ISBN 978-974-7727-84-5 หนังสือ โลก (ไม่) ลืม คน (ไม่) ส�ำคัญ ผู้เขียน สฤณี อาชวานันทกุล @ สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามลอกเลียนไม่วา่ ส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต
พิมพ์ครั้งที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๕ จ�ำนวนพิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ราคา ๒๓๐ บาท
ข้อมูลบรรณานุกรม สฤณี อาชวานันทกุล. โลก (ไม่) ลืม คน (ไม่) ส�ำคัญ.--กรุงเทพฯ : สารคดี, ๒๕๕๕. ๒๕๖ หน้า. ๑. บุคคลส�ำคัญ--ชีวประวัติ. ๙๒๐ ISBN 978-974-7727-84-5
คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปก/รูปเล่ม : ชาญศักดิ์ สุขประชา พิสูจน์อักษร : สินี ศิริศักดิ์ ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์ : ส�ำนักพิมพ์สารคดี (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด) จัดจ�ำหน่าย : บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ เพลต เอ็นอาร์ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์ โรงพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ โทร. ๐-๒๔๓๓-๗๗๕๕-๗
ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด/โฆษณา : ปฏิมา หนูไชยะ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด : พิเชษฐ ยิ้มถิน บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : สุดารา สุจฉายา หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน�้ำมันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน�้ำมันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
จากส�ำนักพิมพ์ ในโลกกลมๆ ใบนี้มีผู้คนมากมายที่ท�ำสิ่งต่างๆ อันมีประโยชน์แก่ผู้คน รอบข้างหรือสังคมโดยรวม ทว่าไฟที่ส่องไปยังบุคคลผู้ควรแก่การจดจ�ำ ทั้งหลายนั้นกลับหมุนส่องไปไม่ถึง หนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ ป็ น ผลงานของคุ ณ สฤณี อาชวานั น ทกุ ล นักเขียนมากฝีมอื ได้หยิบเรือ่ งราว ประวัต ิ และผลงานของบรรดาเขาและ เธอที่ได้สรรค์สร้างไว้ ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักประชาสัมพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ ฯลฯ แต่กลับถูกหลงลืม มองข้าม หรือตกหล่นหาย ไปในเวลาแห่งประวัติศาสตร์ มาน�ำเสนอให้คุณผู้อ่านได้รู้จัก ได้รับรู้ ว่าแต่ละสิ่งนั้นถูกสร้างขึ้นจากความมานะพยายาม จากน�้ำพักน�้ำแรง จากหยาดเหงื่อ จากความสามารถที่แม้จะเล็กๆ ไม่มีความหมายใน สายตาของใครบางคน แต่หากขาดผู้คนเหล่านี้ไป หน้าประวัติศาสตร์ ของโลกก็คงไม่สวยงามอย่างที่เป็นอยู่ คนธรรมดาคนหนึ่งก็เป็นคนส�ำคัญได้ทั้งสิ้น จะส�ำหรับ เพียงบางคน หรือส�ำหรับคนหมู่มากก็ตาม ลองส�ำรวจเส้นทางชีวิต ของคนธรรมดาที่ ไ ม่ ธ รรมดาเหล่ า นี้ บางที คุ ณ ผู ้ อ ่ า นอาจพบว่ า คน ธรรมดาๆ อย่างเราก็อาจสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้แก่โลกได้เหมือนกัน ขอ เพียงอย่าละทิ้งความฝัน ความหวัง และความพยายาม ส�ำนักพิมพ์สารคดี
จากผู้เขียน ในค�ำน�ำรวมเล่ม คน (ไม่) ส�ำคัญ เล่มแรก (ส�ำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊คส์, ๒๕๕๑) ผู้เขียนบันทึกตอนหนึ่งว่า “จริงอยู่ว่าความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย แต่ในเมื่อทุกคนเกิด มาแล้วต้องตาย ความจริงของคนดีจึงอาจถูกกดทับ บิดเบือน หรือ ลืมเลือนผ่านกาลเวลา” เหตุที่สังขารและสรรพสิ่งทั้งหลายล้วนเป็นอนิจจัง โลกนี้ จึงมีบุคคลส�ำคัญที่ไม่ได้รับความส�ำคัญตลอดมา และจะยังคงมีอยู่ ตลอดไป มีนักวิทยาศาสตร์ นักคิด นักธุรกิจ นักประดิษฐ์ นักกีฬา และนักอื่นๆ นับไม่ถ้วนที่สมควรได้รับการจารึกชื่อในประวัติศาสตร์ แต่กลับถูกโลกลืมเพราะเพี้ยนตอนแก่ ถูกมรสุมการเมืองหรือเศรษฐกิจ เล่นงาน โชคร้ายที่เกิดก่อนกาล ถูกเหยียดผิว เหยียดเพศ หรือมาจาก ประเทศเล็กๆ ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก คน (ไม่) ส�ำคัญบางคนไม่ใช่คนทีโ่ ลกลืม แต่โลกจดจ�ำภาพ ของเขาผิดเพี้ยนไปจากความจริงเนื่องจากถูกเข้าใจผิด ไม่ว่าจะด้วย ความปรารถนาดีหรือประสงค์ร้าย การถ่ายทอดเรื่องราวของคน (ไม่) ส�ำคัญ จึงมักจะเป็น การมองเรื่องเดิมจากมุมใหม่ หรือประกอบสร้างความเข้าใจใหม่จาก ข้อมูลหลายแหล่ง ฉะนั้นจึงน่าตื่นเต้นและรื่นรมย์เสมอส�ำหรับผู้เขียน
หวังว่าผู้อ่านจะรู้สึกไม่ต่างกัน ผู้เขียนขอขอบคุณพี่จอบ วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ อดีต บรรณาธิการบริหารนิตยสารสารคดี ที่ได้กรุณาเปิดพื้นที่ในนิตยสารให้ ผู้เขียนถ่ายทอดเรื่องราวของคน (ไม่) ส�ำคัญ ขอบคุณกองบรรณาธิการ นิตยสารสารคดี ที่ได้ตรวจทานบทความทุกตอนอย่างละเอียด และ ส�ำนักพิมพ์สารคดี ที่ให้เกียรติรวมเล่มคน (ไม่) ส�ำคัญ ภาคต่อเล่มนี้ อย่างประณีตและงดงาม ไม่ว่าจะแตกต่างหลากหลายกันมากเพียงใด ผู้เขียนหวัง ว่าเรื่องราวของคน (ไม่) ส�ำคัญในหนังสือเล่มนี้จะช่วยตอกย�้ำสัจธรรม ที่ว่า ความส�ำคัญไม่เคยอยู่ที่คน หากแต่อยู่ที่ผลของงาน ดังวาทะของมหาตมะคานธี “แทบทุกอย่างที่เธอท�ำจะดูเหมือนไม่ส�ำคัญ แต่ส�ำคัญ ที่เธอท�ำ” สฤณี อาชวานันทกุล "คนชายขอบ" | www.fringer.org ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๕
๙
สารบัญ
๕๙
การประชาสัมพันธ์
ช่างนาฬิกา
เอ็ดเวิร์ด เบอร์เนย์ส
จอห์น แฮร์ริสัน
บิดาแห่งการ ประชาสัมพันธ์
๒๑
ขันทีนักเดินเรือ เจิ้งเหอ
นักเดินเรือ ผู้ท�ำให้จีน (เกือบ) น�ำโลกาภิวัตน์ ระลอกแรก
๓๕
คนเขียนข่าวมรณะ โรเบิร์ต "แมคจี." ทอมัส จูเนียร์ สุดยอดนักบันทึก ชีวิตคน (ไม่) ส�ำคัญ
๔๗
จัณฑาล ดร. บาบาสาเฮบ อัมเบดการ์ จัณฑาลผู้เปลี่ยน โฉมหน้าอินเดีย
ช่างนาฬิกา ผู้เปิดต�ำนาน จักรวรรดิอังกฤษ
๗๑
ช่างภาพ อัลแบร์โต กอร์ดา
ช่างภาพ ผู้อยู่เบื้องหลัง รูปถ่ายที่ท�ำซ�้ำ มากที่สุดในโลก
๘๓
ดีเอ็นเอ โรซาลินด์ แฟรงคลิน
อัจฉริยะ ผู้อยู่เบื้องหลัง การค้นพบโครงสร้าง ดีเอ็นเอ
๙๕
นักการเมือง ฮิวอี้ ลอง จูเนียร์ ต้นแบบ นักการเมือง ประชานิยม ผู้ย้อนแย้ง
๑๐๗
๑๕๗
๒๐๕
นักคิดแนวเสรีนิยม
บะหมี่ก่ึงส�ำเร็จรูป
มารร้ายหรือวีรบุรุษ
อิบนู รุชดฺ (อเวโรซ)
โมโมฟูกุ อันโด
ยูดาส อิสคาริโอต
ผู้สร้างสะพาน สานโลกในโลกาภิวัตน์ ยุคโบราณ
๑๑๙
นักธุรกิจผู้ใส่ใจสังคม แอนิตา ร็อดดิก "นักธุรกิจ ที่มีหัวใจ" รุ่นบุกเบิก
๑๓๑
ผู้คิดค้นบะหมี่ กึ่งส�ำเร็จรูป
๑๖๙
บิดาแห่งการกุศล แอนดรูว์ คาร์เนกี ต้นแบบ “นายทุนใจบุญ” ผู้เต็มไปด้วย ความย้อนแย้ง
๑๘๑
มารร้ายของคริสตจักร หรือวีรบุรุษ (ไม่) ส�ำคัญของโลก ?
๒๑๗
วิถีชีวิตสตรี มาร์กาเร็ต แซงเจอร์
ผู้น�ำการ ปฏิวัติวิถีชีวิตสตรี
๒๓๑
นักประดิษฐ์
ปฏิวัติเขียวและสงครามเคมี
ศีลธรรมสากล
นิโคลา เทสลา
ฟริตซ์ ฮาเบอร์
คาร์ล มาร์กซ์
อัจฉริยะที่โลกลืม บิดาแห่งคริสต์ ศตวรรษที่ ๒๐
๑๔๕
บิดาแห่งการ ปฏิวัติเขียว และสงครามเคมี
๑๙๓
นักคิดผู้รณรงค์ "ศีลธรรมสากล" โดยไม่ตั้งใจ
๒๔๓
นักวิ่งโอลิมปิก
ปรัชญาความคิด
สื่อมวลชน
อาเบเบ บิกิลา
ฟรีดริช นิทเช
รูดอล์ฟ ออกสไตน์
ฮีโร่โอลิมปิก เท้าเปล่าที่โลกลืม
นักปรัชญา ผู้ถูกเข้าใจผิด ตลอดกาล
สื่อมวลชน ผู้ยิ่งใหญ่
การ ประชาสัมพันธ์
เอ็ดเวิรด์ เบอร์เนย์ส บิดาแห่งการประชาสัมพันธ์
การชักใยชี้น�ำนิสัยและความคิดเห็น ของมวลชนอย่างจงใจและชาญฉลาด เป็นองค์ประกอบที่สำ� คัญ ในสังคมประชาธิปไตย เอ็ดเวิร์ด เบอร์เนย์ส
ในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ นักการ เมือง นักธุรกิจ และนักคิดจ�ำนวนมากเชื่อว่า เราได้เดินทางมาถึง “ปลายทางสุดท้าย” ของอารยธรรมมนุษย์ ปัจเจกเปี่ยมก�ำลังซื้อใน ระบอบทุนนิยมประชาธิปไตยทุกหนแห่งได้เป็นเจ้าของชะตาชีวิต ของตนอย่างแท้จริง ปัจเจกจงเจริญ ! แต่ในขณะเดียวกัน นักคิดกระแสรองและทวนกระแส จ�ำนวนมากก็ต้ังข้อสังเกตว่า ปัจเจกชนสมัยนี้อาจไม่ได้มีอิสรเสรี เท่ากับที่ตัวเองเชื่อ เพราะสื่อและโฆษณาที่กระตุ้นมหกรรมบริโภค นิ ย มนั้ น มี อิ ท ธิ พ ลอั น ทรงพลั ง และแยบคายกว่ า ที่ ค นธรรมดา จะรู้ตัว นอม ชอมสกี (Noam Chomsky) ถึงกับกล่าวว่า การ โฆษณาชวนเชื่อในระบอบประชาธิปไตยนั้นไม่ต่างจากไม้กระบอง ในระบอบเผด็จการ 10 สฤณี อาชวานันทกุล
คนทั่วไปรู้จักการประชาสัมพันธ์ว่าเป็นอาชีพที่จ�ำเป็น ส� ำ หรั บ โลกสมั ย ใหม่ ที่ สื่ อ มี อิ ท ธิ พ ลสู ง มาก และชั ย ชนะของ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องช่วงชิงในสนามแข่งขันที่มีผู้เล่นจ�ำนวนมาก ทั้งในโลกธุรกิจและการเมือง แต่จะมีสักกี่คนที่ตั้งค�ำถามว่า การ ประชาสัมพันธ์ในฐานะ “วิชาการ” และ “วิชาชีพ” นัน้ เป็นกลางและ ปลอดภัยไร้อันตรายจริงหรือ เส้นแบ่งระหว่างการประชาสัมพันธ์ (public relations) กับการโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) นั้นมี อยู่จริงหรือไม่ ถ้ามี มันอยู่ที่ใดกันแน่ เราอาจพบค� ำ ตอบในประวั ติ ชี วิ ต และความคิ ด ของ เอ็ดเวิร์ด เบอร์เนย์ส (Edward Bernays, ค.ศ. ๑๘๙๑-๑๙๙๕) 11
โลก (ไม่) ลืม คน (ไม่) ส�ำคัญ
เอ็ดเวิร์ด เบอร์เนย์ส
บิดาแห่งการประชาสัมพันธ์ ผู้ให้ก�ำเนิดชุดความคิดและวิถีปฏิบัติ ที่ประสบความส�ำเร็จอย่างสูง สามารถครองพื้นที่หน้าจอและในใจ ผู้บริโภคและพลเมืองผู้มีสิทธิเลือกตั้งสืบมาถึงปัจจุบัน แม้ว่ามีน้อย คนที่เคยได้ยินชื่อเขาหลังจากล่วงลับไปแล้วก็ตาม เบอร์เนย์สเป็นหลานของ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งวิชาจิตวิเคราะห์ ผู้เป็นทั้งอิทธิพลและแรงบันดาล ใจส�ำหรับหลานชาย เบอร์เนย์สเป็นคนแรกที่น�ำข้อค้นพบจากวิชา จิตวิทยาและสังคมศาสตร์สาขาอื่นมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ แคมเปญหว่านล้อมผู้คน การที่ทฤษฎีของฟรอยด์ได้รับความ นิ ย มอย่ า งล้ น หลามในอเมริ ก าส่ ว นหนึ่ ง ก็ เ ป็ น ผลจากแคมเปญ ประชาสัมพันธ์ที่เบอร์เนย์สช่วยออกแบบ เบอร์ เ นย์ ส เริ่ม งานประชาสัม พันธ์ตั้งแต่จบปริญญา ตรี จ ากมหาวิ ท ยาลั ย คอร์ แ นล เขาจบด้ า นการเกษตรแต่ เ ลื อ ก ท�ำงานเป็นนักข่าวสายบันเทิงในปี ค.ศ. ๑๙๑๓ ต่อมาในปี ๑๙๑๗ ระหว่างที่สงครามโลกครั้งที่ ๑ ก�ำลังด�ำเนินไปอย่างเข้มข้น เขา เข้าเป็นทหารสังกัดคณะกรรมการข้อมูลสาธารณะ (Committee on Public Information: CPI) หน่วยงานโฆษณาชวนเชื่อของรัฐที่ มีหน้าที่โน้มน้าวให้ชาวอเมริกันเห็นด้วยกับสงคราม เพราะมันจะ “ท�ำให้โลกปลอดภัยส�ำหรับประชาธิปไตย” นี่เป็นครั้งแรกที่กลยุทธ์ การตลาดและโฆษณาถูกน�ำมาใช้ใ นสงครามอย่ างเต็มรูปแบบ และโมเดลของ CPI ก็กลายเป็นแม่แบบให้กับกลยุทธ์การตลาด ในสงครามทุกครั้งสืบมาจนปัจจุบัน 12 สฤณี อาชวานันทกุล
หลังสงครามสิ้นสุด เบอร์เนย์สเปิดบริษัทของตัวเอง ในกรุ ง นิ ว ยอร์ ก เมื่ อ ปี ๑๙๑๙ ขณะนั้ น โลกยั ง ไม่ รู ้ จั ก ค� ำ ว่ า “ประชาสัมพันธ์” (public relations) แบบที่เรารู้จักในปัจจุบัน มี แต่ค�ำว่า “โฆษณาชวนเชื่อ” (propaganda) เท่านั้น เบอร์เนย์ส มองว่าค�ำนี้มีแต่นัยแง่ลบไปแล้วหลังถูกใช้กระพือความเกลียดชัง ฝ่ายตรงข้ามอย่างน่ากลัวในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ดังนั้นเขาจึง คิดค�ำว่า “ประชาสัมพันธ์” ขึ้นมาใช้แทน เบอร์เนย์สดึงองค์ความรู้ด้านจิตวิทยาและจิตวิทยาหมู่ ของ กุสตาฟ เลอบง (Gustave le Bon) และ วิลเฟรด ทอตเทอร์ (Wilfred Totter) มาผสมกั บ แนวคิ ด ด้ า นจิ ต วิ เ คราะห์ ข องลุ ง ฟรอยด์ บวกกับพรสวรรค์ด้านการออกแบบและการเขียน และ ความคิดริเริ่มชนิดหาตัวจับยากของเขา มาสร้างแคมเปญประชา สั ม พั น ธ์ ที่ ทั้ ง “โดนใจ” ผู้เ สพสื่อ ทั้งส่งอิทธิพลต่อจิตใต้ส�ำนึก ท�ำให้บริษัทประชาสัมพันธ์ของเขาประสบความส�ำเร็จอย่างรวดเร็ว
แคมเปญบุหรี่ที่ชูธง “คบไฟแห่งเสรีภาพ” ของผู้หญิง ผลงานของเบอร์เนย์สในปี ค.ศ. ๑๙๒๘ 13 โลก (ไม่) ลืม คน (ไม่) ส�ำคัญ
เอ็ดเวิร์ด เบอร์เนย์ส
เขาเป็นนักประชาสัมพันธ์คนแรกที่น�ำทฤษฎีจิตวิทยาหมู่มาใช้ขาย ความคิดและผลิตภัณฑ์ในโลกธุรกิจและการเมืองอย่างได้ผล โดย เฉพาะการน�ำประเด็นทางสังคมที่ก�ำลังเป็นกระแสมาใช้ในการขาย ผลิ ต ภั ณ ฑ์ และจั ด อี เ วนต์ ใ หญ่ ช นิ ด ที่ ติ ด ตาตรึ ง ใจนั ก ข่ า วและ ประชาชนไปนานข้ามทศวรรษ งานที่สร้างชื่อให้แก่เบอร์เนย์สอย่างมากในทศวรรษ ๑๙๒๐ คือแคมเปญประชาสัมพันธ์รถยนต์หกสูบรุ่นใหม่ของดอดจ์ ผ่านสื่อวิทยุ และแคมเปญบุหรี่ยี่ห้อลัคกี้สไตรค์ของบริษัทอเมริกัน โทแบคโค งานหลังนีเ้ ป็นทีฮ่ อื ฮามากเพราะเบอร์เนย์สหว่านล้อมให้ ผู้หญิงที่ก�ำลังเดินขบวนเรียกร้องสิทธิสตรีในกรุงนิวยอร์กชูบุหรี่ ยี่ห้อนี้เป็น “คบไฟแห่งเสรีภาพ” (torches of freedom) ในปี ๑๙๒๙ เบอร์เนย์สจัดอีเวนต์สื่อระดับโลกเป็น ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เมื่อเขาจัดงานฉลอง ๕๐ ปีที่เอดิสัน ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า โดยมีบริษัทจีอีเป็นสปอนเซอร์อยู่เบื้องหลัง ชื่อเสียงของเบอร์เนย์สเพิ่มพูนขึ้นอย่างรวดเร็วในฐานะนักประชา สัมพันธ์มือทองที่สามารถจัดอีเวนต์เป็นซีรีส์ต่อเนื่องนานหลาย เดือนให้แก่บริษทั ชัน้ น�ำในอเมริกา และกว่ากิจกรรมทัง้ หมดจะจบลง ผู้เสพสื่อก็เปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมไปในทางที่เบอร์เนย์สกับ ลูกค้าของเขาต้องการ อย่างเช่นมองว่าการสูบบุหรี่เป็นการ “ปลด แอก” ผู้หญิงให้เท่าเทียมกับผู้ชาย เบอร์เนย์สไม่ได้เป็นแค่นักประชาสัมพันธ์มือหนึ่ง แต่ ยังเป็นนักปรัชญาที่ครุ่นคิดทบทวนความหมายของวิชาชีพตัวเอง ตลอดชั่วอายุขัย หนังสือแทบทุกเล่มของเขา โดยเฉพาะเล่มที่ 14
สฤณี อาชวานันทกุล
ส่งอิทธิพลอย่างกว้างขวางชื่อ Propaganda (“การโฆษณาชวน เชื่อ”) พยายามอธิบายความเชื่อของเบอร์เนย์สที่ว่า การโฆษณา ชวนเชื่อและเลือกใช้ข่าวเพื่อ “สร้างการยินยอม” (engineering of consent) นั้น เป็นเครื่องมือที่นักประชาสัมพันธ์มีความชอบ ธรรมเต็มเปี่ยมที่จะใช้ เบอร์เนย์สมองว่านักโฆษณาเป็นแค่นักหว่านล้อมที่ รับเงินแลกกับการโน้มน้าวให้คนยอมรับความคิดหรือผลิตภัณฑ์ แต่นักประชาสัมพันธ์คือ “นักวิทยาศาสตร์สังคมประยุกต์” ที่ใช้ องค์ความรู้ในสาขาสังคมวิทยา จิตวิทยา จิตวิทยาสังคม และ เศรษฐศาสตร์ มาประกอบกับเทคนิคการประชาสัมพันธ์ เพื่อท�ำ ให้ความคิดและแนวคิดใหม่ๆ กลายเป็นดรามาที่น่าสนใจส�ำหรับ ผู้คนในวงกว้าง สร้างอิทธิพลต่อผู้น�ำและกลุ่มต่างๆ ในสังคม โดยพุ่งเป้าหมายสูงสุดไปที่การเปลี่ยนทัศนคติของคนส่วนใหญ่ ให้ เ ป็ น ไปในทิ ศ ทางที่ ต ้ อ งการ เบอร์ เ นย์ ส ฟั น ธงในปี ๑๙๒๘ ว่า “ยุคนีเ้ ป็นยุคของการผลิตแบบแมส (mass)...ดังนัน้ เราจึงจ�ำเป็น ที่จะต้องมีเทคนิคเพื่อเผยแพร่ความคิดแบบแมสเช่นเดียวกัน” 15
โลก (ไม่) ลืม คน (ไม่) ส�ำคัญ
เอ็ดเวิร์ด เบอร์เนย์ส
Propaganda ฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. ๒๐๐๕
เบอร์เนย์สมองถึงขั้นว่าการชักใยความเห็นสาธารณะ ผ่านการประชาสัมพันธ์เป็น “สิ่งจ�ำเป็น” ที่ขาดไม่ได้ในระบอบ ประชาธิปไตย เขาอธิบายประเด็นนี้ใน Propaganda ว่า “การชักใยชี้น�ำนิสัยและความคิดเห็นของมวลชนอย่าง จงใจและชาญฉลาดเป็นองค์ประกอบทีส่ ำ� คัญในสังคมประชาธิปไตย กลุ่มคนที่ชักใยกลไกที่มองไม่เห็นของสังคมคือรัฐบาลล่องหนที่เป็น ผู้กุมอ�ำนาจที่แท้จริงในประเทศของเรา ...เราถูกปกครอง จิตใจ ของเราถู ก ครอบง� ำ รสนิ ย มของเราถู ก สร้ า ง ความคิ ด ของเรา ถูกชักจู ง ส่ ว นใหญ่ โ ดยคนที่เ ราไม่เ คยรู้จัก นี่คือผลลัพธ์ที่เป็น เหตุเป็นผลของโครงสร้างสังคมประชาธิปไตยของเรา มนุษย์จำ� นวน มหาศาลจะต้องประสานงานกันแบบนี้ถ้าพวกเขาจะอยู่ร่วมกันได้ อย่างราบรื่นในสังคม ...ในแทบทุกการกระท�ำในวิถีชีวิตประจ�ำวัน ของเรา ไม่วา่ จะเป็นในโลกการเมืองหรือโลกธุรกิจ ในความประพฤติ ทางสั ง คมหรื อ ความคิ ด ทางศี ล ธรรม เราถู ก ครอบง� ำ โดยกลุ ่ ม 16
สฤณี อาชวานันทกุล
ขันที นักเดินเรือ
เจิ้งเหอ
นักเดินเรือผู้ทำ� ให้จีน (เกือบ) น�ำโลกาภิวัตน์ระลอกแรก
ปัจจุบันคงไม่มีใครกังขาอีกต่อไป ว่าจีนและอินเดียจะเป็นมหาอ�ำนาจได้หรือไม่ แต่มีใครเคยสงสัย บ้างไหมว่า ถ้าประเทศจีนได้เป็นอภิมหาอ�ำนาจก่อนชาติตะวันตก โฉมหน้าของโลกยุคปัจจุบันจะเปลี่ยนผันไปมากน้อยเพียงใด จะมี กี่ ค นที่ รู ้ ว ่ า จี น เกื อ บจะเป็ น อภิ ม หาอ� ำ นาจและ ผู้น�ำกระแสโลกาภิวัตน์ระลอกแรกของโลกเมื่อ ๖๐๐ ปีก่อน ด้วย แสนยานุภาพของ “กองเรือมหาสมบัติ” บัญชาการโดยนายพล ชาวมุสลิมและหัวหน้าขันทีนาม เจิ้งเหอ (郑和, ค.ศ. ๑๓๗๑๑๔๓๕) หรือทีค่ นไทยรูจ้ กั ในชือ่ “ซ�ำปอกง” (三宝公) เป็นทีเ่ คารพ กราบไหว้ของคนไทยเชื้อสายจีนนับแสนคนสืบมาจนปัจจุบัน 22 สฤณี อาชวานันทกุล
ภาพสันนิษฐานเรือส�ำเภาเป่าฉวน หรือ “เรือมหาสมบัติ”
ภายใต้การน�ำของแม่ทัพเจิ้งเหอ กองเรือจีนอันเกรียงไกรและยิ่งใหญ่กว่ากองเรือของมหาอ�ำนาจยุโรปหลายเท่า ได้ เดินทางข้ามมหาสมุทรอินเดียไปไกลถึงแอฟริกาตะวันออก แต่ หลังจากนั้นเพียงไม่กี่ทศวรรษ จักรพรรดิจีนทรงตัดสินพระทัย ยุติการเดินเรือไปต่างประเทศ อีกทั้งยังทรงมีค�ำสั่งหยุดการพัฒนา ด้ า นเทคโนโลยี เท่ า กั บ ว่ า หยุ ด การปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรมที่ ก� ำ ลั ง ก่อตัวขึ้นในจีนไปโดยปริยาย และเปิดช่องให้มหาอ�ำนาจในยุโรป ซึ่ ง เล็ ก กว่ า จี น นั บ สิ บ เท่ า ผงาดขึ้ น เป็ น ผู ้ น� ำ โลก น� ำ โลกาภิ วั ต น์ ระลอกแรกไปแทน เจิ้ ง เหอเดิ ม แซ่ ห ม่ า ชื่ อ หม่ า เหอ มี ชื่ อ มุ ส ลิ ม ว่ า มุฮัมมัด อับดุลญับบารฺ เกิด ค.ศ. ๑๓๗๑ ในมณฑลยูนนานทาง 23 โลก (ไม่) ลืม คน (ไม่) ส�ำคัญ
เจิ้งเหอ
จักรพรรดิหย่งเล่อ อนุสาวรีย์เจิ้งเหอ ที่ Stadthuys Museum ในมะละกา มาเลเซีย
(ภาพ : Wikimedia Common)
ตอนใต้ของประเทศจีน ในตระกูลขุนนางมุสลิมสกุล เซมูร์ สืบ ตระกูลจาก ซัยยิด อัจญาล ชัมสุดดีน อุมัร ผู้ปกครองมณฑล ยูนนานผู้มีชื่อเสียงจากอุซเบกิสถาน เมื่ออายุ ๑๒ ปี กองทัพของ จักรพรรดิหงหวู่ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์หมิง กรีฑาทัพชาวจีนฮั่นขับไล่ ชาวมองโกลที่มาตั้งราชวงศ์หยวนออกจากประเทศจีนได้ส�ำเร็จ เข้ายึดยูนนานและผนวกเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรหมิง เด็ก ชายหม่าเหอถูกจับตอนเป็นขันที ปรนนิบัติรับใช้เจ้าชายจูตี้จน พระองค์ทรงไว้วางพระทัยในตัวเขาเป็นอันมาก ต่ อ มาเมื่ อ ถึ ง ปลายรั ช สมั ย จั ก รพรรดิ ห มิ ง ไท่ จู ่ เกิ ด สงครามแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างจูตี้กับหมิงฮุ่ยตี้ เจิ้งเหอเป็นก�ำลัง ส� ำ คั ญ ที่ ช ่ ว ยวางแผนให้ จู ตี้ ไ ด้ รั บ ชั ย ชนะ ขึ้ น ครองบั ล ลั ง ก์ เ ป็ น จักรพรรดิหมิงเฉิงจู่ มีชื่อรัชกาลว่า “หย่งเล่อ” พระเจ้าหย่งเล่อ 24 สฤณี อาชวานันทกุล
ช่างนาฬิกา
จอห์น แฮร์ริสัน
ช่างนาฬิกาผู้เปิดต�ำนาน จักรวรรดิอังกฤษ
ในมุมมองของ ทอมัส ฟรีดแมน (Thomas Friedman) ผู้เขียนหนังสือขายดีกระฉ่อนโลกเรื่อง The World Is Flat (“โลกแบน”) โลกาภิวตั น์ยคุ แรกของโลก (ทีฟ่ รีดแมน เรียกว่า “โลกาภิวัตน์ ๑.๐” แต่คนทั่วไปรู้จักในนาม “ยุคแห่งการ ส�ำรวจ” หรือ Age of Exploration) เกิดขึ้นและด�ำเนินไประหว่าง คริสต์ศตวรรษที่ ๑๕-๑๙ เมื่อประเทศมหาอ�ำนาจในยุโรปต่าง ให้เงินสนับสนุนแก่นักส�ำรวจให้เดินเรือข้ามทวีปไปส�ำรวจและ ค้นหาเส้นทางการค้าใหม่ๆ มาป้อนยุโรปที่ก�ำลังขยายตัวอย่า ง รวดเร็ว ความส�ำเร็จของการค้นพบทวีปใหม่ (“ใหม่” ในสายตา ยุโรป) ในยุค “โลกาภิวัตน์ ๑.๐” ต้องแลกมาด้วยต้นทุนสูงมาก 60 สฤณี อาชวานันทกุล
เพราะไม่วา่ กัปตันเรือในสมัยนัน้ จะเก่งเพียงใด ทุกคนล้วนต้องท�ำใจ ว่าอาจตายกลางทะเล ไม่ใช่จากพายุคลื่นลมที่พอจะพยากรณ์ได้ แต่จากอันตรายที่ร้ายกาจยิ่งกว่านั้นคือ หลงทางจนอดตาย ชนหิน โสโครก หรือถูกปล้นโดยโจรสลัด เพราะสมัยนั้นมนุษย์ยังไม่มีวิธี วัดลองจิจูด (เส้นแวง) อย่างเที่ยงตรง วัดได้แต่ละติจูด (เส้นรุ้ง) เท่านั้น ท�ำให้ไม่มีทางรู้พิกัดเรือที่แน่ชัด ปัญหานี้ท�ำให้เรือจ�ำนวน มากสูญหายกลางทะเล และเป็นค�ำอธิบายว่าเหตุใดการค้นพบครั้ง ส�ำคัญหลายกรณีในยุคแห่งการส�ำรวจ จึงเป็น “เหตุบังเอิญ” ที่ไม่ คาดฝัน ตัวอย่างเหตุบังเอิญที่โด่งดังที่สุดอาจเป็นการค้นพบทวีป อเมริกาของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ผู้เข้าใจผิดจวบจนวาระสุดท้าย ของชีวิตว่า ดินแดนที่เขาค้นพบนั้นคือทวีปอินเดียตามความตั้งใจ เดิม ความเข้าใจผิดของโคลัมบัสเป็นเหตุผลที่โลกตะวันตกเรียก ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาว่า “American Indians” จวบจนทุก วั น นี้ (ส่ ว นชาวอเมริ กั น ที่ มี เ ชื้ อ สายอิ น เดี ย จริ ง ๆ นั้ น ใช้ ค� ำ ว่ า “Indian Americans”)
61
โลก (ไม่) ลืม คน (ไม่) ส�ำคัญ
จอห์น แฮร์ริสัน
จอห์น แฮร์ริสัน (John Harrison, ค.ศ. ๑๖๙๓-๑๗๗๖) ช่างนาฬิกาชาวอังกฤษ คือ คน (ไม่) ส�ำคัญผู้ประดิษฐ์นาฬิกาที่ วัดลองจิจูดได้ส�ำเร็จเป็นคนแรกในปี ค.ศ. ๑๗๗๒ แต่ท�ำไมการวัดลองจิจูดจึงเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญ ที่ต้องใช้เวลาหลายร้อยปี จนถึงกับกล่าวกันว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทาย สติปัญญาของมนุษย์ที่สุดในยุคนั้น ? ค� ำ ตอบของค� ำ ถามข้ อ นี้ ต ้ อ งอาศั ย ความเข้ า ใจว่ า ลองจิจูดต่างจากละติจูดตรงที่ละติจูดมีเส้นศูนย์สูตรเป็น “เส้น อ้ างอิง” ตามธรรมชาติ (เพราะเป็นเส้นที่แบ่งโลกในแนวนอน ออกเป็นสองซีกที่มีขนาดเท่ากัน คือซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้) การวัดละติจูดซึ่งวัดระยะทางเป็นหน่วยองศาจากเส้นศูนย์สูตรไป ทางทิศเหนือหรือใต้ จึงเป็นเรื่องง่ายที่คนวัดเป็นมาแล้วหลายพันปี ด้วยการจับเวลาว่า “กลางวัน” ในทะเลยาวกี่ชั่วโมง และวัดระยะ ห่างจากพื้นน�้ำถึงพระอาทิตย์เหนือหัวเวลาเที่ยงวัน หรือดาวเหนือ เวลากลางคืน แต่เนื่องจากลองจิจูดคือการวัดไปทางทิศตะวัน ออกหรือตะวันตก จึงไม่มีเส้นอ้างอิงตามธรรมชาติเหมือนละติจูด (สมมุติถ้าโลกเป็นผลส้ม ไม่ว่าเราจะผ่าตรงไหนก็จะได้สองซีก เท่ากันหมด ตราบใดที่เราตัดผ่านจุกส้มซึ่งเปรียบเสมือนขั้วโลก เหนือ) นอกจากนี้เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเองในอัตราคงที่ คือ ๓๖๐ องศาต่อวัน หรือ ๑๕ องศาต่อชั่วโมง ลองจิจูดกับเวลา จึงสัมพันธ์กันโดยตรง ทุกๆ ๑ องศาลองจิจูดเท่ากับ ๔ นาทีเท่า กันทั่วโลก แต่ในแง่ของระยะทาง ๑ องศาลองจิจูดมีคา่ ไม่แน่นอน คือเท่ากับ ๖๐ ไมล์ทะเลทีเ่ ส้นศูนย์สตู ร และลดลงเรือ่ ยๆ จนเหลือ 62 สฤณี อาชวานันทกุล
ช่างภาพ
อัลแบร์โต กอร์ดา
ช่างภาพผู้อยู่เบื้องหลังรูปถ่าย ที่ท�ำซ�้ำมากที่สุดในโลก
ลืมกล้องของเธอ ลืมเลนส์ของเธอ ลืมไอ้พวกนี้ไปให้หมด กล้องกระจอกราคา ๔ เหรียญ ก็ท�ำให้เธอถ่ายรูปที่ดีที่สุดได้ อัลแบร์โต กอร์ดา
ในบรรดารู ป ถ่ า ยทั้ ง หมดตั้ ง แต่ อดีตจวบจนปัจจุบัน มีรูปถ่ายเพียงหยิบมือเดียวเท่านั้นที่ไม่เพียง แต่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย หากยังมี “ความเป็นสากล” สูง จนสามารถข้ามพ้นพรมแดนทางชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมได้ ตลอดมา ส�ำหรับรูปที่เข้าข่ายนี้ รูปลูกโลกที่ถ่ายจากยานอพอลโล ๘ ขณะโคจรรอบดวงจันทร์ ชื่อรูป “Earthrise” อาจเป็นรูปถ่าย ที่มีคนรู้จักมากที่สุดในโลก ขณะที่รูปชนะรางวัลพูลิตเซอร์ปี ค.ศ. ๑๙๙๔ ซึ่ ง จั บ ภาพเด็ ก ชาวซู ดานตั ว ผอมเหลื อ แต่ ก ระดู ก ก� ำ ลั ง คลานไปบนพื้นดิน มีอีแร้งยืนรอคอยเวลาของมัน อาจเป็นรูปที่ กระตุกต่อมส�ำนึกคนให้เห็นโศกนาฏกรรมของคนต่างชาติตา่ งภาษา ได้ดีที่สุดในโลก 72 สฤณี อาชวานันทกุล
เออร์เนสโต เช กูวารา
รูปเหล่านั้นอาจเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย แต่รูปที่ถูก ท�ำซ�้ำและเผยแพร่บ่อยครั้งที่สุดในโลก คือรูปถ่า ย เออร์เนสโต “เช” กู ว ารา นั ก สู ้ เ พื่ อ ประชาชนชาวอาร์ เ จนติ น า ผู ้ ต ่ อ สู ้ เ พื่ อ ประชาชนชาวละตินอเมริกาทั้งทวีป ผู้น�ำการปฏิวัติคิวบาเคียงบ่า เคียงไหล่ ฟิเดล คาสโตร เป็นรูปที่ต้องตาและติดใจคนทั้งโลก จนกลายเป็น “สัญลักษณ์” แห่งการประท้วงของประชาชนแทบ ทุกมุมโลก ถึงแม้ว่าเชจะล่วงลับไปแล้วเกือบครึ่งศตวรรษหลังจาก ที่เขาถูกทหารโบลิเวียที่มีสหรัฐอเมริกาหนุนหลังจับตัวได้ในป่า และ ถูกประหารชีวติ ในปี ๑๙๖๗ ประวัตขิ องเขาก็ยงั ได้รบั การสดุดอี ย่าง ไม่เสื่อมคลาย ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ นักปรัชญาชื่อดังชาวฝรั่งเศส ถึงกับเคยกล่าวว่าเช “เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดในยุคสมัย ของเรา” 73
โลก (ไม่) ลืม คน (ไม่) ส�ำคัญ
อัลแบร์โต กอร์ดา