ม
า ส ำส ร
ว จ ส า ย น้ น ำ ใ น ท ้ อ ง ถ ่ินของเ
ง กั น
เอ
รา
เถอะ
มูลนิธิโลกสีเขียว ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2534 โดย ม.ร.ว. นริศรา จักรพงษ์ เพื่อท�ำงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาควบคู่ไปกับการสื่อสาร และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยหวังให้เด็กและผู้ใหญ่เกิดแรงบันดาลใจ ติดตามความเป็นไปของธรรมชาติ และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนและท้องถิ่นได้ด้วยตัวเอง
ประธานผู้ก่อตั้ง : ม.ร.ว. นริศรา จักรพงษ์ ประธานกรรมการ : ดร. สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ รองประธาน : สายสิริ ชุมสาย ณ อยุธยา เลขาธิการ : นิตยา วงษ์สวัสดิ์ กรรมการ : ดร. อนุชาติ พวงส�ำลี วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ดร. นณณ์ ผานิตวงศ์ ส�ำนักงาน : 2 ซอยสุขุมวิท 43 (แสงมุกดา) แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0-2662-5766 โทรสาร 0-2662-5767 อีเมล : gwf@greenworld.or.th เว็บไซต์ : www.greenworld.or.th Social : Facebook : มูลนิธิโลกสีเขียว Twitter/Instagram/Line : gwfthailand หากคุณผู้อ่านพบว่าหนังสือของมูลนิธิโลกสีเขียวมีข้อบกพร่อง ช�ำรุด หรือมีความเสียหายอื่น อันเกิดจากการผลิต โปรดส่งกลับคืนมายังมูลนิธิฯ ทางมูลนิธิฯ ยินดีจะจัดส่งเล่มใหม่ให้ท่าน
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์. นักสืบสายน�้ำ : คู่มือส�ำรวจและดูแล.--กรุงเทพฯ : มูลนิธิโลกสีเขียว, 2561. 176 หน้า. 1. นิเวศวิทยาน�้ำจืด. 2. ธรรมชาติศึกษาและการอนุรักษ์. 3. ชุมชนกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ. I. สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์. II. นิรมล มูนจินดา -- ผู้เขียนร่วม. 574.503 ISBN 978-974-7076-34-9
หนังสือ : นักสืบสายน�้ำ : คู่มือส�ำรวจและดูแล ผู้เขียน : สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ และ นิรมล มูนจินดา จัดท�ำโดย : มูลนิธิโลกสีเขียว สนับสนุนโดย : มูลนิธิสยามกัมมาจล ฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งที่ 1 : ธันวาคม 2561 ราคา : 250 บาท © สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยมูลนิธิโลกสีเขียว ชุดคู่มือนักสืบสายน�้ำ ประกอบด้วย • คู่มือส�ำรวจและดูแล • คู่มือสัตว์ล�ำธาร ที่ปรึกษาวิชาการ : ดร. นฤมล แสงประดับ ดร. ชวลิต วิทยานนท์ ผู้จัดการ : นิตยา วงษ์สวัสดิ์ บรรณาธิการเล่ม : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ และ ปณต ไกรโรจนานันท์ ภาพประกอบ : นิรมล มูนจินดา สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ อธิปัตย์ อู่ศิลปกิจ ออกแบบและจัดท�ำรูปเล่ม : ส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด พิมพ์ที่ : บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์ จ�ำกัด
กว่ า จะเป็ น นั ก สื บ สายน�้ ำ น�้ำส�ำคัญอย่างยิ่งต่อทุกชีวิตบนโลก แต่เรากลับไม่ให้ความส�ำคัญต่อระบบ นิเวศน�้ำจืด ต้นน�้ำหลายแห่งแห้งเหือดเพราะป่าถูกท�ำลาย แม่น�้ำล�ำธาร หลายสายเน่ า เสี ย เพราะมลพิ ษ และถู ก มนุ ษ ย์ ป รั บ แต่ ง ให้ เ ป็ น เส้ น ตรง ดาดซีเมนต์รมิ ฝัง่ สร้างเขือ่ นกัน้ น�ำ้ หรือผันน�ำ้ ไปยังล�ำน�ำ้ อีกสาย จนเป็นเหตุให้ ระบบนิเวศเสียหายและพังทลายในที่สุด แม่น�้ำล�ำธารไม่ใช่แค่ทางน�้ำไหลผ่าน แต่เป็นที่อยู่อาศัยของพืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตมากมายและหลากหลาย ทั้งยังเป็นเส้นทางให้สารอาหารไหล จากแผ่นดินไปหล่อเลี้ยงชีวิตชายฝั่งและในทะเล ราวกับเส้นเลือดหล่อเลี้ยง ร่างกาย ค�ำว่า “แม่น�้ำล�ำธารเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงแผ่นดิน” จึงมิใช่การพูด ให้ฟังดูดีเท่านั้น เพราะถ้าเส้นเลือดสุขภาพดี ร่างกายของเราย่อมสบายดี ถ้าแม่นำ�้ ล�ำธารสุขภาพดี ชีวติ ต่าง ๆ ทัง้ พืช สัตว์ และมนุษย์ ก็แข็งแรงสุขภาพ ดีไปด้วย หลังจากน�ำร่องท�ำกิจกรรมส�ำรวจชีวิตในสายน�้ำกับ Field Studies Council (FSC) ของสหราชอาณาจักร ด้วยทุน Darwin Initiatives ใน ปี 2540 มูลนิธโิ ลกสีเขียวก็ได้รเิ ริม่ “โครงการนักสืบสายน�ำ้ ” ขึน้ ในระหว่าง ปี 2541-2547 ด้วยการสนับสนุนงบประมาณด�ำเนินงานจากส�ำนักความร่วมมือ
นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
6
นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
7
นักสืบสายนํ้า
ด้านสิง่ แวดล้อมและการพัฒนาแห่งเดนมาร์ก (DANCED) โดยมีวตั ถุประสงค์ ให้เด็กและผู้ใหญ่สนใจอ่านสุขภาพสายน�้ำล�ำธารจากสังคมสัตว์เล็กน�้ำจืด หรือตัวอ่อนแมลงน�ำ้ ทีอ่ าศัยอยูต่ ามก้อนหิน พืน้ ทรายใต้ทอ้ งน�้ำ ซึง่ เป็นตัวบ่งชี้ คุณภาพน�ำ้ ทางชีวภาพ และประเมินสุขภาพสายน�ำ้ ร่วมกับลักษณะทางกายภาพ อื่น ๆ เช่น พงพืชริมฝั่ง สังคมสัตว์ริมฝั่ง ลักษณะความคดเคี้ยว สี อุณหภูมิ ความเร็วของน�้ำ เป็นต้น ในช่วงเวลาดังกล่าว โครงการนักสืบสายน�้ำได้พัฒนาเทคนิควิธีการ ส�ำรวจตรวจสุขภาพสายน�ำ้ และจัดอบรมกระบวนการนักสืบสายน�ำ้ ให้แก่นกั เรียน และครูในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และล�ำพูน จ�ำนวน 51 โรงเรียน โดยครูและ นักเรียนทีร่ ว่ มกับโครงการฯ ได้ชว่ ยกันออกส�ำรวจคุณภาพสายน�ำ้ ของแม่นำ�้ ปิง และล�ำน�้ำสาขา และน�ำเสนอข้อมูลสู่สาธารณะ ผลผลิตทีส่ ำ� คัญของโครงการฯ คือ “ชุดหนังสือคูม่ อื นักสืบสายน�้ำ” ซึง่ จัดท�ำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือประกอบการเรียนการสอน ส�ำรวจและประเมิน คุณภาพน�ำ้ อย่างง่าย มีประสิทธิภาพ และราคาถูก ให้ครูและนักเรียนมัธยม ศึกษาได้ส�ำรวจสืบค้นหาความรู้ความเข้าใจในล�ำน�้ำท้องถิ่นด้วยตัวเอง โดย โครงการฯ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขามาเข้าร่วมพัฒนาชุดคู่มือ ตั้งแต่การส�ำรวจข้อมูลทางชีววิทยาของล�ำน�้ำในพื้นที่ลุ่มน�้ำปิงเพิ่มเติมจาก งานวิจัยที่มีอยู่ก่อน ไปจนถึงการระดมความคิดในเนื้อหาและรูปแบบของ ชุดคูม่ อื จากนัน้ จัดท�ำร่างชุดคูม่ อื ฉบับทดลองขึน้ มาทดสอบประสิทธิภาพกับ โรงเรียนหลายแห่งในลุ่มน�้ำปิง ตลอดจนขอความเห็นจากเครือข่ายครูทั้ง ลุ่มน�้ำปิงและผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ เพื่อปรับปรุงชุดคู่มือฉบับทดลองให้เป็นฉบับ ใช้งานจริงขึ้นจนส�ำเร็จ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากและแพร่กระจายไป ทั่วประเทศ ทุกวันนี้นักสืบสายน�้ำยังคงเป็นกิจกรรมที่แพร่หลายไปทั่วทุกภาคของ ประเทศ เพราะเป็นกิจกรรมสิง่ แวดล้อมศึกษาทีค่ รู และผูน้ �ำกิจกรรมธรรมชาติ สามารถบูรณาการสู่การเรียนการสอนได้แทบทุกวิชา และยังเป็นกระบวน
การส�ำรวจประเมินคุณภาพน�้ำร่วมกับวิธีการทางเคมีได้อย่างดี โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเป็นกิจกรรมเรียนรู้ที่สนุกและใช้งานได้จริงพร้อม ๆ กัน ปัจจุบันมีเด็กและผู้ใหญ่มากมายที่ผ่านกระบวนการนักสืบสายน�้ำ เรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์เล็กน�้ำจืดที่อาศัยอยู่ในล�ำน�้ำ เฝ้าระวังและตรวจคุณภาพน�้ำเพือ่ ดูแลสายน�ำ้ ในท้องถิน่ ตลอดจนถ่ายทอด กระบวนการนักสืบสายน�ำ้ สูเ่ ด็กและเยาวชนรุน่ ใหม่ ๆ อย่างต่อเนือ่ งตลอดเวลา 2 ทศวรรษแล้ว มูลนิธิโลกสีเขียวขอขอบคุณหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กร ท้องถิ่น เพื่อนเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม นักวิชาการ นักวิจัย นักกิจกรรม สิ่งแวดล้อมศึกษา ชุมชนท้องถิ่น คุณครู นักเรียน และเจ้าหน้าที่โครงการ นักสืบสายน�ำ้ ทีช่ ว่ ยท�ำให้โครงการนักสืบสายน�ำ้ ประสบความส�ำเร็จอย่างสูง ท�ำให้มูลนิธิฯ ได้พัฒนานักสืบสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ตามมาอย่างต่อเนื่อง ความส�ำเร็จจากนักสืบสายน�้ำยังได้เป็นฐานรากให้หลายคนและหลาย หน่วยงานสานต่อการท�ำกิจกรรมต่าง ๆ สร้างเยาวชนรุน่ ต่อรุน่ จนได้รบั รางวัล ด้านสิง่ แวดล้อมระดับประเทศ ขยายผลไปกว้างไกลทัง้ ในระดับประเทศและ เพือ่ นบ้านอาเซียน อีกทัง้ บางกลุม่ ได้ใช้ขอ้ มูลจากการส�ำรวจสายน�ำ้ ช่วยต่อสู้ ต่อรองเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นให้คงอยู่ เป็นสมบัติของลูกหลานรุ่นต่อไป มูลนิธิโลกสีเขียวขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วมทุกท่านที่ช่วยก่อร่างพัฒนา ช่วยสานต่อยอด และสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อความยั่งยืนให้แก่โลกใบเขียว ของเราทุกคน
นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
8
นักสืบสายนํ้า
ค� ำ น� ำ หนังสือ คูม่ อื นักสืบสายน�ำ้ ฉบับปรับปรุงชุดนี ้ ประกอบด้วยหนังสือ 2 เล่ม คือ คูม่ อื ส�ำรวจและดูแล และ คูม่ อื สัตว์ลำ� ธาร เป็นการจัดท�ำเนือ้ หาและจัดพิมพ์ ขึ้นใหม่หลังจากการจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2542 และครั้งที่ 2 เมื่อปี 2545 ภายใต้โครงการนักสืบสายน�้ำของมูลนิธิโลกสีเขียว ที่ด�ำเนินการระหว่าง ปี 2541-2547 ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางและเผยแพร่จนหมด มานานหลายปี ทั้งนี้การส�ำรวจงานอนุรักษ์ทั่วประเทศในช่วงราวปี 2550 โดยสถาบันลูกโลกสีเขียว (ปตท.) พบว่ากลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ธรรมชาติ ส่วนใหญ่มีจุดเริ่มต้นมาจากนักสืบสายน�้ำ ถึงทุกวันนี้ ความต้องการหนังสือคู่มือชุดนี้ก็ยังมีอยู่มาก ทั้งคุณครู ผูน้ ำ� กิจกรรมสิง่ แวดล้อมศึกษา ผูป้ กครอง สมาชิกชุมชน และผูใ้ ช้อนื่ ๆ ด้วย เป็นเครือ่ งมือส�ำคัญส�ำหรับเสริมการเรียนการสอนในเชิงส�ำรวจสืบค้น ศึกษา หาความรู ้ ท�ำความเข้าใจ และเฝ้าระวังรักษาล�ำน�ำ้ ท้องถิน่ ด้วยตัวเอง รวมทัง้ ฝึกให้เด็กเรียนรู้ คิดเองท�ำเป็น อันเป็นพื้นฐานที่น�ำไปสู่ความตระหนักใน คุณค่าและการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง
นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
9
ในปี 2561 มูลนิธิโลกสีเขียวจึงได้ด�ำเนินการปรับปรุงหนังสือ คู่มือ นักสืบสายน�ำ้ ขึน้ ใหม่ โดยมีจดุ เด่นคือข้อมูลชีววิทยาทีท่ นั สมัย จากฐานงานวิจยั ทีจ่ ดั ท�ำอย่างละเอียดและยาวนาน ครอบคลุมพืน้ ทีก่ ว้างขวางในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคอีสาน โดย ดร. นฤมล แสงประดับ และทีมจากมหาวิทยาลัย ขอนแก่ น ขณะที่ คู ่ มื อ ฉบั บ เดิ ม จั ด ท� ำ ขึ้ น ภายใต้ ง านวิ จั ย ที่ ยั ง จ� ำ กั ด อยู ่ พอสมควรในช่วงเวลานั้น นอกจากนี้มูลนิธิฯ ยังได้เชิญผู้มีประสบการณ์ ทีด่ ำ� เนินกิจกรรมนักสืบสายน�ำ้ มาตลอด 20 ปี เข้าร่วมพัฒนาปรับปรุงเนือ้ หา โดยมุง่ เน้นให้สนองความต้องการของผูใ้ ช้มากขึน้ และขยายสูก่ ลุม่ เป้าหมาย ที่หลากหลายมากขึ้น มูลนิธโิ ลกสีเขียวขอขอบคุณมูลนิธสิ ยามกัมมาจล ทีเ่ ล็งเห็นคุณค่าและ ประโยชน์ของการจัดท�ำหนังสือชุดนี ้ ด้วยการสนับสนุนงบประมาณด�ำเนินงาน ขอบคุ ณ เพื่ อ นเครื อ ข่ ายนักสืบสายน�้ำที่ช่วยระดมให้ความคิ ด เห็ น และ นักวิชาการที่ปรึกษาทุกท่านที่ให้การขานรับช่วยเหลือการจัดท�ำด้วยดี ด้วยความหวังว่าหนังสือคูม่ อื ชุดนีจ้ ะช่วยสร้างประโยชน์และเปิดประสบ การณ์การเรียนรู้ระบบลุ่มน�้ำ เป็นฐานความรู้ที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน เชื่อมโยงสู่การลงมือปฏิบัติ เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติของเราต่อไป
มูลนิธิโลกสีเขียว ธันวาคม 2561
นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
10
13 นักสืบสายน�้ำ 14 ต�ำนานสายน�้ำไทย 18 นักสืบสายน�้ำคือใคร 21 22 24 25 37 38 44 48 52 56 62 77 88 98 103
ส�ำรวจธรรมชาติสายน�ำ้ ก�ำเนิดสายน�้ำ เลือกสายน�้ำส�ำรวจ เปิดโลกแห่งสายน�้ำ ตรวจสุขภาพสายน�้ำ ความส�ำคัญของน�ำ้ และแหล่งน�ำ้ สุขภาพสายน�้ำ ส�ำรวจคุณภาพน�้ำ แผนที่สายน�้ำ ตรวจคุณภาพน�้ำทางกายภาพ ตรวจคุณภาพน�้ำทางชีวภาพ ส�ำรวจกายภาพล�ำน�้ำและชายฝั่ง ส�ำรวจปริมาณน�้ำและการไหลของน�้ำ ส�ำรวจหาเอกลักษณ์และสัตว์เด่นประจ�ำสายน�้ำ ประเมินสุขภาพสายน�้ำ
นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
11
นักสืบสายนํ้า
สารบั ญ
109 110 113 115 118 129 131 134
ส�ำรวจชุมชน ส�ำรวจชุมชนไปท�ำไม ส�ำรวจตัวเอง วางแผนและเตรียมการส�ำรวจ ออกส�ำรวจชุมชน สรุปข้อมูลร่วมกับชุมชน วิเคราะห์และประมวลผล รายงานผลกลับสู่ชุมชน
137 138 141 147 149
ลงมือดูแลล�ำน�้ำ ลงมือดูแลล�ำน�้ำ วิเคราะห์สถานการณ์ ประเมินแผน/ประเมินผลปฏิบัติการดูแลล�ำน�ำ้ กรณีปฏิบัติการดูแลสายน�้ำโรงเรียนนักสืบสายน�ำ้ ระหว่างปี 2541-2544
161 162 163 171 176
ลงมือดูแลน�ำ้ ในชีวิตเราเอง ดูแลน�ำ้ ในชีวิตเราไปท�ำไม ทบทวนการใช้น�้ำของตัวเรา เปิดโลกเรื่องน�้ำ ขอขอบคุณ
นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
12
นั ก สื บ สายน�้ ำ คือ ใคร
เมื่อ 10 กว่าปีก่อน มีเด็ก ๆ และผู้ใหญ่กลุ่มหนึ่งลุกขึ้นมาส�ำรวจสายน�้ำ เล็กใหญ่ในเมืองไทย เรียนรูช้ วี ติ ในน�ำ้ และบ้านของมัน จนสามารถตรวจ สุขภาพสายน�ำ้ ได้วา่ แข็งแรงหรือป่วยไข้อย่างไร แล้วพวกเขาก็ลกุ ขึน้ มาดูแล สายน�ำ้ เหล่านัน้ กัน โดยถามตัวเองว่า “เราท�ำอะไรได้บ้าง ?” เพื่อรักษา สายน�้ำให้มีชีวิตดีสืบไป คนเหล่านี้คือ “นักสืบสายน�ำ้ ” นักสืบสายน�้ำเป็นผู้ดูแลสายน�้ำด้วยความรู้คู่ความรัก หนังสือเล่มนี้เป็น คู่มือนักสืบสายน�้ำ ฉบับปรับปรุงใหม่ ที่จะช่วย ถ่ายทอดศาสตร์และหัวใจของนักสืบสายน�้ำ สืบสานสู่นักสืบรุ่นใหม่
เราค้นพบคุณค่า ของตัวเองในสังคม ได้ใจเด็ก ๆ ทุกครั้ง ที่พาลงท�ำกิจกรรม
ได้ค้นพบสัตว์ใหม่ ๆ ผู้ใหญ่ยังไม่รู้จักเลย
บางทีนักวิทยาศาสตร์ ก็ไม่รู้จัก เราเป็นคนแรกเลย เราได้เรียนรู้โลก และชีวิตที่สัมพันธ์กัน ภายในวันเดียว
เราเป็นผู้ค้นพบ ยิ่งตั้งใจมองยิ่งเห็น เราเป็นนักส�ำรวจ นักวิเคราะห์ได้ มันไม่ยากเลย เหมือนเราได้ด�ำน�้ำ ลงไปเรียนรู้โลกใต้นั้น เพื่อที่จะได้มาดูแลโลกบนนี้
เราจะมองสายน�้ำ ไม่เหมือนเดิม อีกต่อไป
สนุกมว้าก
นักสืบสายนํ้า
เหมือนออกตามหา โปเกมอนเลย
เตรียมตัวเป็นนักสืบสายนํ้า ใคร ๆ ก็เป็นนักสืบสายน�ำ้ ได้ ขอแค่สนใจก็เริม่ ต้นได้เลย เพราะ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ไฮเทคราคาแพง เครื่องมือส�ำคัญที่สุดเรา มีครบหมดแล้วบนตัวเรา
ตา - สังเกตเห็น
สมอง - คิด
ผิวหนัง - สัมผัส
หู - ฟัง
มือ - จดบันทึก ประดิษฐ์อุปกรณ์
หัวใจ - รู้สึก
จมูก - ดมกลิ่น
ปาก - ถาม
ขา - เดินส�ำรวจ
ใช้เครือ่ งมือทีไ่ ด้มาจากธรรมชาติอย่างเต็มที ่ อุปกรณ์ทเี่ หลือจะค่อย ๆ แนะน�ำระหว่างทาง หลายอย่างเราหาได้จากครัว บางอย่างซือ้ ได้ถกู ๆ ในตลาด หรือใครจะคิดประดิษฐ์อปุ กรณ์เองก็เยีย่ มเลย
พร้อมเปิดโลกใหม่ พลิกหน้าถัดไปออกส�ำรวจธรรมชาติแห่งสายน�ำ้ กัน
นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
20
กําเนิดสายน�้ำ
เมือ่ ฝนตกลงแผ่นดิน น�ำ้ ฝนส่วนหนึง่ จะซึมลงดิน ถ้าดินมีสารอินทรียเ์ ยอะ และย่อยสลายเป็นฮิวมัสนุ่มหยุ่นคล้ายฟองน�้ำ และมีป่าปกคลุม มวลป่า และดินจะซับน�ำ้ ไว้ได้มาก เก็บไว้ในดินและใต้ดนิ ค่อย ๆ ซึมออกสูแ่ หล่งน�ำ้ ในที่ลุ่ม น�ำ้ ฝนส่วนทีเ่ หลือจะไหลอาบบ่าผิวดิน จากทีส่ งู ลงสูท่ ตี่ ำ �่ จากสันเขา มารวมตัวกันตามร่องเป็นล�ำน�ำ ้ จากร่องเล็ก ๆ สูร่ อ่ งหุบ สูท่ รี่ าบลุม่ จาก ล�ำน�้ำเล็กหลายสายสู่ล�ำน�้ำใหญ่ บางจังหวะพักค้างเป็นแอ่งแหล่งน�ำ้ เจิง หนองบึง ก่อนไหลไปจนถึงทะเล ตลอดการเดินทาง สายน�้ำไม่เคยไหลเป็น ลองหานยดกนระ�้ำ จก เส้นตรง แต่จะเปลี่ยนทิศทางไปตามภูมิประเทศ ลงบนบ ูสิ...
ด
บนทีล่ าดชันสายน�ำ้ ไม่คดมาก ไหลเร็วไปตามแรงดึงดูดโลก กระแส น�ำ้ มีแรงพัดพาตะกอนเล็ก ๆ อย่างดินและทรายไปด้วย ทิง้ ก้อนหินก้อนกรวด ใหญ่ ๆ ไว้บนพื้นท้องน�้ำ ชีวิตในล�ำธารบนเขาจะปรับตัวให้อยู่กับพื้นหินและ น�ำ้ เย็นไหลแรง เมือ่ สายน�ำ้ ไหลลงสูท่ รี่ าบล่มุ กระแสน�ำ้ อ่อนแรงลง ทิง้ ตะกอน ทรายทีพ่ ดั หอบมาไว้ตามทาง เริม่ มีหาดทรายริมฝัง่ น�ำ้ สัตว์ทมี่ าใช้ประโยชน์ แตกต่างไปจากสัตว์ในล�ำธารบนเขาชัน แม่ น�้ำจะไหลคดเคี้ยวมากในบริเวณที่ราบลุ่มตามความพยายาม ลัดเลาะเสาะหาทีต่ ำ�่ ไปจนกว่าจะถึงทะเล กระแสน�ำ้ ทีเ่ ดินทางมายาวไกล ไหลเอื่อยลงจนทิ้งตะกอนดินขนาดเล็กไว้กับพื้นท้องน�้ำ บริเวณนี้จึงเป็น พื้นเลน อุดมด้วยสารอินทรีย์ ไม่น่าสงสัยเลยว่าท�ำไมที่ราบลุ่มใกล้ปากน�้ำจึงมักเป็นอู่ผลิตอาหาร ของมนุษย์ และเป็นที่หากินของสัตว์มากมาย
นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
22
สํารวจธรรมชาติสายนํ้า สายน�ำ้ แปรรูปลักษณะไปตามธรณีสัณฐานของภูมิประเทศ แต่ตัวมัน เองก็เป็นผู้สร้างภูมิประเทศเหล่านั้นด้วย พลังของน�้ำแกะสลักและกัดเซาะภูเขา พัดพาตะกอนไปถมพื้นที่ลุ่ม จนเป็นแผ่นดินงอกในทะเล นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
23
ความสําคัญของน�้ำ และแหล่ ง น�้ ำ
เราทั้งหลายล้วนเป็นน�ำ้ น�้ำเป็นสารละลายส�ำคัญที่สุดในโลก มันละลายแร่ธาตุสารอาหาร ที่เราต้องใช้ดำ� รงชีวิต หมุนเวียนในร่างกายของเรา ไม่แปลกที ่ 65% ของร่างกายเราเป็นน�ำ ้ เช่นเดียวกับชีวติ อืน่ ๆ ในตัว แมงกะพรุนเป็นน�ำ ้ 95% ไส้เดือน 80% นก 75% กบ 78% ต้นไม้ราว 50% ถ้าขาดน�ำ ้ มนุษย์เราจึงตายใน 3 วัน อันนีห้ มายถึงน�ำ้ กิน หมอพูดเสมอว่าคนเราต้องกินน�้ำวันละ 2 ลิตร แต่ทุกวันเราใช้น�้ำไปกับกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย คนไทยใช้น�้ำ เฉลี่ยถึงคนละ 120 ลิตรต่อวัน ต้มแกง อาบน�ำ ้ ซักล้าง จิปาถะ เรายังใช้นำ�้ เพือ่ ผลิตพืชอาหาร เลีย้ งสัตว์ เพือ่ ความบันเทิง รดหญ้า สนามกอล์ฟ ปั่นไฟฟ้าจากพลังน�้ำ ประกอบการอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ใคร ๆ ก็ต้องการน�้ำ ชีวิตอื่น ๆ ก็ต้องการ โดยเฉพาะชีวิตที่อยู่ในน�้ำ ซึ่งเราพึ่งพากินมันเป็นอาหาร เป็นแหล่งโปรตีนส�ำคัญที่สุดของคนไทย หลายสิบล้านคน ถ้านักสืบสายน�ำ้ ได้ลองลงส�ำรวจโลกแห่งสายน�ำ้ อย่างอิสระแล้ว นักสืบ จะตระหนักดีว่าสายน�้ำไม่ได้เป็นเพียงล�ำระบายน�้ำท่วมหรือทางล�ำเลียง มวลน�้ำมาให้เราใช้ แต่เป็นบ้านที่อยู่อาศัยของสัตว์น�้ ำ ใช้หลบภัยวางไข่ เลี้ยงลูกและหากิน
นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
38
ถอยออกมาดูโลกทั้งใบ มันเป็นสีฟ้า เพราะพื้นผิวโลก 75% เป็นน�้ำ ดูเหมือนว่าเรามีน�้ำอยู่มากมาย น่าสุขสบายใจ แต่ความจริงน�้ำจืด ที่เราใช้ได้มีเพียงน้อยนิด และมนุษย์โลกกว่า 7,000 ล้านคนต้องแบ่งกันใช้ แต่บ่อยครั้งเราแย่งกัน จนกลายเป็นความขัดแย้งรุนแรง น�้ำเค็มในทะเล และมหาสมุทร
97.3 %
น�้ำแข็ง
2%
น�้ำบาดาล
บรรยากาศ
0.001 %
น�ำ้ จืดบนผิวโลก
0.03 %
0.6 %
ถ้าเราจะจัดการน�ำ้ ทีม่ อี ยูจ่ ำ� กัดส�ำหรับทุก ๆ ชีวติ ส�ำหรับตัวเราเองและ ชีวิตที่เราพึ่งพา เราต้องเข้าใจระบบนิเวศน�้ำในเมืองไทย เพื่อจะได้หาทาง อยู่ร่วมกันไปนาน ๆ อย่างเป็นสุข มาดูกันว่าทุกวันนี้สายน�้ำต้องเจอกับปัญหาอะไรบ้าง
นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
39
ตรวจสุขภาพสายน�้ำ
สัดส่วนน�้ำในโลก
1 ท�ำลายป่าต้นน�้ำ
ท�ำลายพื้นที่ดูดซับน�้ำและพื้นที่ชะลอน�้ำ ท�ำให้เวลาฝนตกหนักเกิดน�้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และในระยะยาวเกิดภัยแล้ง ป่ายังช่วยเยียวยาภาวะโลกร้อน
2 ฝาย & เขื่อนกั้นน�้ำ
�้ ส่วนใหญ่เป็นก�ำแพงขวางกัน้ การไหลของน�ำ้ และขัดขวางเส้นทางอพยพของสัตว์นำ เปลี่ยนน�้ำไหลเป็นน�้ำนิ่งในแอ่งหลังเขื่อน ส่งผลกระทบไกลไปถึงชายทะเล (ดู )
9
ก่อนสร้างฝาย น�ำ้ ไหลแรงพัดตะกอนละเอียดไปกับน�้ำ สัตว์ล�ำธารหลายชนิดอาศัยเกาะอยู่ ตามซอกโพรงหิน เช่นปลาค้างคาว หลังสร้างฝาย ตะกอนไม่ถูกน�้ำพัดไป จึงเข้าไปอุดโพรงหิน ท�ำให้สัตว์อยู่ไม่ได้ บางชนิดจึงอาจสูญพันธุ์
น�ำ้ ที่ไหลช้ามากหรือน�้ำนิ่งจะลดการถ่ายเทอากาศในน�ำ้ และเกื้อกูลถิ่นอาศัยของ พยาธิและเชื้อโรค เช่น
ตัวอะมีบา บางชนิดท�ำให้เป็นโรคกระจกตาอักเสบ หรือโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
สาหร่ายสีเขียวแกมน�้ำเงิน บางชนิดสร้างสารพิษ ท�ำให้คันและอาจก่อ มะเร็งในตับ มักเติบโตในแหล่งน�ำ้ ขนาดใหญ่ ที่นิ่งและลึก จึงพบในเขื่อนหลายแห่ง โดยเฉพาะ แหล่งน�้ำที่มีมลภาวะจากปุ๋ย ผงซักฟอก สิ่งปฏิกูล และน�้ำเสียจากโรงงาน
พยาธิเลือด Schistosoma อาศัยหอยฝาเดียวเป็นพาหะ ท�ำลายตับและม้าม ชนิดอาศัยหอยคันท�ำให้เป็นโรคผิวหนังอักเสบ ชนิดอาศัยหอย Neotricular aperta ในลุ่มน�ำ้ โขง เป็นพยาธิเลือดในคน ท�ำให้ตายได้
3 แย่งชิงน�้ำใช้จนแม่น�้ำแห้งขอด
เหลือสัตว์นำ�้ เพียงบางชนิดที่มุดดินทนอยู่ได้ชั่วคราว หรืออพยพไปที่อื่น
4 ดาดปูนพื้นท้องน�ำ้
ท�ำลายถิ่นอาศัยของสัตว์นำ�้ ที่ต้องขุดรูในดินและสกัดกั้นน�้ำที่ซึมลงไปเป็นน�้ำใต้ดิน
5
ขุดล�ำน�ำ้ ให้ตรง ท�ำให้น�้ำไหลแรงและท่วมพื้นที่ท้ายน�้ำได้ง่าย และยังท�ำลายแก่งและวังน�้ำตาม ธรรมชาติ เท่ากับท�ำลายโครงสร้างพื้นฐานของสายน�ำ้
6 ท�ำลายดงพืชพงริมน�ำ้
ดงพืชช่วยยึดตลิ่ง ดักตะกอน และดูดซับมลพิษจากปุ๋ยและสารเคมีอื่น ๆ รวมทั้ง เป็นถิ่นอาศัยวางไข่หลบภัยของสัตว์นำ�้ หลายชนิด
7 ปัญหามลภาวะ ขยะ สารพิษ
สารแปลกปลอมเปลี่ยนสภาวะที่เหมาะสมของน�้ำ บางครั้งสัตว์น�้ำอาจตายพร้อมกัน จ�ำนวนมาก
8 ก�ำแพงเขื่อนริมตลิ่ง
ท�ำลายระบบนิเวศชายฝั่งน�้ำ โดยจ�ำกัดช่องทางของล�ำน�้ำไว้ ท�ำให้น�้ำไหลแรงและ ท่วมพื้นที่ท้ายน�้ำได้ง่ายเพราะขาดพื้นที่แก้มลิงริมน�ำ้ ตามธรรมชาติรองรับน�้ำเอ่อท้น ในที่ราบลุ่มถ้าไม่มีก�ำแพงเขื่อนกั้น ปกติน�้ำหลากจะแผ่ท่วมทุ่งและหอบตะกอน มาเป็นปุ๋ยฉาบแผ่นดินให้อุดมสมบูรณ์ เพาะปลูกได้ดีหลังน�้ำลด ปลาหลายชนิด วางไข่เลี้ยงลูกอ่อนในทุ่งน�ำ้ ตามฤดูกาล
9 ตะกอนไปไม่ถึงปลายน�ำ้
เขือ่ นกักตะกอนไม่ให้ไหลลงสูพ่ นื้ ทีป่ ากน�้ำ ขาดตะกอนสะสมให้แผ่นดินงอก ผืนทะเล ก็รุกชายฝั่งเข้ามา (ตะกอนปากแม่นำ�้ เจ้าพระยาลดลงไปถึง 75% ในช่วง 30-40 ปี ที่ผ่านมา) นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
43
ตรวจสุขภาพสายน�้ำ
นักสืบสายน�้ำ คือนักวิทยาศาสตร์พลเมือง ข้อมูลที่เก็บอย่างเป็นระบบมีพลังมาก เพราะช่วยให้เราสรุปความรู้ได้อย่างมั่นใจ และถ้าเราท�ำซ�้ำวิธีเดียวกันกับหลายแห่ง อย่างต่อเนื่อง เราก็น�ำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันได้ เกิดเป็นความรู้ใหม่มากมาย ถ้ามีนักสืบหลายคนช่วยกันท�ำ เอาข้อมูล มารวมกัน พลังความรู้ที่ได้จะมหาศาล นี่เป็นพลังของนักวิทยาศาสตร์พลเมือง (citizen scientists) ตัวอย่างเช่นเมื่อ ค.ศ. 2000 เครือข่ายโรงเรียนนักสืบสายน�้ำ 50 โรง ในลุ่มน�้ำแม่ปิง นัดหมายกันออกส�ำรวจ คุณภาพน�้ำด้วยการส�ำรวจสัตว์นำ�้ จืด ท�ำให้ได้ แผนที่คุณภาพน�้ำละเอียดที่สุดเท่าที่เคยมีมา ด้วยฝีมือประชาชน
ดีมาก ดีถึงดีมาก ดี พอใช้ค่อนไปทางดี พอใช้ พอใช้ค่อนไปทางไม่ดี ไม่ดี แย่มาก (ไม่ให้เด็กตรวจ) มีปัญหาทางเทคนิค หรือจากตัวแปรอื่น ๆ
แผนที่ ส ายน�้ ำ “แผนที่เก่าใช้สำ� รวจโลกใหม่ไม่ได้” อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ฐานข้อมูลเริม่ แรกทีเ่ ราควรมีส�ำหรับการส�ำรวจสุขภาพสายน�้ำ คือแผนที่ ของสายน�้ำที่เราสนใจ แผนที่ควรให้ภาพรวมของสายน�้ำและกิจกรรม ต่าง ๆ เพือ่ ให้เรามองเห็นว่ามีสงิ่ ใดเกิดขึน้ บริเวณนัน้ บ้าง เราสะดุดสนใจ อะไร มีคำ� ถามอะไรบ้างที่เราอยากได้คำ� ตอบ แผนทีส่ ายน�ำ้ จะท�ำหน้าทีเ่ ป็นตัวสร้างโจทย์ส�ำรวจ และเป็นฐานเก็บ รายละเอียดข้อมูลที่เราจะส�ำรวจต่อไป รวมทั้งเป็นเครื่องมือใช้สื่อสาร กับผู้อื่นในภายหลัง
กิ จ กรรม แผนที่สายน�้ำ
สร้างแผนที่
เราจะสร้างแผนทีส่ ายน�้ำขนาดเท่าใดก็ได้ ขึน้ อยูก่ บั พืน้ ทีท่ เี่ ราต้องการส�ำรวจ แต่ควรครอบคลุมกิจกรรมหลักในพื้นที่ นักสืบสามารถใช้แผนที ่ Google Earth เป็นแบบร่างในเบือ้ งต้น เพือ่ บันทึกเส้นทางไหลของสายน�้ำ พร้อมกับรายละเอียดของพื้นที่ที่สายน�้ำไหล ผ่านทั้งตอนบนและตอนล่างของบริเวณที่ส�ำรวจ นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
52
สังเกตและบันทึกสิง่ ก่อสร้างริมน�้ำและบนสายน�ำ้ ตลอดจนแนวดงพืช ธรรมชาติริมน�้ำ รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ริมน�้ำ บางอย่างอาจเห็นได้ชัดบน แผนที่ Google Earth แต่หลายอย่างต้องออกเดินส�ำรวจและสังเกต
ตั้งโจทย์
โจทย์ 1 : สายน�้ำที่มีบริเวณต้นน�้ำเป็นสภาพธรรมชาติมีลักษณะ อย่างไร นักสืบอาจก�ำหนดจุด A เป็นฐานข้อมูลธรรมชาติในพื้นที่ไว้เปรียบ เทียบกับจุดท้ายน�้ำที่มีกิจกรรมต่าง ๆ โจทย์ 2 : การสร้ า งฝายกั้ น ล� ำ น�้ ำ ส่ ง ผลกระทบต่ อ สั ต ว์ น�้ ำ และ บ้านของมันอย่างไร นักสืบอาจส�ำรวจเปรียบเทียบจุด B และ C กับสายน�้ำ ธรรมชาติจุด A โจทย์ 3 : อยากรู้ว่าหมู่บ้านเราปล่อยมลพิษกระทบคุณภาพน�้ำ หรือไม่ นักสืบต้องส�ำรวจเปรียบเทียบคุณภาพน�้ำระหว่างบริเวณน�้ำเหนือ หมู่บ้านจุด D กับท้ายน�้ำจุด E โจทย์ 4 : อยากรู้การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลในธรรมชาติ อาจ ส�ำรวจจุด A ในฤดูกาลต่าง ๆ หรือดูการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาหลายปี โดยวางแผนส�ำรวจจุดเดิมในเดือนเดียวกันต่อเนื่องไปทุกปี
ตัดสินใจเลือกโจทย์ส�ำรวจได้แล้วก็มาก�ำหนดจุดส�ำรวจกัน
นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
53
ตรวจสุขภาพสายน�้ำ
เมื่อได้แผนที่ภาพรวมของสายน�ำ้ แล้ว พิจารณาดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นบนสายน�ำ้ นี้บ้าง และเราอยากเจาะลึกส�ำรวจตรงไหน ค�ำถามของเราจะเป็นโจทย์ ของการส�ำรวจสายน�ำ้ เพราะการส�ำรวจคุณภาพน�ำ้ ควรมีจดุ ประสงค์ทชี่ ดั เจน และวางแผนเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้ค�ำตอบที่ต้องการ เป็นต้นว่า (ดูภาพประกอบหน้า 54)
นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
54
ใส่เครื่องหมายจุดส�ำรวจบนแผนที่สายน�้ำตามโจทย์หรือกิจกรรมที่เราอยาก ตรวจสอบ ก�ำหนดจุดบริเวณเหนือน�้ำและใต้นำ�้ ของกิจกรรม ห่างจากกิจกรรมนัน้ ประมาณ 10-20 เมตร เพื่อเปรียบเทียบผลส�ำรวจคุณภาพน�้ำ บางครั้งเราอาจพบว่ามีกิจกรรมหลายอย่างเกิดขึ้นใกล้กันเป็นกลุ่ม จนยากจะแยกจุดส�ำรวจ ก็ให้ก�ำหนดจุดส�ำรวจใต้กลุ่มกิจกรรมนั้น ถือเป็น การส�ำรวจในภาพรวม ได้จุดส�ำรวจแล้วก็ลงส�ำรวจคุณภาพน�้ำในแต่ละจุด โดยการบันทึก ข้อมูลลักษณะทางกายภาพของน�้ำและชีวิตในน�้ำควบคู่กัน
นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
55
ตรวจสุขภาพสายน�้ำ
ก�ำหนดจุดส�ำรวจคุณภาพน�้ำ
ออกส� ำ รวจชุ ม ชน การออกส�ำรวจชุมชนท�ำได้หลายวิธี เริ่มต้นด้วยการสังเกต พูดคุยกับ คนในชุมชน ติดต่อขอข้อมูลจากหน่วยงานในชุมชน ค้นคว้างานวิจัยใน ท้องถิ่น ไปจนถึงการส�ำรวจที่ต้องใช้อุปกรณ์อย่างการท�ำแผนที่ชุมชน และปฏิทินน�้ำ ถ้าท�ำได้หลากหลายนักสืบจะได้ข้อมูลรอบด้าน หากคนในชุมชนมีข้อขัดแย้งกัน นักสืบควรท�ำความรู้จักกับพื้นที่ และประเมินสถานการณ์ก่อน อย่าส�ำรวจชุมชนเพลินจนลืมเรื่องความ ปลอดภัย
สังเกตและตั้งค�ำถาม
ก้าวแรกที่เหยียบย่างเข้าไปในชุมชน นักสืบสายน�้ำ ต้องเปิดตาเปิดหูเปิดใจ สังเกตทัง้ ภูมปิ ระเทศ อาคารสถานที ่ ฟังเสียง ทั้งธรรมชาติ บรรยากาศ และกิจกรรมของมนุษย์ เครือ่ งมือใช้สอย อุปกรณ์จบั ปลา วัฒนธรรม ตลอดจน ลักษณะของผู้คนก็ล้วนน่าสนใจ
ความช่างสังเกต เป็นลักษณะส�ำคัญของนักสืบ ไม่ว่าจะส�ำรวจธรรมชาติล�ำน�้ำ หรือส�ำรวจชุมชน
ลองฝึกสังเกต ตั้งค�ำถาม สอบสวนถึงความ เป็ น มา เหตุ ผ ล และความเปลี่ ย นแปลงที่ เ กิ ด ขึ้ น กับสิ่งต่าง ๆ เช่น • ชื่อถิ่นฐานของชุมชน เช่น สถานที่ ภูเขา วัด ล�ำน�ำ้ ภูมปิ ระเทศอืน่ ๆ ทัง้ ชือ่ เดิมและชือ่ ทีร่ าชการ ตั้งใหม่ (หรือสะกดใหม่) • เครื่องมือใช้สอย เช่น เครื่องมือจับ ปลา มีดพร้า หรือกลไกการจัดการน�้ำ เช่น เหมืองฝาย หลุก ระบบประปาภูเขา
• ข้อห้าม ความเชื่อ เรื่องเล่า ต�ำนาน พิธีกรรม และข้อปฏิบัติที่ เกี่ยวข้องกับล�ำน�้ำ • ค�ำศัพท์และส�ำนวนเกี่ยวกับน�้ำในท้องถิ่น เพลงกล่อมเด็ก ฯลฯ • สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวกับล�ำน�้ำและท้องถิ่น • อาหารและยารักษาโรค ส�ำรับและต�ำรับอาหารจากล�ำน�ำ้ ในท้องถิน่ ที่ได้จากสัตว์นำ�้ และพืชผักสมุนไพรริมน�้ำ • ของเล่นที่ใช้เล่นกับน�้ำ หรือเกมที่เด็ก ๆ เล่นในล�ำน�้ำ ฯลฯ • สภาพความเป็นแหล่งท่องเที่ยว
นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
119
สํารวจชุมชน
ขอข้อมูลจากหน่วยงาน
กลุม่ องค์กร หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทีต่ งั้ อยู่ ในชุมชน เป็นแหล่งความรูท้ นี่ กั สืบสามารถ เดินเข้าไปติดต่อขอข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็น แผนที่ สถิติ ข้อมูลประชากร และสุขภาพ ของคนในชุมชน
กิ จ กรรม พูดคุยสนทนา เรียกเท่ ๆ ว่า “สัมภาษณ์” เป็นวิธีพื้นฐานส� ำหรับนักสืบเพื่อท� ำความรู้จักและได้แลกเปลี่ยน ความรู้ความคิดกับคนในชุมชน เราสามารถถามถึงสิ่งที่สงสัยและได้ค�ำตอบทันที (หรือบางครั้งถ้า อีกฝ่ายไม่ตอบ เราก็ยงั ได้รวู้ า่ ค�ำตอบคือการไม่ตอบ) รวมทัง้ ได้เห็นใบหน้า สบสายตา ได้ยินน�้ำเสียง เห็นอิริยาบถ และรับรู้ “สาร” ที่อีกฝ่ายอาจไม่ได้ เอ่ยออกมาตรง ๆ อย่าลืมว่าการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ คนเรามักเล่าจากมุมมองของตัวเอง เสมอ นักสืบที่ดีควรตรวจเทียบข้อมูลกับคนอื่น ๆ ในชุมชนด้วย เพื่อลด ความคลาดเคลื่อนและได้ข้อมูลใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด การรับฟ้งข้อมูลจากคนทีแ่ ตกต่างกัน ทัง้ วัย เช่น ผูส้ งู วัย-เด็ก-ผูใ้ หญ่ และอาชีพ เช่น พระ-ต�ำรวจ-ครู-พยาบาล ฯลฯ จะยิ่งเปิดโลกให้เราดีขึ้น ไม่ตอ้ งกลัวว่าค�ำตอบจะไม่เหมือนกัน เพราะเราจะได้หาเหตุผลต่อไป ว่าท�ำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
120
จะถามค�ำถามอย่างไร
เราอยากรูอ้ ะไรจากคนในชุมชน ควรหาประเด็น ให้ชัดเจนและเชื่อมโยงกันก่อน ค� ำ ถามที่ ดี มั ก เปิ ด กว้ า ง ชวนคุ ย และ แนะน�ำกิจกรรมนี้เลย ใยแมงมุมค�ำถาม หาเหตุผลสืบเนื่องไปได้เรื่อย ๆ เช่น ค�ำถามที่ (mind map) ขึ้นต้นว่า “ท�ำไม” “อย่างไร” “เมื่อใด” หรือ ดูหน้า 125 ถามถึงความรู้ ความคิดเห็น หรือใคร่ครวญถึง ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับล�ำน�้ำและชุมชน ล� ำ น�้ ำ ไหลสื บ เนื่ อ งจากต้ น สู ่ ป ลาย ชุ ม ชนนี้ อ ยู ่ ต รงไหนของล�ำ น�้ ำ ทั้งสาย มีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีวัฒนธรรมประเพณีชุมชนแบบไหน มีปรากฏการณ์ธรรมชาติทเี่ กีย่ วข้องกับน�้ำไหม ชุมชนและล�ำน�ำ้ เปลีย่ นแปลง มาอย่างไร ได้รับผลกระทบอะไร จากใคร มานานเท่าไร ในขณะเดียวกัน ก่อผลกระทบอะไร ให้ใคร มานานแค่ไหนแล้ว บางทีเราจะได้เห็นภาพทั้งหมดนี้จากการพูดคุยง่าย ๆ
เมื่อคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ ลองใช้กิจกรรม “แผนที่ชุมชน” (หน้า 123) ชวนคุยชวนวาดเป็นแผนที่ “ผู้เฒ่าเล่าเรื่อง” นั ก สื บ ส า ย นํ้ า : คู่ มื อ สํ า ร ว จ แ ล ะ ดู แ ล
121
สํารวจชุมชน
สายนํ้าของเราสดใสหรือเจ็บป่วยอย่างไร มาเปิดโลกกว้างกับสรรพชีวิตในลํำ�ธารและบ้านของมัน ให้มันบอกเราว่าสุขสบายดีไหม ถ้ามีปัญหาจะได้แก้ไขได้ทัน ถ้าดีอยู่แล้วจะได้ดูแลให้ดีต่อไป คู่มือชุดนี้จะช่วยติดอาวุธให้เราเป็นนักสืบสายนํ้า ผู้ตรวจสุขภาพและดูแลสายนํ้า ด้วยความรู้คู่กับความรัก
ฉบับ ปรับปรุงใหม่
พร้อมข้อมูลทันสมัย คู่มือนักสืบสายนํ้า ประกอบด้วย • นักสืบสายนํ้า : คู่มือสำ�รวจและดูแล • นักสืบสายนํ้า : คู่มือสัตว์ลำ�ธาร ส นั บ ส นุ น โ ค ร ง ก า ร โ ด ย ราคา 250 บาท ISBN 978-974-7076-34-9