ผลงานสร้างสรรค์ของนักเขียนและช่างภาพ “คลื่นลูกใหม่” โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๖
“งานเขียนนั้นแม้จะสอนหรือแต่งตั้งให้เป็นกันไม่ได้ แต่การได้ค�ำ แนะนำ� ชี้ช่องทาง แลกเปลี่ยนเรียน รู้ร่วมกันนั้น ช่วยให้นักเขียนใหม่เดินทางได้เร็วขึ้น ไม่ตอ้ งเสียเวลากับการลองผิดลองถูกกับสิ่งที่ แน่นอนตายตัวอยู่แล้ว” ครูวี – วีระศักร จันทร์ส่งแสง
บางสิ่งที่ชีวิตต้องการ
“หากเป็นไร่ปลูกสร้างฝัน นี่คือดอกไม้ดอกไร่พันธุ์ใหม่ ในบรรยากาศที่สดชื่นหมาด ๆ ของฝนแรก ต้นฤดู พวกเขาคือความหวังของวันพรุ่งนี้ เช่นเดียวกับรุ่นพี่ปีก่อน ๆ จำ�นวนหนึ่งที่ได้ก้าวเดินไป ในเส้นทางสายสื่อ และสายสารคดีที่เริ่มสร้างสมประสบการณ์บนเส้นทางของตนเองอย่างมุ่งมั่น จริงจัง” ครูอรสม สุทธิสาคร
หมวดสารคดี ราคา ๒๐๐ บาท
หลายชีวิต-ต่างเส้นทาง-หลากความฝัน
สนับสนุนโดย
ISBN 978-974-484-340-1
๒๐๐.-
ISBN 978-974-484-340-1 หนังสือ บางสิ่งที่ชีวิตต้องการ ผู้เขียน เยาวชนโครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๖ ด�ำเนินการโดยนิตยสารสารคดีและส�ำนักพิมพ์สารคดี สนับสนุนโดย c สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ จ�ำนวนพิมพ์ ๑,๕๐๐ เล่ม ราคา ๒๐๐ บาท
คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปกและรูปเล่ม : จ�ำนงค์ ศรีนวล คอมพิวเตอร์/จัดรูปเล่ม : วัลลภา สะบู่ม่วง พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์ ส�ำนักพิมพ์สารคดี (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด) จัดจ�ำหน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ เพลต เอ็นอาร์ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์ บริษทั ทวีวัฒน์การพิมพ์ จ�ำกัด โทร. ๐-๒๗๒๐-๕๐๑๔ ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อำ� นวยการฝ่ายการตลาด/โฆษณา : ปฏิมา หนูไชยะ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายตลาด : พิเชษฐ ยิ้มถิน บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ
4 | บางสิ่งที่ชีวิตต้องการ
สารบัญ
เปิดตู-ซิง่ ...วิง่ ทะลุฟดั ! . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ๑๗ เรื่อง : ธนาคาร จันทิมา ภาพ : ปุณยนุช เลิศวัฒนาสมบัติ ครอบครัวรถเมล์ โลกใบเล็กของเด็กชายวัน . . . . . . . . . . . . . . . ๕๙ เรื่อง : ธีรนัย โสตถิปิณฑะ ภาพ : สุรเชษฐ์ วิรุฬห์ทรัพย์ โชคชะตา (ข้า/ฟ้า) ลิขติ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ๘๔ เรื่อง : กอบกาญจน์ ลิ้มสมบัติอนันต์ ภาพ : นภัส เพชรรัตน์ วิถคี น - วิถกี ระดาษ : เส้นใยแห่งไอดิน . . . . . . . . . . . . . . . . . . ๑๑๑ เรื่อง : “ปฐวี” ภาพ : “ณัฏฐินี” ปัดฝุ่นหัวใจ คืนตัวตน ให้คนป่วยจิต . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .๑๓๔ เรื่อง : ตุลย์ธิดา เราเจริญ ภาพ : นันท์นภัส ศรีตะกูลรัตน์ “นักเรียนตีนเปล่า พ.ศ. ๒๕๕๓” . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .๑๖๕ เรื่อง : ชเลฝัน ดิษฐ์ผู้ดี ภาพ : พลอยไพลิน คชะเกษตริน โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๖
|5
“คอสเพลย์” เลียนแบบตัวละคร สะท้อนตัวฅน . . . . . . . . . . . .๑๙๐ เรื่อง : ขวัญชาย ด�ำรงค์ขวัญ ภาพ : สวริน ศีติสาร วัดใหม่ แดนไตใจกลางกรุง . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ๒๒๗ เรื่อง : ศิรดา เขมานิฏฐาไท ภาพ : ภูมิ เพชรกาญจนาพงศ์ คนประมงเกาะพิทกั ษ์ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .๒๕๑ เรื่อง : พาขวัญ ปัญญาโตนะ ภาพ : พาปิติ ปัญญาโตนะ
6 | บางสิ่งที่ชีวิตต้องการ
คํานิยม
ค่ายนักเขียนสารคดี ที่นิตยสารสารคดี ชวน เอสซีจี จัดมาตั้งแต่ครั้ง ที่ ๕ จนถึงครั้งที่ ๖ นั้น เป็นความมุ่งหวังร่วมกันที่จะสร้างนักเขียนและ ช่างภาพสารคดีฝมี อื ดีรนุ่ ใหม่ พร้อมทัง้ พัฒนานักเขียนและช่างภาพสมัคร เล่นให้เป็นมืออาชีพในวงการสารคดีบ้านเรา น้องๆ ทั้งนักเขียนและช่างภาพ ต่างพกความฝันพร้อมแรง บันดาลใจที่จะสร้างสรรค์จินตนาการถ่ายทอดสู่ผู้อ่าน ผนวกกับการบ่ม เพาะถ่ายทอดประสบการณ์ความรูจ้ ากนักเขียนสารคดีและช่างภาพฝีมอื ชั้นครู ซึ่งเป็นผู้ให้ค�ำแนะน�ำและเป็นพี่เลี้ยงตลอดโครงการแล้ว หนังสือ รวบรวมผลงานของน้องๆ จากค่ายนักเขียนสารคดีเล่มนี้ จึงไม่อาจเปิด ผ่านไปเฉยๆ ได้ เพราะเป็นผลงานสร้างสรรค์ทดี่ ที สี่ ดุ เล่มหนึง่ ซึง่ ถ่ายทอด ความคิดได้อย่างแหลมคม ปรุงแต่งจินตนาการได้อย่างลึกซึง้ และ แฝงแง่คิดได้อย่างน่าสนใจ หวังเป็นอย่างยิง่ ว่า น้องๆ นักเขียนและช่างภาพสารคดีรนุ่ ใหม่ นี้ จะก้าวต่อไปบนเส้นทางนักเขียนและช่างภาพสารคดีมืออาชีพ ด้วย ทักษะการสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีจิตส�ำนึกของความรับผิดชอบต่อ โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๖
|7
หน้าที่ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมอย่างยั่งยืนต่อไป ขอเป็นก�ำลังใจให้น้องๆ ทุกคน ท�ำตามฝันของตนเองให้ เป็นจริง เชื่อว่าผู้อ่านทุกท่านจะร่วมภาคภูมิใจกับผลงานของนัก เขียนและช่างภาพสารคดีรนุ่ ใหม่ และมีความสุขกับการอ่านหนังสือ เล่มนี้ค่ะ วีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานสื่อสารองค์กร เอสซีจี
8 | บางสิ่งที่ชีวิตต้องการ
ก่อนหน้าจะมาเป็นต้นฉบับ
ด้วยความตระหนักในบทบาทของการท�ำหน้าที่เกื้อหนุนและสร้างนัก เขียนสารคดีรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาประดับวงการ สารคดี จึงท�ำโครงการค่าย นักเขียนสารคดีขึ้นเป็นประจ�ำทุกปีกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งส�ำเร็จเสร็จสิ้นลง เป็นรุ่นที ่ ๖ แล้ว ลักษณะพิเศษทีแ่ ตกต่างจากค่ายอบรมการเขียนอืน่ ๆ คือ นอก จากการอบรมให้ความรูค้ วามเข้าใจในเรือ่ งหลักการ ความหมาย วิธกี าร เขียนและการสร้างสรรค์งานสารคดี และการน�ำลงพืน้ ทีฝ่ กึ ปฏิบตั กิ ารจริง ค่ายอบรมการเขียนของสารคดี อาจเป็นค่ายแรกค่ายเดียวในเมืองไทย ที่เป็นหลักสูตรต่อเนื่อง (เป็นเวลา ๔ เดือน เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์) ท�ำให้ผเู้ ข้าร่วมมีโอกาสได้เรียนรู ้ ฝึกฝนทดลองด้วยตัวเอง โดยมีนกั เขียน สารคดีอาชีพอย่าง อรสม สุทธิสาคร วิวฒ ั น์ พันธวุฒยิ านนท์ วีระศักร จันทร์สง่ แสง เป็นครูประจ�ำค่าย พร้อมทัง้ วิทยากรรับเชิญพิเศษ มาร่วม ปลุกปัน้ ให้คำ� ปรึกษา แนะน�ำ เปิดมุมมอง ชีช้ อ่ งทาง กระตุน้ หนุนเสริม การพัฒนาฝีมือของนักเขียนใหม่ตลอดโครงการ ค่ายสารคดี ครั้งที่ ๖ ในวาระ ๒๕ ปี ของนิตยสารสารคดี ถูก จัดขึ้นอย่างเป็นพิเศษกว่าครั้งก่อนๆ โดยมีการอบรมช่างภาพสารคดี โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๖
|9
18 | บางสิ่งที่ชีวิตต้องการ
(สารคดี ๑๖ มม.)
เปิดตู-ซิ่ง...วิ่งทะลุฟัด ! เรื่อง : ธนาคาร จันทิมา ภาพ : ปุณยนุช เลิศวัฒนาสมบัติ
โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๖
| 19
- เปิดฉาก ๑๒.๐๐ น. ภาพเคลื่อนออกจากนาฬิกาย้ายมายังฝูงคนที่ยืนแน่นนิ่ง อัฒจันทร์จากมุมสายตาพิราบบิน ล�ำโพงกระจายเสียงเริ่มบรรเลง (แผ่นเสียง) คุณภาพเสียงสั่นเครือ นิตยสารสารคดี
“ข้าวรพุทธเจ้าฯ เอามโนและศิระกราน...” ภูมิใจเสนอ
ปรร...ๆๆๆ (เสียงแทรกในอากาศ--ลมหายใจม้า) ธนาคาร จันทิมา = เล่าเรื่อง
“เร็วเลยนะครับ ๓ นาที เริ่มนับถอยหลังแล้ว” (เสียงพากย์--โฆษกประจ�ำสนาม) ปุณยนุช เลิศวัฒนาสมบัติ = ถ่ายภาพ
“เข้าช่วงนาทีสุดท้าย... ต้องรีบคิดแล้วครับ” สนามม้าไทย ราชตฤณมัยสโมสร (นางเลิ้ง)
“๒๗ วินาที... ๒๕ วินาที ๒๔... ให้เร็ว ให้ไวนะครับ”
20 | บางสิ่งที่ชีวิตต้องการ
โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๖
| 21
24 | บางสิ่งที่ชีวิตต้องการ
โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๖
| 25
เรื่องย่อ
ประเทศไทยมีสนามม้าหลายแห่ง แต่เฉพาะกรุงเทพฯ สองแห่ง คือ สนามม้า นางเลิ้ง และสนามม้าปทุมวัน จัดการแข่งม้าเพื่อการพนันขึ้นตามที่กฎหมาย อนุญาตเฉพาะวันอาทิตย์ (หากตรงกับวันส�ำคัญทางศาสนาจึงเลื่อนไปจัดวัน เสาร์) ทัง้ นีเ้ รือ่ งราวทีเ่ กีย่ วข้องกับสนามม้าเป็นสิง่ ทีน่ า่ สนใจ นอกเหนือการเล่น พนัน ประวัตคิ วามเป็นมาเกีย่ วกับสนาม ความทรงจ�ำของผูค้ น และความมหัศจรรย์ ของม้า คือคุณค่าเชิงบันทึกประวัตศิ าสตร์สงั คมไทยทีบ่ รรจุความนึกคิดและจิตใจ ของคนรุน่ ต่อรุน่ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิง่ จากนีไ้ ป ยุคสมัยใหม่จะพราก คนกับม้าให้แปลกหน้าและห่างไกลในทางวัฒนธรรมขึ้นทุกทีๆ
ข้อจ�ำกัด
หลายที่มาของข้อมูลจ�ำเป็นต้องปกปิดไว้โดยมารยาท สนามม้าเป็นพื้นที่สงวน สิทธิเฉพาะบุคคลในการหาความสุขนอกเวลางานและครอบครัว แม้ว่าการท�ำ สารคดีครัง้ นี ้ ข้าพเจ้าและช่างภาพจะพบอุปสรรคบ้างระหว่างกระบวนการค้นหา ความจริง ซึง่ เสมือนบทเรียนสอนให้รทู้ จี่ ะอยูก่ บั ข้อจ�ำกัด ทว่าไม่อาจก�ำจัดความ อยากเห็นให้ค้นลึกลงในสนามม้าได้โดยการหา ข้าพเจ้าเริ่มเรื่องทั้งหมดไว้ในบรรทัดถัดไป...
28 | บางสิ่งที่ชีวิตต้องการ
องก์ ๑. สนามม้า (สปอร์ตคลับ แอนด์ แกมบลิง เซนเตอร์) ต่างเส้นสาย หลายชีวิต สู่ทิศเดียว ไม่ทนั สังเกต... ข้าพเจ้าก็เดินปะปนท่ามกลางชายไทยวัยเกินหนุม่ ตลอด บาทวิถีเสียแล้ว จ�ำนวนมากผิดหูผิดตาเกินกว่าจะมาปรากฏพร้อมกัน ได้บนถนนสายเดียว ใกล้เที่ยงวันอาทิตย์ หลายคนเดินทางมาจากต่าง มุมเมืองไม่ว่าจะเพิ่งลงจากรถเมล์ ข้ามสะพานลอย จ่ายค่ามอเตอร์ไซค์ หรือเลีย้ วออกจากมุมตึกฝัง่ โน้น ดูดหี น่อยก็นงั่ รถยนต์สว่ นตัวเข้ามาจอด ในลานสมาชิกอย่างผ่าเผย ทุกคนมุง่ ไปสูจ่ ดุ หมายเดียว --สนามม้า-ธนบัตรเรียงเบอร์แน่นอยู่ในกระเป๋า แววตามีหวัง มาดมั่นเดินคุมเชิง นอกจากนักธุรกิจ พ่อค้าและประชาชน ชายไทยจ�ำนวนไม่นอ้ ยทีม่ า คุน้ เคยกันดี ยกมือไหว้กันอย่างพินอบพิเทา พวกเขาอาจเป็นใครก็ได้ใน วันหยุดเช่นนี ้ แต่ในวันปกติหลายคนคือผู้มีแถบบนอกและมียศบนบ่า ๑๐๐ หยิบ ๑ และหยิบอีกหลายๆ ครัง้ คงยากจะหาใครสักคนที่ มาถึงที่นี่อย่างนักเลงกีฬาแท้จริง ข้าพเจ้าไม่กล้าพนัน คนส่วนใหญ่เดินทางมาสนามม้าเพือ่ เล่นการพนัน เลือกเดินเข้า ประตูตามราคาตัว๋ และระยะห่างใกล้หน้าเส้นชัยเพือ่ ลุน้ (๕๐ บาท, ๑๐๐ บาท) ประตูบางบานเปิดแง้มเฉพาะผู้จ่ายด้วยธนบัตรใบละพันสามใบ หรือสปอร์ตแมนผูต้ อ่ อายุคลับเมมเบอร์หลักล้านต่อปี คะเนด้วยสายตา เที่ยงไม่ถึงบ่าย เงินเหยียบล้านก็ไหลสะพัดสู่สนามเรียบร้อยแล้ว ภายนอก - ประตูทางเข้าสอนวิชาสังคมเรื่องความเหลื่อมล�้ำ ผ่านชนชั้นบนหางบัตร โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๖
| 29
ภายใน - ช่องจ�ำหน่ายตัว๋ พนันสอนความเท่าเทียมในวิชาสถิติ ด้วยสมการได้และเสีย ชายผู้ที่โชคเข้าข้างจากม้ารอบที่แล้วหันมาอธิบายสมการ “คนทุกคนเข้ามาเอาคืนตัง้ แต่เริม่ เล่นทัง้ นัน้ คิดดูส ิ ยังไม่ทนั จะ เข้า พวกเขาก็เสียกันแล้ว เสียเล็กเสียน้อยก็แล้วแต่จะเสีย ไหนจะตาราง แข่งม้า ปากกา ค่าเช่ากล้อง แว่นสายตายาว รองเท้าหุม้ ส้น ยังไม่นบั ค่า ผ่านประตูอีก” ตลอดทางเข้าจนถึงหน้าประตูสนาม เต็มไปด้วยพ่อค้าแม่ค้า หน้าเก่าที่จดจ�ำและทักทายเหล่าเซียนที่มาเล่นเป็นประจ�ำอย่างทั่วถึง ความคุน้ หน้าและคุน้ เคยปรากฏชัดเสียจนวิง่ เข้ามาอยูใ่ นสายตาข้าพเจ้า ตารางแข่งม้าที่วางขายหลายปกสี บางเล่มมีปากกาสวรรค์ขีดมาจาก เบื้องบน --โพยม้า-- คนขายท�ำสัญลักษณ์หน้าชื่อม้าเต็งไว้เรียบร้อย แล้ว ข้าพเจ้าสุม่ ซือ้ มาเปิด เปิด และเปิดดูบา้ ง ขาประจ�ำเท่านัน้ ทีจ่ ะได้ รับสิทธิ์ขั้นพรีเมี่ยม นอกจากข้าวปลาอาหารส�ำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับประทานมาจาก ทีบ่ า้ น แม่คา้ แถวนีย้ งั มีนำ�้ เฉาก๊วยแก้รอ้ นในและน�ำ้ ใบบัวบกแก้ชำ้� ใจคอย ให้บริการด้วย ข้าพเจ้าเดาว่าลูกค้าประจ�ำยังน้อยอยู่ในขาเข้าแต่น่าจะ อุดหนุนแน่นในขาออก
เขตปลอดอาวุธ สวมชุดสากลนิยม สนามม้า สถานที่ปลอดอาวุธและจ�ำกัดอายุ ชายชุดด�ำสี่คนท�ำหน้าที่ปลดอาวุธบุคคลที่เข้ามาแสวงโชคใน สนาม--อาวุธอย่างเดียวทีอ่ นุญาตให้นำ� เข้าไปทิม่ แทงกันข้างในคือ เงิน --และป้ายค�ำเตือนประกาศขึงขังห้ามเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะเล่นการ
30 | บางสิ่งที่ชีวิตต้องการ
พนัน เหตุนบี้ รรยากาศทางเข้าสนามจึงให้รสู้ กึ ถึงการคุกคามและคุม้ ครอง อยู่ในที สนามม้าฝรั่ง หรือสนามม้าปทุมวัน (ราชกรีฑาสโมสร) มีข้อ บังคับเรื่องความสุภาพเคร่งครัดกว่าสนามม้าไทยย่านนางเลิ้ง (ราชตฤณมัยสโมสร) คือ ทุกคนต้องแต่งกายในชุดแบบสากลนิยม ข้าพเจ้า ไม่รกู้ ติกาบังคับข้อนีม้ าก่อน แต่มน่ั ใจว่าเสือ้ ยืดกางเกงยีนในยุคสมัยของ ข้าพเจ้าเป็นสากลและนิยมกันมาก “เสือ้ ยืดเข้าไม่ได้คะ่ ต้องเช่าเสือ้ มีปกใส่เข้าไป” เจ้าหน้าทีห่ ญิง ประจ�ำบัตร ๑๐๐ สบดวงตาขอความเห็นใจของข้าพเจ้าก่อนกล่าวโอน อ่อนในทีว่า “น้องลองไปประตู ๕๐ บาท เขาคงไม่เข้มนัก” หนุ่มใหญ่วัย ๕๐ ต้น จิบเบียร์เย็นเฉียบปลุกความร้อนให้ใจ คะนองอยู่ริมสนาม เล่าให้ฟังทั้งหน้าแดงๆ ว่า “ผมแทงเป็นตัง้ แต่ ๑๕ แล้วคุณ คนมันคึกคักเสียออกอย่างนัน้ ต�ำรวจยุคนั้นยังเคยลากคอผมไปกักตัวไว้ชั้นบนอัฒจันทร์เลย ข้อหา ริแทงแต่เด็ก” เขาหมายถึงแทงม้ามากกว่าแทงคน “สมัยก่อนหญิงหรือชาย เด็ก หนุม่ หรือแก่ เต็มไปหมด ไม่มไี ด้ นั่งหรอก สมัยนั้นผมเดินไปทั่วสนามเลย เป็นเด็กเดินโต๊ดไง” เขาเล่า ให้ฟงั ถึงยุคเรืองรองของการเล่นพนันม้าและความร�ำ่ รวยของเจ้ามือโต๊ด เถื่อน ก่อนถูกปราบปรามอย่างหนักในสมัยของ พล.ต.ท. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส (ยศขณะนั้น) เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสนามของสโมสร นั่น หมายถึงส่วนแบ่งภาษีให้รัฐบาลด้วย “เดีย๋ วนีก้ อ็ ย่างทีเ่ ห็น มีแต่แก่ๆ อย่างผม พวกคนหนุม่ อย่างคุณ ไปเล่นบอลกันหมด” พอดีกับช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก ข้าพเจ้าล�้ำความเป็นส่วนตัว โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๖
| 31
ในกระเป๋าเงินของเขา นึกถาม “คืนนี้เล่นใครดี” “ความลับสวรรค์ อย่าบอกใครไอ้หนุม่ อังกฤษอยูแ่ ล้ว ฮา ฮา” เขาตะเบ็งเสียงลัน่ จนเซียนม้ารอบบริเวณนัน้ หันมาตัง้ ใจฟังไปด้วย ความ เมาท�ำให้คนเราโผงผาง เพื่อความเหมาะสมและปลอดภัย ประตูทางเข้าอาจแคบและ เคร่งครัดไปบ้างเพราะต้องการให้พนื้ ทีน่ จี้ ำ� กัด “อายุ” และปลอด “อาวุธ” แต่ส�ำหรับ “อารมณ์ขัน” หลายคนที่นี่เอาเข้ามาแจกจ่ายข้างในอย่างไม่ กลัวหมด
หมอกจางๆ หรือควัน ?
หากลอยบนนภา คงใกล้เวลาฟ้าจะมีฝน แต่นลี่ อยอยูบ่ นหัวคน ชายหลาย พันก�ำลังพ่นเมฆเสกหมอกเทา นิโคตินสันดาปวาบไหม้อยูง่ า่ มนิว้ ปล่อยเส้นอากาศลอยอ้อยอิง่ สะบัดพลิ้วตามจังหวะฟืดฟาดของลมจมูกและรูปาก ในเนื้อควันแน่น ด้วยกลิ่นแอลกอฮอล์เบียร์ ข้าพเจ้ารู้สึกถูกสะกดรมอยู่ในภวังค์ กาล เวลาและผู้คนที่นี่บ่มกลิ่นอายเฉพาะตัวให้อัฒจันทร์แห่งนี้เป็นเจ้าของ หลับตานึกค�ำทีจ่ ำ� ได้ ... “ก้นบุหรี”่ “เศษขีน้ ก” “พัดลมเพดาน” “กองเสลด” “เศษตั๋ว” และ “ซีเมนต์ปูนอุ่นแดด” ... ลืมตาเห็นภาพผนังปูนขุน่ เขียวมีคราบคล�ำ้ และแยกร้าวให้ความ รู้สึกอับทึบหลงยุค บรรยากาศเก่าๆ ชวนคิดว่านาฬิกาที่นี่หยุดเดินมา นานแล้ว นอกจากเวทีอนิ ดีท้ แี่ อบอิงบรรยากาศอัลเทอร์ของสนามนางเลิง้ จัดคอนเสิร์ตขึ้นเมื่อหลายปีก่อน วัยรุ่นน้อยคนจะเคยเหยียบย่างเข้ามา ในบริเวณสนาม โดยเฉพาะวันอาทิตย์ทมี่ กี ารแข่งม้าและอย่างยิง่ ในช่วง
32 | บางสิ่งที่ชีวิตต้องการ
เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป สนามม้าทั้งสองจะมีชีวิตชีวาที่สุด เพราะเป็น ช่วงจัดการแข่งม้าชิงถ้วยพระราชทานส�ำคัญประจ�ำปีหลายถ้วย เช่น ดาร์บี้ รามราฆพ สภานายก จักรี และควีนส์คัป สมัยก่อนสนามม้าฝรั่งและสนามม้าไทยจะสลับกันประชันม้า เสาร์และอาทิตย์ตามล�ำดับ ปัจจุบันทั้งสองสนามจัดเพียงวันอาทิตย์วัน เดียวแต่สลับสัปดาห์กัน สนามละสองครั้งต่อเดือน ๑ อาทิตย์มีม้าแข่ง ๑๐ รอบ -- แบ่งรอบตามดิวิชั่นจากสถิติ เวลาความเร็วสะสมซึง่ ม้าสามารถเลือ่ นชัน้ ได้ หากทิง้ ตัวอืน่ ไว้เบือ้ งหลัง ห่างนับช่วงตัว ๑ รอบมี ๑๔ ม้า (โดยเฉลี่ย) -- ชื่อม้าเป็นอีกความบันเทิง หนึง่ ทีเ่ สริมอรรถรสในการเชียร์ ชีสอ์ ะเลดี ้ มายเฟิรส์ ต์เลิฟ ขวัญใจน้องโบว์ มาดามเฮง ปักธงชัย ดวงใจนาย กู๊ดคอนโทรล วิ่งสู้ฟัด รักนะจ๊ะ สมายออฟเลิฟ ฯลฯ ฟังชื่อม้าเวลาคุณลุงคุณตาตะโกนเชียร์กันก็เพลิน แล้ว ๑ ม้าฝีเท้าดี -- อาจเป็นทีก่ ะเก็งทัง้ เต็งและโต๊ด ม้าบางตัวอาจ รับบทฮีโร่ พระรอง หรือตัวซวย ของใครหลายคนได้ในชั่วไม่กี่วินาที ขณะที่ม้าถ้วยดีๆ ตัวหนึ่งค่าตัวลิบลิ่วหลายล้านแพงกว่ารถมากแรงม้า บนถนน ป้ายกระดานไฟแสดงอัตราต่อรองม้าแต่ละตัว บ่งบอกปริมาณ เม็ดเงินที่คนในสนามเล่นหนุนม้าตัวใดมากกว่ากัน แต่ละรอบยอดรวม ไม่เท่ากัน ค�ำนวณโดยคะเนถ้วนๆ ยอดแทง “โททอลวิน” และ “โททอลเพลส” รวมกันหมุนเวียนกว่า ๑๐ ล้านบาทต่อเดือน แม้คนจะซบเซาจาก อดีตไปมากแล้วก็ตาม บรรยากาศก่อนการแข่งขันในแต่ละเที่ยวค่อนข้างเคร่งเครียด โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๖
| 33
เต็มลุ้น เหมือนเด็กมัธยมเตรียมสอบหน้าห้องเรียน ถึงเวลาประกาศผล ก็พากันกรูไปลุ้นผลสอบบนจอภาพสกอร์ และเป็นเช่นนี้หมุนวนไป ๑๐ รอบตลอดบ่ายวันอาทิตย์ นักเรียนภาคบ่ายของสนามม้ามักอยูใ่ นเครือ่ งแบบไม่ไกลสไตล์ กันนัก หากไม่นุ่งบลูยีนสีเข้มก็สวมขาในสแล็กจีบคม หากไม่สวมเชิ้ต ลายสกอตก็อาจใส่โปโลลายทาง นอกจากนัน้ พวกเขาจะมีอปุ กรณ์ประจ�ำ กายอย่างสมุดคิวม้าและปากกาติดไว้ไม่ห่าง เพราะภายในคือเล็กเชอร์ ตวัดยุ่งไปด้วยสูตรเฉพาะตัวในการค�ำนวณโชคชะตาแต่ละเที่ยวแข่ง ม้าออกตัวแล้ว ชายไทยวัยเกินหนุ่มวิ่งพรวดลุกออกจากที่นั่ง ในโรงอาหารทิ้งข้าวต้มกุ๊ย กับข้าวสองอย่าง และเบียร์ครึ่งขวดไปอย่าง ไม่ไยดีเพื่อลุ้นม้าที่เก็งไว้ว่าจะออกผลอย่างไร ส�ำหรับชาวอาชา บางนาทีของที่นี่ อากาศมีไม่พอให้สะดวก หายใจ จะสะดวกได้อย่างไร? เมือ่ ความเร็วของม้าขโมยลมหายใจพวก เขาไปเสียแล้ว บางทฤษฎีเสนอว่า หากต้องการย้อนเวลา มนุษย์จำ� เป็นต้องวิง่ แซงหน้าแสง แต่คุณตาที่นางเลิ้งและคุณลุงที่ปทุมวันพิสูจน์ชัดแล้วว่า ความเร็วเพียงม้าสะบัดเกือก แม้ไม่พอหนีเงา ก็เหลือส�ำหรับเรียกความ หนุ่มกลับคืน
ก�ำเนิดอาชาสถาน นอกจากม้าในการสงคราม ใช้งานหรือลากเทียมรถ คนไทยยังไม่รจู้ กั ม้า ในความหมายอื่น จนกระทั่งปลายพุทธศักราช ๒๔๔๐ การแข่งม้าจัดขึ้นเป็นครั้ง
34 | บางสิ่งที่ชีวิตต้องการ
แรกในสยามอย่างล�ำลอง ณ ทุ่งพระเมรุ สนามหลวง เพื่อเฉลิมฉลอง สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จนิวัตพระนครจากการเสด็จประพาสยุโรป ชาวสโมสรน�้ำเค็ม สมาชิกหัวนอกคิดจัดการแข่งม้าอย่างตะวันตกถวาย โดยใช้มา้ เทียมรถหกเทีย่ ว เทีย่ วละหกตัวแข่งขันกัน จ๊อกกีท้ งั้ หลายต้อง ถ่วงน�้ำหนักด้วยอิฐมอญห่อผ้าผูกไว้ที่เอว กีฬาแข่งม้าวันนั้นเปิดโอกาส ให้ขุนนางและข้าราชการชั้นสูงมีโอกาสแทงโต๊ดขึ้นครั้งแรกด้วย สนามม้าฝรัง่ จึงถือก�ำเนิดขึน้ โดยค�ำกราบทูลขอพระบรมราชานุญาตของมองสิเออร์โอลารอฟสกี และกรรมการฝ่ายไทยอีกหลายนาม เพื่อเป็นสถานที่บ�ำรุงพันธุ์ม้าและเล่นกีฬาต่างๆ เช่น กอล์ฟ โปโล ฟุตบอล เทนนิส ฮอกกี้ คริกเก็ต ใช้ส�ำหรับหย่อนใจบนถนนอังรีดูนังต์ เดิมเรียกชื่อว่า รอแยลสปอร์ตคลับ เวลาล่วงมาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยว่า ราชกรีฑาสโมสรกรุงเทพฯ ย้อนกลับไปเมื่อครั้งเจ้าฟ้าวชิราวุธแห่งสยามเสด็จข้ามโพ้นน�้ำ ครึง่ โลกตามประสงค์พระราชบิดาไปศึกษาวิชาทหารทีโ่ รงเรียนนายร้อย แซนเฮิร์ส ตอนใต้ของสหราชอาณาจักร ไม่ไกลจากที่ประทับคือแถบ เมืองเอสคอร์ท ดินแดนที่ดอยและภูปูด้วยทุ่งหญ้าขจีสุดตา ภูมิล�ำเนา ของโคตรวงศ์มา้ ชัน้ ดี ความคลัง่ ไคล้กฬี าแข่งม้าชิงถ้วยพระราชทานถือ ก�ำเนิดทีน่ ี่ สันนิษฐานว่ามกุฎราชกุมารสยามเพาะบ่มพระราชนิยมชืน่ ชม ความศิวิไลซ์ในกีฬาม้านับเนื่องในช่วงนี้ พุทธศักราช ๒๔๕๑ พระบรมรูปทรงม้าได้รับการสถาปนาขึ้น หน้าพระทีน่ งั่ อนันตสมาคม คนไทยเฉลิมฉลองสิรริ าชสมบัตอิ นั ยาวนาน ของพระมหากษัตริยท์ รี่ กั ยิง่ ณ ใจกลางใหม่ของกรุงเทพฯ ก่อนทีส่ มเด็จ พระปิยมหาราชจะเสด็จสูแ่ ดนฟ้า ไม่หา่ งปีจากนัน้ กรุงเทพฯ ก้าวสูแ่ ผ่น ดินที่ ๖ โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๖
| 35
ต่อมากิจการสนามม้าฝรั่งเกิดปัญหาขัดแย้งภายในเรื่องเงิน กรรมการชาวไทยเสียงข้างน้อยดังไม่พอกลบเสียงชาวฝรั่งข้างมากใน สโมสร พระยาประดิพัทธภูบาล (คอยู่เหล ณ ระนอง) และพระยาอรรถการประสิทธิ์ (วิลเลียม อัลเฟรด) ท�ำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย รัชกาลที ่ ๖ ขอตัง้ สนามม้าขึน้ ใหม่ยา่ นนางเลิง้ ใกล้กบั ตึกไทยคูฟ่ า้ (เดิม เป็นบ้านของเจ้าพระยารามราฆพ หรือ ม.ล. เฟือ้ พึง่ บุญ) และชิดกับวัด เบญจมบพิตร พระองค์โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ ราชตฤณมัย แปล ว่า อันเต็มไปด้วยหญ้า เป็นมงคลนามแก่สนามสืบมา พระองค์เสด็จฯ เป็นประธานเปิดกิจการสนามม้านางเลิ้งเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๕๙ และทรงส่งม้าในคอกส่วนพระองค์ลงแข่งขันด้วย โดยจ๊อกกี้จะสวมเสื้อสีนำ�้ เงินมียันต์ขาว เครื่องระลึกถึงพระราชนิยมใน กีฬาแข่งม้าของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เห็นได้จากรูปสลักม้าไม้สีขาว บริเวณที่ทำ� การสโมสรสนามม้านางเลิ้ง ประวัติศาสตร์ประหยัดถ้อยค�ำ ไว้บนป้ายจารึกว่า--พระตุรงคนุสรณ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร. ๖ ทรงได้โปรดยิง่ เมือ่ สิน้ ชีวติ ลงแล้วทรงอาลัยอาวรณ์นกั จึงโปรดเกล้าฯ ให้ช่างสร้างขึ้นด้วยไม้สักทั้งตัว . . . . . นอกจากนั้นสนามม้านางเลิ้งยังเคยเป็นที่ทำ� การของกรมอัศวราช หน่วยราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าทีด่ แู ลการเพาะพันธุแ์ ละฝึก ม้าต้นและม้าเทียมรถประกอบพระราชพิธีส�ำคัญด้วย ทว่าบัดนี้เหลือไว้ ดุรงค์
ดุรงค์ ภาษาบาลีว่า ตุรงฺค มาจาก ตุร แปลว่า “เร็ว” กับ ค มาจากราก ศัพท์ (ธาตุ) คมฺ แปลว่า “ไป” มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า “ไปอย่าง รวดเร็ว” หมายถึง “ม้า” ปรากฏในค�ำ ดุรงค์ เป็นศัพท์วรรณคดี
36 | บางสิ่งที่ชีวิตต้องการ
ในรอยจ�ำบนหน้าสารานุกรมเท่านั้น กว่าร้อยปีจนถึงนาทีนี้ สนามทั้งสองยังคงเปิดต้อนรับผู้มีอันจะ กินและผู้อยากจะมีเหลือกิน ประตูแต่ละช่องท�ำหน้าที่ตามเดิม มีเพียงแววหน้าและจ�ำนวน ผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลนิยม สนามม้าเวลาเย็น ผู้คนเดินออกมาทั้งหงุดหงิดและยิ้มแย้ม สัจธรรมแห่งไตรลักษณ์วันอาทิตย์ที่หลายคนกลับมาเรียนรู้ซ�้ำแล้วซ�้ำ เล่า --บ่ายถึงค�ำ ่ - หนุ่มจนแก่ -เศษตัว๋ พนัน - นิยามผูแ้ พ้ -- ถูกทิง้ ให้ปลิวว่อน หลักฐานการ ชมมหรสพอัศวกรีฑา มันไม่ใช่หางบัตรชมคอนเสิรต์ หรือภาพยนตร์อมิ่ ใจ สามีบางคนนอกจากกลัวคนที่บ้านรู้ พวกเขาไม่อยากพาความรู้สึกบาง อย่างกลับไป
พระตุรงคนุสรณ์ โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๖
| 37
ที่เห็นและเป็นอยู่ สิงห์สนามม้ามองสถานทีซ่ งึ่ ตนผูกพันมาแต่วยั หนุม่ ต่างอัดอัน้ ด้วยความ เห็นทีอ่ ยากจะจุดแสงสว่างกลางความมืดให้วงการม้าแข่งไทยกลับมายิง่ ใหญ่อกี ครัง้ ๒๕๕๓ : ช่วงสมัยทีห่ ลายคนมองว่านีค่ อื ขาลงจากประวัต-ิ ศาสตร์สนามม้าที่พวกเขาจ�ำ “กฎหมายต้องเด็ดขาด กรรมการไร้ญาติและเพื่อนฝูง” “เพิ่มโฆษณาว่าเป็นกีฬาสนุกเพราะม้าบุกเต็มที่ไม่มีดึง” “เงินรางวัลต้องยัว่ ใจจนเจ้าของม้าไม่สนใจเงินจากกระเป๋าอืน่ ” “ปรับปรุงสนามให้สะอาด ติดแอร์ให้ทันสมัย คนรุ่นใหม่จะได้ เข้ามาค้นหา” “ประชาสัมพันธ์เป็นทางการเกี่ยวกับข้อมูลม้าและจ๊อกกี้อย่าง ทั่วถึง” “ขยายทีจ่ อดรถและช่องขายตัว๋ รองรับการขยายตัวของสมาชิก” “สนามต้องปรับกลยุทธ์ มีทนุ ส�ำรอง กล้าเข้าตลาดหุน้ หรือเป็น เจ้าของคอกม้าเสียเอง เพื่อเป็นทางเลือกที่ไร้ขั้ว” “ทีบ่ อกเพราะหวังดี มาเล่นกีท่ กี เ็ สียให้ทนี่ ตี่ ลอด แต่กย็ งั ได้สนุก และพักผ่อนกลายเป็นความผูกพันไปแล้ว” และอีกหลาย “................” ที่ข้าพเจ้าไม่ได้เข้าไปไถ่ถาม และ ไม่มีความเห็นสุดท้าย หรือทางออกที่ดีที่สุด หากเสียงของผูใ้ ช้บริการทัง้ หลายแพร่กระจายไปไม่ถงึ บุคคลอัน พึงได้ยิน
38 | บางสิ่งที่ชีวิตต้องการ
องก์ ๒. ม. ม้าศึกษา อาชาบัณฑิต เคล็ดลับวิชา : จ๊อกกี้
ลองจินตนาการตัวคุณอยูใ่ นท่ากึง่ ยืนกึง่ นัง่ เท้ายันโกลนทีถ่ กู ดึงให้สงู กว่า ปกติ พยุงตัวอยู่เหนือจักรกลหุ้มหนัง ทว่าอ่อนไหวต่อสัมผัสและมีจิตใจ พยศยิ่งกว่าเชื่อง สตรีแสนงอนอาจเอาใจด้วยดอกไม้และค�ำยอ แต่ ส�ำหรับม้าที่มีเพียงบังเหียน ส้นเท้า และแส้ คุณจะชนะใจมันอย่างไร ? อากาศกระแทกหน้าด้วยความเร็วลม ๖๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง อาการชาเกร็งเกาะกุมน่องลามรุกถึงต้นขา ศีรษะโน้มให้แนบกับแนว ระนาบที่สุดเพื่อลดแรงต้าน จุดศูนย์ถ่วงของร่างย้ายไปอยู่บริเวณเข่าที่ พุ่งไปด้านหน้า บั้นท้ายยกสูง กดบ่าและไหล่ต�่ำ พยายามลอยตัวอยู่ใน อากาศไม่อาจทิ้งน�้ำหนักลงเพียงเพราะอาจไปเพิ่มภาระม้า นี่ไม่ใช่เพียงวิธีขี่ม้าที่เป็นศาสตร์แห่งทักษะ แต่เป็นศิลปะแห่ง การหลอมรวมด้วย กล่าวให้โก้หรูฟงั ดูดงั่ วิถซี ามูไร--สภาวะการประสานภายนอก และภายใน--เฉกปรมาจารย์มูซาชิถอดหัวใจวางเอาไว้ที่ปลายดาบ
ฮอร์สทอรี่ นักโบราณคดีย้อนเวลากลับไปสืบหาต้นตระกูลม้าจากฟอสซิลแล้วก็พบ Hyracotherium ... ข้าพเจ้ามิกล้าออกเสียงส�ำเนียงกรีกในค�ำนี้ แต่มีหลักฐานชี้ชัด ว่ากระดูกท่าน Hyracotherium นี้มีรูปกายสูงเพียงฟุต ค�ำนี้เป็นแขนง ศัพท์จากราก Hyrax (สัตว์โบราณหน้าตาคล้าย “ตุน่ ” หรือ “กระต่าย”) ซึง่ อาศัยบนโลกเมือ่ กว่า ๕๕ ล้านปีมาแล้ว ก่อนจะมีรา่ งกายสูงปราด ๕๐ โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๖
| 39
ผลงานสร้างสรรค์ของนักเขียนและช่างภาพ “คลื่นลูกใหม่” โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๖
“งานเขียนนั้นแม้จะสอนหรือแต่งตั้งให้เป็นกันไม่ได้ แต่การได้ค�ำ แนะนำ� ชี้ช่องทาง แลกเปลี่ยนเรียน รู้ร่วมกันนั้น ช่วยให้นักเขียนใหม่เดินทางได้เร็วขึ้น ไม่ตอ้ งเสียเวลากับการลองผิดลองถูกกับสิ่งที่ แน่นอนตายตัวอยู่แล้ว” ครูวี – วีระศักร จันทร์ส่งแสง
บางสิ่งที่ชีวิตต้องการ
“หากเป็นไร่ปลูกสร้างฝัน นี่คือดอกไม้ดอกไร่พันธุ์ใหม่ ในบรรยากาศที่สดชื่นหมาด ๆ ของฝนแรก ต้นฤดู พวกเขาคือความหวังของวันพรุ่งนี้ เช่นเดียวกับรุ่นพี่ปีก่อน ๆ จำ�นวนหนึ่งที่ได้ก้าวเดินไป ในเส้นทางสายสื่อ และสายสารคดีที่เริ่มสร้างสมประสบการณ์บนเส้นทางของตนเองอย่างมุ่งมั่น จริงจัง” ครูอรสม สุทธิสาคร
หมวดสารคดี ราคา ๒๐๐ บาท
หลายชีวิต-ต่างเส้นทาง-หลากความฝัน
สนับสนุนโดย
ISBN 978-974-484-340-1
๒๐๐.-