ห นั ง สื อ ชุ ด ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ สำ � ห รั บ ป ร ะ ช า ช น
ISBN 974-7727-57-9
หมวดประวัต ิศาสตร์ ราคา ๓๒๐ บาท ISBN 978-974-7727-57-9 9 789747 727579
”
ส่วนหนึ่งจาก ค�ำน�ำเสนอ โดย รศ.ดร. ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์
ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนา ข่าเจือง : กบฏไพร่ พระราชอาณาเขตสยาม-ล้ านซ้าง
“
ข่าเจือง : กบฏไพร่-ขบวนการผู้มีบุญยุคสถาปนาพระราชอาณาเขต สยาม-ล้านซ้าง นี้มีจุดเด่นที่น่าสนใจก็คือ การปูพื้นว่าด้วย “ข่า” ความรู้และความ เป็นการเมือง” โดยให้ภาพ “ข่า” คือใคร...นอกจากนีย้ งั ให้ภาพการเมืองของต�ำนาน และความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนที่ท�ำให้คนข่ามีสถานะต�่ำกว่าลาวและกลุ่มอื่นๆ ...ผู้เขียนยังได้อธิบายสถานะของขุนเจืองจากคติความเชื่อดั้งเดิม (คติผีเจือง ผี แถน) สู่พทุ ธศาสนา ที่ได้กลายมาเป็นฐานทางด้านอุดมการณ์ของกบฏข่าตั้งแต่ครั้ง ต้นรัตนโกสินทร์จนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕...รวมทั้งบทส่งท้ายที่เขียนได้อย่าง น่าติดตาม โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องการขยายอ�ำนาจของสยามเข้าไปในหัวเมือง ประเทศราชล้านช้างให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ “พระราชอาณาเขตสยาม” ชนชั้นน�ำ สยามได้รับการตอบรับด้วยดีจากชนชั้นน�ำลาว ขณะที่กลุ่มข่าซึ่งเป็นชนพื้นเมืองใน ล้านช้างกลับได้รับผลตรงกันข้าม การรวมตัวก่อการกบฏ “ข่าเจือง” จึงเกิดขึ้น ...งานของก�ำพล จ�ำปาพันธ์เล่มนี้นอกเหนือจากช่วยเต็มเติมให้กับการ ศึกษาขบวนการผูม้ บี ญ ุ ในช่วง พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๔๓๖ แล้วยังเป็นการศึกษาขบวนการ ของชนเผ่า “ข่า” ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในตอนเหนือของลาวอีกด้วย
ข่าเจือง : กบฏไพร่ ขบวนการผู้มีบุญ หลังสถาปนา พระราชอาณาเขต สยาม-ล้านซ้าง ก�ำพล จ�ำปาพันธ์
ISBN 978-974-7727-57-9 หนังสือ ชุดประวัติศาสตร์ส�ำหรับประชาชน ข่าเจือง : กบฏไพร่-ขบวนการผู้มีบุญ หลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านซ้าง ผู้เขียน ก�ำพล จ�ำปาพันธ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๕ จ�ำนวนพิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม ราคา ๓๒๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด บรรณาธิการเล่ม อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ พิสูจน์อักษร วรินวิตตา ดารามาตร์ ออกแบบปก/รูปเล่ม จ�ำนงค์ ศรีนวล คอมพิวเตอร์/จัดรูปเล่ม วัลลภา สะบู่ม่วง ควบคุมการผลิต ธนา วาสิกศิริ แยกสี/เพลต เอ็นอาร์. ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์ที่ บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์ จ�ำกัด โทร ๐-๒๗๒๐-๕๐๑๔ จัดจ�ำหน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ก�ำพล จ�ำปาพันธ์. ข่าเจือง : กบฏไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม ล้านซ้าง.--กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๕. ๓๓๖ หน้า. ๑. ไทย--ประวัติศาสตร์. ๒. ไทย--การเมืองและการปกครอง- กรุงรัตนโกสินทร์, ๒๔๓๖ I. ชื่อเรื่อง. ๙๕๙.๓๗๓ ISBN 978-974-7727-57-9
ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด) ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวง บ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัต)ิ โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช พิชัย วาศนาส่ง สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผู้อ�ำนวยการ สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ ผูอ้ ำ� นวยการฝ่ายศิลป์ จ�ำนงค์ ศรีนวล ผูอ้ ำ� นวยการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ ปฏิมา หนูไชยะ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง
2
ข่าเจือง : กบฎไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง
สารบัญ ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ๖ ค�ำน�ำเสนอ โดย รศ.ดร. ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ ๘ ค�ำน�ำผู้เขียน ๑๓
บทที่ ๑ ข่าเจือง : ขบวนการผู้มีบุญ ๒๑ หลังสถาปนาพระราชอาณาเขต สยาม-ล้านซ้าง บทน�ำ
๒๑
บทที่ ๒ “ข่า” ความรู้และความเป็นการเมือง ๓๙ “ข่า” คือใครในสังคมลุ่มน�้ำโขง การเมืองของต�ำนานและความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชน การเกลี้ยกล่อมข่าไพร่ กลุ่มชนนักรบพื้นเมืองเดิม
๓๙ ๔๙ ๘๐ ๘๕
บทที่ ๓ ขุนเจือง : จากคติความเชื่อดั้งเดิม ๑๐๑ สู่พุทธศาสนา
การปรับเปลี่ยนจักรวาลทัศน์ในสังคมไท-ลาว จากวีรบุรุษทางวัฒนธรรมสู่บุคคลในประวัติศาสตร์ รหัสนัยทางวัฒนธรรมของปรัมปราคติ จากผีบรรพบุรุษสู่ธรรมิกราชา
๑๐๑ ๑๐๔ ๑๑๗ ๑๒๔
กําพล จําปาพันธ์
3
บทที่ ๔ กบฏข่าผู้มีบุญก่อนการสถาปนา ๑๔๕ พระราชอาณาเขต กบฏข่า พ.ศ. ๒๓๑๒-๒๓๖๙ ๑. กบฏข่า พ.ศ. ๒๓๑๒ ๒. กรณีเจ้าโอ เจ้าอิน พ.ศ. ๒๓๒๒-๒๓๒๕ ๓. กบฏเซียงแก้ว พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๓๔ ๔. กบฏข่าบวมหาน พ.ศ. ๒๓๕๗-๒๓๕๘ ๕. กบฏพะสาเกดโง้ง พ.ศ. ๒๓๖๐-๒๓๖๙ จากการเมืองอัตลักษณ์สู่สงครามปลดปล่อย
๑๔๕ ๑๔๕ ๑๕๕ ๑๕๖ ๑๖๐ ๑๖๑ ๑๖๙
บทที่ ๕ กบฏข่าผู้มีบุญหลังสถาปนา ๑๗๖ พระราชอาณาเขตสยาม-ล้านซ้าง
ปมปัญหาและเงื่อนไขของความขัดแย้ง การก่อตัวของขบวนการข่าเจือง จากโจรสังคมสู่ขบวนการกบฏทางชาติพันธุ์ พิธีกรรมการแสดงองค์ของ “ผู้มีบุญ” กลุ่มชนข่า พระยาว่าน-ผู้มีบุญตามคติผีเจือง ท้าวล่าแสงแสนเหิน-ผู้มีบุญตามคติผีแถน เครือข่ายกลุ่มชนและการต่อสู้ของข่าเจือง กลุ่มท้าวล่าแสงแสนเหิน กลุ่มพระยาพระ-พระยาว่าน กลุ่มพระยาร่มโพธิ์และพระยาวังลง กลุ่มพระยาดอกไม้และพระยาค�ำ กลุ่มพระยายี่ พระยาเกิด
4
๑๗๖ ๑๙๔ ๒๐๑ ๒๐๖ ๒๐๘ ๒๑๑ ๒๑๕ ๒๑๕ ๒๑๙ ๒๒๑ ๒๒๑ ๒๒๒
ข่าเจือง : กบฎไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง
บทที่ ๖ สงคราม การปราบปราม ๒๓๕ และปัญหาสืบเนื่อง
วิกฤติการณ์เมืองแถง การปราบปรามข่าโดยกองทัพเวียดนาม การปราบปรามข่าโดยกองทัพสยาม สถานการณ์เมืองพวน จาก “ข่าเจือง” กลับเป็น “ข่าขัด” ข่าขัดกับ “เขตรอยต่อ” ระหว่างล้านซ้าง/สยามกับเวียดนาม/ ฝรั่งเศส การสิ้นสุด “พระราชอาณาเขต” ในดินแดนลุ่มแม่น�้ำโขง
๒๓๕ ๒๓๙ ๒๕๓ ๒๖๖ ๒๖๙ ๒๗๑ ๒๘๕
บทที่ ๗ บทส่งท้าย ๒๙๘ บรรณานุกรม ๓๐๗
กําพล จําปาพันธ์
5
ค�ำน�ำเสนอ โดย รศ.ดร. ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์
ขบวนการ “ผู้มีบุญ” เป็นเรื่องที่มีผู้สนใจและศึกษากันมาก โดยเฉพาะช่วงผูม้ บี ญ ุ อีสาน พ.ศ. ๒๔๔๒-๒๔๔๕ มีทงั้ นักวิชาการไทย และต่างประเทศ ดังเช่น เตช บุนนาค ชาร์ลส์ เอฟ. คายส์ ไพฑูรย์ มีกศุ ล จอห์น บี.เมอร์ดอค โยเนโอะ อิชอิ ิ นงลักษณ์ ลิม้ ศิร ิ สุนทรีย์ อาสะไวย์* (ดูในบทที่ ๑) เป็นต้น แต่หากพิจารณางานเขียนเกี่ยวกับ ขบวนการ “ผูม้ บี ญ ุ ” ทีเ่ คลือ่ นไหวในลาวช่วงตกเป็นเมืองขึ้นของสยาม นั้น จะพบว่ามีงานที่ศึกษาน้อยมาก และเกือบทั้งหมดศึกษาขบวนการ ผู้มีบุญช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๖๒ ดังเช่น งานของนงลักษณ์ ลิม้ ศิร ิ ทีศ่ กึ ษาขบวนการของกลุม่ เชียงแก้ว พ.ศ. ๒๓๓๔ และขบวนการ กลุ่มสาเกียดโง้ง พ.ศ. ๒๓๕๘-๒๓๖๒ นอกจากนี้มีงานของวุฒิชัย มูลศิลป์ (๒๕๒๕) ศึกษา “กบฏอ้ายสาเกียดโง้ง : วิเคราะห์จากเอกสาร พื้นเวียง” แต่จะเห็นได้ว่างานทั้งสองชิ้นดังกล่าวจ�ำกัดอยู่ในช่วงต้น รัตนโกสินทร์กอ่ นเกิดเหตุการณ์เจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. ๒๓๖๙ ดังนัน้ จึงยัง *พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล และอัจฉรา กมุทพิสมัย (บก.), “ความเชื่อพระศรีอาริย์” และ “กบฎผู้มีบุญ”ในสังคมไทย, (กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์สร้างสรรค์, ๒๕๒๗.) นอก จากนีม้ งี านของสุวทิ ย์ ธีรศาศวัต, ประวัตศิ าสตร์อสี าน ๒๓๒๒-๒๔๘๘, (ขอนแก่น : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๕๐) ได้รวบรวมขบวนการผีบญ ุ ทีเ่ กิด ขึ้นในอีสานไว้ทั้งหมดอีกด้วย
8
ข่าเจือง : กบฎไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง
ไม่มีงานที่ศึกษาช่วงหลัง พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๔๓๖ ก่อนที่ลาวจะตกเป็น อาณานิคมของฝรัง่ เศส แต่ก�ำพล จ�ำปาพันธ์ ผูเ้ ขียน ข่าเจือง : กบฏ ไพร่-ขบวนการผูม้ บี ญ ุ หลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านซ้าง ได้เติมเต็มให้กับกับช่องว่างดังกล่าว นอกจากนีห้ ากพิจารณางานขบวนการ “ผูม้ บี ญ ุ ” ของนักวิชาการ ลาวนัน้ พบว่าส่วนใหญ่เน้นศึกษาช่วงตกอยูใ่ ต้การปกครองของฝรัง่ เศส ซึง่ มีทงั้ ขบวนการผูม้ บี ญ ุ และขบวนการต่อต้านฝรัง่ เศสในรูปของอุดมการณ์ ต่างๆ ดังเช่น งานของทองสา ไซยะวงค�ำดีและคณะ (๑๙๘๙)**สุเนด โพทิสานและหนูไซ พุมมะจัน***(๒๐๐๐) รวมทัง้ หนังสือแบบเรียนประวัต-ิ ศาสตร์ของลาวชัน้ มัธยมศึกษาปีท ี่ ๒ (๒๐๑๑) และชัน้ มัธยมศึกษาปีท ี่ ๗ (๒๐๑๐) ได้กล่าวถึง ขบวนการต่อสูข้ องประชาชนภายใต้การน�ำของพ่อ ุ ) (พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๔๖) ภายใต้การน�ำขององแก้วและ กะดวด (ผูม้ บี ญ องกมมะด�ำ (ผูม้ บี ญ ุ ) (พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๕๐) ทัง้ สองกลุม่ เคลือ่ นไหวใน เขตภาคใต้ของลาว นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการเคลื่อนไหวที่ภาคกลาง และภาคเหนือก็คือ การเคลื่อนไหวของขบวนการต่อสู้ของชาวเผ่าลื้อ ทีเ่ มืองสิง (พ.ศ. ๒๔๕๑) ภายใต้การน�ำของเจ้าวันนะพูมทีเ่ มืองอู (พงสาลี) พ.ศ. ๒๔๕๑-๒๔๕๓ ภายใต้การน�ำของเจ้าฟ้าปาไจ เป็นต้น ส่วน งานที่ศึกษาลาวในช่วงอยู่ใต้อิทธิพลของสยามนั้น พบว่าการศึกษา ขบวนการผู้มีบุญช่วงนี้มีไม่มากนัก งานที่พบเน้นไปที่การต่อสู้ของ ประชาชนภาคใต้แถบจ�ำปาสัก อัดตะปือ ที่ต้านการรุกรานของศักดินา สยามและศักดินาจ�ำปาสัก ดังเช่นงานของสุเนด โพทิสานและหนูไซ พุมมะจัน (๒๐๐๐) กล่าวถึง ขบวนการภายใต้การน�ำของเจ้าโอ เจ้าอิน (พ.ศ. ๒๓๒๓-๒๓๒๕) และขบวนการภายใต้การน�ำของเชียงแก้ว และ **ประวัติศาสตร์ลาว เล่ม ๓ (๑๘๙๓-ปัจจุบัน) เล่มนี้มีอิทธิพลต่อการเขียนงาน ประวัติศาสตร์ลาวเล่มอื่นๆ ใน สปป. ลาว ***ประวัติศาสตร์ลาว (ดึกด�ำบรรพ์-ปัจจุบัน)
กําพล จําปาพันธ์
9
งานของสภาวิทยาศาสตร์-ประวัติศาสตร์การทหาร กระทรวงป้องกัน ประเทศ (๒๐๐๕)**** ได้กล่าวถึงขบวนการภายใต้การน�ำของเชียงแก้ว (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๓๔) ที่เคลื่อนไหวในเขตภาคใต้ของลาว เป็นที่น่า สนใจว่า งานทัง้ สองเล่มนีไ้ ม่ได้กล่าวถึงกรณีของสาเกียดโง้ง หากแต่ งานของสุเนด โพทิสานและหนูไซ พุมมะจันกลับให้ความสนใจต่อการ เคลือ่ นไหวของกลุม่ เจ้านันทะเสน (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๓๗) และกรณีเจ้า อนุวงศ์ ซึง่ เป็นการเคลือ่ นไหวของกลุม่ ชนชัน้ น�ำลาว ส่วนงานของค�ำฮุง่ แสนมะนีและคณะ***** ซึ่งศึกษาช่วงเดียวกันกับเหตุการณ์ข่าเจืองได้ ศึกษาเกีย่ วสยามกับการกวาดต้อนชาวพวนในเอกสาร กาพย์เมืองพวน อาจกล่าวได้วา่ งานของก�ำพล จ�ำปาพันธ์เล่มนี ้ นอกเหนือจาก ช่วยเต็มเติมให้กับการศึกษาขบวนการผู้มีบุญในช่วง พ.ศ. ๒๓๖๙๒๔๓๖ แล้ว ยังเป็นการศึกษาขบวนการของชนเผ่า “ข่า” ซึง่ เป็นชนกลุม่ น้อยในตอนเหนือของลาวอีกด้วย ส�ำหรับหนังสือ ข่าเจือง : กบฏไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลัง สถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านซ้าง นีม้ จี ดุ เด่นทีน่ า่ สนใจ ก็คอื การปูพนื้ ว่าด้วย “ข่า” ความรูแ้ ละความเป็นการเมือง (บทที ่ ๒) โดยให้ภาพ “ข่า” คือใคร ด้วยการจ�ำแนกที่มาและนิยามความหมายของค�ำว่าข่า และค�ำที่ชนกลุ่มอื่นเรียก “ข่า” ในลุ่มน�้ำโขง นอกจากนี้ยังให้ภาพ การเมืองของต�ำนานและความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนที่ท�ำให้คนข่า มีสถานะต�่ำกว่าลาวและกลุ่มอื่นๆ ดังเช่น นิทานน�้ำเต้าปุงและพื้นขุนบรมราชาธิราช ที่เน้นย�้ำความอ่อนด้อยกว่าของคนข่า ขณะเดียวกันก็ ****ดู ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของกองทัพและประชาชนลาวบันดาเผ่าต้านกับ การรุกรานของจักรพรรดิฝรั่งเศส-อเมริกาอยู่บรรดาแขวงภาคใต้ ๑๙๔๕- ๑๙๗๕, (เวียงจันทน์ : โรงพิมพ์เอกภาพ.) *****คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ, กาพย์เมืองพวน, (เวียงจันทน์ : โรง พิมพ์ศึกษา, ๒๐๐๑.)
10
ข่าเจือง : กบฎไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง
สร้างความชอบธรรมแก่ลาวและผู้ไทให้มีสิทธิอ�ำนาจเหนือคนข่า การ เมืองเรื่องของต�ำนานจึงเป็นสิ่งที่น่าติดตามยิ่ง ความน่าสนใจมิได้จ�ำกัดอยูเ่ พียงเท่านัน้ ในบทที ่ ๓ ผูเ้ ขียนยังได้ อธิบายสถานะของขุนเจืองจากคติความเชื่อดัง้ เดิม (คติผีเจือง ผีแถน) สูพ่ ทุ ธศาสนา โดยชีใ้ ห้เห็นภาพของการปรับเปลีย่ นจักรวาลทัศน์ในสังคม ไท-ลาว และวีรบุรษุ ทางวัฒนธรรมสูบ่ คุ คลส�ำคัญในประวัตศิ าสตร์ จาก ผีบรรพบุรษุ สูธ่ รรมิกราช แสดงให้เห็นว่า ขณะที ่ “ขุนเจือง” ในความคิด ความทรงจ�ำของกลุม่ ชนตระกูลไท-ลาวได้ววิ ฒ ั น์กลายเป็นวีรบุรษุ ในคติ ความเชื่อทางพุทธศาสนา เรื่องราวของขุนเจืองกลายเป็นต้นเค้าของ การเข้ามาของพุทธศาสนาในดินแดนแถบลุ่มน�้ำโขง แสดงเงื่อนไขการ ยอมรับนับถือพุทธศาสนาของบรรพชน แต่ส�ำหรับกลุม่ ชนข่า “ขุนเจือง” กลับเป็นวีรบุรษุ ในต�ำนานตามคติความเชือ่ ดัง้ เดิม เป็นอดีตผูน้ �ำทีท่ รง อ�ำนาจเหนือกลุม่ ชนผูป้ กครองทีจ่ ะกลับมาชีน้ �ำการต่อสูป้ ลดปล่อยพวก ตนจากการปกครองของลาวและไทย และขุนเจืองในคติความเชื่อนี้ได้ กลายมาเป็นฐานทางด้านอุดมการณ์ของกบฏข่าตัง้ แต่ครัง้ ต้นรัตนโกสินทร์ จนถึงต้นพุทธศตวรรษที ่ ๒๕ เมือ่ ให้ภาพเกีย่ วกับ “ข่า” และ “เจือง” ได้แจ่มชัด การกล่าวถึง กบฏข่าผูม้ บี ญ ุ จึงอรรถาธิบายได้อย่างราบรืน่ ในบทที่ ๔ ว่าด้วยกบฏข่า ผู้มีบุญก่อนการสถาปนาพระราชอาณาเขตซึ่งให้ภาพอย่างละเอียดถึง ขบวนการต่างๆ ได้แก่ กบฏข่า พ.ศ. ๒๓๑๒ กรณีเจ้าโอและเจ้าอิน พ.ศ. ๒๓๒๒-๒๓๒๕ กบฏเชียงแก้ว พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๓๔ กบฏข่า บวมหาน พ.ศ. ๒๓๕๗-๒๓๕๘ และกบฏพะสาเกดโง้ง พ.ศ. ๒๓๖๒๒๓๖๙ เป็นต้น บทที ่ ๕ กบฏข่าผูม้ บี ญ ุ หลังสถาปนาพระราชอาณาเขต สยาม-ล้านซ้าง และบทที ่ ๖ สงคราม การปราบปราม และปัญหาสืบเนือ่ ง รวมทั้งบทส่งท้าย ก�ำพลเขียนได้อย่างน่าติดตาม โดยเฉพาะแนวคิด เรื่องการขยายอ�ำนาจของสยามเข้าไปในหัวเมืองประเทศราชล้านช้าง ให้กลายเป็นส่วนหนึง่ ของ “พระราชอาณาเขตสยาม” ชนชัน้ น�ำสยามได้รบั กําพล จําปาพันธ์
11
การตอบรับด้วยดีจากชนชั้นน�ำลาว ขณะที่กลุ่มข่าซึ่งเป็นชนพื้นเมือง ในล้านช้างกลับได้รบั ผลตรงกันข้าม การรวมตัวก่อการกบฏ “ข่าเจือง” จึงเกิดขึ้น เหตุการณ์นี้จะจบลงอย่างไร และความสืบเนื่องจะเป็นเช่นไร ควรที่จะอ่านด้วยตัวของท่านเอง รศ.ดร. ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
12
ข่าเจือง : กบฎไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง
ค�ำน�ำผู้เขียน
ผลงานชิน้ นีป้ รับปรุงมาจากส่วนหนึง่ ของวิทยานิพนธ์ปริญญา อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เรือ่ ง “ข่าเจือง : กบฏผู้ มีบุญในพระราชอาณาเขตสยาม พ.ศ. ๒๔๑๕-๒๔๓๖” โดยมีจุดเริ่ม มาจากความพยายามในการผนวกรวมประเด็นความสนใจทางวิชาการ ของผู้เขียน ๓ ประการเข้าด้วยกัน คือ ๑. การวิเคราะห์คติความเชื่อ ของกลุ่มชาติพันธุ์ ๒. ปัญหาการเข้าสู่สังคมสมัยใหม่ของสยาม ลาว และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ๓. เงื่อนไขความเป็นไปได้ของการ ศึกษาประวัตศิ าสตร์ไทย ลาว และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีกลุม่ ชนพื้นเมืองเป็นศูนย์กลางของการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ แต่ละประเด็นนัน้ ไม่งา่ ยเลยทีจ่ ะศึกษาให้รแู้ จ้ง ด้วยเงือ่ นไขข้อ จ�ำกัดนานัปการ แต่ด้วยหัวข้อ “ข่าเจือง” ที่เลือกสรรมานี้ก็น�ำพาให้ผู้ เขียนได้มโี อกาสเดินทางท่องไปในทีท่ ไี่ ม่เคยไป อ่านในสิง่ ทีก่ อ่ นนีไ้ ม่คดิ ว่าจะได้อา่ น พิจารณาใคร่ครวญในประเด็นปัญหาทีค่ นอืน่ เขาไม่ใคร่จะ คิดกัน ทั้งนี้นอกจากจะเป็นหัวข้อที่มีความเป็นไปได้ที่จะผนวกความ สนใจทั้งสามประการนี้เข้าด้วยกันแล้ว ยังอาจเป็นเงื่อนไขให้เกิดมุม มองใหม่ในการเข้าใจประเด็นปัญหาทางประวัตศิ าสตร์ เพราะความใหม่ ในการเป็นหัวข้อศึกษาที่แทบไม่อยู่ในจักรวาลการรับรู้ของใครเลย ก็
กําพล จําปาพันธ์
13
ท�ำให้ผู้เขียนได้มีโอกาสท�ำงานบุกเบิกชิ้นนี้ขึ้นมาได้อย่างเงียบๆ นับตั้งแต่ได้แง่คิดว่า การยอมรับและเข้าใจในมุมมองความ แตกต่างทางความเชื่อของคนเรา เป็นสิ่งจ�ำเป็นส�ำหรับประชาธิปไตย และชีวติ สมัยใหม่ ผูเ้ ขียนก็เริม่ สนใจเกีย่ วกับคติความเชือ่ ของกลุม่ ชาติพันธุ์ที่ปรากฏอยู่ในต�ำนานเรื่องเล่าต่างๆ เรื่อยมา บ่อยครั้งที่พบว่า แม้ในกลุ่มชนที่ถูกมองว่าล้าหลังอย่างถึงที่สุดก็มีวิถีความเชื่อที่แสดง ออกถึงการใช้สติปัญญาอย่างสูง ไม่มีใครเหนือกว่าใครอีกต่อไป จะ มีก็แต่มนุษย์ที่อยู่ในภาวะเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ต�ำนานเรื่องเล่าเกี่ยว กับท้าวฮุง่ ขุนเจืองนัน้ เป็นสมบัตทิ างวัฒนธรรมของกลุม่ ชาติพนั ธุอ์ ย่าง ไม่ตอ้ งสงสัย นอกจากการมีฉบับต่างๆ หลากหลายแล้ว ยังหมายถึง อิทธิพลทางวัฒนธรรมความเชือ่ ทีม่ ตี อ่ กลุม่ ต่างๆ ในแถบลุม่ แม่นำ�้ โขง เมือ่ สยามขยายอ�ำนาจใหม่ไปยังลุม่ แม่นำ�้ โขง จึงเป็นธรรมดา ทีจ่ ะเกิดความขัดแย้งกันในวัฒนธรรมความเชือ่ ซึง่ จะเป็นปัจจัยพืน้ ฐาน ทีส่ �ำคัญท�ำให้เกิดการก่อตัวของกบฏและสงครามต่อต้านในเวลาต่อมา โดยอ�ำนาจใหม่ที่ว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปรับตัวของชนชั้นน�ำ สยามภายใต้ระบบโลกยุคอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที ่ ๑๙ จาก “หัว เมืองประเทศราช” ก็ถกู ท�ำให้กลายเป็น “พระราชอาณาเขต” หรือก็คอื “อาณานิคมของสยามใหม่” ก่อนที่ความล้มเหลวที่มีต่อหลวงพะบาง ในช่วงหัวเลีย้ วนีจ้ ะกลายเป็นบทเรียนอันส�ำคัญของสยามในการจัดการ รวมศูนย์อ�ำนาจทีก่ รุงเทพฯ กระท�ำต่อหัวเมืองอิสาณ ล้านนา หัวเมือง ชายแดนด้านบูรพา และปัตตานี ด้วยเหตุที่การสถาปนาพระราชอาณาเขตเกิดขึ้นจากการที่ชน ชั้นน�ำสยามเป็นฝ่ายลอกเลียนมาจากอาณานิคมของตะวันตกทั้งใน อินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มากยิ่งกว่าการที่ตะวันตกเป็นผู้ เข้ามาส่งผ่านหรือถ่ายทอดโดยพวกเขาเอง กล่าวคือ ชนชั้นน�ำสยาม เป็นผู้เลือกที่จะน�ำเอาบรรดาเทคโนโลยีอ�ำนาจและความรู้เหล่านั้นมา บังคับใช้เอง จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะจ�ำแนกปัจจัยในการเปลี่ยนแปลง
14
ข่าเจือง : กบฎไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง
ออกเป็นภายใน-ภายนอกดังที่มีการกระท�ำกันในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ ปัจจัยภายใน-ปัจจัยภายนอกทัง้ หลายเหล่านีล้ ว้ นคละปะปนและหนุนเสริม กันและกันจนยากจะแยกพิจารณาอย่างเป็นเอกเทศต่อกันได้โดยง่าย และต่อให้เราซาบซึง้ ถึงความส�ำเร็จของการสร้างความศิวไิ ลซ์ ในสยามและลาวมากเพียงใด ก็ยังจ�ำเป็นต้องอภิปรายถึงปัญหาผล กระทบที่สืบเนื่องตามมา กล่าวคือ ถ้าเรามุ่งพิจารณาแต่ในด้านความ ส�ำเร็จดังกล่าว ค�ำถามที่เกิดตามมาก็คือว่า แล้วเราจะอธิบายกรณี กบฏผูม้ บี ญ ุ ได้อย่างไร? กบฏเหล่านัน้ ต้องถูกประณามซ�ำ้ โดยนักประวัติศาสตร์ว่า เป็นเพียงพวกล้าหลังที่ไม่เข้าใจการปฏิรูป (อันยิ่งใหญ่ ของราชจักรีวงศ์) พวกป่าเถือ่ นทีไ่ ม่เข้าใจความศิวไิ ลซ์ทชี่ นชัน้ น�ำสยาม อุตส่าห์น�ำเอามาปลูกถ่ายไว้ให้ โดยที่ความแตกต่างในวิถีวัฒนธรรม ความเชื่อและปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกลุ่มชนเหล่านี้ไม่ได้ถูก พิจารณาเท่าที่ควร เราไม่ค่อยทราบแม้กระทั่งประเด็นเรื่องง่ายๆ ว่า พวกเขาคิดเห็นอย่างไร การกดปราบความคิดเห็นทีแ่ ตกต่างโดยเฉพาะ ความเห็นของผูไ้ ด้รบั ผลกระทบจากการพัฒนาทีร่ เิ ริม่ กระท�ำกันมาตัง้ แต่ ยุคแรกเริ่มของการเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่กันเลยทีเดียว และนั่นก็ เป็นปัญหาทางสังคมการเมืองที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้ การศึกษาที่มีจุดเริ่มจากความพยายามในการละทิ้งบรรดา มายาคติต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิรูปสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงเป็นสิ่งจ�ำเป็น อย่างเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อทดลองหันมามองจากจุดของกลุ่มชนผู้ถูก จัดวางเป็นคู่ตรงข้ามของการสร้างความศิวิไลซ์ ก็เชื่อได้แน่ว่าจะเกิด มุมมองทีแ่ ตกต่างออกไป ได้มโี อกาสรับรูใ้ นสิ่งทีไ่ ม่เคยรูไ้ ม่เคยคิดมา ก่อน และหลายอย่างทีเ่ คยรับรูม้ าก่อนนีก้ อ็ าจจะไม่เป็นดังทีเ่ คยรับรูม้ า มีคุณูปการในการเปิดพรมแดนความรู้อย่างใหม่ขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย ในแง่การศึกษาประวัตศิ าสตร์สงั คมแถบลุม่ แม่นำ�้ โขง จริงอยูว่ า่ ผูเ้ ขียน มิใช่คนแรกที่ให้ความส�ำคัญกับบทบาทของกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ทั้งนี้กล่าวทางด้านประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาว (โดยเฉพาะที่ กําพล จําปาพันธ์
15
ปรากฏในภาคภาษาไทย) ในช่วงทีผ่ า่ นมานัน้ จะเห็นได้วา่ ลักษณะส�ำคัญ ก็คอื ว่าสามารถจัดแบ่งตามตัวละครทางชาติพันธุ์ที่เป็นศูนย์กลางออก เป็น ๑. ประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวที่มีไทยเป็นศูนย์กลาง ๒. ประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวที่มีตะวันตก (ฝรั่งเศสและอเมริกา) เป็นศูนย์กลาง ๓. ประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวที่มีลาว (ลุ่ม) เป็นศูนย์กลาง ส่วนงาน ประวัตศิ าสตร์นพิ นธ์ทมี่ กี ลุม่ ชนพืน้ เมืองเดิมเป็นศูนย์กลาง ยังไม่คอ่ ย ปรากฏมากนัก ความแตกต่างของการวิเคราะห์ในงานชิน้ นีก้ บั ชิน้ อืน่ ๆ ที่มีมาก่อนหน้ามีจุดเริ่มจริงๆ ก็จากตรงนี้ ความส�ำคัญของปัญหาก็คือ การมีกลุ่มชาติพันธุ์ในประวัติศาสตร์นิพนธ์ในทั้งสามประเภทข้างต้นส่งผลต่อมุมมองทางประวัติศาสตร์ทนี่ �ำเสนอกันออกมามาก กล่าวคือ เมือ่ เน้นไทยหรือสยามเป็น ศูนย์กลาง ก็จะยกย่องเชิดชูบทบาทของสยาม-ไทยทีม่ ตี อ่ สังคมล้านซ้าง ต่อต้านและวิพากษ์วจิ ารณ์บทบาทของฝรัง่ เศสในฐานะผูร้ า้ ย เบียดขับ เหยียดหยันคนลาวและกลุม่ ชนพืน้ เมืองเป็นชายขอบผูถ้ กู กระท�ำ ไม่ได้ มีบทบาทในการก�ำหนดชะตากรรมของบ้านเมืองตนเองเท่าใดนัก เมื่อเน้นชาวตะวันตกที่เข้าไปมีบทบาทในล้านซ้างเป็นศูนย์กลาง ซึ่งนอกจากฝรั่งเศสที่เข้าไปสร้างระบอบอาณานิคมแล้ว ยังนับ รวมบทบาทการครอบง�ำและท�ำสงครามลับโดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูก เรียกโดยนักประวัติศาสตร์ลาวว่า “ลัทธิล่าเมืองขึ้นใหม่” กรณีเน้น ฝรัง่ เศสเป็นศูนย์กลาง ก็จะวิพากษ์วจิ ารณ์แสดงนัยต่อต้านบทบาทของ สยาม ซึ่งเป็นคู่แข่งกับฝรั่งเศสในการขยายอ�ำนาจครอบง�ำล้านซ้าง ด้วยลัทธิอาณานิคมคริสต์ศตวรรษที ่ ๑๙ และก็เบียดขับบทบาทคนลาว และกลุ่มชนพื้นเมืองให้กลายเป็นเพียงตัวละครประกอบที่มักถูกชักน�ำ ให้โอนไปข้างใดข้างหนึ่งระหว่างฝรั่งเศสกับสยามอยู่เสมอ กรณีสหรัฐอเมริกาเป็นศูนย์กลาง สหรัฐฯ ก็จะกลายเป็นฮีโร่ที่ ครั้งหนึ่งเคยเข้ามาช่วยปกป้องลาวจากการยึดครองของคอมมิวนิสต์ แนวทางนี้ได้แก่ นักประวัติศาสตร์ฝ่ายราชวงศ์ที่พ่ายแพ้ต่อขบวนการ
16
ข่าเจือง : กบฎไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง
ฝ่ายซ้ายในลาวนับแต่ ค.ศ. ๑๙๗๕ เป็นต้นมา รวมทั้งงานเขียนของ กลุ่มอนุรักษ์นิยมที่แอนตี้คอมมิวนิสต์ในไทย เพราะในช่วงทศวรรษ ๒๕๐๐ รัฐบาลไทยได้ส่งทหารรับจ้างเข้าไปร่วมรบในสงครามกลาง เมืองลาว เพือ่ ต่อต้านการขยายตัวของขบวนการฝ่ายซ้ายในลาว ก็จะ จ�ำแนกโดยใช้บทบาทการสนับสนุนปฏิบัติการสงครามลับ สลับไขว้ไป กับประเด็นทางชาติพันธุ์ ตรงนี้ก็ท�ำให้ประวัติศาสตร์นิพนธ์แนวนี้ จ�ำเป็นต้องเน้นบทบาทของชาวม้งกลุม่ วังเปา ขณะเดียวกันก็จะเหยียด หยันกลุม่ ทีเ่ ข้าร่วมกับขบวนการฝ่ายซ้าย เช่น กลุม่ ชาวม้งในการน�ำของ ไฟดาง ลอเบียยาว กลุ่มลาวเทิงในการน�ำของสีทน กมมะด�ำ เป็นต้น ต่อเมือ่ มีงานประวัตศิ าสตร์ทเี่ น้นลาวเป็นศูนย์กลางปรากฏขึน้ ก็ท�ำให้พรมแดนความรูท้ างประวัตศิ าสตร์ลาวได้เปิดขยายมากขึน้ เมือ่ หันมาเน้นบทบาทคนลาวเป็นศูนย์กลาง นักประวัติศาสตร์แนวนี้ก็จะ “จัดหนัก” ประเด็นการเข้ามารุกรานทั้งกรณีสยามและฝรั่งเศสว่าเป็น เหตุให้สงั คมล้านซ้างเกิดความทรุดโทรม เพราะถูกกอบโกยเอาทรัพยากร และผลประโยชน์ตา่ งๆ ไปจากคนลาวผูเ้ ป็นเจ้าของประเทศ สยามและ ฝรั่งเศสจึงเป็นผู้ร้ายในประวัติศาสตร์ชาติลาว แต่ทั้งนี้ “คนลาว” ที่ กล่าวถึงในประวัตศิ าสตร์นพิ นธ์แนวนีส้ ว่ นใหญ่จะมุง่ เน้นหมายถึง กลุม่ คนลาวลุม่ เป็นส�ำคัญ จะกล่าวถึงบทบาทของกลุม่ ชนพืน้ เมือง ทัง้ จาก กลุ่มลาวเทิงและลาวสูง ก็ในแง่ที่เป็นตัวประกอบ มิใช่ตัวละครหลักที่ ก�ำหนดชะตากรรมของสังคมล้านซ้างแต่อย่างใด กล่าวโดยสรุปก็คอื ว่า ในแง่ประวัตศิ าสตร์นพิ นธ์เกีย่ วกับอาณา บริเวณลาวล้านซ้างแล้ว ยังไม่สจู้ ะมีงานศึกษาทีม่ องจากจุดของชนพืน้ เมืองเดิม (ซึ่งที่จริงเป็นคนส่วนข้างมากของสังคม) ที่ผ่านมาผู้ศึกษา มักจะยอมรับเอาแนวคิดและมุมมองของฝ่ายชนชั้นน�ำทั้งในกรณีไทย ฝรัง่ เศส และลาว (ลุม่ ) มาใช้เป็นมาตรฐานในการชีว้ ดั ตัดสินความหมาย และคุณค่าในตัวบทหลักฐาน ตลอดถึงการคิดและการเขียนงานวรรณกรรมทางประวัติศาสตร์ ทั้งนี้มิได้หมายความว่า การศึกษาตามแนว กําพล จําปาพันธ์
17
ทางที่กล่าวทั้งสามข้างต้นที่ยังคงมีการศึกษากันอยู่สืบเนื่องมาจนถึง ปัจจุบันเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด เพียงแต่วิธีการศึกษาโดย เน้นกลุ่มชนพื้นเมืองเป็นศูนย์กลางก็มีความส�ำคัญอันจะละเลยมิได้ และด้วยวิธีนี้ก็เชื่อได้ว่าจะสามารถเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปจากองค์ ความรู้เกี่ยวกับสังคมลุ่มแม่น�้ำโขงที่เป็นอยู่ได้อย่างดีทีเดียว และในการท�ำความเข้าใจสภาพสังคมการเมืองภายในของลาว (รวมทั้งกรณีไทยและสังคมอื่นๆ ด้วย) ปฏิกิริยาของกลุ่มชนพื้นเมือง จะเป็นสิง่ ทีล่ ะเลยไม่พจิ ารณาไม่ได้อกี ต่อไป ในแง่นแี้ ล้วเขาเหล่านัน้ หา ใช่ “โจรผูร้ า้ ย” ดังทีม่ กี ารกล่าวหาไว้ไม่ หากล้วนแต่เป็นกลุม่ คนทีอ่ อก มาเรียกร้องในสิทธิเสรีภาพทีพ่ งึ มีตามเงือ่ นไขปัจจัยของยุคสมัย ความ ยุติธรรมทางสังคมนั้นมีจุดเริ่มที่สังเกตได้ก็จากมุมมองทางประวัติศาสตร์ของเราเองเป็นส�ำคัญ เมือ่ จะพัฒนาอะไร จะสร้างเขือ่ น สร้างโรงไฟฟ้า โรงนิวเคลียร์ ฯลฯ ที่ไหน อย่างไร หรือเมื่อจะหาเหตุทะเลาะกับเพื่อนบ้านด้วยเรื่อง เขตแดนหรือเรือ่ งผลประโยชน์อนื่ ใดก็ตาม เราได้ค�ำนึงถึงชีวติ ของ “คน” ทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีค่ วามขัดแย้งนัน้ แล้วหรือไม่ มากน้อยเพียงใด? และถ้าคน ที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวนั้นแสดงปฏิกิริยาต่อต้านออกมา เราควรจะมอง พวกเขาด้วยสายตาอย่างไร? ในการปรับปรุงเพือ่ ตีพมิ พ์ในครัง้ นีผ้ เู้ ขียนก็ได้มกี ารปรับเนือ้ หา ตัวบทไปมากพอสมควร โดยเฉพาะการปรับตามหลักฐานที่ได้มาจาก ภาษาลาว เปลี่ยนไปจากฉบับเดิมที่อยู่ในรูปวิทยานิพนธ์ค่อนข้างมาก จนแทบจะเป็นผลงานอีกชิ้นหนึ่งแยกออกมาต่างหากเลยก็ว่าได้ แต่ อย่างไรก็ตามก็ยังคงวิธีคิดและเนื้อหาหลักเอาไว้อย่างเดิม หนังสือเล่มนีก้ เ็ ช่นเดียวกับผลงานชิน้ อืน่ ๆ ทีย่ ากจะปรากฏใน ดวงตาของท่านผูอ้ า่ น หากปราศจากมิตรภาพและความช่วยเหลือจาก บุคคลต่างๆ ที่มีส่วนส�ำคัญในการหล่อหลอมและผลักดันให้ผู้เขียน ท�ำงานได้ลลุ ว่ งด้วยดีเสมอมา การณ์นกี้ ข็ อแสดงความขอบพระคุณต่อ
18
ข่าเจือง : กบฎไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง
ท่านอาจารย์ฉลอง สุนทราวาณิชย์ ครูผถู้ า่ ยทอดประสบการณ์และความ รู้อนั มีค่าแก่ผู้เขียน อาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ครูผู้คอยให้ค�ำชี้แนะ และโอกาสส่งเสริมให้ผู้เขียนได้ผลิตงานอยู่เสมอ รวมทั้งคณาจารย์ จากภาควิ ช าประวั ติ ศ าสตร์ คณะอั ก ษรศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิทยาลัย ทีต่ า่ งมีสว่ นช่วยเหลือดูแลระหว่างทีศ่ กึ ษาและท�ำวิทยานิพนธ์ เรื่องนี้ อาทิเช่น อาจารย์สุวิมล รุ่งเจริญ อาจารย์ดินาร์ บุญธรรม อาจารย์ธรี วัฒน์ ณ ป้อมเพชร อาจารย์สเุ นตร ชุตนิ ธรานนท์ อาจารย์ วิลลา วิลัยทอง ขอบคุณส�ำหรับความเห็นและค�ำวิจารณ์อันเป็นประโยชน์จาก อาจารย์ธ�ำรงศักดิ ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์ธนาพล ลิม่ อภิชาต อาจารย์ จีรพล เกตุจมุ พล ความช่วยเหลือทีย่ ากจะหาสิง่ ใดตอบแทนจากอาจารย์ บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ มิตรภาพ ก�ำลังใจ และความเป็นเพือ่ นทีม่ ใี ห้ อยูเ่ สมอจากอาจารย์ชนิดา ชิตบัณฑิตย์ อาจารย์เสนาะ เจริญพร อาจารย์ ปฐม ตาคะนานันท์ รวมทัง้ มิตรสหายท่านอืน่ ๆ ทีค่ งจะมิสามารถเอ่ย ถึงได้ครบก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย โดยเฉพาะเพื่อนชาวลาวทั้งใน โลกจริงและโลกออนไลน์ ที่คอยเป็นก�ำลังใจและให้ความช่วยเหลือ ผูเ้ ขียนในโอกาสต่างๆ ขอขอบคุณอาจารย์ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ ส�ำหรับความเห็นและการให้เกียรติเขียนค�ำน�ำเสนอ พีก่ ฤช เหลือลมัย พีศ่ รัณย์ ทองปาน และกองบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณทีส่ ง่ เสริม และสนับสนุนการท�ำงานทางวิชาการของผู้เขียนเสมอมา ขอบคุณ คุณ อภิวั น ทน์ อดุล ยพิ เชฏฐ์ และส�ำนั ก พิ มพ์ เมืองโบราณในตลอด ขั้นตอนต่างๆ ของการจัดพิมพ์ครั้งนี้ แม้ตระหนักว่างานวิชาการทีส่ มบูรณ์ไม่มขี อ้ ผิดพลาดอะไรเลย นั้นเป็นแต่เพียงอุดมคติของนักวิชาการ แต่หากจะมีข้อบกพร่องหรือ ผิดพลาดประการใดปรากฏต่อสายตาของท่านผูอ้ า่ นก็ตาม ก็ขอน้อมรับ ไว้เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว และหากหนังสือ เล่มนี้จะมีส่วนช่วยให้มีผู้สนใจศึกษาสืบต่อ เพื่อให้ได้งานวิชาการที่ กําพล จําปาพันธ์
19
สมบูรณ์และเป็นประโยชน์มากขึ้นกว่าที่ผู้เขียนกระท�ำไว้ ก็จะน�ำความ ยินดีมาสู่ผู้เขียนเป็นอย่างยิ่ง ก�ำพล จ�ำปาพันธ์ กลางมหาอุทกภัย ๒๕๕๔
20
ข่าเจือง : กบฎไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง
บทที่ ๑ ข่าเจือง : ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนา พระราชอาณาเขตสยาม-ล้านซ้าง
บทน�ำ
ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๕-๒๔๓๖ นับเป็นช่วงเวลาส�ำคัญของ ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับล้านซ้าง๑ ในช่วงเวลาดังกล่าวกรุงเทพฯ ได้ขยายอ�ำนาจสู่ลุ่มแม่น�้ำโขง โดยพยายามปรับเปลี่ยนลักษณะความ สัมพันธ์ทแี่ ต่เดิมจัดหัวเมืองแถบนีใ้ ห้อยูใ่ นสถานะ “หัวเมืองประเทศราช” สู่การเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ชนชั้นน�ำกรุงเทพฯ นิยามว่า “พระราชอาณาเขตสยาม” โดยถือว่าหลวงพะบาง (หลวงพระบาง) รวมทัง้ ดินแดนล้านซ้าง (ล้านช้าง) ทัง้ หมดอยูภ่ ายใต้อาณัตปิ กครองของกรุงเทพฯ คนลาว คนข่า และกลุม่ ชนต่างๆ ทีม่ ถี นิ่ ฐานบ้านช่องอยูใ่ นล้านซ้างมา แต่เดิมจึงถูกจัดประเภทให้เป็น “ไพร่ราษฎร” ของพระมหากษัตริยส์ ยาม ไปด้วย
กําพล จําปาพันธ์
21
ความพยายามในการสถาปนา “พระราชอาณาเขตสยาม” ขึ้น ณ บริเวณลุ่มแม่น�้ำโขงนี้เป็นไปในลักษณะเช่นเดียวกับบริเวณอื่น ไม่ ว่าจะเป็นดินแดนล้านนาทางเหนือ หัวเมืองอิสาณ๒ และหัวเมืองมลายู ปะตานี (มลายูปตั ตานี) กล่าวคือ ไม่ได้เป็นไปอย่างราบรืน่ กรุงเทพฯ เผชิญคูแ่ ข่งส�ำคัญทีเ่ ป็นมหาอ�ำนาจตะวันตก และการต่อต้านขัดขืนจาก คนในท้องถิ่น แม้ว่าสุดท้ายกรุงเทพฯ จะประสบความส�ำเร็จในการ ผนวกรวมดินแดนทัง้ สาม (ล้านนา อิสาณ และมลายูตอนบน) แต่กรณี ล้านซ้างนัน้ สยามกลับล้มเหลว ต่อมาเรือ่ งนีถ้ กู ให้ความหมายใหม่เป็น ความทรงจ�ำทางประวัติศาสตร์ว่าด้วยการเสียดินแดนของรัฐไทย ควรกล่าวในที่นี้ด้วยว่า ค�ำนิยามซึ่งปรากฏในหลักฐานชั้นต้น ทีว่ า่ พระราชอาณาเขต (สยาม) นัน้ สามารถเทียบเคียงได้กบั Colony (อาณานิคม) ในภาษาอังกฤษ เพราะที่จริงแล้ว “พระราชอาณาเขต (สยาม)” คือนิยามของ “อาณานิคม (สยาม)” ในกรอบของภาษาไทย สมัยนั้นนั่นเอง๓ เมื่อถือว่าล้านซ้างเป็นดินแดนในพระราชอาณาเขตสยาม “ลาว” จึงถูกถือให้มีความเป็นไทย-สยามในแง่ที่ต่างอยู่ภายใต้ร่มพระ บารมีของพระมหากษัตริย์องค์เดียวกับ “ไทย”๔ นอกเหนือจากลาว แล้ว “ข่า” หรือที่หลักฐานไทยมักเรียก “ไพร่ลาวข่า” ก็เป็นอีกชนกลุ่ม หนึง่ ซึง่ ถูกนับรวมในลักษณะดังกล่าว แต่คนข่าไม่ได้ขนึ้ กับไทยโดยตรง เหมือนลาว ทั้งนี้คนข่าขึ้นกับลาวก่อน ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาชนชั้นน�ำ สยามมักถือว่าเมือ่ ควบคุมลาวได้กจ็ ะได้คนข่าไว้เป็นก�ำลังด้วย แต่ ทีจ่ ริงแล้วคนข่าไม่ได้ขนึ้ กับลาวและไทยอยูต่ ลอด มุมมองอย่างนี้ มีปัญหาเพราะละเลยบทบาทและตัวตนของคนข่า ระหว่างทีส่ ยามก�ำลังขยายอ�ำนาจอยูน่ นั้ เอง ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ ที่บริเวณทุ่งไหหิน เมืองเซียงขวง (เชียงขวาง) ได้เกิดกลุ่มกบฏที่รู้จัก กันในนามว่า ข่าเจือง มีผู้น�ำชื่อ “พระยาว่าน” ประกาศต่อสู้เพื่อปลด ปล่อยคนข่าจากการปกครองของลาวและสยาม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๑๙
22
ข่าเจือง : กบฎไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง
ข่าเจืองได้แพร่ขยายขึ้นอีกในดินแดนสิบสองจุไทและหัวพันห้าทั้งหก ภายใต้ผนู้ �ำทีม่ นี ามว่า “ท้าวล่าแสงแสนเหิน” ข่าเจืองตัง้ มัน่ เคลือ่ นไหว ต่อต้านสยามและล้านซ้างอยู่ได้นานถึง ๑๐ ปี (พ.ศ. ๒๔๑๙-๒๔๒๙) หลั ง จากนั้ น ก็ แ ตกพ่ า ยกระจั ด กระจาย ผู ้ น�ำถู ก ประหาร มี ผู ้ ค น บาดเจ็บล้มตายจากเหตุการณ์นี้โดยไม่สามารถประเมินตัวเลขได้ แต่ อย่างไรก็ตามขบวนการนี้ได้กลายเป็นต้นแบบส�ำคัญของขบวนการผู้มี บุญในแถบลุ่มแม่น�้ำโขงในเวลาต่อมา ในชัน้ ต้น การแยกระหว่างไทยกับลาวในต้นพุทธศตวรรษที ่ ๒๕ กล่าวได้ว่าเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่น�ำไปสู่การเกิดขึ้นของรูปแบบรัฐรวมศูนย์ อ�ำนาจในภายหลัง ไม่วา่ จะเป็นรัฐอาณานิคมฝรัง่ เศสในลาว รัฐอาณา นิคมในสยาม (บางแห่งเรียก “รัฐสมบูรณาญาสิทธิ์สยาม”) เมื่อรัฐทั้ง สองถูกปฏิวตั โิ ค่นล้มลงโดยขบวนการเคลือ่ นไหวทางสังคมการเมืองก็ เข้าสูย่ คุ รัฐประชาชาติทเี่ กิดขึน้ ทัว่ ภูมภิ าคในเวลาต่อมา๕ ดูประหนึง่ รัฐ ส�ำคัญทั้งสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ถูกยกระดับพัฒนาการไป สูส่ งั คมใหม่ทมี่ คี วามศิวไิ ลซ์ขนึ้ แต่เมือ่ มองจากจุดของชนพืน้ เมืองโดย พิจารณาถึงสภาพความเหลื่อมซ้อนกันระหว่างสถานะทางชนชั้นและ ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชน กลับน่าสนใจตรงที่ล�ำดับขั้นพัฒนาการ ต่างๆ เหล่านี้หาได้ควรถูกพิจารณาในแง่ของ “ความก้าวหน้า” แต่ เพียงด้านเดียวเท่านัน้ เพราะหากมองจากจุดยืนและผลประโยชน์ของ ชนเหล่านี้ ล�ำดับขั้นการพัฒนาดังกล่าวอาจเป็นดัชนีชี้วัดถึง “ความ เสือ่ ม” หรือทีเ่ รียกตามภาษาท้องถิน่ ว่า “กลียคุ ” เพราะล�ำดับขัน้ พัฒนาการเหล่านี้ก�ำเนิดขึ้นจากการกดขี่เอารัดเอาเปรียบที่กลุ่มชนผู้ปกครอง มีต่อกลุ่มชนต่างๆ ที่กระจายอยู่ทั่วไปในท้องถิ่น ในระยะหัวเลี้ยวของการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เองที่มีผู้วิเคราะห์ กันว่าท�ำให้อดุ มคติความเชือ่ ว่าด้วย “พระศรีอาริย”์ (Millenialism) และ ความเชือ่ ในเรือ่ งการมาเป็นผูน้ �ำปลดปล่อยของ “วีรบุรษุ ทางวัฒนธรรม” (Cultural Hero) ทีป่ รากฏอยูใ่ นต�ำนานความเชือ่ ของคนในท้องถิน่ สิง่ นี้ กําพล จําปาพันธ์
23
พัฒนาการ, (กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ, ๒๕๓๗), หน้า ๔๙. ๑๙ ปรานี วงษ์เทศ, สังคมและวัฒนธรรมในอุษาคเนย์, (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, ๒๕๔๓), หน้า ๒๙๙.
38
ข่าเจือง : กบฎไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง
บทที่ ๒ “ข่า” ความรู้และความเป็นการเมือง
“ข่า” คือใครในสังคมลุ่มน้ำ�โขง
ในดินแดนลุ่มแม่น�้ำโขงมีกลุ่มชนหลากหลายด�ำรงอยู่ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มตระกูลไท-ลาวที่แบ่งเป็นสาขาต่างๆ เช่น ลาว ไทย ละว้า พวน ผู้ไท ไทด�ำ ฯลฯ กลุ่มตระกูลธิเบต-จีน เช่น ม้ง เย้า ลื้อ มูเซอ กะเหรีย่ ง ฯลฯ กลุม่ ตระกูลเวียด-เหมือง เช่น มอน ง่วน ภรี ฯลฯ และกลุ่มตระกูลมอญ-เขมร เช่น เขมร ข่า กุย จาม ชอง ฯลฯ ซึ่งมีอยู่ เป็นจ�ำนวนมากและค่อนข้างมีบทบาทส�ำคัญต่อความเปลี่ยนแปลงใน ประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป แต่มักไม่ค่อย มีการศึกษาเกี่ยวกับชนกลุ่มนี้ดังที่ควรจะเป็น ในสาขาย่อยของกลุ่มแรกคือ ลาวและไทย มีฐานะเป็นชนผู้ ปกครอง ส่วนกลุ่มหลังกลายเป็น “ชนชายขอบ” หรือ “ชนกลุ่มน้อย” ในยุคสมัยใหม่ กระนัน้ ก็ตามค�ำเรียกเช่น “ชนเผ่า” และ “ชนกลุม่ น้อย” ก็ไม่เหมาะสมทีจ่ ะใช้แต่ประการใด เพราะกลุม่ ชนเหล่านีใ้ นอดีตล้วนแต่ เคยมีบา้ นเมืองทีย่ งิ่ ใหญ่ของตนมาก่อนทัง้ สิน้ ด้วยเหตุนจี้ งึ ไม่ใช่ “ชนเผ่า”
กําพล จําปาพันธ์
39
ในความหมายล้าหลังตามแนวการจัดล�ำดับขัน้ การพัฒนาของสังคม อีก ทัง้ เมือ่ พิจารณาในเรือ่ งจ�ำนวนคนก็จะพบว่า เมือ่ นับกลุม่ ชนเหล่านีร้ วม กันก็จะมีจ�ำนวนมากกว่ากลุม่ ชนของส่วนกลาง ค�ำเรียกทัง้ สองยังสะท้อน อคติของชนชัน้ น�ำทีม่ ตี อ่ กลุม่ ชนเหล่านี ้ นักมานุษยวิทยาและนักประวัต-ิ ศาสตร์ชาติพันธุ์จึงนิยมใช้ค�ำว่า “กลุ่มชาติพันธุ์” และ/หรือ “กลุ่มชน พื้นเมือง” แทน๑ (ในที่นี้ผู้เขียนจะใช้ค�ำว่า “กลุ่มชน” เป็นหลักในการ นิยามเรียก) กรณีคนข่าซึง่ เป็นสาขาหนึง่ ของกลุม่ ตระกูลมอญ-เขมรนัน้ คน ข่าเป็นหนึ่งในกลุ่มชนเล็กๆ ที่อาศัยอยู่ในเขตแดนรัฐต่างๆ เช่น ภาค เหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย บริเวณเขตรอยต่อ ระหว่างลาวกับกัมพูชา ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม ตอนใต้ ของประเทศจีนอีกจ�ำนวนหนึง่ แต่จะมีอยูเ่ ป็นจ�ำนวนมากทีส่ ดุ ใน สปป. ลาว (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)๒ ในยุครัฐประชาชาติลาว กลุ่มชนต่างๆ จะได้รับการยอมรับจากทางการในฐานะพลเมืองที่มี “ความเป็นลาว” ดุจเดียวกับกลุม่ ชนชัน้ น�ำ โดยทุกกลุม่ ชนจะถูกนับรวม เข้าด้วยกันไว้ในสัญลักษณ์ของ “ความเป็นชาติ” การยอมรับดังกล่าวยังแสดงออกในการเรียกขานกลุม่ ชนในชาติ ซึง่ จะไม่แบ่งแยกว่าเป็นคนไทยกับชาวเขาอย่างในกรณีรฐั ไทย แต่ในรัฐ ลาวจะนิยมเรียกว่า “ลาวลุม่ ” ส�ำหรับคนในพืน้ ทีร่ าบ เรียก “ลาวเทิง” ส�ำหรับคนในทีด่ อน และ “ลาวสูง” ส�ำหรับคนทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีส่ งู กล่าวกัน ว่าข้อแตกต่างข้างต้นแสดงให้เห็นว่ารัฐไทยยังอุดมด้วยอคติทางชาติพันธุ์ จึงมองการสร้างความหมายและความเป็นตัวตนของกลุ่มชนบน ทีส่ งู ในเชิงการเมืองของการกีดกัน ขณะทีร่ ฐั ลาวกลับเห็นเป็นการเมือง ของการมีส่วนร่วม๓ ในช่วงเวลาหลังจากทีเ่ กิดเหตุการณ์กรณี “ข่าเจือง” ไม่นานนัก ได้เกิดความสนใจแสวงหาความรูเ้ กีย่ วกับคนข่าในดินแดนลุม่ แม่นำ�้ โขง ขุนประชาคดีกจิ (แช่ม บุนนาค ภายหลังได้เลือ่ นเป็นที ่ “พระยาประชา-
40
ข่าเจือง : กบฎไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง
กิจกรจักร์”) เมื่อครั้งยังรับราชการในศาลแพ่ง และได้เคยตามเสด็จ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนพิชิตปรีชากร ออกไปรับราชการหัวเมือง มณฑลชั้นนอก ตั้งแต่เสด็จไปมณฑลลาวกาวในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ มี โอกาสได้เดินทางส�ำรวจไปยังหมูบ่ า้ นของคนข่าต่างๆ ตามท้องถิน่ ได้ ไต่ถามภาษาและต�ำนานความเป็นมาของท้องถิ่นนั้นๆ แล้วจดจ�ำมา เขียนเล่าพรรณนาถึงภาษา วิถีชีวิต และจารีตประเพณีของกลุ่มชน ต่างๆ จนเป็นที่เลื่องลือในหมู่ชนชั้นน�ำกรุงเทพฯ ว่า “ถ้าพระยาประ- ชากิจฯ ได้ไปกินน�้ำเมืองไหนแล้ว เปนพูดภาษาเมืองนั้นได้” ๔ ในงานเขียนส�ำคัญ เช่น ว่าด้วยภาษาต่างๆ ในสยามประเทศ ขุนประชาคดีกิจจ�ำแนกคนข่าออกเป็นสาขาย่อยต่างๆ โดยใช้ลักษณะ ค�ำและภาษาเป็นเกณฑ์ในการจ�ำแนก แบ่งคนข่าออกเป็น ๑๖ สาขา ย่อย ได้แก่ ๑. ข่าย่าเหิน ๒. ข่าบริเวณ ๓. ข่าสุ ๔. ข่าตะโอย ๕. ข่าเจ็ง ๖. ข่าสอก ๗. ข่าสะปวน ๘. ข่าระแว ๙. ข่าปะเลา ๑๐. ข่าต�ำพวน ๑๑. ข่าอาลัก ๑๒. ข่ากระเสง ๑๓. ข่าสลาง ๑๔. ข่าจราย ๑๕. ข่าระแด และ ๑๖. ข่าพะนอง เป็นต้น๕ แม้จะแตกต่างกันในด้านการใช้ค�ำและภาษา แต่ขนุ ประชาคดีกจิ กลับพบว่าคนข่าเหล่านีค้ อ่ นข้างมีเอกภาพในด้านการถือผี โดยเฉพาะผี พระไชย กับ “ผีเจือง” (ท้าวฮุง่ ขุนเจือง)๖ ไม่ปรากฏการนับถือพุทธศาสนา ในขณะนัน้ แม้ลา้ นซ้างจะได้ชอื่ ว่าเป็นรัฐพุทธศาสนาเถรวาททีส่ �ำคัญรัฐ หนึง่ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพืน้ ทวีปก็ตาม และแม้ขณะนัน้ จะ ได้มคี ณะมิชชันนารีชาวตะวันตกเดินทางเข้าไปเผยแผ่คริสต์ศาสนาบ้าง แล้ว แต่ขุนประชาคดีกิจก็ไม่พบเห็นการนับถือคริสต์ศาสนาในหมู่ชน ชาวข่า (การนับถือคริสต์ในบางเผ่าเกิดขึ้นภายหลังจากที่ลาวตกเป็น อาณานิคมฝรั่งเศส) ทั้งนี้ขุนประชาคดีกิจได้พิจารณาประเด็นข้างต้น โดยเทียบเคียงเป็น “ความต่าง” ระหว่างคนข่ากับชนกลุม่ อืน่ เช่น มูเซอ และส่วยช้าง (หมายถึง ชาวกุยในเขตเทือกเขาพนมดงรัก)๗ เจ้าหมื่นไวยวรนารถ (เจิม แสงชูโต ภายหลังได้เลื่อนเป็น กําพล จําปาพันธ์
41
ภาพถ่ายคนข่าจากเอกสารของชาวตะวันตก [ภาพจาก J. de Malglaive & A.-J. Riviere, Travels in Central Vietnam and Laos, (Bangkok: White Lotus, 2000), p. 193.]
54
ข่าเจือง : กบฎไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง
ภาพลายเส้นกลุ่มคนข่า [ภาพจาก P. Cupet, Travels in Laos and among the Tribes of Southeast Indochina, (Bangkok: White Lotus, 2000) p. 241.]
กําพล จําปาพันธ์
55
ข่าระแด (ภาพจาก P. Cupet, Travels in Laos and among the Tribes of Southeast Indochina, p. 400.)
56
ข่าเจือง : กบฎไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง
ข่าจราย (ภาพจาก P. Cupet, Travels in Laos and among the Tribes of Southeast Indochina.)
กําพล จําปาพันธ์
57
“อโยธยา” เป็นชือ่ เดิมของอยุธยาตอนต้น ตัง้ ขึน้ ตามแนวคิดเกีย่ วกับรัฐและสถาบัน กษัตริยแ์ บบเทวราชา [ดูรายละเอียดใน นิธ ิ เอียวศรีวงศ์ และอาคม พัฒยิ ะ, ศรีราม เทพนคร : รวมความเรียงว่าด้วยประวัติศาสตร์อยุธยาตอนต้น, (กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๔๕), หน้า ๑๙-๒๕, ๒๘.] ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร ได้เริ่มเรียกเพี้ยนเป็น “อยุธยา” [ดูรายละเอียดใน วินัย พงศ์ศรีเพียร, ความส�ำคัญ ของรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในประวัตศิ าสตร์ไทย,” ใน สมเด็จพระนเรศวร มหาราช ๔๐๐ ปีของการครองราชย์, วุฒิชัย มูลศิลป์, (บก.), (กรุงเทพฯ : คณะ กรรมการช�ำระประวัติศาสตร์ไทย, ๒๕๓๓), หน้า ๕๘-๑๒๐.] ๗๖ ต�ำนานเมืองพะเยา, หน้า ๑๘. ๗๗ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๙. ๗๘ เรื่องเดียวกัน, ขีดเส้นใต้โดยผู้อ้าง. ๗๙ พื้นเมืองเชียงแสน, หน้า ๒๔. ๘๐ ต�ำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า ๑๒. ๘๑ “เรือ่ งราชวงศปกรณ์ พงศาวดารลานนาไทย,” ใน ประชุมพงศาวดารฉบับหอสมุด แห่งชาติ เล่ม ๔, (กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์ก้าวหน้า, ๒๕๐๗), หน้า ๓๓๓-๓๓๔. ๘๒ ขอให้ดู สมเกียรติ วันทะนะ, “เมืองไทยยุคใหม่ : สัมพันธภาพระหว่างรัฐกับ ประวัตศิ าสตร์ส�ำนึก,” ใน อยูเ่ มืองไทย. (รวมบทความทางสังคมการเมือง เพือ่ เป็น เกียรติแด่ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ในโอกาสอายุครบ ๖๐ ปี), สมบัติ จันทรวงศ์ และชัยวัฒน์ สถาอานันท์, (บก.), (กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๐), หน้า ๗๑-๑๒๓. ๘๓ พระยาประชากิจกรจักร์, พงศาวดารโยนก ฉบับหอสมุดแห่งชาติ, (กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, ๒๕๑๖), หน้า ๒๓๕. ๘๔ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๗. ๘๕ ก�ำพล จ�ำปาพันธ์, “ขุนเจือง : วีรบุรุษในเทวต�ำนานตามแบบฉบับวัฒนธรรมไทลาว,” ใน วารสารเมืองโบราณ, ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๑, (มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๑), หน้า ๕๒-๖๒.; ก�ำพล จ�ำปาพันธ์, “ขุนเจืองธรรมิกราช : การเมืองอัตลักษณ์ใน ต�ำนานวีรบุรุษจากคติความเชื่อดั้งเดิมสู่พุทธศาสนา,” ใน วารสารไทยคดีศึกษา, ปีท ี่ ๖ ฉบับที่ ๑, (ตุลาคม ๒๕๕๑-มีนาคม ๒๕๕๒), หน้า ๑๓๘-๑๘๖. ๗๕
144
ข่าเจือง : กบฎไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง
บทที่ ๔ กบฏข่าผู้มีบุญก่อนการสถาปนา พระราชอาณาเขต
กบฏข่า พ.ศ. ๒๓๑๒-๒๓๖๙
จากหลักฐานประวัตศิ าสตร์ยคุ ก่อนสถาปนาพระราชอาณาเขต สยาม-ล้านซ้าง ชนชั้นน�ำสยามและล้านซ้างมีความรับรู้เกี่ยวกับคนข่า และกบฏข่าอยู ่ ๕ ช่วงเวลาด้วยกัน คือ ๑. กบฏข่า พ.ศ. ๒๓๑๒ ๒. กรณีเจ้าโอ เจ้าอิน พ.ศ. ๒๓๒๒-๒๓๒๕ ๓. กบฏเซียงแก้ว พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๓๔ ๔. กบฏข่าบวมหาน พ.ศ. ๒๓๕๗-๒๓๕๘ ๕. กบฏพะสาเกดโง้ง พ.ศ. ๒๓๖๒-๒๓๖๙ มีรายละเอียดของเหตุการณ์แต่ละช่วงเวลาดังต่อไปนี้
๑. กบฏข่า พ.ศ. ๒๓๑๒
กบฏข่าและการล่มสลายของราชอาณาจักรล้านซ้าง
แม้ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์จากทั้งฝ่ายไทยและลาวต่าง กําพล จําปาพันธ์
145
ก็ให้รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคนข่ากับกลุ่มชน ตระกูลไท-ลาวไว้วา่ มีมาอย่างยาวนานและเปลีย่ นแปลงตามแต่ละช่วง ตอนของยุคสมัย แต่การกบฏของข่าจากทีป่ รากฏในหลักฐานนัน้ พบว่า เกิดขึน้ ครัง้ แรกในปี พ.ศ. ๒๓๑๒ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพ) ทรงบันทึกว่า ภายหลังจากทีร่ าชอาณาจักรอยุธยาต้องล่มสลายลงจาก การรุกรานของพม่าใน พ.ศ. ๒๓๑๐ สองปีตอ่ มาคือ พ.ศ. ๒๓๑๒ ได้เกิด “ข่าขบถ” ขึน้ ในดินแดนล้านซ้าง๑ พะเจ้าสิรบิ นุ สาน (พระเจ้าศิรบิ ญ ุ สาร) กษัตริยผ์ คู้ รองกรุงศรีสตั นาคนหุต ทรงส่งพระราชสาส์นมาขอความช่วย เหลือจากพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๓๒ พระเจ้ากรุงธนบุรีจึง โปรดให้พระยานครราชสีมาเกณฑ์ไพร่พลเข้ากองทัพยกไปช่วยปราบคนข่า คนข่าถอยลงมาตัง้ มัน่ อยูใ่ นบริเวณดอนมดแดง๓ (เขตจังหวัดอุบลราชธานี ในปัจจุบัน) เดิมทีคนข่ากลุม่ นีม้ สี ถานะเป็นไพร่บา้ นพลเมืองของนครเวียงจัน เมือ่ ถึงยุคพะเจ้าสิรบิ นุ สานขึน้ ครองราชย์ กลายเป็นกบฏขึน้ ต่อต้านอ�ำนาจ พะเจ้าสิริบุนสาน เพราะการปกครองเวียงจันยุคพะเจ้าสิริบุนสานนั้นมี การเบียดเบียนราษฎรชาวข่ากว่าทีเ่ คยเป็นมาในรัชกาลก่อนๆ ถึงกับทรง ช้างม้าเหยียบย�่ำข้าวนาของราษฎร แม้เสนาบดีผู้ใหญ่เช่น พะวอพะตา (หลักฐานไทยเรียก “เจ้าพระวรปิตา”) จะกราบทูลท้วงติงก็ทรงไม่เชือ่ ฟัง และการกราบทูลท้วงติงดังกล่าวกลายเป็นประเด็นหนึง่ ทีท่ �ำให้พะเจ้าสิร-ิ บุนสานทรงไม่พอพระทัยพะวอพะตา ต่อมาเมื่อพะวอพะตาหลบหนีไป จากนครเวียงจัน และการกบฏได้แพร่กระจายลงมาตัง้ มัน่ อยูใ่ นเขตรอย ต่อระหว่างเวียงจันกับจ�ำปาสัก การส่งกองทัพจากเวียงจันลงไปปราบ ปรามจึงเป็นไปได้ยากและยังอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทาง อ�ำนาจทีม่ กี บั จ�ำปาสักขณะนัน้ ด้วย เหตุนพี้ ะเจ้าสิรบิ นุ สานจึงส่งพระราชสาส์นมายังกรุงธนบุรี เพื่อให้ช่วยส่งกองทัพจากหัวเมืองแถบเมือง นครราชสีมาและเขมรป่าดงขึ้นไปช่วยปราบปรามกลุ่มกบฏ๔ ฝ่ายพระเจ้ากรุงธนบุรี ขณะนั้นก็ทรงต้องการขยายพระราช-
146
ข่าเจือง : กบฎไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง
อ�ำนาจไปยังหัวเมืองลาวล้านซ้าง เพือ่ หวังจัดการกับความขัดแย้งภายใน ของชนชัน้ น�ำท้องถิน่ ล้านซ้างให้ราบคาบ เพือ่ มิให้เป็นเงือ่ นไขให้พม่าท�ำ การแทรกแซงแล้วขยายผลลงมาตีกรุงธนบุรไี ด้ เหมือนดังทีพ่ ม่าเคยท�ำ ส�ำเร็จในสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ทั้งยังจะ ได้แผ่พระบารมีของพระเจ้ากรุงธนบุรใี นฐานะพระมหากษัตริยอ์ งค์ใหม่ ของอาณาจักรกลุม่ ชนตระกูลไท-ลาว ซึง่ ในระยะเดียวกันนัน้ อาณาจักร ใหญ่ๆ ของกลุม่ ตระกูลไท-ลาว ไม่วา่ จะเป็นเชียงใหม่ สุโขทัย นครศรีธรรมราช แสนหวี เชียงรุ้ง และล้านซ้าง๕ ล้วนแต่แตกสลายกลายเป็น อาณาจักรเล็กๆ ไม่ก็ถูกผนวกรวมเข้าเป็นบ้านเล็กเมืองน้อยส่วนหนึ่ง ของอีกอาณาจักรทีต่ งั้ อยูข่ า้ งเคียง เกิดเป็นพัฒนาการทางประวัตศิ าสตร์ ทีจ่ กั รวรรดิขนาดใหญ่ในอดีตต้องแตกแยกล่มสลายลง และพัฒนาการ นี้ได้ครอบง�ำราชอาณาจักรอยุธยาต่อถึงยุคธนบุรี๖ ก่อนที่อยุธยาจะเสียแก่พม่า หัวเมืองใหญ่น้อยได้แยกตัวออก จากราชอาณาจักรอยุธยา โดยเฉพาะกรณีเจ้าเมืองพิษณุโลก ซึ่งท�ำให้ อ�ำนาจของอยุธยาทีม่ ตี อ่ หัวเมืองเหนือต้องสิน้ สุดไปโดยปริยาย ต่อมา ดินแดนแถบนีไ้ ด้รวมตัวกันภายใต้ผนู้ �ำทีด่ �ำเนินการแบบ “กบฏไพร่” อ้าง ตัวเป็น “ผูม้ บี ญ ุ ” โดยพระภิกษุทมี่ ชี อื่ เสียงคือ สังฆราชาแห่งเมืองสวางคบุรี สามารถดึงดูดความศรัทธาเชื่อถือจากผู้คนในแถบนั้นแล้วตั้งตน เป็นใหญ่โดยมีเจ้าเมืองแพร่เข้าร่วมด้วย กลายเป็นชุมนุมใหญ่และเข้ม แข็งทีส่ ดุ ในจ�ำนวนชุมนุมการเมืองทีเ่ กิดขึน้ ในระยะหัวเลีย้ วของการล่ม ุ ” เป็นจ�ำนวน สลายของราชอาณาจักร การเข้าร่วมกับ “กบฏไพร่ผมู้ บี ญ มาก โดยตัวมันเองก็เป็นสิ่งสะท้อนว่าการขูดรีดที่มีมาอย่างยาวนาน ท�ำให้ไพร่ราษฎรเสื่อมความจงรักภักดีที่มีต่อราชอาณาจักรในที่สุด๗ ความพยายามของพระเจ้ากรุงธนบุรีในการแก้ไขวิกฤติการณ์ ดังกล่าวได้แก่ การฟืน้ ฟูราชอาณาจักรอันเข้มแข็งและเป็นหนึง่ เดียวขึน้ มาอีกครั้ง จึงขัดแย้งกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ข้างต้น ผลคือ ราชอาณาจักรที่ฟื้นขึ้นใหม่กลายรูปสู่อีกยุคหนึ่งซึ่งมีกรุงเทพฯ เป็น กําพล จําปาพันธ์
147
ห นั ง สื อ ชุ ด ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ สำ � ห รั บ ป ร ะ ช า ช น
ISBN 974-7727-57-9
หมวดประวัต ิศาสตร์ ราคา ๓๒๐ บาท ISBN 978-974-7727-57-9 9 789747 727579
”
ส่วนหนึ่งจาก ค�ำน�ำเสนอ โดย รศ.ดร. ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์
ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนา ข่าเจือง : กบฏไพร่ พระราชอาณาเขตสยาม-ล้ านซ้าง
“
ข่าเจือง : กบฏไพร่-ขบวนการผู้มีบุญยุคสถาปนาพระราชอาณาเขต สยาม-ล้านซ้าง นี้มีจุดเด่นที่น่าสนใจก็คือ การปูพื้นว่าด้วย “ข่า” ความรู้และความ เป็นการเมือง” โดยให้ภาพ “ข่า” คือใคร...นอกจากนีย้ งั ให้ภาพการเมืองของต�ำนาน และความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนที่ท�ำให้คนข่ามีสถานะต�่ำกว่าลาวและกลุ่มอื่นๆ ...ผู้เขียนยังได้อธิบายสถานะของขุนเจืองจากคติความเชื่อดั้งเดิม (คติผีเจือง ผี แถน) สู่พทุ ธศาสนา ที่ได้กลายมาเป็นฐานทางด้านอุดมการณ์ของกบฏข่าตั้งแต่ครั้ง ต้นรัตนโกสินทร์จนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕...รวมทั้งบทส่งท้ายที่เขียนได้อย่าง น่าติดตาม โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องการขยายอ�ำนาจของสยามเข้าไปในหัวเมือง ประเทศราชล้านช้างให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ “พระราชอาณาเขตสยาม” ชนชั้นน�ำ สยามได้รับการตอบรับด้วยดีจากชนชั้นน�ำลาว ขณะที่กลุ่มข่าซึ่งเป็นชนพื้นเมืองใน ล้านช้างกลับได้รับผลตรงกันข้าม การรวมตัวก่อการกบฏ “ข่าเจือง” จึงเกิดขึ้น ...งานของก�ำพล จ�ำปาพันธ์เล่มนี้นอกเหนือจากช่วยเต็มเติมให้กับการ ศึกษาขบวนการผูม้ บี ญ ุ ในช่วง พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๔๓๖ แล้วยังเป็นการศึกษาขบวนการ ของชนเผ่า “ข่า” ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในตอนเหนือของลาวอีกด้วย
ข่าเจือง : กบฏไพร่ ขบวนการผู้มีบุญ หลังสถาปนา พระราชอาณาเขต สยาม-ล้านซ้าง ก�ำพล จ�ำปาพันธ์