เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย

Page 1


ISBN 978-974-7385-44-1 หนังสือ เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม ผู้เขียน พิมพ์ครั้งที่สอง มกราคม ๒๕๕๒ จำ�นวนพิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ราคา ๓๐๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด บรรณาธิการเล่ม ภาพ ตัวเรียงคอมพิวเตอร์ ออกแบบปก/รูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลต พิมพ์ที่ จัดจำ�หน่าย

วรินวิตตา ดารามาตร์ ศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณ, สำ�นักพิมพ์สารคดี วัลลภา สะบู่ม่วง นฤมล ต่วนภูษา ธนา วาสิกศิริ เอ็น. อาร์. ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐-๖ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ศรีศักร วัลลิโภดม. เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. -- กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๒. ๓๘๔ หน้า. ๑. เมืองโบราณ. ๒. ไทย -- โบราณสถาน. I. ชื่อเรื่อง ๙๕๙.๓ ISBN 978-974-7385-44-1

สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวง บ้ า นพานถม เขตพระนคร กรุ ง เทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อั ต โนมั ติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิ โภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผู้อำ�นวยการ สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำ�นวยการ ฝ่ายศิลป์ จำ�นงค์ ศรีนวล ผู้อำ�นวยการฝ่ายการตลาดและฝ่ายประชาสัมพันธ์ ปฏิมา หนูไชยะ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง

2

เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย

1 open-credit p1-10.indd 2

1/19/10 10:00 AM


สารบัญ คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นำ�ผู้เขียน (พิมพ์ครั้งที่ ๒) คำ�นำ�ผู้เขียน (ในการพิมพ์ครั้งแรก)

๕ ๗ ๙

บทนำ�

๑๑

บทที่ ๑ ประวัติภูมิศาสตร์ของบริเวณที่เคย เป็นแคว้นสุโขทัย

๑๕

บทที่ ๒ ข้อมูลใหม่จากการสำ�รวจทางโบราณคดี

ลุ่มน้ำ�ยม - ลุ่มน้ำ�ยมฟากตะวันออก - ลุ่มน้�ำ ยมตอนล่าง : เมืองสุโขทัย - สรีดภงค์และการชลประทาน - ชุมชนโบราณตามแนวถนนพระร่วง - ลุ่มน้ำ�ยมในเขตจังหวัดพิษณุโลกและพิจิตร ลุ่มน้�ำ น่าน - ลุ่มน้�ำ น่านตอนบน - ลุ่มน้�ำ น่านตอนล่าง - บริเวณเมืองพิษณุโลก - บริเวณลุ่มน้�ำ แควน้อย - บริเวณลุ่มน้�ำ วังทอง - บริเวณลำ�คลองแม่ระกา

๒๕ ๔๕ ๕๗ ๖๐ ๘๓ ๙๕ ๑๐๐ ๑๐๓ ๑๐๓ ๑๐๖ ๑๑๘ ๑๒๔ ๑๒๙ ๑๓๒

รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม

1 open-credit p1-10.indd 3

3

1/19/10 10:00 AM


ลุ่มน้�ำ ปิง - ลุ่มน้ำ�ปิงด้านตะวันตก : เมืองตาก - เมืองนครชุม - ลุ่มน้ำ�ปิงด้านตะวันออก : กำ�แพงเพชร - เมืองไตรตรึงส์ ลุ่มน้ำ�ป่าสัก - เมืองเพชรบูรณ์ ลุ่มน้�ำ เมย

๑๔๑ ๑๔๖ ๑๕๒ ๑๕๕ ๑๖๑ ๑๗๓ ๑๗๖ ๑๘๓

บทที่ ๓ การวิเคราะห์และการตีความ

๑๘๗ ๑๘๙ ๒๐๐

- การตั้งหลักแหล่งและรูปแบบของเมือง - การกำ�หนดอายุของเมืองและชุมชน - ชุมชนที่พบโบราณสถานวัตถุแบบทวารวดี และลพบุรี - ชุมชนที่พบโบราณวัตถุแบบทวารวดี และโบราณสถานแบบลพบุรี สุโขทัย และอยุธยา - ชุมชนที่พบโบราณสถานวัตถุแบบสุโขทัย และอยุธยา - ชุมชนโบราณที่พบโบราณวัตถุแบบสุโขทัย และโบราณสถานวัตถุแบบอยุธยา

บทที่ ๔ บทสรุป ภาคผนวก

รายชื่อชุมชนโบราณในเขตแคว้นสุโขทัย

4

๒๐๑ ๒๑๕ ๓๒๒ ๓๕๑ ๓๕๔ ๓๖๘

เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย

1 open-credit p1-10.indd 4

1/19/10 10:00 AM


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์

กลุ่มเมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัยที่อยู่ภายใต้การเมือง การปกครองของรัฐสุโขทัยตั้งแต่เริ่มตั้งรัฐจนถึงสมัยที่ผนวกเข้ามากับอยุธยา และล้านนานั้น มีทั้งที่เป็นเมืองขนาดเล็กระดับหมู่บ้านกระทั่งถึงเมืองที่มี คูน้ำ�คันดินล้อมรอบ ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่ามีทั้งสิ้น ๕๓ เมือง เมือง เหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะตั้งอยู่ตรงบริเวณริมแม่น�้ำ เช่น เมืองศรีสัชนาลัยตั้งอยู่ ริมแม่น้ำ�ยม เมืองกำ�แพงเพชรตั้งอยู่ริมแม่น้ำ�ปิง เมืองพิษณุโลกตั้งอยู่ริม แม่น้ำ�น่าน เป็นต้น อันส่งผลต่อการคมนาคม การค้า และการป้องกันเมือง และแม้รัฐสุโขทัยจะเป็นเพียงรัฐเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นจากการรวมกันของบ้านเล็ก เมืองน้อยในลุ่มน้ำ�ปิง วัง และน่าน แต่ก็เป็นรัฐหนึ่งที่มีความสำ�คัญทาง ประวัติศาสตร์ต่อชนชาวสยาม เพราะตำ�แหน่งที่ตั้งของรัฐสุโขทัยนี้เปรียบ เสมือนรัฐกันชนระหว่างอาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา เป็นรัฐที่มี ความสำ�คัญในการป้องกันและตั้งรับศึกหากเกิดสงครามขึ้นระหว่างล้านนา และอยุธยา รัฐสุโขทัยจึงมีความสำ�คัญต่ออาณาจักรทั้งสอง ส่งผลให้เมือง สำ � คั ญ ๆ ในรั ฐ สุ โ ขทั ย ไม่ เ คยถู ก ทิ้ง ร้ า งไปตั้ง แต่ ส มั ย สุ โ ขทั ย จนกระทั่ง ใน ปัจจุบนั รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม

1 open-credit p1-10.indd 5

5

1/19/10 10:00 AM


เป็นราชอาณาจักร หรือขนาดความสำ�คัญของรัฐสุโขทัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ ได้ เพราะฉะนั้นในรายงานฉบับนี้จึงได้ใช้เวลาการศึกษารวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลมาเป็นเวลากว่า ๑๐ ปีนั้น จะเป็นการปรับปรุงแก้ ไข สิ่งบกพร่องโดยเฉพาะทฤษฎีหรือแนวความคิดเก่าๆ ไปด้วยในตัว ในการนี้ ข้าพเจ้าใคร่ขอโทษสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในความ ล่าช้าของการเสนอผลงานค้นคว้าของข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ในขณะเดียวกัน ก็ต้องขอขอบคุณการอุดหนุนและความช่วยเหลือของสถาบันแห่งนี้เป็นอย่าง สูงไว้ในที่นี้ด้วย

14

เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย

2 Intro p11-14.indd 14

1/18/10 1:39 PM


บทที่ ๑

ประวัติภูมิศาสตร์ของบริเวณ ที่เคยเป็นแคว้นสุโขทัย

หลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานทางเอกสารที่มีอยู่ ก่อนการออกไปสำ�รวจเก็บข้อมูลในภาคสนามนั้น แสดงให้เห็นถึงตำ�แหน่ง ที่ตั้ง สภาพทางภูมิศาสตร์ และการกระจายตัวของบรรดาเมืองต่างๆ ใน แว่นแคว้นสุโขทัยได้เด่นชัดพอสมควร นั่นก็คือแคว้นสุโขทัยตั้งอยู่ ในบริเวณ ลุ่มน้ำ�ปิง ยม และน่านตอนล่าง ทางเหนือสุดมีเมืองแพร่ซึ่งปัจจุบันอยู่ ใน เขตจังหวัดแพร่เป็นเมืองปลายสุดแดน ทางใต้สุดมีเมืองพระบางซึ่งอยู่ ใน เขตจังหวัดนครสวรรค์เป็นเขตแดน ทางตะวันตกนั้นมีเมืองฉอดซึ่งปัจจุบัน อยู่ ในอำ�เภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อไปยังเมือง มอญในเขตประเทศพม่า ส่วนทางตะวันออกไปถึงเมืองสะค้าใกล้แม่น้ำ�โขง ในเขตภาคอีสานตอนเหนือ สภาพทางภูมิศาสตร์ของสุโขทัยนั้นประกอบไปด้วยที่ราบลุ่มที่มี ลำ�น้ำ�ปิง ยม และน่านหล่อเลี้ยง ลำ�น้ำ�เหล่านี้ล้วนไหลจากเหนือลงใต้ ทาง ด้านตะวันตกที่มีเทือกเขาถนนธงชัย-ตะนาวศรีขนาบกับบริเวณลุ่มน้ำ�ปิง ออกจากลุ่มน้ำ�สาละวินในเขตประเทศพม่า ส่วนทางด้านตะวันออกมีเทือก เขาเพชรบูรณ์กับบริเวณลุ่มน้ำ�ป่าสัก การกระจายตัวของชุมชนที่เป็นเมือง รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม

3 part 1 p15-23.indd 15

15

1/18/10 1:41 PM


ของสุโขทัยมีลักษณะขยายตัวไปตามแนวตะวันตกและตะวันออกมากกว่า ตามแนวเหนือและใต้ ความหนาแน่นของเมืองจะอยู่ ในระหว่างจากฝั่ง ตะวันออกของแม่น้ำ�ปิงไปจนถึงฝั่งแม่น้ำ�น่านทางตะวันออก ต่อจากนั้นก็มี การขยายตัวข้ามเทือกเขาถนนธงชัย-ตะนาวศรี ไปยังเมืองฉอดในเขตมอญพม่าซึง่ อยูท่ างตะวันตก ส่วนทางตะวันออกมีการขยายตัวข้ามเทือกเขาเพชรบูรณ์ ไปยังลุ่มน้ำ�ป่าสัก และบริเวณลุ่มน้�ำ โขงในเขตภาคอีสานตอนเหนือ ข้อมูลที่แสดงหลักฐานตำ�แหน่งที่ตั้งและขอบเขตของรัฐสุโขทัยนั้น นับว่ามีอยู่อย่างเพียงพอในศิลาจารึกและตำ�นานพงศาวดารที่เป็นเอกสาร โบราณ ถ้าได้นำ�มาเปรียบเทียบเพื่อหาข้อยุติกับหลักฐานทางโบราณสถาน วัตถุก็อาจกระทำ�ได้โดยไม่ยาก แต่เท่าที่ได้มีการนำ�เสนอจนเป็นที่เชื่อถือกัน มานานนั้น ดูเหมือนจะยึดถือเรื่องราวที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นของที่พ่อขุนรามคำ�แหงโปรดให้สร้างขึ้น ข้อความในจารึก กล่าวถึงพระเดชานุภาพของพ่อขุนรามคำ �แหงที่แผ่ ไปตามทิศต่างๆ เช่น ทางทิศใต้ถึงนครศรีธรรมราชและเขตแดนมลายู ทางทิศตะวันออกไปถึง เมืองเวียงจันทน์และเวียงคำ�ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำ�โขงในเขตแดนประเทศ ลาวปัจจุบัน จากหลักฐานดังกล่าวนี้ทำ�ให้การตีความใหญ่ โตไปได้ว่ารัฐสุโขทัย มีอำ�นาจยิ่งใหญ่ มีอาณาเขตครอบครองกว้างขวางดังกล่าวแล้ว นับเป็นการ เชื่อถือและอ้างอิงหลักฐานแต่เพียงชิ้นเดียวหรือหน่วยเดียว โดยไม่พยายาม ที่จะประเมินค่าของหลักฐานว่าศิลาจารึกนั้นมีความน่าเชื่อถือได้เพียงใด เป็นสิ่งที่เขียนขึ้นเพื่อจะอ้างเกียรติภูมิแสดงความสำ �คัญของพ่อขุนรามคำ � แหงและรั ฐ สุ โ ขทั ย แต่ เ พี ย งด้ า นเดี ย วหรื อ ไม่ ในเรื่ อ งนี้ มี นั ก วิ ช าการ ปัจจุบันเป็นจำ�นวนมากซึ่งรวมทั้งตัวข้าพเจ้าเองก็เคยเสนอข้อมูลและเขียน บทความคัดค้านว่าไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น สิ่งที่อาจทำ�ให้เกิดการเข้าใจผิดง่ายๆ ก็ คื อ ศิ ล าจารึ ก กล่ า วถึ ง พระเดชานุ ภ าพหรื อ พระบารมี ใ นส่ ว นบุ ค คลของ พ่อขุนรามคำ�แหง แต่ ไม่ ได้ระบุถึงขอบเขตในเรื่องอาณาเขตของกรุง สุโขทัยแต่อย่างใด

16

เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย

3 part 1 p15-23.indd 16

1/18/10 1:41 PM


ยิ่งกว่านั้นเมื่อนำ�เอาบรรดาชื่อเมืองต่างๆ ที่มีกล่าวถึงในศิลาจารึก หลักที่ ๑ ไปเปรียบเทียบกับจารึกหลักอื่นๆ ที่ร่วมสมัยเดียวกันหรือทำ�ขึ้น ในสมัยหลังๆ ลงมาแล้ว จะแลเห็นการกล่าวถึงชื่อเมืองในอาณาเขตกรุง สุโขทัยที่ซ้ำ�กัน แสดงให้เห็นถึงความแน่นอนและเชื่อถือได้อย่างเห็นได้ชัด บรรดาชื่อเมืองที่ซ้ำ�ๆ กันเหล่านั้นไม่เคยมีชื่อเมืองนครศรีธรรมราช หรือ เวียงจันทน์ เวียงคำ�เลย ในขณะเดียวกันตำ�แหน่งต่างๆ ของบรรดาเมืองที่ มีชื่อซ้ำ�กันเหล่านั้นก็จำ�กัดอยู่ ในบริเวณภาคกลางตอนเหนือซึ่งอยู่เหนือ ปากน้ำ�โพนครสวรรค์ขึ้นไปทั้งสิ้น ในส่วนตัวข้าพเจ้าเห็นว่าศิลาจารึกในสมัย สมเด็ จ พระมหาธรรมราชาลิ ไ ทให้ ข้ อ มู ล ที่ น่ า เชื่ อ ถื อ ได้ ว่ า เมื อ งที่ อ ยู่ ใ น ขอบเขตรัฐสุโขทัยที่แท้จริง (Sukhothai Proper) นั้นมีอะไรบ้าง และบ้าน เมืองที่อยู่นอกขอบเขตแต่ว่าทางสุโขทัยได้แผ่อ�ำ นาจเข้าไปปราบปรามเอาไว้ เป็นเมืองขึ้นนั้นมีที่ใดบ้าง ศิลาจารึกที่แสดงทั้งอาณาเขตและชื่อเมืองที่เด่นชัดที่สุดก็คือ หลัก ที่ ๔๖ (จารึกวัดตาเถรขึงหนัง) ซึ่งมีข้อความว่า “...สมเด็จมหาธรรมราชาธิบดี ศรีสุริยวงศ์ (โอรส) ราชอำ�นาจน้าว ห้าวหาญ...เป็นท้าวพระยามหากษัตริย์ (นครศรีสชั นาลัย) สุโขทัย แกวกลอย ผลาญปรปักษ์ศัตรู นู พระราชสีมา... เป็นขนอบขอบพระบางเป็นแดน เท่า แสนสองหนองห้วยและแพร่...” นอกจากหลักที่ ๔๖ นี้แล้ว ยังมีอีกหลักหนึ่งคือ หลักที่ ๙๓ (จารึก วัดอโสการาม) เป็นภาษาไทยและภาษาบาลี จารึกขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่ว่า ให้รายละเอียดของบ้านเมืองที่อยู่ ในเขตแคว้นสุโขทัยมากกว่า คือ “...ในด้านทิศตะวันออก ทรงทำ�เมืองชื่อนครไทยเป็นรัฐสีมา ด้าน ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทรงทำ�เมืองวัชชะปุรเป็นรัฐสีมา ด้านทิศใต้ทรงทำ� ดอยอุ้ย ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ�พิงเป็นรัฐสีมา ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทรงทำ� เมืองเชียงทองเป็นรัฐสีมา ด้านทิศตะวันตก ทรงทำ�เมืองนาคปุรเป็นรัฐสีมา ที่แยกแม่น้ำ�ยม เรียกว่า (แควน้อย) ได้ทรงสร้างเมืองขึ้นที่นั่น เรียกว่าเมือง ลักขะ (เมืองแสน ปัจจุบันเรียกว่าเมืองสร้อย) อยู่ ในด้านทิศตะวันตกเฉียง รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม

3 part 1 p15-23.indd 17

17

1/18/10 1:41 PM


แผนทีแ่ สดงตำ�แหน่งชุมชนโบราณในรัฐสุโขทัยทีศ่ กึ ษาสำ�รวจพบทัง้ ๕๓ เมือง

24

เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย

4 part 2 p24-186.indd 24

1/18/10 1:48 PM


บทที่ ๒

ข้อมูลใหม่จากการสำ�รวจ ทางโบราณคดี

การศึกษาข้อมูลหลักฐานจากศิลาจารึกและหลักฐานทาง

โบราณคดีที่กล่าวไว้ ในบทที่แล้ว ทำ�ให้ ได้ทราบถึงตำ�แหน่งที่ตั้ง ขอบเขต สภาพภูมิศาสตร์ และการกระจายตัวของบรรดาเมืองโบราณในเขตแคว้น สุโขทัยอย่างเด่นชัด จึงได้นำ�มาใช้ในการกำ�หนดแนวทางและขอบเขตในการ ดำ�เนินการสำ�รวจทางโบราณคดีเพื่อให้ ได้ข้อมูลใหม่มาเพิ่มเติม การสำ�รวจ ทางโบราณคดีในที่นี้มุ่งบริเวณที่เป็นแหล่งชุมชนโบราณมากกว่าแหล่ง ที่เป็นโบราณสถาน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ ไม่ ได้ละเลยสิ่งที่เป็นโบราณสถานแต่ อย่างใด เพราะทั้งสองอย่างนี้มักมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก นั่นก็ คือแหล่งที่เป็นชุมชนโบราณนั้นส่วนมากจะคลุมบริเวณซากโบราณสถาน ที่เป็นวัดวาอารามอยู่ด้วยเสมอ อีกทั้งโบราณสถานเองก็มีประโยชน์ ในการ ศึกษาเรื่องอายุและความสำ�คัญในทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนโบราณ การสำ�รวจนีท้ �ำ ทุกแห่งทีเ่ ป็นชุมชนโบราณ ไม่วา่ จะเป็นแหล่งทีท่ ราบ กันดีอยู่แล้ว เช่น เมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำ�แพงเพชร และแหล่งที่ยัง ไม่มี ใครรู้จักหรือพบเห็นมาก่อน ทั้งนี้เพราะแต่ละแหล่งนั้นมักมีการพบ ข้อมูลหรือหลักฐานใหม่ๆ เพิ่มเติมขึ้นมากกว่าเดิมทั้งสิ้น ผลของการสำ�รวจ รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม

4 part 2 p24-186.indd 25

25

1/18/10 1:48 PM


ทางโบราณคดีกันขึ้นที่เมืองเมียวดีก็อาจจะพบโบราณสถานวัตถุที่เป็นของ ในสมัยสุโขทัยที่พอจะยืนยันได้ว่าเมืองฉอดน่าจะตั้งอยู่ ในบริเวณเมืองนี้ ถ้า มิเช่นนั้นเมืองฉอดก็ควรจะตั้งอยู่ ในตำ�แหน่งใดตำ�แหน่งหนึ่งบนเส้นทางจาก เมืองเมียวดี ไปทางตะวันตกในเขตประเทศพม่าในระยะทางที่ก่อนจะถึง เมืองเมาะตะมะ เพราะตำ�แหน่งของเมืองฉอดตั้งอยู่ตามเส้นทางนี้ดังมีกล่าว ในศิลาจารึกถึงบรรดาเมืองต่างๆ ที่อยู่ ในทิศทางนี้ที่สัมพันธ์กับเมืองฉอด เป็นสิ่งที่บ่งแสดง

186

เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย

4 part 2 p24-186.indd 186

1/18/10 2:21 PM


บทที่ ๓

การวิเคราะห์และการตีความ

ตามที่กล่าวมาแล้วอย่างละเอียดในบทที่ ๒ เกี่ยวกับการ

สำ�รวจและตรวจสอบข้อมูลใหม่นั้น พบแหล่งชุมชนโบราณจำ�นวน ๕๓ แห่ง ของเดิม ๒๔ แห่ง เพราะฉะนัน้ ของทีพ่ บใหม่จงึ มีจำ�นวนถึง ๒๙ แห่ง ชุมชน เหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายอยู่ตามลุ่มน้ำ�ปิง ยม และน่าน ซึ่งนับว่าสอดคล้อง กันกับตำ�แหน่งของเมืองโบราณที่มีกล่าวถึงในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย ชุมชน โบราณที่พบตามลุ่มน้ำ�ต่างๆ ในการสำ�รวจครั้งนี้มีดังนี้ ลุ่มน้ำ� ปิง ยม น่าน ป่าสัก เมย รวม

จำ�นวน ๒๐ แห่ง ๑๒ แห่ง ๑๗ แห่ง ๒ แห่ง ๒ แห่ง ๕๓ แห่ง

รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม

5 part 3 p187-353.indd 187

187

1/18/10 2:24 PM


เมืองเชลียงเป็นเมืองสำ�คัญในลุ่มน้ำ�ยมที่เกิดขึ้นก่อนการสร้างเมืองสุโขทัย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเมืองเชลียงตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ�ยม ในบริเวณที่สูงเชิงเขาและมีลำ�น้ำ�โอบโค้ง

216

เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย

5 part 3 p187-353.indd 216

1/18/10 2:27 PM


วัดพระบรมธาตุ เชลียง ศาสนสถานสำ�คัญ ของเมืองเชลียง ซึ่งมีอายุอยู่ ใน พุทธศตวรรษที่ ๑๘ ได้รับการบูรณะ มาอย่างน้อย สามสมัย แต่ส่วน ที่ยังคงหลงเหลือ ให้เห็นอิทธิพล วัฒนธรรมขอม คือซุ้มประตู รูปปราสาทยอด ที่ทำ�เป็นปูนปั้น รูปพระพักตร์ พระโพธิสัตว์ อวโลกิเดศวร และลวดลายปูนปั้น ประดับซุ้มและ เสาประตูกำ�แพง

รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม

5 part 3 p187-353.indd 217

217

1/18/10 2:27 PM


ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ได้กล่าวถึงพระอัฎฐารศ วัดตะพานหินว่าพ่อขุนรามคำ�แหง ทรงช้างชื่อรูจาครีเสด็จมานมัสการทุกคืนวันเดือนดับเดือนเต็ม แสดงว่าวัดนี้มีมาแล้วตั้งแต่ สมัยพ่อขุนรามคำ�แหง พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ลังกา

254

เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย

5 part 3 p187-353.indd 254

1/18/10 2:33 PM


ส่วนทางด้านทิศใต้ของเมืองสุโขทัยมีวัดสำ�คัญและเชื่อว่าเป็นที่พำ�นักของพระสังฆราชคือ วัดพระเชตุพน วัดนี้มีพระสี่อิริยาบถที่งดงาม พระสี่อิริยาบถสร้างขึ้นครั้งแรก ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิ ไท

รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม

5 part 3 p187-353.indd 255

255

1/18/10 2:33 PM


คูแม ลำพัน

ฝายและลำเหมือง นา

นา

นา นา

ทำนบ ๕ ทำนบ ๖

นา

ฝายและลำเหมือง ทำนบ ๗

ทำนบ ๒

ทางน้ำเข ามาในเมือง

เขาพระบาทน อย ทำนบ ๔ เขากิ่วอ ายมา

นา

คลองเสาหอ ทำนบ ๑

ทำนบ ๓

เขาพระบาทใหญ

แผนผังระบบชลประทานของเมืองสุโขทัย มีโครงสร้างการระบายน้�ำ จากเขาพระบาทใหญ่และเขากิ่วอ้ายม้าลงมาตามลำ�ธาร ที่เรียกว่า โซกพระร่วง แล้วไหลลงคลองธรรมชาติที่เรียกว่า คลองเสาหอ จากนั้นจึงลงมาสู่ที่ราบบริเวณด้านใต้ของเมืองและส่งไปยังด้านตะวันออกของเมือง ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวเมือง

256

เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย

5 part 3 p187-353.indd 256

1/18/10 2:33 PM


ภายในเมืองมีระบบการชักน้�ำ มาเก็บไว้ในตระพังตามวัดต่างๆ และคูเมืองทั้งสามชั้น โดยมีวัดสระศรีซึ่งเป็นวัดสำ�คัญตั้งอยู่กลางตระพัง (สระ) น้ำ�ใหญ่ที่เรียกว่า ตระพังโพยสี เป็นที่รับและส่งน้ำ�ไปยังตระพังอื่นๆ ภายในเมือง

รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม

5 part 3 p187-353.indd 257

257

1/18/10 2:33 PM


D- %K&/> V>%3% ^\ J7ó %AR6ó3%L7só /< >.9.Eó!>1Dó - %RV > 'ê .- J1<%ó > % BQ %= & 3ó > 69 1ô 9 = % = & !V>J7%ó 9 I-C9 K&/> #AQ-A 1ó>3"B L%4@1> >/B 6-=. 6D K #= . D - %K&/> 6ó 3 %L7só #AQ * &%=R % %9 > < -A %> J1</E ' /ó > #AQ J ! !ó > = % J1ô 3 .= *&71= >% #> K&/> 6">%3=!"DM-óI#ó> =% J1<J! !ó> =%L% ô>% 6-=.I31> ô3. 6@Q I71ó>%AR6<#ô9%L7ôI7P%"B !V>J7%ó 3>6V > = s 9 D - % >/I/@Q - !ô % J1< >/6C & I%CQ 9 !ó 9 -> .= 6-=.!ó> O

I-C9 K&/> L%9> > = /6DK #=.

ISBN 978-974-7385-44-1

/> > \YY &>#

7-3 '/<3=!@4>6!/÷ K&/> A


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.