สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

Page 1

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กษัตริย์ลำ�ดับที่ ๑๙ แห่งราชอาณาจักรอยุธยา พระราชกรณียกิจของพระองค์ มิ ได้มีเฉพาะการสงครามเท่านั้น แต่ยังมีพระราชกรณียกิจอีกหลายอย่าง ที่สะท้อนการเป็นกษัตริย์ผู้มีวิสัยทัศน์ ในการสร้างความมั่นคงแก่บ้านเมือง ที่พึ่งจะผ่านสงครามครั้งใหญ่ เช่น การติดต่อกับต่างประเทศเพื่อการค้า การยกทัพตีกรุงหงสาวดีเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์ ไทย เป็นต้น เรื่องราวของพระองค์ ได้กลายเป็นตำ�นาน ที่เล่าขานอยู่ ในความรับรู้ของชาวไทย สืบเนื่องถึงปัจจุบัน ราคา ๑๙๐ บาท

ISBN 978-616-7767-01-7

หมวดประวัติศาสตร์/ชีวประวัติ

รู้ทุกเรื่องราวเกี่ยวกับ มหาราชผู้กล้าหาญของชาวไทย


2

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ISBN หนังสือ ผู้เขียน พิมพ์ครั้งที ่ ๑ จำ�นวนพิมพ์ ราคา

978-616-7767-01-7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ มีนาคม ๒๕๕๖ ๓,๐๐๐ เล่ม ๑๙๐ บาท

บรรณาธิการเล่ม ภาพ ออกแบบปก/รูปเล่ม/ ภาพวาดแผนที่ ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลท พิมพ์ที่ จัดจำ�หน่าย

อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณ ศูนย์ข้อมูลสารคดี ฝ่ายภาพสารคดี

© สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด

นฤมล ต่วนภูษา ธนา วาสิกศิริ เอ็นอาร์. ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐-๖ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์.       สมเด็จพระนเรศวรมหาราช.-- กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๖.       ๑๑๒ หน้า.       ๑. นเรศวรมหาราช, สมเด็จพระ, ๒๐๙๘-๒๑๔๘.  I. ชื่อเรื่อง. ๙๒๓.๑๕๙๓ ISBN 978-616-7767-01-7

สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐  โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ)  โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม  ธิดา สาระยา  เสนอ นิลเดช สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผู้อำ�นวยการ สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำ�นวยการฝ่ายศิลป์ จำ�นงค์ ศรีนวล ผู้อำ�นวยการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ ปฏิมา หนูไชยะ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ อภิวนั ทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ทีป่ รึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง


3

คำ�นำ� ในยามที่ บ้ า นเมื อ งเกิ ด วิ ก ฤต ผู้ ค นมั ก จะคาดหวั ง วีรบุรุษที่จะมาแก้ไขสถานการณ์นำ �พาความสงบสุข กลั บ คื น  เรื่ อ งราวของวี ร บุ รุ ษ ในตำ � นานและหน้ า ประวัติศาสตร์จึงได้รับการเล่าขานถ่ายทอดจากคน ในสังคมจากรุ่นสู่รุ่น เพราะเรื่องราวของท่านเหล่านั้น ไม่เพียงเป็นความทรงจำ�ที่น่ายกย่องเชิดชู แต่ยังเป็น แบบอย่างในอุดมคติของการประพฤติปฏิบัติตนและ ความเสียสละอุทิศตนเพื่อส่วนรวมเป็นสำ�คัญ  และ แน่ น อนว่ า สำ � หรั บ ชาวไทยแล้ ว  มั ก จะนึ ก ถึ ง สมเด็ จ พระนเรศวรมหาราชเป็นอันดับต้นๆ ของวีรบุรุษใน หน้าประวัติศาสตร์ไทย สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นกษัตริย์ ลำ�ดับที่ ๑๙ ของราชอาณาจักรอยุธยา  เรื่องราวของ พระองค์ถกู เล่าขานสืบเนือ่ งเรือ่ ยมาตลอด ๔๐๐ กว่าปี หลังการเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๘  พระองค์ได้ รับการยกย่องว่าเป็นวีรกษัตริยผ์ กู้ ล้าหาญในการกอบกู้ เอกราชของกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาในความรั บ รู้ข องคนไทย นับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน  หากแต่ยังมีเรื่องราวของ พระองค์อีกหลายประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะการ นำ�พาบ้านเมืองผ่านวิกฤตทั้งการรบทัพจับศึกควบคู่ กับการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้แก่อยุธยา ในช่วงเวลาเพียง ๑๕ ปีแห่งการครองราชย์ พระองค์ ทำ�ให้อยุธยามีความพร้อมทั้งกำ�ลังคน กำ�ลังทรัพย์ และเสบียง จนสามารถยกทัพไปตีกรุงหงสาวดีได้เป็น ครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ หนังสือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เล่มนี้ นำ�เสนอเรือ่ งราวของวีรกษัตริยพ์ ระองค์นใี้ นทุกๆ ด้าน ด้วยเนือ้ หาทีส่ นั้ กระชับ พร้อมภาพประกอบเสริมความ เข้าใจ  สาระจากหนังสือนี้ไม่เพียงแต่จะทำ�ให้ท่านได้ รู้ จั ก สมเด็ จ พระนเรศวรมหาราชเท่ า นั้ น แต่ ยั ง ได้ รู้ เรื่องราวประวัติศาสตร์อยุธยาผ่านพระราชประวัติของ พระองค์อีกด้วย สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ มีนาคม ๒๕๕๖


4

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สารบัญ

๗ ภาคที่ ๑

พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๘ พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๑๐ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กษัตริย์นักรบในอุดมคติ ๑๒ สมเด็จพระนเรศวรเสด็จเป็นตัวประกันที่กรุงหงสาวดี ๑๔ เมืองหงสาวดี อดีตราชธานีริมฝั่งแม่นํ้าพะโค ๑๖ สมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับสู่กรุงศรีอยุธยา ๑๙ สมเด็จพระนเรศวรครองเมืองพิษณุโลก ๒๐ พระราชวังจันทน์ที่ประสูติของสมเด็จพระนเรศวรที่พิษณุโลก ๒๔ วังจันทรเกษม วังหน้าแห่งกรุงศรีอยุธยา ๒๗ ภาคที่ ๒

พระราชกรณียกิจสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๒๙ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กษัตริย์ลำ�ดับที่ ๑๙ แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๑๔๘) ๓๐ พระราชกรณียกิจด้านการปกครอง ๓๒ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับโลกการค้านานาชาติ ๓๘ การสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๔๐ ๓ ยุทธวิธีการรบของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๔๑ ๕ สงครามเด่นของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๕๘ สงครามสำ�คัญหลังสงครามยุทธหัตถี


5

๖๕ ภาคที่ ๓

นานาสาระเกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๖๖ ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๖๘ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับกองทัพไทย ๖๙ โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ๗๒ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง หอพระราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ๗๔ พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภายในพระวิหาร วัดสุวรรณดาราราม จ. พระนครศรีอยุธยา ๘๔ ภาพนูนตํ่าสำ�ริดแสดงพระราชกรณียกิจสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ ทุ่งภูเขาทอง จ. พระนครศรีอยุธยา ๙๐ ทหารเอกสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๙๑ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับชาวไทใหญ่ ๙๓ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในประเทศไทย ๑๐๒ เครื่องพระแสงราชศัตราและเครื่องศิราภรณ์ที่สัมพันธ์กับ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๑๐๔ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชในดวงตราไปรษณียากรและธนบัตร ๑๐๖ เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รุ่น “สู้” ๑๐๖ ไก่ชนพระนเรศวร ๑๐๗ วรรณกรรมที่เกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๑๑๓ คำ�กล่าวบูชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


8

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระราชประวัติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช วีรกษัตริย์ผู้สืบสาย จากราชวงศ์สุพรรณภูมิ ทรงพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๘ ณ พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จพระมหาธรรมราชา (กษัตริยล์ �ำดับที ่ ๑๘ ของอยุธยา) และพระวิสทุ ธิกษัตริย ์ (พระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระศรีสรุ โิ ยทัย) ทรงมีพระเชษฐภคินีคือ พระสุพรรณกัลยา และพระอนุชาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็ จ พระนเรศวรมหาราชทรงเป็ น กษั ต ริ ย ์ ใ น พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประวัติศาสตร์ที่คนไทยรับรู้เรื่องราวของพระองค์อย่างแพร่ สมเด็จพระเอกาทศรถ หลายในฐานะกษัตริย์ผู้กล้าหาญ ผู้สามารถกอบกู้เอกราช และพระสุพรรณกัลยา ที่วัดลาดสิงห์ ต. บ้านสระ ของอยุธยาจากการยึดครองของพม่า  ทว่าเรื่องราวส่วน อ. สามชุก จ. สุพรรณบุรี พระองค์กลับไม่ปรากฏในเอกสารประเภทพงศาวดารของไทย แต่ในเอกสารต่างประเทศ เช่น เอกสารพม่าและเอกสาร ของชาวตะวันตกให้ข้อมูลว่าทรงมีมเหสี ๓ องค์ ได้แก่  พระมณีรัตนา หรือ เจ้าขรัวมณีจันทร์ ในงาน เขียนของวัน วลิต (Jeremias van Vliet หรือ ฟาน ฟลีต ในภาษาดัตช์) ผู้อ�ำนวยการบริษัทดัตช์อิสต์อินเดียในกรุง ศรีอยุธยา ที่เข้ามาอยุธยาใน พ.ศ. ๒๑๗๖-๒๑๘๕ บันทึก เหตุการณ์ ประวัติศาสตร์ โลก

พ.ศ. ๒๐๗๐ เหตุการณ์ เกี่ยวเนื่องกับ สมเด็จ พระนเรศวร มหาราช

พ.ศ. ๒๐๗๔-๒๑๐๑ อังกฤษโจมตีชายฝั่งตะวันตก ของอินเดีย พ.ศ. ๒๐๘๖ โปรตุเกส สามารถเดินเรือ ถึงเมืองนางาซากิ ญี่ปุ่น

พ.ศ. ๒๐๘๐

พ.ศ. ๒๐๙๐


9

ลำ�ดับสายวงศ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระราเมศวร พระบรมดิลก

พระสนม

พระ สมเด็จ พระ พระธิดา พระแก้วฟ้า วิสุทธิกษัตรีย์ พระมหินทราธิราช เทพกษัตรีย์ +

+ (พระสวามี) (พระสวามี)

พระมหาธรรมราชาธิราช

(ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๑๒-๒๑๓๓)

เจ้าพระยา นครศรีธรรมโศกราช

พระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ

(ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๑๔๘) (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๔๘-๒๑๕๓) + (พระมเหสี) พระมณีรัตนา (เจ้าขรัวมณีจันทร์)

พระเอกษัตรี โยธามี้พระยา

ในงานเขียนของเขาว่า พระมณีรตั นาได้ชว่ ยจมืน่ ศรีสรรักษ์ (สมเด็จพระเจ้าปราสาททองในเวลาต่อมา) ให้พ้นจากความผิดในสมัยพระเจ้าทรงธรรม  พระเอกษัตรี ธิดาในพระศรีสุพรรณมาธิราช (อนุชาของพระนักสัตถา เจ้าเมืองละแวก) ท่านได้ถวายสมเด็จพระนเรศวรในคราวที่ทรงยกทัพไปตีเมืองละแวก  โยธยามีพ ้ ระยา ธิดาเจ้ามังนรธา เจ้าเมืองเชียงใหม่ ถวายตัวเมือ่  พ.ศ. ๒๑๔๓ ในคราวที่ สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จไประงับข้อพิพาทของเจ้าเมืองทางเหนือ  ใน Yodaya Mipaya Egin ผลงานของกวีพม่านาม นะวะเดจี  มีบทพรรณนาความงามของพระมเหสีองค์นี้   พระนางทรงมี พระธิดา ๑ องค์ ไม่ทราบพระนาม แต่ในเอกสารพม่ากล่าวว่าพระธิดาของพระองค์ได้อภิเษกกับ บุตรของเจ้าเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๑๐๐ พ.ศ. ๒๑๐๑ จักรพรรดิโอกิมาจิ สมเด็จ แห่งญี่ปุ่นขึ้นครองราชย์ พระราชินีนาถ พระเจ้าเซบาสเตียว เอลิซาเบธที่ ๑ แห่งโปรตุเกสขึ้นครองราชย์ ครองราชย์เป็นราชินี แห่งอังกฤษ พ.ศ. ๒๐๙๙ พระเจ้าอัคบาร์มหาราชแห่งจักรวรรดิโมกุล ขึ้นครองราชย์ปกครองอินเดีย

พ.ศ. ๒๑๐๐

พ.ศ. ๒๐๙๘ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประสูติที่วังจันทน์ พิษณุโลก

พ.ศ. ๒๐๙๙ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ตีเมืองละแวก พระเจ้าบุเรงนองตีเมืองเชียงใหม่ สิ้นราชวงศ์มังราย


สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ง ชั ย

18

เมืองฝาง

ํ้าโข

ํ้าวัง

ํ้าป

ิง

อุตรดิตถ์ ศรีสัชนาลัย

แ ม ่น

แ ม่ น

ทิ ว เ ข า ถ

นนธ

แ ม่ น

แม่นํ้ายม

ด่านแม่ละเมา

สวรรคโลก

พิษณุโลก

ครา

กำ�แพงเพชร

ํ้าสง

แ ม่น

ํ้า ป่า

สั ก

แ ม่นํ้า น่าน

ตาก

แม่น

สุโขทัย

นครสวรรค์

ํ้าท่าจีน แม่น

อง

่ก ล ่น

ราชบุรี

แม

ด่านเจ้าเขว้า

ม ํ้าแ

ทิ ว เ

กาญจนบุรี

แ ม่นํ้าเจ้าพระยา

อยุธยา

สุพรรณบุรี

ะ ขาต

ด่านบ้องตี้

รี นาวศ

แ ม่น

เพชรบุรี

แผนที่แสดงที่ตั้งเมืองพิษณุโลก ศูนย์กลางการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือของ อยุธยา รวมทั้งต�ำแหน่งหัวเมืองฝ่ายเหนือ และเมืองส�ำคัญในสมัยอยุธยา

ํ้าม ูล


19

สมเด็จพระนเรศวร ครองเมืองพิษณุโลก เมื่อพระนเรศวรเสด็จกลับสู่อยุธยา สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์ เสด็จไปครองเมืองพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๔ ทำ�หน้าที่ดูแลหัวเมืองทางเหนือ

แม

่น

ํ ้า ช ี

ทิ ว เ ข า พ น ม ด ง ร

ัก

หัวเมืองทางเหนือไม่เพียงแต่มีความส�ำคัญในด้านความมั่นคงต่ออยุธยาเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งสินค้าส่งออกที่ส�ำคัญในระบบการค้าและเศรษฐกิจของอยุธยา การคุมแหล่งสินค้าและเมืองชุมทางการค้าทางบกที่ส�ำคัญอย่างสุโขทัยได้จึง มีความส�ำคัญต่ออยุธยา โดยมีเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครอง ฝ่ายเหนือของอยุธยา นิโคลาส แชร์แวส (Nicolas Gervaise) นักเดินทางชาวฝรัง่ เศสได้บนั ทึก ในงานเขียนของเขาเรื่อง The Natural and Political History of the Kingdom  of Siam ว่า เมืองพิษณุโลกมีความส�ำคัญเป็นอันดับ ๒ ของราชอาณาจักรสยาม กษัตริย์อยุธยาหลายพระองค์เคยมาปกครองเมืองพิษณุโลกก่อนขึ้นครองราชย์ ที่อยุธยา ได้แก่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  พระ บรมราชาหน่อพุทธางกูร (พระอาทิตยวงศ์)  และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพราะฉะนั้น ผู้ครองเมืองนี้จึงมีนัยของการขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ที่อยุธยา ต่อไป โดยมีพระราชวังจันทน์เป็นเสมือนศูนย์กลางการปกครองหัวเมืองเหนือ เมืองพิษณุโลกยังเป็นหัวเมืองรับศึกทางเหนือที่ส�ำคัญของอยุธยาตั้งแต่ สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถที่มีศึกจากล้านนาและศึกจากพม่าในยุคต่อมา และมีฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าตอนในทางด้านเหนือของอยุธยาด้วย สมเด็จพระนเรศวรนับเป็นเจ้าผู้ครองเมืองพิษณุโลกที่ทรงพระเยาว์ คือ มีพระชนมายุเพียง ๑๖ ชันษา  การที่พระองค์ซึ่งเป็นเชื้อสายของราชวงศ์สุโขทัย มาปกครองเมืองพิษณุโลก จึงมีส่วนส�ำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นคงแก่อยุธยาใน ยุคที่บ้านเมืองพึ่งจะฟื้นจากสงคราม  สมเด็จพระนเรศวรทรงปกครองเมือง พิษณุโลกเป็นเวลาสิบกว่าปี  แสดงถึงพระปรีชาสามารถในการดูแลปกครอง เมืองส�ำคัญของอยุธยา


26

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในช่วงระยะเวลา ๓๐ ปี ของการทำ�สงครามใหญ่น้อย ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในจำ�นวนนี้มี ๕ สงครามเด่น ที่แสดงพระปรีชาสามารถ ในความเป็นกษัตริย์นักรบของพระองค์ และประสิทธิภาพของกองทัพอยุธยา ที่ส่งผลให้บ้านเมืองรอบด้าน อ่อนน้อมขอสวามิภักดิ์ต่อกรุงศรีอยุธยา และทำ�ให้กรุงศรีอยุธยาสงบสุข ปราศจากสงครามเป็นเวลา ยาวนานเกือบ ๑๗๐ ปี


ภาคที่ ๒

พระราชกรณียกิจ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

27


28

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

แม

ำำ

ตอนคิน (ฮานอย)

ํ้ าโ

วเ

อ่ า ว

หลวงพระบาง เชียงขวาง

ํ้าน ่า น แม่น

แม่นํ้าท่าจีน ะยา

แ ม่นํ้าเจ้าพร

ศ รี

าตะนาว

ทิ ว เ ข

แ ม่นํ้าป่าสัก

ํ้าว ัง

แม่นํ้

ิง ่น ํ้าป แ ม่ น แม

แ ม ่น

ทิ ว เ ข า ถ น น ธ ง ชั

ี๋ ไฟโฟ (ฮอยอัน)

แม่นํ้ามูล

จำ�ปาศักดิ์

โคราช เ ข า พ น ม ด ง รั ก

ทิ ว

ปราจีนบุรี จันทบุรี

เว้

าม

ลพบุรี อยุธยา

่ นํ ้ า

คร

เพชรบุรี

แม

แม

ชี

กาญจนบุรี ราชบุรี

สง

นครสวรรค์ สุพรรณบุรี

เวียงจันทน์

สุโขทัย พิษณุโลก

ตาก กำ�แพงเพชร

เมาะลำ�เลิง

ทวาย

เก

าย

่น ํ ้ า

ย่างกุ้ง เมาะตะมะ

เชียงใหม่

ตั ง

ํ้าพะโค

เชียงราย

หงสาวดี

เสียมราฐ โพธิสัตว์ ละแวก

ะเ

ขง

ดนลาว ขาแ

เชียงแสน

พะสิม

่นํ้าด

แด

แ ม่ น

ยะไข่

แม่นํ้าอิรวดี

แม่นํ้าสาละวิน

เชียงรุ้ง

แม

่นํ้า

ลอ

ัน

อ่ า ว ไ ท ย

ดา

มั น

ไซ่ง่อน

ชุมพร ไชยา นครศรีธรรมราช

ทะ

ถลาง

เล

จี น

แผนที่ราชอาณาจักรอยุธยา และดินแดนใกล้เคียงในรัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สงขลา ปัตตานี ไทรบุรี

ตรังกานู

ปาหัง มะละกา

ใต


29

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กษัตริย์ลำ�ดับที่ ๑๙ แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๑๔๘) พระนเรศวรเสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจาก สมเด็จพระมหาธรรมราชาใน พ.ศ. ๒๑๓๓ พระราชกรณียกิจในช่วง ๑๕ ปีแห่งรัชสมัยของพระองค์ มีทั้งการศึกสงครามและการค้าขาย เพื่อสร้างความมั่นคงแก่ราชอาณาจักรอยุธยา หลังจากทีอ่ ยุธยารับศึกใหญ่จากพม่ามา ๓ ปี ใน พ.ศ. ๒๑๓๓  สมเด็ จ พระมหาธรรมราชาเสด็ จ สวรรคต  เหล่ า ขุ น นาง  พร้อมใจกันอัญเชิญสมเด็จพระนเรศวรขึ้นครองราชย์เมื่อ  วันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓  พระองค์ทรงเป็น  กษัตริย์ล�ำดับที่ ๑๙ ของกรุงศรีอยุธยา  มีพระนามอย่าง  เป็นทางการว่า พระเจ้าสรรเพชญ์ที่  ๒  ทรงครองราชย์  เมือ่ พระชนมายุ ๓๕ พรรษา พระองค์โปรดเกล้าฯ สถาปนา  สมเด็จพระเอกาทศรถเป็นพระมหาอุปราช แต่มพี ระเกียรติยศ  สูงดั่งพระมหากษัตริย์อีกพระองค์ เนือ่ งจากทัง้ สองพระองค์  ทรงร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กันมาแทบทุกศึกสงครามตั้งแต่  สมัยก่อนทรงขึ้นครองราชย์ และเป็นเช่นนี้ตลอดรัชกาลของ  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปี แ ห่ ง รั ช สมั ย ของสมเด็ จ  พระนเรศวรมหาราช พระราชกรณียกิจทีโ่ ดดเด่นของพระองค์  คือ การศึกสงคราม ถึงกับมีผู้กล่าวว่า หากลองนับเวลาดู  พระองค์ประทับในพระนครไม่ถงึ  ๓ ปี  แต่พระราชกรณียกิจ  ทัง้ ด้านการปกครองและด้านเศรษฐกิจการค้าก็มคี วามส�ำคัญ  เช่นกัน  กล่าวได้ว่าราชอาณาจักรอยุธยาในสมัยสมเด็จ  พระนเรศวรเป็นยุคแห่งการฟื้นตัวหลังจากถูกพม่ารุกราน  และเป็นยุคแห่งการวางรากฐานความมั่นคงทางการเมือง  เศรษฐกิจ และความสงบสุขแก่ราชอาณาจักรในสมัยต่อๆ มา

พระพุทธรูป ประจ�ำพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้าง เป็นพระพุทธรูป ปางห้ามสมุทร


58

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สงครามสำ�คัญ หลังสงครามยุทธหัตถี สงครามเมืองละแวก ยกทัพแก้แค้นเขมร

“...ณ วัน ๖ ๑๐ ฯ  ๒ ค�ำ่  (วันศุกร์ท ี่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๑๓๖) เพลารุง่ แล้ว ๓ ณาลิกา ๖ บาทเสดจพยุหบาตรา  ไปเอาเมืองละแวก แลตั้งทัพไชยต�ำบลบางขวด เสดจไปครั้งนั้นใดยตัวพระศรีสุพรรในวัน ๑ ๑ฯ ๔ ค�่ำ  นั้น” จาก พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ สงครามครัง้ นีเ้ ป็นสงครามครัง้ แรกในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรทีอ่ ยุธยารบในเชิงรุก โดยยกทัพ  ไปตีเมืองละแวก ซึ่งมักจะส่งทหารออกตีบ้านเมืองต่างๆ ในพระราชอาณาเขตของอยุธยาอยู่เสมอ  โดยเฉพาะในยามทีอ่ ยุธยาอยูใ่ นภาวะอ่อนแอ เช่น การยกก�ำลังทางเรือตีเมืองเพชรบุรใี น พ.ศ. ๒๑๒๑  ยกทัพตีโคราชและชานกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๑๒๒ พ.ศ. ๒๑๓๖ สมเด็จพระนเรศวรโปรดเกล้าฯ ให้จดั ทัง้ ทัพบกและทัพเรือ (ล่องทะเลตัดอ่าวไทย)  ไปตีเมืองละแวก โดยจัดเป็น ๔ ทัพ ในที่สุดพระองค์สามารถตีเมืองละแวกได้  น่าสังเกตว่าในการ  สงครามระหว่างอยุธยากับเขมร นอกจากยกทัพไปทางบกแล้วยังมีกองก�ำลังไปทางเรือด้วย โดยมี  ชาวจามเป็นกลุ่มที่มีความช�ำนาญในด้านนี้และตั้งบ้านเรือนอยู่ที่คลองปทาคูจามทางใต้ของอยุธยา

พระนเรศวรไม่ ได้ทำ�ปฐมกรรมพระยาละแวก? ในพระราชพงศาวดารของไทยซึ่งช�ำระในสมัยรัตนโกสินทร์ (ในช่วง พ.ศ. ๒๓๒๖-๒๔๑๑) ส่วนใหญ่  กล่าวตรงกันว่า สมเด็จพระนเรศวรจับพระยาละแวกได้แล้วทรงท�ำพิธีปฐมกรรม คือการเชือดคอเอาโลหิต  มาล้างพระบาท ซึ่งเป็นพิธีที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย  แต่ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่า  ฉบับหลวงประเสริฐ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา และ สังคีติยวงศ์ ไม่มีกล่าวถึงการท�ำพิธีปฐมกรรมดังกล่าวนี้ ในพงศาวดารเขมรระบุว่า สมเด็จพระนเรศวรสามารถตีกรุงละแวกได้ แต่พระยาละแวกและพระโอรส  ทั้งสองหนีไปในแผ่นดินของล้านช้าง สมเด็จพระนเรศวรจึงน�ำตัวพระศรีสุพรรณ พระอนุชาของพระยาละแวก  กลับไปอยุธยา ในเอกสารสเปนซึ่งเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นร่วมสมัยกับเหตุการณ์นี้ และสเปนเป็นชาติตะวันตกที่เกี่ยวข้อง  กับการเมืองของละแวกในช่วงระยะเวลานั้นเล่าว่า พระยาละแวกหนีไปล้านช้าง โดยทางสเปนได้ส่งคนออก  ตามไป แต่พระยาละแวกและพระโอรสองค์โตสิ้นพระชนม์แล้ว ได้แต่เชิญพระโอรสองค์เล็กกลับกรุงละแวก นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันส่วนใหญ่เชื่อว่าสมเด็จพระนเรศวรไม่น่าจะท�ำพิธีปฐมกรรมพระยาละแวก  เนือ่ งจากมีเอกสารร่วมสมัยอย่างเอกสารสเปนเป็นหลักฐานอ้างอิง อีกทัง้ ในประวัตศิ าสตร์ไทยไม่เคยปรากฏ  การกระท�ำพิธีเช่นนี้


แม

เพชรบุรี

แม่นํ้าท่าจีน ระยา แ ม่นํ้าเจ้า พ

แ ่น ํ ้ า

ม ่ก ล

อง

แ ม่นํ้าป่าสัก

59

โคราช

อยุธยา ปราจีนบุรี ชลบุรี

พระตะบอง จันทบุรี ตราด

อ่าวไทย

สตรึงเตรง

เสียมราฐ ทะเลสาบ เขมร

ละแวก

บริบูรณ์

กัมปงโสม

บันทายมาศ แผนที่การยกทัพเข้าตีละแวก ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ปรับปรุงจาก การสงคราม ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ โดย พลตรี จรรยา ประชิตโรมรัน)

เส้นทางเดินทัพ ทัพบก เข้าตีเสียมราฐ-พระตะบอง-ละแวก

เส้นทางเดินทัพ ทัพเรือ เข้าตีบันทายมาศ-ละแวก

ใน พระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา บันทึกว่า สมเด็จพระนเรศวรทรงริบราชทรัพย์ต่างๆ และ  ได้ตัวพระศรีสุพรรณ (อนุชาของพระยาละแวก) และโอรส พร้อมด้วยพระศรีไชยเชฐ พระอนุชา  อีกพระองค์ และขุนนางบางคน  ในหนังสือประวัติศาสตร์เขมรเล่าว่า ในการตีละแวกนี้สมเด็จพระ  นเรศวรทรงท�ำอุบายด้วยการส่งคนลอบเข้าท�ำลายอาคมเมืองที่มีเทวดาประจ�ำเมืองปกปักรักษา และ  เนื่องจากเมืองละแวกมีป่าไผ่ล้อมรอบยากแก่การเข้าตี สมเด็จพระนเรศวรทรงให้คนโปรยเงินทองไป  ในป่าไผ่ ชาวเมืองละแวกต่างก็แย่งชิงกันเก็บโดยตัดต้นไผ่ออกเพื่อหาเหรียญ ท�ำให้พระองค์สามารถ  ตีเอาเมืองได้ง่าย


66

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ชายฝั่งทะเล สมเด็จพระนเรศวรมหาราช “เสด็จออกไปประพาสภิรมย์ ชมนัสยากรอันมีนานาพรรณกลางสมุทร ก็ทรงเบ็ดทอดได้ปลาฉลาม แล้วก็เสด็จขึ้นมายังพระตำ�หนัก” จาก พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ในเอกสารหลายฉบับกล่าวว่า หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถทรงยกทัพไปตี  หงสาวดีครั้งที่ ๒ แล้ว พระองค์และพระอนุชาได้เสด็จประพาสทางสถลมารค ณ เขาสามร้อยยอด  และมาประทั บ แรมที่ ต�ำ บลโตนดหลวง ๑๒ วัน ปัจจุบัน บริ เ วณโตนดหลวงคื อ  บ้ า นโตนดหลวง  ต. บางเก่า อ. ชะอ�ำ จ. เพชรบุรี

พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่หาดชะอ�ำ จ. เพชรบุรี


67

ชายหาดบริ เ วณนี้ จึ ง เป็ น สถานที่ ที่ สั ม พั น ธ์ กั บ สมเด็ จ พระนเรศวรมหาราชและได้ รั บ  พระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ขนานนามชายฝั่งทะเลนี้ว่า “ชายฝั่งทะเล  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช”  ครอบคลุมอาณาบริเวณชายฝั่งทะเลตั้งแต่แหลมผักเบี้ยใน จ. เพชรบุรี  ลงมาถึงกิ่งอ�ำเภอสามร้อยยอดใน จ. ประจวบคีรีขันธ์  มีหาดและสถานที่สำ� คัญเช่น หาดแหลมหลาว  หาดเจ้าส�ำราญ หาดปึกเตียน หาดชะอ�ำ หาดพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน หาดหัวหิน กุยบุรี และ  สามร้อยยอด  ทัง้ นีท้ หี่ าดชะอ�ำมีการประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรียข์ องพระองค์ทา่ นในท่าประทับ ยืนและทรงถือพระแสงดาบในพระหัตถ์ซ้าย หันพระพักตร์ออกอ่าวไทย

บ้านแหลม

ม่น

ช ํ้าเพ

รบ ุร

เพชรบุรี

อ่ า ว ไ ท ย

ชะอำ� หัวหิน

มะริด

ปราณบุรี ตะนาวศรี

สามร้อยยอด กุยบุรี

ประจวบคีรีขันธ์

แผนที่แสดงพื้นที่ ชายฝั่งทะเล สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


102

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

เครื่องพระแสงราชศัสตรา และเครื่องศิราภรณ์ที่สัมพันธ์กับ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในจำ�นวนเครื่องราชูป โภคของพระมหากษัตริย์ ไทย มีเครื่องราชูป โภคจำ�นวนหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชรวมอยู่ด้วย เครือ่ งราชูปโภค หมายถึง เครือ่ งใช้สำ� หรับแสดงสถานะพระมหากษัตริย ์ ทัง้ นีม้ เี ครือ่ งราชูปโภค ๔ อย่าง  ที่เกี่ยวเนื่องกับองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชคือ

พระแสงปืนต้นคาบชุดข้ามแม่นํ้าสะโตง หนึ่งในพระแสงอัษฎาวุธในหมวดเครื่องพระแสงราชศัตรา  ของพระมหากษั ต ริ ย ์ ไ ทย เป็ น พระแสงปื น ยาวที่ ส มเด็ จ  พระนเรศวรทรงใช้ในคราวทีเ่ สด็จออกจากกรุงหงสาวดี และ  สุกรรมาไล่ติดตามพระองค์ตามรับสั่งของพระเจ้าหงสาวดี  สมเด็ จ พระนเรศวรทรงปื น นี้ สั ง หารสุ ก รรมาเสี ย ชี วิ ต  (อ่านรายละเอียดในภาคที่ ๒ หัวข้อ การรบที่แม่น�้ำ  สะโตง หน้า ๔๔)

พระแสงดาบคาบค่าย

หนึ่งในเครื่องพระแสงราชศัสตรา เป็นพระแสงดาบที่สมเด็จ  พระนเรศวรทรงใช้ในคราวยกพลปล้นค่ายพม่าทีล่ อ้ มอยุธยา ใน พ.ศ. ๒๑๒๘-๒๑๒๙ พระองค์ทรงบุกค่ายพม่าโดยทรงคาบ  พระแสงดาบในขณะที่ทรงปีนก�ำแพงค่าย แต่ทรงถูกทหาร  แทงพลัดตกลงมา ในพระราชพิธีสำ� คัญจะเชิญพระแสงดาบ  นี้พร้อมพระแสงศัสตราวุธอื่นๆ เข้าร่วมพระราชพิธีด้วย  พระแสงดาบมีลักษณะแบบดาบไทย มีคมข้างเดียว ใบดาบ  แบนยาว ปลายแหลมอย่างใบแวง


103

พระมาลาเบี่ยง

หนึ่งในเครื่องศิราภรณ์ของพระมหากษัตริย์ เป็นพระมาลา  ที่ทรงในคราวสงครามยุทธหัตถี ในการรบครั้งนั้นมีคราหนึ่ง  พระคชาธารศึกของสมเด็จพระนเรศวรเสียหลัก พระมหา  อุปราชาได้ทีจึงใช้ของ้าวฟันพระองค์ แต่สมเด็จพระนเรศวร  สามารถเบีย่ งพระวรกายหลบได้ถกู แต่พระมาลาของพระองค์  อันเป็นที่มาของนามพระมาลานี้

พระแสงของ้าวแสนพลพ่าย

เครื่องราชูปโภคในหมวดพระแสงอัษฎาวุธ เป็นพระแสง  ของ้าวที่สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้ฟันพระมหาอุปราชาสิ้น  พระชนม์ในสงครามยุทธหัตถี  ลักษณะเป็นพระแสงด้ามยาว  ส่วนปลายเป็นง้าวที่คล้ายมีดยาวปลายโค้งเรียว ถัดลงมามี  ขอเหล็กปลายแหลมส�ำหรับสับหลังช้างเพื่อบังคับช้าง เครื่องราชูปโภคทั้งสี่นี้สูญหายไปในคราวสงครามเสียกรุงครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐  พระบาท  สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นใหม่แทนของเดิม  ส� ำหรับภาพ  ประกอบชุดนี้เป็นเครื่องราชูปโภคที่จ�ำลองไว้ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ที่ทุ่งภูเขาทอง จ. พระนครศรีอยุธยา


สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กษัตริย์ลำ�ดับที่ ๑๙ แห่งราชอาณาจักรอยุธยา พระราชกรณียกิจของพระองค์ มิ ได้มีเฉพาะการสงครามเท่านั้น แต่ยังมีพระราชกรณียกิจอีกหลายอย่าง ที่สะท้อนการเป็นกษัตริย์ผู้มีวิสัยทัศน์ ในการสร้างความมั่นคงแก่บ้านเมือง ที่พึ่งจะผ่านสงครามครั้งใหญ่ เช่น การติดต่อกับต่างประเทศเพื่อการค้า การยกทัพตีกรุงหงสาวดีเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์ ไทย เป็นต้น เรื่องราวของพระองค์ ได้กลายเป็นตำ�นาน ที่เล่าขานอยู่ ในความรับรู้ของชาวไทย สืบเนื่องถึงปัจจุบัน ราคา ๑๙๐ บาท

ISBN 978-616-7767-01-7

หมวดประวัติศาสตร์/ชีวประวัติ

รู้ทุกเรื่องราวเกี่ยวกับ มหาราชผู้กล้าหาญของชาวไทย


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.