Kiss me and Be the Change

Page 1

รวม

25

ด่ ผู้ อ ย า ก ใ ห้ โ ล แ ก ล งโ ล ป แ น ย ่ ี ล เรื่องเป

ก เ ป ลี่ ย น

“หอยทากตั ว นั้ น ”


ISBN 978-616-7767-35-2 หนังสือ  Kiss me and Be the Change ผู้เขียน  “หอยทากตัวนั้น” © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี  ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที่  1  เมษายน 2557  จ�ำนวนพิมพ์  3,000 เล่ม ราคา 199 บาท คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปกและรูปเล่ม : วันทนี  เจริญวานิช และ “หอยทากตัวนั้น” ภาพวาดลายเส้น : “หอยทากตัวนั้น” พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์  ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด (ส�ำนักพิมพ์สารคดี) จัดจ�ำหน่าย  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด 28, 30 ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร. 0-2281-6110 (อัตโนมัติ) โทรสาร 0-2282-7003 เพลต  เอ็น. อาร์. ฟิล์ม  โทร. 0-2215-7559 พิมพ์  บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์  จ�ำกัด โทร. 0-2720-5014 ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อำ� นวยการ : สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์  ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์  เจียมพานทอง  ผู้อ�ำนวยการฝ่ายตลาด/โฆษณา : ปฏิมา หนูไชยะ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์  ศรีนวล  ผู้จัดการฝ่ายตลาด : พิเชษฐ ยิ้มถิน ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : สุดารา สุจฉายา  บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : สุวัฒน์  อัศวไชยชาญ หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน�้ำมันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน�ำ้ มันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม


จากส�ำนักพิมพ์ “ท�ำไมคุณถึงต้องการท�ำลายโลกของเรา” มนุษย์ถาม “นีไ่ ม่ใช่โลกของคุณ เรามาช่วยโลก ไม่ได้ชว่ ยมนุษย์” มนุษย์ตา่ งดาว ผู้ทรงภูมิปัญญาตอบด้วยสีหน้ามั่นใจ ........... บทสนทนาจากหนังไซไฟเรื่องหนึ่งมักผุดขึ้นในหัวเสมอเวลาได้รับ ข่าวภัยพิบัติทางธรรมชาติ  ข่าวการสูญพันธุ์ของพืชหรือสัตว์  หรือการเกิด มลพิษในที่ต่างๆ ซึ่งแทบทั้งหมดเป็นผลจากฝีมือมนุษย์เรา ๆ นี่เอง ข้อมูลข่าวสารทีใ่ ห้ความรู ้ บอกถึงการพังทลายของระบบนิเวศและ สิ่งแวดล้อม มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ย�้ำเตือน - โลกก�ำลัง “เปลี่ยนไป” แต่ไม่ว่าข่าวสารเหล่านี้จะมากแค่ไหน พฤติกรรมของมนุษย์ก็ยัง “ไม่เปลี่ยนแปลง” เราเคยเป็นมาอย่างไร เราก็เป็นอยู่อย่างนั้น และยังคงจะเป็น ต่อไป (?) น่าสงสัยไม่น้อยว่า เมื่อไร หรืออะไร จะเปลี่ยนเรา หรือต้องรอวัน ที่มนุษย์ต่างดาวมาถึง ........... “Kiss me and Be the change” - “หอยทากตัวนั้น” ตอบเสียง นุ่มนวล พลิกอ่านจนจบเล่ม แล้วคุณจะพบว่า การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง ต้องเกิดขึ้นภายในตนเอง

สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์


ส า ร บั  ญ

10 20 30 40 48 58 68 76 86 96 106 116 126

สมองจอมซื้อ มหาสมุทรพลาสติก ถุงผ้า และความมีแก่ใจเบื้องต้น ความสนุกของการขี่จักรยานในวันที่  กทม. ยังไม่ค่อยมีทางให้เรา ชีวิต (บางช่วง) ที่ไม่ซื้อ เราช้าลง โลกเย็นขึ้น ชีวิตเรียบง่าย ความฉลาดทางสิ่งแวดล้อม ความเมตตา กับต้นกะเพรา ความรักสามสถานะบนดาวเคราะห์สีนำ�้ เงิน ความส�ำคัญของชาติก่อนกับชาตินี้ของหนังสือ เรียนรู้เรื่องกินจากการอด เสื้อผ้าด่วน ๆ : ตัวโกงบนตัวเรา กลไกทางจิตว่าด้วยโลกร้อน : ความเฉยเมยของสาธารณะ หวาน ๆ ขม ๆ คนกับธรรมชาติ


136 146 156 166 176 190 198 206 216 226 236 246 255

แผน “เปลี่ยนออฟฟิซให้เป็นสีเขียว” ของเจ้าหล่อน Kiss me, I’m a vegetarian. เมื่อเราเริ่มเขี่ย อึกับสวัสดิภาพของโลก ค�ำแปดค�ำ ว่าด้วยประวัติศาสตร์ขยะครัวเรือน มันคือ “นิ-สั-ย” “มี” และ Be the Change ดูนกไปท�ำไม เมืองใหญ่ทำ� ลายสมอง เที่ยวเขียวเที่ยวช้า เมื่อผู้ใหญ่พึ่งยาก เด็กก็อยากท�ำเอง เมื่อความสุขอาศัยอยู่ระหว่างเราและคนอื่น ๆ ประวัติผู้เขียน


สมอง จอมซื้อ


มันก็ตั้งนานมาแล้วที่คนเรารู้ว่าโลกมีระบบนิเวศอันละเอียดอ่อน และการเอาแต่ประโยชน์จากทรัพยากร ก็รังแต่จะท�ำให้โลกเสื่อมโทรม ลงไปเรื่อย ๆ ตั้งนานมาแล้วที่ใคร ๆ ก็รู้กันดีว่า ทุกสิ่งที่เราซื้อและโยนทิ้งไป ต้องมีผลกระทบต่อตรงไหนสักแห่งในระบบนิเวศที่เกี่ยวพันต่อเนื่อง ไม่สิ้นสุด แถมใคร ๆ ก็รกู้ นั แล้วด้วยว่า การมีสมบัตมิ ากไม่ได้แปลว่าปริมาณ ความสุขของเจ้าของจะเพิ่มตาม แล้วเหตุใดมนุษย์อย่างเราถึงตั้งหน้าตั้งตาบ่มเพาะวัฒนธรรม ซึ่งเอาแต่ผลิตเอาแต่บริโภคกันอยู่ได้ จอห์น แนช คนที่ไม่ได้เป็นนักคณิตศาสตร์อัจฉริยะ แต่เป็น นักหนังสือพิมพ์  เขียนหนังสือชื่อ Enough : Breaking Free from the  World of More เพื่อตอบค�ำถามนั่น เขาสงสัยว่ามีบางอย่างในสมองที่ท�ำให้คนเราอยากได้ไม่รู้จบ ถึงจะมีมากพอแล้วก็เถอะ

“ ห อ ย ท า ก ตั ว นั้ น ”

11


adbusters.org/content/brand-baby-1

borders.com.au/book/enough-breaking-free-from-the-world-of-more/244989/

โฆษณาของ Adbusters ออกแบบโดย Tabula Rosa, 2004.  Borjana Ventzislavova, Miroslav Nicic & Mladen Penev

12

Kiss me and Be the Change


...

ความสงสั ย ลากแนชย้ อ นไกลไปถึ ง สมองยุ ค แรกเริ่ ม เมื่ อ 130,000-200,000 ปีก่อนโน้น เมื่อมนุษย์ยังมีวิถีชีวิตแบบพรานผู้ล่า และคนเก็บของป่ากึง่ อดอยาก ซึง่ ต่อมาลงหลักปักฐานเป็นชาวไร่ชาวนา คอยเก็บเกี่ยวพืชผลใกล้ตัว แม้ชีวิตจะเปลี่ยนไปดูสบายขึ้น แต่ที่จริงเกษตรกรยุคแรกนั้น ก็ต้องเผชิญกับปัญหาคลาสสิกที่เกษตรกรทุกยุคต้องเจอเหมือนกัน นั่นคือความล้มเหลวจากการปลูกพืชผล ใครยอมแพ้กอ่ น ถูกคัดออกไป  ส่วนใครทีอ่ ดทนสูต้ อ่ ก็ได้ครอบ ครองแผ่นดินทีก่ ว้างใหญ่ขนึ้  พร้อมทัง้ โบนัส ได้สง่ ทอดสมองให้ลกู หลาน ต่อลงมา แนชคิดว่าสมองพิมพ์นิยมที่ว่าพาให้มนุษย์เอาตัวรอดผ่านยุค น�้ำแข็ง โรคระบาด ความอดอยาก ภัยธรรมชาติ  สงคราม และความ หายนะนานาชนิดมาได้  ด้วยรหัสที่ถูกบันทึกไว้ข้างในว่า “มีให้มากเข้า ไว้ก่อน” เมื่อท�ำแล้วมันเวิร์กจริง สมองที่เหลือรอดมาจึงจัดแจงให้คนเรา มีแรงขับดันแบบนั้นต่อมาเรื่อย  พอนานเข้า สมองเราก็กลายเป็น “เครือ่ งจักรแห่งความไม่เคยพอใจตลอดกาล” พร้อมชิปทีฝ่ งั ไว้ให้เจ้าของ รู้สึกอ่อนไหวต่อความอดอยาก  มนุษย์จึงเอาแต่กลัวความขาดแคลน แทนที่จะมองเห็นและซาบซึ้งถึงความเหลือเฟือรอบตัว แม้เมื่อวิวัฒนาการขึ้นมาเป็นพลเมืองอยู่ในประเทศที่ร�่ ำรวย เปลีย่ นผ่านจากความขาดแคลนมาอยูใ่ นยุคทีอ่ ดุ มสมบูรณ์อย่างไม่เคย

“ ห อ ย ท า ก ตั ว นั้ น ”

13


เป็นมาก่อนแล้ว ชิปนั่นมันก็ยังไม่หยุดท�ำงาน มนุษย์จงึ มีวตั ถุทกุ อย่างทีต่ วั เองน่าจะพอใจ จะขาดไปก็แต่กลไก ที่บอกให้หยุด แนชเรียกว่า “ปุ่มพอ”

...

นั่นก็ฟังดูแย่แล้ว แต่คงยังไม่หนักพอ  พวกสมองที่วิวัฒนาการ มาอย่างนั้นแล้วถูกหล่อเลี้ยงต่อด้วยวัฒนธรรมสมัยใหม่ที่กระตุ้นแต่ สัญชาตญาณของความอยากได้อยากมีอย่างไม่สิ้นสุด เหมือนหมาวนกัดหางตัวเอง  ต่อให้ระบบนิเวศทุกอย่างพังทลาย ไป ทรัพยากรจะหมดโลก ต่อมความปรารถนาที่เติมไม่เคยเต็มก็ยัง ท�ำงานต่อไป แนชหันไปมองโฆษณา - สิง่ ทีบ่ อกพวกเราส่วนใหญ่วา่  ข้าวของ เครื่องใช้ราคาแพงนั้นมักมีคนสวยหล่อเป็นผู้ใช้สอยหรือเป็นเจ้าของ แถมคนสวยคนหล่อคนดูดีพวกนั้นยังเป็นคนที่เรา “ก็รู้จัก” อีกต่างหาก ความทีเ่ คยอยูใ่ นสังคมระดับเผ่ามาก่อน เราจึงมักคิดเหมาเอาว่า ถ้าเรารู้จักใคร คนนั้นก็คงรู้จักเราด้วย  และการเลียนแบบการแต่งกาย และบุคลิกท่าทางของคนคนนั้นก็อาจช่วยยกตัวเราให้อยู่ในระดับเดียว กับเขาก็ได้ แนชหันกลับมาดูสมองอีกที  - เมือ่ ใดก็ตามทีค่ นเรารูส้ กึ ด้อยกว่า คนอืน่  พืน้ ทีใ่ นสมองสองแห่งจะเริม่ ท�ำงาน  จุดหนึง่ จะท�ำให้รสู้ กึ อ่อนไหว

14

Kiss me and Be the Change


จนใจหดเล็ก ส่วนอีกจุดหนึ่งท�ำให้เกิดแรงขับดันเพื่อการชดเชย ดังนัน้ เพือ่ ป้องกันไม่ให้เรารูส้ กึ น้อยหน้าคนอืน่  เราจึงจ�ำเป็นต้อง เข้าไปอยู่ในเกราะก�ำบังของการสะสมและการแสวงหา ไม่ได้เพิ่งมาเป็นเอาตอนนี้  แต่คนเราเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่ก่อน สมัยพระเจ้าเหา การขุดค้นพบขวานเป็นล้าน ๆ อันในยุคหินใหม่  ท�ำให้นกั โบราณ คดีสงสัยว่า มนุษย์ยคุ นัน้ จะมีขวานไว้เยอะเกินจ�ำเป็นขนาดนัน้ ไปท�ำไม มีคนสันนิษฐานว่า ก็เอาไว้เกทับบลัฟแหลกว่าของใครดีไซน์เจ๋งกว่ากัน นั่นเอง มนุษย์แม้จะเคลือ่ นเลยสูย่ คุ หลังสมัยใหม่ไปนานแล้ว ก็ยงั คงเส้น คงวา  อะไรทีม่ นั ดูเก๋เท่ชกิ  หากได้ครอบครองเอาไว้  ก็ทำ� ให้เราดูเหมือน มีสถานภาพสูงส่ง ดูตาถึงฉลาดหลักแหลมตามไปด้วย ทีนพี้ อ “ขวาน” เก๋ ๆ ใหม่ ๆ ออกมาเรือ่ ย ๆ เราก็อยากรูดปืด๊ ๆ มา ไว้เป็นสมบัติประจ�ำตัว โดยไม่ต้องสนใจรายละเอียดอื่น ๆ

“ ห อ ย ท า ก ตั ว นั้ น ”

15


มหาสมุทรพลาสติก

ถุงผ้า และความมีแก่ใจเบื้องต้น


คุณผู้อ่านที่รัก การที่เราไม่รับถุงพลาสติกสักใบนั้น มันมีความหมายจริง ๆ ในทางปฏิบัติ  อย่างน้อยการหยิบถุงผ้า (หรือถุงอะไรก็ตามแต่ กระทัง่ เป้วา่ ง ๆ ฯลฯ) ออกมาเพือ่ ใส่ของทีเ่ ราซือ้ นัน้ เป็นไปได้จริงในชีวติ ประจ�ำวัน  และความอารีของพ่อค้าแม่ขายขาประจ�ำทีเ่ คยคะยัน้ คะยอ ให้เรารับถุงก๊อบแก๊บ ก็กำ� ลังถูกแทนทีด่ ว้ ยความเข้าใจในพฤติกรรมใหม่ ของผู้บริโภค สนามจริงของการใช้ถุงผ้าเป็นไปได้ทุกแห่ง ขอเพียงถุงของเรา มีที่ว่างพอให้บรรจุของ  ไม่มีพ่อค้าแม่ค้าคนไหนค่อนว่าด่าทอ ถ้าเรา จะปลดถุงก๊อบแก๊บใบใหม่ส่งคืนให้เขา

“ ห อ ย ท า ก ตั ว นั้ น ”

21


...

ในเว็บไซต์  www.worldwithoutus.com ชื่อเดียวกับหนังสือ ที่เขาเขียน The World Without Us - โลกที่ไม่มีพวกเรา อลัน วีส์แมน ปล่อยบทที่  9 “พอลิเมอร์ไม่มีวันตาย” ไว้ให้เรา โหลดอ่านฟรี   ในบทนั้นเขาไม่ได้ชวนให้เราใช้ถุงผ้าเลยแม้แต่น้อย แต่ สิง่ ทีเ่ ขาพูดถึงมันท�ำให้เรารูว้ า่ การไม่รบั ถุงพลาสติกแม้เพียงหนึง่ ถุง มัน มีความหมายมากเพียงใด วีส์แมนพูดถึงคนสองคนที่มีประสบการณ์ไม่รู้ลืมและยืดเยื้อ เกี่ยวกับถุงพลาสติกและพลาสติกชนิดอื่น ๆ  และสิ่งที่ทั้งคู่พบเจอนั้น ควรถูกขยายให้สาธุชนทั้งหลายได้พึงสดับ

coastalcare.org/2009/11/plastic-pollution/

22

Kiss me and Be the Change

greengiving.eu/uploads/site/dode-vogel-with-pet-bottle-caps-in-his-stomache.JPG


coastalcare.org/2009/11/plastic-pollution/

เนิร์ดเดิลบนหาด

...

คนแรกชือ่  ดร. ริชาร์ด ทอมป์สนั  เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และสอนอยูท่ มี่ หาวิทยาลัยพลีมทั  ในสหราชอาณาจักร  ทอมป์สนั สนใจ เรือ่ งขยะชายหาดมาตัง้ แต่เป็นนักศึกษาปริญญาตรีเมือ่  20 ปีกอ่ น ด้วย การอาสาและชักชวนหมู่เพื่อนให้ช่วยกันเก็บขยะชายหาดทุกปี ทอมป์สนั พบว่ายิง่ เวลาผ่านไป บรรดาขยะทีเ่ ก็บได้จากชายหาด มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ  จากที่เคยมีแต่ขวดแบบต่าง ๆ หรือยางรถยนต์ ก็กลับพบเศษพลาสติกชิ้นเล็ก ๆ ชนิดที่ดูไม่ออกว่ามันหลุดมาจากที่ใด กันแน่ และในท่ามกลางขยะเกยหาดอย่างเชือกไนลอนเส้นใหญ่ ๆ ไซริงก์  กล่องพลาสติกไม่มีฝา ชิ้นส่วนชูชีพ หีบห่อที่ท�ำจากพอลิสไตรีน ฝาขวดหลากสี  ก้านพลาสติกของส�ำลีส�ำหรับเช็ดหูนั้น จึงมีพลาสติก ขนาดจิว๋ รูปทรงกระบอกสูง 2 มิลลิเมตร ปะปนอยูด่ ว้ ย  ทอมป์สนั เรียก มันว่า “เนิร์ดเดิล”  มันเป็นวัตถุดิบส�ำหรับหลอมท�ำของใช้พลาสติก ต่าง ๆ

“ ห อ ย ท า ก ตั ว นั้ น ”

23


แต่เนิรด์ เดิลไม่ได้เป็นขยะทีเ่ ล็กทีส่ ดุ   ในระยะหลังทอมป์สนั และ ทีมต้องจ�ำแนกขยะด้วยกล้องจุลทรรศน์  และหลายครั้งกล้องจุลทรรศน์ ก็ยังมีก�ำลังขยายไม่พอด้วยซ�ำ้ ท�ำไมเราต้องท�ำกับขยะที่เล็กขนาดนั้นด้วย ทอมป์สันไม่ได้เว่อร์  แต่พวกเราอาจประเมินพลาสติกต�่ำกัน เกินไป  การที่มันมีขนาดเล็กมาก ๆ นั้นไม่ได้แปลว่ามันไม่มี  หรือคิดไป ว่ามันย่อยสลายไปแล้ว ทอมป์สันตระหนักได้ว่า กลไกที่คลื่นลมและกระแสน�้ำเคยท�ำ กับชายฝั่ง - กระบวนการที่เปลี่ยนหินให้เป็นชายหาดได้นั้น ก�ำลังเกิด ขึ้นกับพลาสติก พลาสติกชิ้นใหญ่ที่เคยลอยผลุบโผล่ในน�้ำก�ำลังมีขนาดเล็กลง เรือ่ ย ๆ แต่ไม่ได้มสี ญ ั ญาณใด ๆ ทีบ่ ง่ บอกว่า พลาสติกจะ “ย่อยสลาย” ได้เลย แม้ว่ามันจะมีขนาดเล็กลงไปเพียงใดก็ตาม ความแย่ที่สุดของเรื่องขยะพลาสติกจึงไม่ได้จบอยู่แค่ปริมาณ ขยะที่เพิ่มขึ้นทุกวัน แต่ตัวพลาสติกเองยังถูกขัดและถูกบดให้เล็กลง ทุกทีจนกลายเป็นอณู อณูทสี่ ามารถลอยละล่องอยูใ่ นทะเลและมหาสมุทรไปกับกระแสน�ำ้ ได้ทุกหนแห่ง ซึ่งการมีขนาดเล็กลง ๆ ของพลาสติกอาจพาปัญหาให้ มันใหญ่ขึ้น ๆ ไปอีก ทอมป์สันรู้ดีอยู่แล้วเรื่องที่พลาสติกชิ้นใหญ่ ๆ อย่างวงแหวน พลาสติก ตาข่าย อวนไนลอน อุดทางเดินหายใจและติดอยูใ่ นกระเพาะ

24

Kiss me and Be the Change


cdn.coastalcare.org/wp-content/uploads/2009/11/plastic-pollution-seal-trapped.jpg

อาหารของสัตว์ทะเล  หรือเรือ่ งทีเ่ ต่าต้องตายเพราะกลืนหวีพกพลาสติก หรือรถบรรทุกของเล่นพลาสติก  ประสบการณ์ส่วนตัวที่ท�ำให้เขารู้สึก แย่สุด ๆ คือการพบว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของซากนกทะเลฟูลมาร์ที่ลอยมา เกยหาด มีพลาสติกอยู่ในท้องมันเฉลี่ยตัวละ 44 ชิ้น ทีนี้เมื่อพลาสติกแตกตัวออกเป็นอนุภาคเล็ก ๆ สัตว์ทะเลขนาด เล็ก ๆ เช่น หนอนลูกโอ๊ก หมัดทะเล และเพรียง ก็จะกินเม็ดพลาสติกจิว๋ เข้าไปด้วย  กระทัง่ แพลงก์ตอนสัตว์กอ็ าจเผลอกินเม็ดพลาสติกทีม่ ขี นาด เล็กจิ๋วเป็นผงแป้งได้ ยังไม่มีใครรู้ว่าพลาสติกพวกนั้นจะท�ำอันตรายสัตว์เล็ก ๆ ที่เป็น พื้นฐานของห่วงโซ่อาหารไหม  มันจะถูกย่อยสลายหรือปล่อยสารเคมี บางอย่างที่ทำ� อันตรายแก่สัตว์ทะเลพวกนั้นหรือเปล่า

“ ห อ ย ท า ก ตั ว นั้ น ”

25


ความสนุก ของการขี่จักรยาน

ในวันที่  กทม. ยังไม่ค่อยมีทางให้เรา


“มันไม่อันตรายเหรอวะ” “ก็อันตรายเหมือนกันแหละ แต่มันไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ลองขี่ ดูดิ” คนไม่ขจี่ กั รยานหรือคนขีจ่ กั รยานแต่ไม่ขอี่ อกมาบนท้องถนนมัก คิดว่าการปั่นจักรยานใน กทม. มันอันตรายมาก ฝ่ายคนขีจ่ กั รยานอยากให้เพือ่ นเข้าใจ แต่ไม่รจู้ ะอธิบายให้กระจ่าง อย่างไรดี  ได้แต่ชวนเพื่อนให้ลองท�ำจริง  นั่นดูเหมือนเป็นหนทางเดียว ที่จะรู้ได้ ทีจ่ ริงการขีจ่ กั รยานในกรุงเทพมหานครในวันทีเ่ ลนจักรยานและ เครือข่ายขนส่งสาธารณะดี ๆ ยังไม่มาถึงพร้อมนัน้  เป็นไปได้อยู ่ โดยผูข้ ี่ ไม่จ�ำเป็นต้องเป็นสิงห์นักปั่นร่างบึกบึน

“ ห อ ย ท า ก ตั ว นั้ น ”

31


ภาพคลาสสิก “ชีวติ ก็เหมือนการปัน่ จักรยาน   จะให้มันสมดุล ก็ต้องปั่นไป”  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

cozybeehive.blogspot.com/2008/09/celebrities-who-ride-their-bicycles.html

จักรยานเปิดโอกาสให้คนทุกเพศวัย (ยกเว้นเด็กในกรณีน)ี้   หญิง ปอดแหกหุน่ เบอร์เอสอย่าง น.ส. จิว๋  ก็ขมี่ นั ได้   หล่อนผูน้ เี้ คยพึง่ สองขา ขี่จักรยานจากสะพานผ่านฟ้าฯ เพื่อน�ำหนังสือไปคืนที่หอสมุดกลาง จุฬาฯ หรือไม่ก็ไหลรวมกับขบวนรถที่รอเลี้ยวเข้าที่จอดรถย่านสยามสแควร์ที่นัดเพื่อนเอาไว้ “ค่อย ๆ ไปอะ” จิว๋ ว่า “ถ้ารอแต่เลนจักรยานของ กทม. เมือ่ ไหร่ ถึงจะได้ขี่” เปล่า หล่อนไม่ได้พูดให้การเคลื่อนไหวให้มีทางจักรยานและ เครือข่ายขนส่งสาธารณะทีใ่ ช้งานได้จริงของหลายฝ่ายต้องเสียกระบวน หรือให้  กทม. สบายใจว่าไม่มีทางจักรยานก็ยังมีคนขี่จักรยานได้  และ หล่อนก็ไม่ได้รักชีวิตตัวเองน้อยไปกว่าคนอื่นด้วย

32

Kiss me and Be the Change


tommy ton via http://ridingpretty.blogspot.com/2009_12_01_archive.html

แคเทอรีน บาบา สไตลิสต์ ผู้ทรงอิทธิพลด้านแฟชั่น แห่งปารีส โด่งดังเรื่อง การปั่นจักรยานไปงาน แฟชั่นวีกด้วยชุดสุดเก๋ และรองเท้าส้นสูง   ทอมมี  ทัน แฟชั่นบล็อกเกอร์ เป็นผู้ถ่ายภาพนี้ไว้ได้

ตรงกันข้ามหล่อนว่าเพราะรักชีวิตนั่นแหละถึงได้ขี่จักรยาน วันนี้ถ้าหากเราสังเกตก็จะพบว่าเลนซ้ายของถนนไม่เคยว่างเว้น จากคนขีจ่ กั รยานเลย และคนขีจ่ กั รยานก็ไม่ได้มแี ต่ผมู้ เี งินซือ้ เสือหมอบซิตีไบก์แต่งกายครบเครื่องเท่านั้น  อาม่า อาแปะ ลุง ป้า หนุ่ม กระทั่ง สาวบางคนที่ปล่อยผมยาวปลิวไสว ล้วนขี่จักรยานแม่บ้านไร้เกรดไป ซื้อของส่งของกันทั่วไปอยู่แล้ว  บนถนนใหญ่บางสายก็ยังเห็นมีอาซิ้ม ขี่จักรยานด้วยสีหน้าและจังหวะเนิบ ๆ เหมือนไม่ต้องใช้ความพยายาม อะไร ไม่ว่าจะเพราะความจ�ำเป็นหรือได้เลือก อาม่า อาแปะ ลุง ป้า หนุม่  สาว และอาซิม้ เหล่านัน้  อาจไม่เคยคิดเลยว่าการขีจ่ กั รยานจะสลัก ส�ำคัญขนาดช่วยลดโลกร้อนไหม มากน้อยเพียงใด

“ ห อ ย ท า ก ตั ว นั้ น ”

33


ความส�ำคัญของ กับ

ชาติก่อน ชาตินี้ ของหนังสือ


คุณจ๋า

ความสุขของนักอ่านและคนรักหนังสือที่เป็นสากลอย่างหนึ่งนั้น น่าจะเป็นการเดินเข้าร้านหนังสือทีโ่ ปรดปราน แล้วถูกห่อหุม้ ด้วย บรรยากาศที่หนังสือหลายร้อยหลายพันเล่มปล่อยแรงสั่นสะเทือนของ ตัวเองออกมาอย่างสงบนิ่งสุขุม  เป็นการละเลียดหยิบจับหนังสือใหม่ เล่มโน้นเล่มนี้ขึ้นเปิดอ่านเปิดชมเปิดดมอย่างอิ่มเอม  ไม่ว่าจะซื้อกี่เล่ม หรือแม้ไม่ได้อะไรติดมือมาเลย ร้านหนังสือก็ เป็นสวรรค์ของคนรักหนังสือเสมอ มันเลยเป็นความจริงที่ไม่สะดวกจะฟัง เมื่อใครสักคนพูดโพล่ง ขึน้ มาว่า ร้านหนังสือคือ “ป่าทีต่ ายแล้ว” เพราะสิง่ ทีบ่ รรจุอยูใ่ นร้านหนังสือ คือเซลลูโลสของต้นไม้จำ� นวนมหาศาลทีถ่ กู ตัดโค่น ถูกบด ถูกตีเป็นเยือ่ ละเอียด ถูกฟอกสีด้วยคลอรีน ถูกใส่สารเคมีต่าง ๆ  ถูกย้อมให้มีสีนวล

“ ห อ ย ท า ก ตั ว นั้ น ”

87


ตา ถูกพ่นเป็นแผ่น รีด อบ ม้วน ตัด  ถูกพิมพ์ดว้ ยหมึก ไสกาวเข้าเล่ม เจียน บรรจุหบี ห่อ ขนส่ง ก่อนถูกจัดเรียงขึน้ หิง้ อย่างเรียบร้อยและปล่อย แรงสั่นสะเทือนอย่างสงบเร้าใจคนรักหนังสือ หนังสือเล่มหนึ่ง ตลอดจนร้านหนังสือทั้งร้าน จึงมีหลายใบหน้า แล้วแต่ใครจะเห็น  ในชาตินี้มันอาจเป็นแหล่งความรู้  ปัญญา บันเทิง กระทั่งยกระดับจิตวิญญาณของมนุษย์   แต่ในชาติก่อนหนังสือแต่ละ เล่มเคยเป็นต้นไม้  บ้านของสัตว์น้อยใหญ่  เป็นสมาชิกหนึ่งในระบบ นิเวศที่มีหลากหลายสายพันธุ์  เป็นแหล่งพึ่งพาของชาวบ้านและชนเผ่า ที่อาศัยใกล้หรือในป่า ภายใต้ใบหน้านี้  คุณผู้อ่านไม่จ�ำเป็นต้องนั่งไทม์แมชชีนก็อาจ เห็นชาติก่อนของหนังสือได้อย่างกระจ่างต่อหน้า “ไม่มีใครเลยที่อยากคิดว่าต้นไม้ทั้งหลายถูกโค่นลง  พวกเรา หลายคนมีภาพง่าย ๆ สบาย ๆ ในหัวว่า หนังสือมาจากการรีไซเคิลหรือ มาจากปา ‘ยั ่ ่งยืน’ ที่ปลูกอย่างเป็นระเบียบ อาจจะที่ไหนสักแห่งใน สวีเดน  มันเป็นมายาคติ   ร้อยละ 70 ของกระดาษ 335 ล้านตันทีใ่ ช้กนั ทัว่ โลกมาจากป่าธรรมชาติทไี่ ม่ใช่ปา่ ปลูก  ในแคนาดา กระดาษร้อยละ 90 มาจากป่าโบราณโดยตรง” แมนดี  แฮกกิท สาวนักอนุรกั ษ์ชาวอังกฤษทีเ่ ดินทางทัว่ โลกเพือ่ ดู สภาพปาในประเทศต่ าง ๆ ผู้เขียนหนังสือ Paper Trails (เส้นทาง ่ กระดาษ) ได้รเิ ริม่ รณรงค์ให้คนทัว่ ไปเห็นว่า ตลอดชีวติ นีเ้ ราใช้กระดาษ ทิ้งขว้างขนาดไหน

88

Kiss me and Be the Change


แมนดีพดู ไว้ถกู แล้ว และสิง่ ทีเ่ ธอพูดเป็นความจริงเพียงหนึง่ เสีย้ ว ของเรื่องราวทั้งหมด วงการกระดาษรู้ดี  และมีหลายคนอยากเปลี่ยนแปลง  เดือน พฤศจิ ก ายน  ค.ศ.  2002  ที่ แ คลิ ฟ อร์ เ นี ย     “เครื อ ข่ า ยกระดาษเพื่ อ สิง่ แวดล้อม” ได้ประชุมและประกาศ  “วิสยั ทัศน์รว่ มกันเพือ่ การเปลีย่ น แปลงอุตสาหกรรมกระดาษ” (A Common Vision for Transforming the Paper Industry) ยอมรับว่า “เยื่อกระดาษ กระดาษ การบริโภค กระดาษ และการทิ้งกระดาษ มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม หลายประการ  อุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษและท�ำกระดาษเป็น หนึ่งในบรรดาตัวการส�ำคัญที่สร้างมลพิษทางอากาศและน�้ำ สร้างขยะ และก๊าซต่าง ๆ ที่ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ทั้งยัง เป็นหนึง่ ในบรรดาผูใ้ ช้วตั ถุดบิ อย่างน�้ำจืด พลังงาน และเส้นใยจากป่า” ค�ำประกาศดังกล่าวสอดคล้องกับความจริงที่ว่า อุตสาหกรรม ผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษเป็นผู้บริโภคน�้ำรายใหญ่ที่สุดในกิจการ ของกลุม่ ประเทศ OECD*  แถมยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากทีส่ ดุ เป็น อันดับ 3 รองจากอุตสาหกรรมเคมีและเหล็กกล้า ไอ้หยา...ไม่น่าเชื่อ ไม่อยากเชื่อ

* Organisation for Economic Cooperation and Development องค์การเพือ่ ความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา สมาชิกส่วนใหญ่เป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่าง อเมริกา แคนาดา ประเทศในยุโรป ออสเตรเลีย และญีป่ นุ่ “ ห อ ย ท า ก ตั ว นั้ น ”

89


“หอยทากตัวนัน้ ” เป็นนักเขียนไม่กคี่ นทีใ่ ช้ชวี ติ ในสิง่ ทีต่ วั เองเชือ่ เพือ่ ท�ำให้โลกดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเดินทาง อาหารการกิน เสื้อผ้า การใช้ สินค้า และเป้าหมายในการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย Kiss me and Be the Change อ่านแล้วก�ำลังอิ่มพอดีครับ วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

.....

เมื่ อ หยิ บ ต้ น ฉบั บ เล่ ม นี้ ม าพลิ ก อ่ า น ดิ ฉั น จึ ง รู ้ สึ ก เหมื อ นว่ า เรา ก� ำ ลั ง นั่งกินน�้ ำชาหอมๆ กับคุกกี้แสนอร่อย คุยกันใต้ต้นไม้ยามแดด ร่มลมตก...และต้ อ งทึ่ ง กั บ ข้ อ มู ล ที่ เ ธอย่ อ ยร้ อ ยเรี ย ง  ถ่ า ยทอดอย่ า ง แยบยล อบอุ่นด้วยประกายความห่วงใยและความหวัง สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์

.....

ห ม ว ด สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม ราคา 199 บาท ISBN 978-616-7767-35-2


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.