ประมวลภาพพระปิยมหาราช เอนก นาวิกมูล
ISBN 978-974-7727-72-2 หมวดประวัติศาสตร์
ประมวลภาพพระปิยมหาราช ราคา ๔๕๐ บาท
ประมวลภาพพระปิยมหาราช CHULALONGKORN THE GREAT Pictures of Thailand’s Beloved King ที่ระลึกเนื่องในวาระครบ ๑๐๐ ปี (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๕๕๓) แห่งการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เอนก นาวิกมูล ANAKE NAWIGAMUNE
ISBN
978-974-7727-72-2
หนังสือ ประมวลภาพพระปิยมหาราช ผู้เขียน เอนก นาวิกมูล พิมพ์ครั้งที่ ๔ ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ กรกฎาคม ๒๕๕๕ พิมพ์ครั้งที่ ๓ บริษัท ๒๐๒๐ เวิลด์มีเดีย จ�ำกัด ๒๕๔๑ พิมพ์ครั้งที่ ๒ ส�ำนักพิมพ์แสงแดด สิงหาคม ๒๕๓๖ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ส�ำนักพิมพ์แสงแดด ธันวาคม ๒๕๓๒ จ�ำนวนพิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ราคา ๔๕๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด บรรณาธิการเล่ม พิสูจน์อักษร บรรณาธิการศิลปะ ออกแบบ/จัดรูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลท พิมพ์ที่ จัดจ�ำหน่าย
I
2 2
เอนก นาวิกมูล • ประมวลภาพพระปิยมหาราช
อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ วรินวิตตา ดารามาตร์ จ�ำนงค์ ศรีนวล เจียมจิตร ความสุข ธนา วาสิกศิริ เอ็นอาร์. ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐-๖ บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ เอนก นาวิกมูล. ประมวลภาพพระปิยมหาราช.--กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ ๒๕๕๕. ๒๔๘ หน้า. ๑. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, ๒๓๙๖-๒๔๕๓. ๒. ไทย--ประวัติศาสตร์--กรุงรัตนโกสินทร์--รัชกาลที ่ ๕. I. ชื่อเรื่อง. ๙๒๓.๑๕๙๓ ISBN 978-974-7727-72-2
ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด) ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัต)ิ โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ทีป่ รึกษา ศรีศกั ร วัลลิโภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผู้อำ� นวยการ สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำ� นวยการ ฝ่ายศิลป์ จ�ำนงค์ ศรีนวล ผูอ้ ำ� นวยการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ ปฏิมา หนูไชยะ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์
เมื่อครั้งที่หนังสือ ประมวลภาพพระปิยมหาราช ของคุณเอนก นาวิกมูล เล่มนี้ได้รับการจัดพิมพ์ ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ นับว่าเป็นหนังสือที่ได้รับความสนใจมาก เพราะเป็นการรวบรวมพระบรม ฉายาลักษณ์และพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้สมบูรณ์ ที่สุดเท่าที่เคยปรากฏในช่วงเวลานั้น ผ่านมา ๒๓ ปี แม้ว่าพระบรมฉายาลักษณ์และพระบรม ฉายาสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ ๕ ในหนังสือเล่มนี้จะได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน แต่สาระส�ำคัญหนังสือเล่มนี้อันแสดงถึงความอุตสาหะควบคู่กับการรวบรวมภาพของผู้เขียนก็คือ การ “อ่าน” ภาพ ที่ผู้เขียนได้เปรียบเทียบข้อมูลทั้งจากเอกสารชั้นต้น เอกสารชั้นรอง รวมถึงจาก ภาพถ่ายหรือภาพวาดในลักษณะเดียวกันหรือช่วงเวลาเดียวกัน ผนวกกับการสังเกตรายละเอียดใน ภาพอันเป็นคุณลักษณะเด่นของผู้เขียน เกิดเป็นค�ำอธิบายภาพที่ให้สาระความรู้อย่างน่าสนใจ และ ท�ำให้หนังสือเล่มนี้ยังคงคุณค่าจวบจนปัจจุบัน ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ซึ่งนับเป็นครั้งที่ ๔ ของหนังสือเล่มนี้ ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณได้ ปรับปรุงการออกแบบรูปเล่ม การจัดวางภาพ การจัดการภาพต้นฉบับ และระบบการพิมพ์ เพื่อให้ ประมวลภาพพระปิยมหาราช เป็นหนังสืออีกเล่มที่ท่านผู้อ่านพึงมีไว้ประจ�ำชั้นหนังสือที่บ้าน ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ กรกฎาคม ๒๕๕๕ CHULALONGKORN THE GREAT Pictures of Thailand's Beloved King • ANAKE NAWIGAMUNE
3 I 3
I
4 4
เอนก นาวิกมูล • ประมวลภาพพระปิยมหาราช
สารบัญ ๓
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์
๕
ค�ำน�ำผู้เขียน (ในการพิมพ์ครั้งที่ ๔)
๖
จากผู้เขียน (ในการพิมพ์ครั้งแรก)
๙
Introduction
๑๐
ค�ำน�ำผู้เขียน (ในการพิมพ์ครั้งที่ ๒ และ ๓)
๑๔
พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจส�ำคัญ
๒๕
ประมวลภาพพระปิยมหาราช
๑๖๕
อธิบายภาพ
๒๓๗
แหล่งที่มาของภาพที่น�ำมาใช้
ค�ำน�ำจากผู้เขียน (ในการพิมพ์ครั้งที่ ๔)
เอนก นาวิกมูล บ้านพิพิธภัณฑ์ โทร. ๐๘๙-๒๐๐-๒๘๐๓ วันศุกร์ท ี่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
CHULALONGKORN THE GREAT Pictures of Thailand's Beloved King • ANAKE NAWIGAMUNE
เมือ่ พ.ศ. ๒๕๕๔ คุณจ�ำนงค์ ศรีนวล ผูจ้ ดั การทัว่ ไป บริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด โทรศัพท์มาปรารภว่า อยากจะพิมพ์หนังสือ ประมวลภาพพระปิยมหาราช อีกครั้งหนึ่ง เพราะเห็นว่าเป็นหนังสือที่น่าสนใจ แต่จะปรับการวางรูปให้ต่างไปจากเดิมบ้างซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องกระท�ำ ผู้เขียนเชื่อในฝีมอื ของคุณจ�ำนงค์ และคณะท�ำงาน เพราะส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณได้พสิ จู น์ ตนเองด้วยผลงานทีม่ คี ณุ ภาพมาตลอด ทัง้ ในด้านเนือ้ หาและภาพ จึงตอบตกลงโดยไม่มเี งือ่ นไข เพียง แต่ออกตัวว่า สมัย ๒๐ กว่าปีก่อน คือยุค ๒๕๓๐ และก่อนหน้านั้น การหาพระบรมฉายาลักษณ์ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะมีแหล่งภาพน้อย จ�ำเป็นต้องใช้หอจดหมายเหตุแห่งชาติเป็นหลัก รองลงมาคือหนังสือเก่าที่พอมีอยู่บ้างในห้องสมุด ส่วนตัว แต่คุณภาพรูปยังไม่ถึงระดับดี ๑ ส่วนภาพที่มีในมือของเพื่อนนักสะสมทั้งที่รู้จกั และไม่รู้จัก ผู้เขียนไม่ค่อยกล้ารบกวน เพราะเขาต้องซื้อหามาด้วยราคาแพง และอาจไม่ต้องการเผยแพร่ก็ได้ ดังนี้พระบรมฉายาลักษณ์ที่น�ำมาตีพิมพ์จึงอาจมีทั้งที่คมชัดมากและคมชัดไม่มาก ที่ต้อง ยอมคละ ๆ กันไปบ้างก็เพราะต้องการช�ำระปีฉายพระบรมรูปเรียงตามล�ำดับพระชนมายุเป็นส�ำคัญ บางภาพแม้จะสวยจริง แต่หากอ่านปีไม่ออกก็จำ� เป็นต้องตัดทิง้ ค่อยน�ำไปประมวลกันในทีอ่ นื่ อีกต่อไป หนังสือ ประมวลภาพพระปิยมหาราช เคยพิมพ์มาแล้ว ๓ ครัง้ เริม่ จากฉบับพิมพ์ครัง้ แรก (ปกแข็งพื้นสีแดง) เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ โดยส�ำนักพิมพ์แสงแดด ของคุณนิดดา หงษ์วิวัฒน์ ครัง้ ที ่ ๒ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยส�ำนักพิมพ์แสงแดด (ปกอ่อน พืน้ สีเขียว) ครัง้ ที ่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๑ โดย บริษทั ๒๐๒๐ เวิลด์มเี ดีย จ�ำกัด (ปกอ่อน พืน้ สีเขียวอมน�ำ้ เงิน เปลีย่ นพระบรมฉายาลักษณ์ เป็นภาพรัชกาลที ่ ๕ ประทับทีโ่ ต๊ะ พระหัตถ์กำ� ลังจับเอกสาร เนือ้ ในเหมือนฉบับพิมพ์ครัง้ ที ่ ๒) ครั้งนี้จึงถือเป็นการพิมพ์ครั้งที่ ๔ ในการพิมพ์ครั้งใหม่ ทางส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณขอให้จัดหาภาพต้นฉบับทั้งหมดไปสแกน ใหม่อย่างประณีต ผูเ้ ขียนได้พยายามรือ้ ค้นทัง้ ภาพอัดจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หนังสือเก่า และ ฟิลม์ ทีก่ ระจัดกระจายอยูต่ ามทีต่ า่ ง ๆ มาได้เกือบหมด คงขาดบ้างก็เพียงเล็กน้อยซึง่ เป็นการสุดวิสยั เนือ่ งจากระหว่างท�ำงานสารพัดอย่างได้ยกย้ายข้าวของอยูต่ ลอดเวลา แม้แต่สไลด์สมเด็จพระนางเจ้า สว่างวัฒนาฯ ทีอ่ ตุ ส่าห์หาจนพบแล้ว หรือภาพรัชกาลที ่ ๕ ทรงเปิดการแสดงกสิกรรมฯ ซึง่ อยูใ่ นหนังสือ ทีห่ ยิบใช้งา่ ยบ่อย ๆ เผลอหน่อยก็กลับปะปนไปกับของอืน่ เสียได้ ถ้าจะหาให้ครบหมดจริง ๆ ก็ชกั ช้า ไม่ทนั การ จึงจ�ำเป็นต้องปล่อยเลยตามเลย คือสแกนจากหนังสือประมวลภาพพระปิยมหาราช อีกครัง้ ขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ขอบคุณคุณจ�ำนงค์ ศรีนวล, คุณอภิวนั ทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ และคณะท�ำงานทุกคน ทีช่ ว่ ยรือ้ ฟืน้ การพิมพ์หนังสือ ประมวล ภาพพระปิยมหาราช ขึ้นมาใหม่ หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นพื้นฐานในการศึกษาพระราชประวัติใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เราเคารพบูชาและมีผู้ค้นคว้าหาข้อมูลใหม่มาเพิ่มเติม อีกบ้าง
5 I 5
พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจส�ำคัญ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น ๘๒ พระองค์ เฉพาะที่ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีนั้นมี ๔ พระองค์คือ ๑. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ซึ่งต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นโอรสองค์ที่ ๙ ๒. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล โสภณภควดี (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑลฯ กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์) มีพระชันษาเพียง ๙ ปี ๓. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจาตุรนต์รศั มี (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รศั มี กรมพระจักรพรรดิพงศ์) ต้นสกุล จักรพันธุ์ ๔. สมเด็จเจ้าฟ้าชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ (จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช) ต้นสกุล ภาณุพันธุ์ หนังสือทีจ่ ะให้รายละเอียดมากกว่านีค้ อื หนังสือ ราชสกุลวงศ์ ซึง่ พิมพ์ไม่ตำ�่ กว่า ๙ ครัง้ แล้ว ต่อไปนี้จะกล่าวแต่พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์เดียว
I
14 14
เอนก นาวิกมูล • ประมวลภาพพระปิยมหาราช
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จพระราชสมภพ เมือ่ วันอังคาร เดือน ๑๐ แรม ๓ ค�ำ ่ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. ๑๒๑๕ ตรงกับวันอังคารที ่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงสถาปนาเป็น กรมหมืน่ พิฆเณศวรสุรสังกาศ เมือ่ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ ต่อ มาเลื่อนเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงก�ำกับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัต ิ และกรมทหารบกวังหน้า แล้วเสด็จขึน้ ครองราชสมบัตแิ ทนสมเด็จพระราชบิดาซึ่งประชวรสวรรคตด้วยโรคไข้ป่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ พระองค์ทรงครองราชย์เป็นเวลายาวนานถึง ๔๒ ปี อันนับได้ว่ายั่งยืนยิ่งกว่าบรรดาพระ มหากษัตริย์ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารแต่ก่อนมาทุกพระองค์ และได้ทรงพัฒนาสยามประเทศ ให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศทุกวิถีทาง ไม่ว่าด้านการปกครอง การศึกษา การศาล การ สาธารณูปโภค การต่างประเทศ และเศรษฐกิจ พระองค์ทรงเป็นทีร่ กั ของพสกนิกร เนือ่ งจากทรงเอา พระทัยใส่ในความเป็นอยูข่ องประชาราษฎร์ดว้ ยการเสด็จออกไปตรวจราชการและประพาสต้น พบปะ กับราษฎร ข้าราชการเสมอ ๆ นอกจากนัน้ ยังได้เสด็จไปต่างประเทศหลายคราวนับแต่ตน้ รัชกาลคือ สิงคโปร์ ชวา พม่า อินเดีย ตลอดจนถึงยุโรปหลายประเทศ เฉพาะกรณีเสด็จยุโรป ๒ คราว เมือ่ พ.ศ. ๒๔๔๐ และ ๒๔๕๐ นั้น มีผลดียิ่งต่อประเทศไทยทั้งทางการทูตและการเมือง กล่าวคือ ท�ำให้ ประเทศไทยได้เป็นทีร่ จู้ กั ยอมรับของนานาประเทศ ท�ำให้ความตึงเครียดกรณีพพิ าทชายแดนระหว่าง ไทยกับฝรั่งเศสผ่อนหนักเป็นเบาลง และท�ำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและยุโรปแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เป็นการถ่วงดุลทางการเมืองอันลึกซึ้งแยบยลยิ่ง พระปรีชาสามารถอีกข้อหนึ่งที่ควรกล่าวไว้ในเบื้องต้นคือ ด้านวรรณกรรม ด้วยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นทั้งกวีและนักประพันธ์ที่มีความรู้พิสดารยิ่งนัก ทรงมีความ สามารถแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน บทละคร และร้อยแก้วเรื่องต่าง ๆ ทั้งด้านประวัติศาสตร์ ประเพณี และอื่น ๆ พระราชนิพนธ์ของพระองค์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองมีประมาณไม่ต�่ำกว่า ๓๐ เรื่อง บางเรื่องมีความหนาเกือบ ๕๐๐ หน้า แม้จะต้องทรงบริหารราชการแผ่นดินและด�ำเนินรัฐ-
๑
๒
๑ ณ โต๊ะทรงพระอักษร ภาพขนาดแคบบิเนตโดยช่างภาพทีช่ อื่ เฮนรี ชูเรน (ทราบจากตราร้านหลังภาพ) จากการเปรียบเทียบ กับภาพอื่นเข้าใจว่าภาพนี้จะทรงฉายเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๗ • ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ภอ.๐๐๑ หวญ ๒๐-๗๔ 1 King Chulalongkorn at his desk. A cabinetsized photograph taken by Henry Schuren around 1874. • National Archives
ประศาสนศาสตร์ วางนโยบายของประเทศตลอดระยะเวลาทีท่ รงครองราชย์ แต่เป็นทีน่ า่ ประหลาดใจ ว่าพระองค์ทรงมีพระวิรยิ ะอุตสาหะเสียจริง ๆ ยากทีจ่ ะหาพระมหากษัตริยอ์ งค์ใดเทียบเทียมได้ ด้วย เหตุฉะนี้จึงเป็นการสมควรแล้วที่ประชาราษฎร์ทั้งประเทศได้พร้อมใจกันสร้างพระบรมรูปทรงม้าอัน สง่าผ่าเผยน้อมเกล้าฯ ถวาย พร้อมด้วยการเฉลิมพระบรมนามาภิไธยเป็นพิเศษว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” แปลว่า พระราชาอันเป็นที่รักยิ่งแห่งราษฎร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงท�ำพิธีเปิดพระบรมรูปทรงม้านี้ในขณะที่จัด พระราชพิธรี ชั มังคลาภิเษก วันที ่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ ถ้าหากทุกท่านไปยืนเพ่งพิศค�ำจารึก ที่ฐานด้านหน้าก็จะพบค�ำว่า “ปิยมหาราช” นี้ปรากฏอยู่เป็นหลักฐาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระโอรสธิดารวมทั้งสิ้น ๗๗ พระองค์ เฉพาะอัครมเหสีที่ส�ำคัญ ได้แก่
CHULALONGKORN THE GREAT Pictures of Thailand's Beloved King • ANAKE NAWIGAMUNE
๒ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวี (ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๓ สิ้นพระชนม์ เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๓ พระชนมายุ ๒๐ พรรษา) • ภาพจากหนังสือ วิวัฒนาการการแต่งกายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ หน้า ๔๖. 2 Queen Sunanda Kumariratana, born on Saturday, November 10, 1860, and died in a boating accident at the age of 20 on Monday, May 31, 1880. • The Evolution of Thai Costumes during the Rattanakosin Period, p. 46.
15 I 15
๓
๔
๓ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี (ประสูตเิ มือ่ วันพุธที ่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๕ สิน้ พระชนม์เมือ่ วันที ่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ พระชนมายุ ๙๓ พรรษา) • ภาพขนาดแคบบิเนต จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ภอ.๐๐๑ หวญ ๒๙-๑๐๐ 3 Queen Sawang Wathana, born on Wednesday, September 10, 1863, and died at the age of 93 on December 17, 1955. • National Archives
I
16 16
เอนก นาวิกมูล • ประมวลภาพพระปิยมหาราช
๔ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๖ สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ พระชนมายุ ๕๖ พรรษา) • ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ 4 Queen Sri Bacharindra, born on Friday, January 1, 1863, and died at the age of 56 on Monday, October 20, 1919. • National Archives
๑. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวี (อัครมเหสีองค์แรก) หรือสมเด็จ พระนางเรือล่ม สิน้ พระชนม์เพราะเรือล่มพร้อมพระราชธิดาเมือ่ วันที ่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ มีพระชนมายุเพียง ๒๐ พรรษา ๒. สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี (อัครมเหสีองค์ที่ ๒) คือสมเด็จย่าใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ภายหลังได้เลื่อนพระยศเป็นสมเด็จ พระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ มีพระชนมายุ ๙๓ พรรษา ๓. สมเด็จพระศรีพชั รินทราบรมราชินนี าถ ได้เคยทรงด�ำรงต�ำแหน่งส�ำคัญคือ เป็นผูส้ ำ� เร็จ ราชการแทนพระองค์เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงเป็นพระราชชนนี
ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ มีพระชนมายุ ๕๖ พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตด้วยทรงประชวรพระวักกะ (ไต) พิการ ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ รวมพระชนมายุ ๕๗ พรรษา ผลงานอันยิ่งใหญ่ พระรูป โฉมอันงามสง่าและความเป็นอัจฉริยะของพระองค์ในแทบทุกด้านยังคงประทับใจชาวไทยมาจนถึงทุก วันนี้ จนอาจถือได้ว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของไทยนับแต่โบราณมา
พระราชกรณียกิจที่ส�ำคัญ
CHULALONGKORN THE GREAT Pictures of Thailand's Beloved King • ANAKE NAWIGAMUNE
ในทีน่ จี้ ะขอกล่าวถึงพระราชกรณียกิจส�ำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั โดยสังเขป ด้านการปกครอง ด้วยเหตุทรี่ ชั กาลที ่ ๕ ทรงได้รบั ราชสมบัตติ งั้ แต่ครัง้ ยังทรงพระเยาว์ คือ มีพระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา จึงต้องมีผู้ส�ำเร็จราชการแทนพระองค์รับภาระดูแลการปกครอง โดยระหว่างนั้นให้ พระองค์ได้ทรงศึกษาราชกิจต่าง ๆ ไปจนกว่าพระชนมายุ ๒๐ พรรษา ผู้ส�ำเร็จราชการคือ สมเด็จ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงหมดหน้าที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับผิดชอบในราชการบ้านเมืองโดยเด็ดขาด หลังจากพระบรมราชพิธีราชาภิเษก ครั้งที ่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๖ เพือ่ ให้สอดคล้องกับความเป็นไปของโลก และโดยทีท่ รงตระหนักถึงภยันตรายของลัทธิแสวง หาอาณานิคมของมหาอ�ำนาจตะวันตกที่ก�ำลังแผ่อ�ำนาจเข้ามาในเวลานั้น พระองค์ได้ทรงพยายาม ปรับปรุงระบบการปกครองให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และทรง กวดขันบริหารราชการแผ่นดินอย่างเอาพระทัยใส่ตลอดเวลา ครั้งนั้นจึงเกิดการปฏิรูประเบียบวิธี ปกครองให้ทันสมัยหลายอย่างขึ้น เช่น (๑) โปรดให้ตั้งสภาแผ่นดิน ๒ สภา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๗ คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) มีหน้าทีถ่ วายค�ำปรึกษาและความคิดเห็นต่าง ๆ งานส�ำคัญยิง่ ของสภานีค้ อื การ ประชุมปรึกษาเรือ่ งการเลิกทาส การจัดเก็บภาษีอากร เป็นต้น อีกสภาหนึง่ คือ สภาองคมนตรี (Privy Council) ท�ำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาราชการส่วนพระองค์และปฏิบัติราชการต่าง ๆ ตามพระราชด�ำริ (๒) โปรดให้จัดตั้งกระทรวงขึ้น ๑๒ กระทรวง เมื่อวันที ่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๕ เพื่อให้ การบริหารราชการส่วนกลางสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศและจ�ำนวนพลเมืองทีเ่ พิม่ มากขึน้ ขณะ เดียวกันก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยุบเลิกต�ำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ที่เคยปฏิบัติกัน มาช้านานเสีย (๓) ทรงปฏิรปู ราชการส่วนภูมภิ าค คือ ยกเลิกการจัดเมืองเป็นชัน้ เอก โท ตรี จัตวา เปลีย่ น เป็นการปกครองแบบเทศาภิบาล คือรวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าเป็นมณฑลหนึ่ง ทั้งนี้ก็เพื่อขจัดข้อ บกพร่องระบบ “กินเมือง” ที่เปิดโอกาสให้เจ้าเมืองแสวงหาผลประโยชน์เข้าตัวเสีย (๔) ทรงปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลให้ทันสมัยและขจัดสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ที่ไทยต้องเสียเปรียบแก่ชาวต่างชาติโดยปรับปรุงระเบียบการศาลให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร มีกระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบอย่างแท้จริง โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจช�ำระ และร่างกฎหมายขึ้น และเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้ทรงประกาศใช้กฎหมายลักษณะ อาญาซึง่ ถือเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย ทรงจัดตัง้ โรงเรียนกฎหมายเพือ่ ผลิตนักกฎหมาย ให้พอแก่ความต้องการ เหล่านี้ทำ� ให้การพิจารณาคดีและการลงโทษแบบเก่าหมดไป (๕) โปรดเกล้าฯ ให้เลิกทาสอันเป็นเครื่องถ่วงความเจริญของประเทศ โดยเริ่มด�ำเนินการ
17 I 17
I
24 24
เอนก นาวิกมูล • ประมวลภาพพระปิยมหาราช
King Chulalongkorn’s Biography in Brief King Rama IV, or King Mongkut of Siam, had 82 children altogether. Prince Chulalongkorn, who later became King Rama V, or King Chulalongkorn, was the ninth son but was the first of the five children born of Queen Debsirindra. He was born on Tuesday, September 20, 1853, and ascended the throne after his father’s death from malaria on Thursday, October 1, 1878. King Chulalongkorn reigned for 42 Years, the longest reign in Siamese history to that time, during which he did a great deal for his country and people in every possible area, be it government, education, jurisprudence, public health, foreign affairs, or economy. The King was well-loved by the people, for he really did his best for them. He often went out from the capital to visit his people both officially and unofficially. He took several trips abroad to learn about other nations so as to gain recognition for Siam and to gain useful information and knowledge for developing his country. The abolition of slavery was one important result of the King’s learning about other civilized countries, especially those in Europe. King Chulalongkorn was also outstanding in the field of literature. He was skilful both in prose and verse. He wrote no less than 30 books some of which are very long. His literary works include poetry, drama and cultural and historical essays. It is astonishing how a king could make so much accomplishment. The statue of King Chulalongkorn in front of Ananta Samakhom Hall on Ratchadamneon Avenue is a symbol of Siamese people’s love for this king. Not only was he designated as the Great (Maharat, or Maha Raja) but he was also called Phra Piya meaning the beloved monarch. In accord with the tradition, King Chulalongkorn had a number of wives who bore to him 77 children. However, only some of his wives were elevated to the status of queen among whom the most important were: Sunanda Kumariratana, Sawang Wathana, and Sri Bacharindra. At he age of 57, King Chulalongkorn died of kidney disease. October 23, 1910, marked a momentous event in Thailand’s long history, for it was on that Phra Piya Maharat passed away. And, every year on this date, Thai people hold a grand commemorative ceremony at his statue so that it is known to the world that the King’s great deeds are still remembered.
ประมวลภาพพระปิยมหาราช
CHULALONGKORN THE GREAT Pictures of Thailand's Beloved King • ANAKE NAWIGAMUNE
25 I 25
I
26 26
เอนก นาวิกมูล • ประมวลภาพพระปิยมหาราช
๑
CHULALONGKORN THE GREAT Pictures of Thailand's Beloved King • ANAKE NAWIGAMUNE
๒
27 I 27
I
28 28
เอนก นาวิกมูล • ประมวลภาพพระปิยมหาราช
๓
๔
CHULALONGKORN THE GREAT Pictures of Thailand's Beloved King • ANAKE NAWIGAMUNE
๕
29 I 29
I
54 54
เอนก นาวิกมูล • ประมวลภาพพระปิยมหาราช
๔๓
๔๔
CHULALONGKORN THE GREAT Pictures of Thailand's Beloved King • ANAKE NAWIGAMUNE
๔๕
55 I 55
I
60 60
เอนก นาวิกมูล • ประมวลภาพพระปิยมหาราช
๕๑
๕๒
๕๓
61 I 61
๕๕
CHULALONGKORN THE GREAT Pictures of Thailand's Beloved King • ANAKE NAWIGAMUNE
๕๔
I
70 70
เอนก นาวิกมูล • ประมวลภาพพระปิยมหาราช
๖๗
CHULALONGKORN THE GREAT Pictures of Thailand's Beloved King • ANAKE NAWIGAMUNE
๖๘
71 I 71
I
120 120 เอนก นาวิกมูล • ประมวลภาพพระปิยมหาราช
๑๔๗
๑๔๘
CHULALONGKORN THE GREAT Pictures of Thailand's Beloved King • ANAKE NAWIGAMUNE
๑๔๙
121 I 121
ประมวลภาพพระปิยมหาราช เอนก นาวิกมูล
ISBN 978-974-7727-72-2 หมวดประวัติศาสตร์
ประมวลภาพพระปิยมหาราช ราคา ๔๕๐ บาท
ประมวลภาพพระปิยมหาราช CHULALONGKORN THE GREAT Pictures of Thailand’s Beloved King ที่ระลึกเนื่องในวาระครบ ๑๐๐ ปี (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๕๕๓) แห่งการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เอนก นาวิกมูล ANAKE NAWIGAMUNE