลวง , หน้า ๒๒. 99สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะสุโขทัย, หน้า ๑๐๑. ๑๐๐เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๐๓. ๑๐๑ความเห็นของ ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร จากบทสัมภาษณ์ ดูในภาคผนวกใน  บรรลือ ขอรวมเดช, “รูปแบบศิลปะในแผ่นภาพสลักเรื่องชาดกของวัดศรีชุม” หน้า ๑๕ 4-  ๑๕๕ และจากการเรียนถาม ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร โดยผู้วิจัย ที่สุโขทัย เมื่อ  วันที่ ๑9 เมษายน ๒๕4๖. ๑๐๒ ดูใน บรรลือ ขอรวมเดช, “รูปแบบศิลปะในแผ่นภาพสลักเรื่องชาดกของวัดศรีชุม,”  วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๓, หน้า ๑4๒-๑4๓.
499 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ความเป็นมาของล้านนา อาณาจักรล้านนาเริ่มต้นเมื่อพญามังรายจากแคว้นโยนก  (เชียงราย) เข้ายึดครองแคว้นหริภุญชัยได้ พระองค์จึงได้รวมแคว้นโยนก  และแคว้นปิง (หริภุญชัย) เข้าด้วยกัน และสถาปนาเมืองแห่งใหม่คือ  “เชียงใหม่” ใน พ.ศ. ๑๘๓9๑  นับเป็นการเริ่มต้นของอาณาจักรล้านนา  อย่างแท้จริง  อาณาจักรแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑9 จนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ จึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าเป็น  เวลากว่า ๒๐๐ ปี ภายหลังจึงอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงเทพฯ ใน  สมัยรัตนโกสินทร์ กา รจัดล� า ดับ ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ศิลปะของล้านนา มี  แนวความคิดในการจัดค่อนข้างแตกต่างจากศิลปะสุโขทัยที่ส่วนใหญ่ใช้  รูปแบบและวิวัฒนาการเป็นหลัก  แต่ศิลปะล้านนานอกจากจะพิจารณา  จากรูปแบบและวิวัฒนาการแล้ว ยังใช้เอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ต� านาน  พงศาวดาร และจารึก  การแบ่งยุคสมัยจึงอิงอยู่กับการจัดล� าดับยุคทาง  (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๓)ศิลปะสมัยล้านนาบทที่ ๙
5๐๐ ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ประวัติศาสตร์ เพราะในล้านนามีหลักฐานทางด้านเอกสารเหล่านี้ยืนยัน  ได้ สามารถแบ่งยุคของล้านนาเป็น 4 ระยะดังนี้ (พ.ศ. ๑๘๓๙-๑๙๐๐)ระยะแรก : สมัยพญามังราย-พระเจ้าผายู ยุคนี้มีกษัตริย์องค์ส�าคัญ คือ พญามังราย ผู้สถาปนาอาณาจักร  ล้านนา  นอกจากนี้ยังมี  พระเจ้าแสนภู พระเจ้าค� า ฟู  แ ละ พระเจ้า  ผายู  จัดเป็นยุคเริ่มต้นของอาณาจักรล้านนา ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของ  อารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองก่อนหน้านี้ คืออาณาจักรหริภุญชัย  ดังนั้นงาน  สถาปัตยกรรมในช่วงระยะเวลานี้จึงมีแหล่งบันดาลใจมาจาก ๒ แหล่ง  วัฒนธรรมที่ส�าคัญคือ ศิลปะหริภุญชัยและศิลปะพุกามจากประเทศพม่า (พ.ศ. ๑๙๐๐-๑๙๙๕)ระยะที่ ๒ : สมัยพระเจ้ากือนา-พระเจ้าสามฝั่งแกน  ในสมัยพระเจ้ากือนามีการรับศาสนาและงานศิลปกรรมมาจาก  สุ โขทัย เมื่อพระสุมนเถรขึ้นมาล้านนา ถือเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลง  ครั้งส� า คัญ ของงานศิลปกรรมในล้านนาที่มีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยใน  ทุก ๆ ด้าน  พระเจ้ากือนามีบทบาทส�าคัญในการพระศาสนา รวมทั้งท้าว  มหาพรหม พระอนุชา ที่มีบทบาทส� า คัญ ในการอัญเชิญพระแก้วมรกต  และพระพุทธสิหิงค์มายังล้านนา กษัตริย์องค์ส� า คัญ พระองค์อื่น คือ  พระเจ้าแสนเมืองมาและพระเจ้าสามฝั่งแกน มีบทบาทในการท�านุบ�ารุง  พระศาสนาเช่นเดียวกัน (พ.ศ. ๑๙๙๘-๒๐๖๐)รัชกาลพระเจ้าติโลกราช-พระเมืองแก้ว ระยะที่ ๓ : ยุคทองของล้านนา ในช่วงเวลานี้มีกษัตริย์องค์ส� า คัญ คือ  พระเจ้าติโลกราช  ผู้มี  พระราชอ� า นา จมากที่สุดในล้านนา ทรงขยายขอบเขตของอาณาจักร  กว้างขวางมากที่สุด คือรวมเมืองน่าน เมืองแพร่  ลงมาถึงศรีสัชนาลัย  จนเกิดสงครามกับกรุงศรีอยุธยาในสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
5๐๑ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ รัชสมัยนี้ถือว่าเป็นยุคที่รุ่งเรืองมากทั้งอ� า นา จทางการเมืองและการ  พระศาสนา  มีการสร้างวัดและพระพุทธรูปเป็นจ�านวนมาก มีการบูรณ-  ปฏิสังขรณ์ครั้งส� า คัญ  รวมทั้งวัดที่สร้างจะมีขนาดใหญ่ เช่น วัดเจดีย์  หลวง และวัดที่มีรูปแบบพิเศษ เช่น วิหารมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด)  กษัตริย์องค์ส� า คัญ อีก ๒ พระองค์ในยุคนี้คือ  พระยอดเชียงราย และ  พระเมืองแก้ว โดยเฉพาะพระเมืองแก้วมีบทบาทส�าคัญในด้านพระพุทธ  ศาสนา พบหลักฐานการสถาปนาวัดและพระพุทธรูปมากที่สุด อันแสดง  ถึงยุครุ่งเรืองทางศาสนาอย่างแท้จริง และตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๐๑ ลงมา)การปกครองของพม่า (พ.ศ. ๒๐๖๗-๒๑๐๑ พระเมืองเกษเกล้า ถึงล้านนาตกอยู่ภายใต้ระยะที่ ๔ : ศิลปะล้านนาระยะหลังตั้งแต่สมัย สมัยของ พ ระเมืองเกษเกล้า ถือเป็นยุคเสื่อมของล้านนา เนื่อง  จากมีการแย่งชิงราชสมบัติจนพระเมืองเกษเกล้าถูกลอบปลงพระชนม์  ได้มีการอัญเชิญ พระเจ้าไชยเชษฐา จากอาณาจักรล้านช้างมาปกครอง  ล้านนาประมาณ ๒ ปี  พระเจ้าไชยเชษฐาจึงเสด็จกลับไปครองอาณาจักร  ล้านช้างและได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปยังอาณาจักรล้านช้างด้วย  จน  ถึงสมัยของ ท้าวเมกุ  กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรล้านนาตรงกับ  สมัยพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่า อาณาจักรล้านนาจึงตกอยู่ภายใต้  การปกครองของพม่าตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๐๑ จนถึง พ.ศ. ๒๓๑๗ เป็นเวลา  เกือบ ๒๐๐ ปีและต่อมาได้มาขึ้นต่ออาณาจักรไทยตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๗  ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
584 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย กล่าวน�า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรอยุธยาเมื่อ พ. ศ. ๑ 8 ๙๓ ตา มข้อ สันนิษฐานใหม่จากหลักฐานทางศิลปกรรมเชื่อว่าพระเจ้าอู่ทองน่าจะ ทรงพาผู้คนมาจากเมืองลพบุรีหรือละโว้ เพ ราะเชื่อว่าเมืองลพบุรีเป็น ศูนย์กลางของกลุ่มคนภาคกลางอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งภายหลังจาก อาณาจักรกัมพูชาเสื่อมอ� า นา จลงหลังสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ๑ อาณาจักรอยุธยาเจริญรุ่งเรืองขึ้นในภาคกลางของประเทศไทยและ มีอ� า นา จมากขึ้นจนสามารถไปตีอาณาจักรกัมพูชาได้ ต่อ มาได้ผนวก อาณาจักรสุโขทัยไว้ในอ� า นา จ แล ะค่อย ๆ ขย ายอาณาเขตไปเกือบทุก ภูมิภาคของประเทศ เช ่น ใน ภาคอีสาน กา รแผ่ขยายอาณาเขตลงไป ถึงภาคใต้ และบางช่วงเวลาได้มาปกครองดินแดนในภาคเหนือ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานียาวนานถึง 4๑๗ ปี ก่อนที่จะเสียกรุงและเป็นการสิ้น สุดของอาณาจักรอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔)(ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ศิลปะสมัยอยุธยาบทที่ ๑๐
585 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรที่แผ่ขยายอาณาเขต ออกไปยังดินแดนต่าง ๆ อย ่างกว้างขวาง แล ะสามารถผนวกดินแดน ต่าง ๆ ไว ้ในอ� า นา จได้ เป ็นศูนย์กลางทางการค้าที่มีผู้คนเข้ามาติดต่อ ค้าขายเป็นจ�านวนมากทั้งภายในและต่างประเทศ กรุงศรีอยุธยาจึงกลาย เป็นศูนย์กลางของอารยธรรม ความเจริญ เป็นศูนย์รวมของความหลาก หลายทางด้านงานศิลปกรรม โด ยอยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรมหลัก คือ วัฒ นธรรมเขมรและลพบุรีทางฝั่งตะวันออกของแม่น�้ า เจ ้าพระยา และอีกสายวัฒนธรรมจากสุโขทัยและล้านนา ที่ล งมาปรากฏหลักฐาน อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น�้ า เจ ้าพระยาที่สุพรรณบุรีและสรรคบุรี ดัง นั้นงานศิลปกรรมที่ปรากฏในยุคแรกเริ่มในสมัยอยุธยาตอนต้นจึงเป็น ศิลปะที่พัฒนามาจากวัฒนธรรมเขมรสมัยลพบุรี เช่น เจดีย์ทรงปรางค์ ที่มีอิทธิพลศิลปะเขมร แล ะพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๒ ๒ ส่วนสาย สุพรรณบุรีและสรรคบุรี ได้แก่ เจดีย์ทรงปราสาทยอดที่มีเรือนธาตุแปด เหลี่ยม เจดีย์ทรงระฆังที่มีอิทธิพลศิลปะล้านนาและสุโขทัย และพระพุทธ รูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ ที่มี อิทธิพลศิลปะสุโขทัย เมื่ อเข้าสู่สมัยอยุธยา ตอนกลาง งานศิลปกรรมได้พัฒนาเป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปะอยุธยา อย่างแท้จริง เช่น เกิดเจดีย์ทรงระฆังแบบอยุธยาแท้ เจดีย์เพิ่มมุม และ พระพุทธรูปที่มีรูปแบบเฉพาะของอยุธยา เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย เป็นต้น ในสมัยอยุธยาตอนปลายมีการสร้างงานศิลปกรรมรูปแบบใหม่ เช่น เจดีย์ทรงเครื่องและพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ (ทรงเครื่องต้นอย่าง พระมหาจักรพรรดิ) รว มทั้งมีงานจิตรกรรมและงานประณีตศิลป์ที่ได้ ชื่อว่าวิจิตรงดงามมาก เช ่น งานเครื่องทอง งานไม้แกะสลัก งานลงรัก ปิดทอง ลายรดน�้า งานมุก เป็นต้น ในการศึกษางานศิลปกรรมสมัยอยุธยานิยมแบ่งออกเป็น ๓ สมัย ๓ โดยใช้พัฒนาการทางด้านรูปแบบศิลปะซึ่งใช้งานสถาปัตยกรรม คือ เจดีย์ เป็นหลักในการแบ่ง เช่น ในสมัยอยุธยาตอนต้นมีแหล่งบันดาล ใจมาจากศิลปะเขมรและแหล่งบันดาลใจภายนอกจากแหล่งอื่น ๆ เช ่น สุโขทัย ล้า นนา สุพ รรณบุรี แล ะสรรคบุรี ได ้แก่ กา รสร้างเจดีย์ทรง ปรางค์ เจ ดีย์ทรงระฆังแบบสรรคบุรี สุพ รรณบุรี หรื อแบบสุโขทัย ใน สมัยอยุธยาตอนกลางส่วนหนึ่งมีแหล่งบันดาลใจมาจากสุโขทัย แล ะมี
586 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย พัฒนาการทางด้านรูปแบบที่เกิดเป็นงานศิลปกรรมแบบอยุธยาแท้เป็น หลัก มีงานศิลปกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ที่เป็นลักษณะเฉพาะ เช่น เจดีย์ทรง ระฆังแบบอยุธยาแท้ เจดีย์เพิ่มมุม พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย และใน สมัยอยุธยาตอนปลาย นิยมสร้างเจดีย์ที่มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง เช่น เจดีย์ทรงเครื่อง พระพุทธรูปทรงเครื่องต้นอย่างพระมหาจักรพรรดิ เป็นต้น การแบ่งยุคของงานศิลปกรรมสมัยอยุธยา ๓ สมัย แบ่งตามระยะเวลา และรัชกาลของพระมหากษัตริย์ดังนี้ - สมั ยอยุธยาตอนต้น (ป ลายพุทธศตวรรษ ๑๙ ถึง ต้นพุทธ ศตวรรษที่ ๒๑ ) รัช กาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พ ระเจ้าอู่ทอง) ถึง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ระหว่าง พ.ศ. ๑8๙๓-๒๐๓๑) สมัยอยุธยาตอนกลาง (ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ถึงกลางพุทธ ศตวรรษที่ ๒๒ ) รัช กาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ถึง พระเจ้า อาทิตยวงศ์ (ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๓๑–๒๑๗๒) สมัยอยุธยาตอนปลาย (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ถึงต้นพุทธ ศตวรรษที่ ๒4) รัชกาลพระเจ้าปราสาททองถึงสิ้นสุดอาณาจักรอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระสุริยาสน์อมรินทร์ (ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๗๒-๒๓๑๐) (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑)สมัยอยุธยาตอนต้น งานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมในสมัยอยุธยาตอนต้นเป็นงานที่สืบต่อมาจากสมัย ลพบุรี งา นสถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นหลักในการก� า หน ดว่าอยู่ในสมัยนี้ คือ เจดีย์ทรงปรางค์ อย่างไรก็ตามในสมัยนี้จัดว่าเป็นช่วงเวลาที่มีการ สร้างเจดีย์หลากหลายรูปแบบมากที่สุด แต่ละรูปแบบได้สะท้อนให้เห็น ถึงที่มาของเจดีย์ที่อยุธยาได้รับมาจากแหล่งอารยธรรมแห่งอื่น และส่วน หนึ่งอยุธยาได้น�ามาพัฒนาผสมผสานจนเกิดเป็นรูปแบบใหม่ เช่น เจดีย์ ทรงปรางค์ที่รับมาจากสมัยลพบุรีดังได้กล่าวถึงแล้ว เจดีย์ทรงปราสาท ยอดและเจดีย์ทรงระฆังที่มีส่วนรองรับองค์ระฆังในผังแปดเหลี่ยมที่รับ อิทธพลมาจากศิลปะล้านนา ซึ่ง พบมากแถบเมืองสรรคบุรี สุพ รรณบุรี
58๗ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ และเจดีย์ทรงระฆังที่อิทธิพลศิลปะสุโขทัย เป็นต้น ระบบแผนผังในสมัยอยุธยาตอนต้น วัดในสมัยอยุธยาตอนต้นจะมีระบบแผนผังของวัดที่ชัดเจนโดย เฉพาะวัดขนาดใหญ่ ได้แก่ มีเจดีย์ทรงปรางค์เป็นประธานที่มีระบบปีก ปรางค์ มีเจดีย์ประจ�ามุมทั้งสี่ มีระเบียงคดล้อมรอบ มีวิหารหลวงอยู่ด้าน หน้าและมีพระอุโบสถอยู่ด้านหลัง บางวัดนิยมสร้างเจดีย์บริวารล้อมรอบ ระเบียงคดอีกชั้นหนึ่ง ระบบแผนผังเช่นนี้เกิดขึ้นในสมัยลพบุรีที่สืบทอด มาจากวัฒนธรรมเขมรและได้ดัดแปลงใช้ในวัฒนธรรมพุทธศาสนา คือ การสร้างวิหารและพระอุโบสถ เชื่อว่าเกิดขึ้นครั้งแรกที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี การใช้ปรางค์เป็นประธานของวัดและระบบแผนผังแบบ นี้ปรากฏในสมัยอยุธยาตอนต้น4 ตัวอย่างของวัดที่มีรูปแบบและระบบ แ ผนผังแบบเดียวกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพ บุรี มา กที่สุด คือ วัด พุทไธศวรรย์ที่สถาปนาโดยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง อย่างไรก็ตามระบบผังนี้พบว่ามีการใช้เจดีย์รูปแบบอื่นแทน แผนผังวัดในสมัยอยุธยาตอนต้น ตัวอย่างนี้คือวัดมหาธาตุ (ที่มา : กรมศิลปากร) ปรางค์ประธาน ฐานไพที วิหารหลวง เจดีย์ประจ�ามุม ในระเบียงคด พระอุโบสถ ระเบียงคด วิหารราย เจดีย์ราย วิหารราย เจดีย์บริวาร ล้อมฐานไพที เจดีย์ประจ�ามุมเจดีย์บนฐานไพที หมายเลข 8 ทิศเหนือ
588 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ปรางค์ก็มี เช่น เจดีย์ทรงระฆังที่มีส่วนรองรับองค์ระฆังในผังแปดเหลี่ยม แต่จะพบว่าระบบนี้มีอยู่เฉพาะในสมัยอยุธยาตอนต้นเท่านั้น พอถึงสมัย อยุธยาตอนกลางจะใช้เพียงเจดีย์เป็นประธานและมีวิหารหลวงอยู่ด้าน หน้าเท่านั้น ไม ่มีระเบียงคด ส่ว นพระอุโบสถไม่ได้อยู่ในแนวแกนหลัก แล้วซึ่งระบบนี้พบในศิลปะสุโขทัยและล้านนา ● เจดีย์ทรงปรางค์ที่มาของรูปแบบและคติการสร้าง เจดีย์ทรงปรางค์มีวิวัฒนาการมาจากปราสาทเขมรซึ่งเป็นที่ สถิตของเทพเจ้า ถือเป็นการจ�าลองเขาพระสุเมรุมาสร้างบนโลกมนุษย์ ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีมาแล้วตั้งแต่ศิลปะอินเดีย และ ได้ถ่ายทอดมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร ้อมกับการรับศาสนาและ อารยธรรมอินเดียของดินแดนในแถบนี้ โด ยเฉพาะในอาณาจักรชวา จามปา กัมพูชา และไทย หลังจากอาณาจักรกัมพูชายุคโบราณล่มสลาย ลง อิท ธิพลทางศิลปกรรมเสื่อมลงไปจากภาคกลางของประเทศไทย แล้ว ใน สมัยก่อนอยุธยาศาสนสถานส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมเขมรได้รับ การดัดแปลงให้เป็นวัดในพุทธศาสนาแบบเถรวาท แล ะบางครั้งตัว ปราสาทได้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแทนการตั้งรูปเคารพ ในศาสนาพราหมณ์หรือพุทธศาสนามหายาน นอ กจากนี้รูปทรงของ สถาปัตยกรรมประเภทดังกล่าวมีวิวัฒนาการสูงขึ้นจึงเรียกว่า “ปรางค์” และถ้าพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการสร้างปรางค์ จึง หมายถึงเจดีย์ รูปแบบหนึ่ง5 ปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนต้นมีความใกล้เคียงกับปรางค์ในสมัย ลพบุรีและปราสาทเขมรมากที่สุด เช่น การใช้ระบบเพิ่มมุมที่มุมประธาน มีขนาดใหญ่ ผนั งเรือนธาตุตั้งตรงกับแนวระนาบ ส่ว นส� า คัญ คือ เรื อน ชั้นซ้อนที่ยังมีการท� า ช่อ งวิมาน ซุ้ม วิมาน บร รพแถลง แล ะการประดับ กลีบขนุนปรางค์ที่ยังห่างจากผนัง แล ะมีลวดลายปูนปั้นประดับปรางค์ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับศิลปะลพบุรีและศิลปะเขมร เจดีย์ทรงปรางค์ได้รับความนิยมมากในงานสถาปัตยกรรมสมัย อยุธยาตอนต้น มีการสร้างบ้างเป็นบางโอกาสในสมัยอยุธยาตอนกลาง
58๙ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ และกลับมานิยมอีกครั้งหนึ่งในสมัยอยุธยาตอนปลาย นอกจากใช้แทน ความหมายของเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว อาจมีคติเรื่องเขา พระสุเมรุหรือศูนย์กลางของจักรวาลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต ่เป็นการ สร้างขึ้นตามความเชื่อของพุทธศาสนาแบบเถรวาท รูปแบบของปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนต้น องค์ประกอบที่ส�าคัญของเจดีย์ทรงปรางค์ คือ (รูปที่ ๓๐๓ และ  ลายเส้น) ส่ว นฐาน เป ็นฐานบัวลูกฟัก ๒- ๓ ชั้น ในผังเพิ่มมุม มีมุ ม ประธานขนาดใหญ่กว่ามุมขนาบหรือมุมประกอบ ส่วนฐานเป็นฐานบัวที่ ลูกฟักยังมีขนาดใหญ่และเต็มท้องไม้ ใกล้เคียงกับฐานของปราสาทเขมร ในสมัยบายน ส่ว นเรือนธาตุ ใช ้ระบบเพิ่มมุม มีมุ มประธานขนาดใหญ่และ มุมขนาบเล็กกว่า ผนังของเรือนตั้งฉากกับแนวระนาบแบบปราสาทเขมร ปรางค์ขนาดใหญ่มักมีตรีมุขยื่นออกมาด้านหน้า แล ะบนสันหลังคามุข น่าจะมีการประดับเจดีย์ยอด งานประดับตกแต่งประกอบด้วยลวดลาย ส� า คัญ คือ ผนั งด้านบนประดับลายเฟื่องอุบะ ผนั งด้านล่างประดับ ลายกรวยเชิง โด ยลักษณะลวดลายยังคงเป็นลายประดิษฐ์แบบเขมร นอกจากนี้มีลวดลายอื่น ๆ ที่ประดับส่วนของบัวเชิงและบัวรัดเกล้า เช่น ลายกลีบบัว ลา ยกระหนกงอโค้งหรือกระหนกหอยสังข์แบบเขมร ลา ย ดอกซีก-ดอกซ้อน ลายดอกสี่กลีบ ซึ่งทั้งหมดเป็นลวดลายประดิษฐ์ที่มี ความใกล้เคียงกับลายต้นแบบในศิลปะเขมรที่สืบทอดมายังศิลปะลพบุรี 6 ส่วนยอด คือเรือนชั้นมีรูปทรงเป็นพุ่มเตี้ย ๆ มีเรือนชั้นซ้อน 5 ชั้ นแบบปราสาทเขมร ใน แต่ละชั้นมีตัวเรือนที่จ� า ลอ งมาจากส่วนเรือน ธาตุ มีก ารเจาะช่องประตู มีเ สาและคานที่เรียกว่าระบบ “เ สาตั้ง คา น ทับ” ส่ว นของประตูเรียกว่า “ช ่องวิมาน” มีซุ ้มประตูเรียกว่า “ซุ ้ม วิมาน” ด้านหน้าประตูมีบรรพแถลงปิด มีการประดับกลีบขนุนปรางค์ ที่มุมทุกมุมและทุกชั้น
684 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ประวัติศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ, ๒๕6๑), หน้า ๑๐๓-๑๐๗. 6 ๓ น. ณ ปากน�้ า , “ศิลปะอาณาจักรอโยธยา,” ใน  เ มืองโบราณ , ปีที่ ๑๑, ฉบับที่ ๒  (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๒8), หน้า ๕๒-6๑. 64หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะในประเทศไทย, หน้า ๓๓ 6๕ดูรายละเอียดใน ประทีป เพ็งตะโก, “แบบพระพักตร์พระพุทธรูปหินทราย สมัยอยุธยา,”  ใน  ดิศกุลรวมบทความทางวิชาการ ๗๒ พรรษาท่านอาจารย์ ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ  , (กรุงเทพฯ : พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซนเตอร์, ๒๕๓8), หน้า ๗๓-8๗. 66ศักดิ์ชัย สายสิงห์, พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของ  คนไทย, หน้า ๓๙4 4๐๐. 6๗เรื่อวงเดียวกัน, หน้า ๓๙๕-๓๙8 68ศานติ ภัคดีค�า, ประวัติศาสตร์อยุธยาจากจารึก : จารึกสมัยอยุธยา, หน้า ๑๐๓-๑๐๗. 6๙ศักดิ์ชัย สายสิงห์, พระพุทธรูปและพระพิมพ์จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระนคร-  ศรีอยุธยา, หน้า ๑๕๕-๑๕6. ๗๐ศักดิ์ชัย สายสิงห์, พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของ  คนไทย, หน้า ๓๙8. ๗๑เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๒๐-๓๒๓ ๗๒ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ”พระพุทธสิหิงค์ คือพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร ในศิลปะล้านนา,” ใน  ศิลปวัฒนธรรม, ปีที่ ๒6, ฉบับที่ ๒ (ธันวาคม ๒๕4๗), หน้า ๙6 ๗๓M.C. Subhadradis Diskul, 1961, pp. 409-416. และ ศรินยา ปาทา, “พระพุทธรูปทรง  (เครื่องน้อยจากพระอุระและพระพาหาซ้ายของพระมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา,”  วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติ-  ศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕4๙), หน้า ๙๕-๙6. ๗4ศักดิ์ชัย สายสิงห์, “พระพุทธสิหิงค์ คือพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรในศิลปะล้านนา,” หน้า  ๙6. ๗๕ดูรายละเอียดการวิเคราะห์ ใน สันติ เล็กสุขุม,  ลวดลายปูนปั้น สมัยอยุธยาตอนปลาย  พ.ศ. ๒๑๗๒-๒๓๑๐, หน้า ๓๑-๕4. ๗6เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๗๐. ๗๗สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะอยุธยา : งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน, หน้า ๑8๓. ๗8เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑8๒. ๗๙ ศักดิ์ชัย สายสิงห์,  พระพุทธรูป พระพิมพ์ จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระนคร-  ศรีอยุธยา, หน้า ๒๗๒-๒๗๙. 8๐จารึกที่กรอบของบานประตูมุก ระบุข้อความว่า  “ศุภมัศดุ พุทธศักราช ๒๒๙๕ ...พระบาท  สมเด็จพระบรมนารถบรมบพิธพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาด�า รัส เหนือเกล้าเหนือ  กระหม่อมสั่งให้ช่างเขียนลายมุกบานประตูวัดบรมพุทธารามช่าง ๒๐๐ คน...” 8๑จารึกด้วยอักษรที่เป็นงานมุก ที่กรอบประตูพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
685 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ กล่าวน�า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) หรือ  เดิมคือ  อาณาจักรล้านช้าง  มีต�านานในส่วนที่เป็นปรัมปราคติ กล่าวถึง  อาณาจักรที่มีมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ มีปฐมกษัตริย์คือขุนลอ  ที่สืบเชื้อสายลงมาจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จึงเข้าสู่ยุคประวัติ  ศาสตร์ที่สามารถสืบค้นหลักฐานได้  มีบุคคลส�าคัญที่รวบรวมบ้านเมือง  ขึ้นเป็นอาณาจักรครั้งใหม่คือ เจ้าฟ้างุ่ม ได้สถาปนาเมืองเชียงทองขึ้นใน  พ.ศ. ๑ 8 ๙ 6 ๑   ต่อมาเมื่อมีการอัญเชิญพระบางมาประดิษฐานที่เมือง  แห่งนี้จึงเปลี่ยนชื่อเมืองมาเป็น  นครหลวงพระบาง   พัฒนาการของ  ชนกลุ่มนี้มีการรับวัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มมาจากวัฒนธรรม  ทวารวดีและวัฒนธรรมเขมร จนราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑8 วัฒนธรรม  เขมรหมดไป  กลุ่มชนในแถบนี้จึงเริ่มมีอิสระและสถาปนาอาณาจักร  ของตัวเองขึ้นพร้อม ๆ  กับดินแดนใกล้เคียงคือ  อาณาจักรสุโขทัย  (ราว พ.ศ. ๑ 8 ๐๐ ) อาณาจักรล้านนา (พ.ศ. ๑8 ๓๙ ) และอาณาจักร  อยุธยา (พ.ศ. ๑8๙๓) (พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๔)ศิลปะล้านช้างในประเทศไทยบทที่ ๑๑
686 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย งานศิลปกรรมที่เกิดขึ้นในอาณาจักรแห่งนี้จึงมักเรียกว่า “ศิลปะ  ล ้านช้าง” สามารถแบ่งตามหลักฐานทางศิลปกรรมและประวัติศาสตร์  ได้อย่างกว้าง ๆ๒ คือ - สมัยก่อนการสถาปนาอาณาจักรล้านช้าง ร่ว มสมัยกับวัฒนธรรมทวารวดีในประเทศไทย (ราว  พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๗) วัฒนธรรมเขมร (พุทธศตวรรษที่ ๑5-๑8) - สมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ (วัฒนธรรมเขมรและท้องถิ่น) (กลางพุทธ  ศตวรรษที่ ๑8 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙) -  สมัยอาณาจักรล้านช้าง (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้น  พุทธศตวรรษที่ ๒๔) - สมัยภายใต้การปกครองของอาณาจักรไทย (กรุงเทพฯ) (พุทธ  ศตวรรษที่ ๒๔-๒5) ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะศิลปะล้านช้างที่พบในดินแดนไทย ถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๔)ศิลปะล้านช้าง (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙   อาณาจักรล้านช้างสถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าฟ้างุ่มตั้งแต่ พ.ศ.  ๑8๙6 เดิมชื่อว่า “อาณาจักรเชียงดง-เชียงทอง”  มีเมืองหลวงพระบาง  เป็นศูนย์กลาง  ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้ย้ายเมืองหลวงมายัง  นครเวียงจันทน์ใน พ.ศ. ๒๑๐๓ อาณาจักรล้านช้างเจริญรุ่งเรืองสืบมา  จนถึง พ.ศ. ๒๓๒๑ จึงตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยามตั้งแต่  สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นต้นมา  ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ถึงต้น  พุทธศตวรรษที่ ๒๔ จึงถือเป็นยุครุ่งเรืองของอาณาจักรล้านช้าง มีงาน  ศิลปกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะของตัวเองที่เรียกว่า  ศิลปะล้านช้าง  อย่างแท้จริงหลังจากนั้นงานศิลปกรรมจึงค่อย ๆ  เสื่อมลงกลายเป็น  ศิลปะพื้นบ้านเพราะหลังจากอยู่ภายใต้การปกครองของสยามมาจน  ถึง พ.ศ. ๒๔๓6 อาณาจักรลาวก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส  จนได้รับเอกราช และมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสังคม
68๗ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ นิยม สถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวใน พ.ศ.  ๒5๑8 มาจนถึงปัจจุบัน งานศิลปกรรมในช่วงนี้แบ่งตามอิทธิพลทางศิลปะได้ดังนี้ - ระยะที่ ๑ อิทธิพลศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๒๐) - ระยะที่ ๒ อิทธิพลศิลปะล้านนา (พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒) - ระยะที่ ๓ ศิลปะล้านช้าง ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๔ แผนที่แสดงจังหวัดที่พบ ศิลปะล้านช้างในประเทศไทย น.โขง น.สงครามน.โขง น.ชี สปป. ลาว เวียดนาม หลวงพระบาง • เวียงจันทน • เลย • หนองคาย • อุดรธานี • หนองบัวลำภู • สกลนคร • กาฬสินธุ • รอยเอ็ด • อุบลราชธานี • มุกดาหาร • นครพนม •
722 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย 2๐กรรณิการ์ วิมลเกษม, “จารึกวัดธาตุเมืองหลวงพระบาง,” ใน  ประเสริฐ ณ นคร รวมบทความทางวิชาการด้านจารึกและเอกสารโบราณ๘๐ ปี ศาสตราจารย์ ดร.  , (กรุงเทพฯ :  คณะกรรมการจัดงาน ๘๐ ปี ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร, 2๕๔2), หน้า ๖๔. 2๑ดูใน จิรศักดิ์ เดชวงญา, “ความสัมพันธ์ระหว่างล้านนา-ล้านช้าง การศึกษาเปรียบเทียบ  เจดีย์ในเมืองเชียงใหม่และเมืองหลวงพระบาง,” หน้า ๖. 22เรื่องเดียวกัน, หน้า 7 2๓พระยาประชากิจกรจักร, พงศาวดารโยนก, หน้า ๓7๔. 2 ๔ ตัวอย่างเจดีย์กลุ่มนี้มีกล่าวไว้ครั้งแรก และแสดงให้เห็นว่าเป็นอิทธิพลที่ผสมผสานรูป  แบบกันระหว่างศิลปะล้านนาและอยุธยาที่มีต่อศิลปะล้านช้าง ใน สงวน รอดบุญ, “เวียง  คุก,” ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ รศ. สงวน รอดบุญ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม,  กรุงเทพมหานคร 2๕๓๐, หน้า 72 7๖ 2๕สงวน รอดบุญ, พุทธศิลปลาว, หน้า ๑๔๓. 2๖เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑7๙. 27สุรศักดิ์ ศรีส�าอาง, ล�าดับกษัตริย์ลาว, หน้า ๑๑๙. และดูใน ธวัช ปุณโณทก,  ศิลาจารึก  อีสานสมัยไทย-ลาว, หน้า 2๕7 2๕๘. 2๘สุรศักดิ์ ศรีส�าอาง, ล�าดับกษัตริย์ลาว, หน้า ๙๑. 2๙เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๘๓. ๓๐สุริยา บรรพลา, พระบางเมืองเลย, (เลย : รุ่งแสงธุรกิจการพิมพ์, 2๕๕๐), หน้า ๙. และ  ดูใน สุรศักดิ์ ศรีส�าอาง, ล�าดับกษัตริย์ลาว, หน้า ๕๔. ๓๑สุริยา บรรพลา, พระบางเมืองเลย, หน้า ๓2-๓๖. ๓ 2 กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร,  เมืองอุบลราชธานี , (กรุงเทพฯ : กรม  ศิลปากร, 2๕๓2), หน้า ๑72-๑7๓ และค�าอ่านจารึก หน้า 2๑๑. ๓๓สุรศักดิ์ ศรีส�าอาง, ล�าดับกษัตริย์ลาว, หน้า 2๔๐. อ้างจาก ธวัช ปุณโณทก,  จารึกสมัย  ไทย-ลาว, หน้า ๓๕๕.
723 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ กล่าวน�า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนา  ร าชธานีแห่งใหม่เมื่อ พ.ศ.  23 2 ๕  โดยทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี  มาฝั่งตะวันออกของแม่น�้ า เจ ้าพระยา และพระราชทานนามพระนคร  ใหม่ว่า “กรุงเทพมหานคร...” นับเป็นการเริ่มต้นประวัติศาสตร์และ  งานศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการเริ่มการสถาปนาบ้านเมือง  ได้แก่ พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระราชวังบวร-  สถานมงคล รวมทั้งการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามขึ้นใหม่ สืบต่อมา  ถึงสมัยรัชกาลที่  2  ยั งถือเป็นยุคแห่งการฟื้นฟูบูรณปฏิสังขรณ์ งาน  สร้างสรรค์ศิลปกรรมส่วนใหญ่จึงท�าตามแบบแผนไทยประเพณีที่มีมาแต่  เดิมเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล  ที่  3  บ ้านเมืองว่างเว้นจากการศึกสงคราม มีการติดต่อค้าขายกับต่าง  ประเทศโดยเฉพาะเมืองจีน ท�าให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น ประกอบ  (พุทธศตวรรษที่ ๒๔-ปัจจุบัน)ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์บทที่ ๑๒
724 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย กับพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา  ทรงท� า นุบ� า รุง  สร้าง และบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม รวมทั้งทรง  สนับสนุนให้เจ้านายและขุนนางสร้างวัดวาอาราม จนมีค� ากล่าวว่า “ใคร  ใจบุญสร้างวัดก็จะเป็นคนโปรด”  ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการสร้าง บูรณ-  ปฏิสังขรณ์วัดขึ้นเป็นจ� า นว นมาก และมีการเปลี่ยนแปลงครั้งส� า คัญ ใน  การสร้างวัดทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และงานจิตรกรรม  มีอิทธิพลของศิลปะจากภายนอกเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอิทธิพลศิลปะจีน  จนเกิดเป็นงานศิลปะแบบใหม่ขึ้นที่เรียกว่า “แบบพระราชนิยม” ใน รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล  ที่ 4 ถือเป็นยุคที่กระแสของอารยธรรมตะวันตกเข้ามามีบทบาทในราช  ส�านัก ความนิยมในการสร้างงานแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 ที่เป็น  อิทธิพลศิลปะจีนค่อย ๆ ลดลง  ส่วนหนึ่งงานศิลปกรรมหันกลับไปสร้าง  ตามแบบไทยประเพณีที่มีมาแต่เดิม อีกส่วนหนึ่งเป็นการรับอิทธิพลศิลปะ  ตะวันตกเข้ามา เกิดเป็นงานศิลปกรรมแบบที่เรียกว่า “กึ่งสมจริง” จน กระทั่งถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า  อยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จึงมีการปรับตัวเข้าสู่สังคมยุคใหม่ การสร้างวัดวา  อารามต่าง  ๆ น้อยลง ทรงสร้างเฉพาะตามแบบแผนประเพณีและตาม  พระราชประสงค์การใช้งาน ทรงให้ความส� า คัญ กับการสาธารณูปโภค  การสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น งานศิลปกรรมส่วนหนึ่งสร้าง  ตามแบบแผนไทยประเพณี  และอีกส่วนหนึ่งเป็นอิทธิพลศิลปะตะวันตก  เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าบ้านเมืองเข้าสู่ความเจริญก้าวหน้าที่เรียก  ว่า “ยุคศิวิไลซ์” ทางด้านศิลปะจึงถือเป็นยุคเริ่มต้นของการเข้าสู่ความ  เป็นศิลปะสมัยใหม่และพัฒนาสู่ศิลปะร่วมสมัยมาจนถึงปัจจุบัน
72๕ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ ๑-รัชกาลที่ ๓งานสถาปัตยกรรม งานศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นในรัชกาลที่ ๑-รัชกาล  ที่ 2  ถื อเป็นยุคแห่งการสร้างบ้านแปงเมือง  สิ่งปลูกสร้างที่ส� า คัญ  ไ ด้แก่ การสร้างพระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระ-  ราชวังบวรสถานมงคล  ในสมัยรัชกาลที่ ๑ มีการปฏิสังขรณ์วัด  พระเชตุพนวิมลมังคลาราม ตามโบราณราชประเพณีในการขึ้นครอง  ราชย์และสถาปนาวัดสุทัศนเทพวราราม  ต่อมาในรัชกาลที่  2  ท รง  ปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชวราราม และสร้างวัดสุทัศนเทพวรารามสืบต่อ  จากรัชกาลที่ ๑ จนถึงสมัยรัชกาลที่  3  ที่ ถือเป็นยุคหนึ่งของความ  เจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนา  พระองค์ทรงสถาปนาและบูรณ-  ปฏิสังขรณ์วัดขึ้นเป็นจ� า นว นมาก รวมทั้งเจ้านาย ขุนนาง มีความนิยม  สร้างวัดประจ� า ตร ะกูลเกิดขึ้น ท� า ให ้เกิดงานศิลปกรรมที่มีความหลาก  หลาย ทั้งงานแบบไทยประเพณี และการเกิดงานศิลปกรรมอย่างใหม่  ที่เรียกว่า “แบบพระราชนิยม” (ในรัชกาลที่  3 )  นอกจากนี้ยังมีอีก  กลุ่มหนึ่งที่เป็นแบบผสมผสานรูปแบบระหว่างไทยประเพณีและแบบ  พระราชนิยม
726 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ● เจดีย์ เจดีย์ที่พบในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นช่วงรัชกาลที่ ๑-รัชกาล  ที่ 3 มี 2 รูปแบบ คือ เจดีย์ทรงปรางค์และเจดีย์ทรงเครื่อง เจดีย์ทรงปรางค์ เจดีย์ทรงปรางค์ได้รับความนิยมอย่างมากในงานสถาปัตยกรรม  ส มัยอยุธยาตอนต้น และกลับมานิยมอีกครั้งหนึ่งในสมัยอยุธยาตอน  ปลายสืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ ๑-รัชกาลที่  3)  การสร้างปรางค์ในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น นอกจากใช้แทน  ความหมายของเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว อาจมีคติในเรื่อง  เขาพระสุเมรุหรือศูนย์กลางของจักรวาลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่เป็นการ  สร้างขึ้นตามความเชื่อของพุทธศาสนาแบบเถรวาทแล้ว เช่น พระปรางค์  วัดอรุณราชวราราม (รูปที่ ๓๙๗) เป็นต้น  เจดีย์ทรงปรางค์ได้รับความ  นิยมอย่างมากในสมัยรัชกาลที่  3  ห ลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีการสร้าง  เจดีย์ทรงปรางค์อีกเลย เจ ดีย์ทรงปรางค์ส่วนใหญ่เป็นเจดีย์ขนาดเล็ก (ยกเว้นปรางค์  ประธาน วัดอรุณราชวราราม) ใช้เป็นเจดีย์รายและเจดีย์บริวารประจ� า มุ ม ประกอบอาคารประธานที่เป็นพระอุโบสถหรือพระวิหาร เช่น วัด  พระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดราชโอรสาราม วัดเทพธิดาราม เป็นต้น รูปแบบและองค์ประกอบของเจดีย์ทรงปรางค์ (ดูลายเส้นเจดีย์ทรงปรางค์) ส่วนฐาน  ส่วนใหญ่ปรางค์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นโดย  ทั่วไปมีชุดฐานสิงห์ 3 ฐานในผังย่อมุมหรือเพิ่มมุมหลายมุม เช่น ย่อมุม  ไม้ 2๐ และแต่ละมุมมีขนาดเท่ากัน ส่ว นกลาง   ประกอบด้วยเรือนธาตุในผังย่อมุมที่มุมทุกมุมมี  ขนาดเท่ากัน ที่เรือนธาตุมีซุ้มจระน� า ทั้ง สี่ด้าน  มีข้อสังเกตคือ ตาม  ประเพณีนิยมโดยทั่วไปตั้งแต่สมัยอยุธยาในซุ้มจระน� า มัก ประดิษฐาน  พระพุทธรูป แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการปรับเปลี่ยนไป ส่วน  หนึ่งยังคงประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง  ๆ  แต่ส่วนหนึ่งเปลี่ยนเป็น
727 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ พระอินทร์ เทวดาถือพระขรรค์ และอสูร ซึ่งหมายถึงท้าวจตุโลกบาล  แสดงให้เห็นถึงต�าแหน่งและหน้าที่ของปรางค์ที่ปรับเปลี่ยนไป ส่วนบน  เหนือเรือนธาตุขึ้นไปที่เป็นชั้นเชิงบาตร มักท�าเป็นชั้น  ค รุฑแบก เทวดาแบก หรือยักษ์แบก อาจมีเพียง ๑ ชั้น  2  ชั้ น หรือ  3  ชั้ น รองรับส่วนบนที่ประกอบด้วยเรือนชั้นซ้อนหลายชั้น  ส่วนใหญ่  ประมาณ ๕-6 ชั้นตามระเบียบของปรางค์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  สัดส่วนของปรางค์สูงเพรียว  ท�าย่อมุมที่ทุกมุมมีขนาดเท่ากัน  ข้อสังเกต  ที่แสดงให้เห็นว่าปรางค์ได้มีพัฒนาการเป็นแบบรัตนโกสินทร์อย่างแท้จริง  คือ  การประดับกลีบขนุนปรางค์  และ บรรพแถลงแนบติดกับผนังใน  แต่ละชั้นแล้ว   ที่ส� า คัญ คือ ส่วนของบรรพแถลงได้รวมเป็นส่วนเดียว  กับช่องวิมานกลายเป็นแผ่นและแปะติดกับผนัง ลักษณะคล้ายใบไม้จึง  เรียกว่า “ใบขนุน” คู่กับกลีบขนุน และไม่มีซุ้มวิมาน  แสดงให้เห็นถึง  ความหมายและสัญลักษณ์เดิมที่มีมาตั้งแต่วัฒนธรรมเขมรที่มีช่องวิมาน  บรรพแถลง อันเป็นสัญลักษณ์ของปราสาทในแต่ละชั้นของเทพเจ้าได้  หมดไปแล้ว ลายเส้นเจดีย์ทรงปรางค์ ปรางค์ประจ�ามุม  วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ นภศูล ชั้นรัดประคด (เรือนชั้นซ้อน) ชั้นเชิงบาตร ครุฑแบก เรือนธาตุ ฐานบัวลูกแก้ว อกไก่ ชุดฐานสิงห์ 3 ฐาน ชั้นเขียง ฐานเขียง กลีบขนุน บรรพแถลง (ใบขนุน) จระน�าซุ้ม
หมวดศิลปะไทย ราคา ๑,๒๙๐ บาท ISBN 978-616-465-054-1 @sarakadeemag สั่งซื้อออนไลน์ที่ หนังสือ ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย เนื้ อหาในหนังสือเล่มนี้เป็นการ ประมวลความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะไทยอย่างเป็นระบบ ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล งานศิลปกรรมร่วมกับหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ปร ะกอบด้วยหลักฐาน ทางโบราณคดีและงานศิลปกรรมที่พบในดินแดนไทย ตั้ง แต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์ จน มาถึงยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ศิลปะ ใน แต่ละ สมัยนำ า เส นอความเป็นมา หลั กฐานทางโบราณคดี คว ามเชื่อทางศาสนา แล ะประการ สำ า คัญ คือ งา นศิลปกรรมในแต่ละสมัยประกอบด้วยการแบ่งกลุ่มรูปแบบ ลัก ษณะ รูปแบบ แห ล่งบันดาลใจในการสร้างงาน แน วคิด คติ การสร้าง แล ะการกำ า หน ดอายุ สมัย โด ยได้มีการแบ่งยุคสมัยพร้อมตัวอย่างแต่ละสมัยอย่างละเอียด เพื่ อความเข้าใจ ในประวัติศาสตร์ศิลปะไทยได้ดีขึ้น ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.