เปรี ย บดั ง สร้ า งสำ � เภานาวาที่ นำ � พามนุ ษ ย์ ผู้ ทำ � ความดี ไปสู่ ส รวงสวรรค์ ห รื อ พระนิ พ พาน
วิ ห ารล้ า นนาจึ ง ถู ก สรรค์ ส ร้ า งด้ ว ยความวิ จิ ต รทางงานช่ า งและการประดั บ ตกแต่ ง
หมวดศิลปะไทย สั่งซื้อออนไลน์ที่ ราคา ๗๓๐ บาท ISBN 978-616-465-050-3 @sarakadeemag
รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์
ที่แฝงปรัชญาทางศาสนาผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ จึงทำ�ให้วิหารล้านนามีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์
• ศาสตร์ • ศิลป์ • จิตวิญญาณ • วิหารล้านนา
ชาวล้ า นนามี ค วามเชื่ อ ว่ า การสร้ า งวิ ห ารถื อ เป็ น การสร้ า งมหากุ ศ ลครั้ ง ยิ่ ง ใหญ่
• ศาสตร์ • ศิลป์ • จิตวิญญาณ •
วิหารล้านนา
รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์
ภาพแสดงรายละเอียดโครงสร้างภายนอกและ ชื่อเรียกองค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ของวิหารล้านนา
ภาพแสดงรายละเอียดโครงสร้างภายนอกและ ชื่อเรียกองค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ของวิหารล้านนา
ภาพแสดงโครงสร้างของวิหารวัดไหล่หิน จังหวัดล�ำปาง
6 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 7
หน้าแหนบวิหารลายค�ำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ตกแต่งด้วยงานลายค�ำและงานแกะสลักไม้
16 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
หน้าแหนบวิหารปราสาท จังหวัดเชียงใหม่ ตกแต่งด้วยกระจกและงานปูนปั้นสะตายจีนแบบล้านนา ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 17
โขงพระเจ้าภายในวิหารวัดปราสาท จังหวัดเชียงใหม่
18 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 19 โครงสร้างแบบขื ่อโครงสร้ ม้าต่างไหม ภายในวิ ารจามเทวี วัดหปงยางคก ดล�ำปาง างแบบขื ่อม้าต่หางไหมภายในวิ ารจามเทวีจังวัหวั ดปงยางคก
ISBN 978-616-465-050-3 หนังสือ ศาสตร์ ศิลป์ จิตวิญญาณ วิหารล้านนา ผู้เขียน รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕ จ�ำนวนพิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม ราคา ๗๓๐ บาท ©© สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด บรรณาธิการเล่ม ภาพประกอบ ออกแบบปก รูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลต พิมพ์ที่ จัดพิมพ์โดย จัดจ�ำหน่าย
อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ จ�ำนงค์ ศรีนวล ณิลณา หุตะเศรณี ธนา วาสิกศิริ เอ็น. อาร์. ฟิล์ม โทร. ๐ ๒๒๑๕ ๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด) บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน�ำ้ ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. ศาสตร์ ศิลป์ จิตวิญญาณ วิหารล้านนา. - - นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๕. ๖๐๘ หน้า. ๑. ศิลปกรรมพุทธศาสนา. ๒. วิหาร. ๓. ไทย - - ประวัติศาสตร์ - - ล้านนา I. ชื่อเรื่อง. ๒๙๔.๓๑๘๗ ISBN 978-616-465-050-3
ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด) ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนน นนทบุรี (สนามบินน�้ ำ ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑ ทีป่ รึกษา ศรีศกั ร วัลลิโภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช ผู้อ�ำนวยการ สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์ จ� ำ นงค์ ศรี น วล ผู ้ จั ด การฝ่ า ยการตลาด/ประชาสั ม พั น ธ์ กฤตนั ด ตา หนู ไ ชยะ บรรณาธิ ก ารส� ำ นัก พิ ม พ์ อภิ วั นทน์ อดุ ล ยพิ เชฏฐ์ ที่ ป รึ ก ษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง
26 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์
เมื่อเอ่ยถึงวิหาร ในมโนนึกจากประสบการณ์ของหลายท่าน รวมถึงบรรณาธิการ คือ ภาพอาคารศาสนสถานส�ำหรับประกอบพิธีกรรม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธ รูปซึ่งหลายแห่งประดิษฐานพระคู่บ้านคู่เมือง เป็นแหล่งให้เรียนรู้และชื่นชมงาน ศิลปะและสถาปัตยกรรม ซึ่งวิหารในแต่ละวัด แต่ละภูมิภาคมีเอกลักษณ์ที่แตก ต่างกันไป ทว่าเมื่อได้อ่าน ศาสตร์ ศิลป์ จิตวิญญาณ วิหารล้านนา ผลงานของ รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ซึ่งปัจจุบันด�ำรงต�ำแหน่งผู้อ�ำนวย การ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เปิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับวิหาร โดยเฉพาะวิหารในภาคเหนือซึ่งขอเรียกง่าย ๆ ว่า วิหารล้านนา เพราะอาจารย์ได้ น�ำเสนอข้อมูลใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ท�ำให้เข้าใจมิติที่ลึกซึ้งของวิหารที่มีความหมาย มากกว่าความงามทางศิลปะและสถาปัตยกรรม ส่วนประกอบที่ก่อรูปเป็นอาคาร วิหารแต่ละหลังสือ่ ถึงศรัทธา ความเชือ่ ของชาวล้านนาทีม่ ตี อ่ พุทธศาสนา แสดงออก เป็นรูปธรรมโดยมีวหิ ารเป็นสือ่ สัญลักษณ์ กล่าวได้วา่ วิหารแต่ละหลังหรืออาจหมาย รวมถึงวัดแต่ละแห่ง คือการหลอมรวมวิถีชีวิต คติความเชื่อ วัฒนธรรมทางสังคม ของชาวล้านนา โดยเฉพาะความศรัทธาทีว่ ่าผู้ใดสร้างวิหารจะได้อานิสงส์มาก จึง ท�ำให้วิหารล้านนามีความงดงามมาก ทั้งนี้องค์ประกอบต่าง ๆ ของศาสนสถานล้านนามีความหมายที่อิงกับคติ ทางพุทธศาสนาและความเชื่อในคัมภีร์ทางศาสนามาแต่โบราณ ซึ่งนายช่างหรือ สล่าผู้สร้างต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ จึงสามารถผสมผสานกับรูป แบบงานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม มาสู่การสร้างและตกแต่งประดับองค์ประกอบ ต่าง ๆ ของวิหารได้อย่างเหมาะสม แฝงความหมายเชิงสัญลักษณ์อย่างแยบยล ให้สมกับความส�ำคัญของวิหารอันเป็นทีป่ ระดิษฐานพระพุทธรูป ซึง่ เป็นสัญลักษณ์ แทนพระพุทธองค์ ดังที่อาจารย์วรลัญจก์ได้เขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า “การ สร้างสรรค์งานพุทธสถาปัตยกรรมของสล่าล้านนามิได้เกิดขึ้นอย่างเลื่อนลอย แต่ ต้องอาศัยแรงบันดาลใจจากความรู้เรื่องคติทางศาสนา วัฒนธรรม ประสบการณ์ ทางช่าง และความคิดทางสังคมมาสร้างงาน…” การสร้างวัดและวิหารจึงเป็นองค์ ความรู้เชิงรูปธรรมเพื่อสื่อความคิดความเชื่อเหล่านี้ให้คนในสังคมได้รู้ความหมาย ทางธรรมที่รายล้อมอยู่เมื่อมาร่วมประกอบพิธีกรรมในวิหาร ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 27
จากแนวคิดทีอ่ าจารย์วรลัญจก์น�ำเสนอในหนังสือเล่มนี้ ท�ำให้เห็นภาพวิหาร ทีแ่ ตกต่างจากเดิม ได้รวู้ า่ เสาแปดเหลีย่ มทีม่ กั ท�ำเป็นเสาคูห่ น้าของวิหารในล้านนา อาจมีความหมายของมรรค ๘ หรือการที่อาสน์สงฆ์และธรรมาสน์มักตั้งอยู่ทาง ด้านขวาของพระประธานเสมอ ด้วยแนวคิดที่ว่าฝั่งขวาคือพื้นที่ทางธรรม ซึ่งดูจะ สอดคล้องกับการเขียนลายค�ำเรื่องพุทธประวัติที่ผนังห้องท้ายวิหารวัดปราสาท ภายในคูเมืองเชียงใหม่ ที่ผนังฝั่งซ้ายเป็นเรื่องราวก่อนการออกผนวชของเจ้าชาย สิทธัตถะ ส่วนฝั่งขวาเป็นเรื่องการเผยแผ่ธรรมของพระพุทธองค์จนกระทั่งเสด็จ ปรินิพพาน และที่วิหารวัดปราสาทแห่งนี้ อาจารย์ได้ชี้ให้ดูลักษณะผิวไม้ของ ผนังภายในวิหาร ซึ่งมีรอยคมขวานที่พยายามถากผิวไม้ให้เรียบเสมอกัน ชวน ให้จินตนาการถึงช่วงแรกสร้างวิหารแห่งนีท้ ี่ผู้คนมาร่วมแรงร่วมใจกันสร้าง ดังที่ อาจารย์ได้กล่าวในหนังสือเล่มนี้ว่า “การสร้างวิหารเป็นการร่วมมือของช่างหลาย กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นเครื่องมือง่าย ๆ เช่น ขวาน ค้อน ด้วยเทคโนโลยีพื้นบ้านนี้ เอง องค์ประกอบต่าง ๆ ของวิหาร เช่น เสา ผนัง จึงมีรอ่ งรอยคมขวานทีถ่ ากไม้…” ในปัจจุบันที่ผู้คนในสังคมเปลี่ยนแปลงไปตามครรลองโลก แต่วิหารในแดน ล้านนาหลายแห่งยังคงเป็นศูนย์กลางส�ำหรับคนในชุมชน ดังเห็นได้ในยามเช้าของ ทุกวันพระ โยมศรัทธาวัดยังคงธรรมเนียมปฏิบัติแต่ครั้งปู่ย่าตายาย ที่ร่วมกันน�ำ อาหารมาท�ำบุญและฟังเทศน์ที่วัด แม้บางคนอาจไม่ได้อยู่ในย่านนัน้ แล้วก็ตาม ภาพผูใ้ หญ่ชายหญิงน�ำอาหารจากตะกร้ามาวางบนโต๊ะยาวภายในวิหาร น�ำดอกไม้ ที่เก็บจากบ้านใส่กรวยกระดาษเล็ก ๆ มาวางในพานเพื่อถวายพระประธาน ร่วม กันนั่งฟังธรรมและถวายภัตตาหาร เสร็จพิธีก็เป็นช่วงเวลาการสนทนาระหว่าง พระและโยมเพื่อถามไถ่สารทุกข์สุกดิบก่อนจะแยกย้ายกันกลับบ้าน เป็นมิติทาง สังคมทีม่ วี หิ ารเป็นพืน้ ทีเ่ ชือ่ มโยงโลกทัง้ ทางธรรมและทางสังคมแก่พทุ ธศาสนิกชน… ซึ่งมิอาจรู้ว่าวัตรปฏิบัติเช่นนีจ้ ะด�ำรงอยู่ในสังคมล้านนาไปอีกนานเท่าไร ความพิเศษอีกประการของหนังสือเล่มนีค้ ือ อาจารย์วรลัญจก์และคณะได้ ร่วมกันตีความภาพลายค�ำทีค่ งเหลือร่องรอยบางส่วนภายในวิหารวัดไหล่หนิ จังหวัด ล�ำปาง ทีอ่ าจมีความสัมพันธ์กบั ชาดกสอนใจทางพุทธศาสนา นับเป็นข้อมูลใหม่ที่ น่าสนใจยิ่ง และสะท้อนบทบาทของวิหารในการบันทึกและถ่ายทอดเรื่องราวทาง ธรรมให้แก่คนในชุมชน ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณหวังว่า ศาสตร์ ศิลป์ จิตวิญญาณ วิหารล้านนา เล่มนี้จะจุดประกายความคิดแก่ผู้อ่านในการเข้าใจความส�ำคัญของอาคารทาง ศาสนาไม่วา่ จะยุคสมัยใด และจะเป็นข้อมูลทีส่ ง่ เสริมองค์ความรูใ้ นการสืบสานงาน พุทธศิลป์อย่างมีคุณค่าและมีความหมายที่เหมาะสมในสังคมไทยสืบไป ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ มกราคม ๒๕๖๕ 28 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
ค�ำน�ำผู้เขียน ผู้เขียนเป็นชาวล้านนาโดยก�ำเนิด หากแต่ต้องติดตามครอบครัวไปยังภูมิภาค อื่น ๆ ของประเทศ แต่ก็ได้กลับมาสู่อ้อมกอดแห่งล้านนาตราบปัจจุบัน สิ่งที่ยัง คงจ�ำได้เสมอคือช่วงปิดเทอมทีต่ อ้ งตามคุณยายไปท�ำบุญตามวัดต่าง ๆ จึงท�ำให้ ผู้เขียนได้มีโอกาสสัมผัสและซึมซับความหลากหลายของวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ตั้งแต่เยาว์วัย รวมถึงบิดามารดาได้ปลูกฝังเรื่องวัฒนธรรมโดยการพาไปชม โบราณสถานต่าง ๆ ในเมืองต่าง ๆ อยูเ่ สมอ จึงก่อให้เกิดความประทับใจในความ งามและรูปแบบที่ไม่ซำ�้ กันของศาสนสถาน เมื่อได้มาเรียนที่ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งในขณะนัน้ เป็นช่วงของการประกอบ ร่างองค์ความรู้เกี่ยวกับล้านนา จึงมีหลักสูตรให้ออกพื้นที่ค้นคว้าศึกษาองค์ ประกอบสถาปัตยกรรมด้วยตนเอง และได้มาศึกษาต่อในหลักสูตรประวัตศิ าสตร์ สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร และมีโอกาสได้สร้างเจดีย์ บูรณะอาคาร ทางศาสนา รือ้ ฟื้นงานทางศาสนา ทีท่ ำ� ให้ได้เรียนรู้ รับทราบความคิดของครูบา อาจารย์ได้ละเอียดลึกซึ้งและมีมากมายจนมิอาจประมาณได้โดยเฉพาะการ สร้างสถานที่พิเศษ จึงเป็นเหตุให้ผู้เขียนตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า ศาสตร์ ศิลป์ จิตวิญญาณ วิหารล้านนา ที่เมื่อพินจิ อย่างเข้าใจจะพบถึงกระบวนความคิด ที่แยบยลทั้งทางธรรมะและโลกุตระที่สล่า (ช่าง) ทั้งที่เป็นพระภิกษุและฆราวาส ต่างน�ำมาเป็นฐานคิดในการสร้างวิหารด้วยจิตศรัทธาปสาทในพระพุทธศาสนา ไม้ทุกแผ่น คมขวานทุกคม อิฐทุกก้อน แม้แต่กรวดทราย ต่างมีความหมาย เฉพาะของตนอย่างน่าทึ่ง หนังสือเล่มนี้เป็นทัศนะของผู้เขียนที่ได้เรียนรู้จากครูบาอาจารย์ ทั้งที่เป็น พระภิกษุสงฆ์และฆราวาส รวมถึงจากการตีความจากพระไตรปิฎกและคัมภีร์ เอกสารต่าง ๆ บางส่วนคือความทรงจ�ำที่ได้เรียนรู้หรือปฏิบัติมา ซึ่งแต่ละท้อง ที่ในแต่ละช่วงเวลาของล้านนาจะมีความแตกต่างกัน จึงอาจจะไม่ได้ตรงกับ ทุกทัศนะของผู้รู้ที่ต่างมีประสบการณ์ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ผู้เขียนจึง ขอรับทุกข้อเสนอแนะ แม้ว่าวิหารต่าง ๆ จะถูกปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา แต่ความรู้เรื่องของ วิหารล้านนาก็ยังมีการสืบทอดผ่านการท�ำงานจริงของสล่าต่อไป ทั้งนี้เพราะ ความคิดของมนุษย์เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และมีความคิดสร้างสรรค์เสมอ แต่ด้วยสิ่ง ที่ไม่อาจห้ามได้คือ “กาลเวลา” ที่ท�ำให้สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันกลายเป็นอดีต ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 29
เพียงชัว่ ลมหายใจ และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทที่ ำ� ให้สามารถพิมพ์อาคาร ออกมาได้แล้ว กระนัน้ ก็ดีการเริ่มต้นเรียนรู้เป็นก้าวแรกของการศึกษาเสมอ ผู้ เขียนหวังว่าหนังสือเล่มนีค้ งเป็นการจุดประกายให้เกิดการรับรูใ้ นภูมปิ ญ ั ญาของ ชาวล้านนา และจะสร้างประโยชน์ทางการศึกษาแก่เยาวชนและสาธารณชนให้ เกิดการต่อยอดงานในอีกหลายมุมต่อไป ขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ คุณอภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ที่ให้มี โอกาสในการท�ำงานครั้งนี้ รวมถึงคุณจ�ำนงค์ ศรีนวล ขอขอบคุณบิดา มารดา และท่านครูบาอาจารย์ทงั้ ในมหาวิทยาลัยทุกแห่งทีเ่ ล่าเรียนมา ปราชญ์ สล่าใน ชุมชน ท่านเจ้าอาวาสและพระเถรานุเถระทุกรูปทีเ่ มตตา และเอกสารโบราณทุก ฉบับ กราบขอบพระคุณดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์วิถี พานิชพันธ์ ศาสตราจารย์ เกียรติคณ ุ สุรพล ด�ำริหก์ ลุ อาจารย์ของภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจติ รศิลป์ และ คณาจารย์ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แก่ ดุษฎี บัณฑิตกิตติมศักดิว์ นิดา พึง่ สุนทร รศ. ประสงค์ เอีย่ มอนันต์ รศ. เสนอ นิลเดช รศ. ดร. อนุวิทย์ เจริญศุภกุล และศาสตราจารย์สมคิด จิรทัศนะกุล อาจารย์ อรพิน ริยาพร้าว และทีมดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทีมลูกศิษย์และ เพื่อนร่วมงานทุกท่านของสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ท�ำงาน กราฟฟิก ถ่ายภาพ ถอดเรื่องราวเบื้องต้นจากจิตรกรรมโบราณ ได้แก่ อาจารย์ ภาณุพงศ์ ธรรมวงศ์ คุณณิชาภา นิรตั ศิ ยภูติ คุณภูเดช แสนสา นางสาวกณิสราวัลย์ ชิตประเสริฐ, นายพีรภัทร ไชยวงศ์ และนายวราพงษ์ ธิมะโน จากการท�ำงานครั้งนีท้ �ำให้ยิ่งเชื่อมั่นถึง “วิหารคือสถานที่ประกาศธรรมะ แห่งพระพุทธองค์” และสัมพันธ์กับการใช้ชีวิตของมนุษย์ ที่สามารถถอดรหัส นัยเหล่านัน้ แล้วน้อมน�ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งมีความมุ่งเน้นแตกต่างกันใน แต่ละช่วงสมัย คุณงามความดีของหนังสือเล่มนีข้ อน้อมถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระพุทธศาสนา พระภิกษุผู้รจนา คัมภีร์ล้านนา อันมีพระสิริมังคลาจารย์เป็นปฐม บรรพกษัตริย์-กษัตรีย์ สล่า ช่างผู้สร้างวิหาร ครูบาอาจารย์ทุกท่านทั้งทางโลกและทางธรรม และที่ส�ำคัญ คือ วัดทุกแห่ง ศาสนสถานโบราณทุกที่ โรงเรียน คุณครูทุกท่านของผู้เขียน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศิลปากร ห้องสมุด สถานศึกษาที่สร้าง ความรู้ให้แก่ผู้เขียนตลอดมา วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ 30 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
สารบัญ ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้เขียน
๒๗ ๒๙
กล่าวน�ำ
๓๕
บทที่ ๑ ล้านนาและบริบทประวัติศาสตร์
๓๗ ๓๗ ๓๙ ๔๐ ๔๑ ๔๑ ๔๓ ๔๓ ๔๗ ๕๐ ๕๑ ๕๓
นาม “ล้านนา” ล้านนาในเอกสารจีน ภูมิศาสตร์ของล้านนา สภาพภูมิอากาศของล้านนา การตั้งถิ่นฐานในล้านนา สังเขปประวัติศาสตร์ล้านนา สมัยที่ ๑ สมัยสร้างเมืองเชียงใหม่และล้านนา สมัยที่ ๒ สมัยล้านนารุ่งเรือง (พ.ศ. ๑๘๙๘-๒๐๖๘) สมัยที่ ๓ สมัยเสื่อมของล้านนา สมัยที่ ๔ สมัยล้านนาอยู่ใต้อ�ำนาจปกครองของพม่า สมัยที่ ๕ สมัยล้านนาเป็นประเทศราชของไทย
บทที่ ๒ แผนผัง ศรัทธา และงานพุทธศิลป์ล้านนา ทีม่ าของค�ำว่าวัด ประเภทของวัดในล้านนา ขนาดของวัดและทักษาการตั้งวัด การหันทิศทางของวัด แผนผังของศาสนสถานในล้านนา การใช้พื้นที่ของวัด ดาราศาสตร์และต้นไม้หน้าวัด ไม้หมายเมืองและความหมายของไม้ในใจคน องค์ประกอบของศาสนสถานล้านนา แก้ว ขะโยม น้อย หนาน ครูบา พะก่า
๖๒ ๖๒ ๖๒ ๖๔ ๖๕ ๖๕ ๗๓ ๗๕ ๗๖ ๘๓ ๑๐๗
ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 31
การปฏิบัติตนเมื่อไปวัดของคนเมือง เครื่องสักการะและงานพุทธศิลป์ที่พบในวิหารล้านนา ประเภทที่ ๑ เครื่องสักการะพระรัตนตรัย ประเภทที่ ๒ เครื่องสักการะพระพุทธ ประเภทที่ ๓ เครื่องสักการะพระธรรม ประเภทที่ ๔ เครื่องสักการะพระสงฆ์
๑๐๙ ๑๑๒ ๑๑๒ ๑๑๗ ๑๒๒ ๑๒๔
บทที่ ๓ วิหารล้านนา : รูปแบบ ความหมาย และความส�ำคัญและงานศิลปกรรม
๑๓๒
มูลเหตุแห่งการสร้างวิหาร ลักษณะวิหารสมัยโบราณ วิวัฒนาการของวิหารในประเทศไทย อานิสงส์ของการสร้างวิหาร ความคิดในการสร้างวิหารล้านนา การวางต�ำแหน่งวิหารล้านนา บทบาทและหน้าที่ของวิหารล้านนา วัสดุที่ใช้ในการสร้างวิหารล้านนา วัสดุที่ใช้เป็นโครงสร้างอาคาร วัสดุที่ใช้ในงานตกแต่งอาคาร กระบวนการสร้างวิหารโบราณของล้านนา ความเชื่อเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในการสร้างวิหาร การเวนตานวิหาร (การเวนทานวิหาร) รูปแบบของวิหารล้านนา ขนาดของวิหารล้านนาโบราณ องค์ประกอบทางโครงสร้างและศิลปกรรมของวิหารล้านนา องค์ประกอบทางโครงสร้าง องค์ประกอบทางศิลปกรรม พัฒนาการของวิหารล้านนา วิหารโบราณล้านนา วิหารสมัยตระกูลเจ้าเจ็ดตน วิหารสมัยครูบาศรีวิชัย วิหารในยุคปัจจุบัน วิหารแบบไทลื้อ 32 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
๑๓๓ ๑๓๖ ๑๓๘ ๑๔๐ ๑๔๑ ๑๔๕ ๑๔๖ ๑๔๗ ๑๔๘ ๑๔๙ ๑๕๔ ๑๕๖ ๑๕๗ ๑๖๘ ๑๗๑ ๑๗๓ ๑๗๔ ๑๗๘ ๑๘๖ ๑๘๖ ๑๘๙ ๑๙๒ ๑๙๔ ๑๙๕
วิหารแบบพม่า-ไทใหญ่ ประเภทของวิหารล้านนา สล่า (ช่าง) พุทธศิลป์ล้านนา
๑๙๗ ๑๙๘ ๒๐๑
บทที่ ๔ วิหารล้านนาที่มีอายุก่อน พ.ศ. ๒๔๐๐ : ประวัติและลักษณะสถาปัตยกรรม
๒๐๘
วิหารหลวง วัดพระธาตุล�ำปางหลวง จังหวัดล�ำปาง วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุล�ำปางหลวง จังหวัดล�ำปาง วิหารน�้ำแต้ม วัดพระธาตุล�ำปางหลวง จังหวัดล�ำปาง วิหารจามเทวี วัดปงยางคก จังหวัดล�ำปาง วิหารวัดไหล่หิน จังหวัดล�ำปาง วิหารวัดเวียง จังหวัดล�ำปาง วิหารโคมค�ำ วัดพระธาตุเสด็จ จังหวัดล�ำปาง วิหารวัดคะตึกเชียงมั่น จังหวัดล�ำปาง วิหารวัดปราสาท จังหวัดเชียงใหม่ วิหารหลวง วัดป่าแดงมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ สรุป
๒๑๑ ๒๒๔ ๒๔๗ ๒๖๒ ๒๗๘ ๒๙๐ ๓๐๔ ๓๑๗ ๓๒๖ ๓๔๓ ๓๕๐
บทที่ ๕ วิเคราะห์ลักษณะของวิหารล้านนา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๔
๓๕๘
ลักษณะวิหารที่สร้างขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๔ ลักษณะแผนผังของวิหาร วิธีการออกแบบและงานศิลปกรรมประดับตกแต่งวิหารล้านนา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๔ การออกแบบโครงสร้างเพื่อสร้างความรู้สึกทางสายตา การออกแบบองค์ประกอบทางศิลปกรรมและการตกแต่ง
บทที่ ๖ วิหารล้านนาในพุทธศตวรรษที่ ๒๕ : ประวัติและลักษณะสถาปัตยกรรม
วิหารลายค�ำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ วิหารวัดต้นเกว๋น จังหวัดเชียงใหม่ วิหารล้านนาแบบไทลื้อ จังหวัดน่าน วิหารวัดต้นแหลง
๓๖๒ ๓๖๖ ๓๖๘ ๓๗๑ ๓๗๗ ๔๐๕ ๔๐๕ ๔๒๒ ๔๓๓ ๔๓๔
ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 33
วิหารวัดหนองบัว วิหารที่สร้างในยุคครูบาศรีวิชัย วิหารวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่
๔๓๙ ๔๔๕ ๔๔๕
บทที่ ๗ สัญลักษณ์ในงานประดับตกแต่งวิหารล้านนา
๔๕๔ ๔๕๙ ๔๖๑ ๔๖๙ ๕๐๑ ๕๐๒ ๕๐๙ ๕๑๑ ๕๑๓ ๕๑๕ ๕๑๗ ๕๑๘ ๕๑๘ ๕๑๙ ๕๒๓ ๕๔๕ ๕๔๙ ๕๕๖
บทสรุป บรรณานุกรม ภาคผนวก ๑ ต�ำนานพระเจติยะหลวง เชียงใหม่ ภาคผนวก ๒ โฉลกกลองปูชา และธรรมเนียมการเอากลองเข้าวัดของล้านนา
๕๖๗ ๕๗๘ ๕๙๕ ๖๐๓
ลวดลายอดีตพระพุทธเจ้า ภาพเทพเทวา ลวดลายสัตว์ต่าง ๆ ลวดลายพรรณพฤกษา ลายเครือวัลย์ หรือเครือเถาล้านนา ลวดลายดอกไม้-ใบไม้ ลวดลายเครือเถา ลวดลายต้นไม้-ลูกไม้ ลวดลายประเภทธรรมชาติ ลวดลายประดิษฐ์ ลายหม้อปูรณฆฏะ (อมฤตฆฏะ หรือภัทรฆฏะ) ลวดลายจากภาคกลาง พานแว่นฟ้า พานรัฐธรรมนูญ รหัสนัยของจิตรกรรมฝาผนังล้านนา งานลายค�ำที่วิหารวัดไหล่หิน ตัวอย่างชาดกสอนใจ ลวดลายกลุ่มดาว ลวดลายเคราะห์สามชั้น สรุปความหมายของลวดลายที่ประดับวิหารล้านนา
34 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
กล่าวน�ำ
หากจะกล่าวถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในวัฒนธรรมไทยแล้ว “วัด” ย่อมเป็นอันดับ แรกที่ถูกนึกถึง การเข้าวัดของชาวไทยนัน้ เพื่อประกอบกุศลกิจหรือการศึกษา สรรพวิ ช า ตั้ ง แต่ อ ดี ต อดี ต “วั ด ” เป็ นดั ง ศู น ย์ ร วมจิ ต ใจของสั ง คมไทยเป็ น สถานที่ส�ำหรับประกอบความดี โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้อบรมกล่อมเกลาจิตใจ ของผู้คน การเข้าวัดเพื่อปฏิบัติธรรมหรือการท�ำบุญย่อมได้พบกับพระรัตนตรัย ดังนัน้ วัดจึงเป็นที่สร้างคุณอันเอนกอนันต์แก่วัฒนธรรมไทยเสมอมา ชาวล้านนา ซึง่ ประกอบด้วยกลุม่ ชนหลากหลายชาติพนั ธุ์ คือ ชาวไทยวน ไทลื้อ ไทใหญ่ ไทยอง ไทเชิน ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย เป็นผู้ที่นับถือพุทธศาสนาอย่างยิ่งยวด การสร้างบ้านแปงเมืองในทุกครั้งย่อม ต้องมีการสร้าง “วัด” ศูนย์รวมแห่งจิตใจเสมอ ดังนั้นรูปแบบของวัดหรือสิ่ง ก่อสร้างหลายประเภท เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ จึงมีข้อแตกต่างในรายละเอียด ปลีกย่อยตามความเชือ่ และความนิยมในแต่ละกลุม่ ชาติพนั ธุ์ เช่น ชาวไทใหญ่ที่ อพยพเข้ามาพร้อมการท�ำป่าไม้ในสมมัยรัชกาลที่ ๕ ในแม่ฮ่องสอนและล�ำปาง จะสร้างวิหารขนาดใหญ่ มีหลังคาซ้อนชัน้ ในแนวสูง ภายในมีการสร้างกุฏไิ ว้ดา้ น ข้าง เรียกอาคารนัน้ ว่า “จอง” สิ่งที่เปรียบเสมือน “รัตนมณี” ในวัดของชาวล้านนาคือ วิหาร สถานที่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ ใี่ ช้ในการประกอบพิธกี รรมและประดิษฐานพระประธาน รูปสัญลักษณ์ แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวล้านนาเชื่อว่าการสร้างวิหารนั้น เปรียบ ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 35
ประดุจดังการสร้างส�ำเภานาวาที่น�ำพามนุษย์ผู้ท�ำความดีไปสู่สรวงสวรรค์หรือ พระนิพพาน วิหารของล้านนาจึงถูกสรรค์สร้างขึ้นมาเพื่อรวบรวมความวิจิตร ตระการทางงานช่างและความอลังการของการประดับตกแต่งทีผ่ สานสอดคล้อง กับรูปแบบสัญลักษณ์ต่าง ๆ ท�ำให้วิหารล้านนาแตกต่างไปจากวิหารของภาค อื่น ๆ ในประเทศ ความประณีตบรรจงแห่งการสร้างที่แฝงนัยยะแห่งความเชื่อความศรัทธา ในพระพุทธศาสนา เป็นผลมาจากความเชื่อของชาวล้านนาที่ว่า การสร้าง วิหารถือเป็นการสร้างมหากุศลครั้งยิ่งใหญ่ ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจ จากหลายฝ่าย ด้วยความช�ำนาญทางการก่อสร้างผนวกกับภูมิปัญญาที่ได้แฝง ปรัชญาทางศาสนาไว้ในการประดับตกแต่ง ภูมปิ ญ ั ญาเหล่านีล้ ว้ นแต่ทำ� ให้วหิ าร ล้านนามีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์เสมอมา จากประวัติศาสตร์อันยาวนานของล้านนาที่ล้วนแล้วแต่มีความผูกพันกับ ศาสนา ผสานกับลักษณะเฉพาะของกลุ่มชน ที่ท�ำให้วิหารล้านนาได้ถูกบรรจง ถ่ายทอดมาในรูปแบบ และลวดลายที่หลากหลาย ตามความนิยมในแต่ละท้อง ที่ แต่กระนัน้ ก็ดีวิหารล้านนาก็ยังคงมีลักษณะที่เชื่อมโยงแสดงความถึงสัมพันธ์ ในกลุ่มชาวล้านนาได้อย่างลึกซึ้ง หากได้ เรี ย นรู ้ แ ละเข้ า ใจรู ป แบบสั ญ ลั ก ษณ์ ที่ สื่ อ ถึ ง ความคิ ด ความ ศักดิส์ ทิ ธิท์ สี่ ล่า (ช่าง) ชาวล้านนาได้สง่ ผ่านรูปแบบวิหารและการประดับตกแต่ง แล้ว เปรียบดังการเห็นความงดงามใน “แสงแห่งรัตนมณี” อันเป็นมรดกทาง วัฒนธรรมที่บรรพชนได้บรรจงสรรสร้างจากภูมิปัญญา ผ่านกระบวนทัศน์ทาง สังคมและวัฒนธรรมล้านนามาอย่างชาญฉลาด ในหนังสือเล่มนีเ้ ป็นการน�ำองค์ ความรูท้ ศี่ กึ ษาจากวิหารทีส่ ร้างในดินแดนล้านนา โดยเฉพาะกลุม่ วิหารเชียงใหม่ ล�ำพูน ล�ำปาง โดยยังคงน�ำช่วงเวลามาเป็นตัวน�ำเสนอ กระนัน้ ก็ดียังมีวิหารที่ สร้างตามกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความแตกต่างและมีความเป็นเอกลักษณ์ออกไปอีก มุมมองที่เกี่ยวข้องกับวิหารเป็นสิ่งที่สามารถศึกษาให้ลึกซึ้งได้เสมอ ทั้งนี้ยังคง รอผู้สนใจมาศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ต่อไปในอนาคต
36 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
บทที่
๑
ล้านนาและบริบทประวัติศาสตร์
ล้านนาในอดีตเป็นชื่อของอาณาบริเวณในเขตภาคเหนือของประเทศไทย รวมไปถึงรัฐฉาน (Shan State) ในประเทศพม่า (เมียนมา) และขยายไปถึงเขต สิบสองปันนาในสาธารณรัฐประชาชนจีน จากหลักฐานพบว่าเริ่มมีการใช้ชื่อนี้ ในช่วงยุคทองของล้านนาหรือสมัยพญาติโลกราช ราว พ.ศ. ๒๐๐๐ ที่ศาสนา พุทธรุ่งเรืองมาก ปัจจุบันมักจะหมายถึงแปดจังหวัดทางภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ล�ำพูน ล�ำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน ผูค้ นทีอ่ าศัยอยู่ในล้านนาประกอบด้วยหลายกลุ่มชน เช่น ชาวลัวะซึง่ เป็น กลุ่มชนดั้งเดิม ชาวโยนหรือคนเมืองล้านนา ชาวลื้อ ชาวลาว ชาวเขิน ชาวยอง เป็นต้น ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกัน รวมถึงกลุ่มที่ถูกกวาดต้อนมาใน ช่วงยุคฟื้นฟูล้านนาราว พ.ศ. ๒๓๒๕ พระเจ้ากาวิละแห่งตระกูลเจ้าเจ็ดตน จากล�ำปาง ได้รับต�ำแหน่งเจ้าเมืองเชียงใหม่และมีนโยบายสร้างความเข้มแข็ง แก่ล้านนา เป็นช่วงเวลาที่เรียกกันว่ายุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง”๑
นาม “ล้านนา”
ชื่อของดินแดนล้านนา เริ่มปรากฏหลักฐานการใช้ค�ำว่า “ล้านนา” ที่ นักวิชาการตีความว่าหมายถึง ที่นาจ�ำนวน ๑ ล้าน อันแสดงลักษณะภูมิประเทศที่ยังคงร่องรอยอยู่ตราบปัจจุบัน จ�ำนวนนับ ๑,๐๐๐,๐๐๐ ตีความ จากต�ำนานพระยาเจื๋อง ใบลานที่ K บรรทัดที่ ๔ มีข้อความกล่าวว่า ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 37
“..ในเมืองเงินยางเขตฺตทสลข ราชธานีอันกลาวคืวาเมิงลานนา...” แม้ ต�ำนานพระยาเจื๋อง ไม่ใช้วรรณยุกต์และค�ำว่า “เขตฺตทสลข” แปล ว่า สิบแสนนา (จ�ำนวน ๑๐x๑๐๐,๐๐๐ = ๑,๐๐๐,๐๐๐) ซึ่งมีความหมายคือ ล้านนานัน่ เอง นอกจากนัน้ ในหลักศิลาจารึกของวัดนางจันดี๑ อ�ำเภอเชียงของ จังหวัด เชียงราย สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๖ ปรากฏชื่อ ล้านช้าง ที่มีความหมายว่าช้าง จ�ำนวน ๑ ล้านเชือก จารึกนีก้ ล่าวถึงพระไชยเชษฐาธิราช ผู้ปกครองสองดิน แดน เนื่องด้วยพระราชบิดาคือพระเจ้าโพธิสาร (พ.ศ. ๒๐๖๓-๒๐๙๐) ทรงเป็น พระราชโอรสของพญาเกศเชษฐราช ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ครองหลวงพระบาง พระองค์เสด็จมาครองล้านนาใน พ.ศ. ๒๐๘๙ ในจารึกจารว่า “…สมเด็ จ บรมบพิ ต รตนสถิ ต เสวยราชพิ ภ พทั้ ง สองแผ่ นดิ น ล้ า นช้ า ง (ล้าน) นา...”๒ จ�ำนวนนับเหล่านี้แสดงหลักนับในการปกครอง โดยมีหน้าที่รับผิดชอบ มากน้อยตามต�ำแหน่งยศของตน ยิ่งมีจ�ำนวนนับมาก ยิ่งแสดงถึงอ�ำนาจที่มาก ขึ้นตามล�ำดับ จะเห็นจากค�ำเรียกยศต่าง ๆ เช่น จ�ำนวนหมื่น (๑๐,๐๐๐) ได้แก่ หมื่นม้าเชียงราย หมื่นด้ามพร้าคด จ�ำนวนแสน (๑๐๐,๐๐๐) ได้แก่ แสนพิงไชย แสนวิเศษ จ�ำนวนล้าน (๑,๐๐๐,๐๐๐) ได้แก่ ท้าวล้านนา จ�ำนวนร้อยล้าน (๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐) คือ พญากือนา กษัตริย์ล�ำดับที่ ๖ ของเชี ย งใหม่ (พ.ศ. ๑๘๙๘-๑๙๒๘) ก่ อ นขึ้ นครองราชย์ ด� ำ รงพระยศเป็ น “ท้าวสองแสนนา” ดังใน จารึกวัดพระยืน พ.ศ. ๑๙๑๔ ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒-๖ “...อันว่าพระเศลาจารึกเจ้าท้าวสองแสนนา อันธรรมิกราช ผูเ้ ป็นลูกรักแก่ พญาผายู เป็นหลานแก่พญาค�ำฟู เป็นเหลนแก่พญามังรายเจ้าท้าวนี้ เมื่อสุด ชนมาพิธี ปีเดือนพ่อตนดังอั้น จึงได้เสวยพระราชชัยศรี มีศักดิ์มีบุญฤทธิ์เดชะ ตบะหนักหนา...”๓ นอกจากนี้ค�ำท้ายพระนามของเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๖ ที่พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานให้เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙ คือ พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ด�ำรงนพีสีนคร สุนทรทศลักษณ์เกษตร ค�ำว่า ทศลักษณ์เกษตร มีความหมายว่าสิบแสนนา อันตรงกับค�ำว่า ล้านนาเช่นกัน๔ จากชื่อที่ปรากฏดังกล่าวแสดงให้เห็นภาพการเป็นพื้นที่กสิกรรมอุดม สมบูรณ์ที่มีอาณาบริเวณกว้าง กอปรกับการมีระบบการจัดการที่ดินและระบบ 38 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
ชลประทานอันเป็นแนวคิดส�ำคัญในการปกครอง ที่เรียกว่า “ระบบพันนา” ที่ใช้ควบคุมก�ำลังคนที่ถือครองที่นา และใช้ระบบเหมืองฝายในการแบ่งปันน�้ำ ที่เท่าเทียมกัน โดยผู้ใช้น�้ำเป็นสมาชิกเหมืองฝายเดียวกันและอยู่ภายใต้การ ปกครองของขุนนาง โดยมีขุนนางระดับต้นเป็นผู้ควบคุมไพร่ เช่น ล่ามนา เลียบน�้ำ เป็นต้น ระบบการปกครองนี้มีความน่าสนใจยิ่ง เพราะหลายพันนา รวมกันเป็นเมือง๕ เช่นกรณีของเมืองเชียงใหม่ในสมัยหนึง่ ต�ำนานระบุวา่ มีหลาย พันนา เช่น พันนาขาน (แม่น�้ำขาน อ�ำเภอสันป่าตอง) พันนาฝัง่ แกน (แม่น�้ำแกน แม่น�้ำปิง และแม่งัด อ�ำเภอแม่แตง) พันนาเชียงเรือ พันนาแช่ช้าง พันนาทวน พันนาพูคา เป็นต้น ระบบพันนาเป็นระบบที่ใช้กันแพร่หลายดังปรากฏชื่อ “สิบสองปันนา” ซึ่งก็คือสิบสองพันนาทางตอนใต้ของประเทศจีนในปัจจุบัน พัฒนาการของระบบชลประทานนี้มีการตราเป็นกฎหมายที่เรียกว่า “มังราย ศาสตร์” ที่กล่าวถึงการปกครองและยังกล่าวถึงความยุติธรรมในการปกครอง ที่ผู้คนต้องการร่วมสร้าง บ�ำรุงเหมืองฝาย หรือการแก้ปัญหาข้อพิพาทที่เกี่ยว กับน�ำ้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความผาสุขให้ประชาชนล้านนามาอย่างช้านาน จากมังรายศาสตร์ พ.ศ. ๒๓๔๖ ฉบับอ�ำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ซึ่ง เป็นชาวไทยวนที่ถูกกวาดต้อนไป มีเนื้อความว่า “...ไพร่สบิ คนให้มนี ายสิบผูห้ นึง่ ข่มกว้านผูห้ นึง่ ท�ำหน้าทีเ่ ป็นผูต้ ดิ ต่อ (ล่าม) ป่าวประกาศเรือ่ งงานการประจ�ำนายสิบทุกคน นายสิบ ๕ คน ให้มนี ายห้าสิบผู้ หนึง่ มีปากขวาและปากซ้ายเป็นผูช้ ว่ ยรวม ๒ คน นายห้าสิบ ๒ คน ให้มนี าย ร้อยผู้หนึง่ นายร้อย ๑๐ คน ให้มีเจ้าพันผู้หนึง่ เจ้าพัน ๑๐ คน ให้มีเจ้าหมื่น ผู้หนึ่ง เจ้าหมื่น ๑๐ คนให้มีเจ้าแสนผู้หนึ่ง ปกครองเมืองแบบนี้เพื่อมิให้ขัด เคืองใจพระเจ้าแผ่นดิน”๖
ล้านนาในเอกสารจีน
ในพระราชพงศาวดารราชวงศ์หยวนฉบับใหม่ บทที่ ๑๔๙ และพระราช พงศาวดารราชวงศ์หมิง บทที่ ๑๓๕ เรียกชื่อเมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน และเมืองเชียงใหม่ว่า อาณาจักรปาไป๋ซีฟู่ (Pa–Pai–Hsi–Fu Kingdom)๗ ที่ สร้างความสับสนให้ปราชญ์ในราชวงศ์เช็ง (พ.ศ. ๒๑๕๙-๒๔๕๔) จนท�ำให้ นายเว่ยหยวน เขียนในหนังสือ บันทึกการปราบปรามพม่า ชี้แจงว่า “จินไม่ (เชียงใหม่) ก็คือก๊กปาไป๋ซีฟู่ ตัวเมืองจินไม่เรียกชื่อว่า ปาไป๋ซีฟู่ใหญ่ จินแสน (เชียงแสน) ก็คือปาไป๋ซีฟู่เล็ก”๘ กล่าวคือก่อนการตั้งเชียงใหม่ใน พ.ศ. ๑๘๓๙ ปาไป๋ซีฟู่คือเชียงแสน “ปาไป๋ซีฟู่นั้นหมายถึงเมืองที่กษัตริย์มีชายา ๘๐๐ คน๙ แต่ละคนเป็น ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 39
หัวหน้าหมู่บ้านแห่งหนึ่ง๑๐ ซึ่งอาจจะเป็นมเหสีจริงหรือเป็นแต่ในนามก็อาจ เป็นได้”๑๑ ข้อความนี้แสดงให้เห็นถึงเรื่องเกี่ยวกับการปกครอง ที่กษัตริย์เป็น ผู้น�ำและกระจายการปกครองไปยังหมู่บ้าน ยกย่องให้สตรีเป็นผู้นำ� ซึ่งแนวคิด ที่ยกย่องสตรียังคงตกค้างเป็นส่วนหนึง่ ของวัฒนธรรมล้านนาตราบจนปัจจุบัน ในพระราชพงศาวดารเหยียนฉบับใหม่ บรรพที่ ๒๕๒ กล่าวถึงประวัติ ศาสตร์ อาณาเขต และลักษณะนิสัยของผู้คนในปาไป๋ซีฟู่ว่า “ปาไป๋ซีฟู่ ในภาษาของพวกเขาเรียกว่า เชียงใหม่ ...ในปีจงโถงตอนต้น แห่งราชวงศ์ซือจู่ (ไทยเรียกว่า หยวนซือโจว ราว พ.ศ. ๑๒๖๐-๑๒๖๔) กษัตริย์ ซือจู่ได้ส่งทหารไปโจมตีเมืองปาไป๋ซีฟู่ แต่ในที่สุดต้องยกทัพกลับโดยไม่ได้ไปถึง ที่นั่น ต่อมาได้จัดสั่งราชฑูตไปเกลี้ยกล่อมแล้วจัดตั้งหน่วยการปกครองทั้ง ฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนขึ้นที่นนั้ เรียกว่า ปาไป๋ต้าเตี้ยน... “อาณาเขตของปาไป๋ซีฟู่ ทางด้านตะวันออกติดต่อกับลาว ทางภาคใต้ ติดต่อกับพ่อลือ (ชื่อชนเผ่า) ทางภาคตะวันตกคือพวกจีลาบใหญ่ (ชื่อชนเผ่า หมายถึงชาวพม่า) ทางภาคเหนือคือจังหวัดเมืองลาน (ชื่อสถานที่ อยู่แถวสิบ สองพันนาปัจจุบัน) หากเดินจากทางด่ านหยาว (ชื่อสถานที่ อยู่ในมณฑล ยูนนาน) เดินสัก ๕๐ วันทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ก็จะถึงอาณาจักรปาไป๋ซีฟู่ ได้ ทีน่ นั้ มีเขาชือ่ นางเกอลา ใต้ภเู ขามีแม่นำ�้ ทางใต้แม่นำ�้ คือปาไป๋ซฟี ู่ ทางเหนือ แม่น�้ำคือเชอหลี่๑๒ ปาไป๋ซีฟู่มีที่ราบหลายพันลี้ อาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล สิ่งของต่าง ๆในที่นั้นมีช้างตัวโต ก�ำยาน และไม้จันทน์ เป็นต้น ชาวบ้านเป็น ชนเผ่าเป๋ว (ไท) ชอบสักลายใบหน้า จึงมีชื่ออีกว่า พวกสักลายใบหน้า เชื่อถือ พุทธศาสนาและเกลียดชังการฆ่า มีวัดวิหารทุกหมู่บ้าน แต่ละวัดวิหารต้อง สร้างเจดีย์ มีจ�ำนวนนับเป็นหมื่น เมื่อมีศัตรูมาบุกรุกก็ยกทัพไปต่อต้าน โดยไม่ค่อยยินยอม จับศัตรูได้ก็หยุดรบ จึงมีชื่อว่าประเทศที่บุญกุศล”๑๓ จากหลักฐานนีบ้ อกให้รวู้ า่ ชาวล้านนารักสงบและฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนา มาตั้งแต่อดีต จึงไม่น่าแปลกใจที่พบวัดวาอารามจ�ำนวนมากในล้านนาตราบ ปัจจุบัน
ภูมิศาสตร์ของล้านนา
อาณาเขตของดินแดนล้านนาตั้งอยู่ระหว่างเส้นเมอริเดียน ๙๗ องศา ๒๐ ลิปดา กับ ๑๐๑ องศา ๒๐ ลิปดาตะวันออก และเส้นละติจูด ๑๗ องศา กับ ๒๐ องศาเหนือ๑๔ ตั้งอยู่ลึกเข้ามาทางตอนในและไม่มีทางติดต่อทางทะเล ด้านทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือ จรดประเทศพม่า (เมียนมา) 40 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
ด้านทิศเหนือ จรดประเทศพม่า (เมียนมา) ด้านทิศตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ จรดประเทศลาว ด้านทิศใต้ จรดจังหวัดตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสูงและที่ราบแคบ ๆ ใน ลุม่ แม่นำ�้ ภูเขาทอดตัวเป็นแนวยาวมาจากเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาในแคว้น ยูนนานของจีน และยาวขนานกันจากเหนือสู่ใต้ มีที่ราบเพียงเล็กน้อยระหว่าง ภู เขา คื อ ๑ใน ๔ ของพื้ นที่ ทั้ ง หมด ซึ่ ง ใช้ เป็ นที่ อ ยู ่ อ าศั ย และการกสิ ก รรม ดินแดนแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ เป็นแหล่ง ก�ำเนิดแม่น�้ำหลายสายซึ่งจะพัดพาตะกอนมาสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ บริเวณลุม่ น�ำ้ ก่อให้เกิดการตัง้ ถิน่ ฐานของผูค้ นในเวลาต่อมา โดยเฉพาะพืน้ ทีล่ มุ่ แม่น�้ำกก อิง และโขงในเขตล้านนาตอนบน และเขตลุ่มแม่นำ�้ ปิง วัง ยม น่าน ในเขตล้านนาตอนล่าง
สภาพภูมิอากาศของล้านนา
ภูมอิ ากาศของล้านนาจัดอยู่ในประเภทร้อนค่อนข้างไปทางเขตอบอุ่น ใน ฤดูหนาวมีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น และมีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน มีทั้งลม มรสุมจากทางใต้ที่น�ำความชุ่มชื้นจากทะเลมาตกเป็นฝน และลมมรสุมจาก ประเทศจีนที่พัดพาความแห้งแล้งและความหนาวเย็นมายังดินแดนนี้ ท�ำให้ภูมิ อากาศร้อนและชุม่ ชืน้ เป็นเวลา ๖ เดือน มีอากาศเย็นราว ๔ เดือน และมีอากาศ ร้อน ๒ เดือน๑๕ นับว่ามีฤดูกาลที่เหมาะสมแก่การอยู่อาศัยและท�ำกสิกรรม จึง เป็นปัจจัยหนึง่ ที่มีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนที่แวดล้อมไปด้วยขุนเขานี้ จากลักษณะภูมปิ ระเทศและภูมอิ ากาศท�ำให้มพี ชื พรรณไม้ตา่ ง ๆ งอกงาม ตามระดับความสูงต�ำ่ ของพืน้ ทีค่ ละเคล้ากันไป ในล้านนาจึงมีทงั้ “ป่าไม้ผลัดใบ” ทีม่ ตี น้ สัก ตะแบก ทองหลาง ไผ่ชนิดต่าง ๆ และ “ป่าเบญจพรรณ” ทีม่ ตี น้ เหียง ตองตึง เต็ง รัง ลมแล้ง หญ้าคา และวัชพืชอืน่ ๆ ปะปนกัน ซึง่ พืชพรรณอันหลาก หลายนี้ล้วนแต่ยังประโยชน์ต่อวิถีชีวิตของชาวล้านนา
การตั้งถิ่นฐานในล้านนา
พัฒนาการของการตัง้ ถิน่ ฐานในดินแดนล้านนาสามารถศึกษาได้จาก หลัก ฐานทางเอกสาร เช่น จารึก ต�ำนาน พงศาวดาร เป็นต้น และหลักฐานที่ไม่เป็น ลายลักษณ์อกั ษร เช่น หลักฐานทางโบราณคดี ภาพถ่ายทางอากาศ โบราณวัตถุ ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 41
บทที่
๒
แผนผัง ศรัทธา และงานพุทธศิลป์ล้านนา
ที่มาของค�ำว่าวัด
“วัด” บางครั้งเรียก “อาวาส” หรือ “วิหาร” หมายถึง สถานที่อันควรแก่ การประดิษฐานแห่งไตรสรณคมน์ หรือองค์ประกอบอันเป็นทีพ่ งึ่ ทางพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นศูนย์รวมแห่งความเชื่อความศรัทธา ของพุทธศาสนิกชน ในด้านกายภาพ วัดอาจประกอบไปด้วยพระอุโบสถ พระ วิหาร พระเจดีย์ รวมทั้งมีพระภิกษุสงฆ์อยู่อาศัย๑ ส่วนด้านนามธรรม วัดย่อม หมายถึงสถานทีอ่ นั บริสทุ ธิ์ เพือ่ กระท�ำบุญอันประเสริฐแห่งการเผยแผ่พระธรรม ค�ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า รวมถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ หรืออาจมาจากค�ำภาษา บาลีว่า “วตวา” ที่แปลว่า ที่สนทนาธรรม หรือ “วัตร” อันหมายถึง กิจปฏิบัติ หรือหน้าที่ของพระภิกษุที่พึงกระท�ำ ตามนัยยะนี้จึงน่าจะหมายถึงสถานที่ซึ่ง พระภิกษุสงฆ์ใช้เป็นที่จ�ำศีลภาวนา หรือสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ปฏิบัติกิจที่ พึงกระท�ำ๒ แต่มีบางท่านสันนิษฐานว่าอาจมาจากค�ำว่า “วัดวา” อันหมายถึง การก�ำหนดขอบเขตดินแดนที่สร้างเป็นศาสนสถาน๓ เป็นนัยยะเชิงพื้นที่ เพราะ วัดกับวามีความหมายเดียวกัน คือ การสอบขนาดหรือปริมาณของสิ่งต่าง ๆ เช่น ความกว้าง ความยาว เป็นต้น
ประเภทของวัดในล้านนา
วัดล้านนาสามารถแบ่งตามคติลงั กาวงศ์ทเี่ รียกคณะสงฆ์เป็น ๒ แบบ คือ
62 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
วัดคามวาสีและวัดอรัญวาสี นอกจากนี้ยังแบ่งตามผู้สร้างวัด คือวัดหลวง วัด ราษฎร์ วัดเก๊า แต่ละประเภทมีลักษณะดังนี้ ๑. วัดคามวาสี เป็นวัดทีส่ ร้างคูก่ บั ชุมชน ย่าน หมูบ่ า้ น ในเขตเมือง พระ สงฆ์ส่วนใหญ่จะศึกษาพุทธศาสนาเพื่อปฏิบัติกับคนในสังคม มุ่งเน้นด้านคันถธุระ ได้แก่พระสงฆ์ที่มุ่งในการศึกษาเล่าเรียนธรรมวินัย เพื่อให้แตกฉานด้าน พระธรรมคัมภีร์ มีหน้าที่อบรมสั่งสอนขัดเกลาคนในสังคมใช้ชีวิตตามแนว ทางพุทธศาสนา คณะสงฆ์ฝ่ายนี้จึงมีบทบาทต่อสังคม บางสถานการณ์ยัง มีบทบาทต่อราชวงศ์และสถาบันกษัตริย์ของล้านนาด้วย จากหลักฐานใน ต�ำนานวัดเจดีย์หลวง กล่าวถึง ศักราช ๘๐๔ (พ.ศ. ๑๙๘๕) พญาติโลกราช ได้อัญเชิญพระมหาสวามีสัทธัมกิติจากวัดพระสิงห์มาเป็นเจ้าอาวาส (สังฆนายก) ที่วัด สิริร าชกุฎ าราม (วั ด เจดีย ์ ห ลวง) แสดงถึง การที่ก ษัต ริย ์ ท รงให้ ความส�ำคัญในการคัดเลือกและแต่งตั้งเจ้าอาวาส ๒. วัดอรัญวาสี เป็นวัดป่าที่เน้นสายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งนิยมสร้าง ห่างจากชุมชน ในสมัยโบราณวัดอรัญวาสีมกั สร้างทางด้านทิศตะวันตกของเมือง เช่น วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) และวัดป่าแดง อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ตั้งอยู่เชิงดอยสุเทพ ทางด้านตะวันตกของเมือง ใน ต� ำ นานพื้ น เมื อ งเชี ย งใหม่ มี ข ้ อ ความที่ ส ะท้ อ นว่ า พญาติ โลกราช ทรงให้ความส�ำคัญกับฝ่ายอรัญวาสี ทรงนิมนต์พระสงฆ์ฝา่ ยอรัญวาสี ๑๒ องค์ เช่น เถระเทพพกุล เดินทางกับล่ามแขกไปบวชสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ๔ ๓. วัดหลวง เป็นวัดที่กษัตริย์ทรงสร้างและอุปถัมภ์ มักจะมีแผนผัง สมบูรณ์ เชื่อมโยงกับคติความเชื่อเรื่องจักรวาล คือมีซุ้มประตูโขง ศาลาบาตร วิหารหลวง วิหารตามทิศต่าง ๆ เจดีย์องค์ส�ำคัญ เป็นต้น เช่นที่วัดพระธาตุ หริภญ ุ ชัย อ�ำเภอเมือง จังหวัดล�ำพูน วัดพระธาตุดอยสุเทพ อ�ำเภอเมือง จังหวัด เชียงใหม่ เป็นต้น วัดหลวงมักใช้ช่างหลวงที่มีฝีมือในการก่อสร้างและสร้าง งานศิลปกรรม ท�ำให้วดั หลวงมักแสดงออกถึงผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม เชิง ช่าง และศิลปกรรมที่มีความวิจิตรและงดงาม (traditional arts) ๔. วัดราษฎร์ เป็นวัดที่ชาวบ้านหรือราษฎรร่วมกันสร้างขึ้น เป็นวัดที่มี ขนาดเล็กลงมา พบกระจายอยู่ทั่วล้านนา การประดับตกแต่งและองค์ประกอบ ของวัดอาจไม่ครบถ้วนเท่าวัดหลวง เช่น ท�ำศาลาบาตรเพียงด้านหลังหรือสอง ข้างของวิหารประธาน หากเป็นวัดศูนย์กลางหมูบ่ า้ นมีกจิ กรรมมาก อาจมีศาลา บาตรถึงสามด้าน ในบางวัดอาจจะไม่มีเจดีย์ ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น หอพระไตรปิฎก หอกลอง จะมีเฉพาะวัดที่มีความส�ำคัญของหมู่บ้าน งานช่าง และการตกแต่งมักเป็นฝีมือช่างชาวบ้านที่มีความงามแบบพื้นบ้าน (folk arts) ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 63
ความแตกต่างของวัดหลวงกับวัดราษฎร์คือ ขนาด องค์ประกอบและการ ประดับตกแต่ง ๕. วัดเก๊า หมายถึง วัดหลักของครอบครัว เป็นชื่อที่ชาวล้านนาเรียก ที่ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับศรัทธา จะเห็นความเชือ่ มโยงคล้ายกับศรัทธา วัดดังพบที่หลวงพระบาง โดยศรัทธารอบวัดนัน้ ๆ จะแบ่งวันในการผลัดกันน�ำ อาหารมาถวายวัด หากศรัทธาไปวัดอื่น เช่น งาน “ปอยหลวง” (เฉลิมฉลอง หรือสมโภช) ที่ผู้คนจากทุกทิศทางจะมารวมกัน มักจะมีค�ำถามจากเจ้าของ พื้นที่ว่า “ศรัทธาวัดไหน” หรือ “ลุกบ้านไหนมา” อันเป็นการถามว่ามาจาก วัด ไหน พื้นที่ไหน ปัจจุบันบางพื้นที่เช่น กลางเวียงเชียงใหม่ พื้นที่รอบวัดที่เคยมี ศรัทธาอาศัยอยู่ถูกเปลี่ยนมือไป ทั้งจากการขายหรือให้เช่าพื้นที่ ถึงแม้ว่าคน ที่อยู่เดิมได้ย้ายออกไปอยู่นอกเมือง เช่น อ�ำเภอหางดง อ�ำเภอสารภี อ�ำเภอ สันก�ำแพง เป็นต้น แต่เมื่อถึงวันพระ ศรัทธาเหล่านั้นยังคงกลับมาท�ำบุญที่ “วัดเก๊า” ที่ตระกูลของตนท�ำบุญเช่นเดิม เช่น ครอบครัวของผู้เขียนจะไปวัด ของสายตระกูลทางแม่ เพราะล้านนาให้ความส�ำคัญกับ “สายแม่” ทีผ่ หู้ ญิงเป็น ใหญ่ แม้ปัจจุบันจะย้ายออกไปอยู่นอกเมือง แต่ในวันพระก็จะกลับมาท�ำบุญ ที่ “วัดเก๊า” ของตระกูลในเมืองดังที่เคยปฏิบัติมา
ขนาดของวัดและทักษาการตั้งวัด
ขนาดของวัดในวัฒนธรรมล้านนาจะสัมพันธ์กับขนาดของชุมชน วัดที่มี ขนาดเล็กมักตั้งอยู่ในหมู่บ้านที่มีผู้คนไม่มาก เป็นพื้นที่เกษตรกรรม และอาจตั้ง อยูท่ า่ มกลางธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมทีร่ ม่ รืน่ สร้างโดยชาวบ้าน จึงมักเรียกวัด ประเภทนี้ว่า “วัดราษฎร์” หรือวัดที่มีชาวบ้านเป็นผู้สร้างและอุปถัมภ์ ส่วนวัด ในเมืองจะสัมพันธ์กบั ชุมชนเมืองทีม่ ผี คู้ นอาศัยอยูเ่ ป็นจ�ำนวนมาก และมักได้รบั การอุปถัมภ์โดยผู้ปกครองหรือกษัตริย์ ซึ่งเรียกกันว่า “วัดหลวง” ดังกล่าวถึง แล้วในการเลือกท�ำเลที่ตั้งวัดจะพิจารณาจากสภาพ ๓ ประการ๕ ได้แก่ ๑. เป็นที่ดอนหรือเนินสูงหรือสร้างวัดบนภูเขา เช่น วัดพระบรม ธาตุศรีจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่, วัดปงสนุก จังหวัดล�ำปาง หรือวัดบนภูเขา เช่น วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระธาตุดอยตุง จังหวัด เชียงราย เป็นต้น วัดในกลุ่มนี้มักสัมพันธ์กับความเชื่อเรื่องการนับถือภูเขา ศักดิ์สิทธิ์หรือเรื่องจักรวาลวิทยา ๒. ตั้งทางทิศเหนือของชุมชนที่เรียกว่า “หัวบ้าน” วัดในกลุ่มนี้มักตั้ง อยู่บริเวณหัวบ้านหรือทิศเหนือของเมือง โดยชุมชนมักจะตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ ของวัด เช่น วัดหัวข่วง (หัวคือทิศเหนือ ข่วงคือลาน) จังหวัดน่าน, วัดหัวข่วง 64 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
จังหวัดเชียงใหม่, วัดหัวเวียง (หัวคือทิศเหนือ เวียงคือเมืองที่มีก�ำแพงล้อม) จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น ปัจจุบันชุมชนมีการขยายตัวมากขึ้น ต�ำแหน่ง ของวัดและชุมชนจึงแทบผสานเป็นพื้นที่เดียวกัน ยากต่อการระบุต�ำแหน่ง ทิศทางได้ชัดเจนชื่อของวัดจึงเป็นหลักฐานส�ำคัญที่อาจจะระบุต�ำแหน่งเดิม ที่เชื่อมโยงไปถึงคติในการเลือกที่ตั้งของวัดในอดีตได้ ๓. วัดที่ตั้งห่างจากตัวชุมชน อาจมีที่นาหรือแม่น�้ำเล็ก ๆ คั่น ซึ่งที่นา หรือพื้นที่ป่าเหล่านั้นอาจเป็นที่นากัลปนาในอดีต เช่น วัดสวนดอก จังหวัด เชียงใหม่ ในต�ำนานกล่าวว่าตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ๕๐๐ คันธนู เป็นต้น วัดในกลุม่ นีม้ กั จะเป็นวัดป่าหรือวัดทีอ่ ยูน่ อกเมืองเรียกว่า “วัดอรัญวาสี” เช่น วัดป่าแดงและวัดร�่ำเปิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
การหันทิศทางของวัด
วัดล้านนาให้ความส�ำคัญในการหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ซึ่งแบบ แผนการหันทิศนี้มิได้ปรากฏในสมัยแรก ๆ ของล้านนา ดังจะเห็นได้จากวัด ในเวียงกุมกาม เช่น วิหารของวัดกานโถมหันหน้าสู่ทิศตะวันตก อาจหมายถึง ทิศที่ตั้งเมืองอังวะที่พญามังรายทรงผูกสัมพันธไมตรีซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก หรือเพื่อการสะเดาะเคราะห์ เช่นเดียวกับการสร้างโบสถ์มหาอุดที่สร้างโดยมี วัตถุประสงค์เฉพาะ๖ และอาจหันไปสู่เส้นทางน�้ำ เช่น วัดหนานช้างและวัดปู่เปี้ยในเวียงกุมกามที่หันหน้าสู่เหนือ มีข้อสังเกตว่าการวางผังวิหารและอุโบสถ ล้านนาอาจได้รับอิทธิพลจากหลักการจักรวาลวิทยาจากคัมภีร์กาลจักรยาน ตันตระ*ที่เป็นภูมิปัญญาดาราศาสตร์ในการท�ำปฏิทิน พิธีพุทธาภิเษก การ วางผัง ทักษาเมือง อาคารโบราณหลายแห่งในประเทศไทยวางตัวในวันเถลิง ศกของแต่ละยุคที่สร้างโดยการวางทิศไปที่ดาวที่เป็นจุดอ้างอิงวันเถลิงศก**
แผนผังของศาสนสถานในล้านนา
วัดในวัฒนธรรมล้านนาเป็นสถานทีร่ วมจิตใจของผูค้ น เป็นสถานทีป่ ระกอบ
*รายละเอียดในเชิดศักดิ์ แซ่ลี่, อรพิน ริยาพร้าว, กรกมล ศรีบุญเรือง และศิรามาศ โกมลจินดา, ภูมปิ ญ ั ญาดาราศาสตร์ลา้ นนา ร่องรอยและอิทธิพลของพุทธตันตระ ปักขทืน ล้านนาและทักษาเมืองล้านนา, (เชียงใหม่ : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๖๔), หน้า ๑๕๒. ** Komonjinda,S., Riyaprao,O., Sriboonrueang,K. and Saelee, C., Relative Orientation of Prasat Hin Phnom Rung to Spica on the New Year’s Day: The Chief Indicator for Intercalary Year, Proceeding IAU Symposium, 367 (in press). ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 65
บทที่
๓
วิหารล้านนา : รูปแบบ ความหมาย ความส�ำคัญ และงานศิลปกรรม
วิหาร เป็นค�ำภาษาบาลี มีหลายความหมาย เช่น หมายถึงการพักผ่อน การเที่ยว๑ การเป็นอยู่หรือการด�ำรงชีวิต๒ หรือจากอรรถแห่งศัพท์ กัณฑ์ที่ ๕ เรื่อง “ภูมินทิ เทส” ในหนังสือจักกวาฬทีปนี ที่ว่าด้วยภพภูมิต่าง ๆ ในจักรวาล ได้อรรถาธิบายศัพท์ไว้ว่า “วิหาร หมายถึง ความเป็นไปอยู่ มีการเปลี่ยนอริยาบถ๓ เป็นต้น” นอกจากนี้วิหารยังหมายถึงที่อยู่ที่อาศัยของพระสงฆ์ หรือสิ่งก่อสร้าง ที่ ป ระดิ ษ ฐานพระพุ ท ธรู ป คู ่ กั บ โบสถ์ จากความหมายดั ง กล่ า วจะเห็ นถึ ง คุณลักษณะพิเศษทีแ่ สดงถึงความแตกต่างของการใช้ค�ำ วิหาร ว่ามี ๒ ลักษณะ คือ ลักษณะที่เป็นสิ่งก่อสร้าง และลักษณะของการกระท�ำ ที่แสดงถึงกิริยา ต่าง ๆ กล่าวคือ วิหารที่เป็นตัวงานสถาปัตยกรรมที่มีการก่อสร้าง ที่ในสมัย พุทธกาลหมายถึงกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้าหรือพระภิกษุสงฆ์ และวิหาร ยังหมายถึงกิริยาที่เป็นการพ�ำนักที่เกิดขึ้น ต่อมาความหมายของวิหารได้แปรเปลี่ยนเหลือความหมายเดียว คือ งานสถาปัตยกรรมที่เป็นอาคารซึ่งมีหน้าที่ในการประดิษฐานพระพุทธรูปคู่กับ อุโบสถบ่อยครั้งมักสร้างให้มีขนาดใหญ่กว่าอุโบสถ ด้วยมีวัตถุประสงค์จะให้ เป็นที่ประชุมของคนจ�ำนวนมากเพื่อท�ำพิธีกรรมบางอย่างได้สะดวก๔ 132 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
มูลเหตุแห่งการสร้างวิหาร
ในระยะแรกเริ่มของพระพุทธศาสนายังไม่มีการสร้างวิหารหรือสิ่งก่อสร้าง ใด ๆ แม้แต่รูปเคารพ ทั้งนี้พุทธศาสนาเน้นเฉพาะเรื่องของหลักธรรมและการ ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุนิพพานธรรม ตามพระพุทธวัจนะของพระพุทธองค์เท่านัน้ ดังจะทราบจากสถานที่แสดงธรรมของพระพุทธองค์ที่ทรงใช้สิ่งแวดล้อมทาง ธรรมชาติไม่วา่ จะเป็นอาณาบริเวณของป่าหรือสวนต่าง ๆ เป็นทีแ่ สดงธรรม แม้ แต่สถานทีพ่ �ำนักของพระภิกษุสงฆ์หรือองค์ปจั เจกพุทธเจ้าก็มไิ ด้ระบุไว้ ซึง่ ต่างก็ อาศัยพึง่ พิงธรรมชาติแทบทัง้ สิน้ อาทิเช่น ต้องพ�ำนักอยูต่ ามป่า โคนไม้ หลืบถ�ำ้ และลอมฟาง หรือแม้แต่ภูเขา ซอกเขา ดังปรากฏในหนังสือ จักรวาฬทีปนี ว่า “...พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น เที่ยวบิณฑบาตในที่ตามความผาสุข ท�ำภัตรกิจเสร็จแล้ว มากระท�ำภูเขานัน้ ให้เป็น ๒ ส่วน ราวกับเปิดประตูบานคู่ ขนาดหนักในห้องพระเจดีย์ เข้าไปภายใน นฤมิตรที่พักกลางคืนและที่พักกลาง วันอยู่ในภูเขานัน้ ...”๕ เหตุแห่งการสร้างวิหารเกิดขึ้นเนื่องด้วยท่านอณาบิณฑิกะเศรษฐี คหบดี ชาวกรุงราชคฤห์ เห็นกิจวัตรของเหล่าภิกษุสงฆ์ที่เพลาเช้าพระภิกษุและพระ ปัจเจกพุทธเจ้าออกจากที่พำ� นักแห่งตน ส�ำรวมอิริยาบถ ออกบิณฑบาต จึงเกิด ความเลื่อมใสศรัทธา มีความปรารถนาที่จะสร้างสถานที่พ�ำนักถาวร ส�ำหรับ การด�ำรงอยู่ของเหล่าภิกษุที่ค่อนข้างล�ำบาก และบางครั้งต้องผจญกับสัตว์ร้าย หรือธรรมชาติต่าง ๆ จึงมาถามเหล่าภิกษุสงฆ์ หากแต่ได้รับค�ำตอบว่ายังไม่เคย มีพระพุทธานุญาตไว้ จึงขอให้เหล่าภิกษุไปกราบทูลขออนุญาตต่อองค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงอนุญาตว่า “...ดูราภิกษุทั้งหลาย เสนาสนะเป็นที่เร้นอยู่ มี ๕ ประการ คือ วิหาร ๑ (วิหารํ) พะเพิง ๑ (อฒฺโยคํ) ปราสาท ๑ (ปาสาทํ) ทิมแถว ๑ (หมฺมิยํ ) คูหา ๑ (คหนํติ)...”๖ ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภูมิประเทศ ภูมิ อากาศ หรือปัจจัยทางด้านอื่น ๆ เพราะเสนาสนะทั้ง ๕ อย่างนัน้ มีความแตก ต่างกัน คือ วิหารํ (วิหาร) เป็นอาคาร ที่มีหลังคาลาดลงไปสองข้าง อฒฺโยคํ (พะเพง) เป็นอาคารเรือนมุงที่มีปีกนกแถบเดียวเทลาดลงมา รู้จักโดยทั่วไปว่า เพิง ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 133
ปาสาทํ (ปราสาท) หมายถึงเรือนหลายชั้น เป็นอาคารที่สร้างมากกว่า ๑ ชั้นขึ้นไป หมฺมิยํ (ทิมแถว) หรือหลังคามีลานให้พระจันทร์ส่องได้ เป็นอาคาร หลังคาแบบตัด (flf lat roof)๗ หรือหมายถึงเรือนโล้น เป็นอาคารที่ไม่มุงหลังคา ท�ำพื้นหลังคาตัดเรียบขนานกับพื้นเรือน มีลานให้พระจันทร์ส่องได้ คหนํติ (คู ห า) หมายถึง ถ�้ ำ ตามธรรมชาติห รือ สร้ า งด้ ว ยอิฐ หรื อ ถ�้ำ ที่พอกด้วยดินอย่างใดอย่างหนึง่ ๘ ในครั้งนัน้ คหบดีได้สร้างวิหารไว้ ๖๐ หลัง ถึงแม้ว่าพระพุทธองค์จะทรงมี พระพุทธานุญาตให้ภิกษุอยู่อาศัยตามเสนาสนะต่าง ๆ แต่พระภิกษุส่วนใหญ่ ยังนิยมปลีกวิเวกไปเจริญภาวนาใต้ต้นไม้มากกว่า ในสมัยต่อมาจึงค่อยเปลี่ยน ไป ในการถวายวิหารของอณาบิณฑิกะเศรษฐีนนั้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าเสด็จมาเป็นประธาน และตรัสอนุโมทนาเสนาสนะทานครั้งนี้ว่าเป็นทาน อันประเสริฐ ดังมีเนื้อความว่า “...เสนาสนะย่อมป้องกันร้อนหนาว ตลอดถึงภัยพาลมฤค อสรพิษและ เหลือบยุงบุง้ ร่านริน้ ทัง้ หลาย ถึงสายฝนสาดคราทีส่ ริฤดูกก็ นั ได้ ต่อไปถึงแดดกล้า ลมกล้า บรรดาที่จะเกิด วิหารทานนี้ สมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญ ว่าเป็นทานอันเลิศ เพื่อให้เป็นที่ลี้ภัย เพื่อให้ได้ความสุข เพื่อบ� ำเพ็ญญาณ เพื่อจ�ำเริญวิปัสสนาของภิกษุสงฆ์... “...เหตุนนั้ แท้จริง บัณฑิตสาธุชน เมื่อเห็นประโยชน์ตนจงสร้างเถิด วิหาร ทั้งหลาย อย่างรื่นรมย์ ให้ภิกษุพหูสูตรทั้งหลายได้อาศัยวิหารเหล่านัน้ แลพึง ถวายของขบฉัน ข้าว น�ำ้ ผ้า แลทีน่ งั่ นอนแก่พหูสตู รทัง้ หลายนัน้ ด้วยน�้ำใจผ่องใส ศรัทธาในพหูสูตรผู้ปฏิบัติซื่อตรงทั้งหลาย “...พหูสูตรทั้งหลายเหล่านั้นย่อมจะส� ำแดงธรรมแก่บุคคลนั้น เพื่อได้ บรรเทาทุกข์ด้วยประการทั้งมวล นรชนผู้นั้นได้รู้ธรรมใดก็อาจเป็นไปเพื่อหา อาสวะมิได้ คือพระนิพพานในชาติน.ี้ ..”๙ จากข้อความที่กล่าวข้างต้นมาแล้ว สามารถสรุปประโยชน์ของ “วิหาร” ในสมัยพุทธกาลได้ว่า ๑. เป็นที่พ�ำนักของพระสงฆ์ ๒. เป็นที่ป้องกันความร้อน-หนาว หรือแดด-ฝน ๓. เป็นที่ป้องกันสัตว์น้อย-ใหญ่ รวมถึงสัตว์มีพิษภัยต่าง ๆ ๔. เป็นที่เจริญวิปัสสนาและบ�ำเพ็ญญาณของพระภิกษุสงฆ์ ๕. เป็นสถานที่แสดงธรรมน�ำพาผู้คนไปถึงพระนิพพาน รูปแบบของวิหารจึงเป็นสถาปัตยกรรมที่ตอบสนองความต้องการในการ 134 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
ป้องกันภัยธรรมชาติและภัยจากสัตว์ต่าง ๆ รวมถึงเป็นสถานที่อันสงัดสามารถ จ�ำเริญวิปัสสนากัมมัฏฐานได้ ทั้งนี้ยังเป็นสถานที่พำ� นักซึ่งสามารถกระท�ำการ ผ่อนคลายเปลีย่ นอิรยิ าบถได้ น่าจะมีความหมายตรงกับ “กุฎสี งฆ์” ในปัจจุบนั นอกจากนี้ “วิหาร” ยังมีความหมายครอบคลุมไปถึงเสนาสนะอย่างอื่น เช่น สวนหรืออาราม ดังในเรื่องของ “วิหารทาน” กล่าวถึงการถวายสวนเวฬุวันของพระราชาแห่งกรุงราชคฤห์แด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า มีความว่า พระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งกรุงราชคฤห์มีพระราชศรัทธาในองค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอันมาก ครั้งหนึง่ ได้ทรงอาราธนาพระพุทธองค์และ พุทธสาวกมายังพระราชนิเวศน์แห่งตน เพือ่ ท�ำการพระราชกุศลถวายภัตตาหาร รวมถึงได้ทรงถวาย “สวนเวฬุวัน” ต่อองค์สมเด็จพระชินสีห์ ด้วยทรงตระหนัก ว่าพระองค์นนั้ ต้องการทีด่ ำ� รงอยูใ่ กล้พระพุทธองค์ การทีจ่ ะเดินทางไปยัง “สวน ลัฏฐิวัน” ส�ำนักของพระพุทธองค์ก็มีระยะทางที่ไกลมาก อีกทั้งผู้คนยังเบียด เสียดกันอย่างมากมาย พระองค์ทรงถวายโดย “...พระราชาก็เสด็จจากพระราชอาสน์ ทรงถือสุวรรณภิงคารอันเต็มด้วย น�้ำหอมลอยดอกไม้ไว้แล้ว น้อมสวนเวฬุวันถวายแด่องค์สมเด็จผู้ทรงพระภาค เจ้าแล้วทูลว่า ข้าพระองค์ ขอถวายสวนเวฬุวนั นัน้ แก่สงฆ์ อันมีพระพุทธองค์เจ้า เป็นประธาน แล้วหลั่งน�้ำให้ตกลงในพระหัตถ์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า๑๐แล... “...ขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับเวฬุวันอารามนัน้ แผ่นดินได้แสดง อาการชืน่ ชมหวัน่ ไหว ประหนึง่ ได้ประกาศให้รวู้ า่ มูลรากพระพุทธศาสนาได้หยัง่ ลง คือตั้งมั่นแล้ว...” จะเห็นได้ว่าในสมัยโบราณ “วิหาร” มีความหมายแทนถึงกระท่อมกุฎี ซึ่งเป็นที่อยู่เพื่อการปฏิบัติธรรม หรือแม้กระทั่งวัดทั้งบริเวณก็ได้๑๑ ซึ่งแตกต่าง ไปจากความเข้าใจในปัจจุบันที่เป็นอาคารส�ำหรับประกอบศาสนกิจ และทรง มีพระพุทธานุญาตในเรื่องขององค์ประกอบของวิหารและสิ่งที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น ประตู กลอน ลิ่มสลัก หน้าต่าง ลูกกรง เป็นต้น และห้ามเขียนรูปหญิง ชายในวิหาร รวมถึงทรงอนุญาตให้ใช้หลังคา ๕ ชนิด คือ ท�ำด้วยอิฐ ศิลา ปูนขาว หญ้าใบไม้ ๑๒ นอกจากนั้นยังให้พระภิกษุสงฆ์ถือว่าวิหารและที่ตั้ง วิหารเป็น ๑ ใน๕ หมวดที่จะสละเป็นของบุคคลเฉพาะใครไม่ได้๑๓ ต่อมาเมื่อพุทธศาสนาเจริญขึ้น มีพระภิกษุสงฆ์เพิ่มมากขึ้น วิหารได้ เพิ่มหน้าที่นอกเหนือขึ้นจากเดิมคือ ใช้ในการประชุมสังฆกรรม และหลังจากที่ พระพุทธองค์เสด็จปรินิพพาน มีความนิยมสร้างพระพุทธรูปเพื่อเป็นตัวแทน ของพระองค์ ดังนั้นวิหารจึงใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เพื่อเป็น ประธานในการประชุมกิจของสงฆ์๑๔ด้วย ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 135
บทที่
๔
วิหารล้านนาที่มีอายุก่อน พ.ศ. ๒๔๐๐ : ประวัติและลักษณะสถาปัตยกรรม
การค้นหาตัวอย่างวิหารในดินแดนล้านนาที่มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๔ ที่มีแบบแผนทางศิลปกรรมที่คงสภาพสมบูรณ์นับตั้งแต่ก่อสร้างมาจน ถึงปัจจุบันไม่ใช่เรื่องที่ท�ำได้ง่ายนัก เนื่องจากวิหารของล้านนาเกือบทั้งหมดได้ รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ ท�ำให้รายละเอียดทางศิลปกรรมและองค์ประกอบทาง สถาปัตยกรรมมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ด้วยเหตุนี้หากต้องการทราบแบบ แผนทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมของอาคารทางศาสนาของล้านนาที่มี อายุก่อน พ.ศ. ๒๔๐๐ จึงต้องมีการตรวจสอบและศึกษาในรายละเอียดเพื่อ ให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยในหนังสือเล่มนี้มีกระบวนการท�ำงาน ๒ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ ๑ การศึกษาภาคเอกสาร เป็นการสอบค้นประวัติของวัดที่มี การสร้างในช่วงเวลาดังกล่าวจากจารึก ต�ำนาน พงศาวดาร หรือเอกสารอืน่ ๆ ที่ เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องศึกษาเฉพาะประวัติของวิหาร การก่อสร้าง และบูรณะ ซ่อมแซม ขั้นตอนที่ ๒ การศึกษาภาคสนาม เป็นการออกส�ำรวจพื้นที่จริง เพราะ มีวิหารจ�ำนวนมากที่มีประวัติคลุมเครือ จึงต้องออกส�ำรวจและตรวจสอบงาน สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมว่าอยู่ในขอบเขตช่วงเวลาที่ท�ำการศึกษานี้หรือ ไม่ อีกทั้งเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของประวัติจากเอกสารและการบูรณะ ซ่อมแซมทีเ่ กิดขึน้ ภายหลัง ซึง่ ผูเ้ ขียนพบว่ามีการบันทึกเรือ่ งการบูรณะซ่อมแซม น้อยมาก ดังนัน้ จึงต้องใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องและการสังเกต หาก 208 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
วิหารหลังใดยังคงเหลือหลักฐานทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมมากกว่า ๔๐ เปอร์เซ็นต์ จะพิจารณาวิหารนัน้ เพื่อท�ำการศึกษา จากการออกส�ำรวจศาสนสถานในล้านนาทั้งแปดจังหวัดในภาคเหนือ วิหารที่สร้างก่อน พ.ศ. ๒๔๐๐ มีหลงเหลือจ�ำนวนน้อยมาก แทบจะไม่ถึง ๑ เปอร์เซ็นต์ของจ�ำนวนวัดที่มีทั้งหมดในภาคเหนือ พบว่าส่วนมากได้รับการ บู ร ณะซ่ อ มแซมมาโดยตลอด และการซ่ อ มแซมนั้น ส่ ง ผลต่ อ รู ป แบบของ วิหารล้านนาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อมีการรื้อถอนวิหารแบบดั้งเดิมและ สร้างวิหารหลังใหม่ขึ้นแทนที่ และในการสร้างใหม่ได้น�ำรูปแบบของวิหาร ในช่วงสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิด หากแต่เป็นการเปลี่ยนแปลง ตามกระแสสังคมที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามยังคงมีวิหารล้านนา ที่ถูกซ่อมแซมโดยยังคงรูปลักษณ์เดิมไว้อยู่จ� ำนวนหนึ่งประกอบกับมีการให้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์อาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากขึ้น ซึ่งวิหารที่น�ำมาใช้เป็นแบบอย่างที่หลงเหลือนี้ล้วนแล้วแต่เป็นอาคารประเภท เครื่องไม้ทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าวิหารเหล่านี้ได้ผ่านการซ่อมแซมมาแล้วหลายครั้ง แต่ยังคงรักษาแบบแผนทางสถาปัตยกรรมและส่วนหนึ่งของงานศิลปกรรม แบบดั้งเดิมไว้ได้ เมื่อได้มีการศึกษาในรายละเอียดของวิหารในกลุ่มที่เหลือ อยู่ดังกล่าว ท�ำให้ได้ความรู้มากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับงานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมของวิ ห ารล้ า นนา ในยุ ค ก่ อ นที่ ดิ น แดนล้ า นนาจะผนวกเป็ น ส่ ว นหนึ่ง ของสยาม
การส�ำรวจวิหารล้านนาที่มีอายุก่อน พ.ศ. ๒๔๐๐
จากการตรวจสอบภาคเอกสารและส� ำ รวจรายละเอี ย ดของวิ ห าร ล้ า นนา ในเขตภาคเหนื อ ตอนบนหรื อ เขตวั ฒ นธรรมล้ า นนา พบว่ า ยั ง คง เหลื อ วิ ห ารที่ มี อ ายุ ก ารก่ อ สร้ า งก่ อ น พ.ศ. ๒๔๐๐ เพี ย ง ๑๐ หลั ง อยู ่ ใน เขตพื้นที่จังหวัดล�ำปางและเชียงใหม่ คงเนื่องมาจากความส�ำคัญของแหล่ง พื้ นที่ ที่ เป็ น ศู น ย์ ก ลางพุ ท ธศาสนาของล้ า นนามาตั้ ง แต่ อ ดี ต ส่ ว นวิ ห ารใน จั ง หวัด อื่น ๆ ของล้ า นนาได้ มีก ารสร้ า งหรือ ซ่ อ มแซมอย่ า งมากในช่ ว งหลัง จาก พ.ศ. ๒๔๐๐ ทั้งสิ้น ส�ำหรับวิหารที่มีอายุก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๔ มีจ�ำนวน ๑๐ หลัง จาก ๘ วัด คือ วิหารในจังหวัดล�ำปาง ได้แก่ วิหารหลวง วัดพระธาตุล�ำปางหลวง อ�ำเภอเกาะคา ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 209
วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุล�ำปางหลวง อ�ำเภอเกาะคา วิหารน�้ำแต้ม วัดพระธาตุล�ำปางหลวง อ�ำเภอเกาะคา วิหารจามเทวี วัดปงยางคก อ�ำเภอห้างฉัตร วิหารวัดไหล่หิน (วัดไหล่หินแก้วช้างยืน) อ�ำเภอเกาะคา วิหารวัดเวียง อ�ำเภอเถิน วิหารโคมค�ำ วัดพระธาตุเสด็จ อ�ำเภอเมือง วิหารวัดคะตึกเชียงมั่น อ�ำเภอเมือง วิหารในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ วิหารวัดปราสาท อ�ำเภอเมือง วิหารหลวง วัดป่าแดงมหาวิหาร อ�ำเภอเมือง ในบทนีจ้ ะให้รายละเอียดของวิหารแต่ละหลัง ทัง้ ประวัตกิ ารก่อสร้างและ การบูรณะ องค์ประกอบทางโครงสร้าง งานศิลปกรรมทีป่ ระดับตกแต่งส่วนต่าง ๆ ของวิหาร ทัง้ งานลายค�ำและงานจ�ำหลักไม้ โดยน�ำเสนอวิหารในจังหวัดล�ำปาง ๘ หลังก่อน และในจังหวัดเชียงใหม่ ๒ หลัง มีรายละเอียดดังนี้
210 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
วิหารหลวง วัดพระธาตุลำ� ปางหลวง บ้านล�ำปางหลวง อ�ำเภอเกาะคา จังหวัดล�ำปาง
ประวัติวัดพระธาตุลำ� ปางหลวงและการก่อสร้าง
วัดพระธาตุล�ำปางหลวงเป็นวัดที่มีความส�ำคัญต่อนครล�ำปางมาตั้งแต่ สมัยโบราณ มีต�ำนานพื้นเมืองที่เล่าเรื่องราวความส�ำคัญและความศักดิ์สิทธิ์ ของสถานที่แห่งนี้มากมาย อาทิ ต�ำนานพระธาตุล�ำปางหลวง ที่เริ่มต้นต�ำนาน ตั้งแต่สมัยพุทธกาลที่พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระอานนท์และพระเถระเจ้ารวม ๔ พระองค์ ได้เสด็จมายังสถานทีแ่ ห่งนี้ ทรงพบกับผู้ทอี่ ยู่บริเวณนี้ คือ ลัวะอ้าย กอน๑ พระพุทธองค์ทรงมีพุทธท� ำนายถึงอนาคตและการเจริญรุ่งเรืองของ พุทธศาสนา ณ สถานที่แห่งนี้ว่า จะมีผู้มาสร้างเมืองชื่อ “ลัมภะกัปปะนคร” หรือ “นครล�ำปาง” และจะมีผนู้ ำ� พระบรมสารีรกิ ธาตุของพระองค์มาประดิษฐาน ไว้ที่แห่งนี้ จากนั้นทรงมอบพระเกศาให้ลัวะอ้ายกอนรักษาไว้ นับแต่นั้นมา สถานที่แห่งนีก้ ็มีความส�ำคัญมาโดยตลอด รวมทั้งมีการสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ มากมาย เช่นพระบรมธาตุเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุ ลักษณะต�ำนานเช่นนี้ เป็นการเล่าถึงความส�ำคัญของสถานที่ในพุทธศาสนา เช่น ในสมัยหริภุญชัย จากพงศาวดารโยนก กล่าวถึงการมานมัสการพระธาตุของพระนางจามเทวี และได้ทรงอธิษฐานให้เกิดบ่อน�้ำเลี้ยงขึ้นเพื่อเลี้ยงประชาชน๒ ต่อจากนั้นใน ช่วง พ.ศ. ๑๙๕๖ เจ้าแม่มหาเทวี (พระราชมารดาของพระเจ้าสามฝั่งแกน กษัตริย์เชียงใหม่) ได้เสด็จมานมัสการพระบรมธาตุและได้ขุดบ่อน�้ำเลี้ยงขึ้นเพื่อ บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และมีการเฉลิมฉลองเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน๓ นอกจากต�ำนานแล้วสิ่งที่เป็นหลักฐานแสดงประวัติความเป็นมาของ วัดอีกสิ่งหนึง่ คือ ศิลาจารึก ซึ่งมีเนื้อหาต่างกันดังนี้ ศิลาจารึกหลักที่ ๑ วัดพระธาตุล�ำปางหลวง จุลศักราช ๘๑๑ หรือ พ.ศ. ๑๙๙๒ เจ้าหาญแต่ท้อง ราชบุตรของหมื่นด้งนคร มาครองนครล�ำปาง ทรง สร้างเจดีย์ให้กว้าง ๙ วา สูง ๑๕ วา และสร้างพระพุทธบาท๔ ซึ่งปัจจุบันอยู่ ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระเจดีย์ ศิลาจารึกหลักที่ ๒ วัดพระธาตุล�ำปางหลวง จุลศักราช ๘๓๘ (พ.ศ. ๒๐๑๙) กล่าวถึงเจ้าหมื่นค�ำเป๊ก อยู่เมืองใต้ มาสวามิภักดิ์พระเจ้าติโลกราช และได้มาท�ำนุบ�ำรุงศาสนา สร้างถนนมาถึงหน้าพระธาตุ ให้ก่อก�ำแพงสร้าง วิหาร หล่อพระพุทธรูปไว้ในวิหาร๕ ซึ่งน่าจะเป็นวิหารพระพุทธ ดังจะได้กล่าว ถึงต่อไป ศิลาจารึกหลักที่ ๓ วัดพระธาตุล�ำปางหลวง จุลศักราช ๘๕๘ (พ.ศ. ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 211
๒๐๓๙) กล่าวถึงเจ้าหาญศรีทัตถมหาสุรมนตรี ได้มาสร้างพระธาตุและพระเจ้า ล้านทองในปีระกา (พ.ศ. ๒๐๔๔)๖ นอกจากนัน้ ยังมีจารึกที่กล่าวถึงวัดนี้ในหลายยุคสมัย เพราะว่าวัดนี้เป็น วัดหลวงที่มีความส�ำคัญต่อชุมชน จึงได้รับการท�ำนุบ�ำรุงมาโดยตลอด แม้แต่ ช่วงเวลาที่พม่าปกครองล้านนา วัดพระธาตุล�ำปางหลวงเป็นสถานที่ตั้งของทัพ ล�ำพูนที่สวามิภักดิ์กับพม่า และมีการกอบกู้อิสรภาพของหนานทิพย์ช้าง ซึ่งต่อ มาได้เป็นเจ้าครองนครล�ำปางและเป็นต้นตระกูลให้กับเชื้อวงศ์เจ้าเจ็ดตนที่ ครองนครล�ำปาง ความส�ำคัญที่นอกเหนือไปจากเรื่องราวที่เล่าขานในต�ำนานแล้ว ยังมีการ ค้นพบความส�ำคัญในระดับชุมชนเมือง คือมีการก่อสร้างก�ำแพงเมืองและคูเวียง ซ้อนกัน ๓ ชัน้ ในรูปสีเ่ หลีย่ มมุมมน ขนาดของเวียงกว้าง ๕๐๐ เมตร ยาว ๗๐๐ เมตร เรียกว่า เวียงพระธาตุล�ำปางหลวง มีวัดพระธาตุล�ำปางหลวงอยู่ทาง ทิศใต้ของเวียง จากการวิเคราะห์เศษวัตถุและภาชนะดินเผาแบบโบราณที่พบ ท�ำให้ทราบถึงอายุของเวียงนีท้ ี่สืบเนื่องมาโดยตลอด แบ่งได้เป็น ๓ สมัย สมัยที่ ๑ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๙ เป็นสมัยเริ่มแรกที่มีการอยู่อาศัย ในบริเวณนี ้ พบภาชนะดินเผาคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมหริภุญชัย สมัยที่ ๒ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๒ เป็นยุคทองของล้านนา พบภาชนะ ดินเผาจากเตาสันก�ำแพงและเตาเวียงกาหลงปะปนกับเครื่องถ้วยจีนสมัยเหม็ง หลักฐานนี้มีสอดคล้องกับงานศิลปกรรมที่พบในวัดพระธาตุล�ำปางหลวงด้วย สมัยที่ ๓ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓-๒๔ เป็นสมัยที่ต่อเนื่องมาจากสมัย ที่ ๒ พบภาชนะดินเผาจีนสมัยราชวงศ์เช็ง และมีความต่อเนื่องทางหลักฐาน ประวัติศาสตร์ในสมัยกอบกู้อิสรภาพของหนานทิพย์ช้าง๗ ในการศึกษาเรือ่ งลักษณะวิหารล้านนาในครัง้ นีผ้ เู้ ขียนได้ศกึ ษาตัวแบบจาก วิหารจ�ำนวน ๓ หลังที่อยู่ภายในวัดแห่งนีค้ ือ วิหารหลวง วิหารพระพุทธ และ วิหารน�้ำแต้ม
ประวัติการก่อสร้างและบูรณะ
แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานระบุแน่ชดั ถึงประวัตขิ องวิหารหลวง แต่สนั นิษฐาน ว่าวิหารหลวงสร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ทั้งนี้มีข้อความที่ปรากฏใน ศิลาจารึกที่วัดพระธาตุล�ำปางหลวง กล่าวถึงการสร้างวิหารหลังหนึง่ ใน พ.ศ. ๒๐๓๙ และได้มีการหล่อ พระเจ้าล้านทอง ประดิษฐานไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๑๘ ดังข้อความว่า “จุลศักราชได้ ๘๕๘ ...ถัดปีนนั้ ลวงเล้า (ระกา) เดือน ๓ ออก ๙ ค�่ำ วัน 212 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
วิหารหลวง วัดพระธาตุล�ำปางหลวง
ศุกร์ไทย เปิกสง้า ฤกษ์ ๑๗ ตัว หล่อพระล้านทองยามใกล้ร่งุ และค�ำพอก พระ ล้านทองเจ้า สามสิบสองค�ำ สามร้อยหกสิบสอง เงินไถ่ข้าไว้กับ ๖ ครัว... แล้ว ให้ได้เป็นพระอรหันต์ องค์วิเศษในส�ำนักพระอริยเมตไตรยเจ้ าอนาคตจักมา ภายหน้าแล...” จากข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการหล่อพระเจ้าล้านทอง ซึ่งปัจจุบัน ประดิษฐานในซุ้มโขงและตั้งเป็นประธานอยู่ในวิหารหลวงแห่งนี้ วิหารหลังที่ กล่าวถึงว่าสร้างใน พ.ศ. ๒๐๓๙ จึงควรจะเป็นวิหารหลวงทีป่ ระดิษฐานพระเจ้า ล้านทอง เพราะในจารึกได้กล่าวถึงการหล่อพระพุทธรูปอีกองค์หนึง่ น�ำ้ หนักสาม หมืน่ ทองในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ แล้วน�ำมาจากเวียงล�ำปางมาประดิษฐาน ไว้ใน “วิหารด้านเหนือ” ซึ่งคงหมายถึงวิหารน�้ำแต้ม ซึ่งยังคงปรากฏพระพุทธ รูปส�ำริดนามว่า “พระเจ้าสามหมื่นทอง” นอกจากนี้ในข้อความถัดมายังกล่าว ว่า “พระพุทธรูปเจ้าองค์หลวงอันอยู่ในวิหารด้านใต้ ก็หากมีแต่ก่อนมาแล” ซึ่ง ข้อความนีค้ งจะหมายถึง วิหารพระพุทธ ซึง่ ตัง้ อยูท่ างด้านทิศใต้ของวิหารหลวง ซึง่ ภายในมีพระประธานขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ ซึง่ ตรงกับข้อความทีก่ ล่าวไว้ ทัง้ นีจ้ ากค�ำทีก่ ล่าวว่า “มีแต่กอ่ นมาแล” บอกให้รวู้ า่ วิหารพระพุทธสร้างขึน้ ก่อน วิหารหลวงและวิหารน�้ำแต้ม ต่อมาในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งก่อ สร้างภายในวัดพระธาตุล�ำปางหลวง โดยเฉพาะพระวิหารหลวงได้รับการบูรณปฏิสงั ขรณ์ครัง้ หลังเมือ่ พ.ศ. ๒๔๖๖ โดยพระธรรมจินดานายก เจ้าคณะจังหวัด ล�ำปาง ซึ่งมีระบุไว้บนหน้าบันด้านทิศตะวันออกของวิหารหลวง ในการบูรณะ ครั้งนั้นได้พยายามรักษารูปแบบเดิมไว้ แต่มีการเปลี่ยนแปลงบางส่วน เช่น เปลี่ยนเสาแปดเหลี่ยมที่รับโครงสร้างหลังคาส่วนบนตอนกลางวิหารมาเป็น เสากลม สร้างเพดานเป็นไม้แกะสลักประดับกระจกสีภาพ ๑๒ ราศี ซึ่งแต่ เดิมวิหารนี้ไม่มีเพดาน และในการซ่อมครั้งนี้พบว่ามีองค์ประกอบหลายอย่าง ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 213
บทที่
๕
วิเคราะห์ลักษณะของวิหารล้านนา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๔
จากการตรวจสอบเอกสารหลักฐานทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของ วิหารล้านนาทีส่ ร้างในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๔ ซึง่ เหลืออยูเ่ พียง ๑๐ หลัง ดังที่ได้กล่าวรายละเอียดมาแล้วในบทที่ ๔ ถึงแม้ว่าวิหารทุกหลังจะผ่านการ บูรณปฏิสงั ขรณ์มาแล้ว แต่ยงั คงรักษาลักษณะศิลปกรรมโดยรวมไว้ได้มาก จึง สามารถใช้เป็นตัวแทนของแบบแผนวิหารทีส่ ร้างระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๔ ได้เป็นอย่างดี จากประวัติทางเอกสารและหลักฐานทางศิลปกรรมของวิหารทั้ง สิบหลัง สามารถล�ำดับอายุได้ ๔ กลุ่มดังนี้ ๑. วิหารที่สร้างในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ มีจ�ำนวน ๓ หลัง ได้แก่ วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุลำ� ปางหลวง สร้างเมือ่ พ.ศ. ๒๐๒๙ สันนิษฐาน ว่าเป็นวิหารที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในล้านนา วิหารหลวง วัดพระธาตุล�ำปางหลวง สร้างเมือ่ พ.ศ. ๒๐๓๙ มีอายุเก่าแก่ รองลงมา แต่น่าเสียดายที่ได้รับการซ่อมแซมใน ภายหลังค่อนข้างมาก แต่ กระนัน้ แผนผังและรูปทรงของวิหารหลังนี้ยังคงเป็นแบบแผนดั้งเดิม รวมทั้งงาน ศิลปกรรมบางส่วน วิหารน�้ำแต้ม วัดพระธาตุล�ำปางหลวง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๔ เป็นวิหาร ที่สันนิษฐานว่าเหลือสภาพของงานศิลปกรรมและแบบแผนทางสถาปัตยกรรม ได้ใกล้เคียงกับลักษณะดั้งเดิมเมื่อครั้งแรกสร้างมากที่สุด ๒. วิหารที่สร้างในพุทธศตวรรษที่ ๒๒ มีจ�ำนวน ๑ หลัง ได้แก่ 358 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
วิหารวัดเวียง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๑๙๒ แต่ได้มีการสร้างผนังและชายคา ปีกนกต่อเติมภายหลัง ๓. วิหารที่สร้างในพุทธศตวรรษที่ ๒๓ มีจ�ำนวน ๒ หลัง ได้แก่ วิหารวัดไหล่หิน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๖ มีการซ่อมแซมแต่ยังคงลักษณะ แผนผังดั้งเดิม วิหารวัดปงยางคก สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๕ มีการซ่อมแซมแต่ยังคง ลักษณะแผนผังดั้งเดิมไว้ได้มาก ๔. วิหารที่สร้างในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ มีจ�ำนวน ๔ หลัง ได้แก่ วิหารหลวง วัดป่าแดงมหาวิหาร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๑ เป็นศิลปกรรม ร่วมสมัยหรืออยู่ในช่วงใกล้เคียงวิหารวัดปราสาท วิหารโคมค�ำ วัดพระธาตุเสด็จ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๖ มีการซ่อมแซมแต่ ยังคงลักษณะแผนผังเดิมไว้ วิหารวัดปราสาท สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๖ เป็นวิหารที่มีลักษณะพิเศษคือ มีการสร้างมณฑปปราสาทต่อท้ายวิหาร วิหารวัดคะตึกเชียงมัน่ สร้างเมือ่ พ.ศ. ๒๓๗๕ เป็นวิหารทีม่ กี ารซ่อมแซม แต่ยังคงลักษณะแผนผังเดิมไว้ ในที่นี้ได้แสดงตารางให้ข้อมูล ได้แก่ ปีที่สร้างวิหาร ลักษณะวิหาร การ ยกเก็จหรือ “ซด” ของวิหาร ต�ำแหน่งของพระประธาน ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ลักษณะ ของวิหารได้ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงความเหมือนกันและแตกต่างกันของ วิหารแต่ละแห่ง
ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 359
ตารางที่ ๑ แสดงล�ำดับอายุและลักษณะของวิหารที่ศึกษา ล�ำดับ ๑
๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗
๘ ๙
๑๐
ชื่อ
ปีที่ ลักษณะ จ�ำนวน การ ต�ำแหน่ง ลักษณะ สร้าง วิหาร ห้อง ยกเก็จ พระ พิเศษ (พ.ศ.) วิหาร ประธาน วิหาร ๒๐๒๙ โถง/เปิด* ๕ หน้า ๑ ห้องที่ ๔ ก่อนห้องท้าย พระพุทธ หลัง ๑ วิหารมีฐาน ชุกชีขนาด ใหญ่เต็มพื้นที่ วิหาร ๒๐๓๙ โถง ๙ หน้า ๒ ห้องที่ ๗ มีทั้งซุ้มโขง หลวง หลัง ๑ และ ๘ ปราสาทและ ฐานชุกชี ๒๐๔๔ โถง ๕ หน้า ๒ ห้องที่ ๔ มีการต่อฐาน วิหาร น�้ำแต้ม หลัง ๑ และ ๕ ชุกชีท้ายวิหาร เพิ่มด้าน วิหาร ๒๑๙๒ โถง ๖ หน้า ๒ ห้องที่ ๖ มีโขงปราสาท วัดเวียง หลัง ๑ ในห้องท้าย วิหาร วิหาร ๒๒๒๖ โถง ๕ หน้า ๒ ห้องที่ ๕ วัดไหล่หิน หลัง ๑ ๒๒๗๕ โถง ๕ หน้า ๒ ห้องที่ ๕ วิหาร หลัง ๑ วัดปงยางคก วิหาร ๒๓๖๑ ปิด ๖ หน้า ๒ ห้องที่ ๖ ในองค์ หลัง ๑ วัดป่าแดง ปราสาทพบ มหาวิหาร โขงปราสาท ต่อท้ายวิหาร วิหาร ๒๓๖๖ โถง ๕ หน้า ๒ ห้องที่ ๕ วัดพระธาตุ หลัง ๑ ท้ายวิหาร เสด็จ ๒๓๖๖ ปิด ๖ หน้า ๒ ห้องที่ ๖ ในองค์ วิหาร วัดปราสาท หลัง ๑ ปราสาทพบ โขงปราสาท ต่อท้ายวิหาร ๒๓๗๕ กึ่งโถง ๕ หน้า ๒ ห้องที่ ๕ วิหาร วัดคะตึก หลัง ๑ ท้ายวิหาร เชียงมั่น
360 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
จะเห็นได้วา่ ยังคงเหลือวิหารในกลุม่ ทีส่ ร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ และ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ อยู่หลายแห่ง เพราะช่วงเวลาดังกล่าวบ้านเมืองมีความ สงบสุขและมีการท�ำนุบ�ำรุงพระพุทธศาสนามาก จึงมีการสร้างวัดวาอารามใน ช่วงนัน้ มาก หากพิจารณาจากประวัตศิ าสตร์ในช่วงสมัยราชวงศ์มงั ราย ล้านนามีความ รุ่งเรืองทางพุทธศาสนาควบคู่ไปกับการปกครอง ดังจะเห็นได้ชัดในรัชสมัยของ พญากือนา (พ.ศ. ๑๘๙๘-๑๙๒๕) ที่สภาพบ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข๑ และมีการ รับพระพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์มาจากสุโขทัย ทั้งนีก้ ่อนหน้านัน้ พุทธศาสนา ของล้านนาสืบทอดมาจากหริภุญชัย ผสานกับพุทธศาสนาจากหงสาวดี อังวะ และความเชือ่ พืน้ เมืองดัง้ เดิม๒ จนสามารถกล่าวได้วา่ ช่วงเวลานีเ้ ป็นยุคทองของ พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในสมัยของพญาติโลกราช เมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๐ ที่มี การสร้างวัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) เพื่อเป็นสถานที่สังคายนาพระไตรปิฎก เป็นครัง้ ที่ ๘ ของโลก รวมทัง้ วิหารสามหลังของวัดพระธาตุล�ำปางหลวงก็สร้าง ขึ้นในยุครุ่งเรืองของพุทธศาสนาในล้านนา นับว่าเป็นช่วงเวลาที่มีความหลาก หลายของการสร้างสรรค์งานศิลปะและประณีตศิลป์ ความเจริญทางศาสนา เห็นได้จากที่มีการส่งพระเถระจากเชียงใหม่ไปเผยแผ่ศาสนาให้แก่ชาวไทใหญ่ ไทเขิน ไทลื้อในแคว้นเชียงตุง เชียงรุ้ง แสนหวี สีป่อ ขึ้นไปจนถึงสิบสองปันนา ซึ่งปัจจุบันพระสงฆ์ที่อยู่ในเมืองเหล่านีท้ ี่บวชเรียนตามแบบลังกาวงศ์เรียกว่า พระสงฆ์นกิ ายโยน๓ ต่อมาในสมัยพญาแก้ว (พ.ศ. ๒๐๓๘-๒๐๖๘) พระภิกษุ ล้านนามีความรู้สูงยิ่งขึ้น เห็นได้จากการมีงานด้านวรรณกรรมทางพระพุทธ ศาสนาเป็นภาษาบาลีจ�ำนวนมาก และมีชื่อเสียงแพร่หลายไปสู่อาณาจักรใกล้ เคียง เช่น ล้านช้าง๔ และพม่า อย่างไรก็ดีได้เกิดสงครามระหว่างล้านนา สุโขทัย และอยุธยา เพื่อช่วง ชิงอ�ำนาจทางการปกครองและการค้า ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์มังราย บ้าน เมืองอ่อนแอ กลุ่มขุนนางต่างช่วงชิงอ�ำนาจแย่งกันเป็นใหญ่ การขาดความ สามัคคีเป็นสาเหตุหนึง่ ที่ทำ� ให้ใน พ.ศ. ๒๑๐๑ ล้านนาต้องตกเป็นเมืองขึ้นของ พม่าเมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาโจมตี ด้วยเหตุผลว่าล้านนามักให้ความ ช่วยเหลือหัวเมืองไทใหญ่ที่ถูกพม่าโจมตีเสมอ๕ ถึงแม้ว่าล้านนาจะถูกพม่า ปกครองเป็นเวลากว่า ๒๐๐ ปี แต่ยังคงมีการสร้างวิหารขึ้นในช่วงระยะเวลา ดังกล่าว เช่น วิหารวัดเวียง วิหารวัดไหล่หิน เป็นต้น เพราะอ�ำนาจของพม่าใน ล้านนามิได้มีความมั่นคงเสมอ การเมืองภายในของพม่ามีการเปลี่ยน แปลง อยู่ตลอดเวลาเช่นกัน ท�ำให้พม่าไม่สามารถควบคุมเมืองต่าง ๆ ได้อย่างเด็ดขาด ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ หนานทิพย์ชา้ งหรือพระยาสุละวะฤๅไชย ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 361
๓๗. ๑๗ กรมการศึกษานอกโรงเรียน, เครื่องเขิน, (ล�ำปาง : กิจเสรีการพิมพ์, ม.ป.ป.), หน้า ๑๐. ๑๘ เครื่องเขินที่ส่วนใหญ่ท�ำมาจากแหล่งผลิตหมู่บ้านวัวลายและหมู่บ้านนันทาราม จังหวัด เชียงใหม่
404 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
บทที่
๖
วิหารล้านนาในพุทธศตวรรษที่ ๒๕ : ประวัติและลักษณะสถาปัตยกรรม
ในบทนี้จะน�ำเสนอตัวอย่างของวิหารที่สร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ อันเป็นช่วงเวลาที่ล้านนาเป็นส่วนหนึง่ ของสยาม พบว่าวิหารที่สร้างขึ้นในช่วง เวลานี้บางแห่งมีความสืบเนื่องบางประการมาจากยุคก่อนหน้า แต่ก็มีรูปแบบ งานศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากภาคกลางและศิลปะภายนอก เข้ามาผสมผสานด้วย รวมถึงการสร้างวิหารที่มีรูปแบบเฉพาะของชาวไทลื้อ และวิหารที่สร้างในยุคครูบาศรีวิชัยช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ซึ่งมีรูปแบบ เทคนิคการก่อสร้าง และลวดลายการประดับตกแต่งองค์ประกอบต่าง ๆ ที่แตก ต่างไปจากยุคก่อนหน้านี้
วิหารลายค�ำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ประวัติการก่อสร้างและบูรณะวิหาร
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร หรือทีเ่ รียกกันทัว่ ไปว่า “วัดพระสิงห์” เป็นวัดเก่า ที่มีประวัติการสร้างมาตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หรือในช่วงรัชสมัยของ พญาผายู (พ.ศ.๑๘๗๙-๑๘๙๘) โดยใน พ.ศ. ๑๘๘๗ พระองค์โปรดให้สร้าง เจดีย์บรรจุพระอัฐิของพระราชบิดาคือพญาค�ำฟู๑ (พ.ศ.๑๘๗๗-๑๘๗๙) ใน เวลาต่อมาจึงโปรดให้สร้างพื้นที่นขี้ ึ้นเป็นวัด และนิมนต์พระเถระอภัยจุฬาเถระ ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 405
วิหารลายค�ำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร (ภาพ : ส�ำนักพิมพ์ เมืองโบราณ)
พร้อมภิกษุสงฆ์จากหริภุญชัยมาเป็นเจ้าอาวาส และแต่งตั้งให้เป็นพระสังฆราช ใน พ.ศ. ๑๘๙๐ แต่เดิมวัดนี้มีชื่อเรียกว่า “วัดพระเชียง” แต่เนื่องจากวัดนี้ตั้งอยู่หน้า ตลาดกลางเวียง หรือเรียกตามภาษาท้องถิน่ ว่า “กาดลีเชียง” (ลี แปลว่า ตลาด) ชาวบ้านในสมัยนัน้ จึงเรียกวัดนี้ว่า “วัดลีเชียงพระ” ต่อมาในสมัยพญาแสนเมืองมา (พ.ศ. ๑๙๒๘-๑๙๔๔) ได้มีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน โดยมีบุคคลส�ำคัญคือ ท้าวมหาพรหม (พระอนุชาของพญากือนา) เจ้าเมือง เชียงราย เป็นผู้ไปอัญเชิญมา ทั้งนี้ในต�ำนานได้กล่าวไว้ ๒ กระแส กระแส หนึง่ กล่าวว่า ท้าวมหาพรหมอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองก�ำแพงเพชร อีกกระแสหนึง่ กล่าวว่า ท้าวมหาพรหมทรงยกทัพไปตีเมืองก�ำแพงเพชร และได้ อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์และพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่ โดยถวายพระพุทธ สิหิงค์แด่พญากือนา และพระองค์ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปเมืองเชียงราย ภายหลังท้าวมหาพรหมได้ทลู ขอพระพุทธสิหงิ ค์จากเมืองเชียงใหม่เพือ่ ไปจ�ำลอง แบบที่เกาะดอนแท่น เมืองเชียงแสน และจัดงานสมโภชที่ยิ่งใหญ่ ภายหลัง จากที่ท้าวมหาพรหมสิ้นชีพแล้ว พญาแสนเมืองมาทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ จากเมืองเชียงรายมายังเมืองเชียงใหม่ และประดิษฐานไว้ที่วัดเชียงพระ๒ จึง นิยมเรียกวัดนีว้ า ่ “วัดพระสิงห์” ตามนามของพระพุทธรูปนับแต่นนั้ ต่อมาปลาย พุทธศตวรรษที่ ๒๔ วัดพระสิงห์ได้รับการสถาปนายกฐานะขึ้นเป็นพระอาราม หลวงชัน้ เอก ชนิดวรมหาวิหาร ใน พ.ศ. ๒๔๘๓ และได้รบั นามใหม่วา ่ “วัดพระ สิงห์วรมหาวิหาร” มาจนถึงปัจจุบัน โดยกรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถานส�ำคัญระดับชาติ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ วัดพระสิงห์วรมหาวิหารมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า ๖๗๐ ปี ทั้งนี้ อาคารสถานต่าง ๆ ภายในวัดที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีอายุอยู่ใน 406 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
การมาเยือนวิหารลายค�ำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ ของ ฯพณฯ ท่านฮันต์ (George Wylie Paul Hunt) ผู้ว่าการรัฐ แอริโซนาแห่งสหรัฐอเมริกา ถ่ายเมื่อ ค.ศ. ๑๙๒๐ (พ.ศ. ๒๔๖๓) สมัยเจ้าแก้วนวรัฐด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าผู้ครอง นครเชียงใหม่ (ที่มา : Arizona State Library, Archives and Public Records) สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ ๙ แห่งประเทศเดนมาร์ก และสมเด็จพระราชินี อิงกริด เสด็จพระราชด�ำเนินมาที่ วิหารลายค�ำ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ (ที่มา : บุญเสริม สาตราภัย)
ภาพถ่ายมุมสูงแสดงต�ำแหน่งการวางตัวของงานสถาปัตยกรรมภายใน วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 407
บทที่
๗
สัญลักษณ์ ในงานประดับตกแต่งวิหารล้านนา
ศิลปกรรมในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์มักจะเป็นผลงานที่สร้างสรรค์โดยได้ รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติแวดล้อม เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เรื่องราว ในสังคม ศาสนา และคติความเชือ่ ทีม่ คี วามผูกพันในวิถชี วี ติ ซึง่ ช่างได้สอื่ ความ ผ่านงานศิลปกรรม โดยหลักใหญ่ของการสร้างวิหารอันเปรียบดังที่ประทับของ พระพุทธองค์ งานศิลปกรรมจึงมักจะน�ำรูปแบบซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจาก เรือ่ งราวทีม่ อี ยูใ่ นคัมภีรท์ งั้ หลาย๑ ทีม่ เี นือ้ หาอันเกีย่ วเนือ่ งกับหลักการของ พุทธศาสนา มาปรับเปลี่ยนให้เป็นรูปธรรม โดยสอดแทรกเรื่องราวทาง ศาสนา ความคิด คติความเชื่อต่าง ๆ ไปในองค์ประกอบทางศิลปกรรม และลวดลายที่ใช้ประดับตกแต่ง บ่อยครั้งลวดลายเหล่านัน้ จะเป็นลวดลาย ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจากจินตนาการอันไร้ขอบเขต เพราะ “มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ มีพลังในการค้นพบและสร้างสรรค์”๒ อย่างไม่มีขีดจ�ำกัด กอปรกับวิวัฒนาการ ทางสังคม เกิดการสร้างวัสดุหลากหลาย ความนิยมจึงเปลี่ยนไปตามแต่ละ ยุคสมัย แต่ที่ยังคงฝังอยู่ในมนุษย์คือความคิด จิตปัญญา ภูมิปัญญาและฝีมือ เทคนิคของช่างในการสร้างสรรค์ ดังที่ปรากฏในบันทึกของ Carl Bock นักส�ำรวจชาวนอร์เวย์ที่เดินทางเข้า มายังสยามและล้านนาใน พ.ศ. ๒๔๒๔ และได้บันทึกถึงสภาพบ้านเมือง ชีวิตความเป็นอยู่ อาชีพของชาวสยาม และสถานที่ต่าง ๆ ในสยามโดยได้วาด ภาพประกอบไว้ด้วย เมื่อเขาเดินทางกลับได้เขียนหนังสือเป็นภาษาเยอรมัน 454 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
ต่อมาแปลเป็นภาษาอังกฤษในชื่อว่า Temples and Elephants มีเนื้อหาส่วน หนึ่งกล่าวถึงงานหัตถกรรมที่ใช้เทคนิคของการฝังกระจกสีต่าง ๆ ลงไปในไม้ และช่างแกะชั้นสูงจะมีความช�ำนาญในการแกะสลักสิ่งส�ำคัญ เช่น ช่อฟ้า ซึ่ง การแกะสลักไม้นั้นไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวหรือรูปแบบเฉพาะ เช่นเดียวกับการ สลักหินหรือการหล่อพระ จึงสามารถพลิกแพลงได้มาก๓ ลวดลายประดับตกแต่งวิหารมีหลากหลาย เพราะวิหารแต่ละหลังมีรูป แบบและลวดลายเฉพาะของตนไม่ซ�้ำกัน หากสังเกตให้ดีสามารถเห็นลักษณะ ของฝีมือช่างและสกุลช่าง ที่มีความนิยมและชื่นชอบลวดลายและเทคนิคของ ตน เช่น เมฆเป็นก้อนยาวใหญ่ที่แกะสลักขดไปมา โดยกรอบของเมฆมีลาย หยักเล็กน้อย คือ “เมฆไส้หมู” แบบล�ำปาง ที่แตกต่างจากเมฆก้อนเดี่ยว ๆ ที่ ปลายขอบเมฆมีลักษณะแหลมเป็น “เมฆแบบเชียงใหม่” แต่ความหมายก็ คือเมฆ เพื่อแสดงการเป็นสรวงสวรรค์หรือความเป็นทิพย์ ลวดลายในหนังสือ เล่มนี้มีพื้นฐานมาจากการศึกษาหน้าบันวิหารล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่๔ ที่ผู้เขียนได้ศึกษาไว้ในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๓๕ และชื่อของลวดลาย “ใบมือ” และ “เครือเถาเงาะหัวขอด” มาจากความทรงจ�ำที่ได้สัมภาษณ์ครูบา สัมผัส ญาณวิชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าซางพาณิชสิทธิการาม จังหวัดล�ำพูน ศิษย์ของครูบาศรีวิชัย พระอาจารย์อินทร ปัญญาวฑฺฒโน แห่งวัดสันป่ายางหลวง จังหวัดล�ำพูน รวมถึงผู้รู้แห่งวัดพระเจ้าเหลื้อม วัดดอกค�ำ วัดท้าวค�ำวัง วัดสุวรรณ วัดป่าแดงหลวง จังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ วิถี พานิชพันธ์ และ ดร. วอลเดมาร์ ซี ไซเลอร์ ครูของผูเ้ ขียนในช่วงเวลาดังกล่าว การใช้ลวดลายประดับวิหารยังสัมพันธ์กับช่วงระยะเวลาของการสร้าง วิหารที่บอกให้รู้ว่าลวดลายนัน้ มีความหมายใดในช่วงเวลานัน้ ๆ เช่น รูปสัตว์ที่ สร้างในยุคครูบาศรีวิชัยพุทธศตวรรษที่ ๒๕ เป็นตัวแทนของ “ปีเกิด” ที่เรียก ว่า “ปีเปิ้ง” หรือ “ปีเพิ่ง” ที่มิได้เป็นเพียงภาพสัตว์ในธรรมชาติประกอบลาย พรรณพฤกษาเท่านัน้ หรือหากดูภาพรวมของลวดลายทั้งหมดว่าช่างต้องการ แสดงเรื่องอะไร เช่น หากเป็นภาพนกยูงและกระต่ายในวงกลม และอาจมีภาพ เมฆประกอบจะแสดงถึงพระอาทิตย์และพระจันทร์ อันเป็นการผสมผสาน ระหว่างความเชื่อทางศาสนาของชาวล้านนาและภูมิปัญญาของช่างในหลาย ลักษณะ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของลวดลายเป็นกลุ่มใหญ่ได้ดังนี้ ลวดลายอดีตพระพุทธเจ้า ลวดลายเทพเทวา ลวดลายพรรณพฤกษา ลวดลายสัตว์ ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 455
ลวดลายสิริมงคล ทั้งนีค้ วามส�ำคัญหลักในวิหารคือ องค์พระพุทธรูปประธาน ที่เสมือน เป็นการจ�ำลองพระพุทธองค์ผู้ถือเป็น ศูนย์กลางแห่งปริมณฑลแห่งจักรวาล ทีท่ รงบ�ำเพ็ญเพียรและประกาศพระธรรมค�ำสัง่ สอนไปทัว่ จักรวาล ทีม่ ที งั้ จักรวาล ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ หรือโลกธาตุ ซึง่ “จูฬนียสูตร” ในพระไตรปิฎกได้กล่าว ถึงขนาดของ “โลกธาตุ” ทีอ่ งค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถประกาศธรรมะ ของพระพุทธองค์ ที่ในคัมภีร์เขียนว่า “ท�ำให้โลกธาตุรู้แจ้งได้ด้วยพระสุรเสียง” โดยขอยกข้อความบางส่วนของ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต, จูฬนียสูตรอานันท วรรคที่ ๓๕ มาน�ำเสนอ กล่าวคือ “...ท่านพระอานนท์ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคแม้เป็นครั้งที่ ๓ ว่า ข้า แต่พระองค์ผเู้ จริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผูม้ พี ระภาค ว่า ดูกรอานนท์ สาวกของพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งมีนามว่า อภิภู ยืนอยู่ ในพรหมโลก ท�ำให้พันโลกธาตุรู้แจ้งได้ด้วยเสียง พระเจ้าข้า ส่วนพระผู้มีพระ ภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเล่า ทรงสามารถที่จะท�ำโลกธาตุเท่าไรให้รู้แจ้งได้ ด้วยพระสุรเสียงฯ พระพุทธเจ้า : ดูกรอานนท์ เธอได้ฟังเรื่องพันโลกธาตุ เพียงเล็กน้อย ฯ พระอานนท์ : ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลเวลา แห่งเทศนาที่พระองค์จะพึงตรัส ภิกษุทั้งหลายได้สดับธรรมเทศนาของพระผู้มี พระภาคแล้ว จักทรงจ�ำไว้ ฯ พระพุทธเจ้า : ดูกรอานนท์ ถ้าอย่างนัน้ เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอานนท์ จักรวาลหนึง่ มีก�ำหนดเท่ากับโอกาสที่พระจันทร์พระอาทิตย์โคจร ทัว่ ทิศสว่างรุง่ โรจน์ โลกมีอยูพ่ นั จักรวาลก่อน ในโลกพันจักรวาลนัน้ มีพระจันทร์ พันดวง มีอาทิตย์พนั ดวง มีขนุ เขาสิเนรุพนั หนึง่ มีชมพูทวีปพันหนึง่ มีอปรโคยาน ทวีปพันหนึง่ มีอตุ ตรกุรทุ วีปพันหนึง่ มีปพุ พวิเทหทวีปพันหนึง่ มีมหาสมุทรสีพ่ นั มีท้าวมหาราชสี่พัน มีเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาพันหนึง่ มีเทวโลกชั้นดาวดึงส์ พันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นยามาพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นดุสิตพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้น นิมมานรดีพันหนึง่ มีเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัสตีพันหนึง่ มีพรหมโลกพันหนึง่ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างเล็กมีพันจักรวาล พระอานนท์ : ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ก็พระผูม้ พี ระภาคพึงท�ำโลกธาตุอย่าง ใหญ่ประมาณแสนโกฏิจักรวาล ให้รู้แจ้งด้วยพระสุรเสียง หรือท�ำให้รู้แจ้งได้เท่า ที่พระองค์ทรงมุ่งหมายอย่างไรฯ 456 • ศ า ส ต ร์ • ศิ ล ป์ • จิ ต วิ ญ ญ า ณ • วิ ห า ร ล้ า น น า
พระพุทธเจ้า : ดูกรอานนท์ พระตถาคตในโลกนี้ พึงแผ่รัศมีไปทั่วโลก ธาตุ อย่างใหญ่ประมาณแสนโกฏิจักรวาล เมื่อใดหมู่สัตว์พึงจ�ำแสงสว่างนั้น ได้ เมื่อนัน้ พระตถาคตพึงเปล่งพระสุรเสียงให้สัตว์เหล่านัน้ ได้ยิน พระตถาคต พึงท�ำให้โลกธาตุอย่างใหประมาณแสนโกฏิจักรวาลให้รู้แจ้งได้ด้วยพระสุรเสียง หรือพึงท�ำให้รแู้ จ้งได้เท่าทีพ่ ระองค์ทรงมุง่ หมาย ด้วยอาการเช่นนีแ้ ลฯ เมือ่ พระผู้ มีพระภาคตรัสดังนีแ้ ล้ว ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลว่า เป็นลาภของข้าพระองค์ หนอ ข้าพระองค์ได้ดีแล้วหนอที่ข้าพระองค์มีพระศาสดาผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพ มากอย่างนี้ เมือ่ ท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนีแ้ ล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะ ท่านพระอานนท์วา่ ดูกรอานนท์ ในข้อนีท้ า่ นจะได้ประโยชน์อะไร ถ้าศาสดาของ ท่านมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เมือ่ ท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้ พระผู้มพี ระ ภาคได้ตรัสกะท่านพระอุทายีว่า ดูกรอุทายี เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ ถ้าอานนท์ ยังไม่หมดราคะเช่นนี้ พึงท�ำกาละไป เธอพึงเป็นเจ้าแห่งเทวดาในหมู่เทวดา ๗ ครั้ง พึงเป็นเจ้าจักรพรรดิในชมพูทวีปนี้แหละ ๗ ครั้ง เพราะจิตที่เลื่อมใสนัน้ ดู กรอุทายีก็แต่ว่าอานนท์จักปรินิพพานในอัตภาพนี้เองฯ” ดังนัน้ โลกธาตุมี ๓ ขนาด๖ กล่าวคือ ๑,๐๐๐ จักรวาลขนาดเล็ก เป็น ๑ โลกธาตุขนาดเล็ก (จูฬนิกา) ๑,๐๐๐ จักรวาลขนาดกลาง เป็น ๑ โลกธาตุขนาดกลาง (มัชฌิมิกา) ๑,๐๐๐ จักรวาลขนาดใหญ่ เป็น ๑ โลกธาตุขนาดใหญ่ (มหาสหัสสี) และ ๑. สหัสสีโลกธาตุ หมายถึงโลกธาตุทมี่ อี าณาเขต ๑,๐๐๐ จักรวาล ๒. ทวิ ส หั ส สี โลกธาตุ หมายถึ ง โลกธาตุ ที่ มี อ าณาเขต ๑,๐๐๐,๐๐๐ จักรวาล ๓. ติสหัสสีโลกธาตุ หมายถึงโลกธาตุที่มีอาณาเขต ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ จักรวาล พระพุทธเจ้าทรงอธิบายไว้ในจูฬนิกาสูตรว่า พื้นที่ ๑ จักรวาลมีอาณาเขต เท่าที่ดวงจันทร์ ๑ ดวง ดวงอาทิตย์ ๑ ดวง โคจรส่องแสงให้สว่างรุ่งโรจน์ไป ทั่วทุกทิศ (เช่น สุริยจักรวาลที่โลกเราเป็นสมาชิกอยู่) ในสหัสสีโลกธาตุ (โลกธาตุขนาดเล็ก) มีดวงจันทร์ ๑,๐๐๐ ดวง ดวง อาทิตย์ ๑,๐๐๐ จึงมีอาณาเขต ๑,๐๐๐ จักรวาล เมื่อน�ำ๑ สหัสสีโลกธาตุคูณ ด้วย ๑,๐๐๐ (๑,๐๐๐x๑,๐๐๐) เป็นทวิสหัสสีโลกธาตุ (โลกธาตุขนาดกลาง) จึงมีอาณาเขต ๑,๐๐๐,๐๐๐ จักรวาล เมื่อน�ำ ๑ ทวิสหัสสีโลกธาตุคูณด้วย ๑,๐๐๐ (๑,๐๐๐x๑,๐๐๐x๑,๐๐๐) เป็นติสหัสสีโลกธาตุ (โลกธาตุขนาดใหญ่) จึงมีอาณาเขต ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิจักรวาล) ร อ ง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร. ว ร ลั ญ จ ก์ บุ ณ ย สุ รั ต น์ • 457
เปรี ย บดั ง สร้ า งสำ � เภานาวาที่ นำ � พามนุ ษ ย์ ผู้ ทำ � ความดี ไปสู่ ส รวงสวรรค์ ห รื อ พระนิ พ พาน
วิ ห ารล้ า นนาจึ ง ถู ก สรรค์ ส ร้ า งด้ ว ยความวิ จิ ต รทางงานช่ า งและการประดั บ ตกแต่ ง
หมวดศิลปะไทย สั่งซื้อออนไลน์ที่ ราคา ๗๓๐ บาท ISBN 978-616-465-050-3 @sarakadeemag
รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์
ที่แฝงปรัชญาทางศาสนาผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ จึงทำ�ให้วิหารล้านนามีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์
• ศาสตร์ • ศิลป์ • จิตวิญญาณ • วิหารล้านนา
ชาวล้ า นนามี ค วามเชื่ อ ว่ า การสร้ า งวิ ห ารถื อ เป็ น การสร้ า งมหากุ ศ ลครั้ ง ยิ่ ง ใหญ่
• ศาสตร์ • ศิลป์ • จิตวิญญาณ •
วิหารล้านนา
รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์