โครงการค่ายนักเขียนสารคดีครั้งที่ ๗ กิจกรรมการอบรมเพื่อสร้างนักเขียนและช่างภาพสารคดีมืออาชีพ
.... ....
“ไม่ได้คาดหวังว่าทุกคนที่ผ่านทางเข้ามาเรียนรู้ร่วมกันแล้ว จะต้องออกไปเป็นนักเขียนทั้งหมด ถึงที่สุดแล้วแต่ละคนต่างก็ต้องมีเส้นทางของตัวเอง... แต่เพียงแค่ให้เขามีโอกาสได้รู้ว่า มีอาชีพนักเขียนอยู่ในโลกนี้ด้วยที่เขาสามารถเลือกจะเป็นได้...” ครูวี – วีระศักร จันทร์ส่งแสง
....
“ไม่มีความฝันใดที่สวยงามโดยไม่ต้องลงมือทำ� และไม่เคยมีความสำ�เร็จใดที่ได้มาโดยไม่เหน็ดเหนื่อย โดยเฉพาะงานวรรณกรรมเช่น ‘สารคดี’ ” ครูอรสม สุทธิสาคร
....
คือรักและมิตรภาพ
“ผมคิดว่าสิ่งที่น่าจับตาเป็นพิเศษสำ�หรับหนังสือเล่มนี้ คือการวางเค้าโครงเรื่อง หรือคิดออกแบบว่าสารคดีเรื่องนั้นจะมีกี่บท แต่ละบทจะมีบทย่อยอีกหรือไม่-กล่าวถึงเรื่องอะไร ร้อยเรียงเป็นลำ�ดับไปอย่างไร แทบทุกเรื่องมี scenario ที่จัดวางไว้อย่างน่าประทับใจ...” ครูแดง – วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์
ผลงานสร้างสรรค์ของ นักเขียนและช่างภาพ “คลื่นลูกใหม่” โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๗
รัก มิตรภาพ คือ
และ
๙ เรื่องราวที่เปี่ยมกลิ่นอาย มิตรภาพ ความหวัง และความรัก
หมวดสารคดี ราคา ๒๕๐ บาท
ISBN 978-974-7727-81-4
สนับสนุนโดย ๒๕๐.-
ISBN หนังสือ ผู้เขียน
978-974-7727-81-4 คือรักและมิตรภาพ เยาวชนโครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๗ ด�ำเนินการโดยนิตยสารสารคดี และส�ำนักพิมพ์สารคดี สนับสนุนโดย
© สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ จ�ำนวนพิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม ราคา ๒๕๐ บาท คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปกและรูปเล่ม : จ�ำนงค์ ศรีนวล คอมพิวเตอร์/จัดรูปเล่ม : วัลลภา สะบู่ม่วง พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ
4
คือรักและมิตรภาพ
จัดพิมพ์ ส�ำนักพิมพ์สารคดี (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด) จัดจ�ำหน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ เพลต เอ็นอาร์ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐ ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด/โฆษณา : ปฏิมา หนูไชยะ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายตลาด : พิเชษฐ ยิ้มถิน บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน�้ำมันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน�้ำมันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๗
5
สารบัญ แรงงานพม่า ประชากรเงาผู้ขับเคลื่อนภูเก็ต ๒๓ เรื่อง : พณพล ธีรวงศธร | ภาพ : วสวัตติ์ จันเรียง บางกอก สุโก้ย ! หมู่บ้านญี่ปุ่นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ๕๕ เรื่อง : สินี แสงอรุณศิริ | ภาพ : วราลักษณ์ จงจิต K-POP ฟีเวอร์ ระหว่างสิ่งที่เราเห็นกับสิ่งที่เขาเป็น ๘๙ เรื่อง : รุ่งนภา พิมมะศรี | ภาพ : วรพรรณ เลอสิทธิศักดิ์ ลมหายใจของแผ่นเสียง ๑๒๓ เรื่อง : ปิยฤทธิ์ ปัญจธรรมวิทย์ | ภาพ : เบญจรัตน์ เอี่ยมรัตน์ หมากรุกไทย : ศิลปะแห่งความคิด เกมกีฬาแห่งมิตรภาพ ๑๕๗ เรื่อง : สิริกัญญา ชุ่มเย็น | ภาพ : กันตพรรณ โกมลกิติศักดิ์
6
คือรักและมิตรภาพ
CHONBURI ACADEMY โรงเรียนวิชาลูกหนัง เพาะพันธุ์นักเตะอาชีพ เรื่อง : ปรัญชัย ฮวดชัย | ภาพ : รัตน์เทพ อุตรา เด็กพิเศษ : เราต่าง ไม่ต่าง? – เราต่างไม่ต่าง เรื่อง : ขวัญชนก หอมแสงประดิษฐ | ภาพ : วุฒิพงษ์ จันทร์โท กรรมกรการ์ตูน : ไตรภัค สุภวัฒนา เรื่อง : ธนิสร์ วีระศักดิ์วงศ์ | ภาพ : สุวดี อลงกต ภาพยนตร์เรื่อง สุนัขต�ำรวจ... อาวุธมีชีวิตผู้ปิดทองหลังพระ เรื่อง : กมลพร สุนทรสีมะ | ภาพ : ชัยวุฒิ วิจิตรโท
๑๘๙ ๒๓๓ ๒๖๓ ๒๘๗
โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๗
7
ค�ำนิยม
เอ่ยชือ่ นิตยสารสารคดี เชือ่ ว่าผูอ้ า่ นหลายท่านคง
รูจ้ กั กันดีในฐานะมืออาชีพทีผ่ ลิตงานเขียนและสิง่ พิมพ์สารคดีคณ ุ ภาพ เยี่ยมของบ้านเรา ดังนั้นเมื่อ นิตยสารสารคดี ชักชวนให้ เอสซีจี ร่วมจัด “ค่ายนักเขียนสารคดี” ตัง้ แต่ครัง้ ที ่ ๕ นัน้ เอสซีจจี งึ ไม่รรี อ ทีจ่ ะตอบตกลง เพราะเราต่างมีเป้าหมายร่วมกันเพือ่ พัฒนา “คน” สร้าง นักเขียนและช่างภาพสารคดีฝมี อื ดีรนุ่ ใหม่ ให้เป็นมืออาชีพในแวดวง สารคดีบ้านเราต่อไป จากที่ได้พูดคุยกับน้องๆ นักเขียนและช่างภาพที่เข้าร่วม โครงการฯ ท�ำให้รู้ว่าทุกคนต่างพกเอาความฝันพร้อมแรงบันดาลใจ ทีจ่ ะสร้างสรรค์ผลงานชิน้ เยีย่ มถ่ายทอดสูผ่ อู้ า่ น บวกกับการบ่มเพาะ ถ่ายทอดความรู ้ ทักษะ รวมทัง้ ประสบการณ์ทำ� งานจริงจากนักเขียน
8
คือรักและมิตรภาพ
ค�ำนิยม
8
และช่างภาพสารคดีฝีมือชั้นครู ที่คอยให้ค�ำแนะน�ำและเป็นพี่เลี้ยง ตลอดโครงการฯ แล้ว จึงมั่นใจได้ว่า หนังสือรวบรวมผลงานของ น้องๆ จากค่ายนักเขียนสารคดีเล่มนี ้ จะเป็นผลงานสร้างสรรค์ ทีด่ ที สี่ ดุ เล่มหนึง่ ซึง่ ถ่ายทอดมุมมองความคิดได้อย่างแหลมคม ปรุงแต่งจินตนาการได้อย่างลึกซึง้ และแฝงแง่คดิ ทีเ่ ป็นประโยชน์ ไว้อย่างน่าสนใจ หวังเป็นอย่างยิง่ ว่าน้องๆ นักเขียนและช่างภาพสารคดีสาย เลือดใหม่รนุ่ นี ้ จะเติบโตและก้าวต่อไปบนเส้นทางนักเขียนและช่างภาพ สารคดีมืออาชีพ ขอเป็นก�ำลังใจให้นอ้ งๆ ทุกคนมีความมุง่ มัน่ ตัง้ ใจทีจ่ ะ ท�ำตามความฝันของตนเองให้เป็นจริง เชื่อว่าผู้อ่านทุกท่านจะ ร่วมภาคภูมใิ จกับผลงานของนักเขียนและช่างภาพสารคดีรนุ่ ใหม่ เหล่านี้ และมีความสุขกับการอ่านหนังสือเล่มนี้ค่ะ
วีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำ� นวยการส�ำนักงานสื่อสารองค์กร เอสซีจี
โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๗
9
“กระแส K-POP... ไม่เคยสร่างซาไปจากสังคมไทย... บรรดาแฟนคลับแต่เดิม จะเป็นวัยมัธยมและมหา’ลัย ทว่าตอนนี้กลับไปถึงเด็กประถมแล้ว”
88
คือรักและมิตรภาพ
K-POP ฟีเวอร์ ระหว่างสิ่งที่เราเห็น กับสิ่งที่เขาเป็น เรื่อง : รุ่งนภา พิมมะศรี | ภาพ : วรพรรณ เลอสิทธิศักดิ์
กรี๊ดดดดดดดด
ทันทีทเี่ สียงนีด้ งั ขึน้ ลัน่ อาคารผูโ้ ดยสารในสนามบินสุวรรณภูมิ เด็กสาวหน้าใสวัยมัธยม-มหา’ลัยหลายสิบคนก็วิ่งกรูเข้าไปรุม ล้อมชายหนุม่ หน้าตีก๋ ลุม่ หนึง่ พวกเขาคือนักร้องเกาหลีทชี่ อื่ วงบีสท์ (B2ST) ที่ก�ำลังเดินอย่างเร่งรีบพร้อมด้วยทีมงานและบอดีการ์ดที่ พยายามกันไม่ให้ใครเข้าใกล้พวกเขา เสียงกรี๊ดดังลั่นไม่ได้มาจาก คนทีม่ โี อกาสวิง่ เข้าใกล้พวกเขาเท่านัน้ แต่ยงั มาจากสาวๆ อีกหลาย ร้อยที่กระจัดกระจายอยู่ชั้น ๓ และ ๔ ไม่ได้เข้าไปในชั้น ๒ ที่ศิลปิน ใช้เป็นเส้นทาง ทุกคนพร้อมใจกันส่งเสียงกรีด๊ ตะโกนเรียกชือ่ ศิลปิน คนโปรด พร้อมโชว์ผา้ เชียร์ ป้ายไฟ ป้ายกระดาษ สารพัดอุปกรณ์การ เชียร์ที่พวกเขาเตรียมมา โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๗
89
เสียงกรีด๊ ดังมาก และการเคลือ่ นทีข่ องสาวๆ พวกนัน้ ก็เร็ว เหลือเกิน ทว่าเพียงไม่กี่นาทีเสียงกรี๊ดก็ซาลงพร้อมกับการเคลื่อน ออกไปของรถตู้ศิลปินและทีมงาน พอรถเคลื่อนที่กลุ่มแฟนคลับก็ เร่งรีบจะวิง่ ออกจากอาคารผูโ้ ดยสาร สอบถามได้ความว่าเหล่าแฟน คลับก�ำลังจะรีบตามรถศิลปินไปที่โรงแรม ภาพแบบนี้คนที่ท�ำงานในสุวรรณภูมิคงเห็นจนชินตา “เช็ก เสียงหรือยัง เสียงยังอยูค่ รบดีไหม” ลุงเจ้าหน้าทีค่ นหนึง่ ถามระหว่าง ทีฉ่ นั กับเพือ่ นก�ำลังเดินไปรอรถเวียนทีป่ า้ ย ฉันได้แต่ถอนใจ เฮ้อ... ชาวร็อกอย่างฉัน ซึ่งแม้จะแต่งเครื่องแบบชาวร็อกสีด�ำแบบจัดเต็ม ตัง้ แต่หวั จดเท้า ก็ยงั มิวายโดนเหมารวมว่าเป็นแฟนคลับเกาหลีไปด้วย
เกาหลีกรีฑาทัพ
K-POP ทีเ่ ราคุน้ หูกนั อยูท่ กุ วันนี ้ มาจากค�ำว่า Korean Pop Culture จุดเริม่ ต้นของการเป็นมหาอ�ำนาจทางด้านบันเทิงและวัฒนธรรมของเกาหลี เริม่ ขึน้ เมือ่ ต้นยุค ๙๐ รัฐบาลเกาหลีให้งบประมาณ สนับสนุนการสร้างสรรค์ผลงานทัง้ วงการเพลง หนัง วรรณกรรม โดย เปิดกว้างให้คนรุน่ ใหม่สง่ ผลงานเข้าประกวด ในช่วงเวลาที ่ K-POP (ขวาบน) “กระแสนิยม” คลื่นมหาชนที่หลั่งไหลมารวมตัวกันจนล้น ลานพาร์กพารากอน เป็นเครื่องยืนยันที่ไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่า K-POP เป็นกระแสนิยมอันดับ ๑ ใน พ.ศ. นี้ (ขวา) “นาทีที่ยิ่งใหญ่” เพราะฉันนั้นต้องการมีเสี้ยวนาทีที่ยิ่งใหญ่ ให้ใจจดไว้นานเท่านาน พอได้เห็นหน้าตา อารมณ์ของแฟนคลับ ณ นาทีที่ศิลปินที่พวกเขารักเดินออกมา เสียงเพลงนี้ก็ดังขึน้ มาในหัว โดยอัตโนมัติ
90
คือรักและมิตรภาพ
โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๗
91
“ข้อความ (จากใจ)” บรรดาแฟนคลับต่างบอกเล่าความรู้สึก เพื่อส่งไปยังศิลปินที่พวกเขารัก บ้างเป็นภาษาไทย บ้างเป็นภาษาอังกฤษ บ้างก็เป็นภาษาเกาหลี ไม่ว่าจะภาษาอะไร ข้อความทั้งหมดนั้นก็ออกมาจากหัวใจที่เต็มไปด้วยความรัก
“โปรเจ็กต์ กิจกรรมแสดงพลังรักและสามัคคี” อีกกิจกรรมที่บรรดาแฟนคลับท�ำเพื่อศิลปิน อย่างเช่นการพริ้นต์ค�ำที่ให้กำ� ลังใจหรือแสดงความรักต่อศิลปิน 92 คือรักและมิตนรภาพ ลงในกระดาษเป็ พันๆ ใบ แล้วแจกจ่ายให้แก่แฟนคลับในงาน
“คัฟเวอร์ แดนซ์ (cover dance)” ปัจจุบันวัยรุ่นไทยให้ความสนใจ กับการเต้นคัฟเวอร์ศิลปินเกาหลีกันมากขึ้น อาจเป็นเพราะจุดขายอย่างหนึ่งของศิลปินเกาหลี ก็คือท่าเต้นที่พร้อมเพรียงและเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวง
“ไม่ต่างกัน” ขณะที่คนไทยให้ความสนใจ และนิยมชมชอบศิลปินเกาหลี ก็มีชาวต่างชาติกรี๊ดศิลปินไทยเรา โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ้งที่ ๗คอนเสิ 93ร์ตเช่นกัน ถึงขั้นบินครัมาดู
เริ่มก่อตัวนั้น เป็นช่วงเวลาที่ J-POP (Japan Pop Culture) ก�ำลัง ทรงอิทธิพลทั่วทั้งเอเชีย J-POP มีลักษณะความเคร่งขรึม ความคิดล�้ำลึก จริงจัง ค่อนข้างเข้าถึงยาก เกาหลีจึงแย่งตลาดโดยใช้นักแสดงนักร้อง หน้าตาดี ใช้รูปลักษณ์ภายนอกเป็นตัวดึงดูด แล้วเกาหลีก็สามารถ แย่งพืน้ ทีต่ ลาดจากญีป่ นุ่ ได้ในช่วงปี ค.ศ. ๒๐๐๐ และยึดครองตลาด เกือบทั้งหมดในอีกไม่กี่ปีต่อมา นับวันเกาหลียิ่งแผ่ขยายอาณานิคมทางวัฒนธรรมกว้าง ออกไปเรื่อยๆ โดยมีซีรีส์เป็นทัพหน้าเบิกทาง ก่อนที่ดนตรี แฟชั่น อาหาร และแหล่งท่องเที่ยวจะตามมา ซึ่งแต่ละอย่างล้วนได้รับการ เกื้อหนุน หรือผ่านการตลาดทางอ้อมจากภาพยนตร์และซีรีส์ ย้อนกลับไปล�ำดับเหตุการณ์เกีย่ วกับการเข้ามาเมืองไทยของ ดาราเกาหลี วอน บิน คือนักแสดงเกาหลีใต้คนแรกที่เข้ามาโด่งดัง ท�ำหัวใจสาวไทยสัน่ ไหวในระดับความรุนแรงอย่างน้อย ๗ ริกเตอร์ และ ออทัมน์ อิน มาย ฮาร์ต หรือ รักนีช้ วั่ นิรนั ดร์ คือซีรสี เ์ รือ่ งแรกทีค่ รอง ใจชาวไทยอยู่หมัดและปลุกกระแสซีรีส์เกาหลีในประเทศไทย และ จนถึงทุกวันนี้ก็คงไม่มีเรื่องไหนที่คนไทยประทับใจและจดจ�ำมากไป (ซ้ายบน) “ซือ้ (ความพอใจ) ขาย (ความสุข)” ธุรกิจร้านขายของทีร่ ะลึก ในบ้านเราเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้สินค้าพวกนี้จะราคาสูง แต่แฟนคลับก็ยินดีจ่ายเพื่อแลกกับความสุขความพอใจ (ซ้าย) “ต้องมนตร์ K-POP” ไม่ว่าจะเพศไหน วัยไหน รสนิยมส่วนตัวอย่างไร แต่เมื่อเห็นอะไรเกี่ยวกับศิลปินเกาหลี ก็ดูเหมือนว่าทุกคนพร้อมจะหยุดดูมันได้ทุกเวลา ราวกับต้องมนตร์สะกด โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๗
95
กว่าเรื่องนี้อีกแล้ว ส�ำหรับนักร้องชายคนแรกที่เข้ามาคือหนุ่มเซเว่น แต่ก็ไม่ เปรี้ยงปร้างนัก ก่อนที่ซูเปอร์สตาร์เอเชียอย่างเรน จะมากุมใจทั้ง สาวน้อยสาวใหญ่ วัยคุณน้าคุณป้าก็ไม่เว้น ส่วนบอยแบนด์วงแรกเลย ทีเ่ ข้ามาคือ Shinhwa (ชินฮวา) แต่กไ็ ม่เป็นทีน่ ยิ มอีกเช่นกัน ส�ำหรับ วงที่โด่งดังเป็นที่รู้จักมากที่สุดเห็นจะเป็น TVXQ (ดงบังชินกิ) และ Super Junior (ซูเปอร์จเู นียร์) ในมุมของเกิรล์ กรุป๊ ถ้าใครยังพอจ�ำ ห้าสาว Baby V.O.X. (เบบีว้ อ็ กซ์) ได้ สาวสวยกลุม่ นีเ้ ข้ามาสร้างชือ่ ก่อนใคร หรืออาจจะก่อน วอน บิน ด้วยซ�้ำ นับตัง้ แต่เข้ามาจับจองพืน้ ทีไ่ ด้แล้ว กระแส K-POP ก็ไม่เคย สร่างซาไปจากสังคมไทย และนับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้นๆ บรรดาแฟน คลับแต่เดิมจะเป็นวัยมัธยมและมหา’ลัย ทว่าตอนนี้กลับไปถึงเด็ก ประถมแล้ว เห็นกระแสเกาหลีมาแรงครองใจวัยรุน่ ไทยทัว่ ทุกหัวระแหง ก็ใช่วา่ จะไม่มชี าวต่างชาติคลัง่ ไคล้ศลิ ปินไทยของเรา เพราะวันทีม่ กี าร จัดคอนเสิรต์ วงบีสท์ ณ อิมแพ็ค เอ็กซิบชิ นั่ นัน้ เป็นวันเดียวกันกับที่ อิมแพ็ค อารีนา มีคอนเสิร์ตของซูเปอร์สตาร์ชาวไทย บี้ เดอะสตาร์ หน้างานคอนเสิร์ตมีแฟนคลับชาวจีนกลุ่มใหญ่ที่มาจากเมืองจีนเพื่อ ดูคอนเสิรต์ หนุม่ บีโ้ ดยตรง เห็นภาพสาวหมวยพร้อมใจส่งเสียงร้อง เสียงเชียร์หนุม่ บีด้ งั ไม่แพ้สาวไทยทีเ่ ชียร์หนุม่ เกาหลีเหมือนกัน นอก จากนัน้ ยังมีหนุม่ ๆ วงออกัสทีไ่ ม่เป็นทีน่ ยิ มในบ้านเกิด กลับไปโด่งดัง ครองใจอาตี๋อาหมวยที่เมืองจีน และที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ หนุ่มเต๊ะ ศตวรรษ ที่ไปเป็นดารานักร้องโด่งดังที่ไต้หวัน ถึงขั้นมีสาวๆ ปีน อพาร์ตเมนต์ขึ้นไปหา และเคยแสดงหนังประกบกับซูเปอร์สตาร์
96
คือรักและมิตรภาพ
หลินจื้ออิง มาแล้ว
จากแฟนเพลงสู่การเป็นแฟนคลับ
กลุม่ แฟนคลับทีต่ ามกรีด๊ ศิลปินนัน้ ส่วนมากไม่ได้เป็นเพือ่ น กันมาก่อน แต่ละคนมีความชอบของตัวเอง แล้วมาท�ำความรูจ้ กั กัน ผ่านโลกไซเบอร์ “สยามโซน จุดเริม่ ต้นความติง่ และความเกรียน” แดงน้อย แฟนคลับดงบังชินกิและ B2ST (บีสท์) เอ่ยด้วยน�ำ้ เสียงไม่จริงจังนัก “จริงๆ” สิน-ี เพือ่ นอีกคนทีเ่ ป็นแฟนซูเปอร์จเู นียร์ชว่ ยยืนยัน เมื่อเห็นฉันออกอาการข�ำ เมื่อมีดารานักร้องคนโปรดแล้ว คนเหล่านี้จะเริ่มหาสังคม หาเพือ่ นทีม่ คี วามชอบเหมือนกัน ซึง่ เว็บไซต์ยอดนิยมทีค่ อเกาหลีจะ เข้าไปท�ำความรูจ้ กั กันก็คอื www.siamzone.com ถ้าใครเคยเข้าไป คงจะเห็นว่าเว็บไซต์นี้ให้พื้นที่กับข่าวคราวดารานักร้องเกาหลีเยอะ แถมมีเว็บบอร์ดมีห้องพูดคุยส�ำหรับคนคอเดียวกันอีก หลังจากท�ำความรู้จักกันแล้ว ขั้นต่อไปจะเริ่มลงลึกเข้าไป เป็นสมาชิกในเว็บบอร์ดศิลปินดาราคนโปรด ซึ่งบอร์ดเหล่านี้บรรดา แฟนคลับเรียกว่า “บ้าน” เช่นบอร์ดแฟนคลับดงบังชินกิจะเรียกว่า “บ้านแคส” มาจากค�ำว่าแคสิโอเปีย ซึง่ เป็นชือ่ เรียกแฟนคลับของวง เว็บบอร์ดของศิลปินดาราคนเดียวกันอาจมีได้หลายบอร์ด ทัง้ ทีเ่ ป็นออฟฟิเชียล เว็บบอร์ด ทีม่ ที มี งานของค่ายดูแลเอง และเว็บบอร์ดเสรีที่แฟนคลับตั้งกันเอง ซึ่งทั้งสองแบบก็จะมีข้อดีข้อเสียต่าง กัน น้ อ งทิ ว รุ จิ ษ ยา ขั ด ทองงาม แอดมิ น บอร์ ด Kiwoonโครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๗
97
Kingdom เล่าว่า “บอร์ดเราเป็นบอร์ดเปิด ถ้าเป็นข่าวส�ำคัญทีต่ อ้ ง แปลข่าวจากหน้าหลักของวงบีสท์ทเี่ กาหลี เราก็จะแปลให้ แล้วจะมี กระดานให้สมาชิกในบอร์ดลงเรือ่ งอะไรก็ได้ ก็จะมีทงั้ ข่าวจริงข่าวมัว่ แต่การทีบ่ อร์ดเราเปิดเสรีทำ� ให้ขา่ วเราเร็วกว่าบอร์ดออฟฟิเชียล ถ้า บอร์ดออฟฟิเชียลเขาปิดห้องให้เฉพาะสตาฟฟ์ลงข่าว สตาฟฟ์จะไป เอาข่าวมาจากเว็บเกาหลีอีกที ซึ่งจะแน่นอนและไม่ผิดพลาด” นอกจากแฟนคลับที่รู้จักกันผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว จะมีอีก แบบหนึง่ ทีร่ จู้ กั กันผ่านการไปร่วมกิจกรรม พอมีเพือ่ นแล้วค่อยชักชวน กันเข้าบ้าน ตัก๊ เสาวลักษณ์ แฟนคลับซูเปอร์จเู นียร์บอกว่า เธอเป็นคน หนึง่ ทีไ่ ม่ได้เข้าเว็บอะไรเลย พอชอบแล้วเห็นข่าวว่ามีกจิ กรรมมีศลิ ปิน มาก็ไปร่วมกิจกรรม ไปหาเพือ่ นเอาข้างหน้า พอไปถึงงานก็จะมีบา้ น นัน้ บ้านนีม้ าแจกนามบัตรโปรโมตเว็บเอง ถึงจะไปคนเดียวก็ไม่มเี หงา เจอคนพูดคุยถูกคอก็แลกเบอร์แลกอีเมลกัน ตารางแสดงชื่อเรียกแฟนคลับและสีประจ�ำของแต่ละศิลปิน ศิลปิน
ชื่อเรียกแฟนคลับ
2AM 2PM 2AM+2PM = One Day
I am Hottest I am Hottest
98
คือรักและมิตรภาพ
สีประจำ�ในการ เชียร์ Pearl Black Pearl Grey Pearl Black & Grey
ศิลปิน
ชื่อเรียกแฟนคลับ
สีประจำ�ในการ เชียร์
2NE1 4Minute
BlackJacks 4NIA (4+Mania) *Candy Funky คือ ชื่อเรียกการแต่งตัว และคอนเสิร์ต Pink Panda Play Girlz/Boyz Baby Angles S. WinG
Hot Pink Pearl Violet
B2UTY (Beauty)
Dark Grey (สี ลูกโป่งที่ใช้เชียร์คือ Pearl Midnight Blue) ไม่มีสีประจำ�วง แต่ ใช้อุปกรณ์การเชียร์ คือแท่งไฟรูปมงกุฎ และผ้าเช็ดหน้า Pearl Yellow
A-Pink After School Baby V.O.X. Baby Vox. Rev. Beast (B2ST)
Bigbang
VIP
BoA
Jumping BoA (Korea), Soul (Japan)
Pink Yellow Pink Pearl Pink
โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๗
99
ศิลปิน
ชื่อเรียกแฟนคลับ
สีประจำ�ในการ เชียร์
Brown Eyed Girls C.N. Blue
Everlasting
Black
BOICE (Blue+Voice) FT Island (F.T Primadonna Island) Girls’ SONE Generation (SNSD) H.O.T White Angles, Club H.O.T JYJ Jay Park (Jaeboem) อดีตหัวหน้าวง 2PM KARA MBLAQ
100
Orion Jay Effect (Jay เรียกแฟนๆ ว่า Jay Walkers) Kamilia A+ (ทุกคนในวงมี เลือดกรุ๊ป A)
คือรักและมิตรภาพ
Blue Yellow Pentastick Peach Pink White *เป็นวงแรกที่มีสี ประจำ�วง Red Yellow and Black
Camelia Pink Pearl Chocolate
ศิลปิน
ชื่อเรียกแฟนคลับ
Paran
Blue Ciel
สีประจำ�ในการ เชียร์
Pearl Sapphire Sky Blue Rain (Bi) Cloud Silver 7 Rainbow Rainbow RAINNOUS (Rainbow+Luminious) Colours SS501 TrippleS Pearl light Green Super Junior E.L.F. (Everlasting Pearl Sapphire Friend) Blue SE7VEN Lucky 7 Lime Green SHINee SHINee World Baby Blue (Shawol) Shinhwa Shinhwa Changjo Orange T-ARA Diadem Pearl Ivory TVXQ (Dong Cassiopeia Pearl Red Bang Shin Ki) (Korea), Big East (Japan) U-Kiss Kiss Me Pink Wonder Girls Wonderful Pearl Burgundy Younha YounHapia Light Pink
โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๗
101
เกี่ยวกับพวกเขาที่เราอาจไม่รู้
เหล่าบรรดาแฟนคลับเกาหลีจะสังเกตยากกว่าชาว J-POP เพราะการแต่งตัวก็ไม่ตา่ งจากเด็กวัยรุน่ ทัว่ ไป หลายๆ คนเป็นผูใ้ หญ่ วัยท�ำงาน แต่งตัวภูมิฐานด้วยซ�้ำ ขณะที่ชาวเจจะแต่งตัวจัดจ้าน ทรงผมหลุดโลก เดินไปไหนก็โดดเด่น มีสไตล์ที่บอกให้รู้ว่านี่คือชาว เจแน่นอน เมื่อมองแค่การแต่งกายแล้วดูไม่ออก ก็ต้องดูให้มากกว่า นัน้ อีกสักหน่อย ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าในตัวพวกเขาจะต้องมีพร็อป มีแอกเซสเซอรีอะไรสักอย่างทีบ่ ง่ บอก แล้วก็อกี อย่างคือเสียงโทรศัพท์ แฟนคลับเกาหลีทกุ คนทีฉ่ นั รูจ้ กั จะมีเสียงเรียกเข้าโทรศัพท์เป็นเพลง เกาหลี บางคนแม้กระทัง่ เสียงเตือนข้อความก็เป็นเพลงเกาหลี เสียง เพลงรอสายนั่นก็ด้วย ทีว่ า่ มานัน่ คือการดูเป็นรายคน แต่ถา้ พวกเขาอยูร่ วมกลุม่ กันเมือ่ ไหร่ ให้สังเกตง่ายๆ จากกิริยาอาการและบทสนทนา ถ้าพูด ถึงบุคคลที่มีชื่อส�ำเนียงเกาหลี นั่นแหละ ใช่แน่ๆ และจะมีค�ำที่คน ธรรมดาสามัญอย่างเราไม่คอ่ ยคุน้ อย่างเช่น เมน จิน้ ติง่ ฟิก โอปป้า ออนนี่ มีอยู่วันหนึ่งระหว่างที่ฉันนั่งท�ำงานอยู่คนละโต๊ะกับเพื่อน สังเกตเห็นว่าเพือ่ นสองคนทีเ่ ป็นแฟนคลับเกาหลีนงั่ จ้องจอคอมพิวเตอร์ แล้วยิม้ แย้ม หัวเราะคิกคัก ดูทา่ ทางมีความสุข ฉันจึงเดินไปหาแล้ว เอ่ยถาม “เออ วันๆ พวกแฟนคลับเขาท�ำอะไรบ้างวะ ต้องเฝ้าทวิตเตอร์ ตลอดเวลาเลยเหรอ” “ใช่ ทวิตเตอร์ ต้องอัปเดตตลอด ก็อย่างที่เห็นนี่แหละ ดู คลิปใหม่ๆ” แดงน้อยตอบ
102
คือรักและมิตรภาพ
“เมือ่ กีย้ งั คุยกันเลยว่าเธอน่าจะมาตอนเราสองคนดูคลิป จะ ได้เห็นว่าอาการเป็นยังไง” สินีว่า “อยู่บ้าน เก็บตัว วันๆ นั่งเฝ้าหน้าคอมฯ รออัปเดตตลอด ว่าเขาอัปคลิปอะไรบ้าง พอตื่นมาก็ต้องเช็กทวิตเตอร์ว่าผู้ชายของ เราทวีตอะไรบ้าง คือตอนปี ๑ ที่เรายังไม่ได้ชอบเกาหลี เราก็สงสัย ว่าท�ำไมเรียนเสร็จแดงชอบกลับห้อง เพือ่ นชวนไปไหนก็ไม่ไปจะกลับ ห้องอย่างเดียว แต่พอเรามาชอบนักร้องเกาหลี เราเข้าใจแดงเลย เราหนักกว่า บางวันไม่ยอมมาเรียน ถ้ามาเรียนเสร็จแล้วก็รีบกลับ บ้าน เพือ่ นชวนไปไหนก็ไม่ไป ไม่อยากพลาดเลย อยากนัง่ ดูอยูอ่ ย่าง นั้นทั้งวัน คนอื่นก็เป็นคล้ายๆ กันนี่แหละ” สินีอธิบายต่อ ฉันนึกภาพตาม ตอนที่ฉันไปห้องแดงน้อย ประตูห้องติด โปสเตอร์ศิลปินเกาหลี รวมทั้งผนังห้อง ประตูห้องน�้ำ ดูเหมือนจะ ไม่มพี นื้ ทีว่ า่ ง มีแผ่นซีด ี ดีวดี ี สัญชาติเกาหลีจำ� นวนมากทีเ่ จ้าของห้อง เก็บใส่กล่องรักษาไว้อย่างดี ในตูเ้ สือ้ ผ้ามีเสือ้ หลายตัวทีเ่ พ้นต์ชอื่ เพ้นต์ ลายหน้าตาศิลปิน ของสะสมต่างๆ ล้วนมีลวดลายเกีย่ วข้องกับศิลปิน เกาหลีวงโปรด วางกระจัดกระจายบ้าง เรียบร้อยบ้าง แล้วแต่ว่าไป เยือนในช่วงที่เจ้าของห้องขยันหรือไม่ เรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่วนั้น หลายคนสงสัยว่าเด็กพวกนี้เอา เงินมาจากไหน จากที่สอบถามเพื่อนฝูงคนรู้จัก และถามน้องๆ ที่เจอหน้า งานคอนเสิร์ตวงบีสท์ ได้ข้อมูลว่า เด็กที่เป็นแฟนคลับศิลปินเกาหลี ส่วนมากจะเป็นลูกคนมีอันจะกินพอสมควร เงินที่เอามาซื้อบัตร คอนเสิรต์ ซือ้ ของสะสมจะเป็นเงินทีเ่ ก็บออมจากค่าใช้จา่ ยทีพ่ อ่ แม่ให้ เพราะฉะนั้นจะไม่ค่อยมีปัญหาว่าพ่อแม่ไม่อนุญาตหรือไม่ให้สตางค์ โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๗
103
โครงการค่ายนักเขียนสารคดีครั้งที่ ๗ กิจกรรมการอบรมเพื่อสร้างนักเขียนและช่างภาพสารคดีมืออาชีพ
.... ....
“ไม่ได้คาดหวังว่าทุกคนที่ผ่านทางเข้ามาเรียนรู้ร่วมกันแล้ว จะต้องออกไปเป็นนักเขียนทั้งหมด ถึงที่สุดแล้วแต่ละคนต่างก็ต้องมีเส้นทางของตัวเอง... แต่เพียงแค่ให้เขามีโอกาสได้รู้ว่า มีอาชีพนักเขียนอยู่ในโลกนี้ด้วยที่เขาสามารถเลือกจะเป็นได้...” ครูวี – วีระศักร จันทร์ส่งแสง
....
“ไม่มีความฝันใดที่สวยงามโดยไม่ต้องลงมือทำ� และไม่เคยมีความสำ�เร็จใดที่ได้มาโดยไม่เหน็ดเหนื่อย โดยเฉพาะงานวรรณกรรมเช่น ‘สารคดี’ ” ครูอรสม สุทธิสาคร
....
คือรักและมิตรภาพ
“ผมคิดว่าสิ่งที่น่าจับตาเป็นพิเศษสำ�หรับหนังสือเล่มนี้ คือการวางเค้าโครงเรื่อง หรือคิดออกแบบว่าสารคดีเรื่องนั้นจะมีกี่บท แต่ละบทจะมีบทย่อยอีกหรือไม่-กล่าวถึงเรื่องอะไร ร้อยเรียงเป็นลำ�ดับไปอย่างไร แทบทุกเรื่องมี scenario ที่จัดวางไว้อย่างน่าประทับใจ...” ครูแดง – วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์
ผลงานสร้างสรรค์ของ นักเขียนและช่างภาพ “คลื่นลูกใหม่” โครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๗
รัก มิตรภาพ คือ
และ
๙ เรื่องราวที่เปี่ยมกลิ่นอาย มิตรภาพ ความหวัง และความรัก
หมวดสารคดี ราคา ๒๕๐ บาท
ISBN 978-974-7727-81-4
สนับสนุนโดย ๒๕๐.-